Home Blog Page 31

แฟรงกูล่า สรรพคุณเป็นยาระบายอ่อน ๆ

แฟรงกูล่า
แฟรงกูล่า สรรพคุณเป็นยาระบายอ่อน ๆ เป็นไม้กลางแจ้ง ใบเดี่ยว ดอกรูประฆังสีขาว ผลอ่อนสีแดง ผลแก่สีม่วงเข้ม เนื้อผลที่มีความฉ่ำน้ำ
แฟรงกูล่า
เป็นไม้กลางแจ้ง ใบเดี่ยว ดอกรูประฆังสีขาว ผลอ่อนสีแดง ผลแก่สีม่วงเข้ม เนื้อผลที่มีความฉ่ำน้ำ

แฟรงกูล่า

จัดเป็นพรรณไม้พุ่มที่แตกกิ่งก้านสาขาออกรอบ ๆ ต้น ตามลำต้นไม่มีหนาม ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด จัดเป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ชื่อสามัญ Alder Buckthorn, Buckthorn Bark ชื่อวิทยาศาสตร์ Frangula alnus Mill. ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Rhamnus frangula L. จัดอยู่ในวงศ์ วงศ์พุทรา (RHAMNACEAE)[1]

ลักษณะของต้นแฟรงกูล่า

  • ต้น
    – เป็นพันธุ์ไม้ประเภทกลางแจ้ง
    – ต้นมีความสูงประมาณความสูง 3-5 เมตร
    – เป็นพรรณไม้พุ่มที่สามารถแตกกิ่งก้านสาขาออกมาได้โดยรอบของตัวต้น
    – ตามลำต้นไม่มีหนาม[1]
    – ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด
  • ใบ
    – ออกใบในลักษณะที่เป็นใบเดี่ยว โดยจะออกใบเรียงสลับกันไปตามข้อของลำต้น
    – ใบมีลักษณะรูปร่างเป็นรูปไข่ แผ่นใบกว้างและแผ่นใบมีสีเป็นสีเขียว[1]
  • ดอก
    – ออกดอกในลักษณะที่รวมตัวกันเป็นกลุ่ม ๆ และจะออกดอกจากเฉพาะทางด้านข้างเท่านั้น โดยในกลุ่ม ๆ หนึ่งจะมีดอกอยู่ที่ประมาณ 2-3 ดอก[1]
    – ดอกรูประฆัง ดอกมีสีเป็นสีขาว ปลายดอกเป็นรอยหยักเล็กน้อย ส่วนโคนดอกเป็นมน
    – ดอกมีกลีบเลี้ยงสีเขียวไล่จากโคนกลีบขึ้นไปยังส่วนของปลายกลีบจะค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นสีเหลือง และดอกมีก้านสีเขียวค่อนข้างยาว
  • ผล
    – ผล มีลักษณะของเนื้อผลที่มีความฉ่ำน้ำ
    – ผลอ่อนจะมีสีเป็นสีแดง เมื่อผลแก่แล้วจะเปลี่ยนสีเป็นสีม่วงเข้ม
    – ภายในผลมีเมล็ดอยู่ 2 เมล็ด[1]

สรรพคุณของต้นแฟรงกูล่า

1. เปลือกต้นแบบสดนำมารับประทานเพื่อขับอาเจียน (เปลือกต้นสด)[1]
2. สำหรับผู้ที่มีอาการท้องผูกเป็นประจำ ให้นำเปลือกตากแห้งแล้วและเก็บเอาไว้อย่างน้อยเป็นเวลา 1 ปี นำมาใช้ทำเป็นยาระบายอ่อน ๆ แก้อาการท้องผูกได้ (เปลือกต้นแห้ง)[1]

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของต้นแฟรงกูล่า

  • มีสารสำคัญที่พบได้ ซึ่งได้แก่ gluco-flangulin (frangula-emodin-6-rhamnoside-8-gulcoside) และ frangulin (frangula-emodin-6-rhamnoside)[1]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “แฟรงกูล่า”. หน้า 588.

ต้นมะกา ช่วยแก้เหน็บชาและขับระดู

ต้นมะกา
ต้นมะกา ช่วยแก้เหน็บชาและขับระดู เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กใบเดี่ยว ดอกเดี่ยวหรือเป็นกระจุกสีเขียวอ่อนเกสรสีแดง ผลอ่อนจะเป็นสีเขียว ผลสุกจะเป็นสีม่วงดำ
ต้นมะกา
เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กใบเดี่ยว ดอกเดี่ยวหรือเป็นกระจุกสีเขียวอ่อนเกสรสีแดง ผลอ่อนจะเป็นสีเขียว ผลสุกจะเป็นสีม่วงดำ

ต้นมะกา

ต้นมะกา เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กสูงประมาณ 5-10 เมตร กิ่งก้านมีลักษณะแผ่กว้าง เปลือกลำต้นมีลักษณะเรียบและเป็นสีน้ำตาล ลำต้นแก่จะแตกเป็นสะเก็ด ขยายพันธุ์โดยการปักชำกิ่ง การเพาะเมล็ด การตอนกิ่ง เติบโตได้ดีในดินที่ร่วนระบายน้ำดี ชอบความชื้น ที่มีแสงแดดเต็มวัน สามารถพบเจอได้ที่ตามป่าโปร่งทุกภาคของประเทศไทย ชื่อทางวิทยาศาสตร์ของมะกา คือ Bridelia ovata Decne. อยู่วงศ์ยางพารา (EUPHORBIACEAE) ชื่อในท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น ส่าเหล้า (กะเหรี่ยง, จังหวัดแม่ฮ่องสอน), กอง (ภาคเหนือ), มัดกา (จังหวัดหนองคาย), ซำซา (จังหวัดเลย), ก้องแกบ (จังหวัดเชียงใหม่), สิวาลา (กะเหรี่ยง, จังหวัดแม่ฮ่องสอน), กองแกบ (ภาคเหนือ), มาดกา (จังหวัดนครราชสีมา, จังหวัดหนองคาย), มะกาต้น (จังหวัดเลย), ขี้เหล้ามาดกา (จังหวัดขอนแก่น) [1],[2]

ลักษณะต้นมะกา

  • ลักษณะของต้น เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กสูงประมาณ 5-10 เมตร กิ่งก้านมีลักษณะแผ่กว้าง เปลือกลำต้นมีลักษณะเรียบและเป็นสีน้ำตาล ลำต้นแก่จะแตกเป็นสะเก็ด
  • ลักษณะของใบ เป็นใบเดี่ยว ใบจะออกเรียงสลับกัน ใบเป็นรูปรี ที่ปลายใบจะมน ส่วนที่โคนใบจะมน ขอบใบจะเรียบหรือจะเป็นคลื่น ที่ขอบใบอ่อนกับยอดอ่อนจะเป็นสีแดง ใบกว้างประมาณ 3-8 เซนติเมตร ยาวประมาณ 8-21 เซนติเมตร ที่แผ่นใบด้านหลังมีลักษณะเกลี้ยงและเป็นสีเขียวเข้ม ที่ท้องใบจะมีลักษณะเป็นคราบสีขาว มีเนื้อใบที่บาง หลังใบเรียบ ส่วนท้องใบก็เรียบเช่นกัน ก้านใบจะสั้น[1],[2]
  • ลักษณะของดอก ดอกออกเป็นดอกเดี่ยวหรือเป็นกระจุกที่ตามซอกใบ ดอกมะกาจะเป็นดอกแบบแยกเพศอยู่ต้นเดียวกัน ดอกลักษณะเป็นสีเขียวอ่อน กลีบดอกมีอยู่ 5 กลีบ ที่ปลายกลีบดอกจะแหลม ส่วนที่โคนกลีบดอกจะเชื่อมกัน มีเกสรสีแดง[1],[2]
  • ลักษณะของผล เป็นรูปทรงกลม มีขนาดประมาณ 1 เซนติเมตร ผิวผลมีลักษณะเรียบ ผลอ่อนจะเป็นสีเขียว ผลสุกจะเป็นสีม่วงดำ เมล็ดเป็นรูปไข่และมีขนาดที่เล็ก[1],[2]
  • ขยายพันธุ์โดยการปักชำกิ่ง การเพาะเมล็ด การตอนกิ่ง

