มะดัน ผลไม้รสเปรี้ยวจี๊ด ช่วยละลายเสมหะและแก้ประจำเดือนมาผิดปกติ

0
มะดัน ผลไม้รสเปรี้ยวจี๊ด ช่วยละลายเสมหะและแก้ประจำเดือนมาผิดปกติ
มะดัน ผลไม้รสเปรี้ยว เปลือกบางเรียบเป็นมัน ผลมีสีเขียว เนื้อนุ่มฉ่ำน้ำ รสชาติเปรี้ยวมาก นิยมนำมาทำเป็นของดอง
มะดัน ผลไม้รสเปรี้ยวจี๊ด ช่วยละลายเสมหะและแก้ประจำเดือนมาผิดปกติ
มะดัน ผลไม้รสเปรี้ยว เปลือกบางเรียบเป็นมัน ผลมีสีเขียว เนื้อนุ่มฉ่ำน้ำ รสชาติเปรี้ยวมาก นิยมนำมาทำเป็นของดอง

มะดัน

มะดัน (Madan) เป็นผลไม้รสเปรี้ยวที่นิยมนำมาทำเป็นของดอง สามารถนำส่วนประกอบทั้งต้นมาใช้ประโยชน์ได้หลายอุตสาหกรรม เป็นต้นที่เป็นพุ่มอย่างสวยงามเหมาะสำหรับนำมาประดับสถานที่ได้ด้วย มะดันไม่ใช่ผลไม้ยอดนิยมสักเท่าไหร่แต่มีสรรพคุณมากมายอย่างคาดไม่ถึง มะดันเรียกอีกอย่างกันว่า “ส้มมะดัน” หรือ “ส้มไม่รู้ถอย”

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของมะดัน

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Garcinia schomburgkiana Pierre
ชื่อสามัญ : มีชื่อสามัญว่า “Madan”
ชื่อท้องถิ่น : มีชื่อเรียกอื่น ๆ ว่า “ส้มมะดัน” และ “ส้มไม่รู้ถอย”
ชื่อวงศ์ : วงศ์มังคุด (CLUSIACEAE หรือ GUTTIFERAE)

ลักษณะของมะดัน

มะดัน เป็นไม้ยืนต้นที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นิยมปลูกกันมากในหลายประเทศ เป็นผลไม้พื้นบ้านของไทย มักจะปลูกกันมากในภาคกลาง
ลำต้น : เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง เป็นทรงพุ่มที่ขยายแตกกิ่งก้านออก ลำต้นมีลักษณะกลม เป็นไม้เนื้อแข็งและเหนียว เปลือกต้นเรียบและมีสีน้ำตาลอมดำ
ราก : เป็นระบบรากแก้วแทงลึกลงในดิน มีรากแขนงและรากฝอยเล็ก ๆ ออกตามแนวราบ มีลักษณะกลมและมีสีน้ำตาล
ใบ : เป็นใบเดี่ยวแทงออกเป็นคู่ตรงข้ามบนกิ่ง มีลักษณะวงรี โคนใบแหลม ปลายใบเรียวแหลม มีก้านใบยาว ผิวใบเรียบลื่นและมีสีเขียวเข้ม
ดอก : ออกดอกเป็นช่อ เป็นรูปไข่ มีก้านช่อดอกสั้น กลีบดอกมีสีเหลืองอมส้ม มีกลีบเลี้ยงสีเขียว ดอกแทงออกตามซอกใบ
ผล : มีลักษณะทรงกลมวงรีปลายแหลม ผิวเปลือกบางเรียบเป็นมัน ผลมีสีเขียว มีเนื้อสีขาวนวล เนื้อนุ่มฉ่ำน้ำ มีเมล็ดแข็งยาวอยู่ข้างในเนื้อ มีรสชาติเปรี้ยวมาก
เมล็ด : มีลักษณะรูปทรงยาววงรีอยู่ข้างในเนื้อ มี 3 – 4 เมล็ดต่อผล เมล็ดแข็งและมีสีน้ำตาลเข้ม

สรรพคุณของมะดัน

  • สรรพคุณจากผล แก้อาการคอแห้งและช่วยทำให้ชุ่มคอ แก้ระดูเสียในสตรีและแก้ประจำเดือนมาผิดปกติ
    – แก้อาการไอ ฟอกเสมหะและล้างเสมหะ ด้วยการทำเป็นยาสูตรดองเปรี้ยวเค็ม
    – แก้อาการน้ำลายเหนียวหรือเป็นเมือกในลำคอ ด้วยการทำเป็นยาสูตรดองน้ำเกลือ
  • สรรพคุณจากรก ราก ใบ ผลและเปลือกต้น แก้กระษัยหรือโรคธาตุเสื่อมและขับฟอกโลหิตเมื่อนำมาต้ม รักษาไข้หวัด เป็นยาแก้เสมหะและเสมหะพิการ
  • สรรพคุณจากราก แก้เบาหวาน นำมาต้มเป็นยาระบายอ่อน ๆ ช่วยขับปัสสาวะ แก้ไข้ทับระดู แก้ระดูเสียในสตรีและแก้ประจำเดือนมาผิดปกติ
  • สรรพคุณจากใบ แก้อาการหวัด แก้อาการไอด้วยการทำเป็นยาสูตรดองเปรี้ยวเค็ม ช่วยขับปัสสาวะ แก้ระดูเสียในสตรีและแก้ประจำเดือนมาผิดปกติ
  • สรรพคุณจากมะดัน ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเนื้องอก ช่วยในการผลัดเซลล์ผิวได้

ประโยชน์ของมะดัน

1. เป็นส่วนประกอบของอาหาร รับประทานเป็นผลไม้สดโดยจิ้มกับพริกเกลือ นำมาแปรรูปเป็นมะดันแช่อิ่มหรือมะดันดองแช่อิ่ม สามารถนำมาใช้เป็นส่วนประกอบในอาหารแทนมะนาวได้ด้วยการนำยอดอ่อนมาใส่ต้มปลาหรือต้มไก่ ยอดอ่อนและใบอ่อนใช้รับประทานเป็นผักได้ กิ่งของมะดันใช้หนีบไก่ปิ้งซึ่งทำให้มีกลิ่นหอมน่ารับประทานยิ่งขึ้น ทำเป็นน้ำหมักชีวภาพแล้วกรองเอาน้ำมาใช้ เช่น นำมาใช้ปรุงในเครื่องดื่ม
2. ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง เป็นส่วนผสมในสบู่และครีมบำรุงผิว ทำเป็นน้ำหมักชีวภาพแล้วกรองเอาน้ำมาใช้เป็นโทนเนอร์เช็ดหน้า
3. ปลูกเป็นไม้ประดับ ต้นมะดันมีทรงพุ่มที่สวยงามสามารถใช้ประดับสถานที่ได้ เป็นไม้ที่ทนน้ำท่วมขังได้ดีมากชนิดหนึ่ง จึงเหมาะที่จะปลูกไว้ในบริเวณที่เกิดน้ำท่วมบ่อย

คุณค่าทางโภชนาการของผลมะดัน

คุณค่าทางโภชนาการของผลมะดัน ต่อ 100 กรัม

สารอาหาร ปริมาณสารอาหารที่ได้รับ
คาร์โบไฮเดรต 6.5 กรัม
ไขมัน 0.1 กรัม
โปรตีน 0.3 กรัม
เส้นใย 0.4 มิลลิกรัม
วิตามินเอ 431 หน่วยสากล
วิตามินบี2 0.04 มิลลิกรัม
วิตามินซี 5 มิลลิกรัม
แคลเซียม 17 มิลลิกรัม
ฟอสฟอรัส 7 มิลลิกรัม
เหล็ก 0 มิลลิกรัม

คุณค่าทางโภชนาการของใบอ่อนมะดัน

คุณค่าทางโภชนาการของใบอ่อนมะดัน ต่อ 100 กรัม

สารอาหาร ปริมาณสารอาหารที่ได้รับ
คาร์โบไฮเดรต 7.3 กรัม
ไขมัน 0.1 กรัม
โปรตีน 0.3 กรัม
วิตามินเอ 225 หน่วยสากล
วิตามินบี1 0.01 มิลลิกรัม
วิตามินบี2 0.04 มิลลิกรัม
วิตามินบี3 0.02 มิลลิกรัม
วิตามินซี 16 มิลลิกรัม 
ธาตุแคลเซียม 103 มิลลิกรัม
ฟอสฟอรัส 8 มิลลิกรัม

วิธีการปรุงมะดัน

วิธีการทำเป็นยาดองเปรี้ยวเค็ม
1. นำผลมาบดเป็นผงหยาบ ๆ แล้วห่อด้วยผ้าขาวบางหลวม ๆ ใส่ไว้ในโหลแก้ว
2. เติมเหล้าให้ท่วมผ้าห่อยาแล้วแช่ทิ้งไว้ประมาณ 7 วัน
3. ระหว่างที่แช่ให้บีบผ้าห่อยาบ่อย ๆ เพื่อให้ตัวยาออกมา เมื่อครบ 7 วัน ให้นำมารับประทานครั้งละ 1 แก้ว
วิธีการปรุงเป็นยาต้ม
1. นำใบหรือผลประมาณ 1 กำมือ มาใส่น้ำพอท่วมแล้วต้มให้เดือดประมาณ 10 นาที
2. ใช้ไฟอ่อนให้น้ำค่อยเดือด ๆ แล้วต้ม 3 ส่วน เคี่ยวจนเหลือ 1 ส่วน
3. นำมารับประทานประมาณครึ่งแก้วถึงหนึ่งแก้ว

ข้อควรระวัง

ผู้ที่เป็นโรคโลหิตจางไม่ควรรับประทานมะดันเนื่องจากรสเปรี้ยวจะไปกัดฟอกโลหิต อาจทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้

มะดัน เป็นผลไม้ที่มีสรรพคุณทางยาจากทุกส่วนของต้น มีรสเปรี้ยวมากจนสามารถนำมาทดแทนมะนาวได้ มีสารอาหารมากมายโดยเฉพาะวิตามิน สรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ แก้ไอและละลายเสมหะ ยับยั้งการเจริญเติบโตของเนื้องอก แก้ประจำเดือนมาผิดปกติและแก้เบาหวานได้

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

แหล่งอ้างอิง

เว็บไซต์สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, เว็บไซต์สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้, เว็บไซต์หมอชาวบ้าน

ดีหมี ยาสมุนไพรแก้ไข้ รักษามะเร็ง แก้ตับอักเสบหรือตับพิการได้

0
ดีหมี ยาสมุนไพรแก้ไข้ รักษามะเร็ง แก้ตับอักเสบหรือตับพิการได้
ดีหมี มีสรรพคุณทางยา ใบเดี่ยวเรียงสลับกันเป็นรูปวงรี มีสีเขียวเข้ม หลังใบเป็นสีอ่อน
ดีหมี ยาสมุนไพรแก้ไข้ รักษามะเร็ง แก้ตับอักเสบหรือตับพิการได้
ดีหมี มีสรรพคุณทางยา ใบเดี่ยวเรียงสลับกันเป็นรูปวงรี มีสีเขียวเข้ม หลังใบเป็นสีอ่อน

ดีหมี

ดีหมี (Acalypha spiciflora) มักจะพบในป่าและมีสรรพคุณทางยา โดยล่าสุดมีความเชื่อกันว่าใบดีหมีช่วยรักษาโควิดแต่ยังไม่มีการรับรองอย่างแน่ชัด ดีหมีอยู่ในตำรายาไทยมาเนิ่นนาน ในปัจจุบันสามารถหาซื้อได้ตามร้านค้าทั่วไปหรือทางออนไลน์ เป็นต้นที่คู่ควรแก่การนำมาปลูกเพื่อใช้ประโยชน์ได้

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของดีหมี

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Acalypha spiciflora Burm.f.
ชื่อท้องถิ่น : ภาคเหนือเรียกว่า “มะดีหมี จ๊ามะไฟ” จังหวัดลำปางเรียกว่า “ดินหมี” จังหวัดระนองเรียกว่า “คัดไล” จังหวัดประจวบคีรีขันธ์เรียกว่า “กาดาวกระจาย” จังหวัดสุราษฎร์ธานีเรียกว่า “กาไล กำไล” ชาวกะเหรี่ยงและแม่ฮ่องสอนเรียกว่า “เซยกะชู้” มีชื่ออื่น ๆ ว่า “โต๊ะกาไล”
ชื่อวงศ์ : วงศ์ยางพารา (EUPHORBIACEAE)
ชื่อพ้อง : Cleidion spiciflorum (Burm.f.) Merr.

ลักษณะของต้นดีหมี

ต้นดีหมี เป็นไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบที่พบได้มากทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้ของประเทศไทย ตามป่าดิบแล้ง ป่าดิบชื้นและป่าดงดิบริมน้ำ
เปลือกต้น : เปลือกต้นเกลี้ยงและเป็นสีเทาดำ
ใบ : เป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับกันเป็นรูปวงรี รูปวงรีแกมใบหอกหรือเป็นรูปใบหอก ปลายใบเรียวแหลม โคนใบแหลม ขอบใบเป็นหยักฟันเลื่อมแกมซี่ฟัน แผ่นใบหนาเรียบเป็นมันและมีสีเขียวเข้ม หลังใบเป็นสีอ่อน ที่ซอกของเส้นใบด้านท้องใบจะมีต่อมกระจัดกระจาย
ดอก : ดอกเป็นแบบแยกเพศอยู่ต่างต้นกัน โดยจะออกดอกตามซอกใบ ดอกเพศผู้ออกดอกเป็นช่อกระจะเชิงลด มีกลีบเลี้ยง 3 กลีบ ดอกมีเกสรเพศผู้จำนวนมาก ส่วนดอกเพศเมียออกดอกเป็นดอกเดี่ยว ๆ ไม่มีกลีบดอก มีแต่กลีบเลี้ยง 5 กลีบ ยอดเกสรเพศเมียแยกเป็นแฉก 2 – 3 แฉก
ผล : ผลมีลักษณะค่อนข้างกลมเป็นพู 2 พู เมื่อแก่จะแห้งและแตก
เมล็ด : ภายในผลมีเมล็ดประมาณ 2 – 3 เมล็ด มีลักษณะกลมสีขาว

สรรพคุณของดีหมี

  • สรรพคุณจากเปลือกต้น
    – รักษามะเร็ง แก้อาการปวดท้อง แก้ตับพิการ รักษาโรคผิวหนัง ด้วยการนำเปลือกต้นมาต้มกับน้ำแล้วดื่ม
    สรรพคุณจากแก่น
    – แก้ไข้ แก้อาการร้อนในกระหายน้ำ ช่วยขับเหงื่อ แก้อาการปวดศีรษะ ด้วยการนำแก่นมาต้มกับน้ำแล้วดื่ม
  • สรรพคุณจากทั้งต้น
    – แก้ไข้ตัวร้อน ช่วยดับพิษไข้ ช่วยขับเหงื่อ แก้อาการปวดศีรษะ ด้วยการนำทั้งต้นมาต้มกับน้ำแล้วดื่ม
    สรรพคุณจากเมล็ด เป็นยาระบาย
  • สรรพคุณจากใบ
    – แก้ผื่นคัน ด้วยการนำใบมาต้มกับน้ำแล้วอาบ
  • สรรพคุณจากราก
    – แก้ลมพิษในกระดูก ด้วยการนำรากมาต้มกับน้ำดื่ม
  • สรรพคุณจากต้น ราก ใบ
    – แก้ไข้ รักษาไข้มาลาเรีย ชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงนำราก ต้นหรือใบมาต้มกับน้ำแล้วใช้อาบ
  • สรรพคุณจากต้น เปลือกต้น กิ่งและใบ แก้ตับอักเสบ ตับพิการ ใบไม้ตับ

ประโยชน์ของดีหมี

เป็นส่วนประกอบของอาหาร ใบสดนำมาลวกกินเป็นเมี่ยง

ข้อควรระวัง

ใบดีหมีมีพิษ น้ำต้มจากใบอาจทำให้สตรีมีครรภ์แท้งบุตรได้

ดีหมี กำลังเป็นที่นิยมในยุคโควิดและเป็นยาจีนรวมถึงยาในตำราไทยที่มีสรรพคุณแก้อาการหลากหลาย แต่ไม่เป็นผลดีกับสตรีที่กำลังมีครรภ์ มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ แก้ตับอักเสบหรือตับพิการ รักษามะเร็ง แก้ไข้ เป็นพืชที่นิยมของชาวกะเหรี่ยง จีนและประเทศไทยเรา

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา. (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “ดีหมี”. หน้า 72.[1]
โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง, สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์การมหาชน). “ดีหมี”. อ้างอิงใน: หนังสือพืชอาหารและสมุนไพรท้องถิ่นบนพื้นที่สูง (อัปสรและคณะ). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: eherb.hrdi.or.th. [8 มี.ค. 2014].
คมชัดลึกออนไลน์. “ดีหมี แก่น-ราก-ใบ เป็นยา”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.komchadluek.net. [8 มี.ค. 2014].
อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. “ดีหมี”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.pharmacy.mahidol.ac.th/siri/. [8 มี.ค. 2014].
ศูนย์วิจัยสมุนไพรภาคเหนือ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. “สมุนไพรที่ใช้แก้อาการแพ้และระคายเคือง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.pharmacy.cmu.ac.th/web2553/index.php. [8 มี.ค. 2014].
การสำรวจทรัพยากรป่าไม้เพื่อประเมินสถานภาพและศักยภาพ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 9 (อุบลราชธานี). “”ดันหมี””. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: inven.dnp9.com/inven/. [8 มี.ค. 2014].
ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. “ดีหมี : Cleidion speciflorum Merr.”. อ้างอิงใน: หนังสือไม้ต้นในสวน Tree in the Garden. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.qsbg.org. [8 มี.ค. 2014].
งานการแพทย์แผนไทย จังหวัดอุดรธานี. “สมุนไพรนายูง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: sites.google.com/site/ttmudon/. [8 มี.ค. 2014].

ผักแว่น ดอกเป็นแฉกโดดเด่น ช่วยบำรุงสายตาและเป็นยาทาภายนอก

0
ผักแว่น ดอกเป็นแฉกโดดเด่น ช่วยบำรุงสายตาและเป็นยาทาภายนอก
ผักแว่น ลักษณะของใบเป็นสี่แฉกประกอบแบบพัดคล้ายกังหัน ลำต้นเป็นเหง้าเรียวยาว เลื้อยและแตกกิ่งก้านไม่เป็นระเบียบ
ผักแว่น ดอกเป็นแฉกโดดเด่น ช่วยบำรุงสายตาและเป็นยาทาภายนอก
ผักแว่น ลักษณะของใบเป็นสี่แฉกประกอบแบบพัดคล้ายกังหัน ลำต้นเป็นเหง้าเรียวยาว เลื้อยและแตกกิ่งก้านไม่เป็นระเบียบ

ผักแว่น

ผักแว่น (Water clover) เป็นเฟิร์นที่ขึ้นตามริมน้ำหรือพื้นที่แฉะ มีลักษณะของดอกที่สวยงามเป็นสี่แฉก มีความโดดเด่นและพบเห็นได้ทั่วไป บางคนอาจจะเคยพบแต่ไม่รู้จักชื่อของดอกผักแว่น เป็นผักที่มีสรรพคุณทางยาและมีคุณค่าทางอาหารสูง สามารถนำมารับประทานได้ ในประเทศไทยทางภาคอีสานนิยมนำผักแว่นมารับประทานเป็นผักสดกับน้ำพริก ภาคใต้นิยมนำยอดอ่อนมาแกงร่วมกับหอมแดง กะปิและกระเทียม แต่ทางภาคกลางยังไม่มีการนำมาทานกันอย่างแพร่หลายนัก

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของผักแว่น

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Marsilea crenata C. Presl
ชื่อสามัญ : มีชื่อสามัญว่า “Water clover” “Water fern” “Pepperwort”
ชื่อท้องถิ่น : ภาคกลาง ภาคเหนือและภาคอีสานเรียกว่า “ผักแว่น” ชาวกะเหรี่ยงและภาคเหนือเรียกว่า “หนูเต๊าะ” ภาคใต้เรียกว่า “ผักลิ้นปี่” และมีชื่อเรียกอื่น ๆ ว่า “ผักก๋ำแหวน”
ชื่อวงศ์ : วงศ์ผักแว่น (MARSILEACEAE)

ลักษณะของผักแว่น

ผักแว่น เป็นไม้น้ำล้มลุกจำพวกเฟิร์นที่มีถิ่นกำเนิดอยู่แถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มักจะพบตามหนองน้ำที่ชื้นแฉะหรือตามทุ่งนาในช่วงฤดูฝน
ลำต้น : มีลำต้นเป็นเหง้าเรียวยาวทอดเกาะเลื้อยและแตกกิ่งก้านไม่เป็นระเบียบ มีขนสีน้ำตาลอ่อนขึ้นปกคลุม ลำต้นอ่อนมีสีเขียว ลำต้นแก่จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล
ราก : รากสามารถเกาะติดและเจริญอยู่ได้ทั้งบนพื้นดินหรือเจริญอยู่ในน้ำ
ใบ : เป็นใบประกอบแบบพัด โดยมีใบย่อย 4 ใบคล้ายกังหัน ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปสามเหลี่ยม รูปกรวยปลายมนหรือเป็นรูปลิ่มคล้ายพัด โคนใบสอบ ขอบใบและแผ่นใบเรียบหรือหยักเล็กน้อย ใบไม่มีขน แผ่นใบจะงอกออกจากตรงกลางตำแหน่งเดียวกัน 3 – 5 ใบ ทำให้ใบทั้งหมดรวมกันเป็นลักษณะกลม
ก้านใบ : ใบย่อยไม่มีก้านใบ ใบมีสปอร์โรคาร์ป (Sporocarp) ลักษณะวงรีคล้ายเมล็ดถั่วเขียวเป็นก้อนแข็งออกที่โคนก้านใบ ขณะอ่อนมีสีขาวแต่เมื่อแก่จะเป็นสีน้ำตาลเข้มเกือบดำและร่วงได้ง่าย ภายในมีสปอร์จำนวนมาก
ดอก : เป็นดอกเดี่ยวสีเหลืองขนาดเล็กออกตามซอกใบ กลีบดอกสีม่วง
ผล : มีลักษณะเป็นวงรียาว ขั้วผลและปลายผลแหลม เปลือกผลสาก ผลแบ่งออกเป็น 2 พู มีผลแห้งและแตกได้
เมล็ด : ภายในผลประกอบไปด้วยเมล็ดจำนวนมาก

สรรพคุณของผักแว่น

  • สรรพคุณจากต้น เสริมสร้างเม็ดเลือดแดง ช่วยดับพิษร้อนและถอนพิษไข้ บรรเทาอาการปวดศีรษะ บำรุงสายตา รักษาโรคตาอักเสบ รักษาต้อกระจก ป้องกันโรคตาบอดตอนกลางคืน แก้อาการท้องผูก แก้ดีพิการ รักษาโรคเกาต์
    – บรรเทาความร้อนในร่างกาย ระงับอาการร้อนใน แก้ร้อนใน แก้อาการกระหายน้ำ ช่วยสมานแผลในปากและลำคอ ด้วยการนำต้นมาต้มแล้วดื่ม
  • สรรพคุณจากใบ บำรุงสายตา รักษาโรคตาอักเสบ รักษาต้อกระจก ป้องกันโรคตาบอดตอนกลางคืน ฆ่าเชื้อราอันเป็นสาเหตุของโรคกลาก รักษาแผลอักเสบหลังการผ่าตัด
    – ช่วยลดไข้ ช่วยสมานแผลในปากและลำคอ รักษาโรคปากเปื่อยและปากเหม็น แก้เจ็บคอและอาการเสียงแหบ แก้อาการท้องเสีย ขับปัสสาวะ ด้วยการนำใบสดมาต้มแล้วดื่ม
    – ใช้เป็นยาภายนอก เช่น รักษาแผลเปื่อย แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก ช่วยในการสมานแผล เร่งการสร้างเนื้อเยื่อ ช่วยระงับการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดหนองและช่วยลดการอักเสบ ด้วยการใช้ใบสดประมาณ 1 กำมือ มาล้างให้สะอาดแล้วตำให้ละเอียด คั้นเอาแต่น้ำมาทาบริเวณแผล
  • สรรพคุณจากทั้งต้น
    – เป็นยาแก้ไข้และอาการผิดสำแดง ด้วยการใช้ทั้งต้นมาผสมกับใบธูปฤๅษีแล้วทุบให้แตก นำไปแช่น้ำที่มีหอยขมเป็น ๆ อยู่ประมาณ 2 – 3 นาที แล้วดื่ม
    – แก้เจ็บคอและอาการเสียงแหบ ด้วยการนำทั้งต้นมาต้มแล้วดื่ม

ประโยชน์ของผักแว่น

1. เป็นส่วนประกอบของอาหาร ใบอ่อน ยอดอ่อนและก้านใบใช้รับประทานเป็นผักสดร่วมกับน้ำพริก นำมาเป็นเครื่องเคียงและเป็นส่วนประกอบในเมนูจำพวกแกงต่าง ๆ ในภาคใต้นิยมนำยอดอ่อนมาแกงร่วมกับหอมแดง กะปิและกระเทียม สามารถนำมาต้มให้นิ่มเป็นอาหารสำหรับเด็กและผู้สูงอายุได้ เมืองสุราบายาของประเทศอินโดนีเซียนำมาเสิร์ฟร่วมกับมันเทศและเพเซล (Pacel) หรือซอสเผ็ดที่ผลิตจากถั่วลิสง
2. เป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์ มีการพัฒนาเป็นยาชนิดครีมที่นำมาใช้ทาเพื่อรักษาแผลอักเสบหลังการผ่าตัด

คุณค่าทางโภชนาการของผักแว่น ต่อ 100 กรัม

คุณค่าทางโภชนาการของผักแว่น ต่อ 100 กรัม ให้พลังงาน 18 แคลอรี

สารอาหาร ปริมาณสารอาหารที่ได้รับ
คาร์โบไฮเดรต 0.7 กรัม
โปรตีน 1.0 กรัม
ไขมัน 1.2 กรัม
เส้นใยอาหาร 3.3 กรัม
น้ำ 94 กรัม
วิตามินเอ 12,166 หน่วยสากล
วิตามินบี1 0.10 มิลลิกรัม
วิตามินบี2 0.27 มิลลิกรัม
วิตามินบี3 3.4 มิลลิกรัม
วิตามินซี 3 มิลลิกรัม
แคลเซียม 48 มิลลิกรัม 
เหล็ก 25.2 มิลลิกรัม

สารออกฤทธิ์ในผักแว่น

ผักแว่น มีสารอาหารพวกฟลาโวนอยด์ (Flavonoid) เบต้าแคโรทีน (Beta-carotene) สารเอทิลอะซิเตท (Ethyl Acetate) ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่พบมากในผักแว่น และประกอบไปด้วยสารไฟโตเอสโตรเจน (Phytoestrogen) ที่มีประโยชน์มากมายโดยเฉพาะการเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูก

คำแนะนำในการรับประทานผักแว่น

ตำนานหรือพิธีกรรมทางศาสนาของชาวเหนือมีความเชื่อว่า “หญิงตั้งครรภ์ไม่ควรรับประทานผักแว่น เนื่องจากผักแว่นมีลักษณะของลำต้นเป็นเถาเครือ โดยเชื่อว่าเมื่อรับประทานเข้าไปแล้วอาจทำให้ไปพันคอของเด็กทารกในท้องได้ ทำให้คลอดยากหรือมีอาการปวดท้องก่อนคลอดนาน” ทั้งนี้ก็เป็นเพียงความเชื่อเท่านั้น แต่อาจจะมีสาเหตุมาจากสารไฟโตเอสโตรเจนในผักแว่นอาจเข้าไปรบกวนการทำงานของต่อมไร้ท่อในการหลั่งฮอร์โมนที่เป็นปกติ จึงอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพ เช่น ภาวะมีบุตรยาก เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งในอวัยวะที่ไวต่อฮอร์โมนเอสโตรเจน เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งมดลูก มะเร็งรังไข่ เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ เนื้องอกในมดลูก ดังนั้นไม่ควรรับประทานมากเกินไปเพราะอาจส่งผลต่อความสมดุลของฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกายได้

ผักแว่น เป็นผักที่อาจจะจำสับสนกับผักชนิดอื่นเพราะบางทีชื่อที่ว่า “ผักแว่น” สามารถใช้เรียก “ผักส้มกบ” ได้เช่นกัน ผักแว่นเป็นผักที่มีแฉกโดดเด่นขึ้นอยู่ริมน้ำ ส่วนมากมักจะนำมาประกอบอาหาร มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ บำรุงสายตา ดับพิษร้อนในร่างกาย เป็นยาทาภายนอก รักษาแผลในปากและลำคอ เป็นผักที่มีสารอาหารและคุณค่าทางโภชนาการหลากหลายและมีดอกที่สวยงาม

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
ผักพื้นบ้านในประเทศไทย กรมส่งเสริมการเกษตร. “ผักแว่น”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: 203.172.205.25. [29 พ.ย. 2013].
สำนักงานหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. “ผักแว่น”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: web3.dnp.go.th. [29 พ.ย. 2013].
การสำรวจเฟิร์นตามเส้นทางธรรมชาติน้ำตกแม่เย็น โรงเรียนปายวิทยาคาร. “ผักแว่น”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: fern.pwtk.ac.th. [29 พ.ย. 2013].
เดลินิวส์. “ผักแว่น…ผักพื้นบ้านแต่มีคุณค่า”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.dailynews.co.th. [29 พ.ย. 2013].
ฐานข้อมูลท้องถิ่น สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. “ผักแว่น”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: 202.29.15.9 (arit.kpru.ac.th). [29 พ.ย. 2013].
กรีนคลินิก. “ผักแว่น”. อ้างอิงใน: หนังสือผักพื้นบ้านไทยสมุนไพรต้านโรค (ชิดชนก). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.greenclinic.in.th. [29 พ.ย. 2013].
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. “ผักแว่น”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: th.wikipedia.org/wiki/ผักแว่น. [29 พ.ย. 2013].
สำนักงานเกษตรอำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน. “ผักลิ้นปี๋ ผักหนูเต๊าะWater Clover”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: pasang.lamphun.doae.go.th. [29 พ.ย. 2013].
โรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ จังหวัดเชียงใหม่. “ผักแว่น”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: learn.wattano.ac.th. [29 พ.ย. 2013].

ดอกดินแดง ช่วยแก้เบาหวาน แก้ไขกระดูกอักเสบ รักษาคอและต่อมทอนซิลอักเสบ

0
ดอกดินแดง ช่วยแก้เบาหวาน แก้ไขกระดูกอักเสบ รักษาคอและต่อมทอนซิลอักเสบ
ดอกดินแดง เป็นพืช ดอกสีม่วงแดงอ่อน มีรสจืดเย็นและสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งต้น

ดอกดินแดง ช่วยแก้เบาหวาน แก้ไขกระดูกอักเสบ รักษาคอและต่อมทอนซิลอักเสบ
ดอกดินแดง เป็นพืช ดอกสีม่วงแดงอ่อน มีรสจืดเย็นและสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งต้น

ดอกดินแดง

ดอกดินแดง (Broomrape) เป็นดอกสีม่วงแดงอ่อนที่มีรสจืดเย็นและสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งต้น เป็นพืชที่สามารถนำมาใช้ได้หลากหลายทั้งการใช้เป็นยาสมุนไพร เป็นสีผสมอาหารหรือนำมาทำเป็นขนม ดอกดินแดงมักจะขึ้นในป่าและเป็นดอกที่ไม่มีใบอยู่บนต้น ส่วนมากไม่ค่อยมีใครรู้จักและพบเห็นได้บ่อยนัก เป็นดอกที่มีการนำมาศึกษาและน่าสนใจในการวิจัยด้านเภสัชวิทยา

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของดอกดินแดง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Aeginetia indica L.
ชื่อสามัญ : มีชื่อสามัญว่า “Broomrape”
ชื่อท้องถิ่น : ภาคอีสานเรียกว่า “ปากจะเข้” จังหวัดเลยเรียกว่า “ข้าวก่ำนกยูง หญ้าดอกขอ” จังหวัดสงขลาเรียกว่า “สบแล้ง” ชาวกะเหรี่ยงและแม่ฮ่องสอนเรียกว่า “ซอซวย” จีนกลางเรียกว่า “เหย่กู” มีชื่ออื่น ๆ ว่า “กะเปเส้ เพาะลาพอ ดอนดิน”
ชื่อวงศ์ : วงศ์ดอกดิน (OROBANCHACEAE)

ลักษณะของดอกดินแดง

ดอกดินแดง เป็นพืชจำพวกกาฝากที่มีเขตการกระจายพันธุ์ตั้งแต่ตอนกลางของทวีปเอเชียมาทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปจนถึงประเทศในแถบมหาสมุทรแปซิฟิก ในประเทศไทยมักจะพบบริเวณที่ค่อนข้างชื้นในป่าเต็งรัง ซึ่งพบได้มากทางภาคเหนือและทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ลำต้น : ลำต้นตั้งตรง โคนต้นมีกาบใบสีชมพูอ่อนห่อหุ้มอยู่ มีก้านเดียวแทงขึ้นมาบนรากไม้อื่น ต้นไม่มีการแตกกิ่งก้าน ปลายก้านออกดอกเป็นดอกเดี่ยว
ใบ : ไม่มีใบหรืออาจจะมีใบเป็นเกล็ดขนาดเล็กที่โคนกอซึ่งมองเห็นได้ยาก โดยจะออกเรียงสลับตรงข้ามกันเป็นรูปสามเหลี่ยม
ดอก : เป็นดอกเดี่ยวสีม่วงแดงอ่อนรูปถ้วยคว่ำ โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด โค้งงอ กลีบเลี้ยงเป็นสีเหลืองอ่อน กลีบดอกจะแตกออกเป็นแฉก 5 แฉก
ผล : ผลเป็นรูปกลมไข่มีสีน้ำตาล เมื่อแก่จะแตกออก
เมล็ด : ภายในผลมีเมล็ดสีน้ำตาลขนาดเล็กจำนวนมาก

สรรพคุณของดอกดินแดง

  • สรรพคุณจากทั้งต้น เป็นยาชงแก้เบาหวาน เป็นยาเย็น เป็นยาขับพิษร้อน ช่วยถอนพิษไข้ ทำให้เลือดเย็น แก้อาการเจ็บคอ รักษาคออักเสบ รักษาต่อมทอนซิลอักเสบ แก้อาการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ แก้โรคผิวหนัง บรรเทาอาการแมลงสัตว์กัดต่อย แก้อาการปวดบวม
  • สรรพคุณจากดอก เป็นยาชงกินแก้เบาหวาน
    – รักษาฝีบนผิวหนัง แก้ฝีภายนอก ด้วยการนำดอกสดมาตำผสมกับน้ำมันงาเล็กน้อยแล้วนำมาใช้พอก
    – แก้พิษงู ด้วยการใช้ดอกแห้ง 40 กรัม ชะมดเชียง 0.5 กรัม และตะขาบแห้ง 7 ตัว มาแช่ในน้ำมันงาประมาณ 15 วัน จึงสามารถนำมาใช้ทาบริเวณที่โดนพิษได้
  • สรรพคุณจากต้น
    – แก้ไขกระดูกอักเสบ ด้วยการใช้ต้นสด 30 กรัม มาตำคั้นเอาน้ำผสมกับผงชะเอม 5 กรัม หรือนำไปต้มกับน้ำแล้วดื่ม

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของดอกดินแดง

1. มีการศึกษาพิษต่อระบบภูมิคุ้มกันของดอกดินแดงโดยใช้สารสกัดจากพืชทั้งต้นด้วยเอทานอล (DDDP) และน้ำ (WDDDP) และส่วนเมล็ดสกัดด้วยบิวทานอล (SDDD) พบว่าสารสกัดจากดอกดินแดงมีฤทธิ์กระตุ้นการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกัน
2. มีการศึกษาพบว่าดอกดินแดงมีฤทธิ์ต้านพิษต่อตับ ต้านมะเร็ง กระตุ้น T-cell และช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกัน แต่ยังไม่สามารถนำมาใช้ในการรักษาอาการดังกล่าวข้างต้นได้

ประโยชน์ของดอกดินแดง

เป็นส่วนประกอบของอาหาร ดอกนำมาลวกหรือนึ่งรับประทานเป็นผักจิ้มกับน้ำพริก ดอกสดหรือดอกแห้งนำมาคั้นเอาแต่น้ำใช้เป็นสีผสมอาหาร ใช้แต่งสีหน้าข้าวเหนียวให้เป็นสีม่วงดำที่เรียกว่า “หม่าข้าว” เมื่อนำดอกมาผสมกับข้าวเหนียวแล้วนำไปนึ่งแล้วทำให้ข้าวเป็นสีม่วงจะเรียกว่า “ข้าวก่ำ” ดอกนำมาโขลกผสมกับแป้งและน้ำตาลใช้ทำเป็นขนมดอกดินได้

ดอกดินแดง เป็นส่วนสำคัญของการนำมาใช้ผสมสีในข้าวเหนียวซึ่งจะให้สีม่วงหรือสีน้ำเงินเข้มเกือบดำที่มักจะพบวางขายเป็นส่วนมาก สีของกลีบดอกมีสารออคิวบิน (Aucubin) เมื่อถูกออกซิไดซ์จากออกซิเจนในอากาศแล้วจะเปลี่ยนสีดำ มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ แก้เบาหวาน แก้พิษงู แก้ไขกระดูกอักเสบ รักษาคออักเสบและต่อมทอนซิลอักเสบ

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. “ดอกดินแดง”. (วิทยา บุญวรพัฒน์). หน้า 216.
หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคเหนือ. “ดอกดินแดง”. (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ). หน้า 111.
ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. “ดอกดินแดง”. อ้างอิงใน: หนังสือพรรณไม้สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เล่ม 2. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.qsbg.org. [7 มี.ค. 2014].
อุทยานธรรมชาติวิทยาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. “ดอกดินแดง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.kanchanapisek.or.th/kp14/project_dev/project_area/Ratburi/index.php. [7 มี.ค. 2014].
ระบบฐานข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชน, สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน). “ดอกดินแดง (ตราด) สบแล้ง (สงขลา) หญ้าดอกขอ (เลย) ปากจะเข้ (เหนือ) ซอซวย (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)”. อ้างอิงใน: สารานุกรมพืชในประเทศไทย. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.bedo.or.th. [7 มี.ค. 2014].
สำนักบริหารพื้นที่อนรุักษ์ที่ 13 (สาขาลำปาง). “ดอกดินแดง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: lampang.dnp.go.th. [7 มี.ค. 2014].
ศูนย์ข้อมูลภาคเหนือ มหาวิทยาลัยพายัพ. “ดอกดิน”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก:lib.payap.ac.th/webin/ntic/. [7 มี.ค. 2014].
วิกิพีเดียสารานุกรมเสรี. “ดอกดิน”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก:th.wikipedia.org/wiki/ดอกดิน_(พืช). อ้างอิงใน: หนังสือเส้นทางขนมไทย. [7 มี.ค. 2014].
การศึกษาพิษวิทยาและผลต่อระบบภูมิคุ้มกันของดอกดินแดง. (วิมลณัฐ อัตโชติ).
ชีวจิต. “ดอกดิน”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.cheewajit.com. [7 มี.ค. 2014].

สะระแหน่ สมุนไพรรสจัดที่ช่วยดับร้อน แก้พิษไข้ และมีกลิ่นหอมคล้ายมะนาว

0
สะระแหน่ สมุนไพรรสจัดที่ช่วยดับร้อน แก้พิษไข้ และมีกลิ่นหอมคล้ายมะนาว
สะระแหน่ พืชสมุนไพร มีรูปร่างคล้ายกะเพราริมใบหยัก มีกลิ่นหอมคล้ายใบมะนาว ทานได้ทั้งใบสดและสกัดเป็นชา
สะระแหน่ สมุนไพรรสจัดที่ช่วยดับร้อน แก้พิษไข้ และมีกลิ่นหอมคล้ายมะนาว
สะระแหน่ พืชสมุนไพร มีรูปร่างคล้ายกะเพราริมใบหยัก มีกลิ่นหอมคล้ายใบมะนาว ทานได้ทั้งใบสดและสกัดเป็นชา

สะระแหน่

สะระแหน่ (Marsh mint) เป็น พืชสมุนไพรที่มักจะพบในการรับประทานสดร่วมกับอาหารชนิดอื่นหรือนำมาสกัดเป็นชา สะระแหน่มีรูปร่างคล้ายกะเพราและมีกลิ่นหอมคล้ายใบมะนาว คนทั่วไปอาจจะไม่คุ้นเคยแต่ก็ไม่ใช่ชื่อที่แปลกนักสำหรับคนรักผักเพราะสะระแหน่มักจะนิยมรับประทานกันในอาหารเวียดนาม ทั้งนี้ขึ้นชื่อว่าเป็นพืชที่มีใบสีเขียวย่อมมีสรรพคุณเป็นยาและช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับร่างกายแน่นอน

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของสะระแหน่

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Melissa officinalis
ชื่อสามัญ : สะระแหน่มีชื่อสามัญ 2 ชื่อ คือ “Kitchen Mint” และอีกชื่อเรียกว่า “Marsh Mint”
ชื่อท้องถิ่น : ภาคกลางเรียกว่า “สะระแหน่สวน” ภาคเหนือเรียกว่า “หอมด่วนหรือหอมเดือน” ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเรียกว่า “ขะแยะ” ภาคใต้เรียกว่า “มักเงาะหรือสะแน่”
ชื่อวงศ์ : วงศ์กะเพรา (LAMIACEAE – LABIATAE)
ชื่อพ้อง : Mentha × cordifolia Opiz ex Fresen.

ลักษณะของสะระแหน่

สะระแหน่ เป็นพืชล้มลุกเลี้อยตามพื้นดินที่มีแหล่งกำเนิดในแถบทวีปยุโรปตอนใต้และในแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน มีกลิ่นหอมและรสชาติคล้ายมะนาว
ราก : เป็นรากฝอยขนาดเล็กและสั้น
ลำต้น : มีลักษณะเป็นเหลี่ยมสีแดงเข้มไปจนถึงปลายยอด สามารถแตกเหง้าเป็นต้นใหม่และแตกกิ่งแขนงจำนวนมาก
ใบ : เป็นใบเดี่ยว ใบมีลักษณะกลมขนาดหัวแม่มือ ใบค่อนข้างหนา ริมใบหยักโดยรอบ ภายในใบเป็นคลื่นยับย่น ปลายใบมนหรือแหลม
ดอก : ดอกมักจะออกเป็นช่อ มีสีชมพูอมม่วง
ผล : ผลมีลักษณะเป็นรูปกระสวยสีดำขนาดเล็ก

การนำไปใช้ประโยชน์ของสะระแหน่

1. เป็นส่วนประกอบของอาหาร เป็นส่วนผสมในการทำไอศกรีมและชาสมุนไพร เป็นส่วนผสมในอาหารหรือรับประทานสด ๆ ควบคู่ไปกับลาบน้ำตก เพิ่มกลิ่นหอมให้อาหาร ใช้ในการแต่งกลิ่นเครื่องดื่มต่าง ๆ เป็นเครื่องเคียงในอาหารจำพวกผลไม้สดและขนมหวาน สกัดเอาสารเพื่อใช้ในการทำเป็นลูกอม หมากฝรั่งรสมิ้นต์หรือชาสะระแหน่ได้
2. เป็นส่วนประกอบในอุตสาหกรรมยา ทำเป็นยาปฏิชีวนะได้
3. สกัดน้ำมันหอมระเหย ทำเป็นน้ำมันหอมระเหยเพื่อใช้ทำการบำบัดโดยใช้กลิ่น

สรรพคุณของสะระแหน่

  • สรรพคุณด้านเสริมภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย ช่วยกำจัดอนุมูลอิสระออกจากร่างกาย รักษาอาการอ่อนเพลียของร่างกาย ยับยั้งเชื้อโรคและการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย
  • สรรพคุณด้านความงาม ช่วยให้ผิวชุ่มชื้นด้วยการนำใบสะระแหน่มาบดแล้วนำมาทาผิว
  • สรรพคุณช่วยบรรเทาอาการ บรรเทาและดับร้อน ขับเหงื่อในร่างกาย บรรเทาอาการเครียด บรรเทาอาการหวัด น้ำมูกไหลและอาการไอ แก้อาการหน้ามืดตาลาย
    1. บรรเทาอาการปวดศีรษะ ไมเกรน ช่วยให้สมองปลอดโปร่งและโล่งคอ ด้วยการดื่มน้ำใบสะระแหน่ 5 กรัมกับน้ำ 1 ถ้วย ผสมเกลือเล็กน้อย วันละ 2 ครั้ง
    2. แก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย แก้อาการปวดบวม ผดผื่นคัน ด้วยการนำใบมาตำให้ละเอียดแล้วนำมาพอกบริเวณดังกล่าว
  • สรรพคุณด้านประสาทสัมผัสทั้ง 5 บำรุงและรักษาสายตา ระงับกลิ่นปาก
    1. ลดรอยคล้ำใต้ตา ด้วยการนำใบสะระแหน่มาบดให้ละเอียดโดยเติมน้ำระหว่างบดด้วยเล็กน้อย จากนั้นใส่น้ำผึ้งแล้วคลุกเคล้าให้เข้ากัน นำมาทาใต้ตาทิ้งไว้ประมาณ 15 นาทีแล้วล้างออก
    2. บรรเทาอาการปวดฟัน เจ็บปาก เจ็บลิ้น ปวดคอและรักษาแผลในปาก ด้วยการดื่มน้ำต้มใบสะระแหน่
    3. บรรเทาอาการปวดหู ด้วยการใช้น้ำคั้นจากใบสะระแหน่มาหยอดที่รูหู
  • สรรพคุณด้านป้องกันโรค รักษาโรคหอบหืดและโรคหลอดลมอักเสบ รักษาโรคเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์
  • สรรพคุณด้านเลือดในร่างกาย ห้ามเลือดกำเดาไหล ด้วยการใช้สำลีชุบน้ำที่คั้นจากใบสะระแหน่หยอดที่รูจมูก
  • สรรพคุณด้านระบบย่อยอาหารและระบบขับถ่าย ช่วยขับลมในลำไส้และช่วยในการย่อยอาหาร รักษาอาการท้องร่วง ปวดท้องและอาการบิด แก้อาการท้องอืดและท้องเฟ้อ ลดอาการหดเกร็งของลำไส้ รักษาอาการอุจจาระเป็นเลือด
    1.แก้อาการจุกเสียดในท้องเด็ก ด้วยการใช้ใบสะระแหน่ตำให้ละเอียดผสมกับยาหอมแล้วนำมากวาดคอเด็ก
    สรรพคุณด้านอื่น ๆ ช่วยผ่อนคลายความกดดันของกล้ามเนื้อซึ่งมาจากความเหนื่อยล้า ช่วยในการไล่ยุงและแมลงต่าง ๆ ด้วยการนำใบมาบดแล้วนำมาทาที่ผิว ช่วยให้หัวใจแข็งแรง

คุณค่าทางโภชนาการ

คุณค่าทางโภชนาการของสะระแหน่ 100 กรัม ให้พลังงาน 47 กิโลแคลอรี และมีวิตามินที่จำเป็นต่อร่างกายต่าง ๆ อย่างเช่น เบต้าแคโรทีน วิตามินบี1 วิตามินบี2 วิตามินบี3 และวิตามินซี มีแร่ธาตุต่าง ๆ หลายชนิด อย่างเช่น ธาตุแคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัสและธาตุเหล็ก

สะระแหน่ เป็นพืชที่คนเวียดนามมักจะรับประทานสดแต่คนไทยนิยมนำมาปรุงรสอาหารมากกว่า เพราะสะระแหน่มีรสจัดและช่วยลดกลิ่นคาวของอาหารได้ ทั้งนี้ใบสะระแหน่ที่นำมาปรุงนั้นควรเลือกใช้ใบสดและยอดอ่อนเพื่อให้ได้สรรพคุณที่ดีกว่าใบแห้ง สรรพคุณที่โดดเด่นของสะระแหน่เลยก็คือ เป็นยาดับร้อนที่ช่วยถอนพิษไข้ ขับลมและขับเหงื่อ ระงับกลิ่นปาก และใช้เป็นน้ำมันหอมระเหย

บทความที่เกี่ยวข้อง

แหล่งอ้างอิง 

ฃวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

เหรียง ผักพื้นบ้านจากทางใต้ ช่วยขับลมในลำไส้ เป็นยาสมานแผล บำรุงร่างกาย

0
เหรียง ผักพื้นบ้านจากทางใต้ ช่วยขับลมในลำไส้ เป็นยาสมานแผล บำรุงร่างกาย
เหรียง ผักพื้นบ้านทางภาคใต้ ลักษณะฝักคล้ายสะตอ เปลือกเมล็ดหนามีสีดำหรือสีคล้ำ ส่วนเนื้อในเมล็ดมีสีเขียวเข้มและมีกลิ่นฉุน
เหรียง ผักพื้นบ้านจากทางใต้ ช่วยขับลมในลำไส้ เป็นยาสมานแผล บำรุงร่างกาย
เหรียง ผักพื้นบ้านทางภาคใต้ ลักษณะฝักคล้ายสะตอ เปลือกเมล็ดหนามีสีดำหรือสีคล้ำ ส่วนเนื้อในเมล็ดมีสีเขียวเข้มและมีกลิ่นฉุน

เหรียง

เหรียง (Nitta tree) เป็นผักพื้นบ้านของทางภาคใต้ที่มีลักษณะคล้ายสะตอและมีกลิ่นฉุน สามารถเจริญเติบโตได้ดีแม้ในสภาพที่ไม่เหมาะสม เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ที่มีประโยชน์ในด้านเกษตรและนำมารับประทานได้ คนเมืองสมัยใหม่ไม่ค่อยรู้จักหรือนิยมนำมารับประทานนัก เหรียงยังเป็นต้นที่สามารถนำเมล็ดมาเพาะได้ง่ายด้วยตัวเองและเป็นยาสมุนไพรชนิดหนึ่งของคนเมืองใต้

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของเหรียง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Parkia timoriana (DC.) Merr.
ชื่อสามัญ : มีชื่อสามัญว่า “Nitta tree”
ชื่อท้องถิ่น : ภาคใต้เรียกว่า “กะเหรี่ยง เรียง สะเหรี่ยง สะตือ” ภาคใต้และมาเลย์เรียกว่า “นะกิง นะริง” มีชื่อเรียกอื่น ๆ ว่า “เรียง เหรียง เมล็ดเหรียง”
ชื่อวงศ์ : วงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE)
ชื่อพ้อง : Parkia javanica auct., Parkia roxburghii G.Don

ลักษณะของต้นเหรียง

ต้นเหรียง เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ที่มีการกระจายพันธุ์ในหมู่เกาะติมอร์และในแถบเอเชียเขตร้อน ในประเทศไทยนั้นจะพบขึ้นได้ทั่วไปทางภาคใต้ มักจะขึ้นตามป่าดิบชื้นทั่วไป
ลำต้น : ลำต้นเป็นเปลาตรง พุ่มใบของต้นเป็นพุ่มกลมเป็นสีเขียวทึบ มีเนื้อไม้สีขาวนวล ไม่มีแก่น เสี้ยนตรงสม่ำเสมอ มีความอ่อนและเปราะ
เปลือกต้น : เปลือกต้นเรียบ กิ่งก้านของต้นมีขนปกคลุมขึ้นประปราย
ใบ : เป็นใบแบบช่อ ใบแคบปลายแหลม ใบแก่มีสีเหลืองร่วงเกือบหมดต้นและจะผลิใบใหม่แทน
ดอก : ออกดอกเป็นช่อกลมที่ปลายยอด ก้านดอกยาวสีเขียวสลับน้ำตาล ออกดอกในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคม
ผล : ผลเป็นฝัก ฝักตรงคล้ายสะตอ เมื่อแก่เต็มที่เปลือกจะแข็งและมีสีดำ มักจะออกผลหรือฝักในช่วงประมาณเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคม ฝักจะแก่ในช่วงประมาณเดือนมกราคมถึงเดือนกุมภาพันธ์
เมล็ด : แต่ละฝักจะมีเมล็ดลักษณะเป็นรูปไข่ หนึ่งฝักมีเมล็ดประมาณ 20 เมล็ด ตัวเมล็ดจะไม่นูนอย่างชัดเจน เปลือกเมล็ดหนามีสีดำหรือสีคล้ำ ส่วนเนื้อในเมล็ดมีสีเขียวเข้มและมีกลิ่นฉุน
ลูกหรือหน่อ : ลักษณะคล้ายกับถั่วงอกหัวโตแต่มีขนาดใหญ่กว่าและมีสีเขียว มีรสมันและกลิ่นฉุน เกิดจากการนำเมล็ดเหรียงของฝักแก่ไปเพาะในกระบะทรายเพื่อให้เมล็ดงอกรากและมีใบเลี้ยงโผล่ขึ้นมาเหมือนกับถั่วงอก สามารถรับประทานได้

การเพาะลูกเหรียง

1. ตัดเมล็ดเป็นรอยเพื่อให้แตกหน่อออกมาได้ โดยตัดปลายด้านที่มีสีน้ำตาลและเป็นรอยบุ๋ม จากนั้นนำไปแช่น้ำ 1 คืน
2. แช่เสร็จให้นำเมล็ดขึ้นมาล้างเมือกที่ติดอยู่ให้หมดโดยใช้มือถูเมล็ดไปมาในน้ำประมาณ 2 ครั้ง
3. ทำการเตรียมตะกร้าพลาสติกโปร่ง โดยการนำผ้าขนหนูหรือผ้าหนา ๆ มาชุบน้ำให้เปียกแล้ววางรองในตะกร้าที่เตรียมไว้ จากนั้นนำเมล็ดที่ล้างเสร็จโรยลงไปบนผ้าเปียก อย่าให้เมล็ดซ้อนกันเพราะอาจทำให้เน่าเสียหายได้ง่าย แล้วนำผ้าเปียกอีกผืนนำมาปิดไว้
4. ทำการรดน้ำเช้าและเย็น ครั้งละ 1 ชั่วโมง ติดต่อกันเป็นเวลา 4 วัน
5. วันถัดมาให้นำเมล็ดมาแกะเอาเปลือกออก จากนั้นล้างน้ำให้สะอาดแล้วนำไปเพาะในกระบะทราย

สรรพคุณของเหรียง

  • สรรพคุณจากเมล็ด ช่วยบำรุงร่างกาย ทำให้เจริญอาหาร เป็นยาแก้อาการจุกเสียดแน่นท้อง ขับลมในลำไส้
  • สรรพคุณจากลูกเหรียง บำรุงเหงือกและฟันให้แข็งแรง
  • สรรพคุณจากเปลือกต้น เป็นยาสมานแผล ช่วยลดน้ำเหลือง

ประโยชน์ของต้นเหรียง

1. เป็นส่วนประกอบของอาหาร นำมารับประทานเป็นผักสดโดยจิ้มกับน้ำพริก นำมาทำเป็นผักดอง นำมาปรุงอาหารในแกงต่าง ๆ หรือนำมาผัดได้
2. ใช้ในการเกษตร นิยมนำต้นเหรียงมาใช้เป็นต้นตอในการติดตาพันธุ์สะตอ ช่วยบำรุงดิน นำใบเหรียงมาปลูกควบคู่กับพืชอื่นอย่างการปลูกกาแฟจะทำให้ผลผลิตของกาแฟสูงขึ้นติดต่อกัน
3. ใช้ในอุตสาหกรรม ทำเป็นโครงร่างของการผลิตต่าง ๆ เช่น การทำรองเท้าไม้ หีบใส่ของ ไม้หนาประกบพวกเฟอร์นิเจอร์ต่าง ๆ หรือเครื่องใช้สอยอื่น ๆ เช่น เครื่องใช้ในครัวเรือน เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ เป็นต้น

คุณค่าทางโภชนาการของเหรียง

คุณค่าทางโภชนาการของเหรียงในส่วนที่รับประทานได้ ต่อ 100 กรัม ให้พลังงาน 88 แคลอรี

สารอาหาร สารอาหารที่ได้รับ
คาร์โบไฮเดรต 6.7 กรัม
โปรตีน 7.5 กรัม
ไขมัน 3.5 กรัม
เส้นใยอาหาร 1.3 กรัม
น้ำ 79.6 กรัม
วิตามินเอ 22 หน่วยสากล
วิตามินบี1 0.06 มิลลิกรัม
วิตามินบี2 0.62 มิลลิกรัม
วิตามินบี3 0.1 มิลลิกรัม
วิตามินซี 83 มิลลิกรัม
ธาตุแคลเซียม 182 มิลลิกรัม
เหล็ก 2.0 มิลลิกรัม
ฟอสฟอรัส 3.8 มิลลิกรัม

เหรียง เป็นผักที่มีลักษณะเด่นแต่มีหน่อคล้ายสะตอ สามารถนำมาเพาะได้ง่ายและมีคุณค่าทางโภชนาการที่ดีต่อร่างกาย เป็นไม้ยืนต้นที่นำมาใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ และมีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ ขับลมในลำไส้ เป็นยาสมานแผล บำรุงเหงือกและฟัน เป็นผักที่มีกลิ่นแรงแต่สามารถทานเพื่อบำรุงร่างกายได้

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. “เหรียง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.rspg.or.th. [25 พ.ย. 2013].
ผักพื้นบ้านในประเทศไทย. นวัตกรรมการบริหารงานวิจัย การสร้างขุมความรู้เพื่อรองรับการวิจัยเชิงพื้นที่ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง. “เหรียง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: area-based.lpru.ac.th. [25 พ.ย. 2013].
โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยนครศรีธรรมราช. “ลูกเหรียง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.skns.ac.th. [25 พ.ย. 2013].

มะเขือเปราะ รักษาเบาหวาน แก้ไข้ ต้านมะเร็ง บำรุงหัวใจ บำรุงตับ ลดความดันเลือด

0
มะเขือเปราะ รักษาเบาหวาน แก้ไข้ ต้านมะเร็ง บำรุงหัวใจ บำรุงตับ ลดความดันเลือด
มะเขือเปราะ หนึ่งในมะเขือที่คนไทยนิยมรับประทาน ผลเป็นสีขาวอมเขียว รสชาติหวานปนขมอ่อน ๆ
มะเขือเปราะ รักษาเบาหวาน แก้ไข้ ต้านมะเร็ง บำรุงหัวใจ บำรุงตับ ลดความดันเลือด
มะเขือเปราะ หนึ่งในมะเขือที่คนไทยนิยมรับประทาน ผลเป็นสีขาวอมเขียว รสชาติหวานปนขมอ่อน ๆ

มะเขือเปราะ

มะเขือเปราะ (Green Brinjal) เป็น หนึ่งในมะเขือที่คนไทยนิยมรับประทานกันเป็นอย่างมากโดยเฉพาะเมนูที่จิ้มกินกับน้ำพริกหรือแกงเผ็ดต่าง ๆ มีรสชาติหวานปนขมอ่อน ๆ แต่มีสรรพคุณทางยาสมุนไพรที่ยอดเยี่ยมชนิดหนึ่ง เป็นผักที่สามารถนำทั้งต้นมาใช้เป็นยาได้และเป็นพืชผลที่มีถิ่นกำเนิดจากประเทศอินเดีย เป็นผักที่คนอินเดียนิยมและให้ความสนใจด้วยการนำมะเขือเปราะมาวิจัย มะเขือเปราะเป็นผักที่คู่ควรแก่การปลูกเพื่อรับประทานเป็นอย่างยิ่ง

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของมะเขือเปราะ

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Solanum virginianum L.
ชื่อสามัญ : มีชื่อสามัญว่า “Thai Eggplant” “Yellow berried nightshade” “Kantakari”
ชื่อท้องถิ่น : ภาคกลางเรียกว่า “มะเขือขื่น มะเขือเสวย” ภาคเหนือเรียกว่า “มะเขือขัยคำ มะเขือคางกบ มะเขือจาน มะเขือแจ้ มะเขือแจ้ดิน มะเขือดำ” ภาคอีสานเรียกว่า “มะเขือหืน” ภาคใต้เรียกว่า “เขือพา เขือหิน” ชาวกะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอนเรียกว่า “มั่งคอเก” จีนกลางเรียกว่า “หวงกั่วเชี๋ย หวงสุ่ยเชี๋ย”
ชื่อวงศ์ : วงศ์มะเขือ (SOLANACEAE)
ชื่อพ้อง : Solanum mairei H. Lév., Solanum xanthocarpum Schrad. & H. Wendl.

ลักษณะของมะเขือเปราะ

มะเขือเปราะ เป็นไม้พุ่มที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย
ใบ : ใบมีขนาดใหญ่ออกเรียงแบบสลับกัน
ดอก : ออกดอกเดี่ยว ดอกมีขนาดใหญ่เป็นสีม่วงหรือสีขาว
ผล : ลักษณะของผลมีรูปร่างกลมแบนหรือเป็นรูปไข่ ผลเป็นสีขาวอมเขียวและอาจเป็นสีขาว สีเขียว สีเหลืองหรือสีม่วง ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ที่ปลูก ผลแก่จะมีสีเหลือง ส่วนเนื้อในผลมีสีเขียวเป็นเมือก ผลมีรสขื่น

สรรพคุณของมะเขือเปราะ

  • สรรพคุณจากมะเขือเปราะ เป็นยาแก้ไข้พิษร้อน กระทุ้งพิษไข้ ใช้เป็นยาขับน้ำชื้น แก้อาการปวดกระเพาะอาหาร แก้อาการปวดบวม แก้ปวดหลัง แก้ฟกช้ำดำเขียว ช่วยต้านมะเร็ง บำรุงหัวใจ ลดความดันโลหิต ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด ช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ทำให้ตับแข็งแรงและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • สรรพคุณจากผล เป็นยาลดไข้ ช่วยในการย่อยอาหาร ช่วยขับถ่าย เป็นยาขับพยาธิ กระตุ้นความรู้สึกทางเพศ ลดการอักเสบ
    – รักษาโรคเบาหวาน ประเทศอินเดียนำผลมาต้มกับน้ำแล้วดื่ม
    – เป็นยาแก้ไอ ด้วยการนำผลตากแห้งมาบดเป็นผงแล้วผสมกับน้ำผึ้ง
    – เป็นยาช่วยขับลมชื้น แก้อาการปวดข้อเนื่องจากลมชื้นติดเกาะ แก้ไขข้ออักเสบ แก้มือเท้าชา ด้วยการใช้ผลสดประมาณ 70 – 100 กรัม มาตุ๋นกับไตหมูแล้วรับประทาน
  • สรรพคุณจากราก เป็นยาแก้หอบหืด แก้หลอดลมอักเสบ ช่วยขับลม เป็นยาขับปัสสาวะ
    – เป็นยาแก้ไอ แพทย์อายุรเวทของอินเดียจะใช้รากในการแก้อาการ
    – แก้อาการปวดฟัน ด้วยการใช้ราก 15 กรัม มาต้มแล้วเอาน้ำอมในปาก
    – เป็นยาแก้อัณฑะอักเสบ ด้วยการใช้ราก 15 กรัม หญ้าแซ่ม้า 15 กรัม และต้นทิ้งถ่อนมารวมกันแล้วต้มกับน้ำเพื่อดื่ม
  • สรรพคุณจากใบสด
    – แก้พิษ แก้ฝีหนอง ด้วยการนำใบสดมาตำแล้วพอก

ประโยชน์ของมะเขือเปราะ

เป็นส่วนประกอบของอาหาร นำผลมะเขือเปราะสีเขียวมารับประทานสด จิ้มกับน้ำพริกหรือนำไปใส่แกงป่า แกงเผ็ดและอื่น ๆ

คุณค่าทางโภชนาการของมะเขือเปราะ

คุณค่าทางโภชนาการของมะเขือเปราะ ต่อ 100 กรัม ให้พลังงาน 39 กิโลแคลอรี

สารอาหาร ปริมาณสารอาหารที่ได้รับ
โปรตีน 1.6 กรัม
ไขมัน 0.5 กรัม
คาร์โบไฮเดรต 7.1 กรัม
น้ำ 90.2 กรัม
วิตามินเอ 143 RE.
วิตามินบี1 0.11 มิลลิกรัม
วิตามินบี2 0.06 มิลลิกรัม
วิตามินบี3 0.6 มิลลิกรัม
วิตามินซี 24 มิลลิกรัม
แคลเซียม 7 มิลลิกรัม
เหล็ก 0.8 มิลลิกรัม
ฟอสฟอรัส 10 มิลลิกรัม

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของมะเขือเปราะ

งานวิจัย

  • งานวิจัยนานาชาติระหว่างปี พ.ศ. 2510 – 2538 พบว่า ผลมะเขือเปราะมีฤทธิ์ลดการบีบตัวของกล้ามเนื้อเรียบ บำรุงหัวใจ ลดความดันโลหิตและต้านมะเร็ง
  • งานวิจัยในแคว้นโอริสสา ณ ประเทศอินเดีย ได้ทำการทดลองใช้สารสกัดของน้ำผลมะเขือเปราะเพื่อลดระดับน้ำตาลในเลือดหนูเบาหวานอะล็อกซาน พบว่า สารสกัดดังกล่าวมีฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีเทียบเท่ากับการใช้ยากลิเบนคลาไมด์ (glibenclamide) และยังมีการทดสอบเพิ่มเติมที่พบว่า สารสกัดนี้จะออกฤทธิ์คล้ายกับอินซูลิน โดยจะช่วยเสริมการใช้งานกลูโคสอย่างมีประสิทธิภาพและมีผลเชิงบวกต่อการทำงานของตับอ่อน
    สารในมะเขือเปราะ พบสาร Capresterol, Diosgenin, Solanine, Solanines, Solasonine, Solacarpine พบน้ำมันเล็กน้อยและสารอัลคาลอยด์ต่าง ๆ

สารออกฤทธิ์ในมะเขือเปราะ

  • สารอัลคาลอยด์ในมะเขือเปราะ : ในประเทศอินเดียได้ทำการสกัดเอาสารอัลคาลอยด์จากมะเขือเปราะมาใช้ในการรักษาอาการไข้ตัวร้อน แก้ไอและโรคหัวใจ โดยพบว่าสารดังกล่าวมีฤทธิ์กระตุ้นทำให้หัวใจบีบตัวได้แรงขึ้นแต่หากใช้ในปริมาณมากเกินไปจะทำให้การบีบตัวของหัวใจลดลง
  • สารไกลโคอัลคาลอยด์โซลามาร์จีน โซลาโซนีนและอัลคาลอยด์โซลาโซดีนที่ปราศจากโมเลกุลน้ำตาล : พบว่า
  • สารเหล่านี้ทุกตัวมีฤทธิ์ต้านการเจริญของเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่และมะเร็งตับ
  • สารโซลาโซดีน : ถูกนำมาใช้เป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์สเตียรอยด์คอร์ติโซนและฮอร์โมนเพศ

มะเขือเปราะ เป็นผักยอดนิยมของคนอินเดียและมักจะพบในเมนูอาหารพวกแกงเผ็ดต่าง ๆ เป็นผักที่มีผลอุดมไปด้วยประโยชน์มากมาย เชื่อว่าคนส่วนมากมักจะเขี่ยมะเขือเปราะออกเมื่อพบเจอในแกงแต่คุณค่าทางอาหารของมะเขือเปราะนั้นไม่ควรไปจบลงที่ถังขยะ มะเขือเปราะเป็นผักที่ช่วยบำรุงอวัยวะสำคัญของร่างกายได้ดีเยี่ยม มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ รักษาโรคเบาหวาน แก้ไข้พิษร้อน ต้านมะเร็ง บำรุงหัวใจ ลดความดันโลหิต ทำให้ตับแข็งแรงและอื่น ๆ อีกมากมาย

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
มูลนิธิหมอชาวบ้าน. นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่ 351 คอลัมน์ : บทความพิเศษ. (รศ.ดร.สุธาทิพ ภมรประวัติ). “มะเขือเปราะลดน้ำตาลในเลือด”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.doctor.or.th. [02 ก.ย. 2014].
เดอะแดนดอทคอม. “มะเขือเปราะ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.the-than.com. [02 ก.ย. 2014].
หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. (วิทยา บุญวรพัฒน์). “มะเขือขื่น”. หน้า 430.
ภาพประกอบ : mygreengardens.com, kruaoun.files.wordpress.com, www.thaichillifarm.com, www.bansuanporpeang.com (by sothorn), trekkingthai.com (by แม็ค)

จุกโรหินีหรือบวบลม ช่วยขับลม ลดระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยเลิกบุหรี่

0
จุกโรหินี หรือบวบลม ช่วยขับลม ลดระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยเลิกบุหรี่
จุกโรหินี หรือบวบลม เป็นไม้เลื้อยลักษณะคล้ายกับพุงปลาเป็นคู่ ๆ ด้านในเป็นสีม่วง เนื้อใบหนาและอวบน้ำ
จุกโรหินี หรือบวบลม ช่วยขับลม ลดระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยเลิกบุหรี่
จุกโรหินี หรือบวบลม เป็นไม้เลื้อยลักษณะคล้ายกับพุงปลาเป็นคู่ ๆ ด้านในเป็นสีม่วง เนื้อใบหนาและอวบน้ำ

จุกโรหินี

จุกโรหินี (Dischidia major) หรือเรียกอีกอย่างว่า “บวบลม” เป็นไม้เลื้อยที่มีลักษณะโดดเด่น ส่วนมากมักจะพบในรูปแบบของใบที่นำมารับประทานเป็นผักร่วมกับขนมจีน สามารถนำมาใช้ประโยชน์เป็นยาสมุนไพรได้ทุกส่วนของต้น มีชื่อเรียกหลากหลายและบางที่มักจะเรียกว่า “พุงปลา” เพราะมีลักษณะคล้ายกับพุงปลาเกาะอยู่บนต้นไม้ และที่สำคัญจุกโรหินีสามารถช่วยให้เลิกบุหรี่ได้อีกด้วย

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของจุกโรหินี

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dischidia major (Vahl) Merr.
ชื่อท้องถิ่น : ภาคกลางเรียกว่า “โกฐพุงปลา จุกโรหินี พุงปลาช่อน” ภาคเหนือเรียกว่า “กล้วยไม้” ภาคตะวันออกและระยองเรียกว่า “เถาพุงปลา” คนเมืองเรียกว่า “ข้าวฟ่าง” จังหวัดนครราชสีมาและอุบลราชธานีเรียกว่า “บวบลม” จังหวัดจันทบุรีและตราดเรียกว่า “พุงปลา” จังหวัดพังงาเรียกว่า “กล้วยมุสัง” จังหวัดชุมพรเรียกว่า “จุรูหินี” ประเทศไทยเรียกว่า “โกฎฐ์พุงปลา” ประเทศเขมรเรียกว่า “นมตำไร”
ชื่อวงศ์ : วงศ์ตีนเป็ด (APOCYNACEAE)
ชื่อพ้อง : Dischidia rafflesiana Wall.

ลักษณะของจุกโรหินี

จุกโรหินี เป็นไม้เลื้อยล้มลุกที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย พม่า ไทย อินโดจีน มาเลเซีย ปาปัวนิวกินี ฟิลิปปินส์ไปจนถึงทวีปออสเตรเลีย สามารถพบได้ตามป่าดงดิบทั่วไป ป่าชายเลน ป่าแพะและป่าเบญจพรรณ
เถา : เถามีลักษณะกลมสีเขียว ตามข้อเถามีรากงอกเพื่อใช้สำหรับยึดเกาะ
ใบ : เป็นใบเดี่ยวออกตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ ใบมี 2 แบบอยู่บนต้นเดียวกัน แบบแรกมีลักษณะคล้ายถุงปากแคบและแบนเป็นเหลี่ยม ๆ ผิวด้านนอกเกลี้ยงเป็นสีเขียวหรือสีเหลือง ส่วนด้านในเป็นสีม่วง แบบที่สองเป็นใบธรรมดาที่มีลักษณะค่อนข้างกลม ปลายใบมน มีติ่งแหลมสั้น ๆ เนื้อใบหนาและอวบน้ำ
ดอก : ออกดอกเป็นช่อสั้น ๆ ขนาดเล็ก โดยจะออกตามง่ามใบตรงข้ามกับใบ มีกลีบดอก 5 กลีบ โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดสั้น ๆ และป่องเบี้ยวไปอีกข้างหนึ่ง ส่วนตรงปลายเป็นรูปกรวย ที่ปลายปากดอกแต้มไปด้วยสีม่วงและมีขนอยู่ด้านนอก กลีบเลี้ยงหรือกลีบรองดอกมี 5 กลีบ เป็นรูปวงรีหรือรูปไข่ ตามขอบกลีบดอกจะมีขน
ผล : ออกผลเป็นฝักสีเหลืองแกมสีส้ม ผิวของฝักมีลักษณะขรุขระ

สรรพคุณของจุกโรหินี

  • สรรพคุณจากผล
    – ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ด้วยการนำผลมาต้มกับน้ำแล้วดื่ม
    – เป็นยาหยอดหูหรือใช้หยอดหูน้ำหนวก ด้วยการนำผลมาดึงไส้ออกแล้วใส่น้ำ จากนั้นนำไปเผาไฟให้อุ่นแล้วเอาน้ำมาหยอดหู
    – แก้ลมพันไส้ ด้วยการนำผลมาผสมกับมดแดงฮ้างแล้วต้มกับน้ำเพื่อดื่ม
    – ขับลมในกระเพาะอาหาร ด้วยการนำผลมาผสมกับฝอยลมแล้วต้มกับน้ำเพื่อดื่มหรือนำผลมาเผาไฟแล้วเอาน้ำมาดื่มเป็นยาขับลม
  • สรรพคุณจากราก แก้อาการอ่อนเพลีย ช่วยบำรุงกำลัง แก้ไข้เพื่อโลหิต แก้ลมปลายไข้ แก้อาการร้อนในกระหายน้ำ ช่วยลดความร้อนในร่างกาย แก้อาการไอเมื่อเคี้ยวกับพลู แก้หอบหืด แก้อาการอาเจียน แก้เสมหะพิการ แก้อาการท้องร่วงและท้องเสีย แก้บิด แก้ปวดเบ่ง แก้มูกเลือด เป็นยาฝาดสมานหรือใช้ทาเป็นยาสมานแผล
  • สรรพคุณจากใบ แก้อาการอาเจียน แก้เสมหะพิการ แก้อาการท้องร่วงและท้องเสีย แก้บิด แก้ปวดเบ่ง แก้มูกเลือด เป็นยาฝาดสมานหรือใช้ทาเป็นยาสมานแผล
    – ป้องกันอาการเจ็บม้ามในขณะออกกำลังกาย ด้วยการนำข้าวมายัดใส่ใบที่เปลี่ยนรูปแล้วนำไปเผาไฟจนข้าวสุกจนกลายเป็นสีม่วงแล้วนำมารับประทาน
  • สรรพคุณจากเถา
    – ขับลม แก้อาการท้องอืดและท้องเฟ้อ ด้วยการนำเถามาต้มกับน้ำแล้วดื่ม
  • สรรพคุณจากทั้งต้น แก้โรคตับพิการ
    – แก้อาการปวดท้องที่เกิดจากโรคกระเพาะอาหารอักเสบ ด้วยการนำมาต้มแล้วดื่ม

ประโยชน์ของจุกโรหินี

1. เป็นส่วนประกอบของอาหาร ใบอ่อนใช้รับประทานร่วมกับขนมจีน
2. ช่วยให้เลิกบุหรี่ ผลนำมาผสมกับข้าวเย็นเหนือเพื่อนำมารับประทานในการเลิกบุหรี่

จุกโรหินี ถือเป็นพืชที่โดดเด่นในเรื่องของการช่วยเลิกบุหรี่ได้ เหมาะอย่างมากสำหรับคนที่อยากเลิกและเป็นวิธีธรรมชาติที่ไม่มีผลกระทบ เป็นพืชที่มีลักษณะเหมือนบวบหรือเหมือนพุงปลา มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ ช่วยขับลม ลดระดับน้ำตาลในเลือด เป็นยาหยอดหูน้ำหนวก ป้องกันอาการเจ็บม้ามในขณะออกกำลังกาย และช่วยเลิกบุหรี่ซึ่งเป็นอาการที่คนส่วนมากกำลังเผชิญ ถือเป็นพืชที่คู่ควรแก่การปลูกและใช้ประโยชน์ได้

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. “จุกโรหินี (Chuk Rohini)”. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). หน้า 96.
ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “บวบลม”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.phargarden.com. [1 มี.ค. 2014].
โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง, สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์การมหาชน). “จุกโรหินี”. อ้างอิงใน: หนังสือชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: eherb.hrdi.or.th. [1 มี.ค. 2014].
หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. “โกฐพุงปลา”. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). หน้า 80-82.
ไทยเกษตรศาสตร์. “จุกโรหินี”. อ้างอิงใน: วัลลิ์รุกขบุปผชาติ ตามรอยพระบาทบรมราชกุมารี โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.thaikasetsart.com. [1 มี.ค. 2014].
ผักพื้นบ้านในประเทศไทย กรมส่งเสริมการเกษตร. “โกฐพุงปลา”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: ftp://smc.ssk.ac.th/intranet/Research_AntioxidativeThaiVegetable/. [1 มี.ค. 2014].
พฤกษาน่าสน มูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร.

จิกสวน ต้นไม้ในพระพุทธประวัติ ดอกสีชมพูสวยงามและสรรพคุณทางยาหลากหลาย

0
จิกสวน ต้นไม้ในพระพุทธประวัติ ดอกสีชมพูสวยงามและสรรพคุณทางยาหลากหลาย
จิกสวน หรือจิกบ้าน เป็นไม้ประดับ มีดอกสีชมพูและเกสรเพศผู้เป็นเส้นเล็กสีชมพูเข้ม
จิกสวน ต้นไม้ในพระพุทธประวัติ ดอกสีชมพูสวยงามและสรรพคุณทางยาหลากหลาย
จิกสวน หรือจิกบ้าน เป็นไม้ประดับ มีดอกสีชมพูและเกสรเพศผู้เป็นเส้นเล็กสีชมพูเข้ม

จิกสวน

จิกสวน (Powderpuff tree) หรือเรียกอีกอย่างว่า “จิกบ้าน” มีดอกสีชมพูและเกสรเพศผู้เป็นเส้นเล็กสีชมพูเข้มจำนวนมาก เป็นดอกที่สวยงามมากและมีลักษณะเด่นเหมาะสำหรับปลูกเป็นไม้ประดับ สามารถพบได้ที่วัดวาอารามเนื่องจากเป็นต้นไม้ในพระพุทธประวัติ นอกจากนั้นยังสามารถนำส่วนของต้นมาใช้เป็นยาสมุนไพรได้อีกด้วย

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของจิกสวน

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Barringtonia racemosa (L.) Spreng.
ชื่อสามัญ : มีชื่อสามัญว่า “Powderpuff tree” และ “Bottle brush oak”
ชื่อท้องถิ่น : จังหวัดกรุงเทพมหานครเรียกว่า “จิกบ้าน” ชาวมลายูและจังหวัดนราธิวาสเรียกว่า “ปูตะ”
ชื่อวงศ์ : วงศ์จิก (LECYTHIDACEAE หรือ BARRINGTONIACEAE)

ลักษณะของจิกสวน

จิกสวน เป็นไม้พุ่มหรือยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลางที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทยและเพื่อนบ้านใกล้เคียงตั้งแต่ประเทศอินเดียไปจนถึงเกาะชวาของอินโดนีเซีย มักพบตามขอบป่าพรุหรือในที่ลุ่ม ที่ชื้นแฉะหรือบริเวณที่มีน้ำท่วมขัง
เปลือกลำต้น : มีลักษณะขรุขระเป็นสีน้ำตาลปนเทา เปลือกชั้นในเป็นสีน้ำตาลเรื่อถึงสีชมพู มีเส้นใยเหนียว
ใบ : เป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับเรียงเวียนรอบกิ่งเป็นกระจุกหนาแน่นที่ปลายกิ่ง ลักษณะของใบเป็นรูปไข่กลับ รูปไข่กลีบแกมรูปขอบขนานหรือรูปหอก ปลายใบเป็นติ่งแหลม โคนใบสอบแคบ ขอบใบหยักตื้นมนและละเอียดหรือเป็นจักเล็กน้อยคล้ายกับฟันเลื่อย แผ่นใบสีเขียว หลังใบและท้องใบเรียบ เนื้อใบบางคล้ายกระดาษ
ดอก : ออกดอกเป็นช่อห้อยลงโดยจะออกที่ปลายยอด ก้านช่อดอกเป็นสีชมพูและเขียว ลักษณะของช่อดอกคล้ายกับแปรงล้างขวด ดอกย่อยเป็นสีชมพู กลีบดอกเป็นสีชมพู 4 กลีบ ปลายกลีบมนและโค้ง ดอกมีใบประดับเป็นรูปสามเหลี่ยม กลีบเลี้ยงมีประมาณ 2 – 4 กลีบ ติดกันเป็นเนื้อเดียวและมีขนาดเท่ากันหรือไม่เท่ากัน ดอกมีเกสรเพศผู้เป็นเส้นเล็กสีชมพูเข้มและมีจำนวนมาก
ผล : ผลเป็นรูปไข่ มีกลีบเลี้ยงติดอยู่ โคนแคบเกือบเป็นรูปสามเหลี่ยม มักจะออกผลในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนกรกฎาคม
เมล็ด : ภายในผลมีเมล็ดเดี่ยวเป็นรูปไข่ ผิวเมล็ดเป็นร่อง

สรรพคุณของจิกสวน

  • สรรพคุณจากเมล็ด แก้อาการตาเจ็บหรือเยื่อตาอักเสบ แก้ไข้ตัวร้อน แก้อาการไอ แก้อาเจียน แก้อาการจุกเสียดแน่นหรือปวดท้อง เป็นยาขับพยาธิ
    – แก้โรคดีซ่านและโรคเกี่ยวกับน้ำดี ด้วยการนำเมล็ดผสมกับน้ำนม
  • สรรพคุณจากต้น แก้อาการปวดศีรษะ แก้เสมหะพิการ รักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน
  • สรรพคุณจากใบ แก้ชัก แก้อุจจาระพิการ แก้บิดมูกเลือด เป็นยาสมานบาดแผล
    – แก้ไข้ทรพิษ แก้อาการคัน ด้วยการนำใบมาตำพอกหรือจะใช้ใบตำรวมกับรากและเปลือก
    – แก้อาการท้องร่วง ด้วยการนำใบมาต้ม
  • สรรพคุณจากราก เป็นยาเย็น เป็นยาแก้ไข้มาลาเรีย เป็นยาระบาย
  • สรรพคุณจากผล
    – แก้อาการไอ แก้หืด แก้อาการเจ็บคอ แก้อาการท้องเสีย ด้วยการนำผลมาตำเอาแต่น้ำใช้ดื่ม
    – แก้อาการท้องร่วง ด้วยการนำผลมาต้ม
    – แก้ผิวหนังพุพอง แก้เจ็บคอ ด้วยการนำผลมาตำแล้วพอก
  • สรรพคุณจากเปลือก เป็นยาขับพยาธิ แก้โรคปวดข้อ
  • สรรพคุณจากเนื้อไม้ ขับระดูขาวของสตรี

ประโยชน์ของจิกสวน

1. เป็นส่วนประกอบของอาหาร ใบอ่อนนำมาใช้รับประทานเป็นผักสด ยอดอ่อนและดอกใช้รับประทานเป็นผักสดหรือรับประทานเป็นผักจิ้มกับลาบ แจ่ว น้ำตกหรือขนมจีน
2. ปลูกเป็นไม้ประดับ นิยมปลูกในวัดวาอารามเนื่องจากเป็นต้นไม้ในพระพุทธประวัติ
3. ใช้ในอุตสาหกรรม เนื้อไม้นำมาใช้ในงานก่อสร้างในร่มหรือนำมาใช้ในการทำเครื่องมือเครื่องใช้พวกครก สาก เครื่องเรือนหรือใช้ทำเรือ พาย ทำเกวียน เป็นต้น
4. ใช้ในการเกษตร เมล็ดหรือเปลือกใช้เป็นยาสำหรับเบื่อปลาและเป็นยาฆ่าแมลง

จิกสวน เป็นต้นไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทยและเป็นไม้ประดับที่เป็นต้นไม้ในพระพุทธประวัติ สามารถนำทุกส่วนของต้นมาใช้เป็นยาได้ ทั้งนี้ควรระวังไม่ให้ละอองเกสรของดอกจิกเข้าตาเพราะอาจทำให้ตาอักเสบและแดงได้ มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ แก้อาการไอเสมหะ แก้ชัก เป็นยาขับพยาธิ แก้อาการท้องเสียหรือท้องร่วง เป็นต้นไม้ไทยที่มีความเชื่อและมีประโยชน์หลากหลายด้าน

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. “จิกสวน (Chil Suan)”. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). หน้า 95.
ศูนย์รวมข้อมูลสิ่งมีชีวิตในประเทศไทย, สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน). “จิกสวน จิกบ้าน”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.thaibiodiversity.org. [1 มี.ค. 2014].
มูลนิธิหมอชาวบ้าน. นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่ 188 คอลัมน์: ต้นไม้ใบหญ้า. “จิก ผักพื้นบ้านดอกงามจากป่าหิมพานต์”. (เดชา ศิริภัทร). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.doctor.or.th. [1 มี.ค. 2014].
PlantZAfrica. “Barringtonia racemosa”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.plantzafrica.com. [1 มี.ค. 2014].
ระบบจัดการฐานความรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ, สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้ กรมป่าไม้. “จิกสวน”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: biodiversity.forest.go.th. [03 ก.พ. 2014].
หนังสือคู่มือคนรักต้นไม้ ไม้ดอกหอมสีชมพู. (วชิรพงศ์ หวลบุตตา).
พืชสมุนไพรโตนงาช้าง. “จิกสวน”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: paro6.dnp.go.th/web_km/พืชสมุนไพรโตนงาช้าง/. [1 มี.ค. 2014].
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ. “จิกสวน”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.nectec.or.th. [1 มี.ค. 2014].
หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. “จิกสวน”. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). หน้า 228-230.

แจง ไม้ไทยหายาก ช่วยบำรุงร่างกาย ดีต่อระบบขับปัสสาวะ

0
แจง ไม้ไทยหายาก ช่วยบำรุงร่างกาย ดีต่อระบบขับปัสสาวะ
แจง หรือต้นแกง ต้นแจงเป็นต้นไม้หายาก เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กไม่ผลัด รรพคุณทางยาต่อร่างกายมากมาย
แจง ไม้ไทยหายาก ช่วยบำรุงร่างกาย ดีต่อระบบขับปัสสาวะ
แจง หรือต้นแกง ต้นแจงเป็นต้นไม้หายาก เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กไม่ผลัด รรพคุณทางยาต่อร่างกายมากมาย

แจง

แจง (Maerua siamensis) หรือเรียกอีกอย่างว่า “ต้นแกง” เป็นต้นไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทยเรา ส่วนมากมักจะพบทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ต้นแจงเป็นต้นไม้หายากที่กำลังจะถูกลืมเพราะไม่เป็นที่รู้จักกันมากนักจึงควรค่าแก่การอนุรักษ์เป็นอย่างยิ่ง และยังเป็นต้นที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลากหลายมากและมีสรรพคุณทางยาต่อร่างกายมากมายอีกด้วย

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของแจง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Maerua siamensis (Kurz) Pax
ชื่อท้องถิ่น : จังหวัดนครราชสีมาเรียกว่า “แกง” มีชื่ออื่น ๆ ว่า “แก้ง แจ้ง”
ชื่อวงศ์ : วงศ์กุ่ม (CAPPARACEAE หรือ CAPPARIDACEAE)
ชื่อพ้อง : Crateva mucronulata Kuntze, Niebuhria siamensis Kurz

ลักษณะของต้นแจง

ต้นแจง เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กไม่ผลัดใบที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย มักจะพบตามป่าละเมาะ ป่าดิบแล้ง ป่าผสมผลัดใบ ป่าเต็งรังแล้ง ป่าโปร่งแห้ง เขาหินปูน
ลำต้น : แตกกิ่งแขนงมากมายคล้ายกับไม้พุ่ม กิ่งก้านแตกออกแผ่เป็นรูปร่ม
เปลือกต้น : เปลือกลำต้นเป็นสีเขียวเข้มจนเกือบดำ เปลือกเรียบหรือแตกเป็นสะเก็ดเล็ก ๆ
ใบ : เป็นใบประกอบแบบนิ้วมือออกสลับกัน มีใบย่อยประมาณ 3 ใบ เป็นรูปไข่กลับ รูปขอบขนานหรือรูปแถบ ปลายใบสอบเรียวหรือกลม หรือเว้าตื้นเล็ก ๆ มีหนามแหลมสั้น ๆ โคนใบสอบเป็นรูปลิ่มหรือมน ขอบใบเรียบ แผ่นใบหนาและเกลี้ยงทั้งสองด้าน แผ่นใบแตกแขนงมาก
ดอก : ออกดอกเป็นช่อเชิงหลั่นหรือช่อกระจะตามซอกใบหรือที่ปลายกิ่ง ดอกย่อยเป็นสีเขียวอมสีขาว ไม่มีกลีบดอก แต่มีกลีบเลี้ยง 4 กลีบ โคนเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็นแฉกรูปไข่ ขอบมีขนคล้ายกับเส้นไหม ออกดอกในช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนมีนาคม
ผล : เป็นรูปทรงกลมวงรีหรือรูปกระสวย ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองเข้ม ออกผลในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน
เมล็ด : ภายในผลมีเมล็ดประมาณ 2 – 3 เมล็ด ลักษณะของเมล็ดเป็นรูปไต

สรรพคุณของแจง

  • สรรพคุณจากราก แก้อาการป่วยจากร่างกายซูบผอม เสื่อมโทรม ปวดเมื่อยหรือโลหิตจาง รักษาฝีในคอ ช่วยขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะพิการ แก้อาการปัสสาวะปวดหรือปัสสาวะแบบกะปริดกะปรอย แก้อาการน้ำปัสสาวะขุ่นข้นหรืออาจมีเลือดปนออกมากับปัสสาวะ แก้อาการปวดเมื่อย
    – บำรุงกำลังและบำรุงร่างกาย ด้วยการนำรากมาต้มกับน้ำแล้วดื่ม
    – แก้อาการบวม ด้วยการนำรากมาต้มแล้วนำไอน้ำมาอบ
  • สรรพคุณจากต้น
    – บำรุงธาตุในร่างกาย ทำให้กระปรี้กระเปร่าและแข็งแรง แก้อาการปวดหลัง ด้วยการนำต้นมาต้มกับน้ำแล้วดื่ม
  • สรรพคุณจากทั้งต้น แก้อาการร้อนในกระหายน้ำ แก้ดีพิการ
    – แก้ดีซ่าน แก้ไข้จับสั่น ด้วยการนำทั้งต้นมาต้มกับน้ำแล้วดื่ม
    – แก้ขัดเบา ด้วยการนำต้นแจงทั้งห้า ชะพลู แก่นไม้สัก อย่างละ 3 ตำลึง มาใส่หม้อดินกับน้ำ 3 ส่วน แล้วต้มเคี่ยวให้เหลือ 1 ส่วน ใช้ดื่มเป็นยาเช้าเย็น
  • สรรพคุณจากแก่น แก้ไข้ตัวร้อน
  • สรรพคุณจากใบ แก้ฟันผุ
    – แก้อาการฟกช้ำ แก้อัมพฤกษ์อัมพาต ช่วยลดความปวดเมื่อยล้าสำหรับสตรีคลอดบุตร ด้วยการนำใบใช้เข้าลูกประคบเป็นยา
  • สรรพคุณจากยอดอ่อน
    – รักษาโรครำมะนาด แก้อาการปวดฟัน ด้วยการนำยอดอ่อนมาผสมกับเกลือ
    – แก้ตาฝ้าฟาง ด้วยการนำยอดอ่อนมาต้มแล้วใช้ล้างหน้า
  • สรรพคุณจากเปลือกต้น ราก ใบ
    – แก้ดีซ่าน แก้ไข้มาลาเรีย แก้อาการหน้ามืดตาฟาง ด้วยการนำเปลือกต้น รากและใบมาต้มกับน้ำแล้วดื่ม
  • สรรพคุณจากใบและยอด เป็นยาแก้ไข้
    – ทำให้ฟันทน ปากหอม ฟันขาวสะอาดสดชื่น ด้วยการนำใบและยอดมาตำหรือโขลกให้พอแหลกแล้วปั้นกลม ๆ เป็นลูกกลอนขนาดเท่าหัวแม่มือนำมาใช้สีฟัน
    – เป็นยาฆ่าแมงกินฟัน ด้วยการนำใบและยอดมาตำหรือโขลกให้พอแหลกแล้วปั้นกลม ๆ เป็นลูกกลอนขนาดเท่าหัวแม่มือนำมาใช้อม
  • สรรพคุณจากเปลือกและราก
    – แก้อัมพฤกษ์อัมพาต ด้วยการนำเปลือกไม้และรากมาต้มอาบ อบหรือกินแก้อาการ

ประโยชน์ของแจง

1. เป็นส่วนประกอบของอาหาร ดอกอ่อนและยอดอ่อนนำมาดองใช้รับประทานร่วมกับน้ำพริก ซึ่งคนอีสานเรียกว่า “คั้นส้ม”
2. เป็นความเชื่อของคนอีสาน เชื่อว่าหากได้รับประทานคั้นส้มของยอดอ่อนปีละครั้งจะช่วยป้องกันสภาวะสายตายาวได้ และยังช่วยบำรุงสายตาได้ดี
3. ใช้ในการเกษตร ผลใช้เป็นอาหารของนกได้ ในสมัยก่อนนำใบมาใช้เป็นเชื้อเพลิงในการเผาขนสัตว์
4. เป็นไม้ปลูกประดับ ดอกและผลมีลักษณะสวยงามและแปลกตา สามารถปลูกให้ความร่มรื่นและร่มเงาได้
5. ใช้ในอุตสาหกรรม ลำต้นเป็นส่วนผสมหลักในการผลิตลูกแป้งหรือแป้งข้าวหมาก ไม้สีขาวอ่อนนิยมนำมาเผาเอาถ่าน
6. ใช้ในการเรียนรู้ นิยมนำมาใช้เป็นตัวอย่างในการเรียนการสอนทางชีววิทยาเนื่องจากต้นแจงสามารถดูอายุขัยของวงปีต้นไม้ได้

แจง เป็นต้นที่มีประโยชน์มากมายหลายด้าน สามารถนำทั้งต้นมาใช้เป็นยาสมุนไพรได้ นอกจากนั้นยังมีดอกที่สวยงามจนนำมาปลูกประดับไว้ได้เช่นกัน มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ บำรุงร่างกาย แก้ไข้ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของระบบขับปัสสาวะ และช่วยรักษาฟันได้ดีอีกด้วย เป็นต้นไม้ไทยที่คู่ควรแก่การรักษาและอนุรักษ์ไว้อย่างยิ่ง

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคกลาง. “แจง”. (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ, ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, กัญจนา ดีวิเศษ). หน้า 90.
ป่าไม้และพรรณพฤกษชาติ หมู่เกาะแสมสาร, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “พรรณไม้ของสังคมพืชป่าดิบแล้ง (ฝั่งทะเล)”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.rspg.or.th/exploration/sms_plants/. [3 มี.ค. 2014].
ฐานข้อมูลชนิดพรรณพืช พื้นที่เขื่อนศรีนครินทร์ จังหวัดกาญจนบุรี, คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. “แจง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.en.mahidol.ac.th/conservation/. [3 มี.ค. 2014].
ผักพื้นบ้านในประเทศไทย กรมส่งเสริมการเกษตร. “แจง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: ftp://smc.ssk.ac.th/intranet/Research_AntioxidativeThaiVegetable/. [3 มี.ค. 2014].
บทความวิทยุรายการสาระความรู้ทางการเกษตร, งานศูนย์บริการวิชาการและฝึกอบรม ฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ, คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่. “แจง”. (ดวงจันทร์ เกรียงสุวรรณ). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: natres.psu.ac.th. [3 มี.ค. 2014].
ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. “แจง”. อ้างอิงใน: หนังสือ Flora of Thailand, Volume 5, Part 3, Page 266-267. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.qsbg.org. [3 มี.ค. 2014].
โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรี. “แจง”. อ้างอิงใน : หนังสือไม้ดอกไม้ประดับ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.skn.ac.th. [3 มี.ค. 2014].
สวนพฤกษศาสตร์สายยาไทย. “แจง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.saiyathai.com. [3 มี.ค. 2014].
หน่วยงานอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พืชพรรณ ฝ่ายปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. “แจง พันธุ์ไม้อันทรงคุณค่าในสยามกำลังถูกลืม”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.rdi.ku.ac.th. [3 มี.ค. 2014].
พรรณไม้งาม, ฝ่ายอาคารสถานที่และซ่อมบำรุง มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. “แจง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.dpu.ac.th/building/. [3 มี.ค. 2014].