Home Blog Page 29

ต้นโนรา สรรพคุณช่วยแก้อาการอ่อนเพลีย

ต้นโนรา
ต้นโนรา สรรพคุณช่วยแก้อาการอ่อนเพลีย ไม้พุ่มรอเลื้อย ลำต้นแตกออกเป็นกิ่งก้าน ดอกสีขาว สีชมพูอ่อน กลิ่นหอมตลอดวัน ช่วงที่อากาศเย็นจะหอมมาก ผลสีแดง เป็นรูปกระสวยปลายแหลม
ต้นโนรา
ไม้พุ่มรอเลื้อย ลำต้นแตกออกเป็นกิ่งก้าน ดอกสีขาว สีชมพูอ่อน กลิ่นหอมตลอดวัน ช่วงที่อากาศเย็นจะหอมมาก ผลสีแดง เป็นรูปกระสวยปลายแหลม

ต้นโนรา

ชื่อทางวิทยาศาสตร์ของต้นโนรา คือ Hiptage benghalensis (L.) Kurz[2] อีกข้อมูลระบุไว้ว่าเป็นชนิด Hiptage benghalensis var. benghalensis[1] อยู่วงศ์โนรา (MALPIGHIACEAE)[1] ชื่อในท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น แหนปีก (ภาคอีสาน), พญาช้างเผือก (จังหวัดแพร่), กะลังจ่าง (กะเหรี่ยง, จังหวัดแม่ฮ่องสอน), สะเลา (เชียงใหม่), กำลังช้างเผือก (ภาคเหนือ) [1],[4]

ลักษณะของต้นโนรา

  • ลักษณะของต้น เป็นไม้พุ่มหรือไม้เถาขนาดใหญ่ เลื้อยได้ไกลและเร็ว (เลื้อยไกลได้ถึงประมาณ 10 เมตร) เถามีลักษณะเป็นสีเขียว กลมและเกลี้ยง มีเนื้อไม้ที่แข็ง ลำต้นมีแตกกิ่งก้านเล็กและห้อยลง (บ้างว่าแตกกิ่งก้านสาขามาก) ทรงต้นมีรูปร่างไม่แน่นอน ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและวิธีการตอนกิ่ง แต่จะนิยมขยายพันธุ์ด้วยวิธีการตอนกิ่ง เพราะออกรากได้ง่ายและไม่จำเป็นต้องใช้ฮอร์โมนช่วย พบเจอได้ในประเทศอินเดีย จีน มาเลเซีย ประเทศไทย สำหรับประเทศไทยสามารถพบได้ทุกภาค ขึ้นที่ตามป่าชายหาด ป่าผลัดใบ ป่าดิบเขา ตั้งแต่ที่ระดับใกล้น้ำทะเลถึง 2,000 เมตร[1],[2],[3]
  • ลักษณะของใบ เป็นใบเดี่ยว ใบจะออกเรียงตรงข้าม ใบเป็นรูปรีแกมขอบขนาน ที่ปลายใบจะแหลม ส่วนที่โคนใบจะสอบ ขอบใบเรียบ ใบกว้างประมาณ 4-6 เซนติเมตร ยาวประมาณ 10-15 เซนติเมตร ที่แผ่นใบด้านบนจะมีลักษณะเกลี้ยง ที่ท้องใบจะมีขน และจะมีต่อมเล็ก ๆ อยู่ใกล้กับฐานใบ[1],[2]
  • ลักษณะของดอก ดอกจะออกเป็นช่อ ออกดอกที่ตามซอกใบกับปลายกิ่ง ช่อดอกมีความยาวประมาณ 9-22 เซนติเมตร ดอกมีลักษณะเป็นสีขาว สีชมพูอ่อน ที่กลางดอกจะเป็นสีเหลือง มีกลิ่นหอมอ่อนคล้ายกับกลิ่นดอกส้มโอ กลีบดอกมีอยู่ 5 กลีบ มีขนาดไม่เท่ากัน กลีบด้านข้างพับลง ที่ส่วนปลายกลีบจะจักเป็นฝอย ที่กลีบดอกมักจะยู่ยี่ มีเกสรเพศผู้จำนวน 10 ก้าน มี 1 ก้าน ที่มีความยาวเป็นพิเศษ มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ ที่โคนเชื่อมจะติดกัน จะมีกลีบอยู่หนึ่งอันที่จะมีต่อมนูน ดอกบานประมาณ 3-4 วันแล้วก็ร่วงหล่น มีดอกใหม่ทยอยบานเรื่อย ๆ ออกดอกช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ บ้างก็ว่าออกดอกช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน[1],[2],[3]
  • ลักษณะของผล เป็นผลแห้งจะไม่แตก มีลักษณะเป็นสีแดง เป็นรูปกระสวย ที่ปลายจะแหลม มีปีกอยู่ 3 ปีก ปีกกลางจะมีขนาดที่ใหญ่[1],[2]

สรรพคุณโนรา

1. แก่นกับเปลือกต้น สามารถใช้เป็นยาบำรุงเส้นเอ็นได้ (แก่น, เปลือกต้น)[4]
2. สามารถนำเปลือกต้นมาตำใช้พอกรักษาแผลสดได้ (เปลือกต้น)[2]
3. แก่นต้น สามารถช่วยแก้อาการจุกเสียดแน่นเฟ้อ และช่วยขับลมได้ (แก่น)[1]
4. แก่นของต้น สามารถช่วยทำให้เจริญอาหารได้ (แก่น)[1]
5. สามารถใช้เป็นยาบำรุงโลหิตได้ (แก่น, เปลือกต้น)[4]
6. เป็นยาอายุวัฒนะ (แก่น)[1]
7. ใบ มีรสร้อนขื่น สามารถใช้เป็นยาแก้โรคผิวหนังได้[2] ช่วยรักษาหิด รูมาติกได้ (ใบ)[4]
8. เป็นยาบำรุงกำหนัดได้ โดยนำแก่นมาดองกับเหล้า (แก่น)[1],[4]
9. แก่นต้น สามารถช่วยแก้อาการอ่อนเพลียได้ (แก่น)[1]
10. แก่นต้น มีรสร้อนขื่น สามารถช่วยบำรุงธาตุในร่างกายได้ (แก่น, เปลือกต้น)[4]
11. เป็นยาบำรุงกำลังได้ โดยนำแก่นมาดอง (แก่น)[2]

ประโยชน์โนรา

  • นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ เพราะดอกสวย ออกดอกเยอะในการออกดอกแต่ละครั้ง ดอกมีกลิ่นหอมทั้งวัน ช่วงอากาศเย็นจะหอมเป็นพิเศษ ถ้าต้องให้ออกดอกบ่อย ๆ ให้ปลูกไว้ที่กลางแจ้งเพื่อให้ได้รับแสงแดดแบบเต็มที่ ควรตัดแต่งกิ่งให้น้อย เนื่องจากต้นที่ถูกตัดแต่งกิ่งให้เป็นไม้พุ่มตลอดจะไม่ค่อยออกดอก เพราะออกดอกที่บริเวณปลายกิ่ง โดยธรรมชาติเป็นไม้พุ่มรอเลื้อย แต่สามารถตัดแต่งเป็นไม้ยืนต้นแบบเดี่ยวได้[2],[3]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. ฝ่ายปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. “โ น ร า”. (นพพล เกตุประสาท). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: clgc.rdi.ku.ac.th. [28 มี.ค. 2014].
2. หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคเหนือ. “โ น ร า”. (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ). หน้า 129.
3. Green Clinic. “โ น ร า”. อ้างอิงใน: หนังสือเครื่องยาไทย 1 (วุฒิ วุฒิธรรมเวช). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.greenclinic.in.th. [28 มี.ค. 2014].
4. หนังสือสวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เล่ม 4. “โ น ร า”. (วีระชัย ณ นคร).
5. https://www.medthai.com/

อ้างอิงรูปจาก
1. https://www.ydhvn.com/
2. https://www.flickr.com/photos/37274296@N08/26935538214

ต้นรักทะเล สรรพคุณเป็นยาแก้บิด

ต้นรักทะเล
ต้นรักทะเล สรรพคุณเป็นยาแก้บิด เป็นไม้พุ่มพบขึ้นทั่วไปตามชายหาด ดอกออกเป็นช่อกระจุก ดอกสีขาวเป็นคลื่นและย่น ผลทรงกลมมีเนื้อขาวขุ่น ผลสุกจะเป็นสีเหลืองอ่อน
ต้นรักทะเล
เป็นไม้พุ่มพบขึ้นทั่วไปตามชายหาด ดอกออกเป็นช่อกระจุก ดอกสีขาวเป็นคลื่นและย่น ผลทรงกลมมีเนื้อขาวขุ่น ผลสุกจะเป็นสีเหลืองอ่อน

ต้นรักทะเล

ต้นรักทะเล มีเขตการกระจายพันธุ์ในมาดากัสการ์ อินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตลอดจนถึงออสเตรเลีย ชื่อสามัญ Half Flower[4], Beach Naupaka, Sea Lettuce, Beach Cabbage [6] ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Scaevola taccada (Gaertn.) Roxb. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ คือ Scaevola koenigii Vahl, Lobelia frutescens Mill., Scaevola sericea Vahl, Scaevola frutescens var. sericea (Vahl) Merr.) อยู่วงศ์รักทะเล (GOODENIACEAE)[1],[2],[6] ชื่อในท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น บงบ๊ง (มลายู, จังหวัดภูเก็ต), โหรา (จังหวัดตราด), รักทะเล (จังหวัดชุมพร), บ่งบง (ภาคใต้) [1],[3]

ลักษณะของต้นรักทะเล

  • ต้น เป็นไม้พุ่ม ต้นสูงประมาณ 2-5 เมตร จะแตกกิ่งก้านเยอะ ลำต้นมีลักษณะตั้งตรงหรือแผ่ไม่เป็นระเบียบ เปลือกต้นจะเรียบ มีไส้ไม้ จะมียางสีขาวข้น กิ่งอ่อนมีลักษณะอวบน้ำและเป็นสีเขียว ที่ซอกใบจะมีขนนุ่ม ขยายพันธุ์โดยการปักชำกิ่ง การเพาะเมล็ด นำหน่อไปปลูกที่ตามพื้นที่ดินทราย ออกดอกออกผลได้ทั้งปี ขึ้นได้ทั่วไปตามพื้นที่โล่ง และมักพบขึ้นทั่วไปตามชายหาด หาดหิน โขดหิน ชายฝั่งทะเลทั้งอ่าวไทยและฝั่งอันดามัน ที่ตามริมฝั่งแม่น้ำลำคลอง ตามแนวหลังป่าชายเลน[1],[2],[3],[4],[7]
  • ใบ เป็นใบเดี่ยว ใบจะออกตรงข้ามแบบสลับหนาแน่นอยู่ที่บริเวณปลายกิ่ง ใบเป็นรูปไข่กลับ รูปช้อนแกมรูปไข่กลับ ที่ปลายใบจะมนกลม ส่วนที่โคนใบจะเรียวแหลมหรือจะสอบเป็นรูปลิ่ม ขอบใบเรียบถึงหยักมนหรือเว้าเป็นคลื่น มีจุดสีเหลืองอมสีเขียวที่ตามขอบ ใบกว้างประมาณ 5-10 เซนติเมตร ยาวประมาณ 12-15 เซนติเมตร มีแผ่นใบที่หนากึ่งอวบน้ำ หลังใบเรียบมีลักษณะเป็นมันถึงมีขนอ่อน มีเส้นใบแบบร่างแหขนนก ก้านใบสั้น จะมีขนสีขาวที่ตามซอกใบ ที่ขอบใบอ่อนจะม้วนลง[1],[2],[3]
  • ดอก ดอกออกเป็นช่อแบบกระจุก ออกดอกที่ตามซอกใบ มีดอกย่อยอยู่ประมาณ 2-3 ดอก มีใบประดับเล็ก เป็นรูปสามเหลี่ยมแคบ ดอกตูมโค้ง โก่งลงคล้ายกับรูปหัวงู เมื่อดอกบานเป็นรูปปากเปิด กลีบเลี้ยงจะเชื่อมติดเป็นรูประฆัง ที่ปลายจะแยกเป็นแฉกเล็ก 5 แฉก ดอกย่อยมีลักษณะเป็นสีขาวและมีลายสีม่วงอ่อน มีกลีบดอกอยู่ 5 กลีบ เป็นแฉกรูปใบหอก ที่ขอบกลีบดอกจะเป็นคลื่นและย่น ส่วนที่โคนกลีบดอกจะเชื่อมติดเป็นหลอดและจะผ่าออกทำให้กลีบดอกเรียงกันด้านเดียว (ที่ด้านบนของดอกจะฉีกออกด้านหนึ่ง จึงทำให้แฉกกลีบดอกมีลักษณะโค้งลง) มีเกสรเพศเมียโค้งเด่น และมียอดเกสรที่มีเยื่อเป็นรูปถ้วยคลุม ดอกบานเต็มที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2 เซนติเมตร ก้านดอกย่อยสามารถยาวได้ถึงประมาณ 0.5-1 เซนติเมตร[1],[2],[3]
  • ผล เป็นผลสดมีเนื้อ ผลเป็นรูปทรงกลม ที่ปลายผลจะมีกลีบเลี้ยงของดอก ผิวผลมีลักษณะเรียบ ผลสดจะเป็นสีขาวขุ่น ผลสุกจะเป็นสีเหลืองอ่อน ขนาดประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร มีเมล็ดแข็งอยู่ในผลประมาณ 1-2 เมล็ด[1],[2],[3]

สรรพคุณต้นรักทะเล

1. สามารถนำรากมาต้มกับน้ำดื่ม ทานเป็นยาแก้พิษอาหารทะเลได้ อย่างเช่น การทานปู ปลาที่มีพิษ (ราก)[1],[5]
2. ผลจะมีสรรพคุณที่สามารถช่วยทำให้ประจำเดือนของสตรีมาเป็นปกติได้ (ผล)[7]
3. รากจะมีสรรพคุณที่เป็นยาแก้บิดได้ (ราก)[4]
4. ใบจะมีสรรพคุณที่สามารถช่วยแก้ธาตุพิการ (ใบ)[7]
5. สามารถนำรากมาใช้เป็นยาแก้เหน็บชาได้ (ราก)[4]
6. นำใบมาตำสามารถใช้พอกแก้อาการแก้ปวดศีรษะ ปวดบวมได้ และสามารถนำใบไปผิงไฟใช้ประคบแก้ปวดบวมได้ (ใบ)[1],[3]
7. สามารถนำเปลือกจากเนื้อไม้ ใบ ดอกมาผสมปรุงเป็นยาขับปัสสาวะได้ (เปลือกจากเนื้อไม้,ใบ, ดอก)[2]
8. สามารถนำน้ำที่ได้จากการต้มใบมาทานช่วยย่อยได้ (ใบ)[1],[7]

ประโยชน์ต้นรักทะเล

  • มีบางข้อมูลระบุไว้ว่าสามารถใช้ใบรักทะเลเป็นยาสูบได้[5]
  • ปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับทั่วไปได้[3]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือนักสืบชายหาด : คู่มือสัตว์และพืชชายหาด. (วิภาพรรณ นาคแพน, สรณรัชฎร์ กาญจนะวณิชย์, จักรกริช พวงแก้ว). “รักทะเล”. หน้า 145.
2. ระบบฐานข้อมูลพรรณไม้ที่เหมาะสมกับระบบนิเวศและวิถีชีวิตชุมชน เพื่อลดมลพิษในพื้นที่จังหวัดระยองและพื้นที่ใกล้เคียง ภายใต้โครงการชุมชนอยู่คู่อุตสาหกรรม, สำนักสิ่งแวดล้อมชุมชนและพื้นที่เฉพาะ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. “รักทะเล”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: onep-intranet.onep.go.th/plant/. [27 พ.ค. 2014].
3. ระบบจัดการฐานความรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้ กรมป่าไม้. “รักทะเล”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: biodiversity.forest.go.th. [27 พ.ค. 2014].
4. หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). “รักทะเล (Rug Thalae)”. หน้า 259.
5. วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. “Scaevola taccada”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: en.wikipedia.org//wiki/Scaevola_taccada. [27 พ.ค. 2014].
6. สวนพฤกษศาสตร์สายยาไทย. “รักทะเล”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.saiyathai.com. [27 พ.ค. 2014].
7. หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคกลาง. (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ, ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, กัญจนา ดีวิเศษ). “รักทะเล”. หน้า 134.

อ้างอิงรูปจาก
1.https://www.natureloveyou.sg/
2.https://www.floraofsrilanka.com/

ต้นลำโพงกาสลัก สรรพคุณใช้ฝนทาแก้ปวดบวม แก้พิษร้อน แก้อักเสบ

ต้นลำโพงกาสลัก สรรพคุณใช้ฝนทาแก้ปวดบวม แก้พิษร้อน แก้อักเสบ เป็นไม้ล้มลุก ดอกเดี่ยวสีม่วง ผลเป็นสีเขียวอมสีม่วง ค่อนข้างกลม เมล็ดแบนคล้ายกับเมล็ดมะเขือ
ต้นลำโพงกาสลัก
ไม้ล้มลุก ดอกเดี่ยวสีม่วง ผลเป็นสีเขียวอมสีม่วง ค่อนข้างกลม เมล็ดแบนคล้ายกับเมล็ดมะเขือ

ลำโพงกาสลัก

ลำโพงกาสลัก มีลักษณะสีแดงเกือบดำ มีดอกเป็นสีม่วงและเป็นชั้น ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Datura metel L. (Datura metel var. fastuosa (L.) Saff.) (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ คือ Datura fastuosa L.) อยู่วงศ์มะเขือ (SOLANACEAE)[1],[2],[3] ชื่อในท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น ลำโพงดำ, กาสลัก, มะเขือบ้าดอกดำ (จังหวัดลำปาง), ลำโพงแดง, ลำโพงกาลัก (จังหวัดชุมพร, จังหวัดสุราษฎร์ธานี)[1],[2],[3] ในไทยนิยมใช้ทำยามีอยู่ 2 ชนิด คือ ลำโพงกาสลัก และ ลำโพงขาว (ต้นมีลักษณะเขียว และดอกเป็นสีขาว) ด้านการทำยานิยมใช้ดอกสีม่วงดำ ยิ่งมีชั้นเยอะก็จะยิ่งมีฤทธิ์แรง[3]

ลักษณะของต้นลำโพงกาสลัก

  • ต้น เป็นไม้ล้มลุกที่มีอายุหลายปี ต้นสูงประมาณ 1-2 เมตร กิ่งก้านมีลักษณะเป็นพุ่ม ที่ตามลำต้นกับกิ่งก้านจะเป็นสีม่วง[1]
  • ใบ เป็นใบเดี่ยว ใบจะออกเรียงสลับกัน ใบเป็นรูปไข่ ที่ปลายใบจะแหลม ส่วนที่โคนใบจะมนและขนาดไม่เท่ากัน ขอบใบจะจักเป็นซี่ฟันห่าง ใบกว้างประมาณ 8-15 เซนติเมตร ยาวประมาณ 10-20 เซนติเมตร[1],[3]
  • ดอก ออกดอกเป็นดอกเดี่ยว จะออกดอกที่ตามซอกใบ กลีบดอกมีลักษณะเป็นสีม่วง ที่ปลายกลีบจะบานเป็นรูปแตร ส่วนที่โคนกลีบดอกจะเชื่อมกัน มีกลีบซ้อนกันอยู่ 2-3 ชั้น ดอกมีความยาวประมาณ 3.5-5.5 นิ้ว กลีบเลี้ยงดอกมีลักษณะเป็นสีเขียวติดเป็นหลอด มีความยาวประมาณครึ่งหนึ่งของดอก[1],[3]
  • ผล เป็นสีเขียวอมสีม่วง ผลเป็นรูปทรงค่อนข้างกลม ขนาดประมาณ 1-1.5 นิ้ว ผิวผลจะเป็นขนคล้ายกับหนามเป็นตุ่ม เนื้ออ่อนจะเป็นตุ่มรอบ มีลักษณะขั้วเป็นแผ่นกลมหนาริมคม ผลแห้งสามารถแตกได้ มีเมล็ดอยู่ในผลเยอะ
  • เมล็ด ลักษณะกลมแบนคล้ายกับเมล็ดมะเขือ[1],[3]

สรรพคุณลำโพงกาสลัก

1. น้ำมันที่ได้จากเมล็ดจะมีรสเมาเบื่อ สามารถนำมาใช้ปรุงเป็นยาใส่แผล แก้เหา กลากเกลื้อน ผื่นคัน และหิดได้ (น้ำมันจากเมล็ด)[3]
2. สามารถนำใบมาใช้เป็นยาทาแก้อักเสบเต้านมได้ (ใบ)[3]
3. น้ำที่คั้นได้จากต้น ถ้านำมาใช้หยอดตาจะช่วยทำให้ม่านตาขยายได้ (ต้น)[3]
4. เมล็ดจะมีรสเมาเบื่อ สามารถเอามาคั่วให้หมดน้ำมัน ใช้ปรุงเป็นยาแก้ไข้กระสับกระส่าย และแก้ไข้ได้ (เมล็ด)[3]
5. นำดอกมาหั่นแล้วเอาไปตากแดดผสมยาสูบ สามารถใช้สูบแก้การบีบตัวของหลอดลม แก้อาการหอบหืด(ดอก)[1],[2],[3]
6. ใบจะมีสรรพคุณที่ช่วยขยายหลอดลม แก้หอบหืดได้ (ใบ)[3]
7. สามารถนำเมล็ดมาหุงทำน้ำมันเอาใส่แผล ใช้เป็นยาแก้กลากเกลื้อนผื่นคันได้ (เมล็ด)[1],[2]
8. ใบกับยอด มีสารอัลคาลอยด์ที่มีฤทธิ์คลายกล้ามเนื้อเรียบ สามารถช่วยแก้อาการปวดเกร็งท้อง (ใบกับยอด)[3]
9. ใบ มีฤทธิ์กดสมอง มีสรรพคุณที่ช่วยแก้อาการอาเจียนเนื่องจากเมาเรือเมารถได้ (มีอาการข้างเคียงก็คือ จะทำให้คอแห้ง ปากแห้ง) (ใบ)[3]
10. ใบ มีรสขมเมาเบื่อ จะมีสรรพคุณที่ช่วยแก้สะอึกในไข้พิษกาฬได้ (ใบ)[3]
11. สามารถนำรากมาสุมให้เป็นถ่านใช้ปรุงเป็นยาไข้กาฬ ไข้เซื่องซึมแก้ไข้พิษได้ (ราก)[1],[3]
12. ราก มีรสหวานเมาเบื่อ สามารถนำมาฝนทาใช้แก้ปวดบวม แก้พิษร้อน แก้อักเสบ ดับพิษฝีได้ (ราก)[1],[3] นำเมล็ด 30 กรัม มาทุบให้พอแหลก แล้วเอาไปแช่น้ำมันพืชเป็นเวลาประมาณ 7 วัน แล้วนำมาใช้ที่ที่มีอาการขัดยอก ปวดเมื่อย สามารถช่วยบรรเทาอาการปวดได้ และก็สามารถนำมาใช้ใส่ฟันที่เป็นรูได้จะบรรเทาอาการปวด (เมล็ด)[3]
13. นำดอกไปตากแห้งแล้วเอามาผสมกับยาเส้นสูบ สามารถช่วยแก้ริดสีดวงจมูก แก้โพรงจมูกอักเสบได้ (ดอก)[3]
14. นำใบสดมาตำพอกฝี สามารถช่วยทำให้ฝียุบ และแก้อาการปวดบวมอักเสบได้ (ใบ)[1],[2],[3]
15. ทั้งต้น มีฤทธิ์ที่เป็นยาเสพติด สามารถแก้อาการเกร็ง ช่วยระงับอาการปวดได้ (ทั้งต้น)[1],[3]
16. ราก มีรสหวานเมาเบื่อ สามารถใช้ฝนทาแก้ปวดบวม แก้พิษร้อน แก้อักเสบ และดับพิษฝีได้ (ราก)[1],[3]
17. สามารถนำใบมาใช้เป็นยาพอกแก้พิษจากสัตว์กัดต่อย ปวดแสบบวมที่แผล แก้โรคผิวหนังกลากเกลื้อน แก้แผลเรื้อรัง แก้พิษฝี (ใบ)[3]

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

  • มีสารอัลคาลอยด์ Hyoscine และสาร Hyocyamine ซึ่งอาการข้างเคียงก็คือ จะทำให้คอแห้ง ปากแห้ง[2]
  • ใบกับยอด มีสารอัลคาลอยด์ Hyoscine กับสาร Hyocyamine ที่มีฤทธิ์คลายกล้ามเนื้อเรียบ สามารถใช้แก้หอบหืด ช่วยขยายหลอดลม แก้อาการปวดท้องเกร็งได้[2]
  • มีสารอัลคาลอยด์ Hyoscine ซึ่งมีฤทธิ์กดสมอง ใช้ควบคุมอาการอาเจียนที่เกิดจากเมารถได้[2]

พิษของต้นลำโพงกาสลัก

  • ผลกับเมล็ดเป็นพิษ จะมีสารอัลคาลอยด์ hyoscine กับสาร hyoscyamine ถ้าทานเข้าไป อาการข้างต้น ก็คือ รู้สึกสับสน มีอาการไข้ขึ้นสูง ผิวหนังร้อนแดง สายตาพร่ามัว ปากแห้ง การทำงานของกล้ามเนื้อผิดปกติ ปวดศีรษะ มีผื่นแดงที่ตามใบหน้า คอ หน้าออก ม่านตาขยายและปรับสายตาไม่ได้ ทำให้ตาไม่สู้แสง กระหายน้ำมาก ถ้าได้รับในปริมาณเยอะ ๆ จะทำให้มีอาการวิกลจริต เพ้อคลั่ง เคลิ้มฝัน และมีอาการทางจิตและประสาท ตัวเขียว หายใจได้ช้าลง ตาแข็ง ตื่นเต้น หายใจได้ไม่สะดวก พูดไม่ออก เมื่อแก้พิษแล้ว จะยังมีอาการวิกลจริตตลอดไป เนื่องจากรักษาไม่ค่อยหาย[3]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “ลำโพง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.phargarden.com. [30 พ.ค. 2014].
2. หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). “ลำโพง กาสลัก (Lam Phong Ka Salak)”. หน้า 270.
3. หนังสือสมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ. (คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “ลำโพง กาสลัก”. หน้า 99.
4.  https://medthai.com/

อ้างอิงรูปจาก
1. https://www.invasive.org/
2. https://www.etsy.com/

ต้นหัวลิง สรรพคุณของใบสดใช้แก้โรคปวดข้อหรือแก้ไข้ส่า

ต้นหัวลิง
ต้นหัวลิง สรรพคุณของใบสดใช้แก้โรคปวดข้อหรือแก้ไข้ส่า เป็นไม้เถา ใบเดี่ยวสีเขียว ดอกเป็นช่อกระจะ ดอกสีม่วงไม่มีกลิ่น ฝักกลมมน เปลือกฝักสีน้ำตาล
ต้นหัวลิง
เป็นไม้เถา ใบเดี่ยวสีเขียว ดอกเป็นช่อกระจะ ดอกสีม่วงไม่มีกลิ่น ฝักกลมมน เปลือกฝักสีน้ำตาล

ต้นหัวลิง

ต้นหัวลิง หรือ เถาหัวลิง ชื่อวิทยาศาสตร์ Sarcolobus globosus Wall. จัดอยู่ในวงศ์ วงศ์ตีนเป็ด (APOCYNACEAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยนมตำเลีย (ASCLEPIADOIDEAE หรือ ASCLEPIADACEAE)[1]
ชื่ออื่น ๆ มะปิน ตูดอีโหวด (ภาคตะวันตกเฉียงเหนือ), บาตูบือแลกาเม็ง (ชาวมาลายู-นราธิวาส), หัวกา (จังหวัดสุราษฎร์ธานี), เถรอดเพล ตองจิง หัวลิง อ้ายแหวน (จังหวัดประจวบคีรีขันธ์), เถาหัวลิง (กรุงเทพฯ), หงอนไก่ใหญ่ (จังหวัดตราด) เป็นต้น[1]

ลักษณะของต้นหัวลิง

  • ต้น
    – เป็นพันธุ์ไม้ประเภทเถา แต่ในบางข้อมูลก็ระบุว่าเป็นไม้พุ่ม
    – มีความสูงอยู่ที่ประมาณ 3 เมตร และมีความกว้างอยู่ที่ประมาณ 2 เมตร
    – ลำต้นอยู่เหนือพื้นผิวดิน เปลือกของลำต้นมีสีเป็นสีน้ำตาล พื้นผิวของลำต้นเป็นผิวขรุขระ เรือนยอดมีรูปร่างเป็นรูปไข่ ลำต้นสามารถตั้งตรงเองได้และลำต้นไม่มียาง [2]
    – ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด จัดเป็นพรรณไม้กลางแจ้งที่ชอบอากาศค่อนข้างชุ่มชื้น[1],[2]
  • ใบ
    – ใบเป็นใบเดี่ยว โดยใบจะออกเรียงกันเป็นคู่ ๆ ตรงข้ามกัน
    – ลักษณะรูปร่างของใบจะเป็นรูปไข่ รูปรี หรือเป็นรูปขอบขนาน ปลายใบแหลม ตรงโคนใบมน ส่วนขอบใบเรียบ
    – แผ่นใบมีสีเป็นสีเขียว ใต้ท้องใบมีเส้นใบอยู่ประมาณ 5-7 คู่ สามารถมองเห็นได้ชัดเจน[1],[2]
    – ใบมีขนาดความกว้างอยู่ที่ประมาณ 4.5 เซนติเมตร และมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 8 เซนติเมตร
  • ดอก
    – ออกดอกเป็นช่อกระจะ โดยจะออกดอกที่บริเวณตามง่ามของกิ่งก้าน
    – ก้านช่อดอกมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 6-13 มิลลิเมตร
    – ลักษณะของดอกจะมีกลีบดอกและกลีบรองกลีบดอก อย่างละ 5 กลีบ โคนกลีบดอกจะเชื่อมติดกัน
    – ดอกมีสีเป็นสีม่วง เมื่อดอกบานเต็มที่จะมีขนาดอยู่ที่ประมาณ 1 เซนติเมตร และดอกไม่มีกลิ่น[1],[2]
    – ดอกมีทั้งเกสรเพศผู้และเกสรเพศเมีย โดยจะเชื่อมติดกันอยู่ และดอกมีรังไข่อยู่เหนือวงกลีบ
  • ผล
    – เป็นผลเดี่ยว ลักษณะรูปร่างของผลจะเป็นฝักรูปทรงกลมมน
    – เปลือกฝักมีสีเป็นสีน้ำตาล มีขนาดความกว้างและความยาวอยู่ที่ประมาณ 4 นิ้ว
    – ผลอ่อนจะมีสีเป็นสีเขียว แต่ผลเมื่อแก่จะเปลี่ยนสีเป็นสีน้ำตาล และผลจะแตกที่บริเวณกลางพู
  • เมล็ด
    – ภายในฝักจะมีเมล็ดอยู่ โดยลักษณะของเมล็ดจะมีรูปทรงเป็นรูปไข่แบน บริเวณขอบเมล็ดจะหนาเป็นสีน้ำตาลแก่ และขนาดความยาวของเมล็ดจะยาวอยู่ที่ประมาณ 18 มิลลิเมตร [1],[2]

สรรพคุณ และประโยชน์ของต้นหัวลิง

  • ใบสด ๆ นำมาตำผสมกันกับผลของต้นมะเยาตำให้ละเอียด จากนั้นจึงนำมาใช้เป็นยาสำหรับใช้แก้โรคปวดข้อหรือแก้ไข้ส่า (ใบสด)[1]
  • เมล็ด มีความเป็นพิษต่อสัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนม ชาวพื้นเมืองในทวีปเอเชียจึงนิยมนำมาใช้เป็นยาเบื่อสัตว์ป่า

ข้อควรระวัง

  • เมล็ดมีความเป็นพิษต่อสัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น สุนัข แมว เป็นต้น โดยจะมีฤทธิ์เข้าไปยับยั้งกล้ามเนื้อระบบประสาท ซึ่งจะมีอาการเป็นพิษที่แสดงให้เห็น คือ ปัสสาวะเป็นเลือด และไตเสื่อม[3]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “หัวลิง”. หน้า 825-826.
2. โรงเรียนละหานทรายรัชดาภิเษก. “เถาหัวลิง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.lrp.ac.th. [28 ก.ย. 2014].
3. วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. “Sarcolobus globosus”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : en.wikipedia.org. [28 ก.ย. 2014].

อ้างอิงรูปจาก
1. https://www.inaturalist.org/

ต้นหางไหลขาว สรรพคุณใช้เป็นยาขับระดูในสตรี

ต้นหางไหลขาว
ต้นหางไหลขาว สรรพคุณใช้เป็นยาขับระดูในสตรี เป็นไม้เลื้อยหรือไม้พุ่มขนาดใหญ่ มีเปลือกสีเทาอมเขียวและเปลือกเรียบ ใบอ่อนสีเหลืองอ่อนออกเขียว ดอกขนาดเล็กสีชมพู ฝักแบน
ต้นหางไหลขาว
เป็นไม้เลื้อยหรือไม้พุ่มขนาดใหญ่ มีเปลือกสีเทาอมเขียวและเปลือกเรียบ ใบอ่อนสีเหลืองอ่อนออกเขียว ดอกขนาดเล็กสีชมพู ฝักแบน

ต้นหางไหลขาว

ต้นหางไหลขาว เป็นไม้เลื้อยหรือไม้พุ่มขนาดใหญ่ มีเปลือกสีเทาอมเขียวและเปลือกเรียบ มีถิ่นกำเนิดในประเทศบังคลาเทศ อินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และออสเตรเลีย ส่วนใหญ่พบในป่าและบนเนินเขา พบขึ้นตามริมน้ำลำธาร ในเขตวนอุทยานถ้ำเพชร ป่าดงดิบเขา และตามป่าเบญจพรรณทั่วไป[1] ชื่อวิทยาศาสตร์ Derris malaccensis Prain ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Derris cuneifolia var. malaccensis Benth. จัดอยู่ในวงศ์ วงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยถั่ว FABOIDEAE (PAPILIONOIDEAE หรือ PAPILIONACEAE)
ชื่ออื่น ๆ ยานาเละ (ชาวมลายู-นราธิวาส)[1]

ลักษณะของต้นหางไหลขาว

  • ต้น
    – เป็นพรรณไม้ประเภทเถาที่มีขนาดกลางไปถึงขนาดใหญ่
    – ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด
  • ใบ
    – เป็นใบประกอบ มีใบย่อยอยู่ประมาณ 5-7 ใบ
    – ใบเป็นรูปหอก ปลายใบกว้างแหลม ตรงโคนใบสอบแคบ
    – ใบอ่อนมีสีเป็นสีเหลืองอ่อนออกเขียว เมื่อใบแก่จะเปลี่ยนเป็นสีเขียวทั่วทั้งแผ่นใบ[1]
  • ดอก
    – ออกดอกในลักษณะที่เป็นช่อ
    – ดอกมีขนาดเล็กมีสีเป็นสีชมพู[1]
  • ผล
    – มีลักษณะรูปร่างเป็นรูปฝักแบน มีขนาดที่ไม่ยาวมากนัก[1]

สรรพคุณของต้นหางไหลขาว

1. รากนำมาใช้ทำเป็นยาสำหรับขับระดู และแก้ระดูเป็นลิ่ม (ราก)[1]
2. รากนำมาใช้ทำเป็นยาสำหรับถ่ายเส้นเอ็น และทำให้เส้นอ่อน (ราก)[1]
3. รากมีฤทธิ์เป็นยาถ่ายลม ถ่ายเสมหะและโลหิตได้ (ราก)[1]

ประโยชน์ของต้นหางไหลขาว

1. รากนำมาใช้ผสมกับสบู่และน้ำ จากนั้นก็นำมาใช้ฆ่าสัตว์จำพวกหิดและเหาได้[1]
2. นำรากมาทุบให้แหลกผสมกับน้ำ พอให้ขุ่นขาว จากนั้นก็นำมารดพืชผักในสวนผัก จะช่วยฆ่าแมลงและตัวหนอนได้ และยังสามารถนำมาใช้เป็นยาเบื่อปลาได้อีกด้วย[1]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
สรรพคุณสมุนไพร 200 ชนิด, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “หางไหลขาว”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.rspg.or.th/plants_data/herbs/. [28 ก.ย. 2014].

อ้างอิงรูปจาก
1.https://www.floraofbangladesh.com/
2.https://commons.wikimedia.org/

ต้นหูปากกา สรรพคุณเป็นยารักษาอัมพฤกษ์ อัมพาต

ต้นหูปากกา สรรพคุณเป็นยารักษาอัมพฤกษ์ อัมพาต เป็นไม้เถาเลื้อย ใบเดี่ยว ดอกเป็นสีขาว กลางดอกเป็นสีเหลืองกลิ่นหอม ผลกลม
ต้นหูปากกา
เป็นไม้เถาเลื้อย ใบเดี่ยว ดอกเป็นสีขาว กลางดอกเป็นสีเหลืองกลิ่นหอม ผลกลม

หูปากกา

หูปากกา หรือหนามแน่ขาว เป็นไม้เถาขนาดเล็ก มีความยาวได้ประมาณ 1-3 เมตร พบตามพื้นป่าผลัดใบ ชื่อสามัญ Sweet clock vine[2] ชื่อวิทยาศาสตร์ Thunbergia fragrans Roxb. var. fragrans จัดอยู่ในวงศ์เหงือกปลาหมอ (ACANTHACEAE)[1],[2] ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ คือ จิงจ้อ จิงจ้อเขาตาแป้น (สระบุรี)[1],[2]

ลักษณะของต้นหูปากกา[1]

  • ต้น[1]
    – เป็นไม้เถาเลื้อย
    – เลื้อยไปพาดพันกับต้นไม้อื่น
    – มีความยาวได้ถึง 1-3 เมตร
    – เถามีความกลม เป็นสีเขียวอมน้ำตาล
    – สามารถพบได้ตามพื้นป่าผลัดใบ
  • ใบ[1],[2]
    – เป็นใบเดี่ยว
    – ออกเรียงตรงข้ามกัน
    – ใบเป็นรูปไข่แกมรูปใบหอก
    – ขอบใบหยักตื้น ๆ
    – ใบมีขนาดกว้าง 2-3 เซนติเมตร และยาว 4-8 เซนติเมตร
    – แผ่นใบบาง
    – มีขนขึ้นตามเส้นใบ
    – ผิวใบด้านบนเรียบ
    – ด้านล่างเรียบหรือมีขน
  • ดอก[1],[2]
    – ออกดอกเดี่ยว
    – ออกดอกตามซอกใบ
    – ดอกเป็นสีขาว
    – กลางดอกเป็นสีเหลือง
    – ดอกมีกลิ่นหอม
    – มีกลีบดอก 5 กลีบ
    – ปลายกลีบดอกเว้า
    – โคนเชื่อมติดกันเป็นรูปปากแตร
    – ดอกมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2-3 เซนติเมตร
    – จะออกดอกในช่วงเดือนกรกฎาคม
  • ผล[1]
    – ผลมีความกลม
    – ปลายผลเป็นจะงอย ทั้งแหลมและแข็ง
    – ผลแห้งแตกออกได้

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

  • สารสกัดจากส่วนที่อยู่เหนือดินของต้นด้วยแอลกอฮอล์ไม่มีฤทธิ์แก้ปวด ลดอาการชัก หรือลดการบีบตัวของลำไส้[2]

สรรพคุณของหูปากกา

  • ทั้งต้น สามารถนำมาใช้ผสมกับต้นจันตาปะขาว และต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้อัมพฤกษ์ อัมพาต[1],[2]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคเหนือ. (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ). “หูปากกา”. หน้า 193.
2. หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา. (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “หูปากกา”. หน้า 210.

อ้างอิงรูปจาก
1.https://www.flickr.com/
2.https://m.xuite.net/blog/

เถาเอ็นอ่อน ใช้เป็นยาบำรุงเส้นเอ็น

เถาเอ็นอ่อน
เถาเอ็นอ่อน ใช้เป็นยาบำรุงเส้นเอ็น เป็นไม้เถาเลื้อยเนื้อแข็ง ใบเดี่ยวสีเขียวนวล ดอกเป็นช่อสีขาวอมสีเหลืองหรือสีเหลืองอ่อน ฝักมีเนื้อแข็ง เมล็ดสีน้ำตาลมีขนปุยสีขาวปลิวตามลม
เถาเอ็นอ่อน
เป็นไม้เถาเลื้อยเนื้อแข็ง ใบเดี่ยวสีเขียวนวล ดอกเป็นช่อสีขาวอมสีเหลืองหรือสีเหลืองอ่อน ฝักมีเนื้อแข็ง เมล็ดสีน้ำตาลมีขนปุยสีขาวปลิวตามลม

เถาเอ็นอ่อน

ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Cryptolepis dubia (Burm.f.) M.R.Almeida (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ คือ Cryptolepis buchananii Roem. & Schult.) อยู่วงศ์ตีนเป็ด (APOCYNACEAE) และอยู่วงศ์ย่อยนมตำเลีย (ASCLEPIADOIDEAE หรือ ASCLEPIADACEAE)[1] มีชื่อในท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น เครือเถาเอ็น (จังหวัดเชียงใหม่)[1], เครือเขาเอ็น (จังหวัดเชียงใหม่) [4], นอออหมี (กะเหรี่ยง, จังหวัดแม่ฮ่องสอน), เมื่อย (ภาคกลาง), ตีนเป็ดเครือ (ภาคเหนือ), หญ้าลิเลน (จังหวัดปัตตานี), เขาควาย (จังหวัดนครราชสีมา), กู่โกวเถิง (จีนกลาง), กวน (ฉาน, จังหวัดแม่ฮ่องสอน), เครือเอ็นอ่อน (ภาคอีสาน), หมอตีนเป็ด (จังหวัดสุราษฎร์ธานี), เสน่งกู (จังหวัดบุรีรัมย์) [1],[4],[5],[7]

ลักษณะของต้นเถาเอ็นอ่อน

  • ต้น เป็นไม้เถาเลื้อยพาดพันต้นไม้อื่น ๆ จำพวกเถาเนื้อแข็ง เถาลำต้นจะกลม เปลือกเถามีลักษณะเรียบและหนาเป็นสีน้ำตาลอมดำ หรือสีแดงเข้มมีลายประ มีความยาวประมาณ 4-5 เมตร มีก้านที่เล็ก ก้านเป็นสีเทาอมเขียว เปลือกจะหลุดเป็นแผ่นเมื่อเถาแก่ จะมียางสีขาวขึ้นอยู่ทั้งต้น ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด มักจะพบเจอขึ้นที่ตามป่าราบ ตามที่รกร้างทางสระบุรี[1],[3],[4]
  • ใบ เป็นใบเดี่ยว ใบจะออกเรียงตรงข้าม ใบเป็นรูปรี รูปไข่ ที่ปลายใบจะมนและมีหางสั้น ส่วนที่โคนใบจะสอบ ที่ขอบใบเรียบ ใบกว้างประมาณ 3-8 เซนติเมตร ยาวประมาณ 5-18 เซนติเมตร แผ่นใบมีลักษณะค่อนข้างหนา ที่หลังใบจะเรียบ ลื่น เป็นมัน ส่วนที่ท้องใบจะเรียบและเป็นสีเขียวนวล มีขนขึ้นที่ใบอ่อน มีเส้นใบตามแนวขวางจะเป็นเส้นตรงไม่โค้ง หนึ่งใบมีประมาณ 30 คู่ มีก้านใบที่สั้น สามารถยาวได้ประมาณ 0.5-1 เซนติเมตร[1],[2],[4]
  • ดอก ออกดอกเป็นช่อ ดอกจะออกที่ตามซอกใบ ดอกย่อยมีลักษณะเป็นสีเป็นสีขาวอมสีเหลืองหรือสีเหลืองอ่อน มีกลีบดอกอยู่ 5 กลีบ ที่โคนกลีบดอกจะเชื่อมกัน มีกลีบเลี้ยงดอกอยู่ 5 กลีบ กลีบเลี้ยงดอกเป็นสีเขียว[1],[4]
  • ผล เป็นฝักลักษณะเป็นรูปทรงกระสวย กลมยาว มีความยาวประมาณ 6.5-10 เซนติเมตร มีเส้นผ่านศูนย์กลางฝักประมาณ 1-2 เซนติเมตร ฝักมีเนื้อแข็ง ที่ปลายผลจะแหลม ส่วนที่โคนผลจะติดกัน ผิวผลมีลักษณะมันและลื่น ผลแก่จะแตกอ้าออก มีเมล็ดสีน้ำตาลอยู่ในผล เมล็ดจะมีขนปุยสีขาวติดและปลิวตามลม เมล็ดเป็นรูปกลมยาวแบนหรือรูปรี ยาวประมาณ 1 เซนติเมตร[1],[4]

สรรพคุณเถาเอ็นอ่อน

1. เมล็ดจะมีรสขมเมา สามารถใช้เป็นยาขับลมในกระเพาะอาหารและลำไส้ จะทำให้ผาย ทำให้เรอ และสามารถช่วยแก้อาการจุกเสียดแน่นท้องได้ (เมล็ด)[1],[2],[3]
2. สามารถนำใบ เถามาใช้เป็นยาบำรุงเส้นเอ็น แก้อาการปวดเมื่อยได้ ใบจะมีรสเบื่อเอียน สามารถนำมาใช้ทำเป็นลูกประคบได้ โดยนำใบมาโขลกให้ละเอียด แล้วก็เอามาห่อกับผ้าทำเป็นลูกประคบแก้ปวดเสียวเส้นเอ็น แก้เมื่อยขบ และสามารถช่วยคลายเส้นเอ็น ช่วยทำให้เส้นเอ็นที่ตึงยืดหย่อนได้ เถาจะมีรสขมเบื่อมัน สามารถนำเถาต้นเอ็นอ่อนมาต้มกับน้ำใช้ดื่มเป็นยาบำรุงเส้นเอ็นให้แข็งแรง ปวดหลัง แก้อาการปวดบวม เส้นแข็ง แก้ขัดยอก แก้เส้นเอ็นพิการ แก้อาการปวดเมื่อยเส้นเอ็น ปวดเมื่อยตามร่างกายได้ (ใบ, เถา)[1],[2],[3],[4],[6]
3. ใบ เถา และราก มีรสขมเบื่อเอียน เป็นยาเย็น จะมีพิษ ออกฤทธิ์ตับและหัวใจ สามารถใช้เป็นยาฟอกเลือดได้ (ราก, เถา, ใบ)[4]
4. สามารถนำเถามาต้มทานช่วยทำให้จิตใจชุ่มชื่นได้ (เถา)[3]
5. สามารถนำเถามาใช้แก้อาการฟกช้ำดำเขียวได้ ด้วยการนำเถาที่บดเป็นผง 0.35 กรัม มาผสมเหล้าทาน หรือนำยาแห้งประมาณ 5-6 กรัม มาดองกับเหล้าทานครั้งละ 5 ซีซี วันละ 3 ครั้ง (เถา)[4]

ข้อควรระวัง

มีสารที่มีฤทธิ์กับการกระตุ้นของหัวใจ จึงไม่ควรทานเกินกว่าปริมาณที่กำหนดให้ใช้ และไม่ควรทานติดต่อกันเป็นเวลานานเกินไป[4]

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

สารสำคัญที่พบ คือ สาร Cryptolepisin และเมื่อเอาสารชนิดนี้ที่สกัดได้ในอัตราส่วน 2.8 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมของสัตว์ทดลองมาฉีดกับหัวใจที่อยู่ด้านนอกร่างสัตว์ อย่างเช่น กระต่าย หนู จะพบว่าสารที่กล่าวมีฤทธิ์ที่ไปกระตุ้นการบีบตัวของหัวใจให้แรงมากขึ้น แต่ทำให้การเต้นของหัวใจนั้นช้าลง และถ้ากระตุ้นต่อไปสักพักหัวใจก็จะหยุดเต้นในท่าระหว่างบีบตัว[4]

ประโยชน์เถาเอ็นอ่อน

  • มีการนำมาปลูกเป็นไม้ประดับบ้าน [7]
  • ใช้ในสูตรยาอบสมุนไพรเพื่อสุขภาพ จะใช้เป็นส่วนประกอบเพิ่มเติมจากสูตรยาหลัก เวลาที่ต้องการอบเพื่อรักษาอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย อาการปวดหลัง ปวดเอว [5]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “เถาเอ็นอ่อน”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.thaicrudedrug.com. [18 มี.ค. 2014].
2. ไทยโพสต์. “เถา เอ็น อ่อน สู้เมื่อยขบ เมื่อยตึง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.thaipost.net. [18 มี.ค. 2014].
3. หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. “เถาเอ็นอ่อน (Thao En On)”. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). หน้า 140.
4. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. “เถาเอ็นอ่อน”. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). หน้า 354.
5. สรรพคุณสมุนไพร 200 ชนิด, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “เถา เอ็น อ่อน”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.rspg.or.th/plants_data/herbs/. [18 มี.ค. 2014].
6. หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. “เถา เอ็น อ่อน”. (วิทยา บุญวรพัฒน์). หน้า 252.
7. หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคเหนือ. “เถา เอ็นอ่อน”. (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ). หน้า 120.

อ้างอิงรูปจาก
1. https://www.floraofsrilanka.com/

ต้นเทียนกิ่ง ดอกใช้เป็นยารักษาดีซ่าน

ต้นเทียนกิ่ง ดอกใช้เป็นยารักษาดีซ่าน เป็นไม้พุ่มกึ่งรอเลื้อยขนาดกลาง ดอกเป็นช่อติดกันเป็นกระจุกยาว ออกตลอดทั้งปี มีกลิ่นหอมแบบอ่อน ๆ ผลอ่อนสีเขียว ผลสุกหรือแก่เต็มที่สีน้ำตาล
ต้นเทียนกิ่ง
เป็นไม้พุ่มกึ่งรอเลื้อยขนาดกลาง ดอกเป็นช่อติดกันเป็นกระจุกยาว ออกตลอดทั้งปี มีกลิ่นหอมแบบอ่อน ๆ ผลอ่อนสีเขียว ผลสุกหรือแก่เต็มที่สีน้ำตาล

เทียนกิ่ง

เทียนกิ่ง ถิ่นกำเนิดและเขตการกระจายพันธุ์อยู่ทางตอนเหนือของแอฟริกา เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และออสเตรเลีย (แหล่งปลูกที่สำคัญของโลกคือที่ประเทศอินเดีย อียิปต์ และซูดาน) ชื่อวิทยาศาสตร์ Lawsonia inermis L. ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Lawsonia alba Lam.จัดอยู่ในวงศ์ตะแบก (LYTHRACEAE) ชื่อสามัญ เฮนน่า (Henna) และมีชื่อสามัญอื่น ๆ อีก เช่น Alcana, Cypress shrub, Egyptian Rrivet Henna Tree Inai Kok khau Krapin Madayanti Mehadi Mignonotte tree Mong Tay Lali Reseda Sinamomo เป็นต้น ชื่อท้องถิ่นอื่นๆ (ภาคกลาง) เทียนแดง เทียนขาว เทียนต้น เทียนไม้ เทียนป้อม เทียนข้าวเปลือก เทียนย้อม (ภาคอีสาน) ต้นกกกาว ต้นกาว (จีน) โจนกะฮวยเฮี้ยะ ฮวงกุ่ย

ลักษณะของเทียนกิ่ง

  • ต้น เป็นไม้พุ่มกึ่งรอเลื้อยขนาดกลาง มีความสูงของต้นโดยประมาณ 3-6 เมตร ลำต้นแตกกิ่งก้านมากเป็นพุ่มกว้าง ลักษณะของกิ่งก้านเมื่อยังอ่อนจะมีสีเขียวนวล กิ่งเมื่อแก่จะมีหนาม เปลือกลำต้นเรียบมีสีน้ำตาลอมสีเทา ผิวขรุขระ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด เจริญเติบโตได้เร็ว ขึ้นได้ดีในดินทุกชนิดที่มีความชื้นปานกลางถึงต่ำ ชอบแสงแดดแบบเต็มวัน
  • ใบ มีขนาดเล็ก ใบจะเป็นรูปรีหรือรูปรีแกมรูปใบหอก ปลายใบแหลมโค้ง โคนใบแหลมเรียวเข้าหากันหรือเป็นรูปลิ่ม ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างโดยประมาณ 1-1.5 เซนติเมตรและยาวโดยประมาณ 2-4.5 เซนติเมตร แผ่นใบมีสีเขียว เนื้อใบค่อนข้างหนาและแข็ง ก้านใบสั้น
  • ดอก เป็นช่อติดกันเป็นกระจุกยาว จะออกตามยอดกิ่ง ดอกย่อยมีขนาดเล็ก แบ่งเป็นสองสายพันธุ์คือ พันธุ์ดอกขาวและพันธุ์ดอกแดง ดอกมีกลิ่นหอมแบบอ่อน ๆ ช่อดอกยาวโดยประมาณ 9-14 เซนติเมตร พันธุ์ดอกขาวดอกจะมีสีเหลืองอมสีเขียว กลีบดอกแยกเป็นกลีบ 4 กลีบ ปลายกลีบจะมน มีรอยย่นยับ กลีบดอกมีขนาดยาวโดยประมาณ 3-5 มิลลิเมตร ที่ฐานดอกที่มีกลีบเลี้ยงดอกเชื่อมติดกันยาวโดยประมาณ 2-2.5 มิลลิเมตร ที่กลางดอกมีเกสรเพศผู้ 8 ก้านและเกสรเพศเมีย 1 ก้าน เมื่อดอกบานเต็มที่จะมีขนาดกว้างโดยประมาณ 8-10 มิลลิเมตร ออกดอกได้ตลอดทั้งปี ดอกร่วงได้ง่าย
  • ผล เป็นรูปทรงกลมคล้ายกับเมล็ดพริกไทย ผลมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางโดยประมาณ 5-7 มิลลิเมตร ผลอ่อนมีสีเขียว เมื่อสุกหรือแก่เต็มที่แล้วจะมีสีน้ำตาลและแตกได้ ภายในผลมีเมล็ดสีน้ำตาลเข้มจำนวนมากอัดกันแน่น ลักษณะของเมล็ดเป็นเหลี่ยม

สรรพคุณของเทียนกิ่ง

1. ใบใช้เป็นยาลดไข้ (ใบ)
2. ดอกแก้อาการปวดศีรษะ (ดอก)
3. ดอกใช้เป็นยารักษาดีซ่าน (ดอก)
4. รากใช้เป็นยารักษาโรคลมบ้าหมู (ราก)
5. รากใช้เป็นยารักษาตาเจ็บ (ราก)
6. รากและใบใช้เป็นยาขับปัสสาวะ (ราก ใบ)
7. ช่วยแก้อาการปวดท้อง (ใบ)
8. ใบสดหรือแห้งนำมาต้มเอาแต่น้ำใช้เป็นยาอมบ้วนปากและคอ จะช่วยแก้อาการเจ็บคอได้ (ใบ)
9. น้ำต้มใบทั้งสด หรือแห้ง หรือยอดอ่อน เมื่อนำมาดื่มจะช่วยแก้โรคท้องร่วงและแก้ท้องร่วงในเด็กได้เป็นอย่างดี (ใบ ยอดอ่อน)
10. ใบใช้เป็นยาแก้บิด กระเพาะอาหารผิดปกติ (ใบ)
11. ใบสดใช้ตำพอกช่วยห้ามเลือด แก้ห้อเลือด (ใบ)
12. ใบสดมีรสฝาดเฝื่อน ช่วยแก้น้ำเหลืองเสีย (ใบ)
13. ราก ดอก และผล เป็นยาขับประจำเดือนของสตรี (ราก ดอก ผล)
14. ช่วยรักษากามโรค (ใบ)
15. เปลือกต้นช่วยขับน้ำเหลืองเสียในโรคเรื้อน (เปลือกต้น)
16. ตำรับยากันเล็บถอด แก้เล็บขบ เล็บช้ำ เล็บเป็นแผล เล็บเจ็บเป็นหนอง แก้อาการปวดนิ้วมือนิ้วเท้า ให้นำใบสดของต้นนำมาตำผสมกับขมิ้นอ้อยสดหรือเหง้าขมิ้นชัน และใส่เกลือพอประมาณ หรืออาจจะใช้ใบสดผสมกับเหล้าตำให้ละเอียดก็ได้ ส่วนอีกวิธีให้ใช้ใบสดโดยประมาณ 20-30 ใบที่ล้างสะอาดแล้วนำมาตำให้ละเอียด เอาข้าวสุกปั้นเป็นก้อนขนาดเท่าหัวแม่มือ นำไปเผาไฟให้บางส่วนดำเป็นถ่าน ตำรวมใส่เกลือเล็กน้อยแล้วนำมาพอกเล็บบริเวณที่เป็นก็จะหาย (ใบ)
17. ใช้ใบสดหรือใบแห้งนำมาต้มเอาแต่น้ำ ใช้น้ำล้างหรือทารักษาบาดแผล แผลสด แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก แผลบวมฟกช้ำ แผลมีหนอง แผลอักเสบบวมเป็นหนอง ถอนพิษปวดแสบปวดร้อน (ใบ)
18. น้ำต้มใบสดหรือใบแห้ง ใช้น้ำล้างหรือทารักษาโรคผิวหนัง ผิวหนังอักเสบ รักษาฝีได้ (ใบ)
19. ใบ มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อราและเชื้อแบคทีเรีย มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อราและเชื้อหนองซึ่งเป็นสาเหตุของโรคกลาก (ใบ)

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของเทียนกิ่ง

1. จากการทดลองพบว่าในใบมีสารเคมีแนพโทควิโนน (Naphthoquinone) ที่ชื่อว่า “ลอโซน” (Lawsone) (2-hydroxy-1,4-naphthoquinone) อยู่ประมาณ 0.5-0.9%, 1,4-naphthoquinone แทนนิน (tannin) 5-10% มีฟลาโวนอยด์ เช่น กลูโคไซด์ของอะพิเจนิน (Apigenin) ลูทีโอลิน (Luteolin) กรดฟีนอลิก (Phenolic acid) กรดไขมัน และแซนโทน (xanthones) ได้แก่ แลคแซนโทน (laxanthone I II) และยังมีรายงานองค์ประกอบทางเคมีเพิ่มเติม ได้แก่
เบนซีนอยด์ (benzenoids) ได้แก่ กรดแกลลิก (Gallic acid) ลาลอยไซด์ (Laloiside)
คูมารินส์ (Coumarins) ได้แก่ เอสคูเลติน (Aesculetin) ฟราเซติน (Fraxetin) สโคโพเลติน (Scopoletin)
ฟลาโวนอยด์ (Flavonoids) ได้แก่ ไซนาโรไซด์ (Cynaroside) ทิเลียนิน (Tilianin)
โพลีไซคลิก (Polycyclics) ได้แก่ ลอโซเนียไซด์ (Lawsoniaside)
สเตียรอยด์ (Steroids) ได้แก่ เบต้า-ซิโตสเตียรอล (B-sitosterol)
2. สาร Lawsone มีความปลอดภัยสูง มีรายงานว่าไม่มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์และก่อมะเร็ง และได้มีการทดสอบความเป็นพิษของใบกับคน โดยให้รับประทานใบคนละ 30 กรัม ผลการทดลองไม่พบว่าเป็นพิษ แต่หากใช้ไปนาน ๆ จะมีอาการเบื่ออาหาร ลำไส้มีอาการเคลื่อนไหวมาก และเมื่อทดลองในสุนัขก็ไม่พบว่ามีอาการเป็นพิษ
3. สารสกัดจากใบด้วยน้ำ มีฤทธิ์ทำให้มดลูกบีบตัว
4. สารสกัดจากใบสดด้วยแอลกอฮอล์จะได้สารที่เรียกว่า Lawsone จะมีความเข้มข้นต่ำสุด 1,000 ppm. ซึ่งเป็นสารที่มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อราหรือเชื้อโรคได้หลายประเภท เช่น Brucella Escherichia coli Micrococcus pyogenes var. aureus Salmonella Staphylococcus Streptococcus เป็นต้น แต่สารดังกล่าวจะไม่มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อ Candida albicans และเชื้อ Pseudomonas aerugingosa
5. สารสกัดเอทานอล 95% มีฤทธิ์ในการต้านการอักเสบ

ประโยชน์ของเทียนกิ่ง

1. ต้นเป็นพรรณไม้จากต่างประเทศที่มีดอกสวยงาม สามารถตัดแต่งต้นให้เป็นรูปทรงต่าง ๆ ได้ จึงนิยมนำเข้ามาปลูกเป็นไม้ประดับตามวัด ปลูกเป็นไม้ประธาน ปลูกเป็นแนวรั้วบังสายตาตามสวนสาธารณะ ริมถนนทางเดิน ริมทะเล หรือตามบ้านเรือน
2. ในต่างประเทศจะใช้ใบบำรุงผิวพรรณ
3. นอกจากนี้ประโยชน์ในด้านเครื่องสำอาง ยังใช้ในการทำความสะอาดผิว ใช้เป็นส่วนผสมในน้ำมัน (Liliac-scented oil) ที่ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องหอม
4. ในวงการเครื่องสำอางจะใช้ผงจากใบแห้ง นำมาใช้ทำเป็นยาย้อมสีผมและบำรุงเส้นผม โดยจะให้สีน้ำตาลอ่อน น้ำตาลแดง หรือสีแดงปนสีส้ม และยังสามารถช่วยป้องกันเส้นผมจากแสงแดดได้อีกด้วย โดยสารที่ออกฤทธิ์คือสาร Lawsone
5. ในประเทศอินเดียจะใช้ใบสดเป็นสีย้อมผ้า ย้อมสีผม ย้อมขน คิ้ว หนวดเครา เล็บมือ ใช้เขียนลายบนฝ่าเท้า ผิวหนังได้อย่างปลอดภัย ไม่มีพิษ ไม่ทำให้เกิดอาการระคายเคือง และยังใช้ในการย้อมขนสัตว์และเส้นไหมได้อีกด้วย โดยใช้ Ferrous sulphate, Potassium dichromate, Stannous chloride หรือ Alum ซึ่งใช้วิธีย้อมด้วยการแช่ ก็จะทำให้สีย้อมนั้นติดทนนาน โดยสีที่ได้จากใบจะเป็นสีส้มแดง ซึ่งชาวอียิปต์ได้มีการใช้เป็นสีย้อมผมมานานกว่า 3,000 ปีแล้ว (ลอโซนจะติดผมได้ไม่แน่นเท่ากับสารสกัดจากเฮนน่า ดังนั้นการย้อมสีผมโดยใช้ผงจากใบ จึงประหยัดและติดทนได้ดีกว่าสารลอโซนบริสุทธิ์) หากใช้ผสมสีของดอกอัญชัน ซึ่งได้จากการสกัดด้วยน้ำ เมื่อนำมาย้อมผมจะได้สีผมเป็นสีน้ำตาลเกือบเข้มหรือดำ ซึ่งเป็นสีผมที่เหมาะกับคนไทย และยังพบว่าสีผมหลังการย้อมนั้นติดทนทาน

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. “เทียน กิ่ง”. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). หน้า 380-382.
2. หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคเหนือ. “เทียน กิ่ง”. (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ). หน้า 146.
3. หนังสือสมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ. (คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “เทียนกิ่ง”. หน้า 132.
4. สรรพคุณสมุนไพร 200 ชนิด, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “เทียน กิ่ง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.rspg.or.th/plants_data/herbs/. [20 มี.ค. 2014].
5. ฐานข้อมูลพรรณไม้ที่ใช้ในงานภูมิสถาปัตยกรรม ศูนย์ความรู้ด้านการเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. “เทียนกิ่ง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: agkc.lib.ku.ac.th. [20 มี.ค. 2014].
6. โรงเรียนโสภณศิริราษฎร์. “เทียนกิ่ง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.sopon.ac.th. [20 มี.ค. 2014].
7. คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. กรีนไฮเปอร์มาร์ท สารานุกรมผลิตผลและผลิตภัณฑ์จากพืชในซุปเปอร์มาร์เก็ต ฉบับคอมพิวเตอร์. “เทียนกิ่ง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.sc.mahidol.ac.th. [20 มี.ค. 2014].
8. หนังสือสมุนไพรธรรมชาติที่นำมาใช้ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง เล่ม 1. กลุ่มควบคุมเครื่องสำอาง สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. “เทียนกิ่ง”. (ภก.วันชัย ศรีวิบูลย์, ภญ.แววตา ประพัทธ์ศร, ภญ.อรอนงค์ ตัณฑวิวัฒน์, รศ.ดร.วีณา จิรัจฉริยากูล). หน้า 343-348.
9. คู่มืออบรมย้อมผมสมุนไพร. “การย้อมผมด้วยเทียนกิ่ง & การป้องกันอาการคันศีรษะ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.stou.ac.th/nursing/Project/คู่มืออบรมย้อมผมสมุนไพร.ppt‎. [20 มี.ค. 2014].
10. ไทยสมุนไพร. “เทียน กิ่ง เปลี่ยนสีผมด้วยสมุนไพรไทย”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: ไทยสมุนไพร.net. [20 มี.ค. 2014].
11. บทความวิทยุกระจายเสียงรายการวันนี้กับวิทยาศาสตร์ ครั้งที่ 23 (กระจายเสียงจากสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย) ประจำเดือน มกราคม 2553. “เทียนกิ่ง : สมุนไพรไทยเพื่อความงาม” (พิสมัย เลิศวัฒนะพงษ์ชัย, จิตต์เรขา ทองมณี)

เทียนหยด สรรพคุณแก้ไข้มาลาเรียและปลูกเป็นไม้ประดับ

เทียนหยด สรรพคุณแก้ไข้มาลาเรียและปลูกเป็นไม้ประดับ เป็นพรรณไม้พุ่ม ดอกเป็นช่อกระจะ สีม่วงน้ำเงินหรือสีขาว ผลเป็นพวงหรือเป็นช่อห้อย ผลอ่อนมีสีเป็นสีเขียว ผลสุกสีเหลืองผิวมันสดใส
เทียนหยด
เป็นพรรณไม้พุ่ม ดอกเป็นช่อกระจะ สีม่วงน้ำเงินหรือสีขาว ผลเป็นพวงหรือเป็นช่อห้อย ผลอ่อนมีสีเป็นสีเขียว ผลสุกสีเหลืองผิวมันสดใส

เทียนหยด

ต้นเทียนหยด หรือ ต้นฟองสมุทร มีถิ่นกำเนิดในประเทศอเมริกาเขตร้อนตั้งแต่ฟลอริดาไปจนถึงบราซิล ตลอดจนหมู่เกาะอินดีสทางตะวันตก ชื่อสามัญ Duranta, Golden Dewdrop, Crepping Sky Flower, Pigeon Berry[1],[3] ชื่อวิทยาศาสตร์ Duranta erecta L. ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Duranta repens L. จัดอยู่ในวงศ์ วงศ์ผกากรอง (VERBENACEAE)[1] ชื่ออื่น ๆ เครือออน (จังหวัดแพร่), สาวบ่อลด (จังหวัดเชียงใหม่), พวงม่วง ฟองสมุทร เทียนไข เทียนหยด (กรุงเทพฯ), เอี่ยฉึ่ง (ประเทศจีน) เป็นต้น[1]

ลักษณะของต้นเทียนหยด

  • ต้น
    – เป็นพรรณไม้ประเภทพุ่ม
    – ลำต้นมีความสูงอยู่ที่ 1-3 เมตร
    – ลำต้นแผ่กิ่งก้านสาขาได้มากโดยแผ่ออกรอบ ๆ บริเวณของลำต้นตั้งแต่โคนต้นถึงยอดต้น
    – กิ่งก้านมีลักษณะรูปทรงที่ไม่แน่นอน กิ่งมีลักษณะลู่ลง และตามกิ่งอาจจะมีหนามบ้างเล็กน้อย
    – ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ดินร่วนซุย ดินร่วนปนทราย
    – ชอบแสงแดดแบบเต็มวัน[1],[3]
  • ใบ
    – ใบในลักษณะที่เป็นใบเดี่ยว โดยจะออกใบเรียงสลับตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ และต้นจะออกใบดกเต็มต้น
    – ใบเป็นรูปรี ปลายใบสั้นมีลักษณะแหลมหรือมน ตรงโคนใบสอบหรือเรียวยาวไปจนถึงก้านใบ ส่วนขอบใบมีรอยจักเป็นฟันเลื่อยเล็กน้อย
    – แผ่นใบมีสีเป็นสีเขียว [1],[5]
    – ใบมีขนาดความกว้างอยู่ที่ 3-3.5 เซนติเมตร และมีความยาวอยู่ที่ 5-6 เซนติเมตร
    – ก้านใบสั้น
  • ดอก
    – ออกดอกเป็นช่อกระจะบริเวณตามซอกใบและส่วนยอดของลำต้น
    – ออกดอกได้ตลอดทั้งปี แต่จะออกดอกมากที่สุดในช่วงฤดูฝน(ช่วงประมาณเดือนพฤษภาคมถึงสิงหาคม) [1],[3],[5]
    – ดอก มี 2 สายพันธุ์ คือ พันธุ์ดอกสีม่วงและพันธุ์ดอกสีขาว โดยช่อดอกจะมีลักษณะห้อยลงมา มีความยาวอยู่ที่ 5-10 เซนติเมตร ซึ่งภายในช่อจะประกอบไปด้วยดอกที่มีขนาดเล็กเป็นจำนวนมาก
    – ดอกย่อยเมื่อบานเต็มที่แล้ว จะมีขนาดกว้างอยู่ที่ 1-1.5 เซนติเมตร ซึ่งดอกจะทยอยบานครั้งละ 5-6 ดอก
    – โคนกลีบดอกจะเชื่อมติดกันเป็นหลอด ส่วนบริเวณปลายจะแยกออกเป็นกลีบ 5 กลีบ มีขนาดไม่เท่ากัน มีสีม่วงน้ำเงินหรือสีขาว
    – ตรงกลีบเลี้ยงเป็นสีเขียว โดยกลีบเลี้ยงจะเชื่อมติดกันเป็นหลอด ตรงปลายแยกออกเป็น 5 ริ้ว
  • ผล
    – ออกผลในลักษณะที่เป็นพวงหรือเป็นช่อห้อยลงมา
    – ผลมีขนาดเล็กและมีจำนวนมาก โดยลักษณะรูปทรงของผลเป็นรูปทรงกลมรี มีขนาดประมาณ 1 เซนติเมตร
    – ผลอ่อนมีสีเป็นสีเขียว เมื่อผลสุกแล้วจะเปลี่ยนสีเป็นสีเหลือง ผิวเป็นมันสดใส และผลมีกลีบเลี้ยงติดอยู่[1],[5]
    – ผลมีพิษ

สรรพคุณของต้นเทียนหยด

1. นำใบสดในปริมาณพอสมควร มาตำผสมกับน้ำตาลทราย แล้วนำไปพอกบริเวณที่มีอาการ โดยนำมาใช้เป็นยาสำหรับแก้ฝีฝักบัว แก้หนอง แก้บวม และแก้อักเสบ (ใบสด)[1]
2. ใบสดมีกลิ่นฉุน โดยจะนำมาใช้ตำพอกเป็นยาสำหรับใช้ห้ามเลือดได้ (ใบสด)[1]
3. นำใบสดในปริมาณพอสมควร มาตำผสมกับน้ำตาลทรายแดงปริมาณ 15 กรัม จากนั้นก็นำมาปั้นเป็นก้อน แล้วลนด้วยไฟอุ่น ๆ ใช้เป็นยาสำหรับพอกบริเวณที่เป็นแผล โดยจะนำมาใช้รักษาอาการปลายเท้าเป็นห้อเลือด บวมอักเสบ และเป็นหนองได้ (ใบสด)[1]
4. นำเมล็ดปริมาณประมาณ 15 กรัม มาตำให้ละเอียดผสมกับเหล้าทานเป็นยาที่รักษาอาการปวดหน้าอก หกล้มหรือถูกกระแทกได้ (เมล็ด)[1]
5. นำเมล็ดแห้งปริมาณประมาณ 15-20 เมล็ด มาตำหรือบดให้เป็นผงผสมรับประทาน โดยเมล็ดแห้งนำมาใช้สำหรับเป็นยาเร่งคลอด (เมล็ดแห้ง)[1]
6. นำเมล็ดแก่ที่แห้งแล้วในปริมาณประมาณ 15-20 เมล็ด มาตำหรือบดให้เป็นผงผสมรับประทานก่อนที่จะเป็นไข้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง โดยเมล็ดแห้งนี้จะนำมาใช้เป็นยาสำหรับแก้ไข้มาลาเรียได้ (เมล็ดแห้ง)[1]

ข้อควรระวัง

  • สตรีมีครรภ์ไม่ควรรับประทานสมุนไพรชนิดนี้เด็ดขาด เนื่องจากส่วนผลมีสารพิษที่เมื่อทานเข้าไปมาก ๆ อาจทำให้ตายได้[1]

ประโยชน์ของต้นเทียนหยด

  • ใช้ปลูกเป็นแนวรั้วเพื่อป้องกันวัว กระบือ แพะ แกะ ฯลฯ ได้ เนื่องจากใบมีสารชนิดหนึ่งที่มีชื่อว่าซาโปนินที่สัตว์จะไม่เลือกกินเพราะมีสารที่เป็นพิษ ในประเทศอินเดียจะนิยมนำมาปลูกกันมากเนื่องจากมีสัตว์จำพวกวัว แพะ ฯลฯ ถูกปล่อยให้เดินตามท้องถนนเป็นจำนวนมาก [5]
  • ใช้น้ำที่ได้มาจากเมล็ดมาละลายกับน้ำในอัตราส่วน 1/100 ส่วน โดยจะนำมาใช้เป็นยาถ่ายพยาธิและใช้ฆ่าลูกน้ำในบ่อหรือในพื้นที่ที่มีน้ำขังได้ [4],[5]
  • ต้นนำมาใช้ปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไปได้ โดยจะปลูกไว้ตามทางเดิน ริมถนน ริมทะเล สวนสาธารณะ โดยจะปลูกเป็นไม้ประธาน หรือนำมาปลูกไว้เป็นแนวรั้วบัง เนื่องจากเป็นไม้ที่มีทรงพุ่มสวยงาม ดอกมีสีสันที่สวยงาม และส่งกลิ่นหอมอ่อน ๆ ได้ตลอดทั้งวัน สามารถออกดอกได้ตลอดทั้งปี ประกอบกับมีผลแก่ที่มีสีเหลืองสดเป็นมันดูสดใสมีความงดงามเป็นอย่างมาก อีกทั้งเป็นพันธุ์ไม้ที่เจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็วอีกด้วย แถมยังปลูกและดูแลรักษาได้ง่าย สามารถตัดแต่งใบเป็นรูปทรงต่าง ๆ ได้ตามความต้องการ แต่ก็มีข้อควรระวังอยู่ก็คือไม่ควรปลูกไว้ใกล้สนามเด็กเล่นเพราะผลและใบมีพิษ[3],[5]

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

  • ใบ มีสาร pectolinaringenin มี scutellarein อยู่จำนวนเล็กน้อย และยังมี durantoside I tethraacetate, durantoside I pentaacetate, durantoside II tethraacetate, durantoside IV tethraacetate นอกจากนี้ก็ยังมีสารอย่าง β-carotene, chlorophyll, xanthophyll, แครอทีน ฯลฯ
  • ผล มีสารจำพวกอัลคาลอยด์ ได้แก่ pyridine derivative และยังมีสาร glucose, fructose, sterols อยู่อีกด้วย[1]

พิษของต้นเทียนหยด

ส่วนที่เป็นพิษ

  • ใบ พบกรดไฮโดรไซยานิค (hydrocyanic acid, HCN) หรือไซยาไนด์
  • ผล พบสารในกลุ่มซาโปนินที่เป็นพิษ ซึ่งได้แก่ duratoside IV, duratoside V ถ้าหากรับประทานโดยการเคี้ยวเข้าไปแล้วก็อาจทำให้เสียชีวิตได้ แต่ถ้าไม่เคี้ยว ก็จะไม่ก่อให้เกิดอันตรายแต่อย่างใด[2],[4]

อาการเป็นพิษ

  • ผู้ป่วยที่ได้รับประทานใบในปริมาณมาก ๆ เข้า สาร hydrocyanic acid ที่อยู่ในใบจะทำให้เกิดอาการขาดออกซิเจนได้ จนทำให้เกิดอาการตัวเขียว และอาจจะถึงขั้นเสียชีวิตได้
  • ถ้าหากรับประทานในปริมาณเล็กน้อยก็อาจจะทำให้มีอาการอาเจียนและท้องเสียได้ ส่วนในผู้ป่วยที่รับประทานผลอาจจะมีอาการปวดศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง ท้องเสีย มีลำไส้อักเสบ ส่วนในรายที่เกิดอาการเป็นพิษรุนแรงนั้น เนื้อเยื่อที่อยู่ลึก ๆ จะถูกทำลายได้ เม็ดเลือดแดงอาจจะแตกได้ ในกรณีที่มีการดูดซึมของสารพิษเข้าไปมาก ๆ ผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูง มีอาการกระหายน้ำ เริ่มหน้าแดง จิตใจมีความกังวล ตาพร่า และรูม่านตาขยาย
  • พิษที่รุนแรงที่สุดนั่นก็อาจจะแสดงออกที่กล้ามเนื้ออ่อนแรง การประสานงานของกล้ามเนื้อมีอาการที่ไม่ดี สุดท้ายแล้วการไหลเวียนของเลือดก็จะไม่สม่ำเสมอและอาจถึงขั้นมีอาการชัก และเสียชีวิตได้ในที่สุด[2]

ตัวอย่างผู้ป่วย

  • เด็กหญิงคนหนึ่งในรัฐฟลอริดาได้รับประทานผลเข้าไป และเริ่มมีอาการมึนงง สับสน แต่ในวันต่อมาก็เริ่มกลับมีอาการเป็นปกติ
  • ในประเทศออสเตรเลียก็มีผู้ป่วยเด็กคนหนึ่งที่ได้รับพิษจากเมล็ด จนทำให้ถึงขั้นเสียชีวิตได้ โดยอาการที่เป็นพิษที่พบก็คือ มีไข้ นอนไม่หลับ และมีอาการชัก[2]

การรักษา

  • โดยการรักษานั้นให้รีบนำส่งโรงพยาบาลในทันที และควรทำให้พิษลดลงหรือทำให้การได้รับการดูดซึมของสารพิษน้อยที่สุด ได้แก่ การทำให้อาเจียนออกมาและให้สารหล่อลื่น เช่น ดื่มนมหรือทานไข่ขาว
  • ในขณะที่พักฟื้นก็ควรรับประทานอาหารอ่อน ๆ แต่ในกรณีที่มีการสูญเสียน้ำและเสียเกลือแร่มากต้องให้น้ำเกลือทางเส้นเลือด[2],[4]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5.  (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม).  “ฟองสมุทร”.  หน้า 579-580.
2. ระบบวินิจฉัยและการรักษาอาการอันเนื่องจากพืชพิษในประเทศไทย, สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.  “เทียน หยด”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : www.medplant.mahidol.ac.th/tpex/.   [08 พ.ย. 2014].
3. ฝ่ายปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.  (นพพล เกตุประสาท).  “ฟองสมุทร”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : clgc.rdi.ku.ac.th.  [08 พ.ย. 2014].
4. ฐานข้อมูลพืชพิษ, ศูนย์ข้อมูลสมุนไพร สถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.  “ฟองสมุทร (เทียนหยด)”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : webdb.dmsc.moph.go.th/poison/.  [08 พ.ย. 2014].
5. มูลนิธิหมอชาวบ้าน. นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่ 332 คอลัมน์ : ต้นไม้ใบหญ้า.  (เดชา ศิริภัทร).  “เทียนหยด :ไม้ประดับที่ผลงดงามกว่าดอก”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก :  www.doctor.or.th.  [08 พ.ย. 2014].
อ้างอิงรูปจาก
1.https://garden.org/plants/photo/469525/
2.https://www.monaconatureencyclopedia.com/

ต้นเทียนดำ ช่วยแก้อาการนอนไม่หลับ

ต้นเทียนดำ
ต้นเทียนดำ ช่วยแก้อาการนอนไม่หลับ เป็นไม้ล้มลุกขนาดเล็ก ขอบใบหยักลึก ดอกเล็กสีขาวหรือสีฟ้าอ่อนอมม่วง ผลแก่คล้ายกับผลฝิ่น เมล็ดสีดำผิวหยาบไม่มีขน มีกลิ่นเล็กน้อย
ต้นเทียนดำ
เป็นไม้ล้มลุกขนาดเล็ก ขอบใบหยักลึก ดอกเล็กสีฟ้าอ่อนอมม่วง ผลแก่คล้ายกับผลฝิ่น เมล็ดสีดำผิวหยาบไม่มีขน มีกลิ่นเล็กน้อย

เทียนดำ

ชื่อวิทยาศาสตร์ Nigella sativa L. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Nigella cretica Mill.) จัดอยู่ในวงศ์พวงแก้วกุดั่น (RANUNCULACEAE) ชื่อสามัญ Nigella, Black cumin, Black caraway, Fennel flower, Nutmeg flower, Love in the mist, Roman coriander, Wild onion seed ชื่อท้องถิ่นอื่นๆ เทียนดำหลวง (จีนกลาง) เฮยจ๋งเฉ่า

ลักษณะของเทียนดำ

  • ต้น เป็นไม้ล้มลุกขนาดเล็ก มีอายุราว 1 ปี ลำต้นกลมและตั้งตรง มีความสูงของต้นโดยประมาณ 30-60 เซนติเมตร แตกกิ่งก้านบริเวณกลางลำต้น ต้นมีขนสีเหลืองอ่อนขึ้นปกคลุม
  • ใบ ใบประกอบแบบขนนก ขอบใบหยักลึก ใบบนใหญ่กว่าใบล่าง มีก้านใบสั้น ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปสามแฉก ลักษณะเป็นเส้น ปลายแหลม มีขนขึ้นปกคลุมช่วงล่าง ใบย่อยกว้างโดยประมาณ 2-3 เซนติเมตรและยาวโดยประมาณ 4-5 เซนติเมตร
  • ดอก ดอกเดี่ยว ออกดอกบริเวณปลายยอดหรือตามซอกใบ มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ มีขนาดใหญ่กว่าและยาวกว่ากลีบดอกมาก ดอกอาจมีสีขาวหรือสีฟ้าอ่อนอมม่วง กลีบดอกมีหลายกลีบ ขนาดเล็ก มีสีเหลืองอมเขียว ที่ปลายกลีบมีเส้นคาดมีสีม่วง ดอกมีเกสรเพศผู้มีสีเหลืองจำนวนมาก ยาวโดยประมาณ 8-12 มิลลิเมตร ส่วนกลีบเลี้ยงยาวโดยประมาณ 2-3 มิลลิเมตร
  • ผล ผลแก่จะแตกออก มีลักษณะคล้ายกับผลฝิ่น มีความยาวโดยประมาณ 8-15 มิลลิเมตร ภายในผลมีเมล็ดลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมถึงห้าเหลี่ยม มีขนาดกว้างโดยประมาณ 1.4-1.8 มิลลิเมตรและยาวโดยประมาณ 2.5-3.0 มิลลิเมตร เมล็ดเป็นสีดำสนิทผิวหยาบหรือขรุขระ ไม่มีขน มีกลิ่นเล็กน้อย ส่วนเนื้อในเมล็ดเป็นสีขาว เมล็ดค่อนข้างแข็ง หากใช้มือถูที่เมล็ดหรือนำไปบดจะได้กลิ่นหอมฉุน มีรสชาติขม เผ็ด ร้อน คล้ายกับเครื่องเทศ

สรรพคุณของเทียนดำ

1. เมล็ดมีสรรพคุณบำรุงโลหิต (เมล็ด)
2. ช่วยในเรื่องระบบการหมุนเวียนของเลือด ด้วยการผสมกับน้ำผึ้งรับประทานได้ตลอดเวลาตามที่ต้องการ (เมล็ด)
3. การแพทย์สมัยก่อนนั้นจะใช้เมล็ดเป็นส่วนประกอบในการบำบัดรักษาโรคทุกชนิด (เมล็ด)
4. ในแถบประเทศอังกฤษและสกอตแลนด์ใช้เมล็ดเป็นยาแก้อาการซูบผอม (เมล็ด)
5. ดร.อิบรอฮีม อับดุลฟัตตาฮ์ระบุว่า หากต้องการรักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ ให้นำเมล็ดมาบดให้ละเอียด 1 ช้อนโต๊ะ, กระเทียม 3 กลีบ, น้ำผึ้ง 2 ช้อนโต๊ะ และน้ำสะอาดอุ่นๆครึ่งแก้ว โดยนำส่วนผสมทั้งหมดมาบดรวมกันแล้วใช้รับประทานวันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น (เมล็ด)
6. ดร.อะฮ์หมัด อัลกอฎีระบุว่า เขาได้ใช้เมล็ดผสมกับน้ำผึ้งรับมาเป็นยาบำบัดรักษาโรคเอดส์อย่างได้ผล (เมล็ด)
7. ช่วยรักษาโรคไขมันในเลือดหรือคอเลสเตอรอล ให้ใช้เทียนดำ 1 ช้อนโต๊ะ, น้ำผึ้ง 1 แก้วเล็ก, กระเทียม 3 กลีบ และผักชนิดใดก็ได้ 1 กำมือ นำมาบดรวมกันใช้รับประทานเช้าและเย็น (เมล็ด)
8. หากความดันโลหิตสูงให้ใช้เทียนดำ 1 ช้อนโต๊ะ, น้ำผึ้ง 2 ช้อนโต๊ะ และกระเทียม 3 กลีบ นำมาผสมกันใช้รับประทานทุกวัน (เมล็ด)
9. ใช้รักษาโรคเบาหวาน ด้วยการใช้เมล็ดนำมาบดเป็นผงให้ละเอียด 1 ช้อนโต๊ะ, ทับทิมบดเป็นน้ำ 1 แก้ว, รากกะหล่ำปลีบดเป็นน้ำ 1 แก้ว และผักแว่นบดเป็นน้ำ 1/2 แก้ว แล้วนำมาผสมกับนมเปรี้ยวใช้รับประทาน (เมล็ด)
10. เมล็ดและทั้งต้นมีสรรพคุณเป็นยาฟอกเลือด (เมล็ด, ทั้งต้น)
11. ช่วยรักษาโรคปวดศีรษะ ด้วยการใช้เมล็ดบดละเอียดและกานพลูบดละเอียดอย่างละเท่ากัน แล้วนำมาผสมกับนมเปรี้ยวใช้รับประทานเมื่อมีอาการปวดศีรษะ ซึ่งสามารถใช้แทนยาพาราเซตามอลได้ หรือจะใช้ผสมกับน้ำผึ้งรับประทานก็ได้ (เมล็ด)
12. ช่วยแก้อาการนอนไม่หลับ ด้วยการใช้ 1 ช้อนโต๊ะ นำมาผสมกับนมสดและน้ำผึ้ง 1 แก้ว ใช้ดื่มก่อนเข้านอน (เมล็ด)
13. หากเป็นโรคมะเร็งให้ใช้เทียนดำ 1 ช้อนโต๊ะ, กระเทียม 3 กลีบ, น้ำแคร์รอต 1 แก้วเล็ก และน้ำผึ้ง 2 ช้อนโต๊ะนำมาผสมกัน ใช้รับประทานวันละ 3 ครั้ง ติดต่อกัน 3 เดือน (เมล็ด)
14. ช่วยทำให้สติปัญญาดีและมีความจำที่ดีขึ้น ด้วยการใช้น้ำมันเทียนดำ 7 หยด น้ำผึ้ง และใบสะระแหน่ 1 กำมือ นำมาผสมกับน้ำอุ่นรับประทานร่วมกับชา กาแฟ หรือนมสด จะช่วยเพิ่มความจำ ทำให้สมองโล่งขึ้น (เมล็ด)
15. รากช่วยรักษามะเร็งคุด มะเร็งเพลิง (ราก)
16. ใช้เมล็ดบด 1-2 ช้อนชานำมาชงกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ไข้ เช้าและเย็น
17. ช่วยแก้โรคลม (เมล็ด)
18. ช่วยแก้อาการปวดฟัน ด้วยการใช้เมล็ดนำมาบดผสมกับน้ำอุ่น ใช้อมกลั้วในปากแล้วบ้วนทิ้งในขณะที่มีอาการปวดฟัน (เมล็ด)
19. ช่วยรักษาโรคหอบหืด โดยใช้น้ำมันนำมาสูดดมพร้อมกับทาบริเวณหน้าอกก่อนนอนทุกวัน (เมล็ด)
20. ช่วยรักษาโรคเกี่ยวกับตา ด้วยการใช้น้ำมันนำมาหยดที่ตาทั้ง 2 ข้างก่อนเข้านอน พร้อมกับใช้น้ำมันผสมกับน้ำแคร์รอทนำมาดื่มจนกว่าจะหาย (เมล็ด)
21. เมล็ดช่วยในการย่อยอาหาร (เมล็ด)
22. ช่วยแก้อาเจียน (เมล็ด)
23. เมล็ดมีรสเผ็ดร้อน ขม ชุ่ม เป็นยาร้อนเล็กน้อย ออกฤทธิ์ต่อตับ ม้าม และธาตุ ใช้เป็นยาขับลมและความชื้นในกระเพาะและในลำไส้ แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ (เมล็ด)และทั้งต้นก็เป็นยาขับลมเช่นกัน (ทั้งต้น)
24. เมล็ดมีรสเผ็ดขม ช่วยขับเสมหะให้ลงสู่ทวาร (เมล็ด)
25. ช่วยแก้ต่อมทอนซิลอักเสบ ด้วยการใช้เมล็ดบดผสมกับน้ำอุ่น นำมากลั้วในปากแล้วบ้วนทิ้งในขณะอักเสบ (เมล็ด)
26. ช่วยขับปัสสาวะ (เมล็ด, ทั้งต้น) ส่วนใบและต้นมีรสเฝื่อน เป็นยาขับปัสสาวะเช่นกัน (ใบและต้น)
27. ช่วยรักษาโรคลำไส้ แก้อาการปวดท้องจุกเสียด ให้ใช้เทียนดำ, เครื่องเทศ, สะระแหน่ และน้ำผึ้งอย่างละเท่ากัน นำมาผสมใช้รับประทาน และให้ใช้น้ำมันนำมาทาบริเวณท้อง ไม่กี่นาทีก็จะเห็นผลและอาการปวดก็จะหายไป (เมล็ด)
28. ใบและต้นช่วยรักษาริดสีดวงทวาร (ใบ, ต้น)
29. ช่วยขับพยาธิ (เมล็ด)
30. ใช้แก้ภาวะท้องมาน ด้วยการใช้ยาทาแก้ปวดเทียนดำและน้ำส้มสายชู นำมาผสมรวมกันใช้ทาบริเวณท้อง พร้อมกับรับประทาน 1 ช้อนโต๊ะที่ผสมกับน้ำผึ้ง 2 ช้อนโต๊ะ โดยให้รับประทานทุกวันทั้งเช้าเย็น ติดต่อกัน 1 สัปดาห์ (เมล็ด)
31. ใช้รักษาโรคต่อมลูกหมากโต โดยใช้น้ำมันนำมาทาบริเวณกระเพาะปัสสาวะและลูกอัณฑะ พร้อมทั้งบดเมล็ด ผสมกับน้ำผึ้งรับประทานทุกวันก่อนเข้านอน (เมล็ด)
32. ช่วยสลายเม็ดนิ่ว ด้วยการใช้เทียนดำ 1 แก้วเล็ก, กระเทียม 3 กลีบ และน้ำผึ้ง 1 แก้วเล็กนำมารวมกัน ใช้รับประทานทุกวัน หลังจากนั้นให้ดื่มน้ำมะนาวตาม จะช่วยล้างไตให้สะอาดได้ด้วย (เมล็ด)
33. ใช้แก้นิ่วในถุงน้ำดี ด้วยการใช้เทียนดำ 1 ช้อนโต๊ะ, น้ำผึ้ง 1 แก้ว และผักเบี้ยบดละเอียด 1/4 ช้อนโต๊ะ นำมาผสมรวมกัน ใช้รับประทานเช้าเย็นทุกวัน จนกว่าอาการจะดีขึ้น (เมล็ด)
34. หากเป็นหมัน ให้ใช้เมล็ดเทียนดำบด, หัวไชเท้า และนมสดอย่างละเท่ากัน นำมาบดรวมกันแล้วรับประทานเช้า, เย็น ครั้งละ 1 ช้อนโต๊ะ (เมล็ด)
35. หากเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ให้ใช้เทียนดำ 1 ช้อนโต๊ะ, กระเทียม 3 กลีบ และไข่ไก่ 7 ฟองนำมาผสมรวมกัน นำไปทอดหรือใช้รับประทานสด ๆ วันเว้นวัน ติดต่อกัน 1 เดือน (เมล็ด)
36. เมล็ดช่วยแก้ตับโต ตับอักเสบ (เมล็ด)[1] หากตับอักเสบไวรัสบี ให้ใช้เทียนดำ 1 ช้อนโต๊ะและวุ้นของว่านหางจระเข้ 1 อัน นำมาผสมกับน้ำผึ้ง 2 ช้อนโต๊ะ ใช้รับประทานทุกวัน ติดต่อกันประมาณ 2 เดือน (เมล็ด)
37. ช่วยรักษาโรคอะมีบา ด้วยการใช้เทียนดำ 1 ช้อนโต๊ะ, กระเทียม 1 ช้อนโต๊ะ และน้ำมะเขือเทศใส่เกลือเล็กน้อย 1 แก้ว นำมาผสมรวมกัน ใช้รับประทานทุกวันติดต่อกัน 2 สัปดาห์ (เมล็ด)
38. ช่วยรักษาโรคไตอักเสบหรือไตเสื่อม ด้วยการใช้ 1 ช้อนโต๊ะผสมกับน้ำมันมะกอก 1 ช้อนโต๊ะ ใช้รับประทานเป็นยาทุกวัน ติดต่อกัน 1 สัปดาห์ แล้วจะหายอักเสบ (เมล็ด)
39. รากช่วยรักษาดีพิการ (ราก)
40. รักษาโรคม้าม ด้วยการใช้ยาทาแก้ปวดเทียนดำและน้ำมันมะกอก นำมาผสมรวมกันใช้ทาบริเวณใต้ซี่โครงด้านซ้าย พร้อมกับใช้เทียนดำและน้ำผึ้งมารับประทานด้วย โดยให้รับประทานติดต่อกัน 2 สัปดาห์ อาการของม้ามจะดีขึ้นและความกระปรี้กระเปร่าจะกลับคืนสู่สภาพเดิม (เมล็ด)
41. ช่วยแก้โรคดีซ่าน (เมล็ด)
42. เมล็ดนอกจากจะเป็นยาขับประจำเดือนแล้ว ยังช่วยบีบมดลูกอีกด้วย (เมล็ด) ส่วนใบและต้นก็มีสรรพคุณบีบมดลูกเช่นกัน (ใบ, ต้น)
43. ใบและต้นมีรสเฝื่อน เป็นยาแก้หนองใน (ใบและต้น)
44. ช่วยในการคลอดบุตรของสตรี ด้วยการใช้เทียนดำ น้ำผึ้ง และดอกบาบูนิญผสมกัน ทำให้คลอดบุตรง่ายขึ้น (เมล็ด)
45. ช่วยขับประจำเดือนของสตรี (เมล็ด, ทั้งต้น)[1],[3],[6] ใบ ต้น และเปลือกมีรสเฝื่อน มีสรรพคุณเป็นยาขับประจำเดือนเช่นกัน (ใบ, ต้น, เปลือกต้น)[6],[7] ส่วนรากและเปลือกรากช่วยทำให้ประจำเดือนมาตามปกติ (ราก, เปลือกราก)
46. ใช้รักษาโรคกลาก ด้วยการใช้เมล็ดบด นำมาทาบริเวณที่เป็นกลากวันละ 3 ครั้งจนกว่าจะหายขาด (เมล็ด)
47. ช่วยรักษาพิษปรอท (เมล็ด)
48. เมล็ดใช้รักษาโรคเรื้อน (เมล็ด)[6] ช่วยรักษาบาดแผลและขี้เรื้อน ด้วยการใช้เมล็ดบดละเอียด 1 ช้อนโต๊ะ, น้ำกระเทียม 1 ช้อนชา และน้ำส้มสายชู 1 แก้วเล็ก นำมาผสมกันใช้เป็นยาทาบริเวณที่เป็น (เมล็ด)
49. เมล็ดใช้รักษาโรคเรื้อน (เมล็ด) ช่วยรักษาบาดแผลและขี้เรื้อน ด้วยการใช้เมล็ดบดละเอียด 1 ช้อนโต๊ะ, น้ำกระเทียม 1 ช้อนชา และน้ำส้มสายชู 1 แก้วเล็ก นำมาผสมกันใช้เป็นยาทาบริเวณที่เป็น (เมล็ด)
50. ในตำราอายุรเวทของอินเดียใช้เมล็ดเป็นยาระงับเชื้อโรค (เมล็ด)
51. ช่วยแก้เหน็บชา โดยใช้เมล็ดบดละเอียด ผสมกับน้ำส้มคั้น 1 แก้ว ใช้ดื่มทุกวัน ติดต่อกัน 10 วัน (เมล็ด)
52. หากเป็นหูด ไฝ หรือกระ ให้ใช้เมล็ดบดละเอียดผสมกับน้ำส้มสายชูทำเป็นยาทา ใช้ทาบริเวณที่เป็นทั้งเช้าและเย็นติดต่อกัน 1 สัปดาห์ หรือจะใช้ 1 ช้อนโต๊ะ นำมาบดรวมกับผักกาดหอม 1 กำมือ ใช้ทาบริเวณที่เป็นจนกว่าจะหายขาด (เมล็ด)
53. ใช้รักษาโรครูมาติสซั่ม (Rheumatism) หรือโรคปวดตามข้อ ด้วยการใช้น้ำมันมาทาบริเวณที่มีอาการปวด พร้อมทั้งนำเมล็ดมาบดให้ละเอียดเป็นผงผสมกับน้ำผึ้งตามต้องการ ใช้รับประทานก่อนเข้านอน (เมล็ด)
54. ทั้งต้นมีสรรพคุณเป็นยาแก้อาการปวดตามร่างกาย (ทั้งต้น)
55. ช่วยแก้อาการปวดอักเสบ (เมล็ด)
56. ในตำรับยารักษาอาการทางระบบทางเดินอาหาร ก็พบว่าปรากฏอยู่ในตำรับ “ยาธาตุบรรจบ” (ประกอบไปด้วยเทียนดำ เทียนขาว เทียนแดง เทียนเยาวพาณี และเทียนสัตตบุษย์ ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่น ๆ อีกในตำรับ) โดยเป็นตำรับยาที่มีสรรพคุณบรรเทาอาการท้องอืดท้องเฟ้อ และยังปรากฏอยู่ในตำรับ “ยาธาตุประสะกานพลู” (ประกอบไปด้วยเทียนดำและเทียนขาว ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่น ๆ อีกในตำรับ) โดยเป็นตำรับยาที่ช่วยบรรเทาอาการปวดท้อง แก้อาการจุกเสียดแน่นเฟ้อเนื่องจากอาหารไม่ย่อยหรือเนื่องจากธาตุไม่ปกติ
57. ช่วยขับน้ำนมของสตรี (เมล็ด,ทั้งต้น)
58. มีปรากฏอยู่ในตำรับยารักษากลุ่มอาการทางระบบไหลเวียนโลหิตหรือตำรับยาแก้ลม ได้แก่ ตำรับ “ยาหอมเทพจิตร” และในตำรับ “ยาหอมนวโกฐ” ซึ่งมีส่วนประกอบร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่น ๆ อีกในตำรับ โดยเป็นตำรับยาที่มีสรรพคุณแก้ลมวิงเวียน แก้อาการหน้ามืดตาลาย คลื่นเหียนอาเจียน และแก้ลมจุกแน่นในท้อง
59. อยู่ในตำรับยา “พิกัดเทียน” ที่ประกอบไปด้วยตำรับยา “พิกัดเทียนทั้งห้า” (เทียนดำ เทียนขาว เทียนแดง เทียนข้าวเปลือก เทียนตาตั๊กแตน), ตำรับยา “พิกัดเทียนทั้งเจ็ด” (เพิ่มเทียนเยาวพาณีและเทียนสัตตบุษย์) และในตำรับยา “พิกัดเทียนทั้งเก้า” (เพิ่มเทียนตากบและเทียนเกล็ดหอย) โดยเป็นตำรับยาที่มีสรรพคุณโดยรวมคือ บำรุงโลหิต แก้อาเจียน ช่วยขับลม และใช้ในตำรับยาหอมต่าง ๆ
60. ใช้รักษาโรคผมร่วง ด้วยการใช้เมล็ด 1 ช้อนโต๊ะ, น้ำหัวหอม 1 แก้วเล็ก, น้ำมันมะกอก 1 แก้วเล็ก และน้ำส้มสายชู 1 ช้อนชา นำมาผสมรวมกันแล้วใช้ชโลมให้ทั่วศีรษะในตอนเช้าทิ้งไว้ แล้วตอนเย็นค่อยล้างออกด้วยน้ำอุ่น (เมล็ด)
61. นอกจากนี้ยังมีการใช้เมล็ดในตำรับยา “พิกัดตรีรัตตะกุลา” (ตรีสัตกุลา) ซึ่งเป็นตำรับยาที่จำกัดตัวยา 3 อย่าง ประกอบไปด้วย เทียนดำ ผลผักชีลา และเหง้าขิงสด (อย่างละเท่ากัน) โดยเป็นตำรับยาที่บำรุงธาตุไฟ แก้อาการธาตุ 10 ประการ และช่วยขับลมในลำไส้
62. ในตำรับ “ยาประสะไพล” โดยมีส่วนประกอบร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่น ๆ อีกในตำรับ โดยเป็นตำรับยาที่ใช้กับสตรีที่ประจำเดือนมาไม่เป็นปกติหรือมาน้อยกว่าปกติ

วิธีใช้สมุนไพรเทียนดำ

1. ให้ใช้เมล็ด 1-2 ช้อนชา นำมาชงกับน้ำสะอาดดื่ม เช้าและเย็น
2. หากเป็นยาผงให้ใช้ในขนาด 2-6 กรัม ถ้าเป็นในรูปของเมล็ดให้ใช้ในขนาด 0.6-1.2 กรัมหรือโดยประมาณ 1 ช้อนชา นำมาชงกับน้ำสะอาดเป็นชาร้อนดื่ม
3. เมล็ดให้ใช้ครั้งละ 5-10 กรัม นำมาต้มกับน้ำสะอาดรับประทานหรือเข้ากับตำรายาอื่น ๆ รับประทาน ส่วนต้นแห้งสามารถใช้ร่วมกับตัวยาอื่น ๆ ในตำรับยาได้ตามที่ต้องการ

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

1. น้ำมันจากเมล็ดเทียนในขนาด 4-32 ไมโครลิตร/กก. หรือสาร Thymoquinone ในขนาด 0.2-1.6 มก./กก. มีฤทธิ์ลดอัตราการเต้นของหัวใจและลดความดันโลหิต สารสกัดไดคลอโรมีเทนเมื่อให้หนูทดลองที่เป็นความดันกินต่อวันในขนาด 0.6 มิลลิลิตรต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม เป็นเวลา 15 วัน แล้ววัดค่าความดันโลหิตเปรียบเทียบกับยามาตรฐาน Nifedipine พบว่าสารสกัดดังกล่าวสามารถลดความดันได้ 22% ในขณะที่ยามาตรฐาน Nifedipine ลดความดันได้ 18% อีกทั้งยังทำให้การขับปัสสาวะเพิ่มมากขึ้น และยังช่วยเพิ่มการขับโซเดียมคลอไรด์ โพแทสเซียมอิออน และยูเรียทางปัสสาวะ สารสกัดปิโตรเลียมอีเทอร์จากเมล็ด สามารถยับยั้ง Fibrinolytic activity ได้ ทำให้ระยะเวลาที่เลือดไหลลดลงในกระต่ายทดลอง
2. ในเมล็ด พบสาร Damascenine และพบน้ำมันระเหยยาก (Fixed oil) เช่น Linoleic acid, Oleic acid, Palmitic acid ประมาณ 30% และพบน้ำมันระเหยง่าย (Volatile oil) ประมาณ 0.5-1.5% ซึ่งมีองค์ประกอบหลักเป็นอนุพันธ์ของควิโนน คือ Thymoquinone โดยคิดเป็น 54% นอกจากนี้ยังพบ 4-terpineol, carvone, carvacrol, dithymoquinone, thymohydroquinone, thymol, trans-anethole, limonene, p-cymene และพบสารอัลคาลอยด์ Nigellon, Nigellimine, Nigellicine, Kaempferol, Quercetin และสารซาโปนิน (Saponin) เช่น alpha-hederin และยังพบโปรตีน ไขมัน เป็นต้น
3. ปี ค.ศ.1988 ที่ประเทศเม็กซิโก ได้ทำการทดลองใช้สารสกัดจากเมล็ดในหนูทดลองนาน 3 สัปดาห์ พบว่าสามารถช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลและน้ำในเลือดของหนูทดลองได้
4. เมื่อนำสารที่สกัดได้จากเมล็ดสดด้วยแอลกอฮอล์ในปริมาณ 2.1 กรัมต่อ 1 กิโลกรัม มาทดลองกับสุนัข พบว่า สุนัขมีความดันโลหิตที่ลดลง และเมื่อนำมาทดลองกับกระต่ายก็พบว่ามีฤทธิ์ไปกระตุ้นลำไส้ของกระต่ายให้บีบตัวมากขึ้น
5. ส่วนตำราสมุนไพรลดไขมันในเลือดของเภสัชกรหญิงจุไรรัตน์ ได้ระบุว่าสารสำคัญที่พบ ได้แก่ amyrin, ascorbic acid, carvone, cholesterol, damascininem eycloartenol, damascenime, hederagenia, melanthin, nigllidine, sitosterol, sitgmastesol, telfairie acid, thymol, trytophan, valine และมีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาในการต้านเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา เชื้อยีสต์ ลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูง ลดไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง ยับยั้งระดับน้ำตาลในเลือดสูง ลดความดันโลหิตสูง ขยายหลอดเลือด ขยายหลอดลม ช่วยขับปัสสาวะ ขับน้ำนม และช่วยห้ามเลือด
6. สาร 2-(2-methoxypropyl)-5-methyl-1,4-benzenediol, thymol, carvacrol ที่แยกได้จากสารสกัดเมทานอลของเมล็ด และอนุพันธ์อะเซททิเลตของสารทั้งสาม (acetylated derivatives) แสดงฤทธิ์ต้านการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือดที่ถูกเหนี่ยวนำด้วย arachidonic acid ซึ่งฤทธิ์ในการยับยั้งนั้นมีมากกว่ายามาตรฐาน aspirin ถึง 30 เท่า
7. น้ำมันจากเมล็ดขนาด 4-32 ไมโครลิตรต่อกิโลกรัม มีฤทธิ์เพิ่มแรงดันภายในหลอดลม สาร Nigellone ช่วยป้องกันภาวะหลอดลมตีบในหนูทดลองที่ถูกเหนี่ยวนำด้วยสารฮิสตามีน และช่วยลดการหดเกร็งของหลอดลม
8. ผลของน้ำมันต่อน้ำหนักตัวของหนูที่เป็นเบาหวาน มีผลการทดลองที่ระบุว่า เมื่อให้น้ำมันในขนาด 10 มลก./กก.น้ำหนักตัว โดยต่อท่อเข้าทางกระเพาะอาหารของหนูแรท พบว่าหนูกลุ่มที่ให้น้ำมัน 10 มลก./กก.น้ำหนักตัว และหนูในกลุ่มควบคุม มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น และเมื่อทดสอบระดับน้ำตาลในเลือดของหนูแรทที่ถูกชักนำให้เกิดเบาหวานก็พบว่า หนูกลุ่มที่ได้รับน้ำมันมีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำกว่าหนูเบาหวานที่ไม่ได้รับ
9. สาร Dithymoquinone และสาร Thymoquinone มีฤทธิ์ในการต้านเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่ มะเร็งมดลูก มะเร็งตับอ่อน และมะเร็งลำไส้ในหลอดทดลอง ส่วนสารซาโปนิน alpha-hederin สามารถช่วยยับยั้งการเกิดเนื้องอกในหนูได้ประมาณ 60-70% และสารสกัดเอทิลอะซิเตตสามารถยับยั้งมะเร็งเม็ดเลือดขาวในหนูได้
10. ในด้านการออกฤทธิ์ยับยั้งปฏิกิริยาออกซิเดชัน พบว่าสาร Thymoquinone มีฤทธิ์ในการยับยั้งปฏิกิริยา lipid peroxidation สาร trans-anethole, carvacrol, 4-terpineol ออกฤทธิ์ดีในการจับ superoxide anion
11. สาร Thymoquinone สามารถช่วยป้องกันตับจากสารพิษคาร์บอนเตตระคลอไรด์ได้ และยังช่วยยับยั้งการเกิด lipid peroxidation ช่วยป้องกันไตจากภาวะเครียดออกซิเดชัน (oxidative stress) โดยการจับกับ superoxide และยับยั้งการเกิด lipid peroxidation
12. เมื่อทำการทดลองให้สารสกัดน้ำของเมล็ดกับหนูทางปาก หลังจากนั้น 30 นาที ฉีด serotonin creatinine sulfate ในขนาด 60 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม เข้าทางช่องท้องของหนูทดลอง แล้วสังเกตอาการทุกครึ่งชั่วโมงเป็นเวลา 6 ชั่วโมง และวัดผลของอาการท้องเสีย (ใช้ค่า Purging index (PI) ในการวัด) พบว่ากลุ่มที่ได้รับสารสกัดเมล็ด มีค่า PI เป็น 0 ที่ทุกชั่วโมงของการสังเกตผล ยกเว้นภายหลังการทดสอบชั่วโมงที่ 3 และ 4 และเมื่อนำสารสกัดน้ำของเมล็ดที่ความเข้มข้น 4.56 มก./มล. ไปทดสอบกับเนื้อเยื่อของลำไส้ที่ตัดแยกออกมาจากตัว ก็พบว่าสามารถช่วยยับยั้งการหดเกร็งตัวของกล้ามเนื้อเรียบของลำไส้ที่เกิดจากสาร acetylcholin และ serotonin ได้ ซึ่งจากการทดลองครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า สารสกัดน้ำเมล็ด มีผลต้านฤทธิ์ serotonin จึงอาจเป็นประโยชน์ในการพัฒนาทำเป็นยารักษาอาการท้องเสียหรือยาต้านอาเจียนได้
13. สารสกัดจากเมล็ดด้วยน้ำมีฤทธิ์ป้องกันตับอักเสบที่ถูกเหนี่ยวนำด้วยยาพาราเซตามอลในหนูขาวทดลอง เมื่อให้ในขนาด 150 มก./กก. ทุกวันเป็นระยะเวลา 7 วัน โดยตรวจพบว่าค่า SGOT, SGPT และ ALP ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่จะมีค่าสูงเมื่อตับมีการอักเสบก็พบว่ามีค่าลดลง และปริมาณของบิลลิรูบิน (Bilirubin) ก็ลดลงด้วย
14. ในเด็กที่ติดเชื้อพยาธิ เมื่อทดลองให้สารสกัดเอทานอลจากเมล็ด โดยให้รับประทานในขนาด 40 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม พบว่าสามารถช่วยลดจำนวนไข่ของพยาธิในอุจจาระได้ และยังมีการทดลองให้น้ำมันจากเมล็ดกับหนูทดลองที่ติดเชื้อพยาธิใบไม้ Schistosoma mansoni เป็นระยะเวลา 2 สัปดาห์ ก็พบว่าสารสกัดดังกล่าวสามารถช่วยลดจำนวนของพยาธิที่ตับได้ และยังช่วยลดจำนวนของไข่พยาธิในลำไส้และตับได้อีกด้วย
15. น้ำมันจากเมล็ด สามารถช่วยป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารได้ เมื่อทำการทดสอบโดยให้หนูขาวปกติกิน พบว่าจะทำให้เพิ่มปริมาณการหลั่งของสารเยื่อเมือกในกระเพาะอาหาร Glutathione และลดการหลั่งของฮิสตามีน (Histamine) ของเยื่อเมือกในกระเพาะอาหาร และจากการทดลองในสัตว์ทดลองที่ได้รับน้ำมันจากเมล็ดก่อนที่จะถูกชักนำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารด้วยเอทานอล ก็พบว่าสามารถป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารที่เกิดจากเอทานอลได้ 53.56% เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับน้ำมันจากเมล็ด
16. สารสกัดน้ำจากเมล็ด สามารถช่วยลดอาการปวดในหนูทดลองที่ทำการทดสอบด้วยวิธี Hot plate ได้ แต่จะไม่มีฤทธิ์ในการลดไข้
17. น้ำมันระเหยจากเมล็ดพบว่ามีฤทธิ์สามารถต่อต้านและยับยั้งเชื้อโรคได้หลายชนิด
18. น้ำมันจากเมล็ด และสาร Thymoquinone สามารถช่วยยับยั้งการหลั่งของสารที่ทำให้เกิดการอักเสบได้หลายชนิด เช่น cyclooxygenase, thromboxane B2, leucotrein B4, lipoxygenase เป็นต้น ส่วนสาร Nigellone สามารถช่วยยับยั้งการปลดปล่อยฮิสตามีน จากช่องท้องหนู
19. เมื่อให้น้ำมันจากเมล็ดเทียน ด้วยการฉีดเข้าไปทางช่องท้องของหนูขาว พบว่าสามารถช่วยยับยั้งเชื้อเฮอร์ปีส์ที่ตับและม้ามได้ในวันที่ 3 ของการติดเชื้อ และในวันที่ 10 ก็ไม่พบเชื้อ และยังสามารถเพิ่มระดับของ interferon gamma, เพิ่มจำนวน CD4 helper T cell และลดจำนวน macrophage ได้อีกด้วย
20. สารสกัดไดเททิลอีเทอร์จากเมล็ดสามารถช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียแกรมบวก Staphylococcus aureus, เชื้อแบคทีเรียแกรมลบ Pseudomonas aeruginosa, เชื้อ Escherichia coli และเชื้อยีสต์ Candida albican นอกจากนี้สารสกัดด้วยน้ำจากเมล็ดสามารถช่วยยับยั้งเชื้อแบคทีเรียที่ดื้อต่อยาปฏิชีวนะได้อีกหลายชนิด
21. สาร Thymoquinone สามารถทำให้เกิดการระคายเคืองและทำให้เกิดผื่นแพ้สัมผัสที่ผิวหนังได้
22. น้ำมันจากเมล็ด และสาร Thymoquinone สามารถช่วยยับยั้งการหลั่งของสารที่ทำให้เกิดการอักเสบได้หลายชนิด เช่น cyclooxygenase, thromboxane B2, leucotrein B4, lipoxygenase เป็นต้น ส่วนสาร Nigellone สามารถช่วยยับยั้งการปลดปล่อยฮิสตามีน จากช่องท้องหนู
23. ปริมาณน้ำมันระเหยยากที่ทำให้หนูทดลองตายครึ่งหนึ่งมีค่าเท่ากับ 2.06 มิลลิลิตรต่อกิโลกรัมเมื่อฉีดเข้าช่องท้อง และมีค่าเท่ากับ 28.8 มิลลิลิตรต่อกิโลกรัมเมื่อให้ทางปาก
24. สารสกัดน้ำจากเมล็ด สามารถช่วยลดอาการปวดในหนูทดลองที่ทำการทดสอบด้วยวิธี Hot plate ได้ แต่จะไม่มีฤทธิ์ในการลดไข้
25. จากการทดสอบความเป็นพิษ พบว่าสาร Thymoquinone และสาร Thymohydroquinone ที่ฉีดเข้าช่องท้องของหนูทดลอง พบว่าในขนาดที่ทำให้หนูทดลองตายครึ่งหนึ่งมีค่าเท่ากับ 10 มิลลิลิตร และ 25 มิลลิลิตรต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ตามลำดับ
26. น้ำมันจากเมล็ด ให้หนูทดลองกินในขนาด 1 มิลลิลิตรต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม เป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ ไม่พบว่าเป็นพิษ แต่พบว่าทำให้น้ำหนักตัวของหนูลดลง แต่ไม่พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงของระดับเอนไซม์ในตับและเนื้อเยื่อตับ ตับอ่อน ไต หัวใจ ส่วนค่าของระดับคอเลสเตอรอล ระดับกลูโคส ไตรกลีเซอไรด์ จำนวนเม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือดลดลง
27. สารสกัดจากเมล็ด 50% ด้วยเอทานอล เมื่อฉีดเข้าช่องท้องของหนูถีบจักร มีขนาดสูงสุดที่หนูทดลองทนได้มีค่าเท่ากับ 250 มก./กก. ส่วนสารสกัดจากเมล็ด 70% ด้วยเอทานอล เมื่อทำการฉีดเข้าทางช่องท้องของหนูถีบจักร พบว่าในขนาดที่ทำให้สัตว์ทดลองตายครึ่งหนึ่งมีค่าเท่ากับ 0.561 ก./กก. และสารสกัดจากเมล็ด 95% ด้วยเอทานอล ไม่พบว่ามีพิษเมื่อผสมลงในอาหารของหนูขาว 0.5% และจากการทดลองให้กระต่ายกินเมล็ดในขนาด 2-8 ก./กก. ก็ไม่พบว่าเป็นพิษ

ประโยชน์ของเทียนดำ

1. ในทางการค้าจะใช้เมล็ดมาทำเป็นน้ำมัน ยาสมุนไพร เครื่องเทศ สบู่ แชมพู
2. มีประวัติการใช้เมล็ดตั้งแต่สมัยโรมัน และยังปรากฏอยู่ในตำรับยาอายุรเวทของอินเดีย โดยนำมาใช้ทำเป็นยาและนำมาใช้เป็นเครื่องเทศในการปรุงอาหาร ส่วนชาวมุสลิมจะนิยมใช้น้ำมันจากเมล็ดทั้งในพิธีกรรมทางศาสนา ใช้เป็นยา ทำอาหาร โดยนิยมใช้ผสมในขนมปังและน้ำผึ้ง น้ำมันจากเมล็ดสามารถนำมาใช้ปรุงอาหารได้
3. ช่วยทำให้ใบหน้าเต่งตึงและสวยงามขึ้น โดยใช้เมล็ดบดละเอียดผสมกับน้ำมันมะกอก ใช้ทาบริเวณใบหน้าตามต้องการ และควรระวังอย่าให้ถูกแดดทุกวัน
4. เมล็ดมีกลิ่นหอม ฉุน เผ็ด ร้อน คล้ายกับเครื่องเทศ ซึ่งบางครั้งมีการนำมาใช้แทนพริกไทย โดยใช้โปรยเพื่อเพิ่มรสชาติของอาหาร ทำให้รู้สึกร้อนที่เพดานปาก และในแถบตะวันออกกลาง จะใช้เมล็ดผสมกับเมล็ดงา ให้กลิ่นเฉพาะตัว จึงใช้ปรุงกลิ่นและรสของขนมปังและขนมเค้ก รวมไปถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เนื่องจากมีรสชาติขม ส่วนทางยุโรปจะใช้ผสมกับพริกไทยหรือใช้แทนพริกไทยดำ ส่วนในประเทศเอธิโอเปีย จะใช้ผสมลงในซอสพริก และในแถบอาหรับนำมาบดผสมกับน้ำผึ้ง ใช้ผสมทำลูกกวาด
5. หากเป็นสิว ให้ใช้เมล็ดบดละเอียด, น้ำมันงา 1 ช้อนโต๊ะ และข้าวสาลีบดละเอียด นำมาผสมกันใช้ทาให้ทั่วใบหน้าก่อนเข้านอน แล้วล้างออกด้วยสบู่และน้ำอุ่นในตอนเช้า โดยให้ทำติดต่อกันประมาณ 1 สัปดาห์

ข้อควรระวังในการใช้

การรับประทานเมล็ดนั้นมีความปลอดภัย ในรายงานจากหลาย ๆ ฉบับ แต่อย่างไรก็ตาม ก็ไม่ควรใช้ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. “เทียนดํา”. (วิทยา บุญวรพัฒน์). หน้า 270.
2. หนังสือสมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ. (คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “เทียนดำ Black Cumin”. หน้า 214.
3. ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “เทียนดํา”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.thaicrudedrug.com. [23 มี.ค. 2014].
4. หน่วยบริการฐานข้อมูลสมุนไพร สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.medplant.mahidol.ac.th. [23 มี.ค. 2014].
5. หนังสือความมหัศจรรย์ของสมุนไพรตามแนวทางของท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม. (แปลและเรียบเรียงโดย อาจารย์ มุสตอฟา มานะ).
6. ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “เทียนดำ สมุนไพรในพิกัดเทียน”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.thaicrudedrug.com. [23 มี.ค. 2014].
7. หนังสือสมุนไพรลดไขมันในเลือด 140 ชนิด. “เทียนดำ”. (เภสัชกรหญิง จุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก). หน้า 110.

อ้างอิงรูปจาก
1.https://www.healthline.com/
2.https://jaclynmccabe.com/
3.https://www.seeds-gallery.eu/