Home Blog Page 24

ต้นผักแพวแดง รากช่วยขับลมในกระเพาะ

0
ผักแพวแดง
ต้นผักแพวแดง รากช่วยขับลมในกระเพาะ เป็นไม้ล้มลุก ลำต้นและใบเป็นสีแดง ใบเดี่ยวออกเรียงตรงข้าม ดอกมีสีขาวแกมเหลือง ผลแห้งและไม่แตก
ผักแพวแดง
เป็นไม้ล้มลุก ลำต้นและใบเป็นสีแดง ใบเดี่ยวออกเรียงตรงข้าม ดอกมีสีขาวแกมเหลือง ผลแห้งและไม่แตก

ผักแพวแดง

ผักแพวแดง เป็นพันธุ์ไม้ประเภทล้มลุก มีถิ่นกำเนิดในประเทศบราซิลไม้ใบประดับชนิดนี้อายุสั้น เจริญเติบโตได้ดีในสภาพอากาศร้อนชื้น ชอบโดนแดดโดยตรงชอบแดดจัด จัดอยู่ในวงศ์ตระกูล AMARANTHACEAE ชื่อวิทยาศาสตร์ Iresine herbstii Hook. ชื่ออื่น ๆ ละอองใบด่าง (จังหวัดเชียงใหม่)[3], ผักแผ่วแดง, ผักแผ่วสวน, ผักอีแปะ[1], ผักแพวสวน[2] เป็นต้น

ลักษณะของผักแพวแดง

  • ต้น
    – ต้นมีความสูง ประมาณ 50 เซนติเมตร[3]
    – ลำต้นจะมีสีเป็นสีแดงทั้งต้นและใบ โดยถือเป็นเอกลักษณ์ที่เด่นเป็นอย่างยิ่งของต้น[1]
  • ใบ
    – ใบมีลักษณะเป็นใบประกอบชนิดที่มีใบย่อยเป็นใบเดี่ยว โดยใบจะออกเรียงตรงข้ามกัน
    – ลักษณะรูปร่างของใบเป็นรูปโล่แกมรูปไข่ รูปวงรีหรือรูปไข่หัวกลับ ปลายใบเว้า และใบมีแถบขวางเป็นสีชมพู[3]
    – ใบมีสีเป็นสีแดงเข้มออกม่วง สามารถมองเห็นเส้นใบสีแดงได้อย่างชัดเจน[1]
  • ดอก
    – ออกดอกเป็นช่อที่บริเวณตามปลายกิ่ง
    – ดอกมีสีขาวแกมเหลือง
    – ดอกมีทั้งดอกสมบูรณ์เพศและดอกแบบแยกเพศ[1],[3]
  • ผล
    – ผลมีลักษณะเป็นผลแห้งและผลไม่แตก[3]

สรรพคุณของต้นผักแพวแดง

1. ใบนำมาใช้รับประทานสำหรับบรรเทาอาการไอได้ (ใบ)[2]
2. ใบนำมาใช้ช่วยรักษาอาการหอบหืด (ใบ)[2]
3. นำใบของต้น มาผสมกับต้นบานเย็น ต้นเทียนบ้าน จากนั้นนำมาต้มใช้สำหรับดื่มจะช่วยทำให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น (ใบ)[3]
4. ใบ นำมาใช้ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่น ๆ ได้ (ข้อมูลไม่ได้ระบุว่าใช้ร่วมกับสมุนไพรชนิดอะไร) จากนั้นนำมาต้มเป็นยามีฤทธิ์ในการแก้อาการประจำเดือนมาไม่ปกติได้เป็นอย่างดี (ใบ)[3]
5. ใบนำมาใช้ช่วยแก้อาการปวดท้องได้ (ใบ)[2]
6. ใบนำมาใช้ช่วยแก้อาการเลือดลมต่าง ๆ ได้ (ใบ)[2]
7. ใบนำมาใช้ช่วยบรรเทาอาการท้องเฟ้อและท้องขึ้นได้ (ใบ)[2]
8. ใบนำมาใช้ช่วยแก้อาการปวดตามข้อและปวดกระดูกได้ (ใบ)[2]
9. ใบนำมาใช้ต้มสำหรับไว้รับประทานกับไก่ จะมีสรรพคุณในการช่วยแก้อาการปวดหลังและปวดเอวได้ (ใบ)[3]
10. ดอกมีสรรพคุณในการช่วยขับเหงื่อได้ (ดอก)[2]
11. ดอกนำมาใช้ช่วยรักษาอาการปวดตามร่างกายได้ (ดอก)[1]
12. รากนำมาใช้ทำเป็นยาแก้หืดไอ (ราก)[1]
13. รากนำมาใช้ในการช่วยขับลมในกระเพาะ (ราก)[1]
14. รากนำมาใช้รับประทานเป็นยาสำหรับบรรเทาอาการปวดเมื่อยตามข้อได้ (ราก)[1]

ประโยชน์ของผักแพวแดง

1. ปลูกเป็นพืชประดับสวนเพื่อให้เกิดความสวยงามได้อีกด้วย

2. ในด้านความเชื่อนั้น ชาวเปรูทางตอนเหนือที่อยู่ในแถบเทือกเขาแอนดีส จะนำมาใช้ในพิธีกรรมขับไล่วิญญาณร้ายให้ออกจากร่างกาย[4]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.  อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.pharmacy.mahidol.ac.th.  [12 ต.ค. 2013].
2. รายการสาระความรู้ทางการเกษตร.  ฝ่ายวิจัยและบริการ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่.  “พืชผักผลไม้ไทยมีคุณค่าเป็นทั้งอาหารและยา ตอน ผักแพวแดง“.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: natres.psu.ac.th.  [12 ต.ค. 2013].
3. ฐานข้อมูลพันธุ์ไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.  ฐานข้อมูลพฤกษศาสตร์พื้นบ้าน.  อ้างอิงใน: สมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ (128).  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.qsbg.org.  [12 ต.ค. 2013].
4. Top Tropicals.  “SPECIAL PLANTS“.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: toptropicals.com.  [12 ต.ค. 2013].
อ้างอิงรูปจาก
1. https://www.gerbeaud.com/
2. https://homeplantsguide.com/

พลับพลึง ไม้มงคลโบราณกลิ่นหอม แก้อาการปวดเมื่อย

0
พลับพลึง
พลับพลึง ไม้มงคลโบราณกลิ่นหอม แก้อาการปวดเมื่อย เป็นพืชที่มีอายุยืนขึ้นเป็นกอ ทนทานดูแลง่าย ใบหนาอวบน้ำ ดอกเป็นช่อใหญ่สีขาวแคบเรียวยาวปลายเกสรมีสีแดง มีกลิ่นหอม ผลค่อนข้างกลมสีเขียวอ่อน
พลับพลึง
พลับพลึง ไม้มงคลโบราณกลิ่นหอม แก้อาการปวดเมื่อย เป็นพืชที่มีอายุยืนขึ้นเป็นกอ ทนทานดูแลง่าย ใบหนาอวบน้ำ ดอกเป็นช่อใหญ่สีขาวแคบเรียวยาวปลายเกสรมีสีแดง มีกลิ่นหอม ผลค่อนข้างกลมสีเขียวอ่อน

พลับพลึง

เป็นพืชที่มีอายุยืนยาวนับสิบปี มีความแข็งแรงทนทาน ไม่ค่อยมีโรคและแมลงมารบกวน เป็นพืชที่ดูแลง่าย ไม่ต้องมีการบำรุงรักษามากนัก เป็นพืชที่เจริญเติบโตได้เร็วอีกด้วย ชื่อสามัญ คือ Crinum lily หรือ Cape lily, Spider lily, Poison bulb ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Crinum asiaticum L. จัดอยู่ในวงศ์ (AMARYLLIDACEAE) ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ คือ ลิลัว (ภาคเหนือ), ว่านชน (อีสาน), วิรงรอง (ชวา), พลับพลึงขาว, พลับพลึงดอกขาว

ลักษณะของพลับพลึง

  • ต้น
    – เป็นพรรณไม้ล้มลุกที่ขึ้นเป็นกอ
    – มีหัวอยู่ใต้ดิน
    – ลำต้นกลม
    – เมื่อเติบโตเต็มที่จะมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 12-15 เซนติเมตร
    – มีความสูง 90-120 เซนติเมตร
    – สามารถขยายพันธุ์โดยวิธีการแยกหน่อที่ขึ้นบริเวณโคนต้นและวิธีการเพาะเมล็ด
    – เป็นพรรณไม้ที่สามารถพบได้ในประเทศจีน อินเดีย ญี่ปุ่น และฮ่องกง
  • ใบ
    – ใบมีสีเขียว
    – ใบจะออกรอบ ๆ ลำต้น
    – ใบแคบ มีความเรียวยาว
    – ขอบใบจะเป็นคลื่น
    – ปลายใบแหลม
    – ใบหนาอวบน้ำ
    – ใบมีความกว้าง 10-15 เซนติเมตร และยาว 60-90 เซนติเมตร
  • ดอก
    – ดอกเป็นช่อใหญ่
    – มีกลิ่นหอม
    – แต่ละช่อมีดอก 15-40 ดอก
    – ก้านดอกชูขึ้นจากตรงกลางลำต้น
    – มีความยาว 90 เซนติเมตร และสูง 90-120 เซนติเมตร
    – กลีบดอกมีสีขาวแคบเรียวยาวประมาณ 15 เซนติเมตร
    – หนึ่งดอกมีกลีบ 6 กลีบ
    – ดอกเมื่อบานเต็มที่กลีบดอกจะโค้งเข้าหาก้านดอก
    – มีเกสรตัวผู้มี 6 ก้าน ชูสูงขึ้นจากดอก
    – ที่ปลายเกสรมีสีแดง
    – จะค่อย ๆ ทยอยออกดอก
  • ผล
    – ผลมีสีเขียวอ่อน
    – ผลค่อนข้างกลม

สรรพคุณของพลับพลึง

  • ช่วยขับเสมหะ
  • ช่วยทำให้คลื่นเหียนอาเจียน
  • ช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะ
  • ช่วยยาบำรุงกำลัง
  • ช่วยรักษาโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินปัสสาวะและน้ำดีได้
  • ช่วยรักษาอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย กล้ามเนื้ออักเสบ
  • ช่วยแก้ปวดเมื่อย เคล็ดขัดยอก
  • ช่วยแก้อาการวิงเวียนศีรษะ
  • ช่วยบำรุงผิว
  • ช่วยแก้อาการปวดบวม ฟกช้ำดำเขียว
  • ช่วยแก้อาการเคล็ดขัดยอก ข้อเท้าพลิกแพลงได้
  • ช่วยแก้อาการปวดกระดูก
  • ช่วยถอนพิษได้
  • ช่วยทำให้มดลูกเข้าอู่เร็ว ทำให้น้ำคาวปลาแห้ง
  • ช่วยขับของเสียต่าง ๆ ออกจากร่างกายได้
  • ช่วยขจัดไขมันส่วนเกินได้อีกด้วย
  • ช่วยต่อต้านไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคโปลิโอและโรคหัด
  • ช่วยทำให้อาเจียน
  • ช่วยรักษาพิษจากยางน่องได้

ประโยชน์ของพลับพลึง

  • สามารถนำมาใช้ปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับเพื่อความสวยงามและให้กลิ่นหอมได้
  • ดอก สามารถนำไปใช้บูชาพระได้
  • มีการปลูกไว้ในบ้านเพื่อแก้เคล็ด
  • ช่วยขับไล่สิ่งที่ไม่เป็นมงคล ช่วยให้ชนะสิ่งไม่ดีทั้งปวงได้
  • ดอกมีกลิ่นหอม ช่อใหญ่และยาว นิยมนำมาใช้จัดแจกัน ทำกระเช้าดอกไม้
  • สามารถมอบให้เป็นช่อเดี่ยว ๆ แทนดอกลิลี่ก็ได้
  • กาบใบสีเขียว สามารถนำมาใช้ทำเป็นงานฝีมือหรืองานประดิษฐ์ดอกไม้ได้ เช่น การทำกระทง หรืองานแกะสลัก
  • ใบ นำมาซอยแล้วใส่ลงในขันน้ำมนต์ เพื่อนำมาใช้ประพรมตัวขับไล่ผีสางหรือสิ่งอัปมงคล

