ต้นสังวาลย์พระอินทร์ สรรพคุณช่วยแก้อาการไอเป็นเลือด

0
ต้นสังวาลย์พระอินทร์ สรรพคุณช่วยแก้อาการไอเป็นเลือด ไม้เถาเลื้อยกึ่งกาฝาก ยอดอ่อนของเถามีขนสีเหลืองนุ่ม ใบเล็กมาก ดอกเป็นช่อสีขาว ผลมีสีเขียวและมีขนาดที่เล็กมาก เนื้อนิ่ม
สังวาลย์พระอินทร์
ไม้เถาเลื้อยกึ่งกาฝาก ยอดอ่อนของเถามีขนสีเหลืองนุ่ม ใบเล็กมาก ดอกเป็นช่อสีขาว ผลมีสีเขียวและมีขนาดที่เล็กมาก เนื้อนิ่ม

สังวาลย์พระอินทร์

ชื่อสามัญ Love Vine [1] ชื่อวิทยาศาสตร์ Cassytha filiformis L. จัดอยู่ในวงศ์ วงศ์อบเชย (LAURACEAE)[2],[3] ชื่ออื่น ๆ บ่อเอี่ยงติ้ง (ภาษาจีนแต้จิ๋ว), อู๋เกินเถิง อู๋เย่เถิง (ภาษาจีนกลาง), เซาะเบียง (ภาษาเขมร), ช้องนางคลี่ (ในภาคใต้), เขืองคำโคก (จังหวัดเลย), สังวาลย์พระอินทร์ (จังหวัดนครราชสีมา), ผักปลัว (จังหวัดประจวบคีรีขันธ์), ต้นตายปลายเป็น รังนกกระสา (จังหวัดจันทบุรี), เขียงคำ เขียวคำ (จังหวัดอุบลราชธานี), รังกาสา, วัวพันหลัก, เครือเขาคำ เป็นต้น[1],[2],[3]

ลักษณะของต้นสังวาลย์พระอินทร์

  • ต้น
    – จัดให้เป็นพันธุ์ไม้ประเภทเถาเลื้อยกึ่งกาฝาก ขึ้นได้ในดินทุกชนิด ชอบความชื้นบ้าง[1],[2]
    – ลักษณะคล้ายกับต้นฝอยทอง ลำต้นจะเป็นเถาเลื้อยพาดพันกับต้นไม้ชนิดอื่น ๆ
    – ลักษณะของลำต้นหรือลำเถามีลักษณะรูปร่างเป็นเส้นกลมยาว มีขนาดไม่ใหญ่มากนัก มีสีเป็นสีเขียว สีเขียวออกเทา หรือเขียวอมเหลือง
    – บริเวณยอดอ่อนของเถามีขนสีเหลืองนุ่มขึ้นปกคลุมอยู่ และบริเวณตรงกลางหรือโคนของลำเถาจะไม่มีขนขึ้นปกคลุมหรืออาจมีขนขึ้นปกคลุมบ้างเล็กน้อยเป็นประปราย
    – ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด
  • ใบ
    – ใบมีลักษณะรูปร่างเป็นเกล็ดรูปสามเหลี่ยม[1],[2]
    – ใบมีขนาดใบที่เล็กมาก หรือแทบจะไม่มีใบเลย
  • ดอก
    – ออกดอกในลักษณะที่เป็นช่อ
    – ก้านช่อดอกมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 2-5 เซนติเมตร
    – ในหนึ่งช่อดอกจะมีดอกย่อยอยู่ 6 ดอก โดยดอกย่อยจะไม่มีก้านดอก ดอกมีขนาดเล็กเป็นสีขาว มีกลีบดอก 6 กลีบ และกลีบดอกมีรูปร่างกลมมนเป็นรูปไข่
    – ซึ่งกลีบดอกจะแบ่งออกเป็น 2 ชั้น ชั้นนอกของดอกมีกลีบอยู่ 3 กลีบ ส่วนชั้นในดอกมีกลีบอยู่ 3 กลีบ และกลีบดอกชั้นในจะมีขนาดที่ใหญ่กว่าชั้นนอก โดยมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 2 มิลลิเมตร
    – ส่วนกลีบเลี้ยงดอกมีสีเป็นสีเขียวและมีขนาดที่เล็ก
    – ดอกมีเกสรเพศผู้อยู่ 9 อัน และมีเกสรเพศเมียอยู่ 1 อัน โดยจะออกเกสรเรียงตามชั้นของขอบกลีบดอก[1],[2]
  • ผล
    – ผลจะพบได้ที่บริเวณใกล้กับดอก
    – ผลมีสีเขียวและมีขนาดที่เล็กมาก โดยจะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางอยู่ที่ประมาณ 7 มิลลิเมตร (หรือขนาดเท่าเมล็ดถั่วเขียว)
    – ลักษณะรูปร่างของผลจะเป็นรูปทรงกลม ภายในผลจะมีเนื้อนิ่ม ๆ อยู่ภายใน
    – ผลมีเมล็ดรูปทรงกลมอยู่ 1 เมล็ด[1],[2]

สรรพคุณของต้นสังวาลย์พระอินทร์

1. ต้นนำมาใช้ทำเป็นยารักษาไข้หวัด และบรรเทาอาการตัวร้อน (ต้น)[1],[2]
2. ต้นมีฤทธิ์ต่อตับและไต โดยจะมีสรรพคุณเป็นยาขับความชื้นในร่างกาย แก้พิษในเลือด และทำให้เลือดเย็น (ต้น)[1],[2]
3. นำต้นสด เหล้า และเนื้อในหมู ในปริมาณอย่างละเท่า ๆ กันมาตุ๋นทำเป็นยา ใช้สำหรับรับประทานเป็นยาแก้เลือดกำเดาไหล หากมีอาการเลือดกำเดาออกบ่อย ๆ (ต้น)[1],[2]
4. ต้นมีสรรพคุณเป็นยาในการช่วยแก้อาการไอเป็นเลือด และไอร้อนในปอดได้ (ต้น)[1],[2]
5. ใช้ต้นสดในปริมาณประมาณ 15-30 กรัม นำมาตุ๋นกับเต้าหู้ 2 ชิ้น ทานเป็นยาสำหรับใช้แก้เด็กเป็นดีซ่าน (ต้น)[1]
6. ใช้ต้นสดในปริมาณ 30 กรัม นำมาต้มกับน้ำใช้สำหรับดื่ม โดยจะมีสรรพคุณในการช่วยแก้บิดมูก (ต้น)[1]
7. ตำรับยาการรักษานิ่วในทางเดินปัสสาวะ ระบุไว้ว่า ใช้ต้นสดปริมาณ 60 กรัม, ต้นบักทงปริมาณ 12 กรัม, ต้นเต็งซิมเช่าปริมาณ 12 กรัม และเปลือกรากเกากี่ไฉ่ปริมาณ 12 กรัม นำมาต้มกับน้ำใช้ดื่ม โดยจะออกฤทธิ์เป็นยาขับปัสสาวะ แก้นิ่วในทางเดินปัสสาวะ รักษาโรคติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ รักษาอาการทางเดินปัสสาวะอักเสบ (ต้น)[1],[2]
8. ใช้ต้นสด ต้นหญ้าไผ่หยอง และสมุนไพรฉั่งกีอึ๊ง ในปริมาณอย่างละ 30 กรัม นำมาต้มกับน้ำใช้สำหรับดื่มเป็นยาแก้ไตอักเสบเรื้อรัง (ต้น)[1]
9. ใช้ต้นสดในปริมาณ 120 กรัม นำมาต้มกับน้ำตาลทรายแดงทานเป็นยา แก้อาการตกเลือด (ต้น)[1]
10. ต้นสดนำมาตำและใช้พอกรักษาแผลหกล้มที่มีอาการเลือดออกได้ (ต้น)[1]
11. ต้นสดนำมาต้มเอาแต่น้ำมาใช้ชะล้างร่างกายในบริเวณที่มีโรค หากเป็นโรคผิวหนังผดผื่นคัน และสูตรยาสมุนไพรนี้ยังสามารถนำมาใช้แก้ฝีหนองอักเสบได้อีกด้วย (ต้น)[1],[2]
12. ต้นสดนำมาผิงไฟให้แห้ง จากนั้นนำมาบดให้เป็นผงแล้วนำไปผสมกับน้ำมันพืชใช้สำหรับทาในบริเวณที่มีอาการ จะมีฤทธิ์ในการรักษาแผลไฟไหม้ และแผลจากการโดนน้ำร้อนลวกได้ (ต้น)[1]
13. ต้นสดนำมาต้มเอาแต่น้ำใช้สำหรับชะล้างรักษาแผลเน่าเปื่อยเรื้อรังได้ (ต้น)[1]

ขนาดและวิธีใช้

1. ยาใช้ภายนอก ให้ใช้ต้นสด ๆ มาตำจากนั้นนำมาพอกบริเวณที่เป็นแผลหรือจะต้มเอาแต่น้ำมาล้างแผลก็สามารถทำได้เช่นกัน[2]
2. ยาแห้งนำมาใช้ครั้งละ 10-15 กรัม โดยให้นำมาต้มกับน้ำใช้สำหรับดื่ม
3. ยาสดนำมาใช้ครั้งละ 30-60 กรัม โดยให้นำมาตำจากนั้นนำมาคั้นเอาแต่น้ำหรือจะมานำต้มกับน้ำใช้สำหรับดื่มก็ได้เช่นกัน

ข้อควรระวังในการใช้

1. เนื่องจากสมุนไพรนี้มีความเป็นพิษอยู่ จึงไม่ควรนำมาใช้ในปริมาณที่มากจนเกินไป ควรใช้ในปริมาณที่พอเหมาะ เพราะจะส่งผลทำให้เกิดอาการชักได้[2]
2. สตรีที่มีครรภ์ห้ามรับประทานสมุนไพรชนิดนี้โดยเด็ดขาด เพราะจะทำให้แท้งบุตรได้[1],[2]
3. หากขึ้นพาดพันกับต้นไม้ชนิดที่มีพิษ ตัวอย่างเช่น ยี่โถ ลำโพง ฯลฯ จึงไม่ควรนำมาใช้ปรุงเป็นยาอย่างยิ่ง เพราะอาจจะทำให้เกิดผลข้างเคียงที่อันตรายต่อร่างกายได้[1]

ประโยชน์ของต้นสังวาลย์พระอินทร์

  • นำทั้งต้นมาตำผสมกับน้ำปูนใสสำหรับให้สัตว์จำพวกโคและกระบือกิน โดยทั้งต้นนี้มีสรรพคุณเป็นยาถ่ายพยาธิสำหรับโคและกระบือได้[3]

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

1. สารอัลคาลอยด์ที่สกัด จากผลการทดลองถ้านำมาใช้ในปริมาณมาก ๆ จะทำให้สัตว์ทดลองมีอาการชักจนถึงตายได้ แต่ถ้าใช้ในปริมาณน้อย ๆ จะทำให้กล้ามเนื้อของสัตว์ทดลองมีอาการเส้นเอ็นเป็นตะคริว[1],[2],[3]
2. ทั้งต้นจะพบสารอัลคาลอยด์ได้หลากหลายชนิด ได้แก่ cassiline, cassythidine, cassyfilline (cassythine), dulcitol, galactitol, laurotetanine, launobine, tannins เป็นต้น[1],[2]

3. สารสกัดจากต้น มีฤทธิ์ในกดประสาทส่วนกลาง กดการหายใจ นำมาเป็นยาขับปัสสาวะ ยาลดไข้ และลดความดันโลหิต[3]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5.  (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม).  “สังวาลพระอินทร์”.  หน้า 771-772.
2. หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย.  (วิทยา บุญวรพัฒน์).  “สังวาลพระอินทร์”.  หน้า 548.
3. อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.  “สังวาลพระอินทร์”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : www.pharmacy.mahidol.ac.th/siri/.  [11 ต.ค. 2014].
อ้างอิงรูปจาก
1.https://www.flickr.com/
2.https://alchetron.com/

ต้นฉัตรทอง ดอกใช้รักษาอาการตกขาวในสตรี

0
ต้นฉัตรทอง ดอกใช้รักษาอาการตกขาวในสตรี ไม้พุ่มขนาดเล็ก แผ่นใบเป็นแฉกเหมือนรูปดาว ดอกเดี่ยวรูปถ้วย สีชมพู สีแดง และสีขาว เกสรกลางดอกมีสีเหลือง ผลกลมและแบน
ต้นฉัตรทอง
ไม้พุ่มขนาดเล็ก แผ่นใบเป็นแฉกเหมือนรูปดาว ดอกเดี่ยวรูปถ้วย สีชมพู สีแดง และสีขาว เกสรกลางดอกมีสีเหลือง ผลกลมและแบน

ฉัตรทอง

ชื่อวิทยาศาสตร์ Alcea rosea L. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Althaea rosea (L.) Cav.) จัดอยู่ในวงศ์ชบา (MALVACEAE) ชื่อสามัญ Hollyhock ชื่อท้องถิ่นอื่นๆ (จีนกลาง) ซูขุย (จน-แต้จิ๋ว) จวกขุ่ยฮวย

ลักษณะของต้นฉัตรทอง

  • ต้น เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก มีลำต้นตั้งตรงและมีความสูงของต้นโดยประมาณ 2.5 เมตร ลำต้นมีสีเขียวและตามลำต้นมีขนอ่อนขึ้นปกคลุมอยู่ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุย จัดเป็นไม้กลางแจ้งที่ชอบแสงแดดจัดตลอดทั้งวัน
  • ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกสลับกันไปตามลำต้น แผ่นใบมีสีเขียว ลักษณะของแผ่นใบเป็นแฉกเหมือนรูปดาว ใบหนึ่งจะมีแฉกโดยประมาณ 3-7 แฉก แต่โคนใบจะมีลักษณะเว้าเป็นรูปหัวใจ ส่วนขอบใบหยัก ขนาดกว้างโดยประมาณ 5-10 เซนติเมตรและยาวโดยประมาณ 6-10 เซนติเมตร ก้านใบมีลักษณะกลมยาวมีสีเขียว มีความยาวโดยประมาณ 4-8 เซนติเมตร
  • ดอก ออกดอกเดี่ยวตามง่ามใบ ลักษณะของดอกเป็นรูปถ้วย ดอกมีกลีบดอก 5 กลีบเรียงซ้อนกัน กลีบดอกเป็นรูปสามเหลี่ยม กลีบดอกมีสีชมพู สีแดง และสีขาว โคนกลีบดอกเชื่อมเข้าหากันเป็นหลอด ส่วนปลายดอกบานออก ส่วนเกสรกลางดอกมีสีเหลือง ดอกมีกลีบเลี้ยงสีเขียวลักษณะเป็นรูปถ้วยเช่นกัน โคนกลีบเลี้ยงเชื่อมติดกัน แต่ส่วนปลายกลีบนั้นจะแยกออกเป็นกลีบ 5 กลีบ (บ้างว่ามีกลีบเลี้ยงโดยประมาณ 7-8 กลีบ) มีก้านดอกยาวโดยประมาณ 2.5 เซนติเมตร
  • ผล ลักษณะเป็นรูปทรงกลมและแบน ผลเมื่อโตจะมีจะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางโดยประมาณ 3 เซนติเมตร ภายในผลมีเมล็ดอยู่เป็นจำนวนมาก ลักษณะของเมล็ดเป็นรูปไต ผิวของเมล็ดมีรอยเส้นขวาง

สรรพคุณของฉัตรทอง

1. ทำให้ชุ่มชื่น (ดอก)
2. เพิ่มการไหลเวียนของโลหิตให้ดีขึ้น (ดอก)
3. รากและดอกใช้เป็นยาจับพิษร้อนในร่างกาย ทำให้เลือดเย็น (ราก ดอก)
4. รากและเมล็ดเป็นยาบำรุงธาตุในร่างกาย (ราก เมล็ด)
5. ช่วยแก้โลหิตกำเดา (ราก ดอก)
6. รักษาอาการอาเจียนเป็นเลือดหรือตกเลือด ด้วยการนำรากสดโดยประมาณ 30 กรัมนำมาต้มกับน้ำสะอาดรับประทาน หรือจะใช้รากสดโดยประมาณ 60 กรัม นำมาคั้นเอาแต่น้ำผสมกับเหล้ารับประทานเป็นยาก็ได้ หรือหากมีอาการตกเลือดก็สามารถใช้ดอกต้มรับประทานเป็นยาได้เช่นกัน (ดอก ราก)
7. แก้อาการไอเป็นเลือด (ราก ดอก)
8. รากสามารถนำมาใช้เป็นยารักษาและป้องกันโรคเยื่อจมูกอักเสบหรือเยื่อภายในร่างกายอักเสบได้ (ราก)
9. หากมีไข้หรือเป็นไข้จับสั่น ก็ให้ใช้ดอกสดที่ผึ่งแห้งแล้ว นำมาบดเป็นผงผสมกับน้ำสะอาดรับประทานเป็นยาแก้ไข้ ส่วนรากและเมล็ดในตำราได้ระบุไว้ว่ามีสรรพคุณเป็นยาแก้ไข้ ลดไข้เช่นเดียวกับดอก (ดอก ราก เมล็ด)
10. ช่วยรักษาโรคหัด ด้วยการใช้ดอกที่บานเต็มที่แล้ว (สดหรือแห้งก็ได้) นำมาต้มกินหรือบดเป็นผงกิน (ดอก)
11. เมล็ดใช้เป็นยาช่วยหล่อลื่นลำไส้ ด้วยการใช้เมล็ดจากผลแก่ที่ตากแห้งแล้ว นำมาต้มรับประทานหรือบดเป็นผงรับประทาน ส่วนดอกตามตำราก็ระบุว่ามีสรรพคุณช่วยหล่อลื่นเช่นกัน (เมล็ด ดอก)
12. แก้บิด ขับถ่ายเป็นเลือด ให้ใช้ยอดอ่อนนำมาต้มกับน้ำสะอาดรับประทาน แต่ต้องนำมาปิ้งกับไฟให้พอเหลืองเสียก่อน และให้ใช้โดยประมาณ 6-18 กรัม หรือจะใช้ดอกนำมาต้มรับประทานก็ได้ (ยอดอ่อน ดอก)
13. รักษาโรคหลอดลมอักเสบ (ราก ดอก)
14. รักษาเด็กที่ปากเป็นแผลอักเสบ ด้วยการใช้ยอดอ่อนผสมกับน้ำผึ้ง นำมาทาเช้าเย็น โดยการนำไปปิ้งกับไฟให้แห้งแล้วให้เป็นผงเสียก่อน (ยอดอ่อน)
15. ถ้ามีอาการท้องผูก ให้ใช้ดอกสดโดยประมาณ 30 กรัม นำมาผสมกับชะมดเชียง 1.5 กรัม กับน้ำสะอาดครึ่งแก้วใช้ต้มรับประทาน บ้างก็ว่าให้ใช้รากสดๆ ผสมกับเมล็ดของตังเกี้ยงไฉ่ (อย่างละ 30 กรัม) นำมาต้มกับน้ำสะอาดรับประทาน ส่วนเมล็ดก็แก้ท้องผูกเช่นกัน โดยนำมาเมล็ดมาต้มรับประทานหรือบดเป็นผงรับประทาน แต่จะต้องใช้เมล็ดจากผลแก่ที่ตากแห้งแล้ว (ดอก เมล็ด ราก)
16. รากและดอกใช้แก้ทางเดินปัสสาวะติดเชื้อ ปัสสาวะแสบร้อน (ราก ดอก)
17. รักษาโรคนิ่วในทางเดินปัสสาวะ ด้วยการนำเมล็ดแก่ที่ตากแห้งแล้วนำมาบดเป็นผง ใช้ผสมกับน้ำอุ่นรับประทานวันละ 2 ครั้ง โดยใช้รับประทานครั้งละ 6 กรัม (ตำรับนี้สามารถใช้แก้ปัสสาวะขัดและอุจจาระขัดได้ด้วย) ส่วนเด็กที่มีอาการท้องผูกก็รับประทานได้ แต่ต้องใช้โดยประมาณ 3-10 กรัม (เมล็ด)
18. รักษาแผลในลำไส้ ด้วยการใช้รากแห้งประมาณ 3 กรัม นำมาต้มกับน้ำใช้รับประทานเป็นยา (ราก)
19. แก้ลำไส้อักเสบ รักษาฝีในลำไส้ หรือฝีในท้อง ด้วยการใช้ราก 20 กรัม โกฐน้ำเต้า 6 กรัม นำมาต้มกับน้ำสะอาดรับประทาน แต่หากมีอาการเลือดออกด้วยก็ให้เพิ่มโกฐสอ 20 กรัม แปะเจียก 20 กรัม และสารส้มสตุ 19 กรัม ต้มกับน้ำสะอาดเป็นยารับประทาน หรือจะนำมารวมกันแล้วบดให้เป็นผง ทำเป็นยาเม็ดลูกกลอนรับประทานก็ได้เช่นกัน (ราก)
20. รากใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะขัดและอุจจาระติดขัด (เข้าใจว่าใช้รากสดโดยประมาณ 30-60 กรัม) หรือจะใช้ดอกสดโดยประมาณ 35 กรัม นำมาต้มกับน้ำครึ่งแก้วแล้วใส่ชะมดเชียง 2 กรัม เป็นยารับประทาน ส่วนเมล็ดก็มีสรรพคุณขับปัสสาวะเช่นกัน แต่ต้องเป็นเมล็ดจากผลแก่ที่ตากแห้งแล้วนำมาต้มหรือบดเป็นผงรับประทาน (ดอก เมล็ด ราก)
21. รักษาปากมดลูกอักเสบ (ราก ดอก)
22. รักษาโรคหนองใน ด้วยการใช้ยอดอ่อนหรือใบนำมาต้มกับน้ำสะอาดกินเป็นยา จะใช้ใบสดหรือใบแห้งก็ได้ หรือจะนำมาเผาให้เป็นเถ้าแล้วนำมาบดเป็นผงกินก็ได้เช่นกัน โดยจะใช้อยู่ที่โดยประมาณ 6-20 กรัม หรือจะใช้รากสดโดยประมาณ 30-60 กรัม นำมาต้มกับน้ำกิน หรือทำเป็นเม็ด หรือบดเป็นผงกินก็ได้ ส่วนเมล็ดก็สามารถนำมาทำเป็นยาแก้โรคหนองในได้เช่นกัน (ใบ เมล็ด ราก)
23. แก้อาการปัสสาวะมากผิดปกติ ใช้รากสดนำมาล้างให้สะอาด แล้วทุบให้แตกใส่น้ำสะอาดต้มให้เดือดจนเข้มข้น แล้วรินน้ำรับประทาน (ราก)
24. หากปัสสาวะเป็นเลือด ให้ใช้เถาจากยอดอ่อนของต้น นำมาผสมกับเหล้าใช้รับประทานวันละ 2 ครั้ง แต่ต้องรับประทานทีละน้อยๆ หรือจะใช้รากสดนำมาต้มกับน้ำสะอาดดื่มก็ได้ ส่วนดอกและเมล็ดตามตำราก็ระบุว่าแก้ปัสสาวะเป็นเลือดได้เช่นกัน (เถาจากยอดอ่อน ดอก เมล็ด ราก)
25. หากสตรีมีอาการตกขาว นำดอกสดโดยประมาณ 150 กรัม นำมาผึ่งให้แห้งในที่ร่ม แล้วนำไปบดเป็นผงผสมกับน้ำผึ้งทาน แต่ก่อนรับประทานจะต้องดื่มเหล้าก่อน 1 ถ้วยชา หรือจะใช้รากสดๆ โดยประมาณ 30-60 กรัม นำมาต้มกับน้ำสะอาดกินก็ได้เช่นกัน (ดอก ราก) ส่วนอีกวิธีให้ใช้ราก 35 กรัมและดอกอีก 10 กรัม นำมาตุ๋นกับเนื้อหมูรับประทาน ก็สามารถใช้แก้มุตกิดระดูขาวได้เช่นกัน (ราก ดอก)
26. รักษาแผลบวมอักเสบ ให้ใช้รากสดนำมาตำแล้วพอก หรือถ้าเป็นแผลบวมจะใช้ดอกมาตำหรือบดให้เป็นผงใช้พอกหรือทาบริเวณที่เป็นแผลก็ได้ (ดอก ราก)
27. รากและเมล็ดใช้ตำพอกรักษาแผลเรื้อรังได้ (ราก เมล็ด)
28. รักษาอาการบวมน้ำ ด้วยการนำเมล็ดแก่ที่ตากแห้งแล้วนำมาบดเป็นผง ใช้ผสมกับน้ำอุ่นรับประทานวันละ 2 ครั้ง ใช้รับประทานครั้งละ 6 กรัม ส่วนเด็กที่มีอาการท้องผูกก็รับประทานได้ แต่ต้องใช้ประมาณ 3-10 กรัม (เมล็ด) ส่วนรากและดอกก็ช่วยแก้บวมน้ำได้เช่นกัน (ราก ดอก)
29. รักษาแผลไฟไหม้ แผลโดนน้ำร้อนลวก ด้วยการใช้ดอกสดที่ตำละเอียดแล้วนำมาผสมกับน้ำมันพืช ใช้เป็นยาพอกบริเวณนั้น (ดอก)
30. รักษาแผลหิด ด้วยการใช้เมล็ดจากผลแก่ที่ตากแห้งแล้ว นำมาต้มหรือบดเป็นผงรับประทาน (เมล็ด)
31. รากใช้เป็นยาดูดหนอง ด้วยการใช้รากสดๆ นำมาตำแล้วพอกบริเวณที่เป็น (ราก)
32. รากและเมล็ดช่วยในการคลอดบุตรของสตรี (ราก เมล็ด)
33. รักษาแผลฝีหนอง ใช้ยอดอ่อนหรือใบนำมาต้มกับน้ำสะอาดกินเป็นยา จะใช้ใบสดหรือใบแห้งก็ได้ หรือจะนำมาเผาให้เป็นเถ้าแล้วนำมาบดเป็นผงรับประทานก็ได้เช่นกัน โดยจะใช้โดยประมาณ 6-20 กรัม (ใบ) ส่วนรากและดอกก็ช่วยขับฝีหนอง (ราก ดอก)

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของฉัตรของ

1. ดอกมีสารสีแดงที่ใช้เป็นตัวบ่งบอกความเป็นกรดด่างได้
2. ในเมล็ด พบสาร Myrtillin-a, น้ำมันและน้ำมันหอมระเหย ในน้ำมัน 11.9% ประกอบไปด้วย Oleic acid 34.88%
3. ราก จะมีสารเมือกอยู่มาก หากต้นมีอายุ 1 ปี สารเมือกนี้จะประกอบไปด้วย Methylpentosans 10.59%, Mucus, Pentose 7.78%, Pentosans 6.68%, Uronic acid 20.04% โดยสารเมือกนี้จะใช้เป็นยาหล่อลื่น ยาช่วยลดอาการระคายเคือง และใช้เป็นยาพอกแก้ผิวหนังอักเสบ
4. ดอก จะมีผลึกเป็นสารสีเหลือง และมีจุดหลอมเหลวอยู่ที่ 261 องศาเซลเซียส ซึ่งสารนี้อาจเป็น Dibenzoyl carbinol จะเป็นสารผสมของ Kaempferol และดอกที่เป็นสีขาวจะแยกได้ Dihydrokaempferol

คำเตือน : สตรีมีครรภ์ห้ามรับประทานสมุนไพรชนิดนี้

ประโยชน์ของฉัตรทอง

1. ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับตามรั้วตามสวนทั่วไป
2. หากใบหน้ามีรอยเหี่ยวย่นหรือเป็นฝ้า ก็ให้ใช้ดอกสดนำมาบดให้ละเอียดผสมกับรังผึ้งสด ใช้ทาหน้าก่อนนอนทุกคืน

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1 หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. “ฉัตรทอง”. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). หน้า 233-236.
2 หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. “ฉัตรทอง”. (วิทยา บุญวรพัฒน์). หน้า 190.

อ้างอิงรูปจาก
1.https://botany.cz/
2.https://www.plantopedia.com/

ต้นเจตมูลเพลิงขาว รากช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย

0
เจตมูลเพลิงขาว
ต้นเจตมูลเพลิงขาว รากช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย เป็นไม้พุ่มหรือไม้ล้มลุกขนาดเล็ก ออกดอกเป็นช่อ ดอกมีสีขาว ผลมีสีเขียวและมีขนเหนียวรอบผล
เจตมูลเพลิงขาว
ไม้พุ่มหรือไม้ล้มลุกขนาดเล็ก ออกดอกเป็นช่อ ดอกมีสีขาว เกสรเพศผู้สีม่วงน้ำเงิน ผลมีสีเขียวและมีขนเหนียวรอบผล

เจตมูลเพลิงขาว

ชื่อวิทยาศาสตร์ Plumbago zeylanica L. จัดอยู่ในวงศ์ PLUMBAGINACEAE เช่นเดียวกับเจตมูลเพลิงแดง
ชื่อสามัญ Ceylon leadwort, White leadwort ชื่อท้องถิ่นอื่นๆ ปิ๋ด ปี๋ ปี่ปีขาว ขาว (ภาคเหนือ) ปิดปิวขาว (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่) ตอชู ( กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ตอชูวา ตั้งชู้อ้วย (ม้ง) โก้นหลัวะ (ไทลื้อ) หนวดแมว (แต้จิ๋ว) แปะฮวยตัง (จีนกลาง) ไป๋ฮวาตัน ไป๋เสี่ยฮวา ป๋ายฮัวตาน

ลักษณะของเจตมูลเพลิงขาว

  • ต้น มีการกระจายพันธุ์กว้างในเขตร้อน ในประเทศไทยส่วนใหญ่จะพบได้มากทางภาคเหนือ ภาคตะวันออก และทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ โดยเป็นไม้พุ่มหรือไม้ล้มลุกขนาดเล็ก มีอายุได้หลายปี แตกกิ่งก้านมากกิ่งก้านมักทอดยาว ลำต้นตั้งตรงหรือพาดพันบนต้นไม้อื่น ส่วนกิ่งเอนลู่ลง ต้นมีความสูงได้โดยประมาณ 1-2 เมตร บ้างว่าสูงได้โดยประมาณ 2-3 เมตร ลำต้นมีสีเขียวเข้ม กิ่งอ่อนเป็นสีเขียวเป็นร่องเหลี่ยม ผิวเรียบ ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด โดยเป็นไม้ในที่ร่มรำไร ชอบความชื้นและที่แฉะ มักพบขึ้นตามป่าที่ราบ ป่าโปร่ง ป่าดิบแล้ง ป่าดงดิบทั่วไป
  • ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับตามข้อ ลักษณะของใบเป็นรูปหอก รูปกลมรี รูปไข่แกมขอบขนาน หรือรูปขอบขนาน ปลายใบจะแหลม ตอนปลายเป็นติ่ง โคนใบเว้าหรือเป็นรูปลิ่มหรือมน ส่วนขอบใบเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบมีขนาดกว้างโดยประมาณ 3.8-5 เซนติเมตรและยาวโดยประมาณ 5-10 เซนติเมตร แผ่นใบบางและมีสีเขียวอ่อน
  • ดอก ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง โดยช่อดอกเป็นแบบช่อกระจะเชิงลด ดอกย่อยมีหลายดอก แกนกลางและก้านช่อดอกจะมีต่อมไร้ก้าน (ส่วนเจตมูลเพลิงแดงจะไม่มี) ก้านมียางเหนียว กลีบดอกมีสีขาว โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดเล็กๆ ยาวโดยประมาณ 1.5-2.5 เซนติเมตร ปลายแยกเป็นแฉก 5 แฉก กลีบดอกมีลักษณะเป็นรูปไข่กลับ รูปหอก หรือรูปขอบขนานแกมรูปใบหอก ยาวโดยประมาณ 0.7 เซนติเมตร ปลายกลีบดอกแหลมหรือเป็นติ่ง ดอกมีเกสรเพศผู้สีม่วงน้ำเงิน ยาวโดยประมาณ 0.2 เซนติเมตร จำนวน 5 อัน และมีรังไข่ลักษณะเป็นรูปรี เป็น 5 เหลี่ยม ส่วนก้านเกสรเพศเมียเกลี้ยง ส่วนกลีบเลี้ยงดอกมี 5 กลีบ มีลักษณะเป็นหลอดเล็กยาวโดยประมาณ 0.6-1.2 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงดอกมีสีเขียวมีต่อมน้ำยางเหนียวติดมือได้ ช่อดอกยาวได้โดยประมาณ 5-25 เซนติเมตร ส่วนก้านช่อดอกยาวโดยประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร ใบประดับมีลักษณะเป็นรูปไข่ ยาวโดยประมาณ 0.4-0.8 เซนติเมตร ส่วนใบประดับย่อยมีลักษณะเป็นรูปแถบ ยาวโดยประมาณ 0.2 เซนติเมตร และมีต่อมอยู่หนาแน่น
  • ผล ผลเป็นแบบแคปซูลแห้ง ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลมรี ยาว กลม หรือเป็นรูปขอบขนาน ผลมีสีเขียวและมีขนเหนียวรอบผล แตกได้เป็น 5 ปาก มีร่องตามยาว

สรรพคุณของเจตมูลเพลิงขาว

1. ช่วยทำให้เจริญอาหาร (ราก)
2. รากใช้เข้ายาบำรุงโลหิต (ราก)
3. ราก ลำต้น ใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาบำรุงร่างกาย (ราก ลำต้น)
4. รากใช้เข้ายาช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย (ราก)
5. ช่วยขับโลหิตที่เป็นพิษ (ราก)
6. ดอกใช้เป็นยาแก้โรคตา (ดอก)
7. ดอกมีรสร้อน ใช้แก้โรคหนาวเย็น (ดอก)
8. ช่วยกระจายเลือดลม ช่วยลดการอุดตันในเส้นเลือด (ราก ทั้งต้น)
9. ใบมีรสร้อน แก้ลมและเสมหะ แก้ลมในกองเสมหะ (ใบ)
10. ช่วยขับโลหิตที่เป็นพิษ (ราก)
11. ราก ลำต้น ใช้ต้มกับน้ำสะอาดดื่มช่วยทำให้อาเจียน (ราก ลำต้น)
12. ราก ลำต้น ใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ไอ (ราก ลำต้น)
13. ราก ลำต้น ใช้ต้มกับน้ำสะอาดดื่มเป็นยาแก้ไข้มาลาเรีย (ราก ลำต้น) หรือจะใช้ใบเป็นยาแก้โรคมาลาเรียก็ได้เช่นกัน โดยใช้ใบสดประมาณ 8-9 ใบ นำมาตำให้ละเอียด ใช้พอกตรงข้อมือทั้งสองข้างตรงบริเวณชีพจร โดยให้พอกก่อนที่จะเกิดอาการสักโดยประมาณ 2 ชั่วโมง และให้พอกไปจนกระทั่งบริเวณที่พอกนั้นเย็น แล้วค่อยเอาออก (ใบ) ส่วนชาวม้งจะนำมาใบทุบแล้วหมกไฟให้ร้อน แล้วนำไปห่อด้วยผ้า ใช้ห่อมือห่อเท้าผู้ที่ป่วยเป็นไข้มาลาเรีย ด้วยเชื่อว่าจะช่วยลดไข้ได้ (ใบ)
14. ช่วยขับเหงื่อ (ราก)
15. ใบช่วยขับเสมหะ (ใบ)
16. แก้อาการปวดกระเพาะ แน่นจุกเสียดท้อง (ราก ทั้งต้น)
17. หากเต้านมอักเสบ ให้นำใบสดมาตำแล้วเอาผ้าก๊อซห่อ ใช้พอกบริเวณที่เป็นจนหาย (ใบ)
18. ช่วยแก้อาการหาวเรอ (ราก)
19. ใบมีรสร้อน ช่วยแก้ปอดบวม (ใบ)
20. รากและทั้งต้นมีรสเผ็ดฝาด ใช้เป็นยาเย็นร้อนเล็กน้อย มีพิษเล็กน้อย ออกฤทธิ์ต่อปอดและหัวใจ ใช้เป็นยาขับลม (ราก ทั้งต้น) ตำรายาไทยรากมีรสร้อน ใช้เข้ายาแก้ลมในตัว (ราก) ช่วยขับลมในอก (ราก)
21. ราก ลำต้น ใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาขับปัสสาวะ แก้นิ่ว รักษาโรคทางเดินปัสสาวะ (ราก ลำต้น)
22. ช่วยแก้อาการปวดท้อง ท้องเสีย (ราก ทั้งต้น)
23. ใบช่วยในการขับผายลม (ใบ) รากช่วยขับลมในกระเพาะอาหารและลำไส้ (ราก)
24. ช่วยในการย่อยอาหาร (ใบ ราก) บ้างว่าใช้ทั้งต้น
25. รากใช้เป็นยาขับพยาธิ (ราก)
26. ใบนำมาตำคั้นเอาแต่น้ำใช้ทาหรือพอกเป็นยารักษาแผลสด ห้ามเลือด (ใบ)
27. ราก ลำต้น ใช้ต้มกับน้ำดื่มจะช่วยทำให้คลอดบุตรได้ง่ายขึ้น (ราก ลำต้น)
28. ช่วยแก้ริดสีดวงทวาร (ดอก ราก)
29. ต้นหรือลำต้นมีรสร้อน ใช้เป็นยาขับประจำเดือนหรือขับระดูเสียให้ตกไป (ต้น ราก) แก้ประจำเดือนไม่เป็นปกติ ประจำเดือนไม่มา แก้อาการปวดท้องเวลามีประจำเดือน (ราก ทั้งต้น) ตำรายาสมุนไพรพื้นบ้านของจังหวัดอุบลราชธานีจะใช้รากเข้ายากับพริกไทย นำมาดองกับเหล้าดื่มเป็นยาขับประจำเดือน (แต่เจตมูลเพลิงแดงจะมีฤทธิ์แรงกว่า) ส่วนตำรายาจีนจะใช้ราก15 กรัม นำมาต้มกับเนื้อหมูรับประทานเป็นยาขับประจำเดือน (บ้างว่าใช้รากแห้ง 30 กรัมและเนื้อหมูแดง 60 กรัม) (ราก)
30. หากตับหรือม้ามโต ให้ใช้ทั้งต้น นำมาดองกับเหล้ารับประทานเช้าเย็น หรือจะนำต้นแห้งมาบดเป็นผง ผสมกับแป้งข้าวเหนียวทำให้เป็นยาลูกกลอนใช้รับประทานหลังอาหารครั้งละ 1 เมล็ด (ขนาดเม็ดละโดยประมาณ 3-3.5 กรัม) เช้าเย็นก็ได้ (ทั้งต้น) หรือจะใช้รากนำมาดองกับเหล้ารับประทาน จะช่วยแก้อาการม้ามบวมได้ แต่ถ้าอาการหนักก็ให้นำใบสดมาตำให้ละเอียดคลุกกับข้าวเหนียวปั้นเป็นเม็ดขนาดพอดี แล้วนำไปนึ่งให้สุก ใช้รับประทานก่อนนอนและตื่นนอนครั้งละ 1 เม็ด (ราก ใบ)
31. ช่วยแก้ฝีบวมอักเสบ (ราก ต้น ทั้งต้น) หรือจะใช้ผงรากปิดพอกฝีก็ได้ (ผงราก) หรือจะใช้ใบสดนำมาตำพอกแก้ฝีบวมก็เช่นกัน หรืออีกวิธีให้นำใบสดมาตำแล้วเอาผ้าก๊อซห่อ ใช้เป็นยาพอกแก้ฝีบวม ฝีคัณฑสูตร (ใบ)
32. ใบและรากนำมาตำใช้พอกบริเวณที่โดนตัวบุ้งที่ทำให้เกิดอาการคัน (ใบ ราก)
33. ช่วยแก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย (ราก ทั้งต้น)
34. ต้นสดใช้ตำพอกรักษาโรคผิวหนัง กลากเกลื้อน รากใช้เป็นยารักษาโรคผิวหนัง โรคผิวหนังบางชนิด กลากเกลื้อนและผื่นคัน (ต้น ทั้งต้น ราก) หรือจะใช้รากสดโดยประมาณ 1-2 ราก นำมาตำให้ละเอียด ผสมกับเหล้าบ้างก็น้ำสะอาดหรือน้ำมันพืชเล็กน้อย ใช้เป็นยาแก้กลากเกลื้อนก็ได้ แล้วนำส่วนที่ผสมนั้นไปพอกบริเวณที่เป็น (ราก) หรือจะใช้ผงรากนำมาทาแก้กลากเกลื้อนก็ได้เช่นกัน (ผงราก)
35. ใช้ใบสดและข้าวสวยอย่างละ 1 กำมือ ใส่เกลือเล็กน้อย นำมาตำเคล้ากันให้ละเอียด ใช้รักษาโรคผิวหนังหนาอันเนื่องมาจากการเสียดสีกันนาน ๆ โดยนำมาบริเวณที่เป็น (ใบ)
36. ราก ลำต้น ใช้ต้มกับน้ำสะอาดดื่มเป็นยาแก้ปวดหลัง (ราก ลำต้น)
37. ใช้แก้อาการฟกช้ำ ด้วยการใช้ต้นสดนำมาตำให้แหลกคั่วกับเหล้า แล้วนำมาพอกบริเวณที่มีอาการฟกช้ำ และถ้ารู้สึกแสบร้อนแล้วจึงค่อยเอายาที่พอกออก (ต้น ทั้งต้น ราก) หรือจะใช้ใบสดนำมาตำแล้วพอก หรือนำใบสดนำมาตำแล้วนำไปแช่ในเหล้าหรือผสมกับเหล้าเล็กน้อย ใช้พอกหรือทาบริเวณที่ฟกช้ำก็ได้เช่นกัน (ใบ)
38. ใช้รักษาไฟลามทุ่ง ด้วยการนำใบสดมาตำแล้วเอาผ้าก๊อซห่อ ใช้พอกบริเวณที่เป็นจนกระทั่งหาย (ใบ)
39. ช่วยแก้คุดทะราด (ราก)
40. ช่วยแก้ปวด แก้ปวดบวม (ราก, ทั้งต้น)[3] แก้อาการบวม (ราก)
41. รากใช้เป็นยาทาแก้อาการปวดตามข้อ เคล็ดขัดยอก ด้วยการใช้รากแห้งโดยประมาณ 1.5-3 กรัม นำมาต้มกับน้ำสะอาดหรือนำมาแช่ในเหล้า ใช้รับประทานวันละ 5 มิลลิเมตร วันละ 2 ครั้ง (ราก) บ้างว่าใช้ผงรากนำมาทาแก้อาการปวดข้อ (ผงราก) ช่วยขับลมชื้นปวดตามข้อ (ราก ทั้งต้น)
42. ช่วยแก้อาการปวดเมื่อย กระดูกหัก (เข้าใจว่าใช้ใบนำมาตำแล้วพอก)
43. ตำรายาไทยใช้รากเข้ายาแก้อาการปวดตัว (ราก)

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

1. สารที่พบได้แก่ Plumbagin, Hydroplumbagin, Sistosterol, Glucoside, 3-Biplumbagin, 3-Chloroplumbagin, Chitranone, Droserone, Elliptinone, Fructose, Glucose, Isozeylinone, Protease, Zeylinone เป็นต้น
2. สาร Plumbagin จากรากเจตมูลเพลิงขาวมีฤทธิ์ในการต้านเซลล์มะเร็ง ช่วยลดไขมันในเลือด และช่วยยับยั้งเชื้อแบคทีเรียสารสกัดจากรากมีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา
3. สาร Plumbagin มีกลิ่นเหม็นและมีรสเผ็ดขม หากนำมาใช้ในการรักษาโรคผิวหนัง จะสามารถช่วยฆ่าเชื้อบริเวณผิวหนังได้ และถ้านำสารชนิดนี้มาสกัดด้วยสารคลอโรฟอร์ม จะพบว่าสามารถช่วยต้านเชื้อ Staphylo coccus ได้
4. เจตมูลเพลิงขาวมีฤทธิ์ต่อการเต้นของหัวใจและมีฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาท หากใช้ในปริมาณมากจะทำให้หัวใจหยุดเต้น หรือทำให้ประสาทสงบระงับ (ได้แก่พวกหนูตะเภา กระต่าย และกบ) หากใช้สารสกัด (Plumbagin) ในอัตราส่วน 0.1 มิลลิกรัมต่อ 1 กิโลกรัม ฉีดเข้าที่ตัวของหนูหรือกระต่ายทดลอง พบว่าจะมีฤทธิ์ในการกระตุ้นประสาทส่วนกลางของสัตว์ทดลองให้ตื่นตัว แต่หากใช้ในอัตราส่วนมากจนเกินไป จะทำให้ประสาทส่วนกลางตายด้าน จนหมดความรู้สึก
5. สารสกัดจากรากมีฤทธิ์บีบมดลูกทำให้หนูแท้ง โดยมีฤทธิ์ต่อมดลูกของสัตว์ที่ตั้งท้อง หากใช้ในระดับปานกลางจะไปยับยั้งการบีบตัว และหากฉีดเข้าไปในหนูขาวทดลองจะทำให้แท้งได้ เพราะการทำงานของรังไข่จะผิดปกติไป และสาร Plumbagin ของเจตมูลเพลิงยังมีผลกระตุ้นมดลูกของหนูหรือกระต่ายทดลองที่กำลังตั้งท้อง ทำให้ตกเลือดอีกด้ว
6. สารสกัดจากด้วยแอลกอฮอล์จะมีฤทธิ์ในการกำจัดเพลี้ย และจะมีฤทธิ์ในการต้านแบคทีเรีย Mincrococcus pyogenes var. aureus, Mycobacterium phlei และ Salmonella typhi
7. มีฤทธิ์ในการลดความดันโลหิตและหยุดการหายใจของกระต่าย หากนำสารสกัดเจตมูลเพลิงมาฉีดเข้าที่ตัวของหนูหรือกระต่ายในอัตราส่วน 10 มิลลิกรัม ต่อ 1 กิโลกรัม พบว่าจะมีฤทธิ์ในการยับยั้งการหายใจและความดันได้ โดยสาเหตุที่ทำให้ความดันโลหิตลดลง เนื่องมาจากการขยายตัวของเส้นเลือดฝอยยับยั้งการเต้นของหัวใจให้ลดลง แต่ถ้าใช้ในปริมาณที่มากเกินไปก็อาจจะทำให้หัวใจหยุดเต้นได้ในที่สุด

ข้อควรระวังในการใช้

1. เมื่อทาแล้ว ให้สังเกตด้วยว่าอาการของโรคผิวหนังดีขึ้นหรือไม่ หากมีอาการพุพองมากยิ่งขึ้นให้หยุดใช้ยา เพราะสมุนไพรชนิดนี้หากใช้ในปริมาณมากจะทำให้เป็นแผลพุพองได้
2. สตรีมีครรภ์ห้ามรับประทานสมุนไพรชนิดนี้เป็นอันขาด เพราะจะทำให้แท้งบุตรได้ เนื่องจากมีสารบางอย่างที่เหมือนกับเจตมูลเพลิงแดง ที่มีฤทธิ์ในการบีบมดลูกและทำให้แท้ง (แต่ฤทธิ์ของเขตมูลเพลิงขาวจะอ่อนกว่า)

ประโยชน์ของเจตมูลเพลิงขาว

นอกจากจะใช้เจตมูลเพลิงเป็นยาสมุนไพรแล้ว เรายังสามารถนำมาใช้ปลูกเป็นไม้ประดับได้อีกด้วย เพราะมีดอกที่ดูสวยงาม มีอายุได้หลายปี ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการแยกหน่อและปักชำ

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1 หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. “เจตมูลเพลิงขาว (Chetta Mun Phloeng Khao)”. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). หน้า 97. 2 หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา. (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “เจตมูลเพลิงขาว”. หน้า 173.
3 หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. “เจตมูลเพลิงขาว”. (วิทยา บุญวรพัฒน์). หน้า 184.
4 หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. “เจตมูลเพลิงขาว”. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). หน้า 230-232.
5 ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “เจตมูลเพลิงขาว”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.phargarden.com. [2 มี.ค. 2014].
6 สรรพคุณสมุนไพร 200 ชนิด, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “เจตมูลเพลิงขาว”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.rspg.or.th/plants_data/herbs/. [2 มี.ค. 2014].
7 โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง, สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์การมหาชน). “เจตมูลเพลิงขาว, ปิดปิวขาว”. อ้างอิงใน: หนังสือพืชสมุนไพรในสวนป่าสมุนไพรเขาหินซ้อน (พงษ์ศักดิ์ พลเสนา). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: eherb.hrdi.or.th. [2 มี.ค. 2014].
8 สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช, กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. “เจตมูลเพลิงขาว”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.dnp.go.th/botany/. [2 มี.ค. 2014].
9 Clearing House Mechanism of Department of Agriculture (CHM of DOA). “เจตมูลเพลิงขาว”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: chm.doa.go.th. [2 มี.ค. 2014].
10 สวนพฤษศาสตร์สายยาไทย. “เจตมูลเพลิงขาว”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.saiyathai.com. [2 มี.ค. 2014].

อ้างอิงรูปจาก
1.https://pza.sanbi.org/plumbago-zeylanica
2.https://www.plantslive.in/product/buy-plumbago-zeylanica-plant-online-india/

ต้นจันทนา ช่วยแก้อาการอ่อนเพลีย

0
จันทนา
ต้นจันทนา ช่วยแก้อาการอ่อนเพลีย เป็นไม้พุ่มขนาดกลาง ใบเดี่ยวออกเรียงตรงข้ามกัน ดอกเป็นสีขาวกลิ่นหอม ผลกลมรีสีเขียวเข้มและฉ่ำน้ำ ผลแก่จะมีสีแดง
จันทนา
เป็นไม้พุ่มขนาดกลาง ใบเดี่ยวออกเรียงตรงข้ามกัน ดอกเป็นสีขาวกลิ่นหอม ผลกลมรีสีเขียวเข้มและฉ่ำน้ำ ผลแก่จะมีสีแดง

จันทนา

ต้นจันทนา มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดียและพม่า มักขึ้นตามป่าดิบแล้งและป่าผลัดใบ ที่ระดับความสูงของจากระดับน้ำทะเลโดยประมาณ 100-400 เมตร ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและวิธีการตอนกิ่ง ชอบดินร่วนซุยและทนแล้งได้ดี ชื่อวิทยาศาสตร์ Tarenna hoaensis Pit. จัดอยู่ในวงศ์เข็ม (RUBIACEAE) ชื่อท้องถิ่นอื่นๆ จันทน์ทนา (ภาคตะวันออก-เขมร) จันทน์ตะเนี้ย จันทน์ตะเบี้ย จันทน์ขาว (ประจวบคีรีขันธ์) จันทน์ใบเล็ก จันทนา (ระยอง) จันทน์หอม

ลักษณะของจันทนา

  • ต้น เป็นไม้พุ่มขนาดกลาง มีความสูงของต้นได้ถึงโดยประมาณ 2-5 เมตร (บ้างว่าสูงได้โดยประมาณ 5-10 เมตร) กิ่งแขนงแตกเป็นพุ่มแน่น ลำต้นเดี่ยวตั้งตรง เปลือกต้นบาง ผิวเรียบ เป็นสีน้ำตาลเข้ม ส่วนกิ่งอ่อนเป็นเหลี่ยมมีขนสั้น เนื้อไม้และแก่นมีสีออกน้ำตาลอ่อนๆ หรืออกขาวนวล มีรสขม หวาน หรือรสขมเย็นระคนกัน
  • ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกัน ลักษณะของใบเป็นรูปรีหรือรูปวงรีแกมขอบขนาน ปลายใบมนมีหางแหลม โคนใบสอบ ใบมีขนาดกว้างโดยประมาณ 6-10 เซนติเมตรและยาวโดยประมาณ 24 เซนติเมตร แผ่นใบมีสีเขียวเข้ม หลังใบเรียบเป็นมัน หลังใบและท้องใบเกลี้ยง มีหูใบอยู่ระหว่างก้านใบ ลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมฐานแคบปลายเรียวแหลม
  • ดอก ออกดอกเป็นช่อตามปลายกิ่ง ในหนึ่งช่อดอกจะมีดอกโดยประมาณ 8-12 ดอก ดอกมีกลิ่นหอม กลีบดอกเป็นสีขาว โคนดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปกรวย ปลายจะแยกเป็นกลีบดอก 5 กลีบ ส่วนปลายกลีบม้วนลง ดอกมีเกสรเพศผู้สีเหลืองติดอยู่ข้างในผนังหลอด
  • ผล ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลมรี สีเขียวเข้มและฉ่ำน้ำ พอแก่จะมีสีแดง ภายในผลมีเมล็ดจำนวนโดยประมาณ 1-2 เมล็ด

