การเสริมสร้างสมองสำคัญกับวัยไหน
ช่วงระยะเวลาที่สำคัญที่สุดที่เหมาะสำหรับการส่งเสริมการเรียนรู้นั้นเป็นช่วงแรกเกิดถึง 7 ปี เพราะการพัฒนาสมองในช่วงวัยนี้จะพัฒนาได้ถึง 80 %

การทำงานของสมอง

ระบบประสาททารกเริ่มพัฒนาตั้งแต่ในครรภ์มารดา 22 วัน หลังตั้งครรภ์ และมองจะพัฒนาไปจนกระทั่งเป็นวัยรุ่น และมีการพัฒนาและซ่อมแซมในวัยผู้ใหญ่ พัฒนาการส่วนต่าง ๆ ในสมองมีระยะเวลาที่ต่างกัน พัฒนามากในช่วงมารดาตั้งครรภ์ได้ 32 สัปดาห์ จนถึงทารกอายุ 18 เดือน เนื้อสมองส่วนกลีบหน้าผากส่วนหน้าทำหน้าที่ในการคิดวิเคราะห์ขั้นสูงในช่วง 6 เดือนแรก และบางส่วนจะมีการพัฒนาไปจนถึงช่วงเริ่มวัยผู้ใหญ่ พัฒนาการด้านอารมณ์ จะพัฒนามากในช่วง 3 ปีแรก ดังนั้นช่วงตั้งแต่มารดาตั้งครรภ์ถึง อายุ 3 ปีแรก เป็นช่วงที่สำคัญมากที่จะทำให้เด็กมีพัฒนาการทางสมอง

เสริมสร้างสมองและสุขภาพให้ดีได้อย่างไร

สมองของเด็กหลังคลอดทุกคนจะแบ่งเป็น 2 ซีก คือ สมองซีกขวา ซึ่งเป็นส่วนจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์จะพัฒนาได้มากในช่วงวัย 4-7 ปี ส่วนสมองซีกซ้าย เป็นส่วนของการคิดที่เป็นเหตุผลจะพัฒนาในช่วง 9-12 ปี และสมองทั้งสองด้านจะเจริญเติบโตเต็มที่เมื่อเด็กอายุ 11-13 ปี แต่สิ่งที่ทำให้เด็กแต่ละคนมีไอคิวที่ต่างกัน คือ วิธีการส่งเสริมการเรียนรู้ การอบรมเลี้ยงดู เซลล์สมองที่ไม่ได้เชื่อมโยงกันจะถูกทำลาย ซึ่งประสิทธิภาพของสมองส่วนนั้นก็จะขาดหายไป เช่น การคิดเป็น แก้ปัญหาเป็น ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

สารอาหารที่จำเป็นต่อการพัฒนาสมอง

1. ดีเอชเอ หรือ Docosahexaenoic acid (DHA)
เป็นกรดไขมันจำเป็น ชนิดไม่อิ่มตัวในกลุ่ม Omega-3 DHA ประโยชน์ของ DHA ในการพัฒนาสมองและสายตาของเด็กวัยรุ่น ช่วยพัฒนาสมองและสายตา ช่วยในการเรียนรู้ เสริมความจำ ช่วยป้องกันการเกิดโรคสมาธิสั้น เสริมให้มีสมาธิดีขึ้น ช่วยป้องกันปัญหาการเรียนรู้ช้า ทั้งการอ่านและการเขียน

2. เลซิติน (Lecithin) และ โคลีน (Choline)
สารโคลีนในเลซิตินจำเป็นต่อร่างกาย เพราะร่างกายจะนำโคลีนไปใช้ในกระบวนสร้างสารสื่อประสาท ใช้ในการสื่อสารข้อมูลต่างๆ ระหว่างเซลล์ประสาทและเนื้อเยื่อประสาท ช่วยเสริมพัฒนาการสมอง การพูด การเคลื่อนไหว ช่วยในการเรียนรู้ เสริมสร้างความจำที่ดี ควบคุมและส่งเสริมการทำงานของระบบประสาท ช่วยบรรเทาความเครียดที่เกิดขึ้นจากการเรียนหนังสือ

10 สารอาหารที่บำรุงสมอง

สมองเป็นอวัยวะที่ใช้พลังงานมาก โดยใช้พลังงานประมาณ20 เปอร์เซ็นต์ของแคลอรีในร่างกายดังนั้นสมองจึงต้องการเชื้อเพลิงที่ดีเพื่อรักษาสมาธิตลอดทั้งวัน

