ต้นคราม สรรพคุณเป็นยารักษาโรคกษัย

0
ต้นคราม
ต้นคราม สรรพคุณเป็นยารักษาโรคกษัย เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก ใบมีผิวบางมีสีเขียว ดอกเป็นช่อขนาดยาว สีม่วงแกมสีน้ำตาลหรือสีชมพู ฝักขนาดเล็กคล้ายฝักถั่ว เมล็ดขนาดเล็กสีครีมอมเหลือง
ต้นคราม
เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก ใบมีผิวบางมีสีเขียว ดอกเป็นช่อขนาดยาว สีม่วงแกมสีน้ำตาลหรือสีชมพู ฝักขนาดเล็กคล้ายฝักถั่ว เมล็ดขนาดเล็กสีครีมอมเหลือง

ต้นคราม

คราม จะพบขึ้นได้มากตามป่าโปร่งทางภาคอีสานและทางภาคเหนือของประเทศไทย[1],[2],[3],[4],[5] ชื่อสามัญ Indigo[1],[2] ชื่อวิทยาศาสตร์ Indigofera tinctoria L. จัดอยู่ในวงศ์ วงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และวงศ์ย่อยถั่ว FABOIDEAE (PAPILIONOIDEAE หรือ PAPILIONACEAE)[1],[2] ชื่ออื่น ๆ คราม ครามย้อย (ภาคเหนือและภาคกลางของไทย), คาม (ภาคตะวันตกเฉียงเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย) เป็นต้น[1],[3]

หมายเหตุ
ต้นคราม ในบทความนี้ เป็นคนละชนิดกับ ต้นฮ่อม เนื่องจากในบางท้องถิ่นก็เรียกต้นฮ่อมว่า ต้นคราม
(ต้นฮ่อมจัดอยู่ในวงศ์เหงือกปลาหมอ (ACANTHACEAE) และมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Baphicacanthus cusia (Nees) Bremek.)

ลักษณะของต้นคราม

  • ต้น
    – เป็นพรรณไม้พุ่มที่มีขนาดเล็ก
    – ลำต้นมีสีเขียวมีลักษณะเป็นทรงกระบอก โดยลำต้นจะแตกแขนงกิ่งก้านออกมามาก (บางต้นอาจแตกแขนงกิ่งก้านออกมาน้อยก็มี) ซึ่งกิ่งก้านมักจะเกาะพาดตามขอนไม้ใกล้กับลำต้น
    – ความสูง ประมาณ 1-2 เมตร
    – การขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด
  • ใบ
    – ใบมีรูปร่างเป็นรูปวงรีแกมรูปขอบขนาน ตรงปลายใบมน ส่วนโคนใบสอบ และขอบใบเรียบ โดยใบจะมีลักษณะคล้ายใบก้างปลาแต่จะมีขนาดที่เล็กกว่า[1] แผ่นใบมีผิวบางมีสีเขียว ซึ่งใบจะเป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงสลับ[2],[5]
    – สัดส่วนขนาดใบมีความกว้างประมาณ 0.8-1 เซนติเมตรและมีความยาวประมาณ 1.5-3.5 เซนติเมตร
    – เป็นไม้ไม่ผลัดใบ
  • ดอก
    – ดอก เป็นช่อขนาดยาวที่บริเวณซอกใบ ภายในช่อมีดอกย่อยเป็นรูปดอกถั่ว กลีบดอกมีสีม่วงแกมสีน้ำตาลหรือสีชมพู[1],[2]
  • ผล
    – ผล ออกรวมกันเป็นกระจุก โดยผลมีรูปร่างเป็นฝักทรงกลมมีขนาดเล็กคล้ายฝักถั่ว
  • เมล็ด
    – เมล็ดมีขนาดเล็กเป็นสีครีมอมเหลือง[2],[3],[5]

สรรพคุณของคราม

1. ทั้งต้นนำมาใช้ทำเป็นยาฟอก โดยจะมีสรรพคุณในการขับปัสสาวะ รักษาอาการปัสสาวะขุ่นข้น และมีฤทธิ์ในการรักษาโรคนิ่วได้เป็นอย่างดี (ทั้งต้น)
2. นำมาทั้งต้นมาทำเป็นยาเย็นใช้สำหรับรักษาไข้หวัด (ต้น)[4]
3. เนื้อของต้น มีสรรพคุณในการรักษาแผลไฟไหม้หรือถูกน้ำร้อนลวก และแผลที่ถูกของมีคมบาด (ทั้งต้น)[5]
4. เปลือกนำมาใช้ทำเป็นยาแก้พิษจากการถูกงูกัด (เปลือก)[5]
5. เปลือกนำมาใช้ช่วยแก้พิษฝีและแก้อาการบวม (เปลือก)[5]
6. ทั้งต้นนำมาใช้ทำเป็นยารักษาโรคกษัย (ลำต้น)[5]
7. ใบ นำมาใช้ทำเป็นยาแก้พิษ (ใบ)[5]
8. ลำต้นและใบมีสรรพคุณในการช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะได้ (ลำต้น, ใบ)[5]
9. ลำต้นและใบมีฤทธิ์ในการนำมาใช้ทำเป็นยารักษาไข้ (ลำต้น, ใบ)[5]

ประโยชน์ของต้นคราม

1. ใบนำมาคั้นน้ำ เอามาใช้บำรุงเส้นผมและช่วยป้องกันผมหงอก[5]
2. สามารถนำมาใช้ทำเป็นสีย้อมได้ โดยจะให้สีน้ำเงิน ซึ่งมีคำยกย่องว่าต้นครามคือ “ราชาแห่งสีย้อม” (King of the dyes)[1],[2],[3],[5]
3. ผ้าที่ย้อมด้วยสี มีฤทธิ์ในการช่วยปกป้องผิวของผู้ที่สวมใส่จากรังสีอัลตราไวโอเลตได้[5]

ข้อควรรู้ คุณประโยชน์ของผ้าคราม

1. ผ้าครามที่ถูกนำไปนึ่งให้อุ่นสักประมาณหนึ่ง จะมีสรรพคุณช่วยบรรเทาอาการฟกช้ำได้[5]
2. หมอยาพื้นบ้านทางภาคอีสานและทางภาคเหนือของประเทศไทย จะนำผ้าที่ถูกย้อมด้วยต้นครามมาทำการห่อลูกประคบเอาไว้ โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้ตัวยามีเนื้อยาที่กระชับมากยิ่งขึ้น[4]
3. ผ้าที่ย้อมสีจากต้นนำมาชุบกับน้ำใช้สำหรับประคบบริเวณที่ถูกแมลงสัตว์กัดต่อย จะช่วยลดอาการเจ็บปวดลงได้[4]

สั่งซื้อ อาหารเสริม สำหรับผู้ป่วย เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. “คราม”. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). หน้า 168.
2. หนังสือสมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ. “คราม Indigo”. (คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). หน้า 126.
3. สวนพฤกษศาสตร์สายยาไทย. “คราม”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.saiyathai.com. [15 ก.พ. 2014].
4. วิชาการดอทคอม. “(ฮ่อม) ห้อมและคราม สีมีชีวิต”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.vcharkarn.com. [15 ก.พ. 2014].
5. เดลินิวส์. “คราม ราชาแห่งสีย้อมพร้อมด้วยสรรพคุณทางยา”. อ้างอิงใน: หนังสือสมุนไพรไทย เพื่อสุขภาพและความงาม (ผศ.พิเชษฐ เวชวิฐาน). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.dailynews.co.th. [15 ก.พ. 2014]
6. https://medthai.com/

อ้างอิงรูปจาก
1. https://www.indiamart.com/
2. https://www.desertcart.co.za/

ต้นขี้อ้าย สรรพคุณบำรุงหัวใจ

0
ขี้อ้าย
นขี้อ้าย สรรพคุณบำรุงหัวใจ เป็นไม้ยืนต้น กิ่งอ่อนมี ขนสั้นนุ่ม เนื้อใบบางคล้ายกระดาษ ดอกเป็นช่อแบบช่อแยกแขนง สีเหลืองอ่อนและมีกลิ่นหอม
ขี้อ้าย
เป็นไม้ยืนต้น กิ่งอ่อนมี ขนสั้นนุ่ม เนื้อใบบางคล้ายกระดาษ ดอกเป็นช่อแบบช่อแยกแขนง สีเหลืองอ่อนและมีกลิ่นหอม

ขี้อ้าย

ขี้อ้าย มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเขตร้อน เขตการกระจายพันธุ์อยู่ในอินเดีย พม่า จีนตอนใต้ ภูมิภาคอินโดจีน และในคาบสมุทรมลายู ในประเทศไทยสามารถพบได้ทุกภาค สามารถพบได้ทั่วไปในป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าคืนสภาพ ป่าดงดิบแล้งบนเขาหินทรายและหินปูน จนถึงระดับความสูงประมาณ 1,000 เมตร ชื่อวิทยาศาสตร์ Terminalia nigrovenulosa Pierre[2],[4] (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Terminalia hainanensis Exell, Terminalia obliqua W. G. Craib, Terminalia triptera Stapf, Terminalia tripteroides W. G. Craib)[1],[4] จัดอยู่ในวงศ์สมอ (COMBRETACEAE)[2] ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ กำจาย (เชียงใหม่), สลิว (ตาก), แสนคำ แสงคำ สีเสียดต้น (เลย), หนามกราย (นครราชสีมา), หอมกราย (จันทบุรี), ขี้อ้าย หานกราย (ราชบุรี), เบน เบ็น (สุโขทัย), มะขามกราย หามกราย หนามกราย (ชลบุรี), ประดู่ขาว (ชุมพร), แฟบ เบ็น (ประจวบคีรีขันธ์), ตานแดง (ประจวบคีรีขันธ์, สุราษฎร์ธานี, สงขลา), คำเจ้า พระเจ้าหามก๋าย พระเจ้าหอมก๋าย ปู่เจ้า ปู่เจ้าหามก๋าย สลิง ห้ามก๋าย (ภาคเหนือ), แสงคำ แสนคำ สังคำ (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), กำจำ (ภาคใต้), แนอาม (ชอง-จันทบุรี), หนองมึงโจ่ หนองมึ่งโจ่ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี)[1],[4]

ลักษณะของขี้อ้าย

  • ต้น[1],[2],[4],[5]
    – เป็นพรรณไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดกลางถึงขนาดใหญ่
    – ลำต้น มีความสูงประมาณ 5-25 เมตร
    – ลำต้นตั้งตรง
    – โคนต้น ที่มีพูพอนขนาดเล็ก จะมีกิ่งย่อยรอบ ๆ ลำต้นทางด้านล่าง
    – เมื่อสับแล้วจะมียางสีแดงส้มชัดเจน
    – เปลือกต้น ค่อนข้างเรียบและเป็นสีน้ำตาลหรือสีเทา
    – เปลือกต้น มีรอยแตกตามยาวแบบตื้น ๆ
    – เปลือกด้านใน เป็นสีน้ำตาลแดง
    – กิ่งอ่อนมี ขนสั้นนุ่ม
    – สามารถขยายพันธุ์ได้โดยการเพาะเมล็ด
  • ใบ[1],[2],[4]
    – เป็นใบเดี่ยว
    – ออกใบเรียงสลับกันหรือออกเกือบตรงกันข้ามกัน
    – ใบ เป็นรูปไข่หรือรูปมนแกมรูปไข่
    – ปลายใบ ค่อนข้างแหลม
    – โคนใบ มีความมนหรือสอบเข้าหากันเป็นรูปลิ่ม
    – ขอบใบ ค่อนข้างเรียบ
    – มีต่อมหนึ่งคู่ที่บริเวณขอบใบใกล้ ๆ กับโคนใบ
    – ใบ มีความกว้างประมาณ 3-6 เซนติเมตร และยาวประมาณ 6-10 เซนติเมตร
    – เนื้อใบ จะบางคล้ายกับกระดาษ
    – ใบอ่อน ถูกปกคลุมไปด้วยขนสีน้ำตาลหนาอยู่หนาแน่น และขนจะร่วงไปเมื่อใบมีอายุมากขึ้น
    – เส้นแขนงใบ จะมีข้างละ 8-10 เส้น
    – ใบแก่ก่อนร่วง จะเป็นสีเหลือง
    – ก้านใบมีขนาดเล็กเรียว มีความยาว 0.5-3 เซนติเมตร
  • ดอก[1],[2],[4]
    – ออกดอกเป็นช่อแบบช่อแยกแขนง ออก 3-6 ช่อ
    – ออกดอกตามซอกใบหรือที่ปลายกิ่ง
    – ช่อดอกย่อย เป็นแบบช่อเชิงลด มีความยาวประมาณ 3-6 เซนติเมตร
    – แกนกลางช่อ มีขนสั้นค่อนข้างนุ่ม
    – ดอก เป็นสีเหลืองอ่อนและมีกลิ่นหอม
    – ใบประดับ เป็นรูปเส้นด้าย มีความยาวประมาณ 1-1.5 มิลลิเมตร
    – กลีบเลี้ยงที่โคน จะเชื่อมติดกันเป็นหลอด มีความยาวประมาณ 0.8-1 มิลลิเมตร
    – ปลายกลีบแยกออกเป็น 5 แฉกรูปสามเหลี่ยม มีความยาวประมาณ 1-2 มิลลิเมตร
    – ดอกมีเกสรเพศผู้ 10 อัน มีความยาวเท่า ๆ กลีบเลี้ยง
    – จานฐานดอกขอบหยักมน มีขนยาวขึ้นอยู่หนาแน่น
    – มีรังไข่อยู่ใต้วงกลีบ มีความยาวประมาณ 0.8-1 มิลลิเมตร เกลี้ยง
    – มีช่อง 1 ช่อง ในแต่ละช่องมีออวุล 2-3 เมล็ด
    – ก้านเกสรเพศเมีย มีความยาวประมาณ 2.5-3 มิลลิเมตร
    – จะออกดอกในช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนสิงหาคม
  • ผล[1],[2],[4]
    – ผล เป็นแบบผลผนังชั้นในแข็ง
    – ผล เป็นรูปกระสวย ขอบขนาน หรือเบี้ยว
    – ผล มีปีก 3 ปีก ปีกบาง
    – ในแต่ละปีกทำมุมเกือบเท่ากัน สีน้ำตาลอ่อน
    – เปลือกผล ค่อนข้างเหนียว ผิวเกลี้ยง
    – ผลอ่อน เป็นสีเขียวอมเหลือง
    – ผลแก่ จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล
    – ผล มีความกว้างประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร และมีความยาวประมาณ 1.5-2.5 เซนติเมตร
    – ผลมีเมล็ด 1 เมล็ด
    – เมล็ดเป็นสีขาว เป็นรูปรี
    – จะออกผลในช่วงเดือนกันยายนถึงเดือนตุลาคม

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

  1. จากการศึกษาสารสกัดจากลำต้นด้วย 50% แอลกอฮอล์
    – พบว่ามีสารองค์ประกอบอยู่ในกลุ่มแทนนินส์ที่เป็น hydrolysable tannins มีฟลาโวนอยด์ทั้งประเภท anthocyanidin, leucoanthocyanidin, catechin และ aurone และมีสารในกลุ่มอัลคาลอยด์
    – มีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระสูง (EC50 = 6.55มก./มล.)
    – มีฤทธิ์ในการต้านเชื้อรา ที่ความเข้มข้น 2-4 มก./มล. ที่เป็นสาเหตุของโรคกลาก
    – มีฤทธิ์ในการต้านเชื้อแบคทีเรีย S. aureus ที่ความเข้มข้น 0.78 มก./มล. ที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคแผลฝีหนอง
    – มีฤทธิ์ในการต้านเชื้อแบคทีเรีย S. mutans ที่ความเข้มข้น 0.39 มก./มล. ที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคในช่องปาก
    – มีฤทธิ์ในการต้านเชื้อ V. cholerae ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคอหิวาตกโรค
    – มีฤทธิ์ในการต้านเชื้อแบคทีเรีย Shigella และ Salmonella ที่ความเข้มข้น 12.5 มก./มล. ที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคอุจจาระร่วงและมีฤทธิ์ในการต้านเชื้อไวรัสโรคเริม Herpes simplex virus type 1 (IC50 = 21.65 มก./มล.)[5]
  2. สารสกัด
    – ไม่มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ทั้งในภาวะที่มีและไม่มีเอนไซม์
    – สามารถลดฤทธิ์ในการก่อกลายพันธุ์ของสารมาตรฐานที่ทดสอบได้ดีเมื่อมีการทำงานของเอนไซม์ในตับร่วมด้วย โดยจะมีค่า IC50 เท่ากับ 10.24 และ 8.77 มก./plate
    – สามารถลดการเพิ่มจำนวนของเซลล์ภูมิคุ้มกันชนิดทีเซลล์และบีเซลล์ ที่ความเข้มข้น 3.13-200 มก./มล.
    – มีฤทธิ์ฆ่าเซลล์มะเร็งตับในระดับปานกลาง (IC50 = 148.7±12.3 มก./มล.) แต่ยังพบว่ามีความเป็นพิษต่อเซลล์ปกติเช่นกัน
    – สามารถเหนี่ยวนำให้เซลล์มะเร็งตับตายแบบอะพอพโทซิส เมื่อเซลล์ได้รับสารสกัดนาน 1 วัน[5]

สรรพคุณของขี้อ้าย

  • ช่วยล้างบาดแผลเรื้อรังและช่วยห้ามเลือด[1]
  • ช่วยคุมธาตุและให้อุจจาระเป็นก้อน แก้อุจจาระเป็นฟอง (เปลือก)[6],[8]
  • ช่วยขับปัสสาวะ[1]
  • ช่วยแก้ท้องร่วง รักษาโรคบิด แก้บิดปวดเบ่ง[1],[8]
  • ช่วยกล่อมเสมหะและอาจม[6],[8]
  • ช่วยแก้ปากเปื่อย[5]
  • ช่วยบำรุงหัวใจ[1]
  • ช่วยแก้อุจจาระเป็นมูกเลือด[8]
  • ช่วยแก้อาการท้องร่วงอย่างแรง เป็นบิด ปวดเบ่ง ท้องเดิน[6]
  • ช่วยแก้เสมหะเป็นพิษ[8]

ประโยชน์ของขี้อ้าย

  • ไม้ นำมาใช้ในการก่อสร้างบ้านเรือน ทำเครื่องเรือน ต่อเรือ หรือใช้ทำด้ามเครื่องมือกสิกรรมได้[2],[4]
  • น้ำยาง สามารถนำมาใช้หยอดประทานด้ามมีดแทนครั่ง[3]
  • เปลือกต้น สามารถนำมาใช้เป็นสีย้อมผ้า ซึ่งจะให้สีเหลือง[3]
  • เยื่อหุ้มเมล็ด มีรสค่อนข้างหวาน สามารถนำมารับประทานได้[7]
  • เปลือกต้น มีรสฝาด เมื่อนำมาหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ สามารถนำมาใช้กินกับหมากแทนสีเสียดได้[2],[4]

สั่งซื้อ อาหารเสริม สำหรับผู้ป่วย เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “ขี้อ้าย”. หน้า 146-147.
2. ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. “ขี้อ้าย”. อ้างอิงใน : หนังสือพรรณไม้สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เล่ม 1. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.qsbg.org. [29 ม.ค. 2015].
3. โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง, สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน). “ขี้ อ้าย, ปู่เจ้า”. อ้างอิงใน : หนังสือชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : eherb.hrdi.or.th. [29 ม.ค. 2015].
4. สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช, กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. “ขี้อ้าย”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.dnp.go.th/botany/. [29 ม.ค. 2015].
5. โครงการจัดทำฐานข้อมูลพืชสมุนไพรที่สำรวจและวิจัยภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) มหาวิทยาลัยขอนแก่น. “แสนคำ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : orip.kku.ac.th/thaiherbs. [29 ม.ค. 2015].
6. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “กราย”. หน้า 40.
7. ศูนย์ปฏิบัติการโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติฯ, กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. “ปู่เจ้า, ขี้อ้าย”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.goldenjubilee-king50.com. [29 ม.ค. 2015].
8. หนังสือคัมภีร์เภสัชรัตนโกสินทร์. (วุฒิ วุฒิธรรมเวช). “กราย”.

อ้างอิงรูปจาก
1. https://www.ydhvn.com/news/cay-duoc-lieu-cay-chieu-lieu-nuoc-terminalia-calamansanai-blanco-rolfe-t-bialata-stend
2. https://www.ydhvn.com/lists/cay-duoc-lieu-cay-chieu-lieu-chieu-lieu-hong-xang-tieu-terminalia-chebula-retz
3. https://medthai.com/

กางขี้มอด สรรพคุณเปลือกใช้เป็นยาแก้ตกโลหิต

0
กางขี้มอด
กางขี้มอด สรรพคุณเปลือกใช้เป็นยาแก้ตกโลหิต เป็นไม้ยืนต้น เปลือกต้นสีเทาอมสีเหลืองหรือน้ำตาลอ่อน มีเปลือกชั้นในสีแดง ดอกเป็นช่อแบบช่อกระจุกขนาดเล็กและเป็นสีขาวนวล ฝักอ่อนมีลักษณะเป็นสีเขียว ฝักแก่เป็นสีน้ำตาลเข้ม
กางขี้มอด
เป็นไม้ยืนต้น เปลือกต้นสีเทาอมสีเหลืองหรือน้ำตาลอ่อน เปลือกในสีแดง ดอกเป็นช่อกระจุกเล็กและเป็นสีขาวนวล ฝักอ่อนสีเขียว ฝักแก่เป็นสีน้ำตาลเข้ม

กางขี้มอด

กางขี้มอด เขตการกระจายพันธุ์ตั้งแต่ประเทศอินเดียถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำหรับประเทศไทยสามารถพบขึ้นที่ตามป่าผลัดใบ ป่าดิบเขา ที่สูงถึง 1,000 เมตร จากระดับน้ำทะเล ชื่อสามัญ Crofton weed, Black Siris, Ceylon Rose Wood [3] ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Albizia odoratissima (L.f.) Benth. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ คือ Acacia odoratissima (L.f.) Willd., Mimosa odoratissima L.f.) อยู่วงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่วงศ์ย่อยสีเสียด (MIMOSOIDEAE หรือ MIMOSACEAE)[1],[2] ชื่อในท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น มะขามป่า (จังหวัดน่าน), คางแดง (จังหวัดแพร่), ตุ๊ดเครน (ขมุ), กางแดง (จังหวัดแพร่), จันทน์ (จังหวัดตาก) [1],[3]

ลักษณะของกางขี้มอด

  • ต้น เป็นพรรณไม้ยืนต้น สามารถสูงได้ถึงประมาณ 10-30 เมตร กิ่งก้านมีลักษณะลู่ลง มีรอยแผลที่ปลายยอดกับกิ่งอ่อนมีรอยแผล จะมีรูอากาศอยู่ตามลำต้นกับกิ่ง เปลือกต้นมีลักษณะเป็นสีเทาอมสีเหลืองหรือน้ำตาลอ่อน มีเปลือกชั้นในเป็นสีแดง[1],[2]
  • ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้นปลายคู่ ใบจะออกเรียงสลับกันแบบตรงข้าม มีขนาดยาวประมาณ 20-30 เซนติเมตร มีใบย่อยอยู่ประมาณ 10-25 คู่ แผ่นใบจะเรียบและบาง มีใบย่อยเล็ก ใบย่อยเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน รูปขอบขนาน ที่โคนใบจะเบี้ยว ส่วนที่ปลายใบจะมนหรือสอบ ขอบใบเรียบ ใบกว้างประมาณ 0.6-1.5 เซนติเมตร มีความยาวประมาณ 1-3.5 เซนติเมตร ผิวใบทั้งสองด้านจะเกลี้ยง[1],[2]
  • ดอก ออกเป็นช่อแบบช่อกระจุกแน่นที่ปลายยอด มีขนาดยาวประมาณ 10-20 เซนติเมตร ช่อดอกย่อยนั้นประกอบด้วยดอกย่อยหลายดอกรวมเป็นกลุ่ม มีดอกขนาดเล็กและเป็นสีขาวนวล มีกลีบเลี้ยงเล็ก ที่โคนจะเชื่อมกันเป็นหลอด มีขนขึ้น ปลายกลีบเลี้ยงแยกเป็น 6 แฉก กลีบดอกมีลักษณะเป็นรูปกรวย มีขน มีขนาดยาวประมาณ 6.5-9 มิลลิเมตร มีเกสรเพศผู้เป็นเส้นสีขาว มีขนาดยาวเท่าหลอดกลีบดอก ที่โคนก้านเกสรเพศผู้จะเชื่อมติดกันเป็นหลอด ออกดอกช่วงประมาณมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม[1],[2]
  • ผล เป็นฝักแบนรูปขอบขนาน กว้างประมาณ 2-3.5 เซนติเมตร มีความยาวประมาณ 17-22 เซนติเมตร มีผิวที่เรียบ ฝักอ่อนมีลักษณะเป็นสีเขียว ฝักแก่เป็นสีน้ำตาลเข้ม ฝักเมื่อแห้งจะแตกออกด้านข้าง มีเมล็ดอยู่ในผล เมล็ดเป็นรูปรีกว้าง[1],[2]

ประโยชน์กางขี้มอด

  • ชาวไทใหญ่นำยอดอ่อนไปใช้ในพิธีสร้างบ้านเพื่อความเป็นสิริมงคล[3]
  • เนื้อไม้ใช้ในการสร้างบ้าน ก่อสร้างภายในที่ไม่รับน้ำหนักเยอะ ทำไม้อัด เป็นเฟอร์นิเจอร์ [2]

สรรพคุณกางขี้มอด

1. เปลือกสามารถใช้เป็นยาแก้ฝี แก้บวมได้ (เปลือก)[1]
2. ดอก ใช้เป็นยาแก้พิษฟกบวมและแก้ปวดบาดแผล (ดอก)[1]
3. สามารถใช้เป็นยาแก้ตกโลหิตได้ (เปลือก)[1]
4. เปลือก มีรสฝาดเฝื่อน สามารถใช้เป็นยาแก้ลำไส้พิการ และแก้ท้องร่วงได้ (เปลือก)[1]
5. ดอก มีรสหวาน สามารถใช้เป็นยาแก้ตาอักเสบได้ (ดอก)[1]
6. สามารถใช้เปลือกกับดอกเป็นยาบำรุงธาตุได้ (ดอก, เปลือก)[1]
7. ดอก ใช้เป็นยาแก้คุดทะราดได้ (ดอก)[1]
8. นำเปลือกมาฝนรักษาแผลเปื่อยเรื้อรัง แผลโรคเรื้อน ทาฝี (เปลือก)[1]
9. สามารถใช้เปลือกเป็นยาแก้พยาธิได้ (เปลือก)[1]
10. สามารถนำเปลือกต้นมาต้ม แล้วเอาน้ำแล้วอมไว้ในปาก ช่วยแก้ปวดฟัน (เปลือกต้น)[3]
11. ใบ มีรสฝาดเฝื่อน สามารถใช้เป็นยาแก้ไข้ได้ (ใบ)[1]

สั่งซื้อ อาหารเสริม สำหรับผู้ป่วย เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคเหนือ. (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ). “คางแดง”. หน้า 100.
2. ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. “กาง ขี้ มอด”. อ้างอิงใน : หนังสือพรรณไม้สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เล่ม 7, หนังสือไม้ต้นในสวน Tree in the Garden. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.qsbg.org. [20 ม.ค. 2015].
3. โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง, สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน). “กางขี้มอด กางแดง”. อ้างอิงใน : หนังสือชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : eherb.hrdi.or.th. [20 ม.ค. 2015].

อ้างอิงรูปจาก
1. https://indiabiodiversity.org/
2. https://medthai.com

ต้นกะเม็ง ช่วยบรรเทาอาการเลือดกำเดาไหล

0
ต้นกะเม็ง ช่วยบรรเทาอาการเลือดกำเดาไหล เป็นไม้ล้มลุกขนาดเล็ก ลำต้นมีสีเขียวหรือสีน้ำตาลอมแดง ดอกเป็นช่อสีขาว ผลขนาดเล็กสีเหลืองแกมสีดำ ผลแก่แล้วจะแห้งและมีสีดำสนิท
กะเม็ง
เป็นไม้ล้มลุกขนาดเล็ก ลำต้นมีสีเขียวหรือสีน้ำตาลอมแดง ดอกเป็นช่อสีขาว ผลขนาดเล็กสีเหลืองแกมสีดำ ผลแก่แล้วจะแห้งและมีสีดำสนิท

กะเม็ง

กะเม็ง มี 2 ชนิด คือ ต้นกะเม็งตัวผู้ และ ต้นกะเม็งตัวเมีย โดยต้นตัวผู้จะมีดอกขนาดใหญ่เป็นสีเหลืองสด ต่างกันกับต้นตัวเมียที่ดอกมีขนาดเล็กและเป็นสีขาว ชื่อสามัญ False daisy, White head, Yerbadetajo herb ชื่อวิทยาศาสตร์ Eclipta prostrata (L.) L. จัดอยู่ในวงศ์ จัดอยู่ในวงศ์ทานตะวัน (ASTERACEAE หรือ COMPOSITAE)[1],[2],[8] ชื่ออื่น ๆ บังกีเช้า (ประเทศจีน), อั่วโหน่ยเช่า, บักอั่งเน้ย, เฮ็กบักเช่า (ภาษาจีน-แต้จิ๋ว), ฮั่นเหลียนเฉ่า (ภาษาจีนกลาง), กะเม็งตัวเมีย กาเม็ง คัดเม็ง (ในภาคกลางของประเทศไทย), หญ้าสับ ฮ่อมเกี่ยว ห้อมเกี้ยว (ในภาคเหนือของประเทศไทย) เป็นต้น[1],[2],[8],[11]

ลักษณะของกะเม็ง

  • ต้น
    – เป็นไม้ล้มลุกที่มีขนาดเล็ก
    – ลำต้นมีสีเขียวหรือสีน้ำตาลอมแดง ทั่วพื้นผิวลำต้นจะมีขนเล็ก ๆ ขึ้นปกคลุม (บางต้นก็ไม่มีขนปกคลุม) และลำต้นจะแตกกิ่งก้านที่บริเวณโคนต้น[1],[2],[4],[5]
    – ความสูงของต้น ประมาณ 10-60 เซนติเมตร
  • ใบ
    – ใบ เป็นใบเดี่ยวมีรูปร่างเป็นรูปหอกเรียวยาว ไม่มีก้านใบ ตรงปลายใบเรียวแหลม โคนใบเป็นรอยเว้า ตรงขอบใบเรียบหรือเป็นรอยจัก และขอบใบจะมีขนขึ้นปกคลุมเล็กน้อย[1],[2],[5]
    – ใบมีความกว้างอยู่ที่ประมาณ 0.8-2 เซนติเมตร และยาวประมาณ 4-10 เซนติเมตร (โดยขนาดใบจะขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่ในการเจริญเติบโตด้วย ซึ่งต้นที่เติบโตในพื้นที่แล้งใบจะมีขนาดเล็ก ส่วนต้นที่เติบโตในพื้นที่ชื้นแฉะใบจะมีขนาดใหญ่)
    – เป็นไม้ไม่ผลัดใบ
  • ดอก
    – ดอก เป็นช่อที่บริเวณซอกใบ ก้านช่อดอกยาวประมาณ 5 เซนติเมตร ลักษณะภายในช่อดอกจะมีดอกวงนอกที่เป็นดอกเพศเมีย มีอยู่ประมาณ 3-5 ดอกมีสีขาว และดอกวงในที่กลีบดอกติดกันเป็นรูปหลอดเป็นดอกสมบูรณ์เพศมีสีขาวเช่นเดียวกัน[1],[5]
  • ผล
    – ผล เป็นผลขนาดเล็ก มีรูปร่างเป็นรูปทรงลูกข่าง ตรงปลายผลมีรยางค์เป็นเกล็ดมีความยาวประมาณ 2.5 มิลลิเมตร ผลอ่อนมีสีเหลืองแกมสีดำ เมื่อผลแก่แล้วจะแห้งและมีสีดำสนิท[1],[2],[5]

สรรพคุณของกะเม็ง

1. ต้นนำมาทำเป็นยาบำรุงพละกำลังของร่างกาย (ทั้งต้น)[5]
2. ทั้งต้นมีส่วนช่วยในการบำรุงตับและไต (ทั้งต้น)[2],[5]
3. ทั้งต้นมีสรรพคุณในการรักษาอาการปวดเมื่อยที่บริเวณเอวและหัวเข่า (ทั้งต้น)[8]
4. ทั้งต้นมีสรรพคุณเป็นยาบรรเทาอาการแก้กลากเกลื้อน และรักษาโรคทางผิวหนัง (ทั้งต้น)[4]
5. ทั้งต้นนำมาใช้ทำเป็นยารักษาอาการฝีพุพอง (ทั้งต้น)[11]
6. ทั้งต้นมีสรรพคุณในการบำรุงเพศทั้งเพศชายและเพศหญิง (ทั้งต้น)[13]
7. ทั้งต้นมีสรรพคุณในการรักษาอาการอุจจาระเป็นเลือด (ทั้งต้น)[5]
8. ทั้งต้นมีสรรพคุณในการรักษาโรคลำไส้อักเสบ (ทั้งต้น)[2],[5]
9. ทั้งต้นมีสรรพคุณในการรักษาโรคริดสีดวงทวาร (ทั้งต้น)[11]
10. ทั้งต้นมีสรรพคุณในการรักษาอาการประจำเดือนมาไม่ปกติ และอาการตกขาว (ทั้งต้น)[2],[5],[13]
11. ต้นมีสรรพคุณเป็นยารักษาโรคเบาหวาน (ทั้งต้น)[12],[13]
12. ต้นมีสรรพคุณเป็นยารักษาโรคมะเร็ง (ทั้งต้น[5],[4])
13. ต้นมีสรรพคุณเป็นยาบำรุงเลือด (ทั้งต้น[1],[3])
14. ทั้งต้นมีสรรพคุณรักษาอาการตับอักเสบเรื้อรัง (ทั้งต้น)[2],[13]
15. ต้นมีสรรพคุณเป็นยารักษาโรคกระษัย (ทั้งต้น)[13]
16. ต้นมีสรรพคุณในการลดอาการมึนและวิงเวียนศีรษะ (ทั้งต้น)[8]
17. ต้นมีฤทธิ์เป็นยาบรรเทาอาการปวดศีรษะข้างเดียว (ทั้งต้น)[2],[13]
18. ต้นนำมาต้มกับน้ำใช้สำหรับทานเป็นยารักษาอาการดีซ่าน (ทั้งต้น)[4]
19. ต้นมีสรรพคุณในการรักษาอาการไอเป็นเลือด (ทั้งต้น)[2],[5],[13]
20. ต้นมีสรรพคุณรักษาอาการไอกรน (ทั้งต้น)[11]
21. ทั้งต้นนำมาผสมกับน้ำหอมใช้สำหรับสูดดมกลิ่น มีสรรพคุณในการช่วยรักษาอาการไข้หวัดและโรคดีซ่าน[5]
22. ทั้งต้นมีสรรพคุณในการช่วยรักษาอาการหูอื้อ (ทั้งต้น)[8]
23. ทั้งต้นมีสรรพคุณในการช่วยรักษาอาการเจ็บตา และแก้อาการตาแดง (ทั้งต้น)[11],[13]
24. ทั้งต้นมีสรรพคุณในการรักษาโรคหืด (ทั้งต้น)[4]
25. ต้นนำมาต้มกับน้ำใช้สำหรับอาบ มีส่วนช่วยในการลดไข้และอาการตัวร้อนในเด็กได้ (ทั้งต้น)[9],[10]
26. ต้นมีฤทธิ์ในการบรรเทาอาการเลือดกำเดาไหล (ทั้งต้น)[2],[13]
27. ทั้งต้นนำมาหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ อมไว้ในปากสักพักแล้วค่อยคายทิ้ง มีสรรพคุณในการรักษาแผลภายในปาก[12]
28. ต้นมีสรรพคุณในการบรรเทาอาการปวดฟัน (ทั้งต้น)[2],[12]
29. ทั้งต้นมีสรรพคุณในการบรรเทาอาการจุกเสียดแน่นท้อง (ทั้งต้น)[11]
30. ทั้งต้นมีสรรพคุณในการขับเสลดและรักษาโรคคอตีบ (ทั้งต้น)[2],[5]
31. ทั้งต้นมีฤทธิ์ในการรักษาอาการเจ็บคอ (ทั้งต้น)[11]
32. น้ำต้มจากรากมีสรรพคุณเป็นยารักษาโรคโลหิตจาง (ราก)[5]
33. รากมีสรรพคุณเป็นยารักษาอาการท้องเฟ้อ (ราก)[1],[4]
34. รากมีส่วนช่วยในการบำรุงตับและม้าม (ราก)[4],[5]
35. รากมีส่วนช่วยในการรักษาอาการท้องร่วง (ราก)[5]
36. รากมีส่วนช่วยในการรักษาอาการแน่นหน้าอก (ราก)[5]
37. รากมีสรรพคุณในการรักษาโรคเกี่ยวกับดวงตา (ราก)[5]
38. รากมีสรรพคุณรักษาโรคหอบหืด (ราก)[5]
39. ใบมีสรรพคุณในการรักษาอาการปากเปื่อย (ใบ)[2],[12]
40. ใบนำมาใช้ทำเป็นยาแก้ไข้ในเด็กทารก (ใบ)[5]
41. ต้นและรากมีสรรพคุณในการช่วยรักษาโรคหลอดลมอักเสบ (ทั้งต้น[4], ราก[5])
42. ทั้งต้นและรากมีส่วนช่วยในการรักษาโรคบิดถ่ายเป็นเลือด (ทั้งต้น,ราก)[2],[3],[13]
43. ทั้งต้นและใบมีสรรพคุณเป็นยารักษาโรคหนองในและอาการปัสสาวะเป็นเลือด (ทั้งต้น,ใบ)[2],[13]
44. ทั้งต้นและเมล็ดมีสรรพคุณในการช่วยรักษาอาการเลือดออกภายในลำไส้และปอด (ทั้งต้น, เมล็ด)[2],[13]
45. ใบและรากมีส่วนช่วยในการขับอาเจียน (ใบ, ราก)[1],[4]
46. ดอกและใบมีสรรพคุณเป็นยาบรรเทาอาการปวดเหงือก (ดอก, ใบ)[5],[13]
47. ใบและรากนำมาใช้เป็นยาถ่าย (ใบ, ราก)[4]

ประโยชน์ของกะเม็ง

1. ในประเทศอินเดียจะใช้ต้นมาคั้นเอาแต่น้ำมาใช้สัก โดยจะให้สีเขียวคราม[1]
2. นำทั้งต้นกับผลของต้นมะเกลือดิบ มาใช้ทำสีดำสำหรับย้อมผ้า[1]
3. นำทั้งต้น น้ำมันงา และน้ำมันมะพร้าว มาต้มรวมกัน โดยให้ต้มจนน้ำเคี่ยว จากนั้นนำน้ำที่ได้มาโกรกผม จะทำให้ผมมีความดกดำเป็นธรรมชาติ คนพื้นเมืองมักใช้วิธีนี้ปิดผมหงอก[3],[5]

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

1. จากการให้ผู้ป่วยโรคหัวใจรับประทานยาที่สกัดมาจากต้น พบว่าผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นจากอาการข้างเคียงของโรคหัวใจ เช่น อาการปวดหลังและปวดหัว เป็นต้น[9],[10]
2. จากการวิจัยพบว่าต้น มีฤทธิ์ในการเพิ่ม T-lymphocyte ซึ่งเป็นสารสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพของระบบภูมิคุ้มกัน จึงได้มีการนำมาทำเป็นยาอายุวัฒนะและยาเสริมภูมิคุ้มกันสำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคเอดส์[12]
3. จากการวิจัยการนำต้นแห้งทั้งต้นมาสกัดด้วยสารเคมีชนิดต่าง ๆ ผลสรุปพบว่าสารเหล่านี้ สามารถยับยั้งการเกิดอนุมูลอิสระได้[14]
4. จากข้อมูลการวิจัยพบว่า มีฤทธิ์ในการบรรเทาโรคคอตีบได้[2]
5. จากการทดลองกับสุนัขและหนูตะเภาพบว่าต้น มีสารที่ช่วยในการบำรุงระบบไหลเวียนเลือด[9]
6. จากการวิจัยพบว่าต้น มีสารชนิดหนึ่งที่ออกฤทธิ์ในการเพิ่มระดับของฮอร์โมน Melatonin ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ช่วยในการนอนหลับ[12]
7. มีงานวิจัยระบุไว้ว่า มีสารที่สามารถช่วยป้องกันไม่ให้ตับถูกทำลายจากสารพิษได้[12]

ข้อควรระวังในการใช้กะเม็ง

1. ห้ามรับประทานในผู้ที่มีอาการไตหยินพร่อง ม้ามพร่อง และท้องเสียถ่ายเหลว[8]
2. ยาที่ทำหากเก็บไว้เป็นเวลานาน คุณภาพจะค่อย ๆ เสื่อมลงได้
3. ยาที่มีคุณภาพดี ควรจะมีสีเขียวและไม่มีเชื้อราหรือสิ่งแปลกปลอมมาเจือปน[3]

สั่งซื้อ อาหารเสริม สำหรับผู้ป่วย เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “กะ เม็ง“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.rspg.or.th. [7 ธ.ค. 2013].
2. มูลนิธิหมอชาวบ้าน. นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่ 7 คอลัมน์: สมุนไพรน่ารู้. “กะ เม็ง ตัวเมีย“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.doctor.or.th. [7 ธ.ค. 2013].
3. ศูนย์สมุนไพรทักษิณ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. “กะ เม็ง สมุนไพรที่ไม่ควรมองข้าม“. (รศ.ดร.สนั่น ศุภธีรสกุล ภาควิชาเภสัชเวทและเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: herbal.pharmacy.psu.ac.th. [7 ธ.ค. 2013].
4. อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. “กะ เม็ง“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.pharmacy.mahidol.ac.th. [7 ธ.ค. 2013].
5. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย (วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม).
6. ผู้จัดการออนไลน์. “วิจัย กะ เม็ง-กระชาย มีฤทธิ์ต้านไวรัส HIV“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.manager.co.th. [7 ธ.ค. 2013].
7. ฐานข้อมูลโครงงานวิทยาศาสตร์ ห้องสมุด สสวท.. โรงเรียนนิยมศิลป์อนุสรณ์ อ.วิเชียรบุรี จ.เพชรบูรณ์. “การทำหมึกโรเนียวจากกะเม็ง“. (มัธยมต้น ชนะเลิศประกวดรางวัลที่ 1 สาขาวิทยาศาสตร์ประยุกต์ ภาคเหนือตอนล่าง ปี 2545). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: elib.ipst.ac.th. [7 ธ.ค. 2013].
8. สถาบันการแพทย์ไทย-จีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้. “อั่วโหน่ยเช่า“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: tcm.dtam.moph.go.th. [7 ธ.ค. 2013].
9. Zhang Y, Lin ZB. Herba Ecliptae: mo han lian In: Wang BX, Ma JK, Zheng WL, Qu SY, Li R, Li YK (eds.). Modern study of pharmacology in traditional Chinese medicine. 2nd ed. Tianjin: Tianjin Science & Technology Press, 1999.
10. Institute of Medicinal Plant Development and Institute of Materia Medica, Chinese Academy of Medicinal Sciences. Chinese Materia Medica. Vol. IV. 2nd ed. Beijing: Renmin Weisheng Publishing House, 1988.
11. ภูมิปัญญาอภิวัฒน์. “กะเม็งสมุนไพรดูแลตับไตหัวใจ ห้ามเลือด แก้บิด ผมหงอกเร็ว“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.budmgt.com. [7 ธ.ค. 2013].
12. ฟาร์มเกษตร. “สมุนไพรกะเม็ง“. อ้างอิงใน: thrai.sci.ku.ac.th/node/936. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.farmkaset.org. [7 ธ.ค. 2013].
13. “กะเม็งตัวเมีย ยอดยาดีหมอพื้นบ้าน“. (จำรัส เซ็นนิล). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.jamrat.net. [7 ธ.ค. 2013].
14. ฐานข้อมูลการประชุมวิชาการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. “พฤกษเคมี และการยับยั้งการเกิดออกซิเดชันในเบื้องต้นของกะเม็ง“. (พจมาน พิศเพียงจันทร์, สรัญญา วัชโรทัย, อุไรวรรณ ดิลกคุณานันท์, อุดมลักษณ์ สุขอัตตะ). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: kucon.lib.ku.ac.th. [7 ธ.ค. 2013].
15. https://medthai.com/

กระดึงช้างเผือก สรรพคุณแก้หวัดคัดจมูก

0
กระดึงช้างเผือก
กระดึงช้างเผือก สรรพคุณแก้หวัดคัดจมูก เป็นไม้เถาเลื้อย ดอกเพศผู้สีขาว ดอกเพศเมียสีเหลืองอมชมพู มีลายเส้นสีแดง ผลอ่อนสีเขียวเข้มลายเส้นสีขาวหรือสีเขียวอ่อน ผลสุกสีส้มแดงลายสีเหลือง
กระดึงช้างเผือก
เป็นไม้เถาเลื้อย ดอกเพศผู้สีขาว ดอกเพศเมียสีเหลืองอมชมพู มีลายเส้นสีแดง ผลอ่อนสีเขียวเข้มลายเส้นสีขาวหรือสีเขียวอ่อน ผลสุกสีส้มแดงลายสีเหลือง

กระดึงช้างเผือก

กระดึงช้างเผือก พบขึ้นได้ตามป่าเบญจพรรณ ในต่างประเทศพบได้ที่จีนตอนใต้ อินเดีย พม่า และในภูมิภาคอินโดจีน ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Trichosanthes tricuspidata Lour.[1],[3] จัดอยู่ในวงศ์แตง (CUCURBITACEAE)[1],[3] ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ คือ ขี้กาลาย มะตูมกา (นครราชสีมา), ขี้กาแดง (ราชบุรี), กระดึงช้าง กระดึงช้างเผือก (ประจวบคีรีขันธ์), ขี้กาขม (พังงา), ขี้กาใหญ่ (สุราษฎร์ธานี), มะตูมกา (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), ขี้กา (ภาคกลาง), กระดึงช้าง (ภาคใต้), เถาขี้กา[1],[3]

ลักษณะของกระดึงช้างเผือก

  • ต้น[1],[2]
    – เป็นพรรณไม้เถา
    – จะเลื้อยไปตามผิวดินขนาดใหญ่
    – เถา มีรูปร่างเป็นเหลี่ยม สีเขียวเข้มและมีขนสีขาวสั้น ๆ ค่อนข้างสากมือ
    – ขน จะค่อย ๆ หลุดร่วงไปจนเกือบเกลี้ยง
    – จะมีมือสำหรับยึดเกาะแยกเป็น 2-3 แขนง
  • ใบ[1],[2]
    – ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับแบบห่าง ๆ กัน
    – ใบ มีลักษณะที่แตกต่างกัน เช่น รูปไข่กว้าง รูปเกือบกลม หรือรูปทรง 5 เหลี่ยม
    – โคนใบ มีความคล้ายกับรูปหัวใจกว้าง ๆ
    – ขอบใบหยักและเว้าลึก 3-7 แห่ง
    – ใบ จะมีรูปร่างเป็นแฉก 3-7 แฉก
    – ใบ มีความกว้างและยาวประมาณ 15-20 เซนติเมตร
    – มีเส้นใบออกจากโคนใบประมาณ 3-7 เส้น
    – ปลายเส้นใบ ยื่นพันขอบใบออกไปคล้ายหนามสั้น ๆ
    – หลังใบ เห็นเป็นร่องของเส้นแขนงใบชัดเจน
    – ผิวใบด้านบน จะมีความสากมือ
    – ผิวใบด้านล่าง จะมีขนสีขาว
    – ก้านใบ อาจจะมีขนหรือไม่มี
  • ดอก[1],[2],[3]
    – ดอก เป็นแบบแยกเพศอยู่กันคนละต้น
    – ดอกเพศผู้ จะออกเป็นช่อ มีความยาวประมาณ 10-20 เซนติเมตร
    – ดอก จะออกตามซอกใบ
    – ดอกย่อย เป็นสีขาว
    – ใบประดับ เป็นรูปไข่กลับ
    – ขอบใบประดับ มีความหยักแบบซี่ฟันหรือแยกเป็นแฉกตื้น ๆ
    – กลีบดอกมี 5 กลีบ
    – โคนกลีบดอกติดกันเล็กน้อย
    – ขอบกลีบดอก เป็นชายครุย
    – โคนกลีบเลี้ยง จะเชื่อมติดกันเป็นหลอด ส่วนปลายจะแยกออกเป็นกลีบ 5 กลีบ
    – เกสรเพศผู้มี 3 อัน อับเรณูเชื่อมติดกันเป็นรูป S
    – ดอกเพศเมีย จะออกเป็นดอกเดี่ยวตามซอกใบ
    – กลีบเลี้ยงและกลีบดอกเพศเมียจะมีความคล้ายกับดอกเพศผู้
    – กลีบดอก เป็นสีเหลืองอมชมพู มีลายเป็นเส้นสีแดง
    – ฐานดอก จะเป็นหลอดค่อนข้างยาว
    – มีรังไข่ 1 ช่อง มีไข่อ่อนจำนวนมาก ท่อรังไข่ยาวเล็กเหมือนเส้นด้าย
  • ผล[1],[2],[3]
    – ผล มีลักษณะเป็นทรงกลมหรือรูปขอบขนาน
    – ผลอ่อน จะเป็นสีเขียวเข้ม มีลายเป็นเส้นสีขาวหรือสีเขียวอ่อน
    – ผลสุก จะเปลี่ยนเป็นสีส้มแดง มีลายสีเหลือง
    – ผล มีขนาดประมาณ 3-5 เซนติเมตร
    – เนื้อในผล จะเป็นสีเขียว
    – เนื้อหุ้มเมล็ด เป็นสีเทา
    – ผลมีเมล็ดเป็นสีเทาหรือสีน้ำตาลค่อนข้างมาก
    – เมล็ด เป็นรูปขอบขนานแบน

สรรพคุณของดึงช้างเผือก

– ช่วยฆ่า ไร หิด เหา[1],[2]
– ช่วยบำรุงน้ำดี[1],[2]
– ช่วยดับพิษเสมหะและโลหิต[1],[2]
– ช่วยชำระเสมหะให้ตก[1],[2]
– ช่วยแก้โรคเรื้อน[1],[2]
– ช่วยแก้ตับหรือม้ามโต[1],[2]
– ใช้เป็นยาถ่ายได้[3]
– ช่วยบำรุงร่างกาย[1],[2]
– ช่วยแก้โรคผิวหนัง[3]
– ช่วยแก้หวัดคัดจมูก[1],[2]
– ช่วยแก้ตับและปอดพิการ[1],[2]
– ช่วยขับพยาธิ[1],[2]
– ช่วยขับเสมหะ[1],[2]
– ช่วยถ่ายพิษตานซาง[1],[2]
– ช่วยแก้ไข้[3]
– ช่วยบำรุงกำลัง[1],[2]

สั่งซื้อ อาหารเสริม สำหรับผู้ป่วย เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคกลาง. (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ, ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, กัญจนา ดีวิเศษ). “ขี้กาลาย”. หน้า 81.
2. หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). “ขี้กาลาย (Khi Ka Lai)”. หน้า 65.
3. ระบบจัดการฐานความรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้ กรมป่าไม้. “กระดึงช้างเผือก”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : biodiversity.forest.go.th. [03 ก.พ. 2015].

อ้างอิงรูปจาก
1. https://www.floraofbangladesh.com/2020/07/makal-or-mahakal-trichosanthes.html
2. https://efloraofindia.com/2020/03/22/trichosanthes-bracteata/
3. https://medthai.com/

ต้นกระแจะ สรรพคุณเปลือก ช่วยดับพิษร้อนในร่างกาย

0
ต้นกระแจะ สรรพคุณเปลือก ช่วยดับพิษร้อนในร่างกาย เป็นไม้พุ่มกึ่งไม้ยืนต้น เนื้อไม้เป็นสีขาว เปลือกลำต้นสีน้ำตาลผิวขรุขระ ดอกเป็นช่อกระจะสีขาวหรือสีขาวอมสีเหลือง ผลอ่อนสีเขียวผลแก่สีม่วงคล้ำ
ต้นกระแจะ
เป็นไม้พุ่มกึ่งไม้ยืนต้น เนื้อไม้เป็นสีขาว เปลือกลำต้นสีน้ำตาลผิวขรุขระ ดอกเป็นช่อกระจะสีขาวหรือสีขาวอมสีเหลือง ผลอ่อนสีเขียวผลแก่สีม่วงคล้ำ

กระแจะ

กระแจะ สามารถพบได้ตามป่าเบญจพรรณทั่วไป รวมไปถึงป่าเต็งรังและป่าดิบแล้ง ที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 100-400 เมตร สามารถขยายพันธุ์ได้โดยการใช้เมล็ดหรือการปักชำด้วยกิ่งอ่อนหรือราก มีเขตการกระจายพันธุ์อยู่ในประเทศพม่า ปากีสถาน ศรีลังกา อินเดีย บังกลาเทศ มณฑลยูนนานของจีน และในภูมิภาคอินโดจีน ในประเทศไทยจะมีเขตการกระจายพันธุ์อยู่ทางภาคเหนือและภาคตะวันตกเฉียงใต้ ชื่อวิทยาศาสตร์ Hesperethusa crenulata (Roxb.) M. Roem. ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ คือ Limonia crenulata Roxb., Naringi crenulata (Roxb.) Nicolson จัดอยู่ในวงศ์ส้ม (RUTACEAE)[1] ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ คือ กระแจะจัน ขะแจะ (ภาคเหนือ), ตุมตัง (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ[1], บ้างก็ว่าภาคกลาง[2]), พญายา (ราชบุรี, ภาคกลาง), ตะนาว (มอญ), พินิยา (เขมร), กระแจะสัน, ตูมตัง, จุมจัง, จุมจาง, ชะแจะ, พุดไทร, ฮางแกง, ทานาคา[1],[2],[3],[4],[5]

ลักษณะของกระแจะ

  • ต้น[1],[3],[4],[5]
    – เป็นไม้พุ่มกึ่งไม้ยืนต้น หรือไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบขนาดเล็กถึงขนาดกลาง
    – ต้น มีความสูงประมาณ 8-15 เมตร
    – ลำต้น มีความเปลาตรง แตกกิ่งต่ำ
    – กิ่งก้าน จะตั้งฉากกับลำต้น
    – กิ่งอ่อนและยอดอ่อน จะเกลี้ยง
    – เนื้อไม้ เป็นสีขาว
    – เปลือกลำต้น เป็นสีน้ำตาล มีผิวขรุขระ
    – ลำต้นและกิ่ง จะมีหนามที่แข็งและยาวอยู่
    – หนามจะออกแบบเดี่ยว ๆ หรืออาจจะออกเป็นคู่ ๆ และมีความยาวได้ถึง 2.5 เซนติเมตร
    – เนื้อไม้ที่ตัดมาใหม่ ๆ จะเป็นสีขาวและจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอ่อน หากทิ้งไว้นาน ๆ
  • ใบ[1]
    – เป็นใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียว
    – ออกใบเรียงสลับกัน
    – มีใบย่อยประมาณ 4-13 ใบ
    – ใบย่อย เป็นรูปวงรีแกมรูปไข่กลับ
    – โคนและปลายใบ จะสอบแคบ
    – ขอบใบ เป็นซี่ฟันเลื่อยแบบตื้น ๆ
    – ใบ มีความกว้างประมาณ 1.5-3 เซนติเมตรและยาวประมาณ 2-7 เซนติเมตร
    – ก้านใบ แผ่เป็นปีกทั้งสองข้างและเป็นช่วง ๆ ระหว่างคู่ของใบย่อย
    – เนื้อใบ อาจจะบางเหมือนกับกระดาษหรืออาจจะหนาคล้ายกับแผ่นหนัง
    – เนื้อใบ มีผิวเนียนและเกลี้ยง
    – เส้นแขนงของใบ จะมีข้างละ 3-5 เส้น
    – ก้านช่อใบ มีความยาว 3 เซนติเมตร
  • ดอก[1]
    – ออกดอกเป็นช่อแบบกระจะ
    – ออกรวมกันเป็นกระจุกตามซอกใบหรือตามกิ่งเล็ก ๆ
    – ดอก มีขนค่อนข้างนุ่มและเป็นสีขาวหรือสีขาวอมสีเหลืองขึ้น
    – กลีบดอกมี 4 กลีบ
    – ดอกเมื่อบานแล้วจะแผ่ออกหรือลู่ไปทางส่วนของก้านเล็กน้อย
    – กลีบดอกเกลี้ยง มีต่อมน้ำมันอยู่ประปราย
    – กลีบดอก เป็นรูปไข่แกมรูปรี มีความกว้างประมาณ 3 มิลลิเมตรและมีความยาวประมาณ 7 มิลลิเมตร
    – ดอกมีเกสรตัวผู้จำนวน 8 ก้าน มีความยาวประมาณ 4-6 มิลลิเมตร
    – ก้านชูอับเรณูเพศผู้มีลักษณะเป็นรูปลิ่มแคบ
    – อับเรณูเพศผู้ เป็นรูปขอบขนานแกมรูปไข่ มีความยาวประมาณ 2 มิลลิเมตร
    – รังไข่เพศผู้ จะอยู่เหนือวงกลีบ เกือบกลม มีความยาวประมาณ 1-2 มิลลิเมตร
    – รังไข่เพศผู้ จะมีต่อมน้ำมันอยู่ โดยจะมีอยู่ 4 ช่อง ในแต่ละช่องจะมีออวุลอยู่ 1 เมล็ด
    – ก้านเกสรตัวเมีย มีความยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร มีต่อมน้ำมันอยู่ใต้ยอดเกสรตัวเมีย
    – ยอดเกสรตัวเมียส่วนปลายจะแยกเป็นแฉก 5 แฉก
    – จานฐานดอกเกลี้ยง
    – มีก้านช่อดอกยาวได้ถึง 2 เซนติเมตร
    – ก้านดอกยาวประมาณ 8-10 มิลลิเมตร
    – กลีบเลี้ยงดอกมีอยู่ 4 กลีบ เป็นรูปคล้ายสามเหลี่ยม
    – กลีบเลี้ยง มีความกว้างและมีความยาวประมาณ 1.5 มิลลิเมตร ปลายแหลม
    – ผิวด้านใน จะเกลี้ยง
    – ผิวด้านนอก มีขนละเอียดและมีต่อมน้ำมัน
    – จะออกดอกในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม
  • ผล[1]
    – ผล เป็นผลสด
    – ผล เป็นรูปทรงกลม
    – ผล มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.5-1 เซนติเมตร
    – ผลอ่อน จะเป็นสีเขียว
    – ผลแก่ จะเปลี่ยนเป็นสีม่วงคล้ำ
    – มีเมล็ดอยู่ประมาณ 1-4 เมล็ด
    – เมล็ด เป็นสีน้ำตาลอมสีส้มอ่อน
    – ผล ความกว้างประมาณ 5 มิลลิเมตร
    – ก้านผล มีความยาวได้ถึง 2 เซนติเมตร
    – ผลจะแก่ในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม

ทานาคา

  1. ทานาคาในปัจจุบันนั้นได้มีการพัฒนาให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนยุคใหม่มากขึ้น เช่น[5]
    – ผลิตภัณฑ์ผงทานาคาบดละเอียด
    – ทานาคาชนิดครีม
    – ควรทดสอบการแพ้กับท้องแขนก่อนนำมาใช้
    – หากไม่มีอาการแพ้หรืออาการผิดปกติก็สามารถนำมาใช้กับใบหน้าได้
  2. กลิ่นหอมของทานาคานั้นมาจากกลุ่มคูมาลิน 4 ชนิด (coumarins)[5]
    – เป็นสารที่ไม่มีความเป็นพิษต่อหน่วยพันธุกรรม
    – ไม่มีความเป็นพิษต่อเซลล์แต่อย่างใด
  3. สารอาร์บูติน (Arbutin) จากลำต้น[5]
    – เป็นสารที่ทำหน้าที่ยับยั้งกระบวนการสร้างเม็ดสีเมลานินได้ ที่เมลานินเป็นต้นเหตุของการเกิดฝ้า กระ และรอยหมองคล้ำด่างดำของผิว
  4. กระแจะ[5]
    – มีฤทธิ์ในการยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนส (เอนไซม์ที่กระตุ้นในการเกิดเม็ดสีเมลานิน)
  5. ผง และสารสกัดน้ำยังมีฤทธิ์ต้านออกซิเดชัน[5]
    – ช่วยลดการเสื่อมของเซลล์
    – ช่วยต้านการอักเสบ
  6. สาร Suberosin[5]
    – มีฤทธิ์ในการช่วยต้านเชื้อแบคทีเรีย
    – ช่วยป้องกันและรักษาสิวได้
  7. จากการวิจัยพบว่า มีสารสำคัญที่ชื่อว่า Marmesin[5]
    – เป็นสารที่ช่วยกรองแสงอัลตราไวโอเลตที่ก่อให้เกิดการเสื่อมของเซลล์ผิวหนัง โดยไปกระตุ้นการสังเคราะห์เอนไซม์แมทริกซ์-เมทัลโลโปรตีเนส-1 (matrix-metalloproteinase-1, MMP-1) ซึ่งจะไปตัดกับเส้นใยโปรตีนคอลลาเจนที่มีหน้าที่ช่วยคงความแข็งแรงและเพิ่มความยืดหยุ่นของเนื้อเยื่อผิวหนัง
    – ลดการสังเคราะห์โปร-คอลลาเจน
    – พบว่าสารสกัดจากลำต้นสามารถช่วยยับยั้ง MMP-1 และช่วยเพิ่มการสร้างโปร-คอลลาเจน

สรรพคุณของกระแจะ

  • ช่วยแก้อาการปวดข้อ ปวดกระดูก[6]
  • ช่วยในการคุมกำเนิด[6]
  • ช่วยแก้ลมบ้าหมู[1]
  • ช่วยแก้อาการปวดเมื่อย ปวดตามข้อ[1]
  • ช่วยแก้อาการเส้นตึงได้[1]
  • ช่วยแก้โรคประดง[1]
  • ช่วยแก้อาการร้อนใน[1]
  • ช่วยสมานแผล[1]
  • ช่วยแก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ อาหารไม่ย่อย[1],[2],[6]
  • ช่วยแก้อาการท้องเสีย[2]
  • ช่วยแก้ไข้ ถอนพิษไข้[1],[2],[6]
  • ช่วยแก้พิษ[1],[2]
  • ช่วยแก้กษัย[6]
  • ช่วยแก้อาการผอมแห้ง[6]
  • ช่วยทำให้เจริญอาหาร[1]
  • ช่วยบำรุงกำลังและเป็นยาบำรุงร่างกาย[1],[2],[6]
  • ช่วยระบายได้[1],[2],[6]
  • ช่วยรักษาโรคในลำไส้[1],[2]
  • ช่วยแก้อาการปวดท้องบริเวณลำไส้ใหญ่และบริเวณลิ้นปี่[1],[2]
  • ช่วยขับเหงื่อ[1],[2],[6]
  • ช่วยแก้ไข้ ถอนพิษไข้[1],[2],[6]
  • ช่วยแก้อาการผอมแห้ง[6]
  • ช่วยบำรุงดวงจิตให้แช่มชื่น[1],[6]
  • ช่วยทำให้เจริญอาหาร[6]
  • ช่วยแก้ไข้ ถอนพิษไข้[1],[2],[6]
  • ช่วยดับพิษร้อนในร่างกาย[6]
  • ช่วยขับผายลม[1],[6]

ประโยชน์ของกระแจะ

  • กิ่งอ่อน สามารถนำมาใช้ผสมทำเป็นธูปหรือแป้งที่มีกลิ่นหอมแบบอ่อน ๆ ได้[4]
  • ราก สามารถนำมาฝนกับน้ำสะอาดใช้สำหรับทาหน้าแทนการใช้แป้งได้ ซึ่งจะทำให้ผิวเป็นสีเหลือง และช่วยแก้สิว แก้ฝ้าได้[1],[2]
  • เนื้อไม้ หากทิ้งไว้นาน ๆ จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลปนสีเหลืองอ่อน ๆ ชาวพม่าจะนิยมนำมาใช้ทำเป็นเครื่องประทินผิวที่เรียกว่า “กระแจะตะนาว” หรือ “ทานาคา” (Thanaka)
  • เนื้อไม้ สามารถนำมาใช้ในงานแกะสลักได้ เนื่องจากเนื้อไม้มีความมันเลื่อมและเนื้อหยาบแต่สม่ำเสมอ มีความแข็ง น้ำหนักปานกลาง และมีความเหนียว[3]

สั่งซื้อ อาหารเสริม สำหรับผู้ป่วย เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “กระแจะ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.phargarden.com. [28 ม.ค. 2014].
2. หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคเหนือ. “กระแจะ”. (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ). หน้า 83.
3. หนังสืออนุกรมวิธานพืช อักษร ก. ฉบับราชบัณฑิตยสถาน.
4. มูลนิธิสุขภาพไทย. “กระแจะ ไม้พื้นเมืองกลิ่นหอม”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.thaihof.org. [28 ม.ค. 2014].
5. สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. “หน้าสวยด้วย ทานาคาของเมียนม่าร์หรือกระแจะของไทย”. (รศ.พร้อมจิต ศรลัมพ์ ). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.pharmacy.mahidol.ac.th. [28 ม.ค. 2014].
6. มหาวิทยาลัยนเรศวร. “สมุนไพรไทยกระแจะ”. (วชิราภรณ์ ทัพผา). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: student.nu.ac.th. [28 ม.ค. 2014].

อ้างอิงรูปจาก
1. https://indiabiodiversity.org/observation/show/362329
2. https://sanjeetbiotech.blogspot.com/2016/01/naringi-crenulata-roxb-nicolson-charm.html
3. https://medthai.com/

ต้นแห้ม สรรพคุณขับลมอัมพฤกษ์

0
ต้นแห้ม
ต้นแห้ม สรรพคุณขับลมอัมพฤกษ์ เป็นไม้เถา รากและเถาเป็นสีเหลือง ไม่มีกลิ่นแต่มีรสขม ใบเป็นแบบสลับ ดอกเป็นสีขาว ผลกลมสีน้ำตาล สีเหลือง หรือสีส้ม และมีขนสั้นปกคลุม
ต้นแห้ม
เป็นไม้เถา รากและเถาเป็นสีเหลือง ไม่มีกลิ่นแต่มีรสขม ใบเป็นแบบสลับ ดอกเป็นสีขาว ผลกลมสีน้ำตาล สีเหลือง หรือสีส้ม และมีขนสั้นปกคลุม

แห้ม

เป็นไม้เถา รากและเถาเป็นสีเหลือง ไม่มีกลิ่นแต่มีรสขม ไม่พบการปลูกในประเทศไทย ต้องนำเข้ามาจากประเทศลาว ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Coscinium fenestratum (Goetgh.) Colebr. ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ คือ Coscinium usitatum Pierre อยู่ในวงศ์บอระเพ็ด (MENISPERMACEAE)[1] ชื่ออื่น ๆ แห้ม,แฮ่ม,แฮ้ม

ลักษณะของแห้ม[1],[3]

– เป็นพืชวงศ์เดียวกับบอระเพ็ด
– ส่วนที่ถูกนำมาใช้เป็นยาสมุนไพร จะเรียกว่า “Coscinium”
– มีรูปร่างเป็นแท่งทรงกระบอก
– มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 10 เซนติเมตร
– ผิวภายนอกเป็นสีน้ำตาลเหลือง
– เนื้อในจะเป็นสีเหลือง
– เนื้อไม้เป็นรูพรุน มีสีเหลือง
– ไม่มีกลิ่น
– มีรสชาติขม
– พืชชนิดนี้ถูกจัดอยู่ใน The British Pharmaceutical Codex 1991 ในหัวข้อ Coscinium

สายพันธุ์ที่พบข้อมูล[4]

  1. พันธุ์ Coscinium fenestratum (Goetgh.) Colebr. ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ คือ Coscinium usitatum Pierre
    – เป็นไม้เถา
    – รากและเถาเป็นสีเหลือง
    – ใบเป็นใบแบบสลับกัน
    – ออกดอกเป็นช่อระหว่างใบ
    – ดอกเป็นสีขาว
    – สามารถพบได้ตามป่าเกือบทุกภาคของประเทศลาว
  2. พันธุ์ Fibraurca recisa Pierre
    – เป็นไม้เถา
    – เถาแก่จะเป็นสีเหลือง
    – ใบเป็นใบแบบสลับ
    – ดอกเป็นสีเหลืองอมเขียว
    – ออกดอกในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงสิงหาคม

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

  1. ข้อมูลจากสถาบันวิจัยสมุนไพร[3]
    – มีการระบุผลการทดสอบความเป็นพิษเฉียบพลันในสัตว์ทดลอง
    – เมื่อป้อนสารสกัดในขนาด 40 กรัมต่อกิโลกรัม ทำให้เกิดความเป็นพิษเฉียบพลัน
    – ส่งผลต่อระบบประสาท ทำให้หายใจไม่สะดวก
    – การเคลื่อนไหวลดลง
    – ทำให้สัตว์ทดลองตาย
  2. ควรใช้อย่างระมัดระวัง[3]
    – ความปลอดภัยและขนาดที่เหมาะสมในการใช้ยังไม่มีความแน่นอน
    – ขาดข้อมูลการศึกษาความเป็นพิษและรายงานทางคลินิกอยู่มาก
    – มีเพียงผลการศึกษาในสัตว์ทดลองและในหลอดทดลองเท่านั้น
    – การศึกษาความเป็นพิษ
    – ไม่มีพบความเป็นพิษในคน
    – การทดลองกับหนูถีบจักร โดยป้อนสารสกัดด้วยเอทานอล 50%
    – ใช้ในปริมาณ 800 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
    – ไม่พบความผิดปกติ
    – หากใช้ในปริมาณ 1,200 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม จะทำให้หนูทดลองตาย
  3. การศึกษาความเป็นพิษแบบกึ่งเฉียบพลันของสารสกัด ต่อหัวใจ ปอด ตับอ่อน และอัณฑะในหนูขาวทดลอง[2]
    – ป้อนสารสกัดดังกล่าวในปริมาณ 100, 200, 300 และ 400 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
    – ใช้เป็นระยะเวลา 1 เดือน
    – พบว่า สมุนไพรชนิดนี้ไม่ก่อให้เกิดอาการเป็นพิษ
    – ไม่มีผลต่อการเพิ่มน้ำหนักตัวตลอดระยะเวลาการได้รับยา
    – ไม่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของระดับเอนไซม์ที่ทำให้เกิดความผิดปกติในการทำงานของตับและไต และรวมไปถึงระดับเกลือแร่ในเลือด
    – มีการเพิ่มอัตราการเคลื่อนตัวและการมีชีวิตรอดของสเปิร์มมากกว่ากลุ่มควบคุม
    – ไม่พบพยาธิสภาพของโครงสร้างในระดับจุลกายวิภาคของหัวใจ ปอด ตับอ่อน และไต
    – มีการเพิ่มจำนวนของ vacoules ในเซลล์ตับเป็นจำนวนมาก
    – มีการเพิ่มจำนวนชั้นของ germ cells ใน seminiferous tubules
    – เมื่อป้อนสารสกัดด้วยน้ำในปริมาณ 5 กรัมต่อกิโลกรัม ไม่ทำให้หนูตาย
    – ไม่มีรายงานว่ามีอันตรกิริยากับพืชหรือยาชนิดใด
  4. มีสาร berberine[2]
    – เป็นสารสำคัญและมีข้อควรระมัดระวังถึงผลข้างเคียงต่อหัวใจ
    – อาจจะทำให้เกิดอาการหายใจขัด
    – อาจจะมีพิษต่อระบบเลือด หัวใจ และตับได้
  5. สายพันธุ์ Fibraurea recisa Pierre ในรากและเถามีส่วนประกอบทางเคมีดังนี้[4]
    – คูลัมบามีน
    – จูโทรไรซิน
    – เบอบีริน
    – พัลมาทิน
    – มีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย
  6. สารสกัดเอทานอลจากแห้ม[5]
    – มีฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ทั้งในหนูเบาหวานและหนูปกติ
    – มีกลไกการออกฤทธิ์ผ่านทางการกระตุ้นการหลั่งของอินซูลินจากตับอ่อน
    – ช่วยยับยั้งการทำงานของเอนไซม์มอลเตสและซูเครส
  7. จากการศึกษาฤทธิ์ในการลดระดับน้ำตาลในเลือดของหนูขาวที่เป็นเบาหวานและในหนูขาวปกติ พบว่า[2]
    – สมุนไพรชนิดนี้ในปริมาณ 0.5 และ 1 กรัมต่อกิโลกรัม น้ำหนักตัว
    – ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดของหนูขาวที่เป็นเบาหวานได้
    – แต่ไม่มีฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือดของหนูขาวปกติที่ไม่เป็นเบาหวาน
    – ไม่มีผลต่อภาวะระดับน้ำตาลในเลือดสูงอย่างเฉียบพลันทั้งในหนูที่เป็นเบาหวานและหนูปกติ
    – ยังไม่มีการศึกษาในคนที่ยืนยันผลการลดระดับน้ำตาลในเลือด

สรรพคุณ และประโยชน์แห้ม

  • ช่วยยาแก้ฝี แก้ผื่นคัน [4]
  • ช่วยแก้โรคบิด ลำไส้อักเสบ กระเพาะอักเสบ[4]
  • ช่วยแก้ตาอักเสบ[4]
  • ช่วยแก้ไข้[2],[4]
  • ช่วยแก้ปวดท้อง แก้บิด[2],[3]
  • ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด[1],[3]
  • ช่วยเจริญอาหาร[1]

ในหนังสือคัมภีร์เภสัชรัตนโกสินทร์ของท่านอาจารย์วุฒิ วุฒิธรรมเวช

  • ดอก ช่วยแก้บิดมูกเลือด
  • ใบ ช่วยขับโลหิตระดูที่เสียเป็นลิ่มเป็นก้อนของสตรีให้ออกมา
  • ใบ ช่วยแก้มุตกิดระดูขาว
  • ใบ ช่วยขับน้ำคาวปลา
  • ราก มีรสร้อนฝาดเฝื่อน
  • ราก ช่วยแก้ริดสีดวงตา
  • ราก ช่วยแก้ตาแดง ตาอักเสบ ตาแฉะ ตามัว
  • ราก ช่วยบำรุงน้ำเหลือง
  • ราก ช่วยขับลมอัมพฤกษ์
  • เถา มีรสร้อนฝาดเฝื่อน
  • เถา ช่วยแก้ไข้ ร้อนใน
  • เถา ช่วยแก้ดีซ่าน
  • เถา ช่วยแก้ท้องเสียจากอาหารไม่ย่อย
  • เถา ช่วยขับผายลม ทำให้เรอ
  • เถา ช่วยแก้ดีพิการ

ข้อมูลของคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล[4]

  1. เป็นไม้ยืนต้นที่พบมากในแถบประเทศลาวและเวียดนาม มีอยู่ 2 สายพันธุ์
  2. พันธุ์ Coscinium usitatum Pierre
    – ช่วยแก้ปวดท้องบิด
    – ช่วยแก้ไข้
    – ช่วยแก้ตาแดง
    – ช่วยไล่ยุง
  3. พันธุ์ Fibraurea recisa Pierre
    – ช่วยแก้ไข้
    – ช่วยแก้ตาอักเสบ
    – ช่วยแก้ลำไส้อักเสบ กระเพาะอักเสบ
    – ช่วยแก้โรคบิด
    – ช่วยแก้ฝี และผื่นคัน
    – สามารถนำมาใช้ไล่ยุงได้[2]

ข้อควรระวัง

1. ควรใช้เพื่อลดระดับน้ำตาลในเลือดในปริมาณที่พอเหมาะ
– เนื่องจากการรับประทานในจำนวนที่มากจนเกินไป จะไม่ส่งผลดีต่อร่างกาย
– จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงอย่างรวดเร็ว
– ทำให้เกิดอาการช็อกได้
2. มีฤทธิ์ขับแร่ธาตุและสารตัวอื่น ๆ ออกจากร่างกาย เช่น โพแทสเซียมและโซเดียม[5]
– หากรับประทานอย่างต่อเนื่องในระยะแรกก็จะเป็นปกติ
– หากสะสมไปนาน ๆ ร่างกายจะเริ่มอ่อนเพลีย
– หัวใจและไตทำงานผิดปกติ
– อาจถึงขั้นไตวายและเป็นโรคหัวใจได้
3. สถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์[3]
– ได้ทำการศึกษาพบว่า สมุนไพรชนิดนี้มีแบบผง เป็นยาแผนปัจจุบันจำพวกสเตียรอยด์เจือปน
– หากได้รับสารสเตียรอยด์ในปริมาณมาก อาจจะทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้
4. การรับประทานเป็นจำนวนมากจะส่งผลทำให้ตับอักเสบ
5. ผู้ป่วยโรคไตควรหลีกเลี่ยงและต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ
– เนื่องจากสมุนไพรชนิดนี้มีเกลือแร่และโพแทสเซียมสูง

สั่งซื้อ อาหารเสริม สำหรับผู้ป่วย เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสมุนไพรบำบัดเบาหวาน 150 ชนิด. (เภสัชกรหญิง จุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก). “แฮ่ม”. หน้า 176.
2. หน่วยบริการฐานข้อมูลสมุนไพร สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. “สมุนไพรแฮ้ม”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.medplant.mahidol.ac.th. [16 ส.ค. 2014].
3. สำนักสารนิเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. “แพทย์แผนไทยเผยกินแห้มไม่กระทบไต แพทย์แผนไทยชี้มีผลต่อตับหัวใจ”., “เตือนอันตราย แห้มมีพิษเฉียบพลันทำลายประสาท”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.moph.go.th. [16 ส.ค. 2014].
4. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. “รายละเอียดของแฮ่ม”. อ้างอิงใน : คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : drug.pharmacy.psu.ac.th. [16 ส.ค. 2014].
5. Chulalongkorn University. (Wanlaya Jittaprasatsin). “ฤทธิ์และกลไกการออกฤทธิ์ของสารสกัดแห้ม ต่อระดับน้ำตาลในเลือด ของหนูปกติและหนูเบาหวาน (Effects and mechanism of action of Coscinium fenestratum extract on blood glucose level in normal and diabetic rats)”.
6. ข้อมูลจากคุณ seahorse samunpri.com มีการอ้างอิงสรรพคุณของแห้มในหนังสือคัมภีร์เภสัชรัตนโกสินทร์ของท่านอาจารย์วุฒิ วุฒิธรรมเวช

อ้างอิงรูปจาก
1. https://powo.science.kew.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:580661-1
2. https://www.healthbenefitstimes.com/yellow-vine/
3. https://medthai.com

ต้นว่านดอกทอง เด่นในเรื่องเมตตามหาเสน่ห์

0
ว่านดอกทอง
ต้นว่านดอกทอง เด่นในเรื่องเมตตามหาเสน่ห์ เป็นว่านที่มีเหง้าอยู่ใต้ดิน ต้นคล้ายขมิ้น มีพันธุ์ตัวผู้เหง้าและดอกเป็นสีเหลือง และพันธุ์ตัวเมียเหง้าขาวและดอกขาวแต้มสีเหลือง มีกลิ่นคาว
ว่านดอกทอง
เป็นว่านที่มีเหง้าอยู่ใต้ดิน ต้นคล้ายขมิ้น มีพันธุ์ตัวผู้เหง้าและดอกเป็นสีเหลือง และพันธุ์ตัวเมียเหง้าขาวและดอกขาวแต้มสีเหลือง มีกลิ่นคาว

ว่านดอกทอง

ว่านดอกทอง หรือว่านรากราคะ เป็นสมัยโบราณอันน่าพิศวงหากใครได้สูดดมกลิ่นจากดอก มีอันทำให้เกิดอารมณ์ทางราคะอย่างไร้ซึ่งเหตุผล เป็นว่านเสน่ห์มหานิยมที่คนสมัยโบราณมักนำมาทำเป็นยาเสน่ห์ และเป็นว่านมงคลที่หากปลูกไว้หน้าร้านค้าจะทำให้กิจการรุ่งเรืองยิ่ง ๆ ขึ้นไป สามารถพบได้ในประเทศไทยทางภาคเหนือ และทางภาคตะวันตก ชื่อวิทยาศาสตร์ Curcuma spp. จัดอยู่ในวงศ์ วงศ์ขิง (ZINGIBERACEAE)[1] ชื่ออื่น ๆ กระเจา, ว่านดอกทองแท้, ว่านดอกทองตัวผู้, ว่านมหาเสน่ห์ดอกทอง, ว่านดอกทองตัวเมีย หรือว่านดินสอฤๅษี, ว่านมหาเสน่ห์ ว่านรากราคะ หรือรากราคะ เป็นต้น

ที่มาของชื่อ

ในสมัยโบราณมีความเชื่อกันว่าหากใครได้ดมกลิ่นของดอกว่านชนิดนี้เข้าไป จะมีความต้องการทางเพศอย่างรุนแรงขึ้นมาโดยไม่มีเหตุผล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเพศหญิง ว่านชนิดนี้จึงถูกตั้งชื่อว่า ดอกทอง (ดอกทอง เป็นคำด่าที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ โดยจะเป็นคำด่าที่เอาไว้ใช้กับผู้หญิงที่สำส่อนทางเพศ)

ลักษณะของว่านดอกทอง

  • ต้น
    – เป็นพันธุ์ไม้ประเภทว่านที่มีลำต้นอยู่ใต้ดิน (เหง้า)
    – ลักษณะของลำต้นและใบ จะคล้ายคลึงกับต้นขมิ้น แต่จะแตกต่างกันตรงที่ลักษณะของเหง้า
    – เหง้ามีรูปร่างเป็นทรงกลม โดยเหง้าจะแตกแขนงออกมาเป็นไหลขนาดเล็ก รอบ ๆ เหง้า ไหลมีความยาวประมาณ 5-10 นิ้ว
    – เหง้า ทั้ง 2 สายพันธุ์ สามารถจำแนกลักษณะได้เป็น ว่านตัวผู้ จะมีเนื้อภายในเหง้าเป็นสีเหลือง และว่านตัวเมีย จะมีเนื้อภายในเหง้าเป็นสีขาว โดยเหง้าของต้นดอกทองตัวเมียจะแตกต่างจากเหง้าของต้นดอกทองตัวผู้ คือ เหง้าจะมีลักษณะคล้ายกับดินสอ ทำให้มีผู้คนบางส่วนนิยมเรียกกันว่า ว่านดินสอฤๅษี
    – ความสูงของต้น ประมาณ 1 ฟุต
    – การขยายพันธุ์ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการแยกหน่อ
  • ดอก
    – ดอก ออกที่บริเวณเหง้าแล้วโผล่ขึ้นมาเหนือผิวดิน โดยดอกของต้นทั้ง 2 สายพันธุ์ สามารถจำแนกลักษณะได้ดังนี้
    – ว่านดอกทองตัวผู้ กลีบดอกจะมีสีเหลืองล้วน
    – ว่านดอกทองตัวเมีย กลีบดอกจะมีสีขาวและมีลายแต้มสีเหลือง (ว่านดินสอฤๅษี)
    – กลิ่นของดอกทั้ง 2 สายพันธุ์ จะมีกลิ่นคล้ายกับกลิ่นคาวของน้ำอสุจิ (กลิ่นจะไม่คาวจนฉุนเหมือนเนื้อสัตว์ตามท้องตลาด) โดยต้นว่านตัวเมียจะส่งกลิ่นที่รุนแรงมากกว่าต้นว่านตัวผู้
    – ว่านทั้ง 2 สายพันธุ์ จะออกดอกในช่วงฤดูร้อนไปจนถึงฤดูฝนของทุกปี

วิธีการปลูกว่านดอกทอง

  1. วิธีการปลูกต้นว่านมีดังนี้
    1.1. กระถางที่ใช้ในการปลูก แนะนำว่าควรใช้กระถางขนาดเล็กทรงเตี้ยในการปลูกในระยะแรกเพื่อให้ง่ายต่อการดูแล และให้เตรียมกระถางขนาดใหญ่เอาไว้สำหรับย้ายต้นนำมาปลูก เมื่อต้นเจริญเติบโตในสักระยะหนึ่ง
    1.2. ใช้ดินทรายที่ผสมกับใบไม้ผุ จะช่วยทำให้จะเจริญเติบโตได้ดี และถ้าหากอยากให้ว่านเจริญเติบโตได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ให้ทำการใส่ปุ๋ยคอกลงไปในปริมาณเล็กน้อยก็จะช่วยได้
    1.3 การรดน้ำนั้น ให้รดน้ำให้มากแต่ไม่ถึงขั้นให้ดินแฉะ และปลูกไว้ในพื้นที่ที่มีแสงแดดรำไร (ไม่ควรปลูกไว้ในพื้นที่ที่มีแสงแดดจัด)
    1.4. เมื่อเริ่มตั้งใบตรงแข็งแรงแล้ว จึงค่อยย้ายมาปลูกในกระถางขนาดใหญ่ เนื่องจากเหง้าของว่านจะมีขนาดที่ใหญ่ขึ้น
  2. ในหนังสือ และตำราสมัยโบราณ ได้ระบุไว้ว่าเป็นว่านศักดิ์สิทธิ์ โดยการจะนำต้นมาปลูก โดยให้ทำการปลูกในวันจันทร์ข้างขึ้น และรดน้ำที่ปลุกเสกด้วยคาถา นะโมพุทธายะ 3 จบ
  3. ในปัจจุบันว่านดอกทองแท้สามารถหาได้ยาก เนื่องจากใกล้สูญพันธุ์ หรือในด้านความเชื่อ ก็มีผู้คนเชื่อกันว่าผู้ที่รู้ถึงแหล่งที่อยู่ของว่านชนิดนี้มักจะไม่เปิดเผยข้อมูลให้รู้ เพราะเกรงว่าจะมีผู้นำไปใช้ในทางที่ไม่ดีได้

พุทธคุณของว่านดอกทอง

1. น้ำที่แช่ด้วยหัวว่านและใบ มีสรรพคุณในการกระตุ้นความรู้สึกทางเพศได้เป็นอย่างดี
2. ในสมัยโบราณกล่าวว่า ต้น สามารถนำมาใช้ในทางเสน่ห์มหานิยมได้ โดยชายหนุ่มในสมัยโบราณ เมื่อถึงเวลาที่จะต้องไปพบหญิงสาว จะนำดอกมาทำเป็นน้ำอบใช้ทาตัว หรือนำมาผสมกับขี้ผึ้งใช้ทาปาก ซึ่งเมื่อหญิงสาวผู้ใดที่ได้กลิ่นว่านชนิดนี้จากชายหนุ่ม หญิงสาวผู้นั้นก็จะเกิดความหลงใหลและคล้อยตามได้โดยง่าย
3. มีความเชื่อว่าหากปลูกไว้ในบ้าน จะช่วยให้เกิดความรักใคร่และเป็นสิริมงคลแก่คนในบ้านได้ (แต่ในสมัยโบราณจะห้ามปลูกไว้ในบ้าน เพราะเชื่อว่าเป็นสาเหตุทำให้เกิดการผิดลูกผิดเมียของคนภายในครอบครัวได้)

4. มีความเชื่อว่าหากนำต้นว่านตัวเมียไปปลูกไว้ที่หน้าร้านค้า จะช่วยให้ค้าขายเป็นไปอย่างราบรื่น ลูกค้าไหลมาเทมาไม่ขาดสาย และช่วยให้การค้าขายประสบความสำเร็จไปได้ด้วยดี

สั่งซื้อ อาหารเสริม สำหรับผู้ป่วย เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. ๑๐๘ พรรณไม้ไทย.  “ว่านมหาเสน่ห์“.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.panmai.com.  [21 พ.ย. 2013].
2. ว่านและพรรณไม้สมุนไพรไทย คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร.  “ว่านดอกทอง“.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: natres.skc.rmuti.ac.th.  [21 พ.ย. 2013].
3. ไทยรัฐออนไลน์. โดยนายเกษตร.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.thairath.co.th.  [21 พ.ย. 2013].
4. หนังสือพิมพ์ข่าวสด. “ว่านมหาเสน่ห์“.  คอลัมน์: รู้ไปโม้ด (น้าชาติ ประชาชื่น).  อ้างอิงใน: หนังสือว่านสมุนไพร ไม้มงคล (ณรงค์ศักดิ์ ค้านอธรรม).  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.khaosod.co.th.  [21 พ.ย. 2013].
5. https://medthai.com

ต้นหนอนตายหยาก สรรพคุณรักษามะเร็งตับ

0
ต้นหนอนตายหยาก สรรพคุณรักษามะเร็งตับ เป็นไม้ล้มลุกกึ่งเถาเลื้อย มีหัวอยู่ในดิน ดอก4กลีบสีเขียวอ่อนอมเหลืองลายเส้นสีม่วงลายประ ชั้นในสีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลอมแดง ฝักห้อยลงเป็นพวง
หนอนตายหยาก
เป็นไม้ล้มลุกกึ่งเถาเลื้อย มีหัวอยู่ในดิน ดอก4กลีบสีเขียวอ่อนอมเหลืองลายเส้นสีม่วงลายประ ชั้นในสีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลอมแดง ฝักห้อยลงเป็นพวง

หนอนตายหยาก

ต้นหนอนตายหยาก อยู่วงศ์หนอนตายหยาก (STEMONACEAE) สามารถพบเจอได้ตามป่าทั่วไปในมาเลเซีย อินโดนีเซีย ไทย จีน ญี่ปุ่น ลาว มีชื่อในท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น กะเพียดหนู, หนอนตายยาก (จังหวัดลำปาง), โปร่งมดง่าม (เชียงใหม่), กะเพียด (จังหวัดชลบุรี, จังหวัดประจวบคีรีขันธ์), สลอดเชียงคำ (อีสานโบราณ), หนอนตายหยาก (แม่ฮ่องสอน), ปงมดง่าม (เชียงใหม่), ป้งสามสิบ (คนเมือง) [1],[2],[6],[7],[8] ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ ต้นตายหยากเล็ก ซึ่งชื่อวิทยาศาสตร์ Stemona tuberosa Lour. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ คือ Roxburghia gloriosa Pers., Roxburghia gloriosoides Roxb., Roxburghia viridiflora Sm.) โดยข้อมูลจากหนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ระบุเอาไว้ว่ายังมีหนอนตายหยากเล็กอีกชนิด ที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Stemona japonica Blume Miq. มีชื่อในท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น ป่ายปู้, หนอนตายหยากเล็ก, โป่งมดง่าม, ตุ้ยเย่ป่ายปู้ (จีนกลาง) ตามตำราระบุเอาไว้ว่าใช้แทนกันได้[3] หนอนตากหยากใหญ่ ซึ่งมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ Stemona collinsiae Craib มีชื่อในท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น ปงช้าง, หนอนตายหยาก, กะเพียดช้าง [5]

ลักษณะของหนอนตายหยาก

ลักษณะของหนอนตายหยากเล็ก

  • ต้น เป็นพรรณไม้ล้มลุก มีกึ่งเถาเลื้อยพัน จะเลื้อยพันต้นไม้อื่น สามารถมีความยาวได้ประมาณ 10 เมตร สูงได้ประมาณ 40-60 เซนติเมตร เถากลม เป็นสีเขียว จะมีรากเป็นเหง้าหรือหัวอยู่ในดิน มีลักษณะเป็นรูปกระสวย จะออกเป็นกระจุก เนื้อจะอ่อนนิ่มเป็นสีเหลืองขาว ขยายพันธุ์โดยการใช้เหง้าปักชำ การเพาะเมล็ด [1],[2],[7]
  • ใบ เป็นใบเดี่ยว ใบจะออกเรียงเวียนสลับที่ใกล้โคนต้น จะออกเรียงเป็นคู่ตรงข้ามที่กลางต้นหรือยอด ใบเป็นรูปหัวใจ ที่โคนใบเว้า ส่วนที่ปลายใบจะเรียวแหลม ขอบใบจะเรียบหรือบิดเป็นคลื่นนิดหน่อย ใบกว้างประมาณ 3-14 เซนติเมตร มีความยาวประมาณ 9-20 เซนติเมตร แผ่นใบมีลักษณะเป็นคลื่น ที่เส้นใบแตกออกจากโคนใบขนานกันไปด้านปลายใบ 9-13 เส้น ก้านใบมีความยาวประมาณ 1.5-7 เซนติเมตร [1],[8]
  • ดอก เป็นดอกสมบูรณ์เพศจะออกดอกเดี่ยวหรือเป็นช่อกระจะประมาณ 2-6 ดอก ดอกออกที่ตามซอกใบ ที่ก้านช่อดอกยาวประมาณ 2-8 เซนติเมตร และจะมีใบประดับยาว 0.5-1.5 เซนติเมตร ก้านดอกมีความยาวประมาณ 0.5-3 เซนติเมตร มีกลีบรวมอยู่ 4 กลีบ จะเรียงเป็นชั้น 2 ชั้น มีชั้นละ 2 กลีบ กลีบมีลักษณะเป็นรูปแถบยาวที่ปลายจะแหลม กว้างประมาณ 0.4-1 เซนติเมตร มีความยาวประมาณ 2.5-4 เซนติเมตร กลีบชั้นนอกจะมีลักษณะเป็นสีเขียวอ่อนอมสีเหลือง สีเขียว จะมีลายเส้นเป็นสีม่วงหรือสีเขียวแก่เป็นลายประ กลีบชั้นในมีลักษณะเป็นสีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลอมแดง และมีลายเส้นประสีแดง มีเกสรเพศผู้ 4 อัน มีความยาวประมาณ 2.5-4 เซนติเมตร ก้านเกสรมีขนาดสั้น อับเรณูมีลักษณะเป็นสีม่วง มีความยาวประมาณ 0.8-1.5 เซนติเมตร ที่ปลายมีจะงอย จะงอยที่มีความยาวประมาณ 5-12 มิลลิเมตร มีรังไข่อยู่เหนือฐานวงกลีบรวม [1],[8]
  • ผล จะออกเป็นฝักห้อยลงเป็นพวง ที่ปลายฝักจะแหลม กว้างประมาณ 1.5-3 เซนติเมตร มีความยาวประมาณ 4-7 เซนติเมตร ถ้าแห้งจะแตกเป็น 2 ซีก เมล็ดมีขนาดยาวประมาณ 1-1.7 เซนติเมตร ที่ปลายจะเรียวแหลมมีความยาวประมาณ 4 มิลลิเมตร ก้านเมล็ดมีความยาวประมาณ 8 มิลลิเมตร จะมีเยื่อหุ้มที่โคนเมล็ด[1],[8]

ลักษณะของหนอนตายหยากใหญ่

  • ต้น เป็นพรรณไม้ล้มลุกที่สามารถมีอายุได้หลายปี มีลำต้นตั้งตรง สามารถสูงได้ถึงประมาณ 20-40 เซนติเมตร จะแตกกิ่งก้านเยอะ จะมีรากอยู่ในดินเยอะ ที่รากจะเป็นรากกลุ่มพวง รากมีลักษณะเป็นสีเหลืองอ่อนอวบน้ำ มีความยาวประมาณ 10-30 เซนติเมตร สามารถขยายพันธุ์ด้วยการใช้เมล็ด และพอถึงฤดูแล้งต้นเหนือดินจะโทรมหมดเหลือรากใต้ดิน และพอเข้าสู่ฤดูฝนใบจะงอกพร้อมกับออกดอก สามารถพบได้ที่ตามป่าเบญจพรรณทั่วไป ป่าดิบแล้ง ป่าดงดิบเขา [5],[6]
  • ใบ เป็นใบเดี่ยว ใบจะออกเรียงสลับ ใบเป็นรูปหัวใจ ที่โคนใบเว้าจะเป็นรูปหัวใจ ส่วนที่ปลายใบจะแหลม ขอบใบเรียบ ใบกว้างประมาณ 6-10 เซนติเมตร มีความยาวประมาณ 9-15 เซนติเมตร ผิวใบมีลักษณะเกลี้ยงทั้งสองด้าน มีเส้นใบอยู่ประมาณ 10-15 เส้น จะขนานกันอยู่ ที่ระหว่างเส้นแขนงใบจะมีเส้นใบย่อยตัดขวาง ก้านใบมีขนาดยาวประมาณ 5-9 เซนติเมตร ที่โคนจะพองเป็นกระเปาะ[5]
  • ดอก ออกเป็นช่อ ออกดอกที่ตามซอกใบ มีใบประดับเป็นรูปขอบขนานปลายมน มีขนาดกว้างประมาณ 0.25-0.3 เซนติเมตร มีความยาวประมาณ 1.1-1.2 เซนติเมตร และก้านดอกย่อยมีขนาดยาวประมาณ 2-3 เซนติเมตร มีกลีบดอกอยู่ 4 กลีบ เป็นสีเหลืองแกมสีชมพู จะขนาดไม่เท่ากันเรียงเป็นชั้น 2 ชั้น ชั้นนอกมีอยู่ 2 อัน เป็นรูปขอบขนานปลายแหลม มีขนาดกว้างประมาณ 0.4-0.5 เซนติเมตร มีความยาวประมาณ 1.9-2 เซนติเมตร และมีเส้นแขนงอยู่ประมาณ 9-11 เส้น ชั้นนอกมีอยู่ 2 อัน เป็นรูปไข่ปลายแหลม มีขนาดกว้างประมาณ 0.6-0.7 เซนติเมตร มีความยาวประมาณ 1.8-1.9 เซนติเมตร และมีเส้นแขนงอยู่ประมาณ 13-15 เส้น มีเกสรเพศผู้อยู่ 4 อัน เป็นรูปขอบขนาน ที่โคนจะเป็นรูปหัวใจขอบเรียบ ส่วนที่ปลายจะแหลม มีขนาดกว้างประมาณ 0.2-0.3 เซนติเมตร มีความยาวประมาณ 1.5-1.6 เซนติเมตร เกสรเพศเมียจะมีรังไข่อยู่ที่เหนือวงกลีบ ลักษณะเป็นรูปไข่ มีความยาวประมาณ 0.3-0.4 เซนติเมตร ที่ปลายเกสรเพศเมียจะเล็ก[5]
  • ผล มีขนาดเล็ก ค่อนข้างที่จะแข็ง เป็นสีน้ำตาล[5]

ข้อควรระวังในการใช้

  • รากจะมีพิษ ถ้าทานจะทำให้มึนเมา อาจถึงตายได้[5] มีข้อมูลที่ระบุไว้ว่าการที่จะนำมาใช้เป็นยาต้องผ่านกรรมวิธีการทำลายพิษก่อนถึงจะใช้ได้ อย่างเช่นวิธี การนำรากมาล้างให้สะอาดแล้วลวกหรือนึ่งจนไม่เห็นแกนสีขาวในราก และต้องนำไปตากแดดก่อนใช้ปรุงยา ในบางตำรานำไปเชื่อมกับน้ำผึ้งก่อนใช้ (นันทวัน และอรนุช 2543)

ประโยชน์หนอนตายหยาก

1. ใช้ในเชิงอุตสาหกรรม แทนการใช้สารเคมีหรือยาฆ่าแมลงได้[7]
2. สามารถนำรากมาโขลกบีบเอาน้ำมาใช้หยอดแผลวัวและควายที่มีหนอนไช หรือนำกากรากสดมาโปะปิดแผลของสัตว์พาหะที่เลียไม่ถึง ใช้เป็นยาฆ่าหนอนที่เกิดในแผล [5],[6]
3. สามารถนำใบมาใช้ยักปากไหปลาร้า ป้องกันหนอนได้[8]
4. สามารถใช้รักษาเหา โดยนำรากสดล้างน้ำสะอาดประมาณ 3-4 ราก มาตำผสมน้ำใช้ชโลมเส้นผมไว้ประมาณ 1 ชั่วโมง แล้วค่อยสระออกให้สะอาด ทำจนกว่าเหาจะตาย[4]
5. สามารถนำรากสดประมาณ 500 กรัม มาตำให้ละเอียด แล้วเอาใส่ท่อน้ำทิ้ง ฆ่ายุงและลูกน้ำได้[3]
6. สามารถนำรากมาตำผสมน้ำเป็นยาฆ่าแมลง หนอนศัตรูพืชที่รบกวนพืชผักได้[5],[6]

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา
– สารสกัดมีฤทธิ์ที่ฆ่าพยาธิหรือเชื้อโรคได้หลายชนิด[3]
– พบสาร Oxtuberostemonine, Protostemonine, Isotuberostemonine, Stemonine, Tuberostemonine, Hypotoberosstemonine, Iso-Stemonidine, Stemonidine เป็นต้น[3] และมีสารอื่นที่พบ อย่างเช่น stemonone, stemonacetal, rotenoid compound, stemonal[5]
– จากการทดสอบความเป็นพิษเฉียบพลันกับหนูถีบจักรทดลอง โดยป้อนสารสกัดจากรากขนาด 0.25-80 ก./กก. น้ำหนักตัว เป็นเวลา 2 สัปดาห์ และขนาด 10 ก./กก. น้ำหนักตัว เป็นเวลา 1 เดือน ปรากฏว่าไม่พบความเป็นพิษของสารสกัด[9]
– จากการทดลองกับสัตว์ทดลอง ปรากฏว่ายับยั้งการไอของสัตว์ทดลองได้ และจะมีฤทธิ์กระตุ้นประสาทส่วนกลางของระบบหายใจ ทำให้หายใจได้ผลช้าลง[3]

สรรพคุณหนอนตายหยาก

1. รากของหนอนตายหยากใหญ่ จะมีรสเย็น และจะเป็นยาแก้อาการวัยทอง[6]
2. ในตำรายาไทยนำรากมาทุบหรือตำผสมน้ำหรือหมักกับน้ำ แล้วนำน้ำมาใช้พอกทาฆ่าศัตรูพืช แมลง หิด เหา หนอน (ราก)[1],[2],[5]
3. สามารถใช้รักษาจี๊ดได้ โดยนำรากสดล้างสะอาดประมาณ 3-4 ราก มาหั่นตำละเอียด นำมาพอกตรงที่มีตัวจี๊ด สังเกตได้โดยบริเวณนั้นจะบวม โดยพอกจนหาย (ราก)[4]
4. สามารถนำรากมาปรุงเป็นยารักษามะเร็งตับได้ (ราก)[1],[5]
5. ชาวเขาเผ่าม้งและเย้านำรากหรือทั้งต้นมาต้มกับ ใช้น้ำดื่มเป็นยาแก้ปัสสาวะติดขัด ขับปัสสาวะ ขับนิ่ว (ราก,ทั้งต้น)[8]
6. รากมีสรรพคุณที่เป็นยาฆ่าเชื้อพยาธิภายในลำไส้ พยาธิปากขอ พยาธิเส้นด้าย พยาธิตัวกลม พยาธิตัวจี๊ด พยาธิใบไม้ในตับ พยาธิตัวแบน โดยนำรากแห้ง 2 ราก มาต้มกับน้ำทานเป็นเวลาประมาณ 15-20 วัน (ราก)[1],[3],[5],[8] และวิธีถ่ายพยาธิปากขอ โดยนำรากหรือเหง้า 100 กรัม แบ่งต้ม 4 ครั้ง แล้วเอามาสกัดให้เหลือ 30 ซีซี ให้ทานครั้งละ 15 ซีซี ทานติดกันเป็นเวลา 2 วัน ถ่ายพยาธิปากขอได้ (ราก)[3]
7. ในจีนใช้เป็นยาขับผายลมได้ (ราก)[7]
8. สามารถใช้เป็นยาแก้ปวดฟันได้ โดยนำรากสดล้างสะอาด 1 ราก หั่นและตำให้ละเอียด แล้วเติมเกลือ 1/2 ช้อนชา นำมาใช้อมประมาณ 10-15 นาที แล้วก็บ้วนทิ้ง ทำติดต่อกันเป็นประมาณ 2-4 ครั้ง (เว้นระยะห่างกัน 4-5 ชั่วโมง) (ราก)[4] อีกวิธีนำใบมาตำ แล้วใช้อมแก้อาการปวดฟัน (ใบ)[8]
9. บางข้อมูลระบุไว้ว่ามีการใช้เป็นยาแก้ภูมิแพ้ ด้วยการนำราก กับใบหนุมานประสานกาย อย่างละเท่า ๆ กัน มาต้มกับน้ำดื่มในขณะที่ยังอุ่นต่างน้ำทุกวัน สามารถช่วยแก้อาการของโรคภูมิแพ้ ช่วยลดอาการไอ ช่วยละลายเสมหะได้ (ราก) (ข้อมูลจาก : tripod.com)
10. ในตำรับยาแก้อาการไอจากวัณโรค โดยนำรากหรือเหง้าของหนอนตายหยาก, จี๊ฮวง, เปลือกหอยแครงสะตุ, เกล็ดนิ่ม อย่างละเท่า ๆ กัน มาบดเป็นผง เอามาชงกับน้ำทานครั้งละ 5 กรัม วันละ 2-3 ครั้ง (ราก)[3]
11. ใช้เป็นส่วนผสมของตำรับยาไทยหลายรายการ อย่างเช่น ยาแก้ดีลมแลกำเดา, ยาต้มสมานลำไส้, ยาตัดรากอุปะทม, ยาแก้ดีกำเดาแผลงฤทธิ์ร้าย, ยาแก้ลมกำเริบ, ยาแก้นิ่วเนื้อด้วยอุปทุม เป็นต้น[6]
12. สามารถนำรากมาทุบละเอียดแล้วแช่กับน้ำ นำมาใช้พอกแผล ฆ่าหนอน ทำลายหิดได้ (ราก)[5]
13. สามารถนำรากมาใช้ปรุงเป็นยาแก้โรคผิวหนัง ผิวหนังอักเสบ ผื่นคันตามร่างกาย โดยนำรากประมาณ 50-100 กรัม มาต้มแล้วเอาน้ำมาใช้ล้างหรือใช้อาบ (ราก)[1],[3],[5]
14. สามารถนำรากหรือหัวมาใช้ปรุงเป็นยาทานแก้น้ำเหลืองเสียได้ (ราก)[1],[5]
15. หัวกับรากจะมีสรรพคุณที่เป็นยารักษาริดสีดวงทวารหนักได้ โดยนำรากต้มทาน พร้อมต้มกับยาฉุนใช้รมหัวริดสีดวง ทำให้ริดสีดวงฝ่อและแห้ง (หัว,ราก)[4],[5],[6]
16. ในตำรายาสมุนไพรพื้นบ้านจังหวัดอุบลราชธานี นำรากมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาถ่ายพยาธิตัวจี๊ด ด้วยการนำรากมาผสมหญ้าหวายนา ชะอม มาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาถ่ายพยาธิตัวจี๊ด (ราก)[5]
17. สามารถใช้เป็นยาแก้บิดอะมีบาได้ โดยนำเหง้าหรือราก 5-15 กรัม มาต้มกับน้ำทาน (ราก)[3]
18. ในอินโดจีนนำรากมาใช้เป็นยารักษาโรคเจ็บหน้าอก (ราก)[7]
19. ชาวเขาเผ่าม้งและเย้านำทั้งต้นหรือรากมาต้มกับน้ำดื่ม ใช้อาบแก้โรคโปลิโอ (ราก,ทั้งต้น)[8]
20. สามารถช่วยรักษาวัณโรค ช่วยขับเสมหะ (ราก)[4]
21. รากหรือเหง้าจะมีรสขมชุ่ม จะเป็นยาร้อนเล็กน้อย มีพิษนิดหน่อย จะออกฤทธิ์กับม้ามกับปอด สามารถใช้เป็นยาหลอดลมอักเสบ แก้ไอเย็น อาการไอจากวัณโรค ไอเรื้อรัง (ราก)[3]

วิธีใช้

  • ถ้าเป็นรากแห้งให้ใช้ครั้งละ 3-10 กรัม เอามาต้มกับน้ำทาน หากใช้ภายนอกให้ใช้ประมาณ 50-100 กรัม เอามาต้ม ใช้น้ำล้างหรือใช้อาบแก้โรคผิวหนังผดผื่นคัน[3]

สั่งซื้อ อาหารเสริม สำหรับผู้ป่วย เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). “หนอนตายหยาก (Non Tai Yak)”. หน้า 323.
2. หนังสือสมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ. (คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “หนอนตายหยาก”. หน้า 193.
3. หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. (วิทยา บุญวรพัฒน์). “หนอนตายหยาก”. หน้า 608.
4. สรรพคุณสมุนไพร 200 ชนิด, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “หนอนตายหยาก”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.rspg.or.th/plants_data/herbs/. [14 ก.ค. 2014].
5. ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “หนอนตายหยาก”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.phargarden.com. [14 ก.ค. 2014].
6. สำนักคุ้มครองภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและสมุนไพร. “ข้อมูลของหนอนตายหยาก”.
7. กรมวิชาการเกษตร. “หนอนตายหยาก”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: it.doa.go.th/vichakan/. [14 ก.ค. 2014].
8. โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง, สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน). “หนอนตายหยาก”. อ้างอิงใน: หนังสือชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์), หนังสือองค์ความรู้เรื่องพืชป่าที่ใช้ประโยชน์ทางภาคเหนือของไทย เล่ม 3 (สุธรรม อารีกุล, จำรัส อินทร, สุวรรณ ทาเขียว, อ่องเต็ง นันทแก้ว). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: eherb.hrdi.or.th. [14 ก.ค. 2014].
9. หน่วยบริการฐานข้อมูลสมุนไพร สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. “รากของว่านหนอนตายหยาก”. เข้าถึงได้จาก: www.medplant.mahidol.ac.th. [14 ก.ค. 2014].
10. https://medthai.com/

ต้นสัก สรรพคุณช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะ

0
สัก
ต้นสัก สรรพคุณช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะ เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ เนื้อไม้เป็นสีน้ำตาลทอง ช่อขนาดใหญ่ดอกย่อยขนาดเล็กสีเขียวนวล มีขนปกคลุมบริเวณท้องใบ ผลกลมแป้นเปลือกบาง
สัก
เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ เนื้อไม้เป็นสีน้ำตาลทอง ช่อขนาดใหญ่ดอกย่อยขนาดเล็กสีเขียวนวล มีขนปกคลุมบริเวณท้องใบ ผลกลมแป้นเปลือกบาง

ต้นสัก

ต้นสัก เป็นไม้ต้นขนาดใหญ่ผลัดใบในฤดูร้อน พบอยู่ในแถบประเทศอินเดีย บังคลาเทศ พม่า ลาว และไทย สำหรับประเทศไทยพบกระจายทั่วไปในบริเวณภาคเหนือเรื่อยลงมาทางตะวันตกบริเวณทางเหนือของจังหวัดกาญจนบุรี เขตป่าเบญจพรรณ ในระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลเฉลี่ยประมาณ 200-750 เมตร ชื่อสามัญ Teak[1] ชื่อวิทยาศาสตร์ Tectona grandis L.f. อยู่ในวงศ์กะเพรา (LAMIACEAE หรือ LABIATAE)[2] ชื่อท้องถิ่นอื่นๆ ปายี้ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), เส่บายี้ (กะเหรี่ยง-กำแพงเพชร), เคาะเยียโอ (ละว้า-เชียงใหม่), ปีฮี ปีฮือ เป้อยี (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)เป็นต้น[1] เป็นพรรณไม้พระราชทานของจังหวัดอุตรดิตถ์[2] สามารถแบ่งเป็น 3 ชนิดคือ ไม้สักทั่วไป ไม้สักดาฮัต(ไม้ประจำถิ่นของพม่า) และไม้สักฟิลิปปินส์[5] และมีถิ่นกำเนิดอยู่ทางตอนใต้ของประเทศอินเดีย พม่า ลาว และไทย ยังมีการแบ่งคุณลักษณะของไม้สัก โดยใช้ความแข็ง ความเหนียว และการตกแต่งของเนื้อไม้ในการพิจารณา โดยจะแบ่งเป็น 5 ชนิดได้แก่[2]
1. ไม้สักทอง ตกแต่งได้ง่าย เสี้ยนไม้ตรง เนื้อไม้มีสีน้ำตาลทอง[2]
2. ไม้สักหิน ตกแต่งได้ง่าย เนื้อไม้มีสีน้ำตาลหรือจาง[2]
3. ไม้สักหยวก ตกแต่งได้ง่าย เนื้อไม้เป็นสีน้ำตาลอ่อนหรือจาง[2]
4. ไม้สักไข่ ทาสีและตกแต่งได้ยาก เนื้อไม้มีไขปนอยู่เนื้อมีสีน้ำตาลเข้มปนเหลือง[2]
5. ไม้สักขี้ควาย เนื้อไม้เป็นสีเลอะ ๆ มีสีเขียวปนน้ำตาลดำ[2]

ลักษณะของต้นสัก

  • ต้น เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ มีความสูงราวๆ 20 เมตรขึ้นไปและอาจสูงได้ถึง 30 เมตร ลำต้นตรงไม่คดงอ มีกิ่งก้านที่ขนาดใหญ่น้อยบริเวณส่วนลำต้น เปลือกต้นหนามีสีเทาหรือน้ำตาลอ่อนแกมเทา เรือนยอดทึบเป็นทรงพุ่มกลม เปลือกต้นเรียบหรืออาจมีรอยแตกเป็นร่องเล็กๆ ตามแนวยาวของลำต้น โคนต้นแก่จะเป็นร่องและมีพูพอนขึ้นเล็กน้อย มีขนสีเหลืองขึ้นเล็กน้อยบริเวณยอดและกิ่งอ่อน กิ่งอ่อนเป็นรูปเหลี่ยม มีเนื้อไม้เป็นสีน้ำตาลทองถึงน้ำตาลแก่ และมีเส้นสีน้ำตาลแก่แทรกอยู่ เนื้อหยาบมีความแข็งปานกลาง เนื้อไม้เป็นเสี้ยนตรง ใช้วิธีการติดตา การปักชำ เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อหรือเมล็ดในการขยายพันธุ์ มักจะขึ้นเป็นกลุ่มๆ หรือปนอยู่กับไม้เบญจพรรณอื่น ชอบขึ้นตามดินร่วนปนทรายหรือดินที่มีความลึกมากๆ[1],[2]
  • ดอก จะออกตามปลายยอดและซอกใบ เป็นดอกช่อขนาดใหญ่ เป็นดอกสมบูรณ์เพศ มีดอกย่อยขนาดเล็ก กลีบดอกมี 6 กลีบมีสีเขียวนวล ส่วนโคนเชื่อมกันเป็นหลอดมีขนทั้งด้านในและนอก เกสรตัวผู้ยาวพ้นออกมาจากดอกมี 5-6 อัน เกสรตัวเมียมี 1 อันขนาดเท่ากับเกสรตัวผู้ มีขนอยู่หนาแน่นบริเวณรังไข่ ดอกจะออกช่อแรกที่ปลายยอดสุดของแก่นลำต้นก่อนและภายใน 1 วันดอกจะบาน ดอกจะกลายเป็นผลในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงเดือนตุลาคม[1],[2]
  • ใบ แตกออกมาจากกิ่ง ออกเป็นคู่ตรงข้ามกัน เป็นใบเดี่ยว ใบเป็นรูปรีกว้าง ขอบใบเรียบ โคนใบสอบ ปลายใบมีหางอยู่สั้นๆ ใบที่ออกมาแต่ละคู่จะตั้งฉากสลับกันตามความยาวกิ่ง แต่ละใบมีความกว้างราวๆ 12-35 เซนติเมตรและยาว 15-60 เซนติเมตร ก้านใบยาว 1-5 เซนติเมตร มีขนปกคลุมบริเวณท้องใบ ท้องใบมีสีเขียว พื้นใบทั้งสองด้านสากมือ หากนำท้องใบอ่อนมาขยี้จะมีสีแดงคล้ายกับเลือด จะผลัดใบในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมกราคม และจะแตกใบใหม่ช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน[1],[2]
  • ผล มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางราวๆ 1-2 เซนติเมตร ผลเป็นรูปทรงกลมแป้น มีชั้นกลีบเลี้ยงหุ้มผลอยู่ เป็นสีเขียว ลักษณะบางและพองลม ผลแก่จัดมีสีน้ำตาล มีเมล็ดประมาณ 1-4 เมล็ดใน 1 ผล เมล็ดเป็นรูปทรงไข่ จะอยู่ในช่อง ช่องละ 1 เมล็ด ขนาดยาวราวๆ 0.6 เซนติเมตรและกว้าง 0.4 เซนติเมตร จะมีเปลือกบางๆหุ้มอยู่ในแต่ละเมล็ด เมล็ดจะเรียงไปตามแนวตั้งของผล[1],[2]

ประโยชน์ของสัก

  • ในไม้สักทองมีทองคำปนอยู่ 0.5 ppm. หมายความว่าไม้สักทอง 26 ต้นจะได้ทองคำหนัก 1 บาท [5]
  • มีความเชื่อของคนไทยโบราณว่าการปลูกต้นสักทองไว้ประจำบ้าน จะทำให้มีศักดิ์ศรี เพราะคำว่า “สัก” หรือ “ศักดิ์” หมายถึง การมีศักดิ์ศรี ยศถาบรรดาศักดิ์ เกียรติศักดิ์ โดยให้ปลูกต้นสักทองไว้ทางทิศเหนือของบ้าน และควรปลูกในวันเสาร์จะทำให้เป็นมงคลมากยิ่งขึ้น[4]
  • สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย เช่นใช้ไม้ซุงขนาดใหญ่นำมาแปรรูปในการก่อสร้างต่างๆ
    ใช้ไม้ซุงขนาดเล็กมาทำบ้านไม้ซุง จะได้บ้านที่คงทนและสวยงาม เนื้อไม้สามารถคงทนต่อปลวก แมลง เห็ดราได้ดี เนื่องจากมีสารเทคโทควิโนน (Tectoquinone) อยู่[2],[5]

มีการแบ่งเกรดไม้ในการทำเฟอร์นิเจอร์มี 3 เกรดคือ

1.ไม้เกรดเอ เป็นไม้ที่รื้อมาจากบ้านเก่า มีราคาสูง เนื้อไม้แห้งจะเป็นสีน้ำตาลทองเข้ม ไม้จะหดตัวได้น้อยมาก
2.ไม้เกรดบี หรือไม้ออป.(องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้) เป็นไม้ที่ปลูกในพื้นที่ภูเขา มีคุณภาพดีพอสมควร การหดตัวมีน้อย
3.ไม้เกรดซี หรือไม้นส.(หนังสือแสดงสิทธิทำกิน (นส.3) เป็นไม้ที่มีปลูกในพื้นที่ของเอกชน ไม้มีคุณภาพปานกลาง มีแก่นไม้น้อยกว่าไม้เกรดบี สีเนื้อไม้อ่อนออกเหลืองนวล หดตัวมากกว่าไม้เกรดบี

สรรพคุณของสัก

1. ใช้เปลือกไม้มาบรรเทาอาการบวมได้(เปลือกไม้)[1] และเนื้อไม้ก็สามารถใช้ทำยาแก้บวมได้เช่นกัน(เนื้อไม้)[3]
2. เนื้อไม้ ใช้ในการแก้โรคผิวหนังได้[3]
3. ใช้ใบในการทำยารักษาโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบได้[3]
4. เนื้อไม้ ใช้ในการทำยาขับพยาธิได้[3]
5. เนื้อไม้ ใช้ในการคุมธาตุในร่างกายได้ และช่วยแก้ไข้ได้[3]
6. เมล็ด ใช้ในการรักษาโรคตาได้[1]
7. เนื้อไม้ ใช้ในการแก้อาการอ่อนเพลีย[3]
8. ทำเป็นยาบำรุงโลหิตได้ โดยใช้เนื้อไม้และใบมาทำ(เนื้อไม้,ใบ)[3]
9. เนื้อไม้ สามารถแก้ลมในกระดูกได้[3]
10. เปลือก ใช้ทำเป็นยาฝาดสมานได้[3]
11. ใบ ใช้ในการแก้ประจำเดือนไม่ปกติได้ (ใบ)[3]
12. เนื้อไม้,ใบ,ดอก ใช้ในการทำยาขับปัสสาวะได้[3]
13. ใบมีสรรพคุณในการทำยาขับลมได้ และเนื้อไม้ก็สามารถนำมาทานเป็นยาขับลมได้ดีเช่นกัน(เนื้อไม้,ใบ)[3]
14. ทำเป็นยาแก้เจ็บคอได้ โดยนำใบมาทำเป็นยาอม(ใบ)[3]
15. ช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะได้ (เปลือกไม้)[1]
16. ใบ ใช้เป็นยาแก้พิษโลหิตได้ (ใบ)[3]
17. ช่วยในการลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ โดยนำใบมาต้มกับน้ำรับประทาน(ใบ)[3]

สั่งซื้อ อาหารเสริม สำหรับผู้ป่วย เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). “สัก (Sak)”. หน้า 294.
2. ส่วนปลูกป่าภาคเอกชน, สำนักส่งเสริมการปลูกป่า กรมป่าไม้. “สัก”.
3. สรรพคุณสมุนไพร 200 ชนิด, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “สัก”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.rspg.or.th/plants_data/herbs/. [10 มิ.ย. 2014].
4. ไม้ประดับออนไลน์. “สักทอง ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.maipradabonline.com. [10 มิ.ย. 2014].
5. ข่าวสดรายวัน ฉบับที่ 8121 วันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2556, คอลัมน์: รูปไปโม้ด. (น้าชาติ ประชาชื่น). “ไม้สัก”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.khaosod.co.th. [10 มิ.ย. 2014].
6. https://medthai.com/

อ้างอิงรูปจาก
1. https://greencleanguide.com/
2. https://paudhshala.com/