พวงไข่มุก แก้มือเท้าเคล็ด แก้ท้องร่วง แก้ตัวบวมและช่วยขับเหงื่อ

0
พวงไข่มุก แก้มือเท้าเคล็ด แก้ท้องร่วง แก้ตัวบวมและช่วยขับเหงื่อ
พวงไข่มุก เป็นไม้พุ่มเตี้ย ผลเป็นรูปกลม มีผิวมัน ผลสุกเป็นสีม่วงเข้มเกือบดำ มีกลิ่นหอม
พวงไข่มุก แก้มือเท้าเคล็ด แก้ท้องร่วง แก้ตัวบวมและช่วยขับเหงื่อ
พวงไข่มุก เป็นไม้พุ่มเตี้ย ผลเป็นรูปกลม มีผิวมัน ผลสุกเป็นสีม่วงเข้มเกือบดำ

พวงไข่มุก

พวงไข่มุก (American elder) เป็นต้นที่มีผลแก่รูปทรงกลมสีม่วงเข้มจึงคาดว่าเป็นที่มาของชื่อ “พวงไข่มุก” เป็นต้นที่มีถิ่นกำเนิดจากต่างประเทศ นิยมนำยอดอ่อนและผลสุกมารับประทาน ดอกของต้นพวงไข่มุกจะมีกลิ่นหอมมากในช่วงเช้าและมีความสวยงามเหมาะสำหรับปลูกประดับตามริมน้ำเนื่องจากเป็นต้นที่มักจะขึ้นในที่ชุ่มชื้น ในด้านสรรพคุณทางยานั้นอยู่ในตำรายาพื้นบ้านล้านนา เป็นยาของชาวไทใหญ่และชาวกะเหรี่ยงเชียงใหม่ นอกจากนั้นช่อดอกยังนำมาใช้ในการบูชาพระได้อีกด้วย

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของพวงไข่มุก

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Sambucus canadensis L.
ชื่อสามัญ : มีชื่อสามัญว่า “American elder”
ชื่อท้องถิ่น : จังหวัดแพร่เรียกว่า “อุน อุนฝรั่ง” จังหวัดปราจีนบุรีเรียกว่า “ระป่า” ชาวกะเหรี่ยงเชียงใหม่เรียกว่า “ซิตาโหระ” ชาวกะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอนเรียกว่า “พอตะบุ” คนเมืองเรียกว่า “อูนบ้าน” ไทใหญ่เรียกว่า “หมากอูนบ้าน ไม้ขี้ป้าน” มีชื่ออื่น ๆ ว่า “อูนน้ำ”
ชื่อวงศ์ : วงศ์ ADOXACEAE
ชื่อพ้อง : Sambucus simpsonii Rehder

ลักษณะของพวงไข่มุก

พวงไข่มุก เป็นไม้พุ่มเตี้ยที่มีถิ่นกำเนิดทางทวีปอเมริกาเหนือ มักจะพบตามชายป่าทั่วไปที่มีความชุ่มชื้น
ลำต้น : ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง แตกกิ่งก้านจำนวนมาก มีพุ่มโปร่งและกิ่งแก่กลวง
ใบ : เป็นใบประกอบแบบขนนกออกเรียงตรงข้ามกัน ใบย่อยมีประมาณ 2 – 6 คู่ ลักษณะของใบเป็นรูปขอบขนานแกมรูปใบหอกหรือรูปไข่แกมใบหอก ปลายใบแหลมเป็นติ่ง โคนใบมน ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย
ดอก : ออกดอกเป็นช่อขนาดใหญ่บริเวณปลายกิ่ง ดอกย่อยมีจำนวนมากแต่มีขนาดเล็ก กลีบรองดอกเป็นหลอด กลีบดอกเป็นสีขาว ที่โคนกลีบดอกเชื่อมติดกัน ปลายแยกออกเป็น 5 แฉก ดอกมีเกสรเพศผู้สีเหลือง 5 อัน ยอดเกสรเพศเมียแยกออกเป็น 5 แฉก ออกดอกและติดผลในช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนสิงหาคม
ผล : เป็นผลสด ลักษณะของผลเป็นรูปกลม มีผิวมัน ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อแก่แล้วจะเปลี่ยนเป็นสีม่วงเข้มเกือบดำ
เมล็ด : ภายในผลมีเมล็ดประมาณ 4 – 5 เมล็ด ลักษณะของเมล็ดเป็นรูปวงรีแกมขอบขนาน

สรรพคุณของพวงไข่มุก

  • สรรพคุณจากดอกแห้ง ช่วยขับเหงื่อ
  • สรรพคุณจากดอก
    – แก้มือเท้าเคล็ด ด้วยการนำดอกที่มีน้ำมันหอมระเหยและสารที่มีรสขมผสมกับสมุนไพรอื่นเพื่อหมกประคบ
  • สรรพคุณจากราก
    – แก้อาการท้องร่วง ชาวกะเหรี่ยงเชียงใหม่นำรากมาต้มกับน้ำแล้วดื่มเป็นยา
  • สรรพคุณจากทั้งต้น
    – แก้อาการตัวบวม ชาวไทใหญ่นำทั้งต้นมาต้มกับน้ำแล้วอาบ
  • สรรพคุณจากใบ
    – บรรเทาอาการมือเท้าเคล็ด ตำรายาพื้นบ้านล้านนานำใบมาต้มใส่ไข่กินหรือใช้ผสมกับสมุนไพรอื่นเพื่อหมกประคบ

ประโยชน์ของพวงไข่มุก

1. เป็นส่วนประกอบของอาหาร ยอดอ่อนใช้รับประทานเป็นอาหาร ผลสุกนำมาทานหรือใช้ทำแยมและขนมพาย บางประเทศนำดอกมาใช้ปรุงอาหารหรือชงน้ำดื่มเพื่อทำไวน์
2. ปลูกเป็นไม้ประดับ มักจะปลูกตามริมน้ำ ริมบ่อน้ำหรือปลูกตกแต่งสวนใกล้น้ำตกได้
3. ใช้ในด้านจารีตประเพณี ช่อดอกใช้ไปวัดเพื่อบูชาพระหรือใช้ในพิธีกรรมต่าง ๆ

พวงไข่มุก เป็นต้นที่นิยมนำมาทำเป็นยาสมุนไพรของชาวล้านนา ชาวไทใหญ่และชาวกะเหรี่ยงเชียงใหม่ นอกจากนั้นยังเป็นต้นที่มีส่วนต่าง ๆ เป็นประโยชน์ในด้านอื่นด้วย พวงไข่มุกมักจะขึ้นในที่ชุ่มชื้นและมีความสวยงามจึงมักจะปลูกประดับไว้ริมน้ำ เป็นต้นที่มีสรรพคุณทางยาได้หลายส่วนโดยเฉพาะทั้งต้น มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ แก้มือเท้าเคล็ด แก้ท้องร่วง แก้ตัวบวมและช่วยขับเหงื่อได้

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา. (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “พวงไข่มุก”. หน้า 189.
ฝ่ายปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (นพพล เกตุประสาท). “พวงไข่มุก”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : clgc.rdi.ku.ac.th. [09 พ.ย. 2014].
โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง, สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน). “พวงไข่มุก, อูนบ้าน”. อ้างอิงใน : หนังสือชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : eherb.hrdi.or.th. [09 พ.ย. 2014].
ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. “อูนน้ำ”. อ้างอิงใน : หนังสือพรรณไม้สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เล่ม 5. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.qsbg.org. [09 พ.ย. 2014].
ทะเบียนพรรณไม้สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ. “ดอกอูน พวงไข่มุก”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.wattano.ac.th. [09 พ.ย. 2014].

พุทธรักษากินหัว เหง้าสดรสขม ช่วยแก้อาการปวดมวนท้อง

0
พุทธรักษากินหัว เหง้าสดรสขม ช่วยแก้อาการปวดมวนท้อง
พุทธรักษากินหัว มีหัวใต้ดินที่นิยมนำมารับประทาน หรือใช้ประกอบในอาหาร
พุทธรักษากินหัว เหง้าสดรสขม ช่วยแก้อาการปวดมวนท้อง
พุทธรักษากินหัว มีหัวใต้ดินที่นิยมนำมารับประทาน หรือใช้ประกอบในอาหาร

พุทธรักษากินหัว

พุทธรักษากินหัว (Australian arrowroot) มีหัวใต้ดินที่นิยมนำมารับประทานกันทั้งชาวม้ง ชาวเมี่ยนและชาวกะเหรี่ยงซึ่งจะนำมารับประทานหรือใช้ประกอบในอาหาร นอกจากนั้นยังมีเหง้าสดเป็นรูปทรงกระบอกซึ่งเป็นส่วนที่อุดมไปด้วยประโยชน์ และยังเป็นยาสมุนไพรที่เป็นส่วนประกอบในตำรายาพื้นบ้านล้านนาอีกด้วย แต่เหง้าสดของพุทธรักษากินหัวนั้นมีรสขมมาก อาจจะรับประทานยากแต่เพื่อการรักษาถือว่าคุ้มค่ามากกว่า

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของพุทธรักษากินหัว

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Canna indica L.
ชื่อสามัญ : มีชื่อสามัญว่า “Australian arrowroot”
ชื่อท้องถิ่น : ชาวกะเหรี่ยงเชียงใหม่เรียกว่า “หน้วยละ” ชาวม้งเรียกว่า “ก่อบลังเจ้ะ” ชาวเมี่ยนเรียกว่า “ฝรังโห” มีชื่ออื่น ๆ ว่า “สาคู”
ชื่อวงศ์ : วงศ์พุทธรักษา (CANNACEAE)
ชื่อพ้อง : Canna edulis Ker Gawl.

ลักษณะของพุทธรักษากินหัว

พุทธรักษากินหัว เป็นไม้ล้มลุกที่มีอายุได้หลายปี
ลำต้น : ลำต้นบนดินมีลักษณะตั้งตรง ส่วนลำต้นที่อยู่ใต้ดินมีลักษณะเป็นเหง้าทอดแผ่และแตกแขนง มีปล้องสั้นเป็นรูปทรงกระบอก
ใบ : เป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับกัน ลักษณะของใบเป็นรูปขอบขนานหรือรูปวงรีแกมขอบขนาน แผ่นใบเป็นสีเขียวเข้ม ขอบใบเป็นสีม่วงเข้ม กาบใบมีแถบสีม่วงเข้ม
ดอก : ออกดอกเป็นช่อโดยจะออกที่ปลายกิ่ง ดอกย่อยมีหลายดอก กลีบดอกเป็นสีส้มแดง มีเกสรเพศผู้ที่เป็นหมันมีลักษณะคล้ายกลีบดอกสีแดงสด
ผล : เป็นผลแห้งและแตกได้เป็น 3 พู
เมล็ด : ภายในผลมีเมล็ดสีน้ำตาล ผิวเมล็ดมีความมัน

สรรพคุณของพุทธรักษากินหัว

ประโยชน์ของพุทธรักษากินหัว

เป็นส่วนประกอบของอาหาร ชาวม้งนำหัวใต้ดินมาต้มหรือนึ่ง ชาวกะเหรี่ยงเชียงใหม่นำหัวมาต้มกับน้ำตาลทำเป็นของหวาน ชาวเมี่ยนนำหัวใต้ดินมานึ่งแล้วใช้ผสมกับแป้งทำขนมและจะช่วยทำให้แป้งไม่ติดใบตอง

พุทธรักษากินหัว มีส่วนของต้นที่สำคัญอยู่ที่เหง้าสดหรือหัวใต้ดิน เป็นอาหารของชาวม้ง ชาวเมี่ยนและชาวกะเหรี่ยงเชียงใหม่ เป็นไม้ล้มลุกที่มีดอกสีแดงชวนให้โดดเด่นอยู่เหมือนกัน เป็นส่วนประกอบในตำรายาพื้นบ้านล้านนา พุทธรักษากินหัวเป็นต้นที่มีสรรพคุณทางยาจากส่วนของเหง้าสดซึ่งมีสรรพคุณช่วยแก้อาการปวดมวนท้องได้

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา. (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “พุทธรักษากินหัว”. หน้า 58.
โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง, สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน). “พุทธรักษากินหัว, สาคู”. อ้างอิงใน : หนังสือชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : eherb.hrdi.or.th. [08 พ.ย. 2014].

ย่านพาโหม ดีต่อลมในร่างกาย แก้พิษงู แก้ลำไส้พิการ แก้ริดสีดวงทวาร

0
ย่านพาโหม ดีต่อลมในร่างกาย แก้พิษงู แก้ลำไส้พิการ แก้ริดสีดวงทวาร
ย่านพาโหม เป็นพืชในวงศ์เข็มที่มีกลิ่นเหม็นฉุน ออกดอกเป็นช่อบริเวณซอกใบและที่ปลายกิ่ง กลีบดอกเป็นสีม่วงแดง
ย่านพาโหม ดีต่อลมในร่างกาย แก้พิษงู แก้ลำไส้พิการ แก้ริดสีดวงทวาร
ย่านพาโหม เป็นพืชในวงศ์เข็มที่มีกลิ่นเหม็นฉุน ออกดอกเป็นช่อบริเวณซอกใบและที่ปลายกิ่ง กลีบดอกเป็นสีม่วงแดง

ย่านพาโหม

ย่านพาโหม (Paederia scandens) เป็นพืชในวงศ์เข็มที่มีกลิ่นเหม็นฉุน สามารถแบ่งออกได้หลายสายพันธุ์ ได้แก่พันธุ์ Paederia tomentosa var. glabra เป็นแผ่นใบบางและมีกลิ่นฉุน ใช้รับประทานเป็นผักใส่ข้าวยำ ส่วนพันธุ์ Paederia tomentosa จะมีกลิ่นเหม็นเขียว ไม่สามารถนำมารับประทานได้ ในด้านสรรพคุณทางยาก็เป็นส่วนประกอบของตำรับยาพื้นบ้านล้านนาและตำรายาไทย เป็นต้นที่ใช้ให้อาหารโคกระบือได้อีกด้วย

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของย่านพาโหม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Paederia scandens (Lour.) Merr.
ชื่อท้องถิ่น : ภาคเหนือเรียกว่า “ตดหมา ปานูดู” จังหวัดประจวบคีรีขันธ์เรียกว่า “เถาผ้าห่ม” จังหวัดสงขลาเรียกว่า “มันปู” จังหวัดสุราษฎร์ธานีเรียกว่า “ย่านพาโหม”
ชื่อวงศ์ : วงศ์เข็ม (RUBIACEAE)
ชื่อพ้อง : Paederia tomentosa var. glabra Kurz

ลักษณะของย่านพาโหม

ย่านพาโหม เป็นไม้พุ่มเลื้อยพันอายุหลายปีที่มักจะพบขึ้นในดินที่มีสภาพดินลูกรัง
ลำต้น : ลำต้นมีลักษณะเรียวยาว ตามกิ่งมีขนละเอียดสีขาวขึ้นปกคลุม
ใบ : เป็นใบเดี่ยวออกเรียงตรงข้ามกัน ลักษณะของใบเป็นรูปไข่หรือรูปใบหอก แผ่นใบมีขนละเอียดทั้งสองด้านตามเส้นกลางใบและปกคลุมหนาแน่นตามขอบใบ หลังใบมีปุยขนสั้นสีขาวเป็นกระจุก มีหูใบอยู่ระหว่างก้านใบ
ดอก : ออกดอกเป็นช่อบริเวณซอกใบและที่ปลายกิ่ง ดอกย่อยมีจำนวนมาก กลีบดอกเป็นสีม่วงแดง
ผล : เป็นผลแห้ง ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลม ผลแก่เป็นสีน้ำตาล มีความแข็งและเปราะ

สรรพคุณของย่านพาโหม

  • สรรพคุณจากต้น ช่วยทำให้เจริญอาหาร แก้ตานซาง
  • สรรพคุณจากราก เป็นยาหยอดตา แก้ตามัว แก้ตาฟางและตาแฉะ เป็นยาขับลม แก้ริดสีดวงทวาร
    – รักษาโรคลมที่มีอาการไข้และเลือดลมเดินไม่สะดวก ตำรับยาพื้นบ้านล้านนานำรากมาผสมกับเปลือกต้นเพกา เหง้าไพล กะเม็งทั้งต้นอย่างละเท่ากัน จากนั้นนำมาตากแห้งแล้วบดให้เป็นผง ทำการผสมกับน้ำอุ่นหรือเหล้าเพื่อดื่ม
    – แก้อาการปวดฟัน ด้วยการนำรากมาต้มกับน้ำแล้วใช้บ้วนปาก
  • สรรพคุณจากทั้งต้น
    – แก้ท้องเสียและลำไส้พิการ ตำรายาไทยนำทั้งต้นมาเป็นยา
  • สรรพคุณจากใบ แก้พิษงู
    – แก้รำมะนาด ด้วยการนำใบมาตำแล้วพอก

ประโยชน์ของย่านพาโหม

1. เป็นส่วนประกอบของอาหาร ยอดอ่อนและดอกอ่อนใช้รับประทานเป็นผักสดจิ้มกับน้ำพริก
2. ใช้ในการเกษตร เป็นอาหารสัตว์ของโคกระบือ

คุณค่าทางโภชนาการของย่านพาโหม

คุณค่าทางโภชนาการของย่านพาโหมอายุราว 45 วัน

สารอาหาร ปริมาณสารอาหารที่ได้รับ
โปรตีน 9.7 – 11.6%
แคลเซียม 1.47 – 1.64%
ฟอสฟอรัส 0.28%
โพแทสเซียม 2.23 – 2.46%
ADF 35.8 – 42.3%
NDF 43.0 – 46.9%
DMD 69.9%
ลิกนิน 15.2%

ย่านพาโหม สามารถนำทั้งต้นมาใช้เป็นยาสมุนไพรได้ นิยมนำยอดอ่อนและดอกอ่อนมารับประทานในรูปแบบของผักสดจิ้มกับน้ำพริก นอกจากนั้นยังเป็นอาหารของโคกระบือด้วย ย่านพาโหมเป็นต้นที่มีสรรพคุณทางยาได้หลายส่วนโดยเฉพาะส่วนของราก มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ แก้โรคตา แก้ริดสีดวงทวาร แก้พิษงู แก้ท้องเสีย แก้ลำไส้พิการ รักษาโรคลมและเป็นยาขับลม เป็นต้นที่มีสรรพคุณที่ดีต่อร่างกายในหลายด้าน

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา. (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “ย่านพาโหม”. หน้า 162.
สำนักพัฒนาอาหารสัตว์ กรมปศุสัตว์. “ย่านพาโหม”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : nutrition.dld.go.th. [29 ต.ค. 2014].
คมชัดลึกออนไลน์. (นายสวีสอง). “ย่านพาโหม เป็นยา-อาหาร”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.komchadluek.net. [29 ต.ค. 2014].

ลำพูป่า อาหารของชาวลัวะและกะเหรี่ยงแดง สมุนไพรของชาวเขาเผ่าอีก้อและกะเหรี่ยงเชียงใหม่

0
ลำพูป่า อาหารของชาวลัวะและกะเหรี่ยงแดง สมุนไพรของชาวเขาเผ่าอีก้อและกะเหรี่ยงเชียงใหม่
ลำพูป่า ไม้ยืนต้นผลัดใบ ดอกบานกลางคืน ดอกมีน้ำหวาน ยอดอ่อนและดอกอ่อนจิ้มกับน้ำพริกได้
ลำพูป่า อาหารของชาวลัวะและกะเหรี่ยงแดง สมุนไพรของชาวเขาเผ่าอีก้อและกะเหรี่ยงเชียงใหม่
ลำพูป่า ไม้ยืนต้นผลัดใบ ดอกบานกลางคืน ดอกมีน้ำหวาน ยอดอ่อนและดอกอ่อนจิ้มกับน้ำพริกได้

ลำพูป่า

ลำพูป่า (Duabanga grandiflora) เป็นต้นที่ดอกมีน้ำหวานจึงสามารถนำมารับประทานได้ นอกจากนั้นยังสามารถนำยอดอ่อนและดอกอ่อนมารับประทานในรูปแบบผักสดจิ้มกับน้ำพริกได้ เป็นอาหารของชาวลัวะและชาวกะเหรี่ยงแดง เป็นต้นที่มักจะพบตามป่าริมน้ำและนิยมปลูกเป็นไม้บุกเบิกซึ่งเหมาะสำหรับใช้ปลูกเพื่อการฟื้นฟูต้นน้ำลำธาร ในด้านของยาสมุนไพรถือเป็นต้นยอดนิยมของชาวเขาเผ่าอีก้อและชาวกะเหรี่ยงเชียงใหม่ ภายนอกนั้นลำพูป่าอาจจะไม่ได้สวยโดดเด่นแต่เป็นต้นที่ชาวเขาและชาวกะเหรี่ยงนิยมกันอย่างมาก

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของลำพูป่า

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Duabanga grandiflora (DC.) Walp.
ชื่อท้องถิ่น : ภาคเหนือเรียกว่า “เต๋น ตุ้มเต๋น ตุ้มบก ตุ้มลาง ตุ้มอ้า ลาง ลูกลาง ลูกลางอ้า” ภาคใต้เรียกว่า “ตะกาย โปรง ลำพูป่า” จังหวัดเชียงใหม่เรียกว่า “กาลา คอเหนียง” จังหวัดแพร่เรียกว่า “สะบันงาช้าง” จังหวัดกาญจนบุรีเรียกว่า “กระดังงาป่า” จังหวัดจันทบุรีเรียกว่า “ตะกูกา” จังหวัดปราจีนบุรีเรียกว่า “ลิ้นควาย” จังหวัดประจวบคีรีขันธ์เรียกว่า “หงอกไก่” จังหวัดชุมพรเรียกว่า “ขาเขียด” จังหวัดระนองเรียกว่า “ลำพูขี้แมว” จังหวัดตรังเรียกว่า “ลำแพน” จังหวัดยะลาเรียกว่า “ลำแพนเขา” จังหวัดปัตตานีเรียกว่า “ลำพูควน” ชาวมลายูยะลาเรียกว่า “บ่อแมะ” ชาวมลายูนราธิวาสเรียกว่า “บะกูแม” ชาวกะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอนเรียกว่า “กู โก๊ะ ซังกะ เส่ทีดึ๊” ชาวกะเหรี่ยงเชียงใหม่เรียกว่า “ซิกุ๊” ชาวกะเหรี่ยงกำแพงเพชรเรียกว่า “โก” ชาวกะเหรี่ยงแดงเรียกว่า “ซ่อกวาเหมาะ” ชาวชองจันทบุรีเรียกว่า “กาปลอง” ชาวขมุเรียกว่า “เตื้อเร่อะ” ไทลื้อเรียกว่า “ไม้เต๋น” ชาวลัวะเรียกว่า “ลำคุบ ไม้เต้น” ชาวม้งเรียกว่า “ซือลาง”
ชื่อวงศ์ : วงศ์ตะแบก (LYTHRACEAE)
ชื่อพ้อง : Duabanga sonneratioides Buch.-Ham., Lagerstroemia grandiflora Roxb. ex DC., Leptospartion grandiflora Griff., Leptospartion grandiflorum (Roxb. ex DC.) Griff.

ลักษณะของลำพูป่า

ลำพูป่า เป็นไม้ยืนต้นโตเร็วผลัดใบขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ที่พบในประเทศอินเดีย พม่า จีนตอนใต้ ภูมิภาคอินโดจีนและภูมิภาคมาเลเซีย ในประเทศไทยมักจะพบขึ้นตามป่าริมน้ำ ริมลำธารหรือลำห้วยทั่วไปทางภาคเหนือและภาคใต้ ป่าดิบแล้ง ป่าดิบชื้นและป่าดิบเขาต่ำ
ลำต้น : ลำต้นมีลักษณะเปลาตรง เรือนยอดแผ่กว้างเป็นรูปทรงกลมหรือทรงกระบอก กิ่งใหญ่จะตั้งฉากกับลำต้น ปลายกิ่งห้อยลู่ลง
เปลือก : เปลือกเป็นสีเทาสะเก็ดหรือตกเป็นแผ่นไม่เป็นระเบียบ เปลือกในเป็นสีน้ำตาลแดงคล้ำ กระพี้เป็นสีน้ำตาลปนเหลือง ตามกิ่งอ่อนเป็นสันสี่เหลี่ยม สีเหลืองและเกลี้ยง บิดไปมาระหว่างคู่ใบ
ใบ : เป็นใบเดี่ยวออกเรียงตรงข้ามกันเป็นคู่ ลักษณะของใบเป็นรูปขอบขนานถึงรูปไข่แกมขอบขนาน ปลายใบเรียวแหลมเป็นติ่งสั้น โคนใบเว้าลึกเป็นรูปหัวใจหรือเป็นรูปติ่งหู ขอบใบเรียบ เนื้อใบค่อนข้างหนาและเกลี้ยง ผิวใบด้านบนเกลี้ยงเป็นสีเขียวเข้ม ท้องใบมีนวลหรือเป็นคราบขาว เส้นแขนงใบมีประมาณ 14 – 20 คู่ มีเส้นใบย่อยเป็นแบบขั้นบันได สามารถมองเห็นได้ชัดทางด้านท้องใบ ก้านใบเป็นสีเขียวเข้มลักษณะอวบ
ดอก : ออกดอกเป็นช่อเชิงหลั่นโดยจะออกที่ปลายกิ่ง ดอกย่อยมีจำนวนมากประมาณ 15 – 30 ดอก ลักษณะห้อยลง ดอกจะบานในช่วงเวลากลางคืนถึงช่วงเช้าแล้วจะหุบในช่วงกลางวัน เป็นดอกแบบสมบูรณ์เพศ ดอกมีสีขาวขนาดใหญ่ กลีบเลี้ยงดอกเป็นรูปถ้วย ปลายแยกออกเป็นแฉก 6 – 7 แฉก กลีบดอกมี 6 – 7 กลีบ ลักษณะเป็นรูปไข่ ดอกมีเกสรเพศผู้จำนวนมาก อับเรณูสีเหลืองอมน้ำตาล ยอดเกสรเพศเมียเป็นสีเขียว ก่อนออกดอกจะทิ้งใบหมดแล้วจะผลิใบใหม่ทันทีพร้อมกับเริ่มผลิดอก มักจะออกดอกในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน
ผล : เป็นผลแห้ง ลักษณะของผลเป็นรูปไข่แกมทรงกลม รูปไข่กว้างหรือรูปกลมแป้นลักษณะแป้นรูปตลับ ผลเป็นสีเขียวแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเมื่อแก่ จะแตกอ้าออกตรงกลางพูเป็นเสี่ยง ๆ ที่ฐานมีชั้นกลีบเลี้ยงรูปดาวรองรับ กลีบเลี้ยงติดคงทน ออกผลในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคมและผลจะแก่เต็มที่ในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายน
เมล็ด : ภายในผลมีเมล็ดจำนวนมากประมาณ 6 – 7 เมล็ด ลักษณะเป็นรูปเส้นยาวมีหาง

สรรพคุณของลำพูป่า

  • สรรพคุณจากเมล็ด
    – แก้ปวดท้อง แก้โรคกระเพาะอาหาร รักษาอาหารไม่ย่อย แก้อาหารเป็นพิษ ชาวเขาเผ่าอีก้อนำเมล็ดมาต้มกับน้ำแล้วดื่ม
  • สรรพคุณจากเปลือกต้น
    – แก้อาการปวดท้องโดยไม่รู้สาเหตุ ชาวกะเหรี่ยงเชียงใหม่ให้คนเฒ่าคนแก่ที่มีคาถาอาคมติดตัวเก็บเปลือกต้นมาต้มกับน้ำแล้วดื่ม
  • สรรพคุณจากกิ่งและต้น
    – แก้อาการช้ำใน ด้วยการนำกิ่งและต้นมาสับเป็นชิ้นเล็กแล้วต้มกับน้ำเพื่อดื่ม
  • สรรพคุณจากทั้งต้น แก้เมื่อยเคล็ดตามข้อกระดูก
    – แก้อุจจาระติดโลหิตสด ๆ โลหิตช้ำ ด้วยการนำทั้งต้นมาต้มกับน้ำแล้วกินเป็นยา

ประโยชน์ของลำพูป่า

1. เป็นส่วนประกอบของอาหาร ดอกมีน้ำหวานจึงนำมาทานได้ ยอดอ่อนและดอกอ่อนนำมาทานเป็นผักสดหรือลวกเป็นผักจิ้ม ชาวลัวะนำกลีบเลี้ยงหรือผลมารับประทานสดร่วมกับน้ำพริก ชาวกะเหรี่ยงแดงนำผลอ่อนมาเผาไฟทานจิ้มกับน้ำพริก
2. ใช้ในการเกษตร นิยมใช้ปลูกเป็นไม้บุกเบิกซึ่งเหมาะสำหรับปลูกเพื่อการฟื้นฟูต้นน้ำลำธาร
3. ใช้ในอุตสาหกรรม นิยมนำมาก่อสร้างบ้านเรือน ทำฝา พื้นบ้าน ทำเรือ ไม้พายเรือ ทำลังใส่ของ หีบศพ ทำไส้ไม้อัด กล่องไม้ขีด ก้านร่ม ทำแบบหล่อคอนกรีต ใช้เป็นส่วนประกอบของร่มกระดาษ

ลำพูป่า เป็นต้นที่มีชื่อเรียกมากมายตามแต่ละจังหวัดหลากหลายชื่อมาก สามารถนำส่วนต่าง ๆ มารับประทานได้ นิยมสำหรับชาวเขาและชาวกะเหรี่ยงในการรับประทานเป็นผักและเป็นยาสมุนไพร ลำพูป่ามีสรรพคุณทางยาได้หลายส่วนจากต้นโดยเฉพาะส่วนจากเมล็ด มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ แก้ปวดท้อง รักษาโรคกระเพาะอาหาร แก้อาหารเป็นพิษและแก้อาการช้ำใน ถือเป็นต้นที่ดีต่อระบบย่อยอาหารเป็นอย่างมาก

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา. (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “ลำพูป่า”. หน้า 97.
โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง, สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน). “ลำพูป่า, ตุ้มเต๋น”. [ออนไลน์]. อ้างอิงใน : หนังสือชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์). เข้าถึงได้จาก : eherb.hrdi.or.th. [26 ต.ค. 2014].
ระบบจัดการฐานความรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้ กรมป่าไม้. “ลำพูป่า”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : biodiversity.forest.go.th. [26 ต.ค. 2014].
สวนพฤกษศาสตร์ ตามพระราชเสาวนีย์ฯ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. “ตุ้มเต๋น”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.dnp.go.th/pattani_botany/. [26 ต.ค. 2014].

สนุ่น ไม้ริมน้ำทั่วไป ช่วยแก้ไข ดับร้อน รักษาเบาหวานและบำรุงหัวใจ

0
สนุ่น ไม้ริมน้ำทั่วไป ช่วยแก้ไข ดับร้อน รักษาเบาหวานและบำรุงหัวใจ
สนุ่น เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง เป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับวงรี ช่อดอกห้อยลงแบบหางกระรอก
สนุ่น ไม้ริมน้ำทั่วไป ช่วยแก้ไข ดับร้อน รักษาเบาหวานและบำรุงหัวใจ
สนุ่น เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง เป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับวงรี ช่อดอกห้อยลงแบบหางกระรอก

สนุ่น

สนุ่น (Indian willow) มีช่อดอกห้อยลงแบบหางกระรอกทำให้ต้นดูโดดเด่นและสวยงาม เป็นต้นที่มีรสเย็นและอยู่ในตำรายาไทย มักจะพบในที่ลุ่มชื้นแฉะหรือตามริมน้ำ สามารถพบได้ทุกภาคในประเทศไทย สนุ่นเป็นต้นที่พบได้ง่ายแต่คนส่วนมากอาจจะไม่ค่อยรู้จักและไม่รู้ถึงประโยชน์จากต้น สามารถนำดอกและยอดอ่อนมาใช้ปรุงในอาหารได้ และยังเป็นต้นที่ดีต่อระบบนิเวศอีกด้วย

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของสนุ่น

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Salix tetrasperma Roxb.
ชื่อสามัญ : มีชื่อสามัญว่า “Willow” “Indian willow” “White willow”
ชื่อท้องถิ่น : ภาคเหนือเรียกว่า “ไคร้นุ่น สนุ่นบก ตะไคร้บก” ภาคอีสานเรียกว่า “ไก๋นุ่น” จังหวัดนครราชสีมาเรียกว่า “สนุ่นน้ำ” จังหวัดอยุธยาเรียกว่า “ตะหนุ่น” จังหวัดยะลาเรียกว่า “ไคร้ใหญ่” จังหวัดปัตตานีเรียกว่า “คล้าย” ชาวกะเหรี่ยงเชียงใหม่เรียกว่า “กร่ยฮอ กะดึยเดะ” ไทใหญ่เรียกว่า “ไม้ไคร้” มีชื่ออื่น ๆ ว่า “ตะนุ่น ไคร้บก ไคร้นุ่ม”
ชื่อวงศ์ : วงศ์สนุ่น (SALICACEAE)
ชื่อพ้อง : Pleiarina tetrasperma (Roxb.) N. Chao & G.T. Gong

ลักษณะของต้นสนุ่น

ต้นสนุ่น เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางที่พบในอินเดีย ปากีสถาน จีนตอนใต้ เวียดนาม พม่า มาเลเซีย อินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ ส่วนในประเทศไทยพบตามที่ลุ่มชื้นแฉะ ที่โล่งริมธารน้ำ แม่น้ำลำคลอง ป่าชายน้ำ ป่าผลัดใบและป่าไม่ผลัดใบหรือภูเขาที่โล่ง
ลำต้น : ลำต้นเดี่ยวตั้งตรงและมีเนื้ออ่อน
เปลือกต้น : เปลือกต้นหนาเป็นสีน้ำตาลเทาหรือสีเทาเข้ม มีรอยแตกลึกตามยาว กิ่งก้านแตกเป็นพุ่มทรงกลม โปร่ง กิ่งก้านมีลักษณะชูตั้งขึ้น ปลายลู่ลงเล็กน้อยแต่จะไม่ห้อยลงเป็นกิ่งยาว ๆ ยอดอ่อนมีขนสีเงินขึ้นอยู่หนาแน่น
ใบ : เป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับกัน ลักษณะของใบเป็นรูปวงรีหรือรูปใบหอก ปลายใบแหลม โคนใบมน เป็นรูปลิ่ม หรือเบี้ยว ขอบหยักเป็นซี่ฟันเล็ก ใบแก่หนาเกลี้ยงหรือมีขนหนาแน่น หลังใบเป็นสีเขียวแก่ ท้องใบเป็นสีขาวนวล เส้นใบข้างมีประมาณ 12 – 24 คู่ มีก้านใบสีแดงลักษณะเรียวเล็ก
ดอก : ออกดอกเป็นช่อเล็กโดยจะออกตามซอกใบหรือที่ปลายกิ่งข้างสั้น ๆ ช่อดอกห้อยลงแบบหางกระรอก ทรงกระบอก ปลายช่อมีใบอ่อน ดอกเป็นสีขาวหรือสีเหลืองอ่อน เป็นแบบแยกเพศและอยู่คนละต้น ดอกย่อยไม่มีกลีบเลี้ยงและกลีบดอก มีก้านดอกเรียวเล็ก มีกาบรองดอกเป็นรูปไข่ ดอกเพศผู้มีเกสรประมาณ 4 – 10 อัน เพศเมียมีต่อมน้ำหวานที่ฐาน 1 ต่อม รังไข่มีขนขึ้นหนาแน่น ออกดอกในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมกราคม
ผล : เป็นผลแห้งและแตกได้ ผลเป็นสีน้ำตาลอ่อนหรือสีออกเทา แตกได้เป็น 2 พู โดยจะติดผลในช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์
เมล็ด : ภายในผลมีเมล็ดขนาดเล็กประมาณ 4 – 6 เมล็ด ปลายด้านหนึ่งมีแผงขนสีขาวเป็นปุย สามารถปลิวไปตามลมเพื่อกระจายพันธุ์ได้

สรรพคุณของสนุ่น

  • สรรพคุณจากราก
    – ช่วยทำให้เจริญอาหาร ดับพิษร้อนทั้งปวง แก้ตับพิการ ด้วยการนำรากมาต้มแล้วดื่มเป็นยา
  • สรรพคุณจากเปลือกต้น บำรุงหัวใจ ช่วยทำให้หัวใจเต้นแรง ชูเส้นชีพจร ตำรายาไทยใช้แก้ไข้ตัวร้อน รักษาโรคริดสีดวงจมูก
    – ช่วยดับร้อน แก้เด็กตัวร้อน แก้ไข้ แก้หวัดคัดจมูก ด้วยการนำเปลือกต้นมาต้มเอาน้ำอาบและรดศีรษะเด็ก
    – รักษาโรคเบาหวาน ด้วยการนำเปลือกต้นมาต้มกับน้ำแล้วดื่มเป็นยา
  • สรรพคุณจากใบ
    – แก้พิษงูสวัด แก้เริม แก้แผลเปื่อย ด้วยการนำใบสดมาคั้นเอาน้ำมาทา พอกหรือพ่น

ประโยชน์ของสนุ่น

1. เป็นส่วนประกอบของอาหาร ดอกอ่อนนำมารับประทานได้ ยอดอ่อนใช้ใส่ในแกงจะช่วยแก้เมาพิษจากปลาอย่างปลามุงหรือปลาสะแงะ หากนำรากมาต้มจะช่วยรับรู้รสชาติอาหารได้ดีขึ้นด้วย
2. ใช้ในด้านสิ่งแวดล้อม ปลูกไว้ริมน้ำเพื่อยึดตลิ่งไม่ให้พังทลายได้ง่าย
3. ทำฟืน เนื้อไม้เบาใช้ทำฟืนได้

สนุ่น เป็นต้นที่มีชื่อเรียกค่อนข้างหลากหลายและมักจะพบตามริมน้ำหรือริมคลอง นิยมปลูกเพื่อยึดตลิ่งไม่ให้พังทลาย เป็นต้นที่สามารถนำมาใช้ปรุงในอาหารและนำมาทานได้ สนุ่นมีสรรพคุณทางยาได้หลายส่วนจากต้นโดยเฉพาะส่วนของเปลือกต้น มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ แก้ไขและดับร้อน รักษาเบาหวาน บำรุงหัวใจและทำให้เจริญอาหารได้

สั่งซื้อผลิตภัณฑ์อาหารทางการแพทย์ เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคกลาง. (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ, ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, กัญจนา ดีวิเศษ). “สนุ่น”. หน้า 140.
หนังสือสมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ. (คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “สนุ่น Willow”. หน้า 182.
ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “สนุ่น”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.phargarden.com. [21 ต.ค. 2014].
โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง, สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน). “สนุ่น, ไคร้นุ่น”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : eherb.hrdi.or.th. [21 ต.ค. 2014].
หนังสือต้นไม้เมืองเหนือ : คู่มือศึกษาพรรณไม้ยืนต้นในป่าภาคเหนือ ประเทศไทย. (ไซมอน การ์ดเนอร์, พินดา สิทธิสุนทร, วิไลวรรณ อนุสารสุนทร). “สนุ่น”.

ยอเถื่อน สมุนไพรหลากสรรพคุณ บำรุงเลือด แก้ไข้และแก้เบาหวานได้

0
ยอเถื่อน สมุนไพรหลากสรรพคุณ ช่วยบำรุงเลือด แก้ไข้และแก้เบาหวานได้
ยอเถื่อน มีผลกลมและมีผิวเป็นปุ่มปม ยอดและใบอ่อนทานสดจิ้มกับน้ำพริก ผลแก่จะเป็นสีดำ
ยอเถื่อน สมุนไพรหลากสรรพคุณ ช่วยบำรุงเลือด แก้ไข้และแก้เบาหวานได้
ยอเถื่อน มีผลกลมและมีผิวเป็นปุ่มปม ยอดและใบอ่อนทานสดจิ้มกับน้ำพริก ผลแก่จะเป็นสีดำ

ยอเถื่อน

ยอเถื่อน (Morinda tinctoria) หรือยอป่า เป็นต้นที่มีผลกลมและมีผิวเป็นปุ่มปมทำให้ดูโดดเด่น มักจะนำยอดและใบอ่อนมารับประทานในรูปแบบผักสดจิ้มกับน้ำพริก นอกจากนั้นผลสุกยังเป็นอาหารของโคกระบืออีกด้วย เป็นไม้ยืนต้นที่พบได้ตามป่าทั่วไป ยอเถื่อนเป็นต้นที่อยู่ในตำรายาไทย มีสรรพคุณทางยาสมุนไพรได้หลากหลาย คู่ควรแก่การปลูกไว้เพื่อใช้ประโยชน์ในหลายด้าน

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของยอเถื่อน

ชื่อสามัญ : Morinda tinctoria
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Morinda elliptica (Hook.f.) Ridl.
ชื่อท้องถิ่น : ภาคกลาง จังหวัดอ่างทอง จังหวัดตรังและจังหวัดสตูลเรียกว่า “ย่อป่า” จังหวัดชุมพรเรียกว่า “ยอเถื่อน” ชาวมาเลเซียปัตตานีเรียกว่า “กะมูดู” ชาวมาเลเซียนราธิวาสเรียกว่า “มูดู”
ชื่อวงศ์ : วงศ์เข็ม (RUBIACEAE)

ลักษณะของยอเถื่อน

ยอเถื่อน เป็นไม้ยืนต้นที่มักจะพบตามป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรังและป่าโปร่งทั่วไป
เปลือกต้น : เปลือกต้นเป็นสีเทาหรือสีน้ำตาลแดงหรือน้ำตาลเหลือง แตกเป็นร่องลึกยาวหรือแตกเป็นสะเก็ดสี่เหลี่ยมขนาดเล็ก
ใบ : เป็นใบเดี่ยวออกเรียงตรงข้ามสลับตั้งฉากกัน ลักษณะของใบเป็นรูปวงรีหรือรูปไข่กลับ ปลายใบเรียวหรือทู่ โคนใบเบี้ยว ขอบใบเรียบ แผ่นใบนุ่ม ผิวใบทั้งสองด้านเกลี้ยง
ดอก : ออกดอกเป็นกลุ่มบนฐานของรังไข่ที่อัดกันเป็นก้อน โดยจะออกตามซอกใบ กลีบดอกมีสีขาว โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกออกเป็น 5 กลีบ ภายในหลอดจะมีขนละเอียด
ผล : เป็นผลรวมรูปร่างค่อนข้างกลม ผิวรอบผลเป็นปุ่มปม ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีดำ
เมล็ด : แต่ละผลย่อยมีเมล็ด 1 เมล็ด

สรรพคุณของยอเถื่อน จากแก่น

  • ส่วนที่ใช้ประโยชน์ของยอเถื่อน : ใบอ่อน ใบแก่ ผล เปลือก ราก
    – บำรุงโลหิต ด้วยการนำแก่นมาต้มแล้วดื่ม
    – แก้อาการจุกเสียดแน่นเฟ้อ ช่วยขับผายลม ป้องกันบาดทะยักที่ปากมดลูก ด้วยการนำแก่นมาต้มหรือดองกับเหล้ากินเป็นยา
    – เป็นยาขับน้ำคาวปลา ขับเลือด ขับและฟอกโลหิตระดู ด้วยการนำแก่นมาต้มหรือดองกับเหล้ากินเป็นยา
  • สรรพคุณจากราก ตำรายาไทยใช้แก้เบาหวาน รักษาโรคกระเพาะ
  • สรรพคุณจากใบ แก้อาการปวดศีรษะ แก้ไข้ แก้ริดสีดวงทวาร แก้ม้ามโต
    – แก้ไอ แก้อาการจุกเสียด ด้วยการนำใบสดมาอังกับไฟแล้วนำมาปิดบริเวณหน้าอกและหน้าท้อง
    – ช่วยฆ่าไข่เหา ด้วยการนำใบสดมาตำแล้วพอกศีรษะ
  • ผลอ่อน แก้คลื่นไส้อาเจียน
  • ผลสุกงอม ขับลมในลำไส้ ขับระดูของสตรี รักษาเลือดออกตามไรฟัน ลดอาการปวดฟัน และรักษาฟันผุ
  • เปลือก นำเปลือกไม้มาฝนผสมน้ำเล็กน้อย ใช้แปะบริเวณผิวหนังที่เกิดผื่น

ประโยชน์ของยอเถื่อน

1. เป็นส่วนประกอบของอาหาร ยอดและใบอ่อนนำมาลวกหรือต้มให้สุกจิ้มกับน้ำพริกได้ และนำมาปรุงประกอบอาหารอย่างเมนูซอยใส่ข้าวยำได้ ผลสุกใช้รับประทานได้
2. ใช้ในการเกษตร เป็นอาหารของโคกระบือ
3. ใช้ในอุตสาหกรรมย้อมผ้า รากใช้ย้อมสีผ้าให้เป็นสีแดงได้

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของยอเถื่อน

ภายในรากยอเถื่อน พบสารกลุ่มแอนทราควิโนนหลายชนิด เช่น 1 – hydroxy – 2 – methylanthraquinone, alizarin – l – methyl ether, nordamnacanthal, soranjidiol, morindone, rubiadin, . lucidin – ω – methyl ether, alizarin – l – methyl ether, rubiadin – l – methyl ether, morindone – 5 – methyl ether

คุณค่าทางโภชนาการของผลสุกยอเถื่อน

คุณค่าทางโภชนาการของผลสุก ให้โปรตีน 11.64% ADF 36.6% NDF 38.8% และลิกนิน 12.4%

ยอเถื่อน เป็นต้นที่มีประโยชน์ได้หลายด้านโดยเฉพาะการนำมารับประทานเป็นผักสดและนำมาปรุงในอาหาร และยังเป็นยาในตำรายาไทยด้วย เป็นต้นที่มีชื่อค่อนข้างหลากหลายในจังหวัดทางภาคใต้ ยอเถื่อนมีสรรพคุณทางยาได้หลายส่วนจากต้นโดยเฉพาะส่วนของแก่นและใบ มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ บำรุงเลือด แก้ไข้ แก้เบาหวาน รักษาโรคกระเพาะและช่วยขับลมได้ เป็นต้นที่มีสรรพคุณได้หลายด้านจริง ๆ

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

สำนักพัฒนาอาหารสัตว์ กรมปศุสัตว์. “ยอเถื่อน”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : nutrition.dld.go.th. [30 ต.ค. 2014].
ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “ยอป่า”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.phargarden.com. [29 ต.ค. 2014].
พืชสมุนไพรโตนงาช้าง. “ยอเถื่อน”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : paro6.dnp.go.th/web_km/พืชสมุนไพรโตนงาช้าง/. [29 ต.ค. 2014].

ผักเค็ด เป็นยาเย็นรสขม แก้ไข้ แก้ร้อนใน ช่วยดับร้อนในร่างกาย

0
ผักเค็ด เป็นยาเย็นรสขม แก้ไข้ แก้ร้อนใน ช่วยดับร้อนในร่างกาย
ผักเค็ด หรือ ขี้เหล็กเทศ มีดอกสีเหลืองสดคล้ายดอกขี้เหล็กและมีผลเป็นฝักยาว ดอกอ่อนและยอดอ่อนนำมารับประทานได้
ผักเค็ด เป็นยาเย็นรสขม แก้ไข้ แก้ร้อนใน ช่วยดับร้อนในร่างกาย
ผักเค็ด หรือ ขี้เหล็กเทศ มีดอกสีเหลืองสดคล้ายดอกขี้เหล็กและมีผลเป็นฝักยาว ดอกอ่อนและยอดอ่อนนำมารับประทานได้

ผักเค็ด

ผักเค็ด (Senna sophera) หรือเรียกกันว่า “ขี้เหล็กเทศ” มีดอกสีเหลืองสดและมีผลเป็นฝักยาวอยู่บนต้น มักจะพบตามที่รกร้างทั่วไปในประเทศไทย เป็นต้นที่นำดอกอ่อนและยอดอ่อนมารับประทานได้ ผักเค็ดมีใบและรากเป็นรสขม อีกทั้งยังเป็นยาเย็นที่มีสรรพคุณช่วยดับร้อนในร่างกาย นอกจากนั้นยังมีสรรพคุณอื่น ๆ มากมายจากส่วนต่าง ๆ ของต้น หากเดินผ่านที่รกร้างแล้วพบเจอก็สามารถเก็บมาลองทานได้

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของผักเค็ด

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Senna sophera (L.) Roxb.
ชื่อท้องถิ่น : ภาคกลางเรียกว่า “ขี้เหล็กเทศ” จังหวัดกรุงเทพมหานครเรียกว่า “ผักเค็ด ผักเคล็ด” มีชื่ออื่น ๆ ว่า “ขี้เหล็กน้อย ขี้เหล็กเทศ ขี้เหล็กผี ผักเห็ด”
ชื่อวงศ์ : วงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE)
ชื่อพ้อง : Cassia sophera L.

ลักษณะของผักเค็ด

ผักเค็ด เป็นพรรณไม้พุ่มขนาดเล็ก ในประเทศไทยเป็นไม้กลางแจ้งที่พบทั่วไปตามที่รกร้างต่าง ๆ
กิ่งก้าน : แตกกิ่งก้านสาขารอบต้น กิ่งก้านมีขนาดไม่ใหญ่นัก
ใบ : เป็นใบเดี่ยว ลักษณะของใบเป็นรูปมนรีคล้ายกับใบมะยมหรือใบแสมสาร ปลายใบเรียวแหลม โคนใบมน แผ่นใบมีสีเขียวเป็นมัน
ดอก : ออกเป็นช่อโดยจะออกตามง่ามใบ ดอกมีสีเหลืองคล้ายกับดอกขี้เหล็ก
ผล : ออกผลเป็นฝัก ฝักมีลักษณะแบ่งออกเป็นข้อ ๆ คล้ายกับฝักถั่วเขียว

สรรพคุณของผักเค็ด

  • ช่วยรักษาโรคกระเพาะอาหาร และอาหารไม่ย่อย
  • ช่วยรักษาลำไส้อักเสบเรื้อรัง อาการท้องผูก
  • ช่วยรักษาโรคหนองใน ปัสสาวะเป็นเลือด
  • ช่วยลดความดันโลหิตสูงได้
  • บรรเทาอาการปวดเรื้อรัง
  • สรรพคุณจากราก ดับพิษร้อนภายในร่างกาย ช่วยดับพิษทั้งปวง ถอนพิษไข้ แก้อาการร้อนในกระหายน้ำ
  • สรรพคุณจากใบ นำเข้ายาเขียวช่วยแก้ไข้ รักษาบาดแผล
    – แก้ผื่นคัน ด้วยการนำใบมาต้มกับน้ำแล้วอาบ
    – ใบสดใช้รักษาแมลงสัตว์กันต่อย ลดการอักเสบ
  • สรรพคุณจากเมล็ด
    เมล็ดใช้รักษาโรคไข้มาลาเรีย โดยนำเมล็ดมาคั่วให้เกรียมจนมีกลิ่นหอม แล้วบดเป็นผงให้ละเอียด ใช้กินครั้งละ 6-10 กรัม วันละ 2 เวลา

ประโยชน์ของผักเค็ด

  • เป็นส่วนประกอบของอาหาร ยอดอ่อนและดอกอ่อนนำมารับประทานได้

ผักเค็ด เป็นผักที่นำดอกอ่อนและยอดอ่อนมารับประทาน เป็นยาเย็นที่ช่วยปรับอุณหภูมิที่ร้อนเกินไปในร่างกายได้ และยังเป็นส่วนผสมในยาเขียวอีกด้วย มีดอกสีเหลืองคล้ายกับดอกขี้เหล็กที่มักจะพบตามที่รกร้าง สามารถตามไปเก็บได้ทั่วไปในประเทศไทย ผักเค็ดมีสรรพคุณทางยาได้หลายส่วนจากต้นโดยเฉพาะส่วนของราก มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ ถอนพิษไข้ ดับพิษร้อนในร่างกาย แก้ร้อนในและแก้ผื่นคันได้

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “ผักเค็ด”. หน้า 485.
หนังสือสยามไภษัชยพฤกษ์. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “ผักหวานบ้าน”. หน้า 61.
ระบบจัดการฐานความรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้ กรมป่าไม้. “ผักหวานบ้าน”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : biodiversity.forest.go.th. [04 ก.ค. 2017].

โมกแดง ดอกหอมอมเปรี้ยวสีส้มแดง ดีต่อเส้นเลือดฝอยในร่างกายและแก้โรคบิด

0
โมกแดง ดอกหอมอมเปรี้ยวสีส้มแดง ดีต่อเส้นเลือดฝอยในร่างกายและแก้โรคบิด
โมกแดง เป็นไม้หายาก ทรงพุ่มที่มีสีส้มอมสีชมพูหรือสีแดง ดอกบานตอนกลางคืน มีกลิ่นหอมอมเปรี้ยว
โมกแดง ดอกหอมอมเปรี้ยวสีส้มแดง ดีต่อเส้นเลือดฝอยในร่างกายและแก้โรคบิด
โมกแดง เป็นไม้หายาก ทรงพุ่มที่มีสีส้มอมสีชมพูหรือสีแดง ดอกบานตอนกลางคืน มีกลิ่นหอมอมเปรี้ยว

โมกแดง

โมกแดง (Wrightia dubia) เป็นไม้พุ่มที่มีสีส้มอมสีชมพูหรือสีแดงอย่างสวยงามและยังมีกลิ่นหอมอีกด้วย ทว่าโมกแดงนั้นเป็นต้นไม้ที่หาได้ยาก ส่วนมากมักจะพบตามป่าผลัดใบหรือป่าดิบและไม่สามารถหาได้ง่าย ๆ เป็นต้นที่ดอกจะบานในตอนกลางคืน สามารถนำส่วนของยอดมารับประทานในรูปแบบของผักสดหรือนำมาเป็นส่วนประกอบในแกงได้ นอกจากนั้นยังนำส่วนของเปลือกเนื้อไม้และรากมาใช้เป็นยาสมุนไพรรักษาอาการได้อีกด้วย

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของโมกแดง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Wrightia dubia (Sims) Spreng.
ชื่อท้องถิ่น : จังหวัดจันทบุรีเรียกว่า “โมกป่า” จังหวัดนครราชสีมาเรียกว่า “โมกมัน” จังหวัดตรังเรียกว่า “มุ มูก” จังหวัดภูเก็ตเรียกว่า “มูกมัน” มีชื่ออื่น ๆ ว่า “โมกราตรี”
ชื่อวงศ์ : วงศ์ตีนเป็ด (APOCYNACEAE)

ลักษณะของโมกแดง

โมกแดง เป็นไม้พุ่มที่มีเขตการกระจายพันธุ์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สามารถพบได้ตามป่าผลัดใบหรือป่าดิบ
เปลือกต้น : เปลือกต้นเป็นสีน้ำตาล แตกกิ่งก้านเป็นพุ่มโปร่ง กิ่งก้านมีขนาดเล็ก
ใบ : เป็นใบเดี่ยวออกเรียงตรงข้ามกัน ลักษณะของใบเป็นรูปวงรีแกมรูปขอบขนาน ปลายใบแหลมเป็นติ่ง โคนใบสอบไปจนถึงมน ขอบใบเรียบ ผิวใบมันเป็นสีเขียวเข้ม หลังใบและท้องใบเรียบ แผ่นใบด้านล่างมีขนบริเวณเส้นใบ
ดอก : ออกดอกเป็นช่อห้อยลงโดยจะออกตามซอกใบ ดอกย่อยเป็นสีส้มอมสีชมพูหรือสีแดง มีกลิ่นหอม กลีบดอกมี 5 กลีบ ปลายกลีบแหลม ขอบกลีบบิดเบี้ยว โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดสั้น กลีบเลี้ยงดอกเป็นสีเขียวมี 5 กลีบ โคนเชื่อมติดกัน มีเกสรเพศผู้ 5 ก้านอยู่ภายในดอก ซึ่งดอกจะบานในตอนกลางคืนและจะบานได้วันเดียวก็จะร่วง มักจะออกดอกตลอดทั้งปี บางข้อมูลบอกว่าออกดอกในช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคม
ผล : ออกผลเป็นฝักยาว โคนฝักติดกันเป็นคู่ ลักษณะของฝักค่อนข้างกลม เมื่อฝักแห้งจะแตกออก
เมล็ด : ภายในผลมีเมล็ดจำนวนมาก เมล็ดเป็นเส้น มีขนสีขาวเป็นพู่ที่ปลายติดอยู่และสามารถปลิวไปตามลมได้

สรรพคุณของโมกแดง

  • สรรพคุณจากเปลือกเนื้อไม้
    – เป็นยาขับระบบหมุนเวียนเส้นโลหิตฝอยในร่างกาย ด้วยการนำเปลือกเนื้อไม้มาต้มกับน้ำแล้วดื่ม
  • สรรพคุณจากราก เป็นยาแก้บิด

ประโยชน์ของโมกแดง

1. เป็นส่วนประกอบของอาหาร ยอดนำมาทานเป็นผักสดหรือนำมาใส่แกงได้
2. ปลูกเป็นไม้ประดับ ดอกมีกลิ่นหอมอมเปรี้ยวและสวยงาม

โมกแดง เป็นไม้พุ่มที่หาได้ยากและมักจะขึ้นตามป่าโดยมีลักษณะเด่นอยู่ที่ส่วนของดอก ดอกจะบานในตอนกลางคืนและจะบานได้วันเดียวเท่านั้นก็จะร่วงโรย แถมยังมีกลิ่นหอมอมเปรี้ยวและมีดอกสีส้มอมสีชมพูหรือสีแดงทำให้ต้นดูโดดเด่น โมกแดงมีสรรพคุณทางยาได้หลายส่วนจากต้นโดยเฉพาะส่วนของเปลือกเนื้อไม้และราก มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ ขับระบบหมุนเวียนเส้นโลหิตฝอยและแก้บิด ถือเป็นต้นที่เหมาะต่อระบบเลือดในร่างกาย

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. “โมกแดง (Mok Daeng)”. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). หน้า 246.
หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคเหนือ. “โมกแดง”. (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ). หน้า 164.
หนังสือพรรณไม้สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เล่ม 5. “โมกแดง”.
หนังสือพรรณไม้ป่าชายหาด. (มัณฑนา นวลเจริญ). “โมกแดง”. หน้า 129.
พืชสมุนไพรโตนงาช้าง. “โมกแดง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: paro6.dnp.go.th/web_km/พืชสมุนไพรโตนงาช้าง/. [19 พ.ค. 2014].

ต้นเคอร์รี่ลีฟ บำรุงสมอง ขจัดรังแค และป้องกันผมหงอกก่อนวัย

0
ต้นเคอร์รี่ลีฟ สมุนไพรช่วยบำรุงสมอง ขจัดรังแค และป้องกันผมหงอกก่อนวัย
ต้นเคอร์รี่ลีฟ เป็นสมุนไพรไม้ยืนต้น เป็นส่วนผสมของเครื่องเทศในการปรุงอาหาร รสชาติที่เป็นเอกลักษณ์
ต้นเคอร์รี่ลีฟ สมุนไพรช่วยบำรุงสมอง ขจัดรังแค และป้องกันผมหงอกก่อนวัย
ต้นเคอร์รี่ลีฟ เป็นสมุนไพรไม้ยืนต้น เป็นส่วนผสมของเครื่องเทศในการปรุงอาหาร รสชาติที่เป็นเอกลักษณ์

ต้นเคอร์รี่ลีฟ

ต้นเคอร์รี่ลีฟ หรือหอมแขก (Curry Leaves) เป็นไม้ยืนต้นพบได้ในเขตร้อนมีกำเนิดในประเทศอินเดีย ศรีลังกา บังกลาเทศ และหลายประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีคุณค่าทางโภชนาการมากมาย มักใช้เป็นส่วนผสมของเครื่องเทศในการปรุงอาหารใบต้นเคอร์รี่ลีฟ อุดมไปด้วยสารสำคัญ เช่น อัลคาลอยด์ ไกลโคไซด์ และฟีนอลิก ซึ่งทำให้สมุนไพรชนิดนี้มีกลิ่นหอม และรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์มีประโยชน์ต่อสุขภาพ โดยเฉพาะใบต้นเคอร์รี่ลีฟถูกนำมาใส่ลงในอาหารเพื่อเพิ่มรสชาติให้เข้มข้น และนิยมใส่ในอาหารประเภทเนื้อสัตว์ แกงกะหรี่ น้ำซุป ผงใบเคอร์รี่ลีฟแห้งใส่โรยหน้าขนมปัง เป็นต้น

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของต้นเคอร์รี่ลีฟ

ชื่อสามัญ : ต้นเคอร์รี่ลีฟ, Curry Leaves, sweet neem leaves (อินเดีย), ต้นหอมแขก, ต้นใบกระหรี่, ต้นแกงกะหรี่, ใบแกง, นิมหวาน, ต้นใบแกง, ใบหมุย
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Murraya koenigii
ต้นเคอร์รี่ลีฟตระกูลเดียวกับสะเดา : Murraya

ลักษณะของต้นเคอร์รี่ลีฟ

ลำต้นต้นเคอร์รี่ลีฟ : ลำต้นสูงประมาณ 2.5 เมตร ลำต้นสีเขียวเข้มหรือน้ำตาล
ใบต้นเคอร์รี่ลีฟ : ใบเรียวยาว ใบด้านบนสีเขียวเข้มส่วนใต้ใบสีเขียวซีด
ดอกต้นเคอร์รี่ลีฟ : ดอกขนาดเล็ก มีกลิ่นหอม
ผลต้นเคอร์รี่ลีฟ : เนิ้อหวาน ผลสีดำกินได้
ส่วนที่ใช้งานของต้นเคอร์รี่ลีฟ : ใบหอมแขก, เปลือกไม้หอมแขก, ผลหอมแขก, รากหอมแขก

คุณสารอาหารทางโภชนาการของต้นเคอร์รี่ลีฟ

สารอาหารสำคัญพบในใบต้นเคอร์รี่ลีฟ ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต พลังงาน ไฟเบอร์ แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก แมกนีเซียม ทองแดง และแร่ธาตุ นอกจากนี้ยังมีวิตามินต่างๆ เช่น กรดนิโคตินิกและวิตามินซี วิตามินเอ วิตามินบี วิตามินอี สารต้านอนุมูลอิสระ สเตอรอลจากพืช กรดอะมิโน ไกลโคไซด์ และฟลาโวนอยด์ ไขมัน 0.1 กรัม

สรรพคุณของต้นเคอร์รี่ลีฟ

  • ช่วยลดน้ำหนัก
  • ช่วยลดอาการปวด และยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา
  • ต้นเคอร์รี่ลีฟช่วยในการควบคุมระดับคอเลสเตอรอลในร่างกาย
  • ช่วยรักษาโรคบิด ท้องผูก ท้องเสีย
  • ช่วยย่อยอาหาร ต้นเคอร์รี่ลีฟใช้ขับของเสียในลำไส้ และมีคุณสมบัติเป็นยาระบายอ่อนๆ
  • ช่วยลดอาการแพ้ท้องและคลื่นไส้
  • ช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจ
  • ต้นเคอร์รี่ลีฟช่วยแก้ปัญหาเรื่องประจำเดือน
  • ช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อย
  • ช่วยในการรักษาสุขภาพช่องปากและป้องกันโรคในช่องปาก
  • ต้นเคอร์รี่ลีฟบำรุงโลหิต และป้องกันโรคโลหิตจาง
  • ต้นเคอร์รี่ลีฟช่วยล้างสารพิษ ขับสารพิษออกจากร่างกาย
  • ช่วยบำรุงสายตา ป้องกันระบบประสาท และต้อกระจกในระยะเริ่มต้น
  • ต้นเคอร์รี่ลีฟช่วยลดความเครียดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ช่วยสมานแผล ป้องกันการติดเชื้อ รอยฟกช้ำ และฟื้นฟูเซลล์ผิวจากแผลไฟไหม้
  • ต้นเคอร์รี่ลีฟช่วยขจัดรังแค ผมร่วง ผมหงอกก่อนวัย และกระตุ้นรูขุมขน บำรุงเส้นผมให้แข็งแรง ทำให้ผมดำเป็นธรรมชาติ
  • ช่วยบำรุงสมอง ช่วยป้องกันความเสื่อมของระบบประสาท เช่น โรคอัลไซเมอร์
  • ต้นเคอร์รี่ลีฟช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ที่สูงได้
  • ใบต้นเคอร์รี่ลีฟช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตเซลล์มะเร็ง เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก มะเร็งลำไส้ และมะเร็งปอด

อย่างไรก็ตามการกินต้นเคอร์รี่ลีฟทั้ง ใบ ผล เปลือกไม้ และราก สามารถใช้ประโยชน์ได้หลากหลายนำใบมาประดับจานอาหารและใช้ใบต้นเคอร์รี่ลีฟหั่นใส่ในอาหาร สตูว์ แกงกะหรี่ เพื่อเพิ่มรสชาติความอร่อย เนื่องจากใบต้นเคอร์รี่ลีฟเป็นเครื่องเทศที่ได้รับความนิยมรวมถึงมีสรรพคุณทางยาสมุนไพรมีฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

สตรอเบอรี่ต้น ผลไม้ต่างประเทศสีสันสดใส ช่วยลดอาการปวดข้อ สมานแผล

0
สตรอเบอรี่ต้น ผลไม้ต่างประเทศสีสันสดใส ช่วยลดอาการปวดข้อ สมานแผล
ต้นสตรอเบอร์รี่ เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก ดอกรูประฆังสีขาว ผลสีแดงขนาดเล็ก ผิวหยาบ รสชาติหวานคล้ายมะเดื่อ นิยมนำมาทำแยม เครื่องดื่มและ เหล้า
สตรอเบอรี่ต้น ผลไม้ต่างประเทศสีสันสดใส ช่วยลดอาการปวดข้อ สมานแผล
ต้นสตรอเบอร์รี่ เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก ดอกรูประฆังสีขาว ผลสีแดงขนาดเล็ก ผิวหยาบ รสชาติหวานคล้ายมะเดื่อ นิยมนำมาทำแยม เครื่องดื่มและ เหล้า

สตรอเบอรี่ต้น

สตรอเบอรี่ต้น Arbutus Unedo หรือ Strawberry Tree เป็นไม้พุ่มขนาดกลางต้นสูงประมาณ 8 เมตร ดอกมีกลิ่นหอมคล้ายแอปริคอต ซึ่งผลไม้ชนิดนี้มีเอกลักษณ์คือมีผลสีแดงเมื่อสุกโดดเด่นสะดุดตา รสหวานอมเปรี้ยวคล้ายลูกแพร์ เป็นที่รู้จักกันในชื่อสตรอเบอร์รี่ต้น, Albocera, Alborsos, Arbocera, madrollo, madroño ผลของต้นสตรอเบอร์รี่สามารถรับประทานสดได้ ทำแยมสตรอเบอรี่ หรือเหล้า รวมถึงยังมีประโยชน์ทางด้านยาสมุนไพรใช้รากและใบนำมาต้มรักษาอาการท้องร่วง และใช้เป็นยาฆ่าเชื้อทางเดินปัสสาวะ อีกทั้งยังอุดมวิตามิน แทนนิน เพกติน แอนโทไซยานิน โพลีฟีนอล วิตามินซี และสารต้านอนุมูลอิสระอีกด้วย

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของสตรอเบอรี่ต้น

ชื่อสามัญ : strawberry tree
ชื่อภาษาสเปน : Madrono
ชื่อภาษาอิตาลี : Corbezzolo
ชื่อภาษากรีก : Koumaria
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Arbutus unedo L.
ชื่อวงศ์  : Ericaceae.

ถิ่นต้นกำเนิดของสตรอเบอรี่ต้น

มีถิ่นกำเนิดในแถบเมดิเตอร์เรเนียน แต่ยังเป็นไม้ประดับที่ได้รับความนิยมทั่วทั้งภาคตะวันตกเฉียงเหนือของสหรัฐอเมริกา ชาวโรมันเรียกต้นไม้นี้ว่า Arbutus Unedo และสานกิ่งก้านเข้าด้วยกันเพื่อทำพิธีฝังศพ ในกรีซถูกเรียกว่า Andrachne หรือที่รู้จักกันทั่วไปว่าเป็นต้นสตรอเบอร์รี่ของกรีก

ลักษณะทั่วไปของสตรอเบอรี่ต้น

ลำต้น : ลำต้นตั้งตรงมีเปลือกสีน้ำตาลแดงและผิวเปลือกไม้เป็นเกล็ด กิ่งแตกออกจากลำต้นโดยรอบ กิ่งอ่อนสีเขียวอมเทา
ผล : ผลไม้ทรงกลมที่มีรสชาติกลมกล่อม ผลสตรอเบอรี่ต้นมีขนาดเล็กเส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ย 1 – 3 เซนติเมตร ผลมีหนามแหลมอ่อนคล้ายลิ้นจี่ เนื้อสีเหลืองทองน่ากิน
ใบ : ใบเรียวยาว 2-4 นิ้ว ใบหยักเล็กน้อย ผิวใบมันเงาสีเขียวเข้ม
ดอก : ช่อดอกขนาดเล็กสีขาวหรือสีชมพูอ่อน ดอกคล้ายมงกุฎทรงมนออกเป็นช่อ 10-30 ดอก ส่วนบนใหญ่แล้วค่อยๆ แคบลงส่วนปลายดอกบานออกเล็กน้อย ออกดอกจะเริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงธันวาคม

ประโยชน์ของสตรอเบอรี่ต้น

  • ใช้เป็นยาสมานแผล
  • ช่วยรักษาโรคไขข้อ
  • ใช้เป็นยาชูกำลัง
  • ช่วยลดอาการเจ็บคอและระคายเคืองได้
  • ช่วยลดอาการปวดข้อ
  • ใช้เป็นยาระบาย
  • ช่วยต้านการอักเสบ
  • ช่วยต้านเชื้อแบคทีเรียและไวรัส
  • ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ
  • ช่วยป้องกันโรคหืด และการติดเชื้อในหลอดลม
  • ช่วยให้เลือดไหลเวียนดี

การขยายพันธุ์สตรอเบอรี่ต้น

  • เพาะจากเมล็ดโดยการแช่เมล็ดแก่ในน้ำอุ่นประมาณ 5-6 วัน ก่อนลงปลูก
  • การปักชำใช้ไม้ที่โตเต็มที่ยาวประมาณ 15-20 ซม. การเจริญเติบโตง่าย ทนแล้ง

ต้นสตรอเบอร์รี่มีประโยชน์ทางด้านยาสมุนไพรใช้รากและใบนำมาต้มรักษาอาการท้องร่วง และใช้เป็นยาฆ่าเชื้อทางเดินปัสสาวะ และนิยมปลูกเป็นไม้ประดับในต่างประเทศ

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม