ข้าวสารค่าง พรรณไม้ล้มลุกเลื้อยพันสรรพคุณเป็นยาสมุนไพร

0
ข้าวสารค่าง
ข้าวสารค่าง พรรณไม้ล้มลุกเลื้อยพันสรรพคุณเป็นยาสมุนไพร ใบจะออกเรียงสลับเวียนรอบลำต้น เว้าเป็นรูปหัวใจ ดอกขนาดเล็กสีขาว ผลสดสีเขียว
ข้าวสารค่าง
ไม้ล้มลุกเลื้อยพันสรรพคุณเป็นยาสมุนไพร ใบจะออกเรียงสลับเวียนรอบลำต้น เว้าเป็นรูปหัวใจ ดอกขนาดเล็กสีขาว ผลสดสีเขียว

ข้าวสารค่าง

ข้าวสารค่าง พรรณไม้ล้มลุกเลื้อยพัน ทุกส่วนมีน้ำยางสีขาว พบขึ้นบริเวณป่าผลัดใบ ป่าไผ่ และตามที่รกร้าง ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Cardiopteris quinqueloba (Hassk.) Hassk. ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ คือ Cardiopteris lobata Wall. ex Benn. & R.Br., Cardiopteris javanica Blume อยู่วงศ์ CARDIOPTERIDACEAE[1] ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น ตุ๊กตู่ (จังหวัดชลบุรี), ผักแต๋นแต้ (จังหวัดลพบุรี), อีบี้ (จังหวัดสุโขทัย), ผักแตนแต้ (จังหวัดสระบุรี), ขะล๊านข่าง (จังหวัดชุมพร), หวี่หวี่ (จังหวัดสระบุรี), ตุ๊กตู่ (จังหวัดเชียงใหม่), อีหวี่ (จังหวัดปราจีนบุรี) [1],[2]

ลักษณะข้าวสารค่าง

  • ต้น เป็นพรรณไม้ล้มลุกเลื้อยพัน เมื่อฉีกขาดก็จะมีน้ำยางสีขาวออกมา ลำต้นกลมหรือค่อนข้างแบน จะแตกกิ่งก้านเยอะ สามารถทอดยาวได้ถึงประมาณ 2-5 เมตร มีเขตการกระจายพันธุ์ตั้งแต่เอเชียใต้ถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบเจอขึ้นได้ที่บริเวณป่าไผ่ ที่รกร้าง ป่าผลัดใบ ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลถึงระดับ 600 เมตร บริเวณที่พบขึ้นในพื้นที่อุทยานฯ ก็คือ ที่ตามพื้นป่าราบทั่วไป โดยเฉพาะที่บริเวณปากทางเดินขึ้นเขากำแพง[1],[2]
  • ใบ เป็นใบเดี่ยว ใบจะออกเรียงสลับเวียนรอบลำต้นหรือเป็นเกลียว รูปไข่กว้าง ปลายใบจะแหลมหรือมน ส่วนโคนใบจะเว้าเป็นรูปหัวใจ ที่ขอบใบจะเรียบหรือเว้าเป็นแฉกประมาณ 4-9 แฉก ที่ปลายของแฉกกลางจะแหลม ที่ปลายของแฉกด้านข้างจะแหลมหรือมน ใบกว้างประมาณ 3-10 เซนติเมตร ยาวประมาณ 4-12 เซนติเมตร[1],[2]
  • ดอก ออกเป็นช่อแยกแขนงที่ตามซอกใบ มีความยาวประมาณ 4-9 เซนติเมตร มีดอกย่อยเป็นจำนวนมากเรียงออกมาด้านเดียว ดอกย่อยมีขนาดเล็ก จะมีดอกสมบูรณ์เพศและดอกเพศผู้อยู่บนต้นเดียวกัน กลีบดอกมีลักษณะเป็นสีขาว ดอกสมบูรณ์เพศมีดอกเป็นรูปหลอดรูปกรวย ที่ปลายจะแยกเป็น 4-5 แฉก ดอกมีเกสรเพศผู้อยู่ประมาณ 4-5 อัน ติดใกล้ปากหลอดดอก สลับกับกลีบดอก มีรังไข่ 1 ช่องอยู่ที่เหนือวงกลีบ ที่ปลายเกสรเพศเมียจะแยกออกเป็นแฉก 2 แฉก มีขนาดไม่เท่ากันและจะติดคงทนที่ผล ดอกเพศผู้คล้ายกับดอกสมบูรณ์เพศ แต่ดอกเพศผู้จะไม่มีเกสรเพศเมียกับก้านดอกย่อย ออกดอกช่วงประมาณเดือนกรกฎาคมถึงเดือนกันยายน[1],[2]
  • ผล ผลสดเป็นสีเขียว ผลเป็นรูปขอบขนานแกมรูปไข่กลับ รูปไข่กลับแกมรูปรีลักษณะแบน ที่ขอบจะแผ่เป็นครีบตามยาว มี 2 ปีก จะมีเส้นแขนงละเอียดเรียงขนานกันอยู่ กว้างประมาณ 1-2 เซนติเมตร ยาวประมาณ 1.5-3 เซนติเมตร ที่ปลายผลเว้าตื้น ๆ ที่ปลายสุดจะเป็นติ่งยอดเกสรเพศเมียที่คงความเขียวได้นานและปรากฏให้เห็นแบบชัดจัน มีเมล็ดเดียวในผล จะออกผลช่วงประมาณเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมกราคม[1],[2]

สรรพคุณข้าวสารค่าง

  • ในตำรายาพื้นบ้านล้านนาจะนำใบมาตำผสมเหง้าไพล มันหมูห่อใบตอง แล้วนำมาหมกไฟ สามารถใช้ประคบรักษาโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อราได้ (ใบ)[1],[2]

สั่งซื้อ อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วย เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. ระบบจัดการฐานความรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้ กรมป่าไม้. “ข้าว สาร ค่าง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : biodiversity.forest.go.th. [16 มี.ค. 2015].
2. หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา. (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “ข้าว สาร ค่าง”. หน้า 60.

อ้างอิงรูปจาก
1.https://powo.science.kew.org/

ข่าต้น รากเป็นยาสมุนไพรใช้ขับลมในลำไส้

0
ข่าต้น รากเป็นยาสมุนไพรใช้ขับลมในลำไส้ เนื้อไม้จะฟ่ามเบาเป็นสีน้ำตาลอ่อน ๆ เปลือกต้นเมื่อถากออกมาจะมีกลิ่นหอมฉุน ดอกสีขาวอมสีเขียว ผลเป็นรูปกลมไข่กลับสีดำ
ข่าต้น
ข่าต้น รากเป็นยาสมุนไพรใช้ขับลมในลำไส้ เนื้อไม้จะฟ่ามเบาเป็นสีน้ำตาลอ่อน ๆ เปลือกต้นเมื่อถากออกมาจะมีกลิ่นหอมฉุน ดอกสีขาวอมสีเขียว ผลเป็นรูปกลมไข่กลับสีดำ

ข่าต้น

ข่าต้น หรือเทพทาโร เป็นต้นไม้หอมชนิดหนึ่ง ต้นมีขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Cinnamomum porrectum (Roxb.) Kosterm. ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ คือ Cinnamomum parthenoxylon (Jack) Meisn. อยู่วงศ์อบเชย (LAURACEAE)[1],[2] ชื่อในท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น เซียงจาง (จีนกลาง), มือแดกะมางิง (มลายู, ปัตตานี), จวงหอม (ภาคใต้), จะไคต้น (ภาคตะวันตกเฉียงเหนือ), ข่าต้น (จังหวัดกรุงเทพมหานคร), กะเพาะต้น (จังหวัดสระบุรี), เทพทาโร (จังหวัดปราจีนบุรี), จะไค้ต้น (ภาคตะวันตกเฉียงเหนือ), พลูต้น (จังหวัดสระบุรี), เทพธาโร (จังหวัดปราจีนบุรี), มือแดกะมาริง (มลายู, จังหวัดปัตตานี), หวางจาง (จีนกลาง), พลูต้นขาว (เชียงใหม่), ตะไคร้ต้น (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), ไม้จวง (ภาคใต้), จะไคหอม (ภาคตะวันตกเฉียงเหนือ), จวง (ภาคใต้) [1],[2]

ลักษณะเทพทาโร

  • ต้น เป็นพรรณไม้ยืนต้น มีขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ บางต้นอาจจะสูงถึง 25 เมตร เนื้อไม้มีลักษณะฟ่ามเบาเป็นสีน้ำตาลอ่อน จะมีกลิ่นหอมฉุน ร้อน คล้ายกับกลิ่นการบูรหรือจะคล้ายกับกลิ่นของเทพทาโร พบเจอได้ทั่วไปตามป่าเชิงเขา มีมากตามเชิงเขาสระบาปและบ้านอ่าง จังหวัดจันทบุรี และที่ตามป่าในจังหวัดปราจีนบุรี จังหวัดสระบุรี [1]
  • ใบ ใบดกหนาทึบ สามารถเป็นไม้ร่มได้[1] เป็นใบประกอบ ใบจะออกเรียงสลับ ใบกว้างประมาณ 3-6 เซนติเมตร ยาวประมาณ 6-12 เซนติเมตร มีเส้นใบคล้ายกับขนนก จะเรียงเป็นคู่ ๆ ประมาณ 6-8 คู่ มีกิ่งเล็ก[2]
  • ดอก มีขนาดเล็ก ออกเป็นช่อคล้ายร่ม มีกลีบดอกอยู่ 6 กลีบ กลีบดอกเป็นรูปไข่ เป็นสีขาวอมสีเขียว ในดอกจะมีขนนิดหน่อย มีเกสรเพศผู้อยู่ 9 อัน[2]
  • มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 6-8 มิลลิเมตร ตรงขั้วเมล็ดมีสีแดง เป็นแบบลูกกลมสามเหลี่ยม[2]

ข้อควรรู้ : มีลักษณะที่ต่างกับต้นเทพทาโร ก็คือ มีเนื้อไม้เป็นสีน้ำตาลอ่อน จะมีจำหน่ายที่ตามร้านสมุนไพรทั่วไป[1]

สรรพคุณเทพทาโร

1. สามารถใช้เป็นยาแก้ไขข้ออักเสบ ฟกช้ำ เพราะมีลมชื้นเกาะติดอยู่ด้านใน โดยนำรากมาดองกับเหล้าทาน (ราก)[2]
2. สามารถใช้เป็นยาช่วยขับโลหิตกับน้ำเหลือง (เนื้อไม้)[1]
3. ในตำรับยาแก้บิด จะนำเมล็ดประมาณ 5-8 กรัม มาต้มผสมใบยูคาลิปตัสประมาณ 6-8 กรัม ทาน (ในตำรับยานี้นั้นมีสรรพคุณที่เป็นยาแก้ไอ) (เมล็ด)[2]
4. สามารถนำรากมาดองกับเหล้าทานใช้เป็นยาขับลมชื้นในร่างกายได้ (ราก)[2]
5. สามารถนำเนื้อไม้มาใช้ปรุงเป็นยารักษาอืดเฟ้อ หอมลม จุกเสียด ท้องขึ้น (เนื้อไม้)[1]
6. เนื้อไม้มีรสเผ็ด มีสรรพคุณที่เป็นยาบำรุงธาตุ (เนื้อไม้)[1]
7. ในตำรับยาแก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย ปวดเส้นเอ็น โกฐหัวบัว 20 กรัม ให้นำราก 20 กรัม โกฐสอ 10 กรัม เจตมูลเพลิง 15 กรัม โกฐเชียง 15 กรัม มาแช่กับเหล้าทาน (ตำรับนี้นั้นจะใช้เป็นยาขับลมชื้นในร่างกายได้เหมือนการใช้รากเดี่ยว) (ราก)[2]
8. ใบจะมีประสิทธิภาพในการช่วยห้ามเลือด ช่วยสมานแผลสด (ใบ)[2]
9. สามารถนำเนื้อไม้มาปรุงผสมกับสะค้าน ต้นดาวเรือง ใช้ทานเป็นยารักษาฝีลมได้ (เนื้อไม้)[1]
10. สามารถใช้เป็นยาแก้ท้องเฟ้อ ขับลมในกระเพาะลำไส้ แก้ปวดท้องน้อย กระเพาะลำไส้อักเสบ แก้ท้องอืด (ใบ, ผล, ราก, เปลือก)[2]
11. สามารถใช้เป็นยาขับลมในลำไส้ได้ (เนื้อไม้)[1]
12. ในตำรับยาอาการไอเรื้อรัง ออกหัดตัวร้อน แก้ไข้หวัด ตัวร้อน แก้ไอ

ขนาดกับวิธีใช้

  • ใช้ตาม [2] ยาแห้งใช้ครั้งละ 10-18 กรัม มาต้มน้ำทาน

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

  • พบน้ำมันระเหยอยู่ในเปลือกต้น เมล็ด ราก กิ่ง ประมาณ 2-4% และในน้ำมันระเหยพบ Cinnamic Aldehyde, Safrale 60-95%, B-pinene Phellandrene, Eugenol (น้ำมันกานพลู) [2]
  • ในใบพบน้ำมันระเหย 2.6-3.3% มีส่วนประกอบ เช่น น้ำมันไพล การบูร น้ำมันสน น้ำมันเขียว

ประโยชน์ของข่าต้น

  • สามารถใช้ทำเป็นไม้ตีพริก เพื่อทำให้พริกนั้นมีกลิ่นหอม และสามารถใช้เป็นยาขับลมในลำไส้ได้[1]

สั่งซื้อ อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วย เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. (วิทยา บุญวรพัฒน์). “ข่า ต้น”. หน้า 122.
2. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “ข่า ต้น”. หน้า 104-105.

ลักษณะและสรรพคุณของเข็มม่วง

0
เข็มม่วง
ลักษณะและสรรพคุณของเข็มม่วง ไม้พุ่มขนาดเล็ก ลำต้นตั้งตรง ดอกสีม่วง สีฟ้าอมสีม่วง ผลเป็นรูปไข่ยาว ผลแห้งสามารถแตกได้
เข็มม่วง
ม้พุ่มขนาดเล็ก ลำต้นตั้งตรง ดอกสีม่วง สีฟ้าอมสีม่วง ผลเป็นรูปไข่ยาว ผลแห้งสามารถแตกได้

เข็มม่วง

ชื่อสามัญของเข็มม่วง คือ Violet ixora, Blue sage[4] ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Pseuderanthemum andersonii Lindau อยู่วงศ์เหงือกปลาหมอ (ACANTHACEAE)[1] ชื่อเรียกในท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น เข็มสีม่วง, รงไม้ (จังหวัดสุราษฎร์ธานี), เฒ่าหล้งลาย (จังหวัดชลบุรี), เข็มพญาอินทร์, ร่องไม้ (ภาคใต้), เฒ่าหลังลาย (จังหวัดชลบุรี), ยายปลัง (จังหวัดสุราษฎร์ธานี), เฉียงพร้าป่า (จังหวัดตรัง) [1],[4]

ลักษณะเข็มม่วง

  • ต้น เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง สูงประมาณ 1-1.5 เมตร อาจจะสูงได้ถึง 2 เมตร จะแตกกิ่งก้านเป็นจำนวนมาก ลักษณะเป็นทรงพุ่มแน่นทึบ ขยายพันธุ์โดยการตัดกิ่งปักชำ วิธีการตอน เติบโตได้ดีในดินร่วนที่ระบายน้ำได้ดี ต้นเข็มแดงชอบความชื้นปานกลาง และที่มีแสงแดดปานกลางถึงรำไร อัตราการเติบโตอยู่ระดับปานกลาง จะนิยมปลูกกันที่ที่มีแสงแดดแบบรำไร[1],[2] สำหรับประเทศไทยสามารถพบได้ทุกภาค ส่วนมากจะพบตามป่าภาคใต้ พื้นที่ร่มรำไรที่ตามป่าผสมผลัดใบ ป่าดิบแล้ง ตั้งแต่ที่ระดับน้ำทะเลถึงความสูงประมาณ 400 เมตร[3]
  • ใบ เป็นใบเดี่ยว ใบจะออกเรียงตรงข้ามเรียงเวียนสลับ ใบเป็นรูปรี รูปใบหอกจนถึงรูปไข่แกมใบหอก ที่ปลายใบจะแหลม ส่วนโคนใบจะแหลมหรือมน ที่ขอบใบเรียบ ใบกว้างประมาณ 3-6 เซนติเมตร ยาวประมาณ 12-15 เซนติเมตร แผ่นใบมีลักษณะเป็นมันและเป็นสีเขียวสด มีเส้นใบสีเขียวเข้ม[1],[2]
  • ดอก ออกเป็นช่อแบบช่อฉัตร ออกดอกที่ตามซอกใบและที่ปลายกิ่ง ดอกมีลักษณะเป็นสีม่วง สีฟ้าอมสีม่วง มีใบประดับสีเขียวเข้ม ที่โคนกลีบดอกจะเชื่อมกันเป็นหลอดเล็กยาว ที่ปลายจะแยกเป็น 5 กลีบ สองกลีบบนนั้นจะติดเป็นคู่ จะมีขนาดเล็กกว่าสามกลีบล่าง กลีบดอกมีลักษณะเป็นสีม่วงอ่อน มีจุดประสีม่วง ออกดอกได้ทั้งปี ดอกจะโรยเร็ว ออกดอกเยอะช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนกุมภาพันธ์[1],[2]
  • ผล เป็นผลแห้ง สามารถแตกได้ ผลเป็นรูปไข่ยาว[1]

สรรพคุณเข็มม่วง

1. นำต้นมาต้มกับน้ำดื่ม สามารถช่วยรักษาโรคริดสีดวงทวารได้ (ต้น)[1]
2. ในตำรับยาพื้นบ้านล้านนาจะนำต้นผสมกับหัวยาข้าวเย็น (ไม่ได้ระบุว่าเป็นข้าวเย็นเหนือหรือข้าวเย็นใต้) แล้วต้มกับน้ำดื่ม สามารถช่วยแก้อาการปวดเมื่อยได้ (ทั้งต้น)[1]
3. ชาวบ้านจะนำต้นรวมรากมาต้มใช้ทานเป็นยา ว่ากันว่าช่วยต้านอนุมูลอิสระได้ (ทั้งต้น)[3]
4. ชาวเขาเผ่าแม้ว ชาวกะเหรี่ยง นำต้นมาต้มกับน้ำ สามารถใช้เป็นยาบำรุงร่างกาย แก้อาการอ่อนเพลียได้ (ต้น)[1]
5. นำใบมาตำแล้วนำมาพอกหรือต้มกับน้ำใช้อาบ สามารถช่วยแก้โรคผิวหนัง ผื่นคัน หูดได้ (ใบ)[1]

ประโยชน์เข็มม่วง

  • ความเชื่อของคนไทยโบราณมีความเชื่อกันว่า ถ้าบ้านไหนปลูกต้นเข็มไว้เป็นไม้ประจำบ้าน จะทำให้มีความเฉลียวฉลาด คนไทยจึงใช้ดอกเข็มในพิธีไหว้ครู และใช้ในพิธีทางศาสนา ใช้ดอกเข็มเป็นเครื่องบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์[3]
  • ดอกมีสีที่สวย ออกดอกได้ทั้งปี ตัดแต่งทรงพุ่มได้ ปลูกเป็นไม้ประดับได้ นิยมปลูกที่ตามลำธาร สวน สระว่ายน้ำ ริมน้ำตก [2]

สั่งซื้อ อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วย เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม, กระทรวงวัฒนธรรม. “สมุนไพรพื้นบ้านดอกเข็มม่วง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: m-culture.in.th. [24 พ.ค. 2014].
2. หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา. (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “ร่องไม้”. หน้า 179.
3. ศูนย์รวมข้อมูลสิ่งมีชีวิตในประเทศไทย, สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน). “เข็มสีม่วง (Blue Sage)”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.thaibiodiversity.org. [24 พ.ค. 2014].
4. ฐานข้อมูลพรรณไม้ที่ใช้ในงานภูมิสถาปัตยกรรม ศูนย์ความรู้ด้านการเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. “เข็มม่วง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: agkc.lib.ku.ac.th. [24 พ.ค. 2014].

อ้างอิงรูปจาก
1.https://www.flickr.com/

ลักษณะและสรรพคุณของขางน้ำผึ้ง

0
ลักษณะและสรรพคุณของขางน้ำผึ้ง เป็นพรรณไม้พุ่มขนาดใหญ่ ดอกสีเหลืองแกมสีเขียว ผลเป็นสีเขียว สามารถแตกได้กลางพู ผิวผลมีลักษณะเป็นสันร่อง มีขนสั้นนุ่ม
ขางน้ำผึ้ง
เป็นพรรณไม้พุ่มขนาดใหญ่ ดอกสีเหลืองแกมสีเขียว ผลเป็นสีเขียว สามารถแตกได้กลางพู ผิวผลมีลักษณะเป็นสันร่อง มีขนสั้นนุ่ม

ขางน้ำผึ้ง

ขางน้ำผึ้ง เป็นไม้พุ่มขนาดใหญ่ ขึ้นได้ทุกที่ พบตามป่าไม่ผลัดใบ บริเวณชายเขา และในพื้นที่โล่ง ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Claoxylon indicum (Reinw. ex Blume) Hassk. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Claoxylon polot Merr.) อยู่วงศ์ยางพารา (EUPHORBIACEAE)[1] ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น งุ้นผึ้งขาว (ภาคเหนือ), ผักหวานใบใหญ่ (จังหวัดจันทบุรี), ขากะอ้าย (ภาคใต้), ฉับแป้ง (จังหวัดอุตรดิตถ์), หูควาย (จังหวัดนครศรีธรรมราช)[1]

ลักษณะขางน้ำผึ้ง

  • ต้น เป็นพรรณไม้พุ่มขนาดใหญ่ สามารถสูงได้ถึงประมาณ 2-10 เมตร จะมีขนขึ้นอย่างหนาแน่นทั้งต้น ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด ต้นสามารถขึ้นได้ทุกสภาพพื้นดิน พบเจอขึ้นได้ที่ตามบริเวณชายเขา ป่าไม่ผลัดใบ พื้นที่เปิดโล่ง ที่สูงตั้งแต่ 80-1,650 เมตร ปลูกได้ในทุกภาคของประเทศไทย โดยเฉพาะที่ทางภาคเหนือแถว ๆ เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน เชียงราย [1],[2]
  • ใบ เป็นใบเดี่ยว ใบจะออกเรียงเวียนสลับกัน ผิวใบจะมีขนสั้นนุ่ม ใบเป็นรูปโล่แกมขอบขนานแกมรูปไข่ ที่ปลายใบจะแหลม ส่วนที่โคนใบจะเว้าตื้น ขอบใบจะจักเป็นซี่ฟันตื้น ใบกว้างประมาณ 7-16 เซนติเมตร ยาวประมาณ 10-25 เซนติเมตร ก้านใบสามารถยาวได้ประมาณ 8 เซนติเมตร[1],[2]
  • ดอก ออกเป็นช่อแบบช่อกระจะ ออกดอกที่ตามซอกใบใกล้กับปลายกิ่ง ดอกย่อยจะเป็นแบบแยกเพศ อยู่คนละต้นกัน กลีบรวมจะมีขนขึ้น ช่อดอกเพศผู้สามารถยาวได้ถึงประมาณ 33 เซนติเมตร เป็นสีเหลืองแกมสีเขียว ดอกเพศผู้มีขนาดประมาณ 4.5 มิลลิเมตร มีเกสรเพศผู้อยู่ 20 อัน ช่อดอกเพศเมียมีความยาวถึงประมาณ 7.5 เซนติเมตร มีสีเขียวอ่อน ดอกเพศเมียมีขนาดประมาณ 3 มิลลิเมตร รังไข่มีช่องประมาณ 3-4 ช่อง[1],[2]
  • ผล เป็นผลแห้ง ผลเป็นสีเขียว สามารถแตกได้กลางพู ผิวผลมีลักษณะเป็นสันร่อง มีขนสั้นนุ่มขึ้นอย่างหนาแน่น เมล็ดมีขนาดประมาณ 3-3.8 มิลลิเมตร จะมีเยื่อหุ้มสีแดงอยู่[1],[2]

สรรพคุณขางน้ำผึ้ง

  • ชาวเขาเผ่าแม้วจะนำลำต้นมาตำใช้พอกแก้อาการหูอื้อ ปวดหูได้ (ลำต้น)[1]

สั่งซื้อ อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วย เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. ระบบจัดการฐานความรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้ กรมป่าไม้. “ขาง น้ำ ผึ้ง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : biodiversity.forest.go.th. [03 มิ.ย. 2015].
2. หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา. (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “ขาง น้ำ ผึ้ง”. หน้า 70.

อ้างอิงรูปจาก
1.http://www.epharmacognosy.com/2022/06/claoxylon-indicum.html
2.https://www.picturethisai.com/th/wiki/Claoxylon_indicum.html

ลักษณะและสรรพคุณของขางคันนา

0
ขางคันนา
ลักษณะและสรรพคุณของขางคันนา เป็นพรรณไม้ล้มลุกฤดูเดียว ต้นสีเขียวอ่อนมีขนสีขาวปกคลุมแน่น ดอกสีม่วงหรือสีม่วงปนขาวนวล ฝักมีขนคอดเป็นข้อ
ขางคันนา
เป็นพรรณไม้ล้มลุกฤดูเดียว ต้นสีเขียวอ่อนมีขนสีขาวปกคลุมแน่น ดอกสีม่วงหรือสีม่วงปนขาวนวล ฝักมีขนคอดเป็นข้อ

ขางคันนา

ขางคันนา สมุนไพรมีรสเมาเฝื่อน มีอายุสั้น เลื้อยไปตามพื้นดินหรือตั้งขนานไปกับพื้น ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Desmodium heterocarpon var. strigosum Meeuwen อยู่วงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่วงศ์ย่อยถั่ว FABOIDEAE (PAPILIONOIDEAE หรือ PAPILIONACEAE)[1],[2] ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น พึงฮวย (จังหวัดชุมพร), หญ้าตืดหมา (จังหวัดลำปาง), เส่งช้างโชก (กะเหรี่ยง, จังหวัดลำปาง), ขางคันนาแดง (จังหวัดเชียงใหม่), อีเหนียวใหญ่ (จังหวัดชัยภูมิ) [1],[2] สามารถพบขึ้นได้ในจังหวัดศรีสะเกษ อุบลราชธานี, นราธิวาส, สงขลา, ขอนแก่น, นครศรีธรรมราช, เพชรบูรณ์, กาญจนบุรี, นครราชสีมา, ยะลา, พัทลุง ที่สูงเหนือระดับน้ำทะเลประมาณ 76-892 เมตร[1],[2]

ลักษณะขางคันนา

  • ต้น เป็นพรรณไม้ล้มลุกฤดูเดียว ลำต้นตั้งกึ่งตั้งและกึ่งตั้งกึ่งเลื้อยถึงกึ่งแผ่คลุมดิน สามารถสูงได้ถึงประมาณ 50-175 เซนติเมตร และอาจสูงถึง 2 เมตร ลำต้นมีลักษณะเป็นสีเขียวอ่อน ตรงที่โดนแสงแดดมักจะเป็นสีน้ำตาลแดงเข้ม ด้านล่างที่ไม่โดนแสงนั้นจะเป็นสีเขียวอ่อน ลำต้นมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.8-5.2 มิลลิเมตร จะมีขนสีขาวปกคลุมหนาแน่น
  • ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ใบย่อยมีอยู่ 3 ใบ จะออกเรียงสลับกัน ใบย่อยด้านบนสุดเป็นรูปไข่กลับแกมใบหอกหรือรูปไข่กลับ กว้างประมาณ 1.6-2.8 เซนติเมตร ยาวประมาณ 3-3.5 เซนติเมตร ใบย่อยด้านข้างเป็นรูปไข่กลับ หรือรูปวงรี กว้างประมาณ 1.1-2 เซนติเมตร ยาวประมาณ 2.3-4 เซนติเมตร แผ่นใบมีลักษณะเป็นสีเขียวถึงค่อนข้างเขียวเข้ม ที่หลังใบจะมีขนสีขาวปกคลุมอย่างหนาแน่น ที่ด้านหน้าใบจะไม่ขน แต่สามารถพบได้บางสายพันธุ์ที่มีขนเล็กขึ้นกระจายตามเส้นใบ แผ่นใบด้านหน้า ก้านใบมีความยาวประมาณ 1.4-2.2 เซนติเมตร หูใบมีลักษณะเป็นสีน้ำตาลจนถึงสีน้ำตาลแดงเข้ม[1],[2]
  • ดอก ออกเป็นช่อที่ตรงปลายยอดและที่ตามซอกใบ ช่อดอกมีความยาวประมาณ 4.3-5.8 เซนติเมตร มีดอกย่อยอยู่ประมาณ 43-90 ดอก ออกดอกแบบ Indeterminate กลีบดอกมีลักษณะเป็นรูปดอกถั่ว เป็นสีม่วงหรือสีม่วงปนขาวนวล มีเกสรเพศเมียเป็นสีเหลืองปนสีน้ำตาล ก้านเกสรเพศเมียเป็นสีเขียว ก้านอับเรณูจะเป็นสีแดง อับเรณูนั้นจะเป็นสีเหลืองปนสีน้ำตาล[1],[2]
  • ผล เป็นฝัก มีความยาวประมาณ 1.3-3 เซนติเมตร จะมีขนกับคอดหักเป็นข้อ สามารถแตกได้ตามตะเข็บล่าง มีเมล็ดอยู่ในแต่ละฝักประมาณ 4-9 เมล็ด บางช่อดอกย่อยฝักจะมีเมล็ดอยู่ 1 เมล็ด ออกดอกติดเมล็ดดี เริ่มออกดอกตั้งแต่เดือนพฤษภาคม จะออกดอกเยอะช่วงเดือนสิงหาคมถึงเดือนกันยายน[1],[2]

สรรพคุณขางคันนา

1. ยาพื้นบ้านนำรากมาต้มกับน้ำผสมผงปวกหาด รากมะเดื่อดิน ใช้ดื่มเป็นยาถ่ายพยาธิ โดยให้ใช้ครั้งละ 1 ช้อนโต๊ะ ดื่มวันละ 3 ครั้ง (ราก)[1]
2. ในตำรายาไทยกล่าวไว้ว่า มีรสเมาเฝื่อน มีสรรพคุณที่เป็นยาแก้กาฬมูตร แก้เด็กตัวร้อน และดับพิษตานซางได้ (ลำต้น, ใบ)[1],[2]
3. ยาพื้นบ้านล้านนาจะนำลำต้นกับใบมาต้มกับน้ำ เอามาใช้อาบเป็นยาแก้บวมพองได้ (ใบ, ลำต้น)[1],[2]
4. สามารถใช้เป็นยาขับปัสสาวะ ยาแก้โรคลำไส้ ขับพยาธิได้ทุกชนิด (ลำต้น, ใบ)[1],[2]

ประโยชน์ขางคันนา

  • สามารถใช้เป็นอาหารสัตว์เลี้ยงได้

คุณค่าทางอาหาร

  • ต้นที่อายุ 45 วัน จะประกอบด้วย DMD 39.3-39.5%, ADF 38.7-47.3%, ฟอสฟอรัส 0.18-0.26%, โปรตีน 11.9-15.9%, ลิกนิน 14.2-17.7%, NDF 45.8-54.9%, โพแทสเซียม 1.17-1.26%, แคลเซียม 1.26-1.49% [2]
  • ต้นที่อายุประมาณ 75-90 วัน จะประกอบด้วย แทนนิน 4.2-6.1%, ไนเตรท 78.4-85 พีพีเอ็ม, มิโมซิน 1.17-1.54%, โปรตีน 11-12.8%, ออกซาลิกแอซิด 14.1-22.4 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ [2]

สั่งซื้อ อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วย เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. สำนักพัฒนาอาหารสัตว์ กรมปศุสัตว์. “ขาง คัน นา”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : nutrition.dld.go.th. [03 มิ.ย. 2015].
2. หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา. (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “ขาง คัน นา”. หน้า 91.

อ้างอิงรูปจาก
1.https://nanps.org/product/desmodium-canadense/
2.https://tropical.theferns.info/viewtropical.php?id=Desmodium+heterocarpon

กะพวมมะพร้าว เป็นยาช่วยระบบย่อยอาหาร

0
กะพวมมะพร้าว
กะพวมมะพร้าว เป็นยาช่วยระบบย่อยอาหาร กิ่งอ่อนมีขนสีเหลือง ดอกเป็นช่อกระจุกแน่นบริเวณปลายยอด ดอกเป็นสีขาวหรือสีม่วง ผลเป็นรูปกิ่งสามเหลี่ยม
กะพวมมะพร้าว
กิ่งอ่อนมีขนสีเหลือง ดอกเป็นช่อกระจุกแน่นบริเวณปลายยอด ดอกเป็นสีขาวหรือสีม่วง ผลเป็นรูปกิ่งสามเหลี่ยม

กะพวมมะพร้าว

กะพวมมะพร้าว เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ประเทศไทยพบได้ทางภาคเหนือและภาคใต้ ขึ้นตามป่าดิบ ทุ่งหญ้าคา ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Vernonia arborea Buch.-Ham. จัดอยู่ในวงศ์ทานตะวัน (ASTERACEAE หรือ COMPOSITAE)[1],[2] ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ คือ หนาดจืด (คนเมือง), จวง อ้ายเหนียวหมา (นครศรีธรรมราช), นวลแป้ง (สุราษฎร์ธานี), ตอนเลาะ (กระบี่), สมองกุ้ง (ตรัง), กะพวมมะพร้าว กะพอมมะพร้าว (สงขลา), ขี้อ้น (ยะลา), กะพวม งวงช้าง (ภาคใต้)[1],[2],[3]

ลักษณะของต้นกะพวมมะพร้าว

  • ลักษณะของต้น[1],[2]
    – เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง
    – มีความสูงได้ 7-15 เมตร
    – เปลือกต้นเป็นสีขาว
    – ตามกิ่งอ่อนมีขนสีเหลือง
    – เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง
    – สามารถขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดหรือวิธีการตอนกิ่ง
    – มีเขตการกระจายพันธุ์ในเทือกเขาหิมาลัยตอนใต้ อินเดีย ศรีลังกา และในภูมิภาคมาเลเซีย
  • ลักษณะของใบ[2]
    – ใบเป็นใบเดี่ยว
    – ออกเรียงสลับกัน
    – ใบเป็นรูปไข่หรือรูปขอบขนานแกมรี
    – ปลายใบเรียวแหลม
    – โคนใบสอบเป็นรูปลิ่มหรือสอบเข้ากัน
    – ขอบใบเรียบ
    – ใบมีความกว้าง 5-7.5 เซนติเมตร และยาว 10-15 เซนติเมตร
    – แผ่นใบด้านบนเกลี้ยง
    – แผ่นใบด้านล่างมีขน
    – มีขนขึ้นตามเส้นใบ
    – เส้นแขนงใบมีข้างละ 8-13 เส้น
    – ก้านใบยาวได้ 1-2 เซนติเมตร
  • ลักษณะของดอก[2]
    – ออกดอกเป็นช่อ
    – เป็นช่อกระจุกแน่นบริเวณปลายยอด
    – มีหลายช่ออยู่รวมกันเป็นช่อแยกแขนง
    – ในแต่ละช่อจะมีวงใบประดับ 5-6 ชั้น
    – เป็นรูปขอบขนานแกมรูปไข่
    – มีขนที่ปลาย
    – มีความกว้าง 4-6 มิลลิเมตร และยาว 5 มิลลิเมตร
    – มี 5-6 ดอก
    – กลีบเลี้ยงเป็นเส้นยาว 5-7 มิลลิเมตร
    – ที่ปลายเส้นมีขนยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร 2-3 เส้น
    – ดอกเป็นสีขาวหรือสีม่วง
    – โคนเชื่อมติดกันเป็นหลอดยาวประมาณ 5 มิลลิเมตร
    – ส่วนปลายจักเป็น 5 จัก
    – มีเกสรเพศผู้ 5 อัน
    – รังไข่อยู่ใต้วงกลีบ
  • ลักษณะของผล[1],[2]
    – ผลเป็นรูปกิ่งสามเหลี่ยม
    – ผลยาวประมาณ 3-4 มิลลิเมตร
    – มีสันตามยาว 10 สัน
    – ผิวผลเกลี้ยงหรือมีขนนุ่มห่าง ๆ
    – รยางค์เป็นสีขาวหม่น ๆ
    – มักเรียงกันเป็นวง 2 วง
    – โดยวงในจะยาวกว่าวงนอก
    – ยาวได้ถึง 5-7 มิลลิเมตร

สรรพคุณของกะพวมมะพร้าว

  • ลำต้น สามารถนำมาฝนกับน้ำดื่มเป็นยาแก้อาการผิดเดือน[3]
  • เปลือก สามารถใช้เคี้ยวเป็นยาบำบัดโรคริดสีดวงทวารหนักในระยะเริ่มแรก[2]
  • ลำต้น สามารถนำไปต้มรวมกับปูเลย เถารางจืด และกิ่งเปล้าน้อย[3]
  • ลำต้น สามารถใช้เป็นยาห่มให้สตรีหลังคลอดบุตรที่อยู่ไฟได้[3]
  • ใบ สามารถใช้เป็นยาชงดื่ม มีฤทธิ์เป็นยาช่วยย่อยและเป็นยากระตุ้น[1]
  • ทั้งต้น สามารถใช้ยาชงจากทั้งต้นเป็นยาช่วยย่อยได้[2]

สั่งซื้อ อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วย เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคกลาง. (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ, ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, กัญจนา ดีวิเศษ). “กะ พวม มะ พร้าว”. หน้า 50-51.
2. ข้อมูลพรรณไม้, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “กะ พวม มะ พร้าว”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.rspg.or.th/plants_data/. [21 มิ.ย. 2015].
3. โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง, สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน). “กะ พวม มะ พร้าว”. อ้างอิงใน : หนังสือชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : eherb.hrdi.or.th. [21 มิ.ย. 2015].

อ้างอิงจาก
1.https://indiabiodiversity.org/observation/show/16533937

ลักษณะและสรรพคุณของกรามช้าง

0
กรามช้าง
ลักษณะและสรรพคุณของกรามช้าง เป็นไม้ล้มลุกหรือไม้ขนาดเล็ก มีสีเขียวอมน้ำตาลแดง ดอกเหลืองแกมเขียว ผลสุกเป็นสีม่วงเข้ม
กรามช้าง
เป็นไม้เถาขนาดเล็ก มีสีเขียวอมน้ำตาลแดง ดอกเหลืองแกมเขียว ผลสุกเป็นสีม่วงเข้ม

กรามช้าง

กรามช้าง เป็นไม้ล้มลุกหรือไม้ขนาดเล็ก มีสีเขียวอมน้ำตาลแดง ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Smilax blumei A.DC. ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ คือ Smilax perfoliata Blume อยู่วงศ์ข้าวเย็นเหนือ (SMILACACEAE)

ลักษณะของต้นกรามช้าง

  • ต้น เป็นไม้เลื้อย สามารถยาวได้ถึง 10 เมตร กิ่งก้านมีลักษณะเรียวและมีหนาม
  • ใบ เป็นใบเดี่ยว ใบจะออกเรียงสลับ ใบเป็นรูปไข่แกมวงรีถึงรูปไข่แกมรูปสามเหลี่ยม ใบกว้างประมาณ 8-18 เซนติเมตร ยาวประมาณ 13-27 เซนติเมตร จะมีเส้นใบที่ออกจากโคนใบจรดกับปลายใบอยู่ 5 เส้น ก้านใบมีลักษณะเป็นสันสามเหลี่ยมมน มีหูใบเป็นรูปไข่กลับแผ่เป็นครีบ จะมีมือเกาะที่ยาวประมาณครึ่งหนึ่งของแผ่นใบ[1]
  • ดอก ออกเป็นช่อ ออกดอกเป็นคู่ที่ตามซอกใบ เป็นดอกแบบแยกเพศอยู่คนละต้น ช่อดอกเพศผู้นั้นมีดอกย่อยอยู่ประมาณ 30-50 ดอก ช่อดอกเพศเมียมีดอกย่อยอยู่ประมาณ 20-40 ดอก กลีบรวมเป็นสีเหลืองแกมเขียว[1]
  • ผล เป็นทรงกลม ผลสุกเป็นสีม่วงเข้ม[1]

สรรพคุณของรากกรามช้าง

1. ในตำรับยารักษารำมะนาดให้นำรากกรามช้าง ต้นกระไดลิง ข้าวสารเหนียว รากปอขาว รากแตงเถื่อน รากงิ้ว รากชุมเห็ดเล็ก ต้นมะกอกเผือก เครือข้าวเย็น รากเกล็ดลิ่น ข้าวสารเจ้า รากฟักข้าว รากชุมเห็ดเทศ รากถั่วพู มาฝนกับน้ำซาวข้าวเจ้าทานสามารถรักษารำมะนาดได้ (ราก) [1]
2. ในตำรับยาแก้ทอนซิลอักเสบ ให้นำรากกรามช้าง รากไผ่ รากตาล มาฝนน้ำ สามารถทานเป็นยาแก้ทอนซิลอักเสบได้ (ราก) [1]
3. ในตำรับยาผีเครือเหลือง ให้นำรากกรามช้าง นอแรดเครือ ต้นกระไดลิง ข้าวเย็น แก่นศรีคันไชย แก่นชมพู่ รากมะพร้าว รากช่ำ รากคำแสนซีก ว่านกีบแรด ต้นหมากขี้แรด เขาเลียงผา แก่นหาดเยือง แก่นจันทน์แดง รากเล็บเหยี่ยว รากก่อเผือก รากมะตูมป่า รากไค้ตีนกรอง มาฝนกับน้ำข้าวเจ้า สามารถทานเป็นยาผีเครือเหลืองได้ (ราก) [1]

สรรพคุณของหัวกรามช้าง

  • ในตำรับยาพื้นบ้านล้านนาจะนำหัวที่อยู่ใต้ดินของต้นมาฝนหรือหั่นเป็นชิ้น ใช้ครั้งละ 2-3 ชิ้น มาต้มกับน้ำดื่มวันละ 3 ครั้ง สามารถใช้เป็นยาแก้ท้องเสียได้ (หัว) [1]

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

  • มีวิจัยทางคลินิกที่ในประเทศจีน โดยนำมาผสมกับสมุนไพรชนิดอื่นมากกว่า 10 ชนิด เพื่อใช้ในการรักษาโรคตับอักเสบชนิดบี ผลการทดลองปรากฏว่าผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น 74.5%[1]

ประโยชน์กรามช้าง

  • นำหัวใต้ดินมาใช้แทนหัวข้าวเย็นได้ [1]

สั่งซื้อ อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วย เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา. (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “กรามช้าง”. หน้า 197.

อ้างอิงรูปจาก
1.https://www.flickr.com/
2.http://www.westafricanplants.senckenberg.de/

กระจับนก กับสรรพคุณและประโยชน์น่ารู้

0
กระจับนก
กระจับนก กับสรรพคุณและประโยชน์น่ารู้ เป็นพรรณไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบขนาดเล็ก ดอกเล็ก ผลอ่อนเป็นสีเขียว ผลแก่สีชมพูหรือสีแดงเข้ม เมล็ดเล็กสีดำ
กระจับนก
เป็นพรรณไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบขนาดเล็ก ดอกเล็ก ผลอ่อนเป็นสีเขียว ผลแก่สีชมพูหรือสีแดงเข้ม เมล็ดเล็กสีดำ

กระจับนก

ไม้ยืนกระจับนก เป็นพรรณไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบขนาดเล็ก เป็นยาสมุนไพรไทยพื้นบ้าน พบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บริเวณริมห้วยหรือป่าดิบชื้น ลำธาร ชื่อวิทยาศาสตร์ Euonymus cochinchinensis Pierre (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Euonymus similis Craib.) จัดอยู่ในวงศ์กระทงลาย (CELASTRACEAE)[1],[4] ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ คือ มะดะ (เชียงราย), กระจับนก (เชียงใหม่), นางใย, อึ่งเปาะ (อุบลราชธานี), ตานขี้ม้า, ตาสีไสว, มะดะ, มะหากาหลัง (ภาคเหนือ), กระดูกไก่ ชะแมง (ภาคใต้), คอแห้ง[1],[3],[4]

