Home Blog Page 79

นางจุ่ม หรือ นางโจม ยาสมุนไพรชาวอินเดีย รักษาเบาหวาน แก้ไข้แกว่ง

0
นางจุ่ม
นางจุ่ม พรรณไม้พุ่มรอเลื้อย ช่อดอกมีขนขึ้นปกคลุมหนาแน่น ผลเป็นรูปกลมรีขนาดเล็ก ปลายและโคนมน
นางจุ่ม หรือ “นางโจม” ยาสมุนไพรของชาวอินเดีย รักษาเบาหวานและแก้ไข้แกว่งได้
พรรณไม้พุ่มรอเลื้อย ช่อดอกมีขนขึ้นปกคลุมหนาแน่น ผลเป็นรูปกลมรีขนาดเล็ก ปลายและโคนมน

นางจุ่ม

นางจุ่ม (Cansjera rheedei) เป็นผักที่พบได้ตามป่าและมีรสชาติเหมือนผักหวานป่า มักจะพบวางขายอยู่ในตลาดทุ่งเสลี่ยมที่อยู่ระหว่างทางไปจังหวัดเชียงใหม่ นิยมเรียกว่า “นางโจม” ซึ่งส่วนมากมักจะพบเป็นส่วนประกอบในแกงแค นอกจากนั้นยังเป็นยาสมุนไพรที่นิยมในประเทศอินเดีย ชนเผ่าทมิฬนาฑูและตำรายาไทยอีกด้วย มีการวิจัยมากมายถึงสรรพคุณที่อยู่ในต้นนางจุ่ม ถือเป็นต้นที่ไม่โดดเด่นเมื่อดูจากภายนอกแต่มีประโยชน์มากกว่าที่คิด

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของนางจุ่ม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cansjera rheedei J.F.Gmel.
ชื่อท้องถิ่น : ภาคเหนือเรียกว่า “นางชุ่ม มะนาวป่า” จังหวัดชลบุรีเรียกว่า “ผักหวานดง” มีชื่ออื่น ๆ ว่า “ตาไก่หิน เถาเดือยไก่ นมสาว นางจอง เหมือดคน”
ชื่อวงศ์ : วงศ์ผักหวาน (OPILIACEAE)
ชื่อพ้อง : Cansjera lanceolata Benth., Cansjera malabarica Lam., Cansjera monostachya M.Roem., Cansjera polystachya (Willd.) M.Roem., Cansjera scandens Roxb., Cansjera zizyphifolia Griff., Opilia amentacea Wall.

ลักษณะของนางจุ่ม

นางจุ่ม เป็นพรรณไม้พุ่มรอเลื้อยเนื้อแข็งที่มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนของเอเชีย มักจะพบขึ้นตามป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้งและป่าผสมผลัดใบ
ลำต้น : ลำต้นและกิ่งอ่อนเป็นสีเขียว แตกกิ่งก้านมาก มีขนสั้นนุ่มขึ้นปกคลุม เปลือกนอกเป็นสีน้ำตาลอ่อน ตามลำต้นมีหนามทู่ขึ้นกระจายทั่วไปจำนวนมาก
ใบ : เป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับในระนาบเดียวกัน ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ รูปวงรีหรือรูปใบหอก ปลายใบเรียวแหลม โคนใบสอบเรียวสั้นไปจนถึงสอบเรียว ขอบใบเป็นคลื่น แผ่นใบค่อนข้างหนาและเป็นมัน ผิวใบมีขนขึ้นเล็กน้อยโดยเฉพาะตามเส้นใบ มีขนขึ้นประปรายที่เส้นกลางใบและโคน เส้นใบเป็นแบบขนนกร่างแห 4 – 10 คู่ ก้านใบมีขนาดสั้นและมีขนกระจาย
ดอก : ออกดอกเป็นช่อแบบช่อเชิงลดตามซอกใบ 1 – 4 ช่อ มีสีเหลืองอมเขียว แต่ละช่อมีดอกประมาณ 8 – 16 ดอก แกนช่อดอกมีขนขึ้นปกคลุมหนาแน่น ดอกมีขนาดเล็ก เป็นดอกแบบสมบูรณ์เพศ มีกลีบรวม 4 – 5 กลีบ หลอดกลีบเป็นรูปโถหรือรูปคนโท ปลายแยกเป็นแฉกแหลมเรียงจรดกัน ขอบเรียบและมีสีเขียวอมเหลือง ผิวด้านนอกมีขนขึ้นกระจายแต่ด้านในเกลี้ยง ดอกมีเกสรเพศผู้ 4 อัน มีอับเรณู 2 พู ขนาดเล็กสีขาวอมเหลือง สามารถแตกได้ตามยาว เกสรเพศเมียมี 1 อัน เป็นรูปขวด รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ ยอดเกสรเพศเมียแยกเป็นแฉก 4 แฉก จานฐานดอกมี 4 อัน แยกจากกันเป็นรูปสามเหลี่ยม มีสีเขียวอมเหลือง มักจะออกดอกในช่วงเดือนตุลาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์
ผล : เป็นผลสดเมล็ดเดียวและแข็ง ลักษณะของผลเป็นรูปกลมรีขนาดเล็ก ปลายและโคนมน ผิวขรุขระและมีสีเขียว เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีส้มแดง มีกลีบรวมกับยอดเกสรเพศเมียติดคงทน ติดผลในช่วงประมาณมกราคมถึงเดือนมีนาคม
เมล็ด : ภายในผลมีเมล็ดแข็ง 1 เมล็ด เมล็ดมีลักษณะเป็นรูปไข่หรือรูปวงรีและค่อนข้างกลม

สรรพคุณของนางจุ่ม

  • สรรพคุณจากนางจุ่ม ลดน้ำตาลในเลือด ลดไขมันในเลือด ลดไข้ ขับปัสสาวะ ต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบ ปกป้องตับจากสารพิษ
  • สรรพคุณจากทั้งต้น ประเทศอินเดียนำทั้งต้นมารักษาอาการปวดหลัง
  • สรรพคุณจากใบ ชนเผ่าทมิฬนาฑูนำมารักษาอาการไข้แกว่ง
    – เป็นยารักษาเบาหวาน ด้วยการนำใบมาต้มกับน้ำแล้วดื่ม
  • สรรพคุณจากส่วนเหนือดิน เป็นยาถ่ายพยาธิ
  • สรรพคุณจากเปลือกต้น
    – แก้อาการปวดเมื่อยและแก้เส้นตึง โดยตำรายาไทยนำเปลือกต้นมาเป็นส่วนผสมปรุงยาต้มเพื่อดื่ม

ประโยชน์ของนางจุ่ม

เป็นส่วนประกอบของอาหาร นิยมนำมาทำแกงหรือใส่ในแกงแค

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของนางจุ่ม

สารที่พบในใบนางจุ่ม พบสารกลุ่มฟลาโวนอยด์ ได้แก่ Quercetin – 3 – O – β – rutinoside
ผลการทดลอง

  • สารสกัดน้ำและเอทานอลจากใบนางจุ่มที่ระดับความเข้มข้น 200 mg/kg และ 400 mg/kg พบว่ามีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดของสัตว์ทดลอง
  • สารสกัดเอทานอลจากส่วนที่อยู่เหนือดินของต้นนางจุ่ม โดยการฉีดเข้าทางช่องท้องของหนูทดลองที่ความเข้มข้น 250 และ 500 mg/kg พบว่าจะมีฤทธิ์ต้านความเจ็บปวด โดยลดอาการปวดเกร็งของช่องท้องหนูทดลองที่ถูกกระตุ้นด้วยสารเคมีและทำให้ทนต่อความเจ็บปวดเมื่อถูกกระตุ้นด้วยความร้อนได้ด้วย
  • จากการทดสอบโดยใช้สารสกัดน้ำ คลอโรฟอร์มและเอทานอลของส่วนที่อยู่เหนือดินของต้นนางจุ่ม ที่ความเข้มข้นระหว่าง 5-40 mg/mL พบว่ามีฤทธิ์ขับพยาธิตัวกลม ทำให้พยาธิเป็นอัมพาตและตายได้

นางจุ่ม เป็นต้นที่มีการทดลองถึงฤทธิ์และสารในนางจุ่มจนพบว่าเป็นต้นที่ช่วยป้องกันโรคได้ ส่วนมากมักจะพบในรูปแบบของผักที่เป็นส่วนประกอบในแกงทั่วไปหรือแกงแค มีรสชาติเหมือนผักหวานป่า ถือเป็นยาสมุนไพรที่นิยมอย่างมากในประเทศอินเดีย นางจุ่มมีสรรพคุณทางยาได้หลายส่วนจากต้นโดยเฉพาะส่วนของใบ มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ รักษาเบาหวาน แก้ไข้แกว่ง เป็นยาถ่ายพยาธิและแก้ปวดเมื่อยได้

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “นางจุ่ม”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.phargarden.com. [22 ก.ย. 2015].
แหล่งข้อมูลต้นไม้. “นางจุม”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : treeofthai.com. [22 ก.ย. 2015].
ข้อมูลอ้างอิง (Source) : https://medthai.com/

ชุมเห็ดจีน เมล็ดมากสรรพคุณ ช่วยลดความดันเลือด บำรุงสายตาและดีต่อตับ

0
ชุมเห็ดจีน เมล็ดมากสรรพคุณ ช่วยลดความดันเลือด บำรุงสายตาและดีต่อตับ
ชุมเห็ดจีน ต้นมีขนขึ้นปกคลุม กิ่งก้านแข็ง ดอกเป็นสีเหลืองสด ผลเป็นฝักยาวและเป็นเหลี่ยม ภายในฝักพบเมล็ดจำนวนมาก
ชุมเห็ดจีน เมล็ดมากสรรพคุณ ช่วยลดความดันเลือด บำรุงสายตาและดีต่อตับ
ชุมเห็ดจีน ต้นมีขนขึ้นปกคลุม กิ่งก้านแข็ง ดอกเป็นสีเหลืองสด ผลเป็นฝักยาวและเป็นเหลี่ยม ภายในฝักพบเมล็ดจำนวนมาก

ชุมเห็ดจีน

ชุมเห็ดจีน (Chinese senna) มีชื่อเรียกในภาษาจีนว่า “เจี๋ยหมิงจื่อ” แต่กลับมีถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบอเมริกาเขตร้อน ทั้งนี้ชุมเห็ดจีนนั้นอาจจะจำสับสนกับชุมเห็ดไทยได้ สามารถแยกได้จากการดูที่เมล็ดซึ่งชุมเห็ดจีนจะมีเมล็ดเป็นเหลี่ยมและยาวมากกว่าชุมเห็ดไทย เป็นต้นที่นิยมในการดื่มแทนชาของคนเอเชีย นอกจากนั้นยังมีสรรพคุณเป็นยาสมุนไพรที่ดีต่อร่างกายโดยเฉพาะส่วนของเมล็ดที่อุดมไปด้วยประโยชน์มากมาย

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของชุมเห็ดจีน

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Senna obtusifolia (L.) H.S.Irwin & Barneby
ชื่อสามัญ : มีชื่อสามัญว่า “Chinese senna” “American sicklepod” “Sicklepod”
ชื่อท้องถิ่น : คนไทยเรียกว่า “ชุมเห็ดใหญ่” คนจีนกลางเรียกว่า “เจี๋ยหมิงจื่อ”
ชื่อวงศ์ : วงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE)
ชื่อพ้อง : Cassia obtusifolia L.

ลักษณะของชุมเห็ดจีน

ชุมเห็ดจีน เป็นพรรณไม้พุ่มอายุ 1 ปี ที่มีถิ่นกำเนิดในภาคใต้และภาคตะวันออกของสหรัฐอเมริกา เม็กซิโกและในอเมริกาเขตร้อน
ต้น : ทั้งต้นมีขนขึ้นปกคลุม กิ่งก้านแข็ง
ใบ : เป็นใบประกอบแบบขนนก ตรงกลางใบย่อยที่ติดเชื่อมเรียงคู่กันนั้นจะมีตุ่มตาร่องน้ำหนึ่งคู่แบบแหลม ๆ มีใบย่อยประมาณ 2 – 4 คู่ ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปไข่กลับ ขอบใบเรียบ ใบอ่อนมีขนขึ้นปกคลุม
ดอก : ออกดอกเป็นช่อบริเวณซอกใบ ดอกเป็นสีเหลืองสด มีกลีบดอก 5 กลีบ ลักษณะของกลีบดอกเป็นรูปไข่กลับ ดอกมีเกสรเพศผู้ 1 อัน
ผล : ผลมีลักษณะเป็นฝักยาวและเป็นเหลี่ยม ภายในฝักพบเมล็ดจำนวนมาก
เมล็ด : เมล็ดมีลักษณะเป็นเหลี่ยม ด้านข้างของเมล็ดมีร่อง ผิวเมล็ดเรียบเป็นมัน มีสีน้ำตาลอมเขียว

สรรพคุณของชุมเห็ดจีน

  • สรรพคุณของเมล็ดชุมเห็ดจีน หรือเจว๋หมิงจือ
    – ช่วยแก้อาการร้อนใน
    – ช่วยแก้อาการตาแดง
    – ช่วยลดความดันโลหิตสูงได้
    – ช่วยลดคอเลสเตอรอลสูง ลดไขมัน
    – ช่วยบำรุงตับ
    – ช่วยบำรุงปอด
    – ใช้เป็นยาระบาย และแก้อาการท้องผูก
  • สรรพคุณจากเมล็ดคั่วที่บดเป็นผงขนาดครั้งละ 7 – 15 กรัม แก้ตาอักเสบ แก้ตาแดงเป็นต้อ ช่วยให้ตาสว่าง แก้อาการท้องผูก เป็นยาแก้พุงโล แก้ตับอักเสบและโรคตับแข็ง รักษาฝีหนองทั้งภายในและภายนอก
    – บรรเทาอาการปวดศีรษะอันเนื่องมาจากความดันโลหิตสูง เป็นยาลดความดันโลหิตที่ออกฤทธิ์ต่อตับและไต ด้วยการนำเมล็ดคั่วที่บดเป็นผงมาครั้งละ 3 กรัม นำมาชงกับน้ำรับประทานวันละ 3 ครั้ง หรือนำเมล็ดคั่ว 15 กรัม มาตำให้แหลกแล้วใช้แห่โกวเช่าอีก 10 กรัม มารวมกันต้มกับน้ำแล้วรับประทาน

ประโยชน์ของชุมเห็ดจีน

เป็นส่วนประกอบของอาหาร ประเทศซูดานมักจะนำใบของชุมเห็ดจีนมาหมักเพื่อทำเป็นอาหารที่มีโปรตีนสูงซึ่งเรียกว่า “Kawal” โดยใช้รับประทานแทนเนื้อสัตว์ ในเกาหลีนำมาทำชาที่เรียกว่า “gyeolmyeongja” ส่วนมากมักจะนำเมล็ดมาใช้แทนชาได้

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของชุมเห็ดจีน

สารที่พบในชุมเห็ดจีน พบสาร Aloe – Emodin, Chrysophanol, Emodin, Obtusifolin, Totalactone, Physcion, Rhein, Rhein Kaempferol – 3 – diglucoside, Xanthone, Vitamin A และยังพบโปรตีนและไขมัน

สารสกัดจากเมล็ด

สารสกัดจากเมล็ดชุมเห็ดจีน จากการทดลองกับสัตว์พบว่า เมื่อนำเมล็ดชุมเห็ดจีนมาสกัดนั้นสามารถลดความดันโลหิตของสุนัข แมวและกระต่ายได้ มีฤทธิ์กระตุ้นมดลูกให้บีบตัวแรงขึ้นและมีฤทธิ์เป็นยาขับถ่ายในสัตว์ทดลองได้
สารสกัดจากเมล็ดด้วยแอลกอฮอล์ พบว่ามีประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อ Staphelo coccus, Steptro coccus, เชื้อคอตีบ เชื้อไทฟอยด์และเชื้อราบริเวณผิวหนังได้

ข้อควรระวังของชุมเห็ดจีน

ชุมเห็ดจีนมีฤทธิ์ในการขับถ่ายค่อนข้างแรง ฉะนั้นไม่ควรทานในปริมาณที่มากจนเกินไป

ชุมเห็ดจีน มีเมล็ดเป็นส่วนสำคัญในการเป็นยาสมุนไพรเพราะเมล็ดมีฤทธิ์เป็นยาเย็นและยังนำมาชงชาเพื่อดื่มได้ เป็นต้นที่พบสารอาหารมากมายโดยเฉพาะวิตามินเอที่มีส่วนช่วยในเรื่องของดวงตาเป็นพิเศษ สามารถนำทั้งต้นมาใช้เป็นยาสมุนไพรได้ มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ บำรุงสายตา เป็นยาระบาย ลดความดันเลือด แก้ตับอักเสบและโรคตับแข็ง เป็นต้นที่คู่ควรแก่การนำเมล็ดมาชงชาดื่มเป็นประจำจริง ๆ

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. (วิทยา บุญวรพัฒน์). “ชุมเห็ดจีน”. หน้า 206.
บ้านสวนพอเพียง. “เล่าสู่กันฟัง..งานรวมญาติพืชวงศ์ถั่ว 5”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.bansuanporpeang.com. [05 ม.ค. 2015].

ตะค้านเล็ก เครื่องเทศคล้ายพริกไทย มีรสเผ็ดร้อน บำรุงกำลังและแก้ไข้ได้

0
ตะค้านเล็ก เครื่องเทศคล้ายพริกไทย มีรสเผ็ดร้อน บำรุงกำลังและแก้ไข้ได้
ตะค้านเล็ก เป็นไม้เถา ลักษณะกลมเหมือนเม็ดพริกไทย นำมาปรุงรสเพื่อเพิ่มความเผ็ดให้กับอาหารเช่นเดียวกับพริกไทย
ตะค้านเล็ก เครื่องเทศคล้ายพริกไทย มีรสเผ็ดร้อน บำรุงกำลังและแก้ไข้ได้
ตะค้านเล็ก เป็นไม้เถา ลักษณะกลมเหมือนเม็ดพริกไทย นำมาปรุงรสเพื่อเพิ่มความเผ็ดให้กับอาหารเช่นเดียวกับพริกไทย

ตะค้านเล็ก

ตะค้านเล็ก (Piper ribesioides Wall) เป็นไม้เถาที่อยู่ในวงศ์พริกไทย เป็นชื่อที่ไม่ค่อยได้ยินแต่เถาของตะค้านเล็กสามารถนำมาปรุงรสเพื่อเพิ่มความเผ็ดให้กับอาหารได้เช่นเดียวกับพริกไทย มีผลขนาดเล็กและลักษณะกลมเหมือนเม็ดพริกไทย สามารถนำส่วนของต้นมาใช้ประโยชน์ทางยาได้

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของตะค้านเล็ก

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Piper ribesioides Wall.
ชื่อท้องถิ่น : จังหวัดนครราชสีมาเรียกว่า “ตะค้านหยวก” มีชื่ออื่น ๆ ว่า “จะขัด จะค้าน จัดค่าน จั๊กค่าน ตะค้าน สะค้าน หนาม หนามแน”
ชื่อวงศ์ : วงศ์พริกไทย (PIPERACEAE)

ลักษณะของตะค้านเล็ก

ตะค้านเล็ก เป็นไม้เถาขนาดกลางเลื้อยพาดพันกับต้นไม้อื่น
เถา : เนื้อเถามีหน้าตัดเป็นรัศมี เปลือกเถาค่อนข้างอ่อนและมีเนื้อสีขาว
ใบ : เป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับกันเป็นรูปแกมวงรี ปลายใบแหลม โคนใบแหลมหรือเป็นรูปหัวใจ แผ่นใบเรียบทั้งสองด้าน
ดอก : ออกดอกเป็นช่อยาวห้อยลงตามซอกใบ ดอกมีขนาดเล็กมาก เรียงอัดกันแน่นบนแกนช่อดอก
ผล : ผลเป็นผลสดขนาดเล็ก มีลักษณะกลม

สรรพคุณของตะค้านเล็ก

  • สรรพคุณจากเถา เป็นยาบำรุงกำลัง บำรุงธาตุ แก้ธาตุพิการ เป็นยาประจำธาตุลม เป็นยาขับลมในลำไส้ ทำให้ผายลมและเรอ แก้จุกเสียดแน่น
  • สรรพคุณจากผล บำรุงธาตุ แก้ลมแน่นในอก
  • สรรพคุณจากใบ แก้ธาตุพิการ แก้ลมในกองเสมหะเลือด เป็นยาขับลมในลำไส้ ทำให้ผายลมและเรอ แก้จุกเสียดแน่น
  • สรรพคุณจากดอก แก้ลมอัมพฤกษ์และลมปัตคาดที่เกิดจากพิษพรรดึก
  • สรรพคุณจากราก เป็นยาแก้ไข้ เป็นยาแก้หืด

ประโยชน์ของตะค้านเล็ก

เป็นส่วนประกอบของอาหาร เถาหรือลำต้นใช้เป็นเครื่องเทศเพิ่มความเผ็ดร้อนให้อาหาร ทำให้อาหารมีกลิ่นหอมและดับกลิ่นคาวได้

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของตะค้านเล็ก

พบสาร (+)-3,7-dimethyl-3-hydroxy-4-( P-coumaryloxy)-1,6-octadiene, beta-sitosterol, lignans (-)-hinokinin and (-)-cubebin, methyl piperate, methyl 2 E,4 E,6 E-7-phenyl-2,4,6-heptatrienoate, N-isobutyl-2 E,4 E-dace-2,4-dienamide, palmitic acid, stearic acid

ตะค้านเล็ก ใบและดอกมีรสเผ็ดร้อน ผลมีรสร้อนเหมาะสำหรับใช้เป็นเครื่องเทศแทนพริกไทยได้ และยังมีสรรพคุณทางยาที่ดีต่อร่างกายด้วย นอกจากนั้นยังช่วยดับกลิ่นคาวและเพิ่มความหอมให้กับอาหาร ตะค้านเล็กมีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ บำรุงกำลัง ขับลมในลำไส้ แก้จุกเสียดแน่นและแก้ไข้ได้

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคเหนือ. (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ). “ตะค้านเล็ก”. หน้า 113.
การศึกษาอนุกรมวิธานของพืชสมุนไพรและพืชมีพิษในอุทยานแห่งชาติเฉลิมรัตนโกสินทร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. “ตะค้านเล็ก”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : pirun.kps.ku.ac.th/~b4916098/. [20 ธ.ค. 2014].
มุมสมุนไพร, ศูนย์ส่งเสริมการเกษตรที่สูง จังหวัดลำพูน. “สะค้าน”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.haec05.doae.go.th. [20 ธ.ค. 2014].

ถอบแถบเครือ เป็นยาบำรุงกำลัง แก้พิษตานซาง แก้ไข้และเป็นยาระบาย

0
ถอบแถบเครือ เป็นยาบำรุงกำลัง แก้พิษตานซาง แก้ไข้และเป็นยาระบาย
ถอบแถบเครือ เป็นไม้เถาเลื้อย มีดอกเป็นสีขาวอมน้ำตาล ยอดอ่อนมีรสฝาด
ถอบแถบเครือ เป็นยาบำรุงกำลัง แก้พิษตานซาง แก้ไข้และเป็นยาระบาย
ถอบแถบเครือ เป็นไม้เถาเลื้อย มีดอกเป็นสีขาวอมน้ำตาล ยอดอ่อนมีรสฝาด

ถอบแถบเครือ

ถอบแถบเครือ (Connarus semidecandrus Jack) เป็นไม้เถาเลื้อยที่สามารถพบได้ทั่วทุกภาคในประเทศไทย มีดอกเป็นสีขาวอมน้ำตาลซึ่งเป็นสีที่ค่อนข้างหาได้ยาก ยอดอ่อนมีรสฝาดจึงสามารถนำมารับประทานเป็นผักสดร่วมกับน้ำพริกได้ ถอบแถบเครือนั้นสามารถนำทั้งต้นมาใช้เป็นยาสมุนไพรโดยรากและเปลือกนั้นมีรสเบื่อเอียน ถือเป็นต้นที่มีสรรพคุณทางยาที่ดีต่อร่างกายของเด็ก

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของถอบแถบเครือ

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Connarus semidecandrus Jack
ชื่อท้องถิ่น : ภาคกลางเรียกว่า “กะลำเพาะ จำเพาะ ทอบแทบ” ภาคเหนือเรียกว่า “ขางขาว ขางแดง ขางน้ำครั่ง ขี้อ้ายเครือ” ภาคใต้เรียกว่า “ลาโพ หมากสง” ภาคตะวันออกเฉียงใต้เรียกว่า “ตองตีน ลำเพาะ ไม้ลำเพาะ” จังหวัดเชียงรายเรียกว่า “เครือไหลน้อย” จังหวัดหนองคายเรียกว่า “เครือหมาว้อ” ชาวเมี่ยนเรียกว่า “บบเจ่ยเพย”
ชื่อวงศ์ : วงศ์ถอบแถบ (CONNARACEAE)

ลักษณะของถอบแถบเครือ

ถอบแถบเครือ เป็นไม้เถาเลื้อยเนื้อแข็งขนาดเล็กถึงใหญ่พาดพันต้นไม้อื่น มักจะพบตามป่าดิบ ป่าผลัดใบ ป่าละเมาะ ป่าแพะ ตามริมฝั่งแม่น้ำและตามที่รกร้างว่างเปล่า
เปลือกต้น : เปลือกลำต้นเรียบเป็นสีน้ำตาล ผิวเปลือกเป็นตุ่มเล็ก ถั่วทั้งเถา ตามกิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขนขึ้นปกคลุม
ใบ : เป็นใบประกอบแบบขนนกออกเรียงสลับกัน มีใบย่อยประมาณ 3 – 7 ใบ ใบย่อยมีลักษณะเป็นรูปวงรียาวหรือรูปใบหอก ปลายใบแหลม โคนใบมนหรือสอบแคบ ขอบใบเรียบ แผ่นใบค่อนข้างหนาและมันคล้ายแผ่นหนัง หลังใบเรียบลื่นและเป็นมัน มีสีเขียวเข้ม ท้องใบเรียบเป็นมัน เส้นใบมีประมาณ 4 – 12 คู่
ดอก : ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบและที่ปลายกิ่ง ก้านช่อดอกมีขนสีน้ำตาลปนเหลืองหรือสีสนิมเหล็ก ดอกย่อยเป็นสีขาว มีกลีบดอก 5 กลีบ กลีบดอกเป็นหอกหรือรูปขอบขนานแคบ ด้านนอกเกลี้ยง กลีบเลี้ยงมี 5 กลีบ เป็นสีน้ำตาลอ่อน ลักษณะเป็นรูปไข่หรือรูปวงรี ปลายทู่หรือแหลม ด้านนอกมีขนนุ่มส่วนด้านในเกลี้ยง ดอกมีเกสรยื่นออกมาจากดอก เมื่อบานจะเป็นสีขาวแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีขาวแกมน้ำตาล มักจะออกดอกในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน
ผล : ผลมีลักษณะเป็นกระเปาะรูปทรงกระบอกเบี้ยวและสั้น มีสันเล็กน้อยและไม่มีเนื้อ มีกลีบเลี้ยงติดคงทน เปลือกผลบาง ผิวผลด้านนอกเรียบเกลี้ยงส่วนด้านในจะมีขนนุ่มและโคนสอบเข้าหาก้าน ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีส้ม เมื่อผลแก่จัดจะแตกออกเป็น 2 ซีก ออกผลในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน
เมล็ด : ภายในผลมีเมล็ด 1 เมล็ด เมล็ดเป็นสีดำมีเยื่อหุ้มสีเหลืองอมส้มที่โคนเมล็ด

สรรพคุณของถอบแถบเครือ

  • สรรพคุณจากเครือ
    – เป็นยาบำรุงกำลัง ด้วยการนำเครือมาต้มกับน้ำดื่ม
    สรรพคุณจากทั้งต้น เป็นยาแก้พิษตานซาง เป็นยาถ่ายเสมหะ เป็นยาระบาย เป็นยาขับพยาธิ
    สรรพคุณจากรากและทั้งต้น
    – แก้ไข้ ด้วยการนำรากและทั้งต้นมาต้มกับน้ำดื่ม
  • สรรพคุณจากใบ เป็นยาระบาย
    – รักษาโรคเจ็บหน้าอก ด้วยการนำใบมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยา
    – แก้ท้องผูก ด้วยการนำใบมา 3 ใบ ใส่เกลือต้มให้เด็กกินเล็กน้อยเป็นยา
    – ล้างแผลที่เกิดจากน้ำร้อนลวกหรือไฟไหม้ ด้วยการนำใบมาต้มกับน้ำล้างแผล
  • สรรพคุณจากเปลือก
    – แก้ปวดท้อง ด้วยการนำเปลือกมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยา
  • สรรพคุณจากราก
    – แก้หิด ด้วยการนำรากมาตำแล้วพอก

ประโยชน์ของถอบแถบเครือ

เป็นส่วนประกอบของอาหาร ยอดอ่อนมีรสมันฝาดเล็กน้อยจึงนำมาทานเป็นผักสดร่วมกับลาบ ก้อยหรือนำมาลวกต้มทานร่วมกับน้ำพริกได้

ถอบแถบเครือ เป็นต้นที่นิยมนำยอดอ่อนมารับประทานซึ่งมีรสฝาดเล็กน้อยและนำมาใช้เป็นยาสมุนไพรแก้อาการต่าง ๆ ทั้งภายนอกและภายใน เป็นต้นที่โดดเด่นในเรื่องของการบำรุงกำลังให้ร่างกาย สามารถนำส่วนต่าง ๆ มาใช้เป็นยาได้ทั้งต้นยกเว้นส่วนของผล ถอบแถบเครือมีสรรพคุณทางยาได้หลายส่วนจากต้นโดยเฉพาะส่วนของใบและทั้งต้น มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ เป็นยาบำรุงกำลัง แก้พิษตานซาง แก้ไข้และเป็นยาระบาย เป็นต้นที่เหมาะสำหรับเด็กที่มีร่างกายไม่แข็งแรงหรือท้องผูกเป็นอย่างมาก

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). “ถอบแถบเครือ (Thopthaep Khruea)”. หน้า 135.
หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคเหนือ. (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ). “ถอบแถบเครือ”. หน้า 118.
หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “ถอบแถบเครือ”. หน้า 324-325.
โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง, สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน). “ถอบแถบเครือ”. อ้างอิงใน : หนังสือชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : eherb.hrdi.or.th. [15 ธ.ค. 2014].
ข้อมูลอ้างอิง (Source) : https://medthai.com/

เถาวัลย์ปูน ไม้เลื้อยรสเปรี้ยว นิยมทำไม้โขด ช่วยแก้ปัสสาวะพิการและรักษาแผลสด

0
เถาวัลย์ปูน ไม้เลื้อยรสเปรี้ยว นิยมทำไม้โขด ช่วยแก้ปัสสาวะพิการและรักษาแผลสด
เถาวัลย์ปูน เป็นไม้เลื้อยคล้ายเถาตำลึง มีดอกเป็นรูปหัวใจคล้ายดอกเถาคัน ใบของต้นมีรสเปรี้ยว
เถาวัลย์ปูน ไม้เลื้อยรสเปรี้ยว นิยมทำไม้โขด ช่วยแก้ปัสสาวะพิการและรักษาแผลสด
เถาวัลย์ปูน เป็นไม้เลื้อยคล้ายเถาตำลึง มีดอกเป็นรูปหัวใจคล้ายดอกเถาคัน ใบของต้นมีรสเปรี้ยว

เถาวัลย์ปูน

เถาวัลย์ปูน (Cissus repanda) เป็นไม้เลื้อยที่มีดอกเป็นรูปหัวใจโดดเด่นอยู่บนต้น ใบของต้นมีรสเปรี้ยวจนสามารถนำมาใช้แทนมะนาวได้ ในปัจจุบันมีการนำเถาวัลย์ปูนมาปลูกเป็นไม้ประดับกันอย่างมากโดยนำมาทำเป็นไม้โขด เป็นไม้ในวงศ์องุ่นที่มีสรรพคุณทางยาสมุนไพรโดยเฉพาะส่วนของเถาจากต้น เป็นไม้ที่ไม่ควรมองข้ามเพราะนอกจากจะสามารถนำใบมารับประทานได้แล้วนั้นยังนำมาประดับบ้านได้และยังมีสรรพคุณทางยาได้อีกด้วย

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของเถาวัลย์ปูน

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cissus repanda (Wight & Arn.) Vahl
ชื่อท้องถิ่น : ภาคเหนือเรียกว่า “ส้มเฮียก” ภาคตะวันตกเฉียงเหนือเรียกว่า “เครือเขาน้ำ เคือคันเขาขันขา เคือเขาคันเขา ส้มละออม” จังหวัดเชียงรายเรียกว่า “เครือจุ้มจ้า” จังหวัดอุตรดิตถ์เรียกว่า “เถาพันซ้าย” จังหวัดกรุงเทพมหานคร “เถาวัลย์ปูน” ชาวลัวะเรียกว่า “ส้มออบ”
ชื่อวงศ์ : วงศ์องุ่น (VITACEAE)

ลักษณะของเถาวัลย์ปูน

เถาวัลย์ปูน เป็นพรรณไม้เถาขนาดเล็ก มักจะพบตามป่าทั่วไปและภูเขาหินปูน
เถา : เถานั้นจะมีละอองเป็นสีขาวเกาะจับกันอย่างหนาแน่นจนมองดูเป็นสีนวล มือเกาะคล้ายเถาตำลึง
ใบ : เป็นใบเดี่ยวขนาดเท่าฝ่ามือ ลักษณะของใบเป็นรูปหัวใจเฉือนปลายแหลม ตรงกลางใบและริมทั้งสองข้างแหลมเป็นสามยอด ตรงกลางจะสูงและมีเว้าตรงข้าง
ดอก : ดอกมีลักษณะคล้ายดอกเถาคัน

สรรพคุณของเถาวัลย์ปูน

  • สรรพคุณจากเถา รักษาโรคกระษัยและน้ำมูกพิการ เป็นยาขับเสมหะ เป็นยาขับปัสสาวะและแก้ปัสสาวะพิการ ทำให้เส้นเอ็นหย่อนหรือผ่อนคลาย
  • สรรพคุณจากใบ
    – เป็นยารักษาแผลสด ด้วยการนำใบสดขยี้กับปูนกินหมากแล้วเอาฟองมาทาพอกแก้อาการ

ประโยชน์ของเถาวัลย์ปูน

1. เป็นส่วนประกอบของอาหาร ใบใช้ใส่ในแกงบอนทำให้มีรสเปรี้ยวซึ่งใช้แทนมะนาวได้
2. ปลูกเป็นไม้ประดับ นิยมทำเป็นไม้โขด

เถาวัลย์ปูน มีจุดเด่นอยู่ที่เถาซึ่งมีสีขาวจนทำให้ต้นดูเป็นสีนวลและมีรสฝาดเปรี้ยว อีกทั้งยังเป็นส่วนที่อุดมไปด้วยสรรพคุณทางยารักษา สมัยนี้ชาวสวนหรือผู้ขายต้นไม้นิยมนำเถาวัลย์ปูนมาทำเป็นไม้โขดเพื่อขายสำหรับปลูกประดับกันเป็นจำนวนมาก สามารถหาซื้อได้ทั่วไปทั้งร้านค้าโดยตรงและร้านออนไลน์ เถาวัลย์ปูนมีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ แก้ปัสสาวะพิการและรักษาแผลสดได้

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “เถาวัลย์ปูน”. หน้า 348-349.
โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง, สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน). “เถาวัลย์ปูน, เถาพันซ้าย”. อ้างอิงใน : หนังสือชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : eherb.hrdi.or.th. [12 ธ.ค. 2014].

ทองหลางป่า ไม้ต้นมากประโยชน์ เป็นทั้งยา ใช้ย้อมผ้าและรักษาสิวได้

0
ทองหลางป่า ไม้ต้นมากประโยชน์ เป็นทั้งยา ใช้ย้อมผ้าและรักษาสิวได้
ทองหลางป่า เป็นไม้ยืนต้น ดอกสีแดงเข้มนิยมนำมาใช้ย้อมผ้า เปลือกต้นมาทำแป้งทาหน้าให้ผิวขาวและไม่มีสิว
ทองหลางป่า ไม้ต้นมากประโยชน์ เป็นทั้งยา ใช้ย้อมผ้าและรักษาสิวได้
ทองหลางป่า เป็นไม้ยืนต้น ดอกสีแดงเข้มนิยมนำมาใช้ย้อมผ้า เปลือกต้นมาทำแป้งทาหน้าให้ผิวขาวและไม่มีสิว

ทองหลางป่า

ทองหลางป่า (Indian Coral tree) เป็นไม้ยืนต้นที่มักจะพบในป่าดิบ มีดอกสีแดงเข้มอย่างสวยงามจึงนิยมนำมาใช้ย้อมผ้าได้ ในตำรายาพื้นบ้านล้านนา ชาวอาข่าและชาวเขาเผ่าเย้านำทองหลางป่ามาใช้เป็นยาสมุนไพร นอกจากนำมาทำเป็นยาแล้วชาวกะเหรี่ยงยังนำเนื้อไม้ด้านในเปลือกต้นมาทำแป้งทาหน้าให้ผิวขาวและไม่มีสิวได้อีกด้วย ถือเป็นต้นที่นิยมสำหรับชาวบ้านและชาวเผ่าทั่วไป

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของทองหลางป่า

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Erythrina subumbrans (Hassk.) Merr.
ชื่อสามัญ : มีชื่อสามัญว่า “Indian Coral tree” “December tree”
ชื่อท้องถิ่น : ภาคกลางเรียกว่า “ทองหลาง” ภาคเหนือเรียกว่า “ทองมีดขูด” จังหวัดแพร่เรียกว่า “ตองหลาง” จังหวัดน่านเรียกว่า “ทองบก” คนเมืองเรียกว่า “เก๊าตอง” ไทใหญ่เรียกว่า “ไม้ตองหนาม ไม้ตองน้ำ” เผ่าอาข่าเรียกว่า “ยาเซาะห่ะ”
ชื่อวงศ์ : วงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE)

ลักษณะของทองหลางป่าทอง

หลางป่า เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบในระยะสั้นที่มีเขตการกระจายพันธุ์จากอินเดียไปจนถึงอินโดนีเซีย มักจะพบตามป่าดิบบริเวณที่ชุ่มชื้นและตามริมห้วยในป่าดิบแล้ง
เปลือกลำต้น : เป็นสีขาวหม่น มีหนามแหลมสั้น ๆ ขึ้นกระจายทั่วลำต้นและกิ่ง
ใบ : เป็นใบประกอบแบบขนนกออกเรียงสลับกัน มีใบย่อย 3 ใบ ใบกลางมีขนาดใหญ่กว่าใบข้าง ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปหัวใจ รูปไข่แกมสามเหลี่ยมหรือรูปไข่แกมสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ปลายใบแหลม โคนใบตัดหรือมน ขอบใบเรียบ
ดอก : ออกดอกเป็นช่อกระจะบริเวณปลายกิ่ง มีขนสั้นปกคลุม ดอกย่อยมีจำนวนมาก กลีบดอกเป็นสีแดงเข้ม ดอกมีลักษณะเป็นรูปดอกถั่ว ดอกล่างจะบานก่อนดอกบน กลีบรองดอกเป็นหลอด มีกลีบดอก 5 กลีบ กลีบบนแผ่โค้งเป็นรูปเรือ ก้านเกสรเป็นสีแดง อับเรณูเป็นสีเหลือง ติดดอกในช่วงประมาณเดือนมกราคมถึงเดือนกุมภาพันธ์
ผล : ผลมีลักษณะเป็นฝักโค้งแบน เมื่อแก่ฝักจะแตกอ้าออกตามทางยาวจากส่วนปลาย
เมล็ด : โคนบนไม่มีเมล็ด โคนปลายมีเมล็ดแบ่งเป็นห้อง ๆ ประมาณ 1 – 5 เมล็ด มีลักษณะเป็นรูปวงรี

สรรพคุณของทองหลางป่า

  • สรรพคุณจากใบ
    – แก้อาการปวดศีรษะ ตำรายาพื้นบ้านล้านนาใช้ทองหลางป่าผสมกับหนามแน่แล้วนำมาตำผสมกับปูนแดงใช้สุมแก้อาการ
    – รักษาฝี ด้วยการนำใบมาตำแล้วพอก
    – แก้โรคบวมตามข้อ ด้วยการนำใบมาบดแล้วทา
    – รักษากระดูกหักและแก้อาการปวดกระดูก ชาวเขาเผ่าเย้าใช้ใบทองหลางป่ามาตำแล้วพอก
    – รักษาวัณโรค ชาวอาข่าใช้เป็นส่วนผสมในการรักษา
  • สรรพคุณจากเปลือก แก่น ใบ
    – เป็นยาแก้อหิวาตกโรค ด้วยการนำเปลือก แก่นและใบมาให้หมูหรือไก่ทาน

ประโยชน์ของทองหลางป่า

1. เป็นส่วนประกอบของอาหาร ใบอ่อนใช้รับประทานสดหรือใส่ในแกง ยอดอ่อนนำมาลวกรับประทานร่วมกับน้ำพริกหรือใส่ในแกง
2. ใช้ในอุตสาหกรรมผ้า ดอกซึ่งมีสีแดงนำมาใช้สำหรับย้อมผ้าได้
3. ใช้ในการก่อสร้าง เนื้อไม้เป็นสีขาวและค่อนข้างอ่อนสามารถนำมาทำของเล่นสำหรับเด็กหรือนำมาใช้ทำรั้วบ้านได้เพราะมีหนาม
4. ใช้ในด้านความงาม ชาวกะเหรี่ยงนำเนื้อไม้ด้านในเปลือกต้นมาทำแป้งทาหน้าให้ผิวขาวและไม่มีสิว

ทองหลางป่า เป็นไม้ต้นที่มักจะพบในป่าดิบและเป็นไม้ที่ชาวเผ่านำมาใช้ประโยชน์ในหลายด้าน ในด้านของสรรพคุณทางยานั้นมักจะนิยมนำใบมาใช้รักษาซึ่งเป็นส่วนที่มีสรรพคุณมากที่สุดของต้นทองหลาง ส่วนดอกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมย้อมผ้าได้ นอกจากนั้นเปลือกยังสามารถนำมาใช้ในการก่อสร้างและเปลือกต้นยังเป็นแป้งทาหน้าเพื่อรักษาสิวของชาวกะเหรี่ยงอีกด้วย ทองหลางมีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ รักษากระดูกหักและแก้อาการปวดกระดูก แก้โรคบวมตามข้อและแก้อาการปวดศีรษะได้

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา. (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “ทองหลางป่า”. หน้า 105.
โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง, สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน). “ทองหลางป่า ทองหลาง”. อ้างอิงใน : หนังสือชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : eherb.hrdi.or.th. [11 ธ.ค. 2014].
ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. “ทองหลางป่า”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.qsbg.org. [11 ธ.ค. 2014].
ระบบจัดการฐานความรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้ กรมป่าไม้. “ทองหลางป่า”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : biodiversity.forest.go.th. [11 ธ.ค. 2014].

น้ำใจใคร่ ยาชูกำลังยอดฮิต มีรสฝาด ช่วยแก้ไข้และแก้กามโรค

0
น้ำใจใคร่ ยาชูกำลังยอดฮิต มีรสฝาด ช่วยแก้ไข้และแก้กามโรค
น้ำใจใคร่ ยาชูกำลังยอดฮิต มีรสฝาด ช่วยแก้ไข้และแก้กามโรค
น้ำใจใคร่ ยาชูกำลังยอดฮิต มีรสฝาด ช่วยแก้ไข้และแก้กามโรค
สมุนไพรที่มีรสฝาด ช่วยแก้อาการพื้นฐาน ยอดอ่อนมีรสหวานมันปนฝาดเล็กน้อย

น้ำใจใคร่

น้ำใจใคร่ (Olax psittacorum) หรือที่เรียกกันว่า “กะทกรก” เป็นสมุนไพรที่มีรสฝาดแต่ช่วยแก้อาการพื้นฐานได้ดีเยี่ยม ส่วนมากมักจะนำยอดอ่อนมารับประทานและมีรสหวานมันปนฝาดเล็กน้อย น้ำใจใคร่เป็นต้นที่กำลังโด่งดังในเรื่องของยาบำรุงกำลังซึ่งกลายเป็นไวรัลสำหรับคนไทยอยู่เหมือนกัน นอกจากนั้นชาวบ้านยังใช้ผลของน้ำใจใคร่มาเป็นตัววัดปริมาณน้ำฝนได้ด้วย

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของน้ำใจใคร่

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Olax psittacorum (Lam.) Vahl
ชื่อท้องถิ่น : ภาคกลางเรียกว่า “กะทกรก กระทกรก” ภาคเหนือเรียกว่า “นางจุม นางชม” ภาคใต้บางแห่งเรียกว่า “ลูกไข่แลน” จังหวัดศรีสะเกษเรียกว่า “เคือขนตาช้าง” จังหวัดนครราชสีมาเรียกว่า “ควยเซียก” จังหวัดอุบลราชธานีเรียกว่า “อีทก เยี่ยวงัว” จังหวัดสุพรรรบุรีเรียกว่า “กระดอกอก” จังหวัดราชบุรีเรียกว่า “กระทอกม้า” จังหวัดราชบุรีและกาญจนบุรีเรียกว่า “น้ำใจใคร่” จังหวัดกาญจนบุรีเรียกว่า “กะหลันถอก” จังหวัดพิษณุโลกและอุตรดิตถ์เรียกว่า “หญ้าถลกบาตร” ชาวทุ่งสงที่นครศรีธรรมราชเรียกว่า “ส้อท่อ” จังหวัดประจวบคีรีขันธ์เรียกว่า “กระทอก ชักกระทอก” จังหวัดชุมพรเรียกว่า “ควยถอก” จังหวัดสงขลาเรียกว่า “กะเดาะ กระเดาะ” จังหวัดสุราษฎร์ธานีเรียกว่า “ผักรูด” จังหวัดพัทลุงและสงขลาเรียกว่า “เจาะเทาะ” จังหวัดสงขลาตอนในแถบหาดใหญ่หรือคลองหอยโข่งเรียกว่า “เสาะเทาะ” ชาวมลายูนราธิวาสเรียกว่า “กระเด๊าะ อาจิง” มีชื่ออื่น ๆ ว่า “อังนก สอกทอก จากกรด ผักเยี่ยวงัว”
ชื่อวงศ์ : วงศ์น้ำใจใคร่ (OLACACEAE)

ลักษณะของน้ำใจใคร่

น้ำใจใคร่ เป็นไม้เถาหรือไม้พุ่มรอเลื้อยที่มีเขตการกระจายพันธุ์ในอินเดีย ศรีลังกา พม่า จีน ภูมิภาคอินโดจีน ชวา คาบสมุทรมลายูและอินโดนีเซีย มักจะพบในป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง ป่าชายหาด ป่าละเมาะ ที่รกร้างและป่าดิบเขาทั่วไป ชอบขึ้นตามดินปลวก
เปลือกลำต้น : เป็นสีเขียวเข้มหรือสีขาวอมน้ำตาล เนื้อไม้เป็นสีขาวนวล เปลือกต้นแตกเป็นแนวยาวห่าง ๆ กัน กิ่งมักจะห้อยลง ตามกิ่งอ่อนมีขนละเอียดสีขาวขึ้นปกคลุม มักจะมีหนามแข็งเล็ก ๆ ทั่วไป ส่วนกิ่งแก่จะค่อนข้างเกลี้ยง
ใบ : เป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับกันเป็นรูปวงรี รูปขอบขนานแกมใบหอกหรือรูปไข่แกมขอบขนาน ปลายใบแหลม โคนใบมนเว้าเล็กน้อย ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบหนาคล้ายแผ่นหนัง หลังใบเป็นสีเขียวเข้ม ท้องใบมีสีอ่อนกว่า หลังใบและท้องใบมีขนนุ่ม ด้านบนเกลี้ยง ด้านล่างมีขนขึ้นประปราย
ดอก : ออกดอกเป็นช่อกระจุกโดยจะออกตามซอกใบ มี 1 – 3 ช่อ ต่อซอกใบ ดอกมีกลิ่นหอม มีขนสั้นหนาแน่น ดอกย่อยเป็นสีขาวขนาดเล็ก มีกลีบดอก 3 กลีบ ลักษณะของกลีบเป็นรูปแถบแกมรูปขอบขนาน โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดสั้น ๆ ปลายดอกแหลม แยกออกเป็นแฉก 5 – 6 แฉก กลีบเลี้ยงเป็นรูปถ้วยสีเขียวมี 5 กลีบ ปลายตัด ก้านชูดอกสั้น มักจะออกดอกในช่วงประมาณเดือนมีนาคมถึงเดือนมิถุนายน
ผล : ผลเป็นแบบผลผนังชั้นในแข็ง ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลมหรือรูปไข่ โคนผลมีกลีบเลี้ยงติดอยู่เกินครึ่งผล ปลายผลมีสีเข้มครอบเหมือนหมวกและมียอดเกสรเพศเมียติดคงทนและจะหลุดร่วงไปเมื่อผลแก่จัด ผิวผลเรียบและเป็นมัน ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอมส้ม
เมล็ด : ภายในผลมีเมล็ด 1 เมล็ด โดยเมล็ดมีลักษณะกลม

สรรพคุณของน้ำใจใคร่

  • สรรพคุณจากเปลือกต้น เป็นยาแก้ไข้
    – เป็นยาชูกำลังหรือบำรุงกำลัง ด้วยการนำเปลือกต้นมาต้มกับน้ำแล้วดื่ม
    – ทำให้แผลแห้ง ด้วยการนำเปลือกต้นมาต้มแล้วรมหรือทาแก้อาการ
  • สรรพคุณจากเนื้อไม้ รักษาบาดแผล
    – เป็นยาคุมธาตุ ถอนพิษยาเมาเบื่อ เป็นยาแก้กามโรค เป็นยาแก้อาการปวดเมื่อย ด้วยการนำเนื้อไม้มาต้มกับน้ำแล้วดื่ม
  • สรรพคุณจากใบ
    – เป็นยาเบื่อ เป็นยาขับพยาธิ ด้วยการนำใบมาตำให้ละเอียดแล้วคั้นเอาน้ำมาดื่ม
    – แก้อาการปวดศีรษะ ไข้หวัดคัดจมูก ด้วยการนำใบมาตำให้ละเอียดแล้วเอากากสุมศีรษะ
  • สรรพคุณจากราก
    – เป็นยาแก้ไข้ แก้เด็กตัวร้อน เป็นยาขับพยาธิ เป็นยาแก้กามโรค ด้วยการนำรากมาต้มกับน้ำแล้วดื่ม
  • สรรพคุณจากเนื้อผล เป็นยารักษาโรคตาแดง
  • สรรพคุณจากเมล็ด
    – เป็นยาทาท้องเด็ก แก้ท้องอืดเฟ้อ ช่วยทำให้ขับผายลม ด้วยการนำเมล็ดมาบดให้ละเอียดผสมกับน้ำสับปะรด ทำการรมควันให้อุ่นแล้วใช้เป็นยาทา
  • สรรพคุณจากลำต้น
    – เป็นยาแก้โรคไตพิการ ด้วยการนำลำต้นมาต้มกับน้ำแล้วดื่ม

ประโยชน์ของน้ำใจใคร่

1. เป็นส่วนประกอบของอาหาร นำยอดอ่อนและใบอ่อนมาเป็นผักแกงส้ม แกงเลียง ใช้เป็นผักแนมหรือจิ้มกับน้ำพริก ผลสุกก็ใช้รับประทานได้
2. เป็นตัววัดปริมาณน้ำฝน ชาวบ้านใช้ผลในการดูปริมาณน้ำฝนในแต่ละปี หากผลน้ำใจใคร่มีกลีบเลี้ยงหุ้มมากจนเกือบมิดผลก็เป็นตัวบ่งบอกว่าปีนั้นจะมีฝนจะตกมากและอุดมสมบูรณ์ แต่ถ้ากลีบเลี้ยงหุ้มผลสั้นหรือมีน้อยและผลโผล่ออกมามากบ่งบอกว่าปีนั้นฝนจะตกน้อย

น้ำใจใคร่ เป็นต้นที่มีชื่อเรียกหลากหลายมากตามแต่ท้องถิ่นในจังหวัด ค่อนข้างเป็นที่นิยมในเรื่องชูกำลังและสามารถนำส่วนต่าง ๆ ของต้นมาเป็นยาได้ เปลือกต้นมีรสฝาดร้อน เนื้อไม้มีรสฝาดเฝื่อน รากมีรสสุขุม ใบมีรสฝาดเมา เมล็ดมีรสฝาดร้อน มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ เป็นยาบำรุงกำลัง เป็นยาแก้ไข้ เป็นยาแก้กามโรคและแก้โรคไตพิการ

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). “น้ำใจใคร่ (Nam Chai Khrai)”. หน้า 156.
หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคเหนือ. (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ). “น้ำใจใคร่”. หน้า 126.
ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “น้ำใจใคร่”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.phargarden.com. [01 ธ.ค. 2014].
ข้อมูลพรรณไม้, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “น้ำใจใคร่”. อ้างอิงใน : หนังสืออนุกรมวิธานพืช อักษร ก. (ราชบัณฑิตยสถาน). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.rspg.or.th/plants_data/. [01 ธ.ค. 2014].
เดอะแดนดอทคอม. “น้ำใจใคร่”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.the-than.com. [01 ธ.ค. 2014].
หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “กะทกรก”. หน้า 49-50.
ภาพประกอบ : www.flickr.com (by thammavong viengsamone, Dinesh Valke), photobucket.com (by jayah9), www.pharmacy.mahidol.ac.th/siri/

มะเขือยาว สรรพคุณช่วยเพิ่มการทำงานของเลือดและระบบขับถ่าย

0
มะเขือยาว สรรพคุณช่วยเพิ่มการทำงานของเลือดและระบบขับถ่าย
มะเขือยาว สรรพคุณมากล้น เพิ่มพูนการทำงานของเลือดและระบบขับถ่าย
มะเขือยาว มักนำมาปรุงเป็นอาหารได้ทั้งลูกรวมถึงเมล็ด ผลกลมยาวสีเขียวอ่อน สีม่วงคล้ำหรือเป็นสีขาว

มะเขือยาว

มะเขือยาว (Eggplant) เป็นพืชที่ใช้ในการปรุงอาหารได้หลากหลายทั้งผลและเมล็ด เมื่อปรุงสุกจะมีรสหวานและเนื้อนุ่ม หลายคนอาจไม่ทราบว่ามะเขือยาวมีสรรพคุณมากมาย เป็นพืชที่ปลูกได้ง่ายและหาซื้อได้ทั่วไปในตลาด โดยทั่วไปมักมีสีเขียวหรือสีม่วง และเป็นหนึ่งในวัตถุดิบสำคัญในการประกอบอาหารเพื่อให้ได้วิตามินและแร่ธาตุที่มีประโยชน์แก่ร่างกาย

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของมะเขือยาว

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของมะเขือยาวชื่อวิทยาศาสตร์ : Solanum melongena L.
ชื่อสามัญ : ชื่อสามัญมี 2 ชื่อ คือ “Eggplant” และ “Potato tree”
ชื่อท้องถิ่น : ภาคเหนือเรียกว่า “มะเขือไข่ม้า มะแขว้ง มะแข้งคมหรือมะเขือป้าว” ภาคกลางเรียกว่า “มะเขือขาว มะเขือจานมะพร้าว มะเขือกระโปกแพะหรือมะเขือจาน” ชาวกะเหรี่ยงและจังหวัดแม่ฮ่องสอนเรียกว่า “สะกอวา ยั่งมูไล่” ประเทศจีนเรียกว่า “เกียจี้”
ชื่อวงศ์ : วงศ์มะเขือ (SOLANACEAE)

ลักษณะของมะเขือยาว

มะเขือยาว เป็นไม้ล้มลุกชนิดหนึ่ง พันธุ์แท้นั้นมีสีเขียวแต่ได้มีการพัฒนาสายพันธุ์ขึ้นจนเกิดเป็นสีม่วงและสีขาวตามมา
ใบ : ใบเดี่ยวขนาดใหญ่ ขอบใบหยัก มีขนปกคลุมและมีหนาม
ดอก : ออกดอกเดี่ยวหรือเป็นช่อ มีสีม่วงและมีกลีบ 5 กลีบเป็นรูปดาว
ผล : มีลักษณะกลมยาวสีเขียวอ่อน สีม่วงคล้ำหรือเป็นสีขาว ผิวเปลือกจะเรียบเกลี้ยงเป็นมัน ตรงขั้วผลก็จะมีกลีบเลี้ยงสีเขียวติดอยู่
เมล็ด : มีเมล็ดจำนวนมาก ขนาดเล็กกลมแบน

การนำไปใช้ประโยชน์ของมะเขือยาว

การนำไปใช้ประโยชน์ของมะเขือยาว1. เป็นส่วนประกอบของอาหาร นำมะเขือยาวมารับประทานเป็นผักหรือนำมาทอด ต้ม และเป็นส่วนประกอบของอาหารอย่างมะเขือยาวผัดใส่ไข่ แกงกะทิ ชุบแป้งทอดรับประทานพร้อมน้ำพริก เป็นต้น
2. ส่วนประกอบผลิตภัณฑ์ความงาม นำมาเป็นส่วนประกอบของแผ่นมาสก์หน้ามะเขือยาว
3. เป็นเม็ดยาแก้ปวด ผลแห้งนำมาทำเป็นเม็ดยากินแก้อาการปวดได้

สรรพคุณของมะเขือยาว

  • สรรพคุณด้านเสริมภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย ต่อต้านอนุมูลอิสระ
  • สรรพคุณด้านเลือดในร่างกาย รักษาหลอดเลือดโลหิตและหัวใจให้เป็นปกติ ป้องกันความดันโลหิตสูง ลดระดับน้ำตาลในเลือด
    – แก้อาการตกเลือดในลำไส้ ด้วยการใช้ใบแห้งนำมาตำให้เป็นผงประมาณ 6 – 10 กรัม แล้วรับประทาน หรือจะใช้ผลแห้งนำมาทำเป็นเม็ดยากินแก้อาการก็ได้ หรือจะใช้ขั้วผลแห้งประมาณ 60 กรัม นำมาต้มหรือนำไปเผาให้เป็นเถ้า บดให้ละเอียดแล้วนำมากิน
  • สรรพคุณด้านประสาทสัมผัสทั้ง 5 แคลเซียมจากมะเขือยาวช่วยบำรุงฟัน รักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน
    – รักษาอาการปวดฟัน ฟันผุ ด้วยการใช้ดอกแห้งหรือสดนำมาเผาให้เป็นเถ้าแล้วบดให้ละเอียด นำมาทาบริเวณที่ปวดหรือจะใช้ขั้วผลสดนำมาตำให้ละเอียดแล้วนำมาพอกหรือทาบริเวณที่มีอาการ
    – รักษาแผลในช่องปาก ด้วยการใช้ขั้วผลสดนำมาตำให้ละเอียดแล้วนำมาพอกหรือทาบริเวณที่เป็นแผล
  • สรรพคุณด้านบำรุงอวัยวะ บำรุงกระดูก บำรุงระบบประสาทและสมองเพื่อพัฒนาด้านความจำ
  • สรรพคุณช่วยบรรเทาอาการ บรรเทาอาการปวด ช่วยถอนพิษจากเห็ดพิษบางชนิด
    – ขับเสมหะ ด้วยการใช้ผลแห้งนำมาทำเป็นเม็ดยา
    – รักษาอาการแผลมีหนอง ด้วยการใช้ดอกแห้งหรือสดนำมาเผาให้เป็นเถ้าแล้วบดให้ละเอียด นำมาทาบริเวณที่ปวดหรือจะใช้ผลสดนำมาตำให้ละเอียดแล้วพอกบริเวณที่เป็นแผล หรือจะใช้ขั้วผลสดนำมาตำให้ละเอียดแล้วนำมาพอกหรือทาบริเวณที่มีแผล
    -รักษาอาการแผลเท้าเปื่อยอักเสบ ด้วยการใช้ลำต้นและรากสดนำมาตำจนละเอียด คั้นเอาน้ำแล้วนำมาทาบริเวณที่เป็นแผล
    – รักษาแผลที่เกิดจากพยาธิปากขอเจาะไชเท้า ด้วยการใช้ใบต้มกับน้ำล้างบริเวณที่เป็นแผล
    – รักษาอาการผิวหนังเป็นปื้นขาวหรือแดง ด้วยการใช้ขั้วผลที่แห้งแล้วนำมาคลุกผสมกับกำมะถัน จากนั้นก็บดให้ละเอียดแล้วนำมาทาบริเวณที่เป็นปื้น
    – รักษาฝี ด้วยการใช้ขั้วผลสดนำมาตำให้ละเอียด นำมาพอกหรือทาบริเวณที่เป็นฝี หรือถ้าเป็นฝีหลายหัวบริเวณหลังแต่หนองยังไม่แตกให้นำใบสดมาตำจนละเอียดแล้วผสมกับน้ำส้มสายชูสีดำแล้วนำมาต้มแล้วพอกบริเวณที่เป็นฝี
    – ช่วยล้างแผลหรือนำมาพอกบริเวณที่เป็นแผลบวม เป็นหนองหรือแผลที่เกิดจากการถูกความเย็น ด้วยการใช้ใบมาต้มเอาน้ำแล้วนำมาล้างแผลหรือพอกบริเวณที่เป็นหนอง
    – รักษาอาการเจ็บหัวนมหรือหัวนมแตกของผู้หญิง ให้ใช้ผลแก่จัดนำมาตากในร่มจนแห้งแล้วนำไปเผาจนเป็นเถ้าแล้วบดให้ละเอียดผสมกับน้ำแล้วใช้ทาบริเวณที่เจ็บ
  • สรรพคุณด้านระบบขับถ่าย ช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานได้อย่างเป็นปกติ ยับยั้งการดูดซึมของคอเลสเตอรอลผ่านหนังลำไส้
    – รักษาโรคบิดเรื้อรังและอุจจาระเป็นเลือด ด้วยการใช้ลำต้นและรากแห้งประมาณ 10 กรัม มาต้ม แล้วนำน้ำมาดื่มหรือใช้ใบแห้งนำมาตำให้เป็นผงประมาณ 6 – 10 กรัม แล้วรับประทาน หรือจะใช้ผลแห้งนำมาทำเป็นเม็ดยากินแก้อาการอุจจาระเป็นเลือด หรือจะใช้ขั้วผลแห้งประมาณ 60 กรัม นำมาต้มหรือนำไปเผาให้เป็นเถ้า บดให้ละเอียดแล้วนำมารับประทาน
    – แก้ปัสสาวะขัด ด้วยการใช้ใบแห้งนำมาตำให้เป็นผงประมาณ 6 – 10 กรัม แล้วรับประทาน
  • สรรพคุณด้านป้องกันโรค ต้านโรคมะเร็ง
    – รักษาโรคหนองใน ด้วยการใช้ใบแห้งนำมาตำให้เป็นผงประมาณ 6 – 10 กรัม แล้วรับประทาน
    – รักษาโรคผิวหนังเรื้อรัง ผดผื่นคันตามผิว ด้วยการใช้ผลสดนำมาตำให้ละเอียดแล้วพอกบริเวณที่มีอาการ

มะเขือยาวคุณค่าทางโภชนาการ

คุณค่าทางโภชนาการของมะเขือยาว 100 กรัม ให้พลังงาน 25 กิโลแคลอรี

สารอาหาร ปริมาณสารอาหารที่ได้รับ
ไขมัน 0.3 กรัม
คาร์โบไฮเดรต 4.9 กรัม 
โปรตีน 0.9 กรัม
เส้นใย 0.9 กรัม
แคลเซียม 19 มิลลิกรัม
ฟอสฟอรัส 44 มิลลิกรัม
เหล็ก 2.6 มิลลิกรัม
วิตามินเอ 354 IU
วิตามินบี1 0.09 มิลลิกรัม
วิตามินบี2 9.06 มิลลิกรัม
วิตามินซี 3 มิลลิกรัม

มะเขือยาวมีสารอาหารที่สำคัญคือ สารไกลโคอัลคาลอยด์ (Glycoalkaloid) สารต้านอนุมูลอิสระอย่างเทอร์ปิน (terpene) และสารนาซูนิน (Nasunin) ที่อยู่ในผิวของมะเขือซึ่งมีคุณสมบัติต้านการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง

ข้อควรระวัง

1. ไม่ควรรับประทานมะเขือยาวในรูปแบบของทอดมากจนเกินไปเพราะมะเขือยาวมีความสามารถในการดูดซับน้ำมันได้ดี
2. ผู้ป่วยโรคระบบทางเดินอาหารแบบเฉียบพลันไม่ควรรับประทานมะเขือยาว
3. เด็กทารกที่อายุต่ำกว่า 3 ปี ไม่ควรรับประทานมะเขือยาวเพราะกากใยอาหารสูงอาจทำให้มีปัญหาการย่อยอาหาร
4. ผู้ป่วยโรคตับอ่อนอักเสบควรหลีกเลี่ยงการรับประทานมะเขือยาว

มะเขือยาว มีสรรพคุณมากมายกว่าที่คิดและมีหลากหลายสีทั้งสีเขียว สีม่วงและสีขาว มักจะใช้ในการประกอบอาหาร สรรพคุณที่โดดเด่นของมะเขือยาวเลยก็คือบำรุงหัวใจ รักษาอาการหัวนมแตกของผู้หญิง รักษาอุจจาระเป็นเลือด รักษาแผลและต้านมะเร็ง เป็นพืชที่ดีต่อระบบเลือดและระบบขับถ่ายเป็นอย่างมาก และยังบรรเทาอาการปวดบวม แผลอักเสบ โรคผิวหนัง ถือเป็นหนึ่งในพืชผลที่ไม่คาดคิดว่าจะให้ประโยชน์แก่ร่างกายมากมายขนาดนี้

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

บอนแบ้ว รากและหัวเป็นยา กาบทานเป็นผักดองได้

0
บอนแบ้ว รากและหัวเป็นยา กาบทานเป็นผักดองได้
บอนแบ้ว มีดอกหรือกาบสีม่วงอมน้ำตาลและมีกลิ่นเหม็น ก้านใบแกงส้มได้
บอนแบ้ว รากและหัวเป็นยา กาบทานเป็นผักดองได้
บอนแบ้ว มีดอกหรือกาบสีม่วงอมน้ำตาลและมีกลิ่นเหม็น ก้านใบแกงส้มได้

บอนแบ้ว

บอนแบ้ว (Dwarf Voodoo Lily) เป็นชื่อเรียกของทางภาคเหนือ โดยนิยมเรียกอีกชื่อว่า “อุตตพิษ” เป็นต้นที่มีดอกหรือกาบสีม่วงอมน้ำตาลและมีกลิ่นเหม็น สามารถนำก้านใบมาปรุงในเมนูแกงส้มได้ ส่วนของกาบสามารถนำมารับประทานในรูปแบบของผักได้ เป็นต้นชนิดหนึ่งที่มีส่วนหัวอยู่ใต้ดินและมีสรรพคุณทางยาสมุนไพรได้จากส่วนของรากและหัวใต้ดินของบอนแบ้ว

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของบอนแบ้ว

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Typhonium roxburghii Schott
ชื่อสามัญ : มีชื่อสามัญว่า “Dwarf Voodoo Lily”
ชื่อท้องถิ่น : ภาคเหนือเรียกว่า “บอนแบ้ว” จังหวัดพังงาเรียกว่า “ตะพิดป่า” ชาวเงี้ยวแม่ฮ่องสอนเรียกว่า “บอนดอย” คนไทยเรียกว่า “อุตตพิษ”
ชื่อวงศ์ : วงศ์บอน (ARACEAE)

