โภชนาการสำคัญที่ควรรู้

- โภชนาการสำคัญที่ควรรู้

อาหาร 5 หมู่ มีอะไรบ้าง และแหล่งอาหารของแต่ละหมู่

0
อาหาร 5 หมู่ อาหาร 5 หมู่ เป็นแนวทางการบริโภคอาหารที่สำคัญซึ่งเน้นการให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่หลากหลายและเพียงพอ เพื่อสนับสนุนการเจริญเติบโตและการทำงานที่เหมาะสมของร่างกาย โดยอาหารที่แบ่งออกเป็น 5 หมู่ ได้แก่ ข้าวและแป้ง, เนื้อสัตว์, ผัก, ผลไม้, และนม ซึ่งแต่ละหมู่มีคุณค่าทางโภชนาการที่แตกต่างกันไป การบริโภคอาหารจากทุกหมู่จึงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนและช่วยป้องกันการขาดสารอาหารที่อาจส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาว สารอาหารมีกี่ประเภท สารอาหารที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตและการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิตด้วยการกิน ซึ่งช่วยสร้างและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างการ รวมทั้งระบบการย่อย โดยสารอาหารจะถูกแบ่งออกเป็นอาหารหลักดังนี้ อาหารหลักหมู่ที่ 1 ประกอบด้วยเนื้อหมู เนื้อไก่ เนื้อปลา นม ไข่ ถั่วเมล็ดแห้ง ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วลิสง อาหารหลักหมู่ที่ 2 ประกอบด้วยมันเทศ ควินัว ข้าวกล้อง ข้าว แป้ง เผือกมัน น้ำตาล อาหารหลักหมู่ที่ 3 ประกอบด้วยฟักทอง มันเทศสีเหลือง ถั่วฝักยาว ผักบุ้ง ตำลึง แครอท คะน้า อาหารหลักหมู่ที่ 4 ประกอบด้วยผัก ผลไม้ ส้มโอ ลูกพีช องุ่น เสาวรส มะละกอ กล้วย แอปเปิ้ล อาหารหลักหมู่ที่ 5 ประกอบด้วยครีม เนย ชีส น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว น้ำมันมะกอก น้ำมันงา น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันเมล็ดดอกทานตะวัน น้ำมันรำข้าว น้ำมันเมล็ดดอกคำฝอย น้ำมันถั่วลิสง น้ำมันปาล์ม >> อาหารที่กินแล้วช่วยลดความเครียดได้ดีเป็นอย่างไร อยากรู้ บทความนี้มีคำตอบ >> อาหารที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่ผ่าตัด ฉายแสง เคมีบำบัด เป็นอย่างไรมาดูกันค่ะ โภชนาการอาหาร 5 หมู่ ที่เหมาะสมต่อวัน โปรตีน สำหรับผู้ใหญ่ที่แนะนำต่อวัน คือ ระหว่าง 46 - 63 กรัม และสำหรับหญิงตั้งครรภ์ให้นมบุตรต้องการโปรตีนมากถึง 65 กรัมต่อวัน คาร์โบไฮเดรต สำหรับผู้ใหญ่ที่แนะนำต่อวัน คือ ระหว่าง 45 - 65 กรัม เกลือแร่หรือแร่ธาตุ สำหรับผู้ใหญ่ที่แนะนำต่อวัน คือ ระหว่าง 920 - 2300 มิลลิกรัม วิตามิน สำหรับผู้ใหญ่ที่แนะนำต่อวัน คือ ระหว่าง 60 มิลลิกรัม และสำหรับหญิงตั้งครรภ์ให้นมบุตรต้องการวิตามินประมาณ 70 - 96 มิลลิกรัม ไขมัน สำหรับผู้ใหญ่ที่แนะนำต่อวันประมาณ 70 กรัม แหล่งอาหาร 5 หมู่ ที่สำคัญได้แก่ หมู่ 1 โปรตีน ( เนื้อสัตว์ ไข่ นม ถั่ว ) อาหารหลักหมู่ที่ 1 คือ อาหารประเภทโปรตีนที่ได้จากเนื้อสัตว์ เช่น เนื้อหมู เนื้อไก่ เนื้อปลา นม ไข่ ถั่วเมล็ดแห้ง...
- โภชนาการสำคัญที่ควรรู้

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทางการแพทย์มีที่มาอย่างไร

0
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทางการแพทย์มีที่มาอย่างไร การรักษาผู้ป่วยนอกจากการรักษาทางการแพทย์ ด้วยการผ่าตัด การรับประทานยาแล้ว การดูแลด้านโภชนการสำหรับผู้ป่วยก็เป็นสิ่งที่มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการรักษาด้านการแพทย์เลยทีเดียว เพราะว่าผู้ป่วยที่ได้รับสารอาหารครบถ้วนต่อและเพียงพอต่อความต้องการของร่างกายตามความเหมาะสมของโรคที่ตนเองเป็นอยู่นั้น >> อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วยเบาหวานมีลักษณะอย่างไร มาดูกันค่ะ >> อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วยมะเร็ง สามารถช่วยอะไรบ้างผูเป่วยบ้าง มาดูกันค่ะ จะทำให้ร่างกาย  ของผู้ป่วยสามารถฟื้นตัวได้ดีขึ้น จึงมีโอกาสที่จะหายจากโรคได้เร็วและมากกว่าผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการดูแลด้านโภชนการ ด้วยเหตุนี้จึงได้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทางการแพทย์ออกมาสำหรับผู้ป่วย เพื่อที่ผู้ป่วยจะได้รับสารอาหารที่เหมาะสมกับโรคที่เป็นอยู่ ถึงแม้ว่าผลิตเสริมอาหารทางการแพทย์จะไม่สามารถทำการรักษาให้ผู้ป่วยหายจากโรคที่เป็นอยู่ได้เหมือนกับการรับประทานยา แต่ว่าผลิตเสริมอาหารทางการแพทย์จะเข้าไปช่วยเพิ่มความสมดุลของสารอาหารภายในร่างกาย ทำให้ระบบการทำงานของร่างกายสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อระบบทำงานได้ดีการฟื้นฟู ซ่อมแซมและรักษาร่างกายให้หายจากการเจ็บป่วยย่อมมีโอกาสหายได้มากขึ้นในระยะเวลาอันสั้น แต่ในมีผู้ป่วยบางรายมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับผลิตเสริมอาหารทางการแพทย์กับอาหารเสริมทั่วไปว่าเป็นสิ่งเดียวกัน สามารถรับประทานได้เหมือนกัน ซึ่งทำให้ผู้ป่วยจึงหันไปรับประทานอาหารเสริมแทนผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทางการแพทย์ เพราะด้วยราคาที่ถูกกว่าและคิดว่ามีคุณสมบัติที่เหมือนกันสามารถรับประทานแทนกันได้ ส่งผลให้ผู้ป่วยบางรายมีอาการป่วยที่หนักขึ้นหรืออาจส่งผลถึงขั้นเสียชีวิต เนื่องจากภาวะแทรกซ้อนจากการรับประทานอาหารเสริมที่ไม่เหมะสมกับโรคที่เป็นอยู่ เช่น ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่รับประทานอาหารเสริมวิตามินรวม ทำให้มีความอยากอาหารและรับประทานอาหารมากขึ้น ส่งผลให้ปริมาณน้ำตาลในเลือดสูงซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ปัจจุบันนี้อาหารเสริมและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทางการแพทย์มีวางจำหน่ายอยู่ตามท้องตลาดเป็นจำนวนมาก ทั้งที่อยู่ในรูปแบบผงหรือพร้อมดื่ม มีการโฆษณาสรรพคุณให้ผู้บริโภคฟังมากมาย บางชนิดบอกว่าสามารถช่วยให้ร่างกายแข็งแรง บางชนิดช่วยรักษาโรคได้ บางก็โฆษณาว่าเป็นอาหารเสริมทางการแพทย์แต่บางชนิดก็บอกเพียงว่าเป็นอาหารเสริม แล้วคุณรู้หรือไม่ว่าอาหารเสริมและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทางการแพทย์ต่างกันอย่างไร อาหารเสริม และ ผลิตเสริมอาหารทางการแพทย์ เหมือนหรือต่างกันอย่างไร อาหารเสริม ( Complementary foods ) คือ อาหารที่เราทำการรับประทานเพิ่มเติมจากการรับประทานอาหาร หลักทั้ง 5 หมู่ ซึ่งการรับประทานอาหารเสริมเหมาะสำหรับผู้ที่มีร่างกายอย่ในสภาวะปกติไม่มีอาหารเจ็บป่วยของโรคเกิดขึ้น ซึ่งอาหารเสริมจะเข้าไปเพิ่มประมาณสารอาหารที่ร่างกายต้องการแต่ได้รับในปริมาณที่ไม่เพียงพอจากการรับประทานอาหารในชีวิตประจำวัน เช่น วิตามิน แร่ธาตุ และเกลือแร่ที่ร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์ได้เอง ดังนั้นการรับประทานอาหารเสริมมักจะรับประทานเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงของร่างกาย เพื่อความสวยงาม ทำให้ร่างกายเจริญเติบโตสมวัย และช่วยให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายในปริมาณที่เพียงพอกับความต้องการของร่างกายเท่านั้น ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทางการแพทย์ ( Dietary supplements หรือ Food supplements หรือ Nutritional supplements ) คือ อาหารที่มีสารอาหารเหมือนอาหารที่รับประทานอยู่ในชีวิตประจำวันไม่ใช่ยาที่ใช้ในการรักษาโรคให้หายได้ แต่เป็นอาหารที่ทำการผลิตและออกแบบตามหลักของโภชนการบำบัดที่ช่วยในการฟื้นฟูสุขภาพของผู้ป่วยให้ดีขึ้น โดยมีการดัดแปลงอาหารให้อยู่ในรูปแบบที่ร่างกายสามารถทำการย่อยและดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ง่าย เมื่อรับประทานเข้าไปสู่ร่างกายจะสามารถดูดซึมสารอาหารและนำไปใช้เป็นแหล่งพลังงานของร่างกายได้ทันที จึงช่วยลดปัญหาการขาดสารอาหาร ซึ่งผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทางการแพทย์จะมีหลายรูปแบบทั้งแบบที่ออกแบบมาสำหรับเสริมสารอาหารให้กับผู้ที่อยู่ในสภาวะปกติ เช่น ผู้สูงอายุ และแบบที่มีสารอาหารเฉพาะสำหรับผู้ป่วยที่ต้องการสารอาหารบางชนิดมากเป็นพิเศษ เช่น ผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคมะเร็ง โรคความดันโลหิต เป็นต้น ซึ่งผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทางการแพทย์จะได้รับการออกแบบมาให้มีสารอาหารที่ผู้ป่วยเหล่านั้นต้องการในปริมาณที่เพียงพอและไม่มีปริมาณสารอาหารต้องห้ามสำหรับผู้ป่วยผสมอยู่ด้วย จึงช่วยลดอาการแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นเนื่องจากภาวะขาดสารอาหารที่ทำให้ระบบภายในเกิดความผิดปกติ และผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทางการแพทย์จะอยู่ในรูปแบบที่รับประทานง่าย ผู้ป่วยจึงสามารถรับประทานได้ในปริมาณที่เหมาะสมกับความต้องการ ดังนั้นเมื่อผู้ป่วยได้รับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทางการแพทย์ก็จะช่วยให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ช่วยให้ร่างกายมีพลังงาน สามารถฟื้นฟูและต่อสู้กับโรคที่เป็นอยู่จนร่างกายกลับเข้าสู่สภาวะปกติ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทางการแพทย์มีจำหน่ายอยู่ในท้องตลาดหลากหลายชนิด มีทั้งสำหรับเด็ก ผู้ใหญ่ คนชรา และผู้ป่วย ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทางการแพทย์แบ่งออกได้ดังนี้ 1.ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทางการแพทย์สูตรครบถ้วน ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทางการแพทย์สูตรครบถ้วน คือ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทางการแพทย์ชนิดนี้ทำมาจากอาหารหลักทั้ง 5 หมู่ที่ร่างกายต้องการ ทั้งคาร์โบไฮเดรต ไขมันดี โปรตีน วิตามินและเกลือแร่ที่จำเป็นต่อร่างกาย นำมาดัดแปลงให้อยู่ในรูปที่สามารถรับประทานได้ง่าย โดยปริมาณสารอาหารที่มีอยู่ในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทางการแพทย์มีปริมาณเพียงพอต่อความต้องการของร่างกายตามหลักวิชาการทางการแพทย์ ไม่มีการเพิ่มหรือเสริมสารอาหารชนิดใดเป็นพิเศษเข้าไปในตัวผลิตภัณฑ์ จึงเหมาะสมกับผู้ที่ร่างกายอยู่ในสภาวะปกติแต่ไม่สามารถรับประทานอาหารหลักให้ได้สารอาหารครบทั้ง 5 หมู่หรือผู้ที่ต้องรับประทานอาหารทางสายยาง เช่น คนที่รู้สึกเบื่ออาหาร ผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุที่นอนติดเตียง เป็นต้น 2.ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทางการแพทย์สำหรับผู้ป่วย ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทางการแพทย์สำหรับผู้ป่วย คือ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทางการแพทย์ที่ได้รับการออกแบบมาสำหรับผู้ป่วยโดยเฉพาะ เนื่องจากผู้ป่วยแต่ละโรคจะมีความต้องการสารอาหารที่แตกต่างกันไป เช่น ผู้ป่วยโรคเบาหวานต้องได้รับอาหารที่ครบทั้ง 5 หมู่แต่ต้องระวังในเรื่องของปริมาณน้ำตาลที่ได้รับจากอาหาร ซึ่งอาหารเสริมเวย์โปรตีนสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานจะช่วยให้ผู้ป่วยได้รับปริมาณโปรตีนที่เพียงพอสำหรับใช้เป็นแหล่งพลังงานให้กับร่างกายในกระบวนการเผาผลาญที่เกิดขึ้นมากกว่าปกติจึงช่วยรักษามวลกล้ามเนื้อให้คงอยู่ไม่ถูกตึงไปใช้จนหมด และลดการดูดซึมน้ำตาลเข้าสู่กระแสเลือดจึงช่วยลดความเสี่ยงในของการมีปริมาณน้ำตาลในกระแสเลือดสูงได้ หรือในผู้ป่วยโรคมะเร็งที่เข้ารับการให้เคมีบำบัดที่เกิดอาการข้างเคียงจึงมีความรู้สึกเบื่ออาหารไม่อยากรับประทานอาหาร ต้องได้รับโปรตีน วิตามิน เกลือแร่และสารต้านอนุมูลอิสระในปริมาณที่สูงกว่าปกติ เพื่อช่วยในกระบวนการสร้างเซลล์เม็ดเลือดขาว ลดอาการข้างเคียงและทำลายเซลล์มะเร็ง เป็นต้น ซึ่งผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทางการแพทย์สำหรับผู้ป่วยนี้สามารถรับประทานไปพร้อมกับการรักษาด้วยแพทย์แผนปัจจุบันหรือแพทย์ทางเลือกได้ตามปกติ นอกจากทั้งผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทางการแพทย์ทั้ง 2 ชนิดนี้แล้ว ยังมีผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทางการแพทย์อีกรูปแบบหนึ่งคือแบบที่มีการเสริมสารอาหารใดสารอาหารหนึ่งเป็นพิเศษ เพื่อช่วยลดปัญหาที่เกิดขึ้นจากการขาดสารอาหารดังกล่าว เช่น ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทางการแพทย์เสริมเส้นใยอาหารสำหรับผู้ที่มีปัญหาท้องผูก ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทางการแพทย์เสริมเวย์โปรตีนสำหรับมีปัญหากล้ามเนื้อเหี่ยวย่น เป็นต้น ซึ่งผลิตภัณฑ์แบบนี้คนทั่วไปสามารถรับประทานเสริมในชีวิตประจำวันได้ เพื่อให้ระบบการทำงานภายในร่างกายสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพทุกระบบ https://www.youtube.com/watch?v=eopem9TjZJQ ปัจจุบันผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทางการแพทย์มีจำหน่ายอยู่ในท้องตลาดหลายชนิดทั้งสำหรับเด็ก ผู้ใหญ่ คนชราและผู้ป่วย ซึ่งแต่ละแบบได้มีการออกแบบมาเพื่อให้เหมาะสมกับความต้องการของร่างกายตามหลักทางการแพทย์และหลักของโภชนการบำบัด การรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทางการแพทยสามารถรับประทานควบคู่ไปกับการรับ ประทานอาหารหลักหรือรับประทานแทนอาหารหลักก็ได้ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทางการแพทย์และลักษณะของผู้บริโภคด้วย เช่น ผู้สูงวัยนอนติดเตียงที่ต้องได้รับอาหารทางสายยาง ผู้ป่วยอัมพาตหรือผู้ที่ไม่สามารถรับประทานอาหารได้ด้วยตนเองก็สามารถรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทางการแพทย์สูตรครบถ้วนทางสายยางเพื่อทดแทนอาหารหลักได้ หรือในผู้ป่วยที่สามารถรับประทานอาหารได้เอง เช่น ผู้ป่วยโรคมะเร็ง...
- โภชนาการสำคัญที่ควรรู้

คุณค่าทางโภชนาการของผัก

0
คุณค่าทางโภชนาการของผัก คุณค่าทางโภชนาการของผัก ผักนั้นเป็นสิ่งที่เรียกว่าเป็นอาหารหลักห้าหมู่ที่คนเราจำเป็นจะต้องได้รับซึ่งในผักก็จะมีส่วนประกอบที่เป็นน้ำอยู่มากมายถึงร้อยละ 76-97 ผักเป็นแหล่งอาหารที่ค่อนข้างให้พลังงานต่ำมากตัวหนึ่งมีทั้งวิตามินและเกลือแร่ที่ล้วนแต่เป็นสิ่งจำเป็นต่อร่างกายของมนุษย์ นอกจากนี้ภายในผักยังมีสารอาหารประเภทอื่นอีกมากมายรอที่จะสร้างประโยชน์ อาทิเช่น ใยอาหารหรือสารต้านอนุมูลอิสระ ฯลฯ มีงานวิจัยพบว่าอาหารประเภทที่มีคุณสมบัติสามารถละลายน้ำได้จะเป็น สิ่งที่สามารถช่วยในเรื่องของการลดระดับคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดีที่อยู่ภายในเลือดได้เช่นกัน คุณค่าทางโภชนาการของผักสามารถช่วยทำให้เรื่องของการย่อยและการดูดซึมสารคาร์โบไฮเดรตที่อยู่ในอาหารมีความลดช้าลงจากเดิมได้มาก สามารถที่จะช่วยทำให้น้ำตาลนั้นเกิดการดูดซึมเข้าเลือดได้ดี แล้วคุณทราบหรือไม่ว่า!! ใยอาหารประเภทที่ไม่สามารถสะลายน้ำได้นั้นยังเป็นตัวช่วยสำคัญที่ทำให้ระบบการขับถ่ายนั้นยังคงมีความคล่องมากขึ้น ขับถ่ายได้เป็นระบบมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด การที่คุณเลือกที่จะรับประทานผักและทานผลไม้บ่อย ๆ ทานแบบเป็นประจำ แบบทานเป็นนิสัยได้นั่นจะยิ่งส่งผลดีต่อตัวคุณเพราะสามารถช่วยลดโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคแบบโรคไม่ติดต่อเรื้อรังได้ อาทิเช่น โรคที่เกี่ยวข้องกับหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน เป็นต้น >> คุณค่าโภชนาการของผลไม้มีอะไรบ้าง มาดูกันค่ะ >>โภชนาการสำหรับหญิงที่ต้องการมีบุตรเป็นแบบใด อยากรู้มาดูกันค่ะ นอกจากนี้คุณค่าทางโภชนาการของผัก ผักยังเป็นสิ่งที่มีแร่ธาตุที่มีความจำเป็นต่อร่างกายอยู่ภายใน อาทิเช่น โปแตสเซียม ทองแดง แมกนีเซียม เป็นต้น ซึ่งแร่ธาตุเหล่านี้ล้วนแต่จำเป็นต่อการใช้ชีวิตประจำวันของคนเราทั้งสิ้น ภายในผักจะมีเนื้อเยื่อที่เป็นส่วนสำคัญอันเป็นองค์ประกอบต่อการทำปฏิกิริยาประเภทต่าง ๆ ที่อยู่ภายในร่างกาย อาทิเช่น การช่วยรักษาสมดุลในเรื่องของกรดกับด่าง การรักษาสมดุลอิเล็กโทรไลต์ การรักษาสารที่อยู่ภายในเลือดกับเนื้อเยื่อ คอยช่วยทำให้เซลล์ที่อยู่ตามกล้ามเนื้อรวมถึงระบบประสาทยังคงสามารถที่จะทำงานได้แบบเดิมและเป็นไปอย่างปกติมากที่สุด สามารถช่วยทำให้ระบบของเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการเมตตาบอลิซึม (กระบวนการเผาผลาญ) ยังคงทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วย เพราะผักเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่เต็มไปด้วยวิตามินที่ดีต่อร่างกายมากมายจึงทำให้ช่วยยังคงสามารถควบคุมเกี่ยวกับปฏิกิริยาทางด้านเคมีที่เกิดขึ้นภายในร่างกายได้เป็นอย่างดี สามารถที่จะทำให้เซลล์นั้นยังคงเจริญเติบโตได้แบบเต็มที่และเป็นปกติ ซึ่งในปัจจุบันเป็นสิ่งที่น่าสนใจมากเกี่ยวกับวิตามินบางประเภทที่มีผลในการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่คอยทำหน้าที่จับหรือทำลายพวกอนุมูอิสระประเภทต่าง ๆ อันเกิดจากปฏิกิริยาชีวเคมีหรือกระบวนการสำคัญอย่างกระบวนการเผาผลาญพวกสารอาหารหรือแม้กระทั่งอนุมูลอิสระที่ส่งผลมาจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวก็ตาม อาทิเช่น ควันจากบุหรี่ ก๊าซที่เกิดจากท่อไอเสีย พฤติกรรมดื่มแอลกอฮอล์ การสัมผัสกับรังสียูวี การสัมผัสกับรังสีเอ็กซ์เรย์ สิ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลกระทบที่เป็นอันตรายต่อเซลล์ของคนเราสามารถส่งผลกระทบทำให้เกิดโรคมะเร็งได้ เกิดโรคหัวใจได้ เกิดโรคภาวะข้ออักเสบได้ เกิดต้อกระจกหรือแม้กระทั่งเกิดโดรคความจำเสื่อมได้ในอนาคตอีกด้วย ข้อแนะนำเกี่ยวกับการทานผัก จากข้อควรปฏิบัติเกี่ยวกับเรื่องของการรับประทานอาหารของคนไทยหรือคนทั่วไปที่รู้จักกันในนามของ “ธงโภชนาการ”แบบนี้เป็นการแนะนำเรื่องของการทานผักที่เหมาะสม คุณควรที่จะต้องทานผักให้ได้อย่างน้อยวันละ 4-6 ถ้วยตวง (ทัพพี) แบบนี้ถึงจะเรียกว่าดีมากเพราะนั่นจะสามารถช่วยให้คุณได้รับพลังงานรวมถึงสารอาหารที่ครบถ้วนและเป็นไปตามที่ร่างกายของคุณต้องการ ตามปกติสำหรับช่วงวัยเด็กจะเป็นช่วงที่มีความต้องการพลังงานอยู่ที่  1,600 กิโลแคลอรีต่อวัน แบบนี้เด็กจะต้องทานผักประมาณ 4 ถ้วยต่อวัน หากเป็นหญิงสาวที่อยู่ในช่วงของวัยทำงานก็จะต้องการพลังงานอยู่ที่ 2,000 กิโลแคลอรี แบบนี้จะต้องทานผักให้ได้วันละ 5 ถ้วยตวงถึงจะเพียงพอ ส่วนบุคคลที่จำเป็นต้องใช้พลังงานที่ค่อนข้างมากกว่า 2,400 กิโลแคลอรี อาทิเช่น เกษตรกร กลุ่มผู้ที่ต้องใช้แรงงาน กลุ่มนักกีฬา แบบนี้ควรต้องทานผักให้ได้ 6 ถ้วยตวงต่อวันถึงจะเพียงพอ ผักอุดมไปด้วยวิตามินที่ดีต่อร่างกายมากมาย ที่สามารถควบคุมเกี่ยวกับปฏิกิริยาทางด้านเคมีที่เกิดขึ้นภายในร่างกายได้เป็นอย่างดี สามารถที่จะทำให้เซลล์นั้นเจริญเติบโตได้แบบเต็มที่และเป็นปกติ คุณค่าทางโภชนาการของผักสำหรับส่วนของถ้วยตวงที่เรากำลังพูดถึงอยู่นี้ก็จะเป็นถ้วยตวงที่เป็นลักษณะพลาสติกที่เมื่อนำไปบรรจุน้ำจะอยู่ที่ 220 กรัม (220 มิลลิลิตร) ซึ่งก็จะเท่ากับส่วนของถ้วยตวงที่ถูกนำมาประยุกต์ใช้ในโปรแกรมสำหรับคิดคำนวณอาหารแบบ IMUCAL ซึ่งโปรแกรมนี้เป็นโปรแกรมของทางสถาบันโภชนาการในสังกัดมหาวิทยาลัยมหิดลออกแบบออกมา สำหรับปริมาณของผักสด 1 ถ้วยตวงจะมีปริมาณที่ใกล้เคียงมากเมื่อเปรียบเทียบกับ 1 ทัพพีนั่นจึงทำให้ในส่วนของการแนะนำการทานผักสำหรับคนไทยเรานั้นจึงได้ถูกกำหนดออกมาดังที่เห็นในธงโภชนาการทุกวันนี้ สำหรับปริมาณผักแต่ละประเภทนั้นก็จะถูกระบุลงไปในเรื่องของปริมาณน้ำหนักที่สามารถให้พลังงานไว้ด้วยนั่นคือในผักหนึ่งส่วนที่สามารถที่จะให้พลังงานได้มากถึง 25 กิโลแคลอรีนั้นจะมีความสามารถในการให้คาร์โบไฮเดรตอยู่ที่ 5 กรัมและให้โปรตีนอยู่ที่ 2 กรัม ในส่วนของตาราง FOOD EXCHANGE LIST นั้นจะมีประเภทของผักอยู่มากถึง 42 ชนิดเลยทีเดียว ผักทั้งหมดนี้เป็นผักที่ในประเทศไทยเรานั้นค่อนข้างที่จะได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เรียกว่ารู้จักกันเป็นอย่างดี คุณจะเห็นได้ว่าในตารางจะมีการแสดงส่วนของปริมาณน้ำ ปริมาณวิตามิน ปริมาณแร่ธาตุ ปริมาณใยอาหารแบบต่อน้ำหนักเอาไว้ (ต่อน้ำหนัก 100 กรัมที่คนเราสามารถทานได้) ซึ่งในผัก 1 ถ้วยที่ว่าจะยังคงรวมไปถึงเปอร์เซ็น THAI RDI ร่วมด้วย เปอร์เซ็นนี้จะเป็นเปอร์เซ็นที่คอยทำหน้าที่บอกปริมาณของสารอาหารที่คุณได้รับหากทานอาหารเหล่านั้นเข้าไปโดยจะเทียบกับปริมาณของสารอาหารที่ได้ทำการแนะนำให้ทานในแต่ละวัน ปริมาณสารอาหารที่แนะนำให้บริโภคประจำวันสำหรับคนไทย สารอาหาร หน่วย Thai RDI วิตามินซี มิลลิกรัม 60 โซเดียม มิลลิกรัม 2,400 โพแทสเซียม มิลลิกรัม 3,500 แคลเซียม มิลลิกรัม 800 แมกนีเซียม มิลลิกรัม 350 ฟอสฟอรัส มิลลิกรัม 800 เหล็ก มิลลิกรัม 15 ทองแดง มิลลิกรัม 2 สังกะสี มิลลิกรัม 15 ใยอาหาร กรัม 25 • ข้อกำหนดสารอาหารที่ควรได้รับประจำวันและแนวทางการบริโภคสำหรับคนไทย พ.ศ. 2532 ข้อควรระวังเกี่ยวกับผักที่คุณจำเป็นต้องทราบ ในกรณีของบุคคลที่อยากจะลดน้ำหนักแน่นอนว่าการเลือกทานผักย่อมเป็นอีกหนึ่งคำตอบที่ต้องอยู่ในใจ เพราะผักเป็นสิ่งที่มีใยอาหาร เป็นสิ่งที่ให้พลังงานค่อนข้างต่ำ ที่สำคัญยังมีเกลือแร่และวิตามินมากมายที่ดีต่อร่างกายอีกด้วย ส่วนในกรณีของบุคคลที่กำลังป่วยเป็นโรคเบาหวาน แบบนี้ก็ควรที่จะต้องทานผักให้มากขึ้น เพราะ จะเป็นการช่วยเพิ่มในเรื่องของใยอาหาร ช่วยลดปริมาณของคอเลสเตอรอลที่อยู่ภายในเลือดได้เป็นอย่างดี สำหรับผักสดนั้นในจำนวน 1 ถ้วยตวงจะมีปริมาณของน้ำอยู่ที่ 7.4-124.4 กรัมโดยประมาณซึ่งพบว่าผักประเภทหนึ่งที่มีปริมาณของน้ำอยู่ภายในมากที่สุดนั่นคือ มะเขือเทศ ที่รองลงมาก็จะมีพวกแตงกวา ฟักทอง มะเขือเปราะ...
- โภชนาการสำคัญที่ควรรู้

