มะเร็งที่พบบ่อย
10 อันดับมะเร็งที่พบบ่อยในประเทศไทย
โรคมะเร็งนอกจากข้อมูลทางสถิติที่เกี่ยวกับผู้ป่วย โรคมะเร็ง ทั่วโลกแล้ว ยังมีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับ 10 อันดับโรคมะเร็งที่พบในคนไทย โดยสามารถแบ่งมะเร็งที่พบในเพศหญิงและมะเร็งที่พบในเพศชายได้ดังต่อไปนี้
10 อันดับมะเร็งที่พบบ่อยในประเทศไทย | ||
ลำดับ | เพศชาย | เพศหญิง |
1 | มะเร็งตับ | มะเร็งปากมดลูก |
2 | มะเร็งปอด | มะเร็งเต้านม |
3 | มะเร็งลำไส้ใหญ่ | มะเร็งตับ |
4 | มะเร็งช่องปาก | มะเร็งปอด |
5 | มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ | มะเร็งลำไส้ใหญ่ |
6 | มะเร็งกระเพาะอาหาร | มะเร็งรังไข่ |
7 | มะเร็งเม็ดเลือดขาว | มะเร็งช่องปาก |
8 | มะเร็งต่อมน้ำเหลือง | มะเร็งต่อมธัยรอยด์ |
9 | มะเร็งโพรงจมูก | มะเร็งกระเพาะอาหาร |
10 | มะเร็งหลอดอาหาร | มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก |
มะเร็งตับ เป็นโรคมะเร็งที่พบได้มากที่สุดในผู้ชายไทยจากสถิติสูงมากถึง 3 เท่า เมื่อเปรียบเทียบกับเพศหญิงพบว่ามีอัตราการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูกมากที่สุด
มะเร็งที่พบบ่อยมากที่สุด 6 อันดับแรกของโลก คือ มะเร็งปอด มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งตับ และมะเร็งปากมดลูก
อาการแสดงของโรคมะเร็ง
- ส่วนใหญ่ผู้ป่วยมักไม่มีอาการใดๆในช่วงแรกอาจมีผลมาจากหลายปัยจัย เช่น เซลล์มะเร็งในร่างกายยังมีไม่มาก ผู้ป่วยมะเร็งมีสุขภาพที่แข็งแรงเป็นต้น
- มีอาการป่วยของโรคทั่วไป เช่น อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ร่างกายทรุดโทรม ไม่สดชื่น และไม่แจ่มใส
สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของการเกิดมะเร็ง
โรคมะเร็ง ไม่ใช่โรคติดต่อที่สามารถแพร่กระจายติดจากคนสู่คนได้ แต่โรคมะเร็งเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต การรับประทานอาหารที่ผิดหลักโภชนาการ รวมถึงสภาพสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบๆตัวด้วย ซึ่งสาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทที่สำคัญ ดังข้อมูลต่อไปนี้
1. เกิดจากสิ่งแวดล้อม หรือปัจจัยภายนอกร่างกาย
จากข้อมูลทางด้านต่างๆพบว่า ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม หรือปัจจัยภายนอกร่างกาย เป็นสาเหตุหลักใน
ปัจจุบันที่ทำให้เกิด โรคมะเร็ง ชนิดต่างๆในมนุษย์ ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมเป็นตัวการหลักอย่างหนึ่งทำให้
เกิดเชื้อมะเร็งได้ ซึ่งเกิดได้จากหลายๆสิ่งดังนี้
1.1 สารปนเปื้อน ในแต่ละวันร่างกายของเราอาจได้รับสารปนเปื้อนชนิดต่างๆ โดยที่ไม่รู้ตัวเลยถึงทำให้มี
ความเสี่ยงทำให้เป็นโรคมะเร็ง อาจจะมาจากการรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มต่างๆในแต่ละวัน เช่น
สารพิษจากเชื้อราที่มีชื่อว่า อัลฟาทอกซิน ( Alfatoxin ) การทานผักหรือผลไม้ที่มีสารจากยาฆ่าแมลงตกค้าง การทานอาหารปิ้งย่างรวมถึงอาหารที่ไหม้เกรียม ที่มักมีสารไฮโดรคาร์บอน ( Hydrocarbon ) สารเคมีที่ใช้ในกระบวนการถนอมอาหารชื่อไนโตรซามิน ( Nitosamine ) และในอาหารบางชนิดอาจมีการใช้สีผสมอาหารที่มาจากสีย้อมผ้า เป็นต้น ซึ่งสารปนเปื้อนต่างๆเหล่านี้ ล้วนแต่เป็นสารในการก่อ มะเร็ง ทั้งสิ้น
1.2 รังสี ผลกระทบที่อาจจะได้รับจากรังสีคือ การอยู่ในบริเวณกลางแจ้ง ที่มีแดดจัดๆเป็นเวลานาน ทำให้
ร่างกายได้รับรังสีอัลตราไวโอเลตจากแสงแดด ปริมาณมากเกินไป จึงอาจมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งผิวหนังได้ หรือ ผู้ที่ใกล้ชิดหรือทำงานในห้อง เอ็กซเรย์ ก็มีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งได้เช่นกัน
1.3 เชื้อไวรัส ในไวรัสบางชนิดมีผลต่อการเกิดมะเร็งชนิดต่างๆได้ เช่น ไวรัสตับอักเสบบี ซึ่งสามารถเป็น
ตัวกระตุ้นให้เกิดโรคมะเร็งในตับได้
1.4 การติดเชื้อพยาธิใบไม้ในตับ พยาธิใบไม้ในตับ เป็นสาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้เกิดมะเร็งของท่อ
น้ำดีได้ โดยพยาธิใบไม้ในตับเกิดได้จากการทานอาหารที่มีปรสิต ที่พบได้มากในปลาน้ำจืดชนิดมีเกล็ด เช่น ปลาตะเพียน ปลาสร้อย ปลาซิว เป็นต้น เข้าไปปริมาณที่มากจนเกิดการติดเชื้อเกิดขึ้น
1.5 พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เกิดจากสิ่งต่างๆในการใช้ชีวิตประจำวันเช่น การดื่มสุรา การสูบบุหรี่ การ
ทานอาหารที่ผิดหลักโภชนาการ อาหารไขมันสูง เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดมะเร็งทั้งสิ้น
2. เกิดจากความผิดปกติภายในร่างกาย
ความผิดปกติภายในร่างกายก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่สามารถทำให้เกิด โรคมะเร็ง ได้ แต่ก็เป็นในอัตราส่วน
น้อยเมื่อเทียบกับสภาวะทางสิ่งแวดล้อมหรือปัจจัยทางด้านร่างกาย เช่น เด็กที่มีความพิการมาแต่กำเนิด จะมีอัตราเสี่ยงการเป็น มะเร็งเม็ดเลือดขาวสูงกว่าคนปกติ หรือ การมีภูมิคุ้นกันที่บกพร่อง เช่น การขาด
วิตามินบางชนิด อย่าง วิตามินเอ วิตามินซี ก็เป็นปัจจัยที่ส่งเสริมให้ไปกระตุ้นให้เกิดโคมะเร็งชนิดต่างๆได้เหมือนกัน
ชนิดของมะเร็งที่พบมากในผู้ชาย
โดยเป็นที่ทราบกันดีว่า ฝ่ายชายนั้นมีพฤติกรรมชอบสังสรรค์ ชอบดื่มชอบเที่ยว ซึ่งการดื่มสุราในปริมาณมากๆและเป็นเวลานานติดต่อกัน ย่อมส่งผลเสียไปถึงตับ ทำให้ตับทำงานหนัก จนเป็นโรคตับแข็งได้ ซึ่งจะนำไปสู่การเป็นมะเร็งตับต่อไปในอนาคต นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ที่เคยเป็นโรคไวรัสตับอักเสบต่างๆ ยังจะมีโอกาสเสี่ยงไปเป็นโรคมะเร็งตับได้มากกว่าคนธรรมดาอีกด้วย ส่วนโรคมะเร็งปอดก็เป็นอีกชนิดหนึ่งที่จะพบได้มากในผู้ชายวัยสูงอายุ โดยสาเหตุก็มากจากการสูบบุหรี่ หรือได้รับควันบุหรี่ หรือมลพิษทางอากาศเข้าไปในปริมาณที่มากๆ ซึ่งชายที่อยู่ในช่วงอายุ 65 ขึ้นไป จะเป็นโรคมะเร็งปอดในปริมาณมากถึง 2 ใน 3 ของผู้ป่วยมะเร็งทั้งหมดในเพศชายเลยทีเดียว ส่วนโรคมะเร็งอื่นๆ ที่พบในเพศชายอีกก็อย่างเช่น โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง เป็นต้น
ชนิดของมะเร็งที่พบมากในผู้หญิง
