ผักปลัง สุดยอดสมุนไพรพิชิตเบาหวาน

0
11218
ผักปลัง
ผักปลัง สุดยอดสมุนไพรพิชิตเบาหวาน ผักพื้นบ้านรสหวาน ต้นมีรสเย็นจึงเป็นยาเย็นช่วยดับพิษไข้ร้อน มีคุณค่าทางอาหาร มีแคลเซียมและธาตุเหล็กสูง

ผักปลัง สุดยอดสมุนไพรพิชิตเบาหวาน

ผักปลัง คือ

ผักปลัง ( Ceylon Spinach ) คือ ผักพื้นบ้านรสหวานนิดหน่อยจุดเด่นเมื่อลวกจะมียางหรือเมือกยืดๆ สามารถกินได้ทั้งใบ ดอก และยอดอ่อน นิยมนำยอดอ่อนผักปลังสดมาปรุงเป็นอาหาร ผักปลังปลูกง่าย ออกยอดเกือบตลอดปียิ่งเป็นช่วงฤดูฝน และฤดูหนาว พบปลูกกันมากทางภาคอีสานและภาคเหนือนิยมนำ เป็นพืชผักที่สามารถขึ้นเองได้ตามธรรมชาติ เช่น สวน ไร่ นา ชาวบ้านนำไปปลูกบริเวณรั้วบ้านเพื่อให้เถาเลื้อยขึ้น สามารถขยายพันธุ์ได้ 2 วิธี คือการเพาะเมล็ดและการชำกิ่งแก่ และการเพาะเมล็ด

ชนิดของผักปลัง

ผักปลัง มีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด ได้แก่ ผักปลังแดง และผักปลังขาว เป็นต้นที่มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนของเอเชียและแอฟริกา ทั้งต้นมีรสเย็นจึงเป็นยาเย็นช่วยดับพิษไข้ร้อนได้ ดอก ราก ต้นและใบมีรสหวานเอียน เป็นผักที่มีคุณค่าทางอาหาร มีแคลเซียมและธาตุเหล็กสูง และยังอุดมไปด้วยวิตามินเอ วิตามินบี และวิตามินซี นิยมนำยอดอ่อน ใบอ่อน และดอกอ่อนมาลวกหรือต้มให้สุกใช้รับประทานร่วมกับน้ำพริก หรือนำมาประกอบอาหารในเมนูจำพวก “ผักปลัง” ต่าง ๆ นอกจากนั้นยังนำผลมาคั้นเอาน้ำสีแดงทาเล่น หรือใช้แต่งสีอาหารได้

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ

ชื่อวิทยาศาสตร์ : (ผักปลังแดง) Basella rubra L. และ (ผักปลังขาว) Basella alba L.
ชื่อสามัญ : มีชื่อสามัญว่า “Ceylon spinach” “East Indian spinach” “Indian spinach” “Malabar nightshade” “Vine spinach”
ชื่อท้องถิ่น : ภาคกลางเรียกว่า “ผักปลังใหญ่ ผักปลังขาว ผักปลังแดง” ภาคเหนือเรียกว่า “ผักปั๋ง ผักปั่ง” คนไทยเรียกว่า “ผักปรัง ผักปรังใหญ่” ชาวเมี่ยนเรียกว่า “เดี้ยจุ่น” ชาวม้งเรียกว่า “มั้งฉ่าง” แต้จิ๋วเรียกว่า “เหลาะขุ้ย โปแดงฉ้าย” จีนกลางเรียกว่า “ลั่วขุย”
ชื่อวงศ์ : วงศ์ผักปลัง (BASELLACEAE)

ลักษณะของผักปลัง

ผักปลัง ชื่อทางวิทยาศาสตร์ของผักปลัง คือ : Basella alba Linn. พืชไม้เลื้อยที่มีเถายาวลำต้นสีเขียว และสีม่วงแดง อวบน้ำไม่มีขน ถ้าชนิดสีม่วงแดงเรียกว่าผักปลังแดง แต่ถ้าเป็นชนิดสีเขียวเรียกว่า ผักปลังขาว ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ มีรูปร่างคล้ายรูปหัวใจหรือรูปไข่ ป้อม ปลายใบแหลมขอบใบเรียบแผ่นใบอวบน้ำ แผ่นใบเป็นมันเกลี้ยง ดอกออกเป็นช่อตามง่ามใบ 1 ดอกมี 5 กลีบดอกสีขาวอมชมพูผลอ่อนสีเขียวผลกลมฉ่ำน้ำ ผลแก่มีสีม่วงอมดำ

แหล่งที่มาของผักปลัง

พบมากในแถบแอฟริกา และมีการกระจายพันธุ์ในทวีปเอเชีย เช่น จีน ญี่ปุ่น พม่า ลาว กัมพูชา เป็นต้น ในประเทศไทยพบได้ทั่วไปแทบทุกภาค

การปลูกผักปลังขาย อาชีพที่สร้างรายได้หลักพันต่อวัน

ปัจจุบันมีคนจำนวนไม่น้อยที่ตกงานหลังจากทั่วโลกเจอโรคระบาดอย่างโควิด-19 รวมถึงประเทศไทยของเราด้วย ทำให้หลายคนกลับไปสานต่ออาชีพเกษตรปลูกผักพื้นบ้านที่ลงทุนน้อย แต่สร้างรายได้หลักพันต่อวัน รวมถึงการปลูกผักปลังขายวันนี้มีวิธีการปลูกผักปลังง่ายๆ ที่ทุกคนสามารถทำได้ที่บ้าน การขยายพันธุ์ผักปลังที่นิยมกันมาก คือ เพาะเมล็ด จะได้ต้นกล้าที่แข็งแรงทนต่อสภาพอากาศ
ขั้นตอนการปลูกผักปลัง

  • เตรียมแปลงที่จะลงปลูกโดยไถพรวนดินให้เรียบร้อย หรือจะปลูกในกระถางก็ได้
  • ใส่ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอกเพื่อลองพื้นก่อนปลูก
  • ใช้รถยกร่องให้มีความสูง 20-30 เซนติเมตร
  • ขุดหลุมลึกประมาณ 3 เซนติเมตร (เว้นความห่างระหว่างหลุม 30 เซนติเมตร)
  • เตรียมไม้สำหรับทำคานให้พักปลัง

สรรพคุณทางยา

ผักปลังเป็นสมุนไพรธรรมชาติที่มีประโยชน์ทั้งต้นมีฤทธิ์เย็น ลดไข้ นำมาต้มดื่มแก้ขัดเบา แก้ท้องผูก โขลกพอกแก้กลาก ผื่นคัน แก้พิษฝีดาษ แก้อักเสบ
ใบ มีรสหวานเอียน ระบายท้อง ขับปัสสาวะ แก้บิด แก้อักเสบ แก้โรคกระเพาะอักเสบ แก้กลาก แก้ผื่นคัน ฝี
ดอก รสหวานเอียน ใช้ทาแก้กลากเกลื้อน แก้โรคเรื้อน ดับพิษฝีดาษ แก้เกลื้อน คั้นเอาน้ำทาแก้หัวนมแตกเจ็บ
ต้น รสหวานเอียน แก้อึดอัดแน่นท้อง ระบายท้อง แก้พิษฝีดาษ แก้พิษฝี แก้อักเสบบวม ต้มดื่มแก้ไส้ติ่งอักเสบ
ราก รสหวานเอียน แก้มือเท้าด่าง แก้รังแค แก้โรคผิวหนัง แก้ท้องผูก

สรรพคุณของผักปลัง

  • ช่วยลดการอักเสบ
  • ช่วยขับปัสสาวะ
  • ช่วยบำรุงสายตา
  • ช่วยบำรุงเลือดลม
  • เป็นยาระบายอ่อนๆ
  • ช่วยแก้ท้องผูก
  • ช่วยลดคอเลสเตอรอล
  • ช่วยรักษาโรคผิวหนัง
  • ช่วยป้องกันการเกิดนิ่ว
  • ช่วยบำรุงร่างกาย
  • ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน
  • ช่วยลดความดันโลหิตสูง
  • ช่วยรักษาโรคริดสีดวงทวาร
  • ช่วยแก้อาการท้องอืด แน่นท้อง
  • ช่วยป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
  • ช่วยรักษาอาการผื่นคัน ผื่นแดง
  • ช่วยป้องกันมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
  • ช่วยล้างพิษ ดับพิษฝีดาษ
  • ช่วยถอนพิษไข้ แก้ร้อนใน

ประโยชน์ของผักปลัง

1. เป็นส่วนประกอบของอาหาร นิยมใช้ยอดอ่อน ใบอ่อน และดอกอ่อนมาลวกหรือต้มให้สุกทานร่วมกับน้ำพริก ยอดอ่อนและใบอ่อนนำไปประกอบอาหารพวกเมนูผักปลัง ผลอ่อนก็ใช้รับประทานได้ ชาวล้านนานิยมนำยอดอ่อนและดอกอ่อนมาใช้เป็นส่วนผสมในการปรุงอาหารประเภท จอ ที่เรียกว่า “จอผักปลัง” หรือ “จอผักปั๋ง” ผลใช้สำหรับแต่งสีอาหารทั้งคาวและหวานให้น่ารับประทานจะได้สีม่วงแดง ส่วนต่าง ๆ มีรสหวานใช้แต่งรสอาหาร
2. เป็นของเล่นเด็ก เด็ก ๆ นิยมนำน้ำสีแดงในผลมาเล่นกัน โดยใช้ทาหน้า ทาปาก เล่นลิเกหรือเล่นละคร
3. ใช้แทนหมึก ผสมน้ำใช้แทนหมึกสีแดงได้ เขียนหนังสือได้ดี
4. ปลูกเป็นไม้ประดับ นิยมปลูกเป็นผักริมรั้วหรือขึ้นร้านเป็นไม้ประดับ
5. เป็นยาสระผม รากนำมาต้มน้ำใช้สระผมเพื่อช่วยแก้รังแคได้
6. เป็นความเชื่อ ชาวเหนือใช้ผักปลังในพิธีสะเดาะเคราะห์เพื่อป้องกันผีตายโหง และเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ที่ตายไปแล้ว ใช้ทำเป็น “บ่วงเครือผักปลัง” ซึ่งเชื่อว่าจะทำให้คลอดบุตรได้ง่ายไม่มีติดขัด

คุณค่าทางโภชนาการ

คุณค่าทางสารอาหารของผักปลัง 100 กรัม ( ยอดอ่อน ใบอ่อน ดอกอ่อน ผลอ่อน ) ประกอบไปด้วย

พลังงาน 21 กิโลแคลอรี่ ( Kcal )
แคลเซียม 4 มิลลิกรัม
ฟอสฟอรัส 50 มิลลิกรัม
คาร์โบไฮเดรต 2.6 กรัม
เส้นใย 0.8 กรัม
ไขมัน 0.2 กรัม
เหล็ก 1.5 มิลลิกรัม
โปรตีน 2 กรัม
Vitamin A 9316 IU
Vitamin B1 0.07 มิลลิกรัม (mg)
Vitamin B2 0.20 มิลลิกรัม (mg)
Vitamin C 26 มิลลิกรัม (mg)
ไนอะซิน 1.1 มิลลิกรัม (mg)

การศึกษาพิษวิทยา

วิจัยของนักวิจัยอินเดียที่ได้ตีพิมพ์ผลงานวิจัยเกี่ยวกับการทดสอบผลของสารสกัดจากใบผักปลังด้วยเอทานอลและน้ำในหนูถีบจักรทดลอง ด้วยการกรอกสารสกัดน้ำของใบในขนาด 100 – 200 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักตัวให้หนูทดลองเป็นเวลา 2 สัปดาห์ ผลปรากฎว่าไม่พบว่ามีความผิดปกติ

การวิจัยค่าทางโลหิตวิทยา ส่วนการทดลองในหนูขาวที่กินสารสกัดจากใบผักปลังด้วยเอทานอล ,น้ำ และเฮกเซน ติดต่อกัน 1 สัปดาห์ พบว่าหนูขาวที่ได้รับสารสกัดด้วยเอทานอลและเฮกเซนจากใบผักปลัง จะมีปริมาณน้ำย่อยอะไมเลสเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นกลไกหนึ่งในการช่วยลดภาวะเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานได้

เมนูอาหารพื้นบ้านจากผักปลัง

    • แกงจืดผักปลังหมูสับ
    • แกงเลียงผักปลัง
    • แกงส้มผักปลัง
    • แกงผักปลังใส่หอย
    • แกงปลาใส่ผักปลัง
    • แกงผักปลัง
    • ผัดผักปลังใส่แหนม
    • ผักปลังผัดน้ำมัน
    • ผักปลังผัดใส่ไข่
    • ผักปลังลวกจิ้มน้ำพริกปลาทู
    • แกงส้มชะอมดอกผักปลัง
    • ผักปลังหมูกรอบ
    • ผัดเปรี้ยวหวานผักปลัง
    • ยำดอกผักปลัง

ข้อแนะนำ/ข้อควรระวัง

เนื่องจากผักปลังเป็นผักที่นำมาทำเป็นอาหารยังไม่มีผลกระทบอะไรกับสุขภาพ แต่หากใช้ผักปลังในรูปแบบสารสกัดหรือในรูปแบบอื่นๆ นั้น เพื่อความปลอดภัยคงต้องปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญถึงขนาดและวิธีใช้ก่อนใช้เสมอ

นอกจากผักปลังจะเป็นผักสมุนไพรพื้นบ้านที่มีประโยชน์ในการบรรเทาอาการต่างๆ โดยสามารถนำไปต้มจิ้มน้ำพริกกินเป็นอาหารก็ได้เช่นกัน ผักปลังอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุต่างๆรวมทั้งเบต้าแคโรทีน ซึ่งเมื่อได้กินเข้าไปร่างกายจะเปลี่ยนเป็นวิตามินบำรุงสายตา สามารถป้องกันโรคมะเร็ง และยังมีฤทธิ์ในการช่วยต้านทานอนุมูลอิสระ จากงานวิจัยของนักวิทยาศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัย Yaounde ในประเทศแคเมอรูน เมื่อปี พ.ศ.2555 พบว่าสารสกัดเมทานอลจากผักปลังสามารถช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศของเพศชายได้

สั่งซื้อผลิตภัณฑ์อาหารทางการแพทย์ เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

สรรพคุณและประโยชน์ของผักปลัง (ออนไลน์). สืบค้นจาก : https://www.winnews.tv (20 มิถุนายน 2562).
ผักปลัง (ออนไลน์). สืบค้นจาก : https://www.maeban.co.th (20 มิถุนายน 2562).
ผักปลัง ปลูกได้ทั่วไป มีคุณสมบัติป้องกันมะเร็ง (ออนไลน์). สืบค้นจาก : https://www.opsmoac.go.th (20 มิถุนายน 2562).
ผักปลัง (ออนไลน์). สืบค้นจาก : http://www.phargarden.com (20 มิถุนายน 2562).