ลักษณะของบอนแบ้ว

บอนแบ้ว เป็นพรรณไม้ล้มลุกขนาดเล็กที่พบในประเทศอินเดีย ศรีลังกา บังกลาเทศ พม่า จีนตอนใต้ ญี่ปุ่น ไต้หวันและภูมิภาคมาเลเซียไปจนถึงฟิลิปปินส์และนิวกินี
หัว : มีหัวอยู่ใต้ดินลักษณะทรงกลม
ใบ : ใบอ่อนมีลักษณะเป็นรูปไข่แกมรูปหัวหรือเป็นรูปสามเหลี่ยม ปลายใบแหลม โคนใบเป็นรูปหัวใจ ใบแก่จะเป็นหยักแบ่งออกเป็น 3 แฉก
ดอก : ออกดอกเป็นช่อแบบช่อเชิงลดมีกาบ มักจะออกหลังจากผลิใบ มีกลิ่นเหม็น กาบมีลักษณะเป็นรูปไข่หรือแกมรูปขอบขนาน เป็นสีม่วงอมน้ำตาลและแดงด้านใน ด้านนอกมีสีน้ำตาลอมเขียว โคนบิดม้วนโอบรอบช่อเป็นรูปไข่ ปลายกาบคอดเรียวยาวและบิดเวียนเล็กน้อย ช่อดอกเพศเมียจะอยู่ด้านล่าง มีรังไข่ 1 ช่อง ในช่องมีออวุล 1 เม็ด รังไข่เป็นรูปไข่สีขาวครีม ยอดเกสรเพศเมียเป็นสีม่วง ส่วนที่อยู่ถัดไปคือช่วงที่เป็นหมัน ด้านล่างมีเกสรเพศผู้ที่เป็นหมันหนาแน่น ลักษณะโค้งลงเป็นสีครีมหรือสีเหลืองอ่อน ช่วงบนเปลือกเกลี้ยงเป็นรูปทรงกระบอก มีเกสรเพศผู้ประมาณ 2 – 3 อัน เป็นสีเหลืองครีม อับเรณูไร้ก้านชู ช่องเปิดที่ปลาย ช่วงช่อดอกปลายสุดเป็นรยางค์รูปกรวยเรียวแหลมยาว มีสีม่วงอมสีน้ำตาลเข้ม ช่วงผลมีโคนกาบหุ้ม ในผลแก่กาบจะอ้าออก
ผล : เป็นผลสดและเนื้อนุ่ม ลักษณะของผลเป็นรูปขอบขนาน รูปวงรีหรือรูปไข่ เมื่อแก่จะเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีขาว
เมล็ด : ภายในผลมีเมล็ดเดี่ยว

สรรพคุณของบอนแบ้ว

  • สรรพคุณจากราก รักษาโรคริดสีดวงทวาร
    – รักษาอาการปวดท้อง ด้วยการนำรากมากินกับกล้วยเป็นยา
    – รักษาพิษงูกัด ด้วยการนำรากมาทาและกิน
  • สรรพคุณจากหัว กัดฝ้าหนองและกัดเถาดานในท้อง
    – เป็นยาสมานแผล ด้วยการนำหัวใช้หุงเป็นน้ำมันเพื่อใส่แผล

ประโยชน์ของบอนแบ้ว

เป็นส่วนประกอบของอาหาร ก้านใบนำมาลอกเอาเปลือกออกเพื่อใส่ในแกงส้ม กาบนำมาหั่นละเอียดใช้ดองกินเป็นผักได้

บอนแบ้ว เป็นต้นที่มีลักษณะเด่นอยู่ที่ดอกหรือกาบเป็นสีม่วงอมน้ำตาลและมีกลิ่นเหม็น และยังมีหัวใต้ดินที่สามารถนำมาใช้เป็นยาสมุนไพรได้ นิยมนำก้านใบมาเป็นส่วนประกอบในแกงส้มและนำกาบมารับประทานในรูปแบบของผักดอง บอนแบ้วมีสรรพคุณทางยาได้จากส่วนของรากและหัว มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ รักษาโรคริดสีดวงทวาร รักษาพิษงูกัดและรักษาอาการปวดท้องได้

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “บอนแบ้ว”. หน้า 412-413.
สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช, กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. “บอนแบ้ว”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.dnp.go.th/botany/. [30 พ.ย. 2014].

ปืนนกไส้ รากช่วยแก้หวัด ใบรักษาบาดแผล ทั้งต้นแก้ท้องร่วงและอาการจุกเสียด

0
ปืนนกไส้ รากช่วยแก้หวัด ใบรักษาบาดแผล ทั้งต้นแก้ท้องร่วงและอาการจุกเสียด
ปืนนกไส้ ดอกสีครีมและสีเหลืองตรงกลาง ลำต้นตั้งตรง กิ่งอ่อนเป็นเหลี่ยม มีใบย่อย 3 ใบ เรียงสลับกัน
ปืนนกไส้ รากช่วยแก้หวัด ใบรักษาบาดแผล ทั้งต้นแก้ท้องร่วงและอาการจุกเสียด
ปืนนกไส้ ดอกสีครีมและสีเหลืองตรงกลาง ลำต้นตั้งตรง กิ่งอ่อนเป็นเหลี่ยม มีใบย่อย 3 ใบ เรียงสลับกัน

ปืนนกไส้

ปืนนกไส้ (Spanish needle) เป็นชื่อที่ค่อนข้างแปลกประหลาดไม่เหมือนใคร อยู่ในวงศ์ทานตะวันที่มีดอกสีครีมและสีเหลืองตรงกลางอย่างสวยงาม สามารถนำมารับประทานในรูปแบบผักหรือนำมาเป็นส่วนประกอบในอาหารได้ นอกจากนั้นยังนำทั้งต้นมาปรุงเป็นยาสมุนไพรแก้อาการได้ มักจะไม่ค่อยมีชื่อเสียงในเรื่องใดแต่ปืนนกไส้ก็เป็นพืชชนิดหนึ่งที่มีประโยชน์เช่นกัน

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของปืนนกไส้

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bidens pilosa L.
ชื่อสามัญ : มีชื่อสามัญว่า “Spanish needle” “Beggar’s tick” “Beggar – ticks” “Black – jack” “Broom stick” “Broom stuff” “Cobbler’s pegs” “Devil’s needles” “Hairy beggar – ticks” “Hairy bidens” “Farmers friend”
ชื่อท้องถิ่น : จังหวัดสระบุรีเรียกว่า “กี่นกไส้ หญ้าก้นจ้ำขาว” ชาวปะหล่องเรียกว่า “ด่อกะหล่อง” ชาวลัวะเรียกว่า “บานดี่”
ชื่อวงศ์ : วงศ์ทานตะวัน (ASTERACEAE หรือ COMPOSITAE)
ชื่อพ้อง : Bidens pilosa var. minor (Blume) Sherff

ลักษณะของปืนนกไส้

ปืนนกไส้ เป็นพรรณไม้ล้มลุกชนิดหนึ่ง
ลำต้น : ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง สามารถแตกกิ่งก้านได้มาก กิ่งอ่อนเป็นเหลี่ยม
ใบ : เป็นใบประกอบแบบขนนกออกเรียงสลับกัน มีใบย่อย 3 ใบ ลักษณะของใบเป็นรูปไข่แกมรูปขอบขนาน ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ขอบใบจักเป็นซี่ฟัน ใบกลางมีขนาดใหญ่กว่าใบข้าง บางครั้งใบอาจเชื่อมติดกันจนดูเหมือนเป็นใบเดียวกัน
ดอก : ออกดอกเป็นช่อกระจุกตามซอกใบและปลายกิ่ง ดอกช่อมีประมาณ 1 – 3 ดอก ดอกเป็นสีเหลืองหรือสีครีม กลีบดอกประกอบด้วยกลีบดอกวงนอกสีขาวครีม ดอกเป็นหมันและดอกวงในเป็นดอกแบบสมบูรณ์เพศสีเหลือง โคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกออกเป็นแฉก 5 แฉก กลีบเลี้ยงเป็นสีเขียว มีริ้วประดับลักษณะเป็นรูปช้อน มีเกสรเพศผู้สีน้ำตาลปลายสีเหลืองโผล่พ้นระดับกลีบดอกวงนอก มีก้านดอกยาว
ผล : เป็นผลแห้งและไม่แตก ลักษณะของผลเป็นรูปขอบขนานและแบน เป็นสัน 3 – 4 สัน ผลอ่อนเป็นสีเขียว ผลแห้งเป็นสีดำหรือสีน้ำตาลเข้ม ปลายแยกเป็นแฉกหนามสีเหลือง 2 อัน

สรรพคุณของปืนนกไส้

  • สรรพคุณจากราก
    – แก้หวัด ด้วยการนำรากมาต้มกับน้ำแล้วดื่มเป็นยา
  • สรรพคุณจากทั้งต้น
    แก้ไอมีน้ำมูกข้น ด้วยการนำทั้งต้นมาผสมกับรากสาบเสือ รากมะเหลี่ยมหิน ก้นจ้ำทั้งต้นและผักปลาบใบแคบทั้งต้น จากนั้นนำมาต้มกับน้ำแล้วดื่มเป็นยา
    – แก้ท้องร่วงและจุกเสียด ด้วยการนำทั้งต้นมาต้มกับน้ำแล้วดื่มเป็นยา
  • สรรพคุณจากใบ เป็นยาห้ามเลือด รักษาบาดแผล รักษาแผลบวมและแผลเน่า แก้ปวดฟัน

ประโยชน์ของปืนนกไส้

เป็นส่วนประกอบของอาหาร ยอดอ่อนนำมาต้มทานเป็นผักจิ้มกับน้ำพริกหรือนำไปแกงได้

ปืนนกไส้ เป็นไม้ล้มลุกที่มีชื่อเรียกอย่างอื่นอยู่ในจังหวัดสระบุรี มีลักษณะเด่นอยู่ที่ดอกสีขาวครีมและมีเกสรตรงกลางเป็นสีเหลืองคล้ายกับดอกทานตะวัน เพียงแต่ว่าปืนนกไส้จะมีกลีบดอกเป็นสีขาวครีม สามารถนำยอดอ่อนของต้นมารับประทานเป็นผักได้ ปืนนกไส้มีสรรพคุณทางยาได้หลายส่วนจากต้นโดยเฉพาะส่วนของทั้งต้นและใบ มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ แก้หวัด แก้ไอมีน้ำมูกข้น รักษาบาดแผลและแก้ท้องร่วงหรืออาการจุกเสียดได้ เป็นต้นที่สามารถแก้อาการพื้นฐานที่คนทั่วไปมักจะเป็นกันมาก

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคเหนือ. (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ). “ปืนนกไส้”. หน้า 135.
หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา. (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “ปืนนกไส้”. หน้า 47.
โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง, สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน). “ปืนนกไส้”. อ้างอิงใน : หนังสือชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : eherb.hrdi.or.th. [25 พ.ย. 2014].
สวนสวรส. “ปืนนกไส้” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.suansavarose.com. [25 พ.ย. 2014].