Home Blog Page 117

โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ( Cystitis )

0
โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ( Cystitis )
โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ( Cystitis ) เป็นการอักเสบของเยื่อบุผิวกระเพาะปัสสาวะที่มักเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส เชื้อรา และเชื้อโปรโตซัว
โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ( Cystitis )
โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ( Cystitis ) เป็นการอักเสบของเยื่อบุผิวกระเพาะปัสสาวะที่มักเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส เชื้อรา และเชื้อโปรโตซัว

โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ( Cystitis ) เป็นการอักเสบของเยื่อบุผิวกระเพาะปัสสาวะที่มักเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส เชื้อรา และเชื้อโปรโตซัว หรือเรียกว่า ” การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ” โดยมากพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย ปัยจัยและพฤติกรรมที่กระตุ้นการติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะ ได้แก่ การกลั้นปัสสาวะเป็นเวลานาน การรักษาความสะอาดไม่ถูกวิธี การอักเสบจากสารเคมี หรืออักเสบจากการฉายรังสี เป็นต้น 

สาเหตุในการติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะ

1) มีการตกค้างของปัสสาวะในกระเพาะเป็นเวลานาน เช่น การกลั้นปัสสาวะนาน ดื่มน้ำมากทำให้ร่างกายขับปัสสาวะออกมามากขึ้น
2) การดูแลรักษาความสะอาดบริเวณจุดซ้อนเร้นในเพศหญิงไม่ถูกต้อง
3) ผู้ป่วยที่ภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ผู้ป่วยติดเชื้อ HIV ผู้ป่วยที่รับยากดภูมิต้านทาน ผู้ป่วยมะเร็งที่ให้เคมีบำบัด เป็นต้น
4) จากการมีเพศสัมพันธ์
5) การคุมกำเนิด โดยใช้ถุงยางอนามัยที่มีสารเคลือบบางชนิด
6) การใส่สายสวนปัสสาวะเป็นเวลานาน

อาการโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

  • ปวดท้องน้อย
  • มีไข้
  • ปัสสาวะบ่อยครั้ง ครั้งละไม่มาก ปวดแสบในขณะเบ่งปัสสาวะ
  • ปัสสาวะเป็นเลือด อาจมองเห็นด้วยตาเปล่า
  • ปัสสาวะมีสีขุ่น หากรุนแรงอาจเป็นหนองได้
  • อาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนร่วมด้วยสำหรับผู้ป่วยบางคน

เชื้อแบคทีเรียสามารถเข้าสู่ระบบทางเดินปัสสาวะได้ 3 ทาง ดังนี้

1) การติดเชื้อย้อนกลับขึ้นไปจากท่อปัสสาวะ
2) เชื้อโรคแพร่กระจายมาทางกระแสเลือด
3) เชื้อโรคแพร่กระจายมาทางกระแสน้ำเหลือง

การวินิจฉัยโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบของแพทย์

แพทย์จะประเมินอาการอย่างละเอียด และเลือกวิธีที่เหมาะสมกับผู้ป่วยเป็นกรณีไป เช่น การเก็บปัสสาวะจากการเจาะดูดผ่านหน้าท้อง การสวนผ่านท่อปัสสาวะ และหรือการเก็บปัสสาวะช่วงกลางของการปัสสาวะ เนื่องจากเป็นวิธีที่ง่ายและมีความรุนแรงน้อยที่สุด

ข้อควรปฏิบัติ และป้องกันการเกิดโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

  • ไม่ควรกลั้นปัสสาวะเมื่อปวดเป็นเวลานาน
  • ปัสสาวะก่อนเข้านอนกลางคืนทุกครั้ง
  • ควรปัสสาวะก่อนการเดินทางช่วงการจราจรติดขัด หรือเดินทางไกล
  • ไม่ควรดื่มน้ำมาก หากต้องทำงานหรือทำกิจกรรมในสถานที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการปัสสาวะ
  • ดูแลความสะอาดหลังการทำธุระในห้องน้ำทุกครั้ง
  • สังเกตความผิดปกติของตนเอง เช่น ปัสสาวะติดขัด มีอาการปวดแสบ หรือปัสสาวะปนสีเลือด รีบไปพบแพทย์ทันที

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

ภัทร์ ศักดิ์ศิริสัมพันธ์ (2561).กระเพาะปัสสาวะอักเสบและการป้องกันการเกิดซ้ำฯ (ออนไลน์).สืบค้นจาก : https://tci-thaijo.org [27 พฤษภาคม 2562].

Mayo Clinic (2018).Cystitis (ออนไลน์).สืบค้นจาก : https://www.mayoclinic.org [27 พฤษภาคม 2562].

โรคไขมันพอกตับ ( Fatty Liver Disease )

0
โรคไขมันพอกตับ ( Fatty liver disease )
โรคไขมันพอกตับ ( Fatty liver disease ) คือ การที่ไขมันได้เข้าไปแทรกอยู่ในเซลล์ตับ สะสมในปริมาณมากทำให้เกิดการอักเสบเรื้อรังและเกิดพังผืดในตับ ส่งผลให้ตับทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ
โรคไขมันพอกตับ ( Fatty liver disease )
โรคไขมันพอกตับ ( Fatty liver disease ) คือ การที่ไขมันได้เข้าไปแทรกอยู่ในเซลล์ตับ

โรคไขมันพอกตับ

โรคไขมันพอกตับ ( Fatty Liver Disease ) คือ การที่ไขมันได้เข้าไปแทรกอยู่ในเซลล์ตับ เมื่อไขมันสะสมในตับเป็นปริมาณมากทำให้เกิดการอักเสบเรื้อรังและเกิดพังผืดในตับ ส่งผลให้ตับทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ เช่น ทำให้ผลิตอินซูลินได้ไม่เพียงพอทำให้ตับขจัดสารพิษในร่างกายได้ไม่เต็มที่ โดยปกติคนสุขภาพดีจะมีไขมันที่ตับเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลยอัตราส่วน 1 : 3 นั่นเอง

ไขมันพอกตับ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1) โรคไขมันพอกตับที่ไม่มีแอลกอฮอล์ ( Non-Alcoholic Fatty Liver Disease ) เกิดจากการสะสมของไขมันในตับ มักพบในคนที่มีน้ำหนักเกินหรือคนอ้วน พบในพวกน้ำตาลอุสาหกรรม เช่น น้ำตาลไฮฟลุกโตสไซรั
2) โรคไขมันพอกตับที่มีแอลกอฮอล์ ( Alcoholic Fatty Liver Disease ) เป็นความเสียหายของตับ ที่เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำปริมาณมากๆ

https://www.youtube.com/watch?v=h4LCqW8THLI

อาการโรคไขมันพอกตับ

อาการของโรคไขมันพอกตับที่เกิดจากไขมันสะสมในตับ ในหลายกรณีที่ตับไม่แสดงอาการชัดเจน เมื่อร่างกายผลิตไขมันมากเกินไปหรือไม่สามารถเผาผลาญไขมันได้ จึงทำให้เกิดไขมันส่วนเกินและถูกเก็บไว้ในเซลล์ตับสะสมจนเกิดเป็นโรคไขมันพอกตับ โดยอาการไขมันพอกตับที่พบบ่อยคือ

    • ร่างกายอ่อนเพลีย
    • คลื่นไส้
    • น้ำหนักลด
    • กระหายน้ำ
    • ตาเหลือง และตัวเหลือง
    • อาการเท้าบวม และท้องบวม
    • อาเจียนเป็นเลือดหรือถ่ายเป็นเลือด

การวินิจฉัยโรคไขมันพอกตับ

การป้องกันโรคไขมันพอกตับ

    • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ( 30 นาที / วัน )
    • ควบคุมน้ำหนัก ( ในคนที่น้ำหนักตัวมาก )
    • รับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยผัก ผลไม้ และธัญพืชที่มีประโยชน์
    • ผู้ป่วยเบาหวาน หมั่นตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดเป็นประจำ
    • การรับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง
    • หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

การดื่มแอลกอฮอล์มากๆเพียงไม่กี่ครั้งก็สามารถนำไปสู่การสะสมของไขมันในตับ ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักไม่แสดงอาการให้เห็นในระยะเริ่มต้น

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

Nonalcoholic fatty liver disease (ออนไลน์). สืบค้นจาก : https://www.mayoclinic.org [21 พฤษภาคม 2562].

Non-alcoholic fatty liver disease (NAFLD) (ออนไลน์). สืบค้นจาก : https://www.nhs.uk [21 พฤษภาคม 2562].

Alcohol-related liver disease (ออนไลน์). สืบค้นจาก : https://www.nhs.uk [21 พฤษภาคม 2562].

ขอบคุณคลิปดี ๆ มีสาระจาก หมอปุ้ม พญ. สิรนาถ.

ต่อมทอนซิลอักเสบ ( Tonsillitis )

0
ต่อมทอนซิลอักเสบ ( Tonsillitis )
ต่อมทอนซิลอักเสบ ( Tonsillitis ) เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียบริเวณเนื้อเยื่อในลำคอ สามารถเข้าสู่ลำคอเราได้จากอาหาร น้ำดื่ม และการหายใจ
ต่อมทอนซิลอักเสบ ( Tonsillitis )
ต่อมทอนซิลอักเสบ ( Tonsillitis ) เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียบริเวณเนื้อเยื่อในลำคอ สามารถเข้าสู่ลำคอเราได้จากอาหาร น้ำดื่ม และการหายใจ

ต่อมทอนซิลอักเสบ

ต่อมทอนซิลอักเสบ ( Tonsillitis ) เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียบริเวณเนื้อเยื่อในลำคออาจเป็นข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้ง 2 ข้าง เชื้อโรคชนิดนี้สามารถเข้าสู่ลำคอเราได้จากอาหาร น้ำดื่ม และการหายใจ โดยผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บคอ หรือเรียกอีกอย่างว่า ” คออักเสบ ” พบได้บ่อยในเด็กวัยรุ่นและผู้ใหญ่

สาเหตุของทอนซิลอักเสบ

เกิดจากการติดเชื้อบริเวณต่อมทอนซิลที่ผ่านเข้าทางปาก เชื้อแบคทีเรียที่พบได้บ่อยที่สุดคือ เชื้อสเต็ปโตคอคคัสกลุ่มเอ ( Group A Streptococcus ) ซึ่งเป็นตัวเดียวกับที่ทำให้เกิดโรคคออักเสบ

อาการของทอนซิลอักเสบ

    • มีไข้ หนาวสั่น
    • ปวดศรีษะ
    • ปวดเมื่อยตามร่างกาย
    • อ่อนเพลีย
    • มีอาการเจ็บคอ
    • ต่อมทอนซิลทั้งสองข้างบวมแดง และโตขึ้นเล็กน้อย
    • พบเนื้อเยื่อสีขาวหรือเหลืองบริเวณทอนซิล
    • กลืนลำบาก
    • ต่อมน้ำเหลืองที่คอโต
    • เบื่ออาหาร
    • เสียงแหบ
    • มีกลิ่นปาก

การวินิจฉัยทอนซิลอักเสบ

แพทย์จะวินิจฉัยทอนซิลอักเสบได้จากประวัติของคนไข้ อาการ การตรวจร่างกายเบื้องต้น การตรวจในคอเพื่อดูต่อมทอนซิล ตรวจคลำต่อมน้ำเหลืองที่คอ และการตรวจเลือด เพื่อใช้ประกอบในการวินิจฉัยโรค
ภาวะแทรกซ้อนของทอนซิลอักเสบ
ผู้ป่วยที่มีการอักเสบของต่อมทอนซิลบ่อยๆ เนื่องจากติดต่อได้ง่ายทางลมหายใจ ไอ จาม หรือใช้ภาชนะที่รับประทานอาหาร หรือดื่มน้ำรวมกัน อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น อาการกลืนลำบาก หายใจติดขัดระหว่างการนอนหลับ หรือหยุดหายใจขณะนอนหลับ การติดเชื้อรุนแรงแล้วแพร่กระจายไปยังกระแสเลือด ไซนัสอักเสบ ปอดอักเสบ ฝีที่ทอนซิล อาจเป็นมะเร็งต่อมทอนซิล หรือมะเร็งที่ต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอ

การปฏิบัติตัวที่ถูกต้องของผู้ป่วยเมื่อเป็นทอนซิลอักเสบ

    • ถ้ามีอาการเจ็บคอ หรือระคายคอร่วมด้วย ควรรับประทานอาหารอ่อนๆ เช่น โจ๊ก หรือข้าวต้มที่ไม่ร้อนจนเกินไป
    • หลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสเผ็ด หรือรสจัด
    • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ หรือดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์
    • หลีกเลี่ยงการใช้เสียงชั่วคราว
    • ควรทำความสะอาดลำคอบ่อยๆ หลังรับประทานอาหาร โดยเฉพาะการแปรงฟัน หรือกลั้วคอด้วยน้ำเกลืออุ่นๆ หรือน้ำเปล่าหลังอาหารทุกมื้อ

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

Tonsillitis (ออนไลน์). สืบค้นจาก : https://www.mayoclinic.org [25 พฤษภาคม 2562].
ทอนซิลอักเสบ (ออนไลน์). สืบค้นจาก : http://www.rcot.org [25 พฤษภาคม 2562].

โรคพิษสุราเรื้อรัง ( Alcoholism )

0
โรคพิษสุราเรื้อรัง ( Alcoholism )
โรคพิษสุราเรื้อรัง ( alcoholism ) คือ อาการที่เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมากจนไม่สามารถความคุมปริมาณการดื่มได้
โรคพิษสุราเรื้อรัง ( Alcoholism )
โรคพิษสุราเรื้อรัง ( alcoholism ) คือ อาการที่เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมากจนไม่สามารถความคุมปริมาณการดื่มได้

โรคพิษสุราเรื้อรัง

โรคพิษสุราเรื้อรัง ( Alcoholism ) คือ อาการที่เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมากจนไม่สามารถความคุมปริมาณการดื่มได้ติดต่อกันเป็นเวลานาน ยิ่งทำให้แอลกอฮอล์ในกระแสเลือดเพิ่มความเข้มข้นขึ้น เมื่อหยุดดื่มจะมีอาการเหงื่อออกมากกว่าปกติ ตัวสั่น มือสั่น หงุดหงิดง่าย คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย สับสน หัวใจเต้นเร็ว หรือประสาทหลอน เป็นต้น

อาการของโรคพิษสุราเรื้อรัง

  • ดื่มสุราในปริมาณมากขึ้นเลื่อยๆ
  • จดจำเหตุการณ์หลังดื่มสุราไม่ได้
  • มีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป เช่น อารมณ์แปรปรวน พูดจาไม่รู้ความ มือสั่น ประสาทหลอน
  • หากระดับแอลกอฮอล์ในเลือดสูงมาก เสี่ยงอาการโคม่าหรือเสียชีวิตได้

สาเหตุของโรคพิษสุราเรื้อรังมีหลายปัจจัย

  • ปัจจัยด้านพันธุกรรม พบประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง
  • ปัจจัยด้านจิตใจ เช่น โกรธ เสียใจ เบื่อหน่าย เหงา ก็มีส่วนทําใหติดสุราได้
  • ปัจจัยด้านสังคมสิ่งแวดลอม สภาพแวดลอมที่มีการดื่มสุรา ปัญหาในครอบครัว โรงเรียน ค่านิยมทางสังคมในการสังสรรค์ของกลุมเพื่อน พบว่าเป็นปัจจัยที่สําคัญทําให้ติดสุรา
  • พฤติกรรมเลียนแบบของผู้ใกล้ชิด เช่น บิดา มารดา และเพื่อน ชักจูงผลักดันให้เกิดการเลียนแบบ

การวินิจฉัยโรคพิษสุราเรื้อรัง

แพทย์จะวินิจฉัยพฤติกรรมการแสดงออก 3 ระดับ แบบไม่รุนแรง ปานกลาง หรือรุนแรง ช่วงเวลา 12 เดือนที่ผ่านมา

  • ไม่สามารถจำกัดปริมาณการดื่มแอลกอฮอล์ได้
  • พยายามลด หรือเลิกดื่มแอลกอฮอล์ไม่ได้
  • มีความต้องการดื่มแอลกอฮอล์อยู่ตลอดเวลา หรือใช้แอลกอฮอล์เพื่อเป็นการถอน
  • ไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ เช่น การเรียนหนังสือ การทำงาน หรือการขับรถ
  • มีพฤติกรรมการตัดสินใจช้าลง
  • มีอาการขาดสุรา เมื่อไม่ได้ดื่มผู้ป่วยจะหาสารใกล้เคียงเพื่อใช้ทดแทน

การรักษาผู้ป่วยโรคพิษสุราเรื้อรัง

1) ด้านร่างกาย แพทย์จะให้ยาในการรักษาผู้ป่วยเพื่อควบคุมหรือหยุดการดื่มสุราของผู้ป่วย
2) ด้านอาการขาดสุรา จะเกิดขึ้นภายหลังหยุดดื่มสุราประมาณ 2-10 วัน เป็นผลมาจากระบบประสาทซิมพาเทติกทำงานมากเกินไป
3) ด้านจิตสังคม เป็นการให้ผู้ป่วยได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพทางจิตใจและสังคม จนสามารถควบคุมพฤติกรรมการดื่มให้น้อยลง หรือหยุดดื่มไปนานที่สุด
4) การบำบัดแบบอื่น ได้แก่ การให้กำลังใจซึ่งกันและกันด้วยคำพูดดีๆ ในกลุ่มผู้ป่วยด้วยกันเอง

การป้องกันโรคพิษสุราเรื้อรัง

ครอบครับเป็นสภาบันที่มีความสำคัญอย่างมากที่จะเป็นแหล่งให้ความรู้ความเข้าใจ และแสดงพฤติกรรมต่างๆ เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดี หมั่นสังเกตพฤติกรรม พูดคุยไม่ใช้การบังคับ หากิจกรรมที่ทุกคนสามารถทำร่วมกันได้ เช่น การดูหนัง ฟังเพลง ออกกำลังกายเป็นต้น

มาตรฐานแอลกอฮอล์เป็นไปตามกฎหมายกําหนด

1. สุรากลั่น หมายความว่า สุราที่ได้กลั่นแล้วและมีแรงแอลกอฮอล์ต่ำกว่า 80 ดีกรี และให้หมายความรวมถึงสุรากลั่นที่ได้ผสมกับสุราแช่แล้ว แต่มีแรงแอลกอฮอล์เกินกว่า 15 ดีกรี
2. สุราแช่ หมายความว่า สุราที่ไม่ได้กลั่น และให้หมายความรวมถึงสุราแช่ที่ได้ผสมกับสุรากลั่นแล้ว แต่ยังมีแรงแอลกอฮอล์ไม่เกิน 15 ดีกรี

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

การพยาบาลผู้ป่วยโรคติดสุรา (จินตวีร์พร แป้นแก้ว) : วารสารการพยาบาลและการศึกษา ปีที่ 9 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม-กันยายน 2559.

Alcohol use disorder (ออนไลน์). สืบค้นจาก : https://www.mayoclinic.org [23 พฤษภาคม 2562].

๑๓๕ ตอนพิเศษ ๒๐ ง. ราชกิจจานุเบกษา ๒๙ มกราคม ๒๕๖๑
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การให้ตั้งโรงงานผลิตและบรรจุสุราในทุกท้องที่ทั่วราชอาณาจักร พ.ศ. 2560.

โรคคอตีบ ( Diphtheria )

0
โรคคอตีบ ( Diphtheria )
โรคคอตีบ ( Diphtheria ) เป็น การติดเชื้อแบคทีเรียที่แพร่กระจายได้ง่ายและเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่วนใหญ่จะมีผลต่อจมูกและลำคอ
โรคคอตีบ ( Diphtheria )
โรคคอตีบ ( Diphtheria ) เป็น การติดเชื้อแบคทีเรียที่แพร่กระจายได้ง่ายและเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่วนใหญ่จะมีผลต่อจมูกและลำคอ

โรคคอตีบ

โรคคอตีบ ( Diphtheria ) เป็น การติดเชื้อแบคทีเรียที่แพร่กระจายได้ง่ายและเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่วนใหญ่จะมีผลต่อจมูกและลำคอเกิดขึ้นได้ทั้งเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีและผู้ใหญ่ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี มีความเสี่ยงสูงที่จะติดเชื้อในรายที่รุนแรงจะมีอาการตีบตันของทางเดินหายใจจากพิษ ( exotoxin ) ของเชื้อ ส่งผลกระทบที่เป็นอันตรายต่อกล้ามเนื้อหัวใจและเส้นประสาทส่วนปลาย ซึ่งถ้าเป็นรุนแรงจะทำให้เป็นอัมพาตและเสียชีวิตได้

อาการของโรคคอตีบ

    • อาการไข้ต่ำ ( ปวดศีรษะ )
    • อาการเจ็บคอ คออักเสบ
    • อาการไอเสียงก้อง
    • เบื่ออาหาร
    • รู้สึกเมื่อยล้า อ่อนเพลีย
    • หายใจลำบากหรือกลืนลำบาก
    • ต่อมน้ำเหลืองที่คอโต

การแพร่กระจายของโรคคอตีบ

ผู้ที่ติดเชื้อแบคทีเรียคอตีบ แม้ว่าจะไม่มีอาการใดๆสามารถแพร่กระจายเชื้อได้ เชื้อที่ซ้อนอยู่ในร่างกายนั้นสามารถอยู่ได้นานถึง 4 สัปดาห์ โดยระยะฟักตัวของโรคคอตีบประมาณ 2 – 4 วัน

  • ทางอากาศ ได้รับเชื้อจากการไอ จามรดกัน หรือพูดคุยในระยะใกล้ชิด ซึ่งผู้ที่อยู่ใกล้เคียงอาจสูดเอาเชื้อนี้เข้าไปในร่างกายได้ง่าย
  • ใช้ของส่วนตัวที่ปนเปื้อนเชื้อร่วมกับผู้ป่วย โดยการหยิบ จับ หรือสัมผัสสิ่งของพวกนั้น
  • ใช้ภาชนะร่วมกัน เช่น แก้วน้ำ ช้อน จาน ฉาม หรือการดูดอมของเล่นร่วมกันในเด็กเล็ก

โรคแทรกซ้อนของโรคคอตีบ

1) ทางเดินหายใจตีบตัน
2) กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ
3) ปลายประสาทอักเสบ ทำให้มีอัมพาตของกล้ามเนื้อ

การรักษาของโรคคอตีบ

แพทย์จะวินัจฉัยจากการติดเชื้อรุนแรงมากน้อยเพียงใด จึงให้ยาต้านสารพิษของเชื้อหรือให้ยาปฏิชีวนะเพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรียในร่างกาย   

การป้องกันของโรคคอตีบ

การฉีดวัคซีนเป็นวิธีป้องกันโรคคอตีบที่ดีที่สุดทั้งเด็กเล็ก วัยรุ่น และผู้ใหญ่ควรได้รับการฉีดวัคซีนทุกๆ 10 ปี

การฉีดวัคซีนป้องกันโรคคอตีบ

  • ในเด็กทั่วไปต้องได้รับวัคซีนป้องกันโรคคอตีบ ( DTaP ) 5 ครั้ง เมื่ออายุ 2, 4, 6, 18 เดือน และ 4 ปี
  • กระตุ้นอีกครั้งหนึ่งเมื่อเด็กอายุ 11-12 ปี
  • เด็กเล็ก วัยรุ่น และผู้ใหญ่ควรได้รับการฉีดวัคซีนทุก 10 ปี
  • ฉีดวัคซีนป้องกันโรคคอตีบในช่วงหลังการตั้งครรภ์ของผู้หญิง

ปัจจุบันวัคซีนป้องกันโรคคอตีบและวัคซีนบาดทะยักผสมรวมกันในตัวเดียว สามารถป้องกันได้ทั้งสองโรค ซึ่งทางกระทรวงสาธารณสุขจะออกให้บริการฉีดทั่วประเทศ

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

Diphtheria (ออนไลน์).สืบค้นจาก : https://kidshealth.org [20 พฤษภาคม 2562].
โรคคอตีบ (ออนไลน์).สืบค้นจาก : (Diphtheria) http://thaigcd.ddc.moph.go.th [20 พฤษภาคม 2562].
โรคคอตีบและการป้องกัน (ออนไลน์).สืบค้นจาก : https://www.thaihealth.or.th [20 พฤษภาคม 2562].

โรคเริม มีอาการและการดูแลรักษาอย่างไร

0
โรคเริม ( Herpes Simplex )
โรคเริม ( Herpes Simplex ) เป็น โรคติดเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งของผิวหนังและเยื่อเมือกต่าง ๆ ทำให้มีลักษณะพุขึ้นเป็นตุ่มใสเล็ก ๆ แล้วแตกเป็นแผล ตกสะเก็ด ซึ่งหายได้เอง
โรคเริม ( Herpes Simplex )
โรคเริม ( Herpes Simplex ) เป็น โรคติดเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งของผิวหนังและเยื่อเมือกต่าง ๆ ทำให้มีลักษณะพุขึ้นเป็นตุ่มใสเล็ก ๆ แล้วแตกเป็นแผล ตกสะเก็ด ซึ่งหายได้เอง

โรคเริม

โรคเริม ( Herpes Simplex ) เป็น โรคติดเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งของผิวหนังและเยื่อเมือกต่าง ๆ ทำให้มีลักษณะพุขึ้นเป็นตุ่มใสเล็ก ๆ แล้วแตกเป็นแผล ตกสะเก็ด ซึ่งหายได้เอง แต่มักกำเริบซ้ำและเป็น ๆ หาย ๆ เรื้อรัง ผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันต่ำมักมีอาการกำเริบได้บ่อยและรุนแรงกว่าปกติ ส่วนในเด็กทารกและผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น ผู้ติดเชื้อเอชไอวี ผู้ป่วยมะเร็ง ผู้ที่ปลูกถ่ายอวัยวะ อาจมีอาการรุนแรง โดยเชื้อสามารถแพร่เข้าสู่กระแสเลือดกระจายไปยังอวัยวะต่าง ๆ อาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ โรคเริมจัดเป็นโรคติดต่อที่พบได้บ่อยในคนทุกวัย โดยเฉพาะในคนวัยหนุ่มสาวและวัยผู้ใหญ่ ผู้หญิงและผู้ชายมีโอกาสเกิดโรคนี้ได้ใกล้เคียงกัน การติดเชื้อครั้งแรกมักเกิดขึ้นในวัยเด็กเป็นส่วนใหญ่ อุบัติการณ์สูงสุดเกิดในเด็กระหว่างอายุ 6 เดือน ถึง 3 ขวบ ซึ่งเด็กในชุมชนแออัดและมีสุขอนามัยไม่ดีจะมีโอกาสติดเชื้อได้มากกว่า

สาเหตุของโรคเริม

เกิดจากการติด เชื้อไวรัสเริม หรือ เฮอร์ปีส์ซิมเพล็กซ์ ( Herpes Simplex Virus – HSV ) ซึ่งเป็นไวรัสต่างชนิดกับโรคงูสวัดและโรคอีสุกอีใส ถึงแม้จะก่อให้เกิดตุ่มน้ำกับผิวหนังได้คล้าย ๆ กันก็ตาม โดยเชื้อไวรัสเริมจะมีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด คือ ไวรัสเริมชนิดที่ 1 หรือ เอชเอสวี-1 ( Herpes simplex virus 1 หรือ HSV-1 ) กับไวรัสเริมชนิดที่ 2 หรือ เอชเอสวี-2 ( Herpes simplex virus 1 หรือ HSV-2 ) เชื้อเริมทั้ง 2 ชนิดนี้สามารถทำให้เกิดการติดเชื้อได้ทั้งบริเวณผิวหนังทั่วไป ช่องปาก อวัยวะเพศ และเยื่อเมือกต่าง ๆ โดยเชื้อไวรัสเริมชนิดที่ 1 มักจะทำให้เกิดอาการกำเริบที่ปากมากกว่าที่อวัยวะเพศ ส่วนเชื้อไวรัสเริมชนิดที่ 2 มักจะทำให้เกิดอาการกำเริบที่อวัยวะเพศมากกว่าที่ปาก
การติดต่อ : ติดต่อโดยการสัมผัสโดยตรงกับผู้ที่เป็นโรค ซึ่งอาจแสดงอาการหรือไม่แสดงอาการก็ได้ ผ่านทางรอยถลอกของผิวหนังหรือทางเยื่อเมือกจากน้ำลายหรือสิ่งคัดหลั่ง รวมไปถึงจากการใช้ของใช้ร่วมกัน การกิน การจูบ หรือจากมือติดโรคแล้วป้ายเข้าตา
ระยะฟักตัว : สำหรับการติดเชื้อครั้งแรกจนกระทั่งแสดงอาการจะใช้เวลาประมาณ 2-20 วัน เมื่อเชื้อเข้าสู่ร่างกายและอยู่ในชั้นของผิวหนัง เชื้อเริมจะแบ่งตัวทำให้ผิวหนังเกิดอาการบวมเป็นตุ่มน้ำและเกิดการอักเสบ แต่หลังจากนั้นเมื่อหายจากโรคแล้ว เชื้อเริมจะเข้าไปหลบซ่อนที่ปมประสาทในบริเวณใต้ผิวหนังหรือเยื่อบุและแฝงตัวอยู่อย่างสงบ โดยไม่มีการแบ่งตัว
การเกิดเป็นซ้ำ : โรคนี้สามารถเป็นซ้ำได้บ่อย ๆ บางครั้งอาจเป็นซ้ำได้แต่จะค่อย ๆ ลดไปเมื่ออายุสูงขึ้น โดยเริมที่ริมฝีปากจะมีอัตราการเกิดเป็นซ้ำประมาณ 20-40% ส่วนเริมที่อวัยวะเพศจะมีอัตราการเกิดเป็นซ้ำประมาณ 80% ซึ่งการเกิดเป็นซ้ำนี้จะมีอาการน้อยกว่า หายเร็วกว่าการเกิดเป็นครั้งแรก และมักไม่มีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย

อาการของโรคเริม

อาการของโรคจะขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่ติดเชื้อ อายุ ภูมิคุ้มกันของผู้ป่วย และชนิดของเชื้อไวรัสเริม เริมที่ผิวหนัง ส่วนใหญ่จะพบการติดเชื้อซ้ำ ( Reactivation ) บริเวณรอยโรคมักมีอาการปวดแสบปวดร้อนหรือปวดเสียวนำมาก่อนประมาณ 30 นาที ถึง 48 ชั่วโมง แล้วมีตุ่มน้ำใสขนาดประมาณ 2-3 มิลลิเมตรขึ้นอยู่กันเป็นกลุ่ม ๆ โดยรอบจะมีผื่นแดง ต่อมาตุ่มน้ำใสนี้จะกลายเป็นสีเหลืองขุ่นแล้วแตกกลายเป็นสะเก็ด ซึ่งมักจะหายไปได้เองภายใน 1-2 สัปดาห์ ด้วยลักษณะของตุ่มน้ำใสได้แก่ ริมฝีปาก แก้ม จมูก ตา หู ก้น อวัยวะเพศ ซึ่งผื่นมักจะขึ้นที่ตำแหน่งที่เคยขึ้นอยู่เดิมหรือในบริเวณใกล้เคียง
ในกรณีที่เป็นการติดเชื้อครั้งแรก ผู้ป่วยมักจะมีอาการอักเสบที่รุนแรงกว่า บริเวณรอยโรคจะมีลักษณะบวมและเจ็บ ระยะแรกจะขึ้นเป็นตุ่มน้ำใส ต่อมาจะดูคล้ายตุ่มหนองหรือฝี ผู้ป่วยส่วนน้อยอาจมีอาการไข้และต่อมน้ำเหลืองบริเวณใกล้เคียงอักเสบร่วมด้วย พบได้บ่อยที่นิ้วชี้ รองลงมาคือนิ้วหัวแม่มือ แต่บางรายอาจพบได้ที่บริเวณฝ่ามือ ในทารกและเด็กเล็กมักเกิดจากการดูดนิ้วในขณะที่มีการติดเชื้อเริมในปากหรือเกิดจากการจูบมือของผู้ใหญ่ที่เป็นเริมในปาก
1. เริมในช่องปาก ( Herpetic Gingivostomatitis ) เป็นอาการที่พบได้บ่อยที่สุดของการติดเชื้อไวรัสเริมชนิดที่ 1 เป็นครั้งแรก พบได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ มีระยะฟักตัวของโรคประมาณ 2-3 วัน หรืออาจนานถึง 20 วัน
ผู้ป่วยที่เป็นเริมในช่องปาก เมื่อหายแล้วเชื้อมักจะหลบซ่อนตัวอยู่ที่ปมประสาทของสมองคู่ที่ 5 ( Trigeminal ganglion ) ต่อมาเชื้ออาจจะแบ่งตัวเจริญเติบโตทำให้เกิดการติดเชื้อซ้ำได้ ส่วนใหญ่จะเกิดเป็นแผลเริมที่ริมฝีปากเรียกว่า “ เริมที่ริมฝีปาก ” ( Herpes Labialis บางครั้งเรียกว่า Fever blisters หรือ Cold sores ) ซึ่งที่บริเวณริมฝีปากของผู้ป่วยมักจะมีตุ่มน้ำเล็ก ๆ พุขึ้นกลุ่ม แล้วแตกลายเป็นแผลตกสะเก็ดอยู่ประมาณ 2-3 วัน โดยก่อนที่จะมีตุ่มขึ้นเพียงไม่กี่ชั่วโมงถึงหลายวัน ผู้ป่วยอาจมีอาการปวดแสบหรือคันบริเวณรอยโรคได้
ผู้ป่วยบางรายอาจเกิดแผลเปื่อยในช่องปาก เรียกว่า “ เริมในช่องปากชนิดเป็นซ้ำ ” ( Recurrent Intraoral herpes simplex ) ซึ่งมักจะมีแผลเดียวเกิดขึ้นที่เหงือกหรือที่เพดานแข็ง โดยแรกเริ่มจะขึ้นเป็นตุ่มน้ำเล็ก ๆ แล้วแตกเป็นแผลลักษณะเป็นสะเก็ดสีเหลืองปกคลุมอยู่บนพื้นสีแดง เมื่อลอกออกจะกลายเป็นแผลตื้นสีแดง
ผู้ป่วยบางรายอาจมีแผลเริมขึ้นที่ใบหน้าหรือจมูกได้ อาการมักจะกำเริบขึ้นเมื่อมีความเครียด พักผ่อนน้อย ถูกแดดจัด มีประจำเดือน เป็นไข้หวัดหรือเป็นไข้
2. เริมที่อวัยวะเพศ ( Herpes Genitalis ) เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดของอาการเป็นแผลที่อวัยวะเพศ จัดเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเริมชนิดที่ 2 ส่วนน้อยเกิดจากเชื้อไวรัสเริมชนิดที่ 1 ถ้าเป็นการติดเชื้อครั้งแรก จะมีระยะฟักตัวของโรคคือตั้งแต่ได้เชื้อจนกระทั่งแสดงอาการประมาณ 2-10 วัน ผู้ป่วยมักมีไข้ ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย และเกิดผื่นตุ่มขึ้นที่บริเวณอวัยวะเพศ โดยจะมีอาการแสบ ๆ คัน ๆ นำมาก่อน ในผู้ชายอาจขึ้นที่หนังหุ้มปลายองคชาต ที่ตัว หรือที่ปลายองคชาต ถุงอัณฑะ ต้นขา ก้น รอบทวารหนัก หรือในท่อปัสสาวะ ส่วนผู้หญิงอาจขึ้นที่ปากช่องคลอด ก้น รอบทวารหนัก ในช่องคลอด หรือที่ปากมดลูก นอกจากนี้ยังอาจพบรอยโรคได้ที่ก้น หน้าขา ขาหนีบ นิ้วมือ หรือตา ซึ่งมักจะเกิดขึ้นในสัปดาห์ที่ 2 หลังจากอาการหายแล้ว เชื้ออาจหลบซ่อนอยู่ที่ปมประสาท แล้วต่อมาผู้ป่วยจะมีการติดเชื้อซ้ำ ๆ เป็น ๆ หาย ๆ อยู่บ่อย ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 6 เดือนแรกหลังการติดเชื้อครั้งแรก อาจเกิดขึ้นบ่อยและค่อย ๆ ลดลงเมื่อเวลาผ่านไป โดยอาการมักจะกำเริบขึ้นเวลาที่ร่างกายทรุดโทรม เครียด มีประจำเดือน หรือมีการเสียดสี เช่น การมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งในการติดเชื้อซ้ำ ผู้ป่วยจะมีอาการแสบ ๆ คัน ๆ บริเวณที่เป็นรอยโรครวมทั้งต้นขาด้านในหรือก้นนำมาก่อน ต่อมาจะพุขึ้นเป็นตุ่มน้ำใสเล็ก ๆ หลายตุ่ม อยู่กันเป็นกลุ่ม ๆ ที่อวัยวะเพศ โดยมักจะขึ้นตรงตำแหน่งเดิมที่เคยเป็นมาก่อน ผู้ป่วยอาจมีอาการปัสสาวะแสบขัด ต่อมน้ำเหลืองที่ขาหนีบโตและเจ็บ ตุ่มมักจะตกสะเก็ดภายใน 4-5 วัน แล้วหายไปได้เองภายใน 10 วัน และบางรายอาจมีไข้และอ่อนเพลียร่วมด้วย
ผู้ป่วยบางรายอาจมีการติดเชื้อซ้ำโดยไม่มีอาการแสดงออกมาก็ได้ แต่ยังคงสามารถปล่อยเชื้อออกมาแพร่ให้ผู้อื่นได้อยู่ ดังนั้นจึงไม่มีหลักประกันว่าการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่ไม่แสดงอาการจะปลอดภัยจากโรคเริม

ภาวะแทรกซ้อนของโรคเริม

  1. ตุ่มหรือแผลกลายเป็นหนองพุพองจากการอักเสบซ้ำของเชื้อแบคทีเรีย
  2. กระจกตาอักเสบ (Keratitis) ถึงกับทำให้สายตาพิการได้
  3. ตับอักเสบ ซึ่งมักจะไม่รุนแรงในผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันแข็งแรง แต่ถ้าพบในผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันต่ำหรือในหญิงตั้งครรภ์ ก็อาจกลายเป็นตับอักเสบชนิดร้ายแรง ( Fulminant Hepatitis ) ได้
  4. ผู้หญิงที่เป็นเริมที่อวัยวะเพศ อาจมีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปากมดลูกเพิ่มขึ้น
  5. การติดเชื้อเริมในผู้หญิงตั้งครรภ์ อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ทารกเป็นโรคเริมแต่กำเนิด
  6. สมองอักเสบ เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเริมชนิดที่ 1 พบได้มากในทารกแรกเกิด ผู้ป่วยอายุ 5-30 ปี
  7. เยื่อหุ้มสมองอักเสบชนิดอะเซปติก ( Aseptic Meningitis ) พบเป็นภาวะแทรกซ้อนของการติดเชื้อไวรัสเริมชนิดที่ 2 ครั้งแรกที่อวัยวะเพศ อาการมักทุเลาภายในไม่กี่วัน และหายไปได้เองโดยไม่มีความพิการหลงเหลือ
  8. หลอดอาหารอักเสบ พบในผู้ป่วยเอดส์และผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บในขณะกลืน ทำให้กลืนลำบาก น้ำหนักตัวลด

การวินิจฉัยโรคเริม

ตรวจหาสารก่อภูมิต้านทานหรือดีเอ็นเอของเชื้อเริมจากแผลหรือสิ่งคัดหลั่ง การทดสอบทางน้ำเหลืองเพื่อหาระดับสารภูมิต้านทานมักตรวจพบตุ่มน้ำใสขนาด 2-3 มิลลิเมตร หลายตุ่มอยู่กันเป็นกลุ่ม ๆ หรือพบตุ่มตกสะเก็ดหรือแผลเล็ก ๆ คล้ายรอยถลอกในบริเวณผิวหนังส่วนใดส่วนหนึ่ง ริมฝีปาก หรือที่อวัยวะเพศ และอาจตรวจพบต่อมน้ำเหลืองในบริเวณใกล้เคียงโตและเจ็บ ผู้ป่วยบางรายอาจมีไข้ร่วมด้วย อาจตรวจพบแผลขึ้นพร้อมกันหลายแห่งในช่องปาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กเล็กที่เป็นเริมในช่องปาก

วิธีรักษาโรคเริม

โรคเริมส่วนใหญ่มักมีอาการไม่รุนแรง ผู้ที่ไม่ได้รับการรักษามักหายได้เองภายใน 1-2 สัปดาห์ โดยเฉพาะเริมที่กลับมาเป็นซ้ำ ซึ่งจะมีอาการน้อยกว่า  และมักไม่มีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย
ในรายที่มีเริมขึ้นที่บริเวณตาควรรีบไปพบจักษุแพทย์ภายใน 24 ชั่วโมง ถ้าพบว่ามีกระจกตาอักเสบจากเชื้อเริม ( Herpetic keratitis ) แพทย์จะให้ยาต้านไวรัสชนิดหยอดตาหรือป้ายตา เช่น ยาหยอดตาไตรฟลูริดีน ( Trifluridine ) ชนิด 1% ใช้หยอดตาวันละ 9 ครั้ง ยาขี้ผึ้งป้ายตาไวดาราบีน ( Vidarabine ) ชนิด 3% ใช้ป้ายวันละ 5 ครั้ง นาน 21 วัน สำหรับผู้ที่ติดเชื้อเริมครั้งแรกที่บริเวณทวารหนัก แพทย์จะให้รับประทานยาอะไซโคลเวียร์ ( Acyclovir ) ครั้งละ 400 มิลลิกรัม วันละ 5 ครั้ง นาน 10-14 วัน
สำหรับผู้ที่เป็นตะมอยเริม ( Herpetic whitlow ) แพทย์จะให้รับประทานยาอะไซโคลเวียร์ ( Acyclovir) ครั้งละ 400 มิลลิกรัม วันละ 3 ครั้ง นาน 7 วัน

การดูแลตนเองเมื่อเกิดโรคเริม

1. พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังอย่างสม่ำเสมอ และหลีกเลี่ยงปัจจัยที่กระตุ้นให้เริมเกิดเป็นซ้ำ
2. ควรดื่มน้ำสะอาดให้มากอย่างน้อยวันละ 8 แก้วต่อวัน เมื่อไม่มีโรคที่ต้องจำกัดการดื่มน้ำ เช่น โรคหัวใจล้มเหลว
3. แยกของใช้ส่วนตัว รวมทั้งแก้วน้ำและช้อนจานชาม ไม่ใช้ร่วมกับผู้อื่น
4.ทำความสะอาดผื่นด้วยสบู่ฆ่าเชื้อ
5. รักษาสุขอนามัยพื้นฐาน เพื่อป้องกันการติดเชื้อในเนื้อเยื่อหรืออวัยวะอื่น ๆ และป้องกันการแพร่เชื้อให้ผู้อื่น
4. รับประทานยาต้านไวรัสเร็วภายใน 48 ชั่วโมงหลังมีอาการนำ จะสามารถช่วยลดระยะเวลาการเกิดโรค ลดโอกาสการแพร่เชื้อให้ผู้อื่น
5. เมื่อมีไข้สูง ควรใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัวบ่อย ๆ
8. ผู้เป็นเริมที่อวัยวะเพศ ควรสวมใส่เสื้อผ้าที่โปร่งสบาย หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์จนกว่าแผลเริมจะหายสนิท
9. ถ้าเป็นการติดเชื้อครั้งแรกควรตรวจกรองโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ชนิดอื่น ๆ ที่อาจพบร่วมด้วย เช่น เอดส์ ซิฟิลิส
10. ผู้ป่วยที่เป็นโรคเริมที่ปากมดลูก ควรตรวจคัดกรองหามะเร็งปากมดลูกระยะแรก ปีละ 1 ครั้ง
ถ้าพบว่าเป็นเริมที่อวัยวะเพศในขณะตั้งครรภ์หรือใกล้คลอดควรแจ้งให้แพทย์ทราบด้วย เพื่อจะได้รับการรักษาที่เหมาะสมต่อไป

การรักษาด้วยยาต้านไวรัสสามารถช่วยให้โรคเริมหายได้เร็วขึ้นและช่วยลดการแพร่เชื้อ แต่ไม่มีผลในการป้องกันไม่ให้ติดเชื้อซ้ำได้ โรคนี้จึงมักจะเป็น ๆ หาย ๆ อย่างเรื้อรัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่เป็นเริมที่อวัยวะเพศ อย่างไรก็ตาม ผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรงดีโรคนี้จะไม่มีอันตรายร้ายแรงแต่อย่างใด แต่ในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ ทารกแรกเกิด เด็กที่เป็นโรคผิวหนังอักเสบจากภูมิแพ้ ผู้ที่มีบาดแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก อาจเกิดภาวะติดเชื้อเริมแบบร้ายแรงได้ ดังนั้น ควรรีบไปพบแพทย์เมื่อมีตุ่มพองลุกลามมาก มีตุ่มน้ำเป็นหนอง มีไข้สูงหรือไข้ไม่ลดลงภายใน 1-3 วัน และเริ่มมีอาการทางดวงตา

วิธีป้องกันโรคเริม

1. หลีกเลี่ยงการเที่ยวหญิงบริการ และมีเพศสัมพันธ์กับบุคคลอื่นที่ไม่ใช่คู่ครอง แต่ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ควรสวมถุงยางอนามัยด้วยทุกครั้ง รวมไปถึงการหลีกเลี่ยงการสัมผัสที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ เช่น การมีเพศสัมพันธ์ทางปาก
2. หลีกเลี่ยงการสัมผัสแผล น้ำลาย หรือสิ่งคัดหลั่งของผู้ป่วย โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีตุ่มตามผิวหนังหรือเยื่อเมือก หรือผู้ป่วยที่มีแผลเปื่อยในช่องปาก
3. หลีกเลี่ยงการใช้สิ่งของเครื่องใช้ร่วมกับผู้อื่น เช่น จานชาม แก้วน้ำ ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว เสื้อผ้า มีดโกน เป็นต้น
ควรรักษาสุขอนามัยพื้นฐาน รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบทั้งห้าหมู่ในทุก ๆ วัน นอนหลับพักผ่อนให้เพียง และทำให้จิตใจให้ร่าเริงแจ่มใส
4. การรับประทานยาต้านไวรัสทุกวันสามารถช่วยลดการแพร่เชื้อได้ แต่เนื่องจากยามีผลข้างเคียง จึงควรปรึกษาแพทย์ก่อนการใช้ยา

ในปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคเริม แต่กำลังมีการศึกษาคิดค้นกันอย่างต่อเนื่อง เพราะเป็นโรคที่พบได้บ่อย

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

ข้อมูลน่ารู้เรื่องกัญชา

0
ข้อมูลน่ารู้เรื่องกัญชา
กัญชา ชื่อวิทยาศาสตร์คือ Cannabis Indica ภาษาจีนเรียกว่าต้น ต้าหมา ภาษาสันสกฤตเรียกว่ากัญชาภาษาฮินดีเรียกคำชา ภาษาไทยเรียก ต้นปุ๊น หรือ เนื้อ
ข้อมูลน่ารู้เรื่องกัญชา
กัญชา ชื่อวิทยาศาสตร์คือ Cannabis Indica ภาษาจีนเรียกว่าต้น ต้าหมา ภาษาสันสกฤตเรียกว่ากัญชาภาษาฮินดีเรียกคำชา ภาษาไทยเรียก ต้นปุ๊น หรือ เนื้อ

กัญชา

กัญชา ( Cannabis) คือ พืชล้มลุกใบเดี่ยวสามารถขยายพันธุ์ได้ในสภาพอากาศทั่วโลกพบมากในแถบตะวันออกกลาง ได้แก่ ตุรกี โมรอคโค และอัฟกานิสถาน รวมถึงโคลัมเบีย แม็กซิโก และประเทศไทย กัญชา มีชื่อภาษาอังกฤษเรียกอีกอย่างว่า Marijuana เป็นพืชในตระกูล CANNABACEAE เป็นตระกูลเดียวกับ “กัญชง” หรือ เฮมพ์ (Hemp)  ชื่อวิทยาศาสตร์คือ Cannabis Indica ภาษาจีนเรียกว่าต้น ต้าหมา ภาษาสันสกฤตเรียกว่ากัญชาภาษาฮินดีเรียกคำชา ภาษาไทยเรียก ต้นปุ๊น หรือ เนื้อ แม้ว่ากัญชงและกัญชาจะเป็นสายพันธุ์เดียวกันแต่มีคุณสรรพคุณที่ไม่เหมือนกัน ซึ่งกัญชาถือได้ว่าเป็นยาแพทย์แผนไทย พบในตำราพระโอสถพระนารายณ์เป็นตำราวิชาการแพทย์แผนไทยที่เก่าแก่และใช้กันมาอย่างยาวนานตั้งแต่รัชสมัยพระนารายณ์มหาราช และตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ อยู่ในประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบุตำรายา พ.ศ. 2556 แต่การปลูกกัญชาเพื่อใช้ทางการแพทย์ต้องได้รับอนุญาตและเป็นไปตามมาตรฐาน GAP องค์การเภสัชกรรม

ลักษณะของต้นกัญชา

กัญชา มีใบแฉกมนลึกลงไปในก้านหลายแฉก มีดอกสีเขียว ดอกเพศผู้และเพศเมียอยู่ต่างต้นกัน ใบและช่อดอกเพศเมียที่แห้งจะใช้สูบ ใบแห้งให้มีสมบัติทำให้มึนเมา ลำต้นใช้ทำเชือกป่านและทอผ้า ลักษณะโดยทั่วไปต้นกัญชามีความสูงประมาณ 2 ถึง 5 เมตร มีใบเลี้ยงคู่ เมื่อโตเต็มวัยลำต้นสูงประมาณ 2-4 เมตร ลักษณะใบจะแยกออกจากกันคล้ายในของต้นมันสำปะหลัง ที่ขอบทุกใบจะมีรอยหยักอยู่ระหว่างดอกเป็นช่อเล็กตามง่ามของกลุ่ม กัญชาใช้ได้ทั้ง กิ่ง ก้าน ใบ และช่อดอก เพื่อนำมาตากแห้งหรืออบแห้งแล้วบดเป็นผง

ปัจจุบันรูปแบบของกัญชานอกจากจะพบในลักษณะของกัญชาสด กัญชาแห้งอัดเป็นแท่ง และอาจจะพบในรูปแบบของ น้ำมันกัญชา หรือ Hashish Oil ซึ่งมีลักษณะเป็นของเหลวสีน้ำตาลเข้มหรือสีดำได้จากการนำกัญชามาผ่านกระบวนการสกัดหลาย ๆ ครั้ง จึงได้เป็นน้ำมันกัญชาที่มีปริมาณสารออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทสูงถึง 20 ถึง 60 เปอร์เซ็นต์ หรืออาจจะพบในลักษณะของยางกัญชา ที่มีลักษณะเป็นยางแห้งที่ได้จากใบและยอดดอกของกัญชาซึ่งโดยทั่วไปจะมีฤทธิ์แรงกว่ากัญชาสดและมีปริมาณสารออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทประมาณ 4 ถึง 8 เปอร์เซ็นต์

พืชตระกูลกัญชามี 3 สายพันธุ์ คือ

  1. สายพันธุ์ Sativa ( กัญชง )
  2. สายพันธุ์ Indica ( กัญชาที่นิยมนำมาใช้ )
  3. สายพันธุ์ Ruderalis

พืชตระกูล Cannabis หรือ กัญชา 3 สายพันธุ์ ใหญ่ ๆ ได้แก่ สายพันธุ์ Sativa สายพันธุ์ Indica
และ สายพันธุ์ Ruderalis แต่สายพันธุ์ที่เป็นที่นิยมมากที่สุดได้แก่ Sativa และ Indica ส่วนสายพันธุ์ Ruderalis ไม่เป็นที่นิยม เพราะว่ามีค่า THC เปอร์เซ็นต์ ปริมาณน้อย แม้จะให้ผลผลิตเร็วที่สุดก็ตาม

เรื่องราวของกัญชา

ประวัติศาสตร์ของการใช้กัญชาเริ่มตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 ในอังกฤษและอเมริกาเพื่อรักษาอาการปวดและอาการคลื่นไส้

  • ปี 1851 กัญชาได้รับบรรจุอยู่ในตำรายาของอเมริกา แต่ต่อมาในปี 1942 ได้ถูกถอดถอนออกไป
  • ปี 1970 เป็นยุคฮิปปีที่คนหนุ่มสาวอเมริกาหันมาใช้กัญชาเพื่อการผ่อนคลายอย่างกว้างขวาง
  • ปี 1990 ทางการแพทย์มีการค้นพบ Canabinoid System ( ระบบสารสกัดกัญชา ) ในสมอง และเป็นที่มาของการสนใจนำกัญชามาใช้ในทางการแพทย์
  • ปี 2010 มี 11 รัฐในอเมริกามีการออกกฎหมายควบคุมการใช้กัญชาในทางการแพทย์ แต่ไม่รับรองการใช้กัญชาเพื่อความเพลิดเพลิน ( Recreational Use )
  • ปี 2014 มี 23 รัฐออกกฎหมายควบคุมการใช้กัญชาในทางการแพทย์ และมี 5 รัฐอนุญาตให้ใช้กัญชาเพื่อความเพลิดเพลิน ได้แก่รัฐ Alaska, Colorado, Oregon, Washington และ District of Columbia.

ในกัญชานั้นมีสารเคมีมากกว่า 104 ชนิดสารเคมีเหล่านี้เรียกรวมกันว่าสาร Cannabinoids แต่ที่สำคัญที่สุดมีอยู่ 2 ชนิดคือ THC กับ CBD

สารออกฤทธิ์ในกัญชา

  •  THC ออกฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาท ( Psychoactive ) ทำให้เมาเคลิ้ม ประสาทหลอน และเกิดโรคจิต ( Psychosis )
  •  ในขณะที่สาร CBD มีฤทธิ์ทำให้สงบ ลดอาการวุ่นวาย และต้านฤทธิ์เมาประสาทหลอน

ดังนั้นในการนำกัญชามาใช้นั้นจะต้องทราบจุดประสงค์ที่แน่นอน และควรทราบปริมาณที่แน่นอนของสารทั้งสองชนิดในสารสกัดกัญชานั้น ควรทราบว่าสารทั้งสองชนิดนี้นอกจากจะมีอยู่ในกัญชาแล้ว ยังสามารถสังเคราะห์ขึ้นมาได้ด้วยการสังเคราะห์ขึ้นมาสามารถทำให้ทราบปริมาณของสารทั้งสองชนิดอย่างแม่นยำแน่นอน

ส่วนในใบกัญชานั้น แต่ละสายพันธุ์ให้ปริมาณของ THC กับ CBD แตกต่างกันไป มีการศึกษากัญชาในภาคเหนือของประเทศไทย พบว่ามีปริมาณสารทั้งสองอย่างแตกต่างกันมากแม้จะอยู่ในแหล่งเดียวกัน
และอย่างที่เรียนให้ทราบแล้วว่าการใช้กัญชานั้นมี

วัตถุประสงค์ในการใช้กัญชา

1. ใช้ในทางการแพทย์

ปัจจุบันกฎหมายได้ปลดล็อคกัญชาใช้ในการรักษาผู้ป่วยและการวิจัย

2. ใช้เพื่อความเพลิดเพลิน

กัญชาที่ได้รับอนุญาตให้ใช้เพื่อความเพลิดเพลินนั้น ในต่างประเทศมักจะกำหนดให้มีปริมาณของสาร THC ต่ำมาก ๆ และแม้กระนั้น ก็ยังมีการควบคุมการใช้อย่างเคร่งครัด ทั้งปริมาณ สถานที่ที่จะใช้ สารทั้งสองชนิดที่มีอยู่ในกัญชานั้น จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อได้รับความร้อน ดังนั้นจึงต้องนำมาสูบให้เข้าทางลมหายใจ หรือหากมีการสังเคราะห์เป็นของเหลวแบบเข้มข้นก็นำมาหยดไต้ลิ้นซึ่งจะมีการดูดซึมได้เร็วพอๆกับการสูบ แต่การกินเข้าไปจะไม่ได้ผลเพราะจะถูกทำลายโดยกรดในกระเพาะอาหารเกือบหมด

ข้อดีของการใช้กัญชาทางการแพทย์นั้นมีการรับรองการใช้ ( ในต่างประเทศ )
ดังต่อไปนี้

1.รักษาภาวะเกร็งในโรคทางระบบประสาท Multiple Sclerosis

2.รักษาโรคลมชัก ( Epilepsy ) ชนิดรุนแรงบางชนิด

3.รักษาโรคสมองเสื่อมพาร์กินสัน Parkinson ( บางอาการ )

4.รักษาโรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์ Alzheimer ( ยังต้องศึกษาเพิ่มเติม )

5.แก้อาเจียนในผู้ป่วยที่ได้รับเคมีบำบัด ( ที่ให้ยาชนิดอื่นแล้วไม่ได้ผล )

6.แก้ปวดจากมะเร็ง ปวดปลายประสาท ปวดเรื้อรัง

7.ใช้รักษามะเร็งสมอง มะเร็งต่อมลูกหมาก ( ยังต้องการการศึกษาเพิ่มเติม )

8.ใช้เพิ่มน้ำหนักในผู้ป่วยโรคเอดส์ ( ช่วยให้ความอยากอาหารเพิ่มมากขึ้น )

9.ใช้รักษาต้อหิน ( ยังไม่ยืนยันผล )

10.ใช้รักษาโรค PTSD ( Post-Traumatic Stress Disorder ) คือ สภาวะป่วยทางจิตใจเมื่อเผชิญกับเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจอย่างร้ายแรง ส่งผลให้เกิดความเครียดอย่างมาก อาทิ ภัยพิบัติ อุทกภัย แผ่นดินไหว การก่อการจราจล การฆาตกรรม สงคราม การปล้นฆ่า ข่มขืน เป็นต้น

11.ใช้รักษาโรควิตกกังวล

แต่ข้อบ่งชี้ทั้งหมดทั้งมวลนี้ยังต้องการการศึกษายืนยันอีกมาก และในแต่ละโรคนี้บางโรคเป็นผลของ THC บางโรคเป็นผลของ CBD จึงไม่สามารถนำกัญชามาใช้อย่างสุ่มสี่สุ่มห้าโดยไม่ทราบสัดส่วนและปริมาณของสารทั้งสองชนิดอย่างชัดเจน

ข้อเสียของการใช้กัญชา

ผลอย่างเฉียบพลันของกัญชานั้น อาจทำให้อารมณ์ครื้นเครงขึ้นแต่จะตามด้วยอาการง่วงซึมหากใช้ปริมาณมากจะทำให้ความจำลดลง และเพิ่มความวิตกกังวล ประสาทหลอนทางตาหวาดระแวง ( Paranoid ) และเกิดภาวะวิตกจริต ( Panic Attack ) หากใช้ในคนตั้งครรภ์ก็จะทำให้เสี่ยงต่อการพัฒนาการของเด็กในครรภ์ ทำให้การสร้างน้ำนมแม่ลดลง และสารกัญชาจะเข้าไปในน้ำนมด้วย ดังนั้นจึงไม่ควรใช้ในคนท้องและให้นมบุตร การใช้ในเด็กจะนำไปสู่การติดสารเสพติดชนิดอื่นมากขึ้นเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่

กฎการควบคุมการใช้กัญชา

ประเทศสหรัฐอเมริกามีการใช้สารจากกัญชามากที่สุดในโลก โดยพบว่ามีการใช้ในทางการแพทย์ 30 รัฐ ใช้เพื่อการผ่อนคลาย 9 รัฐ แต่รัฐบาลกลางของสหรัฐอเมริกายังถือเป็นสารต้องห้าม แต่ในรัฐที่อนุญาตให้ใช้นั้นก็มีระบุไว้ชัดเจนว่าจะต้องมีปริมาณสาร THC ไม่เกิน 0.5-5% แล้วแต่รัฐ และมีปริมาณสาร CBD มากกว่า 5% ขึ้นไป

ประเทศแคนาดา สามารถใช้ทางการแพทย์ได้ไม่ผิดกฎหมายหากมีข้อบ่งชี้ชัดเจน

ประเทศออสเตรเลียและประเทศอังกฤษ ถือว่าการเสพกัญชาผิดกฎหมาย ส่วนการใช้ทางการแพทย์ต้องผลิตโดยบริษัทที่ขึ้นทะเบียนเท่านั้น แพทย์ที่จะใช้ก็ต้องขึ้นทะเบียน ผู้ป่วยที่ใช้ก็ต้องลงทะเบียน ติดตามได้ ผู้ปลูกก็ต้องขึ้นทะเบียน

ประเทศเนเธอร์แลนด์นั้นจะเหมือนกับประเทศออสเตรเลีย แต่สามารถปลูกใช้ในครัวเรือนได้ไม่เกิน 5 ต้น และสามารถสูบกัญชาได้ในสถานที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น

ประเทศที่ถือว่ากัญชาเป็นสิ่งผิดกฎหมายทุกกรณีได้แก่ จีน ไต้หวัน ญี่ปุ่น สิงคโปร์

ประเทศไทย กฎหมายได้ปลดล็อคกัญชาเพื่อใช้ทางการแพทย์ในการรักษาผู้ป่วยและการวิจัย แบ่งออกได้ 3 กลุ่ม ได้แก่

  • กลุ่มที่ 1 ใช้เพื่อการรักษาโรค
    – ภาวะคลื่นไส้อาเจียนจากเคมีบำบัด
    – อาการปวดประสาทที่รักษาด้วยวิธีต่างๆไม่ได้ผล
    – ภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็งในผู้ป่วยปลอกประสาทเสื่อมแข็ง
    – โรคลมชักรักษายากในเด็กและโรคลมชักที่ดื้อต่อยารักษา
  • กลุ่มที่ 2 ใช้เพื่อควบคุมอาการ
    – โรคพาร์กินสัน
    – โรคอัลไซเมอร์
    – โรควิตกกังวล
    – โรคปลอกประสาทอักเสบ
    – ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย
    – ผู้ป่วยที่ดูแลแบบประคับประคอง
  • กลุ่มที่ 3 สำหรับศึกษาวิจัยเพิ่มเติม
    – โรคมะเร็ง

การนำสารสกัดกัญชามาใช้นั้นมีหลายรูปแบบทั้งสูด กิน หยดใต้ลิ้น และปัจจุบันมีชนิดกินโดยผสมในขนมต่าง ๆ เช่น นำมาทำอาหาร เครื่องดื่ม คุ๊กกี้ บราวนี เค๊ก Oeo Keef Kat ทำเป็นเนยกัญชา ขี้ผึ้งกัญชา น้ำมันกัญชา

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

สมยศ ศุภกิจไพบูลย์. (เมษายน 2562). กัญชายาวิเศษ.(192). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์พิมพ์เอง.
นพ.กัมปนาท ตันสิถบุตรกุล (Kampanart Tansithabudhkun, M.D.)
รวบรวมมาจากการประชุมราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย วันที่ 26 เมษายน 2562 ผู้นำเสนอ คือ
รศ.พญ.สุดา วรรณประสาท มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ผศ.นพ.วรพันธ์ เกรียงสุนทร ศิริราชพยาบาล
ผศ.นพ.สหภูมิ ศรีสุมะ โรงพยาบาลรามาธิบดี

อาหารที่มีส่วนผสมกัญชารสชาติอร่อยจริงหรือ ?

0
อาหารที่มีส่วนผสมกัญชารสชาติอร่อยจริงหรือ ?
การใช้ใบกัญชาและดอกกัญชาในการปรุงอาหาร รวมถึงมีการใช้น้ำมันสกัดจากดอกกัญชามาผสมอาหาร ส่วนมากใช้กับอาหารคาวและอาหารหวาน
อาหารที่มีส่วนผสมกัญชารสชาติอร่อยจริงหรือ ?
การใช้ใบกัญชาและดอกกัญชาในการปรุงอาหาร รวมถึงมีการใช้น้ำมันสกัดจากดอกกัญชามาผสมอาหาร ส่วนมากใช้กับอาหารคาวและอาหารหวาน

อาหารที่มีส่วนผสมกัญชารสชาติอร่อยจริงหรือ ?

ขึ้นชื่อว่ากัญชา ในประเทศไทย ยังไม่มีกฎหมายรองรับ การใช้ส่วนประกอบของกัญชา หากไม่ขออนุญาตเพื่อการศึกษาหรือทางการแพทย์ก็ยังถือว่าผิดกฎหมายอยู่นะคะ แต่อย่างไรก็ตาม วันนี้เราจะมาทำความเข้าใจเรื่อง อาหารกับส่วนผสมของกัญชา ทำไมถึงให้รสชาติอร่อย กินแล้วติดใจ พืชกัญชามีสารออกฤทธิ์สำคัญอยู่ 2 ตัวหลัก ได้แก่ THC หรือ Delta-9-Tetrahydrocannabinol ซึ่งเป็นสารออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท และ CBD หรือ Cannabidiol ที่ช่วยยับยั้งการออกฤทธิ์ของ THC

THC หรือ Tetrahydrocannabinol คือสารที่เกี่ยวข้องกับการผ่อนคลาย มีความรู้สึกสบาย เคลิบเคลิ้ม อยากอาหาร ตาหวาน และคอแห้ง
CBD หรือ Cannabidiol ระงับอาการเกร็งหรือชักกระตุก ช่วยลดอาการวิงเวียน คลื่นไส้ อาเจียน เป็นสารยับยั้งการออกฤทธิ์ของ THC

จากการศึกษาเรื่องกัญชากับเรื่องพื้น ๆ ทั่วไปของชาวบ้าน ชาวเขา ที่นิยมนำ กัญชา มาเป็นส่วนประกอบในอาหาร
มีการใช้ใบกัญชาและดอกกัญชาในการปรุงอาหาร คนไทยส่วนมากใช้กับอาหารคาว เช่น ต้มยำ เพราะจะดูไม่ออกว่าในน้ำซุปมีกัญชาหรือไม่ จนกว่าจะได้ลิ้มลองรสชาติเวลาเราไปรับประทานอาหารตามร้านต่าง ๆ เราจะรู้ได้อย่างไรว่า ร้านไหนใส่กัญชาหรือไม่นั้น ต้องดูอาการหลังรับประทานว่า ขณะรับประทานอาหารนั้นอร่อยจนซดน้ำหมดชามหรือเปล่า หลังรับประทานมีอาการคอแห้งผิดปกติหรือไม่ เป็นต้น

ส่วนประเทศแถบตะวันตกที่บางประเทศ กัญชาได้ขึ้นทะเบียนอย่างถูกกฏหมาย จะสามารถใช้ส่วนประกอบของกัญชาได้หลากหลายทั้งอาหารคาวและอาหารหวาน เช่น นิยมใช้ดอกกัญชามาเป็นส่วนผสมของขนม หรือของหวาน เช่นบราวนี่ คุ๊กกี้ รวมถึงมีการใช้น้ำมันสกัดจากดอกกัญชามาผสมอาหาร ซึ่งทั้งสองอย่างก็จะมีข้อแตกต่างกัน
ปกติ ใบกัญชา จะมีปริมาณสาร THC ที่ทำให้รสชาติติดอกติดใจและหลงใหลในความอร่อยน้อยกว่าปริมาณสาร THC ในดอกกัญชามากพอสมควร หากนำไปใช้ในอาหารประเภท ต้ม แกง ทอด ที่ใช้ความร้อนสูง ก็จะทำให้ปริมาณสาร THC ที่ได้หายไปอีกระดับหนึ่ง จึงส่งผลให้การกินอาหารประเภท ต้มยำไก่ใบกัญชา นั้นไม่ทำให้เมาถึงขนาดเคลิบเคลิ้ม แต่จะช่วยชูรสให้อาหารมีรสชาติดีและอร่อยมากยิ่งขึ้นนั่นเอง อาจจะทำให้คอแห้ง ปากแห้ง อาจจะช่วยให้อารมณ์ดีขึ้นบ้างเล็กน้อย แต่ก็ไม่ถึงขนาดเมา ( ยกเว้นใส่ในปริมาณมากเกินขนาดกำหนด )

ส่วน ดอกกัญชา นั้นจะมีปริมาณสารที่สูงกว่าใบมาก การทำอาหารแบบตะวันตกจะนิยมใช้การละลายสารจากกัญชาออกมาอยู่ในรูปของของเหลวก่อนนำไปใช้ทำอาหาร เช่น เนยกัญชา หรือ น้ำมันกัญชา
ก่อนที่จะใช้เป็นส่วนผสมของอาหาร ส่งผลให้สารสำคัญโดยเฉพาะ THC และ CBD ในปริมาณที่สูงมาก และอาหารเหล่านี้บางครั้งก็ถูกผลิตขึ้นเพื่อใช้เป็นยากับผู้ป่วยบางกลุ่ม ฉะนั้นอาหารในกลุ่มนี้ก็จะมีความรุนแรงมากกว่าการใช้ใบกัญชา    

4 เรื่องกัญชาน่ารู้กับอาหาร

1. การรับประทานอาหารที่มีส่วนผสมกัญชานั้น จะคำนวณปริมาณที่เหมาะสมได้ยาก ปกติกัญชาจะออกฤทธิ์กับร่างกายในเวลาไม่ถึง 5 นาที แต่สำหรับการรับประทานต้องใช้เวลาอย่างน้อย 30 นาที กัญชาถึงเริ่มออกฤทธิ์ นั่นทำให้บางคนรับประทานไปแล้วไม่รู้สึกอะไรในตอนต้น ก็มักจะรับประทานเพิ่มเข้าไป มารู้ตัวอีกทีก็ได้รับปริมาณที่มากเกินไปแล้ว

2. การได้รับกัญชามากเกินไป ส่งผลให้เกิดอาการ ” พารานอยด์ ” หรืออาการวิตกกังวล กระตุ้นอัตราการเต้นของหัวใจให้หัวใจเต้นแรง การปรับอุณหภูมิของร่างกายจะผิดปรกติรู้สึกร้อนๆ หนาวๆ มีอาการคลื่นไส้ บ้านหมุน ซึ่งบางครั้งจะทำให้คนนั้นรู้สึกเหมือนตัวเองกำลังจะตาย