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

แหล่งอ้างอิง
เว็บไซต์สมุนไพรอภัยภูเบศร, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.), เว็บไซต์หมอชาวบ้าน, ส่วนส่งเสริมการผลิตผัก ไม้ดอกไม้ประดับและสมุนไพร สำนักส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร, พจนานุกรมสมุนไพรไทย (วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม), ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้ (เต็ม สมิตินันทน์)

ต้นพังแหร สรรพคุณเป็นยาถ่ายพยาธิ

0
ต้นพังแหร สรรพคุณเป็นยาถ่ายพยาธิ เป็นพันธุ์ไม้ประเภทยืนต้นไม่ผลัดใบ ดอกขนาดเล็กเป็นช่อกระจุกสั้น สีขาวอมเขียว ผลสดสีเขียวเข้ม เมื่อผลสุกเป็นสีดำหรือสีม่วงดำ
ต้นพังแหร
เป็นพันธุ์ไม้ประเภทยืนต้นไม่ผลัดใบ ดอกขนาดเล็กเป็นช่อกระจุกสั้น สีขาวอมเขียว ผลสดสีเขียวเข้ม เมื่อผลสุกเป็นสีดำหรือสีม่วงดำ

พังแหร

พังแหร มีเขตการกระจายพันธุ์ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศญี่ปุ่น จีน นิวกินี โมลัคคาล์ และประเทศเขตร้อนในทวีปแอฟริกา ประเทศไทยสามารถพบขึ้นตามพื้นที่โล่งแจ้ง ตามป่าเบญจพรรณ และตามชายป่าดงดิบ โดยมักจะพบที่ระดับความสูง 600-1,500 เมตร[1],[2] ชื่อสามัญ Peach cedar[4], Pigeon wood (อังกฤษ), Peach-leaf poison bush (ออสเตรเลีย)[5] ชื่อวิทยาศาสตร์ Trema orientalis (L.) Blume ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์  Celtis guineensis Schumach. & Thonn., Celtis orientalis L., Sponia orientalis (L.) Decne., Trema guineensis (Schum. & Thonn.) Ficalho ฯลฯ[1] จัดอยู่ในวงศ์ วงศ์กัญชา (CANNABACEAE) ชื่ออื่น ๆ ขางปอยป่า ปอแฟน ปอหู ปอแหก ปอแฮก (ในภาคเหนือ), ตะคาย (ในภาคกลาง),ปอ (จังหวัดเชียงใหม่), พังแหรใหญ่ พังแกรใหญ่ ตายไม่ทันเฒ่า (จังหวัดยะลา), พังแหร (จังหวัดแพร่), ด่งมั้ง (ชาวม้ง), ปะดัง (ชาวกะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), พังอีแร้, พังอีแหร[1],[2], ปอแต๊บ (ชาวไทลื้อ), กีกะบะซา บาเละอางิงิ (ชาวมลายู นราธิวาส), ตุ๊ดอึต้า (ชาวขมุ), ไม้เท้า (ชาวลั้วะ)[4] เป็นต้น

ลักษณะของต้นพังแหร

  • ต้น 
    – เป็นพันธุ์ไม้ประเภทยืนต้นไม่ผลัดใบที่มีขนาดเล็กไปจนถึงขนาดกลาง
    – ต้นมีความสูง ประมาณ 4-12 เมตร
    – ลักษณะของลำต้น: เปลือกต้นมีสีเป็นสีเขียวอมเทาอ่อนหรือน้ำตาล ผิวเปลือกต้นบางเรียบเกลี้ยงไม่มีขนหรืออาจมีรอยแตกตามยาวบาง ๆ และต้นมีรูอากาศมาก ส่วนเปลือกชั้นในมีสีเป็นสีเขียวสด
    – ตรงเรือนยอดจะโปร่งเป็นพุ่มขยายแผ่กว้าง กิ่งก้านจะแผ่ออกในแนวขนานกับพื้นดิน ปลายกิ่งมีลักษณะลู่ลง ตามกิ่งอ่อนมีขนขึ้นปกคลุม
    – ลำต้นเป็นไม้เนื้ออ่อน
  • ใบ
    – ใบมีลักษณะเป็นใบเดี่ยว โดยใบจะออกเรียงสลับกัน
    – ลักษณะรูปร่างของใบเป็นรูปไข่แกมรูปใบหอก รูปไข่แกมรูปหัวใจ หรือรูปขอบขนาน ปลายใบเรียวแหลม ตรงโคนใบเบี้ยวมีขนาดไม่เท่ากัน ส่วนขอบใบเป็นรอยจักแบบฟันเลื่อยละเอียด
    – ยอดอ่อนมีขนสีเงินขึ้นปกคลุมอย่างหนาแน่น เนื้อผิวใบค่อนข้างสากคาย ส่วนใบที่แก่แล้วด้านบนจะมีขนหยาบขึ้นปกคลุมเป็นประปราย ส่วนด้านล่างจะมีสีเป็นสีเขียวอมเทาเป็นกระจุกปะปนกับขนสีเงินที่ยาวกว่า เส้นใบ เส้นใบด้านข้างจะมีความโค้งมาก มี 4-8 คู่
    – ใบมักจะมีร่องและมีขนขึ้นอยู่หนาแน่นเป็นหย่อม ๆ ผิวใบมักมีจุดประเป็นสีชมพูหรือม่วงกระจายทั่วใบ
    – มีหูใบเป็นรูปหอกไม่เชื่อมกัน[1]
    – ใบมีขนาดความกว้างอยู่ที่ประมาณ 3-5 เซนติเมตร และมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 7-12 เซนติเมตร
    – ก้านใบมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 0.4-1.7 เซนติเมตร
    – หูใบมีขนาดอยู่ที่ประมาณ 2.6 มิลลิเมตร
  • ดอก
    – ดอกเป็นช่อสั้น ๆ โดยจะออกช่อดอกเป็นกระจุกที่บริเวณตามซอกใบ
    – ดอกย่อยมีขนาดเล็ก มีสีเป็นสีขาวอมเขียว โดยดอกจะมีขนาดอยู่ที่ประมาณ 0.3 เซนติเมตร
    – ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียจะอาศัยอยู่บนต้นเดียวกัน แต่จะอยู่แยกช่อกัน
    – ช่อดอกเพศผู้จะมีดอกประมาณ 35-40 ดอกภายในช่อ แต่ช่อดอกเพศเมียจะมีดอกประมาณ 15-20 ดอก
    – ดอกเพศผู้ช่อแน่นและแตกแขนง ออกดอกเป็นคู่ มีก้านดอกของช่อข้างล่างโค้งลง ดอกมีเกสรเพศผู้อยู่ตรงข้ามกับพูกลีบเลี้ยง 4-5 อัน
    – ดอกเพศเมียมีลักษณะที่คล้ายกับดอกเพศผู้ แต่ช่อดอกจะโปร่งกว่า และดอกมีเกสรเพศเมียแยกเป็น 2 กิ่ง ส่วนรังไข่ไม่มีก้านชู[1]
  • ผล
    – ผลมีลักษณะเป็นผลสด มีลักษณะรูปทรงกลม โดยผลจะมีขนาดความกว้างอยู่ที่ประมาณ 2-4 มิลลิเมตร และมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 3-5 มิลลิเมตร ส่วนก้านผลมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 0.3 เซนติเมตร
    – ผลมีสีเป็นสีเขียวเข้ม เมื่อผลสุกแล้วจะเปลี่ยนสีเป็นสีดำหรือสีม่วงดำ ปลายเกสรเพศเมียติดที่ยอดผล และที่ผลมีชั้นกลีบเลี้ยงติดที่ฐาน เนื้อผลภายในค่อนข้างนุ่ม
    – ผลมีเมล็ด 1 เมล็ด เมล็ดค่อนข้างแข็ง
    – ติดผลในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนสิงหาคม[1],[2]

สรรพคุณของต้นพังแหร

1. เปลือกต้นและใบนำมาใช้ทำเป็นยาแก้ไข้มาลาเรียได้ (เปลือกต้นและใบ)[1]
2. เปลือกต้นนำมาใช้เป็นยาแก้โรคบิด และใช้สำหรับเป็นยาถ่ายพยาธิ โดยการนำน้ำต้มที่ได้จากเปลือกต้นหรือใบนำมาใช้รับประทานเป็นยาขับพยาธิตัวกลม (เปลือกต้นและใบ)[1]
3. ตำรายาของไทย จะนำเปลือกต้นมาเคี้ยวและอมเอาไว้ประมาณ 30 นาที สำหรับเป็นยาแก้ปากเปื่อย (เปลือกต้น)[1]
4. ลำต้นและกิ่งนำมาใช้ทำเป็นยาชงมีฤทธิ์สำหรับแก้ไข้ และถ้านำไปใช้กลั้วปากจะแก้อาการปวดฟันได้ (ลำต้นและกิ่ง)[1]
5. แก่นหรือรากนำมาฝนกับน้ำใช้สำหรับดื่มเป็นยาเย็น มีสรรพคุณในการแก้อาการร้อนในกระหายน้ำ (แก่น, ราก)[1]
6. ในประเทศแอฟริกาจะนำราก มาใช้ทำเป็นยารักษาปัสสาวะเป็นเลือด ใช้ห้ามเลือด และใช้รักษาเลือดออกที่กระเพาะอาหารและลำไส้(ราก)[1]
7. ผลและดอกนำมาใช้ทำเป็นยาชงสำหรับเด็ก เพื่อใช้สำหรับรักษาโรคหลอดลมอักเสบ และเยื่อหุ้มปอดอักเสบได้ (ผลและดอก)[1]

ประโยชน์ของต้นพังแหร

1. ไม้ เป็นไม้ชนิดเนื้ออ่อน ไม่ค่อยทนทาน จึงนำมาใช้ในงานก่อสร้างที่ใช้ชั่วคราวหรือใช้ก่อสร้างโรงเรือนที่มีขนาดเล็ก[3],[4]
2. ใบนำมาใช้เป็นอาหารปลา สำหรับเลี้ยงปลาได้[4]
3. ผลสุกนำมาใช้เป็นอาหารสำหรับนกได้[4]
4. เปลือกต้นนำมาลอกออกใช้ทำเป็นเชือกไว้สำหรับมัดสิ่งของได้[1],[4]
5. ที่แอฟริกาจะนำไปปลูกป่า และปลูกไว้สำหรับเป็นร่มเงาในในการเพาะเลี้ยงต้นกาแฟได้[5]
6. นำมาใช้ปลูกเป็นไม้สำหรับปลูกป่าได้ดี เพราะมีระยะเวลาการเจริญเติบโตที่เร็ว เหมาะอย่างยิ่งสำหรับพื้นที่ที่ต้องการปลูกต้นไม้เพื่อฟื้นคืนสภาพป่า (จะเติบโตได้ดีที่พื้นที่ชุ่มชื้น)[3]

