Home Blog Page 115

โรคภูมิแพ้ ( Allergy ) เกิดจากอะไร

0
โรคภูมิแพ้ ( Allergy )
โรคภูมิแพ้ คือ อาการที่เกิดจากปฏิกิริยาทางภูมิคุ้มกันมักจะเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วภายในไม่กี่นาทีหลังจากที่ร่างกายได้รับหรือสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้
โรคภูมิแพ้ ( Allergy )
โรคภูมิแพ้ คือ อาการที่เกิดจากปฏิกิริยาทางภูมิคุ้มกันมักจะเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วภายในไม่กี่นาทีหลังจากที่ร่างกายได้รับหรือสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้

โรคภูมิแพ้เกิดจากอะไร

โรคภูมิแพ้เกิดจากสิ่งแวดล้อม สารก่อภูมิแพ้มักเกิดจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวเราเป็นส่วนใหญ่ ทำให้คนเราเป็นภูมิแพ้จากสิ่งแวดล้อมได้มากกว่า ไม่ว่าจะเป็นการสูดดม การรับประทาน หรือการสัมผัสสารก่อภูมิแพ้ เช่น การทำงานบ้านที่ต้องเจอกับฝุ่น การออกไปนอกบ้านที่ต้องเจอกับควันและมลพิษ การแพ้ขนแมวหรือขนสุนัข ล้วนแต่เป็นสาเหตุของการเกิดภูมิแพ้ได้ทั้งสิ้น ซึ่งสารก่อภูมิแพ้บางอย่างก็สังเกตได้ง่าย เช่น อาหาร โดยเฉพาะอาหารทะเลที่เป็นสารก่อภูมิแพ้ที่มีคนแพ้มากที่สุด คนที่แพ้อาจมีผื่นลมพิษขึ้นทันทีภายในครึ่งชั่วโมงเท่านั้น นอกจากสารก่อภูมิแพ้ที่เป็นตัวกระตุ้นแล้ว ยังอาจมีปัจจัยอื่นร่วมด้วยที่ทำให้อาการภูมิกำเริบหรือเป็นรุนแรงขึ้นได้ เช่น อากาศที่หนาวเย็นจนเกินไป อากาศที่เปลี่ยนแปลงกะทันหัน และความเครียด

โรคภูมิแพ้เกิดจากกรรมพันธุ์ หากในครอบครัวมีคนเป็นภูมิแพ้ 2 ใน 4 คน นั่นหมายความว่า อัตราเสี่ยงของรุ่นต่อไปก็จะมีเพิ่มขึ้น ยิ่งหากพ่อหรือแม่เป็น ก็จะยิ่งมีความเสี่ยงสูงขึ้นไปด้วย โดยพบว่า หากพ่อหรือแม่ป่วยเป็นโรคภูมิแพ้ ลูกก็มีโอกาสที่จะเป็นโรคภูมิแพ้ด้วยเช่นกัน

กลไกของการเกิดโรคภูมิแพ้

กลไกการเกิดโรคภูมิแพ้เริ่มต้นจาก การสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้ เมื่อสารก่อภูมิแพ้เข้าสู่ร่างกาย  เช่น การสูดดม การสัมผัสกับผิวหนัง หรือการรับประทาน ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายจะตอบสนองสารก่อภูมิแพ้เหล่านั้นด้วยการหลั่งสารก่อการอักเสบต่างๆ ซึ่งจะกระตุ้นให้เซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันผลิตแอนติบอดี ( Antibody ) ที่เรียกว่า อิมมูโนโกลบูลิน อี ( IgE ) ขึ้นมาต่อสารก่อภูมิแพ้นั้น ๆ เมื่อภายในร่างกายมีแอนติบอดีแล้ว ก็จะทำให้ร่างกายตอบสนองต่อสารก่อภูมิแพ้ชนิดนั้นเพิ่มมากขึ้นและไวขึ้น ครั้งต่อไปที่ร่างกายได้รับหรือมีการสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้ดังกล่าวอีกครั้ง ระบบภูมิคุ้มกันและแอนติบอดีก็จะตอบสนองทั้นที และกระตุ้นเซลล์ชนิดหนึ่งที่เรียกว่าแมสต์เซลล์ ( Mast cell ) ให้หลั่งสารชื่อว่าฮีสตามีน ( Histamine ) ซึ่งเป็นตัวการสำคัญของอาการที่ไม่พึงประสงค์ของโรคภูมิแพ้ออกมา ส่งผลให้เกิดอาการระคายเคืองต่ออวัยวะต่างๆ ในร่างกาย เช่น ผิวหนัง จมูก คอ ปอด จนมีอาการไอหรือจามหนักๆ

สารที่ก่อให้เกิดโรคภูมิแพ้

จากการสำรวจผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ในไทย พบว่าส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากแพ้ไรฝุ่นหรือฝุ่นในบ้านเป็นอันดับแรก รองลงมาคือแมลงสาบ ละอองเกสรพืช และขนสัตว์

ไรฝุ่น
ควรจัดห้องนอนให้โล่ง ไม่วางพรม ตุ๊กตา และผ้าม่านไว้ในห้องนอน หรือนำไปซักทำความสะอาดด้วยน้ำร้อนสม่ำเสมอ เพราะเป็นแหล่งสะสมของไรฝุ่นได้ หมั่นซักผ้าปูที่นอน ปลอกหมอน และผ้าห่มเป็นประจำ โดยใช้น้ำที่มีอุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส ซักเป็นเวลา 30 นาที อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง
คลุมที่นอน ปลอกหมอน และหมอนข้าง ด้วยผ้าใยสังเคราะห์พิเศษที่สามารถป้องกันไม่ให้ตัวไรฝุ่นลอดผ่านได้
แมลงสาบ
กำจัดแหล่งอาหารของแมลงสาบ โดยเอาขยะทิ้งลงในถุงขยะหรือถังขยะที่มีฝาปิดมิดชิด ใช้ยาฆ่าแมลง
สัตว์เลี้ยง
ควรเลี่ยงการเลี้ยงสัตว์เลี้ยงที่มีขน
ถ้าเลี่ยงไม่ได้ควรเลี้ยงนอกบ้าน และอาบน้ำให้สัตว์เลี้ยงทุกสัปดาห์
ใช้เครื่องดูดฝุ่นและเครื่องกรองอากาศ
เกสรหญ้า
ควรตัดหญ้าและวัชพืชบริเวณรอบบ้านบ่อยๆ เพื่อลดจำนวนเกสร

อาการของโรคภูมิแพ้ คือ จาม น้ำมูกไหล คัดจมูก เยื่อบุตาขาวแดง คันตา น้ำตาไหล หอบ ไอ มีผื่นคันสีแดง

อาการโดยรวมของโรคภูมิแพ้

โรคภูมิแพ้ แบ่งออกเป็น 4 ประเภท
โดยแบ่งตามอวัยวะที่เป็น ได้แก่ โรคภูมิแพ้ทางเดินหายใจ โรคภูมิแพ้ทางผิวหนัง โรคภูมิแพ้ประเภทแพ้อาหาร และโรคภูมิแพ้ที่มีอาการผสมกันในหลายระบบของร่างกาย ซึ่งรุนแรงและเป็นอันตรายต่อชีวิตได้   

1. ภูมิแพ้ในระบบทางเดินหายใจหรือโรคแพ้อากาศ
ภูมิแพ้ชนิดนี้มีความเกี่ยวข้องกับจมูก เพราะจมูกเป็นอวัยวะส่วนหนึ่งของระบบทางเดินหายใจ ที่ช่วยกรองฝุ่นหรือสิ่งแปลกปลอม และช่วยปรับอุณหภูมิของร่างกายก่อนที่สิ่งต่างๆ จะผ่านลงไปสู่หลอดลม ซึ่งภายในจมูกจะมีโพรงจมูกและเยื่อบุโพรงจมูก ซึ่งเมื่อสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้เป็นระยะเวลายาวนานจะเกิดการอักเสบ ผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้ชนิดนี้จึงมีการตอบสนองต่อกลิ่นหรืออากาศที่หายใจเข้าไปค่อนข้างสูงและไวกว่าคนปกติ โดยเฉพาะเกสรดอกไม้ ฝุ่น ไรฝุ่น ควันต่างๆ และขนสัตว์

2. ภูมิแพ้ในระบบผิวหนัง ลมพิษ ผิวหนังอักเสบ
ผื่นผิวหนังอักเสบเป็นโรคที่ไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่มีแนวโน้มถ่ายทอดทางพันธุกรรมมากที่สุด ผู้ที่เป็นโรคนี้จะมีผิวหนังที่ไวต่อสภาพแวดล้อมรอบตัว ทั้งสภาพอากาศร้อน เย็น แห้ง ชื้น รวมไปถึงเชื้อโรคและสารเคมีที่ระคายผิวหนัง มักมีอาการมากขึ้นในช่วงฤดูหนาว เพราะความชื้นในอากาศต่ำ หรือแม้แต่ความเครียด วิตกกังวลมากเกินไปก็สามารถกระตุ้นให้เกิดการกำเริบได้ นอกจากนี้ผู้ที่ครอบครัวไม่เคยมีประวัติการเป็นภูมิแพ้ก็สามารถเป็นได้เช่นกัน เพราะอาจมีความผิดปกติซ่อนเร้นอยู่ในยีนส์ แต่ไม่แสดงอาการออกมา

3. ภูมิแพ้ที่เกิดขึ้นในระบบทางเดินอาหาร
อาการแพ้ชนิดนี้เกิดจากปฏิกิริยาที่ไวต่ออาหารที่รับประทานเข้าไป ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานผิดปกติ อาการแพ้อาหารที่พบได้บ่อยมักเป็นปฏิกิริยาการแพ้ชนิดที่เกิดขึ้นโดยเฉียบพลัน และยังมีปฏิกิริยาแพ้อีกประเภทหนึ่ง คือ ปฏิกิริยาของการแพ้ชนิดแฝงที่เกิดจากการแพ้โปรตีนบางชนิด ซึ่งมักจะไม่ก่อให้เกิดอาการ แต่ปัญหาจะเกิดเมื่อต้องรับประทานอาหารที่มีโปรตีนชนิดนั้นอยู่เรื่อยๆ เช่น อาหารกลุ่มนม ไข่ ถั่ว จนเกินขีดที่ภูมิคุ้มกันจะรับไหว ก็จะเกิดอาการขึ้นมาทันทีแบบไม่ทันตั้งตัวและอาจรุนแรงกว่า ภูมิแพ้ชนิดแฝงนี้ยังเป็นสาเหตุของโรคเรื้อรังหลายชนิด เช่น หวัดเรื้อรัง หูน้ำหนวกเรื้อรัง ไซนัสอักเสบเรื้อรัง ข้ออักเสบ กล้ามเนื้ออักเสบ หรือบางกรณีก็พบร่วมกับความผิดปกติทางอารมณ์ เช่น ภาวะซึมเศร้าเรื้อรัง หรือภาวะสมาธิสั้น ซึ่งโดยรวมแล้วเกิดจากภาวะความไม่สมดุลที่มีอยู่ในร่างกายนั่นเอง

4. ภูมิแพ้ที่เกิดจากหลายอย่างรวมกัน
เป็นโรคภูมิแพ้ที่มีอาการหลายชนิดหรือกระทบต่อหลายระบบในร่างกายตั้งแต่ 2 ระบบขึ้นไป บางคนอาจเป็นโรคภูมิแพ้ระบบทางเดินหายใจร่วมกับโรคภูมิแพ้อาหาร เช่น มีอาการแพ้อากาศ คัดจมูก จามบ่อย มีน้ำมูก แต่ก็มีอาการปวดท้อง ท้องเสีย และอาเจียนร่วมด้วย ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งจากกรรมพันธุ์และสิ่งแวดล้อม ในปัจจุบันมีแนวโน้มของผู้ที่เป็นภูมิแพ้ในหลายระบบเพิ่มมากขึ้น เพราะสภาพแวดล้อมและการใช้ชีวิตของคนเมืองที่แย่ลงเรื่อยๆ ทำให้ตอนนี้คนหนึ่งคนสามารถเป็นภูมิแพ้ได้แทบจะทุกระบบแล้ว

https://www.youtube.com/watch?v=8fUNgSLa99M

วิธีดูแลตัวเองเมื่อเป็นโรคภูมิแพ้

สิ่งสำคัญของคนที่เป็นโรคภูมิแพ้ คือ ต้องดูแลตัวเองให้ดี เลี่ยงสิ่งที่แพ้ และใช้ยาตามที่แพทย์แนะนำอย่างสม่ำเสมอ

ยารักษาโรคภูมิแพ้

  • ยาบรรเทาอาการคัดจมูก ใช้เบาเทาอาการในระยะเวลาสั้น
  • ยาต้านฮีสตามีน ช่วยลดและป้องกันอาการของโรคภูมิแพ้ได้
  • ยาสเตียรอยด์ สามารถลดอาการอักเสบที่เกิดขึ้นจากการหลั่งสารฮีสตามีนได้
  • การฉีดวัคซีนภูมิแพ้ ซึ่งเป็นการฉีดสารก่อภูมิแพ้เข้าไปในร่างกายของผู้ป่วย

วิธีป้องกันโรคภูมิแพ้

  • หลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ ควรเปิดหน้าต่างให้อากาศในห้องถ่ายเท ทำความสะอาดพื้นห้องเป็นประจำ
  • หลีกเลี่ยงการกองทับของนิตยสารหรือหนังสือพิมพ์ และใช้เครื่องกำจัดไรฝุ่นและฝุ่นละอองภายในบ้าน
  • นอนหลับให้เพียงพอ
  • ออกกำลังกาย
  • ดื่มน้ำให้มากเพื่อช่วยละลายเสมหะได้
  • ควรสวมแว่นตาเมื่อออกนอกบ้าน

บทความที่เกี่ยงข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

ขอขอบคุณคลิปความรู้จาก : หมอปุ้ม พญ. สิรนาถ สุขภาพดี คุณมีได้

allergy and allergic diseases: with a view to the future 2010.

ผักปลัง สุดยอดสมุนไพรพิชิตเบาหวาน

0
ผักปลัง
ผักปลัง สุดยอดสมุนไพรพิชิตเบาหวาน ผักพื้นบ้านรสหวาน ต้นมีรสเย็นจึงเป็นยาเย็นช่วยดับพิษไข้ร้อน มีคุณค่าทางอาหาร มีแคลเซียมและธาตุเหล็กสูง

ผักปลัง สุดยอดสมุนไพรพิชิตเบาหวาน

ผักปลัง คือ

ผักปลัง ( Ceylon Spinach ) คือ ผักพื้นบ้านรสหวานนิดหน่อยจุดเด่นเมื่อลวกจะมียางหรือเมือกยืดๆ สามารถกินได้ทั้งใบ ดอก และยอดอ่อน นิยมนำยอดอ่อนผักปลังสดมาปรุงเป็นอาหาร ผักปลังปลูกง่าย ออกยอดเกือบตลอดปียิ่งเป็นช่วงฤดูฝน และฤดูหนาว พบปลูกกันมากทางภาคอีสานและภาคเหนือนิยมนำ เป็นพืชผักที่สามารถขึ้นเองได้ตามธรรมชาติ เช่น สวน ไร่ นา ชาวบ้านนำไปปลูกบริเวณรั้วบ้านเพื่อให้เถาเลื้อยขึ้น สามารถขยายพันธุ์ได้ 2 วิธี คือการเพาะเมล็ดและการชำกิ่งแก่ และการเพาะเมล็ด

ชนิดของผักปลัง

ผักปลัง มีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด ได้แก่ ผักปลังแดง และผักปลังขาว เป็นต้นที่มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนของเอเชียและแอฟริกา ทั้งต้นมีรสเย็นจึงเป็นยาเย็นช่วยดับพิษไข้ร้อนได้ ดอก ราก ต้นและใบมีรสหวานเอียน เป็นผักที่มีคุณค่าทางอาหาร มีแคลเซียมและธาตุเหล็กสูง และยังอุดมไปด้วยวิตามินเอ วิตามินบี และวิตามินซี นิยมนำยอดอ่อน ใบอ่อน และดอกอ่อนมาลวกหรือต้มให้สุกใช้รับประทานร่วมกับน้ำพริก หรือนำมาประกอบอาหารในเมนูจำพวก “ผักปลัง” ต่าง ๆ นอกจากนั้นยังนำผลมาคั้นเอาน้ำสีแดงทาเล่น หรือใช้แต่งสีอาหารได้

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ

ชื่อวิทยาศาสตร์ : (ผักปลังแดง) Basella rubra L. และ (ผักปลังขาว) Basella alba L.
ชื่อสามัญ : มีชื่อสามัญว่า “Ceylon spinach” “East Indian spinach” “Indian spinach” “Malabar nightshade” “Vine spinach”
ชื่อท้องถิ่น : ภาคกลางเรียกว่า “ผักปลังใหญ่ ผักปลังขาว ผักปลังแดง” ภาคเหนือเรียกว่า “ผักปั๋ง ผักปั่ง” คนไทยเรียกว่า “ผักปรัง ผักปรังใหญ่” ชาวเมี่ยนเรียกว่า “เดี้ยจุ่น” ชาวม้งเรียกว่า “มั้งฉ่าง” แต้จิ๋วเรียกว่า “เหลาะขุ้ย โปแดงฉ้าย” จีนกลางเรียกว่า “ลั่วขุย”
ชื่อวงศ์ : วงศ์ผักปลัง (BASELLACEAE)

ลักษณะของผักปลัง

ผักปลัง ชื่อทางวิทยาศาสตร์ของผักปลัง คือ : Basella alba Linn. พืชไม้เลื้อยที่มีเถายาวลำต้นสีเขียว และสีม่วงแดง อวบน้ำไม่มีขน ถ้าชนิดสีม่วงแดงเรียกว่าผักปลังแดง แต่ถ้าเป็นชนิดสีเขียวเรียกว่า ผักปลังขาว ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ มีรูปร่างคล้ายรูปหัวใจหรือรูปไข่ ป้อม ปลายใบแหลมขอบใบเรียบแผ่นใบอวบน้ำ แผ่นใบเป็นมันเกลี้ยง ดอกออกเป็นช่อตามง่ามใบ 1 ดอกมี 5 กลีบดอกสีขาวอมชมพูผลอ่อนสีเขียวผลกลมฉ่ำน้ำ ผลแก่มีสีม่วงอมดำ

แหล่งที่มาของผักปลัง

พบมากในแถบแอฟริกา และมีการกระจายพันธุ์ในทวีปเอเชีย เช่น จีน ญี่ปุ่น พม่า ลาว กัมพูชา เป็นต้น ในประเทศไทยพบได้ทั่วไปแทบทุกภาค

การปลูกผักปลังขาย อาชีพที่สร้างรายได้หลักพันต่อวัน

ปัจจุบันมีคนจำนวนไม่น้อยที่ตกงานหลังจากทั่วโลกเจอโรคระบาดอย่างโควิด-19 รวมถึงประเทศไทยของเราด้วย ทำให้หลายคนกลับไปสานต่ออาชีพเกษตรปลูกผักพื้นบ้านที่ลงทุนน้อย แต่สร้างรายได้หลักพันต่อวัน รวมถึงการปลูกผักปลังขายวันนี้มีวิธีการปลูกผักปลังง่ายๆ ที่ทุกคนสามารถทำได้ที่บ้าน การขยายพันธุ์ผักปลังที่นิยมกันมาก คือ เพาะเมล็ด จะได้ต้นกล้าที่แข็งแรงทนต่อสภาพอากาศ
ขั้นตอนการปลูกผักปลัง

