Home Blog Page 23

ต้นรางแดง สรรพคุณใช้เป็นยาขับเสมหะ

0
ต้นรางแดง สรรพคุณใช้เป็นยาขับเสมหะ เป็นไม้เถายืนต้นกึ่งพุ่ม ใบคล้ายใบเล็บมือนางหรือกระดังงา ดอกสีเขียวแกมสีเหลือง สีเขียวอมสีขาว ผลกลมปลายผลจะแผ่เป็นครีบคล้ายกับปีก
รางแดง
เป็นไม้เถายืนต้นกึ่งพุ่ม ใบคล้ายใบเล็บมือนางหรือกระดังงา ดอกสีเขียวแกมสีเหลือง สีเขียวอมสีขาว ผลกลมปลายผลจะแผ่เป็นครีบคล้ายกับปีก

รางแดง

ชื่อทางวิทยาศาสตร์Ventilago denticulata Willd. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ คือ Ventilago calyculata Tul.) อยู่วงศ์พุทรา (RHAMNACEAE)[1],[4] ชื่อในท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น เถาวัลย์, โกร่งเคอ, ตะแซทูเหมาะ (กะเหรี่ยงแดง), ทรงแดง (ภาคใต้), เถามวกเหล็ก (ภาคกลาง), รางแดง (ภาคกลาง, จังหวัดประจวบคีรีขันธ์), หนามหัน (ภาคเหนือ), ก้องแกบแดง (ภาคเหนือ), ก้องแกบ (ภาคเหนือ), แสงอาทิตย์ (จังหวัดประจวบคีรีขันธ์), เถาวัลย์เหล็ก (จังหวัดสระบุรี), ปลอกแกลบ (จังหวัดบุรีรัมย์), ฮองหนัง (จังหวัดเลย), เขาแกลบ (จังหวัดเลย), ย่านอีเหล็ก, เคือก้องแกบ, กะเหรี่ยงแดง, ซอแพะแหล่โม (กะเหรี่ยง), กะเลียงแดง (ภาคกลาง), เถาวัลย์เหล็ก (ภาคกลาง), เครือก้องแกบ (ภาคเหนือ), ก้องแกบเครือ (ภาคเหนือ), แสงพระอาทิตย์ (จังหวัดประจวบคีรีขันธ์), กะเลียงแดง (จังหวัดชลบุรี-ศรีราชา), ฮ่องหนัง (จังหวัดเลย), เห่าดำ (จังหวัดเลย), ก้องแกบ (จังหวัดเลย), เถามวกเหล็ก (จังหวัดสระบุรี) [1],[2],[6],[9]

ลักษณะของต้นรางแดง

  • ต้น เป็นไม้เถายืนต้นกึ่งพุ่ม มักจะเลื้อยไปตามต้นไม้กับกิ่งไม้ เถามีลักษณะเป็นสีเทา ผิวลำต้นหรือเถาจะเป็นรอยแตกระแหงมีลักษณะเป็นร่องสีแดงสลับ ทำให้เป็นลวดลายสวยงาม ลำต้นอ่อนเป็นรูปทรงกระบอก ลำต้นแก่แตกเป็นสีแดง ที่ตามกิ่งอ่อนจะมีขนสั้น ขยายพันธุ์โดยกิ่งตอน การทาบเถา ใช้เมล็ด กิ่งชำ มักจะขึ้นที่ตามป่าโปร่ง มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ทางจังหวัดสระบุรี สำหรับจังหวัดกรุงเทพมหานคร จะปลูกบ้างตามบ้าน[1],[2],[5],[9]
  • ใบแผ่นใบเป็นสีเขียว ใบคล้ายใบเล็บมือนางหรือกระดังงาไทย เป็นใบเดี่ยว ใบจะออกเรียงสลับกัน ใบเป็นรูปวงรีแกมรูปขอบขนาน รูปไข่ยาว รูปไข่แกมรูปขอบขนาน ที่ปลายใบจะแหลม ส่วนที่ขอบใบจะเป็นจักตื้น ใบกว้างประมาณ 4-6 เซนติเมตร มีความยาวประมาณ 8-14 เซนติเมตร มีก้านใบที่สั้น[1],[2] ถ้าเอาใบมาผิงไฟใช้ทำเป็นยาจะมีกลิ่นคล้ายแกลบข้าว[9]
  • ดอก จะออกเป็นช่อที่ตามซอกใบใกล้ปลายยอด มีดอกย่อยเป็นจำนวนมาก กลีบดอกมีลักษณะเป็นสีเขียวแกมสีเหลือง สีเขียวอมสีขาว[2],[9]
  • ผลเป็นผลแห้งจะไม่แตก ผลกลม ที่ปลายผลจะแผ่เป็นครีบคล้ายกับปีกแข็ง มีเมล็ดอยู่ในผลประมาณ 1-2 เมล็ด[2],[9]

สรรพคุณรางแดง

1. ตาส่วน สีมะพริก พ่อเม่าหรือพ่อบุญมี ได้ฤกษ์ ให้นำมาต้มทาน สามารถแก้ปวดเมื่อยได้ ด้วยการเอามาต้มทานเดี่ยว ๆ หรือนำมาต้มรวมกับสมุนไพรบำรุงกำลังอื่น อย่างเช่น เถาวัลย์เปรียง ท่านทั้งสองเล่าว่าผู้ชายนิยมใช้เยอะกว่าผู้หญิง เนื่องจากจะต้องทำงานหนัก ทำให้ต้องใช้สมุนไพรช่วยบำรุงกำลัง บำรุงไต แก้กษัย แก้ปวดเมื่อย หมอยาพื้นบ้านเชื่อกันว่าเป็นสมุนไพรที่สามารถใช้แก้กษัยไตพิการตัวหนึ่งได้[9]
2. ลุงเฉลา คมคาย (หมอยาพื้นบ้านดงกระทงยาม อำเภอศรีมหาโพธิ์ จังหวัดปราจีนบุรี) แนะนำให้ใช้รากมาทำเยา เนื่องจากเชื่อว่ารากเป็นส่วนที่มีสรรพคุณดีที่สุด โดยเฉพาะส่วนปลายราก (หากหารากไม่ได้ สามารถใช้เถาแทนได้ แต่สรรพคุณไม่ดีเท่าราก) ขุดขึ้นจะพบรากเป็นสีดำ จะใช้รากที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร ยาวประมาณ 30 เซนติเมตร มาดองกับเหล้า 1 ขวด สามารถทานเป็นยาบำรุงร่างกาย แก้ปวดหลังปวดเอวได้ หรือดองกับสมุนไพรบำรุงกำลังอื่น ลุงเฉลานิยมใช้รากดองกับรากคัดเค้า (1:1) และสามารถนำมาชงเป็นชาแก้ปวดหลังปวดเอวได้ โดยนำใบเพสลาดมาตากแห้ง ใช้ชงกับน้ำร้อนทานครั้งละ 4-5 ใบ[9]
3. สามารถนำใบมาปิ้งไฟให้กรอบ เอามาชงกับน้ำใช้ทานต่างน้ำชาสามารถช่วยทำให้เส้นเอ็นในร่างกายอ่อนดี ทำให้เส้นเอ็นหย่อน แก้เส้นเอ็นตึงได้ (ใบ)[1],[2],[3]
4. เถา มีสรรพคุณที่สามารถช่วยบำรุงเส้นสาย แก้อาการปวดเมื่อยที่ก้นกบ แก้เส้น (เถา)[3],[5]
5. ในตำรายาไทยนำใบมาปิ้งไฟให้กรอบ นำมาชงกับน้ำกินต่างน้ำชาสามารถใช้เป็นยาช่วยขับปัสสาวะได้ (ใบ)[1],[2],[6]
6. เถาจะมีสรรพคุณที่เป็นยาขับปัสสาวะ (เถา)[3]
7. ราก มีสรรพคุณที่สามารถใช้เป็นยาขับเสมหะได้ (ราก)[8]
8. สามารถนำเถามาต้มกับน้ำใช้ดื่มช่วยลดคอเลสเตอรอลได้ (เถา) (ไม่มีงานวิจัยยืนยัน)[5]
9. นำเถามาหั่นตากแดด ใช้ปรุงเป็นยาทานรักษาโรคกษัย รักษาอาการกล่อนลงฝัก รักษาอาการกล่อนทุกชนิด (เถา)[1],[2],[6] รากมีสรรพคุณที่เป็นยาแก้กษัย (ราก)[3]
10. เถาจะมีสรรพคุณที่เป็นยาอายุวัฒนะ ใช้เดี่ยว หรือใช้ผสมสมุนไพรชนิดอื่น ๆ ก็ได้ ในตำรับยาอายุวัฒนะนำรางแดง 1 ขีด เหล้า 200 มิลลิเมตร น้ำผึ้ง 200 มิลลิเมตร มาดองเป็นเวลา 15 วัน ทานครั้งละ 30 มิลลิเมตร วันละ 2 ครั้ง เช้าเย็น หรือนำเถามาผสมต้นเถาวัลย์เปรียง ต้นนมควาย, ต้นกำแพงเจ็ดชั้น, ต้นขมิ้นเครือ มาต้มกับน้ำใช้ดื่มเป็นยาอายุวัฒนะ (เถา)[2],[6],[9]
11. หมอยาไทยใหญ่ ใช้ใบมาปิ้งกับไฟชงกับน้ำร้อนทานแทนชา สามารถใช้เป็นยารักษาอาการปวดเมื่อย แก้อาการอ่อนเพลีย รักษาอาการปวดหลังปวดเอว และยังสามารถใช้เป็นยาล้างไตได้ โดยนำใบมาชงใส่น้ำร้อน หรือนำรากหรือเถามาหั่น เอาไปตากให้แห้ง แล้วนำต้มทานก็ได้ มีความเชื่อกันว่าถ้าทานเป็นประจำสามารถช่วยทำให้เจริญอาหาร บำรุงร่างกาย บำรุงโลหิตได้[9]
12. หมอโจป่อง (หมอยากะเหรี่ยงฤๅษีหมู่บ้านทิบาเก เขตป่าทุ่งใหญ่นเรศวรตะวันออก) แนะนำให้นำใบมาปิ้งกับไฟ เอามาชงกับน้ำทาน สามารถช่วยป้องกันโรคภัยไข้เจ็บได้ (ใบ)[9]
14. พ่อหมอสุนทร พรมมหาราช (หมอยาอำเภอภูหอ จังหวัดเลย) เล่าว่า ในตำรับยาที่หลวงปู่มั่นฉันเป็นยาอายุวัฒนะอยู่เสมอก็คือ เถาดองน้ำผึ้ง ให้นำเถามาตัดเป็นท่อน ผ่าใส่โหลหมักน้ำผึ้ง และมีตำรับยาบำรุงของหลวงปู่มั่นอีก ก็คือ ให้นำเครือเขาแกบ รากพังคี รากตำยาน ใบมะเม่า เนื้อไม้หรือรากกะเพราต้น ใบส่องฟ้า มาต้มใช้กินเป็นยาอายุวัฒนะ (เถา)[9]
15. ในตำรับยาแก้ปวดเมื่อย ให้นำรางแดง 1 ขีด, อ้อยดำ 1 ขีด, ยาหัว 1 ขีด (เข้าใจว่าเป็นข้าวเย็น ไม่ทราบว่าเป็นใช้ข้าวเย็นเหนือ หรือเป็นข้าวเย็นใต้) มาต้มให้เดือดเป็นเวลาประมาณ 15 นาที ต้มทานครั้งละ 1 แก้ว วันละ 3 เวลา ในตำรับยาแก้ปวดเมื่อยของชาวล้านนา นำใช้ลำต้นรางแดง มาผสมลำต้นงวงสุ่ม รากงวงสุ่ม ลำต้นบอระเพ็ด ลำต้นแหนเครือ ลำต้นเปล้าล้มต้น ลำต้นเปล้าลมเครือ ลำต้นหนาด มาต้มกับน้ำใช้ดื่มเป็นยาแก้ปวดเมื่อย (ลำต้น)[7],[9]
16. ในตำรับยาแก้ผิดสาบ นำรากรางแดง แก่นจันทน์แดง รากสามสิบ รากชะอม เขากวาง แก่นจันทน์ขาว รากเล็บเหยี่ยว มาฝนใส่ข้าวจ้าวทานแก้ผิดสาบได้ (ราก)[2]
17. นำใบมาลนไฟแล้วเอาไปต้มกับน้ำ สามารถใช้ดื่มแทนใบชาได้ ช่วยทำให้ชุ่มคอ (ใบ)[6]
18. สามารถช่วยแก้ร้อนในกระหายน้ำได้ (เถา)[3]
19. ในตำรับยาช่วยทำให้เจริญอาหาร นำเถารางแดง ต้นนมควาย ต้นกำแพงเจ็ดชั้นต้นขมิ้นเครือ ต้นเถาวัลย์เปรียง มาต้มกับน้ำดื่ม สามารถช่วยทำให้เจริญอาหารได้ (เถา)[2],[6] อีกวิธีให้นำใบมาลนไฟหรือตากแห้ง ใช้ชงกับน้ำดื่ม สามารถช่วยให้เจริญอาหารได้ (ใบ)[6]
20. หมอยาอีสานมีทั้งนำเถามาต้มทาน หรือนำใบมาชงเป็นชา (อาจใช้แบบเดี่ยว หรือใช้ร่วมสมุนไพรอื่นก็ได้) สามารถใช้เป็นยาบำรุงกำลังได (ในตำรับยานี้ช่วยปวดขา ปวดเอว แก้เอ็น ปวดแข้ง แก้เส้น อาการปวดหลังได้) นิยมที่สุดคือ การดองเหล้า (นำรากมาดองเหล้า) (เถา,ราก,ใบ)[9]

ข้อสังเกต

สรรพคุณที่กล่าวข้างต้น ยังมีสรรพคุณอื่นที่มีระบุเอาว่าไว้ในผลิตภัณฑ์รูปชาสมุนไพรและรูปแบบแคปซูล มีสรรพคุณที่สามารถช่วยเผาผลาญไขมัน ละลายไขมัน ลดระดับน้ำตาลในเลือด ลดความดันโลหิต ลดคอเลสเตอรอล ช่วยลดน้ำหนัก ช่วยขับเหงื่อ (ข้อมูลส่วนนี้ ผู้เขียนยังไม่เห็นว่ามีแหล่งอ้างอิงที่น่าเชื่อถือ ยังไม่เห็นว่ามีงานวิจัยเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว (หรือมีแล้วก็ไม่ทราบ ไม่แน่ใจ) และไม่แน่ใจว่าเป็นการโอ้อวดสรรพคุณเกินจริงหรือไม่ ขอให้ผู้อ่านใช้วิจารณญาณในการอ่าน)

ประโยชน์รางแดง

  • มีการใช้ยอดอ่อน ใบ เปลือกต้น เป็นส่วนประกอบทำน้ำยาสระผมสูตรแก้รังแค ประกอบด้วยสมุนไพรอื่น เช่น น้ำด่าง ส้มป่อยหรือมะนาวหรือมะกรูด ใบหมี่เหม็น มาต้มรวมกันแล้วเอาน้ำที่ได้มาใช้สระผมสามารถช่วยแก้รังแคได้[3],[6]
  • สามารถนำใบมาคั่ว ใช้ชงกับน้ำดื่มเหมือนกับชาได้[6]