สรรพคุณของจันทนา

1. ช่วยบำรุงดวงจิตมิให้ขุ่นมัว (แก่น)
2. ช่วยแก้อาการอ่อนเพลีย (แก่น)
3. แก่นช่วยรักษาโรคเลือดลม (แก่น) หรือจะใช้แก่นผสมกับสมุนไพรอื่นในตำรับยา ซึ่งประกอบไปด้วย แก่นจันทนา แก่นจันทน์แดง กระดูกหมาดำ งาช้าง รากชะอม รากชุมเห็ดเทศ รากผักหวานบ้าน รากมะกอกเผือก รากมะกอกฟานซ้อม รากมะลืมดำ รากมะลืมแดง รากหญ้าขัด และหัวถั่วพู โดยนำมาฝนกับน้ำข้าวเจ้า ใช้รับประทานเป็นยารักษาโรคเลือดลม แต่ถ้าเป็นมากจนตัวแดงหรือแดงเป็นลูกตำลึงสุกก็ให้นำมาทาด้วย (แก่น)
4. ช่วยบำรุงเลือดลม (แก่น)
5. แก่นหรือเนื้อไม้มีรสหวาน ช่วยบำรุงประสาท (แก่น) ช่วยทำให้เกิดปัญญาและราศี (แก่น)
6. ช่วยแก้ลม (แก่น)
7. ช่วยบำรุงตับและปอด (แก่น)
8. ช่วยบำรุงธาตุไฟในร่างกาย บำรุงธาตุไฟให้สมบูรณ์ (แก่น)
9. ใช้เป็นยาบำรุงหัวใจ (แก่น)
10. ช่วยแก้ปอด ตับ และดีพิการ (แก่น)
11. ช่วยบำรุงผิวหนัง บำรุงเนื้อหนังให้สดชื่น (แก่น)
12. ช่วยแก้อาการร้อนในกระหายน้ำ (แก่น)
13. แก่นใช้เป็นยาแก้ไข้ (แก่น) แก้ไข้ร้อน แก้ไข้ที่เกิดจากตับและดี แก้ไข้กำเดา (แก่น)
14. ช่วยแก้อาการเหงื่อตกหนัก (แก่น)
15. ช่วยขับพยาธิ (แก่น)
16. ในตำรับ (ยาจันทน์ลีลา) ซึ่งเป็นตำรับยาที่ส่วนผสมของจันทน์ขาว (เข้าใจว่าหมายถึงแก่นจันทนา) ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ อีกในตำรับยา โดยเป็นตำรับยาที่ช่วยบรรเทาอาการไข้ตัวร้อน ไข้เปลี่ยนฤดู (ไม่ระบุส่วนที่ใช้ แต่เข้าใจว่าคือส่วนของแก่น)
17. จัดอยู่ในตำรับยาพระโอสถนารายณ์ คือตำรับยา (มโหสถธิจันทน์) ซึ่งเป็นตำรับยาที่ประกอบไปด้วยสมุนไพรจันทน์ทั้งสอง ได้แก่ จันทน์แดงและจันทน์ขาว (เข้าใจว่าคือแก่นจันทนา) ร่วมกับสมุนไพรอื่นๆ อีก 13 ชนิด โดยเป็นตำรับยาที่มีสรรพคุณช่วยแก้ไข้ทั้งปวงที่มีอาการตัวร้อน หรือมีอาการอาเจียนร่วมด้วยก็ได้ (ไม่ระบุส่วนที่ใช้ แต่เข้าใจว่าคือส่วนของแก่นหรือเนื้อไม้)
18. ในตำรับยา (พิกัดเบญจโลธิกะ) ซึ่งเป็นตำรับยาที่ประกอบไปด้วยสมุนไพรที่มีสรรพคุณทำให้ชื่นใจ 5 อย่าง ได้แก่ แก่นจันทน์ขาว (เข้าใจว่าหมายถึงแก่นจันทนา) แก่นจันทน์แดง แก่นจันทน์ชะมด ต้นเนระพูสีไทย และต้นมหาสะดำ โดยเป็นตำรับยาที่มีสรรพคุณช่วยแก้ไข้เพื่อดี แก้รัตตะปิตตะโรค แก้ลมวิงเวียน ช่วยกล่อมพิษทั้งปวง (แก่น)
19. อยู่ในตำรับยา (พิกัดจันทน์ทั้งห้า) ซึ่งเป็นตำรับยาที่ประกอบไปด้วยแก่นไม้จันทน์ 5 อย่าง ได้แก่ แก่นจันทน์ทนา แก่นจันทน์แดง แก่นจันทน์ขาว แก่นจันทน์เทศ และแก่นจันทน์ชะมด โดยเป็นตำรับยาที่มีสรรพคุณช่วยแก้ไข้เพื่อโลหิตและดี แก้อาการร้อนในกระหายน้ำ ช่วยบำรุงปอดและหัวใจ และช่วยแก้พยาธิบาดแผล (แก่น)
20. ปรากฏอยู่ในตำรับยารักษากลุ่มอาการทางระบบไหลเวียนโลหิต (แก้ลม) คือ ตำรับ (ยาหอมเทพจิตร) ซึ่งเป็นตำรับยาที่มีส่วนผสมของจันทน์ขาว (เข้าใจว่าหมายถึงแก่นจันทนา) ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่น ๆ ในตำรับยาอีก โดยตำรับยานี้มีสรรพคุณช่วยแก้ลมวิงเวียน แก้อาการหน้ามืดตาลาย ใจสั่น คลื่นเหียน อาเจียน และช่วยแก้ลมจุกแน่นในท้อง (ไม่ระบุส่วนที่ใช้ แต่เข้าใจว่าคือส่วนของแก่นหรือเนื้อไม้)

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

สารสกัดจากแก่นด้วยแอลกอฮอล์ไม่เป็นพิษต่อหนูในความเข้มข้น 10 กรัมต่อกิโลกรัมต่อน้ำหนักตัว

ประโยชน์ของจันทนา

1. เนื้อไม้หรือแก่นใช้บดหรือฝนผสมกับน้ำ นำไปปรุงแต่งเป็นเครื่องหอมได้
2. แก่น สามารถนำมาใช้ในการทำมาทำเป็นธูปหอมได้

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคกลาง. “จันทนา”. (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ, ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, กัญจนา ดีวิเศษ). หน้า 88.
2. หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา. “จันทนา”. (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). หน้า 208.
3. ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “จันทน์ขาว”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.thaicrudedrug.com. [28 ก.พ. 2014].
4. สวนพฤกษศาสตร์สายยาไทย. “จันทนา”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.saiyathai.com. [28 ก.พ. 2014].
5 คมชัดลึกออนไลน์. “จันทนา แก่นใช้ทำธูป”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.komchadluek.net. [28 ก.พ. 2014].
6. โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. “ไม้ดอกหอมของไทย”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: kanchanapisek.or.th/kp6/. [28 ก.พ. 2014].

อ้างอิงรูปจาก
1. https://commons.wikimedia.org/wiki/
2. https://www.floraofsrilanka.com/

ต้นขึ้นฉ่าย สรรพคุณช่วยแก้อาการตกเลือด

0
ขึ้นฉ่าย
ต้นขึ้นฉ่าย สรรพคุณช่วยแก้อาการตกเลือด เป็นพืชผักที่หาง่ายในท้องตลาด ต้นเล็ก ก้านบาง มีกลิ่นหอมฉุน นิยมทานทั้งต้น นิยมใช้ในการปรุงอาหารที่ต้องการดับกลิ่นคาว หรือเพิ่มความหอมของน้ำซุป
ขึ้นฉ่าย
เป็นพืชผักที่หาง่ายในท้องตลาด ต้นเล็ก ก้านบาง มีกลิ่นหอมฉุน นิยมทานทั้งต้นในการปรุงอาหารที่ต้องการดับกลิ่นคาว หรือเพิ่มความหอมของน้ำซุป

ขึ้นฉ่าย

ขึ้นฉ่ายจีน หรือคื่นฉ่ายใบ เป็นพืชผักที่หาง่ายในท้องตลาด โดยคื่นช่ายพันธุ์จีนจะมีขนาดลำต้นเล็กกว่า กินได้ทั้งแบบสด และสุก และมีสรรพคุณเป็นยา เป็นสมุนไพรล้มลุกหรือพรรณไม้ยืนต้นลำต้นตั้งตรงสูงประมาณ 30-60 เซนติเมตร มีอายุได้ถึง 1-2 ปี มีกลิ่นหอมฉุนทานได้ทั้งต้น มีถิ่นกำเนิดในเขตประเทศอากาศร้อน แอฟริกาเหนือ ยุโรป และเอเชียมีอยู่ 2 สายพันธุ์ คือ ขึ้นฉ่ายฝรั่ง (Celery) และขึ้นฉ่ายจีน (Chinese Celery) นิยมปลูกเพื่อใช้ปรุงอาหารช่วยในการดับกลิ่นคาวต่าง ๆ ได้ เพิ่มความอร่อยให้กับอาหารหลากหลายเมนู มีชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Apium graveolens L. จัดอยู่ในวงศ์ผักชี (APIACEAE หรือ UMBELLIFERAE)

ลักษณะของขึ้นฉ่ายจีน

  • ต้น
    – เป็นพืชล้มลุก
    – ต้นมีความสูง 30 เซนติเมตร
    – ลำต้นมีลักษณะกลวง
    – มีกลิ่นหอมทั้งต้น
    – มีอยู่ด้วยกัน 3 ชนิด คือ ต้นสีขาว ต้นสีเขียว และต้นสีน้ำตาลเขียว
  • ใบ
    – ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก
    – ออกใบตรงข้ามกัน
    – ใบสีเขียวอมเหลือง
    – ใบย่อยเป็นรูปลิ่มหยัก
    – ขอบใบหยักเป็นแฉกลึก
    – ในแต่ละแฉกอาจจะเป็นรูปสามเหลี่ยมหรือรูปห้าเหลี่ยม
    – ก้านใบยาวแผ่ออกเป็นกาบ
  • ดอก
    – ดอกมีขนาดเล็ก เป็นสีขาว
    – เป็นดอกสมบูรณ์เพศ
    – ออกเป็นช่อแบบซี่ร่ม
    – ตรงยอดดอกนั้นแผ่เป็นรัศมี
  • ผล
    – ผลมีรูปร่างกลมรี
    – มีสีน้ำตาล
    – มีขนาดค่อนข้างเล็ก
    – มีกลิ่นหอม
    – จะให้ผลแค่เพียงครั้งเดียว

คุณค่าทางโภชนาการ

ปริมาณ 100 กรัม ให้พลังงาน 67 กิโลแคลอรี

สาอาหาร ปริมาณที่ได้รับ
คาร์โบไฮเดรต 3 กรัม
น้ำตาล 1.4 กรัม
เส้นใย 1.6 กรัม
ไขมัน  0.2 กรัม
โปรตีน 0.7 กรัม
 น้ำ  95 กรัม
วิตามินเอ 22 ไมโครกรัม 3%
วิตามินบี 1 0.021 มิลลิกรัม 2%
 วิตามินบี 2 0.057 มิลลิกรัม 5%
วิตามินบี 3 0.323 มิลลิกรัม 2%
วิตามินบี 6  0.074 มิลลิกรัม 6%
วิตามินบี 9  36 ไมโครกรัม 9%
วิตามินซี 3 มิลลิกรัม 4%
วิตามินอี 0.27 มิลลิกรัม 2%
วิตามินเค 29.3 ไมโครกรัม 28%
ธาตุแคลเซียม 40 มิลลิกรัม 4%
ธาตุเหล็ก 0.2 มิลลิกรัม 2%
ธาตุแมกนีเซียม  11 มิลลิกรัม 3%
ธาตุฟอสฟอรัส  24 มิลลิกรัม 3%
ธาตุโพแทสเซียม  260 มิลลิกรัม 6%
ธาตุโซเดียม 80 มิลลิกรัม 5%
ธาตุสังกะสี 0.13 มิลลิกรัม 1% %

ร้อยละของปริมาณแนะนำที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันสำหรับผู้ใหญ่ (ข้อมูลจาก : USDA Nutrient database)

ข้อควรระวังในการรับประทาน

  • หากรับประทานมากเกินไป สำหรับเพศชายอาจจะทำให้เป็นหมันได้ และจะทำให้อสุจิลดลงถึง 50%
  • หากหยุดรับประทานแล้ว จำนวนของเชื้ออสุจิจะกลับสู่ระดับปกติในระยะเวลา 8-13 สัปดาห์
  • สำหรับบางคนนั้นอาจจะเกิดอาการแพ้จากการสัมผัสต้นจนถึงขั้นรุนแรงได้
  • สารสกัดจากต้นจะช่วยเร่งให้สีผิวเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลมากขึ้น
  • การใช้ประกอบอาหาร ไม่ควรผัดหรือต้มผักให้สุกเกินไป
  • ความร้อนจะไปทำลายวิตามินและเกลือแร่ที่มีอยู่ให้หมดไป

สรรพคุณของขึ้นฉ่ายจีน

  • ช่วยในการยับยั้งการเจริญเติบโตและการงอกของถั่วเขียวผิวดำได้
  • ช่วยในการคุมกำเนิด
  • มีฤทธิ์ในการลดปริมาณการสร้างอสุจิในเพศชาย
  • ช่วยลดอัตราการตั้งครรภ์
  • ช่วยต่อต้านการอักเสบเรื้อรัง
  • ช่วยรักษาฝีฝักบัว
  • ช่วยแก้ลมพิษ ผดผื่นคันต่าง ๆ
  • ช่วยทำให้กล้ามเนื้อเรียบบีบตัว
  • ช่วยแก้อาการเกร็งของกล้ามเนื้อ
  • ช่วยรักษาโรคปวดข้อต่าง ๆ
  • ช่วยรักษาอาการปวดตามปลายประสาท
  • ช่วยแก้อาการตกเลือด
  • ช่วยลดอาการบวมน้ำ
  • ช่วยบำรุงตับและไตให้แข็งแรง
  • ช่วยแก้อาการปวดประจำเดือนของสตรี
  • ช่วยแก้ประจำเดือนมาไม่เป็นปกติ
  • ช่วยขับปัสสาวะ ปัสสาวะเป็นเลือด รักษานิ่ว
  • ช่วยขับลมในกระเพาะ
  • ช่วยบำรุงระบบย่อยอาหารในร่างกาย
  • ช่วยลดอาการของโรคที่เกี่ยวกับกระเพาะอาหาร
  • ช่วยแก้อาเจียน
  • ช่วยในการขับเสมหะ
  • ช่วยดับร้อนในร่างกาย
  • ช่วยแก้อาการร้อนใน
  • ช่วยลดปริมาณของคอเลสเตอรอล
  • ช่วยลดระดับน้ำตาล ไตรกลีเซอไรด์
  • ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด
  • ช่วยลดความดันโลหิต
  • ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง
  • ช่วยป้องกันโรคซิลิโคซิส (Silicosis)
  • ช่วยป้องกันโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจ
  • ช่วยล้างพิษในร่างกาย
  • ช่วยทำความสะอาดเลือด
  • ช่วยทำให้ร่างกายสะอาด
  • ช่วยในการทำงานของระบบหมุนเวียนต่าง ๆ ในร่างกาย
  • ช่วยลดอาการของโรคหอบหืด
  • ช่วยในการทำงานของระบบหมุนเวียนต่าง ๆ ในร่างกาย
  • ช่วยบำรุงหัวใจและรักษาโรคหัวใจ
  • ช่วยรักษาโรคอัลไซเมอร์
  • ช่วยกล่อมประสาท
  • ช่วยในการนอนหลับ
  • ช่วยทำให้รู้สึกสบายขึ้น
  • ช่วยป้องกัน DNA ถูกทำลาย
  • ช่วยลดอาการอักเสบ
  • ช่วยป้องกันมะเร็งด้วยการไปยับยั้งการกลายพันธุ์สารก่อมะเร็งในร่างกาย
  • ช่วยในการปรับสมดุลของกรดและด่างในเลือด
  • ช่วยในการขยายตัวของหลอดเลือด
  • ช่วยป้องกันโรคหัวใจขาดเลือด
  • ช่วยทำให้เจริญอาหาร
  • ช่วยกระตุ้นให้เกิดความอยากอาหาร

ประโยชน์ของขึ้นฉ่ายจีน

  • จากการศึกษาของทีมนักวิจัยสหรัฐฯ พบว่ามีสารเคมีบางชนิดในผักช่วยบำรุงสมอง ช่วยในเรื่องของความจำ
  • ช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง
  • ช่วยยับยั้งการเกิดมะเร็งและเนื้องอก
  • ช่วยยับยั้งหรือชะลอการขยายตัวของเซลล์มะเร็ง
  • ช่วยต่อต้านมะเร็งได้
  • ช่วยขับของเสียจากบุหรี่ในผู้สูบบุหรี่และผู้ที่ได้รับควันบุหรี่
  • ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ
  • ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย
  • ป้องกันหวัด
  • ชะลอความเสื่อมของร่างกายได้เป็นอย่างดี

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

แหล่งอ้างอิง : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.), ห้องปฏิบัติการสัตว์ มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ สหรัฐ (ดร.ร็อดนีย์ จอห์นสัน), ผลของแอลลีโลพาธีของพืชสมุนไพร 6 ชนิดต่อการงอกและการเจริญเติบโตของถั่วเขียวผิวดำ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (ศานิต สวัสดิกาญจน์), ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม, www.the-than.com

อ้างอิงรูปจาก
1.https://www.zahradnictvi-flos.cz/a
2.https://www.botanickafotogalerie.cz/

ต้นข่อย สรรพคุณช่วยแก้อาการบิด แก้ท้องเสีย

0
ต้นข่อย สรรพคุณช่วยแก้อาการบิด แก้ท้องเสียเป็นไม้ยืนต้น เปลือกต้นมีสีเทาอ่อน มียางสีขาวข้นเหนียว ผิวใบสากคล้ายกระดาษทรายทั้งสองด้าน
ต้นข่อย
เปลือกต้นมีสีเทาอ่อน มียางสีขาวข้นเหนียว ผิวใบสากคล้ายกระดาษทรายทั้งสองด้าน

ต้นข่อย

Siamese rough bush, Tooth brush tree เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลางสูงประมาณ 5-15 เมตร มีถิ่นกำเนิดในประเทศเขตร้อนทั้งอินเดีย ฟิลิปปินส์ ศรีลังการวมถึงประเทศไทย ซึ่งทางตำรายาสมุนไพรชนิดนี้ใช้เป็นยายุรเวทและยาแผนโบราณ เพื่อรักษาโรค เช่น บรรเทาอาการปวดฟัน ท้องเสีย และรักษามะเร็งบางชนิด ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Streblus asper Lour. จัดอยู่ในวงศ์ขนุน (MORACEAE) มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ คือ ตองขะแหน่ (กาญจนบุรี), ส้มพอ (เลย ร้อยเอ็ด), ซะโยเส่ (กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน), กักไม้ฝอย (ภาคเหนือ), สะนาย (เขมร), สมนาย

ลักษณะของต้นข่อย

  • ต้น
    – ลำต้นและกิ่งก้านค่อนข้างคดงอ
    – มีปุ่มปมอยู่รอบ ๆ ต้นหรือเป็นพูเป็นร่องทั่วไป
    – อาจจะขึ้นเป็นต้นเดียวหรือเป็นกลุ่ม
    – เปลือกต้นมีสีเทาอ่อน มีความบางและขรุขระเล็กน้อย
    – มียางสีขาวข้นเหนียวซึมออกมา
    – แตกกิ่งก้านมีสาขามาก
    – แตกกิ่งต่ำเป็นพุ่มทึบ
    – สามารถขยายพันธุ์โดยการใช้รากปักชำ การใช้กิ่งปักชำหรือการเพาะเมล็ด
  • ใบ
    – ใบเดี่ยวเรียงสลับ
    – มีขนาดเล็ก
    – แผ่นใบมีสีเขียว
    – เนื้อใบค่อนข้างหนากรอบ
    – ผิวใบสากคล้ายกระดาษทรายทั้งสองด้าน
    – ใบคล้ายรูปรีแกมรูปไข่หัวกลับ
    – โคนใบสอบ
    – ปลายใบแหลม
    – ขอบใบหยัก
    – มีความกว้าง 2-3.5 เซนติเมตรและยาว 4-7 เซนติเมตร
  • ดอก
    ออกดอกเป็นช่อ
    ดอกมีสีขาวเหลืองอ่อน
    จะออกปลายกิ่งตามซอกใบ
    ออกดอกเดี่ยวแต่รวมกันเป็นกระจุก
    ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียจะอยู่ต่างดอกกัน
  • ผล
    – ผลสดมีรูปร่างกลม สีเขียว
    – ผลคล้ายกับรูปไข่
    – มีขนาดประมาณ 0.5 เซนติเมตร
    – เมล็ดมีขนาดเท่ากับเมล็ดพริกไทย
    – มีเนื้อเยื่อหุ้ม
    – ผลแก่จะมีสีเหลืองใสและมีรสหวาน

สรรพคุณของข่อย

  • ช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย
  • ช่วยแก้รำมะนาดได้
  • ช่วยแก้ริดสีดวงที่จมูก
  • ช่วยแก้ไข้
  • ช่วยดับพิษภายในร่างกาย
  • ช่วยแก้อาการบิด แก้ท้องเสีย
  • ช่วยขับลมในลำไส้
  • ช่วยรักษาโรคผิวหนังได้
  • ช่วยฆ่าเชื้อจุลินทรีย์
  • ช่วยแก้พยาธิผิวหนัง
  • ช่วยบำรุงหัวใจ
  • ช่วยทำให้เจริญอาหาร
  • รับประทานเป็นยาอายุวัฒนะได้
  • ช่วยฆ่าเชื้อในช่องปากและทางเดินอาหารได้
  • ช่วยขับลมในลำไส้
  • ช่วยบรรเทาอาการปวดของมดลูกในระหว่างมีประจำเดือน
  • ใช้เป็นยาระบายอ่อน ๆ ได้

ประโยชน์ของข่อย

  • ยาง สามารถนำมาใช้กำจัดแมลงได้
  • ยาง มีน้ำย่อยที่ชื่อว่า milk (lotting enzyme) ช่วยย่อยน้ำนม
  • ไม้ สามารถนำมาใช้ทำกระดาษ ทำเป็นสมุดไทยหรือสมุดได้
  • เปลือกไม้ สามารถนำมาใช้ทำปอหรือใช้ทำเป็นกระดาษได้
  • กิ่ง สามารถนำมาใช้แปรงฟันแทนการใช้แปรงสีฟันได้ แต่ต้องนำมาทุบให้นิ่ม ๆ ก่อนนำมาใช้
  • สามารถนำมาปลูกเพื่อทำรั้วได้
  • สามารถปลูกไว้เพื่อดัดหรือปรับแต่งเป็นรูปต่าง ๆ ที่เรียกว่าไม้ดัดได้
  • คนไทยโบราณมีความเชื่อที่ว่า หากบ้านใดปลูกต้นไม้ชนิดนี้ไว้ประจำบ้าน จะช่วยทำให้ผู้อาศัยเกิดความมั่นคง มีความแข็งแกร่ง ช่วยป้องกันศัตรูจากภายนอก ทำให้แคล้วคลาดจากอันตรายที่เกิดจากผู้ที่ไม่หวังดีหรือศัตรูที่อาจมาทำอันตรายต่อสมาชิกในบ้าน
  • ใบ สามารถนำมาใช้โบกพัดเพื่อขับไล่สิ่งชั่วร้ายให้พ้นไปจากบ้านได้
  • เพื่อความเป็นสิริมงคลจะนิยมปลูกในวันเสาร์และปลูกไว้ทางทิศตะวันออก
  • ต้น เป็นวัสดุที่ใช้ในการสื่อสารที่สำคัญในอดีตที่เรียกกันว่า “ส มุ ด ข่ อ ย” เนื่องจากเนื้อไม้มีความแข็งแรงคงทน

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

แหล่งอ้างอิง : เว็บไซต์กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช (กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม), เว็บไซต์โรงเรียนพระหฤทัยคอนแวนต์, เว็บไซต์สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, เว็บไซต์สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน), วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

อ้างอิงรูปจาก
1.https://www.floraofsrilanka.com/
2.https://www.wallpaperflare.com/

ต้นขยุ้มตีนหมา ใช้เป็นยารักษาอาการพิษสุนัขบ้า

0
ขยุ้มตีนหมา
ต้นขยุ้มตีนหมา ใช้เป็นยารักษาอาการพิษสุนัขบ้า เป็นพรรณไม้เถาล้มลุกลำต้นเป็นเถาเลื้อย ดอกออกเป็นช่อสีขาวเชื่อมกันเป็นรูปปากแตรหรือจะติดกันเป็นรูประฆัง ผลเป็นรูปไข่
ขยุ้มตีนหมา
เป็นพรรณไม้เถาล้มลุกลำต้นเป็นเถาเลื้อย ดอกออกเป็นช่อสีขาวเชื่อมกันเป็นรูปปากแตรหรือจะติดกันเป็นรูประฆัง ผลเป็นรูปไข่

ขยุ้มตีนหมา

ต้นขยุ้มตีนหมา คือ Tiger-foot Morning Glory, Morningglory เป็นพรรณไม้เถาล้มลุกที่มีอายุแค่เพียง 1 ปี ตั้งแต่ระดับน้ำทะเลถึง 1,000 เมตร เป็นพืชที่พบได้ตามธรรมชาติทั่วไปและยังกระจายอยู่เกือบทั่วโลก ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Ipomoea pes-tigridis L. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ คือ Ipomoea hepaticifolia L., Ipomoea capitellata Choisy, Convolvulus pes-tigridis (L.) Spreng.) อยู่วงศ์ผักบุ้ง (CONVOLVULACEAE)[1],[2] ชื่อในท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น เพาละบูลู (มาเลย์-ยะลา), เถาสายทองลอย (จังหวัดสิงห์บุรี), เพาละมูลู (มาเลย์-ยะลา), ผักบุ้งทะเล (จังหวัดพังงา) [1]

ลักษณะของขยุ้มตีนหมา

  • ลักษณะของลำต้นลำต้นเป็นเถาเลื้อยพาดไปตามสิ่งที่อยู่รอบๆ จะไม่มีมือเกาะ ลำต้นเล็กเรียว มักจะเลื้อยที่ตามพื้นดินหรือจะเลื้อยพาดพัน สามารถเลื้อยยาวได้ประมาณ 0.5-3 เมตร มีขนแข็งสีขาวขึ้นคลุมลำต้น ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด สามารถพบขึ้นได้ที่ตามที่รกร้างว่างเปล่าทั่วไป นาข้าว ดินทรายใกล้ทะเล
  • ลักษณะของใบเป็นใบเดี่ยว ออกใบเรียงตัวสลับ ใบกว้างเป็นรูปไข่ ที่ขอบใบจะเป็นแฉกหรือจะเป็นจักเว้าลึกประมาณ 7-9 แฉก มักเป็นจักลึกถึงโคนใบ หรือจะเว้าลึกแยกเป็นพู 3 พู แต่ละพูเว้าจะลึกแยกเป็นอีก 2-3 พู ดูคล้ายกับเป็นใบประกอบที่มีใบย่อยประมาณ 7-9 ใบ ส่วนที่ปลายใบจะแฉกแหลม ใบกว้างประมาณ 4-6 เซนติเมตร มีความยาวประมาณ 5-7 เซนติเมตร มีขนนุ่มขึ้นคลุมผิวใบทั้งสองด้าน ก้านใบเล็กเรียว มีความยาวประมาณ 1.5-10 เซนติเมตร[1],[3]
  • ลักษณะของดอก ดอกออกเป็นช่อ ออกดอกที่ตามซอกใบ ช่อดอกมีดอกประมาณ 2-3 ดอก หรือจะเป็นดอกเดี่ยวขึ้นที่ตามซอกใบ ก้านดอกมีความยาวประมาณ 5-12 เซนติเมตร จะมีขนขึ้นคลุม มีใบประดับเป็นรูปหอกแกมรูปขอบขนาน ที่ปลายจะแหลม มีความยาวประมาณ 1.5-3 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงจะติดกันมีอยู่ 5 กลีบ มีความยาวประมาณ 8-12 มิลลิเมตร จะมีขนยาวขึ้นเป็นสีขาว ที่ปลายกลีบจะแหลม มีกลีบดอก 5 กลีบ กลีบดอกเป็นสีขาว เชื่อมกันเป็นรูปปากแตรหรือจะติดกันเป็นรูประฆัง กลีบดอกยาวประมาณ 4-6 เซนติเมตร ผิวกลีบมีลักษณะเรียบ ที่ปลายกลีบจะเว้าหยักเข้านิดหน่อย ดอกบานมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 4-5 เซนติเมตร เกสรเพศผู้เรียบเกลี้ยง ส่วนเกสรเพศเมียก็เรียบเกลี้ยงเช่นกัน มีเกสรเพศผู้ 5 อัน อยู่บนหลอดกลีบดอก มีเกสรเพศเมีย 1 อัน รังไข่มีลักษณะเป็นรูปไข่ เป็นรังไข่แบบ Superior ovary [1],[3]
  • ลักษณะของผล ผลเป็นรูปไข่แบบแคปซูล มีความยาวประมาณ 8-9 มิลลิเมตร ผิวผลมีลักษณะเกลี้ยง ผลแห้งเป็นสีน้ำตาล มีเมล็ดยาวประมาณ 4 มิลลิเมตร จะมีขนสีเทาขึ้นกระจาย [1],[3]

สรรพคุณขยุ้มตีนหมา

1. สามารถนำทั้งต้น มาตำให้ละเอียดผสมเนย ใช้ปิดหัวฝีไม่ให้แพร่กระจายได้ (ทั้งต้น)[1]
2. สามารถใช้เป็นยารุ และรักษาโรคไอเป็นเลือดได้ (ราก)[1]
3. สามารถนำทั้งต้น มาใช้ทำเป็นยาระงับพิษสุนัขบ้าได้ (ทั้งต้น)[1]
4. สามารถใช้เป็นยารักษาโรคท้องมานได้ (เมล็ด)[1]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “ขยุ้มตีนหมา”. หน้า 92-93.
2. Fang Rhui-cheng, George Staples (1995). “ Flora of China – Ipomoea”. Science Press, Peking und Missouri Botanical Garden Press, St. Louis. หน้า 6.
3. สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. “ขยุ้ม ตีน หมา”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : science.sut.ac.th. [04 มิ.ย. 2015].

อ้างอิงรูปจาก
1.https://www.floraofbangladesh.com/2021/05/onguli-lota-or-tigers-footprint-ipomoea.html

สรรพคุณของขมิ้นเครือ ช่วยแก้อาการคัน แก้ตาแดง

0
สรรพคุณของขมิ้นเครือ ช่วยแก้อาการคัน แก้ตาแดง เป็นไม้เถาเนื้อแข็งดอกออกเป็นช่อสีขาวแกมสีเหลืองหรือแกมเขียว ผลทรงกลมออกเป็นช่อ
ขมิ้นเครือ
เป็นไม้เถาเนื้อแข็งดอกออกเป็นช่อสีขาวแกมสีเหลืองหรือแกมเขียว ผลทรงกลมออกเป็นช่อ

ขมิ้นเครือ

ขมิ้นเครือ เป็นพืชหายากชนิดหนึ่ง มักจะขึ้นที่ตามชายป่าดิบแล้ง ป่าดิบชื้นที่สูงไม่เกิน 300 เมตร มีเขตการกระจายพันธุ์และมีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ในภาคตะวันออกเฉียงใต้ ภาคใต้ สำหรับต่างประเทศสามารถพบเจอได้ที่ประเทศจีน (เกาะไหหลำ) ภูมิภาคอินโดจีน ภูมิภาคมาเลเซีย[3] ชื่อทางวิทยาศาสตร์  Arcangelisia flava (L.) Merr. อยู่วงศ์บอระเพ็ด (MENISPERMACEAE)[1]  ชื่อในท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น ชั้วตั่วเหล่ง (ม้ง), ขมิ้นฤๅษี ฮับ (ภาคใต้) [2]

ลักษณะของต้นขมิ้นเครือ

  • ลักษณะของต้น เป็นพรรณไม้เลื้อยหรือเป็นไม้เถาเนื้อแข็ง เกลี้ยงทุกส่วน ยกเว้นที่มีต่อมที่ใบ ลำต้นจะมีเนื้อไม้เป็นสีเหลือง มียางสีเหลือง ที่ตามก้านใบที่ร่วงไปจะมีรอยแผลเป็น รอยแผลเป็นรูปถ้วย[1],[2] รากสดที่มีอายุน้อย มีขนาดเล็กมีรูปร่างโค้งงอไปมา ค่อนข้างแบน มีร่องคล้ายแอ่งเล็กตรงกลางตลอดแนวยาวของราก ผิวเรียบมีลักษณะเป็นสีน้ำตาลอมสีเขียว สีเทาปนสีน้ำตาล บางตอนรากจะมีรอยแตกเล็กพาดขวาง รากที่มีอายุ มีขนาดใหญ่ จะมีลักษณะเป็นทรงกระบอกค่อนข้างที่จะตรง โค้งงอบางตอน มีผิวเรียบเป็นสีน้ำตาลอ่อน เปลือกบางเป็นรอยแตกเล็กตามแนวยาวราก รอยแตกที่พาดขวางเป็นรอยนูนนิดหน่อย รากแห้ง ผิวมีลักษณะเป็นสีน้ำตาลอ่อน มีรอยแตกพาดขวางทั่วไป เปลือกสามารถหลุดได้ง่าย[5]
  • ลักษณะของใบ เป็นใบเดี่ยว ออกใบเรียงเวียนสลับกัน ใบเป็น รูปไข่กว้าง รูปไข่ รูปหัวใจ รูปไข่แกมรี ใบกว้างประมาณ 8-12 เซนติเมตร มีความยาวประมาณ 10-16 เซนติเมตร ที่ปลายใบจะเรียวแหลม ส่วนที่โคนใบจะกลม ตัด หรือจะเป็นรูปหัวใจนิดหน่อย เนื้อใบมีลักษณะหนาคล้ายกับแผ่นหนัง ที่หลังใบจะเป็นมัน ที่ท้องใบจะเรียบและไม่มีขน มีเส้นใบออกจากโคนใบมีลักษณะเป็นรูปฝ่ามือ 5 เส้น มีเส้นแขนงใบ 1-3 คู่ มักออกเหนือครึ่งหนึ่งของเส้นกลางใบ ใบแห้งจะเห็นเส้นร่างแหไม่ชัด มีก้านใบยาว ที่ปลายใบจะบวม ส่วนที่โคนจะบวมเช่นกัน โคนก้านใบจะงอ[1],[2],[5]
  • ลักษณะของดอก ดอกออกเป็นช่อ ออกดอกที่ตามง่ามใบ ที่ตามเถา มีความยาวประมาณ 10-15 เซนติเมตร แตกกิ่งที่ด้านข้างมีความยาวประมาณ 1-5 เซนติเมตร เป็นดอกแบบแยกเพศ มีลักษณะเป็นสีขาวแกมสีเหลืองหรือจะแกมสีเขียว ดอกเพศผู้ไม่มีก้านหรือมีก้านขนาดสั้น ใบประดับย่อยเป็นรูปไข่ มีความยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร ที่โคนหนา มีกลีบเลี้ยงวงนอกอยู่ประมาณ 3-4 กลีบ จะสั้นกว่า 1 มิลลิเมตร กลีบเลี้ยงวงในใหญ่จะมีขนาดกว่า เป็นรูปรี รูปไข่ มีความยาวประมาณ 1.5-2.5 มิลลิเมตร เกสรเพศผู้เชื่อมกัน มีความยาวประมาณ 0.5-1 มิลลิเมตร ดอกเพศเมียมีกลีบเลี้ยงอยู่ 6 กลีบ เป็นรูปขอบขนานแคบ สามารถยาวได้ประมาณ 2.5-4 มิลลิเมตร ที่ปลายจะโค้ง เกสรเพศผู้ปลอมมีลักษณะคล้ายกับเกล็ดและมีขนาดเล็ก มีเกสรเพศเมียอยู่ 3 อัน มีความยาวประมาณ 1.5 มิลลิเมตร ยอดเกสรเพศเมียจะกว้าง ไม่มีก้าน เป็นตุ่ม[1],[2] ออกดอกช่วงประมาณเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน[3]
  • ลักษณะของผล เป็นผลสด ผลเป็นรูปทรงกลม ผลออกเป็นช่อตามลำดับ มักจะแตกก้านที่มีความยาวประมาณ 7-30 เซนติเมตร แกนกลางกับก้านใหญ่ มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3-6 มิลลิเมตร ผลและก้านผลแตกจากด้านข้าง มีผลประมาณ 1-3 ผล จะติดกันบนก้านที่เป็นรูปตะบอง ปลายจะบวม มีความยาวประมาณ 4 เซนติเมตร ผลสุกมีลักษณะเป็นสีเหลือง ค่อนข้างที่จะแบน เป็นรูปกึ่งไข่ตามแนวขวาง มีความยาวประมาณ 2.5-3.3 เซนติเมตร มีขนาดกว้างประมาณ 2.2-3 เซนติเมตร หนาประมาณ 2-2.5 เซนติเมตร ผลแห้งจะย่น ไม่มีขน ผนังผลชั้นในจะแข็ง[1],[2] มีเมล็ดอยู่ในผล 1 เมล็ด ติดผลช่วงประมาณเดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายน[3]

สรรพคุณขมิ้นเครือ

1. สามารถนำเนื้อไม้มาขูดใช้เป็นยาล้างแผลเรื้อรัง แผลพุพอง และสามารถช่วยแก้อาการคันได้ (เนื้อไม้)[2]
2. สามารถนำเนื้อไม้มาใช้เป็นยาขับประจำเดือนได้ และส่วนน้ำที่ได้จากการต้มลำต้นหรือรากจะมีสรรพคุณที่เป็นยาขับประจำเดือน ช่วยแก้ปวดท้องได้ (ลำต้น, เนื้อไม้, ราก)[1],[2],[5]
3. เนื้อไม้ มีสรรพคุณที่เป็นยาสมานลำไส้ได้ (เนื้อไม้)[5]
4. สามารถใช้เป็นยาแก้ท้องเสียได้ (ลำต้น, เนื้อไม้, ราก)[1],[4]
5. สามารถนำน้ำที่ได้จากการต้มลำต้นหรือกิ่งก้าน สามารถใช้เป็นยาแก้ระบบย่อยอาหารไม่ปกติได้ (ลำต้น, กิ่งก้าน)[2]
6. สามารถนำน้ำที่ได้จากต้มลำต้นหรือราก สามารถใช้เป็นยาแก้ไอได้ (ลำต้น, ราก)[2]
7. ลำต้นกับรากจะมีสารอัลคาลอยด์ที่ชื่อ berberine สามารถใช้เป็นยาขมได้ ช่วยทำให้เจริญอาหาร รักษาไข้มาลาเรีย แก้ไข้ รักษาโรคอหิวาต์ได้ดีเท่ากับยาคลอแรมเฟนิคอล (ลำต้น, ราก)[1]
8. สามารถใช้ลำต้นกับรากเป็นยาแก้เบาหวานได้ (ลำต้น, ราก)[4]
9. ในตำรายาไทยนำเนื้อไม้มาใช้เป็นยาบำรุงโลหิต บำรุงธาตุ (เนื้อไม้)[1],[5] สามารถนำน้ำที่ได้จากการต้มลำต้นหรือรากมาใช้เป็นยาบำรุงได้ (ลำต้น, ราก)[2]
10. ชาวม้งนำใบมาทุบ ใช้พันตรงบริเวณที่เอ็นขาดเพื่อช่วยประสานเอ็น (ใบ)[2]
11. สามารถนำลำต้นหรือกิ่งก้านมาต้ม ทานน้ำเป็นยาแก้โรคดีซ่าน (ลำต้น, กิ่งก้าน)[2]
12. ราก มีสรรพคุณที่เป็นยาระบาย (ราก)[1]
13. ในรัฐซาราวักจะนำลำต้นกับรากมาใช้เป็นยารักษาโรคกระเพาะ (ลำต้น, ราก)[4]
14. ยางสามารถใช้เป็นยาแก้โรคเมืองร้อนที่เกี่ยวกับอาการอาหารไม่ย่อยได้ (ยาง)[2]
15. สามารถใช้รากเป็นยาขับลมได้ (ราก)[5]
16. ยางสามารถใช้ดื่มเป็นยาลดไข้ได้ (ยาง)[2]
17. สามารถใช้รากเป็นยาหยอดตา แก้ตาแฉะ แก้ตาแดง แก้ตาเปียกได้ (ราก)[5]
18. รากมีสรรพคุณที่เป็นยาบำรุงน้ำเหลือง (ราก)[5]

ประโยชน์ขมิ้นเครือ

  • ในกาลิมันตันจะนำสีเหลืองจากลำต้นมาย้อมเสื่อที่ทำมาจากหวาย ในประเทศอินเดียและในประเทศอินโดจีนจะใช้ย้อมผ้า บางครั้งจะนำสีเหลืองที่ได้มาผสมสีที่ได้จากคราม โดยจะให้สีเขียว[4]
  • เมล็ด มีพิษ ถ้าทานเข้าไปอาจจะทำให้อาเจียนและอาจถึงตายได้ ทำให้ถูกใช้เป็นยาเบื่อปลา[2]

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

  • รากกับลำต้นที่ได้จากร้านขายยาแผนโบราณที่ป่าหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา และจากสวนสมุนไพรของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ จังหวัดจันทบุรี มีปริมาณสาร berberine ถึง 3.22% และจากตลาดจะมีปริมาณสาร berberine น้อยกว่ามาก ส่วนของจังหวัดสงขลาไม่มีสาร berberine เลย และรากจากสวนสมุนไพร จังหวัดจันทบุรี มีปริมาณสาร berberine สูงมากที่สุด[5]
  • มีรายงานว่าเป็นพิษกับเม็ดเลือดในหลอดทดลอง ยังไม่มีข้อสรุปที่แน่ชัด ควรมีการทดลองศึกษาความเป็นพิษวิทยาเพิ่มเติมก่อนจะนำมาใช้[1]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ. (คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “ขมิ้นเครือ”. หน้า 54.
2. โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง, สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน). “ขมิ้นเครือ”. อ้างอิงใน: หนังสือชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์), หนังสือสมุนไพรไทยตอนที่ 6 (ก่องกานดา ชยามฤต). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : eherb.hrdi.or.th. [08 มิ.ย. 2015].
3. พืชถิ่นเดียวและพืชหายากของประเทศไทย, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “ขมิ้นเครือ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.rspg.or.th. [08 มิ.ย. 2015].
4. หนังสือทรัพยากรพืชในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 3 : พืชให้สีย้อมและแทนนิน. (สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย). “ขมิ้น เครือ”. หน้า 89-90.
5. กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. (ถนอมหวัง อมาตยกุล, ดรุณ เพ็ชรพลาย). “การศึกษาทางพฤกษศาสตร์และเภสัชเวทของขมิ้นเครือ (Arcangelisia flava)”. หน้า 19-30.

อ้างอิงรูปจาก
1.https://kebunrayabanua.kalselprov.go.id/web/?p=5186
2.https://www.orami.co.id/magazine/manfaat-akar-kuning

ดอกเก๊กฮวย ช่วยเพิ่มการไหลเวียนเลือด แก้ไอ

0
ดอกเก๊กฮวย
ดอกเก๊กฮวย ช่วยเพิ่มการไหลเวียนเลือด แก้ไอ ดอกที่นำมาใช้ควรเป็นดอกสีขาวหรือดอกสีเหลือง มีกลิ่นฉุน มีรสขมและรสหวาน มีฤทธิ์เป็นยาเย็น
ดอกเก๊กฮวย
ดอกเก๊กฮวย ช่วยเพิ่มการไหลเวียนเลือด แก้ไอ ดอกที่นำมาใช้ควรเป็นดอกสีขาวหรือดอกสีเหลือง มีกลิ่นฉุน มีรสขมและรสหวาน มีฤทธิ์เป็นยาเย็น

ดอกเก๊กฮวย

ดอกเก๊กฮวย หรือเบญจมาศหนู (จีน: 菊花; พินอิน: júhuā) นิยมนำมาตากแห้ง ใช้ชงกับใบชา หรือต้มกับน้ำตาล เป็นพืชดั้งเดิมของประเทศจีนและญี่ปุ่น ในภายหลังได้แพร่กระจายไปทั่วในประเทศกัมพูชา ลาว รวมไปถึงประเทศไทย จะเพาะปลูกได้ดีในพื้นที่สูงของประเทศ มีการจำหน่ายเป็นดอกสด และแห้ง มีกลิ่นฉุน มีรสขมและรสหวาน มีฤทธิ์เป็นยาเย็น ดอกที่นำมาใช้ควรเป็นดอกสีขาวหรือดอกสีเหลือง ชื่อภาษาอังกฤษ คือ Chrysanthemum สายพันธุ์หลักที่ใช้เป็นยาได้แก่ ดอกสีขาว ที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Dendranthema morifolium (Ramat.) Tzvel. หรือ Chrysanthemum morifolium Ramat. ดอกสีเหลือง ที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Dendranthema indicum L. หรือ Chrysanthemum indicum L.

สารสำคัญที่พบ

  • มีสารพวกฟลาโวนอยด์ (Flavonoid)
  • สารไครแซนทีมิน (Chrysanthemin)
  • สารอะดีนีน (Adenine)
  • สตาไคดวีน (Stachydrine)
  • โคลีน (Choline)
  • กรดอะมิโน
  • น้ำมันหอมระเหย

สรรพคุณของเก๊กฮวย

  • ช่วยขับเหงื่อ
  • ช่วยบำรุงโลหิต
  • ช่วยแก้อาการหวัด
  • ช่วยขับลม
  • ช่วยระบายและย่อยอาหาร
  • ช่วยบำรุงตับ ไต
  • ช่วยรักษาผมร่วง
  • ช่วยแก้ร้อนใน
  • ช่วยดับพิษร้อน
  • ช่วยบำรุงปอด
  • ช่วยรักษาฝีเป็นหนอง บวม และเป็นพิษ
  • ช่วยบำรุงและรักษาสายตา
  • ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต
  • ช่วยแก้อาการไอ
  • ช่วยแก้อาการตาบวมแดง
  • ช่วยแก้อาการปวดตา มองเห็นไม่ชัด ตาเบลอ ตามัว
  • ช่วยบรรเทาอาการวิงเวียนศีรษะ หน้ามืด ตาลาย
  • ช่วยกำจัดสารพิษออกจากร่างกาย
  • ช่วยแก้กระหาย เพิ่มความสดชื่น
  • ช่วยยับยั้งเชื้อไวรัสเอดส์
  • ช่วยขยายหลอดเลือดแดงใหญ่ที่ไปเลี้ยงหัวใจ
  • ช่วยป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดต่าง ๆ
  • ช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจ ภาวะหัวใจล้มเหลว

วิธีทำน้ำเก๊กฮวย

1. ให้เตรียมดอกที่ล้างสะอาด
2. นำไปผึ่งไว้ก่อนบนตะแกรง พักไว้ให้สะเด็ดน้ำ
3. ใช้หม้อสแตนเลสใส่น้ำประมาณ 3 ลิตร
4. ตั้งบนไฟแรง
5. ขณะรอน้ำเดือดให้ล้างใบเตยหอมประมาณ 5 ใบที่ล้างสะอาดแล้ว
6. นำใบเตยมาตัดเป็นท่อนสั้น ๆ
7. เมื่อน้ำเดือดให้ใส่ใบเตยลงไปแล้วปิดฝาหม้อทิ้งไว้ประมาณ 3-5 นาที
8. เมื่อน้ำใบเตยเดือด หากต้องการให้น้ำมีสีเหลืองสวยให้ทุบเมล็ดพุดจีนลงไปเพิ่ม
9. ห่อใส่ผ้าขาวบางลงไปชงจนได้สีตามต้องการ
10. ตอนนี้ให้เปิดฝาหม้อทิ้งไว้ ไม่ควรปิดฝาหม้อเพราะเมล็ดพุดจะมีกลิ่น
11. ให้ตักใบเตยทิ้งไปและเอาห่อเมล็ดพุดออกจากหม้อ
12. ใส่น้ำตาลทราย ประมาณ 200 กรัมลงในหม้อ
13. คนน้ำตาลให้ละลาย
14. เมื่อได้ความหวานที่ต้องการแล้วให้ปิดไฟ
15. ใส่ดอกที่เตรียมไว้ประมาณ 30 กรัมใส่ลงไปในหม้อ
16. ใช้ทัพพีคนเบา ๆ ประมาณ 1 รอบเพื่อให้ดอกกระจายทั่วหม้อ
17. แล้วรีบปิดฝาหม้อ ตั้งไว้จนเย็นแล้วกรองเอากากของดอกออก
18. จากนั้นก็นำมากรอกใส่ขวด แช่เย็นไว้ดื่ม

คำแนะนำ

  • เมล็ดพุด 1-2 เมล็ดจะให้น้ำสีเหลืองกำลังดี ถ้า 3 เมล็ดจะออกสีเหลืองมาก
  • วิธีทำน้ำแบบถูกคือวิธีที่ห้ามเคี่ยวดอกเพราะจะทำให้น้ำมีรสขมได้
  • การกรองกากดอกนั้นห้ามบี้โดยเด็ดขาดเพราะจะทำให้น้ำมีรสขมได้
  • หากใส่ดอกมากเกินไป ใช้เวลาต้มนานจนเกินไป จะทำให้เปรี้ยวได้
  • ผู้ที่มีปัญหาเรื่องระบบขับถ่าย มีอาการท้องเสียง่าย ควรดื่มในปริมาณที่พอเหมาะ
  • สำหรับผู้ที่เป็นโรคกระเพาะอาหาร การดื่มชาเก๊กฮวยอาจทำให้เกิดกรดในกระเพาะเพิ่มมากขึ้น

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

แหล่งอ้างอิง : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี, เดลินิวส์ออนไลน์, รศ.ดร.ภญ.พาณี ศิริสะอาด (หนังสือพิมพ์ไทยนิวส์ ฉบับวันพุธที่ 2 มกราคม 2556)

อ้างอิงรูปจาก
1. https://plantura.garden/uk/flowers-perennials/chrysanthemums/chrysanthemum-indicum
2. https://www.picturethisai.com/wiki/Chrysanthemum_indicum.html

ต้นกูดพร้าว สรรพคุณช่วยแก้ไข้ ลดการอักเสบ

0
ต้นกูดพร้าว
ต้นกูดพร้าว สรรพคุณช่วยแก้ไข้ ลดการอักเสบ เป็นเฟิร์นที่มีลำต้นตั้งตรง รากเป็นเส้นแข็งสีดำ ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น มีตุ่มขรุขระทางด้านล่าง
ต้นกูดพร้าว
เป็นเฟิร์นที่มีลำต้นตั้งตรง รากเป็นเส้นแข็งสีดำ ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น มีตุ่มขรุขระทางด้านล่าง

ต้นกูดพร้าว

ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Cyathea latebrosa (Wall. ex Hook.) Copel. ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ คือ Alsophila latebrosa Wall. ex Hook., Dichorexia latebrosa (Wall. ex Hook.) C. Presl) จัดอยู่ในวงศ์ CYATHEACEAE[1] ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ คือ กูดต้น (ภาคเหนือ), มหาสดำ (ภาคตะวันออกเฉียงใต้), กูดพร้าว (เชียงใหม่)[1] บางแห่งเรียกว่า “กูดต้นดอยสุเทพ“

ลักษณะของกูดพร้าว

  • ต้น
    – เป็นเฟิร์นต้นที่มีลำต้นตั้งตรง
    – สูงได้ถึง 3-5 เมตร
    – ตามลำต้นมีเกล็ดขึ้นปกคลุม
    – มีรอยก้านใบที่หลุดร่วงไป
    – รากเป็นเส้นแข็งสีดำ
    – มีเขตการกระจายพันธุ์อยู่ในประเทศจีนตอนใต้ กัมพูชา มาเลเซีย และอินโดนีเซีย
    – ในประเทศไทยสามารถพบได้ทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงใต้ และภาคใต้
    – สามารถพบขึ้นได้ตามไหล่เขาในป่าดิบเขา บนพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเลต่ำกว่า 1,000 เมตร
  • ใบ
    – เป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น
    – ออกรวมกันเป็นกลุ่มบริเวณใกล้ยอด
    – แกนกลางของใบประกอบไม่เรียบ
    – มีตุ่มขรุขระทางด้านล่าง
    – ด้านบนมีขนและเกล็ดขึ้นประปราย
    – ก้านใบเป็นสีน้ำตาลปนเหลืองหรือสีน้ำตาลเข้ม
    – มีความยาวได้ 40 เซนติเมตร
    – มีหนามสั้น ๆ ที่โคนมีเกล็ดสีน้ำตาลเป็นมัน
    – มีความกว้าง 1 มิลลิเมตร และยาว 2 เซนติเมตร
    – ด้านบนมีขน
    – กลุ่มใบย่อยถัดขึ้นมาจะเป็นรูปขอบขนานแคบ
    – ปลายเรียวแหลมและมีติ่งยาว มีความกว้าง 14 เซนติเมตร และยาว 40 เซนติเมตร
    – แกนกลุ่มใบย่อยมีเกล็ดแบนสีน้ำตาลทางด้านล่าง
    – ใบย่อยจะมีมากกว่า 25 คู่ เรียงห่างกัน 1.6 เซนติเมตร
    – ใบย่อยเป็นรูปขอบขนานแกมรูปใบหอก มีความกว้าง 1.7 เซนติเมตร และยาว 7 เซนติเมตร
    – ปลายเรียวแหลม
    – โคนกึ่งตัด
    – ขอบหยักเว้าลึกเกือบถึงเส้นกลางใบย่อย มีความกว้าง 3 มิลลิเมตร และยาว 1 เซนติเมตร ปลายมน
    – ขอบเรียบหรือจักเป็นฟันเลื่อย
    – เส้นกลางใบย่อยมีขนทางด้านบน
    – แผ่นใบบาง
    – ผิวใบด้านบนเป็นสีเขียวเข้ม
    – ผิวใบด้านล่างเป็นสีเขียวอ่อน
    – เส้นใบแยกสาขาออกเป็นคู่ 7-8 คู่
    – ไม่มีก้านใบย่อย
  • สปอร์
    – กลุ่มอับสปอร์จะมีรูปร่างเกือบกลม
    – อยู่บนเส้นใบทั้งสองข้าง
    – จะอยู่ตรงเส้นกลางใบย่อย
    – เยื่อคลุมกลุ่มอับสปอร์เป็นเกล็ดเล็ก
    – อยู่ที่ฐานของกลุ่มอับสปอร์

สรรพคุณ และประโยชน์ของกูดพร้าว

  • แพทย์แผนชนบทจะนำเนื้อไม้ สามารถนำมาทำเป็นยาแก้ไข้ได้[2]
  • สามารถนำมาใช้ฝนเป็นยาทาแก้ฝีได้[2]
  • ช่วยแก้อักเสบ และแก้อาการบวม [2]
  • ลำต้น สามารถนำมาใช้ปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ได้[1]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. ข้อมูลพรรณไม้, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “กูด พร้าว”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.rspg.or.th/plants_data/. [27 ส.ค. 2015].
2. หนังสือคำอธิบายตำราพระโอสถพระนารายณ์. (ชยันต์ พิเชียรสุนทร, แม้นมาศ ชวลิต, วิเชียร จีรวงส์). “กูด พร้าว”. หน้า 519.

อ้างอิงรูปจาก
1.https://powo.science.kew.org/
2.https://www.flickr.com/