เกลือแร่ ช่วยควบคุมการทำงานของอวัยวะในร่างกาย

0
เกลือแร่
เกลือแร่ ช่วยควบคุมการทำงานของอวัยวะในร่างกาย เป็นองค์ประกอบของอาหารส่วนที่เหลือเป็นเถ้าหลังจากการเผาไหม้สารอินทรีย์ทั้งหมดในเนื้อเยื่อพืชและสัตว์ ไม่ให้พลังงาน
เกลือแร่
เป็นองค์ประกอบของอาหารส่วนที่เหลือเป็นเถ้าหลังจากการเผาไหม้สารอินทรีย์ทั้งหมดในเนื้อเยื่อพืชและสัตว์ ไม่ให้พลังงาน

เกลือแร่

เกลือแร่ หรือ แร่ธาตุ (Minerals) คือ สารประกอบอนินทรีย์ที่เป็นองค์ประกอบของอาหารส่วนที่เหลือเป็นเถ้าหลังจากการเผาไหม้สารอินทรีย์ทั้งหมดในเนื้อเยื่อพืชและสัตว์ และเป็นสารอาหารที่ไม่ให้พลังงาน ร่างกายจึงต้องการในปริมาณที่ไม่มาก แต่ก็ขาดไม่ได้เช่นกัน โดยเป็นสารอาหารที่มีความจำเป็นต่อร่างกายในด้านของการช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงและควบคุมการทำงานของส่วนต่าง ๆ ในร่างกาย ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อในทุก ๆ อวัยวะ ช่วยควบคุมการทำงานฮอร์โมน และรักษาสมดุลของกระบวนการออสโมซิส และอีกทั้งยังมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อการทำหน้าที่เป็นโครงสร้างของร่างกาย เป็นองค์ประกอบของเซลล์ เนื้อเยื่อและเส้นประสาท รวมไปถึงเอนไซม์ ฮอร์โมน และวิตามิน โดยร่างกายของเรานั้นจะมีอยู่ประมาณ 4% ของน้ำหนักตัวนั่นเอง

ชนิดของเกลือแร่

แร่ธาตุพบได้ในอาหารนั้นมีอยู่ด้วยกันประมาณ 60 ชนิด และที่จำเป็นต่อร่างกายจะมีประมาณ 17 ชนิด มีอยู่ในร่างกายและในอาหารที่รับประทาน โดยสามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ ได้แก่

  1. แร่ธาตุหลัก (Macro minerals) ที่ร่างกายต้องการในปริมาณมาก ซึ่งจะมีอยู่ในร่างกายมากกว่าร้อยละ 0.01 ของน้ำหนักตัว หรือมีมากกว่า 5 กรัม และร่างกายของเราจะต้องการเกลือแร่เหล่านี้จากอาหารต่อวันเป็นปริมาณตั้งแต่ 100 มิลลิกรัมขึ้นไป เช่น แคลเซียม (Calcium), ฟอสฟอรัส (Phosphorous), แมกนีเซียม (Magnesium), โพแทสเซียม (Potassium), โซเดียม (Sodium), คลอไรด์ (Chloride), และกำมะถันหรือซัลเฟอร์ (Sulfur)
  2. แร่ธาตุรอง (Trace minerals) ที่ร่างกายต้องการในปริมาณน้อย ซึ่งจะมีอยู่ในร่างกายเพียงเล็กน้อย หรือน้อยกว่า 5 กรัม และร่างกายของเราต้องการเกลือแร่เหล่านี้จากอาหารต่อวันน้อยกว่า 100 มิลลิกรัมอีกด้วย เช่น ธาตุเหล็ก (Iron), ซีลีเนียม (Selenium), โคบอลต์ (Cobalt), โครเมียม (Chromium), ทองแดง (Copper), แมงกานีส (Manganese), โมลิบดีนัม (Molybdenum), ฟลูออไรด์ (Fluoride), วาเนเดียม (Vanadium), สังกะสี (Zinc), และไอโอดีน (Iodine)

ประโยชน์ของเกลือแร่

1. ทำหน้าที่ช่วยควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อและระบบประสาท และช่วยในการแข็งตัวของเลือดได้
2. มีความเกี่ยวข้องและเป็นส่วนประกอบของกระดูกและฟันอีกด้วย (แคลเซียม ฟอสฟอรัส แมกนีเซียม และฟลูออรีน)
3. ทำหน้าที่ช่วยควบคุมการหดรัดตัวของกล้ามเนื้อและการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อต่าง ๆ (แคลเซียม) ได้อีกด้วย
4. สามารถช่วยควบคุมความสมดุลของของเหลวชนิดเกลือแร่ (Electrolyte) ในร่างกาย เช่น โพแทสเซียม (Potassium), โซเดียม (Sodium) เป็นต้น
5. บางชนิดนั้น มีบทบาทเกี่ยวกับการรับส่งความรู้สึกของเส้นใยประสาทจากเซลล์ประสาทหนึ่งไปสู่อีกเซลล์หนึ่ง (โพแทสเซียม โซเดียม) ได้อีกด้วย
6. ช่วยรักษาความสมดุลของกรดและด่างภายในร่างกายได้ เพราะเกลือแร่ที่ร่างกายได้รับมาจากการรับประทานอาหารจะมีทั้งเกลือแร่ชนิดที่ทำให้เกิดกรดและเบส ซึ่งกลไกของร่างกายก็จะทำหน้าที่ปรับภาวะเพื่อรักษาความสมดุลความเป็นกลางเอาไว้ เพื่อช่วยให้เซลล์สามารถมีชีวิตอยู่ต่อได้ (โซเดียม โพแทสเซียม แมกนีเซียม แคลเซียม และฟอสฟอรัส)
7. ทำหน้าที่ช่วยควบคุมสมดุลของน้ำในร่างกาย เนื่องจากการเคลื่อนย้ายของเหลวภายในร่างกายนั้นจะขึ้นอยู่กับปริมาณความเข้มข้นของเกลือแร่ในบริเวณนั้น ๆ ด้วย ซึ่งร่างกายจะมีน้ำอยู่ประมาณร้อยละ 60
8. เกลือแร่ถือเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาทางชีวเคมี ยกตัวอย่างเช่น ช่วยในการกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ ช่วยส่งเสริมการดูดซึมอาหารและวิตามิน เป็นตัวเร่งในกระบวนการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีน ทำให้กลายเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ น้ำ และพลังงาน เป็นต้น (สังกะสี ทองแดง โครเมียม)
9. เกลือแร่ถือเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย เช่น ไอโอดีนในฮอร์โมนส์-ไทรอกซิน เอนไซม์ โคเอนไซม์ เป็นต้น และแถมยังเป็นองค์ประกอบในโมเลกุลของสารประกอบต่าง ๆ ภายในร่างกายอีกด้วย เช่น กรดอะมิโน และฟอสโฟลิปิด ได้แก่ กำมะถัน และฟอสฟอรัส หรือเป็นองค์ประกอบในโมเลกุลของฮีม คือ ธาตุเหล็ก เป็นต้น
10. ประโยชน์ด้านการถนอมอาหารนั้นก็มี คือ ใช้เพื่อการถนอมอาหารจะแบ่งได้ออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ช่วยป้องกันการเน่าเสียของอาหาร (เช่น เกลือแกง ไนไตรต์ ซัลไฟต์) และกลุ่มที่ช่วยป้องกันการเปลี่ยนสีของอาหาร
11. ในด้านกลิ่น รส สี และการชูรส ซึ่งทำหน้าที่ได้ดีเลยทีเดียว แถมมีอยู่หลายชนิด มีทั้งจากธรรมชาติและสารสังเคราะห์ เช่น โซเดียมคลอไรด์ มีรสเค็มและใช้เป็นส่วนผสมในขนมปัง ทำหน้าที่ชูรสชาติอาหารก็มีอยู่หลายชนิดด้วยกัน แต่ที่รู้จักกันดีก็คือ โมโนโซเดียมกลูตาเมต (MSG) เป็นต้น และในเรื่องของสีนั้น อาหารจำพวกเนื้อสัตว์มักจะมีปัญหามีสีคล้ำเมื่อสัมผัสกับออกซิเจนเป็นเวลานาน ๆ ทำให้ดูเหมือนขาดความสดใหม่ การปรับพีเอชของสัตว์ให้อยู่ในเกณฑ์ 6-6.6 จะช่วยรักษาสีของเนื้อสัตว์ไว้ได้นานขึ้น โดยที่นิยมนำมาใช้กันก็คือ โซเดียมโพลีฟอสเฟตนั่นเอง
12. มักมีการใช้เกลือซัลไฟต์และกรดซัลฟูรัส ในการช่วยป้องกันการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่น เพื่อช่วยรักษากลิ่นรส สี และวิตามินซีในน้ำผลไม้อีกด้วย
13. ประโยชน์ในด้านการฟอกสีแป้ง แป้งสาลีที่ผ่านการขัดสีใหม่ ๆ มักจะมีสีเหลืองอ่อน เมื่อนำมาทำขนมปัง แป้งที่นวดได้จะมีความเหนียว เมื่อนำไปอบจะทำให้ขนมปังมีคุณภาพที่ไม่ดี แต่เมื่อเก็บแป้งไว้ในช่วงระยะเวลาหนึ่งก็จะค่อย ๆ ขาวขึ้นมา และเกิดกระบวนการปรับปรุงคุณภาพแป้งโดยธรรมชาติ ซึ่งวิธีนี้จะทำให้สิ้นเปลืองเวลา ในทางปฏิบัติจึงได้มีการนำสารเคมี เช่น คลอรีน คลอรีนไดออกไซด์ มาเร่งกระบวนการเหล่านี้ให้เร็วยิ่งขึ้น เพื่อใช้ในการฟอกสีและปรับปรุงคุณภาพแป้งเอาไว้นั่นเอง
14. ประโยชน์ในด้านการปรับปรุงเนื้อสัมผัส ทำหน้าที่ปรับปรุงลักษณะเนื้อสัมผัสของอาหารเป็นจำนวนมากเมื่อเปรียบเทียบกับสารเจือปนอื่น ๆ โดยได้นำไปใช้กับเนื้อสัตว์ แป้ง ผักและผลไม้ โดยใช้กับเนื้อสัตว์จะประกอบไปด้วย เตตระโซเดียมไพโรฟอสเฟต ไดโซเดียมออร์โทฟอสเฟต โซเดียมไตรโพลีฟอสเฟต โซเดียมแอซิดไพโรฟอสเฟต และโซเดียมเฮกซาเมตาฟอสเฟต ซึ่งการใส่เกลือแร่เหล่านี้ลงไปก็จะช่วยทำให้เนื้อสัตว์มีความนุ่มมากยิ่งขึ้น หรือการใส่เกลือแร่บางชนิดลงในผักและผลไม้ก็จะทำให้เนื้อผักหรือผลไม้มีความแข็งมากขึ้น แม้จะได้รับความร้อนก็ไม่อ่อนนุ่ม (มักพบได้มากในผลไม้แช่อิ่ม มะม่วงดอง มะเขือเทศกระป๋อง เป็นต้น และมักมีการใช้เกลือแคลเซียมเพื่อเพิ่มความแข็งกรอบให้กับผักและผลไม้อีกด้วย จึงช่วยทำให้โครงสร้างของเซลล์คงรูปอยู่ได้นานนั่นเอง)
15. ปฏิกิริยาออกซิเดชั่นของอาหารที่มีน้ำมันและไขมันนั้น ถือเป็นสาเหตุการเหม็นหืน ในกระบวนการทำน้ำมันและไขมันได้ จึงต้องมีขั้นตอนการฟอกสีและกำจัดโลหะหนักที่เป็นตัวเร่งของปฏิกิริยาออกซิเดชั่น นอกจากนี้แถมยังต้องทำการแยกกรดไขมันอิสระออกด้วย และมีการใช้สารคีเลต ซึ่งสารพวกนี้นั้นจะไปรวมตัวกับโลหะได้เป็นสารประกอบเชิงซ้อน จึงเป็นการลดสารเร่งปฏิกิริยาให้น้อยลงได้ หรือทำให้ปฏิกิริยาออกซิเดชั่นเกิดช้าลง และวิธีเดียวกันนี้ยังสามารถนำไปใช้เพื่อป้องกันการเปลี่ยนสีของเนื้อปูได้อีกด้วย โดยใช้สารคีเลต อีดีทีเอ นั่นเอง
16. บางชนิดนั้น นอกจากจะทำให้อาหารมีรสที่กลมกล่อมมากขึ้นแล้ว ยังทำหน้าที่ในการเป็นสารโปร่งฟูอีกด้วย โดยเกลือแร่ที่นิยมนำมาใช้กันมากก็ได้แก่ แคลเซียมอะซิเตต โซเดียมอะซิเตต โพแทสเซียมซีเตรต ฯลฯ เป็นต้น

ปริมาณของที่แนะนำให้บริโภคต่อวัน

  • โพแทสเซียม 3,500 มิลลิกรัม (มักพบได้ในผักและผลไม้)
  • คลอไรด์ 3,400 มิลลิกรัม (มักพบได้ในอาหารธรรมชาติเกือบทุกชนิด และพบได้มากที่สุดในอาหารจำพวกเนื้อสัตว์และอาหารที่ปรุงด้วยเกลือ)
  • โซเดียม 2,400 มิลลิกรัม (มักพบได้มากในนมโค)
  • แคลเซียม 800 มิลลิกรัม (มักพบได้ในอาหารจำพวกธัญชาติและนม)
  • ฟอสฟอรัส 800 มิลลิกรัม (มักพบได้มากในนมโค ธัญชาติ เนื้อสัตว์ และไข่)
  • แมกนีเซียม 350 มิลลิกรัม (มักพบได้ในผักใบเขียว)
  • ธาตุเหล็ก 15 มิลลิกรัม (มักพบได้มากในตับ ไต หอย ไข่แดง โกโก้ ผักสีเขียว ผลไม้เปลือกแข็ง แป้งจากธัญพืชทั้งเมล็ด ส่วนนมพบว่ามีธาตุเหล็กเพียงเล็กน้อยเท่านั้น)
  • สังกะสี 15 มิลลิกรัม (มักพบได้มากในหอยนางรม นม รำข้าว จมูกข้าวสาลี และสามารถพบได้บ้างในผัก ขนมปัง
  • เนื้อสัตว์ ปลา ไข่ ธัญพืช และผลไม้ที่มีเปลือกแข็ง)
  • แมงกานีส 3.5 มิลลิกรัม (มักพบได้มากในผลไม้เปลือกแข็ง นม ไข่ และธัญพืช ส่วนเนื้อสัตว์ปีก และอาหารทะเลนั้นจะมีแมงกานีสในปริมาณน้อย)
  • ฟลูออไรด์ 2 มิลลิกรัม (มักพบได้ในน้ำ ในอาหารทะเล และเนื้อสัตว์)
  • ทองแดง 2 มิลลิกรัม (มักพบได้มากใน หอยนางรม สมองสัตว์ ตับ ไต โกโก้ ผลไม้เปลือกแข็ง ลูกท้อ องุ่น)
  • โมลิบดีนัม 10 ไมโครกรัม (มักพบได้ในตับ ไต ธัญพืช พืชน้ำมัน และผักกินใบ)
  • ไอโอดีน 150 ไมโครกรัม (มักพบได้ในอาหารทะเลและน้ำดื่ม)
  • ซีลีเนียม 70 ไมโครกรัม (มักพบได้มากในยีสต์ ขนมปัง ผักและผลไม้แทบทุกชนิด)
  • โคบอลต์ (มักจะพบได้มากในผักกินใบ เนื้อสัตว์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตรงส่วนของตับและไต ส่วนนมโค แป้ง และธัญพืชจะมีโคบอลต์ในปริมาณน้อย)
  • โครเมียม 130 ไมโครกรัม

หมายเหตุ : ปริมาณที่แนะนำให้บริโภคต่อวัน (Thai Recommended Daily Intakes – Thai RDI) สำหรับผู้ที่มีอายุ 6 ปีขึ้นไป โดยคิดจากความต้องการพลังงานวันละ 2,000 กิโลแคลอรี

ข้อควรรู้เกี่ยวกับแร่ธาตุ

แร่ธาตุนั้นสามารถสูญเสียออกจากอาหารได้ในระหว่างการแยกส่วนหรือการล้าง เช่น การขัดสีของเมล็ดข้าว การขัดเอารำออกจากธัญพืชต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น ข้าวกล้องที่ไม่ผ่านกระบวนการขัดสีจะมีแคลเซียม 12 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 10 มิลลิกรัม แต่ข้าวขาวจะมีแคลเซียมเพียง 8 มิลลิกรัม และมีธาตุเหล็ก 1.2 มิลลิกรัมเท่านั้น

เอกสารอ้างอิง
มหาวิทยาลัยแม้โจ้. “เกลือแร่”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: coursewares.mju.ac.th. [25 มิ.ย. 2014].

อ้างอิงรูปจาก
1. https://www.efrankhopkins.com/philadelphia-seafood.html

หงอนไก่ไทย รากมีสรรพคุณรักษาลมอัมพฤกษ์

0
หงอนไก่ไทย
หงอนไก่ไทย รากมีสรรพคุณรักษาลมอัมพฤกษ์ เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก ดอกขนาดเล็กเป็นละออง ดอกบิดจีบม้วนคล้ายกับหงอนไก่ ดอกสีเหลือง หรือสีแดง หรือสีขาว หรือสีชมพู
หงอนไก่ไทย
ไม้พุ่มขนาดเล็ก ดอกขนาดเล็กเป็นละออง ดอกบิดจีบม้วนคล้ายกับหงอนไก่ ดอกสีเหลือง หรือสีแดง หรือสีขาว หรือสีชมพู

หงอนไก่ไทย

หงอนไก่ไทย เป็นพืชปลูกในประเทศในเขตอบอุ่น ส่วนประเทศไทยพบตามชายป่า และริมถนน ชื่อสามัญ คือ Common cockscomb, Wild Cockcomb, Crested celosin, Cockcomb ชื่อทางวิทยาศาสตร์ คือ Celosia cristata L., Celosia argentea var. cristata (L.) Kuntze อยู่วงศ์บานไม่รู้โรย (AMARANTHACEAE) มีชื่อในท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น โกยกวงฮวย (จีนแต้จิ๋ว), ซองพุ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), หงอนไก่ไทย (ภาคกลาง), หงอนไก่ฝรั่ง (ภาคกลาง), หงอนไก่ดอกกลม (ภาคกลาง), สร้อยไก่ (ภาคเหนือ), ดอกด้าย (ภาคเหนือ), จีกวนฮวา (จีนกลาง), แชเสี่ยง (จีนแต้จิ๋ว), หงอนไก่ดง (นครสวรรค์), กระลารอน (เขมร-ปราจีนบุรี), ชองพุ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), พอคอที (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), หงอนไก่เทศ (ภาคกลาง), หงอนไก่ฟ้า (ภาคกลาง), หงอนไก่ (ภาคเหนือ), ด้ายสร้อย (ภาคเหนือ) [1],[5],[8]

ลักษณะของหงอนไก่ไทย

  • ต้น เป็นไม้พุ่มที่มีขนาดเล็ก ต้นสูงประมาณ 20 นิ้ว ไม่มีแก่น ต้นหงอนไก่เป็นพรรณไม้ที่สามารถกลายพันธุ์ได้ง่าย ทำให้บางต้นมักไม่เป็นสีเขียว อาจเป็นสีแดง สีเขียวอ่อน สีขาว เป็นต้น แล้วแต่พันธุ์ของต้น ขยายพันธุ์โดยวิธีการเพาะเมล็ด เติบโตได้ดีในที่ดินร่วนซุย ระบายน้ำได้ดี เป็นไม้กลางแจ้ง ต้นหงอนไก่จะชอบแสงแดดจัด เติบโตง่าย งอกงามเร็ว [1]
  • ใบ เป็นใบเดี่ยว ใบจะออกเป็นกลุ่มที่ตามข้อลำต้น ใบเป็นรูปหอก รูปทรงมนรี รูปรี ที่โคนใบจะสอบ ส่วนที่ปลายใบจะแหลม ขอบใบเรียบไม่มีหยัก แผ่นใบมีลักษณะเป็นสีเขียว ใบกว้างประมาณ 1-3 เซนติเมตร สามารถยาวได้ประมาณ 10-15 เซนติเมตร ที่ผิวใบด้านบนจะเป็นสีเขียว หรือสีม่วงแดง จะย่นนิดหน่อย เส้นกลางใบจะเป็นสีชมพู[1],[5],[8]
  • ดอก มีขนาดเล็กเป็นละออง ออกติดแน่นเป็นช่อเดียวกันคล้ายหงอนไก่ ขนาดประมาณ 2-4 นิ้ว ช่อดอกบิดจีบม้วนไปมาในช่อดูคล้ายกับหงอนไก่ แต่ละดอกมีกลีบเลี้ยงอยู่ 3 กลีบ และมีกลีบดอก 5 กลีบ มีลักษณะเป็นรูปปลายแหลม มีขนาดยาวประมาณ 5-8 มิลลิเมตร ดอกจะมีเกสรเพศผู้ 5 อัน และมีเกสรเพศเมีย 1 อัน ที่ปลายจะมีรอยแยก 2 รอยตื้น สีดอกแตกต่างกันไปตามสายพันธุ์ อย่างเช่น สีเหลือง สีแดง สีขาว สีชมพู สีผสม เมื่อช่อดอกบานเต็มที่จะกว้างประมาณ 8-15 เซนติเมตร[1],[5],[8]
  • ผล เป็นผลแห้ง ผลเป็นรูปทรงกลม มีเมล็ดอยู่ในผล เมล็ดเป็นรูปกลมแบน ที่เปลือกนอกเมล็ดจะมีลักษณะเป็นสีดำแข็ง เป็นมัน[1],[5]

ข้อห้ามในการใช้หงอนไก่

  • ห้ามให้ผู้ที่เป็นโรคตาบอดใสทานสมุนไพรหงอนไก่[4]
  • ห้ามให้สตรีที่อยู่ระหว่างการมีประจำเดือนทานสมุนไพรหงอนไก่[1]

ประโยชน์หงอนไก่ไทย

  • ปลูกเป็นไม้ตัดดอกทำดอกไม้แห้ง[5]
  • ปลูกเป็นไม้ประดับแปลงทั่วไป ปลูกเป็นไม้กระถาง ปลูกริมทางเดิน ปลูกตามขอบแปลง [5]

สรรพคุณหงอนไก่ไทย

1. ใบจะมีสรรพคุณที่ช่วยบรรเทาอาการคันเพราะยางของต้นรักได้ (ใบ)[9]
2. สามารถนำลำต้นอ่อนมาตำให้ละเอียด แล้วใช้เป็นยาพอกแก้ตะขาบกัดได้ (ลำต้น)[1]
3. สามารถนำใบกับก้านมาตำใช้พอกรักษาบาดแผลที่มีเลือดออกได้ (ใบกับก้าน)[1]
4. สามารถช่วยแก้มุตกิดตกขาวของสตรีได้ โดยนำดอกสดประมาณ 30-60 กรัม (แห้งใช้ 15-30 กรัม) มาต้มทาน หรือนำดอกมาต้มกับเหล้าขาวทาน (สามารถใช้ได้ทั้งดอกหงอนไก่ไทยและหงอนไก่เทศ)[1],[3],[8]
5. สามารถใช้แก้ริดสีดวงทวารได้ (ดอก,เมล็ด)[3],[5]
6. ดอกสามารถใช้เป็นยาขับปัสสาวะได้ (ดอก)[7]
7. ในตำรายาแผนไทยจะนำเมล็ดมาใช้เป็นยาแก้ท้องร่วงได้ (เมล็ด)[7]
8. สามารถช่วยแก้อาการท้องอืดได้ (ราก)[5]
9. สามารถนำเมล็ดมาต้ม แล้วเอาไปใช้กลั้วรักษาแผลในช่องปาก (เมล็ด)[7]
10. สามารถใช้เป็นยาแก้เสมหะได้ (ราก)[2],[3],[5]
11. สามารถใช้เป็นยารักษาโรคตาแดง เยื่อตาอักเสบ ทำให้ตาสว่าง ตาปวด โดยนำดอกสดประมาณ 30-60 กรัม (แห้งใช้ 15-30 กรัม) มาต้มทาน (ดอก)[1],[3],[4]
12. สามารถใช้เป็นยาแก้ไข้ที่มีอาการในทางเดินอาหารร่วม อย่างเช่น ไข้อาหารเป็นพิษ ไข้ท้องอืดเฟ้อ แก้ไข้เพื่อลม ไข้พิษได้ (ราก)[2],[3],[5],[6]
13. ก้าน ดอก ใบหงอนไก่เทศ จะมีรสชุ่มเป็นยาเย็น จะออกฤทธิ์กับตับ ไต มีสรรพคุณที่ทำให้เลือดเย็น (ก้าน, ใบ,ดอกหงอนไก่เทศ)[8]
14. เมล็ดจะมีรสขม เป็นยาเย็น จะออกฤทธิ์กับตับ สามารถใช้เป็นยาแก้ร้อนในตับ และสามารถช่วยขับลมร้อนในตับได้ (เมล็ด)[4]
15. สามารถใช้เป็นยาแก้ความดันโลหิตสูงได้ โดยนำเมล็ดหงอนไก่แห้งประมาณ 4.5-9 กรัม มาต้มทานหรือใช้ทำยาเม็ดทาน (เมล็ดแห้ง)[1],[4],[5]
16. รากจะมีรสขมเฝื่อน จะมีสรรพคุณที่เป็นยาบำรุงธาตุในร่างกาย (ราก)[2],[3],[5]
17. ดอกสามารถใช้รวมกับพืชชนิดอื่น ๆ เป็นยาบำรุงกำลังได้ (ดอก)[9]
18. ในตำรายาไทยจะนำรากหงอนไก่เป็นยาแก้โลหิตเป็นพิษ (ราก)[2],[3]
19. สามารถช่วยแก้เลือดลมไม่ปกติได้ (ดอก)[7]
20. สามารถช่วยแก้ลมอัมพฤกษ์ได้ (ราก)[6]
21. สามารถใช้แก้อาการปวดศีรษะได้ โดยนำดอกสดที่มีรสฝาดเฝื่อนประมาณ 30-60 กรัม ถ้าใช้ดอกแห้งให้ใช้ประมาณ 15-30 กรัม มาต้มทาน (ดอก)[1],[3],[4]
22. สามารถช่วยแก้ตาฟางในเวลากลางคืนได้ โดยนำเมล็ดแห้งประมาณ 4.5-9 กรัม มาต้มทานหรือทำยาเม็ดทาน (เมล็ดแห้ง)[1]
23. สามารถช่วยแก้อาการไอ และไอเป็นเลือดได้ โดยนำดอกหงอนไก่เทศสดประมาณ 30-60 กรัม มาต้มทาน ถ้าใช้ดอกแห้งให้ใช้ประมาณ 15-30 กรัม (ดอก)[1],[8]
24. สามารถใช้เป็นยาแก้หืดได้ (ราก)[2],[3],[5]
25. สามารถใช้เป็นยาแก้โรคท้องเสียได้ โดยนำลำต้นสดมาต้มทาน (ลำต้น)[1]
26. สามารถใช้เป็นยาระบายได้ นำใบสดกับก้านประมาณ 30-60 กรัม มาต้มหรือคั้นเอาน้ำทาน (ก้านและใบ)[1]
27. สามารถช่วยแก้ปัสสาวะเป็นเลือดได้ (ดอกหงอนไก่เทศ)[8]
28. สามารถใช้แก้ประจำเดือนมามากผิดปกติ และแก้ประจำเดือนไม่ปกติได้ โดยนำดอกสดประมาณ 30-60 กรัม (ถ้าใช้ดอกแห้งให้ใช้ 15-30 กรัม) มาต้มทาน (ดอก)[1],[5]
29. สามารถใช้เป็นยาห้ามเลือด และแก้เลือดไหลไม่หยุดได้ (ก้านและใบ,ดอก,เมล็ดแห้ง)[1],[3],[4],[5],[8]

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

  • จากการที่รักษาผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงในช่วง 160-220 / 100-135 มม. ปรอท ด้วยการทำการรักษาโดยนำเมล็ดหงอนไก่แห้งประมาณ 30 กรัม มาต้มสกัดเอาน้ำ 2 ครั้ง แบ่งทาน 3 ครั้งต่อวัน ผลการทดลองปรากฏว่า หลังจากที่ได้รับประทานไปแล้ว 1 สัปดาห์ ผู้ป่วยจะมีความดันลดลงอยู่ในช่วง 125-146 / 70-90 มม. ปรอท[1] จากการนำมาทดลองกับสัตว์ ปรากฏว่าเมล็ดหงอนไก่ช่วยลดความดันโลหิตได้[4]
  • พบสาร โพแทสเซียมไนเตรด, กรดไขมัน, Celosiaol, Nicotinic acid, Oxalic acid ในเมล็ด และพบน้ำมันระเหยอีกหลายชนิด[4]
  • น้ำมันระเหยที่ได้จากเมล็ดหงอนไก่ จะมีฤทธิ์ที่สามารถทำให้ม่านตาดำขยายตัว[4]
  • สารสกัดจากเมล็ดและดอก เมื่อนำมาทดลอง ปรากฏว่ามีฤทธิ์ที่ช่วยยับยั้งการเติบโตของเชื้อ Trichomonas vaginalis ได้ดี เชื้อชนิดนี้เมื่อเอามาต้มด้วยความร้อนสูงเป็นเวลา 5-10 นาทีก็จะตายไป[1]

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “หงอนไก่”. หน้า 794-796.
2. หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา. (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “หงอนไก่ไทย”. หน้า 65.
3. หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). “หงอนไก่ไทย (Ngonkai Thai)”. หน้า 312.
4. หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. (วิทยา บุญวรพัฒน์). “หงอนไก่ไทย”. หน้า 570.
5. สวนพฤกษศาสตร์คลองไผ่, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “หงอนไก่”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.rspg.or.th/plants_data/kp_bot_garden/kpb.htm. [06 ก.ค. 2014].
6. หนังสือประมวลสรรพคุณยาไทย. (สมาคม ร.ร.แพทย์แผนโบราณ). “หงอนไก่”.
7. ไทยรัฐออนไลน์. (นายเกษตร). “หงอนไก่ เมล็ดกระตุ้นความรู้สึกทางเพศ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www. thairath.co.th. [06 ก.ค. 2014].
8. หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. (วิทยา บุญวรพัฒน์). “หงอนไก่เทศ (หงอนไก่ฝรั่ง)”. หน้า 572.
9. ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. “หงอนไก่ไทย”. อ้างอิงใน: หนังสือพืชสมุนไพร เล่ม 2. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.qsbg.org. [06 ก.ค. 2014].