1. DHA&โอเมก้า 3 ช่วยบำรุงสมอง สายตา อีกทั้งเสริมสร้างการเชื่อมต่อของโครงข่ายใยประสาทของเซลล์สมอง พบในแซลมอน ปลาทู ทูน่า ปลาเฮอริ่ง ปลาซาร์ดีน อะโวคาโด ไข่แดง และธัญพืช เช่น ถั่วเหลือง ถั่ว เมล็ดแฟลกซ์ เป็นต้น ซึ่งพืชตระกูลถั่วนี้ยังมีวิตามินอีช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอัลไซเมอร์

2. ธาตุเหล็ก ช่วยนำออกซิเจนในเลือดไปเลี้ยงสมองและร่างกายให้ทำงานได้อย่างเต็มที่ พบในตับ เนื้อสัตว์ ผักใบเขียว ผักคะน้า กะหล่ำปลี บร็อคโคลี และธัญพืช เป็นต้น

3. กรดอะมิโนจำเป็น เป็นหน่วยย่อยของโปรตีน เป็นสารตั้งต้นของสารสื่อประสาท ช่วยให้สมองทำงานได้ดี พบในเนื้อสัตว์ นม ไข่ และธัญพืช เป็นต้น

4. ไอโอดีน มีความสำคัญต่อการทำงานของต่อมไทรอยด์ ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของร่างกาย การเจริญเติบโตของเซลล์สมอง ความจำ และสติปัญญาของเด็ก พบใน ปลาทู อาหารทะเล และนม เป็นต้น

5. วิตามินบี 12 ช่วยเสริมสร้างการทำงานของระบบประสาทและสมอง พบในอาหารทะเล ตับ ชีส นม และไข่ เป็นต้น

6. ดาร์กช็อกโกแลต
ดาร์กช็อกโกแลตมีโกโก้หรือที่เรียกว่าโกโก้ โกโก้มีสารฟลาโวนอยด์ ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญต่อสมอง ช่วยกระตุ้นการเติบโตของเซลล์ประสาทและหลอดเลือดในส่วนต่าง ๆ ของสมอง

7. เบอร์รี่
เบอร์รี่หลายชนิดมีสารต้านอนุมูลอิสระฟลาโวนอยด์เป็นอาหารที่ดีต่อสมอง ช่วยลดการอักเสบและความเครียด ปรับปรุงการสื่อสารระหว่างเซลล์สมอง สารที่พบในพวกเบอร์รี่ได้แก่ แอนโธไซยานิน กรดคาเฟอิก คาเทชิน และเควอซิทิน และพบในผลไม้ เช่น สตรอเบอร์รี่ แบล็คเบอร์รี่ บลูเบอร์รี่ ลูกเกดดำ หม่อน

8. พืชเต็มเมล็ด และ ธัญพืช
การรับประทานธัญพืชไม่ขัดสีจะได้รับวิตามินอีจากธรรมชาติอย่างแท้จริง เช่น ข้าวกล้องบาร์เล่ย์ข้าวสาลี ข้าวโอ๊ต ขนมปังโฮลเกรน พาสต้าโฮลเกรน เมล็ดทานตะวัน อัลมอนด์ เฮเซลนัท ถั่วลิสง เป็นต้น

9. กาแฟ
คาเฟอีนในกาแฟช่วยเพิ่มความสามารถของสมองในการประมวลผลข้อมูล และเป็นแหล่งของสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคพาร์กินสัน โรคอัลไซเมอร์

10. อะโวคาโด
อะโวคาโดเป็นแหล่งไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ช่วยบำรุงสมอง มีวิตามินและแร่ธาตุมากกว่า 20 ชนิด

ช่วงระยะเวลาที่สำคัญที่สุดที่เหมาะสำหรับการส่งเสริมการเรียนรู้นั้นเป็นช่วงแรกเกิดถึง 7 ปี เพราะการพัฒนาสมองในช่วงวัยนี้จะพัฒนาได้ถึง 80 %  และการรับประทานวิตามิน B, C หรือ E, เบต้าแคโรทีนหรือแมกนีเซียมเสริมอาจช่วยปรับปรุงการทำงานของสมองได้

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม