Home Blog Page 30

ต้นเทียนข้าวเปลือก เมล็ดช่วยแก้อาการมือเท้าเย็นหรือชา

ต้นเทียนข้าวเปลือก
ต้นเทียนข้าวเปลือก เมล็ดช่วยแก้อาการมือเท้าเย็นหรือชา เป็นไม้ล้มลุก ใบเป็นเส้นฝอย ดอกขนาดเล็กสีเหลือง ผลกลมยาวรูปไข่คล้ายข้าวเปลือก มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว รสหวานและเผ็ดร้อน
ต้นเทียนข้าวเปลือก
เป็นไม้ล้มลุก ใบเป็นเส้นฝอย ดอกขนาดเล็กสีเหลือง ผลกลมยาวรูปไข่คล้ายข้าวเปลือก มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว รสหวานและเผ็ดร้อน

เทียนข้าวเปลือก

ชื่อวิทยาศาสตร์ Foeniculum vulgare Mill. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Anethum foeniculum L., Foeniculum dulce Mill., Foeniculum officinale All., Foeniculum capillaceum Gilib.) จัดอยู่ในวงศ์ผักชี (APIACEAE หรือ UMBELLIFERAE) ชื่อสามัญ Fennel, Sweet fennel ชื่อท้องถิ่นอื่นๆ เทียนหวาน เทียนแกลบ ยี่หร่าหวาน เตียนแกบ (จีนกลาง) เสี่ยวหุยเซียง ฮุ่ยเซียง

ลักษณะของเทียนข้าวเปลือก

  • ต้น เป็นไม้ล้มลุก มีอายุหลายปี มีความสูงของต้นโดยประมาณ 50-150 เซนติเมตร ลำต้นมีการแตกกิ่งก้านบริเวณปลายยอด กิ่งและก้านมีสีเทาอมเขียว ผิวมีร่องตามยาว
  • ใบ เป็นเส้นฝอย แตกเป็นแฉกคล้ายขนนกโดยประมาณ 3-4 แฉก มีก้านใบยาวโดยประมาณ 3.5-4.5 เซนติเมตร
  • ดอก เป็นช่อคล้ายร่ม โดยจะออกที่ปลายกิ่ง ในช่อหนึ่งจะมีดอกโดยประมาณ 5-30 ดอก ก้านช่อดอกจะแตกออกเป็นก้านโดยประมาณ 5-20 ก้าน ช่อดอกยาวโดยประมาณ 2-5 เซนติเมตร ดอกมีขนาดเล็ก สีเหลือง ดอกมีกลีบดอก 5 กลีบ ลักษณะของกลีบดอกเป็นรูปกลมรี ยาวได้โดยประมาณ 1.5 มิลลิเมตร ดอกมีเกสรเพศผู้จำนวน 5 ก้าน มีเกสรเพศเมีย 1 ก้าน
  • ผล ออกผลเป็นคู่บริเวณดอก ผลมีลักษณะกลมยาวเป็นรูปไข่หรือเป็นรูปขอบขนานคล้ายข้าวเปลือก ด้านข้างของผลค่อนข้างแบน ผิวเรียบไม่มีขน เมล็ดหรือซีกผลมีลักษณะด้านนอกนูน ส่วนด้านในที่ประกบกันของเมล็ดหรือด้านแนวเชื่อมค่อนข้างแบนหรืออาจเว้าเล็กน้อย ด้านที่นูนจะมีสันตามแนวยาวของเมล็ด 3 เส้น และด้านแนวเชื่อมอีก 2 เส้น สันมีลักษณะยื่นนูนออกจากผิวอย่างเด่นชัด เมล็ดเป็นสีน้ำตาล มีขนาดกว้างโดยประมาณ 1.1-2.5 มิลลิเมตรและยาวโดยประมาณ 3.6-8.4 มิลลิเมตร ผลมักจะไม่ค่อยแตกเป็น 2 ซีก ทำให้ดูคล้ายข้าวเปลือก แต่บางครั้งก็แตกเป็น 2 ซีก ซึ่งภายในแต่ละซีกจะมีเมล็ด 1 เมล็ด ทำให้เหมือนแกลม เมื่อนำมาบดเป็นผงสีน้ำตาลอมเหลืองถึงสีน้ำตาลอมเขียว โดยมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว รสหวานและเผ็ดร้อน

สรรพคุณของเทียนข้าวเปลือก

1. ช่วยแก้ชีพจรอ่อนหรือพิการ (เมล็ด)
2. เมล็ดมีรสเผ็ด เป็นยาร้อนเล็กน้อย ออกฤทธิ์ต่อกระเพาะ ไต และกระเพาะปัสสาวะ ใช้เป็นยากระจายความเย็นในไต ทำให้ไตมีความอุ่น (เมล็ด)
3. เมล็ดใช้เป็นยาบำรุงกำลัง (เมล็ด)
4. ช่วยแก้กระษัย ด้วยการบดเป็นผง นำมาตุ๋นกับไตหมูรับประทาน (เมล็ด)
5. ช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย (เมล็ด)
6. ช่วยในการขับเสมหะและละลายเสมหะ (เมล็ด)
7. แก้อาการคลั่ง นอนสะดุ้ง (เมล็ด)
8. แก้อาการไอ (เมล็ด)
9. แก้ชีพจรอ่อนหรือพิการ (เมล็ด)
10. แก้อาเจียน (เมล็ด)
11. แก้เส้นศูนย์กลางท้องพิการ (เมล็ด)
12. ขับลมในกระเพาะอาหารและลำไส้ ช่วยแก้อาการปวดท้อง ด้วยการใช้เทียนข้าวเปลือกและพริกไทยอย่างละเท่ากัน นำมาบดรวมกันเป็นผง ใช้ผสมกับเหล้าทำเป็นยาเม็ดลูกกลอนขนาดเท่าเม็ดถั่วลิสงรับประทานก่อนอาหารครั้งละ 50 เม็ด (เมล็ด)
13. แก้ลำไส้อักเสบในเด็ก (เมล็ด)
14. แก้อาการอาหารไม่ย่อย (เมล็ด)
15. แก้อาการปวดกระเพาะ ปวดท้อง ด้วยการใช้เทียนข้าวเปลือก 8 กรัม ข่าลิง 8 กรัม โอวเอี๊ยะ 8 กรัม หัวแห้วหมูคั่ว 10 กรัม นำทั้งหมดมารวมกันต้มกับน้ำรับประทาน (เมล็ด)
16. จัดอยู่ในตำรับยา “พิกัดเทียน” ซึ่งประกอบไปด้วยตำรับยา “พิกัดเทียนทั้งห้า” (เทียนข้าวเปลือก เทียนขาว เทียนแดง เทียนดำ และเทียนตาตั๊กแตน) ตำรับยา “พิกัดเทียนทั้งเจ็ด” (เพิ่มเทียนเยาวพาณีและเทียนสัตตบุษย์) ตำรับยา “พิกัดเทียนทั้งเก้า” (เพิ่มเทียนตากบและเทียนเกล็ดหอย) ซึ่งมีสรรพคุณโดยรวมคือเป็นยาบำรุงโลหิต ช่วยขับลม แก้อาเจียน บำรุงโลหิต และใช้ในตำรับยาหอม
17. แก้อาการปวดท้องน้อย ปวดท้องประจำเดือนของสตรี (เมล็ด)
18. แก้อาการปวดหลัง ปวดเอว เนื่องจากไตไม่มีกำลัง ด้วยการนำมาบดเป็นผง ใช้ตุ๋นกับไตหมูรับประทานเป็นยา (เมล็ด)
19. แก้ลมเย็น มือเท้ามีอาการเย็นหรือชา (เมล็ด)
20. ขับปัสสาวะ (เมล็ด)
21. ปรากฏอยู่ในตำรับยา “น้ำมันมหาจักร” ซึ่งในคำอธิบายพระตำราพระโอสถพระนารายณ์ระบุไว้ว่า น้ำมันขนาดนี้จะประกอบไปด้วย เทียนทั้งห้า (รวมถึงเทียนข้าวเปลือก), การบูร, น้ำมันงา, ดีปลี และผิวมะกรูดสด ซึ่งมีสรรพคุณเป็นยาแก้ลม แก้ริดสีดวง แก้เปื่อยคัน ใช้ทาแก้อาการเมื่อยขบ และใส่บาดแผลที่มีอาการปวด หรือเกิดจากเสี้ยนหนาม หอกดาบ ถ้าระวังไม่ให้แผลถูกน้ำก็จะไม่เป็นหนอง
22. เทียนข้าวเปลือกปรากฏอยู่ในตำรับยารักษากลุ่มอาการทางระบบไหลเวียนโลหิต (แก้ลม) อันได้แก่ตำรับ “ยาหอมเทพจิตร” และในตำรับ “ยาหอมนวโกฐ” โดยเป็นตำรับยาที่มีสรรพคุณในการแก้ลมวิงเวียน แก้อาการหน้ามืดตาลาย คลื่นเหียน อาเจียน ใจสั่น และช่วยแก้ลมจุกแน่นในท้อง

วิธีใช้สมุนไพรเทียนข้าวเปลือก

1. ยาผง ในขนาด 0.3-0.6 กรัม สารสกัดแอลกอฮอล์ (1:1 ในแอลกอฮอล์ 70%) ขนาด 0.8-2 มิลลิลิตร ใช้วันละ 3 ครั้ง หรือในรูปของยาชง (ยาผง 1-3 กรัมชงกับน้ำ 150 มล. สารสกัดของเหลว(1:1 กรัมต่อมิลลิลิตร) ขนาด 1-3 มล. ทิงเจอร์ (1:5 กรัมต่อมิลลิลิตร) ขนาด 5-15 มิลลิลิตร ใช้รับประทานระหว่างมื้ออาหารวันละ 2-3 ครั้ง และไม่ควรใช้ติดต่อกันเป็นระยะเวลานานหลาย ๆ สัปดาห์
2. ให้รับประทานครั้งละ 3-10 กรัม โดยนำมาต้มกับน้ำรับประทาน หรืออาจใช้ร่วมกับตัวยาชนิดอื่น ๆ ตามตำรับยาก็ได้

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

1. น้ำมันเทียนข้าวเปลือก มีน้ำมันระเหยง่ายอยู่ประมาณ 1.5-8.6% ซึ่งในน้ำมันมี Trans-anethole อยู่ในปริมาณมาก นอกนั้นยังมี anisic acid, anisic, aldehyde, alpha-pinene, camphene, estragole (methyl chavicol), fenchone, limonene สารในกลุ่ม flavonoid เช่น quercetin-3-arabinoside, quercetin-3-glucurunide, isoquercitrin, rutin และมีสารในกลุ่มคูมาริน เช่น umbelliferone
2. สารที่พบได้ในเมล็ด ได้แก่ น้ำมันหอมระเหยประมาณ 3-6% และในน้ำมันพบสาร Anethole, Anisealdehyde, Anisic acid, a-Phellandrene, a-Pinene, cis-Anethole, Dipentene, Estragole, Fenchone และพบน้ำมันอีก 18% โดยส่วนใหญ่เป็น Petroselinic acid, Stigmasterol, 7-Hydroxycoumarin เป็นต้น
3. น้ำมันหอมระเหย สารสกัดน้ำ และสาร Diglucoside stilbene trimers และอนุพันธ์ Benzoisofuranone มีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ
4. น้ำมันหอมระเหยมีฤทธิ์ต้านการเกาะตัวของเกล็ดเลือด ทำให้เกล็ดเลือดไม่เกาะตัวกัน
5. เทียนข้าวเปลือกมีฤทธิ์ในการยับยั้งการเกิดสารก่อกลายพันธุ์ ยับยั้งการเจริญของเนื้องอก บำรุงร่างกาย ช่วยทำให้เจริญอาหาร แก้คลื่นเหียนอาเจียน เป็นยาระบาย แก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ ถ่ายพยาธิ ขับปัสสาวะ มีฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเพศหญิง ต้านเชื้อแบคทีเรีย และช่วยระงับอาการเกร็งของกล้ามเนื้อเรียบในสัตว์ทดลอง
6. สาร Fenchone มีฤทธิ์ในการต่อต้านและยับยั้งเชื้อบางชนิดในลำไส้และช่วยบรรเทาอาการปวดท้องได้
7. สารสกัดด้วยน้ำมันมีฤทธิ์ลดความดันโลหิตในหนูทดลองและมีฤทธิ์ในการขับปัสสาวะ
8. เทียนข้าวเปลือกมีฤทธิ์ช่วยลดอาการท้องเสียได้
9. ในกรณีที่มีอาการปวดท้อง พบว่าการให้น้ำมันหอมระเหยเทียนข้าวเปลือกในรูปอิมัลชัน จะช่วยทำให้ทารกมีอาการดีขึ้นมากกว่ากลุ่มควบคุม และสูตรตำรับจะช่วยทำให้ทารกมีอาการดีขึ้นด้วย
10. สารสกัดน้ำมีฤทธิ์ช่วยปกป้องกระเพาะอาหาร ช่วยป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารของหนูทดลองจากการทำลายของแอลกอฮอล์
11. น้ำมันจากเมล็ด มีฤทธิ์เป็นยาขับลม บรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ จุกเสียดแน่นท้อง และมีฤทธิ์ทำให้ลำไส้มีการบีบตัวและคลายกล้ามเนื้อเรียบให้เป็นจังหวะได้ จึงสามารถช่วยขับลมในลำไส้และบรรเทาอาการปวดท้องได้
12. สารสกัดอะชิโตนมีฤทธิ์คล้ายกับเอสโตรเจนในหนู โดยมีฤทธิ์ในการขับน้ำนม ขับประจำเดือนของสตรี โดยมีสารสำคัญคือ Polymer ของ Anethole
13. สารสกัดน้ำมีฤทธิ์ช่วยปกป้องกระเพาะอาหาร ช่วยป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารของหนูทดลองจากการทำลายของแอลกอฮอล์
14. น้ำมันหอมระเหยมีฤทธิ์ช่วยปกป้องตับในหนูทดลอง
15. น้ำมันหอมระเหยมีฤทธิ์ในการต้านจุลชีพ ต้านเชื้อแบคทีเรียได้หลายชนิด และมีฤทธิ์ในการต้านเชื้อ Helicobacter pylori
16. จากการศึกษาผู้ที่มีอาการปวดประจำเดือนในระดับปานกลางถึงรุนแรง เมื่อได้รับประทานน้ำมันหอมระเหยปริมาณ 25 หยด ทุก ๆ 4 ชั่วโมง พบว่าสามารถช่วยลดอาการปวดประจำเดือนได้ แต่จะมีฤทธิ์น้อยกว่ายา Mefenamic acid แต่การได้รับสารสกัดจะช่วยลดอาการปวดได้ดีเทียบเท่ากับยา Mefenamic acid
17. สารสกัดแอลกอฮอล์และน้ำมันหอมระเหยมีฤทธิ์คลายกล้ามเนื้อเรียบ ออกฤทธิ์คลายกล้ามเนื้อหลอดลมโดยมีผลต่อ Potassium channel
18. สารสกัดด้วยเมทานอลมีฤทธิ์ต้านอาการปวดและอักเสบ
19. สารสกัดด้วยเมทานอลมีผลต่อเอนไซม์ CYP 450 ซึ่งมีผลต่อการเผาผลาญของยาที่ใช้ร่วมกัน
20. ในกรณีคนปกติ การสูดดมน้ำมันหอมระเหยจะมีผลกระตุ้นระบบอัตโนมัติ Sympathetic
21. สาร Estragole ก่อให้เกิดเนื้องอกในหนูทดลอง
22. จากการทดสอบความเป็นพิษเฉียบพลับของสารสกัดผลด้วยเอทานอล 50% โดยให้หนูกินในขนาด 16 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม หรือคิดเป็น 2,500 เท่า เมื่อเปรียบเทียบกับขนาดที่ใช้รักษาในคน และยังให้โดยวิธีการฉีดเข้าทางใต้ผิวหนังของหนูในขนาด 10 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ไม่ตรวจพบว่ามีอาการเป็นพิษ
23. น้ำมันหอมระเหยปริมาณ 0.93 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร มีพิษต่อเซลล์ทารกที่เลี้ยงในหลอดทดลอง
24. น้ำมันหอมระเหย มีผลทำให้เกิดประสาทหลอนได้

ประโยชน์ของเทียนข้าวเปลือก

1. มีการใช้ (เข้าใจว่าคือส่วนของเมล็ด) แต่งกลิ่นอาหารประเภทเนื้อ ซอส กลิ่นซุป ขนมหวาน ขนมปัง เหล้า ผักดอง และมีการใช้น้ำมันหอมระเหยชนิดหวานในการแต่งกลิ่นยาถ่าย (ช่วยบรรเทาอาการไซ้ท้องได้ด้วย) ส่วนน้ำมันหอมระเหยชนิดขมจะนำมาใช้ในการแต่งกลิ่นเครื่องสำอาง ครีม เครื่องหอม สบู่ สารชะล้าง และยาทาภายนอก
2. เมล็ดสามารถนำมาใช้ใส่ในอาหารประเภทต้ม ตุ๋น เพื่อช่วยทำให้มีกลิ่นหอมน่ารับประทาน
3. ชาวล้านนาจะใช้เมล็ดเป็นส่วนผสมของพริก ลาบพริก น้ำพริกลาบ ส่วนยอดอ่อนของต้นที่เรียกว่า “ผักชีลาว” จะใช้เป็นผักสดจิ้มกับน้ำพริก ลาวเนื้อสัตว์ต่างๆ หรือยำต่างๆ
4. ในต่างประเทศจะใช้หน่อและใบ ในการประกอบอาหาร หรือทานแบบสดๆ

คุณค่าทางโภชนาการ

คุณค่าทางโภชนาการของเมล็ด 100 กรัม ให้พลังงาน 345 กิโลแคลอรี

สารอาหาร ปริมาณสารที่ได้รับ
คาร์โบไฮเดรต 52.29 กรัม
ไขมัน 14.87 กรัม
เส้นใยอาหาร 39.8 กรัม
น้ำ 8.81 กรัม
โปรตีน 15.80 กรัม
วิตามินบี 1 0.408 มิลลิกรัม
วิตามินบี 2 0.353 มิลลิกรัม
วิตามินบี 3 6.050 มิลลิกรัม
วิตามินบี 6 0.470 มิลลิกรัม
วิตามินซี 21.0 มิลลิกรัม
ธาตุเหล็ก 18.54 มิลลิกรัม
ธาตุแคลเซียม 1,196 มิลลิกรัม
ธาตุฟอสฟอรัส 487 มิลลิกรัม
ธาตุแมกนีเซียม 385 มิลลิกรัม
ธาตุโซเดียม 88 มิลลิกรัม
ธาตุสังกะสี 3.70 มิลลิกรัม
ธาตุโพแทสเซียม 1,694 มิลลิกรัม

คุณค่าทางโภชนาการของหน่อดิบ 100 กรัม ให้พลังงาน 31 กิโลแคลอรี

สารอาหาร ปริมาณสารที่ได้รับ
คาร์โบไฮเดรต 7.29 กรัม
ไขมัน 0.20 กรัม
เส้นใยอาหาร 3.1 กรัม
โปรตีน 1.24 กรัม
ไขมัน 0.20 กรัม
น้ำ 90.21 กรัม
วิตามินบี 1 0.01 มิลลิกรัม 1%
วิตามินบี 2 0.032 มิลลิกรัม 3%
วิตามินบี 3 0.64 มิลลิกรัม 4%
วิตามินบี 5 0.232 มิลลิกรัม 5%
วิตามินบี 6 0.047 มิลลิกรัม 4%
วิตามินบี 9 27 ไมโครกรัม 7%
วิตามินซี 12 มิลลิกรัม 14%
ธาตุแคลเซียม 49 มิลลิกรัม 5%
ธาตุเหล็ก 0.73 มิลลิกรัม 6%
ธาตุแมงกานีส 0.191 มิลลิกรัม 9%
ธาตุแมกนีเซียม 17 มิลลิกรัม 5%
ธาตุโพแทสเซียม 414 มิลลิกรัม 9%
ธาตุสังกะสี 0.20 มิลลิกรัม 2%
ธาตุฟอสฟอรัส 50 มิลลิกรัม 7%

ข้อควรระวังในการใช้

1. อาจเกิดอาการแพ้ผิวหนังหรือที่ระบบทางเดินหายใจ หรือมีอาการคลื่นไส้อาเจียนได้
2. ห้ามใช้สมุนไพรชนิดนี้ในหญิงตั้งครรภ์
3. มีไข้สูงหรือพิษไข้ ห้ามรับประทานสมุนไพรชนิดนี้
4. ห้ามใช้น้ำมันหอมระเหยในเด็กหรือทารก เพราะจะทำให้หลอดลมหดเกร็ง หายใจไม่ได้

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1 หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. “เทียนข้าวเปลือก”. (วิทยา บุญวรพัฒน์). หน้า 266.
2 หนังสือสมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ. (คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “เทียนข้าวเปลือก Fennel”. หน้า 214.
3 ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “เทียนข้าวเปลือก”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.thaicrudedrug.com. [20 มี.ค. 2014].
4 ไทยเกษตรศาสตร์. “เทียนข้าวเปลือก”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.thaikasetsart.com. [20 มี.ค. 2014].
5 อาหารพื้นบ้านล้านนา, สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. “เทียนข้าวเปลือก”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: library.cmu.ac.th/ntic/lannafood/. [20 มี.ค. 2014].
6 วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. “Fennel”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: en.wikipedia.org/wiki/Fennel. [20 มี.ค. 2014].

อ้างอิงรูปจาก
1.https://antropocene.it/en/2022/10/25/foeniculum-vulgare-en/

ต้นเบญกานี สรรพคุณแก้อาการปวดฟัน

ต้นเบญกานี
ต้นเบญกานี สรรพคุณแก้อาการปวดฟัน เป็นสมุนไพรในตำรับยาไทย เกิดตามใบของไม้ จากการวางไข่ของแมลง เป็นก้อนแข็งค่อนข้างกลมสีน้ำตาลเข้มหรือสีน้ำตาลอมเทา ผิวขรุขระมันเงามีรูพรุน
ต้นเบญกานี
เป็นสมุนไพรในตำรับยาไทย เกิดตามใบของไม้ จากการวางไข่ของแมลง เป็นก้อนแข็งค่อนข้างกลมสีน้ำตาลเข้มหรือสีน้ำตาลอมเทา ผิวขรุขระมันเงามีรูพรุน

เบญกานี

เบญกานี เป็นสมุนไพรในตำรับยาไทย มีลักษณะ กลม แข็ง รสฝาด ตามความหมายของพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ มีความหมายว่า ชื่อเรียกก้อนแข็ง ๆ ที่เกิดตามใบของไม้ เกิดจากการวางไข่ของแมลงชนิด Cynips tinctoria ชื่อวิทยาศาสตร์ Quercus infectoria G.Olivier จัดอยู่ในวงศ์ก่อ (FAGACEAE)[1],[2] มีชื่อเรียกอื่น ๆ คือ ลูกเบญกานี, ลูกเบญจกานี, หมดเจียะจี้ (จีนแต้จิ๋ว), หม้อสือจื่อ (จีนกลาง)[1],[2]

ลักษณะของเบญกานี[1]

  • เป็นรังของผึ้งชนิด Quercus infectoria G.Olivier
  • ข้อมูลจากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานระบุว่าเกิดจากการวางไข่ของแมลงชนิด Cynips tinctoria
  • โดยผึ้งชนิดนี้จะเข้าไปวางไข่บนต้น Quercus infectoria G.Olivier
  • เมื่อผึ้งเจริญเติบโตเต็มที่จนเป็นผึ้งสมบูรณ์แล้วก็จะบินออกจากรังไปและทิ้งรังไว้
  • รังผึ้งชนิดนี้ถูกนำมาทำเป็นยา
  • เป็นก้อนแข็งค่อนข้างกลมสีน้ำตาลเข้มหรือสีน้ำตาลอมเทา
  • ด้านหนึ่งจะมีขั้วลักษณะคล้ายกับจุกขนาดเล็ก
  • ผิวขรุขระมันเงา มีรูพรุนเข้าไปข้างในได้
  • มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1-2.5 เซนติเมตร
  • บางครั้งพบซากของตัวอ่อนอยู่ภายใน
  • ต้นไม้ชนิดนี้จะพบได้ที่ประเทศอิหร่าน ตุรกี และประเทศกรีก

ข้อควรระวัง[1]

  • สำหรับผู้ที่เป็นบิดถ่ายแล้วมีอาการแสบร้อน และผู้ที่มีอาการท้องผูก ห้ามรับประทานสมุนไพรชนิดนี้เด็ดขาด

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

  • พบสาร Turkish gallotannin ประมาณ 50-70%, สาร Gallic acid, Tannic acid และพบยางอีกเล็กน้อย เป็นต้น[1]

สรรพคุณของลูกเบญกานี

  • ช่วยแก้อาการปวดมดลูก[4]
  • สามารถนำมาใช้เป็นยาแก้น้ำอสุจิเคลื่อนโดยไม่รู้ตัวได้[1]
  • สามารถนำมาใช้เป็นยาห้ามเลือดภายใน แก้อาการตกเลือดได้[1],[2]
  • ช่วยแก้บิดปวดเบ่ง[1],[4]
  • ช่วยแก้อาเจียน[4]
  • ช่วยบรรเทาอาการท้องเสีย[3]
  • สามารถนำมาใช้เป็นยาแก้อาการท้องร่วง ท้องเสียได้[1],[3],[4]
  • สามารถนำมาใช้เป็นยาแก้ลิ้นเป็นฝ้าได้[3]
  • สามารถนำมาใช้เป็นยาแก้ไอเป็นเลือด หลอดลมอักเสบ[1]
  • สามารถนำมาใช้แก้อาการปวดฟันได้[1]
  • ช่วยรักษาปากหรือลิ้นเป็นแผล[1]
  • ช่วยแก้ปากเป็นแผล แก้ละอง[3]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. (วิทยา บุญวรพัฒน์). “เบญจกานี”. หน้า 312.
2. หนังสือสมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ. (คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “เบญกานี Nutgall”. หน้า 213.
3. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณ.
4. ตำรับยา ตำราไทย. “สรรพคุณยาเภสัช”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: thrai.sci.ku.ac.th. [31 ก.ค. 2014].

อ้างอิงรูปจาก
1. https://www.indiamart.com/
2. https://herbistha.com/

ใบเตย สรรพคุณช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด

ใบเตย สรรพคุณช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด เป็นไม้ยืนต้นพุ่มเล็ก ขึ้นเป็นกอ ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับเวียนเป็นเกลียวขึ้นไปจนถึงยอด ใบเป็นทางยาว สีเข้ม เป็นมันขอบใบเรียบ มีกลิ่นหอม
ใบเตย
เป็นไม้ยืนต้นพุ่มเล็ก ขึ้นเป็นกอ ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับเวียนเป็นเกลียวขึ้นไปจนถึงยอด ใบเป็นทางยาว สีเข้ม เป็นมันขอบใบเรียบ มีกลิ่นหอม

ใบเตย

ใบเตย เป็นไม้ยืนต้นพุ่มเล็ก ขึ้นเป็นกอ ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับเวียนเป็นเกลียวขึ้นไปจนถึงยอด ใบเป็นทางยาว สีเข้ม เป็นมันขอบใบเรียบ ชื่อสามัญ คือ Pandan leaves, Fragrant pandan, Pandom wangi ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Pandanus amaryllifolius Roxb. ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ คือ Pandanus odorus Ridl. จัดอยู่ในวงศ์เตยทะเล (PANDANACEAE) ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ คือ ใบส้มม่า (ระนอง), ส้มตะเลงเครง (ตาก), ส้มปู (แม่ฮ่องสอน), ส้มพอดี ผักเก็งเค็ง (ภาคเหนือ)

ลักษณะของใบเตย

  • เป็นไม้ยืนต้นพุ่มเล็ก
  • มีใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับกันเป็นเกลียวจนถึงยอดใบ
  • ใบเป็นทางยาว สีเขียวเป็นมัน
  • ใบค่อนข้างแข็ง มีขอบใบเรียบ
  • สามารถใช้ได้ทั้งใบสดและใบแห้ง
  • ใบมีกลิ่นหอมของน้ำมันหอมระเหย (Fragrant screw pine)
  • กลิ่นหอมของใบมากจากสารเคมีที่ชื่อว่า 2-acetyl-1-pyrroline
  • สามารถนำมาใช้ทำขนมไทยให้มีกลิ่นหอม อร่อย และมีสีสันสดใส เพื่อให้น่ารับประทานมากขึ้น

สรรพคุณของใบเตย

  • ช่วยปรับสมดุลในร่างกาย
  • รสหวานเย็นของใบมีส่วนช่วยชูกำลัง
  • ช่วยแก้อาการอ่อนเพลียของร่างกายได้
  • ช่วยบำรุงหัวใจให้ชุ่มชื่น
  • ช่วยลดอัตราการเต้นของหัวใจ
  • ช่วยดับกระหายคลายร้อนได้
  • ช่วยรักษาโรคเบาหวาน
  • ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
  • ช่วยลดความดันโลหิต
  • ช่วยป้องกันการแข็งตัวของหลอดเลือด
  • ช่วยบรรเทาอาการและดับพิษไข้ได้
  • ช่วยดับพิษร้อนภายในได้เป็นอย่างดี
  • ช่วยรักษาโรคหัด
  • ช่วยรักษาโรคหืด
  • สามารถใช้เป็นยาแก้กระษัยได้
  • สามารถใช้เป็นยาขับปัสสาวะ
  • ช่วยรักษาโรคผิวหนังได้

ประโยชน์ของใบเตย

  • สามารถนำมาใช้แต่งกลิ่นอาหารได้อย่างหลากหลาย เช่น ขนมลอดช่อง ขนมชั้น เค้ก หรือสลัด
  • สามารถนำมาใช้รองก้นหวดสำหรับนึ่งข้าวเหนียว เมื่อข้าวสุกแล้วจะทำให้มีกลิ่นหอม
  • สีเขียวสามารถนำมาใช้แต่งสีของขนมได้
  • สามารถนำมาใช้ทำเป็นทรีตเมนต์สูตรบำรุงผิวหน้าได้

การทำน้ำใบเตยหอม

วัตถุดิบ

– หั่นใบ 2 ถ้วย
– น้ำตาลทราย 5 ช้อนโต๊ะ
– น้ำ 4 ถ้วย
– น้ำแข็งก้อน

วิธีทำ

1. นำใบที่หั่นไว้ครึ่งหนึ่ง
2. ใส่ลงในโถปั่นพร้อมกับน้ำเล็กน้อย
3. ปั่นจนละเอียด เมื่อปั่นเสร็จให้กรองเอากากออก
4. จะได้น้ำสีเขียว ให้เทใส่ถ้วยแล้วพักไว้
5. ต้มน้ำในหม้อด้วยไฟระดับกลาง ๆ จนเดือด
6. ใส่ใบที่เหลืออยู่อีกครึ่งหนึ่งลงไปต้มประมาณ 5-10 นาที
7. ใส่น้ำตาลลงในหม้อต้มจนน้ำตาลละลาย
8. ปิดไฟและยกลง แล้วกรองเอากากออก
9. จากนั้นให้ยกหม้อขึ้นตั้งไฟระดับกลางอีกครั้ง รอจนเดือดแล้วปิดไฟ
10. ยกหม้อลง และปล่อยให้เย็นเป็นอันเสร็จ

วิธีทำทรีตเมนต์สูตรบำรุงผิวหน้า

  • นำใบมาล้างให้สะอาด
  • นำมาหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ
  • นำมาปั่นรวมกับน้ำสะอาดจนละเอียด
  • จะได้ครีมข้นเหนียวแล้วนำมาพอกหน้าทิ้งไว้ประมาณ 20 นาที

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

แหล่งอ้างอิง : www.gotoknow.org (ทิพย์สุดา), สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

ต้นพิษนาศน์ สรรพคุณช่วยรักษาโรคคางทูม

ต้นพิษนาศน์
ต้นพิษนาศน์ สรรพคุณช่วยรักษาโรคคางทูม เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก ดอกเป็นช่อกระจะรูปดอกถั่ว กลีบดอกสีม่วงเข้ม ฝักจะมีขนละเอียดสีขาวขึ้นปกคลุม
ต้นพิษนาศน์
ไม้พุ่มขนาดเล็ก ดอกเป็นช่อกระจะรูปดอกถั่ว กลีบดอกสีม่วงเข้ม ฝักจะมีขนละเอียดสีขาวขึ้นปกคลุม

ต้นพิษนาศน์

ต้นพิษนาศน์ถูกจัดให้เป็นพรรณไม้ประเภทพุ่มที่มีขนาดเล็กลำต้นสั้นจัดอยู่ในวงศ์ย่อยถั่ว ใช้รากต้มกับน้ำดื่มเป็นยากระตุ้นน้ำนมแม่ลูกอ่อนช่วงให้นมบุตร ชื่อวิทยาศาสตร์ Sophora exigua Craib ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Sophora violacea var. pilosa Gagnep. จัดอยู่ในวงศ์ วงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยถั่ว FABOIDEAE (PAPILIONOIDEAE หรือ PAPILIONACEAE)[1],[2] ชื่ออื่น ๆ แผ่นดินเย็น (จังหวัดอุบลราชธานี), นมราชสีห์ พิษนาท (จังหวัดฉะเชิงเทรา), ถั่วดินโคก (จังหวัดเลย), นมฤาษี เป็นต้น[1],[2]

ลักษณะของต้นพิษนาศน์

  • ต้น
    – เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก ลำต้นสั้น มีความสูงเพียง 15-30 เซนติเมตร[1]
  • ใบ
    – ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก โดยออกเรียงสลับกัน แนบไปกับพื้นดินในแนวรัศมี มีใบย่อยประมาณ 9-13 ใบ
    – ลักษณะรูปร่างของใบเป็นรูปวงรี รูปไข่ หรือรูปขอบขนานแกมรูปวงรี ปลายใบเป็นรูปไข่กลับ
    – ผิวใบมีขนละเอียดสีขาวขึ้นปกคลุมอยู่ทั่วใบ[1]
    – ใบย่อยมีขนาดความกว้างอยู่ที่ประมาณ 1.5-3 เซนติเมตร และมีขนาดความยาวอยู่ที่ประมาณ 2-5 เซนติเมตร
  • ดอก
    – ออกดอกในลักษณะที่เป็นช่อกระจะ โดยจะออกดอกที่บริเวณปลายยอด
    – ดอกย่อยมีเป็นจำนวนมาก ดอกมีลักษณะเป็นรูปดอกถั่ว กลีบดอกมีสีเป็นสีม่วงเข้ม ส่วนก้านช่อดอกยาว[1]
  • ผล
    – ผลเป็นฝักรูปขอบขนาน ตามฝักจะมีขนละเอียดสีขาวขึ้นปกคลุม ภายในฝักจะมีเมล็ดอยู่ 1 เมล็ด[1]
    – ขยายพันธุ์ได้โดยวิธีการใช้เมล็ด

สรรพคุณของต้นพิษนาศน์

1. ยาพื้นบ้านของอีสานจะนำรากมาฝนกับน้ำใช้สำหรับทาแก้ฝี[1],[2]
2. มีบางข้อมูลระบุเอาไว้ว่า ชาวบ้านจะใช้ส่วนของรากมาต้มกับน้ำใช้สำหรับดื่มเป็นยาขับพิษภายใน แก้โรคคางทูม ช่วยขับน้ำค้างที่ขังตามที่ต่าง ๆ แก้อาการฟกบวมตามข้อ ตามกล้ามเนื้อ และนำส่วนของต้นใช้ทำเป็นยาแก้ไข้เซื่องซึม และช่วยดับพิษกาฬที่ทำให้หมดสติได้อีกด้วย (ยังไม่ได้รับการยืนยัน)

3. ยาสมุนไพรพื้นบ้านของจังหวัดอุบลราชธานี จะนำรากมาฝนกับน้ำใช้สำหรับดื่มเป็นยาช่วยลดไข้ในเด็ก ใช้ฝนทาแก้พิษงู (ต้องกล่าวคาถาระหว่างทาด้วย) หรือจะนำมาต้มกับน้ำใช้สำหรับดื่มเป็นยาบำรุงน้ำนมของสตรี (ดื่มมากเกินไปจะส่งผลเสียได้) และใช้ส่วนของลำต้น ราก เหง้า และใบนำมาฝนทาเป็นยาแก้ฝี[1]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.  “พิษนาศน์”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : www.phargarden.com.  [05 ต.ค. 2015].
2. ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.  “ถั่วดินโคก”.  อ้างอิงใน : หนังสือสารานุกรมสมุนไพร เล่ม 4 กกยาอีสาน หน้า 208.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : www.qsbg.org.  [05 ต.ค. 2015].
อ้างอิงรูปจาก
1. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง

ต้นโพธิ์ศรี สรรพคุณของยางเป็นยารักษาโรคเท้าช้าง

ต้นโพธิ์ศรี
ต้นโพธิ์ศรี สรรพคุณของยางเป็นยารักษาโรคเท้าช้าง เป็นพรรณไม้ยืนต้นที่มีขนาดกลาง มีน้ำยางสีขาว ดอกเป็นช่อเขียวดอกจะเปลี่ยนเป็นสีแดง ผลกลมแป้นก้นงผลบุ๋ม เมล็ดแบนคล้ายกับถั่วปากอ้า
ต้นโพธิ์ศรี
เป็นพรรณไม้ยืนต้นที่มีขนาดกลาง มีน้ำยางสีขาว ดอกเป็นช่อเขียวดอกจะเปลี่ยนเป็นสีแดง ผลกลมแป้นก้นงผลบุ๋ม เมล็ดแบนคล้ายกับถั่วปากอ้า

ต้นโพธิ์ศรี

ต้นโพธิ์ศรี เป็นพรรณไม้ยืนต้นที่มีขนาดกลาง มีถิ่นกำเนิดในแถบพื้นที่อเมริกากลาง แถบพื้นที่อเมริกาใต้ และในพื้นที่ของประเทศนิการากัวจนไปถึงประเทศเปรู ชื่อสามัญ Portia tree, Umbrella tree, Monkey pistol, Monkey’s dinner bell,[1],[2],[3] ชื่อในทางวิทยาศาสตร์ Hura crepitans L. จัดอยู่ในวงศ์ วงศ์ยางพารา (EUPHORBIACEAE)[1] ชื่ออื่น ๆ โพธิ์ทะเล โพธิ์ฝรั่ง โพทะเล โพธิ์ศรี โพฝรั่ง โพศรี (จังหวัดบุรีรัมย์), โพศรีมหาโพ โพธิ์ศรีมหาโพธิ์ (ประเทศไทย), ทองหลางฝรั่ง (จังหวัดกรุงเทพฯ) และโพธิ์อินเดียหรือโพธิ์หนาม เป็นต้น[1],[2],[3]

ลักษณะของต้นโพธิ์ศรี

  • ต้น
    – ลำต้นมีความสูงอยู่ที่ 15 เมตร แต่ถ้าในพื้นที่ถิ่นกำเนิดลำต้นอาจจะมีความสูงได้ถึง 45 เมตร
    – ลำต้นจะมีหนามเล็ก ๆ แหลม บนเต้าที่มีความแบน ๆ ขึ้นปกคลุมกระจายอยู่ทั่ว
    – กิ่งมีขนาดใหญ่ โดยกิ่งก้านจะแตกแขนงแผ่กว้างออกไปจากตัวลำต้น
    – ต้นโพธิ์ศรีภายในจะมีน้ำยางสีขาว
    – ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด[1],[2],[3]
  • ใบ
    – ใบมีลักษณะรูปร่างเป็นรูปหัวใจคล้ายกับใบโพธิ์ ปลายใบมีลักษณะแหลมยาว ตรงโคนใบเป็นรูปหัวใจ ส่วนขอบใบจะหยักเป็นซี่ฟันลักษณะห่าง ๆ กัน
    – แผ่นใบมีผิวเกลี้ยง มีขนขึ้นปกคลุมตามเส้นตรงกลางใบด้านล่าง เส้นใบมองเห็นได้ชัดเจน ใบมีเส้นแขนงใบข้างละ 11-16 เส้น มีลักษณะโค้งจรดกัน
    – หูใบมีลักษณะรูปร่างเป็นรูปใบหอก
    – ใบต้นโพธิ์ศรีสามารถหลุดร่วงได้ง่าย[1],[2]
    – ใบมีขนาดความยาวอยู่ที่ 7-21 เซนติเมตร และก้านใบมีความยาวอยู่ที่ 6-22 เซนติเมตร
  • ดอก
    – ออกดอกในลักษณะเป็นช่อ ช่อมีสีเขียวแล้วดอกจะเปลี่ยนเป็นสีแดง
    – ดอกมีทั้งดอกเพศผู้และดอกเพศเมียอยู่บนต้นเดียวกัน
    – ดอกเพศผู้จะมีสีเป็นสีแดงเข้มเป็นช่อดอกยาว ช่อดอกเพศผู้มีความยาวอยู่ที่ 1.5-4.5 เซนติเมตร และก้านช่อดอกจะมีผิวหนา และมีความยาวได้อยู่ที่ 1.2-8 เซนติเมตร ดอกเพศผู้มีดอกเป็นจำนวนมาก ก้านดอกมีความยาวอยู่ที่ 2 มิลลิเมตร ส่วนของเกสรเพศผู้มีอยู่ 10-20 อัน เรียงกันเป็น 2-3 วง อับเรณูมีขนาดเล็ก โดยจะมีความยาวอยู่ที่ 0.5 มิลลิเมตร
    – ดอกเพศเมีย ดอกเพศเมียจะมีลักษณะรูปร่างที่กลมแบนเป็นรูปเห็ดขนาดเล็ก ดอกเพศเมียจะมีดอกเดียวอยู่ที่โคนก้าน โดยดอกเพศเมียจะมีก้านดอกยาวอยู่ที่ 1.2 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงมีรูปร่างเป็นรูปถ้วย มีความยาวอยู่ 5-8 มิลลิเมตร รังไข่มีความยาวเท่ากันกับกลีบเลี้ยง ก้านเกสรเพศเมียมีความยาวอยู่ที่ 2-3.5 เซนติเมตร บริเวณยอดของเกสรแยกเป็นแฉก โดยจะแผ่ออกมา มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางอยู่ที่ 1.4-2.6 เซนติเมตร[1],[2],[3]
  • ผล
    – ผลมีรูปทรงเป็นแบบแคปซูลมีลักษณะค่อนข้างกลมแป้น
    – ผลจะแบ่งออกเป็นกลีบเท่า ๆ กัน ประมาณ 14-16 กลีบ โดยจะมีรูปทรงคล้ายกับฟักทอง มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 8 เซนติเมตร และมีความสูงอยู่ที่ 3-5 เซนติเมตร
    – ก้นของผลจะบุ๋มทั้งสองด้าน เปลือกผลมีผิวแข็งและหนา เมื่อผลแก่จะมีเมล็ด ถ้าลองเขย่าดูจะมีเสียงคล้ายกับบรรจุทรายไว้ และถ้าผลแก่เต็มที่แล้วก็จะแตกออกมาตามยาวของผลเป็นซี่ ๆ
    -เมล็ดแบนคล้ายกับถั่วปากอ้า เมล็ดมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางอยู่ที่ 2 เซนติเมตร[1],[2],[3]

สรรพคุณของต้นโพธิ์ศรี

1. ส่วนของเปลือก ยาง และเมล็ด มีฤทธิ์เป็นยาถ่ายอย่างแรง (เปลือก, ยาง, เมล็ด)[1]
2. เปลือก ยาง และเมล็ดมีฤทธิ์ทำให้ขับอาเจียนออกมา (เปลือก, ยาง, เมล็ด)[1]
3. ยางนำมาทำเป็นยารักษาโรคเท้าช้างได้ (ยาง)[1]

ประโยชน์ของต้นโพธิ์ศรี

1. ในสมัยก่อนจะนำผลที่ยังไม่สุกมาต้ม จากนั้นนำผลมาเจาะรูแล้วนำมาตากให้แห้ง บรรจุทรายเอาไว้ในผล ใช้สำหรับซับหมึกจากปากกา (เป็นที่มาของชื่อ sand box tree)[3]
2. ยางนำมาใช้เป็นยาเบื่อปลา หรือใช้สำหรับอาบลูกดอก [1]
3. ผลและเมล็ดมีฤทธิ์ในการนำมาฆ่าแมลง[1]
4. เนื้อไม้เป็นเนื้อไม้ที่มีคุณภาพดี แต่ก็ไม่มีความทนทานมากนัก โดยจะนำมาใช้ทำเป็นเฟอร์นิเจอร์[2]
5. ในประเทศไทยมักจะนิยมปลูกเป็นไม้ร่ม ปลูกไว้เป็นต้นไม้ประดับตามสวนสาธารณะ และตามวัดวาอาราม[1],[2]

พิษของต้นโพธิ์ศรี

เมล็ดและยางของต้นโพธิ์นั้นจะมีพิษอยู่ โดยสารพิษที่พบ จะได้แก่ สารกลุ่ม huratoxin, hurin, crepitin และ lectin (ปริมาณของสาร crepitin ที่ทำให้หนูทดลองตายครึ่งหนึ่ง มีค่าเท่ากับ 187 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม)[3]

อาการเป็นพิษ

– เมื่อรับประทานเมล็ดเข้าไปในปริมาณประมาณ 1-2 เมล็ด จะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ชีพจรเต้นเร็วผิดปกติ เกิดอาการตาพร่า ปวดท้อง ท้องร่วง และอาจจะมีเลือดปนออกมากับอุจจาระ
– ในกรณีที่ได้รับสารพิษในปริมาณมากอาจจะทำให้เกิดอาการเพ้อ ชัก หมดสติ และถึงขั้นเสียชีวิตได้
– ส่วนน้ำยางจะมีฤทธิ์กัดมาก เพราะน้ำยางประกอบไปด้วยสาร hurin และมีน้ำย่อย hurain ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ย่อยโปรตีน โดยเอนไซม์ตัวนี้สามารถย่อยเนื้อได้ จึงทำให้เกิดอาการแพ้ได้เมื่อสัมผัสกับผิวหนัง โดยจะทำให้เกิดอาการเป็นผื่นแดงแบบไฟลามทุ่งและพุพองขึ้นเป็นตุ่มน้ำใสได้ หรือถ้าเข้าตาก็อาจจะทำให้ตาบอดได้[1],[3]

ตัวอย่างผู้ป่วย

– ผู้ป่วยจำนวน 23 ราย ที่ได้รับประทานเมล็ดเข้าไป (มีผู้รับประทานสูงสุดคือ 3 เมล็ด) แล้วเกิดมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ เกิดตาแดง มีอาการแสบร้อนในคอ ปวดท้อง ถ่ายเหลว และง่วงนอนอ่อนเพลีย
– กรณีที่ 2 คือ เด็กชายจำนวน 18 ราย มีอายุระหว่าง 12-15 ปี ได้ทำการรับประทานเมล็ดแห้งเข้าไป และเริ่มมีอาการตั้งแต่ 30 นาที ถึง 2 ชั่วโมง โดยมีเพียงรายเดียวเท่านั้นที่มีอาการเมื่อผ่านไปแล้ว 6 ชั่วโมง
โดยผู้ป่วยจะมีอาการคลื่นไส้อาเจียน เกิดอาการแสบร้อนในคอ มีความกระหายน้ำ และในบางรายพบว่ามีอาการปวดท้องและอุจจาระร่วงอีกด้วย แต่วันรุ่งขึ้นอาการก็ดีขึ้น
– กรณีผู้ป่วยมีอาการบวมแดงที่บริเวณผิวหนังและมีอาการอักเสบของเยื่อบุจมูกและตาตลอดปี โดยที่ไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดมากนัก ตลอดจนการตรวจสอบด้วยวิธี scratch test ก็ได้ผลลัพธ์ที่พบว่าผู้ป่วยมีอาการแพ้เนื่องจากการสัมผัสยาง [3]

การรักษา

ก่อนจะนำส่งโรงพยาบาลควรให้ดื่มนมหรือผงถ่านเพื่อลดการดูดซึมของสารพิษก่อน แล้วจึงรีบนำตัวส่งโรงพยาบาลเพื่อล้างท้องในทันที และให้น้ำเกลือผ่านทางเส้นเลือดเพื่อป้องกันอาการหมดสติและอาการช็อกจากการสูญเสียน้ำและเกลือแร่ภายในร่างกาย ส่วนในกรณีอื่น ๆ นี้ก็ให้รักษาตามอาการ เช่น การให้ morphine sulfate ในปริมาณ 2-10 มิลลิกรัม เพื่อช่วยลดอาการปวดท้องให้ทุเลาลงได้[3]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “โพธิ์ฝรั่ง”. หน้า 577-578.
2. สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช, กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. “โพฝรั่ง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.dnp.go.th/botany/. [08 พ.ย. 2014].
3. ระบบวินิจฉัยและการรักษาอาการอันเนื่องจากพืชพิษในประเทศไทย, สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. “โพธิ์ศรี”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.medplant.mahidol.ac.th/tpex/. [08 พ.ย. 2014].

อ้างอิงรูปจาก
1.https://www.flickr.com/

ต้นพวงตุ้มหู สรรพคุณตำรายาใช้ทำเป็นยาแก้ไข้ แก้ไอ

ต้นพวงตุ้มหู
ต้นพวงตุ้มหู สรรพคุณตำรายาใช้ทำเป็นยาแก้ไข้ แก้ไอ เป็นพรรณไม้พุ่ม เปลือกต้นและก้านใบสีแดงผิวเรียบไม่มีขน ออกดอกเป็นช่อมีสีชมพูอมม่วง ผลกลมสีเขียว ผลสุกสีแดง
ต้นพวงตุ้มหู
พรรณไม้พุ่ม เปลือกต้นและก้านใบสีแดงผิวเรียบไม่มีขน ออกดอกเป็นช่อมีสีชมพูอมม่วง ผลกลมสีเขียว ผลสุกสีแดง

ต้นพวงตุ้มหู

ต้นพวงตุ้มหู เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางที่มีดอกตูมสีชมพูผลคล้ายเบอร์รี่สีแดง จัดอยู่ในวงศ์ วงศ์ PRIMULACEAE (MYRSINACEAE) ชื่อวิทยาศาสตร์ Ardisia pilosa H.R.Fletcher  มีถิ่นกำเนิดถิ่นอาศัยในป่าดิบชื้นใกล้ลำธาร ลำคลองธรรมชาติ และแพร่กระจายอยู่หลายประเทศทั้งจีน อินเดีย เวียดนาม ศรีลังกา ลาว รวมถึงประเทศไทย ชื่ออื่น ๆ เข้าพรรษา (จังหวัดน่าน), ตุ้มไก่ (จังหวัดเลย), ตีนเป็ด[1] เป็นต้น

ลักษณะของต้นพวงตุ้มหู

  • ต้น
    – เป็นพรรณไม้ประเภทพุ่ม
    – ต้นมีความสูง: ประมาณ 0.5-1.5 เมตร
    – ลักษณะของลำต้น: ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง ลำต้นจะแตกกิ่งก้านน้อยในช่วงบริเวณปลายยอด เปลือกต้นและก้านใบมีสีเป็นสีแดง และมีผิวเรียบไม่มีขน
  • ใบ
    – ใบเป็นใบเดี่ยว โดยใบจะออกเรียงเวียนสลับกัน
    – ลักษณะรูปร่างของใบเป็นรูปรี ค่อนข้างอวบน้ำ ปลายใบกลมมน ตรงโคนใบสอบหรือมน ส่วนขอบใบหยักตื้น
    – ผิวใบด้านบนมีจุดขึ้นอยู่เป็นประปรายตามแผ่นใบ ส่วนด้านหลังใบและท้องใบมีผิวเรียบไร้ขน และก้านใบมีขนขึ้นปกคลุม
    – มีขนาดความกว้างอยู่ที่ประมาณ 1-3 เซนติเมตร และมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 2.5-7 เซนติเมตร
    – ก้านใบมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 3-10 มิลลิเมตร[1],[2]
  • ดอก
    – ออกดอกเป็นช่อ ช่อละหลายดอก โดนดอกจะออกที่บริเวณตามซอกใบ
    – ออกดอกในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงช่วงเดือนกันยายน[1],[2]
    – ก้านช่อดอกมีขนาดความยาวที่เกือบเท่า ๆ กัน ลักษณะของช่อดอกคล้ายกับซี่ร่มแต่หัวห้อยลง
    – กลีบดอกมีลักษณะรูปร่างเป็นรูปไข่ กลีบดอกมีสีชมพูอมม่วง มีกลีบอยู่ 4-5 กลีบ ที่บริเวณโคนกลีบจะเชื่อมติดกัน และกลีบดอกจะเรียงซ้อนกันและมักจะบิดเวียน เมื่อดอกบานเต็มที่จะมีขนาดความกว้างอยู่ที่ประมาณ 0.5-1 เซนติเมตร
    – กลีบรองกลีบดอกจะมีรูปร่างเป็นรูปไข่กว้าง มีกลีบอยู่ 4-5 กลีบ
    – เกสรเพศผู้มีก้านเกสรที่สั้น เกสรมีอยู่ 5 อันโดยจะเรียงชิดติด ส่วนรังไข่มีลักษณะกลม ตรงปลายเป็นท่อยาว
  • ผล
    – ผลกลม ผิวผลเป็นมัน และตามผิวจะมีจุดขึ้นเป็นประปราย
    – ผลอ่อนจะมีสีเป็นสีเขียว แต่เมื่อผลสุกแล้วจะเปลี่ยนสีเป็นสีแดงสด
    – ผลมีขนาดความกว้างอยู่ที่ประมาณ 0.5-0.7 เซนติเมตร[1],[2]

สรรพคุณ และประโยชน์ของต้นพวงตุ้มหู

  • ตำรายาของไทยจะนำราก ใช้ทำเป็นยาแก้ไข้
  • ตำรายาของไทยจะนำใบ ใช้ทำเป็นยาแก้ไอ[1]
  • ต้น ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับสำหรับตกแต่งบริเวณตามบ้านเรือนได้[2]
  • ลำต้น ใช้ทำเป็นเครื่องจักสาน[1]
  • ผล เป็นอาหารของสัตว์ป่าและนก[1],[2]

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

1. ใบและกิ่ง มีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ และมีฤทธิ์ลดปริมาณการสร้างสารอนุมูลอิสระไนตริกออกไซด์ได้ จากผลการทดลองในหลอดทดลอง[1]

2. ใบและกิ่ง มีสาร catechin, gallic acid, quercetin, protocatechuic acid และ p-coumarinic acid อยู่ [1]

สั่งซื้อ เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.  “พวง ตุ้ม หู”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : www.phargarden.com.  [03 ต.ค. 2015].
2. ระบบจัดการฐานความรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้ กรมป่าไม้.  “พวง ตุ้ม หู”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : biodiversity.forest.go.th.  [03 ต.ค. 2015].
อ้างอิงรูปจาก
1.https://efloraofindia.com/

หิ่งเม่นน้อย สมุนไพรตำรับยาพื้นบ้านล้านนา

หิ่งเม่นน้อย สมุนไพรตำรับยาพื้นบ้านล้านนา ไม้ล้มลุก ลำต้นตั้งตรง ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับมีขนนุ่ม ดอกเป็นช่อกระจะสั้นสีเหลืองสด ฝักรูปทรงกระบอกโป่งพองสีดำ ผิวเกลี้ยง ไม่มีขน
หิ่งเม่นน้อย
ไม้ล้มลุก ลำต้นตั้งตรง ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับมีขนนุ่ม ดอกเป็นช่อกระจะสั้นสีเหลืองสด ฝักรูปทรงกระบอกโป่งพองสีดำ ผิวเกลี้ยง ไม่มีขน

หิ่งเม่นน้อย

ชื่อสามัญ คือ Rattlebox ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Crotalaria alata D.Don ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ คือ Crotalaria alata H.Lev., Crotalaria alata H. Lév., Crotalaria bidiei Gamble จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยถั่ว FABOIDEAE (PAPILIONOIDEAE หรือ PAPILIONACEAE)[1],[2] ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ คือ หิ่งห้อย (เลย), หิ่งเม่น หิ่งเม่นดอย มะหิ่งเม้นน้อย มะหิ่งเม่นดอย (เชียงใหม่)[1],[2]

ลักษณะต้นหิ่งเม่นน้อย

  • ต้น [1],[2]
    – เป็นพรรณไม้ล้มลุกที่มีอายุเพียงฤดูเดียว
    – ลำต้นตั้งตรง
    – ต้นมีความสูงได้ถึง 1 เมตร
    – กิ่งก้านชูขึ้น
    – ลำต้นและกิ่งก้านมีรยางค์ แผ่เป็นปีกแคบ ๆ
    – สามารถพบขึ้นได้ตามพื้นที่โล่ง ในป่าเต็งรัง และป่าผสมผลัดใบ
  • ใบ [1],[2]
    – ใบเป็นใบเดี่ยว
    – ออกเรียงสลับกัน
    – ใบเป็นรูปไข่ รูปวงรี รูปใบหอก หรือรูปใบหอกกลับ
    – ปลายใบแหลมหรือเป็นติ่งแหลม
    – โคนใบเป็นรูปลิ่ม และมน
    – ใบมีความกว้าง 0.5-5 เซนติเมตร และยาว 3-9 เซนติเมตร
    – แผ่นใบมีขนนุ่มสั้นทั้งสองด้าน
    – หูใบแผ่ยาวตามกิ่ง มีความกว้างประมาณ 4-10 มิลลิเมตร
    – ปลายเป็นรูปสามเหลี่ยมรูปเคียว
  • ดอก [2]
    – ออกดอกเป็นช่อกระจะสั้น ๆ
    – จะออกดอกตามซอกใบและที่ปลายกิ่ง
    – มีดอกย่อยอยู่ 2-3 ดอก
    – ก้านช่อดอกยาว 5-10 เซนติเมตร
    – ใบประดับเป็นรูปกึ่งหัวใจถึงรูปใบหอก
    – มีขนาดยาว 4-5 มิลลิเมตร
    – ก้านดอกยาว 4-5 มิลลิเมตร
    – กลีบเลี้ยงเป็นรูปากเปิด
    – ยาวประมาณ 11 มิลลิเมตร
    – กลีบดอกเป็นรูปดอกถั่ว สีเหลืองสด
    – มีเกสรเพศผู้ 10 อัน
    – รังไข่เป็นรูปขอบขนาน ผิวเกลี้ยง
  • ผล [2]
    – ผลเป็นฝัก รูปทรงกระบอกหรือรูปขอบขนาน โป่งพอง และมีสีดำ
    – มีความกว้าง 0.8 เซนติเมตร และยาว 3-4 เซนติเมตร
    – ผิวผลเกลี้ยง ไม่มีขน
    – ผลเมื่อแก่แล้วจะแตก
    – มีเมล็ดขนาดเล็ก

สรรพคุณ และประโยชน์ของหิ่งเม่นน้อย

  • ในตำรับยาพื้นบ้านล้านนานั้นจะนำทั้งต้นมาต้มกับน้ำอาบเป็นยาแก้ฟกช้ำ บวม[1],[2]
  • ทั้งต้น สามารถนำมาใช้ทำเป็นปุ๋ยพืชสดได้[3]

สั่งซื้อ เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา. (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “หิ่งเม่นน้อย”. หน้า 80.
2. ระบบจัดการฐานความรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้ กรมป่าไม้. “หิ่ง เม่น น้อย”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: biodiversity.forest.go.th. [22 ก.ย. 2014].
3. ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. “หิ่งเม่นดอย”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.qsbg.org. [24 ก.ย. 2014].

อ้างอิงรูปจาก
1.https://www.flickr.com/photos/
2.https://www.ipmimages.org/

หิ่งเม่น สรรพคุณช่วยรักษาอาการร้อนใน

หิ่งเม่น
หิ่งเม่น สรรพคุณช่วยรักษาอาการร้อนใน ไม้ล้มลุก ใบประกอบเรียงสลับ ดอกเป็นช่อกระจะ ดอกสีเหลืองลายเส้นสีแดงเข้มพาดตามยาว ฝักรูปทรงกระบอกมีขนปกคลุม ฝักอ่อนเป็นสีแดงฝักแก่สีน้ำตาล
หิ่งเม่น
ไม้ล้มลุก ใบประกอบเรียงสลับ ดอกเป็นช่อกระจะ ดอกสีเหลืองลายเส้นสีแดงเข้มพาดตามยาว ฝักรูปทรงกระบอกมีขนปกคลุม ฝักอ่อนเป็นสีแดงฝักแก่สีน้ำตาล

หิ่งเม่น

ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Crotalaria pallida Aiton ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ คือ Crotalaria mucronata Desv.
จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยถั่ว FABOIDEAE (PAPILIONOIDEAE หรือ PAPILIONACEAE) ชื่อเรียกอื่น ๆ คือ ฮ่งหาย (ชุมพร)[1]

ลักษณะของต้นหิ่งเม่น

  • ต้น
    – เป็นพรรณไม้ล้มลุก
    – มีอายุอยู่ได้หลายปี
    – มีลำต้นตั้งตรง
    – ต้นมีความสูงได้ถึง 1-1.5 เมตร
    – แตกกิ่งก้านย่อย
    – ลำต้นเป็นสีเขียวอ่อนและจะเปลี่ยนเป็นสีม่วงเข้ม
    – ลำต้นมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 9.06-17.4 มิลลิเมตร
    – สามารถพบขึ้นได้ทั่วไปในแถบทวีปเอเชียเขตร้อน ตามป่าหญ้าข้างทาง ชายป่าดิบเขา หรือตามป่าผลัดใบ
    – ขึ้นในที่ระดับความสูงถึง 1,500 เมตร จากระดับน้ำทะเล
  • ใบ
    – เป็นใบประกอบ
    – มีใบย่อย 3 ใบ
    – ออกเรียงสลับกัน
    – ก้านช่อใบยาว 3-5 เซนติเมตร
    – ก้านใบข้างยาว 2-2.5 มิลลิเมตร
    – ใบย่อยด้านปลายเป็นรูปวงรีหรือรูปไข่กลับ
    – ปลายใบมนทู่หรือโค้งเว้า
    – ปลายยอดมีติ่งเป็นเส้นสั้น ๆ
    – โคนใบสอบ
    – ขอบใบหยักแบบขนครุย
    – ใบมีความกว้าง 2-4.5 เซนติเมตร และยาว 4.5-7.5 เซนติเมตร
    – หลังใบเป็นสีเขียวเข้ม ไม่มีขน
    – ท้องใบเป็นสีเขียวอ่อน มีขนสีขาวขึ้นอยู่หนาแน่น
    – ผิวใบค่อนข้างนุ่ม
    – เส้นใบปลายโค้งจรดกัน
    – ใบย่อยด้านข้างจะมีความกว้าง 1.5-3.5 เซนติเมตร และยาว 3.5-7.5 เซนติเมตร
    – หูใบแหลม เล็กและสั้น เป็นสีม่วงแดง
  • ดอก[1],[2],[3]
    – ออกดอกเป็นช่อกระจะที่ปลายกิ่ง
    – ช่อดอกยาว 15-30 เซนติเมตร
    – ช่อดอกมีดอกย่อย 27-44 ดอก
    – เป็นดอกเดี่ยว
    – ออกดอกเรียงตรงข้ามกัน
    – ออกดอกบนแกนช่อดอก
    – มีก้านยาว 2-2.5 มิลลิเมตร
    – ดอกย่อยเป็นรูปถั่ว มีกลีบดอก 5 กลีบ
    – กลีบบนเป็นรูปไข่ปลายมน
    – กลีบด้านข้างจะคล้ายปีก รูปขอบขนาน
    – กลีบล่างเชื่อมกันเป็นรูปท้องเรือ
    – ปลายแหลมโค้ง
    – กลีบดอกด้านในเป็นสีเหลืองเข้ม
    – กลีบดอกด้านนอกเป็นสีเหลือง มีลายเส้นสีแดงเข้มพาดตามยาว
    – ดอกเมื่อบานจะมีขนาดกว้าง 1.4-1.6 เซนติเมตร
    – ดอกมีเกสรเพศผู้เป็นมัด 10 อัน
    – มีอับเรณูเป็นสีส้ม
  • ผล
    – ผลเป็นฝักรูปทรงกระบอก
    – มีฝัก 7-16 ฝักต่อช่อ
    – ฝักจะโค้งงอเล็กน้อย
    – มีความกว้าง 0.5 เซนติเมตร และยาว 3-9.5 เซนติเมตร
    – ปลายยอดฝักมีติ่งเป็นเส้นยาว 7 มิลลิเมตร
    – ฝักจะมีขนขึ้นปกคลุม
    – เส้นกลางฝักด้านนอกเป็นแนวยาวลึกลง
    – ฝักอ่อนเป็นสีแดง
    – ฝักเมื่อแก่แล้วจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล
    – ผลเมื่อแก่แล้วจะแตกออกเป็นฝา
    – ฝักจะมีเมล็ดจำนวนมาก มีถึง 56-58 เมล็ด
    – เมล็ดเป็นรูปไต สีน้ำตาล
    – เมล็ดมีขนาด 2-4 มิลลิเมตร
    – จะออกฝักในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนสิงหาคม

สรรพคุณของรากหิ่งเม่น

  • ช่วยทำให้มีบุตรง่าย[1]
  • ช่วยกระตุ้นกำหนัด[1]
  • ช่วยแก้อาการอาเจียน[1],[3]
  • ช่วยแก้นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ[1],[3]
  • ช่วยรักษาอาการร้อนใน
  • ช่วยแก้โรคทางเดินปัสสาวะ[1],[3]

ตำรับยาพื้นบ้านล้านนา ( ใช้ผสมกับสมุนไพรอื่น ๆ )

– รากเจตพังคี
– รากเจตมูลเพลิงแดง
– รากละหุ่งแดง
– รากมหาก่าน
– รากหิงหายผี
– เปลือกต้นหรือรากเดื่อหว้า
– ต้นพิศนาด
หัวกระชาย
– หัวกำบัง
เหง้าว่านน้ำ
– ผลยี่หร่า
เมล็ดพริกไทย
– เมล็ดเทียนคำหลวง
วุ้นว่านหางจระเข้
– เทียนทั้งห้า
ให้ใช้ในปริมาณที่เท่ากัน นำมาบดให้เป็นผง แล้วผสมกับน้ำมะนาวและใส่เกลืออีกเล็กน้อย ใช้สำหรับรักษาโรคทางเดินปัสสาวะ[1],[3]

ประโยชน์ของหิ่งเม่น

  • ตัน สามารถนำมาใช้ทำเป็นปุ๋ยพืชสดได้[2]
  • เป็นแหล่งของอาหารตามธรรมชาติของโคกระบือ

ปริมาณสารอาหาร

ยอดอ่อน ใบ และก้านใบ ในระยะที่เริ่มมีดอก
– โปรตีน 23.94%
– ไขมัน 2.65%
– เถ้า 2.65%
– เยื่อใย 21.01%
– เยื่อใยส่วน ADF 38.6%
– NDF 47.67%
– ลิกนิน 15.11%[3]

สั่งซื้อ อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วย เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค  คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา. (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “หิ่งเม่น”. หน้า 84.
2. หนังสือพรรณไม้สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เล่ม 5. “หิ่ ง เ ม่ น”.
3. สำนักพัฒนาอาหารสัตว์ กรมปศุสัตว์. “หิ่งเม่น”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : nutrition.dld.go.th. [24 ก.ย. 2014].

โหราข้าวโพด สมุนไพรมีฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือด

โหราข้าวโพด
โหราข้าวโพด สมุนไพรมีฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือด เป็นไม้ล้มลุก ใบเป็นใบเดี่ยว ดอกเป็นช่อบริเวณปลายยอด ผลรูปไข่กลมรีสีขาว ผลสุกเป็นสีแดง
โหราข้าวโพด
เป็นไม้ล้มลุก ใบเป็นใบเดี่ยว ดอกเป็นช่อบริเวณปลายยอด ผลรูปไข่กลมรีสีขาว ผลสุกเป็นสีแดง

โหราข้าวโพด

ชื่อวิทยาศาสตร์ Pinellia ternata (Thunb.) Makino (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Pinellia ternata (Thunb.) Ten. ex Breitenb., Pinellia tuberifera Ten.) จัดอยู่ในวงศ์บอน (ARACEAE) ชื่อเรียกอื่นว่า ปั้นเซี่ย ซันเยี้ยะปั้นเซี้ย (จีนกลาง) เป็นต้น

ลักษณะของโหราข้าวโพด

  • ต้น เป็นไม้ล้มลุก ความสูงโดยเฉลี่ย 15-30 เซนติเมตร หัวจะอยู่ใต้ดินลักษณะเหมือนรูปไข่แบนนิดหน่อย ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1-2 เซนติเมตร ส่วนหัวใต้ดินจะมีรากฝอยเป็นจำนวนมากมาย
  • ใบ เป็นใบเดี่ยว จะมีก้านใบแทงขึ้นมาจากหัวใต้ดิน ตอนแรกๆจะแตกใบเพียง 1 ใบ ตอนโตเต็มที่ ก้านหนึ่งจะแตกถึง 3 ใบ ใบตรงกลางจะมีขนาดใหญ่ ใบจะมีลักษณะรูปไข่วงรี ส่วนใบปลายแหลม โคนใบเว้าเป็นรูปหัวใจ ด้านหลังใบและท้องใบเป็นมันเงา ขนาด 3-4 เซนติเมตร ยาว 5-8 เซนติเมตร ก้านใบยาว 6-23 เซนติเมตร มีเส้นใบแบบขนนก ทางก้านใบมีปุ่มงอกออกมามีสีขาว เหมือนไข่ไก่
  • ดอก เป็นช่อบริเวณปลายยอด ขนาดยาว 30 เซนติเมตร จะมีกาบใบสีเขียวหุ้มยาว 6-7 เซนติเมตร ช่อดอกจะยาวกว่าก้านใบ ดอกตัวผู้และดอกตัวเมียจะอยู่ในต้นเดียวกัน ดอกตัวผู้จะอยู่ด้านบนและดอกตัวเมียจะอยู่ด้านล่าง ช่วงห่าง 3-5 มิลลิเมตร ดอกจะมีรูปกลมยาวทรงกระบอก ด้านในเป็นสีม่วงดำ ด้านนอกเป็นดอกสีเขียว
  • ผล ภายในดอกจะมีผลลักษณะเป็นรูปไข่กลมรีสีขาว ขนาดยาวประมาณ 5-8 มิลลิเมตร ผลเมื่อสุกจะเปลี่ยนเป็นสีแดง

สรรพคุณของโหราข้าวโพด

  • หัว จะมีรสเผ็ด มีพิษเป็นยาร้อนใช้เป็นยาแก้ปวดหัววิงเวียน นอนไม่หลับ ช่วยสงบประสาท ช่วยในเรื่องแก้เสมหะข้น ละลายเสมหะ แก้ไอ คลื่นไส้อาเจียน ลดระดับน้ำตาลในเลือด แก้หูน้ำหนวก แก้คออักเสบ ช่วยบรรเทาแก้หลอดลมอักเสบ หอบหืด แน่นหน้าอก ขับน้ำขึ้นในกระเพาะ ท้องอืดท้องเฟ้อ แพ้ท้อง แก้ฝีหนอง ปวดบวม เต้านมอักเสบ

ข้อควรระวัง

  • เนื่องจากสมุนไพรชนิดนี้เป็นยาที่มีพิษ จึงไม่ควรรับประทานมากเกินกว่าปริมาณที่กำหนด หรือรับประทานยาที่ไม่ได้ผ่านกรรมวิธีกำจัดพิษ

กรรมวิธีกำจัดพิษ

  • นำหัวล้างให้สะอาด นำไปแช่น้ำสะอาดประมาณ 1-2 อาทิตย์ ให้เปลี่ยนน้ำวันละ 2 ครั้ง ตอนเปลี่ยนน้ำให้กวนน้ำไปด้วย เสร็จแล้วให้ไปแช่ในน้ำสารส้มจนกว่าจะไม่เห็นฟองสีขาวหรือจนกว่าหัวจะเริ่มมีสีชมพูแล้วนำน้ำทิ้ง ต่อจากนั้นให้แช่ในน้ำสะอาดอีก 1 วัน แล้วนำหัวที่ได้มาต้มน้ำสารส้มแล้วใส่ขิงลงไปต้มด้วยจนสุกเนื้อในจะมีสีเหลืองอ่อน แล้วเอามาตากแห้ง ก่อนจะนำมาทำยา