ออกซิเจน คืออะไร และจำเป็นต่อร่างกายอย่างไร

0
ออกซิเจน ออกซิเจน ( Oxygen ) คือธาตุที่มีสัญลักษณ์ในตารางธาตุ เป็น O มีเลขอะตอมเท่ากับ 8 มีความหนาแน่น 1.43 กรัม/ลิตร ออกซิเจนเป็นธาตุที่สามารถอยู่ได้ทั้ง 3 สถานะ คือ ออกซิเจนสภาวะก๊าซ : ที่สภาวะปกติออกซิเจนจะอยู่ในสถานะก๊าซ ออกซิเจนสภาวะของเหลว : ที่อุณหภูมิประมาณ -182.5 องศาเซลเซียสหรือต่ำกว่า ก๊าซออกซิเจนจะเปลี่ยนสถานะจากก๊าซกลายเป็นของเหลวสีฟ้า ออกซิเจนสภาวะของแข็ง : ที่อุณหภูมิ -218.4 องศาเซลเซียสหรือต่ำกว่า ออกซิเจนจะเปลี่ยนสถานะจากของเหลวกลายเป็นของแข็งสีฟ้าอ่อน ก๊าซออกซิเจน ก๊าซออกซิเจน ( O2 ) คือ ออกซิเจนในสภาวะก๊าชที่มีอยู่ในอากาศ โดยธรรมชาติเกิดมาจากกระบวนการสังเคราะห์แสงของพืช ก๊าชออกซิเจนเป็นก๊าซที่สำคัญต่อการดำรงชีวิตของทั้งพืช สัตว์ และมนุษย์ ถ้าขาดก๊าชออกซิเจนก็จะเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ เพราะหลังจากเราหายใจเข้าไปก๊าชออกซิเจนจะถูกนำมาใช้เป็นหนึ่งในองค์ประกอบของกระบวนการต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น กระบวนการเปลี่ยนแปลงอาหารให้เป็นพลังงาน กระบวนการรักษาเซลล์ การสังเคราะห์เอนไซม์หรือวิตามินที่ใช้ในร่างกาย เป็นต้น >> ทำไมสารจับออกซิเจน จึงเป็นส่วนหนึ่งของอาหาร หาคำตอบได้ที่บทความนี้ค่ะ >> อาหารอะไรบ้างที่มีสารจับออกซิเจนบำรุงเซลล์ผิว อยากรู้มาดูกันค่ะ โดยในอากาศจะมีค่าก๊าชออกซิเจนผสมอยู่ร้อยละ 21 รองมาจากก๊าซไนโตรเจนที่มีอยู่ประมาณร้อยละ 78 ก๊าชออกซิเจนเป็นก๊าซไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่มีรสชาติ ละลายน้ำได้ ไม่ติดไฟแต่ทว่าออกซิเจนเป็นสารที่ช่วยให้ติดไฟ นั่นคือถ้าไม่มีออกซิเจนก็จะไม่สามารถติดไฟได้ Spo2 คือ ความอิ่มตัวของออกซิเจนในเส้นเลือดฝอยของเส้นโลหิตฝอยซึ่งเป็นค่าประมาณของปริมาณออกซิเจนในเลือด เป็นเปอร์เซ็นต์ของเฮโมโกลบินออกซิเจน หรือ ความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือดในเลือด ซึ่งเป็นรอบการหายใจ Oxygen saturation คือ การวัดความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือด ซึ่งปกติอยู่ที่ระดับความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดแดงปกติในมนุษย์อยู่ที่ 95–100 เปอร์เซ็นต์ ออกซิเจนนอกจากจะอยู่ในอากาศแล้วยังเป็นพบอยู่รวมกับธาตุชนิดอื่น ๆ รอบตัวเราอีกด้วย เช่น น้ำ ( H2O )  ก๊าชคาร์บอนไดออกไซต์ ( CO2 ) เป็นต้น การใช้งานออกซิเจนของร่างกาย ก๊าชออกซิเจนจะเข้าสู่ร่างกายโดยการหายใจเข้าไปสู่ปอด เมื่อก๊าชออกซิเจนเข้าสู่ปอดจะเกิดการแลกเปลี่ยนก๊าซเพื่อให้ก๊าซออกซิเจนเข้าไปจับฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดงและเดินทางเข้าหัวใจ หัวใจจะส่งเม็ดเลือดแดงที่เต็มไปด้วยออกซิเจนนี้ไปยังอวัยวะต่าง ๆ เพื่อที่ออกซิเจนจะเข้าไปช่วยในกระบวนการเมตาบอลิซึมของงเซลล์ตามอวัยวะเพื่อรักษาให้เซลล์มีชีวิตอยู่ต่อไป เช่น เซลล์กล้ามเนื้อ เซลล์ตับ เซลล์ไต เซลล์สมอง เป็นต้น ถ้าร่างกายเกิดภาวะขาดออกซิเจนหรือได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอต่อความต้องการจะทำให้เซลล์ตายส่งผลให้อวัยวะตายตามไปด้วย คุณสมบัติขององค์ประกอบออกซิเจน สัญลักษณ์ออกซิเจนขององค์ประกอบ : O เลขอะตอม : 8 มวลอะตอม : 15.9994 amu จุดหลอมเหลว : -218.4 องศาเซลเซียส - 54.750008 เคลวิน จุดเดือด : -183.0 องศาเซลเซียส - 90.15 เคลวิน จำนวนโปรตอน / อิเล็กตรอน : 8 จำนวนนิวตรอน : 8 โครงสร้างผลึก : ลูกบาศก์ ความหนาแน่นที่ 293 เคลวิน : 1.429 กรัม / ซม. 3 สีของออกซิเจน : ไม่มีสี ออกซิเจนที่อยู่ในอากาศเกิดจากกระบวนการสังเคราะห์แสงของพืช ร่างกายคนเราจะใช้ก๊าซออกซิเจนในกระบวนต่าง ๆ ภายในร่างกาย รวมถึงการเมตาบอลิซึมของเซลล์ ผลของปริมาณออกซิเจนในกระแสเลือด ปริมาณออกซิเจนที่มีอยู่ในกระแสเลือดนั้นส่งผลต่อสุขภาพร่างกายของเราได้ โดยปริมาณของออกซิเจนในร่างกายแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ 1. ระดับออกซิเจนต่ำ ( Hypoxemia หรือ hypoxia ) คือ...
- โภชนาการสำคัญที่ควรรู้

โปรไบโอติกส์ ( Probiotics )

0
โปรไบโอติกส์ โปรไบโอติกส์ ( Probiotics ) คือ จุลินทรีย์ชนิดดีที่มีชีวิตขนาดเล็ก เมื่อรับประทานเข้าไปแล้วจะทำให้สุขภาพดีในภาวะต่างๆ โดยเป็นจุลินทรีย์ที่มีคุณสมบัติทนต่อกรดและด่าง สามารถจับที่บริเวณผิวของเยื่อบุลำไส้แล้วผลิตสารต่อต้านหรือกำจัดเชื้อจุลินทรีย์ชนิดอื่นๆ รวมถึงก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสุขภาพได้ สามารถพบได้ในอาหาร เช่น นมเปรี้ยว โยเกิร์ต กิมจิ มิโสะ แตงกวาดอง และสามารถพบโปรไบโอติกส์ใน ชีส Dark Chocolate ซุปมิโซะ เป็นต้น >> ลำไส้และจิตใจกำหนดพลังภูมิคุ้มกันที่ใหญ่สุดในร่างกายจริงหรือมาดูกันค่ะ >> สร้างโปรไบโอติกส์ง่าย ๆ ให้ตัวเองทำได้อย่างไร อยากรู้มาดูกันค่ะ  ปัจจัยที่ทำลายโปรไบโอติกส์ในร่างกาย ยาปฏิชีวนะ หรือยาฆ่าเชื้อไม่เพียงทำลายเชื้อโรค แต่ยังทำลายจุลินทรีย์โปรไบโอติกส์และแบคทีเรียที่มีประโยชน์ต่อระบบย่อยอาหาร สูบบุหรี่ คาเฟอีน แป้งขัดสี โรคเครียด เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การออกกำลังกายไม่เพียงพอ การพักผ่อนไม่เพียงพอ อาหารและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลในปริมาณมาก อาหารที่ไม่มีประโยชน์ พวกอาหารขยะ ประโยชน์ของโปรไบโอติกส์ต่อสุขภาพ 1. ป้องกันโรคทางเดินอาหารในทารก ทารกที่เพิ่งคลอดจะมีภูมิต้านทานโรคน้อยโดยเฉพาะบริเวณลำไส้และกระเพาะอาหารทำให้มีเสี่ยงต่อการเกิดโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารที่รุนแรงได้ ดังนั้นการให้ทารกดื่มนมแม่จะช่วยเสริมภูมิต้านทานให้กับทารกได้ เพราะว่าในน้ำนมแม่มีจุลินทรีย์ บิฟิโดแบคทีเรียม ( Bifidobacterium ) ที่มีประโยชน์ต่อทารก โดยบิฟิโดแบคทีเรียม ( Bifidobacterium ) จะเข้าไปยึดเกาะกับผนังของลำไส้เล็กเจริญเติบโตที่สมบูรณ์ส่งผลให้ลำไส้เล็กมีความแข็งแรงต้านทานต่อโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารได้ดี และเข้าไปกระตุ้นการสร้างเมือกที่ใช้ในการจับเชื้อไวรัสโรต้าให้มีความหนาขึ้น ทำให้มีโอกาสจับเชื้อโรคได้มากขึ้น จึงลดความเสี่ยงในเป็นโรคท้องเสียชนิดรุนแรงที่เกิดจากเชื้อไวรัสโรต้าได้เป็นอย่างดี รวมถึงการท้องเสียที่เกิดจากเชื้อ Enterovirus ที่พบได้ในเด็กด้วย 2. ป้องกันโรคลำไส้อักเสบโดยโปรไบโอติกส์จะเข้าไปยึดเกาะกับเนื้อเยื่อบนผนังลำไส้เอาไว้ ทำให้ไม่มีช่องว่างหรือพื้นที่ว่างให้เชื้อโรคร้ายเข้ามาทำร้ายผนังลำไส้ได้ ผนังลำไส้จึงไม่เกิดการอักเสบ แต่ถ้าร่างกายมีปริมาณโปรไบโอติกส์น้อยไม่สามารถยึดเกาะกับเนื้อเยื่อของผนังลำไส้ได้ทั้งหมด เมื่อร่างกายรับเชื้อที่ก่อโรคเข้ามา เชื้อก่อโรคก็จะเข้าไปจับกับผนังลำไส้บริเวณที่ว่างอยู่ ทำให้เนื้อเยื่อในบริเวณนั้นจนเกิดการระคายเคืองหรืออักเสบขึ้นซึ่งเป็นสาเหตุของโรคลำไส้อักเสบ 3. ยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ก่อโรค ทั้งที่อยู่ในร่างกายและที่ร่างกายรับเข้ามาจากภายนอก โดยการที่โปรไบโอติกส์จะเข้าไปแย่งอาหารของจุลินทรีย์ก่อโรคไปจนหมด ทำให้จุลินทรีย์ก่อโรคขาดอาหารส่งผลให้จุลินทรีย์ก่อโรคหยุดการเจริญเติบโตและตายไปในที่สุด นอกจากแย่งอาหารของจุลินทรีย์ก่อโรคแล้วโปรไบโอติกส์ยังผลิตกรดอะซิติกและแลคติกขึ้นมา เพื่อควบคุมระดับความกรดเป็นกรด - ด่างภายในลำไส้ให้ไม่เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ก่อโรค จุลินทรีย์ก่อโรคจึงมีปริมาณลดลงไม่สามารถส่งผลหรือก่อโรคภายในร่างกายได้ 4. ทำลายจุลินทรีย์ก่อโรค โปรไบโอติกส์จะปล่อยสารแบคเทอริโอซิน ( Bacteriocin ) ที่มีคุณสมบัติทำลายเชื้อแบคทีเรียหรือจุลินทรีย์ก่อโรค โดยสารแบคเทอริโอซิน ( Bacteriocin ) จะเข้าไปทำลายเยื่อหุ้มเซลล์ของจุลินทรีย์ก่อโรคทำให้เซลล์เกิดการสูญเสียสารอาหารและน้ำ ส่งผลให้จุลินทรีย์ก่อโรคเสื่อสภาพและตายในที่สุด จุลินทรีย์ก่อโรคจึงไม่สามารถทำให้เกิดโรคในร่างกายได้ จึงป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ ป้องกันการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ 5. ช่วยดูดซึมสารอาหาร โปรไบโอติกส์จะผลิตเอนไซม์ที่ช่วยในการย่อยอาหาร เช่น เอนไซม์ไลเปส ( Lipase ) ที่ย่อยไขมันให้เป็นกรดไขมันและกลีเซอรอล เอนไซม์โปติเอส ( Proteases ) ช่วยในการย่อยโปรตีนให้มีขนาดเล็กลง เป็นต้น เมื่อไขมันและโปรตีนมีขนาดที่เล็กลงจึงทำให้ร่างกายสามารถดูดซึมได้มากขึ้น 6. เสริมสร้างภูมิต้านทาน โปรไบโอติกส์ที่ยึดเกาะอยู่กับเนื้อเยื่อของผนังลำไส้จะเข้าไปกระตุ้นต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ในชั้นใต้ผิวของผนังลำไส้ ( Gut-Associated Lymphocyte Tissue, GALT ) ทำให้ต่อมน้ำเหลืองมีการสร้างสารป้องกันหรือสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายให้อยู่ในระดับที่มีความสมดุล ส่งผลให้เมื่อมีเชื้อโรคเข้ามาระบบภูมิคุ้มกันจะเข้าไปกระตุ้นให้เม็ดเลือดขาวทำการจับตัวกับเชื้อโรคได้ดีขึ้น ทำให้เชื้อโรคโดนทำลายอย่างมีประสิทธิภาพ 7. ลดระดับคอเลสเตอรอล โปรไบโอติกส์ชนิด Lactobacillus Acidophilus ที่อยู่ในกลุ่มของบิฟิโดแบคทีเรียม ( Bifidobacterium ) จะเข้าไปช่วยย่อยคอเลสเตอรอลและยับยั้งการดูดซึมคอเลสเตอรอลที่อยู่ในลำไส้ และทำการขับเอาคอเลสเตอรอลออกมากับอุจจาระจึงช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือดได้ 8. ป้องกันท้องผูก เนื่องจากจุลนิทรีย์บิฟิโดแบคทีเรียม ( Bifidobacterium ) สามารถผลิตกรดอินทรีย์ที่ช่วยกระตุ้นการทำงานของลำไส้ให้มีการบีบตัวมากขึ้นและยังเข้าไปเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับอุจจาระ ทำให้อุจจาระมีความอ่อนนุ่ม สามารถขับถ่ายออกมาได้ง่าย จึงสามารถป้องกันอาการท้องผูกได้เป็นอย่างดี 9. ลดอาการข้างเคียงจากยาปฏิชีวะนะ การทานยาปฏิชีวะนะหรือยาฆ่าเชื้อเข้าไป นอกจากยาจะเข้าไปฆ่าเชื้อโรคที่เป็นสาเหตุของโรคแล้ว ยาปฏิชีวะนะยังฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ทั้งหมดภายในร่างกายทั้งจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์และไม่มีประโยชน์ ส่งผลให้เมื่อรับประทานยาปฏิชีวะนะอาจจะมีอาการท้องเสียเกิดขึ้นเป็นอาการข้างเคียงได้ การรับประทานอาหารที่มีโปรไบโอติกส์เข้าไปจะความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียงดังกล่าวได้ เพราะการทานโปรไบโอติกส์เข้าไปจะช่วยเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในร่างกายป้องกันการท้องเสียได้ 10. ลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็ง โปรไบโอติกส์เป็นจุลินทรีย์ชนิดดีที่ป้องกันการอักเสบหรือติดเชื้อของเซลล์ภายในร่างกาย เมื่อเซลล์ไม่ได้รับการทำร้ายจากเชื้อโรคเซลล์ย่อมมีความแข็งแรงโดยเฉพาะดีเอ็นเอของเซลล์จะคงอยู่เหมือนเดิมไม่เกิดการกลายพันธุ์เป็นเซลล์มะเร็ง และเมื่อไม่มีการสะสมของเสียในลำไส้จึงไม่มีอนุมูลอิสระเกิดขึ้นทำให้ผนังลำไส้ไม่เกิดการอักเสบซึ่งเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดมะเร็งลำไส้ ดังนั้นการที่ร่างกายได้รับโปรไบโอติกส์ย่อมลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งได้ โดยเฉพาะโรคมะเร็งในระบบทางเดินอาหาร ประโยชน์ของโปรไบโอติกส์สำหรับผู้ใหญ่ 1. ช่วยป้องกันโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร เช่น...
- โภชนาการสำคัญที่ควรรู้

กรดอะซิติกคืออะไรและมีประโยชน์อย่างไร?

0
กรดอะซิติก คืออะไร? กรดอะซิติก ( Acetic Acid ) หรือ กรดน้ำส้ม คือ กรดอินทรีย์หรือสารประกอบเคมีอินทรีย์ที่พบได้ในธรรมชาติมีฤทธิ์เป็นกรดอ่อน มีลักษณใส ไม่มีสี มีกลิ่นฉุนที่เป็นเอกลักษณ์ มีรสเปรี้ยว ระเหยง่าย ละลายได้ในน้ำ แอลกอฮอล์ กลีเซอรีน มีความเสถียร มีสูตรทางเคมี CH3COOH มีคุณสมบัติทางเคมีดังนี้ น้ำหนัก โมเลกุลเท่ากับ 60.05 กรัมต่อโมล ความหนาแน่น 1.05 กรัมต่อลูกบาศก์เซ็นติเมตร จุดเดือด 118.1 องศาเซลเซียล และจุดแข็งตัว 16.67 องศาเซลเซียส เมื่อแข็งตัวมีลักษณะเป็นผลึกใส ผลึกของกรดอะซิติกนั้นจะมีความบริสุทธิ์สูงมากเรียกว่า หัวน้ำส้มหรือกรดกลาเซียอะซิติก ( Glacial Acid ) ที่ได้จากการสะกัดทางเคมี หัวกรดน้ำส้มนั้นสามารถนำไปเจือจางเพื่อทำน้ำส้มสายชูเทียม >> ประโยชน์ของกรดโพรพิโอนิกคืออะไร อยากรู้มาดูกันค่ะ >> กรดอะซิติกคืออะไรและมีประโยชน์อย่างไรตามมาดูกันค่ะ อะซิติกรู้จักกันดีในการนำมาผลิตน้ำส้มสายชูที่ใช้ในการปรุงอาหารให้มีรสเปรี้ยวและช่วยในการถนอมอาหารและไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย ถ้าใช้ในปริมาณที่ทางกระทรวงสาธารณสุขควบคุมไว้ และมีราคาถูกเมื่อเทียบกับสารให้ความเปรี้ยวจากธรรมชาติอย่างอื่น เช่น มะนาว มะขาม เป็นต้น นอกจากการนำมาปรุงอาหารแล้วกรดอะซิติกยังมีประโยชน์ในด้านอื่นๆ ดังนี้ 1.ด้านอาหาร กรดอะซิติกไม่ได้มีไว้เพื่อปรุงรสอาหารเพียงอย่างเดียว แต่ยังช่วยในการถนอมอาหารป้องกันการเน่าเสียจากจุลินทรีย์บางชนิดได้ด้วย โดยใช้ในรูปของน้ำส้มสายชูแท้ที่มีกรดอะซิติกเข้มข้น 5-10 % หรือสารละลายกรดอะซิติกเข้มข้น 25-80 % ใส่ในอาหารเพื่อเข้าไปปรับสภาวะความเป็นกรด-ด่างของอาหารให้ไม่เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ ทำให้อาหารเก็บไว้ได้นาน เช่น น้ำสลัด ผักดอง ผลไม้บางชนิด เป็นต้น และเกลือของกรดอะซิติก เช่น โซเดียมอะซิเตต แคลเซียลอะซิเตต นำมาใส่ในขนมปังหรือขนมปังอบเพื่อป้องกันขนมเสียจากเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราในขนมปัง 2.ด้านการแพทย์ ได้นำกรดอะซิติกมาเป็นตัวทำละลายเพื่อเตรียมสารหรือผสมกับสารอื่นในการผลิตยาบางชนิด เช่น ยาแอสไพลิน เป็นต้น และมีการนำมาผลิตยาหยอดหูสำหรับรักษาโรคหูอักเสบ โดยที่กรดอะซิติกที่ผสมอยู่ในยารักษาหูจะเข้าไปยับยั้งการเจริญเติบโตของของเชื้อราและเชื้อจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรคหูอักเสบ 3.ด้านอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมจะใช้กรดอะซิติกที่สังเคราะห์ได้จากกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ได้เป็นกรดอะซิติกซึ่งมีความบริสุทธิ์ต่ำ มีการเจือป่นของโลหะหนัก กรดอะซิตกิกแบบนี้จะมีราคาถูกจึงนิยมนำมาใช้ในอุตสาหกรรม เช่น การผลิตพลาสติก การผลิตสีย้อมผ้า การผลิตเส้นใยโพลิเมอร์ ผลิตกาว อุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์และใช้ในอุตสาหกรรมฟอกหนัง เป็นต้น 4.ด้านการเกษตร ได้มีการนำกรดอะซิติกมาผสมในยาฆ่าแมลง ยากำจัดเชื้อราและเชื้อจุลินทรีย์ในผักผลไม้หรือนำมาผสมในน้ำหมักชีวภาพ เพื่อช่วยในการควบคุมการเจริญเติบโตของเชื้อราที่สร้างความเสียหายให้กับผักผลไม้ อะซิติกรู้จักกันดีในการนำมาผลิตน้ำส้มสายชูที่ใช้ในการปรุงอาหารให้มีรสเปรี้ยวและช่วยในการถนอมอาหารและไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย การผลิตกรดอะซิติก นับว่ากรดอะซิติกเป็นกรดที่มีประโยชน์ทั้งด้านสุขภาพและด้านอุตสาหกรรม ซึ่งการผลิตกรดอะซิติกที่ใช้ในแต่ละด้านก็จะมีกรรมวิธีที่แตกต่างกันดังนี้ 1.การหมักตามธรรมชาติ เป็นการใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติ เช่น แป้งมัน ข้าว ข้าวโพด น้ำผลไม้ สัปปะรด แอปเปิ้ล กากน้ำตาล น้ำตาล เป็นต้น มาทำการหมักเพื่อให้เกิดกรดอะซิติก ซึ่งการหมักจะแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน คือ 1.1 การหมักน้ำตาลที่มีอยู่ในวัตถุดิบให้เปลี่ยนเป็นแอลกอฮอล์ ( Alcohol Fermentation ) ปฏิกิริยานี้จะต้องทำภายใต้อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียสและอยู่ในสภาวะที่ไม่มีออกซิเจน โดยใช้ยีนส์ชนิด Saccharomyces Cerevisiae ที่ใช้ในการผลิตขนมปังมาเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ทำการหมักนาน 72 – 80 ชั่วโมง จะได้แอลกอออล์และก๊าซคาร์บอได้ออกไซต์ 1.2 หมักแอลกอฮอล์เป็นกรดอะซิติก ( Acetic Fermentation ) เป็นขั้นตอนต่อเนื่องจากการหมักโดยการใส่แบคทีเรีย แอซีโตแบคเตอร์  ( Acetobactor Sp. ) เข้าไปเร่งปฏิริยาระหว่างแอลกอฮอล์ที่หมักได้กับออกซิเจนที่อุณหภูมิ 15-34 องศาเซลเซียส ก็จะได้กรดอะซิติกกับน้ำออกมา 2.การสังเคราะห์กรดอะซิติก กรดอะซิติกนอกจากจะเกิดขึ้นได้ตามธรรมชาติแล้ว ยังสามารถสกัดได้ด้วยกระบวนการทางวิทยาสาสตร์ คือ เมทานอลคาร์บอนิเลชั่น ( Methanol Carbonylation...
- โภชนาการสำคัญที่ควรรู้

กรดบิวทิริก ช่วยอะไร? คุณสมบัติและข้อดีที่ควรรู้

0
ประโยชน์ของกรดบิวทิริก กรดบิวทิริก (Butyric Acid) เป็นกรดไขมันชนิดอิ่มตัว (Saturated Fatty Acid) ที่พบในไขมันสัตว์ น้ำมันพืช น้ำนม และไขมันเนย มีลักษณะเป็นกรดไขมันสายสั้นที่ระเหยง่ายและมีจุดหลอมเหลวต่ำ สูตรเคมีของกรดบิวทิริกคือ CH3CH2CH2COOH โดยมีโครงสร้างที่ประกอบด้วยคาร์บอนเพียง 4 อะตอม ทำให้เป็นกรดอินทรีย์ที่มีขนาดโมเลกุลเล็กที่สุดในกลุ่มนี้ จึงนับเป็นกรดไขมันชนิดที่มีสายสั้น ( Short Chain Fatty Acid ) มีคุณสมบัติเป็นกรดอ่อนๆ จุดหลอมเหลวต่ำ ( Melting Point ) อยู่ที่ ประมาณ -7.9 องศาเซลเซียส เป็นกรดอินทรีย์ที่ระเหยได้ง่าย ( Volatile Fatty Acid ) ละลายในน้ำได้ดี แหล่งที่พบกรดบิวทิริกนอกจากในน้ำนมและไขมันเนยแล้ว กรดบิวทิริกยังพบได้จากการหมักของเชื้อแบคทีเรียตามธรรมชาติในสภาวะที่ไม่มีออกซิเจน ซึ่งกรดบิวทิริกที่เกิดขึ้นจากการหมักนี้เป็นสาเหตุของการเน่าเสียของอาหาร ลักษณะอาหารที่เน่าเสียจากกรดบิวทิริกจะมีกลิ่นเหม็น รสเปรี้ยวคล้ายกับนมที่บูดแล้ว ถึงแม้ว่ากรดบิวทิริกจะทำให้อาหารเน่าเสีย แต่กรดบิวทิริกกลับมีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างคาดไม่ถึงเลยทีเดียว>> กรดอะซิติกคืออะไรและมีประโยชน์อย่างไร มาดูกันค่ะ >> กรดโพรพิโอนิกมีประโยชน์อย่างไรบ้าง มาหาคำตอบกันที่บทความนี้ค่ะ ประโยชน์ของกรดบิวทิริกต่อร่างกาย 1.แหล่งพลังงาน กรดบิวทิริก เป็นแหล่งพลังงานให้กับเยื่อเมือกหรือเนื้อเยื่อเมือก ( Mucosa or Mucous Membrane ) โดยเฉพาะที่ลำไส้เล็กและลำไส้ใหญ่ โดยกรดบิวทิริกจะเข้าไปช่วยให้วิลลัส ( Villus ) หรือเยื่อบุผนังลำไส้ภายในลำไส้มีจำนวนเพิ่มขึ้น และจำนวนที่เพิ่มขึ้นมากนั้นมีขนาดความยาวมากขึ้น สุขภาพแข็งแรงและมีอายุยืนอยู่ได้นานกว่าเดิมอีกด้วย จึงทำให้วิลลัสสามารถดูดซึมอาหารเข้าสู่ร่างกายได้มากขึ้นนั่นเอง 2.ดูดซึมสารอาหาร กรดบิวทิริกช่วยในการดูดซึมสารอาหารได้เพิ่มมากขึ้น เพราะผนังลำไส้มีความแข็งแรงและมีพื้นที่มากขึ้น รวมถึงวิตามินที่ไม่ละลายน้ำ ลดการขาดวิตามินเอ วิตามินเค วิตามินอี วิตามินดี เพราะเข้าไปเพิ่มพื้นที่ของเยื่อบุผนังลำไส้ทำให้สามารถดูดซึมอาหารได้มากขึ้น ร่างกายจึงดูดซึมวิตามินที่ไม่ละลายน้ำเพิ่มมากขึ้น 3.รักษาสมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้ ลำไส้ของเราจะประกอบไปด้วยจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์และไม่มีประโยชน์ปะปนอยู่ด้วยกัน ถ้าจุลินทรีย์ที่ไม่มีประโยชน์มากเกินความจำเป็นจะทำให้เราเกิดอาการท้องเสีย ท้องอืด ในทางกลับกันถ้าจุลินทรีย์ชนิดดีมากเกินไปก็จะทำให้การขับถ่ายไม่ดี ดังนั้นเราต้องรักษาสมดุลของจุลินทรีย์ทั้งสองชนิดให้อยู่ในสภาวะที่สมดุลเพื่อที่ระบบการย่อยและขับถ่ายจะทำงานได้เป็นปกติ ซึ่งกรดบิวทิริกจะช่วยสร้างสมดุลของจุลินทีย์ในร่างกาย โดยเมื่อจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ เช่น Lactobacilli เป็นต้น มีปริมาณลดลงก็จะเข้าไปช่วยให้มีการสร้างเพิ่มขึ้นให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสม และลดหรือทำลายจุลินทรีย์ที่ไม่มีประโยชน์ เช่น S.Entertidis, E.Coli เป็นต้น เมื่อจุลินทรีย์ไม่มีประโยชน์เพิ่มขึ้นเกินสมดุล โดยการควบคุมค่าความเป็นกรด-ด่างให้อยู่ในค่าที่ไม่เหมาะสมกับการเจริญเติบโตได้ กรดบิวทิริก ( Butyric Acid ) คือ กรดอินทรีย์ที่พบได้ในไขมันสัตว์ น้ำมันพืช นมและไขมันเนย เป็นกรดไขมันชนิดอิ่มตัว ( Saturated Fatty Acid ) 4. ป้องกันมะเร็งลำไส้ กรดบิวทิริกจะช่วยป้องกันและรักษาแผลที่เกิดจากการทำลายของเชื้อโรคที่เข้ามาในลำไส้ให้ดีขึ้นหรือหายได้ เพราะถ้าลำไส้มีการอักเสบ การระคายเคืองเป็นแผลบ่อยๆ จนกลายเป็นแผลที่มีการอักเสบชนิดเรื้อรังแล้ว เซลล์บริเวณที่เกิดการอักเสบนี้จะมีโอกาสที่จะกลายพันธุ์และเจริญเติบโตเกิดเป็นเซลล์มะเร็งได้ ดังนั้นเมื่อกรดบิวทิริกสามารถรักษาแผลที่เกิดขึ้นในลำไส้ได้แล้ว โอกาสที่เซลล์จะกลายเกิดการกลายพันธุ์เป็นเซลล์มะเร็งย่อมลดลงตามไปด้วย กรดบิวทิริกเป็นกรดอินทรีย์ที่มีคุณประโยชน์ต่อร่างกายทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ช่วยให้ร่างกายดูดซึมสารอาหารได้ดี ลดภาวะขาดวิตามิน เช่น วิตามินเอ วิตามินดี วิตามินอี วิตามินเค และช่วยรักษาสมดุลภายในลำไส้ทำให้ร่างกายแข็ง แรง กรดบิวทิริกนั้นเหมาะสำหรับทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะในวัยเด็กที่ลำไส้ยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่และยังไม่แข็งแรงมากเพราะเมื่อเด็กได้รับกรดบิวทิริกเข้าไปจะช่วยทำให้ลำไส้ของเด็กแข็งแรง ลดความเสี่ยงของโรคท้องเสียหรือโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารและขับถ่ายได้เป็นอย่างดี ดังนั้นเด็กควรดื่มนมหรือกินอาหารที่เสริมกรดบิวทิริกจะดีการเจริญเติบโตของร่างกาย ส่วนในผู้ใหญ่ก็สามารถกินอาหารที่เสริมบิวทิริกเพื่อช่วยเพิ่มความแข็งแรงของลำไส้ลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งลำไส้ในระยะยาวได้ อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่างเอกสารอ้างอิง http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/dic/news_week_full. http://www.medscape.com/viewarticle/584984. Hartley, L.; Clar, C.; Ghannam, O.; Flowers, N.; Stranges, S.; Rees, K. (Sep 2015). “Vitamin K for the primary prevention of cardiovascular...
- โภชนาการสำคัญที่ควรรู้

ประโยชน์ของกรดโพรพิโอนิก ( Propionic Acid )

0
ประโยชน์ของกรดโพรพิโอนิก กรดโพรพิโอนิก ( Propionic Acid ) คือ กรดอินทรีย์ที่เป็นวัตถุปรุงแต่งสำหรับถนอมในอาหาร โดยที่กรดโพรพิโอนิกมีหน้าที่เป็นสารกันเสีย ( Preservative ) สารกันเชื้อรา สารกันบูด และยังเป็นวัตถุที่ใช้ แต่งกลิ่นรสของอาหารด้วย กรดโพรพิโอนิกที่นำมาเป็นส่วนประกอบของอาหารจะอยู่ในรูปของกรดเกลือ แคลเซียม โพแทสเซียมและโซเดียม นิยมใช้ในขนมปัง อาหารสัตว์และอุตสาหกรรมการเคลือบพลาสติกซึ่งจะใช้ในรูปของ Cellulose Propionate  กรดโพรพิโอนิกและกรดเกลือเป็นกรดไขมันที่ขนาดสายแบบสั้น อยุ่ในกลุ่มของ Aliphatic Monocarboxylic Acid ที่พบได้ตามธรรมชาติจากการหมักดองอาหาร ละลายได้ในน้ำ อีเทอร์ เอทานอลและไม่ละลายในไขมันทุกชนิด การที่กรดโพรพิโอนิกเป็นที่นิยมนำมาใช้ในการถนอมอาหารเพราะเมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วไม่มีการสะสมเนื่องจากไม่ละลายในไขมันและไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย แถมยังช่วยถนอมอาหารให้อยู่ได้นานอีกด้วย หน้าที่ของกรดโพรพิโอนิก 1.ทำลายเซลล์จุลินทรีย์ กรดโพรพิโอนิกเข้าไปทำลายผนังเซลล์ของจุลินทรีย์ที่เข้ามาในอาหาร เช่น เชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย ฟังไจ ( Fungi ) ซึ่งเป็นสาเหตุของการเน่าเสียของอาหาร โดยการทำลายจะแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ ทำลายผนังเซลล์บางส่วน เมื่อผนังเซลล์บางส่วนของจุลินทรีย์โดนทำลาย จุลินทรีย์ก็จะหยุดการเจริญเติบโตทันทีและตายลง ทำลายทั้งหมด เมื่อผนังเซลล์ของจุลินทรีย์โดนทำลายทั้งหมดด้วยกรดโพรพิโอนิก จุลินทรีย์ก็จะตายทำให้อาหารไม่เน่าเสีย 2.หยุดการทำงานของเอ็นไซต์ของจุลินทรีย์ การทำให้อาหารเน่าเสียจุลินทรีย์จะปล่อยเอ็นไซต์ออกมาเพื่อย่อยอาหาร กรดโพรพิโอนิกจะหยุดการทำงานของเอ็นไซต์จุลินทรีย์ที่ออกมาให้ทำงานได้น้อยลงหรือหยุดทำงานทั้งหมด อาหารจึงไม่เน่าเสีย 3.หยุดการแพร่พันธุ์ กรดโพรพิโอนิกจะเข้าไปทำลายดีเอ็นเอและอาร์เอ็นเอของจุลินทรีย์เกิดกลายพันธุ์หรือความผิดปกติจนไม่สามารถแพร่ขยายพันธุ์เพิ่มขึ้นได้ ทำให้ปริมาณของจุลินทรีย์ลดลงและหมด อาหารจึงไม่เน่าเสีย กรดโพรพิโอนิก ( Propionic Acid ) คือ กรดอินทรีย์ที่เป็นวัตถุปรุงแต่งสำหรับถนอมในอาหาร โดยที่กรดโพรพิโอนิกมีหน้าที่เป็นสารกันเสีย ( Preservative ) สารกันเชื้อรา สารกันบูด และยังเป็นวัตถุที่ใช้แต่งกลิ่นรสของอาหารด้วย >> หน้าที่และประโยชน์ของกรดบิวทิริกมีอะไรบ้างมาดูกันค่ะ >> กรดอะซิติกคืออะไรและมีประโยชน์อย่างไรบ้าง อยากรู้มาดูกันค่ะสารกันบูดที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้นอกจากกรดโพรพิโอนิกแล้ว ยังมีสารกันบูดอีกหลายชนิดที่นิยมใช้กัน ซึ่งแต่ละชนิดก็มีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกันไป เรามาดูกันว่าสารกันบูดแต่ละชนิดนั้นมีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง 1.กรดอินทรีย์ เป็นสารกันบูดที่นิยมใช้เป็นส่วนผสมอาหารมากที่สุด เพราะว่าเป็นสารที่ได้จากธรรมชาติ ไม่สะสมในร่างกายและไม่เป็นอันตรายต่อเมื่อปริโภคเข้าไป โดยกรดอินทรีย์เมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วจะละลายในน้ำแล้วถูกขับออกมากับปัสสาวะภายในหนึ่งวัน ซึ่งไม่ต้องกังวลเลยว่าสารกันบูดชนิดนี้จะสะสมจนทำให้เซลล์เกิดการกลายพันธุ์กลายเป็นมะเร็ง ตัวอย่างของกรดอินทรีย์ที่นำมาผสมในอาหารเพื่อเป็นสารกันบูด คือ กรดอะซิติก กรดโพรพิโอนิก กรดซอร์บิก กรดเบนโซอิก และยังรวมเกลือของกรดด้วย ถึงแม้ว่ากรดอินทรีย์จะไม่มีโทษต่อร่างกาย แต่ถ้าได้รับในปริมาณที่มากเกินไปก็สร้างผลเสียได้ ถ้าร่างกายได้รับในปริมาณที่สูงมากจะทำให้เกิดการระคายเคืองระบบทางเดินอาหารหรือเกิดแผลในกระเพาะอาหารได้ 2.เกลือซัลไฟต์และซัลเฟอร์ไดออกไซต์ เป็นสารกันบูดที่นิยมใช้ในอาหารที่เป็นน้ำ เช่น น้ำหวาน น้ำผักผลไม้ และเครื่องดื่มแทบทุกชนิด เพราะว่าเกลือซัลไฟต์และซัลเฟอร์ไดออกไซต์จะช่วยป้องกันการออกซิเดชั่นของเซลล์ไม่ให้เกิดการเปลี่ยนสีเป็นสีน้ำตาลหรือปฏิกิริยาสีน้ำตาล ( Browning Reaction ) จึงช่วยคงสภาพสีของเครื่องดื่มให้คงสีธรรมชาติไว้และยับยั้งหรือหยุดการทำงานของเชื้อจุลินทรีย์ได้เป็นอย่างดีเช่นเดียวกับกรดอินทรีย์ แต่ว่าการที่เกลือซัลไฟต์และซัลเฟอร์ไดออกไซต์ยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้ำตาลได้จึงสร้างผลเสียต่อร่างกายด้วยเช่นกัน เพราะสารซัลไฟต์จะเข้าไปยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้ำตาลในร่างกายด้วย เช่น การสังเคราะห์วิตามินบี โฟเลทและไทอามีน เป็นต้น ทำให้ร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์สารดังกล่าวได้จึงเกิดภาวะขาดสารอาหาร และเกลือซัลไฟต์และซัลเฟอร์ไดออกไซต์ยังเป็นพิษต่อผู้ป่วยโรคหอบหืด ( Asthmatics ) โดยผู้ป่วยโรคหอบหืดถ้ารับสารเข้าไปจะทำให้หลอดลมตีบหายใจลำบากและอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ 3.สารประกอบไนไตรต์และไนเตรต เป็นสารกันบูดที่ไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้จากกระทรวงสาธารณสุขของไทยและอีกหลายประเทศ โดยสารไนไตรต์และไนเตรตนั้นในอดีตนิยมนำมาใส่ในเนื้อสัตว์เพื่อให้เนื้อสัตว์คงสีแดงสวยน่ารับประทานและใส่ในอาหารกระป๋อง อาหารหมักดอง เพื่อยับยั้งการทำงานของจุลินทรีย์ชนิดที่ไม่ต้องการออกซิเจน ( Clostridium Botulinum ) และคลอสตริเดียม เพอร์ฟริงเจนส์ ( Clostridium Perfringens ) ที่มีอยู่ในอาหารหมักดอง จุลินทรีย์ประเภทนี้เป็นสาเหตุของโรคอาหารเป็นพิษชนิดร้ายแรงและสารกันบูดนี้ยังทำงานได้แม้อยู่ในสภาวะทีเป็นกรดน้อยก็ตาม แต่ข้อเสียของสารกันบูดชนิดนี้ คือ เมื่อได้รับเข้าสู่กระเพาะอาหารและลำไส้ แบคทีเรียที่อยู่ในกระเพาะอาหารจะทำการเปลี่ยนไนเตรตให้กลายเป็นไนไตรต์และเข้าไปจับตัวกับฮีโมโกบิลในเม็ดเลือดแดงเกิดเป็นเมทฮีโมโดบิล ( Methaemoglobin ) ทำให้เม็ดเลือดแดงไม่สามารถจับตัวกับออกซิเจนได้ ทำให้ร่างกายเกิดภาวะขาดออกซิเจน ตัวเขียว หอบ หัวใจเต้นแรง หรืออาจเสียชีวิตได้ และข้อเสียอีกอย่างหนึ่งก็คือการที่สารไนไตรต์หรือไนเตรตจับตัวกับสารประกอบเอมีนในร่างกายเกิดเป็นสารไนโตรซามีนที่เป็นสารก่อมะเร็งในร่างกาย สารกันบูดแต่ละชนิดก็มีข้อดีและข้อเสียที่ไม่เหมือนกัน แล้วเราจึงต้องเลือกใช้สารกันบูดให้เหมาะสมกับอาหาร ดังนี้ 1.ชนิดของอาหาร เราควรเลือกสารกันบูดให้เหมาะสมกับชนิดของอาหารที่ต้องการถนอมอาหารด้วย เช่น ขนมปัง แยม ควรใช้สารกันบูดชนิดกรดอินทรีย์ น้ำผลไม้ เครื่องดื่ม...
- โภชนาการสำคัญที่ควรรู้

ธาตุไฮโดรเจนมีความสำคัญอย่างไรต่อร่างกาย

0
ไฮโดรเจน ไฮโดรเจน หรือ ธาตุไฮโดรเจน ( Hydrogen ) คืออะไร ?  เมื่อกล่าวถึงไฮโดรเจนหลายคนไม่รู้เลยว่าคืออะไร? มีความสำคัญอย่างไรต่อชีวิต ดูเหมือนว่าเป็นไฮโดรเจนเป็นธาตุแค่ธาตุชนิดหนึ่งที่ไม่มีความสำคัญต่อชีวิตของเราเลย แต่จริงๆ แล้วไฮโดรเจนเป็นธาตุที่อยู่ใกล้ตัวเราและมีความสำคัญมากที่สุดเลยก็ว่าได้ ไฮโดรเจน คือ ธาตุที่ทำให้เกิดน้ำ เพราะไฮโดรเจนเป็นส่วนหนึ่งของ น้ำ ไขมัน คาร์โบไฮเดรต ดีเอ็นเอซึ่งเป็นโครงสร้างของสิ่งมีชีวิตรวมถึงมนุษย์เราด้วย ไฮโดรเจนนั้นจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการมีชีวิต ทุกชีวิตนั้นล้วนมีองค์ประกอบของไฮโดรเจนอยู่ในร่างกาย ไฮโดรเจนเป็นธาตุอันดับที่ 1 ของตารางธาตุ มีสัญลักษณ์คือ H เลขอะตอม 1 อะตอมของธาตุไฮโดรเจนมีน้ำหนัก 1.00794 amu เป็นธาตุอโลหะ ธาตุประกอบด้วย นิวเคลียส์อยู่ตรงกลางของอะตอม ซึ่งภายในนิวเครียส์ประกอบไปด้วยโปรตอนที่มีประจุเป็นบวก และนิวตรอนที่ไม่มีประจุทางไฟฟ้า ด้านนอกจะมีอิเล็กตรอนที่มีประจุเป็นลบ วิ่งอยู่รอบๆ ไฮโดรเจนนั้นอยู่ได้ทุกสถานะไม่ว่าจะเป็นของแข็ง ของเหลว ก๊าซ ขึ้นอยู่กับความดันและอุณหภูมิของธาตุไฮโดรเจนในขณะนั้น ซึ่งในบรรยากาศของโลกเรานี้จะมีธาตุไฮโดรเจนอยู่ประมาณ 0.1 ppm หรือร้อยละ 75 ของสารชีวมวลที่มีอยู่บนโลก ลักษณะของไฮโดรเจน คือไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ติดไฟง่าย พบได้ทั่วไปตามธรรมชาติมี ไม่มีพิษในตัวเอง เรารู้จักไฮโดรเจนครั้งแรกจากการแยกองค์ประกอบของน้ำ ได้เป็นก๊าซที่ติดไฟง่ายกับก๊าซออกซิเจน ดังนั้นจึงให้ชื่อกับก๊าซที่ค้นพบว่า “ ไฮโดรเจน ” ที่แปลว่า “ ตัวทำให้เกิดน้ำ ” นั่นเอง เพราะไฮโดรเจนเป็นส่วนหนึ่งของน้ำ ไขมัน คาร์โบไฮเดรต ดีเอ็นเอซึ่งเป็นโครงสร้างของสิ่งมีชีวิตรวมถึงมนุษย์เราด้วย ไฮโดรเจนนั้นจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการมีชีวิต ทุกชีวิตนั้นล้วนมีองค์ประกอบของไฮโดรเจนอยู่ในร่างกาย >> น้ำ มีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างไรบ้าง มาดูกันบทความนี้ค่ะ >> ออกซิเจนมีความสำคัญต่อร่างกายมากแค่ไหน อยากรู้มาดูคำตอบกันที่บทความนี้ค่ะธาตุไฮโดรเจนที่พบอยู่ตามธรรมชาติจะพบอยู่ในรูปก๊าซไฮโดรเจนเป็นส่วนน้อยแต่จะพบอยู่ในรูปของสารประกอบหรือสารอินทรีย์เป็นส่วนใหญ่ เช่น สารประกอบไฮโดรคาร์บอน น้ำ มีเทน บิวเทน เป็นต้น ก๊าซไฮโดรเจนเป็นก๊าซที่มีประโยชน์ทั้งทางด้านอุตสาหกรรมและทางการแพทย์ โดยทางอุตสาหกรรมจะใช้ก๊าซไฮโดรเจนในอุตสาหกรรมกลั่นน้ำมัน การผลิตน้ำมันที่ไม่อิ่มตัวให้กลายเป็นน้ำมันชนิดอิ่มตัว การเตรียมโลหะที่มีความบริสุทธิ์สูง การถลุงโลหะ การสังเคราะห์สารอินทรีย์บางชนิด ใช้เป็นเชื้อเพลิงในการเผาไหม้ที่ให้พลังงานสูงในการเชื่อม ตัด ด้านการแพทย์เราจะให้ก๊าซไฮโดรเจนในการเตรียม NH3 ที่ช่วยในการแก้อาการวิงเวียน การผลิตยาและเมทานอล ปัจจุบันนี้ได้มีการนำก๊าซไฮโดรเจนมาเป็นเชื่อเพลิงในรถยนต์ เครื่องจักรกล ทดแทนเชื้อเพลิงและแหล่งพลังงานแบบเก่าที่สร้างมลพิษให้กับสิ่งแวดล้อม เพื่อลดการเกิดก๊าซเรือนกระจก ( Greenhouse Gas ) ที่ทำให้เกิดสภาวะโลกร้อน ( Global Warming ) จึงนับว่าไฮโดรเจนนั้นเป็นธาตุที่มีคุณค่าเป็นอย่างมากต่อการดำรงชีวิต แต่ของทุกสิ่งทุกอย่างบนโลกนี้ เมื่อมีข้อดีก็ย่อมมีข้อเสียด้วย รวมถึงไฮโดรเจนที่จัดเป็นธาตุที่มีประโยชน์ แหล่งกำเนิดไฮโดรเจนที่พบ คือ ปัจจุบันพลังงานจากไฮโดรเจนได้ถูกวิจัยและพัฒนาขึ้นมา สู่ระดับของการใช้งานได้อย่างกว้างขวางมากขึ้น และเข้าใกล้กับชีวิตประจำวันของเรามากขึ้นด้วย ดังนั้นเราควรทำความรู้จักกับแหล่งพลังงานไฮโดรเจนเบื้องต้นดังนี้ 1. น้ำ สารประกอบระหว่างไฮโดรเจน 2 อะตอม และออกซิเจน 1 อะตอม สูตรโมเลกุล H2O ยึดเหนี่ยวกันด้วยพันธะโควาเลนต์ ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่มีรส เป็นของเหลวที่สภาวะปกติ สารประกอบที่พบมากที่สุดในโลก เป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต เป็นตัวตั้งต้นที่สำคัญในการผลิตไฮโดรเจนจากการเกิดปฏิกิริยาการแยกด้วยไฟฟ้า และการแยกกรองด้วยไฟฟ้า 2. เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ หรือซากพืชซากสัตว์ เชื้อเพลิงต่าง ๆ ที่มีองค์ประกอบหลักเป็นไฮโดรคาร์บอนสามารถผลิตเป็นไฮโดรเจนด้วยการรีฟอร์มด้วยไอน้ำ เชื้อเพลิงจากซากดึกดำบรรพ์พบได้ที่ชั้นบนสุดของเปลือกโลก ซึ่งเกิดจากการทับถมของซากพืชซากสัตว์และมีการสะสมกันอยู่ชายฝั่งทะเล แหล่งน้ำกร่อย น้ำจืด หรือแผ่นดินที่ชื้นแฉะในระยะต้น เกิดการเน่าเปื่อยโดยแบคทีเรียที่ไม่ใช้ออกซิเจน ในระยะถัดมามีดินเหนียว ทราย และหินตะกอนทับถมเป็นชั้นๆ ภายใต้แรงดันและอุณหภูมิสูงเป็นเวลาหลายร้อยล้านปีทำให้เกิดการแปรสภาพเป็นถ่านหิน หรือเกิดการเคลื่อนตัวของสารประกอบไฮโดรคาร์บอนไปสะสมที่ชั้นหินที่มีโครงสร้างที่เหมาะสมกลายเป็นแหล่งกักเก็บปิโตรเลียม เช่นน้ำมัน แก๊สธรรมชาติ ถ่านหิน หินน้ำมัน ทรายน้ำมัน และแก๊สธรรมชาติจากหินดินดาน เมื่อได้รับก๊าซหรือสัมผัสไฮโดรเจนมากเกินไปจะเกิดอะไร ? ถ้าร่างกายได้รับก๊าซหรือสัมผัสไฮโดรเจนมากเกินไปก็ส่งผลเสียต่อร่างกายได้เช่นกัน ดังนี้ 1.ติดไฟง่าย...
- โภชนาการสำคัญที่ควรรู้

น้ำตาลธรรมชาติ ใช้ได้มากน้อยแค่ไหน อย่างไร?

0
น้ำตาลธรรมชาติ น้ำตาลทราย คืออะไร? น้ำตาลธรรมชาติคือ น้ำตาลทราย หรือ ซูโครส คือ น้ำตาลทรายขัดขาวบริสุทธิ์ ซึ่งจะเป็นก้อนผลึกเล็กๆ ให้ความหวานได้ 100% จัดอยู่ในประเภทของอาหารทั่วไปที่ไม่ต้องมีเครื่องหมาย อย. ก็สามารถนำมาใช้ปรุงอาหารได้อย่างปลอดภัย โดยสำหรับ  โครงสร้างของน้ำตาลชนิดนี้ก็จะประกอบไปด้วยน้ำตาลทราย 2 ชนิด ได้แก่ กลูโคสและฟรุคโตส ซึ่งเมื่อทานน้ำตาลชนิดนี้เข้าไป ร่างกายจะทำการย่อยน้ำตาลซูโครสให้เป็นน้ำตาล 2 ชนิดนี้ก่อนจะนำไปใช้ประโยชน์ต่อไปนั่นเอง โดยพบว่าน้ำตาลทราย 1 ช้อนชา จะให้พลังงานถึง 16 แคลอรี โดยสำหรับน้ำตาลกลูโคสจากน้ำตาลธรรมชาตินั้น ปกติจะมีจำหน่ายเป็นกระป๋องโลหะสีฟ้าหรือสีน้ำเงิน โดยถูกจัดเป็นอาหารควบคุมเฉพาะในหมวดเครื่องดื่ม ราคากิโลกรัมละ 70 กว่าบาท ซึ่งก็มีราคาสูงกว่าน้ำตาลทรายถึง 5 เท่าเลยทีเดียว จึงไม่เหมาะที่จะนำมาปรุงอาหารมากนัก โดยข้อดีของน้ำตาลกลูโคสก็คือร่างกายสามารถดูดซึมไปใช้ประโยชน์ได้อย่างรวดเร็ว ช่วยเพิ่มพลังงานและฟื้นฟูร่างกายในผู้ที่มีอาการอ่อนเพลียได้ดี แต่ก็มีจุดด้อยอยู่บ้าง นั่นคือจะมีความหวานต่ำกว่าน้ำตาลทรายถึง 40% นั่นเอง น้ำตาลทรายหรือซูโครสคือน้ำตาลทรายขัดขาวบริสุทธิ์ ซึ่งจะเป็นก้อนผลึกเล็กๆ ให้ความหวานได้ 100% จัดอยู่ในประเภทของอาหารทั่วไปที่ไม่ต้องมีเครื่องหมาย อย. ก็สามารถนำมาใช้ปรุงอาหารได้อย่างปลอดภัย >> สารที่ใช้ความหวานทดแทนน้ำตาลได้มีอะไรบ้าง อยากรู้มาดูกัน >>  น้ำตาลแท้ น้ำตาลเทียม หวานเทียบกับเบาหวานจริงหรือ มาดูค่ะ น้ำตาลธรรมชาติจากน้ำตาลทรายแดง เป็นน้ำตาลที่มีกลิ่นหอมมากแต่หวานน้อยกว่าน้ำตาลทรายขัดขาว ซึ่งน้ำตาลชนิดนี้ได้จากการนำน้ำอ้อยมาเคี่ยว ตักเอาสิ่งสกปรกออกจนได้น้ำเชื่อมใสและใส่ปูนขาวลงไปเล็กน้อย เคี่ยวต่อไปจนน้ำเชื่อมเริ่มแห้งก็จะได้เป็นน้ำตาลทรายแดง เพียงแต่จะมีการจับก้อนเล็กบ้างใหญ่บ้าง โดยทั้งนี้น้ำตาลทรายแดงก็มักจะมีวิตามินและแร่ธาตุลดลงไปจากการเคี่ยวพอสมควร จึงไม่แนะนำให้ใช้ในปริมาณมาก ซึ่งจะนิยมนำมาใช้ทำน้ำขิงและผัดหมี่มากที่สุด น้ำตาลธรรมชาติจากน้ำตาลอ้อย น้ำตาลอ้อยทำมาจากลำอ้อย โดยการนำลำอ้อยมารีดเอาน้ำอ้อยออก จากนั้นเคี่ยวในกระทะใบบัวจนกระทั่งได้น้ำอ้อยที่เหนียวได้ที่ ซึ่งจะมีสีน้ำตาลเข้มจัด จากนั้นนำมาหยอดลงในพิมพ์ที่เตรียมไว้ ก็จะได้น้ำตาลอ้อยที่มีกลิ่นหอม นิยมนำมาปรุงอาหารที่เน้นเครื่องเทศเป็นหลัก เพราะน้ำตาลอ้อยจะช่วยขับกลิ่นของเครื่องเทศในอาหารให้หอมน่าทานยิ่งขึ้นทั้งยังอุดมไปด้วยแร่ธาตุ วิตามินและกากใยอาหารเป็นจำนวนมากอีกด้วย น้ำตาลธรรมชาติจากน้ำตาลหม้อ น้ำตาลโตนด น้ำตาลธรรมชาติชนิดนี้จะมีรสชาติหวานน้อยหน่อย ซึ่งก็ทำมาจากช่อดอกของต้นตาลนั่นเอง โดยการนำช่อดอกมาตัดให้น้ำหวานไหลซึมออกมาจากนั้นนำน้ำหวานที่ได้ไปเคี่ยวจนงวดได้ที่ แล้วนำมากวนและตีเพื่อให้น้ำตาลขึ้นตัว จากนั้นหยอดลงในพิมพ์ที่เตรียมไว้ ซึ่งน้ำตาลที่ได้ก็จะเหมาะกับการนำมาทำอาหารคาวหวานที่สุด โดยเฉพาะกล้วยบวชชี แกงส้ม ลอดช่อง เป็นต้น สำหรับชื่อของน้ำตาลชนิดนี้ก็จะมีการเรียกที่แตกต่างกันไปตามแต่ภาชนะที่ใส่ เช่น น้ำตาลปี๊บ น้ำตาลหม้อ เป็นต้น น้ำตาลธรรมชาติจากน้ำตาลมะพร้าว เป็นน้ำตาลจากธรรมชาติอีกชนิดหนึ่งที่ให้ความหวานน้อยเช่นกัน โดยทำมาจากตาลมะพร้าวหรือช่อดอกของต้นมะพร้าวนั่นเอง สำหรับน้ำตาลที่ได้ก็จะมีความคล้ายกับน้ำตาลโตนดมาก แต่จะมีกลิ่นหอมน้อยกว่าและมีรสชาติที่หวานแล่มกว่าน้ำตาลโตนด หวานน้อยกว่าน้ำตาลขัดขาวอยู่มากและไม่ค่อยกลมกล่อมมากนัก สำหรับการนำมาใช้ประโยชน์ก็จะนิยมนำมาใช้ในการปรุงอาหารแทนน้ำตาลโตนดนั่นเอง น้ำตาลธรรมชาติจากน้ำผึ้ง น้ำผึ้งเป็นน้ำตาลธรรมชาติที่ไม่ได้ผ่านการแปรรูปใดๆ ทั้งสิ้น โดยในน้ำผึ้งจะประกอบไปด้วยน้ำตาลฟรุคโตส ซึ่งก็จะมีสีเหลืองอ่อน เหลืองเข้มออกเขียว สีน้ำตาลอ่อนหรือสีน้ำตาลไหม้ ขึ้นอยู่กับว่าเป็นน้ำผึ้งที่ได้จากผึ้งชนิดไหนและชนิดของเกสรดอกไม้บริเวณที่ผึ้งอาศัยอยู่นั่นเอง โดยทั้งนี้น้ำผึ้งเดือนห้าจะถือเป็นน้ำผึ้งที่มีความบริสุทธิ์ที่สุด เพราะเป็นช่วงที่มีการเก็บเกี่ยวน้ำหวานได้เต็มและไม่ค่อยมีน้ำเจือปน จึงนิยมนำน้ำผึ้งเดือนห้ามาใช้ประโยชน์มากกว่าน้ำผึ้งในช่วงเวลาอื่นๆ นอกจากนี้น้ำผึ้งยังมีคุณประโยชน์มากมาย นอกจากนิยมนำมาทานกับขนมปังแพนเค้ก ชงกับเครื่องดื่มต่างๆ แล้ว ก็สามารถช่วยในการขับถ่ายและฆ่าเชื้อบางชนิดได้เหมือนกัน แต่อย่างไรก็ไม่ควรใช้ในปริมาณมากเพราะอาจก่อให้เกิดผลเสียได้ https://www.youtube.com/watch?v=Bt8AYFvp8zg น้ำตาลธรรมชาติฟรุ๊กโตสในผลไม้ น้ำตาลฟรุคโตสพบได้มากในผลไม้ ซึ่งก็จะให้ความหวานที่ 140% ของน้ำตาลทรายเลยทีเดียว ดังนั้นจึงควรใช้ในปริมาณเล็กน้อยต่อครั้งเท่านั้น สำหรับข้อดีของน้ำตาลชนิดนี้ก็คือ สามารถดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้เลยโดยไม่ต้องผ่านกระบวนการย่อยใดๆ ทั้งสิ้น โดยจะเข้าไปในตับเพื่อเปลี่ยนเป็นกลูโคสก่อนจะเข้าไปสู่กระแสเลือดต่อไป แต่ถึงแม้ว่าจะเป็นน้ำตาลที่ได้จากผลไม้ก็อาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงและอ้วนได้เหมือนกัน สำหรับการนำมาใช้ประโยชน์ ก็จะนิยมใช้ปรุงอาหารคาวหวานและใส่ในเครื่องดื่มนั่นเอง น้ำตาลธรรมชาติน้ำตาลมอลล์ น้ำตาลธรรมชาติขากมอลล์เป็นน้ำตาลอีกชนิดหนึ่งที่ให้ความหวานน้อยกว่าน้ำตาลทราย ซึ่งจะประกอบไปด้วยกลูโคส 2 โมเลกุลมาเชื่อมต่อกัน พบได้มากในข้าวบาร์เลย์หรือข้าวมอลล์ที่กำลังงอก สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการปรุงอาหารได้เช่นกัน เคล็ดลับน่ารู้ของน้ำตาลธรรมชาติ ก่อนเลือกทานน้ำตาลไม่ว่าชนิดใดก็ตาม ควรทำความเข้าใจกับ TIP น่ารู้เหล่านี้ก่อน ได้แก่ 1.หากทานน้ำตาลไม่ว่าชนิดใด มากกว่า 20 เปอร์เซ็นต์ของพลังงาน จะทำให้ระดับไขมันและคอเลสเตอรอลที่ไม่ดีในร่างกายเพิ่มขึ้นได้ 2.ควรสังเกตหากผลิตภัณฑ์น้ำตาลที่ซื้อใช้คำว่า Sugar จะหมายถึงน้ำตาลกลูโคส แต่หากใช้คำว่า Sugars จะหมายถึงว่ามีน้ำตาลชนิดอื่นๆ รวมอยู่ด้วย ซึ่งอาจเป็นซูโครส ฟรุคโตนหรือมอลโตสก็ได้ 3.สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีการโฆษณาว่าปราศจากน้ำตาล นั่นไม่ได้หมายความว่าไม่มีน้ำตาลอยู่เลย แต่หมายถึงไม่มีน้ำตาลซูโครสเป็นส่วนผสมอยู่เท่านั้น ส่วนน้ำตาลชนิดอื่นๆ อาจมีอยู่ได้โดยที่เราไม่รู้นั่นเอง ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะนิยมใช้น้ำตาลฟรุคโตสที่เป็นน้ำตาลจากผลไม้แทนนั่นเอง อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่างเอกสารอ้างอิง ขอบคุณข้อมูลความรู้จาก : หมอปุ้ม พญ. สิรนาถ สุขภาพดี คุณมีได้ ศัลยา คงสมบูรณ์เวช....
- โภชนาการสำคัญที่ควรรู้

ธาตุและสารประกอบในร่างกาย

0
ธาตุและสารประกอบในร่างกาย โดยปกติแล้วร่างกายของมนุษย์จำเป็นต้องได้รับสารอาหารต่างๆ อย่างครบถ้วนและได้สัดส่วนกันจึงจะสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นการขาดหรือได้รับสารอาหารบางอย่างมากเกินไปจึงสามารถส่งผลกระทบต่อระบบต่างๆ ได้มากทีเดียว โดยเฉพาะระบบการย่อยและการดูดซึม รวมถึงการขับถ่ายด้วย ซึ่งในปัจจุบันนักวิชาการก็ ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มาก และพบว่าการเกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างพลังงานและสารอาหาร สามารถเป็นไปได้ 2 แบบคือ 1.แบบเสริมคุณสมบัติกัน ซึ่งจะมีการนำสารอาหารไปใช้ประโยชน์ได้ดีและมีประสิทธิภาพที่สุด 2.แบบขัดขวางกัน ซึ่งจะทำให้การนำสารอาหารไปใช้ประโยชน์มีประสิทธิภาพลดลง นอกจากนี้การศึกษาเกี่ยวกับปฏิสัมพันธ์ของสารอาหากต่างๆ ก็ช่วยให้สามารถวิเคราะห์และทราบถึงผลกระทบต่อระบบการทำงานของร่างกายที่มีผลต่อสุขภาพได้อีกด้วย>> การตรวจแร่ธาตุและสารละลายในร่างกาย >> แคลเซียมแร่ธาตุจำเป็นสำหรับกระดูกและฟันมาก ปฏิสัมพันธ์ภายในของสารที่ให้พลังงาน ธาตุและสารประกอบในร่างกาย สารอาหารที่จะให้พลังงานกับร่างกายได้ดี คือ ไขมัน โปรตีน และ คาร์โบไฮเดรต ซึ่งสารอาหารเหล่านี้จะต้องมีการทำงานที่สัมพันธ์กัน กล่าวคือ เมื่อร่างกายได้รับคาร์โบไฮเดรตในปริมาณที่เพียงพอ ก็จะช่วยส่งเสริมให้ไขมันถูกเผาผลาญได้ดีและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น พร้อมทั้งช่วยให้มีการดูดซึมโปรตีนได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยในขณะเดียวกัน หากร่างกายได้รับคาร์โบไฮเดรตที่น้อยเกินไป ก็จะทำให้การเผาผลาญไขมันไม่สมบูรณ์และเกิดสารคีโตนบอดี้ขึ้นมา ซึ่งเป็นตัวการที่จะทำให้กรดในร่างกายสูงขึ้น และหากร่างกายได้รับคาร์โบไฮเดรตและไขมันน้อยกว่าปกติ ก็จะมีการนำเอาโปรตีนออกมาเผาผลาญเป็นพลังงานแทน และเนื่องจากกระบวนการดังกล่าวต้องใช้พลังงานสูง จึงทำให้ต้องสูญเสียพลังงานจากอาหารไปอย่างเปล่าประโยชน์นั่นเอง และนอกจากนี้ยังทำให้โปรตีนไม่พอที่จะใช้ในการสร้างเนื้อเยื่อและซ่อมแซมในส่วนที่สึกหรออีกด้วย ปฏิสัมพันธ์ระหว่างพลังงานและโปรตีน  ธาตุและสารประกอบในร่างกาย ร่างกายจะสามารถใช้โปรตีนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก็จะต้องได้รับพลังงานอย่างเพียงพอด้วย เพราะพลังงานจะทำให้เกิดการย่อยและดูดซึมโปรตีนได้นานขึ้น และช่วยลดการสูญเสียโปรตีนให้น้อยลงได้เช่นกัน แต่ในกรณีที่ร่างกายขาด ทั้งโปรตีนและพลังงาน ก็จะมีการดึงเอาโปรตีนที่สะสมอยู่ออกมาใช้ จึงทำให้กระบวนการต่างๆ ในร่างกายที่ต้องใช้โปรตีน มีประสิทธิภาพและการทำงานที่ด้อยลงเช่นกัน ปฏิสัมพันธ์ระหว่างพลังงานและวิตามิน ธาตุและสารประกอบในร่างกาย พลังงานที่ได้รับกับวิตามินบีหนึ่งมีความสัมพันธ์กัน โดยพบว่าหากมีการบริโภคโปรตีนที่เป็นแหล่งพลังงานในปริมาณมาก ก็จะทำให้ร่างกายมีความต้องการวิตามินเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน นั่นก็เพราะว่าวิตามินจะทำหน้าที่ส่วนใหญ่ในการช่วยเผาผลาญโปรตีนในร่างกายนั่นเอง ปฏิสัมพันธ์ระหว่างพลังงานและแร่ธาตุ แร่ธาตุและวิตามินมีความสำคัญต่อกระบวนการเมแทบอลิซึมของไขมัน คาร์โบไฮเดรตและโปรตีน เพราะจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของน้ำย่อยหลายตัวให้ทำปฎิกิริยาการเกิดพลังงานได้อย่างรวดเร็วและสมบูรณ์มากขึ้น รวมถึงกระบวนการสร้างเนื้อเยื่อโปรตีน ไขมันและไกลโคเจนอีกด้วย ปฏิสัมพันธ์ภายในของกรดอะมิโน กรดอะมิโนจำเป็นและชนิดไม่จำเป็น มีอิทธิพลต่อกันเอง กล่าวคือ หากมีกรดอะมิโนที่ไม่จำเป็นในปริมาณมากเกินไป ก็จะส่งผลให้ร่างกายต้องการกรดอะมิโนที่จำเป็นในปริมาณที่น้อยลง เป็นผลให้ร่างกายได้รับกรดอะมิโนจำเป็นชนิดนั้นในปริมาณที่ไม่เพียงพอ นอกจากนี้การได้รับกรดอะมิโนบางตัวสูงมาก ก็จะส่งผลให้เกิดการใช้กรดอะมิโนบางตัวได้น้อยกว่าปกติอีกด้วย ปฏิสัมพันธ์ระหว่างกรดอะมิโนและวิตามิน ธาตุและสารประกอบในร่างกาย ได้มีการศึกษาเกี่ยวกับกรดอะมิโนและวิตามินโดยใช้ลูกไก่ในการทดลอง ซึ่งพบว่าเมื่อมีการเติมเมไทโอนีนลงไปในอาหารที่ไม่มีวิตามินบีสิบสอง จะทำให้ลูกไก่มีการเจริญเติบโตได้ดีไม่ต่างกับอาหารที่มีวิตามินบีสิบสองอยู่ จึงได้ข้อสรุปว่า เมไทโอนีนน่าจะให้เมธิลกรุ๊ปที่จะช่วยในการสังเคราะห์วิตามินบีสิบสองได้นั่นเอง ปฏิสัมพันธ์ระหว่างกรดอะมิโนและแร่ธาตุ ธาตุและสารประกอบในร่างกายแร่ธาตุบางตัวจะเป็นส่วนประกอบที่สำคัญหลักๆ ของกรดอะมิโน เช่น ซีลทีน ซีสเทอีน เป็นต้น ซึ่งการทานอาหารจำพวกโปรตีนมากๆ นั้น ก็จะช่วยให้เกิดการดูดซึมแคลเซียมให้ดีขึ้นได้อีกด้วย นอกจากนี้หากร่างกายได้รับซีลีเนียมในปริมาณที่มากเกินไป ก็จะทำให้ซีลีเนียมเข้าไปแทนที่กำมะถันที่อยู่ในอณูของซีลทีน ซีสเทอีนและเมไทโอนีน จนทำให้ร่างกายไม่สามารถใช้กรดอมิโนทั้ง 3 ตัวนี้ได้นั่นเอง ปฏิสัมพันธ์ระหว่างไขมันและแร่ธาตุ  การที่ร่างกายได้รับไขมันมากเกินไปจะเกิดการรวมตัวกันระหว่างไขมันและแคลเซียมจนก่อให้เกิดสารประกอบชนิดหนึ่งที่ไม่ละลาย และไปขัดขวางกระบวนการดูดซึมแคลเซียม เป็นผลให้ไม่สามารถดูดซึมแคลเซียมได้ แต่จะเกิดการดูดซึมฟอสฟอรัสมากขึ้นบริเวณของลำไส้แทน ปฏิสัมพันธ์ภายในของวิตามิน  โดยปกติแล้วธาตุและสารประกอบในร่างกาย ร่างกายจำเป็นต้องได้รับวิตามินที่มีความสมดุลกันอยู่เสมอ หากขาดวิตามินบางตัวไปก็จะทำให้เกิดผลกระทบมากมายตามมาได้ เช่น การขาดวิตามินบีสิบสอง จะทำให้เป็นโรคโลหิตจางชนิดเพอร์นิเชียสได้ แต่ก็สามารถบรรเทาได้ด้วยการรับโฟลาซินเสริมเข้าไปเช่นกัน นอกจากนี้หากมีวิตามินบีสิบสองและโฟลาซินอย่างเพียงพอ ก็จะช่วยลดอาการอ่อนล้าของกล้ามเนื้อได้ดีอีกด้วย ส่วนการขาดวิตามินบี 6 จะส่งผลให้เกิดการดูดซึมวิตามินบีสิบสองได้น้อยลงกว่าเดิม และหากขาดวิตามินอี ก็จะทำให้การเก็บวิตามินเอในร่างกายลดลงไปด้วย หรือการมีอยู่ของวิตามินอีและซีที่มากเกินไป ก็จะทำให้เกิดการรบกวนการใช้วิตามินเอของร่างกายได้เช่นกัน ปฏิสัมพันธ์ระหว่างวิตามินและแร่ธาตุ  ปฏิสัมพันธ์ระหว่างวิตามินและแร่ธาตุ ถึงแม้ว่าแร่ธาตุและวิตามินบางตัวจะสามารถทำงานได้อย่างอิสระ แต่แร่ธาตุบางชนิดก็จำเป็นต้องมีวิตามินเพื่อเสริมการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและช่วยให้การทำงานเป็นไปได้ดียิ่งขึ้น โดยมีปฏิสัมพันธ์ดังนี้ 1.วิตามินอีกับซีลีเนียม จากการศึกษาที่ผ่านมาได้ข้อสรุปที่เป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางว่า วิตามินอีและซีลีเนียมสามารถเสริมภูมิคุ้นกันของร่างกายให้แข็งแรงขึ้นได้ โดยวิตามินอีจะทำหน้าที่ในการเสริมภูมิต้านทานโดยตรง ส่วนซีลีเนียมก็จะทำหน้าที่ในการเพิ่มประสิทธิภาพของน้ำย่อยกลูทาไทโอน เปอร์ออกซิเดส ( Glutathione Peroxidade, GSHPx ) ซึ่งเป็นน้ำย่อยที่มีความสำคัญต่อการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันนั่นเอง นอกจากนี้พบว่าหากร่างกายได้รับอาหารที่มีซีลีเนียมและวิตามินอีต่ำ ก็จะทำให้การทำงานของกลูทาไทโอน เปอร์ออกซิเดส ด้อยประสิทธิภาพลงไปด้วย จากภาวะดังกล่าวที่การทำงานของกลูทาไทโอน เปอร์ออกซิเดสลดต่ำลง ก็จะส่งผลกระทบอย่างมากมายเช่นกัน โดยจะทำให้เซลล์เม็ดเลือดขาวมีความอ่อนแอ จึงต้านทานการติดเชื้อและโรคร้ายต่างๆ ได้น้อยลง ส่งผลให้เกิดอาการป่วยได้ง่าย แต่ในขณะเดียวกัน หากได้รับซีลีเนียมอย่างเพียงพอ ก็จะช่วยเสริมให้ภูมิต้านทานสูงขึ้น และทำให้เซลล์เม็ดเลือดขาวมีประสิทธิภาพในการต่อสู้กับเชื้อโรคและเชื้อแบคทีเรียต่างๆ ได้อย่างดีเยี่ยมอีกด้วย และนอกจากนี้วิตามินอีก็จะช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันในลักษณะเดียวกันได้เช่นกัน 2.วิตามินดีกับแคลเซียมและฟอสฟอรัส วิตามินและแร่ธาตุทั้ง 3 ชนิดนี้ต่างมีความสัมพันธ์และจำเป็นต้องทำงานร่วมกันเสมอ โดยวิตามินดีจะช่วยในการจับเกาะของแคลเซียมและฟอสฟอรัสที่กระดูก พร้อมทั้งควบคุมระดับของแคลเซียมและฟอสฟอรัสในกระแสเลือดไม่ให้ต่ำจนเกินไป และช่วยให้มีการดูดซึมบริเวณลำไส้ที่ดียิ่งขึ้น ซึ่งหากไม่มีวิตามินดี แคลเซียมและฟอสฟอรัสก็อาจถูกขับออกจากร่างกายไปหมดจนทำให้ร่างกายเกิดการขาดได้นั่นเอง 3.วิตามินซีกับเหล็ก วิตามินซี มีส่วนช่วยในการดูดซึมธาตุเหล็กที่ร่างกายได้รับจากอาหาร และทำหน้าที่ในการเปลี่ยนเหล็กที่เป็นเฟอริคให้กลายเป็นเฟอรัสที่สามารถดูดซึมได้ง่ายและดีกว่า นอกจากนี้พบว่าหากมีการทานวิตามินซีเป็นอาหารเสริมวันละ 280 มิลลิกรัม ก็จะช่วยให้ร่างกายสามารถดูดซึมธาตุเหล็กได้มากกว่าเดิมเป็นสองเท่าเลยทีเดียว หรือหากมีการแบ่งทานวิตามินซีในปริมาณดังกล่าวตามมื้ออาหาร ก็จะทำให้อัตราการดูดซึมธาตุเหล็กของร่างกายเพิ่มมากขึ้นไปอีก 4.วิตามินเอและวิตามินซีกับแคลเซียม วิตามินเอและวิตามินซีเมื่อทำงานร่วมกัน หรือได้รับในปริมาณ สัดส่วนที่มีความเหมาะสม ก็จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดูดซึมแคลเซียมให้ดีขึ้นกว่าเดิมได้ 5.วิตามินเอกับสังกะสี จากการศึกษาพบว่า...
- โภชนาการสำคัญที่ควรรู้

กินคาร์โบไฮเดรตอย่างไร ไม่ให้น้ำหนักเพิ่ม

0
คาร์โบไฮเดรต คาร์โบไฮเดรต ( Carbohydrate ) คือ คาร์โบไฮเดรต ( Carbohydrate ) คือ สารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายรวมถึงเป็นแหล่งพลังงานหลักที่สำคัญต่อสมองและกล้ามเนื้อ คาร์โบไฮเดรตมี 3 ประเภทหลัก ได้แก่ แป้ง น้ำตาล และเส้นใยอาหารส่วนใหญ่พบได้ในอาหารจากพืช ได้แก่ ข้าว ถั่ว ขนมปัง พาสต้า มันฝรั่ง และผลิตภัณฑ์จากนม คาร์โบไฮเดรตประโยชน์มากมายประกอบไปด้วยน้ำตาลและสารประกอบลักษณะเชิงซ้อนซึ่งเกิดจากการเชื่อมต่อเข้าหากัน ภายในยังมีสารที่ประกอบที่สำคัญอย่าง เช่น คาร์บอนไดออกไซด์ ออกซิเจนและไฮโดรเจนอยู่ภายในอีกด้วย ( สำหรับสัดส่วนของออกซิเจนกับไฮโดรเจนอยู่ที่ 1 ต่อ 2 ) >> ควรกินคาร์โบไฮเดรตกี่กรัมต่อวันถึงไม่ให้อ้วน อยากรู้มาดูกันค่ะ >> ทำไมโปรตีนเป็นสารอาหารที่ร่างกายขาดไม่ได้ มาดูกันค่ะ คาร์โบไฮเดรตมีกี่ประเภท แม้คาร์โบไฮเดรตจะมีประโยชน์ต่อร่างกาย แต่การรับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตในปริมาณมากอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพได้เช่นเดียวกัน คาร์โบไฮเดรตแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ( แบ่งตามขนาดโครงสร้าง ) ดังต่อไปนี้ 1. น้ำตาลประเภทแรกคือน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว  น้ำตาลประเภทนี้มีชื่อภาษาอังกฤษแบบเต็ม ๆ ว่า “ MONOSCACCHARIDES , SIMPLE SUGAR ” น้ำตาลประเภทนี้เป็นคาร์โบไฮเดรตที่มีไซด์โมเลกุลค่อนข้างเล็กที่สุดในบรรดาน้ำตาลด้วยกัน เป็นน้ำตาลที่สามารถพบได้ในอาหารแบบอิสระหรือในสารประกอบ เป็นสิ่งที่มีรสชาติหวาน สามารถละลายน้ำได้ ซึมผ่านส่วนของลำไส้ได้แบบสบาย ๆ โดยไม่ต้องอาศัยกระบวนการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ทั้งสิ้น สำหรับน้ำตาลประเภทนี้จะ ประกอบไปด้วย 3 รูปแบบด้วยกัน นั่นคือ กลูโคส ( GLUCOSE ) น้ำตาลประเภทนี้สำคัญมากที่สุดในบรรดาน้ำตาลด้วยกัน เนื่องจาก น้ำตาลตัวนี้เป็นตัวต้นของการผลิตพลังงานที่ได้มาจากกระบวนการย่อยสลายน้ำตาล ไม่ว่าจะเป็นคาร์โบไฮเดรตประเภทใดก็ตามย่อมจำเป็นต้องถูกเปลี่ยนให้กลายเป็นกลูโคสก่อนเสมอ ( กระบวนการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นที่ตับ ) ไม่เช่นนั้นร่างกายจะไม่สามารถนำไปใช้ต่อได้ สิ่งสำคัญของกระบวนการนี้อยู่ที่ตัวน้ำย่อยที่อยู่ภายในร่างกายรวมถึงแร่ธาตุและวิตามิน ร่างกายของคนเราจำเป็นต้องมีกลูโคสอยู่ภายในเลือดอยู่ตลอดระยะเวลาที่ยังมีชีวิตอยู่เพื่อให้ร่างกายยังคงสามารถทำงานได้ตามปกติ ( ปริมาณที่เหมาะสม คือ 70 ถึง 100 มก/ลิตร ) เซลล์ที่อยู่ในร่างกายไม่สามารถที่จะใช้สารอื่นในการนำมาเป็นสารตั้งต้นเพื่อการดำเนินการสร้างพลังงานได้ แหล่งที่สามารถพบได้ ได้แก่ น้ำผลไม้ ผัก น้ำตาลทราย และผลไม้ ฯลฯ กาแลคโทส ( GALACTOSE ) น้ำตาลรูปแบบนี้เป็นน้ำตาลที่สามารถพบได้ในนมโดยเฉพาะ ได้มาจากกระบวนการย่อยสลายตัวแลคโทสด้วยน้ำ เมื่อมีการดูดซึมที่บริเวณลำไส้เมื่อนั้นก็จะเกิดการเปลี่ยนแปลงให้กลายเป็นกลูโคสต่อไปที่ตับ เป็นน้ำตาลที่สามารถเปลี่ยนไปเป็นพวกไกลโคเจนแบบโดยตรงได้เลยแถมยังสามารถเก็บสะสมเอาไว้ที่ภายในส่วนของตับได้ตลอดเวลา นอกจากนี้หญิงสาวที่กำลังอยู่ในช่วงให้นมลูกส่วนของต่อมนมจะสามารถทำการสังเคราะห์น้ำตาลกาแลคโทสได้เองแล้วค่อยเข้าไปรวมกับน้ำตาลประเภทกลูโคสเพื่อเปลี่ยนไปสู่การเป็นน้ำตาลแลคโทสในอนาคต นอกจากนี้ความสำคัญของน้ำตาลประเภทนี้ยังอยู่ที่การเข้าไปเป็นองค์ประกอบสำคัญของสมองเพื่อใช้ในการเจริญเติบโตของช่วงวัยเด็ก หากเด็กเกิดการขาดน้ำตาลตัวนี้เมื่อใดนั่นจะเป็นการส่งผลทำให้เด็กเกิดภาวะสมองเสื่อมเกิดขึ้นได้ ฟรักโทส ( FRUCTOSE ) น้ำตาลรูปแบบนี้เป็นน้ำตาลที่มีรสหวานมากที่สุด เป็นน้ำตาลที่สามารถพบได้ในผลไม้ ผัก น้ำผึ้ง เครื่องดื่มบางประเภท เป็นต้น ฟรักโทสจะถูกดูดซึมเข้าไปแล้วค่อย ๆ เปลี่ยนกลายเป็นกลูโคสที่บริเวณผนังของตับและลำไส้เล็ก เมื่อเปลี่ยนเสร็จแล้วก็จะค่อย ๆ ดูดซึมเข้าไปสู่ส่วนของกระแสเลือดต่อไป น้ำตาลประเภทชั้นเดียวนี้ไม่ว่าจะตัวใดก็ตามล้วนแต่เป็นผลผลิตที่ได้มาจากขั้นตอนท้ายสุดของกระบวนการย่อยคาร์โบไฮเดรตแทบจะทั้งสิ้น เป็นน้ำตาลที่สามารถผ่านผนังของระบบทางเดินอาหารได้แบบสบาย ดังนั้นหากใครที่คิดว่าน้ำตาลกลุ่มนี้ไม่สำคัญเราขอบอกเลยว่าคุณคิดผิดมหันต์ เพราะน้ำตาลกลุ่มนี้หากร่างกายขาดไปนั่นย่อมสามารถส่งผลกระทบต่อลักษณะของร่างกาย ความสมบูรณ์ด้านการพัฒนาการและการเจริญเติบโตได้ หากใครที่รู้ตัวว่าตนเองนั้นขาดน้ำตาลกลุ่มนี้อยู่ควรรีบปรับปรุงตัวและหันมาทานน้ำตาลกลุ่มนี้ในปริมาณที่เหมาะสมต่อความต้องการของร่างกายจะดีกว่า      2. น้ำตาลประเภทที่สองคือน้ำตาลโมเลกุลคู่ น้ำตาลประเภทนี้มีชื่อภาษาอังกฤษแบบเต็ม ๆ ว่า “ DISACCHARIDE , DOUBLE SUGAR ” เป็นคาร์โบไฮเดรตที่มีส่วนประกอบเป็นน้ำตาลลักษณะชั้นเดียวจำนวนสองตัวเชื่อมต่อกันโดยอาศัยพันธะสำคัญอย่างพันธะไกลโคซิดิก ซึ่งน้ำตาลแบบนี้ไม่ว่าจะเป็นแบบชนิดเดียวกันหรือต่างชนิดกันได้ทั้งหมดแต่จะไม่สามารถพบได้ภายในร่างกายของคนเรา เนื่องจาก เมื่อใดที่คนเราทานคาร์โบไฮเดรตเข้าไปแล้วเจ้าน้ำย่อยที่อยู่ภายในลำไส้เล็กนั้นก็จะเริ่มทำการย่อยจนกลายเป็นน้ำตาลชั้นเดียวแล้วสามารถนำไปใช้ภายในร่างกายได้โดยตรง สำหรับคุณสมบัติสำคัญของน้ำตาลประเภทนี้ คือ มีรสหวาน สามารถละลายน้ำได้ดี สามารถผ่านการย่อยได้ดี สำหรับน้ำตาลประเภทนี้จะ...
- โภชนาการสำคัญที่ควรรู้

เกลือไอโอดีน ประโยชน์มหาศาล ( Iodine ) 

0
เกลือไอโอดีน ไอโอดีน ( Iodine ) คือ แร่ธาตุที่มีความสำคัญอย่างมากต่อการทำงานของต่อมไทรอยด์ ซึ่งช่วยควบคุมระบบเผาผลาญอาหารในร่างกาย แต่ร่างกายของเราไม่ได้มีความต้องการมากนัก และเมื่อร่างกายได้รับไอโอดีนก็จะเปลี่ยนให้เป็นไอโอไดด์  โดยร่างกายของเราจะมีไอโอดีนอยู่ประมาณ 25 มิลลิกรัม หรือคิดเป็นร้อยละ 0.0004 ของน้ำหนักตัว ซึ่งครึ่งหนึ่งจะถูกเก็บไว้ที่ต่อมธัยรอยด์ อีกส่วนหนึ่งจะอยู่ตามกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นผิวหนัง ขุมขน ต่อม น้ำลาย ระบบทางเดินอาหาร และกระดูก ส่วนในกระแสเลือดจะมีไอโอดีอยู่ค่อนข้างที่จะน้อยมาก >> อาหารชนิดใดที่ช่วยปรับเปลี่ยนอารมณ์และปรับสมดุลสมอง อยากรู้มาดูกันค่ะ >>  สารอาหารที่ช่วยชะลอวัยต่อต้านการเสื่อมของร่างกายมีอะไรบ้างมาดูกันค่ะ หน้าที่ของไอโอดีนคืออะไร? 1. ช่วยในการทำงานและการเจริญเติบโตของต่อมธัยรอยด์ และเป็นส่วนหนึ่งของฮอร์โมนไทรอกชิน ( Thyroxine ) ซึ่งต่อม ธัยรอยด์ผลิตขึ้น โดยมีหน้าที่ก็คือควบคุมอัตราเมแทบอลิซึมภายในร่างกาย ต่อมธัยรอยด์เป็นส่วนหนึ่งในร่างกายที่มีความสำคัญต่อสภาพจิตใจ ผม ผิวหนัง เล็บ และฟัน การเปลี่ยนแคโรทีนให้เป็นวิตามินเอ การสังเคราะห์โปรตีน โดยไรโบโซมรวมทั้งการดูดซึมน้ำตาลจากลำไส้เล็ก ซึ่งหากฮอร์โมนไทรอกชินถูกผลิตออกมาตามปกติ การทำงานของสิ่งต่าง ๆ ดังที่กล่าวมาแล้วก็จะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ 2. ช่วยให้สมองเกิดความตื่นตัวและมีประสิทธิภาพในการทำงานเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะหลังตื่นนอน 3. ช่วยให้การผลิตพลังงานของร่างกายเป็นไปตามปกติ จึงทำให้ร่างกายมีพลังงานอย่างเพียงพอ 4. ช่วยในการเจริญเติบโตของร่างกายและช่วยกระตุ้นการเผาผลาญไขมันในร่างกาย ลดความเสี่ยงโรคอ้วนหรือไขมันอุดตัน 5. ช่วยกระตุ้นการทำงานของหัวใจให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 6. ช่วยให้แคลเซียมและฟอสฟอรัสเคลื่อนย้ายจากกระดูกให้มากขึ้น 7. ช่วยในการขับถ่ายปัสสาวะและควบคุมการกระจายของน้ำตามอวัยวะต่างๆ 8. ช่วยกระตุ้นในการหลั่งน้ำนมทำให้มีน้ำนมหลั่งออกมามากขึ้น การดูดซึมและการเก็บไอโอดีนของร่างกาย เกลือไอโอดีน ระบบทางเดินอาหารของร่างกายจะสามารถดูดซึมไอโอดีนที่มีอยู่ในอาหารหรือน้ำได้อย่างรวดเร็ว เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะถูกเปลี่ยนให้เป็นเกลืออนินทรีย์ของไอโอดีน (Iodine) หรือ ไอโอไดด์ และไอไอไดด์ก็จะถูกดูดซึมเข้าสู่ต่อมธัยรอยด์ผ่านทางกระแสเลือด ซึ่งหากมีมากเกินไปก็จะถูกขับออกมาทางปัสสาวะภายใน 1 – 2 วัน หลังจากเข้าสู่ต่อมธัยรอยด์ ไอไอไดด์ก็จะเปลี่ยนไปเป็นไอโอดีนแล้วไปร่วมมือกับไทโรซีน สร้างเป็นไดไอโอโดไทโรซีน ( Diiodotyrosine ) และไตรไอโอโดไทโรนีน ( Triiodothyronine ) และไทรอกซิน ( Thyroxine ) ซึ่งเป็นกรดอะมิโนที่มีไอโอดีนอยู่ จากนั้นไทรอกซินจะร่วมกับโกลบูลินกลายเป็นไทโรโกลบูลิน ( Thyroglobulin ) ซึ่งจะถูกเก็บไว้ในต่อมธัยรอยด์ ต่อมพิทูอิทารีเป็นอีกต่อมหนึ่งที่ช่วยกระตุ้นให้ต่อม ธัยรอยด์สร้างไทรอกซินเพิ่มขึ้นได้ โดยอาศัยฮอร์โมนที่ชื่อไทโรโทรฟิน ( Thyrotrophin ) ซึ่งหากร่างกายได้รับไทรอกซินเพียงพอแล้ว ไทรอกซินก็จะไปทำให้ต่อมพิทูอิทารีหยุดสร้างไทโรโทรฟินลง ทั้งฮอร์โมนไทรอกซินและฮอร์โมนไทโรโทรฟิน จึงมีผลในการเพิ่มหรือลดซึ่งกันและกันนั่นเอง แหล่งอาหารที่พบไอโอดีน สำหรับแหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยไอโอดีน เกลือไอโอดีน ก็คือสาหร่ายทะเลที่เรียกกันว่า เคลพ์ ( Kelp ) ส่วนสัตว์ทะเลจะมีไอโอดีนอยู่ประมาณ 200 – 1,000 ไมโครกรัม/กิโลกรัม ไอโอดีนในเนื้อสัตว์จะมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับอาหารที่ใช้เลี้ยงสัตว์ เช่นเดียวกันกับไอโอดีนในพืชซึ่งก็ขึ้นอยู่กับดินที่ใช้ปลูกพืชนั้นๆ ว่าเป็นดินชนิดไหน ในเกลือสมุทรจะมีไอโอดีนมากกว่าเกลือสินเธาว์ และแหล่งอาหารอีกแหล่งหนึ่งที่ให้ไอโอดีนก็คือเกลือที่เติมไอโอดีน ( Iodized Salt ) โดยใช้สารโซเดียมไอโอไดด์ หรือโปแตสเซียม ไอโอไดด์ ในความเข้มข้นร้อยละ 0.005 – 0.01 ปริมาณไอโอดีนอ้างอิงที่ควรได้ต่อวันสำหรับคนไทยในแต่ละวัย เพศ อายุ ปริมาณ หน่วย เด็ก 1-5 ปี 90 ไมโครกรัม/วัน เด็ก 6-8 ปี 120 ไมโครกรัม/วัน วัยรุ่น 9-12 ปี 120 ไมโครกรัม/วัน 13-18 ปี 150 ไมโครกรัม/วัน ผู้ใหญ่ 19-≥ 71 ปี 150 ไมโครกรัม/วัน ผู้หญิงตั้งครรภ์ ควรได้รับเพิ่มอีก 50 ไมโครกรัม/วัน ผู้หญิงให้นมบุตร ควรได้รับเพิ่มอีก 50 ไมโครกรัม/วัน ผลของการขาดไอโอดีนในเด็ก เด็กที่ขาดเกลือไอโอดีนจะส่งผลให้เด็กมีอาการครีตินนิซึม ( Cretinism ) คือเด็กที่เกิดมาจะมีร่างกายเตี้ยแคระและสมองไม่มีการพัฒนา หากในระยะตั้งครรภ์แม่บริโภคไอโอดีนน้อย หรือไม่พอเพียงแก่ความต้องการ โดนจะมีอาการปรากฏให้เห็นในหลาย ๆ แบบไม่ว่าจะเป็น หูหนวก เป็นใบ้ ตาเหล่ มีกล้ามเนื้อหย่อนยานและอ่อนแอ ผิวหนังแห้ง รูปร่างสั้นเตี้ย ซึ่งก็เป็นเพราะกระดูกไม่ได้เจริญตามปกติ ซ้ำยังมีผลให้จิตใจขาดการพัฒนา โดยจะมีอาการเดินกระตุก หรือเกร็ง ระบบสืบพันธ์ผิดปกติ...
- โภชนาการสำคัญที่ควรรู้

ลิพิดคืออะไร มันช่วยร่างกายคุณอย่างไรบ้าง?

0
ลิพิด ลิพิด (Lipid) คือสารอินทรีย์ที่ประกอบด้วยคาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจนเป็นหลัก โดยในบางชนิดยังมีฟอสฟอรัสอยู่ในโมเลกุล เช่น ฟอสโฟลิพิดและสเตอรอลลิพิด ลิพิดมักพบในธรรมชาติ รวมถึงในเนื้อเยื่อของสัตว์และพืช โดยส่วนใหญ่จะเป็น ไขมัน และ น้ำมัน ซึ่งไขมันในอุณหภูมิปกติจะมีลักษณะเป็นของแข็ง ส่วนในน้ำมันจะเป็นของเหลว ไขมันที่ได้จากสัตว์และน้ำมันจากพืชจะมีส่วนประกอบหลักเหมือนกัน แต่แตกต่างกันในลักษณะทางกายภาพ สารเหล่านี้ประกอบด้วยคาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจน แต่สัดส่วนของไฮโดรเจนและออกซิเจนในไขมันจะแตกต่างจากคาร์โบไฮเดรต โดยไขมันจะมีสัดส่วนไฮโดรเจนต่อออกซิเจนมากกว่า 2:1 เช่น ไขมันในเนื้อวัวมีไฮโดรเจนถึง 110 ส่วน และออกซิเจนแค่ 6 ส่วน ทำให้ไขมันมีพลังงานสูงกว่าคาร์โบไฮเดรต โดยไขมัน 1 กรัมสามารถให้พลังงานถึง 9.45 กิโลแคลอรี่ >> วิธีพิชิตไขมันส่วนเกินสามารถทำได้อย่างไร อยากรู้มาดูกันค่ะ >> Low-Density Lipoprotein ( LDL ) คืออะไร มาดูกันบทความนี้ค่ะ ไขมันลิพิด จึงถือได้ว่าเป็นสารอาหารที่ให้พลังงานมากกว่าสารอาหารชนิดอื่น ๆ และนอกจากสมองและประสาทแล้วเนื้อเยื่อทุกชนิดในร่างกายจะใช้พลังงานจากกรดไขมันได้ หากได้รับสารอาหารที่ให้พลังงานเข้าสู่ร่างกายในระดับที่มากกว่าร่างกายต้องการ ซึ่งพลังงานเหล่านี้ส่วนหนึ่งก็จะถูกเก็บไว้ในร่างกายในรูปของไตรกลีเซอไรด์ในเนื้อเยื่อไขมัน ซึ่งก็พร้อมที่เปลี่ยนเป็นพลังงานเมื่อร่างกายจำเป็นต้องใช้โดยน้ำมันหรือไขมัน 1 โมเลกุลเมื่อมีการแตกตัวออกจะได้กรดไขมัน 3 โมเลกุลและกลีเซอรอล 1 โมเลกุล ซึ่งหน้าที่ของกลีเซอรอลก็คือให้กรดไขมันเกาะจับในโมเลกุลไม่ว่าจะเป็นกรดไขมันชนิดใด และเป็นเพราะชนิดของกรดไขมันที่มีความแตกต่างกันจึงทำให้ไขมันและน้ำมันมีลักษณะที่แตกต่างกันนั่นเอง คุณสมบัติของลิพิด ไม่มีขั้ว (nonpolar) ไม่ละลายในน้ำแต่ละลายได้ดีในตัวทำละลายอินทรีย์ทีไม่มีขั้ว (เช่น เฮกเซนแอลอกฮอล์ ) เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของเยื่อหุ้มเซลล์ (cell membrane) เป็นสารอาหารที่ ให้พลังงานแก่ร่างกายได้มากที่สุด เป็นตัวละลายวิตามินที่ละลายได้ในไขมัน เช่น Vitamin A, Vitamin D, Vitamin E และ Vitamin K ประเภทหน่วยย่อยของลิพิด ลิพิดสามารถแยกออกเป็น 4 ประเภทได้แก่ 1. ลิพิดอย่างง่าย(simple lipid) คือลิพิดที่เป็นเอสเตอร์ของกรดไขมัน (fatty acids)กับแอลกอฮอล์ชนิดต่างๆ เช่น 1.1 ไขมัน (fat) และน้ํามัน (oil) 1.2 แวกซ์หรือไข (waxes) เช่น ขี้ผึ้ง 2. ลิพิดเชิงประกอบ (compound lipid) คือลิพิดที่เป็นเอสเตอร์ของกรดไขมันกับแอลกอฮอล์และสารอื่น ได้แก่ 2.1 ฟอสโพลิพิด (phospholipids) ประกอบด้วย กรดไขมัน แอลกอฮอล์ และกรดฟอสฟอริค บางครั้งอาจจะพบเบสที่มีไนโตรเจนประกอบรวมอยู่ด้วย 2.2 ไกลโคลิพิด (glycolipids) เป็นลิพิดที่ประกอบด้วยกรดไขมัน สฟิงโกไซน์ และคาร์โบไฮเดรต 2.3 ลิพิดเชิงประกอบชนิดอื่นๆ เช่น ลิโพโปรตีน (lipoproteins) หรือ ซัลโฟลิพิด (sulfolipids) 3. อนุพันธ์ของลิพิด (derived lipid) คือผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการย่อยสลายของลิพิดอย่างง่ายหรือลิพิดเชิงประกอบ 4. ลิพิดอื่นๆ(miscellaneous lipid) เป็นลิพิดที่ไม่สามารถจัดกลุ่มได้ เช่น สเตอรอยด์(steroid) เทอร์พีน (terpene) ไอโคซานอยด์(icosanoid) ประโยชน์ของลิพิด 1. ทำให้อาหารมีกลิ่น รส และเนื้อสัมผัสดี มีรสอร่อยขึ้น 2. การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง จะทำอิ่มนานกว่าอาหารที่มีโปรตีนและคาร์โบไฮเดรตสูง 3. ช่วยการดูดซึมของวิตามินที่ละลายในไขมัน เช่น วิตามินเอในเนยเหลว วิตามินอีในน้ำมันรำ วิตามินเอในน้ำมันตับปลา 4. ให้กรดไขมันที่จำเป็นสำหรับเติบโตและสุขภาพของผิวหนังของทารกและเด็ก 5. ให้พลังงานแก่ร่างกาย 6. ไขมันทำหน้าที่เป็นเบาะป้องกันการกระทบกระเทือนของอวัยวะภายใน เช่น ในช่องอก และช่องท้อง 7. ช่วยรักษาอุณหภูมิของร่างกาย...
- โภชนาการสำคัญที่ควรรู้

ธาตุสังกะสีตัวช่วยในการดูดซึมสารอาหาร ( Zinc )

0
ธาตุสังกะสี ( Zinc ) มีความสำคัญอย่างไร ธาตุสังกะสี ( Zinc ) เป็นธาตุอาหารชนิดหนึ่งที่มีความสำคัญต่อระบบการทำงานของร่างกายของมนุษย์ สัตว์หรือพืช นับเป็นหัวใจในการทำงานร่วมกับเอนไซม์ต่างๆ มากกว่า 300 ชนิด การรับประทานอาหารที่มีแร่ธาตุชนิดนี้อย่างเพียงพอจะช่วยรักษาร่างกายให้ทำงานได้อย่างสมดุล และเป็นแร่ธาตุที่ร่างกายไม่ต้องการมากนัก นอกจากธาตุเหล็กแล้ว ธาตุสังกะสี คือแร่ธาตุที่พบมากเป็นอันดับสองในเกือบทุกเซลล์ในร่างกาย จะมีสังกะสีอยู่ 1.8 กรัม แต่มีเหล็กอยู่ถึง 5 กรัมและเนื่องจากในอาหารจำพวกผักผลไม้มี  แร่ธาตุสังกะสีอยู่ในปริมาณน้อย ผู้ที่ทานอาหารเจหรืออาหารมังสวิรัติจึงได้รับสังกะสีน้อยกว่าคนทั่วๆ ไปที่ไม่ได้ทาน >> สารอาหารอะไรบ้างที่อยู่ในร่างกายของเรา อยากรู้มาดูกันค่ะ >> ฟอสฟอรัสจำเป็นต่อร่างกายหรือไม่ อยากรู้มาดูกันค่ะ หน้าที่ของแร่ธาตุสังกะสีในร่างกาย 1. มีส่วนช่วยในการดูดซึมและการเกิดปฏิกิริยาของวิตามิน โดยเฉพาะวิตามินบีรวม 2. เป็นส่วนหนึ่งของน้ำย่อยในการย่อยอาหารและการเผาผลาญภายในร่างกาย เช่น เอนไซม์แลคเตตและมาเลตดีไฮโดรจีเนส ( Latate and Malate Dehydrogenase ) ที่ร่างกายจำเป็นต้องใช้ในการสร้างพลังงาน เอนไซม์ซุปเปอร์ออกไซด์ ดิสมิวเทส ( Super Oxide Dismutase, SOD ) ซึ่งมีฤทธิ์ในการต้านปฏิกิริยาออกซิเดชั่น สามารรถช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ และชะลอวัยได้ น้ำย่อยคาร์โบนิก แอนไฮเดรส ( Carbonic Anhydrase ) เป็นน้ำย่อยที่สำคัญต่อการหายใจของเนื้อเยื่อและทำให้กรดอะมิโนมีความสมดุล 3. ช่วยให้ฮอร์โมนอินซูลินและอวัยวะรับสัมผัสทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น เช่น การรับรู้รสชาติและกลิ่นต่าง ๆ ได้ไวขึ้น 4. เป็นส่วนหนึ่งของน้ำย่อยแอลกอฮอล์ดีไฮโดรจีเนส ( Alcohol Dehydrogenase ) ซึ่งช่วยในการขจัดสารพิษในตับอย่างแอลกอฮอล์ให้หมดไป 5. ช่วยในการย่อยคาร์โบไฮเดรตและฟอสฟอรัสเมแทบอลิซึม ให้ร่างกายนำไปใช้งานได้ง่ายขึ้น 6. มีความสำคัญในการสังเคราะห์และเมแทบอลิซึมของกรดนิวคลิอิก อย่าง ดีเอ็นเอ ( DNA ) และอาร์เอ็นเอ ( RNA ) ซึ่งร่างกายจำเป็นต้องใช้ในระหว่างสร้างเซลล์ใหม่ 7. มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของเด็กทารก เด็กวัยรุ่น และผู้หญิงตั้งครรภ์ และการพัฒนาของอวัยวะสืบพันธ์ุอย่างเหมาะสมและช่วยให้การทำงานของต่อมลูกหมาก ( Prostate Gland ) เป็นไปตามปกติ 8. ช่วยให้เซลล์สามารถนำวิตามินเอไปใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น ทำให้เซลล์ผิวหนังที่เกิดขึ้นใหม่มีความสมบูรณ์ช่วยให้ความสมดุลของผิวหนังเป็นปกติ และช่วยป้องกันปัญหาสิวซึ่งมีสาเหตุมาจากการอุดตันของไขมันได้ 9. ช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานได้ดีขึ้น โดยเฉพาะการทำงานของเม็ดเลือดขาว  การดูดซึมแร่ธาตุสังกะสีของร่างกาย แร่ธาตุสังกะสี ( Zinc ) จะถูกดูดซึมได้ในลำไส้เล็กตอนต้น หากเป็นในรูปของซิงค์กลูโคเนตจะทำให้ดูดซึมได้ดียิ่งขึ้น สังกะสีส่วนใหญ่จะถูกขับถ่ายออกมาทางอุจจาระ มีถูกขับออกทางปัสสาวะเป็นส่วนน้อย โดยสังกะสีจะถูกเก็บเอาไว้มากที่สุดใน ตับ ตับอ่อน ไต กระดูกและเนื้อเยื่อที่ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการบังคับของจิตใจ ที่เหลืออาจถูกเก็บไว้ในต่อมลูกหมากและตัวอสุจิ ผิวหนัง ผม เล็บมือปละเล็บเท้า หากร่างกายได้รับแคลเซียมฟอสฟอรัส วิตามินดี สารไฟเตตและใยอาหารในปริมาณมากจะมีผลให้การดูดซึมของสังกะสีถูกขัดขวาง ดังนั้นหากบริโภคอาหารที่มีสารเหล่านี้สูง ก็ควรจะบริโภคอาหารที่มีแร่ธาตุสังกะสีเข้าไปในปริมาณที่เท่าๆ กันด้วย อาหารที่มีธาตุสังกะสี แร่ธาตุสังกะสี พบได้ทั่วไปในอาหารจำพวกสัตว์และพืชในสัตว์โดยเฉพาะในอาหารทะเล หอยนางรม ตับ ตับอ่อน ไข่ เนื้อสัตว์ เมล็ดฟักทอง จมูกข้าวสาลี โกโก้ ชา ถั่ว และกระถิน แต่พบไม่มากนักในผักและผลไม้ และร่างกายก็ไม่สามารถที่จะดูดซึมได้ดีนัก เพราะในผักผลไม้มีใยอาหารและมีสารไฟเตตซึ่งจะไปจับกับสังกะสีทำให้ร่างกายดูดซึมได้น้อยลง จึงได้รับสังกะสีจากผักผลไม้น้อยมากนั่นเอง ปริมาณสังกะสีอ้างอิงที่ควรได้ต่อวันสำหรับคนไทยในแต่ละวัย เพศ อายุ ปริมาณ หน่วย ทารก 6-11 เดือน 3 มิลลิกรัม/วัน เด็ก 1-3 ปี 2 มิลลิกรัม/วัน 4-5 ปี 3 มิลลิกรัม/วัน 6-8 ปี 4 มิลลิกรัม/วัน วัยรุ่นผู้ชาย 9-12 ปี 5 มิลลิกรัม/วัน 13-15 ปี 8 มิลลิกรัม/วัน 16-18 ปี 9 มิลลิกรัม/วัน วัยรุ่นผู้หญิง 9-12 ปี 5 มิลลิกรัม/วัน 13-15 ปี 7 มิลลิกรัม/วัน 16-18 ปี 7 มิลลิกรัม/วัน ผู้ใหญ่ผู้ชาย 19-≥ 71 ปี 13 มิลลิกรัม/วัน ผู้ใหญ่ผู้หญิง 19-≥...
- โภชนาการสำคัญที่ควรรู้

แร่ธาตุโมลิบดินัมสำคัญอย่างไร? ( Molybdenum )

0
แร่ธาตุโมลิบดินัม  คืออะไร ? โมลิบดินัม ( Molybdenum ) คือ แร่ธาตุที่สามารถพบได้ในเนื้อเยื่อของพืชและสัตว์ ส่วนในคนจะพบในปริมาณเพียงเล็กน้อย มีส่วนช่วยในกระบวนการเผาผลาญอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตและไขมัน พบได้ในผักใบเขียวเข้ม ธัญพืชไม่ขัดสี พืชผักตระกูลถั่ว นมและผลิตภัณฑ์จากนม เครื่องในสัตว์ ซึ่งถ้าร่างกายขาดแร่ธาตุโมลิบดีนัม อาจทำให้สมองถูกทำลายได้ง่าย จิตใจสับสนมึนงง >> Hyaluronidases มีประโยชน์อย่างไรอยากรู้มาดูบทความนี้ค่ะ >>  ทำไมโปรตีนจึงมีสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย หน้าที่ของโมลิบดินัม เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของเอนไซม์ 2 ชนิดคือ 1. เอนไซม์แซนทีนออกซิเดส ( Xanthine Oxidase ) ซึ่งมีส่วนช่วยในการนำธาตุเหล็กออกจากตับและช่วยในการสร้างกรดยูริค พิวรีน ( Purine ) แซนทีน ( Xanthine ) ให้กับร่างกาย 2. เอนไซม์อัลดีไฮด์ ออกซิเดส ( Aldehyde Oxidase ) ซึ่งมีความสำคัญกับปฏิกิริยาออกซิเดชั่นของไขมัน ทำให้มีการสลายไขมันได้ดี การดูดซึมโมลิบดินัมในร่างกาย โมลิบดินัมในร่างกายจะถูกดูดซึมในรูปของเกลือโซเดียมและแอมโมเนียโมลิบเดต ซึ่งปริมาณที่ถูกดูดซึมและขับถ่ายจะมีปริมาณมากน้อยแค่ไหนนั้น นั่นก็ขึ้นอยู่กับอิทธิพลของปริมาณของซัลเฟตที่มีอยู่ในอาหาร เนื่องจากซัลเฟตจะมีส่วนช่วยในการการขับถ่ายปัสสาวะพวกโมลิบดินัมเป็นอย่างมาก โมลิบดินัม Molybdenum คือ แร่ธาตุที่สามารถพบได้ในเนื้อเยื่อของพืชและสัตว์ ส่วนในคนจะพบในปริมาณเพียงเล็กน้อย การเก็บโมลิบดินัมในร่างกาย Molybdenum คือ คืออะไร? โมลิบดินัมจะถูกเก็บสะสมไว้ในร่างกายในรูปของตับ ไต และกระดูก แหล่งที่พบโมลิบดินัม สำหรับแหล่งที่พบลิบดินัมได้มาก มักพบในถั่วที่มีฝัก ธัญพืชต่าง ๆ ผักที่มีใบสีเขียวเข้ม ตับ ไต และเนื้อสัตว์ ปริมาณโมลิบดินัมอ้างอิงที่ควรได้รับในแต่ละวันสำหรับคนไทยในวัยต่าง ๆ เพศ อายุ ปริมาณ หน่วย เด็ก 1-3 ปี 17 ไมโครกรัม/วัน 4-8 ปี 22 ไมโครกรัม/วัน วัยรุ่น 9-12 ปี 34 ไมโครกรัม/วัน 13-18 ปี 43 ไมโครกรัม/วัน ผู้ใหญ่ 19 - ≥ 71 ปี 45 ไมโครกรัม/วัน ผู้หญิงตั้งครรภ์ ควรได้รับเพิ่มอีก 5 ไมโครกรัม/วัน ผู้หญิงให้นมบุตร ควรได้รับเพิ่มอีก 5 ไมโครกรัม/วัน หากขาดโมลิบดินัมจะมีผลอย่างไร ยังไม่ทราบเป็นที่แน่ชัดเนื่องจากยังไม่เคยมีปรากฏว่ามีผู้ขาดธาตุนี้มาก่อน แต่ก็ไม่อาจสรุปได้ว่าหากขาดจะไม่ส่งผลกระทบต่อร่างกาย อาการเป็นพิษจากโมลิบดินัม ผู้ที่มีอาการเป็นพิษจากโมลิบดินัมจะมีอาการท้องเดิน โลหิตจาง อัตราการเจริญเติบโตช้า และถ้าได้รับเข้าสู่ร่างกายมากเกินไปจะมีผลทำให้ขาดธาตุทองแดง ปริมาณของโมลิบดินัม ที่จะทำให้เป็นพิษต่อร่างกายได้ คือ 5-10 ส่วนต่อล้าน ดังนั้นจึงควรระวังไม่ให้ปริมาณโมลิบดินัมในร่างกายสูงเกินไป อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่างเอกสารอ้างอิง Lindemann, A.; Blumm, J. (2009). Measurement of the Thermophysical Properties of Pure Molybdenum. 3. 17th Plansee Seminar. Lide, D. R., ed. (2005). "Magnetic susceptibility of the elements and inorganic compounds". CRC Handbook of Chemistry and Physics (PDF) (86th ed.). Boca Raton (FL): CRC Press. ISBN 0-8493-0486-5.
- โภชนาการสำคัญที่ควรรู้

แมงกานีส คือ ( Manganese ) อะไรมีหน้าที่สำคัญและประโยชน์อย่างไร

0
แมงกานีส ( Manganese ) แมงกานีส ( Manganese ) คือ แร่ธาตุสำคัญที่มีอยู่ในร่างกายของคนในวัยผู้ใหญ่ 10-20 มิลลิกรัม ซึ่งมักพบในกระดูก ตับ ตับอ่อน และต่อมพิทูอิทารี หน้าที่ของแมงกานีส คือ 1. แมงกานีส ช่วยให้ร่างกายสามารถใช้โคลีนได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น 2. แมงกานีส เป็นตัวกระตุ้นน้ำย่อยที่มีความจำเป็นในการนำวิตามินต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นไบโอติน วิตามินบีหนึ่ง และวิตามินซี มาใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย 3. แมงกานีส ช่วยในการสังเคราะห์กรดไขมันและคอเลสเตอรอล 4. แมงกานีส มีส่วนในการสร้างโปรตีน คาร์โบไฮเดรต และไขมัน 5. แมงกานีส มีความจำเป็นในการพัฒนาโครงสร้างของกระดูก โดยช่วยลดการสูญเสียแคลเซียมในร่างกายและมีส่วนสำคัญในการผลิตเลือด 6. แมงกานีส มีความจำเป็นต่อการผลิตน้ำนม ในหญิงตั้งครรภ์ และช่วยในการสร้างยูเรีย ซึ่งเป็นส่วนประกอบของปัสสาวะ 7. แมงกานีส ช่วยในการผลิตฮอร์โมนเพศ 8. แมงกานีส ช่วยเลี้ยงเส้นประสาทและสมอง ทำให้ระบบประสาทและสมองทำงานได้อย่างเป็นปกติ 9. แมงกานีส มีความจำเป็นต่อการปล่อยพลังงานในร่างกาย แมงกานีส คือ แร่ธาตุสำคัญที่มีอยู่ในร่างกายของคนในวัยผู้ใหญ่ 10-20 มิลลิกรัม ซึ่งมักพบในกระดูก ตับ ตับอ่อน และต่อมพิทูอิทารี >> ฟลูออรีนคืออะไรมีสำคัญอย่างไร อยากรู้หาคำตอบได้บทความนี้คะ >> ฟอสฟอรัสมีประโยชน์อย่างไรต่อร่างกาย มาดูกันที่บทความนี้ค่ะ การดูดซึมแมงกานีส ( Manganese ) ในอวัยวะบางส่วนอย่างเช่นลำไส้จะดูดซึมแมงกานีสได้น้อยมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากร่างกายได้รับแคลเซียมและฟอสฟอรัสเข้ามาในปริมาณที่สูงมากก็จะไปทำให้อัตราการดูดซึมลดน้อยลงไปอีก ซึ่งในการดูดซึมแมงกานีสของร่างกายจะต้องอาศัยโปรตีนเฉพาะที่ชื่อ ทรานส์แมงกานิน ( Transmanganin ) เป็นตัวนำพาแมงกานีสเข้าสู่กระแสเลือด การเก็บแมงกานีสในร่างกาย แมงกานีสจะถูกเก็บไว้ในร่างกายที่ตับอ่อน ตับ ไต แหล่งที่พบแมงกานีส พบมากในธัญพืช ไข่แดง ผักสีเขียว ถั่ว ( Nut และ Legumes )  ชา แต่ปริมาณที่พบอาจจะมากน้อยแตกต่างกันออกไป ซึ่งขึ้นอยู่กับปริมาณที่มีอยู่ในดิน ปริมาณแมงกานีสที่พอเพียงต่อวัน ( AI ) สำหรับคนไทยในแต่ละวัย เพศ อายุ ปริมาณ หน่วย ทารก 6-11 เดือน 0.6 มิลลิกรัม/วัน เด็ก 1-3 ปี 1.2 มิลลิกรัม/วัน 4-8 ปี 1.5 มิลลิกรัม/วัน วัยรุ่นชาย 9-12 ปี 1.9 มิลลิกรัม/วัน 13-18 ปี 2.2 มิลลิกรัม/วัน วัยรุ่นหญิง 9-18 ปี 1.6 มิลลิกรัม/วัน ผู้ใหญ่ผู้ชาย 19 - ≥ 71 ปี 2.3 มิลลิกรัม/วัน ผู้ใหญ่ผู้หญิง 19 - ≥ 71 ปี 1.8 มิลลิกรัม/วัน ผู้หญิงตั้งครรภ์ ควรได้รับเพิ่มอีก 0.2 มิลลิกรัม/วัน ผู้หญิงให้นมบุตร ควรได้รับเพิ่มอีก 0.8 มิลลิกรัม/วัน ผลของการขาดแมงกานีส การขาดแมงกานีสจะมีผลให้ร่างกายต้านทาน กลูโคส ( Glucose Tolerance ) ได้ลดน้อยลง คือ ร่างกายจะขาดความสามารถที่จะนำเอาน้ำตาลในเลือดที่มีอยู่มากเกินไปออกไป โดยการออกซิเดชั่น หรือเอาไปเก็บไว้ที่อื่นได้ นอกจากนี้การที่ร่ายกายไม่ได้รับแมงกานีสอย่างเพียงพอยังส่งผลให้เกิดภาวะเคลื่อนไหวไม่ประสานกันคือจะมีอาการเดินเซคล้ายคนเมาเหล้า และยังทำให้เกิดอัมพาต ตาบอด หูหนวก และชักในเด็กทารก ผู้ใหญ่จะมีอาการการวิงเวียนศีรษะ และมีปัญหาต่อการได้ยิน การเป็นพิษจากแมงกานีส ( Manganese ) หากร่างกายได้รับแคลเซียมและฟอสฟอรัสสูงเกินไปจะทำให้เกิดความต้องการแมงกานีสเพิ่มมากขึ้น และหากได้รับแมงกานีส มาก ๆ จะทำให้ธาตุเหล็กที่ถูกเก็บไว้ในร่างกายลดลง และมีการใช้ธาตุเหล็กลดน้อยลงด้วย ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพมากทีเดียว ผู้ที่เสี่ยงต่อการได้รับแมงกานีสสูงเกินไปก็คือคนงานในโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งจะทำให้เกิดเป็นพิษต่อร่างกายได้ โดยจะมีอาการคือ ไม่มีเรี่ยวแรง เคลื่อนไหวร่างกายได้อย่างยากลำบาก ซึ่งมีผลจากมีระดับแมงกานีสในเนื้อเยื้อมีปริมาณสูง ดังนั้นในกลุ่มเสี่ยงจึงควรระมัดระวังตัวเองให้มากขึ้น อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่างเอกสารอ้างอิง Zhang, Wensheng; Cheng, Chu Yong (2007). "Manganese metallurgy review. Part I: Leaching of ores/secondary materials and recovery of electrolytic/chemical manganese dioxide". Hydrometallurgy. 89...
- โภชนาการสำคัญที่ควรรู้

ฟลูออรีนคืออะไร สำคัญอย่างไร? ( Fluorine )

0
ฟลูออรีน คืออะไร ? ฟลูออรีน ( Fluorine ) คือ ส่วนหนึ่งของสารสังเคราะห์โซเดียมฟลูออไรด์และแคลเซียมฟลูออไรด์ ซึ่งเป็นธาตุที่มีอยู่ทั่วไปในร่างกาย และมีมากที่สุดในกระดูกและฟัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของเคลือบฟัน และสามารถเสริมความแข็งแรงให้กับกระดูกโครงร่างและฟันได้ดีอีกด้วย ส่วนใหญ่แล้วในร่างกายของคนเราก็สามารถพบฟลูออรีนได้ในเนื้อเยื่อโดยทั่วไปและฟัน และเนื่องจากที่ฟันของ คนเรานั้นจะมีเคลือบฟันที่เรียกว่า ไฮดรอกซีอะปาไทด์ ( Hydroxyl Apatite ) ซึ่งจะทำปฏิกิริยากับฟลูออไรด์ จนเกิดเป็น ฟลูออโรอะปาไทด์ ( Fluoroapatite ) ที่มีคุณสมบัติละลายในกรดได้ยาก จึงไม่ทำให้ฟันผุได้ง่าย และยังทำให้ฟันแข็งแรงยิ่งกว่าเดิมอีกด้วย >> ฟอสฟอรัสมีโปรโยชน์อย่างไรต่อร่างกาย อยากรู้ตามมาดูกันค่ะ >> แมงกานีสมีหน้าที่อย่างไรและประโยชน์อะไรบ้าง มาดูกันค่ะ หน้าที่ของฟลูออรีน ฟลูออรีนมีหน้าที่สำคัญหลายอย่างด้วยกัน เช่น ฟลูออรีนช่วยเพิ่มการจับเกาะของแคลเซียมกับกระดูกและฟัน จึงทำให้กระดูกและฟันมีความแข็งแรงมากขึ้น และสามารถลดความเสี่ยงการเกิดโรคกระดูกพรุนในวัยสูงอายุ หรือภาวะกระดูกเปราะบางได้อีกด้วย นอกจากนี้ก็สามารถป้องกันวามผิดปกติของกระดูกได้เช่นกัน ฟลูออรีนช่วยลดการเกิดกรดในช่องปากที่เป็นสาเหตุของฟันผุได้ดี และช่วยปกป้องเคลือบฟันให้แข็งแรงมากขึ้นอีกด้วย ฟลูออรีนป้องกันโรคฟันผุได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าฟลูออไรด์จะมีประโยชน์ แต่ในขณะเดียวกันหากได้รับมากเกินไปก็จะก่อให้เกิดผลเสียต่อร่างกายได้เหมือนกัน โดยจะทำลาย น้ำย่อยฟอสฟาเตส ( Phosphatase ) ซึ่งเป็นน้ำย่อยสำคัญที่จะทำหน้าที่ในการเผาผลาญวิตามินและนำไปใช้กับส่วนต่างๆ ของร่างกาย และยังไปยับยั้งการทำงานของน้ำย่อยที่มีความสำคัญอีกหลายตัว ที่จะทำให้เกิดอันตรายแก่เนื้อเยื่อสมองได้อีกด้วย การดูดซึมและการเก็บฟลูออรีน ฟลูออรีนมักจะถูกดูดซึมได้ดีที่สุดบริเวณลำไส้เล็ก และดูดซึมบางส่วนที่กระเพาะอาหาร โดยฟลูออรีนที่ได้รับเข้าสู่ร่างกายนั้น ครึ่งหนึ่งจะถูกจับที่ฟังและกระดูกเพื่อเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง ส่วนอีกครึ่งหนึ่งก็จะถูกขับออกมา ทางปัสสาวะ นอกจากนี้ฟลูออไรด์ในเลือดก็ยังแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วนอีกด้วย ซึ่งก็คือ ส่วนที่อยู่ในรูปของไอออนอิสระ และส่วนที่อยู่รวมกับโปรตีนและอัลบูมินฟลูออไรด์นั่นเอง และที่สำคัญในภาวะที่ระดับฟลูออไรด์ในเลือดลดต่ำลง ก็จะเกิดการสลายฟลูออไรด์ที่สะสมเอาไว้ออกมาทดแทนในกระแสเลือดอีกด้วย อย่างไรก็ตาม การดูดซึมฟลูออรีนก็อาจถูกขัดขวางได้ ด้วยเกลือของอลูมิเนียมและเกลือของแคลเซียมที่ไม่ละลายนั่นเอง จึงทำให้ร่างกายสามารถดูดซึมฟลูออรีนได้น้อยลงและอาจทำให้ขาดได้ในที่สุด ส่วนวิตามินซี ก็จะช่วยในการส่งเสริมการดูดซึม ให้มีการดูดซึมฟลูออไรด์ได้ดียิ่งขึ้น พร้อมช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรงได้ดี ฟลูออรีน ( Fluorine ) คือ สารประกอบชนิดหนึ่งที่มักจะพบได้มากในรูปของเกลือฟลูออรีน ซึ่งส่วนใหญ่จะมีส่วนช่วยในการป้องกันฟันผุโดยตรง แหล่งที่พบฟลูออรีน 1. น้ำที่มีการเติมฟลูออรีนลงไป โดยจะเติมลงไป 1 ส่วนต่อน้ำล้านส่วน น้ำชนิดนี้จึงเป็นแหล่งฟลูออรีนอย่างดี และนอกจากนี้ในช่วงอากาศร้อนก็ควรมีระดับฟลูออรีนที่ต่ำกว่าช่วงอากาศหนาวด้วย เพราะในช่วงอากาศร้อนจะมีการดื่มน้ำมากกว่าปกติ จึงอาจทำให้ได้รับฟลูออรีนมากไปได้ 2. ฟลูออรีนสามารถพบได้ในอาหาร โดยจะพบในอาหารทะเลประมาณ 5-15 ส่วนต่อล้าน ส่วนอาหารจำพวกพืช ปริมาณของฟลูออรีนจะขึ้นอยู่กับชนิดของดินที่ปลูก และการใส่ปุ๋ย ว่ามีฟลูออรีนอยู่มากน้อยเท่าไหร่นั่นเอง โดยใบชาเป็นพืชที่สามารถพบได้ในฟลูออรีนมากที่สุด คือประมาณ 75-150 ส่วนต่อล้านเลยทีเดียว 3. ฟลูออรีนที่มีการนำมาใช้เฉพาะที่ คือนำมาสัมผัสกับฟันโดยตรง มักจะพบได้ในยาสีฟัน ไหมขัดฟัน การเคลือบฟัน และน้ำยาบ้วนปากฟลูออรีน แต่จะเหมาะกับการใช้เฉพาะที่เท่านั้นและไม่ควรทานเข้าไป ปริมาณฟลูออรีนที่พอเพียงในแต่ละวัน (AI) สำหรับคนไทยวัยต่าง ๆ เพศ อายุ ปริมาณที่ได้รับ หน่วย ทารก 6-11 เดือน 0.4 มิลลิกรัม/วัน 1-3 ปี 0.6 มิลลิกรัม/วัน เด็ก 4-5 ปี 0.9 มิลลิกรัม/วัน 6-8 ปี 1.2 มิลลิกรัม/วัน วัยรุ่นผู้ชาย 9-12 ปี 1.6 มิลลิกรัม/วัน 13-15 ปี 2.4 มิลลิกรัม/วัน 16-18 ปี 2.8 มิลลิกรัม/วัน วัยรุ่นผู้หญิง 9-12 ปี 1.7 มิลลิกรัม/วัน 13-15 ปี 2.3 มิลลิกรัม/วัน 16-18 ปี 2.4 มิลลิกรัม/วัน ผู้ใหญ่ชาย 19-≥ 71 ปี 2.8 มิลลิกรัม/วัน ผู้ใหญ่หญิง 19-≥ 71 ปี 2.6 มิลลิกรัม/วัน   การได้รับฟลูออรีนที่เหมาะสม อาจสรุปได้ว่า ฟลูออรีน 1 ส่วนต่อน้ำล้านส่วนจะช่วยป้องกันฟันผุในเด็กได้จนถึงอายุ 8-12 ปี และสำหรับในผู้ใหญ่บางราย การได้รับฟลูออรีนก็จะช่วยรักษาฟันให้มีความแข็งแรงยิ่งขึ้นได้ นอกจากนี้ยังพบว่าหากมีการดื่มน้ำที่มีฟลูออรีน 1 ส่วนต่อล้านส่วนก็จะได้รับฟลูออรีนเพิ่มขึ้นวันละ 3.2 มก. และเก็บไว้ในกระดูก 2-3 มก.ต่อวัน ซึ่งถือเป็นระดับที่ปกติและไม่เป็นอันตราย แต่ในคนที่ได้รับน้ำที่มีฟลูออรีนเยอะเกินไป โดยเฉพาะคนที่ทำงานกลางแจ้งหรือนักกีฬา ก็อาจถึงขีดอันตรายได้เหมือนกัน รูปแบบในการให้ฟลูออรีน การให้ฟลูออรีน มักจะใช้กับเด็กที่มีอายุ 6 เดือนจนถึง 6 ปี เพราะเป็นวัยที่กำลังมีการสร้างหน่อฟันน้ำนมและหน่อฟันแท้ขึ้นมา โดยมีรูปแบบในการให้ฟลูออรีนดังนี้ 1. การให้ฟลูออรีนโดยเติมลงในน้ำ ซึ่งจะเติมประมาณ...
- โภชนาการสำคัญที่ควรรู้

ฟอสฟอรัสแร่ธาตุอันดับสองของร่างกาย ( Phosphorus )

0
แร่ธาตุฟอสฟอรัส คือ ฟอสฟอรัส ( Phosphorus ) คือ แร่ธาตุอีกชนิดหนึ่งที่พบมากเป็นอันดับสองของร่างกายเลยทีเดียว โดยส่วนมากจะพบในกระดูกในรูปของเกลืออนินทรีย์ประมาณร้อยละ 80 และพบอยู่ในเนื้อเยื่อและเยื่อบุเซลล์ของกล้ามเนื้อประมาณร้อยละ 20 รวมถึงกระจายอยู่ตามผิวหนังและเนื้อเยื่อประสาทบางส่วนอีกด้วย ส่วนการทำงานของฟอสฟอรัสนั้น มักจะถูกนำมาใช้ร่วมกับแคลเซียม ซึ่งจะทำให้เกิดประสิทธิภาพในการนำมาใช้งานที่สุด >> แมงกานีส มีหน้าที่สำคัญและประโยชน์อย่างไรต่อร่างกาย มาดูกันค่ะ >> ฟลูออรีนมีความสำคัญอย่างไร อยากรู้มาดูกันบทความนี้ค่ะ หน้าที่ของฟอสฟอรัส ฟอสฟอรัสมีหน้าที่สำคัญต่อร่างกาย โดยสามารถสรุปได้ดังนี้ 1. ทำงานร่วมกับแคลเซียม เพื่อเป็นโครงสร้างของกระดูกและฟัน เพื่อให้กระดูกและฟันมีความแข็งแรงยิ่งขึ้น 2. ทำหน้าที่เป็นบัพเฟอร์เพื่อควบคุมความสมดุลของกรดและด่างในเลือดให้เป็นกลาง 3. มีส่วนช่วยในกระบวนการเมแทบอลิซึมของไขมัน คาร์โบไฮเดรตและโปรตีน ให้เกิดการเมแทบอลิซึมที่สมบูรณ์มากขึ้น 4. เป็นส่วนประกอบสำคัญของสารพลังงานสูง 5. มีส่วนช่วยในการกระตุ้นให้กล้ามเนื้อเกิดการหดตัว โดยเฉพาะกล้ามเนื้อหัวใจ 6. ช่วยกระตุ้นให้เกิดการย่อยไนอาซีนและไรโบเฟลวินดีขึ้น ซึ่งหากไม่มีฟอสฟอรัสจะทำให้กระบวนการย่อยดังกล่าวไม่สามารถเกิดขึ้นได้ 7. เป็นส่วนประกอบที่มีความจำเป็นของนิวคลีโอโปรตีน ซึ่งจะช่วยในการแบ่งตัวของเซลล์และถ่ายทอดพันธุกรรมจากพ่อแม่ไปสู่ลูก 8. มีความจำเป็นต่อการทำงานของไต และช่วยส่งแรงกระตุ้นของประสาทได้อย่างดีเยี่ยม 9. ทำหน้าที่เป็นส่วนประกอบของฟอสโฟลิปิด โดยมีความสำคัญต่อการขนส่งไขมันและกรดไขมัน รวมถึงช่วยป้องกันการสะสมที่มากเกินไปของกรดและด่างในเลือด และส่งเสริมการขับของฮอร์โมนจากต่อมต่างๆ ได้ดี นอกจากนี้ฟอสโฟลิปิด ก็ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับการทำงานของจิตใจและระบบประสาทได้อีกด้วย การดูดซึมและการเก็บฟอสฟอรัส ฟอสฟอรัส สามารถถูกดูดซึมได้ดีบริเวณลำไส้เล็กตอนกลางและตอนปลาย ซึ่งจะถูกดูดซึมในรูปของฟอสเฟตอิสระได้ดีกว่าในรูปอื่นๆ ส่วนการจัดเก็บฟอสฟอรัสไว้ในร่างกายนั้น ส่วนใหญ่จะถูกเก็บไว้ในกระดูกและฟันร่วมกับแคลเซียม และมีการขขับเอาฟอสฟอรัสส่วนเกินออกมาทางปัสสาวะ และอุจจาระในปริมาณน้อยมาก ซึ่งจะมีไตทำหน้าที่ในการควบคุมระดับของฟอสฟอรัสในเลือดนั่นเอง ฟอสฟอรัสมักจะถูกนำมาใช้ร่วมกับแคลเซียม ซึ่งจะทำให้เกิดประสิทธิภาพในการนำมาใช้งานที่สุด นอกจากนี้ฟอสฟอรัสก็จะถูกดูดซึมได้ดีขึ้นเมื่อมีแคลเซียม วิตามินดีและพาราธัยรอยด์ฮอร์โมนเป็นตัวช่วย แต่ในขณะเดียวกันก็จะถูกขัดขวางการดูดซึมได้ เมื่อร่างกายมีอลูมิเนียม เหล็กและแมกนีเซียมในปริมาณที่มากเกินไปเช่นกัน เพราะแร่ธาตุเหล่านี้จะรวมเข้ากับฟอสฟอรัสจนเกิดเป็นฟอสเฟตที่ไม่ละลายและทำให้ร่างกายไม่สามารถดูดซึมไปได้นั่นเอง แหล่งที่พบฟอสฟอรัส สำหรับแหล่งที่พบฟอสฟอรัส ส่วนใหญ่จะพบได้มากในอาหารที่มีโปรตีนสูง จำพวกเนื้อสัตว์ เป็ด ไข่ ไก่ และปลา ซึ่งอาหารเหล่านี้ก็จะมีปริมาณของฟอสฟอรัสที่สูงมากเช่นกัน ปริมาณฟอสฟอรัสอ้างอิงที่ควรได้รับประจำวันสำหรับคนไทยวัยต่าง เพศ อายุ ปริมาณที่ได้รับ หน่วย เด็ก 1-3 ปี 460 มิลลิกรัม/วัน 4-8 ปี 500 มิลลิกรัม/วัน วัยรุ่น 9-18 ปี 1,000 มิลลิกรัม/วัน ผู้ใหญ่ 19-≥71 ปี 700 มิลลิกรัม/วัน ผลจากการขาดฟอสฟอรัส เมื่อร่างกายได้รับฟอสฟอรัสในปริมาณที่น้อยเกินไป โดยเฉพาะเมื่อมีภาวะการขาดวิตามินดีและแคลเซียมร่วมด้วย จะส่งผลให้การเจริญเติบโตช้าลง โดยเฉพาะในวัยเด็ก และทำให้กระดูกและฟันไม่แข็งแรงอีกด้วย ซึ่งส่วนใหญ่แล้วการขาดฟอสฟอรัสจะพบขาดร่วมกับแร่ธาตุอื่น ๆ เสมอ ส่วนการขาดฟอสฟอรัสเพียงอย่างเดียวมักจะไม่ค่อยพบมากนัก นอกจากในคนที่มีความผิดปกติบางอย่าง หรือคนที่กินยาลดกรดที่ประกอบไปด้วย สารอลูมินัมไฮดรอกไซค์ ( Aluminum Hydroxide ) เป็นระยะเวลานานอย่างต่อเนื่อง เพราะจะไปลดการดูดซึมฟอสฟอรัสของร่างกาย จนทำ ให้ขาดฟอสฟอรัสได้ในที่สุด และโรคจากการขาดฟอสฟอรัส ได้แก่ โรคเหงือกอักเสบและโรคกระดูกอ่อนในเด็ก ซึ่งก็จะทำให้มีอาการหายใจผิดปกติ เหนื่อยล้าง่ายและในบางคนก็อาจมีน้ำหนักลดหรือเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วอีกด้วย การเป็นพิษของฟอสฟอรัส สำหรับการเป็นพิษจากการได้รับฟอสฟอรัสมากเกินไป ยังไม่มีรายงานในส่วนนี้ อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่างเอกสารอ้างอิง Ellis, Bobby D.; MacDonald, Charles L. B. (2006). "Phosphorus(I) Iodide: A Versatile Metathesis Reagent for the Synthesis of Low Oxidation State Phosphorus Compounds". Inorganic Chemistry.  Lide, D. R., ed. (2005). "Magnetic susceptibility of the elements and inorganic compounds". CRC Handbook of Chemistry and Physics (PDF) (86th ed.). Boca Raton (FL): CRC Press. ISBN 0-8493-0486-5. Meija, J.; et al. (2016). "Atomic weights...
- โภชนาการสำคัญที่ควรรู้

โปรตีนสารอาหารที่ร่างกายขาดไม่ได้ ( Protein )

0
โปรตีน คืออะไร ? โปรตีน ( Protein ) คือ สารอาหารที่มีความจำเป็นต่อร่างกายเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะสารอาหารโปรตีนมีในกระบวนการสร้างเสริมเซลล์เพื่อการเจริญเติบโต ซึ่งสารอาหารโปรตีนจะถูกนำไปใช้เป็นองค์ประกอบสำคัญในด้านโครงสร้างของร่างกาย คือการสร้างกล้ามเนื้อ เนื่อเยื่อและกระดูก พร้อมทั้งช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย รวมถึงช่วยในการซ่อมแซมส่วนต่างๆของร่างกายที่มีการเสื่อมสลายลงไปอีกด้วย โดยเฉพาะการซ่อมแซมผิวหนังและเซลล์เม็ดเลือดแดง เป็นต้น >> ฟอสฟอรัสจำเป็นต่อร่างกายอย่างไร มาดูกันค่ะ >> ฟลูออรีนมีความสำคัญอย่างไร อยากรู้มาดูกันค่ะ นอกจากนี้เมื่อโปรตีนถูกสลายตัวด้วยน้ำ ไม่ว่าจะเป็นในกรด ในด่างเข้มข้นหรือในความร้อน จะเกิดการแตกตัวของโปรตีนออกมาเป็นสารเล็กๆ ที่เป็นได้ทั้งกรดและด่าง จึงมีการตั้งชื่อว่ากรดอะมิโน เพราะในกรดอะมิโนจะแตกออกเป็น 2 กลุ่ม หรือกลุ่มที่มีภาวะเป็นกรด และกลุ่มที่มีภาวะเป็นด่าง และกรดอะมิโนเหล่านี้ก็เป็นสารประกอบหนึ่งที่พบอยู่ในโปรตีนเป็นจำนวนมากอีกด้วย ซึ่งโดยปกติแล้วโปรตีนก็จะประกอบด้วยกรดอะมิโน 35-300 หน่วย โดยหากโปรตีนมีขนาดเล็ก เช่น ไตรเพปไทด์ ก็จะประกอบด้วยกรดอะมิโน 3 หน่วยมาเชื่อมต่อกัน เป็นต้น และเนื่องจากโปรตีนโดยทั่วไปมักจะมีน้ำหนักของโมเลกุลมาก จึงไม่สามารถถูกดูดซึมผ่านผนังของลำไส้เล็กได้ ดังนั้นจึงต้องมีการย่อยเป็นกรดอะมิโนแต่ละโมเลกุลเสียก่อน โดยผ่านการย่อยในกระเพาะและลำไส้ด้วยน้ำย่อยหลายชนิด จึงจะสามารถซึมผ่านลำไส้เล็กเพื่อนำไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ หากถามว่า อาหารประเภทใดที่มีกรดอะมิโนจําเป็นครบถ้วนนั้น บอกได้เลยว่าต้องเป็นอาหารประเภทโปรตีนนั่นเอง โปรตีน ภาษากรีก Proteios มีความหมายว่าสิ่งแรก เหตุผลที่นักเคมีได้ตั้งชื่อสารชนิดนี้ว่าโปรตีน นั่นก็เพราะว่าโปรตีนเป็นสารสำคัญที่สุดในสารอินทรีย์ทั้งหมด หรืออาจเรียกได้ว่าเป็นสารที่มีความสำคัญมาเป็นอันดับแรกนั่นเอง สำหรับโปรตีนในร่างกายของคนเราก็จะพบอยู่ที่ประมาณร้อยละ 19 ของน้ำหนักตัว โดยร้อยละ 50 ของโปรตีนในร่างกายจะพบอยู่ในกล้ามเนื้อเป็นส่วนใหญ่ และร้อยละ 20 จะอยู่ในกระดูก ร้อยละ 10 อยู่ในผิวหนังและที่เหลือก็จะกระจายอยู่ตามส่วนต่างๆ ของร่างกายนั่นเอง อย่างไรก็ตาม โปรตีนที่พบในร่างกายของสิ่งมีชีวิต จะมีความแตกต่างกัน แม้แต่ในสัตว์ชนิดเดียวกันก็พบว่ามีโปรตีนที่ต่างกันเช่นกัน ดังนั้นการหาปริมาณของสารอาหารโปรตีนจากอาหารชนิดต่างๆ จึงมักจะใช้วิธีการคำนวณจากปริมาณของ ไนโตรเจน ทั้งหมดที่พบในอาหาร ก็เพราะโปรตีนส่วนใหญ่จะมีปริมาณของไนโตรเจนที่คงที่มากกว่าธาตุอาหารชนิดอื่นๆ คือ ร้อยละ 16 โดยการคำนวณจะนำปริมาณของไนโตรเจนที่มีหน่วยเป็นกรัมมาคูณเข้ากับ 6.25 (100/16) ก็จะได้ปริมาณของโปรตีนที่อยู่ในอาหารชนิดนั้นๆ ประเภทของโปรตีน ประเภทของโปรตีน สามารถแบ่งตามคุณสมบัติทางโภชนาการออกเป็น 3 ประเภท คือ 1. โปรตีนแบบสมบูรณ์ เป็นโปรตีนที่มีกรดอะมิโนจำเป็นอยู่ครบทุกชนิด และมีปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายอีกด้วย โดยโปรตีนแบบสมบูรณ์จะช่วยซ่อมแซมในส่วนต่างๆ ของร่างกายที่สึกหรอได้ดี และช่วยในการส่งเสริมการเจริญเติบโตของร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งแหล่งที่พบโปรตีนเหล่านี้ได้มากที่สุด ได้แก่ เนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ เช่น นม เนยแข็ง ไข่ และจากพืช เช่น ถั่วเหลือง เต้าหู้ เป็นต้น นอกจากนี้ยังพบว่าเป็นโปรตีนที่มีคุณค่าต่อร่างกาย ( Biological Value ) สูงอีกด้วย 2. โปรตีนแบบกึ่งสมบูรณ์ เป็นโปรตีนที่มีกรดอะมิโนเป็นส่วนประกอบน้อยกว่าแบบแรก และมีส่วนช่วยในการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกายเท่านั้นแต่ไม่สามารถช่วยในการเจริญเติบโตได้ โดยโปรตีนชนิดนี้สามารถพบได้จาก ถั่วฝักยาว ถั่วแขก และธัญพืชต่างๆ เป็นต้น 3. โปรตีนแบบไม่สมบูรณ์ เป็นโปรตีนที่มีกรดอะมิโนในปริมาณและสัดส่วนที่น้อยมาก จึงไม่สามารถช่วยในการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกายหรือช่วยในการเจริญเติบโตได้ ส่วนใหญ่จะพบได้จากพืชแทบทุกชนิด ประเภทของกรดอะมิโน กรดอะมิโน เป็นส่วนประกอบหนึ่งที่มีอยู่ในสารอาหารโปรตีนและมีความจำเป็นต่อร่างกายเป็นอย่างมาก โดยกรดอะมิโนสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทคือ กรดอะมิโนจำเป็น ( Essential or Indispensable Amino Acids ) และกรดอะมิโนไม่จำเป็น ( Nonessential or Dispensable Amino Acids ) แต่ทั้งนี้ในปัจจุบันก็ได้มีการแบ่งประเภทของกรดอะมิโนตามการเมตาบอลิซึมอีกด้วย โดยสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทดังต่อไปนี้ 1. กรดอะมิโนจำเป็น ก็คือ กรดอะมิโนชนิดที่ร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์ขึ้นมาเองได้ หรืออาจสังเคราะห์ได้บ้างแต่มีปริมาณที่น้อยมากและไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย จึงจำเป็นต้องได้รับกรดอะมิโนเหล่านี้เพิ่มเติมจากอาหารนั่นเอง โดยกรดอะมิโนประเภทนี้ได้แก่...
- โภชนาการสำคัญที่ควรรู้

แมกนีเซียมประโยชน์ ที่ไม่ควรมองข้าม ( Magnesium )

0
แมกนีเซียม แมกนีเซียม ( Magnesium ) คือ องค์ประกอบแร่ธาตุที่มีมากที่สุดในร่างกายกายมนุษย์ พบอยู่ประมาณ 0.5 ของน้ำหนักกาย โดยส่วนใหญ่จะอยู่ในระบบกระดูก เนื้อเยื่ออ่อน และในเลือดเพียงเล็กน้อย ดังนั้นมีหน้าที่ที่สำคัญส่งเสริมการก่อตัวของกระดูกและฟัน มีส่วนช่วยในการหดตัวของกล้ามเนื้อ และปรับสมดุลระดับน้ำตาลในเลือด และรักษาระดับความดันโลหิตให้เป็นปกติ แมกนีเซียมจึงเป็นสารอาหารที่จำเป็นสำหรับเซลล์ทั้งหมด ส่วนแมกนีเซียมส่วนเกินจะถูกร่างกายกำจัดออกทางอุจจาระและเหงื่อนั่นเอง หน้าที่สำคัญของแมกนีเซียม 1. แมกนีเซียมจะทำงานร่วมกับฟอสฟอรัส วิตามินดีและแคลเซียม เพื่อเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง โดยพบว่าหากร่างกายขาดแมกนีเซียมหรือมีแมกนีเซียมในปริมาณที่น้อยเกินไป ก็จะทำให้กระดูกมีความเปราะบางและแตกหักได้ง่ายขึ้นเช่นกัน 2. แมกนีเซียมมีส่วนช่วยในกระบวนการเผาผลาญ โดยแมกนีเซียมจะไปกระตุ้นน้ำย่อยที่มีส่วนช่วยในกระบวนการเผาผลาญให้ทำงานได้ดีขึ้นนั่นเอง 3. แมกนีเซียมช่วยควบคุมสมดุลของความเป็นกรดและด่างให้เป็นปกติมากขึ้น 4. แมกนีเซียมอาหารที่มีส่วนช่วยในการคงตัวของกล้ามเนื้อ 5. แมกนีเซียมส่งเสริมการดูดซึม ให้ร่างกายมีการดูดซึมแร่ธาตุต่างๆ ได้ดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะฟอสฟอรัส แคลเซียมและโปแตสเซียม 6. แมกนีเซียมช่วยส่งเสริมให้ร่างกายมีการดูดซึมวิตามิน นำเอาวิตามินบีรวม วิตามินอีและ วิตามินซี มาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น 7. แมกนีเซียมมีส่วนช่วยในการควบคุมการหดตัวของกล้ามเนื้อให้เป็นไปอย่างปกติและมีความจำเป็นต่อการส่งสัญญาณประสาทอีกด้วย 8. แมกนีเซียมมีส่วนช่วยในการปรับอุณหภูมิของร่างกายให้อยู่ในระดับที่คงที่และต้านความหนาวเย็นได้ดี ด้วยการปรับอุณหภูมิร่างกายให้เหมาะสมนั่นเอง 9. การที่ร่างกายได้รับแมกนีเซียมในปริมาณที่เพียงพอ จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเปลี่ยนน้ำตาลในเลือดให้เป็นพลังงานได้ดี 10. แมกนีเซียมมีความจำเป็นและสัมพันธ์ต่อของเหลวภายนอกร่างกาย 11. แมกนีเซียมมีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการสังเคราะห์ DNA และ RNA ในระหว่างที่เซลล์กำลังแบ่งตัว เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพที่สุด https://www.youtube.com/watch?v=aZl0vj1XL3c อาหารอะไรที่มีแมกนีเซียมสูง 1. อัลมอนด์ 1 ออนซ์ = แมกนีเซียม 80 มิลลิกรัม 2. เม็ดมะม่วงหิมพานต์ 1 ออนซ์ = แมกนีเซียม 72 มิลลิกรัม 3. ถั่งลิสง 1 ออนซ์ = แมกนีเซียม 49 มิลลิกรัม 4. เมล็ดฟักทอง 1 ออนซ์ = แมกนีเซียม 150 มิลลิกรัม 5. ข้าวสาลีฝอย 1 ถ้วย = แมกนีเซียม 56 มิลลิกรัม 6. โยเกิร์ต 8 ออนซ์ = แมกนีเซียม 42 มิลลิกรัม 7. ผักโขม 1/2 ถ้วย = แมกนีเซียม 78 มิลลิกรัม 8. ดาร์กช็อกโกแลต 1 ออนซ์ = แมกนีเซียม 64 มิลลิกรัม 9. อะโวคาโด 1/2 ถ้วย = แมกนีเซียม 22 มิลลิกรัม 10. แซลมอน (สุก) 3 ออนซ์ = แมกนีเซียม 26 มิลลิกรัม แมกนีเซียม แร่ธาตุสำคัญที่จำเป็นสำหรับร่างกาย ร่างกายของคนเราสามารถดูดซึมแมกนีเซียมได้ดีบริเวณลำไส้เล็กตอนต้น ซึ่งในขณะเดียวกันก็จะไปขัดขวาง การดูดซึมแคลเซียมและฟอสฟอรัสเช่นกัน และในทางตรงกันข้ามก็จะมีการขัดขวางการดูดซึมแมกนีเซียม และนอกจากแร่ธาตุดังกล่าวแล้ว ไฟเตต ก็ยังเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อการดูดซึมแมกนีเซียมเช่นกัน โดยจะขัดขวางการดูดซึมให้ร่างกายได้รับแมกนีเซียมในปริมาณที่น้อยลงนั่นเอง นอกจากนี้ก็จะมีการขับแมกนีเซียมออกมาทางปัสสาวะอีกด้วย ดังนั้นหากมีการใช้ยาขับปัสสาวะ หรือดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก ก็จะทำให้เกิดการสูญเสียแมกนีเซียมในปริมาณมากเช่นกัน >> โปแตสเซียมมีหน้าที่อย่างไรบ้างในร่างกาย อยากรู้มาดูได้จากบทความนี้ >> ไนอาซินหรือวิตามินบี 3 มีหน้าที่สำคัญอย่างไร มาดูกันค่ะ แหล่งแมกนีเซียมในอาหารที่พบ แมกนีเซียมเป็นแร่ธาตุที่สามารถพบได้ในอาหารแทบทุกชนิด แต่จะพบได้มากในผักใบเขียว เพราะเป็นองค์ประกอบสำคัญของคลอโรฟิลล์ที่พบได้ในพืชนั่นเอง นอกจากนี้ยังพบได้มากในข้าวโพด ธัญพืชไม่ขัดสี อาหารทะเล ปลาน้ำจืด แอปเปิ้ล นม และถั่วเหลืองได้อีกด้วย ปริมาณแมกนีเซียมอ้างอิงที่ควรได้รับประจำวันสำหรับคนไทยวัยต่างๆ เพศ อายุ ปริมาณที่ได้รับ (มิลลิกรัม/วัน) เด็ก 1-3 ปี 60 4-5 ปี 80 6-8 ปี 120 วัยรุ่นผู้ชาย 9-12...
- โภชนาการสำคัญที่ควรรู้

หน้าที่ของโปแตสเซียมในร่างกาย ( Potassium )

0
โปแตสเซียม ( Potassium ) โปแตสเซียม ( Potassium ) เป็นแคทไอออน ที่พบได้จากของเหลวภายในเซลล์เป็นส่วนใหญ่ โดยจะพบมากถึงร้อยละ 97 เลยทีเดียว และจะพบอยู่ภายนอกเซลล์ประมาณร้อยละ 5 ของแร่ธาตุทั้งหมดที่มีอยู่ในร่างกาย โดยความสำคัญของโปแตส เซียมก็จะช่วยในการรักษาสมดุลของความเป็นกรด-ด่างภายในร่างกาย ช่วยกระจายของเหลวที่ผนังเซลล์แต่ละด้านให้เป็นปกติ แต่ส่วนใหญ่แล้วจะถูกเก็บไว้ในร่างกายน้อยมาก >> แคลเซียมมีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างไรบ้าง มาดูกันบทความนี้ค่ะ >> โซเดียมในร่างกายมีประโยชน์หรือโทษอย่างไร มาดูกันค่ะ หน้าที่ และประโยชน์ของ โปแตสเซียม 1. โปแตสเซียม ช่วยเสริมความแข็งแรงให้กับกระดูกและลดความเสี่ยงภาวะต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับกระดูก เช่น กระดูกแตกหัก กระดูกพรุน เป็นต้น และสามารถรักษาแคลเซียมให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมอีกด้วย 2. Potassium มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย ทำให้ร่างกายมีการเติบโตที่สมวัยมากขึ้น 3. Potassium ทำงานร่วมกับโซเดียม โดยจะช่วยรักษาภาวะความสมดุลของน้ำในร่างกายและช่วยควบคุมความดันออสโมติคภายในเซลล์ให้เป็นปกติ 4. Potassium ทำหน้าที่ในการรักษาสมดุลของกรดด่างร่วมกับคาร์บอเนต เฮโมโกลบินและฟอสเฟส และทำหน้าที่เป็นบัพเฟอร์ให้กับเม็ดเลือดแดง 5. ทำงานร่วมกับแคลเซียมและโซเดียม ซึ่งจะช่วยกระตุ้นการส่งประสาทสำหรับการหดตัวของกล้ามเนื้อ และทำให้กล้ามเนื้อหัวใจทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น 6. มีส่วนช่วยในการดูแลสุขภาพของผิวหนัง และเพิ่มความแข็งแรงให้กับผิว 7. ทำหน้าที่ในการเปลี่ยนกลูโคสให้กลายเป็นไกลโคเจน ที่สามารถนำไปใช้งานได้ง่ายขึ้น 8. ช่วยในการเมแทบอลิซึ่มของเซลล์ 9. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการกำจัดของเสียออกจากร่างกายของไต 10. ทำงานร่วมกับฟอสฟอรัสเพื่อทำการส่งออกซิเจนไปยังสมอง และเสริมสร้างพัฒนาการทางสมองให้ดียิ่งขึ้น การดูดซึมของ โปแตสเซียม โปแตสเซียม จะสามารถถูกดูดซึมได้ดีในส่วนของลำไส้เล็กตอนต้น โดยส่วนใหญ่จะถูกดูดซึมที่ร้อยละ 90 ของโปแตสเซียมที่ร่างกายได้รับ ส่วนการขับออกจะขับออกทางปัสสาวะและเหงื่อเป็นหลัก มีที่ขับออกทาง อุจจาระเพียงเล็กน้อยเท่านั้น นอกจากนี้ในการรักษาสมดุลของโปแตสเซียมไตก็จะทำหน้าที่ในส่วนนี้โดยตรง แต่จะสามารถสงวนโปแตสเซียมได้น้อยกว่าโซเดียมนั่นเอง นอกจากนี้หากร่างกายมี โปแตสเซียม อยู่มากเกินไปก็จะส่งผลให้ไตเกิดการทำงานี่ผิดไปจากเดิมหรืออาจเกิดภาวะขาดของเหลวอย่างร้ายแรงได้ และที่สำคัญการดื่มเครื่องดื่มประเภทกาแฟและแอลกอฮอล์ก็จะกระตุ้นให้เกิดการขับโปตัสเซียมออกมาทางปัสสาวะมากขึ้นอีกด้วย จึงไม่ควรดื่มเครื่องดื่มประเภทนี้มากเกินไป เพราะอาจทำให้ขาดโปตัสเซียมได้ แหล่งที่พบ โปแตสเซียม โปแตสเซียม  เป็นแร่ธาตุที่มักจะถูกพบได้ในอาหารเกือบทุกชนิด โดยแหล่งที่พบได้มากที่สุด ก็คือ เนื้อสัตว์ ผักผลไม้แทบทุกชนิด เช่น ผักใบเขียว ส้ม กล้วย มะเขือเทศ องุ่นและน้ำอ้อย เป็นต้น ปริมาณ โปแตสเซียม ที่ควรได้รับประจำวัน เพศ อายุ ปริมาณที่ได้รับ หน่วย ทารก 0-5 เดือน  ----- น้ำนมแม่----- มิลลิกรัม/วัน 6-11 เดือน 925 -1,500 มิลลิกรัม/วัน เด็ก 1-3 ปี 1,175 - 1,950 มิลลิกรัม/วัน 4-5 ปี 1,525 - 2,550 มิลลิกรัม/วัน 6-8 ปี 1,625 - 2,725 มิลลิกรัม/วัน วัยรุ่นผู้ชาย 9-12 ปี 1,975 - 3,325 มิลลิกรัม/วัน 13-15 ปี 2,450 - 4,100 มิลลิกรัม/วัน 16 -18 ปี 2,700 - 4,500 มิลลิกรัม/วัน วัยรุ่นผู้หญิง 9-12 ปี 1,875 – 3,125 มิลลิกรัม/วัน 13-15 ปี 2,100 - 3,500 มิลลิกรัม/วัน 16 -18 ปี 2,150 – 3,600 มิลลิกรัม/วัน ผู้ใหญ่ผู้ชาย 19 - 30 ปี 2,525 – 4,200 มิลลิกรัม/วัน 31 - 70 ปี 2,450 – 4,100 มิลลิกรัม/วัน ≥ 71 ปี 2,050 - 3,400 มิลลิกรัม/วัน ผู้ใหญ่ผู้หญิง 19 - 70 ปี 2,050 - 3,400 มิลลิกรัม/วัน ≥ 71 ปี 1,825 – 3,025 มิลลิกรัม/วัน หญิงตั้งครรภ์ ไตรมาสที่ 1 +0 มิลลิกรัม/วัน ไตรมาสที่ 2 (+350) – (+575) มิลลิกรัม/วัน ไตรมาสที่ 3 (+350) – (+570) มิลลิกรัม/วัน หญิงให้นมบุตร (+575) – ( +975) มิลลิกรัม/วัน   ผลของการขาด โปแตสเซียม โดยปกติแล้วมักจะไม่ค่อยพบการขาด โปแตสเซียมมากนัก นอกจากในภาวะที่ร่างกายไม่ปกติ เช่น มีอาการป่วยด้วยโรคต่างๆ อาเจียน ขาดโปรตีนและพลังงานอย่างรุนแรง...
- โภชนาการสำคัญที่ควรรู้

ทองแดงมีความสำคัญอย่างไร ( Copper )

0
ทองแดง คืออะไร ? ทองแดง ( Copper ) คือ แร่ธาตุชนิดหนึ่งที่มักจะจับกับโปรตีน หรือองค์ประกอบหนึ่งของเอนไซม์หลายชนิด โดยเฉพาะเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์กรดอะมิโน ในเนื้อเยื่อคอลลาเจนและอีลาสติน รวมถึงบทบาทสำคัญในการสร้างภูมิคุ้มกัน โดยส่วนใหญ่แล้วทองแดงจะพบอยู่ในร่างกายในปริมาณที่น้อยมากและพบในเนื้อเยื่อของตามากที่สุด ส่วนในเด็ก ทารกจะพบทองแดงในตับมากกว่าผู้ใหญ่ถึง 5-10 เท่าเลยทีเดียว >> เมตาโบลิกซินโดรมคือโรคอะไร อยากรู้มาดูคำตอบกันค่ะ >> ธาตุเหล็กมีความสำคัญอย่างไรต่อร่างกาย มาดูกันค่ะ หน้าที่ของทองแดง ทองแดงมีหน้าที่ที่สำคัญดังต่อไปนี้ 1. ทองแดงมีความสำคัญในกระบวนการเมแทบอลิซึมของเหล็ก ซึ่งจะทำหน้าที่ในการขนถ่ายเหล็กในร่างกาย โดยทองแดงที่อยู่ในรูปของเซรูโรพลาสมิน Ceruloplasmin จะเปลี่ยนเหล็กในรูปของเฟอรัสให้กลายเป็นเฟอริค จากนั้นก็จะรวมตัวเข้ากับอะโพทรานส์เฟอร์รินและกลายเป็นทรานส์เฟอร์ ที่ทำหน้าที่ดังกล่าวนั่นเอง 2. ทองแดง เป็นส่วนหนึ่งของน้ำย่อยไทโรซีเนส Tyrosinase โดยจะทำหน้าที่ในการเปลี่ยนไทโรซีนให้เป็นเมลานิน และยังเป็นส่วนประกอบของน้ำย่อยไซโตโครม ซีออกซิเดส น้ำย่อยแคแทเลส ที่จะช่วยปล่อยพลังงานในเซลล์และช่วยในการทำงานที่เกี่ยวข้องกับระบบหายใจอีกด้วย 3. ทองแดงทำหน้าที่เป็นองค์ประกอบของน้ำย่อยเซลรูโลพลาสมิน Ceruloplasmin ซึ่งจะทำหน้าที่ในการต้านอนุมูลอิสระภายในร่างกายและลดความเสี่ยงมะเร็ง 4. ทองแดงช่วยสร้างฮีโมโกลบินและผลิตพลังงานที่จำเป็นต่อร่างกาย โดยจะทำงานร่วมกับเหล็ก 5. ทองแดงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดูดซึมเหล็กจากท่อทางเดินอาหาร 6. ทองแดงช่วยในการเมแทบอลิซึมของโปรตีนและช่วยในการสมานแผล ให้แผลหายแร็วขึ้น 7. ทองแดงมีความสำคัญต่อการสังเคราะห์ฟอสโฟลิปิด ซึ่งเป็นสารที่จะทำหน้าท่ในการสร้างไมเอลีนชีทที่อยู่รอบเส้นประสาทนั่นเอง 8. ทองแดงเพิ่มประสิทธิภาพในการออกซิไดส์วิตามินซีให้กับร่างกาย 9. ทองแดงทำงานร่วมกับวิตามินซี เพื่อเสริมสร้างคอลลาเจนให้กับร่างกายและสร้างอีลาสติน ที่มีความสำคัญในการบำรุงและเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับผิวหนัง 10. ทองแดงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเสริมสร้างและบำรุงกระดูก 11. ทองแดงมีความจำเป็นต่อการสร้างกรดไรโบนิวคลีอิกหรือ RNA ระดับของทองแดงในเลือดจะต่ำมากและมีภาวะโลหิตจางควบคู่ไปด้วย เพราะเมื่อขาดทองแดงก็มักจะขาดธาตุเหล็กด้วยนั่นเอง การดูดซึมของทองแดง ร่างกายของคนเราสามารถดูดซึมทองแดงได้ดีในส่วนของกระเพาะและลำไส้เล็กตอนต้น ส่วนการขับทองแดงออกมานั้น จะขับออกทางอุจจาระและน้ำดีเป็นส่วนใหญ่และขับออกทางปัสสาวะน้อยมาก นอกจากนี้ร่างกายจะมีความต้องการทองแดงมากขึ้น เมื่อได้รับธาตุโมลิบดีนัม แคดเมียมและสังกะสีในปริมาณสูงอีกด้วย นั่นก็เพราะธาตุเหล่านี้จะทำให้การดูดซึมทองแดงลดต่ำลง ร่างกายจึงต้องการทองแดงมากกว่าปกตินั่นเอง นอกจากนี้ยังเป็นตัวการที่ ทำให้ระดับของเซรูโรพลาสมินในพลาสมาลดต่ำลงอีกด้วย ส่วนแหล่งเก็บนั้น โดยส่วนใหญ่ทองแดงจะถูกเก็บไว้ในตับ ไต สมองและหัวใจมากที่สุด แหล่งอาหารที่พบทองแดง แหล่งอาหารที่สามารถพบทองแดงได้มากที่สุด คือ ตับ ไต ผักใบเขียว สมอง หัวใจและถั่วเมล็ดแห้ง ซึ่งปริมาณของทองแดงที่พบในแหล่งพืชนั้นจะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับแร่ทองแดงที่มีอยู่ในดินที่ปลูกนั่นเอง นอกจากนี้ก็จะพบได้มากในอาหารทะเลอีกด้วย ปริมาณทองแดงอ้างอิงที่ควรได้รับประจำวันสำหรับคนไทยวัยต่าง ๆ เพศ อายุ ปริมาณที่ได้รับ หน่วย เด็ก 1-3 ปี 340 ไมโครกรัม/วัน เด็ก 4-8 ปี 440 ไมโครกรัม/วัน วัยรุ่น 9-12 ปี 700 ไมโครกรัม/วัน วัยรุ่น 13-18 ปี 890 ไมโครกรัม/วัน ผู้ใหญ่ 19 - ≥ 71 ปี 900 ไมโครกรัม/วัน หญิงตั้งครรภ์ ควรเพิ่มอีก 100 ไมโครกรัม/วัน หญิงให้นมบุตร ควรเพิ่มอีก  400 ไมโครกรัม/วัน ผลของการขาดทองแดง ในคนที่ขาดทองแดงพบว่าจะมีอาการป่วยด้วยโรคต่างๆ เช่น โรคขาดโปรตีนและพลังงาน โรคไตและโรคสปรู เป็นต้น โดยอาการที่แสดงให้เห็นก็คือ ระดับของทองแดงในเลือดจะต่ำมากและมีภาวะโลหิตจางควบคู่ไปด้วย เพราะเมื่อขาดทองแดงก็มักจะขาดธาตุเหล็กด้วยนั่นเอง นอกจากนี้เส้นผมก็อาจจะมีลักษณะแข็งขดเป็นเกลียว สีผมและสีผิวจางผิดปกติ มีอาการบวมน้ำอย่างเห็นได้ชัด และอาจมีอาการอ่อนเพลีย เป็นแผลที่ผิวหนังได้ง่าย หายใจผิดปกติและเกิดการเสื่อมโทรมของระบบประสาทควบคุมอีกด้วย การเป็นพิษของทองแดง โดยส่วนใหญ่แล้วจะไม่ค่อยพบการเป็นพิษของทองแดงมากนัก เพราะร่างกายของคนเรามักจะมีการเก็บทองแดงไว้ในร่างกายน้อยมาก ที่เหลือก็จะขับออกมา ดังนั้นผู้ที่ได้รับพิษจากทองแดงจึงมักจะเป็นผู้ที่บริโภคทองแดงมากกว่า 30 เท่าของปริมาณที่เหมาะสมและบริโภคต่อเนื่องเป็นเวลานานนั่นเอง รวมถึงผู้ที่เป็นโรคทางพันธุกรรม Wilson’s  Disease ด้วย เพราะโรคนี้เกิดจากการที่มีทองแดงอยู่ในตับ สมองและกระจกตาในปริมาณมาก โดยอาการผิดปกติก็คือ จะมองเห็นเป็นวงแหวนสีน้ำตาลหรือสีเขียวในกระจกตา ทรงตัวลำบาก ไม่สามารถควบคุมกล้ามเนื้อได้และมีอาการสมองโต ตับโตอีกด้วย สำหรับการควบคุมโรคก็คือต้องลดปริมาณของทองแดงให้น้อยลง หรือพยายามให้ร่างกายมีการขับถ่ายทองแดงออกไปให้มากที่สุด เพื่อให้ทองแดงในร่างกายมีปริมาณลดลงจนอยู่ในระดับที่เหมาะสม แต่ก็อาจต้องใช้เวลาพอสมควรเหมือนกัน อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่างเอกสารอ้างอิง Lide, D. R., ed. (2005). "Magnetic susceptibility of the elements and inorganic compounds". CRC Handbook of Chemistry and Physics (PDF) (86th ed.). Boca Raton (FL): CRC Press. ISBN 0-8493-0486-5. Weast, Robert (1984). CRC,...
- โภชนาการสำคัญที่ควรรู้

ไนอาซินหรือวิตามินบี 3 ( Niacin-Vitamin B3 ) มีหน้าที่สำคัญอย่างไร

0
ไนอาซิน ไนอาซิน (ไนอะซิน) หรือ วิตามินบี 3 ( Niacin-Vitamin B3 ) เป็นวิตามินที่ละลายในน้ำ และเป็นหนึ่งในวิตามินบีรวม มีหน่วยวัดเป็นมิลลิกรัม มีส่วนสำคัญในการสังเคราะห์ฮอร์โมนเพศ ร่างกายสามารถสร้างไนอะซินขึ้นเองได้โดยใช้กรดแอมิโนทริปโตแฟน ผู้ที่ร่างกายขาดวิตามินบี1 บี2 และบี6 จะไม่สามารถสร้างไนอะซินจากทริปโตแฟนได้ >> แมกนีเซียมจำเป็นต่อร่างกายอย่างไร มาดูกันค่ะ >> กรดไขมันมีกี่ชนิด และมีประโยชน์อย่างไรมาดูกันค่ะ ปี ค.ศ.1730 มีการพบโรคผิวหนังชนิดหนึ่งที่มีอาการผิวแห้ง แตกและมีสีแดงกุหลาบ ชื่อว่า Mal de la Rosa โดยพบมีการระบาดมากในประเทศอิตาลี สเปนและอเมริกาใต้ สันนิษฐานว่าจะเป็นเพราะการกินทอร์ทิลาร์ เป็นอาหาร หลัก แต่โรคนี้จะมีอาการเกิดแบบเป็นฤดูเท่านั้น ปี ค.ศ.1771 ในประเทศอิตาลีก็ได้พบโรคหนึ่งที่มีอาการเดียวกัน โดยตั้งชื่อโรคชนิดนี้ว่า เพลลากรา ( Pellagra ) ปี ค.ศ.1795 เคอร์รีก็ได้ทำการทดลอง โดยให้คนกินอาหารข้าวโพดที่คาดว่าเป็นสาเหตุของโรคและทำการรักษาด้วยอาหารผสม โดยจากการสังเกต เคอร์รี ก็ได้ตั้งข้อสงสัยว่าโรคนี้น่าจะเกิดจากการติดเชื้อหรือได้รับสารพิษบางอย่างที่มีอยู่ในข้าวโพด ซึ่งจะพบได้เฉพาะในบางฤดูกาลเท่านั้น และใน ปี ค.ศ.1920 โกลด์เบอร์เกอร์ ก็ได้พบว่าโรคนี้สามารถรักษาให้หายได้ด้วยการทานอาหารประเภทเนื้อสัตว์ จึงสรุปว่าน่าจะเกิดจากการขาดสารอาหารบางอย่างที่ไม่ใช่โปรตีนและทำการคิดค้นสารป้องกันโรคขึ้นมา ปี ค.ศ.1937 Elvehjem ก็ได้ทำการสกัดไนอะซินออกมาได้สำเร็จ และพบว่าสามารถใช้ในการรักษาและป้องกันโรคดังกล่าวได้ จึงได้ข้อสรุปว่า สาเหตุของโรคเพลลากรา น่าจะมาจากการขาดสารไนอาซินหรือขาดสารแรกเริ่มของไนอาซินนั่นเอง คุณสมบัติของไนอาซิน หรือ วิตามินบี 3 ไนอาซิน หรือไนอะซิน วิตามินบี 3 คือ สารชนิดหนึ่งที่สามารถละลายน้ำได้ โดยหากทำเป็นผลึก จะพบว่ามีสีขาวและไม่มีกลิ่นแต่มีรสขม และมีสูตรทางเคมีคือ C6H5O3N สามารถทนต่อความเป็นกรด-ด่าง ความร้อนและแสงสว่างได้ดี นอกจากนี้ก็สามารถใช้สำหรับป้องกันและรักษาโรคเพลลากราได้อีกด้วย ไนอาซินสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 อย่างคือ กรดนิโคตินิก ที่ละลายได้ดีในอีเทอร์ และนิโคตินาไมด์ ที่ละลายได้ดีในน้ำและแอลกอฮอล์ หน้าที่ของไนอาซิน หรือ วิตามินบี 3 ไนอาซิน มีหน้าที่สำคัญคือ 1. เป็นส่วนประกอบของโคเอนไซม์นิโคตินาไมด์อะดินินไดนิวคลีโอไทด์ ( Nicotinamide Adenine Dinucleotide, NAD ) และนิโคตินาไมด์ อะดินีนไดนิวคลีโอไทด์ฟอสเฟต ( Nicotinamide Adenie Dinucleotide Phosphate, NADP ) โดยจะมีความสำคัญต่อการทำปฏิกิริยาหลายอย่างในร่างกาย ยกตัวอย่างเช่น NAD จะช่วยในการขนถ่ายอิเล็กตรอนในลูกโซ่ของการหายใจของเซลล์ และทำหน้าที่ในการทำปฎิกิริยาออกซิเดชั่นในกระบวนการไกลโคลิซีสอีกด้วย  NADP มีส่วนช่วยในการเปลี่ยนเฟนิลอะลานีนให้เป็นไทโรซีน และช่วยในการสังเคราะห์กรดไขมันและคอเลสเตอรอลในร่างกาย 2. มีส่วนช่วยในการบำรุงสมองและประสาท พร้อมเสริมสร้างความจำให้ดียิ่งขึ้น 3. ทำหน้าที่ในการรักษาสุขภาพของลิ้น ผิวหนังและเนื้อเยื่อในระบบการย่อยอาหารให้มีสุขภาพดีและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น 4. มีส่วนช่วยในการสังเคราะห์ฮอร์โมนเพศ และรักษาสมดุลของฮอร์โมนเพศ 5. ทำหน้าที่ในการลดระดับของคอเลสเทอรอล ไตรกลีเซอไรด์และแอลดีแอลที่ไม่ดีต่อร่างกาย พร้อมกับเพิ่มเอชดีแอล ที่เป็นคอเลสเตอรอลชนิดนี้ให้มากขึ้น สาเหตุของโรคเพลลากรา น่าจะมาจากการขาดสารไนอาซินหรือขาดสารแรกเริ่มของไนอาซินและไนอาซิน คือ วิตามินบี 3 (Niacin-Vitamin B3) นั่นเอง การดูดซึมไนอาซินหรือ วิตามินบี 3 ไนอาซิน ที่อยู่ในรูปของกรดนิโคตินิกและนิโคตินาไมด์จะสามารถถูกดูดซึมได้ดีในส่วนของลำไส้เล็ก จากนั้นเนื้อเยื่อต่างๆ ก็จะนำเอาไปสังเคราะห์ต่อไป ซึ่งโดยปกติแล้วร่างกายของคนเราก็สามารถที่จะสังเคราะห์ไนอาซินได้เองจากทริปโทเฟน โดยมีอัตราส่วนทริปโทเฟน 60 มิลลิกรัม ต่อ ไนอาซิน 1 มิลลิกรัม Tryptophan ⇓ Kynurenine ⇓ 3 Hydroxy Kynurenine ⇓ B6 ⇓ 3 Hydroxy...
- โภชนาการสำคัญที่ควรรู้

หน้าที่ของธาตุโซเดียมในร่างกาย ( Sodium )

0
โซเดียม ( Sodium ) โซเดียม ( Sodium ) ส่วนมากจะพบได้มากที่สุดในของเหลวนอกเซลล์ ในรูปของแคทไอออน โดยจะพบที่ประมาณร้อยละ 50 ส่วนที่เหลือก็จะพบในกระดูกร้อยละ 40 และพบในน้ำภายในเซลล์ร้อยละ 10 นอกจากนี้ปริมาณของโซเดียมก็จะเป็น ตัวกำหนดปริมาตรของเหลวนอกเซลล์อีกด้วย >> ซิลิเนียมสารอาหารเพื่อสุขภาพอย่างแท้จริงได้อย่างไร อยากรู้มาดูกันค่ะ >> โครเมียมทำหน้าที่อะไรในร่างกายมาดูกันในบทความนี้เลยค่ะ หน้าที่และประโยชน์ของโซเดียม 1. ช่วยรักษาสมดุลของความเป็นกรดด่างในร่างกาย โดยเฉพาะการควบคุมกรดด่างๆในเลือดให้อยู่ในระดับที่คงที่และยังทำหน้าที่เป็นบัฟเฟอร์ที่สำคัญของเลือดอีกด้วย 2. ช่วยรักษาความสมดุลของน้ำและของเหลวในร่างกาย โดยจะทำงานร่วมกับโปแตสเซียม ซึ่งโซเดียมในรูปของแคทไอออนก็จะช่วยรักษาความดันออสโมติคภายนอกเซลล์ แลโปตัสเซียมในรูปแคทไอออนก็จะช่วยรักษาความดันออสโมติคภายในเซลล์นั่นเอง 3. ทำหน้าที่ในการส่งผ่านสัญญาณประสาทไปยังกล้ามเนื้อ เพื่อให้กล้ามเนื้อมีการหดตัวอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ 4. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดูดซึมสารอาหารเข้าเซลล์ให้มีการดูดซึมที่ดียิ่งขึ้น 5. โซเดียมเป็นตัวช่วยสำคัญที่มีความจำเป็นมากในการรับส่งประสาทความรู้สึก 6. ป้องกันไม่ให้แร่ธาตุในร่างกายเกิดการจับเกาะภายในเลือด โดยจะทำให้แร่ธาตุที่มีอยู่ในเลือดละลายนั่นเอง 7. เมื่อใช้ร่วมกับคลอรีน จะทำให้ระบบโลหิตและน้ำเหลืองมีความสมบูรณ์มากขึ้น 8. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการย่อยของร่างกายและสามารถฟอกคาร์บอนไดออกไซด์จากร่างกายได้ดี 9. โซเดียมมีหน้าที่ในการสร้างกรดเกลือในกระเพาะ ซึ่งมีความสำคัญเป็นอย่างมาก 10. โซเดียมช่วยให้การขนส่งของกลูโคสผ่านเยื่อเซลล์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การดูดซึมโซเดียม ร่างกายของคนเราสามารถดูดซึม โซเดียม ได้ดีในรูปของเกลือคลอไรด์ที่อยู่ในอาหารประมาณร้อยละ 95 ของโซเดียมที่กินเข้าไป โดยจะดูดซึมได้ดีในส่วนของลำไส้เล็กตอนต้น โดยเมื่อโซเดียมได้ถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายแล้วก็จะมีการส่ง ไปที่ไต เพื่อให้ไตทำหน้าที่กรองและส่งโซเดียมกลับไปในเลือดในปริมาณที่เหมาะสม ซึ่งโดยปกติแล้วโซดียมที่ถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายประมาณร้อยละ 90-95 จะถูกขับออกมาทางปัสสาวะ และมีที่ขับออกมาทางอุจจาระและผิวหนังเพียงเล็กน้อยเท่านั้น นอกจากนี้ก็มีฮอร์โมนชนิดหนึ่งที่จะทำหน้าที่ในการควบคุมความเข้มข้นของโซเดียมในของเหลวนอกเซลล์โดยตรง เรียกว่าอัลโดสเทอโรนนั่นเอง ทั้งนี้การได้รับโซเดียมหรือเกลือจากอาหารมากเกินไปก็จะทำให้เกิดการรบกวนการดูดซึมและการใช้อาหารอีกด้วย รวมถึงทำให้เกิดอาการท้องเดิน อาเจียนและเหงื่อออกมากกว่าปกติ และทำให้มีอัตราการขับถ่ายโซเดียมออกมาทางปัสสาวะสูงขึ้นไปด้วย แต่ในขณะเดียวกัน หากร่างกายได้รับโซเดียมต่ำ ก็จะทำให้มีการขับโซเดียมออกมาทางปัสสาวะต่ำมากเช่นกัน ส่วนการขับ โซเดียม ออกมาทางผิวหนังนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นการขับเพื่อระบายความร้อนและรักษาอุณหภูมิของร่างกายให้คงที่ ดังนั้นปริมาณของโซเดียมที่ถูกขับออกมาทางผิวหนัง จึงขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของสิ่งแวดล้อมขณะนั้นและการออกกำลังกายด้วยนั่นเอง ดังนั้นในคนที่เป็นไข้หรือออกกำลังกายมากๆ จึงมักจะมีภาวะเสียโซเดียมในปริมาณมากไปด้วย โซเดียม เป็นเกลือแร่ที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย ทำหน้าที่ควบคุมของเหลวในร่างกายและรักษาความดันให้อยู่ในระดับปกติ แหล่งอาหารที่พบโซเดียม แหล่งอาหารที่สามารพบ โซเดียม ได้มาก ส่วนใหญ่จะเป็นเกลือแกงและเครื่องปรุงรสที่ใส่เกลือลงไป รวมถึงอาหารสำเร็จรูปต่างๆ ส่วนแหล่งอาหารตามธรรมชาติ ก็จะเป็นอาหารทะเล เป็ด ไก่ ไข่ และ เนื้อสัตว์อื่นๆ และนอกจากนี้จากการสำรวจก็พบว่า คนส่วนใหญ่มักจะได้รับโซเดียมจากอาหารสำเร็จรูปมากถึงร้อยละ 77 จากอาหารธรรมชาติร้อยละ 12 และจากการเติมในโต๊ะอาหารร้อยละ 6 ส่วนอีกร้อยละ 5 มาจากการประกอบอาหาร ปริมาณโซเดียมที่ควรได้รับประจำวัน เพศ อายุ ปริมาณที่ได้รับ หน่วย ทารก 0-5 เดือน น้ำนมแม่ - 6-11 เดือน 175 - 550 มิลลิกรัม/วัน เด็ก 1-3 ปี 225 - 675 มิลลิกรัม/วัน 4-5 ปี 300 - 900 มิลลิกรัม/วัน 6-8 ปี 325 - 950 มิลลิกรัม/วัน วัยรุ่นผู้ชาย 9-12 ปี 400 - 1,175 มิลลิกรัม/วัน 13-15 ปี 500 - 1,500 มิลลิกรัม/วัน 16 -18 ปี 525 - 1,600 มิลลิกรัม/วัน วัยรุ่นผู้หญิง 9-12 ปี 350 – 1,100 มิลลิกรัม/วัน 13-15 ปี 400 – 1,250 มิลลิกรัม/วัน 16-18 ปี 425 – 1,275 มิลลิกรัม/วัน ผู้ใหญ่ผู้ชาย 19 - 30 ปี 500 – 1,475 มิลลิกรัม/วัน 31 - 70 ปี 475 – 1,450 มิลลิกรัม/วัน 1≥ 71 ปี 400 – 1,200 มิลลิกรัม/วัน ผู้ใหญ่ผู้หญิง 19 - 70 ปี 400 – 1,200 มิลลิกรัม/วัน ≥ 71 ปี 350 – 1,000 มิลลิกรัม/วัน หญิงตั้งครรภ์ ไตรมาสที่ 1 +0 มิลลิกรัม/วัน ไตรมาสที่ 2 (+50) – (+200) มิลลิกรัม/วัน หญิงให้นมบุตร - (+125) – ( +350) มิลลิกรัม/วัน อาการขาดโซเดียม โดยส่วนใหญ่แล้วมักจะไม่ค่อยพบการขาด โซเดียม มากนัก เพราะในอาหารส่วนใหญ่จะมีโซเดียมประกอบอยู่แทบทุกชนิด โดยเฉพาะในเนื้อสัตว์...
- โภชนาการสำคัญที่ควรรู้

ซิลิเนียม ( Selenium ) สารอาหารเพื่อสุขภาพอย่างแท้จริง

0
ซีลีเนียม ( Selenium ) ซีลีเนียม ( Selenium ) คือ แร่ธาตุอีกชนิดหนึ่งที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย ส่วนใหญ่จะพบในร่างกายน้อยมาก ซึ่งเป็นส่วนที่ร่างกายสามารถสกัดได้เองจากยีสต์ และนำไปใช้ประโยชน์ได้ทันที >> โซเดียมในร่างกายมีหน้าที่อะไรบ้าง อยากรู้มาดูกันบทความนี้ค่ะ >> โครเมียมมีหน้าที่อย่างไรบ้างในร่างกาย มาดูกันค่ะ หน้าที่สำคัญของซีลีเนียม 1. ซีลีเนียมทำหน้าที่เป็นส่วนประกอบของน้ำย่อยชนิดหนึ่ง ชื่อว่าน้ำย่อยกลูทาไทโอนเปอร์ออกซิเดส Glutathione Peroxidade โดยจะช่วยกระตุ้นการกำจัดไฮโดรเปอร์ออกไซด์และออแกนิคเปอร์ออกไซด์ให้หมดไป รวมถึงป้องกันไม่ให้เนื้อเยื่อถูกทำลายอีกด้วย ซึ่งจะต้องทำงานอย่างใกล้ชิดกับวิตามินอีด้วยนั่นเอง และนอกจากนี้จากการศึกษาโดยนักวิทยาศาสตร์ ก็พบว่าซีลีเนียมสามารถต้านการเกิดมะเร็งได้เหมือนกัน โดยเฉพาะ มะเร็งต่อมลูกหมาก เพราะพบว่าเมื่อซีลีเนียมในร่างกายต่ำ ก็จะมีโอกาสเกิดมะเร็งต่อมลูกหมากสูงขึ้น 2. ซีลีเนียมช่วยในการส่งเสริมการเจริญเติบโตของร่างกายและการติดลูก ทำให้ร่างกายมีการเติบโตอย่างสมวัย 3. ซีลีเนียมช่วยให้เนื้อเยื่อสามารถหายใจได้ดีและรับส่งอีเล็กตรอนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 4. ซีลีเนียมทำหน้าที่ในการประสานการทำงานของเอนไซม์ระหว่าง วิตามินดี วิตามินซี และ วิตามินเอ การดูดซึมและการเก็บซีลีเนียม ( Selenium ) ซีลีเนียม สามารถถูกดูดซึมได้ดีที่ลำไส้เล็ก แต่ก็ขึ้นอยู่กับอัตราส่วนของซีลีเนียมและกำมะถันด้วย ว่ามีความสมดุลกันมากแค่ไหน ส่วนการเก็บซีลีเนียมไว้ในร่างกาย จะเก็บไว้ที่ตับและไตมากที่สุด โดยคิดเป็น 4-5 เท่าของซีลีเนียมที่ พบอยู่ในกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่ออื่นๆ และจะมีบางส่วนที่ถูกขับออกมาทางปัสสาวะ โดยหากพบว่ามีซีลีเนียมถูกขับออกมาทางอุจจาระด้วย นั่นแสดงว่าอาจมีความผิดปกติหรือมีการดูดซึมที่ไม่ถูกต้องนั่นเอง แหล่งอาหารที่พบซีลีเนียม ( Selenium ) สำหรับแหล่งอาหารที่พบซีลีเนียมส่วนใหญ่จะพบได้มากในอาหารทะเล ตับ ไต และเนื้อสัตว์ และพบได้น้อยมากในพืช โดยซีลีเนียมที่พบในพืชนั้นก็จะขึ้นอยู่กับซีลีเนียมที่มีอยู่ในดินที่ปลูกด้วยนั่นเอง โดยพืชที่มีซีลีเนียมได้แก่ ต้นหอม มะเขือเทศ ถั่ว จมูกข้าว หน่อไม้ กระเทียม เมล็ดพืช หอมแดงและหอมใหญ่ เป็นต้น ปริมาณซีลีเนียมอ้างอิงที่ควรได้รับประจำวันสำหรับคนไทยวัยต่าง ๆ  เพศ อายุ ปริมาณที่ควรได้รับ หน่วย เด็ก 1-3 ปี 20 ไมโครกรัม/วัน เด็ก 4-8 ปี 30 ไมโครกรัม/วัน วัยรุ่น 9-12 ปี 40 ไมโครกรัม/วัน วัยรุ่น 13-18 ปี 55 ไมโครกรัม/วัน ผู้ใหญ่ 19-≥ 71 ปี 55 ไมโครกรัม/วัน หญิงตั้งครรภ์ ควรเพิ่มอีก 5 ไมโครกรัม/วัน หญิงให้นมบุตร ควรเพิ่มอีก 15 ไมโครกรัม/วัน การขาดซีลีเนียม ( Selenium ) พบว่าเมื่อร่างกายขาดซีลีเนียมหรือได้รับน้อยเกินไป จะทำให้แก่ก่อนกำหนดได้ สังเกตได้จากริ้วรอยก่อนวัยและผิวที่เหี่ยวย่นลง นั่นก็เพราะซีลีเนียมจะทำหน้าที่ในการรักษาความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ หากมีซีลีเนียมน้อย จึงส่งผลดังกล่าวนั่นเอง นอกจากนี้ยังพบว่าในเด็กที่มีซีลีเนียมน้อยก็มักจะมีปัญหาฟันผุต้องถอนและอุดบ่อยมากอีกด้วย อย่างไรก็ตามยังไม่มีทฤษฎีที่สามารถอธิบายได้ การเป็นพิษของซีลีเนียม ( Selenium ) การได้รับซีลีเนียมเข้าสู่ร่างกายมาเกินไป คือ 5-10 ส่วนต่อล้าน จะทำให้ซีลีเนียมเข้าไปแทนที่กำมะถันที่อยู่ในอณูของซีนทีน เมไทโอนีนและซีสเทอีน เป็นผลให้ร่างกายไม่สามารถนำกรดอะมิโนเหล่านี้มาใช้ประโยชน์ได้ ซึ่งก็ส่งผลเสียต่อระบบต่างๆ ในร่างกายไม่น้อยเลยทีเดียว และที่สังเกตได้ชัดที่สุด ก็คือ อาการเล็บฉีก ผมแห้งขาดความชุ่มชื่น และผมแตกปลายนั่นเอง อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่างเอกสารอ้างอิง Ruyle, George. "Poisonous Plants on Arizona Rangelands" (PDF). The University of Arizona. Retrieved 2009-01-05. House, James E. (2008). Inorganic chemistry. Academic Press. p. 524. ISBN 0-12-356786-6. Magnetic susceptibility of the elements and inorganic compounds, in Lide, D. R., ed. (2005). CRC Handbook of Chemistry and Physics (86th ed.). Boca...
- โภชนาการสำคัญที่ควรรู้

โครเมียมทำหน้าที่อะไรในร่างกาย ( Chromium )

0
โครเมียม ( Chromium ) โครเมียม ( Chromium ) คือ ส่วนประกอบสำคัญของสารชนิดหนึ่งที่เรียกว่า GTF โดยสารชนิดนี้จะมี ไนอะซิน โครเมียมและกรดอะมิโนบางอย่างเป็นส่วนประกอบอยู่ ซึ่งจะทำหน้าที่ในการกระตุ้นให้ร่างกายสามารถนำกลูโคสมาใช้ได้และสามารถควบ คุมความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติ ไม่สูงขึ้นอย่างรวดเร็วอีกด้วย นอกจากนี้ก็พบว่าร่างกายของคนเราจะมีโครเมียมอยู่น้อยกว่า 6 มิลลิกรัม แต่จะค่อยๆลดลงเมื่ออายุมากขึ้นนั่นเอง หน้าที่ของโครเมียม (Chromium) 1. โครเมียมช่วยกระตุ้นให้น้ำย่อยที่เกี่ยวกับการเผาผลาญกลูโคสให้เป็นพลังงานและสังเคราะห์กรดไขมันและคอเลสเตอรอล ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น 2. โครเมียมช่วยให้อินซูลินมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในระดับที่เหมาะสม ไม่สูงหรือต่ำจนเกินไป ซึ่งพบว่าหากร่างกายขาดโครเมียม ก็จะทำให้มีปัญหาน้ำตาลในเลือดสูงหรือมีคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือดสูงได้ และด้วยเหตุนี้เองแพทย์จึงแนะนำให้ผู้ที่มีแนวโน้มจะเป็นเบาหวาน ทานโครเมียมในรูปของแคปซูลเสริมเข้าไปนั่นเอง 3. โครเมียมทำงานร่วมกับ RNA เพื่อการสังเคราะห์โปรตีนอย่างมีประสิทธิภาพ 4. โครเมียมทำหน้าที่ในการป้องกันพิษที่เกิดจากตะกั่ว การดูดซึมโครเมียม ( Chromium ) ร่างกายของคนเราสามารถดูดซึมโครเมียมจากอาหารได้ที่ร้อยละ 0.5 และจะขับออกมาทางปัสสาวะมากถึง 5-10 ไมโครกรัมต่อวัน ส่วนที่ถูกขับออกทางอุจจาระก็จะมีน้อยมาก แหล่งเก็บโครเมียม ( Chromium ) โดยปกติแล้วโครเมียมจะถูกเก็บไว้ที่ไต ม้ามและอัณฑะ เป็นส่วนใหญ่ และจะถูกเก็บไว้ที่ตับอ่อน สมอง ปอดและ หัวใจในปริมาณที่น้อยมาก นอกจากนี้ปริมาณของโครเมียมก็จะลดลงไปตามอายุอีกด้วย แหล่งที่พบโครเมียม โครเมียมมักจะพบได้มากที่สุดในไข่แดง เครื่องในสัตว์ เนยแข็ง ยีสต์ เนื้อสัตว์และธัญพืชที่ไม่ได้ขัดสี ส่วนในผักผลไม้จะพบในปริมาณที่น้อยมาก >> โคบอลท์จำเป็นต่อร่างกายอย่างไร อยากรู้มาดูกันค่ะ >> ซิลิเนียมมีประโยชน์อย่างไรต่อร่างกาย มาดูกันค่ะปริมาณโครเมียมอ้างอิงที่ควรได้รับประจำวันสำหรับคนไทยวัยต่าง ๆ เพศ อายุ ปริมาณ หน่วย ทารก 6-11 เดือน 5.5 ไมโครกรัม/วัน เด็ก 1-3 ปี 11 ไมโครกรัม/วัน เด็ก 4-8 ปี 15 ไมโครกรัม/วัน วัยรุ่นผู้ชาย 9-12 ปี 25 ไมโครกรัม/วัน วัยรุ่นผู้ชาย 13-18 ปี 35 ไมโครกรัม/วัน วัยรุ่นผู้หญิง  9-12 ปี 21 ไมโครกรัม/วัน วัยรุ่นผู้หญิง 13-18 ปี 24 ไมโครกรัม/วัน ผู้ใหญ่ผู้ชาย 19-50 ปี 35 ไมโครกรัม/วัน ผู้ใหญ่ผู้ชาย 51 - ≥ 71 ปี 30 ไมโครกรัม/วัน ผู้ใหญ่ผู้หญิง 19-50 ปี 25 ไมโครกรัม/วัน ผู้ใหญ่ผู้หญิง 51 - ≥ 71 ปี 20 ไมโครกรัม/วัน หญิงตั้งครรภ์ ควรเพิ่มอีก 5 ไมโครกรัม/วัน หญิงให้นมบุตร ควรเพิ่มอีก 20 ไมโครกรัม/วัน ผลจากการขาดโครเมียม ( Chromium ) เมื่อร่างกายได้รับโครเมียมน้อยกว่าปกติ จะทำให้ไกลโคเจนที่สะสมไว้ในร่างกายลดลงไปอย่างรวดเร็ว และทำให้การเผาผลาญกรดอะมิโนมีความผิดปกติอีกด้วย นอกจากนี้ก็จะไปเพิ่มระดับของคอเลสเตอรอลในเลือดและทำให้ผนังเส้นเลือดเป็นแผลได้เหมือนกันและนอกจากนี้การขาดโครเมียมก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานได้ เพราะจะทำให้อินซูลินทำหน้าที่ได้ไม่สมบูรณ์ จึงส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นอย่างน่าตกใจและยังลดอัตราการเจริญเติบโตลงอีกด้วย การเป็นพิษของโครเมียม ( Chromium ) โครเมียม แม้ว่าจะมีประโยชน์ต่อร่างกาย แต่ในขณะเดียวกันก็พบว่าหากได้รับในปริมาณที่มากเกินไปก็เป็นอันตรายไม่ น้อยเหมือนกัน ซึ่งจะไปกระตุ้นให้เกิดเซลล์มะเร็งนั่นเอง โดยทางสำนักงานมาตรฐานอาหารของอังกฤษ ก็ได้ออกมาเตือนว่าไม่ควรทานเกินวันละ 10 มิลลิกรัมเด็ดขาด อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่างเอกสารอ้างอิง Brandes, E. A.; Greenaway, H. T.; Stone, H. E. N. (1956). "Ductility in Chromium". Nature. 178 (587): 587. Weast, Robert (1984). CRC, Handbook of Chemistry and Physics. Boca Raton, Florida: Chemical Rubber Company Publishing. pp. E110. ISBN 0-8493-0464-4.
- โภชนาการสำคัญที่ควรรู้

โคบอลท์จำเป็นต่อร่างกายอย่างไร ( Cobalt )

0
โคบอลท์ โคบอลท์ ( Cobalt ) คือ แร่ธาตุชนิดหนึ่งที่มีความสำคัญต่อร่างกายเป็นอย่างมาก เกลือของโคบอลต์มีความจำเป็นต่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ทั้งนี้ไอโซโทปของโคบอลต์-60 ใช้สามารถใช้ในการรักษาโรคมะเร็ง โดยเป็นส่วนหนึ่งของวิตามินบีสิบสอง ( Vitamin B12 ) ซึ่งก็มีหน้าที่สำคัญคือ ช่วยกระตุ้นการทำงานของน้ำย่อยในร่าง กาย ให้มีการผลิตน้ำย่อยออกมาตามปกติและมีประสิทธิภาพมากขึ้น และยังช่วยบำรุงรักษาเม็ดเลือดแดงให้เป็นไปตามปกติอีกด้วย ซึ่งโดยปกติแล้วร่างกายของคนเราจะไม่สามารถสังเคราะห์แร่ธาตุชนิดนี้ขึ้นมาเองได้ จึงต้องเสริมโคบอลท์ ให้กับร่างกายด้วยการทานอาหารประเภทเนื้อสัตว์เท่านั้น และด้วยเหตุนี้คนที่กินมังสวิรัติหรือกินเจอย่างเคร่งครัด จึงมักจะมีปัญหาการขาดโคบอลท์ได้มากกว่าคนทั่วไปนั่นเอง >> โครเมียมทำหน้าที่อะไรในร่างกาย อยากรู้มาดูกันบทความนี้ค่ะ   >> ซิลิเนียมมีประโยชน์อย่างไรบ้างมาดูกันค่ะ การดูดซึมและการขับโคบอลท์ ร่างกายของคนเราสามารถดูดซึมโคบอลท์ได้ดีที่ลำไส้เล็ก โดยจะถูกดูดซึมที่ประมาณร้อยละ 70-80 ของโคบอลท์ที่ได้รับเข้าไป และจะถูกขับออกทางปัสสาวะมากถึงร้อยละ 65 ที่เหลือก็จะถูกขับออกทางอุจจาระ ซึ่งเป็นปริมาณที่น้อยมาก ส่วนแหล่งที่ใช้ในการเก็บโคบอลท์ ก็คือ เม็ดเลือด ตับ ไต ม้ามและตับอ่อน แหล่งอาหารที่พบโคบอลท์ โคบอลท์ สามารถพบได้ดีในแหล่งอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ โดยอาหารที่พบโคบอลท์ได้มากที่สุด คือ เนื้อ ไต ตับ นมหอยกาบ และหอยนางรม ปริมาณที่แนะนำในการบริโภคโคบอลท์ เนื่องจากโคบอลท์มักจะพบในปริมาณที่น้อยมาก จึงไม่มีปริมาณที่แนะนำ ซึ่งโดยปกติแล้วก็จะได้รับจากอาหารประเภทโปรตีนเฉลี่ยประมาณวันละ 5-8 ไมโครกรัม ผลจากการขาดโคบอลท์ เมื่อร่างกายขาดโคบอลท์จะทำให้มีการเจริญเติบโตที่ช้ากว่าปกติ โดยเฉพาะในวัยเด็ก และอาจป่วยด้วยโรคโลหิตจางชนิดเม็ดเลือดแดงโตกว่าปกติอีกด้วย ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วนและถูกวิธี ก็อาจทำให้เกิดความผิดปกติทางประสาทอย่างถาวรได้เหมือนกัน ซึ่งหากได้รับโคบอลท์มากเกินไปอาจส่งผลให้ต่อมไทรอยด์ใหญ่ผิดปกติได้ การเป็นพิษของโคบอลท์ ถึงแม้ว่าโคบอลท์จะมีประโยชน์และจำเป็นต่อร่างกาย แต่หากได้รับมากเกินไป ก็อาจจะส่งผลให้เกิดอาการข้างเคียงได้เหมือนกัน โดยเฉพาะในคนที่มีปัญหาต่อมธัยรอยด์โต การลดปริมาณโคบอลท์ให้น้อยลงจะทำให้ต่อมไทรอยด์กลับมามีขนาดปกติได้ แต่ส่วนใหญ่แล้วจะไม่ค่อยมีปัญหาการได้รับโคบอลท์เกินมากนัก อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่างเอกสารอ้างอิง Enghag, Per (2004). "Cobalt". Encyclopedia of the elements: technical data, history, processing, applications. p. 667. ISBN 978-3-527-30666-4. Murthy, V. S. R (2003). "Magnetic Properties of Materials". Structure And Properties Of Engineering Materials. p. 381. ISBN 978-0-07-048287-6. Greenwood, Norman N.; Earnshaw, Alan (1997). Chemistry of the Elements (2nd ed.). Butterworth-Heinemann. pp. 1117–1119. ISBN 0-08-037941-9.
- โภชนาการสำคัญที่ควรรู้

คุณประโยชน์ของน้ำ ( Water – H2O )

0
คุณประโยชน์ของน้ำ น้ำ ( Water หรือ H2O ) เป็นส่วนประกอบหลักในร่างกายมนุษย์ 55% ถึง 78% ที่มีความจำเป็นต่อร่างกายเป็นอย่างมาก โดยมีความสำคัญรองมาจากอากาศเลยทีเดียว ซึ่งพบว่าคนเราสามารถเสียชีวิตได้แค่ไม่ได้รับน้ำประมาณ 2-3 วันเท่านั้น จึงควรดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการ ดื่มน้ำให้เพียงพอของร่างกายอยู่เสมอนั่นเอง นอกจากนี้ในร่างกายของคนเราก็จะมีน้ำเป็นส่วนประกอบมากที่สุด คือประมาณร้อยละ 60 ของน้ำหนักตัว และสำหรับเด็กทารกแรกเกิด ก็จะมีน้ำมากถึงร้อยละ 75-80 ของน้ำหนักตัวเลยทีเดียว และในบทความนี้ก็จะมากล่าวถึงปริมาณของน้ำทั้งหมดในร่างกาย ความต้องการน้ำของร่างกาย การรักษาความสมดุลของน้ำและปัจจัยที่ทำให้ต้องการน้ำ รวมถึงความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นเมื่อได้รับน้ำน้อยเกินไป โดยมีข้อมูลดังต่อไปนี้ >> มาตรฐานน้ำดื่มบรรจุขวดและน้ำประปาที่ดีควรเป็นเช่นไร มาดูกันค่ะ >> เราควรดื่มน้ำวันละ 8 แก้วจริงหรือไม่ อยากรู้มาดูกันค่ะ องค์ประกอบของน้ำในร่างกาย ร่างกายของคนเราจะมีน้ำกระจายอยู่ทั่วไปตามเซลล์ต่างๆ โดยสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วนคือ 1. น้ำที่อยู่ในเซลล์ ( Intracellular Fluid ) โดยจะมีปริมาณร้อยละ 38 ของน้ำหนักตัว และสามารถพบได้ในเซลล์ทุกเซลล์ โดยหน้าที่ของน้ำที่อยู่ในเซลล์ ก็จะช่วยละลายสารเคมีต่างๆ และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการเมแทบอลิซึมต่างๆ ได้ดีนั่นเอง 2. น้ำที่อยู่นอกเซลล์ ( Extracelluar Fluid ) โดยจะมีอยู่ประมาณร้อยละ 22 ของน้ำหนักตัว ซึ่งก็จะแบ่งออกได้เป็นสองส่วน คือ - น้ำที่อยู่ในกระแสโลหิต โดยน้ำจะผ่านเข้าไปยังเลือดตามหลักการออสโมซิส ซึ่งจะมีโปรตีนภายในหลอดเลือดทำหน้าที่ในการดึงน้ำเข้าไปนั่นเอง - น้ำที่อยู่ระหว่างเซลล์ โดยจะทำหน้าที่ในการส่งสารต่างๆ ระหว่างเซลล์และกระแสโลหิต ส่วนใหญ่จะพบอยู่ตามช่องโพรงของอวัยวะ เช่น น้ำหล่อลื่นในกระดูก น้ำเหลืองและน้ำในไขสันหลัง เป็นต้น หน้าที่ของน้ำในร่างกาย น้ำในร่างกายของคนเราจะมีหน้าที่หลายอย่างด้วยกัน โดยแบ่งออกได้เป็น 5 ข้อดังนี้ 1. เป็นองค์ประกอบของเซลล์ น้ำจะทำหน้าที่เป็นองค์ประกอบของเซลล์และเลือด รวมถึงน้ำตา ปัสสาวะ น้ำเหลือง เหงื่อและเอนไซม์ด้วย โดยเซลล์ต่างๆ นี้ก็จะมีปริมาณของน้ำที่แตกต่างกันไป โดยสามารถศึกษาได้จากตารางดังต่อไปนี้ ชนิดเนื้อเยื่อ ปริมาณน้ำ ( ร้อยละ) ไต 83 หัวใจ 79 ปอด 79 กล้ามเนื้อ 76 สมอง 75 ผิวหนัง 72 ตับ 68 โครงกระดูก 22 เนื้อเยื่อไขมัน 10   2. รักษาสมดุลของน้ำภายในร่างกาย ร่างกายของคนเราจะเกิดความสมดุลได้จะต้องมีน้ำเป็นตัวช่วย ซึ่งน้ำจะทำหน้าที่ในการเคลื่อนผ่านผนังเซลล์เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงความเข้มข้นของไอออน ซึ่งไอออนที่มีประจุบวกก็จะจับคู่กับไอออนที่มีประจุลบ ดังนั้นจึงได้ข้อสรุปว่า ปริมาตรของน้ำที่อยู่นอกเซลล์จะขึ้นอยู่กับโพแทสเซียมและฟอตเฟตในเซลล์ และขึ้นอยู่กับโซเดียมและคลอไรด์ที่อยู่นอกเซลล์เช่นกัน 3. เป็นตัวทำละลาย น้ำเป็นตัวทำละลายที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก โดบน้ำจะรวมอยู่ในสารละลายต่างๆ และช่วยให้เซลล์นำของเสียออกจากเซลล์โดยมีสารละลายเป็นตัวพาไป ซึ่งส่วนใหญ่จะถูกนำไปยังปอด ผิวหนังและไต เพื่อทำการเจือจางและขับออกไปจากร่างกายนั่นเอง 4. ควบคมอุณหภูมิของร่างกาย น้ำสามารถควบคุมอุณหภูมิของร่ากายให้คงที่ได้ดี โดยจะทำหน้าที่กระจายความร้อนไปยังอวัยวะต่างๆ ของร่างกายอย่างทั่วถึง จึงทำให้ความร้อนของร่างกายอยู่ในระดับที่สม่ำเสมอ และหากมีความร้อนเกินเกณฑ์ น้ำก็จะช่วยในการขับความร้อนส่วนเกินออกจากร่างกายอีกด้วย ซึ่งความร้อนประมาณร้อยละ 25 ก็จะถูกระเหยออกทางปอดและผิวหนัง 5. ช่วยในการหล่อลื่น น้ำมีส่วนช่วยในการหล่อลื่นได้เป็นอย่างดี โดยจะทำให้อวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกาย ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดการเสียดสีและลดการบาดเจ็บที่อาจเกิดจากการเสียดสีได้อีกด้วย การดื่มน้ำให้เพียงพอและสม่ำเสมอมีประโยชน์ต่อร่างกายมาก ควรดื่มอย่างน้อยน้ำ 8-10 แก้วต่อวัน การรักษาสมดุลของน้ำในร่างกาย โดยปกติแล้วร่างกายของคนเราจะพยายามรักษาสมดุลของน้ำในร่างกายให้มีความคงที่อยู่เสมอ โดยหากน้ำในร่างกายลดลงหรือมีน้อยเกินไป ร่างกายก็จะเกิดการกระตุ้นไปยังสมองส่วนกลางที่เป็นส่วนควบคุมการกระหายน้ำให้เกิดความรู้สึกอยากดื่มน้ำมากขึ้น และมีการดูดซึมน้ำกลับจากไตเข้าสู่ร่างกาย ทำให้มีการขับน้ำออกจากร่างกายน้อยลง เพื่อคงความสมดุลของร่างกายไว้อยู่เสมอนอกจากนี้น้ำหรือของเหลวที่อยู่ในร่างกายก็มีความสัมพันธ์กับปริมาณของโซเดียมด้วย โดยหากโซเดียมต่ำ ปริมาณของเหลวก็จะต่ำ แต่หากโซเดียมสูง ปริมาณของเหลวก็จะสูง นั่นก็เพราะน้ำจะต้องทำหน้าที่ในการนำพาโซเดียมส่วนเกินออกจากร่างกาย ซึ่งหากน้ำมีน้อยกว่าโซเดียม ก็จะทำให้นำพาโซเดียมออกไปได้น้อยและเกิดความไม่สมดุลได้นั่นเอง ตารางแสดงการหมุนเวียนของน้ำภายในร่างกาย เพื่อรักษาความสมดุล ปริมาณน้ำที่ร่างกายได้รับ มิลลิลิตร/วัน ปริมาณน้ำที่ร่างกายสูญเสีย  มิลลิลิตร/วัน จากการดื่มน้ำ 1,000 ลมหายใจ 400 จากอาหาร 1,000 เหงื่อ 500 จากเมแทบอลิซึม 350 อุจจาระ 150 - ปัสสาวะ 1,300  รวม 2,350  รวม 2,350   1. ปริมาณของน้ำที่ร่างกายได้รับ โดยปกติแล้วในหนึ่งวันร่างกายจะได้รับน้ำประมาณวันละ 2,350 มิลลิลิตร ซึ่งได้มาจาก - การดื่มน้ำ 1,000 มิลลิลิตรต่อวัน - น้ำจากอาหารที่รับประทานเข้าไป ส่วนใหญ่จะได้ประมาณ 1,000 มิลลิลิตร - น้ำจากกระบวนการเผาผลาญอาหารในร่างกาย เพราะกระบวนการดังกล่าวจะทำให้ได้น้ำออกมา ซึ่งจะมีประมาณ...
- โภชนาการสำคัญที่ควรรู้

ประโยชน์ของกรดโฟลิก ( โฟเลต หรือวิตามินบี 9 )

0
กรดโฟลิกคืออะไร กรดโฟลิก ( Folic Acid ) หรือวิตามินบี9 คือ วิตามินบีชนิดหนึ่งที่มักใช้เป็นอาหารเสริมในช่วงตั้งครรภ์เพื่อป้องกันภาวะหลอดประสาทไม่ปิดในทารก และยังใช้รักษาภาวะเลือดจางจากการขาดกรดโฟลิก ส่วนใหญ่จะพบอยู่ในรูปของผลึกใบหอกสีเหลืองเป็นกรดโฟลิกบริสุทธิ์ สลายตัวได้ง่ายเมื่อถูกความร้อน และนอกจากนี้แบคทีเรียในลำไส้ก็สามารถสังเคราะห์กรดโฟลิกขึ้นมาด้วยตนเองได้เหมือนกัน แล้วจะนำกรดโฟลิกไปเก็บไว้ที่ตับประมาณ 5 มิลลิกรัม ส่วนที่เหลือเกินออกมาก็จะถูกขับออกทางปัสสาวะ โฟเลต ( Folate ) คือ วิตามินชนิดเดียวกับกรดโฟลิก มีความสำคัญต่อทารกในครรภ์ สามารถพบได้ในอาหารตามธรรมชาติ มักพบในพืชใบเขียวและผลไม้ ซึ่งช่วยในกระบวนการสร้างเม็ดเลือดแดง และหลอดประสาทของทารกพัฒนาไปยังสมองและไขสันหลัง > กรดไขมันมีกี่ชนิด และมีอะไรบ้าง อยากรู้มาดูกันค่ะ >> กรดอะมิโนจำเป็น และสำคัญอย่างไรมาดูกันค่ะ โฟลิกมีความสำคัญอย่างไร 1. เป็นกรดที่มีความสำคัญต่อการสังเคราะห์กรดนิวคลีอิก RNA-DNA ซึ่งเป็นสารที่มีความจำเป็นต่อการสืบพันธุ์ของเซลล์และการเจริญเติบโตเป็นอย่างมาก โดยหากขาดสารชนิดนี้ไปก็จะทำให้การเจริญเติบโตช้าลง หยุดชะงัก หรือเกิดความผิดปกติได้ โดยเฉพาะในทารกในครรภ์ ซึ่งอาจพิการแต่กำเนิดได้เลยทีเดียว 2. ลดความเสี่ยงในการเกิดความผิดปกติของประสาทไขสันหลัง ที่มักจะเกิดกับทารกในครรภ์ได้ 3. ช่วยเสริมสร้างการพัฒนาสมองและถือเป็นสารสื่อประสาทที่มีความสำคัญต่อสมองเป็นอย่างมาก 4. เป็นโคเอนไซม์ชนิดหนึ่ง โดยมีชื่อเรียกว่าเททระไฮโดรโฟเลต ซึ่งจะช่วยให้กรดอะมิโนมีการแตกตัวได้ดีขึ้น 5. มีส่วนสำคัญในการสร้างเม็ดเลือด และช่วยให้เม็ดเลือดมีความแข็งแรงมากขึ้นจึงสามารถป้องกันโรคโลหิตจางได้เป็นอย่างดี และทำหน้าที่เป็นตัวส่งคาร์บอนในการสร้างฮีมอีกด้วย 6. ช่วยกระตุ้นความอยากอาหาร จึงไม่ทำให้เกิดอาการเบื่ออาหารและสามารถกระตุ้นการสร้างกรดเกลือได้อย่างดีเยี่ยม 7. ช่วยส่งไขมันออกจากตับ จึงลดความเสี่ยงโรคไขมันอุดตันในตับได้ 8. ทำหน้าที่ในการสังเคราะห์โคลีนและเปลี่ยนกรดนิโคตินิกให้เป็นเอนเม็ทธิล นิโคตินาไมด์ พร้อมกับขับถ่ายออกไปจากร่างกาย กรดโฟลิก จัดอยู่ในกลุ่มของวิตามินบีรวม ได้จากการสังเคราะห์ขึ้นส่วนใหญ่จะพบอยู่ในรูปของผลึกใบหอกสีเหลืองเป็นกรดโฟลิกบริสุทธิ์ สลายตัวได้ง่ายเมื่อถูกความร้อน การดูดซึมกรดโฟลิก กรดโฟลิกจะสามารถถูกดูดซึมได้ดีในลำไส้เล็กของคนเรา ซึ่งเมื่อถูดดูดซึมเข้าสู่ร่างกายแล้วก็จะเปลี่ยนไปเป็นโคเอนไซม์ที่ชื่อว่ากรดเททระไฮโดรโฟเลตและส่งไปเก็บไว้ที่ตับ 5 มิลลิกรัม จากนั้นก็กระจายไปทั่วร่างกายและส่วนที่เกินออกมาก็จะถูกขับออกนั่นเอง นอกจากนี้การใช้ยาคุมกำเนิดก็จะเป็นตัวการที่ทำให้ร่างกายดูดซึมกรดโฟลิกได้น้อยลงอีกด้วย แต่เนื่องจากแบคทีเรียในลำไส้สามารถสังเคราะห์กรดโฟลิกขึ้นมาได้เอง จึงมักจะไม่มีปัญหาเกิดขึ้น กรดโฟลิก แหล่งที่พบ โดยทั่วไปวิตามินโฟลิกสามารถพบได้ในไข่แดง ตับ ผักใบเขียวเข้ม ผักคะน้า แครอท แคนตาลูป ฟักทอง ถั่ว ผักบุ้ง ตำลึง เอพริคอต อะโวคาโด แหล่งของกรดโฟลิกที่พบมาก ได้แก่ ผักใบเขียว ยีสต์ โฮลวีต เครื่องในสัตว์ ตับไต เห็ดและขนมปัง รวมถึงผลไม้ตระกูลส้มด้วย แหล่งของกรดโฟลิกที่พบปานกลาง ได้แก่ ธัญพืชและเนื้อแดง แหล่งของกรดโฟลิกที่พบน้อย ได้แก่ ผักในสีเขียวอ่อน เนื้อหมู ผักพวกหัว ไข่และผลิตภัณฑ์จากนม ปริมาณโฟเลทหรือวิตามินบี 9 ที่ควรกินประจำวันสำหรับคนไทยวัยต่างๆ  เพศ อายุ  ปริมาณโฟเลท หน่วย  เด็ก 1-3 ปี 150 ไมโครกรัม/วัน เด็ก 4-8 ปี 200 ไมโครกรัม/วัน วัยรุ่น 9-12 ปี 300 ไมโครกรัม/วัน วัยรุ่น 13-18 ปี 400 ไมโครกรัม/วัน ผู้ใหญ่ 19 –≥ 71 ปี 400 ไมโครกรัม/วัน หญิงตั้งครรภ์ ควรเพิ่มอีก 200 ไมโครกรัม/วัน หญิงให้นมบุตร ควรเพิ่มอีก 100 ไมโครกรัม/วัน ผลของการขาดกรดโฟลิก เมื่อร่างกายขาดกรดโฟลิกหรือได้รับกรดชนิดนี้น้อยเกินไป ก็จะทำให้ขาดโคเอนไซม์ชนิดเททระไฮโดรโฟเลตได้ ซึ่งก็จะส่งผลต่อการเจริญเติบโตของนิวเคลียส และก่อให้เกิดโรคโลหิตจางชนิดที่เม็ดเลือดแดงมีขนาดใหญ่และมีปริมาณน้อยลงจากเดิม และอาจมีอาการลิ้นอักเสบ ท้องเดิน เหนื่อยง่าย ขี้หงุดหงิด มีกรดในกระเพาะอาหารน้อยเกินไป ปวดศีรษะ ความจำสั้นและอาจไม่มีแรงได้อีกด้วย สาเหตุที่ทำให้ร่างกายขาดกรดโฟลิก 1. ลำไส้มีการดูดซึมได้แย่ลง จึงทำให้ดูดซึมกรดโฟลิกได้น้อยกว่าปกติ 2. กำลังอยู่ในภาวะที่ร่างกายต้องการกรดโฟลิคมากกว่าปกติ เช่นในขณะให้นมบุตร ตั้งครรภ์หรือกำลังติดเชื้อ 3. ดื่มสุราเรื้อรัง เพราะพิษของสุราจะทำให้การดูดซึมแย่ลง รวมถึงมีการสะสมของกรดโฟลิคที่ต่ำได้น้อยลงด้วย 4. ป่วยด้วยโรคบางชนิด เช่น โรคหัวใจ แลโรคไต เพราะโรคเหล่านี้จะทำให้ร่างกายขับโฟเลตออกมามากขึ้น ปริมาณ Folic Acid ที่แนะนำให้บริโภคต่อวัน ผู้ใหญ่ เพศชาย 150-200 ไมโครกรัม/วัน เพศหญิง 150-180 ไมโครกรัม/วัน ผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์ หรือวางแผนตั้งครรภ์ 400 ไมโครกรัม/วัน เด็ก ทารกแรกเกิดที่คลอดก่อนกำหนด 50 ไมโครกรัม/วัน ทารกแรกเกิดอายุ 1-6 เดือน 25-35 ไมโครกรัม/วัน เด็กอายุ 1-3 ปี 150 ไมโครกรัม/วัน เด็กอายุ 4-8 ปี 200 ไมโครกรัม/วัน เด็กอายุ...