สรรพคุณต้นมะกา

1. สามารถช่วยแก้น้ำเหลืองเสีย และช่วยบำรุงน้ำเหลืองได้ (ใบ)[7]
2. สามารถช่วยแก้เหน็บชาได้ (ใบ)[7]
3. สามารถช่วยแก้ไตพิการได้ (แก่น)[1],[2]
4. สามารถช่วยระบายอุจจาระธาตุได้ (แก่น)[1],[2]
5. สามารถนำเปลือกต้นมาทานใช้เป็นยาสมานลำไส้ได้ (เปลือกต้น)[1],[2]
6. ใบและทั้งห้าสามารถช่วยขับลมได้ (ใบ, ทั้งห้า)[7]
7. เมล็ดสามารถช่วยทำให้ฟันแน่นได้ (เมล็ด)[5]
8. สามารถนำใบที่ตายแล้วมานึ่งใช้มวนเป็นยาสูบกัดเสมหะ หรือเอาไปต้มใช้ดื่มเป็นยาขับเสมหะได้ (ใบ)[2],[5]
9. เป็นยาขับเสมหะ (แก่น)[1],[2]
10. ใบมะกาจะมีรสขมขื่น มีสรรพคุณที่เป็นยาถ่ายพิษไข้ และถ่ายพิษตานซางในเด็กได้ (ใบ)[1],[2]
11. แก่นสามารถช่วยฟอกโลหิตได้ (แก่น)[1],[2]
12. ใบมะกาสามารถช่วยแก้โลหิตเป็นพิษได้ (ใบ)[7]
13. เป็นยาบำรุงโลหิต (ทั้งห้า)[7]
14. แก่นจะมีรสชาติขม เป็นยาแก้กระษัย (แก่น)[1],[2]
15. เปลือก มีรสฝาดขม สามารถใช้เป็นยาแก้พิษกระษัย และแก้กระษัยได้ (เปลือกต้น)[1],[2]
16. มีข้อมูลระบุว่าให้ใช้ใบเป็นยาแก้โรคกระษัย โดยนำใบมะกา แก่นขี้เหล็ก เถาคันแดง เหง้าสับปะรด รากต้นเสาให้ อย่างละเท่า ๆ กัน มาใส่ในหม้อดินต้มกับน้ำ แล้วก็ใส่เกลือทะเล 1 กำมือ นำน้ำยามาทาน (ใบ)[4]
17. สามารถใช้เป็นยาสมานแผลได้ (เปลือกต้น)[6]
18. ใบมะกาสามารถช่วยบำรุงน้ำดีได้ (ใบ)[7]
19. สามารถช่วยแก้มุตกิดของสตรี ช่วยคุมกำเนิด และช่วยขับระดูได้ (ใบ)[7]
20. นำใบมะกาสดมาปิ้งไฟ สามารถใช้เป็นยาระบายอ่อนได้ (ใบ)[1],[7] โดยนำใบมะกาแห้งมาปิ้งไฟให้พอกรอบ 2-5 กรัม มาชงกับน้ำที่เดือด แช่ไว้เป็นเวลาประมาณ 15-20 นาที เอามาดื่มก่อนนอนเป็นยาระบายได้ (ใบ)[5]
21. ใบมะกาสามารถช่วยในการย่อยอาหารได้ (ใบ)[7]
22. ใบมะกาสามารถช่วยชักลมที่สูงลงสู่ที่ต่ำได้ (ใบ)[1],[2]
23. ใบมะกาสามารถช่วยแก้อาการสะอึกได้ (ใบ)[7]
24. สามารถนำใบมะกามาต้มกับน้ำดื่มใช้เป็นยาถ่ายเสมหะและโลหิตได้ (ใบ)[1],[2]
25. สามารถใช้รากมะกากับใบมะกามาเป็นยาแก้ไข้ (ราก, ใบ)[5] ใบเป็นยาลดไข้ (ใบ)[7]
26. ใบมะกาสามารถช่วยบำรุงธาตุไฟได้ (ใบ)[7]
27. ใบมะกาสามารถช่วยแก้ตานขโมยได้ (ใบ)[7]

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

  • มีฤทธิ์ที่ต้านเชื้อแบคทีเรีย และกระตุ้นกล้ามเนื้อเรียบ[7]
  • จากการทดลองฤทธิ์ระบายกับผู้ป่วยที่ท้องผูก โดยนำใบมะกาแห้งประมาณ 1.5-2 กรัม มาชงกับน้ำที่เดือด แช่ไว้เป็นเวลานาน 10-20 นาที นำมาดื่มก่อนนอน พบว่าได้ผลที่ดี จะมีอาการข้างเคียงก็คือ คลื่นไส้ ปวดท้อง [3]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. ฐานข้อมูลพรรณไม้โรงเรียนบ้านเขาหินซ้อน(พัฒนาการภาคตะวันออก), งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน โรงเรียนบ้านเขาหินซ้อน จังหวัดฉะเชิงเทรา. “มะกา”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.hinsorn.ac.th/botanyhinsorn/. [13 พ.ค. 2014].
2. การใช้ประโยชน์จากป่าชุมชนเขาตายิ้ม อ.เมือง จ.ตราด, สำนักวิจัยการจัดการป่าไม้และผลิตผลป่าไม้ กรมป่าไม้ พ.ศ. 2549. “มัดกา, มะกา”. (ชูจิตร อนันตโชค, ทรรศนีย์ พัฒนเสร, วจีรัตน์ บุญญะปฏิภาค). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: forprod.forest.go.th/forprod/chemistry/pdf/1.66.pdf. [13 พ.ค. 2014].
3. หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. “มะกา (Maka)”. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). หน้า 213.
4. หนังสือสมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ. (คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “มะกา”. หน้า 66.
5. คมชัดลึกออนไลน์. “มะกา ใบขับเสมหะ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.komchadluek.net. [13 พ.ค. 2014].
6. งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน โรงเรียนวารินชำราบ สพม. เขต 29. “มะกา”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: ict2.warin.ac.th/botany/. [13 พ.ค. 2014].
7. หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคเหนือ. “มะกา”. หน้า 148. (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ).

อ้างอิงรูปจาก
1.https://powo.science.kew.org/
2.https://indiabiodiversity.org/observation/show/1816036

ต้นมะคังแดง รากใช้เป็นยารักษาโรคหัด

ต้นมะคังแดง รากใช้เป็นยารักษาโรคหัด เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก เปลือกลำต้นสีน้ำตาลแดงเข้ม และขนนุ่ม ดอกเป็นช่อสั้น ดอกย่อยสีเขียวอ่อน ผลกลมสีเขียวผิวเรียบ
ต้นมะคังแดง
เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก เปลือกลำต้นสีน้ำตาลแดงเข้ม และขนนุ่ม ดอกเป็นช่อสั้น ดอกย่อยสีเขียวอ่อน ผลกลมสีเขียวผิวเรียบ

ต้นมะคังแดง

ต้นมะคังแดง ขึ้นตามพื้นที่ป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง ป่าดิบชื้น และตามป่าเบญจพรรณ[1],[2],[3] เป็นไม้ยืนต้นกึ่งไม้พุ่มลำต้นมีหนามแหลมเปลือกไม้มีสีน้ำตาลแดง พืชสมุนไพรชนิดนี้จัดอยู่ในวงศ์เข็ม Rubiaceae และสมุนไพรชนิดนี้ใช้รากนำมาต้มเป็นกษาโรคหัด สามารถพบได้แถบอินเดีย อินโดจีน พม่า และในยารัไทย ชื่อวิทยาศาสตร์ Dioecrescis erythroclada (Kurz) Tirveng. ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Gardenia erythroclada Kurz ชื่ออื่น ๆ มะคังป่า (ในภาคเหนือ), ตุมกาแดง (ในภาคกลาง), มุยแดง ลุมปุกแดง ลุมพุกแดง (จังหวัดนครราชสีมา), มะคัง (จังหวัดเชียงใหม่), จงก่าขาว จิ้งก่าขาว ชันยอด (จังหวัดราชบุรี), จงก่าขาว ตะลุมพุกแดง (จังหวัดกาญจนบุรี), โรคแดง เป็นต้น[1],[2]

ลักษณะของต้นมะคังแดง

  • ต้น
    – เป็นไม้ประเภทไม้พุ่มกึ่งไม้ยืนต้นที่มีขนาดเล็ก
    – ลำต้นมีความของสูงอยู่ที่ประมาณ 6-12 เมตร
    – เปลือกลำต้นและกิ่งก้าน เป็นสีน้ำตาลแดงเข้ม และมีขนนุ่มคล้ายกับกำมะหยี่สีน้ำตาลแดงขึ้นปกคลุมอยู่ทั่ว
    – ตามบริเวณโคนต้น ลำต้น และกิ่งจะมีหนามขนาดใหญ่ขึ้นอยู่โดยรอบลำต้น พุ่งตรงออกมาเป็นระยะ ๆ และตามกิ่งก้านอ่อนจะมีสีเป็นสีน้ำตาลอมแดง
    – ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด
  • ใบ
    – ใบ มีลักษณะเป็นใบเดี่ยว โดยจะออกใบในรูปแบบที่เรียงตรงข้ามกัน
    – ใบขึ้นดกหนาทึบ และใบสามารถหลุดร่วงได้ง่าย
    – ใบมีลักษณะรูปร่างเป็นรูปรีกว้าง รูปวงรี หรือรูปไข่กลับ ตรงปลายใบและโคนใบ ส่วนขอบใบเรียบ บริเวณหลังใบด้านบนมีผิวเรียบ ส่วนท้องใบด้านล่างจะมีขนสีขาวขึ้นปกคลุมอยู่ หรือใบอาจจะมีขนทั้งสองด้าน
    – ก้านใบมีขนสีขาวขึ้นปกคลุม และใบมีหูใบเป็นรูปสามเหลี่ยม[1],[2]
    – ใบมีขนาดกว้างประมาณ 8-15 เซนติเมตร และยาวประมาณ 15-22 เซนติเมตร
  • ดอก
    – ออกดอกเป็นช่อสั้น ๆ โดยช่อจะมีขนาดเล็ก และดอกจะออกตามบริเวณซอกใบใกล้ปลายกิ่ง
    – ดอกย่อยมีสีเป็นสีเขียวอ่อน กลีบดอกมีทั้งสิ้น 5 กลีบ โคนกลีบดอกจะเชื่อมติดกัน
    – ลักษณะรูปร่างของกลีบดอกจะเป็นรูปกลม ดอกมีเกสรเพศผู้เป็นเส้นติดกันกับกลีบดอกวางอยู่ระหว่างกลีบดอก[1]
    – ออกดอกในช่วงประมาณเดือนเมษายนถึงช่วงเดือนกรกฎาคม[1],[3]
  • ผล
    – ผลเป็นรูปทรงกลม ผลมีสีเขียว ผิวผลเรียบ
    – ผลมีสันนูนขึ้นอยู่ประมาณ 5-6 สัน ตรงปลายผลมีกลีบเลี้ยงติดอยู่
    – ติดผลในช่วงประมาณเดือนเมษายนถึงช่วงเดือนกรกฎาคม(ช่วงเดียวกันกับช่วงที่ต้นออกดอก)[1],[3]

สรรพคุณของต้นมะคังแดง

1. เปลือกต้นนำมาใช้เข้ายากับต้นมุ่ยขาว นำมาทำเป็นยาลูกกลอน ไว้ใช้สำหรับแก้อาการปวดเส้นเอ็น แก้โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต และแก้โรคริดสีดวงทวาร (เปลือกต้น)[2]
2. เปลือกต้นนำมาตำใช้สำหรับพอกแผลสดเพื่อใช้ห้ามเลือดจากบาดแผลได้ (เปลือกต้น)[1],[2]
3. เนื้อไม้นำมาผสมกับหัวยาข้าวเย็น จากนั้นนำมาต้มกับน้ำไว้ใช้สำหรับดื่มเป็นยาแก้กษัยไตพิการได้ (เนื้อไม้)[1],[2]
4. เนื้อไม้นำมาต้มกับน้ำใช้สำหรับดื่มเป็นยาที่มีฤทธิ์ช่วยแก้อาการปวดท้องได้ (เนื้อไม้)[1],[2]
5. เนื้อไม้นำมาต้มกับน้ำไว้ใช้สำหรับดื่มเป็นยาแก้อาการเลือดลมเดินไม่สะดวก และแก้พิษโลหิตหรือพิษน้ำเหลืองได้ (เนื้อไม้)[1],[2]
6. แก่นนำมาต้มกับน้ำใช้สำหรับดื่มเป็นยาแก้อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อตามร่างกาย (แก่น)[2]
7. แก่นนำมาต้มกับน้ำใช้สำหรับดื่มเป็นยาแก้อาการมีรอบเดือนของสตรีได้ (แก่น)[2]
8. แก่นนำมาใช้ผสมกับต้นมุ่ยขาว มุ่ยแดง ต้นหนามแท่ง ต้นเล็บแมว และต้นเงี่ยงปลาดุก มาทำเป็นยาสำหรับการรักษามะเร็ง และโรคกระเพาะอาหาร (แก่น)[2]
9. รากนำมาใช้ทำเป็นยาถ่ายได้ (ราก)[2]
10. มีสรรพคุณในการนำมาใช้เป็นยาแก้ไข้ได้ (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)[2]

ประโยชน์ของต้นมะคังแดง

  • เนื้อไม้ นำมาใช้ทำหน้าไม้ใช้สำหรับล่าสัตว์ได้ และยังสามารถนำมาใช้ทำเป็นเครื่องมือทางการเกษตรได้อีกด้วย[3]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1.  (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์).  “มะ คัง แดง (Ma Khang Daeng)”.  หน้า 217.
2. ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.  “มะ คัง แดง”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : www.phargarden.com.  [04 พ.ย. 2014].
3. ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.  “มะ คัง แดง”.  อ้างอิงใน : หนังสือพรรณไม้สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เล่ม 2, ไม้ต้นในสวน Tree in the Garden.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : www.qsbg.org.  [04 พ.ย. 2014].
อ้างอิงรูปจาก
1.https://www.earth.com/
2.https://khmer-medicinalplants.blogspot.com/

ต้นมะจ้ำก้อง ช่วยแก้อาการไอ แก้อาการท้องเสีย

ต้นมะจ้ำก้อง ช่วยแก้อาการไอ แก้อาการท้องเสีย เป็นไม้พุ่มขนาดใหญ่ ไม่มีข้อปล้อง ดอกเป็นช่อสีขาวแกมชมพูจาง ๆ ผลกลมขนาดเท่ากับเม็ดขนุนสีแดง ผลสุกสีม่วงดำหรือสีดำ
ต้นมะจ้ำก้อง
เป็นไม้พุ่มขนาดใหญ่ ไม่มีข้อปล้อง ดอกเป็นช่อสีขาวแกมชมพูจาง ๆ ผลกลมขนาดเท่ากับเม็ดขนุนสีแดง ผลสุกสีม่วงดำหรือสีดำ

ต้นมะจ้ำก้อง

ต้นมะจ้ำก้อง มีเขตการกระจายพันธุ์ในแถบอินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย โดยจะพบขึ้นตามป่าชั้นกลางภายในป่าดิบแล้ง ป่าดิบชื้น โดยจะพบได้มากในบริเวณริมลำธารหรือตามทุ่งหญ้าที่ชื้นแฉะ ที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 30-1,050 เมตร[1],[2] ชื่อวิทยาศาสตร์ Ardisia sanguinolenta Blume ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Ardisia colorata Roxb. จัดอยู่ในวงศ์ วงศ์ PRIMULACEAE (MYRSINACEAE)[1],[2] ชื่ออื่น ๆ อ้ายรามใบใหญ่ (จังหวัดตรัง), ทุรังกะสา (จังหวัดสตูล), มะจำก้อง (จังหวัดเชียงใหม่), ตาปลา (จังหวัดตราด), กระดูกไก่ ก้างปลา ก้างปลาเขา (จังหวัดจันทบุรี), พิลังกาสา เหมือด (จังหวัดเลย), จีผาแตก (จังหวัดลพบุรี), กาลังกาสาตัวผู้ (จังหวัดนครราชสีมา), ตาเป็ดตาไก่ (จังหวัดนครศรีธรรมราช)[1],[2]