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

1. จากการศึกษาทางพิษวิทยาพบว่า แพะที่กินยอดและใบสดเข้าไปแล้วจะตายจากอาการเกิดพิษต่อตับ[1] เนื่องจากมีสาร Trematoxin glycocides (สารพิษ) ซึ่งมีความเป็นพิษต่อตับ
2. ลำต้นและเปลือกราก พบสาร decussatin, decussating glycosides, lupeol, methylswertianin, p -hydroxybenzoic acid, sweroside, scopoletin, (-)-epicatechin ส่วนเปลือก พบสาร simiarenone, simiarenol, episimiarenol, (-)-ampelopsin F, (-)-epicatechin, (+)-catechin, (+)-syringaresinol, N-(trans-p-coumaroyl) tyramine, N-(trans-p-coumaroyl) octopamin, trans-4-hydroxycinnamic acid และ สารไตรเทอร์ปีน tremetol อยู่[1]
เอกสารอ้างอิง
1. ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.  “พัง แหร”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : www.phargarden.com.  [04 ต.ค. 2015].
2. ระบบจัดการฐานความรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้ กรมป่าไม้.  “พังแหรใหญ่”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : biodiversity.forest.go.th.  [04 ต.ค. 2015].
3. ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.  “พังแหรใหญ่”.  อ้างอิงใน : หนังสือไม้ต้นในสวน Tree in the Garden.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : www.qsbg.org.  [04 ต.ค. 2015].
4. โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง, สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน).  “พัง แหร ใหญ่, ปอแฟน, ตะคาย”.  อ้างอิงใน : หนังสือชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์).  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : eherb.hrdi.or.th.  [04 ต.ค. 2015].
5. สนง.ปศุสัตว์จังหวัดปัตตานี.  “พัง แหร: พืชอันตราย”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : pvlo-pni.dld.go.th.  [04 ต.ค. 2015].
อ้างอิงรูปจาก
1.https://paleru.strandls.com/
2.https://www.inaturalist.org/

ผักบุ้งทะเล ใช้ต้นต้มอาบแก้อาการคันตามผิวหนัง

0
ผักบุ้งทะเล
ผักบุ้งทะเล ใช้ต้นต้มอาบแก้อาการคันตามผิวหนัง เป็นพรรณไม้ล้มลุก ใบจะออกเรียงสลับ ดอกออกเป็นช่อแบบซี่ร่มสีม่วงอมชมพู สีม่วงอมแดง สีชมพู หรือเป็นสีม่วง ผลเหลี่ยมคล้ายกับแคปซูล
ผักบุ้งทะเล
เป็นพรรณไม้ล้มลุก ใบจะออกเรียงสลับ ดอกออกเป็นช่อแบบซี่ร่มสีม่วงอมชมพู สีม่วงอมแดง สีชมพู หรือเป็นสีม่วง ผลเหลี่ยมคล้ายกับแคปซูล

ผักบุ้งทะเล

ชื่อสามัญ Beach morning glory, Goat’s foot creeper[1],[5] ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Ipomoea pes-caprae (L.) R. Br.[2],[5] (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ ก็คือ Convolvulus pes-caprae L., Ipomoea biloba Forssk.[6]) อยู่วงศ์ผักบุ้ง (CONVOLVULACEAE)[1] ชื่อในท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น หม่าอานเถิง (จีนกลาง), ผักบุ้งเล (ภาคใต้), ผักบุ้งต้น (ไทย), ละบูเลาห์ (มะลายู-นราธิวาส), ผักบุ้งขน (ไทย) [1],[4]

ลักษณะของผักบุ้งทะเล

  • ต้น เป็นพรรณไม้ล้มลุกมีอายุหลายปี ลำต้นจะทอดเลื้อยตามพื้นดิน เลื้อยได้ยาวประมาณ 5-30 เมตร ลำต้นหรือเถาจะกลมเป็นสีเขียวปนสีแดง สีแดงอมสีม่วง ผิวจะเกลี้ยงลื่น ที่ตามข้อมีรากฝอย ภายในจะกลวง จะมียางสีขาวอยู่ที่ทั้งต้นกับใบ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด ตัดลำต้นปักชำ เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง สามารถทนความแห้งแล้งได้ มักจะขึ้นที่ตามหาดทราย ริมทะเล[1],[2],[4]
  • ใบ เป็นใบเดี่ยว ใบจะออกเรียงสลับกับ ใบเป็นรูปไต รูปกลม รูปเกือกม้า รูปไข่ ที่ปลายใบจะเว้าบุ๋มเข้าหากัน ส่วนที่โคนใบจะสอบแคบเป็นรูปหัวใจ ขอบใบเรียบ ใบกว้างประมาณ 7-11 เซนติเมตร มีความยาวประมาณ 5-8 เซนติเมตร มีเส้นใบแบบขนนก มีเนื้อใบที่ค่อนข้างหนา ผิวใบเป็นมันและเป็นสีเขียว ที่หลังใบจะเรียบ ส่วนที่ท้องใบก็จะเรียบเช่นกัน มีก้านใบที่ยาวและมีสีแดงที่ก้านใบ[1],[2],[4]
  • ดอก ออกเป็นช่อแบบซี่ร่ม จะออกดอกที่ตามง่ามใบ ช่อดอกมีดอกประมาณ 2-6 ดอก จะทยอยบานทีละดอก ดอกเป็นรูปปากแตร ที่ปลายดอกจะบานเป็นรูปปากแตร ที่โคนกลีบดอกจะเชื่อมกัน มี 5 กลีบ กลีบดอกกลมรี แตกเป็น 5 แฉก มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 4 เซนติเมตร มีเกสรเพศผู้ 5 ก้าน ดอกเป็นสีม่วงอมชมพู สีม่วงอมแดง สีชมพู หรือเป็นสีม่วง ผิวเกลี้ยง ด้านในของดอกส่วนโคนมีสีเข้มกว่าด้านนอก กลีบดอกเลี้ยงมีลักษณะเป็นสีเขียว ดอกเหี่ยวง่าย [1],[2],[4]
  • ผล เป็นรูปมนรี รูปไข่ จะมีเหลี่ยมคล้ายกับแคปซูล ผิวผลมีลักษณะเรียบ ผลแห้งสามารถแตกได้ ยาวประมาณ 2 เซนติเมตร มีเมล็ดกลมอยู่ในผล เป็นสีเหลือง มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 6 มิลลิเมตร จะมีขนสีน้ำตาลขึ้นคลุม[1],[2],[4]

สรรพคุณผักบุ้งทะเล

1. สามารถช่วยแก้ลมชื้นปวดเมื่อยตามข้อ และช่วยแก้เหน็บชาได้ (ทั้งต้น)[4]
2. สามารถใช้เมล็ดเป็นยาแก้ตะคริว ช่วยป้องกันตะคริวได้ (เมล็ด)[1],[2],[5]
3. สามารถใช้แก้ผดผื่นคันตรงบริเวณหลังที่เกิดจากการกดทับได้ ตำรายาระบุเอาไว้ว่าให้นำใบสดมาตำให้แหลก แล้วคั้นเอาแต่น้ำ มาใช้ทาตรงบริเวณที่เป็น (ใบ)[4]
4. สามารถนำใบมาใช้เป็นยาพอกหรือนำมาต้มใช้อาบรักษาโรคผิวหนังได้ (ใบ)[5]
5. สามารถใช้ต้นเป็นยาถอนพิษลมเพลมพัดหรืออาการบวมที่เปลี่ยนไปตามอวัยวะทั่วไปได้ (ต้น, ทั้งต้น)[1],[5],[7]
6. สามารถใช้ใบเป็นยาทาภายนอก แก้แผลเรื้อรังได้ หรือจะนำไปต้มกับน้ำใช้ล้างแผลก็ได้ (ใบ)[1],[2]
7. นำน้ำที่คั้นได้จากใบมาต้มกับน้ำมะพร้าว ใช้ทำเป็นขี้ผึ้งทาแผล แผลเรื้อรังได้ (ใบ)[2]
8. สามารถใช้รากเป็นยาขับปัสสาวะ ขับปัสสาวะในโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบได้ (ราก)[1],[5]
9. สามารถใช้รากเป็นยาแก้โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบได้ (ราก)[1]
10. สามารถใช้แก้อาการจุกเสียดได้ (ใบ)[1]
11. สามารถช่วยแก้หวัดเย็นได้ (ทั้งต้น)[4]
12. สามารถช่วยทำให้เจริญอาหารได้ (ต้น)[1]
13. สามารถช่วยแก้โรคเท้าช้างได้ (ราก)[5]
14. ใบจะมีรสขื่นเย็น ใช้เป็นยาทาภายนอกแก้โรคไขข้ออักเสบ ช่วยแก้ปวดไขข้ออักเสบมีหนองได้ [1],[2],[5]
15. ในตำรายาแก้ฝีหนองภายนอกระบุเอาไว้ว่าให้นำต้นสดมาตำพอแหลก ผสมน้ำตาลทรายแดงหรือผสมน้ำผึ้ง ใช้พอกตรงบริเวณที่เป็น (ต้น)[4]
16. สามารถนำทั้งต้นมาต้มกับน้ำใช้อาบแก้อาการคันตามผิวหนังได้[1],[5]
17. สามารถใช้รากเป็นยาแก้ผดผื่นคันมีน้ำเหลืองได้[5]
18. สามารถใช้เป็นยาทาแก้อาการอักเสบ แก้พิษจากแมงกะพรุนไฟ ช่วยทำให้แผลหายเร็วและไม่เป็นแผลเป็นได้ ในตำรายาระบุเอาไว้ว่าให้นำต้นสดมาตำพอแหลกผสมน้ำส้มสายชู ใช้ทาตรงบริเวณที่เป็น ส่วนในตำรายาไทยระบุเอาไว้ว่าให้นำใบสดประมาณ 10-15 ใบ มาตำให้ละเอียด แล้วคั้นเอาแต่น้ำมาใช้ทาแผลตรงบริเวณที่โดนแมงกะพรุน หรือตำกับเหล้าใช้เป็นยาพอก หรือนำรากสด 1 ราก มาฝนกับน้ำฝนให้ข้น ผสมเหล้าโรงหรือแอลกอฮอล์ ใช้ทาบ่อย ๆ หรือนำทั้งต้นมาตำให้ละเอียด แล้วก็คั้นเอาน้ำหรือเอามาตำผสมเหล้าใช้เป็นยาทาหรือใช้พอกก็ได้ (ก่อนที่จะทายาให้ใช้ทรายขัดตรงบริเวณที่โดนพิษแมงกะพรุนเพื่อเอาเมือกของแมงกะพรุนออกให้หมดก่อน[6] ให้ทาวันละ 2-3 ครั้ง เช้ากลางวันเย็น ให้ใช้จนหาย) (ต้น, ราก, ใบ, ทั้งต้น)[1],[2],[3],[4],[5]
19. ทั้งต้น สามารถช่วยกระจายพิษ แก้งูสวัด แก้พิษฝีบวม ฝีหนองบวมแดงอักเสบได้ (ทั้งต้น)[4] นำใบมาโขลกใช้พอก สามารถถอนพิษ แก้พิษต่าง ๆ อย่างเช่น พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย เช่น แมลง ปลา สัตว์ทะเลอื่น ๆ (ใบ)[5]
20.นำใบเข้ากับสมุนไพรอื่น ๆ มาต้มเอาไอมารมรักษาริดสีดวงทวาร (ใบ)[1],[2]
21. สามารถใช้เมล็ดเป็นยาถ่าย ยาระบายได้ (เมล็ด)[1],[2]
22. เมล็ดจะมีรสขื่น สามารถใช้เป็นยาแก้ปวดท้องได้ (เมล็ด)[1],[2]
23. สามารถช่วยแก้อาการปวดฟันได้ (ราก)[5]
24. ทั้งต้นมีรสเผ็ด ขม เค็ม จะเป็นยาเย็นเล็กน้อย จะออกฤทธิ์กับม้าม ตับ สามารถใช้เป็นยาขับน้ำชื้น ขับลมได้ (ทั้งต้น)[4]

หมายเหตุ

  • ถ้าเป็นยาแห้งให้ใช้ครั้งละ 15-35 กรัม ถ้าเป็นยาสดให้ใช้ครั้งละ 35-70 กรัม เอามาต้มกับน้ำทาน ถ้าใช้ภายนอก ให้ใช้ตามความเหมาะสม[4]

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

  • จากการทดสอบความเป็นพิษ ปรากฏว่าไม่ว่าจะทดสอบกับสุนัขในขนาด 2 กรัม ด้วยสารสกัดแอลกอฮอล์กับน้ำ หรือปิโตรเลียมอีเทอร์ ก็ไม่พบว่าเป็นพิษหลังผ่านไป 4 วัน และกับแมวที่หนัก 1.8 กรัม ต่อแอลกอฮอล์ 50% ฉีดเข้าช่องท้องก็ไม่เป็นพิษ หรือกับแมวที่ท้องก็ไม่เป็นผลกับลูกในท้อง เช่นเดียวกับหนูแรทที่ทานสารสกัดที่ได้จากใบ [1],[6]
  • ฤทธิ์ที่ลดการอักเสบ ปรากฏว่าสารที่สกัดด้วยอีเทอร์กับเอทานอลจากใบมีฤทธิ์ในการลดการอักเสบ จะออกฤทธิ์ยับยั้งการสร้างโพรสตาแกลนดิน (prostaglandin)[6]
  • จากการทดสอบฤทธิ์ต่อต้านฮีสตามีน โดยใช้สารสกัดที่ได้จากใบทดลองกับลำไส้ที่ถูกกระตุ้นด้วยฮีสตามีน และพิษจากแมงกะพรุน ปรากฏว่าช่วยต้านฤทธิ์ทั้งสองได้ มีการทำครีมขึ้นด้วยการใช้สารสกัดที่ได้จากใบด้วยอีเทอร์ 1% สามารถช่วยรักษาพิษของแมงกะพรุนได้[1] สารที่มีฤทธิ์ต้านพิษแมงกะพรุนได้นั่นก็คือสาร Damascenone[3]
  • ใบ มีสารที่ระเหยได้ มีฤทธิ์ในการรักษาอาการแพ้จากพิษของแมงกะพรุน ที่ทำให้มีอาการคัน ผิวหนังเป็นแผลไหม้พอง เป็นผื่นแดงได้[4]
  • พบ Indole อัลคาลอยด์ (เป็นอนุพันธ์ของ Lysergic acid[1], Matorin acetate, Ergotamine, Cacalol methyl ether, Matorin, Dehydrocacalohastine) ในเมล็ด [5]
  • พบสาร Tartaric acid, Malic acid, Hyperoside, Citric acid, Succinic acid, Isoquercitrin, Fumaric acid ในทั้งต้น และพบสาร Sodium chloride, Myristic acid, ß-Sitosterol, Benzoic acid, Potassium Chloride, Behenic acid, Essential oil, Butyric acid ในลำต้นที่อยู่เหนือดิน[5]
  • จากการทดสอบความเป็นพิษเฉพาะที่ ปรากฏว่าสารที่สกัดได้จากใบไม่ทำให้ระคายเคืองผิวหนัง ทั้งผิวหนังธรรมดาและผิวหนังที่ขูดถลอกของกระต่าย[6]
  • ฤทธิ์แก้ปวด เถ้าฉีดสารสกัดด้วยเอทิลอะซิเตทกับน้ำจากส่วนเหนือดินเข้าทางช่องท้องของหนูเมาส์ ปรากฏว่าสามารถช่วยลดอาการปวดที่ถูกกระตุ้นด้วยกรดอะซิติกกับฟอร์มาลินได้ การที่ให้หนูทานสารที่สกัดด้วยเมทานอลปรากฏว่าสามารถลดอาการปวดได้ใกล้เคียงกับยามาตรฐานพาราเซตามอลหรือยาแอสไพริน สารที่สกัดด้วยเมทานอลกับสารที่สกัดด้วยน้ำไม่ว่าจะให้ด้วยวิธีฉีดเข้าช่องท้องหรือให้กินก็สามารถช่วยลดอาการปวดในหนูเมาส์ได้เหมือนการฉีดสารที่สกัดด้วยเอทานอลจากส่วนที่อยู่เหนือดินเข้าที่ทางช่องท้องของหนูเมาส์[6]
  • ฤทธิ์ต้านฮีสตามีน ส่วนสกัดที่เป็นไขมันที่ทำปฏิกิริยาเกิดเป็นสบู่ไม่ได้ (unsaponifiable fraction) และสารที่มีผลึกเป็นรูปเข็มเป็นสีขาวที่ได้จากสารสกัดด้วยปิโตรเลียมอีเทอร์จากใบกับน้ำที่คั้นได้จากใบสด ปรากฏว่ามีฤทธิ์ต้านฮีสตามีนเมื่อนำมาทดสอบกับผิวหนัง แต่ส่วนสกัดอื่นและส่วนสกัดที่เป็นเมือกจากสารสกัดด้วยน้ำ ไม่พบฤทธิ์การต้านฮีสตามีน ครีมที่มีสารสกัดจากใบที่เข้มข้นร้อยละ 1 ปรากฏว่ามีฤทธิ์ถอนพิษแมงกะพรุน ถ้าเอาครีมมาทาทันทีในวันแรกที่โดนพิษแมงกะพรุน สามารถช่วยทำให้ตุ่มแดงลดลง อาการคันลดลงและหายไปภายใน 2 วัน ถ้าใช้ยานี้ผู้ที่มีพิษเป็นแผลเรื้อรัง จะพบว่าแผลหายไป 50% ภายใน 1 สัปดาห์ จะหายสนิทภายในหนึ่งเดือนถึงเดือนครึ่ง[6]
  • สารที่ออกฤทธิ์สำคัญ ก็คือ E-ehytol กับ Beta-damascenone โดยมีฤทธิ์ที่ทำให้หลอดเลือดคลายตัว จะช่วยลดการอักเสบ และมีสารที่ออกฤทธิ์ช่วยลดการอักเสบอื่น คือ 2-hydroxy-4,4,7-trimethyl-1-(4H)-naphthalenone, (-)-mellein, eugenol, 4-vinyl guaiacol, actinidols Ia และ Ib จะออกฤทธิ์ที่ต้านโพรสตาแกลนดิน (prostaglandin)[6]
  • พบสารจำพวก Volatile ester มีฤทธิ์เป็น Antihistaminic-like ในใบ [1]
  • ใบพบสาร Maleic acid, Ergotamine, Citric acid, Succinic acid, Fumaric acid, Curcumene ในใบ[5] และพบน้ำมันระเหย (Essential oil) ประกอบด้วยสาร Myristic acid, Behenice acid, Melissic acid ในใบ [4]

ข้อควรระวังในการใช้

  • ยางจากต้นหรือยางจากใบจะมีพิษห้ามทาน เนื่องจากจะทำให้เมา คลื่นไส้ วิงเวียน[7]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. “ผักบุ้งทะเล”. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). หน้า 493-495.
2. หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. “ผักบุ้งทะเล”. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). หน้า 178.
3. หนังสือสมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ. (คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “ผักบุ้งทะเล Goat’s Foot Creeper”. หน้า 127.
4. หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. “ผักบุ้งทะเล”. (วิทยา บุญวรพัฒน์). หน้า 346.
5. สรรพคุณสมุนไพร 200 ชนิด, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “ผักบุ้งทะเล”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.rspg.or.th/plants_data/herbs/. [25 เม.ย. 2014].
6. สมุนไพรที่ใช้ในงานสาธารณสุขมูลฐาน, สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. “ผักบุ้งทะเล”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.medplant.mahidol.ac.th/pubhealth/. [25 เม.ย. 2014].
7. ระบบฐานข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชน, สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน). “ผักบุ้งทะเล”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.bedo.or.th. [25 เม.ย. 2014].

อ้างอิงรูปจาก
1.https://tcmwiki.com/
2.https://www.biolib.cz/

ตามไปพบกับสรรพคุณและประโยชน์ของ ตะขบไทย !

0
ตะขบไทย
ตามไปพบกับสรรพคุณและประโยชน์ของ ตะขบไทย เป็นไม้ยืนต้น ใบเดี่ยวกลมคล้ายกับใบพุทรา ผลกลมมีเนื้อสีขาวขนาดเท่าลูกพุทรา ผลสุกสีแดงหรือสีม่วง ผลแก่สีดำ มีรสหวานฝาดเล็กน้อย
ตะขบไทย
เป็นไม้ยืนต้น ใบเดี่ยวกลมคล้ายกับใบพุทรา ผลกลมมีเนื้อสีขาวขนาดเท่าลูกพุทรา ผลสุกสีแดงหรือสีม่วง ผลแก่สีดำ มีรสหวานฝาดเล็กน้อย

ตะขบไทย

ตะขบบ้าน มีชื่อสามัญ คือ Coffee plum, Indian cherry, Indian plum, East Indian plum, Rukam, Runeala plum[2] และชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Flacourtia jangomas (Lour.) Raeusch. (ทั้งยังมีชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Flacourtia cataphracta Roxb. ex Willd.)[1] และปัจจุบันจัดอยู่ในวงศ์สนุ่น (SALICACEAE)
นอกจากนี้ยังมีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ อีก ว่า ครบ (ปัตตานี), มะเกว๋นควาย (ภาคเหนือ), ตะขบควาย (ภาคกลาง), กือคุ (มลายู ปัตตานี) เป็นต้น[1]

ลักษณะของตะขบไทย

  • ต้น เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง แตกกิ่งก้านสาขาที่เรือนยอดของต้น เรือนยอดเป็นรูปไข่ทึบ ตรงโคนต้นเป็นพูพอน เปลือกต้นมีสีน้ำตาลอ่อน เป็นแผ่นบาง ๆ จะขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด พบได้ตามป่าราบ ป่าโปร่ง ป่าดิบแล้ง และตามป่าผลัดใบ มีความสูงจากระดับน้ำทะเลอยู่ที่ประมาณ 300-800 เมตร[1],[2],[3]
  • ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ มีใบที่กลมคล้ายกับใบพุทรา มีลักษณะเป็นรูปวงรี รูปไข่แกมรูปขอบขนาน ปลายใบเรียวแหลม ตรงโคนใบมน ส่วนขอบใบจะตื้น ใบมีขนาดกว้างอยู่ประมาณ 3.5-5 เซนติเมตร และมีความยาวประมาณ 8-13 เซนติเมตร ใบบางเป็นสีเขียว ผิวใบด้านบนมีสีเขียวเป็นมัน[1],[2],[3]
  • ผล ผลสดมีเนื้อสีขาว ลักษณะเป็นลูกกลม ๆ ขนาดเท่าลูกพุทรา มีขนาดประมาณ 1.5-2.5 เซนติเมตร ผลสุกเป็นสีแดงหรือสีม่วง เมื่อแก่เป็นสีดำ มีรสหวานฝาดเล็กน้อย ภายในมีหลายเมล็ด ออกผลในช่วงประมาณเดือนเมษายน[1],[2],[3]

สรรพคุณของตะขบไทย

  • รากจะมีรสฝาดอยู่เล็กน้อย สามารถใช้ปรุงเป็นยาขับเหงื่อได้ (ราก)[1] ทั้งยังมีสรรพคุณเป็นยากล่อมเสมหะและอาจมอีกด้วย (ราก)[1]
  • ส่วนเนื้อไม้มีรสฝาด ๆ สามารถใช้ทำเป็นยาแก้ท้องร่วง แก้บิด และมูกเลือด (เนื้อไม้)[1]
  • สุดท้ายเปลือก แก่น และใบ สามารถเป็นยารักษาอาการปวดเมื่อยตามตัว แก้โรคเหน็บชา ทั้งรักษาอาการปวดข้อ และแก้เส้นเอ็นพิการ (เปลือก, แก่น, ใบ)[4]

ประโยชน์ของตะขบไทย

1. สามารถนำใบมาใช้เพื่อการย้อมสีได้ โดยใช้อัตราส่วนของใบสดต่อน้ำ 1:2 และนำไปสกัดใช้ใบสด 15 กรัม จะสามารถย้อมเส้นไหมได้ถึง 1 กิโลกรัม สีที่ได้จะขึ้นอยู่กับการสกัดสีและการใช้สาร สกัดสีโดยใช้ใบสดนำมาต้มกับน้ำนานประมาณ 1 ชั่วโมง กรองเอาแต่น้ำ และนำมาย้อมเส้นไหมด้วยวิธีการย้อมร้อนประมาณ 1 ชั่วโมง และนำมาแช่ในสารละลายช่วยในการจุนสีหลังย้อมเสร็จจะได้เส้นไหมสีน้ำตาลเขียว ส่วนในการใช้จุนสีขณะย้อมก็จะได้สีน้ำตาลเขียวเหมือนกัน แต่ถ้านำมาสกัดน้ำด้วยวิธีการคั้นเอาน้ำ และกรองเอาแต่น้ำ แล้วมาย้อมเส้นไหมด้วยวิธีการย้อมร้อน และนำมาแช่สารละลายช่วยจุนสีหลังย้อมจะกลายเป็นสีเขียวขี้ม้า[2]
2. ผลสุกจะมีรสหวานฝาด สามารถรับประทานได้[3],[4]
3. นำไปใช้ปลูกได้ทั่วไป สามารถปลูกเป็นไม้ให้ร่มเงาทั้งในสวนผลไม้หรือจะเป็นตามสวนป่าเพื่อเป็นอาหารของนกก็ได้เช่นกัน[2]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “ตะขบไทย”. หน้า 302.
2. พันธุ์ไม้ย้อมสีธรรมชาติ, กรมหม่อนไหม. “ตะขบควาย”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : qsds.go.th/webtreecolor/. [22 ธ.ค. 2014].
3. ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. “ตะขบควาย”. อ้างอิงใน : หนังสือไม้ต้นในสวน Tree in the Garden . [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.qsbg.org. [22 ธ.ค. 2014].
4. ผักพื้นบ้านและพืชสมุนไพร. “ตะขบควาย”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.sisaket.go.th. [22 ธ.ค. 2014].
ภาพประกอบ : www.flickr.com (by Saipuddin Zainuddin, rohana kamarul ariffin, Ahmad Fuad Morad)

เปราะหอม เหง้ามีรสเผ็ดขม มีกลิ่นหอม ช่วยบำรุงหัวใจ ประสาท ลดความเครียด

0
เปราะหอม
เปราะหอม เหง้ามีรสเผ็ดขม มีกลิ่นหอม ช่วยบำรุงหัวใจ ประสาท ลดความเครียด เป็นว่านที่มีเหง้า มีรสเผ็ดขมและมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ดอกมีสีขาวหรือสีขาวอมชมพูแต้มด้วยสีม่วง
เปราะหอม
เป็นว่านที่มีเหง้า มีรสเผ็ดขมและมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ดอกมีสีขาวหรือสีขาวอมชมพูแต้มด้วยสีม่วง

เปราะหอม

เปราะหอม เป็นพืชล้มลุกมีเหง้าอายุราวหนึ่งปี เป็นไม้ลงหัวจำพวกมหากาฬ พบได้มากทางภาคเหนือ มีรสเผ็ดขมและมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว แบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ เปราะหอมขาวและเปราะหอมแดง เป็นส่วนประกอบในตำรับยาเขียวหอม หัวและใบสามารถนำมาใช้ปรุงเป็นอาหาร เป็นเครื่องเทศสำหรับทำแกงหรือนำมาตำใส่เครื่องแกง นอกจากนั้นยังนำมาใช้ในด้านความงามได้ มีดอกสีสันสวยงามจึงสามารถนำมาใช้ปลูกเป็นไม้ประดับได้อีกด้วย

>> ขิง สุดยอดสมุนไพรป้องกันเซลล์มะเร็งในระยะยาวได้ 
>> กระวาน เครื่องเทศรสเผ็ดร้อนและมีกลิ่นหอม เป็นยาดีต่อเลือดและลมในร่างกาย

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของเปราะหอม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Kaempferia galanga L.
ชื่อสามัญ : มีชื่อสามัญว่า “Sand ginger” “Aromatic ginger” “Resurrection lily”
ชื่อท้องถิ่น : ภาคกลางเรียกว่า “เปราะหอมขาว เปราะหอมแดง หอมเปราะ” ภาคเหนือเรียกว่า “ว่านหอม ว่านแผ่นดินเย็น ว่านตีนดิน” ภาคใต้เรียกว่า “เปราะ” จังหวัดเชียงใหม่เรียกว่า “ว่านนกยูง ว่านหาวนอน” จังหวัดแม่ฮ่องสอนเรียกว่า “ซู”
ชื่อวงศ์ : วงศ์ขิง (ZINGIBERACEAE)
ชื่อพ้อง : Kaempferia marginata Carey ex Roscoe

ลักษณะของเปราะหอม

เหง้า : มีลำต้นเป็นหัวอยู่ใต้ดิน หรือเรียกว่า “เหง้า” เนื้อภายในของเหง้ามีสีเหลืองอ่อนและมีสีเหลืองเข้มตามขอบนอก มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว
ใบ : เป็นใบเดี่ยว แทงขึ้นมาจากหัวหรือเหง้าใต้ดินประมาณ 2 – 3 ใบ แผ่ราบไปตามพื้นดิน หรือวางตัวอยู่ในแนวราบเหนือพื้นดินเล็กน้อย เนื้อใบค่อนข้างหนา ลักษณะของใบเป็นรูปค่อนข้างกลมหรือเป็นรูปไข่ป้อม ปลายใบแหลม โคนใบมนหรืออาจเว้าเล็กน้อย บางครั้งอาจมีขอบใบสีแดงคล้ำ มีขนอ่อนอยู่บริเวณท้องใบ ส่วนก้านใบมีลักษณะเป็นกาบ
ใบอ่อน : ลักษณะม้วนเป็นกระบอกออกมาแล้วค่อยแผ่ราบบนหน้าดิน ในหนึ่งต้นจะมีประมาณ 1 – 2 ใบ ลักษณะของใบมีรูปร่างทรงกลมโต หน้าใบและหลังใบมีสีเขียว ท้องใบนั้นถ้าหากเป็น “เปราะหอมขาว” จะมีท้องใบสีขาว แต่ถ้าหากเป็น “เปราะหอมแดง” ท้องใบจะมีสีแดง ใบมีกลิ่นหอม ออกในช่วงหน้าฝนและจะแห้งเหี่ยวไปในช่วงหน้าแล้ง
ดอก : ออกดอกรวมเป็นช่อ มีดอกประมาณ 4 – 12 ดอก โดยออกตรงกลางระหว่างใบ ดอกมีสีขาวหรือสีขาวอมชมพูแต้มด้วยสีม่วง ในแต่ละดอกจะมีกลีบประดับ 2 กลีบรองรับอยู่ โดยใบและต้นนั้นจะเริ่มแห้งเมื่อออกดอก
ผล : เป็นผลแห้งและแตกได้

สรรพคุณของเปราะหอม

  • ช่วยฆ่าเชื้อราและเชื้อแบคทีเรีย ช่วยแก้ไข้ แก้อาการร้อนใน แก้กระหายน้ำ ช่วยแก้สิว แก้ฝ้า ทำให้ผิวหน้าดูสดใส ช่วยรักษาผิวพรรณ
  • สรรพคุณจากหัว ต้านอนุมูลอิสระ น้ำมันหอมระเหยจากหัวมีฤทธิ์ทำให้กล้ามเนื้อเรียบของลำไส้เล็กคลายตัว ช่วยบรรเทาอาการปวดท้อง ช่วยขับลม แก้อาการท้องอืด
    – เป็นยาแก้ปวดศีรษะ แก้คลายเครียด ด้วยการนำหัวมาตำคั้นเอาน้ำไปผสมกับแป้งหรือว่านหูเสือ จะได้แป้งดินสอพองไว้ทาขมับ
    – เป็นยาบำรุงหัวใจ บำรุงประสาท ด้วยการใช้หัวผสมลงในยาหอม
    – ช่วยในการนอนหลับ ช่วยลดความเครียด ด้วยการนำหัวมาต้มหรือชงกิน
    – ช่วยบรรเทาอาการปวด ด้วยการนำหัวมาโขลกหรือทุบใส่น้ำให้พอชุ่ม นำผ้ามาชุบแล้วใช้พันบริเวณที่มีอาการ
    – ช่วยลดอาการอักเสบที่ฝี ด้วยการนำหัวมาตำใช้พอก
  • สรรพคุณจากหัวและใบ ช่วยป้องกันการเกิดรังแค รักษาอาการหนังศีรษะแห้ง
    – เป็นยาแก้ปวดศีรษะ แก้คลายเครียด ด้วยการนำทั้งหัวและใบมาโขลกแล้วใส่น้ำพอชุ่ม เอาไปชุบมาใช้คลุมหัว
    – ช่วยบรรเทาอาการเจ็บคอ ด้วยการนำน้ำคั้นจากใบและเหง้าใช้ป้ายคอ
  • สรรพคุณจากใบ ช่วยบำรุงกระเพาะอาหาร บำรุงลำไส้

สรรพคุณของเปราะหอมขาว

  • สรรพคุณจากหัว ช่วยเจริญธาตุไฟ แก้ลงท้อง ช่วยแก้อาการหวัดคัดจมูก ช่วยแก้เสมหะ ช่วยแก้โลหิต แก้ลมพิษ ช่วยขับลมในลำไส้
  • สรรพคุณจากดอก ช่วยแก้เด็กมีอาการนอนสะดุ้งผวา แก้ร้องไห้ตาเหลือก แก้ตาช้อนดูหลังคา
  • สรรพคุณจากใบ ช่วยแก้อาการหวัดคัดจมูก
  • สรรพคุณจากต้น ช่วยขับเลือดเน่าเสียของสตรี

สรรพคุณของเปราะหอมแดง

  • สรรพคุณจากหัว ช่วยเจริญธาตุไฟ แก้ลงท้อง ช่วยแก้อาการไอ ช่วยแก้เสมหะ ช่วยขับลม แก้อาการท้องขึ้น แก้ท้องเฟ้อ ช่วยแก้ลมพิษ ช่วยแก้ผดผื่นคัน ช่วยรักษาบาดแผล
  • สรรพคุณจากดอก ช่วยรักษาโรคตา แก้ตาอักเสบ แก้ตาแฉะ
  • สรรพคุณจากใบ ช่วยขับลม แก้อาการท้องขึ้น แก้ท้องเฟ้อ ช่วยแก้เกลื้อนช้าง
  • สรรพคุณจากต้น ช่วยขับลม แก้อาการท้องขึ้น แก้ท้องเฟ้อ ช่วยขับเลือดและหนองให้ตก

ประโยชน์ของเปราะหอม

1. เป็นส่วนประกอบของอาหาร หัวและใบนำมาใช้ปรุงเป็นอาหารได้ ใบใช้รับประทานเป็นผักแกล้ม หรือใช้ทำหมกปลาหรือใส่แกงปลา หัวนำมาใช้ปรุงเป็นเครื่องเทศสำหรับทำแกงหรือนำมาตำใส่เครื่องแกง ทางภาคใต้นิยมใช้หัวใส่ในน้ำพริก หรือใช้เป็นส่วนผสมในน้ำพริกเผา
2. เป็นสารให้ความหอม กลิ่นหอมสามารถช่วยในการผ่อนคลาย เหมาะสำหรับใช้เป็น Aroma therapy
3. ปลูกเป็นไม้ประดับ มีทั้งแดงและขาวสามารถนำมาใช้ปลูกเป็นไม้ประดับได้
4. เป็นความเชื่อ คนไทยโบราณเชื่อว่าเป็นว่านศักดิ์สิทธิ์ นำมาแช่น้ำให้ผู้ป่วยรับประทานจะช่วยปัดเป่าภูตผีปีศาจและขจัดมารออกไปได้ เป็นไม้มงคลที่ใช้สำหรับใส่ลงไปในน้ำสำหรับสรงน้ำพระหรือน้ำขอพรจากผู้ใหญ่ และยังใช้ผสมในพระเครื่อง เป็นว่านมหาเสน่ห์สำหรับชายหนุ่ม นำว่านมาปลุกเสกด้วยคาถาแล้วนำมาเขียนคิ้ว หรือใช้ทาปากเพื่อให้ได้รับความเมตตา ใช้ในงานแต่งของชาวอีสานด้วยการนำไปแช่ไว้ในขันใส่น้ำสำหรับดื่มเพื่อความเป็นสิริมงคล
5. เป็นวัตถุดิบในผลิตภัณฑ์ มีการนำมาใช้เป็นเครื่องสำอาง แป้งฝุ่น แป้งพัฟผสมรองพื้น เจลแต้มสิว สบู่ แชมพู ครีมนวดผม เป็นครีมกันแดด ทำเป็นน้ำยาบ้วนปาก

