Home Blog Page 82

โมกแดง ดอกหอมอมเปรี้ยวสีส้มแดง ดีต่อเส้นเลือดฝอยในร่างกายและแก้โรคบิด

0
โมกแดง ดอกหอมอมเปรี้ยวสีส้มแดง ดีต่อเส้นเลือดฝอยในร่างกายและแก้โรคบิด
โมกแดง เป็นไม้หายาก ทรงพุ่มที่มีสีส้มอมสีชมพูหรือสีแดง ดอกบานตอนกลางคืน มีกลิ่นหอมอมเปรี้ยว
โมกแดง ดอกหอมอมเปรี้ยวสีส้มแดง ดีต่อเส้นเลือดฝอยในร่างกายและแก้โรคบิด
โมกแดง เป็นไม้หายาก ทรงพุ่มที่มีสีส้มอมสีชมพูหรือสีแดง ดอกบานตอนกลางคืน มีกลิ่นหอมอมเปรี้ยว

โมกแดง

โมกแดง (Wrightia dubia) เป็นไม้พุ่มที่มีสีส้มอมสีชมพูหรือสีแดงอย่างสวยงามและยังมีกลิ่นหอมอีกด้วย ทว่าโมกแดงนั้นเป็นต้นไม้ที่หาได้ยาก ส่วนมากมักจะพบตามป่าผลัดใบหรือป่าดิบและไม่สามารถหาได้ง่าย ๆ เป็นต้นที่ดอกจะบานในตอนกลางคืน สามารถนำส่วนของยอดมารับประทานในรูปแบบของผักสดหรือนำมาเป็นส่วนประกอบในแกงได้ นอกจากนั้นยังนำส่วนของเปลือกเนื้อไม้และรากมาใช้เป็นยาสมุนไพรรักษาอาการได้อีกด้วย

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของโมกแดง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Wrightia dubia (Sims) Spreng.
ชื่อท้องถิ่น : จังหวัดจันทบุรีเรียกว่า “โมกป่า” จังหวัดนครราชสีมาเรียกว่า “โมกมัน” จังหวัดตรังเรียกว่า “มุ มูก” จังหวัดภูเก็ตเรียกว่า “มูกมัน” มีชื่ออื่น ๆ ว่า “โมกราตรี”
ชื่อวงศ์ : วงศ์ตีนเป็ด (APOCYNACEAE)

ลักษณะของโมกแดง

โมกแดง เป็นไม้พุ่มที่มีเขตการกระจายพันธุ์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สามารถพบได้ตามป่าผลัดใบหรือป่าดิบ
เปลือกต้น : เปลือกต้นเป็นสีน้ำตาล แตกกิ่งก้านเป็นพุ่มโปร่ง กิ่งก้านมีขนาดเล็ก
ใบ : เป็นใบเดี่ยวออกเรียงตรงข้ามกัน ลักษณะของใบเป็นรูปวงรีแกมรูปขอบขนาน ปลายใบแหลมเป็นติ่ง โคนใบสอบไปจนถึงมน ขอบใบเรียบ ผิวใบมันเป็นสีเขียวเข้ม หลังใบและท้องใบเรียบ แผ่นใบด้านล่างมีขนบริเวณเส้นใบ
ดอก : ออกดอกเป็นช่อห้อยลงโดยจะออกตามซอกใบ ดอกย่อยเป็นสีส้มอมสีชมพูหรือสีแดง มีกลิ่นหอม กลีบดอกมี 5 กลีบ ปลายกลีบแหลม ขอบกลีบบิดเบี้ยว โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดสั้น กลีบเลี้ยงดอกเป็นสีเขียวมี 5 กลีบ โคนเชื่อมติดกัน มีเกสรเพศผู้ 5 ก้านอยู่ภายในดอก ซึ่งดอกจะบานในตอนกลางคืนและจะบานได้วันเดียวก็จะร่วง มักจะออกดอกตลอดทั้งปี บางข้อมูลบอกว่าออกดอกในช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคม
ผล : ออกผลเป็นฝักยาว โคนฝักติดกันเป็นคู่ ลักษณะของฝักค่อนข้างกลม เมื่อฝักแห้งจะแตกออก
เมล็ด : ภายในผลมีเมล็ดจำนวนมาก เมล็ดเป็นเส้น มีขนสีขาวเป็นพู่ที่ปลายติดอยู่และสามารถปลิวไปตามลมได้

สรรพคุณของโมกแดง

  • สรรพคุณจากเปลือกเนื้อไม้
    – เป็นยาขับระบบหมุนเวียนเส้นโลหิตฝอยในร่างกาย ด้วยการนำเปลือกเนื้อไม้มาต้มกับน้ำแล้วดื่ม
  • สรรพคุณจากราก เป็นยาแก้บิด

ประโยชน์ของโมกแดง

1. เป็นส่วนประกอบของอาหาร ยอดนำมาทานเป็นผักสดหรือนำมาใส่แกงได้
2. ปลูกเป็นไม้ประดับ ดอกมีกลิ่นหอมอมเปรี้ยวและสวยงาม

โมกแดง เป็นไม้พุ่มที่หาได้ยากและมักจะขึ้นตามป่าโดยมีลักษณะเด่นอยู่ที่ส่วนของดอก ดอกจะบานในตอนกลางคืนและจะบานได้วันเดียวเท่านั้นก็จะร่วงโรย แถมยังมีกลิ่นหอมอมเปรี้ยวและมีดอกสีส้มอมสีชมพูหรือสีแดงทำให้ต้นดูโดดเด่น โมกแดงมีสรรพคุณทางยาได้หลายส่วนจากต้นโดยเฉพาะส่วนของเปลือกเนื้อไม้และราก มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ ขับระบบหมุนเวียนเส้นโลหิตฝอยและแก้บิด ถือเป็นต้นที่เหมาะต่อระบบเลือดในร่างกาย

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. “โมกแดง (Mok Daeng)”. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). หน้า 246.
หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคเหนือ. “โมกแดง”. (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ). หน้า 164.
หนังสือพรรณไม้สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เล่ม 5. “โมกแดง”.
หนังสือพรรณไม้ป่าชายหาด. (มัณฑนา นวลเจริญ). “โมกแดง”. หน้า 129.
พืชสมุนไพรโตนงาช้าง. “โมกแดง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: paro6.dnp.go.th/web_km/พืชสมุนไพรโตนงาช้าง/. [19 พ.ค. 2014].

ต้นเคอร์รี่ลีฟ บำรุงสมอง ขจัดรังแค และป้องกันผมหงอกก่อนวัย

0
ต้นเคอร์รี่ลีฟ สมุนไพรช่วยบำรุงสมอง ขจัดรังแค และป้องกันผมหงอกก่อนวัย
ต้นเคอร์รี่ลีฟ เป็นสมุนไพรไม้ยืนต้น เป็นส่วนผสมของเครื่องเทศในการปรุงอาหาร รสชาติที่เป็นเอกลักษณ์
ต้นเคอร์รี่ลีฟ สมุนไพรช่วยบำรุงสมอง ขจัดรังแค และป้องกันผมหงอกก่อนวัย
ต้นเคอร์รี่ลีฟ เป็นสมุนไพรไม้ยืนต้น เป็นส่วนผสมของเครื่องเทศในการปรุงอาหาร รสชาติที่เป็นเอกลักษณ์

ต้นเคอร์รี่ลีฟ

ต้นเคอร์รี่ลีฟ หรือหอมแขก (Curry Leaves) เป็นไม้ยืนต้นพบได้ในเขตร้อนมีกำเนิดในประเทศอินเดีย ศรีลังกา บังกลาเทศ และหลายประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีคุณค่าทางโภชนาการมากมาย มักใช้เป็นส่วนผสมของเครื่องเทศในการปรุงอาหารใบต้นเคอร์รี่ลีฟ อุดมไปด้วยสารสำคัญ เช่น อัลคาลอยด์ ไกลโคไซด์ และฟีนอลิก ซึ่งทำให้สมุนไพรชนิดนี้มีกลิ่นหอม และรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์มีประโยชน์ต่อสุขภาพ โดยเฉพาะใบต้นเคอร์รี่ลีฟถูกนำมาใส่ลงในอาหารเพื่อเพิ่มรสชาติให้เข้มข้น และนิยมใส่ในอาหารประเภทเนื้อสัตว์ แกงกะหรี่ น้ำซุป ผงใบเคอร์รี่ลีฟแห้งใส่โรยหน้าขนมปัง เป็นต้น

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของต้นเคอร์รี่ลีฟ

ชื่อสามัญ : ต้นเคอร์รี่ลีฟ, Curry Leaves, sweet neem leaves (อินเดีย), ต้นหอมแขก, ต้นใบกระหรี่, ต้นแกงกะหรี่, ใบแกง, นิมหวาน, ต้นใบแกง, ใบหมุย
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Murraya koenigii
ต้นเคอร์รี่ลีฟตระกูลเดียวกับสะเดา : Murraya

ลักษณะของต้นเคอร์รี่ลีฟ

ลำต้นต้นเคอร์รี่ลีฟ : ลำต้นสูงประมาณ 2.5 เมตร ลำต้นสีเขียวเข้มหรือน้ำตาล
ใบต้นเคอร์รี่ลีฟ : ใบเรียวยาว ใบด้านบนสีเขียวเข้มส่วนใต้ใบสีเขียวซีด
ดอกต้นเคอร์รี่ลีฟ : ดอกขนาดเล็ก มีกลิ่นหอม
ผลต้นเคอร์รี่ลีฟ : เนิ้อหวาน ผลสีดำกินได้
ส่วนที่ใช้งานของต้นเคอร์รี่ลีฟ : ใบหอมแขก, เปลือกไม้หอมแขก, ผลหอมแขก, รากหอมแขก

คุณสารอาหารทางโภชนาการของต้นเคอร์รี่ลีฟ

สารอาหารสำคัญพบในใบต้นเคอร์รี่ลีฟ ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต พลังงาน ไฟเบอร์ แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก แมกนีเซียม ทองแดง และแร่ธาตุ นอกจากนี้ยังมีวิตามินต่างๆ เช่น กรดนิโคตินิกและวิตามินซี วิตามินเอ วิตามินบี วิตามินอี สารต้านอนุมูลอิสระ สเตอรอลจากพืช กรดอะมิโน ไกลโคไซด์ และฟลาโวนอยด์ ไขมัน 0.1 กรัม

สรรพคุณของต้นเคอร์รี่ลีฟ

  • ช่วยลดน้ำหนัก
  • ช่วยลดอาการปวด และยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา
  • ต้นเคอร์รี่ลีฟช่วยในการควบคุมระดับคอเลสเตอรอลในร่างกาย
  • ช่วยรักษาโรคบิด ท้องผูก ท้องเสีย
  • ช่วยย่อยอาหาร ต้นเคอร์รี่ลีฟใช้ขับของเสียในลำไส้ และมีคุณสมบัติเป็นยาระบายอ่อนๆ
  • ช่วยลดอาการแพ้ท้องและคลื่นไส้
  • ช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจ
  • ต้นเคอร์รี่ลีฟช่วยแก้ปัญหาเรื่องประจำเดือน
  • ช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อย
  • ช่วยในการรักษาสุขภาพช่องปากและป้องกันโรคในช่องปาก
  • ต้นเคอร์รี่ลีฟบำรุงโลหิต และป้องกันโรคโลหิตจาง
  • ต้นเคอร์รี่ลีฟช่วยล้างสารพิษ ขับสารพิษออกจากร่างกาย
  • ช่วยบำรุงสายตา ป้องกันระบบประสาท และต้อกระจกในระยะเริ่มต้น
  • ต้นเคอร์รี่ลีฟช่วยลดความเครียดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ช่วยสมานแผล ป้องกันการติดเชื้อ รอยฟกช้ำ และฟื้นฟูเซลล์ผิวจากแผลไฟไหม้
  • ต้นเคอร์รี่ลีฟช่วยขจัดรังแค ผมร่วง ผมหงอกก่อนวัย และกระตุ้นรูขุมขน บำรุงเส้นผมให้แข็งแรง ทำให้ผมดำเป็นธรรมชาติ
  • ช่วยบำรุงสมอง ช่วยป้องกันความเสื่อมของระบบประสาท เช่น โรคอัลไซเมอร์
  • ต้นเคอร์รี่ลีฟช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ที่สูงได้
  • ใบต้นเคอร์รี่ลีฟช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตเซลล์มะเร็ง เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก มะเร็งลำไส้ และมะเร็งปอด

อย่างไรก็ตามการกินต้นเคอร์รี่ลีฟทั้ง ใบ ผล เปลือกไม้ และราก สามารถใช้ประโยชน์ได้หลากหลายนำใบมาประดับจานอาหารและใช้ใบต้นเคอร์รี่ลีฟหั่นใส่ในอาหาร สตูว์ แกงกะหรี่ เพื่อเพิ่มรสชาติความอร่อย เนื่องจากใบต้นเคอร์รี่ลีฟเป็นเครื่องเทศที่ได้รับความนิยมรวมถึงมีสรรพคุณทางยาสมุนไพรมีฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

สตรอเบอรี่ต้น ผลไม้ต่างประเทศสีสันสดใส ช่วยลดอาการปวดข้อ สมานแผล

0
สตรอเบอรี่ต้น ผลไม้ต่างประเทศสีสันสดใส ช่วยลดอาการปวดข้อ สมานแผล
ต้นสตรอเบอร์รี่ เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก ดอกรูประฆังสีขาว ผลสีแดงขนาดเล็ก ผิวหยาบ รสชาติหวานคล้ายมะเดื่อ นิยมนำมาทำแยม เครื่องดื่มและ เหล้า
สตรอเบอรี่ต้น ผลไม้ต่างประเทศสีสันสดใส ช่วยลดอาการปวดข้อ สมานแผล
ต้นสตรอเบอร์รี่ เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก ดอกรูประฆังสีขาว ผลสีแดงขนาดเล็ก ผิวหยาบ รสชาติหวานคล้ายมะเดื่อ นิยมนำมาทำแยม เครื่องดื่มและ เหล้า

สตรอเบอรี่ต้น

สตรอเบอรี่ต้น Arbutus Unedo หรือ Strawberry Tree เป็นไม้พุ่มขนาดกลางต้นสูงประมาณ 8 เมตร ดอกมีกลิ่นหอมคล้ายแอปริคอต ซึ่งผลไม้ชนิดนี้มีเอกลักษณ์คือมีผลสีแดงเมื่อสุกโดดเด่นสะดุดตา รสหวานอมเปรี้ยวคล้ายลูกแพร์ เป็นที่รู้จักกันในชื่อสตรอเบอร์รี่ต้น, Albocera, Alborsos, Arbocera, madrollo, madroño ผลของต้นสตรอเบอร์รี่สามารถรับประทานสดได้ ทำแยมสตรอเบอรี่ หรือเหล้า รวมถึงยังมีประโยชน์ทางด้านยาสมุนไพรใช้รากและใบนำมาต้มรักษาอาการท้องร่วง และใช้เป็นยาฆ่าเชื้อทางเดินปัสสาวะ อีกทั้งยังอุดมวิตามิน แทนนิน เพกติน แอนโทไซยานิน โพลีฟีนอล วิตามินซี และสารต้านอนุมูลอิสระอีกด้วย

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของสตรอเบอรี่ต้น

ชื่อสามัญ : strawberry tree
ชื่อภาษาสเปน : Madrono
ชื่อภาษาอิตาลี : Corbezzolo
ชื่อภาษากรีก : Koumaria
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Arbutus unedo L.
ชื่อวงศ์  : Ericaceae.

ถิ่นต้นกำเนิดของสตรอเบอรี่ต้น

มีถิ่นกำเนิดในแถบเมดิเตอร์เรเนียน แต่ยังเป็นไม้ประดับที่ได้รับความนิยมทั่วทั้งภาคตะวันตกเฉียงเหนือของสหรัฐอเมริกา ชาวโรมันเรียกต้นไม้นี้ว่า Arbutus Unedo และสานกิ่งก้านเข้าด้วยกันเพื่อทำพิธีฝังศพ ในกรีซถูกเรียกว่า Andrachne หรือที่รู้จักกันทั่วไปว่าเป็นต้นสตรอเบอร์รี่ของกรีก

ลักษณะทั่วไปของสตรอเบอรี่ต้น

ลำต้น : ลำต้นตั้งตรงมีเปลือกสีน้ำตาลแดงและผิวเปลือกไม้เป็นเกล็ด กิ่งแตกออกจากลำต้นโดยรอบ กิ่งอ่อนสีเขียวอมเทา
ผล : ผลไม้ทรงกลมที่มีรสชาติกลมกล่อม ผลสตรอเบอรี่ต้นมีขนาดเล็กเส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ย 1 – 3 เซนติเมตร ผลมีหนามแหลมอ่อนคล้ายลิ้นจี่ เนื้อสีเหลืองทองน่ากิน
ใบ : ใบเรียวยาว 2-4 นิ้ว ใบหยักเล็กน้อย ผิวใบมันเงาสีเขียวเข้ม
ดอก : ช่อดอกขนาดเล็กสีขาวหรือสีชมพูอ่อน ดอกคล้ายมงกุฎทรงมนออกเป็นช่อ 10-30 ดอก ส่วนบนใหญ่แล้วค่อยๆ แคบลงส่วนปลายดอกบานออกเล็กน้อย ออกดอกจะเริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงธันวาคม

ประโยชน์ของสตรอเบอรี่ต้น

  • ใช้เป็นยาสมานแผล
  • ช่วยรักษาโรคไขข้อ
  • ใช้เป็นยาชูกำลัง
  • ช่วยลดอาการเจ็บคอและระคายเคืองได้
  • ช่วยลดอาการปวดข้อ
  • ใช้เป็นยาระบาย
  • ช่วยต้านการอักเสบ
  • ช่วยต้านเชื้อแบคทีเรียและไวรัส
  • ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ
  • ช่วยป้องกันโรคหืด และการติดเชื้อในหลอดลม
  • ช่วยให้เลือดไหลเวียนดี

การขยายพันธุ์สตรอเบอรี่ต้น

  • เพาะจากเมล็ดโดยการแช่เมล็ดแก่ในน้ำอุ่นประมาณ 5-6 วัน ก่อนลงปลูก
  • การปักชำใช้ไม้ที่โตเต็มที่ยาวประมาณ 15-20 ซม. การเจริญเติบโตง่าย ทนแล้ง

ต้นสตรอเบอร์รี่มีประโยชน์ทางด้านยาสมุนไพรใช้รากและใบนำมาต้มรักษาอาการท้องร่วง และใช้เป็นยาฆ่าเชื้อทางเดินปัสสาวะ และนิยมปลูกเป็นไม้ประดับในต่างประเทศ

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

คูปัวซู ช่วยให้ผมนุ่มลื่นไม่ชี้ฟู ลดริ้วรอยเหี่ยวย่น และคืนความชุ่มชื้นให้แก่ผิว

0
คูปัวซู ช่วยให้ผมนุ่มลื่นไม่ชี้ฟู ลดริ้วรอยเหี่ยวย่น และคืนความชุ่มชื้นให้แก่ผิว
คูปัวซู หรือกูปูวาซู เปลือกแข็งสีน้ำตาล มีขนขนาดเล็กสั้น มีรสชาติเหมือนช็อกโกแลตผสมสับปะรด
คูปัวซู ช่วยให้ผมนุ่มลื่นไม่ชี้ฟู ลดริ้วรอยเหี่ยวย่น และคืนความชุ่มชื้นให้แก่ผิว
คูปัวซู หรือกูปูวาซู เปลือกแข็งสีน้ำตาล มีขนขนาดเล็กสั้น มีรสชาติเหมือนช็อกโกแลตผสมสับปะรด

คูปัวซู

คูปัวซู (cupuacu) หรือที่เรียกว่า ต้นโกโก้ มีถิ่นกำเนิดอยู่ทางใต้และตะวันออกเฉียงใต้ของอเมซอนของบราซิล และสูง 5-15 เมตร รสชาติเหมือนช็อกโกแลตผสมสับปะรด มักใช้ผลสุกคูปัวซูใช้ทำเครื่องดื่ม ไอศกรีม ใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอาง ส่วนเมล็ดคูปัวซูมีไขมันสูงสามารถนำมาสกัดเป็นน้ำมันใช้บำรุงผิวเพิ่มความชุ่มชื้น นอกจากนั้นยังอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระซึ่งช่วยให้ร่างกายของเราแข็งแรง ช่วยกระตุ้นการทำลายเซลล์ไขมันในร่างกายได้เป็นอย่างดี

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของคูปัวซู

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Theobroma grandiflorum
ชื่อสามัญ : โกโก้บราซิล, โคโปอาซู, คูปูอัสซู, โกโก้ดอกใหญ่, กูปูวาซู
ชื่อสามัญอื่นๆ : โคลอมเบีย: bacau, kopoazu; คอสตาริกา: โกโก้ป่า, ปาเตสเต, เตเต้ดำ; เช็ก: kakaovník velkokvětý; อังกฤษ: cupuacu; ซูรินาเม: lupu; สเปน: copoasú

ลักษณะของคูปัวซู

ลำต้น : เปลือกไม้ของต้นคูปัวซูเป็นสีน้ำตาล
ใบ/กิ่ง : ผิวใบมันวาว ทรงใบเรียวยาวประมาณ 20 -50 เซนติเมตณ มีเส้นตรงกลาง ใบอ่อนมีสีม่วงอมชมพูเปลือกไม้เป็นสีเขียว
ดอก : ดอกสีแดงมีกลีบเลี้ยงรูปสามเหลี่ยมหนา ออกเดี่ยวๆ หรือออกเป็นกระจุกเล็ก ดอกมี 3-5 ดอก กลีบดอกสีม่วงเข้ม 5 กลีบ ส่วนกลีบเลี้ยงรูปสามเหลี่ยม 5 อัน เกสรตัวผู้ 5 อัน
ผล : เป็นรูปวงรีมีเปลือกสีน้ำตาล มีขนขนาดเล็กสั้นเปลือกแข็ง และมีเนื้อสีขาว ออกผล 20-30 ผลต่อต้น
เมล็ด : มีเมล็ดประมาณ 30-50 เมล็ด ยาวประมาณ 1 นิ้ว เมล็ดคูปัวซูสามารถนำมาทำเป็นช็อกโกแลตชั้นดีได้ มีจุดหลอมเหลวสูงกว่าและมีไขมันอิ่มตัวน้อยกว่าช็อกโกแลตที่ได้จากเมล็ดโกโก้อีกด้วย

ประโยชน์ของคูปัวซู

  • ช่วยฟื้นฟูและเป็นเกราะป้องกันผิวจากแสงแดด
  • ช่วยลดริ้วรอยเหี่ยวย่น และคืนความชุ่มชื้นให้แก่ผิว
  • ช่วยให้ผมนุ่มสลวยสุขภาพดี ลดปัญหาผมชี้ฟู และผมไม่ขาดง่าย
  • ช่วยลดความเสี่ยงของการอักเสบ และโรคเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน
  • ช่วยให้รู้สึกอิ่มนานขึ้นจากเส้นใย
  • ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
  • ช่วยให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น
  • ช่วยกระตุ้นการทำลายเซลล์ไขมันในร่างกาย และช่วยป้องกันการสร้างเซลล์ไขมันใหม่
  • ช่วยป้องกันการดูดซึมกลูโคสของร่างกาย
  • ช่วยลดความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจ
  • ช่วยต้านเชื้อแบคทีเรียและไวรัสส่วนทางเดินอาหาร
  • ช่วยลดอาการเจ็บคอ และอาการไอ
  • ช่วยบรรเทาผิวแห้งไหม้แดดและริ้วรอยแห่งวัย
  • ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นและความกระชับของผิว

คูปัวซูมีรสขาติคล้ายลูกแพร์ เนื้อในที่มีกลิ่นหอมหวาน เป็นแหล่งของวิตามินบี1 บี2 และบี3 ช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกาย และช่วยป้องกันโรคหัวใจ ในทางอุตสาหกรรมก็นิยมนำไปทำเป็นวัตถุดิบในการแปรรูปอาหาร ยา และเครื่องดื่ม ในวงการเครื่องสำอางค์นิยมนำไปทำเป็นโลชั่นบำรุงผิวพรรณอีกด้วย

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

อุโลก หรือ “ส้มกบ” เป็นไม้มงคลที่ช่วยถอนพิษไข้ แก้ไอ ขับเสมหะ

0
อุโลก หรือ “ส้มกบ” เป็นไม้มงคลที่ช่วยถอนพิษไข้ แก้ไอ ขับเสมหะ
อุโลก เป็นไม้ยืนต้นที่อยู่ในตระกูลเข็ม ดอกมีกลิ่นหอม ผลแข็งบางเป็นสีน้ำตาลแดง
อุโลก หรือ “ส้มกบ” เป็นไม้มงคลที่ช่วยถอนพิษไข้ แก้ไอ ขับเสมหะ
อุโลก เป็นไม้ยืนต้นที่อยู่ในตระกูลเข็ม ดอกมีกลิ่นหอม ผลแข็งบางเป็นสีน้ำตาลแดง

อุโลก

อุโลก (Hymenodictyon orixense) หรือเรียกกันว่า “ส้มกบ” เป็นไม้ยืนต้นที่อยู่ในตระกูลเข็ม มีถิ่นกำเนิดในทวีปอินเดียจึงเป็นไม้ที่ชอบขึ้นในที่แดดจัดหรือพื้นที่ดินทราย เป็นต้นไม้ที่คนไทยไม่ค่อยรู้จักและมักจะพบในป่ามากกว่า มีประโยชน์ในด้านสรรพคุณทางยาและด้านอุตสาหกรรม นอกจากนี้ยังเป็นไม้มงคลที่เคยใช้ในการสลักตราของพระเจ้าแผ่นดินและในวัง อีกทั้งยังเป็น 1 ใน 9 ไม้มงคลที่ใช้แกะสลักในพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ อีกด้วย

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของอุโลก

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Hymenodictyon orixense (Roxb.) Mabb.
ชื่อท้องถิ่น : ภาคเหนือและภาคอีสานเรียกว่า “ส้มกบ ส้มเห็ด” ภาคใต้เรียกว่า “ส้มลุ ลุ ลาตา” จังหวัดตรังเรียกว่า “ลาตา” จังหวัดสุราษฎร์ธานีเรียกว่า “ลุ ส้มลุ” ชาวกะเหรี่ยงเชียงใหม่เรียกว่า “สั่งเหาะ” จีนกลางเรียกว่า “ถู่เหลียนเชี่ยว”
ชื่อวงศ์ : วงศ์เข็ม (RUBIACEAE)
ชื่อพ้อง : Hymenodictyon excelsum (Roxb.) Wall., Hymenodictyon excelsum (Roxb.) DC.

ลักษณะของต้นอุโลก

อุโลก หรือส้มกบ เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางผลัดใบที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปอินเดีย อินโดจีนไปจนถึงฟิลิปปินส์ มักจะขึ้นตามป่าโปร่ง ป่าเบญจพรรณผสมและป่าดงดิบแล้งทั่วไป
ลำต้น : ลำต้นเปลาตรง เรือนออกเป็นทรงพุ่มกลมโปร่ง กิ่งแขนงแตกออกจากลำต้นเป็นวงรอบที่ปลายกิ่ง
เปลือกต้น : เปลือกต้นหนาและแตกลอนเป็นสะเก็ด มีสีน้ำตาลปนเทา บางทีก็มีสีเทาปนน้ำตาล
ใบ : เป็นใบเดี่ยวออกตรงข้ามกันเป็นคู่ ออกเป็นกระจุกตามปลายกิ่ง ลักษณะของใบเป็นรูปวงรี รูปไข่หรือรูปโล่ ปลายใบมนและมีติ่ง โคนใบสอบเข้าหาก้านใบ ขอบใบเป็นคลื่นเล็กน้อย แผ่นใบหนาและเป็นลอนเล็กน้อย หลังใบและท้องใบมีขนนุ่มทั้งสองด้าน เส้นใบเห็นได้ชัดเป็นร่างแห ก้านใบมีสีแดงอ่อน มีหูใบอยู่ระหว่างก้านใบ
ดอก : ออกดอกเป็นช่อแบบแยกแขนง โดยจะออกตามซอกใบและปลายกิ่ง ในแต่ละช่อมีดอกย่อยจำนวนมาก กลีบดอกเป็นสีขาวขนาดใหญ่กว่ากลีบฐานดอก ดอกมีกลิ่นหอม กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดรูปกรวย ปลายแยกเป็นแฉก 5 แฉก กลีบเลี้ยงมีเส้นใบคล้ายกับตาข่ายเป็นสีเขียว
ผล : ผลสามารถพบได้ในดอก มักจะอยู่รวมกันเป็นพวงห้อยลงแต่ปลายผลชี้ย้อนขึ้นไปทางโคนช่อ ลักษณะของผลเป็นรูปทรงวงรีขนาดเล็ก มีร่อง 2 ร่อง เมื่อสุกผลจะแตกได้ ผิวเปลือกผลแข็งบางเป็นสีน้ำตาลแดง
เมล็ด : ภายในผลมีเมล็ดจำนวนมาก เมล็ดมีครีบหรือปีกบาง ๆ อยู่ที่ปลาย

สรรพคุณของอุโลก

  • สรรพคุณจากราก แก่น เปลือกต้น เป็นยาแก้ไข้พิษต่าง ๆ ช่วยระงับความร้อน ใช้เป็นยาขับพิษร้อนถอนพิษไข้ แก้ไข้ตัวร้อน ไข้หวัด แก้ไข้จับสั่น เป็นยาแก้อาการร้อนในกระหายน้ำ
  • สรรพคุณจากรากและแก่น ช่วยแก้อาการไอ ช่วยขับเสมหะ
  • สรรพคุณจากใบและราก เป็นยาดูดพิษฝีหนอง เป็นยาภายนอกที่แก้ไขข้ออักเสบและแก้ปวดบวมแดงตามข้อ

ประโยชน์ของอุโลก

1. เป็นส่วนประกอบของอาหาร ใบอ่อนมีรสเปรี้ยวจึงนำมาใช้รับประทานเป็นผักสดหรือลวกต้มกินกับน้ำพริก
2. ใช้ในอุตสาหกรรม เนื้อไม้เป็นไม้เนื้ออ่อนจึงนำมาทำเฟอร์นิเจอร์หรือทำฝาบ้านได้

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของอุโลก

  • เปลือกต้นและใบ พบสาร Aesculin และ Scopoletin
  • ราก พบ Rubiadin, Lucidin, Damnacanthal, Morindon, Nordamnacanthal, 2 – Benzylxanthopurpurin, 6 – Methyllalizarin และ Anthragallol เป็นต้น

อุโลก เป็นพันธุ์ไม้มงคลของไทยที่อยู่ในโครงการพระราชดำริ ดอกมีกลิ่นหอมและเป็นต้นไม้ที่สำคัญ อุโลกเป็นต้นไม้ที่ช่วยในด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมเนื่องจากไม้ของอุโลกเป็นไม้เนื้ออ่อนและเนียนละเอียด เหมาะอย่างมากแก่การแกะสลักและสามารถนำมาทำเฟอร์นิเจอร์หรือทำฝาบ้านได้ นอกจากนั้นส่วนอื่นของต้นยังมีสรรพคุณทางยาได้อีกด้วย ซึ่งมีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ ช่วยถอนพิษไข้ แก้ไอ ขับเสมหะ แก้ไขข้ออักเสบและแก้ปวดบวมแดงตามข้อได้ เป็นต้นไม้ที่คนไทยควรอนุรักษ์เป็นอย่างยิ่ง

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคกลาง. (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ, ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, กัญจนา ดีวิเศษ). “อุโลก”. หน้า 154.
หนังสือสมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ. (คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “อุโลก”. หน้า 123.
หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. (วิทยา บุญวรพัฒน์). “อุโลก”. หน้า 652.
ผักพื้นบ้าน ในประเทศไทย กรมส่งเสริมการเกษตร, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง. “อุโลก”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: area-based.lpru.ac.th/veg/. [26 ก.ค. 2014].
ระบบฐานข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชน, สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน). “อุโลก”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.bedo.or.th. [26 ก.ค. 2014].

ส้มเช้า มีรสเปรี้ยวและกลิ่นหอมเฉพาะตอนเช้า เป็นยาระบาย รักษาฝีและฟอกเลือด

0
ส้มเช้า มีรสเปรี้ยวและกลิ่นหอมเฉพาะตอนเช้า เป็นยาระบาย รักษาฝีและฟอกเลือด
ส้มเช้า เป็นต้นที่มียางเป็นสรรพคุณทางยาสมุนไพร ลำต้นและกิ่งก้านมีหนามแหลมออกจากตุ่ม
ส้มเช้า มีรสเปรี้ยวและกลิ่นหอมเฉพาะตอนเช้า เป็นยาระบาย รักษาฝีและฟอกเลือด
ส้มเช้า เป็นต้นที่มียางเป็นสรรพคุณทางยาสมุนไพร ลำต้นและกิ่งก้านมีหนามแหลมออกจากตุ่ม

ส้มเช้า

ส้มเช้า (Holy Milk Hedge) เป็นต้นที่มียางเป็นสรรพคุณทางยาสมุนไพร ส้มเช้ามีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด คือชนิดที่มีขนาดของต้นเตี้ยและเป็นไม้พุ่ม ในที่นี้จะพูดถึงชนิดที่เป็นไม้พุ่ม มักจะพบตามป่าทั่วไปและพบได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย เป็นต้นที่คนส่วนมากไม่ค่อยรู้จักสักเท่าไหร่ ส่วนต่าง ๆ ของต้นมีรสเปรี้ยวเมาแต่ส่วนของรากและใบนั้นมีพิษ ส้มเช้ามีคุณสมบัติที่โดดเด่นเลยก็คือ ใบของส้มเช้าจะมีรสเปรี้ยวจัดในตอนเช้าและมีกลิ่นหอม พอช่วงสายความเปรี้ยวจะอ่อนลงและหมดในช่วงก่อนเที่ยงจึงเป็นที่มาของชื่อว่า “ส้มเช้า”

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของส้มเช้า

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Euphorbia neriifolia L.
ชื่อสามัญ : มีชื่อสามัญว่า “Holy Milk Hedge” “Yelekalli Marathi”
ชื่อท้องถิ่น : มีชื่ออื่น ๆ เรียกว่า “กะเร กาลัม เพราะเพระ โพะเพะ ไห่หวัง ฮ้อบแฮ้บ ฮวยออง”
ชื่อวงศ์ : วงศ์ยางพารา (EUPHORBIACEAE)
ชื่อพ้อง : Elaeophorbia neriifolia (L.) A.Chev., Euphorbia edulis Lour., Euphorbia ligularia Roxb. ex Buch. – Ham., Euphorbia pentagona Blanco, Euphorbia pentagona Noronha, Tithymalus edulis (Lour.) H.Karst.

ลักษณะของส้มเช้า

ส้มเช้า เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กที่มักจะพบตามป่าดงดิบแล้ง ป่าราบและป่าเบญจพรรณ
ลำต้น : ลำต้นและกิ่งก้านมีหนามแหลมออกจากตุ่ม 1 – 2 อัน ตามข้อต่อเป็นเหลี่ยม 5 เหลี่ยมและมียางสีขาว
ใบ : เป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับกัน ลักษณะของใบเป็นรูปไข่กลับ ปลายใบมนเว้าตื้น โคนใบสอบ ขอบใบเรียบ หลังใบและท้องใบเรียบ เนื้อใบหนาอวบน้ำ หูใบเป็นหนาม
ดอก : ออกดอกเป็นช่อตามกิ่ง เป็นดอกแบบแยกเพศแต่อยู่ในช่อเดียวกัน ไม่มีกลีบดอก ดอกมีใบประดับที่ดูคล้ายกลีบดอกสีเหลือง 5 อัน
ผล : ผลเป็นผลสดประกอบไปด้วยผลขนาดเล็ก 3 ผลรวมกัน ไม่มีเนื้อผลหรือเป็นผลแห้งแตกได้เป็น 3 พู

สรรพคุณของส้มเช้า

  • สรรพคุณจากใบ ฟอกโลหิต ช่วยถ่ายคูถเสมหะหรือของเหลวที่อยู่ในช่องท้องส่วนล่างอย่างระบบขับถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ ช่วยขับประจำเดือนของสตรี เป็นยาถอนพิษ
    – รักษาฝี ปิดฝี ทำให้ฝียุบและหายปวด ช่วยถอนพิษหนองที่เกิดจากฝีได้อย่างชะงัด แก้ปวด ด้วยการนำใบมาตำแล้วพอก
  • สรรพคุณจากยาง แก้ไข้จับสั่นเรื้อรัง ทำให้อาเจียน แก้อาการจุกเสียด แก้ท้องมาน แก้พุงโร แก้ม้ามย้อย ช่วยขับน้ำย่อยอาหาร เป็นยาระบายอ่อน ๆ เป็นยาขับพยาธิ ช่วยแก้บวม
  • สรรพคุณจากเปลือกต้น
    – เป็นยาระบาย ด้วยการนำเปลือกมาต้มกับน้ำแล้วดื่ม
  • สรรพคุณจากราก
    – เป็นยาฆ่าเชื้อโรคและฆ่าพยาธิผิวหนัง แก้พิษจากแมลงกัดต่อย ด้วยการนำรากมาตำแล้วพอก

ประโยชน์ของส้มเช้า

1. เป็นส่วนประกอบของอาหาร ใบอ่อนใช้รับประทานสดเป็นผักร่วมกับน้ำพริกหรือนำมาใช้แทนใบเมี่ยงได้
2. ใช้ในการเกษตร รากและใบมีพิษจึงใช้เป็นยาเบื่อปลา
3. ปลูกเป็นไม้ประดับ

ส้มเช้า เป็นต้นที่มีรสเปรี้ยวเมาซึ่งจะมีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด ทั้งนี้เราจะพูดถึงชนิดที่เป็นไม้พุ่มซึ่งนิยมปลูกไว้เพื่อเก็บใบอ่อนกินเป็นอาหารและเป็นไม้ประดับ นอกจากนั้นยังมีสรรพคุณทางยาสมุนไพรอีกด้วย ส้มเช้าเป็นต้นที่มีสรรพคุณทางยาได้หลายส่วนโดยเฉพาะส่วนของยางและใบ มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ เป็นยาระบาย รักษาฝี ช่วยถ่ายคูถเสมหะ ช่วยขับประจำเดือนและฟอกเลือด ถือเป็นต้นที่น่าสนใจในการนำมาปลูกไว้เพื่อใช้ประโยชน์

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). “ส้มเช้า (Som Chao)”. หน้า 281.
สรรพคุณสมุนไพร 200 ชนิด, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “ส้มเช้า”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.rspg.or.th/plants_data/herbs/. [05 มิ.ย. 2014].
ผักพื้นบ้าน ในประเทศไทย กรมส่งเสริมการเกษตร, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง. “ส้มเช้า”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: area-based.lpru.ac.th/veg/. [05 มิ.ย. 2014].
สมุนไพรไทย, มหาวิทยาลัยนเรศวร. “ส้มเช้า”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: student.nu.ac.th/49320567/. [05 มิ.ย. 2014].
ไทยรัฐออนไลน์. (นายเกษตร). “ส้มเช้ามีสองชนิด”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www. thairath.co.th. [05 มิ.ย. 2014].

ข่าตาแดง ช่วยขับเลือดเน่าและรักษาบาดทะยักในมดลูก ดีต่อลมในร่างกาย

0
ข่าตาแดง ช่วยขับเลือดเน่าและรักษาบาดทะยักในมดลูก ดีต่อลมในร่างกาย
ข่าตาแดง เป็นข่าที่มีกลิ่นหอมฉุนมากกว่าข่าทั่วไป ช่อดอกสีขาวแต้มสีแดง หน่อจะมีสีแดงจัด
ข่าตาแดง ช่วยขับเลือดเน่าและรักษาบาดทะยักในมดลูก ดีต่อลมในร่างกาย
ข่าตาแดง เป็นข่าที่มีกลิ่นหอมฉุนมากกว่าข่าทั่วไป ช่อดอกสีขาวแต้มสีแดง หน่อจะมีสีแดงจัด

ข่าตาแดง

ข่าตาแดง (Alpinia officinarum Hance) เป็นข่าชนิดหนึ่งที่มีสีแดงจัดจึงเป็นที่มาของชื่อ “ตาแดง” มีหัวที่มีกลิ่นหอมฉุนเหมือนข่าทั่วไป นอกจากนั้นต้นยังมีช่อดอกสีขาวแต้มสีแดงอย่างสวยงาม และที่สำคัญหน่อนั้นสามารถนำมาใช้ปรุงหรือประกอบอาหารได้ ข่าตาแดงยังมีสรรพคุณทางยาสมุนไพรต่อร่างกายอีกด้วย โดยเฉพาะส่วนของหน่อหรือหัวที่อุดมไปด้วยสรรพคุณและยังมีความโดดเด่นจากสีที่มีสีแดงจัดอีกด้วย

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของข่าตาแดง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Alpinia officinarum Hance
ชื่อท้องถิ่น : คนไทยเรียกว่า “ข่าเล็ก”
ชื่อวงศ์ : วงศ์ขิง (ZINGIBERACEAE)
ชื่อพ้อง : Languas officinarum (Hance) Farw., Languas officinarum (Hance) P.H.Hô

ลักษณะของข่าตาแดง

ข่าตาแดง เป็นพรรณไม้ลงหัวชนิดหนึ่ง
ใบ : ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ยาว คล้ายใบพาย มักจะออกสลับกันรอบ ๆ ลำต้น
ดอก : ออกดอกเป็นช่อตรงปลายยอด ช่อดอกเป็นสีขาวแต้มด้วยสีแดงเล็กน้อย
หน่อ : เมื่อแตกหน่อ หน่อจะมีสีแดงจัดซึ่งเรียกว่า “ตาแดง” มีกลิ่นและรสหอมฉุนกว่าข่าใหญ่

สรรพคุณของข่าตาแดง

  • สรรพคุณจากหัว เป็นยาขับลมให้กระจายทั่วร่างกาย เป็นยาระบาย รักษาบาดทะยักปากมดลูกของสตรี บรรเทาอาการฟกช้ำบวม รักษาอาการพิษ รักษาอาการโลหิตเป็นพิษ
    – ขับโลหิตที่เน่าในมดลูกของสตรีและช่วยขับลมในลำไส้ ด้วยการนำหัวมาโขลกแล้วคั้นกับน้ำส้มมะขามเปียกและเกลือประมาณ 1 ชาม แกงเขื่อง ๆ ให้หญิงที่เพิ่งคลอดบุตรใหม่รับประทานให้หมด
  • สรรพคุณจากต้น รักษาบิดชนิดที่ตกเป็นเลือด
  • สรรพคุณจากใบ เป็นยาทารักษากลาก
  • สรรพคุณจากดอก เป็นยาทารักษาเกลื้อน

ประโยชน์ของข่าตาแดง

  • เป็นส่วนประกอบของอาหาร หน่อสามารถนำมาใช้ปรุงอาหารได้

ข่าตาแดง เป็นต้นที่มีหัวสีแดงสดและมีสรรพคุณทางยาสมุนไพร รวมถึงเป็นส่วนที่นำมาใช้ประกอบอาหารได้ ถือเป็นส่วนที่อุดมไปด้วยประโยชน์มากมาย ข่าตาแดงเป็นพืชวงศ์ขิงที่มีรสหอมฉุนและมีกลิ่น เป็นต้นที่มีสรรพคุณจากหลายส่วนโดยเฉพาะส่วนหัวหรือหน่อ มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ รักษากลากและเกลื้อน เป็นยาระบาย ดีต่อลมในร่างกายและดีต่อมดลูกของสตรี เป็นต้นที่เหมาะสำหรับผู้หญิงเพิ่งคลอดหรือผู้ที่มีลมในร่างกายผิดปกติ

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “ข่าตาแดง”. หน้า 105 – 106.

ชายผ้าสีดา เฟิร์นประดับยอดนิยมของคนเมือง มีสรรพคุณช่วยแก้ไข้และแก้บวมได้

0
ชายผ้าสีดา เฟิร์นประดับยอดนิยมของคนเมือง มีสรรพคุณช่วยแก้ไข้และแก้บวมได้
ชายผ้าสีดา หรือกระเช้าสีดา เป็นเฟิร์นที่เกาะอาศัยอยู่บนพรรณไม้ นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ
ชายผ้าสีดา เฟิร์นประดับยอดนิยมของคนเมือง มีสรรพคุณช่วยแก้ไข้และแก้บวมได้
ชายผ้าสีดา หรือกระเช้าสีดา เป็นเฟิร์นที่เกาะอาศัยอยู่บนพรรณไม้ นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ

ชายผ้าสีดา

ชายผ้าสีดา (Holttum’s Staghorn – fern) เป็นเฟิร์นชนิดหนึ่งที่มีลักษณะโดดเด่นและมักจะพบได้ทั่วไป คนเมืองและชาวกรุงเทพมหานครนิยมนำมาปลูกเลี้ยงเป็นไม้ประดับซึ่งมักจะปลูกเลี้ยงติดไว้บนต้นไม้ทำให้ดูสวยงามมาก จึงเป็นต้นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายจนกระทั่งมีโอกาสเสี่ยงสูญพันธุ์จากป่าธรรมชาติสูง นอกจากนั้นยังมีสรรพคุณทางยาสมุนไพรได้อย่างน่าทึ่ง ชายผ้าสีดาเป็นยาพื้นบ้านล้านนาและยังเป็นยารักษาของชาวเขาเผ่าแม้วอีกด้วย

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของชายผ้าสีดา

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Platycerium holttumii Joncheere & Hennipman
ชื่อสามัญ : มีชื่อสามัญว่า “Holttum’s Staghorn – fern”
ชื่อท้องถิ่น : ภาคอีสานเรียกว่า “กระเช้าสีดา” จังหวัดน่านเรียกว่า “กระเช้าสีดา ข้าวห่อพญาอินทร์” จังหวัดเลยเรียกว่า “สไบสีดา” ชื่อทางการค้าในจังหวัดกรุงเทพมหานครเรียกว่า “ชายผ้าสีดา หูช้าง”
ชื่อวงศ์ : วงศ์เฟิร์น (POLYPODIACEAE)

ลักษณะของชายผ้าสีดา

ชายผ้าสีดา เป็นเฟิร์นที่เกาะอาศัยอยู่บนพรรณไม้อื่นที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย ลาว พม่าและเวียดนาม มักจะอาศัยอยู่ตามคาคบไม้ขนาดใหญ่จากพื้นดินในป่าดิบแล้ง
ลำต้น : ลำต้นเป็นแท่งเหง้าแบบแท่งดินสอซึ่งฝังตัวอยู่ในระบบรากและใบกาบห่อหุ้ม โผล่ออกมาแต่ตายอด บริเวณยอดเหง้าปกคลุมแน่นไปด้วยเกล็ดยาว ลักษณะเป็นรูปขอบขนาน ปลายสอบแหลม ขอบเกล็ดหยักเป็นซี่ฟัน ทั้งลำต้นเป็นสีเขียวปนสีน้ำเงิน มีขนนวลขาวปกคลุมอยู่ทั่วไป
ยอดเหง้า : เป็นส่วนที่สำคัญที่สุด หากถูกทำลายอาจทำให้ต้นตายได้
ใบ : ใบมีลักษณะแข็งหนาเป็นมันคล้ายหนัง ใบมีสองชนิด โดยใบกาบจะเจริญเป็นแผ่นหนา มีลักษณะชูตั้งขึ้น ปลายบนหยักลึกเป็นแฉกหลายชั้น ปลายแยกเป็นแฉก 2 แฉก ปลายแฉกโค้งมนหรือแหลม ใบกาบช่วงบนเจริญแผ่กางขึ้นเป็นตะกร้า ขอบด้านบนแฉกหยักลึกเป็นแฉกหลายครั้ง ปลายมน ใบกาบช่วงล่างจะเจริญซ้อนทับใบกาบเก่าและโอบรัดสิ่งที่ยึดเกาะ ขอบใบเรียบหรืออาจหยักเว้าในบางต้น แผ่นใบเรียบ มีขนสั้นเป็นรูปดาวปกคลุมแน่น เส้นใบเป็นร่างแหสีเขียวเข้มเจือสีน้ำเงิน สามารถมองเห็นได้ชัดเจน ขอบใบกาบรอบตายอดจะมีลักษณะเป็นจีบพับย่น ปิดคลุมยอดตาเหง้า ในระหว่างชั้นใบกาบจะมีระบบรากเจริญแทรกเข้ามาอยู่ในระหว่างนั้น
ใบแท้หรือใบชายผ้า : มีลักษณะห้อยโค้งลงมา โคนก้านสั้น โคนใบเป็นแผ่นกว้าง แตกเป็นแฉก 2 ส่วน แฉกแรกจะอยู่ใกล้กับโคนใบ มีขนาดเล็กกว่าอีกชิ้นและอยู่ในระดับสูงกว่า ส่วนอีกชิ้นจะอยู่ในระดับต่ำลงมา แต่ละส่วนจะแผ่กว้างออก ตรงกลางเว้า ขอบเรียบหรือเป็นแฉกในบางครั้ง ใต้ส่วนเว้าเป็นส่วนที่สร้างสปอร์ ริมขอบเว้าแตกเป็นแฉกผอมเรียวประมาณ 3 – 4 ชั้น ปล่อยห้อยชายใบลงมา แผ่นใบหนาเกลี้ยง มีขนสั้นปกคลุมแน่นปกติ ใบชายผ้าจะเริ่มผลิออกมาทีละข้างจนกระทั่งโตเต็มที่ มักจะติดต้นประมาณ 1 ปีและจะแก่หลุดไป
อับสปอร์ : มีแถบสร้างสปอร์อยู่บริเวณเดียวตรงรอยเว้าที่โคน โดยใบชายผ้าแต่ละใบจะมีแผ่นสปอร์เกิดขึ้น 2 ตำแหน่ง คือ ที่ใต้ส่วนแฉกชิ้นบนและส่วนแฉกชิ้นล่าง เกิดบริเวณรอยเว้าของแต่ละชิ้น เมื่อสปอร์แก่จะทยอยปลิวออกไปเรื่อย ๆ ปกติสปอร์ซึ่งเกิดที่ใต้ใบชายผ้าที่งอกออกช่วงฤดูนั้นจะแก่และพร้อมปลิวออกไปขยายพันธุ์ในต้นฤดูฝนของปีถัดไป

สรรพคุณของชายผ้าสีดา

  • สรรพคุณจากใบ
    – เป็นยาแก้ไข้สูง ตำรับยาพื้นบ้านล้านนานำใบมาผสมกับใบแห้งกล้วยตีบและใบเปล้าใหญ่ จากนั้นนำมาต้มกับน้ำแล้วอาบ
    – เป็นยาแก้บวม ตำรับยาพื้นบ้านล้านนานำใบมาผสมกับรากส้มชื่นและใบกล้วยง้วน จากนั้นนำมาต้มกับน้ำแล้วอาบ
  • สรรพคุณจากใบในส่วนของชายผ้า
    – รักษาอาการไม่สบายและอ่อนเพลียของสตรีขณะอยู่ไฟหลังคลอด ชาวเขาเผ่าแม้วนำใบเฉพาะส่วนของชายผ้ามาต้มกับน้ำแล้วดื่ม

ประโยชน์ของชายผ้าสีดา

1. เป็นส่วนประกอบของอาหาร ชายผ้านำมาลวกให้สุกแล้วจิ้มทานร่วมกับน้ำพริกได้
2. ใช้ในยาสมุนไพร ใบชายผ้าสีดานำมาใช้เป็นยาแทนใบห่อข้าวสีดาได้
3. ปลูกเป็นไม้ประดับ นิยมปลูกกันอย่างแพร่หลายเนื่องจากปลูกเลี้ยงและดูแลง่าย เลี้ยงติดไว้บนต้นไม้ทำให้ดูเหมือนป่าธรรมชาติ

ชายผ้าสีดา มักจะโด่งดังในเรื่องของการนำมาปลูกประดับไว้บนต้นไม้เพื่อให้สวนดูสวยงามเหมือนอยู่ในป่าธรรมชาติ แต่ทว่าเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์สูงเพราะมีการนำมาขายเป็นจำนวนมาก ถือเป็นพันธุ์ไม้ที่มีลักษณะโดดเด่น มักจะนำชายผ้ามาลวกแล้วทานเป็นผักได้ ชายผ้าสีดาเป็นต้นที่มีสรรพคุณทางยาได้หลายส่วนโดยเฉพาะส่วนของใบ มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ เป็นยาแก้ไข้ แก้บวม รักษาอาการอ่อนเพลียของสตรีขณะอยู่ไฟหลังคลอดได้ ถือเป็นไม้ที่คู่ควรแก่การอนุรักษ์ชนิดหนึ่ง

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา. (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “ชายผ้าสีดา”. หน้า 169.
เฟิร์นสยาม. “Platycerium holttumii”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.fernsiam.com. [27 ส.ค. 2014].

ส้มลม ต้นรสเปรี้ยวใช้แทนมะขาม เป็นยาสมุนไพรพื้นบ้านของชาวอุบลราชธานี

0
ส้มลม ต้นรสเปรี้ยวใช้แทนมะขาม เป็นยาสมุนไพรพื้นบ้านของชาวอุบลราชธานี
ส้มลม หรือเครือส้มลม ต้นและใบอ่อนมีรสเปรี้ยวสามารถนำมาปรุงในอาหารได้ ดอกขนาดเล็กสีชมพู ผลเป็นฝักคู่
ส้มลม ต้นรสเปรี้ยวใช้แทนมะขาม เป็นยาสมุนไพรพื้นบ้านของชาวอุบลราชธานี
ส้มลม หรือเครือส้มลม ต้นและใบอ่อนมีรสเปรี้ยวสามารถนำมาปรุงในอาหารได้ ดอกขนาดเล็กสีชมพู ผลเป็นฝักคู่

ส้มลม

ส้มลม (Aganonerion polymorphum Spire) หรือเรียกกันอีกอย่างว่า “เครือส้มลม” เป็นพืชที่พบในภูมิภาคอินโดจีนเท่านั้น มักจะพบทั่วไปตามป่า เป็นต้นที่มีรสเปรี้ยวจึงนิยมนำมารับประทานและเป็นต้นที่สามารถนำส่วนต่าง ๆ มาปรุงในอาหารได้หลายส่วน สามารถนำใบและยอดอ่อนมารับประทานในรูปแบบของผักสดจิ้มกับน้ำพริกได้ นอกจากนั้นทั้งต้นยังเป็นยาสมุนไพรได้อีกด้วย

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของส้มลม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Aganonerion polymorphum Spire
ชื่อท้องถิ่น : ส้มลม จังหวัดอุบลราชธานีเรียกว่า “เครือส้มลม”
ชื่อวงศ์ : วงศ์ตีนเป็ด (APOCYNACEAE)

ลักษณะของส้มลม

ส้มลม เป็นไม้เถาเลื้อยพาดพันกับต้นไม้อื่นที่ไม่มีมือสำหรับใช้ยึดเกาะ มีเขตการกระจายพันธุ์เฉพาะในภูมิภาคอินโดจีน ในประเทศไทยพบเฉพาะทางภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออกและภาคกลาง มักจะพบกระจายทั่วไปในป่าเต็งรัง ป่าละเมาะและป่าดิบแล้ง
ลำต้นหรือเถา : ลำต้นหรือเถามีลักษณะกลมเรียบ มีขนาดเล็กสีเขียวและมีน้ำยางสีขาว ตามกิ่งอ่อนมีขนละเอียด ส่วนกิ่งแก่มีช่องอากาศกระจายอยู่
ใบ : เป็นใบเดี่ยวออกเรียงตรงข้ามกัน ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ รูปวงรีหรือรูปใบหอก ปลายใบแหลมซึ่งแหลมเป็นติ่งหรือกลม โคนใบมนกลม ป้านหรือเป็นรูปหัวใจ ขอบใบเรียบ แผ่นใบค่อนข้างบางเรียบและเป็นมันวาว มีสีเขียวเข้มและมักจะมีปื้นหรือจุดสีแดงกระจาย หลังใบและท้องใบเรียบ ท้องใบด้านล่างมีขนสั้นนุ่มตามซอกเส้นแขนงใบด้านท้องใบ เส้นแขนงใบมีข้างละประมาณ 3 – 6 เส้น ใบอ่อนมีรสเปรี้ยว
ดอก : ออกดอกเป็นช่อแบบแยกแขนงหรือช่อเชิงหลั่น โดยจะออกตามซอกใบหรือที่ปลายกิ่ง ดอกย่อยมีขนาดเล็กและมีจำนวนมาก ดอกย่อยเป็นสีชมพูอ่อน สีชมพูเข้มหรือสีบานเย็น มีลักษณะทรงกลมและปลายแหลมประมาณ 20 – 30 ดอก มีกลีบดอก 5 กลีบ กลีบมีลักษณะบิดเวียนขวาเล็กน้อย รูปร่างค่อนข้างกลม กลีบดอกส่วนมากเป็นสีชมพูอมแดง ปากหลอดมีสีอ่อนและมีขนสีขาวสั้นนุ่มประปราย โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดสั้น ๆ เป็นสีขาวอมชมพูหรือสีเขียวแกมขาว ตรงปลายแยกกัน กลีบเลี้ยงมี 5 กลีบ เป็นสีแดงหรือสีเขียวเข้มปนแดง โคนเชื่อมติดกัน ปลายกลีบแหลมเป็นรูปไข่ ขอบกลีบมีขนครุยสั้น ๆ มีอับเรณูคล้ายหัวลูกศร มีรังไข่อยู่เหนือวงกลีบ 2 ห้อง แยกจากกันและมีขน ฐานรองดอกมี 5 พู ใบประดับมีขนาดเล็กเป็นรูปไข่แคบ
ผล : ออกผลเป็นฝักคู่ โคนฝักติดกัน ฝักมีลักษณะกลม ปลายฝักแหลม ผิวฝักเกลี้ยง ฝักสดเป็นสีเขียว เมื่อแห้งจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและแตกออกตามยาวเป็นตะเข็บเดียว
เมล็ด : ภายในฝักมีเมล็ดจำนวนมาก เมล็ดเป็นสีน้ำตาล ลักษณะเรียวยาว มีปุยหรือขนสีขาวติดอยู่ซึ่งสามารถลอยไปตามลมได้

สรรพคุณของส้มลม

  • สรรพคุณจากลำต้น
    – แก้ลมวิงเวียน ด้วยการนำลำต้นมาต้มกับน้ำแล้วดื่ม
  • สรรพคุณจากใบ
    – แก้ลมวิงเวียน แก้อาการหน้ามืดตาลายและช่วยแก้อาการกระหายน้ำ ด้วยการนำใบสดมาเคี้ยวกินเป็นยา
  • สรรพคุณจากราก
    – ช่วยขับลม แก้กล้ามเนื้อท้องเกร็ง ด้วยการนำรากมาต้มกับน้ำแล้วดื่มเป็นยา
    – แก้โรคกระเพาะ ตำรายาสมุนไพรพื้นบ้านจังหวัดอุบลราชธานีนำรากมาต้มกับน้ำแล้วดื่มเป็นยา
    – รักษาอาการปัสสาวะขัด ด้วยการนำรากมาผสมกับสมุนไพรชนิดอื่น
    – แก้อาการตกขาวของสตรี ด้วยการนำรากมาใช้เข้ายา
    – รักษาโรคม้ามโต ด้วยการนำรากมาผสมกับรากต้างไก่ใหญ่แล้วนำมาต้มเพื่อดื่มแก้อาการ
    – แก้อาการปวดเมื่อย ด้วยการนำรากมาผสมกับกำจาย ต้นกะเจียน ต้นกำแพงเจ็ดชั้น ต้นเล็บแมว ต้นมะดูก ต้นเปล้าใหญ่หรือเปล้าร้อน ต้นมะเดื่ออุทุมพรและตับเต่าโคก จากนั้นนำมาต้มกับน้ำแล้วดื่มเป็นยา
  • สรรพคุณจากทั้งต้น
    – แก้อาการคัน ด้วยการนำทั้งต้นมาต้มกับน้ำแล้วอาบ

ประโยชน์ของส้มลม

1. เป็นส่วนประกอบของอาหาร นำใบ ดอกและผลมารับประทานได้ ใบและยอดอ่อนมารับประทานในรูปแบบของผักสดจิ้มกับน้ำพริกหรือใช้แทนใบมะขามหรือใช้ทำต้มส้มอย่างต้มอึ่งและต้มยำปลา
2. ใช้ในการเกษตร เป็นอาหารสัตว์ของพวกโคกระบือ

ส้มลม มีรสเปรี้ยวและนำมาใช้ในการปรุงอาหารได้ เป็นยาสมุนไพรที่อยู่ในตำรายาสมุนไพรพื้นบ้านจังหวัดอุบลราชธานี ส้มลมเป็นต้นที่มีสรรพคุณทางยาได้หลายส่วนโดยเฉพาะส่วนของราก มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ แก้ลมวิงเวียน แก้โรคกระเพาะ รักษาโรคม้ามโตและแก้อาการตกขาวของผู้หญิง เป็นต้นที่ช่วยรักษาอาการได้หลากหลายชนิดหนึ่ง

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). “ส้มลม (Som Lom)”. หน้า 284.
หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคเหนือ. (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ). “ส้มลม”. หน้า 173.
ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “ส้มลม”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.phargarden.com. [19 ต.ค. 2014].
ระบบฐานข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชน, สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน). “ส้มลม”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.bedo.or.th. [19 ต.ค. 2014].
นายวันดี ยิ้มกระจ่าง : ยาพื้นบ้านอีสาน.

เถาสะอึก ใบรูปหัวใจและดอกสีเหลืองน่าชม มีสรรพคุณช่วยแก้อาการปวดหัวได้

0
สะอึก
วัชพืชไม้ล้มลุกเถาเลื้อยขนาดเล็ก ตระกูลผักบุ้ง มีใบสีเขียวสดเป็นรูปหัวใจและมีดอกสีดอกสีเหลืองกลางดอกสีขาว
เถาสะอึก
วัชพืชไม้ล้มลุกเถาเลื้อยขนาดเล็ก ตระกูลผักบุ้ง มีใบสีเขียวสดเป็นรูปหัวใจและมีดอกสีดอกสีเหลืองกลางดอกสีขาว

เถาสะอึก

สะอึก (Merremia hederacea) เป็นวัชพืชไม้ล้มลุกเถาเลื้อยพันขนาดเล็กอยู่ในตระกูลเดียวกับผักบุ้งที่มีชื่อแปลกแต่มีดอกและใบสวยงามมาก มีใบสีเขียวสดเป็นรูปหัวใจและมีดอกสีดอกสีเหลืองกลางดอกสีขาวชวนให้น่าชม เป็นต้นที่คนไทยไม่ค่อยรู้จักกันมากนักและเป็นต้นที่ค่อนข้างมีชื่อที่ใช้ในพืชอื่น ๆ ด้วย อาจทำให้จำสลับกันได้ ต้นสะอึกเป็นไม้กลางแจ้งที่มักจะพบตามริมชายหาด หนองน้ำ นิยมนำยอดอ่อนมาทานได้และยังมีสรรพคุณทางยาสมุนไพรได้เช่นกัน

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของเถาสะอึก

ชื่อสามัญ : จิงจ้อเหลี่ยม, จิงจ้อแดง, จิงจ้อขาว, จิงจ้อหลวง, ฉะอึก , มะอึก (นครราชสีมา) จิงจ้อ (สุรินทร์) เถาสะอึก (ภาคกลาง) สะอึกดะลึง (กาญจนบุรี)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Merremia hederacea (Burm.f.) Hallier f.
ชื่อวงศ์ : วงศ์ผักบุ้ง (CONVOLVULACEAE)

ลักษณะของต้นเถาสะอึก

สะอึก เป็นพรรณไม้ล้มลุกที่มักจะพบแถวชายทะเลหรือชายหาด
ลำต้น : เถากลมเลื้อยพันกับต้นไม้อื่นๆ ลำต้นเหนียว เลื้อยทอดยาวตามพืชชนิดอื่นหรือพื้นดิน ขนเล็กแข็งปักไม่เจ็บ ผิวเกลี้ยง เปลือกสีเขียวอมม่วง
ใบ : เป็นใบเดี่ยวออกเรียงเวียนสลับกัน ลักษณะของใบเป็นรูปหัวใจ ปลายใบแหลม โคนใบเว้า ขอบใบเรียบ ก้านใบแดง และมักจะมีสีม่วงหรือจุดเป็นสีม่วง แผ่นใบเป็นสีเขียว ใบยาว 2-4 เซนติเมตร กว้าง 1.5-2 เซนติเมตร
ดอก : สีเหลืองและสีขาว โคนดอกทรงกระบอกยาว ดอกบาน ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบ มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ มีเกสรตัวผู้ 5 อัน สีขาวนวลยาวชี้ออกจากตรงกลางดอก
ผล : ลักษณะของผลเป็นรูปวงกลมแบน ผิวผลเกลี้ยง แบ่งออกเป็น 2 ช่อง
เมล็ด : ภายในผลมีเมล็ดอยู่ 4 เมล็ด มีขนสั้นสีเทาหรือสีขาวปกคลุมอยู่หนาแน่น
ราก : มีลักษณะแข็ง
การขยายพันธุ์ของเถาสะอึก : การเพาะเมล็ด

สรรพคุณของสะอึก

  • สรรพคุณจากใบ
    – ใบ บดผสมขมิ้นและข้าว แก้ทอนซิลอักเสบ
    – ใบ ทํายาพอก แก้มือและเท้าแตก ตํากับขมิ้นเป็นยาพอกลดการอักเสบแผล และบ่มฝี
    – แก้อาการปวดศีรษะ ด้วยการนำใบมาตำผสมกับเมล็ดของต้นเทียนแดง (Nigella sativa Linn.) แล้วใช้เป็นยาพอก
    – ใบ ใช้ใบสดโขลกทำเป็นยาพอก สำหรับแผลไฟไหม้และน้ำร้อนลวก
    – ใบใช้รักษากระดูกหัก
    – ใช้ทั้งต้น ต้มน้ำดื่มหรือแช่น้ำทา แก้งูสวัด
    – เถาสดรสร้อน สรรพคุณแก้ลมพรรดึก ช่วยกระตุ้นลำไส้ ช่วยย่อยอาหาร แก้เสมหะ

ประโยชน์ของสะอึก

  • เป็นส่วนประกอบของอาหาร ยอดอ่อนนำมารับประทานได้

สะอึก เป็นพืชไม้กลางแจ้งที่มักจะพบตามริมชายทะเลทำให้ไม่ได้พบเห็นบ่อยนักสำหรับคนเมืองหรือคนทั่วไป ทั้งนี้สะอึกนั้นอาจจะมีสรรพคุณและประโยชน์ไม่มากเท่าไหร่ แต่ถ้าพบเห็นก็สามารถชมความงามของดอกและใบหรือจะนำยอดอ่อนของต้นมาทานได้ สะอึกเป็นต้นที่มีสรรพคุณทางยาจากส่วนของใบซึ่งมีสรรพคุณในการแก้อาการปวดหัวได้

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “สะอึก”. หน้า 767-768.
ผักพื้นบ้าน ในประเทศไทย กรมส่งเสริมการเกษตร, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง. “สะอึก”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : area-based.lpru.ac.th/veg/. [12 ต.ค. 2014].