Home Blog Page 78

กินกุ้งน้อย วัชพืชมากสรรพคุณ ช่วยแก้บิด แก้ไข้ ป้องกันหมัน รักษาทอนซิลอักเสบ

0
กินกุ้งน้อย วัชพืชมากสรรพคุณ ช่วยแก้บิด แก้ไข้ ป้องกันหมัน รักษาทอนซิลอักเสบ
กินกุ้งน้อย เป็นวัชพืช มีดอกสีม่วงหรือสีฟ้าอ่อน หน้าใบเป็นสีเขียวเข้ม หลังใบเป็นสีม่วง กาบใบมีขนขึ้นปกคลุม
กินกุ้งน้อย วัชพืชมากสรรพคุณ ช่วยแก้บิด แก้ไข้ ป้องกันหมัน รักษาทอนซิลอักเสบ
กินกุ้งน้อย เป็นวัชพืช มีดอกสีม่วงหรือสีฟ้าอ่อน หน้าใบเป็นสีเขียวเข้ม หลังใบเป็นสีม่วง กาบใบมีขนขึ้นปกคลุม

กินกุ้งน้อย

กินกุ้งน้อย (Common spiderwort) หรือเรียกกันทั่วไปว่า ผักปลาบ เป็นวัชพืชที่มักจะขึ้นในที่ชุ่มชื้น มีดอกสีม่วงหรือสีฟ้าอ่อนเล็ก ๆ ขึ้นในปลายฤดูฝน ทั้งต้นของกินกุ้งน้อยมีรสจืดและชุ่ม เป็นยาเย็นที่ช่วยปรับอุณหภูมิความร้อนในร่างกาย ถือเป็นยาสมุนไพรที่ใช้ในประเทศไต้หวัน อินโดจีน นิวกินีและมาเลเซีย สามารถนำส่วนต่าง ๆ ของต้นมาใช้ประโยชน์ได้แต่กินกุ้งน้อยกลับเป็นต้นที่มีโทษต่อพืช

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของกินกุ้งน้อย

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Murdannia nudiflora (L.) Brenan (ชนิดใบเล็ก), Murdannia malabaricum (L.) Santapan, Murdannia macrocarpa D.Y.Hong (ชนิดใบใหญ่)
ชื่อสามัญ : มีชื่อสามัญว่า “Common spiderwort”
ชื่อท้องถิ่น : จังหวัดเชียงใหม่เรียกว่า “กินกุ้งน้อย” จังหวัดนครสวรรค์เรียกว่า “ผักปลาบ” จังหวัดสุราษฎร์ธานีเรียกว่า “หญ้าเลินแดง” จีนกลางเรียกว่า “หงเหมาเฉ่า สุ่ยจู่เฉ่า” คนทั่วไปเรียกว่า “ผักปลาบ”
ชื่อวงศ์ : วงศ์ผักปลาบ (COMMELINACEAE)

ลักษณะของกินกุ้งน้อย

กินกุ้งน้อย เป็นพรรณไม้ล้มลุกอายุปีเดียวที่มีเขตการกระจายพันธุ์กว้างขวางในเขตร้อนชื้นหรือกึ่งร้อนชื้นของโลก มักจะพบบริเวณพื้นที่ชื้นทั่วไป ริมคูคลอง ในพื้นที่นา สนามหญ้าที่ค่อนข้างชื้นแฉะและในดินทรายที่เป็นดินเค็ม
ลำต้น : ลำต้นกึ่งตั้งกึ่งเลื้อยและแตกออกเป็นกอเล็ก ๆ ลำต้นมีเนื้ออ่อนและมีขนาดเล็กเรียวทอดนอน บริเวณลำต้นจะแตกรากฝอยตามข้อและมีขนขึ้นทั่วไป
ใบ : เป็นใบเดี่ยวออกเรียงเป็นคู่ ลักษณะของใบเป็นรูปขอบขนานหรือรูปหอกแคบ ปลายใบเรียวแหลม ผิวใบค่อนข้างเกลี้ยง หน้าใบเป็นสีเขียวเข้ม หลังใบเป็นสีม่วง กาบใบมีขนขึ้นปกคลุม
ดอก : ออกดอกเป็นกระจุกตามปลายยอดและซอกใบ ช่อดอกแตกแขนงเป็นช่อย่อย 2 – 3 ช่อ ในแต่ละช่อจะมีดอกย่อยประมาณ 1 – 3 ดอก ดอกเป็นสีม่วงหรือสีฟ้าอ่อน มีกลีบเลี้ยง 3 กลีบ เป็นสีม่วง ปลายกลีบเลี้ยงเป็นสีแดงเข้ม มีกลีบดอก 3 กลีบ เป็นสีม่วงสดและมีขนาดเล็ก ตรงกลางดอกจะมีเกสรเพศผู้ 6 อัน โดยมี 4 อันที่เป็นหมันนั้นจะมีสีเหลืองสด และอีก 2 อันไม่เป็นหมันจะมีสีม่วง ก้านชูอับเรณูมีปุยขนยาวสีม่วง รังไข่มี 3 ช่อง ปลายก้านเกสรเพศเมียเป็นกระเปาะ 2 พู มักจะออกดอกในช่วงปลายฤดูฝน
ผล : ผลมีลักษณะเป็นรูปวงรีคล้ายไข่หรือค่อนข้างกลม ผลเป็นสีเขียวอ่อน ปลายผลเป็นติ่งแหลม ผลแก่จะแห้งและแตกออกเป็น 3 พู ผลจะเริ่มแก่ตั้งแต่เดือนตุลาคมเป็นต้นไป
เมล็ด : ภายในผลมีเมล็ด 2 เมล็ด เมล็ดมีสีน้ำตาลเข้ม ผิวเมล็ดย่นหรือขรุขระเป็นร่องและเป็นหลุม

สรรพคุณของกินกุ้งน้อย

  • สรรพคุณจากทั้งต้น ดีต่อปอดและลำไส้ เป็นยาขับพิษ ดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ ขับพิษร้อนในปอด แก้ไอเป็นเลือด รักษาลำไส้อักเสบเฉียบพลัน
    – แก้โรคบิดและป้องกันการเป็นหมัน ชาวนิวกินีนำน้ำคั้นจากทั้งต้นมาดื่ม
  • สรรพคุณจากลำต้น ชาวไต้หวันใช้เป็นยาแก้ไข้และลดไข้ เป็นยาลดอาการปวดบวม
    – แก้เจ็บคอ คออักเสบหรือทอนซิลอักเสบ ด้วยการนำต้นสดครั้งละ 20 – 40 กรัม มาคั้นเอาน้ำหรือต้มเพื่อดื่ม
    – แก้โรคบิดและป้องกันการเป็นหมัน ชาวนิวกินีนำน้ำคั้นจากลำต้นมาดื่ม
    – ล้างบาดแผลและใช้ล้างแผลที่เรื้อรัง ด้วยการนำลำต้นมาตำให้ละเอียดแล้วคั้นเอาแต่น้ำมาล้างแผล
    – รักษาโรคเรื้อน ด้วยการนำลำต้นมาต้มในน้ำมัน
  • สรรพคุณจากราก ชาวอินโดจีนใช้เป็นยาแก้ไข้ในเด็กและแก้บิดหรือแก้ปัสสาวะกะปริบกะปรอย
  • สรรพคุณจากใบสด
    – รักษาฝีที่เต้านม รักษาแผลแมลงสัตว์กัดต่อย ด้วยการนำใบสดมาตำแล้วพอกบริเวณที่มีอาการ
    – พอกแผลและพอกบาดแผลเพื่อแก้ปวด ชาวมาเลเซียนำใบสดมาตำเอากากแล้วพอก
    – รักษาจุดด่างที่เกิดจากเชื้อรา ด้วยการนำใบมาย่างไฟให้ร้อนแล้วถู

ประโยชน์ของกินกุ้งน้อย

1. เป็นส่วนประกอบของอาหาร ยอดใช้รับประทานเป็นผักได้
2. ใช้ในการเกษตร เป็นแหล่งอาหารของโคกระบือ

โทษของกินกุ้งน้อย

เป็นที่อยู่อาศัยของศัตรูพืชปลูกหลายชนิด เช่น ไส้เดือนฝอยชนิด Meloidogyne sp., Pratylenchus pratensis (de Man) Filip., เชื้อราชนิด Pythium arrhenomanes Drechs. และเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคใบด่างในพืชพวกแตงและขึ้นฉ่าย

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของกินกุ้งน้อย

ทั้งต้นของกินกุ้งน้อยพบสารอัลคาลอยด์และ Coumarins อยู่ภายในต้น

กินกุ้งน้อย เป็นวัชพืชที่มีประโยชน์และโทษต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งถือเป็นอาหารของสัตว์แทะเล็มแต่ก็เป็นที่อยู่ของพวกศัตรูพืชทั้งหลาย เป็นต้นที่มักจะพบในที่ชุ่มชื้นหรือปลายฤดูฝน เป็นต้นเล็ก ๆ ที่มีดอกสีม่วงหรือสีฟ้าอ่อนขึ้นอย่างสวยงาม มักจะนำยอดมารับประทานในรูปแบบของผัก กินกุ้งน้อยเป็นต้นที่มีสรรพคุณทางยาได้หลายส่วนโดยเฉพาะส่วนของลำต้น มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ แก้โรคบิดและป้องกันการเป็นหมัน แก้ไข้ รักษาแผล รักษาลำไส้อักเสบเฉียบพลัน รักษาคออักเสบหรือทอนซิลอักเสบ ถือเป็นพืชที่เหมาะสำหรับบุคคลที่อยากมีลูกซึ่งจะช่วยป้องกันโรคหมันได้

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. (วิทยา บุญวรพัฒน์). “กินกุ้งน้อย”. หน้า 86.
หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “กินกุ้งน้อย”. หน้า 64-65.
สำนักพัฒนาอาหารสัตว์ กรมปศุสัตว์. “กินกุ้งน้อย”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : nutrition.dld.go.th. [15 มิ.ย. 2015].
ข้อมูลพรรณไม้, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “กินกุ้งน้อย”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.rspg.or.th/plants_data/. [15 มิ.ย. 2015].

เกล็ดหอย หรือหญ้าเกล็ดหอย ช่วยแก้ไข้ แก้ม้ามโต แก้แผลฟกช้ำ

0
เกล็ดหอย หรือหญ้าเกล็ดหอย ช่วยแก้ไข้ แก้ม้ามโต แก้แผลฟกช้ำ
เกล็ดหอย หรือหญ้าเกล็ดหอย เป็นวัชพืช ค่อนข้างหายาก ดอกเล็กน่ารัก ใบค่อนข้างกลม ก้านใบสั้น
เกล็ดหอย หรือหญ้าเกล็ดหอย ช่วยแก้ไข้ แก้ม้ามโต แก้แผลฟกช้ำ
เกล็ดหอย หรือหญ้าเกล็ดหอย เป็นวัชพืช ค่อนข้างหายาก ดอกเล็กน่ารัก ใบค่อนข้างกลม ก้านใบสั้น

เกล็ดหอย

เกล็ดหอย (Drymaria cordata) หรือ หญ้าเกล็ดหอย เป็นวัชพืชที่พบตามไร่ชา ไร่กาแฟ สวนผลไม้หรือพื้นที่ชุ่มชื้น ถือเป็นพืชที่ค่อนข้างหายาก มีดอกเล็กน่ารักและมีสรรพคุณเป็นยาสมุนไพรแก้อาการได้อีกด้วย ทั้งนี้เป็นวัชพืชที่ไม่ค่อยมีใครรู้จักและยังมีข้อมูลความรู้ในประเทศไทยค่อนข้างน้อย

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของเกล็ดหอย

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Drymaria cordata (L.) Willd. ex Schult.
ชื่อท้องถิ่น : คนไทยเรียกว่า “เกล็ดหอย” ชาวลัวะเรียกว่า “ผักตั้ง”
ชื่อวงศ์ : วงศ์ CARYOPHYLLACEAE

ลักษณะของเกล็ดหอย

เกล็ดหอย เป็นวัชพืชล้มลุกที่มีการกระจายพันธุ์ในเขตร้อนชื้นทั่วไป ในประเทศไทยมักจะพบทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทางภาคใต้แต่พบตามธรรมชาติค่อนข้างยาก มักจะขึ้นสภาพชุ่มชื้นในไร่ชา กาแฟและสวนผลไม้
ลำต้น : ลำต้นมีลักษณะเรียวยาวทอดเลื้อยแผ่ไปตามพื้นดิน มีการแตกแขนงมาก บริเวณที่สัมผัสดินหรือข้อต่อจะมีการออกราก
ใบ : เป็นใบเดี่ยวออกเรียงตรงข้ามกันเป็นรูปไข่ รูปค่อนข้างกลมหรือรูปไต โคนใบเรียวแหลมเป็นรูปสามเหลี่ยม ก้านใบสั้น
ดอก : ออกดอกเป็นช่อกระจุกแน่นแบบซี่ร่ม โดยจะออกตามซอกใบและที่ปลายกิ่ง กลีบดอกเป็นสีขาว มีขนาดเล็ก มักจะออกดอกในช่วงประมาณเดือนตุลาคมถึงเดือนมีนาคม
ผล : เป็นผลแห้งที่แตกออกได้เป็น 3 ฝา ผนังผลบาง มีขนเหนียวปกคลุม เมื่อผลแก่จะหลุดร่วงไปพร้อมกับก้านดอก
เมล็ด : ภายในผลมีเมล็ดเป็นรูปกลมแบนผิวขรุขระประมาณ 1 – 8 เมล็ด

สรรพคุณของเกล็ดหอย

  • สรรพคุณจากทั้งต้น เป็นยาแก้บวม แก้แผลฟกช้ำ
    – เป็นยาพื้นบ้านล้านนาซึ่งช่วยแก้ไข้ ด้วยการนำทั้งต้นมาตำพอกข้อมือและข้อเท้าสลับข้างกัน
    แก้ม้ามโต ด้วยการนำทั้งต้นมาตากให้แห้งขยี้ผสมกับม้ามหมูแล้วห่อด้วยใบตองปิ้งเพื่อรับประทาน

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของเกล็ดหอย

เมื่อทำการสกัดทั้งต้นเกล็ดหอยด้วยเมทานอล พบว่ามีฤทธิ์ฆ่าเชื้อหนองและเชื้อกลากในหลอดทดลองได้

ประโยชน์ของเกล็ดหอย

เป็นส่วนประกอบของอาหาร ชาวลัวะจะใช้ยอดอ่อนนำมาลวกเป็นผักจิ้มกับน้ำพริก

เกล็ดหอย วัชพืชเล็ก ๆ ที่มีสรรพคุณทางยาและมีดอกสีขาวสวยงาม ถือเป็นผักยอดนิยมในการรับประทานของชาวลัวะ มักจะพบตามธรรมชาติแถบพื้นที่ชุ่มชื้น เป็นพืชที่น่าสนใจในการศึกษาอย่างละเอียดเนื่องจากยังไม่ค่อยมีข้อมูลมากนักในประเทศไทย มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ ช่วยแก้ไข้ แก้ม้ามโต แก้แผลฟกช้ำและแก้บวมได้

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา. (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “เกล็ดหอย”. หน้า 95.
ข้อมูลพรรณไม้ – วัชพืช, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “หญ้าเกล็ดหอย”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.rspg.or.th/plants_data/. [13 มิ.ย. 2015].
โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง, สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน). “หญ้าเกล็ดหอย”. อ้างอิงใน : หนังสือชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : eherb.hrdi.or.th. [13 มิ.ย. 2015].

กำลังควายถึก ช่วยบำรุงกำลัง บำรุงเลือดและบรรเทาอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย

0
กำลังควายถึก ช่วยบำรุงกำลัง บำรุงเลือดและบรรเทาอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย
กำลังควายถึก ไม้เถากลมหรือเป็นเหลี่ยมมนเกลี้ยง ออกผลเป็นช่อ รูปทรงกลม เนื้อผลนุ่ม ผลอ่อนสีเขียว เมื่อสุกจะเป็นสีแดง
กำลังควายถึก ช่วยบำรุงกำลัง บำรุงเลือดและบรรเทาอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย
กำลังควายถึก ไม้เถากลมหรือเป็นเหลี่ยมมนเกลี้ยง ออกผลเป็นช่อ รูปทรงกลม เนื้อผลนุ่ม ผลอ่อนสีเขียว เมื่อสุกจะเป็นสีแดง

กำลังควายถึก

กำลังควายถึก (Smilax perfoliata Lour) เป็นต้นที่มีชื่อเรียกค่อนข้างแปลกแต่จำได้ง่าย เชื่อว่าคนส่วนมากไม่รู้จักและไม่ค่อยได้พบเจอบ่อยนัก มักจะขึ้นตามป่าดิบและมีผลเล็ก ๆ เป็นสีแดงสดเมื่อสุก ซึ่งเป็นส่วนที่สามารถนำมารับประทานได้ นอกจากนั้นยังนำยอดและใบอ่อนมาใช้รับประทานเป็นผักเหนาะและใส่ในแกงเลียงได้ กำลังความถึกยังมีประโยชน์ในด้านสรรพคุณทางยาสมุนไพรได้อย่างเหลือเชื่ออีกด้วย

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของกำลังความถึก

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Smilax perfoliata Lour.
ชื่อท้องถิ่น : ภาคกลางเรียกว่า “เขืองแดง เขืองสยาม” ภาคอีสานเรียกว่า “เขือง” จังหวัดเชียงใหม่เรียกว่า “เครือเดา เดาน้ำ สะเดา” จังหวัดอุตรดิตถ์เรียกว่า “ก้ามกุ้ง” จังหวัดนครราชสีมาเรียกว่า “เขืองปล้องสั้น” กะเหรี่ยงเชียงใหม่เรียกว่า “พอกะอ่ะ” ไทใหญ่เรียกว่า “หนามป๋าวหลวง”
ชื่อวงศ์ : วงศ์ข้าวเย็นเหนือ (SMILACACEAE)

ลักษณะของกำลังควายถึก

กำลังควายถึก เป็นพรรณไม้เถาเกาะเกี่ยวพาดพันที่มีเขตการกระจายพันธุ์ในอินเดีย เนปาล จีน ไต้หวัน พม่าและภูมิภาคอินโดจีน ในประเทศไทยมักจะพบตามป่าดิบ
ลำต้น : ลำต้นเป็นเถากลมหรือเป็นเหลี่ยมมนเกลี้ยง มีหนามโค้งประปราย
ใบ : เป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับกัน ลักษณะของใบเป็นรูปรีกว้าง รูปวงรี รูปไข่แกมรีหรือรูปไข่ ปลายใบแหลม โคนใบมนหรือค่อนข้างแหลม มีบ้างที่โคนใบเว้าตื้น ๆ แผ่นใบหนาแข็ง เส้นแขนงใบออกจากโคนใบประมาณ 5 – 7 เส้น เส้นใบย่อยสานเป็นร่างแห ก้านใบเป็นรูปสามเหลี่ยม ที่โคนกาบเป็นรูปหัวใจเว้าลึกโอบรอบลำต้น มีปลายแหลมและมีมือพัน 1 คู่
ดอก : ดอกเป็นแบบแยกเพศและอยู่ต่างต้นกัน โดยจะออกตามโคนหรือตอนปลายกิ่ง ออกดอกเป็นช่อกระจะรวมที่มีช่อย่อย ๆ แบบช่อซี่ร่ม ส่วนมากจะมีช่อซี่ร่มประมาณ 1 – 3 ช่อ ที่โคนของแก่นช่อดอกจะมีใบประดับย่อยเป็นรูปไข่ปลายแหลม มีดอกย่อยประมาณ 20 – 70 ดอก ก้านช่อดอกแข็ง กลีบรวมมี 6 กลีบ แยกจากกัน เรียงเป็น 2 วง เมื่อดอกบานกลีบจะโค้งลง กลีบรวมวงนอกเป็นรูปขอบขนาน ปลายมน กลีบรวมวงในจะแคบกว่า และมีเกสรเพศผู้ 6 อัน ส่วนดอกเพศเมียจะมีกลีบรวมเป็นรูปไข่แกมรูปใบหอก เมื่อดอกบานกลีบจะกางตรง กลีบรวมวงนอก มีรังไข่เป็นรูปวงรีอยู่เหนือวงกลีบ มี 3 ช่อง ก้านเกสรเพศเมียสั้น ยอดเกสรเพศเมียมี 3 แฉก มีเกสรเพศผู้ที่ไม่สมบูรณ์ซึ่งมีลักษณะคล้ายเข็ม 3 อัน
ผล : ออกผลเป็นช่อ ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลม เนื้อผลนุ่ม ผลอ่อนเป็นสีเขียวอ่อน ๆ เมื่อสุกจะเป็นสีแดง
เมล็ด : ภายในผลมีเมล็ดประมาณ 1 – 2 เมล็ด เมล็ดเป็นสีแดงเข้ม ลักษณะของเมล็ดเป็นรูปไข่กลับจนเกือบกลม

สรรพคุณของกำลังควายถึก

  • สรรพคุณจากเถาและหัว บำรุงกำลัง บำรุงกำหนัด ขับโลหิต
  • สรรพคุณจากเปลือก บำรุงกำลัง บำรุงโลหิต ทำให้ธาตุสมบูรณ์ แก้อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย
  • สรรพคุณจากรากเหง้า แก้ต่อมน้ำเหลืองภายใน ขับต่อมน้ำเหลืองในร่างกาย แก้ฝีภายใน
  • สรรพคุณของน้ำจากยอด
    แก้หูด ด้วยการนำน้ำจากยอดที่หักมาหยดลงบริเวณที่เป็นหูด โดยทำประมาณ 7 วัน

ประโยชน์ของกำลังควายถึก

เป็นส่วนประกอบของอาหาร ผลสุกใช้รับประทานได้ ช่อดอกใช้ลวกทานร่วมกับน้ำพริกแต่ไม่นำต้นมารับประทานเพราะจะทำให้เกิดอาการคันได้ ยอดและใบอ่อนใช้ทานเป็นผักเหนาะและใส่ในแกงเลียง ผลใช้เป็นผักเหนาะหรือใส่ในแกงส้มจะให้รสฝาดมันและเปรี้ยวเล็กน้อย

กำลังควายถึก เป็นชื่อที่คาดว่ามีที่มาจากสรรพคุณในการช่วยบำรุงร่างกายและบรรเทาอาการปวดเมื่อยล้า สามารถนำผลและใบอ่อนมาใช้เป็นส่วนประกอบในเมนูอาหารได้ เป็นต้นที่มีสรรพคุณได้หลายส่วนโดยเฉพาะส่วนของเปลือก เถาและหัวที่อุดมไปด้วยยารักษา มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ บำรุงกำลัง บำรุงกำหนัด บำรุงโลหิต แก้อาการปวดเมื่อยและดีต่อต่อมน้ำเหลืองภายในร่างกาย ถือเป็นต้นที่เหมาะกับนักกีฬาหรือบุคคลที่เคลื่อนไหวร่างกายหนักและบ่อยครั้ง

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคกลาง. (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ, ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, กัญจนา ดีวิเศษ). “เขือง”. หน้า 82.
ข้อมูลพรรณไม้, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “กําลังควายถึก”. อ้างอิงใน : หนังสืออนุกรมวิธานพืช อักษร ก. (ราชบัณฑิตยสถาน). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.rspg.or.th/plants_data/. [26 ม.ค. 2015].
โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง, สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน). “กำลังควายถึก, เครือเดา”. อ้างอิงใน : หนังสือชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : eherb.hrdi.or.th. [26 ม.ค. 2015].
สมุนไพร ภูมิปัญญาไทย, เทศบาลเมืองทุ่งสง อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช. “กําลังควายถึก”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.tungsong.com. [26 ม.ค. 2015].
พันธุ์ไม้ในท้องถิ่น อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช. “กำลังควายถึก”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : taqservices.net. [26 ม.ค. 2015].

กลึงกล่อม อาหารยอดนิยมของสัตว์ป่า ช่วยแก้ไข้ ดับพิษ ต้านไวรัส HIV

0
กลึงกล่อม อาหารยอดนิยมของสัตว์ป่า ช่วยแก้ไข้ ดับพิษ ต้านไวรัส HIV
กลึงกล่อม ผิวผลเรียบเป็นมัน ผลสุกเป็นสีแดงเข้ม ยอดอ่อนและผลอ่อนรับประทานเป็นผักสดจิ้มกับน้ำพริก
กลึงกล่อม อาหารยอดนิยมของสัตว์ป่า ช่วยแก้ไข้ ดับพิษ ต้านไวรัส HIV
กลึงกล่อม ผิวผลเรียบเป็นมัน ผลสุกเป็นสีแดงเข้ม ยอดอ่อนและผลอ่อนรับประทานเป็นผักสดจิ้มกับน้ำพริก

กลึงกล่อม

กลึงกล่อม (Polyalthia suberosa) มีผลสุกเป็นสีแดงเข้มไปจนถึงสีม่วงดำทำให้ดูน่าทานเมื่อเห็นไกล ๆ และเป็นอาหารยอดนิยมของสัตว์ป่าทั่วไป ในส่วนของอาหารสำหรับมนุษย์นั้นจะนำยอดอ่อนและผลอ่อนมารับประทานเป็นผักสดจิ้มกับน้ำพริก เป็นอาหารยอดนิยมของชาวล้านนา ส่วนของยาสมุนไพรจะนำใบและกิ่ง รากและเนื้อไม้มาใช้ กลึงกล่อมเป็นต้นที่เติบโตช้า ชอบน้ำปานกลางและแสงแดดน้อยแต่สามารถพบได้ทั่วทุกภาคในประเทศไทย

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของกลึงกล่อม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Polyalthia suberosa (Roxb.) Thwaites
ชื่อท้องถิ่น : ภาคเหนือเรียกว่า “ผักจ้ำ มะจ้ำ” ภาคใต้เรียกว่า “จิงกล่อม” ภาคใต้และจังหวัดปัตตานีเรียกว่า “น้ำนอง” จังหวัดเลยเรียกว่า “น้ำน้อย” จังหวัดอุตรดิตถ์เรียกว่า “ไคร้น้ำ” จังหวัดนครสวรรค์เรียกว่า “กำจาย” จังหวัดราชบุรีเรียกว่า “กระทุ่มกลอง กระทุ่มคลอง กลึงกล่อม ชั่งกลอง ท้องคลอง” จังหวัดกาญจนบุรีเรียกว่า “ช่องกลอง” จังหวัดอ่างทองเรียกว่า “มงจาม”
ชื่อวงศ์ : วงศ์กระดังงา (ANNONACEAE)

ลักษณะของกลึงกล่อม

กลึงกล่อม เป็นพรรณไม้พุ่มกึ่งไม้ต้นไม่ผลัดใบขนาดเล็กที่มีเขตการกระจายพันธุ์ในจีนตอนใต้ อินเดียตอนใต้ ศรีลังกา พม่า ภูมิภาคอินโดจีน มาเลเซียและฟิลิปปินส์ มักจะพบขึ้นตามที่โล่งซึ่งเป็นดินร่วนปนทรายที่มีการระบายน้ำได้ดี ตามป่าเปิด ป่าเบญจพรรณ พื้นที่โล่งบริเวณชายป่า ตามพื้นที่ราบลุ่มที่มีน้ำท่วมเป็นครั้งคราวหรือตามฝั่งแม่น้ำลำคลอง
ต้น : แตกกิ่งต่ำ เรือนยอดเป็นพุ่มกลม ตามกิ่งแก่มีขนาดใหญ่ เปลือกลำต้นเป็นสีน้ำตาลอ่อนหรือสีน้ำตาลเข้ม ผิวเปลือกมักจะย่นเป็นสันนูนขรุขระ กิ่งอ่อนมีขนขึ้นประปราย ส่วนกิ่งแก่จะเกลี้ยง ตามกิ่งก้านมีช่องระบายอากาศเป็นตุ่มสีขาวหรือสีเทาอมชมพูขนาดเล็กกระจัดกระจายทั่วไป
ใบ : เป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับกัน ลักษณะของใบเป็นรูปวงรียาว รูปขอบขนานหรือรูปใบหอกแกมรูปขอบขนาน ปลายใบเป็นติ่งแหลมสั้น โคนใบสอบและเบี้ยวเล็กน้อย ขอบใบเรียบแต่ย่นเป็นคลื่นหรือม้วนงอขึ้นเล็กน้อย หลังใบและท้องใบเรียบเกลี้ยงเป็นมันหรืออาจมีขนสั้น ท้องใบมีสีเขียวนวล เส้นแขนงใบมีข้างละ 7 – 8 เส้น ใบแห้งด้านบนเป็นสีเทา ส่วนด้านล่างเป็นสีน้ำตาลอ่อน
ดอก : เป็นดอกเดี่ยวโดยจะออกตามกิ่ง ออกตรงข้ามหรือเยื้องกับใบใกล้ปลายยอดหรือออกเหนือง่ามใบเล็กน้อย ดอกมีกลิ่นหอม เป็นสีเหลืองห้อยลง มีกลีบเลี้ยง 3 กลีบ ลักษณะของกลีบเลี้ยงเป็นรูปไข่ ด้านนอกมีขน กลีบดอกเป็นสีเหลืองหรือสีเหลืองอมน้ำตาล มี 6 กลีบ กลีบดอกจะมีขนาดใหญ่กว่ากลีบเลี้ยง เรียงสลับกัน 2 ชั้น ชั้นละ 3 กลีบ กลีบดอกชั้นนอกจะมี 3 กลีบ มีขนาดเล็กสั้นกว่ากลีบดอกชั้นในและกลีบดอกชั้นในมี 3 กลีบ ใหญ่กว่ากลีบดอกชั้นนอก กลีบด้านนอกมีขนขึ้นประปราย มีเกสรเพศผู้ขนาดเล็กจำนวนมาก อยู่ชิดกันแน่นเป็นพุ่มกลม ก้านชูดอกมีสีแดงเป็นลักษณะเรียวยาว มีใบประดับเล็ก ๆ ติดอยู่ใกล้โคนก้าน
ผล : ออกผลเป็นกลุ่มจำนวนมากประมาณ 25 – 35 ผลย่อยต่อกลุ่ม มีหลายผลอยู่บนแกนตุ้มกลาง ผลย่อยมีลักษณะเป็นรูปวงรีหรือกลม เป็นผลสดและมีเนื้อ ผิวผลเรียบเป็นมัน ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อสุกจะเปลี่ยนเป็นสีแดงเข้มไปจนถึงสีม่วงดำ
เมล็ด : ภายในผลมีเมล็ดเดียวต่อ 1 ผลย่อยหรือบางผลอาจมีเมล็ด 2 เมล็ด เมล็ดจะมีลักษณะเป็นรูปวงรีสีน้ำตาล

สรรพคุณของกลึงกล่อม

  • สรรพคุณจากรากและเนื้อไม้ เป็นยาแก้ไข้ แก้ร้อนในกระหายน้ำ เป็นยาขับพิษ ขับพิษภายใน แก้น้ำเหลือง
  • สรรพคุณจากใบและกิ่ง มีสาร suberosol ที่มีฤทธิ์ต้านเชื้อโรคเอดส์ (HIV) ในหลอดทดลอง

ประโยชน์ของกลึงกล่อม

1. เป็นส่วนประกอบของอาหาร ยอดอ่อนและผลอ่อนนำมาทานเป็นผักสดหรือนำไปต้มเพื่อทานร่วมกับน้ำพริก ชาวล้านนานิยมนำผักกลึงกล่อมมาเป็นส่วนผสมของอาหารประเภทส้าหรือผักสดจิ้มกับน้ำพริกหรือลาบ
2. ปลูกเป็นไม้ประดับ ให้ความร่มเงาทั่วไปสำหรับบ้านขนาดเล็ก ช่วยบังแดด ช่วยลดค่าใช้จ่ายเรื่องค่าปรับอากาศ
3. เป็นอาหารสัตว์ ผลสุกเป็นอาหารนกและสัตว์ป่า

กลึงกล่อม เป็นต้นที่นิยมนำมารับประทานทั้งมนุษย์และสัตว์ อีกทั้งยังเป็นไม้ปลูกประดับในบ้านที่ช่วยในเรื่องของการบังแดดได้ดี นิยมเป็นอาหารประเภทส้าของชาวล้านนา กลึงกล่อมมีสรรพคุณทางยาได้หลายส่วนจากต้นโดยเฉพาะส่วนของรากและเนื้อไม้ มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ ช่วยแก้ไข้ ช่วยดับพิษ แก้น้ำเหลืองและต้านเชื้อโรคเอดส์ (HIV) ได้

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). “กลึงกล่อม (Klueng Klom)”. หน้า 39.
สวนพฤกษศาสตร์คลองไผ่, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “กลึงกล่อม”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.rspg.or.th/plants_data/kp_bot_garden/kpb.htm. [23 มิ.ย. 2015].
ข้อมูลพรรณไม้, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “กลึงกล่อม”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.rspg.or.th/plants_data/. [23 มิ.ย. 2015].
พืชสมุนไพรโตนงาช้าง. “กลึงกล่อม”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : paro6.dnp.go.th/web_km/พืชสมุนไพรโตนงาช้าง/. [23 มิ.ย. 2015].
เว็บไซต์ท่องไทยแลนด์ดอทคอม. “กลึงกล่อม”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.thongthailand.com. [23 มิ.ย. 2015].
ผักพื้นบ้านในประเทศไทย กรมส่งเสริมการเกษตร. “น้ำนอง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : ftp://smc.ssk.ac.th/intranet/Research_AntioxidativeThaiVegetable/. [23 มิ.ย. 2015].
ข้อมูลอ้างอิง (Source) : https://medthai.com/

กะตังใบ เป็นยาเย็นในหลายตำรา ช่วยแก้ไข้ แก้ปวดเมื่อย แก้ท้องเสียและรักษาโรคนิ่ว

0
กะตังใบ เป็นยาเย็นในหลายตำรา ช่วยแก้ไข้ แก้ปวดเมื่อย แก้ท้องเสียและรักษาโรคนิ่ว
กะตังใบ มีดอกตูมเป็นรูปทรงกลมสีแดง ผลอ่อนเป็นสีเขียว ผลสุกจะมีสีม่วงดำ
กะตังใบ เป็นยาเย็นในหลายตำรา ช่วยแก้ไข้ แก้ปวดเมื่อย แก้ท้องเสียและรักษาโรคนิ่ว
กะตังใบ มีดอกตูมเป็นรูปทรงกลมสีแดง ผลอ่อนเป็นสีเขียว ผลสุกจะมีสีม่วงดำ

กะตังใบ

กะตังใบ (Bandicoot Berry) เป็นพืชในวงศ์องุ่นที่มักจะพบตามป่าทั่วไปและสามารถพบได้ทุกภาคในประเทศไทย เป็นต้นที่มีชื่อเรียกหลากหลายตามแต่ท้องที่ มีดอกตูมเป็นรูปทรงกลมสีแดงทำให้ดูโดดเด่นและแยกออกง่าย ส่วนของผลนั้นเมื่อสุกจะมีสีม่วงดำรูปทรงกลมคล้ายกับองุ่น ในส่วนของยาสมุนไพรนั้นกะตังใบเป็นยาเย็นที่นิยมในตำรายาไทย ชาวม้ง ชาวอินโดนีเซีย ตำรายาพื้นบ้านอีสานและหมอยาพื้นบ้านในจังหวัดอุบลราชธานี นอกจากนั้นยังนำส่วนต่าง ๆ มารับประทานได้เช่นกัน

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของกะตังใบ

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Leea indica (Burm.f.) Merr.
ชื่อสามัญ : มีชื่อสามัญว่า “Bandicoot Berry”
ชื่อท้องถิ่น : ภาคเหนือเรียกว่า “ตองจ้วม ตองต้อม” จังหวัดเชียงใหม่และจันทบุรีและกรุงเทพมหานครเรียกว่า “กะตังใบ” จังหวัดอุบลราชธานีเรียกว่า “ต้างไก่” จังหวัดตราดเรียกว่า “คะนางใบ” จังหวัดนครราชสีมาเรียกว่า “ขี้หมาเปียก” จังหวัดนราธิวาสเรียกว่า “ช้างเขิง ดังหวาย” จังหวัดตรังเรียกว่า “บังบายต้น บั่งบายต้น” ไทใหญ่เรียกว่า “ไม้ชักป้าน” ชาวกะเหรี่ยงแดงเรียกว่า “เหม่โดเหมาะ” ชาวเงี้ยวเรียกว่า “ช้างเขิง” ชาวเมี่ยนเรียกว่า “ต้มแย่แงง” ชาวม้งเรียกว่า “อิ๊กะ” ฉานเรียกว่า “ช้างเขิง” มีชื่ออื่น ๆ เรียกว่า “กระตังใบ เรือง เขืองแข้งม้า”
ชื่อวงศ์ : วงศ์องุ่น (VITACEAE)

ลักษณะของกะตังใบ

กะตังใบ เป็นพรรณไม้พุ่มขนาดย่อมหรือไม้ต้นขนาดเล็กที่มีเขตการกระจายพันธุ์ในอินเดีย เนปาล พม่า บังกลาเทศ ภูมิภาคอินโดจีน ภูมิภาคมาเลเซียไปจนถึงออสเตรเลียและฟิจิ ในประเทศไทยพบกระจายอยู่ทั่วทุกภาค มักจะพบขึ้นตามป่าดิบ ป่าผลัดใบและป่าเต็งรัง
ลำต้น : ลำต้นค่อนข้างเกลี้ยงหรือปกคลุมด้วยขนสั้น ๆ ต้นฉ่ำน้ำ ตามต้นและตามกิ่งอ่อนมีขนขึ้นปกคลุม แตกกิ่งก้านตั้งแต่โคนต้น
ใบ : เป็นใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ออกเรียงสลับกัน แกนกลางใบประกอบเกลี้ยงหรือมีขนสั้นขึ้นปกคลุม ก้านใบประกอบเกลี้ยงหรือมีขนเล็กน้อย ริ้วประดับมีตั้งแต่รูปสามเหลี่ยมค่อนข้างกว้างไปจนถึงรูปสามเหลี่ยมแคบ หูใบเป็นรูปไข่กลับแผ่เป็นแผ่น ใบย่อยมีประมาณ 3 – 7 ใบ ออกเป็นคู่ตรงข้ามกัน ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปวงรียาว รูปไข่ รูปขอบขนานหรือรูปใบหอกแกมรี ปลายใบแหลมไปจนถึงเรียวแหลม โคนใบแหลมเล็กน้อย มนหรือเว้าเล็กน้อย ขอบใบจักเป็นซี่ฟัน แผ่นใบเกลี้ยงหรือมีขนเล็กน้อย เนื้อใบหนาปานกลาง หลังใบเป็นลอนตามแนวเส้นใบ ท้องใบเป็นลอนสีเขียวนวลและมีต่อมขนาดเล็กรูปเหลี่ยมหรือกลม สามารถเห็นเส้นใบได้ชัดเจน
ดอก : ออกดอกเป็นช่อใหญ่ตั้งขึ้นโดยจะออกตามซอกใบหรือตรงเรือนยอดของกิ่ง ก้านชูช่อดอกยาว แต่ละช่อดอกมีดอกย่อยจำนวนมาก ดอกย่อยมีขนาดเล็กเป็นสีขาวอมเขียว ขาวอมเหลืองหรือสีเขียวอ่อน ดอกตูมเป็นรูปทรงกลมสีแดงเข้ม เมื่อดอกบานจะเปลี่ยนเป็นสีขาว กลีบเลี้ยงติดกันเป็นรูปถ้วย ปลายแยกออกเป็น 5 กลีบ กลีบดอกมี 5 กลีบ เชื่อมติดกันที่โคน กลีบดอกส่วนล่างติดกัน ส่วนด้านในเชื่อมติดกับส่วนของเกสรเพศผู้ ส่วนบนแยกเป็นกลีบเรียว 5 กลีบ ดอกมีเกสรเพศผู้ 5 อัน ติดอยู่กับหลอดเกสรเพศผู้ ปลายอับเรณูจะโผล่พ้นหลอดออกไปเป็นแฉกมน ปลายแฉกเว้า เกสรเพศเมียมีรังไข่ 6 ช่อง ในแต่ละช่องจะมีออวุล 1 เม็ด ก้านเกสรสั้นและปลายมน ออกดอกในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกรกฎาคม
ผล : ผลมีลักษณะเป็นรูปทรงกลมหรือกลมแป้น ด้านบนแบน ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อแก่จัดจะเปลี่ยนเป็นสีแดงเข้มไปจนถึงสีดำ ผิวผลบางและมีเนื้อนุ่ม ออกผลในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงเดือนสิงหาคม
เมล็ด : ภายในผลมีเมล็ดเป็นรูปไข่

สรรพคุณของกะตังใบ

  • สรรพคุณจากกะตังใบ ชาวอินโดนีเซียนำมาใช้เป็นยาพอกศีรษะแก้ไข้
  • สรรพคุณจากราก ตำรายาไทยใช้เป็นยาขับเหงื่อ ระงับความร้อน แก้ไข้ แก้ไข้รากสาด แก้อาการกระหายน้ำ
    – แก้ครั่นเนื้อครั่นตัว แก้ปวดท้องและแก้ท้องเสีย แก้ท้องร่วงและแก้บิด แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย ด้วยการนำรากมาต้มกับน้ำแล้วดื่มเป็นยา
    – แก้ท้องเสีย โดยตำรายาพื้นบ้านอีสานนำรากมาผสมกับลำต้นขมิ้นเครือ ลำต้นเมื่อยดูกและรากตากวางอย่างละเท่ากันแล้วนำมาต้มกับน้ำเดือดเพื่อดื่ม
    – แก้ตกขาวของสตรี รักษามะเร็งมดลูกและมะเร็งลำไส้ ด้วยการนำรากมาผสมกับสมุนไพรอื่นแล้วนำมาต้มกับน้ำกินวันละ 3 ครั้ง จนยาหมดรสฝาด
    – รักษาแผลไฟไหม้และน้ำร้อนลวก โดยหมอยาพื้นบ้านอุบลราชธานีนำรากมาฝนกับเหล้าใช้ทา
  • สรรพคุณจากลำต้น
    แก้ไอ แก้อาการท้องร่วงและรักษาโรคนิ่ว โดยชาวม้งนำลำต้นมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยา
  • สรรพคุณจากใบ
    – แก้วิงเวียนและมึนงง เป็นยาพอกศีรษะ ด้วยการนำใบมาย่างไฟให้เกรียมแล้วใช้พอกศีรษะ
    – แก้อาการคันหรือผื่นคันตามผิวหนัง แก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ด้วยการนำใบมาตำแล้วพอกเป็นยา
    – บำรุงร่างกายให้สมบูรณ์ ด้วยการนำใบมาต้มแล้วอาบ
  • สรรพคุณจากทั้งต้น
    – รักษามะเร็งเต้านม ด้วยการนำทั้งต้นมาผสมกับสมุนไพรชนิดอื่นแล้วต้มกับน้ำดื่มเป็นยา
  • สรรพคุณจากน้ำยางจากใบอ่อน เป็นยาช่วยย่อย
  • สรรพคุณจากรากและลำต้น
    – แก้อาการปัสสาวะขัดและรักษาโรคนิ่ว ด้วยการนำรากและลำต้นมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยา

ประโยชน์ของกะตังใบ

1. เป็นส่วนประกอบของอาหาร ผลสุกนำมารับประทานได้ ใบอ่อนและยอดอ่อนนำมาทานเป็นผักสดร่วมกับน้ำพริกหรือนำมาลวกหรือต้มรับประทานได้โดยให้รสฝาดมัน
2. เป็นอาหารและรักษาแผลของสัตว์ ใช้เป็นเหยื่อสำหรับตกปลา ชาวกะเหรี่ยงแดงนำใบมาต้มให้หมูกิน รากนำมาตำใส่แผลที่มีหนองของวัว ควายและช้างได้

กะตังใบ เป็นต้นที่มีรากเป็นยาเย็นและรสเบื่อเมา จึงเป็นส่วนที่มีสรรพคุณทางยาสมุนไพรมากที่สุดของต้น ในส่วนของใบนั้นสามารถนำมารับประทานเป็นผักสดหรือลวกต้มจิ้มกับน้ำพริกซึ่งให้รสฝาดมัน และยังนำมาใช้ประโยชน์ในการเลี้ยงสัตว์ได้อีกด้วย กะตังใบมีสรรพคุณทางยาได้หลายส่วนจากต้นโดยเฉพาะส่วนของราก มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ ช่วยแก้ไข้และดับร้อน แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย แก้ท้องเสีย รักษาโรคนิ่ว แก้ตกขาวของสตรี รักษามะเร็งมดลูกและมะเร็งลำไส้ได้ ถือเป็นต้นที่ดีต่อระบบขับถ่ายและระบบย่อยอาหาร

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). “กะตังใบ (Katang Bai)”. หน้า 41.
หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคกลาง. (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ, ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, กัญจนา ดีวิเศษ). “กะตังใบ”. หน้า 69.
ข้อมูลพรรณไม้, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “กะตังใบ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.rspg.or.th/plants_data/. [21 มิ.ย. 2015].
ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. “กะตังใบ”. อ้างอิงใน : สยามไภษัชยพฤกษ์ (146). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.qsbg.org. [21 มิ.ย. 2015].
ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “กระตังใบ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.phargarden.com. [21 มิ.ย. 2015].
โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง, สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน). “กะตังใบ”. อ้างอิงใน : หนังสือชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์), หนังสือสมุนไพรไทยตอนที่ 6 (ก่องกานดา ชยามฤต). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : eherb.hrdi.or.th. [21 มิ.ย. 2015].
พืชกินได้ในป่าสะแกราช, สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.). “กะตังใบ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.tistr.or.th. [21 มิ.ย. 2015].
ข้อมูลอ้างอิง (Source) : https://medthai.com/

กะหนานปลิง เนื้อไม้รสฝาดแต่มีสรรพคุณบำรุงเลือดได้

0
กะหนานปลิง เนื้อไม้รสฝาดแต่มีสรรพคุณบำรุงเลือดได้
กะหนานปลิง ไม้ยืนต้น ดอกตูมรูปทรงกระบอกห้าเหลี่ยม มีขนสีน้ำตาลอมเหลือง เปลือกผลหนาและแข็ง
กะหนานปลิง เนื้อไม้รสฝาดแต่มีสรรพคุณบำรุงเลือดได้
กะหนานปลิง ไม้ยืนต้น ดอกตูมรูปทรงกระบอกห้าเหลี่ยม มีขนสีน้ำตาลอมเหลือง เปลือกผลหนาและแข็ง

กะหนานปลิง

กะหนานปลิง (Pterospermum acerifolium) เป็นไม้ยืนต้นที่มีการนำมาใช้ประโยชน์ได้หลากหลายทั้งการนำมาใช้ในด้านยาสมุนไพรและการรับประทานเป็นผักสด ชาวอินเดียทางเหนือนำมาใช้เป็นยาฆ่าแมลง ชาวเมี่ยนนำมาใช้สร้างบ้านและใช้ทำสะพานในพิธีตานขัว นอกจากนั้นยังนำมาใช้เป็นไม้ปลูกประดับได้อีกด้วย กะหนานปลิงเป็นต้นที่สามารถพบได้ทั่วทุกภาคในประเทศไทย

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของกะหนานปลิง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pterospermum acerifolium (L.) Willd.
ชื่อท้องถิ่น : ภาคกลางเรียกว่า “ปอช้างแหก สลักกะพาด ปอหูช้าง หนานปิง” ภาคเหนือเรียกว่า “ตองเต๊า ปอเต๊า” จังหวัดเชียงใหม่เรียกว่า “เต้าแมว” จังหวัดอุตรดิตถ์เรียกว่า “ปอหูช้าง สนานดง สากกะเท้า” จังหวัดสระบุรีเรียกว่า “สลักกะพาด” จังหวัดประจวบคีรีขันธ์เรียกว่า “กะหนานปลิง หูควาย” ชาวกะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอนเรียกว่า “ชะต่อละ” ชาวเมี่ยนเรียกว่า “ตะมุ่ย”
ชื่อวงศ์ : วงศ์ชบา (MALVACEAE)

ลักษณะของกะหนานปลิง

กะหนานปลิง เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ที่มีเขตการกระจายพันธุ์ในอินเดีย พม่าและมาเลเซีย ในประเทศไทยพบกระจายอยู่ทั่วทุกภาค มักจะพบขึ้นในป่าดิบแล้งและป่าดิบเขา
เปลือกต้น : ทรงต้นเปลาตรง เปลือกต้นเป็นสีเทาหรือสีน้ำตาลอ่อนและค่อนข้างเรียบ มีช่องอากาศตามยาวอยู่ทั่วไป ส่วนเปลือกด้านในเป็นสีแดงแทรกลายเส้นสีขาว เนื้อไม้สดมีสีชมพูเรื่อแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ต้นที่มีอายุมากจะมีพูพอนสั้นลักษณะเป็นหลืบ ตามยอดและกิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาลอมเหลืองขึ้นหนาแน่น
ใบ : เป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับกัน ลักษณะของใบมีรูปทรงไม่แน่นอน ส่วนใหญ่มักเป็นรูปไข่หรือรูปวงรี แผ่นใบแผ่ค่อนข้างกว้างจนเกือบเป็นแผ่นกลม ปลายใบแหลม โคนใบเว้าลึกคล้ายรูปหัวใจ ขอบใบมักเว้าห่างไม่เป็นระเบียบ ใบของต้นกล้ามีขนาดใหญ่มาก แผ่นใบเว้าเข้าเป็นแฉกลึกประมาณ 3 – 6 แฉก มีเส้นใบออกจากโคนใบ 6 – 11 เส้น แผ่นใบด้านบนค่อนข้างเกลี้ยงเป็นสีเขียวเข้มและมัน ส่วนด้านล่างนุ่มมือเพราะมีขนสีเทาหรือสีขาวเป็นกระจุกขึ้นหนาแน่น มีเส้นร่างแหปรากฏชัดเจน ก้านใบมีสีน้ำตาลอมเหลือง ใบที่อยู่ช่วงล่างของลำต้นมักจะมีก้านใบยาวมาก หูใบมีขอบรุ่ยเป็นแฉกแคบแต่หลายแฉกไม่เป็นระเบียบและร่วงได้ง่าย
ดอก : เป็นดอกเดี่ยวตั้งขึ้นตามง่ามใบ ดอกตูมรูปทรงกระบอกห้าเหลี่ยม มีขนสีน้ำตาลอมเหลืองขึ้นหนาแน่น กลีบเลี้ยงมี 5 กลีบ ลักษณะเป็นรูปขอบขนานแคบประกบกันเป็นรูปทรงกระบอก เมื่อดอกบานกลีบจะแยกออกจากกันและตลบลงด้านล่าง ด้านนอกกลีบมีขนสีน้ำตาลอมเหลือง ด้านในมีขนอ่อนนุ่มสีขาวหนาแน่น กลีบดอกมี 5 กลีบ เป็นสีขาวอมเหลือง ลักษณะเป็นรูปขอบขนานแคบ ดอกมีเกสรเพศผู้สมบูรณ์ 15 อัน แยกออกเป็น 5 มัด มัดละ 3 อัน และมีเกสรเพศผู้ไม่สมบูรณ์อีก 5 อัน เรียงสลับกับมัดเกสรเพศผู้ที่สมบูรณ์ รังไข่สั้นเป็นรูปทรงกระบอกห้าเหลี่ยม มีขนขึ้นหนาแน่น มี 5 ช่อง ในแต่ละช่องจะมีออวุลจำนวนมาก มักจะออกดอกในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนมิถุนายน
ผล : ผลมีลักษณะเป็นรูปทรงกระบอกสัน 5 เหลี่ยม ปลายผลแหลมมน โคนผลคอดเรียวเป็นก้านทรงกระบอกแคบ ผลแก่จะแตกออกเป็น 5 เสี่ยง เปลือกผลหนาและแข็ง ผิวผลด้านนอกมีขนแข็งสั้นสีน้ำตาลอมเหลืองขึ้นหนาแน่น ผลจะแก่ในช่วงเดือนตุลาคมถึงเดือนธันวาคม
เมล็ด : ภายในผลมีเมล็ดจำนวนมาก เมล็ดมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าและมีความหนาเล็กน้อย ด้านบนเป็นปีกบางยาว มีสีชา

สรรพคุณของกะหนานปลิง

  • สรรพคุณจากเนื้อไม้ เป็นยาบำรุงโลหิต

ประโยชน์ของกะหนานปลิง

1. เป็นส่วนประกอบของอาหาร ดอกเป็นอาหารได้
2. ใช้เป็นยาฆ่าแมลง ในประเทศอินเดียทางภาคเหนือนำดอกเป็นยาฆ่าแมลง
3. ใช้ในงานก่อสร้าง เนื้อไม้ใช้ในงานก่อสร้างทั่วไป ชาวเมี่ยนนำเนื้อไม้ในการใช้สร้างบ้านและใช้ทำสะพานในพิธีตานขัว
4. ปลูกเป็นไม้ประดับ ปลูกเป็นไม้ให้ร่มเงาและปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไป

กะหนานปลิง เป็นต้นที่มีเนื้อไม้รสฝาดและมีดอกสีเหลืองชวนให้ดูสวยงาม จึงสามารถนำมาใช้เป็นไม้ประดับได้ อีกทั้งใบยังมีความกว้างและโดดเด่นจนนำมาปลูกเพื่อความร่มเงาในบ้านได้ นอกจากนั้นเนื้อไม้ยังนำมาประยุกต์ใช้ในงานก่อสร้างและยังนำดอกมาใช้เป็นยาฆ่าแมลงได้ กะหนานปลิงมีสรรพคุณทางยาจากส่วนของเนื้อไม้ซึ่งมีสรรพคุณในการบำรุงเลือดได้ดี

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคกลาง. (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ, ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, กัญจนา ดีวิเศษ). “กะหนานปลิง”. หน้า 70.
ข้อมูลพรรณไม้, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “กะหนานปลิง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.rspg.or.th/plants_data/. [21 มิ.ย. 2015].
โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง, สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน). “กะหนานปลิง”. อ้างอิงใน : หนังสือชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : eherb.hrdi.or.th. [21 มิ.ย. 2015].
ระบบจัดการฐานความรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้ กรมป่าไม้. “กะหนานปลิง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : biodiversity.forest.go.th. [21 มิ.ย. 2015].
ข้อมูลอ้างอิง (Source) : https://medthai.com/

เกล็ดปลาช่อน แก้ไข้ แก้อาการปวดบวม แก้โรคตับพิการและเป็นยาของผู้ป่วยทางจิต

0
เกล็ดปลาช่อน แก้ไข้ แก้อาการปวดบวม แก้โรคตับพิการและเป็นยาของผู้ป่วยทางจิต
เกล็ดปลาช่อน ใบประดับดอก ลักษณะคล้ายเกล็ดปลา มีรสฝาดมันและขมเล็กน้อย ฝักมีขน
เกล็ดปลาช่อน แก้ไข้ แก้อาการปวดบวม แก้โรคตับพิการและเป็นยาของผู้ป่วยทางจิต
เกล็ดปลาช่อน ใบประดับดอก ลักษณะคล้ายเกล็ดปลา มีรสฝาดมันและขมเล็กน้อย ฝักมีขน

เกล็ดปลาช่อน

เกล็ดปลาช่อน (Phyllodium pulchellum) เป็นชื่อที่แปลกประหลาดแต่ตั้งตามลักษณะของใบประดับดอกที่มีลักษณะคล้ายเกล็ดปลา จึงเป็นที่มาของชื่อต้นเกล็ดปลาช่อน มักจะพบตามพื้นที่ป่าทั่วไปและพบได้ทุกภาคในประเทศไทย นิยมนำยอดที่มีรสฝาดมันและขมเล็กน้อยมารับประทานเป็นผักสด นอกจากนั้นยังเป็นอาหารของสัตว์แทะเล็มอีกด้วย เกล็ดปลาช่อนยังเป็นส่วนประกอบในตำรายาพื้นบ้านอีสานและตำรายาไทย เป็นต้นที่มีสรรพคุณทางยาได้จากส่วนต่าง ๆ ของต้นชนิดหนึ่ง

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของเกล็ดปลาช่อน

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Phyllodium pulchellum (L.) Desv.
ชื่อท้องถิ่น : ภาคกลางเรียกว่า “เกล็ดลิ่นใหญ่ ลิ่นต้น หญ้าสองปล้อง” ภาคเหนือและภาคใต้เรียกว่า “หญ้าเกล็ดลิ่น” จังหวัดปราจีนบุรีเรียกว่า “ลูกหนีบต้น” จังหวัดสุราษฎร์ธานีเรียกว่า “หางลิ่น” จังหวัดนครราชสีมาเรียกว่า “เกล็ดลิ่นใหญ่” มีชื่ออื่น ๆ เรียกว่า “กาสามปีกเล็ก เกล็ดลิ้น”
ชื่อวงศ์ : วงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE)
ชื่อพ้อง : Hedysarum pulchellum L., Desmodium pulchellum (L.) Benth., Meibomia pulchella (L.) Kuntze

ลักษณะของเกล็ดปลาช่อน

เกล็ดปลาช่อน เป็นพรรณไม้พุ่มขนาดเล็กที่มีเขตการกระจายพันธุ์ในกัมพูชา เวียดนาม ลาว ออสเตรเลียและประเทศไทย มักจะพบทั่วไปในทำเลเลี้ยงสัตว์สาธารณะ ตามพื้นที่ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าผลัดใบ ป่าสน ป่าไผ่และชายป่าดิบ
ลำต้น : ลำต้นมีกิ่งก้านแตกแขนงตั้งแต่โคนต้น ปลายกิ่งโค้งลง กิ่งและก้านใบมีขนนุ่มสีเทาถึงสีน้ำตาลอ่อนขึ้นหนาแน่น
เปลือกต้น : เปลือกต้นเป็นสีน้ำตาลค่อนข้างเรียบ
ใบ : เป็นใบประกอบแบบขนนกออกเรียงสลับกันเป็นรูปฝ่ามือ มีใบย่อย 3 ใบ ใบย่อยตรงกลางจะมีขนาดใหญ่กว่าใบย่อยด้านข้าง มีลักษณะเป็นรูปวงรี รูปไข่หรือรูปขอบขนาน ปลายใบแหลมหรือเรียวแหลม โคนใบแหลม มน หรือกลม ขอบใบเรียบแต่บางครั้งเป็นคลื่น แผ่นใบบางคล้ายกระดาษไปจนถึงหนาคล้ายแผ่นหนัง ผิวใบด้านบนมีขนสั้นนุ่มขึ้นบาง ๆ เมื่อแก่จะเกลี้ยง ด้านล่างมีขนสั้นนุ่มขึ้นหนาแน่น ใบย่อยด้านข้าง 2 ใบมีลักษณะคล้ายใบย่อยตรงกลางแต่จะมีขนาดเล็กกว่า โคนใบเบี้ยว เส้นแขนงใบมีข้างละ 6 – 10 เส้น ก้านใบย่อยสั้น มีหูใบเป็นรูปสามเหลี่ยมแคบและมีขน หูใบย่อยเป็นขนแข็งและยาวคล้ายหาง
ดอก : ออกดอกเป็นช่อกระจุกประมาณ 3 – 5 ดอก เรียงอยู่บนแกนช่อดอก เป็นช่อกระจะโดยจะออกตามซอกใบและปลายกิ่ง ดอกแต่ละกระจุกจะมีใบประดับคล้ายใบประกบหุ้มไว้ 2 ใบ ใบประดับจะมีลักษณะคล้ายเกล็ดปลา เป็นรูปเกือบกลม ปลายแหลมหรือเว้าตื้น โคนกลมหรือเป็นรูปหัวใจตื้น มีขนทั้งสองด้านและมีใบประดับอีกหนึ่งใบอยู่ปลายสุด ใบประดับหุ้มดอกและติดอยู่จนติดผล โคนกลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเป็นหลอด ส่วนปลายแยกออกเป็นแฉก 4 แฉก แฉกบนและแฉกข้างมีลักษณะเป็นรูปไข่ ปลายแหลม ส่วนแฉกล่างจะมีลักษณะเป็นรูปไข่แต่จะแคบและยาวกว่าแฉกอื่น ๆ กลีบดอกมี 5 กลีบ เป็นสีขาวหรือสีเหลืองอ่อน มีลักษณะเป็นรูปดอกถั่ว กลีบกลางจะเป็นรูปไข่กลับและปลายกลม มีก้านกลีบสั้น ๆ กลีบด้านข้างจะเป็นรูปวงรีแคบ ปลายมนและโคนมีติ่ง รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ มี 1 ช่อง มีออวุล 2 – 4 เม็ด ก้านเกสรเพศเมียโค้งและที่โคนมีขน
ผล : ผลมีลักษณะเป็นฝักแบน ฝักมีลักษณะเป็นรูปขอบขนาน หยักคอดเป็นข้อประมาณ 2 – 4 ข้อ ฝักมีขน มีลวดลายแบบร่างแหชัดเจน ออกดอกเป็นผลในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงเดือนธันวาคม
เมล็ด : เมล็ดเป็นรูปวงรี

สรรพคุณของเกล็ดปลาช่อน

  • สรรพคุณจากเปลือกต้น
    – รักษาโรคตา แก้ท้องร่วง แก้อาการตกเลือดหากใช้ในปริมาณที่พอเหมาะ ด้วยการนำเปลือกต้นมาต้มกับน้ำแล้วดื่ม
  • สรรพคุณจากราก
    – เป็นยารักษาอาการผู้ป่วยทางจิต อาการเพ้อ กล้ามเนื้อสั่นกระตุก อาการชักในเด็กทารก แก้ปวดฟัน แก้เลือดจับตัวเป็นลิ่ม แก้ปวดท้อง แก้ปวดเส้น แก้ปวดข้อ แก้ปวดหลัง ด้วยการนำรากมาต้มกับน้ำแล้วดื่ม
    – แก้โรคตับพิการ บรรเทาอาการตับทำงานผิดปกติ ตำรายาพื้นบ้านอีสานนำรากมาต้มกับน้ำแล้วดื่ม
    – แก้คุณไสยซึ่งมีอาการผอมแห้ง ใจสั่น บางเวลาเพ้อคลั่งและร้องไห้ ด้วยการนำรากมาผสมกับรากกาสามปีกใหญ่ รากดูกอึ่ง รากโมกมันและรากหางหมาจอก จากนั้นนำมาต้มกับน้ำแล้วดื่ม
  • สรรพคุณจากใบ รักษาแผลพุพอง
    แก้ไข้ แก้ปัสสาวะพิการ แก้ไข้จับสั่น ด้วยการนำใบมาต้มกับน้ำแล้วดื่ม
  • สรรพคุณจากดอก แก้อาเจียน
  • สรรพคุณจากทั้งต้น แก้พยาธิใบไม้ในตับ
    – แก้ตับพิการ ตำรายาไทยนำทั้งต้นมาปรุงเป็นยา
  • สรรพคุณจากรากและเปลือกราก
    – แก้ปวด แก้เคล็ดบวม ด้วยการนำรากและเปลือกรากมาตำแล้วพอก

ประโยชน์ของเกล็ดปลาช่อน

1. เป็นส่วนประกอบของอาหาร นำยอดที่มีรสฝาดมันและขมเล็กน้อยมารับประทานเป็นผักสด
2. เป็นไม้มงคล เป็นต้นไม้มงคลซึ่งใช้เมื่อเอาข้าวขึ้นยุ้งฉาง
3. ใช้ในการเกษตร เป็นแหล่งอาหารสัตว์ตามธรรมชาติและสัตว์แทะเล็มอย่างโคกระบือซึ่งจะกินส่วนของใบรวมก้านใบย่อย

คุณค่าทางโภชนาการของใบรวมก้านใบย่อย

คุณค่าทางโภชนาการของใบรวมก้านใบย่อย ให้โปรตีน 16.7% เยื่อใยส่วน ADF 34.47% NDF 41.94% แคลเซียม 0.84% ฟอสฟอรัส 0.24% โพแทสเซียม 1.52% และแทนนิน 3.74%

ข้อควรระวังของเกล็ดปลาช่อน

เปลือกต้นเมื่อนำมาต้มเป็นยาแก้อาการตกเลือดควรใช้ในปริมาณที่พอเหมาะ หากใช้ในปริมาณที่มากเกินควรจะเป็นพิษต่อร่างกายได้

เกล็ดปลาช่อน เป็นต้นที่อยู่ในตำรายาพื้นบ้านอีสานและตำรายาไทย ใบมีรสจืดและรากมีรสจืดเฝื่อนเมื่อนำมาต้มเป็นยา มักจะนำยอดมารับประทานเป็นผักสดหรือผักจิ้ม นอกจากนั้นยังเป็นอาหารของสัตว์อย่างโคกระบือได้อีกด้วย เหมาะสำหรับชาวเกษตรที่เลี้ยงสัตว์และยังเป็นไม้มงคลในการเอาข้าวขึ้นยุ้งฉาง เกล็ดปลาช่อนเป็นต้นที่มีสรรพคุณทางยาได้หลายส่วนโดยเฉพาะส่วนของราก มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ แก้ไข้ แก้อาการปวดบวม แก้โรคตับพิการและเป็นยารักษาอาการผู้ป่วยทางจิตได้

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคกลาง. (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ, ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, กัญจนา ดีวิเศษ). “เกล็ดปลาช่อน”. หน้า 74.
ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “เกล็ดปลาช่อน”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.phargarden.com. [14 มิ.ย. 2015].
สำนักพัฒนาอาหารสัตว์ กรมปศุสัตว์. “เกล็ดปลาช่อน”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : nutrition.dld.go.th. [14 มิ.ย. 2015].

แข้งกวางดง ผักสำหรับชาวลัวะและไทใหญ่ ช่วยแก้โรคประดง บรรเทาปวดบั้นเอว

0
แข้งกวางดง ผักสำหรับชาวลัวะและไทใหญ่ ช่วยแก้โรคประดง บรรเทาปวดบั้นเอว
แข้งกวางดง ไม้ยืนต้นผลัดใบ ดอกเป็นช่อแบบช่อแยกแขนง สีขาวและมีกลิ่นหอม ไม้ใช้ทำรั้ว ใช้สร้างบ้าน
แข้งกวางดง ผักสำหรับชาวลัวะและไทใหญ่ ช่วยแก้โรคประดง บรรเทาปวดบั้นเอว
แข้งกวางดง ไม้ยืนต้นผลัดใบ ดอกเป็นช่อแบบช่อแยกแขนง สีขาวและมีกลิ่นหอม ไม้ใช้ทำรั้ว ใช้สร้างบ้าน

แข้งกวางดง

แข้งกวางดง (Wendlandia paniculata) มักจะพบตามป่าเบญจพรรณหรือป่าดิบเขา เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบที่มีดอกสีขาวและส่งกลิ่นหอมมาจากบนต้น เป็นต้นที่นิยมนำมาทานเป็นผักของชาวลัวะและไทใหญ่ แข้งกวางดงยังเป็นไม้เนื้ออ่อนที่สามารถนำมาใช้ในอุตสาหกรรมไม้และใช้ก่อสร้างได้ และที่สำคัญยังเป็นส่วนผสมในตำรายาพื้นบ้านล้านนา ถือเป็นไม้ยืนต้นชนิดหนึ่งที่มีประโยชน์หลากหลายและน่าสนใจ

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของแข้งกวางดง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Wendlandia paniculata (Roxb.) DC.
ชื่อท้องถิ่น : จังหวัดเชียงใหม่เรียกว่า “กว้างดง ซั่ง จ่อล่อ น้าน” จังหวัดสุโขทัยเรียกว่า “ประดงแดง” จังหวัดเลยเรียกว่า “ฮุนเต้า” คนเมืองเรียกว่า “แข้งกวาง” คนเมืองและไทใหญ่เรียกว่า “ไม้กว้าว” ชาวลัวะเรียกว่า “ไม้กว๊าง” ชาวกะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอนเรียกว่า “เส่ควอบอ”
ชื่อวงศ์ : วงศ์เข็ม (RUBIACEAE)

ลักษณะของแข้งกวางดง

แข้งกวางดง เป็นพรรณไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดเล็กที่มักจะพบตามป่าเบญจพรรณหรือป่าดิบเขา
ต้น : เรือนยอดเป็นทรงกลมโปร่ง
เปลือกต้น : เปลือกต้นเป็นสีน้ำตาลอมเทาแตกเป็นร่องตื้นตามขอบลำต้น
ใบ : เป็นใบเดี่ยวออกเรียงตรงข้ามสลับตั้งฉากกัน ลักษณะของใบเป็นรูปวงรีหรือรูปวงรีแกมใบหอก ปลายใบแหลม โคนใบเป็นรูปลิ่มหรือสอบ ขอบใบเรียบ แผ่นใบบาง ท้องใบมน เส้นแขนงใบเป็นร่องลึกชัดเจนข้างละ 10 – 12 เส้น มีหูใบอยู่ระหว่างก้านใบ
ดอก : ออกดอกเป็นช่อแบบช่อแยกแขนงโดยจะออกที่ปลายกิ่งเป็นสามเหลี่ยม ดอกย่อยมีจำนวนมาก ดอกเป็นสีขาวและมีกลิ่นหอม กลีบเลี้ยงและกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกออกเป็นแฉก 4 – 5 แฉก ออกดอกในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนมีนาคม
ผล : เป็นผลแห้ง ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลม แตกออกได้ตามพู ภายในผลมีเมล็ดจำนวนมาก จะออกผลในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม

สรรพคุณของแข้งกวางดง

  • สรรพคุณจากลำต้น
    – แก้โรคประดง ตำรายาพื้นบ้านล้านนานำลำต้นมาผสมกับสมุนไพรจำพวกประดงรวม 9 ชนิด แล้วต้มกับน้ำเพื่อดื่มแก้อาการ
    – แก้ปวดบั้นเอว ด้วยการนำลำต้นมาผสมกับแก่นขี้เหล็ก แก่นราชพฤกษ์ แก่นมะดูก แก่นไม้เล็มและรากเดือยหิน จากนั้นนำมาต้มกับข้าว ทำการรับประทานเป็นข้าวและน้ำเพื่อแก้อาการ

ประโยชน์ของแข้งกวางดง

1. เป็นส่วนประกอบของอาหาร ชาวลัวะนำยอดอ่อนมาทานเป็นผักจิ้มกับน้ำพริก ชาวไทใหญ่นำดอกมาลวกทานกับน้ำพริก
2. ใช้ในอุตสาหกรรมก่อสร้าง นำไม้เนื้ออ่อนมาทำรั้ว ใช้สร้างบ้าน ทำโครงสร้างต่าง ๆ ของบ้านอย่างเสาบ้าน ทำที่พักชั่วคราวและทำฟืน

แข้งกวางดง เป็นต้นที่มีดอกสีขาวกลิ่นหอมและมีประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมก่อสร้าง รวมถึงเป็นยาในตำรับยาสมุนไพรพื้นบ้านล้านนาที่ช่วยแก้อาการพื้นฐานเป็นหลัก โดยเฉพาะแก้โรคที่เกี่ยวกับประดงซึ่งเป็นโรคที่มีอาการหลากหลาย ดังนั้นชาวล้านนาจึงนำแข้งกวางดงมาเป็นส่วนผสมในยาสมุนไพรแก้อาการ นอกจากนั้นยังมีสรรพคุณแก้ปวดบั้นเอวได้อีกด้วย

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา. (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “แข้งกวางดง”. หน้า 226.
ระบบจัดการฐานความรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้ กรมป่าไม้. “แข้งกวางดง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : biodiversity.forest.go.th. [26 ม.ค. 2015].
โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง, สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน). “แข้งกวางดง”. อ้างอิงใน : หนังสือชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : eherb.hrdi.or.th. [26 ม.ค. 2015].

จมูกปลาหลด ดอกอมชมพูสวยงาม ต้นรสขมเย็น เป็นยาดีต่อสตรี

0
จมูกปลาหลด ดอกอมชมพูสวยงาม ต้นรสขมเย็น เป็นยาดีต่อสตรี
จมูกปลาหลด ดอกและใบของต้นสวยงาม ใบอ่อนและดอกมารับประทานเป็นผักสด
จมูกปลาหลด ดอกอมชมพูสวยงาม ต้นรสขมเย็น เป็นยาดีต่อสตรี
จมูกปลาหลด ดอกและใบของต้นสวยงาม ใบอ่อนและดอกมารับประทานเป็นผักสด

จมูกปลาหลด

จมูกปลาหลด (Sarcostemma secamone) เป็นต้นที่มีชื่อเรียกแปลกประหลาดไม่เหมือนใคร มักจะพบตามบริเวณน้ำตื้นริมบึงทั่วไป ดอกและใบของต้นนั้นสวยงามมากโดยเฉพาะช่วงดอกบานจะยิ่งสวยงามเป็นทวีคูณจึงกลายเป็นไม้ประดับยอดนิยมชนิดหนึ่ง นอกจากความสวยงามแล้วนั้นยังนำใบอ่อนและดอกมารับประทานเป็นผักสดได้ ซึ่งชาวอีสานจะนำมารับประทานร่วมกับลาบ ส่วนชาวใต้จะใช้ใบมาหั่นผสมกับข้าวยำ เป็นต้นที่นิยมนำมาปรุงหรือทานร่วมกับอาหาร และยังเป็นต้นที่มีสรรพคุณทางยาได้อย่างน่าทึ่ง

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของจมูกปลาหลด

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Sarcostemma secamone (L.) Bennett และ Oxystelma esculentum (L. f.) Sm.
ชื่อสามัญ : มีชื่อสามัญว่า “Rosy Milkweed”
ชื่อท้องถิ่น : ภาคกลางเรียกว่า “สอึก สะอึก” ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเรียกว่า “ผักจมูกปลาหลด” จังหวัดเชียงใหม่เรียกว่า “ผักไหม” จังหวัดมหาสารคามเรียกว่า “เครือไส้ปลาไหล” จังหวัดเพชรบูรณ์เรียกว่า “จมูกปลาไหลดง” จังหวัดนครราชสีมาเรียกว่า “ตะมูกปลาไหล” ราชบัณฑิตเรียกว่า “กระพังโหม”
ชื่อวงศ์ : วงศ์ตีนเป็ด (APOCYNACEAE)
ชื่อพ้อง : Periploca secamone L. และ Oxystelma esculentum (L. f.) R. Br. ex Schult., Periploca esculenta L. f., Sarcostemma esculentum (L. f.) R.W. Holm

ลักษณะของจมูกปลาหลด

จมูกปลาหลด เป็นพรรณไม้เถาเลื้อยพาดพันต้นไม้อื่นที่มีเขตการกระจายพันธุ์ในอินเดียถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในประเทศไทยมักจะพบบริเวณน้ำตื้นริมบึงทั่วไป
เถา : เถามีลักษณะกลมขนาดเล็กเป็นสีเขียวและมียางสีขาวอยู่ภายในเถา
ยอดอ่อน : มีขนเล็กน้อย
ลำต้น : เมื่อลำต้นแก่นำมาขยี้แล้วดมจะมีกลิ่นเหม็น
ใบ : เป็นใบเดี่ยวออกเรียงตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ ลักษณะของใบเป็นรูปยาวแคบหรือเป็นรูปดาบเรียวแคบ ปลายใบแหลม โคนใบมน ขอบใบเรียบไม่มีจัก เนื้อใบบางเรียบ แผ่นใบเป็นสีเขียว เส้นใบโค้งจรดกันใกล้ ๆ ขอบใบ ก้านใบสั้นและเล็ก เมื่อใบแก่นำมาขยี้แล้วดมจะมีกลิ่นเหม็น
ดอก : ออกดอกเดี่ยวหรือออกดอกเป็นช่อสั้น ๆ ตามซอกใบ ช่อละประมาณ 2 – 3 ดอก บางครั้งช่อใหญ่อาจมีดอกถึง 6 – 9 ดอก ในดอกหนึ่งมีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ ปลายกลีบแหลม ส่วนกลีบดอกโคนติดกัน ปลายแยกเป็น 5 กลีบ ลักษณะคล้ายรูปดาว ริมขอบกลีบดอกมีขน ด้านนอกเป็นสีขาวหรือสีขาวอมชมพู ส่วนด้านในเป็นสีชมพูมีลายเส้นสีม่วงเข้มและจุดประสีน้ำตาลอยู่ตอนโคนกลีบที่ติดกัน เมื่อดอกบานจะมีลักษณะคล้ายรูปจาน
ผล : ผลมีลักษณะเป็นฝัก ปลายฝักแหลมโค้งเรียว โคนฝักกว้าง เปลือกฝักนิ่ม ภายในพองลม เมื่อผลแก่จะแตกออกด้านเดียวและจะเห็นเมล็ดติดอยู่กับไส้กลางผลเป็นจำนวนมาก
เมล็ด : เมล็ดมีลักษณะเป็นรูปไข่สีน้ำตาล ที่ปลายของเมล็ดมีขนสีขาวติดอยู่เป็นกระจุก ซึ่งช่วยให้ลอยไปตามลมเพื่อกระจายพันธุ์ได้ไกล

สรรพคุณของจมูกปลาหลด

  • สรรพคุณจากทั้งต้น รักษาโรคมะเร็ง รักษาอาการอักเสบบริเวณปากและคอ แก้ไข้รากสาด แก้บิด แก้ประจำเดือนผิดปกติ รักษาบาดแผลและรักษาแผลสด ขับน้ำนม
  • สรรพคุณจากเถา
    – แก้เจ็บคอ ด้วยการนำเถาที่มีรสขมเย็นมาต้มกับน้ำแล้วใช้กลั้วคอ
  • สรรพคุณจากราก
    – รักษาโรคดีซ่าน ตัวเหลืองและตาเหลือง ด้วยการนำรากที่มีรสขมเย็นมาต้มกับน้ำแล้วดื่ม
  • สรรพคุณจากน้ำยาง ล้างแผลที่เป็นหนอง
  • สรรพคุณจากใบและเถา เป็นยาระบายอ่อน ๆ ในเด็ก รักษาบาดแผลและรักษาแผลสด
    แก้ไข้และลดความร้อนในร่างกาย ด้วยการนำใบและเถาที่มีรสขมและกลิ่นเหม็นเขียวมาคั้นแล้วดื่ม

ประโยชน์ของจมูกปลาหลด

1. เป็นส่วนประกอบของอาหาร ยอดอ่อน ใบอ่อนและดอกนำมาทานเป็นผักสดจิ้มกับน้ำพริก ชาวอีสานจะทานร่วมกับลาบ ชาวใต้จะใช้ใบมาหั่นผสมกับข้าวยำ ผลสามารถนำมารับประทานได้ นำมาย้อมสีเขียวในขนมขี้หนูด้วยการนำน้ำคั้นจากเถาและใบมาผสมในขนมขี้หนู
2. ปลูกเป็นไม้ประดับ นิยมปลูกลงกระถางซึ่งจมูกปลาหลดปลูกง่าย โตเร็วและทนทาน อีกทั้งดอกยังสวยงามมาก
3. เป็นส่วนผสมในยาสมุนไพร ต้นใช้ปรุงเข้ายาเขียวน้ำมูตร ยาเขียวมหาคงคา ยามหากะเพราและยาขนานต่าง ๆ

จมูกปลาหลด เป็นต้นที่มีรสขมเย็นจึงเป็นยาที่นิยมนำมาเป็นส่วนผสมอย่างยาเขียวและยาขนาน จุดเด่นของต้นอยู่ที่ดอกสีขาวอมชมพูซึ่งสวยงามมากจนคู่ควรแก่การปลูกประดับบ้าน มักจะนำส่วนของยอดอ่อน ใบอ่อนและดอกมารับประทานเป็นผักสด เป็นต้นที่มีสรรพคุณทางยาได้ทุกส่วน มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ รักษาโรคมะเร็ง รักษาโรคดีซ่าน แก้ไข้ แก้ประจำเดือนผิดปกติ ถือเป็นต้นที่เหมาะสมต่อผู้หญิงเพราะช่วยในเรื่องของน้ำนมและประจำเดือนได้ดี

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “จมูกปลาหลด”. หน้า 218-219.
หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคเหนือ. (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ). “จมูกปลาหลด”. หน้า 107.
ผักพื้นบ้านในประเทศไทย กรมส่งเสริมการเกษตร. “จมูกปลาหลด”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : ftp://smc.ssk.ac.th/intranet/Research_AntioxidativeThaiVegetable/. [10 ม.ค. 2015].
ข้อมูลพรรณไม้, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “จมูกปลาหลด”. อ้างอิงใน : หนังสืออนุกรมวิธานพืช อักษร ก. (ราชบัณฑิตยสถาน). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.rspg.or.th/plants_data/. [10 ม.ค. 2015].
สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช, กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. “จมูกปลาหลด”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.dnp.go.th/botany/. [10 ม.ค. 2015].
จุลสารสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ปีที่ 8 ฉบับที่ 3, พันธุ์ไม้ที่ใช้เป็นสมุนไพรและอาหาร. (ศ.ดร.พเยาว์ เหมือนวงษ์ญาติ). “จมูกปลาหลด”. หน้า 6.

พวงชมพู ไม้ประดับสีเย็นตาและสวยงาม มีสรรพคุณช่วยในการนอนหลับได้

0
พวงชมพู ไม้ประดับสีเย็นตาและสวยงาม มีสรรพคุณช่วยในการนอนหลับได้
พวงชมพู ดอกเป็นแบบช่อกระจะแยกแขนง ดอกเป็นสีขาวหรือสีชมพูรูปคล้ายหัวใจเล็ก ๆ
พวงชมพู ไม้ประดับสีเย็นตาและสวยงาม มีสรรพคุณช่วยในการนอนหลับได้
พวงชมพู ดอกเป็นแบบช่อกระจะแยกแขนง ดอกเป็นสีขาวหรือสีชมพูรูปคล้ายหัวใจเล็ก ๆ

พวงชมพู

พวงชมพู (Mexican Creeper) เป็นต้นที่มีดอกสีชมพูหรือสีขาวสดสวยงามเหมาะสำหรับนำมาเป็นไม้ประดับในบ้าน เป็นไม้เถาเลื้อยที่มาจากแถบอเมริกากลาง มีการนำยอดอ่อนและช่อดอกมาลวกหรือชุบแป้งทอดเพื่อรับประทานได้ นอกจากนั้นยังเป็นต้นที่มีสรรพคุณทางยาที่ช่วยในการนอนหลับ ซึ่งส่วนสำคัญในการรักษาคือรากและเถาของพวงชมพู ถือเป็นต้นที่คู่ควรแก่การปลูกไว้ในบ้านเพื่อประดับหรือนำมาปรุงยาเพื่อการนอนหลับที่ดีขึ้นได้ด้วย

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของพวงชมพู

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Antigonon leptopus Hook. & Arn.
ชื่อสามัญ : มีชื่อสามัญว่า “Mexican Creeper” “Bee Bush” “Bride’s tears” “Coral Vine” “Chain of Love” “Confederate Vine” “Corallita” “Hearts on a Chain” “Honolulu Creeper” “Queen’s Jewels” “Mountain Rose Coralvine” “San Miguelito Vine” “Rose Pink Vine”
ชื่อท้องถิ่น : ภาคกลางเรียกว่า “พวงนาก” จังหวัดกรุงเทพมหานครเรียกว่า “ชมพูพวง” จังหวัดปัตตานีเรียกว่า “หงอนนาก”
ชื่อวงศ์ : วงศ์ผักไผ่ (POLYGONACEAE)
ชื่อพ้อง : Antigonon amabie K.Koch, Antigonon cinerascens M.Martens & Galeott, Antigonon cordatum M.Martens & Galeotti, Antigonon platypus Hook. & Arn., Corculum leptopus Stuntz

ลักษณะของพวงชมพู

พวงชมพู เป็นไม้เถาเลื้อยที่มีถิ่นกำเนิดทางแถบอเมริกากลางโดยเฉพาะในประเทศเม็กซิโก
เถา : เถามีเนื้ออ่อนขนาดเล็ก แต่ตรงส่วนโคนแข็งแรงมาก เป็นสีเขียวอ่อน มีมือสำหรับยึดเกาะพันต้นไม้หรือกิ่งอื่นเพื่อการทรงตัว
ใบ : เป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับกันไปตามข้อต้น ใบช่วงโคนมักจะมีขนาดใหญ่กว่าใบช่วงปลายกิ่ง ลักษณะของใบคล้ายใบโพธิ์หรือรูปหัวใจ ปลายใบแหลม โคนใบมนเว้าเป็นรูปหัวใจ ขอบใบจักมน แผ่นใบเกลี้ยง เส้นแขนงใบและเส้นแขนงย่อยชัดเจน
ดอก : ออกดอกเป็นช่อดอกแบบช่อกระจะแยกแขนง มักจะออกตามซอกใบ ซอกกิ่งและที่ปลายยอด ปลายช่อจะมีส่วนสำหรับเกาะเกี่ยวสิ่งอื่น ๆ เพื่อเป็นการพยุงตัว ดอกออกเป็นกระจุกตามแขนงช่อ ดอกมีสีขาวหรือสีชมพู แต่ส่วนใหญ่จะเป็นสีชมพู กลีบรวมมี 5 กลีบ กลีบนอกมี 2 – 3 กลีบ ลักษณะเป็นรูปไข่ กลีบในเป็นรูปขอบขนาน ลักษณะของดอกเป็นรูปคล้ายหัวใจเล็ก ๆ อาจจะออกเป็นช่อตั้งหรือห้อยเป็นพวงระย้า
ผล : ผลเป็นผลแห้งเมล็ดล่อน ลักษณะของผลเป็นรูปสามเหลี่ยม

สรรพคุณของพวงชมพู

  • สรรพคุณจากรากและเถา
    – เป็นยากล่อมประสาทและช่วยทำให้นอนหลับ ด้วยการนำเถาประมาณ 1 กำมือ หรือรากประมาณครึ่งกำมือมาต้มกับน้ำ 4 ถ้วยแก้ว แล้วต้มให้เหลือ 2 ถ้วยแก้ว ใช้รับประทานก่อนนอนครั้งละ 3 ช้อนแกง
  • สรรพคุณจากดอก
    – ดอกมีวิตามินเอช่วยบำรุงสายตา สามารถกินสด ชุปแป้งทอด หรือลวกจิ้มน้ำพริกได้

ประโยชน์ของพวงชมพู

1. เป็นส่วนประกอบของอาหาร ยอดอ่อนและช่อดอกนำมาลวกให้สุกเพื่อทานเป็นผักจิ้มหรือชุบแป้งทอด
2. ปลูกเป็นไม้ประดับ ปลูกง่ายและออกดอกทั้งปี จึงนิยมปลูกลงกระถางหรือกระถางแขวน

พวงชมพู เป็นต้นที่มีสีเย็นตาและดูสวยงามเหมาะแก่การปลูกลงกระถางแขวนเพื่อประดับบ้าน มักจะนำส่วนของยอดอ่อนและช่อดอกมาลวกหรือชุบแป้งทอดเพื่อรับประทานในรูปแบบของผัก เป็นต้นที่มีสรรพคุณอยู่ในส่วนของรากและเถา มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ ช่วยทำให้นอนหลับ เหมาะสำหรับคนทำงานหรือผู้สูงอายุที่มักจะมีอาการนอนไม่หลับ ซึ่งเป็นอาการที่คนไทยส่วนมากกำลังเผชิญ ดังนั้นพวงชมพูจึงเป็นอีกหนทางหนึ่งในการช่วยให้การนอนดีกว่าเก่าได้

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
ไม้ดอกไม้ประดับ. “พวงชมพู”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : it.kbtc.ac.th. [09 ม.ค. 2015].
สรรพคุณสมุนไพร 200 ชนิด, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “พวงชมพูดอกขาว”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.rspg.or.th/plants_data/herbs/. [09 ม.ค. 2015].
มูลนิธิหมอชาวบ้าน. นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่ 269 คอลัมน์ : ต้นไม้ใบหญ้า. (เดชา ศิริภัทร). “พวงชมพู ดวงใจดวงน้อยที่งดงามและบอบบาง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.doctor.or.th. [09 ม.ค. 2015].
สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช, กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. “พวงชมพู”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.dnp.go.th/botany/. [09 ม.ค. 2015].