ปอทะเล ไม้ยืนต้นแถบป่าชายเลน ช่วยแก้ไข้ แก้หูอักเสบ แก้หลอดลมอักเสบ

0
ปอทะเล ไม้ยืนต้นแถบป่าชายเลน ช่วยแก้ไข้ แก้หูอักเสบ แก้หลอดลมอักเสบ
ปอทะเล เป็นไม้ยืนต้น ทำเป็นบอนไซเพื่อเป็นไม้ประดับตกแต่ง และเป็นยาสมุนไพรรักษาอาการพื้นฐาน
ปอทะเล ไม้ยืนต้นแถบป่าชายเลน ช่วยแก้ไข้ แก้หูอักเสบ แก้หลอดลมอักเสบ
ปอทะเล เป็นไม้ยืนต้น ทำเป็นบอนไซเพื่อเป็นไม้ประดับตกแต่ง และเป็นยาสมุนไพรรักษาอาการพื้นฐาน

ปอทะเล

ปอทะเล (Coast cotton tree) เป็นไม้ยืนต้นแถบป่าชายเลนที่นิยมสำหรับชาวท้องถิ่นหรือชาวพื้นเมือง สามารถนำมาประยุกต์ใช้ทำอุปกรณ์ในการทำเรือได้ โดยปกติแล้วมักจะเป็นต้นที่อยู่ในแถบริมทะเลซึ่งคนทั่วไปคงไม่รู้จักกันมากนัก ในแถบทวีปเอเชียมีการนำปอทะเลมาทำเป็นบอนไซเพื่อเป็นไม้ประดับตกแต่ง นอกจากนั้นยังมีสรรพคุณทางยาสมุนไพรแก้อาการพื้นฐานได้ด้วย

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของปอทะเล

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Hibiscus tilliaceus L.
ชื่อสามัญ : มีชื่อสามัญว่า “Coast cotton tree” “Yellow mallow tree”
ชื่อท้องถิ่น : ภาคกลางเรียกว่า “ปอฝ้าย” ภาคใต้เรียกว่า “ปอนา ปอนาน ปอมุก ปอฝ้าย” ชาวมลายูนราธิวาสเรียกว่า “ปอโฮ่งบารู” จังหวัดเลยเรียกว่า “ขมิ้นนางมัทรี ผีหยิก” จังหวัดจันทบุรีเรียกว่า “บา” จังหวัดนนทบุรีเรียกว่า “โพธิ์ทะเล” จังหวัดกรุงเทพมหานครเรียกว่า “โพทะเล”
ชื่อวงศ์ : วงศ์ชบา (MALVACEAE)

ลักษณะของปอทะเล

ปอทะเล เป็นไม้พุ่มกึ่งไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดเล็กที่มีเขตการกระจายพันธุ์ตั้งแต่ประเทศอินเดีย จีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปจนถึงทางตอนเหนือของประเทศออสเตรเลีย ในประเทศไทยมักจะพบขึ้นตามชายฝั่งทะเล ป่าชายเลน ตามแม่น้ำลำคลองภายใต้อิทธิพลของน้ำกร่อยหรือตามป่าดิบชื้นใกล้ชายฝั่ง ป่าดิบแล้งและป่าดิบเขา
ลำต้น : ลำต้นคดงอและแตกกิ่งก้านมาก เรือนยอดเป็นพุ่มแผ่กว้าง มีการแตกกิ่งต่ำ
เปลือกลำต้น : เป็นสีเทาอมสีน้ำตาล เปลือกต้นด้านนอกเรียบหรือแตกเป็นร่องตื้น ๆ มีช่องระบายอากาศเป็นแนวตามยาวของลำต้น ส่วนเปลือกด้านในเป็นสีชมพูประขาว มีความเหนียว สามารถลอกออกจากลำต้นได้ง่าย
ใบ : เป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับกันเป็นรูปหัวใจ โคนใบกว้างและเว้า ปลายใบเรียวแหลมเป็นหางยาว ขอบใบเรียบ เนื้อใบมีลักษณะค่อนข้างหนา ผิวใบด้านบนมีขนบาง ๆ ไปจนถึงเกลี้ยง ท้องใบเกลี้ยงหรือมีขนละเอียดรูปดาวสีขาว
ดอก : ออกดอกเป็นช่อกระจุกสั้นหรือเป็นช่อแขนง โดยจะออกตามซอกใบหรือตามปลายกิ่ง อาจมีหนึ่งดอกหรือหลายดอก มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ เป็นสีน้ำตาลรูปใบหอก ปลายกลีบแหลมและมีขน กลีบดอก 5 กลีบ เป็นรูปไข่กว้างหรือไข่กลับสีเหลืองเรียงซ้อนเกยทับกัน บริเวณโคนกลีบด้านในเป็นสีม่วงหรือสีแดงเข้ม มีเกสรเป็นแกนยื่นออกมา เมื่อดอกเริ่มบานจะเป็นสีเหลือง เมื่อดอกโรยราจะเปลี่ยนเป็นสีส้มหรือแดง สามารถออกดอกได้เกือบตลอดทั้งปี หรือออกในช่วงประมาณเดือนมิถุนายนถึงเดือนสิงหาคม
ผล : ผลเป็นรูปทรงกลมหรือเป็นรูปไข่เกือบกลม เปลือกผลแข็งและมีขนสั้นละเอียดคล้ายขนกำมะหยี่ เมื่อแก่จะแตกเป็น 5 พู อ้าออกและติดอยู่กับต้น สามารถออกผลได้เกือบตลอดทั้งปี
เมล็ด : ภายในผลมีเมล็ดขนาดเล็กสีดำอยู่เป็นจำนวนมาก ลักษณะของเมล็ดเป็นรูปไต

สรรพคุณของปอทะเล

  • สรรพคุณจากใบ เป็นยาระบายอ่อน ๆ
    – เป็นยาหยอดหู แก้หูอักเสบและหูเป็นฝี ด้วยการนำใบสดมาคั้นแล้วเอาน้ำมาหยอดหู
    – เป็นยารักษาแผลสด แผลเรื้อรัง ด้วยการนำใบมาบดให้เป็นผง
  • สรรพคุณจากดอก
    – รักษาอาการเจ็บในหู ด้วยการนำดอกมาต้มกับน้ำนมแล้วทิ้งไว้ให้เย็น จากนั้นนำมาหยอดหู
  • สรรพคุณจากราก เป็นยาแก้ไข้ เป็นยาระบายท้อง
    – เป็นยาขับปัสสาวะ ด้วยการนำรากมาต้มกับน้ำแล้วดื่ม
  • สรรพคุณจากใบอ่อน
    – เป็นยาแก้ไอ แก้หลอดลมอักเสบ ด้วยการนำใบอ่อนมาตากแห้งเพื่อใช้ชงกับน้ำดื่ม
  • สรรพคุณจากเปลือก ทำให้อาเจียน
    – แก้โรคเกี่ยวกับทางเดินอาหาร ด้วยการนำเปลือกสดมาแช่กับน้ำจนได้เมือกแล้วนำเมือกมาดื่มแก้อาการ
    – เป็นยารักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ของชาวโอรังอัสลีในรัฐเประก์ที่ประเทศมาเลเซีย ด้วยการนำเปลือกมาทำเป็นยาผง

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของปอทะเล

1. ใบปอทะเลมีสารต้านอนุมูลอิสระและต่อต้านเอนไซม์ไทโรซีเนส (Tyrosinase) ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ใช้ในการสร้าง Melanin หรือเม็ดสี
2. Cyanidin – 3 – glucoside เป็นแอนโทไซยานิน (Anthocyanin) ชนิดหลักที่พบได้ในดอกปอทะเล

ประโยชน์ของปอทะเล

1. เป็นส่วนประกอบของอาหาร ใบอ่อนใช้รับประทานเป็นผัก
2. เป็นไม้ปลูกประดับ แถบทวีปเอเชียนิยมนำต้นปอทะเลมาทำบอนไซ
3. ใช้ในการเกษตร ใบใช้เป็นอาหารของวัวและควาย
4. ประยุกต์เป็นอุปกรณ์เครื่องใช้ ใยจากเปลือกต้นใช้ทำเชือก ทำกระดาษห่อของ ทำหมันยาเรือ เนื้อไม้ใช้ทำเรือซึ่งในรัฐฮาวายมีการนำมาทำเรือแคนู

ปอทะเล ถือเป็นต้นที่มีดอกสีสดใสและค่อนข้างโดดเด่น สามารถนำส่วนประกอบของต้นมาใช้ประโยชน์ได้โดยเฉพาะชาวพื้นเมือง ที่น่าสนใจคือชาวโอรังอัสลีในประเทศมาเลเซียนำเปลือกมาใช้ในการรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เป็นสมุนไพรพื้นเมืองที่มีประโยชน์กว่าที่คิด มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ แก้หูอักเสบและอาการเจ็บหู เป็นยาระบาย แก้ไข้และแก้หลอดลมอักเสบได้

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. “ปอทะเล (Po Thale)”. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). หน้า 171.
พันธุ์ไม้ในป่าชายเลน. “ปอทะเล”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.nectec.or.th/schoolnet/library/webcontest2003/100team/dlss020/A2/A2.htm. [21 เม.ย. 2014].
สวนพฤกษศาสตร์คลองไผ่, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “ปอทะเล”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.rspg.or.th/plants_data/kp_bot_garden/kpb.htm. [21 เม.ย. 2014].
หนังสือพรรณไม้ในป่าชายเลน. (สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี).
หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. “โพธิ์ทะเล”. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). หน้า 576-577.
หนังสือพิมพ์มติชนบทเทคโนโลยีชาวบ้าน ฉบับที่ 468, วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2552. “ปอทะเล สมุนไพรป่าชายเลน”. (ชำนาญ ทองเกียรติกุล).
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. “ปอทะเล”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: th.wikipedia.org/wiki/ปอทะเล. [20 เม.ย. 2014].

นางแย้มป่า มีรากเป็นยา รักษาลำไส้อักเสบและแก้อาการปวดศีรษะข้างเดียว

0
นางแย้มป่า มีรากเป็นยา รักษาลำไส้อักเสบและแก้อาการปวดศีรษะข้างเดียว
นางแย้มป่า เป็นดอกไม้ป่า มีดอกสีขาวและมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ในตอนเช้า
นางแย้มป่า มีรากเป็นยา รักษาลำไส้อักเสบและแก้อาการปวดศีรษะข้างเดียว
นางแย้มป่า เป็นดอกไม้ป่า มีดอกสีขาวและมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ในตอนเช้า

นางแย้มป่า

นางแย้มป่า (Nangyam) เป็นดอกไม้ป่าที่มีความสวยงามมาก มีดอกสีขาวและมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ในตอนเช้า เหมาะสำหรับเชยชมในป่าธรรมชาติแต่ไม่เหมาะสำหรับการนำมาปลูกไว้ในบ้านเนื่องจากเป็นดอกไม้ที่ความเชื่อว่าเป็นต้นไม้ที่มีภูตผีปีศาจสิงอยู่ หากนำมาปลูกไว้ภายในบ้านอาจทำให้คนในบ้านหวาดผวา เสียขวัญหรือเจ็บไข้ได้ป่วยได้ นอกจากดอกที่สวยงามแล้วยังสามารถนำมาใช้เป็นยาสมุนไพรได้ด้วย

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของนางแย้มป่า

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Clerodendrum infortunatum L.
ชื่อสามัญ : มีชื่อสามัญว่า “Nangyam”
ชื่อท้องถิ่น : ภาคใต้เรียกว่า “ขี้ขม” จังหวัดแม่ฮ่องสอนและชาวกะเหรี่ยงเรียกว่า “พอกวอ” จังหวัดกาญจนบุรีและชาวกะเหรี่ยงเรียกว่า “โพะคว่อง” จังหวัดเชียงใหม่เรียกว่า “ปิ้งขาว ปิ้งเห็บ” จังหวัดเลยเรียกว่า “ปิ้งพีแดง ฮอนห้อแดง” จังหวัดขอนแก่นเรียกว่า “ต่างไก่แดง” จังหวัดพิษณุโลกเรียกว่า “ขัมพี” จังหวัดสุโขทัยเรียกว่า “กุ๋มคือ ซมซี” มีชื่อเรียกอื่น ๆ ว่า “ปิ้งขม ปิ้งหลวง ปิ้งเห็บ ปุ้งปิ้ง พินพี โพพิง”
ชื่อวงศ์ : วงศ์กะเพรา (LAMIACEAE หรือ LABIATAE)
ชื่อพ้อง : Clerodendrum viscosum Vent.

ลักษณะของนางแย้มป่า

นางแย้มป่า เป็นไม้พุ่มขนาดย่อมที่มีเขตการกระจายพันธุ์ตั้งแต่อินเดีย อินโดนีเซีย เกาะสุมาตราไปจนถึงฟิลิปปินส์ สามารถพบได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย มักจะขึ้นตามชายป่าดิบและที่โล่งชื้น ชอบขึ้นในดินเย็นชื้นบริเวณใต้ต้นไม้
ลำต้น : ลำต้นตั้งตรง กิ่งอ่อนและต้นเปราะ เป็นสันสี่เหลี่ยม ตามลำต้นและกิ่งอ่อนเป็นสีแดงหรือสีดำอมน้ำตาล
ใบ : เป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับตามข้อเป็นคู่ตั้งฉากกันเป็นรูปวงรีหรือรูปหัวใจ ปลายใบสอบแหลม โคนใบสอบหรือเว้า ส่วนขอบใบหยักเป็นซี่ฟันตื้น ๆ แผ่นใบแข็งเป็นสีเขียวเข้ม มีขนสากระคายมือ มองเห็นเส้นใบได้ชัดเจน
ดอก : ออกดอกเป็นช่อแน่นที่ปลายกิ่ง กลีบดอกมีสีขาว กลีบรองดอกเชื่อมกันเป็นรูปถ้วย ปลายแยกเป็นแฉก 5 แฉก โคนกลีบเชื่อมกันเป็นหลอด กลางดอกเป็นสีชมพูม่วงหรือสีม่วงเข้มและมีขน ดอกจะมีกลิ่นหอมในตอนเช้า โดยจะออกดอกในช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์
ผล : ผลเป็นรูปทรงกลม มีผิวมัน ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงินเข้มหรือดำ ผลมีกลีบเลี้ยงสีแดงหุ้มอยู่
เมล็ด : ภายในผลมีเมล็ด 1 เมล็ด

สรรพคุณของนางแย้มป่า

  • สรรพคุณจากใบ
    – แก้อาการปวดศีรษะข้างเดียว ด้วยการนำใบมาซ้อนกัน 3 ใบ หรือ 7 ใบ แล้วใช้ห่อขี้เถ้าร้อน ใบฮ่อมตำและใบเครือเขาน้ำตำ แล้วนำมาประคบศีรษะ
  • สรรพคุณจากราก รักษาลำไส้อักเสบ ช่วยขับปัสสาวะ แก้ไตพิการ
    – เป็นยาแก้ไข้ บำรุงน้ำนมของสตรี ด้วยการนำรากมาต้มแล้วดื่ม

ประโยชน์ของนางแย้มป่า

1. เป็นส่วนประกอบของอาหาร ยอดอ่อนใช้รับประทานเป็นผักสดสำหรับจิ้มกับน้ำพริก คนเมืองนิยมนำดอกอ่อนมาใส่แกงหน่อไม้ บางข้อมูลบอกว่าสามารถนำเปลือกลำต้นใช้กินแทนหมากได้ด้วย
2. ปลูกเป็นไม้ประดับ สามารถนำมาปลูกประดับได้แต่ไม่ควรปลูกในบ้าน

นางแย้มป่า มักจะมีสรรพคุณอยู่ที่รากของต้น เป็นไม้ป่าที่มีดอกสวยงาม คนไทยส่วนมากมักจะไม่ค่อยพบและไม่ค่อยรู้จักเนื่องจากเป็นไม้ที่ชอบความชื้นและความเย็น จึงมักจะพบได้ในป่ามากกว่าที่จะพบเห็นทั่วไป มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ รักษาลำไส้อักเสบ ช่วยขับปัสสาวะ แก้ไตพิการและแก้อาการปวดศีรษะข้างเดียวได้

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคกลาง. “นางแย้มป่า”. (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ, ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, กัญจนา ดีวิเศษ). หน้า 105.
อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. “นางแย้มป่า”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.pharmacy.mahidol.ac.th/siri/. [25 มี.ค. 2014].
โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง, สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์การมหาชน). “นางแย้มป่า”. อ้างอิงใน: หนังสือชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: eherb.hrdi.or.th. [25 มี.ค. 2014].
ผักพื้นบ้านในประเทศไทย, กรมส่งเสริมการเกษตร. “นางแย้มป่า”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: 203.172.205.25/ftp/intranet/Research_AntioxidativeThaiVegetable/. [25 มี.ค. 2014].
ศูนย์รวมข้อมูลสิ่งมีชีวิตในประเทศไทย, สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน). “นางแย้มป่า”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.thaibiodiversity.org. [25 มี.ค. 2014].
วิกิพีเดียสารานุกรมเสรี. “นางแย้มป่า”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: th.wikipedia.org/wiki/นางแย้มป่า. [25 มี.ค. 2014].

เผือก เป็นพืชหัวยอดนิยม อุดมไปด้วยสารอาหาร ช่วยบำรุงร่างกาย บำรุงไต บำรุงลำไส้

0
เผือก เป็นพืชหัวยอดนิยม อุดมไปด้วยสารอาหาร ช่วยบำรุงร่างกาย บำรุงไต บำรุงลำไส้
เผือก เป็นพืชหัวที่นิยมนำมารับประทาน มีรสหวานมันอร่อย ใบและยอดของต้นนำมาประกอบอาหารได้
เผือก เป็นพืชหัวยอดนิยม อุดมไปด้วยสารอาหาร ช่วยบำรุงร่างกาย บำรุงไต บำรุงลำไส้
เผือก เป็นพืชหัวที่นิยมนำมารับประทาน มีรสหวานมันอร่อย ใบและยอดของต้นนำมาประกอบอาหารได้

เผือก

เผือก (Taro) เป็นพืชหัวที่นิยมนำมารับประทานในประเทศไทยมากชนิดหนึ่ง มีรสหวานมันอร่อยและมักจะพบในรูปแบบขนมหรืออาหารคาวหวานทั่วไป เป็นพืชที่กินง่ายและมีคุณค่าทางโภชนาการหลากหลาย เผือกมีหลายชนิดแต่ในประเทศไทยนิยมเผือกหอมเป็นหลักเพราะมีหัวขนาดใหญ่และมีกลิ่นเป็นเอกลักษณ์ นอกจากหัวที่นำมารับประทานแล้วใบและยอดของต้นยังสามารถนำมาประกอบอาหารได้เช่นกัน

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของเผือก

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Colocasia esculenta (L.) Schott
ชื่อสามัญ : มีชื่อสามัญว่า “Taro”
ชื่อท้องถิ่น : ภาคเหนือเรียกว่า “บอนหรือตุน” ภาคอีสานเรียกว่า “บอน” ภาคใต้เรียกว่า “บอนเขียว บอนจีนดำ บอนท่า บอนน้ำ” ชาวจีนเรียกว่า “โอ่วไน โอ่วถึง โทวจือ”
ชื่อวงศ์ : วงศ์บอน (ARACEAE)

ลักษณะของเผือก

เผือก เป็นพืชล้มลุกที่มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียใต้ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ประเภทเอดโด (eddoe) เป็นเผือกที่มีหัวขนาดเล็ก และประเภทแดชีน (dasheen) เป็นเผือกที่มีหัวขนาดใหญ่ ในประเทศไทยนิยมเผือกหอมซึ่งเป็นเผือกชนิดหนึ่งในประเภทแดชีน
ลำต้น : ลำต้นเป็นหัวอยู่ใต้ดิน
หัว : หัวเป็นรูปลูกข่างกลมสีน้ำตาลและมีขนาดใหญ่ มีหัวเล็ก ๆ อยู่ล้อมรอบ หัวจะมีรูปร่างและขนาดที่แตกต่างกันออกไป
ใบ : เป็นใบเดี่ยวขนาดใหญ่เรียงเวียนสลับกัน ใบเป็นรูปหัวใจหรือเป็นรูปลูกศรแกมรูปหัวใจ ปลายใบแหลม โคนใบแต่ละด้านกลมหรือเป็นเหลี่ยม สามารถเห็นเส้นใบได้ชัดเจน
ดอก : ออกดอกเป็นช่อเชิงลดมีกาบ ออกเดี่ยวหรือหลายช่อ
ผล : ผลเป็นสีเขียวเปลือกบาง
เมล็ด : ไม่ค่อยมีเมล็ดแต่บางสายพันธุ์ก็ติดเมล็ดได้

สรรพคุณของเผือก

  • สรรพคุณจากหัว ช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย ป้องกันฟันผุและช่วยทำให้กระดูกแข็งแรง บำรุงลำไส้และแก้อาการท้องเสีย บำรุงไต แก้อาการอักเสบ ระงับอาการปวด
    – บำรุงร่างกายให้แข็งแรง เป็นยาลดไข้ ด้วยการใช้หัวเผือก 100 กรัม มาต้มใส่กับข้าวสวย 100 กรัม แล้วต้มให้เป็นโจ๊ก
    – เป็นยาทาแก้แมลงสัตว์กัดต่อย เป็นยาทาบริเวณที่มีอาการปวดเมื่อย ปวดเมื่อยเส้นเอ็น ปวดกระดูก ด้วยการใช้หัวเผือกสดมาโขลกให้ละเอียด ทำการผสมกับน้ำมันงาแล้วคลุกจนเข้ากันเพื่อนำมาใช้ทา
    – รักษาโรคเรื้อนกวาง ด้วยการใช้ต้นกระเทียม 100 กรัม นำมาโขลกกับเผือกสด 100 กรัม โขลกให้ละเอียดเป็นเนื้อเดียวกันแล้วนำมาใช้ทาบริเวณที่เป็นเรื้อนกวาง
  • สรรพคุณจากน้ำยาง ถอนพิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย

ประโยชน์ของเผือก

1. เป็นส่วนประกอบของอาหาร ใบและยอดของต้นเผือกนำมารับประทานเป็นผักได้ ก้านใบนำมาใช้ประกอบอาหารในการทำแกงหรือนำไปทำเป็นผักดอง หัวเผือกสามารถนำมาใช้ทำเป็นอาหารคาวหวานอย่างพวกเผือกเชื่อมหรือเผือกทอด สามารถนำมาทำเป็นเครื่องดื่มได้
2. ทำเป็นแป้ง ทำเป็นแป้งเผือกเพื่อใช้ทำขนมปัง ทำอาหารทารก เป็นอาหารเพื่อป้องกันโรคแพ้บางอย่างของเด็กทารกและใช้แทนธัญพืชในการรักษาโรคเกี่ยวกับกระเพาะลำไส้
3. ใช้ในการเกษตร ชาวกะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอนนำใยมาต้มให้หมูกิน

ข้อควรระวังในการรับประทานเผือก

1. ไม่ควรรับประทานแบบดิบเพราะหัวและทั้งต้นของเผือกมีผลึกแคลเซียมออกซาเลต (Calcium oxalate) ซึ่งมีฤทธิ์ทำให้คันได้
2. ผู้ที่มีอาการแพ้อย่างอาการคันในช่องปากหรือทำให้ลิ้นชาควรหลีกเลี่ยงการรับประทานเผือก
3. ไม่ควรรับประทานในปริมาณมากจนเกินไปเพราะจะทำให้ม้ามทำงานผิดปกติได้

คุณค่าทางโภชนาการของเผือก

คุณค่าทางโภชนาการของหัวเผือกดิบ

คุณค่าทางโภชนาการของหัวเผือกดิบต่อ 100 กรัม โดยคิดเป็น % ร้อยละของปริมาณแนะนำที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันสำหรับผู้ใหญ่ ให้พลังงาน 112 กิโลแคลอรี (7%)

สารอาหาร ปริมาณสารอาหารที่ได้รับ
คาร์โบไฮเดรต 26.46 กรัม (20%)
น้ำตาล 0.40 กรัม
เส้นใยอาหาร 4.1 กรัม (11%)
ไขมัน 0.20 กรัม มากกว่า (1%)
โปรตีน 1.5 กรัม (3%)
น้ำ 70.64 กรัม
วิตามินเอ 76 หน่วยสากล (2.5%)
วิตามินบี1 0.095 มิลลิกรัม (8%)
วิตามินบี2 0.025 มิลลิกรัม (2%)
วิตามินบี3 0.600 มิลลิกรัม (4%)
วิตามินบี5 0.303 มิลลิกรัม (6%)
วิตามินบี6 0.283 มิลลิกรัม (23%) 
วิตามินบี9 22 ไมโครกรัม (5.5%) 
วิตามินซี 4.5 มิลลิกรัม (7%)
วิตามินอี 2.38 มิลลิกรัม (20%)
วิตามินเค 1.0 ไมโครกรัม (1%) 
แคลเซียม 43 มิลลิกรัม (4%) 
เหล็ก 0.55 มิลลิกรัม (7%)
แมกนีเซียม 33 มิลลิกรัม (8%)
แมงกานีส 0.383 มิลลิกรัม (1.5%)
ฟอสฟอรัส 84 มิลลิกรัม
โพแทสเซียม 591 มิลลิกรัม (12.5%)
โซเดียม 11 มิลลิกรัม มากกว่า (1%)
สังกะสี 0.23 มิลลิกรัม (2%)
ทองแดง 0.172 มิลลิกรัม (19%)
ซีลีเนียม 0.7 ไมโครกรัม (1%)

คุณค่าทางโภชนาการของหัวเผือกเฉพาะส่วนที่กินได้

คุณค่าทางโภชนาการของหัวเผือกเฉพาะส่วนที่กินได้ต่อ 100 กรัม ให้พลังงาน 117 กิโลแคลอรี

สารอาหาร ปริมาณสารอาหารที่ได้รับ
คาร์โบไฮเดรต 26.8 กรัม
โปรตีน 2.1 กรัม 
ไขมัน 0.1 กรัม
วิตามินบี1 0.15 มิลลิกรัม
วิตามินบี2 0.04 มิลลิกรัม
วิตามินบี3 1 มิลลิกรัม
วิตามินซี  2 มิลลิกรัม
แคลเซียม 84 มิลลิกรัม
ฟอสฟอรัส 54 มิลลิกรัม

คุณค่าทางโภชนาการของใบเผือกดิบต่อ 100 กรัม

คุณค่าทางโภชนาการของใบเผือกดิบต่อ 100 กรัม โดยคิดเป็น % ร้อยละของปริมาณแนะนำที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันสำหรับผู้ใหญ่ ให้พลังงาน 42 กิโลแคลอรี

สารอาหาร ปริมาณสารอาหารที่ได้รับ
คาร์โบไฮเดรต 6.7 กรัม
น้ำตาล 3 กรัม
เส้นใยอาหาร 3.7 กรัม
ไขมัน 0.74 กรัม
โปรตีน 5 กรัม
วิตามินเอ 241 ไมโครกรัม (30%) 
เบตาแคโรทีน 2,895 ไมโครกรัม (27%)
ลูทีนและซีแซนทีน 1,932 ไมโครกรัม
วิตามินบี1 0.209 มิลลิกรัม (18%)
วิตามินบี2 0.456 มิลลิกรัม (38%)
วิตามินบี3 1.513 มิลลิกรัม (10%)
วิตามินบี6 0.146 มิลลิกรัม (11%) 
วิตามินบี9 129 ไมโครกรัม (32%)
วิตามินซี 52 มิลลิกรัม (63%)
วิตามินอี 2.02 มิลลิกรัม (13%) 
วิตามินเค 108.6 ไมโครกรัม (103%)
แคลเซียม 107 มิลลิกรัม (11%)
เหล็ก 2.25 มิลลิกรัม (17%)
แมกนีเซียม 45 มิลลิกรัม (13%) 
แมงกานีส 0.714 มิลลิกรัม (34%) 
ฟอสฟอรัส 60 มิลลิกรัม (9%)
โพแทสเซียม  648 มิลลิกรัม (14%)
สังกะสี 0.41 มิลลิกรัม (4%)

คุณค่าทางโภชนาการของใบต่อ 100 กรัม

คุณค่าทางโภชนาการของใบต่อ 100 กรัม มีวิตามินเอ 20,885 หน่วยสากล และวิตามินซี 142 มิลลิกรัม

คุณค่าทางโภชนาการของยอดต่อ 100 กรัม

คุณค่าทางโภชนาการของยอดต่อ 100 กรัม มีวิตามินเอ 335 หน่วยสากล และวิตามินซี 8 มิลลิกรัม

เผือก เป็นพืชที่มีสารอาหารและคุณค่าทางโภชนาการที่น่าทึ่งและดีต่อร่างกายหากรับประทานอย่างถูกวิธี อีกทั้งยังเป็นอาหารที่ให้พลังงานและบำรุงสุขภาพได้ดีเยี่ยม เป็นพืชที่ช่วยทำให้อิ่มได้เหมือนกับรับประทานข้าว มีรสหวานมันอร่อยเมื่อนำมาปรุงหรือนำมาทำเป็นอาหารคาวหวาน มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ บำรุงร่างกายให้แข็งแรง เป็นยาทาแก้แมลงสัตว์กัดต่อย บำรุงไต บำรุงลำไส้และแก้อาการท้องเสียได้

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
กลุ่มสื่อส่งเสริมเสริมการเกษตร สำนักพัฒนาการถ่ายทอดเทคโนโลยี กรมส่งเสริมการเกษตร. “อาหารจากเผือก”.
โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. “เผือก”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: kanchanapisek.or.th/kp6/. [31 มี.ค. 2014].
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. กรีนไฮเปอร์มาร์ท สารานุกรมผลิตผลและผลิตภัณฑ์จากพืชในซุปเปอร์มาร์เก็ต ฉบับคอมพิวเตอร์. “เผือก”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.sc.mahidol.ac.th. [31 มี.ค. 2014].
โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง, สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์การมหาชน). “เผือก”. อ้างอิงใน: หนังสือชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์), สมุนไพรใกล้ตัว เล่ม 6 : สมุนไพรที่เป็นพิษ (สมพร ภูติยานันต์). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: eherb.hrdi.or.th. [31 มี.ค. 2014].
Food for Health – อาหารเพื่อสุขภาพ, คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. “สมุนไพรจีนและอาหารจีน”. (วงศ์ตะวัน เอื้อธีรศรัณย์). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: pirun.ku.ac.th/~b5310850368/. [31 มี.ค. 2014].

ทิ้งถ่อน หรือ “ถ่อน” ช่วยแก้ลมในร่างกาย ดีต่อระบบขับถ่าย

0
ทิ้งถ่อน หรือ “ถ่อน” ช่วยแก้ลมในร่างกาย ดีต่อระบบขับถ่าย
ทิ้งถ่อน ส่วนของรากและแก่นมีรสขมร้อน ใบมีรสเฝื่อนเมาและเปลือกต้นมีรสฝาดร้อน
ทิ้งถ่อน หรือ “ถ่อน” ช่วยแก้ลมในร่างกาย ดีต่อระบบขับถ่าย
ทิ้งถ่อน ส่วนของรากและแก่นมีรสขมร้อน ใบมีรสเฝื่อนเมาและเปลือกต้นมีรสฝาดร้อน

ทิ้งถ่อน

ทิ้งถ่อน (White siris) หรือเรียกกันเฉย ๆ ว่า “ถ่อน” ส่วนของรากและแก่นมีรสขมร้อน ใบมีรสเฝื่อนเมาและเปลือกต้นมีรสฝาดร้อน เป็นต้นในวงศ์ถั่วที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลากหลายทั้งการนำมาใช้ในการก่อสร้าง ใช้ในการเกษตรและใช้ในการย้อมผ้า เป็นต้นที่นำใบอ่อน ยอดอ่อนและดอกอ่อนมารับประทานเป็นผักร่วมกับน้ำพริกด้วยการลวกหรือต้ม นอกจากนั้นยังมีสรรพคุณทางยาที่ยอดเยี่ยมหลายอย่างทีเดียว

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของทิ้งถ่อน

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Albizia procera (Roxb.) Benth.
ชื่อสามัญ : มีชื่อสามัญว่า “White siris” และ “Sit”
ชื่อท้องถิ่น : ภาคกลางเรียกว่า “ถ่อน ถินถ่อน นมหวา นุมหวา ทิ้งถ่อน” จังหวัดเชียงใหม่และเลยเรียกว่า “พระยาฉัตรทัน ส่วน” ชาวกะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอนเรียกว่า “ควะ เยกิเด๊าะ” ชาวกะเหรี่ยงกาญจนบุรีเรียกว่า “เชอะบ้อง ซะบ้อง แซะบ้อง เซะบ้อง เส่บ้อง”
ชื่อวงศ์ : วงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE)

ลักษณะของทิ้งถ่อน

ทิ้งถ่อน เป็นไม้ยืนต้นที่มักจะพบขึ้นตามป่าหญ้า ป่าโปร่ง ป่าเบญจพรรณและป่าทุ่งตอนลุ่มในภาคกลางทั่วไปหรือในพื้นที่ต่ำน้ำท่วมถึง สามารถพบได้ทางตอนใต้ของจีน พม่า ลาวและกัมพูชา ในประเทศไทยพบทุกภาคแต่ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้มักจะขึ้นเป็นกลุ่มแบบห่าง ๆ กันบนภูเขา
ลำต้น : ลำต้นแตกกิ่งก้านต่ำและโปร่ง ลำต้นเปลาตรง ทรงพุ่มเป็นเรือนยอด ตามกิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขนปกคลุมเล็กน้อย ต้นแก่เป็นสีเทาถึงสีน้ำตาล
เปลือกต้น : เปลือกต้นมีรอยด่างเป็นสีน้ำตาลกระจาย
ใบ : เป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้นออกเรียงสลับกัน เหนือโคนก้านมีต่อมเป็นรูปกลมนูน ก้านใบมีขนปกคลุมเล็กน้อย มีใบย่อยประมาณ 5 – 12 คู่ ลักษณะของใบเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน รูปไข่กลับ รูปขอบขนานหรือรูปวงรี ปลายใบมนหรือเว้าเล็กน้อย โคนใบมนหรือเบี้ยว ขอบใบเรียบ แผ่นใบมีขนทั้งสองด้าน ท้องใบมีขนสั้นปกคลุม
ดอก : ออกดอกเป็นช่อกระจุกแน่นตามซอกใบและที่ปลายกิ่งโดยช่อดอกจะเกิดเป็นกลุ่มบนก้านช่อรวม กลุ่มละประมาณ 2 – 5 ช่อ ในแต่ละช่อจะมีดอกย่อยประมาณ 15 – 25 ดอก ดอกย่อยไม่มีก้านดอกหรือมีแต่สั้นมาก ดอกเป็นสีขาวมีกลีบดอก 5 กลีบ เกสรขาวแกมสีเหลืองอ่อนติดกันเป็นหลอด มีผิวเรียบ ปลายแยกเป็น 5 แฉก มีลักษณะเป็นรูปไข่ปลายแหลม ปลายกลีบดอกมีขนเล็ก ๆ ดอกมีเพศผู้จำนวนมาก ก้านชูอับเรณูเป็นสีเหลืองอ่อน ปลายก้านเป็นสีเขียวอ่อน อับเรณูมีสีขาว กลีบเลี้ยงมี 5 กลีบติดกันเป็นรูปถ้วย มีสีเขียวและมีผิวเรียบ ขอบถ้วยแยกเป็นแฉก 5 แฉก ลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมยาว ดอกมีเกสรเพศผู้เป็นเส้นสีขาว
ผล : ออกผลเป็นฝักแบน ฝักเมื่อแห้งแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล
เมล็ด : ภายในฝักมีเมล็ดประมาณ 6 – 12 เมล็ด เมล็ดเป็นสีน้ำตาลและมีลักษณะแบนรูปวงรี

สรรพคุณของทิ้งถ่อน

  • สรรพคุณจากเปลือกต้น แก้ลมในกองธาตุ แก้ลมป่วง บำรุงธาตุในร่างกาย แก้ธาตุพิการ แก้กษัยและลมกษัยหรือโรคของความเสื่อมโทรมทางร่างกายที่ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรค ช่วยทำให้เจริญอาหาร แก้หืดไอ ช่วยในการขับผายลม แก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ แก้บิดมูกเลือด แก้ริดสีดวงทวาร แก้ระดูขาวของสตรี เป็นยาห้ามเลือด ใช้ชะล้างบาดแผลและช่วยสมานแผล แก้แผลเน่าเปื่อยเรื้อรังและใช้ทาฝี แก้โรคผิวหนัง
    – เป็นยาอายุวัฒนะ แก้อาเจียน แก้ท้องร่วง ด้วยการนำเปลือกต้นมาต้มกับรากมะตูม
  • สรรพคุณจากแก่น บำรุงกำลัง
  • สรรพคุณจากรากและแก่น
    – แก้อาการท้องอืด แก้อาการปวดหลังและปวดเอว แก้เส้นตึงและเส้นท้องตึง ด้วยการนำรากและแก่นมาต้มกับน้ำแล้วดื่ม
  • สรรพคุณจากผล ขับลม แก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ
  • สรรพคุณจากราก แก้น้ำเหลืองเสีย

ประโยชน์ของทิ้งถ่อน

1. เป็นส่วนประกอบของอาหาร ใบอ่อน ยอดอ่อนและดอกอ่อนนำมาลวกหรือต้มทานเป็นผักร่วมกับน้ำพริก
2. ใช้ในการเกษตร เป็นยาฉีดฆ่าตัวสัตว์พวกหนอนและแมลงด้วยการนำใบมาเผาไฟผสมกับน้ำใบยาสูบและน้ำปูนขาว นิยมปลูกในแปลงวนเกษตรและปลูกตามสวนหรือริมถนน
3. ใช้ในอุตสาหกรรมผ้าหรือหนัง เปลือกต้นนำมาฟอกหนังหรือใช้ในการย้อมผ้าได้
4. ใช้ในอุตสาหกรรมก่อสร้าง เนื้อไม้มีความเหนียว แข็งแรงและชักเงาดีจึงนำมาใช้ในการก่อสร้างบ้านเรือน ทำเฟอร์นิเจอร์ ใช้ในงานแกะสลัก ทำเครื่องมือกสิกรรมต่าง ๆ

ทิ้งถ่อน เป็นต้นที่มีรสร้อนและมีสรรพคุณหลากหลายต่อร่างกาย นอกจากนั้นยังเป็นต้นที่มีประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังพบได้ง่ายตามท้องถนนทั่วไปในกรุงเทพมหานคร เป็นต้นที่มักจะนำใบอ่อน ยอดอ่อนและดอกอ่อนมาลวกหรือต้มเพื่อรับประทาน ทิ้งถ่อนมีสรรพคุณทางยาได้หลายส่วนจากต้นโดยเฉพาะเปลือกต้น มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ แก้ลมในร่างกาย ดีต่อระบบขับถ่ายและแก้ท้องอืดท้องเฟ้อได้ เป็นต้นที่แก้อาการพื้นฐานทั่วไปและเหมาะสำหรับคนที่ระบบขับถ่ายหรือลมในร่างกายมีปัญหาเป็นอย่างมาก

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคเหนือ. “ทิ้งถ่อน”. (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ). หน้า 121.
หนังสือสมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ. (คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “ถ่อน”. หน้า 41
หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. “ถ่อน”. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). หน้า 322.
ศูนย์ปฏิบัติการโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติฯ, กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. “ถ่อน”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.goldenjubilee-king50.com. [19 มี.ค. 2014].
ศูนย์รวมข้อมูลสิ่งมีชีวิตในประเทศไทย, สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน). “Sit, White siris”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.thaibiodiversity.org. [19 มี.ค. 2014].
ระบบฐานข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชน, สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน). “ถ่อน (กลาง), ส่วน (เชียงใหม่), เชอะบ้อง (กาญจนบุรี), ทิ้งถ่อน (กลาง)”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.bedo.or.th. [19 มี.ค. 2014].
บันทึกขนำริมทุ่งปลักเหม็ด. “ทิ้งถ่อน”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: plugmet.orgfree.com. [19 มี.ค. 2014].
ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม, กระทรวงวัฒนธรรม. “สมุนไพรพื้นบ้านทิ้งถ่อน”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.m-culture.in.th. [19 มี.ค. 2014].
ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม, กระทรวงวัฒนธรรม. “ผักซึก (ถ่อน)”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.m-culture.in.th. [19 มี.ค. 2014].

นนทรี ไม้ประจำจังหวัดนนทบุรี มีเปลือกต้นเป็นยา แก้ท้องเสียและช่วยขับประจำเดือน

0
นนทรี เป็นต้นไม้สูงที่มีดอกสีเหลือง ช่อขนาดใหญ่ตามง่ามใบหรือที่ปลายกิ่ง ฝักแบนรูปหอกสีน้ำตาล มีสรรพคุณในด้านยาสมุนไพรได้ด้วย
นนทรี ไม้ประจำจังหวัดนนทบุรี มีเปลือกต้นเป็นยา แก้ท้องเสียและช่วยขับประจำเดือน
นนทรี เป็นต้นไม้สูงที่มีดอกสีเหลือง ช่อขนาดใหญ่ตามง่ามใบหรือที่ปลายกิ่ง ฝักแบนรูปหอกสีน้ำตาล มีสรรพคุณในด้านยาสมุนไพรได้ด้วย

นนทรี

นนทรี (Copper pod) ถือเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดนนทบุรีและมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นต้นสูงที่มีดอกสีเหลืองสวยงามและมักจะพบตามที่สาธารณะทั่วไป เป็นต้นที่คนไทยค่อนข้างรู้จักกันเยอะแต่หลายคนไม่รู้ว่ามีสรรพคุณในด้านยาสมุนไพรได้ด้วย

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของนนทรี

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Peltophorum pterocarpum (DC.) K.Heyne
ชื่อสามัญ : มีชื่อสามัญว่า “Copper pod” “Yellow flame” “Yellow poinciana”
ชื่อท้องถิ่น : จังหวัดแม่ฮ่องสอนเรียกว่า “สารเงิน” จังหวัดตราดเรียกว่า “กระถินป่า กระถินแดง” มีชื่อเรียกอื่น ๆ ว่า “นนทรีบ้าน”
ชื่อวงศ์ : วงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE)

ลักษณะของนนทรี

นนทรี เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางที่มีถิ่นกำเนิดในอินเดียภาคตะวันออกและภาคใต้ รวมไปถึงประเทศศรีลังกา เอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมทั้งประเทศไทยไปจนถึงประเทศฟิลิปปินส์และทวีปออสเตรเลียตอนเหนือ มักจะผลัดใบเมื่อมีอากาศแห้งแล้ง ชอบขึ้นตามป่าชายหาด
ลำต้น : ลำต้นค่อนข้างเปลาตรง แตกกิ่งก้านเป็นพุ่มทรงเรือนยอดแผ่กว้างเป็นรูปร่มหรือเป็นทรงกลมกลาย ๆ
เปลือกลำต้น : เป็นสีเทาอมสีดำ เปลือกค่อนข้างเรียบและอาจแตกเป็นสะเก็ดเล็ก ๆ ตามกิ่งก้านอ่อนมีขนละเอียดสีน้ำตาลแดงปกคลุมอยู่ ส่วนกิ่งแก่จะเกลี้ยง
ใบ : ใบออกเป็นช่อแบบขนนกสองชั้นออกเรียงเวียนสลับหนาแน่นที่ปลายกิ่ง ใบย่อยเป็นรูปขอบขนาน ปลายใบมนหรือหยักเว้าเล็กน้อย โคนใบมนเบี้ยว ส่วนขอบใบเรียบ หลังใบเรียบเป็นสีเขียวเข้ม ส่วนท้องใบเรียบเป็นสีเขียวอ่อน
ดอก : ออกดอกเป็นช่อขนาดใหญ่ตั้งขึ้นตามง่ามใบหรือที่ปลายกิ่ง มีกิ่งแขนงในช่อดอก ดอกย่อยเป็นสีเหลืองสด กลีบดอกมี 5 กลีบ เป็นลักษณะบางและค่อนข้างยับย่น โคนกลีบมีขนสีน้ำตาลอยู่ประปราย กลีบเลี้ยงมี 5 กลีบ ขอบกลีบวางเกยทับกัน
ผล : ออกผลเป็นฝักแบนรูปหอก ปลายฝักและโคนฝักเรียวแหลม ฝักสดเป็นสีเขียวพอแห้งแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล โดยฝักจะแก่ในช่วงเดือนพฤศจิกายน
เมล็ด : ภายในฝักมีเมล็ดเรียงขวางกับฝักประมาณ 1 – 4 เมล็ด เมล็ดมีความแข็งแรง มีรูปร่างและขนาดเท่าใบย่อย

สรรพคุณของนนทรีป่า

  • สรรพคุณจากเปลือกต้น เป็นยาขับเสมหะและโลหิต ช่วยปิดธาตุ เป็นยาขับผายลม ช่วยแก้บิด เป็นยาขับประจำเดือน เป็นยาสมานแผลสด
    – แก้อาการท้องร่วงและท้องเสีย ด้วยการนำเปลือกต้นมาเคี่ยวกับน้ำ 3 ส่วน ให้เหลือ 1 ส่วน แล้วเอานำมาดื่ม
    – เป็นยานวดแก้ตะคริวและแก้กล้ามเนื้ออักเสบ ด้วยการนำเปลือกต้นมาเคี่ยวเข้าน้ำมัน
  • สรรพคุณจากยอด
    – เป็นยาทาแก้โรคสะเก็ดเงิน 7 ชนิด ด้วยการใช้ยอด 1 กำมือ มาตำให้ละเอียดแล้วผสมกับไข่ขาวซึ่งเป็นไข่เป็ด จากนั้นทาบริเวณที่เป็นบนผิวแล้วใช้ผ้าพันทิ้งไว้หนึ่งคืนแล้วค่อยลอกออก

ประโยชน์ของนนทรี

1. เป็นส่วนประกอบของอาหาร ยอดและฝักอ่อนใช้เป็นอาหารประเภทผักเหนาะซึ่งให้รสชาติฝาดมัน
2. ปลูกเป็นไม้ประดับ ปลูกง่ายและมีความแข็งแรงทนทาน ดอกมีกลิ่นหอม นิยมปลูกตามอาคารสถานที่ต่าง ๆ อย่างสวนสาธารณะ รีสอร์ต ริมทะเล ริมถนน ทางเดินหรือที่จอดรถ เพื่อให้ร่มเงาและป้องกันลมได้ดี
3. ใช้ในอุตสาหกรรม ใช้ในการย้อมผ้าฝ้ายบาติกหรือใช้พิมพ์ผ้าปาเต๊ะ ใช้ย้อมแหและอวนเนื่องจากเปลือกต้นเมื่อนำไปต้มจะให้สีน้ำตาลอมเหลือง เนื้อไม้มีสีน้ำตาลอมสีชมพูใช้ในการก่อสร้างบ้านเรือนได้

นนทรี มักจะมีสรรพคุณอยู่ที่เปลือกต้นเนื่องจากเปลือกต้นมีรสฝาดร้อนและมีสารแทนนินสูง เป็นต้นที่เด่นในเรื่องของการช่วยเรื่องระบบเลือดในร่างกาย เป็นต้นไม้ประจำจังหวัดนนทบุรีและมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ซึ่งมีความเชื่อว่าเป็นไม้มงคลด้วย สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลายอุตสาหกรรม มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ เป็นยาขับเลือดและขับประจำเดือน แก้โรคเจ็ด แก้อาการท้องร่วงและท้องเสียได้

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. “นนทรี (Non Si)”. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). หน้า 149.
มูลนิธิหมอชาวบ้าน. นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่ 278 คอลัมน์: ต้นไม้ใบหญ้า. “นนทรีจากป่าสู่นาคร”. (เดชา ศิริภัทร). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.doctor.or.th. [24 มี.ค. 2014].
พรรณไม้บริเวณพระตำหนักเรือนต้น, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “นนทรี”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.rspg.or.th/plants_data/palace/chitralada/cld6-2_1.htm. [24 มี.ค. 2014].
ระบบฐานข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชน, สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน). “นนทรี”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.bedo.or.th. [24 มี.ค. 2014].
ฐานข้อมูลพรรณไม้ที่ใช้ในงานภูมิสถาปัตยกรรม ศูนย์ความรู้ด้านการเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. “นนทรี”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: agkc.lib.ku.ac.th. [24 มี.ค. 2014].
พืชผักพื้นบ้าน นครศรีธรรมราช 103 ชนิด, เทศบาลเมืองทุ่งสง. “นนทรี”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.tungsong.com. [24 มี.ค. 2014].

มะรุม ผักพื้นบ้านสารพัดประโยชน์ ช่วยบรรเทาอาการ ป้องกันโรคและบำรุงผิวพรรณ

0
มะรุม ผักพื้นบ้านสารพัดประโยชน์ ช่วยบรรเทาอาการ ป้องกันโรคและบำรุงผิวพรรณ
มะรุม เป็นผักพื้นบ้านของไทยที่นิยมนำมารับประทาน ซึ่งรับประทานได้ทั้งใบและฝัก คนโบราณยกย่องว่าเป็นพืชสารพัดประโยชน์
มะรุม ผักพื้นบ้านสารพัดประโยชน์ ช่วยบรรเทาอาการ ป้องกันโรคและบำรุงผิวพรรณ
มะรุม เป็นผักพื้นบ้านของไทยที่นิยมนำมารับประทาน ซึ่งรับประทานได้ทั้งใบและฝัก คนโบราณยกย่องว่าเป็นพืชสารพัดประโยชน์

มะรุม

มะรุม (Moringa) เป็นผักพื้นบ้านของไทยที่นิยมนำมารับประทานและเป็นส่วนประกอบในอาหารหลากหลายเมนู อีกทั้งยังสามารถนำมาใช้ประโยชน์เป็นยาสมุนไพรพื้นบ้านได้เช่นกัน มะรุมเป็นพืชเขตร้อนที่มีรสชาติค่อนข้างเผ็ดร้อนและขมตามแต่ละส่วนของต้นจึงอาจส่งผลเสียได้หากรับประทานในปริมาณที่ไม่ถูกต้อง ถือเป็นผักที่คนโบราณและคนทั่วไปยกย่องว่าเป็นพืชสารพัดประโยชน์ที่ดีต่อร่างกาย

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของมะรุม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Moringa oleifera Lam.
ชื่อสามัญ : มีชื่อสามัญว่า “Moringa”
ชื่อท้องถิ่น : ภาคเหนือเรียกว่า “บะค้อนก้อม” ภาคอีสานเรียกว่า “ผักอีฮุม บักฮุ้ม”
ชื่อวงศ์ : วงศ์มะรุม (MORINGACEAE)
ชื่อพ้อง : Guilandina moringa L., Hyperanthera moringa (L.) Vahl, Moringa zeylanica Burmann

ลักษณะของมะรุม

มะรุม เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางที่มีถิ่นกำเนิดในแถบทวีปเอเชีย เช่น ประเทศอินเดียและศรีลังกา เนื่องจากปลูกง่ายในเขตร้อนและทนแล้งได้ดี
ใบ : เป็นใบประกอบแบบขนนกชนิดที่แตกใบย่อย 3 ชั้น ใบออกเรียงสลับกันเป็นรูปไข่ ปลายใบและฐานใบมน ผิวใบด้านล่างสีอ่อนกว่าและมีขนเล็กน้อย
ดอก : ออกดอกเป็นช่อสีขาว มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ และกลีบดอก 5 กลีบ
ผล : ผลเป็นฝักยาวเหลี่ยม มีเปลือกสีเขียว

สรรพคุณของมะรุม

  • สรรพคุณจากมะรุม ช่วยบำรุงผิวให้ชุ่มชื้น เสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย รักษาโรคขาดสารอาหารในเด็กแรกเกิดถึงอายุ 10 ขวบ รักษาโรคมะเร็งในกระดูก ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดในร่างกาย รักษาโรคโลหิตจาง ช่วยลดน้ำตาล ช่วยรักษาโรคเบาหวานโดยรักษาความสมดุลของระดับน้ำตาล รักษาโรคภูมิแพ้ เสริมสร้างภูมิต้านทานโรคที่ต่ำลงของผู้ป่วยเอดส์ บำรุงสุขภาพและรักษาดวงตา ช่วยรักษาโรคตาได้เกือบทุกโรค รักษาโรคตาต้อ รักษาตามืดมัว รักษาโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ รักษาโรคโพรงจมูกอักเสบ รักษาโรคคอหอยพอกชนิดมีพิษ รักษาแผลในปากหรือแผลจากโรคปากนกกระจอก บำรุงและรักษาปอดให้แข็งแรง รักษาโรคปอดอักเสบ รักษาโรคลำไส้อักเสบ บรรเทาอาการท้องเสีย บรรเทาอาการท้องผูก บรรเทาอาการของโรคเกาต์ รักษาโรคกระดูกอักเสบ รักษาโรครูมาติสซั่ม บำรุงรักษาโรคตับและไต ลดโอกาสการติดเชื้อ HIV ของเด็กทารกในช่วงตั้งครรภ์
  • สรรพคุณจากน้ำมะรุม ช่วยให้อาการแพ้รังสีของผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับการรักษาด้วยรังสีฟื้นตัวเร็วขึ้น
  • สรรพคุณจากน้ำมันมะรุม มีสารต้านอนุมูลอิสระและช่วยชะลอวัย ใช้นวดศีรษะ ฆ่าเชื้อราบนหนังศีรษะ แก้อาการคันหนังศีรษะ ช่วยลดอาการผมร่วง แก้อาการปวดศีรษะ ลดสิวบนใบหน้า ลดจุดด่างดำจากแสงแดด ป้องกันและฆ่าพยาธิในหู รักษาโรคหูน้ำหนวก รักษาเยื่อบุหูอักเสบ ใช้นวดบรรเทาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อหรือปวดเมื่อยตามบั้นเอวและขา ใช้นวดเพื่อกระชับกล้ามเนื้อ ลดอาการผื่นคันตามผิวหนังและการแพ้ผ้าอ้อมของเด็กทารก รักษาบาดแผล ช่วยถอนพิษและลดอาการปวดบวมจากแมลงสัตว์กัดต่อย รักษาเชื้อราตามผิวหนังหรือหนังศีรษะ รักษาเชื้อราตามซอกเล็บและโรคน้ำกัดเท้า ทารักษาหูดและตาปลา รักษาโรคเริมและงูสวัด ฆ่าเชื้อจุลินทรีย์และต้านจุลชีพ
  • สรรพคุณจากฝัก ช่วยลดไขมันและคอเลสเตอรอลในร่างกาย ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง ช่วยลดความดัน รักษาโรคความดันโลหิตสูง แก้ไข้และถอนพิษไข้
  • สรรพคุณจากใบ ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง ช่วยลดความดัน รักษาโรคความดันโลหิตสูง แก้อาการปวดศีรษะ แก้ไข้และถอนพิษไข้ รักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน ช่วยในการขับปัสสาวะ แก้อาการอักเสบ รักษาบาดแผล ช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรีย
  • สรรพคุณจากดอก ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง เป็นยาบำรุงร่างกาย ช่วยขับน้ำตา แก้อาการไข้หัวลมหรืออาการไข้เปลี่ยนฤดู ช่วยในการขับปัสสาวะ ช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรีย
  • สรรพคุณจากเมล็ด ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง แก้ไข้และถอนพิษไข้ บรรเทาอาการหวัด บรรเทาอาการไอเรื้อรัง ช่วยขับพยาธิในลำไส้ แก้อาการปวดตามข้อ แก้อาการบวม
    – ช่วยในการขับถ่ายให้เป็นปกติ ด้วยการรับประทานเมล็ดมะรุมวันละ 1 เมล็ดก่อนนอน เมื่อการขับถ่ายกลับมาเป็นปกติค่อยหยุดรับประทาน
  • สรรพคุณจากเปลือกของลำต้น ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง ช่วยคุมธาตุอ่อน ๆ แก้ลมอัมพาต ช่วยย่อยอาหาร ช่วยขับลมในลำไส้ ช่วยในการคุมกำเนิด
  • สรรพคุณจากราก รักษาโรคหัวใจ บำรุงธาตุไฟ รักษาโรคไขข้อ แก้อาการบวม
  • สรรพคุณจากยาง รักษาโรคหอบหืด แก้อาการปวดฟัน แก้อาการปวดหู ช่วยฆ่าเชื้อไทฟอยด์ ช่วยรักษาโรคซิฟิลิส
  • สรรพคุณจากยอดอ่อน แก้ไข้และถอนพิษไข้

ประโยชน์ของมะรุม

1. เป็นส่วนประกอบของอาหาร เป็นส่วนประกอบในเมนูพวกแกงส้ม แกงลาว แกงอ่อม แกงกะหรี่ ยำฝักมะรุม เป็นต้น นำใบสดมารับประทาน ใบแห้งนำมาทำเป็นผง นำเมล็ดมาคั่วรับประทานเป็นถั่ว นำดอกมาลวกรับประทานกับน้ำพริก ยอดอ่อนและใบอ่อนนำไปต้มสุกรับประทานร่วมกับแจ่ว ลาบ ก้อย
2. เป็นส่วนประกอบของยา เป็นยาปฏิชีวนะ แปรรูปเป็นมะรุมแคปซูลได้
3. เป็นส่วนประกอบของอุปกรณ์เครื่องใช้ ในแถบอินเดียใช้ฝักมะรุมทำเป็นไม้ตีกลอง เมล็ดมะรุมนำมาบดละเอียดเพื่อใช้กรองน้ำและทำให้น้ำตกตะกอนจนสามารถฆ่าเชื้อโรคในน้ำได้
4. สกัดเป็นน้ำมันมะรุม นำมาใช้เป็นน้ำมันในการปรุงอาหาร ใช้เป็นน้ำยาหล่อลื่นและช่วยป้องกันสนิม

ข้อควรระวังของมะรุม

1. หญิงตั้งครรภ์ไม่ควรรับประทานในปริมาณที่มากจนเกินไปเพราะอาจจะทำให้แท้งบุตรได้
2. ผู้ที่ป่วยเป็นโรคเกี่ยวกับเลือดไม่ควรรับประทานเพราะจะทำให้เม็ดเลือดแตกง่าย
3. ผู้ป่วยโรคเกาต์ไม่ควรรับประทานในปริมาณที่มากจนเกินไปเพราะมะรุมมีโปรตีนที่ค่อนข้างสูงมาก
4. ไม่ควรให้เด็กทารกในวัยเจริญเติบโตถึง 2 ขวบรับประทานในปริมาณที่มากเกินไปเพราะใบมะรุมมีธาตุเหล็กสูง
5. ไม่ควรรับประทานในปริมาณมากเกินไปเพราะอาจจะทำให้ท้องเสียได้
6. ใบมะรุมควรรับประทานใบสดที่ไม่แก่หรืออ่อนเกินไปและไม่ควรถูกความร้อนนานเกินไปเพื่อให้ได้ประโยชน์ของสารอาหารอย่างเต็มที่
7. หากต้องการรับประทานแคปซูลมะรุม ควรเลือกซื้อมะรุมแคปซูลที่มีฉลาก (อย.) ชัดเจน

คุณค่าโภชนาการของมะรุม

คุณค่าทางโภชนาการของใบมะรุมสดต่อ 100 กรัม ให้พลังงาน 37 กิโลแคลอรี

คุณค่าสารอาหาร ปริมาณสารอาหาร
คาร์โบไฮเดรต 8.53 กรัม
ใยอาหาร 3.2 กรัม
ไขมัน 0.20 กรัม
โปรตีน 2.10 กรัม
น้ำ 88.20 กรัม
วิตามินเอ 4 ไมโครกรัม (1%)
วิตามินบี1 0.0530 มิลลิกรัม (5%)
วิตามินบี2 0.074 มิลลิกรัม (6%)
วิตามินบี3 0.620 มิลลิกรัม (4%)
วิตามินบี5 0.794 มิลลิกรัม (16%)
วิตามินบี6 0.120 มิลลิกรัม (9%)
วิตามินบี9 44 ไมโครกรัม (11%)
วิตามินซี 141.0 มิลลิกรัม (170%)
ธาตุแคลเซียม 30 มิลลิกรัม (3%)
ธาตุเหล็ก 0.36 มิลลิกรัม (3%)
ธาตุแมกนีเซียม 45 มิลลิกรัม (13%) 
ธาตุแมงกานีส 0.259 มิลลิกรัม (12%)
ธาตุฟอสฟอรัส 50 มิลลิกรัม (7%)
ธาตุโพแทสเซียม 461 มิลลิกรัม (10%)
ธาตุโซเดียม 42 มิลลิกรัม (3%)
ธาตุสังกะสี 0.45 มิลลิกรัม (5%)

 

คุณค่าทางโภชนาการของฝักมะรุมต่อ 100 กรัม ให้พลังงาน 32 กิโลแคลอรี 

คุณค่าสารอาหาร ปริมาณสารอาหาร
เส้นใย 1.2 กรัม
แคลเซียม 9 มิลลิกรัม
ฟอสฟอรัส 26 มิลลิกรัม
เหล็ก 1.5 มิลลิกรัม
วิตามินเอ 532 IU
วิตามินบี1 0.05 มิลลิกรัม
ไนอาซิน 0.6 มิลลิกรัม
วิตามินซี 262 มิลลิกรัม

มะรุม เป็นผักที่อุดมไปด้วยสารอาหารมากมายและเป็นผักที่มีส่วนช่วยเสริมสร้างสุขภาพให้แข็งแรงได้อย่างดีเยี่ยม สามารถนำส่วนประกอบทั้งต้นมาใช้ประโยชน์ได้ ทว่าหากรับประทานไม่ถูกวิธีอาจก่อให้เกิดผลตรงข้ามได้เช่นกัน มะรุมเป็นผักที่คนไทยคุ้นเคยและนำมารับประทานตั้งแต่อดีตจึงเป็นผักพื้นบ้านและเป็นยาสมุนไพรที่สำคัญ มีสรรพคุณที่โดดเด่นมากมายทั้งช่วยบรรเทาอาการ ป้องกันโรคและบำรุงผิวพรรณ นอกจากนั้นยังนำมาทำเป็น “แคปซูลมะรุม” ซึ่งค่อนข้างเป็นที่นิยมเพราะรับประทานง่ายและมีประโยชน์ต่อร่างกายสูง

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

ทรงบาดาล ไม้มงคลสีเหลือง เป็นยาแก้ไข้และแก้สะอึกได้

0
ทรงบาดาล เป็นไม้มงคลมีลักษณะโดดเด่นเป็นฝักสีเหลืองห้อยลงมาจากต้น นิยมปลูกในวัด
ทรงบาดาล ไม้มงคลสีเหลือง เป็นยาแก้ไข้และแก้สะอึกได้
ทรงบาดาล เป็นไม้มงคลมีลักษณะโดดเด่นเป็นฝักสีเหลืองห้อยลงมาจากต้น นิยมปลูกในวัด

ทรงบาดาล

ทรงบาดาล (Glossy shower) เป็นพืชพื้นเมืองดั้งเดิมของไทยที่มีลักษณะโดดเด่นเป็นฝักสีเหลืองห้อยลงมาจากต้น นิยมปลูกในวัดเพราะเป็นไม้มงคลที่มีดอกสีเหลืองสำหรับนำมาบูชาไหว้พระ คำว่าทรงบาดาลนั้นมีความหมายว่า ผู้เป็นใหญ่แห่งนาคพิภพ จึงเป็นไม้ที่มีความเชื่อและความเป็นมงคลอย่างสูง

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของทรงบาดาล

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Senna surattensis (Burm.f.) H.S.Irwin & Barneby
ชื่อสามัญ : มีชื่อสามัญว่า “Scrambled eggs” “Kalamona”
ชื่อท้องถิ่น : ภาคเหนือเรียกว่า “ขี้เหล็กบ้าน” ภาคตะวันตกเฉียงเหนือเรียกว่า “สะเก๋ง” จังหวัดเชียงใหม่เรียกว่า “สะเก้ง” จังหวัดขอนแก่นเรียกว่า “ขี้เหล็กหวาน” จังหวัดระยองเรียกว่า “พรึงบาดาล ตรึงบาดาล” มีชื่อเรียกอื่น ๆ ว่า “สะแก้ง”
ชื่อวงศ์ : วงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE)
ชื่อพ้อง : Cassia surattensis Burm.f.

ลักษณะของทรงบาดาล

ทรงบาดาล เป็นไม้พุ่มกึ่งไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลางที่มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนของทวีปเอเชีย มักจะพบกลางแจ้ง
ลำต้น : แตกกิ่งก้านสาขามากเป็นเรือนยอด
เปลือกลำต้น : เป็นสีน้ำตาลปนสีเทา แตกเป็นสะเก็ดเล็ก ๆ
ใบ : เป็นใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียวออกเรียงสลับกันเป็นรูปวงรี ปลายใบและโคนใบมน ขอบใบเรียบ หลังใบเรียบ ส่วนท้องใบมีขนประปราย
ดอก : ออกดอกเป็นช่อตามศอกใบใกล้กับปลายยอด ดอกย่อยเป็นสีเหลือง กลีบดอก 5 กลีบ ลักษณะของกลีบดอกเป็นรูปไข่ กลีบเลี้ยง 5 กลีบ เป็นสีเขียวอมเหลือง ต้นทรงบาดาลมีดอกดกและสามารถออกดอกได้ตลอดทั้งปี
ผล : ออกผลเป็นฝักแบนเรียบ เมื่อฝักแก่จะแตกออกตามตะเข็บ
เมล็ด : ภายในฝักมีเมล็ดประมาณ 15 – 25 เมล็ด ผิวของเมล็ดเป็นมันเงา

สรรพคุณของทรงบาดาล

  • สรรพคุณจากราก เป็นยาถอนพิษไข้
    – เป็นยาถอนพิษผิดสำแดงหรือไข้ซ้ำ เป็นยาแก้สะอึก ด้วยการนำมาต้มกับน้ำแล้วดื่ม
  • สรรพคุณจากรากกับเถาสะอึกและรากมะกล่ำเครือ
    – เป็นยาแก้อาการสะอึกจากกระเพาะอาหารขยายตัว ด้วยการนำรากทรงบาดาลร่วมกับเถาสะอึกและรากมะกล่ำเครือ

ประโยชน์ของทรงบาดาล

1. เป็นส่วนประกอบของอาหาร ยอดอ่อนและใบอ่อนสามารถนำมาใช้รับประทานเป็นผักได้
2. ปลูกเป็นไม้ประดับ ปลูกเลี้ยงง่ายและแข็งแรงทนทาน ดอกมีสีเหลืองสดใสสวยงาม นิยมปลูกในบริเวณวัด ในสมัยก่อนนิยมนำมาปลูกไว้ตามสถานที่อื่น ๆ อย่างอาคารบ้านเรือน สวนหย่อม สวนสาธารณะ ตามทางเท้าและตามริมถนนสายใหญ่ในชนบท
3. เป็นความเชื่อ เป็นไม้มงคลที่ใช้ในการประกอบพิธีก่อฤกษ์หรือวางศิลาฤกษ์ในการก่อสร้างอาคารหรือถาวรวัตถุต่าง ๆ เชื่อว่าการปลูกต้นทรงบาดาลจะช่วยดลบันดาลให้เกิดโชคลาภ ทำให้มีฐานะดีขึ้น และอีกความเชื่อบอกไว้ว่าหมายถึง การมีพลังอำนาจยิ่งใหญ่และได้รับการยกย่องจากผู้อื่น คนโบราณนั้นให้ปลูกในวันเสาร์และปลูกทางทิศตะวันตกของบ้านแต่ผู้ปลูกต้องเป็นผู้ประกอบอาชีพสุจริตด้วยจึงจะเป็นมงคล

ทรงบาดาล เป็นไม้มงคลที่มีความเชื่อยิ่งใหญ่ตามชื่อ และยังเป็นไม้ประดับที่มีดอกสีเหลืองสวยงามซึ่งเป็นสีของธรรมะ สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลากหลายและเป็นต้นที่มีอายุยืน ส่วนมากมักจะพบตามที่สาธารณะทั่วไป มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ เป็นยาแก้ไข้และแก้สะอึก เชื่อว่าคนไทยทุกคนต้องเคยเห็นแต่อาจจะไม่รู้จักชื่อและไม่รู้ว่าต้นทรงบาดาลมีความเชื่อและมีสรรพคุณทางยาต่อร่างกายได้

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. “ทรงบาดาล (Song Badan)”. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). หน้า 141.
หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. “ทรงบาดาล”. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). หน้า 356.
หนังสือพรรณไม้สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เล่ม 3. “ทรงบาดาล”.
มูลนิธิหมอชาวบ้าน. นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่ 299 คอลัมน์: ต้นไม้ใบหญ้า. “ทรงบาดาล : ความมั่นคงและคุ้มครองของไม้มงคล”. (เดชา ศิริภัทร). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.doctor.or.th. [18 มี.ค. 2014].
บทความวิทยุรายการสาระความรู้ทางการเกษตร, งานศูนย์บริการวิชาการและฝึกอบรม ฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ, คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่. “ทรงบาดาล”. (ดวงจันทร์ เกรียงสุวรรณ). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: natres.psu.ac.th. [18 มี.ค. 2014].

ตานหม่อน ป้องกันฝุ่น PM2.5 เป็นยาขับพยาธิและแก้พิษตานซางได้

0
ตานหม่อน ป้องกันฝุ่น PM2.5 เป็นยาขับพยาธิและแก้พิษตานซางได้
ตานหม่อน เป็นยาในตำราไทยที่ขึ้นชื่อในการขับพยาธิ และช่วยป้องกันฝุ่น PM2.5 ได้ มีดอกสีสวยและมีกลิ่นหอม สามารถปลูกเป็นไม้ประดับได้
ตานหม่อน ป้องกันฝุ่น PM2.5 เป็นยาขับพยาธิและแก้พิษตานซางได้
ตานหม่อน เป็นยาในตำราไทยที่ขึ้นชื่อในการขับพยาธิ และช่วยป้องกันฝุ่น PM2.5 ได้ มีดอกสีสวยและมีกลิ่นหอม สามารถปลูกเป็นไม้ประดับได้

ตานหม่อน

ตานหม่อน (Vernonia elliptica) โด่งดังในการช่วยป้องกันฝุ่น PM2.5 ได้ และยังเป็นยาในตำราไทยที่ขึ้นชื่อในเรื่องของการขับพยาธิ ต้นของตานหม่อนมีรสเบื่อเอียน รากมีรสหวานชุ่ม ในบัญชียาสมุนไพรได้บอกว่ามีการใช้ใบตานหม่อนร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่น ๆ อีกด้วย ตานหม่อนเป็นต้นที่มีดอกสีสวยและมีกลิ่นหอม หากจะนำมาปลูกประดับก็ย่อมได้เช่นกัน

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของตานหม่อน

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Vernonia elliptica DC.
ชื่อท้องถิ่น : จังหวัดกรุงเทพมหานครเรียกว่า “ลีกวนยู” จังหวัดหนองคายเรียกว่า “ข้ามักหลอด ช้ามักหลอด” จังหวัดนครศรีธรรมราชเรียกว่า “ตานหม่น” จังหวัดสุราษฎร์ธานีเรียกว่า “ตานค้อน”
ชื่อวงศ์ : วงศ์ทานตะวัน (ASTERACEAE หรือ COMPOSITAE)

ลักษณะของตานหม่อน

ตานหม่อน เป็นไม้เถาเลื้อยพาดพันกับต้นไม้อื่นและพยุงตัวขึ้น มีถิ่นกำเนิดในอินเดีย พม่าและไทย ในประเทศไทยสามารถพบได้ทุกภาคตามชายป่าผสมผลัดใบ ป่าดงดิบแล้งทั่วไปและเป็นพรรณไม้ที่ทนความแห้งแล้งได้
เปลือกเถา : เปลือกเถาเรียบเป็นสีน้ำตาล ตามกิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขนสีขาวปกคลุมอยู่หนาแน่น
ลำต้น : แตกกิ่งก้านยาวเรียว แตกลำได้ใหม่จากลำต้นที่ทอดไปตามพื้นดิน
ใบ : เป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับกันเป็นรูปวงรีแกมรูปไข่กลับ ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ขอบใบเรียบหรือบางครั้งเป็นหยักห่าง ๆ ใบเป็นสีเขียวเข้ม แผ่นใบเรียบหนาคล้ายหนัง หลังใบเกลี้ยง ส่วนท้องใบมีขนสีเงินหรือสีขาวนวล
ดอก : ออกดอกเป็นช่อกระจุกแน่นตามซอกใบหรือที่ปลายยอด ดอกย่อยเป็นสีขาวนวล กลีบดอกเป็นเส้นเล็ก ๆ จำนวนมาก ดอกมีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ โคนกลีบเชื่อมติดกัน ด้านนอกมีขน
ผล : ผลเป็นผลแห้ง ไม่แตก ผลมีสัน 5 สัน
เมล็ด : เมล็ดล่อนเป็นสีดำรูปกระสวย

สรรพคุณของตานหม่อน

  • สรรพคุณจากราก ช่วยคุมธาตุในร่างกาย แก้พิษตานซาง เป็นยาขับพยาธิไส้เดือน บำรุงเนื้อหนังให้สมบูรณ์
  • สรรพคุณจากต้น แก้ตานซาง เป็นยาขับพยาธิ
  • สรรพคุณจากใบ
    – เป็นยาห้ามเลือด ด้วยการนำใบสดมาขยี้ให้ช้ำหรือตำพอหยาบแล้วนำมาปิดแผลในขณะที่เลือดออก ทำให้เลือดหยุดไหลทันที
  • สรรพคุณจากราก ใบ ดอก แก้ตานซางในเด็ก ช่วยฆ่าพยาธิ
  • สรรพคุณจากต้น ราก ใบ ดอก รักษาลำไส้

ประโยชน์ของตานหม่อน

เป็นส่วนประกอบของอาหาร ยอดอ่อนนำมาต้ม ลวกหรือนึ่งใช้รับประทานเป็นผักกับน้ำพริกหรือลาบได้

ตานหม่อน เป็นยาสมุนไพรไทยที่มักจะใช้ในการขับพยาธิและเป็นที่นิยมของหมอยาโบราณ สามารถป้องกันฝุ่น PM2.5 ซึ่งระบาดอย่างมากในยุคปัจจุบัน แถมยังเป็นไม้เลื้อยที่ช่วยยกระดับความสวยงามของบ้านได้ มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ เป็นยาขับพยาธิ แก้พิษตานซาง รักษาลำไส้และเป็นยาห้ามเลือด เป็นต้นที่นิยมนำมาใช้ในยาสมุนไพรหลายตำรา

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. “ตานหม่อน (Tan Mon)”. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). หน้า 128.
หนังสือสมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ. (คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “ตานหม่อน”. หน้า 205.
ผักพื้นบ้านในประเทศไทย, กรมส่งเสริมการเกษตร. “ตานหม่อน”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: 203.172.205.25/ftp/intranet/Research_AntioxidativeThaiVegetable/. [14 มี.ค. 2014].

นมสวรรค์ ไม้สีสันสดใส ช่วยแก้ฝี แก้ไข้ ลดความดันเลือดและรักษาโรคปัสสาวะขัด

0
นมสวรรค์ ไม้สีสันสดใส ช่วยแก้ฝี แก้ไข้ ลดความดันเลือดและรักษาโรคปัสสาวะขัด
นมสวรรค์ ไม้สีสันสดใส ช่วยแก้ฝี แก้ไข้ ลดความดันเลือดและรักษาโรคปัสสาวะขัด
นมสวรรค์ ไม้สีสันสดใส ช่วยแก้ฝี แก้ไข้ ลดความดันเลือดและรักษาโรคปัสสาวะขัด
นมสวรรค์ เป็นต้นไม้ที่มีลักษณะโดดเด่นและสีสันสวยงาม นิยมปลูกประดับตกแต่ง และใช้เป็นยารักษาได้

นมสวรรค์

นมสวรรค์ (Pagoda flower) เป็นไม้ที่ไม่ค่อยได้ยินชื่อนักสำหรับคนไทยทั่วไป ส่วนมากจะขึ้นอยู่ในป่า เป็นต้นไม้ที่มีลักษณะโดดเด่นและสีสันสวยงาม มักจะนำมาปลูกประดับตกแต่งมากกว่าจะนำมาเป็นส่วนประกอบในอาหาร นมสวรรค์ยังสามารถนำส่วนต่าง ๆ ของต้นมาใช้เป็นยารักษาได้ เป็นพืชที่น่าสนใจในการนำมาปลูกเพื่อประดับบ้านและนำมาเป็นยาสมุนไพรได้ด้วย

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของนมสวรรค์

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Clerodendrum paniculatum L.
ชื่อสามัญ : มีชื่อสามัญว่า “Pagoda plant” “Pagoda flower”
ชื่อท้องถิ่น : ภาคกลางเรียกว่า “ปรางมาลี” ภาคเหนือเรียกว่า “ปิ้งแดง” ภาคใต้เรียกว่า “นมหวัน” จังหวัดนครพนมเรียกว่า “สาวสวรรค์ พนมสวรรค์ เข็มฉัตร” จังหวัดนครราชสีมาเรียกว่า “ฉัตรฟ้า สาวสวรรค์” จังหวัดระนองเรียกว่า “น้ำนมสวรรค์” จังหวัดเลยเรียกว่า “พวงพีเหลือง” จังหวัดสระบุรีเรียกว่า “หัวลิง” ชาวกะเหรี่ยงแดงเรียกว่า “โพโก่เหมาะ” มีชื่อเรียกอื่น ๆ ว่า “พู่หมวก”
ชื่อวงศ์ : วงศ์กะเพรา (LAMIACEAE หรือ LABIATAE)
ชื่อพ้อง : Clerodendron pyramidale Andrews

ลักษณะของนมสวรรค์

นมสวรรค์ เป็นไม้ล้มลุกที่มีพุ่มขนาดกลาง สามารถพบได้ตามชายป่า
ลำต้น : ลำต้นตั้งตรง กิ่งอ่อนเป็นสี่เหลี่ยม
เปลือกต้น : มีลักษณะเรียบ เป็นสีน้ำตาลแกมเขียว
ใบ : เป็นใบเดี่ยวออกตรงข้ามกัน มีลักษณะเป็นรูปไข่ค่อนข้างกลม ปลายแหลม โคนใบรูปหัวใจ ขอบใบเว้าเป็นแฉกและมีจัก ด้านล่างมีขนสาก มีเส้นแขนงใบ เส้นแขนงใบย่อยเป็นแบบร่างแหผสมขั้นบันได
ดอก : ออกดอกเป็นช่อขนาดใหญ่ที่ปลายกิ่งสีแดงหรือสีขาว ชนิดดอกขาวจะเรียกว่า “นมสวรรค์ตัวผู้” ส่วนชนิดดอกสีแดงเรียกว่า “นมสวรรค์ตัวเมีย” กลีบรองดอกเป็นรูประฆังสีส้มแดง กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด
ผล : ผลสดเป็นรูปทรงกลมหรือสามพู ผลอ่อนมีสีเขียว ผลแก่เมื่อสุกมีสีแดงคล้ำ ผลผนังชั้นในแข็ง
เมล็ด : ใน 1 ผลมี 1 เมล็ด ลักษณะแข็ง

สรรพคุณของนมสวรรค์

  • สรรพคุณจากนมสวรรค์
    – รักษาโรคปัสสาวะขัดและใช้เข้าตำรับยาขับนิ่ว ด้วยการใช้ร่วมกับรากหญ้าคาและผักคราดหัวแหวน
    สรรพคุณจากราก ดอกและต้น ลดไขมันในเส้นเลือด แก้ฝีภายใน แก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย
  • สรรพคุณจากราก ช่วยลดความดันโลหิต แก้ไข้ที่มีอาการถ่ายเหลว อาเจียนเป็นเลือดและมีผื่นขึ้นบริเวณผิวหนัง แก้วัณโรค ขับเสมหะ ช่วยขับลม แก้โลหิตในท้อง เป็นยาถ่าย แก้ประดงลมและประดงไฟ
    – แก้อาการตึงในหนังศีรษะและอาการปวดในเบ้าตา ทางภาคอีสานจึงใช้รากนมสวรรค์มาต้มดื่ม
    – ช่วยทำให้อาเจียน ใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยได้กินสารพิษและต้องการขับสารพิษออกจากทางเดินอาหาร ให้กินครั้งละมากกว่า 2 กรัม
    – แก้อาการปวดท้อง แก้ไข้อย่างไข้มาลาเรียและไข้เหนือ ด้วยการใช้รากฝนกับน้ำแล้วดื่ม
    – ขับน้ำคาวปลาของสตรีหรือของเหลวที่ถูกขับออกมาทางช่องคลอดหลังจากคลอดลูก บำรุงน้ำนม ด้วยการต้มรากกับน้ำแล้วดื่ม
    – รักษาฝี ด้วยการนำรากมาฝนแล้วทา
  • สรรพคุณจากใบ รักษาอาการแน่นอก แก้ลมในทรวงอก แก้พิษฝีดาษ
    – แก้ทรวงอกอักเสบ แก้ไข่ดันบวมและแก้ลูกหนูใต้รักแร้บวม รักษาอาการปวดข้อและปวดประสาท ด้วยการนำใบมาตำแล้วพอก
  • สรรพคุณจากดอก แก้อาการตกเลือด แก้โลหิตในท้อง แก้พิษฝีกาฬ แก้พิษที่เกิดจากการติดเชื้อ
  • สรรพคุณจากต้น แก้พิษฝีฝักบัว ช่วยแก้พิษ แก้อาการอักเสบเนื่องจากตะขาบและแมงป่องกัด
    หมายเหตุ : รากและเหง้ามีน้ำมันหอมระเหยซึ่งมีกลิ่นเฉพาะตัวและมีสาร 2 – asarone ซึ่งมีฤทธิ์ช่วยลดความดันโลหิต แต่มีรายงานพบว่าเป็นพิษต่อตับและอาจทำให้เกิดโรคมะเร็งได้ จึงต้องรอการศึกษาความเป็นพิษเพิ่มเติมก่อนการนำมาใช้

ประโยชน์ของนมสวรรค์

1. เป็นส่วนประกอบของอาหาร ยอดอ่อนและใบนำมาทำแกงได้
2. ปลูกเป็นไม้ประดับ ปลูกเป็นไม้ประดับเพราะมีสีและรูปทรงที่สวยงาม
3. ใช้ในอุตสาหกรรม ผลนมสวรรค์สามารถนำมาเป็นสีย้อมผ้าได้ โดยจะให้สีม่วงแดง

วิธีการดับกลิ่นเหม็นเขียวของนมสวรรค์

ดับกลิ่นได้ด้วยการนำมาปรุงอาหาร เริ่มจากการหั่นเป็นฝอยใส่ลงในกะทิแล้วใช้รองก้นกระทงสำหรับห่อหมก แล้วนำไปนึ่งให้สุกก็จะสามารถดับกลิ่นเหม็นเขียวได้ แถมยังช่วยให้มีรสชาติอร่อยมากขึ้น

นมสวรรค์ มีชื่อเรียกหลากหลายตามแต่พื้นที่ มักจะพบเป็นไม้ที่ปลูกประดับได้ทั่วไป แต่เป็นต้นที่มีสรรพคุณทางยาได้มากมายกว่าที่คิด ด้วยรูปลักษณ์ที่สวยงามและมีสีสันจึงไม่น่าเชื่อว่าจะสามารถนำส่วนต่าง ๆ ของต้นมารักษาได้ มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ ลดความดันเลือด แก้ฝีต่าง ๆ แก้ไข้ รักษาโรคปัสสาวะขัด ถือเป็นไม้ที่มีประโยชน์มากกว่าภายนอกที่เห็น

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: eherb.hrdi.or.th. [4 พ.ย. 2013].
หนังสือชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. สวนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้. (เต็ม สมิตินันทน์).
ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์. อ้างอิงใน: หนังสือพรรณไม้สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.qsbg.org. [4 พ.ย. 2013].
อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.pharmacy.mahidol.ac.th. [4 พ.ย. 2013].
หนังสือผักพื้นบ้านภาคใต้. สถาบันการแพทย์แผนไทย กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.
ฐานข้อมูลทางวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. อ้างอิงใน: สำนักศิลปวัฒนธรรม สถาบันราชภัฏนครศรีธรรมราช. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.culture.nstru.ac.th. [4 พ.ย. 2013].
ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.phargarden.com. [4 พ.ย. 2013].
สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.rspg.or.th. [4 พ.ย. 2013].
แมกโนเลีย ไทยแลนด์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.magnoliathailand.com. [4 พ.ย. 2013].

มะเดื่อชุมพร ยาแก้ไข้ รักษาเบาหวาน ช่วยขับถ่ายคล่อง

0
มะเดื่อชุมพร
มะเดื่อชุมพร ผลกลมแป้นหรือรูปไข่เกาะกลุ่มอยู่ตามต้นและตามกิ่ง รสฝาดอมหวาน

มะเดื่อชุมพร ไม้ประจำจังหวัดชุมพร เป็นยาแก้ไข้ รักษาเบาหวาน ช่วยขับถ่ายคล่อง

มะเดื่อชุมพร

มะเดื่อชุมพร (Cluster fig) เป็นผลที่นิยมอย่างมากสำหรับต่างประเทศแต่ไม่เป็นที่นิยมนักในประเทศไทยเนื่องจากเป็นต้นที่มักจะมีแมลงหวี่ตอมอยู่ในผลจึงทำให้ดูไม่น่าทานทั้ง ๆ ที่มะเดื่อเป็นผลที่มีโภชนาการสูงชนิดหนึ่งเลยทีเดียว ทั้งนี้คำว่า “ชุมพร” นั้นมาจากการที่มะเดื่อชนิดนี้เป็นพันธุ์ไม้ประจำจังหวัดชุมพรจึงทำให้ได้ชื่อว่า “มะเดื่อชุมพร” เป็นต้นที่มีสรรพคุณทางยามากมายจากทั้งต้น

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของมะเดื่อชุมพร

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ficus racemosa L.
ชื่อสามัญ : มีชื่อสามัญว่า “Cluster fig” “Goolar (Gular)” “Fig”
ชื่อท้องถิ่น : ภาคอีสานเรียกว่า “มะเดื่อน้ำ มะเดื่อหอม หมากเดื่อ เดื่อเลี้ยง” ภาคเหนือเรียกว่า “เดื่อเกลี้ยง” ภาคใต้เรียกว่า “มะเดื่อ มะเดื่อเกลี้ยง มะเดื่อชุมพร เดื่อน้ำ กูแซ” มีชื่ออื่น ๆ เรียกว่า “มะเดื่อดง มะเดื่อไทย มะเดื่ออุทุมพร”
ชื่อวงศ์ : วงศ์ขนุน (MORACEAE)
ชื่อพ้อง : Ficus glomerata Roxb.

ลักษณะของมะเดื่อชุมพร

มะเดื่อชุมพร เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางที่มีถิ่นกำเนิดครอบคลุมในเขตร้อนของทวีปเอเชียตั้งแต่ประเทศอินเดียไปจนถึงประเทศจีน
ลำต้น : ลำต้นเกลี้ยง ทรงพุ่มกว้าง ใบหนาทึบ
เปลือกต้น : เปลือกต้นเป็นสีน้ำตาลหรือน้ำตาลปนเทา กิ่งอ่อนเป็นสีเขียว กิ่งแก่เป็นสีน้ำตาลเกลี้ยง
ใบ : เป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับกันตามกิ่ง ใบเป็นรูปทรงวงรีหรือรูปหอก โคนใบมนหรือกลม ปลายใบแหลม ผิวใบเกลี้ยงหรือมีขนไม่หลุดร่วงง่าย ขอบใบเรียบ มีเส้นแขนงใบประมาณ 6 – 8 คู่
ดอก : ออกดอกเป็นช่อยาวตามกิ่ง โดยแต่ละช่อจะมีดอกย่อยขนาดเล็กเป็นกลุ่ม ดอกช่อจะเกิดภายในฐานรองดอกที่มีรูปร่างคล้ายผล ดอกมีสีขาวอมชมพู
ผล : มีลักษณะทรงกลมแป้นหรือรูปไข่ ผลจะเกาะกลุ่มอยู่ตามต้นและตามกิ่งห้อยเป็นระย้าสวยงาม โดยผลอ่อนจะเป็นสีเขียว เมื่อสุกจะเป็นสีแดงม่วง มีรสฝาดอมหวาน

สรรพคุณของมะเดื่อชุมพร

  • สรรพคุณจากมะเดื่อชุมพร ช่วยในการขับถ่าย ป้องกันอาการท้องผูก
  • สรรพคุณจากราก เป็นยาแก้ไข้พิษทุกชนิด ช่วยกล่อมเสมหะและโลหิต แก้อาการร้อนใน
    – บำรุงหลังการคลอดบุตรของสตรี ด้วยการนำรากมาต้มกับน้ำเพื่อปรุงเป็นยา
  • สรรพคุณจากเปลือก แก้อาเจียน แก้ธาตุพิการ แก้ประดงเม็ดผื่นคัน
  • สรรพคุณจากผลดิบ แก้โรคเบาหวาน
  • สรรพคุณจากผลสุก เป็นยาระบาย
  • สรรพคุณจากเปลือกต้น แก้อาการท้องเสียและท้องร่วง ช่วยห้ามเลือดและชะล้างบาดแผล เป็นยาสมานแผล

ประโยชน์ของมะเดื่อชุมพร

1. เป็นส่วนประกอบของอาหาร ใบอ่อนใช้นึ่งกินเป็นผักจิ้มกับน้ำพริก ส่วนยอดอ่อนนำมาลวกกินกับน้ำพริก ผลอ่อนใช้รับประทานได้ หัวใต้ดินนำมานึ่งรับประทานได้ ลูกมะเดื่อนำมารับประทานเป็นผักได้โดยใช้จิ้มกับผักหรือใช้ทำแกงอย่างแกงส้มได้
2. เป็นไม้มงคลทำพิธีต่าง ๆ ในสมัยอดีตจะใช้ไม้มะเดื่อทำพระที่นั่งในพระราชพิธีราชาภิเษก ใช้ทำเป็นกระบวยตักน้ำเจิมถวายและใช้ทำหม้อน้ำสำหรับกษัตริย์ทรงใช้ในพระราชพิธี
3. ใช้ในการเกษตร ผลสุกใช้เป็นอาหารสัตว์ของพวกกระรอก นก หนู เป็นต้น เมล็ดของมะเดื่อจะงอกได้ดีหากมีน้ำย่อยในกระเพาะของสัตว์จึงเป็นการขยายพันธุ์ของมะเดื่อชุมพรได้
4. ใช้ในอุตสาหกรรม ยางเหนียวใช้ลงพื้นสำหรับปิดทอง เนื้อไม้ใช้ทำเป็นแอกไถ หีบใส่ของและไม้จิ้มฟันได้

มะเดื่อชุมพร เป็นต้นที่มีลูกมะเดื่อเป็นพวงอยู่บนต้น สามารถนำส่วนต่าง ๆ ของต้นมาใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย ผลมีคุณค่าทางโภชนาการสูงแต่คนไทยไม่นิยม เป็นต้นไม้มงคลชนิดหนึ่งและยังเป็นไม้ประจำจังหวัดชุมพรอีกด้วย มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ แก้โรคเบาหวาน แก้ไข้ทุกชนิด แก้อาการเสียและท้องร่วงได้

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
แหล่งอ้างอิง : เว็บไซต์สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, เว็บไซต์มูลนิธิหมอชาวบ้าน, เว็บไซต์สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)