Home Blog Page 183

การใช้สิทธิ์บำบัดทดแทนไตค่ายา และปลูกถ่ายไต

การใช้สิทธิ์บำบัดทดแทนไตค่ายา และปลูกถ่ายไต
การใช้สิทธิบำบัดทดแทนไตค่ายา ปลูกถ่ายไต ปัจจุบันผู้ป่วยไตวายที่ถือบัตรทอง สามารถรับบริการล้างไตทางหน้าท้องได้ฟรี ผู้ป่วยรายใหม่ ไม่เกิน 15000 บาทต่อเดือน

ประกันสุขภาพ

พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 กำหนดให้คนไทยทุกคนมีสิทธิได้รับบริการสาธารณสุขที่มีมาตรฐานและมีประสิทธิภาพ โดยจัดตั้งกองทุนประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อเป็นค่าใช้จ่าย สนันสนุนและส่งเสริมการตัดบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ ส่งเสริมให้สามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ
สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เป็นสิทธิตามกฎหมายที่รัฐบาลจัดให้คนไทยทุกคนตั้งแต่แรกเกิดและตลอดชีวิต หรือที่เรียกว่าสิทธิบัตรทอง หรือสิทธิ 30 บาท

ข้าราชการใช้สิทธิเบิกได้ตามระเบียบข้าราชการ ส่วนคนที่ใช้บัตรทอง หรือบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า ได้รับสิทธ์ในการล้างไตทางหน้าท้อง รวมทั้งการผ่าตัดปลูกถ่ายไต แต่ถ้าต้องการฟอกเลือดจะเบิกไม่ได้ ต้องจ่ายเอง หากเป็นผู้ประกันตน สามารถเบิกได้ทั้งการฟอกเลือด การล้างไตทางหน้าท้อง และการปลูกถ่ายไต

คุณสมบัติของผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ คือ

1. เป็นบุคคลที่มีสัญชาตไทย
2. มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก
3. ไม่มีสิทธิประกันสุขภาพจากหน่วยงานรัฐ ได้แก่ ประกันสังคม สวัสดิการรักษาพยาบาลของข้าราชการ หรือสวัสดิการรักษาพยาบาลของหน่วยงานอื่นๆ

สามารถตรวจสิทธิและการลงทะเบียนปรักันสุขภาพภาครัฐตามกฎหมาย
1. ติดต่อด้วยตนเอง ในวันเวลาราชการ
2. สายด่วน สปสช. โทร. 1330 กด2 ตามด้วยเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก กด # กดโทรออก
3. ผ่านระบบอินเตอร์เน็ต www.nhso.go.th หรือ app สปสช. หรือ http://eservices.nhso.go.th/eServices/mobile/login.xhtml

บัตรทอง / บัตรประกันสุขภาพ ( ใช้สิทธิกับ รพ.ที่เข้าร่วม )

กรณีปลูกถ่ายไต

1.1 ช่วงเตรียมตัวก่อนผ่าตัด เบิกเหมาจ่าย (ได้ใกล้เคียงกับประกันสังคม)

กรณีผู้ให้ไตถือบัตรทอง ส่วนผู้รับไตที่เป็นญาตินั้นมีสิทธิประกันสังคมผู้ให้ไตจะได้รับคุ้มครองจากสิทธิประกันสังคม คือ เบิกค่าผ่าตัดไต ค่าตรวจเนื้อเยื่อ ตรวจโรค ในราคาเหมาจ่าย ได้ 40,000 บาทต่อราย

1.2 ช่วงผ่าตัดปลูกถ่ายไต เหมาจ่าย

1.3 หลังผ่าตัดปลูกถ่ายไต ค่าใช้จ่าย ครอบคลุมการตรวจรักษา ยากดภูมิคุ้มกัน ตรวจทางห้องปฏิบัติการ เหมาจ่ายตามระยะเวลา

ปีที่ 1 เดือน  1-6    30,000 บาท
เดือน 7-12           25,000 บาท
ปีที่ 2                  20,000 บาท
ปีที่ 3                  15,000 บาท

กรณีล้างไตทางช่องท้อง

ปัจจุบันผู้ป่วยไตวายที่ถือบัตรทอง สามารถรับบริการล้างไตทาง

หน้าท้องได้ฟรี ผู้ป่วยรายใหม่ ไม่เกิน 15,000 บาทต่อเดือน

แต่ไม่อาจเบิกค่าใช้จ่ายในการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมได้ ถ้าอยากฟอกเลือดเองโดยไม่มีข้อบ่งชี้ว่าต้องฟอกเลือด จะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง

กรณีฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม

ได้เฉพาะผู้ป่วยรายเก่าที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมก่อน 1 ตุลาคม 2551 จ่ายให้ 2 ใน 3 ของค่าบริการไม่เกิน 1,000 บาทต่อครั้ง คือ ผู้ป่วยร่วมจ่ายด้วย 500 บาทต่อครั้ง
ผู้ป่วยหลัง 1 ต.ค.51 ให้สิทธิ์ฟอกเลือกกับผู้ป่วยบัตรทองที่มีข้อห้ามล้างไตทางช่องท้องเท่านั้น โดยจ่ายรัฐค่าฟอกเลือดให้ 1,500-1,700 บาท/ครั้ง

ขั้นตอนรับบริการล้างไต ของผู้มีสิทธิบัตรทอง

ผู้ป่วยยื่นบัตรทอง พร้อมกับบัตรประจำตัวประชาชน แจ้งความจำนงที่โรงพยาบาลที่ระบุในบัตรทอง
รายชื่อของผู้ป่วยจะถูกส่งไปยังคณะกรรมการฯ ระดับจังหวัด
ผู้ป่วยที่ได้รับการอนุมัติ จะได้รับการลงทะเบียน และได้รับการแจ้งกลับจากโรงพยาบาล

ค่ายา จ่ายให้ผู้ประกันตน บัตรทอง ข้าราชการ ตามระดับความเข้มขนของเลือดในแต่ละเดือน ดังต่อไปนี้

ความเข้มข้นของเลือด ( ฮีมาโตคริต ) เท่ากับหรือต่ำกว่า 36% จ่ายไม่เกินสัปดาห์ละ 1,125 บาท
ความเข้มข้นของเลือด ( ฮีมาโตคริต ) สูงกว่า 36%-39% จ่ายเท่าที่จ่ายจริง เข็มละ 50 บาทต่อครั้ง ไม่เกินสัปดาห์ละ 750 บาท
หากฮีมาโตคริตสูงกว่า 39% ไม่มีสิทธิเบิกค่ายานี้
สำนักงานประกันสังคม ( ใช้สิทธิกับ รพ.ที่เข้าร่วม )

ทั้งนี้ ผู้ประกันตนจะต้องได้รับอนุมัติให้มีสิทธิก่อนการปลูกถ่ายไต และจะต้องปลูกถ่ายไต ณ สถานพยาบาลที่ทำข้อตกลงกับสำนักงานประกันสังคม

กรณีปลูกถ่ายไต

ค่าเตรียมผู้บริจาคในอัตราไม่เกิน 40,000 บาทต่อราย
ค่าเตรียมผู้รับบริจาคไม่เกินอัตรา 40,000 บาทต่อราย
ค่าตรวจเลือดทุกๆ 3 เดือน ครั้งละ 1,800 บาท
ช่วงผ่าตัดปลูกถ่ายไต ในภาวะปกติในอัตราไม่เกิน 292,000 บาทต่อราย
หลังผ่าตัดปลูกถ่ายไต ดังนี้

ปีที่ 1 เดือนที่ 1-6 เดือนละ 30,000 บาท
ปีที่ 1 เดือนที่ 7-12 เดือนละ 25,000 บาท
ปีที่ 2 เดือนละ 20,000 บาท
ปีที่ 3 เดือนละ 15,000 บาท
  • หากมีภาวะแทรกซ้อน จ่ายอัตราไม่เกิน 493,000 บาทต่อรายโดยครอบคลุมผู้ประกันตนและผู้บริจาคไต เป็นเวลา 60 วัน นับจากวันปลูกถ่ายไต
  • รักษาภาวะสลัดไตอย่างเฉียบพลัน เป็นเวลา 2 ปีนับจากวันปลูกถ่ายไต

การล้างไตทางช่องท้อง

ค่าตรวจรักษาและค่าน้ำยาล้างช่องท้อง ในอัตราไม่เกิน 20,000 บาท
ค่าวางท่อรับส่งน้ำยาเข้าออกช่องท้อง ในอัตราไม่เกิน 20,000 บาท ต่อ 2 ปี
ไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายก่อนการเป็นผู้ประกันตน จะมีสิทธิ์ดังนี้
3.1 กรณีล้างไตทางช่องท้อง ค่าวางท่อรับส่งน้ำยาเข้าออกช่องท้องพร้อมอุปกรณ์ และค่ายาฉีดเพิ่มเม็ดเลือดแดง ตามหลักเกณฑ์

3.2 กรณีล้างไตทางช่องท้อง ล้มเหลว ให้สิทธิเบิกค่าฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมได้ ไม่เกิน 1,000 บาทต่อครั้ง และไม่เกิน 3,000 บาทต่อสัปดาห์

3.3 ค่าเตรียมเส้นเลือด และค่ายาฉีดเพิ่มเม็ดเลือดแดง จะได้รับสิทธิตามหลักเกณฑ์

การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม

ถ้าฟอกเลือดหลังเป็นผู้ประกันตน เบิกได้ 1,500 บาทต่อครั้ง ไม่เกิน 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ค่าบริการส่วนเกินต้องจ่ายเอง
ถ้าฟอกเลือดก่อนเป็นผู้ประกันตน เบิกได้ค่า 1,000 บาทต่อครั้ง ไม่เกิน 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ค่าบริการส่วนเกินต้องจ่ายเอง
ค่าเตรียมเส้นเลือดสำหรับการฟอกเลือด ในอัตรา 20,000 บาท/ราย/2 ปี ถ้ามีส่วนเกินก็ต้องจ่ายเอง

ขั้นตอนทำเรื่องเบิกของผู้ประกันตน

ผู้ประกันตน จะต้องยื่นเอกสารคำขอต่อสำนักงานประกันสังคมจังหวัด/สาขา ที่ตนต้องการใช้สิทธ์ค่ารักษา ค่ายาอีโป้ การบำบัดทดแทนไต การปลูกถ่ายไต โดยใช้เอกสารที่เกี่ยวข้อง ดังต่อไปนี้

แบบคำขอรับค่าบำบัดทดแทนไต (สปส. 2-18)
สำเนาเวชระเบียนและผลตรวจบียูเอ็น และครีเอตินีน หรืออัตราการกรองของไต และขนาดของไต
หนังสือรับรองการเป็นโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย จากอายุรแพทย์ผู้รักษา
รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว หรือ 2 นิ้ว จำนวน 1 รูป (ถ่ายไม่เกิน 6 เดือน)
สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
หนังสือรับรองการขอรับยาอิโป้ เฉพาะผู้ป่วยที่ขอรับยานี้
การล้างช่องท้องด้วยน้ำยาอย่างถาวร ต้องได้รับการตรวจรักษาจากอายุรแพทย์ผู้รักษา ไม่น้อยกว่า เดือนละ 1 ครั้ง

สิทธิข้าราชการ รัฐวิสาหกิจ พนักงานท้องถิ่น

ใช้สิทธิ์ในการเบิกค่าปลูกถ่ายไตและการบำบัดทดแทนไตได้ตามสิทธิ์ ถ้าฟอกเลือดที่ศูนย์ไตเทียมเอกชน เบิกได้ไม่เกิน 2,000 บาทต่อครั้ง ทั้งนี้ต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลไปก่อน แล้วค่อยนำใบเสร็จมาทำเรื่องเบิกเงินทีหลัง

ค่าตรวจเลือดและเนื้อเยื่อประมาณ 15,000 บาท
ในกรณีที่ผู้บริจาคญาติที่มีชีวิต มีค่าตรวจประมาณ 20,000 บาท
ค่าผ่าตัดปลูกถ่ายไต ค่าโรงพยาบาล ค่ายา
ประมาณ 200,000 บาท ในโรงพยาบาลของรัฐบาล
ประมาณ 300,000 บาท ในโรงพยาบาลของเอกชน
สอบถามรายละเอียดได้ที่โรงพยาบาลในสังกัด

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ของ สปสช. คือ
www.sso.go.th   และ   www.nhso.go.th

โทรถามสายด่วนบัตรทอง 1330 หรือที่ สปสช. สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
หรือดูเว็บไซต์ของชมรมโรคไต คือ www.thaikidneyclub.org
หรือดูเว็บไซต์กองทุนโรคไตวาย http://Kdf.nhso.go.th

สาเหตุของมะเร็ง ปัจจัยเสี่ยงทางสิ่งแวดล้อม และพันธุกรรม

โรคมะเร็งปัจจัยเสี่ยงทางสิ่งแวดล้อมและพันธุกรรม
ผู้ที่มีพันธุกรรมดีอาจเป็นโรคมะเร็งได้ ถ้ามีพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่เหมาะสม

สาเหตุของมะเร็ง

สาเหตุของโรคมะเร็ง หากจะกล่าวถึงสาเหตุได้ 2 ปัจจัยหลักๆ คือ ปัจจัยเสี่ยงทางสิ่งแวดล้อมและปัจจัยทางพันธุกรรม ซึ่งในปี ค.ศ. 2008 ศูนย์มะเร็งเอ็มดีแอนเดอร์สัน มหาวิทยาลัยแห่งเท็กซัส ได้ศึกษาสาเหตุของโรคมะเร็งและรวบรวมข้อมูลจากงานวิจัยโรคมะเร็งจำนวนมากกว่า 100 ชิ้นจนได้ข้อสรุปว่า สาเหตุของโรคมะเร็งส่วนมากจะเกิดจากปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมมากถึง 90 – 95%  และสาเหตุของโรคมะเร็งเกิดจากปัจจัยด้านพันธุกรรมเพียงแค่ 5 -10 % เท่านั้น ซึ่งก็เป็นสาเหตุที่ว่า ทำไมยอดของผู้ป่วยโรคมะเร็งในปัจจุบันจึงมีมากมายและเพิ่มขึ้นเรื่อยๆอย่างน่าตกใจเช่นนี้

หากเมื่อเทียบกับข้อมูลในศตวรรษที่แล้ว สาเหตุของโรคมะเร็ง เกี่ยวเนื่องกับการใช้ชีวิตของมนุษย์ในยุคปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงจากในอดีตเป็นอย่างมาก สาเหตุของโรคมะเร็งมาจากพฤติกรรมต่างๆมากมาย การกินอาการ การใช้ชีวิตประจำวัน  มักจะมีเรื่องของปริมาณสารเคมีเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเสมอ  และยังร่วมไปถึง การพัฒนาของเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ทำให้คนเรามีความสะดวกสบายมากขึ้น แต่ก็ต้องแลกมากับการที่มีสุขภาพแย่ลง เนื่องจากการเคลื่อนไหวหรือการออกกำลังกายที่น้อยลงตามไปด้วย

สาเหตุของมะเร็ง ปัจจัยเสี่ยงทางสิ่งแวดล้อมและวิถีชีวิต

สิ่งแวดล้อมและวิถีชีวิตเป็นปัจจัยหลักสูงสุดที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งในปัจจุบัน  โดยคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ จะมีอัตราสูงถึง ( 90-95% ) เลยทีเดียว หากมองให้ลึกลงไปอีก จะพบว่า สาเหตุของมะเร็ง มีปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งเป็นอันดับ 1 คือ เรื่องของพฤติกรรมการบริโภคอาหารนั้นเอง ( 30-35% ) ส่วนปัจจัยที่รองลงมา คือเรื่องของบุหรี่ ( 25-30% ), การติดเชื้อเช่นไวรัส HPV และแบคทีเรีย Helicobacter Pylori ( 15-20% ), โรคอ้วน ( 10-20% ), และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ( 4-6% ) และยังมีปัจจัยอื่นๆ เช่นความเครียด มลพิษต่างๆ การอยู่กลางแดดจัด และการไม่ออกกำลังกาย ( 10-15% )

โดยจากการวิเคราะห์ พฤติกรรมการบริโภคอาหารพบว่ามีสารพิษต่างๆมากมาย ที่อาจเป็น สาเหตุของมะเร็ง จะปนเปื้อนมาในอาหารและก่อให้เกิดโรคมะเร็งได้  เช่น สารไนเทรต ( Nitrate ) และสารไนโตรซามีน ( Nitrosamine ) ที่จะถูกนำไปใช้เป็นส่วนของวัตถุกันเสียในเนื้อสัตว์แปรรูปเช่นไส้กรอก กุนเชียง แหนม ของหมักดอง หรือการที่ได้รับสารจำพวกยาฆ่าแมลงที่ปนเปื้อนในพืชหรือผักผลไม้ต่างๆ หรือจะเป็นสารไดออกซิน ( Dioxin ) ที่ปนเปื้อนจากอุตสาหกรรมปศุสัตว์เช่น ฟาร์มเลี้ยงหมู ไก่ การผลิตน้ำนม เป็นต้น

สาเหตุของมะเร็ง ยังมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารสุ่มเสี่ยงทำให้มีผู้ป่วยเป็นโรคมะเร็งเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะมะเร็งต่อมลูกหมากสูงเป็นอันดับหนึ่งถึง 75% เลยทีเดียว รองลงมาคือ มะเร็งลำไส้ใหญ่ในอัตรา 70% นอกจากนี้ก็จะเป็นมะเร็งอื่นๆ เช่น ตับอ่อน – 50% ถุงน้ำดี – 50% เต้านม – 50% เยื่อบุโพรงมดลูก – 50% กระเพาะอาหาร – 35% ปาก – 20% คอหอย – 20% กล่องเสียง – 20% หลอดอาหาร – 20% ปอด – 20% กระเพาะปัสสาวะ – 20% อื่นๆ – 10%

สาเหตุของมะเร็ง จากปัจจัยเสี่ยงจากพันธุกรรม

ปัจจัยเสี่ยงจากพันธุกรรมเป็นในส่วนของกลุ่มน้อยที่มีอัตราแค่  ( 5-10% ) เท่านั้นและเป็นปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ดังนั้นผู้ที่มีเกิดมาในครอบครัวที่ได้รับการถ่ายทอดยีนในกลุ่มทำหน้าที่ควบคุมการเจริญของเซลล์มะเร็ง ( Tumor Suppressor Gene ) ที่ผิดปกติออกไปนั้น ก็อาจจะมีโอกาสเป็นมะเร็งได้สูงได้มากกว่าผู้อื่น แต่ในที่นี้ไม่ใช่ว่าทุกคนที่ได้รับปัจจัยทางพันธุกรรมมา จะต้องเป็นมะเร็งในทุกคน เพราะมีโอกาสที่ยีนผิดปกติเหล่านี้ จะไม่แสดงผลเสียใดๆ ต่อบุคคลนั้นออกมาก็ได้

สำหรับผู้ที่มีพันธุกรรมที่ดีในเรื่องของเซลล์มะเร็งก็สามารถเป็นโรคมะเร็งต่างๆได้เช่นกัน ถ้าใช้ชีวิตหรือพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม

เช่น สูบบุหรี่ ดื่มเหล้า กินอาหารที่ไม่มีประโยชน์และมีสารก่อมะเร็ง เป็นต้น ทั้งนี้ ผู้ที่มีความเสี่ยงทางพันธุกรรมควรหมั่นตรวจสุขภาพเป็นประจำ เพื่อเพิ่มโอกาสตรวจเจอมะเร็งในระยะต้นๆ  จะได้รักษาได้ทันเวลา ตามสถิติแล้วผู้ป่วยมะเร็งระยะที่ 1 มีโอกาสหายจากโรคสูงถึง 70-90% เลยทีเดียว

สาเหตุของโรคมะเร็ง ที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งโดยส่วนใหญ่มาจาก พฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องการบริโภคอาหาร การดื่มเหล้า การสูบบุรี่ ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้จะมีความเสี่ยงมากกว่าสาเหตุที่เกิดจากความผิดปกติภายในร่างกาย ดังนั้นเราควรให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพ กินอาหารที่มีประโยชน์ หมั่นออกกำลังกาย ก็จะสามารถช่วยให้ป้องกันและหลีกเลี่ยงการเกิดโรคมะเร็งได้

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

Complementary and alternative therapies for cancer”. Oncologist  (1): 80–9.

“Cancer”. National Cancer Institute. 11 August 2016.

“Screening for Prostate Cancer”. U.S. Preventive Services Task Force. 2008. Archived from the original on 31 December 2010.

อาการมะเร็ง เบื้องต้น ฉบับล่าสุด 2020

อาการเบื้องต้นของโรคมะเร็ง
อาการของโรคมะเร็งจะแสดงออกมาจากกันตามตำแหน่งที่เกิดก้อนเนื้อ

อาการมะเร็ง

มะเร็ง ถือเป็นโรคร้ายแรงชนิดหนึ่ง ที่ในแต่ละปีมีผู้เสียชีวิตจากโรคนี้มากมายทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ แต่มะเร็งนี้หากผู้ป่วยทราบว่าตัวเองเป็นและไปพบแพทย์ตั้งแต่เนิ่นๆ ก็จะสามารถรักษาให้หายได้เป็นปกติ แต่หากปล่อยทิ้งไว้เป็นระยะเวลานานก็อาจจะอันตรายจนถึงชีวิตได้ ซึ่งทั้งนี้มะเร็งก็เหมือนโรคอื่นๆ ที่จะแสดงอาการมะเร็งเบื้องต้นออกมาให้ได้รับรู้ หากเราเองรู้จักสังเกตอาการป่วยต่างๆที่เกิดขึ้น จากความผิดปกติในร่างกาย ก็จะ สามารถไปรักษานี้ได้ทันเวลาปัจจุบันเทคโนโลยีทางการแพทย์ก้าวหน้าไปมากมีเทคนิคต่างๆที่ใช้ในการตรวจคัดกรองมะเร็งได้หลายวิธีด้วยกัน ดังนี้

การตรวจหามะเร็ง

1. การตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น การตรวจเลือดปัสสาวะ การตรวจอุจจาระ
2. การตรวจทางพยาธิวิทยาและเนื้อเยื่อ เช่น การขูดเซลล์จากเยื่อบุปากมดลูก เยื่อบุช่องปาก
3. การตรวจด้วยเครื่องมือเอ็กซเรย์ แมมโมแกรม อัลตร้าซาวด์ เช่นการเอกซเรย์ปอดการทำแมมโมแกรมและอัลตร้าซาวด์ที่เต้านม
4. การตรวจด้วยอุปกรณ์พิเศษ เช่น การส่องกล้องเพื่อตรวจลำไส้ใหญ่และทวารหนัก
5. การตรวจด้วยเครื่องมือ MRI, CT Scan, PET Scan เพื่อดูอวัยวะภายในร่างกาย เช่น กระดูกสันหลัง มดลูก กะโหลกศีรษะ ต่อมลูกหมาก เป็นต้น

อาการเบื้องต้นของมะเร็งชนิดต่างๆ ที่จะแสดงออกมาให้เห็นก็แตกต่างกันไป ซึ่งตัวของเราเองก็สามารถสังเกตอาการของมะเร็งได้ด้วยตัวเราเอง เช่น คลำพบก้อนเนื้อในเต้านม เป็นต้น

อาการมะเร็ง สังเกตได้ ดังนี้

1. อาการปวดท้อง มีความเปลี่ยนแปลงของระบบขับถ่าย เช่น อุจจาระเป็นสีดำ มีอาการท้องผูกสลับท้องเสีย หรือปัสสาวะออกมาเป็นเลือด อาจเป็น อาการมะเร็ง ลำไส้ มะเร็งตับ มะเร็งปากมดลูก
2. อาการปวดท้อง กลืนอาหารได้ลำบากมากขึ้น หรือมีอาการเสียดแน่นท้องเป็นเวลานาน อาจเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งลำไส้
3. มีอาการไอเรื้อรัง และมีเสียงแหบ อาการมะเร็งปอด
4. อาการมะเร็งปากมดลูก มีเลือดออกทางช่องคลอดผิดปกติ หรือตกขาวมีกลิ่นเหม็น
5. เป็นแผลเรื้อรัง รักษาไม่หาย
6. หูดหรือไฝตามร่างกายมีขนาดเปลี่ยนแปลงไปจากปกติ
7. อาการมะเร็งเต้านมมีก้อนเนื้อแปลกๆขึ้นตามส่วนต่างๆ ของร่างกายโดยเฉพาะบริเวณเต้านม
8. อาการมะเร็งโพรงไซนัส มีเลือดกำเดาไหล หรือมีอาการหูอื้อบ่อยๆ
9. อาการมะเร็ง น้ำหนักตัวลดลงแบบไม่ทราบสาเหตุ

อาการมะเร็ง เบื้องต้น ฉบับล่าสุด 2019
อาการผิดปกติแม้เพียงเล็กน้อย อย่าคิดแค่ว่าเป็นการเจ็บป่วยธรรมดาเท่านั้น

อาการเบื้องต้นที่มักพบในผู้ที่ป่วยเป็นมะเร็ง

1. มีการเปลี่ยนแปลงของระบบขับถ่าย หากคุณเริ่มรู้สึกว่าตนเอง มีอาการท้องผูกแบบเรื้อรัง มีอุจาระเป็นสีดำ มีปัสสาวะเป็นเลือดปนออกมา หรืออาหารไม่ย่อยบ่อยๆ คุณควรจะรีบไปพบแพทย์ทันที เนื่องจากอาการดังกล่าวที่ แสดงออกมา เป็นสัญญาณเตือนว่า คุณอาจจะเป็นโรคมะเร็งสำไส้ใหญ่ มะเร็งในไต มะเร็งในกระเพราะปัสสาวะ หรือ มะเร็งต่อมลูกหมากได้นั้นเอง

2. แผลหายช้า หรือเรื้อรัง ลองสังเกตตัวเองว่า มีแผลในจุดใดของร่างกายหรือไม่ ที่เป็นนานกว่าปกติ ไม่หายสักที เช่นหากมีแผลที่ปาก แล้วไม่หายสักทีกินเวลานานเกิน 2 อาทิตย์แล้ว คุณเองอาจจะอยู่ในกลุ่มเสี่ยง ของการเป็นมะเร็งในช่องปาก หรือถ้าเป็นแผลเรื้อรังที่ผิวหนัง ก็อาจจะเป็นโรคมะเร็งผิวหนังได้ ส่วนใครที่มีอาการปวดท้องบ่อยๆ ก็อาจจะมีแผลในกระเพาะ และมีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารได้

3. มีก้อนตุ่มขึ้นในส่วนต่างๆ ลองสำรวจร่างกายตัวเองว่า มีตุ่ม ก้อนเนื้อ ไฝ หูด อะไรแปลกๆขึ้นตามเนื้อตามตัวหรือไม่ เช่นในบริเวณคอ รักแร้ขาหนีบ เพราะอาจจะเป็น สัญญาณเตือนโรคมะเร็ง ต่อมน้ำเหลือง หรือหากพบว่าในช่องปาก มีตุ่มหรือก้อนอะไรขึ้นมาตาม โคนลิ้น เหงือก หรือกราม ก็อาจจะมีภาวะเสี่ยงของโรคมะเร็งในช่องปากได้

4. กลืนอาหารลำบาก มีอาการเสียดท้อง แน่นท้อง เป็นเวลานาน ถ้าคุณเองอยู่ดีๆแล้ว รู้สึกว่าตนเองมีอาการกลืนอาหารได้ลำบากขึ้น กลืนแล้วติดๆขัด  แม้จะเป็นอาหารที่นิ่มๆ หรือย่อยง่ายๆก็ตาม ก็อาจจะเป็น สัญญาณเตือนโรคมะเร็ง ที่แจ้งว่าคุณกำลังเป็นมะเร็งในหลอดอาหารได้ หรือถ้ามีอาการปวดท้องเรื้อรัง หรือมีอาการทองอืด รู้สึกเสียดท้อง เป็นระยะเวลานานติดๆกัน  ควรรีบไปพบแพทย์เพราะอาจจะเป็นอาการของโรคมะเร็งในระบบทางเดินอาหารได้

5. มีเลือดออกผิดปกติ จากทวารต่างๆ โดยปกติเลือดมักจะไม่ออกมาทางทวารต่างๆ  แต่ถ้าหากมีความปกติเกิดขึ้น เช่น มีอาการไอ แล้วมีเลือดออกตามมา อาการนี้เป็นการส่ง สัญญาณเตือนโรคมะเร็ง หรือ ถ้าตอนปัสสาวะหรืออุจจาระแล้วมีเลือดผสมออกมา คุณเองก็มีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งในระบบขับถ่ายได้  ส่วนคุณผู้หญิงถ้าอยู่ดีๆมีเลือกออกมาจากช่องคลอดโดยไร้สาเหตุ และก็ไม่ได้อยู่ในช่วงประจำเดือน  อาการแบบนี้คุณอาจจะเป็นมะเร็งปากมดลูกได้ แต่ทั้งนี้หากพบความผิดปกติอะไร ควรไปพบแพทย์เป็นการด่วนจะดีที่สุด 

6. น้ำหนักลดลงโดยไร้สาเหตุ ปกติน้ำหนักของคนเรา มักจะไม่ลดลงแบบมากๆที่ละหลายๆกิโลกรัม  แบบไร้สาเหตุ นอกจากว่าร่างกายมีอาการผิดปกติ หรือมีการเจ็บป่วยเกิดขึ้น  ดังนั้นหากใครที่มีอาการน้ำหนักลดลงแบบไม่มีเหตุผล ต่อเนื่องมากกว่า 5 กิโลกรัมติดต่อกัน ทั้งๆที่กินเท่าเดิม ใช้ชีวิตเหมือนเดิม ควรรีบไปพบแพทย์ให้ตรวจโดยด่วน เพราะ อาการแบบนี้เป็นการส่ง สัญญาณเตือนมะเร็ง อันดับต้นๆของโรคมะเร็งหลายชนิดเลยทีเดียว เช่น มะเร็งตับอ่อน มะเร็งปอด มะเร็งกระเพราะอาหาร เป็นต้น

7. เสียงแหบ ไอ และเจ็บคอเรื้อรัง บางคนที่มีอาการ ไอ มีเสียงแหบ หรือเจ็บคอ อาจจะเข้าใจและคิดไปเองว่า ตนเองคงเป็นโรคไข้หวัดธรรมดา ไปซื้อยากินแล้วพักผ่อน เดี่ยวก็คงหายเป็นปกติ แต่ถ้าหากว่าเป็นเรื้อรังมาหลายๆวันแล้ว ไม่มีท่าทีจะดีขึ้น  ตัวคุณเองอาจจะไม่ได้เป็นไข้หวัดแบบที่เข้าใจแล้ว เพราะอาการแบบนี้ อาจจะเป็นหนึ่งในสัญญาณเตือนว่า คุณเองมีความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งกล่องเสียง มะเร็งต่อมไทรอยด์ มะเร็งปอด หรือ มะเร็งต่อมน้ำเหลือง ก็เป็นได้ ควรไปพบแพทย์ตรวจให้แน่ใจจะดีที่สุด

สัญญาณเตือนของมะเร็งชนิดต่าง ๆ

1. อาการของมะเร็งเต้านม

ลองสำรวจตนเองง่ายๆ โดยเอามือคลำไปที่เต้านม บริเวณรักแร้ หากพบก้อนเนื้ออะไร หรือคลำแล้วรู้สึกเจ็บ มีขนาดของทรงเต้านมเปลี่ยนไปจากเดิม หัวนมบอด มีเลือดหรือของเหลวไหลมาจากเต้านม หากมีอาการเหล่านี้ควรรีบไปพบแพทย์โดยทันที

2. อาการของมะเร็งปากมดลูก

อาการที่จะเจอคือ ประจำเดือนมาไม่ปกติในลักษณะมากหรือน้อยเกินไป มีเลือดไหลจากช่องคลอดในเวลาที่ไม่มีประจำเดือนหรือหลังจากมีเพศสัมพันธ์ มีอาการปวดช่องคลอด ตกขาวมีกลิ่นเหม็นเป็นสีน้ำตาล

3. อาการของมะเร็งรังไข่

เป็นมะเร็งชนิดที่ตรวจสอบด้วยตนเองได้ค่อนข้างยาก เพราะไม่มีวิธีการตรวจคัดกรองที่ชัดเจนเหมือนมะเร็งปากมดลูก โดยอาการเบื้องต้นทั่วไปจะคล้ายกับโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร เช่น ท้องผูก จุกเสียด ปวดหน่วงๆบริเวณท้องน้อยซ้ายหรือขวา หรือคลำเจอก้อนเนื้อบริเวณท้องน้อย ผู้ป่วยบางคนมีอาการคล้ายมะเร็งปากมดลูก ประจำเดือนมาผิดปกติ มีเลือดออกทั้งที่ไม่ใช่ช่วงเวลาที่มีประจำเดือน ดังนั้นทำให้ผู้ป่วยโรคนี้จะรู้ตนเองว่าเป็นก็อยู่ในช่วงอาการหนักแล้ว ถือว่าเป็น มะเร็งเงียบชนิดหนึ่ง ทางทีดีควรปรึกษาแพทย์ขอตรวจอัลตร้าซาวด์ผ่านช่องคลอดเพื่อดูรูปร่างและขนาดของรังไข่ จะดีที่สุด 

4. อาการของมะเร็งตับ

อาการเบื้องต้นที่จะเจอคือ มีอาการตัวเหลือง ตาขาวเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ปวดท้องบริเวณข้างขวาและส่วนบนและอาจปวดร้าวไปที่หลังหรือไหล่ เบื่ออาหาร น้ำหนักลดเร็วอย่างสาเหตุ หรือตับโตขึ้นจนท้องเปลี่ยนรูปร่างไป

5. อาการของมะเร็งปอด

ผู้ป่วยมักจะมีอาการเกี่ยวกับระบบหายใจ เช่น หายใจมีเสียงหวีดๆ หายใจสั้นๆถี่ๆ รู้สึกเหนื่อยง่าย เจ็บหน้าอก ไอบ่อยๆและมีเลือดออกมา น้ำหนักลดลงอย่างเร็ว และมีเสียงแหบ

6. อาการของมะเร็งกระเพาะอาหาร

อาการเบื้องต้นที่จะเจอ คือ รู้สึกเบื่ออาหาร อาหารไม่ย่อย ท้องอืด มีอาการคลื่นไส้อาเจียน มีเลือดปนออกมาจากการไอหรือในอุจจาระ และน้ำหนักลดอย่างไร้สาเหตุ

7. อาการของมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

อาการเบื้องต้นที่จะเจอคือกระเพาะปัสสาวะอักเสบปัสสาวะติดขัดและปวดแสบหลังจากปัสสาวะแล้วบางครั้งมีเลือดปนออกมา ร่างกายอ่อนเพลียปวดหลังตอนล่างตัวซีด

8. อาการของมะเร็งลำไส้ใหญ่ และทวารหนัก

มะเร็งลำไส้ ชนิดนี้จะพบมากกับผู้สูงอายุ ที่มีอายุเฉลี่ย 50 ปีขึ้นไป อาการที่จะพบคือ มีความผิดปกติทางระบบขับถ่าย เช่น ท้องผูก ท้องเสีย ปวดหน่วงๆที่บริเวณลำไส้ฝั่งที่เป็นมะเร็ง มีอาการคลื่นไส้และอาเจียน เบื่ออาหาร ส่วนอาการในมะเร็งทวารหนัก จะมีอาการปวดท้องรุนแรง อุจจาระมีเลือดปนรู้สึกเหมือนถ่ายอุจจาระไม่สุด

9. อาการของมะเร็งต่อมลูกหมาก

ผู้ป่วยที่เป็นจะมีอาการ ปัสสาวะติดขัดปัสสาวะไม่พุ่งแรงมีเลือดปนในปัสสาวะหรือน้ำอสุจิ อวัยวะเพศไม่แข็งตัวหรือแข็งตัวยากและรู้สึกเจ็บตอนหลั่งน้ำอสุจิหลังจากมีเพศสัมพันธ์แล้ว

10. อาการของมะเร็งเม็ดเลือดขาว ( Leukemia )

จะพบมากสำหรับผู้ที่มีอายุน้อยเรียกอีกอย่างว่า ลูคิวเมีย ( Leukemia ) โดยจะมีอาการเบื้องต้นคือ เลือกออกหรือฟกช้ำง่าย เนื้อตัวเป็นจ้ำๆมีเลือกอกตามไรฟัน ประจำเดือนมามากผิดปกติเลือดจาง ตัวซีด เป็นไข้ เหนื่อยง่ายน้ำนักลดแบบไร้สาเหตุติดเชื้อและอักเสบได้ง่าย

11. อาการของมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ( Lymphoma )

จะมีก้อนเนื้อแปลกๆ ขึ้นตามร่างกาย เช่น รักแร้ ขาหนีบ หรือบริเวณคอ โดยก้อนเนื้อที่ขึ้นอาจจะไม่เจ็บแต่จะมีอาการโตผิดปกติ มีเหงื่ออกในตอนกลางคืน เบื่ออาหาร มีไข้ต่อมทอนซิลโตขึ้น

12. อาการของมะเร็งสมอง

อาการป่วยเบื้องต้นคือ มีอาการปวดศรีษะจนบางครั้งไม่สามารถนอนได้ คลื่นไส้อาเจียน มีปัญหาทางด้านการมองเห็น ตาพร่า มีอาการชาที่แขนขา หรือ ปลายนิ้ว การพูดสื่อสารการรับรู้ ไม่เหมือนเดิมสูญเสียการทรงตัว มีอาการชาที่ใบหน้า

13. อาการของมะเร็งในช่องปาก

จะมีอาการของมะเร็งช่องปากที่มักแสดงออกมาคือ มีแผลเปื่อยบริเวณปาก มีก้อนเนื้อบวมขึ้นอยู่ในช่องปากและลำคอ เสียงแหบแห้ง รู้สึกเจ็บหรือมีความลำบากในการกลืนอาหาร การเคี้ยวอาหาร หรือการพูด ต่อมในลำคอขยายตัวโตขึ้นจนสามารถจับและรู้สึกได้  

มะเร็ง ถึงแม้จะเป็นโรคร้ายและน่ากลัวเพียงใด แต่ถ้าหากเราเองรู้จักสังเกตความเปลี่ยนแปลงของร่างกายตัวเรา หากพบความผิดปกติอะไร ตามข้อมูลมะเร็ง ที่กล่าวไปข้างต้น ก็ควรรีบไปพบแพทย์ทันที เพื่อที่จะสามารถรักษาได้ทันเวลา หรือในทางที่ดี ควรหาเวลาไปตรวจสุขภาพตนเองอย่างน้อยปีละครั้ง เพราะหากป่วยเป็นมะเร็งหรือโรคอะไรก็แล้วแต่ จะทำให้สามารถรักษาได้ง่าย ดีกว่าปล่อยให้โรคนั้นๆเป็นมากหรือมีอาการหนักแล้ว ซึ่งก็ไม่รู้ว่าหากถึงเวลานั้นจะสามารถรักษาให้หายขาดได้หรือไม่

14. อาการของมะเร็งผิวหนัง

ผู้ที่ป่วยอาการมะเร็งผิวหนังมักมีอาการ เป็นแผล มีตุ่ม หรือก้อนเนื้อ หรือแผลเปื่อยพุพอง เกิดขึ้นตามผิวหนัง สามารถพบได้ในทุกบริเวณของร่างกาย อาการอันตรายอีกอย่างหนึ่งที่เรียกว่า เมลาโนมา ( Melanoma ) หรือเนื้องอกอันประกอบไปด้วยเซลล์ที่มีเมลานินสะสมอยู่ เช่น กระ จุดด่าง หรือไฝ ยิ่งกับคนที่มีไฝเกินกว่า 50 เม็ดทั่วร่างกาย หรือมีคนในครอบครัวที่มีประวัติเคยเป็นมะเร็งผิวหนังมาก่อน จะมีอัตราเสี่ยงสูงกว่าคนอื่นๆมากขึ้นไปด้วย

สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงที่ต้องระวัง

ในแต่ละปีมะเร็งมีจำนวนของผู้ป่วยและเสียชีวิต เพิ่มมากขึ้นในทุกๆปี ทั้งนี้ก็มีคาดการณ์จากองค์การอนามัยโลก ( WHO ) ว่าจะมีผู้ป่วยที่เสียชีวิตจากโรคมะเร็งมากถึง 11 ล้านคน ในปี พ.ศ. 2563 ซึ่งถือว่าเป็นตัวเลขที่สูงและน่าตกใจเป็นอย่างมาก โดยในจำนวนนี้เป็นผู้ป่วยที่อยู่ในกลุ่มของประเทศที่กำลังพัฒนามากกว่า 7 ล้านคน เนื่องจากในประเทศที่กำลังพัฒนาจะมีปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมหลายๆอย่าง ทำให้เกิดผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งสูงกว่าในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วหรือกลุ่มประเทศที่ยังไม่พัฒนา

ในปัจจุบันสภาพแวดล้อต่างๆ ล้วนแต่เป็นปัจจัยในการส่งเสริมให้เป็นโรคมะเร็งมากยิ่งขึ้น เช่น สภาพสังคมที่กำลังเจริญเติบโต ปัญหามลพิษของการขยายตัวของอุตสาหกรรมต่างๆ การคมนาคมที่จำนวนรถมากขึ้นในทุกๆวัน นอกจากนี้ก็จะเป็นพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่ถูกต้อง เช่น การดื่มเหล้า สูบบุหรี่ การทานอาหารที่เป็นปัจจัยกระตุ้นให้เกิดมะเร็ง เป็นต้น ดังนั้นการควบคุมและปรับพฤติกรรมตนเองให้ไกลจากความเสี่ยงของโรคมะเร็ง จึงมีความสำคัญที่สุด ที่จะช่วยให้เราป้องกันและลดความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งชนิดต่างๆได้นั้นเอง

ไม่มีใครรู้ดีไปกว่าเราซึ่งเป็นเจ้าของร่างกาย ดังนั้นหากพบว่าตนเองมีอาการมะเร็งที่แสดงออกทางกาย หรืออาการเจ็บป่วยต่างๆ ที่ผิดปกติไปจากเดิม โดยหากตรงกับข้อมูลอาการเบื้องต้นของมะเร็งชนิดต่างๆที่กล่าวไปก่อนหน้านี้ ควรรีบไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุด เพื่อให้แพทย์ตรวจและวินิจฉัย เพราะหากพบเชื้อมะเร็งตั้งแต่เนิ่นๆ ก็จะสามารถรักษาให้กลับมาหายได้ดังปกติ แต่หากปล่อยไว้ ละเลยไม่สนใจ อาการมะเร็งที่เป็นมากขึ้น หรือเข้าสู่มะเร็งระยะท้ายๆแล้ว จะสามารถรักษาได้ยากกว่า หรือบางครั้ง หากเลวร้ายในที่สุดก็อาจจะไม่มีทางรักษาให้หายเลยก็เป็นได้

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

Cancer mortality and morbidity patterns in the U. S. population: an interdisciplinary approach. Berlin: Springer. ISBN 0-387-78192-7.

“Breast cancer”. Am D Health Syst Pharm  (15): 2472–9.

อาหารผู้ป่วยมะเร็ง

อาหารผู้ป่วยมะเร็ง
ผู้ป่วยมะเร็งจะต้องได้รับสารอาหารจำพวก โปรตีน วิตามิน และแร่ธาตุ มากกว่าคนร่างกายปกติ เพื่อที่จะนำสารอาหารไปช่วยซ่อมแซมฟื้นฟูเซลล์ต่างๆของร่างกายที่ถูกมะเร็งทำลาย

อาหารผู้ป่วยมะเร็ง

อาหารเป็นสิ่งสำคัญส่วนหนึ่งในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็ง อาหารช่วยให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้น โดยควรทานอาหารให้ได้สารอาหารเพียงพอและเหมาะสม ก่อน ระหว่างและหลังการรักษาจะช่วยให้ผู้ป่วยแข็งแรงขึ้น ลดอาการแทรกซ้อน และมีความรู้สึกดีขึ้นมีกำลังใจที่จะต่อสู้กับโรคได้ สำหรับผู้ป่วยมะเร็งหรือผู้ที่มีญาติหรือคนใกล้ชิดที่ป่วยเป็นโรคมะเร็งอยู่ตอนนี้ ควรศึกษาเรื่องของอาหารที่จะต้องกินเข้าไปในแต่ละวันสำหรับผู้ป่วย ซึ่งผู้ดูแลต้องออกแบบเมนูอาหารสำหรับผู้ป่วยมะเร็ง เนื่องจากผู้ป่วยมะเร็งต้องมีการเข้ารับการรักษาด้วยวิธีต่าง ๆ ดังนั้นต้องมีอาหารที่เหมาะสมกับผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาวิธีนั้น ๆ เช่น เมนูอาหารสำหรับผู้ป่วยมะเร็งระยะการให้เคมีบำบัด เมนูอาหารสำหรับผู้ป่วยมะเร็งระยะการผ่าตัด เมนูอาหารสำหรับผู้ป่วยมะเร็งในระยะฉายรังสี หรือเมนูอาหารสำหรับผู้ป่วยมะเร็งการให้ฮอร์โมนบำบัด ดั้งนั้นอาหารที่ต้องทานเข้าไปในแต่ละวันจึงมีความแตกต่างกับคนที่ร่างคนร่างกายปกติ เพราะ ผู้ป่วยมะเร็งจะต้องได้รับสารอาหารหลักจำพวก โปรตีน วิตามิน และแร่ธาตุ มากกว่าคนร่างกายแข็งแรงปกติ เพื่อที่จะนำสารอาหารเหล่านี้ไปช่วยซ่อมแซม ฟื้นฟู เซลล์ต่างๆของร่างกายที่ถูกมะเร็งทำลายไป และเพื่อที่จะช่วยให้ร่างกายมีความแข็งแรง พร้อมสำหรับการรักษาในขั้นตอนต่อๆไปของแพทย์

เนื่องจากผู้ป่วยโรคมะเร็งจะต้องได้รับ อาหารผู้ป่วยมะเร็ง ที่ต้องถูกต้อง ต้องดูแลและเอาใจใส่เรื่องการทานอาหารเป็นพิเศษ หากยังไม่รู้ว่าต้องทำหรือปฏิบัติตัวในการทานอาหารอย่างไร ให้ทำตามคำแนะนำดังต่อไปนี้ เนื่องจากผู้ป่วยโรคมะเร็ง ต้องมีการเข้ารับการรักษาวิธีต่างๆ เช่น การให้เคมีบำบัด การผ่าตัด การฉายรังสี การให้ฮอร์โมนบำบัด

ดังนั้นอาหารที่ต้องทานเข้าไปในแต่ละวันจึงมีความแตกต่างกับคนร่างกายปกติ เพราะผู้ป่วยโรคมะเร็งจะต้องได้รับสารอาหารหลักจำพวก โปรตีน วิตามิน และแร่ธาตุ มากกว่าคนร่างกายแข็งแรงปกติ เพื่อที่จะนำสารอาหารเหล่านี้ไปช่วยซ่อมแซม ฟื้นฟู เซลล์ต่างๆของร่างกายที่ถูกมะเร็งทำลายไป และเพื่อที่จะช่วยให้ร่างกายมีความแข็งแรง พร้อมสำหรับการรักษาในขั้นตอนต่อๆไปของแพทย์

ทั้งนี้ปัญหาที่จะเจอบ่อยๆสำหรับผู้ป่วยมะเร็งที่ทำการรักษาด้วยวิธีให้เคมีบำบัด หรือ การฉายรังสี คือการพบว่าผู้ป่วยมีปริมาณเม็ดเลือดต่ำ  ร่างกายอ่อนแอ น้ำหนักลดลงต่อเนื่อง จนทำให้ต้องหยุดระงับการรักษาไว้ชั่วคราวเพื่อให้ผู้ป่วยแข็งแรงดีขึ้นก่อนจึงทำการรักษาต่อไปได้ ซึ่งค่อนข้างเป็นอันตรายมาก เพราะการรอเวลาให้ผู้ป่วยแข็งแรง อีกด้านหนึ่งมะเร็งก็ยังรุกลามต่อไปแบบไม่หยุดเรื่อยๆ

การเลือกทานอาหารของผู้ป่วยจึงมีความสำคัญมาก ผู้ป่วยต้องเลือกทานอาหารที่ดีและมีประโยชน์ โดยเน้นสารอาหารที่สำคัญอย่างเช่น กรดอะมิโน

อาหารผู้ป่วยมะเร็ง จำเป็นต้องมีกรดอะมิโนที่เป็นสารตั้งต้นของโปรตีนสารอาหารที่สำคัญที่ผู้ป่วยมะเร็งจะต้องได้รับ เพื่อไปช่วยบำรุง เม็ดเลือดขาว เม็ดเลือดแดง เกล็ดเลือด เอ็นไซม์ เป็นต้น ซึ่งก็มักมีความเชื่อผิดๆกันว่า หากป่วยเป็นมะเร็งไม่ควรทานอาหารกลุ่มโปรตีน เพื่อที่จะได้ทำให้เซลล์มะเร็งขาดสารอาหารและตายไป  ซึ่งไม่เป็นความจริง ผู้ป่วยมะเร็งควรทานเมนูอาหารสำหรับผู้ป่วยมะเร็งตามระยะอย่างเหมาะสม เช่น โปรตีนและทานให้มากกว่าคนปกติ เพื่อให้ไปเสริมความแข็งแรงของเซลล์ปกติ เช่น เม็ดเลือด กล้ามเนื้อ ให้ได้ทำงานเต็ม ประสิทธิภาพ ในการต่อสู้กับเซลล์มะเร็ง

อาหารผู้ป่วยโรคมะเร็งประเภทโปรตีน

อาหารผู้ป่วยโรคมะเร็งจากโปรตีนคุณภาพสูงที่สำคัญต่อร่างกายที่นิยมให้ผู้ป่วยทานคือ

1. อัลบูมิน ( Albumin ) เป็นโปรตีนที่สกัดมาจากไข่ขาว เป็นส่วนประกอบกว่า 50 % ของโปรตีนที่พบในเลือด ถูกสร้างจากกรดอะมิโนที่ตับ มีหน้าที่ซ่อมแซมและสร้างความแข็งแรงและภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายหากร่างกายมีระดับของอัลบูมินในเลือกต่ำกว่าปกติ จะเพิ่มความเสี่ยงของอัตราการเกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ และจะยิ่งส่งผลต่ออัตราการเสียชีวิตที่เพิ่มสูงขึ้นไปอีก

2. ซอยย์ โปรตีนที่มาจากพืชตระกูลถั่ว มีไขมันต่ำ มีสารสารไฟโตสเตอรอล ( Phytosterol ) และซาโพนิน ( Saponins ) ที่ช่วยลดระดับ คอเลสเตอรอล ( Cholesterol ) และทำให้ร่างกายมีความสดชื่น

3. เวย์ หลายคนรู้จักกันดี โดยเฉพาะกลุ่มของนักกีฬาและนักเพาะกล้าม เป็นโปรตีนสกัดจากนม จะสกัดส่วนที่เป็นคาร์โบไฮเดรตและไขมันออกให้เหลือส่วนที่เป็นโปรตีนบริสุทธิ์และนำไปทำให้อยู่ในรูปของผง เป็นโปรตีนที่ย่อยง่าย ร่างกายสามารถนำไปใช้ได้เร็ว และยังไปช่วยสร้างกล้ามเนื้อ ลดอาการปวดเมื่อย ให้กับผู้ป่วยโรคมะเร็งอีกด้วย เนื่องจากมีสาร BCAAs ( Branched Chain Amino Acids ) หรือ กลุ่มของกรดอะมิโน นั่นเอง

การทานโปรตีนให้เกิดประโยชน์กับร่างกายสูงสุด ต้องทานคู่กับวิตามินและแร่ธาตุ เพื่อที่จะไปช่วยสร้าง เม็ดเลือดและ ฮีโมโกบินช่วยเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ กระตุ้นภูมิคุ้มกัน และยังทำให้ฮอร์โมนและเอ็นไซน์ ต่างๆในร่างกายทำงานได้ดีขึ้นอีกด้วย

อาหารที่ผู้ป่วยโรคมะเร็งควรรับประทาน

1. กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ ตามหลักโภชนาการ เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนและช่วยให้ร่างกายแข็งแรง โดยเน้นอาหารปรุงสุก สดใหม่และสะอาด

2. อาหารที่มีกากใยสูง เช่น ผักและผลไม้ต่างๆ ข้าวไม่ขัดสีเป็นต้น เนื่องจากจะช่วยให้ระบบขับถ่ายในร่างกายของผู้ป่วยทำงานได้ดี

3. ดื่มน้ำเปล่าให้เพียงพอ ผู้ป่วยควรทานน้ำเปล่าให้มากเพียงพอในแต่ละวันอย่างน้อย 8 – 10 แก้ว

ตารางการดูแลอาหารให้ผู้ป่วยมะเร็งเพื่อลดอาการข้างเคียง มีดังนี้

อาการผู้ป่วยมะเร็ง ข้อควรปฏิบัติในการดูแลอาหารสำหรับผู้ป่วย
อ่อนเพลีย • แบ่งอาหารเป็นมื้อเล็ก ๆ เป็นอาหารอ่อนใช้การเคี้ยวน้อยที่สุด
• ให้พักผ่อนมากๆ โดยเฉพาะก่อนมื้ออาหาร
เบื่ออาหาร • แบ่งอาหารเป็นมื้อเล็ก ๆ เพิ่มมื้ออาหารบ่อยขึ้น
• เลือกอาหารที่ให้พลังงานและโปรตีนสูง หรืออาหารทางการแพทย์ที่มีโปรตีนสูง
คลื่นไส้ • อาหารเย็นและอาหารแห้ง เช่น แครกเกอร์ น้ำแข็ง โยเกิร์ต ผลไม้ลอยแก้ว ช่วยลดอาการคลื่นไส้ได้
• อมน้ำแข็ง หรือจิบเครื่องดื่มที่ผสมโซดา
• เลี่ยงอาหารที่มีรสจัด
ประสาทการรับรสเสียไป • จัดอาหารให้มีสีและกลิ่นน่าทาน เสิร์ฟอาหารขณะอุ่นหรือร้อนเพื่อช่วยให้กลิ่นและรสชาติดีขึ้น
• เลี่ยงอาหารจำพวกเนื้อแดง ชา กาแฟ
• ให้ผู้ป่วยทานอาหารที่มีรสเปรี้ยว เช่น มะนาวเพื่อกระตุ้นการรับรส
เหม็นหรือแพ้อาหาร และไม่ชอบรสอาหารที่เคยชอบ • ใช้เครื่องเทศช่วยในการปรุงรสอาหาร และเลือกอาการที่มีสังกะสีสูง
อิ่มไวขึ้น • ดื่มเครื่องดื่มที่มีสารอาหารครบถ้วน สูตรโปรตีนสูง ดื่มระหว่างมื้อ
• แบ่งอาหารเป็นมื้อเล็ก ๆ เพิ่มมื้ออาหารบ่อยขึ้น
• เลี่ยงอาหารย่อยยากจำพวกอาหารทอด หรือมัน

อาหารที่ผู้ป่วยมะเร็งไม่ควรกิน คือ

1. อาหารที่ให้พลังงานสูงแต่ไม่มีคุณค่าทางสารอาหาร เช่น ขนมขบเคี้ยวต่างๆ น้ำอัดลม เป็นต้น เนื่องจากเป็นอาหารที่ไม่มีประโยชน์ และหากทานมากๆยังจะนำไปสู่โรคอื่นๆได้อีกด้วย

2. อาหารที่ไม่สะอาด หรือปรุงแบบกึ่งสุกกึ่งดิบ  เนื่องจากเสี่ยงต่อการติดเชื้อแบคทีเรียและตัวพยาธิต่างๆ

3. อาหารหมักดองด้วยดินประสิว เช่น แหนม ไส้กรอก เป็นต้น

4. เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ เครื่องดื่มบำรุงกำลังต่าง ผู้ป่วยควรงดและเลี่ยงจะดีที่สุด โดยให้เน้นดื่มน้ำเปล่าทดแทน การทานอาหารที่ดีและมีประโยชน์สำคัญมากต่อผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็ง แม้อาหารจะไม่ใช่สิ่งที่ไปรักษาโรคมะเร็งโดยตรง แต่การเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ จะส่งผลในทางอ้อมแทน โดยจะไปช่วยให้ร่างกายของผู้ป่วยมีความแข็งแรง มีพละกำลังที่พร้อมจะสู้ต่อกับโรคร้ายที่เกิดขึ้นนี้ในวันต่อๆไป

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

“Food for cancer”. cancer.gov. National Cancer Institute. March, 2015.

“Food Cancer”. National Cancer Institute. 10 June 2014.

อาหารต้านมะเร็ง เลือกกินอย่างไรให้ห่างไกลมะเร็ง

กินอย่างไรห่างไกลโรคมะเร็ง
อาหารป้องกันมะเร็งได้จากการได้รับอาหารที่ดีต่อสุขภาพจะทำให้ร่างกายแข็งแรงมีกำลังต่อสู้กับมะเร็ง

อาหารต้านมะเร็ง

การดูแลสุขภาพเพื่อป้องกันไม่ให้ป่วยเป็นมะเร็ง อาหารจึงถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับป้องกันมะเร็ง ซึ่งพฤติกรรมการกินอาหารเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อการเกิดโรคมะเร็งได้ ทุกวันนี้คนเรามักจะเน้นการกินอาหาร ที่หาทานง่าย สะดวกรวดเร็ว มากกว่าเรื่องของโภชนาการอาหารที่ดี ซึ่งหากยังทำซ้ำๆเดิมๆ แบบนี้ต่อไป ก็อาจจะมีผลเสียและสุ่มเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งในอนาคตได้  ดังนั้นควรเลือกกินอาหาร ต้าน มะเร็ง และอาหาร ป้องกัน มะเร็ง เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงในการเป็นมะเร็ง ควรมีการเลือกทานอาหารที่ดี และช่วยให้ห่างไกลจากมะเร็งสำหรับผู้ที่ยังมีร่างกายแข็งแรงปกติดี ควรเลือกทานอาหารแบบวิธีลด ความเสี่ยงในการเป็นมะเร็ง

การเลือกกินอาหารต้านมะเร็ง มีหลักการ ดังนี้

1. เลือกแหล่งโปรตีนที่มีประโยชน์ โดยเน้นการกินโปรตีนจากถั่ว ไข่ เนื้อสัตว์แบบไร้หนังสีขาว เช่น เนื้อปลาและเนื้อไก่ แทนการกินโปรตีนจากเนื้อสัตว์ที่เป็นสีแดงสด อย่างเนื้อหมูและเนื้อวัว
2. เน้นกินผักและผลไม้ ผักและผลไม้นอกจากจะอุดมไปด้วยประโยชน์แล้ว ยังมีผักและผลไม้บางชนิด คือ อาหาร ป้องกัน มะเร็ง ที่มีสารช่วยต้านมะเร็ง เช่น ผักจำพวกหัวกะหล่ำ บร็อคโคลี่ ซึ่งผักเหล่านี้ มีสารอินโดลที่มีฤทธิ์ช่วยต้านมะเร็งได้หรือจะเป็นพืชพวกตระกูลเห็ด อย่าง เห็ดชิตาเกะ เห็ดไรชิ เห็ดไมตาเกะ ที่มีสาร ต้านมะเร็ง สูงมากเช่นกันและยังรวมไปถึงพืชตระกูลถั่วหรือเมล็ดพืชที่มีเปลือก ที่มีสารไอโซฟลาโวนและสารไฟโตเอสโตรเจนที่มีฤทธิ์ต้านมะเร็ง
3. เลือกกินแป้งชนิดที่มีประโยชน์ เช่น ข้าวแบบไม่ขัดสีข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ ขนมปังโฮลวีตและเลี่ยงอาหารที่มีน้ำตาลสูงด้วย
4. กิน อาหาร ป้องกัน มะเร็ง โดยเลี่ยงอาหารไขมันสูง เช่น อาหารที่ปรุงด้วยวิธีการทอด และหากเป็นการทอดด้วยน้ำมันที่ไม่สะอาด มีสีดำเกิดจากการใช้ซ้ำ ยิ่งจะส่งผลเป็นตัวกระตุ้นในการเกิดโรคมะเร็งได้มากยิ่งขึ้นด้วย
5. เลี่ยงอาหารปิ้งย่างหรือไหมเกรียม สำหรับผู้ที่ชอบทานอาหารปิ้งย่าง ต้องระมัดระวังในการทานให้ดี ไม่ควรทานบ่อยๆ หรือไม่ทานชิ้นที่ไหม้และเกรียม
6. กินอาหาร ป้องกัน มะเร็งโดยเลี่ยงอาหารที่เสี่ยงต่อการขึ้นราได้ง่าย เช่น ถั่วลิสง พริกป่นข้าวโพดอาหารกลุ่มนี้มักจะขึ้นราได้ง่ายและมองด้วยตาเปล่าไม่เห็น จึงควรระมัดระวังในการทานให้มาก
7. อาหารอื่นๆที่ควรเลี่ยง เช่น อาหารที่มีสีฉูดฉาดเกินจริง อาหารที่ปรุงไม่สุกอาหารที่ถนอมอาหารด้วยดินประสิวหรือรมควัน เป็นต้น

ผู้ป่วยมะเร็งอยู่แล้วก็ต้องมีการเลือกทานอาหาร ป้องกัน มะเร็ง เนื่องจากการได้รับอาหารที่ดีจะช่วยส่งเสริมให้ร่างกายแข็งแรงช่วยให้มีกำลังต่อสู่กับโรคมะเร็งต่อไป

การเลือกทานอาหารต้านมะเร็ง

1. ทานอาหารครบ 5 หมู่ ผู้ป่วยโรคมะเร็งต้องเลือก กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ ตามหลักโภชนาการ เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนและช่วยให้ร่างกายแข็งแรง
2. ทานโปรตีนได้ปกติ ผู้ป่วยส่วนมากมักจะเข้าใจผิดว่าหากป่วยเป็น มะเร็ง ต้องงดการกินโปรตีนแต่ในความจริง สามารถทานได้ปกติแต่ต้องปรุงให้สุกและได้รับในปริมาณที่เหมาะสมเพื่อป้องกันการขาดสารอาหาร

3. เลี่ยงผักหรือผลไม้ที่ต้องกินทั้งเปลือก เนื่องจากอาจมีการใช้ปุ๋ยคอกรดทำให้มีเชื้อแบคทีเรียปนเปื้อนได้ ถ้าหากต้องการทานจริง ๆ ต้องล้างให้สะอาดอีกรอบด้วยน้ำยาล้างผักหรือผลไม้
4. เตรียมของว่างไว้ใกล้ตัวให้พร้อม สำหรับข้อนี้ ผู้ป่วยมะเร็ง บางท่าน อาจจะมีอาการเบื่ออาหารหรือทานอาหารได้น้อย จึงควรมีการเตรียมอาหารว่างไว้ข้างๆ ให้พร้อมอยู่เสมอ โดยเน้นอาหารว่างที่ดีและมีประโยชน์ เช่น ผลไม้ โยเกิร์ต น้ำเต้าหู้ เป็นต้นเพื่อที่หากผู้ป่วยหิวจะได้มีของทานเข้าไปทดแทนอาหารมื้อหลักจะช่วยให้ผู้ป่วยได้มีพลังงานมากขึ้น

แน่นอนว่า อาหาร ที่ทานเข้าไปในแต่ละวัน ก็มีให้เลือกกินเลือกทานกันมากมาย แต่ก่อนจะกินอะไรเข้าไปก็แล้วแต่ ควรตะหนักไว้เสมอว่า อาหารที่เราทานนี้ จะส่งผลเสียต้อร่างกายเราในอนาคตหรือไม่ ควรรู้จักดูแลตนเองตั้งแต่ตอนนี้จะได้ไม่ต้องไปเสียใจในอนาคต

อาหารต้านมะเร็ง เลือกกินอย่างไรให้ห่างไกลมะเร็ง
การต่อต้านมะเร็งด้วยตนเองคือ หลีกเหลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง อาหารกึ่งสุกกึ่งดิบจำพวกอาหารปิ้งย่าง

หลักการบริโภคอาหารเพื่อป้องกัน และลดความเสี่ยงการเกิดมะเร็ง

การบริโภคอาหารสามารถป้องกันไม่ให้เกิดมะเร็งได้ โดยยึดหลักองค์ประกอบ 12 ประการ โดยทั้ง 12 ประการแบ่งเป็น 5 ประการเพื่อการป้องกัน และ 7 ประการเพื่อลดความเสี่ยง ดังต่อไปนี้

1. อาหารต้านมะเร็งที่ดีควรรับประทานทานอาหารและผักที่มีกากใยสูง หรืออาหารที่มีไฟเบอร์สูง ได้แก่ ผลไม้ชนิดต่างๆ ธัญพืช รวมถึงผักต่างๆ เช่น กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก ผักคะน้า หัวผักกาด บร็อคโคลี่ เป็นต้น เนื่องจากอาหารที่มีกากใยสูง จะช่วยขัดขวางการดูดซึมไขมันเข้าสู่ร่างกาย ทำให้ระบบขับถ่ายทำงานได้ดีขึ้น ช่วยลดโอกาสเสี่ยงที่จะเป็น มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งกระเพราะอาหาร รวมถึงมะเร็งเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ ได้อีกด้วย
2. รับประทานอาหารที่มี เบต้าแคโรทีน และวิตามินเอสูง เนื่องจากในสารเบต้าแคโรทีน เป็น อาหารต้านมะเร็ง  ซึ่งเป็นสารตั้งต้นของวิตามินเอ มีสรรพคุณช่วยในการต้านสารอนุมูลอิสระ และพบว่าสามารถลดอัตราเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งต่างๆ เช่น มะเร็งปอด มะเร็งกล่องเสียง มะเร็งหลอดอาหาร ได้อีกด้วย สำหรับอาหารที่สามารถพบสารเบต้าแคโรทีนได้มากคือ ผัก และผลไม้ที่มีสีส้ม เหลือง หรือแดง เช่น แครอท ฟักทอง ข้าวโพดอ่อน แตงโม แคนตาลูป เป็นต้น และยังสามารถพบได้ใน ผักชนิดที่มีสีเขียว เช่น บร็อคโคลี ต้นหอม ผักคะน้า ผักตำลึง เป็นต้น
3. อาหารต้านมะเร็งในรูปวิตามินซี รับประทานอาหารที่มีวิตามินซีสูง วิตามินซี พบได้ในอาหารต่างๆ เช่น ผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว เช่น ส้ม มะนาว มะเขือเทศ และพบได้ในผักสด เช่น กะหล่ำ บร็อกโคลี่ เป็นต้น สามารถช่วยป้องกันไม่ให้เกิดอนุมูลอิสระหรือสารพิษส่วนเกินต่างๆในร่างกาย ช่วยป้องกันไม่ให้เซลล์ต่างๆ ในร่างกายกลายไปเป็นเซลล์มะเร็ง ดังนั้นจึงสามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งหลอดอาหาร และมะเร็งกระเพาะอาหารได้
4. ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานและเลือกทานอาหารต้านมะเร็ง การปล่อยให้ตนเองกลายเป็นคนน้ำหนักมากเกิน จนกลายเป็นโรคอ้วน จะมีความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งหลายชนิด เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งถุงน้ำดี มะเร็งปากมดลูก รวมถึงมะเร็งลำไส้ใหญ่ด้วย ดังนั้นจึงไม่ควรปล่อยให้ตนเองเป็นโรคอ้วน หรือมีน้ำหนักตัวที่เกินมาตรฐานปกติ ควรบริโภคอาหารที่ดี มีประโยชน์ในปริมาณที่เหมาะสม จะสามารถช่วยป้องกันโรคมะเร็งเหล่านี้ได้
5. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยทำให้ร่างกายแข็งแรง เป็นการช่วยป้องกันมะเร็งในทางอ้อม เนื่องจากเมื่อร่างกายแข็งแรงแล้ว ก็จะสามารถป้องกันโรคภัยต่างๆได้รวมทั้งโรคมะเร็งนั้นเอง ดังนั้นควรออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3-5 วัน ครั้งละ 30 – 45 นาที

อาหารลดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง7 ประการ

1. หลีกเลี่ยงการทานอาหารที่มีไขมันสูง เนื่องจากอาหารที่มีไขมันสูง จะเป็นตัวกระตุ้นทำให้เกิดโรคมะเร็งได้ หากทานในปริมาณมากและติดต่อกัน ก็อาจจะมีความเสี่ยงในการเป็น มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่ และมะเร็งต่อมลูกหมากได้อีกด้วย ดังนั้นควรเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง เช่น อาหารจากการทอด กลุ่มอาหารฟาสต์ประเภทฟู้ดต่างๆ เป็นต้น

2. หลีกเลี่ยงการทานอาหารที่มีความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนสารอัลฟาทอกซิน สารอัลฟาทอกซิน เป็นเชื้อราชนิดหนึ่ง ที่สามารถพบได้ในอาหารอย่างเช่น ถั่วลิสง พริกป่น ซึ่งอาหารกลุ่มนี้สามารถเกิดเชื้อราได้ง่าย ควรทานแบบระมัดระวังหรือควรนำไปผ่านความร้อนก่อนทานจะดีที่สุด สารอัลฟาทอกซินหากได้รับในปริมาณมาก อาจก่อให้เกิดโรคมะเร็งตับได้   

3. หลีกเลี่ยงอาหารกลุ่มที่มีสารก่อมะเร็ง ( อาหารดองเค็ม อาหารปิ้งย่าง รวมถึงอาหารที่มีส่วนผสมของเกลือไนเตรท ) เนื่องจากอาหารในกลุ่มนี้จะทำให้เกิดความเสี่ยงในการเป็น โรคมะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งกระเพาะอาหาร และมะเร็งลำไส้ใหญ่ ได้

4. หลีกเลี่ยงอาหารกึ่งสุกกึ่งดิบ เช่น ลาบเลือด ก้อยปลา ปลาจ่อม เป็นต้น การทานอาหารสุกดิบๆ แบบนี้ นอกจากจะเสียต่อการเกิดโรคท้องร่วง ท้องเสียแล้ว ยังเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งตับและมะเร็งท่อน้ำดีในตับ ได้อีกด้วย เพราะอาหารกลุ่มนี้มักจะมีพยาธิ จนอาจเกิดโรคพยาธิใบไม้ในตับได้ ซึ่งโรคนี้เป็นโรคตั้งต้นของโรคมะเร็งตับนั้นเอง

5. งดการสูบบุหรี่ เนื่องจากในบุหรี่มีสารประกอบหลายชนิดที่เป็นสารก่อมะเร็ง หากสูบบุหรี่หรือได้รับควันพิษในปริมาณมากเป็นเวลานาน ก็จะทำให้มีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งปอด และมะเร็งกล่องเสียงได้ นอกจากนี้ การเคี้ยวยาสูบ จะมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งช่องปาก และช่องคอ อีกด้วย

6. งดการดื่มแอลกอฮอล์ เนื่องจากในเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จะมีฤทธิ์ไปทำให้เกิดโรคตับแข็ง ซึ่งในระยะยาวสามารถพัฒนาต่อไปเป็นมะเร็งตับได้ นอกจากนี้หากดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมกับการสูบบุหรี่ในปริมาณมาก ก็จะยิ่งส่งผลให้เกิดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งชนิดต่างๆได้มากยิ่งขึ้น เช่น มะเร็งช่องปาก และช่องคอ

7. เลี่ยงการอยู่กลางแจ้งเป็นเวลานาน เนื่องจากการอยู่กลางแจ้งเป็นเวลานาน ทำให้เกิดการสัมผัสแสงแดดหรือรังสีอัลตราไวโอเลต โดยเฉพาะผู้ที่ทำงานหรือชอบออกกำลังกายกายแจ้งบ่อยๆ ซึ่งรังสีชนิดนี้หากได้รับมากๆ ก็จะทำให้เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งผิวหนังได้ ดังนั้นจึงไม่ควรตากแสงแดดนานๆ โดยปราศจากการป้องกันอย่างเช่น หมวก แว่นตา เสื้อคลุม เป็นต้น

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

“Food Cancer”. National Cancer Institute. 10 June 2014.

Haefliger, Denise Nardelli; Moskaitis, John E.; Schoenberg, Daniel R.; Wahli, Walter (October 1989). “Amphibian albumins as members of the albumin, alpha-fetoprotein, vitamin D-binding protein multigene family”. Journal of Molecular Evolution.

มะเร็งเกิดจากอะไร ? ( Causes of Cancer )

มะเร็งเกิดจากอะไร
มะเร็งเกิดจากการเจริญเติบโตที่ผิดปกติของเซลล์ในร่างกายโดยจะไปทำให้ DNA ภายในเซลล์กลายพันธุ์

มะเร็งเกิดจาก

มะเร็งเกิดจาก ( Causes of Cancer ) คือ เซลล์ร้ายที่ทำให้เกิดความผิดปกติทางสารพันธุกรรม ( DNA ) ของเซลล์ของร่างกาย ทำให้เซลล์มะเร็งมีการแบ่งตัวเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็วในปริมาณที่มากเกินปกติ จนกระจายแทรกตัวไปยังเนื้อเยื่อที่อยู่ติดกันและอาจแพร่ไปยังอวัยวะส่วนอื่นๆในร่างกายโดยเดินทางผ่านกระแสเลือดและระบบน้ำเหลืองจนเกิดเป็นโรคมะเร็ง  ซึ่งมีสาเหตุที่แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับชนิดของเซลล์ที่เกิดเป็นมะเร็งขึ้น มีทั้งปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายใน ซึ่งที่มีผู้เสียชีวิตจากโรคนี้จำนวนสูงมากในแต่ละปี คนทั่วโลกเสียชีวิตจากโรคมะเร็ง 8 ล้านคนต่อปี  โดยในประเทศไทยเองจะมีผู้ป่วยเป็นโรคมะเร็งชนิดต่างๆ เพิ่มขึ้นประมาณ 120,000 คน ในทุกๆปี และจะกลายเป็นผู้เสียชีวิตสูงถึง 60,000 คนต่อปีเลยทีเดียว  จากข้อมูลมีสถิติที่น่าสนใจว่า ตั้งแต่ปี 2543 เป็นต้นมา โรคมะเร็งกลายไปเป็นสาเหตุการเสียชีวิต ของคนไทยมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่งโดยมากกว่าการเสียชีวิตที่เกิดจากอุบัติเหตุเสียอีก

  [adinserter name=”มะเร็ง”]

มะเร็ง ( Cancer ) มาจากคำว่า Carcinus หรือ Karkinos ในภาษากรีก ที่แปลเป็นไทยว่า ปู เนื่องจากลักษณะการเติบโตของสารมะเร็งนั้นเป็นไปแบบไม่มีระเบียบ สามารถลุกลามไปที่อื่นได้ ก็คล้ายกับพฤติกรรมการเดินของปู ที่เวลาเดินจะไร้ทิศทางไม่มีระเบียบ และเซลล์มะเร็งก็มีส่วนคล้ายกับขาของปูดังนั้น เครื่องหมายต่างๆ ที่เกี่ยวกับโรคมะเร็ง จึงมักใช้รูปปูเป็นสัญลักษณ์เสมอ

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง

มะเร็งที่มีสาเหตุมากจากปัจจัยภายใน

ปัจจัยภายใน มะเร็งที่มีสาเหตุมากจากปัจจัยภายในนี้มีแค่ 5-10% ของมะเร็งที่พบ ปัจจัยภายในที่เป็น สาเหตุการเกิดมะเร็ง คือ

1. ถ่ายทอดทางพันธุกรรม คือ การถ่ายทอดยีนส์ที่มีความผิดปกติจากพ่อแม่มาสู่ลูกหรือหลาน ยีนส์ที่มีความผิดปกติแล้วทำให้เกิดมะเร็งและมีการถ่ายทอดได้นั้นมีอยู่ 3 ชนิดด้วยกันคือ
ยีนส์ก่อมะเร็ง คือ ยีนส์ที่มีความผิดปกติในการแบ่งเซลล์ ยีนส์ชนิดนี้จะทำให้เซลล์มีการแบ่งตัวอย่างไม่หยุดยั้งจนเกิดกลายเป็นเซลล์มะเร็ง
ยีนส์ต้านมะเร็ง คือ ยีนส์ที่ทำหน้าที่ทำลายเซลล์ที่ดีเอ็นเอในการแบ่งตัวผิดปกติเกิดขึ้น
ยีนส์ซ่อมแซมดีเอ็นเอ คือ ยีนส์ที่ทำหน้าที่ซ่อมแซมยีนส์ที่ถูกทำลายจนเกิดความผิดปกติก่อนที่จะกลายเป็นยีนส์ก่อมะเร็ง ยีนส์ตัวนี้จะเข้าไปซ่อมแซมยีนส์ที่ถูกทำลายให้กลับมาปกติ ทำหน้าที่คล้ายกับหมอคอยรักษาคนไงค่ะ

ยีนส์ที่มีความผิดปกติจะมีการถ่ายทอดมาจากดีเอ็นเอของพ่อหรือแม่สู่ลูกโดยตรงซึ่งยีนส์ชนิดนี้เรียกว่า “ อองโคยีนส์ ” อองโคยีนส์อาจจะกลายหรือไม่กลายเป็นมะเร็งก็ได้ขึ้นอยู่กับสภาวะแวดล้อมของเซลล์ที่มียีนส์นี้อยู่ แต่ถ้าอองโคยีนส์ทำงานขึ้นมาละก็รับรองว่าเราเป็นมะเร็งแน่ๆค่ะ ไม่มีทางรอด มะเร็งที่เกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรมที่พบได้บ่อย คือ มะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่ มะเร็งตับ มะเร็งตับอ่อน  [adinserter name=”มะเร็ง”]

2. ความผิดปกติระหว่างตั้งครรภ์ การกลายพันธุ์ของยีนส์อาจจะเกิดขึ้นในขณะที่ไข่ผสมกับอสุจิที่ท่อรังไข่หรือในขณะที่ไข่พัฒนาเป็นตัวอ่อนในครรภ์ก็ได้เกิดขึ้นจากแม่ได้รับเชื้อทำให้ยีนส์เกิดความผิดปกติขณะตั้งครรภ์ เช่น หัดเยอรมัน โรคฝีไก่ แม่ได้รับสารที่ทำให้เกิดการกลายพันธุ์ เช่น ดื่มเหล้า สูบบุหรี่ เสพสารเสพติด โดนรังสีและสารเคมี รวมถึงภาวะขาดสารอาหารที่มีผลต่อการพัฒนาของเซลล์ในร่างกาย เช่น ขาดวิตามินเอที่เป็นสาเหตุของโรคไวรัสตับ ขาดวิตามินซีที่ช่วยสร้างระบบภูมิคุ้มกันร่างกายทำให้เกิดภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง เป็นต้น

3. อายุ เมื่ออายุที่มากขึ้นจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง เซลล์ปกติเริ่มเสื่อมสภาพจากการทำงานเป็นเวลานานรวมทั้งการถูกทำลายด้วยสารอนุมูลอิสระ ( Free Radical ) เนื่องจากการซ่อมแซมเซลล์ที่เสียหายและเสื่อมสภาพเป็นจำนวนมากนั้น มักเกิดความผิดพลาดในกระบวนการมากกว่า จึงทำให้เซลล์บางส่วนกลายพันธุ์ ( Mutation ) เป็นเซลล์มะเร็ง

มะเร็งที่มีสาเหตุมากจากปัจจัยภายนอก

ปัจจัยภายนอก เป็นปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดมะเร็งมากที่สุดถึง 95 % เพราะฉะนั้นคนที่ไม่มีการถ่ายทอดยีนส์มะเร็งทางพันธุกรรมก็มีโอกาสเป็นมะเร็งได้เช่นกันและมีโอกาสเป็นมากกว่าเสียด้วยสิ ปัจจัยภายนอกที่เป็น สาเหตุการเกิดมะเร็ง คือ

ปัจจัยด้านอาหาร

เคยสังเกตกันไหมว่าโรคมะเร็งเกิดจาก อาหารหลายๆอย่างที่เราทานกันด้วยความอร่อยอยู่ในทุกๆวันนี้ ส่วนมากมักจะเป็นอาหารที่มีส่วนประกอบของไขมันที่สูงเช่น ไก่ทอด หมูทอด ครีมเทียม เนื้อสัตว์ที่ติดหนัง อาหารฟาสฟู้ดต่างๆ เป็นต้น หรือจะเป็นอาหารของหมักดอง โรคมะเร็งเกิดจากอาหารเหล่านี้ซึ่งเป็นปัจจัยที่เสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งหากทานเข้าไปในปริมาณมากๆ โดย เฉพาะอย่างยิ่งร้านที่ใช้น้ำมันในการทอดซ้ำๆ และยังรวมไปถึงพฤติกรรมการกินอาหารในส่วนที่ไหม้เกรียม จากการทอด การย่าง อีกด้วย

ปัจจัยด้านมลภาวะ  [adinserter name=”มะเร็ง”]

สำหรับคนที่อาศัยอยู่ในเมืองใหญ่ ที่เต็มไปด้วยอุตสาหกรรมต่างๆมักจะได้รับผลกระทบจากข้อนี้มากกว่าผู้อื่น เนื่องจากต้องเผชิญกับมลพิษต่างๆมากมาย เช่น ควันท่อไอเสียรถมลพิษจากโรงงานอุตสาหกรรม ควันบุหรี่ สิ่งเหล่านี้หากได้รับเข้าไปในปริมาณที่มากจะเข้าไปสะสมในร่างกายและนอกจากนี้การที่ทำงานกลางแจ้ง จนได้รับรังสีอุลตราไวโอเลตจากแสงแดดมากเกินไป ก็เสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งผิวหนังได้เหมือนกัน

ปัจจัยด้านสารเคมีและรังสี ในแต่ละวันเราเองอาจจะได้รับสารเคมีและรังสีต่างๆเข้าไปสู่ร่างกายแบบไม่รู้ตัวเช่นการกินผักผลไม้ที่มีสารพิษตกค้างจากยาค่าแมลง การดื่มน้ำที่ไม่สะอาด โดยเฉพาะน้ำฝนในปัจจุบันควรต้มก่อนดื่มเสมอ และหากใครที่ทำงานในส่วนที่ ต้องสัมผัสหรือสูดดม สารจำพวกโลหะหนักเป็นประจำ เช่น เบนซิน นิกเกิล แคดเมียม ก็ควรหาเครื่องมือในการป้องกันและควรหมั่นไปตรวจสุขภาพอย่างเป็นประจำด้วย

พฤติกรรมการใช้ชีวิต

การใช้ชีวิตของคนเราเองก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่สุ่มเสี่ยงในการทำให้เกิดโรคมะเร็งต่างๆได้ เช่น ความเครียด ความกดดัน การทำงานที่หนักจนเกินไป การพักผ่อนไม่เพียงพอ ขาดการออกกำลังกาย นอกจากนี้ยังรวมไปถึงการทานยาคุมกำเนิด ติดต่อกันนานๆเกินกว่า 5 ปี และการใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจนอีกด้วย

ความผิดปกติภายในร่างกาย สำหรับข้อนี้คงเป็นปัจจัยที่ควบคุมได้ยากเช่น พันธุกรรมที่ถ่ายทอดจากพ่อแม่ไปลูก , การมีร่างกายพิการตั้งแต่กำเนิดการติดเชื้อไวรัสต่างๆ เช่น ไวรัสตับอักเสบบี หรือพยาธิใบไม้ในตับ การมีภูมิคุ้มกันบกพร่อง สิ่งเหล่าล้วนเป็นปัจจัยในการก่อให้เกิดมะเร็งได้เหมือนกัน

มะเร็งเกิดจากการเจริญเติบโตที่ผิดปกติของเซลล์ในร่างกายโดยจะไปทำให้ DNA ภายในเซลล์กลายพันธุ์ เกิดการไปทำลายข้อมูลของยีนส์ ซึ่งเป็นตัวกำหนดหน้าที่ของเซลล์และยังไปทำลายการควบคุมความปกติของการแบ่งตัวของเซลล์อีกด้วย    [adinserter name=”มะเร็ง”]

โดยปกติแล้วร่างกายคนเรา จะมีเซลล์อยู่ตามส่วนต่างๆของร่างกายโดยจะมีหน้าที่การทำงานที่ต่างกันออกไป  เซลล์ต่างๆเหล่านี้จะมีการแบ่งตัวเพิ่มในทุกๆวันอยู่แล้ว เพื่อไปซ่อมแซมทดแทนเซลล์เก่าที่ตายไป มีการทำงานที่เป็นระบบมีขั้นตอนอยู่แล้ว แต่เมื่อเซลล์พวกนี้ทำงานบกพร่อง ก็จะไปทำให้โรคมะเร็งเกิดจากเซลล์ใหม่ถูกสร้างขึ้นมากเกินกว่าปกติ จนทำให้กลายเป็นก้อนเนื้อ หรือที่เรียกว่า เนื้องอก ( Tumor ) หากเป็นเนื้องอกที่ไม่อันตรายจะเรียกว่า ( Benign Tumor ) แต่หากเป็นเนื้องอกที่มีความอันตรายหรือก้อนเนื้อร้าย เราจะเรียกมันว่า “ มะเร็ง ” ( Malignant Tumor ) นั้นเอง

สำหรับการเลือกชื่อชนิดของโรคมะเร็งที่พบ จะเรียกตามอวัยวะที่ผู้ป่วยเป็น เช่น หากเป็นที่ตับ ก็จะเรียกว่า มะเร็งตับ หรือ หากเป็นที่เต้านม ก็จะเรียกว่า มะเร็งเต้านม ( Breast Cancer ) เป็นต้น ปกติคนเราจะเป็นมะเร็งได้มากกว่า 1 ชนิด โดยอาจเกิดจากการลุกลามจากที่แรกไปอีกที่หนึ่ง หรืออาจเกิดขึ้นแบบไม่เกี่ยวข้องกันเลยก็ได้มะเร็งที่พบบ่อยที่สุดในเพศชาย คือ มะเร็งปอด, มะเร็งต่อมลูกหมาก ส่วนในเพศหญิง คือ มะเร็งเต้านม, มะเร็งปากมดลูก และที่พบบ่อยสุดในเด็ก คือ มะเร็งเม็ดเลือดขาว ( Leukemia )

เซลล์มะเร็งจะมีคุณลักษณะ 5 ข้อต่อไปนี้ คือ

  1. เจริญเติบโตได้ด้วยตัวเอง

2. มีศักยภาพในการแบ่งตัวไร้ขีดจำกัด

3. ไม่สามารถขัดขวางการเจริญเติบโตได้

4. มีความสามารถในการแพร่กระจาย และรุกรานเนื้อเยื่ออื่น

5. มีกลไกการสร้างเส้นเลือดใหม่จากเส้นเลือดเก่า ( Angiogenesis )    [adinserter name=”มะเร็ง”]

การตรวจหามะเร็ง

การตรวจหามะเร็งหรือ ตรวจคัดกรองมะเร็ง ( Cancer Screening ) เป็นการตรวจสุขภาพด้วยวิธีต่างๆ ในผู้ที่ยังไม่เป็นมะเร็ง เพื่อลดความเสี่ยงจากการเสียชีวิตจากมะเร็งและนำไปสู่การรักษาในกรณีที่ตรวจเจอโรค ซึ่งมะเร็งในระยะแรกเริ่ม เช่นระยะที่ 0 และ 1 จะมีโอกาสรักษาหายได้มากกว่า 90%

การตรวจคัดกรองมะเร็งสามารถทำได้ 3 แนวทางคือ  

1. การตรวจร่างกาย ( Physical Examination ) 

แพทย์จะทำการตรวจพื้นฐานเช่น วัดไข้ วัดความดันโลหิต อัตราการเต้นของหัวใจ ตรวจดูช่องปากลำคอ คลำเพื่อตรวจหาก้อนเนื้อบริเวณเต้านม ทวารหนัก และกดบริเวณต่างๆ เช่นช่องท้อง ต่อมน้ำเหลือง เพื่อดูว่ามีอาการเจ็บปวดหรือไม่ โดยจะทำควบคู่กับการสอบถามประวัติของผู้ป่วยแล้ว เช่น ประวัติการเจ็บป่วยของผู้ป่วยและสมาชิกครอบครัว ประวัติการแพ้ยาหรือ แพ้อาหาร ประวัติการตั้งครรภ์ ประจำเดือน เพศสัมพันธ์ ซึ่งหลังจากแพทย์ได้ข้อมูลจากคนไข้แล้วก็จะทำการประเมิณอาการต่อไป

2. การตรวจทางแลป ( Laboratory Test )

เป็นการตรวจทางห้องปฏิบัติการ โดยแพทย์จะเก็บตัวอย่างจากร่างกายคนไข้ เช่น เลือด อุจจาระ ปัสสาวะ เนื้อเยื่อ และของเหลวภายในร่างกายมาทำการวิเคราะห์

3. การตรวจด้วยเทคนิคภาพถ่าย ( Imaging Technique )

เป็นการตรวจโดยอุปกรณ์ที่สามารถแสดงภาพถ่ายอวัยวะภายในร่างกายเช่น

  • เอ็กซ์เรย์ ( X-Ray )
  • เอ็กซ์เรย์คอมพิวเตอร์ หรือ ซีทีสแกน ( Computerized Tomography หรือ CT scan )
  • เครื่องสร้างภาพด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า หรือ เอ็มอาร์ไอ ( Magnetic Resonance Imaging, MRI )
  • อัลตร้าซาวด์ ( Ultrasound )    [adinserter name=”มะเร็ง”]

ระยะของมะเร็ง

การแบ่งระยะ ( Stage ) และระดับ ( Grade ) ของโรคมะเร็งจะแบ่งตามหลักเกณฑ์ชนิดต่าง เช่น ขนาดของก้อนมะเร็งการแพร่กระจายไปยังอวัยวะข้างเคียง ระดับการเปลี่ยนแปลงที่ต่างจากเซลล์ปกติ เป็นต้น ซึ่งมะเร็งแต่ละชนิดก็จะมีเกณฑ์ในการแบ่งระยะและระดับแตกต่างกันไป อาทิเช่นมะเร็งเต้านมจะแบ่งตามขนาดและการแพร่กระจาย แต่มะเร็งต่อมน้ำเหลืองจะแบ่งระยะโดยดูว่ามะเร็งเกิดขึ้นที่ด้านใดด้านหนึ่งของร่างกาย ซ้ายหรือขวา ) หรือเกิดขึ้นทั้ง 2 ด้านแล้ว

ทั้งนี้ ระยะของโรคมะเร็งที่นิยมใช้กันตามความเข้าใจของประชาชนส่วนใหญ่ คือการแบ่งตามความรุนแรงในการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง ซึ่งกล่าวโดยสังเขปดังนี้

มะเร็งระยะที่ ลักษณะของมะเร็ง อัตราการอยู่รอดเกิน 5 ปี
0 ยังไม่จัดเป็นโรคมะเร็งอย่างแท้จริง โดยเซลล์มะเร็งเริ่มแบ่งตัวเพิ่มจำนวน แต่ยังไม่มีการออกจากบริเวณที่เกิดไปยังเนื้อเยื่อข้างเคียง 90-99%
1 เกิดเป็นก้อนมะเร็งขนาดเล็ก แต่ยังไม่มีการลุกลามไปยังเนื้อเยื่อข้างเคียง 70-90%
2 ก้อนมะเร็งมีขนาดใหญ่ขึ้น และลุกลามไปยังเนื้อเยื่อ/อวัยวะข้างเคียง 70-80%
3 ก้อนมะเร็งมีขนาดใหญ่มากขึ้น และลุกลามไปยังเนื้อเยื่อ/อวัยวะข้างเคียงรวมถึงต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ใกล้กับเนื้อเยื่อ/อวัยวะที่มีเซลล์มะเร็ง 20-60%
4 ก้อนมะเร็งมีขนาดใหญ่มากขึ้น และลุกลามไปยังอวัยวะข้างเคียงและที่อยู่ไกลออกไปผ่านทางกระแสเลือด ระบบน้ำเหลือง 0-15%

การรักษามะเร็ง    [adinserter name=”มะเร็ง”]

นอกจากนี้ยังมีความเชื่อที่ผิดๆเกี่ยวกับโรคมะเร็งว่า หากเป็นแล้วจะต้องตายทุกคน ซึ่งไม่เป็นความจริงเลย ผู้ที่ป่วยเป็นโรคมะเร็งจะสามารถรักษาให้หายได้หรือไม่ขึ้นอยู่กับปัจจัยดังต่อไปนี้

1. อวัยวะที่เป็นมะเร็ง หากผู้ป่วยเป็นมะเร็งในอวัยวะที่ไม่อันตรายมากเช่นมะเร็งอัณฑะ มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ เป็นต้นก็สามารถรักษาให้หายได้ มีโอกาสรอดชีวิตสูง

2. ระยะของมะเร็ง การตรวจพบมะเร็งตั้งแต่ระยะแรกๆ ก็มีโอกาสที่จะรักษาให้หายขาดได้ส่วนถ้าผู้ป่วยรายใดพบมะเร็งในระยะแพร่กระจายแล้ว ก็มีโอกาสรักษาก็จะน้อยตามไปด้วย

3. อายุของผู้ป่วย ขึ้นอยู่กับประเภทของมะเร็งที่เป็น โดยมะเร็งบางชนิดเป็นในคนอายุน้อยจะไม่ดี รักษาได้ยาก เช่น มะเร็งเต้านมส่วนมะเร็งบางชนิดเป็นในคนอายุมากไม่ดี เช่น มะเร็งสมอง ยิ่งอายุมากกว่า 60 ยิ่งอันตราย เป็นต้น

4. สภาพร่างกายของผู้ป่วย การรักษาโรคมะเร็ง โอกาสที่จะหายหรือไม่ก็ขึ้นอยู่สภาพของร่างกายผู้ป่วยด้วย โดยคนที่มีร่างกายแข็งแรงก็ย่อมมีโอกาสหายได้มากกว่าคนที่มีร่างกายอ่อนแอ ซึ่งแนวทางการรักษาก็จะไม่เหมือนกัน โยหมอจะดูว่าผู้ป่วยทนต่อการรักษาแบบไหนได้บ้าง ควรรักษาเพื่อให้หายขาด ( Curative Care ) หรือแค่รักษาเพื่อประคับประคอง ( Palliative Care ) ความเก่งของหมอและสถานพยาบาล ปัจจัยที่จะช่วยในการรักษาอีกอย่างก็คือ การที่โรงพยาบาลนั้นๆมีหมอเฉพาะทางที่มีความเชี่ยวชาญในการรักษาโรคมะเร็ง หรือมีอุปกรณ์เครื่องมือในการรักษาครบถ้วน ผู้ป่วยก็จะมีโอกาสรักษาให้หายมากตามไปด้วย

5. จิตใจของผู้ป่วยเอง หากสภาพจิตใจของผู้ป่วยรายใด ที่มีกำลังใจดี เข้มแข็ง ก็ย่อมทำให้มีโอกาสรักษาให้หายได้มากกว่า ผู้ป่วยที่หมดกำลังใจ ซึมเศร้ารา มีแต่ความหดหู่ ดังนั้นผู้ป่วยต้องดูแลสุขภาพจิตของตนเองให้ดีอยู่เสมอ

มะเร็ง ( Cancer ) แม้จะเป็นโรคร้ายที่เป็นสาเหตุให้คนไทยเสียชีวิตเป็นอันดับ 1 แล้ว แต่ถ้าเราตรวจพบโรคได้ไว และได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี โรคนี้ก็สามารถหายขาดได้ และในขณะเดียวกัน แม้จะรักษามะเร็งจนหายแล้ว แต่ก็ยังสามารถกลับมาเป็นใหม่ได้อีก หากคุณไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร เปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต ขาดการออกกำลังกาย สักวันคุณก็อาจจะกลับมาเป็นโรคมะเร็งอีกได้ ใครจะไปรู้   [adinserter name=”มะเร็ง”]

วิธีการรักษาโรคมะเร็งที่นิยม

1. การผ่าตัด

มักใช้รักษามะเร็งในระยะเริ่มแรก เช่นระยะที่ 1 และระยะที่ 2 โดยอาจใช้ร่วมกับการให้เคมีบำบัดหรือรังสีรักษา โดยแพทย์จะผ่าเอาก้อนเนื้อมะเร็งออกให้มากที่สุด ในบางกรณีอาจจะต้องตัดบางส่วนของอวัยวะหรือต่อมน้ำเหลืองออกไปด้วย โดยการพิจารณาว่าควรรักษาด้วยการผ่าตัดหรือไม่นั้น ต้องประเมิณจากสุขภาพผู้ป่วยร่วมด้วย เช่น โรคประจำตัว สภาวะโลหิตจาง ภูมิต้านทานต่ำ เป็นต้น

2. เคมีบำบัด

หรือเป็นที่รู้จักกันในชื่อ “ ยาคีโม หรือ “ คีโมบำบัด คือการใช้ยาเพื่อทำลายเซลล์มะเร็ง หรือหยุดยั้งการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็ง โดยยาจะแพร่กระจายไปยังทุกส่วนของร่างกายผ่านทางกระแสเลือด ซึ่งจะแตกต่างจากการผ่าตัดมะเร็งและรังสีรักษาที่จะอยู่เฉพาะบริเวณที่ทำการตัดชิ้นเนื้อที่เป็นมะเร็งออกและที่ฉายรังสีลงไปโดนเท่านั้น มีข้อดีคือสามารถออกฤทธิ์ได้อย่างรวดเร็วและเข้าถึงเซลล์มะเร็งได้ทุกส่วนของร่างกาย แต่มีข้อเสียคือเซลล์ปกติในร่างกายก็จะได้รับผลกระทบไปด้วย โดยเฉพาะเซลล์ปกติที่แบ่งตัวได้เร็ว ซึ่งคล้ายกับคุณสมบัติเด่นของเซลล์มะเร็ง )

ผลข้างเคียงของโรคมะเร็ง

1. เม็ดเลือด: ยาคีโมจะยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์เม็ดเลือดที่สร้างจากไขกระดูก ทำให้ผู้ป่วยมะเร็งจะมีปริมาณเม็ดเลือดลดต่ำลงกว่าปกติในช่วงผู้ป่วยมะเร็งเข้ารับเคมีบำบัด

2. ผมและเล็บ: เซลล์ที่บริเวณก้านขนและโคนเล็บจะชะลอการแบ่งตัว ทำให้ผมร่วง โคนเล็บมือและเท้ามีสีคล้ำ โดยอาจมีลักษณะของเล็บหงอกงอหรือเปลี่ยนไป  [adinserter name=”oralimpact”]

3. เยื่อบุทางเดินอาหาร: เคมีบำบัดจะยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์เยื่อบุทางเดินอาหารตั้งแต่ช่องปาก หลอดอาหาร กระเพาะ ลำไส้เล็ก และลำไส้ใหญ่ เนื่องจากเยื่อบุเหล่านี้ทำหน้าที่สร้างเมือกเพื่อให้เกิดความชุ่มชื้นภายในอวัยวะเหล่านี้เมื่อมีการลำเลียงอาหารและช่วยในการหลั่งน้ำย่อย ดังนั้นเมื่อเซลล์เยื่อบุทางเดินอาหารถูกทำลายลง  อาจทำให้เกิดแผลและอาหารระคายเคืองในทางเดินอาหาร รวมถึงการแปรปรวนของระบบขับถ่ายเช่นท้องผูก ท้องเสีย เป็นต้น โดยอาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียนเนื่องจากยาจะออกฤทธิ์กับสมองในส่วนที่ควบคุมการบีบรัดตัวของกระเพาะอาหาร ซึ่งหากผู้ป่วยมีอาการคลื่นไส้อาเจียนอย่างรุนแรง ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับยาบรรเทาอาการดังกล่าวได้

4. ระบบสืบพันธุ์: การแบ่งตัวของเซลล์สืบพันธุ์จะถูกขัดขวางทำให้เกิดอาการเป็นหมันชั่วคราวในเพศชาย และประจำเดือนไม่ปกติในเพศหญิง

3. รังสีรักษา

รังสีรักษา บางครั้งเรียกว่า “ ฉายรังสี หรือ “ ฉายแสง หมายถึงการใช้รังสีพลังงานสูงเข้าไปทำลายเซลล์มะเร็งโดยตรง เช่นรังสีเอ็กซ์ ( x-ray ) และรังสีแกมม่า ( gamma ray ) ทั้งนี้มีความเป็นไปได้ว่าเซลล์ปกติที่อยู่ข้างเคียงอาจจะได้รับรังสีไปด้วย อย่างไรก็ตามผลกระทบมักไม่รุนแรงนัก เนื่องจากแพทย์สามารถกำหนดตำแหน่งให้รังสีตกลงบนเซลล์มะเร็งได้อย่างแม่นยำ นอกจากนี้เซลล์ปกติมีความสามารถในการซ่อมแซมตัวเองได้ดีกว่าเซลล์มะเร็ง จึงสามารถ กลับมาสู่สภาพปกติได้ในเวลาไม่นาน การฉายรังสีจะทำครั้งละสั้นๆ เพียงครั้งละ 5-15 นาที แต่ต้องทำอย่างต่อเนื่องเช่นทำทุกวันจนกว่าจะครบ 20-40 ครั้ง จึงควรเลือกที่พักอาศัยซึ่งสะดวกต่อการเดินทางไปโรงพยาบาลระหว่างที่ทำการรักษา เนื่องจากโดยมากเป็นลักษณะการรักษาแบบผู้ป่วยนอก ( Out Patient Department หรือ OPD ) ซึ่งผู้ป่วยไม่ต้องนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล และต้องเดินทางไปกลับทุกวัน

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

“What Is Cancer?”. National Cancer Institute.  17 August 2009.

National Cancer Institute (Dec 2012). “Targeted Cancer Therapies”. www.cancer.gov.  9 March 2014.

Loomis, D; Grosse, Y; Bianchini, F; Straif, K (2016) . “Body Fatness and Cancer — Viewpoint of the IARC Working Group”. N Engl J Med. 375:794-798. doi:10.1056/NEJMsr1606602. 

การดูแลผู้ป่วยมะเร็ง ( Cancer Care )

การดูแลผู้ป่วยมะเร็ง (Cancer Care)
ผู้ป่วยมะเร็งต้องได้รับการดูแลทั้งร่างกายและจิตใจ

การดูแลผู้ป่วยมะเร็ง

สำหรับผู้ป่วยที่เป็นมะเร็ง นอกจากการรักษาที่ดีแล้ว อีกสิ่งที่มีความสำคัญไม่แพ้กันคือ การดูแลผู้ป่วยมะเร็ง โดยผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งนั้น ต้องมีการดูแลอย่างใกล้ชิดเป็นพิเศษ และผู้ป่วยโรคมะเร็งนั้นยังมีขั้นตอนการดูแลที่แตกต่างจากผู้ป่วยที่เป็นโรคอื่นๆ อีกด้วย ดังต่อไปนี้

การดูแลผู้ป่วยมะเร็งเพื่อประคับประคอง ( Palliative Care for Cancer )

เป็นวิธีการที่ใช้สำหรับดูแลผู้ป่วยมะเร็ง การดูแลป่วยวิธีนี้ ไม่ได้เน้นที่จะให้ผู้ป่วยหายขาดจากโรคมะเร็ง แต่จะเน้นในเรื่องการดูแลทางสภาพจิตใจ ให้คลายความทุกข์หรือลดความเจ็บปวดทรมานทางร่างกายต่างๆจากโรคมะเร็ง รวมถึงการพัฒนาให้ผู้ป่วยมีคุณภาพของชีวิตให้ดียิ่งขึ้น เช่น ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย หรือ มีอาการที่หนักมากจนไม่มีทางรักษาให้หายแล้ว  แต่ก็สามารถนำไปใช้กับผู้ป่วยเป็นมะเร็งได้ในทุกระดับอาการเหมือนกัน  ตัวอย่างการดูแลวิธีนี้ เช่น การให้ยาบรรเทาอาการคลื่นไส้หลังจากการให้เคมีบำบัด การช่วยให้บรรเทาอาการเจ็บปวดทางร่างกาย การพูดคุยหรือให้กำลังใจกับผู้ป่วยรวมถึงญาติๆ เป็นต้น

การดูแลผู้ป่วยมะเร็งเพื่อรักษาให้หายขาด ( Curative Care for Cancer )

การดูแลผู้ป่วยมะเร็ง วิธีนี้คือจะเน้นหรือมีจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยรักษาให้อาการของมะเร็งหายขาด ด้วยวิธีการรักษาต่างๆ เช่น การให้เคมีบำบัด การผ่าตัด  การใช้ฮอร์โมนบำบัด เป็นต้น ซึ่งวิธีนี้จะใช้วิธีควบคุมไม่ให้โรคมะเร็งกระจายไปส่วนอื่นอีก ซึ่งต่างจากการดูแลแบบประคับประคอง ที่จะทำแค่การควบคุมอาการของโรคเท่านั้น

ซึ่งรูปแบบในการดูแลและรักษาผู้ป่วยนั้น จะเริ่มต้นจากการดูแลและรักษาให้หายขาดก่อนเสมอแต่หากอาการของผู้ป่วยไม่ดีขึ้นเลย และยังคงมีอาการทรุดลงไปเรื่อยๆ จนในที่สุดไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้  แพทย์ผู้รักษาจะต้องทำการแจ้งคนไข้ หรือญาติพี่น้องของคนไข้ เพื่อให้รับทราบและจะได้วางแผนการดูแลผู้ป่วยต่อไป โดยจะปรับเปลี่ยนจากการดูแลให้หายขาดมาเป็น การดูแลผู้ป่วยมะเร็ง แบบประคับประคองแทน  ตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งตับ ในช่วงแรกจะให้เคมีบำบัด เพื่อรักษาอาการของมะเร็งให้หายขาด แต่เมื่ออาการทรุดลงจนเป็นมะเร็งระยะสุดท้าย ก็จะเปลี่ยนวัตถุประสงค์ในการให้เคมีบำบัด จากรักษาให้หายเหลือแค่ ยับยั้งการโตของมะเร็ง เพื่อให้คนไข้อยู่ได้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้

เนื่องจากการให้คีโม จะไปทำลายหรือยับยั้งการเจริญเติมโตของเซลล์มะเร็งในร่างกาย ซึ่งเป็นการรักษามะเร็งวิธีหนึ่ง แต่ทั้งนี้ผู้ที่ได้รับคีโม ก็จะมีผลกระทบต่อเซลล์ปกติของร่างกายตามไปด้วย

โดยอาการข้างเคียงที่จะพบหลังจากให้คีโม คือ  ผมร่วง ภูมิคุ้มกันต่ำลง คลื่นไส้อาเจียน เป็นต้น ดังนั้นผู้ที่ทำหน้าที่ดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ต้องให้คีโมนั้น การดูแลผู้ป่วยมะเร็งในเรื่องอาหารการกินให้กับผู้ป่วย ต้องเลือกอาหารที่ดีและมีประโยชน์ เน้นอาหารที่มีความสะอาด ปรุงให้สุก และหลีกเลี่ยงอาหารหมักดองหรือใช้ดินประสิวในการถนอมอาหาร เช่น ไส้กรอก กุนเชียง หมูยอ ร่วมไปถึง เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่างๆ นอกจากนี้ยังควรเลี่ยงอาหารที่มีปริมาณน้ำตาลสูงๆ  ควรหาเวลาว่างไปออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และที่สำคัญต้องมีสุขภาพจิตที่ดี ไม่เครียดด้วย

การดูแลผู้ป่วยมะเร็ง หลังได้รับคีโมแล้ว ผู้ป่วยบางคนอาจจะมีอาการแพ้ยา โดยอาการแพ้ยาโดยเฉพาะสภาวะคลื่นไส้อาเจียน สามารถแบ่งได้ 2 รูปแบบคือ การแพ้ยาแบบเฉียบพลัน ( Acute Chemotherapy-Induced Nausea ) ที่เกิดขึ้นภายใน 1-8 ชั่วโมงแรกหลังจากให้ยา และจะหายไปเองภายใน 24 ชั่วโมง และแบบไม่เฉียบพลัน ( Delayed Chemotherapy-Induced Nausea ) ที่มีอาการคลื่นไส้หลังจากวันที่ให้ยาและเป็นไปอย่างต่อเนื่องไปอีก 5-7 วัน  โดยหลังจากยุติการให้คีโมแล้ว ร่างกายของผู้ป่วยจะค่อยๆกลับมาแข็งแรงดังเดิม ผมที่เคยร่วงจะค่อยๆงอกกลับมา อาการอ่อนเพลีย อาเจียน ต่างๆก็จะค่อยๆหายไปเอง ในช่วงหลัง 1-3 เดือนจากการรักษาเป็นช่วงเวลาที่สำคัญของในการฟื้นฟูสุขภาพของผู้ป่วย จึงควรดูแลด้านโภชนาการ อาหารการกิน การนอนหลับ และการออกกำลังกาย ให้ดีอย่างสม่ำเสมอ

การดูแลผู้ป่วยมะเร็ง ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่เพิ่งถูกผ่าตัดเต้านม ( Mastectomy ) ที่เป็นเนื้อร้ายออกไปนั้น สำหรับการดูแลผู้ป่วย ควรให้ผู้ป่วยได้ไปทำกายภาพบำบัด เช่น การแกว่งแขน  ขยับแขนขึ้นลงไปมา เพื่อป้องกันอาการแขนบวม  และรวมถึงการบีบนวดที่บริเวณแขนและรักแร้ เพื่อกระตุ้นการไหลเวียนของน้ำเหลือง และถ้าห่างร่างกายของคนไข้แข็งแรงแล้ว ควรดูแลเรื่องสภาพจิตใจต่อไปกับการที่ต้องสูญเสียอวัยวะบางอย่างไป จากที่เคยมี อาจจะให้คนไข้ใส่เต้านมเทียม เพื่อรักษาสมดุลในร่างกาย

นอกจากหมอเก่งๆ หรือยาชั้นดีแล้ว ไม่ว่าผู้ป่วยมะเร็งจะอยู่ในอาการไหน หรือต้องใช้วิธีการใดใน การดูแลผู้ป่วยมะเร็ง เรื่องกำลังใจสำคัญที่สุด ญาติหรือคนใกล้ตัว ต้องมีความเข้าใจในโรคมะเร็งชนิดนั้นๆ ควรดูแลและให้กำลังใจผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด ตลอดเวลาเท่าที่สามารถจะทำได้ หากผู้ป่วยมีกำลังใจที่ดีและเข้มแข็งแล้ว  เขาก็พร้อมที่จะต่อสู้กับโรคร้ายนี้ต่อไปอย่างเต็มที่ทีสุด

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

ศาสตราจารย์ เกียรติคุณ แพทย์หญิงพวงทอง ไกรพิบูลย์. รู้ก่อน เข้าใจกว่า การตรวจรักษามะเร็ง. กรุงเทพฯ:ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2557.

“Symptoms in 400 patients referred to palliative care services: prevalence and patterns”. Palliat Med. 17(4):310-314.

การตรวจ และรักษามะเร็ง

เซลล์มะเร็งที่มีอยู่ในร่างกาย
มะเร็ง เป็นโรคที่มีความน่ากลัวและยังไม่มียาตัวไหนรักษาได้

การตรวจ และการรักษามะเร็ง

ในปัจจุบันโรคมะเร็ง เป็นโรคที่มีความน่ากลัวมากโรคหนึ่ง เนื่องจากเป็นโรคร้ายยังไม่มียาตัวไหนที่สามารถรักษาได้  หากแต่ว่ารู้และทำการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆที่เริ่มเป็น ก็ยังพอมีทางรักษาชีวิตจากโรคนี้ได้ แต่หากไปรู้ตัวว่าเป็นโรคนี้ในช่วงที่อาการหนักไปแล้ว ก็คงยากที่จะทำการรักษาเหมือนกัน การตรวจ และ การรักษามะเร็ง จึงมีความสำคัญมาก โดยการตรวจและวินิจฉัยการรักษามะเร็ง ( Cancer Diagnosis ) แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ

การตรวจคัดกรอง ( Cancer Screening ) คือ การตรวจเพื่อหาว่าร่างกายของเรา มีอาการของโรคมะเร็งชนิดต่างๆ หรือไม่ เช่น การไปตรวจสุขภาพประจำปี  การตรวจเลือดเพื่อหาสารบ่งชี้มะเร็งการตรวจสอบด้วยตนเอง การคลำเพื่อหาก้อนเนื้อที่เต้านม เป็นต้น การตรวจชนิดนี้ ใช้ตรวจสำหรับผู้ที่มีร่างกายแข็งแรงปกติ แต่ต้องการทราบว่าตนเองเป็นโรคมะเร็งหรือไม่ ส่วนการตรวจอีกชนิดคือ

การตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็ง ( Cancer Diagnosis ) คือ การตรวจ เพื่อวิเคราะห์หาสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งและ รวมไปถึงติดตามความผิดปกติของร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อที่จะได้วางแผน การรักษามะเร็ง ที่ถูกต้องเหมาะสมกับผู้ป่วยให้มากที่สุดการตรวจชนิดนี้ใช้กับผู้ที่เป็นโรคมะเร็งแล้ว เน้นหาความผิดปกติและสาเหตุของโรค มีการตรวจที่ซับซ้อนและมีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าแบบการตรวจคัดกรองอยู่พอสมควรโดยทั้งนี้การตรวจทั้ง 2 ชนิดมีประโยชน์มากมาย ช่วยเพิ่มโอกาส ทางรอดให้กับผู้ที่มีความเสี่ยงหรือเป็นโรคมะเร็งได้มากเลยทีเดียว

เรื่องของสุขภาพมีความสำคัญมาก ดังนั้นการตรวจร่างกายเพื่อตรวจสอบว่าตัวเราเอง มีอาการหรือความเสี่ยงของโรคมะเร็งหรือไม่ จึงมีความจำเป็นอย่างมากเพราะถ้าหากรู้ตั้งแต่แรก ก็จะช่วยให้หาทางรักษามะเร็งได้ทันเวลา

รูปแบบของการตรวจหามะเร็ง

การตรวจหาสารบ่งชี้มะเร็ง ( Tumor Marker ) คือ การตรวจ หามะเร็งจาก จากการเจาะเลือดหรือเก็บตัวอย่างสารคัดหลั่งภายในร่างกาย นำไปตรวจสอบในห้องแล็ปด้วยหลักการทางอิมมูโนวิทยาแต่วิธีนี้ต้องใช้ควบคู่ไปกับการตรวจสอบวิธีอื่นด้วยจึงจะได้ผลออกมา

การตรวจโดยอัลตราซาวด์ ( Ultrasound ) คือ การตรวจ หามะเร็งโดยใช้เครื่องมือที่มีคลื่นเสียงความถี่สูงโดยมีข้อดีคือมีความปลอดภัยสูง ไม่มีผลกระทบของการใช้รังสีจะใช้ได้ดีกับอวัยวะที่มีน้ำเป็นส่วนประกอบ เช่น ตับ ไต มดลูกเป็นต้น แต่ไม่เหมาะสมในการนำไปใช้กับอวัยวะที่มีความหนาแน่นสูงอย่างกระดูก และอวัยวะที่มีก๊าซอยู่ภายในอย่างปอด 

การตรวจโดยเอ็กซเรย์ ( X-Ray ) คือ การใช้รังสีเอ๊กซ์ วิ่งผ่านส่วนของร่างกายที่ต้อง การตรวจ และให้ไปแสดงผลบนแผ่นฟิล์ม วิธีนี้เป็นที่นิยมเนื่องจากมีค่าใช้จ่ายที่ถูกและเป็นเครื่องมือหลักที่โรงพยาบาลต้องมี แต่ก็มีข้อจำกัดคือเห็นแค่ 2 มิติแค่ด้านกว้างและยาวจะไม่เห็นด้านลึกของอวัยวะนั้นๆ ที่ต้องการตรวจหามะเร็งและหลายคนก็ยังกังวลในเรื่องของความปลอดภัยในการใช้รังสีเอ็กซ์อยู่ ว่าจะส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาวหรือไม่

การตรวจโดยซีทีสแกน ( CT Scan)  คือ เป็นการเอ็กซเรย์ด้วยคอมพิวเตอร์โดยมีการพัฒนามาจากการเอ็กซเรย์
จึงทำให้สามารถเห็นภาพได้ครบทั้ง 3 มิติ กว้าง ยาว และลึก นิยมใช้ใน การตรวจ หามะเร็งของอวัยวะในช่องท้อง หรือ ตรวจหาหลอดเลือดที่เซลล์มะเร็งขึ้นมาเพื่อแย่งสารอาหารจากเซลล์ปกติ แต่ทั้งนี้มีข้อจำกัดคือ เรื่องของค่าใช้จ่ายที่สูง ในการตรวจแต่ละครั้ง และไม่นิยมใช้กับเด็กหรือสตรีที่ตั้งครรภ์

การตรวจโดยเครื่องเอ็มอาร์ไอ หรือ เครื่องสร้างภาพด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ( MRI หรือ Magnetic Resonance Imaging ) คือ การตรวจ หามะเร็งที่ใช้หลักการสะท้อนคลื่นวิทยุ จากการเหนี่ยวนำของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า การตรวจวิธีนี้จะเห็นภาพได้ทั้ง 3 มิติ และเป็นวิธีการตรวจที่แม่นยำที่สุด สามารถใช้ได้กับอวัยวะเกือบทุกส่วนในร่างกาย มีความปลอดภัยสูง แต่ก็ต้องแรกมากับค่าใช้จ่ายในการตรวจที่สูงมากเช่นกัน

การส่องกล้องตรวจระบบทางเดินอาหาร ( Gastroscopy and Colonoscopy ) คือ การสอดท่อขนาดเล็กเข้าไปในร่างกาย โดยมีกล้องวิดีโอสำหรับบันทึกภาพที่ปลายท่อและมีอุปกรณ์ขนาดเล็กสำหรับตัดเก็บตัวอย่างชิ้นเนื้อไปทำการวิเคราะห์จะนิยมใช้ใน การตรวจ หามะเร็งกระเพาะอาหารและลำไส้ซึ่งจะให้ผลที่แม่นยำมากแต่ก็มีค่าใช้จ่ายที่สูงและต้องอาศัยความเชี่ยวชาญที่สูงมากจากแพทย์ใน การรักษามะเร็ง ด้วยวิธีนี้

การตรวจพยาธิสภาพระดับเนื้อเยื่อของมะเร็ง ( Cancer Histopathology Test ) คือ การตรวจ เนื้อเยื่อเพื่อดูความผิดปกติหรือความเปลี่ยนแปลงต่างๆ โดยจะมีการเก็บตัวอย่างชิ้นเนื้อที่สงสัยว่าจะเป็นมะเร็งมาเพื่อทำการตรวจ ซึ่งต้องทำควบคู่กับการตรวจวิธีอื่นไปด้วยเช่น การเอ็กซเรย์ หรือ การอัลตราซาวด์

วิธีการรักษามะเร็งด้วยวิธีต่างๆ

รูปแบบของ การตรวจ หามะเร็งต่างๆ ข้างต้นก็มีความเหมาะสมในการใช้งาน แตกต่างกันออกไป ซึ่งเมื่อมีวิธีการตรวจสอบแล้ว ก็ต้องมีวิธี การรักษามะเร็ง ด้วยวิธีต่างๆหลากหลายดังต่อไปนี้

การผ่าตัด ( Surgery ) คือ รูปแบบการรักษามะเร็งที่แพทย์ผู้รักษา จะทำการตัดชิ้นเนื้อที่มีส่วนของมะเร็งออกไปให้ได้มากที่สุดโดยจะทำควบคู่กับการให้เคมีบำบัดไปด้วยแต่ในการรักษามะเร็งบางชนิดแพทย์อาจจะต้องตัดอวัยวะชิ้นที่มีโรคมะเร็งออกให้หมด เช่น มะเร็งเต้านม หรือการตัดมดลูกออกสำหรับมะเร็งปากมดลูก

เคมีบำบัด ( Chemotherapy ) หรือเรียกสั้นๆตามที่คนส่วนมารู้จักคือ คีโม นั้นเองวิธีการรักษานี้จะใช้ยาเพื่อไปหยุดยั้งการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็งแต่ผู้ที่ได้รับ คีโม จะมีผลกระทบต่อร่างกาย เช่นภูมิต้านทานลดลง อ่อนเพลียอาเจียน ผมร่วง เป็นต้น แต่ผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นจะหายไปและกลับเป็นปกติเองหลังจากการหยุดรักษาด้วยเคมีบำบัดแล้ว

รังสีรักษา ( Radiotherapy ) คือ การรักษามะเร็ง ด้วยการใช้วิธีฉายรังสีที่มีพลังงานสูง เช่น รังสีเอ็กซ์ (x-Ray) และรังสีแกมม่า ( Gamma Ray ) เข้าไปทำลายเซลล์มะเร็งโดยตรงโดยส่วนมากจะใช้รักษากับอวัยวะที่รังสีเข้าถึงได้ง่าน เช่น มะเร็งผิวหนัง มะเร็งช่องปาก มะเร็งเต้านม เป็นต้น

ฮอร์โมนบำบัด ( Hormonal Therapy ) วิธีนี้จะใช้ได้ดีกับการรักษามะเร็งของอวัยวะที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการผลิตฮอร์โมนเพศ เช่น มะเร็งเต้านมในเพศหญิง หรือ มะเร็งต่อมลูกหมากในเพศชาย โดย แพทย์จะใช้การควบคุมระดับฮอร์โมนด้วยยาเพื่อยับยั้งเซลล์มะเร็งนำฮอร์โมนเหล่านี้ไปใช้จึงส่งผลให้เกิดยับยั้งการเติบโตของมะเร็งไปด้วยนั้นเอง

การรักษาแบบเจาะจงมุ่งเป้า ( Targeted Therapy ) จะรักษามะเร็งด้วยการนำยาเฉพาะด้าน ที่จะไปส่งผลออกฤทธิ์ต่อเซลล์มะเร็ง โดยยาตัวนี้จะยับยั้งการส่งสัญญาณเพื่อกระตุ้นการเติบโตของเซลล์มะเร็งในร่างกายแต่วิธีนี้มีค่าใช้จ่ายที่สูงและอาจจะใช้ไม่ได้กับผู้ป่วยทุกคน

ภูมิคุ้มกันบำบัด ( Immunotherapy ) คือ วิธี การรักษามะเร็ง โดยให้ไปกระตุ้นภูมิคุ้มกันทำลายเซลล์มะเร็งภูมิคุ้มกันบำบัดเป็นวิธีการรักษาที่ทันสมัยและกำลังอยู่ในช่วงการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

การใช้ความร้อนเฉพาะที่ ( Hyperthermia Therapy ) คือ การใช้ความร้อน รักษามะเร็ง โดยการะทำร่วมกับการให้เคมีบำบัดหรือใช้รังสี เพื่อให้การทำงานของเคมีหรือรังสี เป็นไปอย่างเต็มประสิทธิภาพมากขึ้นวิธีนี้ มีความปลอดภัยสูง

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

ศาสตราจารย์ เกียรติคุณ แพทย์หญิงพวงทอง ไกรพิบูลย์. รู้ก่อน เข้าใจกว่า การตรวจรักษามะเร็ง. กรุงเทพฯ:ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2557.

Loomis, D; Grosse, Y; Bianchini, F; Straif, K (2016) . “Body Fatness and Cancer — Viewpoint of the IARC Working Group”. N Engl J Med. 375:794-798. doi:10.1056/NEJMsr1606602. 

การติดตามประเมินผลการควบคุมเบาหวาน

การติดตามประเมินผลการควบคุมเบาหวาน
การหาดรรชนีสามารถบอกค่าของน้ำตาลในเลือดและช่วยให้แพทย์ประเมินผลการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้

ระดับน้ำตาลในเลือด

เป็นที่ยอมรับกันแล้วว่าการเกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ ของโรคเบาหวานในระยะยาว เช่น เลือดออกในตาทำให้ตามัว หรือตาบอด เท้าชาขาดความรู้สึก ขาดสมรรถภาพทางเพศเส้นเลือดที่ไตตีบทำให้ไตเสื่อม เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ตีบ เช่น สมอง หัวใจ หรือที่ขา ทั้งหมดนี้มีสาเหตุมาจาการที่มี ระดับน้ำตาลในเลือด สูงกว่าปกติเป็นเวลานาน การ ป้องกันโรคแทรกซ้อนเหล่านี้จะมุ่งไปที่การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดใกล้เคียงคนปกติมากที่สุด แต่การจะประเมินผลการควบคุมเบาหวานว่าดีหรือไม่นั้นจำเป็นต้องมีข้อมูลของระดับน้ำตาลในเลือดตลอดเวลาหรืออย่างน้อยก็ถี่มากๆ จึงจะได้ค่าเฉลี่ยของระดับน้ำตาลที่ถูกต้อง ระดับน้ำตาลในเลือดเพียงค่าเดียวเป็นดรรชนีที่ไม่สามารถจะบอกได้ว่ามีการควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีเพียงใด ทั้งนี้ เพราะระดับน้ำตาลในเลือดขึ้นสูงและลงต่ำอย่างรวดเร็วตลอดทั้งวันตามมื้ออาหารที่รับประทาน

การวัดระดับน้ำตาลในเลือด

ในคนปกติระดับน้ำตาลจะสูงขึ้นไม่มากหลังการรับประทานอาหารแต่ละมื้อและจะลดลงสู่ระดับปกติอย่างรวมเร็วภายใน 2 ชั่วโมง แต่คนที่เป็นโรคเบาหวานเมื่อรับประทานอาหารประเภทเดียวกันระดับน้ำตาลจะสูงขึ้นมากและลดลงสู่ระดับปกติค่อนข้างช้า ความสูงของระดับน้ำตาลหลังอาหารขึ้นอยู่กับประเภทของอาหารที่รับประทาน ถ้ารับประทานอาหารที่มีน้ำตาลมาก เช่น น้ำหวาน ระดับน้ำตาลก็สูงขึ้นมาก ถ้ารับประทานอาหารที่มีกากมาก เช่น ผัก ผลไม้ที่ไม่หวาน ระดับน้ำตาลในเลือดก็เพิ่มขึ้นน้อยกว่านอกจากนั้น การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำตาลในเลือดยังขึ้นกับความรุนแรงของโรคเบาหวานเอง ถ้าเป็นมากน้ำตาลก็ยิ่งเพิ่มขึ้นสูงมากหลังรับประทานอาหาร ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องหาดรรชนีที่สามารถบอกค่าของน้ำตาลในเลือดเพื่อช่วยให้แพทย์ประเมินผลการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้

แต่เดิมการวัดระดับน้ำตาลในเลือดโดยตรงที่รู้จักกันว่า Fasting Blood Sugar ( FBS ) เป็นวิธีเดียวที่ใช้กัน โดยมักจะเจาะเลือดก่อนรับประทานอาหารเช้า ( หลังเที่ยงคืนแล้วไม่ให้ผู้ป่วยรับประทานอะไรเลยนอกจากน้ำ ) พบว่าระดับเอฟบีเอสขึ้นลงเร็วตามอาหารที่เพิ่มรับประทานเข้าไป ทำให้เปรียบเทียบผลการควบคุมเบาหวานได้ยาก อาทิ ค่าเอฟบีเอสของวันนี้หลังจากที่ผู้ป่วยเพิ่งไปงานเลี้ยงเมื่อคืนที่ผ่านมาจะสูงกว่าค่าเอฟบีเอสหลังการรับประทานอาหารตามปกติ ทั้งที่จริงๆ แล้วอาการโรคเบาหวานไม่ได้กำเริบแต่อย่างใด หากแพทย์ใช้ระดับเอฟบีเอสของวันนี้เป็นเครื่องประเมินผลการควบคุมน้ำตาลของผู้ป่วยก็ไม่ถูกต้อง จึงมีความจำเป็นต้องหาวิธีวัดน้ำตาลวิธีอื่นที่จะให้ผลแน่นอน แม่นยำ และสัมพันธ์กับระดับน้ำตาลในเลือดมากกว่า

เมื่อมีการคั่งของน้ำตาลในเลือดนอกจากน้ำตาลจะไปจับตาลสารโปรตีนของเนื้อเยื่อต่างๆ ของร่างกายแล้ว มันยังไปจับกับโปรตีนที่ลอยอยู่ในกระแสเลือด โดยจับแบบไม่สามารถหลุดออกมาเป็นน้ำตาลโมเลกุลอิสระได้อีก ตราบจนกระทั้งโปรตีนเหล่านั้นสูญสลายไปเองและมีการสร้างขึ้นใหม่ทดแทน การรับประทานอาหารในมื้อก่อนทำการตรวจเลือดจะไม่มีส่วนทำให้เปอร์เซ็นต์ของน้ำตาลที่จับเกาะกับโปรตีนดังกล่าวจึงสะท้อนให้เห็นถึงผลการปฏิบัติตนในการควบคุมน้ำตาลของผู้ป่วยอย่างแท้จริงโปรตีนในเลือดที่นิยมวัดเปอร์เซ็นต์น้ำตาลที่จับอยู่ด้วยคือฮีโมโกลบินที่มีน้ำตาลไปเกาะอยู่ด้วยว่าไกลโคซิเลตฮีโมโกลบิน Glycosylated Hemoglobin

ไกลโคซิเลตฮีโมโกลบิน เกิดจากการจับกันของน้ำตาลที่มีความเข้มข้นสูงกับฮีโมโกลบิน รู้จักกันในชื่อว่า ฮีโมโกลบินเอวัน (HbA1) ที่น่าสนใจคือระดับฮีโมโกลบินเอวันมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับการกำเริบของโรคเบาหวาน จำนวนน้ำตาลที่ไปเกาะกับฮีโมโกลบินจะเป็นสัดส่วนโดยตรงกับระดับน้ำตาลในเลือดและเป็นสัดส่วนกับระยะเวลาที่น้ำตาลในเลือดสูงด้วย ปริมาณของฮีโมโกลบินเอวันจึงสะท้อนให้เห็นทั้งระดับน้ำตาลและเวลาที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงด้วย ผู้ป่วยโรคเบาหวานบางคนเมื่อตรวจมีค่าระดับน้ำตาลเอฟบีเอสเป็นที่น่าพอใจ แต่ระดับฮีโมโกลบินเอวันสูงมากแสดงให้เห็นว่าผู้ป่วยรายนั้นไม่ได้ระวังเรื่องอาหารอย่างสม่ำเสมอ เพิ่งจะมาระวังเฉพาะเวลา 2-3 วัน ก่อนมาเจาะเลือดตรวจเท่านั้น ในทางตรงกันข้าม ผู้ป่วยบางคนตรวจพบว่าเอฟบีเอสสูง แต่ค่าฮีโมโกลบินเอวันอยู่ในเกณฑ์พอดี แสดงว่าผู้ป่วยรายนั้นควบคุมอาหารดีมาตลอด แต่บังเอิญเพิ่งมารับประทานมากในระยะวันสองวันก่อนมาตรวจ ดังนั้นระดับฮีโมโกลบินเอวันจะเป็นดรรชนีบ่งชี้ได้ว่าผู้ป่วยสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีเพียงใด

ฮีโมโกลบินเอวันมีหลายชนิดแล้วแต่ชนิดของน้ำตาลที่ไปเกาะแต่ทุกชนิดมีส่วนสัมพันธ์ใกล้ชิดกับการเป็นโรคเบาหวานทั้งสิ้น จะเลือกวัดชนิดใดก็ได้หรือวัดค่ารวมของฮีโมโกลบินเอวันทั้งหมดก็ได้ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับห้องปฏิบัติการที่ตรวจว่าจะเลือกใช้วิธีใดในการวัดปริมาณ เพราะการใช้วิธีต่างกันจะวัดชนิดของฮีโมโกลบินเอวันที่ได้ต่างกันไปด้วย แต่สิ่งสำคัญคือหากใช้วิธีใดกับผู้ป่วยรายนั้นๆ แล้วจะต้องใช้วิธีนั้นตลอดไปจึงจะสามารถเปรียบเทียบผลของการควบคุมเบาหวานได้ ที่นิยมวัดกันในปัจจุบันคือการวัดค่ารวมของฮีโมโกลบินเอวันทั้งหมดหรือวันเฉพาะค่าฮีโมโกลบินเอวันที่มีน้ำตาลกลูโคสมาจับ หรือที่เรียกว่า ฮีโมโกลบินเอวันซี ( HbA1c )

ในคนปกติที่ไม่ได้เป็นโรคเบาหวาน ระดับฮีโมโกลบินเอวันซีจะมีค่าประมาณ 4-6% ของฮีโมโกลบินเอวันทั้งหมด และจากผลงานวิจัยในปัจจุบันแสดงให้เห็นว่าถ้าหากคนที่เป็นโรคเบาหวานควบคุมระดับฮีโมโกลบินเอวันซีใกล้เคียงคนปกติได้มากที่สุดจะสามารถชะลอและลดความรุนแรงของการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ จึงได้มีการปรับเปลี่ยนค่าการแปลผลใหม่ตามตารางต่อไปนี้ ค่าฮีโมโกลบินเอวันซี  ( % ) การแปลผลน้อยกว่า 7% ควบคุมเบาหวานได้ดี 7-8% ควบคุมเบาหวานพอใช้ได้มากกว่า 8% ยังคุมเบาหวานได้ไม่ดีเท่าที่ควร

การวัดระดับฮีโมโกลบินเอวันเป็นการบอกถึงการควบคุมน้ำตาลในระยะ 8 สัปดาห์ ค่าของฮีโมโกลบินเอวันจะเปลี่ยนไปก็ต่อเมื่อฮีโมโกลบินได้เสื่อมสลายไปตามอายุของเม็ดเลือดแล้ว

ถ้าจะเปรียบเทียบระหว่างค่าเอฟบีเอสและฮีโมโกลบินเอวันก็เหมือนกับการวัดความหวานของตัวกล้วยเชื่อมเองและความหวานของน้ำเชื่อม น้ำเชื่อมของกล้วยเชื่อมจะเปลี่ยนความหวานได้รวดเร็วเพียงการเติมน้ำเปล่าหรือน้ำหวานลงไป ซึ่งเปรียบได้กับค่าระดับน้ำตาลในเลือด เอฟบีเอสซึ่งเปลี่ยนแปลงรวดเร็วหลังรับประทานอาหารหรืองดอาหาร ในขณะที่ความหวานของตัวกล้วยเชื่อมจะเปลี่ยนแปลงช้าๆ ขึ้นอยู่กับว่าแช่อยู่ในน้ำเชื่อมหวานจัดเพียงใดและแช่อยู่นานเท่าใด การวัดความหวานของตัวกล้วยเชื่อมเทียบได้กับการวัดค่าฮีโมโกลบินเอวัน ซึ่งจะบ่งความหวานโดยเฉลี่ยของตัวน้ำเชื่อมได้ดีกว่าการวัดความหวานของตัวน้ำเชื่อมเอง

การประเมินผลการควบคุมโรคเบาหวานด้วยตนเอง

ในปัจจุบัน สำหรับผู้ป่วยที่ต้องการติดตามระดับน้ำตาลอย่างใกล้ชิดสามารถตรวจวัดระดับน้ำตาลด้วยตนเองได้ที่บ้าน ทั้งนี้ เพราะความเจริญก้าวหน้าทางด้านอุปกรณ์การแพทย์เอื้ออำนวย ผู้ป่วยจะสามารถตรวจระดับน้ำตาลในปัสสาวะหรือในเลือดซึ่งแพทย์หรือพยาบาลผู้ดูแลจะแนะนำวิธีเหมาะสมสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย ทั้งนี้ เพราะแต่ละวิธีมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน ผู้ป่วยจึงควรทำความเข้าใจหลักการพื้นฐานเสียก่อน สำหรับวิธีการใช้อุปกรณ์แต่ละชนิดนั้นมีรายละเอียดในการทำงานที่แตกต่างกันและมีให้เลือกหลากหลายจึงมิได้ชี้แจงไว้ ณ ที่นี้ด้วย

ตามที่เคยกล่าวมาแล้วในตอนต้นว่าระดับน้ำตาลในเลือดในแต่ละวันมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ในคนปกติก่อนรับประทานอาหารเช้าหรือหลังงดอาหาร 8 ชั่วโมงระดับน้ำตาลในเลือดจะมีค่าน้อยกว่า 100 มิลลิกรัม/เดซิลิตร และหลังรับประทานอาหารระดับน้ำตาลในเลือดจะอยู่ในช่วงประมาณ 140 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ดังนั้นจึงใช้เกณฑ์ปกติดังกล่าวเป็นการตรวจระดับน้ำตาลในเลือด

การตรวจระดับน้ำตาลในปัสสาวะ

ผลที่ได้ค่อนข้างแม่นยำบอกระดับน้ำตาลในเลือดโดยตรง

1.ผลที่ได้อาจไม่สัมพันธ์กับระดับน้ำตาลในเลือดในขณะนั้น หากปัสสาวะที่นำมาใช้ตรวจตกค้างอยู่ในกระเพาะปัสสาวะนาน เป็นการตรวจระดับน้ำตาลที่ไตขับออกมาทางปัสสาวะ เป็นการบอกระดับน้ำตาลในเลือดทางอ้อมผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานมานาน ไตอาจจะขับน้ำตาลออกทางปัสสาวะได้น้อย แม้ว่าระดับน้ำตาลในเลือดขณะนั้นจะค่อนข้างสูงก็ตาม

2.บอกระดับน้ำตาลทั้งระดับสูงและระดับต่ำ

3.ระดับน้ำตาลที่ต่ำเกินไปจะไม่สามารถบอกค่าได้ เพราะไตไม่ขับออกทางปัสสาวะ

4.อุปกรณ์ที่ใช้ราคาแพงอาจเจ็บเล็กน้อยจากการเจาะเลือดปลายนิ้ว

5.วิธีใช้ง่ายกว่า ราคาถูก และไม่เจ็บมาตรฐาน โดยผู้ป่วยโรคเบาหวานควรรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้ใกล้เคียงปกติทั้งก่อนและหลังอาหาร เพื่อการควบคุมเบาหวานที่ดีอันจะเป็นการลดอันตรายที่จะเกิดจากภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน

สาเหตุที่ทำให้การตรวจระดับน้ำตาลในปัสสาวะได้ผลไม่ดีเท่าที่ควรเนื่องจากไตของผู้ป่วยโรคเบาหวานบางรายอาจมีความสามารถในการกั้นระดับน้ำตาลได้สูงกว่าปกติ ในคนปกติไตจะไม่กรองน้ำตาลออกมากับปัสสาวะหากน้ำตาลในเลือดไม่ถึง 180-200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร เพราะฉะนั้นถ้าตรวจพบระดับน้ำตาลในปัสสาวะแสดงว่าระดับน้ำตาลในเลือดต้องสูงกว่า 180-200 มิลลิกรัม/เดซิลิตรแล้ว หากไตมีความสามารถกั้นน้ำตาลได้สูงขึ้นย่อมหมายความว่าแม้ระดับน้ำตาลจะสูงกว่า 180-200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร แล้วก็ยังคงตรวจไม่พบน้ำตาลในปัสสาวะ ดังนั้นข้อที่ควรเข้าใจคือ ผู้ที่ตรวจไม่พบระดับน้ำตาลในปัสสาวะมิได้หมายความว่าไม่เป็นโรคเบาหวาน เพียงบอกให้ทราบว่าระดับน้ำตาลในเลือดสูงไม่เกินความสามารถของไตที่จะกั้นเอาไว้เท่านั้น ผู้ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดตั้งแต่ 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ซึ่งถือว่าเป็นโรคเบาหวาน แต่ถ้าไม่เกิน 180-200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ไตก็จะไม่ขับน้ำตาลออกมาจึงตรวจไม่พบน้ำตาลในปัสสาวะ

ข้อจำกัดของการตรวจน้ำตาลในปัสสาวะให้ผลลบไม่สามารถจะบอกได้ว่าระดับน้ำตาลในเลือดลดลงต่ำมากเท่าใดและต่ำเกินไปหรือไม่ เพราะระดับน้ำตาลในเลือดที่ต่ำกว่า 180 มิลลิกรัม/เดซิลิตร จะให้ผลลบหมด ผู้ป่วยโรคเบาหวานจึงไม่ทราบว่าน้ำตาลในเลือดของตนเองต่ำเกินไปจนอยู่ในระดับที่ควรจะลดยารับประทานหรือยาฉีดอินซูลินลง หรือต้องปรับการรับประทานอาหารหรือไม่ ซึ่งเป็นข้อมูลที่ผู้ป่วยควรจะทราบก่อนที่ระดับน้ำตาลในเลือดจะลดลงต่ำจนเกิดอาการขึ้น

ดังนั้นหากผู้ป่วยโรคเบาหวานจะเลือกใช้วิธีประเมินการควบคุมโรคโดยการตรวจระดับน้ำตาลในปัสสาวะด้วยตนเองควรพยายามควบคุมจนตรวจไม่พบน้ำตาลในปัสสาวะเลย ไม่ว่าจะเป็นในช่วงเวลาก่อนหรือหลังอาหารจึงจะถือว่าการควบคุมเบาหวานได้ดีพอสมควร

การเก็บปัสสาวะควรจะใช้ปัสสาวะใหม่ๆ ไม่ควรใช้ปัสสาวะที่ตกค้างอยู่ในกระเพาะปัสสาวะนานเพราะจะทำให้ผลที่ได้คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ดังนั้นจึงควรปัสสาวะทิ้งไปก่อนแล้วดื่มน้ำกระตุ้นให้มีน้ำปัสสาวะจึงใช้ปัสสาวะครั้งที่สองนี้มาตรวจ จะให้ผลใกล้เคียงความเป็นจริงที่สุด

ประโยชน์ของการตรวจระดับน้ำตาลในปัสสาวะหรือในเลือดด้วยตนเองคือช่วยให้ผู้ป่วยสามารถทราบสถานการณ์การควบคุมเบาหวานของตนเองในแต่ละวันได้ และหากพบว่าระดับน้ำตาลยังสูงเกินไปจะช่วยกระตุ้นให้ผู้ป่วยมีความระมัดระวังในการควบคุมอาหารมากขึ้น ขณะเดียวกันผู้ป่วยมีความระมัดระวังในการควบคุมอาหารมากขึ้น ขณะเดียวกันให้ผู้ป่วยมีความระมัดระวังในการควบคุมอาหารมากขึ้น ขณะเดียวกันผู้ป่วยจะมีโอกาสเรียนรูปไปในตัวด้วยว่าอาหารประเภทใดควรรับประทานประเภทใดไม่ควรรับประทาน และควรรับประทานอาหารชนิดใดมากน้อยเท่าใด เพราะสามารถทราบถึงระดับน้ำตาลในเลือดที่เปลี่ยนแปลงไปหลังการรับประทานอาหารแต่ละมื้อได้ทันท่วงที ลักษณะการเปลี่ยนแปลงของน้ำตาลในเลือดในแต่ละวัยจะเป็นข้อมูลที่แพทย์ใช้ในการกำหนดขนาดยาหรืออินซูลินที่เหมาะสมได้ นอกจากนี้ การประเมินระดับน้ำตาลในเลือดหรือปัสสาวะด้วยตนเองยังช่วยให้ผู้ป่วยปรับขนาดยาหรืออินซูลินได้เหมาะสม ( ภายใต้คำแนะนำของแพทย์ ) เมื่อเกิดความเจ็บป่วยและรับประทานอาหารไม่ได้ตามปกติ

การตรวจระดับคีโทนในปัสสาวะ

ผู้ป่วยโรคเบาหวานประเภทที่ 1 (ชนิดพึ่งอินซูลิน) มีความจำเป็นต้องตรวจระดับคีโทนในปัสสาวะเป็นครั้งคราว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเกิดเจ็บป่วย การเจ็บป่วยทำให้เกิดภาวะต้านอินซูลินทำให้อินซูลินที่เคยได้รับมีไม่พอเพียง ร่างกาย นำน้ำตาลไปใช้ไม่ได้จึงมีการสลายไขมันมาใช้เป็นพลังงานแทน ในกระบวนการสลายไขมันจะได้สารคีโทนซึ่งมีฤทธิ์เป็นกรดหากปล่อยให้มีปริมาณมากจะทำให้เกิดภาวะกรดคั่งในเลือดจากสารคีโทนซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

ผู้ป่วยโรคเบาหวานประเภทที่ 1 จึงควรเรียนรู้การตรวจระดับคีโทนในปัสสาวะ และตรวจทันทีเมื่อมีอาการเจ็บป่วย เช่น มีไข้ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง หรือมีระดับน้ำตาลในเลือดมากกว่า 250 มิลลิกรัม/เดซิลิตร หากตรวจพบสารคีโทนในปัสสาวะควรปรึกษาแพทย์ทันทีเพื่อรับการแก้ไขแต่เนิ่นๆ

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

“Diabetes Programme”. World Health Organization. Archived from the original on 26 April 2014. Retrieved 22 April 2014.

“Pancreas Transplantation”. American Diabetes Association. Archived from the original on 13 April 2014. Retrieved 9 April 2014.

การดูแลผู้ป่วยเบาหวาน

การดูแลสุขภาพกายและใจของผู้ป่วยเบาหวาน
การดูแลสุขภาพกายและใจของผู้ป่วยเบาหวาน

โรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน เป็น ภาวะที่ร่างกายไม่สามารถนำอาหารที่รับประทานเข้าไปแล้วไปใช้ได้อย่างเหมาะสม และเป็นอีกโรคหนึ่งที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ในระยะแรกๆ ผู้ป่วยจะไม่มีอาการเจ็บปวดทรมาน อันเป็นสาเหตุให้บางครั้งผู้ป่วยไม่อยากมาพบแพทย์ตามนัดเพราะไม่มีอาการหรือความไม่สบายกายแต่อย่างใด ดังนั้นในการรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวานจึงต้องมีการอธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจถึงอาการของโรคและความเป็นมา ตลอดจนการรักษาและโรค แทรกซ้อนที่จะตามมาในภายหลังผู้ป่วยโรคเบาหวานที่เป็นมานานและไม่ควบคุมระดับน้ำตาลให้ใกล้เคียงปกติอย่างเสมอจะทำให้เกิดโรคแทรกซ้อน ซึ่งเมื่อโรคแทรกซ้อนทวีความรุนแรงมากขึ้นจะเกินอาการเจ็บปวดและทรมานได้

ผู้ป่วยโรคเบาหวานเมื่อเริ่มรักษาต้องมีการปรับตัว คือ ต้องหมั่นมาพบแพทย์ มีความอดทนและปรับพฤติกรรมในการเลือกรับประทานอาหารไม่ตามใจตนเอง และที่สำคัญยอมรับว่าตนเป็นโรคเบาหวานและต้องให้ความร่วมมือในการรักษาและการปฏิบัติตนอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอตลอดไปโดยผู้ป่วยต้องได้รับทราบว่าแพทย์มีเป้าหมายการรักษาอยู่ที่ การควบคุมระดับน้ำตาลให้ใกล้เคียงคนปกติ ซึ่งมีแผนการรักษาดังนี้

1.การควบคุมอาหาร
2.ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ
3.พบแพทย์อย่างสม่ำเสมอตามนัด เพื่อตรวจร่างกาย ติดตามผลการรักษาและประเมินสภาพของโรค รวมทั้งการรับประทานยาหรือฉีดอินซูลินในปริมาณแพทย์สั่งโดยเคร่งรัด
4.อารมณ์และจิตใจของผู้ป่วยโรคเบาหวาน

ความรู้สึกของผู้ป่วยโรคเบาหวานในระยะแรก คือ กลัว ตกใจ สับสนไม่เชื่อว่าจะรักษาไม่หายจึงเปลี่ยนสถานที่รักษา มีความหวังว่าจะได้พบแพทย์เก่งๆ ที่สามารถรักษาให้หายขาดได้ จนบางครั้งหยุดการรักษาด้วยแผนปัจจุบันหันไปรักษาแผนโบราณ ใช้ยาสมุนไพร หรือวิธีอื่นๆ เหมือนถูกบังคับ ทำให้ควบคุมอาหารได้ไม่นานก็กลับมารับประทานในลักษณะเดิมอีก เนื่องจากไม่มีการเปลี่ยนแปลงของสุขภาพร่างกายหรือมีอาการแทรกซ้อนแสดงให้เห็นทันที

ความรุนแรงและระยะที่เกิดอารมณ์ในผู้ป่วยแต่ละรายจะไม่เหมือนกัน ทั้งนี้ ขึ้นกับพื้นฐานทางสุขภาพจิตของผู้ป่วย กำลังใจ

ผู้ป่วยโรคเบาหวานอาจต้องใช้เวลาสักระยะหนึ่งจึงจะยอมรับความจริงได้ เช่น ได้พบเห็นผู้ที่เป็นโรคเบาหวานและมีโรคแทรกซ้อนที่ประสบความทุกข์ทรมานจึงเกิดความกลัวว่าจะเป็นเช่นนั้น เป็นที่น่าสังเกตว่าเมื่อแพทย์ตรวจพบหรือมีอาการแสดงของโรคแทรกซ้อนเกิดขึ้นแล้ว ผู้ป่วยส่วนมากจะยอมรับและปฏิบัติตามที่แพทย์และพยาบาลแนะนำอย่างเคร่งครัด แต่ก็มักเป็นการสายเกินไป เนื่องจากโรคแทรกซ้อนเหล่านี้รักษาไม่หายขาดและจะทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ

ความรุนแรงและระยะที่เกิดอารมณ์ในผู้ป่วยแต่ละรายจะไม่เหมือนกัน ทั้งนี้ ขึ้นกับพื้นฐานทางสุขภาพจิตของผู้ป่วย กำลังใจ และแรงสนับสนุนที่ได้รับจากสมาชิกในครอบครัว รวมทั้งสิ่งแวดล้อมต่างๆ อารมณ์และความรู้สึกของผู้ป่วยจะแสดงออกมาแตกต่างกันได้หลายรูปแบบดังนี้

รูปแบบที่ 1 ต่อต้าน ผู้ป่วยมักมีอารมณ์หงุดหงิดง่าย รู้สึกรำคาญต่อภาวะและกิจกรรมบำบัดรักษาต่างๆ ที่ทำให้ชีวิตประจำวันของตนเปลี่ยนไปผู้ป่วยอาจไม่ให้ความร่วมมือต่อการรักษาของแพทย์ ไม่ไยดีต่อคำวิงวอนร้องขอหรือแม้กระทั่งการบังคับขู่เข็ญ ญาติพี่น้องและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายจะต้องมีความอดทนต่อพฤติกรรมของผู้ป่วย ค่อยๆอธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจเมื่อระยะเวลาผ่านไปผู้ป่วยอาจจะเปลี่ยนใจให้ความร่วมมือขึ้นมาก็ได้

รูปแบบที่ 2 หลีกหนี ผู้ป่วยที่ไม่สามารถผ่านขั้นตอนของการยอมรับความจริงจะเกิดอาการปฏิเสธและหลีกหนีการเผชิญความจริง ไม่ยอมแม้กระทั่งจะไปพบแพทย์ หรือการเปลี่ยนสถานที่รักษาหลายแห่งโดยมีความเชื่อว่าจะต้องมีแพทย์ที่เก่งและรักษาโรคนี้ให้หายโดยไม่ยอมรับฟังคำอธิยายความเป็นจริงจากใครทั้งสิ้น ลักษณะเช่นนี้ผู้ที่ใกล้ชิดจะต้องพยายามเตือนสติให้ผู้ป่วยได้คิดถึงอนาคต คิดถึงบุคคลหรือสิ่งอื่นๆ ที่เขารักและให้ความสำคัญ อาจทำให้ผู้ป่วยหันมายอมรับความจริงได้มากขึ้น

รูปแบบที่ 3 ปกปิด ผู้ป่วยไม่ยอมรับว่าตนเองเป็นโรคเบาหวานโดยพยายามแสดงให้เห็นว่าไม่มีอาการแสดงของโรค เมื่อใกล้วันที่จะมาพบแพทย์หลอกตนเองโดยรับประทานน้อยลง หลีกเลี่ยงสิ่งต้องห้ามเพื่อให้ระดับน้ำตาลในเลือดในวันที่มาพบแพทย์ไม่สูงหรือเป็นปกติ และจะบอกตนเองว่าหายแล้วไม่ไปพบแพทย์และหยุดยาช่วงระยะเวลาหนึ่ง หากยังสบายดีไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ จะกลับมามีพฤติกรรมเดิมคือ ไม่ควบคุมอาหาร จนกระทั่งเริ่มมีอาการของภาวะแทรกซ้อนจึงกลับไปพบแพทย์อีก ซึ่งอาจจะสายเกินแก้และผู้ป่วยจะเกิดความรู้สึกซึมเศร้า เส้นใจ ผู้ที่ใกล้ชิดและสมาชิกในครอบครัวต้องดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดเพื่อสังเกตพฤติกรรมเหล่านี้

รูปแบบที่ 4 ยอมรับ มักจะเป็นปฏิกิริยาของผู้ป่วยที่มีพื้นฐานทางสุขภาพจิตดี มีครอบครัวอบอุ่น ผู้ป่วยยอมรับความจริง ยินดีให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี มีครอบครัวอบอุ่น ผู้ป่วยยอมรับความจริง ยินดีให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี จะพยายามทุกวิถีทางที่จะบำบัดโรคของตนเองและได้รับการเสริมกำลังใจที่ดีจากผู้ใกล้ชิด ผู้ป่วยสามารถยืนหยัดกับโรคเบาหวานได้เหมือนคนปกติโดยไม่รู้สึกกว่าถูกควบคุมหรืออึดอัดต่อกิจกรรมและพฤติกรรมที่ต้องเปลี่ยนแปลงในระยะต้น ต่อมาสามารถปรับให้เป็นพฤติกรรมที่ต้องกระทำในชีวิตประจำวันได้

อย่างไรก็ดี บุคคลสำคัญที่สุดที่ช่วยให้ผู้ป่วยมีสภาพจิตที่พร้อมจะเผชิญกับโรคเบาหวานได้ดีคือ ตัวผู้ป่วยเอง เพราะหากผู้ป่วยไม่ยอมช่วยเหลือตนเอง ผู้อื่นก็ยากที่จะแทรกเข้ามาช่วยได้ การรู้จักรักตนเองจึงเป็นพื้นฐานที่สำคัญ เพราะหากขาดสิ่งนี้ก็เท่ากับขาดปัจจัยสำคัญทางจิตใจ

การดูแลสุขภาพโดยทั่วไปของผู้ป่วยโรคเบาหวาน

การดูแลสุขภาพร่างกายเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานเนื่องจากผู้ป่วยมีภูมิต้านทานโรคต่ำกว่าปกติจึงมีโอกาสติดเชื้อต่างๆ ได้ง่าย เช่น เกินการอักเสบของผิวหนัง ช่องปาก และเท้า เป็นต้น ถ้าควบคุมเบาหวานเหล่านี้เกิดขึ้นการควบคุมโรคจะยิ่งเลวลง

ดังนั้นเพื่อป้องกันการเกิดปัญหาดังกล่าวผู้ป่วยโรคเบาหวานจึงควรปฏิบัติดังนี้

1.นอนหลับให้เพียงพอ อย่างน้อยวันละ 7-8 ชั่วโมง
2.หลีกเลี่ยงความเครียดทางอารมณ์ เพราะจะมีผลทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นได้
3.ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจะทำให้ร่างกายสดชื่นและควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีขึ้น โดยเลือกประเภทของการออกกำลังกายให้เหมาะสมกับสภาวะร่างกายของตนเอง ทั้งนี้ ควรปรึกษาแพทย์ร่วมด้วยชั่งน้ำหนักตัวทุกวัน ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานอย่าปล่อยให้อ้วนเพราะจะทำให้การควบคุมเบาหวานยากขึ้น
4.หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และการดื่มเหล้า
5.ควรพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอแม้จะรู้สึกสบายดี เพื่อรับการตรวจสุขภาพและคำแนะนำที่ถูกต้อง ทั้งนี้เนื่องจากโรคแทรกซ้อนส่วนใหญ่เกิดขึ้นก่อนที่ผู้ป่วยจะรู้สึกตัวหรือมีอาการ

ผู้ป่วยโรคเบาหวานกับสุขภาพตา

ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรดูแลสุขภาพตาดังนี้

ควรพบจักษุแพทย์ตรวจสุขภาพตาโดยละเอียดอย่างน้อยปีละครั้งถ้ามีอาการผิดปกติทางตา เช่น ตามัว ควรปรึกษาจักษุแพทย์ทันที

ผู้ป่วยโรคเบาหวานกับสุขภาพฟัน

เพื่อป้องกันการติดเชื้อและอักเสบ ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรให้ความสนใจสุขภาพฟันดังนี้

1.หมั่นรักษาความสะอาดของฟันและช่องปาก แปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ใช้ไหมขัดฟันเพื่อการทำความสะอาดซอกฟันให้ทั่วถึงแต่ควรระมัดระวังไม่ให้โดนเหงือก
2.ควรพบทันตแพทย์ตรวจสุขภาพของฟันและช่องปากทุก 6 เดือน 

ผู้ป่วยโรคเบาหวานกับสุขภาพผิวหนัง

ผิวหนังจัดเป็นปราการชั้นนอกสุดในการป้องกันเชื้อโรค จึงควรมีการดูแลรักษาดังนี้

1.ดูแลรักษาความสะอาดของร่างกายอย่างทั่วถึงโดยเฉพาะตามซอกอันชื้น เช่น ใต้ราวนม รักแร้ และขาหนีบ หลังอาบน้ำต้องเช็ดบริเวณเหล่านี้ไม่ให้อับชื้น มิฉะนั้นจะเกิดเชื้อราได้ง่าย
2.ถ้าผิวหนังแห้ง ควรทาครีมเพื่อให้ผิวชุ่มชื้นอยู่เสมอ
3.ถ้าเหงื่อออกมากทาแป้งฝุ่นบางๆ เพื่อให้รู้สึกสบายขึ้น
4.สวมเสื้อผ้าที่สะอาดและสบาย
5.ถ้ามีอาการอักเสบของผิวหนัง ผื่นคัน ฝีพุพอง ควรปรึกษาแพทย์ทันที

ผู้ป่วยโรคเบาหวานซึ่งมีปลายประสาทรับความรู้สึกเสื่อมลงจะมีระดับของการสูญเสียความรู้สึกแตกต่างกันมาก บางคนอาจจะเหยียบตะปู เดินเตะถูกของแข็งโดยไม่รู้สึกเจ็บ จนถึงบางคนรองเท้าหลุดไปแล้วก็ยังไม่รู้ตัว

ผู้ป่วยโรคเบาหวานกับสุขภาพเท้า

สิ่งสำคัญที่สุดในการดูแลเท้าก็คือการป้องกันไม่ให้เกิดแผล การละเลยต่อสิ่งเล็กๆ น้อยๆ อาจจะทำให้เกิดเป็นปัญหาใหญ่ขึ้นภายหลัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีโรคแทรกซ้อนของทั้งระบบประสาทและหลอดเลือด การตีบตันของหลอดเลือดนั้นถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในหารส่งผลให้แผลหายเร็วหรือช้าทั้งนี้ เนื่องจากหลอดเลือดเป็นเส้นทางซึ่งสารอาหารและยาถูกขนส่งไปยังบริเวณที่เป็นแผลรวมทั้งเป็นเส้นทางกำจัดของเสียจาแผลด้วย อาการที่บ่งบอกว่ามีปัญหาเกิดขึ้นกับหลอดเลือด คือ อาการปวดขาเวลาเดินเมื่อหยุดพักสักครู่ก็จะหาย เป็นแผลแล้วหายช้าผิวหนังบริเวณเท้าและขาแห้งและปราศจากขน เป็นต้น

  • ล้างเท้าทุกวันด้วยสบู่อ่อน และอย่าแช่เท้าไว้ในน้ำนานกว่า 5 นาที
  • เช็ดเท้าเบาๆ ให้แห้งด้วยผ้าที่นุ่ม โดยเฉพาะระหว่างซอกนิ้วเท้าอย่าให้อับชื้น
  • ตับเล็บด้วยความระมัดระวัง โดยตัดขวางเป็นเส้นตรงแล้วใช้ตะไบถูให้เรียบพอดีกับเนื้อ อย่าตัดให้สั้นเกินไป
  • รักษาความชุ่มชื้นของเท้าให้เหมาะสม ถ้าผิวหนังบริเวณเท้ามีลักษณะชื้นง่ายก็ควรใช้แป้งฝุ่นโรย อย่าให้ครีมหรือแป้งจับตัวกันเป็นก้อนเพราะจะทำให้เกิดการหมักหมม เป็นบ่อเกิดของเชื้อโรคได้ง่าย
  • เปลี่ยนถุงเท้าทุกวันและเลือกสวมถุงเท้าที่ซึมซับเหงื่อได้ดี ถุงเท้าที่ทำจากผ้าฝ้ายเหมาะสมกว่าถุงเท้าที่ทำจากใยสังเคราะห์เนื่องจากมีการถ่ายเทอากาศที่ดีกว่าและทำให้เท้าแห้งอยู่เสมอ
  • เลือกรองเท้าที่มีขนาดกระชับเหมาะสมให้ความรู้สึกสบายขณะสวมใส่ รองเท้าควรทำด้วยหนังและไม่ควรเลือกขนาดที่คับเกินไปเพราะจะทำให้การไหลเวียนของเลือดไม่สะดวก ถ้าเท้าชาควรสวมรองเท้าหุ้มส้น การสวมรองเท้าใหม่ควรค่อยๆ ใส่ให้ชิน โดยลองสวมใส่วันละ 1-2 ชั่วโมงก่อน
  • ปกป้องเท้าของท่านอยู่เสมอโดยหลีกเลี่ยงการเดินเท้าเปล่าไม่ว่าจะเป็นในหรือนอกบ้าน
    สำรวจดูเท้าทุกวันว่ามีบาดแผล ตุ่มพอง รอยแดง เชียวช้ำ และรอยแตกหรือไม่ ถ้าก้มลงมองไม่สะดวกควรใช้กระจกส่องดู
  • ก่อนสวมรองเท้าทุกครั้งควรตรวจสอบภายในก่อนว่ามีวัตถุหรือสิ่งแปลกปลอมใดๆ อยู่หรือไม่ เช่น กรวด ทราย ฯลฯ
  • ออกกำลังกายบริเวณขาและเท้าอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยวันละ 15 นาที เพื่อให้การไหลเวียนของเลือดตามขาและเท้าดีขึ้นปรึกษาแพทย์ทันทีเมื่อมีบาดแผล เล็บขบเชื้อราในซอกเท้า มีอาการปวดหรือบวมบริเวณกล้ามเนื้อน่องหรือเท้า

สิ่งที่ผู้ป่วยโรคเบาหวานไม่ควรปฏิบัติ คือ

1.ไม่ควรเดินเท้าเปล่า ควรสวมรองเท้าเสมอแม้แต่อยู่ในบ้านเพราะอาจมีเศษวัสดุหรือของมีคมตกหล่นอยู่ อันเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดแผลได้โดยไม่รู้ตัว
2.ไม่ควรวางกระเป๋าน้ำร้อนบนขาหรือแช่เท้าในน้ำอุ่นโดยเด็ดขาด เพราะผู้ป่วยโรคเบาหวานอาจมีปลายประสาทเสื่อม ผิวหนังรับรู้อุณหภูมิได้ไม่ดี อาจผสมน้ำร้อนจนลวกเท้าพองโดยผู้ป่วยไม่รู้สึกร้อนหรือเจ็บเกิดเป็นแผลเรื้อรังได้
3.ไม่ควรตัดหนังแข็งๆ ตาปลาออกเอง ควรปรึกษาแพทย์เพื่อให้การรักษา
4.ไม่ควรสูบบุหรี่ เพราะการสูบบุหรี่จะทำให้เส้นเลือดอุดตันทำให้การไหลเวียนของเลือดลดลง

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง 

ศาสตราจารย์ นพ. เทพ หิมะทองคำ และคณะบรรณาธิการ ศาสตราจารย์ นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน และรองศาสตราจารย์ ภญ.ธิดา นิงสานนท์. ความรู้เรื่องเบาหวานฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์, 2557.

บุษบา จินดาวิจักษณ์. ยารักษาโรคเบาหวานใช้อย่างไร [เว็บไซต์]. กรุงเทพฯ. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล; 2553.