หญ้าเกล็ดปลา สรรพคุณทางยาโบราณแก้อาการไอเป็นเลือด

0
หญ้าเกล็ดปลา สรรพคุณทางยาโบราณแก้อาการไอเป็นเลือด เป็นพืชล้มลุกขนาดเล็ก ดอกสีขาวหรือชมพูอ่อน มีน้ำหวาน สามารถนำมาใช้ต้มดื่มแทนชาได้
หญ้าเกล็ดปลา
พืชล้มลุกขนาดเล็ก ดอกสีขาวหรือชมพูอ่อน มีน้ำหวาน สามารถนำมาใช้ต้มดื่มแทนชาได้

หญ้าเกล็ดปลา

หญ้าเกล็ดปลา เป็นพืชพรรณไม้เลื้อยล้มลุกขนาดเล็กชนิดปกคลุมดิน เจริญเติบโตได้ดีในเขตที่มีอากาศอบอุ่นและมักพบขึ้นตามริมทางน้ำและริมถนนทั่วไป ชื่อสามัญ คือ Lippia, Common lippia, Turkey tangle fogfruit ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Phyla nodiflora (L.) Greene[1],[2] ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น ก้วยกังติ้ง ไตหยี่หนึ่งจี้

ลักษณะหญ้าเกล็ดปลา

  • ต้น
    – เป็นพรรณไม้เลื้อย
    – ลำต้นมีความยาว 15-90 เซนติเมตร
    – สามารถขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด
    – เติบโตได้ดีในดินปนทราย
    – ชอบอากาศชื้น ทนต่อแสงแดดได้ดี
    – กระจายพันธุ์ทั่วไปในเขตร้อนและเขตอบอุ่น
    – สามารถพบขึ้นได้ตามที่ลุ่ม ริมทางน้ำ นาเกลือ และริมถนน[1],[2]
  • ใบ
    – เป็นใบเดี่ยว
    – เป็นรูปไข่กลับ
    – ปลายใบมน
    – โคนใบเรียว
    – ขอบใบหยัก
    – ขอบใบด้านล่างเรียบ
    – ใบมีความกว้าง 1-7 มิลลิเมตร และยาว 0.5-1.3 เซนติเมตร
    – แผ่นใบหนา
    – มีขนแบบ 2 แขน
    – ก้านใบยาว 1-4 มิลลิเมตร[1],[2]
  • ดอก
    – เป็นช่อเชิงลด รูปกลม
    – ช่อดอกยาว 0.2-0.21 เซนติเมตร
    – ก้านช่อดอกยาว 3-8 เซนติเมตร
    – ใบประดับเป็นรูปหัวใจ กว้าง 2-2.5 มิลลิเมตร และยาว 2-2.5 มิลลิเมตร
    – ปลายใบเป็นติ่งแหลม
    – กลีบเลี้ยงเป็นถ้วยที่
    – ปลายแยกเป็น 2 กลีบ
    – ในแต่ละกลีบจะเป็นรูปหอก กว้าง 0.5-1 มิลลิเมตร และยาว 1-2.5 มิลลิเมตร
    – ดอกมีเกสรเพศผู้ 4 อัน
    – อับเรณูเป็นรูปกลม ยาว 0.1-0.2 มิลลิเมตร
    – ก้านชูเกสร ยาว 0.1-0.2 มิลลิเมตร
    – เกสรเพศเมีย รังไข่จะอยู่เหนือวงกลีบ เป็นรูปรี 2 อันประกบกัน
    – ยอดเกสรเป็นก้อนกลมเล็ก[1],[2]
  • ผล
    – มีกลีบเลี้ยงหุ้ม
    – เมื่อผลแก่เต็มที่แล้วจะแยกออกจากกันเป็นเมล็ด[1]

สรรพคุณและประโยชน์หญ้าเกล็ดปลา

  • ลำต้น ใช้เป็นยาแก้ไข้[1]
  • ลำต้น ช่วยขับปัสสาวะ[1]
  • ลำต้น ใช้เป็นยาพอกแผล[1]
  • ลำต้น ช่วยแก้ปัสสาวะเป็นเลือด[1]
  • ลำต้น ช่วยแก้อาการไอเป็นเลือด[1]
  • ใช้เป็นพืชคลุมดินตามบริเวณริมแม่น้ำเพื่อช่วยในการยึดเกาะดินไม่ให้พังทลาย[1]

สั่งซื้อ อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วย เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “หญ้า เกล็ด ปลา”. หน้า 798-799.
2. ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. “หญ้า เกล็ด ปลา”. อ้างอิงใน : Flora of Thailand Volume 10 Part 2, หน้า 261-262. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.qsbg.org. [19 ส.ค. 2014].

อ้างอิงรูปจาก
1.https://www.monaconatureencyclopedia.com/phyla-nodiflora/?lang=en

ลักษณะและสรรพคุณของสังกรณี

0
ลักษณะและสรรพคุณของสังกรณี เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก ดอกออกเป็นช่อสีฟ้าและสีปูน ผลเป็นฝักลักษณะแบนเกลี้ยง สีน้ำตาล พอแห้งจะแตก มีเมล็ดเป็นรูปกลมแบน 4 เมล็ด
สังกรณี
ไม้พุ่มขนาดเล็ก ดอกออกเป็นช่อสีฟ้าและสีปูน ผลเป็นฝักลักษณะแบนเกลี้ยง สีน้ำตาล พอแห้งจะแตก มีเมล็ดเป็นรูปกลมแบน 4 เมล็ด

สังกรณี

สังกรณี เป็นไม้พุ่มขนาดเล็กหายาก เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุยและมีความชื้นปานกลาง มักพบขึ้นมากตามป่าเต็งรัง ป่าไผ่ ป่าดงดิบ และป่าดิบแล้ง ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Barleria strigosa Willd. อยู่ในวงศ์เหงือกปลาหมอ (ACANTHACEAE)[1] ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น หญ้าหงอนไก่, กวางหีแฉะ, เพิงดี, ขี้ไฟนกคุ้ม, หญ้าหัวนาค, กำแพงใหญ่, จุกโรหินี [1],[2],[4]

ลักษณะสังกรณี

  • ต้น เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก จะแตกกิ่งก้านสาขารอบต้น ลำต้นสูงประมาณ 60-120 เซนติเมตร ที่กิ่งก้านจะมีขนสีน้ำตาลปกคลุม เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด เติบโตได้ดีในดินร่วนซุย มีความชื้นปานกลาง มักพบเจอที่ตามป่าดงดิบ ป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง ป่าไผ่ [1],[2]
  • ใบ เป็นใบเดี่ยว ใบจะออกเรียงตรงข้ามกันเป็นคู่ตามข้อต้น ใบเป็นรูปรีค่อนข้างยาวหรือเป็นรูปไข่แกมขอบขนาน ที่ปลายใบจะแหลมมีติ่ง ส่วนที่โคนใบแหลมและจะเริ่มเรียวแหลมไปถึงก้านใบ ขอบใบจะมีขนเป็นหนามเล็ก ใบกว้างประมาณ 4-7 เซนติเมตร มีความยาวประมาณ 10-15 เซนติเมตร ที่แผ่นใบเป็นสีเขียว ส่วนที่ท้องใบจะมีขนยาวที่ตามเส้นใบ หลังใบจะมีขนบ้างประปราย ก้านใบมีความยาวประมาณ 0.2-0.5 เซนติเมตร[1],[2]
  • ดอก ออกเป็นช่อกระจะแน่น ดอกจะออกที่ตามง่ามใบหรือที่ปลายยอด มีดอกย่อยอยู่ประมาณ 10 ดอก ดอกจะมีใบประดับ ใบประดับมีลักษณะเป็นรูปรีหรือรูปหอก มี 2 แผ่น มีความกว้างประมาณ 4 มิลลิเมตร มีความยาวประมาณ 10 มิลลิเมตร ที่ปลายจะแหลม ส่วนที่ขอบจะหยักเป็นซี่ฟันถี่ เป็นชายครุย หุ้มโคนดอกไว้ เมื่อดอกย่อยบานเต็มที่จะมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 4 เซนติเมตร ก้านดอกย่อยมีความยาวประมาณ 5 มิลลิเมตร มีกลีบเลี้ยงอยู่ 2 กลีบ จะเรียงตัวตรงข้ามเป็นคู่ เชื่อมที่โคน ที่ปลายจะแยก คู่ด้านนอกเป็นรูปไข่ มีความกว้างประมาณ 1.6 เซนติเมตร มีความยาวประมาณ 2.5 เซนติเมตร ที่ปลายจะแหลม ขอบจะหยักซี่ฟันถี่ เป็นชายครุย คู่ด้านในเป็นรูปใบหอกขนาดเล็ก กว้างประมาณ 2 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 10 มิลลิเมตร ที่ปลายจะเรียวแหลม ส่วนที่ขอบกลีบมีขนต่อม มีกลีบดอก 5 กลีบ จะเชื่อมกันเป็นหลอด รูปจะปากเปิด เป็นสีม่วงอ่อน หลอดกลีบดอกสามารถยาวได้ประมาณ 2.5 เซนติเมตร ที่ด้านนอกนั้นจะเรียบ ด้านในจะขรุขระ กลีบปากด้านบนจะมีแฉก 4 แฉก แต่ละแฉกมีขนาดใกล้เคียงกัน เป็นรูปไข่แกมรูปรี มีความกว้างประมาณ 2 เซนติเมตร มีความยาวประมาณ 1.5 เซนติเมตร ปลายแฉกจะมนถึงกลม ขอบจะเรียบ ผิวด้านนอกนั้นจะมีขนต่อม กลีบปากด้านล่างจะมีกลีบ 1 กลีบ มีขนาดใหญ่ ลักษณะเป็นรูปไข่กลับ มีความกว้างประมาณ 1.5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 2 เซนติเมตร ที่ปลายแฉกจะมนกลมถึงเว้าตื้น ขอบเรียบ ดอกมีเกสรเพศผู้อยู่ 5 อัน ติดอยู่ที่โคนหลอดกลีบดอก จะแบ่งเป็น 2 คู่ เกสรเพศผู้คู่ยาวก้านเกสรมีความยาวประมาณ 2 เซนติเมตร ที่ช่วงโคนจะมีขนสั้น ที่ช่วงปลายนั้นจะเรียบ อับเรณูมีลักษณะเป็นรูปขอบขนานและมีสีม่วง กว้างประมาณ 1.5 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 4 มิลลิเมตร จะแตกตามแนวยาว เกสรเพศผู้คู่สั้นก้านเกสรจะมีความยาวประมาณ 4 มิลลิเมตร มีขนสั้นปกคลุมตลอด อับเรณูมีขนาดเล็ก มีความกว้างประมาณ 0.5 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร มีเกสรเพศผู้ที่เป็นหมันอีก 1 อัน มีความยาวประมาณ 3 มิลลิเมตร แทรกระหว่างกลาง เกสรเพศเมีย 1 อัน รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ เป็นรูปขอบขนาน สามารถกว้างได้ประมาณ 1.5 เซนติเมตร ผิวมีลักษณะเรียบ ด้านในจะแบ่งเป็น 2 ช่อง แต่ละช่องมีออวุลอยู่ 2 ออวุล ติดที่แกนจานฐานดอก สามารถสูงได้ประมาณ 2 มิลลิเมตร หุ้มรอบรังไข่ ก้านเกสรเพศเมียมีความยาวประมาณ 4-5 เซนติเมตร เกลี้ยง ยอดเกสรเพศเมียมีความยาวประมาณ 5 มิลลิเมตร ออกดอกช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนมกราคม[5]
  • ผล ออกเป็นฝัก ฝักแบนเกลี้ยง เป็นสีน้ำตาล เมื่อแห้งจะสามารถแตกได้ มีเมล็ดอยู่ในผล 4 เมล็ด เมล็ดมีลักษณะกลมแบน[1],[2],[5]

สรรพคุณของสังกรณี

1. สามารถนำทั้งต้นมาดองกับเหล้าใช้เป็นยาบำรุงกำหนัดได้ (ทั้งต้น)[5]
2. สามารถนำใบมาใช้เป็นยาแก้คออักเสบได้ (บางข้อมูลก็ระบุว่าสามารถช่วยแก้ต่อมทอลซิลอักเสบ แก้วัณโรคปอดได้) (ใบ)[6]
3. ตำรายาพื้นบ้านอีสานนำทั้งต้นมาต้มกับน้ำ สามารถใช้ดื่มเป็นยาแก้อาการไอเป็นเลือดได้ (ทั้งต้น)[5]
4. สามารถช่วยแก้ไข้จับสั่นได้ (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)[8]
5. รากจะมีรสขม สามารถใช้ต้มกับน้ำ นำมาดื่มเป็นยาดับพิษร้อน ช่วยลดความร้อนในร่างกาย แก้ไข้ แก้ร้อนในกระหายน้ำ (ราก)[1],[2],[4]
6. สามารถนำต้นมาต้มกับน้ำ ใช้ดื่มเป็นยาบำรุงกำลังได้ (ทั้งต้น)[2],[3],[4] คนเมืองจะนำรากมาต้มกับน้ำกับสมุนไพรดู่เครือ ฮ่อสะพานควาย ดื่มเป็นยาบำรุงกำลัง (ราก)[7]
7. ตำรับยาขับน้ำคาวปลาหลังการคลอดบุตรของสตรี ระบุว่าให้ใช้รากของสังกรณี รากของชุมเห็ดไทย และรากหรือต้นของก้างปลาแดง มาต้มกับน้ำ ใช้ดื่มเป็นยาร้อน จะสามารถช่วยขับน้ำคาวปลาหลังคลอดได้ (ราก)[4]
8. สามารถช่วยแก้ปัสสาวะพิการ ขับปัสสาวะได้ (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)[8]
9. สามารถนำรากมาต้มกับน้ำดื่ม ใช้เป็นยาแก้โลหิตกำเดาได้ (ราก)[4],[5] บางข้อมูลระบุว่าใบสามารถใช้เป็นยาแก้กำเดาได้ (ใบ)[6]
10. ประเทศอินเดียจะนำรากมาปรุงเป็นยาแก้ไอ
11. สามารถนำใบมาใช้เป็นยาแก้ไข้หวัดใหญ่ได้ (ใบ)[6]
12. ประเทศไทยจะนำรากมาปรุงเป็นยาถอนพิษไข้กาฬ ด้วยการผสมกับเครื่องยาอื่น เป็นยาดับพิษไข้ทั้งปวง ยาแก้ไอ (ราก)[1],[2],[3]

สั่งซื้อ อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วย เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง, สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน). “สัง กรณี”. อ้างอิงใน: หนังสือชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: eherb.hrdi.or.th. [06 มิ.ย. 2014].
2. ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “สัง กรณี”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.phargarden.com. [06 มิ.ย. 2014].
3. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “สังกรณี”. หน้า 769-770.
4. หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคเหนือ. “สังกรณี”. (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ). หน้า 180.
5. การสำรวจทรัพยากรป่าไม้เพื่อประเมินสถานภาพและศักยภาพ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 9 (อุบลราชธานี). “ขี้ไฟนกคุ่ม / สังกรณี”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: inven.dnp9.com/inven/. [06 มิ.ย. 2014].
6. หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา. (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “สังกรณี”. หน้า 44.
7. งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน, โรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ. “สังกรณี”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.wattano.ac.th. [06 มิ.ย. 2014].
8. หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). “สัง กรณี (Sang Korani)”. หน้า 295.

อ้างอิงรูปจาก
1.https://www.flickr.com/photos/helicongus/7166608978
2.https://indiabiodiversity.org/observation/show/397238

ลักษณะและสรรพคุณของสร้อยอินทนิล

0
ลักษณะและสรรพคุณของสร้อยอินทนิล เป็นไม้เถาเนื้อแข็งขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ เลื้อยพาดพันต้นไม้ ดอกสีม่วงแกมสีน้ำเงิน
สร้อยอินทนิล
เป็นไม้เถาเนื้อแข็งขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ เลื้อยพาดพันต้นไม้ ดอกสีม่วงแกมสีน้ำเงิน

สร้อยอินทนิล

สร้อยอินทนิล เป็นเถาวัลย์ที่เขียวชอุ่มตลอดปี มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีน อินเดีย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชื่อสามัญ Clock vine, Blue Skyflower, Bengal clock vine, Heavenly Blue, Skyflower, Blue Trumpet [1],[5],[6] ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Thunbergia grandiflora (Roxb. ex Rottl.) Roxb.[1],[2] อยู่ในวงศ์เหงือกปลาหมอ (ACANTHACEAE)[5] ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น ปากกา, น้ำผึ้ง, ย่ำแย้, ช่องหูปากกา, คาย, ช่ออินทนิล [1]

ลักษณะสร้อยอินทนิล

  • ต้น มีถิ่นกำเนิดที่ในพม่า ไทย อินเดียตอนเหนือ เป็นไม้เถาเนื้อแข็งขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ เลื้อยพาดพันต้นไม้อื่นได้ไกล 15-20 เมตร เถากลม เปลือกเถามีลักษณะเป็นสีน้ำตาล จะแตกเป็นร่องตื้น และลอกออกเป็นสะเก็ดบางเล็ก ต้นที่อายุยังน้อยเปลือกจะมีลักษณะเรียบและเป็นสีเขียวเข้ม ขยายพันธุ์โดยการตอนกิ่ง การปักชำเถาหรือหน่อ เพาะเมล็ด สามารถปลูกได้ในดินทั่วไป เติบโตเร็ว ชอบความชื้นปานกลาง แสงแดดแบบเต็มวัน[1],[3],[5],[6] สามารถพบขึ้นกระจายได้ตั้งแต่ที่ทางตอนเหนือของอินเดียไปถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศไทยสามารถพบได้ทั่วไปที่ตามที่โล่ง ชายป่า ป่าเบญจพรรณ ตามป่าดิบแล้ง ที่มีระดับความสูงใกล้ระดับน้ำทะเลไปถึง 1,200 เมตร ออกดอกและติดผลได้ตลอด[4]
  • ใบ เป็นใบเดี่ยว ใบจะออกเรียงตรงข้ามกัน ใบเป็นรูปหัวใจหรือเป็นรูปไข่กว้าง ที่ปลายใบจะเรียวแหลม ส่วนที่โคนใบจะมนเว้าลึกเป็นรูปหัวใจ ขอบใบเว้าเป็นแฉกตื้น 3-5 พู ใบกว้างประมาณ 10-13 เซนติเมตร ยาวประมาณ 12-15 เซนติเมตร แผ่นใบมีลักษณะค่อนข้างหนา ที่หลังใบด้านบนจะมีขนสากคายมือ ท้องใบด้านล่างจะเกลี้ยง มีก้านที่ใบยาว จะมีเส้นใบออกจากโคนใบประมาณ 3-5 เส้น แตกแขนงสานเป็นร่างแห ใบอ่อนมีลัษณะเป็นสีเขียวอ่อน ส่วนใบแก่เป็นสีเขียวเข้ม ก้านใบมีความยาวประมาณ 4-5 เซนติเมตร มีขนปกคลุมที่สกระคายมือ[1],[2],[4]
  • ดอก ลักษณะคล้ายกับดอกรางจืด ออกดอกเป็นช่อที่ปลายยอดหรือที่ปลายกิ่ง จะห้อยลง ดอกย่อยมีลักษณะเป็นสีม่วงแกมสีน้ำเงิน สีฟ้าอ่อนถึงเข้ม จะมีใบประดับหรือกลีบเลี้ยงขนาดใหญ่อยู่ 2 ใบ มีลักษณะเป็นสีเขียว มีประจุดดำเล็ก เป็นรูปขอบขนานหรือรูปโล่ ที่ปลายจะมนแหลม กว้างประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร และสามารถยาวได้ประมาณ 2.5-3 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงจะร่วงเมื่อดอกบาน มีกลีบดอก 5 กลีบ จะมีขนาดไม่เท่า เป็นรูปขอบขนานหรือรูปโล่ ที่ปลายกลีบดอกจะมน ส่วนขอบกลีบดอกจะบิดย้วยและหยักนิดหน่อย กว้างประมาณ 2.7-3.2 เซนติเมตร ยาวประมาณ 2.5-3 เซนติเมตร โคนกลีบดอกจะเชื่อมติดเป็นหลอดใหญ่ ที่ปลายบานออก มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 7-8 เซนติเมตร ที่โคนกลีบดอกด้านล่างมีลักษณะมีแต้มสีม่วงเข้ม ในหลอดเป็นสีเหลืองนวล มีเกสรเพศผู้ 4 อัน แบ่งเป็นขนาดสั้น 2 อัน ยาว 2 อัน มีเกสรเพศเมียอยู่ในหลอดดอก ดอกทยอยบานจากโคนช่อไปที่ปลายช่อ ออกดอกได้ตลอดปี[1],[3],[4]
  • ผล เป็นผลแห้งสามารถแตกได้ ผลเป็นรูปทรงกลม ที่ปลายสอบแหลมเป็นจะงอยคล้ายกับปากของนก ผลมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร ผลอ่อนมีลักษณะเป็นสีเขียวอ่อน ผลแก่เป็นสีน้ำตาลเกือบดำ ผลแก่แตกเป็น 2 ซีกจากปากจะงอย ทั่วไปต้นจะไม่ติดผลและเมล็ด[1],[4]

สรรพคุณของสร้อยอินทนิล

1. สามารถนำรากและเถามาใช้เป็นยาพอกแก้ฟกช้ำบวม หรือนำมาใช้ตำพอกแผลแก้อักเสบได้ (รากและเถา)[4]
2. สามารถนำน้ำที่ได้จากการนำใบมาตำแล้วคั้นเอาแต่น้ำมาใช้ทา พอก หรือเคี้ยวกินเป็นยาแก้โรคผิวหนัง ผื่นคัน หูดได้ (ใบ)[1],[2]
3. ชาวเขาเผ่าอีก้อจะนำ ราก ใบ ทั้งต้นมาต้มกับน้ำ สามารถใช้ดื่มเป็นยารักษาโรคทางเดินปัสสาวะ นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ ยาขับปัสสาวะได้ (ราก,ใบ,ทั้งต้น)[1],[2]
4. นำราก ใบ ทั้งต้น มาต้มกับน้ำ ใช้ดื่มเป็นยาบำรุงร่างกายได้ (ราก,ใบ,ทั้งต้น)[1],[2]
5. สามารถใช้ใบเป็นยารักษากระดูกหัก อาการปวดกระดูกได้ (ใบ)[1],[2]
6. สามารถใช้ใบเป็นยารักษา แผลถลอก ช่วยห้ามเลือด แผลสดได้ (ใบ)[1],[2]
7. สามารถช่วยบรรเทาอาการบวมเป็นก้อน ติดเชื้อ อักเสบได้ (ใบ)[1],[2]
8. สามารถใช้ใบมาชงกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ปวดท้องได้ (ใบ)[4]

ประโยชน์ของสร้อยอินทนิล

  • นิยมปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไป ปลูกประดับซุ้มโปร่งเนื่องจากมองเห็นดอกห้อยลงมาดูสวยงาม หรือจะปลูกที่ริมทะเลก็ได้ ดอกมีความสวยงาม สามารถออกดอกได้ตลอด[4],[6]

สั่งซื้อ อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วย เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. ความเหมือนที่แตกต่างแห่งพรรณไม้, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “สร้อย อินทนิล”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.rspg.or.th/plants_data/herbs/. [08 มิ.ย. 2014].
2. หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา. (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “สร้อยอินทนิล”. หน้า 212.
3. หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). “สร้อย อินทนิล (Soi Intanin)”. หน้า 288.
4. ฐานข้อมูลพรรณไม้ที่ใช้ในงานภูมิสถาปัตยกรรม ศูนย์ความรู้ด้านการเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. “สร้อยอินทนิล” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: agkc.lib.ku.ac.th. [08 มิ.ย. 2014].
5. หนังสือพรรณไม้สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เล่ม 2. “สร้อย อินทนิล”.
6. หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคเหนือ. “สร้อย อินทนิล”. (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ). หน้า 176.

อ้างอิงรูปจาก
1.https://www.flora-toskana.com/en/tropical-climbers/606-thunbergia-grandiflora-grossbluetige-himmelsblume.html
2.https://www.flickr.com/photos/42964440@N08/49500740448

สมี สรรพคุณใช้เป็นยาแก้ไข้

0
สมี
สมี สรรพคุณใช้เป็นยาแก้ไข้ เป็นไม้พุ่ม ต้นมีขนสีขาวปกคลุม ถิ่นไทยพบตามที่ลุ่มชื้นแฉะ หรือในน้ำตื้น ดอกมีลักษณะเป็นสีเหลืองสด กลีบมีประสีน้ำตาล
สมี
เป็นไม้พุ่ม ต้นมีขนสีขาวปกคลุม ถิ่นไทยพบตามที่ลุ่มชื้นแฉะ หรือในน้ำตื้น ดอกมีลักษณะเป็นสีเหลืองสด กลีบมีประสีน้ำตาล

สมี

สมี เป็นไม้พุ่ม ต้นมีขนสีขาวปกคลุม ถิ่นไทยพบตามที่ลุ่มชื้นแฉะ หรือในน้ำตื้น ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Sesbania sesban (L.) Merr. อยู่ในวงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยถั่ว FABOIDEAE (PAPILIONOIDEAE หรือ PAPILIONACEAE)[1] มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น สะเภาลม, ผักฮองแฮง [1]

ลักษณะสะเภาลม

  • ต้น เป็นไม้พุ่ม ต้นสูงประมาณ 3-5 เมตร ลำต้นตั้งตรง จะแตกกิ่งก้านได้น้อย ที่ตามต้นนั้นมีขนสีขาวขึ้นปกคลุมอยู่[1]
  • ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ใบจะออกเรียงสลับ มีใบย่อยอยู่ประมาณ 12-18 คู่ ใบย่อยเป็นรูปขอบขนาน ที่โคนใบจะเบี้ยว ที่ขอบใบเรียบ แผ่นใบด้านบนและแผ่นใบด้านล่างจะเรียบ[1]
  • ดอก ออกเป็นช่อที่ตรงปลายยอด ดอกมีลักษณะเป็นสีเหลืองสด ที่กลีบบนด้านนอกจะมีประสีน้ำตาล ส่วนกลีบเลี้ยงที่โคนจะเชื่อมติดกัน[1]
  • ผล เป็นผลฝัก มีความยาวประมาณ 20-30 เซนติเมตร มีเมล็ดภายในฝักเป็นจำนวนมาก[1]

สรรพคุณของสะเภาลม

1. สามารถช่วยลดความเย็นในร่างกายได้ (ใบ)[1]
2. คนเมืองใช้กิ่งมาแช่กับน้ำร่วมกับฝอยลม เห็ดลม นำน้ำที่ได้มาอาบเพื่อรักษาตุ่มคัน อาการแพ้ (กิ่ง)[2]
3. สามารถนำใบมาใช้เป็นยาแก้ไข้ได้ (ใบ)[1]
4. สามารถนำใบมาใช้เป็นยากระทุ้งพิษได้ (ใบ)[1]
5. สามารถนำใบมาใช้เป็นยาเขียวหรือใช้สุมหัวเด็กเป็นยาแก้อาการปวดหัวตัวร้อน และแก้หวัดได้ (ใบ)[1]

ประโยชน์ของสะเภาลม

  • ใบใช้ในพิธีพลีกูณฑ์ของพราหมณ์ (ข้อมูลจาก : พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 )

สั่งซื้อ อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วย เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง, สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน). “ส มี”. อ้างอิงใน: หนังสือชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: eherb.hrdi.or.th. [10 มิ.ย. 2014].
2. หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคเหนือ. “ส มี”. (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ). หน้า 174.

อ้างอิงรูปจาก
1.http://www.westafricanplants.senckenberg.de/root/index.php?page_id=14&id=1435#
2.https://www.feedipedia.org/node/253

ลิ้นมังกร ไม้ประดับไม้ฟอกอากาศเพื่อสุขภาพ

0
ลิ้นมังกร
ลิ้นมังกร ไม้ประดับไม้ฟอกอากาศเพื่อสุขภาพ เป็นพรรณไม้นิยมปลูกในห้อง ช่วยฟอกอากาศปากใบ ขอบใบเรียบ หลังใบสีเขียวเข้มลาย เส้นใบกับท้องใบสีเขียวนวลหรือเขียวอ่อน เส้นโคนใบมีขน
ลิ้นมังกร
ไม้ฟอกอากาศเพื่อสุขภาพ ขอบใบเรียบ หลังใบสีเขียวเข้มลาย เส้นใบกับท้องใบสีเขียวนวลหรือเขียวอ่อน เส้นโคนใบมีขน

ลิ้นมังกร

ลิ้นมังกร หรือต้นดาบพระอินทร์ เป็นพรรณไม้นิยมปลูกในห้อง ช่วยฟอกอากาศปากใบจะเปิดในตอนกลางคืนจะช่วยเพิ่มการเปลี่ยนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นออกซิเจนที่สูงช่วยให้นอนหลับสบาย ซึ่งมีถิ่นกำเนิดในแอฟริกาตะวันตกและแอฟริกากลางตะวันตกรวมถึงในไทย มีรากใต้ดินแตกเป็นแขนงและใบรูปดาบยาวหนามีลายแถบเป็นเอกลักษณ์จะออกดอกปีละครั้งและดอกจะออกเป็นช่อยาวสีเขียวอมเทา มีชื่อสามัญ Dracaena trifasciata ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Sansevieria trifasciata Prain ชื่อเรียกอื่น ๆ ว่า หลงลี่เยียะ, เหล่งหลี่เฮียะ, หลงซื่อเยียะ, เหล่งจิเฮี้ย การปลูกเหมาะกับสภาพอากาศแบบเขตร้อนทนต่อความแห้งแล้ง ทนต่อความชื้นต่ำ และอุณหภูมิเย็นประมาณ 50 องศา พืชชนิดนี้ค่อนข้างทนทาน ปลูกง่าย และตายยาก

ลักษณะลิ้นมังกร

  • ต้น เป็นไม้กลางแจ้งยืนต้นขนาดเล็ก ต้นสูงประมาณ 1-1.5 ฟุต ลำต้นตั้งตรง คองอเล็กน้อย จะมีขนสั้น ๆ ปกคลุม ขยายพันธุ์โดยการปักชำ การเพาะเมล็ด จะเจริญเติบโตได้ดีในที่ดินชุ่มชื้นระบายน้ำดี อย่างเช่น ดินร่วนปนทราย ดินปนทราย[1],[2]
  • ใบ เป็นใบเดี่ยว ใบจะออกเรียงสลับกันตามข้อต้น ใบมีลักษณะเป็นรูปไข่ รูปมนรี ที่ปลายใบจะมน ส่วนที่โคนใบสอบแหลมเข้าหาก้านใบ ขอบใบเรียบ หลังใบเป็นสีเขียวเข้มลาย ที่ตามเส้นใบกับท้องใบจะเป็นสีเขียวนวลหรือเขียวอ่อน เส้นโคนใบจะมีขน[1],[2]
  • ดอก ออกเป็นช่อหรือออกเป็นกระจุกที่ตามซอกใบกับลำต้น ดอกเรียงติดกันเป็นแถวสั้นคล้ายกับช่อดอก แต่แยกออกเป็นดอกเพศผู้กับดอกเพศเมีย ดอกจะมีขนาดเล็กเป็นสีแดงม่วงหรือสีม่วงเข้ม ดอกหนึ่งมีกลีบอยู่ 6 กลีบ กลีบดอกกลมรีและมีเนื้อหนา มีเกสรเพศผู้และเกสรเพศเมียอยู่อย่างละ 3 อัน [1],[2]
  • ผล มีลักษณะคล้ายเม็ดถั่ว จะมีก้านสั้น ผลถูกกลีบเลี้ยงที่ขยายตัวหุ้มไว้[1]

สรรพคุณของลิ้นมังกร

1. สามารถช่วยแก้อาการท้องผูกได้ (ใบ)[2]
2. นำใบสดประมาณ 7-8 กรัม หรือใบแห้งประมาณ 10-30 กรัมมาต้ม ใช้ดื่มสามารถช่วยบำรุงปอดได้ (ใบ)[1],[2]
3. สามารถช่วยขับเสมหะได้ (ใบ)[2]
4. นำใบสดประมาณ 7-8 ใบ และผลอินทผลัม 7 ผล มาต้มกับน้ำทาน ถ้าเป็นใบแห้งให้ใช้ประมาณ 15 กรัม มาต้มผสมกับเนื้อหมูแล้วดื่มแต่น้ำ (ใบ)[1],[2]
5. ใบจะมีรสจืด เป็นยาสุขุม จะออกฤทธิ์กับปอด สามารถใช้เป็นยาแก้ปอดร้อน ช่วยทำให้ปอดชุ่มชื่นได้ (ใบ)[2]
6. สามารถใช้เป็นยาทาหรือพอกแก้พิษร้อนอักเสบได้ โดยนำใบมาตำหรือขยี้ (ใบ)[4]
7. สามารถช่วยลดความดันโลหิตได้ โดยนำทั้งต้นรวมรากด้วย มาล้างให้สะอาด แล้วใส่ลงไปในหม้อต้มกับน้ำ 2-3 ส่วน ต้มเคี่ยวจนเหลือน้ำ 1 ส่วน ต้มให้เดือดประมาณ 20 นาที ผสมน้ำตาลกรวดเพื่อเพิ่มรสชาติด้วยก็ได้ ทานครั้งละ 1 แก้ว เช้า กลาง เย็น ทานก่อนอาหารหรือทานหลังอาหารก็ได้ จะช่วยทำให้อาการดีขึ้นและควบคุมได้ (ทั้งต้น)[3]
8. สามารถช่วยแก้หลอดลมอักเสบ หอบหืด โรคติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนบนได้ โดยการนำใบสดประมาณ 7-8 ใบ หรือนำใบแห้งประมาณ 15 กรัม มาต้มกับน้ำทาน (ใบ)[1],[2]
9. ใบจะมีรสขม มีสรรพคุณเป็นยาแก้เจ็บคอ แก้ไอแห้ง ไอร้อน ไอหอบหืด ไอเป็นเลือด แก้เสียงแหบแห้ง ไม่มีเสียง โดยการนำใบสดประมาณ 7-8 กรัม หรือนำใบแห้งประมาณ 10-30 กรัม มาต้มทาน (ใบ)[1],[2]
10. นำดอกสดมาต้มน้ำทานเป็นยาแก้อักกระอักเลือด ไอเป็นเลือด หรือนำใบสด 10-15 กรัม มาต้มน้ำทาน หรือจะผสมกับสันเนื้อหมูต้มน้ำแกงทานก็ได้ (ใบ,ดอก)[1]

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

  • มีฤทธิ์ยับยั้งการเติบโตของเชื้อแบคทีเรียบางชนิด[1]

ประโยชน์ของลิ้นมังกร

  • ปลูกเป็นไม้ประดับ ไม้ขอบรั้ว ที่ตามทางเดินทั่วไป[3]

สั่งซื้อ อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วย เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “ลิ้น มัง กร”. หน้า 699-700.
2. หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. (วิทยา บุญวรพัฒน์). “ลิ้น มัง กร”. หน้า 498.
3. หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ. (นายเกษตร). “ลิ้น มัง กร กับสูตรแก้ความดันโลหิต”.
4. สมุนไพรน่ารู้. “พืชถอนพิษต่าง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.rajini.ac.th. [31 พ.ค. 2014].

อ้างอิงรูปจาก
1.https://plants.ces.ncsu.edu/plants/dracaena-trifasciata/

ลักษณะและสรรพคุณของย่านงด

0
ลักษณะและสรรพคุณของย่านงด ประเทศไทยพบขึ้นทั่วไปตั้งแต่ภาคเหนือจนถึงภาคใต้ เป็นพรรณไม้เถาเนื้อแข็ง เถากลมเรียบ สีน้ำตาลเข้ม เปลือกต้นเป็นสีเทา มียางใส
ย่านงด
เป็นพรรณไม้เถาเนื้อแข็ง เถากลมเรียบ สีน้ำตาลเข้ม เปลือกต้นเป็นสีเทา มียางใส

ย่านงด

ประเทศไทยพบขึ้นทั่วไปตั้งแต่ภาคเหนือจนถึงภาคใต้ เป็นพรรณไม้เถาเนื้อแข็ง เถากลมเรียบ สีน้ำตาลเข้ม เปลือกต้นเป็นสีเทา มียางใส ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Poikilospermum suaveolens (Blume) Merr. อยู่ในวงศ์กะลังตังช้าง (URTICACEAE หรือ CECROPIACEAE)[1] ชื่อท้องถิ่นอื่น เช่น ชะไร, ย่านมูรู, มือกอ, เครือเต่าไห้, กุระเปี๊ยะ, โร, ขมัน, เถากะมัน, อ้ายไร, ยาวี [2]

ลักษณะย่านงด

  • ต้น เป็นพรรณไม้เถาเนื้อแข็ง เถากลมเรียบ เป็นสีน้ำตาลเข้ม ที่ตามข้อเถาจะมีรากอากาศงอห้อยลง ที่กิ่งอ่อนและลำต้นนั้นจะมีตุ่มระบายอากาศตามผิว เปลือกต้นมีลักษณะเป็นสีเทา มียางใส[1],[2] มีเขตการกระจายพันธุ์ที่ในอินเดีย อินโดจีน ไปถึงอินโดนีเซีย ประเทศไทยสามารถพบเจอขึ้นได้ทั่วไปตั้งแต่ภาคเหนือถึงภาคใต้ มักขึ้นที่ตามชายป่าดิบชื้นที่มีแสงแดด[3]
  • ใบ เป็นใบเดี่ยว ใบจะออกเรียงสลับที่ตามปลายกิ่ง ใบเป็นรูปไข่ รูปรีกว้าง ที่ปลายใบทู่หรือติ่งแหลม ส่วนโคนใบนั้นจะมนเว้าเล็กน้อย ที่ขอบใบเรียบ ใบกว้างประมาณ 14 เซนติเมตร ยาวประมาณ 12-26 เซนติเมตร เนื้อใบมีลักษณะหนาเกลี้ยง ที่หลังใบกับท้องใบเรียบ มีเส้นใบจะออกจากจุดฐาน 3 เส้น มีเส้นแขนงใบอยู่ประมาณ 10-12 คู่ เห็นเส้นใบได้ชัด ก้านใบมีลักษณะเป็นสีน้ำตาลอมแดง มีความยาวประมาณ 4-10 เซนติเมตร จะมีเกล็ดประปราย ยอดอ่อนมีสีน้ำตาลแดง[1],[2],[3]
  • ดอก ออกเป็นช่อที่ตามกิ่ง เป็นดอกแบบแยกเพศ ดอกเพศผู้ออกรวมกันเป็นช่อกลมหรือเป็นก้อนสีชมพูอมแดง มีขนาดประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร ดอกเพศเมียรวมเป็นช่อกลม มีขนาดใหญ่กว่า ดอกย่อยติดกันแน่นอยู่ที่บนฐานดอก โคนกลีบดอกเชื่อมติดเป็นหลอดเล็ก ที่ปลายแยกเป็น 4 แฉก มีเกสรเพศผู้อยู่ 2-4 อัน มีรังไข่ 1 ช่อง ไข่อ่อนมี 1 หน่วย[1],[2],[3]
  • ผล เป็นรูปทรงกลม ผลเป็นสีแดงถึงสีน้ำตาลอมแดง ขนาดประมาณ 2-4 เซนติเมตร ก้านช่อผลสามารถยาวได้ถึง 4 เซนติเมตร[1],[3]

สรรพคุณของย่านงด

  • เปลือกจากเนื้อไม้ สามารถนำมาผสมปรุงเป็นยาบำรุงหัวใจ บำรุงครรภ์รักษาสำหรับสตรีที่กำลังตั้งครรภ์ บำรุงประสาท (เปลือกจากเนื้อไม้)[1],[2]

สั่งซื้อ อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วย เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. “ย่ า น ง ด”. อ้างอิงใน : หนังสือพรรณไม้สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เล่ม 2. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.qsbg.org. [08 มิ.ย. 2015].
2. หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคกลาง. (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ, ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, กัญจนา ดีวิเศษ). “ย่ า น ง ด”. หน้า 132.
3. หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). “ขมัน (Khaman)”. หน้า 57.

อ้างอิงรูปจาก
1.http://www.epharmacognosy.com/2023/04/poikilospermum-suaveolens-blume-merr.html
2.https://www.nparks.gov.sg/florafaunaweb/flora/6/0/6068

ไม้พะยูง พรรณไม้เศรษฐกิจแบบยั่งยืน

0
ไม้พะยูง
ไม้พะยูง พรรณไม้เศรษฐกิจแบบยั่งยืน เนื้อแข็งเป็นสีแดงอมม่วง มีน้ำมันในตัว มีลวดลายสวยงาม แก่นหอมร้อนและมีรสขมฝาด เป็นไม้มงคลประจำบ้าน
ไม้พะยูง
เนื้อแข็ง สีแดงอมม่วง มีน้ำมันในตัว มีลวดลายสวยงาม แก่นหอมร้อนและมีรสขมฝาด เป็นไม้มงคลประจำบ้าน

ไม้พะยูง

ไม้พะยูง เป็นไม้เศรษฐกิจที่มีราคาสูง เนื้อแข็งมีลวดลายสวยงาม ชื่อสามัญ คือ Siamese Rosewood, Thailand Rosewood, Tracwood, Black Wood, Rose Wood[2] ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Dalbergia cochinchinensis Pierre[1],[2],[3] ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น ประดู่เสน, ขะยูง, ประดู่ตม, แดงจีน, พะยูงไหม[1] เหลือเฉพาะในประเทศไทยเพียงแห่งเดียวในโลกเท่านั้น ในปัจจุบันจัดเป็นไม้สงวน หากใครมีไว้ในครอบครองจะถือว่ามีความผิด สาเหตุที่คนไทยไม่ใช้ประโยชน์ เป็นเพราะไม้ชนิดนี้มีราคาสูงกับคนไทยมีความเชื่อว่าเป็นของสูง ผู้ที่มีบารมีไม่ถึงไม่สมควรเอามาใช้ [2]

ลักษณะไม้พะยูง

  • ต้น
    – เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่
    – มีความสูงได้ถึง 25 เมตร
    – เรือนยอดเป็นรูปทรงกลม
    – เปลือกต้นเรียบเป็นสีเทา
    – เปลือกด้านในเป็นสีน้ำตาลแกมสีเหลือง
    – เนื้อไม้เป็นสีแดงอมม่วง
    – มีแก่นหอมร้อนและมีรสขมฝาดเล็กน้อย
    – สามารถขยายพันธุ์โดยการนำเมล็ดมาเพาะให้เป็นต้นกล้า
    – เติบโตได้ในดินทุกชนิด ทนแล้งได้ดี
    – มีถิ่นกำเนิดในประเทศเมียนมา ลาว กัมพูชา และเวียดนาม
    – พบได้ทั่วไปตามป่าเบญจพรรณชื้น ป่าดิบแล้ง ป่าราบ ป่าโปร่ง[1],[2],[3]
  • ใบ
    – เป็นช่อแบบขนนกปลายคี่
    – ช่อติดเรียงสลับกัน
    – มีความยาว 10-15 เซนติเมตร
    – ใบและช่อจะมีใบย่อยเป็นรูปรีแกมรูปไข่
    – ติดเรียงสลับ 7-9 ใบ
    – ปลายสุดของช่อใบเป็นใบเดี่ยว
    – ใบเป็นรูปไข่
    – ปลายใบแหลม
    – โคนใบมน
    – ขอบใบเรียบเป็นคลื่นเล็กน้อย
    – ใบมีความกว้าง 3-4 เซนติเมตร และยาว 4-7 เซนติเมตร
    – ก้านใบย่อยยาว 3-6 เซนติเมตร
    – แกนกลางใบประกอบยาว 10-15 เซนติเมตร[2],[3]
  • ดอก
    – เป็นช่อแยกแขนง
    – มีความยาว 10-20 เซนติเมตร
    – กลีบดอกเป็นรูปดอกถั่ว สีขาวนวล
    – เมื่อบานเต็มที่แล้วจะมีความกว้าง 5-8 มิลลิเมตร
    – กลีบดอกมี 5 กลีบ
    – กลีบฐานดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย
    – ขอบหยักเป็น 5 แฉก
    – กลีบคลุมเป็นรูปโล่
    – ดอกมีเกสรเพศผู้ 10 อัน มีแค่อันบนที่อยู่เป็นอิสระ ส่วนอันอื่นจะอยู่ติดกันเป็นกลุ่ม ๆ
    – รังไข่เป็นรูปรี ภายในมีช่องเดียว
    – หลอดท่อรังไข่มีหลอดเดียว
    – จะออกดอกในช่วงประมาณเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกรกฎาคม[2],[3]
  • เมล็ด
    – เป็นรูปไต
    – สีน้ำตาลเข้ม
    – มีประมาณ 1-4 เมล็ด
    – ผิวเมล็ดค่อนข้างมัน
    – มีความกว้าง 4 มิลลิเมตร และยาว 7 มิลลิเมตร[3]

สรรพคุณไม้พะยูง

  • ยางสด แก้เท้าเปื่อย[3]
  • ยางสด รักษาโรคปากเปื่อย[1],[2]
  • ราก เป็นยารักษาอาการไข้พิษเซื่องซึม[1],[2],[3]
  • เปลือกต้น รักษาโรคปากเปื่อย [1],[2],[3]
  • เปลือกต้นหรือแก่นพะยูง เป็นยาแก้มะเร็ง[3]

ประโยชน์ไม้พะยูง

  • ผลใช้ทำเป็นไม้ประดับแห้ง[4]
  • เนื้อไม้มีความแข็งแรงทนทาน มีน้ำมันในตัว สามารถนำมาใช้ในการทำเครื่องเรือน เครื่องใช้ ทำสิ่งประดิษฐ์ งานแกะสลัก[2]
  • สามารถนำมาเลี้ยงครั่งได้ดีชนิดหนึ่ง โดยสามารถให้ผลผลิตสูงถึงต้นละประมาณ 50 กิโลกรัม[2]
  • เป็นไม้มงคลประจำบ้าน จะทำให้บุคคลในบ้านมีแต่ความเจริญ มีฐานะดีขึ้น ช่วยทำให้ชีวิตไม่ตกต่ำ ช่วยพยุงให้โชคดีมีชัย[3]
  • สามารถปลูกเป็นไม้ประดับเพื่อให้ร่มเงาที่สาธารณะหรือในบริเวณบ้านได้[4]

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

  • สารฟีนอลิกจากลำต้นพะยูงมีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ 5alpha-reductase จึงช่วยลดปริมาณการสร้างฮอร์โมนเพศชายแอนโดรเจนได้ และอาจจะสามารถนำไปพัฒนาเป็นยารักษาโรคได้ในอนาคต[3]
  • ลำต้นพะยูงพบสารในกลุ่มฟีนอลิกและฟลาโวน ได้แก่ 6-hydroxy-2,7-dimethoxyneoflavene, 6,4′-dihydroxy-7-methoxyflavan , 2,2′,5-trihydroxy-4-methoxybenzophenone, 7-hydroxy-6-methoxyflavone, 9-hydroxy-6,7-dimethoxydalbergiquinol[3]

สั่งซื้อ อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วย เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “พะยูง”. หน้า 552-553.
2. สวนพฤกษศาสตร์ ตามพระราชเสาวนีย์ฯ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. “พะยูง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.dnp.go.th/pattani_botany/. [23 ส.ค. 2014].
3. ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “พะยูง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.phargarden.com. [23 ส.ค. 2014].
4. สำนักงานสวนสาธารณะ สำนักสิ่งแวดล้อม. “พะยูง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : 203.155.220.217/office/ppdd/publicpark/thai/2011/. [23 ส.ค. 2014]

อ้างอิงรูปจาก
1.https://www.nparks.gov.sg/florafaunaweb/flora/2/8/2835
2.https://www.healthbenefitstimes.com/indian-rosewood-shisham/

แมงลักคา สมุนไพรช่วยขับประจำเดือน

0
แมงลักคา สมุนไพรช่วยขับประจำเดือน เป็นไม้ล้มลุกตระกูลเดียวกับกะเพรามีกลิ่นหอมฉุน ใบรูปไข่ปลายแหลมมีขน ดอกสีม่วงอ่อน ผลเป็นผลแห้งสีดำ มีเมล็ดสีน้ำตาลเข้ม 4 เมล็ด
แมงลักคา
ไม้ล้มลุกตระกูลเดียวกับกะเพรามีกลิ่นหอมฉุน ใบรูปไข่ปลายแหลมมีขน ดอกสีม่วงอ่อน ผลเป็นผลแห้งสีดำ มีเมล็ดสีน้ำตาลเข้ม 4 เมล็ด

แมงลักคา

แมงลักคา เป็นไม้ล้มลุกตระกูลเดียวกับกะเพรามีกลิ่นหอม มีชื่อสามัญ คือ Wild spikenard, Mild spikenard bushtea, Pugnet west Indian spikenard[1],[8] ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Hyptis suaveolens (L.) Poit. โดยจัดอยู่ในวงศ์กะเพรา[1],[2] ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น กะเพราผี, แมงลักป่า, อีตู่ป่า, กอมก้อหวย[2],[4],[5],[8]

ลักษณะแมงลักคา

  • ต้น เป็นไม้พุ่มล้มลุกที่มีอายุหลายปี
    – ลำต้นตั้งตรง
    – มีความสูง 1.5 เมตร
    – ลำต้นเป็นสัน
    – มีขนสีขาว
    – มีกลิ่นฉุน
    – สามารถขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดหรือวิธีการปักชำ
    – เติบโตได้ดีในดินร่วน
    – พบขึ้นตามที่รกร้างริมทาง ริมน้ำ เนินทราย และตามป่าละเมาะทั่วไป
    – ออกดอกและติดผลได้ตลอดปี[2],[3],[4]
  • ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกัน
    – ใบเป็นรูปไข่
    – ปลายใบแหลม
    – โคนใบสอบ
    – ขอบใบหยัก
    – ใบมีความกว้าง 2-5 เซนติเมตร และยาว 2-6 เซนติเมตร
    – แผ่นใบมีขน
    – ก้านใบยาวได้ถึง 3 เซนติเมตร[2]
  • ดอก เป็นช่อกระจุก ออกดอก 2-5 ดอกย่อย
    – ดอกเป็นสีม่วงอ่อน
    – ก้านช่อดอกยาวได้ถึง 1 เซนติเมตร
    – มีขน มีริ้วประดับเล็ก
    – กลีบดอกโคนกลีบเป็นสีขาว
    – ปลายแยกออกเป็นปาก 2 ปาก
    – ปากด้านบนมี 2 แฉก รูปช้อน มีความกว้าง 2 มิลลิเมตร และยาว 2.5 มิลลิเมตร
    – ปากด้านล่างมี 3 แฉก มีขนาดเท่า ๆ กัน
    – กลีบดอกด้านข้างเป็นรูปรี มีความกว้าง 2 มิลลิเมตร และมีความยาว 1 มิลลิเมตร
    – กลีบกลางมีความคล้ายเรือ มีความกว้าง 1 มิลลิเมตร
    – กลีบเลี้ยงดอกเรียวแหลม
    – ดอกมีเกสรเพศผู้ 2 คู่ ก้านเกสรจะไม่ติดกัน มีอับเรณูที่ติดกับก้านชูเกสรอยู่ด้านหลัง
    – เกสรเพศเมีย รังไข่จะอยู่เหนือวงกลีบ ก้านชูเกสรเพศเมียยาว 3-5 มิลลิเมตร[2]
  • ผล เป็นผลแห้ง สีดำ
    – มีความยาว 1.2-1.5 มิลลิเมตร
    – ปลายผลเว้า
    – ผิวมีรอยย่น
    – มีเมล็ดอยู่ 4 เมล็ด เป็นสีน้ำตาลเข้ม ค่อนข้างกลม[2]

สรรพคุณแมงลักคา

  • ยอดอ่อน ช่วยขับน้ำนม[2]
  • ใบ เป็นยาลดไข้[2]
  • ใบ เป็นยาฆ่าเชื้อ[3]
  • ใบ เป็นยาแก้ปวดท้อง[2]
  • ราก ช่วยให้เจริญอาหาร[2]
  • ราก ช่วยขับประจำเดือน[2],[8]
  • ทั้งต้น แก้อาการปวดท้อง[8]
  • ทั้งต้น ช่วยฆ่าเชื้อไวรัสไข้หวัด[5]
  • ใบและต้น ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด[1]
  • ใบและปลายยอด ช่วยรักษาอาการชักกระตุกและโรคปวดข้อ[8]

ประโยชน์แมงลักคา

  • ยอดอ่อน สามารถนำมาปรุงอาหารได้[2]
  • ราก ช่วยดับกลิ่นปากได้[2],[8]
  • กิ่งและใบ ช่วยไล่ไรไก่[2]
  • ทั้งต้น ช่วยไล่แมลง[2]

สารสำคัญที่พบในแมงลักคา

  • amyrin
  • aromadendrene
  • azulene
  • bergamotol
  • betulinic acid
  • cadinol
  • caryophyllene
  • terpinolene
  • ursolic acid
  • valencene[1]

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

  • น้ำมัน มีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา ราพืชก่อโรคพืช และยีสต์[9]
  • สารสกัดด้วยแอลกอฮอล์ของใบ มีฤทธิ์ช่วยสมานแผล[7]
  • สารสกัด มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ซาโมเนลลา ยับยั้งเชื้อไวรัสต่าง ๆ และเสริมภูมิคุ้มกันโรคเอดส์
  • น้ำมันหอมระเหย มีฤทธิ์ต้านการเจริญเติบโตของแบคทีเรียทั้งแกรมบวกและลบ รวมไปถึงฤทธิ์อย่างอ่อนในการต้านเชื้อรา Aspergillus niger และ Candida albicans[7]
  • จากการทดสอบความเป็นพิษ พบว่า เมื่อใช้สารสกัดจากส่วนที่อยู่เหนือดินของต้น ฉีดเข้าท้องของหนูถีบจักร ขนาดที่ทำให้หนูตายครึ่งหนึ่ง มีค่าเท่ากับ 56.2 มิลลิกรัม ถ้าเป็นสารสกัดจากใบสด พบว่าในขนาดที่ทำให้เกิดพิษคือ 1 มิลลิกรัมต่อสัตว์ทดลอง 1 ตัว[1]

สั่งซื้อเนสท์เล่ ออรัลอิมแพค อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสมุนไพรบำบัดเบาหวาน 150 ชนิด. (เภสัชกรหญิง จุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก). “แมง ลัก คา”. หน้า 140.
2. ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “แมง ลัก คา”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.phargarden.com. [18 ส.ค. 2014].
3. ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. “แมง ลัก คา”. อ้างอิงใน : หนังสือ Flora Malesiana Volume 8, หน้า 371-372. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.qsbg.org. [18 ส.ค. 2014].
4. การใช้สารสกัดจากพืชเพื่อควบคุมแมลงวันผลไม้, สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. “แมง ลัก คา”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : science.sut.ac.th. [18 ส.ค. 2014].
5. ศูนย์วิทยบริการ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. “แมง ลัก คา ฆ่าเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่-ไข้หวัดนก”. อ้างอิงใน : คม ชัด ลึก. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : elib.fda.moph.go.th. [18 ส.ค. 2014].
6. การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 37 วันที่ 3-5 ก.พ. 2542. (กนก อุไรสกุล). “ผลของสารสกัดจากพืชบางชนิดต่อการเจริญเติบโตของต้นมะละกอ และยับยั้งการเจริญเติบโตของไรแดงแอฟริกัน”. หน้า 11-18.
7. กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข . [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.dmsc.moph.go.th. [18 ส.ค. 2014].
8. มูลนิธิหมอชาวบ้าน. นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่ 320 คอลัมน์ : เรื่องเด่นจากปก. “รับมือไข้หวัดนกรอบ ๓”. (ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.doctor.or.th. [18 ส.ค. 2014].
9. ไม้หอมเมืองไทย, สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.). “แมงลักคา”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : tistr.or.th/essence/. [18 ส.ค. 2014].

ลักษณะและสรรพคุณของต้นสวาด

0
ลักษณะและสรรพคุณของต้นสวาด เป็นไม้เลื้อยมีหนามโค้งแหลม ดอกเล็กสีเหลือง ผลเป็นฝักรี มีหนามที่ยาวและแหลม ในฝักมีเมล็ดเป็นรูปกลมรี 2 เมล็ด
ต้นสวาด
เป็นไม้เลื้อยมีหนามโค้งแหลม ดอกเล็กสีเหลือง ผลเป็นฝักรี มีหนามที่ยาวและแหลม ในฝักมีเมล็ดเป็นรูปกลมรี 2 เมล็ด

ต้นสวาด

ต้นสวาด เป็นไม้เลื้อย พบทั่วไปในเขตร้อน ประเทศไทยพบมากตามป่าละเมาะใกล้ทะเล ลักษณะลำต้นและกิ่งก้านของเถาสวาดมีหนามแหลมอยู่ทั่วไป ชื่อสามัญ Wait-a-while, Physic nut, Nicker nut, Fever nut, Grey nicker bean, Bonduc nut, Sea pearl, Gray nicker bean, Yellow nicker, Gray nicker, Physic nut, Guilandina seed, Molucca nut (ENGLISH)[6], Grey nickers, Nuckernut[1] ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Caesalpinia bonduc (L.) Roxb. ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ คือ Guillandina bonduc L., Guilandina bonduc Griseb., Caesalpinia bonducella (L.) Fleming, Guillandina bonducella (L.) Fleming, Guilandina bonducella L., Caesalpinia crista sensu auct. [6] อยู่วงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่วงศ์ย่อยราชพฤกษ์ (CAESALPINIOIDEAE หรือ CAESALPINIACEAE)[2] ชื่อในท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น มะกาเล็ง (เงี้ยว-จังหวัดเชียงใหม่), มะกาเลิง (ภาคใต้), หวาด (จังหวัดเชียงใหม่), ตามั้ด (ภาคใต้), ดามั้ด (มลายู-จังหวัดสตูล), หวาด (ภาคใต้), สวาด (ภาคกลาง), บ่าขี้แฮด (เชียงใหม่) [1],[2]

ลักษณะต้นสวาด

  • ต้น เป็นไม้เถาเลื้อยพันต้นไม้อื่นด้วยการใช้หนามของตัวเองช่วยประคอง ที่ตามลำต้น กิ่งก้าน เส้นใบมีหนามโค้งแหลม สามารถขยายพันธุ์ด้วยวิธีใช้เมล็ด พบได้ทั่วไปที่เขตร้อน ชอบขึ้นที่ตามป่าเบญจพรรณ ริมแม่น้ำลำธาร ป่าโปร่งทั่วไป ป่าละเมาะใกล้ทะเล ปัจจุบันพบเจอได้น้อย[1],[3]
  • ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกมีสองชั้น ขนาดใหญ่ มีความยาวประมาณ 30-50 เซนติเมตร ใบย่อยเป็นรูปไข่ ที่ปลายใบจะแหลมนิดหน่อย ส่วนโคนใบไม่เท่ากัน ใบกว้างประมาณ 1-2 เซนติเมตร ยาวประมาณ 2-4 เซนติเมตร แผ่นใบมีลักษณะเป็นสีเขียวเข้ม หูใบประกอบเป็นแบบขนนก[1],[2],[3]
  • ดอก ออกเป็นช่อ ช่อมีความยาวประมาณ 15-25 เซนติเมตร ออกดอกที่กิ่งเหนือซอกใบนิดหน่อย ดอกสวาดนั้นจะเป็นช่อเดี่ยวหรือบางครั้งก็อาจแตกแขนงได้ ก้านช่อมีลักษณะยาวและมีหนาม มีดอกย่อยขนาดเล็ก กลีบดอกมีลักษณะเป็นสีเหลือง จะมีใบประดับเป็นเส้นงอ มีความยาวประมาณ 5-12 มิลลิเมตร[1],[3]
  • ผลเป็นฝัก เป็นรูปรี รูปขอบขนานแกมรูปรี จะมีหนามที่ยาวและแหลม หรือขนยาวแหลมแข็งคล้ายกับหนามอยู่ที่ตามเปลือก มีเมล็ดอยู่ในฝัก 2 เมล็ด เมล็ดเป็นรูปกลมรี เปลือกของเมล็ดนั้นแข็งและเป็นสีม่วงเทา เมล็ดมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร[1],[2]

สรรพคุณต้นสวาด

1. นำรากมาดองกับเหล้าขาวสามารถใช้เป็นยาแก้พยาธิได้ (ราก)[4] ยอดมีสรรพคุณที่เป็นยาถ่ายพยาธิ (ยอด)[4], เมล็ดจะมีสรรพคุณที่เป็นยาถ่ายพยาธิ (เมล็ด)[5]
2. ใบสวาดเป็นส่วนผสมในตำรับยาอม ยาอมมะแว้ง เป็นยาสามัญประจำบ้านและเป็นยาในบัญชียาหลักแห่งชาติ จะมีสรรพคุณที่สามารถเป็นยาช่วยบรรเทาอาการไอ และละลายและขับเสมหะได้ (ใบ)
3. ในตำรายาไทยใช้ใบสวาดเป็นขับผายลม แก้อาการจุกเสียดแน่น และยาขับลม (ใบ)[1],[2]
4. ใบสวาดกับเมล็ดนั้นจะมีสรรพคุณที่เป็นยาแก้ไอ (ใบ,เมล็ด)[5]
5. ผลสวาดจะมีสรรพคุณที่เป็นยาแก้กระษัย (ผล)[2] บ้างก็ว่าใบสวาดนั้นก็มีสรรพคุณที่เป็นยาแก้กระษัย (ใบ)[5]
6. ใบสวาดกับผลสวาดจะมีสรรพคุณที่เป็นยาแก้ปัสสาวะพิการ (ใบ,ผล)[1],[2]
7. สามารถใช้เป็นยาแก้ปวดท้อง และแก้ท้องเสียได้ (เมล็ด)[5]
8. บางข้อมูลก็ระบุเอาไว้ว่านำใบมาต้มกับน้ำใช้อมกลั้วคอ สามารถช่วยรักษาแผลในลำคอได้ (ใบ)[5]
9. นำยอดมาบดแล้วกรองเอาแต่น้ำ สามารถใช้เป็นยาแก้ไข้ได้ (ยอด)[4] เมล็ดนั้นจะมีสรรพคุณที่เป็นยาแก้ไข้ (เมล็ด)[5]

ประโยชน์ต้นสวาด

  • วรรณคดีหลายเรื่องได้มีการกล่าวเชิงเปรียบเทียบกับความรัก ความพิศวาส ระหว่างหญิงและชาย เนื่องจากมีความพ้องเสียงกัน ตามธรรมเนียมไทยในการจัดขันหมากงานแต่งงานบางพื้นที่ จะนำใบรักกับใบสวาดมารองก้นขันหมากโท ที่ใส่หมากพลู ขันหมากเงินทุน สินสอด จะใส่ใบรักกับใบสวาดรวมกับดอกไม้ สิ่งมงคล อย่างเช่น ใบเงิน ดอกบานไม่รู้โรย ใบทอง ถั่วงา [3]
  • สมัยก่อนเด็กจะใช้เมล็ดสวาดเล่นหมากเก็บ เนื่องจากมีขนาดรูปร่างเหมาะสม[3]

สั่งซื้อเนสท์เล่ ออรัลอิมแพค อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. พืชสมุนไพรโตนงาช้าง. “สวาด”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: paro6.dnp.go.th/web_km/พืชสมุนไพรโตนงาช้าง/. [10 มิ.ย. 2014].
2. ไม้ในวรรณคดีไทย. “สวาด (Caesalpinia Bonduc (L.) Roxb.)”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: ftp://smc.ssk.ac.th/thaienclycropedia/book23/b23p216.htm. [10 มิ.ย. 2014].
3. หนังสือสมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ. (คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “สวาด Nickernut/Grey Nickers”. หน้า 68.
4. MULTILINGUAL MULTISCRIPT PLANT NAME DATABASE. “Sorting Caesalpinia names”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.plantnames.unimelb.edu.au. [10 มิ.ย. 2014].
5. หนังสือพรรณไม้ป่าชายหาด. (มัณฑนา นวลเจริญ). “สวาด”.
6. สวนพฤกษศาสตร์สายยาไทย. “สวาด”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.saiyathai.com. [10 มิ.ย. 2014].

โกฐพุงปลา ยาอายุรเวทแผนโบราณ

0
โกฐพุงปลา
โกฐพุงปลา ยาอายุรเวทแผนโบราณ ก้อนที่แข็งปูดหรือปุ่มหูดเกิดจากต้นสมอไทย คล้ายกระเพาะปลาขนาดเล็ก ลักษณะคล้ายถุงแบน กลวง ปากแคบ มีคอคอดคล้ายมีขั้ว ก้นป่อง
โกฐพุงปลา
ลักษณะคล้ายกระเพาะปลาขนาดเล็ก ลักษณะคล้ายถุงแบน กลวง ปากแคบ มีคอคอดคล้ายมีขั้ว ก้นป่อง เป็นก้อนที่แข็งปูดหรือปุ่มหูดเกิดจากต้นสมอไทย 

โกฐพุงปลา

โกฐพุงปลา มีลักษณะคล้ายกระเพาะปลาขนาดเล็ก ลักษณะคล้ายถุงแบน กลวง ปากแคบ มีคอคอดคล้ายมีขั้ว ก้นป่อง แบน ชื่อสามัญ Terminalia Gall, Myrobalan Gall[2] ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Terminalia chebula Retz. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Myrobalanus chebula (Retz.) Gaertn.) อยู่ในวงศ์สมอ (COMBRETACEAE)[1] ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น ม่าแน่, ส้มมอ, กกส้มมอ, สมอ, หมากแน่ะ, มาแน่, ปูดกกส้มมอ, สมออัพยา [1]

หมายเหตุ : โกฐพุงปลาในบทความนี้ เป็นคนละชนิดกับต้นที่เป็นไม้เถาเลื้อย ที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Dischidia major (Vahl) Merr. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Dischidia rafflesiana Wall.) หรือทั่วไปเรียกกันว่า จุกโรหินี หรือ บวบลม

ลักษณะโกฐพุงปลา

โกฐพุงปลา คือก้อนที่แข็งปูดหรือปุ่มหูด (gall) เกิดจากต้นสมอไทย เกิดจากใบและยอดอ่อนของสมอไทย ลักษณะคล้ายกับกระเพาะปลาขนาดเล็ก จะมีรสฝาดและขมจัด เป็นยาฝาดสมานแรง คล้ายถุงแบน กลวง ปากแคบ จะมีคอคอดคล้ายมีขั้ว ที่ก้นมีลักษณะป่อง แบน ผิวเป็นสีน้ำตาลปนสีนวล บางตอนก็จะเป็นตะปุ่มตะป่ำ บางตอนก็จะเรียบ ส่วนที่เหมือนปลิ้นออกอาจจะเป็นสีแดงเรื่อ ที่ผิวด้านนอกจะย่น และมีสีน้ำตาล ด้านในขรุขระ เป็นสีดำ กว้างประมาณ 1-3 เซนติเมตร และมีความยาวประมาณ 1.5-3 เซนติเมตร หนาประมาณ 0.4-1.5 เซนติเมตร ปุ่มหูดหรือปูด (gall) จะเป็นก้อนแข็งที่เกิดจากส่วนของพืช เช่นใบอ่อนหรือกิ่งอ่อนที่ถูกแมลงเจาะและหยอดไข่ไป แล้วต้นสมอไทยจะสร้างสารขึ้นมาป้องกัน ด้วยการห่อหุ้มไข่ของแมลงไว้ เมื่อปุ่มหูดแห้งและแข็ง จะมีลักษณะคล้ายกับถุงแบนและกลวง[1],[3]

สรรพคุณของโกฐพุงปลา

1. ใช้ในตำรับยาแผนโบราณของไทยในหลายตำรับ อย่างเช่นในเครื่องยาไทยที่เรียกว่า พิกัดโกฐ อยู่ใน พิกัดโกฐทั้งเก้า จะมีสรรพคุณเป็นแก้โรคในปากและคอ แก้สะอึก แก้หืดไอ ไข้เพื่อเสมหะ แก้ไข้จับ บำรุงโลหิต ยาแก้ลมในกองธาตุ แก้ไส้ด้วนไส้ลาม แก้โรคปอด แก้หอบ ไข้ในกองธาตุอติสาร ไข้เรื้อรัง บำรุงกระดูก ชูกำลัง และมีสรรพคุณเป็นยาขับระดูร้ายของสตรี[1]
2. สามารถช่วยแก้อาการท้องร่วงได้[2]
3. สามารถแก้อาเจียนได้[1]
4. ในตำรายาไทยจะใช้เป็นยาแก้อติสาร คุมธาตุ ลงแดง แก้โรคอุจจาระธาตุลมอติสาร แก้อุจจาระธาตุพิการ[1]
5. บัญชียาสมุนไพร ในตามประกาศของคณะกรรมการแห่งชาติด้านยา (ฉบับที่ 5) มีปรากฏการใช้ในยารักษาอาการโรคในระบบของร่างกาย มีอยู่หลายตำรับ ก็คือ ยารักษากลุ่มอาการทางระบบไหลเวียนโลหิตหรือยาแก้ลม มีปรากฏในตำรับ ยาหอมเทพจิตร และตำรับ ยาหอมนวโกฐ จะมีส่วนประกอบอยู่ในพิกัดโกฐทั้งเก้าร่วมกับสมุนไพรอื่นอีกในตำรับ จะมีสรรพคุณเป็นยาแก้ตาลาย แก้ลมวิงเวียน ใจสั่น คลื่นเหียน แก้ลมจุกแน่นในท้อง อาเจียน แก้อาการหน้ามืด, ยาแก้ไข้ มีปรากฏในตำรับ ยาจันทน์ลีลา มีส่วนประกอบร่วมกับสมุนไพรอื่นอีกในตำรับ จะมีสรรพคุณเป็นยาบรรเทาอาการปวดท้อง แก้จุกเสียดแน่นเฟ้อที่เกิดจากอาหารไม่ย่อย เพราะธาตุไม่ปกติ, ยารักษากลุ่มอาการทางระบบอาหาร มีปรากฏในตำรับ ยาธาตุบรรจบ คือตำรับยาที่ช่วยบรรเทาอาการอุจจาระธาตุพิการ ท้องเสียที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ อาการท้องอืดเฟ้อ ในตำรับ ยาประสะกานพลู มีส่วนประกอบร่วมกับสมุนไพรอื่นอีกในตำรับ จะมีสรรพคุณเป็นยาแก้อาการจุกเสียดแน่นเฟ้อจากอาหารไม่ย่อย ที่เกิดจากธาตุไม่ปกติ บรรเทาอาการปวดท้อง [1] และยังปรากฏอยู่ในยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณในหลายตำรับ อย่างเช่น ตำรับยาหอมอินทจักร ตำรับยาอำมฤควาที ตำรับยาหอมทิพโอสถ [3]
6. มีสรรพคุณเป็นยาฝาดสมานแรง สามารถใช้เป็นยาสมานแผล แก้เม็ดยอดภายใน แก้ฝีภายในได้[1],[2]
7. สามารถใช้เป็นยาแก้เสมหะพิการได้[1]
8. สามารถใช้เป็นยาบิดมูกเลือด แก้บิดได้[1],[3]
9. สามารถใช้เป็นยาแก้ไข้พิษ แก้พิษทำให้ร้อน แก้ไข้จากลำไส้อักเสบ [1]

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

  • สารที่พบ คือสารในกลุ่ม tannins อย่างเช่น gallic acid, tannic acid, chebulinic acid

สั่งซื้อเนสท์เล่ ออรัลอิมแพค อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือคู่มือเภสัชกรรมแผนไทย เล่ม 5 : คณาเภสัช. (ภก.ศ.ดร. ชยันต์ พิเชียรสุทร, ภก.ศ.พิเศษ ดร. วิเชียร จีรวงส์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “โกฐ พุง ปลา”. หน้า 110.
2. ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “โกฐ พุง ปลา”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.thaicrudedrug.com. [09 มิ.ย. 2015].
3. หนังสือสมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ. (คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “โกฐ พุง ปลา Myrobalan Gall/Terminalia Gall”. หน้า 217.

อ้างอิงรูปจาก
1.https://www.indiamart.com/proddetail/terminalia-chebula-extract-4171507773.html
2.https://indiabiodiversity.org/species/show/31838