3. การใช้กัญชาในปริมาณสูงจะเป็นอันตรายอย่างมากสำหรับคนที่มีปัญหากับหัวใจ หรือเป็นโรคหัวใจ เพราะกัญชาจะไปกระตุ้นอัตราการเต้นของหัวใจ อาจทำให้เกิดภาวะหัวใจวายเฉียบพลันได้

4. การได้รับกัญชาโดยที่คนใช้ไม่รู้ตัว จะยิ่งทำให้เกิดอาการข้างต้นมากขึ้นกว่าเก่า เพราะร่างกายจะสับสนเป็นอย่างมากว่ากำลังเกิดอะไรขึ้น

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

นิตยสารสารคดี ฉบับที่ 404 กัญชารักษาโรค สู่ยุคฟื้นฟูกัญชาวิทยา เดือนตุลาคม 2561
วารสารสำนักงาน ป.ป.ส. ปีที่ 34 ฉบับที่ 2 กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม 2561

โรคบาดทะยัก ( Tetanus )

0
โรคบาดทะยัก ( Tetanus )
บาดทะยัก ( Tetanus ) เป็น การติดเชื้อแบคทีเรียอย่างรุนแรง หากกระจายจากแผลไปยังปลายประสาททำให้เกิดความผิดปกติในการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อส่วนต่างๆได้
โรคบาดทะยัก ( Tetanus )
บาดทะยัก ( Tetanus ) เป็น การติดเชื้อแบคทีเรียอย่างรุนแรง หากกระจายจากแผลไปยังปลายประสาททำให้เกิดความผิดปกติในการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อส่วนต่างๆได้

โรคบาดทะยัก

บาดทะยัก ( Tetanus ) เป็น การติดเชื้อแบคทีเรียอย่างรุนแรงอันตรายถึงชีวิต หากกระจายจากแผลไปยังปลายประสาททำให้เกิดความผิดปกติในการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อส่วนต่างๆได้ ระยะหลังจากที่เชื้อเข้าสู่ร่างกายจนเกิดอาการเริ่มแรก คือ มีอาการขากรรไกรแข็ง คอแข็ง หลังแข็ง ต่อไปจะมีอาการเกร็งของกล้ามเนื้อทั่วตัว ทำให้มีอาการชักได้ ระยะฟักตัวของโรคบาดทะยักประมาณ 3 – 28 วัน โดยเฉลี่ย 8 วัน

สาเหตุการเกิดบาดทะยัก

โรคบาดทะยักเกิดจากเชื้อแบคทีเรียคลอสตริเดียม เตตานิ ( Clostridium Tetani ) เชื้อชนิดนี้
สามารถสร้างสปอร์ที่มีความทนทานต่อความร้อนแห้งแล้ง พบได้ในลำไส้ของคนและสัตว์ในสิ่งแวดล้อมที่ปนเปื้อนด้วยมูลสัตว์เชื้อจะเข้าสู่ร่างกายทางบาดแผล เชื้อจะเจริญเติบโตได้ดีในแผลลึก อากาศเข้าไม่ได้ดี เช่น บาดแผลตะปูตำ แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ผิวหนังถลอกบริเวณกว้าง บาดแผลในปาก ฟันผุ หรือเข้าทางหูที่อักเสบ โดยการใช้เศษไม้ หรือต้นหญ้าที่มีเชื้อโรคนี้ติดอยู่แคะฟันหรือแยงหู บางครั้งอาจเข้าทางลำไส้ได้

อาการโรคบาดทะยัก

    • ขากรรไกรแข็งอ้าปากไม่ได้
    • มือ แขน และขาเกร็ง หลังแข็งและแอ่น
    • กล้ามเนื้อกระตุกอย่างรุนแรง สามารถลุกลามไปถึงลำคอทำให้กลืนลำบาก
    • อาการกระตุกบริเวณกล้ามเนื้อใบหน้า
    • กล้ามเนื้อหดเกร็ง
    • กรณีที่รุนแรงกระดูกสันหลังจะโค้งไปข้างหลัง
    • อาการท้องเสีย
    • ปวดศีรษะ
    • มีไข้
    • อุจจาระเป็นเลือด
    • เจ็บคอ
    • เหงื่อออกมาผิดปกติ
    • หายใจลำบาก
    • หัวใจเต้นเร็ว 

การรักษาโรคบาดทะยัก

    • ทำความสะอาดแผลให้สะอาด
    • ฉีดวัคซีนกันบาดทะยัก
    • ให้ยาคลายกล้ามเนื้อที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง
    • ให้ยากล่อมประสาท เพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อที่หดเกร็งลด
    • รักษาอาการเกร็งและกระตุก

การฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยัก

วัคซีนป้องกันบาดทะยักให้กับเด็กๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโรคคอตีบและโรคบาดทะยักควรฉีดให้ครบ 5 ครั้งเมื่อมีอายุดังต่อไปนี้
เข็มที่ 1 ( อายุ 2 เดือน )
เข็มที่ 2 ( อายุ 4 เดือน )
เข็มที่ 3 ( อายุ 6 เดือน )
เข็มที่ 4 ( อายุ 15 ถึง 18 เดือน )
เข็มที่ 5 ( อายุ 4 ถึง 6 ปี )

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

บาดทะยัก (ออนไลน์). สืบค้นจาก : http://www.boe.moph.go.th [13 พฤษภาคม 2562].
Tetanus (ออนไลน์). สืบค้นจาก : www.medicalnewstoday.com [13 พฤษภาคม 2562].

โรคไบโพลาร์ ( Bipolar Disorder )

0
โรคไบโพลาร์ ( bipolar disorder ) เป็นภาวะสุขภาพจิตที่ทำให้เกิดอารมณ์แปรปรวนรุนแรงซึ่งรวมถึงอารมณ์ขึ้นๆลงๆซึ่งจะมีอาการซึมเศร้าสลับกับอารมณ์ดี
โรคไบโพลาร์ (Bipolar Disorder )
โรคไบโพลาร์ ( bipolar disorder ) เป็นภาวะสุขภาพจิตที่ทำให้เกิดอารมณ์แปรปรวนรุนแรงซึ่งรวมถึงอารมณ์ขึ้นๆลงๆซึ่งจะมีอาการซึมเศร้าสลับกับอารมณ์ดี

โรคไบโพลาร์ คือ

โรคไบโพลาร์ ( Bipolar Disorder ) เป็น ภาวะสุขภาพจิตที่ทำให้เกิดอารมณ์แปรปรวนรุนแรงซึ่งรวมถึงอารมณ์ขึ้นๆลงๆซึ่งจะมีอาการซึมเศร้าสลับกับอารมณ์ดี สามารถเกิดขึ้นได้ทุกเพศทุกวัย โดยปกติพบมากในวัยรุ่นอายุ 20 ปีขึ้นไปอาการอาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคลและช่วงเวลา ความผิดปกติของสองขั้วอาจรวมถึงมีอาการซึมเศร้าสลับกับช่วงไฮโปเมเนีย ( Hypomania ) อาการสามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ไม่คาดคิดในอารมณ์และพฤติกรรมส่งผลให้เกิดความทุกข์ทรมานอย่างมาก ทำให้เกิดปัญหาที่เห็นได้ชัดเจนทั้งในที่ทำงาน โรงเรียน และกิจกรรมทางสังคมรวมถึงความสัมพันธ์ในครอบครัว หากมีอาการรุนแรงต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล

สาเหตุของโรคไบโพลาร์

ไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงของโรคไบโพลาร์ ( bipolar disorder ) แต่อาจมีหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้อง

    • ปัจจัยทางชีวภาพ เช่น ความผิดปกติของสมองหรือระบบประสาท
    • ปัจจัยทางพันธุกรรม เช่น พบคนในครอบครัวเคยมีผู้ป่วยโรคไบโพลาร์
    • ปัจจัยทางสังคม เช่น ถูกกดดันในที่ทำงาน โรงเรียน รวมถึงการใช้สารเสพติดหรือดื่มแอลกอฮอล์
    • ปัจจัยอื่น เช่น มีความเครียดสะสมทางการเงิน เหตุการณ์ที่เจ็บปวด การสูญเสียคนอันเป็นที่รักไป

อาการของโรคไบโพลาร์

    • ความผิดปกติของอารมณ์
    • อาการซึมเศร้า หดหู่
    • หงุดหงิดง่าย
    • ความรู้สึกไร้ค่า
    • บ้าคลั่ง
    • อ่อนเพลีย เหนื่อยล้า
    • ไม่อยากอาหาร หรือกินมากกว่าปกติ
    • น้ำหนักลด หรือเพิ่มผิดปกติ
    • นอนไม่หลับ หรือนอนมากเกินไป
    • ความสนใจในกิจกรรมต่างๆ ลดน้อยลง
    • ไม่มีความกระตือรือล้น หรือทำอะไรช้าลง
    • สมาธิสั้น
    • พยายามฆ่าตัวตาย หรือทำร้ายตัวเอง  

การดูแล และป้องกันโรคไบโพลาร์

    • สังเกตพฤติกรรม อารมณ์ของผู้ป่วยก่อนอาการกำเริบ
    • ศึกษาและทำความเข้าใจผู้ป่วย
    • อย่าปล่อยให้ผู้ป่วยอยู่ตามลำพัง
    • หากิจกรรมให้ผู้ป่วยได้ทำ เช่น ดูหนังที่ผู้ป่วยชอบ เล่นเกมส์ พูดคุย หรือพาไปในสถานที่ใหม่ๆ
    • รับประทานยาตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด

แม้ว่าโรคไบโพลาร์นั้นเป็นอาการที่เกิดขึ้นตลอดชีวิตคุณสามารถจัดการกับอารมณ์แปรปรวนและอาการอื่น ๆ ได้โดยทำตามแผนการรักษาของแพทย์อย่างเคร่งคัดส่วนใหญ่โรคไบโพลาร์จะได้รับการรักษาด้วยยา และการให้คำปรึกษาทางจิตวิทยาหรือเรียกอีกอย่างว่า ” จิตบำบัด ”

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
โรคไบโพลาร์ (ออนไลน์). สืบค้นจาก : https://www.mayoclinic.org [9 พฤษภาคม 2562].