ความสำคัญของสมุนไพร
ในประเทศไทยมีสมุนไพรมากมายหลากหลายชนิด ซึ่งการใช้สมุนไพรนั้นมีมาตั้งแต่สมัยโบราณ ความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรมีในตำราแพทย์ตั้งแต่สมัยกรีก อินเดีย ซึ่งในการแพทย์ไทยแผนโบราณนั้นจะนำพืชต่าง ๆ สัตว์ แร่ธาตุต่าง ๆ จากธรรมชาติ มาปรุง มาบด มาตากแห้ง หรืออัดเม็ด มาใช้เป็นสมุนไพร เพื่อนำมาใช้เป็นยารักษาโรคต่างๆ และเป็นยาบำรุงร่างกาย ซึ่งสรรพคุณของสมุนไพรต่าง ๆ จะแตกต่างกันไป ทั้งรสชาติ กลิ่น สี
ต้นติ้วขน สรรพคุณยังยั้งเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว
ติ้วขน
ติ้วขน มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนของทวีปเอเชียภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในประเทศ พม่า ไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนาม นอกจากนี้ยังมีรายงานอีกว่าพบได้ในจีนตอนใต้อีกด้วย สำหรับในประเทศไทยสามารถพบได้ทั่วทุกภาคของประเทศ โดยมักพบขึ้นตามป่าผลัดใบและป่าเบญจพรรณ ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 200-1,000 เมตร ชื่อวิทยาศาสตร์ Cratoxylum formosum subsp. pruniflorum (Kurz) Gogelein, วงศ์ติ้ว (HYPERICACEAE) ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ติ้ว(กาญจนบุรี), แต้ว(จันทบุรี), ติ้วเหลือง(ภาคกลาง), ติ้วยาง ติ้วเลือด(ภาคเหนือ), ติ้วหนาม เป็นต้น,,
หมายเหตุ
สายพันธุ์นี้ไม่สามารถใช้รับประทานได้ และเป็นพืชคนละชนิดกับต้นติ้วขาว หรือผักติ้ว
ลักษณะของติ้วขน
ต้น เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ จะมีความสูงอยู่ที่ 8-15 เมตร เรือนยอดเป็นทรงพุ่มกลม แตกกิ่งก้านโปร่ง มีขนขึ้นอย่างแน่นหนาบริเวณยอดและกิ่งอ่อน เปลือกนอกของลำต้นมีสีน้ำตาลผสมกับดำ ตามแนวยาวแตกเป็นสะเก็ด เปลือกภายในเป็นสีน้ำตาลผสมเหลือง และมียางเหนียวสีเหลียงปนแดงอยู่ด้วย กิ่งของลำต้นขนาดเล็ก และจะถูกเปลี่ยนเป็นหนามแข็ง ,,
ใบ เป็นใบเดี่ยวออกเป็นคู่เรียงตรงข้ามกัน ใบมีลักษณะเป็นรูปไข่กลับไปถึงรูปขอบขนาน โคนใบสอบ ขอบใบเรียบ มีขนขึ้นทั้งสองฝั่งของแผ่นใบ โดยหลังใบจะเป็นขนสาก ส่วนท้องใบจะเป็นขนนุ่มอยู่รวมกันอย่างแน่นหนา ใบมีความกว้างอยู่ที่ 3-5 เซนติเมตร ส่วนความยาวจะอยู่ประมาณ 3-13 เซนติเมตร ใบอ่อนมีสีแดงหรือชมพู และใบแก่จะเป็นสีแดงในช่วงก่อนผลัดใบ ,
ดอก เป็นดอกช่อกระจุก ออกบริเวณกิ่งด้านบนของรอยแผลใบ ดอกมีสีชมพูอ่อนถึงแดง ดอกจะมีกลิ่นหอมอ่อนๆ มีกลีบดอกและกลีบเลี้ยงอย่างละ 5 กลีบ กลีบดอกมีขนสีขาวขึ้นที่บริเวณขอบกลีบ ส่วนกลีบเลี้ยงจะมีขนขึ้นอยู่บริเวณด้านนอกประปราย มีเกสรเพศผู้มากแบ่งออกมา 3 กลุ่ม ส่วนรังไข่จะมีลักษณะเกลี้ยงเป็นรูปทรงรี,
ผล เป็นผลแห้ง ลักษณะเป็นรูปรี ปลายผลแหลม มีความกว้างอยู่ที่ 0.4-0.6 เซนติเมตร และยาวประมาณ 2 เซนติเมตร ผิวผลมีลักษณะแข็ง ตามผิวจะมีคราบสีนวล ๆ อยู่ มีกลีบเลี้ยงหุ้มอยู่เกินครึ่งของผล เมื่อผลแห้ง ผลจะแตกออกเป็นพู 3 พู มีสีน้ำตาล และมีเมล็ดจำนวนมากอยู่ภายใน เมล็ดมีลักษณะเป็นขอบขนาน ดอกจะออกในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนกรกฎาคม,,
ประโยชน์ติ้วขน
เนื้อไม้มีคุณสมบัติ ไม่มีกลิ่น มีขี้เถ้าน้อย และให้ความร้อนได้ดี จึงมีการนำมาทำเป็นฟืน
สามารถใช้เปลือกต้นมาสกัดเพื่อทำสีย้อมผ้าได้ ซึ่งจะให้เป็นสีน้ำตาลเข้ม
นำมาใช้ในการก่อสร้าง ทำโครงบ้าน รั้ว เสาเข็ม ฯลฯ ได้ เนื่องจากเนื้อไม้มีความทนทานมาก และเนื้อไม้มีน้ำยางอยู่ทำให้ปลวกไม่กิน,
ข้อมูลทางเภสัชวิทยา
ค่าความเป็นพิษต่อเซลล์ม้ามของสารสกัด คือ IC50 93.31 มก./มล. ซึ่งไม่มีผลต่อการเพิ่มจำนวนเซลล์ภูมิคุ้มกันโดยตรง แต่จะไปทำการลดอัตราการเพิ่มจำนวนของทีเซลล์และบีเซลล์
พืชชนิดนี้มีสารในกลุ่มเป็นแทนนิน คาร์ดิแอคไกลโคไซด์ อัลคาลอยด์ และฟลาโวนอยด์ เป็นองค์ประกอบ อีกทั้งยังสามารถช่วยในการต่อต้านอนุมูลอิสระ ต้านเชื้อรา ต้านเชื้อไวรัสโรคเริม Herpes simplex virus type 1 ต้านเชื้อแบคทีเรีย V. cholerae และ S. aureus ไม่มีฤทธิ์กลายพันธุ์ในภาวะที่ไม่มีหรือมีเอนไซม์ แต่จะให้ฤทธิ์ต่อต้านการกลายพันธุ์ในภาวะที่มีเอนไซม์ทำงานร่วมอยู่
(ข้อมูลจากการศึกษาสารสกัดจากลำต้นด้วย 50% แอลกอฮอล์)
สรรพคุณติ้วขน
1. ช่วยในการรักษาโรคผิวหนังบางชนิดได้ โดยนำเปลือกและใบมาตำผสมกับน้ำมันมะพร้าวทาบริเวณที่เป็น(เปลือกและใบ)
2....
ต้นโคกกระสุน สรรพคุณบำรุงร่างกาย
โคกกระสุน
โคกกระสุน พบได้บ่อยในพื้นที่เช่นทางรถไฟ พื้นที่รกร้าง สวนผลไม้ ทุ่งนา และทุ่งหญ้าทั่วไป ชื่อสามัญ Bindii, Bullhead, Caltrop, Caltrops, Devil’s eyelashes, Devil’s weed, Goathead, Small caltrops, Puncture vine, Puncture weed, Tackweed,, ชื่อวิทยาศาสตร์ Tribulus terrestris L. อยู่ในวงศ์โคกกระสุน (ZYGOPHYLLACEAE) ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ หนามดิน (ตาก), หนามกระสุน (ลำปาง), ชื่อจี๋ลี่ (จีนกลาง), กาบินหนี, โคกกะสุน (ไทย), ไป๋จี๋ลี่ (จีนกลาง) เป็นต้น,,
ลักษณะของโคกกระสุน
ต้น เป็นพืชไม้ที่มีลักษณะล้มลุก และเติบโตตามพื้นดิน ความยาวของต้นสามารถถึง 160 เซนติเมตร พืชชนิดนี้เป็นพืชหญ้าและมีอายุประมาณ 1 ปี พวกมันจะกระจายอยู่ทั่วพื้นดินโดยยอดและดอกของต้นจะยื่นขึ้นมา นอกจากนี้ยังมีขนขึ้นตามลำต้น พืชชนิดนี้สามารถขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็วโดยใช้เมล็ด จะเติบโตได้ดีในดินทรายที่แห้งและมีระบบระบายน้ำดี โตได้ดีในช่วงฤดูฝน,,,
ใบ เป็นใบประกอบที่คล้ายกับขนนกเล็กๆ จำนวนใบย่อยประมาณ 4-8 คู่ และมีก้านใบยาวประมาณ 6-15 มิลลิเมตร ใบเรียงตามลำต้นและข้อโดยมีลักษณะการเรียงแบบสลับตรงข้ามกัน ใบมีรูปร่างที่ขอบขนาน โดยปลายใบจะมีลักษณะมน และโคนใบเบี้ยว มีรูปร่างหูใบที่คล้ายใบหอก ส่วนขอบใบเป็นระดับและเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3-4 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 8-10 มิลลิเมตร หลังใบและท้องใบมีขนนุ่มทั้งสองด้าน ,,
ดอก ออกเป็นดอกเดี่ยวหรือเป็นช่อสั้นตามซอกใบหรือตามข้อของลำต้นก็ได้ ดอกมีสีเหลืองสดและประกอบด้วยกลีบรองดอกและกลีบดอกอย่างละ 5 กลีบ กลีบดอกมักจะมีรูปไข่กลับ รูปรี หรือรูปไข่ปลายหอก และมีสีเหลืองสด ดอกมีเกสรเพศผู้ที่มีจำนวน 10 อัน ก้านดอกมีความยาวประมาณ 5-10 เซนติเมตร หลังจากดอกบานแล้ว ขนาดของดอกจะมีความกว้างราวๆ 1-2 เซนติเมตร ,,
ผล ลักษณะทรงกลมและเปลือกผลที่แข็งแรงมีรูปร่างเป็นรูปห้าเหลี่ยม ทั่วผลจะมีหนามแหลมขนาดเล็กกระจายอยู่ และจะมีหนามแหลมขนาดใหญ่อยู่ 1 คู่ ผลจะแบ่งเป็น 5 ช่อง ซึ่งแต่ละช่องจะมีเมล็ดอยู่ 2-3 เมล็ด หลังจากผลแห้ง ผลจะแตกออกได้ ,
ประโยชน์โคกกระสุน
สามารถใช้ในการเสริมสร้างฮอร์โมนเจริญพันธุ์ทั้งในชายและหญิงได้
ช่วยลดอาการก่อนและระหว่างมีประจำเดือนของเพศหญิง
ทำให้อาการวัยทองในผู้หญิงลดลง
บรรเทาอาการซึมเศร้า กังวล และอาการนอนไม่หลับ
ช่วยทำให้ผู้หญิงมีบุตรได้ง่ายขึ้น โดยจะไปทำให้รอบการตกไข่เป็นปกติ
ช่วยเพิ่มความต้องการทางเพศทั้งชายและหญิง
สามารถใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพของร่างกายในการสร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรง
ข้อมูลทางเภสัชวิทยา
มีการฉีดสารสกัดจากต้นด้วย 95% เอทานอล เข้าทางช่องท้องของหนูขาวพบว่าทำให้สัตว์ทดลองตายมากกว่าครึ่งคือ 56.42 กรัมต่อกิโลกรัม
ข้อมูลทางเภสัชวิทยาพบว่า ต้นมีฤทธิ์ในการลดไขมันในเลือด ลดความดันโลหิต ละลายก้อนนิ่ว ขับปัสสาวะ ต้านเชื้อราและแบคทีเรีย
พบว่ามีสารจำพวก Flavonoid glycoside ,Kaempferide, Kaempferitrin, Tribuloside, Potassium, Kaempferol-3-glucoside และพบ Alkaloid, Diosgenin, Gitogenin, Chlorogenin...
ต้นเครือปลาสงแดง สรรพคุณรักษาวัณโรค
เครือปลาสงแดง
เครือปลาสงแดง พบพืชชนิดนี้ได้ตามป่าโปร่ง ป่าพรุ ป่าดงดิบ ป่าเบญจพรรณผสม และตามที่โล่งทั่วไป ชื่อวิทยาศาสตร์ Ichnocarpus frutescens (L.) W.T.Aiton อยู่ในวงศ์ตีนเป็ด (APOCYNACEAE),
ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ เครืออีโม้ เครืออีม้อ(ภาคกลาง), เถายอดแดง (อ่างทอง), เครือเจ็น (เชียงใหม่), เต่าไห้ (ตราด), หัวขวาน (ชลบุรี), หุนน้ำ (สระบุรี), ปอต่อไห้ (จันทบุรี), เถาโก (ประจวบคีรีขันธ์), ชัยสง (เลย),เป็นต้น,
ลักษณะของเครือปลาสงแดง
ต้น เป็นไม้เถาเนื้อแข็งเลื้อยชนิดหนึ่ง แตกกิ่งก้านสาขาออกมามาก มีความยาว 2-8 เมตร มีเถาสีน้ำตาลแดง มีขนสั้นๆขึ้นอยู่ตามบริเวณเถาหรือกิ่งอ่อน ซึ่งขนก็มีสีน้ำตาลแดงเช่นกัน มัก,
ใบ ออกเป็นใบเดี่ยวเรียงตรงข้าม ใบมีลักษณะเป็นรูปไข่หรือขอบขนาดแกมใบหอก โคนใบมนเป็นรูปลิ่ม ปลายใบแหลม และขอบใบเรียบ ใบมีความกว้างอยู่ที่ 3-5 เซนติเมตรและยาว 7-11 เซนติเมตร ลักษณะของแผ่นใบจะมีความหนาและเรียบ มีสีเขียวเข้ม ตามเส้นใบจะมีขนขึ้นส่วนหลังใบจะเกลี้ยง มีเส้นใบหลักอยู่ 5-7 คู่ และก้านใบจะมีความยาวอยู่ที่ 1-2 เซนติเมตร,
ดอก เป็นดอกช่อ ออกแยกแขนงตามซอกใบและปลายกิ่งโดยจะมีดอกย่อยอยู่ราวๆ 11-80 ดอก ดอกมีสีขาวหรือสีเหลืองนวลๆ และมีกลิ่นหอมอ่อนๆ ความยาวของก้านดอกประมาณ 2-3 มิลลิเมตร ซึ่งก้านดอกจะมีขนสั้นหนานุ่มอยู่ กลีบดอกเรียงบิดเวียนขวา และปลายกลีบบิด ส่วนโคนของกลีบจะเชื่อมติดกันเป็นหลอดลักษณะเป็นรูปถ้วยโดยมีความกว้างอยู่ราวๆ 1-2 มิลลิเมตร และยาว 2-3 มิลลิเมตร ส่วนปลายแยกเป็นกลีบดอกจะแบ่งออกเป็น 5 กลีบ ลักษณะเป็นแฉกมนคล้ายรูปไข่ มีความกว้างประมาณ 2 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 2-3 มิลลิเมตร มีใบประดับดอกอยู่ 2 อัน ลักษณะเป็นรูปไข่ ขอบเรียบ กว้างประมาณ 0.5 มิลลิเมตรและยาว 1-2 มิลลิเมตร โดยใบประดับจะคอยรองรับช่อดอกย่อยอยู่ มีเกสรเพศผู้สีเหลืองผิวเกลี้ยงและมีเกสรเพศเมียที่ติดอยู่เหนือวงกลีบ ดอกออกในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมกราคม,
ผล ออกเป็นฝักคู่ ผลมีลักษณะคล้ายรูปทรงกระบอก มีความกว้าง 2-5 มิลลิเมตรและยาว 3-11 เซนติเมตร ปลายฝักแหลมฝักจะแตกออกเมื่อแห้ง โดยจะแตกเป็นตะเข็บเดียวซึ่งจะมีเมล็ดสีน้ำตาลซ่อนอยู่ในฝัก ส่วนปลายของเมล็ดจะมีขนขึ้นกระจุกอยู่อย่างเห็นได้ชัด,
ข้อมูลทางเภสัชวิทยา
ในลำต้น พบสาร epi-friedelinol, amyrin, friedelin, beta-sitosterol, lupeol
พบสาร quercetin-3-O-beta-D-glucopyranoside, quercetin ในดอก
ในรากพบสาร beta-sitosterol
ใบ มีสาร proanthocyanidin, kaemferol-3-galactoside (trifolin), สารฟลาโวน apigenin, isovitexin, kaemferol, synapic acid, protocatechuic acid, phenolic acids, ursolic acid acetate, vanillic, syringic...
ต้นคนทีเขมา สรรพคุณเมล็ดช่วยแก้อาหารไม่ย่อย
คนทีเขมา
คนทีเขมา มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปอเมริกา และเป็นพรรณไม้พื้นเมืองของอเมริกา ได้แพร่พันธุ์มาถึงญี่ปุ่นและเอเชียตอนใต้ ที่สูงประมาณ 200-1,400 เมตร ชื่อสามัญ Indian privet, Five-leaved chaste tree, Negundo chest nut, Chinese chaste, ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Vitex negundo L. อยู่วงศ์กะเพรา (LAMIACEAE หรือ LABIATAE) ชื่อในท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น หวงจิง (จีนกลาง), กูนิง (มาเลเซีย-นราธิวาส), คนทีสอดำ (ภาคเหนือ), อึ่งเกง (จีนแต้จิ๋ว), กุโนกามอ (มาเลเซีย-ปัตตานี), คนทิ (ภาคตะวันออก), ดินสอดำ โคนดินสอ ผีเสื้อดำ คนดินสอดำ (อื่น ๆ) ,,
ลักษณะของคนทีเขมา
ต้น เป็นพรรณไม้พุ่ม ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง สูงได้ประมาณ 3-6 เมตร มีลำต้นเป็นสีเทาปนกับน้ำตาล ใบ กิ่ง ก้านจะมีกลิ่นหอม กิ่งอ่อนเหลี่ยม เป็นสีเทา มีขนอ่อนขึ้น มีรากสีเหลือง เนื้อในรากจะมีลักษณะเป็นสีขาว ขยายพันธุ์โดยวิธีการเพาะเมล็ด การปักชำ การกิ่งตอน,,
ใบ เป็นใบประกอบแบบนิ้วมือ ใบจะออกเรียงตรงข้ามกัน มีใบย่อยอยู่ 5 หรือ 3 ใบ ใบด้านบนจะมีก้าน ใบล่างไม่มีก้าน ใบเป็นรูปใบหอก ที่ขอบใบจะเรียบหรือหยัก ที่ปลายใบจะยาวแหลม ใบกว้างประมาณ 1-2.5 เซนติเมตร มีขนาดยาวประมาณ 4-7 เซนติเมตร ที่ด้านหลังของใบจะเป็นสีเขียวเข้ม ท้องใบจะเป็นสีขาว มีขนอ่อนปกคลุม
ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ที่ตามซอกใบ มีขนาดยาวประมาณ 15 เซนติเมตร มีดอกย่อยขนาดเล็กอยู่จำนวนมาก กลีบดอกเป็นสีขาวแกมม่วงอ่อน กลีบดอกแตกออกเป็น 5 แฉก ขนาดไม่เท่ากัน จะมีขนขึ้นนิดหน่อย เชื่อมกันที่โคน ที่ปลายกลีบล่างจะแผ่โค้ง กลีบรองดอกจะเชื่อมติดกันเป็นถ้วย ที่ปลายกลีบแยกเป็นแฉก 5 แฉก มีเกสรเพศผู้อยู่ 4 อัน ดอกออกประมาณเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน,
ผล เป็นผลสด เป็นรูปกลม จะแห้ง เปลือกผลมีลักษณะแข็งและเป็นสีน้ำตาล มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2.5 มิลลิเมตร ติดผลช่วงประมาณเดือนกรกฎาคมถึงเดือนกันยายน,
ประโยชน์ของคนทีเขมา
1. ปลูกเป็นไม้ประดับกลางแจ้ง
2. มีผลิตภัณฑ์รูปแบบยาแคปซูล ยาเม็ด น้ำมันนวด สำหรับรักษาอาการปวดฟัน ข้ออักเสบ ปวดเมื่อย ตึง เกาต์
3. สามารถใช้ไล่ไรไก่ เห็บ หมัด ลิ้น ไรได้ ด้วยการเอากิ่งไปไว้ในเล้าไก่ ขยี้ใบทาตัวไล่แมลง หรือเอากิ่งใบไปเผาไล่ยุง หรือต้มกิ่งก้านใบกับน้ำใช้ฉีดไล่ยุง ยาไล่ยุง ให้นำกิ่งก้านใบ 1 ส่วน น้ำ 2 ส่วน มาต้มให้เดือด 15 นาที...
ต้นกฤษณา สรรพคุณเสริมสมรรถภาพทางเพศ
กฤษณา
กฤษณา สามารถพบได้ในป่าแถบเขตร้อนชื้น เช่นป่าดงดิบแล้งและชื้น หรือในบริเวณพื้นที่ราบใกล้กับแม่น้ำลำธาร ชื่อสามัญ Eagle wood, Agarwood, Aglia, Aloewood, Akyaw, Calambac, Calambour, Lignum aloes ชื่อวิทยาศาสตร์ Aquilaria crassna Pierre ex Lecomte ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Aquilaria crasna Pierre จัดอยู่ในวงศ์ วงศ์กฤษณา (THYMELAEACEAE) ชื่ออื่น ๆ ไม้พวงมะพร้าว (ภาคใต้ของไทย), ไม้หอม (ภาคตะวันออกของไทย), สีเสียดน้ำ (จังหวัดบุรีรัมย์), ตะเกราน้ำ (จังหวัดจันทบุรี), กายูการู กายูกาฮู กายูดึงปู (จังหวัดปัตตานีและมาเลเซีย), ติ่มเฮียง (ภาษาจีน), เซงเคง (ภาษากะเหรี่ยง), ชควอเซ ชควอสะ (ชาวกะเหรี่ยงในจังหวัดแม่ฮ่องสอน), อครุ ตคร (ภาษาบาลี), จะแน, พวมพร้าว, ปอห้า (ภาษาถิ่นคนเมือง) ,,,, เป็นต้น
ข้อควรรู้
ไม้นี้จะมีอยู่ด้วยกันประมาณ 15 ชนิด กระจายพันธุ์อยู่ทั่วพื้นป่าในแถบเอเชียเขตร้อน โดยในประเทศไทยจะพบอยู่หลัก ๆ 3 ชนิด ดังนี้
1. Aquilaria crassna Pierre. พบได้ในป่าทางภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
2. Aquilaria subintegra Ding Hau พบได้ในเฉพาะทางภาคตะวันออก
3. Aquilaria malaccensis Lamk. พบได้ในเฉพาะทางภาคใต้
ส่วนชนิดอื่น ๆ ที่อาจจะพบเจอได้ คือ Aquilaria rugosa, Aquilaria baillonil, และ Aquilaria hirta
ลักษณะกฤษณา
ต้น
- ลำต้นเป็นทรงเปลาตรง พื้นผิวเปลือกต้นเรียบเป็นสีเทาอมขาว มีรูระบายอากาศสีน้ำตาลอ่อนอยู่ทั่วลำต้น และเปลือกด้านในมีสีขาวอมเหลือง เมื่อต้นมีอายุมากขึ้นเรื่อย ๆ เปลือกภายนอกจะค่อย ๆ แตกเป็นร่องยาวทั่วลำต้น และมีพูพอนที่โคนต้น ต้นจะแตกกิ่งก้านออกเป็นทรงพุ่มเจดีย์ต่ำ ๆ ตามกิ่งก้านจะมีขนสีขาวเล็ก ๆ ขึ้นปกคลุมอยู่
- เป็นไม้ยืนต้นที่มีขนาดกลางไปจนถึงขนาดใหญ่
- ความสูงของต้น ประมาณ 18-30 เมตร
- การขยายพันธุ์ใช้วิธีการเพาะเมล็ด การปักชำ การตอนกิ่ง และการขุดต้นกล้าอ่อนมาปลูก,
ใบ
- ใบเป็นรูปรี ใบมีสีเขียว ตรงปลายใบเป็นติ่งแหลม โคนใบมน มีผิวใบและขอบใบเรียบ แต่จะมีขนขึ้นปกคลุมอยู่ที่เส้นใบด้านล่างเล็กน้อย
- มีความกว้างของใบอยู่ 3-5 เซนติเมตร มีความยาวอยู่ 6-11 เซนติเมตร และมีก้านใบยาวอยู่ที่ประมาณ 0.2-0.7 เซนติเมตร
- เป็นไม้ไม่ผลัดใบ
ดอก
- ออกดอกเป็นช่อที่บริเวณซอกใบ ดอกมี 5 กลีบมีสีเขียวอมเหลือง มีเกสรเพศผู้อยู่ 10 ก้าน และดอกมีกลีบเลี้ยงที่โคนติดกันเป็นรูปหลอด
ผล
- ผลมีรูปร่างเป็นรูปทรงกลมรี ผลมีสีเขียว และมีขนละเอียดสั้น ๆ ขึ้นปกคลุม ผลมีเส้นเล็ก...
ต้นพลับพลึงแดง สรรพคุณช่วยขับเลือดประจำเดือน
พลับพลึงแดง
พลับพลึงแดง มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปแอฟริกา ชื่อสามัญ Red crinum, Giant lily, Spider lily, Red Bog Lily ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Crinum × amabile Donn ex Ker Gawl. หรือ Crinum × amabile Donn (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ คือ Crinum × augustum Roxb.) อยู่วงศ์พลับพลึง (AMARYLLIDACEAE),,,, ชื่อในท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น พลับพลึงดอกแดง (จังหวัดกรุงเทพมหานคร, ภาคกลาง), พลับพลึงดอกแดงสลับขาว, ลิลัว (ภาคเหนือ), พลับพลึง, พลับพลึงใหญ่ดอกสีชมพู ,,,
ลักษณะของต้นพลับพลึงแดง
ต้น เป็นไม้ล้มลุกที่มีอายุหลายปี ต้นสูงประมาณ 1-2 เมตร ลำต้นจะมีหัวอยู่ใต้ดิน ส่วนที่อยู่เหนือดินคือ กาบใบสีขาวหุ้มซ้อนเป็นชั้น ขยายพันธุ์โดยการแยกหน่อไปปลูกหรือการเพาะเมล็ด เติบโตได้ดีในพื้นที่ชุ่มน้ำ หรือที่มีความชื้นค่อนข้างสูง อย่างเช่น ริมคลอง หนอง บึง ทนต่อสภาพแวดล้อมได้โดยไม่ต้องการดูแลเอาใจใส่เยอะ ถ้าหากต้องการให้มีดอกเยอะให้ปลูกในพื้นที่กลางแจ้ง แต่ถ้าหากต้องการให้ใบสวยให้ปลูกในที่มีแสงแดดแบบรำไร (หัวมีสาร Alkaloid Narcissine),,
ใบ เป็นใบเดี่ยวเรียงซ้อนสลับเป็นวง ใบเป็นรูปใบหอก ที่โคนใบจะเป็นกาบทำหน้าที่เป็นก้านใบห่อหุ้มลำต้น ส่วนที่ปลายใบจะแหลม ขอบใบเรียบ ใบกว้างประมาณ 7-15 เซนติเมตร มีความยาวประมาณ 1 เมตร ใบมีลักษณะเป็นสีเขียว ผิวใบอ่อนนุ่ม เหนียว อวบน้ำ หนา ,
ดอก ออกเป็นช่อที่มีขนาดใหญ่ ก้านดอกจะแทงขึ้นจากกลุ่มของใบตอนปลาย หนึ่งช่อมีดอกย่อยอยู่เป็นกระจุกประมาณ 12-40 ดอกกลีบดอกเป็นสีขาวแกมสีชมพู กลีบด้านบนดอกจะเป็นสีม่วง สีชมพู กลีบด้านล่างเป็นสีแดงเลือดหมู สีแดงเข้ม กลีบดอกแคบเรียวยาว ถ้าดอกบานเต็มที่กลีบดอกจะงองุ้มเข้าหาก้านดอก มีเกสรยาวยื่นออกจากกลางดอก มีกลิ่นหอม กลิ่นจะหอมมากช่วงพลบค่ำ ออกดอกได้ปีละครั้ง ดอกออกช่วงเดือนกันยายนถึงเดือนตุลาคม บ้างก็ว่าดอกออกได้ทั้งปี และออกเยอะช่วงฤดูฝน,,
ผล เป็นผลสด มีสีเขียว ผลค่อนข้างกลม มีเมล็ดกลม,
พิษของพลับพลึงดอกแดง
มีฤทธิ์ระคายเคืองกับระบบทางเดินอาหาร (เข้าใจว่าเป็นส่วนหัว) หัวมีพิษในกลุ่มอัลคาลอยด์ที่ชื่อว่า “Lycorine” อาการเป็นพิษ คือ มีน้ำลายเยอะ อาเจียน ตัวสั่น เหงื่อออก ท้องเดินแบบไม่รุนแรง ถ้ามีอาการมากอาจเกิด Paralysis และ Collapse
วิธีการรักษาพิษ
1. ดื่มน้ำเยอะ ๆ เพื่อทำให้พิษเจือจาง
2. ทำให้อาเจียนออก
3. นำตัวส่งโรงพยาบาลเพื่อทำการล้างออก เพื่อเอาชิ้นส่วนพลับพลึงออก
4. ทานยารักษาอาการคลื่นไส้อาเจียน เพื่อช่วยป้องกันการสูญเสียน้ำกับเกลือแร่ภายในร่างกายเยอะเกินไป
5. ควรให้น้ำเกลือจนกว่าจะอาการดีขึ้น
สรรพคุณ และประโยชน์พลับพลึงแดง
1. สารสกัดที่ได้จากใบจะมีฤทธิ์ที่ช่วยต้านเชื้อแบคทีเรียได้ (ใบ)
2. รากสามารถใช้เป็นยารักษาพิษยางน่องได้ (ราก)
3. ใบสดมาลนไฟเพื่อทำให้อ่อนตัวลง นำมาใช้ประคบหรือพันรักษาแก้อาการบวม อาการเคล็ดขัดยอก ฟกช้ำบวม แพลง ช่วยถอนพิษได้ดี (ใบ),,,
4. สามารถช่วยขับเลือดประจำเดือนของผู้หญิงได้ (เมล็ด)
5. สามารถใช้หัวเป็นยารักษาโรคที่เกี่ยวกับปัสสาวะได้ (หัว)
6. ใช้ใบพลับพลึงอย่างเดียวหรือใช้ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่น...
ต้นตะเคียนทอง เปลือกของต้นใช้แก้อาการลงแดง
ตะเคียนทอง
ตะเคียนทอง พบในประเทศบังกลาเทศ, ประเทศกัมพูชา, ประเทศอินเดีย, ประเทศลาว, ประเทศมาเลเซีย, ประเทศพม่า, ประเทศไทย และประเทศเวียดนาม ชื่อสามัญ Malabar iron wood, Takian, Thingan, Iron wood, Sace ชื่อวิทยาศาสตร์ Hopea odorata Roxb. จัดอยู่ในวงศ์ยางนา (DIPTEROCARPACEAE),, ชื่อท้องถิ่นอื่นๆ ตะเคียนใหญ่ (ภาคกลาง), แคน (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), จะเคียน (ภาคเหนือ) เป็นต้น,,
ลักษณะตะเคียนทอง
ต้น เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ไม่ผลัดใบ มีความสูงอยู่ที่ 20-40 เมตร ลำต้นมีลักษณะเปลาตรง มีเส้นรอบวงกว่า 300 เซนติเมตร เรือนยอดมีลักษณะกลมเป็นทรงพุ่มทึบ เปลือกต้นมีสีน้ำตาลดำ มีลักษณะต้นหนา แตกเป็นสะเก็ด แก่นไม้มีสีน้ำตาลแดง เนื้อไม้เป็นสีเหลืองหม่น มีท่อน้ำมันหรือยางเป็นเส้นสีเทาขาวทอดผ่านอยู่เสมอ ,,,
ใบ ออกเป็นใบเดี่ยว ใบมีลักษณะเป็นรูปไข่แกมรูปใบหอก ปลายใบเรียว โคนใบเบี้ยว แผ่นใบจะเหนียวแต่บาง หลังใบเกลี้ยงเป็นมัน มีตุ่มหูดอยู่ที่บริเวณท้องใบตามง่ามแขนง ความกว้างของใบจะอยู่ที่ 3-6 เซนติเมตร และความยาวจะอยู่ที่ 10-15 เซนติเมตร มีเส้นแขนงอยู่ 9-13 คู่ที่ใบ ใบย่อยเชื่อมกันเป็นขั้นบันได หูใบเป็นรูปสามเหลี่ยม,,
ดอก เป็นดอกช่อ ช่อดอกจะออกบริเวณปลายกิ่งและง่ามใบ เป็นช่อแบบแยกแขนง มีความยาวอยู่ที่ 5-7 เซนติเมตร ในหนึ่งช่อจะมีดอกย่อยอยู่ประมาณ 40-50 ดอก ดอกมีสีเหลืองแกมน้ำตาล ดอกมีขนาดเล็กและมีขนนุ่มขึ้นปกคลุม ดอกมีกลิ่นหอม มีกลีบดอกอยู่ 5 กลีบ แต่ละกลีบจะมีความยาว 3-5 มิลลิเมตร ดอกที่บานเต็มที่ดอกจะบิดเป็นกงจักรและจะมีขนาดเพียง 0.3-1 เซนติเมตร กลีบดอกส่วนปลายจะหยัก กลีบดอกส่วนล่างจะบิดและเชื่อมติดกันอยู่ ในดอกมีเกสรตัวผู้ 15 อัน ส่วนยอดของอับเรณูจะแหลม รังไข่ของเกสรตัวเมียจะอยู่เหนือวงกลีบ ดอกจะไม่ออกทุกปี และออกแค่ในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคม,
ผล เป็นผลแห้งและไม่แตก ผลอ่อนเป็นสีเขียวอ่อน และพอสุกจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้ม ลักษณะของผลจะกลมหรือเป็นรูปไข่เกลี้ยง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของผลจะอยู่ที่ 0.6 เซนติเมตร ส่วนปลายของผลจะมนและมีติ่งเป็นหนามแหลมอยู่ มีปีกยาว 4-6 เซนติเมตร ลักษณะคล้ายรูปใบพาย มีอยู่ 1 คู่ ส่วนปลายของปีกมีความกว้างอยู่ที่ 1 เซนติเมตร และจะเริ่มเรียวสอบเข้ามาทางด้านโคนปีก มีเส้นปีกอยู่ตามแนวยาว 9-11 เส้น และจะมีปีกสั้นๆ ซ้อนกันอยู่ 3 ปีก ในหนึ่งผลจะมีเพียงเมล็ดเดียว ลักษณะของเมล็ดจะกลมและเป็นสีน้ำตาล ปีกจะมีหน้าที่พาผลให้ปลิวไปตามลมได้ไกล และจะเริ่มเกิดผลในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน,,
ประโยชน์ตะเคียนทอง
1. สารแทนนิน ซึ่งมีคุณสมบัติในการทำให้แผ่นหนังมีความแข็งขึ้นกว่าเดิม เมื่อนำมาใช้ฟอก
2. มีน้ำฝาดชนิด Catechol และ Pyrogallol อยู่ในเปลือกต้น
3. สามารถนำมาปลูกตามป่า หรือสวน เพื่อให้ร่มเงา เป็นไม้เอาไว้บังลม รักษาสมดุลทางธรรมชาติ เนื่องจากไม่ผลัดใบพร้อมกัน ทำให้มีความเขียวอยู่ตลอดทั้งปี,,
4. สามารถทำน้ำมันจากชันของไม้ได้ โดยจะนำมาใช้ชักเงาตกแต่งเครื่องใช้ หรือนำมาทาเคลือบเรือเพื่อป้องกันเพรียง,,,
5....
ผกากรอง สรรพคุณช่วยแก้ติดเชื้อวัณโรคที่ต่อมทอนซิล
ผกากรอง
ผกากรอง มีถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบอเมริกา แถบแอฟริกาเขตร้อน ในภายหลังได้แพร่ขยายไปทั่วโลกในเขตร้อน พบขึ้นที่ตามป่าละเมาะที่ค่อนข้างโปร่งและแห้งแล้ง ชื่อสามัญ White sage, Lantana, Cloth of gold, Hedge flower, Weeping lantana ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Lantana camara L. อยู่วงศ์ผกากรอง (VERBENACEAE) ชื่อในท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น อู่เซ่อเหมย (จีนกลาง), หญ้าสาบแร้ง (ภาคกลาง, ภาคเหนือ), ก้ามกุ้ง (ภาคกลาง), เบ็งละมาศ (ภาคเหนือ), สามสิบ (จังหวัดจันทบุรี), ไม้จีน (จังหวัดชุมพร), คำขี้ไก่ (จังหวัดเชียงใหม่), มะจาย (จังหวัดแม่ฮ่องสอน), หม่าอิงตาน (จีนกลาง), เบญจมาสป่า (ภาคกลาง), ตาปู (จังหวัดแม่ฮ่องสอน), โงเซกบ๊วย (จีนแต้จิ๋ว), สาบแร้ง (ภาคเหนือ), ขะจาย (จังหวัดแม่ฮ่องสอน), ยี่สุ่น (จังหวัดตรัง), ขี้กา (จังหวัดปราจีนบุรี, จังหวัดประจวบคีรีขันธ์), ดอกไม้จีน (จังหวัดตราด)
ลักษณะผกากรอง
ต้น เป็นไม้พุ่มกึ่งเลื้อยที่มีขนาดเล็ก ต้นสูงประมาณ 1-2 เมตร ลำต้นจะแตกกิ่งก้านสาขาเยอะ ใบดกและหนา ที่ตามลำต้นจะเป็นร่องมีหนามนิดหน่อย มีขนขึ้นทั้งต้น สามารถขยายพันธุ์ได้โดยการปักชำ การเพาะเมล็ด เป็นไม้ดอกกลางแจ้ง มีอายุหลายปี ชอบแสงแดดจัด ควรรับแสงแดดแบบพอเพียง จะชอบสภาพค่อนข้างแห้งแล้ง โตได้ดีในดินร่วนปนกับทรายที่สามารถระบายน้ำได้ดี เป็นพืชที่แข็งแรงทนทาน หลายแห่งถือเป็นวัชพืชชนิดหนึ่ง เนื่องจากขึ้นและขยายพันธุ์ได้ดีตามธรรมชาติ,,
ใบ เป็นใบเดี่ยวจะออกเรียงตรงข้าม ใบเป็นรูปไข่สีเขียวเข้ม ที่ปลายใบจะแหลม ส่วนที่ขอบใบจะหยักเป็นฟันเลื่อย ใบกว้างประมาณ 2-3.5 เซนติเมตร มีความยาวประมาณ 3-9 เซนติเมตร ที่ผิวใบด้านบนจะมีลักษณะหยาบ จะมีขนขึ้นที่ส่วนผิวใบด้านบนกับด้านล่าง ถ้าลูบจะระคายมือ เส้นใบย่น ก้านใบมีความยาวประมาณ 1 เซนติเมตร,
ดอก ออกเป็นช่อคล้ายซี่ร่ม ออกดอกที่ตามง่ามใบและยอดของกิ่ง ช่อดอกมีความกว้างประมาณ 3-5 เซนติเมตร ก้านช่อดอกมีความยาวประมาณ 4-10 เซนติเมตร ดอกย่อยมีลักษณะเล็กและเป็นรูปกรวย จะมีกลิ่นที่ฉุน กลีบดอกจะบานออกเป็น 4 กลีบ ขนาดประมาณ 0.5 เซนติเมตร จะค่อยๆทยอยบานจากด้านนอกเข้าช่อดอก มีเกสรเพศผู้อยู่ที่ตรงกลางดอก 4 ก้านจะอยู่ติดกลีบดอก ดอกมีหลายสี อย่างเช่น สีแดง (ข้าวเหนียวหน้ากุ้ง), สีขาว (ผกากรอง), สีเหลือง (ผกากรองเหลือง) และมีสีชมพู สีแสด และมีหลายสีในช่อดอกเดียวกัน สามารถออกดอกได้ทั้งปีถ้าหากอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
ผล เป็นรูปกลม จะออกผลเป็นกลุ่มหรือเป็นพวง เป็นผลสด มีเนื้อ มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 5 มิลลิเมตร ผลอ่อนมีลักษณะเป็นสีเขียว เนื้อนิ่ม ผลสุกเป็นสีม่วงดำ มีเมล็ดอยู่ในผล 2 เมล็ด,,,,
ประโยชน์ผกากรอง
1. ใบมีกลิ่นฉุน มีสารพิษที่เป็นพิษกับระบบประสาทของแมลงจำพวกหนอนกระทู้ในแปลงผักที่มีชื่อว่า...
ต้นเคี่ยม ช่วยรักษาอาการปากเปื่อย
ต้นเคี่ยม
เคี่ยม พบในคาบสมุทรอินโดจีน คาบสมุทรมลายู ไปจนถึงเกาะบอร์เนียว ลำต้นตรง ประเทศไทยพบทั่วไปตามป่าดงดิบในภาคใต้ ชื่อสามัญ Resak tembaga ชื่อวิทยาศาสตร์ Cotylelobium lanceolatum Craib วงศ์ยางนา(DIPTEROCARPACEAE) ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ เคี่ยมดำ เคี่ยมขาว เคี่ยมแดง (ภาคใต้), เคี่ยม (ทั่วไป) เป็นต้น,
ลักษณะต้นเคี่ยม
ต้น เป็นไม้ยืนต้น ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง มีความสูงอยู่ที่ 20-40 เมตร เรือนยอดเป็นทรงพุ่มทึบคล้ายกับเจดีย์ต่ำๆ เปลือกต้นมีลักษณะเรียบเป็นสีน้ำตาล จะมีรอยด่างสีเหลืองกับสีเทาสลับกันอยู่
เปลือก ด้านในมีสีน้ำตาลอ่อน ทั่วลำต้นจะมีต่อมที่ใช้ระบายอากาศกระจายตัวอยู่ ตามลำต้นมีชันใส และจับตัวเป็นก้อนสีเหลืองในภายหลัง
ใบ มีลักษณะเป็นรูปไข่ ปลายใบเรียวสอบ โคนใบมน ความกว้างของใบจะอยู่ที่ 2-5 เซนติเมตร และความยาวของใบจะอยู่ที่ 5-18 เซนติเมตร แผ่นใยมีลักษณะหนา หลังใบเรียบเป็นมัน มีขนสีน้ำตาลขึ้นเป็นกระจุกอยู่บริเวณส่วนท้องของใบ
ดอก เป็นดอกช่อ ออกบริเวณตามยาวของปลายกิ่งและง่ามใบ ดอกเป็นสีขาว มีกลิ่นหอมอ่อนๆ
ผล มีขนาดเล็ก ลักษณะเป็นรูปทรงกลม เส้นผ่านศูนย์กลางอยู่ที่ 0.7 เซนติเมตร มีขนนุ่มขึ้นปกคลุมลักษณะคล้ายกับขนกำมะหยี่ ผลจะมีปีกทั้งหมด 5 ปีก เป็นปีกยาว 2 ปีก และปีกสั้น 3 ปีก ปีกมีลักษณะเป็นรูปใบหอก ปลายปีกจะมนเรียวและสอบมาทางโคน มีเส้นตามแนวยาวอยู่ 5 เส้น จะเริ่มติดผลในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน,
ประโยชน์เคี่ยม
1. สามารถนำเปลือกไม้มาใช้ในการรักษาน้ำตาลจากต้นตาลไม่ให้บูดเร็ว โดยนำเปลือกต้นมาตัดใส่ในกระบอกตาลเพื่อรองรับน้ำตาล ซึ่งรสฝาดของเปลือกไม้จะเป็นหัวใจหลักในการรักษาน้ำตาลไว้
2. ถ่านที่ได้สามารถให้ความร้อนสูงไม่แพ้ถ่านหินเลย
3. ใช้เป็นตัวชี้วัดพื้นดินว่าเหมาะแก่การทำเกษตรและที่อยู่อาศัยหรือไม่ โดยใช้ข้อมูลในด้านนิเวศน์และทางด้านภูมิสถาปัตย์
4. นำมาใช้สำหรับทาเรือได้ โดยนำเปลือกต้นมาทุบผสมกับชัน
5. ด้วยความแข็งแรง ทนทาน และความละเอียดของเนื้อไม้ สามารถนำมาใช้ในงานก่อสร้างที่ต้องการความแข็งแรงมากๆ หรือจะเป็นการสร้างสิ่งปลูกสร้างที่ต้องตากแดดตากฝนเป็นประจำก็ได้ ,
สรรพคุณเคี่ยม
1. ชันที่ได้ สามารถนำมาทำเป็นยาสมานแผลได้,
2. เปลือกต้น สามารถนำมาทำเป็นยาที่ใช้ในการห้ามเลือดจากแผลสดได้(เปลือกต้น),
3. มีสรรพคุณช่วยรักษาอาการปากเปื่อย (ยอด, ราก, ดอก, ลำต้น)
4. สามารถนำมาตำพอกเพื่อบรรเทาอาการฟกบวม เน่าเปื่อยได้(ยอด, ราก, ดอก, ลำต้น)
5. สามารถนำเปลือกต้นมาทำเป็นยาที่ใช้ในการชะล้างแผลได้(เปลือกต้น)
6. ชัน มีคุณสมบัติในการรักษาอาการท้องร่วง,
สั่งซื้อ อาหารเสริม สำหรับผู้ป่วย เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth
เอกสารอ้างอิง
1. กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. “เคี่ยม”. . เข้าถึงได้จาก: www.dnp.go.th. .
2. กลไกการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ความหลากหลายทางชีวภาพ จังหวัดสุราษฎร์ธานี สำนักความหลากหลายทางชีวภาพ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. “ต้นเคี่ยม”. . เข้าถึงได้จาก: chm-thai.onep.go.th. .
3. สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “เคี่ยม”. . เข้าถึงได้จาก: www.rspg.or.th. .
4. https://medthai.com/
อ้างอิงรูปจาก
1.https://www.earth.com/
ต้นคนทา สรรพคุณของรากบรรเทาอาการปวดเมื่อย
คนทา
คนทา มีถิ่นกำเนิดตั้งแต่จีนตอนใต้ลงไปจนถึงประเทศมาเลเซีย ในประเทศไทยจะพบได้มากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ โดยมักจะพบในป่าเขาหินปูน ป่าผลัดใบ และป่าละเมาะ,,, ชื่อวิทยาศาสตร์ Harrisonia perforata (Blanco) Merr. จัดอยู่ในวงศ์ วงศ์ส้ม (RUTACEAE) ชื่ออื่น ๆ คนทา (ภาคกลางของไทย), หนามโกทา โกทา (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย), จี้ จี้หนาม สีเตาะ หนามจี้, สีเดาะ (ภาคตะวันตกเฉียงเหนือของไทย), มีซี, มีชี (ชาวกะเหรี่ยงในจังหวัดแม่ฮ่องสอน), หนามกะแท่ง (จังหวัดเลย), ขี้ตำตา (จังหวัดเชียงใหม่), สีฟัน กะลันทา สีฟันคนทา สีฟันคนตาย (อื่น ๆ) เป็นต้น,,,
ลักษณะของคนทา
ต้น
- เป็นไม้พุ่มกึ่งไม้เถาหรือไม้พุ่มประเภทเลื้อย
- ลำต้นมีลักษณะคล้ายต้นหมาก เปลือกลำต้นมีสีน้ำตาล ทั่วทั้งลำต้นและกิ่งก้านจะมีหนามขนาดเล็กขึ้นปกคลุม
-ความสูงของต้น ประมาณ 3-6 เมตร
- การขยายพันธุ์ ใช้วิธีการเพาะเมล็ด
ใบ
- ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ใน 1 ก้านใบ จะมีใบย่อยประมาณ 11-15 ใบ ใบย่อยมีเป็นรูปไข่รี บริเวณปลายใบแหลม ตรงโคนใบสอบ ส่วนขอบใบมีรอยหยัก โดยใบจะมีสีเขียว แต่ใบอ่อนจะมีสีแดง,
-สัดส่วนขนาดของใบ: ใบมีความกว้างประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร และมีความยาวประมาณ 2-2.5 เซนติเมตร
-การผลัดใบของต้นคนทา: เป็นไม้ไม่ผลัดใบ
ดอก
- ออกดอกเป็นช่อ ภายในช่อมีดอกย่อยขนาดเล็กอยู่กระจุกรวมตัวกันอยู่ ดอกย่อยมีกลีบดอกอยู่ประมาณ 4-5 กลีบเป็นรูปขอบขนาน จุดเด่นของช่อดอกต้นคนทาจะอยู่ที่ดอกย่อยด้านในจะเป็นสีขาวนวล ส่วนด้านนอกจะเป็นสีแดงแกมม่วง,
ผล
- ผลมีรูปร่างเป็นทรงกลมออกเบี้ยว ผลตอนอ่อนจะเป็นสีเขียวอ่อน ส่วนผลเมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนสีเป็นสีแดงเข้มอมเขียว ผิวผลเรียบ ภายในผลมีเนื้อที่ค่อนข้างแข็ง
เมล็ด
- เมล็ดมีขนาดเล็กเป็นสีน้ำตาล ภายในผลจะมีเมล็ดอยู่ 1 เมล็ด
สรรพคุณของต้นคนทา
1. ทั้งต้นมีสรรพคุณเป็นยารักษาอาการท้องเสีย (ทั้งต้น)
2. ทั้งต้นมีฤทธิ์ในการช่วยบรรเทาอาการกระหายน้ำได้ (ทั้งต้น)
3. เปลือกต้น ลำต้น ราก หรือเปลือกราก อย่างใดอย่างหนึ่ง สามารถนำมาต้มเป็นยาแก้ไข้ได้ทุกชนิด (เปลือกต้น, ต้น, ราก, เปลือกราก),,,,,
4. เปลือกต้น ราก หรือเปลือกราก อย่างใดอย่างหนึ่ง สามารถนำมาต้มใช้สำหรับทานเป็นยารักษาโรคที่เกี่ยวกับทางเดินลำไส้ได้ (เปลือกต้น, ราก, เปลือกราก),,,,,
5. เปลือกต้น ลำต้น ราก หรือเปลือกราก อย่างใดอย่างหนึ่ง สามารถนำมาต้มใช้สำหรับทานเป็นยารักษาอาการท้องร่วงและโรคบิดได้ (เปลือกต้น, ลำต้น, ราก, เปลือกราก),,,,
6. ต้นและรากมีสรรพคุณในการรักษาอาการร้อนในและบรรเทาอาการกระหายน้ำ (ต้น, ราก),
7. ต้นมีสรรพคุณเป็นยาฟอกโลหิต (ต้น)
8. เปลือกต้นมีสรรพคุณในการบรรเทาอาการปวดฟันได้ (เปลือกต้น)
9. เปลือกรากมีสรรพคุณในการป้องกันโรคอหิวาตกโรค (เปลือกราก)
10. ใบมีสรรพคุณในการรักษาอาการปวดได้ คล้ายยาแก้ปวดอย่าง ยาพาราเซตามอล เป็นต้น (ใบ),
11. ดอกมีฤทธิ์ในการแก้พิษจากแมลงกัดต่อย(ดอก),
12. รากมีฤทธิ์ในการขับโลหิต (ราก)
13. รากมีสรรพคุณในการบรรเทาอาการปวดเมื่อย (ราก)
14. รากมีสรรพคุณในการช่วยบรรเทาอาการบวม หรือบวมพองได้ (ราก)
15. รากมีฤทธิ์ในการช่วยขับลม (ราก)
16. รากมีสรรพคุณในการรักษาอาการน้ำเหลืองเสีย (ราก)
17....
ต้นขันทองพยาบาท สรรพคุณของรากใช้รักษาน้ำเหลืองเสีย
ขันทองพยาบาท
ขันทองพยาบาท มีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะพบได้มากในประเทศไทย อินเดีย พม่า และในพื้นที่เขตอินโดจีน หรือคาบสมุทรมลายู ชื่อวิทยาศาสตร์ Suregada multiflora (A.Juss.) Baill. ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Gelonium multiflorum A.Juss. จัดอยู่ในวงศ์ วงศ์ยางพารา (EUPHORBIACEAE), ชื่ออื่น ๆ หมากดูด (ประเทศไทย), มะดูกเหลื่อม (ภาคเหนือของไทย), ขันทองพยาบาท มะดูก หมากดูก (ภาคกลางของไทย), กะดูก กระดูก (ภาคใต้ของไทย), มะดูกเลื่อม (ภาคตะวันตกเฉียงเหนือของไทย), มะดูกดง (จังหวัดปราจีนบุรี), ขนุนดง ขุนดง (จังหวัดเพชรบูรณ์), ยางปลวก ยางปลอก ยายปลวก ฮ่อสะพานควาย (จังหวัดแพร่และน่าน), ดูดหิน (จังหวัดสระบุรี), ดูกใส ดูกไทร ดูกไม้ เหมือนโลด (เลย), ดูกไหล (จังหวัดนครราชสีมา), ทุเรียนป่า ไฟ (จังหวัดลำปาง), ขุนตาก ข้าวตาก (จังหวัดกาญจนบุรี), ขอบนางนั่ง (จังหวัดตรัง), ขันทองพยาบาทเครือ ขัณฑสกร ช้องลำพัน สลอดน้ำ (จังหวัดจันทบุรี), ข้าวตาก ขุนทอง คุณทอง (จังหวัดประจวบคีรีขันธ์), ขันทอง (จังหวัดพิษณุโลก), ดีหมี (จังหวัดพิษณุโลกและอุตรดิตถ์), เจิง โจ่ง (จังหวัดสุรินทร์) เป็นต้น,,,
ลักษณะของขันทองพยาบาท
ต้น
- เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง
- ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง เปลือกต้นมีสีน้ำตาลและมีรอยแตกเป็นร่องทั่วลำต้น โดยลำต้นจะแตกกิ่งก้านออกเป็นทรงพุ่มกลม และที่บริเวณกิ่งก้านจะมีขนรูปดาวขึ้นปกคลุม,,,
- ความสูงของต้น ประมาณ 7-13 เมตร
- การขยายพันธุ์ด้วยการใช้วิธีการเพาะเมล็ด
ใบ
- เป็นใบเดี่ยว ใบมีรูปร่างเป็นใบหอกแกมขอบขนาน ปลายใบและโคนใบแหลม ตรงขอบใบหยักเป็นซี่ฟัน ใบเรียบและมีความเป็นมันแต่ตรงบริเวณด้านล่างใบจะมีขนเป็นรูปดาว และตรงท้องใบจะมีสีอ่อนกว่าบริเวณอื่น
- ใบมีหูใบมีขนาดเล็กแบ่งเป็นคู่ ๆ เชื่อมต่อกัน ซึ่งใบเมื่อหลุดร่วงไปจะทิ้งแผลใบเป็นวงเอาไว้บนลำกิ่ง,,
- สัดส่วนขนาดของใบ ใบมีความกว้างประมาณ 3-8 เซนติเมตร มีความยาวประมาณ 9-22 เซนติเมตร และก้านใบที่มีความยาวประมาณ 2-5 มิลลิเมตร
- เป็นไม้ไม่ผลัดใบ
ดอก
- ออกดอกในช่วงเดือนมีนาคมไปจนถึงเดือนพฤษภาคม ดอกจะมีลักษณะเป็นช่อสั้น ๆ ขึ้นบริเวณซอกใบ โดยภายในแต่ละช่อดอกจะมีดอกย่อย 5-10 ดอก กลีบของดอกย่อยมีรูปร่างเป็นหอกปลายแหลม กลีบมีสีเขียวอมเหลือง ดอกมีกลีบรองดอกอยู่ 5 กลีบ ดอกเป็นดอกแบบแยกเพศ โดยดอกเพศผู้มีเกสรเพศผู้อยู่ประมาณ 35-60 ก้าน ส่วนดอกเพศเมียมีเกสรเพศเมียอยู่ประมาณ 2-3 ก้านและมีรังไข่อยู่ 3 ช่องอยู่เหนือวงกลีบ
ผล
- ออกผลในช่วงเดือนเมษายนไปจนถึงเดือนมิถุนายน ผลมีขนาดเล็กเป็นรูปทรงเกือบกลม ผลมีพู 3 พู และตรงยอดผลจะมีติ่งเล็ก ๆ ติดอยู่ ผลอ่อนมีสีเขียว แต่เมื่อผลสุกแล้วจะมีสีเหลืองอมส้ม
เมล็ด
- เมล็ด มีขนาดเล็ก รูปร่างค่อนข้างกลม มีสีน้ำตาลเข้ม...
ต้นขอบชะนาง สรรพคุณรักษาโรคกลากและเกลื้อน
ขอบชะนาง
ต้นขอบชะนาง มี 2 ชนิด คือ ขอบชะนางแดงและขอบชะนางขาว โดยทั้งคู่จะมีความแตกต่างกันตรงที่สีของใบ และดอกตามชื่อที่ตั้ง ส่วนลักษณะอื่น ๆ ก็จะแตกต่างกันไม่มากนัก มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย ชื่ออื่น ๆ หนอนตายอยากแดง หนอนขาว หนอนตายอยากขาว หนอนแดง (ภาคกลางของไทย), ตาสียาเก้อ ตอสีเพาะเกล (ชาวกะเหรี่ยงในจังหวัดแม่ฮ่องสอน), หญ้ามูกมาย (จังหวัดสระบุรี), หญ้าหนอนตาย (ภาคเหนือของไทย) เป็นต้น, ชื่อวิทยาศาสตร์ Gonostegia pentandra (Roxb.) Miq. ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Pouzolzia pentandra (Roxb.) Benn. จัดอยู่ในวงศ์ วงศ์กะลังตังช้าง (URTICACEAEหรือ CECROPIACEAE),
ลักษณะของขอบชะนาง
ต้น
- จัดเป็นไม้ล้มลุกจำพวกหญ้า
- ลำต้นมีขนาดเล็กเท่าก้านไม้ขีดไฟ
- มักเลื้อยไปตามซอกหินหรืออิฐเก่า ๆ และชูยอดขึ้นเพื่อแตกใบ
- ความสูงของต้น ประมาณ 2-3 ฟุต
- การขยายพันธุ์ วิธีการใช้เมล็ด
ใบ
- เส้นใบที่มองเห็นได้ชัดเจน และขนที่ขึ้นปกคลุมประปรายที่ผิวใบ,
- ใบของขอบชะนางแดง ใบมีรูปร่างเป็นรูปใบหอก มีสีม่วงอมแดงเห็นเด่นชัด ใบมีขนาดความกว้างประมาณ 1.5-2.5 เซนติเมตรและมีความยาวประมาณ 5-8 เซนติเมตร
- ใบขอบชะนางขาว ใบมีรูปร่างคล้ายรูปไข่ มีสีเขียวอ่อน ใบมีขนาดความกว้างประมาณ 1-1.5 เซนติเมตรและมีความยาวประมาณ 2-3 เซนติเมตร
ดอก
- ดอกเป็นช่อขนาดเล็กที่บริเวณซอกใบ ดอกเป็นดอกแบบแยกเพศอาศัยอยู่บนต้นเดียวกัน
- ดอกของต้นขอบชะนางแดง จะมีสีแดง
- ดอกของขอบชะนางขาว จะมีสีเขียวอมเหลือง,
ผล
- ออกผลเป็นกระจุกที่บริเวณซอกใบ ผลมีขนาดเล็กเป็นสีน้ำตาล มีลักษณะเป็นผลแห้งแบบไม่แตก และเมื่อผลแห้งมาก ๆ ก็จะร่วงหล่นลงมาตามพื้นดิน หรือบางผลก็ปลิวไปตามสายลม
เมล็ด
- เมล็ด มีขนาดเล็กเป็นทรงกลมแกมรี โดยภายในผลจะมีเมล็ดอยู่ประมาณ 2 เมล็ด
สรรพคุณของขอบชะนาง
1. ข้อมูลจากศูนย์สมุนไพรทักษิณ ระบุเอาไว้ว่า ทั้ง 2 ชนิด มีสารที่มีฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อมะเร็งได้ (ทั้งต้น)
2. ทั้งต้นมีสรรพคุณในการขับพยาธิในเด็ก (ทั้งต้น)
3. ทั้งต้นนำมาทานเป็นยารักษาโรคหนองใน (ทั้งต้น),
4. ทั้งต้นมีสรรพคุณเป็นยาขับปัสสาวะ (ทั้งต้น),
5. ทั้งต้นมีสรรพคุณในการช่วยรักษาน้ำเหลืองเสีย (ทั้งต้น)
6. ทั้งต้นนำมาปรุงเป็นยาขับระดูของสตรี (ทั้งต้น)
7. ทั้งต้นมีสรรพคุณในการช่วยแก้พิษต่าง ๆ ได้ (ทั้งต้น)
8. เปลือกต้นที่ต้มแล้วนำมาคลุกกับเกลือเล็กน้อย ใช้สำหรับอมรักษาโรครำมะนาด (เปลือกต้น)
9. เปลือกต้นนำมาใช้ทำเป็นยาดับพิษในกระดูก (เปลือกต้น)
10. เปลือกต้นมีฤทธิ์เป็นยารักษาพยาธิผิวหนัง (เปลือกต้น)
11. เปลือกต้นมีสรรพคุณในการรักษาโรคริดสีดวง โดยให้นำเปลือกต้นไปหุงกับน้ำมัน พอหุงเสร็จก็นำไปทาบริเวณที่เป็นริดสีดวง (เปลือกต้น)
12. ยอดอ่อนนำมาผ่านกระบวนการกลั่นด้วยไอน้ำ ใช้สำหรับรักษาอาการปวดหู (ยอดอ่อน)
13. ผลแห้งนำมาบดให้ละเอียดใช้สำหรับอุดตรงฟันที่มีอาการปวด
14. ผลที่แห้งแล้ว นำมาทานเป็นยาแก้อาการเบื่ออาหารได้
15. ผลที่แห้งแล้ว นำมาทานแก้อาการอาเจียน
16. ผลนำมาทำเป็นยาเม็ดใช้ทานคู่กับน้ำขิงครั้งละ 30 เม็ด โดยมีสรรพคุณในการช่วยรักษาอาการปวดท้อง
17. เหง้าอ่อนมีสรรพคุณในการขับลมและบรรเทาอาการปวดท้อง (เหง้าอ่อน)
18. เหง้าสดนำมาตำผสมกับน้ำมะขามและเกลือ จากนั้นนำไปผสมกับน้ำใช้สำหรับดื่มเป็นยาระบาย (เหง้าสด)
19. ใบมีสรรพคุณเป็นยาขับพยาธิ (ใบ)
20. ใบมีสรรพคุณเป็นยารักษาโรคกลากและเกลื้อน โดยใช้เป็นยาภายนอก (ใบ)
21. ใบนำมาพอกรักษาฝีและบรรเทาอาการปวดอักเสบของฝีได้ (ใบ)
22....
ต้นกรรณิการ์ สรรพคุณรักษาอาการอ่อนเพลีย
กรรณิการ์
กรรณิการ์ มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมในตอนกลางของประเทศอินเดีย มีการนำเข้ามาในไทยในช่วงปลายสมัยกรุงศรีอยุธยาหรือในสมัยตอนต้นของกรุงรัตนโกสินทร์ มีการสันนิษฐานว่าชื่อมาจากคำว่า “กรรณิกา” มีความหมายว่า ช่อฟ้า กลีบบัว ดอกไม้ ตุ้มหู และเครื่องประดับหู ซึ่งจากรูปทรงของดอกจะเห็นมีหลอดที่ใช้สอดในรูที่เจาะใส่ต่างหูได้ มีเขตการกระจายพันธุ์ในอินเดีย สุมาตรา ชวา และในประเทศไทย ชื่อสามัญ Night blooming jasmine, Night jasmine, Coral jasmine,,,, ชื่อวิทยาศาสตร์ Nyctanthes arbor-tristis Linn.,,,, จัดอยู่ในวงศ์มะลิ (OLEACEAE),,,, (หมายเหตุ : P.S.Green ระบุว่าสกุล Nyctanthes มีความใกล้ชิดกับวงศ์ VERBENACEAE มากกว่าวงศ์ OLEACEAE แต่ข้อมูลในด้านวิวัฒนาการในปัจจุบันจัดให้สกุล NYCTANTHES อยู่ภายใต้วงศ์ OLEACEAE และอยู่ในวงศ์ย่อย MYXOPYREAE) ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ คือ กณิการ์ กันลิกา กรรณิกา (ภาคกลาง), สะบันงา (น่าน), ปาริชาติ (ทั่วไป),,,,, ซึ่งในไทยจะพบได้ทั้ง 2 ชนิด
1. กรรณิการ์ที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Nyctanthes arbor–tristis L. นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ
2. กรรณิการ์ที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Nyctanthes aculeata Craib ในปัจจุบันได้สูญพันธุ์ไปจากประเทศไทยแล้ว
ลักษณะของกรรณิการ์
ต้น,,,,
- เป็นไม้พุ่มกึ่งไม้ยืนต้นขนาดเล็กไม่ผลัดใบ
- มีเรือนยอดเป็นรูปทรงพีระมิดแคบ
- ต้น มีความสูงประมาณ 3-5 เมตร
- เปลือกของลำต้น มีความขรุขระและเป็นสีน้ำตาล
- กิ่งอ่อน มีรูปร่างเป็นสี่เหลี่ยม และมีขนแข็งสากมือ
- สามารถขยายพันธุ์ได้โดยการเพาะเมล็ด การตอนกิ่ง หรือการปักชำกิ่ง
- เติบโตได้ดีในดินร่วนที่ระบายน้ำได้ดี
- มีความชื้นปานกลาง
- ชอบแสงแดดแบบเต็มวันและครึ่งวัน
- หากปลูกในที่แห้งแล้งจะออกดอกน้อย
- จะออกดอกในช่วงประมาณเดือนสิงหาคมถึงเดือนพฤศจิกายน
- สามารถออกดอกได้ตลอดปีหากมีฝน
ใบ,
- ใบ เป็นใบเดี่ยว
- ออกใบตรงข้ามกัน
- ใบ มีรูปร่างเป็นรูปไข่
- ใบ มีความกว้างประมาณ 2.5-5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 5-10 เซนติเมตร
- ปลายใบ ค่อนข้างแหลม
- โคนใบ จะมน
- ขอบใบ มีความเรียบหรือบางใบอาจจะจะหยักแบบห่าง ๆ กัน
- ตามขอบใบ จะมีขนแข็ง ๆ
- หลังใบ มีขนแข็ง ค่อนข้างสากมือ
- ท้องใบ มีขนแข็งสั้น ๆ
- มีเส้นแขนงของใบข้างละ 3-4 เส้น
- ปลายเส้นจรดกันก่อนถึงขอบใบ
- ก้านใบ มีความยาว 0.5-1 เซนติเมตร
ดอก,,
- ออกดอกเป็นช่อ ไม่มีก้านดอก
- ออกดอกตามซอกใบหรือง่ามใบ
- ก้านช่อดอก มีความยาวประมาณ 1.2-2 เซนติเมตร
- ใบประดับ เป็นใบเล็ก ๆ อยู่ 1 คู่ที่ก้านช่อดอก
- ในแต่ละช่อดอกจะมีดอกอยู่ประมาณ 3-7 ดอก
- ดอก เป็นดอกย่อยสีขาวและมีกลิ่นหอม
- ดอกจะบานในช่วงเย็นและจะร่วงในช่วงเช้าวันรุ่งขึ้น
- ในแต่ละดอกจะมีใบประดับอยู่...
จันทน์กะพ้อ สรรพคุณใช้รักษาโรคพาร์กินสัน
จันทน์กะพ้อ
จันทน์กะพ้อ มีถิ่นกำเนินอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชื่อวิทยาศาสตร์ Vatica diospyroides Symington จัดอยู่ในวงศ์ DIPTEROCARPACEAE ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ จันทน์พอ จันทน์พ้อ (ภาคใต้), เขี้ยวงูเขา (พังงา) เป็นต้น,,
ลักษณะจันทน์กะพ้อ
ต้น เป็นต้นไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบ มีความสูงอยู่ที่ 5-15 เมตร เรือนยอดมีใบน้อย ลักษณะพุ่มกลมโปร่ง กิ่งเปลาและจะแตกออกมาจากยอดเป็นจำนวนมาก เปลือกต้นมีสีน้ำตาลอมเทา จะมียางใสซึมออกมาจากรอยแตก เปลือกชั้นเป็นสีเหลือง ,,,
ใบ ออกเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ ใบมีลักษณะเป็นรูปขอบขนาน ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ขอบใบเรียบ ความกว้างของใบจะอยู่ที่ 5-7 เซนติเมตร และมีความยาวอยู่ที่ 14-20 เซนติเมตร ใบอ่อนมีสีน้ำตาลแดง และเมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีเขียวเข้มเป็นมัน แผ่นใบเกลี้ยงมีลักษณะหนา ใบมีเส้นแขนงอยู่ 15-18 คู่ เส้นจะโค้งจรดที่ขอบใบ ก้านใบมีความยาวประมาณ 1.5 เซนติเมตร,,
ดอก ออกเป็นช่อสั้นๆ ออกบริเวณกิ่งและง่ามใบ ดอกเป็นสีเหลืองนวลมีขนาดเล็ก และมีกลิ่นหอมแรงมาก กลีบดอกเป็นสีขาวหรือสีเหลืองอ่อนโดยจะมีอยู่ 5 กลีบ เรียงเวียนไปคล้ายกังหัน มีขนนุ่มสีน้ำตาลขึ้นที่กลีบดอก ส่วนโคนของกลีบเลี้ยงจะเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย และแยกเป็น 5 แฉกที่ส่วนปลาย ดอกจะออกเมื่อต้นอายุได้ 6-7 ปี ซึ่งจะออกในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมีนาคม,,,
ผล ลักษณะกลมรี มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3 เซนติเมตร บริเวณผิวของผลจะมีขุยสีน้ำตาลอยู่ ผลแก่จะแตกเป็น 3 กลีบ มีกลีบประดับที่สั้นกว่าผลอยู่ 5 กลีบ ซึ่งกลีบผลจะมีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยม และพับจีบที่ขอบกลีบตามแนวยาว ภายในมีเมล็ดลักษณะรูปไข่ปลายแหลมอยู่ จะติดผลในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน
ประโยชน์จันทน์กะพ้อ
นิยมนำมาปลูกเป็นไม้ประดับตามป่าอนุรักษ์ สนามหน้าบ้าน หรือใช้จัดสวนหย่อม โดยดอกจะมีกลิ่นที่หอมแรง และออกดอกดกมาก,
คนสมัยก่อนจะนำดอกมากลั่นทำเป็นน้ำมันใส่ผม หรือทำน้ำหอม
คนสมัยก่อนจะนำดอกมาเก็บไว้ที่ตู้เสื้อผ้า เพื่อทำให้เสื้อผ้ามีกลิ่นหอม
ใช้ไม้ในการก่อสร้างได้
สรรพคุณจันทน์กะพ้อ
1. เนื้อไม้มีสรรพคุณสามารถใช้ในการขับลมได้(เนื้อไม้)
2. ใช้รักษาโรคสันนิบาตได้ หรือโรคพาร์กินสัน (เนื้อไม้)
3. มีสรรพคุณในการแก้เสมหะ (เนื้อไม้)
4. ใช้แก้ลมวิงเวียนได้ (เนื้อไม้)
5. ดอกสามารถนำมาใช้เป็นส่วนประกอบของยาหอมแก้ลม ช่วยในการบำรุงหัวใจได้(ดอก),
สั่งซื้อ อาหารเสริม สำหรับผู้ป่วย เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth
เอกสารอ้างอิง
1. สวนพฤกษศาสตร์ ตามพระราชเสาวนีย์ฯ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. “จันทน์กะพ้อ”. . เข้าถึงได้จาก: www.dnp.go.th. .
2. ข้อมูลพรรณไม้ สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “จันทน์กะพ้อ”. . เข้าถึงได้จาก: www.rspg.or.th. .
3. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.). “จันทน์กะพ้อ”. . เข้าถึงได้จาก: www.tistr.or.th. .
4. สำนักงานสวนสาธารณะ สำนักสิ่งแวดล้อม. “จันทน์กะพ้อ”. . เข้าถึงได้จาก: 203.155.220.217/office/ppdd/publicpark/thai/2011/. .
5. https://medthai.com/
อ้างอิงรูปจาก
1. https://www.flickr.com/
ต้นจันผา สรรพคุณของแก่นใช้แก้ซาง
จันผา
จันผา หรือ จันทร์ผา เป็นไม้ประดับที่มีอยู่แถบตามป่าเขาในประเทศไทย ชื่อวิทยาศาสตร์ Dracaena cochinchinensis (Lour.) S.C.Chen. อยู่ในวงศ์หน่อไม้ฝรั่ง (ASPARAGACEAE) ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ลักกะจันทน์ (ภาคกลาง), จันทน์ผา (ภาคเหนือ), จันทน์แดง (สุราษฎร์ธานี) เป็นต้น,,,,,
ลักษณะต้นจันผา
ต้น เป็นไม้พุ่มไม่ผลัดใบ มีความสูงราวๆ 2-4 เมตร และเมื่อโตเต็มวัยอาจสูงได้มากถึง 17 เมตร ต้นมีเรือนยอดมาก(อาจมีมากกว่า 100 ยอด) ลักษณะของเรือนยอดจะเป็นทรงไข่และแผ่กว้าง ลำต้นมีลักษณะกลม ตั้งตรง เปลือกต้นมีสีน้ำตาลอมเทา ไม่มีกิ่งก้าน และจะแตกเป็นร่องตามแนวยาว มีใบออกมาตามลำต้น แก่นไม้ข้างในเมื่อต้นยังอ่อนจะมีสีขาว และพอต้นเริ่มแก่แก่นไม้ก็จะค่อยๆเปลี่ยนเป็นสีแดง ซึ่งหากเป็นสีแดงเต็มต้นเมื่อไหร่ ต้นก็จะตายลง,,,,
ใบ เป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ ใบออกบริเวณปลายกิ่ง ใบมีลักษณะเป็นรูปยาวรีขอบขนาน ปลายใบแหลม โคนใบแผ่ออกเป็นกาบหุ้มลำต้นอยู่ ขอบใบเรียบ ความกว้างของใบอยู่ที่ 4-5 เซนติเมตร และยาว 45-80 เซนติเมตร แผ่นใบหนาและกรอบ ไม่มีก้านใบ ส่วนมากจะทิ้งใบและเหลือเพียงยอดไว้เป็นพุ่มๆ ,
ดอก เป็นช่อพวงขนาดใหญ่โค้งห้อยลงมา ดอกจะออกบริเวณซอกใบและปลายยอด ความยาวของช่อดอกจะอยู่ที่ 45-100 เซนติเมตร ดอกย่อยเป็นสีขาวนวลมีขนาดเล็ก และมีดอกอยู่เป็นจำนวนมาก บริเวณกึ่งกลางของดอกจะมีสีแดงสด ดอกมีกลิ่นหอม มีกลีบดอก 6 กลีบ ขนาดของดอกจะอยู่ที่ประมาณ 1 เซนติเมตร มีก้านเกสรเพศผู้อยู่ 6 ก้าน ซึ่งจะขนาดกว้างเท่ากับอับเรณู ก้านเกสรตัวเมียจะแยกเป็น 3 พู ที่ส่วนปลาย ดอกจะออกในเดือนกรกฎาคมถึงเดือนสิงหาคม,,,
ผล เป็นผลสด ออกเป็นช่อพวงใหญ่ ผลมีลักษณะเป็นทรงกลมขนาดเล็ก ขนาดราวๆ 1 เซนติเมตร พื้นผิวของผลจะเรียบ ผลอ่อนมีสีเขียวอมน้ำตาล และเมื่อแก่จะกลายเป็นสีแดงคล้ำ ในหนึ่งผลจะมีเพียงเมล็ดเดียว ซึ่งผลจะเริ่มแก่ในเดือนสิงหาคมถึงเดือนกันยายน,,,
ประโยชน์จันผา
สามารถนำส่วนของลำต้น มาปรุงเป็นน้ำยาอุทัยได้
มีการนำต้นมาปลูกเป็นไม้ประดับ เนื่องจากด้วยทรงพุ่มที่สวยงาม และกลิ่นหอมของดอก,,
ข้อมูลทางเภสัชวิทยา
ไม่พบความเป็นพิษในการทดลอง จากสารสกัดเนื้อไม้จากเอทานอล 50% มาให้หนูทดลองกิน หรือ ฉีดเข้าทางใต้ผิวหนัง ในขนาด 10 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม
พบว่ามีฤทธิ์ในการต้านทานอาการปวด อักเสบ และใช้ลดไข้สำหรับสัตว์ทดลอง
มีฤทธิ์คล้ายกับฮอร์โมนเอสโตรเจน ในการต้านมะเร็ง และเชื้อแบคทีเรียรวมถึงเชื้อ HIV
สรรพคุณจันผา
1. ต้น มีสรรพคุณในการรักษาพิษฝี ที่เกิดอาการปวดบวมและอักเสบ (แก่น, ทั้งต้น)
2. สามารถใช้ในการรักษาแผลได้ (แก่น,,, ราก)
3. ใช้ในการรักษาเลือดออกตามไรฟันได้ (แก่น,,, ทั้งต้น)
4. แก่น สามารถนำมาใช้ในการแก้ซางได้
5. เมล็ดมีสรรพคุณที่สามารถรักษาอาการอาจมไม่ปกติได้ (เมล็ด)
6. ช่วยแก้อาการไอที่เกิดจากซางได้(แก่น, เนื้อไม้),,
7. จันทน์แดง หรือแก่นที่มีเชื้อราอยู่จนแก่นเป็นสีแดงและมีกลิ่นหอม จะสามารถใช้เป็นยาในการแก้ไข้ทุกชนิดได้ โดยจะให้รสฝาดและขมเล็กน้อย(แก่น, แก่นที่ราลง),,,
8. สามารถทำยาทาใช้ภายนอก โดยให้นำแก่นมาฝน ทาบริเวณที่มีอาการบวม ฟกช้ำ หรือเป็นฝี(แก่น),,
9. ช่วยในการรักษาดีพิการ (แก่น, เนื้อไม้)
10....
ต้นคำรอก สรรพคุณรักษาอาการไตพิการ
คำรอก
คำรอก ประเทศไทยสามารถพบได้เยอะที่ทางภาคเหนือ มักขึ้นที่ตามป่าพรุ ป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ป่าผลัดใบ ชายป่าดิบ ที่สูงตั้งแต่ใกล้ระดับน้ำทะเลถึงประมาณ 800 เมตร ชื่อทางวิทยาศาสตร์ คือ Ellipanthus tomentosus Kurz (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ คือ Ellipanthus cinereus Pierre, Ellipanthus subrufus Pierre) อยู่วงศ์ถอบแถบ (CONNARACEAE), ชื่อในท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น ตานกกด, หมาตายทากลาก (ภาคตะวันออก), ช้างน้าว (จังหวัดราชบุรี), กะโรงแดง (จังหวัดราชบุรี), จับนกกรด (จังหวัดนครราชสีมา), กะโรงแดง (จังหวัดนครราชสีมา), ตานนกกดน้อย (จังหวัดสุโขทัย), หมาตายทากลาก (จังหวัดเชียงใหม่), ตานนกกรดตัวเมีย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), กะโรงแดง (ภาคตะวันออก), จันนกกด (จังหวัดราชบุรี), จันนกกด (จังหวัดนครราชสีมา), อุ่นขี้ไก่ (จังหวัดลำปาง), ตานนกกดน้อย (จังหวัดสุรินทร์), ประดงเลือด (จังหวัดสุโขทัย), ช้างน้าว (จังหวัดนครราชสีมา) ,
ลักษณะของคำรอก
ต้น เป็นพรรณไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้นที่มีขนาดกลาง สามารถสูงได้ถึงประมาณ 12-20 เมตร จะไม่ค่อยแตกกิ่งก้าน เรือนยอดมีลักษณะเป็นรูปพุ่มไข่หรือแผ่เป็นพุ่มแคบ มีเปลือกต้นสีน้ำตาลแดง หรือเทา จะแตกเป็นร่องที่ลำต้นตามแนวยาว เป็นสะเก็ดหนา ที่กิ่งก้านอ่อนจะมีขนที่ละเอียดเป็นสีน้ำตาลขึ้น ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด ในต่างประเทศสามารถพบได้ที่ประเทศอินเดีย ประเทศพม่า ภูมิภาคมาเลเซีย ภูมิภาคอินโดจีน,,
ใบ เป็นใบเดี่ยว ใบจะออกเรียงสลับกัน ใบเป็นรูปรีค่อนข้างยาว เป็นรูปรีถึงรูปใบหอก ที่โคนใบจะสอบถึงกลม ส่วนที่ปลายใบจะมนถึงเรียวแหลม ที่ขอบใบเรียบ ใบกว้างประมาณ 3.5-8 เซนติเมตร มีความยาวประมาณ 8-18 เซนติเมตร แผ่นใบมีลักษณะหนา ที่ผิวใบด้านบนจะมีขนขึ้นที่ตามเส้นกลางใบ ผิวใบด้านล่างจะมีขนละเอียดเป็นสีน้ำตาลแดงสั้นหนาแน่นตามเส้นใบ มีเส้นแขนงใบข้างละประมาณ 6-10 เส้น ที่ปลายจะจรดกันใกล้กับขอบใบ ก้านใบมีความยาวประมาณ 0.8-1.5 เซนติเมตร ที่ปลายก้านใบจะมีข้อ ใบลู่ลง ,
ดอก ออกเป็นช่อจะแยกแขนงที่ตามซอกใบ มีขนาดยาวประมาณ 3 เซนติเมตร มีก้านช่อดอกสั้น มีขนขึ้นอยู่แน่น ดอกส่วนใหญ่จะเป็นดอกแบบสมบูรณ์เพศ กลีบเลี้ยงมีอยู่ 5 กลีบ มีลักษณะเป็นสีเขียวอ่อน กลีบเลี้ยงเป็นรูปไข่ปลายทู่หรือแหลม แยกกัน มีขนาดกว้างประมาณ 1 มิลลิเมตร มีความยาวประมาณ 2 มิลลิเมตร ที่ด้านนอกจะมีขนขึ้นยาวห่าง ด้านในจะเกลี้ยงไม่มีขน และมีกลีบดอกอยู่ 5 กลีบ มีลักษณะเป็นสีขาวหรือสีครีม แยกกัน กว้างประมาณ 1 มิลลิเมตร มีความยาวประมาณ 4 มิลลิเมตร ด้านในจะมีขนสั้นหนานุ่มขึ้นอยู่ ที่ด้านนอกจะมีขนยาวห่าง ดอกมีเกสรเพศผู้อยู่ 10 อัน ที่เป็นหมัน 5 อัน มีเกสรเพศเมีย มีรังไข่อยู่ที่เหนือวงกลีบ เป็นรูปไข่เบี้ยว จะมีขนหนาแน่น...
ต้นคราม สรรพคุณเป็นยารักษาโรคกษัย
ต้นคราม
คราม จะพบขึ้นได้มากตามป่าโปร่งทางภาคอีสานและทางภาคเหนือของประเทศไทย,,,, ชื่อสามัญ Indigo, ชื่อวิทยาศาสตร์ Indigofera tinctoria L. จัดอยู่ในวงศ์ วงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และวงศ์ย่อยถั่ว FABOIDEAE (PAPILIONOIDEAE หรือ PAPILIONACEAE), ชื่ออื่น ๆ คราม ครามย้อย (ภาคเหนือและภาคกลางของไทย), คาม (ภาคตะวันตกเฉียงเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย) เป็นต้น,
หมายเหตุ
ต้นคราม ในบทความนี้ เป็นคนละชนิดกับ ต้นฮ่อม เนื่องจากในบางท้องถิ่นก็เรียกต้นฮ่อมว่า ต้นคราม
(ต้นฮ่อมจัดอยู่ในวงศ์เหงือกปลาหมอ (ACANTHACEAE) และมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Baphicacanthus cusia (Nees) Bremek.)
ลักษณะของต้นคราม
ต้น
- เป็นพรรณไม้พุ่มที่มีขนาดเล็ก
- ลำต้นมีสีเขียวมีลักษณะเป็นทรงกระบอก โดยลำต้นจะแตกแขนงกิ่งก้านออกมามาก (บางต้นอาจแตกแขนงกิ่งก้านออกมาน้อยก็มี) ซึ่งกิ่งก้านมักจะเกาะพาดตามขอนไม้ใกล้กับลำต้น
- ความสูง ประมาณ 1-2 เมตร
- การขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด
ใบ
- ใบมีรูปร่างเป็นรูปวงรีแกมรูปขอบขนาน ตรงปลายใบมน ส่วนโคนใบสอบ และขอบใบเรียบ โดยใบจะมีลักษณะคล้ายใบก้างปลาแต่จะมีขนาดที่เล็กกว่า แผ่นใบมีผิวบางมีสีเขียว ซึ่งใบจะเป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงสลับ,
- สัดส่วนขนาดใบมีความกว้างประมาณ 0.8-1 เซนติเมตรและมีความยาวประมาณ 1.5-3.5 เซนติเมตร
- เป็นไม้ไม่ผลัดใบ
ดอก
- ดอก เป็นช่อขนาดยาวที่บริเวณซอกใบ ภายในช่อมีดอกย่อยเป็นรูปดอกถั่ว กลีบดอกมีสีม่วงแกมสีน้ำตาลหรือสีชมพู,
ผล
- ผล ออกรวมกันเป็นกระจุก โดยผลมีรูปร่างเป็นฝักทรงกลมมีขนาดเล็กคล้ายฝักถั่ว
เมล็ด
- เมล็ดมีขนาดเล็กเป็นสีครีมอมเหลือง,,
สรรพคุณของคราม
1. ทั้งต้นนำมาใช้ทำเป็นยาฟอก โดยจะมีสรรพคุณในการขับปัสสาวะ รักษาอาการปัสสาวะขุ่นข้น และมีฤทธิ์ในการรักษาโรคนิ่วได้เป็นอย่างดี (ทั้งต้น)
2. นำมาทั้งต้นมาทำเป็นยาเย็นใช้สำหรับรักษาไข้หวัด (ต้น)
3. เนื้อของต้น มีสรรพคุณในการรักษาแผลไฟไหม้หรือถูกน้ำร้อนลวก และแผลที่ถูกของมีคมบาด (ทั้งต้น)
4. เปลือกนำมาใช้ทำเป็นยาแก้พิษจากการถูกงูกัด (เปลือก)
5. เปลือกนำมาใช้ช่วยแก้พิษฝีและแก้อาการบวม (เปลือก)
6. ทั้งต้นนำมาใช้ทำเป็นยารักษาโรคกษัย (ลำต้น)
7. ใบ นำมาใช้ทำเป็นยาแก้พิษ (ใบ)
8. ลำต้นและใบมีสรรพคุณในการช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะได้ (ลำต้น, ใบ)
9. ลำต้นและใบมีฤทธิ์ในการนำมาใช้ทำเป็นยารักษาไข้ (ลำต้น, ใบ)
ประโยชน์ของต้นคราม
1. ใบนำมาคั้นน้ำ เอามาใช้บำรุงเส้นผมและช่วยป้องกันผมหงอก
2. สามารถนำมาใช้ทำเป็นสีย้อมได้ โดยจะให้สีน้ำเงิน ซึ่งมีคำยกย่องว่าต้นครามคือ “ราชาแห่งสีย้อม” (King of the dyes),,,
3. ผ้าที่ย้อมด้วยสี มีฤทธิ์ในการช่วยปกป้องผิวของผู้ที่สวมใส่จากรังสีอัลตราไวโอเลตได้
ข้อควรรู้ คุณประโยชน์ของผ้าคราม
1. ผ้าครามที่ถูกนำไปนึ่งให้อุ่นสักประมาณหนึ่ง จะมีสรรพคุณช่วยบรรเทาอาการฟกช้ำได้
2. หมอยาพื้นบ้านทางภาคอีสานและทางภาคเหนือของประเทศไทย จะนำผ้าที่ถูกย้อมด้วยต้นครามมาทำการห่อลูกประคบเอาไว้ โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้ตัวยามีเนื้อยาที่กระชับมากยิ่งขึ้น
3. ผ้าที่ย้อมสีจากต้นนำมาชุบกับน้ำใช้สำหรับประคบบริเวณที่ถูกแมลงสัตว์กัดต่อย จะช่วยลดอาการเจ็บปวดลงได้
สั่งซื้อ อาหารเสริม สำหรับผู้ป่วย เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth
เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. “คราม”. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). หน้า 168.
2. หนังสือสมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ. “คราม Indigo”. (คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). หน้า 126.
3. สวนพฤกษศาสตร์สายยาไทย. “คราม”. . เข้าถึงได้จาก: www.saiyathai.com. .
4. วิชาการดอทคอม. “(ฮ่อม)...
ต้นขี้อ้าย สรรพคุณบำรุงหัวใจ
ขี้อ้าย
ขี้อ้าย มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเขตร้อน เขตการกระจายพันธุ์อยู่ในอินเดีย พม่า จีนตอนใต้ ภูมิภาคอินโดจีน และในคาบสมุทรมลายู ในประเทศไทยสามารถพบได้ทุกภาค สามารถพบได้ทั่วไปในป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าคืนสภาพ ป่าดงดิบแล้งบนเขาหินทรายและหินปูน จนถึงระดับความสูงประมาณ 1,000 เมตร ชื่อวิทยาศาสตร์ Terminalia nigrovenulosa Pierre, (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Terminalia hainanensis Exell, Terminalia obliqua W. G. Craib, Terminalia triptera Stapf, Terminalia tripteroides W. G. Craib), จัดอยู่ในวงศ์สมอ (COMBRETACEAE) ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ กำจาย (เชียงใหม่), สลิว (ตาก), แสนคำ แสงคำ สีเสียดต้น (เลย), หนามกราย (นครราชสีมา), หอมกราย (จันทบุรี), ขี้อ้าย หานกราย (ราชบุรี), เบน เบ็น (สุโขทัย), มะขามกราย หามกราย หนามกราย (ชลบุรี), ประดู่ขาว (ชุมพร), แฟบ เบ็น (ประจวบคีรีขันธ์), ตานแดง (ประจวบคีรีขันธ์, สุราษฎร์ธานี, สงขลา), คำเจ้า พระเจ้าหามก๋าย พระเจ้าหอมก๋าย ปู่เจ้า ปู่เจ้าหามก๋าย สลิง ห้ามก๋าย (ภาคเหนือ), แสงคำ แสนคำ สังคำ (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), กำจำ (ภาคใต้), แนอาม (ชอง-จันทบุรี), หนองมึงโจ่ หนองมึ่งโจ่ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี),
ลักษณะของขี้อ้าย
ต้น,,,
- เป็นพรรณไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดกลางถึงขนาดใหญ่
- ลำต้น มีความสูงประมาณ 5-25 เมตร
- ลำต้นตั้งตรง
- โคนต้น ที่มีพูพอนขนาดเล็ก จะมีกิ่งย่อยรอบ ๆ ลำต้นทางด้านล่าง
- เมื่อสับแล้วจะมียางสีแดงส้มชัดเจน
- เปลือกต้น ค่อนข้างเรียบและเป็นสีน้ำตาลหรือสีเทา
- เปลือกต้น มีรอยแตกตามยาวแบบตื้น ๆ
- เปลือกด้านใน เป็นสีน้ำตาลแดง
- กิ่งอ่อนมี ขนสั้นนุ่ม
- สามารถขยายพันธุ์ได้โดยการเพาะเมล็ด
ใบ,,
- เป็นใบเดี่ยว
- ออกใบเรียงสลับกันหรือออกเกือบตรงกันข้ามกัน
- ใบ เป็นรูปไข่หรือรูปมนแกมรูปไข่
- ปลายใบ ค่อนข้างแหลม
- โคนใบ มีความมนหรือสอบเข้าหากันเป็นรูปลิ่ม
- ขอบใบ ค่อนข้างเรียบ
- มีต่อมหนึ่งคู่ที่บริเวณขอบใบใกล้ ๆ กับโคนใบ
- ใบ มีความกว้างประมาณ 3-6 เซนติเมตร และยาวประมาณ 6-10 เซนติเมตร
- เนื้อใบ จะบางคล้ายกับกระดาษ
- ใบอ่อน ถูกปกคลุมไปด้วยขนสีน้ำตาลหนาอยู่หนาแน่น และขนจะร่วงไปเมื่อใบมีอายุมากขึ้น
- เส้นแขนงใบ จะมีข้างละ 8-10 เส้น
- ใบแก่ก่อนร่วง จะเป็นสีเหลือง
- ก้านใบมีขนาดเล็กเรียว มีความยาว 0.5-3 เซนติเมตร
...
กางขี้มอด สรรพคุณเปลือกใช้เป็นยาแก้ตกโลหิต
กางขี้มอด
กางขี้มอด เขตการกระจายพันธุ์ตั้งแต่ประเทศอินเดียถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำหรับประเทศไทยสามารถพบขึ้นที่ตามป่าผลัดใบ ป่าดิบเขา ที่สูงถึง 1,000 เมตร จากระดับน้ำทะเล ชื่อสามัญ Crofton weed, Black Siris, Ceylon Rose Wood ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Albizia odoratissima (L.f.) Benth. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ คือ Acacia odoratissima (L.f.) Willd., Mimosa odoratissima L.f.) อยู่วงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่วงศ์ย่อยสีเสียด (MIMOSOIDEAE หรือ MIMOSACEAE), ชื่อในท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น มะขามป่า (จังหวัดน่าน), คางแดง (จังหวัดแพร่), ตุ๊ดเครน (ขมุ), กางแดง (จังหวัดแพร่), จันทน์ (จังหวัดตาก) ,
ลักษณะของกางขี้มอด
ต้น เป็นพรรณไม้ยืนต้น สามารถสูงได้ถึงประมาณ 10-30 เมตร กิ่งก้านมีลักษณะลู่ลง มีรอยแผลที่ปลายยอดกับกิ่งอ่อนมีรอยแผล จะมีรูอากาศอยู่ตามลำต้นกับกิ่ง เปลือกต้นมีลักษณะเป็นสีเทาอมสีเหลืองหรือน้ำตาลอ่อน มีเปลือกชั้นในเป็นสีแดง,
ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้นปลายคู่ ใบจะออกเรียงสลับกันแบบตรงข้าม มีขนาดยาวประมาณ 20-30 เซนติเมตร มีใบย่อยอยู่ประมาณ 10-25 คู่ แผ่นใบจะเรียบและบาง มีใบย่อยเล็ก ใบย่อยเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน รูปขอบขนาน ที่โคนใบจะเบี้ยว ส่วนที่ปลายใบจะมนหรือสอบ ขอบใบเรียบ ใบกว้างประมาณ 0.6-1.5 เซนติเมตร มีความยาวประมาณ 1-3.5 เซนติเมตร ผิวใบทั้งสองด้านจะเกลี้ยง,
ดอก ออกเป็นช่อแบบช่อกระจุกแน่นที่ปลายยอด มีขนาดยาวประมาณ 10-20 เซนติเมตร ช่อดอกย่อยนั้นประกอบด้วยดอกย่อยหลายดอกรวมเป็นกลุ่ม มีดอกขนาดเล็กและเป็นสีขาวนวล มีกลีบเลี้ยงเล็ก ที่โคนจะเชื่อมกันเป็นหลอด มีขนขึ้น ปลายกลีบเลี้ยงแยกเป็น 6 แฉก กลีบดอกมีลักษณะเป็นรูปกรวย มีขน มีขนาดยาวประมาณ 6.5-9 มิลลิเมตร มีเกสรเพศผู้เป็นเส้นสีขาว มีขนาดยาวเท่าหลอดกลีบดอก ที่โคนก้านเกสรเพศผู้จะเชื่อมติดกันเป็นหลอด ออกดอกช่วงประมาณมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม,
ผล เป็นฝักแบนรูปขอบขนาน กว้างประมาณ 2-3.5 เซนติเมตร มีความยาวประมาณ 17-22 เซนติเมตร มีผิวที่เรียบ ฝักอ่อนมีลักษณะเป็นสีเขียว ฝักแก่เป็นสีน้ำตาลเข้ม ฝักเมื่อแห้งจะแตกออกด้านข้าง มีเมล็ดอยู่ในผล เมล็ดเป็นรูปรีกว้าง,
ประโยชน์กางขี้มอด
ชาวไทใหญ่นำยอดอ่อนไปใช้ในพิธีสร้างบ้านเพื่อความเป็นสิริมงคล
เนื้อไม้ใช้ในการสร้างบ้าน ก่อสร้างภายในที่ไม่รับน้ำหนักเยอะ ทำไม้อัด เป็นเฟอร์นิเจอร์
สรรพคุณกางขี้มอด
1. เปลือกสามารถใช้เป็นยาแก้ฝี แก้บวมได้ (เปลือก)
2. ดอก ใช้เป็นยาแก้พิษฟกบวมและแก้ปวดบาดแผล (ดอก)
3. สามารถใช้เป็นยาแก้ตกโลหิตได้ (เปลือก)
4. เปลือก มีรสฝาดเฝื่อน สามารถใช้เป็นยาแก้ลำไส้พิการ และแก้ท้องร่วงได้ (เปลือก)
5. ดอก มีรสหวาน สามารถใช้เป็นยาแก้ตาอักเสบได้ (ดอก)
6. สามารถใช้เปลือกกับดอกเป็นยาบำรุงธาตุได้ (ดอก, เปลือก)
7. ดอก...
ต้นกะเม็ง ช่วยบรรเทาอาการเลือดกำเดาไหล
กะเม็ง
กะเม็ง มี 2 ชนิด คือ ต้นกะเม็งตัวผู้ และ ต้นกะเม็งตัวเมีย โดยต้นตัวผู้จะมีดอกขนาดใหญ่เป็นสีเหลืองสด ต่างกันกับต้นตัวเมียที่ดอกมีขนาดเล็กและเป็นสีขาว ชื่อสามัญ False daisy, White head, Yerbadetajo herb ชื่อวิทยาศาสตร์ Eclipta prostrata (L.) L. จัดอยู่ในวงศ์ จัดอยู่ในวงศ์ทานตะวัน (ASTERACEAE หรือ COMPOSITAE),, ชื่ออื่น ๆ บังกีเช้า (ประเทศจีน), อั่วโหน่ยเช่า, บักอั่งเน้ย, เฮ็กบักเช่า (ภาษาจีน-แต้จิ๋ว), ฮั่นเหลียนเฉ่า (ภาษาจีนกลาง), กะเม็งตัวเมีย กาเม็ง คัดเม็ง (ในภาคกลางของประเทศไทย), หญ้าสับ ฮ่อมเกี่ยว ห้อมเกี้ยว (ในภาคเหนือของประเทศไทย) เป็นต้น,,,
ลักษณะของกะเม็ง
ต้น
- เป็นไม้ล้มลุกที่มีขนาดเล็ก
- ลำต้นมีสีเขียวหรือสีน้ำตาลอมแดง ทั่วพื้นผิวลำต้นจะมีขนเล็ก ๆ ขึ้นปกคลุม (บางต้นก็ไม่มีขนปกคลุม) และลำต้นจะแตกกิ่งก้านที่บริเวณโคนต้น,,,
- ความสูงของต้น ประมาณ 10-60 เซนติเมตร
ใบ
- ใบ เป็นใบเดี่ยวมีรูปร่างเป็นรูปหอกเรียวยาว ไม่มีก้านใบ ตรงปลายใบเรียวแหลม โคนใบเป็นรอยเว้า ตรงขอบใบเรียบหรือเป็นรอยจัก และขอบใบจะมีขนขึ้นปกคลุมเล็กน้อย,,
- ใบมีความกว้างอยู่ที่ประมาณ 0.8-2 เซนติเมตร และยาวประมาณ 4-10 เซนติเมตร (โดยขนาดใบจะขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่ในการเจริญเติบโตด้วย ซึ่งต้นที่เติบโตในพื้นที่แล้งใบจะมีขนาดเล็ก ส่วนต้นที่เติบโตในพื้นที่ชื้นแฉะใบจะมีขนาดใหญ่)
- เป็นไม้ไม่ผลัดใบ
ดอก
- ดอก เป็นช่อที่บริเวณซอกใบ ก้านช่อดอกยาวประมาณ 5 เซนติเมตร ลักษณะภายในช่อดอกจะมีดอกวงนอกที่เป็นดอกเพศเมีย มีอยู่ประมาณ 3-5 ดอกมีสีขาว และดอกวงในที่กลีบดอกติดกันเป็นรูปหลอดเป็นดอกสมบูรณ์เพศมีสีขาวเช่นเดียวกัน,
ผล
- ผล เป็นผลขนาดเล็ก มีรูปร่างเป็นรูปทรงลูกข่าง ตรงปลายผลมีรยางค์เป็นเกล็ดมีความยาวประมาณ 2.5 มิลลิเมตร ผลอ่อนมีสีเหลืองแกมสีดำ เมื่อผลแก่แล้วจะแห้งและมีสีดำสนิท,,
สรรพคุณของกะเม็ง
1. ต้นนำมาทำเป็นยาบำรุงพละกำลังของร่างกาย (ทั้งต้น)
2. ทั้งต้นมีส่วนช่วยในการบำรุงตับและไต (ทั้งต้น),
3. ทั้งต้นมีสรรพคุณในการรักษาอาการปวดเมื่อยที่บริเวณเอวและหัวเข่า (ทั้งต้น)
4. ทั้งต้นมีสรรพคุณเป็นยาบรรเทาอาการแก้กลากเกลื้อน และรักษาโรคทางผิวหนัง (ทั้งต้น)
5. ทั้งต้นนำมาใช้ทำเป็นยารักษาอาการฝีพุพอง (ทั้งต้น)
6. ทั้งต้นมีสรรพคุณในการบำรุงเพศทั้งเพศชายและเพศหญิง (ทั้งต้น)
7. ทั้งต้นมีสรรพคุณในการรักษาอาการอุจจาระเป็นเลือด (ทั้งต้น)
8. ทั้งต้นมีสรรพคุณในการรักษาโรคลำไส้อักเสบ (ทั้งต้น),
9. ทั้งต้นมีสรรพคุณในการรักษาโรคริดสีดวงทวาร (ทั้งต้น)
10. ทั้งต้นมีสรรพคุณในการรักษาอาการประจำเดือนมาไม่ปกติ และอาการตกขาว (ทั้งต้น),,
11. ต้นมีสรรพคุณเป็นยารักษาโรคเบาหวาน (ทั้งต้น),
12. ต้นมีสรรพคุณเป็นยารักษาโรคมะเร็ง (ทั้งต้น,)
13. ต้นมีสรรพคุณเป็นยาบำรุงเลือด (ทั้งต้น,)
14. ทั้งต้นมีสรรพคุณรักษาอาการตับอักเสบเรื้อรัง (ทั้งต้น),
15. ต้นมีสรรพคุณเป็นยารักษาโรคกระษัย (ทั้งต้น)
16. ต้นมีสรรพคุณในการลดอาการมึนและวิงเวียนศีรษะ (ทั้งต้น)
17. ต้นมีฤทธิ์เป็นยาบรรเทาอาการปวดศีรษะข้างเดียว (ทั้งต้น),
18. ต้นนำมาต้มกับน้ำใช้สำหรับทานเป็นยารักษาอาการดีซ่าน (ทั้งต้น)
19. ต้นมีสรรพคุณในการรักษาอาการไอเป็นเลือด (ทั้งต้น),,
20. ต้นมีสรรพคุณรักษาอาการไอกรน (ทั้งต้น)
21. ทั้งต้นนำมาผสมกับน้ำหอมใช้สำหรับสูดดมกลิ่น มีสรรพคุณในการช่วยรักษาอาการไข้หวัดและโรคดีซ่าน
22. ทั้งต้นมีสรรพคุณในการช่วยรักษาอาการหูอื้อ (ทั้งต้น)
23. ทั้งต้นมีสรรพคุณในการช่วยรักษาอาการเจ็บตา และแก้อาการตาแดง (ทั้งต้น),
24. ทั้งต้นมีสรรพคุณในการรักษาโรคหืด (ทั้งต้น)
25. ต้นนำมาต้มกับน้ำใช้สำหรับอาบ มีส่วนช่วยในการลดไข้และอาการตัวร้อนในเด็กได้...
กระดึงช้างเผือก สรรพคุณแก้หวัดคัดจมูก
กระดึงช้างเผือก
กระดึงช้างเผือก พบขึ้นได้ตามป่าเบญจพรรณ ในต่างประเทศพบได้ที่จีนตอนใต้ อินเดีย พม่า และในภูมิภาคอินโดจีน ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Trichosanthes tricuspidata Lour., จัดอยู่ในวงศ์แตง (CUCURBITACEAE), ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ คือ ขี้กาลาย มะตูมกา (นครราชสีมา), ขี้กาแดง (ราชบุรี), กระดึงช้าง กระดึงช้างเผือก (ประจวบคีรีขันธ์), ขี้กาขม (พังงา), ขี้กาใหญ่ (สุราษฎร์ธานี), มะตูมกา (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), ขี้กา (ภาคกลาง), กระดึงช้าง (ภาคใต้), เถาขี้กา,
ลักษณะของกระดึงช้างเผือก
ต้น,
- เป็นพรรณไม้เถา
- จะเลื้อยไปตามผิวดินขนาดใหญ่
- เถา มีรูปร่างเป็นเหลี่ยม สีเขียวเข้มและมีขนสีขาวสั้น ๆ ค่อนข้างสากมือ
- ขน จะค่อย ๆ หลุดร่วงไปจนเกือบเกลี้ยง
- จะมีมือสำหรับยึดเกาะแยกเป็น 2-3 แขนง
ใบ,
- ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับแบบห่าง ๆ กัน
- ใบ มีลักษณะที่แตกต่างกัน เช่น รูปไข่กว้าง รูปเกือบกลม หรือรูปทรง 5 เหลี่ยม
- โคนใบ มีความคล้ายกับรูปหัวใจกว้าง ๆ
- ขอบใบหยักและเว้าลึก 3-7 แห่ง
- ใบ จะมีรูปร่างเป็นแฉก 3-7 แฉก
- ใบ มีความกว้างและยาวประมาณ 15-20 เซนติเมตร
- มีเส้นใบออกจากโคนใบประมาณ 3-7 เส้น
- ปลายเส้นใบ ยื่นพันขอบใบออกไปคล้ายหนามสั้น ๆ
- หลังใบ เห็นเป็นร่องของเส้นแขนงใบชัดเจน
- ผิวใบด้านบน จะมีความสากมือ
- ผิวใบด้านล่าง จะมีขนสีขาว
- ก้านใบ อาจจะมีขนหรือไม่มี
ดอก,,
- ดอก เป็นแบบแยกเพศอยู่กันคนละต้น
- ดอกเพศผู้ จะออกเป็นช่อ มีความยาวประมาณ 10-20 เซนติเมตร
- ดอก จะออกตามซอกใบ
- ดอกย่อย เป็นสีขาว
- ใบประดับ เป็นรูปไข่กลับ
- ขอบใบประดับ มีความหยักแบบซี่ฟันหรือแยกเป็นแฉกตื้น ๆ
- กลีบดอกมี 5 กลีบ
- โคนกลีบดอกติดกันเล็กน้อย
- ขอบกลีบดอก เป็นชายครุย
- โคนกลีบเลี้ยง จะเชื่อมติดกันเป็นหลอด ส่วนปลายจะแยกออกเป็นกลีบ 5 กลีบ
- เกสรเพศผู้มี 3 อัน อับเรณูเชื่อมติดกันเป็นรูป S
- ดอกเพศเมีย จะออกเป็นดอกเดี่ยวตามซอกใบ
- กลีบเลี้ยงและกลีบดอกเพศเมียจะมีความคล้ายกับดอกเพศผู้
- กลีบดอก เป็นสีเหลืองอมชมพู มีลายเป็นเส้นสีแดง
- ฐานดอก จะเป็นหลอดค่อนข้างยาว
- มีรังไข่ 1 ช่อง มีไข่อ่อนจำนวนมาก ท่อรังไข่ยาวเล็กเหมือนเส้นด้าย
ผล,,
- ผล มีลักษณะเป็นทรงกลมหรือรูปขอบขนาน
- ผลอ่อน จะเป็นสีเขียวเข้ม มีลายเป็นเส้นสีขาวหรือสีเขียวอ่อน
- ผลสุก จะเปลี่ยนเป็นสีส้มแดง มีลายสีเหลือง
- ผล มีขนาดประมาณ...
ต้นกระแจะ สรรพคุณเปลือก ช่วยดับพิษร้อนในร่างกาย
กระแจะ
กระแจะ สามารถพบได้ตามป่าเบญจพรรณทั่วไป รวมไปถึงป่าเต็งรังและป่าดิบแล้ง ที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 100-400 เมตร สามารถขยายพันธุ์ได้โดยการใช้เมล็ดหรือการปักชำด้วยกิ่งอ่อนหรือราก มีเขตการกระจายพันธุ์อยู่ในประเทศพม่า ปากีสถาน ศรีลังกา อินเดีย บังกลาเทศ มณฑลยูนนานของจีน และในภูมิภาคอินโดจีน ในประเทศไทยจะมีเขตการกระจายพันธุ์อยู่ทางภาคเหนือและภาคตะวันตกเฉียงใต้ ชื่อวิทยาศาสตร์ Hesperethusa crenulata (Roxb.) M. Roem. ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ คือ Limonia crenulata Roxb., Naringi crenulata (Roxb.) Nicolson จัดอยู่ในวงศ์ส้ม (RUTACEAE) ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ คือ กระแจะจัน ขะแจะ (ภาคเหนือ), ตุมตัง (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, บ้างก็ว่าภาคกลาง), พญายา (ราชบุรี, ภาคกลาง), ตะนาว (มอญ), พินิยา (เขมร), กระแจะสัน, ตูมตัง, จุมจัง, จุมจาง, ชะแจะ, พุดไทร, ฮางแกง, ทานาคา,,,,
ลักษณะของกระแจะ
ต้น,,,
- เป็นไม้พุ่มกึ่งไม้ยืนต้น หรือไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบขนาดเล็กถึงขนาดกลาง
- ต้น มีความสูงประมาณ 8-15 เมตร
- ลำต้น มีความเปลาตรง แตกกิ่งต่ำ
- กิ่งก้าน จะตั้งฉากกับลำต้น
- กิ่งอ่อนและยอดอ่อน จะเกลี้ยง
- เนื้อไม้ เป็นสีขาว
- เปลือกลำต้น เป็นสีน้ำตาล มีผิวขรุขระ
- ลำต้นและกิ่ง จะมีหนามที่แข็งและยาวอยู่
- หนามจะออกแบบเดี่ยว ๆ หรืออาจจะออกเป็นคู่ ๆ และมีความยาวได้ถึง 2.5 เซนติเมตร
- เนื้อไม้ที่ตัดมาใหม่ ๆ จะเป็นสีขาวและจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอ่อน หากทิ้งไว้นาน ๆ
ใบ
- เป็นใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียว
- ออกใบเรียงสลับกัน
- มีใบย่อยประมาณ 4-13 ใบ
- ใบย่อย เป็นรูปวงรีแกมรูปไข่กลับ
- โคนและปลายใบ จะสอบแคบ
- ขอบใบ เป็นซี่ฟันเลื่อยแบบตื้น ๆ
- ใบ มีความกว้างประมาณ 1.5-3 เซนติเมตรและยาวประมาณ 2-7 เซนติเมตร
- ก้านใบ แผ่เป็นปีกทั้งสองข้างและเป็นช่วง ๆ ระหว่างคู่ของใบย่อย
- เนื้อใบ อาจจะบางเหมือนกับกระดาษหรืออาจจะหนาคล้ายกับแผ่นหนัง
- เนื้อใบ มีผิวเนียนและเกลี้ยง
- เส้นแขนงของใบ จะมีข้างละ 3-5 เส้น
- ก้านช่อใบ มีความยาว 3 เซนติเมตร
ดอก
- ออกดอกเป็นช่อแบบกระจะ
- ออกรวมกันเป็นกระจุกตามซอกใบหรือตามกิ่งเล็ก ๆ
- ดอก มีขนค่อนข้างนุ่มและเป็นสีขาวหรือสีขาวอมสีเหลืองขึ้น
- กลีบดอกมี 4 กลีบ
- ดอกเมื่อบานแล้วจะแผ่ออกหรือลู่ไปทางส่วนของก้านเล็กน้อย
- กลีบดอกเกลี้ยง มีต่อมน้ำมันอยู่ประปราย
- กลีบดอก เป็นรูปไข่แกมรูปรี มีความกว้างประมาณ 3 มิลลิเมตรและมีความยาวประมาณ 7 มิลลิเมตร
- ดอกมีเกสรตัวผู้จำนวน 8 ก้าน มีความยาวประมาณ 4-6 มิลลิเมตร
-...
ต้นแห้ม สรรพคุณขับลมอัมพฤกษ์
แห้ม
เป็นไม้เถา รากและเถาเป็นสีเหลือง ไม่มีกลิ่นแต่มีรสขม ไม่พบการปลูกในประเทศไทย ต้องนำเข้ามาจากประเทศลาว ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Coscinium fenestratum (Goetgh.) Colebr. ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ คือ Coscinium usitatum Pierre อยู่ในวงศ์บอระเพ็ด (MENISPERMACEAE) ชื่ออื่น ๆ แห้ม,แฮ่ม,แฮ้ม
ลักษณะของแห้ม,
- เป็นพืชวงศ์เดียวกับบอระเพ็ด
- ส่วนที่ถูกนำมาใช้เป็นยาสมุนไพร จะเรียกว่า “Coscinium”
- มีรูปร่างเป็นแท่งทรงกระบอก
- มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 10 เซนติเมตร
- ผิวภายนอกเป็นสีน้ำตาลเหลือง
- เนื้อในจะเป็นสีเหลือง
- เนื้อไม้เป็นรูพรุน มีสีเหลือง
- ไม่มีกลิ่น
- มีรสชาติขม
- พืชชนิดนี้ถูกจัดอยู่ใน The British Pharmaceutical Codex 1991 ในหัวข้อ Coscinium
สายพันธุ์ที่พบข้อมูล
พันธุ์ Coscinium fenestratum (Goetgh.) Colebr. ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ คือ Coscinium usitatum Pierre
- เป็นไม้เถา
- รากและเถาเป็นสีเหลือง
- ใบเป็นใบแบบสลับกัน
- ออกดอกเป็นช่อระหว่างใบ
- ดอกเป็นสีขาว
- สามารถพบได้ตามป่าเกือบทุกภาคของประเทศลาว
พันธุ์ Fibraurca recisa Pierre
- เป็นไม้เถา
- เถาแก่จะเป็นสีเหลือง
- ใบเป็นใบแบบสลับ
- ดอกเป็นสีเหลืองอมเขียว
- ออกดอกในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงสิงหาคม
ข้อมูลทางเภสัชวิทยา
ข้อมูลจากสถาบันวิจัยสมุนไพร
- มีการระบุผลการทดสอบความเป็นพิษเฉียบพลันในสัตว์ทดลอง
- เมื่อป้อนสารสกัดในขนาด 40 กรัมต่อกิโลกรัม ทำให้เกิดความเป็นพิษเฉียบพลัน
- ส่งผลต่อระบบประสาท ทำให้หายใจไม่สะดวก
- การเคลื่อนไหวลดลง
- ทำให้สัตว์ทดลองตาย
ควรใช้อย่างระมัดระวัง
- ความปลอดภัยและขนาดที่เหมาะสมในการใช้ยังไม่มีความแน่นอน
- ขาดข้อมูลการศึกษาความเป็นพิษและรายงานทางคลินิกอยู่มาก
- มีเพียงผลการศึกษาในสัตว์ทดลองและในหลอดทดลองเท่านั้น
- การศึกษาความเป็นพิษ
- ไม่มีพบความเป็นพิษในคน
- การทดลองกับหนูถีบจักร โดยป้อนสารสกัดด้วยเอทานอล 50%
- ใช้ในปริมาณ 800 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
- ไม่พบความผิดปกติ
- หากใช้ในปริมาณ 1,200 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม จะทำให้หนูทดลองตาย
การศึกษาความเป็นพิษแบบกึ่งเฉียบพลันของสารสกัด ต่อหัวใจ ปอด ตับอ่อน และอัณฑะในหนูขาวทดลอง
- ป้อนสารสกัดดังกล่าวในปริมาณ 100, 200, 300 และ 400 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
- ใช้เป็นระยะเวลา 1 เดือน
- พบว่า สมุนไพรชนิดนี้ไม่ก่อให้เกิดอาการเป็นพิษ
- ไม่มีผลต่อการเพิ่มน้ำหนักตัวตลอดระยะเวลาการได้รับยา
- ไม่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของระดับเอนไซม์ที่ทำให้เกิดความผิดปกติในการทำงานของตับและไต และรวมไปถึงระดับเกลือแร่ในเลือด
- มีการเพิ่มอัตราการเคลื่อนตัวและการมีชีวิตรอดของสเปิร์มมากกว่ากลุ่มควบคุม
- ไม่พบพยาธิสภาพของโครงสร้างในระดับจุลกายวิภาคของหัวใจ ปอด ตับอ่อน และไต
- มีการเพิ่มจำนวนของ vacoules ในเซลล์ตับเป็นจำนวนมาก
- มีการเพิ่มจำนวนชั้นของ germ cells ใน seminiferous tubules
- เมื่อป้อนสารสกัดด้วยน้ำในปริมาณ 5 กรัมต่อกิโลกรัม ไม่ทำให้หนูตาย
- ไม่มีรายงานว่ามีอันตรกิริยากับพืชหรือยาชนิดใด
มีสาร berberine
- เป็นสารสำคัญและมีข้อควรระมัดระวังถึงผลข้างเคียงต่อหัวใจ
- อาจจะทำให้เกิดอาการหายใจขัด
- อาจจะมีพิษต่อระบบเลือด หัวใจ และตับได้
สายพันธุ์ Fibraurea recisa Pierre ในรากและเถามีส่วนประกอบทางเคมีดังนี้
- คูลัมบามีน
- จูโทรไรซิน
- เบอบีริน
-...
ต้นหนอนตายหยาก สรรพคุณรักษามะเร็งตับ
หนอนตายหยาก
ต้นหนอนตายหยาก อยู่วงศ์หนอนตายหยาก (STEMONACEAE) สามารถพบเจอได้ตามป่าทั่วไปในมาเลเซีย อินโดนีเซีย ไทย จีน ญี่ปุ่น ลาว มีชื่อในท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น กะเพียดหนู, หนอนตายยาก (จังหวัดลำปาง), โปร่งมดง่าม (เชียงใหม่), กะเพียด (จังหวัดชลบุรี, จังหวัดประจวบคีรีขันธ์), สลอดเชียงคำ (อีสานโบราณ), หนอนตายหยาก (แม่ฮ่องสอน), ปงมดง่าม (เชียงใหม่), ป้งสามสิบ (คนเมือง) ,,,, ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ ต้นตายหยากเล็ก ซึ่งชื่อวิทยาศาสตร์ Stemona tuberosa Lour. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ คือ Roxburghia gloriosa Pers., Roxburghia gloriosoides Roxb., Roxburghia viridiflora Sm.) โดยข้อมูลจากหนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ระบุเอาไว้ว่ายังมีหนอนตายหยากเล็กอีกชนิด ที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Stemona japonica Blume Miq. มีชื่อในท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น ป่ายปู้, หนอนตายหยากเล็ก, โป่งมดง่าม, ตุ้ยเย่ป่ายปู้ (จีนกลาง) ตามตำราระบุเอาไว้ว่าใช้แทนกันได้ หนอนตากหยากใหญ่ ซึ่งมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ Stemona collinsiae Craib มีชื่อในท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น ปงช้าง, หนอนตายหยาก, กะเพียดช้าง
ลักษณะของหนอนตายหยาก
ลักษณะของหนอนตายหยากเล็ก
ต้น เป็นพรรณไม้ล้มลุก มีกึ่งเถาเลื้อยพัน จะเลื้อยพันต้นไม้อื่น สามารถมีความยาวได้ประมาณ 10 เมตร สูงได้ประมาณ 40-60 เซนติเมตร เถากลม เป็นสีเขียว จะมีรากเป็นเหง้าหรือหัวอยู่ในดิน มีลักษณะเป็นรูปกระสวย จะออกเป็นกระจุก เนื้อจะอ่อนนิ่มเป็นสีเหลืองขาว ขยายพันธุ์โดยการใช้เหง้าปักชำ การเพาะเมล็ด ,,
ใบ เป็นใบเดี่ยว ใบจะออกเรียงเวียนสลับที่ใกล้โคนต้น จะออกเรียงเป็นคู่ตรงข้ามที่กลางต้นหรือยอด ใบเป็นรูปหัวใจ ที่โคนใบเว้า ส่วนที่ปลายใบจะเรียวแหลม ขอบใบจะเรียบหรือบิดเป็นคลื่นนิดหน่อย ใบกว้างประมาณ 3-14 เซนติเมตร มีความยาวประมาณ 9-20 เซนติเมตร แผ่นใบมีลักษณะเป็นคลื่น ที่เส้นใบแตกออกจากโคนใบขนานกันไปด้านปลายใบ 9-13 เส้น ก้านใบมีความยาวประมาณ 1.5-7 เซนติเมตร ,
ดอก เป็นดอกสมบูรณ์เพศจะออกดอกเดี่ยวหรือเป็นช่อกระจะประมาณ 2-6 ดอก ดอกออกที่ตามซอกใบ ที่ก้านช่อดอกยาวประมาณ 2-8 เซนติเมตร และจะมีใบประดับยาว 0.5-1.5 เซนติเมตร ก้านดอกมีความยาวประมาณ 0.5-3 เซนติเมตร มีกลีบรวมอยู่ 4 กลีบ จะเรียงเป็นชั้น 2 ชั้น มีชั้นละ 2 กลีบ กลีบมีลักษณะเป็นรูปแถบยาวที่ปลายจะแหลม กว้างประมาณ 0.4-1 เซนติเมตร มีความยาวประมาณ 2.5-4 เซนติเมตร กลีบชั้นนอกจะมีลักษณะเป็นสีเขียวอ่อนอมสีเหลือง...
ละหุ่ง ใบสดมีสรรพคุณเป็นยาขับน้ำนมของสตรี
ละหุ่ง
ต้นละหุ่ง พรรณไม้ส่งออกขายอันดับต้น ๆ ของประเทศไทย พรรณไม้ที่ชาวสวนชาวไร่นิยมปลูกสำหรับป้องกันศัตรูพืช และพรรณไม้ที่เด่นในเรื่องสรรพคุณอันหลากหลาย แต่เมล็ดกลับมีพิษร้ายเป็นอันตรายต่อชีวิต มีถิ่นกำเนิดในแถบแอฟริกาตะวันออก ในต่างประเทศสามารถพบได้ที่ประเทศอินเดีย และบราซิล ประเทศไทยสามารถพบได้ทั่วทุกภูมิภาค (ประเทศไทยได้ถูกจัดให้เป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ของโลกอีกด้วย) ชื่อสามัญ Castor, Castor bean, Castor oil plant ชื่อวิทยาศาสตร์ Ricinus communis L. จัดอยู่ในวงศ์ วงศ์ยางพารา (EUPHORBIACEAE) ชื่ออื่น ๆ ปี่มั้ว (ประเทศจีน), มะโห่ง มะโห่งหิน (ในภาคเหนือของประเทศไทย), มะละหุ่ง ละหุ่งแดง ละหุ่งขาว (ในภาคกลางของประเทศไทย) เป็นต้น,,
ข้อควรรู้
ในประเทศไทยมีสายพันธุ์ที่ปลูกกันอยู่ 2 สายพันธุ์ ดังนี้
1. สายพันธุ์พื้นเมือง มีอายุยืนยาว เช่น พันธุ์ลายหินอ่อน พันธุ์ลายขาวดำ และพันธุ์ลายแดงเข้ม เป็นต้น สายพันธุ์เหล่านี้ มักจะปลูกแล้วจะปล่อยทิ้งไว้เป็นระยะเวลาประมาณ 5-6 ปี หรือมากกว่านั้นเพื่อให้ต้นติดผล
2. สายพันธุ์ลูกผสม มีอายุสั้น มีชื่อสายพันธุ์ว่า พันธุ์อุบล90 จุดเด่นอยู่ตรงที่มีระยะเวลาการปลูกที่สั้นใช้เวลาประมาณ 75-100 วัน ก็สามารถให้ผลผลิตได้ อีกทั้งเมล็ดยังมีน้ำมันสูงกว่าสายพันธุ์ปกติอีกด้วย (สายพันธุ์นี้ไม่ค่อยได้รับความนิยมมากนัก เนื่องจากมีราคาแพงและเมล็ดมีจำนวนจำกัด)
ลักษณะของละหุ่ง
ต้น
1. เป็นพันธุ์ไม้ประเภทไม้พุ่มยืนต้นที่มีขนาดเล็ก
2. ต้นจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ต้นขาว มีสีลำต้นกับก้านใบที่เป็นสีเขียว และมียอดอ่อนกับช่อดอกเป็นสีนวลขาว ต้นแดง มีสีลำต้นกับก้านใบที่เป็นสีแดง และมียอดอ่อนกับช่อดอกเป็นสีนวลขาว
3. ความสูงของต้น ประมาณ 6 เมตร
ใบ
1. ใบมีรูปร่างเป็นรูปฝ่ามือ โดยจะแยกออกเป็นแฉกประมาณ 6-11 แฉก บริเวณที่ปลายแฉกแหลม ตรงขอบใบมีรอยหยัก ส่วนโคนใบมีรูปร่างเป็นแบบก้นปิด
2. ใบมีเส้นแขนงใบขนาดใหญ่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน ใบมีหูใบเป็นรูปสามเหลี่ยม
3. ใบจะออกเรียงสลับกันที่บริเวณก้านใบ โดยใบจะมีลักษณะเป็นใบเดี่ยว
4. ใบมีขนาดความกว้างประมาณ 15 เซนติเมตร มีความยาวประมาณ 60 เซนติเมตร และก้านใบมีความยาวประมาณ 10-30 เซนติเมตร
ดอก
1. ดอกมีลักษณะเป็นช่อกระจะ และมีก้านช่อดอกยาว โดยช่อดอกจะออกที่บริเวณปลายกิ่ง
2. ดอกย่อยจะอยู่รวมกันเป็นกระจุก ดอกเพศผู้ จะอยู่ส่วนบนของช่อ ดอกมีกลีบเลี้ยงอยู่ 5 กลีบ บางกลีบจะมีแฉกประมาณ 3-5 แฉก และดอกไม่มีกลีบดอก มีก้านดอกสั้น ลักษณะของตัวดอกจะเรียวและแคบ ดอกมีเกสรเพศผู้เป็นจำนวนมาก ดอกเพศเมีย จะอยู่ส่วนล่างของช่อ ดอกมีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ บางกลีบจะมีแฉกประมาณ 3-5 แฉก และดอกไม่มีกลีบดอกเช่นเดียวกันกับดอกเพศผู้ แต่ก้านดอกจะยาวกว่าดอกเพศผู้ และตัวดอกก็จะเรียวเล็กกว่าและแคบกว่า ดอกมีรังไข่ 3 ช่อง ในแต่ละช่องจะมีออวุลอยู่ 1 เม็ด ผิวของรังไข่จะมีเกล็ดปกคลุมอยู่ ดอกมีเกสรเพศเมียอยู่ 3 อัน
3. ออกดอกเมื่อต้นมีอายุได้ประมาณ 40-60 วัน,
ผล
1. ผลมีรูปร่างเป็นแบบแคปซูล มีความยาวประมาณ 1.5 เซนติเมตร มีขนขึ้นปกคลุมทั่วทั้งผล ผลมีลักษณะเป็นผลแห้ง...
ต้นแสลงใจ เมล็ดช่วยบำรุงประสาท
แสลงใจ
แสลงใจ เป็นไม้กลางแจ้ง โตได้ดีในดินที่ร่วนซุยที่มีความชื้น ประเทศไทยสามารถพบเจอได้ทุกภาค ยกเว้นทางภาคใต้ ที่ตามป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ที่สูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 100-500 เมตร ในต่างประเทศสามารถพบเจอได้ที่ประเทศเวียดนาม ประเทศกัมพูชา ประเทศอินเดีย ประเทศมาเลเซีย ประเทศลาว ประเทศศรีลังกาชื่อสามัญ Snake Wood, Nux-vomica Tree , ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Strychnos nux-vomica L.,, อยู่วงศ์กันเกรา (LOGANIACEAE หรือ STRYCHNACEAE),, ชื่อในท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น ว่านไฟต้น, ตูมกาแดง (ภาคกลาง), กระจี้ (ภาคกลาง), แสลงโทน (จังหวัดโคราช), แสลงเบื่อ (จังหวัดนครราชสีมา), กะกลิ้ง (ภาคกลาง), แสลงทม (จังหวัดนครราชสีมา), แสงโทน (จังหวัดโคราช), แสงเบื่อ (จังหวัดอุบลราชธานี), โกฐกะกลิ้ง (ภาคกลาง) ,,
ลักษณะของแสลงใจ
ต้น เป็นไม้ยืนต้นที่มีขนาดใหญ่ ต้นสามารถสูงได้ถึงประมาณ 30 เมตร เปลือกลำต้นมีลักษณะเป็นสีน้ำตาลปนสีเทา มีรูตาที่ตามเปลือกต้น ขยายพันธุ์โดยวิธีการตอน การใช้เมล็ด ,,,,
ใบ เป็นใบเดี่ยว ใบจะออกเรียงตรงข้าม ใบเป็นรูปไข่ รูปรี ที่โคนใบจะมนเบี้ยว ส่วนที่ปลายใบจะแหลมหรือมน ขอบใบเรียบ ใบกว้างประมาณ 5-8 เซนติเมตร มีความยาวประมาณ 7-12 เซนติเมตร ที่ท้องใบจะเรียบ ส่วนที่หลังใบก็จะเรียบเช่นกัน มีเส้นใบตามแนวขวาง 5 เส้น ตามแนวยาว 3 เส้น ก้านใบยาวได้ประมาณ 4-6 มิลลิเมตร ,
ดอก ออกเป็นช่อ ออกดอกที่ตามซอกใบและปลายกิ่ง ช่อดอกคล้ายร่ม มีดอกย่อยขนาดเล็ก ดอกมีลักษณะเป็นสีเทาอมสีขาว สีเขียวอ่อน สีขาว เป็นรูปทรงกระบอกแตกเป็นกลีบ 5 กลีบ กลีบดอกมีความยาวประมาณ 2.5-4 มิลลิเมตร ที่ปลายกลีบดอกจะแหลม ส่วนที่โคนกลีบดอกจะเชื่อมกันเป็นหลอดเล็ก มีเกสรเพศผู้อยู่ 5 อัน,
ผล เป็นผลสด ผลเป็นรูปทรงกลม มีขนาดประมาณ 2.5-4 เซนติเมตร พื้นผิวของผลจะเรียบ ผลอ่อนมีลักษณะเป็นสีเขียว ผลสุกเป็นสีส้มหรือสีส้มแดง มีเมล็ดอยู่ในผลประมาณ 3-5 เมล็ด,,
เมล็ด เป็นรูปกลมและแบน เมล็ดมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.5-2.5 เซนติเมตร พื้นผิวเมล็ดมีลักษณะเป็นสีเทาอมสีเหลือง มีขนเป็นสีขาว สีน้ำตาลอ่อน
สรรพคุณ และประโยชน์แสลงใจ
1. เมล็ด มีสรรพคุณที่ช่วยแก้เหน็บชาและรูมาติซั่ม แก้อัมพาต แก้อาการปวดบวม แก้อัมพฤกษ ช่วยขับลมชื้น
2. สามารถนำใบมาตำใช้พอกแก้อาการฟกช้ำได้ (ใบ)
3. สามารถนำเมล็ดมาใช้ภายนอกเป็นยาแก้ฟกช้ำดำเขียวได้ (เมล็ด)
4. สามารถช่วยแก้ฝีภายนอกและภายในได้ (เมล็ด)
5. สามารถนำรากมาฝนกับน้ำ ใช้ทานและทาแก้อาการอักเสบเนื่องจากงูกัด (ราก)
6. เมล็ด มีสรรพคุณที่สามารถช่วยกระตุ้นความรู้สึกทางเพศได้ (เมล็ด)
7. สามารถช่วยแก้โรคโปลิโอในเด็กได้ (เมล็ด)
8....
ต้นพระจันทร์ครึ่งซีก สรรพคุณใช้รักษาโรคภูมิแพ้
พระจันทร์ครึ่งซีก
พระจันทร์ครึ่งซีก มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีน ในปัจจุบันสามารถพบได้ในแถบภูมิภาคอินโดจีน คาบสมุทรมลายู ประเทศอินเดีย ญี่ปุ่น ไต้หวัน เกาหลี ศรีลังกา และพม่า ประเทศไทยสามารถพบได้ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงใต้ และภาคเหนือ เติบโตตามพื้นที่โล่งที่มีความชื้นแฉะ ในระดับความสูง 100-300 เมตร วัดจากระดับน้ำทะเล,,, ชื่อสามัญ Chinese lobelia ชื่ออื่น ๆ ปัวปีไน้ ปั้วปีไน้ (ภาษาจีนแต้จิ๋ว), ป้านเปียนเหลียม ป้านเปียนเหลียน (ภาษาจีนกลาง), ปั้วใบไน้ (ประเทศจีน), ผักขี้ส้ม (จังหวัดสกลนคร), บัวครึ่งซีก (จังหวัดชัยนาท) เป็นต้น,,, ชื่อวิทยาศาสตร์ Lobelia chinensis Lour. ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Lobelia caespitosa Blume, Lobelia campanuloides Thunb., Lobelia radicans Thunb. จัดอยู่ในวงศ์ (CAMPANULACEAE),,,,
ลักษณะของต้นพระจันทร์ครึ่งซีก
ต้น
1. เป็นพันธุ์ไม้ประเภทล้มลุกที่มีขนาดเล็กคล้ายกับต้นหญ้า ต้นมีอายุขัยอยู่ได้นานหลายปี
2. ลำต้นมีผิวเรียบและมีความเป็นมัน มีสีแดงอมเขียวหรือสีเขียว ลำต้นจะมีรูปร่างเรียวเล็กและมีข้อตามลำต้น ซึ่งลักษณะของลำต้นจะทอดเลื้อยไปตามพื้นดินคล้ายเถา และส่วนยอดของลำต้นจะตั้งชูขึ้น
3. ตามข้อลำต้นจะมีกิ่งก้านและใบออกเรียงสลับกัน และต้นจะมีรากเป็นระบบรากฝอย
4. ภายในลำต้นมีน้ำยางสีขาว
5. ความสูงของต้นประมาณ 5-20 เซนติเมตร
6. ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการปักชำ
ใบ
1. ใบ มีรูปร่างเป็นรูปขอบขนาน ตรงปลายใบแหลม ส่วนขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อยตื้น ๆ และบริเวณโคนใบตัดเป็นมน ท้องใบและหลังใบมีผิวเรียบเป็นมันเงา
2. ใบ จะออกเรียงสลับกัน โดยใบจะมีลักษณะเป็นใบเดี่ยว,,
3. ใบมีขนาดความกว้างประมาณ 0.2-0.6 เซนติเมตร มีความยาวประมาณ 1-2 เซนติเมตร และมีก้านใบที่สั้นมาก
ดอก
1. ดอกมีลักษณะเป็นดอกเดี่ยว ก้านดอกค่อนข้างยาว กลีบดอกมีอยู่ 5 กลีบ กลีบดอกมีสีขาวหรือสีม่วง ดอกมีกลีบเลี้ยงสีเขียวอมม่วง โดยกลีบดอกจะมีจุดเด่นตรงที่กลีบดอกจะเรียงตัวไปในทิศทางเดียวกัน (มีลักษณะคล้ายดอกบัวครึ่งซีก)
2. ดอกมีเกสรเพศผู้อยู่ 5 อัน และมีเกสรเพศเมียอยู่ 1 อัน มีรังไข่อยู่ใต้วงกลีบ แบ่งเป็น 2 ห้อง หลอดดอกมีขนสีขาวขึ้นปกคลุม และตรงบริเวณโคนกลีบดอกจะเชื่อมติดกันเป็นหลอด ซึ่งแต่ละหลอดจะแยกตัวออกจากกัน
3. ออกดอกในช่วงเดือนพฤษภาคมไปจนถึงเดือนตุลาคม,,
ผล
1. ผลมีขนาดเล็ก วัดขนาดความยาวได้ประมาณ 4-6 มิลลิเมตร เมื่อผลแห้งผลจะแตกออก
2. ผลจะออกบริเวณที่ใกล้กับดอก
3. ติดผลในช่วงเดือนพฤษภาคมไปจนถึงเดือนตุลาคม
เมล็ด
1. เมล็ดมีรูปร่างเป็นรูปแบนและรี โดยเมล็ดจะมีอยู่เป็นจำนวนมากภายในผล,
สรรพคุณ และประโยชน์ของพระจันทร์ครึ่งซีก
1. ทั้งต้นนำมาต้มกับน้ำเป็นยาสำหรับใช้ภายนอก โดยให้นำมาทาบริเวณที่มีอาการ มีสรรพคุณในการรักษาอาการไขข้ออักเสบ และแก้อาการเคล็ดขัดยอก (ทั้งต้น),,
2. ทั้งต้นมีสรรพคุณเป็นยาถอนพิษไข้ และดับพิษร้อน (ทั้งต้น)
3. ทั้งต้นมีสรรพคุณเป็นยารักษาไข้หวัด และโรคไข้มาลาเรีย (ทั้งต้น),
4. ทั้งต้นมีฤทธิ์เป็นยาแก้ไอ (ทั้งต้น),
5. ทั้งต้นมีสรรพคุณเป็นยารักษาโรคภูมิแพ้ และบรรเทาอาการคัดจมูก (ทั้งต้น)
6. ทั้งต้นมีฤทธิ์เป็นยารักษาอาการบวมช้ำ บรรเทาอาการแน่นหน้าอก และอาการเจ็บสีข้าง (ทั้งต้น)
7. ทั้งต้นนำมาตำใช้เป็นยาพอก มีสรรพคุณเป็นยารักษาอาการเต้านมอักเสบ (ทั้งต้น),,
8. ทั้งต้นมีสรรพคุณเป็นยารักษาโรคต่อมทอนซิลอักเสบ (ทั้งต้น),,
9. ทั้งต้นมีฤทธิ์เป็นยารักษาอาการไอเป็นเลือด และอาการอาเจียนออกมาเป็นเลือด (ทั้งต้น),,,
10....
เห็ดหลินจือ สรรพคุณรักษาโรคลมบ้าหมู
เห็ดหลินจือ
เห็ดหลินจือ เป็นเห็ดที่ดีที่สุดในหมู่สมุนไพรจีน หายากมีคุณค่าสูง เป็นเทพเจ้าแห่งชีวิตที่มีพลังมหัศจรรย์ ใช้ทำเป็นยาเพื่อรักษาทางการแพทย์ของจีนมานานกว่า 2,000 ปี ใช้ตั้งแต่สมัยจักรพรรดิฉินซีฮ่องเต้เป็นต้นมา ตามธรรมชาติมีมากกว่า 100 สายพันธุ์ สายพันธุ์ที่นิยมและมีสรรพคุณทางยาที่ดีที่สุดคือสายพันธุ์สีแดง หรือเห็ดหลินจือแดง หรือกาโนเดอร์มา ลูซิดัม (Ganoderma lucidum) ชื่อสามัญ คือ Lingzhi mushroom, Reishi mushroom ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Ganoderma lucidum (Curtis) P. Karst จัดอยู่ในวงศ์ GANODERMATACEAE ชื่อเรียกอื่น ๆ ว่า เห็ดหมื่นปี, เห็ดอมตะ
ลักษณะของเห็ดหลินจือ
ดอก เป็นรูปไตหรือรูปครึ่งวงกลม กว้าง 3-4 เซนติเมตร ยาว 8-20 เซนติเมตร หนา 1-3 เซนติเมตร ดอกอ่อนมีขอบสีขาว ถัดเข้าไปมีสีเหลืองอ่อน กลางดอกมีสีน้ำตาลหรือน้ำตาลแดง ผิวเป็นมันคล้ายทาด้วยแลคเกอร์ มีริ้วหรือหยักเป็นคลื่น ขอบหมวกงุ้มลงเล็กน้อยและหนา ด้านล่างเป็นรูกลมเล็ก ๆ เชื่อมติดกัน
ต้น มีลักษณะเป็นก้านสั้นหรืออาจไม่มีก้าน ถ้ามีก้านมักมีสีน้ำตาลเข้มหรือน้ำตาลดำ ยาว 2-10 เซนติเมตร อยู่เยื้องไปข้างใดข้างหนึ่งหรือติดขอบหมวก ทำให้ดอกมีรูปร่างคล้ายไต ผิวก้านเป็นเงา เนื้อในเห็ดมีสีน้ำตาลอ่อน
สปอร์ เป็นตัวช่วยในการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ ถูกสร้างออกมาจากผนังของรูที่อยู่ใต้หมวกเห็ด ลักษณะเป็นรูปวงรีสีน้ำตาล ปลายด้านหนึ่งตัดตรง ผิวเรียบ มีผนังหนาสองชั้น ระหว่างผนังมีลายหนามยอดเรียวไปจรดผนังชั้นนอก
สืบพันธุ์ สปอร์จะหลุดออกจากรูใต้หมวกแล้วปลิวไปเกาะบนผิวดอก ทำให้เรามองเห็นดอกเห็ดเป็นมันเงาสีน้ำตาลคล้ายฝุ่นเกาะ เมื่อสปอร์กระจายออกไปอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมจึงจะเจริญเติบโตเป็นเห็ดดอกใหม่
การเลือกซื้อเห็ดหลินจือ
- ควรศึกษาตั้งแต่ขั้นตอนการเพาะปลูก
- ต้องได้รับการเพาะเลี้ยงในสภาวะที่เหมาะสม ทั้งความชื้น แสงสว่าง รวมไปถึงสารอาหารที่ได้รับ
- สิ่งที่ต้องดูอีกอย่างนั้นคือขั้นตอนการแปรรูป
- เนื่องจากเป็นกระบวนการที่จะต้องสารสกัดพอลิแซ็กคาไรด์จากเห็ดออกมาให้ได้มากที่สุด
- ต้องเป็นบรรจุภัณฑ์ที่สามารถกันความชื้นได้เป็นอย่างดี เพราะเห็ดชนิดนี้จะไวต่อความชื้นเป็นพิเศษ และความชื้นจะทำให้ขึ้นราได้
คำแนะนำ
เหมาะกับโรคของผู้สูงอายุ
- เพราะเห็ดชนิดนี้มีสามารถป้องกันและบำบัดรักษาโรคเป็นส่วนใหญ่
รูปแบบในการรับประทาน
- ยาต้มแบบโบราณ โดยการนำที่แห้งนำมาต้มและเคี่ยว แต่เป็นวิธีที่ค่อนข้างยุ่งยากและไม่ค่อยจะสะดวก
- เนื้อบดเป็นผงบรรจุแคปซูล อาจจะทำให้มีเชื้อราได้หากไม่ผ่านการฆ่าเชื้อ รูปแบบนี้จะมีความเข้มน้อยและดูดซึมได้ยาก
- สกัดหรือแคปซูล เป็นแบบที่จะได้สารสกัดที่เข้มข้นมาก มีสรรพคุณที่ดีกว่า และดูดซึมและออกฤทธิ์ได้ดีกว่า นอกจากนี้ยังมีมาตรฐานการผลิตที่สะอาดและปลอดภัย
เวลาที่เหมาะสมในการรับประทาน
- ควรรับประทานในตอนเช้าขณะที่ท้องว่าง
- ควรดื่มน้ำตามให้มาก ๆ
- หากทานร่วมกับวิตามินซีจะมีผลที่ดีขึ้น เนื่องจากจะช่วยเสริมสรรพคุณ
- สำหรับผู้ที่ต้องกินยากดภูมิต้านทานหรือผู้ที่เป็นโรค SLE หรือผ่าตัดปลูกถ่ายอวัยวะไม่ควรรับประทาน
ผลข้างเคียงของผู้ทาน
อาการของผู้ที่เริ่มรับประทานใหม่ ๆ คือ
- รู้สึกเวียนศีรษะ
- อาเจียน
- ง่วงนอน
- ปวดเมื่อยตามร่างกาย ตามข้อ
- เกิดอาการท้องผูก ท้องเสีย ปัสสาวะบ่อย
- ผิวหนังเกิดอาการคัน
เมื่อตัวยาเข้าไปในร่างกายจะเข้าไปชำระล้างสารพิษต่าง ๆ ให้สลายไป
อาการเช่นนี้จะเกิดขึ้นในระยะเวลาสั้น ๆ เพียง 2-7 วันก็จะกลับสู่สภาวะปกติ
หากมีอาการตามนี้ก็สามารถรับประทานต่อได้
หากมีอาการมากก็ควรลดปริมาณลงจนกว่าอาการจะเป็นปกติ
สำหรับผู้ป่วยที่กำลังรับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง สามารถรับประทานเห็ดชนิดนี้ควบคู่ไปได้
สรรพคุณของเห็ดหลินจือ
ช่วยแก้อาการปวดประจำเดือน
ช่วยแก้ปัญหาภาวะมีบุตรยาก
ช่วยป้องกันการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ
ช่วยรักษาโรคที่มีสาเหตุมาจากการขาดออกซิเจน
ช่วยยับยั้งเชื้อไวรัส เช่น ไวรัสเอดส์ อีสุกอีใส งูสวัด
ช่วยรักษาโรคลูปัส อีริทีมาโตซัสทั่วร่าง (SLE)
ช่วยสลายใยแผลเป็นหรือพังผืดหดยืด
...
เหงือกปลาหมอ สรรพคุณรากใช้รักษาโรคงูสวัด
เหงือกปลาหมอ
เหงือกปลาหมอ เป็นพรรณไม้ที่มักขึ้นกลางแจ้ง เติบโตได้ดีในที่ร่มและในที่ที่มีความชื้นสูง มักจะขึ้นตามชายน้ำหรือบริเวณริมฝั่งคลองบริเวณปากแม่น้ำ เช่น บริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออกเหนือปากคลองมหาวงก์ ชื่อสามัญ Sea holly, Thistleplike plant ชื่อวิทยาศาสตร์ Acanthus ebracteatus Vahl ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Acanthus ilicifolius Lour., Acanthus ilicifolius var. ebracteatus (Vahl) Benoist, Dilivaria ebracteata (Vahl) Pers.) จัดอยู่ในวงศ์ (ACANTHACEAE) ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ คือ แก้มหมอ (สตูล), แก้มหมอเล (กระบี่), อีเกร็ง (ภาคกลาง), นางเกร็ง, จะเกร็ง, เหงือกปลาหมอน้ำเงิน
ชนิดของสายพันธุ์
พันธุ์ที่เป็นดอกสีม่วง (Acanthus ilicifolius L.) สามารถพบได้มากทางภาคใต้
พันธุ์ที่เป็นดอกสีขาว (Acanthus ebracteatus Vahl) สามารถพบได้มากทางภาคกลางและภาคตะวันออก และเป็นพรรณไม้ขึ้นชื่อของจังหวัดสมุทรปราการ
ลักษณะของเหงือกปลาหมอ
ต้น
- เป็นไม้พุ่มขนาดกลาง
- มีความสูงได้ถึง 1-2 เมตร
- ลำต้นมีความแข็ง
- มีหนามอยู่ตามข้อของลำต้น ข้อละ 4 หนาม
- ลำต้นรูปร่างกลม กลวง ตั้งตรง มีสีขาวอมเขียว
- ลำต้นมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5 เซนติเมตร
- สามารถขยายพันธุ์ได้โดยวิธีการเพาะเมล็ดและการใช้กิ่งปักชำ
ใบ
- เป็นใบเดี่ยว
- ใบมีหนามคมอยู่ริมขอบใบและปลายใบ
- ขอบใบเว้าเป็นระยะ ๆ
- ผิวใบเรียบเป็นมันลื่น
- แผ่นใบเป็นสีเขียว เส้นใบเป็นสีขาว มีเหลือบสีขาวเป็นแนวก้างปลา
- เนื้อใบแข็งและเหนียว
- ใบมีความกว้าง 4-7 เซนติเมตร และยาว 10-20 เซนติเมตร
- ใบจะออกเป็นคู่ตรงข้ามกัน
- ก้านใบสั้น
ดอก
- ออกดอกเป็นช่อตั้งอยู่บริเวณปลายยอด
- มีความยาว 4-6 นิ้ว
- ดอกมีพันธุ์ดอกสีม่วง (หรือสีฟ้า) และพันธุ์ดอกสีขาว
- ที่ดอกมีกลีบรองดอกมี 4 กลีบ กลีบแยกออกจากกัน
- บริเวณกลางดอกจะมีเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่
ผล
- ผลเป็นฝักสีน้ำตาล
- ฝักมีรูปร่างเป็นทรงกระบอก รูปไข่ หรือกลมรี
- มีความยาว 2-3 เซนติเมตร
- เปลือกฝักมีสีน้ำตาล ปลายฝักมีความป้าน
- ข้างในฝักจะมีเมล็ด 4 เมล็ด
สรรพคุณของเหงือกปลาหมอ
สามารถนำสรรพคุณทางยามาใช้ในการรักษาโรคได้หลายชนิด
สามารถนำมารักษาโรคผิวหนังได้เกือบทุกชนิด
สามารถการนำมาใช้รักษาริดสีดวงทวารได้
ส่วนที่นำมาใช้เป็นยาสมุนไพร ได้แก่ ส่วนลำต้นทั้งสดและแห้ง ใบทั้งสดและแห้ง ราก เมล็ด และทั้งต้น
ช่วยบำรุงรากผม โดยการใช้ใบมาคั้นเป็นน้ำแล้วนำมาทาให้ทั่วศีรษะ
ช่วยแก้ไขข้ออักเสบและแก้อาการปวดต่าง ๆ
สามารถใช้พอกบริเวณแผลที่ถูกงูกัดได้
ช่วยรักษาโรคผิวหนังหรือประดง รักษากลากเกลื้อน อีสุกอีใส
ช่วยรักษาแผลอักเสบ
ช่วยรักษานิ่วในไต
ช่วยแก้ไข้
ช่วยรักษาโรคริดสีดวงทวาร
ช่วยรักษามุตกิดระดูขาว ตกขาวของสตรี
ช่วยแก้น้ำเหลืองเสีย
ช่วยรักษาฝีทุกชนิดทั้งภายในและภายนอก
ช่วยแก้อัมพาต
ช่วยรักษาโรคงูสวัด
ช่วยรักษาตกขาวของสตรี
ช่วยขับเสมหะ
ช่วยแก้หืดหอบ
ช่วยแก้และบรรเทาอาการไอ
ช่วยบำรุงประสาท
...
หมามุ่ย สรรพคุณรักษาโรคพาร์กินสัน
หมามุ่ย
ชื่อสามัญ คือ Mucuna ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Mucuna pruriens (L.) DC. ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ คือ Mucuna pruriens var. pruriens จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยถั่ว FABOIDEAE (PAPILIONOIDEAE หรือ PAPILIONACEAE) ชื่ออื่น ๆ บะเหยือง หมาเหยือง (ภาคเหนือ) โพล่ยู (กาญจนบุรี) กล้ออือแซ (แม่ฮ่องสอน) ตำแย
ลักษณะต้นหมามุ่ย
ต้น
- เป็นพืชเถา
- ผลเป็นฝักยาว คล้ายกับถั่วลันเตา
- มีขนสีน้ำตาลอมทองหรือแดงปกคลุมที่ฝัก
- ขนหลุดร่วงได้ง่าย ปลิวตามลมและเป็นพิษ
- ขนเต็มไปด้วยสารเซโรโทนิน (Serotonin)
- เมื่อสัมผัสขนจะทำให้เกิดอาการคัน แพ้ระคายเคืองอย่างรุนแรง
- ฝักจะออกในช่วงฤดูหนาวจนถึงฤดูแล้ง
เมล็ด
- มีสารแอลโดปา (L-Dopa)
- เป็นสารที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อระบบสืบพันธุ์
- เป็นสารสื่อประสาทซึ่งมีส่วนช่วยรักษาโรคพาร์กินสันได้
- ต้องใช้ในรูปแบบที่ผ่านการสกัดมาเป็นยาเม็ด
- ร่างกายไม่สามารถรับสารในรูปของเมล็ดสดหรือแปรรูปได้
วิธีการรักษาพิษ
ให้รีบกำจัดขนพิษออกจากบริเวณที่สัมผัส
ใช้เทียนไขลนไฟให้อ่อนตัวหรือใช้ข้าวเหนียวนำมาคลึงจนเนื้อข้าวเหนียวกลืนกัน
นำมาคลึงบริเวณที่สัมผัสขนหลายครั้ง ๆ จนหมด
หากยังมีอาการแดงแสบร้อนหรือคันอยู่ ให้ใช้โลชั่นคาลาไมน์มาทา
ใช้สเตียรอยด์พร้อมกับรับประทานยาแก้แพ้ อาการก็จะดีขึ้น
คำแนะนำในการรับประทาน
รศ.ดร.นพมาศ สุนทรเจริญนนท์ ผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร อาจารย์ประจำคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลระบุว่า
- เมล็ดสายพันธุ์อินเดียและจีน สามารถช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศได้
- ผู้ที่กำลังสนใจและต้องการรับประทาน ไม่ควรรับประทานแบบสุ่มสี่สุ่มห้า
- ยังไม่มีผลงานวิจัยรองรับแน่ชัดว่าสายพันธุ์ไทยไม่เป็นหมามุ่ยสปีชีส์ใด หรือมีผลข้างเคียงหรืออันตรายต่อร่างกายหรือไม่
เด็ก สตรีมีครรภ์ ผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง และผู้ป่วยทางจิตเวชไม่ควรรับประทาน
การนำเมล็ดมาทำเป็นยาสมุนไพรรับประทานเอง
- ต้องมีความระมัดระวังไม่ให้สัมผัสโดยตรง
- แต่ไม่แนะนำให้เก็บมารับประทานเอง จนกว่าจะได้รับการยืนยันสายพันธุ์ที่แน่นอน
- เนื่องจากมีหลายสายพันธุ์
- มีสายพันธุ์จีนและอินเดียที่สามารถทำเป็นยาได้
- แต่สายพันธุ์ไทยนั้น ยังไม่ระบุแน่ชัด
- ซื้อแบบสำเร็จรูปรับประทานจะมีความปลอดภัยมากกว่า
วิธีการเก็บ
- ให้เลือกเก็บจากต้นที่มีฝักแก่
- ให้ฉีดน้ำให้เปียก เพื่อป้องกันไม่ให้ขนอ่อนของฝักฟุ้งกระจาย
- จากนั้นก็สวมถุงมือป้องกันแล้วค่อย ๆ เก็บฝัก
- เมื่อได้มาให้นำเมล็ดมาคั่วไฟ
- แล้วนำไปล้างน้ำ ก่อนนำไปคั่วไฟอีกรอบ
- ต้องคั่วให้สุกเท่านั้น
- หากคั่วไม่สุกแล้วนำไปรับประทานอาจจะเกิดสารพิษได้
วิธีการรับประทาน
- สามารถนำเมล็ดนำมาบดให้เป็นผง ผสมกับชาหรือกาแฟได้
- หากชงกับน้ำร้อนเปล่า ๆ รสจะออกเปรี้ยวมันนิด ๆ
- สามารถรับประทานกับข้าวเหนียวได้
ปริมาณการรับประทานที่แนะนำ
- ผู้ที่ไม่ได้มีปัญหาสมรรถภาพทางเพศ ให้รับประทาน 3 เมล็ดต่อวัน
- ผู้ที่มีปัญหาสมรรถภาพทางเพศ ให้รับประทานวันละ 20-25 เม็ด ไม่เกิน 3 เดือน
สรรพคุณของหมามุ่ย
เมล็ด ช่วยแก้พิษแมงป่อง
เมล็ด ใช้เป็นยาฝาดสมาน
ราก ช่วยถอนพิษ ล้างพิษ
ราก ช่วยแก้อาการคัน
ราก ช่วยแก้อาการไอ
ช่วยแก้อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย
ช่วยผ่อนคลายความเครียด
ช่วยเพิ่มการเผาผลาญและมวลของกล้ามเนื้อ
ช่วยรักษาโรคพาร์กินสัน
ช่วยรักษาภาวะการมีบุตรยากทั้งชายและหญิง
ช่วยให้ช่องคลอดกระชับมากยิ่งขึ้น
ช่วยเพิ่มปริมาณของฮอร์โมนเพศ
ช่วยทำให้หน้าอกเต่งตึงมากยิ่งขึ้น
ช่วยทำให้ผิวพรรณดูมีน้ำมีนวลมากยิ่งขึ้น
ช่วยแก้ปัญหาอวัยวะเพศแข็งตัวช้า
ช่วยยืดระยะเวลาในการมีเพศสัมพันธ์
ช่วยแก้ปัญหาการหลั่งเร็วได้
ช่วยกระตุ้นความต้องการทางเพศ
ช่วยเพิ่มการเคลื่อนไหวของตัวอสุจิ
ช่วยกระตุ้นการสร้างน้ำอสุจิ
ช่วยปรับคุณภาพของน้ำเชื้อให้ดีมากยิ่งขึ้น
ช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศให้ดีมากยิ่งขึ้น
ช่วยบำรุงกำลัง ทำให้ไม่เหนื่อยง่าย
ช่วยทำให้ร่างกายสดชื่นกระปรี้กระเปร่า...