โรคเมลิออยด์ หรือ “โรคไข้ดิน” เชื้อโรคที่มาจากน้ำและดินโคลน อันตรายถึงชีวิต
โรคเมลิออยด์ หรือโรคไข้ดิน เป็นโรคติดเชื้อแบคทีเรีย พบในดิน โคลน และแหล่งน้ำ เข้าสู่ร่างกายของเราได้ผ่านทางผิวหนังที่เป็นแผลเปิด

โรคเมลิออยด์

โรคเมลิออยด์ หรือ เมลิออยโดสิส (Melioidosis) คือ เป็นโรคติดเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่งเป็นผลมาจากสถานการณ์น้ำท่วม ภัยพิบัติทางธรรมชาติ เชื้อแบคทีเรียมีชื่อว่า Burkholderia pseudomallei หรือที่รู้จักว่า “โรคไข้ดิน” ซึ่งพบในดิน โคลน และแหล่งน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อโรคเมลิออยด์ในประเทศออสเตรเลียเหนือและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะประเทศไทย สิงคโปร์ และมาเลเซีย

การติดเชื้อของโรคเมลิออยด์

โรคเมลิออยด์สามารถเข้าสู่ร่างกายของเราได้ผ่านทางผิวหนังที่เป็นแผลเปิด การหายใจเข้าฝุ่นละอองที่ปนเปื้อนเชื้อเมลิออยด์เข้าสู่ปอด และการดื่มน้ำจากแหล่งน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อเมลิออยด์เข้าปากสามารถติดเชื้อได้ทั้งคนและสัตว์

ระยะฟักตัวของเชื้อโรคเมลิออยด์

ปัจจุบันพบว่าการระยะฟักตัวของเชื้อโรคเมลิออยด์ที่ถูกพบในประเทศไทยมีระยะฟักตัวแตกต่างกันไป โดยปกติระยะฟักตัวเริ่มตั้งแต่ 2 ถึง 4 สัปดาห์ แต่สามารถอยู่ได้นานถึงสองสามปี ดังนั้นอาจขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมบริเวณที่พบเชื้อโรคเมลิออยด์นั้นด้วย

อาการทั่วไป

  • มีไข้
  • ปวดศีรษะ
  • ปวดท้อง
  • แผลเปื่อย
  • อาการไอ
  • ไอเป็นเลือด
  • อาการเจ็บหน้าอก
  • ต่อมน้ำเหลืองบวม
  • มีอาการชัก
  • ลดน้ำหนัก
  • เหงื่อออกตอนกลางคืน
  • ปวดกล้ามเนื้อหรือตามข้อ

อาการติดเชื้อที่รุนแรงส่งผลกระทบต่ออวัยวะภายใน

การรักษา

แพทย์ใช้ยาปฏิชีวนะรักษาอาการของโรคเมลิออยด์

การป้องกัน และข้อควรระวังเมื่อต้องสัมผัสกับน้ำหรือดิน

  • สวมรองเท้าบูทกันน้ำ เมื่อเดินในดินเปียก น้ำขัง หรือโคลน
  • สวมถุงมือยางขณะทำสวน หรือทำงานกับดิน
  • หากมีแผลเปิดให้ติดพลาสเตอร์ชนิดกันน้ำได้
  • ล้างมือด้วยสบู่และน้ำหลังจากสัมผัสกับดินในสวน
  • สวมหน้ากากที่ปิดจมูกและปากขณะตัดหญ้า เลี้ยงสัตว์ ปลูกพืช หรือใช้น้ำแรงดันสูงฉีดดิน
  • ควรอาบน้ำและทำความสะอาดร่างกายทันที ทุกครั้งหลังจากสัมผัสกับน้ำหรือดิน
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับดินและน้ำนิ่ง
  • หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติที่ไม่ผ่านการต้ม
  • หลีกเลี่ยงการเดินลุยน้ำหรือดินโคลน อาจปนเปื้อนเชื้อโรคเมลิออยโดสิสเข้าสู่บาดแผลได้

กลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคเมลิออยด์ ได้แก่

  • นักท่องเที่ยวเดินป่า
  • ทหาร หรือเจ้าหน้าที่ป่าไม้
  • คนงานก่อสร้าง
  • คนงานเหมือง
  • คนงานด้านการเกษตร
  • คนเลี้ยงสัตว์ไล่ทุ่ง
  • เกษตรกรทำฟาร์มพืชและสัตว์
  • บุคคลอื่นๆ ที่สัมผัสกับดิน น้ำ และโคลน ที่ปนเปื้อนสัมผัสกับแบคทีเรียโดยตรง

กลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคเมลิออยด์สูงที่เป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้

  • ผู้สูงอายุ
  • ผู้ป่วยเบาหวาน
  • ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง
  • ผู้ป่วยโรคปอดเรื้อรัง
  • ผู้ป่วยมะเร็ง
  • ผู้ป่วยธาลัสซีเมีย
  • ผู้ป่วยระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง (HIV)

อย่างไรก็ตามสถานณ์การน้ำท่วมในประเทศไทยยังส่งผลกระทบต่อประชาชนหลายอำเภอเป็นวงกว้าง ระดับน้ำยังท่วมขังสูง ทุกครั้งหลังจากลุยน้ำมากให้รีบอาบน้ำทำความสะอาดร่างกายฟอกสบู่อย่างน้อย 2 ครั้ง เพื่อลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อโรคเมลิออยด์ หรือโรคไข้ดินที่มากับน้ำท่วม

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม