กระเจี๊ยบเขียว ผักพื้นบ้านแหล่งแคลเซียมจากธรรมชาติ

0
11389
กระเจี๊ยบเขียว ผักพื้นบ้านแหล่งแคลเซียมจากธรรมชาติ
กระเจี๊ยบเขียว เป็นพืชฝักสีเขียวอุดมด้วยสารอาหารและสารต้านอนุมูลอิสระ มีรสชาติหวาน กรอบอร่อย นิยมใช้ปรุงเป็นอาหาร
กระเจี๊ยบเขียว ผักพื้นบ้านแหล่งแคลเซียมจากธรรมชาติ
กระเจี๊ยบเขียว เป็นพืชฝักสีเขียวอุดมด้วยสารอาหารและสารต้านอนุมูลอิสระ มีรสชาติหวาน กรอบอร่อย นิยมใช้ปรุงเป็นอาหาร

กระเจี๊ยบเขียว

กระเจี๊ยบเขียว ( Okra ) คือ พืชล้มลุกขนาดกลางพันธุ์ฝักสีเขียวที่กินได้นิยมนำมาปรุงเป็นอาหาร ฝักอ่อนมีรสชาติหวาน กรอบอร่อย ส่วนฝักแก่จะมีเนื้อเหนียว มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นของกระเจี๊ยบ มะเขือมอญ กระเจี๊ยบมอญ มะเขือทะวาย มะเขือลื่น มะเขือพม่า มะเขือมื่น มะเขือละโว้ ถั่วเละ จัดอยู่ในวงศ์ชบา MALVACEAE ชื่อวิทยาศาสตร์ Abelmoschus esculentus (L.) Moench กระเจี๊ยบมีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนแถบแอฟริกาตะวันตกและนำเข้าไปยังยุโรปตะวันตก ปัจจุบันกระเจี๊ยบเขียวเป็นที่นิยมในแอฟริกาตะวันออกกลาง กรีซ ตุรกี อินเดีย แคริบเบียน อเมริกาใต้ และตอนใต้ของสหรัฐอเมริกา 

ผักกระเจี๊ยบเขียวอุดมด้วยสารอาหารและสารต้านอนุมูลอิสระหลัก โดยเฉพาะฟลาโวนอยด์ ไอโซเคอร์ซิติ วิตามินเอ วิตามินซี วิตามินเค เป็นสารประกอบในอาหารที่ป้องกันความเสียหายจากโมเลกุลที่เป็นอันตรายเรียกว่า อนุมูลอิสระ กระเจี๊ยบจึงมีประโยชน์มากมาย นิยมใช้ปรุงเป็นอาหาร หรือช่วยเพิ่มความหวานในอาหาร เช่น น้ำซุป ใบและผลอ่อนใช้เป็นยาพอกแก้ปวดเมื่อย ในบางประเทศนำเมล็ดแก่กระเจี๊ยบมาใช้แทนเมล็ดกาแฟ ฝักอ่อนกระเจี๊ยบเขียวนำมารับประทานสด ผักต้มจิ้มน้ำพริก หรือปรุงเป็นอาหาร ส่วนเมล็ดใช้สกัดน้ำมันได้ ใยกระเจี๊ยบเขียวสามารถใช้ในการผลิตกระดาษได้ รวมถึงในฝักกระเจี๊ยบนั้นยังเป็นแหล่งแคลเซียมธรรมชาติที่ไม่ก่อให้เกิดผลข้างเคียงปลอดภัยสำหรับการบริโภค ในทางการแพทย์ยังใช้เมือกจากฝักสดกระเจี๊ยบเขียวมาใช้รักษาอาการอาหารไม่ย่อยอีกด้วย

ลักษณะของกระเจี๊ยบเขียว

  • ต้นกระเจี๊ยบเขียว เป็นพืชผักที่ได้รับความนิยมในภูมิภาคเขตร้อนเนื่องจากปลูกง่ายให้ผลผลิตเร็ว ทนต่อสภาพอากาศและมีความต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูพืช
    มีลำต้นตั้งตรงขนาดเล็กสูงประมาณ 2 เมตร และกิ่งก้านที่แตกออกจากลำต้นสลับกันสีเขียวอ่อน มีขนอ่อนสีขาวรอบลำต้นสัมผัสได้
  • ใบกระเจี๊ยบเขียว ลักษณะใบกว้างมีความยาว 10–20 เซนติเมตร ใบมี 5-7 แฉก คล้ายรูปหัวใจ ขอบใบหยัก ปลายใบมนแหลม มีขนอ่อน
  • ดอกกระเจี๊ยบเขียว ดอกสีเหลืองอ่อนมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 4-8 เซนติเมตร มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบปลายกลีบโค้งมน ดอกมีเกสรตัวผู้จำนวนมาก มีก้านชูอับเรณูรวมกันลักษณะเป็นหลอดยาวประมาณ 2-3 เซนติเมตรหุ้มเกสรตัวเมียไว้
  • ผลกระเจี๊ยบเขียว หรือ ฝักกระเจี๊ยบเขียว ลักษณะผลอ่อนมีสีเขียวอ่อนไปถึงเข้ม รูปทรงเป็นเหลี่ยมยาว 5 – 9 เหลี่ยม ปลายฝักเรียวแหลม มีขนอ่อนสีขาว เมื่อเวลาผ่านไป ฝักเริ่มแก่จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแล้วจะแตกออก
  • เมล็ดกระเจี๊ยบเขียว ลักษณะเมล็ดอ่อนจะมีสีขาวเรียงเป็นแถวยาวตามความยาวของแต่ละฝักมีเมล็ดประมาณ 50-80 เมล็ด เมื่อเวลาผ่านไปเมล็ดเริ่มแก่จะเปลี่ยนเป็นสีเขียวอมดำ
  • การขยายพันธุ์กระเจี๊ยบเขียว ขยายพันธุ์จากการเพาะเมล็ดโดยนำไปแช่น้ำ 1 คืนก่อนปลูกจะช่วยให้เมล็ดพันธุ์พืชงอกได้เร็วขึ้น ซึ่งกระเจี๊ยบเป็นพืชผักพื้นบ้านที่ชอบความร้อนเติบโตได้ดีที่สุดในสภาพอากาศประเทศไทยและชอบดินร่วนปนทรายที่มีการระบายน้ำได้ดีถึงปานกลาง ดินควรมีอินทรียวัตถุสูงโดยมี pH ระหว่าง 5.8 ถึง 6.8 ควรปลูกในบริเวณที่มีแสงแดดจัด เพราะกระเจี๊ยบเขียวเติบโตได้ดีที่สุดในอุณหภูมิที่ร้อน 35 – 65 องศาเซลเซียส   
  • การเก็บเกี่ยวฝักกระเจี๊ยบอ่อน จะเริ่มเก็บผลผลิตประมาณ 2 เดือนหลังปลูก โดยทั่วไปฝักกระเจี๊ยบเขียวจะพร้อมเก็บเกี่ยว 4-6 วันหลังดอกบาน
    และควรเก็บเกี่ยวฝักกระเจี๊ยบเขียวทุกๆ 2-3 วัน เมื่อมีความยาวถึง 7.6–15.2 เซนติเมตร สามารถนำฝักออกจากต้นได้โดยการตัดด้วยมีดคมหรือหักออกจากต้นก็ได้เช่นกัน

ทางการแพทย์ยังใช้เมือกจากฝักสดกระเจี๊ยบเขียวมาใช้รักษาอาการอาหารไม่ย่อย

กระเจี๊ยบเขียว สรรพคุณและประโยชน์

กระเจี๊ยบเขียวอ่อนประกอบด้วยเส้นใยอาหารเป็นหลักอีกทั้งมีแคลอรี่ต่ำแทบไม่มีไขมันเลย นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งแคลเซียม วิตามินเค วิตามินเอ สังกะสี และวิตามินซี ที่สำคัญใยอาหารประกอบด้วยส่วนประกอบ 2 ส่วน คือ เส้นใยที่ไม่ละลายน้ำซึ่งเป็นส่วนประกอบของผักเกือบทุกชนิด และเส้นใยที่ละลายน้ำได้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเมือกที่กระเจี๊ยบมี เส้นใยที่ละลายน้ำได้มีบทบาทสำคัญที่สุดในการลดระดับคอเลสเตอรอลรวมทั้งดักจับไขมันส่วนเกินภายในร่างกายการรับประทานกระเจี๊ยบเขียวให้ประโยชน์ด้านสุขภาพ ดังนี้

1. ช่วยเพิ่มการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน
2. กระเจี๊ยบเขียวเป็นแหล่งโปรตีนที่ย่อยง่ายและเป็นอาหารที่เหมาะสำหรับชาวมังสวิรัติ
3. เส้นใยอาหารของกระเจี๊ยบเขียวช่วยให้รู้สึกอิ่มนานขึ้น
4. กินกระเจี๊ยบเขียวช่วยควบคุมระดับคอเลสเตอรอล ช่วยในการลดน้ำได้ได้ลดไม่มันไม่ดี (LDL)
5. ช่วยเพิ่มการทำงานของหัวใจ
6. กระเจี๊ยบเขียวสามารถช่วยให้ทุกคนห่างไกลจากโรคมะเร็งได้
7. ปริมาณโฟเลตที่สูงในกระเจี๊ยบมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งเป็นอาหารชั้นเยี่ยมสำหรับผู้หญิงก่อนตั้งครรภ์
หรือในระหว่างตั้งครรภ์จะช่วยส่งเสริมให้แม่และทารกมีสุขภาพดี
8. ช่วยชะลออัตราการดูดซึมน้ำตาลในทางเดินอาหาร
9. ช่วยป้องกันโรคเบาหวาน ลดระดับน้ำตาลในเลือด
10. ช่วยป้องกันโรคไต
11. ช่วยบำรุงสมอง
12. ช่วยลดอาการหอบหืด บรรเทาอาการทางเดินหายใจ
13. ช่วยต้านการอักเสบ เช่น การรักษาปอดอักเสบ เจ็บคอ และอาการลำไส้แปรปรวน
14. ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นต้อกระจก และจอประสาทตาเสื่อม
15. ช่วยในการเจริญเติบโต ฟื้นฟูเซลล์ผิว และเพิ่มปริมาณคอลลาเจน ทำให้ผิวดูเรียบเนียนอ่อนเยาว์และมีสุขภาพดี
16. เมือกของกระเจี๊ยบเขียวช่วยเคลือบทางเดินอาหาร และช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหารให้รู้สึกดีขึ้น
17.ช่วยบรรเทาอาการปวดท้องของโรคกระเพาะ
18. ช่วยให้ระบบย่อยอาหารดี   
19. ช่วยป้องกันความผิดปกติของท่อประสาท
20. ช่วยป้องกันโรคโลหิตจาง
21. ช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง
22. ช่วยสร้างโปรตีนที่มีประโยชน์ในการสร้างเนื้อเยื่อใหม่ ซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่เสียหาย
23. ช่วยเร่งการสลายกลูโคสและไขมันไม่ดี
24. ช่วยเพิ่มอัลบูมินซึ่งเป็นโปรตีนในเลือดที่มีประโยชน์ในตับ
25. ป้องกันผิวจากแสงแดด
26. ช่วยลดโปรตีนในปัสสาวะ
27. ช่วยลดอาการปวดกราม ลดการอักเสบและความเจ็บปวด
28. แก้พยาธิตัวจี๊ด

ตารางข้อมูลทางโภชนาการของกระเจี๊ยบเขียวดิบ 100 กรัม

กระเจี๊ยบเขียวดิบ 100 กรัม ให้พลังงาน 43 แคลอรี

สารอาหาร ปริมาณสารอาหาร
แคลเซียม 85 มิลลิกรัม
ไขมัน 2.32 กรัม
โซเดียม 231 มิลลิกรัม
คาร์โบไฮเดรต 5.08 กรัม
เส้นใยอาหาร 2.6 กรัม
น้ำตาล 2.57 กรัม
โปรตีน 1.92 กรัม
เหล็ก 0.48 มิลลิกรัม
โพแทสเซียม 182 มิลลิกรัม
วิตามินเอ 37 มิลลิกรัม
วิตามินซี 13.7 มิลลิกรัม
แคโรทีน             ไทอามีน                ไรโบฟลาวิน                ไนอาซิน

นอกจากนี้ กระเจี๊ยบเขียวมีสารประกอบที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมาย ได้แก่ คาเทชิน ฟลาโวนอล กรดไฮดรอกซีซินนามิก แทนนิน สเตอรอล Quercetin, Triterpenes, Pectic rhamnogalacturonan I, Epigallocatechin   

กระเจี๊ยบเขียว ประโยชน์

ใบและผลอ่อนกระเจี๊ยบเขียว : ใช้เป็นยาพอกแก้ปวดเมื่อย
ฝักอ่อนกระเจี๊ยบเขียว : กินสดได้ หรือนำมาปรุงเป็นเมนูอาหารได้หลากหลายเมนู
เมล็ดกระเจี๊ยบเขียวแห้ง : ใช้สกัดเป็นน้ำมัน บางประเทศคั่วและบดเพื่อทำกาแฟที่ไม่มีคาเฟอีน
ดอกกระเจี๊ยบเขียว : นำมาตำใช้พอกแผลจากฝีและช่วยรักษาฝีได้
เมือก หรือยางจากผลสดกระเจี๊ยบเขียว : มีสรรพคุณทางยา
รากกระเจี๊ยบเขียว : ใช้เป็นยาสมุนไพรล้างแผลและแผลพุพอง
เส้นใยจากกระเจี๊ยบเขียว : ใช้ในการผลิตกระดาษ
ผงกระเจี๊ยบเขียว : ใช้รักษาโรคกระเพาะ
น้ำกระเจี๊ยบเขียว : ช่วยลดน้ำหนัก ลดความดัน

ผลข้างเคียงจากกระเจี๊ยบเขียว

จากการศึกษาพบว่าการรับประทานกระเจี๊ยบเขียวมีความปลอดภัยสูงในปริมาณอาหารทั่วไป แต่อาจทำให้เกิดอาการแพ้ในระหว่างการเก็บเกี่ยวผลผลิต เนื่องจากผิวหนังสัมผัสกันขนกระเจี๊ยบเขียวโดยตรงอาจทำให้ผิวหนังเป็นผื่นคัน หรือเกิดการอักเสบได้

ข้อควรระวัง

สำหรับผู้ป่วยเบาหวานที่กินยา Metformin ( เมทฟอร์มิน ) คือ ยาที่ใช้ในการรักษาโรคเบาหวาน มีคุณสมบัติในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด หากผู้ป่วยกินยาชนิดนี้อยู่ไม่ควรกินกระเจี๊ยบเขียวในเวลาใกล้เคียงกัน ควรเว้นระยะห่าง 1-2 ชั่วโมง เพราะกระเจี๊ยบเขียวมีฤทธ์ลดการดูดซึมอาจส่งผลต่อการดูดซึมยาชนิดนี้ได้

ในผลอ่อนกระเจี๊ยบเขียวที่มีแคลเซียมในปริมาณมากเป็นสิ่งจำเป็นไม่เพียงแต่กระดูกและฟันเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการทำงานของร่างกายอื่น ๆ อีกมากมาย เช่น การหดตัวของกล้ามเนื้อ และการส่งสัณญาณตอบสนองของระบบประสาทที่ดีที่สุด กระเจี๊ยบจึงเป็นอาหารที่อุดมไปด้วยแคลเซียมสูงที่ได้จากธรรมชาตินอกเหนือจากนม นอกจากนี้แคลเซียมยังมีความสำคัญต่อเด็กอายุระหว่าง 4 – 18 ปี ต้องการแคลเซียม 1,300 มิลลิกรัมต่อวัน สำหรับผู้ใหญ่ปริมาณที่แนะนำต่อวันคือแคลเซียม 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน และผู้สูงอายุควรรับประทานแคลเซียม 1,200 มิลลิกรัมต่อวัน เนื่องจากร่างกายของเราไม่สามารถผลิตแคลเซียมได้ดังนั้นจึงต้องบริโภคอาหารที่อุดมด้วยแคลเซียมเช่นกระเจี๊ยบเขียวนั่นเอง

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม