ผักตบไทย รสจืด แก้พิษ แก้รังแค เป็นยาขับลมและขับปัสสาวะ

0
ผักตบไทย
ผักตบไทย พบตามแหล่งน้ำหรือคลองบึง ใบเดี่ยว มีดอกสีน้ำเงินปนม่วง ผลเป็นรูปวงรีแคปซูล ผลมีเมล็ดเป็นสีน้ำตาลจำนวนมาก

ผักตบไทย ทั้งต้นรสจืด แก้พิษในร่างกาย แก้รังแค เป็นยาขับลมและขับปัสสาวะ

ผักตบไทย

ผักตบไทย (Monochria) เป็นพืชในวงศ์ผักตบที่มักจะพบตามแหล่งน้ำหรือคลองบึงทั่วไป มีดอกสีน้ำเงินปนม่วงทำให้คลองหรือแหล่งน้ำที่มีผักตบไทยดูสวยงาม จึงนิยมนำมาใช้เป็นไม้ปลูกประดับได้ นอกจากนั้นผักตบไทยจะมีความนิ่มกรอบจึงนำมาทานเป็นผักสดจิ้มกับน้ำพริกหรือนำมาปรุงในเมนูอาหารต่าง ๆ เป็นผักที่มีคุณค่าทางโภชนาการและมีสรรพคุณทางยาสมุนไพรได้ทั้งต้น

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของผักตบไทย

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Monochoria hastata (L.) Solms
ชื่อสามัญ : มีชื่อสามัญว่า “Monochria” “Monochoria arrowleaf falsepickerelweed”
ชื่อท้องถิ่น : ภาคกลางเรียกว่า “ผักตบ ผักโป่ง” จังหวัดสงขลาเรียกว่า “ผักสิ้น” มีชื่ออื่น ๆ ว่า “ผักตบเขียด”
ชื่อวงศ์ : วงศ์ผักตบ (PONTEDERIACEAE)

ลักษณะของผักตบไทย

ผักตบไทย เป็นไม้ล้มลุกอายุหลายปีที่มีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบได้ตั้งแต่อินเดีย เนปาล ศรีลังกา พม่า ภูมิภาคอินโดจีนและภูมิภาคมาเลเซีย ในประเทศไทยพบได้ทุกภาคและมักจะขึ้นอยู่ในน้ำ พบตามแหล่งน้ำจืด ริมหนองน้ำ คลองบึง ที่ชื้นแฉะ โคลนตมและตามท้องนาทั่วไป
ลำต้น : ลำต้นอยู่ใต้ดิน ชูก้านใบเหนือระดับน้ำ มีเหง้าใหญ่และแตกลำต้นเป็นกอ
ใบ : เป็นใบเดี่ยว แทงออกมาจากลำต้นใต้ดิน ก้านใบส่วนล่างมีลักษณะเป็นกาบหุ้มซ้อนกัน ก้านใบส่วนบนมีลักษณะกลมยาวและอวบน้ำ แผ่นใบเป็นรูปหัวใจหรือรูปสามเหลี่ยมคล้ายหัวลูกศร ปลายใบแหลม โคนใบมนเว้า ขอบใบเรียบ หลังใบและท้องใบเรียบเกลี้ยง ก้านใบยาวอวบ ส่วนโคนของก้านใบแผ่ออกเป็นกาบ
ดอก : ออกดอกเป็นช่อกระจะโดยจะออกจากโคนก้านใบหรือใกล้แผ่นใบ ดอกแทงมาจากราก มีแผ่นใบประดับสีเขียวรองรับดอกย่อย 15 – 16 ดอก กลีบรวมมีจำนวน 6 กลีบ เรียงเป็น 2 วง วงละ 3 กลีบ กลีบดอกเป็นสีน้ำเงินปนม่วง สีฟ้าปนม่วงหรือมีสีขาวแต้มบ้างเล็กน้อย กลีบดอกค่อนข้างบอบบาง ดอกมีเกสรเพศผู้ 6 อัน ติดอยู่บนวงกลีบรวม แบ่งเป็นขนาดสั้น 5 อัน และขนาดยาว 1 อัน เมื่อดอกได้รับการผสม กลีบรวมจะรัดห่อหุ้มผล ส่วนปลายกลีบบิดพันเป็นเกลียว มักจะออกดอกในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนพฤศจิกายน
ผล : ผลเป็นแบบแคปซูลลักษณะเป็นรูปวงรี แห้งและแตกได้
เมล็ด : ภายในผลมีเมล็ดจำนวนมาก เมล็ดเป็นสีน้ำตาล

สรรพคุณของผักตบไทย

  • สรรพคุณจากทั้งต้น แก้พิษในร่างกาย เป็นยาขับลม
    – แก้แผลอักเสบ ช่วยถอนพิษ แก้อาการปวดแสบปวดร้อน ด้วยการนำต้นสดใช้ตำพอกหรือใช้ทา
  • สรรพคุณจากใบ เป็นยาขับพิษร้อน เป็นยาขับปัสสาวะ เป็นยาทาแก้ฝี
    – เป็นยาแก้พิษเบื่อเมา ด้วยการนำใบมาตำผสมกับผักกระเฉดแล้วคั้นเอาน้ำมาดื่ม
  • สรรพคุณจากเหง้า
    แก้รังแค ชาวเกาะนำเหง้ามาบดกับถ่านใช้ทาแก้อาการ

ประโยชน์ของผักตบไทย

1. เป็นส่วนประกอบของอาหาร ยอดอ่อน ก้านใบอ่อนและช่อดอกนำมาทานเป็นผักสดจิ้มกับน้ำพริก น้ำพริกปลา ส้มตำหรือลวกจิ้มกับน้ำพริก ยอดอ่อนและดอกอ่อนยังนำไปปรุงในแกงส้ม แกงเลียงหรือนำมาผัดได้ด้วย
2. ปลูกเป็นไม้ประดับ
3. ใช้ในการเกษตร ทั้งต้นนำมาหั่นเป็นฝอยใช้เลี้ยงหมูหรือทำเป็นปุ๋ยหมักได้
4. ใช้ในอุตสาหกรรม ลำต้นนำมาตากแห้งใช้ทำเป็นเครื่องจักสานต่าง ๆ

คุณค่าทางโภชนาการของผักตบไทยต่อ 100 กรัม

คุณค่าทางโภชนาการของผักตบไทยต่อ 100 กรัม ให้พลังงาน 9 กิโลแคลอรี

สารอาหาร ปริมาณสารอาหารที่ได้รับ
ใยอาหาร 0.7 กรัม
แคลเซียม  31 มิลลิกรัม
เหล็ก 0.1 มิลลิกรัม
ฟอสฟอรัส 28 มิลลิกรัม
เบต้าแคโรทีน 1,961 ไมโครกรัม
วิตามินเอ 324 ไมโคกรัมของเรตินอล
วิตามินบี1 0.01 มิลลิกรัม
วิตามินบี2 0.30 มิลลิกรัม
วิตามินบี3 3.1 มิลลิกรัม
วิตามินซี 5 มิลลิกรัม

ผักตบไทย ทั้งต้นมีรสจืดและนิ่มกรอบจึงเหมาะสำหรับนำมารับประทานเป็นผักสดจิ้มกับน้ำพริกและปรุงในแกงได้ นอกจากนั้นยังมีดอกสีน้ำเงินปนม่วงอยู่ในน้ำจึงนำมาปลูกประดับในสวนน้ำได้ ชาวเกาะนำมาใช้เป็นยาสมุนไพร ผักตบไทยมีสรรพคุณทางยาได้หลายส่วนจากต้นโดยเฉพาะทั้งต้นและใบ มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ แก้พิษในร่างกาย เป็นยาขับลม เป็นยาขับปัสสาวะและแก้รังแคได้ ถือเป็นต้นที่พบได้ทั่วไปในน้ำและสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลายด้านและยังมีคุณค่าทางโภชนาการอีกด้วย

สั่งซื้อผลิตภัณฑ์อาหารทางการแพทย์ เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). “ผักตบไทย (Phak Top Thai)”. หน้า 177.
ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “ผักตบไทย”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.phargarden.com. [18 พ.ย. 2014].
ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. “ผักตบไทย”. อ้างอิงใน : หนังสือ พรรณไม้น้ำบึงบอระเพ็ด. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.qsbg.org. [18 พ.ย. 2014].
ฝ่ายปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (นพพล เกตุประสาท). “ผักตบไทย”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : clgc.rdi.ku.ac.th. [18 พ.ย. 2014].

ผักปลาบใบกว้าง ช่วยให้เจริญอาหาร เป็นยาระบาย แก้ระคายเคืองผิวหนังและแก้ปวด

0
ผักตบไทย ทั้งต้นรสจืด แก้พิษในร่างกาย แก้รังแค เป็นยาขับลมและขับปัสสาวะ
ผักตบไทย พบตามแหล่งน้ำหรือคลองบึง ใบเดี่ยว มีดอกสีน้ำเงินปนม่วง ผลเป็นรูปวงรีแคปซูล ผลมีเมล็ดเป็นสีน้ำตาลจำนวนมาก
ผักตบไทย ทั้งต้นรสจืด แก้พิษในร่างกาย แก้รังแค เป็นยาขับลมและขับปัสสาวะ
ผักตบไทย พบตามแหล่งน้ำหรือคลองบึง ใบเดี่ยว มีดอกสีน้ำเงินปนม่วง ผลเป็นรูปวงรีแคปซูล ผลมีเมล็ดเป็นสีน้ำตาลจำนวนมาก

ผักปลาบใบกว้าง

ผักปลาบใบกว้าง (Benghal dayflower) เป็นพืชในวงศ์ผักปลาบที่มักจะพบตามที่ลุ่มชื้นแฉะทั่วไป มีดอกสีฟ้าอ่อนทำให้ต้นดูสวยงาม ทั้งต้นมีรสเฝื่อนแต่สามารถนำมาใช้เป็นยาสมุนไพรได้ ผักปลาบใบกว้างยังเป็นต้นที่อยู่ในตำรายาของชาวเมี่ยนอีกด้วย และยังเป็นอาหารของโคกระบือได้ เป็นต้นที่มีประโยชน์มากกว่าความสวยงามของดอกภายนอก เพียงแต่ว่าอาจจะไม่ได้พบง่ายสักเท่าไหร่และคนทั่วไปไม่ค่อยรู้จักกัน

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของผักปลาบใบกว้าง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Commelina benghalensis L.
ชื่อสามัญ : มีชื่อสามัญว่า “Benghal dayflower” “Dayflower” “Tropical spiderwort” “Wondering jew”
ชื่อท้องถิ่น : คนเมืองเรียกว่า “ผักกาบปลี” ชาวขมุเรียกว่า “ผักงอง” ชาวเมี่ยนเรียกว่า “สะพาน” ไทลื้อเรียกว่า “ผักขาบ” มีชื่ออื่น ๆ ว่า “ผักปลาบใบกว้าง ผักปราบ”
ชื่อวงศ์ : วงศ์ผักปลาบ (COMMELINACEAE)
ชื่อพ้อง : Commelina prostrata Regel

ลักษณะของผักปลาบใบกว้าง

ผักปลาบใบกว้าง เป็นพรรณไม้ล้มลุกที่มักจะพบตามที่ว่างเปล่าและไม่เลือกดิน ตามริมน้ำ ทุ่งหญ้า ที่ลุ่มชื้นและภูมิภาคเขตศูนย์สูตร ในประเทศไทยมักจะพบในจังหวัดนครราชสีมาและแม่ฮ่องสอน
ลำต้น : ลำต้นมีลักษณะทอดเลื้อยแต่ชูขึ้น เป็นสีเขียวอวบน้ำ แตกกิ่งก้านสาขามาก ตามกิ่งก้านมีขนอ่อน ๆ ขึ้นปกคลุม
ใบ : เป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับกันไปตามข้อของต้น ลักษณะของใบเป็นรูปไข่มนหรือรูปวงรี ปลายใบแหลมหรือมน โคนใบมน ขอบใบเรียบแต่มีขนครุย แผ่นใบเป็นสีเขียว มีขนขึ้นปกคลุมทั่วใบทั้งสองด้านและหลังใบประดับจะมีขนละเอียดสั้น ๆ ปกคลุมอย่างหนาแน่น
ดอก : ออกดอกเป็นช่อกระจุกตามซอกใบหรือออกตามปลายกิ่ง ดอกจะอยู่ภายในกาบรองดอก ดอกเป็นสีฟ้าอ่อน มีกลีบดอก 3 กลีบ โดยกลีบกลางจะมีขนาดใหญ่กว่ากลีบด้านข้าง กลีบรองดอกเป็นสีเขียวอ่อนใสมี 3 กลีบ อับเกสรเพศผู้มี 6 อัน โดยมี 4 อันที่เป็นหมันสีเหลืองสด ส่วนอีก 2 อันที่เหลือไม่เป็นหมันแต่จะเป็นสีม่วงเข้ม ยอดและก้านเกสรเพศเมียและก้านชูอับเรณูเป็นสีม่วงอ่อน มักจะออกดอกในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน
ผล : ลักษณะของผลเป็นรูปวงรีปลายตัด ผลจะแบ่งออกเป็น 3 ช่อง ช่องหนึ่งถ้าแก่แล้วจะไม่แตกแต่อีก 2 ช่องนั้นจะแตก
เมล็ด : สามารถมองเห็นเมล็ด 2 เมล็ด ลักษณะของเมล็ดเป็นรูปขอบขนาน ผิวขรุขระและมีสีเทาเข้ม

สรรพคุณของผักปลาบใบกว้าง

  • สรรพคุณจากทั้งต้น ช่วยทำให้เจริญอาหาร เป็นยาระบาย แก้โรคเรื้อน แก้อาการระคายเคืองที่ผิวหนัง บรรเทาอาการปวด อาจเป็นยาแก้ปวดขัดปัสสาวะและแก้ผื่นคันได้แต่ข้อมูลไม่แน่ชัด
  • สรรพคุณจากใบ
    – ทำให้หายป่วย ชาวเมี่ยนนำใบมาต้มกับน้ำเพื่ออาบ

ประโยชน์ของผักปลาบใบกว้าง

1. เป็นส่วนประกอบของอาหาร ยอดอ่อนนำมานึ่งหรือลวกเป็นผักจิ้มกับน้ำพริกหรือนำมาใช้ใส่ในแกงส้มได้
2. ใช้ในการเกษตร เป็นอาหารของโคกระบือ นำยอดและใบมาสับแบบหยาบแล้วผสมกับรำใช้เป็นอาหารหมูได้

คุณค่าทางโภชนาการของผักปลาบใบกว้าง

สารอาหาร ปริมาณที่ได้รับ
โปรตีน 20%
แคลเซียม 1.1%
ธาตุเหล็ก 573 ppm
ฟอสฟอรัส  0.3%
โพแทสเซียม  3.9%
ADF 41%
NDF 50%
ไนเตรท 645 ppm

ผักปลาบใบกว้าง สามารถใช้ประโยชน์ได้ทั้งด้านยาสมุนไพร เป็นส่วนประกอบในอาหารอย่างเมนูแกงส้มหรือนำมารับประทานเป็นผัก และยังเป็นอาหารสำหรับสัตว์เลี้ยงอย่างโคกระบือได้ เป็นพืชที่มีสารอาหารและโภชนาการที่ดีชนิดหนึ่ง ผักปลาบใบกว้างมีสรรพคุณทางยาได้หลายส่วนจากใบและทั้งต้น มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ ทำให้เจริญอาหาร เป็นยาระบาย ทำให้หายป่วย แก้อาการระคายเคืองที่ผิวหนังและบรรเทาอาการปวดได้ เป็นต้นที่มีสรรพคุณมากกว่าที่เห็นเป็นวัชพืชภายนอก

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “ผักปลาบ”. หน้า 501-502.
โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง, สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน). “ผักปลาบ”. อ้างอิงใน : หนังสือชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : eherb.hrdi.or.th. [16 พ.ย. 2014].
ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์นครราชสีมา, กรมปศุสัตว์. “ผักปลาบ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : ncna-nak.dld.go.th. [16 พ.ย. 2014].

ผักปลาบใบแคบ พืชในที่ชื้นแฉะ แก้ไอมีน้ำมูก แก้อาการหูอื้อและปวดหู

0
ผักปลาบใบแคบ พืชในที่ชื้นแฉะ แก้ไอมีน้ำมูก แก้อาการหูอื้อและปวดหู
ผักปลาบใบแคบ เป็นผักที่สามารถพบได้ทั่วไปในประเทศไทย เป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับกัน ดอกเป็นสีม่วงน้ำเงินหรือสีม่วงคราม
ผักปลาบใบแคบ พืชในที่ชื้นแฉะ แก้ไอมีน้ำมูก แก้อาการหูอื้อและปวดหู
ผักปลาบใบแคบ เป็นผักที่สามารถพบได้ทั่วไปในประเทศไทย เป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับกัน ดอกเป็นสีม่วงน้ำเงินหรือสีม่วงคราม

ผักปลาบใบแคบ

ผักปลาบใบแคบ (Climbing dayflower) เป็นผักที่สามารถพบได้ทั่วทุกภาคในประเทศไทย มักจะพบในที่ชื้นแฉะหรือป่าดิบชื้น มีดอกเป็นสีม่วงน้ำเงินหรือสีม่วงครามโดดเด่นอย่างสวยงามอยู่บนต้น ทำให้ต้นดูน่ามองและสามารถเป็นไม้ปลูกประดับได้ ทั้งต้นนั้นมีรสหวานเย็น สามารถนำยอดอ่อนและใบมารับประทานในรูปแบบผักแกล้มจิ้มกับน้ำพริกปลาทูหรือปรุงในแกงต่าง ๆ นอกจากนั้นยังเป็นยาสมุนไพรของชาวเขาเผ่าอีก้อและแม้ว รวมถึงยาสมุนไพรพื้นบ้านล้านนาด้วย

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของผักปลาบใบแคบ

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Commelina diffusa Burm.f.
ชื่อสามัญ : มีชื่อสามัญว่า “Climbing dayflower” “Frenchweed” “Spreading dayflower” “Wandering jew” “Watergrass”
ชื่อท้องถิ่น : ภาคกลางเรียกว่า “ผักปลาบ” จังหวัดเชียงใหม่เรียกว่า “ผักปลายขอบใบเรียว” ชาวปะหล่องเรียกว่า “ด่อเบล่ร่อด ด่อเบล่บรู้” ชาวกะเหรี่ยงแดงเรียกว่า “โต่ะอูเหมาะ” มีชื่ออื่น ๆ ว่า “ผักปลาบนา หญ้ากาบผี กินกุ้งน้อย”
ชื่อวงศ์ : วงศ์ผักปลาบ (COMMELINACEAE)
ชื่อพ้อง : Commelina longicaulis Jacq.

ลักษณะของผักปลาบใบแคบ

ผักปลาบใบแคบ เป็นพรรณไม้ล้มลุกอายุปีเดียวที่มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนของทวีปเอเชีย มักจะพบขึ้นในที่ชื้นแฉะตามที่ร่มเงา ตามป่าดิบชื้น ป่าดิบเขา ที่ร่มทึบ ใกล้ลำธารและในสวนป่า
ลำต้น : ลำต้นแตกกิ่งก้านทอดเลื้อยแผ่ไปตามพื้นดินหรือริมชายน้ำและชูยอดขึ้น มีลักษณะกลมอวบน้ำและไม่มีขน มีรากออกตามข้อ
ใบ : เป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับกัน ลักษณะของใบเป็นรูปขอบขนานหรือรูปขอบขนานแกมใบหอก ขอบใบจักเป็นฟันเลื่อย ผิวใบเรียบหรือมีขนเล็กน้อย หน้าใบไม่มีขน ผิวหน้าใบสาก หลังใบนุ่มไม่มีขนหรืออาจมีแต่น้อยมาก
ดอก : ออกดอกเป็นช่อกระจุกตามซอกใบและที่ปลายกิ่ง ประกอบด้วยดอกย่อย 1 – 3 ดอก กลีบดอกเป็นสีม่วงน้ำเงินหรือม่วงคราม มีใบประดับสีเขียวหุ้มช่อดอก หลังใบประดับมีขนขึ้นปกคลุมปานกลาง กลีบเลี้ยงมี 3 กลีบ เป็นสีเขียวอ่อนใสไปจนถึงสีม่วงอ่อนใส อับเรณูมี 6 อัน โดยมี 4 อันเป็นหมันจะเป็นสีเหลืองสด ส่วนอีก 2 อันไม่เป็นหมันจะเป็นสีม่วงคราม ยอดเกสรเพศเมียเป็นสีม่วงคราม ก้านเกสรเพศเมียและก้านชูอับเรณูเป็นสีม่วงอ่อนใส มักจะออกดอกในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนพฤษภาคม
ผล : เป็นผลแห้งและแตกได้ตามพูหรือตามตะเข็บ ลักษณะเป็นรูปไข่ปลายแหลม
เมล็ด : ภายในผลมีเมล็ดลักษณะค่อนข้างกลม ผิวเมล็ดเรียบ

สรรพคุณของผักปลาบใบแคบ

  • สรรพคุณจากทั้งต้น ช่วยให้เจริญอาหาร เป็นยาระบาย แก้โรคเรื้อน แก้อาการระคายเคืองผิวหนัง ช่วยบรรเทาอาการปวด
  • สรรพคุณจากลำต้น
    แก้ไอมีน้ำมูกข้น สมุนไพรพื้นบ้านล้านนานำลำต้นผสมกับก้นจ้ำทั้งต้น รากสาบเสือ รากปืนนกไส้และรากมะเหลี่ยมหิน จากนั้นนำมาต้มกับน้ำแล้วดื่มเป็นยา
  • สรรพคุณจากทั้งต้นและใบ แก้อาการหูอื้อและปวดหู
    – แก้โรคผิวหนังผื่นคันและหูด ชาวเขาเผ่าอีก้อและแม้วนำใบหรือทั้งต้นมาตำเพื่อคั้นเอาน้ำทา
    – รักษาแผลสด แผลถลอกและเป็นยาห้ามเลือด ด้วยการนำใบหรือทั้งต้นมาตำเพื่อคั้นเอาน้ำทา

ประโยชน์ของผักปลาบใบแคบ

1. เป็นส่วนประกอบของอาหาร ทั้งต้น ยอดอ่อนและใบทานได้ทั้งดิบและสุก สามารถรับประทานเป็นผักแกล้มจิ้มกับน้ำพริกปลาทู แกงผักรวม แกงเลียง แกงส้มหรือนำมาแกงใส่ปลารับประทานเป็นอาหารได้
2. ใช้ในการเกษตร เป็นอาหารสัตว์ของพวกโคเนื้อ โคนมและกระบือ

คุณค่าทางโภชนาการของผักปลาบใบแคบ

คุณค่าทางโภชนาการของผักปลาบใบแคบอายุ 45 วัน

สารอาหาร ปริมาณที่ได้รับ
โปรตีน 16.8 – 19.6%
แคลเซียม 1.6 – 6.5%
ฟอสฟอรัส 0.31%
โพแทสเซียม 4.4%
ADF 31.5 – 35.4%
NDF  42 – 51.1%
ลิกนิน 8.1 – 9.8%
DMD 59.7 – 68.3% (โดยวิธี Nylon bag)
เหล็ก 587 ppm
ไนเตรท 136 ppm
ออกซาลิกแอซิด  913 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์

ผักปลาบใบแคบ เป็นพืชในวงศ์ผักปลาบที่พบได้ง่ายทั่วทุกภาค นิยมนำมาทานเป็นผักแกล้มจิ้มกับน้ำพริกปลาทู เป็นส่วนประกอบในเมนูอาหารอย่างแกงผักรวม แกงเลียง แกงส้มหรือแกงปลา และยังเป็นอาหารของสัตว์แทะเล็มทั้งหลาย เป็นยาสมุนไพรในตำรายาพื้นบ้านล้านนาและชาวเขาเผ่าอีก้อและแม้ว ผักปลาบใบแคบมีสรรพคุณทางยาได้หลายส่วนจากต้นโดยเฉพาะใบและทั้งต้น มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ แก้ไอมีน้ำมูกข้น แก้อาการหูอื้อและปวดหู แก้โรคผิวหนังผื่นคันและหูด เป็นยาระบายและบรรเทาปวดได้

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา. (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “ผักปลาบ”. หน้า 78.
โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง, สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน). “ผักปลาบ”. อ้างอิงใน: หนังสือชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: eherb.hrdi.or.th. [16 พ.ย. 2014].
สำนักพัฒนาอาหารสัตว์ กรมปศุสัตว์. “ผักปลาบใบแคบ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: nutrition.dld.go.th. [16 พ.ย. 2014].
ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. “ผักปลาบนา”. อ้างอิงใน: หนังสือ พรรณไม้น้ำบึงบอระเพ็ด. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.qsbg.org. [16 พ.ย. 2014].
ระบบจัดการฐานความรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้ กรมป่าไม้. “ผักปลาบ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: biodiversity.forest.go.th. [16 พ.ย. 2014].
ผักพื้นบ้านในประเทศไทย กรมส่งเสริมการเกษตร. “ผักปลาบ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: ftp://smc.ssk.ac.th/intranet/Research_AntioxidativeThaiVegetable/. [16 พ.ย. 2014].

ผักแครด ผักพื้นเมืองของหมู่เกาะอินเดียตะวันตก แก้อาการปวดหัว ท้อง ขาและหัวเข่า

0
ผักแครด ผักพื้นเมืองของหมู่เกาะอินเดียตะวันตก แก้อาการปวดหัว ท้อง ขาและหัวเข่า
ผักแครด หรือ หญ้าขี้หมา เป็นพรรณไม้ล้มลุก แตกกิ่งก้านสาขาออกเป็นง่าม ใบเดี่ยวเป็นรูปมนรีหรือรูปไข่ ปลายใบแหลม ดอกเป็นสีเหลืองรูปรางน้ำ
ผักแครด ผักพื้นเมืองของหมู่เกาะอินเดียตะวันตก แก้อาการปวดหัว ท้อง ขาและหัวเข่า
ผักแครด หรือ หญ้าขี้หมา เป็นพรรณไม้ล้มลุก แตกกิ่งก้านสาขาออกเป็นง่าม ใบเดี่ยวเป็นรูปมนรีหรือรูปไข่ ปลายใบแหลม ดอกเป็นสีเหลืองรูปรางน้ำ

ผักแครด

ผักแครด (American weed) เป็นต้นที่มีชื่อเรียกในจังหวัดนครศรีธรรมราชว่า “หญ้าขี้หมา” เป็นไม้พื้นเมืองของหมู่เกาะอินเดียตะวันตกที่มีดอกสีเหลืองเล็กจิ๋วอยู่บนต้น มักจะนำยอดอ่อนมาใช้เป็นส่วนประกอบในเมนูอาหารจำพวกแกงทั้งหลาย เป็นผักที่ไม่ค่อยรู้จักและนิยมนักแต่ก็มีประโยชน์ในการนำทั้งต้นมาใช้เป็นยาสมุนไพรรักษาอาการพื้นฐานทั่วไป บางทีผักแครดก็มักจะขึ้นไปทั่วอาจทำให้เจ้าของที่ดินรำคาญจึงต้องทำการกำจัดพืชชนิดนี้ออกจากพื้นที่

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของผักแครด

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Synedrella nodiflora (L.) Gaertn.
ชื่อสามัญ : มีชื่อสามัญว่า “American weed”
ชื่อท้องถิ่น : ภาคกลางเรียกว่า “สับกา สาบกา” จังหวัดนครศรีธรรมราชเรียกว่า “หญ้าขี้หมา”
ชื่อวงศ์ : วงศ์ทานตะวัน (ASTERACEAE หรือ COMPOSITAE)

ลักษณะของผักแครด

ผักแครด เป็นพรรณไม้ล้มลุกอายุฤดูเดียวที่เป็นไม้พื้นเมืองของหมู่เกาะอินเดียตะวันตก มักจะพบตามที่ชื้นแฉะและตามทุ่งหญ้า
ลำต้น : ลำต้นตั้งตรง แตกกิ่งก้านสาขาออกเป็นง่าม ตามกิ่งจะมีขนขึ้นปกคลุมประปราย
ใบ : เป็นใบเดี่ยว การเกาะติดของใบบนกิ่งจะเป็นแบบตรงข้ามสลับตั้งฉากกัน ลักษณะของใบเป็นรูปมนรีหรือรูปไข่ ปลายใบแหลม โคนใบสอบติดเป็นปีกกับก้านใบ ขอบใบจักเป็นฟันเลื่อย แผ่นใบเป็นสีเขียว เนื้อใบบาง ผิวใบทั้งสองด้านมีขนปกคลุมอยู่ ก้านใบสั้น
ดอก : ออกดอกเป็นช่อกระจุกแน่นตามซอกใบหรือที่ปลายยอดแต่จะมีเฉพาะที่ส่วนยอดของลำต้นเท่านั้น ไม่มีก้านดอก ดอกเป็นสีเหลืองรูปรางน้ำแบ่งออกเป็น 2 วง วงนอกปลายแหลมและมีขนสีขาวขึ้นปกคลุมอยู่ประปราย วงในปลายมนและผิวเกลี้ยง
ผล : ผลเป็นสีน้ำตาลดำหรือสีดำขนาดเล็ก ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกระบอก ที่ปลายมีขนเป็นหนามแหลมยาวหลายอัน

สรรพคุณของผักแครด

  • สรรพคุณจากทั้งต้น เป็นยาทาแก้โรคไขข้ออักเสบ
    – แก้อาการปวดศีรษะ ด้วยการนำทั้งต้นมาตำแล้วพอกศีรษะ
    – แก้หูเจ็บ ด้วยการนำทั้งต้นมาคั้นเอาน้ำใช้หยอดหู
    – สมานบาดแผล ด้วยการนำทั้งต้นมาตำแล้วพอกหรือทา
    – แก้อาการปวดขาและปวดเข่า ด้วยการนำทั้งต้นมาตำแล้วพอกขา
  • สรรพคุณจากใบ
    – แก้อาการปวดท้อง ด้วยการนำใบมาคั้นเอาน้ำใช้เป็นยา

ประโยชน์ของผักแครด

เป็นส่วนประกอบของอาหาร ยอดอ่อนใช้ปรุงเป็นอาหารประเภทแกง

วิธีการกำจัดผักแครด

1. วิธีการเขตกรรมทั่วไป ได้แก่ การถากหรือตัดให้สั้นเพื่อไม่ให้ออกดอก การขุดทิ้ง
2. การใช้สารเคมีต่าง ๆ ได้แก่ สารเคมไกลโพเซต 16 (ไกลโพเซต ไอโซโพรพิลแอมโมเนียม), ทัชดาวน์ (ไกลโฟเซต, ไตรมีเซียมซอลต์), อามีทรีน (อามีทรีน), โดเรมี (2,4 – ดี ไอโซบิวทิล เอสเทอร์)

ผักแครด เป็นพืชที่มักจะขึ้นในที่ชื้นแฉะและมักจะเป็นวัชพืชส่วนเกิน ทว่าผักแครดนั้นเป็นผักที่สามารถนำส่วนของยอดอ่อนมาปรุงในอาหารจำพวกแกงได้ และยังนำส่วนของทั้งต้นมาแก้อาการพื้นฐานภายนอกได้อีกด้วย ผักแครดมีสรรพคุณทางยาได้หลายส่วนจากต้นโดยเฉพาะส่วนของใบและทั้งต้น มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ แก้อาการปวดหัว ปวดท้อง ปวดขาและหัวเข่า แก้หูเจ็บและแก้โรคไขข้ออักเสบได้

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “ผักแครด”. หน้า 486-487.
สวนพฤกษศาสตร์สายยาไทย. “ผักแครด”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.saiyathai.com. [19 พ.ย. 2014].
ฝ่ายปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (ไพร มัทธวรัตน์). “ผักแครด”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : clgc.rdi.ku.ac.th. [19 พ.ย. 2014].
กรมประมง. “ผักแครด”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.fisheries.go.th. [19 พ.ย. 2014].

ผักบุ้งร่วม ขอบใบจักเป็นฟันเลื่อยโดดเด่น เป็นยาดีต่อระบบย่อยอาหาร

0
ผักบุ้งร่วม ขอบใบจักเป็นฟันเลื่อยโดดเด่น เป็นยาดีต่อระบบย่อยอาหาร
ผักบุ้งร่วม เป็นพรรณไม้เลื้อยล้มลุก วงศ์ทานตะวัน อยู่ตามพื้นน้ำหรือพื้นที่น้ำขัง ดอกเป็นสีขาวออกเขียวอ่อน กลิ่นหอม
ผักบุ้งร่วม ขอบใบจักเป็นฟันเลื่อยโดดเด่น เป็นยาดีต่อระบบย่อยอาหาร
ผักบุ้งร่วม เป็นพรรณไม้เลื้อยล้มลุก วงศ์ทานตะวัน อยู่ตามพื้นน้ำหรือพื้นที่น้ำขัง ดอกเป็นสีขาวออกเขียวอ่อน กลิ่นหอม

ผักบุ้งร่วม

ผักบุ้งร่วม (Enydra fluctuans Lour) เป็นพืชในวงศ์ทานตะวันที่มักจะพบในที่ชื้นแฉะ มีลักษณะเด่นอยู่ที่ขอบใบจักเป็นฟันเลื่อยทำให้แยกออกได้ง่าย ทั้งนี้อาจจะไม่ใช่พืชที่พบเห็นได้บ่อยนักเพราะมักจะอยู่ตามพื้นน้ำหรือพื้นที่น้ำขัง ในส่วนของการนำมารับประทานนั้นจะนำส่วนของยอดอ่อนมาใช้ ส่วนของสรรพคุณยาสมุนไพรนั้นสามารถนำทั้งต้นมาใช้ประโยชน์ได้ เป็นพืชเตี้ยตามพื้นน้ำที่น่าสนใจกว่าที่เห็น

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของผักบุ้งร่วม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Enydra fluctuans Lour.
ชื่อท้องถิ่น : จังหวัดเชียงใหม่เรียกว่า “ผักบุ้งปลิง ผักแป๋ง” คนไทยเรียกว่า “ผักบุ้งรวม ผักบุ้งร้วม” ชาวเงี้ยวแม่ฮ่องสอนเรียกว่า “ผักดีเหยียน” ชาวมาเลย์ปัตตานีเรียกว่า “กาล่อ”
ชื่อวงศ์ : วงศ์ทานตะวัน (ASTERACEAE หรือ COMPOSITAE)

ลักษณะของผักบุ้งร่วม

ผักบุ้งร่วม เป็นพรรณไม้ล้มลุกที่มีลำต้นทอดเลื้อยตามพื้นน้ำซึ่งพบได้ทั่วไปในเขตร้อน เป็นพรรณไม้กลางแจ้งที่ชอบขึ้นในดินที่ชื้นแฉะหรือมีน้ำขังเล็กน้อย
ลำต้น : ลำต้นเป็นข้อปล้อง ตามข้อจะมีรากไว้สำหรับยึดเกาะ ลำต้นมีลักษณะโค้งแล้วตั้งตรง ภายในกลวงและมีขนบาง ๆ ปกคลุมหรือบางทีอาจจะเกลี้ยง มีกลิ่นหอม
ใบ : เป็นใบเดี่ยวออกตรงข้ามกันเป็นคู่ไปตามข้อของลำต้น ลักษณะของใบเป็นรูปยาววงรีหรือรูปขอบขนานแคบ ปลายใบแหลมหรือมน โคนใบตัด ขอบใบจักเป็นฟันเลื่อย แผ่นใบเป็นสีเขียวสด มีขนขึ้นปกคลุมทั้งสองด้าน
ดอก : ออกดอกเป็นกลุ่มหรือเป็นกระจุกค่อนข้างกลม โดยจะออกตามซอกใบหรือบริเวณส่วนยอดของต้น ไม่มีก้านดอก ดอกเป็นสีขาวออกเขียวอ่อน โคนดอกเชื่อมติดกันเป็นท่อยาว ส่วนปลายแผ่ออกเป็นรูปรางน้ำสั้น ๆ ปลายจักเป็นฟันเลื่อย มีใบประดับรูปไข่ 4 อัน มีเกสรเพศผู้ 5 อัน ปลายเกสรเพศเมียแยกเป็นแฉกสั้น
ผล : เป็นผลแห้งสีดำ ผิวผลเกลี้ยง ล้อมรอบไปด้วยริ้วประดับ

สรรพคุณของผักบุ้งร่วม

  • สรรพคุณจากต้นอ่อน ช่วยทำให้เจริญอาหาร เป็นยาระบาย
  • สรรพคุณจากใบ เป็นยาระบาย แก้โรคเกี่ยวกับน้ำดี
    – แก้โรคผิวหนัง ด้วยการนำใบมาตำแล้วพอก
  • สรรพคุณจากทั้งต้น
    – แก้อาการฟกช้ำ แก้อาการบวมทั้งตัวและเหน็บชา ด้วยการนำทั้งต้นมาต้มเอาควันรมคนเข้ากระโจมหรือการอบสมุนไพร

ประโยชน์ของผักบุ้งร่วม

เป็นส่วนประกอบของอาหาร ยอดอ่อนใช้รับประทานได้

ผักบุ้งร่วม เป็นผักที่พบตามน้ำขังหรือพื้นน้ำในเขตร้อนที่มีประโยชน์มากกว่าที่คิด สามารถมองหาได้ด้วยการดูที่ขอบใบของต้นจะมีลักษณะเป็นฟันเลื่อย สามารถนำยอดอ่อนของต้นมารับประทานได้ ผักบุ้งร่วมมีสรรพคุณทางยาได้หลายส่วนจากต้นโดยเฉพาะส่วนของใบ มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ ทำให้เจริญอาหาร เป็นยาระบาย แก้โรคเกี่ยวกับน้ำดีและแก้อาการฟกช้ำได้ เป็นต้นที่เหมาะต่อระบบย่อยอาหารเป็นอย่างมาก

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “ผักบุ้งร่วม”. หน้า 495-496.
ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. “ผักบุ้งร่วม”. อ้างอิงใน : หนังสือ พรรณไม้น้ำบึงบอระเพ็ด. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.qsbg.org. [18 พ.ย. 2014].

เปราะป่า ดอกสวยงาม เป็นยาสมุนไพรพื้นบ้านของคนอุบลราชธานี

0
เปราะป่า ดอกสีขาวสวยงาม เป็นยาสมุนไพรพื้นบ้านของคนอุบลราชธานี
เปราะป่าเป็นพืชสมุนไพรโบราณ มีเหง้าใต้ดิน มีกลิ่นหอม ดอกมีสีม่วง ใบสามารถทานจิ้มน้ำพริกได้
เปราะป่า ดอกสีขาวสวยงาม เป็นยาสมุนไพรพื้นบ้านของคนอุบลราชธานี
เปราะป่าเป็นพืชสมุนไพรโบราณ มีเหง้าใต้ดิน มีกลิ่นหอม ดอกมีสีม่วง ใบสามารถทานจิ้มน้ำพริกได้

เปราะป่า

เปราะป่า (Peacock ginger) เป็นพืชสมุนไพรโบราณชนิดหนึ่ง มีเหง้าใต้ดินที่มีสรรพคุณทางยามากมาย มีดอกสีขาวสวยงามเหมาะสำหรับปลูกในบ้านได้ สามารถนำส่วนของต้นมารับประทานได้หลายส่วน เป็นพืชที่ชื่อเสียงไม่คุ้นหูสำหรับคนรุ่นใหม่สักเท่าไหร่ เปราะป่านั้นเป็นยาสมุนไพรพื้นบ้านของจังหวัดอุบลราชธานี ของภาคอีสานและตำรับยาไทยทั่วไป

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของเปราะป่า

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Kaempferia marginata Carey ex Roscoe
ชื่อสามัญ : มีชื่อสามัญว่า “Peacock ginger” “Resurrection lily”
ชื่อท้องถิ่น : ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและจังหวัดอุบลราชธานีเรียกว่า “ตูบหมูบ ว่านตูบหมูบ” จังหวัดปราจีนบุรีและชุมพรเรียกว่า “เปราะเถื่อน” จังหวัดกระบี่เรียกว่า “เปราะ หัวหญิง” และมีชื่อเรียกอื่น ๆ ว่า “เปราะเขา เปราะป่า”
ชื่อวงศ์ : วงศ์ขิง (ZINGIBERACEAE)

ลักษณะของเปราะป่า

เปราะป่า เป็นพืชล้มลุกที่พบได้ทั่วทุกภาคในประเทศไทย มักจะขึ้นตามพื้นดินหรือเกาะอยู่ตามโขดหิน โดยเกิดตามที่ลุ่มชื้นแฉะในป่าเบญจพรรณ มีรสเผ็ดร้อนและขมจัด
เหง้า : มีเหง้าสั้นขนาดเล็ก ลักษณะเป็นรูปทรงกลมสีน้ำตาลและมีกลิ่นหอม ผิวมีรอยข้อปล้องอย่างชัดเจน
ใบ : เป็นใบเดี่ยว ใบอ่อนจะม้วนเป็นกระบอกตั้งขึ้น ใบแก่จะแผ่ราบบนหน้าดิน ไม่มีก้านใบ ใบมีสีเขียวเข้ม ขอบใบมีสีม่วงแดงเป็นรูปทรงกลมหรือเป็นรูปวงรี ปลายใบแหลม โคนใบเป็นรูปลิ่ม หลังใบเรียบ ด้านล่างใบมีขน
ดอก : ออกดอกเป็นช่อจากตรงกลางระหว่างกาบใบทั้งสอง มีกลีบดอกเป็นหลอดยาวบาง ๆ ดอกมีสีขาว มีใบประดับสีขาวอมเขียวลักษณะเป็นรูปใบหอก กลีบปากมีสีม่วง มีแถบสีขาวอยู่ระหว่างเส้นกลางกลีบกับขอบกลีบ ลักษณะเป็นรูปไข่กลีบแกมรูปลิ่ม
ผล : มีลักษณะเป็นรูปไข่สีขาวแตกออกเป็น 3 พู
เมล็ด : ภายในผลมีเมล็ดเป็นรูปไข่สีน้ำตาล

สรรพคุณของเปราะป่า

  • สรรพคุณจากหัว เป็นยาอายุวัฒนะโดยใช้ผสมกับตัวยาอื่น เป็นยาแก้ไข้ แก้อาการไอ เป็นยาแก้เสมหะ ขับลมในลำไส้ เป็นยากระทุ้งพิษต่าง ๆ แก้ลมพิษ ผดผื่นคันและรักษาเลือดที่เจือด้วยลมพิษ ทำเป็นลูกประคบแก้อาการฟกช้ำ
    แก้หวัด แก้เลือดกำเดา ด้วยการใช้หัวตำผสมกับหัวหอม แล้วใช้สุมกระหม่อมเด็กจะช่วยบรรเทาอาการได้
    – บรรเทาอาการเจ็บคอ ด้วยการนำหัวมาคั้นแล้วเอาน้ำป้ายคอ
    – แก้อาการอักเสบจากแมลงสัตว์กัดต่อย ด้วยการนำหัวมาตำแล้วพอก
    – เป็นยาแก้อัมพาต ด้วยการใช้หัวมาผสมกับใบหนาดใหญ่ นำมาต้มแล้วดื่ม
  • สรรพคุณจากดอก แก้อาการอักเสบหรือตาแฉะ รักษาเด็กที่ชอบนอนผวาตาเหลือก
  • สรรพคุณจากใบ แก้เกลื้อนช้าง
    – บรรเทาอาการเจ็บคอ ด้วยการนำใบมาคั้นแล้วเอาน้ำป้ายคอ
  • สรรพคุณจากต้น แก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ เป็นยาขับเลือดเน่าเสียของสตรี

ประโยชน์ของเปราะป่า

1. เป็นส่วนประกอบของอาหาร นำมาใช้เป็นเครื่องเทศและเป็นเครื่องยาสมุนไพร ใบอ่อนสดที่ม้วนอยู่ใช้รับประทานเป็นผักจิ้มน้ำพริกหรือนำมาเป็นผักเครื่องเคียงกับขนมจีน
2. เป็นไม้ปลูกประดับ นิยมปลูกทั่วไปตามบริเวณบ้านโดยนำมาปลูกในกะละมัง

เปราะป่า เป็นพืชสมุนไพรและเครื่องเทศที่มีรสเผ็ดร้อนและขม เป็นยาสมุนไพรพื้นบ้านที่ช่วยแก้อาการพื้นฐานต่าง ๆ มีเหง้าที่มีสรรพคุณช่วยรักษาอาการมากกว่าส่วนอื่นของต้น มีดอกสีขาวสวยงามเหมาะสำหรับปลูกในบ้านได้ มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ แก้ไข้และแก้ไอ เป็นยาอายุวัฒนะ แก้อัมพาต และแก้อาการอักเสบต่าง ๆ เป็นพืชที่น่าสนใจในการนำมาปลูกไว้ในบ้านเพื่อใช้ประโยชน์จากต้นได้

บทตวามที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “เปราะป่า”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.phargarden.com. [18 พ.ย. 2013].
ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “เปราะป่า”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.thaicrudedrug.com. [18 พ.ย. 2013].
โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์การมหาชน). “Kaempferia marginata Carey”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: eherb.hrdi.or.th. [18 พ.ย. 2013].
โปงลางดอตคอม. “ว่านเปราะป่า”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.pongrang.com. [18 พ.ย. 2013].
ผักพื้นบ้านในประเทศไทย กรมส่งเสริมการเกษตร. “ผักพื้นบ้าน เปราะป่า”. อ้างอิงใน: หนังสือผักพื้นบ้านภาคใต้ (สถาบันการแพทย์แผนไทย กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: 203.172.205.25/ftp/intranet/Research_AntioxidativeThaiVegetable/. [18 พ.ย. 2013].
บล็อกโอเคเนชั่น. “เปราะ ผักพื้นบ้าน เมนูสุขภาพ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.oknation.net. [18 พ.ย. 2013].

มะเม่า เป็นยาระบาย ดีต่อสตรีหลังคลอดบุตร บำรุงไต

0
มะเม่า เป็นยาระบาย ดีต่อสตรีหลังคลอดบุตร บำรุงไต
มะเม่า หรือเม่าสร้อย ออกเป็นช่อยาว ผลสดเนื้อฉ่ำน้ำ ผลสุกจะเปลี่ยนเป็นสีแดงหรือสีม่วงเข้ม
มะเม่า เป็นยาระบาย ดีต่อสตรีหลังคลอดบุตร บำรุงไต
ผลออกเป็นช่อยาว ผลสดเนื้อฉ่ำน้ำ ผลสุกจะเปลี่ยนเป็นสีแดงหรือสีม่วงเข้ม

มะเม่า

มะเม่า (Antidesma thwaitesianum) หรือเม่าสร้อย พืชวงศ์มะขามป้อมที่มีผลรูปทรงกลมและนำมารับประทานได้ ยอดอ่อนและใบนำมาใช้เป็นส่วนประกอบในเมนูอาหารอย่างพวกแกงเห็ด เป็นต้นที่ชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงนำมาใช้เป็นยาสมุนไพรรักษาอาการ ส่วนของใบ ผลและลำต้นจากต้นเม่าสร้อยนั้นมีสรรพคุณทางยาสมุนไพรได้ เป็นไม้ยืนต้นที่มักจะพบตามป่าทั่วไป เม่าสร้อยเป็นชื่อเรียกที่มักจะพบมากในจังหวัดเลย

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของมะเม่า

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Antidesma ghaesembilla Gaertn.
ชื่อท้องถิ่น : มะเม่า, หมากเม่า, เม่าสร้อย ภาคเหนือเรียกว่า “เม่า” จังหวัดลำปางเรียกว่า “มักเม่า” จังหวัดเชียงรายเรียกว่า “เม่าตาควาย” จังหวัดเลยเรียกว่า “เม่าสร้อย” ชาวกะเหรี่ยงแดงเรียกว่า “ส่อแพรเหมาะ” ไทลื้อเรียกว่า “มะเม่า” ชาวขมุเรียกว่า “ปิมปอง”
ชื่ออื่นๆ : ขะเม่าผา, เม่าไข่ปลา, เม่าทุ่ง, มะเม่าข้าวเบา
ชื่อภาษาอังกฤษ : Antidesma thwaitesianum
ชื่อวงศ์ : Euphorbiaceae
ชื่อสกุล : Antidesma

ลักษณะของมะเม่า

มะเม่า หรือเม่าสร้อย เป็นไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้นขนาดเล็กที่พบกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติในป่าผลัดใบ ป่าเต็งรังและป่าดิบทั่วไป
ลำต้น : ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง
ใบ : เป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับกัน ลักษณะของใบเป็นรูปหอกกลับ ปลายใบแหลม โคนใบแหลม ขอบใบเรียบ ใบมีขนขึ้นประปรายทั้งสองด้าน
ดอก : ออกดอกเป็นช่อแบบแยกแขนงเชิงลด โดยจะออกตามซอกใบและที่ปลายกิ่ง ดอกย่อยมีจำนวนมากและเป็นแบบแยกเพศอยู่คนละต้น ไม่มีกลีบดอก กลีบเลี้ยงเป็นสีเขียวอ่อน
ผล : ผลกลุ่มออกเป็นช่อยาวรูปทรงกระบอก เป็นผลสดที่มีเนื้อผลฉ่ำน้ำ ลักษณะของผลย่อยเป็นรูปไข่หรือรูปทรงกลม ผลดิบเป็นสีเขียว ผลสุกจะเปลี่ยนเป็นสีแดงหรือสีม่วงเข้มและจะมีสีดำเมื่อแก่จัด

สรรพคุณของมะเม่า

  • สรรพคุณจากลำต้น
    – เป็นยาแก้ซางเด็ก ด้วยการนำลำต้นมาต้มกับน้ำแล้วดื่ม
    – ลำต้นและราก ต้มดื่มบำรุงไต ขับปัสสาวะ แก้กระษัย แก้มดลูกพิการ ตกขาว แก้ซางเด็ก ลดอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย
  • สรรพคุณจากใบ
    – ดีต่อสตรีหลังคลอด ชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงนำใบมาต้มกับน้ำแล้วให้สตรีหลังคลอดดื่มและอาบ
    – ใบและผล นำมาต้มน้ำอาบ แก้อาการซีดเหลืองจากโรคโลหิตจาง ช่วยให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น
    – ใบ ใช้ทาแก้ปวดศีรษะ แก้โรคผิวหนัง ท้องบวม
  • สรรพคุณจากผล
    – ใช้ช้ทำยาพอก รักษาอาการปวดศรีษะ รักษารังแค แก้อาการท้องบวม
    – เป็นยาระบาย

ประโยชน์ของมะเม่า

เป็นส่วนประกอบของอาหาร ผลนำมารับประทานได้ ยอดอ่อนใช้ใส่ในแกงเห็ดถอบ ใบใช้ใส่ในแกงเห็ดเผา

เม่าสร้อย มักจะพบในแกงเห็ดเป็นส่วนใหญ่เนื่องจากยอดอ่อนและใบของต้นนำมาใช้เป็นส่วนประกอบของอาหารในเมนูแกงเห็ด เป็นต้นที่ชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงนำมาใช้เป็นยาสมุนไพร เม่าสร้อยเป็นต้นที่มีสรรพคุณทางยาได้หลายส่วนอย่างใบ ผลและลำต้น ซึ่งแต่ละส่วนก็มีสรรพคุณแตกต่างกันไป มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ เป็นยาระบาย แก้ซางเด็กและดีต่อสตรีหลังคลอด

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา. (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “เม่าสร้อย”. หน้า 38.
โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง, สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน). “เม่า, เม่าสร้อย”. อ้างอิงใน : หนังสือชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์)., หนังสือพืชอาหารและสมุนไพรท้องถิ่นบนพื้นที่สูง บ้านโป่งคำ (อัปสรและคณะ). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : eherb.hrdi.or.th. [30 ต.ค. 2014].

ผักเป็ดแดง นิยมในศรีลังกา ดีต่อระบบเลือดและสตรีมีระดู

0
ผักเป็ดแดง นิยมในศรีลังกา ดีต่อระบบเลือดและสตรีมีระดู
ผักเป็ดแดง ไม้ล้มลุก ใบเป็นรูปข้าวหลามตัด เมล็ดเป็นสีน้ำตาล คล้ายรูปโล่ รสขื่นเอียน
ผักเป็ดแดง นิยมในศรีลังกา ดีต่อระบบเลือดและสตรีมีระดู
ผักเป็ดแดง ไม้ล้มลุก ใบเป็นรูปข้าวหลามตัด เมล็ดเป็นสีน้ำตาล คล้ายรูปโล่ รสขื่นเอียน

ผักเป็ดแดง

ผักเป็ดแดง (Calico plant) มีชื่อเรียกตามสีของใบที่มักจะมีสีแดงหรือสีแดงคล้ำทำให้เรียกกันว่า “ผักเป็ดแดงหรือพรมมิแดง” เป็นต้นที่นิยมปลูกกันอย่างแพร่หลายกระจายไปทั่วโลก ทั้งต้นมีรสขื่นเอียนและมีสรรพคุณทางยาสมุนไพรโดยนิยมในประเทศศรีลังกาสำหรับทานแก้อาการไข้และนำมารับประทานเป็นอาหารบำรุงของแม่ลูกอ่อนได้ ในประเทศไทยนั้นได้มีการวิจัยที่มหาวิทยาลัยมหิดลถึงฤทธิ์ของผักเป็ดแดงด้วย นอกจากนั้นยังสามารถนำต้นมาปลูกเป็นไม้ประดับความงามได้

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของผักเป็ดแดง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Alternanthera bettzickiana (Regel) G.Nicholson
ชื่อสามัญ : มีชื่อสามัญว่า “Calico plant”
ชื่อท้องถิ่น : ภาคกลางเรียกว่า “พรมมิแดง” ภาคเหนือเรียกว่า “ผักเป็ดฝรั่ง ผักโหมแดง” ชาวจีนกลางเรียกว่า “หยเฉ่า หยินซิวเจี้ยน” มีชื่ออื่น ๆ เรียกว่า “ปากเป็ด”
ชื่อวงศ์ : วงศ์บานไม่รู้โรย (AMARANTHACEAE)
ชื่อพ้อง : Alternanthera ficoidea var. bettzickiana (Regel) Backer, Alternanthera ficoidea var. spathulata (Lem.) L.B.Sm. & Downs, Telanthera bettzickiana Regel

ลักษณะของผักเป็ดแดง

ผักเป็ดแดง เป็นไม้ล้มลุกอายุหลายปีที่มีถิ่นกำเนิดในอเมริกาใต้และเม็กซิโก
ลำต้น : ลำต้นตั้งตรง แตกกิ่งก้านหนาแน่น ลำต้นเป็นร่องตามยาว หักได้ง่ายคล้ายกับลำต้นที่อวบน้ำเล็กน้อย
ใบ : เป็นใบเดี่ยวออกเรียงตรงข้ามกัน ลักษณะของใบเป็นรูปข้าวหลามตัดไปจนถึงรูปใบหอกกลับ รูปไข่หรือรูปวงรี ปลายใบแหลม โคนใบป้านหรือสอบ ขอบใบห่อม้วนขึ้นด้านบนหรือเป็นคลื่น แผ่นใบมีหลายสี เช่น สีแดง สีแดงปนเขียว สีม่วงอมชมพู สีเหลือง สีเขียวมีด่างขาว เส้นใบเป็นสีน้ำตาลหรือสีแดงคล้ำ ก้านใบมีขนละเอียด
ดอก : ออกดอกเป็นช่อกระจุกแน่นรูปทรงกลมหรือรูปขอบขนาน โดยจะออกบริเวณซอกใบหรือปลายกิ่ง กลีบรวมมี 5 กลีบ เป็นสีขาว
ผล : เป็นผลแห้งไม่แตก
เมล็ด : เมล็ดเป็นสีน้ำตาลมีลักษณะคล้ายรูปโล่

สรรพคุณของผักเป็ดแดง

  • สรรพคุณจากผักเป็ดแดง ศรีลังกานำมาเป็นอาหารบำรุงของแม่ลูกอ่อน ช่วยขับน้ำนม
  • สรรพคุณจากทั้งต้น ช่วยฟอกและบำรุงโลหิต เป็นยาดับพิษโลหิต ช่วยแก้เส้นเลือดอุดตัน ขับพิษร้อนถอนพิษไข้และทำให้เลือดเย็น เป็นยาระบายอ่อน ๆ เป็นยาห้ามเลือด แก้อาการปวดเมื่อย
    – รักษาแผล ด้วยการนำทั้งต้นมาตำแล้วพอก
  • สรรพคุณจากต้น ช่วยฟอกและบำรุงโลหิต เป็นยาดับพิษโลหิต เป็นยาระบายอ่อน ๆ ช่วยแก้ระดูพิการเป็นลิ่มซึ่งเป็นก้อนดำเหม็นของสตรี แก้ประจำเดือนขัดข้อง ช่วยฟอกโลหิตประจำเดือน แก้ปวดเมื่อยบั้นเอวและท้องน้อย ช่วยรักษาโรคเกี่ยวกับลำไส้ แก้บิด แก้ท้องร่วง แก้ไข้ แก้พิษงูกัด กระตุ้นการไหลของน้ำดี
    – เป็นยาแก้ไข้ ประเทศศรีลังกานำต้นมาต้มเพื่อรับประทาน
  • สรรพคุณจากใบ เป็นยาแก้พิษที่ถูกงูกัด
    – ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ด้วยการนำใบ 1 กำมือ มาต้มกับน้ำ 3 แก้ว เคี่ยวนาน 30 นาที แล้วแบ่งดื่ม 1/2 แก้ว ก่อนอาหารเช้าและเย็น
  • สรรพคุณจากราก เป็นยาระบาย

ประโยชน์ของผักเป็ดแดง

1. เป็นส่วนประกอบของอาหาร นำมาชุบแป้งทอดให้กรอบหรือนำมาใส่ในแกงได้
2. ใช้ในการเกษตร เป็นอาหารสัตว์ได้เพราะมีคุณค่าทางอาหารสูงและย่อยง่าย
3. ปลูกเป็นไม้ประดับ เป็นต้นที่สวยงาม ปลูกง่ายและทนทาน

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของผักเป็ดแดง

ในปี ค.ศ. 1989 ณ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ทำการศึกษาฤทธิ์การลดระดับน้ำตาลในเลือดของใบผักเป็ดสดและสารสกัดแอลกอฮอล์ของใบผักเป็ดในหนูขาวทดลอง โดยวิธี Oral glucose toleramce พบว่าใบผักเป็ดสดมีฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ โดยใช้สารขนาด 1 – 2 กรัม ต่อกิโลกรัมของน้ำหนักหนูสามารถลดน้ำตาลในเลือดได้ 22.9% ภายในเวลา 2 ชั่วโมงครึ่ง เมื่อเปรียบเทียบกับยา tolbutmide ที่ลดระดับน้ำตาลได้ถึง 46%

ผักเป็ดแดง เป็นต้นที่มีรสขื่นเอียนซึ่งนิยมนำมาทานกันในประเทศศรีลังกา โดนนิยมทานเป็นยาแก้ไข้และเป็นอาหารบำรุงของแม่ลูกอ่อน นอกจากนั้นสามารถนำมาเป็นไม้ประดับความงามให้กับสถานที่ได้ ผักเป็ดแดงนิยมปลูกกันอย่างแพร่หลายทั่วโลกเพราะมีสีสวยงามและปลูกง่าย อีกทั้งยังทนทานและโตเร็วอีกด้วย ผักเป็ดแดงมีสรรพคุณทางยาได้หลายส่วนจากต้นโดยเฉพาะส่วนของต้น มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ฟอกและบำรุงเลือด แก้ไข้ เป็นยาระบาย ถือเป็นต้นที่เหมาะอย่างมากสำหรับผู้หญิงเนื่องจากช่วยบำรุงประจำเดือนในผู้หญิงและบำรุงน้ำนมได้

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
หนังสือสมุนไพรบำบัดเบาหวาน 150 ชนิด. (เภสัชกรหญิง จุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก). “ผักเป็ดแดง”. หน้า 110.
มูลนิธิหมอชาวบ้าน. นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่ 248 คอลัมน์ : พืช-ผัก-ผลไม้. “ผักเป็ด : ผักสามัญที่ไม่ไร้ความสำคัญ”. (เดชา ศิริภัทร). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.doctor.or.th. [16 พ.ย. 2014].
ไทยรัฐออนไลน์. (นายเกษตร). “ปากเป็ดแดง ใบสีสวย”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.thairath.co.th. [16 พ.ย. 2014].
ชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่ควรป้องกัน ควบคุม และกำจัดของประเทศไทย, สำนักความหลากหลายทางชีวภาพ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. “ผักเป็ดแดง ผักเป็ดฝรั่ง พรมมิแดง ผักโหมแดง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : chm-thai.onep.go.th. [16 พ.ย. 2014].
หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. (วิทยา บุญวรพัฒน์). “ผักเป็ดขาว”. หน้า 352.
ข้อมูลอ้างอิง (Source) : https://medthai.com/%e0%b8%9c%e0%b8%b1%e0%b8%81%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%94%e0%b8%99%e0%b8%ad/ | Medthai

พญาดง สมุนไพรของชาวเขาและชาวเผ่า ยาดีต่อระบบขับถ่าย

0
พญาดง สมุนไพรของชาวเขาและชาวเผ่า ยาดีต่อระบบขับถ่าย
พญาดง เป็นพรรณไม้ล้มลุก ดอกเป็นช่อ ผลสดค่อนข้างกลม มีสีน้ำเงินเข้ม
พญาดง สมุนไพรของชาวเขาและชาวเผ่า ยาดีต่อระบบขับถ่าย
พญาดง เป็นพรรณไม้ล้มลุก ดอกเป็นช่อ ผลสดค่อนข้างกลม มีสีน้ำเงินเข้ม

พญาดง

พญาดง (Persicaria chinensis) เป็นต้นที่มีผลสีน้ำเงินเข้มและมีดอกสีขาวหรือสีชมพู สามารถนำผลสุก ยอดอ่อนและใบมารับประทานได้ เป็นอาหารของชาวกะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน ชาวลัวะ ชาวปะหล่องและชาวเมี่ยน ถือเป็นต้นยอดนิยมของชนชาวเผ่าอย่างแท้จริง นอกจากนั้นยังเป็นยาสมุนไพรที่ชาวเขาเผ่าแม้ว ชาวเขาเผ่าอีก้อ มูเซอและตำรายาพื้นบ้านล้านนาใช้เป็นส่วนผสมในการปรุงยารักษาอีกด้วย

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของพญาดง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Persicaria chinensis (L.) H. Gross
ชื่อท้องถิ่น : ภาคกลางเรียกว่า “เอื้องเพ็ดม้า” ภาคเหนือเรียกว่า “ผักบังใบ ผักไผ่น้ำ” ชาวกะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอนเรียกว่า “หน่อกล่ะอึ” ชาวลัวะเรียกว่า “มีส้อย ลำถ้อย” ชาวปะหล่องเรียกว่า “ปร้างเจงบั้ว” ชาวเมี่ยนเรียกว่า “โพ้งลิ่น”
ชื่อวงศ์ : วงศ์ผักไผ่ (POLYGONACEAE)
ชื่อพ้อง : Polygonum chinense L.

ลักษณะของพญาดง

พญาดง เป็นพรรณไม้ล้มลุกเลื้อยพาดพันกับต้นไม้อื่น
ใบ : เป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับกัน ลักษณะของใบเป็นรูปไข่แกมรูปขอบขนาน ผิวใบเรียบหรือมีขน มีหูใบเป็นปลอกหุ้มลำต้น
ดอก : ออกดอกเป็นช่อ โดยจะออกตามซอกใบ มีดอกย่อยจำนวนมาก กลีบดอกเป็นสีขาวหรือสีชมพู
ผล : เป็นผลสด ลักษณะของผลเป็นรูปเกือบกลม มีสีน้ำเงินเข้ม

สรรพคุณของพญาดง

  • สรรพคุณจากราก
    – แก้อาการปวดท้องน้อยสำหรับกามโรค ชาวเขาเผ่าแม้วนำรากมาผสมกับรากสากเหล็ก รากหนามแน่และรากปัวชุนเยแล้วมาต้มกับน้ำเพื่อดื่มเป็นยา
  • สรรพคุณจากใบ
    – แก้อาการปัสสาวะขัด ด้วยการนำใบมาต้มกับน้ำเพื่อดื่มเป็นยา แต่ห้ามใช้ในขณะมีรอบเดือน
    – ทำให้หยุดมีประจำเดือน ด้วยการนำใบมาต้มกับน้ำเพื่อดื่มเป็นยา แต่ห้ามใช้กับสตรีที่ยังอยู่ในวัยเจริญพันธุ์และสตรีมีครรภ์เด็ดขาด
  • สรรพคุณจากเหง้า
    – แก้หนองใน ชาวเขาเผ่าแม้วนำเหง้าผสมกับเหง้าเอื้องหมายนาและว่านกีบแรดมาต้มกับน้ำเพื่อดื่มเป็นยา
  • สรรพคุณจากทั้งต้น
    – แก้นิ่ว ด้วยการนำทั้งต้นมาต้มกับน้ำแล้วดื่มเป็นยา
    – แก้อาการปวดท้องไส้ติ่งที่มีอาการไม่มาก ด้วยการนำทั้งต้นมาทุบห่อผ้าหมดไฟเพื่อใช้เป็นยาประคบ
  • สรรพคุณจากใบและทั้งต้น
    – เป็นยาถ่ายพยาธิ ชาวเขาเผ่าอีก้อ มูเซอนำใบหรือทั้งต้นมาต้มกับน้ำเพื่อดื่มเป็นยา
    – ช่วยห้ามเลือด รักษาแผลสด แผลเปื่อย แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ด้วยการนำใบหรือทั้งต้นมาตำแล้วพอก
    – แก้โรคผิวหนัง ผื่นคัน หูด ฝี หนอง ฆ่าเชื้อโรค ด้วยการนำใบหรือทั้งต้นมาตำหรือคั้นเอาน้ำมาทาหรือพอก
  • สรรพคุณจากรากหรือเหง้า
    – แก้โรคหนองใน ตำรายาพื้นบ้านล้านนานำรากหรือเหง้าผสมกับรากขี้ครอก โดยใช้อย่างละเท่ากันมาหั่นเป็นชิ้นเล็กแล้วนำไปต้ม ทำการเคี่ยวให้ข้นเพื่อใช้ดื่มเป็นยา
  • สรรพคุณจากใบหรือยอด
    – แก้โรคหนองใน ด้วยการนำใบหรือยอดมาผสมกับรากส้มกุ้งแล้วต้มกับน้ำเพื่อดื่มเป็นยา

ประโยชน์ของพญาดง

เป็นส่วนประกอบของอาหาร ผลสุกนำมารับประทานได้ ชาวลัวะนำยอดอ่อนมาทานโดยจิ้มกับเกลือ ชาวกะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอนนำยอดอ่อนไปย่างกับไฟทานกับน้ำพริก ชาวปะหล่องนำใบมาสับให้ละเอียดใช้เป็นส่วนผสมในการทำลาบ ชาวเมี่ยนนำใบมาต้มกับน้ำแล้วนำน้ำที่ได้มาใช้เป็นส่วนผสมในการทำแป้งเหล้า

พญาดง เป็นต้นที่มีผลสุกรสเปรี้ยวและเป็นอาหารยอดนิยมของชาวเขาและชาวเผ่า รวมถึงชาวกะเหรี่ยงด้วย แต่ผู้หญิงที่มีประจำเดือนควรระมัดระวังในการทานพญาดงเพราะอาจจะมีฤทธิ์ทำให้ประจำเดือนชะงักได้ เป็นต้นที่นิยมใช้เป็นยาสมุนไพรในหลายชนเผ่า พญาดงมีสรรพคุณทางยาได้หลายส่วนจากต้นโดยเฉพาะใบและทั้งต้น มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ แก้โรคหนองใน แก้นิ่ว แก้อาการปัสสาวะขัดและเป็นยาถ่ายพยาธิ ถือเป็นต้นที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยเกี่ยวกับระบบขับถ่าย

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา. (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “พญาดง”. หน้า 175.
โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง, สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน). “พญาดง, ผักไผ่”. อ้างอิงใน : หนังสือชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : eherb.hrdi.or.th. [11 พ.ย. 2014].

รามใหญ่ ไม้ต้นของทางใต้ มีรสเฝื่อนเมา ช่วยแก้ไข้ แก้ท้องเสีย แก้พิษงู แก้พยาธิ

0
รามใหญ่ ไม้ต้นของทางใต้ มีรสเฝื่อนเมา ช่วยแก้ไข้ แก้ท้องเสีย แก้พิษงู แก้พยาธิ
รามใหญ่ ไม้พุ่มกึ่งไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีรสเฝื่อนเมา ยอดอ่อนทานจิ้มกับน้ำพริก ผลสุกมีสีม่วงดำ
รามใหญ่ ไม้ต้นของทางใต้ มีรสเฝื่อนเมา ช่วยแก้ไข้ แก้ท้องเสีย แก้พิษงู แก้พยาธิ
รามใหญ่ ไม้พุ่มกึ่งไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีรสเฝื่อนเมา ยอดอ่อนทานจิ้มกับน้ำพริก ผลสุกมีสีม่วงดำ

รามใหญ่

รามใหญ่ (Ardisia elliptica Thunb) เป็นต้นที่มีรสเฝื่อนเมาซึ่งมีสรรพคุณทางยาได้หลายส่วนจากต้น มักจะพบมากในทางภาคใต้แถบชายทะเลหรือป่าชายเลน มีผลขนาดกลมเป็นสีแดงหรือสีดำ สามารถนำมาปลูกเป็นไม้ประดับได้เนื่องจากมีช่อดอกสวยงาม มักจะนำยอดอ่อนมารับประทานเป็นผักจิ้มกับน้ำพริก เป็นต้นที่คนเมืองหรือคนทั่วไปไม่ค่อยพบเจอหรือรู้จักเพราะเป็นต้นที่อยู่ในพื้นที่เฉพาะภาคใต้เท่านั้น

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของรามใหญ่

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ardisia elliptica Thunb.
ชื่อท้องถิ่น : จังหวัดตราดเรียกว่า “ลังพิสา” จังหวัดชุมพรเรียกว่า “ทุรังกาสา” ชาวมลายูนราธิวาสเรียกว่า “ปือนา”
ชื่อวงศ์ : วงศ์พริมโรส PRIMULACEAE (MYRSINACEAE)

ลักษณะของรามใหญ่

รามใหญ่ เป็นไม้พุ่มกึ่งไม้ยืนต้นขนาดเล็กที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาใต้ ในประเทศไทยพบได้ทางภาคใต้ มักจะขึ้นกระจายตามชายฝั่งทะเล ริมแม่น้ำ แนวหลังป่าชายเลนและขึ้นแทรกอยู่ตามป่าเบญจพรรณหรือป่าดิบบนภูเขาหินทราย
เปลือกต้น : เปลือกลำต้นและกิ่งเรียบเกลี้ยงเป็นสีน้ำตาลอมเทา กิ่งอ่อนมนกลมหรือเป็นเหลี่ยมเล็กน้อย เป็นสีน้ำตาลอมแดง มีการแตกกิ่งก้านสาขารอบต้นมาก
ใบ : เป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับกันหนาแน่นที่ปลายกิ่ง ลักษณะของใบเป็นรูปวงรี รูปรีแกมขอบขนานหรือรูปใบหอกถึงรูปไข่กลับ ปลายใบกลมทื่อไปจนถึงติ่งแหลม โคนใบเป็นรูปลิ่ม ขอบใบเรียบ มีจุดเล็ก ๆ สีเขียวอ่อนแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเมื่อใบแก่ เนื้อใบหนาคล้ายแผ่นหนัง นุ่มและอวบน้ำ หลังใบและท้องใบเรียบเกลี้ยง มีจุดโปร่งแสงสีเขียวคล้ำกระจายทั่วแผ่นใบ หลังใบด้านบนเป็นสีเขียวคล้ำ ท้องใบด้านล่างเป็นสีเขียวนวล เส้นใบเป็นแบบร่างแหขนนก มักจะมองเห็นไม่ค่อยชัดเจน ก้านใบสั้นเป็นสีแดง
ดอก : ออกดอกเป็นช่อเชิงลดรูปใบพัดคล้ายซี่ร่ม โดยจะออกตามซอกใบและที่ปลายกิ่ง แต่ละช่อจะมีดอกประมาณ 5 – 8 ดอก ก้านดอกเรียว ดอกตูมเป็นรูปทรงกรวย เมื่อบานจะเป็นรูปวงล้อสีชมพูอ่อน มีกลีบดอก 5 กลีบ เรียงบิดเวียน ปลายกลีบเรียวแหลม มีจุดต่อมโปร่งแสงสีม่วง กลีบเลี้ยงเป็นสีเขียว มีโคนเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็นแฉก 5 แฉก รูปไข่กว้างถึงรูปมนกลม
ผล : ผลมีลักษณะเป็นรูปทรงกลมหรือกลมแป้น ผิวผลเรียบ ปลายผลมีติ่งแหลมสั้น เนื้อในผลนุ่ม ผลอ่อนเป็นสีเขียวหรือสีแดงเรื่อ เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีม่วงดำ ออกดอกและผลในช่วงประมาณเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกันยายน
เมล็ด : ภายในผลมีเมล็ด 1 เมล็ด เมล็ดมีลักษณะกลมแข็ง

สรรพคุณของรามใหญ่

  • สรรพคุณจากใบ บำรุงธาตุ แก้ตับพิการและปอดพิการ
  • สรรพคุณจากผล แก้ธาตุพิการ แก้ซางและแก้ตานขโมย แก้ไข้ แก้ท้องเสีย แก้ลมพิษ
  • สรรพคุณจากลำต้น แก้โรคเรื้อน แก้กุฏฐังหรือโรคเรื้อนชนิดหนึ่งที่มีผลทำให้มือและเท้ากุดเหี้ยน
  • สรรพคุณจากเปลือก แก้ไข้ แก้ท้องเสีย
  • สรรพคุณจากราก แก้ท้องเสีย แก้กามโรคและหนองใน
    – แก้พิษงู ถอนพิษงู ถอนพิษตะขาบ ถอนพิษแมงป่องและแก้ลมเป็นพิษ ด้วยการนำรากมาตำกับเหล้าเอาน้ำมาดื่ม ส่วนกากนำมาพอกปิดแผล
  • สรรพคุณจากดอก แก้พยาธิ เป็นยาฆ่าเชื้อโรค
  • สรรพคุณจากต้น
    – แก้โรคเรื้อน ฆ่าพยาธิที่ผิวหนัง ด้วยการนำต้นมาปรุงผสมกับสมุนไพรอื่น
  • สรรพคุณจากรากและใบ แก้อาการไอ
  • สรรพคุณจากใบและดอก แก้ลม

ประโยชน์ของรามใหญ่

1. เป็นส่วนประกอบของอาหาร ยอดอ่อนใช้รับประทานแกล้มกับน้ำพริกได้
2. ปลูกเป็นไม้ประดับ มีช่อดอกสวยงาม

รามใหญ่ เป็นต้นที่ส่วนต่าง ๆ สามารถนำมาใช้เป็นยาสมุนไพรได้มาก นอกจากนั้นยังนิยมนำยอดอ่อนมารับประทานได้และยังนำมาปลูกในบริเวณบ้านเพื่อเป็นไม้ประดับได้อีกด้วย แต่ทว่ารามใหญ่นั้นมักจะอยู่ในทางภาคใต้ของประเทศไทยเท่านั้น และมักจะพบในป่าที่อยู่ใกล้ริมแม่น้ำหรือริมทะเลเป็นส่วนใหญ่ รามใหญ่มีสรรพคุณทางยาได้หลายส่วนจากต้นโดยเฉพาะราก มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ แก้ไข้ แก้ท้องเสีย แก้พิษงู แก้พยาธิ แก้เรื้อนและแก้ตับพิการได้ เป็นต้นที่มีสรรพคุณที่หลากหลายและดีต่อร่างกาย

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). “รามใหญ่ (Ram Yai)”. หน้า 264.
ระบบจัดการฐานความรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้ กรมป่าไม้. “รามใหญ่”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : biodiversity.forest.go.th. [04 พ.ย. 2014].
คมชัดลึกออนไลน์. (นายสวีสอง). “รามใหญ่ เป็นยา-กินยอด”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.komchadluek.net. [04 พ.ย. 2014].
สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 6 (สงขลา), กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. “รามใหญ่ Ardisia elliptica Thunb.”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.dnp.go.th/mfcd20/heab-5.htm. [04 พ.ย. 2014].
ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “พิลังกาสา”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.phargarden.com. [04 พ.ย. 2014].