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

  • จากการทดสอบความเป็นพิษ ปรากฏว่าเมื่อฉีดสารที่สกัดได้จากทั้งต้นด้วยแอลกอฮอล์กับน้ำ ในอัตราส่วน 1:1 เข้าช่องท้องของหนูถีบจักรทดลอง ปรากฏว่าขนาดที่ทำให้สัตว์ทดลองตายครึ่งหนึ่งนั่นก็คือ 800 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ถือว่ามีความเป็นพิษน้อย[3]
  • จากการศึกษาผลของสารสกัดที่มีความเข้มข้น 0, 5000, 10000, 15000, 20000 ppm ต่อการเจริญของรา Colletotrichum gloeosporioides กับ Fusarium oxysporum ปรากฏว่าสารสกัดที่เข้มข้น 15000, 20000 ppm สามารถช่วยยับยั้งการเจริญของรา Colletotrichum gloeosporioides กับ Fusarium oxysporum ได้ดี ถ้าความเข้มข้นเพิ่มขึ้น จะทำให้ประสิทธิภาพของสารสกัดหยาบเพิ่มขึ้นไปด้วย[4]
  • ในประมาณปี พ.ศ.2548 มีรายงานการศึกษาการทดสอบฤทธิ์การยับยั้งเอนไซม์ phosphodiesterase โดยคัดเลือกสมุนไพรที่หมอยาพื้นบ้านใช้เป็นยาบำรุงกำหนัด บำรุงสมองรวม 19 ชนิด ยังพบอีกว่ามีสมุนไพรที่มีฤทธิ์ดังกล่าว 7 ชนิด [9]
  • สารสกัดหยาบที่ได้จากใบด้วยเอทานอลที่เข้มข้นร้อยละ 95 ปรากฏว่าสารสกัดที่ได้หนืดข้นเป็นเขียวเข้มถึงดำ มีกลิ่นหอม[4]
  • จากข้อมูลทางเภสัชวิทยายังไม่มีรายงานว่ามีฤทธิ์ในการลดระดับน้ำตาลในเลือด[3]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “รางแดง”. หน้า 677-678.
2. หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา. (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “รางแดง”. หน้า 221.
3. หน่วยบริการฐานข้อมูลสมุนไพร สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. “รางแดงรักษาเบาหวาน?”. อ้างอิงใน: หนังสือสมุนไพร ไม้พื้นบ้าน เล่ม 4 คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.medplant.mahidol.ac.th. [29 พ.ค. 2014].
4. คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม กรุงเทพฯ. (รัฐพล ศรประเสริฐ, ภากร นอแสงศรี, อนงคณ์ หัมพานนท์). “ผลของสารสกัดหยาบจากใบรางแดง (Ventilago denticulata Willd.) ต่อการเจริญของ Colletotrichum gloeosporioides และ Fusarium oxysporum”.
5. ฐานข้อมูลสมุนไพรไทย จังหวัดอุตรดิตถ์. “รางแดง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: industrial.uru.ac.th/herb/. [29 พ.ค. 2014].
6. โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง, สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน). “รางแดง, เถารางแดง , เถาวัลย์เหล็ก”. อ้างอิงใน: หนังสือชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์), หนังสือพืชสมุนไพรในสวนป่าสมุนไพรเขาหินซ้อน ฉบับสมบูรณ์ (พงษ์ศักดิ์ พลเสนา). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: eherb.hrdi.or.th. [29 พ.ค. 2014].
7. ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “งวงสุ่ม”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.phargarden.com. [29 พ.ค. 2014].
8. ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. “Ventilago denticulata Willd.”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.qsbg.org. [29 พ.ค. 2014].
9. กลุ่มรักษ์เขาใหญ่. “เครือเขาแกบ…พญาดาบหัก”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.rakkhaoyai.com. [29 พ.ค. 2014].

อ้างอิงรูปจาก
1. https://www.flickr.com

ต้นรสสุคนธ์ สรรพคุณรากช่วยแก้แผลในปาก

0
รสสุคนธ์
ต้นรสสุคนธ์ สรรพคุณรากช่วยแก้แผลในปาก ไม้ยืนต้นที่มีขนาดกลาง ช่อดอกทรงกลม มีสีขาว มีกลิ่นหอมที่เฉพาะตัว ผลสีเขียว ภายในผลจะมีเมล็ดสีดำ
รสสุคนธ์
ไม้ยืนต้นที่มีขนาดกลาง ช่อดอกทรงกลม มีสีขาว มีกลิ่นหอมที่เฉพาะตัว ผลสีเขียว ภายในผลจะมีเมล็ดสีดำ

รสสุคนธ์

รสสุคนธ์สามารถพบขึ้นได้ทั่วไปตามป่าธรรมชาติ ป่าผลัดใบ ป่าเบญจพรรณ ป่าชื้นทางภาคใต้ ป่าดิบแล้ง ป่าละเมาะ และป่าตามชายหาดหรือชายฝั่งทะเล เจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ร่ม มีแสงรำไร และในพื้นที่โล่งแจ้ง ชื่อสามัญ Tetracera loureiri, Dillenia ชื่อวิทยาศาสตร์ Tetracera loureiri (Finet & Gagnep.) Pierre ex W. G. Craib ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Tetracera sarmentosa var. loureiri Finet & Gagnep. จัดอยู่ในวงศ์ จัดอยู่ในวงศ์ส้าน (DILLENIACEAE) ชื่ออื่น ๆ กะปด กะป๊ด ป๊ด ย่านป๊อด (ในภาคใต้), ลิ้นแรด (จังหวัดอุบลราชธานี), สับปละ (จังหวัดนราธิวาส), ลิ้นแฮด (จังหวัดยโสธร), เถากะปดใบเลื่อม (จังหวัดประจวบคีรีขันธ์), สุคนธรส มะตาดเครือ ย่านปด อรคนธ์ ปดขน (จังหวัดนครศรีธรรมราช), บอระคน เถาอรคน อรคน (จังหวัดตรัง), ปดน้ำมัน (จังหวัดปัตตานี), ปดคาย ปดเลื่อม (จังหวัดสุราษฎร์ธานี), ปะหล่ะลือแล็ง (จังหวัดปัตตานี), เสาวคนธ์ เสาวรส มะตาดเครือ (กรุงเทพมหานคร) เป็นต้น

ลักษณะของรสสุคนธ์

  • ต้น
    – เป็นพันธุ์ไม้ยืนต้นที่มีขนาดกลาง และต้นสามารถทนความแห้งแล้งได้ดี
    – เถาเลื้อยได้ไกล 5-8 เมตร
    – ต้นไม่ผลัดใบ มีลักษณะเป็นไม้เถามีเนื้อแข็ง ลำต้นจะแตกกิ่งเลื้อยทอดยาว โดยกิ่งอ่อนจะมีขนขุยที่มีสีน้ำตาลแก่ขึ้นปกคลุมอยู่
    – เปลือกเถามีสีเป็นสีเขียวเมื่อเถายังอ่อน แต่เมื่อเถาแก่ตัวลงก็จะเปลี่ยนสีเป็นสีน้ำตาลเทา เถามีเปลือกเนื้อบางเรียบไม่มีขน
  • ใบ
    – ใบมีลักษณะเป็นใบเดี่ยว โดยใบจะออกเรียงแบบสลับกัน
    – ที่โคนใบและปลายใบมนถึงแหลม ตรงปลายใบโต ส่วนโคนใบจะเรียว ใบมีขอบใบเป็นจักห่าง ๆ
    – ลักษณะรูปร่างของใบคล้ายกับลิ้นวัว
    – ใบมีเนื้อผิวใบที่ค่อนข้างหนา ใบมีสีเขียวเข้ม สามารถมองเห็นเส้นใบได้ชัดเจน และผิวใบด้านบนสามารถมองเห็นเป็นเส้นแขนงใบเป็นร่อง ส่วนผิวของใต้ท้องใบจะมีเนื้อสัมผัสที่สากคาย และหลังใบมีสีเป็นสีเขียวเข้ม
    – ใบมีขนาดความกว้างอยู่ที่ประมาณ 3-5 เซนติเมตร และมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 6-10 เซนติเมตร
    – ก้านใบมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 0.6-1 เซนติเมตร
  • ดอก
    – ออกดอกในลักษณะที่เป็นช่อแบบแยกแขนง โดยจะออกดอกที่บริเวณตามซอกใบหรือปลายยอด
    – ช่อดอกมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 10-15 เซนติเมตร และมีเส้นผ่านศูนย์กลางของดอกเมื่อดอกบานเต็มที่อยู่ที่ประมาณ 0.8 เซนติเมตร
    – ช่อดอกมีดอกย่อยอยู่ภายในเป็นจำนวนมาก ดอกมีลักษณะรูปร่างเป็นทรงกลม มีสีขาว ดอกมีกลีบอยู่ 5 กลีบ มีกลีบเลี้ยงอยู่ 5 กลีบ ดอกมีกลิ่นหอมที่เฉพาะตัว(โดยดอกจะส่งกลิ่นหอมแรงในตอนกลางคืน) และดอกมักจะบานไม่พร้อมกัน
    – ดอกมีเกสรตัวผู้สีขาวจำนวนมากคล้ายกับเส้นด้ายกระจายรวมตัวกันเป็นพุ่มกลมคล้ายกับดอกกระถิน
    – โดยต้นจะออกดอกมากเป็นพิเศษในช่วงฤดูหนาวหรือก็คือในช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งสามารถออกดอกได้ปีละหลายครั้งทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมเป็นปัจจัยสำคัญ
  • ผล
    – ผลเป็นรูปไข่เบี้ยว ผลมีสีเป็นสีเขียว มีขนาดอยู่ที่ประมาณ 0.7 เซนติเมตร และมักจะมีจะงอยอยู่ที่ส่วนปลาย
    – เมื่อผลแก่ตัวลงจะแตกออกเป็นแนวเดียว
  • เมล็ด
    – ภายในผลจะมีเมล็ดสีดำอยู่ 1-2 เมล็ด
    – เมล็ดมีลักษณะรูปทรงเป็นรูปทรงไข่ และเมล็ดจะมีเยื่อหุ้มเมล็ดอยู่ โดยจะเรียกกันว่ารกสีแดงสด

สรรพคุณของต้นรสสุคนธ์

1. ลำต้นและราก ใช้ต้มกับน้ำใช้สำหรับดื่ม โดยจะมีสรรพคุณในการช่วยรักษาฝี และแก้อาการฝีบวมได้ (ลำต้น, ราก)
2. ใบหรือรากตำใช้สำหรับพอกทำเป็นยาแก้ผดผื่นคันได้ (ใบ, ราก)
3. ใบหรือรากนำมาต้มกับใช้สำหรับดื่ม โดยจะให้สรรพคุณเป็นยาแก้อาการตกเลือดภายในปอดได้ (ใบ,ราก)
4. ใบหรือรากนำมาต้มกับน้ำใช้อม มีสรรพคุณทางยาในการช่วยแก้แผลในปากได้ (ใบ, ราก)
5. ตำรับยาพื้นบ้านทางภาคใต้ จะนำใบมาต้มกับน้ำใช้สำหรับดื่มแก้อาการสะอึกได้ (ใบ)
6. ใบ นำมาใช้ช่วยรักษาโรคหิดได้ (ใบ)
7. ดอกนำมาใช้ปรุงเป็นยาหอมใช้คู่กับเถาของต้นอรคนธ์ขาวหรือของต้นรสสุคนธ์แดง จะมีสรรพคุณในการช่วยแก้ลมวิงเวียน และแก้อาการอ่อนเพลียได้ (ดอก)
8. ดอก นำมาใช้เข้าเครื่องยาหอม มีฤทธิ์ช่วยบำรุงหัวใจ (ดอก)
9. น้ำเลี้ยงจากต้น นำมาผสมกับต้นหอม มีสรรพคุณทางยาในการนำมาใช้รักษาอาการฝีหนองได้ (น้ำเลี้ยงจากต้น)

ประโยชน์ของต้นรสสุคนธ์

1. เป็นไม้มงคล โดยมีความเชื่อว่า ผู้ที่ปลูกจะเป็นผู้ดีมีความงามบริสุทธิ์ทั้งกายและใจ จะเป็นคนมีชื่อเสียงก้าวไกลเหมือนดังเถาที่เลื้อยไปได้ไกล ผู้คนจึงนิยมปลูกไว้ตามบ้านเรือน
2. ต้น มักจะนำมาปลูกไว้เป็นไม้ดอกไม้ประดับ เนื่องจากดอกให้ทั้งความสวยงามและกลิ่นที่หอม
3. ไม้ที่ได้จากต้นหรือเถา เป็นไม้ที่มีเนื้อไม้ที่ดีจึงนำมาใช้ทำเป็นเครื่องจักสานและเครื่องใช้สอยต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี
4. เถาสามารถนำมาใช้ทำเป็นเชือกมัดหลังคาให้คงที่ หรือนำมาใช้มัดไม้สำหรับงานก่อสร้าง ส่วนเถาที่มีขนาดใหญ่ก็มักจะนำมาใช้ทำเป็นชิงช้าให้เด็กแกว่งเล่น
5. ใบแก่ นำมารูดเมือกปลาไหลได้ เพื่อให้เมือกในตัวปลาไหลนั้นหลุดออกมา

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, มูลนิธิหมอชาวบ้าน นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่ 297 (เดชา ศิริภัทร), ระบบจัดการฐานความรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้ กรมป่าไม้

อ้างอิงรูปจาก
1. https://www.ydhvn.com/
2. https://www.earth.com/

ต้นเยี่ยวหมู สรรพคุณของลำต้นใช้รักษาโรคตับอักเสบ

0
ต้นเยี่ยวหมู
ต้นเยี่ยวหมู สรรพคุณของลำต้นใช้รักษาโรคตับอักเสบ เป็นไม้ล้มลุก กิ่งก้านสีม่วงแดงมีขนปกคลุม ใบบางสีเขียวเป็นรอยย่น ดอกเป็นช่อกระจุกสีขาว ผลสีน้ำตาลทรงกระบอกมีขนขึ้นปกคลุม
ต้นเยี่ยวหมู
เป็นไม้ล้มลุก กิ่งก้านสีม่วงแดงมีขนปกคลุม ใบบางสีเขียวเป็นรอยย่น ดอกเป็นช่อกระจุกสีขาว ผลสีน้ำตาลทรงกระบอกมีขนขึ้นปกคลุม

เยี่ยวหมู

ชื่อวิทยาศาสตร์ Adenostemma lavenia (L.) Kuntze จัดอยู่ในวงศ์ วงศ์ทานตะวัน (ASTERACEAE หรือ COMPOSITAE)[1] ชื่ออื่น ๆ เซี่ยเถียนจวี๋ ฟงชี่เฉ่า (ภาษาจีนกลาง), ลินลางเช้า (ภาษาจีน), เยี่ยวหมูต้น (ภาษาไทย) เป็นต้น[1],[2]

ลักษณะของเยี่ยวหมู

  • ต้น
    – เป็นพันธุ์ไม้ประเภทล้มลุก
    – ต้นมีความสูงประมาณ 30-100 เซนติเมตร
    – ลำต้นตั้งตรงมีลักษณะรูปร่างเป็นสันหรือเป็นรูปทรงกระบอก ลำต้นมีขนขึ้นปกคลุมอยู่โดยรอบหรือบางต้นอาจจะไม่มีขนขึ้นปกคลุม
    – ลำต้นแตกกิ่งก้านที่บริเวณยอดต้น โดยกิ่งก้านนี้จะมีสีม่วงแดง และมีขนขึ้นปกคลุมเล็กน้อย
    – ที่บริเวณใกล้โคนต้นจะมีกิ่งก้านผิวเรียบเป็นมัน
    – ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด เป็นพืชที่ชอบดินร่วนซุยและต้องการความชื้น[1],[2]
  • ใบ
    – ใบมีลักษณะเป็นใบเดี่ยว โดยใบจะออกตรงข้ามกัน
    – ลักษณะรูปร่างของใบเป็นรูปไข่หรือรูปกลมรี ที่ปลายใบแหลม ตรงโคนใบสอบมีลักษณะเป็นปีกแคบไล่ไปยังก้านใบ และที่ขอบใบมีรอยจักเป็นฟันเลื่อย
    – แผ่นใบบางมีสีเป็นสีเขียว ที่ผิวใบจะเป็นรอยย่น ๆ และใบมีขนขึ้นปกคลุมทั้งด้านหน้าและด้านหลังของใบ [1],[2]
    – ใบมีขนาดความกว้างอยู่ที่ประมาณ 3-12 เซนติเมตร และมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 4-20 เซนติเมตร
    – ก้านใบมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 1-6 เซนติเมตร
  • ดอก
    – ออกดอกในลักษณะที่เป็นช่อกระจุก โดยจะออกดอกที่บริเวณปลายยอด
    – ก้านช่อดอกมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 1-3 เซนติเมตร ด้านหนึ่งของก้านช่อแยกออกเป็นช่ออีกประมาณ 2-3 ช่อ
    – ดอกย่อยมีขนาดเล็กเป็นสีขาว โดยที่ตรงปลายกลีบแยกออกเป็น 5 แฉก และที่โคนกลีบดอกนั้นจะเชื่อมติดกันเป็นท่อหลอด มีขนาดความยาวประมาณ 2.5 มิลลิเมตร
    – ดอกมีกลีบเลี้ยงดอกขนาดเล็กอยู่ตรงบริเวณตรงกึ่งกลางโคนดอก
    – ดอกมีเกสรยื่นโผล่เหนือขึ้นมาจากตัวดอกประมาณ 3-4 เส้น[1],[2]
  • ผล
    – ผล มีสีน้ำตาลและผลมีลักษณะเป็นผลแห้ง โดยผลจะมีลักษณะรูปทรงเป็นรูปกลมรียาวคล้ายกับรูปทรงกระบอก
    – ผล มีรยางค์อยู่ประมาณ 3-5 เส้น มีขนาดความยาวอยู่ที่ประมาณ 4-5 มิลลิเมตร และรยางค์เหล่านี้จะมีขนขึ้นปกคลุมอยู่[1],[2]

สรรพคุณของเยี่ยวหมู

1. ทั้งต้นนำมาใช้ทำเป็นยาแก้ปวดบวม (ทั้งต้น)[2]
2. ทั้งต้นนำมาใช้เป็นยาภายนอกสำหรับแก้ฝีหนอง อีกทั้งยังแก้พิษงูได้อีกด้วย (ทั้งต้น)[2]
3. นำมาใช้ทำเป็นยาสำหรับรักษาโรคตับอักเสบได้ แต่ในระหว่างการรักษานั้นห้ามผู้ป่วยดื่มเหล้าเด็ดขาด เพราะจะไปลดผลของยาให้มีประสิทธิภาพลดน้อยลงได้ (ทั้งต้น)[2]
4. ทั้งต้นนำมาใช้เป็นยาสำหรับขับความชื้นภายในร่างกายได้ และสามารถนำมาถอนพิษไข้ได้ด้วย (ทั้งต้น)[2]
5. ตำรายาแก้ไข้ตัวร้อน ระบุว่าให้ใช้ต้นแห้งในปริมาณประมาณ 10-20 กรัม นำมาต้มกับน้ำใช้สำหรับดื่ม (ทั้งต้น)[2]
6. ทั้งต้นนำมาใช้เป็นยารักษาอาการคออักเสบ ต่อมทอนซิลอักเสบ และหลอดลมอักเสบ (ทั้งต้น)[2]
7. ทั้งต้นมีฤทธิ์เป็นยาแก้อาการท้องร่วงได้ (ทั้งต้น)[1]
8. ทั้งต้นนำมาคั้นเอาแต่น้ำใช้สำหรับทำเป็นยาสำหรับรักษาโรคสีดวงโพรก และนำมาใช้ทำเป็นยาดื่มหลังการคลอดบุตรของสตรีได้อีกด้วย (ทั้งต้น)[1]
9. ใบนำมาใช้ทำเป็นยาสำหรับพอกแก้อาการปวดศีรษะ (ใบ)[1]
10. ในประเทศอินโดนีเซียจะนำใบมาทำเป็นยาแก้ไข้หวัดและแก้บรรเทาอาการน้ำมูกไหล (ใบ)[1]
11. ใบนำมาใช้เป็นยาใส่แผลที่บริเวณจมูกและหู (ใบ)[1]
12. ใบนำมาต้มกับน้ำกระสายยา ใช้เป็นยาในการบรรเทาอาการบวม หรือนำมาใช้รักษาโรคผิวหนังก็ได้ (ใบ)[1]
13. ใบนำมาตำจากนั้นนำไปพอกบริเวณที่มีอาการ โดยจะมีฤทธิ์เป็นยาในการแก้อาการผิวถูกแดดเผาได้ (ใบ)[1]
14. ใบนำมาใช้เป็นยาแก้อาการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ หรือตะคริวได้ (ใบ)[1]
15. น้ำคั้นจากใบใช้นำมาดื่มเป็นยาที่มีฤทธิ์ในการช่วยกระตุ้น ส่วนมากมักนำมากระตุ้นให้จาม (น้ำคั้นจากใบ)[1]
16. น้ำคั้นจากใบนำมาใช้ดื่มกับเกลือ มีฤทธิ์เป็นยาแก้อาการเจ็บคอ (น้ำคั้นจากใบ)[1]
17. รากต้มกับน้ำใช้สำหรับดื่มเป็นยาแก้อาการปวดท้องได้ (ราก)[1]

ขนาดและวิธีใช้

1. ต้นสดให้ใช้ในปริมาณครั้งละ 60-100 กรัม นำลงไปต้มกับน้ำใช้ดื่ม[2]
2. ต้นที่แห้งแล้วนั้นให้ใช้ในปริมาณครั้งละ 10-25 กรัม นำลงไปต้มกับน้ำใช้ดื่ม[2]

ประโยชน์ของต้นเยี่ยวหมู

  • ใบนำมาใช้ทำเป็นยาสระผม จะมีฤทธิ์ที่ช่วยทำให้ผมขึ้นได้เร็วขึ้น[1]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “เยี่ยว-หมู”. หน้า 667-668.
2. หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. (วิทยา บุญวรพัฒน์). “เยี่ยว-หมู-ต้น”. หน้า 470.

อ้างอิงรูปจาก
1.https://commons.wikimedia.org/
2.https://www.flickr.com/

ย่านาง สรรพคุณช่วยรักษาอาการกรดไหลย้อน

0
ย่านาง สรรพคุณช่วยรักษาอาการกรดไหลย้อน เป็นไม้เลื้อยมีเนื้อไม้ เถากลม เหนียว เมื่ออ่อนสีเขียว แก่แล้วเป็นสีเทา ใบเดี่ยว ดอกช่อ ผลสุกเป็นสีส้มอมแดง
ย่านาง
เป็นไม้เลื้อยมีเนื้อไม้ เถากลม เหนียว เมื่ออ่อนสีเขียว แก่แล้วเป็นสีเทา ใบเดี่ยว ดอกช่อ ผลสุกเป็นสีส้มอมแดง

ย่านาง

ย่านาง สรรพคุณช่วยรักษาอาการกรดไหลย้อน เป็นไม้เลื้อยมีเนื้อไม้ เถากลม เหนียว เมื่ออ่อนสีเขียว แก่แล้วเป็นสีเทา ใบเดี่ยว ดอกช่อ ผลสุกเป็นสีส้มอมแดง ชื่อสามัญ คือ Bai-ya-nang ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Limacia triandra Miers ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ คือ Cocculus triandrus Colebr., Menispermum triandrum Roxb., Tiliacora triandra Diels จัดอยู่ในวงศ์บอระเพ็ด (MENISPERMACEAE) ชื่ออื่น จ้อยนาง (เชียงใหม่) เถาย่านาง เถาวัลย์เขียว (กลาง) ยาดนาง (สุราษฎร์ธานี) ในภาคกลางนั้นจะเรียก “เถาย่านาง”

สรรพคุณใบย่านาง

  • ช่วยรักษาเนื้องอก
  • ช่วยแก้อาการเจ็บปลายลิ้น
  • ช่วยป้องกันและบำบัดรักษาโรคหัวใจ
  • ช่วยป้องกันและรักษาโรคหอบหืด
  • ช่วยรักษาโรคตับอักเสบ
  • ช่วยรักษาอาการท้องเสีย
  • ช่วยลดอาการหดเกร็งตามลำไส้
  • ช่วยรักษาอาการกรดไหลย้อน
  • ช่วยรักษาไทรอยด์เป็นพิษ
  • ช่วยบรรเทาอาการปวดท้องเฉียบพลัน
  • ช่วยแก้อาการท้องผูก ลดอาการแสบท้อง
  • ช่วยรักษาโรคกระเพาะอาหาร ลำไส้อักเสบ
  • ช่วยเพิ่มความสดชื่นให้กับร่างกาย
  • ช่วยฟื้นฟูเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย
  • ช่วยในการปรับสมดุลของร่างกาย
  • ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานโรคในร่างกาย
  • ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง
  • ช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจ
  • ช่วยในการบำรุงรักษาตับและไต
  • ช่วยรักษาและบำบัดอาการอัมพฤกษ์
  • ช่วยแก้อาการอ่อนล้า อ่อนเพลียของร่างกาย
  • ช่วยรักษาอาการเกร็ง ชัก หรือเป็นตะคริวบ่อย ๆ
  • ช่วยป้องกันโรคภูมิแพ้ ไอจาม มีน้ำมูก และเสมหะ
  • ช่วยรักษาอาการวิงเวียนศีรษะ หน้ามืด เป็นลม คลื่นไส้ อาเจียน
  • ช่วยป้องกันไม่ให้เส้นเลือดฝอยในร่างกายแตกใต้ผิวหนังได้ง่าย
  • ช่วยรักษาอาการตกกระที่ผิวเป็นจ้ำ ๆ สีน้ำตาลตามร่างกาย
  • ช่วยรักษาอาการร้อนแต่ไม่มีเหงื่อ
  • ช่วยรักษาอาการเล็บมือเล็บเท้าเปราะ
  • ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อมาลาเรีย
  • ช่วยในการลดความร้อนและแก้พิษตานซาง
  • ช่วยรักษาอาการของโรคเบาหวาน
  • ช่วยให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง
  • ราก ช่วยแก้อาการเบื่อเมา
  • ช่วยให้ผมดกดำ ชะลอการเกิดผมหงอก
  • ช่วยในการเผาผลาญไขมันและนำไปใช้เป็นพลังงาน
  • ช่วยป้องกันและลดอัตราการเกิดโรคมะเร็งชนิดต่าง ๆ
  • ช่วยลดและชะลอการเกิดริ้วและความแก่ชราอย่างได้ผล
  • ช่วยป้องกันและรักษาอาการส้นเท้าแตก เจ็บส้นเท้า
  • ช่วยรักษาอาการผิวหนังมีความผิดปกติคล้ายรอยไหม้
  • ช่วยแก้อาการเหงือกอักเสบอย่างรุนแรงและเรื้อรัง
  • ช่วยแก้อาการง่วงนอนหลังการรับประทานอาหาร
  • ช่วยในการบำรุงสายตาและรักษาโรคเกี่ยวกับตา
  • ช่วยในการลดความอ้วนได้อย่างเห็นผลและปลอดภัย
  • ช่วยแก้อาการเจ็บเหมือนมีไฟช็อต หรือมีเข็มแทง
  • ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อมาลาเรีย
  • ช่วยแก้ปัญหาเรื่องเสมหะเหนียวข้น ขาวขุ่น มีสีเหลืองหรือเขียว
  • ช่วยรักษาโรคนิ่วในไต นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ นิ่วในถุงน้ำดี
  • ช่วยรักษาอาการปัสสาวะแสบขัด ออกร้อนในทางเดินปัสสาวะ
  • ช่วยแก้อาการปัสสาวะมีสีเข้ม ปัสสาวะบ่อย หรือปัสสาวะออกมาเป็นเลือด
  • ช่วยรักษาอาการมดลูกโต อาการปวดมดลูก ตกเลือด

ประโยชน์ของใบย่านาง

  • การนำใบมาแปรรูปเป็นแคปซูล
  • การนำใบมาแปรรูปเป็นสบู่
  • การนำใบมาแปรรูปเป็นแชมพู
  • การนำมาแปรรูปเป็นเครื่องดื่มสมุนไพร
  • เป็นสมุนไพรที่นิยมนำมาเป็นเครื่องปรุงรส
  • ช่วยเพิ่มความกลมกล่อมให้อาหาร เช่น แกงหน่อไม้ ซุปหน่อไม้ แกงเลียง

วิธีทำน้ำใบย่านาง

วัตถุดิบ
– ใบ 10-20 ใบ
– ใบเตย 3 ใบ
– บัวบก 1 กำมือ
– หญ้าปักกิ่ง 3-5 ต้น
– ใบอ่อนเบญจรงค์ 1 กำมือ
– ใบเสลดพังพอน 1 กำมือ
– ว่านกาบหอย 5 ใบ
วิธีทำ
1. นำใบสมุนไพรต่าง ๆ ที่เตรียมมาตัดให้เป็นชิ้นเล็ก
2. นำใบไปโขลกหรือนำไปปั่นด้วยเครื่องปั่นให้ละเอียดจนเป็นน้ำ
3. จากนั้นนำมากรองผ่านผ้าขาวบางหรือกระชอนอีกที
4. เป็นอันเสร็จ

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

  • เป็นสมุนไพรเย็น
  • มีคลอโรฟิลล์สดจากธรรมชาติ
  • มีวิตามินที่จำเป็นต่อร่างกายอีกมากมาย เช่น วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 วิตามินซี ธาตุแคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก

คำแนะนำ

  • ในการรับประทานนั้น ควรดื่มน้ำสด ๆ ก่อนอาหารหรือตอนท้องว่างประมาณครึ่งแก้ว 3 ครั้งต่อวัน
  • เมื่อทำเสร็จแล้วควรดื่มทันที เพราะถ้าทิ้งไว้นานเกินไปจะเกิดกลิ่นเหม็นเปรี้ยว
  • สามารถนำมาแช่ตู้เย็นได้ และควรดื่มภายใน 3 วัน
  • หากดื่มแล้วรู้สึกแพ้ พะอืดพะอม ควรลดความเข้มข้นของสมุนไพรที่ใส่ลงไป
  • การรับประทานสมุนไพรอย่างเดียวนั้นไม่ใช่การแก้ไขปัญหาสุขภาพ ควรจะทำอย่างอื่นเสริมไปด้วยจะช่วยให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
  • หากรู้สึกว่ากินยาก เหม็นเขียว หรือกินแล้วรู้สึกไม่สบาย ให้นำน้ำไปผสมกับน้ำสมุนไพรชนิดอื่น ๆ เช่น ขิง ตะไคร้ ขมิ้น หรือจะผสมกับน้ำมะพร้าว น้ำมะนาว น้ำตาล

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

แหล่งอ้างอิง
หมอเขียว ใจเพชร กล้าจน

อ้างอิงรูปจาก
1. https://www.southseedbank.com/product/yanang-grass-jelly-vine-tiliacora-triandra-seeds/

สมุนไพรไมยราบ ช่วยแก้ไส้เลื่อน แก้ไข้ออกหัด

0
สมุนไพรไมยราบ ช่วยแก้ไส้เลื่อน แก้ไข้ออกหัด เป็นพืชล้มลุก ได้รับแรงสั่นสะเทือนก้านและใบจะหุบลง ดอกเป็นช่อกลมสีชมพู ฝักแห้ง มีความแบนและยาวเรียว
ไมยราบ
เป็นพืชล้มลุก ได้รับแรงสั่นสะเทือนก้านและใบจะหุบลง ดอกเป็นช่อกลมสีชมพู ฝักแห้ง มีความแบนและยาวเรียว