ในผู้หญิงที่อยู่ในช่วงอายุ 40 ปีขึ้น เป็นกลุ่มเสี่ยงที่เป็นโรคมะเร็งเต้านมมากที่สุด และถ้าหากเป็นผู้ที่ได้รับยาคุมกำเนิดในปริมาณมากเกินไป หรือเป็นผู้ที่ไม่มีลูก จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคนี้เข้าไปอีก คุณผู้หญิงเองต้องหมั่นตรวจสุขภาพเรื่องนี้แบบสม่ำเสมอ ซึ่งสามารถตรวจสอบได้เองหรือไปพบแพทย์ก็ได้ โดยการตรวจจะได้ผลดีที่สุดคือ หลังจากมีประจำเดือนผ่านไปแล้ว 7 วัน นอกจากนี้คุณผู้หญิงที่มีอายุ 35 ขึ้นไป ควรจะไปตรวจเพิ่มเรื่อง Digital Mammogram หรือ การตรวจมะเร็งเต้านมด้วยเครื่องตรวจดิจิตอล อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง ส่วนมะเร็งอีกชนิดหนึ่งที่พบได้บ่อยๆเหมือนกันคือ โรคมะเร็ง ปากมดลูก จะพบมากในผู้หญิงที่มีช่วงอายุ 35-50 ปี สาเหตุหลักของโรคคือ การมีเพศสัมพันธ์อย่างไม่เหมาะสม มีตั้งแต่อายุน้อย หรือมีคู่นอนมากหน้าหลายตา ควรป้องกันก่อนจะเป็นโรคนี้ โดยการไปฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก หรือ ( HPV Vaccine ) สามารถฉีดได้ตั้งแต่มีอายุ 9 ปี และนอกจากนี้คุณผู้หญิงที่มีอายุเกิน 35 ปีขึ้นไป ควรได้รับการตรวจจากแพทย์ปีละครั้ง ส่วนโรคมะเร็งอื่นๆ ที่พบในเพศหญิงอีกก็อย่างเช่น โรคมะเร็งตับ โรคมะเร็งปอด โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
พฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง ?
เมื่อรู้กันแล้วว่า โรคมะเร็ง มีความรุนแรงและน่ากลัวแค่ไหน ดังนั้นหลายคนจึงเริ่มมีความสงสัยกันว่า ตัวเราเองเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งหรือไม่ ซึ่งผู้ที่มีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็ง โดยส่วนมากจะอยู่ในกลุ่มดังต่อไปนี้
1. สูบบุหรี่ ผู้ที่สูบบุหรี่จะมีความเสี่ยงในการเป็น โรคมะเร็ง ได้มากกว่าคนปกติ โดยเฉพาะโรคมะเร็งปอด
ที่ในแต่ละปี จะมีผู้ที่สูบบุหรี่ป่วยเป็นโรคนี้จำนวนมาก นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งชนิดอื่นๆได้
อีก เช่น มะเร็งกล่องเสียง เป็นต้น
2. ดื่มสุราเป็นประจำ หากผู้ใดที่ชอบดื่มสุราอยู่เป็นประจำบ่อยๆ จะมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งตับในอัตราที่สูงกว่าคนปกติ นอกจากนี้หากดื่มทั้งสุราประกอบกันการสูบบุหรี่จัดด้วย ก็ยิ่งมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นในการเป็นโรคมะเร็งอย่างเช่น มะเร็งที่ปาก หรือ มะเร็งในลำคอ ได้อีกด้วย
3. เป็นพาหะของเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบี หรือชอบรับประทานอาหารที่มีสาร อัลฟาทอกซิล สารอัลฟาทอกซิล เป็นเชื้อราชนิดหนึ่งที่พบได้มากในถั่วลิสง พริกป่นแห้ง หากทานอาหารชนิดที่มีสารปนเปื้อนเข้า
ไปบ่อยๆ จะไปทำให้เกิดการสะสมในร่างกาย จึงมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคตับ หรืออาจลุกลามเป็นมะเร็งตับได้ด้วย ส่วนกรณีที่ป่วยเป็นไวรัสตับอักเสบบี หากเป็นเรื้อรัง ก็มีโอกาสจะพัฒนากลายเป็น โรคมะเร็ง ได้เช่นกัน ดังนั้น การป้องกันมะเร็งตับ ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนสาร อัลฟาทอกซิล รวมถึงควรการฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี เอาไว้ด้วย
4. รับประทานอาหารที่มีไขมันสูง การทานอาหารประเภทที่มีไขมันสูง บ่อยๆเป็นประจำ เป็นตัวการอย่าง
หนึ่ง ที่ส่งผลให้มีความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งได้หลายชนิด เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่ และ
มะเร็งต่อมลูกหมาก เป็นต้น
5. มีเชื้อพยาธิใบไม้ในตับและรับประทานอาหารที่ใส่ดินประสิว การทานอาหารที่ไม่สะอาดมีเชื้อพยาธิ
ใบไม้หรือ อาหารที่มีส่วนผสมของดินประสิวในปริมาณมาก จะยิ่งทำให้มีความเสี่ยงในการเกิด โรคมะเร็ง
ได้ โดยเฉพาะมะเร็งท่อ น้ำดี ซึ่งอาหารที่นิยมใส่ดินประสิวและควรหลีกเลี่ยงได้แก่ เนื้อเค็ม ปลาเค็ม กุนเชียง ไส้กรอก เบคอน แหนม เนื้อสวรรค์ ปลาร้า เป็นต้น
6. มีภูมิคุ้มกันบกพร่องอันเกิดจากความผิดปกติจากพันธุกรรม หรือติดเชื้อ HIV สำหรับผู้ที่ติดเชื้อ HIV จะส่งผลให้ภูมิคุ้มกันของตนเองบกพร่อง ซึ่งก็ทำให้มีโอกาสเกิดโรคต่างๆได้มากขึ้นตามไปด้วย มะเร็งก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่อาจเกิดได้ในผู้ป่วยที่ติดเชื้อ HIV สำหรับมะเร็งที่พบได้บ่อยๆในผู้ติดเชื้อ HIV คือ มะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งปากมดลูก มะเร็งหลอดเลือด เป็นต้น
7. รับประทานอาหารเค็มจัดและอาหารที่มีส่วนไหม้เกรียม ผู้ที่ชอบทานอาหารรสเค็มจัดหรือชอบทาน
อาหารไหม้เกรียม โดยเฉพาะอาหารปิ้งย่าง สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่เป็นตัวกระตุ้นในการเกิด โรคมะเร็ง ทั้งสิ้น
โดยเฉพาะมะเร็งกระเพาะอาหาร และมะเร็งลำไส้ใหญ่
8. คนในครอบครัวมีประวัติการเป็นโรคมะเร็ง มะเร็งอาจไม่ใช่โรคติดต่อจากคนสู่คน แต่มะเร็งบางชนิด
สามารถถ่ายทอดผ่านทางยีนต์ของมนุษย์ได้เหมือนกัน เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่ และมะเร็งลำไส้ใหญ่ชนิดที่เป็นติ่งเนื้อ เป็นต้น หากคนในครอบครัวหรือญาติพี่น้องเคยมีประวัติป่วยเป็นโรคมะเร็ง คนที่อยู่ในครอบครัวนั้นก็อาจจะมีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งมากว่าครอบครัวที่ไม่มีบุคคลใดเคยป่วยเป็นมะเร็งมาก่อน
9. ตากแดดจัดเป็นประจำ ผู้ที่ทำงานกลางแจ้งหรือต้องตากแดดอยู่เป็นประจำบ่อยๆ และอยู่ติดต่อกันเป็น
เวลานาน ก็มีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งได้มากกว่าคนปกติ โดยเฉพาะโรคมะเร็งผิวหนัง จากการได้รับ
อันตรายของรังสีอัลตราไวโอเลต นั้นเอง
มะเร็งที่พบบ่อยจากข้อมูลจากข้างต้น จะเห็นได้ว่าการเกิด โรคมะเร็ง ในส่วนใหญ่ จะมีปัจจัยและสาเหตุหลักๆมาจาก สิ่งแวดล้อมหรือปัจจัยภายนอกร่างกาย อย่างเช่น พฤติกรรมการใช้ชีวิต สภาพสังคมแวดล้อม รวมถึงการรับประทานอาหารต่างๆ ล้วนแต่ เป็นสิ่งที่กระตุ้นให้เกิดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งได้มากยิ่งขึ้น ดังนั้นการป้องกันโรคมะเร็งที่ดีที่สุดและง่ายที่สุดสำหรับตัวเราเองก็คือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตให้ดีขึ้น และต้องพยายามหลีกเลี่ยงปัจจัยต่างๆที่เป็นตัวก่อสารมะเร็ง เช่น ควรงดดื่มสุรา งดสูบบุหรี่ เลี่ยงการอยู่ในสถานที่ที่มีมลพิษสูง เป็นต้น
ร่วมตอบคำถามกับเรา
อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง
เอกสารอ้างอิง
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิงพวงทอง ไกรพิบูลย์. รู้ก่อนเข้าใจการตรวจรักษามะเร็ง. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2557.
WHO (October 2010). Cancer. World Health Organization. Retrieved 5 January 2011.