  • เตรียมแปลงที่จะลงปลูกโดยไถพรวนดินให้เรียบร้อย หรือจะปลูกในกระถางก็ได้
  • ใส่ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอกเพื่อลองพื้นก่อนปลูก
  • ใช้รถยกร่องให้มีความสูง 20-30 เซนติเมตร
  • ขุดหลุมลึกประมาณ 3 เซนติเมตร (เว้นความห่างระหว่างหลุม 30 เซนติเมตร)
  • เตรียมไม้สำหรับทำคานให้พักปลัง

สรรพคุณทางยา

ผักปลังเป็นสมุนไพรธรรมชาติที่มีประโยชน์ทั้งต้นมีฤทธิ์เย็น ลดไข้ นำมาต้มดื่มแก้ขัดเบา แก้ท้องผูก โขลกพอกแก้กลาก ผื่นคัน แก้พิษฝีดาษ แก้อักเสบ
ใบ มีรสหวานเอียน ระบายท้อง ขับปัสสาวะ แก้บิด แก้อักเสบ แก้โรคกระเพาะอักเสบ แก้กลาก แก้ผื่นคัน ฝี
ดอก รสหวานเอียน ใช้ทาแก้กลากเกลื้อน แก้โรคเรื้อน ดับพิษฝีดาษ แก้เกลื้อน คั้นเอาน้ำทาแก้หัวนมแตกเจ็บ
ต้น รสหวานเอียน แก้อึดอัดแน่นท้อง ระบายท้อง แก้พิษฝีดาษ แก้พิษฝี แก้อักเสบบวม ต้มดื่มแก้ไส้ติ่งอักเสบ
ราก รสหวานเอียน แก้มือเท้าด่าง แก้รังแค แก้โรคผิวหนัง แก้ท้องผูก

สรรพคุณของผักปลัง

  • ช่วยลดการอักเสบ
  • ช่วยขับปัสสาวะ
  • ช่วยบำรุงสายตา
  • ช่วยบำรุงเลือดลม
  • เป็นยาระบายอ่อนๆ
  • ช่วยแก้ท้องผูก
  • ช่วยลดคอเลสเตอรอล
  • ช่วยรักษาโรคผิวหนัง
  • ช่วยป้องกันการเกิดนิ่ว
  • ช่วยบำรุงร่างกาย
  • ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน
  • ช่วยลดความดันโลหิตสูง
  • ช่วยรักษาโรคริดสีดวงทวาร
  • ช่วยแก้อาการท้องอืด แน่นท้อง
  • ช่วยป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
  • ช่วยรักษาอาการผื่นคัน ผื่นแดง
  • ช่วยป้องกันมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
  • ช่วยล้างพิษ ดับพิษฝีดาษ
  • ช่วยถอนพิษไข้ แก้ร้อนใน

ประโยชน์ของผักปลัง

1. เป็นส่วนประกอบของอาหาร นิยมใช้ยอดอ่อน ใบอ่อน และดอกอ่อนมาลวกหรือต้มให้สุกทานร่วมกับน้ำพริก ยอดอ่อนและใบอ่อนนำไปประกอบอาหารพวกเมนูผักปลัง ผลอ่อนก็ใช้รับประทานได้ ชาวล้านนานิยมนำยอดอ่อนและดอกอ่อนมาใช้เป็นส่วนผสมในการปรุงอาหารประเภท จอ ที่เรียกว่า “จอผักปลัง” หรือ “จอผักปั๋ง” ผลใช้สำหรับแต่งสีอาหารทั้งคาวและหวานให้น่ารับประทานจะได้สีม่วงแดง ส่วนต่าง ๆ มีรสหวานใช้แต่งรสอาหาร
2. เป็นของเล่นเด็ก เด็ก ๆ นิยมนำน้ำสีแดงในผลมาเล่นกัน โดยใช้ทาหน้า ทาปาก เล่นลิเกหรือเล่นละคร
3. ใช้แทนหมึก ผสมน้ำใช้แทนหมึกสีแดงได้ เขียนหนังสือได้ดี
4. ปลูกเป็นไม้ประดับ นิยมปลูกเป็นผักริมรั้วหรือขึ้นร้านเป็นไม้ประดับ
5. เป็นยาสระผม รากนำมาต้มน้ำใช้สระผมเพื่อช่วยแก้รังแคได้
6. เป็นความเชื่อ ชาวเหนือใช้ผักปลังในพิธีสะเดาะเคราะห์เพื่อป้องกันผีตายโหง และเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ที่ตายไปแล้ว ใช้ทำเป็น “บ่วงเครือผักปลัง” ซึ่งเชื่อว่าจะทำให้คลอดบุตรได้ง่ายไม่มีติดขัด

คุณค่าทางโภชนาการ

คุณค่าทางสารอาหารของผักปลัง 100 กรัม ( ยอดอ่อน ใบอ่อน ดอกอ่อน ผลอ่อน ) ประกอบไปด้วย

พลังงาน 21 กิโลแคลอรี่ ( Kcal )
แคลเซียม 4 มิลลิกรัม
ฟอสฟอรัส 50 มิลลิกรัม
คาร์โบไฮเดรต 2.6 กรัม
เส้นใย 0.8 กรัม
ไขมัน 0.2 กรัม
เหล็ก 1.5 มิลลิกรัม
โปรตีน 2 กรัม
Vitamin A 9316 IU
Vitamin B1 0.07 มิลลิกรัม (mg)
Vitamin B2 0.20 มิลลิกรัม (mg)
Vitamin C 26 มิลลิกรัม (mg)
ไนอะซิน 1.1 มิลลิกรัม (mg)

การศึกษาพิษวิทยา

วิจัยของนักวิจัยอินเดียที่ได้ตีพิมพ์ผลงานวิจัยเกี่ยวกับการทดสอบผลของสารสกัดจากใบผักปลังด้วยเอทานอลและน้ำในหนูถีบจักรทดลอง ด้วยการกรอกสารสกัดน้ำของใบในขนาด 100 – 200 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักตัวให้หนูทดลองเป็นเวลา 2 สัปดาห์ ผลปรากฎว่าไม่พบว่ามีความผิดปกติ

การวิจัยค่าทางโลหิตวิทยา ส่วนการทดลองในหนูขาวที่กินสารสกัดจากใบผักปลังด้วยเอทานอล ,น้ำ และเฮกเซน ติดต่อกัน 1 สัปดาห์ พบว่าหนูขาวที่ได้รับสารสกัดด้วยเอทานอลและเฮกเซนจากใบผักปลัง จะมีปริมาณน้ำย่อยอะไมเลสเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นกลไกหนึ่งในการช่วยลดภาวะเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานได้

เมนูอาหารพื้นบ้านจากผักปลัง

    • แกงจืดผักปลังหมูสับ
    • แกงเลียงผักปลัง
    • แกงส้มผักปลัง
    • แกงผักปลังใส่หอย
    • แกงปลาใส่ผักปลัง
    • แกงผักปลัง
    • ผัดผักปลังใส่แหนม
    • ผักปลังผัดน้ำมัน
    • ผักปลังผัดใส่ไข่
    • ผักปลังลวกจิ้มน้ำพริกปลาทู
    • แกงส้มชะอมดอกผักปลัง
    • ผักปลังหมูกรอบ
    • ผัดเปรี้ยวหวานผักปลัง
    • ยำดอกผักปลัง

ข้อแนะนำ/ข้อควรระวัง

เนื่องจากผักปลังเป็นผักที่นำมาทำเป็นอาหารยังไม่มีผลกระทบอะไรกับสุขภาพ แต่หากใช้ผักปลังในรูปแบบสารสกัดหรือในรูปแบบอื่นๆ นั้น เพื่อความปลอดภัยคงต้องปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญถึงขนาดและวิธีใช้ก่อนใช้เสมอ

นอกจากผักปลังจะเป็นผักสมุนไพรพื้นบ้านที่มีประโยชน์ในการบรรเทาอาการต่างๆ โดยสามารถนำไปต้มจิ้มน้ำพริกกินเป็นอาหารก็ได้เช่นกัน ผักปลังอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุต่างๆรวมทั้งเบต้าแคโรทีน ซึ่งเมื่อได้กินเข้าไปร่างกายจะเปลี่ยนเป็นวิตามินบำรุงสายตา สามารถป้องกันโรคมะเร็ง และยังมีฤทธิ์ในการช่วยต้านทานอนุมูลอิสระ จากงานวิจัยของนักวิทยาศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัย Yaounde ในประเทศแคเมอรูน เมื่อปี พ.ศ.2555 พบว่าสารสกัดเมทานอลจากผักปลังสามารถช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศของเพศชายได้

สั่งซื้อผลิตภัณฑ์อาหารทางการแพทย์ เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

สรรพคุณและประโยชน์ของผักปลัง (ออนไลน์). สืบค้นจาก : https://www.winnews.tv (20 มิถุนายน 2562).
ผักปลัง (ออนไลน์). สืบค้นจาก : https://www.maeban.co.th (20 มิถุนายน 2562).
ผักปลัง ปลูกได้ทั่วไป มีคุณสมบัติป้องกันมะเร็ง (ออนไลน์). สืบค้นจาก : https://www.opsmoac.go.th (20 มิถุนายน 2562).
ผักปลัง (ออนไลน์). สืบค้นจาก : http://www.phargarden.com (20 มิถุนายน 2562).

ลิ้นหัวใจรั่ว ( Heart Valve Regurgitation ) เป็นอย่างไร ?

0
ลิ้นหัวใจรั่ว ( Heart Valve Regurgitation ) เป็นอย่างไร
ลิ้นหัวใจรั่ว ( Heart Valve Regurgitation ) คือ โรคที่เกิดจากความผิดปกติของลิ้นหัวใจที่ทำให้ลิ้นหัวใจปิดไม่สนิท ทำให้เลือดไหลย้อนกลับในขณะที่หัวใจบีบตัว
ลิ้นหัวใจรั่ว ( Heart Valve Regurgitation ) เป็นอย่างไร
ลิ้นหัวใจรั่ว ( Heart Valve Regurgitation ) คือ โรคที่เกิดจากความผิดปกติของลิ้นหัวใจที่ทำให้ลิ้นหัวใจปิดไม่สนิท ทำให้เลือดไหลย้อนกลับในขณะที่หัวใจบีบตัว

ลิ้นหัวใจรั่ว คือ

ลิ้นหัวใจรั่ว ( Heart Valve Regurgitation ) คือ โรคที่เกิดจากความผิดปกติของลิ้นหัวใจที่ทำให้ลิ้นหัวใจปิดไม่สนิท ซึ่งโดยปกติลิ้นหัวใจจะเปิดเพื่อให้เลือดไหลไปในทิศทางเดียวขณะที่มันไหลผ่านห้องของหัวใจ จากนั้นลิ้นหัวใจจะปิดเพื่อป้องกันไม่ให้เลือดไหลย้อนกลับเข้าไปในห้องที่เหลืออยู่ แต่ขณะเดียวกันลิ้นหัวใจอาจปิดไม่สนิท ซึ่งหมายความว่าหลังจากที่หัวใจบีบและสูบฉีดเลือดไปข้างหน้าเลือดบางส่วนจะรั่วไหลย้อนกลับผ่านลิ้นหัวใจทำให้หัวใจทำงานหนัก

สาเหตุของลิ้นหัวใจรั่ว

  • มีความผิดปกติของลิ้นหัวใจที่เป็นมาแต่กำเนิด
  • ลิ้นหัวใจเสื่อมตามอายุ
  • การติดเชื้อ streptococcus ที่ส่งผลต่อหัวใจได้โดยตรง และทำให้ลิ้นหัวใจเกิดความเสียหาย

ตำแหน่งที่เกิดลิ้นหัวใจรั่ว

1. ลิ้นหัวใจไมตรัลรั่ว ( Mitral Regurgitation ) เกิดจากความผิดปกติของลิ้นหัวใจที่กั้นระหว่างหัวใจห้องบนและล่างซ้าย จนทำให้เลือดไหลย้อนกลับไปที่หัวใจห้องบนหลังจากสูบฉีดเลือด
2. ลิ้นหัวใจเอออร์ติกรั่ว ( Aortic Regurgitation ) เกิดจากความผิดปกติของลิ้นหัวใจที่อยู่ระหว่างหัวใจห้องล่างซ้ายและหลอดเลือดเอออตาร์ ทำให้เลือดที่ไหลไปยังหลอดเลือดเกิดการไหลย้อนกลับขึ้นมาที่หัวใจห้องล่างซ้าย
3. ลิ้นหัวใจไตรคัสปิดรั่ว ( Tricuspid Regurgitation ) เกิดจากความผิดปกติของลิ้นหัวใจไตรคัสปิดที่อยู่ระหว่างห้องหัวใจขวาบนและล่าง ทำให้เลือดไหลย้อนกลับขึ้นไป และทำให้ปริมาณเลือดที่ส่งไปยังปอดลดลง
4. ลิ้นหัวใจพัลโมนารีรั่ว ( Pulmonary Regurgitation ) เกิดจากความผิดปกติของลิ้นหัวใจพัลโมนารีที่อยู่ระหว่างหัวใจห้องขวาล่างและปอด เป็นเหตุให้เลือดไหลย้อนกลับไปที่หัวใจห้องล่างขวา จนปอดได้รับออกซิเจนที่ถูกลำเลียงไปกับเลือดไม่เพียงพอ

อาการลิ้นหัวใจรั่ว

ผู้ป่วยบางคนไม่แสดงอาการนานเป็นเวลาหลายปี แต่หากเริ่มมีอาการที่รุนแรงมากขึ้นอาจมีอาการดังต่อไปนี้

  • หัวใจเต้นผิดปกติ ใจสั่น
  • หายใจถี่ ( หายใจลำบาก )
  • เมื่อยล้า
  • เหนื่อยง่าย
  • ปวดที่บริเวณหน้าอก
  • วิงเวียนศีรษะหรือเป็นลม
  • มีอาการบวมที่เท้าหรือข้อเท้า

การรักษาลิ้นหัวใจรั่ว

แพทย์จะพิจารณาวิธีการรักษาจากความรุนแรงของโรค หากการรั่วไหลเพียงเล็กน้อยก็ไม่จำเป็นต้องผ่าตัด หากอาการของผู้ป่วยรุนแรงแพทย์ต้องผ่าตัดซ่อมแซมลิ้นหัวใจที่มีความผิดปกติให้กลับมาทำงานได้ กรณีที่ลิ้นหัวใจไม่สามารถกลับมาทำงานตามเดิมจะต้องผ่าตัดเพื่อเปลี่ยนลิ้นหัวใจ แม้แต่คนที่ไม่มีอาการก็ต้องได้รับการประเมินโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคหัวใจและศัลยแพทย์ เพื่อภาวะแทรกซ้อนที่จะตามมาในระหว่างการรักษาผู้ป่วยควรจะดูแลตัวเองให้มากขึ้นดังนี้

  • ควบคุมระดับความดันโลหิต
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อหัวใจ
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • ควบคุมน้ำหนัก
  • ลดปริมาณการดื่มแอลกอฮอล์
  • พบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ

ภาวะแทรกซ้อนของลิ้นหัวใจรั่ว

  • หัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ( Heart Attack )
  • ภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว ( Atrial Fibrillation )
  • การติดเชื้อที่ลิ้นหัวใจ ( Endocarditis )
  • ความดันเลือดแดงในปอดสูง ( Pulmonary Hypertension )
  • ลิ่มเลือดอุดตัน

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

What is a leaky heart valve? (ออนไลน์).สืบค้นจาก : https://www.webmd.com [15 พฤษภาคม 2562].

Mitral valve regurgitation (ออนไลน์).สืบค้นจาก : https://www.mayoclinic.org [15 พฤษภาคม 2562].

โรคแทรกซ้อนทางตาจากเบาหวานที่ควรรู้

0
โรคแทรกซ้อนทางตาจากเบาหวานที่ควรรู้
โรคแทรกซ้อนทางตาในผู้ป่วยเบาหวาน
โรคแทรกซ้อนทางตาในผู้ป่วยเบาหวาน เกิดจากการมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานาน ทำให้หลอดเลือดแดงของจอตาเกิดความผิดปกติ

โรคแทรกซ้อนทางตาในผู้ป่วยเบาหวาน

ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 มักทราบระยะเวลาการเริ่มเป็นเบาหวานได้อย่างชัดเจน โดยในช่วง 5 ปีแรกมักไม่พบภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตา อย่างไรก็ตาม หลังจากเป็นเบาหวานมาแล้ว 15 ปี มีโอกาสพบเบาหวานขึ้นจอประสาทตาระยะรุนแรงหรือการเกิดหลอดเลือดฝอยใหม่เพิ่มมากขึ้น

ระยะของโรคแทรกซ้อนทางตา

1. เบาหวานขึ้นตาระยะต้น หรือระยะที่ยังไม่มีหลอดเลือดฝอยงอกใหม่ ( Non-proliferative diabetic retinopathy : NPDR )
2. เบาหวานขึ้นจอตาระยะรุนแรง หรือระยะที่มีหลอดเลือดฝอยงอกใหม่ ( Proliferative diavetic retinopathy : PDR )

สาเหตุโรคแทรกซ้อนทางตา

สาเหตุโรคแทรกซ้อนทางตาเกิดจากการมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานาน ทำให้หลอดเลือดแดงของจอตาเกิดความผิดปกติ พบความอ่อนแอของผนังหลอดเลือดของจอตาจนเกิดหลอดเลือดฝอยโป่งพอง เรียกว่า ไมโครอะนูริซึม มีจุดเลือดออกเล็กๆกระจายทั่วไป มักมีรูรั่วทำให้มีน้ำและไขมันรั่วออกมา ทำให้จอตาบวมน้ำและมีจุดไขมันสีเหลืองบริเวณจุดภาพชัดทำให้มีอาการตามัว

อาการโรคแทรกซ้อนทางตา

ส่วนใหญ่ผู้ป่วยที่เป็นในระยะแรกๆ จะไม่มีอาการ แต่ถ้าเป็นมากขึ้นมักพบอาการตามัวเป็นเงาดำคล้ายหยากไย่ลอยไปมา บางรายเห็นภาพบิดเบี้ยว หรือมีม่านมาบัง ผู้ป่วยบางรายก็อาจไม่มีอาการเลย แม้จะมีเบาหวานขึ้นจอตาอย่างรุนแรง

การวินิจฉัย

แพทย์จะเริ่มเก็บข้อมูลจากการซักประวัติของผู้ป่วย ประวัติเบาหวานของคนในครอบครัว ระยะเวลาที่เป็นเบาหวาน อาการที่พบ ประวัติการควบคุมเบาหวาน โรคประจำตัวอื่นๆ ทดสอบการมองเห็น

การรักษาโรคแทรกซ้อนทางตา

การรักษาโรคแทรกซ้อนทางตาแพทย์จะประเมินการรักษาขึ้นอยู่กับระยะของเบาหวานขึ้นจอตา

    • การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
    • การควบคุมระดับความดันเลือด
    • การควบคุมระดับไขมัน ในเลือด
    • การยิงแสงเลเซอร์
    • การฉีดยาเข้าวุ้นตา
    • การผ่าตัดจอตาและวุ้นตา

โรคแทรกซ้อนทางตาในผู้ป่วยเบาหวานสามารถรักษาได้ ถ้าตรวจพบและเข้ารักการรักษาแต่เนิ่นๆ

ร่วมตอบคำถามกับเรา

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย, สมาคมต่อมไร้ท่อแห่ง ประเทศไทย, กรมการแพทย์, สำนักงานหลักประกันสุขภาพ แห่งชาติ. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับเบาหวาน 2554. 1st ed. กรุงเทพ: บริษัท ศรีเมืองการพิมพ์จำกัด;2554.

โรคถุงลมโป่งพอง ( Emphysema )

0
โรคถุงลมโป่งพอง ( Emphysema )
โรคถุงลมโป่งพอง ( Emphysema ) คือโรคที่เกิดจากเนื้อเยื่อถุงลมถูกทำลาย ทำให้ถุงลมที่อยู่บริเวณปลายต่อหลอดลมฝอยส่วนปลายพองโตกว่าปกติ
โรคถุงลมโป่งพอง ( Emphysema )
โรคถุงลมโป่งพอง ( Emphysema ) คือโรคที่เกิดจากเนื้อเยื่อถุงลมถูกทำลาย ทำให้ถุงลมที่อยู่บริเวณปลายต่อหลอดลมฝอยส่วนปลายพองโตกว่าปกติ

โรคถุงลมโป่งพองคืออะไร

โรคถุงลมโป่งพอง ( Emphysema ) คือ โรคที่เกิดจากเนื้อเยื่อถุงลมถูกทำลาย ทำให้ถุงลมที่อยู่บริเวณปลายต่อหลอดลมฝอยส่วนปลายพองโตกว่าปกติ ซึ่งที่ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนออกซิเจนในอากาศกับคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดถูกทำลายเสียหาย สูญเสียความยืดหยุ่น และอาจร่วมกับมีถุงลมถูกทำลายเสียหาย

สาเหตุของโรคถุงลมโป่งพอง

เกิดจากสูดดมมลพิษทางอากาศ อาจจะอยู่ในรูปของฝุ่นควัน แก๊ส สารเคมีที่มีอานุภาพเล็กๆ เข้าไปยังปอดในระยะยาว นอกจากนั้นการสูบบุหรี่ไม่ว่าเราสูบเอง หรือได้รับจากคนรอบข้างเป็นระยะเวลาหลายปีมีโอกาสที่จะเป็นโรคถุงลมโป่งพองได้เช่นกัน

อาการของโรคถุงลมโป่งพอง

  • อาการหายใจตื้น ( หายใจลำบาก )
  • อาการไอและมีเสมหะมาก
  • อาการเหนื่อยหอบ
  • เบื่ออาหาร
  • น้ำหนักลง
  • หายใจถี่
  • หายใจเสียงดัง
  • อาการกำเริบเฉียบพลัน อาจส่งผลให้หัวใจล้มเหลวได้

การวินิจฉัยโรคโรคถุงลมโป่งพองจากแพทย์

แพทย์จะเริ่มทำการตรวจร่างกายอย่างละเอียด ซักประวัติทางผู้ป่วยและสอบถามเกี่ยวกับอาการที่พบ จากนั้นอาจทำการทดสอบดังต่อไปนี้เพื่อความแม่นยำในการวินิจฉัยโรค

  • การทดสอบการทำงานของปอด ( Pulmonary Function Tests )
  • ใช้เครื่องเอกซ์เรย์คอมพิวเตอร์ ( CT Scan ) ที่มีความละเอียดสูง
  • การเอกซเรย์ปอด ( Chest X-Ray ) สามารถช่วยยืนยันการวินิจฉัยโรคถุงลมโป่งพองและแยกแยะสภาพปอดได้
  • การตรวจวิเคราะห์ก๊าซในหลอดเลือด เพื่อวัดค่าการถ่ายโอนออกซิเจนไปยังกระแสเลือด และกำจัดคาร์บอนไดออกไซด์ออกไปได้ดีเพียงใด
  • การตรวจเสมหะ

ภาวะแทรกซ้อนโรคโรคถุงลมโป่ง

  • ผู้ที่เป็นโรคถุงลมโป่งพองมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคปอดบวม จากการติดเชื้อของถุงลมและหลอดลมได้
  • ภาวะปอดแตก หรือภาวะโพรงเยื่อหุ้มปอดมีอากาศ เกิดจากเมื่ออากาศรั่วออกมาจากปอด และไปติดค้างอยู่ในช่องว่างระหว่างหน้าอกกับโพรงเยื่อหุ้มปอดแทน
    มีปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ ถุงลมโป่งพองสามารถเพิ่มความดันโลหิตของหลอดเลือดที่ไหลกลับเข้าสู่หัวใจ ซึ่งสามารถทำให้เกิดภาวะหัวใจห้องขวาล้มเหลว

แนวทางการรักษา

  • แพทย์จะให้ยาขยายหลอดลม เพื่อลดการหดเกร็งกล้ามเนื้อทางเดินหายใจช่วยให้ผู้ป่วยหายใจได้ดีขึ้น
  • ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ ( Corticosteroids ) เพื่อลดการอักเสบของปอด
  • ยาปฏิชีวนะ เพื่อลดการอักเสลจากการติดเชื้อบริเวณหลอดลม

การป้องกันถุงลมโป่งพอง

  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยสัปดาห์ละ 3-4 วัน
  • เลิกสูบบุหรี่ หรือหลีกเลี่ยงควันบุหรี่
  • สวมใส่หน้ากากอนามัยให้เป็นนิสัยขณะออกจากบ้าน เพื่อป้องกันฝุ่น ควันพิษ สารเคมีต่างๆ ที่ปะปนมากับอากาศ
  • หลีกเลี่ยงสถานที่ ที่มีการก่อสร้างหรือมีฝุ่นละเอียงเป็นปริมาณมาก

สรุป

​​อันตรายใกล้ตัวบุหรี่ถือเป็นยาเสพติดที่ยังถูกกฎหมายและมีสารพิษที่ก่อให้เกิดมะเร็งกว่า 80 ชนิด ในประเทศไทยโรคถุงลมโป่งพองรุนแรงขึ้นทุกปี พบว่าคนไทยป่วยเป็นโรคถุงลมโป่งพองกว่า 3 ล้านคน ขณะที่ทั่วโลกมีผู้ป่วยทั้งหมด 300 ล้านคน และที่น่าวิตกกังวล คือ ประเทศไทยมีจำนวนผู้ป่วยเข้ารับการรักษาโรคถุงลมโป่งพองในโรงพยาบาลมากกว่าปีละ 1 ล้านครั้ง

เอกสารที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

ถุงลมโป่งพอง โรคที่ทรมานที่สุดจากการสูบบุหรี่ (ออนไลน์). สืบค้นจาก : www.ashthailand.or.th [ 8 มิถุนายน 2562]

มารู้จักโรคถุงลมโป่งพองกันเถอะ (ออนไลน์). สืบค้นจาก : www.si.mahidol.ac.th [ 8 มิถุนายน 2562]

Emphysema Diagnosis (ออนไลน์). สืบค้นจาก : https://www.ucsfhealth.org [ 8 มิถุนายน 2562]

Emphysema (ออนไลน์). สืบค้นจาก : https://www.betterhealth.vic.gov.au [ 8 มิถุนายน 2562]

What Are the Stages of Emphysema? (ออนไลน์). สืบค้นจาก : https://www.healthline.com 8 มิถุนายน 2562]

ส้มโอ ( Pomelo ) แคลอรี่ต่ำ กินยังไงก็ไม่อ้วน

0
ส้มโอ ( Pomelo ) แคลอรี่ต่ำ กินยังไงก็ไม่อ้วน
ส้มโอ ( Pomelo ) คือผลไม้ตระกูลเดียวกับส้มชนิดหนึ่งที่เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง มีรสหวานหรือหวานอมเปรี้ยว เวลารับประทานนิยมแกะเปลือกออกก่อนจนเหลือแค่กลีบเนื้อผล
ส้มโอ ( Pomelo ) แคลอรี่ต่ำ กินยังไงก็ไม่อ้วน
ส้มโอ ( Pomelo ) คือผลไม้ตระกูลเดียวกับส้มชนิดหนึ่งที่เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง มีรสหวานหรือหวานอมเปรี้ยว เวลารับประทานนิยมแกะเปลือกออกก่อนจนเหลือแค่กลีบเนื้อผล

ส้มโอ

ส้มโอ ( Pomelo ) คือ ผลไม้ตระกูลเดียวกับส้มชนิดหนึ่งที่เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง มีรสหวานหรือหวานอมเปรี้ยว เนื้อเป็นกุ้งใหญ่ และอวบนูน เวลารับประทานนิยมแกะเปลือกออกก่อนจนเหลือแค่กลีบเนื้อผล ซึ่งมีประโยชน์หลากหลายและยังมีสรรพคุณทางยาในการรักษาโรคต่างๆ เพราะอุดมไปด้วยวิตามินซีซึ่งเป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระในปริมาณมาก และยังมีวิตามินและแร่ธาตุอื่นๆ ที่จำเป็นต่อร่างกาย

ประโยชน์ของส้มโอ

  • สารโมโนเทอร์ปีนในเนื้อช่วยป้องกันโรคมะเร็ง
  • ช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือดได้ดี
  • ช่วยทำให้การทำงานของระบบทางเดินอาหารดีขึ้น
  • ช่วยขับสารพิษในร่างกายได้เป็นอย่างดี
  • ช่วยทำให้ความดันโลหิตอยู่ในระดับปกติ
  • ใช้เป็นยาแก้อาการปวดข้อหรือ อาการปวดบวม
  • ช่วยให้นอนหลับง่ายขึ้น
  • ช่วยกระตุ้นการขับถ่าย
  • ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทาน
  • ช่วยให้เจริญอาหาร
  • ช่วยแก้อาการไอ
  • มีวิตามินซีสูง
  • ช่วยป้องกันเลือดออกตามไรฟัน
  • ช่วยขับลมในลำไส้
  • ใช้รักษาโรคลมพิษที่ผิวหนัง
  • ใบนำมาตากแห้ง และชงดื่มเป็นชา แก้อาการปวดท้อง รักษาโรคลำไส้อักเสบ
  • เปลือกด้านนอกนำมาบดผสมสำหรับทำธูปหอม ธูปไล่ยุง

ตารางคุณค่าทางโภชนาการของ ส้มโอต่อ 100 กรัม

พลังงาน 41 กิโลแคลอรี
คาร์โบไฮเดรต 9.62 กรัม
เส้นใย 1 กรัม
ไขมัน 0.04 กรัม
โปรตีน 0.76 กรัม
วิตามินบี 1 0.034 มิลลิกรัม              3%
วิตามินบี 2 0.027 มิลลิกรัม              2%
วิตามินบี 3 0.22 มิลลิกรัม                1%
วิตามินบี 6 0.036 มิลลิกรัม              3%
วิตามินซี 61 มิลลิกรัม                    73%
ธาตุแคลเซียม 4 มิลลิกรัม                 0%
ธาตุเหล็ก 0.11 มิลลิกรัม                 1%
ธาตุแมกนีเซียม 6 มิลลิกรัม               2%
ธาตุแมงกานีส 0.017 มิลลิกรัม          1%
ธาตุฟอสฟอรัส 17 มิลลิกรัม              2%
ธาตุโพแทสเซียม 216 มิลลิกรัม         5%
ธาตุโซเดียม 1 มิลลิกรัม                   0%
ธาตุสังกะสี 0.08 มิลลิกรัม                1%

5 เมนูเด็ด สำหรับส้มโอ

1. ตำผลไม้รวมส้มโอ
2. ยำส้มโอกุ้งสด
3. ข้าวยำปักษ์ใต้ส้มโอ
4. ข้าวคลุกกะปิส้มโอ
5. แกงคั่วส้มโอ

ส้มโอเป็นมากกว่าผลไม้ที่ให้รสชาติความอร่อยแล้ว ยังมีดีทางด้านสรรพคุณทางยารักษาโรคต่างๆ โดยส่วนที่จะนำมาใช้ประโยชน์ก็มีหลายส่วน เช่น ผล เปลือก ใบ ดอก ราก และเมล็ด ก็ล้วนแล้วแต่มีประโยชน์ทั้งนั้น

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

ส้มโอ สรรพคุณ ประโยชน์และโทษของส้มโอ (ออนไลน์).สืบค้นจาก : https://www.karatbarsaec.com [14 มิถุนายน 2562].

ส้มโอ (Pomelo) สรรพคุณ และการปลูกส้มโอ (ออนไลน์).สืบค้นจาก : https://puechkaset.com [14 มิถุนายน 2562].

ภาวะวุ้นตาเสื่อม ( Vitreous Degeneration ) เป็นอย่างไร

0
ภาวะวุ้นตาเสื่อม ( Vitreous Degeneration ) เป็นอย่างไร
ภาวะวุ้นตาเสื่อม ( Vitreous Degeneration ) คือ ภาวะที่ทำให้มองเห็นจุดเล็กๆ ลอยไปตามแนวสายตาคล้ายใยแมงมุม และผู้สูงอายุหรือผู้ที่สายตาสั้นอาจเสื่อมเร็วกว่าปกติ
ภาวะวุ้นตาเสื่อม ( Vitreous Degeneration ) เป็นอย่างไร
ภาวะวุ้นตาเสื่อม คือ ภาวะที่ทำให้มองเห็นจุดเล็กๆ ลอยไปตามแนวสายตาคล้ายใยแมงมุม และผู้สูงอายุหรือผู้ที่สายตาสั้นอาจเสื่อมเร็วกว่าปกติ

ภาวะวุ้นตาเสื่อม คือ

ภาวะวุ้นตาเสื่อม ( Vitreous Degeneration ) คือ ภาวะที่ทำให้มองเห็นจุดเล็กๆ ลอยไปตามแนวสายตาคล้ายใยแมงมุม พบได้บ่อยเมื่ออายุมากขึ้นและอาจเสื่อมเร็วกว่าปกติในผู้ที่สายตาสั้นมาก

สาเหตุของการเกิดภาวะวุ้นตาเสื่อม

1. ภาวะความเสื่อมตามวัย ซึ่งเป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุด
2. การอักเสบในวุ้นตาและจอตา
3. ภาวะเลือดออกในน้ำวุ้นตา
4. การฉีกขาดของจอประสาทตา
5. ภาวะเลือดออกในวุ้นตา
6. การผ่าตัดตา
7. การใช้ยารักษาสายตาบางชนิด

อาการวุ้นตาเสื่อม

  • ผู้ป่วยจะมองเห็นเป็นจุด หรือเส้นสีดำคล้ายหยากไย่ลอยไปมา
  • เห็นเป็นแสงวาบคล้ายแฟลชจากกล้องถ่ายรูป หรือมีแสงฟ้าแลบในดวงตาแม้ในขณะหลับตา
  • ในผู้ป่วยบางราย อาจมีการดึงรั้งของหลอดเลือดจอตาให้ฉีกขาด จึงเกิดมีเลือดออกในวุ้นตาทำให้เห็นเงาดำเพิ่มมากขึ้น

ปัจจัยเสี่ยงวุ้นตาเสื่อม

การรักษาภาวะวุ้นตาเสื่อม

  • แพทย์จะทำการขยายม่านตา และตรวจดูบริเวณหลังจอประสาทตาว่ามีรอยขาด หรือไม่
  • ตรวจการเคลื่อนไหวของวุ้นตา
  • รักษาด้วยวิธีการยิงเลเซอร์

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

ภาวะวุ้นตาเสื่อม ดูแลได้ (Vitreous Degeneration) (ออนไลน์).สืบค้นจาก : http://www.siphhospital.com [12 มิถุนายน 2562].

Eye floaters (ออนไลน์).สืบค้นจาก : https://www.mayoclinic.org [12 มิถุนายน 2562].

โรคตับแข็ง ( Cirrhosis ) เกิดได้อย่างไรกัน

0
โรคตับแข็ง ( Cirrhosis ) เกิดได้อย่างไรกัน
โรคตับแข็ง ( Cirrhosis ) คือ โรคตับเรื้อรังระยะสุดท้ายที่เซลล์ตับจำนวนมากถูกทำลายอย่างถาวร ทำให้เนื้อเยื้อมีลักษณะเป็นปุ่มและกลายเป็นพังผืดที่มีลักษณะแข็งกว่าปกติ
โรคตับแข็ง ( Cirrhosis ) เกิดได้อย่างไรกัน
โรคตับแข็ง คือ โรคตับเรื้อรังระยะสุดท้ายที่เซลล์ตับจำนวนมากถูกทำลายอย่างถาวร ทำให้เนื้อเยื้อมีลักษณะเป็นปุ่มและกลายเป็นพังผืดที่มีลักษณะแข็งกว่าปกติ

โรคตับแข็ง คือ

โรคตับแข็ง ( Cirrhosis ) คือ โรคตับเรื้อรังระยะสุดท้ายที่เซลล์ตับจำนวนมากถูกทำลายอย่างถาวรใช้ระยะเวลาโดยเฉลี่ย 15 ถึง 20 ปี ทำให้เนื้อเยื้อมีลักษณะเป็นปุ่มและกลายเป็นพังผืดที่มีลักษณะแข็งกว่าปกติ ผู้ป่วยโรคตับแข็งมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้มากกว่าคนสุขภาพแข็งแรง เนื่องจากความสามารถในการกำจัดเชื้อลดลง

สาเหตุของตับแข็ง

1. ไขมันพอกตับจากการดื่มสุรา
2. การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบเรื้อรัง
3. โรคทางระบบภูมิคุ้มกัน
4. ความผิดปกติของเมตาบอริซึม เช่น ภาวะเหล็กเกิน โรควิลสัน
5. ยาและสารพิษ
6. โรคทางระบบหัวใจและหลอดเลือด เช่น ภาวะหัวใจด้านขวาล้มเหลวเรื้อรัง
7. โรคตับอักเสบเหตุไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากการดื่มสุรา
8. โรคพิษสุราเรื้อรัง เกิดจากการดื่มแอลกฮอล์ติดต่อกันเป็นเวลานาน

อาการของตับแข็ง

โดยทั่วไปแล้วผู้ป่วยโรคตับแข็งอาจไม่มีอาการ หรือมีอาการน้อยมาก อาการที่เกิดขึ้นเนื่องจากภาวะแทรกซ้อนและระยะของโรค ซึ่งอาการที่พบได้บ่อยได้แก่

  • มีไข้ต่ำๆ
  • อาการอ่อนเพลีย
  • เบื่ออาหาร
  • ผอมลงน้ำหนักลด
  • ภาวะบวมทั่วร่างกาย
  • ผู้หญิงประจำเดือนมาไม่ปกติ
  • ดีซ่าน ( Jaundice ) เช่น อาการตาเหลือง ตัวเหลือง
  • ท้องมาน ( ascites ) ท้องโตขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่ร่างกายส่วนอื่นผอมลง
  • มีอาการแน่นใต้ชายโครงขวา หรือคลำก้อนได้ใต้ชายโครงขวา หรือม้ามโต
  • ภาวะเลือดออกผิดปกติ
  • อาการทางสมอง ผู้ป่วยมีอาการสับสน ไม่ค่อยรู้ตัว

การวินิจฉัยตับแข็งโดยแพทย์

1.การซักถามประวัติทางการแพทย์ของผู้ป่วย เช่น มีประวัติการดื่มสุราเป็นเวลานาน
2.การตรวจเลือดดูค่าการทำงานของตับ
3.ตรวจภาพตับด้วยอัลตราซาวด์
4. เจาะชิ้นเนื้อจากตับ ตรวจทางพยาธิวิทยา