ไมยราบ

ไมยราบ เป็นพืชล้มลุกที่มีลักษณะพิเศษ หากได้รับแรงสั่นสะเทือน ก้านและใบก็จะตอบสนองด้วยการหุบตัวลงอย่างรวดเร็ว เป็นพืชที่จัดอยู่ในตระกูลและมีคุณสมบัติใกล้เคียงกับผักกระเฉด ในปัจจุบันได้มีการนำไปศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนามาใช้เป็นยารักษาโรคเบาหวาน จากงานวิจัยนี้ก็เป็นตัวตอกย้ำภูมิปัญญาแพทย์แผนไทยในสรรพคุณของไมยราบ ได้มีการยืนยันด้วยว่าการดื่มชาสมุนไพรตัวนี้ต่างน้ำทุกวันก็ไม่มีผลข้างเคียงหรือพิษใด ๆ ในสัตว์ทดลองก็ไม่พบถึงอาการผิดปกติแต่อย่างใด ส่วนที่นำมาใช้ คือ ต้น ราก ใบ และทุกส่วนของต้น ชื่อสามัญ คือ Sensitive plant, Sleeping grass, Shameplant ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Mimosa pudica L. ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ คือ Mimosa hispidula Kunth, Mimosa pudica var. pudica จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยสีเสียด (MIMOSOIDEAE หรือ MIMOSACEAE) ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ คือ กระทืบยอด หนามหญ้าราบ (จันทบุรี), หงับพระมาย (ชุมพร), ก้านของ (นครศรีธรรมราช), ระงับ (ภาคกลาง), หญ้าปันยอด หญ้าจิยอบ (ภาคเหนือ), กะหงับ ด้านของหงับพระพาย (ภาคใต้), หญ้าปันยอบ กะเสดโคก หญ้างับ

ลักษณะของไมยราบ

  • ลักษณะของต้น
    – ถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบอเมริกาใต้
    – ในประเทศไทยมีการนำเข้ามาโดยกรมทางหลวงเพื่อนำมาใช้คลุมหน้าดิน
    – เป็นไม้ล้มลุกอายุหลายปี
    – โดยจะแผ่ทอดเลื้อยตามพื้นดิน ซึ่งจะสูงถึง 1 เมตร
    – ต้นมีสีน้ำตาลแดง มีขนาดเล็ก
    – มีขนหยาบ ๆ ปกคลุมไปทั่วทั้งต้น
    – สามารถขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
  • ลักษณะของใบ
    – เป็นใบประกอบแบบขนนก 2 ชั้น
    – แกนกลางรวมกับก้านใบ มีความยาว 2.5-5 เซนติเมตร
    – ใบมี 1-2 ใบ มีความยาว 1.5-7 เซนติเมตร
    – ใบย่อยจะมีอยู่ประมาณ 12-25 คู่ มีความคล้ายรูปขอบขนานหรือรูปเคียว
    – ใบย่อย มีความยาว 0.5-1 เซนติเมตร
  • ลักษณะของดอก
    – ออกดอกเป็นช่อกลมสีชมพู
    – เป็นดอกเดี่ยวหรืออาจจะเป็นดอกคู่
    – ออกดอกที่บริเวณซอกใบ
    – ก้านดอกมีความยาว 2.5-4 เซนติเมตร
    – ดอกมีจำนวนมาก ไม่มีก้าน
    – มีกลีบเลี้ยงที่ค่อนข้างเล็ก
    – กลีบดอกจะคล้ายกับรูประฆังแคบ มีความยาว 2 มิลลิเมตร
    – กลีบดอกจะมนกลม มีความยาว 0.5-0.8 มิลลิเมตร
    – มีเกสรตัวผู้อยู่ 4 อัน
    – มีรังไข่ยาวประมาณ 0.5 มิลลิกรัม
  • ลักษณะของผล
    – เป็นฝักแห้ง มีความแบนและยาวเรียว
    – ในแต่ละช่อดอกจะมีหลายฝัก
    – เป็นรูปขอบขนาน มีความยาว 1.5-1.8 เซนติเมตร
    – มีขนแข็งปกคลุมตามสันขอบผล
    – เมล็ดมีสีน้ำตาลอ่อน มีความแบนเป็นสันนูนตรงกลาง
    – ในหนึ่งผลนั้นจะมีเมล็ด 2-5 เมล็ด
    – ผลจะหักตามรอยคอด

สรรพคุณของไมยราบ

  • ช่วยบำรุงร่างกาย
  • ช่วยรักษาโรคกษัย
  • ช่วยแก้เบาหวาน
  • ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด
  • ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล
  • ช่วยแก้เด็กเป็นตานขโมย
  • ช่วยแก้ตานซางในเด็กเล็ก
  • ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ
  • ช่วยแก้อาการนอนไม่หลับ
  • ช่วยทำให้สงบประสาท
  • ช่วยแก้อาการตาบวม ตาเจ็บ
  • ช่วยแก้ไข้ออกหัด
  • ช่วยแก้ลำไส้อักเสบ
  • ช่วยแก้กระเพาะอาหารอักเสบ
  • ช่วยแก้ทางเดินปัสสาวะอักเสบ
  • ช่วยขับปัสสาวะ
  • ช่วยแก้นิ่ว ขับนิ่ว
  • ช่วยแก้ไส้เลื่อน
  • ช่วยขับระดูขาว
  • ช่วยแก้ไตพิการ
  • ช่วยแก้อาการผื่นคันตามตัว
  • ช่วยแก้อาการปวดข้อ
  • ช่วยแก้อาการบวมตามเนื้อตามตัว
  • ช่วยแก้อาการปวดหลังปวดเอว
  • ช่วยแก้อาการปวดหลัง
  • ช่วยแก้หัด
  • ช่วยขับน้ำนม
  • ช่วยขับเสมหะ
  • ช่วยแก้อาการไอ
  • ช่วยทำให้ตาสว่าง
  • ช่วยในการระงับประสาท
  • ช่วยแก้หลอดลมอักเสบเรื้อรัง
  • ช่วยบำรุงกระเพาะอาหาร
  • ช่วยแก้อาการบิด ท้องร่วง
  • ช่วยแก้ริดสีดวงทวาร
  • ช่วยแก้ปัญหาระบบย่อยอาหารของเด็กไม่ดี
  • ช่วยรักษาโรคปวดเวลามีประจำเดือน
  • ช่วยแก้เริม
  • ช่วยแก้ไฟลามทุ่ง
  • ช่วยรักษาโรคพุพอง
  • ช่วยแก้อาการงูสวัด
  • ช่วยรักษาแผลฝีหนอง
  • ช่วยรักษาแผลเรื้อรังต่าง ๆ
  • ช่วยแก้อาการปวดบวมได้

ประโยชน์ของไมยราบ

  • สามารถนำมาใช้ปลูกเพื่อคลุมหน้าดินได้
  • สามารถนำมาใช้ทำเป็นรั้วบ้าน ไม้ค้ำผักได้
  • สามารถนำมาใช้ทำเป็นฟืน หรือใช้เผาถ่านเพื่อประกอบอาหารได้
  • สามารถนำมาใช้สุมไฟให้วัวให้ควาย เพื่อขับไล่ยุง ไร ในช่วงพลบค่ำได้
  • สามารถนำมาทำเป็นสิ่งประดิษฐ์ได้ เช่น การทำกรอบรูป การทำเป็นกระถางต้นไม้ในรูปแบบต่าง ๆ
  • สามารถดัดเป็นรูปทรงต่าง ๆ ได้ เช่น ใช้ทำเป็นกระเช้าหรือกระถางใส่กล้วยไม้ หรือไม้ดอกไม้ประดับ
  • สามารถ นำมาใช้ทำโครงกระเป๋าต่าง ๆ ได้

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

แหล่งอ้างอิง
นพพล เกตุประสาท หน่วยอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พืชพรรณ ฝ่ายปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน, สารานุกรมพืชในประเทศไทย (The Encyclopedia of Plants in Thailand), ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้ (เต็ม สมิตินันทน์), เว็บไซต์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, เว็บไซต์มูลนิธิสุขภาพไทย, เว็บไซต์สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน), www.gotoknow.org (คุณอานนท์ ภาคมาลี), www.jamrat.net (จำรัส เซ็นนิล)

อ้างอิงรูปจาก
1. https://portal.wiktrop.org/species/show/212

มะเขือดง ใบช่วยรักษาโรคเกาต์

0
มะเขือดง
มะเขือดง ใบช่วยรักษาโรคเกาต์ เป็นไม้พุ่มผลัดใบ ใบเดี่ยวออกเรียงสลับ ดอกออกเป็นช่อสีขาว ผลสดทรงกลม มีเมล็ดกลมอยู่ในผล ผิวจะมีขีดประเล็ก
มะเขือดง
เป็นไม้พุ่มผลัดใบ ใบเดี่ยวออกเรียงสลับ ดอกออกเป็นช่อสีขาว ผลสดทรงกลม มีเมล็ดกลมอยู่ในผล ผิวจะมีขีดประเล็ก

มะเขือดง

ชื่อสามัญ Turkey Berry, Mullein Nightshade, Potato Tree, Salvadora, Velvet Nightshade, Canary Nightshade, Wild Tobacco [2] ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Solanum erianthum D. Don (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ คือ Solanum verbascifolium Linn., Solanum mauritianum Blanco, Solanum Pubescens Roxb.) อยู่วงศ์มะเขือ (SOLANACEAE)[2] ชื่อในท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น แหย่เยียนเยวียะ (จีนกลาง), เก๊าแป้ง (ไทลื้อ), ลำผะแป้ง (ลั้วะ), ลำแป้ง (ลั้วะ), ทิ่นหุ้งจา (เมี่ยน), ตะหมากบูแคเหมาะ (กะเหรี่ยงแดง), ลิ้มเม่อเจ้อ (กะเหรี่ยงจังหวัดแม่ฮ่องสอน), สะกอปรึ่ย (กะเหรี่ยงจังหวัดเชียงใหม่), ฝ่าแป้ง (คนเมือง), ขาตาย (ภาคใต้), ดับยาง (ภาคกลาง), หูควาย (จังหวัดยะลา), สะแป้ง (จังหวัดสิงห์บุรี, จังหวัดสุโขทัย), ฝ้าแป้ง (จังหวัดสุโขทัย), ดับยาง (จังหวัดสุโขทัย), มะเขือดง (จังหวัดขอนแก่น), เอี๋ยเอียงเฮียะ (จีนแต้จิ๋ว), ด่อเปอฮุ๊บ (ปะหล่อง), ลำฝาแป้ง (ลั้วะ), ลำล่อม (ลั้วะ), ชู้ด (ขมุ), ด่งเย่ก๊ะ (ม้ง), สะกอปรื่อ (กะเหรี่ยงจังหวัดแม่ฮ่องสอน), มั่งโพะไป่ (กะเหรี่ยงจังหวัดแม่ฮ่องสอน), ซิตะกอ (กะเหรี่ยงจังหวัดเชียงใหม่), หูตวาย (ภาคใต้), ขากะอ้าย (ภาคใต้), ฝ่าแป้ง (ภาคเหนือ), ส้มแป้น (จังหวัดเพชรบุรี), มะเขือดง (จังหวัดสุโขทัย), ฉับแป้ง (จังหวัดสุโขทัย), ผ่าแป้ง (จังหวัดสุโขทัย), ส่างโมง (เลย) [2],[4]

ลักษณะของมะเขือดง

  • ต้น เป็นไม้พุ่มผลัดใบตามฤดูกาล ตันสามารถสูงได้ถึงประมาณ 1-4 เมตร เปลือกต้นจะมีลักษณะเป็นสีขาว มีขนอยู่ทั้งต้น จะมีเขตการกระจายพันธุ์จากที่ทางตอนใต้ของทวีปอเมริกาถึงที่ประเทศอินเดีย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทางตอนเหนือของทวีปออสเตรเลีย สำหรับประเทศไทยสามารถพบเจอขึ้นได้ทั่วไปที่ตามชายป่าละเมาะและที่เปิด ที่รกร้างทั่วไป ที่มีความสูงใกล้กับน้ำทะเลถึงที่มีความสูง 1,000 เมตร[1],[2]
  • ใบ เป็นใบเดี่ยว ใบจะออกเรียงสลับกัน ใบเป็นรูปไข่ ที่ขอบใบจะเรียบ ใบกว้างประมาณ 8-13 เซนติเมตร มีความยาวประมาณ 10-25 เซนติเมตร ผิวใบอ่อนจะนุ่ม ใบอ่อนมีขนขึ้นหนาแน่น ที่หลังใบจะเป็นสีขาว ท้องใบเป็นสีดอกเลา ก้านใบมีความยาวประมาณ 3-6 เซนติเมตร[2]
  • ดอก ออกเป็นช่อ ออกดอกที่ตรงบริเวณปลายกิ่ง จะแยกเป็น 2 ช่อ ก้านช่อดอกมีความยาวประมาณ 5-10 เซนติเมตร มีกลีบรองดอกอยู่ 5 กลีบ จะเชื่อมกันตรงที่ฐาน มีกลีบดอกอยู่ 5 กลีบ กลีบดอกเป็นสีขาว อับเรณูมีลักษณะเป็นสีเหลือง ดอกจะมีเกสรเพศผู้อยู่ 5 อัน มีเกสรเพศเมียอยู่ 1 อัน ดอกบานกว้างประมาณ 2 เซนติเมตร[2]
  • ผล เป็นผลสด ผลเป็นรูปทรงกลม มีขนาดประมาณ 1.5 เซนติเมตร มีเมล็ดกลมอยู่ในผล ผิวจะมีขีดประเล็ก[1]

สรรพคุณมะเขือดง

1. สามารถใช้เป็นยารักษากลากเกลื้อน แผลเปื่อย ฝีได้ โดยนำใบสดมาตำให้ละเอียด ใช้พอกตรงบริเวณที่เป็น หรือนำมาต้มกับน้ำให้เข้มข้น ใช้ชะล้างตรงบริเวณที่เป็นกลากเกลื้อน แผลเปื่อย ฝี (ใบ)[2]
2. สามารถใช้ช่วยรักษาโรคเกาต์ได้ โดยนำใบสดมาตำให้ละเอียด แล้วก็เอามาคั่วกับเหล้า ใช้ทาถูนวดตรงบริเวณที่เป็น (ใบ)[2]
3. สามารถนำทั้งต้นมาใช้เป็นยาช่วยลดการอักเสบจากแผลที่เกิดเพราะแผลไฟไหม้ได้ (ทั้งต้น)[2]
4. สามารถนำใบมาใช้เป็นยาห้ามเลือดได้ (ใบ)[2]
5. นำใบมาต้มน้ำร่วมกับลำต้นเป เครือไฮ่มวย ต้นสามร้อยยอด ใบก้านเหลือง ใบว่านน้ำเล็ก วงเดียตม ต้นถ้าทางเมีย ใบเดื่อฮาก ใบหนาดหลวง (ถ้าหามาได้ไม่ครบให้ใช้เท่าที่หามาได้) แล้วเอามาให้สตรีหลังคลอดบุตรที่อยู่ไฟใช้อาบสามารถช่วยให้มดลูกเข้าอู่เร็วขึ้นได้ (ใบ)[4]
6. สามารถนำรากมาใช้เป็นยาขับระดูของสตรี แก้โรคมุตกิด เป็นหนอง และมีน้ำคาวปลาได้ โดยนำรากสดประมาณ 90-120 กรัม มาทุบให้แหลก แล้วเอามาต้มกับน้ำ 3 แก้ว เป็นเวลา 30 นาที ใช้แบ่งดื่มก่อนอาหารเช้า ก่อนอาหารเย็น (ราก)[2],[3]
7. นำยอดอ่อนมาแช่กับน้ำดื่มร่วมกับไพล ยอดหญ้าตดหมา ลำต้นคูน สามารถใช้เป็นยาแก้อาการท้องอืดได้ (ยอดอ่อน)[4]
8. นำใบมาใช้เป็นยาแก้อาการปวดฟัน และปวดศีรษะได้ (ใบ)[2],[3]
9. ราก มีสรรพคุณที่เป็นยาลดระดับน้ำตาลในเลือด โดยนำรากสดประมาณ 90-120 กรัม มาทุบให้แหลก แล้วเอามาต้มกับน้ำ 3 แก้ว เป็นเวลา 30 นาที ใช้แบ่งดื่มก่อนอาหารเช้า ก่อนอาหารเย็น (ราก)[3]
10. สามารถใช้ใบเป็นยาแก้ฟกช้ำได้ (ใบ)[2]
11. เปลือกสามารถใช้เป็นยารักษาโรคผิวหนังได้ (เปลือก)[3]
12. ใบสามารถใช้เป็นยารักษาอาการตัวบวมได้ (ใบ)[2]
13. ใบ มีสรรพคุณที่ทำให้แท้งบุตร (ใบ)[3]
14. ราก ใช้เป็นยารักษาโรคบิด และอาการท้องร่วงได้ (ราก)[2]
15. ใบ ใช้เป็นยาพอกรักษาแผลเปื่อยในปาก ผิวหนังอักเสบ แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก แผลในจมูก แผลเปื่อย (ใบ)[2],[3]
16. สามารถนำราก หรือใบ มาขยี้แล้วเอามาแช่น้ำกับมะแคว้งขม ใช้ดื่มเป็นยาแก้อาหารเป็นพิษ อาการคลื่นไส้ได้ (ราก, ใบ)[4]
17. สามารถใช้เป็นยารักษาโรควัณโรคที่ต่อมน้ำเหลืองตรงที่ตามบริเวณคอในระยะเริ่มแรก โดยนำใบสดประมาณ 15-20 กรัม มาล้างให้สะอาด แล้วเอามาหั่นเป็นชิ้นเล็ก แล้วใช้ไข่เปลือกสีขาว 1 ฟอง มาใส่น้ำกับเหล้าอย่างละเท่า ๆ กัน เอามาต้มกับน้ำทานวันละ 2-3 ครั้ง (ใบ)[2]

ประโยชน์มะเขือดง

1. นำต้นไปเผาไฟให้เป็นถ่านแล้วนำมาใช้เป็นส่วนผสมทำดินปืน หรือเอาต้นไปตากแห้งแล้วเอาไปทำดินปืน[4]
2. ชาวเมี่ยนนำกิ่งที่มีลักษณะเป็นง่าม มาเสียบกับดิน ใช้เป็นที่ตั้งขันเพื่อเผากระดาษให้บรรพบุรุษในพิธีเลี้ยงผี[4]
3. นำใบมาขยำแล้วใช้ล้างจาน สามารถช่วยขจัดคราบอาหารได้[4]
4. นำผลมาตำแล้วคั้นเอาน้ำมาให้วัวกับควายทานเป็นยาแก้โรคขี้ขาว[4]
5. ชาวลั้วะนำลำต้นมาใช้ทำเป็นฟืน[4]
6. นำใบมาใช้รองพื้นถั่วเน่าหมักตากแดด สามารถป้องกันไม่ให้ถั่วเน่าติดกับแผงตากได้[4]
7. สามารถนำใบมะเขือมาใส่ในเล้าไก่ สามารถช่วยป้องกันตัวไรได้[4]

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

  • จากการวิจัยปรากฏว่าผลจะมีสารในกลุ่มสเตียรอยด์ที่มีชื่อว่า Solasodine อยู่ปริมาณสูง นำมาใช้สังเคราะห์เป็นยาคุมกำเนิดได้ แต่ก็ควรมีการศึกษาวิจัยเพื่อผลิตเป็นยาต่อ[1]
  • จะมีฤทธิ์กับหัวใจ โดยจะมีผลที่ทำให้หัวใจของกระต่ายบีบตัว (ไม่เต็มที่) แต่บางส่วนก็จะค่อย ๆ เข้าสู่ภาวะปกติทีละส่วนทีละส่วน[2]
  • ฤทธิ์ที่ทางเภสัชวิทยาที่พบ คือ ฤทธิ์ที่ลดระดับน้ำตาลในเลือด จะมีฤทธิ์ที่เหมือนกับวิตามินดี สามารถช่วยต้านเชื้อแบคทีเรียได้[3]
  • พบสารเคมี solaverbascine, solasodine monoglucoside, solamargine, solaverine, diosgenin, solasonine, solasodine [3] ที่ผลง กิ่ง ใบ ผลมี solasodine, diosgenin และยังพบว่าในใบมี tomatidenol ส่วนในกิ่งกับใบมี solasonine ส่วนในใบกับรากมี solasonine, solamergine, solasodine monoglucoside [2]
  • ในปี ค.ศ.1991 ประเทศเม็กซิโก ได้มีการทำการทดลองใช้สารสกัดที่ได้ในกระต่ายทดลองจำนวน 27 ตัว ด้วยการทดลองเปรียบเทียบกับยา tolbutamide โดยทดลองกับพืชต่าง 12 ชนิด ผลการทดลองปรากฏว่า สามารถช่วยลดน้ำตาลในเลือดได้ถึง 21.1% มากกว่ายา tolbutamide ที่ลดได้แค่เพียง 14.3%[3]
  • จะมีฤทธิ์กับระบบประสาทส่วนกลาง โดยจะมีผลในการช่วยเสริมฤทธิ์ของยา barbiturate ทำให้สามารถยืดเวลาการนอนของหนูถีบจักรได้ชัด[2]
  • สารที่สกัดได้จากใบกับกิ่งด้วยการต้มด้วยน้ำจะไม่มีผลกับลำไส้เล็กส่วนปลายของหนูตะเภา แต่มีฤทธิ์ที่ทำให้ลำไส้เล็กส่วนต้นของกระต่ายคลายตัวช่วงแรก และก็จะเกิดอาการเกร็งในช่วงระยะเวลาต่อมา และยังมีฤทธิ์ที่กระตุ้นอย่างอ่อนกับต่อมดลูกของหนูขาวที่กำลังมีท้อง และกล้ามเนื้อลายหน้าท้องของคางคก[2]
  • สาร solamergine, solasoine , tomatidenol, solasodine จะมีฤทธิ์ที่สามารถยับยั้งเชื้อราบางชนิดได้ อย่างเช่น Polypordus, Claviceps. Rhizoctonia, Sclerotinia, Piricularia [2]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ. (คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “ช้าแป้น”. หน้า 189.
2. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “ช้าแป้น”. หน้า 265-267.
3. หนังสือสมุนไพรบำบัดเบาหวาน 150 ชนิด. (เภสัชกรหญิง จุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก). “ช้าแป้น”. หน้า 72-73.
4. โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง, สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน). “ดับยาง, ฉับแป้ง, ฝ่าแป้ง”. อ้างอิงใน : หนังสือชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : eherb.hrdi.or.th. [06 ม.ค. 2015].

อ้างอิงรูปจาก
1. https://identify.plantnet.org/
2. https://www.inaturalist.org/

ยูคาลิปตัส ช่วยบรรเทาอาการภูมิแพ้ แก้ไอ

0
ยูคาลิปตัส
ยูคาลิปตัส ช่วยบรรเทาอาการภูมิแพ้ แก้ไอ เป็นไม้ยืนต้น ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง ดอกเดี่ยวออกเป็นกระจุก สีขาว สีเหลืองอ่อน ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่เป็นสีน้ำตาล เปลือกผลหนา
ยูคาลิปตัส
เป็นไม้ยืนต้น ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง ดอกเดี่ยวออกเป็นกระจุก สีขาว สีเหลืองอ่อน ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่เป็นสีน้ำตาล เปลือกผลหนา

ยูคาลิปตัส

ชื่อสามัญ Eucalyptus[4] ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Eucalyptus globulus Labill. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ คือ Eucalyptus gigantea Dehnh., Eucalyptus glauca A.Cunn. ex DC., Eucalyptus globulosus St.-Lag., Eucalyptus globulus subsp. globulus, Eucalyptus maidenii subsp. globulus (Labill.) J.B.Kirkp., Eucalyptus perfoliata Desf., Eucalyptus pulverulenta Link) อยู่วงศ์ชมพู่ (MYRTACEAE)[1],[2] ชื่อในท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น หนานอัน (จีนกลาง), ยูคาลิป (ไทย), น้ำมันเขียว (ไทย), อันเยี๊ยะ (จีนกลาง), โกฐจุฬารส (ไทย), มันเขียว (ไทย) [1],[2]

หมายเหตุ
ต้นยูคาลิปตัสที่ปลูกทั่วไปมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Eucalyptus camaldulensis Dehnh. เป็นคนละชนิดกับที่กำลังจะกล่าวถึงในบทความนี้ (ชนิดที่ใช้ทำยามีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Eucalyptus globulus Labill.)[3]

ลักษณะของยูคาลิปตัส

  • ต้น เป็นไม้ยืนต้น ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง ต้นสูงได้ถึงประมาณ 10-25 เมตร จะมีเรือนยอดเป็นพุ่มหนาทึบมีลักษณะค่อนข้างกลม แตกกิ่งก้านเยอะ เปลือกต้นจะบางเรียบและเป็นมัน ลอกง่าย เปลือกต้นมีลักษณะเป็นสีน้ำตาลอ่อนปนสีขาว สีเทาสลับขาวและสีน้ำตาลแดงเป็นบางที่ เปลือกนอกแตกร่อนเป็นแผ่น หลุดจากผิวลำต้น ถ้าแห้งจะลอกง่าย มีกิ่งก้านเล็กและเป็นเหลี่ยม มีจุดตากลม[1],[2]
  • ใบ เป็นใบเดี่ยว ใบออกเรียงสลับกันเป็นคู่ ใบจะห้อยลง ใบเป็นรูปหอก ที่ปลายใบจะแหลม ใบกว้างประมาณ 2-7 เซนติเมตร มีความยาวประมาณ 12-30 เซนติเมตร มีแผ่นใบหนาและเป็นสีเขียวอมน้ำเงิน มีผงคล้ายกับแป้งปกคลุม เห็นเส้นใบชัด มีก้านใบสั้น ก้านใบมีความยาวประมาณ 2 เซนติเมตร[1],[2]
  • ดอก ออกเป็นดอกเดี่ยวหรือจะเป็นกระจุก ออกดอกที่ตามง่ามใบ มีดอกอยู่ประมาณ 2-3 ดอก ดอกมีลักษณะเป็นสีขาว สีเหลืองอ่อน มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 4 เซนติเมตร มีเกสรเพศผู้อยู่หลายก้าน ออกดอกเกือบทั้งปี[1],[2]
  • ผล เป็นรูปครึ่งวงกลมหรือจะคล้ายกับรูปถ้วย ที่ปลายผลจะแหลม มีผลอ่อนสีเขียว ผลแก่เป็นสีน้ำตาล มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.8-2 เซนติเมตร มีเปลือกผลที่หนา จะมีรอยเส้นสี่เหลี่ยมอยู่ 4 เส้น ที่ปลายผลของผลแก่จะแยกออก[1],[2]

สรรพคุณยูคาลิปตัส

1. ใบ สามารถช่วยแก้ฝีหัวช้าง ฝีมีหนองอักเสบได้ (ใบ)[1]
2. สามารถช่วยแก้กระเพาะปัสสาวะอักเสบได้ (ใบ)[1]
3. สามารถช่วยบรรเทาอาการข้ออักเสบได้ (ใบ)[2]
4. สามารถนำน้ำมันมาใช้ทาคอ ช่วยแก้ไอ หรือนำมาใช้อมแก้หวัดคัดจมูกได้[3]
5. ใบกับเปลือกราก มีรสขมเผ็ด มีกลิ่นหอม จะเป็นยาเย็น ออกฤทธิ์กับปอด ลำไส้ ทางเดินปัสสาวะ สามารถใช้ใบเป็นยาแก้ไข้ ไข้หวัดใหญ่ ไข้หวัดติดเชื้อ (ใบ)[1],[3]
6. สามารถนำน้ำมันมาทาถูนวดที่ตามอวัยวะ แก้อาการฟกช้ำได้[3]
7. สามารถช่วยแก้โรคผิวหนัง ติดเชื้อไวรัสบริเวณผิวหนัง ผดผื่นคัน ผิวหนังอักเสบ กลากเกลื้อน (ใบ)[1]
8. สามารถช่วยรักษาลำไส้อักเสบ และแก้บิดได้ (ใบ)[1]
9. นำน้ำมันที่กลั่นจากใบสด 0.5 มิลลิเมตร (ประมาณ 8 หยด) มาทานหรือใช้ทำเป็นยาอม สามารถช่วยขับเสมหะได้ (ใบ)[2],[3]
10. นำน้ำมันที่กลั่นจากใบสด 0.5 มิลลิเมตร (ประมาณ 8 หยด) มาทานหรือใช้ทำเป็นยาอม สามารถใช้เป็นยาแก้ไอได้ (ใบ)[2]

หมายเหตุ
ให้นำใบแห้งครั้งละ 10-15 กรัม มาต้มกับน้ำทานหรือใช้เข้าในตำรับยาอื่น ถ้าใช้ภายนอกให้กะตามความเหมาะสม ถ้าเป็นใบสดให้ใช้ครั้งละ 18-30 กรัม[1]

ประโยชน์ยูคาลิปตัส

1. ใช้เผาถ่าน ด้วยการนำฟืนจากไม้โดยจะให้พลังงานความร้อนถึง 4,800 แคลอรีต่อกรัม และถ่านให้พลังงานความร้อนถึง 7,400 แคลอรีต่อกรัม ใกล้เคียงกับไม้โกงกางที่เป็นถ่านไม้ชั้นดีที่สุด [4]
2. สามารถนำเนื้อไม้มาทำเสา เครื่องใช้สอย ทำเครื่องเรือน ทำเสาเข็ม กระดาษ คอกเลี้ยงสัตว์ ทำรั้ว เฟอร์นิเจอร์ สร้างบ้าน วัสดุก่อสร้างได้ แต่จะต้องอาบน้ำยาเพื่อเป็นการรักษาเนื้อไม้ไว้ก่อน จะช่วยยืดอายุการใช้งานให้นานขึ้น [4]
3. สามารถนำเปลือกไม้มาบดละเอียดผสมขี้เลื้อย กาว ใช้ทำธูปถ้า และผสมกับกำมะถัน สามารถทำยากันยุงได้[5]
4. สามารถนำใบมาสกัดเป็นน้ำมัน ไอระเหยแก้หวัด น้ำยาหอมระเหยได้[4]
5. ใช้ทำยาไล่ยุง ฆ่าแมลง ฆ่ายุงได้ โดยนำใบสดประมาณ 1 กำมือ มาขยี้ จะทำกลิ่นน้ำมันออกมา ช่วยไล่ยุง ไล่แมลงได้

ประโยชน์ของน้ำมันยูคาลิปตัส

  • สามารถช่วยบรรเทาอาการหวัด ไอ หวัด ภูมิแพ้ คัดจมูก แก้อาการปวดศีรษะจากหวัดไซนัส ทำให้หายใจโล่ง
  • ช่วยแก้เจ็บคอ ช่วยทำให้รู้สึกสดชื่น และใช้เป็นยาธาตุ
  • ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทาน
  • บรรเทาแผลสด แผลไฟไหม้ แผลติดเชื้อ หรือใช้ทาถูนวดแก้ปวดกล้ามเนื้อได้

