มะม่วงหิมพานต์ ผลไม้เนื้อนิ่มหวานฉ่ำราชาแห่งเมล็ดพืช
มะม่วงหิมพานต์
มะม่วงหิมพานต์ (Cashew, Cashew nut) ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Anacardium occidentale L. จัดอยู่ในวงศ์มะม่วง (ANACARDIACEAE) ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า มะม่วงกุลา มะม่วงลังกา มะม่วงหยอด มะม่วงสินหน (ภาคเหนือ), มะม่วงสิโห (เชียงใหม่), มะโห (แม่ฮ่องสอน), มะม่วงกาสอ (อุตรดิตถ์), มะม่วงเล็ดล่อ มะม่วงยางหุบ (ระนอง), กายี (ตรัง), ส้มม่วงทูนหน่วย มะม่วงทูนหน่วย (สุราษฎร์ธานี), กะแตแก (นราธิวาส), นายอ (ยะละ), ยาโงย ยาร่วง (ปัตตานี), มะม่วงหิมพานต์ มะม่วงไม่รู้หาว (ภาคกลาง), กาหยู กาหยี ม่วงเม็ดล่อ ม่วงเล็ดล่อ หัวครก ท้ายล่อ ตำหนาว ส้มม่วงชูหน่วย (ภาคใต้) เป็นต้น
ลักษณะของมะม่วงหิมพานต์
ต้น เป็นไม้ยืนต้นที่มีขนาดกลาง เมื่อโตเต็มที่แล้วจะมีความสูงโดยเฉลี่ย 6 เมตร (สามารถสูงได้ถึง 12 เมตร) ลำต้นมีเนื้อไม้ที่แข็ง มีกิ่งแขนงแตกออกไปเป็นพุ่มแน่นทรงกลมถึงแบบกระจาย มีเปลือกหนา และผิวเรียบเป็นสีน้ำตาลเทา ในบ้านเราสามารถพบได้ทั่วไปในภาคใต้
ใบ เป็นใบเดี่ยวเรียงเวียนกัน ใบมีลักษณะหนาผิวเกลี้ยงเหมือนกับแผ่นหนัง ใบคล้ายรูปไข่กลับหัวถึงรูปรีกว้าง ปลายใบกลม โคนใบนั้นแหลม เนื้อใบมีกลิ่นหอม ใบมีขนาดกว้างประมาณ 6-10 เซนติเมตร และยาวประมาณ 8-20 เซนติเมตร
ดอก ออกเป็นช่อกระจาย ดอกเป็นสีขาวถึงสีเหลืองนวล และจะเปลี่ยนสีไปเป็นสีชมพู ช่อดอกแต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยเป็นจำนวนมาก และมีกลีบเลี้ยงสีเขียวขนาดเล็ก โคนดอกเชื่อมติดกัน ดอกหนึ่งมีปลายแยกเป็นกลีบอยู่ 5 กลีบ ปลายดอกแหลมเรียว ตรงกลางดอกมีเกสรเพศผู้ประมาณ 8-10 อัน หลังจากที่ดอกร่วงแล้วจะติดผล
ผล มีลักษณะคล้ายผลชมพู่หรือลูกแพร์ ผลเป็นพวงห้อยลงมา ขนาดผลยาวประมาณ 5-8 เซนติเมตร เนื้อผลมีความฉ่ำน้ำและมีกลิ่นหอม ผลเมื่ออ่อนจะเป็นสีเขียวหรือเหลืองอมชมพู แต่เมื่อผลสุกแล้วนั้นจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือสีส้มแดง ที่ปลายผลนั้นมีเมล็ดอยู่ 1 เมล็ด ลักษณะคล้ายรูปไต เปลือกนอกมีผิวที่แข็ง และมีขนาดยาวประมาณ 2-4 เซนติเมตร มีสีเป็นสีน้ำตาลอมเทา
เม็ดผลมีเปลือกแข็ง มีเมล็ดเดียวลักษณะคล้ายกับรูปไต หรือคล้ายคลึงกับนวมของนักมวย มีสีเป็นสีน้ำตาลปนเทา ข้างในผลมีเมล็ดคล้ายรูปไต
สรรพคุณของมะม่วงหิมพานต์
1. แพทย์ในประเทศอินเดียใช้เมล็ดเลี้ยงเด็กทารกที่อายุเกิน 6 ขวบ เพื่อช่วยทำให้ร่างกายเจริญเติบโตได้รวดเร็วและแข็งแรง
2. เม็ดอุดมไปด้วยธาตุทองแดง จึงมีฤทธิ์ช่วยบำรุงเส้นผมและผิวหนังได้เป็นอย่างดี
3. เม็ด ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและโรคที่เกี่ยวกับหลอดเลือดได้
4. การวิจัยในประเทศบราซิลและอินเดียพบว่าสารสกัดจากเปลือกต้นและสารสกัดจากส่วนเหนือดินของต้นนั้น สามารถช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้
5. เมล็ดนั้นมีกรดไลโนเลอิก (Linoleic acid) ซึ่งมีส่วนช่วยในการป้องกันโรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด ป้องกันโรคหัวใจ และโรคเกี่ยวกับทรวงอกได้
6. แมกนีเซียมในเม็ด ช่วยลดความดันโลหิตได้
7. เม็ด มีฤทธิ์ป้องกันโรคมะเร็ง และช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้
8. เม็ด มีธาตุแมกนีเซียมในปริมาณที่สูง จึงสามารถป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุนในผู้สูงอายุ ช่วยบำรุงสุขภาพเหงือก สุขภาพฟัน และกระดูกให้แข็งแรงได้
9. การรับประทานเม็ด เป็นประจำนั้นจะช่วยป้องกันโรคจอประสาทตาเสื่อมได้
10. เมล็ดมีกรดไขมันอิ่มตัวในปริมาณที่มาก จึงมีส่วนช่วยในการป้องกันโรคไขมันตับ และแถมยังไม่ให้มีการสะสมในร่างกายมากจนเกินไป จึงไม่ทำให้อ้วน
11....
ถั่วแระ มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย
ถั่วแระ
ถั่วแระ เป็นพืชเศรษฐกิจทางเลือกใหม่ของเกษตรกรสามารถผลิตและส่งออกไปยังต่างประเทศ เนื่องจากถั่วชนิดนี้ให้พลังงานสูงถึง 343 กิโลแคลอรี ต่อปริมาณ 100 กรัม และกำลังได้รับความนิยมอย่างมากในประเทศจีน ญี่ปุ่น เกาหลี กลายเป็นอาหารว่างยอดนิยมและถูกนำมาใช้ในอาหารเอเชียมาเป็นเวลานาน นอกจากรสชาติที่อร่อยแล้วยังมีประโยชน์ เช่น ลดอาการวัยทอง ลดความเสี่ยงมะเร็งเต้านม ลดระดับคอเลสเตอรอล LDLที่สูง ลดความเสี่ยงของโรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมองได้
ชื่อสามัญ คือ Edamame ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Cajanus cajan (L.) Millsp. ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Cajanus indicus Spreng.) จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) อยู่ในวงศ์ย่อยถั่ว FABOIDEAE (PAPILIONOIDEAE หรือ PAPILIONACEAE) ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ถั่วแรด (ชุมพร), มะแฮะ มะแฮะต้น ถั่วแระต้น (ภาคเหนือ), ถั่วแฮ (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), ถั่วแระ ถั่วแระผี ถั่วแม่ตาย (ภาคกลาง), พะหน่อเซะ พะหน่อซิ (กะเหรี่ยงเชียงใหม่), มะแฮะ (ไทลื้อ), ย่วนตูแฮะ (ปะหล่อง), เปล๊ะกะแลง (ขมุ), ถั่วแฮ อีกด้วย
ลักษณะของถั่วแระ
ต้น เป็นพรรณไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้นขนาดย่อม มีอายุฤดูเดียวหรือหลายฤดู ลำต้นมีลักษณะตั้งตรงสูงประมาณ 1-3.5 เมตร กิ่งแผ่ออกด้านข้างเป็นคู่ ๆ ผิวของลำต้นไม่มีขน มีสีเขียวหม่น ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด มีทั้งขาวและแดง สามารถพบขึ้นได้ในที่โล่งแจ้งชายป่าเบญจพรรณ
ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ใบย่อยมี 3 ใบ ออกเรียงสลับ ใบย่อยจะแตกออกตามลำต้น หรือตามกิ่งประมาณ 3 ใบ ใบย่อยจะมีขนาดเล็กเป็นรูปขอบขนานแกมใบหอก ปลายใบแหลม คล้ายใบขมิ้นต้นหรือขมิ้นพระ ใบมีความกว้างประมาณ 1-3.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 1.5-10 เซนติเมตร ผิวใบทั้งสองด้านมีขน เป็นสีขาวนวล,
ดอก จะออกเป็นช่อกระจะคล้ายดอกโสน ดอกผลย่อยมีอยู่ประมาณ 8-14 ดอก โดยจะออกตามซอกใบ ดอกมีลักษณะเป็นรูปดอกถั่ว กลีบดอกสีเหลืองมีขอบสีน้ำตาลแดง ใบประดับมีขน กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเป็นถ้วย ปลายแยกเป็นแฉกมี 4-5 แฉก,
ผล มีลักษณะเป็นฝักแบนยาว มีสีม่วงเข้มปนเขียว เป็นห้อง ๆ และมีขน ฝักหนึ่งจะแบ่งออกเป็นห้อง 3-4 ห้อง ข้างในจะมีเมล็ดลักษณะกลมหรือแบนเล็กน้อย ห้องละ 1 เมล็ด มีขนาดเท่ากับเมล็ดถั่วเหลือง สีของเมล็ดเป็นสีเหลือง ขาว และสีแดง,
สรรพคุณของถั่วแระ
1. เมล็ด สามารถทานเป็นยาบำรุงกำลัง บำรุงไขข้อ บำรุงเส้นเอ็น หรือนำเมล็ดมาต้มรับประทานเป็นของกินเล่น ช่วยลดระดับคอเลสเตรอล ลดระดับน้ำตาลในเลือด ลดความดันโลหิต (เมล็ด)
2. รากและเมล็ด สามารถใช้ปรุงเป็นยากินรักษาไข้ ถอนพิษ ขับปัสสาวะ แก้อาการปัสสาวะเหลืองหรือแดง แก้น้ำเหลืองเสีย รักษาน้ำเบาเหลืองและแดงดังสีขมิ้น หรือน้ำเบาออกน้อย ส่วนรากอย่างเดียว...
ถั่วเหลืองโปรตีนสูง อุดมไปด้วยสารอาหารที่ร่างกายต้องการ
ถั่วเหลือง
ถั่วเหลือง จัดเป็นพืชที่สำคัญและเก่าแก่ชนิดหนึ่งของโลกเลยทีเดียว ตามประวัติศาสตร์แล้วนั้นถั่วเหลืองมีถิ่นกำเนิดในประเทศจีนทางตอนกลางและในทางตอนเหนือ ซึ่งชาวจีนได้มีการรู้จักใช้ประโยชน์จากถั่วเหลือง และมีการปลูกถั่วเหลืองมายาวนานมากกว่า 4,700 ปีแล้ว ถั่วเหลืองมีประโยชน์มากมายหลากหลายประการและยังถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ อย่างแพร่หลายอีกด้วย ในปัจจุบันถั่วเหลืองถือเป็นพืชที่มีการเพาะปลูกกันอย่างแพร่หลายในเขตร้อนและเขตอบอุ่น แต่จะให้ผลผลิตที่ดีในเขตอบอุ่น เพราะเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในเขตอบอุ่นนั่นเอง แต่อย่างไรก็ตามประเทศที่ผลิตถั่วเหลืองที่สำคัญที่สุดนั่นก็คือประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีผลผลิตมากถึง 56% ของผลผลิตทั่วโลก รองลงมาคือประเทศบราซิลและจีน ชื่อภาษาอังกฤษ Soybean, Soya bean ชื่อในทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นที่ยอมรับในปัจจุบันว่า Glycine max (L.) Merr. และมีชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ว่า Dolichos soja L., Soja max (L.) Piper, Phaseolus max L., Glycine soja sensu auct. จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยถั่ว FABOIDEAE (PAPILIONOIDEAE หรือ PAPILIONACEAE ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ถั่วแระ ถั่วพระเหลือง ถั่วแม่ตาย (ภาคกลาง), มะถั่วเน่า ถั่วเน่า ถั่วหนัง (ภาคเหนือ), เถ๊าะหน่อ (กะเหรี่ยงเชียงใหม่), ตบยั่ง (เมี่ยน), อาทรึ่ม (ปะหล่อง), โชยุ (ญี่ปุ่น), โซยาบีน (อังกฤษ), อึ่งตั่วเต่า เฮ็กตั่วเต่า (จีน-แต้จิ๋ว) เป็นต้น,, และถั่วเหลืองได้รับการขนานนามว่าเป็น “ราชาแห่งถั่ว” อีกด้วย
ลักษณะของถั่วเหลือง
ต้น ตั้งตรงลักษณะเป็นพุ่ม แตกแขนงค่อนข้างมาก มีความสูงประมาณ 30-150 เซนติเมตร โดยความสูงจะขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของดิน ความชื้น และฤดูที่เพาะปลูก ส่วนลำต้นจะมีขนปกคลุมอยู่ทั่วไป ยกเว้นในส่วนของใบเลี้ยงและกลีบดอก และต้นถั่วเหลืองยังแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ชนิดทอดยอดและชนิดไม่ทอดยอด, เมื่อเมล็ดแก่แล้ว ฝักจะแห้งและต้นจะตายตามไปด้วย จึงเป็นที่มาของชื่อ “ถั่วแม่ตาย”
ราก มีระบบเป็นรากแก้ว หากเป็นดินร่วนอาจหยั่งรากลึกถึง 0.5-1 เมตรเลยทีเดียว แต่โดยทั่วไปแล้วระบบรากจะอยู่ในความลึกประมาณ 30-45 เซนติเมตร ซึ่งจะประกอบไปด้วยรากแก้วที่เจริญมาจากรากแรกของต้น และมีรากแขนงที่เจริญมาจากรากแก้ว ส่วนบริเวณปมรากนั้นก็เกิดมาจากแบคทีเรียไรโซเบียมที่เข้าไปอาศัยอยู่,
ใบต้นอ่อนจะมีใบเลี้ยง ใบจริงคู่แรกจะเป็นใบเดี่ยว โดยใบจริงที่เกิดขึ้นต่อมานั้นจะเป็นใบประกอบแบบ 3 ใบย่อย คือ มีใบย่อยด้านปลาย 1 ใบ และมีใบย่อยด้านข้างอีก 2 ใบ ลักษณะใบมีรูปร่างหลากหลายแบบ เช่น รูปไข่จนถึงเรียวยาว ส่วนที่โคนของก้านใบประกอบจะมีหูใบอยู่ 2 อัน และตรงส่วนโคนของก้านใบย่อยจะมีหูใบย่อยอยู่ 1 อัน ที่ใบมีขนสีน้ำตาลหรือเทาปกคลุมอยู่ทั่วไป,
ดอกออกเป็นช่อ มีช่อดอกเป็นแบบกระจะ ดอกมีสีขาวหรือสีม่วง โดยสีขาวจะเป็นลักษณะด้อย เมื่อดอกบานเต็มที่แล้วจะมีขนาดประมาณ 3-8 มิลลิเมตร ดอกจะเกิดตามมุมของก้านใบหรือตามยอดของลำต้น ในหนึ่งช่อดอกจะมีดอกตั้งแต่ 3-15 ดอก โดยช่อดอกที่เกิดบนยอดของลำต้น มักจะมีจำนวนดอกในช่อมากกว่าช่อดอกที่เกิดตามมุมใบ และในส่วนของดอกนั้น จะประกอบไปด้วยก้านช่อดอกและก้านดอกย่อย กลีบเลี้ยงที่อยู่นอกสุดจะมีสีเขียว มีอยู่ทั้งสิ้น...
ถั่วลิสง ประโยชน์ต่อสุขภาพใช้บำรุงปอด
ถั่วลิสง
ถั่วลิสง เป็นพืชล้มลุกอายุสั้นมีถิ่นต้นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในเขตร้อนของทวีปอเมริกาใต้ ตั้งแต่ลุ่มน้ำอเมซอนไปจนถึงประเทศบราซิล โดยทั่วไปแล้วถั่วลิสงในสกุล Arachis สามารถแบ่งออกได้เป็น 19 ชนิด แต่สำหรับในสายพันธุ์ที่ปลูกจะมีอยู่เพียงชนิดเดียวคือ Hypogaea ส่วนที่เหลือทั้งหมดนั้นจะเป็นสายพันธุ์ป่า ชื่อสามัญ Peanut, Groundnut, Earthnut, Goober, Pindar, Monkeynut ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Arachis hypogaea L. จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยถั่ว FABOIDEAE (PAPILIONOIDEAE หรือ PAPILIONACEAE) ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ถั่วคุด (ประจวบคีรีขันธ์), ถั่วดิน (ภาคเหนือ, ภาคอีสาน), ถั่วยิสง ถั่วยี่สง ถั่วลิง (ภาคกลาง), ถั่วใต้ดิน (ภาคใต้), เหลาะฮวยแซ (จีน-แต้จิ๋ว), ถั่วยาสง (หนังสืออักขราภิธานศรับท์ของหมอปรัดเล) เป็นต้น,,,
ลักษณะของถั่วลิสง
ต้นถั่วลิสง จัดเป็นพืชล้มลุก มีลำต้นสูงตั้งแต่ 15-70 เซนติเมตร ซึ่งส่วนต่าง ๆ ของต้นถั่วลิสงโดยทั่วไปแล้วนั้น จะมีขนเกิดขึ้น เช่น ตามลำต้น กิ่งก้านใบ หูใบ ใบประดับ ริ้วประดับ และกลีบรองดอก ยกเว้นเพียงกลีบดอกที่จะไม่มีขน โดยลำต้นของถั่วลิสงนั้นจะมีอยู่ด้วยกัน 2 ประเภท อย่างแรกก็คือ มีลำต้นเป็นพุ่ม ลำต้นตรง แตกกิ่งก้านสาขามาก และฝักออกเป็นกระจุกที่โคน ส่วนอีกแบบก็คือเป็นลำต้นแบบเลื้อยหรือกึ่งเลื้อย จะเจริญเติบโตตามแนวนอนทอดไปตามพื้นผิวดิน มีลักษณะเป็นพุ่มเตี้ย ส่วนฝักจะกระจายไปตามข้อของลำต้น
รากถั่วลิสง มีรากเป็นแบบระบบรากแก้ว รากอันแรกที่เจริญจะเรียกว่า “รากแก้ว” ส่วนรากที่แตกออกมาจากรากแก้วอีกทีนั้นจะเรียกว่า “รากแขนง” รากที่แตกออกมาจากรากแขนงก็คือ “รากขนอ่อน” แต่จะมีอยู่น้อยมาก บางสายพันธุ์ก็ไม่มีเลย และโดยทั่วไปแล้วจะมีปมเกิดขึ้นบนรากแก้วและรากแขนง ปมนี้จะมีสีน้ำตาล ภายในปมมีสีแดงเข้ม ซึ่งปมเหล่านี้เกิดมาจากแบคทีเรียพวกไรโซเบียม ที่เข้าไปอาศัยอยู่ภายในราก
ใบถั่วลิสง ใบเกิดสลับกันอยู่บนข้อลำต้นหลักในลักษณะที่คล้ายกับเกลียว ส่วนใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ประกอบด้วยใบย่อย 2 คู่อยู่ตรงข้ามกัน ลักษณะใบย่อยเป็นรูปไข่กลับหรือรูปขอบขนานแกมรูปไข่ ใบมีขนาดกว้างอยู่ที่ประมาณ 2-3 เซนติเมตร และยาวประมาณ 3-7 เซนติเมตร ขอบใบเรียบ ก้านใบรวมยาว ที่โคนก้านใบรวมมีหูใบอยู่ 2 อัน มีขนาดใหญ่ปลายแหลม สามารถเห็นได้ชัดเจน มีความยาวประมาณ 2.5-3.5 เซนติเมตร ส่วนก้านใบย่อยจะสั้นมาก ที่โคนไม่มีหูใบ
ดอกถั่วลิสง ออกดอกเป็นช่อ ในหนึ่งช่อจะประกอบไปด้วยดอกย่อย 3 ดอกขึ้นไป และดอกจะเกิดตามที่มุมใบของลำต้นหรือกิ่ง แต่ส่วนมากจะเกิดบริเวณส่วนโคนของลำต้น ซึ่งในแต่ละช่อดอกจะบานไม่พร้อมกัน ดอกเป็นสีเหลืองส้ม มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.9-1.4 เซนติเมตรและยาวประมาณ 1-2 เซนติเมตร ดอกเป็นดอกแบบสมบูรณ์เพศ กลีบดอกมีทั้งสิ้น 5 กลีบ ดอกมีใบประดับอยู่ 2 กลีบ มีริ้วประดับ 4 กลีบ และดอกนั้นยังมีกลีบรองดอกสีเขียว ส่วนก้านดอกจะมีความสั้นมาก
ฝักถั่วลิสง ฝักของถั่วลิสงจะเกิดอยู่ใต้ดิน ลักษณะการเกิดจะแพร่กระจายหรือเกิดเป็นกระจุกก็ได้ เปลือกแข็งและเปราะ...
ถั่วดำ มากสรรพคุณอุดมได้วิตามินที่จำเป็นต่อสุขภาพ
ถั่วดํา
ถั่วดํา เป็นพืชอายุสั้นชนิดหนึ่งถือได้ว่าเป็นส่วนประกอบสำคัญทั้งในอาหารคาว ขนมหวาน อุดมไปด้วยสารอาหารต่างๆ ที่มีสรรพคุณช่วยแก้อาการร้อนใน แก้อาการเหน็บชา ป้องกันอาการท้องผูก นอกจากนั้นถั่วดำมีโปรตีนและไฟเบอร์สูง อกจากนี้ยังมี ธาตุเหล็ก, ฟอสฟอรัส, แคลเซียม, แมกนีเซียม , แมงกานีส , ทองแดง และสังกะสี เป็นต้น
ถั่วดำ ในชื่อสามัญ Vigna mungo, Black gram, Black lentil, Catjung, Cow pea, Black matpe, Urd
ถั่วดำ ในชื่อทางวิทยาศาสตร์ Vigna mungo (L.) Hepper และมีชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ว่า Phaseolus mungo L. จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยถั่ว FABOIDEAE (PAPILIONOIDEAE หรือ PAPILIONACEAE),
ถั่วดํา มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ถั่วนา ถั่วไร่ ถั่วมะแป ถั่วซั่ง มะถิม ถั่วเขียวผิวดำ ถั่วแขกเป็นต้น
จากข้อมูลของคณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ระบุเอาไว้ว่า ถั่วดํา ก็คือ “ถั่วเขียวผิวดำ” ที่เดิมใช้ชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Phaseolus mungo L. และต่อมาภายหลังก็ได้เปลี่ยนชื่อวิทยาศาสตร์เป็น Vigna mungo (L.) Hepper สรุปแล้วถั่วดำก็คือถั่วเขียวชนิดหนึ่งนั่นเอง
นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า มีถิ่นกำเนิดในแถบประเทศอินเดีย หรือในพม่า เนื่องจากมีหลักฐานที่ระบุไว้ว่ามีศูนย์กลางแหล่งกำเนิดอยู่ในประเทศอินเดียและเอเชียกลาง และในภายหลังก็ได้แพร่กระจายไปยังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ ประเทศไทย พม่า มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ ตลอดจนถึงทวีปอเมริกา แอฟริกา และออสเตรเลีย
ลักษณะของถั่วดำ
ต้น จัดว่าเป็นพืชล้มลุก ที่มีลำต้นตั้งตรงเป็นพุ่ม มีความสูงประมาณ 30-100 เซนติเมตร ในบางสายพันธุ์มีลำต้นแบบกึ่งเลื้อย ส่วนลำต้นที่อยู่เหนือใบเลี้ยงนั้นจะค่อนข้างเป็นเหลี่ยม และมีขนปกคลุมอยู่ทั่วไป
ใบ คู่แรกจะเป็นใบเดี่ยวที่อยู่ตรงข้ามกัน และใบจริงในลำดับต่อไปก็จะเกิดแบบสลับกันอยู่บนลำต้น แต่ละใบประกอบ จะมีใบย่อย 3 ใบ ซึ่งมีขนาดเล็ก เป็นสีเขียวเข้ม และหนา เป็นรูปไข่ (ใบย่อยมีขนาดเล็กกว่าใบย่อยถั่วเขียว) ส่วนก้านใบยาวประมาณ 6-20 เซนติเมตร ที่ฐานของก้านใบนั้นจะมีหูใบอยู่ 2 อัน ส่วนก้านใบย่อยนั้นจะสั้น ใบย่อยใบกลางมีหูใบย่อยอยู่ 2 อัน ส่วนใบย่อย 2 ใบล่าง จะมีหูใบย่อยอยู่ข้างละอัน และใบก็มีขนปกคลุมยาวและหนาแน่นอยู่ทั่วไป
ดอก ออกเป็นช่อ มีก้านดอกยาวและดอกเกิดเป็นกลุ่มที่ปลาย โดยในหนึ่งช่อนั้นจะมีดอกประมาณ 5-6 ดอก โดยดอกจะเกิดตามมุมใบ ส่วนก้านช่อดอกจะยาวประมาณ 18 เซนติเมตร ดอกย่อยมีขนาดเล็ก เป็นสีเหลืองหรือสีเขียวอ่อน มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1-1.75 เซนติเมตร ดอกมีกลีบ 5 กลีบ มีกลีบใหญ่ 1 กลีบ กลีบข้าง 2 กลีบ และกลีบหุ้มเกสร 2...
ไข่ โปรตีนช่วยเพิ่มกล้ามเนื้อและการลดน้ำหนัก
ไข่
ไข่ ( Egg ) เป็น อาหารโปรตีนคุณภาพดีที่สุดอุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ทั้งโปรตีน วิตามิน และแร่ธาตุ ไข่แดง (egg yolks) มีคอเลสเตอรอล วิตามินเอ วิตามินดี วิตามินอี วิตามินเค และโอเมก้า 3 โปรตีนจากไข่มีประโยชน์สูงทั้งไข่ขาวและไข่แดงช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อ กระดูก และฟันให้แข็งแรง ไข่หนึ่งฟองอุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการสูงมากทั้งโปรตีนประมาณ 6 กรัม และแคลอรี่ 68 แคลอรี่เท่านั้น ไข่ยังเป็นส่วนประกอบที่สำคัญ การกินไข่วันละ 1 ฟอง ช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งในไข่มีโคลีนเป็นสารอาหารสำคัญที่มีประโยชน์สำหรับการทำงานของร่างกาย แม้ว่าตับจะสามารถสร้างสารโคลีนได้แต่ก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย แต่เมื่อใดก็ตามที่ร่างกายของเราไม่สามารถผลิตสารโคลีนได้เพียงพอ อาจทำให้ขาดสารอาหารที่จำเป็นอื่น ๆ เช่น กรดโฟลิก เป็นต้น
>> การกินไข่ทำให้คอเลสเตอรอลสูงใช่หรือไม่ ?
>> คอเลสเตอรอลคือ อะไร ? มีการทำงานอย่างไร
ชนิดของไข่
1. ไข่นกกระทา
ลักษณะคล้ายไข่ไก่แต่มีขนาดเล็กกว่าหลายเท่าเปรียบเทียบได้กับไข่นกกระทา 5 ฟอง เท่ากับไข่ไก่ขนาดใหญ่หนึ่งฟอง ไข่นกกระทามีรสชาติคล้ายกับไข่ไก่ และผิวเปลือกสีครีม สีขาวนวน และสีน้ำตาลอ่อน เปลือกสวยงามมีจุดเด่นคือมีลายจุดสีน้ำตาลเข้ม น้ำตาลแดง หรือสีดำทั้งใบ เป็นที่นิยมในการนำมาปรุงกอบเป็นอาหารเช่น เมนูไข่นกกระทาต้มซีอิ๊ว ทอดมันไข่นกกระทา ไข่นกกระทาทอด ไข่นกระทาดาว เกี๊ยวไข่นกกระทา ไข่นกกระทาลูกเขย บัวลอยไข่นกกระทา เป็นต้น
2. ไข่ไก่
ลักษณะคล้ายไข่เป็ดแต่ขนาดเล็กกว่า ไข่ไก่มีรสชาติมันๆ และผิวเปลือกมีสีน้ำตาลแดง เป็นที่นิยมในการนำมาปรุงเป็นอาหาร ทั้งอาหารคาว อาหารหวาน เช่น ไข่ทอด ไข่ต้ม ไข่ปิ้ง ไข่ลูกเขย ต้มยำไข่ ไข่ม้วน ไข่หวาน เป็นต้น
3. ไข่เป็ด
ไข่เป็ดมีลักษณะคล้ายไข่ไก่ แต่มีขนาดใหญ่กว่าไข่เป็ดมีโปรตีนมากกว่าไข่ไก่ แต่ก็มีไขมันสูงเช่นเดียวกัน เปลือกไข่เป็ดสีขาวทรงรี เมื่อนำไข่ไปต้มไข่แดงจะมีสีส้มสดน่ากิน เป็นที่นิยมในการนำมาปรุงเป็นอาหารทั้งอาหารคาว อาหารหวาน เช่น ไข่ดอง ไข่เยี่ยวม้า ไข่พะโล้ ไข่เค็ม ไข่ทอด ไข่ต้ม ไข่ลูกเขย ต้มยำไข่ ไข่ม้วน เป็นต้น
คุณค่าทางโภชนาการของไข่
ไข่เต็มฟองจะเต็มไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุจำนวนมากที่ช่วยในร่างกายให้ทำงานได้ดีที่สุดในไข่ 1 ฟองมีวิตามินเอ วิตามินบี5 วิตามินบี12 วิตามินบี2 วิตามินบี6 วิตามินดี วิตามินอี วิตามินเค และแคลเซียม สังกะสี ฟอสฟอรัส ซีลีเนียม และโฟเลต
องค์ประกอบทางอาหารของไข่ไก่สด ( ต่อ 100 กรัม )
ไข่ทั้งฟอง
ไข่แดง
ไข่ขาว
พลังงาน 149 แคลอรี
พลังงาน 358 แคลอรี
พลังงาน 50 แคลอรี
น้ำ 75.33 กรัม
น้ำ 48.81 กรัม
น้ำ 87.84 กรัม
โปรตีน 12.49 กรัม
โปรตีน 16.76 กรัม
โปรตีน 10.52 กรัม
ไขมัน 10.02 กรัม
ไขมัน 30.87 กรัม
ไขมัน 0 กรัม
คอเลสเตอรอล 425 มิลลิกรัม
คอเลสเตอรอล 1,281 มิลลิกรัม
ไม่มีคอเลสเตอรอล
คาร์โบไฮเดรต 1.22 กรัม
คาร์โบไฮเดรต 1.78...
ไก่ โปรตีนที่สำคัญต่อการเสริมสร้างกล้ามเนื้อ
ไก่
ไก่ (Chicken) เป็นสัตว์ปีกที่อุดมด้วยโปรตีนคุณภาพสูง ไขมันต่ำ และมีคอเลสเตอรอลในปริมาณน้อย นอกจากนี้ยังมีกรดอะมิโนจำเป็นครบทั้ง 9 ชนิด พร้อมวิตามินบีรวม (Vitamin B Complex) โดยเฉพาะไนอาซิน (วิตามินบี 3) ซึ่งช่วยเผาผลาญไขมันและน้ำตาล พร้อมทั้งบำรุงเซลล์ให้แข็งแรง เนื้อไก่เป็นหนึ่งในอาหารที่นักโภชนาการแนะนำ รองจากเนื้อหมู เนื่องจากเป็นแหล่งโปรตีนที่ย่อยง่ายและหลากหลาย การบริโภคไก่สามารถเลือกได้หลายส่วน เช่น อกไก่ น่องไก่ ปีกไก่ ตีน ขา เครื่องใน (เช่น ตับ หัวใจ กึ๋น) หนังไก่ เอ็น คอ เลือด และข้อไก่ เป็นต้น>> กินคอลลาเจนอย่างไรให้ได้ประโยชน์มากที่สุด อยากรู้มาดูบทความนี้ค่ะ
>> โปรตีนประเภทต่าง ๆ สารมารถพบได้จากที่ใดบ้าง อยากรู้มาตามหาคำตอบกันค่ะ
คุณค่าทางโภชนาการของไก่
ในอกไก่ (ไม่มีหนัง) ปริมาณ 100 กรัมให้พลังงาน 165 แคลอรี โปรตีน 31 กรัม ไขมันรวม 3.6 กรัม คอเลสเตอรอล 85 มิลลิกรัม โซเดียม 74 มิลลิกรัม โพแทสเซียม 256 มิลลิกรัม วิตามินเอ 0.4 เปอร์เซ็นต์ แคลเซียม 1.2 เปอร์เซ็นต์ ธาตุเหล็ก 5.8 เปอร์เซ็นต์
การกินไก่มีประโยชน์อย่างไร ?
ไก่ เป็นแหล่งโปรตีนคุณภาพสูงที่มีแคลอรีไขมันต่ำ ซึ่งให้สารอาหารที่สำคัญตลอดชีวิตของเราตั้งแต่การตั้งครรภ์จนถึงวัยสูงอายุ
1. น่องไก่ / ขาไก่ (chicken leg) จากการศึกษาพบว่าน่องไก่มีคอลลาเจนหรือเจลาตินสูงมาก น่องไก่ประกอบด้วยหนังเอ็นและกระดูก อุดมไปด้วยโปรตีน แคลเซียม กระดูกอ่อน และคอลลาเจน ช่วยให้ร่างกายสามารถดูดซึมสารอาหารได้ง่าย แม้ว่าระดับคอลลาเจนตามธรรมชาติในน่องไก่จะคล้ายกับคอลลาเจนที่พบในผักสีเขียวและผลไม้ที่มีวิตามินซีจำนวนมาก ขาไข่ที่ปรุงสุกมักจะมีเจลาตินหรือคอลลาเจนที่มีประโยชน์มากมาย ได้แก่
ช่วยรักษาสุขภาพของผิวและทำให้ผิวมีความยืดหยุ่นเนื่องจากสนับสนุนการผลัดเซลล์ผิวที่ตายแล้วด้วยการสร้างเซลล์ผิวใหม่ที่เร็วขึ้น
คอลลาเจนช่วยให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมและโปรตีนทำให้ร่างกายแข็งแรงขึ้น
ช่วยให้ร่างกายลดน้ำหนักได้เนื่องจากสามารถเพิ่มการเผาผลาญไขมันในร่างกาย
คอลลาเจนสามารถทำให้โครงสร้างกระดูกแข็งแรงและป้องกันโรคไขกระดูก
คอลลาเจนในไก่สามารถเพิ่มการสร้างเม็ดเลือดแดงได้ เนื่องจากนั้นยังช่วยให้บำรุงหลอดเลือดอีกด้วย
ขาไก่ ช่วยสร้างเส้นประสาท กล้ามเนื้อ กระดูก ช่วยรักษาอาการบาดเจ็บที่กระดูกสันหลัง
ขาไก่มีกรดอะมิโนและสารสร้างเจลาตินบางชนิดช่วยให้สุขภาพช่องปาก เหงือก ฟันแข็งแรงยิ่งขึ้น
ช่วยในการสร้างโปรไบโอติกตามธรรมชาติ จะทำให้ร่างกายสามารถสร้างภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติรวมทั้งมีลำไส้ที่แข็งแรง
ช่วยบำรุงเล็บ
2. ปีกไก่ ( Chicken wings ) มีทั้งคุณสมบัติและประโยชน์ที่ไม่ควรมองข้าง ปีกไก่ที่ปรุงอย่างถูกต้องมีผลในการรักษาความผิดปกติของระบบเผาผลาญ เช่น โรคเกาต์ โรคไขข้อ และโรคเบาหวาน คำแนะนำ ผู้สูงอายุควรกินปีกไก่ให้มากขึ้นโดยการนำไปปรุงเป็นอาหาร เพื่อการรักษาโรคหลอดเลือดความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง และโรคหัวใจ เพียงทานปีกไก่สัปดาห์ละ 1-2 ครั้งเพื่อเติมเต็มสารอาหารและวิตามินให้กับร่างกาย ในปีกไก่มีเนื้อเพียงพอสำหรับปรุงน้ำซุปหรืออาหารแบบฟูลคอร์ส มีประโยชน์อย่างมากต่อร่างกาย ดังนี้
ช่วยฟื้นฟูร่างกายจากการบาดเจ็บ กระดูกหัก และหลังการผ่าตัด
ช่วยรักษาภาวะซึมเศร้า โรคประสาทอักเสบ และความผิดปกติของระบบประสาท
เพิ่มฮีโมโกลบินในเลือด
มีส่วนร่วมในการก่อตัวของเซลล์ใหม่
เพิ่มระดับภูมิคุ้มกัน
ปรับปรุงสภาพผิวผมและเล็บ
บล็อกการก่อตัวของอนุมูลอิสระ
ป้องกันการพัฒนากระบวนการมะเร็ง
ช่วยพัฒนาการทำงานของระบบสืบพันธุ์
ช่วยทำให้การทำงานของสมองเป็นปกติ
ช่วยเพิ่มการเจริญเติบโตของกระดูกอ่อนและเนื้อเยื่อ
ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
3. ตีนไก่ (...
มันเทศหรือมันม่วง ทําเมนูอะไรได้บ้าง
ประโยชน์ และสรรพคุณของมันเทศสีม่วง
มันเทศสีม่วง ( Sweet Potato ) มันเทศญี่ปุ่น หรือมันหวานญี่ปุ่น คือ มันเทศที่นำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น เรียกมันเทศตามสีเปลือกและสีเนื้อซึ่งมีความต่างกันออกไปตามสายพันธุ์มันเทศ ได้แก่ เทศม่วง มันเทศขาว มันเทศเหลือง และมันเทศส้ม โดยมันเทศญี่ปุ่นมีลักษณะทรงกรวย ทรงกลมรี ทรงกระบอก ยาวรี หัวเรียวท้ายเรียว กลางป่องออก มีเปลือกบางเรียบหรือขรุขระ เนื้อแน่น เนื้อละเอียดเหนียวนุ่ม และรสชาติหวานอร่อย
มันเทศ มีชื่อวิทยาศาสตร์ Ipomoea batatas (L.) Lam.ที่กำลังได้รับความนิยมในกลุ่มคนรักสุขภาพช่วยให้อิ่มนาน เหมาะสำหรับการคุมน้ำหนัก ลดน้ำหนัก และผู้ที่เป็นเบาหวาน เพราะสามารถลดระดับน้ำตาลและไขมันไม่ดี LDL จุดเด่นของมันม่วง คือ เนื้อด้านในเป็นสีม่วงน่ากินสุด ๆ กลิ่นหอม มีรสชาติหวานมัน ซึ่งมันม่วงอุดมไปด้วยวิตามินเอ เบตาแคโรทีน ช่วยการมองเห็น มีแคโรทีนอยด์ ช่วยป้องกันโรคหัวใจ โรคมะเร็ง>> บุก สามารถป้องกันอาการท้องผูกได้อย่างไร อยากรู้มาดูบทความนี้ค่ะ
>> เทียนเกล็ดหอยคืออะไร มีประโยชน์อย่างไร อยากรู้ว่าดีอย่างไรมาดูกันค่ะ
ลักษณะมันเทศ
เนื่องด้วยการปลูกมันเทศ มันเทศญี่ปุ่นเป็นอีกอาชีพหนึ่งที่เกษตรไทยให้ความสนใจอยู่ไม่น้อยจะมีเทคนิคการปลูกมันเทศอย่างไร แล้วมันเทศใช้เวลากี่เดือนเก็บผลผลิตได้
ลำต้น เป็นพืชล้มลุกประเภทไม้เถาเลื้อย มีลำต้นเดี่ยว ลำต้นมีลักษณะกลม เป็นเถาแข็งและเหนียว มียางสีขาว เถาจะทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน มีขนอ่อนปกคลุมลำต้นสีม่วง สีเขียว หรือม่วงแกมเขียว
ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะรูปหัวใจ โคนกว้าง ปลายแหลม หรือมีรอยเว้าลึกสามแฉก มีก้านใบรองรับสั้นหรือยาว ตามสายพันธุ์ ใบมีขนอ่อนๆ มีเส้นใบสีม่วง ใบมีสีเขียว
ดอก ออกดอกเป็นช่อ มีลักษณะทรงแตร กลีบดอกด้านนอกมีสีฟ้าอ่อน ส่วนตรงกลางมีสีชมพูอมม่วง มีก้านยาวรองรับ กลีบเลี้ยงมีสีเขียว มีดอกออกตามซอกใบ
หัวมันเทศหรือมันเทศญี่ปุ่น มีลักษณะทรงกรวย มีเปลือกแข็ง ผลอ่อนมีสีเขียว ผลแก่มีสีน้ำตาล ผลแก่จัดจะแตกได้ มีเมล็ดเล็กๆอยู่ข้างใน มันเทศญี่ปุ่นอายุการเก็บเกี่ยวสั้นเพียง 90-100 วัน
ราก มีระบบรากฝอย จะมีรากแขนงเล็กๆ ออกตามข้อได้ มีสีน้ำตาล มีรากที่สะสมอาหาร แล้วขยายตัวออกเป็นหัว อยู่ใต้ดิน มีลักษณะทรงกรวย ทรงกลมรี ทรงกระบอก ยาวรี หัวเรียวท้ายเรียว กลางป่องออก มีเปลือกบางเรียบหรือขรุขระ มีสีน้ำตาล หรือสีม่วง อาจมีรากเล็กๆอยู่ด้วย มีเนื้อข้างในสีเหลือง สีส้ม สีขาวนวล สีม่วง สีแดงม่วง ตามสายพันธุ์ มีรสชาติหวานมัน หนึ่งต้นจะมีอยู่หลายหัว
ปลูกมันเทศอย่างไรให้หัวใหญ่ เนื้อหวานอร่อยมาดูกันเลย
1.ก่อนปลูกควรใส่ปุ๋ยคอกลงไปในแปลงดินที่จะปลูกอัตราส่วน 1 ไร่ต่อ 2 ตัว เน้นเป็นปุ๋ยคอกจากมูลวัว มูลไก่ เป็นต้น
2.ไถก่อน 1 รอบ แล้วตากดินไว้ประมาณ 7-10 วัน
3.ไถตีดินให้ดินละเอียด หลังจากนั้นทำการยกล่องให้เป็นรูปสามเหลี่ยมให้มีขนาด กว้าง 50-80 เซนติเมตร สูงประมาณ 50 เซนติเมตร
4.นำต้นพันธุ์มันเทศสีม่วงที่คัดลำต้นที่แข็งแรงฝังลึกลงดิน 2-3 ข้อ ปลูกในแปลงที่เตรียมไว้เว้นระยะปลูกระหว่างต้น ประมาณ 20-30 เซนติเมตร
5.ติดตั้งระบบน้ำแบบสปริงเกลอร์ โดยให้น้ำ...
14 สุดยอดอาหารที่คุณควรกิน เพื่อลดความเครียด
อาหารลดความเครียด
จากงานวิจัยพบว่าการรับประทานอาหารบางชนิดสามารถช่วยลดความเครียดได้ แม้ว่าความเครียดในบางครั้งยากที่จะหลีกเลี่ยงได้โดยเฉพาะสิ่งแวดล้อม สังคม ชุมชน เศรษฐกิจ ซึ่งส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคความดันสูง และโรคซึมเศร้า>> ความเครียดมีผลกระทบต่อร่างกายอย่างไรบ้าง มาดูกันค่ะ
>> มาประเมินความเสี่ยงความเครียดด้วยตนเองกันค่ะ
การบำบัดความเครียด ด้วยอาหารที่มีประโยชน์มีอะไรบ้าง
1. ชาเขียว ( Green Tea ) เป็นที่นิยมในกลุ่มคนรักสุขภาพเพราะอุดมไปด้วย แอล-ธีอะนีน ( L- theanine ) ซึ่งเป็นกรดอะมิโนที่ไม่ใช่โปรตีนที่มีคุณสมบัติในการคลายความเครียด
2. ช็อกโกแลต ( Chocolate ) ช่วยลดความเครียดจากการศึกษาพบว่าการรับประทานดาร์กช็อกโกแลต 40 กรัม ทุกวันกินในตอนเช้าและกลางวันเป็นเวลา 2 สัปดาห์ จะช่วยลดระดับฮอร์โมนคอร์ติซอล ( Cortisol ) คือ ฮอร์โมนความเครียดที่หลั่งออกมาจากต่อมหมวกไต
3. ผักสวิสชาร์ด ( Swiss Chard ) เป็นผักใบเขียวที่เต็มไปด้วยสารอาหารที่ช่วยต่อสู้กับความเครียดในปริมาณ 175 กรัม ซึ่งมีปริมาณแมกนีเซียม 36 เปอร์เซ็นต์ สามารถตอบสนองต่อความเครียดของร่างกายได้
4. มันเทศ ( Sweet Potato ) มีคาร์โบไฮเดรตและแมกนีเซียมในปริมาณสูง ซึ่งเป็นแร่ธาตุที่ช่วยปรับสมดุลของอารมณ์ทำให้ผ่อนคลายและอารมณ์ดี และยังอุดมไปด้วยโพแทสเซียมช่วยควบคุมการเต้นของหัวใจเมื่อรู้สึกวิตกกังวลหรือเครียด
5. กิมจิ ( Kimchi ) เป็นอาหารประเภทผักหมักที่มักทำด้วยกะหล่ำปลี เต็มไปด้วยแบคทีเรียที่มีประโยชน์เรียกว่าโปรไบโอติกและมีวิตามินแร่ธาตุและสารต้านอนุมูลอิสระสูง จากการวิจัยพบว่าอาหารหมักดองบางชนิดมีความเชื่อมโยงกับแบคทีเรียในลำไส้ซึ่งส่งผลโดยตรงต่ออารมณ์ ลดความเครียด และลดความวิตกกังวล
6. อาร์ติโชค ( Artichoke ) การกินอาร์ติโชคเป็นที่ทราบกันดีว่ามีพรีไบโอติกสูง ซึ่งเป็นเส้นใยอาหารที่ทำหน้าที่เป็นอาหารของแบคทีเรียที่ดีในลำไส้ สามารถช่วยในการฟื้นตัวจากความเครียด รู้สึกผ่อนคลาย และทำให้นอนหลับสบายยิ่งขึ้น
7. เครื่องในสัตว์ ( Organ meats หรือ Offal ) อุดมไปด้วยวิตามินบี 2 ( Riboflavin ) วิตามินบี 6 วิตามินบี 9 ( Folate ) และวิตามินบี 12 ช่วยป้องกันความเครียดได้เป็นอย่างดี
8. ไข่ ( Eggs ) มีสารอาหารที่จำเป็นสำหรับการผลิตอะซิติลโคลีนที่ส่งผลต่อส่วนต่าง ๆของสมอง ทำหน้าที่รับผิดชอบในการควบคุมอารมณ์และลดความเครียด
9. หอย ( Shellfish ) เช่น หอยแมลงภู่ และหอยนางรมมีกรดอะมิโนสูง พบว่ามีคุณสมบัติในการกระตุ้นฮอร์โมนแห่งความสุขให้เพิ่มมากขึ้น
10. ข้าวกล้อง ( Brown rice ) มีวิตามินบีหลายชนิดซึ่งมีความสำคัญต่อการผลิตโดปามีน ( Dopamine ) หรือ สารแห่งความสุข และเซโรโทนิน ( Serotonin ) ทำหน้าที่หลายอย่างในร่างกาย เช่น ควบคุมความหิว อารมณ์ ความโกรธ เป็นต้น
11. ปลาทะเล เช่น ปลาแซลมอน ( Salmon ) ปลาแมคเคอเรล ( Mackerel...
อาหารผู้ป่วยหลังการผ่าตัด คืออะไร
อาหารผู้ป่วยหลังการผ่าตัด
หากคุณกำลังจะเข้ารับการผ่าตัดคุณอาจต้องเตรียมตัวเรื่องโภชนาการสำหรับผู้ป่วยหลังการผ่าตัดไว้ด้วย สามารถใช้ไดักับผู้ป่วยผ่าตัดสมอง ระบบประสาท เนื้องอก ลำไส้ มดลูก กระดูก แขน ขา และผ่าตัดมะเร็ง เพราะการทานอาหารประเภทโปรตีนคุณภาพสูงทุกมื้ออย่างน้อย 20 – 30 กรัมต่อมื้อจนถึงวันที่ผ่าตัด ช่วยเพิ่มโอกาสในการรักษาได้เร็วยิ่งขึ้นและเป็นสิ่งสำคัญช่วยในการฟื้นฟูร่างกาย ช่วยให้แผลหายเร็ว ลดภาวะความเครียด เพราะผู้ป่วยหลังการผ่าตัดส่วนใหญ่ไม่สามารถรับประทานอาหารได้ตามปกติ ซึ่งอาจเสี่ยงต่อการขาดสารอาหาร อาการทรุดลง ร่างกายอ่อนเพลีย แผลหายช้า ดังนั้น อาหารที่คุณกินจะส่งผลดีต่อการฟื้นตัวป้องกันการติดเชื้อต่าง ๆ ได้ ผู้ป่วยหลังการผ่าตัดจึงควรได้รับอาหารที่เพียงพอและเหมาะสม ช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อน เช่น อาการท้องผูก การติดเชื้อที่เกิดขึ้นหลังการผ่าตัด ( Surgical site infection ) เกล็ดเลือดต่ำ ( Thrombocytopenia ) จากการสูญเสียเลือดหลังการผ่าตัด>> วิธีทำโยเกิร์ตทานเองง่าย ๆ อยากรู้วิธีทำมาดูกันค่ะ
>> อาหารโปรตีนสูงทางเลือกใหม่ สำหรับผู้ป่วยผ่าตัด ฉายแสง เคมีบำบัด เป็นอย่างไรมาดูกันค่ะ
ภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด
คลื่นไส้และอาเจียนจากการดมยาสลบ
เกล็ดเลือดต่ำ จากการสูญเสียเลือดหลังการผ่าตัด
ผู้ป่วยทานอาหารได้น้อยลง อาจมีแผลในช่องปาก
เจ็บคอ ( เกิดจากใส่ท่อช่วยหายใจระหว่างการผ่าตัด )
รู้สึกเจ็บปวด หรือบวมบริเวณบาดแผลที่ผ่าตัด
กระสับกระส่าย หรือนอนไม่หลับ
กระหายน้ำ
อาการท้องผูก
โภชนาการหลังการผ่าตัดสำคัญอย่างไร
โปรตีนเป็นอาหารที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับการสมานแผล ช่วยสร้างผิวหนังและเนื้อเยื่อใหม่ให้แข็งแรง ดังนั้น
การรับประทานอาหารโปรตีนคุณภาพสูงทุกมื้อ จะช่วยเพิ่มโปรตีนในร่างกายซึ่งโปรตีนเป็นส่วนประกอบของร่างกายของเราในการรักษาแผลผ่าตัด และทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรง
ความเครียดจากการผ่าตัด อาจทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลงเสี่ยงต่อการติดเชื้อหลังการผ่าตัดได้ ควรได้รับสารอาหารที่สำคัญ เช่น โปรตีน โอเมก้า-3 แอล-อาร์จินีน ไรโบนิวคลีโอไทด์ เพื่อช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน
อาหารที่ให้โปรตีนสูงมีอะไรบ้าง
ควรรับประทานอย่างน้อย 20 กรัมโปรตีนต่อมื้อและโปรตีน 10 กรัมต่ออาหารว่าง
ไก่ / เนื้อ / หมู เท่ากับ 7 กรัม
ไข่ 6 กรัม
นม 1 แก้ว เท่ากับ 8 กรัม
ปลาทูน่า 1 กระป๋อง เท่ากับ 40 กรัม
ชีส เท่ากับ 15 กรัม
โยเกิร์ตธรรมชาติ 1 ถ้วย เท่ากับ 12-20 กรัม
ถั่วเหลือง เท่ากับ 14 กรัม
เนื้อแดง เท่ากับ 7 กรัม
อาหารที่ผู้ป่วยหลังการผ่าตัดควรรับประทาน
ควรทานอาหารอ่อนประเภท อาหารต้ม อาหารตุ๋น อาหารนึ่ง จะช่วยให้ง่ายต่อการกลืนและย่อยง่าย สามารถฟื้นฟูร่างกายให้ผู้ป่วยหลักการผ่าตัดได้เป็นอย่างดี
อาหารที่มีไฟเบอร์สูง เพื่อป้องกันอาการท้องผูก
การทานผักและผลไม้ที่อุดมไปด้วยสารอาหาร ไฟเบอร์ ซึ่งจำเป็นต่อการรักษารวมทั้งการฟื้นตัวจากการผ่าตัด
นม และผลิตภัณฑ์จากนม ควรรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม
สิ่งที่ผู้ป่วยหลังการผ่าตัดควรหลีกเลี่ยง
อาหารแห้ง หรืออาหารอบแห้ง ( ยกเว้นลูกพรุนสามารถช่วยบรรเทาอาการท้องผูกได้ )
อาหารแปรรูป ที่มีน้ำตาลและไขมันสูง
นม และผลิตภัณฑ์จากนม ควรรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม
เนื้อแดง...
อาหารโปรตีนสูงทางเลือกใหม่ สำหรับผู้ป่วยผ่าตัด ฉายแสง เคมีบำบัด
อาหารโปรตีนสูงทางเลือกใหม่ สำหรับผู้ป่วย
การรับประทานอาหารที่ดี หมายถึง การรับประทานอาหารที่มีความหลากหลายเพื่อให้ได้สารอาหารครบถ้วนที่ร่างต้องการ เพื่อต่อสู่กับโรคมะเร็งอาหารเหล่านี้หลักๆ ประกอบด้วย โปรตีน ใยอาหาร โอเมก้า-3 แอล-อาร์จินีน ไรโบนิวคลีโอไทด์ ไขมัน คาร์โบไฮเดรต วิตามิน และเกลือแร่ อาหารที่ดีในระหว่างการรักษาโรคมะเร็งโภชนาการที่ดีมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับการรักษามะเร็ง เพราะความเจ็บปวดจากการรักษาส่งผลกระทบต่อร่างกายรวมถึงการทานอาหารของผู้ป่วยด้วย การกินอาหารให้เพียงพอต่อความต้องการในแต่ละมื้อส่วนใหญ่เน้นการทานผัก ผลไม้ นม เนื้อแดง และธัญพืช เนื่องจากในระหว่างการรักษาโรคมะเร็งผู้ป่วยจำเป็นต้องเปลี่ยนอาหาร เพื่อช่วยสร้างภูมิคุ้มกัน เพิ่มกล้ามเนื้อจากโปรตีน สามารถลดผลข้างเคียงที่มีความรุนแรงจากการรักษามะเร็งได้ เช่น การผ่าตัด การฉายแสง และยาเคมีบำบัด ช่วยให้ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษามะเร็ง
รู้สึกดีขึ้น
ช่วยในการเจริญเติบโตซ่อมแซมเนื้อเนื้อที่เสียหายทำให้แผลหายเร็วขึ้น
ช่วนให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายแข็งแรง
ช่วยป้องกันการสลายตัวของเนื้อเยื่อ และขนส่งวิตามินบางชนิดโดยผ่านเส้นเลือด
คาร์โบไฮเดรต เป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญของร่างกาย ช่วยให้ร่างกายมีการเผาผลาญเชื้อเพลิงสำหรับการออกกำลังกาย และการทำงานของอวัยวะที่เหมาะสม
ช่วยลดการอักเสบ และลดความเสี่ยงของการติดเชื้อ
ช่วยปรับสมดุลของน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
ช่วยให้ร่างกายทนต่อผลข้างเคียงจากการรักษาได้เป็นอย่างดี
ช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็วขึ้น
ช่วยลดจำนวนการนอนพักฟื้นในโรงพยาบาลให้น้อย
>> รู้ได้อย่างไรว่าร่างกายมีความต้องการโปรตีนเท่าไหร่นั้น มาดูกัน
>> นม ป้องกันมะเร็ง หลอดเลือดหัวใจได้จริงหรือไม่ ?
ผู้ป่วยมะเร็งเกล็ดเลือดต่ำ มีผลต่อการรักษาอย่างไร
ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ ( Thrombocytopenia ) มักเกิดขึ้นได้กับผู้ป่วยหลังการผ่าตัด โดยมีรอยช้ำเป็นจ้ำ หรือจุดแดงใต้ผิวหนัง เกล็ดเลือด ( Platelet ) น้อยกว่า 100,000 เกล็ดต่อไมโครลิตร แพทย์คิดว่าอาจทำให้เกิดปัญหากับผู้ป่วยมะเร็งที่ต้องเข้ารับการรักษาในครั้งต่อไป ผู้ป่วยมะเร็งเกล็ดเลือดต่ำอาจทำให้การรักษาต้องเลื่อนออกไปโดยไม่มีกำหนดเพราะร่างกายอ่อนแอ ภูมิคุ้มกันต่ำ หรืออาจเป็นโรคขาดสารอาหารหลังการรักษาได้
ผลข้างเคียงสำหรับการรักษาโรคมะเร็ง
ผู้ป่วยที่เข้ารักษามะเร็งส่วนใหญ่มักมีผลข้างเคียงน้อย ผลข้างเคียงมากหรือไม่มีเลยในระหว่างการรักษามะเร็ง ผลข้างเคียงสามารถเกิดขึ้นได้ในวันเดียวกันหรือหลังการรักษา การรักษาด้วยเคมีบำบัด การฉายแสง และการผ่าตัดมีผลต่อเซลล์มะเร็งเป็นส่วนใหญ่ แต่อาจส่งผลกระทบต่อเซลล์ที่ดีได้เช่นกัน จากการศึกษาพบผลข้างเคียงต่างๆ รวมถึงตำแหน่งของร่างกายที่ได้รับผลกระทบจากการรักษามะเร็งด้วยการฉายแสง ได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ลิ้นไม่สามารถรับรสอาหารได้ ท้องอืด เป็นแผลในช่องปาก กลืนลำบาก กระหายน้ำ และน้ำหนักลด เป็นต้น
อย่างไรก็ตามภาวะเกล็ดเลือดต่ำจึงเป็นปัจจัยที่มีผลต่อการรักษาและการฟื้นตัวจากการผ่าตัดของผู้ป่วยมะเร็ง อย่างไรก็ตามผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการแนะนำให้ใช้ อาหารเสริมออรัลอิมแพค ( Oral impact ) ทีมีวางจำหน่ายในเว็บไซส์ www.amprohealth.com หากท่านใดสนใจอาหารเสริมสำหรับผู้ป่วยมะเร็ง ผู้ป่วยติดเตียง ผู้ป่วยก่อนการผ่าตัด ผู้ป่วยหลังการผ่าตัด สามารถสอบถาม หรือสั่งซื้ออาหารเสริมออรัล อิมแพค ได้ที่ไลน์แอด : @ amprohealth
บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม
บุก สารสกัดกลูโคแมนแนนช่วยลดน้ำหนักป้องกันท้องผูก
บุก
บุก ( Konjac ) เป็นพืชมีถิ่นกำเนิดในประเทศเอเชีย พบมากที่สุดในแถบประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะประเทศอินโดนีเซียที่พบมากกว่า 80 ชนิด แต่บุกที่รับประทานได้มีเพียง 3 สายพันธุ์ พบมากที่จังหวัดลำปาง พะเยา ตาก เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน กาญจนบุรี และประจวบคีรีขันธ์ ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ลำต้นอวบสีเขียวเข้ม ใบเดี่ยวปลายแหลม ดอกคล้ายต้นหน้าวัว มีกลิ่นเหม็นเน่า ขนาดใบยาว 12 - 15 เซนติเมตร ลำต้นสูง 1- 2 เมตร หัวหรือเหง้าอยู่ใต้ดิน ขยายพันธุ์จากการแตกหน่อหรือเพาะเมล็ด จากงานวิจัยพบว่าบุกมีสารสำคัญที่เรียกว่า กลูโคแมนแนน ( Glucomannan ) สกัดจากรากบุก และมีแป้งบุก ( konjac powder ) ที่เรียกว่า แมนแนน ( Mannan ) เป็นเส้นใยธรรมชาติสามารถป้องกันอาการท้องผูกช่วยเพิ่มปริมาณแบคทีเรียจุลินทรีย์ชนิดโปรไบโอติกในระบบขับถ่าย หัวบุกอุดมไปด้วยปริมาณไฟเบอร์สูงและมีคุณสมบัติดูดซับน้ำได้เป็นอย่างดี ส่วนใหญ่ทางการแพทย์และผลิตภัณฑ์เสริมอาหารผลิตภัณฑ์ลดน้ำหนักต่าง ๆ นิยมใช้บุกในการควบคุมน้ำหนัก และลดน้ำหนักได้>> โปรไบโอติกมีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างไร อยากรู้ตามมาดูค่ะ
>> คีโต อาหารคีโตลดน้ำหนักได้จริงหรือไม่ หาคำตอบได้ที่บทความนี้
คุณค่าโภชนาการของบุก
ข้อมูลโภชนาการของบุก 100 กรัมพลังงานทั้งหมด 14 แคลอรี่
สารอาหาร
ปริมาณสารอาหาร
คาร์โบไฮเดรต
3 กรัม
โปรตีน
0 กรัม
ไขมัน
0.002 กรัม
โซเดียม
2 มิลลิกรัม
คอเลสเตอรอล
0 กรัม
แคลเซียม
2 มิลลิกรัม
วิตามินซี
0.6 มิลลิกรัม
โพแทสเซียม
26 มิลลิกรัม
ไขมันไม่อิ่มตัว
0.002 กรัม
น้ำตาล
0.02 กรัม
เส้นใยอาหาร
0.1 กรัม
บุก สามารถป้องกันอาการท้องผูกช่วยเพิ่มปริมาณแบคทีเรียจุลินทรีย์ชนิดโปรไบโอติกในระบบขับถ่าย
ประโยชน์ของบุก
ช่วยป้องกันและบรรเทาอาการท้องผูก
ช่วยลดน้ำหนัก ลดความอ้วน และการควบคุมน้ำหนัก
ช่วยจัดการโรคลำไส้แปรปรวน
ช่วยให้ระบบขับถ่ายดีขึ้น
ช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน
ช่วยกระตุ้นทางเดินอาหารส่วนล่าง
ช่วยให้ลำไส้ใหญ่บีบตัวขับกากอาหารที่คั่งค้างออกมา
ช่วยเพิ่มและกระตุ้นจุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ในลำไส้ใหญ่
ช่วยให้อิ่มนานขึ้น
ช่วยควบคุมและลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด
ช่วยลดการดูดซึมน้ำตาลกลูโคส
ช่วยควบคุมการเคลื่อนไหวของลำไส้ใหญ่
ช่วยป้องกันริดสีดวงทวาร
ช่วยป้องกันการเกิดโรคผนังลำไส้อักเสบ
ช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งในลำไส้ใหญ่ได้
ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจ
ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง
ช่วยให้ร่างกายสมานแผลได้เร็วขึ้น
ช่วยบำรุงผิวพรรณ
กลูโคแมนแนน มีประโยชน์ในการลดระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 สามารถลดระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดได้มากถึง 8 มก. / ดล.
กลูโคแมนแนน ช่วยลดไขมันเสียได้ เช่น ลดปริมาณโคเลสเตอรอลได้ถึง 19.3 mg / dl ( 0.5 mmol / L )
ลด LDL คอเลสเตอรอลได้ถึง 19.99 mg / dl ( 0.4 mmol / L ) และลด Triglycerides ได้ถึง 11 mg / dl ( 0.12 mmol / L )
เมนูอาหารคุมน้ำหนักจากเส้นบุก
ขนมจีนเส้นบุก น้ำยาป่า
ยำวุ่นเส้นหมูสับ (...
แอปเปิ้ลไซเดอร์ หรือน้ำส้มสายชูแอปเปิ้ล ประโยชน์ต่อสุขภาพ
แอปเปิ้ลไซเดอร์
น้ำส้มสายชูหมักแอปเปิ้ล ( Apple Cider Vinegar หรือ ACV ) หรือ แอปเปิ้ลไซเดอร์ คือ น้ำส้มสายชูหมักที่ผลิตจากการนำน้ำแอปเปิ้ลสดหรือน้ำแอปเปิ้ลมาหมักรวมกับยีสต์ จนกลายเป็นแอลกอฮอล์ โดยในกระบวนการนี้จะเกิดกรดอะซิติก ( Acetic Acid ) หรือกรดน้ำส้ม ซึ่งเป็นสารชีวภาพจากการบ่มหรือหมัก ทำให้แอปเปิ้ลไซเดอร์มีรสเปรี้ยวและมีกลิ่นเฉพาะตัว และมีประโยชน์มากมาย ซึ่งอุดมไปด้วยแร่ธาตุและวิตามินต่าง ๆ เช่น เพคติน ( Pectin ) ไบไอติน ( Biotin ) กรดโฟลิก วิตามินซี วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 6 โซเดียม แคลเซียม โพแทสเซียม และธาตุเหล็ก>> สารเพคตินมีประโยชน์อย่างไร และพบได้ที่ใด มาดูกันค่ะ
>> แอปเปิ้ลแต่ละสีมีประโยชน์ต่างกันหรือไม่ อยากรู้ลองเข้ามาดูกันค่ะ
ประโยชน์ของแอปเปิ้ลไซเดอร์
ช่วยลดความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจ
ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด
ช่วยระบบย่อยอาหาร แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ
ช่วยลดน้ำหนักและ ช่วยลดความอยากอาหาร
ช่วยป้องกันโรคโลหิตจาง
ช่วยความจำให้ดีขึ้น
แก้โรคคัน กำจัดรังแค แก้ผมแตกปลาย
ช่วยชะลอการเจริญของเซลล์มะเร็ง
มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอวัย
รู้จักมาเธอร์คุณประโยชน์ที่คาดไม่ถึง
มาเธอร์ ( Mother ) คือส่วนที่มีสารอาหารมากที่สุด และดีต่อระบบย่อยอาหารอย่างมาก สิ่งนี้ทำให้น้ำส้มสายชูหมักแอปเปิ้ล แตกต่างจากน้ำส้มสายชูทั่วไปในท้องตลาด มีคุณสมบัติเป็นกรดสูง มีรสเปรี้ยวจัด มีสีเหลืองคล้ายน้ำชา มีเส้นใยบาง ๆ ลอยอยู่ ซึ่งไม่มีการผ่านความร้อนจึงยังคงเอนไซม์และแร่ธาตุจากธรรมชาติไว้อย่างครบถ้วน
วิธีทำน้ำแอปเปิ้ลไซเดอร์
วัตถุดิบ และอุกรณ์
แอปเปิ้ล 6 ผล เลือกที่ค่อนข้างมีรสเปรี้ยวอมหวาน และไม่หวานจนเกินไป
หัวเชื้อหรือแม่เชื้อ ( mother หรือ มาเธอร์ ) 2 ช้อนโต๊ะ ( ผงยีสต์ละลายน้ำหรือน้ำหัวเชื้อไซเดอร์เข้มข้นที่มีเส้นใย ) หรือไม่มีจะไม่ใส่ก็ได้
น้ำผึ้ง 2 ช้อนโต๊ะ
น้ำสะอาด
โหลแก้ว
ผ้าขาวบาง
ยางสำหรับรัดปากโหล
ขั้นตอนการทำน้ำแอปเปิ้ลไซเดอร์
ล้างแอปเปิ้ลให้สะอาด ผึ่งให้แห้ง
ผ่าแอปเปิ้ลเป็นชิ้น ( ผลละ 8-12 ชิ้น ) ใส่ในโหล
ใส่น้ำผึ้งและหัวเชื้อลงไปในโหล ( หัวเชื้อจะช่วยเร่งในกระบวนการหมักให้เร็วขึ้น )
เติมน้ำเปล่าลงไปให้ท่วมแอปเปิ้ล
ปิดโหลด้วยผ้าขาวบาง วางไว้ในที่ที่มีอาการสถ่ายเทสะดวก มีอุณภูมิอุ่นๆ และไม่ให้สัมผัสแสงแดด เป็นเวลา 2 สัปดาห์
เมื่อกระบวนการหมักดำเนินอย่างถูกต้องจะเกิดฟองหรือฝ้า...
มะกอกป่า (Hog plum) สมุนไพรที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ
มะกอกป่า คือ
มะกอกป่า หรือที่นิยมเรียกว่า "มะกอก" (Hog Plum) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Spondias pinnata (L. f.) Kurz จัดอยู่ในวงศ์ ANACARDIACEAE ซึ่งเป็นตระกูลเดียวกับมะม่วง มะกอกป่าเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดใหญ่ อายุหลายปี พบได้ทั่วไปในป่าดิบชื้นแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยต้นมะกอกจะเริ่มออกดอกช่วงต้นฤดูฝนประมาณเดือนเมษายนถึงมิถุนายน และทยอยบานจนถึงฤดูหนาว ส่วนใหญ่จะออกดอกและติดผลมากในช่วงปลายฤดูหนาว>> อาการท้องเสียเกิดจากอะไรบ้าง มาดูกันบทความนี้ค่ะ
>> โรคกลากเกิดจากอะไร และมีวิธีรักษาอย่างไร มาดูกันค่ะ
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ลำต้น เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ประเภทผลัดใบ แตกกิ่งน้อย ทรงพุ่มมีลักษณะทรงกลม ทรงพุ่มหนาลำต้นมีลักษณะทรงกลม และตั้งตรง สูงประมาณ 15 - 25 เมตร หรือมากกว่า เปลือกลำต้นหนา มีสีเทาอมน้ำตาลหรือสีเทาอมดำ
ใบ ประกอบแบบขนนกชั้นเดียว มีก้านใบหลักออกเรียงสลับกันยาวประมาณ 5 - 25 เซนติเมตร มีลักษณะ
ทรงรีเรียว โคนใบแหลม ปลายใบเรียวแหลม ใบเรียบลื่น จะมีใบอ่อนและยอดอ่อนสีน้ำตาลแดง ใบแก่มีสี
เขียว
ดอก ออกเป็นช่อบริเวณปลายกิ่ง เป็นดอกแยกเพศบนช่อดอกเดียวกัน ดอกอ่อนมีลักษณะกลมสีเขียวสด
เมื่อบานจะมีสีขาวอมครีม ฐานดกมีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ เป็นรูปถ้วย ส่วนกลีบดอกถัดมามี 5 กลีบ แต่ละกลีบ
มีลักษณะทรงรี ปลายกลีบแหลม ตรงกลางมีเกสรตัวผู้ และเกสรตัวเมีย แต่แยกดอกกัน
ผล ออกเป็นช่อลักษณะทรงรูปไข่หรือกลมรี ขนาดผล 2.5 - 3.5 เซนติเมตร ยาว 3 - 5 เซนติเมตร เปลือกผลบาง เป็นมัน ผลอ่อนมีสีเขียวสด ผลแก่หรือผลสุกมีสีเขียวอมเหลือง และมีจุดประสีน้ำตาลอบผล
เมล็ด มีลักษณะรูปทรงยาวรี อยู่ข้างในเนื้อ เปลือกเมล็ดใหญ่แข็ง มีสีน้ำตาลอ่อน
ราก เป็นระบบรากแก้ว มีลักษณะกลม แทงลึกลงในดิน มีรากแขนงและรากฝอยเล็กๆ ออกตามแนวราบ มีสีน้ำตาล
สรรพคุณของมะกอก
ช่วยแก้อาเจียน
ช่วยบำรุงสายตา
ช่วยเจริญอาหาร
ช่วยแก้โรคผิวหนัง
ช่วยแก้อาการปวดหู
ช่วยแก้อาการร้อนใน
ช่วยแก้อาการท้องเสีย
มีสารต้านอนุมูลอิสระ
ช่วยแก้อาการปวดท้อง
ช่วยแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ
ช่วยแก้เลือดออกตามไรฟัน
ช่วยบำรุงธาตุ บำรุงร่างกาย
ช่วยดับกระหายน้ำ ทำให้ชุ่มคอ
ช่วยแก้น้ำเหลือง ช่วยสมานแผล
ช่วยบรรเทาอาการหวัดได้ทุกชนิด
ช่วยป้องกันความเสื่อมของดวงตา
ช่วยแก้โรคปวดตามข้อ ปวดตามกระดูก
ช่วยรักษาและป้องกันโรคที่ขาดแคลเซียม
ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มในร่างกายให้ดีขึ้น
การใช้ประโยชน์
ยอดอ่อนและใบอ่อน ใช้รับประทานเป็นผักสด กินกับส้มตำ ลาบ ยำ อาหารที่มีรสจัด ผลสด มีรสเปรี้ยว
ใช้ตำน้ำพริก ส้มตำ และปรุงอาหารอื่นๆ ที่ต้องการรสเปรี้ยว
การใช้ประโยชน์ด้านสมุนไพร ใช้ใบเคี้ยวกินแก้ท้องเสีย ผล เปลือก ใบ กินเป็นยาบำรุงตา ช่วยให้ชุ่มคอ แก้กระหายน้ำเลือดออกตามไรฟัน เนื้อในผลแก้ธาตุพิการ เปลือกดับพิษกาฬแก้ร้อนใน
คุณค่าทางสารอาหารของมะกอก
มีโปรตีน
มีไขมัน
มีโซเดียม
มีวิตามินซี
มีวิตามินเอ
มีวิตามินบี1
มีวิตามินบี2
มีวิตามินบี3
มีธาตุเหล็ก
มีฟอสฟอรัส
มีแมกนีเซียม
มีธาตุแคลเซียม
มีคาร์โบไฮเดรต
...
ผักติ้ว ผักพื้นบ้าน ช่วยยับยั้งเซลล์มะเร็งตับ
ผักติ้ว
ผักติ้ว ( Tio Vegetables ) คือ ผักพื้นบ้านที่คนส่วนใหญ่นิยมนำมาใช้บริโภค ถิ่นกำเนิดของผักติ้วพบแพร่กระจายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ไทย ลาว พม่า และเวียดนาม ในประเทศไทยพบได้ในทุกภาค แต่พบมากในภาคเหนือ และอีสาน เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ นิยมนำเอาส่วนของใบอ่อน ยอดอ่อน และดอกอ่อนมาปรุงอาหารให้มีรสเปรี้ยวใช้แทนใบมะขามหรือมะนาวได้ เช่น แกงเห็ด หรือต้มยำต่างๆ เช่น ต้มยำปลาต้มยำกบ ต้มยำไก่บ้าน ดอกอ่อนของผักติ้วนิยมนำมาทำซุบหรือยำ หรืออาจนำยอดอ่อนมารับประทานเป็นผักสดจิ้มกับน้ำพริก มีงานวิจัยพบว่าผักติ้วมีฤทธิ์สามารถยับยั้งเซลล์มะเร็งตับ และไม่ทำลายเซลล์ดีในร่างกาย
ชื่อวิทยาศาสตร์ Cratoxylum formosum ( Jack ) Dyer ssp.
อยู่ในวงศ์ตระกลู Guttiferae
ฤดูการผลัดใบแตกยอดอ่อน และออกดอก
ฤดูฝน : เริ่มต้นประมาณกลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม
ฤดูหนาว : เริ่มต้นประมาณกลางเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์>> ภาวะโลหิตจางเกิดจากอะไร อยากรู้มาดูกันค่ะ
>> โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบมีสาเหตูจากอะไร มาดูกันบทความนี้ค่ะ
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ลำต้น ผักติ้ว จัดเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดกลาง มีลำต้นสูงประมาณ 2 - 15 เมตร หรือมากกว่า ลำต้นตั้งตรง มีหนามแหลมเป็นแทงยื่นออกมาจากลำต้น เปลือกลำต้นแตกสะเก็ดเป็นแผ่น สีน้ำตาลอมดำ ส่วนกิ่งแขนงมีขนาดเล็ก กิ่งแขนงอ่อนหรือกิ่งบริเวณปลายยอดอ่อนมีสีม่วง ส่วนกิ่งแขนงแก่จะมีสีน้ำตาลอมเทาหรือสีเทา ถ้ากระเทาะเปลือกออกจะพบยางสีแดงซึมออกมาจากลำต้น
ใบ เป็นพืชใบเลี้ยงคู่ แตกออกเป็นใบเดี่ยวๆเรียงเยื้องสลับข้างกันบนกิ่ง ใบมีมีรูปหอกหรือขอบขนาน มีก้านใบสีม่วงอมแดง ยาวประมาณ 1 - 2 เซนติเมตร แผ่น และขอบใบเรียบ ใบอ่อนมีสีแดงอมม่วง และเป็นมัน ปลายใบมน
ดอก ออกดอกเป็นช่อแบบกระจุกตามกิ่งเหนือรอยแผลของใบ กลีบดอกเป็นสีขาวอมสีชมพูอ่อนถึงสีแดง กลีบดอกมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ออกตามซากใบ หลุดร่วงได้ง่าย ดอกมีอยู่ 5 กลีบ เมื่อดอกบานจะขยายออกประมาณ 1.2 เซนติเมตร ก้านดอกเรียวเล็กและมีกาบเล็กๆ ที่ฐานกลีบด้านใน ดอกมีเกสรตัวผู้สีเหลืองสั้นๆ อยู่จำนวนมาก ก้านเกสรเชื่อมติดกันเป็นกลุ่ม 3 กลุ่ม ส่วนเกสรตัวเมีย ก้านเกสรเป็นสีเขียวอ่อนมี 3 อัน และมีรังไข่อยู่เหนือวงกลีบ ดอกมีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ สีเขียวอ่อนปนสีแดง โดยจะออกดอกในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนพฤษภาคม
ผล ผักติ้วจะติด 1 ผล ใน 1 ดอก ผลมีรูปกระสวย ท้ายผลแหลมเล็ก ขนาดผลประมาณ 1 เซนติเมตร ยาวประมาณ 1.5 - 2 เซนติเมตร ผลอ่อนมีสีม่วงอมแดง ผลแก่มีสีดำหรือน้ำตาลอมดำ ขั้วผลมีกลีบเลี้ยงหุ้มผล และเมื่อแห้งจะปริแตกออกเป็น 3 ร่อง ภายในมีเมล็ดสีน้ำตาลอมดำ เมล็ดมีลักษณะโค้ง และมีปีก เรียงอัดกันแน่นหลายเมล็ด
สรรพคุณทางตำรับยาสมุนไพร
การใช้ประโยชน์จาก แก่นและลำต้น ใบ ดอก ราก และน้ำยางจากลำต้น
แก่นและลำต้น
ใช้แก่นไม้แช่น้ำดื่ม ช่วยแก้ปะดงเลือด ( เลือดไหลไม่หยุด )
ใบ
ช่วยขับลม
แก้อาการปวดท้อง
แก้ปวดเมื่อยตามข้อ
ป้องกันโรคในหลอดเลือด
ป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะ
ช่วยต้านโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว
...
หม่าล่า มีดีอย่างไร
หม่าล่า คือ
หม่าล่า ( MaLa ) หรือ พริกไทยเสฉวน คือ เครื่องเทศรสเผ็ดที่มีต้นกำเนิดมาจากมณฑลเสฉวน ประเทศจีน มีลักษณะคล้ายเม็ดพริกไทยดำ แต่รสชาติแตกต่างกัน พริกชนิดนี้เขียนเป็นภาษาจีนกลางว่า 麻辣 ( má là ) อ่านว่า หม่าล่า หรือที่คนจีนเสฉวนท้องถิ่นเรียกว่า ฮวาเจียว ( 花椒 / huā jiāo ) ถูกจัดอยู่ในหมวดของพริกหอมในวงศ์ Zanthoxylum>> ประโยชน์ของพริกระฆังหรือพริกหวาน มีอะไรบ้าง มาดูกันค่ะ
>> น้ำมันพริกไทยดำสกัดเย็น มีประโยชน์อย่างไรบ้าง มาดูกันค่ะ
สำหรับในประเทศไทย ก็มีเครื่องเทศสมุนไพรที่ใกล้เคียงกับ " พริกหม่าล่า " เหมือนกัน เป็นเครื่องเทศทางภาคเหนือที่เรียกว่า " มะแขว่น " มีลักษณะรูปร่างคล้ายกันมาก กินแล้วชา ๆ ที่ปลายลิ้นเหมือนกัน แต่มีกลิ่นและรสชาติต่างกัน และไม่มีความเผ็ดสักเท่าไหร่ ปัจจุบันคนไทยรู้จัก " พริกหม่าล่า " กันมากขึ้น และนิยมกินกันมากในหมู่สาวๆ ที่ชอบอาหารรสชาติจัดจ้าน
ความหมายของว่า หม่าล่า
คำว่า หม่าล่า ในบางที่อาจออกเสียงว่า “หมาร่า” หรือ “มะหล่า” ซึ่งคำนี้มาจากภาษาจีนว่า 麻辣 / (málà) ที่มีความหมายว่า เผ็ดชา นั่นเอง (麻 ( หม่า ) แปลว่า อาการชา ส่วน 辣 ( ล่า ) แปลว่า เผ็ด)
ประโยชน์ของหม่าล่า
1. ช่วยขับเสมหะ บรรเทาอาการอักเสบในลำคอ
2. หม่าล่ามีสรรพคุณช่วยขับลมในกระเพาะอาหาร กระตุ้นการเคลื่อนไหวของลำไส้ ช่วยย่อยอาหาร
3. หม่าล่าช่วยบำรุงหัวใจ บำรุงเลือด ลดความดันโลหิต
4. รสเผ็ดและชาที่ลิ้นของหม่าล่า ช่วยให้เจริญอาหารมากยิ่งขึ้น
5. หม่าล่ามีฤทธิ์ช่วยขับระดูในสตรี ช่วยให้ประจำเดือนมาเป็นปกติ
6. หม่าล่า อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยต่อต้านเชื้อราและเชื้อไวรัสในร่างกาย แก้อักเสบ
7. กลิ่นหอมฉุนของหม่าล่า ใช้สูดดมแก้อาการวิงเวียนศีรษะ แก้หวัด คัดจมูก
8. ช่วยแก้ไข้ ช่วยดับพิษร้อนในร่างกาย แต่ต้องกินในปริมาณที่พอดี
9. หม่าล่ามีธาตุเหล็กสูง ช่วยบำรุงเลือด กระตุ้นการไหลเวียนโลหิต แก้โลหิตจาง
10. หม่าล่ามีธาตุสังกะสี ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ทำให้ร่างกายแข็งแรงไม่ป่วยง่าย
หม่าล่านิยมกินยังไง?
หม่าล่า สามารถนำมาประกอบอาหารได้หลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นต้ม ผัด แกง ทอด และปิ้งย่าง
1. หม่าล่าทัง ( ซุปหม่าล่า )
เป็นเมนูที่เมืองไทยยังไม่ค่อยมีให้เห็นมากนัก แต่ถ้าคุณเดินทางไปประเทศจีนแผ่นดินใหญ่จะเห็นมีขายตามร้านอาหารทั่วไปแทบทุกร้าน ส่วนใหญ่นิยมทำเป็นซุปปลาหม่าล่า หรือหม้อไฟชาบูที่ใช้น้ำซุปแบบหม่าล่า ทั้งเผ็ดร้อนทั้งชาลิ้น แต่ก็อร่อยกลมกล่อมไม่แพ้ชาบูชนิดอื่นๆ เลย
2. ปิ้งย่างหม่าล่า
ปิ้งย่างหม่าล่า เมนูอาหารที่นิยมนำหม่าล่ามาปรุงซึ่งช่วยเพิ่มความอร่อย เผ็ดร้อน ให้กับเมนูปิ้งย่างบาร์บีคิวแบบเดิมๆ ให้อร่อยแซ่บได้มากขึ้น เคล็ดลับคือ ไม่ใช่ใส่แค่พริกหม่าล่าเพียงอย่างเดียว แต่ให้ผสมส่วนผสมสมุนไพรอื่นๆ ลงไปด้วย เช่น พริกแห้ง พริกไทยดำ กระเทียม ยี่หร่า ขิง ผงพะโล้...
ว่านเทียนเกล็ดหอย ( Psyllium Husk ) สุดยอดธัญพืชดีท็อกซ์ ขจัดสารพิษ
เทียนเกล็ดหอย คือ
เทียนเกล็ดหอย หรือ ไซเลียมฮักส์ ( Psyllium Husk ) เป็น พืชล้มลุกหรือธัญพืชที่อุดมด้วยเส้นใยอาหารจากธรรมชาติที่ได้จากเปลือกหุ้มเมล็ดของต้นไซเลี่ยมฮัสค์เป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายสามารถละลายในน้ำได้ เพียงรับประทานในปริมาณ 10.2 กรัมต่อวัน รับประทานพร้อมมื้ออาหารจะช่วยดักจับไขมันและกรดน้ำดีลด ระดับน้ำตาลในเลือดได้เป็นอย่างดี เทียนเกล็ดหอย มีชื่อสามัญ Psyllium Seed, Blonde Psyllium Seed, Ispaghula Seed, Psyllium Husk, Psyllium Seed Husk มีถิ่นกำเนิดแถบริมทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและในทวีปอเมริกาเหนือ, และประเทศนิวซีแลนด์ ปัจจุบันแพร่กระจายพันธุ์ไปทั่วโลก การขยายพันธุ์ของเทียนเกล็ดหอย โดยการเพาะเมล็ด และหน่อเล็กๆ>> โกจิเบอร์รี่ ( เก๋ากี้ ) ช่วยลดน้ำตาลในเลือด บำรุงสายตา
>> หญ้าปักกิ่ง ต้านมะเร็งได้ ?
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ลำต้น มีลักษณะลำต้นกลมตั้งตรง ปล้องยาว มีขนสีขาวปลกคลุมทั่วทั้งลำต้น
ใบ มีลักษณะใบเดี่ยวออกตามปล้อง ใบแคบเรียวยาว ขอบใบหนา ปลายใบแหลมโค้งเล็กน้อย มีร่องตื้น ๆ ตรงกลาง ระหว่างซ้ายขวา ผิวใบหยาบมีขนสีขาวปลกคลุมทั่วทั้งใบ ใบสีเขียวเข้ม
ดอก ดอกอยู่บริเวณซอกด้านบนของใบ ทรงกระบอกมีกลีบเรียงเป็นฐานรองช่อดอกอีก 1 ชั้น ก้านดอกยาวเฉียงขึ้น 45 องศาเหนือตาใบที่หันออกด้านนอกลำต้น
เมล็ด มีลักษณะเป็นรูปไข่ทรงรี แบนคล้ายเรือ ลักษณะด้านนอกนูนด้านในเว้า ผิวมัน ลื่น เรียบไม่มีขน มีสีน้ำตาล หรือน้ำตาลอมชมพู ส่วนที่ใช้ประโยชน์ คือ ใบ และ เมล็ด
https://www.youtube.com/watch?v=jJxGH55zF20
ประโยชน์และสรรพคุณเทียนเกล็ดหอย
ช่วยขับเสมหะ
ช่วยแก้คลื่นไส้
ใช้เป็นยาแก้บิดเรื้อรัง
ช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกัน
ช่วยลดความดันโลหิต
ช่วยต้านการเกิดมะเร็ง
ช่วยให้การขับถ่ายดีขึ้น
ช่วยบรรเทาอาการท้องผูก
ช่วยในการควบคุมน้ำหนัก
ช่วยชะลอความอยากอาหาร
ช่วยรักษาโรคริดสีดวงทวาร
ใช้เป็นยาบำรุงกำลังและเส้นเอ็น
ใช้เป็นยาบำรุงโลหิต แก้โลหิตจาง
ใช้เป็นยาแก้ลมวิงเวียน หน้ามืดตาลาย
ช่วยแก้อาการปวดเส้นเอ็น (ใบ)
ช่วยดีท็อกซ์ลำไส้และขจัดสารพิษในร่างกาย
ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด กระตุ้นการหลั่งอินซูลิน
ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล ลดไขมันในเลือด ลดการอุดตันของหลอดเลือด
การศึกษาทางเภสัชวิทยา
ฤทธิ์ต่อระบบทางเดินอาหาร
เทียนเกล็ดหอยเป็นยาระบายแบบเพิ่มกาก และต้านการอักเสบของลำไส้หนู
ฤทธิ์ลดไขมันในเลือด
เทียนเกล็ดหอยมีฤทธิ์ลดไขมันทั้งชนิดคอเลสเตอรอลและไตรกลีเอไรด์ในเลือดสัตว์ทดลอง
ฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด
เปลือกเทียนเกล็ดหอยมีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดหนู
ฤทธิ์ต่อระบบเลือด
เปลือกเทียนเกล็ดหอยมีฤทธิ์ลดความดันโลหิตในหนู
การศึกษาทางพิษวิทยาของเทียนเกล็ดหอย
การศึกษาทางพิษวิทยายังไม่มีข้อมูลแน่ชัด แต่มีเพียงการทดสอบความเป็นพิษอยู่เพียงชิ้นเดียว คือ จากการทดสอบความเป็นพิษของเมล็ดเทียนเกล็ดหอย พบว่าเมื่อใช้ผสมในอาหารวัว ขนาด 50% และไม่พบความเป็นพิษ
คำแนะนำในการใช้
ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของทางเดินอาหาร เช่น การบีบตัวผิดปกติ หรือมีการผ่าตัดทางเดินอาหารผู้ป่วยลำไส้อุดตัน
บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมเอกสารอ้างอิง
คลิปความรู้ดีๆ จาก : หมอปุ้ม พญ. สิรนาถ สุขภาพดี คุณมีได้
เทียนเกล็ดหอย (ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี) (ออนไลน์). สืบค้นจาก : http://www.thaicrudedrug.com .
เทียนเกล็ดหอย ประโยชน์ดีๆ สรรพคุณเด่นๆ และข้อมูลงานวิจัย (ออนไลน์). สืบค้นจาก : https://www.disthai.com .
ควินัว ( Quinoa ) ธัญพืชซุปเปอร์ฟู้ด ประโยชน์ป้องกันมะเร็ง
ควินัว คืออะไร?
ควินัว ( Quinoa ) คือ เมล็ดธัญพืชชนิดหนึ่ง หรือพืชตระกูลข้าว มีลักษณะเป็นเมล็ดกลมๆ อยู่ในจำพวกเดียวกับข้าวบาร์เลย์ ข้าวสาลี ผักปวยเล้ง และหัวบีท ปลูกเพื่อกินเมล็ดเป็นอาหารชั้นเลิศสามารถทดแทนข้าวและธัญพืชอื่น ๆ ได้เพราะมีโปรตีนสูง และควินัวอุดมด้วยสารอาหารต่างๆ ที่จำเป็นและมีประโยชน์ต่อร่างกายของเราอย่างมาก และเป็นอาหารที่ให้พลังงานสูง อุดมไปด้วยไฟเบอร์หรือกากใยอาหารที่สูงเช่นกัน จึงทำให้ย่อยง่าย กระเพาะไม่ต้องทำงานหนัก และขับถ่ายได้ดี ซึ่งเป็นธัญพืชที่พบมากอยู่ทางทวีปอเมริกาใต้มีประโยชน์มากมายจนได้ชื่อว่าเป็น "ซูเปอร์ฟู้ด" สามารถนำมารับประทานเป็นอาหารเช้าแทนข้าวได้ โดยก่อนรับประทานต้องนำมาหุงให้สุก ซึ่งใช้เวลาในการหุงไม่นาน เมื่อสุกแล้วจะนิ่มและมีความกรุบกรอบ และยังสามารถนำไปประกอบอาหารรับประทานได้หลากหลายเมนูอีกด้วย
>> แอนโทไซยานิน คืออะไร และสามารถพบได้ที่ไหน อยากรู้มาดูกันค่ะ
>> ข้าวขาว น้ำตาลต่ำ ข้าวกข 43 ( RD43 ) มีประโยชน์อย่างไร มาดูกันค่ะ
ประโยชน์ของควินัว
มีสารฟลาโวนอยด์ ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ
ช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็ง
อุดมด้วยไฟเบอร์หรือกากใยอาหาร ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับปกติ
ลดการเสี่ยงต่อการเกิดโรคริดสีดวงทวาร หรือโรคลำไส้ต่างๆ
ช่วยให้รู้สึกอิ่มท้องนาน และปรับสมดุลของระดับน้ำตาลภายในเลือด
ช่วยลดระดับไขมันชนิดไม่ดีในเลือด
ช่วยขจัดคราบไขมันชนิดไม่ดีที่เกาะอยู่ตามผนังลำไส้
มีคอเลสเตอรอลต่ำ เหมาะกับทุกคนที่อยากลดปริมาณคอเลสเตอรอล หรือ ต้องการควบคุมน้ำหนัก และผู้ป่วยโรค
เบาหวาน โรคไขมันอุดตันเส้นเลือด
ช่วยผลิตแบคทีเรียที่ดีให้แก่ร่างกาย และขจัดแบคทีเรียที่ไม่ดีออกจากร่างกาย
อุดมไปด้วยวิตามินบี 2 ช่วยเพิ่มการเผาผลาญ
ช่วยซ่อมแซมและกระตุ้นการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อ
ช่วยปกป้องและบำรุงรากผมจากภายใน
ช่วยซ่อมแซมผมที่เสียหายและกระตุ้นการเจริญเติบโตของเส้นผม
โปรตีนในควินัวยังช่วยรักษาผมแตกปลาย
ไทโรซีนในควินัวช่วยรักษาสีเดิมของเส้นผม
ช่วยผ่อนคลายหลอดเลือด
ช่วยลดอาการไมเกรนได้อีกด้วย
ช่วยในการย่อยอาหาร
เส้นใยยังช่วยปกป้องหัวใจ
ช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน
ลักษณะควินัวทั่วไป
ควินัวมีลักษณะเป็นเมล็ดกลม ๆ อยู่ในจำพวกเดียวกับข้าวบาร์เลย์ ข้าวสาลี ผักปวยเล้ง และหัวบีท ซึ่งควินัวอุดมด้วยสารอาหารต่าง ๆ ให้พลังงานสูง
อุดมไปด้วยไฟเบอร์หรือกากใยอาหารที่สูงจึงช่วยให้ย่อยง่ายขับถ่ายได้ดี และทำให้กระเพาะไม่ต้องทำงานหนักเกินไป ซึ่งเมล็ดควินัวสามารถนำไปประกอบอาหารรับประทานได้หลากหลายเมนูอีกด้วย
สายพันธุ์ควินัว และความแตกต่างแต่ละสี
1. ควินัวสีขาว ( White Quinoa ) เป็นพันธุ์ที่พบมากที่สุด และใช้เวลาในการหุงหรือปรุงให้สุกได้ง่าย ควินัวสีขาวมีเนื้อสัมผัสที่กรุบกรอบน้อยที่สุด และมีรสชาติหอมอ่อนที่สุด อร่อยกินง่าย
2. ควินัวสีแดง ( Red Quinoa ) เป็นพันธุ์ที่มีความเข้มข้นมากกว่าเล็กน้อย ทั้งในด้านรสชาติ ความกรุบกรอบในขณะที่ใช้เวลาหุงหรือปรุงอาหารนานกว่าเล็กน้อย จะอุดมไปด้วยวิตามิน E รวมทั้ง โฟเลต และมีไฟเบอร์มากกว่าสีขาว
3. ควินัวสีดำ ( Black Quinoa ) เป็นพันธุ์ที่มีมีรสชาติและกรุบกรอบดีที่สุดต้องแต่ก็ใช้เวลาในการหุงหรือปรุงให้สุกเป็นเวลานานกว่าควินัวสีขาวและสีแดง มีสารแอนโทไซยานินที่มีคุณสมบัติต้านการอักเสบและต้านอนุมูลอิสระ ที่ช่วยป้องกันโรคเรื้อรัง โรคหัวใจ โรคมะเร็ง และโรคเบาหวาน
https://www.youtube.com/watch?v=yWz4cW5rbRM
สารอาหารสำคัญในควินัว
ควินัวอุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ที่สำคัญหลากชนิด ซึ่งมีคุณค่าทางโภชนาการเมื่อเปรียบเทียบกับธัญพืชที่ผ่านกระบวนการขัดสี และมีโปรตีนสูงแต่มีไขมันต่ำ
ควินัวที่สุกแล้ว 1 ถ้วยหรือประมาณ 185 กรัม ให้พลังงาน 222 แคลอรี่
คาร์โบไฮเดรต 39 กรัม
โปรตีน 8 กรัม
ไขมัน 6 กรัม
เส้นใยอาหาร 5 กรัม
น้ำตาล 1 กรัม
โปรตีน: 8 กรัม
ไฟเบอร์: 5 กรัม
แมงกานีส: 58% ของปริมาณที่ร่างกายต้องการต่อ 1 วัน...
ผลไม้ที่กินเพื่อลดน้ำหนักเหมาะสำหรับคนอ้วน
ผลไม้
ผลไม้ ( fruit ) เป็น อาหารหลัก 5 หมู่ อีกประเภทหนึ่งที่ขาดไม่ได้ เพราะมีประโยชน์ต่อร่างกายค่อนข้างสูง อุดมไปด้วยด้วยวิตามิน แร่ธาตุและไฟเบอร์ต่างๆ และข้อได้เปรียบของบ้านเราก็คือ เป็นเขตเมืองร้อนที่มีผลไม้หลากหลายสายพันธุ์สลับหมุนเวียนผลัดเปลี่ยนกันออกผลตลอดปี เรียกว่ามีให้เลือกทานกันได้ไม่ขาดช่วง เช่น ผลไม้หน้าร้อน ผลไม้หน้าหนาว ผลไม้หน้าฝน ดังนั้นการเลือกรับประทานผลไม้ที่มีสีสันสดใสสวยงามก็สามารถทำให้เจริญอาหารได้สีในผลไม้แต่ละชนิดมีประโยชน์ไม่ว่าจะเป็นผลไม้สีแดงมีสารสำคัญ คือ สารไลโคปีนช่วยต้านอนุมูลอิสระป้องกันมะเร็ง ผลไม้สีม่วงมีสารสำคัญ คือ สารแอนโทไซยานินช่วยลดอัตราเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและเส้นเลือดอุดตันในสมอง ผลไม้สีเขียวมีสารสำคัญ คือ สารคลอโรฟิลล์ซึ่งมีส่วนช่วยในการบำรุงกระดูกและฟันใฟ้แข็งแรง ผลไม้สีส้มหรือสีเหลืองมีสารสำคัญ คือ สารต้านอนุมูลอิสระแคโรทีนอยด์ เบต้าแคโรทีน ไบโอฟลาโวนอยด์ ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันร่างกายให้แข็งแรง บำรุงสายตาชะลอความเสื่อมของเซลล์ลดความเสี่ยงจากการเป็นต้อกระจก แต่ที่สำคัญถ้าเป็นผลไม้ในฤดูกาล ก็จะมีความสดใหม่ในราคาย่อมเยา สามารถเลือกซื้อเลือกทานกันได้ตามใจชอบเลย ทีนี้เมื่อลงรายละเอียดไปอีกนิด ประเด็นที่หลายคนให้ความสนใจก็คือ ช่วงเวลาไหนที่ทานผลไม้แล้วได้ประโยชน์มากที่สุด โดยเน้นไปที่ก่อนและหลังมื้ออาหารเป็นหลัก ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า อันที่จริงหากเราไม่ได้มีระบบย่อยอาหารที่อ่อนไหวหรือบอบบางมากเกินไป ก็สามารถทานผลไม้ได้ทุกชนิด และทุกช่วงเวลา แต่สำหรับบางคนอาจจะต้องระวังนิดหน่อย เช่น ไม่ทานผลไม้ที่เป็นกรดสูงในช่วงที่ท้องว่าง เป็นต้น แต่ถ้าจะเน้นเอาประโยชน์จากสารอาหารแบบเต็มประสิทธิภาพมากที่สุด ก็ต้องเลือกชนิดของผลไม้ให้เหมาะสมกับช่วงเวลานั่นเอง
ทีนี้เมื่อลงรายละเอียดไปอีกนิด ประเด็นที่หลายคนให้ความสนใจก็คือ ช่วงเวลาไหนที่ทานผลไม้แล้วได้ประโยชน์มากที่สุด โดยเน้นไปที่ก่อนและหลังมื้ออาหารเป็นหลัก ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า อันที่จริงหากเราไม่ได้มีระบบย่อยอาหารที่อ่อนไหวหรือบอบบางมากเกินไป ก็สามารถทานผลไม้ได้ทุกชนิด และทุกช่วงเวลา แต่สำหรับบางคนอาจจะต้องระวังนิดหน่อย เช่น ไม่ทานผลไม้ที่เป็นกรดสูงในช่วงที่ท้องว่าง เป็นต้น แต่ถ้าจะเน้นเอาประโยชน์จากสารอาหารแบบเต็มประสิทธิภาพมากที่สุด ก็ต้องเลือกชนิดของผลไม้ให้เหมาะสมกับช่วงเวลานั่นเอง>> คุณค่าสารอาหารที่ควรได้รับในแต่ละวันควรมีปริมาณเท่าไหร่มาดูกันค่ะ
>> คุณค่าทางโภชนาการที่มีในผลไม้ชนิดไหนดีที่สุด และควรทานอย่างไรมาดูกันค่ะ
10 ผลไม้ที่ดีที่สุดสำหรับการลดน้ำหนัก
การกินผลไม้ที่ได้จากธรรมชาติอุดมไปด้วยวิตามิน ไฟเบอร์และสารอาหารอื่นๆ มากมาย ยังให้แคลอรี่ต่ำควรกินผลไม้เพื่อลดน้ำหนัก ลดความอ้วน เผาผลาญไขมันส่วนเกิน มีผลไม้ดังนี้
1.แอปเปิ้ลเขียว
เหมาะสมที่สุดในการลดน้ำหนัก เพราะเป็นผลไม้ที่มีน้ำตาลน้อยเต็มไปด้วยใยอาหารสูงแคลอรี่ต่ำ ช่วยชะลอการย่อยอาหารและทำให้รู้สึกอิ่มนานขึ้น คุณค่าทางโภชนาการของแอปเปิ้ลเขียวในปริมาณ 100 กรัม ให้พลังงานเพียง 52 กิโลแคลอรี่ มีน้ำตาล 10 กรัม
2.ราสเบอร์รี่
เป็นหนึ่งในแหล่งไฟเบอร์ที่ดีที่สุด ความหวานของราสเบอร์รี่สามารถช่วยตอบสนองความอยากน้ำตาลได้
คุณค่าทางโภชนาการของราสเบอร์รี่ในปริมาณ 100 กรัม ให้พลังงาน 53 กิโลแคลอรี่ มีน้ำตาล 4.42 กรัม
3.ส้มโอ
การกินส้มโอเป็นประจำสม่ำเสมอสามารถช่วยลดความอ้วน ลดน้ำหนัก และลดไขมันในร่างกายได้ เพราะส้มโอมีเอนไซม์ช่วยให้ระบบเมตาบอลิซึ่ม หรือระบบการเผาผลาญพลังงานของร่างกายได้ดีขึ้น คุณค่าทางโภชนาการของส้มโอในปริมาณ 100 กรัม ให้พลังงาน 38 กิโลแคลอรี่ มีน้ำตาล 8 กรัม
4.สับปะรด
เป็นหนึ่งในผลไม้เมืองร้อนที่พบมากที่สุดอุดมไปด้วยวิตามินซี วิตามินบี6 ทองแดง ธาตุเหล็ก และโฟเลต สับปะรดสามารถช่วยย่อยอาหาร ช่วยลดน้ำตาล และรักษาอาการอักเสบ ค่าทางโภชนาการของสับปะรดในปริมาณ 100 กรัม ให้พลังงาน 50 กิโลแคลอรี่ มีน้ำตาล 10 กรัม
5.กล้วยไข่ กล้วยน้ำว้า กล้วยหอม กล้วยหักมุก
เป็นตัวช่วยในการเผาผลาญไขมัน เนื่องจากมีเส้นใยอาหารสูงและมีแคลอรีต่ำเหมาะสำหรับผู้ที่กำลังเริ่มลดความอ้วน ซึ่งมีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างมาก คุณค่าทางโภชนาการของกล้วยไข่ในปริมาณ 100 กรัม กล้วยไข่ให้พลังงาน 56 กิโลแคลอรี่ กล้วยน้ำว้าห้พลังงาน 59 กิโลแคลอรี่ กล้วยหอมให้พลังงาน 105 กิโลแคลอรี่ มีน้ำตาลประมาณ 14 กรัม
6.แตงโม
เป็นผลไม้ที่ให้ความสดชื่นช่วยให้ไม่ขาดน้ำ เพราะแตงโมเป็นน้ำตาลที่ได้จากธรรมชาตินิยมกินเพื่อลดน้ำหนักมากที่สุด ค่าทางโภชนาการของแตงโมในปริมาณ 100...
คุณค่าทางโภชนาการของผลไม้
คุณค่าทางโภชนาการของผลไม้
คุณค่าทางโภชนาการของผลไม้ ผลไม้ ถูกนับว่าเป็น 1 ในอาหารหลัก 5 หมู่ที่สำคัญของมนุษย์ เนื่องจากมีวิตามินและแร่ธาตุต่าง ๆ ที่มีความจำเป็นต่อร่างกายสูง ผลไม้มีส่วนประกอบหลักเป็นน้ำมากถึงร้อยละ 21-92 ( ขึ้นอยู่กับชนิดของผลไม้ ) การที่ผลไม้มีปริมาณน้ำสูง จึงทำให้เวลาทานผลไม้เข้าไปนั้น ผู้ทานจะรู้สึกสดชื่น และลดการกระหายได้ นอกจากน้ำแล้ว ผลไม้ยังสามารถให้พลังงานประเภทคาร์โบไฮเดรต และน้ำตาลธรรมชาติที่จะเปลี่ยนเป็นพลังงานจากกลไกภายในร่างกายของมนุษย์ เช่น น้ำตาลกลูโคส ฟรักโตส และซูโครส ยังไม่หมดแค่นี้ เพราะผลไม้ ยังมีคุณประโยชน์ที่สำคัญต่อร่างกายอีกหลายประการ เช่น มีใยอาหารหรือไฟเบอร์ ที่ช่วยในเรื่องของการย่อยอาหารและการขับถ่ายได้เป็นอย่างดี รวมถึงมีสารต้านอนุมูลอิสระที่จะช่วยลดริ้วรอยและชะลอความแก่ได้อีกด้วย
>> ผลไม้ที่ควรกินก่อนและหลังอาหารมีอะไรบ้าง อยากรู้มาดูกันค่ะ
>> การคำนวณแคลอรี่จากผลไม้รถเข็นทำได้อย่างไร มาดูกันค่ะ
นอกจากผลไม้ จะมีคุณค่าทางโภชนาการของผลไม้แล้วผลไม้ยังเป็นแหล่งรวมวิตามินหลาย ๆ ชนิดแล้ว ยังเป็นแหล่งรวมสารต้านอนุมูลอิสระ ( Antioxident ) และสารพฤกษเคมี ( phytochemicals ) เช่น Lycopene เบตาแคโรทีน รวมทั้งสารประกอบโพลีฟีนอล โดยสารต้านอนุมูลอิสระมีคุณสมบัติในการต่อต้านอนุมูลอิสระต่างที่เกิดขึ้นจากปฏิกิริยาภายในร่างกาย ซึ่งจะเป็นตัวทำให้เซลล์ต่างในร่างกายมีความเสื่อมลงเร็วกว่าที่ควร เช่น การเกิดริ้วรอยบนลำตัวและใบหน้า เนื่องจากการสูญเสียคอลลาเจนที่เกิดจากอนุมูลอิสระ เป็นต้น จากการศึกษาทางคลินิกและระบาดวิทยาพบว่า การรับประทานผลไม้ที่หลากหลายเป็นประจำทุกวัน จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคบางชนิด และโรคไม่ติดต่อเรื้อรังได้ เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และโรคมะเร็ง ( จากสารต้านอนุมูลอิสระในผลไม้ ) มีรายงานการเก็บสถิติของกระทรวงสาธารณสุขในประเทศไทย พบว่า คนไทยมีอายุยืนมากยิ่งขึ้น แต่ขณะเดียวกันก็ยังมีการพบการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในปริมาณที่มากขึ้นเช่นกัน ซึ่งเป็นเพราะวิถีชีวิตรวมทั้งเรื่องของอาหารการกินที่เปลี่ยนแปลงไป โดยคนไทยบริโภคอาหารกลุ่มผักและผลไม้ลดน้อยลง ทานแป้ง ไขมันและน้ำตาลมากขึ้น
คุณค่าทางโภชนาการของผลไม้ เมื่อทานผลไม้เป็นประจำ จะช่วยป้องกันความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดโรคร้ายขึ้นได้ในระดับหนึ่ง
คุณค่าสารอาหารที่มีในผลไม้
1. วิตามิน ในผลไม้มีวิตามินซีและเบต้าเคโรทีน ช่วยควบคุมระบบการทำงานของร่างกาย และช่วยต้านอนุมูลอิสระ ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งชนิดต่างๆ
2. แร่ธาตุ ในผลไม้มีโปแตสเซียม ช่วยรักษาสมดุลของน้ำและความเป็นกรด-ด่างภายในร่างกาย ช่วยในการยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อและระบบประสาท
3. น้ำ ในผลไม้มีน้ำเป็นส่วนประกอบสำคัญ 70 - 90 % ทำให้กินแล้วรู้สึกชุ่มคอ สดชื่น และช่วนให้ผิวพรรณสดใส
4. ใยอาหาร ในผลไม้ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ
• ใยอาหารชนิดละลายน้ำ ( soluble dietary fiber ) มีประโยชน์ในเรื่องของการลดคอเลสเตอรอลชนิดเลว ( LDL cholesterol ) ในเลือด ที่เป็นสาเหตุของโรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด และยังช่วยให้ร่างกายดูดซึมคาร์โบไฮเดรตได้ช้าลง ซึ่งจะช่วยให้รู้สึกอิ่มได้นาน ดีต่อผู้ป่วยเบาหวาน
• ใยอาหารชนิดไม่ละลายในน้ำ ( insoluble dietary fiber ) มีประโยชน์ในเรื่องของระบบขับถ่าย บรรเทา อาการท้องผูก นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่พบว่า การบริโภคใยอาหารชนิดนี้ ยังช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้อีกด้วย
5. พลังงาน ในผลไม้จะมีคาร์โบไฮเดรตและน้ำตาลซึ่งเป็นแหล่งให้พลังงานแก่ร่างกาย ซึ่งผลไม้จะมีคารืโบไฮเดรต 10 - 35 % และผลไม้ที่มีคาร์โบไฮเดรตสูงจะมีรสหวานจัด
https://www.youtube.com/watch?v=PD7iE0MbuUw&t=183s
ข้อแนะนำในการบริโภคผลไม้
ตามหลักของธงโภชนาการ หรือ ข้อปฏิบัติการกินอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีของคนไทย ได้แนะนำให้ทานผลไม้อย่างน้อยวันละ 3-5 ส่วน เพื่อที่จะได้รับพลังงาน รวมทั้งวิตามินและเกลือแร่ในปริมาณที่เหมาะสมและเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
เราจึงได้ทำการเปรียบเทียบส่วนของผลไม้ กับปริมาณกิโลแคลอรี่ให้เข้าใจกัน ดังต่อไปนี้
ผลไม้ 1...
คุณค่าสารอาหารจากผลไม้ 100 กรัม ส่วนที่กินได้
คุณค่าสารอาหารจากผลไม้
คุณค่าสารอาหารจากผลไม้ สามารถวัดได้จากประเภทและความสดใหม่ของผลไม้ที่มีมาก ในเมืองไทยเป็นเมืองแห่งผลไม้ มีผลไม้ให้รับประทานกันทุกฤดู ยิ่งในปัจจุบันคนส่วนใหญ่หันมานิยมรับประทานผลไม้กันมากขึ้นบวกกับกระแสความนิยมเรื่องสุขภาพจึงเป็นเทรนด์ใหม่ที่คุณค่าสารอาหารจากผลไม้จะเป็นตัวกำหนดให้ผู้บริโภคเลือกรับประทานผลไม้ให้มีประโยชน์ต่อตัวเองและทั้งผู้ป่วยมากขึ้นนั่นเอง นอกจากนี้ผลไม้ซึ่งมีวิตามินแร่ธาตุมากมายรวมถึงน้ำที่เป็นสิ่งจำเป็นต่อร่างกาย เรามาดูกันว่าการรับประทานผลไม้ในแต่ละวันที่เหมาะสมกับคนไทย อะไรบ้าง ?
>> ผลไม้ที่ควรกินก่อนและหลังอาหารมีอะไรบ้าง อยากรู้มาดูกันค่ะ
>> การคำนวณแคลอรี่จากผลไม้รถเข็น
ตาราง คุณค่าสารอาหารจากผลไม้ 100 กรัม ส่วนที่กินได้ ปริมาณความชื้น เบตาแคโรทีน ไลโคพีน วิตามินอี วิตามินซี และ โฟเลต ในผลไม้ 100 กรัมส่วนที่กินได้
ผลไม้
ปริมาณน้ำ (กรัม)
เบตาแคโรทีน (ไมโครกรัม)
ไลโคพีน (ไมโครกรัม)
วิตามินอี (มิลลิกรัม)
วิตามินซี* (มิลลิกรัม)
โฟเลต (ไมโครกรัม)
แก้วมังกรเนื้อแดง
84.4
1.0
ไม่พบ
-
4
6.6
ขนุน
74.1
26
ไม่พบ
0.5
5
38.2
เงาะโรงเรียน
80.8
ไม่พบ
ไม่พบ
ไม่พบ
37
-
ทุเรียน ชะนีไข่
67.2
372
ไม่พบ
-
24
142.3
ทุเรียนหมอนทอง
70.9
41
ไม่พบ
0.7
42
122.6
น้อยหน่า
74.1
ไม่พบ
ไม่พบ
0.1
-
-
กล้วยหอม
75.5
25
ไม่พบ
0.1
10
7.2
กล้วยน้ำว้า
67.1
33
ไม่พบ
0.1
8
10.8
แก้วมังกรเนื้อขาว
85.0
1.4
3
0.3
7
5.4
ชมพู่ทับทิมจันทร์
89.0
22
17
0.2
-
2.7
แตงโมแดงจินตหรา
88.8
616
6,693
0.1
-
-
ทุเรียนชะนี
66.8
96
ไม่พบ
1.4
14
-
ฝรั่งแป้นสีทอง
87.5
14
ไม่พบ
0.2
143
-
พุทรา นมสด
88.1
29
ไม่พบ
-
-
2.8
มะขามหวานสีทอง
20.9
6
ไม่พบ
-
ไม่พบ
20.8
มะพร้าวอ่อนน้ำหอม
90.9
0.3
ไม่พบ
-
1
5.7
มะเฟืองมาเลเซีย
89.2
21
ไม่พบ
0.1
-
-
มะม่วงน้ำดอกไม้สุก
80.0
308
22
0.9
9
-
มะละกอฮอลแลนด์
88.5
549
164
-
59
36.6
ลำใยกะโหลกเบี้ยว
79.8
ไม่พบ
ไม่พบ
ไม่พบ
24
-
ลิ้นจี่จักรพรรดิ์
82.5
ไม่พบ
ไม่พบ
ไม่พบ
1
49.9
สตรอว์เบอร์รี่
89.6
9
ไม่พบ
0.3
-
-
ส้มสายน้ำผึ้ง
85.9
173
2,886
0.5
24
-
สับประรดศรีราชา
84.9
ไม่พบ
ไม่พบ
ไม่พบ
8
-
สาลี่น้ำผึ้ง
86.2
ไม่พบ
ไม่พบ
ไม่พบ
-
-
สาลี่หอม
85.4
8
ไม่พบ
0.4
-
-
มังคุด
80.2
ไม่พบ
ไม่พบ
ไม่พบ
2
1.5
ลองกอง
80.6
ไม่พบ
ไม่พบ
ไม่พบ
-
2.6
ละมุดมาเลเซีย
75.5
18
ไม่พบ
0.2
-
6.7
องุ่นเขียว
82.6
7
ไม่พบ
0.2
0.6
-
แอปเปิลเขียว
86.2
27
ไม่พบ
0.2
-
-
ส้มโอขาวน้ำผึ้ง
88.2
9
7
0.2
-
1.0
ส้มโอทองดี
88.7
26
288
0.2
-
21.9
สละสุมาลี
81.6
87
3
-
3
5.0
แอปเปิลฟูจิ
85.1
32
ไม่พบ
0.2
-
-
วิตามินซี วิตามินอี ไลโคพิน คือ คุณค่าสารอาหารที่ได้จากผลไม้
ปริมาณแร่ธาตุชนิดต่างๆ ในผลไม้ 100 กรัมส่วนที่กินได้
ผลไม้
โซเดียม (มิลลิกรัม)
โพแทสเซียม (มิลลิกรัม)
แคลเซียม (มิลลิกรัม)
ฟอสฟอรัส (มิลลิกรัม)
แมกนีเซียม (มิลลิกรัม)
เหล็ก (มิลลิกรัม)
ทองแดง (มิลลิกรัม)
สังกะสี (มิลลิกรัม)
แก้วมังกรเนื้อแดง
16
196
10
37
24
0.2
0.05
0.4
ขนุน
5
207
10
26
19
0.3
0.20
0.2
เงาะโรงเรียน
3
78
8
-
10
0.2
0.16
0.1
ทุเรียนชะนีไข่
37
376
5
53
19
0.7
0.23
0.3
ทุเรียนหมอนทอง
2
292
4
57
20
0.2
0.21
0.2
น้อยหน่า
1
214
15
-
21
0.2
0.11
0.2
กล้วยหอม
4
347
3
21
21
0.2
0.11
0.1
กล้วยน้ำว้า
5
204
6
25
25
0.3
0.10
0.1
แก้วมังกรเนื้อขาว
4
271
3
23
23
0.2
0.06
0.2
ชมพู่ทับทิมจันทร์
6
106
1
16
7
0.1
0.04
0.1
แตงโมจินตราแดง
5
120
7
-
8
0.2
0.07
0.1
ทุเรียนชะนี
4
406
4
-
16
0.3
0.22
0.3
มะเฟืองมาเลเซีย
3
74
2
-
7
0.2
0.05
0.2
มะม่วงน้ำดอกไม้สุก
3
81
4
-
9
0.2
0.08
0.1
มะละกอฮอลแลนด์
3
211
13
15
8
0.2
0.02
0.1
ฝรั่งแป้น สีทอง
6
210
3
-
6
0.2
0.09
0.1
พุทรา นมสด
-
117
-
19
4
-
-
-
มะขามหวานสีทอง
24
988
94
107
110
0.4
0.41
0.2
มะพร้าวอ่อนน้ำหอม
17
204
13
13
13
0.1
0.03
0.1
ลำใยกะโหลกเบี้ยว
11
105
7
-
8
0.2
0.14
0.1
ลิ้นจี่จักรพรรดิ์
3
165
2
35
9
0.2
0.11
0.1
สตรอว์เบอร์รี่
3
132
12
-
10
0.3
0.06
0.1
ส้มโอทองดี
8
92
9
29
6
0.1
0.05
0.1
สละสุมาลี
15
184
4
19
8
0.2
0.03
0.1
สับประรดศรีราชา
4
61
10
-
10
0.2
0.05
0.3
มังคุด
2
32
7
12
12
0.1
0.10
0.1
ลองกอง
3
192
8
12
12
0.2
0.11
0.1
ละมุดมาเลเซีย
16
128
15
10
10
0.1
0.04
0.2
ส้มสายน้ำผึ้ง
5
229
14
7
7
0.1
0.05
0.2
ส้มโอขาวน้ำผึ้ง
8
80
8
5
5
0.1
0.05
0.1
สาลี่น้ำผึ้ง
4
51
2
-
6
0.1
0.07
0.1
สาลี่หอม
5
40
6
-
7
0.2
0.08
0.1
องุ่นเขียว
7
130
6
-
5
0.2
0.35
0.1
แอปเปิลเขียว
2
30
5
-
4
0.2
0.06
0.1
แอปเปิลฟูจิ
2
29
4
-
4
0.1
0.06
0.1
โซเดียม โพแทสเซียม แคลเซียม ฟอสฟอรัส แมกนีเซียม เหล็ก ทองแดง สังกะสี คือคุณค่าสารอาหารและแร่ธาตุที่ได้จากผลไม้ การรับประทานผลไม้นอกจากได้รับประโยชน์และคุณค่าทางโภชนาการแล้ว ผลไม้ยังมีสรรพคุณทางยา เช่น ลองกอง ฝรั่ง เป็นต้น
ปริมาณน้ำตาลชนิดต่างๆ ในผลไม้ 100 กรัมส่วนที่กินได้
ผลไม้
ซูโครส (กรัม)
กลูโคส (กรัม)
ฟรักโทส (กรัม)
น้ำตาลทั้งหมด (กรัม)
แก้วมังกรเนื้อแดง
ไม่พบ
5.3
8.0
13.3
ขนุน
6.6
6.4
6.1
19.1
เงาะโรงเรียน
12.0
2.4
4.1
18.5
กล้วยหอม
0.1
10.3
9.9
20.3
กล้วยน้ำว้า
1.2
8.0
9.1
18.3
แก้วมังกรเนื้อขาว
ไม่พบ
5.2
3.4
8.6
ชมพู่ทับทิมจันทร์
ไม่พบ
4.5
4.3
8.8
แตงโมจินตราแดง
1.4
2.6
4.0
8.0
ทุเรียนชะนี
1.3
2.3
3.4
7.0
ฝรั่งแป้นสีทอง
1.5
2.3
3.4
7.2
พุทรานมสด8
ไม่พบ
4.3
4.4
8.7
มะขามหวานสีทอง
ไม่พบ
24.6
28.7
53.3
มะม่วงน้ำดอกไม้สุก
7.5
1.8
4.6
13.9
มะละกอฮอลแลนด์
ไม่พบ
4.4
4.9
9.3
ทุเรียนชะนีไข่
12.7
1.2
1.5
15.4
ทุเรียนหมอนทอง
0.9
1.4
5.6
7.9
น้อยหน่า
ไม่พบ
8.4
8.8
17.2
มะพร้าวอ่อนน้ำหอม
1.1
2.2
2.9
6.2
มะเฟืองมาเลเซีย
ไม่พบ
3.2
3.8
7.0
ลำใยกะโหลกเบี้ยว
2.8
1.6
2.8
7.2
ลิ้นจี่จักรพรรดิ์
0.5
8.4
9.0
17.9
สตรอว์เบอร์รี่
ไม่พบ
2.1
2.4
4.5
สละสุมาลี
8.1
2.5
4.6
15.2
สับประรดศรีราชา
2.7
4.7
3.5
10.9
สาลี่น้ำผึ้ง
ไม่พบ
1.2
3.5
4.7
มังคุด
3.1
5.6
8.8
17.5
ลองกอง
0.5
6.9
7.8
15.2
ละมุดมาเลเซีย
ไม่พบ
4.2
6.0
10.2
ส้มสายน้ำผึ้ง
5.2
1.6
3.7
10.5
ส้มโอขาวน้ำผึ้ง
13.0
0.5
1.3
14.8
ส้มโอทองดี
9.5
0.5
1.0
11.0
สาลี่หอม
ไม่พบ
2.2
4.7
6.9
องุ่นเขียว
0.1
7.5
7.1
14.7
แอปเปิลเขียว
0.7
3.5
5.8
10.0
แอปเปิลฟูจิ
ไม่พบ
1.6
4.6
6.2
ผลไม้เป็นแหล่งรวมของวิตามินและแร่ธาตุและใยอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายหลากหลายชนิด
ปริมาณใยอาหารทั้งหมด ใยอาหารชนิดไม่ละลายน้ำและละลายน้ำ
ในผลไม้ 100 กรัมส่วนที่กินได้
ผลไม้
ใยอาหาร
ชนิดไม่ละลายน้ำ (กรัม)
ชนิดละลายน้ำ (กรัม)
ใยอาหารทั้งหมด (กรัม)
แก้วมังกรเนื้อขาว
1.5
0.3
1.8
แก้วมังกรเนื้อแดง
-
-
2.5
ขนุน
1.5
0.6
2.1
ทุเรียนชะนี
4.3
1.1
5.4
ทุเรียนชะนีไข่
-
-
3.6
ทุเรียนหมอนทอง
2.4
1.0
3.4
กล้วยหอม
1.1
0.6
1.7
กล้วยน้ำว้า
2.0
1.0
3.0
พุทรานมสด
-
-
1.5
มะขามหวานสีทอง
-
-
7.6
มะพร้าวอ่อนน้ำหอม
-
-
0.4
เงาะโรงเรียน
0.6
1.0
1.6
ชมพู่ทับทิมจันทร์
0.8
0.3
1.1
แตงโมจินตราแดง
0.4
0.3
0.7
มะเฟืองมาเลเซีย
1.8
0.6
2.4
มะม่วงน้ำดอกไม้สุก
0.5
0.8
1.3
มะละกอฮอลแลนด์
-
-
-
น้อยหน่า
1.9
1.0
2.9
ฝรั่งแป้นสีทอง
3.0
0.9
3.9
ลำใยกะโหลกเบี้ยว
0.5
0.2
0.7
ลิ้นจี่จักรพรรดิ์
0.4
0.4
0.8
สตรอว์เบอร์รี่
2.7
1.2
3.9
องุ่นเขียว
1.0
0.4
1.4
แอปเปิลเขียว
3.1
1.0
4.1
แอปเปิลฟูจิ
2.4
1.0
3.4
มังคุด
1.4
0.6
2.0
ลองกอง
0.2
0.6
0.8
ละมุดมาเลเซีย
10.2
1.3
11.5
สละสุมาลี
-
-
1.8
สับประรดศรีราชา
0.9
0.2
1.1
สาลี่น้ำผึ้ง
2.2
0.3
2.5
สาลี่หอม
2.9
0.4
3.3
ส้มสายน้ำผึ้ง
0.9
0.8
1.7
ส้มโอขาวน้ำผึ้ง
0.6
0.8
1.4
ส้มโอทองดี
0.4
0.6
1.0
ปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระชนิดต่างๆ ในผลไม้ 100 กรัมส่วนที่กินได้
ผลไม้
โพลีฟีนอล (มิลลิกรัม)
แทนนิน (มิลลิกรัม)
คาเทชิน (มิลลิกรัม)
ไฟเทต (มิลลิกรัม)
แก้วมังกรเนื้อขาว
64.0
2.0
0.4
6.0
แก้วมังกรเนื้อแดง
63.2
-
-
-
ขนุน
47.2
0.8
0.1
1.2
กล้วยหอม
90.4
2.2
0.3
0.1
กล้วยน้ำว้า
96.1
13.4
4.6
0.4
น้อยหน่า
323
43.4
21.4
ไม่พบ
ฝรั่งแป้นสีทอง
108
7.1
1.2
2.4
เงาะโรงเรียน
67.4
2.9
1.0
2.0
ชมพู่ทับทิมจันทร์
19.7
3.5
0.5
ไม่พบ
แตงโมจินตหราแดง
28.2
0.9
ไม่พบ
ไม่พบ
พุทรานมสด
96.2
-
-
-
มะขามหวานสีทอง
419
-
-
-
มะพร้าวอ่อนน้ำหอม
29.4
-
-
-
ทุเรียนชะนี
116
5.2
0.4
ไม่พบ
ทุเรียนชะนีไข่
52.3
-
-
-
ทุเรียนหมอนทอง
177
4.9
0.2
ไม่พบ
มะเฟืองมาเลเซีย
148
9.2
8.0
0.3
มะม่วงน้ำดอกไม้สุก
79.2
32.4
0.8
0.1
มะละกอฮอลแลนด์
39.5
-
-
-
ลำใยกะโหลกเบี้ยว
100
5.5
0.2
0.1
ลิ้นจี่จักรพรรดิ์
117
12.9
8.9
4.3
สตรอว์เบอร์รี่
221
15.8
ไม่พบ
2.2
องุ่นเขียว
77.5
6.3
1.9
0.6
แอปเปิลเขียว
90.2
1.8
0.8
1.7
แอปเปิลฟูจิ
24.4
2.2
1.4
1.5
สละสุมาลี
72.0
-
-
-
สับประรดศรีราชา
50.3
0.7
0.1
ไม่พบ
สาลี่น้ำผึ้ง
14.6
1.8
1.8
0.9
สาลี่หอม
29.8
4.7
3.0
0.8
มังคุด
86.9
1.2
ไม่พบ
0.2
ลองกอง สารอาหาร
36.7
0.9
1.5
3.2
ละมุดมาเลเซีย
57.6
26.3
11.3
1.5
ส้มสายน้ำผึ้ง
67.1
0.7
ไม่พบ
0.8
ส้มโอขาวน้ำผึ้ง
37.9
0.6
0.2
0.8
ส้มโอทองดี
32.6
0.6
0.1
2.0
เมื่อทราบถึงประโยชน์ และ คุณค่าจากสารอาหารของผลไม้ ที่เป็นที่นิยมแต่ละชนิดแล้ว เราก็สามารถเลือกรับประทานผลไม้ตามฤดูกาลที่มีประโยชน์ตามความชอบและความต้องการสารอาหารในร่างกายได้
อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่างเอกสารอ้างอิง
รัชนี คงคาฉุยฉาย และ ริญ เจริญศิริ. โภชนาการกับผลไม้. กรุงเทพฯ : สารคดี, 2558. 128 หน้า 1.ผลไม้. I.ชื่อเรื่อง. 581.464 ISBN 978-616-7746-49-9.
Fernquest, Jon (2016-05-04). “Pesticides in fruits & vegetables: Govt quality mark fails test”. Bangkok Post. Retrieved 7 October 2016.
Armstrong, Wayne P. “Identification Of Major Fruit Types”. Wayne’s Word: An On-Line Textbook of Natural History. Archived from the original on November 20, 2011. Retrieved 2013-08-17.
วิตามินและสารอาหารในผัก 100 กรัมส่วนที่กินได้
วิตามินและสารอาหารในผัก
ผักที่เรารับประทานกันอยู่ทุกวันนี้ สามารถหาซื้อได้ง่ายตามท้องตลาดและแผงผักตามห้างสรรพสินค้าทั่วไป และมีขายทุกฤดูไม่ชาดตลาด แต่รู้หรือไม่ว่า ผักที่มีสีสันต่าง ๆ ที่เรารับประทานเข้าไปนั้น มีแร่ธาตุ สารอาหาร วิตามินในผัก หรือ ประโยชน์อย่างอื่นที่นอกเหนือจากทำให้อิ่มหรือไม่? เรามาดูกันว่า การบริโภคผักประจำวันที่เหมาะกับคนไทย มีอะไรบ้าง ?
ตารางคุณค่าวิตามินในผักและสารอาหารในผัก 100 กรัมส่วนที่กินได้
ปริมาณน้ำ ใยอาหาร และวิตามินในผักสด 100 กรัมส่วนที่กินได้
ชื่อผัก
น้ำ (G/100 g)
ใยอาหาร (G/100 g)
วิตามินซี (ML/100 g)
เบต้าแคโรทีน (Mg/100g)
ลูทีน (Mg/100g)
กะหล่ำปลีม่วง
89.4
2.64
22.0
ND
ND
ข้าวโพดอ่อน
91.6
2.18
3.8
ND
ND
ถั่วงอก
90.9
1.72
6.4
ND
ND
ถั่วฟักยาว
90.0
3.79
13.5
39.4
179.1
กะหล่ำดอก
91.9
1.47
40.6
ND
ND
กะหล่ำปลี
90.9
2.30
20.0
4.0
29.1
แครอต
91.5
2.75
1.4
4,471.5
107.4
แตงกวา
95.4
0.97
9.7
1.8
42.2
ใบมันปู (เนียงน้ำ)
78.8
11.81
19.2
1,405.5
3,425.4
ใบส้มแป้น
82.6
0.55
17.6
26.1
318.6
ผักกาดแก้ว
96.2
0.50
0.9
2.8
44.7
ผักกาดขาว
97.4
0.53
17.0
5.8
143.0
ผักชีล้อม
88.3
4.95
3.3
1,687.1
7,439.1
ผักตำลึง
94.3
2.08
19.1
990.6
4,989.1
ผักบุ้งจีน
93.1
3.05
7.6
37.0
96.2
ผักพูม
84.5
5.13
31.1
818.0
5,947.7
มะเขือเปราะ
92.7
2.55
5.5
14.3
52.6
มะเขือยาว
91.9
2.87
4.9
6.0
63.2
พริกหวานเหลือง
91.7
1.34
145.7
76.9
573.4
ฟักเขียว
95.2
1.71
30.7
6.4
9.8
มะระขี้นก
90.4
4.19
115.8
18.6
483.1
ยอดมะม่วงหิมพานต์
82.5
9.83
19.9
942.8
3,019.8
ยอดมะระหวาน (ฟักแม้ว)
93.1
2.36
6.5
582.6
1,794.9
ฟักทอง
87.8
1.80
14.9
143.6
212.1
มะเขือเทศ
95.7
0.60
12.1
96.6
70.7
ลูกเหรียง
77.5
5.80
10.5
109.5
256.6
ถั่วลันเตา
86.6
5.12
32.0
44.2
157.7
บร็อกโคลี
88.9
1.76
26.8
84.8
405.6
บวบเหลี่ยม
94.9
0.71
5.0
9.6
222.9
ผักกะเฉด
89.5
4.22
19.1
887.7
13,403.3
ผักกวางตุ้ง
92.4
2.57
34.8
52.1
129.0
ผักกาดหอม
96.7
1.01
11.7
458.5
727.9
ผักกูด
91.0
3.73
3.5
798.8
3,198.8
ผักหนาม
89.5
3.08
3.1
40.2
823.0
ผักเหลียง
85.7
5.06
109.4
404.5
6,731.7
ผักหวานบ้าน
90.2
3.36
78.0
85.0
545.3
พริกหวานสีเขียว
94.6
1.63
58.8
ND
241.3
ผักคะน้า
92.1
2.58
52.1
55.4
127.3
ผักชีล้อม
88.3
4.95
3.3
1,687.1
7,439.1
ผักตำลึง
94.3
2.08
19.1
990.6
4,989.1
หน่อไม้ฝรั่ง
91.6
2.42
17.6
13.2
125.6
สะเดา
75.9
16.10
33.3
612.1
1,160.9
เสม็ดชุน
86.7
7.13
3.4
407.7
1,390.1
หมายเหตุ : ND = Not Detected>> คุณค่าทางโภชนาการของผักมีอะไรบ้างมาดูกันค่ะ
>> สุดยอด ผัก ผลไม้ต้านมะเร็ง มีอะไรบ้าง อยากรู้มาดูกันค่ะ
ปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระและประสิทธิภาพในการต้านอนุมูลในผักสด 100 กรัมส่วนที่กินได้
ชื่อผัก
FRAP
(ไมโครโมล
ทีอี / 100 กรัม)
ORAC
(ไมโครโมล ทีอี /100กรัม)
โพลีฟีนอล
(มิลลิกรัม/
100 กรัม)
ไซยานิดิน
(มิลลิกรัม/ 100 กรัม)
พีโอนิดิน
(มิลลิกรัม/ 100 กรัม)
ข้าวโพดอ่อน
61
933
47.1
ND
ND
แครอต
26
174
10.1
ND
ND
แตงกวา
9
207
12.9
ND
ND
ถั่วงอก
33
1,135
58.7
0.29
ND
กะหล่ำดอก
60
688
44.9
ND
ND
กะหล่ำปลี
131
866
43.0
ND
ND
กะหล่ำปลีม่วง
853
2,637
138.0
19.44
0.12
ใบมันปู (เนียงน้ำ)
53,972
42,498
4,612.5
15.81
ND
ใบส้มแป้น
3,283
30,651
682.8
ND
ND
ผักกะเฉด
698
4,665
333.1
1.79
ND
ถั่วฟักยาว
460
1,862
101.4
5.59
0.12
ถั่วลันเตา
424
1,890
123.8
3.42
0.11
บร็อกโคลี
96
1,608
96.8
ND
ND
บวบเหลี่ยม
8
178
10.0
ND
ND
ผักกวางตุ้ง
270
1,430
59.3
ND
ND
ผักกาดแก้ว
15
197
11.5
ND
ND
ผักกาดขาว
36
215
10.8
ND
ND
ผักกาดหอม
50
231
20.0
ND
ND
ผักกูด
342
1,170
78.3
0.09
ND
ผักบุ้งจีน
152
748
23.7
ND
ND
ผักพูม
912
7,421
311.7
ND
ND
ผักหนาม
1,440
7,971
210.0
20.22
0.34
พริกหวานสีเหลือง
278
826
59.3
ND
ND
ฟักเขียว
29
128
12.0
ND
ND
ฟักทอง
38
511
14.0
ND
ND
มะเขือเทศ
109
193
21.9
ND
ND
ผักคะน้า
171
1,042
54.5
ND
ND
ผักชีล้อม
1,545
8,258
242.7
ND
ND
ผักตำลึง
166
1,306
45.9
ND
ND
ผักเหลียง
646
8,849
229.1
0.15
ND
ผักหวานบ้าน
409
2,215
105.2
ND
ND
พริกหวานสีเขียว
53
422
20.2
ND
ND
ลูกเหรียง
419
6,424
76.7
0.22
ND
มะระขี้นกND
72
289
40.0
ND
ND
ยอดมะม่วงหิมพานต์
34,559
34,656
4,102.8
37.32
0.76
ยอดมะระหวาน (ฟักแม้ว)
413
1,505
44.1
ND
ND
มะเขือเปราะ
196
879
64.6
ND
ND
มะเขือยาว
64
843
55.3
ND
ND
สะเดา
8,656
12,704
691.7
18.81
ND
เสม็ดชุน
10,974
12,752
1,119.2
3.02
0.06
หน่อไม้ฝรั่ง
120
871
57.5
ND
ND
(ไมโครโมล ทีอี /100 กรัม) : Micromole of Trolox equivalent per 100 g
ND = Not detected
ผักอุดมไปด้วย วิตามิน แร่ธาตุ ใยอาหาร และสารพฤกเคมี ช่วยเสริมสร้าง ควบคุมการทำงาน และช่วยควบคุมการไหลเวียนของของเหลวในร่างกาย
ปริมาณแร่ธาตุวิตามินในผักที่ร่างกายต้องการในปริมาณมากในผักสด 100 กรัมส่วนที่กินได้
ชื่อผัก
โซเดียม (มิลลิกรัม/ 100 กรัม)
โพแทสเซียม (มิลลิกรัม/ 100 กรัม)
แคลเซียม (มิลลิกรัม/ 100 กรัม)
แมกนีเซียม (มิลลิกรัม/ 100 กรัม)
ฟอสฟอรัส (มิลลิกรัม/ 100 กรัม)
ข้าวโพดอ่อน
2.8
132.8
13.7
25.4
54.3
แครอต
124.8
183.6
42.1
7.1
32.5
แตงกวา
12.3
167.7
24.1
18.2
25.6
ถั่วลันเตา
3.6
168.8
49.2
28.4
87.9
บร็อกโคลี
22.1
301.2
59.1
24.5
93.1
กะหล่ำดอก
30.0
182.1
14.5
15.3
40.6
กะหล่ำปลี
10.0
197.2
30.2
17.6
36.5
กะหล่ำปลีม่วง
22.1
264.0
46.0
16.1
33.0
ถั่วงอก
12.6
88.0
11.8
20.1
55.4
ถั่วฟักยาว
6.6
177.9
32.9
37.2
64.1
ผักกะเฉด
14.8
307.2
46.8
33.2
76.5
ผักกวางตุ้ง
54.0
383.4
103.4
29.1
31.3
ผักกาดแก้ว
17.6
113.1
20.3
8.9
27.6
บวบเหลี่ยม
4.9
119.6
15.6
11.6
38.7
ใบมันปู (เนียงน้ำ)
8.5
356.7
84.9
56.4
64.5
ใบส้มแป้น
15.5
394.8
250.6
59.8
61.8
ผักกาดขาว
26.5
118.8
45.8
8.9
31.8
ผักกาดหอม
21.3
212.7
38.0
10.4
24.0
ผักกูด
10.0
389.0
15.1
46.2
93.8
ผักพูม
9.6
448.0
117.3
91.0
74.4
ผักหนาม
3.3
321.7
158.1
53.9
73.2
ผักเหลียง
6.3
297.3
35.2
27.4
72.7
ผักหวานบ้าน
8.5
165.5
69.0
48.9
68.8
ฟักเขียว
4.0
114.2
12.1
7.1
19.2
ฟักทอง
5.9
287.9
11.6
15.4
56.4
มะเขือเทศ
9.0
156.1
5.9
7.3
24.8
มะเขือเปราะ
5.1
233.9
19.6
17.9
31.6
ผักคะน้า
26.3
327.5
108.0
28.4
50.6
ผักชีล้อม
6.0
414.5
133.1
30.0
60.6
ผักตำลึง
11.0
181.7
73.2
28.3
43.9
ผักบุ้งจีน
176.6
144.0
72.5
24.3
26.3
พริกหวานสีเขียว
6.2
132.8
10.6
8.9
27.4
พริกหวานสีเหลือง
6.3
173.0
8.0
12.1
29.3
ยอดมะระหวาน (ฟักแม้ว)
16.0
277.5
37.5
24.9
108.7
ลูกเหรียง
8.8
435.2
131.8
64.1
79.7
มะเขือยาว
7.7
167.2
9.0
13.6
20.0
มะระขี้นก
10.6
334.2
28.2
37.9
47.4
ยอดมะม่วงหิมพานต์
17.2
282.3
15.5
44.7
66.1
เสม็ดชุน
13.4
224.4
15.2
22.1
44.8
หน่อไม้ฝรั่ง
5.1
272.7
17.1
18.7
73.9
สะเดา
7.6
467.4
74.2
60.6
94.5
https://www.youtube.com/watch?v=2AAzUkuBPJQ&t=120s
ปริมาณแร่ธาตุที่ร่างกายต้องการวิตามินในผักในปริมาณน้อยในผักสด 100 กรัมส่วนที่กินได้
ชื่อผัก
เหล็ก (มิลลิกรัม/ 100 กรัม)
ทองแดง (มิลลิกรัม/ 100 กรัม)
สังกะสี (มิลลิกรัม/ 100 กรัม)
ข้าวโพดอ่อน
0.11
0.12
0.41
แครอต
0.07
0.15
0.04
แตงกวา
0.12
0.04
0.09
บร็อกโคลี
0.93
0.07
0.25
บวบเหลี่ยม
0.12
0.08
0.18
ใบมันปู (เนียงน้ำ )
0.58
0.29
0.51
กะหล่ำดอก
0.24
0.07
0.13
กะหล่ำปลี
0.25
0.04
0.06
กะหล่ำปลีม่วง
0.13
0.08
0.07
ถั่วงอก
0.29
0.12
0.25
ถั่วฟักยาว
0.34
0.20
0.36
ถั่วลันเตา
0.45
0.18
0.62
ผักกาดแก้ว
0.16
0.08
0.08
ผักกาดขาว
0.16
0.04
0.11
ผักกาดหอม
0.31
0.07
ND
ผักกูด
0.76
0.27
0.68
ใบส้มแป้น
0.72
0.18
0.23
ผักกะเฉด
1.13
0.07
0.30
ผักกวางตุ้ง
1.53
0.15
0.76
ผักบุ้งจีน
1.13
0.12
0.06
ผักพูม
0.59
0.33
0.57
ผักคะน้า
0.17
0.09
0.13
ผักชีล้อม
1.35
0.13
0.26
ผักตำลึง
0.49
0.11
0.21
พริกหวานสีเขียว
0.12
0.07
0.04
พริกหวานสีแดง
0.05
0.10
ND
ผักหนาม
0.92
0.13
1.05
ผักเหลียง
0.40
0.18
0.30
ผักหวานบ้าน
0.76
0.20
0.44
มะเขือเทศ
0.10
0.07
ND
มะเขือเปราะ
0.12
0.16
ND
มะเขือยาว
0.20
0.08
0.13
ยอดมะระหวาน (ฟักแม้ว)
0.81
0.17
0.30
ลูกเหรียง
0.98
0.37
0.42
พริกหวานสีเหลือง
0.04
0.09
ND
ฟักเขียว
0.09
0.02
ND
ฟักทอง
0.15
0.14
0.09
มะระขี้นก
0.20
0.18
0.16
ยอดมะม่วงหิมพานต์
0.53
0.32
0.40
สะเดา
3.22
0.37
0.57
เสม็ดชุน
0.27
0.20
0.10
หน่อไม้ฝรั่ง
0.40
0.25
0.59
อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่างเอกสารอ้างอิง
รัชนี คงคาฉุยฉาย และ ริญ เจริญศิริ. โภชนาการกับผัก. กรุงเทพฯ : สารคดี, 2554. 128 หน้า 1.ผัก-แง่โภชนาการ-ไทย. I.ชื่อเรื่อง. 641.303 ISBN 978-974-484-346-3.
แอพเพิลเกต, ลิซ. 101 อาหารรักษาหัวใจ.–กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา, 2547. 342 หน้า. 1. อาหารเพื่อสุขภาพ. 2.โภชนบำบัด. I.จงจิต...
พืชผักสมุนไพร ที่ใช้ลดน้ำตาล
สมุนไพรลดน้ำตาล
พืชสมุนไพรบางชนิดสามารถนำมาใช้ลดน้ำตาลในร่างกายของคนเราได้ ซึ่งอาจเป็นพืชสมุนไพรที่มีการนำมาทดสอบกับผู้ป่วยแล้วจริงหรือจะเป็นสมุนไพรที่ได้รับการทดลองในห้องปฏิบัติการแล้วว่า สมุนไพรลดน้ำตาล ได้ ก็จัดอยู่ในกลุ่มนี้เหมือนกัน โดยมีพืชผักสมุนไพร ที่มีคุณสมบัติในการใช้ลดน้ำตาลได้ดังนี้>> กาแฟอาราบิก้า มีประโยชน์อย่างไร มาดูกันค่ะ
>> สารให้รสหวานแทนน้ำตาลมีอะไรบ้าง อยากรู้มาดูกัน
พืชผักสมุนไพรที่ช่วยลดน้ำตาล
1.กระเทียม
กระเทียม มีสารอัลลิซิน ซึ่งจะไปกระตุ้นร่างกายให้มีการหลั่งเอาอินซูลินออกมามากขึ้น และยังทำให้อินซูลินสามารถจับน้ำตาลเข้าสู่เซลล์ได้ง่ายกว่าเดิมอีกด้วย จึงเป็นผลให้ ระดับน้ำตาลในเลือดลดต่ำลง นั่นเอง โดยทั้งนี้แนะนำให้ทานกระเทียมสดวันละ 3-5 กลีบ เป็นประจำทุกวัน ซึ่งนอกจากจะช่วยลดน้ำตาลได้แล้วก็ยังช่วยแก้ไอ ขับเสมหะ ขับลมในลำไส้และช่วยย่อยอาหารได้อีกด้วย หรือจะทานในรูปแบบของน้ำมันกระเทียมก็ได้เหมือนกัน และนอกจากประโยชน์ดังกล่าวแล้ว น้ำมันกระเทียมก็มีฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อรา ไวรัสและแบคทีเรียได้เช่นกัน
2.กะเพรา
กะเพรา พืชสมุนไพรพื้นบ้านที่มีส่วนช่วยในการ ลดน้ำตาลในเลือด ได้ดี โดยในกะเพรามีสารสำคัญได้แก่ เมทิล ลินาลอลและซาวิคอล ซึ่งเป็นสารที่จะทำให้อินซูลินทำงานได้ดีขึ้นและลดระดับน้ำตาลลง ทั้งนี้จากการทดลองก็พบว่าสารสกัดใบกะเพราที่สกัดได้ด้วยแอลกอฮอล์ 50% สามารถลดระดับน้ำตาลในสัตว์ทดลองได้มากกว่าร้อยละ 30 เลยทีเดียว
3.กาแฟ
ถึงแม้ว่ากาแฟจะมีข้อเสียอยู่บ้าง และพบว่าเมื่อทานในปริมาณมากก็จะก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพไม่น้อย แต่ในขณะเดียวกันในเมล็ดกาแฟ ก็มีสารชนิดหนึ่งที่จะช่วยทำให้ฮอร์โมนอินซูลินทำงานได้ดีขึ้น จน ระดับน้ำตาลลดต่ำ ลงได้อย่างน่าพอใจ แต่ทั้งนี้ควรดื่มกาแฟแค่ไม่เกินวันละ 2 แก้วเท่านั้น
4.ขมิ้น
ในขมิ้น อุดมไปด้วยสารเคอร์คูมิน ซึ่งเป็นสารที่จะช่วยดึงเอาน้ำตาลและอินซูลินเข้าสู่เซลล์ได้ดี ในผู้ป่วยเบาหวานที่กินขมิ้นเป็นประจำจึงมักจะสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและทำให้ น้ำตาลลดลง ได้มากกว่าคนที่ไม่กินเลย และนอกจากนี้ขมิ้นก็ยังมีฤทธิ์ในการช่วยย่อยอาหารและลดการเกิดแผลในกระเพาะอาหารได้เช่นกัน
5.ข้าวกล้อง
ข้าวกล้อง นอกจากจะมากไปด้วยคุณประโยชน์มากมายและอุดมไปด้วยสารอาหารแล้ว ก็มีดัชนีน้ำตาลต่ำกว่าข้าวที่ผ่านการขัดสีแล้วอีกด้วย ดังนั้นจึงเป็นอาหารที่เหมาะกับผู้ป่วยเบาหวาน หรือผู้ที่อยู่ในภาวะระดับน้ำตาลเกือบสูงเป็นที่สุด
6.เจียวกู้หลาน
พืชสมุนไพรอีกชนิดหนึ่งที่จะช่วยในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและ ลดน้ำตาลให้ต่ำลง ได้เหมือนกัน นั่นก็เพราะพืชสมุนไพรชนิดนี้มีจิบโนไซด์ และฟลาโวนอยด์ไกลโคไซด์ ซึ่งเป็นสารสำคัญที่มีฤทธิ์โดยตรงต่อระดับน้ำตาลอยู่นั่นเอง โดยสารตัวนี้ก็จะทำงานด้วยการไปยับยั้งการดูดซึมกลูโคสในทางเดินอาหาร
7.ชะพลู
ชะพลู เป็นพืชสมุนไพรที่มีฤทธิ์ในการ ลดน้ำตาลในเลือด ได้ระดับหนึ่ง แต่จะออกฤทธิ์ช้ากว่าพืชสมุนไพรชนิดอื่นๆ พอสมควร และที่สำคัญจะต้องรับประทานอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอเป็นเวลาอย่างน้อย 6-16 สัปดาห์ จึงจะเห็นผลลัพธ์ที่น่าพอใจ นอกจากนี้การทานชาพลูบ่อยๆ ก็จะช่วยลดโอกาสการเกิดนิ่วในไตหรือในทางเดินปัสสาวะได้สูงเช่นกัน
8.เตยหอม
เตยหอม เมื่อนำมาต้มเป็นน้ำชาและดื่มเป็นประจำ จะช่วย ลดระดับน้ำตาลในเลือด ได้ดี นั่นก็เพราะในเตยหอมมีสารที่สำคัญ ซึ่งได้แก่ ลินาลูล ลินาลิล อะซิเดด และคูมาริน นั่นเอง ทั้งนี้ก็มีสูตรลับตามตำรับยาแผนโบราณมาแนะนำกันด้วย นั่นก็คือ การนำใบเตยหอมกับใบสักทองอย่างละเท่า กันมาคั่วให้เหลือง นำรากเตยหอมมาทุบให้แตก เสร็จแล้วใส่ลงในหม้อต้มกับน้ำจนเดือด ใช้ดื่มต่างน้ำเป็นประจำประมาณ 1 เดือน รับรองว่าระดับน้ำตาลจะลดน้อยลงแน่นอน
9.ตำลึง
ตำลึง เป็นพืชที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งใบและราก โดยมีส่วนช่วยในการ ลดน้ำตาลในเลือด เช่นกัน ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะนิยมนำตำลึงมาเป็นส่วนประกอบของอาหารหรือนำมาต้มดื่มต่างน้ำนั่นเอง แต่อย่างไรก็ตามในบางคนก็อาจจะไม่ถูกกับใบตำลึงได้เหมือนกัน โดยอาจะเกิดอาการท้องเสียเมื่อทานตำลึงนั่นเอง
10.ถั่วเหลือง
ถั่วเหลือง มีคุณสมบัติในการเพิ่มระดับอินซูลินในเลือดให้สูงขึ้น จึงสามารถ ลดระดับน้ำตาลในเลือด ให้ลดลงมาอยู่ในระดับที่ปกติได้ ดังนั้นถั่วเหลืองและผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง จึงเป็นอาหารที่แนะนำให้ผู้ป่วยเบาหวานทานมากที่สุด
11.บอระเพ็ด
บอระเพ็ด เป็นพืชสมุนไพรที่มากไปด้วยประโยชน์และสามารถใช้ในการ ลดระดับน้ำตาลในเลือด ได้อย่างดีเยี่ยม โดยให้นำเถาสดของบอระเพ็ดประมาณ 30 กรัม มาตำให้ละเอียดแล้วคั้นเป็นน้ำดื่ม หรือจะต้มกับน้ำประมาณ 3 ส่วนก็ได้ จากนั้นดื่มเป็นประจำเช้าเย็นก่อนอาหาร ก็จะพบว่าน้ำตาลในเลือดลดลงไปในระดับหนึ่งเลยทีเดียว
12.บิลเบอร์รี่
เมื่อนำใบของ บิลเบอร์รี่ แห้งมาชงกับน้ำเดือด และดื่มเป็นประจำ จะสามารถ ลดระดับน้ำตาลในเลือด ของผู้ป่วยเบาหวานได้ และยังช่วยลดความเสี่ยงการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวานได้ดีอีกด้วย ดังนั้นผู้ป่วยเบาหวานจึงไม่ควรละเลยการทานบิลเบอร์รี่เด็ดขาด
13.ผักชี
ในผักชีมีสารชนิดหนึ่งที่จะช่วย ลดระดับของน้ำตาลในเลือด ได้ ซึ่งก็คือ สารโคเรียนดรอลนั่นเอง ผักชีจึงเป็นพืชสมุนไพรอีกชนิดหนึ่งที่สามารถนำมาทานเพื่อลดน้ำตาลได้
14.ผักเชียงดา
เป็นผักที่ได้รับความนิยมของชาวเหนือ และมีการนำมารับประทานอย่างแพร่หลายตั้งแต่สมัยโบราณ โดยผักชนิดนี้มีรสชาติหอมหวาน แต่ก็สามารถ ควบคุมระดับน้ำตาล ได้ดีและใช้เพื่อรักษาเบาหวานได้อย่างดีเยี่ยมอีกด้วย นั่นก็เพราะในผักเชียงดามีสาระสำคัญชนิดหนึ่ง ได้แก่ ไกลซีมิค แอซิด ซึ่งจะทำหน้าที่ในการจับเซลล์ตัวรับในลำไส้ป้องกันการดูดซึมน้ำตาลนั่นเอง
15.ฟักทอง
ฟักทอง มีส่วนช่วยในการกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งอินซูลินออกมามากขึ้น จึงสามารถ ลดระดับน้ำตาล ในผู้ป่วยเบาหวานได้ดี
16.มะเขือพวง
ใน มะเขือพวง มีสาระสำคัญหลากหลายชนิดที่จะช่วย ลดน้ำตาลในเลือด ได้ดี เพียงแค่นำมะเขือพวงมาทำเอาน้ำสดๆ แล้วนำมาดื่มเป็นประจำทุกวันเท่านั้น แต่ก็จะมีรสชาติที่ขมพอสมควร
17.มะแว้ง
มะแว้ง เป็นพืชสมุนไพรอีกชนิดหนึ่งที่จะช่วยในการ ลดน้ำตาลในเลือด ได้เช่นกัน แต่จะลดได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น โดยทั้งนี้ในมะแว้งก็มีสาระสำคัญได้แก่ โซลานีน อัลลีลอยด์และไดออจีนีนนั่นเอง นอกจากนี้การทานผลมะแว้งแบบสดๆ ก็จะช่วยแก้อาการไอได้ดีอีกด้วย
18.มะระจีน
มะระจีน เป็นพืชสมุนไพรที่หลายคนต่างก็ทราบกันดีว่ามีประโยชน์ โดยสาสามารถดับร้อน ถอนพิษไข้และช่วยดับกระหายได้ดีอีกด้วย และนอกจากสรรพคุณดังกล่าวแล้ว มะระจีนก็สามารถ ลดน้ำตาลในเลือด ได้เช่นกัน
19.มะระขี้นก
มะระขี้นก ก็สามารถนำมาทานเพื่อ ลดน้ำตาลในเลือด ได้ดีเช่นกัน นั่นก็เพราะมีสารคารานดิน เซโรโดนินและไฮดรอกซี ซึ่งเป็นสารที่มีคุณสมบัติในการลดน้ำตาลในเลือดโดยตรง โดยการนำมะระขี้นกมาทานเพื่อลดน้ำตาลในเลือดนั้น ทำได้ด้วยการนำมะระขี้นกมาต้มเป็นผักจิ้มน้ำพริก หรือนำมาฝานตากแห้งและชงเป็นชนดื่มนั่นเอง แต่ทั้งนี้มะระขี้นกอาจทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ ปวดท้องและอันตรายถึงขั้นช็อกได้ ดังนั้นจึงต้องระมัดระวังในการกิน โดยผู้ที่มีอาการแพ้ไม่ควรทานเด็ดขาด
20.มะรุม
ในมะรุม มีสารมอรินจินและสารมอรินจินีน...
รวมประโยชน์จากถั่วชิกพี ( Chick Pea )
ถั่วชิกพี หรือ ถั่วลูกไก่ คือ
ถั่วชิกพี หรือ ถั่วลูกไก่ ( Chick Pea ) คือ พืชวงศ์ถั่ว มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า ( Cicer Arietinum ) ถั่วชิกพีชนิดนี้เป็นที่รู้จักกันดีในแถบเมดิเตอร์เรเนียน เนื่องจากในแถบตะวันออกกลางและอินเดียนิยมนำถั่วชนิดนี้มาประกอบอาหารรับประทาน มีการปลูกถั่วชิคพีไว้สำหรับรับประทานกันมานาน 7,500 ปีมาแล้ว คนไทยรู้จักถั่วชนิดนี้ในชื่อ “ถั่วลูกไก่” ถั่วมีรูปร่างคล้ายหยดน้ำขนาดใหญ่หรือรูปร่างคล้ายลูกไก่ตัวเล็กๆ จึงเรียกชื่อถั่วลูกไก่ มีจะงอยแหลมบริเวณด้านบนของเมล็ด แบ่งออกเป็น 2 สายพันธุ์ คือ
>> คอเลสเตอรอลชนิด LDL ต้องควบคุมไม่ให้สูงเกินไป มาดูกันค่ะ
>> ไขมันดี HDL คืออะไร มีโทษหรือประโยชน์อย่างไร มาดูกันค่ะ
1.สายพันธุ์ถั่วชิกพีกาบูลี ถั่วสายพันธุ์นี้จะมีเมล็ดใหญ่กว่าถั่วสายพันธุ์เดซี เมล็ดมีสีขาวนวลหรือสีครีม เปลือกหุ้มเมล็ดเรียบมีสีครีม ถั่วสายพันธุ์นี้นิยมปลูกกันมากในยุโรป
2.สายพันธุ์ถั่วลูกไก่เดซี สายพันธ์นี้ออกดอกเป็นสีม่วง เมล็ดมีขนาดเล็กกว่าสายพันธุ์กาบูลี เปลือกมีลักษณะขรุขระมีสีน้ำตาลอ่อนถึงสีน้ำตาลเข้ม สายพันธุ์นี้นิยมปลูกในประเทศอินเดีย
ถั่วชิกพีมีประโยชน์อย่างไร?