ระยะของตับแข็ง

  • ระยะที่ 1 ผู้ป่วยระยะ compensated ที่ตรวจไม่พบภาวะท้องมาน และไม่พบหลอดเลือดดำในหลอดอาหารโป่งพอง ผู้ป่วยในกลุ่มนี้จะมีอัตราการเสียชีวิตประมาณร้อยละ 1 ต่อปี
  • ระยะที่ 2 ผู้ป่วยระยะ compensated ที่ตรวจพบหลอดเลือดดำในหลอดอาหารโป่งพอง โดยที่ไม่มีภาวะท้องมานและไมมีเลือดออกจากหลอดเลือดดำโป่งพอง ผู้ป่วยในกลุ่มนี้จะมีอัตราการเสียชีวิตประมาณร้อยละ 3 – 4 ต่อปี หากผู้ป่วยมีภาวะแทรกซ้อนที่เพิ่มขึ้นอัตราการเสียชีวิตต่อปีก็จะมากขึ้น
  • ระยะที่ 3 ผู้ป่วยในระยะ decompensated ที่ตรวจพบภาวะท้องมาน โดยมีหลอดเลือดดำในหลอดอาหารโป่งพองร่วมด้วยหรือไม่ก็ได้แต่ต้องไม่เคยมีเลือดออกจากหลอดเลือดดำโป่งพอง ผู้ป่วย ในกลุ่มนี้จะมีอัตราการเสียชีวิตประมาณร้อยละ 20 ต่อปี
  • ระยะที่ 4 ผู้ป่วยในระยะ decompensated ที่มีภาวะเลือดออกจากหลอดเลือดดำโป่งพอง โดยที่อาจพบภาวะท้องมานร่วมด้วยหรือไม่ก็ได้ในกลุ่มนี้จะมีอัตราการเสียชีวิตสูงสุดคือร้อยละ 57 ต่อปีโดยผู้ป่วยครึ่งหนึ่งอาจเสียชีวิตภายใน 6 สัปดาห์ หลังการเกิดเลือดออกในทางเดินอาหาร
  • ระยะที่ 5 ผู้ป่วยในระยะ decompensated ที่มีการติดเชื้อในกระแสเลือด ระยะนี้เป็นระยะที่เพิ่งถูกกำหนดขึ้นจากข้อสังเกตที่ว่าผู้ป่วยในระยะ decompensated อาจมีการติดเชื้อได้ง่ายจาก
    ภูมิคุ้มกันในร่างกายที่ลดลง โดยจะเพิ่มโอกาสการเสียชีวิตสูงสุดถึงมากกว่าร้อยละ 60

การรักษาและการป้องกัน

การรักษาภาวะตับแข็งมีวัตถุประสงค์ เพื่อหยุดการพัฒนาของเนื้อเยื่อแผลเป็นในตับและเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน ดังต่อไปนี้

  • งดการดื่มแอลกอฮอล์
  • หลีกเลี่ยงการใช้ยาและสารที่เป็นอันตรายต่อตับ
  • หากมีอาการบวมที่ข้อเท้าและท้อง ควรจำกัดเกลือและอาหารรสเค็ม
  • เข้ารับการฉีดวัคซีนสำหรับโรคไวรัสตับอักเสบ AและB ไข้หวัดใหญ่ และโรคปอดบวม เนื่องจากผู้ป่วยโรคตับแข็งมีความเสี่ยงในการติดเชื้อที่รุนแรงมากกว่าคนปกติ
  • ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน เพื่อลดโอกาสของการเกิดภาวะไขมันพอกตับขึ้นจนนำไปสู่โรคได้
  • หลีกเลี่ยงหรืองดการกินอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ อาจมีการปนเปื้อนของเชื้อโรคที่เป็นสาเหตุของโรคตับ
  • พบแพทย์เพื่อติดตามการรักษาอย่างสม่ำเสมอ

อย่างไรก็ตามการเกิดพังผืดในตับเป็นปัจจัยสำคัญต่อการเกิดโรคตับแข็ง ซึ่งเมื่อโรคมีการดำเนินเข้าสู่ระยะแรกผู้ป่วยจะมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ส่งผลให้มีโอกาสเสียชีวิตมากขึ้นได้

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

Cirrhosis (ออนไลน์).สืบค้นจาก : https://www.mayoclinic.org [8 มิถุนายน 2562].

โรคหัด ( Measles ) เกิดได้กับใครบ้าง ?

0
โรคหัด ( Measles ) เกิดได้กับใครบ้าง ?
โรคหัด ( Measles ) หรือไข้ออกผื่น คือ โรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสทางระบบทางเดินหายใจ ผู้ป่วยจะเกิดผื่นขึ้นตามผิวหนังพร้อมเป็นไข้
โรคหัด ( Measles ) เกิดได้กับใครบ้าง ?
โรคหัด ( Measles ) หรือไข้ออกผื่น คือ โรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสทางระบบทางเดินหายใจ ผู้ป่วยจะเกิดผื่นขึ้นตามผิวหนังพร้อมเป็นไข้

โรคหัด คืออะไร

โรคหัด ( Measles ) หรือไข้ออกผื่น คือ โรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสทางระบบทางเดินหายใจ ผู้ป่วยจะเกิดผื่นขึ้นตามผิวหนังพร้อมเป็นไข้ร่วมด้วย โดยโรคหัดเกิดจากไวรัสกลุ่มพารามิคโซไวรัส ( Paramyxovirus ) มีลักษณะเด่นคือมีจุดเทาขาวในปาก และผื่นแดงหรือน้ำตาลแดงไล่จากหัว ใบหน้า คอ และตัว แต่ในบางครั้งอาจนำมาซึ่งภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรงกว่า ที่เป็นอันตรายถึงชีวิตได้ในผู้ป่วยบางราย ซึ่งรวมไปถึงปอดบวมและไข้สมองอักเสบ

อาการของโรคหัด

  • อาการคล้ายหวัด เช่น คัดจมูก จาม และไอ
  • ปวดตา ตาแดง น้ำตาไหล อาจมีความอ่อนไหวต่อแสงเพิ่มขึ้น
  • มีไข้ขึ้นสูงถึง 40 องศาเซลเซียส
  • ปวดกล้ามเนื้อ
  • ไม่อยากอาหาร
  • เหน็ดเหนื่อย ระคายเคือง และหมดเรี่ยวแรง
  • ต่อมบวม
  • เกิดจุดสีเทาขาวภายในกระพุ้งแก้ม
  • หลังจากมีอาการเหล่านี้ไม่กี่วันจะออกผื่นสีน้ำตาลแดงขึ้น ซึ่งอาจจะเริ่มจากบนศีรษะหรือบนคอก่อนจะลามลงไปทั่วร่างกาย ผู้ป่วยส่วนมากจะมีอาการป่วยยาวนานประมาณ 7 ถึง 10 วัน

ผู้ที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคหัด

โรคหัดเกิดจากเชื้อไวรัส ดังนั้นเด็กเล็ก คนชรา สตรีมีครรภ์ ผู้ที่ร่างกายไม่สมบูรณ์แข็งแรง ภูมิต้านทานโรคต่ำ รวมถึงผู้ที่ต้องทานยากดภูมิคุ้มกันเพื่อรักษาโรคอื่นๆ สามารถติดโรคหัดได้ทั้งนั้น ดังนั้นใครก็ตามที่อยู่ใกล้ผู้ป่วยโรคหัด ก็มีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคหัดได้ทั้งนั้น แต่พบบ่อยที่สุดในเด็กเล็กช่วงอายุแรกเกิดถึง 4 ปี

สาเหตุของโรคหัด

โรคหัดจัดเป็นโรคติดต่อที่มีโอกาสติดเชื้อได้สูง การติดโรคนั้นเกิดจากการรับเชื้อไวรัสผ่านทางอากาศ จากการสัมผัสละอองน้ำลาย น้ำลาย และน้ำมูกของผู้ป่วย ซึ่งช่วง 4 วันทั้งก่อนและหลังเกิดผื่นนั้นถือเป็นระยะเวลาของการแพร่เชื้อ โดยเชื้อไวรัสจะเข้ามาทางระบบทางเดินหายใจและแพร่ไปทั่วร่างกาย ทำให้ป่วยเป็นโรคหัด โดย 90 เปอร์เซ็นต์ของผู้ที่ไม่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคหัดมีโอกาสป่วยเป็นโรคหัดหากอยู่ใกล้ผู้ป่วยที่เป็นโรค

ภาวะแทรกซ้อนของโรคหัด

ภาวะแทรกซ้อนของโรคหัดมักเกิดกับทารกที่อายุต่ำกว่า 1 ปี เด็กที่ขาดสารอาหารและภูมิคุ้มกันร่างกายอ่อนแอ ไปจนถึงวัยรุ่นและผู้ใหญ่ที่สุขภาพไม่ดี โดยภาวะแทรกซ้อนมีดังนี้

  • ท้องเสียและอาเจียน ซึ่งจะนำไปสู่อาการขาดน้ำ
  • หูชั้นกลางติดเชื้อ ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกปวดหู
  • ติดเชื้อที่ตา ก่อให้เกิดอาการตาแดงเยิ้มแฉะ
  • กล่องเสียงอักเสบ ( Laryngitis )
  • ปอดบวม หลอดลมอักเสบ หรือกลุ่มโรคที่เกี่ยวกับทางเดินหายใจอักเสบ ( Croup ) เกิดจากการติดเชื้อในระบบ
  • ทางเดินหายใจและปอด

การรักษาโรคหัด

  • ยังไม่มีวิธีรักษาโรคหัด แต่ภาวะนี้ก็สามารถหายได้เองภายใน 7 ถึง 10 วัน โดยแพทย์มักจะแนะนำให้คุณพักรักษาตัวที่บ้านไปจนกว่าจะรู้สึกดีขึ้น
  • ทานยาพาราเซตตามอลหรืออิบูโพรเฟนเพื่อลดไข้และอาการปวดกล้ามเนื้อ ไม่ควรใช้ยาแอสไพรินกับเด็กอายุต่ำกว่า 16 ปี
  • ดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ
  • ปิดม่านเพื่อลดภาวะอ่อนไหวต่อแสงอาทิตย์
  • ใช้ผ้าขนนุ่มชื้น ๆ ทำความสะอาดรอบตา
  • ลาเรียนหรือลางานเป็นเวลาอย่างน้อยสี่วันหลังจากที่เริ่มมีผื่นขึ้น
  • ในกรณีที่ป่วยรุนแรง โดยเฉพาะที่มีภาวะแทรกซ้อนร่วมด้วยต้องพาผู้ป่วยไปพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลทันที

การป้องกันโรคหัด

1. โรคหัดป้องกันได้หากเด็กได้รับวัคซีนป้องกันโรคหัด ( Measles Vaccine ) ครบตามกำหนด โดยวัคซีนที่ใช้ฉีดเพื่อป้องกันคือวัคซีน Measles-Mumps-Rubella Vaccine ( MMR ) ซึ่งเป็นวัคซีนที่ป้องกันได้ทั้งโรคหัด ( Measles ) คางทูม ( Mumps ) และหัดเยอรมัน ( Rubella ) โดยทารกสามารถรับวัคซีนได้ครั้งแรกเมื่ออายุครบ 9-12 เดือน และรับวัคซีนครั้งต่อไปเมื่ออายุ 4-6 ปี

2. เด็กวัยรุ่นและผู้ใหญ่ที่ไม่มีภูมิคุ้มกัน สามารถรับวัคซีนได้ 2 เข็ม โดยเว้นช่วงการรับวัคซีนแต่ละรอบให้ห่างกันอย่างน้อย 28 วัน อย่างไรก็ตาม การได้รับวัคซีนป้องกันโรคดังกล่าวก็ก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้เช่นกัน โดย 15 เปอร์เซ็นต์ของเด็กที่ได้รับวัคซีนเป็นไข้ 6-12 วันหลังจากได้รับวัคซีน และเด็กอีก 5 เปอร์เซ็นต์มีอาการผื่นขึ้นคล้ายผื่นโรคหัดและหายไปเอง

3.กลุ่มเสี่ยงที่ไม่ควรรับวัคซีนป้องกันโรคหัด ได้แก่ สตรีมีครรภ์ เด็กที่ป่วยเป็นวัณโรค ลูคีเมีย และมะเร็งชนิดอื่น ๆ แล้วยังไม่ได้รับการรักษา ผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันร่างกายอ่อนแอ และเด็กที่มีประวัติแพ้เจลาตินหรือกลุ่มยาปฏิชีวนะนีโอมัยซิน ( Neomycin ) อย่างรุนแรง ถึงอย่างนั้น หากกลุ่มเสี่ยงดังกล่าวได้รับเชื้อไวรัสโรคหัดเข้าไปก็สามารถฉีดแอนติบอดี้หรือสารโปรตีนที่มีชื่อว่าอิมมูนโกลบูลิน ( Immunoglobulin ) เพื่อป้องกันการป่วยได้ ซึ่งต้องฉีดสารดังกล่าวภายใน 6 วันหลังจากที่รับเชื้อ

กลุ่มผู้ที่ควรหลีกเลี่ยงการฉีดวัคซีน

1. สตรีมีครรภ์
2. ผู้ที่ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายอ่อนแอมาก
3. เด็กที่มีประวัติแพ้เจลาติน หรือกลุ่มยาปฏิชีวนะนีโอมัยซินอย่างรุนแรง
4. เด็กที่ป่วยเป็นวัณโรค ลูคีเมีย และมะเร็งชนิดอื่นๆ ที่ยังไม่ได้เข้ารับการรักษา

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

โรคหัด (ออนไลน์). สืบค้นจาก : https://www.pobpad.com [8 มิถุนายน 2562].

โรคหัด MEASLES (ออนไลน์). สืบค้นจาก : https://www.bnhhospital.com [8 มิถุนายน 2562].

Measles (ออนไลน์). สืบค้นจาก : https://www.mayoclinic.org [8 มิถุนายน 2562].

สาเหตุการเกิด โรคพยาธิใบไม้ตับ ( Opisthorchiasis )

0
โรคพยาธิใบไม้ตับ ( Opisthorchiasis )
พยาธิใบไม้ตับ เป็นการติดเชื้อภายในท่อน้ำดีคนส่วนใหญ่ไม่มีอาการ โดยพยาธิวิทยาส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการอักเสบเรื้อรังหรืออุดตันจากไข่และตัวพยาธิเป็นระยะๆบริเวณท่อน้ำดี
โรคพยาธิใบไม้ตับ ( Opisthorchiasis )
พยาธิใบไม้ตับ เป็นการติดเชื้อภายในท่อน้ำดีคนส่วนใหญ่ไม่มีอาการ โดยพยาธิวิทยาส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการอักเสบเรื้อรังหรืออุดตันจากไข่และตัวพยาธิเป็นระยะๆบริเวณท่อน้ำดี

พยาธิใบไม้ตับ คือ

โรคพยาธิใบไม้ตับ ( Opisthorchiasis ) เป็น การติดเชื้อภายในท่อน้ำดีคนส่วนใหญ่ไม่มีอาการ โดยพยาธิวิทยาส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการอักเสบเรื้อรังหรืออุดตันจากไข่และตัวพยาธิเป็นระยะๆบริเวณท่อน้ำดี ในกรณีที่ไม่รุนแรงอาการต่างๆ ได้แก่ อาการอาหารไม่ย่อย ปวดท้อง ท้องเสียหรือท้องผูก ด้วยการติดเชื้อที่มีระยะเวลานานขึ้นอาการอาจรุนแรงมากขึ้น ส่งผลให้เกิดภาวะตับโต ตัว ตาเหลือง ( ดีซ่าน ) แน่นท้องจากตับโตและมีน้ำในท้อง ( ท้องมาน ) มักพบมากทางภาคอีสานของประเทศไทย ลาว และภาคตะวันตกของประเทศมาเลเชีย การติดเชื้อเกิดจากคนที่ชอบกินเนื้อปลาดิบนหรือ เนื้อสุกๆดิบๆที่มีตัวอ่อนของพยาธิฝังอยู่บางรายอาจไม่มีอาการใดๆ ตลอดชีวิต

สาเหตุของพยาธิใบไม้ตับ

  • การบริโภคปลาหรือสัตว์น้ำที่มีตัวอ่อนของพยาธิ
  • ชอบกินอาหารชนิดเนื้อปรุงสุกๆ ดิบๆ
  • กินปลาร้าที่หมักดองจากปลาตะเพียน ปลาซิว ปลาสร้อย ปลาแก้มช้ำ ปลาขาวนา และปลาขาว ที่ไม่ผ่านการทำให้สุก

อาการของพยาธิใบไม้ตับ

  • เบื่ออาหาร
  • ท้องผูก
  • ท้องอืดมาก
  • กดเจ็บบริเวณใต้ชายโครงขวา
  • ท้องเสียเรื้อรัง
  • ตับโต
  • ตัวเหลือง
  • ตาเหลือง
  • มีไข้ต่ำๆ หรือไข้สูงจนมีอาการหนาวสั่น
  • อ่อนเพลีย
  • ออกร้อนบริเวณหน้าท้อง
  • ท้องมาน

ภาวะแทรกซ้อนของพยาธิใบไม้ตับ

  • ภาวะโลหิตจาง
  • ติดเชื้อแบคทีเรีย
  • ท่อน้ำดีอักเสบติดเชื้อ
  • ถุงน้ำดีอักเสบ
  • ตับอ่อนอักเสบ
  • ตับแข็ง
  • มะเร็งท่อน้ำดี
  • ติดเชื้อในกระแสเลือด และการติดเชื้อกระจายไปทั่วร่างกาย

การวินิจฉัย

จะต้องซักประวัติของผู้ติดเชื้อ ลักษณะการรับประทานอาหาร และอาการเจ็บป่วย หากภูมิลำเนามาจากอีสาน และชอบรับประทานอาหารสุกๆดิบๆ การตรวจอุจาระเพื่อตรวจค้นหาไข่ของพยาธิ หากมีโรคแทรกซ้อนที่ตับอาจจะต้องตรวจโดยการส่องกล้องเข้าช่องท้องหรือการฉีดสีเข้าท่อน้ำดี

การป้องของพยาธิใบไม้ตับ

  • กินปลาที่ปรุงสุกด้วยความร้อน
  • ก่อนรับประทานผักสดควรล้างให้สะอาด
  • ควรตรวจหาไข่หนอนพยาธิในอุจจาระอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
  • ไม่เกินอาหารกึ่งสุก กึ่งดิบ เช่น ก้อยปลา ปลาดิบ ปลาส้ม ปลาจ่อม หม่ำปลา ปลาหมกไฟ ปลาปิ้ง ลาบปลา
  • รณรงค์ให้ประชาชนถ่ายอุจจาระในส้วม หรือขุดหลุมฝังกลบเมื่อถ่ายนอกส้วม

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

Opisthorchiasis (ออนไลน์). สืบค้นจาก : https://www.cdc.gov [8 พฤษภาคม 2562]

โรคพยาธิใบไม้ตับ (ออนไลน์). สืบค้นจาก : thaigcd.ddc.moph.go.th [8 พฤษภาคม 2562]

เฝ้าระวังป้องกันและกำจัดโรคพยาธิใบไม้ตับ (ออนไลน์). สืบค้นจาก : https://www.thaihealth.or.th (สสส) [8 พฤษภาคม 2562]