วิธีใช้น้ำมัน

ใช้ผสมน้ำมันพื้นฐาน น้ำมันนวด น้ำมันหอมระเหยต่าง ๆ ได้เกือบจะทุกชนิด อย่างเช่น น้ำมันโจโจ้บา น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ น้ำมันองุ่น น้ำมันมะกอก น้ำมันเมล็ดมะรุม น้ำมันสวีทอัลมอนด์หรือน้ำมันพืช ที่เป็น Cosmetic grade โดยอัตราส่วนในการใช้น้ำมัน ถ้าใช้กับผิวหน้าไม่ควรใช้เกิน 1% ถ้าใช้กับผิวกายไม่ควรใช้เกิน 3%) หรือหยดลงอ่างอาบน้ำอุ่น สามารถช่วยลดอาการหวัด ปวดกล้ามเนื้อ แก้แพ้อากาศ ไซนัส ปวดข้อและเมื่อยล้า ปวดศีรษะ โดยนำมาผสมครีมหรือโลชันนำมาใช้ทาเพื่อลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อและช่วยทำให้แผลหายเร็วขึ้น และสามารถใช้ใส่โคมไฟฟ้าอโรมาบุหงา ผ้าเช็ดหน้า ไอระเหยจะช่วยลดอาการจามเพราะแพ้อากาศหรือเพราะเป็นหวัดได้ดี ช่วยทำให้หายใจโล่งมากขึ้น ทำให้มีสมาธิดีขึ้น ช่วยขับไล่แมลง

คำแนะนำการใช้น้ำมัน

ให้ใช้ภายนอก ไม่ควรทาน ห้ามสูดดม ห้ามสัมผัสโดยตรง ต้องทำให้เจือจางก่อน เพราะมีความเข้มข้นสูง ถ้าเข้าตาให้นำน้ำสะอาดมาล้างตาหลาย ๆ ครั้ง แล้วรีบไปพบแพทย์ ถ้าโดนผิวหนังต้องรีบล้างออกด้วยน้ำสบู่ ไม่งั้นอาจเกิดอาการแพ้ ไม่ควรใช้ในปริมาณที่เยอะเกินไป เนื่องจากจะทำให้ปวดศีรษะ ผู้ป่วยเรื้อรังที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับตับ ไต กระเพาะอาหาร ผู้ที่เป็นผู้ป่วยเบาหวานประเภทที่ต้องพึ่งอินซูลิน โรคลมบ้าหมู โรคความดันโลหิตสูงหรือต่ำ และสตรีที่มีครรภ์หรือสตรีที่ต้องให้นมบุตรอายุต่ำกว่า 5 ปีก็ไม่ควรใช้

ข้อควรระวังในการใช้

  • ถ้าใช้ในปริมาณที่มากเกินไป จะเกิดอาการระคายเคืองทางเดินอาหาร[2]
  • น้ำมันที่ได้จากการสกัด ห้ามทานเกิน 3.5 ซีซีต่อ 1 ครั้ง เนื่องจากจะทำให้มีอาการเป็นพิษกับร่างกาย[1]

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

  • สารสกัดที่ได้ ยับยั้งเชื้อ Staphylo coccus ได้ ฤทธิ์ที่ยับยั้งเชื้อขึ้นอยู่ที่ความเข้มข้นของสารสกัด[1]
  • สาร Oleum Eucalypti เข้มข้น 6% ช่วยยับยั้งเชื้อวัณโรค Rv, H37 ได้[1]
  • สารสกัดที่ได้ ช่วยดับพิษจากเชื้อบาดทะยัก เชื้อคอตีบได้ ด้วยการนำสารสกัดมาใช้ทำเป็นยาฉีดกระต่ายที่ติดเชื้อบาดทะยัก หรือติดเชื้อคอตีบ อัตราส่วน 0.2 มิลลิกรัมต่อ 1 กิโลกรัม ปรากฏว่าสามารถช่วยยับยั้งการติดเชื้อบาดทะยัก และเชื้อคอตีบได้ และไม่แสดงพิษของเชื้อที่ติดในร่างกายนาน 2 สัปดาห์[1]
  • สารสกัดที่ได้ จะมีฤทธิ์ที่สามารถขับพยาธิปากขอได้[1]
  • พบน้ำมันหอมระเหยประมาณ 0.92-2.89% ในใบ Oleum Eucalypti ประกอบไปด้วยสาร เช่น 1-Acely 1-4 isopropylide-necyclopentene, Pinocarveol, Pinene, Aromadendrene, Quercitrinm Quercetin Rutin, Cuminaldehyde, Pinocarvon, Cineole และพบ Guaiacol Globulol., Eucalyptin, Tannin ในใบด้วย [1]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. “ยูคาลิปตัส”. (วิทยา บุญวรพัฒน์). หน้า 468.
2. สรรพคุณสมุนไพร 200 ชนิด, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “ยูคาลิป”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.rspg.or.th/plants_data/herbs/. [22 พ.ค. 2014].
3. ฐานข้อมูลน้ำมันหอมระเหยไทย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.). “ยูคาลิป”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.tistr.or.th/essentialoils/. [22 พ.ค. 2014].
4. งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, โรงเรียนดาราพิทยาคม ตำบลบ้านดารา อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์. “ยูคาลิปตัส”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.drpk.ac.th/botany/. [22 พ.ค. 2014].
5. โรงเรียนสองแคววิทยาคม. “ยูคาลิปตัส”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.songkaew.ac.th. [22 พ.ค. 2014].

อ้างอิงรูปจาก
1. https://plantamus.com/

ต้นพุดซ้อน ใช้ทารักษาโรคผิวหนัง

0
ต้นพุดซ้อน
ต้นพุดซ้อน ใชทารักษาโรคผิวหนัง เป็นไม้พุ่มเตี้ยขนาดเล็ก ดอกเดี่ยวขนาดใหญ่สีขาว มีกลิ่นหอม ผลสุกเป็นสีเหลืองทองหรือจะเป็นสีส้มถึงแดง เมล็ดมีเนื้อเยื่อหุ้มสีแดง
ต้นพุดซ้อน
เป็นไม้พุ่มเตี้ยขนาดเล็ก ดอกเดี่ยวขนาดใหญ่สีขาว มีกลิ่นหอม ผลสุกเป็นสีเหลืองทองหรือจะเป็นสีส้มถึงแดง เมล็ดมีเนื้อเยื่อหุ้มสีแดง

พุดซ้อน

พุดซ้อน มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ในประเทศจีน[4] บ้างว่าเป็นพรรณไม้ดั้งเดิมของบ้านเรา[1] ชื่อสามัญ Gerdenia, Kaca piring, Bunga cina (มาเลเซีย), Cape jasmine, Gareden gardenia [1],[2],[4] ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Gardenia jasminoides J.Ellis (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ คือ Gardenia augusta Merr., Gardenia florida L., Gardenia grandiflora Siebold ex Zucc., Gardenia radicans Thunb.) อยู่วงศ์เข็ม (RUBIACEAE)[1],[5] มีชื่อในท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น จือจื่อ (จีนกลาง), พุดซ้อน (ไทย), พุดจีน (ไทย), พุดจีบ (ภาคกลาง), พุดสา (ภาคกลาง), พุทธรักษา (จังหวัดราชบุรี), แคถวา (จังหวัดเชียงใหม่), สุ่ยจือจื่อ (จีนกลาง), กีจื้อ (จีนกลาง), พุดใหญ่ (ไทย), พุด (ไทย), พุดสวน (ภาคกลาง), พุดฝรั่ง (จังหวัดกรุงเทพมหานคร), พุดป่า (จังหวัดลำปาง), เค็ดถวา (จังหวัดเชียงใหม่)[1],[2],[3],[4],[6]

ลักษณะของพุดซ้อน

  • ต้น เป็นไม้พุ่มเตี้ยหรือเป็นไม้ยืนต้นที่มีขนาดเล็ก สามารถสูงได้ถึงประมาณ 1-2 เมตร โดยทั่วไปมีลักษณะคล้ายกับต้นพุดจีบ ต่างที่ไม่มีสีขาวอยู่ในต้นกับใบเหมือนพุดจีบ ลำต้นจะแตกกิ่งก้านเยอะ ลำต้นกับกิ่งก้านเป็นสีเขียว มีใบขึ้นดกและหนาทึบ รากเป็นสีเหลืองอ่อน นิยมขยายพันธุ์โดยการตอนกิ่ง ชอบแสงแดดจัด ต้องการความชื้นสูง ถ้าปลูกไว้ในที่มีแสงแดดไม่เพียงพอก็จะทำให้ไม่ค่อยออกดอก การตัดแต่งทรงพุ่มให้โปร่งสามารถช่วยทำให้ดอกมีขนาดใหญ่ขึ้นได้[4],[5] มักพบเจอที่ป่าดงดิบทางภาคเหนือ[1],[3]
  • ใบ เป็นใบเดี่ยว ใบจะออกเรียงตรงข้ามกันหรือประกอบเป็น 3 ใบ ใบเป็นรูปหอก รูปมนรี ที่ปลายใบจะแหลม ส่วนที่โคนใบจะสอบ ขอบใบเรียบ ขอบเป็นสีขาว ใบกว้างประมาณ 2-5 เซนติเมตร มีความยาวประมาณ 7-14 เซนติเมตร แผ่นใบมีลักษณะเรียบและเป็นมัน เป็นสีเขียวเข้ม เนื้อใบจะหนา มีก้านใบที่สั้น หูใบมีอยู่ 2 อัน อยู่ที่ระหว่างก้านใบด้านละอัน ใบคล้ายกับใบพุดจีบ ต่างที่ไม่มียางสีขาว[1],[3],[5]
  • ดอก ส่วนใหญ่ดอกออกเป็นดอกเดี่ยว ออกดอกที่ตามง่ามใบที่ปลายกิ่ง ดอกมีขนาดที่ใหญ่ ดอกคล้ายดอกพุดจีบ ดอกมีลักษณะเป็นสีขาว และมีกลีบดอกซ้อนกันหลายชั้น โคนกลีบแหลม ปลายกลีบมนรี มีกลีบดอกประมาณ 5-7 กลีบ มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 7 เซนติเมตร มีเนื้อที่นุ่ม มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ มีเกสรเพศผู้อยู่ 6 ก้านรูปแถบ จะติดที่ปลายหลอดกลีบดอก มีเกสรเพศเมีย มีก้านเกสรที่ยาว ยอดเกสรมีลักษณะเป็นกระจุกแน่น รังไข่อยู่ที่ใต้ฐานรองดอก มีกลีบเลี้ยงอยู่ประมาณ 5-8 แฉก มีก้านดอกสั้นหรือจะไม่มีก้านดอก[1],[5]
  • ผล กลมเป็นรูปไข่ ผลจะออกแบบหัวทิ่มลง ผลสุกเป็นสีเหลืองทองหรือจะเป็นสีส้มถึงแดง ผลมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร มีความยาวประมาณ 3-7 เซนติเมตร เปลือกผลมีลักษณะเหลี่ยมตามแนวยาว ประมาณ 5-7 เหลี่ยม[3] มีเมล็ดอยู่ในผลประมาณ 3-6 เมล็ด เมล็ดมีเนื้อเยื่อหุ้มเป็นสีแดง[1]

สรรพคุณพุดซ้อน

1. สามารถช่วยแก้ฝีหนองอักเสบได้ (ราก)[3]
2. ในตำรับยาแก้เคล็ดขัดยอกระบุเอาไว้ว่าให้นำผลแห้ง 250 กรัม, เมล็ดลูกท้อ 150 กรัม,โกฐเชียง 150 กรัม, คำฝอย 150 กรัม มารวมบดให้เป็นผง แล้วก็เอาไปเคี่ยวกับวาสลิน 250 กรัม ผสมน้ำส้มสายชู 500 ซีซี แล้วก็เคี่ยวให้เข้ากันดี ใช้เป็นยาภายนอกทาตรงที่มีอาการ (ผล)[3]
3. นำน้ำที่คั้นได้จากดอกมาผสมน้ำมันสามารถใช้เป็นยาทารักษาโรคผิวหนังได้ หรือใช้แต่น้ำคั้นจากดอกอย่างเดียวก็ได้ (น้ำจากดอก)[1]
4. ในตำรับยาแก้ตับอักเสบเฉียบพลันที่เกิดจากการติดเชื้อ มีอาการตัวเหลือง กล่าวเอาไว้ว่าให้ใช้รากสด 70 กรัม, เปลือกต้นหม่อน 35 กรัม, รากใบไผ่เขียว 35 กรัม, หญ้าคา 35 กรัม มาต้มรวมกับน้ำทาน (ราก)[3]
5. ผลสามารถใช้เป็นยาขับพยาธิ ขับปัสสาวะได้ (ผล)[4],[5]
6. น้ำที่ได้จากต้นสามารถใช้เป็นยาขับพยาธิได้ (น้ำจากต้น)[1]
7. ราก สามารถช่วยแก้ท้องอืดท้องเฟ้อได้ (ราก)[5]
8. สามารถช่วยรักษาปากเป็นแผล ลิ้นเป็นแผล (ผล)[3]
9. นำใบมาตำสามารถใช้พอกแก้อาการปวดศีรษะได้ (ใบ)[4],[5]
10. สามารถช่วยแก้ตาอักเสบได้ (ผล)[3]
11. สามารถช่วยกระจายเลือดที่อุดตันได้ (ผล)[3]
12. รากกับผล มีรสขม จะเป็นยาเย็น ออกฤทธิ์กับตับ หัวใจ สามารถใช้เป็นยาดับพิษร้อนถอนพิษไข้ แก้ตัวร้อน ขับน้ำชื้น มีไข้สูง ทำให้เลือดเย็น และช่วยแก้อาการร้อนในได้ (ราก, ผล)[3]
13. สามารถช่วยแก้อาการปวดบวมได้ (ราก)[3]
14. สามารถช่วยแก้ผื่นคันตามผิวหนังได้ (ราก)[5]
15. นำรากมาตำใช้พอกแผลสด สามารถห้ามเลือด ช่วยสมานบาดแผลได้ (ราก)[3]
16. สามารถช่วยแก้ปัสสาวะเป็นเลือดได้ (ผล)[3]
17. สามารถใช้เปลือกต้นเป็นยาแก้ปวดท้อง และแก้บิดได้ (เปลือกต้น)[4],[5]
18. สามารถช่วยแก้อาเจียนเป็นเลือดได้ (ผล)[3]
19. สามารถช่วยแก้อาการปวดฟัน อาการเหงือกบวมได้ (ผล)[3]
20. สามารถช่วยแก้เลือดกำเดาได้ (ผล)[3]
21. สามารถช่วยแก้อาการกระสับกระส่ายนอนไม่หลับได้ (ผล)[3]
22. เนื้อไม้จะเป็นยาเย็น สามารถช่วยลดพิษไข้ได้ (เนื้อไม้)[1]
23. เปลือกต้น กับราก สามารถใช้เป็นยาแก้ไข้ได้ (เปลือกต้น, ราก)[5]

หมายเหตุ
– ถ้าใช้เป็นยาแห้งให้ใช้ครั้งละประมาณ 3-10 กรัม มาต้มกับน้ำทาน
– ถ้าใช้เป็นยาสดให้ใช้ครั้งละ 35-70 กรัม มาตำคั้นเอาแต่น้ำทาน หรือนำมาตำพอกแผลภายนอก[3]

