Home Blog Page 116

ดาวน์ซินโดรม ( Down Syndrome ) เกิดจากอะไร

0
ดาวน์ซินโดรม ( Down Syndrome )
ดาวน์ซินโดรม ( Down Syndrome ) คือ ความผิดปกติทางพันธุกรรมที่เกิดขึ้นเมื่อการแบ่งเซลล์ผิดปกติส่งผลให้มีโครโมโซม คู่ที่ 21 ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านพัฒนาการและทางร่างกาย
ดาวน์ซินโดรม ( Down Syndrome )
ดาวน์ซินโดรม คือ ความผิดปกติทางพันธุกรรมที่เกิดขึ้นเมื่อการแบ่งเซลล์ผิดปกติส่งผลให้มีโครโมโซม คู่ที่ 21 ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านพัฒนาการและทางร่างกาย

อาการดาวน์ซินโดรม คือ

ดาวน์ซินโดรม ( Down Syndrome ) คือ ความผิดปกติทางพันธุกรรมที่เกิดขึ้นเมื่อการแบ่งเซลล์ผิดปกติส่งผลให้มีโครโมโซม คู่ที่ 21 ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านพัฒนาการและทางร่างกาย โดยปกติคนเราจะมีโครโมโซมซึ่งเป็นพันธุกรรมที่ควบคุมลักษณะของแต่ละบุคคล เช่น สีของตา เพศ หรือการพัฒนารูปร่างหน้าตาที่ได้รับ

สาเหตุของการเกิดกลุ่มอาการดาวน์

1.ไทรโซมี 21 ( Trisomy 21 ) คือ การที่มีโครโมโซมคู่ที่ 21 เกินมา 1 แท่ง ปกติคนเราจะมีโครโมโซม 23 คู่หรือ 46 แท่ง โดยครึ่งหนึ่งหรือ 23 แท่ง มาจากไข่ของแม่และ 23 แท่ง มาจากสเปิร์มของพ่อ เมื่อไข่และสเปิร์มมาผสมกันจึงมีโครโมโซม 46 แท่ง ผู้ป่วยที่เป็น Trisomy 21 จะมีโครโมโซม 47 แท่ง เกิดจากรังไข่ของแม่มีการแบ่งเซลล์ที่ผิดปกติ ทำให้ได้ไข่ที่มีโครโมโซม 24 แท่ง โดยมีแท่งของโครโมโซมคู่ที่ 21 เกินมา 1 แท่ง

2. การสับเปลี่ยนของโครโมโซมแบบโรเบิร์ตโซเนียน ( Robertsonian translocation ) คือ การมีสารพันธุกรรมของโครโมโซมคู่ที่ 21 เกินมาแต่จำนวนแท่งของโครโมโซมไม่เพิ่มขึ้น คือมี 46 แท่ง เป็นภาวะที่มีการสับเปลี่ยนหรือเคลื่อนย้ายโครโมโซมผิดปกติ ( Translocation ) สาเหตุเกิดจากพ่อหรือแม่มีโครโมโซมผิดปกติ คือบางส่วนของแท่งโครโมโซมที่ 21 ย้ายไปติดอยู่กับโครโมโซมคู่ที่ 13, 14, 15, 21 หรือ 22 แต่ที่พบบ่อยที่สุด คือระหว่างโครโมโซมคู่ที่ 21 กับ 14 และทำให้มีจำนวนโครโมโซมเหลือเพียง 45 แท่ง

3. โมเซอิก ( Mosaicism ) คือ การที่เซลล์บางเซลล์ในร่างกายมีแท่งโครโมโซมคู่ที่ 21 เกินมา 1 แท่ง คือมี 47 แท่ง แต่บางเซลล์มีโครโมโซม 46 แท่งเหมือนปกติ เรียกว่า Trisomy 21 Mosaicism
สาเหตุการเกิดเหมือนกับ Trisomy 21 แต่เซลล์ตัวอ่อนที่เป็น Trisomy 21 เกิดการแบ่งเซลล์ที่ผิดปกติ

4. Partial Trisomy 21 คือ โครโมโซมคู่ที่ 21 เกินมาเพียงบางส่วนไม่ใช่ทั้งโครโมโซม โดยส่วน
ของโครโมโซมที่เกินมานั้น มียีนที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มอาการดาวน์ ซึ่งอยู่บนแขนยาวของโครโมโซมคู่ที่ 21 รวมอยู่ด้วย ความผิดปกติแบบนี้พบน้อยมาก

ดาวน์ซินโดรม คือ ความผิดปกติทางพันธุกรรมที่เกิดแบ่งเซลล์ผิดปกติ ทำให้มีโครโมโซม คู่ที่ 21 ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านพัฒนาการและทางร่างกาย

อาการของดาวน์ซินโดรม

  • ศีรษะเล็ก
  • ใบหน้าสั้นและแบน
  • ตาขนาดเล็ก หางตาเฉียงขึ้น
  • คอสั้น
  • ใบหูเล็ก
  • พัฒนาการทางด้านร่างกาย เด็กจะตัวอ่อนนิ่ม
  • นิ้วสั้น มือสั้น เท้าสั้นและเล็ก
  • เส้นลายพับบนฝ่ามือตัดเป็นเส้นเดียว
  • ปากเล็ก และลิ้นจุกปากยื่นออกมา
  • พัฒนาการทางด้านสมองความจำสั้น ปัญญาอ่อนเล็กน้อยถึงปานกลาง
  • พูดช้าและพูดไม่ชัด
  • มีจุดเล็กๆ สีขาวบนม่านตา
  • ตัวเตี้ย
  • พฤติกรรมต่างๆ จะช้ากว่าปกติการวินิจฉัยดาวน์ซินโดรม
  • บางรายอาจพบปลายนิ้วก้อยโค้งเข้าหานิ้วนาง

ตารางความเสี่ยงที่จะเกิดทารกกลุ่มอาการดาวน์ของหญิงตั้งครรภ์

ช่วงอายุหญิงตั้งครรภ์ (ปี) อัตราความเสี่ยง (คน)
20 – 34 1 : 600 – 1 : 800
35 – 39 1 : 350
40 – 44 ปี 1 : 100
> 45 1 : 50

การรักษาดาวน์ซินโดรม

ดาวน์ซินโดรมเป็นกลุ่มอาการที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ผู้ป่วยต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากคนในครอบครัว สังคม และโรงเรียน เพื่อให้เค้าเหล่านั้นดูแลและช่วยเหลือตนเอง ปรับตัวอยู่ร่วมกับคนอื่นในสังคมได้ ฝึกทักษะการพูด อ่าน เขียน แม้แต่การใช้ชีวิตประจำวัน

การป้องกันดาวน์ซินโดรม

  • การตรวจคัดกรองกลุ่มอาการดาวน์ของทารกในครรภ์ โดยการเจาะเลือดของมารดาในระหว่างตั้งครรภ์ ตั้งแต่อายุครรภ์ 11 สัปดาห์
  • การตรวจวินิจฉัยก่อนคลอด ได้แก่ การตัดชิ้นเนื้อรกโดยใช้เข็มเจาะผ่านทางหน้าท้อง หรือสอดเข้าทางช่องคลอดของมารดาในขณะที่ตั้งครรภ์ 11-12 สัปดาห์ และการเจาะน้ำคร่ำไปตรวจในระหว่างที่มารดามีอายุครรภ์ 16-20 สัปดาห์

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

Down syndrome (ออนไลน์).สืบค้นจาก : https://www.mayoclinic.org [30 พฤษาคม 2562].

กลุ่มอาการดาวน์ (ออนไลน์).สืบค้นจาก : https://th.wikipedia.org [30 พฤษาคม 2562].

ตกขาว ( Leukorrhea หรือ Vaginal Discharge )

0
ตกขาว ( Leukorrhea หรือ Vaginal Discharge )
ตกขาว ( Leukorrhea หรือ Vaginal Discharge ) คือ ตกขาวมีลักษณะเป็นมูกใส ๆ หรือเป็นสีขาวไหลออกมาจากช่องคลอดของผู้หญิงโดยไม่ใช่เลือดประจำเดือน
ตกขาว ( Leukorrhea หรือ Vaginal Discharge )
ตกขาว คือ ตกขาวมีลักษณะเป็นมูกใส ๆ หรือเป็นสีขาวไหลออกมาจากช่องคลอดของผู้หญิงโดยไม่ใช่เลือดประจำเดือน

ตกขาวคืออะไร

ตกขาว ( Leukorrhea หรือ Vaginal Discharge ) คือ ตกขาวมีลักษณะเป็นมูกใส ๆ หรือเป็นสีขาวไหลออกมาจากช่องคลอดของผู้หญิงโดยไม่ใช่เลือดประจำเดือน ซึ่งสร้างความชุ่มชื้นให้บริเวณช่องคลอดและช่วยป้องกันการติดเชื้อภายในช่องคลอด โดยตกขาวปกติจะมีสีขาวหรือใส และไม่มีกลิ่นเหม็น ส่วนตกขาวที่มีสีเทา สีเขียว สีเหลือง สีชมพู หรือมีเลือดปน และส่งกลิ่นคาวคล้ายเนื้อเน่า จะเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นภายใน ซึ่งอาการตกขาวอาจทำให้สาวๆ จำนวนไม่น้อยหมดความมั่นใจ และยังก่อให้เกิดอาการระคายเคืองบริเวณจุดซ่อนเร้นด้วย ปกติตกขาวจะมีปริมาณมากช่วงไข่ตกในระยะกลางของรอบเดือนแล้วจะหายไป และกลับมาอีกครั้งในช่วงใกล้มีประจำเดือน

สาเหตุของตกขาว

1. ตกขาวที่ผิดปกติมักเป็นผลมาจากการติดเชื้อและอาการป่วยต่าง ๆ ได้แก่ การติดเชื้อแบคทีเรีย ทำให้เกิดภาวะช่องคลอดอักเสบ เช่น โรคหนองในแท้หรือโรคหนองในเทียม การแพร่กระจายของเชื้อรา ทำให้เกิดโรคเชื้อราในช่องคลอด การติดเชื้อไวรัสทำให้เกิดเริมที่อวัยวะเพศ ปรสิตที่ติดต่อจากการมีเพศสัมพันธ์ทำให้เกิดการติดเชื้อทริโคโมนาส โดยมีลักษณะ สี และกลิ่นเปลี่ยนไปจากเดิม จากปกติที่มักใส ไม่มีสี ก็เปลี่ยนเป็นสีเหลือง หรือสีเขียว ข้นเป็นก้อน เป็นมูกเลือด มีหนอง มีฟองปนออกมาจำนวนมาก หรือมีกลิ่นเหม็นคล้ายปลาเน่า อีกทั้งยังมีอาการคันและปวดแสบปวดร้อนที่บริเวณปากช่องคลอด รวมถึงมีไข้ รู้สึกปวดท้องน้อย ขัดเบา และมีอาการเจ็บเวลามีเพศสัมพันธ์
2. อาการตกขาวผิดปกติที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ อาจเกิดจากการมีสิ่งแปลกปลอมเข้าไปในช่องคลอดหรือปากมดลูก การแพ้สารเคมี เช่น สารจากผ้าอนามัย หรือถุงยางอนามัย การสวนล้างช่องคลอด การเกิดติ่งเนื้อที่ปากมดลูก เป็นต้น

สีของตกขาวบอกถึงอะไร

การสังเกตลักษณะตกขาวและอาการอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นร่วมกับการมีตกขาวที่ผิดปกตินั้น อาจทำให้ทราบสาเหตุของการป่วยเบื้องต้นได้ ดังนี้

1. ตกขาวเป็นน้ำ หรือเมือกใส
เป็นอาการปกติที่เกิดขึ้นได้กับผู้หญิงทุกคน โดยเฉพาะในช่วงกึ่งกลางของรอบเดือนที่มีการตกไข่ซึ่งจะมีปริมาณตกขาวมาก แต่ถ้าตกขาวเป็นน้ำและไหลเป็นฟองรวมถึงมีอาการคันร่วมด้วย อาจเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย หรืออาการอักเสบภายในช่องคลอดได้

2. ตกขาวเป็นก้อนสีขาว
เกิดจากการติดเชื้อราที่มีชื่อว่า ” แคนดิดา อัลบิแคนส์ ( Candida albicans ) ” ในช่องคลอด ส่งผลให้ตกขาวมีลักษณะเป็นก้อนสีขาวข้น หรือสีเหลืองขาวคล้ายนมบูด มีกลิ่นเหม็นแต่ไม่คาว อาจทำให้ปัสสาวะแสบขัด หรือแสบคันในบางครั้ง มักจะเกิดกับผู้ป่วยที่มีภูมิต้านทานต่ำ หรือใช้ยาปฏิชีวนะเป็นเวลานานๆ

3. ตกขาวสีเหลือง
เป็นลักษณะตกขาวที่พบได้มากที่สุด โดยตกขาวลักษณะนี้มีสาเหตุเกิดจากการการใช้ยาปฏิชีวนะ และการติดเชื้อได้หลายชนิด โดยจะมีทั้งแบบสีเหลืองขุ่น สีเหลืองเข้ม หรือสีเหลืองใส ๆ ขึ้นอยู่กับสาเหตุที่เกิด นอกจากนี้ยังอาจมีกลิ่นที่ผิดปกติ อาการแสบ อาการคันร่วมด้วย โดยถ้าหากมีกลิ่นที่เหม็นรุนแรง และมีอาการคันหรือแสบ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อความปลอดภัย

4. ตกขาวสีเทา มีกลิ่นคาวปลา
เกิดจากการลดลงของแบคทีเรียชนิด ” แลคโตบาซิลไล ( Latobacilli ) ” ซึ่งมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียก่อโรคในช่องคลอด ทำให้แบคทีเรียก่อโรคมีจำนวนเพิ่มขึ้นจนช่องคลอดเกิดการอักเสบ อาการตกขาวชนิดนี้มักมีกลิ่นรุนแรงหลังหมดประจำเดือนใหม่ๆ หรือหลังมีเพศสัมพันธ์ ตกขาวสีเทาสอดคล้องกับปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคอย่าง เช่น การคุมกำเนิดด้วยห่วงอนามัย การสวนล้างช่องคลอด การติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ และการรับประทานยาปฏิชีวนะต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ เป็นต้น

5. ตกขาวมีลิ่มเลือด
ตกขาวชนิดนี้เป็นสัญญาณของการติดเชื้อและการอักเสบภายในช่องคลอด โดยการอักเสบนั้นเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น การไม่รักษาความสะอาด หรือภูมิต้านทานต่ำทำให้ร่างกายเกิดการติดเชื้อได้ง่าย ดังนั้นหากมีลิ่มเลือดออกมาพร้อมกับตกขาว ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อความปลอดภัย

6. ตกขาวสีน้ำตาล
เป็นอาการตกขาวที่พบได้บ่อยหลังมีประจำเดือน ซึ่งมักมีสาเหตุเกิดจากเยื่อบุมดลูกลอกตัวช้า หรือไม่หลุดลอกออกมาขณะมีประจำเดือน แต่หลุดออกมาทีหลัง โดยอาจมีอาการปวดท้องน้อยร่วมด้วย หรือไม่ก็ได้ อาการเลือดออกจากประจำเดือนที่มาช้า หรือมาไม่ตรงรอบ เลือดออกที่เกิดจากการฝังตัวของตัวอ่อน ซึ่งมักจะเกิดขึ้นในสัปดาห์ที่ 3 หลังจากที่มีประจำเดือนวันแรก แต่ไม่มีอาการปวดท้อง มีลักษณะเป็นเลือดสีน้ำตาลที่ปริมาณไม่มากนัก นอกจากนี้กรณีที่มีเลือดออกจากการตั้งครรภ์นอกมดลูกก็อาจทำให้มีอาการเลือดออกกระปริบกระปรอยและมีอาการปวดท้องน้อยร่วมด้วย รวมถึงอาจเกิดจากการติดเชื้อที่ช่องคลอด หรือปากมดลูก จึงทำให้มีกลิ่นเหม็นและมีสีน้ำตาลปนจากเลือดเก่า

7. ตกขาวสีชมพู
พบได้มากในหญิงหลังคลอด ซึ่งเกิดจากการลอกของเยื่อบุโพรงมดลูก หรืออาจจะเป็นสีของเลือดที่เรียกว่า “ เลือดล้างหน้าเด็ก ” ที่เป็นสีชมพูจางๆ

8. ตกขาวสีเขียว
หากสังเกตเห็นว่าตกขาวที่ออกมามีสีเขียวแล้วละก็ ขอบอกให้รีบไปพบแพทย์น่าจะดีกว่า เพราะตกขาวลักษณะนี้เป็นตกขาวที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย หรือเกิดจากการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ป่วยโรคหนองใน ทั้งนี้อาจมีกลิ่นคาวปลา อาการคัน หรือปวดแสบขณะปัสสาวะร่วมด้วย

การรักษาตกขาว

อาการตกขาวผิดปกติต้องรักษาที่สาเหตุและโรคที่ป่วย ทั้งการรักษาด้วยยาเฉพาะทางหรือการผ่าตัด ขึ้นอยู่กับอาการป่วยและความรุนแรงของโรค แต่โดยทั่วไป ตกขาวมักเกิดจากการติดเชื้อประเภทแบคทีเรียหรือเชื้อราในช่องคลอด ซึ่งรักษาให้หายขาดได้ มีการรักษาเบื้องต้น ดังนี้

การป่วยเป็น แบคทีเรียล วาไจโนสิส ( Bacterial Vaginosis ) และการติดเชื้อปรสิตทริโคโมนาส แพทย์จะรักษาด้วยการจ่ายยาปฏิชีวนะในรูปแบบยาเม็ดรับประทาน หรือครีมทาภายในช่องคลอด โดยใช้ยาเมโทรนิดาโซล ( Metronidazole ) หรือทินิดาโซล ( Tinidazole ) ตัวยาจะออกฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตและการแพร่กระจายของทั้งปรสิตและแบคทีเรีย

การใช้ยาปฏิชีวนะควรอยู่ภายใต้การดูแลและคำแนะนำจากแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ เพราะอาจมีผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายได้ โดยเฉพาะเมื่อใช้ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน หรือในขณะที่กำลังตั้งครรภ์

การอักเสบจากเชื้อรา ใช้ยาต้านเชื้อราชนิดสอดเข้าไปในช่องคลอด มีทั้งรูปแบบครีม ยาเหน็บ ตัวยาที่ใช้ ได้แก่ โคลไตรมาโซล ( Clotrimazole ) ส่วนยารับประทานใช้ยาฟลูโคนาโซล ( Fluconazole ) เพื่อยับยั้งทำลายเชื้อราและกระบวนการสร้างเซลล์ของเชื้อรา

หากอาการตกขาวแสดงถึงการติดเชื้อรา สามารถใช้ยารักษาเชื้อราแบบครีม หรือเหน็บช่องคลอดที่ซื้อได้ตามร้านขายทั่วไปโดยไม่ต้องมีใบสั่งแพทย์ แต่หากรักษาไม่หายและอาการไม่ดีขึ้น ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจรักษา

ภาวะแทรกซ้อนของตกขาว

ตกขาวที่ผิดปกติอาจมีอาการที่แสดงออกมาเนื่องจากการติดเชื้อและการเจ็บป่วยของโรค เช่น

1. คัน บวม เจ็บปวด หรือมีแผลบริเวณช่องคลอดและปากช่องคลอด
มีเลือดที่ไม่ใช่เลือดประจำเดือนไหลออกมาจากช่องคลอด
2. เจ็บปวดในขณะปัสสาวะ ปวดบริเวณท้องน้อย
3. เจ็บปวดในขณะมีเพศสัมพันธ์
4. การติดเชื้ออาจแพร่จากแม่สู่ลูกได้ในการคลอด
5. การติดเชื้ออาจแพร่ลามไปยังอวัยวะในระบบสืบพันธุ์อื่น ๆ อาจทำให้เกิดภาวะมีลูกยาก
6. การติดเชื้ออาจทำให้เกิดการอักเสบลุกลาม เรื้อรัง และส่งผลกระทบต่อสุขภาพอย่างรุนแรงในระบบสืบพันธุ์ เช่น มดลูก และรังไข่

การป้องกันการเกิดตกขาว

สามารถป้องกันการเกิดตกขาวที่ผิดปกติได้ด้วยการลดปัจจัยเสี่ยงและลดโอกาสการเจ็บป่วยจากการติดเชื้อ เช่น

1. รักษาความสะอาดช่องคลอดและอวัยวะเพศอยู่เสมอ
2. ล้างช่องคลอดด้วยน้ำและสบู่อ่อน ๆ ที่ไม่ทำให้เกิดการอักเสบระคายเคือง
3. สวมใส่กางเกงชั้นในที่สะอาด ทำจากผ้าที่ระบายอากาศได้ดี ไม่หนาและไม่อับชื้น
4. ไม่ใช้สบู่หอม สเปรย์พ่น ฟองสบู่ หรือผลิตภัณฑ์ที่มีสารเคมีชนิดต่าง ๆ เพื่อล้างสวนช่องคลอด
5. ทำความสะอาดโถสุขภัณฑ์ก่อนการใช้งานเพื่อป้องกันการติดเชื้อ และล้างทำความสะอาดห้องน้ำอยู่เสมอเพื่อป้องกันการสะสมของเชื้อโรค

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

ตกขาว กับ 8 สัญญาณเตือน (ออนไลน์).สืบค้นจาก : www.apexprofoundbeauty.com [31 พฤษภาคม 2562].

ตกขาวแบบต่างๆ บ่งบอกถึงสาเหตุอะไรบ้าง (ออนไลน์).สืบค้นจาก : https://www.honestdocs.co [31 พฤษภาคม 2562].

ตกขาว (ออนไลน์).สืบค้นจาก : https://www.pobpad.com [31 พฤษภาคม 2562].

กรดไหลย้อน ( Gastroesophageal Reflux Disease : GERD )

0
กรดไหลย้อน ( Gastroesophageal Reflux Disease : GERD ) คือ การไหลย้อนกลับของน้ำย่อยหรือสิ่งที่อยู่ในกระเพาะอาหารกลับขึ้นมาที่หลอดอาหารเป็นผลจากการขย้อนอาหารขึ้นมาด้วย
กรดไหลย้อน ( Gastroesophageal Reflux Disease : GERD )
กรดไหลย้อน คือ การไหลย้อนกลับของน้ำย่อยหรือสิ่งที่อยู่ในกระเพาะอาหารกลับขึ้นมาที่หลอดอาหารเป็นผลจากการขย้อนอาหารขึ้นมาด้วย

กรดไหลย้อน คือ

กรดไหลย้อน ( Gastroesophageal Reflux Disease : GERD ) คือ อาการที่เกิดจากการไหลย้อนกลับของน้ำย่อยหรือสิ่งที่อยู่ในกระเพาะอาหารกลับขึ้นมาที่หลอดอาหารเป็นผลจากการขย้อนอาหารขึ้นมาพร้อมกับกรดในกระเพาะอาหาร ถึงแม้ว่าจะไม่ก่อให้เกิดอันตรายถึงแก่ชีวิตแต่อาการที่เกิดขึ้นก็ทำให้เกิดความทุกข์ทรมาน พบได้ทั้งในเพศหญิงและเพศชาย ร้อยละ 50 ของประชากรวัยทำงานและผู้สูงอายุ

ประเภทของกรดไหลย้อน

1. กรดไหลย้อนธรรมดา หรือ Classic GERD ซึ่งกรดที่ไหลย้อนขึ้นมาจะอยู่ภายในหลอดอาหารไม่ไหลย้อนเกินกล้ามเนื้อหูรูดของหลอดอาหารส่วนบน
2. โรคกรดไหลย้อนขึ้นมาที่คอและกล่องเสียง ( Laryngophsryngeal reflux : LPR)

อาการของกรดไหลย้อน

    • อาการปวดแสบร้อน บริเวณหน้าอก ลิ้นปี่ และคอ
    • มีอาการเรอเปรี้ยว คลื่นไส้ หรือมีน้ำย่อยไหลย้อนขึ้นมาที่อก หรือคอ
    • เสียงแหบ เกิดจากกรดที่ไหลย้อนขึ้นมา
    • ไอเรื้อรังเกิดจากกรดไหลย้อนลงไปในหลอดลม
    • อาการจุกแน่นอยู่ในหน้าอก คล้ายอาหารไม่ย่อย
    • อาการเจ็บหน้าอก
    • อาการหอบหืด
    • รู้สึกคล้ายมีก้อนในคอ หรือแน่นคอ หรือกลืนติดๆ ขัดๆ หรือกลืนลำบาก
    • มีเสมหะอยู่ในคอตลอด
    • หายใจไม่ออกในเวลากลางคืน

การวินิจฉัยอาการกรดไหลย้อน

แพทย์จะทำการวินิจฉัยจากอาการของโรค และรักษาตามอาการเบื้องต้นแล้วอาการไม่ดีขึ้น อาจจำเป็นต้องได้รับการวินิจแบบเฉพาะตามขั้นตอนดังนี้ เช่น การส่องกล้องทางเดินอาหาร การเอกซเรย์กลืนสารทึบแสง การตรวจทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์ การตรวจการบีบตัวของหลอดอาหาร การตรวจวัดความเป็นกรด – ด่างในหลอดอาหาร ซึ่งได้ผลไวที่สุดในการรักษา

การรักษาอาการกรดไหลย้อน

  • ยาลดกรด ( antacids ) ออกฤทธิ์ลดความเป็นกรดของน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร

ภาวะแทรกซ้อนของกรดไหลย้อน

  • ยากลุ่มกระตุ้นให้มีการเคลื่อนไหวของทางเดินอาหาร ( prokinetics ) เพื่อเพิ่มการบีบรัดเคลื่อนไหวของทางเดินอาหารทำให้อาหารเคลื่อนออกจากกระเพาะอาหารเร็วขึ้น
  • ยากลุ่ม H2 Receptor Antagonist ออกฤทธิ์ลดความเป็นกรดของน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร
  • ยกลุ่มยับยั้งโปรตอนปั๊ม ( Proton Pump Inhibitors, PPI ) ยับยั้งกลไกขั้นสุดท้ายในการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร

การป้องกรดไหลย้อน

    • หลีกเลี่ยงความเครียด
    • ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
    • ไม่ควรนอนหลังรับประทานอาหารทันที ให้เว้นระยะห่างประมาณ 3 ชั่วโมง
    • งดสูบบุหรี่
    • หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง เพราะเป็นการกระตุ้นให้อาการกรดไหลย้อนกำเริบขึ้นมาได้ง่าย
    • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มประเภทชา กาแฟ น้ำอัดลม และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะทำให้เกิดแก๊สในกระเพาะอาหารจำนวนมาก
    • เคี้ยวอาหารให้ละเอียดก่อนกลืน เป็นการช่วยย่อยอาหารไประดับหนึ่ง
    • ควรหลีกเลี่ยงการสวมใส่เสื้อผ้าที่รัดรูปเกินไป โดยเฉพาะบริเวณรอบเอว
    • เวลานอน ควรหนุนหัวเตียงให้สูงขึ้นประมาณ 6 – 10 นิ้วจากพื้นราบ

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

โรคกรดไหลย้อน (ออนไลน์). สืบค้นจาก : http://www.thaimotility.or.th [4 มิถุนายน 2562].
Gastroesophageal reflux disease (GERD) (ออนไลน์). สืบค้นจาก : https://www.mayoclinic.org [4 มิถุนายน 2562].

ขอบคุณคลิปดี ๆ มีสาระจาก หมอปุ้ม พญ. สิรนาถ.

กัญชากับยาแพทย์แผนไทย

0
กัญชากับยาแพทย์แผนไทย
กัญชากับยาแพทย์แผนไทยพบในตำราพระโอสถพระนารายณ์ ซึ่งเป็นตำราวิชาการแพทย์แผนไทยที่เก่าแก่และใช้กันมาอย่างยาวนานตั้งแต่รัชสมัยพระนารายณ์มหาราช
กัญชากับยาแพทย์แผนไทย
กัญชากับยาแพทย์แผนไทยพบในตำราพระโอสถพระนารายณ์ ซึ่งเป็นตำราวิชาการแพทย์แผนไทยที่เก่าแก่และใช้กันมาอย่างยาวนานตั้งแต่รัชสมัยพระนารายณ์มหาราช

กัญชากับยาแพทย์แผนไทย

กัญชากับยาแพทย์แผนไทย พบในตำราพระโอสถพระนารายณ์ ซึ่งเป็นตำราวิชาการแพทย์แผนไทยที่เก่าแก่และใช้กันมาอย่างยาวนานตั้งแต่รัชสมัยพระนารายณ์มหาราช และตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ อยู่ในประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบุตำรายา พ.ศ. 2556

องค์ประกอบของกัญชงและกัญชา

กัญชงและกัญชาเป็นพืชตระกูลเดียวทั้งคู่มีสารแคนนาบินอยด์ (Cannabinoid) เป็นสารที่ออกฤทธิ์ในระบบ endocannabinoid ซึ่งมีอยู่แล้วในระบบประสาทส่วนกลางและส่วนปลายของต้นกัญชา สาร cannabinoids เป็นที่รู้จักกันดีที่สุด คือ THC เป็นสารที่นิยมมาจากกัญชา ใช้เพื่อจำแนกพันธุ์กัญชาที่มีสาร THC มากกว่า 0.3 เปอร์เซ็นต์ แต่ว่ากัญชาบางชนิดมีค่าเฉลี่ยของ +THC 5-30%
สามารถบรรจุได้ถึง 30% + THC

ความแตกต่างระหว่างสารเคมี 2 ชนิดในกัญชา

เมื่อ Tetrahydrocannabinol (THC) ทำปฏิกิริยากับระบบ endocannabinoid สามารถกระตุ้นปฏิกิริยาเชิงบวกมากมายโดยการกระตุ้นสมองให้หลั่งสารโดปามีน ที่สร้างความรู้สึกพึงพอใจมีความสุขและความอิ่มเอมใจ นอกจากนี้ยังสามารถช่วยให้ร่างกายผ่อนคลาย บรรเทาความตึงเครียดและสามารถลดอาการเจ็บปวด และในกัญชายังพบสารแคนนาบินอยด์ Cannabidiol (CBD) ช่วยปรับสมดุลผลกระทบเชิงลบของ Tetrahydrocannabinol สารแคนนาบินอยด์ ช่วยบรรเทาความวิตกกังวลและการสูญเสียความทรงจำที่ผู้ใช้บางคนประสบ นอกจากนี้ยังมีบทบาทสำคัญในการลดความเจ็บปวด ลดการอักเสบ
และรักษาภาวะสุขภาพ เช่น โรคลมบ้าหมู

ข้อบ่งใช้ของกัญชาในตำรับยาแพทย์แผนไทย

มี 14 ตำรับยา ตามตำราไทย พบ 2 เล่มคือ
1. พบในตำราพระโอสถพระนารายณ์ 3 ตำรับ คือ ยาทิพกาศ ซึ่งมีส่วนประกอบของกัญชาถึง 16 ส่วน และ ตำรับยาศุขไสยาสน์ มีกัญชเป็นส่วนประกอบหลัก 12 ส่วน
2. พบในตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ 11 ตำรับ มาจากคำภีร์ต่างๆ เช่น พระคัมภัร์ปฐมจินดา พระคัมภีร์สรรพคุณ ( แลมหาพิกัด )

ตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ 11 ตำรับ

แยกใช้ตามคุณสมบัติทางยา ดังนี้

ยาแก้โรคทางเดินอาหาร
– ชื่อยาไฟอาวุธ
– ยาแก้ริดสีดวงมหากาฬ
– ยาแก้ลงแก้บิดให้มวนท้อง

ยาแก้ระบบทางเดินอาหาร
– ยาแก้ไกษยเหล็ก
– ยาแก้ไกษยล่อน 5 ประการ
– ยาแก้ลมไกษยเสียด

ยาแก้ระบบทางเดินหายใจ
– ยาพรหมพักตร์

ยาแก้ลม
– ยาแก้ลมอุทธังคมาวาต

ยารักษาระบบสืบพันธุ์
– แก้ยาโรคสำหรับผู้ชาย

ยาบำรุงร่างกาย
– ยาอัมฤกตย์โอสถ
– ยาแก้ไข้ไอผอมเหลือง

ตำราพระโอสถนารายณ์

แบ่งออกเป็น 2 ตำรับยาหลักคือ

1.ตำรับยาทิพกาศ

ส่วนประกอบและวิธีปรุงยา
1.ยาดำ 1 ส่วน
2.เทียนดำ 1 ส่วน
3.ลูกจันทร์ 1 ส่วน
4.ดอกจันทร์ 1 ส่วน
5.กระวาน 1 ส่วน
6.พิมเสน 1 ส่วน
7.ฝิ่น 8 ส่วน
8.ใบกัญชา 16 ส่วน
9.เหล้า สำหรับคลุกเคล้าตัวยา
นำส่วนประกอบทั้งหมดมาบดรวมกันแล้วปั้นเป็นแท่ง
ใช้เหล้าเป็นส่วนประกอบเพื่อลดกลิ่นยา ใช้ได้ทั้งโรคร้อนและเย็น

ข้อบ่งใช้
ใช้สำหรับรักษาอาการตกเลือด แก้ลงแดง เป็นยาขับลม
ช่วยย่อยอาหาร แก้ปวดทรมาน และช่วยให้นอนหลับ

เป็นขนานยาที่ 43 ที่บันทึกไว้ในตำราพระโอสถพระนารายณ์

ยาศุขไสยาสน์

ส่วนประกอบปละวิธีปรุงยา
1.การบูร 1 ส่วน
2.ใบสะเดา 2 ส่วน
3.สหัสคุณเทศ 3 ส่วน
4.สมุลแว้ง 4 ส่วน
5.เทียนดำ 5 ส่วน
6.โฏศกระดูก 6 ส่วน
7.ลูกจันทร์ 7 ส่วน
8.ดอกบุญนาค 8 ส่วน
9.พริกไทย 9 ส่วน
10.ขิงแห้ง 10 ส่วน
11.ดีปลี 11 ส่วน
12.ใบกัญชา 12 ส่วน

วิธีปรุงยา
น้ำส่วนผสมทั้งหมดบดละเอียดจนเป็นผงแล้วผสมน้ำผึ้ง
ก่อนนำไปใช้งาน

ข้อบ่งใช้
ใช้เป็นยาแก้ปวด ช่วยย่อยอาหาร เป็นยาบำรุงกำลัง และช่วยให้นอนหลับ

เป็นยาขนานที่ 44 ที่บันทึกไว้ในตำราพระโอสถพระนารายณ์

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
1.วีรยา ถาอุปชิต และ นุศราพร เกษสมบูรณ์. การใช้กัญชาทางการแพทย์. วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน 2560; 13 (Supplement) 1-14.

โรคตากุ้งยิง ( Stye หรือ Hordeolum )

0
โรคตากุ้งยิง ( Stye หรือ hordeolum )
โรคตากุ้งยิง ( Stye หรือ hordeolum ) เป็นการติดเชื้อจากแบคทีเรีย ทำให้เกิดการอักเสบของต่อมไขมันบริเวณเปลือกตา ซึ่งสามารถหายเองได้ พบมากในผู้ที่มีอาการป่วยเบาหวาน ผู้ป่วยหนังตาอักเสบเรื้อรัง คนที่มีไขมันในเลือดสูง
โรคตากุ้งยิง ( Stye หรือ hordeolum )
โรคตากุ้งยิง ( Stye หรือ hordeolum ) เป็นการติดเชื้อจากแบคทีเรีย ทำให้เกิดการอักเสบของต่อมไขมันบริเวณเปลือกตา ซึ่งสามารถหายเองได้

โรคตากุ้งยิง

โรคตากุ้งยิง ( Stye หรือ Hordeolum ) ตือ การติดเชื้อจากแบคทีเรีย Staphylococcus aureus สามารถหายเองได้ พบมากในผู้ที่มีอาการป่วยเบาหวาน ผู้ป่วยหนังตาอักเสบเรื้อรัง คนที่มีไขมันในเลือดสูง การติดเชื้อนั้นทำให้เกิดการอักเสบของต่อมไขมันบริเวณเปลือกตา 

สาเหตุที่ทำให้เกิดกุ้งยิง

1.การขยี้ตาบ่อย ๆ เนื่องจากมือไม่สะอาด
2.ใช้เครื่องสำอาง แล้วล้างออกไม่หมดหรือล้างไม่สะอาด
3.ใส่หรือถอดคอนแทคเลนส์ด้วยมือที่ไม่สะอาด
4. ฝุ่นละอองเข้าสู่ดวงตาเกินการละคายเคือง

ประเภทของตากุ้งยิง

ตากุ้งยิงมี 2 ประเภทคือ

1. ตากุ้งยิงชนิดมีหัว

ตากุ้งยิงชนิดมีหัวโผล่ออกมาจากรอบดวงตา เป็นการอักเสบของต่อมไขมันบริเวณผิวหนังตรงโคนขนตา มีลักษณะเป็นหัวฝีผุดให้เห็นได้อย่างชัดเจนตรงบริเวณขอบตา อีกทั้งยังมีลักษณะเป็นสีเหลืองนูนบวมแดงและเจ็บ

2. ตากุ้งยิงชนิดหัวหลบใน

คือการอักเสบของต่อมไขมันบริเวณเยื่อบุเปลือกตาบริเวณเนื้อเยื่อสีชมพูที่อยู่ลึกจากขอบตาเข้าไป ต้องปลิ้นเปลือกตาออกมาจึงจะเห็น โดยหัวฝีจะหลบซ่อนอยู่ด้านในของเปลือกตา และมีอาการปวดที่บริเวณดวงตา บางครั้งอาจเกิดการอุดตันของต่อมไขมันบริเวณเยื่อบุเปลือกตานี้ อาจมีการอุดตันของรูเปิดเล็ก ๆ นี้ทำให้มีเนื้อเยื่อรวมกันอยู่ภายในต่อมกลายเป็นตุ่มนูน ไม่มีการเจ็บปวดใด ๆ

อาการตากุ้งยิง

    • คันที่เปลือกตา
    • อาการปวดหนังตา
    • อาการบวมที่เปลือกตา
    • เป็นก้อนที่เปลือกตา
    • บางคนมีหนองไหลออกจากเปลือกตา

การรักษา และข้อควรปฎิบัติระหว่างการรักษาตากุ้งยิง

    • ล้างมือบ่อยๆ
    • งดทาเครื่องสำอาง
    • หลีกเลี่ยงการใส่คอนแทคเลนส์
    • ไม่ควรบีบหนองที่เปลือกตาเอง เพราะอาจทำให้อักเสบมากขึ้น
    • ทำความสะอาดดวงตา วันละ 2 ครั้ง เพื่อกำจัดสิ่งสกปรก
    • รับประทานยาแก้อักเสบ เพื่อบรรเทาอาการปวด
    • ประคบอุ่น 5 – 10 นาที เพื่อลดอาการบวมแดงของเปลือกตา
    • ใช้ยาหยอดตา เพื่อทำรักษาความสะอาด เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
    • หากอาการรุนแรงแพทย์จะต้องทำการผ่าตัดเพื่อดูดหนองออก ป้องกันการลุกลาม

วิธีป้องกันการเกิดตากุ้งยิง

รักษาความสะอาดร่างกาย โดยเฉพาะคนที่ต้องแต่งหน้าเป็นประจำ เช่น ใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดเครื่องสำอางบริเวณใบหน้า รอบดวงตา ไม่ควรขยี้ถ้ายังไม่ล้างมือ เป็นต้น

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

พญ.เขมวรรณ เวทยไวกูณฐ์. โรคตากุ้งยิง (ออนไลน์). สืบค้นจาก : http://www.eyestesting.com [1 มิถุนายน 2562].

Dr. Victor Marchione. 2016. Hordeolum Externum (External Eyelid Stye) (ออนไลน์). สืบค้นจาก : http://eyebankthai.redcross.or.th [1 มิถุนายน 2562].

ออทิสติก ( Autistic Disorder ) คืออะไร

0
ออทิสติก ( Autistic Disorder )
ออทิสติก ( Autistic Disorder ) เป็นความผิดปกติของสมองที่ส่งผลกระทบต่อพัฒนาการด้านการพูดสื่อสาร พฤติกรรมการแสดงออก และปฏิสัมพันธ์กับผู้คนในสังคม
ออทิสติก ( Autistic Disorder )
ออทิสติก ( Autistic Disorder ) เป็นความผิดปกติของสมองที่ส่งผลกระทบต่อพัฒนาการด้านการพูดสื่อสาร พฤติกรรมการแสดงออก และปฏิสัมพันธ์กับผู้คนในสังคม

อาการออทิสติกคือ

ออทิสติก ( Autistic Disorder ) คือ ความผิดปกติของสมองที่ส่งผลกระทบต่อพัฒนาการด้านการพูดสื่อสาร พฤติกรรมการแสดงออก และปฏิสัมพันธ์กับผู้คนในสังคม ซึ่งจะเริ่มแสดงอาการตั้งแต่เด็กเล็กและต่อเนื่องไปถึงวัยผู้ใหญ่ จะปรากฎอาการที่เห็นได้ชัดในช่วงอายุ 2 ขวบ เมื่อเด็กยังไมพูด เปนคําที่มีความหมาย เช่น เรียกชื่อพ่อแม่ คนในครอบครัว หรือสื่อสารโดยดึงมือพอแมใหทําสิ่งที่ตองการแทนการพูด

อาการออทิสติก

  • พูดช้ากว่าเด็กปกติ
  • ตอบสนองต่อสิ่งอื่นๆ ช้า
  • ปัญหากับการสื่อสารทางสังคม
  • การมีปฏิสัมพันธ์ความสนใจที่จำกัด
  • มีพฤติกรรมทำอะไรซ้ำ ๆ

สาเหตุของออทิสติก

ปัจจุบันสาเหตุของโรคออทิสติกยังไม่แน่ชัด มีหลายทฤษฎีที่สามารถใช้อธิบายอยู่ เช่น ออทิสติกเกิดจากความผิดปกติของโครโมโซมที่ 15q 11-13, 7q และ 16q โดยแต่ละตำแหน่งที่ผิดปกติจะมีผลกระทบที่แต่ละส่วนของสมองต่างกันในด้านพฤติกรรม และความคิด

การวินิจฉัยออทิสติก

แพทย์วินิจฉัยจากขอมูลจากประวัติของคนในครอบครัว ญาติ การตรวจร่างกายและประเมินพฤติกรรมของเด็ก หรือใช้การทดสอบจำเพาะสำหรับภาวะออทิสติก 

ความบกพร่องของพัฒนาการแบบรอบด้าน ( PDD ) นั้น แบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม ประกอบด้วย
1) ออทิสติก ( Autistic Disorder )
2) เร็ทท์ ( Rett’s Disorder )
3) ซีดีดี ( Childhood Disintegrative Disorder )
4) แอสเพอร์เกอร์ ( Asperger’s Disorder )
5) พีดีดี เอ็นโอเอส ( Pervasive Developmental Disorder Not Otherwise Specified : PDD-NOS )

การรักษาอาการออทิสติก

ขอความร่วมมือกับพ่อแม่ผู้ปกครอง หรือคุณครูที่โรงเรียน คือ การกระตุ้นพัฒนาการของเด็ก ฝึกทักษะง่ายๆ เช่น การพูด อ่าน เขียน หรือของเล่นเพื่อฝึกสมองเสริมพัฒนาการที่เน้นด้านการพัฒนาสมองซีกซ้าย ฝึกพฤติกรรมการควบคุมอารมณ์

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

อ.พญ.ศศิธร จันทรทิณ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์. มารู้จัก…ภาวะออทิสติก (ออนไลน์).สืบค้นจาก : https://www.si.mahidol.ac.th [ 29 พฤษภาคม 2562].

Autism Spectrum Disorder (ออนไลน์).สืบค้นจาก : https://www.nimh.nih.gov [ 29 พฤษภาคม 2562].

โรคต้อหิน ( Glaucoma ) เป็นอย่างไร

0
โรคต้อหิน ( Glaucoma ) เป็นอย่างไร
โรคต้อหิน ( Glaucoma ) คือ กลุ่มโรคที่มีการเสื่อมของขั้วประสาทตา ส่งผลให้เกิดการสูญเสียการมองเห็น และเป็นสาเหตุสำคัญของภาวะตาบอด
โรคต้อหิน ( Glaucoma ) เป็นอย่างไร
โรคต้อหิน ( Glaucoma ) คือ กลุ่มโรคที่มีการเสื่อมของขั้วประสาทตา ส่งผลให้เกิดการสูญเสียการมองเห็น และเป็นสาเหตุสำคัญของภาวะตาบอด

โรคต้อหิน คือ

โรคต้อหิน ( Glaucoma ) คือ กลุ่มโรคที่มีการเสื่อมของขั้วประสาทตา ส่งผลให้เกิดการสูญเสียการมองเห็น และเป็นสาเหตุสำคัญของภาวะตาบอดที่เกิดขึ้นทั่วโลก โดยปัจจัยเสี่ยงสำคัญของการเกิดต้อหิน ได้แก่ ความดันตาที่สูง

สาเหตุของโรคต้อลม

ยังไม่ทราบสาเหตุการเกิดต้อลมที่แน่ชัด แต่พบว่ามีปัจจัยสำคัญในการพัฒนาโรคมาจากการโดนแสงแดดหรือรังสีอัลตราไวโอเลตจากดวงอาทิตย์เป็นเวลานาน บ่อย ๆ หรือเกิดการระคายเคืองดวงตา เช่น อาการตาแห้ง ดวงตาสัมผัสกับสภาพแวดล้อมภายนอกอย่าง ลม ฝุ่นละออง ทำให้เนื้อเยื่อปกติของดวงตามีการเปลี่ยนแปลงจนกลายเป็นแผ่นหรือตุ่มนูน ๆ บริเวณตาขาว เนื่องจากมีการสะสมของโปรตีน ไขมัน หรือแคลเซียม สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย แต่จะเกิดขึ้นบ่อยในวัยกลางคนและผู้สูงอายุ โดยเฉพาะในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป

อาการของโรคต้อหิน

  • ปวดตา
  • น้ำตาไหล
  • ตามัวลง
  • เห็นรุ้งรอบดวงไฟ

ปัจจัยเสี่ยงต้อหิน

  • การใช้ยาหยอดตากลุ่มสเตียรอยด์เป็นเวลานาน
  • อุบัติเหตุทางตา เช่น การกระทบกระแทกที่ดวงตา
  • พันธุกรรม มีประวัติคนในครอบครัวเป็นต้อหิน

ประเภทของต้อหิน

1. ต้อหินมุมเปิด ( primary open angle glaucoma )

เป็นต้อหินที่พบได้บ่อยกว่าต้อหินประเภทอื่น เกิดจากการอุดตันของ trabecular meshwork ทำให้น้ำหล่อเลี้ยงลูกตาไม่สามารถไหลเวียนออกได้ตามปกติ จึงเกิดความดันตาสูงและส่งผลให้ประสาทตาถูกทำลาย
อาการ : ผู้ป่วยส่วนมากไม่มีอาการแสดงในระยะแรก แต่หากไม่ได้รับการรักษาในระยะเริ่มต้นจะส่งผลให้สูญเสียการมองเห็นอย่างช้าๆ โดยเริ่มจากด้านข้างและนำไปสู่การตาบอดในที่สุด โดยทั่วไปต้อหินมุมเปิดมักควบคุมได้ด้วยยาหากได้รับการวินิจฉัยและรักษาตั้งแต่ระยะแรก

2. ต้อหินมุมเปิดที่มีความดันตาปกติ ( normal-tension glaucoma )

ผู้ป่วยบางรายอาจเกิดต้อหินทั้งที่มีความดันตาต่ำกว่า 22 มิลลิเมตรปรอท ( แม้ความดันตาจะไม่สูงกว่าค่าเฉลี่ยปกติ แต่มักพบว่าความดันตาอยู่ใกล้กับค่าเพดานบนของค่าปกติ ) โดยมีปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ ได้แก่
2.1 มีประวัติครอบครัวเป็นต้อหินชนิดความดันตาปกติ
2.2 เชื้อชาติญี่ปุ่น
2.3 มีประวัติโรคหัวใจและระบบไหลเวียนเลือด มีภาวะเส้นเลือดหดตัวง่าย ความดันโลหิตต่ำในช่วงกลางคืน ภาวะเลือดหนืด ไมเกรน หรือโรคทางระบบภูมิคุ้มกันบางชนิด

3. ต้อหินมุมปิด ( angle-closure glaucoma )

ต้อหินประเภทนี้พบได้น้อยกว่าต้อหินมุมเปิด เกิดจากการที่มุมตาถูกม่านตาปิดกั้น ส่งผลให้น้ำหล่อเลี้ยงลูกตาไม่สามารถไหลเวียนออกได้ปกติ เกิดความดันตาสูงตามมา
อาการ : ต้อหินมุมปิดมีอาการแสดงได้แตกต่างกัน ดังนี้
3.1 ต้อหินมุมปิดเฉียบพลัน ถือเป็นภาวะฉุกเฉินที่ผู้ป่วยต้องได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที เพราะเป็นภาวะที่มีความดันตาสูงขึ้นอย่างมากและรวดเร็ว ทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดศีรษะ ปวดตาอย่างรุนแรงและเฉียบพลัน ตาแดง น้ำตาไหล สู้แสงไม่ได้ ตามัว เห็นแสงสีรุ้งรอบดวงไฟ รวมถึงคลื่นไส้อาเจียน
3.2 ต้อหินมุมปิดกึ่งเฉียบพลัน อาการในกลุ่มนี้จะค่อนข้างน้อยและเป็นๆ หายๆ ผู้ป่วยอาจมีแค่อาการปวดศีรษะ ซึ่งการวินิจฉัยค่อนข้างยากหากไม่ได้รับการตรวจตา
3.3 ต้อหินมุมปิดเรื้อรัง มักไม่มีอาการในระยะแรก เนื่องจากการดำเนินโรคเป็นไปอย่างช้าๆ

4. ต้อหินแต่กำเนิด ( congenital glaucoma )

เกิดในทารกหรือเด็กและอาจถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ พบได้น้อยแต่อาการมักค่อนข้างรุนแรงและควบคุมโรคได้ยาก หากไม่ได้รับการรักษาตั้งแต่ระยะแรกมักจะตาบอด

5. ต้อหินทุติยภูมิ ( secondary glaucoma )

ต้อหินกลุ่มนี้เกิดขึ้นโดยมีสาเหตุจากโรคทางตาอื่นๆ หรือโรคทางร่างกาย เช่น เคยมีอุบัติเหตุเกี่ยวกับดวงตา การอักเสบในลูกตา เนื้องอกในตา ต้อกระจกที่เป็นมาก หรือเบาหวานขึ้นตามาก รวมถึงการใช้ยาบางชนิด เช่น สเตียรอยด์ ทั้งนี้การรักษาขึ้นกับสาเหตุที่ทำให้เกิดความดันตาสูง

6. ภาวะสงสัยต้อหิน ( glaucoma suspect )

ในบางรายอาจพบประสาทตาหรือลานสายตาที่คล้ายคลึงกับคนเป็นโรคต้อหิน โดยมีความดันตาปกติ ซึ่งกลุ่มนี้ต้องได้รับการติดตามอย่างใกล้ชิด

การรักษาต้อหิน

เนื่องจากโรคต้อหินเส้นประสาทตาจะถูกทำลายอย่างถาวร การรักษาจึงเป็นการประคับประคองเพื่อให้ประสาทตาไม่ถูกทำลายมากขึ้นและเพื่อคงการมองเห็นที่มีอยู่ให้นานที่สุด ทั้งนี้การรักษาจะขึ้นกับชนิดและระยะของโรค
1. ใช้ยา ได้แก่ ยาหยอดตา ยารับประทาน และยาฉีด ซึ่งจักษุแพทย์จะรักษาทีละขั้นตอนแล้วดูผลการตอบสนองต่อการรักษาอย่างใกล้ชิด
2. เลเซอร์ ขึ้นอยู่กับชนิดต้อหิน ใช้เวลารักษาเพียงไม่นาน ส่วนใหญ่มักมีการให้ยาควบคู่ไปด้วยกัน
3. การผ่าตัด วิธีนี้จะใช้เมื่อผู้ป่วยรักษาด้วยยาและเลเซอร์แล้วไม่ได้ผล โดยการผ่าตัดขึ้นกับชนิดและความรุนแรงของต้อหิน สิ่งสำคัญที่ต้องทำความเข้าใจคือ การผ่าตัดรักษาต้อหินเป็นไปเพื่อลดความดันตาไม่ใช่การผ่าตัดต้อออกไปแล้วหายขาด เพราะต้อหินเมื่อเป็นแล้ว ทำได้ดีที่สุดคือควบคุมอาการไม่ให้แย่ไปกว่าเดิม

การป้องกันโรคต้อลม

แม้ว่าสาเหตุการเกิดของโรคที่ไม่ทราบแน่ชัด แต่โรคต้อลมสามารถป้องกันได้ด้วยการเลี่ยงปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดโรคขึ้นได้ตามคำแนะนำต่อไปนี้

1.สวมแว่นตาที่มีเลนส์ในการกรองรังสีอัลตราไวโอเลต เอ ( รังสียูวีเอ: UVA ) หรือรังสีอัลตราไวโอเลต บี ( รังสียูวีบี: UVB ) จากดวงอาทิตย์ เพื่อปกป้องดวงตาเมื่อต้องทำงานหรืออยู่ในสถานที่ที่มีแดดจัด
2.หากอยู่ในสภาพแวดล้อมหรือทำงานในสถานที่แห้ง มีลม และมีฝุ่นละอองเยอะ ควรสวมอุปกรณ์ป้องกันดวงตาจากลม ฝุ่นละออง เศษผง สิ่งแปลกปลอมขนาดเล็กที่อาจถูกพัดพามากับลมได้เช่นกัน
3.ดูแลดวงตาให้ชุ่มชื่นอยู่เสมอ เมื่อรู้สึกว่าเกิดอาการตาแห้ง อาจลองหยอดน้ำตาเทียม ซึ่งประกอบด้วยสารช่วยหล่อลื่นและให้ความชุ่มชื่นแก่ดวงตา

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

ต้อหิน (ออนไลน์).สืบค้นจาก : https://www.bumrungrad.com [28 พฤษภาคม 2562].

ตรวจเช็กต้อหินก่อนรู้ตัวเมื่อสาย (ออนไลน์).สืบค้นจาก : https://www.bangkokhospital.com [28 พฤษภาคม 2562].

ต้อลม (ออนไลน์).สืบค้นจาก : https://www.pobpad.com [28 พฤษภาคม 2562].

โรคพิษสุนัขบ้า ( Rabies ) เกิดขึ้นได้อย่างไร ?

0
โรคพิษสุนัขบ้า ( Rabies )
โรคพิษสุนัขบ้า ( Rabies ) หรือโรคกลัวน้ำ คือ โรคติดเชื้อในระบบประสาทจากสัตว์สู่คน มีอันตรายร้ายแรงถึงชีวิต ผู้ที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้าจะเสียชีวิตเกือบทุกราย
โรคพิษสุนัขบ้า ( Rabies )
โรคพิษสุนัขบ้า ( Rabies ) หรือโรคกลัวน้ำ คือ โรคติดเชื้อในระบบประสาทจากสัตว์สู่คน มีอันตรายร้ายแรงถึงชีวิต ผู้ที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้าจะเสียชีวิตเกือบทุกราย

โรคพิษสุนัขบ้าคือ

โรคพิษสุนัขบ้า ( Rabies ) หรือโรคกลัวน้ำ คือ โรคติดเชื้อในระบบประสาทจากสัตว์สู่คน มีอันตรายร้ายแรงถึงชีวิต ผู้ที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้าจะเสียชีวิตเกือบทุกราย เนื่องจากปัจจุบันยังไม่มียาที่ใช้ในการรักษา แต่ทั้งนี้โรคพิษสุนัขบ้าเป็นโรคที่สามารถป้องกันได้โดยการฉีดวัคซีน

สัตว์ชนิดใดเป็นโรคพิษสุนัขบ้าได้บ้าง

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิดสามารถติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าได้ ในสหรัฐอเมริกาพบว่าสัตว์ป่า เช่น แรคคูน สกั้งค์ สุนัขจิ้งจอก และสุนัขโคโยตี้ เป็นตัวอมโรคหลักของเชื้อไวรัส สัตว์เลี้ยงที่มีรายงานว่าเป็นโรคพิษสุนัขบ้าได้แก่ เช่น แมว ค้างคาว วัว ลิง ชะนี กระรอก กระต่าย โค กระบือ ม้า รวมถึงหนู เป็นต้น แต่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิดสามารถเป็นโรคพิษสุนัขบ้าได้ถ้ามีการสัมผัสกับเชื้อไวรัส

คนติดโรคพิษสุนัขบ้าได้อย่างไร

โรคพิษสุนัขบ้าติดต่อโดยการสัมผัสกับน้ำลายจากการถูกกัด ข่วนหรือเลียบริเวณที่มีบาดแผลรอยถลอกหรือรอยขีดข่วนบาดแผล หรือถูกเลียบริเวณเยื่อบุตา หรือปาก เป็นต้น และพบว่าสุนัขและแมวเป็นสัตว์ที่นำโรคพิษสุนัขบ้ามาสู่คนได้บ่อยที่สุด นอกจากนี้การชำแหละซากสัตว์หรือรับประทานผลิตภัณฑ์ดิบจากสัตว์ที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้าก็สามารถติดโรคได้ คนสามารถติดโรคพิษสุนัขบ้าได้จากการถูกสัตว์ที่มีเชื้อกัด การติดเชื้อไวรัสทางอื่นอาจเกิดได้จากการสัมผัสสมองหรือน้ำ ไขสันหลังของสัตว์ที่ติดเชื้อ หรือหายใจเอาเชื้อไวรัสจากเนื้อเยื่อที่ติดเชื้อเข้าไป

ผู้ที่ได้รับเชื้อส่วนมากจะไม่แสดงอาการของโรคพิษสุนัขบ้าจนกระทั่ง 1-3 เดือนหลังจากได้รับเชื้อ อาการแรกเริ่มคือ มีไข้ปวดหัว คันบริเวณที่ถูกกัด สับสน และพฤติกรรมผิดปกติคนที่ติดเชื้อจะไวต่อแสงและเสียงมากกว่าปกติและกลืนลำ บาก เมื่อเริ่มแสดงอาการออกมาแล้วโอกาสหายจากโรคมีน้อยมาก และผู้ป่วยมักตายภายใน 2-10 วัน ถ้าได้รับการรักษาก่อนแสดงอาการ จะได้ผลดีมากและสามารถรักษาชีวิตไว้ได้ 

อาการของโรคพิษสุนัขบ้า

หลังได้รับเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าผู้ป่วยจะแสดงอาการป่วยโดยเฉลี่ยประมาณ 3 สัปดาห์ ถึง 3 เดือน ในบางรายอาจใช้เวลานานหลายปีกว่าจะมีอาการก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นกับตำแหน่งที่ถูกกัด ขนาด จำนวนและความลึกของบาดแผลรวมถึงภูมิต้านทานของคนที่ถูกสัตว์กัด อาการของโรคพิษสุนัขบ้าแบ่งเป็น 3 ระยะ ดังนี้
1. ระยะเริ่มต้น ผู้ป่วยจะมีอาการที่ไม่เฉพาะเจาะจง เช่น ไข้ เจ็บคอ ปวดศีรษะ เบื่ออาหาร ปวดเมื่อยตามตัว หนาวสั่น คลื่นไส้อาเจียน กระวนกระวายนอนไม่หลับ ในบางรายอาจมีอาการเจ็บ เสียวแปล๊บคล้ายเข็มทิ่ม หรือคันอย่างมากบริเวณที่ถูกกัด ซึ่งเป็นลักษณะที่จำเพาะของโรคระยะนี้มีเวลาประมาณ 2-10 วัน
2. ระยะที่มีอาการทางสมอง ผู้ป่วยจะมีอาการสับสน วุ่นวาย กระสับกระส่าย อยู่ไม่นิ่ง กลืนลำบาก รวมถึงกลัวน้ำ อาการจะมากขึ้นหากมีเสียงดัง หรือถูกสัมผัสเนื้อตัว จากนั้นผู้ป่วยอาจมีอาการชักและเป็นอัมพาต ระยะนี้มีอาการประมาณ 2-7 วัน
3. ระยะท้าย ผู้ป่วยอาจมีภาวะหายใจล้มเหลว หัวใจหยุดเต้น โคม่า และเสียชีวิตในเวลาอันสั้น

การปฏิบัติตนเมื่อถูกสัตว์กัด

1. รีบล้างแผลให้เร็วที่สุดด้วยน้ำสบู่และน้ำสะอาดหลาย ๆ ครั้ง นานอย่างน้อย 15 นาที ล้างทุกแผลและล้างให้ลึกถึงก้นแผล แล้วเช็ดแผลให้แห้ง ใส่ยาฆ่าเชื้อบริเวณแผล เช่น ยาโพวิโดนไอโอดีน เป็นต้น
2. จดจำลักษณะและสังเกตอาการสัตว์ที่กัด รวมทั้งสืบหาเจ้าของ เพื่อสอบถามประวัติการฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้าและสังเกตอาการสัตว์ที่กัดเป็นเวลา 10 วัน ถ้าสบายดีไม่น่าเป็นโรคพิษสุนัขบ้า แต่ถ้าสุนัขตายให้นำซากมาตรวจ
3. ไปพบแพทย์ทันทีพร้อมนำสมุดวัคซีนหรือประวัติการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าและบาดทะยักไปด้วย เพื่อรับการป้องกันรักษาที่ถูกต้อง ถ้ามีความเสี่ยงต่อโรคพิษสุนัขบ้า เช่น ถูกกัดหรือข่วน แพทย์จะพิจารณาฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า รวมถึงวัคซีนป้องกันบาดทะยักและยาฆ่าเชื้อ นอกจากนี้ในกรณีที่มีโอกาสติดโรคพิษสุนัขบ้าสูง แพทย์อาจพิจารณาให้อิมมูโนโกลบุลินซึ่งมีภูมิต้านทานโรคพิษสุนัขบ้าร่วมด้วย โดยวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าจะฉีดประมาณ 3-5 ครั้ง เป็นวัคซีนมีความปลอดภัยสูงสามารถฉีดได้ทุกวัย รวมทั้งในเด็กและสตรีมีครรภ์ วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้ามีประสิทธิภาพสูงหากไปรับการฉีดตามแพทย์นัดทุกครั้ง

การป้องกันสัตว์จากโรคพิษสุนัขบ้า

การป้องกันโรคเป็นวิธีที่ดีที่สุด สัตว์ควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า และหลีกเลี่ยงให้ห่างจากสัตว์ป่าสัตว์เลี้ยง เช่น สุนัข แมว และเฟอร์เร็ตที่กัดคนแต่ไม่แสดงอาการของโรคพิษสุนัขบ้าควรต้องกักไว้สังเกตอาการ ภายใต้การดูแลของสัตวแพทย์อย่างน้อย 10 วัน หากสัตว์แสดงอาการของโรคพิษสุนัขบ้าในช่วงนี้ ต้องทำการการุณยฆาตและส่งตัวอย่างเพื่อตรวจชันสูตรโรคต่อไป   

การป้องกันตนเองจากโรคพิษสุนัขบ้า

โรคพิษสุนัขบ้าเป็นโรคที่ไม่มียาที่ใช้ในการรักษา และถ้าติดเชื้อจะเสียชีวิตเกือบทุกราย ดังนั้นการป้องกันไม่ให้เกิดโรคจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง โดยมีแนวทางในการป้องกันดังนี้
1. ควบคุมไม่ให้เป็นโรคพิษสุนัขบ้า
1.1พาสัตว์เลี้ยงไปฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้าตามกำหนด และฉีดซ้ำทุกปี
1.2ไม่ปล่อยสัตว์เลี้ยงไปในที่สาธารณะ ทุกครั้งที่จะนำสุนัขออกนอกบ้านควรอยู่ในสายจูง
1.3ไม่นำสัตว์ป่ามาเลี้ยง
2. หลีกเลี่ยงไม่ให้ถูกสัตว์กัด โดยไม่แหย่หรือรังแกให้สัตว์โมโห รวมทั้งไม่ยุ่งหรือเข้าใกล้สัตว์ที่ไม่รู้จักหรือไม่มีเจ้าของ
3. ถ้าถูกสัตว์กัดแล้ว ควรปฎิบัติตามคำแนะนำข้างต้น
4. พิจารณาการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าแบบป้องกันล่วงหน้าในผู้ที่มีความเสี่ยงสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ประกอบอาชีพที่มีความเสี่ยงในการสัมผัสโรคพิษสุนัขบ้า ได้แก่ สัตวแพทย์ ผู้ที่มีอาชีพเลี้ยงและขายสัตว์ เป็นต้น ผู้ที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลที่มีการระบาดของโรคพิษสุนัขบ้า ซึ่งอาจทำให้การเข้าถึงวัคซีน การตรวจทางน้ำเหลือง รวมถึงการมารับวัคซีนกระตุ้นตามนัดทำได้ยากลำบาก หรืออาศัยอยู่บนพื้นที่ที่มีแหล่งรังของโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์ป่า รวมถึงเด็กที่เลี้ยงสุนัขและแมวเป็นต้น ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าแบบป้องกันล่วงหน้า และเมื่อถูกสัตว์กัดจะต้องฉีดวัคซีนกระตุ้นซ้ำอีก 1-2 ครั้ง

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

โรคพิษสุนัขบ้า (Rabies) ภัยร้ายใกล้ตัว (ออนไลน์). สืบค้นจาก : http://www.siphhospital.com [28 พฤษภาคม 2562].

โรคพิษสุนัขบ้า (Rabies) (ออนไลน์). สืบค้นจาก : http://www.cfsph.iastate.edu [28 พฤษภาคม 2562].

ผ้าอนามัยกัญชาลดอาการปวดประจำเดือน ?

0
ผ้าอนามัยกัญชาลดอาการปวดประจำเดือน ?
ในผ้าอนามัยกัญชาจะมีสาร THC ปริมาณ 60 มิลลิกรัม และสาร CBD 10 มิลลิกรัม ช่วยบรรเทาอาการปวดประจำเดือน ผ่อนคลายอาการแกร็งของกล้ามเนื้อ
ผ้าอนามัยกัญชาลดอาการปวดประจำเดือน ?
ในผ้าอนามัยกัญชาจะมีสาร THC ปริมาณ 60 มิลลิกรัม และสาร CBD 10 มิลลิกรัม ช่วยบรรเทาอาการปวดประจำเดือน ผ่อนคลายอาการแกร็งของกล้ามเนื้อ

ผ้าอนามัยกัญชาลดอาการปวดประจำเดือน

ผ้าอนามัยกัญชา ที่ว่าเป็นผลิตภัณฑ์จากบริษัทในประเทศสหรัฐอเมริกา ที่นำสารสกัดจากกัญชามาเป็นส่วนผสมในผ้าอนามัยชนิดสอด ซึ่งสารดังกล่าวคือสาร THC และสาร CBD จากกัญชา โดยในผ้าอนามัยกัญชาจะมีสาร THC ปริมาณ 60 มิลลิกรัม และสาร CBD 10 มิลลิกรัม ซึ่งเจ้าสารทั้งสองในกัญชามีสรรพคุณช่วยบรรเทาอาการปวด ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ จึงคาดว่าผ้าอนามัยกัญชาน่าจะช่วยบรรเทาอาการปวดประจำเดือนในผู้หญิงได้

อย่างไรก็ตาม ผู้หญิงที่ลองใส่ผ้าอนามัยกัญชาอ้างว่าช่วยแก้ปวดประจำเดือนได้จริง ๆ แต่ทั้งนี้จะซื้อผ้าอนามัยกัญชามาใช้ได้ต้องเป็นคนที่อาศัยอยู่ในประเทศเดียวกันกับบริษัทผู้ผลิตในสหรัฐอเมริกา และต้องสมัครสมาชิกพร้อมด้วยสมัครใช้แอปพลิเคชันที่จะมีคำแนะนำจากแพทย์ให้เราอ่านและกดรับทราบเสียก่อน ซึ่งถือว่าเป็นความปลอดภัยของผู้บริโภคอีกอย่างหนึ่ง

ส่วนราคาผ้าอนามัยกัญชาชนิดสอด 4 ชิ้น จะอยู่ที่ 44 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 1,408 บาท ซึ่งถือว่าราคาสูงพอสมควร ใครมีโอกาสได้ลองใช้ก็แวะมารีวิวได้นะคะ

ผลิตภัณฑ์ของกัญชาในต่างประเทศ

นอกจากนี้ในต่างประเทศยังมีผลิตภัณฑ์ของกัญชามาแรงในปี 2019 เช่น

  • น้ำมันกัญชา
  • ผลิตภัณฑ์ความงานและประทินผิว
  • เครื่องดื่ม
  • ช็อกโกแล็ต
  • เยลลี่
  • ผลิตภัณฑ์สำหรับเลี่้ยงสัตว์

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
webmdi, independent, foriapleasure

โรคไข้สมองอักเสบ ( West Nile )

0
โรคไข้สมองอักเสบ ( West Nile )
ไข้สมองอักเสบ ( West Nile ) คือ การติดเชื้อไวรัสซึ่งมียุงเป็นพาหะของโรคสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งสัตว์ปีก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์เลื้อยคลาน และมนุษย์
โรคไข้สมองอักเสบ ( West Nile )
ไข้สมองอักเสบ ( West Nile ) คือ การติดเชื้อไวรัสซึ่งมียุงเป็นพาหะของโรคสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งสัตว์ปีก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์เลื้อยคลาน และมนุษย์

โรคไข้สมองอักเสบ

ไข้สมองอักเสบ ( West Nile ) คือ การติดเชื้อไวรัสซึ่งมียุงเป็นพาหะของโรคสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งสัตว์ปีก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์เลื้อยคลาน และมนุษย์ พบว่ามีอาการรุนแรงและเสียชีวิตในผู้ป่วยอายุมากกว่า 50 ปี การแพร่กระจายของโรคไข้สมองอักเสบเกิดขึ้นระหว่างนกและยุง เช่น ยุงไปดูดเลือดนกที่มีเชื้อ West Nile Virus ( WNV ) ยุงตัวนั้นเกิดการติดเชื้อเมื่อยุงไปกัดสัตว์ตัวอื่นสัตว์เหล่านั้นก็จะติดเชื้อ ระยะฟักตัวประมาณ 5 – 15 วันทำให้เกิดอาการป่วยและตายในที่สุด แต่ยังไม่พบหลักฐานว่ามีการติดต่อจากคนสู่คน หรือจากสัตว์สู่สัตว์

สาเหตุ และอาการโรคไข้สมองอักเสบ

เชื้อไวรัสจะเข้าไปทำลายสมองและระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้เกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบหรือสมองอักเสบ ผู้ป่วยจะมีอาการหลังได้รับเชื้อ 5-15 วัน ดังนี้

    • ปวดศรีษะ
    • มีไข้สูง
    • อาเจียน
    • คอแข็ง
    • มีอาการมือสั่น
    • กล้ามเนื้ออ่อนแรง
    • อาการตัวเกร็งแข็ง
    • แขนขาเป็นอัมพาต
    • ชักกระตุกหมดสติ หรืออาจเสียชีวิตได้
    • การวินิจฉัยโรคไข้สมองอักเสบ

แพทย์วินิจฉัยจากประวัติการอยู่อาศัยของผู้ป่วย หรือเข้าไปในแหล่งระบาดของโรค อาการและการตรวจร่างกายผู้ป่วย โดยการเจาะเลือดและน้ำไขสันหลัง เพื่อตรวจหาเชื้อไวรัสและภูมิต้านทานต่อเชื้อไวรัส

การรักษาโรคไข้สมองอักเสบ

ปัจจุบันยังไม่มียารักษาโรคไข้สมองอักเสบ แพทย์จะให้การรักษาตามอาการและประคับประคองอาการ เฝ้าระวังโรคแทรกซ้อนที่จะเกิดกับผู้ป่วย

การป้องกันโรคไข้สมองอักเสบ

    • หมั่นทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงตามบ้านเรือน
    • ปิดฝาภาชนะใส่น้ำให้สนิท เช่น โอ่ง กระถาง
    • อย่าให้ถูกยุงกัด โดยการนอนกางมุ้ง
    • ย้ายคอกสัตว์เลี้ยงให้ห่างจากบ้านที่พักอาศัย
    • การฉีดวัคซีนป้องกันโรคเป็นวิธีที่ดีที่สุดในตอนนี้

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

ไข้สมองอักเสบ ( West Nile ) กรมควบคุมโรค (ออนไลน์).สืบค้นจาก : https://ddc.moph.go.th [28 พฤษภาคม 2562].

โรคติดเชื้อไวรัส West Nile .2549 สถานเสาวภา สภากาชาดไทย (ออนไลน์).สืบค้นจาก : http://www.saovabha.com [28 พฤษภาคม 2562].