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

  • จากการทดสอบความเป็นพิษ พบว่าเมื่อให้คนสูดดม จะมีอาการหืดและเยื่อจมูกอักเสบ แต่ไม่พบความเป็นพิษต่อหนูขาวทดลองที่ได้รับตำรับอาหารซึ่งมียาผสมอยู่ 10% ของอาหาร
  • รายงานผลการทดลองเมื่อปี ค.ศ.1989 ที่ประเทศญี่ปุ่น ได้ทำการทดลองใช้สารสกัดจากเหง้าในหนูขาวทดลอง ผลการทดลองพบว่าสามารถลดระดับน้ำตาลในหนูขาวทดลองได้
  • น้ำที่ต้มได้จากหัวความเข้มข้น 20% เมื่อนำมาให้แมวทดลองกินในปริมาณ 0.6 กรัม ต่อ 1 กิโลกรัม พบว่าสามารถช่วยแก้อาการไอของแมวทดลองได้
  • เมื่อนำน้ำที่ต้มกับหัวในความเข้มข้น 20% หรือใช้ยาแห้ง 3 กรัม ต้มเป็นน้ำ ให้แมวทดลองกิน พบว่าสามารถช่วยระงับอาการอาเจียนของแมวได้
  • มีฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือด ลดความดันโลหิตสูง ลดไขมัน ลดคอเลสเตอรอลในเลือด มีฤทธิ์คลายกล้ามเนื้อมดลูก ทำให้แท้ง ป้องกันการเกิดแผลที่กระเพาะ บรรเทาอาการปวด ลดไข้ ระงับประสาท เพิ่มความจำ ต้านการชัก
  • ในหัวหรือเหง้าจะพบน้ำมันระเหยและในน้ำมันระเหยจะพบสาร B-aminobutyricacid, Glutamicacid, Arginine, Aspartic acid และยังพบสาร B-sitosteryl-D-glucoside, Glucose, Glucolin, Amino acid, Alkaloid (ที่ออกฤทธิ์คล้ายกับ Conine) เป็นต้น[1] ส่วนอีกข้อมูลระบุว่า สารสำคัญที่พบ ได้แก่ amylose BX-W, anethole, campesterol, choline, daucosterol, fluoride, flavone, pinellia lectin, pinellia ternata trypsin inhibitor, pinellian G, β-sitosterol, stigmasterol, tridecanoic acid

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1 หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. (วิทยา บุญวรพัฒน์). “โหราข้าวโพด”. หน้า 632.
2 หนังสือสมุนไพรลดไขมันในเลือด 140 ชนิด. (เภสัชกรหญิง จุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก). “โหราข้าวโพด” หน้า 155-156

โหราน้ำเต้า สรรพคุณจากหัวช่วยแก้บาดทะยัก

โหราน้ำเต้า สรรพคุณจากหัวช่วยแก้บาดทะยัก เป็นไม้ล้มลุก โคนก้านใบมีเยื่อบาง ๆ สีขาวมีแต้มสีม่วง ดอกเป็นช่อทรงกระบอกสีม่วงดำ ผลเป็นสีแดง
โหราน้ำเต้า
เป็นไม้ล้มลุก โคนก้านใบมีเยื่อบาง ๆ สีขาวมีแต้มสีม่วง ดอกเป็นช่อทรงกระบอกสีม่วงดำ ผลเป็นสีแดง

โหราน้ำเต้า

ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Arisaema consanguineum Schott ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ คือ Arisaema erubescens var. consanguineum (Schott) Engl. จัดอยู่ในวงศ์บอน (ARACEAE)[1] ชื่อเรียกอื่น ๆ คือ เทียนหนานซิง หนานซิง (จีนกลาง)[1]

ลักษณะต้นโหราน้ำเต้า

  • ต้น [1]
    – เป็นพรรณไม้ล้มลุก
    – ต้นมีความสูง 40-90 เซนติเมตร
    – มีหัวอยู่ใต้ดิน เป็นรูปกลมและแบน
    – มีรากฝอยมาก
    – เปลือกหัวเป็นสีเหลืองเข้ม
    – หัวมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2.4-5.5 เซนติเมตร
  • ใบ [1]
    – ก้านใบจะแทงออกจากหัวที่อยู่ใต้ดิน
    – ก้านใบกลมตั้งตรง เนื้อนิ่ม
    – มีร่องคล้ายกับก้านกล้วย
    – บริเวณโคนก้านใบมีเยื่อบาง ๆ สีขาวมีแต้มสีม่วงหุ้มอยู่
    – ก้านใบยาว 40-85 เซนติเมตร
    – ใบเป็นใบรวมแตกออกเป็นแฉก เรียงเป็นวงกลม มีประมาณ 7-23 แฉก เป็นรูปรียาว
    – ปลายใบแหลม
    – โคนใบอยู่ในจุดเดียวกัน
    – ขอบใบเรียบ
    – ใบมีความกว้าง 1.5-2.5 เซนติเมตร และยาว 13-19 เซนติเมตร
    – เนื้อใบไม่มีขนปกคลุม
    – หลังใบเป็นสีเขียว
    – ท้องใบเป็นสีเขียวอ่อน
    – เส้นใบเรียงแบบขนนก
  • ดอก [1]
    – ออกดอกเป็นช่อ แทงขึ้นมาจากโคนต้น
    – ก้านช่อดอกยาว 30-70 เซนติเมตร
    – ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียแยกออกเป็นแต่ละกลุ่ม
    – ช่อดอกเป็นรูปทรงกระบอก
    – ดอกย่อยมีขนาดเล็กจำนวนมาก
    – อยู่ในกลุ่มเดียวกัน มีเนื้อนิ่ม
    – ดอกเป็นสีม่วงดำ
    – มีกาบใบหุ้มช่อดอก 1 ใบ เป็นสีเขียว มีความยาว 11-16 เซนติเมตร
    – ดอกมีเกสรเพศผู้จำนวนมาก
  • ผล [1]
    – ผล จะอยู่ข้างในดอก
    – ผล เป็นสีแดง

ข้อควรระวังในการใช้โหราน้ำเต้า

– สมุนไพรชนิดนี้มีพิษ ผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอหรือสตรีมีครรภ์ห้ามรับประทานสมุนไพรชนิดนี้เด็ดขาด[1]
– สำหรับผู้ที่ได้รับพิษจะมีอาการลิ้นชา เวียนศีรษะ เจ็บคอ หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ ต้องรีบพาไปพบแพทย์หรือนำส่งโรงพยาบาลทันที[1]

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

– พบสาร Alkalod (ที่ออกฤทธิ์เหมือนกับ Conine), Amino acid, Benzoic acid, Saponina, Treterpenoid และยังพบแป้งอีก ส่วนผล Coniine เป็นต้น[1]
– เมื่อนำน้ำที่ต้มจากหัวมาให้แมวหรือสุนัขทดลองกิน พบว่า จะทำให้สัตว์ทดลองมีอาการอาเจียนและเกิดการกระตุ้นหลอดลมให้ขับเสมหะออกมามากขึ้น[1]
– เมื่อนำน้ำที่ต้มจากหัวมาให้หนูทดลองกิน พบว่าจะมีฤทธิ์แก้ปวดในหนูทดลอง และยังสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งในหนูที่มีเนื้องอกได้อีกด้วย[1]

สรรพคุณของโหราน้ำเต้า

  • หัว สามารถใช้เป็นยาแก้ลมบ้าหมูได้[1]
  • หัว สามารถใช้แก้อาการตกใจง่ายชักกระตุกได้[1]
  • หัว สามารถใช้เป็นยาแก้ไข้สูงลมชักของเด็กได้[1]
  • หัว สามารถใช้เป็นยาขับลมได้[1]
  • หัว ช่วยแก้บาดทะยัก[1]
  • หัว สามารถนำมาใช้แก้ตาและปากเบี้ยวที่ใบหน้าหรือใบหน้ามีอาการชาได้[1]
  • หัว ช่วยกระจายและละลายการอุดตันของเสมหะในลำคอ แก้คอตีบ[1]
  • หัว ช่วยแก้อัมพาตจากเสมหะติดหลอดลมทางเดินหายใจ ทำให้มีอาการวิงเวียน[1]
  • หัว มีรสขมเผ็ด มีพิษ เป็นยาร้อน ออกฤทธิ์ต่อปอด ตับ และม้าม สามารถใช้เป็นยาสงบประสาทได้[1]
  • หัว สามารถนำมาใช้เป็นยารักษาพิษฝีหนองปวดบวม แก้พิษงู แมลงสัตว์กัดต่อย แก้อาการฟกช้ำบวม และฆ่าแมลงวันได้[1]

ขนาดและวิธีใช้[1]

  • ให้ใช้เฉพาะยาแห้งที่ผ่านกรรมวิธีการกำจัดพิษแล้วเท่านั้น
  • ให้ใช้เพียงครั้งละ 2-5 กรัม
  • นำมาต้มกับน้ำรับประทาน หรือใช้เข้ากับตำรายาอื่น
  • การนำมาใช้ภายนอกให้นำมาบดเป็นผงใช้โรยแผลตามที่ต้องการ

กรรมวิธีการกำจัดพิษ[1]

  • นำหัวมาล้างให้สะอาด
  • นำไปแช่ในน้ำประมาณ 1 สัปดาห์ หรือจนกว่าน้ำที่แช่จะมีฟองขึ้นมา
  • ให้เปลี่ยนน้ำวันละ 1-2 ครั้ง
  • หลังจากนั้นให้นำมาแช่กับน้ำสารส้ม ในอัตราส่วนหัว 50 กิโลกรัม ต่อสารส้ม 1 กิโลกรัม
  • แช่นาน 1 เดือน หรือแช่จนกว่าหัวโหราจะไม่มีรสเผ็ดเมา
  • นำมาแช่กับสารส้มและขิงอีกรอบหนึ่ง ในอัตราส่วนหัว 50 กิโลกรัม ต่อสารส้ม 6.5 กิโลกรัม ต่อขิง 12.5 กิโลกรัม
  • ให้แช่นานประมาณ 2-3 สัปดาห์
  • นำหัวมาต้มให้สุก
  • แล้วนำไปผึ่งให้แห้งหรืออบแห้ง
  • จากนั้นให้นำหัวมาหั่นเป็นชิ้น ๆ แล้วเก็บไว้ใช้เป็นยาต่อไป

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. (วิทยา บุญวรพัฒน์). “โหราน้ำเต้า”. หน้า 636.

อ้างอิงรูปจาก
1.https://www.phakhaolao.la/
2.https://www.gardenia.net/
3.https://plants.ces.ncsu.edu/