สรรพคุณตามในตำราการแพทย์แผนจีน

1. กีจื้อถ่านจะมีฤทธิ์ที่สามารถช่วยห้ามเลือด ทำให้เลือดเย็น สามารถช่วยแก้อาการไอเป็นเลือด ปัสสาวะเป็นเลือด เลือดกำเดาไหล อาเจียนเป็นเลือด[3]
2. กีจื้อ (ผล) มีรสขมเย็น จะมีฤทธิ์ที่ขับความร้อน สามารถช่วยระบายความร้อน แก้ดีซ่าน ทำให้เลือดเย็น แก้หงุดหงิดกระวนกระวาย แก้ปัสสาวะเป็นเลือด แก้ไข้ อาเจียนเป็นเลือด แก้เลือดกำเดาไหล ช่วยเสริมความชื้น และจะมีฤทธิ์ที่สามารถช่วยบรรเทาอาการพิษอักเสบ ช่วยระงับอาการปวด อาการบวมจากการกระทบกระแทก แก้พิษอักเสบของแผล แก้อาการอักเสบบวมแดง ฝีอักเสบ ลดบวมจากการอักเสบได้ [3]
3. ผล ผัดเกรียม กีจื้อผัด มีวิธีใช้ มีสรรพคุณเหมือนกัน แต่ใช้ในกรณีม้ามพร่อง ระบบกระเพาะอาหารพร่อง[3]

ประโยชน์พุดซ้อน

1. นำดอกมาสกัดทำน้ำมันหอมระเหย สามารถใช้แต่งกลิ่นเครื่องสำอางได้[4]
2. สามารถนำเนื้อไม้มาทำหัวน้ำหอม ธูป กรอบรูปได้[1]
3. ปลูกเป็นไม้ประดับสวนบริเวณบ้าน ตัดแต่งทรงพุ่ม ปลูกเป็นแนวรั้วได้ดี[1] ควบคุมการออกดอกได้ โดยควบคุมการให้น้ำการใส่ปุ๋ยที่เหมาะสม มีความหมายที่เป็นมงคล ตามความหมายของไทยหมายถึงความแข็งแรง สมบูรณ์ ความเจริญมั่นคง ตามความหมายของฝรั่งหมายถึงรักแท้[4]
4. นำผลกับเมล็ดมาบดจะให้สารสีเหลืองทองที่มีชื่อว่า Gardenia สามารถใช้แต่งสีอาหารให้เป็นสีเหลือง อย่างเช่น แต่งสีน้ำเก๊กฮวย ย้อมสีด้านนอกของเต้าหู้แข็ง ในประเทศจีนจะใช้เป็นสีย้อมผ้า และให้สารสีน้ำตาลแดงที่มีชื่อว่า Corcin สามารถใช้แต่งอาหารให้มีสีน้ำตาลแดงได้[1],[2],[4]
5. ดอก ปักแจกันไหว้พระหรือจะนำไปร้อยพวงมาลัยสำหรับบูชาพระได้ ในประเทศจีนนำดอกมาอบใบชาให้มีกลิ่นที่หอม

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.). “พุดซ้อน”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.tistr.or.th. [05 พ.ค. 2014].
2. หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. “พุดซ้อน”. (วิทยา บุญวรพัฒน์). หน้า 392.
3. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. “พุดซ้อน”. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). หน้า 562-563.
4. สถาบันการแพทย์ไทย-จีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้. “กีจื้อ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: tcm.dtam.moph.go.th. [05 พ.ค. 2014].
5. ฝ่ายปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. “พุดซ้อน”. (นพพล เกตุประสาท, ไพร มัทธวรัตน์). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: clgc.rdi.ku.ac.th. [05 พ.ค. 2014].
6. หนังสือสมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ. (คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “พุด Cape Jasmine”. หน้า 213.

อ้างอิงรูปจาก
1. https://gardenerspath.com/plants/flowers/grow-gardenia/
2. https://www.gardeningknowhow.com/ornamental/flowers/gardenia/different-gardenia-varieties.htm

ต้นพุดจีบ ช่วยแก้อาการปวดฟันได้

0
ต้นพุดจีบ
ต้นพุดจีบ ช่วยแก้อาการปวดฟันได้ เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ดอกออกเป็นช่อกระจุกสีขาว มีกลิ่นหอม ผลแห้งปลายฝักแหลมทรงสามเหลี่ยม เนื้อผลสีแดง
ต้นพุดจีบ
เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ดอกออกเป็นช่อกระจุกสีขาว มีกลิ่นหอม ผลแห้งปลายฝักแหลมทรงสามเหลี่ยม เนื้อผลสีแดง

พุดจีบ

พุดจีบ มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ในประเทศอินเดีย สำหรับประเทศไทยสามารถพบเจอได้ที่ตามป่าดิบทางภาคเหนือ[5] ชื่อสามัญ East Indian rosebay, Crepe jasmine,Pinwheel flower, Clavel De La India[2] ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Tabernaemontana divaricata (L.) R.Br. ex Roem. & Schult. อยู่วงศ์ตีนเป็ด (APOCYNACEAE) และอยู่วงศ์ย่อยระย่อม (RAUVOLFIOIDEAE)[1] ชื่อในท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น พุดสา (ภาคกลาง), พุดซ้อน (ภาคกลาง), พุดสวน (ภาคกลาง), พุดป่า (ลำปาง), พุดลา (ภาคกลาง)[1]

ลักษณะของพุดจีบ

  • ต้น เป็นไม้ยืนต้นที่มีขนาดเล็ก หรือเป็นไม้พุ่มที่มีขนาดกลาง ต้นสูงประมาณ 1-2 เมตร[1] บ้างก็ว่าสามารถสูงได้ถึงประมาณ 3-5 เมตร[2] ลำต้นแตกกิ่งก้านเป็นพุ่มเตี้ย มีการทิ้งใบส่วนต้นด้านล่าง ทำให้พุ่มดูโปร่ง เปลือกต้นมีลักษณะเป็นสีน้ำตาลอ่อน จะแตกเป็นร่องเล็ก มียางสีขาวทุกส่วน ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด การตอน การปักชำ โตดีในดินร่วนปนทราย ชอบความชื้นปานกลาง ชอบแสงแดดเต็มวันถึงปานกลาง[1],[2],[3]
  • ใบ เป็นใบเดี่ยว ใบจะออกตรงข้ามกัน ใบเป็นรูปรีแกมรูปขอบขนาน รูปใบหอก ที่ปลายใบจะเรียวและแหลม ส่วนที่โคนใบจะสอบ ขอบใบเรียบเป็นคลื่น ใบกว้างประมาณ 3-5 เซนติเมตร มีความยาวประมาณ 8-12 เซนติเมตร ที่ท้องใบมีลักษณะเรียบ มีสีอ่อนกว่าหลังใบ ที่หลังใบมีลักษณะเรียบลื่นและเป็นมัน เป็นสีเขียวเข้ม [1],[2]
  • ดอก ดอกออกเป็นช่อแบบกระจุก ออกดอกที่ตามซอกใบที่ใกล้ปลายยอดหรือที่ปลายกิ่ง ช่อนึงมีดอกละประมาณ 2-3 ดอก ดอกย่อยมีลักษณะเป็นสีขาว ดอกที่บานเต็มที่กว้างประมาณ 3.5-5 เซนติเมตร ที่โคนกลีบดอกจะเชื่อมติดเป็นหลอด มีความยาวประมาณ 1.5-2.5 เซนติเมตร ที่ปลายจะแยกเป็น 5-10 แฉก จะเป็นคลื่นหมุนเวียนซ้อนกัน มีเกสรเพศผู้อยู่ 5 ก้าน กลีบเลี้ยงดอกมีลักษณะเป็นแฉกเรียวและแหลม ดอกมีกลิ่นหอม ออกดอกได้ทั้งปี[1],[2]
  • ผลเป็นผลแห้ง เป็นฝักคู่ติดกัน ฝักโค้งมีความยาวประมาณ 2.5-5 เซนติเมตร ที่ปลายฝักจะแหลม ส่วนที่ขอบฝักจะเป็นสันนูน มีเนื้อผลสีแดง ฝักแก่แตกออกเป็นแนวเดียวกัน มีเมล็ดอยู่ในฝักประมาณ 3-6 เมล็ด[2]

สรรพคุณพุดจีบ

1. ดอก มีรสเฝื่อน สามารถคั้นเอาแต่น้ำมาใช้ทาแก้โรคผิวหนังได้ (ดอก)[1]
2. รากสามารถช่วยระงับอาการปวดได้ (ราก)[1]
3. รากสามารถใช้เป็นยาถ่ายได้ (ราก)[7]
4. สามารถนำรากมาเคี้ยวช่วยแก้อาการปวดฟันได้ (ราก)[1],[3],[7]
5. เนื้อไม้ มีรสเฝื่อน จะเป็นยาเย็น สามารถใช้เป็นยาช่วยลดพิษไข้ ลดไข้ (เนื้อไม้)[1],[5],[7]
6. ราก มีรสเฝื่อน จะสรรพคุณที่สามารถเป็นยาบำรุงร่างกายได้ (ราก)[1],[7]
7. นำราก มาฝนแล้วเอามาใช้ทาผิวตรงบริเวณที่เป็นตุ่ม สามารถช่วยทำให้ตุ่มยุบเร็วยิ่งขึ้นได้ (ราก)[6] รากมีข้อมูลที่ระบุว่ารากกับหัว มีรสขม ทางอายุรเวทของอินเดียใช้เป็นยาแก้พยาธิไส้เดือน แก้หิด (ผู้เขียนยังหาแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือมายืนยันไม่ได้)
8. ต้น มีรสเฝื่อน สามารถเอามาคั้นเอาแต่น้ำใช้ดื่มเป็นยาขับพยาธิได้ (ต้น) [1]
9. รากสามารถใช้เป็นยาขับพยาธิได้ (ราก)[1]
10. รากสามารถใช้เป็นยาแก้ท้องเสียได้ (ราก)[7]
11. ใบ มีรสเฝื่อน สามารถเอามาตำกับน้ำตาลแล้วนำมาชงกับน้ำ ใช้ดื่มเป็นยาแก้ไอได้ (ใบ)[1],[7]
12. นำกิ่ง 1 กำมือมาต้มกับน้ำใช้ดื่ม สามารถช่วยลดความดันโลหิตได้ (กิ่ง)[7]

ประโยชน์พุดจีบ

  • ข้อมูลอื่นระบุไว้ว่า เนื้อผลสุกสามารถใช้เป็นสีย้อมผ้าได้ โดยให้สีส้มแดง ดอกสามารถใช้ทำหัวน้ำหอม เนื้อไม้สามารถใช้ทำธูปได้
  • นิยมปลูกเป็นไม้ประธานตามสวนหย่อม หรือปลูกตามมุมตึก ริมน้ำตก ลำธาร ปลูกบังกำแพงก็ได้ ดอกกลิ่นหอมช่วงเวลากลางคืน[2]
  • สามารถดอกนำมาร้อยมาลัยถวายพระได้[3]

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

  • ปี ค.ศ. 2007 ในประเทศเกาหลีมีการทำการศึกษาทดลองผลการลดไขมันในเลือด ด้วยการไปยับยั้ง Lipase เอนไซม์ เป็นประโยชน์กับการลดคอเลสเตอรอลในเลือด ไตรกลีเซอไรด์ในเลือด ลดความอ้วน[7]
  • ปี ค.ศ. 2005 ในประเทศเกาหลีมีการทำการศึกษาผลของสาร Crocin กับ Crocetin ที่สกัดได้ด้วยการใช้น้ำสกัด ปรากฏว่าช่วยยับยั้ง Pancreatic lipase เอนไซม์ในตับอ่อนของหนูทดลองที่ถูกทำให้อ้วนด้วยอาหารไขมันกับคาร์โบไฮเดรตเป็นเวลาถึง 5 สัปดาห์ ปรากฏว่าหนูทดลองมีระดับคอเลสเตอรอลลดลง ระดับไตรกลีเซอไรด์ลดลง[7]
  • ปี ค.ศ. 2002 ในประเทศเกาหลีมีการทำการศึกษาทดลองผลของสารสกัดในหนูทดลอง ปรากฏว่าช่วยยับยั้ง HMG Co A reductase ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ย่อยไขมันในตับอ่อนได้ และยังช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด ลดระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดได้[7]
  • สารที่สกัดได้จากต้น มีฤทธิ์ที่สามารถช่วยยับยั้งการทำงานของเอนไซม์อะเซทิลโคลีนเอสเตอเรสได้สูง (เอนไซม์อะเซทิลโคลีนเอสเตอเรสมีฤทธิ์ที่ไปทำลายสารอะเซทิลโคลีน ที่เป็นสารสื่อประสาท ทำให้ลดลง เป็นสาเหตุที่ทำให้เป็นโรคอัลไซเมอร์) ทำให้สารอะเซทิลโคลีนที่อยู่ในระบบประสาทส่วนกลางเหลือเยอะ เป็นประโยชน์กับผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ระยะเริ่มต้นและระยะปานกลาง[4]
  • พบสารที่สำคัญ คือ pericalline, tryptamine, amyrin, vasharine, kaempferol, voacamine, ajmalicine[7]
  • การทดสอบความเป็นพิษ ปรากฏว่าเมื่อฉีดสารที่สกัดจากกิ่งแห้งด้วย 95% เอทานอลหรือที่สกัดด้วยน้ำเข้าช่องท้องของหนูถีบจักรขนาด 150 หรือ 200 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ปรากฏว่าไม่เป็นพิษ[7]
  • ปี ค.ศ. 2006 ในประเทศเกาหลีมีการทำการศึกษาทดลองใช้สารสกัดกับหนูทดลอง ด้วยการให้สารสกัดขนาด 80 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมในหนูทดลองที่ถูกให้อาหารที่มีไขมันอยู่สูงจนอ้วน ด้วยการให้ corn oil 1 กรัมต่อกิโลกรัม ผลการทดลองปรากฏว่าสารสกัด ช่วยต้านอนุมูลอิสระกับ Lipid peroxidation ซึ่งทำให้ไขมันในเลือดลดน้อยลง[7]
  • ปี ค.ศ. 2005 ในประเทศเกาหลีมีการทำการศึกษาทดลองสารสกัด กับสมุนไพรหลายชนิด ทำเป็นในรูปแบบของแคปซูล ยาผสมดังกล่าวมีผลในการรักษาโรคหัวใจ ภาวะเส้นเลือดอุดตัน ลดความดันโลหิตสูง ยาดังกล่าวมีส่วนผสมดังนี้ 1-10% ข้าวโพด, 1-10% โกโก้, 1-10% Cyperus rotundu, 1-10% พุดจีบ, 1-10% บัวหลวง แล้วก็เอายาดังกล่าวมาทดลองกับผู้ป่วยที่มีไขมันในเลือดสูง ปรากฏว่าผู้ป่วยมีระดับไขมันในเลือดลดน้อยลง[7]
  • มีสารอัลคาลอยด์ Coronarine อยู่ใน ราก เปลือก ต้น [5]
  • จะมีฤทธิ์ที่สามารถยับยั้งการหดเกร็งของมดลูกและลำไส้ ต้านเชื้อรา ลดความดันโลหิตสูง แก้อาการปวด ต้านเชื้อแบคทีเรีย [7]

หมายเหตุ
หนังสือสมุนไพรลดไขมันในเลือด 140 ชนิด ของเภสัชกรหญิง จุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก ตาม [7] ใช้ชื่อหัวข้อเรื่องว่า พุดซ้อน แต่เป็นชื่อวิทยาศาสตร์ (พุดจีบกับพุดซ้อนต่างมีชื่อพ้องที่เหมือนกัน บางที่ก็เรียกพุดซ้อนว่าพุดจีบ บางที่ก็เรียกพุดจีบว่าพุดซ้อน) ทำให้ผู้เขียนเข้าใจว่า พุดซ้อน ในหนังสือสมุนไพรลดไขมันในเลือด 140 ชนิด ของเภสัชกรหญิง จุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก หมายถึง พุดจีบ (อิงตามชื่อวิทยาศาสตร์)

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. สวนพฤกษศาสตร์คลองไผ่, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “พุด จีบ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.rspg.or.th/plants_data/kp_bot_garden/kpb.htm. [02 พ.ค. 2014].
2. หนังสือสมุนไพรลดไขมันในเลือด 140 ชนิด. “พุดซ้อน”. (เภสัชกรหญิง จุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก). หน้า 131-132.
3. หนังสือสมุนไทยสวนสิรีรุกขชาติ. (คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “พุด จีบ”.
4. หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. “พุด จีบ (Phut Chip)”. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). หน้า 197.
5. โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง, สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์การมหาชน). “พุด จีบ, พุดซ้อน”. อ้างอิงใน: หนังสือชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: eherb.hrdi.or.th. [02 พ.ค. 2014].
6. ข่าวจากเดลินิวส์. “ทันตแพทย์ มช.ค้นพบยารักษาโรคอัลไซเมอร์ ”.
7. ฐานข้อมูลพรรณไม้ที่ใช้ในงานภูมิสถาปัตยกรรม ศูนย์ความรู้ด้านการเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. “พุด-จีบ” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: agkc.lib.ku.ac.th. [02 พ.ค. 2014].

อ้างอิงรูปจาก
1. https://gabbarfarms.com/
2. https://www.richardlyonsnursery.com/

ต้นพันงูเขียว ช่วยรักษาโรคนิ่วในทางเดินปัสสาวะ

0
ต้นพันงูเขียว
ต้นพันงูเขียว ช่วยรักษาโรคนิ่วในทางเดินปัสสาวะ ไม้ล้มลุกจำพวกหญ้า ดอกเป็นช่อกลีบดอกจะเชื่อมติดกันเป็นรูปหลอด ผลมักจะพบได้บริเวณใกล้กับช่อดอก
ต้นพันงูเขียว
ไม้ล้มลุกจำพวกหญ้า ดอกสีม่วงเป็นช่อ กลีบดอกจะเชื่อมติดกันเป็นรูปหลอด ผลมักจะพบได้บริเวณใกล้กับช่อดอก

พันงูเขียว

ต้นพันงูเขียวพบได้ในแถบเขตร้อน โดยมักขึ้นตามบริเวณเนินเขา ตามทุ่งหญ้าและทุ่งนา ตามริมถนน หรือในพื้นที่ที่เปิดโล่งกว้าง จะพบเจอที่ระดับความสูงวัดจากระดับน้ำทะเลจนถึง 600 เมตร[1],[2] ชื่อสามัญ Brazilian Tea, Bastard Vervain, Jamaica False Veravin, Arron’s Rod[1] ชื่อวิทยาศาสตร์ Stachytarpheta jamaicensis (L.) Vahl  ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ ไม่ระบุ จัดอยู่ในวงศ์ วงศ์ผกากรอง (VERBENACEAE)[1]
ชื่ออื่น ๆ เล้งเปียง (ภาษาจีนแต้จิ๋ว), ยี่หลงเปียน ยวี่หลงเปียน เจี่ยหม่าเปียน (ภาษาจีนกลาง), หญ้าหนวดเสือ (ในภาคเหนือ), สี่บาท สารพัดพิษ (ในภาคกลาง), หญ้าหางงู (ในภาคใต้), เจ๊กจับกบ (จังหวัดตราด), ลังถึ่งดุ๊ก (ชาวกะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน), เดือยงู พระอินทร์โปรย (จังหวัดชุมพร), ฉลกบาท, หญ้าพันงูเขียว เป็นต้น[1],[2]

ลักษณะของต้นพันงูเขียว

  • ต้น
    – เป็นพันธุ์ไม้ประเภทล้มลุกอยู่ในจำพวกหญ้า
    – ต้นมีความสูง: ประมาณ 50 เซนติเมตร
    – ลักษณะของลำต้น: ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง
    – โดยลำต้นจะแตกกิ่งก้านสาขาแผ่กว้างออกไปทางด้านข้าง
    – ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด
  • ใบ
    – ใบมีลักษณะเป็นใบเดี่ยว โดยใบจะออกเรียงตรงข้ามกัน
    – ลักษณะรูปร่างของใบเป็นรูปไข่ ที่ปลายใบแหลม ตรงโคนใบเป็นรูปลิ่ม ส่วนขอบใบหยักเป็นรอยคล้ายฟันเลื่อย
    – ใบมีขนาดความกว้างอยู่ที่ประมาณ 2-3 เซนติเมตร และมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 4-6 เซนติเมตร[1],[2]
  • ดอก
    – ดอกเป็นช่อ โดยช่อดอกจะออกที่บริเวณปลายกิ่ง
    – ดอกมีกลีบดอกอยู่ 5 กลีบ โดยกลีบดอกเหล่านี้จะมีสีเป็นสีม่วงน้ำเงิน กลีบดอกมีรูปร่างเป็นรูปกลมงอเล็กน้อย และมีกาบใบ 1 ใบ ที่มีรูปร่างเป็นรูปสามเหลี่ยม ที่ตรงขอบมีรอยฟันเลื่อยอยู่ 4-5 หยัก
    – โคนกลีบดอกจะเชื่อมติดกันเป็นรูปหลอด
    – ดอกมีเกสรเพศผู้อยู่ 2 อัน
    – ดอกจะมีรังไข่อยู่ 2 ห้อง
    – โดยดอกของต้นพันงูเขียมจะออกในช่วงฤดูร้อน (ช่วงประมาณเดือนมีนาคมถึงต้นเดือนพฤษภาคม)[1],[2]
  • ผล 
    – ผลจะมีกลีบเลี้ยงห่อหุ้มเอาไว้อยู่ โดยผลมักจะพบได้ในบริเวณที่ใกล้กับช่อดอก
    – ถ้าผลแห้งแล้ว ผลก็จะแตกออกมา และภายในผลจะมีเมล็ดอยู่[1],[2]

สรรพคุณของต้นพันงูเขียว

1. ทั้งต้นนำมาใช้รักษาอาการปวดเมื่อยตามข้อเนื่องจากลมชื้นคั่งค้างภายในร่างกาย (ทั้งต้น)[2]
2. ทั้งต้นนำมาต้มกับน้ำใช้สำหรับดื่มเป็นยาแก้ไข้ (ทั้งต้น)[3],[4]
3. ทั้งต้นนำมาใช้เป็นยาสำหรับรักษาโรคตาแดง (ทั้งต้น)[1]
4. ทั้งต้นจะออกฤทธิ์ต่อปอดและลำไส้ใหญ่ โดยจะนำมาใช้ทำเป็นยาขับพิษร้อน ถอนพิษไข้ และช่วยขับเหงื่อให้ออก (ทั้งต้น)[2]
5. ทั้งต้นนำมาใช้เป็นยาสำหรับช่วยรักษาอาการคลื่นไส้อาเจียน และอีกทั้งยังนำมาใช้เป็นยารักษาโรคกระเพาะได้อีกด้วย (ทั้งต้น)[1]
6. ตำรับยาแก้ตาบวม ตาอักเสบ ตาแดง ระบุว่าให้ใช้ทั้งต้นในปริมาณ 35 กรัม, ต้นเจียไก้หลานในปริมาณ 35 กรัม และต้นอิไต้เถิงในปริมาณ 25 กรัม นำมาตำรวมกัน จากนั้นก็นำไปผสมกับพิมเสนเล็กน้อย ใช้สำหรับพอกบริเวณตาข้างที่มีอาการ (ทั้งต้น)[2]
7. ตำรับยาสำหรับแก้อาการบวม ฟกช้ำ ระบุว่าให้ใช้ทั้งต้น, ต้นโกฐดอกขาว และต้นสือเชียนเถา ในปริมาณอย่างละเท่า ๆ กัน นำมาตำผสมกับน้ำเหล้าเล็กน้อย ใช้เป็นยาสำหรับนำไปพอกบริเวณที่เป็น (ทั้งต้น)[2]
8. ทั้งต้นนำมาใช้ช่วยรักษาโรคนิ่วในทางเดินปัสสาวะ และรักษาทางเดินปัสสาวะติดเชื้อได้ (ทั้งต้น)[1],[2]
9. ทั้งต้นนำมาใช้ทำเป็นยาสำหรับรักษาโรคปวดข้อตามจุดต่าง ๆ ได้ (ทั้งต้น)[1]
10. ใบนำมาตำใช้สำหรับพอกแก้อาการเคล็ด (ใบ)[4]
11. ใบนำมาใช้ทำเป็นยาทาสำหรับรักษาฝีหนอง (ใบ)[1]
12. ใบนำมาทำเป็นยาสำหรับทาถูนวด โดยจะมีสรรพคุณบรรเทาอาการปวดเมื่อยตามร่างกายได้ (ใบ)[1]
13. ใบนำมารักษาอาการเจ็บคอ อาการคออักเสบ โดยการนำใบสด ๆ มาตำให้ละเอียดจากนั้นผสมกับน้ำตาล ใช้สำหรับทำเป็นยาอม (ใบ)[1],[2]
14. เปลือกต้นนำมาใช้ทำเป็นยารักษาอาการท้องเสียและโรคบิด (เปลือกต้น)[1] ส่วนอีกข้อมูลระบุว่า ให้ใช้ใบในการนำมาเป็นยาแก้โรคบิด (ใบ)[4]
15. ทั้งต้นจะนำมาใช้ทำเป็นยาขับพยาธิ (ทั้งต้น)[1] ส่วนใบจะนำมาใช้ทำเป็นยาขับพยาธิในเด็ก (ใบ)[4]
16. ทั้งต้นนำไปต้มกับน้ำใช้ดื่มเป็นยาสำหรับแก้โรคหนองใน (ทั้งต้น)[3] ส่วนอีกข้อมูลระบุว่า ให้ใช้รากเป็นยาสำหรับแก้โรคหนองใน (ราก)[4]
17. รากมีสรรพคุณทำให้แท้งได้จึงไม่ควรให้สตรีที่มีครรภ์รับประทาน (ราก)[4]
18. ต้นสดนำมาตำใช้พอกบริเวณที่เป็นแผลอักเสบ ฝีและหนอง แผลเปื่อย และพิษอักเสบที่ทำให้ปวดบวม (ทั้งต้น)[1],[2],[3]

ขนาดและวิธีใช้

1. ยาแห้งให้ใช้ในปริมาณครั้งละ 15-35 กรัม
2. ยาสดให้ใช้ในปริมาณครั้งละ 35-70 กรัม
3. โดยทั้งตัวยาแห้ง และสด นำมาต้มกับน้ำใช้ดื่ม หรือนำมาร่วมกับตัวยาอื่น ๆ ในตำรับยาก็ได้ตามความต้องการ แต่ถ้าหากนำมาใช้ภายนอก ให้เปลี่ยนจากการต้มเป็นการนำมาตำจากนั้นนำมาพอกบริเวณที่มีอาการ[2]

ประโยชน์ของต้นพันงูเขียว

  • ในประเทศบราซิลจะนำใบมาใช้แทนใบชา และจะส่งขายทางยุโรป โดยจะมีชื่อทางการค้าว่า “Brazillian tea“[1]

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

1. จากการศึกษาคุณสมบัติการต้านอนุมูลอิสระไฮดรอกซิล และการหาองค์ประกอบทางเคมีของสารสกัดที่ได้จากทั้งต้น ที่ทำการสกัดด้วย น้ำ, เอทานอล 50%, เอทานอล 75% ผลจากการวิจัยในครั้งนี้พบได้ว่าสารสกัดจากใบที่สกัดด้วยเอทานอล 75 % นั้นจะออกฤทธิ์ คิดเปอร์เซ็นต์การยับยั้งอนุมูลอิสระไฮดรอกซิล ได้สูงสุดทั้งชนิดแบบสดและชนิดแบบแห้ง เท่ากับ 6.45 และ 54.00 ตามลำดับ และเมื่อนำมาเปรียบเทียบกับวิตามินอีที่ความเข้มข้นที่ 5 ppm พบว่าเปอร์เซ็นต์การยับยั้งอนุมูลอิสระไฮดรอกซิลของสารสกัดจากใบแห้ง มีเปอร์เซ็นต์การยับยั้งที่มากกว่าวิตามินอีอยู่ 1.16 เท่า แต่พบว่าเปอร์เซ็นต์การยับยั้งอนุมูลอิสระไฮดรอกซิลของสารสกัดจากใบสดนั้น มีเปอร์เซ็นต์การยับยั้งที่น้อยกว่าวิตามินอีอยู่ 7.21 เท่า แต่เมื่อทำการนำสารสกัดหยาบมาศึกษาองค์ประกอบทางเคมีอย่างถี่ถ้วนก็พบว่าภายในสารนั้นมีกรดแกลลิกและควอซิตินเป็นองค์ประกอบอยู่ (การศึกษาสมบัติการต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดจากต้น โดย : ชัชฎาพร องอาจ และปวีณา ดารา)
2. ในราก จากการวิจัยนั้นจะพบสารจำพวก Phrnol, Chlorogenic acid เป็นต้น[2]
3. สารที่สกัดมาจากการต้มด้วยน้ำ จะออกฤทธิ์กระตุ้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้นต่อหัวใจของกระต่าย แต่ถ้านำมาฉีดเข้าที่กล้ามเนื้อที่ขาหลังของหนูขาวที่นำมาทดลอง ผลพบว่าสามารถขยายเส้นเลือดของหนูทดลองได้ แต่ถ้านำมาฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำของสุนัขที่ถูกวางยาสลบ จะมีผลพบว่าสารสกัดนี้จะไม่มีผลต่อความดันโลหิต[1],[2]
4. สารที่สกัดมาจากการต้มด้วยน้ำ จะมีฤทธิ์เข้าไปกระตุ้นลำไส้เล็กส่วนปลายของหนูตะเภาที่นำมาทดลอง แต่ในส่วนของผลการทดลองกับสารที่สกัดด้วยแอลกอฮอล์นั้นจะมีฤทธิ์การกระตุ้นที่อ่อนกว่า แต่ทั้งสองชนิดนั้นจะไม่มีฤทธิ์ต่อหูรูดในช่วงระหว่างกระเพาะอาหารกับลำไส้เล็กของสัตว์ทดลองอย่างกระต่ายและอวัยวะมดลูกของหนูขาว[1],[2]

5. น้ำที่สกัดได้มาจากต้น จะมีฤทธิ์คล้ายกับสารโดปามีน (dopamine) และมีความเป็นพิษต่อหนูที่ถีบจักร[1] โดยทั้งสารที่สกัดได้มาจากน้ำและแอลกอฮอล์นั้น หากนำมาฉีดเข้าช่องท้องของหนูทดลองที่ถีบจักรในปริมาณ ตัวละ 0.1 กรัม ต่อ 1 กิโลกรัม ผลพบว่าภายในเวลา 24 ชั่วโมง หลังจากที่ทำการฉีดสารตัวนี้เข้าไปแล้ว หนูจะตายลงในทันที[1],[2]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5.  (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม).  “พัน งู เขียว”.  หน้า 557-558.
2. หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย.  (วิทยา บุญวรพัฒน์).  “พันงูเขียว”.  หน้า 384.
3. สวนพฤกษศาสตร์สายยาไทย.  “หญ้าพันงูเขียว”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : www.saiyathai.com.  [09 พ.ย. 2014].
4. พืชสมุนไพรโตนงาช้าง.  “พัน งู เขียว”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : paro6.dnp.go.th/web_km/พืชสมุนไพรโตนงาช้าง/.  [09 พ.ย. 2014].
อ้างอิงรูปจาก
1.https://www.flawildflowers.org/
2.https://www.richardlyonsnursery.com/