ลักษณะของต้นกระจับนก

  • ลักษณะของต้น[1],[2],[3],[4]
    – เป็นพรรณไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบ ขนาดเล็ก
    – มีความสูงได้ถึง 10-12 เมตร
    – มีเส้นรอบวงยาวประมาณ 5.5 นิ้ว
    – เปลือกต้นบาง มีสีน้ำตาลครีม
    – มีร่องแตกตามยาวแคบ ๆ
    – แตกกิ่งก้านเล็ก มีสีเขียว
    – สามารถขยายพันธุ์โดยการตอนกิ่งและการเพาะเมล็ด
    – เป็นพรรณไม้กลางแจ้งที่ทนต่อความร้อนได้ดี
    – มีเขตการกระจายพันธุ์ในจีน กัมพูชา และภูมิภาคมาเลเซีย
    – ในประเทศไทยพบได้ทุกภาค
    – สามารถพบได้ขึ้นตามลำธาร ตามป่าดิบแล้งในระดับต่ำจนถึงความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,500 เมตร
  • ลักษณะของใบ[1],[2],[3],[4]
    – ใบเป็นใบเดี่ยว
    – ออกเรียงตรงข้ามกัน
    – ใบเป็นรูปรีหรือรูปรีแกมรูปขอบขนาน
    – ปลายใบแหลม
    – โคนใบสอบเข้าหากัน
    – ขอบใบเรียบหรือเป็นหยักตื้นห่าง ๆ ค่อนไปทางปลายใบ
    – ใบมีความกว้าง 2.5-7 เซนติเมตร และยาว 4.5-16 เซนติเมตร
    – ผิวเนื้อใบบาง ไม่มีขน
    – ผิวใบด้านบนเป็นสีเขียวเข้มเป็นมัน
    – เส้นใบเห็นได้ไม่ชัดเจน
    – เส้นใบข้างมี 7-11 คู่ จรดกันที่ขอบใบ
    – ก้านใบยาว 3-8 มิลลิเมตร
    – มีหูใบแคบ ๆ ร่วงง่าย
    – กิ่งก้านเป็นมัน
  • ลักษณะของดอก[3]
    – ออกดอกเป็นช่อแบบแยกแขนง
    – จะออกตามง่ามใบ แต่ส่วนมากจะออกตรงโคนกิ่งที่ออกใหม่
    – มีความยาว 3-10.5 เซนติเมตร
    – ก้านช่อดอกยาว 1.3-8 เซนติเมตร
    – ใบประดับมีขนาดเล็กมาก
    – ขอบเป็นครุย
    – ดอกมีขนาดเล็ก
    – กลีบเลี้ยงดอกมี 5 กลีบ มีรูปร่างคล้ายไต
    – ขอบกลีบเป็นครุยสั้น
    – กลีบดอกมี 5 กลีบ
    – สีเหลืองอ่อนหรือสีเหลืองอมเขียว เป็นรูปไข่กลับ ขอบเป็นครุย
    – จานฐานดอกหนา เป็นรูปวงแหวนหรือเป็นห้าเหลี่ยม
    – ดอกมีเกสรเพศผู้ 5 อัน อยู่ที่ขอบจานฐานดอก
    – ก้านชูอับเรณูแบน และสั้นมาก
    – อับเรณูเป็นรูปสามเหลี่ยม
    – รังไข่จะอยู่เหนือวงกลีบ
  • ลักษณะของผล[1],[2],[3],[4]
    – ผลเป็นรูปไข่กลับหรือค่อนข้างกลม
    – มีรูปร่างคล้ายกับระฆังคว่ำ
    – มีความยาว 1 เซนติเมตร
    – ปลายผลนูน
    – โคนผลจะเล็กกว่าปลายผล
    – ปลายผลหยักเว้าเป็นพู 5 พู
    – ผลอ่อนเป็นสีเขียว
    – ผลแก่จะเป็นสีชมพูหรือสีแดงเข้ม
    – ผลแก่จัดจะแตกออกเป็น 5 ซีก จะแตกตรงกลางพู
    – แต่ละซีกมีเมล็ด 1 เมล็ด
  • ลักษณะของเมล็ด[1],[2],[4]
    – เมล็ดเป็นสีดำ
    – มีขนาดเล็กมาก
    – เป็นมัน
    – มีเยื่อสีส้มหรือสีแดงปกคลุมที่ขั้ว
    – เมล็ดเป็นรูปรี
    – ปลายและโคนมน
    – มีความยาวประมาณ 5-6 มิลลิเมตร

สรรพคุณของกระจับนก

  • ราก สามารถนำมาฝนกับน้ำกินเป็นยาแก้เมาเห็ดได้[4]
  • ราก สามารถนำมาแช่น้ำหรือใช้ฝนกับน้ำกินเป็นยาแก้ผิดสำแดง[4]
  • ลำต้น สามารถนำมาต้มกับน้ำดื่มบำรุงเลือดได้[4]
  • เปลือก สามารถนำมาดองหรือแช่ในเหล้าโรง และใช้ดื่มกินก่อนอาหาร เป็นยาช่วยเจริญอาหาร ช่วยให้อยากอาหาร[1],[2],[4]

ประโยชน์ของกระจับนก

  • สามารถใช้เป็นอาหารสัตว์ได้[5]
  • เนื้อไม้ สามารถใช้ทำเครื่องประมงได้[5]

สั่งซื้อ อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วย เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “กระ จับ นก”. หน้า 8-9.
2. หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคเหนือ. (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ). “กระ จับ นก”. หน้า 2.
3. ข้อมูลพรรณไม้, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “กระ จับ นก”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.rspg.or.th/plants_data/. [09 ก.ค. 2015].
4. ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “มะหากาหนัง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.phargarden.com. [09 ก.ค. 2015].
5. วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. “กระ จับ นก”. อ้างอิงใน : หนังสือพรรณไม้ป่าชายหาด หน้า 2 (มัณฑนา นวลเจริญ). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : th.wikipedia.org. [09 ก.ค. 2015].

กกอียิปต์ กับสรรพคุณและประโยชน์น่ารู้

0
กกอียิปต์
กกอียิปต์ กับสรรพคุณและประโยชน์น่ารู้ เป็นต้นไม้น้ำที่มีอายุหลายปี ลำต้นเป็นเหลี่ยมมีสีเขียวเข้ม ลักษะเป็นมัน สำหรับใบเป็นลักษณะลดรูปเป็นกาบ
กกอียิปต์
ต้นไม้น้ำที่มีอายุหลายปี ลำต้นเป็นเหลี่ยมมีสีเขียวเข้ม ลักษะเป็นมัน สำหรับใบเป็นลักษณะลดรูปเป็นกาบ

กกอียิปต์

กกอียิปต์ หรือ พาไพรัส เป็นพืชน้ำชนิดหนึ่ง ที่เติบโตในพื้นที่ราบลุ่มริมแม่น้ำไนล์  ชื่อสามัญ คือ Egyptian paper plant, Papyrus, Egyptian paper reed[1], Papyrus sedge, Paper reed, Indian matting plant, Nile grass ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Cyperus papyrus L. จัดอยู่ในวงศ์กก (CYPERACEAE)[1]

ลักษณะของต้นกกอียิปต์[1]

  • เป็นพรรณไม้ริมน้ำหรือวัชพืชน้ำ
  • มีอายุอยู่ได้หลายปี
  • ลำต้นใต้ดินเป็นเหง้าใหญ่แข็ง แตกไหลได้
  • ลำต้นที่อยู่เหนือดินจะแตกเป็นกอ
  • ลำต้นเป็นสีเขียวเป็นรูปสามเหลี่ยม
  • มุมมน
  • ภายในต้นมีความตัน
  • มีความสูงได้ถึง 2.5 เมตร
  • สามารถขยายพันธุ์โดยการใช้เมล็ดและการแตกไหลของลำต้น
  • ชอบขึ้นในดินเหนียวที่ชุ่มชื้นและมีอินทรีย์วัตถุสูง
  • เป็นพรรณไม้ที่เติบโตเร็ว
  • ชอบความชื้น และแสงแดดแบบเต็มวัน
  • สามารถพบขึ้นได้ตามแหล่งน้ำขัง ริมคูคลอง และตามคลองส่งน้ำทั่วไป

ลักษณะของใบกกอียิปต์[1]

  • ใบเป็นใบเดี่ยว
  • ลดรูปเป็นเกล็ดหรือแผ่นสีน้ำตาล
  • เรียงตัวเป็นกระจุกสามระนาบอยู่รอบ ๆ โคนต้น

ลักษณะของดอกกกอียิปต์[1]

  • ออกดอกเป็นช่อแบบซี่ร่มย่อยที่ปลายกิ่ง
  • ช่อดอกแตกแขนงย่อย 100-200 แขนง
  • ยาวได้ 12-30 เซนติเมตร
  • ดอกเป็นสีน้ำตาลปนแดง
  • มีใบประดับรองรับช่อดอก 4-10 ใบ
  • มีความกว้าง 15 มิลลิเมตร และยาว 15-35 เซนติเมตร
  • แต่ละแขนงจะมีดอกย่อยช่อละ 20-30 ดอก
  • ดอกย่อยจะมีกาบหุ้มกว้าง 1 มิลลิเมตร และยาว 1.5-2 มิลลิเมตร
  • ดอกย่อยเมื่อบานเต็มที่จะมีขนาดกว้าง 1.5-2 มิลลิเมตร
  • สามารถออกดอกได้ตลอดทั้งปี

ลักษณะของผลกกอียิปต์[1]

  • ผลแห้ง
  • เป็นรูปรีหรือรูปไข่
  • ผลมีความกว้าง 0.4-0.5 มิลลิเมตร และยาว 0.9-10 มิลลิเมตร
  • เปลือกผลแข็ง สีเหลืองอมน้ำตาล
  • มีเมล็ดแค่อันเดียว

สรรพคุณของกกอียิปต์

  • ใบและดอก สามารถใช้เป็นยาแก้อาเจียน ถ่ายพิษไข้ และเป็นยาระบายอ่อน ๆได้
  • ลำต้น สามารถนำมาตีด้วยไม้ แล้วนำน้ำยางที่ได้มาใช้สมานแผลได้
  • ลำต้น สามารถนำมาตีเป็นเส้นและนำมาดามกับโคลนเพื่อเป็นการเข้าเฝือกได้

ประโยชน์ของกกอียิปต์

  • สามารถนำมาใช้ทำเป็นเสื่อ กระเป๋าเป๋ เปลญวนได้[1]
  • สามารถนำมาใช้แทนเชือกมัดของได้[1]
  • ในสมัยโบราณใช้ทำเป็นกระดาษ[1]
  • นิยมนำมาปลูกเป็นไม้ประดับในสวนน้ำได้[1]
  • ปลูกประดับในอ่างเลี้ยงปลาได้[1]
  • ใช้จัดสวนได้[1]
  • ปลูกไว้ในภาชนะประดับตามมุมอาคารและสถานที่ต่าง ๆได้[1]

สั่งซื้อ อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วย เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. ฐานข้อมูลพรรณไม้ที่ใช้ในงานภูมิสถาปัตยกรรม ศูนย์ความรู้ด้านการเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. “กกอียิปต์”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : agkc.lib.ku.ac.th. [25 ก.ค. 2015].
2. วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. “กกอียิปต์”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : th.wikipedia.org. [25 ก.ค. 2015].

อ้างอิงรูปจาก
1.https://www.naturalista.mx/taxa/598622-Cyperus-papyrus-papyrus
2.https://www.gardenia.net/plant/cyperus-papyrus

อรพิม พรรณไม้เถาเลื้อยเนื้อแข็งดอกขาว

0
อรพิม
อรพิม พรรณไม้เถาเลื้อยเนื้อแข็งดอกขาว เป็นไม้ประจำถิ่นของไทย พบทางภาคกลางตามป่าผลัดใบและป่าละเมาะ เป็นไม้เถาเนื้อแข็ง ขนสีน้ำตาลที่กิ่งอ่อน
อรพิม
พรรณไม้เถาเลื้อยเนื้อแข็งดอกขาว เป็นไม้ประจำถิ่นของไทย พบทางภาคกลางตามป่าผลัดใบและป่าละเมาะ เป็นไม้เถาเนื้อแข็ง ขนสีน้ำตาลที่กิ่งอ่อน

อรพิม

อรพิม มาจากชื่อของพระยาวินิจวนันดร นักพฤกษศาสตร์ชาวไทยในอดีต ผู้ที่เป็นคนค้นพบพันธุ์ไม้ชนิดนี้เป็นคนแรก เป็นไม้ประจำถิ่นของไทย พบทางภาคกลางตามป่าผลัดใบและป่าละเมาะ ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bauhinia winitii Craib ชื่อวงศ์ : CAESALPINIOIDEAE หรือ CAESALPINIACEAE
ชื่อท้องถิ่น : คิ้วนาง (ภาคกลาง)

ลักษณะอรพิม

  • ต้น
    – เป็นไม้เถาเลื้อยขนาดใหญ่ เป็นสีน้ำตาล
    – เป็นพรรณไม้เฉพาะถิ่นของเมืองไทย
    – สามารถขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและตอนกิ่ง
    – เติบโตได้ดีในดินที่มีความชื้นและดินร่วนซุยระบายน้ำได้ดี
    – สามารถพบได้ทางภาคเหนือตอนล่าง ทางภาคกลาง และทางภาคตะวันตกเฉียงใต้
    – จะขึ้นตามป่าผลัดใบ ป่าละเมาะ หรือตามที่โล่งบนเขา [1],[2],[3]
  • ดอก
    – เป็นช่อกระจะขนาดใหญ่
    – ดอกย่อยมีก้านเรียงสลับกันบนแกนกลาง
    – ช่อดอกยาว 13-17 เซนติเมตร
    – ก้านช่อยาว 1-2.5 เซนติเมตร
    – ดอกย่อยเป็นสีขาว
    – กลีบดอกมี 5 กลีบ เป็นรูปรี
    – กลีบเลี้ยงมี 5 กลีบ แยกจากกัน เป็นสีครีมรูปไข่กลับ
    – มีเกสรเพศเมีย 1 อัน มีขนสีน้ำตาล
    – ออกดอกในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงเดือนพฤศจิกายน[1],[2],[3]
  • ผล
    – เป็นฝักแบนรูปใบหอก
    – เป็นสีน้ำตาลอมแดง
    – มีความกว้าง 3.5-7 เซนติเมตร และยาว 12-30 เซนติเมตร
    – ก้านผลมีความยาว 6-9.5 เซนติเมตร
    – เมื่อแก่แล้วจะแตกออก
    – มีเมล็ด 6-10 เมล็ด มีความแบน
    – มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1-1.5 เซนติเมตร[1],[2]

สรรพคุณและประโยชน์ อ ร พิ ม

– เปลือกต้น เป็นยาแก้ท้องเสีย[1],[2]
– เป็นยาแก้อาการปวดศีรษะ
– แก้บิด
– ช่วยขับเสมหะ
– เปลือก สามารถนำเส้นใยมาใช้ทำเชือกได้[3]
– เปลือก ใช้เคี้ยวกินกับหมากได้[1],[3]
– นำมาปลูกเป็นไม้ประดับตามริมรั้ว ริมทางเดิน[3]

สั่งซื้อ อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วย เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). “อ ร พิ ม (Ora Phim)”. หน้า 338.
2. หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคเหนือ. “อ ร พิ ม”. (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ). หน้า 196.
3. สวนพฤกษศาสตร์คลองไผ่, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “อ ร พิ ม”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.rspg.or.th/plants_data/kp_bot_garden/kpb.htm. [25 ก.ค. 2014].