ลักษณะของต้นมะจ้ำก้อง

  • ต้น
    – เป็นพันธุ์ไม้ประเภทพุ่มที่มีขนาดใหญ่หรือเป็นพันธุ์ไม้ประเภทยืนต้นที่มีขนาดเล็ก
    – ลำต้นมีความสูงอยู่ที่ประมาณ 1-4 เมตร
    – ลำต้นมีสีเป็นสีเทาเข้ม ไม่มีข้อปล้อง ผิวเกลี้ยงไม่มีขนขึ้นปกคลุม
    – ลำต้นแตกกิ่งก้านสาขาจากปลายยอด
  • ใบ
    – มีใบในลักษณะที่เป็นใบเดี่ยว โดยใบจะออกเรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก
    – ลักษณะรูปร่างของใบเป็นรูปใบหอกกลับหรือรูปไข่ ตรงปลายใบแหลมหรือเป็นติ่งแหลม ๆ ส่วนโคนใบสอบ บริเวณขอบใบเรียบ
    – แผ่นใบผิวหนาแข็งเป็นมัน ซึ่งผิวใบจะเรียบเป็นสีเขียว และใบอ่อนจะมีสีเป็นสีแดง[1],[2]
    สัดส่วนขนาดของใบ: ใบมีขนาดความกว้างอยู่ที่ประมาณ 3.8-7.5 เซนติเมตร และมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 12.5-25 เซนติเมตร
  • ดอก
    – ออกดอกเป็นช่อในลักษณะที่แยกแขนงเป็นรูปพีระมิด โดยดอกจะออกที่บริเวณปลายกิ่งก้านหรือตามส่วนยอดของต้น
    – ช่อดอกย่อยจะออกในรูปแบบกระจุกลักษณะคล้ายกับซี่ร่ม
    – ออกดอกตลอดทั้งปี แต่ในช่วงเดือนตุลาคมจะออกดอกมากเป็นพิเศษ[1],[2]
    – ช่อดอกย่อย จะมีกลีบดอกทั้งสิ้น 5 กลีบ กลีบดอกมีสีเป็นสีขาวแกมชมพูจาง ๆ ใบมีรูปร่างรีแกมรูปขอบขนาน บริเวณโคนกลีบจะเชื่อมติดกัน
    – กลีบเลี้ยงมีทั้งสิ้น 5 กลีบ มีลักษณะรูปร่างเป็นรูปสามเหลี่ยม และจะมีจุดสีดำหรือมีขนสั้น ๆ ขึ้นกระจายอยู่ทั่วกลีบเลี้ยง
    – ดอกมีเกสรเพศผู้เป็นสีเหลือง และมีก้านช่อดอกเป็นสีม่วงอมแดง
  • ผล
    – ผลเป็นผลสดแบบมีเนื้อเมล็ดเดี่ยว
    – ผลเป็นทรงกลม มีขนาดเท่ากับเม็ดขนุน ผลตอนอ่อนจะมีสีเป็นสีแดง แต่เมื่อผลสุกหรือผลแก่แล้วก็จะเปลี่ยนเป็นสีม่วงดำหรือสีดำ
    – ภายในผลมีเมล็ดทรงกลมอยู่ 1 เมล็ด[1]

สรรพคุณ และประโยชน์ของต้นมะจ้ำก้อง

1. ลำต้นนำมาใช้ทำเป็นยาแก้โรคกษัยได้ (ลำต้น)[3]
2. ลำต้นนำมาใช้ทำเป็นยาแก้โรคเรื้อนได้ (ลำต้น)[1],[2]
3. ลำต้นนำมาใช้ทำเป็นยาฟอกขับปัสสาวะให้บริสุทธิ์ มีฤทธิ์ในการแก้นิ่ว และแก้ปัสสาวะขุ่นข้นได้ (ลำต้น)[3]
4. ในประเทศมาเลเซียที่รัฐเประ จะนำใบมาต้มกับน้ำใช้สำหรับรักษาอาการติดเชื้อไวรัส (ใบ)[4]
5. ใบ ช่วยแก้อาการไอได้ (ใบ)[2]
6. ตำรายาของไทยจะใช้ใบ นำมาทำเป็นยาแก้โรคตับพิการ (ใบ)[1],[2]
7. ใบ นำมาใช้ทำเป็นยาแก้อาการท้องเสียได้
8. ดอก มีสรรพคุณในการนำมาทำเป็นยาฆ่าเชื้อโรคได้ (ดอก)[2]
9. ผล นำมาใช้ทำเป็นยาแก้ไข้ได้ (ผล)[1],[2]
10. ผลนำมาใช้ทำเป็นยาแก้อาการท้องเสียได้ (ผล)[1],[2]
11. ผลมีฤทธิ์เป็นยาแก้ธาตุพิการ และแก้โรคซางได้ (ผล)[2]
12. ผลและเมล็ดมีฤทธิ์เป็นยาแก้โรคลมพิษได้ (ผล, เมล็ด)[2]
13. ราก นำมาตำผสมกับเหล้า โดยจะกรองกากเอาแต่น้ำมาดื่ม ส่วนกากที่กรองออกมาก็สามารถนำเอามาพอกใช้ปิดแผล โดยจะมีฤทธิ์เป็นยาถอนพิษงู (ราก)[2]
14. รากนำมาใช้ทำเป็นยาแก้กามโรค และโรคหนองในได้ (ราก)[1],[2]
15. ใช้ปลูกสำหรับเป็นไม้ประดับได้ เนื่องจากมีทรงพุ่ม ใบและช่อดอกที่มีความสวยเด่นชวนให้เพลิดเพลินตา (แต่ดอกไม่มีกลิ่นหอม)

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

1. จากการศึกษาค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับต้น พบเม็ดสี (pigment) สีส้มทองชื่อ Rapanone ภายในเปลือกต้น ซึ่งเมื่อนำมาใช้ทำการทดลองกับหนูที่ติดเชื้อโรคเรื้อน โดยให้ยากับหนูทดลองตัวนี้ติดต่อกันเป็นระยะเวลา 6-12 เดือน ก็ได้ผลลัพธ์ว่าสามารถลดการเพิ่มจำนวนของเชื้อโรคเรื้อนได้[1]

2. สารสกัดจากผลสุก สามารถนำมารับประทานยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อที่ทำให้เกิดอาการท้องเสีย (Salmonella spp. และ Shigella spp.)[1]

3. สารสกัดจากเปลือกต้นมีฤทธิ์ในการเข้าไปยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อหนองในภายในหลอดทดลองได้[1]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ. (คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “พิลังกาสา”. หน้า 55.
2. ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. “มะจ้ำก้อง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.qsbg.org. [04 พ.ย. 2014].
3. พืชสมุนไพรโตนงาช้าง. “มะจ้ำก้อง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : paro6.dnp.go.th/web_km/พืชสมุนไพรโตนงาช้าง/. [04 พ.ย. 2014].
4. Joutnal of Ethnobiology and Ethnomedicine. “Ethnomedical survey of plants used by the Orang Asli in Kampung Bawong, Perak, West Malaysia.”. (Samuel AJ, Kalusalingam A, Chellappan DK, Gopinath R, Radhamani S, Husain HA, Muruganandham V, Promwichit P.)

อ้างอิงรูปจาก
1.https://www.biolib.cz/
2.https://www.researchgate.net/

ต้นมะลิดิน สรรพคุณใช้เป็นยาขับปัสสาวะ

ต้นมะลิดิน
ต้นมะลิดิน สรรพคุณใช้เป็นยาขับปัสสาวะ เป็นพันธุ์ไม้ล้มลุก ใบเดี่ยวสีเขียวเข้มและผิวเป็นมันวาว ดอกเป็นช่อขนาดเล็กเป็นสีขาวมีขน ผลทรงกลมสีแดงสดหรือสีแดงอมส้ม มีความฉ่ำน้ำ
ต้นมะลิดิน
เป็นพันธุ์ไม้ล้มลุก ใบเดี่ยวสีเขียวเข้มและผิวเป็นมันวาว ดอกเป็นช่อขนาดเล็กเป็นสีขาวมีขน ผลทรงกลมสีแดงสดหรือสีแดงอมส้ม มีความฉ่ำน้ำ

มะลิดิน

ต้นมะลิดิน เป็นพืชที่มีเขตการกระจายพันธุ์กว้าง สามารถพบได้ที่แถบแอฟริกา เอเชีย มาดากัสการ์ และอเมริกา ประเทศไทยสามารถพบได้ทุกภาค มักจะขึ้นใต้ร่มเงาไม้ภายในป่าดิบชื้น ป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง และป่าดิบเขา เติบโตที่ระดับความสูง 100-1,200 เมตร[1],[2] ชื่อสามัญ Snake pennywort[2] ชื่อวิทยาศาสตร์ Geophila repens (L.) I.M.Johnst. ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Carinta herbacea (Jacq.) W.Wight, Cephaelis herbacea (Jacq.) Kurz, Geocardia herbacea (Jacq.) Standl., Geophila herbacea (Jacq.) K.Schum., Mapouria herbacea (Jacq.) Müll.Arg., Psychotria herbacea Jacq., Uragoga herbacea (Jacq.) Kuntze จัดอยู่ในวงศ์ วงศ์เข็ม (RUBIACEAE)[2] ชื่ออื่น ๆ อุตพิตน้ำ (ในภาคใต้), แก้มอ้น (จังหวัดนครศรีธรรมราช) มะลิดิน (จังหวัดตราด) [1]

ลักษณะของต้นมะลิดิน

  • ต้น
    – เป็นพันธุ์ไม้ประเภทล้มลุก โดยลำต้นจะเลื้อยแผ่ไปตามพื้นดิน
    – -ลำต้นมีความยาวได้มากกว่า 30 เซนติเมตร และมีความสูงได้ประมาณ 20-50 เซนติเมตร
    – ลักษณะของลำต้น: ตามลำต้นจะมีขนขึ้นปกคลุม
  • ใบ
    – ใบเป็นใบเดี่ยว โดยจะออกใบเรียงตรงข้ามกัน
    – ลักษณะรูปร่างของใบเป็นรูปหัวใจเกือบกลม ปลายใบมนหรือกลม ตรงโคนใบเป็นรูปหัวใจ ส่วนขอบใบเรียบเป็นคลื่น
    – แผ่นใบเกลี้ยงไม่มีขน ด้านหลังของใบเรียบเป็นสีเขียวเข้มและผิวเป็นมันวาว ใบมีเส้นโคนใบประมาณ 2-3 คู่ เส้นแขนงใบมีข้างละ 2-3 เส้น เรียงจรดกัน มีขนขึ้นปกคลุม
    – ใบมีหูใบที่มีลักษณะรูปร่างเป็นรูปไตหรือรูปสามเหลี่ยมแกมรูปไข่ โดยหูใบนี้จะอยู่ระหว่างก้านใบ[1]
    – ใบมีขนาดความกว้างและความยาวที่เท่า ๆ กัน โดยมีขนาดอยู่ที่ประมาณ 1.5-4.5 เซนติเมตร
    – ก้านใบยาวประมาณ 1-5 เซนติเมตร และใบมีหูใบยาวประมาณ 1-2 มิลลิเมตร
  • ดอก
    – ออกดอกในลักษณะที่เป็นช่อ โดยดอกจะออกที่บริเวณปลายยอดของต้น
    – ช่อดอกจะมีดอกอยู่ประมาณ 1-3 ดอก เรียงกันเป็นช่อกระจุกแน่นคล้ายกับซี่ร่ม ก้านช่อยาว 1-4 เซนติเมตร มีใบประดับที่รูปร่างเป็นรูปเส้นด้าย มีความยาวอยู่ที่ 1.5-3 มิลลิเมตร
    – ดอกมีขนาดเล็กเป็นสีขาว มีกลีบดอกทั้งสิ้น 5 กลีบ และมีกลีบเลี้ยง 4 กลีบ โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด หลอดกลีบดอกมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 8 มิลลิเมตร ในดอกจะมีขนขึ้นอยู่ และกลีบดอกนี้จะรูปร่างดอกเป็นรูปใบหอกแกมรูปไข่ ปลายแหลม มีความยาวอยู่ที่ประมาณ 3 มิลลิเมตร[1]
    – ใบย่อยจะมีลักษณะรูปร่างเป็นรูปใบหอกหรือรูปแถบ มีความยาวอยู่ที่ 2-3 มิลลิเมตร ตามขอบใบมีขนครุยขึ้นปกคลุม
  • ผล
    – ผลเป็นรูปทรงกลมหรือรูปไข่กว้างเกือบกลม มีความฉ่ำน้ำ
    – ผลมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางอยู่ที่ประมาณ 4-6 มิลลิเมตร และผลมีสีเป็นสีแดงสดหรือสีแดงอมส้ม[1]

สรรพคุณและประโยชน์ของต้นมะลิดิน

  • ทั้งต้นนำมาต้มกับน้ำใช้สำหรับดื่มเป็นยาเย็น และดื่มเป็นยาสำหรับออกฤทธิ์ในการขับปัสสาวะได้ (ทั้งต้น)[1]
  • ปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับสำหรับตกแต่งบ้านได้[2]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคกลาง. (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ, ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, กัญจนา ดีวิเศษ). “มะลิดิน”. หน้า 124.
2. ระบบจัดการฐานความรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้ กรมป่าไม้. “มะลิดิน”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : biodiversity.forest.go.th. [16 ส.ค. 2015].

อ้างอิงรูปจาก
1.https://powo.science.kew.org/
2.https://plantidtools.fieldmuseum.org/

มะหิ่งดง ช่วยแก้อาการฟกบวมตามร่างกาย

มะหิ่งดง ช่วยแก้อาการฟกบวมตามร่างกาย ไม้ล้มลุก เป็นใบประกอบเรียงสลับกัน ดอกเป็นช่อสีเหลืองคล้ายดอกถั่ว ฝักเป็นรูปไข่ผิวฝักมีขนสีขาวขึ้นปกคลุม
มะหิ่งดง
ไม้ล้มลุก เป็นใบประกอบเรียงสลับกัน ดอกเป็นช่อสีเหลืองคล้ายดอกถั่ว ฝักเป็นรูปไข่ผิวฝักมีขนสีขาวขึ้นปกคลุม

มะหิ่งดง

ชื่อวิทยาศาสตร์ Crotalaria bracteata Roxb. ex DC. จัดอยู่ในวงศ์ วงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยถั่ว FABOIDEAE (PAPILIONOIDEAE หรือ PAPILIONACEAE) อีกด้วย[1] ชื่ออื่น ๆ หิ่งกระจ้อน, หญ้าหิ่งเม่น, หิ่งนก (จังหวัดเชียงใหม่) เป็นต้น[1]

ลักษณะของต้นมะหิ่งแดง

  • ต้น
    – เป็นพันธุ์ไม้ประเภทล้มลุก
    – ลำต้นมีความสูงอยู่ที่ 1.5 เมตร
    – ลำต้นมีลักษณะตั้งชูขึ้น และลำต้นมีขนสีขาวขึ้นปกคลุมอยู่โดยรอบ[1]
  • ใบ
    – ใบเป็นใบประกอบ ใบมีใบย่อยอยู่ 3 ใบเรียงสลับกัน
    – ลักษณะรูปร่างของใบย่อยจะเป็นรูปไข่หรือรูปใบหอก ส่วนท้องใบด้านล่างจะมีสีเป็นสีเขียวอ่อน[1]
    – ใบมีขนาดความกว้างอยู่ที่ 2-5 เซนติเมตร และมีความยาวอยู่ที่ 5-8 เซนติเมตร
  • ดอก
    – ออกดอกในลักษณะที่เป็นช่อ โดยดอกจะออกที่บริเวณซอกใบและที่ปลายกิ่งของลำต้น
    – ช่อดอกจะมีดอกย่อยเป็นจำนวนมาก
    – ดอกย่อยมีกลีบดอกเป็นสีเหลือง ลักษณะรูปร่างของกลีบดอกย่อยจะมีลักษณะเป็นรูปดอกถั่ว[1]
  • ผล
    – ออกผลในลักษณะที่เป็นฝัก
    – ลักษณะรูปร่างของฝักเป็นรูปไข่ ผิวฝักมีขนสีขาวขึ้นปกคลุมอยู่อย่างหนาแน่น[1]

สรรพคุณของต้นมะหิ่งดง

1. ตำรายาพื้นบ้านของทางล้านนาจะนำทั้งต้น นำมาต้มกับน้ำใช้สำหรับอาบโดยจะมีฤทธิ์เป็นยาแก้อาการฟกบวมตามร่างกายได้ (ทั้งต้น)[1]
2. ตำรายาของไทยจะนำรากมาใช้ทำเป็นยาสำหรับแก้พิษไข้เนื่องจากอาการอักเสบ และยังสามารถนำมาใช้ดับพิษร้อนได้อีกด้วย (ราก)[1]

3. รากนำมารับประทานเป็นยาสำหรับใช้ถอนพิษยาเบื่อเมาได้ (ราก)[1]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา. (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “มะ หิ่ง ดง”.  หน้า 81.
อ้างอิงรูปจาก
1. ttps://efloraofindia.com/

มะหิ่งแพะ สรรพคุณใช้ดับพิษร้อน ถอนพิษยาเบื่อเมา

มะหิ่งแพะ สรรพคุณใช้ดับพิษร้อน ถอนพิษยาเบื่อเมา ไม้ล้มลุกใบเดี่ยวออกเรียงสลับ ดอกเป็นช่อออกที่บริเวณซอกใบ ดอกสีเหลืองคล้ายดอกถั่ว
มะหิ่งแพะ
ไม้ล้มลุกใบเดี่ยวออกเรียงสลับ ดอกเป็นช่อออกที่บริเวณซอกใบ ดอกสีเหลืองคล้ายดอกถั่ว

