ชำมะเลียง ช่วยแก้ไข้ แก้ท้องเสีย แก้อาการกระสับกระส่าย

0
ชำมะเลียง ช่วยแก้ไข้ แก้ท้องเสีย แก้อาการกระสับกระส่าย
ชำมะเลียง มักพบในทางภาคใต้หรือริมทะเล มีผลสีม่วงดำรสหวาน ผลเป็นช่อพวง เนื้อผลฉ่ำน้ำ มีรสหวาน
ชำมะเลียง ช่วยแก้ไข้ แก้ท้องเสีย แก้อาการกระสับกระส่าย
ชำมะเลียง มักพบในทางภาคใต้หรือริมทะเล มีผลสีม่วงดำรสหวาน ผลเป็นช่อพวง เนื้อผลฉ่ำน้ำ มีรสหวาน

ชำมะเลียง

ชำมะเลียง (Luna nut) เป็นต้นที่มักจะพบในทางภาคใต้หรือริมทะเล มีผลสีม่วงดำรสหวานอร่อย เป็นต้นที่ไม่ค่อยได้ยินชื่อผ่านหูแต่เป็นพืชที่มีสรรพคุณต่อร่างกายนอกจากจะเป็นผลไม้เท่านั้น สามารถนำมาปลูกเป็นไม้ประดับตามสถานที่ต่าง ๆ ได้และยังนำมาทำเป็น “น้ำชำมะเลียง” ซึ่งเป็นน้ำผลไม้ที่มีรสหวานฉ่ำได้ด้วยเช่นกัน

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของชำมะเลียง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lepisanthes fruticosa (Roxb.) Leenh.
ชื่อสามัญ : มีชื่อสามัญว่า “Luna nut” “Chammaliang”
ชื่อท้องถิ่น : ภาคกลางเรียกว่า “ชำมะเลียง ชำมะเลียงบ้าน พุมเรียง พุมเรียงสวน” ภาคเหนือเรียกว่า “มะเถ้า ผักเต้า” ภาคอีสานเรียกว่า “หวดข้าใหญ่ ภูเวียง” จังหวัดตราดเรียกว่า “โคมเรียง” จังหวัดนครราชสีมาเรียกว่า “พูเวียง”
ชื่อวงศ์ : วงศ์เงาะ (SAPINDACEAE)

ลักษณะของชำมะเลียง

ชำมะเลียง เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลางที่มีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มักจะพบตามป่าโปร่ง ตามแนวชายป่าหรือริมลำธาร แต่พบได้มากในแถบพื้นที่ชายทะเล
เปลือกลำต้น : เป็นสีน้ำตาลแตกเป็นร่อง ๆ ตามกิ่งอ่อนและยอดอ่อน มีขนสีน้ำตาล
ใบ : เป็นใบประกอบแบบขนนกออกเรียงสลับกัน แผ่นใบย่อยเป็นรูปวงรีแกมขอบขนาน ปลายใบแหลม โคนใบมนหรือสอบเข้า ขอบใบเรียบ แผ่นใบหนา หลังใบเรียบเป็นมัน ท้องใบเรียบ
ดอก : ออกดอกเป็นช่อแบบที่มีก้านดอกเล็ก ๆ แยกจากก้านใหญ่ ช่อดอกห้อยลง ดอกย่อยของแต่ละช่อจะมีทั้งดอกที่สมบูรณ์เพศและไม่สมบูรณ์เพศ ดอกเป็นสีขาวครีม กลีบดอก 5 กลีบแยกกันเป็นรูปวงรีคล้ายกลีบเลี้ยงแต่จะบางกว่าและอยู่ระหว่างกลีบเลี้ยง กลีบเลี้ยงเป็นสีม่วง 5 กลีบ เป็นรูปวงรี มักจะออกดอกในช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนธันวาคม
ผล : ออกเป็นช่อและในหนึ่งช่อมีผลเป็นพวง ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลม รูปไข่หรือรูปวงรีป้อม ผิวเรียบเป็นมัน ผลสดเป็นสีเขียวอมม่วงแดง เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีม่วงดำ เนื้อผลฉ่ำน้ำ มีรสหวาน
เมล็ด : ภายในผลมีประมาณ 1 – 2 เมล็ด ลักษณะของเมล็ดเป็นรูปทรงกลมหรือรูปไข่ปนขอบขนาน ผิวเรียบเป็นสีดำ

สรรพคุณของชำมะเลียง

  • สรรพคุณจากราก เป็นยาแก้ไข้ แก้ไข้เหนือ แก้ไข้กาฬ แก้ไข้พิษ แก้ไข้สันนิบาต แก้ไข้สั่น แก้ไข้กำเดา แก้เลือดกำเดาไหล แก้อาการร้อนใน แก้อาการกระสับกระส่าย ทำให้ระบบทางเดินอาหารเป็นปกติ แก้อาการท้องผูก
  • สรรพคุณจากผล ผลสุกหรือผลแก่ช่วยแก้ท้องเสีย แก้โรคท้องเสียในเด็ก

ประโยชน์ของชำมะเลียง

1. เป็นส่วนประกอบของอาหาร ใบอ่อนและยอดอ่อนสามารถนำมาใช้ทำแกง ใส่ในปลาย่างหรือใช้เป็นผักจิ้มน้ำพริก ผลสุกใช้รับประทานเป็นผลไม้ด้วยการคลึงเบา ๆ ทั่วผลจะช่วยลดรสฝาดลงได้ ทำเป็นน้ำชำมะเลียง สีม่วงนำมาใช้เป็นสีผสมอาหาร
2. ปลูกเป็นไม้ประดับ นิยมปลูกไว้ตามสวนผลไม้ทั่วไปหรือใช้ปลูกเพื่อการจัดสวนตามบ้าน ตามสถานที่ราชการ หรือใช้ปลูกเป็นพืชอาหารสัตว์ป่าในป่าอนุรักษ์

วิธีการทำน้ำชำมะเลียง

1. ทำการเลือกผลชำมะเลียงที่สุกงอมมาล้างให้สะอาดแล้วใส่ลงในภาชนะ 1 ถ้วย
2. เติมน้ำที่ต้มแล้วลงไป 1 ถ้วยครึ่ง แล้วยีให้เมล็ดออกจากเนื้อ เติมน้ำที่เหลือลงไปแล้วกรองเอาเมล็ดและเปลือกออก
3. เติมน้ำเชื่อม 1 ส่วน 3 ของถ้วยและเกลือ 1 ช้อนชาลงไป ก็เป็นอันเสร็จ

ชำมะเลียง นิยมนำมารับประทานเป็นผลไม้และน้ำผลไม้ที่ให้รสหวานฉ่ำแต่มีรสฝาดผสมเล็กน้อย ทั้งนี้หากรับประทานผลมากจนเกินไปอาจทำให้เกิดอาการท้องผูกได้ ชำมะเลียงเป็นไม้ยืนต้นที่อุดมไปด้วยยาอยู่ในส่วนของรากเป็นส่วนใหญ่ มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ แก้ไข้ แก้ท้องเสีย แก้อาการกระสับกระส่ายและดีต่อระบบทางเดินอาหารในร่างกาย

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. “ชำมะเลียง (Chamma Liang)”. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). หน้า 105.
ผักพื้นบ้านในประเทศไทย, กรมส่งเสริมการเกษตร. “ชำมะเลียง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: 203.172.205.25/ftp/intranet/Research_AntioxidativeThaiVegetable/. [5 มี.ค. 2014].
ฝ่ายปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. “ชํามะเลียง”. (นพพล เกตุประสาท, สุดใจ วรเลข). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: clgc.rdi.ku.ac.th. [5 มี.ค. 2014].
ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. “ชำมะเลียง”. อ้างอิงใน: หนังสือพรรณไม้สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เล่ม 7. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.qsbg.org. [5 มี.ค. 2014].
โรงเรียนพระหฤทัยคอนแวนต์. “ชำมะเลียง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.shc.ac.th. [5 มี.ค. 2014].
ศูนย์ปฏิบัติการโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติฯ, กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. “ชํามะเลียง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.goldenjubilee-king50.com. [5 มี.ค. 2014].
วิกิพีเดียสารานุกรมเสรี. “ชำมะเลียง”. อ้างอิงใน: หนังสือผลไม้ 111 ชนิด คุณค่าอาหารและการกิน (ทวีทอง หงษ์วิวัฒน์, นิดดา หงษ์วิวัฒน์), หนังสือผลไม้ในเมืองไทย (เศรษฐมันต์ กาญจนกุล). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: th.wikipedia.org/wiki/ชำมะเลียง. [5 มี.ค. 2014].

ผักชีหรือผักชีไทย บำรุงระบบอาหาร ช่วยต้านมะเร็ง แก้พิษไข้

0
ผักชีหรือผักชีไทย บำรุงระบบอาหาร ช่วยต้านมะเร็ง แก้พิษไข้
ผักชีหรือผักชีไทย บำรุงระบบอาหาร ช่วยต้านมะเร็ง แก้พิษไข้
ผักชีหรือผักชีไทย บำรุงระบบอาหาร ช่วยต้านมะเร็ง แก้พิษไข้
ผักชี ผักที่คนไทยที่ใช้ในเมนูอาหารมากมาย สามารถใช้ได้ทุกส่วน มีกลิ่นแรงเฉพาะตัว ใบหยักลึก

ผักชี

ผักชี (Coriander) เป็น ผักที่คนไทยทั่วไปรู้จักและเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในเมนูอาหารมากมาย รวมไปถึงการใช้ผักชีตกแต่งจานด้วยการโรยหน้าอย่างสวยงาม หรือนำมาใช้แต่งกลิ่นให้ความหอมแก่อาหารมากยิ่งขึ้น ในปัจจุบันการกินผักชีสดกำลังได้รับความนิยมโดยเฉพาะคนญี่ปุ่น ถือเป็นเรื่องที่น่าตกใจเพราะผักชีค่อนข้างที่จะมีกลิ่นแรงและเมื่อกินสดมักจะไม่ค่อยถูกปากสักเท่าไหร่ แต่สรรพคุณของผักชีนั้นมีประโยชน์ต่อร่างกาย ถือเป็นผักที่อยู่คู่กับคนไทยมานานตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของผักชี

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Coriandrum sativum L.
ชื่อสามัญ : Coriander
ชื่อท้องถิ่น : ภาคเหนือเรียกว่า “ผักหอมป้อมหรือผักหอมผอม” ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเรียกว่า “ผักหอมน้อย” จังหวัดกระบี่เรียกว่า “ยำแย้” จังหวัดนครพนมเรียกว่า “ผักหอม” ส่วนที่เรียกกันทั่วประเทศคือ “ผักชีไทย”
ชื่อวงศ์ : วงศ์ผักชี (APIACEAE)

ลักษณะของผักชี

ผักชี เป็นพืชล้มลุกขนาดเล็กที่มีถิ่นกำเนิดในแถบเมดิเตอร์เรเนียน มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว
ใบ : มีใบย่อยเป็นจำนวนมาก ใบหยักลึกเข้าหากลางใบ
ดอก : ออกดอกเป็นช่อ ดอกย่อยสีขาวอมชมพู
ผล : มีลักษณะค่อนข้างกลม ผลแก่จัดจะเป็นสีเหลืองอมน้ำตาล
เมล็ด : มี 2 เมล็ด

สรรพคุณของผักชี

  • สรรพคุณจากใบ ช่วยให้เจริญอาหาร บำรุงธาตุในร่างกาย แก้อาการกระหายน้ำ ลดระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยกระตุ้นการทำงานของเลือดพลาสมาและกล้ามเนื้อ ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง แก้อาการหวัดและแก้ไอ แก้อาการสะอึก คลื่นไส้และอาเจียน แก้อาการวิงเวียนศีรษะ แก้อาการอาหารเป็นพิษ ช่วยย่อยอาหารและขับลมในกระเพาะ แก้พิษตานซาง แก้ตับอักเสบ ขับลมพิษ แก้โรคหัด ต่อต้านเชื้อราแบคทีเรียและไข่ของแมลง ลดอาการปวดบวมตามข้อ
  • สรรพคุณจากผล ช่วยย่อยอาหาร รักษาอาการปวดท้อง
    – ช่วยให้เจริญอาหารและบำรุงกระเพาะอาหาร ด้วยการใช้ผลแห้งมาบดเป็นผงแล้วรับประทานหรือใช้ต้มกับน้ำดื่ม – แก้อาการปวดฟันและเจ็บปาก ด้วยการใช้ผลนำมาต้มน้ำแล้วนำมาอมบ้วนปากบ่อย ๆ
    – แก้อาการบิดและถ่ายเป็นเลือด ด้วยการใช้ผลประมาณ 1 ถ้วยชา นำมาตำผสมกับน้ำตาลทรายแล้วนำมาผสมน้ำดื่ม
    – แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ด้วยการใช้ผลประมาณ 2 ช้อนชานำมาต้มกับน้ำดื่ม
    – รักษาโรคริดสีดวงทวาร มีเลือดออก ด้วยการใช้ผลสดนำมาบดให้แตกผสมกับเหล้า ดื่มวันละ 5 ครั้ง
  • สรรพคุณจากผลแก่ ใช้เป็นเครื่องเทศ เมื่อใช้ผสมกับตัวยาอื่นจะช่วยกระตุ้นต่อมในกระเพาะอาหารและลำไส้ ช่วยเพิ่มน้ำดีให้มากขึ้น
  • สรรพคุณจากราก เป็นน้ำกระสายยาช่วยกระทุ้งพิษไข้หัวและไข้อีดำอีแดง รักษาเหือด หิดและอีสุกอีใส
  • สรรพคุณจากต้นสด
    – รักษาโรคริดสีดวงทวาร มีเลือดออก ด้วยการใช้ต้นสดประมาณ 120 กรัม นำมาใส่นม 2 แก้วผสมน้ำตาลดื่ม
    – แก้อาการผื่นแดง ไฟลามทุ่งของเด็กด้วยการใช้ต้นสดนำมาหั่นเป็นฝอย ๆ ใส่ลงไปในเหล้าแล้วต้มให้เดือด นำมาใช้ทา
    – ช่วยให้ผื่นหัดออกเร็วขึ้นโดยใช้ต้นสดนำมาหั่นเป็นฝอย ๆ ใส่ลงไปในเหล้า จากนั้นต้มให้เดือดแล้วนำมาใช้ทา
  • สรรพคุณจากทั้งต้น บำรุงและรักษาสายตา
    – ขับเหงื่อและละลายเสมหะ ด้วยการใช้ต้นสดประมาณ 60 กรัม นำไปต้มกับน้ำดื่มหรือจะคั้นเอาเฉพาะน้ำมาดื่มแก้อาการ

ประโยชน์ของผักชี

ผักชีเป็นส่วนประกอบของอาหาร นำใบมารับประทานเป็นผักและรับประทานกับอาหารอื่น หรือนำมาใช้ตกแต่งหน้าอาหาร ใบช่วยถนอมอาหารและผลช่วยดับกลิ่นคาวของเนื้อ

คุณค่าทางโภชนาการของผักชีสด

คุณค่าทางโภชนาการของผักชีสดต่อ 100 กรัม โดยคิด % ร้อยละของปริมาณแนะนำที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันสำหรับผู้ใหญ่ ให้พลังงาน 23 กิโลแคลอรี

สารอาหาร ปริมาณสารอาหารที่ได้รับ
คาร์โบไฮเดรต 3.67 กรัม
น้ำตาล 0.87 กรัม
เส้นใย 2.8 กรัม
ไขมัน 0.52 กรัม
โปรตีน 2.13 กรัม
น้ำ 92.21 กรัม 
วิตามินเอ 337 ไมโครกรัม (42%)
เบตาแคโรทีน 3,930 ไมโครกรัม (36%)
ลูทีนและซีแซนทีน 865 ไมโครกรัม 
วิตามินบี1 0.067 มิลลิกรัม (6%)
วิตามินบี2 0.162 มิลลิกรัม (14%)
วิตามินบี3 1.114 มิลลิกรัม (7%)
วิตามินบี5 0.57 มิลลิกรัม (11%)
วิตามินบี6 0.149 มิลลิกรัม (11%)
วิตามินบี9 62 ไมโครกรัม (16%)
วิตามินบี12 0 ไมโครกรัม (0%)
วิตามินซี 27 มิลลิกรัม (33%)
วิตามินอี 2.5 มิลลิกรัม (17%) 
วิตามินเค 310 ไมโครกรัม (295%)
แคลเซียม 67 มิลลิกรัม (7%)
เหล็ก 1.77 มิลลิกรัม (14%)
แมกนีเซียม 26 มิลลิกรัม (7%)
แมงกานีส 0.426 มิลลิกรัม (20%)
ฟอสฟอรัส 48 มิลลิกรัม (7%)
โพแทสเซียม 521 มิลลิกรัม (11%)
โซเดียม 46 มิลลิกรัม (3%) 
สังกะสี 0.5 มิลลิกรัม (5%)

ข้อควรระวัง

1. คนที่มีประวัติแพ้พืชวงศ์ผักชีควรหลีกเลี่ยง
2. ไม่ควรรับประทานมากจนเกินไป อาจจะทำให้มีกลิ่นตัวแรง มีอาการตาลายและลืมง่าย
3. ไม่ควรรับประทานน้ำผักชีมากจนเกินไป เพราะทำให้ไตพัง

ผักชี เป็นพืชผักที่จำเป็นต่อเมนูอาหารในหลาย ๆ เมนู เชื่อว่าทุกคนต้องเคยรับประทานผักชีแม้ว่าจะไม่ได้รับประทานสดเหมือนคนญี่ปุ่น มีการนำไปแปรรูปเป็นเครื่องดื่มบ้างแต่ไม่ค่อยนิยมสักเท่าไหร่ สรรพคุณที่โดดเด่นของผักชีเลยก็คือ ช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดีขึ้น ต่อต้านมะเร็งและป้องกันไข้หวัด เป็นผักที่พบเจอได้บ่อยแต่มีประโยชน์อย่างมาก ดังนั้นเวลาไปรับประทานอาหารเมนูที่มีผักชีก็อย่าเขี่ยออกจะเป็นการดีกว่า หรือไม่ก็รับประทานควบคู่ไปกับรสอาหารอื่นที่เราชอบก็ได้

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

แหล่งอ้างอิง

www.rspg.or.th, www.samunpri.com, วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ฟักแม้ว ช่วยต้านมะเร็ง บำรุงหัวใจและป้องกันความพิการของทารกในครรภ์

0
ฟักแม้ว ช่วยต้านมะเร็ง บำรุงหัวใจและป้องกันความพิการของทารกในครรภ์
ฟักแม้ว หรือมะระหวานเป็นผักที่สามารถนำมาใช้ประกอบอาหารได้ทั้งใบและผล ผลมีสีเขียวอ่อน คล้ายลูกแพร์
ฟักแม้ว ช่วยต้านมะเร็ง บำรุงหัวใจและป้องกันความพิการของทารกในครรภ์
ฟักแม้ว หรือมะระหวานเป็นผักที่สามารถนำมาใช้ประกอบอาหารได้ทั้งใบและผล ผลมีสีเขียวอ่อน คล้ายลูกแพร์

ฟักแม้ว

ฟักแม้ว (Chayote) หรือนิยมเรียกกันว่า “ยอดมะระหวาน” เป็นผักชนิดหนึ่งที่นิยมทางภาคเหนือ ส่วนมากมักจะนำมาผัดกับน้ำมันหอยจนกลายเป็นเมนูยอดฮิตเลยก็คือ “ผัดยอดฟักแม้ว” เป็นผักที่สามารถนำมาใช้ประกอบอาหารได้ทั้งใบและผล ถึงแม้ว่ารูปร่างของผลฟักแม้วจะไม่ค่อยสวยเหมือนผลไม้อื่น ๆ แต่มีสรรพคุณที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายรวมถึงยอดอ่อนและใบของฟักแม้วด้วย เป็นหนึ่งในผักที่น่าสนใจในการนำมาผัดรับประทานที่บ้านด้วยตัวเอง

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของฟักแม้ว

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Sechium edule (Jacq) Swartz.
ชื่อสามัญ : มีชื่อสามัญว่า “Chayote”
ชื่อท้องถิ่น : มีชื่อท้องถิ่นว่า “มะระแม้ว” “มะระหวาน” “มะเขือเครือ” “มะเขือฝรั่ง” “มะระญี่ปุ่น” “ฟักญี่ปุ่น” “มะเขือนายก” “บ่าเขือเครือ” “ฟักม้ง” “แตงกะเหรี่ยง”
ชื่อวงศ์ : วงศ์แตง (CUCURBITACEAE)

ลักษณะของฟักแม้ว

ฟักแม้ว เป็นไม้เถาเลื้อยที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ทางตอนใต้ของประเทศเม็กซิโกและแถบอเมริกากลาง
ราก : มีระบบรากสะสมขนาดใหญ่
ลำต้น : ฟักแม้วมีลักษณะของลำต้นเป็นเหลี่ยม เจริญเป็นเถา มีเถาเป็นแขนง 3 – 5 เถา และมีมือเกาะเจริญที่ข้อ
ใบ : หรือเรียกกันว่า “ใบมะระหวาน” ขอบใบมีลักษณะเป็นเหลี่ยม ลักษณะคล้ายใบตำลึงแต่มีขนาดใหญ่กว่า ใบมีขนทั้งด้านบนและด้านล่าง
ดอก : หรือเรียกกันว่า “ดอกมะระหวาน” มีสีขาวปนเขียว ดอกจะเกิดตามข้อระหว่างต้นกับก้านใบ ออกดอกเป็นช่อ ดอกเป็นประเภทไม่สมบูรณ์เพศ ดอกตัวผู้และดอกตัวเมียจะอยู่คนละดอกแต่อยู่ในต้นเดียวกัน
ผล : หรือเรียกกันว่า “ผลมะระหวาน” เป็นผลเดี่ยวลักษณะเป็นทรงกลมยาว ผลมีสีเขียวอ่อน รูปร่างคล้ายลูกแพร์ ผลมีรสเย็น เนื้อผลมีรสหวาน รสคล้ายกับฝรั่งปนแตงกวา

สรรพคุณของฟักแม้ว

  • สรรพคุณจากฟักแม้ว ต้านอนุมูลอิสระและช่วยชะลอการเกิดริ้วรอยแห่งวัย ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง
  • สรรพคุณจากผลและใบ ป้องกันและรักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน
    – บำรุงหัวใจและหลอดเลือด ด้วยการใช้ผลและใบมาดองเป็นยาไว้กิน
    – สลายนิ่วในไต รักษาอาการเส้นเลือดแข็งตัวและรักษาโรคความดันโลหิตสูง ด้วยการนำใบและผลมาต้ม
    – เป็นยาช่วยขับปัสสาวะและแก้อาการอักเสบ ด้วยการนำใบและผลมาดอง
  • สรรพคุณจากใบ ยอดฟักแม้วช่วยในการขับถ่าย ป้องกันอาการท้องผูก
  • สรรพคุณจากผล ป้องกันการพิการของทารกแต่กำเนิด ผลอ่อนช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง

ประโยชน์ของฟักแม้ว

เป็นส่วนประกอบของอาหาร ยอดอ่อนฟักแม้วสามารถนำมาต้มกินกับน้ำพริก ใช้ทำต้มจืด แกงเลียง ผัดฟักแม้ว ลาบ ยำยอดฟักแม้ว ส่วนผลนำมาหั่นเป็นฝอยแล้วผัดกับไข่หรือผัดน้ำมัน รากนำมาต้มหรือผัดได้เพราะมีแป้งและนำมาใช้เป็นอาหารสัตว์ได้อีกด้วย

คุณค่าทางโภชนาการของผลฟักแม้ว

คุณค่าทางโภชนาการของผลฟักแม้ว ต่อ 100 กรัม โดยคิดเป็น % ร้อยละของปริมาณแนะนำที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันสำหรับผู้ใหญ่ ให้พลังงาน 19 กิโลแคลอรี

สารอาหาร ปริมาณสารอาหาร
คาร์โบไฮเดรต 4.51 กรัม
เส้นใย 1.7 กรัม
ไขมัน 0.13 กรัม
โปรตีน 0.82 กรัม
วิตามินบี1 0.025 มิลลิกรัม (2%)
วิตามินบี2 0.029 มิลลิกรัม (2%)
วิตามินบี3 0.47 มิลลิกรัม (3%)
วิตามินบี5 0.249 มิลลิกรัม (5%)
วิตามินบี6 0.076 มิลลิกรัม (6%)
วิตามินบี9 93 ไมโครกรัม (23%)
วิตามินซี 7.7 มิลลิกรัม (9%)
วิตามินอี 0.12 มิลลิกรัม (1%)
วิตามินเค 4.1 ไมโครกรัม (4%)
แคลเซียม 17 มิลลิกรัม (2%)
เหล็ก 0.34 มิลลิกรัม (3%)
แมกนีเซียม 12 มิลลิกรัม (3%)
ฟอสฟอรัส 18 มิลลิกรัม (3%) 
โพแทสเซียม 125 มิลลิกรัม (3%)
สังกะสี 0.74 มิลลิกรัม (8%)

สารออกฤทธิ์จากมะระหวาน หรือฟักแม้ว

ผักฟักแม้ว มีสารโพลีฟีนอลและสารกลุ่มฟลาโวนอยด์ มีฤทธิ์ช่วยลดความเสื่อมของเซลล์จึงมีฤทธิ์ยับยั้งและป้องกันเซลล์มะเร็ง และมีโฟเลตสูง จึงมีฤทธิ์ช่วยป้องกันข้อบกพร่องในทารกแรกเกิดได้

ฟักแม้ว เป็นผักชนิดหนึ่งที่อุดมไปด้วยสารอาหารมากมาย เป็นผักที่มีรสชาติอร่อยเมื่อนำมาปรุง สามารถนำผลและใบยอดอ่อนมารับประทานได้ ถือว่าเป็นผักที่ค่อนข้างนิยมพอสมควร มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ บำรุงหัวใจและหลอดเลือด ต้านมะเร็ง ช่วยชะลอวัย และป้องกันการพิการของทารกแต่กำเนิด เป็นผักที่สามารถหาซื้อได้ทั่วไปและนำมาประกอบเมนูอาหารง่าย ๆ ได้ด้วยตนเอง

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

แหล่งอ้างอิง

สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน), ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์), วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

โคลงเคลง เป็นยาบำรุงร่างกายชั้นดี ช่วยแก้ริดสีดวงทวารและแก้คอพอก

0
โคลงเคลง เป็นยาบำรุงร่างกายชั้นดี ช่วยแก้ริดสีดวงทวารและแก้คอพอก
โคลงเคลง มีดอกเป็นสีม่วงอมชมพูเป็นช่อที่ปลายยอด ดอกเป็นช่อแบบสมบูรณ์เพศ ต้นใช้รับประทานหรือเป็นยาสมุนไพรได้
โคลงเคลง เป็นยาบำรุงร่างกายชั้นดี ช่วยแก้ริดสีดวงทวารและแก้คอพอก
โคลงเคลง มีดอกเป็นสีม่วงอมชมพูเป็นช่อที่ปลายยอด ดอกเป็นช่อแบบสมบูรณ์เพศ ต้นใช้รับประทานหรือเป็นยาสมุนไพรได้

โคลงเคลง

โคลงเคลง (Malabar gooseberry) มีดอกเป็นสีม่วงอมชมพูอย่างสวยงามอยู่บนต้น เป็นไม้ที่ไม่ค่อยคุ้นหูคนไทยมากนัก สามารถนำส่วนของต้นมารับประทานหรือใช้เป็นยาสมุนไพรได้ ทั้งนี้เพราะความสวยงามและโดดเด่นของดอกจึงทำให้ต้นโคลงเคลงเริ่มเป็นที่นิยมในการปลูกเป็นไม้ประดับในปัจจุบัน

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของโคลงเคลง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Melastoma malabathricum L.
ชื่อสามัญ : มีชื่อสามัญว่า “Malabar gooseberry” “Malabar melastome” “Melastoma” “Indian rhododendron” “Singapore rhododendron” “Straits rhododendron”
ชื่อท้องถิ่น : ภาคเหนือเรียกว่า “อ้า อ้าหลวง” ภาคใต้เรียกว่า “เบร์ มะเหร มังเคร่ มังเร้ สาเร สำเร” จังหวัดตราดเรียกว่า “โคลงเคลงขี้นก โคลงเคลงขี้หมา” ชองและตราดเรียกว่า “มายะ” ชาวกะเหรี่ยงและกาญจนบุรีเรียกว่า “ซิซะโพ๊ะ” ชาวกะเหรี่ยงและแม่ฮ่องสอนเรียกว่า “ตาลาเด๊าะ” ชาวมลายูและปัตตานีเรียกว่า “กะดูดุ กาดูโด๊ะ” มีชื่ออื่น ๆ ว่า “เหม่”
ชื่อวงศ์ : วงศ์โคลงเคลง (MELASTOMATACEAE)
ชื่อพ้อง : Melastoma malabathricum subsp. Malabathricum

ลักษณะของโคลงเคลง

โคลงเคลง เป็นไม้พุ่มที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย มาเลเซียและออสเตรเลีย มักจะพบตามที่ลุ่ม ในพื้นราบที่ชุ่มชื้น ขอบป่าพรุไปจนถึงบนภูเขาสูง ในเมืองไทยมีอยู่ประมาณ 10 กว่าชนิด
ลำต้น : ลำต้นและกิ่งก้านเป็นสีน้ำตาลแดง กิ่งเป็นเหลี่ยม ทุกส่วนของลำต้นมีขนละเอียดสีน้ำตาลอ่อนปกคลุม
ใบ : เป็นใบเดี่ยวออกเรียงตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ และสลับตั้งฉาก ใบเป็นรูปใบหอก ปลายใบและโคนใบแหลม แผ่นใบค่อนข้างแข็ง เส้นใบย่อยเรียงแบบขั้นบันไดและไม่มีหูใบ
ดอก : ออกดอกเป็นช่อที่ปลายยอด ดอกเป็นสีม่วงอมสีชมพู มีถ้วยรองดอกปกคลุมด้วยเกล็ดแบนเรียบ ดอกเป็นช่อแบบสมบูรณ์เพศ ออกดอกได้ตลอดทั้งปีแต่จะมีมากในช่วงฤดูฝน
ผล : ผลมีลักษณะคล้ายลูกข่างและมีขนปกคลุม เนื้อในผลเป็นสีแดงอมสีม่วง เมื่อแก่เปลือกผลจะแห้งแล้วแตกออกตามขวาง
เมล็ด : ภายในผลมีเมล็ดขนาดเล็กจำนวนมาก

สรรพคุณของโคลงเคลง

  • สรรพคุณจากโคลงเคลง แก้อาการอาเจียนเป็นเลือด แก้คอพอก แก้อาการถ่ายเป็นเลือด
  • สรรพคุณจากดอก เป็นยาระงับประสาท เป็นยาห้ามเลือดในคนที่เป็นริดสีดวงทวาร
  • สรรพคุณจากราก บำรุงธาตุในร่างกาย บำรุงร่างกาย เป็นยาแก้มะเร็ง ดับพิษไข้ แก้ร้อนในกระหายน้ำ บำรุงตับ ไตและดี เป็นยาแก้ปวด เป็นยาบำรุงหลังการคลอดบุตรของสตรี
  • สรรพคุณจากใบ แก้ริดสีดวงทวาร รักษาโรคระดูขาวของสตรี รักษาโรคโกโนเรียหรือโรคหนองในแท้ รักษาแผลไฟไหม้
    – กำจัดเชื้อราในช่องปากหรือลำคอ ด้วยการนำใบมาต้มกับน้ำหรือน้ำคั้นจากใบใช้เป็นยาบ้วนปาก
    – รักษาโรคท้องร่วง โรคบิด ด้วยการนำใบมาต้มกับน้ำแล้วดื่ม
    – ป้องกันแผลเป็น ด้วยการนำใบมาต้มกับน้ำแล้วใช้ล้างแผล

ประโยชน์ของโคลงเคลง

1. เป็นส่วนประกอบของอาหาร ใบอ่อนนำมารับประทานเป็นผักสดทั่วไป ใบนำมาใช้รูดปลาไหลและช่วยขัดเมือกได้ดี ผลสุกใช้รับประทาน
2. ปลูกเป็นไม้ประดับ

โคลงเคลง เป็นยาพื้นบ้านในหลายพื้นที่ของโลก ไม่ใช่เฉพาะในประเทศไทยที่นำโคลงเคลงมารับประทาน นอกจากนั้นยังมีดอกสีม่วงชมพูสวยงามเหมาะแก่การปลูกประดับไว้ชมในสวนได้ มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ เป็นยาระงับประสาท บำรุงร่างกาย แก้ริดสีดวงทวาร แก้คอพอก และแก้อาการอาเจียนหรือถ่ายเป็นเลือด เป็นต้นที่มีสรรพคุณในหลายส่วนเหมาะสำหรับนำมาดื่มเป็นยาบำรุงได้

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคเหนือ. “โคลงเคลง”. (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ). หน้า 106.
สวนพฤกษศาสตร์คลองไผ่, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “โคลงเคลง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.rspg.or.th/plants_data/kp_bot_garden/kpb.htm. [20 ก.พ. 2014].
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง. “โคลงเคลงขี้นก”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.kmitl.ac.th. [20 ก.พ. 2014].
ระบบฐานข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชน, สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน). “เหม่ หรือ โคลงเคลง”. (อนงค์นาฏ ศรีบุญแก้ว). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.bedo.or.th. [20 ก.พ. 2014].
ท่องไทยแลนด์ดอทคอม. “โคลงเคลง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.thongthailand.com. [20 ก.พ. 2014].
โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรี. “โคลงเคลงขี้นก”. อ้างอิงใน : หนังสือไม้ดอกและไม้ประดับ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.skn.ac.th. [20 ก.พ. 2014].

มะอึก ผลรสเปรี้ยวเฉพาะตัว ช่วยแก้ไข้ แก้น้ำดีพิการและแก้อาการไอ

0
มะอึก ผลรสเปรี้ยวเฉพาะตัว ช่วยแก้ไข้ แก้น้ำดีพิการและแก้อาการไอ
มะอึก มะเขือป่า ผลกลมมีขนยาวหนา รสเปรี้ยว และกลิ่นมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ผลสุกมีสีเหลืองแกมน้ำตาล
มะอึก ผลรสเปรี้ยวเฉพาะตัว ช่วยแก้ไข้ แก้น้ำดีพิการและแก้อาการไอ
มะอึก มะเขือป่า ผลกลมมีขนยาวหนา รสเปรี้ยว และกลิ่นมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ผลสุกมีสีเหลืองแกมน้ำตาล

มะอึก

มะอึก (Solanum) เป็นมะเขือป่าชนิดหนึ่งที่คนส่วนมากไม่ค่อยรู้จัก เป็นพืชผลที่นิยมทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนคนเมืองหรือภาคอื่น ๆ อาจจะไม่เคยได้ยินชื่อและไม่รู้ว่ามะอึกคืออะไร เป็นผลที่มีรสเปรี้ยวเป็นหลัก ซึ่งรสและกลิ่นจะมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว มะอึกไม่ใช่พืชตลาดที่คนนิยมแต่มีสรรพคุณแก้อาการต่าง ๆ ได้อย่างน่าทึ่ง

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของมะอึก

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Solanum stramoniifolium Jacq.
ชื่อสามัญ : มีชื่อสามัญว่า “Solanum” และ “Bolo Maka”
ชื่อท้องถิ่น : ภาคกลางเรียกว่า “มะอึก” ภาคเหนือเรียกว่า “มะเขือปู่ มะปู่ มะเขือขน หมากขน” ภาคอีสานเรียกว่า “หมากอึก หมักอึก บักเอิก” ภาคใต้เรียกว่า “อึก ลูกอึก” ชาวกะเหรี่ยงเรียกว่า “ยั่งคุยดี”
ชื่อวงศ์ : วงศ์มะเขือ (SOLANACEAE)

ลักษณะของมะอึก

มะอึก เป็นไม้พุ่มในกลุ่มมะเขือที่มีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มักจะพบอยู่ทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย
ลำต้น : ทุกส่วนของต้นจะมีขนละเอียดสีน้ำตาลอ่อนปกคลุมอยู่ ลำต้นมีหนามและมีขนอ่อนปกคลุม
ใบ : เป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับกัน ลักษณะของใบเป็นรูปไข่กว้าง โคนใบเว้าหรือตัด ขอบใบหยักเว้าเป็นพู แผ่นใบสีเขียว มีขนอ่อนปกคลุมผิวใบทั้งด้านบนและด้านล่าง
ดอก : ออกดอกเป็นช่อกระจุกที่ซอกใบ ดอกมีสีขาว ปลายแหลม มีเกสรตัวผู้สีเหลืองเป็นเส้นรวมกันเป็นยอดแหลม
ผล : เป็นรูปทรงกลม ที่ผิวมีขนยาวหนา ผลอ่อนมีสีเขียว ผลสุกมีสีเหลืองแกมน้ำตาล
เมล็ด : มีเมล็ดแบนจำนวนมากเรียงเป็นแถวอยู่ภายในผล

สรรพคุณของมะอึก

  • สรรพคุณจากราก ช่วยดับพิษร้อนในร่างกาย ช่วยแก้ไข้ต่าง ๆ อย่างแก้ไข้เพื่อดีและแก้ไข้สันนิบาต แก้น้ำลายเหนียว แก้ปวด แก้น้ำดีพิการ แก้อาการดีฝ่อ แก้อาการดีกระตุก แก้อาการนอนสะดุ้ง ผวาหรือเพ้อ ช่วยกระทุ้งพิษไข้หัวทุกชนิดหรืออาการของไข้ที่มีตุ่มออกเป็นผื่นตามผิวหนังอย่างเหือด หิด หัด และอีสุกอีใส
  • สรรพคุณจากผล ขับเสมหะในลำคอ แก้อาการไอ แก้น้ำดีพิการ เพิ่มพลังงานให้กับร่างกาย
  • สรรพคุณจากใบ แก้ปอดบวม ใช้เป็นยาพอกแก้อาการคันหรือผดผื่นคัน ใช้ตำแก้พิษฝี
  • สรรพคุณจากเมล็ด แก้อาการปวดฟันด้วยการใช้เมล็ดมาเผาแล้วสูดดมควันเข้าไป
  • สรรพคุณจากขน ช่วยขับพยาธิ

ประโยชน์ของมะอึก

เป็นส่วนประกอบของอาหาร ผลอ่อนหรือผลสุกนำมารับประทานได้หรือเป็นส่วนประกอบในเมนูน้ำพริกมะอึก ใส่ในแกงส้มกับหมูย่างหรือใส่ในส้มตำ ช่วยเพิ่มรสชาติเปรี้ยวให้อาหาร ผลมะอึกใช้เป็นอาหารของนกได้

คุณค่าทางโภชนาการของผลมะอึก

คุณค่าทางโภชนาการของผลมะอึก ต่อ 100 กรัม ให้พลังงาน 53 กิโลแคลอรี

สารอาหาร ปริมาณสารอาหารที่ได้รับ
คาร์โบไฮเดรต 9.5 กรัม
เส้นใย 3.6 กรัม
ไขมัน 0.8 กรัม
โปรตีน 1.9 กรัม
วิตามินบี1 0.07 มิลลิกรัม
วิตามินบี2 0.05 มิลลิกรัม
วิตามินบี3 4.9 มิลลิกรัม 
วิตามินซี 3 มิลลิกรัม
แคลเซียม 26 มิลลิกรัม
เหล็ก 0.8 มิลลิกรัม 
ฟอสฟอรัส 41 มิลลิกรัม

มะอึก เป็นผลที่มีลักษณะโดดเด่น มีขนขึ้นอยู่ทุกส่วนของต้น และมีรสเปรี้ยวเฉพาะตัวที่ไม่เหมือนมะนาวหรือผลที่ให้ความเปรี้ยวอื่น ๆ มีการนำมะอึกมาใช้ประโยชน์ในด้านอาหารและยามานานแล้ว ตำรายาสมุนไพรได้บันทึกสรรพคุณของมะอึกไว้หลากหลาย สรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ แก้อาการไข้ แก้น้ำดีพิการ ขับเสมหะและแก้อาการไอ เป็นพืชสมุนไพรที่ช่วยบรรเทาพิษไข้ได้มาก

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

แหล่งอ้างอิง
เว็บไซต์สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, หนังสือเภสัชกรรมไทย (วุฒิ วุฒิธรรมเวช), ศูนย์ส่งเสริมการเกษตรที่สูง จังหวัดกาญจนบุรี, หนังสือคุณค่าทางโภชนาการของอาหารไทย (กองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข), เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, เว็บไซต์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์), กรมวิชาการเกษตร, มูลนิธิหมอชาวบ้าน (เดชา ศิริภัทร)

คันทรง ช่วยแก้ไข้ บรรเทาอาการปวด ช่วยให้นอนหลับและแก้อาการบวมน้ำ

0
คันทรง ช่วยแก้ไข้ บรรเทาอาการปวด ช่วยให้นอนหลับและแก้อาการบวมน้ำ
คันทรง หรือผักก้านตรงนิยมรับประทานเป็นยา ดอกเป็นช่อกระจุกตามซอกใบ ผลเรียงห้อยลงเป็นแถว ๆ ตามกิ่ง
คันทรง ช่วยแก้ไข้ บรรเทาอาการปวด ช่วยให้นอนหลับและแก้อาการบวมน้ำ
คันทรง หรือผักก้านตรงนิยมรับประทานเป็นยา ดอกเป็นช่อกระจุกตามซอกใบ ผลเรียงห้อยลงเป็นแถว ๆ ตามกิ่ง

คันทรง

คันทรง (Colubrina asiatica) หรือเรียกกันว่า “ผักก้านตรง” เป็นผักที่ไม่ค่อยได้ยินบ่อยแต่มีสรรพคุณมากมายและเป็นต้นที่นิยมนำมารับประทานเป็นยาอย่างกว้างขวาง ไม่ใช่เฉพาะในประเทศไทย ทั้งนี้ถือเป็นต้นที่มีโทษเช่นกัน นอกจากจะเป็นยาแล้วยังสามารถนำมารับประทานหรือเป็นส่วนประกอบของอาหารในเมนูต่าง ๆ ได้อีกด้วย

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของคันทรง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Colubrina asiatica (L.) Brongn.
ชื่อท้องถิ่น : ภาคกลางเรียกว่า “คันซง คันซุง คันชุง คันทรง” ภาคเหนือเรียกว่า “ก้านถึง ก้านเถิ่ง ก้านเถิง ผักก้านเถิง” ภาคใต้เรียกว่า “กะทรง ทรง” ชาวกะเหรี่ยงและแม่ฮ่องสอนเรียกว่า “เพลโพเด๊าะ” จังหวัดสุรินทร์เรียกว่า “ก้านตรง” ลั้วะเรียกว่า “ผักหวานต้น” มีชื่ออื่น ๆ ว่า “ก้านเถง ผักก้านตรง ผักก้านถึง ผักคันทรง”
ชื่อวงศ์ : วงศ์พุทรา (RHAMNACEAE)

ลักษณะของคันทรง

คันทรง เป็นไม้พุ่มขนาดกลางกึ่งไม้เลื้อยที่คาดว่ามีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชีย มักจะพบได้มากทางภาคเหนือตามป่าราบ ป่าดงดิบ ป่าละเมาะ หรือที่รกร้างข้างทางทั่วไป
ลำต้น : ตั้งตรงและแตกกิ่งก้านมากตั้งแต่โคนต้น กิ่งก้านมีขนาดเล็กและกลม มีสีเขียวเข้มเป็นมัน
เปลือกต้น : เป็นสีเทา มีรอยแตกเป็นร่องตื้น ๆ ถี่ ๆ และตามลำต้นจะมีตาที่ทิ้งใบเป็นตุ่มห่าง ๆ
ใบ : เป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับกันเป็นรูปวงรี รูปไข่ รูปไข่กว้างหรือรูปหัวใจ ปลายใบเรียวแหลม โคนใบมนหรือแหลม ขอบใบหยักมนแกมจักเป็นฟันเลื่อยละเอียด แผ่นใบบาง หลังใบเรียบเป็นมันและมีสีเขียวเข้มกว่าท้องใบ ท้องใบเรียบมีขนที่เส้นใบ ผิวใบทั้งสองด้านมันเงา
ดอก : ออกดอกเป็นช่อกระจุกเล็ก ๆ ตามซอกใบและตามกิ่ง ก้านเรียงเป็นแถวช่อเล็ก ๆ ดอกย่อยมีขนาดเล็กและมีสีเหลืองอ่อนปนเขียว มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ลักษณะของดอกเป็นรูปจาน ออกดอกช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนธันวาคม
ผล : เป็นผลเดี่ยวรูปทรงกลมหรือกลมแป้น ที่ขั้วผลมีวงกลีบเลี้ยงสีเขียวติดอยู่ เรียงห้อยลงเป็นแถว ๆ ตามกิ่ง ปลายผลเว้าเข้า แบ่งออกเป็นพู 3 พู ผลอ่อนเป็นสีเขียวแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเมื่อผลแก่ ผิวเรียบเป็นมัน
เมล็ด : ภายในผลมีเมล็ดขนาดเล็กจำนวน 3 เมล็ด เมล็ดมีลักษณะแบนและเป็นสีดำหรือเป็นสีน้ำตาลเทา

สรรพคุณของคันทรง

  • สรรพคุณจากใบ ทำให้เจริญอาหาร มีฤทธิ์ทำให้ง่วงนอน แก้อาการบวมน้ำ แก้น้ำเหลืองเสีย
    – บรรเทาอาการระคายเคืองที่ผิว อาการแพ้ ผื่นคัน โรคผิวหนังอักเสบ ฝี และช่วยรักษาโรคผิวหนังได้บางชนิด ด้วยการนำใบมาต้มแล้วทา
  • สรรพคุณน้ำมันจากเมล็ด แก้อาการปวดศีรษะ เป็นยาแก้ไข้ แก้อาการชา ช่วยบรรเทาอาการปวด แก้อาการปวดตามร่างกาย รักษาโรคข้อรูมาติก
  • สรรพคุณจากราก แก้อาการร้อนในกระหายน้ำ แก้อาการบวมน้ำ แก้น้ำเหลืองเสีย
    – เป็นยาเย็น ช่วยแก้พิษร้อนถอนพิษไข้ โดยนิยมใช้รากคันทรงร่วมกับรากย่านางและรากผักหวานบ้าน เพื่อใช้เป็นยาหลักในตำรับยาแก้ไข้ แก้ไข้พิษ ไข้ออกตุ่มต่าง ๆ
    – แก้ตานขโมยในเด็ก เป็นยาแก้บวม ด้วยการนำรากมาฝนกับน้ำมะพร้าวแล้วรับประทาน
  • สรรพคุณจากผล มีฤทธิ์ทำให้ง่วงนอน
  • สรรพคุณจากต้น
    – บรรเทาอาการของโรคกระเพาะอาหาร ด้วยการนำต้นมาต้มรับประทาน
  • สรรพคุณจากเปลือกต้น แก้อาการบวมน้ำ แก้น้ำเหลืองเสีย
  • สรรพคุณจากเปลือกต้นและใบ
    – แก้อาการบวมทั้งตัวเนื่องจากไตและหัวใจพิการ แก้เม็ดผื่นคันตามตัว แก้อาการเหน็บชา ด้วยการนำเปลือกต้นและใบใช้ต้มอาบ

ประโยชน์ของคันทรง

1. เป็นส่วนประกอบของอาหาร ใบอ่อนและยอดอ่อนนำมานึ่งหรือต้มใช้รับประทานเป็นผักจิ้มร่วมกับน้ำพริก เป็นผักรองห่อหมก นำมาผัดกับน้ำมันและยังนำมาใส่ในแกงแคร่วมกับผักอื่น ๆ
2. ใช้ในอุตสาหกรรม เป็นยาเบื่อปลา ชาวฮาวายจะใช้ใบแทนสบู่

ข้อควรระวังของคันทรง

1. ใบและผลมีสารซาโปนินซึ่งมีฤทธิ์ทำให้ง่วงนอน บริโภคมากเกินไปอาจทำให้เกิดอันตรายได้
2. ผลทำให้แท้งบุตร สำหรับสตรีมีครรภ์ไม่ควรรับประทานทั้งผลและใบ

คันทรง เป็นผักที่มีทั้งประโยชน์และโทษหากรับประทานมากจนเกินควร ถือเป็นยาสมุนไพรที่ช่วยแก้อาการได้หลากหลาย มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ แก้ไข้ แก้อาการปวด ช่วยให้นอนหลับและแก้อาการบวมน้ำ เป็นต้นที่ไม่มีลักษณะโดดเด่นเมื่อเห็นแต่มีสรรพคุณมากมายที่ไม่ควรมองข้าม

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. “คันทรง (Khan Song)”. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). หน้า 78.
หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. “คัดเค้า”. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). หน้า 179.
อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. “คันทรง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.pharmacy.mahidol.ac.th/siri/. [17 ก.พ. 2014].
หนังสือผักพื้นบ้านภาคเหนือ. “ผักคันทรง”. (สถาบันการแพทย์แผนไทย กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข, 2542)
โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง, สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์การมหาชน). “คันทรง, ก้านเถง, ผักก้านถึง”. อ้างอิงใน: หนังสือชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: eherb.hrdi.or.th. [17 ก.พ. 2014].
ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “คันทรง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.phargarden.com. [17 ก.พ. 2014].
วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุราษฎร์ธานี. “ผักก้านตรง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: rspg.svc.ac.th. [17 ก.พ. 2014].

คัดเค้า สรรพคุณที่ยอดเยี่ยมต่อระบบเลือด เหมาะสำหรับสตรีมีประจำเดือน

0
คัดเค้า สรรพคุณที่ยอดเยี่ยมต่อระบบเลือด เหมาะสำหรับสตรีมีประจำเดือน
คัดเค้า มีลักษณะเด่นอยู่ที่มีหนามแหลมคล้ายกับเขาควายข้อละหนึ่งคู่ มีดอกขนาดเล็กสีขาวและมีกลิ่นหอม
คัดเค้า สรรพคุณที่ยอดเยี่ยมต่อระบบเลือด เหมาะสำหรับสตรีมีประจำเดือน
คัดเค้า มีลักษณะเด่นอยู่ที่มีหนามแหลมคล้ายกับเขาควายข้อละหนึ่งคู่ มีดอกขนาดเล็กสีขาวและมีกลิ่นหอม

คัดเค้า

คัดเค้า (Siamese randia) มีลักษณะเด่นอยู่ที่มีหนามแหลมคล้ายกับเขาควายข้อละหนึ่งคู่ มีดอกขนาดเล็กสีขาวและมีกลิ่นหอม เหมาะสำหรับปลูกประดับหรือกันสัตว์เข้ามาในบริเวณบ้าน สามารถนำมารับประทานได้และเป็นยาสมุนไพรที่มีสรรพคุณจากทุกสัดส่วนของต้นแม้กระทั่งหนามที่แหลมคม

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของคัดเค้า

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Oxyceros horridus Lour.
ชื่อสามัญ : มีชื่อสามัญว่า “Siamese randia”
ชื่อท้องถิ่น : ภาคกลางเรียกว่า “คัดเค้า คัดค้าว” ภาคเหนือเรียกว่า “เค็ดเค้า” ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือเรียกว่า “คัดเค้า คันเค่า” ภาคใต้และภาคตะวันตกเฉียงใต้เรียกว่า “เขี้ยวกระจับ” จังหวัดเชียงใหม่เรียกว่า “จีเก๊า จีเค้า โยทะกา หนามลิดเค้” จังหวัดกาญจนบุรีเรียกว่า “จีเค๊า พญาเท้าเอว” จังหวัดชัยภูมิเรียกว่า “คัดเค้าหนาม” จังหวัดนครราชสีมาเรียกว่า “คัดเค้าเครือ” มีชื่ออื่น ๆ เรียกว่า “จี้เค้า หนามเล็บแมว”
ชื่อวงศ์ : วงศ์เข็ม (RUBIACEAE)
ชื่อพ้อง : Randia siamensis (Miq.) Craib

ลักษณะของต้นคัดเค้า

คัดเค้า เป็นพรรณไม้เถาเนื้อเหนียวแข็งหรือไม้พุ่มรอเลื้อยที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทยและในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มักจะพบในป่าเบญจพรรณตามภาคต่าง ๆ ตามสวน ตามที่รกร้างว่างเปล่า หรือมักปลูกกันไว้ตามบ้านหรือตามวัดเพื่อใช้ทำเป็นยา
เปลือกลำต้น : ผิวเรียบและเป็นสีน้ำตาล
ลำต้น : ลำต้นคดและยาว มักจะขึ้นพาดพันเลื้อยไปตามต้นไม้และกิ่งไม้ หากไม่มีที่เลื้อยพันก็จะเป็นไม้กึ่งเลื้อยกึ่งยืนต้นคล้ายกับนมแมว ตามลำต้นมีข้อ ซึ่งจะมีใบงอกออกเป็นคู่ ๆ และจะมีหนามแหลมโค้งงองุ้มออกจากโคนใบมีลักษณะคล้ายกับเขาควายข้อละหนึ่งคู่
ใบ : เป็นใบเดี่ยวออกตรงข้ามกันเป็นรูปวงรี ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ขอบใบเรียบ หลังใบเรียบเป็นสีเขียวเข้มและเป็นมัน ท้องใบเรียบลื่นและมีสีอ่อนกว่า เนื้อใบเหนียว หนาและแข็ง มีหูใบขนาดเล็กเป็นรูปสามเหลี่ยมอยู่ระหว่างก้านใบ
ดอก : ออกดอกเป็นช่อกระจุกตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ดอกเป็นช่อใหญ่ ดอกย่อยมีขนาดเล็กสีขาวและมีกลิ่นหอม ลักษณะคล้ายดอกเข็ม มีกลีบดอก 5 กลีบ เมื่อดอกบานเต็มที่กลีบดอกจะบิด กลีบเลี้ยงเป็นสีขาวอมสีเขียว ดอกจะบานพร้อมกันทั้งช่อ เมื่อดอกเริ่มบานจะเป็นสีขาวนวลแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองนวลในวันต่อมา ดอกจะส่งกลิ่นหอมแรงมากในช่วงเย็นถึงช่วงกลางคืน มักจะออกดอกในช่วงปลายฤดูฝนจนถึงช่วงฤดูหนาว
ผล : ออกผลเป็นพวงหรือออกเป็นกลุ่ม ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลมหรือกลมวงรี ผิวเรียบและเป็นมัน ผลมีขนาดเท่าเมล็ดพุทรากลม ๆ ปลายผลแหลม ผลเป็นสีเขียวเข้ม เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีดำ
เมล็ด : ภายในผลมีเมล็ดขนาดเล็กอัดแน่นกันเป็นจำนวนมาก เมล็ดมีขนาดเท่าหัวไม้ขีดไฟ

สรรพคุณของคัดเค้า

  • สรรพคุณจากคัดเค้า แก้อาการไอ
  • สรรพคุณจากผล บำรุงโลหิต บำรุงผิวพรรณ
    – เป็นยาฟอกโลหิต ด้วยการนำมาต้มแล้วรับประทาน
    – เป็นยาขับระดูหรือขับโลหิตประจำเดือนเสียของสตรี ด้วยการใช้ผลประมาณ 1 กำมือ มาต้มกับน้ำ 1 ถ้วยแก้ว ใช้รับประทานวันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น
  • สรรพคุณจากเถา แก้โลหิต
  • สรรพคุณจากทั้งต้น แก้โลหิต แก้เสมหะ
    – รักษาฝีทั้งภายนอกและภายใน ด้วยการนำทั้งห้าส่วนมาต้มเป็นยารับประทาน
  • สรรพคุณจากราก เป็นยาขับโลหิต เป็นยารักษาไข้เพื่อโลหิต เป็นยารักษาโรครัตตะปิดตะโรค ช่วยขับลม เป็นยาขับระดูหรือขับโลหิตประจำเดือนเสียของสตรี
    – เป็นยาแก้ไข้ รักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน แก้อาการท้องเสีย ด้วยการนำรากมาฝนกับน้ำแล้วดื่ม
    – รักษาฝีและรักษาแผลทั่วไป โดยเฉพาะแผลสุนัขกัด ด้วยการนำรากมาฝนกับน้ำซาวข้าว
  • สรรพคุณจากใบ แก้โลหิตซ่าน
    – – เป็นยาแก้ไข้ ด้วยการนำใบมาแช่กับน้ำแล้วดื่ม
  • สรรพคุณจากดอก แก้โลหิตในกองกำเดา
  • สรรพคุณจากเปลือกต้น ช่วยปิดธาตุ แก้เลือดออกตามทวารทั้งเก้า ช่วยรีดมดลูก
  • สรรพคุณจากหนาม แก้พิษไข้กาฬ เป็นยาลดไข้ ช่วยลดความร้อนในร่างกาย แก้พิษฝีต่าง ๆ แก้ฝีประคำร้อย
  • สรรพคุณจากยอด
    – รักษาฝี ด้วยการนำยอดมาขยี้หรือตำแล้วพอก

ประโยชน์ของคัดเค้า

1. เป็นส่วนประกอบของอาหาร ยอดอ่อนสามารถนำมาใช้ปรุงเป็นอาหารหรือใช้รับประทานแกล้มกับลาบ ผลอ่อนหรือผลแก่นำมาลวกให้สุกใช้รับประทานเป็นผักเหนาะหรือผักสดร่วมกับน้ำพริกได้
2. ปลูกเป็นไม้ประดับ ปลูกเป็นไม้เลื้อยตามซุ้มหรือตามรั้วเพื่อทำเป็นรั้วป้องกัน ปลูกเป็นไม้ประดับในบ้าน
3. ใช้ในอุตสาหกรรม มีสารจำพวกไตรเทอร์ปีนซาโปนินที่มีฤทธิ์เป็นยาเบื่อปลา

คัดเค้า เป็นไม้พุ่มที่สามารถนำส่วนต่าง ๆ ของต้นมาทำเป็นยาได้ โดยส่วนรากมีรสฝาดเย็น ใบมีรสเฝื่อนเมา ผลมีรสเฝื่อนปร่า ทั้งต้นมีรสฝาดเฝื่อน ซึ่งสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ เป็นต้นที่มีเอกลักษณ์ในส่วนของหนามแหลมคมและยังนำมาทำเป็นยาได้ด้วย มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ บำรุงโลหิต รักษาฝีและแก้ไข้ ส่วนมากจะช่วยในเรื่องระบบเลือดตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. “คัดเค้า”. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). หน้า 177.
หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. “คัดเค้า (Khut Khao)”. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). หน้า 77.
หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคเหนือ. “”คัดเค้าเครือ””. (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ). หน้า 99.
สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “คัดเค้า (คัดเค้าเครือ)”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.rspg.or.th. [16 ก.พ. 2014].
ฝ่ายปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. “คัดเค้า”. (นพพล เกตุประสาท, ไพร มัทธวรัตน์). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: clgc.rdi.ku.ac.th. [16 ก.พ. 2014].
มูลนิธิหมอชาวบ้าน. นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่ 319 คอลัมน์: ต้นไม้ใบหญ้า. “คัดเค้า ความหอมอย่างไทย จากป่าไทย”. (เดชา ศิริภัทร). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.doctor.or.th. [16 ก.พ. 2014].
สมุนไพรไทย, มหาวิทยาลัยนเรศวร. “สมุนไพรไทยคัดเค้าเครือ”. (วชิราภรณ์ ทัพผา). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: student.nu.ac.th/46313433/Thaiherb/. [16 ก.พ. 2014].
ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “คัดเค้า”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.phargarden.com. [16 ก.พ. 2014].
ศูนย์รวมข้อมูลสิ่งมีชีวิตในประเทศไทย, สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน). “คัดเค้า”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.thaibiodiversity.org. [16 ก.พ. 2014].
ผักพื้นบ้านในประเทศไทย กรมส่งเสริมการเกษตร. “คัดเค้าเครือ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: ftp://smc.ssk.ac.th/intranet/Research_AntioxidativeThaiVegetable/. [16 ก.พ. 2014].
OK Nation Blog. “คัดเค้า ไม้หอม ยาไทยใกล้ตัว”. (ชบาตานี). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.oknation.net. [16 ก.พ. 2014].

กล้วยนวล หรือกล้วยหัวโต กล้วยหายากแต่มีรสชาติหอมหวาน

0
กล้วยนวล หรือกล้วยหัวโต กล้วยหายากแต่มีรสชาติหอมหวาน
กล้วยนวล กล้วยอบิสซิเนีย เป็นกล้วยที่ค่อนข้างหายากและมีรสหอมหวาน ชาวเมี่ยนนิยมนำมาประกอบของอาหาร
กล้วยนวล หรือกล้วยหัวโต กล้วยหายากแต่มีรสชาติหอมหวาน
กล้วยนวล กล้วยอบิสซิเนีย เป็นกล้วยที่ค่อนข้างหายากและมีรสหอมหวาน ชาวเมี่ยนนิยมนำมาประกอบของอาหาร

กล้วยนวล

กล้วยนวล (Ensets) หรือเรียกกันว่า “กล้วยหัวโต” เป็นกลุ่มของกล้วยอบิสซิเนียที่ไม่เป็นที่รู้จักมากนัก เป็นกล้วยที่ค่อนข้างหายากและมีรสหอมหวาน มีผลและดอกที่โดดเด่นอยู่บนต้น กล้วยนวลนั้นนิยมนำมาเป็นส่วนประกอบของอาหารโดยเฉพาะชาวเมี่ยน และยังนำมาเป็นไม้ประดับสวนได้อีกด้วย

 

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของกล้วยนวล

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ensete glaucum (Roxb.) Cheesman
ชื่อสามัญ : มีชื่อสามัญว่า “Elephant banana” “Ensets”
ชื่อท้องถิ่น : จังหวัดกรุงเทพมหานครเรียกว่า “กล้วยหัวโต” จังหวัดเชียงใหม่เรียกว่า “กล้วยศาสนา” จังหวัดน่านเรียกว่า “กล้วยโทน” ชาวเมี่ยนเรียกว่า “กล้วยญวน แอพแพละ นอมจื่อต๋าง”
ชื่อวงศ์ : วงศ์กล้วย (MUSACEAE)
ชื่อพ้อง : Musa glauca Roxb.

ลักษณะของกล้วยนวล

กล้วยนวล เป็นไม้ล้มลุกที่มีเขตการกระจายพันธุ์ตั้งแต่ประเทศอินเดีย เนปาล พม่า จีนตอนใต้ และในภูมิภาคมาเลเซียรวมไปถึงนิวกินีและฟิลิปปินส์ ในประเทศไทยพบได้ทั่วทุกภาค
ลำต้น : ลำต้นเดี่ยว ไม่มีไหล น้ำยางเป็นสีเหลืองอมส้ม เป็นไม้ล้มลุกที่มีกาบใบกลายเป็นลำต้นเทียม ลำต้นเทียมมีจุดสีดำม่วงกระจาย ลักษณะเป็นรูปทรงกระบอก โคนต้นกว้างอวบใหญ่ ส่วนกาบลำต้นเป็นสีเขียวและมีนวลหนาสีขาว ไม่มีหน่อที่โคนต้น
ใบ : เป็นใบเดี่ยวรูปวงรียาวขอบขนาน ปลายใบยาวคล้ายหาง ส่วนโคนใบมีลักษณะเป็นรูปลิ่ม แผ่นใบเกลี้ยงเป็นสีเขียวเข้ม ท้องใบมีนวลหนา ก้านใบยาวเป็นสีเขียวนวลและมีร่องเปิดที่เส้นกลางใบ มีก้านใบสั้น
ดอก : ออกดอกเป็นช่อขนาดใหญ่คล้ายระฆังห้อยดิ่งลง ปลีมีใบประดับขนาดใหญ่สีเขียวเรียงสลับและชิดติดกันตั้งแต่โคนจนถึงปลาย ช่อดอกหรือปลีมีลักษณะเป็นรูปกรวย มีใบประดับเรียงซ้อนเหลื่อมกัน มีนวลติดทนอยู่ด้านใน กลีบรวมเชื่อมติดกัน
ผล : ผลอยู่รวมกันเป็นหวีภายในปลี เป็นผลเดี่ยวรูปวงรีสั้น ๆ และมีสันตามยาว ภายในผลมีเนื้อเยื่อบาง ๆ
เมล็ด : เมล็ดมีสีดำขนาดใหญ่ ผิวเรียบและแข็งมาก

สรรพคุณของกล้วยนวล

  • สรรพคุณจากรากเหง้า เป็นยาแก้ถ่ายท้อง
  • สรรพคุณจากน้ำใสที่อยู่ในโพรงหัว รักษาผมร่วง

ประโยชน์ของกล้วยนวล

1. เป็นส่วนประกอบของอาหาร ผลอ่อนนำมาใช้ทำส้มตำกล้วย รับประทานสดหรือจะใช้ผลดิบเป็นเครื่องเคียง ยอดอ่อนนำมาใช้ทำแกงหยวกกล้วยใส่ไก่ ชาวเมี่ยนนิยมนำปลีกล้วยไปทำแกง
2. ใช้ในการเกษตร กาบกล้วยใช้เป็นอาหารสุกร
3. เป็นไม้ปลูกประดับ
4. ประยุกต์ใช้ ใบนำมาใช้รองผักหญ้าหรือรองข้าวเหนียวตอนอุ่นในลังถึง กาบใบนำมาทำเชือกสำหรับรัดสิ่งของหรือใช้สับทำปุ๋ยใส่โคนต้นไม้อื่น

กล้วยนวล เป็นไม้ล้มลุกที่หาได้ยากแต่มีรสชาติหวานอร่อย สามารถนำมาประกอบอาหารได้หลากหลาย ชาวเมี่ยนนิยมนำไปทำแกง นอกจากนั้นยังเป็นไม้ประดับสวนและใช้เป็นเชือกได้ มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ เป็นยาแก้ถ่ายท้องและรักษาผมร่วงได้

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคกลาง. “กล้วยนวล”. (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ, รศ.ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, กัญจนา ดีวิเศษ). หน้า 65.
โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง, สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์การมหาชน). “กล้วยหัวโต, กล้วยนวล”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: eherb.hrdi.or.th. [02 ก.พ. 2014].
ผักพื้นบ้านในประเทศไทย กรมส่งเสริมการเกษตร. “กล้วยนวล”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: ftp://smc.ssk.ac.th/intranet/Research_AntioxidativeThaiVegetable/. [02 ก.พ. 2014].
สำนักงานหอพรรณไม้, สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช, กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. (29 พฤศจิกายน 2547). “กล้วยนวล”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.dnp.go.th/botany/. [02 ก.พ. 2014].
ห้องสมุดความรู้การเกษตร, กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. “กล้วยนวล”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.doae.go.th/library/html/index_netscape.html. [02 ก.พ. 2014].

ย่านางแดง เป็นสมุนไพรล้างพิษ แก้ไข้และเป็นยาอายุวัฒนะ

0
ย่านางแดง เป็นสมุนไพรล้างพิษ แก้ไข้และเป็นยาอายุวัฒนะ
ย่านางแดง เป็นสมุนไพรฤทธิ์เย็น ไม้เถาเลื้อยมีดอกสีแดงสด ฝักแบนขอบขนาน ปลายฝักแหลม โคนรูปหอก เปลือกฝักแข็ง
ย่านางแดง เป็นสมุนไพรล้างพิษ แก้ไข้และเป็นยาอายุวัฒนะ
ย่านางแดง เป็นสมุนไพรฤทธิ์เย็น ไม้เถาเลื้อยมีดอกสีแดงสด ฝักแบนขอบขนาน ปลายฝักแหลม โคนรูปหอก เปลือกฝักแข็ง

ย่านางแดง

ย่านางแดง หรือเรียกกันว่า “เครือขยัน” มีดอกสีแดงสดชวนให้สะดุดตาอยู่บนต้น เป็นสมุนไพรฤทธิ์เย็นที่ขึ้นชื่อในเรื่องของยาอายุวัฒนะและแก้กรดไหลย้อน ในปัจจุบันพบย่านางแดงได้ในรูปแบบของชาทีมินและสมุนไพรอภัยภูเบศร เป็นต้นที่หาได้ง่ายและเป็นที่รู้จักกันดีในแวดวงยาสมุนไพร

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของย่านางแดง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bauhinia strychnifolia Craib.
ชื่อท้องถิ่น : ภาคเหนือเรียกว่า “เครือขยัน” ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเรียกว่า “หญ้านางแดง” จังหวัดตากและลำปางเรียกว่า “สยาน” มีชื่ออื่น ๆ เรียกว่า “ขยัน เถาขยัน”
ชื่อวงศ์ : วงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE)

ลักษณะของย่านางแดง

ย่านางแดง เป็นไม้เถาเลื้อยที่มักจะพบตามป่าเบญจพรรณที่แห้งแล้ง ป่าเต็งรัง ป่าแดง ป่าดิบเขาและตามที่โล่งแจ้ง
เถา : เปลือกเถาเรียบ เถามีขนาดกลางและแบน มีร่องตรงกลาง เปลือกเถาเป็นสีเทาน้ำตาล เถาแก่มีลักษณะกลมและเป็นสีน้ำตาลแดง มีมือสำหรับการยึดเกาะออกเป็นคู่ ๆ ปลายม้วนงอ
ราก : มีผิวขรุขระสีน้ำตาลเข้มไปจนถึงสีดำ มีรอยบากตามขวางเล็ก ๆ ทั่วไป ลักษณะของเนื้อไม้ภายในรากเป็นสีน้ำตาลแดง
ใบ : มีใบดกและหนาทึบ เป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับกันเป็นรูปวงรีแกมรูปขอบขนาน หรือรูปไข่แกมขอบขนาน ปลายใบแหลม โคนใบมนเว้าตื้น ๆ หรือมีลักษณะกลมไปจนถึงรูปหัวใจตื้น ขอบใบเรียบ ผิวใบมันเป็นสีเขียวเข้ม ท้องใบและหลังใบเรียบ
ดอก : ออกดอกเป็นช่อกระจะตามปลายกิ่ง เป็นรูปทรงกระบอกแคบและโค้งเล็กน้อย ปลายบานและห้อยลง ช่อดอกมีดอกย่อยจำนวนมาก กลีบดอกเป็นสีแดงสด 5 กลีบ ลักษณะเป็นรูปไข่กลับ มีขนสีขาวขึ้นปกคลุม ปลายกลีบดอกมีลักษณะมนแหลม ฐานรองดอกมีลักษณะเป็นรูประฆัง กลีบเลี้ยงเป็นสีแดง 5 กลีบ ปลายแยกเป็นแฉก 5 แฉกรูปถ้วย มีขนสั้นขึ้นปกคลุม มีสีชมพูอ่อนหรือสีแดง มักจะออกดอกในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนสิงหาคม
ผล : ออกผลเป็นฝักแบนรูปขอบขนาน ปลายฝักแหลม โคนฝักเป็นรูปหอก เปลือกฝักแข็ง เมื่อแก่จะแตกอ้า
เมล็ด : ภายในฝักมีเมล็ดอยู่ประมาณ 8 – 9 เมล็ด ลักษณะของเมล็ดเป็นรูปขอบขนาน

สรรพคุณของย่านางแดง

  • สรรพคุณจากเถา บำรุงธาตุในร่างกาย บำรุงหัวใจและแก้โรคหัวใจบวม ดับพิษร้อนภายในร่างกาย เป็นยาแก้ไข้พิษ แก้ไข้หมากไม้ ไข้กาฬ ไข้หัว ไข้สุกใส ไข้เซื่องซึม ไข้ป่าเรื้อรัง ไข้ทับระดูและไข้กลับไข้ซ้ำ ขับพิษโลหิตและน้ำเหลือง
    – แก้อาการท้องผูก ด้วยการนำเถามาฝนกับน้ำหรือน้ำซาวข้าว หรือนำมาต้มกับน้ำแล้วดื่ม
    – ล้างสารพิษหรือสารตกค้างจากยาฆ่าแมลงในร่างกาย หรือเกิดอาการแพ้ต่าง ๆ ด้วยการใช้เถามาต้มแล้วดื่มเป็นประจำ
    – ล้างสารพิษจากยาเสพติด ด้วยการนำเถามาฝนให้ผู้ป่วยที่กำลังเลิกยาเสพติดดื่ม
  • สรรพคุณจากราก ขับพิษโลหิตและน้ำเหลือง เป็นยาบำรุงโลหิตสำหรับสตรีหลังการคลอดบุตร
    – แก้อาการท้องผูก เป็นยาแก้ไข้ ใช้กระทุ้งพิษไข้ ถอนพิษไข้และแก้ไข้ทั้งปวง ด้วยการนำรากมาฝนกับน้ำหรือน้ำซาวข้าว หรือนำมาต้มกับน้ำแล้วดื่ม
    – ล้างสารพิษจากยาเสพติด ด้วยการนำรากมาฝนให้ผู้ป่วยที่กำลังเลิกยาเสพติดดื่ม
  • สรรพคุณจากใบ ขับพิษโลหิตและน้ำเหลือง
    – แก้อาการท้องผูก ด้วยการนำใบมาฝนกับน้ำหรือน้ำซาวข้าว หรือนำมาต้มกับน้ำแล้วดื่ม
    – ล้างสารพิษหรือสารตกค้างจากยาฆ่าแมลงในร่างกาย หรือเกิดอาการแพ้ต่าง ๆ ด้วยการใช้ใบมาต้มแล้วดื่มเป็นประจำ
  • สรรพคุณจากเหง้า
    – เป็นยาแก้พิษทั้งปวง แก้พิษเบื่อเมา พิษเบื่อเมาของเห็ด ถอนพิษยาเมา แก้เมาสุรา แก้ยาเบื่อ ยาสั่ง ถอนพิษผิดสำแดง ด้วยการนำเหง้ามาฝนกับน้ำหรือน้ำซาวข้าว หรือนำมาต้มกับน้ำแล้วดื่ม
  • สรรพคุณจากลำต้น เป็นยาบำรุงโลหิตสำหรับสตรีหลังการคลอดบุตร
  • สรรพคุณจากใบย่านางแดงแคปซูล เป็นยาฆ่าเชื้อรา

ประโยชน์ของย่านางแดง

1. เป็นส่วนประกอบของอาหาร ยอดอ่อน ใบอ่อน ใช้รับประทานเป็นผักสดร่วมกับน้ำพริกและลาบ
2. ปลูกเป็นไม้ประดับ

ย่านางแดง เป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณเหมือนกับย่านางเขียวหรือย่านางขาวทุกประการ แต่จะมีฤทธิ์ที่แรงกว่าและดีกว่าเนื่องจากย่านางแดงมีสีเข้มกว่า มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ แก้ไข้ต่าง ๆ ดับพิษร้อนในร่างกาย ล้างสารพิษในร่างกาย เป็นยาอายุวัฒนะและแก้กรดไหลย้อน เป็นยาที่ช่วยดีท็อกซ์หรือทำความสะอาดภายในร่างกายได้เป็นอย่างดี

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. “ขยัน (Khayan)”. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). หน้า 58.
ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “ย่านางแดง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.phargarden.com. [10 ก.พ. 2014].
ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “ย่านางแดง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.thaicrudedrug.com. [10 ก.พ. 2014].
สถาบันวิจัยการแพทย์แผนไทย. “ย่านางแดง”. [ ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: tmri.dtam.moph.go.th. [10 ก.พ. 2014].
ผักพื้นบ้านในประเทศไทย, กรมส่งเสริมการเกษตร, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง. “ย่านางแดง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: area-based.lpru.ac.th/veg/. [10 ก.พ. 2014].
ไทยโพสต์. “เถาขยัน แก้ไข้ ล้างพิษ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.thaipost.net. [10 ก.พ. 2014].
Pendulum. “ใบย่านางแดง ฆ่าเชื้อรา และ ยากษัยเส้น ล้างกรดยูริค”. (lee). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.pendulumthai.comt. [10 ก.พ. 2014].

ปีบทอง เป็นไม้มงคลดอกงามและตัวช่วยเลิกเหล้าเลิกบุหรี่ของหมอพื้นบ้าน

0
ปีบทอง เป็นไม้มงคลดอกงามและตัวช่วยเลิกเหล้าเลิกบุหรี่ของหมอพื้นบ้าน
ปีบทอง หรือกาสะลอง เป็นไม้ยืนต้น มีดอกสีเหลืองหรือส้ม คล้ายกับระฆัง กลีบดอกยาวและเชื่อมติดกัน
ปีบทอง เป็นไม้มงคลดอกงามและตัวช่วยเลิกเหล้าเลิกบุหรี่ของหมอพื้นบ้าน
ปีบทอง หรือกาสะลอง เป็นไม้ยืนต้น มีดอกสีเหลืองหรือส้ม คล้ายกับระฆัง กลีบดอกยาวและเชื่อมติดกัน

ปีบทอง

ปีบทอง (Tree jasmine) หรือเรียกกันว่า “กาสะลอง” เป็นไม้ยืนต้นที่พบได้ทั่วไป มีดอกสีเหลืองหรือส้มที่มองไกล ๆ แล้วต้องสะดุดตา ส่วนมากมักจะได้ยินคำว่ากาสะลองมากกว่าปีบทอง เป็นต้นไม้ประจำจังหวัดเชียงรายและยังถูกคัดเลือกให้เป็นพรรณไม้ประจำมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีและมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย อีกทั้งยังเป็นพืชที่ใช้ปลูกประดับสถานที่และยังมีสรรพคุณทางยาที่ต่อร่างกาย

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของปีบทอง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Mayodendron igneum (Kurz) Kurz
ชื่อสามัญ : มีชื่อสามัญว่า “Tree jasmine”
ชื่อท้องถิ่น : ภาคกลางเรียกว่า “ปีบทอง” ภาคเหนือเรียกว่า “สะเภา สำเภา หลามต้น อ้อยช้าง” จังหวัดเชียงใหม่เรียกว่า “จางจืด” จังหวัดเชียงรายเรียกว่า “กาซะลองคำ กาสะลองคำ แคชาญชัย” จังหวัดลำปางเรียกว่า “แคะเป๊าะ สำเภาหลามต้น” จังหวัดสุราษฎร์ธานีเรียกว่า “กากี” ม้งเรียกว่า “ปั้งอ๊ะมี” เมี่ยนเรียกว่า “เดี้ยงด่งเบี้ยง” คนทั่วไปเรียกว่า “กาสะลองคำ”
ชื่อภาษาจีน : huo shao hua
ชื่อวงศ์ : วงศ์แคหางค่าง (BIGNONIACEAE)
ชื่อพ้อง : Radermachera ignea (Kurz) Steenis

ลักษณะของปีบทอง

ปีบทอง เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลางที่มีเขตการกระจายพันธุ์กว้างตั้งแต่ในประเทศจีนตอนใต้ พม่า ลาว และเวียดนาม ในประเทศไทยพบได้ตั้งแต่ทางภาคใต้ในแถบจังหวัดสุราษฎร์ธานี เพชรบุรี อุทัยธานี ขึ้นไปถึงทางภาคเหนือของประเทศ
ลำต้น : มีลักษณะเป็นเปลาตรง ตามกิ่งก้านและตามลำต้นจะมีรูระบายอากาศกระจายอยู่ทั่ว ต้นมีเรือนยอดเป็นรูปใบหอกหรือไข่ ทรงพุ่มแน่นทึบ กิ่งก้านแผ่ออกเป็นชั้น ๆ
เปลือกต้น : เป็นสีน้ำตาลอ่อน แตกเป็นลายประสานกันคล้ายตาข่าย เปลือกต้นขรุขระเป็นเม็ดเล็ก ๆ กระจายอยู่ทั่วไป
ใบ : เป็นใบประกอบแบบขนนกสามชั้นเรียงตรงข้ามกัน ใบเป็นรูปไข่แกมรูปหอก รูปขอบขนานแกมใบหอกหรือรูปวงรีแกมใบหอก ปลายใบแหลมแต่บางครั้งก็ยาวคล้ายหางหรือเป็นติ่งแหลม โคนใบแหลมสอบ ขอบใบเรียบบิดเป็นคลื่นเล็กน้อยและมักจะมีต่อมอยู่ที่โคนด้านหลังของใบ แผ่นใบมีลักษณะเป็นมัน ท้องใบมีต่อมเล็ก ๆ อยู่ประปรายทั่วไป
ดอก : เป็นทรงกระบอกที่มีด้านหนึ่งเปิดออกคล้ายกับระฆัง กลีบดอกยาวและเชื่อมติดกัน มีสีส้มผสมเหลืองเล็กน้อย ก้านดอกสั้นและมีขนอ่อนปกคลุม ดอกจะออกรวมกันเป็นช่อเล็กและกระจายตัวอยู่ตลอดแนวของกิ่งก้านและลำต้น
ผล : มีผลเป็นฝักแห้งเรียวยาวคล้ายดาบ ผลอ่อนฝักจะเหยียดตรงแต่เมื่อแก่จะเริ่มบิดเป็นเกลียวแล้วแตกออก
เมล็ด : เมล็ดด้านในผลนั้นแห้งและบางจนสามารถปลิวไปตามลม

สรรพคุณของปีบทอง

  • สรรพคุณจากปีบทอง สกัดด้วยแอลกอฮอล์จะมีฤทธิ์ในการยับยั้งเอนไซม์ HIV-1 reverse transcriptase
  • สรรพคุณจากลำต้น แก้ซางในเด็กที่มักจะมีเม็ดขึ้นในปากและลำคอ แก้ลิ้นเป็นฝ้า แก้อาการตัวร้อน แก้อาเจียน เป็นยาแก้ท้องขึ้นและท้องเดิน
    – แก้โรคซาง ด้วยการใช้ผสมกับสมุนไพรชนิดอื่นมาฝนกับน้ำแล้วดื่ม
  • สรรพคุณจากเปลือกต้น รักษาอาการปวดฟัน เป็นยาใส่แผล รักษาโรคผิวหนังและโรคเรื้อน
    – เป็นยาลดไข้ เป็นยาแก้ท้องเสีย ด้วยการนำเปลือกต้นมาต้มกับน้ำแล้วดื่ม
    – แก้อาการเมายา ด้วยการนำเปลือกต้นมาต้มกับน้ำแล้วอม
  • สรรพคุณจากใบ
    – รักษาแผลสด แผลถลอกและช่วยห้ามเลือด ด้วยการนำใบมาคั้นแล้วนำน้ำมาทาหรือพอกแก้อาการ

ประโยชน์ของปีบทอง

1. เป็นส่วนประกอบของอาหาร ดอกนำมารับประทานโดยการทอดหรือใช้ลวกเป็นผักจิ้มกับน้ำพริก
2. ใช้ในอุตสาหกรรม ดอกสามารถนำมาใช้ทำสีย้อมผ้าได้
3. ปลูกเป็นไม้ประดับ นิยมนำใช้ปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไปตามที่สาธารณะ
4. เป็นความเชื่อและเป็นไม้มงคล มีความเชื่อว่า “ช่วยให้ผู้อยู่อาศัยได้รับชื่อเสียงในทางที่ดี มีเกียรติจากหน้าที่การงาน และยังส่งเสริมให้เก็บเงินเก็บทอง” สื่อถึง “ความแข็งแกร่ง ความก้าวหน้าและความร่มรื่น ช่วยให้เกิดความปรองดองในครอบครัวได้ดี”

ปีบทอง เป็นไม้มงคลที่สวยงามและมีสรรพคุณที่ดีต่อร่างกาย มีชื่อเสียงในเรื่องของการเป็นตัวช่วยเลิกเหล้าและบุหรี่ ปีบทองอยู่ในสูตรตำรับยาพื้นบ้านของทางภาคเหนือที่ถูกใช้กันมาแต่โบราณ เป็นการบรรเทาอาการเมาเหล้าและสารเสพติดบางชนิดได้อย่างน่าทึ่ง แม้ว่าจะไม่มีการรองรับจากทางแพทย์แต่เป็นสมุนไพรพื้นบ้านของชาวชนบทมานาน

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา. “กาซะลองคำ”. (คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). หน้า 181.
อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. “กาสะลองคำ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.pharmacy.mahidol.ac.th/siri/. [04 ก.พ. 2014].
สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช, กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. “กาซะลองคำ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.dnp.go.th/botany/. [04 ก.พ. 2014].
หนังสือพิมพ์มติชนบทเทคโนโลยีชาวบ้าน ฉบับที่ 543, วันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2556. “กาซะลองคำ พันธุ์ไม้พระราชทาน เพื่อปลูกเป็นมงคล จังหวัดเชียงราย”. (ผศ. วรรณา กัลยาณะวงศ์ ณ อยุธยา).
ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. “Radermachera ignea (Kurz) Steenis”. อ้างอิงใน: หนังสือไม้ดอกไม้ประดับ หน้า 61, หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา หน้า 181. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.qsbg.org. [04 ก.พ. 2014].
โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง, สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์การมหาชน). “กาสะลองคํา”. อ้างอิงใน: หนังสือชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: eherb.hrdi.or.th. [04 ก.พ. 2014].
ศูนย์รวมข้อมูลสิ่งมีชีวิตในประเทศไทย, สำนักงานเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน). “Radermachera ignea (Kurz) Steenis”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.thaibiodiversity.org. [04 ก.พ. 2014].
ระบบจัดการฐานความรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ, สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้ กรมป่าไม้. “กาสะลอง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: biodiversity.forest.go.th. [04 ก.พ. 2014].