อ้างอิงรูปจาก
1. https://travaldo.blogspot.com/
2. https://travaldo.blogspot.com/
3. https://medthai.com/

พริกขี้หนู ช่วยลดระดับไขมันในเลือด

0
พริกขี้หนู ช่วยลดระดับไขมันในเลือด ไม้พุ่มขนาดเล็ก ใบเดี่ยวปลายใบแหลม ดอกสีขาว สีเหลืองอ่อนอมเขียว หรือสีเขียวอ่อน ปลายผลแหลม ผลสดสีเขียว ผลสุกสีส้มแดงหรือสีแดง รสเผ็ด
พริกขี้หนู
ไม้พุ่มขนาดเล็ก ใบเดี่ยวปลายใบแหลม ดอกสีขาว สีเหลืองอ่อนอมเขียว หรือสีเขียวอ่อน ปลายผลแหลม ผลสดสีเขียว ผลสุกสีส้มแดงหรือสีแดง รสเผ็ด

พริกขี้หนู

พริกขี้หนู ถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบอเมริกาเขตร้อน มักขึ้นร่วมกับวัชพืชชนิดอื่น สามารถพบได้ในทุกภาคของประเทศไทย ชื่อสามัญ Bird pepper, Chili pepper, Cayenne Pepper, Tabasco pepper[1],[2] ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Capsicum annuum L. ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ คือ Capsicum frutescens L., Capsicum frutescens var. frutescens, Capsicum minimum Mill.) จัดอยู่ในวงศ์มะเขือ (SOLANACEAE)[1] ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ คือ พริกแด้ พริกแต้ พริกนก พริกแจว พริกน้ำเมี่ยง (ภาคเหนือ), หมักเพ็ด (ภาคอีสาน), พริก พริกชี้ฟ้า (ภาคกลาง), ดีปลีขี้นก พริกขี้นก (ภาคใต้), พริกมะต่อม (เชียงใหม่), ปะแกว (นครราชสีมา), มะระตี้ (สุรินทร์), ดีปลี (ปัตตานี), ครี (กะเหรี่ยง-กำแพงเพชร), ลัวเจียะ (จีนแต้จิ๋ว), ล่าเจียว (จีนกลาง), มือซาซีซู, มือส่าโพ[1],[3]

ลักษณะของพริกขี้หนู[1],[3],[4],[5]

  • ต้น
    – เป็นไม้ล้มลุกหรือไม้พุ่มขนาดเล็ก
    – ต้นมีความสูงประมาณ 30-90 เซนติเมตร
    – มีอายุได้ถึง 1-3 ปี
    – แตกกิ่งก้านสาขามาก
    – กิ่งอ่อนเป็นสีเขียว
    – กิ่งแก่จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล
    – สามารถขยายพันธุ์ได้โดยการเพาะเมล็ด
    – เติบโตได้ดีในดินร่วนปนเหนียว ดินร่วนระบายน้ำดี
    – ไม่ทนต่อสภาพน้ำขัง
  • ใบ
    – ใบเป็นใบเดี่ยว
    – ออกใบเรียงสลับตรงข้ามกัน
    – ใบมีรูปร่างเป็นรูปไข่ รูปกลมรี หรือรูปวงรี
    – ปลายใบแหลม โคนใบเฉียงหรือสอบ และขอบใบจะเรียบ
    – ใบมีความกว้างประมาณ 2-4 เซนติเมตร และมีความยาวประมาณ 3-8 เซนติเมตร
    – แผ่นใบเรียบ มีสีเขียวมันวาว
    – ก้านใบยาวประมาณ 4-7 เซนติเมตร
  • ดอก
    – ออกดอกเป็นช่อกระจุกตามซอกใบ
    – ในแต่ละช่อจะมีประมาณ 2-3 ดอก
    – มีกลีบดอกประมาณ 5-7 กลีบ
    – กลีบดอกเป็นสีขาว สีเหลืองอ่อนอมเขียว หรือสีเขียวอ่อน
    – เกสรเพศผู้จะมีอยู่ประมาณ 5 อัน จะขึ้นสลับกับกลีบดอก
    – เกสรเพศเมียจะมีอยู่เพียง 1 อัน
    – มีรังไข่ประมาณ 2-3 ห้อง
  • ผล
    – ผลมีรูปร่างยาวรี
    – ปลายผลแหลม
    – ผลมีความกว้างประมาณ 3-5 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 2-3 เซนติเมตร
    – ผลสดจะเป็นสีเขียว
    – ผลสุกจะเปลี่ยนเป็นสีส้มแดงหรือเป็นสีแดงปนสีน้ำตาล
    – ผลมีผิวที่ค่อนข้างลื่น
    – ภายในผลจะกลวงและมีแกนกลาง
    – รอบ ๆ แกนจะมีเมล็ดเป็นสีเหลืองเกาะอยู่มาก
    – เมล็ดมีรูปร่างแบนเป็นสีขาวหรือสีเหลืองอ่อนและมีรสเผ็ด
    – เมล็ดมีขนาดประมาณ 3 มิลลิเมตร

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

  1. สารสำคัญที่พบได้แก่[1]
    – acetic acid
    – alanine,phenyl
    – ascorbic acid
    – butyric acid
    – butyric acid
    – caffeic acid
    – caproic acid
    – capsaicin
    – chlorogenic acid
    – ferulic acid
    – hexanoic acid
    – lauric acid
    – protein
    – novivamide
    – valeric acid
    – vanillyl amine
    – zucapsaicin
  2. เมื่อปี ค.ศ.1982 ที่ประเทศอินเดีย[1]
    – ได้ทำการทดลองใช้สารสกัดจากพริก
    – ผลการทดลองพบว่าสารสกัดที่ได้สามารถช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดของสัตว์ทดลองได้
  3. เมื่อปี ค.ศ.2001 และปี ค.ศ.2004 ที่ประเทศจาเมกา ได้ทำการทดลองในสุนัข[1]
    – ช่วยยับยั้งการดูดซึมน้ำตาลจากทางเดินอาหาร
    – ช่วยเพิ่มการหลั่งของอินซูลิน จึงสามารถช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดลดลงได้
  4. สารสกัดที่ต้มด้วยน้ำ[3],[4]
    – สามารถใช้ในการฆ่าแมลงได้
  5. สาร Capsaicin[3],[4]
    – ช่วยยับยั้งเชื้อ Bacillis cereus
    – ช่วยฆ่าเชื้อ Bacillus subtilis
  6. จากการศึกษาในประเทศญี่ปุ่น จากการกินพริก 10 กรัม[10]
    – ทำให้เพิ่มอัตราการเผาผลาญของร่างกาย โดยจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วภายใน 30 นาที
  7. การนำสารสกัดจากพริกมาใช้ทาลงบนผิวหนัง[3],[4]
    – ทำให้หลอดเลือดบริเวณนั้นเกิดการขยายตัว
    – ทำให้การไหลเวียนของเลือดเพิ่มขึ้น
    – หากใช้มากเกินไปจะทำให้ระคายเคืองต่อผิว ทำให้ผิวหนังเป็นแผลพุพองและแสบร้อนได้
  8. สาร Capsaicin[3]
    – ช่วยทำให้เจริญอาหาร
    – ช่วยกระตุ้นทำให้การเคลื่อนไหวของกระเพาะอาหารสุนัขเพิ่มขึ้น
  9. น้ำที่สกัดได้จากพริก[3]
    – จะลดการบีบตัวของลำไส้เล็กส่วนปลาย ilieum ของหนูตะเภาที่เกิดจากอะเซทิลโมลีนและฮีสตามีน
  10. Capsaicin[3]
    – จะเพิ่มการบีบตัวของลำไส้เล็กส่วนปลาย ileum ของหนูตะเภา
  11. การรับประทานอาหารที่ปรุงด้วยพริกแก่สีแดงเป็นเวลา 3 สัปดาห์[3]
    – พบว่าสารในกลุ่มคอร์ติโซนในพลาสมาจะเพิ่มขึ้น และจะขับออกมาทางปัสสาวะเพิ่มขึ้นด้วย
  12. สารสกัดที่นำมาฉีดเข้าทางช่องท้องของหนูถีบจักรทดลอง[3]
    – มีฤทธิ์กดประสาท ทำให้หนูทดลองเดินเซเล็กน้อยและชักตายได้
  13. สารสกัดที่นำมาฉีดเข้าทางหลอดเลือด[3]
    – มีฤทธิ์กระตุ้นปลายประสาทรับความรู้สึกทั่วไป
    – มีฤทธิ์กระตุ้นมดลูกของหนูขาวทดลอง
  14. สาร Capsaicin[10]
    – สามารถลดการจับกลุ่มของเกล็ดเลือดได้
  15. จากการศึกษาในคนที่ได้รับประทานพริกสด 5 กรัมที่สับละเอียดพร้อมกับน้ำ 1 แก้ว[10]
    – จากการวัดค่าการจับกลุ่มของเกล็ดเลือดหลังกินทันทีจนถึงหนึ่งชั่วโมง พบว่าจะมีการยืดระยะเวลาของการจับกลุ่มของเกล็ดเลือดออกไปภายใน 30 นาทีหลังกินพริก
    – จากการศึกษาในระยะเวลา 4 สัปดาห์ พบว่าการจับกลุ่มของเกล็ดเลือดมีการยืดระยะเวลาออกไปอีกเช่นกัน
  16. จากการศึกษาโดยให้หนูกินพริกและ Capsaicin เข้าไป[10]
    – ช่วยทำให้ระดับไขมันในเลือดลดลง
  17. การศึกษาในคนที่มีไขมันในเลือดสูง โดยทำการแบ่งกลุ่มให้กิน5 กรัม ร่วมกับอาหารปกติ เป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์[10]
    – ในกลุ่มที่ไม่กินพริกมีระดับไขมันคอเลสเตอรอล ไขมันเลว และไขมันดีสูงขึ้น
    – ในกลุ่มที่กินพริกมีระดับไขมันทั้งหมดและไขมันเลวไม่เปลี่ยนแปลง แต่ไขมันดีสูงขึ้น
  18. จากการศึกษาผลการลดระดับน้ำตาลในเลือดกับหญิงวัยหมดประจำเดือนจำนวน 10 ราย โดยทำการทดลองเปรียบเทียบระดับน้ำตาลในเลือด[10]
    – ในวันแรกให้ดื่มน้ำตาลกลูโคส 75 กรัม เพียงอย่างเดียว แล้วเจาะเลือด ในเวลาก่อนกินและหลังกินที่เวลา 15, 30 และ 60 นาที
    – ในวันที่สองให้ดื่มน้ำตาลกลูโคสเช่นเดียวกับวันแรก แต่กินร่วมกับพริกและทำการเจาะเลือด ในเวลาก่อนกินและหลังกินที่เวลา 15, 30 และ 60 นาที
    – จากนั้นนำผลที่ได้มาเปรียบเทียบกัน พบว่าระดับน้ำตาลในเลือดหลังการดื่มน้ำตาลพร้อมพริก 30 นาที จะต่ำกว่าน้ำตาลในเลือดในวันแรกที่ไม่ได้กินพริกประมาณร้อยละ 20

สรรพคุณของพริกขี้หนู

  • ช่วยกระตุ้นให้ผมงอก[9]
  • ช่วยรักษาโรคเกาต์ ช่วยลดอาการไขข้ออักเสบ ลดอาการปวดบวม[1],[3],[8]
  • ช่วยรักษาอาการตะคริวได้ ช่วยทำให้บริเวณผิวที่ทามีเลือดมาเลี้ยงมากขึ้น และกระตุ้นทำให้บริเวณที่ทารู้สึกร้อน[8],[9]
  • ช่วยลดอาการปวดบวมอันเนื่องจากลมชื้นหรือจากความเย็นจัด[3],[4]
  • ช่วยแก้อาการปวดเมื่อยตามตัว ขับลมชื้นตามร่างกาย[4]
  • ช่วยรักษาอาการปวดตามเอวและน่อง[3]
  • ช่วยรักษาอาการบวม ฟกช้ำดำเขียว ปวดตามข้อ เคล็ดขัดยอก[3],[4]
  • ช่วยทำให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น[3,[4]
  • ช่วยแก้พิษตะขาบและแมงป่องกัด[6]
  • ช่วยต้านแบคทีเรียและอนุมูลอิสระ[8]
  • ช่วยรักษาโรคหิด กลากเกลื้อน[3]
  • ช่วยป้องกันการเป็นผื่นแดงเนื่องจากแพ้อากาศเย็น[9]
  • ช่วยขับน้ำคาวปลาของสตรี[6]
  • ช่วยรักษาโรคบิด[3]
  • ช่วยแก้อาการเจ็บคอ เสียงแหบ[6]
  • ช่วยรักษาอาการอาเจียน[3]
  • ช่วยสลายเมือกในปอด ทำให้ทางเดินหายใจโล่ง ช่วยป้องกันหลอดลมอักเสบและถุงลมโป่งพอง[8],[9],[10]
  • ช่วยแก้ไข้หวัด ลดน้ำมูก บรรเทาอาการไอ ช่วยขับเสมหะ[2],[10]
  • ช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวด และทำให้อารมณ์แจ่มใส[10]
  • ช่วยลดการอุดตันของหลอดเลือด[10]
  • ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต ช่วยสลายลิ่มเลือด[8]
  • ช่วยลดความดันโลหิตได้ เพราะทำให้หลอดเลือดอ่อนตัวและช่วยทำให้ระบบการไหลเวียนของเลือดเป็นไปได้ด้วยดี[9]
  • ช่วยเร่งการสันดาปและเร่งเมตาบอลิซึม ช่วยใช้แคลอรีให้หมดไป จึงทำให้น้ำหนักลด[8],[10]
  • ช่วยลดระดับไตรกลีเซอไรด์และไขมันเลว[8],[10]
  • ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด[1]
  • ช่วยแก้ตานซางซึ่งเป็นโรคที่มักพบได้ในเด็ก[2]
  • ช่วยกระตุ้นทำให้เจริญอาหาร และช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย[1],[2],[4]
  • ช่วยแก้เท้าแตก[6]
  • ช่วยแก้เส้นเอ็นพิการ แก้ปวดเมื่อยตามตัว แก้ปวดบวม[3],[6]
  • ช่วยขับปัสสาวะ[6]
  • ช่วยรักษาอาการบวม ฟกช้ำดำเขียว ปวดตามข้อ เคล็ดขัดยอก[6]
  • ช่วยทำให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น[6]
  • ช่วยแก้มดคันไฟกัด[6]
  • ช่วยรักษาแผลสดและแผลเปื่อย[6]
  • ช่วยแก้อาการคัน[1]
  • ช่วยแก้หวัด[11]
  • ช่วยเจริญอาหาร เพิ่มน้ำลาย และช่วยขับลม[8]

ประโยชน์ของพริกขี้หนู

  • พริก สามารถนำมาใช้เป็นส่วนประกอบที่อยู่ในสเปรย์ป้องกันตัวได้ เมื่อฉีดเข้าตาโดยตรงอาจจะทำให้มองไม่เห็นประมาณ 2-3 นาที[10]
  • การรับประทานพริกเป็นประจำ จะช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจและโรคหลอดลมอักเสบได้[9]
  • สามารถนำมาใช้เป็นส่วนผสมในยาขี้ผึ้งทาถูนวดได้[2],[9],[10]
  • สามารถนำมาใช้เป็นส่วนผสมในยาธาตุ ยาแก้ปวดท้องได้[2],[9],[10]
  • ยอดและใบอ่อน ช่วยในการบำรุงประสาทและบำรุงกระดูก[6]
  • ยอดและใบอ่อน สามารถนำมาประกอบอาหารได้อีกหลายเมนู เช่น แกงเลียง แกงอ่อม ทอดกับไข่[5]
  • เมล็ดอ่อนหรือเมล็ดแก่ สามารถนำไปปรุงรสเผ็ดในอาหาร เช่น ต้ม ลาบ น้ำพริกได้[5]
  • มีความนิยมนำมาใช้ในการปรุงรสชาติอาหารสำหรับคนไทย[3]

คุณค่าทางโภชนาการ

ปริมาณพริก100 กรัมให้ พลังงาน 76 กิโลแคลอรี [5],[10]

สารอาหาร ปริมาณสารที่ได้รับ
น้ำ 82 กรัม
โปรตีน 3.4 กรัม
ไขมัน 1.4 กรัม
คาร์โบไฮเดรต 12.4 กรัม
ใยอาหาร 5.2 กรัม
วิตามินเอ 2,417 หน่วยสากล
วิตามินบี1 0.29 มิลลิกรัม
วิตามินบี2 0.11 มิลลิกรัม
วิตามินบี3 1.5 มิลลิกรัม
วิตามินซี 44 มิลลิกรัม
แคลเซียม 4 มิลลิกรัม
ธาตุเหล็ก 1.2 มิลลิกรัม
ฟอสฟอรัส 14 มิลลิกรัม

(ข้อมูลจาก : กองโภชนาการ กรมอนามัย)

ข้อควรระวังในการรับประทาน

  • สำหรับผู้ที่ไม่ได้รับประทานเผ็ด แล้วมารับประทานอาจจะทำให้ชักตาตั้งได้[9]
  • การรับประทานพริกมากเกินไปอาจทำให้เกิดอาการแสบท้อง ทำให้หน้าเป็นสิวได้[9]
  • หากผิวหนังถูกพริกอาจจะทำให้เกิดอาการแสบร้อนได้[9]
  • หากรับประทานพริกที่เผ็ดมากเข้าไป การดื่มนมตามจะช่วยลดความเผ็ดลงได้ เนื่องจากน้ำนมจะมีสาร Casein ที่ช่วยละลายความเผ็ด[8]
  • ผู้ที่มีอาการกระเพาะหรือลำไส้อักเสบ เป็นแผลในกระเพาะอาหาร และผู้ที่เป็นวัณโรคหรือริดสีดวงทวาร ไม่ควรรับประทานพริก[4]

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสมุนไพรบำบัดเบาหวาน 150 ชนิด. (เภสัชกรหญิง จุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก). “พริกขี้หนู”. หน้า 113-114.
2. หนังสือสมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ. (คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “พริกขี้หนู Cayenne Pepper”. หน้า 72.
3. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “พริกขี้หนู”. หน้า 535-538.
4. หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. (วิทยา บุญวรพัฒน์). “พริก”. หน้า 368.
5. ผักพื้นบ้านในประเทศไทย กรมส่งเสริมการเกษตร. “พริกขี้หนู”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : ftp://smc.ssk.ac.th/intranet/Research_AntioxidativeThaiVegetable/. [26 ส.ค. 2014].
6. สารศิลปยาไทย ฉบับที่ ๑๘, สมาคมผู้ประกอบโรคศิลปแผนไทย (เชียงใหม่). “พริกขี้หนู”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.oocities.org/thaimedicinecm/. [26 ส.ค. 2014].
7. ไทยเกษตรศาสตร์. “พริกขี้หนู สรรพคุณทางยา”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.thaikasetsart.com. [26 ส.ค. 2014].
8. รายการสาระความรู้ทางการเกษตร ฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่. “ไผ่และพริก”. บทความวิทยุรายการสาระความรู้ทางการเกษตร ประจำวันจันทร์ที่ 11 สิงหาคม 2546. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : natres.psu.ac.th. [26 ส.ค. 2014].
9. หนังสือพิมพ์มติชนบทเทคโนโลยีชาวบ้าน ฉบับที่ 452, วันที่ 01 เมษายน พ.ศ. 2552. “เจาะตลาด”. (ประสิทธิ์ศิลป์ ชัยยะวัฒนะโยธิน).
10. มูลนิธิหมอชาวบ้าน. นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่ 305 คอลัมน์ : เรื่องเด่นจากปก. (ดร.พัชราณี ภวัตกุล). “พริกขี้หนู กับปัจจัยเสี่ยง ของโรคหัวใจและหลอดเลือด”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.doctor.or.th. [26 ส.ค. 2014].
11. หนังสืออาหารจากสมุนไพร อร่อย สุขภาพดี. (จำลองลักษณ์ หุ้นชิ้น, จิรนาฏ วีรชัยพิเชษฐ์กุล, รุ่งทิพย์ พรหมทรัพย์, อภิสิทธิ์ ประสงค์สุข). “พริกขี้หนู”.

รูปอ้างอิง
https://medthai.com/

ต้นติ้วขน สรรพคุณยังยั้งเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว

0
ติ้วขน
ต้นติ้วขน สรรพคุณยังยั้งเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว ไม้ยืนต้นผลัดใบ ยอดและกิ่งอ่อนมีขนหนาแน่น ดอกช่อกระจุกสีชมพูอ่อนถึงแดง กลิ่นหอมอ่อนๆ ผลแห้งปลายแหลม ผิวมีคราบสีนวล
ติ้วขน
ไม้ยืนต้นผลัดใบ ยอดและกิ่งอ่อนมีขนหนาแน่น ดอกช่อกระจุกสีชมพูอ่อนถึงแดง กลิ่นหอมอ่อนๆ ผลแห้งปลายแหลม ผิวมีคราบสีนวล

ติ้วขน

ติ้วขน มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนของทวีปเอเชียภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในประเทศ พม่า ไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนาม นอกจากนี้ยังมีรายงานอีกว่าพบได้ในจีนตอนใต้อีกด้วย สำหรับในประเทศไทยสามารถพบได้ทั่วทุกภาคของประเทศ โดยมักพบขึ้นตามป่าผลัดใบและป่าเบญจพรรณ ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 200-1,000 เมตร ชื่อวิทยาศาสตร์ Cratoxylum formosum subsp. pruniflorum (Kurz) Gogelein[1],[3] วงศ์ติ้ว (HYPERICACEAE) ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ติ้ว(กาญจนบุรี), แต้ว(จันทบุรี), ติ้วเหลือง(ภาคกลาง), ติ้วยาง ติ้วเลือด(ภาคเหนือ), ติ้วหนาม เป็นต้น[1],[3],[5]

หมายเหตุ
สายพันธุ์นี้ไม่สามารถใช้รับประทานได้ และเป็นพืชคนละชนิดกับต้นติ้วขาว หรือผักติ้ว

ลักษณะของติ้วขน

  • ต้น เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ จะมีความสูงอยู่ที่ 8-15 เมตร เรือนยอดเป็นทรงพุ่มกลม แตกกิ่งก้านโปร่ง มีขนขึ้นอย่างแน่นหนาบริเวณยอดและกิ่งอ่อน เปลือกนอกของลำต้นมีสีน้ำตาลผสมกับดำ ตามแนวยาวแตกเป็นสะเก็ด เปลือกภายในเป็นสีน้ำตาลผสมเหลือง และมียางเหนียวสีเหลียงปนแดงอยู่ด้วย กิ่งของลำต้นขนาดเล็ก และจะถูกเปลี่ยนเป็นหนามแข็ง [1],[3],[5]
  • ใบ เป็นใบเดี่ยวออกเป็นคู่เรียงตรงข้ามกัน ใบมีลักษณะเป็นรูปไข่กลับไปถึงรูปขอบขนาน โคนใบสอบ ขอบใบเรียบ มีขนขึ้นทั้งสองฝั่งของแผ่นใบ โดยหลังใบจะเป็นขนสาก ส่วนท้องใบจะเป็นขนนุ่มอยู่รวมกันอย่างแน่นหนา ใบมีความกว้างอยู่ที่ 3-5 เซนติเมตร ส่วนความยาวจะอยู่ประมาณ 3-13 เซนติเมตร ใบอ่อนมีสีแดงหรือชมพู และใบแก่จะเป็นสีแดงในช่วงก่อนผลัดใบ [1],[3]
  • ดอก เป็นดอกช่อกระจุก ออกบริเวณกิ่งด้านบนของรอยแผลใบ ดอกมีสีชมพูอ่อนถึงแดง ดอกจะมีกลิ่นหอมอ่อนๆ มีกลีบดอกและกลีบเลี้ยงอย่างละ 5 กลีบ กลีบดอกมีขนสีขาวขึ้นที่บริเวณขอบกลีบ ส่วนกลีบเลี้ยงจะมีขนขึ้นอยู่บริเวณด้านนอกประปราย มีเกสรเพศผู้มากแบ่งออกมา 3 กลุ่ม ส่วนรังไข่จะมีลักษณะเกลี้ยงเป็นรูปทรงรี[1],[3]
  • ผล เป็นผลแห้ง ลักษณะเป็นรูปรี ปลายผลแหลม มีความกว้างอยู่ที่ 0.4-0.6 เซนติเมตร และยาวประมาณ 2 เซนติเมตร ผิวผลมีลักษณะแข็ง ตามผิวจะมีคราบสีนวล ๆ อยู่ มีกลีบเลี้ยงหุ้มอยู่เกินครึ่งของผล เมื่อผลแห้ง ผลจะแตกออกเป็นพู 3 พู มีสีน้ำตาล และมีเมล็ดจำนวนมากอยู่ภายใน เมล็ดมีลักษณะเป็นขอบขนาน ดอกจะออกในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนกรกฎาคม[1],[3],[5]

ประโยชน์ติ้วขน

  • เนื้อไม้มีคุณสมบัติ ไม่มีกลิ่น มีขี้เถ้าน้อย และให้ความร้อนได้ดี จึงมีการนำมาทำเป็นฟืน[2]
  • สามารถใช้เปลือกต้นมาสกัดเพื่อทำสีย้อมผ้าได้ ซึ่งจะให้เป็นสีน้ำตาลเข้ม[2]
  • นำมาใช้ในการก่อสร้าง ทำโครงบ้าน รั้ว เสาเข็ม ฯลฯ ได้ เนื่องจากเนื้อไม้มีความทนทานมาก และเนื้อไม้มีน้ำยางอยู่ทำให้ปลวกไม่กิน[2],[3]

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

  • ค่าความเป็นพิษต่อเซลล์ม้ามของสารสกัด คือ IC50 93.31 มก./มล. ซึ่งไม่มีผลต่อการเพิ่มจำนวนเซลล์ภูมิคุ้มกันโดยตรง แต่จะไปทำการลดอัตราการเพิ่มจำนวนของทีเซลล์และบีเซลล์
  • พืชชนิดนี้มีสารในกลุ่มเป็นแทนนิน คาร์ดิแอคไกลโคไซด์ อัลคาลอยด์ และฟลาโวนอยด์ เป็นองค์ประกอบ อีกทั้งยังสามารถช่วยในการต่อต้านอนุมูลอิสระ ต้านเชื้อรา ต้านเชื้อไวรัสโรคเริม Herpes simplex virus type 1 ต้านเชื้อแบคทีเรีย V. cholerae และ S. aureus ไม่มีฤทธิ์กลายพันธุ์ในภาวะที่ไม่มีหรือมีเอนไซม์ แต่จะให้ฤทธิ์ต่อต้านการกลายพันธุ์ในภาวะที่มีเอนไซม์ทำงานร่วมอยู่

(ข้อมูลจากการศึกษาสารสกัดจากลำต้นด้วย 50% แอลกอฮอล์)[5]

สรรพคุณติ้วขน

1. ช่วยในการรักษาโรคผิวหนังบางชนิดได้ โดยนำเปลือกและใบมาตำผสมกับน้ำมันมะพร้าวทาบริเวณที่เป็น(เปลือกและใบ)[2]
2. ส่วนใบใช้แทนพลาสเตอร์ปิดแผลได้(ใบ)[2]
3. มีการนำรากมาทำเป็นยาเพื่อช่วยในการขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะขัด[1]
4. ช่วยรักษาอาการปวดท้องได้ โดยการนำรากและใบมาต้มกับน้ำกิน(รากและใบ)[2]
5. มีการศึกษาว่าสารสกัดจากกิ่ง มีสารที่จะช่วยในการทำลายเซลล์มะเร็งในเม็ดเลือดขาวได้ ซึ่งจะส่งผลให้เซลล์มะเร็งค่อยๆ สลายตัวจากภายใน และไม่มีผลต่อเซลล์ข้างเคียง (ยังอยู่ในระหว่างการศึกษา)[4]
6. มีสรรพคุณในการบรรเทาอาการคันได้(ยาง)[2]
7. มีการใช้น้ำยางจากต้น มาทำเป็นยาในการสมานแผลและช่วยห้ามเลือด[2]
8. ช่วยแก้อาการปวดท้องได้ โดยใช้กิ่งและลำต้นมาต้มกับน้ำดื่ม(กิ่งและลำต้น)[5]
9. สามารถใช้แก้ธาตุพิการได้(เปลือกต้น)[2]

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติ ภาคเหนือ. “ติ้วขน”. (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ). หน้าที่ 117.
2. โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์การมหาชน). “ติ้วขาว, ติ้วขน”. อ้างอิงใน: หนังสือสมุนไพรไทยตอนที่ 6 (ก่องกานดา ชยามฤต). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: eherb.hrdi.or.th. [15 ม.ค. 2014].
3. ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์. “ติ้วขน”. อ้างอิงใน: หนังสือพรรณไม้สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เล่ม 1, หนังสือไม้ต้นในสวน Tree in the Garden. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.qsbg.org. [15 ม.ค. 2014].
4. ASTV ผู้จัดการออนไลน์. “แสงซินโครตรอนยืนยัน ติ้วขน-สนสามใบ ทำเซลล์มะเร็งทำลายตัวเองได้”. (ภญ.รศ.ดร.นาถธิดา วีระปรียากูร). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.manager.co.th. [15 ม.ค. 2014].
5. โครงการจัดทำฐานข้อมูลพืชสมุนไพรที่สำรวจและวิจัยภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ) มหาวิทยาลัยขอนแก่น. “ติ้วขน หรือ ติ้วหนาม”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: home.kku.ac.th/orip2/thaiherbs/. [04 พ.ย. 2015].

อ้างอิงรูปจาก
1. https://inaturalist.ca/
2. https://www.nparks.gov.sg/
3. https://medthai.com/

ต้นโคกกระสุน สรรพคุณบำรุงร่างกาย

0
ต้นโคกกระสุน สรรพคุณบำรุงร่างกาย เป็นพืชล้มลุกมีขนตามลำต้น หลังใบและท้องใบมีขนนุ่ม ดอกมีสีเหลืองสด ผลทรงกลม เปลือกผลที่แข็งเป็นรูปห้าเหลี่ยม มีหนามแหลม
โคกกระสุน
เป็นพืชล้มลุกมีขนตามลำต้น หลังใบและท้องใบมีขนนุ่ม ดอกมีสีเหลืองสด ผลทรงกลม เปลือกผลที่แข็งเป็นรูปห้าเหลี่ยม มีหนามแหลม

โคกกระสุน

โคกกระสุน พบได้บ่อยในพื้นที่เช่นทางรถไฟ พื้นที่รกร้าง สวนผลไม้ ทุ่งนา และทุ่งหญ้าทั่วไป ชื่อสามัญ Bindii, Bullhead, Caltrop, Caltrops, Devil’s eyelashes, Devil’s weed, Goathead, Small caltrops, Puncture vine, Puncture weed, Tackweed[1],[3],[5] ชื่อวิทยาศาสตร์ Tribulus terrestris L. อยู่ในวงศ์โคกกระสุน (ZYGOPHYLLACEAE)[1] ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ หนามดิน (ตาก), หนามกระสุน (ลำปาง), ชื่อจี๋ลี่ (จีนกลาง), กาบินหนี, โคกกะสุน (ไทย), ไป๋จี๋ลี่ (จีนกลาง) เป็นต้น[1],[3],[4]

ลักษณะของโคกกระสุน

  • ต้น เป็นพืชไม้ที่มีลักษณะล้มลุก และเติบโตตามพื้นดิน ความยาวของต้นสามารถถึง 160 เซนติเมตร พืชชนิดนี้เป็นพืชหญ้าและมีอายุประมาณ 1 ปี พวกมันจะกระจายอยู่ทั่วพื้นดินโดยยอดและดอกของต้นจะยื่นขึ้นมา นอกจากนี้ยังมีขนขึ้นตามลำต้น พืชชนิดนี้สามารถขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็วโดยใช้เมล็ด จะเติบโตได้ดีในดินทรายที่แห้งและมีระบบระบายน้ำดี โตได้ดีในช่วงฤดูฝน[1],[2],[3],[4]
  • ใบ เป็นใบประกอบที่คล้ายกับขนนกเล็กๆ จำนวนใบย่อยประมาณ 4-8 คู่ และมีก้านใบยาวประมาณ 6-15 มิลลิเมตร ใบเรียงตามลำต้นและข้อโดยมีลักษณะการเรียงแบบสลับตรงข้ามกัน ใบมีรูปร่างที่ขอบขนาน โดยปลายใบจะมีลักษณะมน และโคนใบเบี้ยว มีรูปร่างหูใบที่คล้ายใบหอก ส่วนขอบใบเป็นระดับและเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3-4 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 8-10 มิลลิเมตร หลังใบและท้องใบมีขนนุ่มทั้งสองด้าน [1],[2],[4]
  • ดอก ออกเป็นดอกเดี่ยวหรือเป็นช่อสั้นตามซอกใบหรือตามข้อของลำต้นก็ได้ ดอกมีสีเหลืองสดและประกอบด้วยกลีบรองดอกและกลีบดอกอย่างละ 5 กลีบ กลีบดอกมักจะมีรูปไข่กลับ รูปรี หรือรูปไข่ปลายหอก และมีสีเหลืองสด ดอกมีเกสรเพศผู้ที่มีจำนวน 10 อัน ก้านดอกมีความยาวประมาณ 5-10 เซนติเมตร หลังจากดอกบานแล้ว ขนาดของดอกจะมีความกว้างราวๆ 1-2 เซนติเมตร [1],[2],[4]
  • ผล ลักษณะทรงกลมและเปลือกผลที่แข็งแรงมีรูปร่างเป็นรูปห้าเหลี่ยม ทั่วผลจะมีหนามแหลมขนาดเล็กกระจายอยู่ และจะมีหนามแหลมขนาดใหญ่อยู่ 1 คู่ ผลจะแบ่งเป็น 5 ช่อง ซึ่งแต่ละช่องจะมีเมล็ดอยู่ 2-3 เมล็ด หลังจากผลแห้ง ผลจะแตกออกได้ [1],[4]

ประโยชน์โคกกระสุน

  • สามารถใช้ในการเสริมสร้างฮอร์โมนเจริญพันธุ์ทั้งในชายและหญิงได้[9]
  • ช่วยลดอาการก่อนและระหว่างมีประจำเดือนของเพศหญิง[9]
  • ทำให้อาการวัยทองในผู้หญิงลดลง[9]
  • บรรเทาอาการซึมเศร้า กังวล และอาการนอนไม่หลับ[9]
  • ช่วยทำให้ผู้หญิงมีบุตรได้ง่ายขึ้น โดยจะไปทำให้รอบการตกไข่เป็นปกติ[9]
  • ช่วยเพิ่มความต้องการทางเพศทั้งชายและหญิง[9]
  • สามารถใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพของร่างกายในการสร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรง[9]

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

  • มีการฉีดสารสกัดจากต้นด้วย 95% เอทานอล เข้าทางช่องท้องของหนูขาวพบว่าทำให้สัตว์ทดลองตายมากกว่าครึ่งคือ 56.42 กรัมต่อกิโลกรัม[5]
  • ข้อมูลทางเภสัชวิทยาพบว่า ต้นมีฤทธิ์ในการลดไขมันในเลือด ลดความดันโลหิต ละลายก้อนนิ่ว ขับปัสสาวะ ต้านเชื้อราและแบคทีเรีย[5]
  • พบว่ามีสารจำพวก Flavonoid glycoside ,Kaempferide, Kaempferitrin, Tribuloside, Potassium, Kaempferol-3-glucoside และพบ Alkaloid, Diosgenin, Gitogenin, Chlorogenin Harmol ในใบและราก ส่วนเมล็ดจะพบสารจำพวก Harmine Harman เป็นต้น[4]
  • มีการทดลองในจีนเมื่อปี ค.ศ.2006 โดยทำการให้สารสกัดกับกระต่าย 50 ตัว ผลการทดลองพบว่าการให้สารสกัดในขนาดต่ำและสูง สามารถช่วยลดระดับไขมันในเลือดของกระต่ายได้[5]
  • พบว่าสารสกัดที่สกัดจากแอลกอฮอล์ สามารถลดความดันโลหิตในสัตว์ทดลองได้เล็กน้อย[4]
  • สารสกัดด้วยแอลกอฮอล์นั้น มีฤทธิ์ในการขับเสมหะ บรรเทาหืดหอบ และแก้ไอ[4]

สรรพคุณโคกกระสุน

1. สามารถใช้ทำเป็นยาป้องกันอาการชักบางชนิดได้ โดยให้นำผลแห้งมาต้มกับน้ำดื่ม (ผลแห้ง) [7]
2. ใช้เป็นส่วนผสมของยาลูกกลอนที่ใช้แก้ผดผื่นคันได้(ต้น)[4]
3. นำผลมาทำเป็นยาฝาดสมานได้(ผล)[5]
4. มีสรรพคุณเป็นยากระจายลมในตับ(ทั้งต้น)[4]
5. ผงของเมล็ดแก่ สามารถช่วยในการช่วยกระตุ้นกำหนัด รักษาอาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ ส่งเสริมระบบสืบพันธุ์(เมล็ด)[8]
6. สามารถช่วยแก้โรคหนองในได้(ผลแห้ง, ทั้งต้น)[1],[2],[3],[6],[7]
7. ช่วยในการขับระดูขาวในสตรี(ผลแห้ง, ทั้งต้น)[1],[2],[3],[6],[7]
8. ราก สามารถทำเป็นยาแก้ปวดฟันได้ โดยให้นำมาฝนกับน้ำและถูกับฟันบริเวณที่เกิดอาการปวด(ราก)[4]
9. มีฤทธิ์ทำให้ตาสว่าง (ทั้งต้น)[4]
10. ใช้เป็นยาแก้ไข้ทับระดูได้ โดยจะให้รสเค็มขื่นเล็กน้อย(ทั้งต้น)[1]
11. ทำเป็นยารักษาอาการหน้ามืด ปวดศีรษะ วิงเวียนได้(ทั้งต้น)[1],[4]
12. การนำโคกกระสุนทั้งต้น 1 กำมือ มาต้ม โดยให้ต้มน้ำ 3 แก้วจนเหลือเพียง 1 แก้ว จากนั้นกรองเอาแต่น้ำมาดื่มวันละ 2 ครั้ง ครั้งละครึ่งแก้ว เช้าเย็นก่อนอาหาร จะทำให้อาการปวดเมื่อย อ่อนเพลีย บรรเทาลง(ทั้งต้น)[8]
13. ทั้งต้นสามารถใช้รักษาอาการคันตามตัว ลมพิษ และผดผื่นคันต่างๆ ได้(ทั้งต้น)[4]
14. นำมาใช้เป็นยาในการแก้โรคเกี่ยวกับทางปัสสาวะหรือใช้เป็นยารักษาโรคไตพิการก็ได้(ทั้งต้น)[1],[2],[3],[5],[6]
15. ผลแห้งที่นำมาต้มกับน้ำ มีสรรพคุณเป็นยาบำรุงตับ ไต สายตา และกระดูก (ผลแห้ง)[7]
16. ช่วยในเรื่องของการระงับน้ำกามเคลื่อนได้ (ทั้งต้น)[1]
17. มีสรรพคุณทำให้สามารถคลอดบุตรได้ง่าย โดยให้นำผลแห้งมาต้มกับน้ำดื่ม(ผลแห้ง)[7]
18. สำหรับเมล็ดนั้นจะสามารถนำมาทำเป็นยารักษาอาการผอมแห้งได้ (เมล็ด)[5] ทั้งต้นจะเป็นยาที่ใช้ในการขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะพิการ และแก้นิ่ว[1],[2],[3],[4],[5],[6]
19. มีสรรพคุณที่จะช่วยบรรเทาอาการอักเสบภายในช่องปากได้(ทั้งต้น)[1]
20. ช่วยในการขับเสมหะ แก้หลอดลมอักเสบ และบรรเทาอาการไอ(ทั้งต้น)[4]
21. ใช้เป็นยาแก้อาการน้ำตาไหลผิดปกติ อาการตาแดง และอาการความดันโลหิตสูงได้ โดยให้นำผลโคกกระสุน 15 กรัม ,ชะเอม 6 กรัม, ชุมเห็ดเทศ 30 กรัม และเก๊กฮวย 20 กรัม นำมาต้มรวมกับน้ำทาน(ผล)[4],[7]
22. การนำเมล็ดตากแห้งมาทำเป็นยาลูกกลอนกิน จะสามารถช่วยในการบำรุงร่างกายได้(เมล็ด)[8]

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). “โคกกระสุน (Kok Kra Sun)”. หน้า 85.
2. หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคเหนือ. (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ). “โคกกระสุน”. หน้า 105.
3. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “โคกกะสุน,โคกกระสุน”. หน้า 206.
4. หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. (วิทยา บุญวรพัฒน์). “โคกกระสุน”. หน้า 166.
5. หนังสือสมุนไพรลดไขมันในเลือด 140 ชนิด. (เภสัชกรหญิง จุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก). “หนามกระสุน” หน้า 193.
6. อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. “หนามกระสุน”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.pharmacy.mahidol.ac.th/siri/. [11 ม.ค. 2015].
7. ฝ่ายปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (ไพร มัทธวรัตน์). “โคกกระสุน”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : clgc.rdi.ku.ac.th. [11 ม.ค. 2015].
8. กลุ่มรักษ์เขาใหญ่. “โคกกระสุน เจ็บแท้ แต่เพิ่มกระสุน”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.rakkhaoyai.com. [11 ม.ค. 2015].
9. กรีนคลินิก. “หนามกระสุน (Tribulus terrestris)”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.greenclinic.in.th. [11 ม.ค. 2015].

อ้างอิงรูปจาก
1.https://shop.theherbshoppepdx.com/
2.https://www.cultivatornatural.com/
3. https://medthai.com/

ต้นเครือปลาสงแดง สรรพคุณรักษาวัณโรค

0
เครือปลาสงแดง
ต้นเครือปลาสงแดง สรรพคุณรักษาวัณโรค เป็นไม้เถาเนื้อแข็งเลื้อย ดอกเป็นดอกช่อ สีขาวหรือสีเหลืองนวลๆ และมีกลิ่นหอมอ่อนๆ ฝักคู่ทรงกระบอกปลายฝักแหลม
เครือปลาสงแดง
เป็นไม้เถาเนื้อแข็งเลื้อย ดอกเป็นดอกช่อ สีขาวหรือสีเหลืองนวลๆ และมีกลิ่นหอมอ่อนๆ ฝักคู่ทรงกระบอกปลายฝักแหลม

เครือปลาสงแดง

เครือปลาสงแดง พบพืชชนิดนี้ได้ตามป่าโปร่ง ป่าพรุ ป่าดงดิบ ป่าเบญจพรรณผสม และตามที่โล่งทั่วไป ชื่อวิทยาศาสตร์ Ichnocarpus frutescens (L.) W.T.Aiton อยู่ในวงศ์ตีนเป็ด (APOCYNACEAE)[1],[2]
ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ เครืออีโม้ เครืออีม้อ(ภาคกลาง), เถายอดแดง (อ่างทอง), เครือเจ็น (เชียงใหม่), เต่าไห้ (ตราด), หัวขวาน (ชลบุรี), หุนน้ำ (สระบุรี), ปอต่อไห้ (จันทบุรี), เถาโก (ประจวบคีรีขันธ์), ชัยสง (เลย),เป็นต้น[1],[2]

ลักษณะของเครือปลาสงแดง

  • ต้น เป็นไม้เถาเนื้อแข็งเลื้อยชนิดหนึ่ง แตกกิ่งก้านสาขาออกมามาก มีความยาว 2-8 เมตร มีเถาสีน้ำตาลแดง มีขนสั้นๆขึ้นอยู่ตามบริเวณเถาหรือกิ่งอ่อน ซึ่งขนก็มีสีน้ำตาลแดงเช่นกัน มัก[1],[2]
  • ใบ ออกเป็นใบเดี่ยวเรียงตรงข้าม ใบมีลักษณะเป็นรูปไข่หรือขอบขนาดแกมใบหอก โคนใบมนเป็นรูปลิ่ม ปลายใบแหลม และขอบใบเรียบ ใบมีความกว้างอยู่ที่ 3-5 เซนติเมตรและยาว 7-11 เซนติเมตร ลักษณะของแผ่นใบจะมีความหนาและเรียบ มีสีเขียวเข้ม ตามเส้นใบจะมีขนขึ้นส่วนหลังใบจะเกลี้ยง มีเส้นใบหลักอยู่ 5-7 คู่ และก้านใบจะมีความยาวอยู่ที่ 1-2 เซนติเมตร[1],[2]
  • ดอก เป็นดอกช่อ ออกแยกแขนงตามซอกใบและปลายกิ่งโดยจะมีดอกย่อยอยู่ราวๆ 11-80 ดอก ดอกมีสีขาวหรือสีเหลืองนวลๆ และมีกลิ่นหอมอ่อนๆ ความยาวของก้านดอกประมาณ 2-3 มิลลิเมตร ซึ่งก้านดอกจะมีขนสั้นหนานุ่มอยู่ กลีบดอกเรียงบิดเวียนขวา และปลายกลีบบิด ส่วนโคนของกลีบจะเชื่อมติดกันเป็นหลอดลักษณะเป็นรูปถ้วยโดยมีความกว้างอยู่ราวๆ 1-2 มิลลิเมตร และยาว 2-3 มิลลิเมตร ส่วนปลายแยกเป็นกลีบดอกจะแบ่งออกเป็น 5 กลีบ ลักษณะเป็นแฉกมนคล้ายรูปไข่ มีความกว้างประมาณ 2 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 2-3 มิลลิเมตร มีใบประดับดอกอยู่ 2 อัน ลักษณะเป็นรูปไข่ ขอบเรียบ กว้างประมาณ 0.5 มิลลิเมตรและยาว 1-2 มิลลิเมตร โดยใบประดับจะคอยรองรับช่อดอกย่อยอยู่ มีเกสรเพศผู้สีเหลืองผิวเกลี้ยงและมีเกสรเพศเมียที่ติดอยู่เหนือวงกลีบ ดอกออกในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมกราคม[1],[2]
  • ผล ออกเป็นฝักคู่ ผลมีลักษณะคล้ายรูปทรงกระบอก มีความกว้าง 2-5 มิลลิเมตรและยาว 3-11 เซนติเมตร ปลายฝักแหลมฝักจะแตกออกเมื่อแห้ง โดยจะแตกเป็นตะเข็บเดียวซึ่งจะมีเมล็ดสีน้ำตาลซ่อนอยู่ในฝัก ส่วนปลายของเมล็ดจะมีขนขึ้นกระจุกอยู่อย่างเห็นได้ชัด[1],[2]

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

  • ในลำต้น พบสาร epi-friedelinol, amyrin, friedelin, beta-sitosterol, lupeol[2]
  • พบสาร quercetin-3-O-beta-D-glucopyranoside, quercetin ในดอก[2]
  • ในรากพบสาร beta-sitosterol [2]
  • ใบ มีสาร proanthocyanidin, kaemferol-3-galactoside (trifolin), สารฟลาโวน apigenin, isovitexin, kaemferol, synapic acid, protocatechuic acid, phenolic acids, ursolic acid acetate, vanillic, syringic และสารอื่น ๆ[2]

สรรพคุณ และประโยชน์เครือปลาสงแดง

1. ทั้งต้นสามารถนำมาใช้เป็นยาแก้อาการลมชักได้[2]
2. ทุกส่วนของลำต้นสามารถนำมาใช้เป็นยาแก้หัดได้(ทั้งต้น)[2]
3. นำมาใช้เป็นยาในการรักษาโรคผิวหนังได้(ราก)[2]
4. สามารถนำทั้งต้นมาทำเป็นยารักษาอาการม้ามโตได้(ทั้งต้น)[2]
5. รากมีสรรพคุณช่วยในการขับปัสสาวะ รักษานิ่วในกระเพาะปัสสาวะ โดยรากจะเป็นยาเย็น(ราก)
6. ใช้เป็นยาแก้บิด(ทั้งต้น)[2]
7. สามารถนำมาใช้เป็นยาบรรเทาอาการไอได้(ทั้งต้น)[2]
8. นำมาทำเป็นยาแก้อาการลิ้นอักเสบ และเลือดออกที่บริเวณเหงือกได้(ทั้งต้น)[2]
9. ช่วยรักษาอาการตาบอดกลางคืน(ทั้งต้น)[2]
10. ใช้รักษาโรคเพ้อคลั่ง(ทั้งต้น)[2]
11. มีการนำมาใช้เป็นยารักษาเบาหวานในบังกลาเทศ(ราก)[2]
12. มีการนำมาใช้แก้อาการปวดเมื่อย โดยอิงจากตำรับยาพื้นบ้านอีสาน(ราก)[1],[2]
13. ช่วยในการรักษาอาการปวดจากแมลงกัดได้(ทั้งต้น)[2]
14. ทำยาแก้หิดได้ โดยใช้ใบและลำต้นมาต้ม(ใบและลำต้น)[2]
15. สามารถนำใบมาใช้เป็นยารักษาบาดแผลได้(ใบ)[2]
16. สามารถนำมาทำยาแก้ปัสสาวะเป็นเลือดได้(ทั้งต้น)[2]
17. ทั้งต้นมีสรรพคุณช่วยแก้เนื้องอกที่เกิดในช่องท้องได้(ทั้งต้น)[2]
18. ส่วนราก สามารถนำมาทำยาแก้อาการอาหารไม่ย่อยได้(ราก)[2]
19. มีสรรพคุณเป็นยาแก้ไข้ (ราก, ใบและลำต้น)[2]
20. ใบสามารถนำมาใช้ป้องกันฟันผุได้(ใบ)[2]
21. มีการนำมาใช้ทำเป็นยาเพื่อแก้อาการปวดศีรษะ(ใบ)[2]
22. ในอินเดียมีการนำมาใช้เป็นยารักษาวัณโรค (ทั้งต้น)[2]
23. สามารถนำมาปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไปได้

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคเหนือ. (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ). “เครือ ปลา สง แดง”. หน้า 103.
2. ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “เครือปลาสงแดง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.phargarden.com. [14 ม.ค. 2015].

อ้างอิงรูปจาก
1. https://www.flickr.com/photos/xylopia/4383871289
2. https://www.biolib.cz/cz/image/id237079/
3. https://medthai.com/

โคโรคคืออะไร? สรรพคุณของโคโรคที่คนส่วนใหญ่ไม่รู้

0
โคโรคคืออะไร? สรรพคุณของโคโรคที่คนส่วนใหญ่ไม่รู้
โคโรค
ก้อนนิ่วที่เกิดขึ้นในถุงน้ำดีของวัวที่เกิดจากการอักเสบผ่านระยะเวลาที่แห้งแล้งจนกลายเป็นหินแข็ง มีฤทธิ์เย็นรสขม

โคโรค

โคโรคเป็นสมุนไพรที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในแพทย์แผนตะวันออก มีสรรพคุณทางยาฤทธิ์เย็นและรสขม บางครั้งถุงนิ่วอาจหลุดออกจากการไอของวัวที่เป็นโรค ซึ่งถือเป็นสิ่งมีค่าและราคาแพงมาก จึงมีการผลิตจากวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ชื่อสามัญคือ Ox gallstone หรือ Bos calculus ชื่อทางเภสัชกรรมคือ Calculus Bovis และชื่อสัตววิทยาคือ Bos taurus domesticus Gmelin ส่วนชื่อท้องถิ่นอื่นๆ ได้แก่ นิ่ววัว, หนิวหวง (จีนกลาง) เป็นต้น

ลักษณะสำคัญ

โคโรค คือ นิ่วที่เกิดขึ้นในถุงน้ำดีของวัวที่เกิดจากการอักเสบผ่านระยะเวลาที่แห้งแล้งจนกลายเป็นหินแข็ง รูปร่างเป็นรูปไข่มีลักษณะเบาและเปราะ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.3 ถึง 3 ซม. ผิวด้านนอกมีสีน้ำตาลทองหรือเหลือง ซึ่งส่วนใหญ่จะเกิดในวัวที่มีอายุ 10 ปีขึ้นไป การดูว่าวัวเป็นนิ่วในถุงน้ำดีหรือไม่ จะสังเกตได้จากการที่วัวมีรูปร่างผอม ดื่มน้ำมาก ทานอาหารน้อย ไม่มีแรงจะเดิน

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

  • ข้อมูลทางเภสัชวิทยามีวิตามินดี ซึ่งสามารถช่วยกระตุ้นในการสร้างเม็ดเลือดแดงได้ แต่หากทานมากเกินไปจะทำให้เกิดอาการตัวเหลืองเนื่องจากเม็ดเลือดแดงถูกทำลาย[1],[3]
  • สารที่พบ เช่น ธาตุเหล็ก ธาตุทองเหลือง แคลเซียม Alanine, Aspartic acid, Arginine, Vitamin D, Leucine, Glycine, Cholesterol, Cholic acid, Fatty acid, Methionine, Taurine, Lecithin เป็นต้น[1]
  • จากการทดลองพบว่าสามารถช่วยให้หัวใจของหนูทดลองที่ได้กินกาแฟ หรือการบูรเข้าไปจนหัวใจเต้นเร็ว กลับมาเต้นเป็นปกติ และทำให้จิตใจของหนูสงบลงอีกด้วย[1]
  • พบว่ากรดโคลิก สามารถช่วยในการบำรุงหัวใจ ทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น และหลอดเลือดหดตัว[3]

สรรพคุณ และประโยชน์โคโรค

1. สามารถนำมาทำเป็นส่วนผสมในการทำยาแก้น้ำลายเหนียว ขับเสมหะ และลมชักในเด็กได้[1]
2. ช่วยในการรักษาอาการบวมตามอวัยวะต่างๆ ได้[1],[2]
3. ใช้ในการทำเป็นยารักษาดีซ่าน และอาการตับอักเสบได้[1]
4. ใช้กินเป็นยาแก้เสมหะแห้ง น้ำลายเหนียวติดลำคอ และช่วยขับเสมหะ[1],[2]
5. ใช้ทำเป็นยาในการขับพิษร้อนถอนพิษไข้ อาการชักในเด็ก ไข้สูง ตัวร้อน ไข้หมดสติ และอาการเพ้อพูดจาเพ้อเจ้อ[1],[3]
6. ทำเป็นยาในการบำรุงกำลังได้[2]
7. ช่วยแก้อาการเจ็บคอ และการเป็นแผลที่ลิ้นได้ โดยการนำมาเป่าคอหรือป้ายลิ้น[1]
8. สามารถใช้ในการรักษาฝีภายในและภายนอกได้[1]
9. สามารถนำมาหยอดตา แก้อาการเจ็บตา ตาฟาง ตาแฉะ[2]
10. เป็นยาเย็น มีฤทธิ์ต่อหัวใจและตับ สามารถทำเป็นยาสงบจิต และแก้อาการตกใจง่าย มีรสขมชุ่ม[1]
11. ทางจีนใต้มีการนำมาขาย เป็นสินค้าทางยา อีกทั้งยังได้ราคาที่แพงมาก[2]

การใช้

  • จะใช้ครั้งละ 0.2-0.4 กรัม สามารถนำมาบดเป็นผงชงดื่ม ทำเป็นยาลูกกลอนทาน หรืออาจนำมาทาภายนอกก็ได้[1]

ข้อควรระวัง

  • สำหรับผู้ที่มีอาการกระเพาะอาหารม้ามเย็นพร่อง และสตรีมีครรภ์ ห้ามรับประทานสมุนไพรชนิดนี้[1],[3]

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. (วิทยา บุญวรพัฒน์). “โค โรค (ox-gall-stone)”. หน้า 170.
2. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “โค โรค”. หน้า 211.
3. มูลนิธิหมอชาวบ้าน. นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่ 97 คอลัมน์ : อาหารสมุนไพร. (วิทิต วัณนาวิบูล). “วัว สัตว์ที่มนุษย์ยกย่อง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.doctor.or.th. [10 ม.ค. 2015].
4. https://medthai.com/

ต้นคนทีเขมา สรรพคุณเมล็ดช่วยแก้อาหารไม่ย่อย

0
คนทีเขมา
ต้นคนทีเขมา สรรพคุณเมล็ดช่วยแก้อาหารไม่ย่อย เป็นพรรณไม้พุ่ม ดอกออกเป็นช่อสีขาวแกมม่วงอ่อน ผลสดกลมแห้ง เปลือกผลมีลักษณะแข็งและเป็นสีน้ำตาล
คนทีเขมา
เป็นพรรณไม้พุ่ม ดอกออกเป็นช่อสีขาวแกมม่วงอ่อน ผลสดกลมแห้ง เปลือกผลมีลักษณะแข็งและเป็นสีน้ำตาล

คนทีเขมา

คนทีเขมา มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปอเมริกา และเป็นพรรณไม้พื้นเมืองของอเมริกา ได้แพร่พันธุ์มาถึงญี่ปุ่นและเอเชียตอนใต้ ที่สูงประมาณ 200-1,400 เมตร ชื่อสามัญ Indian privet, Five-leaved chaste tree, Negundo chest nut, Chinese chaste[2],[7] ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Vitex negundo L.[1] อยู่วงศ์กะเพรา (LAMIACEAE หรือ LABIATAE) ชื่อในท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น หวงจิง (จีนกลาง), กูนิง (มาเลเซีย-นราธิวาส), คนทีสอดำ (ภาคเหนือ), อึ่งเกง (จีนแต้จิ๋ว), กุโนกามอ (มาเลเซีย-ปัตตานี), คนทิ (ภาคตะวันออก), ดินสอดำ โคนดินสอ ผีเสื้อดำ คนดินสอดำ (อื่น ๆ) [2],[3],[6]

ลักษณะของคนทีเขมา

  • ต้น เป็นพรรณไม้พุ่ม ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง สูงได้ประมาณ 3-6 เมตร มีลำต้นเป็นสีเทาปนกับน้ำตาล ใบ กิ่ง ก้านจะมีกลิ่นหอม กิ่งอ่อนเหลี่ยม เป็นสีเทา มีขนอ่อนขึ้น มีรากสีเหลือง เนื้อในรากจะมีลักษณะเป็นสีขาว ขยายพันธุ์โดยวิธีการเพาะเมล็ด การปักชำ การกิ่งตอน[2],[3],[6]
  • ใบ เป็นใบประกอบแบบนิ้วมือ ใบจะออกเรียงตรงข้ามกัน มีใบย่อยอยู่ 5 หรือ 3 ใบ ใบด้านบนจะมีก้าน ใบล่างไม่มีก้าน ใบเป็นรูปใบหอก ที่ขอบใบจะเรียบหรือหยัก ที่ปลายใบจะยาวแหลม ใบกว้างประมาณ 1-2.5 เซนติเมตร มีขนาดยาวประมาณ 4-7 เซนติเมตร ที่ด้านหลังของใบจะเป็นสีเขียวเข้ม ท้องใบจะเป็นสีขาว มีขนอ่อนปกคลุม[2]
  • ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ที่ตามซอกใบ มีขนาดยาวประมาณ 15 เซนติเมตร มีดอกย่อยขนาดเล็กอยู่จำนวนมาก กลีบดอกเป็นสีขาวแกมม่วงอ่อน กลีบดอกแตกออกเป็น 5 แฉก ขนาดไม่เท่ากัน จะมีขนขึ้นนิดหน่อย เชื่อมกันที่โคน ที่ปลายกลีบล่างจะแผ่โค้ง กลีบรองดอกจะเชื่อมติดกันเป็นถ้วย ที่ปลายกลีบแยกเป็นแฉก 5 แฉก มีเกสรเพศผู้อยู่ 4 อัน ดอกออกประมาณเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน[2],[3]
  • ผล เป็นผลสด เป็นรูปกลม จะแห้ง เปลือกผลมีลักษณะแข็งและเป็นสีน้ำตาล มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2.5 มิลลิเมตร ติดผลช่วงประมาณเดือนกรกฎาคมถึงเดือนกันยายน[2],[3]

ประโยชน์ของคนทีเขมา

1. ปลูกเป็นไม้ประดับกลางแจ้ง[7]
2. มีผลิตภัณฑ์รูปแบบยาแคปซูล ยาเม็ด น้ำมันนวด สำหรับรักษาอาการปวดฟัน ข้ออักเสบ ปวดเมื่อย ตึง เกาต์ [6]
3. สามารถใช้ไล่ไรไก่ เห็บ หมัด ลิ้น ไรได้ ด้วยการเอากิ่งไปไว้ในเล้าไก่ ขยี้ใบทาตัวไล่แมลง หรือเอากิ่งใบไปเผาไล่ยุง หรือต้มกิ่งก้านใบกับน้ำใช้ฉีดไล่ยุง ยาไล่ยุง ให้นำกิ่งก้านใบ 1 ส่วน น้ำ 2 ส่วน มาต้มให้เดือด 15 นาที ทิ้งให้เย็น กรองเอาน้ำไปฉีดพ่นไล่ยุง[6]
4. สามารถนำใบผสมน้ำอาบเพื่อให้มีกลิ่นหอม[2],[5]
5. นำใบแห้งมาปูรองเมล็ดพืช สามารถช่วยป้องกันแมลง มอดมากวนได้[2],[6]
6. ถ้านำมาต้มทานต้มอาบเป็นประจำ สามารถช่วยทำให้ผิวพรรณผุดผ่องเป็นยองใย เหมาะกับการที่จะเอามาใช้ในสปา ทำครีมบำรุงผิว[6]

สรรพคุณของคนทีเขมา

1. ใบ มีสรรพคุณที่รักษาโรคปวดตามข้อ (ใบ)[2]
2. สามารถใช้ผลเป็นยารักษาอาการเหน็บชาได้ (ผล)[2]
3. ยางสามารถใช้เป็นยาฆ่าพยาธิผิวหนัง แก้คุดทะราด (หนัง)[5]
4. ใบสามารถใช้เป็นยารักษาโรคผิวหนัง ฝี กลาก เชื้อราที่เท้า เกลื้อน ถอนพิษสาหร่ายทะเล โดยนำใบสดมาตำให้ละเอียด แล้วเอามาใช้พอกบริเวณที่เป็น (ใบ)[2],[4],[5]
5. สามารถใช้รักษาแผลพุพองที่เกิดจากไฟไหม้ได้ โดยนำกิ่งแห้ง มาคั่วโดยอย่าให้ไหม้ แล้วเอามาบดเป็นผงผสมน้ำมัน นำมาใช้ทาตรงบริเวณที่เป็นแผล (กิ่งแห้ง)[2]
6. ช่อดอก สามารถใช้เป็นยาฝาดสมานได้ (ช่อดอก)[2]
7. ราก สามารถใช้เป็นยารักษาโรคตับได้ (ราก)[4]
8. สามารถใช้เป็นยาแก้ตับอักเสบได้ (ดอก, รากและก้าน, ผล, ใบ)[3]
9. เปลือกต้น สามารถใช้เป็นยาแก้ริดสีดวงทวารได้ (เปลือกต้น)[5]
10. ราก มีสรรพคุณที่เป็นยาขับปัสสาวะ (ราก)[2]
11. นำใบกับรากมาต้มทานเป็นยาแก้ปวดท้อง (รากและใบ, รากและก้าน)[1],[3]
12. เปลือกต้น มีรสหอมร้อน สามารถใช้เป็นยาแก้ลมเสียดแทงได้ (เปลือกต้น)[5]
13. สามารถใช้เป็นยาขับเสมหะได้ (ราก, ใบ, ผล)[2],[4],[5]
14. สามารถใช้เป็นยาแก้ไอได้ (ราก, ใบ, ผล)[2],[5]
15. ในตำรายาไทยจะนำใบกับรากมาต้มทานเป็นยาแก้ไข้ ลดไข้ (รากและใบ)[1],[4]
16. ช่อดอก มีสรรพคุณที่เป็นยาลดไข้ (ช่อดอก)[2]
17. ยางจะมีรสร้อนเมา สามารถใช้ช่วยขับเลือดขับลมให้กระจายได้ (ยาง)[5]
18. ใบ มีสรรพคุณที่ช่วยแก้อาการหูอื้อ (ใบ)[2]
19. ยางสามารถใช้เป็นยาบำรุงกำลังได้ (ยาง)[5]
20. ใบ สามารถใช้เป็นยาบำรุงธาตุได้ (ใบ)[4]
21. ใบ มีรสหอมร้อน สามารถใช้เป็นยาแก้เยื่อจมูกอักเสบได้ (ใบ)[5]
22. สามารถช่วยรักษาอาการเจ็บคอได้ (ใบ)[2],[5]
23. ราก มีรสร้อนเมา สามารถใช้เป็นยาขับเหงื่อ และแก้ลมได้ (ราก)[5]
24. ช่อดอก มีสรรพคุณที่เป็นยารักษาอาการท้องเสีย (ช่อดอก)[2],[5]
25. ราก สามารถใช้เป็นยารักษาโรคกระเพาะอาหารได้ (ราก)[2]
26. สามารถช่วยแก้อาหารไม่ย่อยได้ (เมล็ด)[3]
27. สามารถใช้เป็นยาแก้ติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะได้ (ใบ, ดอก, ผล)[3]
28. ราก สามารถใช้เป็นยาแก้ริดสีดวงแห้งได้ (ราก)[5]
29. ในตำรับยาแก้เลือดแห้ง นำรากคนทีเขมา รากมะอึก รากมะตูม เปลือกเพกา เปลือกไม้แดง ฝาง ไผ่สีสุกมาต้มทานแก้เลือดแห้ง (ราก)[6]
30. ใบ สามารถใช้เป็นยาแก้ดีซ่านได้ (ใบ)[5]
31. สามารถใช้รักษาบาดแผลที่เกิดจากสุนัขกัดกับตะขาบกัด และบาดแผลที่เกิดจากของมีคม โดยนำใบสดมาตำให้ละเอียด แล้วเอาไปใช้พอกตรงบริเวณที่เป็น (ใบ)[2]
32. สามารถใช้รักษาโรคปวดตามข้อได้ โดยนำกิ่งสดประมาณ 15 กรัม มาต้มทาน แบ่งทาน 2 เวลา เช้าและเย็น (กิ่งสด)[2]

ขนาดและวิธีใช้

  • ถ้าใช้กิ่งแห้งให้ใช้ 15-35 กรัม มาต้มทาน หรือใช้ร่วมกับตัวยาอื่นในตำรับยา[3]
  • ถ้าใช้ใบแห้งให้ใช้ 10-35 กรัม มาต้มทาน หรือใช้ร่วมกับตัวยาอื่นในตำรับยา[3]
  • ถ้าใช้เมล็ดให้ใช้ 3-10 กรัม มาต้มทาน หรือใช้ร่วมกับตัวยาอื่นในตำรับยา[3]

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

  • เมื่อนำสารสกัดจากเมล็ด หรือต้นสด หรือราก ที่นำมาต้มเป็นน้ำยา มาทดสอบกับเชื้อ Staphylo coccus ในหลอดแก้ว ปรากฏว่ามีการยับยั้งหรือฆ่าเชื้อ Staphylo coccus ได้ ด้วยการที่สารสกัดจากเมล็ด จะมีประสิทธิภาพที่สูงกว่าสารที่สกัดจากราก[3]
  • สารสกัดจากใบช่วยบรรเทาอาการอักเสบ และอาการปวดของหนูขาวทดลองที่เป็นโรคไขข้ออักเสบได้[3]
  • เมื่อเอาสารสกัดจากเมล็ดหรือรากมาฉีดเข้าไปในปอดที่อยู่นอกร่างของหนูขาวทดลอง ปรากฏว่าหลอดลมของปอดหนูขยายตัวขึ้น[3]
  • ผล ใบ เมล็ดพบน้ำมันระเหย อย่างเช่น Camphene, L-Sabine และพบสารจำพวก Nishindine, Alkaloid, Cineole, Flavonoid glycoside ใบพบสาร Pinene, Casticin, Luteolin-7-glucoside และมีวิตามินซี[3]
  • สารสกัดจากใบจะมีฤทธิ์ที่ต้านเซลล์ในเนื้องอกชนิดเออร์ลิช แอสไซติส (Ehrlich ascites tumour cells)[2]
  • สารละลายจากการต้มรากมีฤทธิ์ระงับอาการไอในหนูถีบจักร[2]
  • สารสกัดจากรากช่วยยับยั้งอาการและขับเสมหะของหนูขาวทดลองได้[3]
  • มีฤทธิ์ที่ทำให้หลอดลมของหนูขาวขยายตัว และมีฤทธิ์ขับเสมหะ รักษาอาการหอบ อาการไอ รักษาหลอดลมอักเสบเรื้อรัง ยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียได้ เมื่อฉีดน้ำที่ต้มเมล็ดกับรากเข้าปอดของหนูขาว[2],[6]

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ. (คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “คนทีเขมา”. หน้า 207.
2. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “คนทีเขมา”. หน้า 202-203.
3. หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. (วิทยา บุญวรพัฒน์). “คนทีเขมา”. หน้า 148.
4. อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. “คนทีเขมา”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.pharmacy.mahidol.ac.th/siri/. [24 ม.ค. 2015].
5. ไทยโพสต์. “คนที ดูแลสุขภาพผิวรับหน้าร้อน”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.thaipost.net. [24 ม.ค. 2015].
6. อภัยภูเบศร. “คนทีเขมา ผีเสื้อที่ดูแลผู้หญิง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.abhaiherb.com. [24 ม.ค. 2015].
7. สวนพฤกษศาสตร์คลองไผ่, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “คน ที เขมา”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.rspg.or.th/plants_data/kp_bot_garden/kpb.htm. [24 ม.ค. 2015].

อ้างอิงรูปจาก
1. https://crimsonsage.com/product/chaste-tree/
2. https://www.hobbyseeds.com/vitex-negundo-chaste-tree-10.html
3. https://medthai.com/

ต้นกฤษณา สรรพคุณเสริมสมรรถภาพทางเพศ

0
กฤษณา
ต้นกฤษณา สรรพคุณเสริมสมรรถภาพทางเพศ เป็นไม้ยืนต้นทรงเปลาตรง ดอกเป็นช่อ ผลทรงกลมรีสีเขียวขนสั้นละเอียด ผิวข้างขรุขระ เมล็ดเล็กทรงกลมสีน้ำตาลเข้ม ตรงหางเมล็ดมีสีส้มออกแดง
กฤษณา
เป็นไม้ยืนต้นทรงเปลาตรง ดอกเป็นช่อ ผลทรงกลมรีสีเขียวขนสั้นละเอียด ผิวข้างขรุขระ เมล็ดเล็กทรงกลมสีน้ำตาลเข้ม ตรงหางเมล็ดมีสีส้มออกแดง

กฤษณา

กฤษณา สามารถพบได้ในป่าแถบเขตร้อนชื้น เช่นป่าดงดิบแล้งและชื้น หรือในบริเวณพื้นที่ราบใกล้กับแม่น้ำลำธาร ชื่อสามัญ Eagle wood, Agarwood, Aglia, Aloewood, Akyaw, Calambac, Calambour, Lignum aloes ชื่อวิทยาศาสตร์ Aquilaria crassna Pierre ex Lecomte ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Aquilaria crasna Pierre จัดอยู่ในวงศ์ วงศ์กฤษณา (THYMELAEACEAE) ชื่ออื่น ๆ ไม้พวงมะพร้าว (ภาคใต้ของไทย), ไม้หอม (ภาคตะวันออกของไทย), สีเสียดน้ำ (จังหวัดบุรีรัมย์), ตะเกราน้ำ (จังหวัดจันทบุรี), กายูการู กายูกาฮู กายูดึงปู (จังหวัดปัตตานีและมาเลเซีย), ติ่มเฮียง (ภาษาจีน), เซงเคง (ภาษากะเหรี่ยง), ชควอเซ ชควอสะ (ชาวกะเหรี่ยงในจังหวัดแม่ฮ่องสอน), อครุ ตคร (ภาษาบาลี), จะแน, พวมพร้าว, ปอห้า (ภาษาถิ่นคนเมือง) [1],[2],[3],[4],[5] เป็นต้น

ข้อควรรู้

ไม้นี้จะมีอยู่ด้วยกันประมาณ 15 ชนิด กระจายพันธุ์อยู่ทั่วพื้นป่าในแถบเอเชียเขตร้อน โดยในประเทศไทยจะพบอยู่หลัก ๆ 3 ชนิด[2] ดังนี้
1. Aquilaria crassna Pierre. พบได้ในป่าทางภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ[2]
2. Aquilaria subintegra Ding Hau พบได้ในเฉพาะทางภาคตะวันออก[2]
3. Aquilaria malaccensis Lamk. พบได้ในเฉพาะทางภาคใต้[2]
ส่วนชนิดอื่น ๆ ที่อาจจะพบเจอได้ คือ Aquilaria rugosa, Aquilaria baillonil, และ Aquilaria hirta

ลักษณะกฤษณา

  • ต้น
    – ลำต้นเป็นทรงเปลาตรง พื้นผิวเปลือกต้นเรียบเป็นสีเทาอมขาว มีรูระบายอากาศสีน้ำตาลอ่อนอยู่ทั่วลำต้น และเปลือกด้านในมีสีขาวอมเหลือง เมื่อต้นมีอายุมากขึ้นเรื่อย ๆ เปลือกภายนอกจะค่อย ๆ แตกเป็นร่องยาวทั่วลำต้น และมีพูพอนที่โคนต้น ต้นจะแตกกิ่งก้านออกเป็นทรงพุ่มเจดีย์ต่ำ ๆ ตามกิ่งก้านจะมีขนสีขาวเล็ก ๆ ขึ้นปกคลุมอยู่
    – เป็นไม้ยืนต้นที่มีขนาดกลางไปจนถึงขนาดใหญ่
    – ความสูงของต้น ประมาณ 18-30 เมตร
    – การขยายพันธุ์ใช้วิธีการเพาะเมล็ด การปักชำ การตอนกิ่ง และการขุดต้นกล้าอ่อนมาปลูก[1],[2]
  • ใบ
    – ใบเป็นรูปรี ใบมีสีเขียว ตรงปลายใบเป็นติ่งแหลม โคนใบมน มีผิวใบและขอบใบเรียบ แต่จะมีขนขึ้นปกคลุมอยู่ที่เส้นใบด้านล่างเล็กน้อย
    – มีความกว้างของใบอยู่ 3-5 เซนติเมตร มีความยาวอยู่ 6-11 เซนติเมตร และมีก้านใบยาวอยู่ที่ประมาณ 0.2-0.7 เซนติเมตร[1]
    – เป็นไม้ไม่ผลัดใบ
  • ดอก
    – ออกดอกเป็นช่อที่บริเวณซอกใบ ดอกมี 5 กลีบมีสีเขียวอมเหลือง มีเกสรเพศผู้อยู่ 10 ก้าน และดอกมีกลีบเลี้ยงที่โคนติดกันเป็นรูปหลอด[1]
  • ผล
    – ผลมีรูปร่างเป็นรูปทรงกลมรี ผลมีสีเขียว และมีขนละเอียดสั้น ๆ ขึ้นปกคลุม ผลมีเส้นเล็ก ๆ ขึ้นที่บริเวณตามยาวของผล พื้นผิวของผลค่อนข้างขรุขระ และเมื่อผลแก่ ผลจะแตกและเปิดอ้าออก
  • เมล็ด
    – เมล็ดมีขนาดเล็กเป็นทรงกลมรีมีสีน้ำตาลเข้ม ตรงหางเมล็ดมีสีส้มออกแดง ทั่วพื้นผิวเมล็ดจะปกคลุมไปด้วยขนสั้น ๆ สีแดงแกมน้ำตาล โดยภายในผลนั้นจะมีเมล็ดอยู่ประมาณ 1-2 เมล็ด[1],[2]

เอกลักษณ์เนื้อไม้กฤษณา

1. เนื้อไม้ปกติ โดยเนื้อไม้ปกติจะมีสีขาวนวลและจะค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอ่อน เหมาะกับการทำเป็นฟืน และก่อสร้าง
2. เนื้อไม้หอมที่มีน้ำมัน เนื้อไม้จะมีสีดำ ซึ่งคุณภาพของเนื้อไม้ชนิดนี้จะขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำมันภายในเนื้อไม้ เหมาะสำหรับทำเป็นไม้หอม สมุนไพร และทำฟื้น

คุณภาพของไม้กฤษณา

1. เกรดที่ 1 มักเรียกกันว่า ไม้ลูกแก่น ส่วนต่างประเทศจะเรียกว่า True agaru เกรดนี้จะมีน้ำมันสะสมอยู่เป็นจำนวนมาก และมีราคาที่แพงที่สุด[2],[3]
2. เกรดที่ 2 ในต่างประเทศจะเรียกว่า Dhum โดยจะมีน้ำมันและกลิ่นหอมรองลงมาจากเกรดที่ 1 ราคาจะถูกกว่าเกรดที่ 1[2],[3]
3. เกรดที่ 3 จะมีน้ำมันและกลิ่นหอมรองลงมาจากเกรดที่ 1 และ 2 มีน้ำหนักที่เบากว่าน้ำ ราคาจะถูกกว่าเกรดที่ 1 และ 2[2]
4. เกรดที่ 4 มักเรียกกันว่า ไม้ปาก โดยไม้เกรดนี้จะมีกลิ่นหอมและน้ำมันสะสมอยู่น้อยที่สุดในบรรดาไม้ทั้ง 4 เกรด อีกทั้งยังมีราคาที่ถูกที่สุดอีกด้วย

สรรพคุณของกฤษณา

  • น้ำจากต้นสามารถรักษาอาการกลากเกลื้อนได้ (ต้น)[1]
  • ต้นมีสรรพคุณในการบรรเทาอาการปวดเมื่อยตรงบริเวณเอวและหัวเข่า (ต้น)[8]
  • ต้นนำมาทำเป็นยาทา มีสรรพคุณในการรักษาฝีและผิวหนังเป็นผื่นคัน (ต้น)[11]
  • เนื้อไม้มีสรรพคุณทางยาที่หลากหลาย อันได้แก่ นำมาปรุงเป็นยาอายุวัฒนะ ยาบำรุงธาตุหรือบำรุงกำลัง ยารักษาไข้ ยารักษาโรคลมซาง ยาบำรุงหัวใจ ยาบำรุงสมอง ยาบำรุงปอด บำรุงตับ และบรรเทาอาการปวดตามข้อ เป็นต้น (เนื้อไม้)[1],[2],[3],[5]
  • น้ำจากเนื้อไม้มีสรรพคุณเป็นยารักษาอาการร้อนใน แก้เสมหะ และแก้อาการกระหายน้ำได้ (เนื้อไม้)[3]
  • เนื้อไม้นำมาปรุงเป็นยาหอมมีสรรพคุณในการบรรเทาอาการหน้ามืดและวิงเวียนศีรษะ (เนื้อไม้)[1],[2],[3]
  • น้ำจากใบมีสรรพคุณเป็นยารักษาโรคภูมิแพ้ (ใบ)[5]
  • น้ำจากใบมีสรรพคุณเป็นยารักษาโรคเบาหวาน (ใบ)[5]
  • ใบมีสรรพคุณในการรักษาโรคผิวหนังอันเนื่องมาจากการทำนา และโรคน้ำกัดเท้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ (ใบ)[2],[3],[12]
  • รักษาโรคผิวหนังเป็นกลากเกลื้อนเนื่องจากเชื้อรา (ใบ)[5]
  • สารสกัดน้ำจากแก่นของต้น มีฤทธิ์ในการเข้าไปต่อต้านอาการแพ้อย่างเฉียบพลันตรงบริเวณผิวหนังของหนูทดลองได้ จากการวิจัยระบุว่าสารสกัดดังกล่าวจะเข้าไปยับยั้งการหลั่งของ Histamine จาก Mast cell (แก่นไม้)[3]
  • แก่นไม้นำมาทำเป็นยาหอม มีสรรพคุณเมื่อสูดดมจะทำให้ร่างกายกระปรี้กระเปร่า (แก่นไม้)[2]
  • สารสกัดจากแก่นของต้น มีฤทธิ์ที่สามารถลดความดันโลหิตได้ (แก่นไม้)[3]
  • น้ำมันที่สกัด มีสรรพคุณต่าง ๆ ได้แก่ เป็นยารักษาโรคตับ เป็นยารักษาโรคที่เกี่ยวกับทางเดินอาหารหรือกระเพาะอาหาร เช่น โรคท้องอืด โรคมะเร็งลำไส้ หรือโรคกระเพาะ เป็นต้น (น้ำมัน)[5]
  • น้ำมันที่สกัดมาจากเมล็ด มีสรรพคุณในการรักษาโรคผิวหนังได้ (น้ำมันจากเมล็ด)[1]

ประโยชน์ของต้นกฤษณา

  • เป็นส่วนผสมของเครื่องหอมทุกชนิด เช่น ยาหอม น้ำมันหอมระเหย น้ำอบไทย และธูปหอม เป็นต้น[1],[2],[5]
  • ชาวอาหรับนิยมใช้ไม้ลูกแก่นของต้นมาเผาไฟใช้สำหรับประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ อีกทั้งยังเป็นไม้มงคลที่เป็นส่วนประกอบสำคัญในพิธีกรรมทางศาสนาอิสลามในสุเหร่า และใช้ต้อนรับอาคันตุกะพิเศษ[2]
  • ชาวฮินดูและชาวอาหรับมักนิยมนำไม้ของต้นมาเผาไฟเพื่อให้มีกลิ่นหอมภายในห้อง[6]
  • น้ำมันหอมระเหยที่สกัดมา เป็นที่นิยมในอุตสาหกรรมการผลิตน้ำหอมและเครื่องสำอาง[1],[2]
  • กลิ่นของน้ำหอม มีคุณสมบัติในการไล่แมลงและระงับความเครียดได้[2],[5]
  • เส้นใยของเปลือกต้น สามารถนำมาใช้ทำเป็นเสื้อผ้า ย่าม ใช้สานหมวก ถุง ที่นอน เชือก และกระดาษได้[1],[2],[4]
  • ใบ นำมาใช้ทำธูปสีเขียว[5]
  • ประเทศญี่ปุ่นมีการนำใบมาตากแห้งทำเป็นใบชา[5]
  • นำผงที่สกัดมาโรยลงบนเสื้อผ้า โดยจะมีคุณสมบัติในการฆ่าหมัดและเหาได้ อีกทั้งยังมีคุณสมบัติช่วยป้องกันตัวเรือดและตัวไรได้อีกด้วย[1],[3],[5]
  • เนื้อไม้ สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างหลากหลาย เช่น นำมาทำเป็นเฟอร์นิเจอร์ นำมาก่อสร้าง นำมาทำเป็นอุปกรณ์สำหรับใส่ข้าวของชาวกะเหรี่ยง ทำลูกประคำ และนำมาใช้ทำเป็นเยื่อกระดาษ[5]

ตำรับยาต่าง ๆ

  • จัดได้ว่าเป็นพืชสมุนไพรอันเลอค่า โดยมีบันทึกอยู่ในพระคัมภีร์ทางยาอยู่มากมาย ได้แก่ พระคัมภีร์มหาโชตรัต เล่ม 3, ตำรายาพระโอสถของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช, ตำรายาทรงทาพระนลาต, พระคัมภีร์ปฐมจินดา, พระคัมภีร์แลมหาพิกัต, พระคัมภีร์ธาตุวิภังค์, พระคัมภีร์ชวดาร, พระคัมภีร์มุจฉาปักขันทิกา และพระคัมภีร์โรคนิทาน[5]
  • ในตำรายาจีนได้มีการนำไม้มาปรุงเป็นยาบรรเทาอาการต่าง ๆ อันได้แก่ ยาเสริมสมรรถภาพทางเพศ ยาแก้อาการคลื่นไส้อาเจียน ยาบรรเทาอาการปวดแน่นหน้าอก และยาบรรเทาอาการหอบหืด (ตำรายาจีน)[2],[3]

เอกสารอ้างอิง
1. สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “กฤษณา“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.rspg.or.th. [22 พ.ย. 2013].
2. กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. “กฤษณา“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.dnp.go.th. [22 พ.ย. 2013].
3. ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “กฤษณา“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.thaicrudedrug.com. [22 พ.ย. 2013].
4. โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง. “กฤษณา Aquilaria rugosa K. Le-Cong“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: eherb.hrdi.or.th. [22 พ.ย. 2013].
5. ชมรมไม้กฤษณา (ไม้หอม) แห่งประเทศไทย. “การนำส่วนต่าง ๆ ของกฤษณามาใช้ประโยชน์“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.thaikrisana.com. [22 พ.ย. 2013].
6. เดอะแดนดอตคอม. “กฤษณา“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.the-than.com. [22 พ.ย. 2013].
7. https://medthai.com/

อ้างอิงรูปจาก
1. https://www.ydhvn.com/
2. https://palms.org.au/

ต้นพลับพลึงแดง สรรพคุณช่วยขับเลือดประจำเดือน

0
ต้นพลับพลึงแดง สรรพคุณช่วยขับเลือดประจำเดือน เป็นไม้ล้มลุก ก้านใบห่อหุ้มลำต้น ดอกออกเป็นช่อขนาดใหญ่ ดอกเป็นสีขาวแกมสีชมพู มีกลิ่นหอมช่วงพลบค่ำ ผลสดสีเขียวกลม
พลับพลึงแดง
เป็นไม้ล้มลุก ก้านใบห่อหุ้มลำต้น ดอกออกเป็นช่อขนาดใหญ่ ดอกเป็นสีขาวแกมสีชมพู มีกลิ่นหอมช่วงพลบค่ำ ผลสดสีเขียวกลม

พลับพลึงแดง

พลับพลึงแดง มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปแอฟริกา ชื่อสามัญ Red crinum, Giant lily, Spider lily, Red Bog Lily ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Crinum × amabile Donn ex Ker Gawl. หรือ Crinum × amabile Donn (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ คือ Crinum × augustum Roxb.) อยู่วงศ์พลับพลึง (AMARYLLIDACEAE)[1],[2],[3],[4],[5] ชื่อในท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น พลับพลึงดอกแดง (จังหวัดกรุงเทพมหานคร, ภาคกลาง), พลับพลึงดอกแดงสลับขาว, ลิลัว (ภาคเหนือ), พลับพลึง, พลับพลึงใหญ่ดอกสีชมพู [2],[4],[5],[6]

ลักษณะของต้นพลับพลึงแดง

  • ต้น เป็นไม้ล้มลุกที่มีอายุหลายปี ต้นสูงประมาณ 1-2 เมตร ลำต้นจะมีหัวอยู่ใต้ดิน ส่วนที่อยู่เหนือดินคือ กาบใบสีขาวหุ้มซ้อนเป็นชั้น ขยายพันธุ์โดยการแยกหน่อไปปลูกหรือการเพาะเมล็ด เติบโตได้ดีในพื้นที่ชุ่มน้ำ หรือที่มีความชื้นค่อนข้างสูง อย่างเช่น ริมคลอง หนอง บึง ทนต่อสภาพแวดล้อมได้โดยไม่ต้องการดูแลเอาใจใส่เยอะ ถ้าหากต้องการให้มีดอกเยอะให้ปลูกในพื้นที่กลางแจ้ง แต่ถ้าหากต้องการให้ใบสวยให้ปลูกในที่มีแสงแดดแบบรำไร (หัวมีสาร Alkaloid Narcissine)[1],[2],[5]
  • ใบ เป็นใบเดี่ยวเรียงซ้อนสลับเป็นวง ใบเป็นรูปใบหอก ที่โคนใบจะเป็นกาบทำหน้าที่เป็นก้านใบห่อหุ้มลำต้น ส่วนที่ปลายใบจะแหลม ขอบใบเรียบ ใบกว้างประมาณ 7-15 เซนติเมตร มีความยาวประมาณ 1 เมตร ใบมีลักษณะเป็นสีเขียว ผิวใบอ่อนนุ่ม เหนียว อวบน้ำ หนา [1],[2]
  • ดอก ออกเป็นช่อที่มีขนาดใหญ่ ก้านดอกจะแทงขึ้นจากกลุ่มของใบตอนปลาย หนึ่งช่อมีดอกย่อยอยู่เป็นกระจุกประมาณ 12-40 ดอกกลีบดอกเป็นสีขาวแกมสีชมพู กลีบด้านบนดอกจะเป็นสีม่วง สีชมพู กลีบด้านล่างเป็นสีแดงเลือดหมู สีแดงเข้ม กลีบดอกแคบเรียวยาว ถ้าดอกบานเต็มที่กลีบดอกจะงองุ้มเข้าหาก้านดอก มีเกสรยาวยื่นออกจากกลางดอก มีกลิ่นหอม กลิ่นจะหอมมากช่วงพลบค่ำ ออกดอกได้ปีละครั้ง ดอกออกช่วงเดือนกันยายนถึงเดือนตุลาคม บ้างก็ว่าดอกออกได้ทั้งปี และออกเยอะช่วงฤดูฝน[1],[2],[5]
  • ผล เป็นผลสด มีสีเขียว ผลค่อนข้างกลม มีเมล็ดกลม[1],[4]

พิษของพลับพลึงดอกแดง

  • มีฤทธิ์ระคายเคืองกับระบบทางเดินอาหาร (เข้าใจว่าเป็นส่วนหัว) หัวมีพิษในกลุ่มอัลคาลอยด์ที่ชื่อว่า “Lycorine” อาการเป็นพิษ คือ มีน้ำลายเยอะ อาเจียน ตัวสั่น เหงื่อออก ท้องเดินแบบไม่รุนแรง ถ้ามีอาการมากอาจเกิด Paralysis และ Collapse[6]

วิธีการรักษาพิษ

1. ดื่มน้ำเยอะ ๆ เพื่อทำให้พิษเจือจาง[6]
2. ทำให้อาเจียนออก[6]
3. นำตัวส่งโรงพยาบาลเพื่อทำการล้างออก เพื่อเอาชิ้นส่วนพลับพลึงออก[6]
4. ทานยารักษาอาการคลื่นไส้อาเจียน เพื่อช่วยป้องกันการสูญเสียน้ำกับเกลือแร่ภายในร่างกายเยอะเกินไป[6]
5. ควรให้น้ำเกลือจนกว่าจะอาการดีขึ้น[6]

สรรพคุณ และประโยชน์พลับพลึงแดง

1. สารสกัดที่ได้จากใบจะมีฤทธิ์ที่ช่วยต้านเชื้อแบคทีเรียได้ (ใบ)[1]
2. รากสามารถใช้เป็นยารักษาพิษยางน่องได้ (ราก)[2]
3. ใบสดมาลนไฟเพื่อทำให้อ่อนตัวลง นำมาใช้ประคบหรือพันรักษาแก้อาการบวม อาการเคล็ดขัดยอก ฟกช้ำบวม แพลง ช่วยถอนพิษได้ดี (ใบ)[1],[2],[3],[4]
4. สามารถช่วยขับเลือดประจำเดือนของผู้หญิงได้ (เมล็ด)[2]
5. สามารถใช้หัวเป็นยารักษาโรคที่เกี่ยวกับปัสสาวะได้ (หัว)[2]
6. ใช้ใบพลับพลึงอย่างเดียวหรือใช้ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่น นำไปตำเพื่อปิดตรงบริเวณที่ปวด เพื่อใช้รักษาอาการปวดศีรษะ (ใบ)[2]
7. เมล็ดสามารถใช้เป็นยาบำรุงร่างกายได้ (เมล็ด)[2],[3],[4]
8. สารสกัดที่ได้จากใบมีฤทธิ์ที่ช่วยต้านการเติบโตของเนื้องอก (ใบ)[1]
9. หัวกับใบมีสารในกลุ่มอัลคาลอยด์ที่ชื่อว่า Lycorine เป็นสารที่มีฤทธิ์ที่ช่วยต้านไวรัสที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคหัด กับโรคโปลิโอ สารชนิดนี้เป็นพิษสูง และต้องมีการทดลองกันต่อไป (ใบ, หัว)[1]
10. สามารถใช้อยู่ไฟหลังคลอดสำหรับผู้หญิงได้ (ใบ)[3],[4]
11. สามารถนำรากมาตำใช้พอกแผลได้ (ราก)[2]
12. สามารถช่วยขับปัสสาวะได้ (เมล็ด)[2],[3],[4]
13. สามารถใช้เป็นยาระบายได้ (หัว, เมล็ด)[2],[3],[4]
14. สามารถช่วยขับเสมหะได้ (หัว)[2],[3],[4]
15. สามารถใช้เป็นยาลดไข้ได้ โดยนำใบพลับพลึงอย่างเดียว หรือใช้ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่น (ใบ)[2]
16. หัวจะมีรสขม สามารถใช้เป็นยาบำรุงกำลังได้ (หัว)[2]
17. ปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับเพื่อความสวยงาม

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ. “พลับพลึงดอกแดง”. (คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). หน้า 91.
2. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย. “พลับพลึงดอกแดง (กรุงเทพฯ)”. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). หน้า 144.
3. โรงเรียนพระหฤทัยคอนแวนต์. “พลับพลึงแดง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.shc.ac.th. [22 ม.ค. 2014].
4. หนังสือไม้ดอกหอม เล่ม 1. “พลับพลึงดอกแดง (กรุงเทพฯ)”. (ปิยะ เฉลิมกลิ่น). หน้า 147.
5. ฝ่ายปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. “พลับพลึงใหญ่ดอกสีชมพู”. (นพพล เกตุประสาท). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: clgc.rdi.ku.ac.th . [22 ม.ค. 2014].
6. สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. “พลับพลึงดอกแดง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.medplant.mahidol.ac.th. [22 ม.ค. 2014].

อ้างอิงรูปจาก
1. https://powo.science.kew.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:63772-1
2. https://www.plantasyhongos.es/herbarium/htm/Crinum_spp.htm
3. https://medthai.com/