มะหิ่งแพะ

ชื่อวิทยาศาสตร์ Crotalaria chinensis L. ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Crotalaria akoensis Hayata, Crotalaria kawakamii Hayata, Crotalaria sinensis J.F.Gmel. จัดอยู่ในวงศ์ วงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยถั่ว FABOIDEAE (PAPILIONOIDEAE หรือ PAPILIONACEAE)[1],[2] ชื่ออื่น ๆ ดอกคอน (จังหวัดเลย), ผักฮงหาย (จังหวัดนครราชสีมา), มะหิ่งแพะ (จังหวัดลำพูน)[1]

ลักษณะของต้นมะหิ่งแพะ

  • ต้น
    – เป็นพันธุ์ไม้ประเภทล้มลุก
    – ลำต้นมีความสูงอยู่ที่ 15-60 เซนติเมตร
    – ต้นมีอายุขัยเพียงฤดูเดียวเท่านั้น
    – ลำต้นมีลักษณะต้นที่ตั้งตรง โดยลำต้นจะแตกกิ่งก้านออกจากรอบ ๆ ลำต้น
    – กิ่งก้านมีขนสีน้ำตาลแดงขึ้นปกคลุม[1]
  • ใบ
    – ออกใบในลักษณะที่เป็นใบเดี่ยว โดยใบจะออกเรียงสลับกัน
    – ใบจะเป็นรูปวงรีแกมขอบขนาน รูปขอบขนานแกมใบหอก รูปขอบขนานแกมไข่กลับ หรือเป็นรูปใบหอก
    – แผ่นใบมีขนขึ้นปกคลุมทั้งสองด้าน[1]
    – ใบมีขนาดความกว้างอยู่ที่ 0.5-2 เซนติเมตร และมีความยาวอยู่ที่ 2.5 เซนติเมตร
  • ดอก
    – ออกดอกในลักษณะที่เป็นช่อ โดยจะดอกออกที่บริเวณซอกใบหรือบริเวณที่ปลายกิ่ง
    – ช่อดอกจะมีดอกย่อยอยู่ประมาณ 2-5 ดอก กลีบดอกมีสีเป็นสีเหลือง ดอกมีลักษณะรูปร่างเป็นรูปดอกถั่ว[1]
  • ผล
    – ออกผลในรูปแบบของฝัก ลักษณะรูปร่างของฝักเป็นรูปขอบขนาน
    – ในฝักจะมีเมล็ดอยู่ประมาณ 15-20 เมล็ด[1]

สรรพคุณของต้นมะหิ่งแพะ

1. ตำรายาพื้นบ้านของล้านนาจะนำทั้งต้น มาต้มกับน้ำใช้สำหรับอาบเป็นยาแก้ฟกบวมตามร่างกายได้ (ทั้งต้น)[1]
2. รากนำมาใช้ทานเป็นยาสำหรับถอนพิษยาเบื่อเมาได้ (ราก)[1]
3. ตำรายาของไทยจะนำรากมาใช้เป็นยาสำหรับแก้พิษไข้เนื่องจากอาการอักเสบ และนำมาใช้ดับพิษร้อนได้อีกด้วย (ราก)[1]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา. (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “มะหิ่งแพะ”. หน้า 82.

อ้างอิงรูปจาก
1.https://www.jardineriaon.com/

ต้นมังตาน สรรพคุณแก้อาการคลื่นไส้

ต้นมังตาน
ต้นมังตาน สรรพคุณแก้อาการคลื่นไส้ เป็นพรรณไม้ยืนต้นดอกสีขาวมีกลิ่นหอม ใบเดี่ยว ออกดอกเป็นกลุ่ม ผลมีเปลือกแข็งผิวมีขนสีน้ำตาลเข้ม
ต้นมังตาน
เป็นพรรณไม้ยืนต้นดอกสีขาวมีกลิ่นหอม ใบเดี่ยว ออกดอกเป็นกลุ่ม ผลมีเปลือกแข็งผิวมีขนสีน้ำตาลเข้ม

ต้นมังตาน

ต้นมังตาน เป็นพรรณไม้ยืนต้นดอกสีขาวมีกลิ่นหอม ตรงกลางมีเกสรตัวผู้สีเหลืองบานสะพรั่งยาวนานตลอดทั้งปีที่นิยมปลูกเพื่อให้ล่มเงามีแหล่งกำเนิดในเขตร้อน เขตอบอุ่นรวมถึงแถบเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 200-2500 เมตร ชื่อวิทยาศาสตร์ Schima wallichii (DC.) Korth. ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Gordonia wallichii DC., Schima brevipes W. G. Craib จัดอยู่ในวงศ์ วงศ์ชา (THEACEAE)[1],[2] ชื่ออื่น ๆ กรึ๊สะ เต่อครื่อยสะ ตื้อซือซะ (ชาวกะเหรี่ยงเชียงใหม่), หมูพี (ชาวเงี้ยงเชียงใหม่), บุนนาค (จังหวัดนครราชสีมา, ตราด), กาโซ้ (จังหวัดยะลา, นครพนม), คายโซ่ จำปาดง พระราม (จังหวัดเลย, หนองคาย), ทะโล้ (คนเมือง), ไม้กาย (ชาวไทใหญ่), คาย ทะโล้ สารภีป่า สารภีดอย (ในภาคเหนือ), กรรโชก (ในภาคอีสาน), พังตาน พันตัน (ในภาคใต้), มือแดกาต๊ะ (ในภาคใต้ มาเลเซีย) เส่ยือสะ (ชาวกะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน), ลำโคระ ลำพิโย๊วะ ลำคิโยะ (ชาวลั้วะ), ตุ๊ดตรุ (ชาวขมุ) เป็นต้น[1],[2],[3],[5]

ลักษณะของต้นมังตาน

  • ต้น
    – ลำต้นมีความสูงอยู่ที่ 15-26 เมตร ขนาดวัดรอบลำต้นอยู่ที่ 1.5 เมตร ลำต้นมีขนาดกลางถึงขนาดใหญ่
    – ลำต้นเป็นพรรณไม้ที่ค่อนข้างหายาก เนื่องจากพื้นที่ป่าถูกรุกราน
    – เป็นไม้ยืนต้นที่ไม่ผลัดใบ มีเรือนยอดเป็นพุ่มกลมทึบ
    – ลำต้นมีลักษณะรูปร่างเปลาตรง เปลือกของลำต้นด้านนอกมีลักษณะที่ขรุขระและมักจะแตกเป็นร่องลึกตามยาว
    – เปลือกด้านนอกของลำต้นมีสีเทาปนน้ำตาลอ่อน ส่วนเปลือกด้านในมีสีเป็นสีน้ำตาลอมแดง ลำต้นมีเสี้ยนละเอียดสีขาวซึ่งมีพิษต่อผิวหนัง
    – ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและการตอนกิ่ง เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วน ต้นชอบความชื้นและต้องการแสงแดดปานกลาง
  • ใบ
    – เป็นใบเดี่ยว โดยใบจะออกเรียงสลับกันที่บริเวณปลายกิ่ง
    – ลักษณะรูปร่างของใบจะเป็นรูปใบหอกขอบขนาน ปลายใบสอบแหลม บริเวณโคนใบสอบ ส่วนขอบใบเรียบหรือบางใบอาจจะมีรอยหยักตื้น ๆ ตามขอบใบ
    – ด้านหลังใบมีสีเขียวเข้ม ผิวเป็นมัน ส่วนท้องใบและเส้นกลางใบจะมีขนขึ้นปกคลุมอยู่ประปราย โดยสามารถเห็นเส้นใบเป็นรูปร่างแหได้อย่างชัดเจน ซึ่งเส้นแขนงใบจะมีข้างละประมาณ 10-15 เส้น ส่วนใบอ่อนจะมีสีเป็นสีแดง[1],[2],[5]
    ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2-5.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 4.5-13 เซนติเมตร
  • ดอก
    – ดอกมังตานจะออกดอกเดี่ยวหรือออกดอกเป็นกลุ่มที่บริเวณปลายกิ่งและบริเวณตามซอกใบใกล้กับปลายกิ่ง
    – ออกดอกในช่วงเดือนมกราคมถึงช่วงเดือนมีนาคม โดยดอกมังตานจะค่อย ๆ ทยอยบานนาน 2 สัปดาห์ หลังจากนั้น 2 วัน ดอกที่บานก็จะเริ่มร่วงโรย
    – ดอกบานออกจะส่งกลิ่นหอมออกมาตลอดทั้งวัน[1],[2],[5]
    – ดอกมังตานจะมีสีขาวหรือสีขาวนวล มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว กลีบดอกและกลีบรองดอกมีอย่างละ 5 กลีบเท่า ๆ กัน
    – ดอกมีกลีบเลี้ยงเป็นสีเขียวอ่อนขนาดเล็ก ส่วนกลีบดอกมีลักษณะรูปร่างที่ค่อนข้างกลม กลีบดอกด้านล่างมักจะเล็กกว่ากลีบอื่น ๆ
    – ดอกมีเกสรเพศผู้เป็นเส้น ๆ ขนาดเล็กสีเหลืองยื่นออกมาจากดอกเป็นจำนวนมาก ส่วนเกสรเพศเมียมีอันเดียวและมีขนาดสั้น
    – ดอกบานเต็มที่จะมีขนาดความกว้างอยู่ที่ประมาณ 2.5-3 เซนติเมตร
  • ผล
    – ผลค่อนข้างกลม มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางอยู่ที่ประมาณ 2.5-3 เซนติเมตร ผลมีเปลือกแข็ง ผิวผลมีขนสีน้ำตาลเข้มคล้ายกับเส้นไหมขึ้นปกคลุม
    – เมื่อผลแก่สีน้ำตาลเข้มและผลจะแตกออกมาตามรอยเป็น 4-5 เสี่ยง แต่ละส่วนที่แตกออกมาจะมีเมล็ดอยู่ภายในประมาณ 4-5 เมล็ด
    – ติดผลในช่วงเดือนเมษายนถึงช่วงเดือนมิถุนายน[1],[5]

สรรพคุณของต้นมังตาน

1. ต้นและกิ่งนำมาต้มกับน้ำเป็นยาใช้ภายนอก โดยจะนำมาใช้หยอดหูสำหรับแก้อาการปวดในหู (ต้นและกิ่ง)[1],[4]
2. คนในสมัยก่อนจะนำต้นและกิ่งก้านอ่อนมาต้มกับน้ำใช้สำหรับดื่มในขณะที่กำลังอุ่น ๆ เป็นยาแก้อาการคลื่นไส้ (ต้นและกิ่ง)[1],[4]
3. ต้นและราก นำมาต้มกับน้ำใช้สำหรับดื่มรักษาโรคนิ่ว (ต้นและราก)[2]
4. รากและใบอ่อนนำมาใช้ทำเป็นยาลดไข้ (รากและใบอ่อน)[4]
5. ใบสดนำมาใช้ทำเป็นยาแก้โรคท้องร่วง (ใบสด)[4]
6. เปลือก ช่วยป้องกันการเน่าของบาดแผลได้ (เปลือก)[4]
7. เปลือกต้นนำมาใช้ทำเป็นยาถ่ายพยาธิ (เปลือก)[4]
8. ดอกแห้งนำมาแช่หรือชงให้กับสตรีหลังคลอดบุตรใหม่ ๆ ใช้สำหรับดื่มต่างน้ำเป็นยาแก้ขัดเบา และแก้ลมชัก ลมบ้าหมู (ดอกแห้ง)[1],[4]

ประโยชน์ของต้นมังตาน

1. เนื้อไม้นำมาแปรรูป ใช้สำหรับทำโครงสร้างต่าง ๆ ของบ้านได้ เช่น ฝาบ้าน ไม้กระดาน หรือนำมาใช้ทำงานหัตถศิลป์ทั่วไป แต่ห้ามนำไม้มาทำพื้นปูนอนเด็ดขาด เพราะจะทำให้เกิดอาการระคายผิวหนัง ทำให้ผิวหนังพุพองและเน่าเปื่อยได้[1],[2],[3]
2. ชาวลั้วะจะนำลำต้นมาทำเป็นไม้ฟืน ส่วนคนเมืองจะนำเนื้อไม้มาทำเป็นฟืนสำหรับใช้นึ่งเมี่ยง[2]
3. เปลือกต้นของต้นมังสานมีพิษที่ใช้เป็นยาเบื่อปลาได้ โดยการนำเปลือกต้นแบบสด ๆ นี้มาทุบให้พอแตก จากนั้นก็นำไปแช่ในน้ำบริเวณห้วย หนองน้ำ หรือคลองบึง[1]
4. ปลูกเป็นไม้ประดับได้ เนื่องจากดอกมีความสวยงามและมีกลิ่นหอม[5]
5. เปลือกต้นนำมาบดให้เป็นผง สามารถนำมาใช้แต่งกลิ่นธูปหอมได้[1] และขี้เทาจากเปลือกจะให้สีเทาใช้สำหรับเป็นสีผสมอาหารได้[3]

ข้อควรระวังของต้นมังตาน

  • เปลือกและเนื้อไม้ หากสัมผัสโดนผิวหนังจะทำให้เกิดอาการคันได้[2]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคกลาง. (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ, ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, กัญจนา ดีวิเศษ). “มังตาน”. หน้า 126.
2. โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง, สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน). “มังตาน, ทะโล้”. อ้างอิงใน : หนังสือชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : eherb.hrdi.or.th. [31 ต.ค. 2014].
3. ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. “ทะโล้”. อ้างอิงใน : หนังสือพรรณไม้สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เล่ม 1, ไม้ต้นในสวน Tree in the Garden. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.qsbg.org. [31 ต.ค. 2014].
4. พืชสมุนไพรโตนงาช้าง. “มังตาน”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : paro6.dnp.go.th/web_km/พืชสมุนไพรโตนงาช้าง/. [31 ต.ค. 2014].
5. ระบบจัดการฐานความรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้ กรมป่าไม้. “มังตาน”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : biodiversity.forest.go.th. [31 ต.ค. 2014].

อ้างอิงรูปจาก
1.https://www.jungledragon.com/image/124262/flowers_-_schima_wallichii.html
2.https://www.quintadosouriques.com/store/seeds/trees/schima-needlewood/

ต้นเมี่ยงหลวง ชาใบอ่อนสรรพคุณช่วยทำให้กล้ามเนื้อคลายตัว

เมี่ยงหลวง
ต้นเมี่ยงหลวง ชาใบอ่อนสรรพคุณช่วยทำให้กล้ามเนื้อคลายตัว ไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ดอกเดี่ยวสีขาว งปลายของขอบใบจะเป็นรอยจักฟันเลื่อย ผลอ่อนมีขนขึ้นปกคลุม
เมี่ยงหลวง
ไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ดอกเดี่ยวสีขาว งปลายของขอบใบจะเป็นรอยจักฟันเลื่อย ผลอ่อนมีขนขึ้นปกคลุม

เมี่ยงหลวง

ต้นเมี่ยงหลวง เป็นพันธุ์ไม้ประเภทยืนต้นที่มีขนาดเล็กไปจนถึงขนาดกลาง จัดอยู่ในวงศ์วงศ์ชา (THEACEAE) มีถิ่นกำเนิดในแถบประเทศจีน ลาว และเวียดนาม ประเทศไทยสามารถพบได้ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่จังหวัดเลย โดยขึ้นตามริมลำธารในป่าดิบเขา บนภูเขาหินทราย ในพื้นที่ที่ระดับความสูงอยู่ที่ประมาณ 1,200-1,300 เมตร จากระดับน้ำทะเล แต่ในต่างประเทศจะสามารถพบได้ที่ระดับความสูง 2,300 เมตร จากระดับน้ำทะเล ชื่อวิทยาศาสตร์ Gordonia axillaris (Roxb. ex Ker Gawl.) Endl. ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Camellia axillaris Roxb. ex Ker Gawl., Polyspora axillaris (Roxb. ex Ker Gawl.) Sweet ชื่ออื่น ๆ อินทปัฎฐา เข็มใหญ่ แมวคล้องตอ ตีนจำ ส้านเขา (จังหวัดเลย) เป็นต้น[1],[2]

ลักษณะและองค์ประกอบของต้นเมี่ยงหลวง

  • ต้น
    – ลำต้นมีความสูงอยู่ที่ประมาณ 20 เมตร
    – เปลือกลำต้นมีผิวเรียบ ลำต้นมีสีเป็นสีค่อนข้างขาว มีกิ่งก้านแผ่กว้างออกมาจากลำต้น
  • ใบ
    – ใบในลักษณะที่เป็นใบเดี่ยว โดยจะออกใบเรียงสลับกัน
    – ลักษณะรูปร่างของใบจะเป็นรูปยาวรี รูปขอบขนานแกมรูปไข่กลับ หรือรูปหอกกลับ ตรงปลายใบเป็นติ่งแหลมหรือมน ส่วนโคนใบสอบหรือเป็นรูปลิ่ม ช่วงปลายของขอบใบจะเป็นรอยจักฟันเลื่อย
    – ใบมีแผ่นใบหนา หลังใบและท้องใบมีผิวเรียบ ใบมีเส้นแขนงใบที่ไม่ชัดเจนมากนะ [1],[3]
    – ใบกว้างอยู่ที่ประมาณ 4-5.5 เซนติเมตร และใบมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 12-18 เซนติเมตร
    – ก้านใบมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร
  • ดอก
    – ออกดอกในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงช่วงเดือนมกราคม จะออกดอกในลักษณะที่เป็นดอกเดี่ยว โดยจะออกเป็นคู่ที่บริเวณตามซอกใบ
    – ดอกเป็นดอกเดี่ยว โดยจะออกดอกเป็นคู่ตามบริเวณซอกใบ
    – ดอกมีก้านดอกยาวอยู่ที่ประมาณ 2-3 มิลลิเมตร ดอกมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ โดยเมื่อดอกบานเต็มที่จะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางอยู่ที่ประมาณ 10 เซนติเมตร
    – ดอกมีกลีบดอกทั้งสิ้น 5 กลีบ โดยกลีบดอกจะเรียงซ้อนเหลื่อมกัน ลักษณะรูปร่างของกลีบจะเป็นรูปมนกลมหรือรูปไข่กลับกว้างเกือบกลม ปลายกลีบจะเว้าหรือเป็นรอยหยัก กลีบดอกมีความยาวประมาณ 3.5-5.5 เซนติเมตร แต่บางกลีบก็มีขนาดไม่เท่ากัน
    – ดอกมีสีเป็นสีขาว ใบประดับมีประมาณ 6-7 ใบ หลุดร่วงได้ง่าย กลีบเลี้ยงมีทั้งสิ้น 5 กลีบ เรียงซ้อนเหลื่อมกัน มีลักษณะเป็นรูปไข่หรือกลม มีขนขึ้นปกคลุมด้านนอก มีความยาวอยู่ที่ประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร
    – ดอกมีเกสรเพศผู้เป็นสีเหลือง และมีเป็นจำนวนมาก ก้านชูอับเรณูวงนอกจะเชื่อมติดกับโคนกลีบดอก โดยมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 1.5-3 เซนติเมตร มีอับเรณูยาวประมาณ 2 มิลลิเมตร
    – ดอกมีรังไข่ที่อยู่เหนือวงกลีบซึ่งจะมีด้วยกัน 5 ช่อง มีความยาวอยู่ที่ประมาณ 5-6 มิลลิเมตร มีขนสั้น ๆ หนานุ่มขึ้นปกคลุมอยู่ ตรงก้านเกสรเพศเมียจะมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร และก้านเกสรเพศเมียจะมีขนกำมะหยี่ขึ้นปกคลุมอยู่อย่างหนาแน่น[1],[3]
  • ผล
    – ผลมีลักษณะเป็นผลสด ผลมีรูปทรงเป็นผลแบบแคปซูล มีลักษณะรูปร่างเป็นรูปกระสวยหรือรูปทรงกระบอก ตรงปลายแหลม
    -ผลอ่อนจะมีขนขึ้นปกคลุม พอผลแก่ตัวลง ขนที่ปกคลุมอยู่จะร่วงหลุดหายไปจนผิวผลเกลี้ยง
    -ผลจะแตกอ้าออกเป็น 5 เสี่ยง โดยจะมีแกนกลางผลที่ติดทน
    – ผลมีขนาดความกว้างอยู่ที่ประมาณ 2-3 เซนติเมตร และมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 3-8 เซนติเมตร
  • เมล็ด
    – ในผลจะมีเมล็ดอยู่หลายเมล็ด เมล็ดมีลักษณะที่แบน
    – ตรงปลายของเมล็ดมีปีกบาง ๆ และเบี้ยว เมล็ดรวมปีกมีความยาวอยู่ที่ 1.5-2 เซนติเมตร[1],[3]

สรรพคุณของต้นเมี่ยงหลวง

1. ใบอ่อนนำมาใช้เป็นตัวกระตุ้นช่วยทำให้กล้ามเนื้อคลายตัว (ใบอ่อน)[1],[2]
2. ใบอ่อนมีฤทธิ์ฝาดสมานจึงนำมาใช้ทำเป็นยาแก้ท้องเสียได้ (ใบอ่อน)[1],[2]
3. ใบอ่อนนำมาใช้ทำเป็นยาขับปัสสาวะ (ใบอ่อน)[1],[2]

ประโยชน์ของต้นเมี่ยงหลวง

  • เป็นพรรณไม้ที่หายากชนิดหนึ่ง นิยมนำมาใช้ปลูกเป็นไม้ประดับเพื่อความสวยงาม

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1.  (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์).  “เมี่ยง หลวง (Miang Luang)”.  หน้า 243.
2. หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคเหนือ.  (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ).  “เมี่ยง หลวง”.  หน้า 162.
3. สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช, กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. “เมี่ยง หลวง”.  [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.dnp.go.th/botany/.  [30 ต.ค. 2014].

อ้างอิงรูปจาก
1.https://www.gardensonline.com.au/
2.https://www.onlineplantguide.com/

ต้นแม่กลอน สรรพคุณแก้อาการปวดเมื่อย

ต้นแม่กลอน
ต้นแม่กลอน สรรพคุณแก้อาการปวดเมื่อย เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก ใบเดี่ยว ดอกออกเป็นช่อตามซอกใบ สีขาวแกมสีชมพู กลีบดอกจะมีขน ผลเป็นรูปทรงกลมมีสันมนมีขน
ต้นแม่กลอน
เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก ใบเดี่ยว ดอกออกเป็นช่อตามซอกใบ สีขาวแกมสีชมพู กลีบดอกจะมีขน ผลเป็นรูปทรงกลมมีสันมนมีขน

ต้นแม่กลอน

ต้นแม่กลอน เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก จัดอยู่ในวงศ์เข็มตระกูล Rubiaceae พรรณไม้เขตร้อนพบได้บริเวณป่าทึบ ภูเขา ซึ่งมีถิ่นกำเนิดในภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Lasianthus verticillatus (Lour.) Merr. ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ คือ Lasianthus andamanicus Hook.f. ชื่อในท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น มังแข็ง (ภาคใต้), กะทาดง (จังหวัดเพชรบูรณ์), แม่กลอน (จังหวัดประจวบคีรีขันธ์), ปล้องต้น (ภาคต้น)

ลักษณะของต้นแม่กลอน

  • ลักษณะของต้น เป็นไม้พุ่ม ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง ต้นสามารถสูงได้ประมาณ 3 เมตร ที่ตามกิ่งก้านจะมีขนขึ้นอยู่
  • ลักษณะของใบ เป็นใบเดี่ยว ใบจะออกเรียงตรงข้ามกัน ใบเป็นรูปวงรีแกมรูปขอบขนานแคบ รูปใบหอก ใบกว้างประมาณ 4-6 เซนติเมตร ยาวประมาณ 12-18 เซนติเมตร จะมีหูใบที่ระหว่างก้านใบ
  • ลักษณะของดอก ดอกจะออกเป็นช่อ ออกดอกที่ตามซอกใบ มีดอกย่อยอยู่หลายดอก จะมีก้านดอกที่สั้น กลีบดอกมีลักษณะเป็นสีขาวแกมสีชมพู กลีบดอกจะมีขนอยู่
  • ลักษณะของผล เป็นรูปทรงกลม และจะมีสันมน มีขนขึ้น เป็นผลสด

สรรพคุณต้นแม่กลอน

ในตำรับยาพื้นบ้านล้านนานำลำต้น ราก มาต้มผสมหัวยาข้าวเย็น (ไม่ระบุว่าเป็นข้าวเย็นเหนือหรือเป็นข้าวเย็นใต้) ใช้เป็นยาแก้ปวดเมื่อยได้ (ลำต้น, ราก)

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา. (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “แม่กลอน”. หน้า 140.

อ้างอิงรูปจาก
1.https://ecuador.inaturalist.org/taxa/578172-Lasianthus-verticillatus
2.https://www.earth.com/plant-encyclopedia/angiosperms/rubiaceae/lasianthus-pedunculatus/th/