เป็นว่านที่มีรสเผ็ดร้อนและมีกลิ่นหอม นำมาใช้ประกอบอาหารได้หลายอย่าง ทางภาคใต้นิยมใช้หัวใส่ในน้ำพริกหรือใช้เป็นส่วนผสมในน้ำพริกเผา นอกจากนั้นยังมีส่วนช่วยในการทำให้ผิวพรรณดีจึงมีการนำไปใช้เป็นเครื่องสำอางหรือครีมบำรุงได้ มีสรรพคุณทางยาได้หลายส่วนจากต้นโดยเฉพาะส่วนของหัว มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ บำรุงหัวใจ บำรุงประสาท ช่วยในการนอนหลับ ช่วยลดความเครียด บรรเทาอาการปวด ดีต่อระบบเลือดและระบบลมในร่างกายอีกด้วย

สั่งซื้อผลิตภัณฑ์อาหารทางการแพทย์ เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “เปราะหอมขาว, เปราะหอมแดง“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.rspg.or.th. [18 พ.ย. 2013].
รายการสาระความรู้ทางการเกษตร ฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่. “เรื่อง เปราะหอม“. บทความวิทยุรายการสาระความรู้ทางการเกษตร ประจำวันจันทร์ที่ 25 กันยายน 2549. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: natres.psu.ac.th. [18 พ.ย. 2013].
ว่านและสมุนไพรไทย คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร. “ว่านเปราะหอม“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: natres.skc.rmuti.ac.th. [18 พ.ย. 2013].
RUM มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. “เปราะหอม…มหัศจรรย์สมุนไพรไทย“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.rum.psu.ac.th. [18 พ.ย. 2013].
อภัยภูเบศร. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.abhaiherb.com. [18 พ.ย. 2013].
ข้อมูลอ้างอิง (Source) : https://medthai.com/

กระไดลิง กับสรรพคุณและประโยชน์น่ารู้

0
กระไดลิง
กระไดลิง กับสรรพคุณและประโยชน์น่ารู้ เป็นไม้เถาเนื้อแข็งขนาดใหญ่เป็นขั้น ๆ ดูคล้ายบันได รสเบื่อเมา สีขาวอมเหลือง ฝักแบน
กระไดลิง
เป็นไม้เถาเนื้อแข็งขนาดใหญ่เป็นขั้น ๆ ดูคล้ายบันได รสเบื่อเมา สีขาวอมเหลือง ฝักแบน

กระไดลิง

กระไดลิง หรือบันไดลิง กระไดเต่า เป็นไม้เถาเนื้อแข็งขนาดใหญ่ ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Bauhinia scandens L.[2] (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Lasiobema scandens (L.) de Wit[3], Lasiobema scandens var. horsfieldii (Miq.) de Wit) มีอีกข้อมูลที่ระบุว่า เป็นชนิด Bauhinia scandens var. horsfieldii (Prain) K.Larsen & S.S.Larsen[1],[4] (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Lasiobema horsfieldii Miq.) โดยจัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยราชพฤกษ์ (CAESALPINIOIDEAE หรือ CAESALPINIACEAE)[1] ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ คือ มะลืมคำ (เชียงใหม่), กระไดลิง (ราชบุรี), กระไดวอก โชกนุ้ย (ชาวบน-ชัยภูมิ), เครือเสี้ยว (ไทใหญ่), กระไดวอก มะลืมดำ (ภาคเหนือ), บันไดลิง, ลางลิง[1],[2],[4]

ลักษณะของต้นกระไดลิง

  • ลักษณะของต้น[1],[3]
    – เป็นพรรณไม้เถาเนื้อแข็งผลัดใบ ขนาดใหญ่
    – มีมือเกาะ มักขึ้นพาดพันตามเรือนยอดของต้นไม้อื่นไปได้ไกล
    – เถาแก่มีลักษณะแข็ง เหนียว แบน โค้งไปมาจนเป็นลอนอย่างสม่ำเสมอ เป็นขั้น ๆ ดูคล้ายบันได
    – ตามกิ่งอ่อนจะมีขนขึ้นประปราย กิ่งแก่จะเกลี้ยงไม่มีขน
    – กระจายพันธุ์ในอินเดีย ภูมิภาคอินโดจีน และอินโดนีเซีย
    – ประเทศไทยจะสามารถพบกระจายพันธุ์อยู่ทั่วภาคของประเทศ ยกเว้นภาคใต้
    – ขึ้นตามป่าดิบแล้งและตามป่าเบญจพรรณชื้น
  • ลักษณะของใบ[1]
    – ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับกัน
    – ใบเป็นรูปไข่หรือรูปพัด
    – ปลายใบแหลมอาจจะเว้ามากหรือน้อย
    – ใบมีความกว้าง 5-12 เซนติเมตร และยาว 6-11 เซนติเมตร
    – ใบที่อยู่ส่วนปลายจะเว้าลึกลงมาค่อนใบ
    – แผ่นใบจะมีลักษณะเป็นสองแฉก
    – โคนใบกว้างและมักเว้าเล็กน้อย
    – ตรงรอยต่อก้านใบเป็นรูปคล้ายหัวใจ
    – มีเส้นใบออกจากโคนใบ 5-7 เส้น
    – ผิวใบด้านบนเกลี้ยงเป็นมัน
    – ผิวใบด้านล่างมีขนขึ้นประปรายหรือเกลี้ยง
    – ก้านใบมีความยาว 1.5-5 เซนติเมตร
    – หูใบมีขนาดที่เล็กมาก เป็นติ่งยาวและร่วงได้ง่าย
  • ลักษณะของดอก
    – ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง
    – ช่อดอกเป็นแบบช่อแยกแขนง
    – มีความยาว 12-25 เซนติเมตร
    – มีขนขึ้นประปราย
    – แตกแขนงน้อย
    – แต่ละแขนงจะมีดอกขนาดเล็กจำนวนมาก
    – กลีบเลี้ยงดอกมี 5 กลีบ ติดกันคล้ายรูปถ้วย
    – กลีบดอกมี 5 กลีบ มีสีขาวอมเหลือง
    – แยกจากกัน คล้ายรูปหัด
    – ก้านกลีบดอกสั้น
    – ดอกมีเกสรเพศผู้สมบูรณ์ 3 อัน
    – มีเกสรเพศผู้ไม่สมบูรณ์อีก 2 อัน
    – รังไข่ก้านสั้น
  • ลักษณะของผล[1],[3]
    – ออกผลเป็นฝัก
    – ฝักมีความแบน รูปรีหรืออาจจะเป็นรูปไข่
    – ปลายฝักมน
    – มีติ่งแหลมสั้น ๆ
    – ฝักมีความกว้าง 1.5-2 เซนติเมตร และยาว 3-4 เซนติเมตร
    – ฝักแก่เป็นสีน้ำตาลแดง
    – ผักเมื่อแห้งแล้วจะแตกออก
    – มีเมล็ด 1-2 เมล็ด เป็นรูปขอบขนาน

สรรพคุณของกระไดลิง

  • ราก สามารถใช้เป็นยาแก้พิษต่าง ๆได้[5]
  • ใบ สามารถใช้เป็นยาขับเหงื่อ แก้ไข้ตัวร้อนได้[5]
  • เมล็ด สามารถใช้เป็นยาถ่ายพยาธิได้[5],[6]
  • เมล็ด สามารถใช้แก้ไข้เซื่องซึม มีอาการหน้าหมองเนื่องมาจากพิษไข้ได้[5],[6]
  • เมล็ด สามารถแก้ร้อนใน ช่วยขับเหงื่อได้[5],[6]
  • เถา มีรสเบื่อเมา สามารถใช้เป็นยาแก้พิษฝี แก้ไข้ตัวร้อน และขับเหงื่อได้[2],[5],[6]
  • เถา สามารถใช้เป็นยาแก้พิษไข้ แก้พิษร้อน แก้ร้อนใน แก้ไข้เซื่องซึม แก้พิษโลหิต แก้พิษไข้ทั้งปวง แก้พิษเลือดลม และเป็นยาแก้กระษัยได้[2],[5],[6]
  • เถา ในตำรายาพื้นบ้านทางภาคอีสานจะนำมาต้มกับน้ำหรือฝนกับน้ำดื่มเป็นยาแก้บิด[6]
  • เถา ในประเทศอินโดนีเซียจะใช้น้ำเลี้ยงหรือน้ำที่ตัดได้จากเถาหรือต้นสดที่ไหลซึมออกมา นำมาจิบกินบ่อย ๆ เพื่อเป็นยาบรรเทาอาการไอ[1],[6]
  • เปลือกต้น สามารถใช้เป็นยาแก้โรคผิวหนัง แก้ปวดข้อได้[5]
  • เปลือกต้น สามารถนำมาต้มกับน้ำอาบเพื่อใช้เป็นยาคุมกำเนิดได้ แต่คนท้องห้ามใช้เด็ดขาดเพราะอาจจะทำให้เกิดการแท้งบุตรได้[4]

ประโยชน์ของกระไดลิง

  • เปลือกต้น มีความเหนียว สามารถนำมาใช้แทนเชือกได้
  • เถาแห้ง ที่มีคดงอไปมา นิยมนำมาใช้ในงานประดิษฐ์หลายอย่าง เช่น ต้นไม้ประดิษฐ์, กรอบรูป, แกนของโคมไฟ

สั่งซื้อ อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วย เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth

มะลืมคำ,กระไดลิง,กระไดวอก,โชกนุ้ย,เครือเสี้ยว,กระไดวอก,มะลืมดำ,บันไดลิง,ลางลิง

เอกสารอ้างอิง
1. ข้อมูลพรรณไม้, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “กระ ได ลิง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.rspg.or.th/plants_data/. [21 ส.ค. 2015].
2. สวนพฤกษศาสตร์สายยาไทย. “กระ ได ลิง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.saiyathai.com. [21 ส.ค. 2015].
3. ระบบจัดการฐานความรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้ กรมป่าไม้. “กระ ได ลิง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : biodiversity.forest.go.th. [21 ส.ค. 2015].
4. โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง, สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน). “กระ ได ลิง”. อ้างอิงใน : หนังสือชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : eherb.hrdi.or.th. [21 ส.ค. 2015].
5. หน่วยบริการฐานข้อมูลสมุนไพร สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. “กระ ได ลิง”. เข้าถึงได้จาก: www.medplant.mahidol.ac.th. [21 ส.ค. 2015].
6. ไทยรัฐออนไลน์. (นายเกษตร). “กระ ได ลิง สรรพคุณน่ารู้”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.thairath.co.th. [22 ส.ค. 2015].

ต้นพริกนายพราน ช่วยแก้ไข้ สมานแผล

0
ต้นพริกนายพราน ช่วยแก้ไข้ สมานแผล เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก ออกดอกเป็นช่อแบบกระจุกคล้ายดอกเข็ม สีขาวแกมเหลืองอ่อน ผลเป็นฝักคู่เป็นมันมีสีเขียว เมล็ดที่แก่มีเยื่อหุ้มเมล็ดที่เป็นสีแดงสด
พริกนายพราน
เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก ออกดอกเป็นช่อแบบกระจุกคล้ายดอกเข็ม สีขาวแกมเหลืองอ่อน ผลเป็นฝักคู่เป็นมันมีสีเขียว เมล็ดที่แก่มีเยื่อหุ้มเมล็ดที่เป็นสีแดงสด

พริกนายพราน

พริกนายพราน มีเขตการกระจายพันธุ์ในแถบจีนตอนใต้ กัมพูชา และเวียดนาม ประเทศไทยสามารถพบได้ทุกภาค ยกเว้นทางภาคใต้ มักจะขึ้นตามป่าเบญจพรรณ ป่าดงดิบแล้ง และตามป่าละเมาะทั่วไป จนถึงระดับความสูงประมาณ 400 เมตร[1],[2],[3] ชื่อวิทยาศาสตร์ Tabernaemontana bufalina Lour. ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Ervatamia bufalina (Lour.) Pichon, Ervatamia celastroides Kerr, Ervatamia luensis (Pierre ex Pit.) Pierre ex Kerr จัดอยู่ในวงศ์ จัดอยู่ในวงศ์ตีนเป็ด (APOCYNACEAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยระย่อม (RAUVOLFIOIDEAE) ชื่ออื่น ๆ มะลิฝรั่ง (กรุงเทพมหานคร), เข็มดง พุดป่า (จังหวัดเลย), ช้าฮ่อม (จังหวัดตาก), พริกผี (จังหวัดยโสธร), เข็มดง พริกป่า พริกป่าใหญ่ พริกป่าเล็ก (จังหวัดชลบุรี), พุดน้อย พุดป่า พุทธรักษา (จังหวัดอุบลราชธานี), พริกพราน (จังหวัดประจวบคีรีขันธ์) เป็นต้น[1],[3]

ลักษณะของพริกนายพราน

  • ต้น
    – เป็นพันธุ์ไม้พุ่มที่มีขนาดเล็ก
    – ต้นมีความสูงประมาณ 1-4 เมตร
    – ลำต้นเกลี้ยงไม่มีขน โดยลำต้นจะแตกกิ่งแผ่กว้างออกไป และตามกิ่งจะมีช่องอากาศอยู่โดยรอบ
    – ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด
  • ใบ
    – ใบ เป็นใบเดี่ยว โดยใบจะออกในลักษณะที่เรียงตรงข้ามกัน
    – ลักษณะรูปร่างของใบเป็นรูปขอบขนาน รูปรี หรือรูปรีแคบแกมรูปไข่ ตรงปลายใบเรียวแหลมหรือแหลมยาวคล้ายกับหาง ที่โคนใบมีลักษณะเป็นรูปลิ่ม ส่วนขอบใบเรียบไม่มีขน
    – ผิวใบมีเนื้อใบบาง และผิวใบเกลี้ยงไม่มีขน
    – ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2-4 เซนติเมตร และยาวประมาณ 8-15 เซนติเมตร
    – ก้านใบค่อนข้างสั้น มีความยาวอยู่ที่ประมาณ 0.3-0.7 เซนติเมตร[1],[2]
  • ดอก
    – ออกดอกเป็นช่อแบบช่อกระจุก โดยจะออกดอกที่บริเวณตามซอกใบหรือที่ปลายยอด
    – ช่อดอกมีดอกย่อยอยู่ประมาณ 3-25 ดอก ก้านช่อดอกมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 4-7 เซนติเมตร
    – ดอกมีสีเป็นสีขาวแกมเหลืองอ่อน ลักษณะรูปร่างของดอกเป็นรูปดอกเข็ม
    – กลีบเลี้ยงดอกมีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 5 กลีบ มีสีเป็นสีเขียวอ่อน มีความยาวประมาณ 2 มิลลิเมตร ลักษณะรูปร่างของกลีบเลี้ยงจะเป็นรูปสามเหลี่ยมหรือรูปไข่ปลายแหลมยาว เรียงตัวซ้อนกันอยู่ใต้ดอก บางครั้งขอบก็มีขนอุยขึ้นเล็กน้อย
    – กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด มีความยาวอยู่ที่ประมาณ 1.2-1.7 เซนติเมตร และตรงปลายจะแยกออกเป็น 5 แฉก มีความยาวอยู่ที่ประมาณ 7-9 มิลลิเมตร ลักษณะคล้ายรูปไข่
    – ดอกมีเกสรเพศผู้อยู่ 5 อัน ก้านเกสรค่อนข้างสั้น อับเรณูมีลักษณะเป็นรูปขอบขนาน ตรงปลายเป็นติ่งแหลม
    – ท่อเกสรเพศเมียจะมีลักษณะเรียว มีความยาวอยู่ที่ประมาณ 7 มิลลิเมตร ปลายเกสรจะแยกออกเป็น 2 แฉก และมีรังไข่อยู่ด้วยกัน 2 ช่อง แยกห่างจากกัน มีความยาวได้ประมาณ 1 มิลลิเมตร[1],[2]
  • ผล
    – ออกผลในลักษณะที่เป็นฝักคู่ มีรูปร่างลักษณะโค้ง รูปทรงรีตรงปลายเรียวแหลม ตัวผลคอดเว้าเป็นพูตื้น ๆ มีขนาดความกว้างอยู่ที่ประมาณ 0.7 เซนติเมตร และมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 0.9-1 เซนติเมตร
    – ผิวฝักจะมีลักษณะที่เป็นมันมีสีเขียว และฝักย่อยจะแตกออกเป็นแนวเดียวกัน
  • เมล็ด
    – ภายในฝักจะมีเมล็ดอยู่ประมาณ 6-8 เมล็ด เมล็ดที่แก่จะมีเยื่อหุ้มเมล็ดที่เป็นสีแดงสด[1]

สรรพคุณของต้นพริกนายพราน

1. ตำรายาของไทย ระบุเอาไว้ว่าทั้งต้นมีรสชาติเย็นซ่า โดยจะมีสรรพคุณเป็นยาแก้ร้อนใน แก้ไข้ ช่วยดับพิษร้อน ส่วนรากจะนำมาใช้ทำเป็นยาแก้โรคลม หรือจะนำมาทำเป็นยาแก้โลหิตเป็นพิษเนื่องจากชอกช้ำ และช่วยแก้อาการช้ำในได้อีกด้วย (ราก, ทั้งต้น)[1]
2. ตำรับยาพื้นบ้านของทางภาคอีสาน จะนำรากมาต้มกับน้ำใช้สำหรับดื่มเป็นยาแก้เจ็บคอ แก้ไอ แก้ตกขาวของสตรี แต่ถ้านำรากมาฝนกับน้ำแล้วนำมาดื่มจะมีฤทธิ์เป็นยาแก้ไอเป็นเลือด หรือถ้านำมาตำให้ละเอียด ก็จะใช้เป็นยาทาสำหรับแก้ฝี (ราก)[1]
3. ตำรายาพื้นบ้านของจังหวัดมุกดาหาร จะนำรากมาใช้ทำเป็นยาแก้ไข้ (ราก)[1]
4. ตำรายาสมุนไพรพื้นบ้านของจังหวัดอุบลราชธานี จะนำรากมาต้มกับน้ำใช้ดื่มเป็นยาสำหรับแก้ท้องเสีย และช่วยสมานแผล (ราก)[1]
5. ตำรับยาพื้นบ้านของภาคกลาง จะนำรากมาผสมรวมกับรากต้นหนามพุงดอและรากของต้นต่อไส้ มาฝนกับเหล้าใช้สำหรับดื่มเป็นยาแก้อาการปวดท้อง (ราก)[1]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “พริกนายพราน”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.phargarden.com. [30 ก.ย. 2015].
2. สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช, กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. “พริกนายพราน”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.dnp.go.th/botany/. [30 ก.ย. 2015].
3. ระบบจัดการฐานความรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้ กรมป่าไม้. “พริก นาย พราน”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : biodiversity.forest.go.th. [30 ก.ย. 2015].

อ้างอิงรูปจาก
1.https://apps.phar.ubu.ac.th/
2.https://www.earth.com/

ต้นปีบ สรรพคุณช่วยรักษาอาการหอบหืด หอบเหนื่อย

0
ปีบ
ต้นปีบ สรรพคุณช่วยรักษาอาการหอบหืด หอบเหนื่อย เป็นไม้ยืนต้น ใบประกอบแบบขนนก 3 ชั้น ดอกเป็นช่อกระจุกสีขาวกลิ่นหอม ผลแบนและยาว มีเนื้อและเมล็ดจำนวนมาก
ปีบ
เป็นไม้ยืนต้น ใบประกอบแบบขนนก 3 ชั้น ดอกเป็นช่อกระจุกสีขาวกลิ่นหอม ผลแบนและยาว มีเนื้อและเมล็ดจำนวนมาก

ปีบ

ชื่อสามัญ คือ Cork tree, Indian cork ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Millingtonia hortensis L.f. จัดอยู่ในวงศ์แคหางค่าง (BIGNONIACEAE) ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ คือ เต็กตองโพ่ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), กาซะลอง กาสะลอง กาดสะลอง กาสะลองคำ (ภาคเหนือ),ก้องกลางดง (ภาคกลาง) กางของ (ภาคอีสาน)

ลักษณะของปีบ

  • ต้น
    – เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กไปจนถึงขนาดกลาง
    – ลำต้นตั้งตรง มีความสูงถึง 5-10 เมตร
    – เปลือกต้นเป็นสีเทาเข้มแตกเป็นร่องลึก
    – มีช่องอากาศ
    – รากจะเกิดเป็นหน่อ เติบโตเป็นต้นใหม่ได้
    – สามารถขยายพันธุ์โดยวิธีการนำเมล็ดมาเพาะ หรือการปักชำในกระบะกรวยที่ผสมด้วยขี้เถ้าแกลบปีบ
    – เป็นพันธุ์ไม้พื้นเมืองของพม่าและไทย
    – พบได้ทั่วไปตามป่าเบญจพรรณและป่าดิบแล้งทางภาคเหนือ ภาคตะวันตก และทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  • ใบ
    – ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก 3 ชั้น
    – มีความกว้าง 13-20 เซนติเมตร และยาว 16-26 เซนติเมตร
    – ก้านใบยาว 3.5-6 เซนติเมตร
    – ใบจะประกอบไปด้วยแกนกลางยาว 13-19 เซนติเมตร
    -มีใบย่อย 4-6 คู่ มีความกว้าง 2.5-3 เซนติเมตร และยาว 4-5 เซนติเมตร
    – ใบมีรูปร่างคล้ายรูปหอกแกมรูปไข่
    – ปลายใบเรียวแหลม
    – ฐานใบเป็นรูปลิ่ม
    – ขอบใบหยักเป็นซี่หยาบ ๆ
    – เนื้อใบเกลี้ยงบางคล้ายกับกระดาษ
  • ดอก
    – ดอกเป็นช่อกระจุกแยกแขนง
    – มีความยาว 10-25 เซนติเมตร
    – ดอกย่อยจะประกอบไปด้วยกลีบเลี้ยงสีเขียว
    – ดอกมีกลิ่นหอม
    – มีความกว้าง 0.5 เซนติเมตร และยาว 6-10 เซนติเมตร
    – เชื่อมกันเป็นหลอดปากแตร แยกออกเป็น 5 แฉก
    – 3 แฉกเป็นรูปขอบขนาน
    – 2 แฉกล่างค่อนข้างแหลม
    – มีเกสรตัวผู้จำนวน 4 ก้าน
    – สองคู่จะยาวไม่เท่ากัน
    – มีเกสรตัวเมียจำนวน 1 ก้าน อยู่เหนือวงกลีบ
    – จะออกดอกในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนพฤษภาคม
  • ผล
    – เป็นผลแห้งแตก
    – ผลแบนและยาว
    – มีเนื้อและเมล็ดจำนวนมาก
    – เป็นแผ่นบางมีปีก

สรรพคุณของปีบ

  • สามารถนำมาใช้มวนเป็นบุหรี่สูบแทนฝิ่น
  • ช่วยขยายหลอดลมและรักษาอาการหอบหืดได้
  • ช่วยแก้ลม
  • ช่วยรักษาอาการหอบหืด หอบเหนื่อย
  • ช่วยรักษาริดสีดวงจมูก
  • ช่วยบำรุงโลหิต
  • ช่วยบำรุงกำลัง
  • ช่วยรักษาปอดพิการ
  • ช่วยรักษาอาการหอบหืด หอบเหนื่อย
  • ช่วยรักษาวัณโรค
  • ช่วยบำรุงปอด

ประโยชน์ของปีบ

  • สารสกัดจากใบที่สกัดด้วยเอทานอล ช่วยในการยับยั้งการเจริญเติบโตของคะน้า
  • ดอก ช่วยเพิ่มการหลั่งน้ำดี (cholagogue) และเพิ่มรสชาติได้
  • ดอก สามารถนำมาตากแห้งแล้วผสมกับยาสูบมวนบุหรี่ ใช้สูบทำให้ชุ่มคอ
  • ช่วยทำให้ปากหอม และยังมีกลิ่นควันบุหรี่ที่หอมดี
  • ดอก สามารถนำมาตากแห้ง และนำมาชงใส่น้ำร้อนดื่มเป็นชาได้
  • ดอก จะมีกลิ่นหอมละมุนอ่อน ๆ มีรสชาติหวานแบบนุ่มนวล ไม่ขม ดีต่อสุขภาพ
  • เปลือกต้น สามารถนำมาใช้แทนไม้ก๊อกสำหรับจุกขวดได้
  • เนื้อไม้ มีสีขาวอ่อน สามารถนำมาใช้เลื่อยหรือไสกบเพื่อตกแต่งให้ขึ้นเงาได้ง่าย
  • สามารถนำมาใช้ทำเป็นเครื่องเรือน เครื่องตกแต่งภายในบ้านได้
  • สามารถปลูกไว้ประดับสวนได้
  • สามารถปลูกเพื่อให้ร่มเงาในลานจอดรถหรือริมถนนข้างทางได้
  • ต้นไม้ชนิดนี้ สามารถทนน้ำท่วมขังได้ดี
  • เชื่อกันว่าการปลูกไว้ประจำบ้านจะทำให้เก็บเงินเก็บทองได้มากขึ้น และทำให้มีชื่อเสียงโด่งดังได้
  • ถ้าจะให้เป็นมงคลมากยิ่งขึ้นไปอีก ควรให้เป็นผู้ที่เกิดในวันจันทร์เป็นผู้ปลูก
  • เป็นดอกไม้ประจำของนางโคราคะเทวี ที่เป็นนางประจำวันจันทร์ในธิดาของพระอินทร์
  • เป็นสัญลักษณ์ของพยาบาลไทย
  • ความหมายของต้นไม้ชนิดนี้ คือ เป็นต้นไม้ที่ให้ความร่มรื่นแก่ชีวิต หมายถึง “พยาบาล”
  • หมายถึงยาอายุวัฒนะ เปรียบเสมือนกับพยาบาลที่ให้การดูแลรักษาและส่งเสริมสุขภาพให้คนทั่วไป ช่วยเสริมสร้างธรรมชาติที่ชุบและดำรงชีวิตให้แก่มวลมนุษย์ตลอดกาล เช่นเดียวกับพยาบาล
  • เป็นดอกไม้ประจำจังหวัดปราจีนบุรีและมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

  • สามารถตรวจพบสาร Scutellarein, Hispidulin, Scutellarein-5-galactoside จากดอก
  • พบสาร Hispidulin จากใบของต้น
  • ในราก พบสาร Hentriacontane, Lapachol, Hentria contanol-1, B-stosterol, Paulownin ในส่วนของผลพบ Acetyl oleanolic acid
  • เปลือกต้นและแก่นไม้ พบสาร B-stosterol
  • แล้วนำส่วนต่าง ๆ เหล่านี้มาทดสอบฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา พบว่าส่วนที่สกัดจากคลอโรฟอร์มมีฤทธิ์ในการขยายหลอดลม
  • ในขณะที่ส่วนสกัด Butanol พบว่าส่วนสกัดแยกส่วนด้วย Butamol จากสารสกัดด้วยน้ำนั้นมีฤทธิ์ช่วยขยายหลอดลม
  • จากการศึกษา เชื่อว่าสาร Hispifulin นั้นมีหน้าที่ในการขยายหลอดลม

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

แหล่งอ้างอิง
เว็บไซต์สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์), เว็บไซต์กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช (กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม), ศูนย์ความรู้ด้านการเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน), เว็บไซต์หมอชาวบ้าน (เดชา ศิริภัทร)

ต้นโปร่งกิ่ว ดื่มแก้อาการปวดเมื่อย เคล็ดขัดยอก

0
ต้นโปร่งกิ่ว
ต้นโปร่งกิ่ว ดื่มแก้อาการปวดเมื่อย เคล็ดขัดยอก เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก ใบเดี่ยวเรียงสลับในระนาบเดียวกัน ดอกอ่อนมีสีเป็นสีขาวอมเขียว ผลอ่อนมีสีเป็นสีเขียวอมขาว ผลแก่เป็นสีแดงสดหรือสีแดงปนดำ
ต้นโปร่งกิ่ว
เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก ใบเดี่ยวเรียงสลับในระนาบเดียวกัน ดอกอ่อนมีสีเป็นสีขาวอมเขียว ผลอ่อนมีสีเป็นสีเขียวอมขาว ผลแก่เป็นสีแดงสดหรือสีแดงปนดำ

โปร่งกิ่ว

โปร่งกิ่ว ประเทศไทยจะพบขึ้นได้ในป่าละเมาะ ตามป่าเบญจพรรณทางภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยจะพบที่ระดับความสูงประมาณ 150-300 เมตร[1],[2] ชื่อวิทยาศาสตร์ Dasymaschalon lomentaceum Finet & Gagnep ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Desmos lomentaceus (Finet & Gagnep.) P.T.Li จัดอยู่ในวงศ์ วงศ์กระดังงา (ANNONACEAE)[1],[2] ชื่ออื่น ๆ ลำดวน (ในภาคกลาง), เดือยไก่ ติดต่อ ตีนไก่ (ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), หอมนวล (ในภาคเหนือ) เป็นต้น[1],[2]

ลักษณะของโปร่งกิ่ว

  • ต้น
    – เป็นพันธุ์ไม้ประเภทพุ่มหรือไม้ต้นที่มีขนาดเล็ก ไม่ผลัดใบ
    – ต้นมีความสูง ประมาณ 1-2 เมตร
    – ลำต้นตั้งตรง ลำต้นแตกกิ่งก้านแผ่กว้างออกมาจำนวนมาก บริเวณเรือนยอดจะเป็นพุ่มทรงกลมทึบ
    – เปลือกลำต้นมีสีเป็นสีน้ำตาลอมดำ มีช่องระบายอากาศสีขาวเป็นจุดกลม ๆ กระจายตัวอยู่อย่างหนาแน่นทั่วลำต้น
    – เนื้อไม้มีความเหนียว และกิ่งอ่อนมีสีเป็นสีเขียว
    – ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด
  • ใบ
    – ใบ เป็นใบเดี่ยว โดยใบจะออกเรียงสลับในระนาบเดียวกัน
    – ใบเป็นรูปขอบขนาน รูปขอบขนานแกมใบหอก รูปวงรีแกมขอบขนาน หรือรูปรี ตรงปลายใบมีรูปร่างเรียวทู่หรือแหลมแล้วไล่มามน ที่โคนใบเป็นรูปหัวใจ มีความมนหรือเว้าเล็กน้อย ส่วนขอบใบเรียบไม่มีขน
    – แผ่นใบด้านบนมีสีเป็นสีเขียวเข้มและผิวมีความเป็นมัน ส่วนใบด้านล่างมีนวล เส้นกลางใบด้านบนจะมีลักษณะเป็นร่อง ส่วนด้านล่างจะมีลักษณะเป็นสันนูนเห็นได้อย่างเด่นชัด ใบมีเส้นแขนงใบอยู่ 7-11 คู่ มองเห็นได้ไม่ชัดเจนนัก
    – ใบมีขนาดความกว้างอยู่ที่ประมาณ 3-5 เซนติเมตร และมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 7-12 เซนติเมตร
    – ก้านใบมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 4 มิลลิเมตร[1],[2]
  • ดอก
    – ออกดอกในลักษณะที่เป็นดอกเดี่ยว โดยจะออกตามบริเวณซอกใบใกล้กันกับปลายกิ่งหรือออกที่ปลายกิ่ง
    – ดอกอ่อนมีสีเป็นสีขาวอมเขียว เมื่อดอกบานเต็มที่จะเปลี่ยนสีเป็นสีเขียวแกมเหลือง แล้วดอกก็จะหลุดร่วงลงไปทั้งกรวย
    – ก้านดอกมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 5 มิลลิเมตร กลีบดอกติดกันมีรูปร่างลักษณะเป็นรูปกรวย มีความยาวอยู่ที่ประมาณ 2-3 เซนติเมตร บริเวณโคนดอกมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางอยู่ที่ประมาณ 0.7-1 เซนติเมตร ตรงปลายมีลักษณะเป็นรูปกรวยมน
    – กลีบเลี้ยงดอกมีลักษณะรูปร่างเป็นรูปไข่ มีสีเป็นสีเขียว มีขนาดความกว้างและความยาวอยู่ที่ประมาณ 3 มิลลิเมตร
    – ออกดอกในช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนสิงหาคม[1],[2]
  • ผล
    – ออกผลเป็นกลุ่ม ๆ โดยในแต่ละกลุ่มจะมีผลย่อยอยู่ที่ประมาณ 6-12 ผล
    – ผลย่อยมีลักษณะเป็นผลสด ลักษณะรูปร่างของผลเป็นรูปทรงกระบอกยาว ออกมาจากตำแหน่งเดียวกัน เปลือกผลคอดถี่ตามรูปเมล็ดประมาณ 2-4 ข้อ แต่จะไม่คอดถึงกลางผล ที่ปลายผลจะแหลม
    – ผลอ่อนมีสีเป็นสีเขียวอมขาว เมื่อผลแก่แล้วจะเปลี่ยนสีเป็นสีแดงสดหรือสีแดงปนดำ ก้านช่อผลมีความยาวประมาณ 5 มิลลิเมตร
    – ติดผลในช่วงเดือนตุลาคมถึงเดือนพฤศจิกายน[1],[2]
  • เมล็ด
    – ภายในผลมีเมล็ดสีน้ำตาลอยู่ประมาณ 2-5 เมล็ด โดยเมล็ดพวกนี้จะเรียงตัวชิดติดกัน
    – ลักษณะรูปทรงของเมล็ดจะเป็นรูปทรงรี

สรรพคุณและประโยชน์ของต้นโปร่งกิ่ว

  • ตำรายาของไทยจะนำลำต้นมาผสมกับลำต้นของต้นกันแสงและลำต้นของต้นพีพ่าย จากนั้นก็นำส่วนประกอบทั้งหมดมาต้มกับน้ำใช้สำหรับดื่มเป็นยาแก้อาการปวดเมื่อย และเคล็ดขัดยอก (ลำต้น)[1]
  • นอกจากจะนำมาใช้ทำเป็นสมุนไพรแล้ว ก็ยังมีการนำมาใช้ประโยชน์ในด้านของการนำมาปลูกเป็นไม้ประดับเพื่อให้เกิดความสวยงาม และอีกทั้งยังนำมาเป็นอาหารของสัตว์ได้อีกด้วย[2]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “โ ป ร่ ง กิ่ ว”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.phargarden.com. [26 ก.ย. 2015].
2. ระบบจัดการฐานความรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้ กรมป่าไม้. “โ ป ร่ ง กิ่ ว”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : biodiversity.forest.go.th. [26 ก.ย. 2015].

อ้างอิงรูปจาก
1. https://eva.vn/