ถั่วชิกพี อุดมไปด้วยสารอาหารโปรตีน วิตามิน แร่ธาตุ และมีกรดอะมิโนที่จำเป็นทั้งหมด 9 ชนิด จึงให้ประโยชน์ต่อสุขภาพหลายประการ ได้แก่
ถั่วชิกพีมีใยอาหารสูง ช่วยควบคุมน้ำหนัก ลดน้ำหนัก และช่วยให้รู้สึกอิ่มนานขึ้น
ใยอาหาร ช่วยป้องกันอาการท้องผูก และช่วยลดไขมันในร่างกาย
โพแทสเซียม ไฟเบอร์ วิตามิน C และ วิตามิน B6 ช่วยป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด และช่วยลดคอเลสเตอรอล
ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
โปรตีน ช่วยสร้างมวลกล้ามเนื้อ
แคลเซียม ช่วยให้กระดูกแข็งแรง
วิตามินซี ช่วยป้องกันโรคต่างๆ เช่น มะเร็ง และบำรุงผิว
โฟเลตทำงานได้ดีในระหว่างตั้งครรภ์
ซีลีเนียม ช่วยให้ตับทำงานได้อย่างปกติ ช่วยล้างพิษ ป้องกันการเจริญเติบโตของเนื้องอก
วิตามินเอและสังกะสี สามารถป้องกันผมร่วง ผมบาง รังแคได้ และช่วยให้ผมงอกใหม่
ถั่วลูกไก่ป้องกันอาหารท้องผูก ลดความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งลำไส้ โรคริดสีดวงทวารและการรับประทานตอนอุ่นก่อนนอนทำให้หลับสบาย
ปริมาณเส้นใยในถั่วแต่ละชนิด
ถั่ว (ปริมาณ ½ ถ้วยตวง)
ปริมาณแคลอรี
ปริมาณเส้นใยอาหารรวม (กรัม)
ถั่วดำ
113
7.5
ถั่วลูกไก่หรือถั่วชิคพี
134
6.2
ถั่วแดงหลวง
113
6.5
ถั่วแดง
115
7.8
ถั่วลิมา ( ถั่วอเมริกากลาง )
96
6.8
ถั่วแขกขนาดเล็กสีขาว
129
5.8
ถั่วปากอ้า
115
8.1
ถั่วแดงพินโต
117
7.3
ถั่วขาว
124
5.6
ที่มา : โรงงานผู้ผลิต Food Labels and Bowes & Church เรื่องคุณค่าอาหารในสัดส่วนที่ใช้โดยทั่วไป
พิมพ์ครั้งที่ 17 โดย Lippincott,1998.
จากตารางจะพบว่าถั่วที่ปริมาณเท่ากัน ถั่วลูกไก่ หรือ ถั่วชิคพี จะให้พลังงานสูงที่สุดในกลุ่มก็จริงแต่ว่าพลังงานที่ได้รับก็ยังจัดเป็นถั่วที่ให้พลังงานต่ำอยู่ดี ต่างจากถั่วบราซิล ถั่วแมคคาเดเมียและลูกวอลนัทที่อยู่ในกลุ่มที่ให้พลังงานสูง พลังงานที่รับจึงพอดีกับความต้องการไม่สูงเกิน และยังมีปริมาณเส้นใยที่สูงเหมือนถั่วชนิดอื่นๆ
แสดงว่าเมื่อรับประทานถั่วชิคพีจะทำให้รู้สึกอิ่มนานขึ้นลดความอยากอาหารจึงช่วยลดน้ำหนักของเรา
มีกรดโฟลิค โพแตสเซียม และสารฟลาโวนอยด์ ที่ช่วยต่อต้านการเกิดโรคหัวใจ โดยเฉพาะฟลาโวนอยด์ที่มีอยู่ในถั่วนี้จัดเป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพสูงมาก เพราะว่าสารนี้จะไปยับยั้งไม่ให้อนุมูลอิสระไปทำปฏิกิริยากับไขมันเลวเพื่อไปทำลายผนังของหลอดเลือด ซึ่งอาจจะทำให้หัวใจหรือเนื้อเยื่อ ( Lesion ) ในหลอดเลือดเกิดแผล การรับประทาน ถั่วลูกไก่ หรือ ถั่วชิคพียังช่วยลดปริมาณ Low-Density Lipoprotein ( LDL ) และช่วยเพิ่มปริมาณไขมันดี ( HDL ) นายแพทย์ เจมส์ แอนเดอร์สัน...
4 สุดยอด ผัก ผลไม้ต้านมะเร็ง
ผัก ผลไม้ต้านมะเร็ง
มะเร็ง ถือเป็นโรคไม่ติดต่อร้ายแรงชนิดหนึ่ง ที่มีปริมาณของผู้เสียชีวิตจากโรคนี้ ในแต่ละปีที่ค่อนข้างสูงมาก ซึ่งโรคมะเร็งสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุแตกต่างกันไป แต่จำนวนมากกว่าร้อยละ 80 ของผู้ที่ป่วยเป็นโรคมะเร็งชนิดต่างๆ มีสาเหตุหลักมาจาก การใช้พฤติกรรมการดำเนินชีวิต และการบริโภคอาหารในแต่ละวันที่ไม่ดีไม่ถูกต้อง เช่น การทานอาหารที่มีไขมันสูง ชอบกินอาหารฟ้าสฟู๊ดส์ ยึดติดกับรสชาติอาหารที่อร่อยโดยไม่คำนึงถึงคุณค่าและสารอาหารที่ได้รับเข้าไป การอาศัยอยู่ในเมืองใหญ่ที่เต็มไปด้วยมลพิษ สารเคมีปนเปื้อนที่มากับน้ำและอาหาร และขาดการออกกำลังกาย เป็นต้น พฤติกรรมต่างๆที่กล่าวมานี้ ล้วนเป็นตัวในการกระตุ้นให้เกิดโรคมะเร็งชั้นดีเลยทีเดียว ดังนั้นโรคมะเร็งจึงถือว่าเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวมาก ทุกคนที่ไม่อยากเป็นโรคมะเร็งต้องรู้จักดูแลสุขภาพตนเอง ทำความเข้าใจ และพยายามหลีกเลี่ยงพฤติกรรมความเสี่ยงต่างๆที่อาจจะก่อให้เกิดโรคมะเร็งได้อย่างถูกต้อง เพราะนอกจากยา และนวัตกรรมทางการแพทย์อื่น ๆ แล้ว ผัก ผลไม้ต้านมะเร็ง และป้องกันความเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งได้อีกด้วย
>> สรรพคุณและประโยชน์ของ มะเขือเทศ มีอะไรบ้าง อยากรู้มาดูกันค่ะ
>> ฟักข้าวกินยังไงให้ได้ประโยชน์ มาดูกันค่ะ
ปัจจุบันมีโฆษณาชวนเชื่อมากมายในเรื่องอาหารเสริมหรือสมุนไพรสุขภาพ ที่ช่วยในการต่อต้านโรคมะเร็งได้ แต่ทั้งนี้ก็ยังไม่มีผลการวิจัยทางการแพทย์ใดรับรองว่าสามารถทำได้จริงตามคำกล่าวอ้างนั้นๆ แต่วงการแพทย์และโภชนาการสมัยใหม่ ได้มีการค้นพบสารสำคัญชนิดหนึ่งจากในพืช ซึ่งมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า ไฟโตนิวเตรียน ( Phytonutrients ) ว่าสามารถที่จะต่อต้านการเกิดโรคมะเร็งได้เป็นอย่างดี โดยมีสรรพคุณคือ สามารถลดความเสียหายของ DNA ที่เกิดจากการโจมตีของอนุมูลอิสระ ช่วยขับสารก่อมะเร็งออกจากร่างกาย และยังสามารถยับยั้งการสร้างระบบท่อน้ำเลี้ยงก้อนมะเร็ง ซึ่งทำให้ก้อนมะเร็งฝ่อลงได้ สารไฟโตนิวเตรียน ดังที่กล่าวมานี้ สามารถพบได้ในพืชผักผลไม้ที่ทานกันอยู่ในชีวิตประจำวัน อย่างเช่น
ผัก ผลไม้ต้านมะเร็ง
1. มะเขือเทศ
มะเขือเทศ คือ พืชอีกชนิดหนึ่งที่มากไปด้วย ไลโคปีน เหมือนกับฟักข้าว นอกจากนี้มะเขือเทศยังมากไปด้วยสารอาหารอย่างเช่น วิตามินซี วิตามินเอ โปแตสเซียม และอื่นๆอีกมากมาย ที่ล้วนมีประโยชน์ต่อร่างกาย
มีหลักฐานในการวิจัยจากประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ใช้เวลาทดสอบมากกว่า 20 ปี และมีกลุ่มตัวอย่างในการทดลองโดยใช้ผู้ชายถึง 79,000 คน ในการทดสอบ พบว่า ผู้ชายที่รับประทานมะเขือเทศปรุงสุก สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง จะสามารถช่วยลดโอกาสในการเกิดโรคมะเร็งต่อมลูกหมากได้กว่า 50% และนอกจากนี้ยังมีผลวิจัยที่ให้ข้อมูลว่า การทานผักผลไม้ที่มากไปด้วยไลโคปีนแบบสม่ำเสมอว่า จะสามารถช่วยลดอัตราการเกิดโรคหัวใจวายในผู้ชายได้มากถึง 50 % อีกด้วย นอกจากในมะเขือเทศแล้ว ยังสามารถพบไลโคปีนได้มากในผลไม้อื่นๆ อีก เช่น แตงโม แครอท มะละกอ หรือองุ่นแดง เป็นต้น
https://www.youtube.com/watch?v=5PrwIv_rGJ8
2. ชาเขียว
ชาเขียว คือเครื่องดื่มที่มีสารอาหารชนิดหนึ่งที่ชื่อว่า “ คาเทชิน ” ( Catechin ) เป็นสารเคมีที่ได้จากพืช และมีประโยชน์ต่อสุขภาพ ทำหน้าที่ในการป้องกันมะเร็งได้อย่างมีประสิทธิภาพ พบได้ในอาหารประเภท โกโก้ ไวน์ แอปเปิ้ล เป็นต้น คาเทชิน ยังมีประโยชน์อีก คือ ทำหน้าที่ต่อต้านสารอนุมูลอิสระที่สำคัญ โดยจะไปช่วยยับยั้งการสร้าง ไนโตรซามีน ในร่างกาย ซึ่งเป็นสารที่ก่อให้เกิดมะเร็ง ช่วยยับยั้งการเจริญเติมโตของมะเร็ง และยังช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งต่างๆ อย่างเช่น มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งกระเพาะอาหาร และมะเร็งตับได้ดีอีกด้วย
ในการดื่มชาเขียวต้องดื่มในขณะที่ชายังร้อนอยู่ จึงจะได้รับประโยชน์จากสารคาเทชิน เนื่องจากหากปล่อย ชาเขียวทิ้งไว้จนเย็น จะไปทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศทำให้สูญเสียคุณค่าไป ซึ่งการเลือกซื้อชาเขียวจากตามร้านคาทั่วไปมาทานหรือซื้อแบบผงมาชงดื่มเอง ควรเลือกแบบไม่มีน้ำตาลผสม เพื่อให้ดีต่อสุขภาพมากที่สุด โดยปกติรสชาติที่แท้จริงของชาเขียวจะมีรสขมผสมรสฝาด ไม่มีรสหวานใดๆทั้งสิ้น
3. ฟักข้าว
ฟักข้าว คือพืชที่นิยมนำผลมาทาน ซึ่งผลของฟักข้าวเป็นสิ่งที่มีคุณค่าทางโภชนาการที่สูง ในฟักข้าวยังมี ไลโคปีน ( Lycopene ) ซึ่งเป็นสารกลุ่มแคโรทีนอยด์ ที่ร่างกายไม่สามารถผลติดขึ้นได้เอง...
คุณประโยชน์ของ ถั่วแดงหลวง ( Kidney Bean )
ถั่วแดง หรือถั่วแดงหลวง
ถั่วแดง หรือถั่วแดงหลวง ( Kidney Bean ) คือถั่วที่เรารู้จักกันเป็นอย่างดี เพราะมีจำหน่ายอยู่มากตามท้องตลาด มีการนำมาปรุงเป็นอาหารทั้งคาวและหวานให้รับประทานกัน มีทางวิทยาศาสตร์ว่า Phasecolus Vulgaris L. เป็นพืชที่อยู่ในวงศ์ Fabaceae หรือ Leguminosae เป็นพืชที่อยู่ในกลุ่มเดียวกับถั่วเขียว ถั่วเหลือง ถั่วดำ ถั่วลิสง ถั่วฝักยาวและถั่วพู มีชื่อสามัญว่า Kidney Bean ที่หมายถึงถั่วรูปไตที่เรียกเช่นนั้นก็เพราะว่าเมล็ดของถั่วมีลักษณะคล้ายกับไต ในประเทศไทยได้นำเข้ามาปลูกในสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ต้องการให้ชาวเขาเลิกปลูกฝิ่น แต่ต้องมีการนำพืชทดแทนมาปลูกเพื่อสร้างรายได้ให้กับชาวเขาด้วย ดังนั้นหม่อมเจ้าภีศเดช รัศนี ที่ดำเนินตามเสด็จไปในครานั้นด้วยได้มีการเสนอให้ปลูก Red Kidney Bean เป็นพืชทดแทนฝิ่นของชาวเขาในปี พ.ศ.2512 ซึ่งในตอนแรกได้มีการสั่งซื้อเมล็ดพันธุ์มาจากแคลิฟอร์เนียเพื่อทำการทดลองปลูกเพื่อเป็นพืชทดแทน เมื่อทดลองปลูกปรากฏว่าได้ผลผลิตดีมาก และมีการตั้งชื่ออย่างเป็นทางการเป็นภาษาไทยว่า “ ถั่วแดงหลวง ” มาจากถั่วที่เป็นสีแดงและมีเมล็ดขนาดใหญ่ คำว่าหลวงในภาษาเหนือแปลว่าใหญ่ แต่ชาวบ้านทั่วไปมักเรียกสั้นๆ ว่า “ ถั่วแดง ”
ปัจจุบันนี้เป็นพืชเศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่งของประเทศไทย โดยมีการส่งออกไปยังต่างประเทศนำเม็ดเงินเข้าสู่ประเทศปีละหลายล้านบาทเลยที่เดียว โดยเฉพาะที่ประเทศญี่ปุ่นและเกาหลีใต้จะมีการสั่งซื้อมากที่สุด เพื่อนไปผลิตเป็นไส้ขนมและอาหารรับประทานกัน การปลูกนอกจากจะปลูกเพียงอย่างเดียวแล้ว ยังสามารรถปลูกแซมหรือปลูกสลับกับพืชหมุนเวียนชนิดอื่น เช่น อ้อย ข้าวโพด เป็นต้น นอกจากจะมีรายได้เพิ่มจากการขายแล้ว ยังเป็นการบำรุงให้อุดมสมบูรณ์ด้วย มีสารไนโตรเจนที่สร้างความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ดินเป็นจำนวนมาก
ถั่วแดง หรือถั่วแดงหลวง มีโปรตีนที่เป็นแหล่งพลังงาน มีปริมาณไขมันอิ่มตัวหรือไขมันเลวน้อยเมื่อเทียบกับเนื้อสัตว์ ช่วยเร่งอัตราการเผาผลาญของร่างกาย
ประโยชน์ของ ถั่วแดง หรือถั่วแดงหลวง
นอกจากสารไนโตรเจนที่มีประโยชน์กับดิน ถั่วแดง หรือถั่วแดงหลวง เป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงสำหรับคนอีกด้วย มีทั้งวิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกาย คือ โปรตีน ที่ได้มีคุณค่าเหมือนกับโปรตีนที่ได้จากเนื้อสัตว์ เหมาะสำหรับผู้ที่รับประทานมังสวิรัติใช้เป็นแล่งโปรตีนทดแทนโปรตีนจากเนื้อสัตว์ หรือเป็นแหล่งโปรตีนเสริมสำหรับผู้ที่รับประทานเนื้อยู่แล้วก็ได้เช่นเดียวกัน>> ทำไมโปรตีนเป็นสารอาหารที่ร่างกายขาดไม่ได้ อยากรู้มาดูกันค่ะ
>> ประโยชน์ของธาตุเหล็กคืออะไรและสำคัญอย่างไร มาดูกันบทความนี้ค่ะ
ถั่วแดง หรือถั่วแดงหลวง ช่วยลดน้ำหนักได้อีกด้วยเพราะมีโปรตีนที่เป็นแหล่งพลังงานกับร่างกายแต่มีปริมาณไขมันอิ่มตัวหรือไขมันชนิดที่เป็นโทษต่อร่างกายน้อยมากเมื่อเทียบกับโปรตีนที่ได้จากเนื้อสัตว์ ช่วยเร่งอัตราการเผาผลาญของร่างกายให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ทำให้มีการเผาผลาญไขมันที่ได้รับเข้าไปและดึงไขมันที่สะสมตามส่วนต่างของร่างกายออกมา และมีเส้นใยที่มีคุณสมบัติพิเศษคือช่วยดูดซับน้ำได้มาก มีอัตราการพองตัวสูง เมื่อร่างกายได้รับเข้าไปเส้นใยจะเข้าไปเส้นใยจะพองตัวขึ้น ทำให้น้ำย่อยทำงานได้ช้าลงเป็นผลให้การดูดซึมสารอาหารเกิดขึ้นได้ช้าลงอีกด้วย ทำให้เรารู้สึกอิ่มนานขึ้น ลดการทานขนมกินเล่นหรือการทานจุบจิบระหว่างมื้ออาหาร จึงทำให้น้ำหนักตัวจึงลดลงเมื่อรับประทานถั่งแดงเป็นประจำ ต่างจากรับประทานเนื้อสัตว์ที่มีแต่โปรตีนและมีเส้นใยในปริมาณที่น้อยมาก ดังนั้นเมื่อรับประทานเนื้อสัตว์จะถูกย่อยได้อย่างรวดเร็วทำให้รู้สึกหิวเร็วขึ้น เส้นใยยังช่วงล้างสารพิษไม่ให้ตกค้างอยู่ในร่างกาย ช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานเป็นปกติ ป้องกันอาการท้องผูกที่เป็นสาเหตุต้นๆของเกิดโรคมะเร็งที่เกี่ยวกับระบบขับถ่ายและลำไส้
โฟเลตและวิตามินบี ที่มีประโยชน์ต่อสตรีที่กำลังตั้งครรภ์อย่างมาก เพราะช่วยเสริมสร้างกระบวนมนการสร้างเซลล์สมองและประสาท ลดความเสี่ยงของสตรีในคลอดบุตรก่อนกำหนด ช่วยให้ทารกในมีพัฒนาการที่สมบูรณ์ทั้งอวัยวะและสมอง
ช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงในการเกิดโรคที่เกี่ยวกับระบบประสาทของทารก ทำให้เด็กมีน้ำหนักตามเกณฑ์และมีไอคิวเป็นปกติ ช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคที่เกี่ยวกับหัวใจ
ธาตุเหล็กยังช่วยปรับสภาพเลือดให้แข็งแรง ลดอาการอ่อนเพลีย สมองสั่งงานช้าที่มีสาเหตุจากความเข้มข้นของเลือดน้อยหรือเลือดจาง
แคลเซียม เมื่อรับประทาน ถั่วแดง หรือถั่วแดงหลวง ต่อเนื่องแล้ว ร่างกายจะมีกระดูกและฟันที่แข็งแรง เนื่องจากแคลเซียมเป็นส่วนประกอบสำคัญในการสร้างกระดูกแลฟัน เมื่อร่างกายได้รับในปริมาณที่เพียงพอจะป้องกันการเสื่อมของข้อกับกระดูกและโรคกระดูกพรุน โดยเฉพาะโรคมะเร็งกระดูกและยังช่วยรักษาความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ สำหรับสตรีวัยหมดประจำเดือนแคลเซียมยังลดอาการวัยทอง สำหรับสตรีที่มีปัญหาเกี่ยวกับมดลูก มีอาการปวดบริเวณท้องน้อย ชิงกราน แนะนำให้นำถั่วแห้งครึ่งกิโลกรัมห่อด้วยผ้าขาวหรือใส่ในถุงผ้า มัดปากให้สนิทด้วยเชือกที่ทนความร้อน ทำการมัดคล้ายกับลูกประคบก็ได้ นำเข้าไปอบด้วยเตาอบหรือเตาไมโครเวฟ ทำการอบด้วยไฟปานกลางเป็นเวลา 3-4 นาที นำถุงที่อบแล้วมาประคบบริเวณท้องน้อยจะช่วยลดอาการอักเสบ ลดการคั่งของเลือดภายใน ลดอาการปวดบวมได้เป็นอย่างดี
ถั่วแดง หรือถั่วแดงหลวง นั้นเราสามารถนำมาประกอบเป็นอาหารได้ทั้งอาหารคาวและอาหารหวาน โดยเฉพาะอาหารหวานจะนิยมเป็นพิเศษ เนื่องจากเมื่อนำมาทำอาหารหวานแล้วรสชาติจะเป็นเอกลักษณ์น่ารับประทานอย่างยิ่ง เช่น ทำเป็นไส้ขนมปัง เค้ก ขนมโดริยากิ วุ้นถั่วแดงกวน เป็นต้น และยังสามารถนำมาแปรรูปเป็นวัตถุดิบสำหรับทำอาหารได้ด้วย เช่น แป้งที่ทำจากถั่วแดง เป็นต้น
ถั่วแดง หรือถั่วแดงหลวง ในประเทศไทยหาซื้อได้ทั่วไป สำหรับใครที่ยังนึกไม่ออกว่าเมนูอาหารหวานวันนี้จะทำอะไรรับประทานดี ก็ให้นึกถึงเมนูที่มีรสชาติอร่อยและยังอุดมไปด้วยสารอาหารอีกมากมาย
อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่างเอกสารอ้างอิง
"Raw Kidney Beans". Home Food...
ทำลายอนุมูลอิสระด้วย ถั่วบราซิลช่วย ( Pinto Peanut )
ถั่วบราซิล
ถั่วบราซิล ( Pinto Peanut ) หรือ ถั่วลิสงเถา เป็นที่รู้จักกันดีสำหรับนักแต่งสวน เพราะว่านิยมนำมาปลูกเป็นพืชคลุมดินแทนหญ้าบางชนิดเพื่อความสวยงาม ถั่วบราซิลหรือถั่วปิ่นโต ถั่วลิสงเถา ถั่วเปรู และทางการค้าจะรู้จักกันในชื่อ “ ถั่วอมาริลโล ” มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Arachis Piotoi เป็นพืชตระกูลถั่วที่อยู่ในวงศ์ LEGUMINOSAE PAPILIONOIDEAE ต้นกำเนิดอยู่แถบอเมริกาใต้โดยเฉพาะประเทศบราซิล
>> คอเลสเตอรอล ( Cholesterol ) คืออะไร หาคำตอบได้จากบทความนี้ค่ะ
>> ทำไมคอเลสเตอรอลชนิด LDL ต้องควบคุมไม่ให้สูงเกินไป หาคำตอบได้ที่นี่ต่ะ
โดยมีลักษณะทั่วไปของถั่วบราซิล
ลำต้นของถั่วบราซิล มีความคล้ายคลึงกับต้นถั่วลิสง ลำต้นมีความสูงไม่มากนักคือสูงประมาณ 5 นิ้ว ลำต้นจะเลื้อยไปตามพื้นดินไม่ชอบที่จะเลื้อยขึ้นไปตามต้นไม้หรือที่เลื้อยขึ้นที่สูงจึงสามรถคลุมดินได้ดีและเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็วทีเดียว
ใบของถั่วบราซิล เหมือนกับใบถั่วลิสงแต่ว่าขนาดเล็กกว่าใบของต้นถั่วลิสงเล็กน้อย เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกสภาพที่มีสารอาหารเพียงพอ การที่ถั่วบราซิลนิยมนำมาปลูกเป็นพืชคลุมดินก็เพราะว่าทนทานต่อสภาพอากาศที่แห้งแล้งได้ดี ขึ้นได้ดีแม้ว่าจะมีปลูกในพื้นที่ที่มีร่มเงาและเมื่อโดนเหยียบย่ำอยู่เป็นประจำก็ยังทนได้ไม่ตายและไม่เลื้อยขึ้นตามต้นไม้ยืนต้นที่ขึ้นอยู่บริเวณใกล้เคียง ทำให้ไม่ต้องกังวลว่าต้นถั่วจะไปรัดไม้ยืนต้นจนตายเหมือนกับต้นถั่วลายหรือถั่วผี เวลาออกดอกจะทำให้พื้นที่ดูสดใสขึ้นจากดอกที่มีสีเหลืองสด ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ดและการปักชำ เวลาที่เราเริ่มปลูกในครั้งแรกต้องนำเมล็ดมาเป็นพันธุ์ก่อน เมื่อลำต้นงอกออกมาแล้ว สามารถนำต้นถั่วบราซิลมาปักชำเพื่อขยายพันธุ์ได้ โดยที่ไม่ต้องรอเมล็ดแก่จากต้นพันธุ์ที่นำมาปลูก ทำให้การขยายพันธุ์ทำให้เร็วและประหยัดค่าใช้จ่ายในการซื้อเมล็ดพันธุ์ด้วย
การดูแลและการปลูก ถั่วบราซิล ให้ได้ผลดีนั้น ควรเริ่มปลูกในช่วงต้นของฤดูฝนโดยการปลูกในตอนแรกควรปลูกด้วยการหว่านเมล็ดก่อน การหว่านให้ใช้เมล็ดในอัตราส่วนเมล็ดถั่วจำนวน 2 กิโลกรัมต่อพื้นที่ 1 ไร่หรือทำการขุดหลุมที่มีความลึกประมาณ 2-3 เซนติเมตร มีระยะห่างระหว่างหลุมอยู่ที่ประมาณ 50 x 50 เซนติเมตร แล้วค่อยหย่อนเมล็ดพันธุ์แทนการหว่านก็ได้ เพื่อเป็นการประหยัดเมล็ดพันธุ์ถั่วบราซิล แต่ถ้าต้องการนำต้นกล้ามาปลูกแทนการหว่านเมล็ด ให้ทำการเพาะชำต้นกล้าให้มีความสูงประมาณ 10 เซนติเมตรและจัดเตรียมหลุมสำหรับปลูกเหมือนเดิม ผ่านไปประมาณ 2 สัปดาห์เมล็ดถั่วถั่วบราซิลจะเริ่มงอก ในช่วงแรกที่ต้นพันธุ์งอกออกมาจากเมล็ดจะเติบโตช้า แต่ว่าเมื่อผ่านไป 1 อาทิตย์ต้นกล้าเริ่มแข็งแรงอัตราการเจริญเติบโตจะเพิ่มขึ้นเท่าตัว อายุ 1 เดือนขึ้นไปจะเริ่มออกดอกไปเรื่อย โดยเฉพาะในฤดูฝนที่มีการออกมามากที่สุดช่วงเดือน การเก็บเมล็ดพันธุ์ถั่วบราซิลควรจัดเก็บไม่นานเกิน 2-3 เดือนเพราะว่าถ้านานกว่านี้อัตราการงอกจะน้อยกว่า 60-70% ช่วงแรกที่ต้นถั่วบราซิลอาจจะแลดูว่ามีพื้นที่ว่างมาก แต่เมื่อต้นถั่วเจริญเติบโตแล้วต้นถั่วบราซิล จะแผ่ขยายลำต้นไปทั่วพื้นที่เองโดยไม่ต้องนำเมล็ดมาปลูกเพิ่ม
การดูแลรักษา ถั่วบราซิล ช่วง 1-2 เดือนแรกที่ลงต้นกล้าหรือเมื่อเมล็ดพันธุ์เริ่มแทงยอดขึ้นหรือส่วนที่ยื่นออกมาของ Peg ที่มีลักษณะคล้ายเข็มเป็นแท่งเรียวเล็ก และควรทำการกำจัดวัชพืชย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันไม่ให้วัชพืชแย่งสารอาหารในดินไปจนหมดจะทำให้ต้นกล้าไม่เติบโต ประมาณเดือนที่ 3-4 จะเริ่มมีการแทงดอกออกช่ออย่างสวยงามโดยเฉพาะในช่วงเดือนสิงหาคมและเดือนกันยายน ดอกจะเริ่มลดลงในเดือนตุลาคมเป็นต้นไป ส่วนที่เป็นเมล็ดถั่วบราซิลจะอยู่ใต้ดินลึกประมาณ 5-10 เซนติเมตรจากหน้าดิน หนึ่งฝักมีเพียงหนึ่งเมล็ดเท่านั้น
สามารถเก็บเมล็ด ถั่วบราซิล ได้เมื่ออายุประมาณ 8 เดือนเป็นต้นไป การเก็บเมล็ดถั่วที่อยู่ใต้ดินทำได้หลายวิธีขึ้นอยู่กับชนิดของดินที่ทำการปลูก ถ้าปลูกในดินร่วนปนทรายก็ให้ขุดทั้งต้นออกมาทำการร่อนดินและทรายออกจนหมดก็จะได้เมล็ด แต่ถ้าเป็นดินเหนียววิธีการจะยุ่งยากกว่าดินปนทราย นั่นคือต้องนำต้นที่ขุดออกมาจากดินมาแช่น้ำไว้ประมาณ 15-20 นาทีเพื่อให้ดินคลายตัวออกจากเมล็ด แล้วค่อยนำไปร่อนเอาดินที่ดินอยู่ เมล็ดที่ได้ให้นำมาล้างให้สะอาดและนำไปตากให้แห้งอย่างน้อย 3 วันก็จะได้เมล็ดถั่วบราซิลที่พร้อมปลูกหรือไปปรุงอาหารได้
ประโยชน์ของ ถั่วบราซิล
ถั่วบราซิล หรือ ถั่วลิสงเถา คือ ถั่วที่มีเมล็ดของถั่วสะสมสารอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการอยู่มาก คือถั่วหนัก 1 ปอนด์จะให้ 186 แคลอรีซึ่งประมาณ 90% ที่ของแคลลอรีที่ได้รับมาจากไขมันที่มีอยู่ในถั่วนั้นเอง มีธาตุซีลิเนียมที่สูงมาก ซีลิเนียมเป็นธาตุที่ป้องกันไม่ให้ผนังของหลอดเลือดโดนทำลายจากสารอนุมูลอิสระและคอเลสเตอรอล ( Cholesterol )ที่เป็นที่มาของไขมันอุดตันและโรคหัวใจอีกด้วย โดย ซีลิเนียมมีเอนไซม์ กลูตาไธโอน เพอคอรซิเดส ( Glutathione Peroxidase ) ที่สามารถยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่นของไขมันและคอเลสเตอรอลให้กลายเป็นไขมันเลว ทำให้ไขมันเลวลดลงลดการเกิดไขมันอุดตันในเส้นเลือดได้นั่นเอง ร่างกายจึงต้องการธาตุเซเลเนียมจากภายนอกเข้าสู่ร่างกายเพื่อใช้ในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ทำงานได้เป็นปกติ และยังช่วยทำให้ผิวพรรณอ่อนเยาว์กว่าวัย ด้วยการป้องกันไม่ให้เซลล์ผิวหนังโดนทำลายจากอนุมูลอิสระที่มีอยู่...
ถั่วขาว ( Navy Bean ) ตัวช่วยในการลดน้ำหนัก
ถั่วขาว
ถั่วขาว ( Navy Bean ) คือ พืชตระกูลถั่วจัดเป็นพืชวงศ์เดียวกับถั่วเหลือง มีชื่อเดิมว่า ถั่วแฮริคอต ( Haricot Bean ) มีต้นกำเนิดอยู่ในประเทศเม็กซิโกและกัวเตมาลา ซึ่งมีการปลูกถั่วขาวอยู่เป็นจำนวนมากในพื้นที่สูงของประเทศ ต่อมาชาวแอทเทกส์ ( Aztecs ) ได้นำไปปลูกยังอเมริกากลาง และมีการแพร่ขยายพันธุ์เข้าไปยังยุโรป อเมริกาเหนือ อังกฤษ เรื่อยมาจนในปัจจุบันนี้มีการปลูกอยู่ทั่วไป และได้มีการนำมาผลิตเป็นอาหารและนำมาสกัดสารใช้เป็นส่วนผสมในอาหารเสริมหลายชนิด ในปัจจุบันนี้ประเทศหลักที่ส่งออกถั่วขาวของโลกคือประเทศลาตินอเมริกา
ประเทศไทยเราก็มีการนำเข้าถั่วขาวด้วยเช่นกัน ถึงแม้ว่าเราจะมีการปลูกถั่วขาวแต่ก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของท้องตลาดภายในประเทศ ถั่วขาวในประเทศไทยมีการเรียกอยู่หลายชื่อด้วยกัน ขึ้นอยู่กับสถานที่เพาะปลูก เช่น ภาคใต้เรียก “โปรงหรือโปรย” สตูลเรียก “ปร้ย” จันทบุรีเรียกว่า “ประสักขาว” เพชรบุรีเรียกว่า “ลุ่ย” เป็นต้น
ลักษณะทั่วไปของ ถั่วขาว
ถั่วขาว มีลักษณะคล้ายกับถั่วฝักยาวและถั่วบอร์ลอตติ ( Borlotti Bean ) จัดเป็นพืชตระกูลถั่วที่เป็นพืชล้มลุกมีอายุประมาณหนึ่งปีหรือที่เรียกว่าพืชฤดูเดียว ลำต้นขึ้นเป็นพุ่มไม่สูงมากนักมีใบหนาทึบ ถั่วขาวบางสายพันธุ์มีพุ่มสูงกว่า 15 เซนติเมตรแต่บางายพันธุ์จะมีความสูงเฉลี่ย 8-15 เซนติเมตรเท่านั้น ลักษณะของพุ่มมีรูปทรงคล้ายปิรามิดเหมือนกับต้นของถั่วแขกและถั่วแดงหลวง ส่วนโคนต้นมีขนาดใหญ่ ลำต้นถั่วขาวมีเปลือกหยาบสีเทาหรือสีน้ำตาลรอบต้น ซึ่งทำให้รอบๆ ต้นมีช่องอากาศขนาดเล็กอยู่ทั่วไป รากจะงอกออกมาจากบริเวณโคนต้นที่เรียกว่ารากอากาศ
ใบ ส่วนของใบจะยื่นออกมาบริเวณข้อของต้น ใบมี ถั่วขาว ลักษณะเป็นกลุ่มที่ปลายก้านโดยแต่ละกลุ่มจะมี 3 ใบ ลักษณะของใบถั่วขาวคล้ายกับใบโพธิ์ คือมีฐานใบกว้าง ส่วนปลายแหลม ลักษณะเนื้อบนใบเนียนเรียบเช่นเดียวกับขอบใบ ด้านบนของใบมีสีเขียวเข้มกว่าด้านล่างของใบ มีขนเล็กๆ คล้ายกำมะหยี่อยู่รอบใบ
ดอก ดอกจะออกเป็นช่อในหนึ่งช่อจะมีดอกอยู่ประมาณ 3 ดอกต่อหนึ่งช่อซึ่งเป็นลักษณะพิเศษของ ถั่วขาว ดอกมีขาวอมม่วง ดอกถั่วขาวเป็นดอกสมบูรณ์เพศเช่นเดียวกับดอกถั่วชนิดอื่นๆ นั่นคือมีเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกัน สมารถผสมพันธุ์กันเกิดเป็นผลได้โดยไม่ต้องอาศัยเกสรจากดอกอื่น ดอกจะมีก้านยื่นออกมาจากช่อมีความยาวประมาณ 1 เซนติเมตร ก้านของช่อดอกจะยื่นออกมาจากซอกของก้านในที่ติดกันอยู่
ฝัก ผลของต้นถั่วขาวเราเรียกว่าฝักเหมือนถั่วชนิดอื่น มีลักษณะกลมเป็นทรงกระบอกยาวเรียวยาวหรือเรียวโค้ง มีความยาวกประมาณ 7-14 เซนติเมตร มีความกว้างประมาณ 0.4-0.6 เซนติเมตร ฝักอ่อนมีสีเขียว ฝักแก่มีสีน้ำตาล ถั่วขาวจะมีการออกดอกและให้ผลผลิตเกือบทั้งปี ฝักมีเมล็ดอยู่ภายใน การเรียงของเมล็ดจะเรียงตามแนวยาวของฝัก จำนวนเมล็ดจะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับความยาวและความสมบูรณ์ของฝัก ซึ่งเมล็ดเป็นส่วนที่รับประทานได้ เมล็ดมีสีขาวเป็นทรงกลมซึ่งเป็นที่มาของชื่อ ถั่วขาว เมล็ดมีขนาดเล็กกว่าเมล็ดถั่วแดงหลวง>> ลดน้ำหนักไม่ใช่เรื่องยาก อยากรู้มาดูกันบทความนี้ค่ะ
>> สารอาหารที่เร่งการเผาผลาญไขมันส่วนเกินในร่างกายมีอะไรบ้าง มาดูกันค่ะ
คุณสมบัติและประโยชน์ของ ถั่วขาว
ถั่วขาว เป็นถั่วที่มีคุณค่าทางอาหารไม่ต่างจากถั่วชนิดอื่น แต่สาเหตุที่ทำให้ถั่วขาวเป็นที่รู้จักกันมากก็คือการที่ถั่วขาวช่วยลดน้ำหนักได้ การที่ถั่วขาวช่วยลดน้ำหนักได้ เนื่องจากในถั่วขาวมีฟาซิโอลามิน ( Phaseolamin ) ที่จะเข้าไปยับยั้งการทำงานของเอ็นไซม์แอลฟา อะไมเลส ( Alpha amylase ) ที่เป็นตัวย่อยสลายแป้งที่ร่างกายได้รับเข้าไปให้มีขนาดเล็กจนกลายเป็นน้ำตาลที่ร่างกายสมารถดูดซึมได้ เมื่อฟาซิโอลามิน ( Phaseolamin ) ยับยั้งการทำงานของเอ็นไซม์แอลฟา อะไมเลส ทำให้ไม่สามารถเปลี่ยนแป้งเป็นน้ำตาลหรือเปลี่ยนได้ช้าลง ทำให้ปริมาณน้ำตาลที่ร่างกายจะดูดซึมเข้าไปก็น้อยลง น้ำหนักเราจึงไม่ขึ้นและลดลงเมื่อได้รับฟาซิโอลามิน ( Phaseolamin ) ซึ่งได้มีการนำสารสกัดจากถั่วขาวไปผสมในอาหารเสริม กาแฟ ชา เช่น กาแฟผสมถัวขาว ถั่วขาวผสมคอลลาเจน เป็นต้น เพื่อลดน้ำหนักเป็นจำนวนมาก มีทั้งที่เป็นแบบผงไว้สำหรับชงดื่มและแบบอัดเม็ดพร้อมทานได้ทันที
การรับประทาน ถั่วขาว สามารถรับประทานได้ทั้งที่แปรรูปเป็นอาหารเสริมแล้ว และนำมาปรุงอาหารหรือขนมหวานเพื่อรับประทานได้ทันที เช่น น้ำเต้าหู้ ถั่วขาวกะทิสด เป็นต้น หรือจะนำมาทำให้อยู่ในรูปแป้งที่นำไปทำขนมได้อีกด้วย แต่ว่าไม่เป็นที่นิยมเท่าใดนัก เพราะว่าถั่วขาวที่อยู่ในท้องตลาดมีราคาแพงและหาซื้อได้ยาก ไม่เหมาะที่จะนำมาปรุงอาหารรับประทานเองหรือทำเพื่อจำหน่าย คนที่ต้องการควบคุมหรือลดน้ำหนักควรเลือกทานอาหารที่มีถั่วขาวเป็นส่วนผสมอยู่ด้วย รับรองว่าคุณจะมีหุ่นสวย...
ปลากะตัก (Anchovy) เล็กแต่แจ๋ว เปิดสรรพคุณที่คุณต้องทึ่ง
ปลากะตัก หรือ ปลาจิ้งจั้ง
ปลากะตัก (Anchovy) อาจจะเป็นปลาขนาดเล็กที่หลายคนอาจมองข้าม แต่คุณรู้ไหมว่าปลากะตักเต็มไปด้วยสรรพคุณที่ดีต่อร่างกายอย่างไม่น่าเชื่อ? ด้วยสารอาหารที่อุดมไปด้วยโปรตีนสูง, โอเมก้า-3, และแร่ธาตุต่างๆ เช่น แคลเซียมและฟอสฟอรัส ปลากะตักไม่เพียงช่วยบำรุงสุขภาพกระดูกและสมองเท่านั้น แต่ยังช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน และช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจอีกด้วย นอกจากนี้ ปลากะตักยังมีสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยปกป้องเซลล์จากการทำลายของสารพิษต่างๆ ทำให้เป็นอาหารที่คุณไม่ควรพลาด
>> ร่างกายมีการดูดซึมแคลเซียมได้อย่างไร มาดูกันในบทความนี้ค่ะ
>> น้ำมันตับปลามีประโยชน์อย่างไรบ้าง อยากรู้มาดูกันค่ะ
ปลากะตัก หรือ ปลาจิ้งจั้ง
ปลากะตัก ออกเสียงไม่เหมือนกันในแต่ละภาค บ้างก็เรียก ปลากะตะ ปลากระตัก คือ ปลาทะเลขนาดเล็กชนิดหนึ่ง มีขนาดตัวโตเต็มที่ประมาณ 6 นิ้ว เป็นปลาที่มีลักษณะรูปร่าง คล้ายคลึงกับปลาซาดีน แต่มีขนาดที่เล็กกว่า มีเกร็ดเป็นสีเงินส่องประกาย เป็นปลาที่อยู่ในสายพันธุ์เดียวกับปลาไส้ตัน ปลากะตักนี้สามารถพบได้ตามท้องทะเลทั่วโลก
ปลากะตักหรือปลาจิ้งจั้งใช้ทำเป็นเมนูอะไรได้บ้าง?
ปลากะตัก เป็นปลาอีกหนึ่งชนิด ที่นำมาใช้ประกอบเป็นอาหาร นิยมนำมาหมักเค็มแล้วแช่ในน้ำมัน มีรสชาติออกเค็มและมีกลิ่นที่จัด ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของปลาชนิดนี้ ปลาข้าวสาร คือชื่อเรียกลูกปลากะตักที่ยังไม่โตนั่นเอง ปลาข้างสาร มีประโยชน์มากมายสามารถนำไปใช้ประกอบอาหารได้หลากหลายเมนู เช่น นำไปทานคู่กับสลัด ใช้ทำเป็นหน้าพิซซ่า ใช้ผัดกับสปาเก็ตตี้ และอื่นๆแล้วตามความชอบ ปลากะตักชนิดสดโดยมากชาวตะวันตกจะนิยมนำไปทำเป็นซุปทานกัน
กินปลากะตัก หรือ ปลาฉิ้งฉ้าง ( ปลาจิ้งจั้ง ) ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ และยังช่วยลดระดับความดันในโลหิตได้
ประโยชน์ของปลากะตักหรือปลาจิ้งจั้ง
ปลากะตัก จะอุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์อย่าง เช่น กรดไขมันโอเมก้า 3 โปแทสเซียม ( Potassium ) และแคลเซียม ( Calcium ) ในปริมาณที่สูง การทานปลากะตัก ขนาด 3 ออนซ์ จะให้พลังงาน 10 แคลอรี แบ่งเป็น ไขมัน 4 กรัม โพแทสเซียมมากกว่า 300 มิลลิกรัม และแคลเซียม 125 มิลลิกรัม การทานปลากะตักในปริมาณที่เหมาะสม จะได้รับสรรพคุณที่ดี มีประโยชน์กับร่างกาย นอกจากปลากะตัก หรือ ปลาจิ้งจั้งแล้ว ปลาเล็กปลาน้อยก็มีประโยชน์ และให้แคลเซียมสูงด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ปลากะตักยังสามารถนำไปดองน้ำปลาได้เหมือนกับปลาไส้ตัน
ข้อแนะนำในการทานปลากะตักหรือปลาจิ้งจั้ง
1. ปลากะตักแบบกระป๋อง เรียกว่า ปลาแอนโชวี่กระป๋อง ควรเลือกซื้อชนิดที่อยู่ในน้ำมันปลา หรือในน้ำมันมะกอก มากว่าการเลือกชนิดที่อยู่ในน้ำมัน เนื่องจากชนิดที่อยู่ในน้ำมัน จะมีปริมาณของไขมัน คอเลสเตอรอล ( Cholesterol ) และโซเดียม ( Sodium ) ในระดับที่สูง ซึ่งไม่ส่งผลดีต่อสุขภาพ
2. การเลือกซื้อปลากะตักแบบสดมาปรุงอาหาร หากใช้ไม่หมด จะสามารถเก็บใส่ตู้เย็น เพื่อรักษาความสดของปลาไว้ได้ประมาณ 2 วัน แต่หากนานกว่านี้ ต้องนำไปแช่แข็งโดยหุ้มให้สนิทด้วยกระดาษห่อสำหรับช่องแช่แข็งโดยเฉพาะ เพื่อให้เนื้อปลายังคงความสดไว้ได้นาน
ปลากะตัก ถือว่าเป็นปลาทะเลที่มีประโยชน์และสรรพคุณที่ดีต่อร่างกาย ทั้งช่วยป้องกันโรคหัวใจ และช่วยลดระดับความดันโลหิต ผู้บริโภคควรรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม และรู้จักเลือกประเภทให้ถูกต้อง เพื่อให้เกิดประโยชน์กับร่างกายอย่างสูงสุด
อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่างเอกสารอ้างอิง
"ทะเลไทย" โดย ภาคภูมิ วิธานติระวัฒน์ จากหนังสือ "ปลาหายไปไหน" และ รายงานการประมงในประเทศไทยโดย กรีนพีซ มิถุนายน พ.ศ. 2555.
สมโภชน์ อัคคะทวีวัฒน์, เกษตรและสหกรณ์,กระทรวง กรมประมง ....
อัลมอนด์มีแคลเซียมสูงขนาดไหนกันนะ? ( Almonds )
อัลมอนด์
อัลมอนด์ ( Almonds ) ถั่วยอดนิยมสำหรับคนทุกเพศทุกวัย ถั่วเม็ดเล็ก ๆกรุบๆกรอบๆ ถ้าได้ลองกินสักครั้งรับรองว่าต้องติดใจกันทุกคน อัลมอนด์เป็นเมล็ดของผล Drupe ที่เป็นผลแบบเมล็ดเดี่ยวคือภายในลูกจะมีเพียงแค่เมล็ดเดียวเท่านั้น เมล็ดมีลักษณะคล้ายรูปหยดน้ำมีเปลือกสองชั้น เปลือกชั้นนอกสุดมีความแข็งมาก ส่วนเปลือกชั้นในจะมีลักษณะเป็นเยื่อบางๆติดอยู่กับเมล็ด เมล็ดสามารถทานพร้อมกับเมล็ด ผลอ่อนมีสีเขียวเมื่อแก่จะมีสีน้ำตาลอ่อน เนื้อภายในเมล็ดมีสีขาวครีม มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Prunus Dulcis ( Mill. ) D.A.Webb หรือ Prunus amygdalus Batsch เป็นพืชอยู่ในวงศ์กุหลาบ ( Rosaceae )
เมล็ดอัลมอนด์ มีต้นกำเนิดอยู่ในตะวันออกกลางและภูมิภาคเอเชียใต้ ด้วยรสชาติและคุณประโยชน์ที่มีอยู่ในอัลมอนด์ ทำให้อัลมอนด์แพร่ขยายพันธุ์ไปทั่วโลก อัลมอนด์เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ ลำต้นสูงมีความสูง 4-10 เมตร ใบยาวประมาณ 3-5 นิ้ว ใบมีเป็นหยักโดยรอบ ดอกประกอบด้วยกลีบดอก 5 กลีบ โคนกลีบรวมกันตรงกลางมีเกสรดอก โคนกลีบดอกจะมีสีเข้มกว่าปลายดอก>> เส้นใยอาหาร ช่วยรักษาระดับน้ำตาลในเลือดได้อย่างไร อยากรู้มาดูกันค่ะ
>> ไขมันดี HDL เป็นอย่างไร อยากรู้มาดูกันในบทความนี้ค่ะ
ชนิดของ อัลมอนด์
1.อัลมอนด์ชนิดหวาน ( Sweet Almond ) อัลมอนด์ชนิดนี้เป็นที่นิยมนำมาทานเล่นหรือนำไปปรุงอาหารทั้งคาวและหวาน นอกจากการปรุงรับประทานแล้วยังนำไปสกัดทำน้ำมันอัลมอนด์เพื่อใช้การปรุงอาหารแทนน้ำมันพืชชนิดอื่น อัลมอนด์สายพันธุ์ดอกจะมีสีขาว เมล็ดยาวกว่าสายพันธุ์บิทเทอร์เล็กน้อย
2.อัลมอนด์ชนิดขม ( Bitter Almon ) เป็นอัลมอนด์ที่เราไม่สามารถรับประทานได้ทันที เราต้องนำไปสกัดน้ำมันหรือสกัดสารอาหารที่มีประโยชน์ออกมาใช้แทนการรับประทานเล่น ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่าในอัลมอนด์ชนิดนี้จะมีสารพิษที่ชื่อว่าสารไซยาไนด์ ( Cyanide ) สารนี้มีอัตรายถึงตายได้เมื่อได้รับเข้าสู่ร่างกาย อัลมอนด์สายพันธุ์นี้มีดอกสีชมพู เมล็ดอ้วนแป้นและมีขนาดเล็กกว่าพันธุ์หวาน
อัลมอนด์ ( Almonds ) เป็นถั่วชนิดหนึ่งที่อุดมด้วยไขมันดี โปรตีน แมกนีเซียม โพแทสเซียม และวิตามินอีที่ช่วยต้านอนุมูลอิสระ
ประโยชน์ของ อัลมอนด์
อัลมอนด์ คือ ถั่วที่มีสารอาหารที่ทรงคุณค่าต่อร่างกายมากกว่าถั่วชนิดอื่นๆ ถึงขั้นที่เป็นอาหารติดอันดับ 1 ใน 10 ของสุดยอดอาหารที่กินเพื่อสุขภาพ ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่าในอัลมอนด์ทุกเมล็ดนั้นอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย วิตามินและแร่ธาตุที่มีอยู่ในอัลมอนด์ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายมีดังนี้เปลือกของเมล็ดอัลมอนด์มีสารฟลาโวนอยด์ ( Flavonoids ) จากงานวิจัยของ TUFTS University พบว่าสารฟลาโวนอยด์จะทำงานร่วมกับวิตามินอี เข้าไปช่วยดูแลผนังหลอดเลือดให้แข็งแรง
สถาบันที่มีชื่อเสียงของทั้งอเมริกาและยุโรป ได้ทำการวิจัยเกี่ยวกับการรับประทาน อัลมอนด์ พบว่าการรับประทานอัลมอนด์เป็นประจำทุกวันวันละ 1 หยิบ ช่วยลดระดับไขมันเลวได้ถึง 4.4 % และถ้าเพิ่มอัตราการกินเป็น 2 หยิบมือต่อวันสามารถช่วยลดระดับไขมันเลวได้ถึง 9.4 % ที่ถือว่าเป็นอัตราการเพิ่มที่สูงมาก เมื่อระดับของไขมันเลวลดลงไขมันที่จะเข้าไปในอุดตันในเส้นเลือดก็มีปริมาณลดลง จึงไม่มีการอุดตันในเส้นเลือด เป็นการป้องกันและลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและโรคที่เกี่ยวข้องกับหลอดเลือดที่ดีและได้ผลดีมากลดอัตราเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวาน โดยการลดระดับน้ำตาลในเลือด เพราะว่าเมื่อรับประทานอัลมอนด์ อัลมอนด์จะเข้าไปช่วยให้มีการหลั่งสารอินซูลินหลังรับประทานอาหาร ทำให้ตับและเนื้อเยื่อส่วนต่างๆ สามารถดูดซึมน้ำตาลในกระแสเลือดที่ได้รับจากรับประทานอาหาร เมื่อน้ำตาลที่ได้รับเข้ามาถูกดูดซึมไปจนหมดแล้ว ระดับน้ำตาลในเลือดก็จะลดลงนั่นเอง เมื่อระดับน้ำตาลในเลือดคงที่การหลั่งสารอินซูลินเป็นปกติ อัตราเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวานก็ลดน้อยลงด้วย
อัลมอนด์ ยังมีประโยชน์สำหรับคนที่ต้องการควบคุมหรือลดน้ำหนักอีกด้วย เพราะเมื่อรับประทานอัลมอนด์เป็นประจำ ไม่ว่าจะการรับประทานแทนอาหารมื้อหลัก รับประทานแทนขนมกินเล่น รับประทานเป็นอาหารว่างจะช่วยลดการกินจุกกินจิกและลดดความหิวระหว่างมื้ออาหาร และเมื่อรับประทานเป็นประจำทุกวันจะช่วยลดน้ำหนักได้ เพราะในอัลมอนด์ 1 เมล็ดนั้นให้พลังงานเพียงแค่ 7 แคลลอรีเท่านั้น เมื่อรับประทานไม่กี่เมล็ดก็จะรู้สึกอิ่มนานอีกด้วย อัลมอนด์จะช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในร่างกายที่เป็นแหล่งผลิตไขมันที่สะสมอยู่ในร่างกาย เมื่อคอลเลสตอรอลลดลงแล้วไขมันที่เกิดขึ้นใหม่ก็ลดลงด้วย
ได้มีการทดลองจากนักวิจัยของประเทศแคนาดาและประเทศสหรัฐอเมริกา ทำการทดลองโดยจัดกลลุ่มทดลองขึ้นมาหนึ่งกลุ่ม ซึ่งทำการคัดเลือกผู้สมัครที่มีความเสี่ยงต่อการมีระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูงมาร่วมการทดลอง โดย 3 อาทิตย์แรกให้คนกลุ่มนี้รับประทานอาหารที่มีไขมันไม่อิ่มตัวที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ต่อจากนั้นให้รับประทานอัลมอนด์ 9 สัปดาห์พบว่าระดับคอเลสเตอรอลของคนในกลุ่มทดลองลดลงพ้นจากการเสี่ยงในการมีคอเลสเตอรอลในเลือดสูงได้ทุกคน และระดับไขมันไม่ดี (...