Home Blog Page 119

โรคสายตาสั้น ( Myopia )

0
โรคสายตาสั้น ( Myopia )
โรคสายตาสั้น ( Myopia )
โรคสายตาสั้น ( Myopia )
สายตาสั้น ( Myopia หรือ nearsightedness ) คือ ปัญหาเกี่ยวกับสายตาชนิดหนึ่ง เกิดจากภาวะความผิดปกติของสายตาที่ไม่สามารถรับแสงหักเหจากวัตถุที่มาโฟกัสตรงจอตา

โรคสายตาสั้น

สายตาสั้น ( Myopia หรือ Nearsightedness ) คือ ปัญหาเกี่ยวกับสายตาชนิดหนึ่ง เกิดจากภาวะความผิดปกติของสายตาที่ไม่สามารถรับแสงหักเหจากวัตถุที่มาโฟกัสตรงจอตาได้อย่างพอดี ( Refractive Errors ) ส่งผลให้มองเห็นวัตถุดังกล่าวไม่ชัด โดยผู้ที่สายตาสั้นจะมองเห็นสิ่งที่อยู่ระยะไกลไม่ชัด หรือมองเห็นมัวลง แต่จะมองเห็นสิ่งที่อยู่ใกล้ชัดเจน ปัญหาสายตาสั้นมักเริ่มเป็นเมื่อเข้าสู่วัยรุ่นหรือตอนที่อายุยังน้อย โดยสายตาจะค่อย ๆ สั้นลงจนกระทั่งโตเป็นผู้ใหญ่ อีกทั้งมีแนวโน้มได้รับการถ่ายทอดภาวะนี้ทางพันธุกรรม ในประเทศสหรัฐอเมริกา พบผู้ที่มีภาวะนี้ประมาณ 25% ของประชากรทั้งหมด ผู้ที่สายตาสั้นสามารถแก้ปัญหาดังกล่าวได้ด้วยการสวมแว่นสายตา ใส่คอนแทคเลนส์ หรือเข้ารับการผ่าตัด

สาเหตุของสายตาสั้น

โดยทั่วไป สายตาสั้นมักเกิดจากลูกตาที่ยาวเกินไป ทำให้แสงไม่สามารถรวมกันด้านหลังของเรตินาได้ ( ฉากรับแสงที่อยู่ด้านหลังของลูกตา ) นอกจากนั้นยังสามารถเกิดจากกระจกตาที่ผิดรูปร่างได้อีกด้วย ทั้งสองสาเหตุนี้ทำให้แสงไม่สามารถมาตกกระทบโดยตรงที่เรตินาได้ แต่จะตกก่อนถึงเรตินา ทำให้ภาพที่อยู่ระยะไกลเกิดความเบลอ ถึงแม้ว่านักวิจัยจะยังไม่รู้สาเหตุที่แน่ชัดของการเกิดสายตาสั้น ซึ่งอาจมีผลมาจาก

  • ได้รับการถ่ายทอดจากพันธุกรรม ผู้ที่บุคคลในครอบครัวมีปัญหาสายตาสั้น มีแนวโน้มที่จะสายตาสั้นได้สูง โดยเฉพาะผู้ที่มีพ่อและแม่สายตาสั้นทั้งคู่
  • ใช้สายตามากเกินไป ผู้ที่อ่านหนังสือ เล่นคอมพิวเตอร์ หรือต้องใช้สายตาเพ่งมองสิ่งต่าง ๆ เป็นเวลานาน เสี่ยงต่อการมีสายตาสั้นได้
  • มีพฤติกรรมเสี่ยง ผู้ที่ทำกิจกรรมนอกบ้านน้อย เสี่ยงต่อการเกิดสายตาสั้นได้ โดยเด็กที่เล่นนอกบ้านเป็นประจำจะเสี่ยงสายตาสั้นได้น้อย หรือสายตาสั้นช้าลง ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากระดับแสงข้างนอกสว่างกว่าแสงภายในบ้าน

อาการของสายตาสั้น

สายตาสั้นอาจเกิดขึ้นอย่างช้าๆ หรือรวดเร็วก็ได้ โดยมักจะเริ่มเกิดในช่วงวัยเด็กก่อนที่จะสั้นมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อโตขึ้น ซึ่งอาการของสายตาสั้น เช่น

  • มองเห็นภาพไกลๆ ไม่ชัดเจน
  • ต้องหยีตาเพื่อมองให้ชัด
  • ปวดหัว
  • ขับรถลำบากเนื่องจากมีปัญหาทางสายตาโดยเฉพาะเวลากลางคืน

ผู้ที่ประสบภาวะสายตาสั้นจะมีปัญหาเกี่ยวกับการมองเห็น และเกิดอาการอื่นร่วมด้วย ดังนี้  

  • มองเห็นสิ่งที่อยู่ระยะไกลมัวลง หรือมองเห็นไม่ชัดเจน
  • ต้องจ้องหรือเพ่งมองใกล้ ๆ หรี่ตา รวมทั้งปิดตาข้างหนึ่งเพื่อมองให้ชัดขึ้น
  • เกิดอาการตาล้าเมื่อเพ่งมองสิ่งที่อยู่ไกลออกไป อาจส่งผลให้เกิดรู้สึกปวดศีรษะ
  • มองเห็นได้ไม่ชัดขณะขับขี่ โดยเฉพาะเมื่อขับขี่ตอนกลางคืน ซึ่งเรียกว่าสายตาสั้นตอนกลางคืน ( Night Myopia )

ส่วนเด็กที่ประสบภาวะสายตาสั้น สามารถเข้ารับการวัดสายตาได้ตั้งแต่เริ่มเข้าเรียนจนกระทั่งเข้าสู่วัยรุ่น เพื่อวินิจฉัยปัญหาดังกล่าว โดยเด็กที่สายตาสั้น จะเกิดอาการดังนี้

  • มักหรี่ตาเมื่อมองสิ่งที่อยู่ไกล
  • จำเป็นต้องนั่งดูโทรทัศน์หรือหน้าจอภาพยนตร์แบบใกล้ ๆ หรือต้องนั่งหน้าชั้นเรียน เนื่องจากมองกระดานไม่ชัด
  • มองเห็นสิ่งของที่อยู่ระยะไกลไม่ชัด
  • กะพริบตาบ่อยเกินไป
  • มักบ่นปวดศีรษะหรือตาล้า
  • มักขยี้ตาบ่อย ๆ

การวินิจฉัยสายตาสั้น

การตรวจตาอย่างครบถ้วนโดยนักทัศนมาตรศาสตร์สามารถตรวจพบภาวะนี้ได้ โดยส่วนใหญ่พ่อแม่มักจะทราบว่าลูกมีสายตาสั้นจากการตรวจวัดสายตาที่โรงเรียน ในบางครั้งพ่อแม่หรือครูอาจสังเกตอาการสายตาสั้นได้จากการที่เด็กต้องเพ่งตาเพื่อมองสิ่งของที่อยู่ไกล ผู้ใหญ่อาจเริ่มสังเกตว่ามีสายตาสั้นเมื่อเริ่มมีปัญหา ในการดูหนัง ไม่สามารถมองเห็นวัตถุไกลๆ ขณะขับรถ หรือระหว่างการทำกิจกรรมอื่นๆ ที่ต้องใช้การมองวัตถุไกลๆ หากคุณมีปัญหาด้านการมองเห็นวัตถุที่อยู่ไกลควรเข้ารับการตรวจวัดสายตา หรือแม้ว่าคุณจะไม่มีอาการของสายตาสั้นแต่ก็ควรตรวจวัดสายตาเป็นประจำเมื่อมีอายุ 40 ปีขึ้นไป โดยแนะนำให้มีการตรวจสายตา ดังนี้

  • ตรวจสายตาทุก 2-4 ปี ระหว่างอายุ 40-54 ปี
  • ตรวจสายตาทุก 1-3 ปี เมื่อมีอายุระหว่าง 55-64 ปี
  • ตรวจสายตาทุก 1-2 ปี เมื่อมีอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป 

แต่ถ้าคุณมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเกี่ยวกับตาบางชนิดเช่นต้อหิน หรือหากคุณเป็นโรคเบาหวาน อาจจะต้องมีการตรวจตาถี่กว่าปกติ โดยแนะนำให้

  • ตรวจสายตาทุก 1-3 ปี ระหว่างอายุ 40-54 ปี
  • ตรวจสายตาทุก 1-2 ปี เมื่อมีอายุมากกว่า 55 ปีขึ้นไป

วิธีการตรวจสุขภาพตา

1. การวัดแรงดันภายในตา
2. การตรวจความสอดประสานในการทำงานของดวงตา
3. การตรวจวัดสายตา แพทย์จะให้อ่านแผ่นที่มีแถวของตัวอักษรขนาดต่าง ๆ เพื่อวัดระดับค่าสายตาของผู้ป่วย
4. การวัดด้วยเรติโนสโคป ( Retinoscopy ) แพทย์จะฉายแสงไปยังดวงตาผู้ป่วย เพื่อดูว่าตาของผู้ป่วยมีปฏิกิริยาต่อแสงอย่างไร รวมทั้งวินิจฉัยว่าผู้ป่วยมีปัญหาสายตาสั้นหรือสายตายาว โดยดูจากแสงที่สะท้อนกลับมา
5. การวัดกำลังสายตา ( Phoropter ) แพทย์จะใช้อุปกรณ์สำหรับวัดกำลังสายตา เพื่อดูว่าสายตาของผู้ป่วยมีความผิดปกติมากน้อยแค่ไหน รวมทั้งเลือกใช้วิธีรักษาสายตาสั้นให้ผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสม

สายตาสั้น คือ ปัญหาเกี่ยวกับสายตาชนิดหนึ่ง เกิดจากภาวะความผิดปกติของสายตาที่ไม่สามารถรับแสงหักเหจากวัตถุที่มาโฟกัสตรงจอตา

การรักษาสายตาสั้น

ผู้ที่สายตาสั้นควรเข้ารับการรักษาอย่างถูกวิธี เพื่อช่วยให้กลับไปมองเห็นได้ตามปกติ การแก้ไขปัญหาสายตาสั้น คือทำให้แสงโฟกัสไปที่จอตา ซึ่งประกอบด้วยการใช้เลนส์ปรับค่าสายตาและการผ่าตัด ดังนี้

1.การใช้เลนส์ปรับค่าสายตาด้วยการสวมแว่นสายตา การสวมแว่นสายตาถือเป็นการแก้ไขปัญหาสายตาสั้นที่ง่ายและปลอดภัย โดยควรสวมแว่นสายตาที่มีค่าเลนส์พอดีกับสายตาของตนเอง เลนส์แว่นจะช่วยปรับให้แสงโฟกัสที่จอตาพอดี ทำให้สามารถมองเห็นสิ่งที่อยู่ระยะไกลได้ชัดขึ้น ผู้ป่วยจะได้เลนส์สำหรับประกอบแว่นสายตาที่มีความหนาและน้ำหนักแตกต่างกันไปตามระดับค่าสายตาที่มีปัญหา ทั้งนี้ สายตาจะเปลี่ยนไปเมื่ออายุมากขึ้น เลนส์ของแว่นตาจึงมีให้เลือกหลายชนิด ได้แก่ 

  • เลนส์สำหรับสายตาสั้นอย่างเดียว หากอายุมากขึ้น มักจะต้องใส่แว่นเมื่อต้องอ่านหนังสือ ผู้ที่สายตาสั้นจึงต้องมีแว่นสายตา 2 อัน อันหนึ่งสำหรับใส่มองระยะไกล ส่วนอีกอันสำหรับใส่อ่านหนังสือ
  • เลนส์สองชั้น ( Bifocals ) ช่วยให้มองเห็นระยะใกล้และไกลได้อย่างชัดเจน โดยไม่ต้องเปลี่ยนไปใส่แว่นสายตาอีกอันเมื่อมองสิ่งที่อยู่ในระยะต่างกัน
  • เลนส์หลายระยะ ( Multifocals ) ช่วยให้มองเห็นสิ่งของได้ในระยะต่าง ๆ ซึ่งปรับโฟกัสได้หลายระยะ
    ใส่คอนแทคเลนส์ ผู้ที่สายตาสั้นอาจเลือกใส่คอนแทคเลนส์ เพื่อปรับค่าสายตาให้เป็นปกติ โดยการใส่คอนแทคเลนส์นั้นสะดวก เนื่องจากเลนส์มีน้ำหนักเบา คอนแทคเลนส์มีให้เลือกหลายแบบ ได้แก่ คอนแทคเลนส์แบบแข็งซึ่งมักเป็นแบบก๊าซผ่านได้ ( Rigid Gas Permeable, RGP ) คอนแทคเลนส์แบบนิ่ม คอนแทคเลนส์แบบใส่ติดต่อกันได้นาน คอนแทคเลนส์รายวัน แพทย์จะไม่แนะนำให้ใส่คอนแทคเลนส์ข้ามคืน เนื่องจากเสี่ยงติดเชื้อที่ดวงตาได้ ทั้งนี้ แพทย์อาจทำโอเคเลนส์ ( Orthokeratology, OK Lens ) โดยให้ใส่คอนแทคเลนส์ชนิดแข็งข้ามคืน เพื่อปรับกระจกตาให้โค้งน้อยลง ผู้ที่สายตาสั้นจะมองเห็นได้ชัดขึ้นโดยไม่ต้องใส่คอนแทคเลนส์หรือสวมแว่นสายตาตลอดทั้งวัน อย่างไรก็ตาม การทำโอเคเลนส์ไม่ใช่วิธีรักษาสายตาสั้น เนื่องจากกระจกตาสามารถกลับไปโค้งได้เหมือนเดิม

2.การผ่าตัด วิธีนี้จะช่วยแก้ไขปัญหาสายตาผิดปกติ รวมทั้งช่วยให้ผู้ป่วยไม่ต้องสวมแว่นตาหรือใส่คอนแทคเลนส์ โดยแพทย์จะยิงเลเซอร์เพื่อปรับกระจกตา การผ่าตัดสำหรับปัญหาสายตานั้น จะทำได้เมื่อดวงตาโตเต็มที่ ซึ่งผู้ป่วยอายุครบ 20 ปี การผ่าตัดสำหรับรักษาสายตาสั้นประกอบด้วยเลสิก LASEK พีอาร์เค และฝังแก้วตาเทียม ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้

  • เลสิก ( Laser-Assisted In-Situ Keratomileusis: Lasik ) แพทย์จะทำให้กระจกตาบางลง และใช้เลเซอร์เอ็กไซเมอร์ (Excimer Laser) ทำให้กระจกตาแบนลง ทั้งนี้ เลเซอร์เอ็กไซเมอร์ต่างจากเลเซอร์ชนิดอื่น เนื่องจากเลเซอร์ชนิดนี้ไม่ก่อให้เกิดความร้อน อย่างไรก็ตาม ผู้ที่จะเข้ารับการทำเลสิกควรมีกระจกตาที่หนาพอสมควร เนื่องจากผู้ป่วยเสี่ยงได้รับผลข้างเคียงจากการผ่าตัดได้ในกรณีที่กระจกตาบางเกินไป
  • LASEK ( Laser-Assisted Subepithelial Keratectomy ) แพทย์จะลอกเนื้อเยื่อบุผิวของกระจกตาที่อยู่ชั้นนอกสุดออกก่อน จากนั้นจะใช้เลเซอร์เอ็กไซเมอร์ขัดใต้ชั้นเยื่อบุผิวกระจกตา เพื่อให้ความโค้งของกระจกตาลดลง แล้วค่อยนำเนื้อเยื่อบุผิวที่ลอกออกไปกลับมาปิดไว้เหมือนเดิม ผู้ป่วยอาจต้องใส่คอนแทคเลนส์ชนิดพิเศษ ( Bandage Contact Lens ) เป็นเวลาหลายวัน เพื่อให้บาดแผลที่ผ่าตัดสมานกัน
  • พีอาร์เค ( Photorefractive Keratectomy: PRK ) แพทย์จะลอกชั้นเยื่อบุผิวกระจกตาออกไป และยิงเลเซอร์เพื่อทำลายเนื้อเยื่อและเปลี่ยนรูปร่างของกระจกตา โดยเยื่อบุผิวของกระจกตาที่อยู่ชั้นนอกจะเจริญขึ้นมาใหม่เอง ผู้ป่วยจำเป็นต้องใส่คอนแทคเลนส์ชนิดพิเศษประมาณ 2-3 วัน หลังเข้ารับการทำพีอาร์เค รวมทั้งใช้เวลาพักฟื้นหลายเดือนจนกว่าจะมองเห็นได้ปกติ 

นอกจากนี้ แพทย์จะไม่ผ่าตัดแบบใช้เลเซอร์ให้แก่ผู้ป่วยในกรณีที่มีปัญหาสุขภาพบางอย่างซึ่งเสี่ยงได้รับผลกระทบจากการผ่าตัด ได้แก่ ป่วยเป็นเบาหวาน เนื่องจากดวงตาผู้ป่วยอาจเกิดความผิดปกติจากการได้รับแสงเลเซอร์ที่กระจกต ป่วยเป็นโรคที่ส่งผลต่อภูมิคุ้มกันร่างกาย ผู้ติดเชื้อเอชไอวี ป่วยเป็นโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ หรือโรคอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย ไม่ควรเข้ารับการผ่าตัดแบบใช้เลเซอร์ เนื่องจากปัญหาสุขภาพดังกล่าวจะทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้ไม่ดีหลังเข้ารับการผ่าตัดแล้ว มีปัญหาสุขภาพอื่น ๆ เกี่ยวกับดวงตา ผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพอื่นที่เกี่ยวกับตา จะได้รับผลกระทบจากการผ่าตัด เช่น ผู้ป่วยต้อหินอาจเกิดแรงดันในดวงตาเพิ่มขึ้น หรือผู้ป่วยต้อกระจกอาจเกิดแผ่นสีขุ่นที่เลนส์ตา กำลังตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร ผู้ที่กำลังตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร ไม่สามารถเข้ารับการผ่าตัดได้ เนื่องจากร่างกายมีฮอร์โมน ซึ่งส่งผลให้การมองเห็นของผู้ป่วยไม่คงที่ ทำให้ผ่าตัดตาได้ยาก

3.ฝังเลนส์ตาเทียม ( Intraocular Lens Implant: IOL ) วิธีนี้จัดเป็นการผ่าตัดรักษาสายตาสั้นวิธีใหม่ โดยแพทย์จะผ่ากระจกตาเป็นรอยเล็ก ๆ และฝังแก้วตาเทียมเข้าไปในตาของผู้ป่วย แก้วตาเทียมจะช่วยให้แสงโฟกัสมาที่จอตาได้ชัดขึ้น ผู้ป่วยที่สายตาสั้นมาก หรือใส่แว่นตาหรือคอนแทคเลนส์ไม่ได้จะได้รับการรักษาด้วยวิธีนี้ ทั้งนี้ การฝังแก้วตาเทียมมี 2 ประเภท ได้แก่ การใส่เลนส์เสริม และการใส่เลนส์แบบเข้าไปแทนที่ ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้

  • การใส่เลนส์เสริม ( Phakic Implant ) แพทย์จะใส่เลนส์ตาเทียมไปในลูกตาผู้ป่วย โดยไม่นำเลนส์ตาจริงออกไป วิธีนี้มักใช้รักษาเด็กที่มีการมองเห็นสำหรับอ่านหนังสืออยู่ในระดับปกติ โดยการใส่เลนส์เสริมจะช่วยปรับการมองเห็นในระยะยาวได้ดีกว่าการใส่เลนส์แบบเข้าไปแทนที่ อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยก็เสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อนได้สูงกว่าเช่นกัน
  • การใส่เลนส์แบบเข้าไปแทนที่ ( Artificial Replacement ) แพทย์จะนำเลนส์ตาจริงออกไป และใส่เลนส์ตาเทียมเข้าไปแทนที่ ซึ่งเหมือนกับการผ่าตัดต้อกระจก โดยวิธีนี้เหมาะสำหรับผู้ที่อายุมากและมีปัญหาสุขภาพสายตาที่ร้ายแรงกว่าสายตาสั้น เช่น ต้อกระจก หรือต้อหิน

ผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดด้วยวิธีต่าง ๆ นี้ จะสามารถมองเห็นได้ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม การผ่าตัดอาจไม่สามารถช่วยปรับสายตาให้ดีขึ้นเมื่อเทียบกับการสวมแว่นสายตาหรือคอนแทคเลนส์ ทั้งนี้ การผ่าตัดด้วยเลเซอร์ก็ทำให้เสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อนหลายอย่าง ได้แก่ ตาแห้ง เนื้อเยื่อกระจกตาลอกออกมากเกินไป ( ส่งผลให้สายตายาว ) มองเห็นในที่มืดได้ไม่ดี เห็นแสงจ้าในที่แจ้ง ส่วนผู้ที่ฝังเลนส์ตาเทียมก็เสี่ยงเกิดภาวะถุงหุ้มเลนส์เทียมขุ่น ( Posterior Capsule Opacification: PCO ) ซึ่งมักเกิดขึ้นหลังเข้ารับการผ่าตัดไปแล้วประมาณ 2-3 เดือนหรือหลายปี รวมทั้งเสี่ยงเกิดภาวะกระจกตาลอก ต้อกระจก ต้อหิน เห็นแสงจ้า หรือมองเห็นในที่มืดได้ไม่ดี 

ภาวะแทรกซ้อนของสายตาสั้น

ปัญหาสายตาสั้นก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนกับสุขภาพได้หลายประการ ดังนี้
1.คุณภาพชีวิตลดลง ผู้ที่สายตาสั้นและไม่ได้รับการแก้ไขปัญหาดังกล่าว อาจได้รับผลกระทบในการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น อาจทำงานหรือเรียนหนังสือได้ไม่ดี เนื่องจากมองเห็นสิ่งต่าง ๆ ไม่ชัด
2.ตาล้า ผู้ที่สายตาสั้นอาจต้องเพ่งมองมากกว่าปกติ เพื่อให้มองสิ่งที่อยู่ระยะไกลได้ชัดขึ้น โดยการเพ่งมองเป็นเวลานานจะทำให้ตาล้าและอาจปวดศีรษะร่วมด้วย
3.ปัญหาสายตาสั้นเป็นอุปสรรคในการทำสิ่งต่าง ๆ ก่อให้เกิดอันตรายอื่น ๆ และเสี่ยงทำให้ผู้ที่สายตาสั้นและผู้คนรอบข้างเกิดอันตรายได้ เช่น ผู้ที่ขับรถหรือควบคุมอุปกรณ์ในโรงงาน เสี่ยงเกิดอุบัติเหตุหรือทำงานผิดพลาดได้ เนื่องจากมองเห็นระยะไกลไม่ชัด
4. ผู้ที่สายตาสั้นมากเสี่ยงต่อการเกิดภาวะกระจกตาลอก รวมทั้งเป็นต้อหิน หรือต้อกระจกได้สูง

การป้องกันสายตาสั้น

สายตาสั้นเป็นปัญหาสุขภาพที่ไม่สามารถป้องกันได้ อย่างไรก็ตาม ยังมีวิธีป้องกันสายตาไม่ให้สั้นลงอย่างรวดเร็ว หรือเลี่ยงปัจจัยที่อาจทำให้การมองเห็นแย่ลงได้บ้าง ดังนี้

  • หมั่นตรวจสุขภาพตาอย่างสม่ำเสมอ
  • ควรดูแลตัวเองไม่ให้อาการป่วยกำเริบหรือแย่ลง โดยเฉพาะผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง เนื่องจากปัญหาสุขภาพบางอย่างส่งผลให้การมองเห็นแย่ลงในกรณีที่ไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง
  • สวมแว่นกันแดดทุกครั้งเมื่อออกไปข้างนอกที่มีแสงจ้า เพื่อปกป้องดวงตาจากรังสียูวี
  • ควรสวมอุปกรณ์ป้องกันดวงตาเมื่อเล่นกีฬา ตัดหญ้า ใช้ผลิตภัณฑ์เคมี หรือทำกิจกรรมที่ดวงตาเสี่ยงได้รับอันตรายได้ง่าย
  • รับประทานผักใบเขียว ผลไม้ และปลาที่อุดมไปด้วยกรดโอเมก้า 3 เพื่อบำรุงดวงตา
  • สำหรับคนที่มีเวลาน้อย อาจเลือกรับประทานผลิตภัณฑ์อาหารเสริมบำรุงสายตา ที่มีส่วนผสมของ ลูทีน, ซีแซนทีน, วิตามินเอ, โอเมเก้ 3, บิลเบอร์รี่สกัด, เบต้าแคโรทีน
  • งดสูบบุหรี่ เนื่องจากการสูบบุหรี่ส่งผลต่อสุขภาพตาและสุขภาพร่างกาย
  • ควรใช้เลนส์ที่เหมาะกับค่าสายตาของตัวเอง โดยหมั่นวัดสายตาอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ได้เลนส์สำหรับประกอบแว่นสายตาหรือคอนแทคเลนส์ที่ตรงกับค่าสายตาของตัวเอง และช่วยให้มองเห็นได้ปกติ
  • ควรพักสายตาจากการทำงานหน้าคอมพิวเตอร์หรืออ่านหนังสือเป็นระยะ ๆ เพื่อเลี่ยงอาการตาล้า
  • ควรหมั่นสังเกตว่ามีอาการอื่น ๆ เช่น มองไม่เห็นกะทันหัน ตามัว เห็นแสงจ้า หรือจุดดำเกิดขึ้นหรือไม่ เนื่องจากอาการเหล่านี้เป็นสัญญาณของต้อหิน โรคหลอดเลือดในสมอง หรือภาวะกระจกตาลอก หากเกิดอาการดังกล่าว ควรพบแพทย์ทันที

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสาร

อ้างอิง

สายตาสั้น (Myopia) คืออะไร? (ออนไลน์).สืบค้นจาก : www.honestdocs.co [1 พฤษภาคม 2562].
ภาวะสายตาสั้น (Myopia) (ออนไลน์).สืบค้นจาก : www.wichaioptic.com [1 พฤษภาคม 2562].
ความหมาย สายตาสั้น (ออนไลน์).สืบค้นจาก : www.pobpad.com [1 พฤษภาคม 2562].

ประโยชน์ของอินทผลัม ( Date Palm )

0
ประโยชน์ของอินทผลัม ( Date Palm )
ต้นอินทผลัม ( Date Palm หรือ Phoenix dactylifera ) คือ ต้นไม้ในตระกูลปาล์มที่ปลูกในสมัยโบราณ เป็นผลไม้ที่มีรสหวาน นิยมทานทั้งแบบสดและแบบแห้ง
ประโยชน์ของอินทผลัม ( Date Palm )
ต้นอินทผลัม ( Date Palm หรือ Phoenix dactylifera ) คือ ต้นไม้ในตระกูลปาล์มที่ปลูกในสมัยโบราณ เป็นผลไม้ที่มีรสหวาน นิยมทานทั้งแบบสดและแบบแห้ง

อินทผลัม

อินทผลัม ชื่อสามัญ Date Palm, Dates
อินทผลัม ชื่อวิทยาศาสตร์ Phoenix dactylifera L. จัดอยู่ในวงศ์ปาล์ม ( ARECACEAE ) ซึ่งแต่เดิมใช้ชื่อวงศ์ว่า PALMAE หรือ PALMACEAE
ต้นอินทผลัม ( Date Palm หรือ Phoenix dactylifera ) คือ ต้นไม้ในตระกูลปาล์มที่ปลูกในสมัยโบราณ เป็นผลไม้ที่มีรสหวาน นิยมทานทั้งแบบสดและแบบแห้ง สามารถเจริญเติบโตได้เป็นอย่างดีในเขตที่มีอากาศร้อนและแห้งแล้งอย่างทะเลทราย โดยอินทผลัมมีถิ่นกำเนิดในแถบตะวันออกกลาง

ลักษณะอินทผลัม

ต้นอินทผลัม มีลำต้นมีความสูงประมาณ 30 เมตร ขนาดของลำต้น 30-50 เซนติเมตร ลักษณะของใบเป็นแบบขนนกยาวแหลมติดอยู่บนต้นประมาณ 40-60 ก้าน แต่ละใบมีทางยาวประมาณ 3-4 เมตร ใบย่อยจะพุ่งออกแบบหลากหลายทิศทาง และดอกจะออกเป็นช่อ ออกดอกบริเวณโคนกาบใบ และขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ดและการแยกหน่อจากต้นใหญ่ตัวเมีย
ลูกอินทผลัม มีลักษณะเป็นผลทรงกลมรี ออกเป็นช่อ มีความยาวประมาณ 2-4 เซนติเมตร มีรสหวานฉ่ำ สามารถรับประทานได้ทั้งผลดิบและผลสุก โดยผลอินทผลัมสดจะมีสีเหลืองไปจนถึงสีส้ม และเมื่อแก่จัดผลจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลถึงน้ำตาลเข้ม ผลอินทผลัมสุกเราสามารถนำไปตากแห้งไว้ในอุณหภูมิประมาณ 8 องศาเซลเซียส สามารถเก็บไว้ได้หลายเดือนถึง 1 ปี และจะมีรสชาติหวานจัด เหมือนกับการนำไปเชื่อมด้วยน้ำตาล 

วิธีการปลูก

1. ควรเลือกพื้นที่ที่มีแดดจัด ไม่มีน้ำขังแฉะ แต่มีปริมาณน้ำอย่างพอเพียง เพื่อให้มีการให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ
2. เตรียมดินจากการขุดหลุมขนาด 50×50 เซนติเมตร รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก ต้นที่นำลงปลูกไม่ควรให้ลงลึกใต้ดินมากนัก โคนต้นสูงจากพื้นดินประมาณ 1 ฝ่ามือ จะช่วยให้ต้นโตเร็วขึ้น
3. ระยะปลูกระหว่างต้นและระหว่างแถวประมาณ 8×8 เมตร หรือ 8×7 เมตร พื้นที่ 1 ไร่ จะปลูกได้ 25-30 ต้น
4. ควรให้น้ำประมาณ 7 วัน ต่อครั้ง การใส่ปุ๋ยควรใช้ปุ๋ยคอกปีละ 2 ครั้ง ครั้งละ 5 กิโลกรัม ต่อต้น พร้อมกับการพรวนดินและกำจัดวัชพืช
5. ควรมีการตัดแต่งใบที่แก่ทิ้ง เพื่อให้ทรงต้นสะอาด ไม่มีแมลงรบกวน

สารอาหารที่พบในอินทผลัม

ผลไม้ชนิดนี้นอกจากให้พลังงานสูงแล้ว ยังอุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์มากมาย ที่สำคัญไม่มีคลอเลสเตอรอล และมีไขมันต่ำ อุดมไปด้วยวิตามินที่สำคัญ เช่น วิตามินเอ วิตามินบี 1 บี 2 และบี 16 วิตามินเค แคลเซียม เหล็ก ซัลเฟอร์ ฟอสฟอรัส แมกนีเซียม และแมงกานีส เป็นต้น นอกจากนี้เรายังพบสารอาหารจำพวกน้ำมันโวลาไทล์ ไฟเบอร์ และเบต้าแคโรทีน ที่ช่วยกระตุ้นระบบขับถ่าย และช่วยกำจัดสารอนุมูลอิสระในร่างกาย ลดการเกิดโรคเรื้องรัง เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคอัลไซเมอร์ และป้องกันการเกิดมะเร็งได้เป็นอย่างดี

ประโยชน์ของอินทผลัม

1. การรับประทานอินทผลัมเป็นประจำจะช่วยบำรุงร่างกาย ทำให้ร่างกายแข็งแรง เพิ่มกำลัง ขจัดความเมื่อยล้า ปลอดจากโรคภัยไข้เจ็บ
2. ช่วยรักษาโรคผอมผิดปกติ ช่วยเพิ่มน้ำหนักตัว
3. ช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง ช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน
4. ช่วยบำรุงและรักษาสายตา ช่วยป้องกันโรคตาบอดแสงหรือภาวะมองเห็นไม่ชัดในเวลากลางคืน
5. ช่วยดูแลและควบคุมระบบประสาท
6. ช่วยลดความอยากหรือหิวได้เป็นอย่างดี
7. ช่วยบำรุงตับอ่อน ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดและความดันโลหิตสูง รักษาโรคเบาหวาน
8. โพแทสเซียมในอินทผลัมช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดในสมองได้มากถึง 40%
9. อินทผลัมช่วยกำจัดสารพิษและยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโรคซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคมะเร็งในช่องท้องได้
10. อินทผลัมมีประโยชน์ช่วยแก้กระหาย แก้อาการเจ็บคอ ลดเสมหะในลำคอ
11. อินทผลัมอุดมไปด้วยเส้นใยอาหาร จึงช่วยป้องกันอาการท้องผูกได้ และช่วยในการย่อยอาหาร
นอกจากนี้อินทผลัมเป็นผลไม้ที่ได้รับความนิยมแพร่หลายในกลุ่มชาวมุสลิม เนื่องจากในเดือนรอมฎอน หรือเดือนของการถือศีลอด ไม่รับประทานอาหารใดๆ ตลอดเวลากลางวัน ตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้นจนถึงพระอาทิตย์ตกเป็นเวลา 30 วัน ภาวะขาดสารอาหาร จึงเป็นเหตุที่ชาวมุสลิมใช้ผลไม้ชนิดนี้เป็นตัวช่วยรักษาสภาพร่างกายนั่นเอง

อินทผลัมผลไม้ชนิดนี้นอกจากให้พลังงานสูงแล้ว ยังอุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์มากมาย ที่สำคัญไม่มีคลอเลสเตอรอล และมีไขมันต่ำ

วิธีการทำน้ำอินทผลัม หรือน้ำนาบีชของชาวมุสลิม

1. เตรียมทำน้ำก่อนเข้านอน โดยการนำผลอินทผลัม 2-3 ลูก
2. จากนั้นแกะเม็ดออก และฉีกเปลือกนิดๆ เพื่อให้น้ำซึมได้ดี
3. นำผลอินทผลัมที่ฉีกแช่น้ำร้อน 1 แก้ว
4. จากนั้นนำภาชนะมาปิดแก้วที่แช่ผลอินทผลัม ( ไม่ต้องใส่ตู้เย็น )
5. เช้าดื่มน้ำพร้อมกันลูกอินทผลัมที่แช่ผสมไว้ หลังมื้ออาหารเช้าจะช่วยทำให้รูสึกสดชื่น
ซึ่งนอกจากเดือนรอมฎอนแล้วยังสามารถทำดื่มได้ตลอดเพื่อเพิ่มความสดชื่นและลดความกระหายน้ำระหว่างวันได้เช่นกัน ซึ่งจะเห็นได้ว่าในอินทผลัม มีสรรพคุณที่น่าสนใจมากมาย หากรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม ก็จะกลายเป็นผลไม้ที่ช่วยบำรุงร่างกาย และยังช่วยรักษาอาการเจ็บป่วยได้ด้วย

ข้อควรระวังในการทานอินทผลัม

หากมีปัญหาสุขภาพหรือมีความบกพร่องในการขจัดโพแทสเซียมออกจากร่างกายควรระวังในการทาน เพราะอินทผลัมมีโปแตสเซียมสูง อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้ในผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง เบาหวาน และภาวะหัวใจล้มเหลว

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

Date palm fruits (ออนไลน์).สืบค้นจาก : https://www.feedipedia.org [10 พฤษภาคม 2562].
28สรรพคุณและประโยชน์ของอินทผลัม (ออนไลน์).สืบค้นจาก : https://medthai.com [10 พฤษภาคม 2562].
การปลูกอินทผลัม (ออนไลน์).สืบค้นจาก : www.rakbankerd.com [10 พฤษภาคม 2562].

โรคต้อลม ( Pinguecula )

0
ต้อลม ( Pinguecula )
ต้อลม ( pinguecula ) เป็น โรคทางดวงตาที่เกิดการเปลี่ยนแปลงจากเนื้อเยื่อปกติกลายเป็นเนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรงที่เยื่อบุตาขาว ซึ่งเกิดเยื่อบุสีเหลืองที่หนาขึ้นเล็กน้อยในส่วนสีขาวของตา
โรคต้อลม ( Pinguecula )
ต้อลม ( pinguecula ) เป็น โรคทางดวงตาที่เกิดการเปลี่ยนแปลงจากเนื้อเยื่อปกติกลายเป็นเนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรงที่เยื่อบุตาขาว

ต้อลม

ต้อลม ( pinguecula ) เป็น โรคทางดวงตาที่เกิดการเปลี่ยนแปลงจากเนื้อเยื่อปกติกลายเป็นเนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรงที่เยื่อบุตาขาว ซึ่งเกิดเยื่อบุสีเหลืองที่หนาขึ้นเล็กน้อยในส่วนสีขาวของตา ( ตาขาว ) ใกล้กับขอบของกระจกตา โดยปกติแล้วต้อลมจะส่งผลกระทบต่อพื้นผิวของตาขาวที่อยู่ด้านในแต่ก็สามารถเกิดขึ้นได้กับตาขาวด้านนอก ทำให้มีการระคายเคืองของดวงตา พบมากในคนวัยกลางคนหรือผู้สูงอายุที่ใช้เวลาอยู่กลางแดด แต่พวกเขายังสามารถเกิดขึ้นได้กับคนหนุ่มสาวและเด็กโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่อยู่นอกบ้านโดยไม่สวมแว่นกันแดดหรือหมวกเพื่อปกป้องดวงตาจากรังสียูวีจากดวงอาทิตย์

สาเหตุของต้อลม

รังสีอัลตราไวโอเลตจากดวงอาทิตย์ การได้รับฝุ่น และลมบ่อยๆก็เป็นอีกหนึ่งเป็นสาเหตุหลักของการพัฒนาของต้อลม โรคตาแห้งก็เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเจริญเติบโตของต้อลม

อาการของต้อลม

ในคนส่วนใหญ่ที่เป็นต้อลมไม่ก่อให้เกิดอาการมากมาย ต้อลมลักษณะเป็นเนื้อเยื่อบริเวณเยื่อบุตาขาวแบบนูนขึ้นบนลูกตาโดยทั่วพื้นผิวรอบดวงตาทำให้เกิดความแห้งกร้าน สิ่งนี้อาจทำให้เกิดอาการตาแห้ง เช่นความรู้สึกแสบร้อน คันตา แสบตา และตาพร่ามัว

ต้อลม ( pinguecula ) เป็น โรคทางดวงตาที่เกิดการเปลี่ยนแปลงจากเนื้อเยื่อปกติกลายเป็นเนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรงที่เยื่อบุตาขาว ซึ่งเกิดเยื่อบุสีเหลืองที่หนาขึ้นเล็กน้อยในส่วนสีขาวของตา

การรักษาต้อลม

การรักษาต้อลมขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการเช่น การผ่าตัดลอกต้อเนื้อเพื่อลอกเอาเนื้อเยื่อออกจากเยื่อตาและผิวกระจกตา หรือแพทย์จะแนะนำให้ผู้ป่วยใช้น้ำตาเทียม ขี้ผึ้ง หรือยาหยอดตาที่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์ เพื่อช่วยลดการอักเสบและอาการตาแดงจากโรค หากกรณีที่อาการไม่รุนแรงแพทย์จะแนะนำให้ผู้ป่วยสวมแว่นตากันแดดเพื่อป้องกันไม่ให้มีอาการลุกลามมากยิ่งขึ้น 

การป้องกันการเกิดต้อลม

สิ่งสำคัญเพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดต้อลม ได้แก่

  • ต้องสวมแว่นกันแดดกลางแจ้งแม้ในวันที่มีเมฆมากและมีเมฆมากเนื่องจากรังสี UV ของดวงอาทิตย์ทะลุผ่านเมฆปกคลุม
  • เมื่อรู้สึกว่าเกิดอาการตาแห้ง อาจหยอดน้ำตาเทียม เพราะมีสารช่วยหล่อลื่นและให้ความชุ่มชื่นแก่ดวงตา
  • ควรสวมอุปกรณ์ป้องกันดวงตาจากลม ฝุ่นละออง เศษผง สิ่งแปลกปลอมขนาดเล็กที่อาจถูกพัดพามากับลม

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

What is a pinguecula ? (ออนไลน์).สืบค้นจาก : www.allaboutvision.com [ 7 พฤษภาคม 2562 ].

โรคต้อกระจก ( Cataract )

0
โรคต้อกระจก ( Cataract ) คือ เลนส์ธรรมชาติของดวงตาที่กลายเป็นเมฆมีลักษณะขุ่นมัวรบกวนการมองเห็นของผู้ป่วย พบมากในผู้สูงอายุ 50 ปีขึ้นไปทั้งเพศชายและเพศหญิง
โรคต้อกระจก ( Cataract ) คือ เลนส์ธรรมชาติของดวงตาที่กลายเป็นเมฆมีลักษณะขุ่นมัวรบกวนการมองเห็นของผู้ป่วย พบมากในผู้สูงอายุ 50 ปีขึ้นไปทั้งเพศชายและเพศหญิง
โรคต้อกระจก ( Cataract )
โรคต้อกระจก ( Cataract ) คือ เลนส์ธรรมชาติของดวงตาที่กลายเป็นเมฆมีลักษณะขุ่นมัวรบกวนการมองเห็นของผู้ป่วย พบมากในผู้สูงอายุ 50 ปีขึ้นไปทั้งเพศชายและเพศหญิง

โรคต้อกระจกคือ ?

โรคต้อกระจก ( Cataract ) คือ เลนส์ธรรมชาติของดวงตาที่กลายเป็นเมฆมีลักษณะขุ่นมัว โรคต้อกระจก ส่วนใหญ่จะพัฒนาช้าและไม่รบกวนสายตาของผู้ป่วยตั้งแต่เนิ่นๆ แต่เมื่อเวลาผ่านไปต้อกระจกจะไปรบกวนการมองเห็นของผู้ป่วย พบมากในผู้สูงอายุ 50 ปีขึ้นไปทั้งเพศชายและเพศหญิง

ประเภทของต้อกระจก

  • ต้อกระจกที่มีผลต่อศูนย์กลางของเลนส์ ( ต้อกระจกนิวเคลียร์ ) ต้อกระจกนิวเคลียร์ในตอนแรกอาจทำให้สายตาสั้นมากขึ้นหรือแม้กระทั่งการปรับปรุงชั่วคราวในวิสัยทัศน์การอ่านของคุณ แต่เมื่อเวลาผ่านไปเลนส์จะค่อยๆเปลี่ยนเป็นสีเหลืองหนาแน่นขึ้น
  • ต้อกระจกที่ส่งผลกระทบต่อขอบของเลนส์ ( ต้อกระจกเยื่อหุ้มสมอง ) ต้อกระจกเยื่อหุ้มสมองเริ่มเป็นสีขาวรูปลิ่มหรือมีริ้วรอยที่ขอบด้านนอกของเลนส์นอก ในขณะที่มันเดินไปเรื่อย ๆ เส้นริ้วจะขยายไปที่กึ่งกลางและรบกวนกับแสงที่ลอดผ่านจุดศูนย์กลางของเลนส์
  • ต้อกระจกที่มีผลต่อด้านหลังของเลนส์ ( ต้อกระจก subcapsular หลัง) หลังเริ่มต้นเป็นพื้นที่ทึบขนาดเล็กที่มักจะเกิดขึ้นใกล้ด้านหลังของเลนส์ขวาในเส้นทางของแสง ต้อกระจก subcapsular หลังมักจะรบกวนการมองเห็นการอ่านของคุณลดการมองเห็นของคุณในแสงจ้าและทำให้เกิดแสงจ้าหรือรัศมีรอบแสงในเวลากลางคืน ต้อกระจกประเภทนี้มีแนวโน้มที่จะก้าวหน้าเร็วกว่าชนิดอื่น
  • ต้อกระจกตั้งแต่กำเนิด ( ต้อกระจก แต่กำเนิด ) บางคนเกิดมาพร้อมกับต้อกระจกหรือพัฒนาการในช่วงวัยเด็ก ต้อกระจกเหล่านี้อาจเป็นพันธุกรรมหรือเกี่ยวข้องกับการติดเชื้อในมดลูกหรือการบาดเจ็บ

สาเหตุของการเกิดต้อกระจก

ต้อกระจกส่วนใหญ่เกิดขึ้นเมื่ออายุมากขึ้นหรือได้รับบาดเจ็บบริเวณเนื้อเยื่อเลนส์ตา และความผิดปกติทางพันธุกรรมที่สืบทอดมาซึ่งทำให้เกิดปัญหาสุขภาพอื่น ๆ สามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดต้อกระจกได้ ประวัติเคยได้รับการผ่าตัดตา ผู้ป่วยโรคเบาหวาน การใช้ยาสเตียรอยด์ในระยะยาวอาจทำให้เกิดต้อกระจกได้เช่นกัน

โรคต้อกระจก ( Cataract ) คือ เลนส์ธรรมชาติของดวงตาที่กลายเป็นเมฆมีลักษณะขุ่นมัวรบกวนการมองเห็นของผู้ป่วย

อาการของโรคต้อกระจก

  • การมองเห็นมัวคล้ายหมอก
  • ยากต่อการมองเห็นตอนกลางคืน
  • ความไวต่อแสงและแสงจ้า
  • ต้องการแสงสว่างมากกว่าปกติในการทำกิจกรรมต่างๆ
  • เห็น ” รัศมี ” รอบ ๆ แสงไฟ
  • การเปลี่ยนเลนส์แว่นตา หรือคอนแทคเลนส์บ่อยๆ
  • สีซีดจางหรือเหลือง
  • การมองเห็นภาพซ้อน

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดต้อกระจก

ปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงของต้อกระจก ได้แก่

  • อายุที่เพิ่มขึ้น
  • โรคเบาหวาน
  • สัมผัสกับแสงแดดมากเกินไป
  • สูบบุหรี่
  • โรคอ้วน
  • ความดันโลหิตสูง
  • อาการบาดเจ็บที่ตาหรือการอักเสบก่อนหน้า
  • การผ่าตัดตาก่อนหน้า
  • การใช้ยาสเตียรอยด์เป็นเวลานาน
  • ดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่มากเกินไป

การป้องกันการเกิดต้อกระจก

  • ตรวจวัดสายตาเป็นประจำ
  • เลิกสูบบุหรี่
  • จัดการปัญหาสุขภาพอื่น ๆ
  • เลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ
  • ใส่แว่นกันแดด
  • ลดการใช้แอลกอฮอล์
  • พักผ่อนให้เพียงพอ 

วิธีการรักษาต้อกระจก

การผ่าตัดต้อกระจกเป็นวิธีการรักษาที่ปลอดภัยและพบได้บ่อยที่สุด แม้ว่าความเสี่ยงจะเกี่ยวข้องกับการผ่าตัด แต่คนส่วนใหญ่รายงานผลลัพธ์ที่ยอดเยี่ยม อย่างไรก็ตามคุณจะต้องได้รับการตรวจติดตามการตรวจตาเพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีอาการแทรกซ้อน

เมื่อต้อกระจกยังคงพัฒนาอย่างต่อเนื่องการทำให้ขุ่นมัวกลายเป็นความหนาแน่นและเกี่ยวข้องกับส่วนที่ใหญ่กว่าของเลนส์ ต้อกระจกกระจายและบล็อกแสงเมื่อผ่านเลนส์ป้องกันภาพที่กำหนดไว้อย่างแหลมคมไม่ให้ไปถึงเรตินาของคุณ เป็นผลให้วิสัยทัศน์ของการมองเห็นเบลอ ต้อกระจกโดยทั่วไปมีการพัฒนาทั้งสองตาไม่เท่ากัน ต้อกระจกในตาข้างหนึ่งอาจจะก้าวหน้ากว่าอีกข้างหนึ่งทำให้เกิดการมองเห็นที่แตกต่างกันระหว่างดวงตา

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

โรคต้อกระจก (ออนไลน์).สืบค้นจาก : www.mayoclinic.org [ 3 พฤษภาคม 2562 ].
โรคต้อกระจก (ออนไลน์).สืบค้นจาก : www.allaboutvision.com [ 3 พฤษภาคม 2562 ].
“Stem cells used to repair children’s eyes after cataracts”. NHS. March 10, 2016. Archived from the original on 11 March 2016. Retrieved 8 May 2019.

 

โรคตาบอดสี อาการ สาเหตุ และทดสอบตาบอดสี

0
โรคตาบอดสี ( Color Blindness ) เกิดขึ้นได้อย่างไร
โรคตาบอดสี คือ โรคที่เกิดปัญหาในการแยกแยะสีของวัตถุบางอย่างไม่ได้ เพราะความผิดปกติของเม็ดสีและเซลล์รับแสงสีเขียวหรือแดง
ตาบอดสี เกิดจากสาเหตุอะไร รวมวิธีทดสอบตาบอดสี
โรคตาบอดสี คือ โรคที่เกิดปัญหาในการแยกแยะสีของวัตถุบางอย่างไม่ได้ เพราะความผิดปกติของเม็ดสีและเซลล์รับแสงสีเขียวหรือแดง ซึ่งถูกควบคุมด้วยยีนบนโครโมโซม X

โรคตาบอดสี

โรคตาบอดสี ( Color Blindness ) คือ โรคที่เกิดปัญหาในการแยกแยะสีของวัตถุบางอย่างไม่ได้มักพบในเพศชายมากกว่าถึง 8% และพบในเพศหญิง 0.4% ของประชากรทั้งหมด การที่พบโรคนี้ในผู้ชายมากทั้งนี้ เพราะความผิดปกติของเม็ดสีและเซลล์รับแสงสีเขียวหรือแดง ซึ่งถูกควบคุมด้วยยีนบนโครโมโซม X ลักษณะการมองเห็นในคนตาบอดสีนั้นจะต้องอาศัยเซลล์หลังจอตา 2 ชนิดเป็นส่วนสำคัญในการแยกสีที่เรามองเห็น คือ เซลล์รูปแท่ง ( Rod Cell ) ที่มีความไวต่อการรับแสงแบบสลัว โดยใช้สำหรับการมองเห็นในเวลากลางคืน แต่สีที่มองเห็นจะเป็นสีในโทนดำ ขาว และเทาเท่านั้น ซึ่งสีที่คนมักเป็นตาบอดสี คือ สีเขียว เหลือง ส้มและสีแดง ส่วนภาวะตาบอดสีทุกสี ( Achromatopsia ) จะพบได้น้อยมาก อาจก่อส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้ในบางอาชีพที่ต้องอาศัยการแยกและจดจำสีในการทำงาน เช่น พนักงานโรงงาน พนักงานขับรถ นักบิน ตำรวจจราจรเป็นต้น

อาการของตาบอดสี

  • แยกสีแดง และสีเขียวค่อนข้างลำบาก
  • สามารถมองเห็นสีได้หลากหลายสี แต่บางสีอาจมองเห็นต่างไปจากคนอื่น
  • จดจำและแยกสีต่างๆ ได้ไม่ชัดเจน
  • สับสนในการบอกสีที่เห็นได้
  • มองเห็นเฉพาะบางโทนสีเท่านั้น
  • บางรายสามารถมองเห็นได้เฉพาะสีดำ ขาว และเทาเท่านั้น
  • กลุ่มที่มีความผิดปกติที่เกิดขึ้นมาภายหลัง มักเกิดจากการถูกทำลายของจอประสาทตาเส้นประสาทตาหรือส่วนรับรู้ในสมองจากสาเหตุต่าง ๆ เช่น การอักเสบ ภาวะขาดเลือด เนื้องอก การเสื่อมลงของจอประสาทตา ผลข้างเคียงจากยา หรือสารเคมี

สาเหตุของโรคตาบอดสี

ความผิดปกติแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ

1. กลุ่มที่มีความผิดปกติของดวงตามาตั้งแต่กำเนิด ( Congenital Color Vision Defects )

ภาวะตาบอดสีแต่กำเนิด แบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆ 3 กลุ่ม คือ

ภาวะตาบอดสีกลุ่มที่เห็นสีเดียว ( Monochromatism )

เป็นผู้ที่มีแต่เซลล์รูปแท่ง ไม่มีเซลล์รูปกรวยเลย หรือบางรายมีเซลล์รูปกรวยสีน้ำเงินชนิดเดียว กลุ่มนี้จะเห็นเพียงภาพขาวดำ สายตามักมัวมากจนมองไม่เห็นสี ตาสู้แสงไม่ได้ ลูกตากลิ้งกลอกไปมาตลอดเวลา ( Nystagmus ) ผู้ป่วยกลุ่มนี้แพทย์ให้การรักษาโดยมุ่งที่การช่วยเหลือให้มองเห็นดีขึ้น การเห็นสีเป็นไปไม่ได้ แพทย์จึงมักไม่คำนึงถึงเรื่องการเห็นสีเลย

ภาวะตาบอดสีกลุ่มที่มีเซลล์รูปกรวย 2 ชนิด ( Dichromatism )

เมื่อขาดเซลล์รูปกรวยสีแดง เรียกว่า ตาบอดสีแดง ( Protanopia ) เมื่อขาดเซลล์รูปกรวยสีเขียว เรียกว่า ตาบอดสีเขียว ( Deuterano pia ) และเมื่อขาดเซลล์รูปกรวยสีน้ำเงิน เรียกว่า ตาบอดสีน้ำเงิน (Tritanopia) ซึ่งตาบอดสีน้ำเงินนี้พบได้น้อยมากๆ

ภาวะตาบอดสีกลุ่มที่มีเซลล์รูปกรวยทั้ง 3 ชนิด ( Trichromatism )

แต่มีอย่างใดอย่างหนึ่งพร่อง / น้อยกว่าปกติ ( Anomalous trichromatism ) ซึ่งเป็นกลุ่มตาบอดสีที่พบได้บ่อยที่สุด ได้แก่ เมื่อมีเซลล์รูปกรวยสีแดงน้อยกว่าปกติ เรียกว่า พร่องสีแดง ( Protanomalous ) เมื่อมีเซลล์รูปกรวยสีเขียวน้อยกว่าปกติ เรียกว่า พร่องสีเขียว ( Deuteranomalous ) และพร่องสีน้ำเงินเมื่อมีเซลล์รูปกรวยสีน้ำเงินน้อยกว่าปกติ ( Trianomalous ) ทั้งนี้ตาบอดสีแต่กำเนิดส่วนใหญ่จะพบพร่องสีแดง และพร่องสีเขียว ส่วนพร่องสีน้ำเงินพบน้อยมาก ๆ

2. กลุ่มที่มีความผิดปกติที่เกิดขึ้นมาภายหลัง ( Acquired Color Vision Defects )

มักพบกลุ่มแรก คือกลุ่มที่เป็นตั้งแต่กำเนิดบ่อยกว่ากลุ่มที่เป็นภายหลังเป็นภาวะที่มีการถ่ายทอดทางพันธุกรรม โดยเป็นลักษณะด้อยซึ่งถ่ายทอดทางพันธุกรรมโดยโครโมโซม X ที่เรียกว่า X – link recessive สาเหตุที่ทำให้เกิด เช่น

  • อายุที่เพิ่มมากขึ้น อาจส่งผลให้เกิดการเสื่อมของเซลล์ได้ตามวัยที่เพิ่มมากขึ้น
  • ผลข้างเคียงของการใช้ยาบางชนิด
  • การได้รับสารเคมีบางชนิดเป็นระยะเวลานาน
  • โรคเกี่ยวกับด้านดวงตาหรือการบาดเจ็บบริเวณจอตา เช่น โรคต้อหิน จอประสาทตาเสื่อม ต้อกระจก หรือการได้รับบาดเจ็บบริเวณดวงตา

โรคตาบอดสี ( Color Blindness ) คือ โรคที่เกิดปัญหาในการแยกแยะสีของวัตถุบางอย่างไม่ได้   

การทดสอบตาบอดสี

ทดสอบตาบอดสีประกอบด้วยชุดแผ่นจุดประสีแต่ละชุดจะแสดงเป็นตัวเลข เพื่อทดสอบการมองเห็นสีที่ใช้กับอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน

ตาบอดสี เกิดจากสาเหตุอะไร รวมวิธีทดสอบตาบอดสี
แบบทดสอบตาบอดสีประกอบด้วยชุดแผ่นจุดประสีแต่ละชุดจะแสดงเป็นตัวเลข เพื่อทดสอบการมองเห็นสี

ผลประเมินแบบทดสอบตาบอดสีของการมองเห็นสี

  1. ตาปกติ และตาบอดสี จะอ่านได้หมายเลขเดียวกันคือ 12

2. ตาปกติจะอ่านได้หมายเลข 29 ตาบอดสีแดง-เขียวจะอ่านได้หมายเลข 70
แต่ถ้ามีอาการตาบอดสีจะไม่สามารถอ่านได้

3. ตาปกติจะอ่านได้หมายเลข 3 ตาบอดสีแดง-เขียวจะอ่านได้หมายเลข 5
แต่ถ้ามีอาการตาบอดสีจะไม่สามารถอ่านได้

4. ตาปกติจะอ่านได้หมายเลข 74 ตาบอดสีแดง-เขียวจะอ่านได้หมายเลข 21
แต่ถ้ามีอาการตาบอดสีจะไม่สามารถอ่านเป็นตัวเลขได้

5. ตาปกติจะอ่านได้หมายเลข 45 ตาบอดสีจะไม่สามารถอ่านได้

6. ตาปกติจะอ่านได้หมายเลข 7 ตาบอดสีจะไม่สามารถอ่านเป็นตัวเลขได้

7. ตาปกติจะอ่านได้หมายเลข 73 ตาบอดสีจะไม่สามารถอ่านเป็นตัวเลขได้

8. ตาปกติจะไม่สามารถอ่านเป็นตัวเลขได้ ตาบอดสีแดง-เขียวจะอ่านได้หมายเลข 45
แต่ถ้ามีอาการตาบอดสีจะไม่สามารถอ่านเป็นตัวเลขได้

9. ตาปกติจะอ่านได้หมายเลข 42

10. ตาปกติจะไม่สามารถลากเส้นจาก X ไป X ได้
ถ้ามีอาการตาบอดสีแดง-เขียว จะสามารถลากเส้นจาก X ไป X ได้
ถ้ามีอาการตาบอดสีจะไม่สามารถลากเส้นจาก X ไป X ได้

10. ตาปกติจะสามารถลากเส้นตามสีส้มจาก X ไป X ได้
แต่ถ้ามีอาการตาบอดสีจะไม่สามารถลากเส้นจาก X ไป X ได้ หรือลากได้ก็คนละเส้นทาง

11. ตาปกติจะสามารถลากเส้นตามสีม่วง ต่อกับสีส้ม จาก X ไป X ได้
ถ้ามีอาการตาบอดสีแดง-เขียวจะลากเส้นตามสีม่วง ต่อกับสีฟ้า-เขียว จาก X ไป X ได้
ถ้ามีอาการตาบอดสีจะไม่สามารถลากเส้นจาก X ไป X ได้ หรือลากได้ก็คนละเส้นทาง

เซลล์รับแสงคืออะไร

เซลล์รับแสงที่อยู่ในจอตาแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
1. เซลล์รูปแท่ง ( rod cell ) ประกอบด้วยสารที่ดูดกลืนแสงในช่วงความยาวคลื่นต่างๆ โดยเซลล์รูปแท่งจะมีสารสีม่วง ซึ่งมีความไวต่อแสงมากกว่าเซลล์รูปกรวยจะทำงานได้อย่างดีแม้แสงน้อยในช่วงกลางคืนสามารถมองเห็นเป็นสีขาวดำ
2. เซลล์รูปกรวย ( cone cell ) เป็นหนึ่งในตัวรับแสงในเรตินาของดวงตาที่รับผิดชอบการมองเห็นในเวลากลางวันและการมองเห็นสีประกอบด้วยเซลล์ที่กระจุกตัวอยู่หนาแน่นในรอยบุ๋มจอตาสร้างพื้นที่การมองเห็นที่ใหญ่ที่สุด เซลล์รูปกรวย 3 ชนิด มีการรับสีแตกต่างกัน คือ ชนิดที่หนึ่งมีความไวสูงสุดต่อการรับแสงสีน้ำเงินจะไวเฉพาะแสงที่มีความเข็มสูง ชนิดที่สองมีความไวสูงสุดต่อแสงสีเขียว และชนิดที่สามมีความไวสูงสุดต่อแสงสีแดง

ตาบอดสีรักษาให้หายได้หรือไม่

ทางการแพทย์ยังไม่มีวิธีการรักษาตาบอดสีให้หายได้ แต่มีวิธีในการแก้ไขเบื้องต้น โดยให้คนตาบอดสีใส่คอนแทคเลนส์หรือแว่นตาที่ทำขึ้นมาโดยเฉพาะ เพื่อช่วยในการมองเห็นของคนตาบอดสีให้กลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ

การป้องกันตาบอดสี

การป้องกันโรคตาบอดสียังไม่สามารถป้องกันโรคนี้ได้อย่างถาวร แต่สามารถลดโอกาสการเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ยังเด็ก

  • การตรวจคัดกรองตาบอดสีและทดสอบสายตาในเด็กอายุประมาณ 3-5 ขวบ
  • หากครอบครัวมีประวัติเป็นตาบอดสี ควรมีการตรวจเช็คสายตาอย่างสม่ำเสมอ
  • สังเกตความผิดปกติของสายตาตนเอง
    หากพบความผิดปกติในการมองเห็นสีที่ผิดแปลกไปจากเดิม ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจอย่างละเอียดและรักษาอย่างถูกวิธี

การแก้ปัญหาตาบอดสี

สิ่งที่ช่วยแก้ปัญหาตาบอดสีได้คือ แว่นสายตาสำหรับตาบอดสี คนที่มีตาบอดสีแดง-เขียวอาจสามารถใช้แว่นพิเศษ (หรือคอนแท็คเลนส์) เพื่อช่วยให้ได้รับรู้สีได้ถูกต้องยิ่งขึ้นภายใต้สภาวะแสงต่างๆ โดยแว่นตานี้ทำงานโดยกรองความยาวคลื่นแสงเพื่อให้สามารถแยกแยะสีแดงและเขียวได้ มันไม่สามารถทำให้คนเปลี่ยนไปมองเห็นสีปกติได้ แต่อาจช่วยให้มองเห็นสีบางสีได้สดใสขึ้น แต่ไม่สามารถใช้ได้กับทุกคนที่มีตาบอดสีแดง-เขียวได้ หรือปรึกษาจักษุแพทย์ให้ช่วยตรวจสอบว่าสามารถใช้แว่นชนิดนี้ได้หรือไม่

หากคุณมีอาการตาบอดสีควรได้รับการทดสอบที่สามารถบอกได้ว่าการมองเห็นสีของคุณมีมากน้อยเพียงใด

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

ตาบอดสี (ออนไลน์).สืบค้นจาก :http://www.perfecthealthcare.co.th [30 เมษายน 2562].
ตาบอดสี (ออนไลน์).สืบค้นจาก :http:www.pobpad.com [30 เมษายน 2562].
ตาบอดสี (ออนไลน์).สืบค้นจาก :http://haamor.com/th [7 พฤษภาคม 2562].

ตาบอดข้างใดข้างหนึ่ง ( Blindness / Vision Impairment )

0
ตาบอดข้างใดข้างหนึ่ง ( Blindness / Vision Impairment )
ตาบอด ( Blindness / Vision Impairment ) คือ ภาวะที่ดวงตาไม่สามารถมองเห็นสิ่งต่าง ๆ หรือรับรู้ความแตกต่างระหว่างแสงสว่างและความมืดได้
ตาบอดข้างใดข้างหนึ่ง ( Blindness / Vision Impairment )
ตาบอด ( Blindness / Vision Impairment ) คือ ภาวะที่ดวงตาไม่สามารถมองเห็นสิ่งต่าง ๆ หรือรับรู้ความแตกต่างระหว่างแสงสว่างและความมืดได้

ตาบอดข้างใดข้างหนึ่ง

ตาบอด ( Blindness / Vision Impairment ) คือ ภาวะที่ดวงตาไม่สามารถมองเห็นสิ่งต่าง ๆ หรือรับรู้ความแตกต่างระหว่างแสงสว่างและความมืดได้ ถือเป็นความพิการทางตาหรือการบกพร่องทางการมองเห็นในระดับที่ไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวัน ได้รับการศึกษา และประกอบอาชีพได้เช่นคนปกติทั่วไป อาการตาบอดอาจไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้โดยการรับประทานยา การผ่าตัด การสวมแว่นตาหรือการใส่คอนแทคเลนส์ แต่อาจมีวิธีการรับมือและป้องกันได้ ดังนั้น หากผู้ป่วยเริ่มสูญเสียการมองเห็น ควรรีบพบแพทย์ทันทีเพื่อเข้ารับการรักษาหลังจากที่ได้รับการรักษาและแก้ไขทางการแพทย์ หรือมีลานสายตา กว้างไม่เกิน 30 องศา

ตาบอดข้างใดข้างหนึ่งมีกี่ประเภท

1. ตาบอดไม่สนิท หรือบอดเพียงบางส่วน สายตาเลือนราง หมายถึง มีความบกพร่องทางสายตา สามารถมองเห็นบ้าง แต่ไม่เท่าคนปกติ เมื่อทดสอบสายตาประเภทนี้ จะมีสายตาข้างดี สามารถมองเห็นได้ในระยะ 20/60 หรือน้อยกว่านั้น และมีลานสายตา โดยเฉลี่ย อย่างสูงสุด จะกว้างสูงสุดไม่เกิน 30 องศา
2. ตาบอดสนิท หมายถึง คนที่ไม่สามารถมองเห็นได้เลย หรืออาจมองเห็นได้บ้างไม่มากนัก ไม่สามารถใช้สายตา หรือไม่มีการใช้สายตาให้เป็นประโยชน์ ในการเรียน การสอน หรือทำกิจกรรมได้ ต้องใช้ประสาทสัมผัส อื่นแทนในการเรียนรู้ และหากมีการทดสอบสายตาประเภทนี้ อาจพบว่าสายตาข้างดีสามารถมองเห็นได้ในระยะ 20/20 ( อัตราวัดระดับการมองเห็น คนปกติเห็นวัตถุชัดเจนระยะ 200 ฟุต คนตาบอดจะสามารถสองเห็นวัตถุชิ้นเดียวกันในระยะ 20 ฟุต ) หรือน้อยกว่านั้น และมีลานสายตา โดยเฉลี่ยอย่างสูงสุดจะแคบกว่า 5 องศาแต่ในกรณีที่ความสามารถในการมองเห็นเสียหายจนรักษาไม่ได้ ผู้ป่วยอาจต้องเรียนรู้การใช้อุปกรณ์หรือเครื่องมือต่าง ๆ เช่น อักษรเบรลล์ หรือโปรแกรมเสียงสำหรับคนตาบอดโดยเฉพาะ เป็นต้น

อาการตาบอด

องค์การอนามัยโลกได้ให้คำนิยามของตาบอดไว้ว่า เป็นสายตาที่ดีที่สุดเมื่อแก้ไขด้วยแว่นธรรมดา ( แว่น สายตาสั้นแว่นสายตายาว แว่นสายตาเอียง ) แล้วเห็นน้อยกว่า 3/60 ลงไปจนถึงบอดสนิท ไม่เห็นแม้แต่แสงสว่าง หรือมีลานสายตาโดยเฉลี่ยแคบกว่า 10 องศาลงไป โดยอาจเกิดขึ้นกับดวงตาข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง
อาการตาบอดสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ ตาบอดสนิท ( Complete Blindness ) ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถมองเห็นสิ่งต่าง ๆ ได้เลย หรือเห็นเป็นภาพมืดทั้งหมด และตาบอดบางส่วน ( Partial Blindess ) ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยมีความสามารถในการมองเห็นที่จำกัด อาจมองเห็นเพียงเงาลาง ๆ และไม่สามารถมองเห็นรูปร่างของสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างชัดเจน   
นอกจากนั้นผู้ที่ตาบอดบางส่วนอาจมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย ได้แก่
1. ตามัว รู้สึกระคายเคืองคล้ายมีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในดวงตา
2. มองเห็นชัดเจนเฉพาะตรงกลาง ( Tunnel Vision )
3. มองเห็นไม่ชัดเจนในเวลากลางคืน
4. ตาดำอาจเป็นสีขาว หากผู้ป่วยมีโรคต้อกระจก ( Cataract )
5. กระจกตาอาจเป็นสีขาวหรือเทา กรณีที่กระจกตาติดเชื้อ

สาเหตุของตาบอด

การสูญเสียการมองเห็นคือสัญญาณเริ่มต้นของอาการตาบอด โดยสาเหตุที่ทำให้เกิดตาบอดแตกต่างกันในผู้ใหญ่และเด็กดังนี้

โรคที่เป็นสาเหตุตาบอดในเด็ก ได้แก่

  • จอตาผิดปกติในทารกคลอดก่อนกำหนด ( Retinopathy of Prematurity ) โดยภาวะนี้มักพบในเด็กคลอดก่อนกำหนดที่มีอายุครรภ์น้อยกว่า 32 สัปดาห์ ที่ต้องได้รับการช่วยชีวิตด้วยการให้ออกซิเจน เนื่องจากหลอดเลือดที่จอตาจะพัฒนาเต็มที่เมื่ออายุครรภ์ 36-40 สัปดาห์ ดังนั้น เด็กที่คลอดก่อนช่วงเวลานี้จะมีการพัฒนาหลอดเลือดที่จอตาไม่สมบูรณ์และไวต่อออกซิเจนที่ได้รับ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของหลอดเลือดและมีหลอดเลือดใหม่เกิดขึ้น ภาวะนี้หากอาการไม่รุนแรงสามารถรักษาได้ด้วยการทำเลเซอร์และต้องได้รับการตรวจติดตามการเจริญของหลอดเลือดและจอตาเป็นระยะ แต่หากไม่ได้รับการรักษาทันท่วงทีจะทำให้ตาบอดได้
  • ต้อกระจกชนิดที่เป็นตั้งแต่กำเนิด ซึ่งอาจเป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม หรือเป็นในแม่ที่เป็นหัดเยอรมัน ( Rubella )
  • ภาวะขาดวิตามินเอ ซึ่งจะทำให้ตาแห้งหากเป็นนานเข้าจะทำให้เกิดกระจกตาแห้งและเกิดแผลที่กระจกตารวมถึงทำให้ติดเชื้อในดวงตาตามมาทำให้ตาทะลุและเกิดตาบอดตามมา จึงควรส่งเสริมให้เด็กกินนมแม่หรือนมผสมที่เสริมวิตามินเอ นอกจากนี้ยังพบภาวะขาดวิตามินเอได้ในเด็กที่เป็นโรคหัด จึงควรได้รับการเสริมวิตามินเอในเด็กที่เป็นโรคหัดด้วย
  • ภาวะตาขี้เกียจ ( Amblyopia ) ซึ่งอาจเกิดจากการมีตาเขหรือตาเหล่ ( Strabismus ) หรือความผิดปกติของสายตานำมาก่อน ทำให้เด็กมีสายตาไม่เท่ากัน และตาข้างที่ไม่ดีจึงไม่ถูกใช้งาน หากไม่ได้รับการรักษาตาข้างที่ไม่ใช้งานอาจจะมัวลงและตาบอดได้ 
  • เยื่อตาและกระจกตาอักเสบจากเชื้อหนองใน ( Gonococcal Conjuctivitis ) โดยเป็นการติดเชื้อจากช่องคลอดมารดาที่เป็นหนองในขณะทำการคลอด ทำให้เด็กทารกมีขี้ตาแฉะเป็นหนอง เปลือกตาติดกัน และเชื้อจะลุกลามเข้าสู่ตาดำทำให้ตาบอดได้ อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันในประเทศไทยมีการป้องกันโดยการป้ายยาฆ่าเชื้อที่ตาให้แก่ทารกคลอดใหม่ทุกคนเพื่อป้องกันการติดเชื้อดังกล่าว
  • โรคทางพันธุกรรมที่เป็นแต่กำเนิดอื่นๆ เช่น โรคต้อหินแต่กำเนิด โรคจอประสาทตาเสื่อม ( Retinal Dystrophy ) ประสาทฝ่อ ( Optic Atrophy ) ดวงตาเล็กแต่กำเนิดเป็นต้น
  • เนื้องอก เช่น โรคมะเร็งจอประสาทตา ( Retinoblastoma ) และ Optic Glioma เป็นต้น

โรคที่เป็นสาเหตุตาบอดในผู้ใหญ่ ได้แก่

  • สายตาผิดปกติที่ไม่ได้รับการแก้ไข ( Uncorrected Refractive Error ) เช่น สายตาสั้น สายตายาว โดยทั่วไปสายตาผิดปกติสามารถแก้ไขได้โดยการใช้แว่นสายตา คอนแทคเลนส์ และการผ่าตัดด้วยเลเซอร์ อย่างไรก็ตามในประเทศไทยยังคงพบปัญหาไม่มีแว่นตาใช้ในพื้นที่ห่างไกล ทำให้สายตาอยู่ในระดับตาบอดได้ นอกจากนี้ผู้ที่มีสายตาสั้นมากๆ อาจทำให้เกิดโรคตาอื่นๆ ตามมา ที่สำคัญคือ จอประสาทตาเสื่อม ( Macular Degeneration ) จอตาฉีดขาดและหลุดลอก ( Retinal Detachment ) ซึ่งทำให้ตาบอดได้
  • จอประสาทตาเสื่อมจากเบาหวาน ( diabetic retinopathy ) ผู้ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงหรือเป็นเบาหวานมานานจะทำให้มีหลอดเลือดผิดปกติทั่วร่างกาย รวมถึงหลอดเลือดที่จอประสาทตา ซึ่งจะทำให้มีน้ำเหลืองซึมออกมาทั่วจอประสาทตา และหลอดเลือดที่จอประสาทตาจะเสื่อมมากขึ้นจนเกิดพังผืดและมีหลอดเลือดเกิดใหม่ที่ผิวจอประสาทตาซึ่งจะทำลายจอประสาทตามากขึ้น รวมถึงหลอดเลือดที่เกิดใหม่อาจจะฉีกขาดทำให้มีเลือดออกขังในน้ำวุ้นตา หากเป็นในระยะแรกเริ่มสามารถรักษาได้ด้วยแสงเลเซอร์แต่ถ้าปล่อยไว้ไม่ได้รับการรักษาจะทำให้ตาบอดได้ ดังนั้น ผู้ที่เป็นเบาหวานควรจะคุมน้ำตาลให้ได้และควรตรวจดวงตาเป็นระยะ
  • แผลบริเวณกระจกตา ( Corneal Ulcer ) กระจกตาเป็นส่วนสำคัญในการมองเห็น จึงต้องใส หากมีการอักเสบหรือเป็นแผล จะทำให้แสงผ่านไม่ได้และเกิดตามัวตามมา สาเหตุที่ทำให้เกิดแผลบริเวณกระจกตา ได้แก่ โรคริดสีดวงตา ภาวะตาแห้ง ภาวะขาดวิตามินเอ ภาวะแทรกซ้อนจากคอนแทคเลนส์ อุบัติเหตุทางกีฬา การขยี้ตาแรง ๆ ฝุ่นเข้าตาหรือเกิดจากเศษใบไม้หรือหญ้าบาดตา ซึ่งอาจทำให้เกิดรอยบริเวณกระจกตา ( Corneal Abrasion ) และหากไม่ได้รับการักษาอาจทำให้เกิดแผลบริเวณกระจกตาตามมาและทำให้มีเชื้อโรคผ่านกระจกตาเข้าสู่ดวงตาอันเป็นสาเหตุของตาบอดได้
  • ต้อกระจก ( Cataract ) เป็นโรคที่เกิดจากการเสื่อมของแก้วตาตามอายุทำให้ตาดำมีลักษณะขุ่นขาว มักพบในผู้สูงอายุ โดยทั่วไปโรคต้อกระจกสามารถรักษาได้โดยการผ่าตัด แต่ก็พบว่าประชากรส่วนใหญ่ของหลายประเทศรวมถึงประเทศไทยยังเข้าไม่ถึงบริการนี้ จึงทำให้ต้อกระจกเป็นสาเหตุที่สำคัญของตาบอด
  • โรคต้อหิน ( Glaucoma ) เป็นโรคที่เกิดจากความดันในลูกตาสูงจนไปกดและทำลายประสาทตาทำให้ตามัวลงจนถึงขั้นตาบอดได้ ผู้ที่เป็นต้อหินอาจมาพบแพทย์ด้วยอาการเฉียบพลัน เช่น ปวดตา ตาแดงหรือตามัวทันที หรืออาจมีอาการเรื้อรังคือมีอาการตามัวลงอย่างช้า ๆ โดยไม่มีอาการตาแดงนำมาก่อน ซึ่งโรคนี้ต้องอาศัยการตรวจโดยจักษุแพทย์ ดังนั้นผู้ที่มีอายุเกิน 40 ปีจึงควรได้รับการตรวจตาอย่างน้อยปีละครั้งเพื่อตรวจหาต้อหินแต่เนิ่น ๆ หากได้รับการรักษาทันทีและต่อเนื่องจะช่วยป้องกันตาบอดได้   
  • อุบัติเหตุหรือการบาดเจ็บบริเวณดวงตา เช่น การเล่นกีฬา ถูกของมีคมทิ่มตำ การกระแทกที่ดวงตา อาจทำให้เกิดภาวะเลือดออกในช่องหน้าตา ( Hyphema ) จะทำให้มีอาการเจ็บปวด ไวต่อแสง และสูญเสียการมองเห็น หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องสามารถทำให้ตาบอดได้
  • การติดเชื้อ โดยอาจเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ( Bacterial Keratitis ) เช่น เกิดตามหลังอุบัติเหตุหรือการบาดเจ็บบริเวณดวงตา หรือเป็นภาวะแทรกซ้อนจากการใช้คอนแทคเลนส์ นอกจากนั้น ยังอาจเกิดจากเชื้อไวรัส เช่น ตาอักเสบจากโรคเริม ( Herpes Keratitis ) จอตาอักเสบจากไวรัสซีเอ็มวี ( Cytomegaloviral Retinitis ) ซึ่งมักพบในผู้ที่มีเชื้อเอชไอวี เป็นต้น
  • ภาวะหลอดเลือดดำที่จอตาอุดตัน (Retinal Vein Occlusion)
  • ภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดตา
  • ความผิดปกติโดยกำเนิด เช่น โรคตาทางพันธุกรรม หรือโรคหัดเยอรมัน ( Rubella )
  • โรคเกี่ยวกับดวงตาอื่น ๆ เช่น โรคจอประสาทตาเสื่อม ( Retinitis Pigmentosa ) โรคเส้นประสาทตาอักเสบ ( Optic Neuritis )

การรักษาอาการตาบอด

1. การรักษาอาการตาบอดหรือความบกพร่องในการมองเห็นขึ้นกับสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการ หากแพทย์ตรวจพบสาเหตุของอาการตาบอดที่สามารถรักษาได้ อาจต้องเข้ารับการรักษาตามสาเหตุโดยวิธีต่อไปนี้

  • ในผู้ป่วยที่มีปัญหาสายตาสั้น หรือสายตายาว อาจแก้ไขสายตาด้วยการสวมแว่นตา หรือการใส่คอนแทคเลนส์
  • หากตาบอดเกิดขึ้นจากภาวะพร่องโภชนาการและการขาดวิตามินเอ ควรรับประทานวิตามินเออย่างเหมาะสม
  • ผู้ที่เกิดจากการอักเสบหรือติดเชื้อ อาจใช้ยาหยอดตา หรือรับประทานยาลดการอักเสบและรักษาการติดเชื้อ
  • หากเกิดจากต้อกระจก ควรเข้ารับการผ่าตัดต้อกระจก
  • หากเกิดจากแผลที่กระจกตาอาจรักษาด้วยการผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตา

2. ในกรณีที่สาเหตุของอาการตาบอดไม่สามารถรักษาได้แพทย์อาจแนะนำวิธีการที่เหมาะสมในการใช้สายตาให้กับผู้ป่วยที่มีภาวะตาบอดบางส่วน ( Partial Blindess ) หรือสามารถมองเห็นได้อย่างจำกัด ดังนี้

  • การใช้แว่นขยายขณะอ่านหนังสือ หรือเพิ่มขนาดตัวอักษรในคอมพิวเตอร์ให้ใหญ่ขึ้น
  • การใช้หนังสือหรือนาฬิกาเสียง

3. ส่วนในผู้ป่วยที่มีภาวะตาบอดสนิท ( Complete Blindness ) ผู้ป่วยอาจจำเป็นต้องปรับตัวและเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ เพื่อความสะดวกในการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น

  • การเรียนอักษรเบรลล์
  • การใช้สุนัขนำทาง
  • การพับธนบัตรด้วยรูปแบบต่าง ๆ เพื่อแยกแยะมูลค่าบนธนบัตร
  • การจัดแต่งบ้าน เพื่อความสะดวกในการหยิบจับสิ่งของ
  • การติดตั้งราวจับในห้องน้ำ เพื่อความปลอดภัย
  • การวางแผนทางการเงิน หรือขอรับเงินช่วยเหลือจากรัฐบาล
  • การสมัครงานสำหรับผู้พิการ โดยอาจสอบถามได้จากกรมการจัดหางาน
  • การตรวจสอบสิทธิ์ และติดตามข่าวสารความช่วยเหลือและผลประโยชน์ต่าง ๆ สำหรับผู้พิการ

4. สำหรับคนตาบอดที่ไม่มีวิธีรักษาให้ดีขึ้นแล้วแพทย์ลงความเห็นว่าตาบอด ซึ่งผู้นั้นจะต้องไปลงทะเบียนเป็นคนพิการทางสายตา ( ทั้งตาบอดและตาเห็นเลือนราง ) เมื่อได้ขึ้นทะเบียนแล้ว มีสิทธิเข้าถึงการรับบริการฟื้นฟูสมรรถภาพต่าง ๆ ที่ทางรัฐบาลได้กำหนดไว้ตามพระราชบัญญัติการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ. 2550 เพื่อเป็นสวัสดิการให้คนพิการสามารถมีชีวิตอยู่ในสังคมได้เท่าเทียมกับคนปกติทั่วไป โดยมีสิทธิประโยชน์ที่จะได้รับ ได้แก่

  • การบริการทางการแพทย์ ผู้พิการมีสิทธิรับการตรวจ การรักษาด้วยยา ด้วยการผ่าตัด การสังคมสงเคราะห์ การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการเห็น การสร้างความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมและการเคลื่อนไหว ยังสามารถได้รับเครื่องช่วยสายตา ( Visual Aids ) ได้แก่ แว่นขยาย กล้อง Telescope กล้องขยายตามสมควรแต่ละบุคคล เป็นต้น
  • บริการทางการศึกษารวมถึงการอ่านเขียนอักษรเบรลล์ ( Braille ) และหลักสูตรพิเศษสำหรับคนตาบอด
    การบริการทางอาชีพ ได้รับการแนะนำการฝึกอาชีพที่เหมาะสม เช่น พนักงานรับโทรศัพท์ นักดนตรี พนักงานพิมพ์ดีด และจัดหาสถานที่ทำงานให้ เป็นต้น
  • เบี้ยความพิการ คนพิการทุกคนที่มีสมุด/บัตรประจำตัวคนพิการมีสิทธิลงทะเบียนขอรับ “ เบี้ยความพิการ ” คนละ 500 บาท/เดือนได้   

การป้องกันอาการตาบอด

อาการตาบอดอาจไม่มีสัญญาณเตือนหรือแสดงอาการใด ๆ และคนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าสายตาที่บกพร่องนั้นเกิดจากความเสื่อมของดวงตาจากอายุที่มากขึ้น แต่จริง ๆ แล้วเกิดได้จากหลายสาเหตุ และอาการตาบอดมักเกิดจากสาเหตุที่สามารถป้องกันได้ 80-90% หากผู้ป่วยเข้ารับการรักษาเมื่อมีความผิดปกติที่ดวงตา และสามารถเข้าถึงระบบการรักษาพยาบาล นอกจากนี้ การเข้ารับการตรวจตาเป็นประจำอาจช่วยให้แพทย์ตรวจพบความผิดปกติหรือสัญญาณการเกิดโรคต่าง ๆ ได้ตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม ผู้ป่วยจึงได้รับการรักษาที่ทันเวลา และมีวิธีการป้องกันไม่ให้อาการทรุดลงหรือเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ จึงควรรีบพบแพทย์ทันทีเมื่อสงสัยหรือมีภาวะสูญเสียการมองเห็น เพราะอาจมีโอกาสในการฟื้นฟูการมองเห็นได้สูงขึ้น

กรณีของทารก ทารกอายุ 6-8 สัปดาห์มักมีปฏิกิริยาต่อสิ่งเร้าทางสายตาได้ แต่หากบุตรหลานไม่สามารถตอบสนองต่อแสงสว่างหรือวัตถุที่มีสีสันในช่วงอายุ 2-3 เดือน ไม่สามารถมองตามวัตถุ หรือมีอาการและความผิดปกติอื่น ๆ เช่น ตาเข ควรรีบนำตัวเข้าพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยทันที แต่หากระหว่างนั้นทารกไม่มีความผิดปกติใด ๆ ผู้ปกครองสามารถพาบุตรหลานเข้ารับการตรวจตากับแพทย์ได้เมื่ออายุครบ 6 เดือน

บทความเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้อง

เอกสารอ้างอิง

ตาบอด (ออนไลน์).สืบค้นจาก : https://www.pobpad.com [24 เมษายน 2562].

ตาบอด (ออนไลน์).สืบค้นจาก : https://www.doctor.or.th [27 เมษายน 2562].

โรคกลาก ( Ringworm )

0
โรคกลาก ( Ringworm )
โรคกลาก ( Ringworm )
โรคกลาก ( Ringworm )
โรคกลาก ( Ringworm ) เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อรา มักจะพบตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย สามารถพบได้ทุกเพศทุกวัยโดยเฉพาะวัยเด็ก

โรคกลาก คือ

โรคกลาก ( Ringworm ) เป็น โรคที่เกิดจากเชื้อรา มักจะพบตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นบริเวณหนังศีรษะ ใบหน้า ขาหนีบ มือ เล็บ โรคกลาก สามารถพบได้ทุกเพศทุกวัยโดยเฉพาะวัยเด็ก

สาเหตุของโรคกลาก

โรคกลาก เกิดจากเชื้อราในกลุ่มเดอร์มาโทไฟท์ ( Dermatophytes ) ที่บริเวณผิวหนัง โดยอาศัยอยู่บนผิวหนังระดับเนื้อเยื่อชนิดโปรตีนที่เรียกว่า เคราติน ของเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้ว เช่น รังแคบนหนังศีรษะ แต่ไม่สามารถเข้าสู่ร่างกายหรือเยื่อบุผิวหนังอย่างเช่นจมูกหรือปากได้ เนื่องจากเชื้อรามีลักษณะเป็นสปอร์ที่มีขนาดเล็ก คล้ายสปอร์ของเห็ดที่เกิดจากเชื้อรา สามารถอาศัยอยู่ตามผิวหนังของมนุษย์ สิ่งของ หรือพื้นดินได้อย่างยาวนานหลายเดือน อีกทั้งยังเจริญเติบโตได้ดีในสภาพอากาศร้อนชื้น จนกระทั่งเกิดการแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว ถือเป็นโรคติดต่อที่เกิดจากการสัมผัส

การติดเชื้อโรคกลาก

แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ

1. โรคกลากที่เกิดจากการติดเชื้อโดยตรง คือ การสัมผัสหรือได้รับสปอร์ของเชื้อราจากสัตว์เลี้ยงที่ติดโรค เช่น สุนัข แมว แพะ ม้า วัว และ หมู
2. โรคกลากที่เกิดจากการติดเชื้อทางอ้อม คือ การติดเชื้อจากการสัมผัสวัตถุ ข้าวของเครื่องใช้ที่ปนเปื้อนเชื้อโรค เช่น ที่นอน หมอน มุ้ง ผ้าปูที่นอน ผ้าเช็ดตัว หวี ผ้าคลุมศีรษะ ผ้าพันคอ และ หมวก เป็นต้น

อาการของโรคกลาก

อาการของโรคกลาก สามารถจำแนกได้เป็น 9 ประเภท อาการเฉพาะของโรคนี้ขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่เป็น แต่อาการที่คล้ายกันเกือบทุกประเภทคือ มักจะคันที่ผิวหนัง ผิวหนังบวม แดง เป็นขุย หรือแตก มีผื่นเป็นรูปวงแหวน ผมหรือขนร่วงในบริเวณที่เป็นโรค 

  1. โรคกลากที่ศีรษะ ( Tinea Capitis ) ตอนแรกอาจมีอาการคันคล้ายรังแค และบริเวณหนังศีรษะจะตกสะเก็ดเป็นจุด รู้สึกเจ็บเมื่อสัมผัสไปโดน คันหนังศีรษะ ผมร่วงเป็นหย่อม บางรายอาจมีตุ่มหนองเล็ก หรือพุพองจนเป็นแผลขนาดใหญ่ เป็นไข้ และมีภาวะต่อมน้ำเหลืองโต หนังศีรษะ มีอาการคัน แดง ทำให้รู้สึกเจ็บและระคายเคืองที่บริเวณผิวหนังโดยรอบ มีผื่นขึ้นขอบเขตชัดเจน มีขนาดที่แตกต่างกัน พบขุยสีขาวอมเทาทั่วบริเวณหนังศีษะ มักไม่ค่อยพบอาการอักเสบ เมื่อตรวจสอบด้วย UV-light ( Wood’s lamp ) อาจพบการติดเชื้อจากการเรืองแสงสีเขียวอมน้ำเงินของสาร pteridine จากการติดเชื้อรา M. Canis ซึ่งเชื้อก่อโรคที่พบบ่อย คือ T. Tonsurans, T. Violaceum, T. Verrucosum, M. Canis, M. Audouinii และ T. Schoenleinii เป็นต้น
  2. โรคกลากที่ใบหน้า ( Tinea faciei ) โรคกลากที่ใบหน้า สาเหตุหลักส่วนมากมักพบว่าผู้ป่วยด้วยโรคนี้ จะมีพฤติกรรมการเกา แกะ ใบหน้าโดยการใช้มือและเล็บที่ไม่สะอาด เล็บติดเชื้อรา หรือมีพฤติกรรมชอบสัมผัสสัตว์เลี้ยงโดยตรง ให้สัตว์เลียใบหน้า หรือการนําสัตว์เลี้ยงมาสัมผัสใบหน้าโดยตรง เมื่อติดเชื้อแล้ว โรคกลากที่ใบหน้า จะแสดงอาการขึ้นผื่นแดงเป็นวง ๆ มีขอบยกสีแดง บางครั้งพบว่ามีขุยสีขาวบริเวณกลางวงของผื่นเชื้อก่อโรคที่พบบ่อยคือ T. Rubrum, T. Tonsurans และ M. Canis เป็นต้น โรคกลากที่ใบหน้า หากสับสนกับโรคที่ดูคล้ายกันเช่นโรคสะเก็ดเงิน และโรคผิวหนังภูมิแพ้
  3. โรคกลากที่หนวดเครา ( Tinea Barbae หรือ Barber’s Itch ) มักพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิงอาการที่พบส่วนมากเกิดบริเวณรูขุมขนที่เกิดเส้นขน หนวด เครา บนใบหน้า เชื้อก่อโรคสามารถแทรกตัวลงไปตามรูขุมขน ( Hair follicle ) ลักษณะที่พบจะมีผื่นเป็นตุ่มแดงหรือมีหนองตามรูขุมขน มีขุยสีขาว ลักษณะวงผื่นไม่ชัดเจน ซึ่งอาจมีสาเหตุจากการสัมผัสสัตว์เลี้ยง เชื้อก่อโรคที่พบบ่อยคือเชื้อ T. Verrucosum ( จากวัว ) และเชื้อ T. Mentagrophytes Var. Equinum ( จากม้า )
  4. โรคกลากบริเวณลําตัว ( Tinea Corporis หรือ Ringworm ) โรคกลากบริเวณลําตัว มักจะรวมถึง บริเวณลำคอ หน้าท้อง หลัง แขน ข้อมือ ขา ข้อเท้า ส่วนมากมักพบในเด็ก หรือ ผู้ใหญ่ที่ทํางานหนักมีเหงื่อออกปริมาณมาก หรือบางรายอาจมีอาการแพ้เหงื่อร่วมด้วย ลักษณะผื่นมักพบกระจาย และมีผื่นหลายจุด ในบริเวณที่เกิดผื่นจะมีสีชมพูจนถึงสีแดง มีขุยผิวหนังสีขาวมีขอบยกให้เห็นชัดเจน ตรงกลางผื่นไม่มีรอยแดง และบางครั้งอาจพบลักษณะตุ่มหนอง เชื้อก่อโรคที่พบบ่อยบริเวณขอบผื่นคือเชื้อ T. Rubrum, T. Tonsurans, T. Verrucosum และ M.Canis
  5. โรคกลากบริเวณมือ ( Tinea manuum ) โรคกลากบริเวณมือ ส่วนมากมักจะพบผื่นบริเวณมือข้างใดข้างหนึ่ง มากกว่าที่จะพบพร้อมกันทั้งสองข้าง อาการผื่นจะไม่ชัดเจน มือแห้ง มีขุยปริมาณมาก ถ้าเป็นรุนแรงบางครั้งอาจพบว่าผิวหนังแฉะ แดง เป็นแผล เชื้อราก่อโรคที่พบบ่อยคือ T.Rubrum, T. Mentagrophytes var. Interdigitale และ E.Floccosum 
  6. โรคกลากบริเวณเท้า ( Tinea Pedis หรือ Athlete’s Foot) หรือที่เรียกกันว่า ฮ่องกงฟุตหรือน้ำกัดเท้า จะมีอาการผิวหนังแห้ง คัน และเป็นผื่นแดงโดยเฉพาะบริเวณง่ามนิ้ว อีกทั้งยังทำให้เกิดตุ่มหนองและตุ่มพองจนส่งผลให้รู้สึกเจ็บได้ พบในกลุ่มนักกีฬา หรือผู้ที่มีเหงื่อออกบริเวณเท้าปริมาณมาก และคนที่ชอบใส่รองเท้าปิดมิดชิดและแน่นกว่าปกติจนไม่มีทางระบายออกของอากาศ อาการของผิวจะแห้งมาก มีรอยแตกตามบริเวณกดทับที่ส้นเท้า บางครั้งพบขุยสีขาว หรือผิวหนังเปื่อยได้ มีกลิ่นค่อนข้างรุนแรง เชื้อราก่อโรคที่พบบ่อยคือ T. Rubrum, T. Interdigitale และ E. Floccosum
  7. โรคกลากที่เล็บมือ เล็บเท้า ( Tinea Unguium หรือ Dermatophytic Onychomycosis ) เชื้อราที่เล็บมักพบอาการของเล็บที่ผิดรูปร่าง ผิวเล็บไม่เรียบ เป็นหลุมหรือคลื่นเล็บ แตกหักง่าย สีเล็บผิดปกติ ส่วนมากถ้าเป็นรุนแรงมักจะมีการทําลายฐานเล็บ เกิดลักษณะบวมนูนใต้เล็บ ( Hyperkeratinization ) และพบขอบเล็บมีการอักเสบบวมแดงได้เชื้อก่อโรคที่พบบ่อยคือ T. Rubrum, T. Interdigitale, E. Floccosum และ M. Canis
  8. โรคกลากที่ขาหนีบ หรือ โรคสังคัง ( Tinea Cruris ) โรคสังคัง มีสีน้ำตาลแดง ผิวหนังจะตกสะเก็ดเป็นแผ่นและอาจจะมีตุ่มหนองและตุ่มพอง ทำให้มีอาการคันและรู้สึกระคายเคือง โรคผิวหนังชนิดนี้ มักพบบริเวณโคนขาหนีบ อาจเกิดข้างใดข้างหนึ่ง หรือเป็นทั้งสองข้าง ซึ่งเกิดจากเชื้อราชนิด Trichophytor Rubrum สังคังสามารถเกิดขึ้นได้กับทั้งผู้ชายและผู้หญิง แต่จะพบในผู้ชายได้มากกว่า โรคกลากที่ขาหนีบ หรือ โรคสังคัง นับได้ว่าเป็นโรคติดต่อที่สามารถติดต่อได้จากการสัมผัส หรือการใช้สิ่งของร่วมกัน เช่น เสื้อผ้า และผ้าเช็ดตัวร่วมกัน ดังนั้นการหลีกเลี่ยงใช้สิ่งของร่วมกัน
  9. โรคกลากชนิดไม่ระบุตัวตน ( Tinea Incognito ) โรคกลากชนิดนี้จะแสดงอาการก็ต่อเมื่อผู้ป่วยเคยสัมผัสหรือติดเชื้อโรคกลากมาก่อนแล้ว แต่หรือเป็นที่เข้าใจอีกประเภทคือโรคกลากที่เกิดจากการดื้อยาบางชนิด เช่น สเตียรอยด์ ดังนั้นโรคกกลาก 8 ประเภทที่กล่าวมาข้างต้นนั้น สามารถเป็นโรคกลากชนิดไม่ระบุตัวตนได้มาก่อน มักเกิดจากผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยที่ผิดและการรักษาที่ไม่ถูกต้อง เมื่อแพทย์คิดว่าผู้ป่วยเป็นแค่โรคผิวหนังธรรมดา จึงมีการจ่ายยาสเตียรอยด์ เป็นต้น ดังนั้น ผู้ป่วยต้องแน่ใจว่าตัวเองติดเชื้อกลากมาก่อน ถึงจะรักษาได้อย่างถูกประเภท

โรคกลาก ( Ringworm ) เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อรา มักจะพบตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นบริเวณหนังศีรษะ ใบหน้า ขาหนีบ มือ เล็บ สามารถพบได้ทุกเพศทุกวัยโดยเฉพาะวัยเด็ก

วิธีการรักษาโรคกลาก

มาตรฐานการรักษาด้วยยาทั่วไป

แพทย์วินิจฉัยสั่งจ่ายยารักษาตามความรุนแรงของอาการ ยารักษาการติดเชื้อราอันได้แก่ คีโตโคนาโซล โคลไตรมาโซล หรือไมโคนาโซล และยาตัวอื่นที่มีส่วนประกอบของตัวยาดังกล่าวสามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไปที่มีเภสัชกรกำกับจ่ายยาเท่านั้น ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้เวลาในการรักษาประมาณ 2 – 4 สัปดาห์ ผู้มีเชื้อราที่หนังศีรษะให้รับประทานยาต้านเชื้อราไปพร้อมกับการใช้แชมพูหรือครีมขจัดเชื้อรา แชมพูที่มีสังกะสีซัลไฟด์ 2.5% หรือซิลิเนียมไพรินีโอนหรือเซลีเนียมซัลไฟด์ 1% – 2.5% สามารถกำหนดให้บรรเทาอาการคันระคายเคืองและการแพร่กระจายของเชื้อราบนหนังศีรษะได้ การรักษารมาตรฐานทั่วไป จะใช้เวลา 6-8 สัปดาห์ของยาที่กำหนดหรือจนกว่ากลากจะหาย แม้ว่าหนังศีรษะจะสามารถรักษาให้หายขาดได้ในเวลาที่เหมาะสม แต่ก็อาจใช้เวลา 6-12 เดือนในการรักษาบางจุดบนหนังศีรษะที่ยากต่อการที่ผมจะงอกใหม่ได้

การรักษาด้วยวิธีธรรมชาติ

นอกจากวิธีรักษาโดยใช้ยาแล้ว สามารถใช้วิธีการรักษาแบบธรรมชาติ เพื่อรักษาอาการติดเชื้อราและบรรเทาอาการคันและระคายเคืองต่อเนื่องจากโรคกลากได้ ดังนี้

  1. หยดน้ำมันใบชา น้ำมันใบชาสกัด มีคุณสมบัติเป็นยาต้านจุลชีพที่ยอดเยี่ยมมานานแล้ว น้ำมันใบชาสามารถช่วยต่อสู้กับการติดเชื้อราจากโรคกลากทุกชนิด และยังสามารถบรรเทาอาการอักเสบและอาการคันได้ในทันทีโดยเจือจางน้ำมันใบชา 3-4 หยด เติมในน้ำมันมะพร้าว 1 ช้อนโต๊ะ ชุบสำลีแล้วซับลงบนบริเวณที่ติดเชื้อ เป็นเวลา 30 นาที แล้วล้างออก หากเป็นโรคกลากที่ศีรษะ ให้หยดน้ำมันใบชาลงในแชมพู สระผมสัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง
  2. ใช้ซิลเวอร์คอลลอยด์ ซิลเวอร์คอลลอยด์ถูกกำหนดว่าเป็นยาปฏิชีวนะและยาต้านเชื้อรา เมื่อใช้สัมผัสจุดที่ติดเชื้อโรคกลากแล้ว จะทำปฏิกิริยาทำลายเซลล์ของเชื้อราลึกลงไปในระดับเซลล์ของเชื้อรา ข้อดีที่สำคัญคือการใช้รักษาในทันที เป็นสารธรรมชาติซึ่งยืนยันว่าปลอดสารพิษ จากการศึกษาในปี ค.ศ. 2015 ที่ได้ตีพิมพ์ในวารสารโรคผิวหนังและเครื่องสำอาง ได้เน้นถึงประสิทธิภาพของซิลเวอร์คอลลอยด์เฉพาะที่ คือ โคลไตรมาโซล ( Clotrimazole ) นักวิจัยพบว่า มีประสิทธิภาพและปลอดภัย โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคกลากที่ศีรษะและลำตัว
  3. ใช้กระเทียม เช่น กระเทียมสด เพราะกระเทียมมีสรรพคุณในการช่วยฆ่าเชื้อรา กระเทียมมีส่วนประกอบของสารต้านเชื้อรา เช่น Ajoene และ Allici ซึ่งช่วยรักษาและต้านอาการติดเชื้อราจากโรคกลากได้ผลดี ตามภูมิปัญญาชาวบ้าน วิธรการใช้ง่าย ๆ เพียงน้ำกระเทียมสด ปลอกเปลือก ล้างให้สะอาด มาทุบให้แตก แล้วใช้ทา พอก ตามจุดที่ติดเชื้อ ทิ้งไว้ 30 นาทีแล้วล้างออก ทำอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ช่วยรักษาโรคผิวหนัง กลาก เกลื้อน และบรรเทาอาการคันได้ หรือ หากผิวหนังแสบจากการถูกสารจากกระเทียม สามารถเบาเทาด้วยการหยดน้ำมันมะพร้าวลงไปเป็นส่วนผสมได้ 
  4. ใช้ขมิ้น ขมิ้นเป็นสมุนไพรพืชหัว มีคุณสมบัติต้านเชื้อรา หากไม่มีขมิ้นสด สามารถใช้ขมิ้นผงได้ วิธีการรักษาคล้ายการใช้กระเทียม โดยเริ่มจากล้างขมิ้นให้สะอาด ปอกเปลือก นำมาทุบให้แตก ใช้ทา พอก บริเวณที่เป็นโรคกลากได้เลยทันที หรือ หยดน้ำมันมะพร้าว หรือ น้ำมันมะกอก แล้วพอกทิ้งไว้ 1-2 ชั่วโมงแล้วล้างออก ทำอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง นอกจากใช้ขมิ้นเป็นยาภายนอกแล้ว ยังใช้วิธีการนำผงขมิ้น 1 ช้อนชา ชงน้ำร้อนผสมนม ดื่มวันละ 2 ครั้ง ได้อีกด้วย
  5. ใช้น้ำมันหอมระเหยจากออริกาโน่ ออริกาโน่ เป็นสมุนไพรที่ใช้ประกอบอาหาร และยังนำมาสกัดน้ำมันใช้รักษาโรคกลากได้ โดยการหยดน้ำมันหอยระเหยจากออริกาโน่ลงผสมกับน้ำมันมะพร้าวหรือน้ำมันมะกอก แล้วใช้ทา พอก บริเวณที่เป็นโรคกลาก ทิ้งไว้ 1-2 ชั่วโมง แล้วล้างออกด้วยน้ำอุ่น ทำวันละ 2 – 3 ครั้ง
  6. ใช้ว่านหางจระเข้ เป็นที่ทราบกันดีว่า ว่านหางจระเข้ เป็นสมุนไพรธรรมชาติ ที่ช่วยเบาเทาอาการต่าง ๆ ได้หลากหลาย ว่านหางจระเข้ ยังใช้ลดอาการคันและรักษาโรคกลากได้อีกด้วย โดยให้ตัดเอาเนื้อว่านหางจระเข้ออกมาเป็นล้างให้สะอาด ปอกเปลือกและนำคราบสีเหลืองที่จะทำให้เกิดอาการคันออก บดให้ละเอียดใช้พอกทันที หรือ จะผสมน้ำมะนาว แล้วนำไปทา พอก บริเวณที่ติดเชื้อโรคกลาก ทิ้งไว้ ประมาณ 30 นาที อาการปวด คัน ก็จะทุเลาลง สามารถทำได้ทุกวัน วันละ 2-3 ครั้ง
  7. ใช้น้ำส้มสายชูแอปเปิ้ลไซเดอร์ น้ำหมักจากธรรมชาติจนได้น้ำส้มสายชูแอปเปิ้ลไซเดอร์ เป็นกรดของน้ำส้มสายชู มีสรรพคุณ ต้านอนุมูลอิสระมากมาย สามารถเร่งกระบวนการบำบัด และบรรเทาอาการคัน จากผิวหนังอักเสบ โรคกลาก ได้ โดยการสเปรย์ฉีดบริเวณที่ติดโรคกลาก ทิ้งไว้ให้แห้ง แล้วสเปรย์ซ้ำ ใช้ได้วันละ 1-2 ครั้ง หรือ น้ำส้มสายชูแอปเปิ้ลไซเดอร์ 2 ช้อนชาผสมน้ำอุ่นดื่มวันละ 2 ครั้ง

วิธีป้องกันโรคกลาก

  1. ไม่ใช้สิ่งของเครื่องใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น
  2. ทำความสะอาดร่างกายทุกวัน
  3. เมื่อสระผมแล้วเช็ดตัวกับศีรษะให้แห้งทุกครั้ง
  4. หมั่นล้างมือเป็นประจำเพื่อลดการแพร่กระจายหรือไปสัมผัสเชื้อ
  5. หลีกเลี่ยงเสื้อผ้าและบริเวณที่อับชื้น
  6. ระมัดระวังการใช้ห้องน้ำสาธารณะ
  7. ฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อราในสัตว์เลี้ยง

โรคกลากเป็นเรื่องใกล้ตัวที่อาจจะดูเหมือนไม่เป็นโรคร้ายแรงเท่าไร แต่เมื่อเป็นขึ้นมาแล้วก็ยากต่อการรักษาให้หายได้ในเวลาอันสั้น ดังนั้นเราจึงควรป้องกันไว้ดีกว่าแก้

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

1.”Symptoms of Ringworm Infections”. CDC. December 6, 2015. Archived from the original on 20 January 2016. Retrieved 5 September 2016.
2.Vena GA, Chieco P, Posa F, Garofalo A, Bosco A, Cassano N. Epidemiology of dermatophytoses: retrospective analysis from 2005 to 2010 and comparison with previous data from 1975. New Microbiol. 2012; 35(2):207-13.2.
3.Havlickova B, Czaika VA, Friedrich M. Epidemiological trends in skin mycoses worldwide. Mycoses. 2008; 51(4):2-15.3.
4.Kelly BP. Superficial fungal infections. Pediatr Rev. 2012; 33(4):e22-37.4.Rivera ZS, Losada L, Nierman WC. Back to the future for dermatophyte genomics. MBio. 2012; 3(6): e00381-12.5.
5.Dawson AL, Dellavalle RP, Elston DM. Infectious skin diseases: a review and needs assessment. Dermatol Clin. 2012; 30(1):141-51.6.Hainer BL. Dermatophyte infections. Am Fam Physician. 2003; 67(1):101-8.

ไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ A ( Influenza A หรือ H1N1 )

0
ไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ A ( Influenza A หรือ H1N1 )
โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A (H1N1) สามารถติดต่อกันได้ผ่านทางน้ำมูก น้ำลาย หากผู้ป่วยไอหรือจามแล้วคนปกติเข้าไปใกล้ก็มีโอกาสรับเชื้อได้และเกิดการติดต่อ
ไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ A ( Influenza A หรือ H1N1 )
โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A (H1N1) สามารถติดต่อกันได้ผ่านทางน้ำมูก น้ำลาย หากผู้ป่วยไอหรือจามแล้วคนปกติเข้าไปใกล้ก็มีโอกาสรับเชื้อได้และเกิดการติดต่อ

ไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ A เกิดจาก?

ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ ( Influenza A หรือ H1N1 ) จะถูกแบ่งออกเป็นสายพันธุ์ A และสายพันธุ์ B โดยในสายพันธุ์ที่มีชื่อเรียกว่า H1N1 จะถูกจัดอยู่ในสายพันธุ์ A หรือไข้หวัดใหญ่ 2009 เริ่มพบเมื่อปี พ.ศ. 2552 หรือ ค.ศ. 2009 ที่ประเทศเม็กซิโกและสหรัฐอเมริกา ต่อมาได้แพร่ออกไปยังอีกหลายประเทศทั่วโลก ปัจจุบันได้กลายเป็นไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลที่พบปะปนกับสายพันธุ์ต่างๆ ทั่วไป ซึ่งมักพบมากในช่วงฤดูหนาว

ผู้ที่มีความเสี่ยงติดเชื้อ

โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ H1N1 สามารถติดต่อกันได้ผ่านทางน้ำมูก น้ำลาย หากผู้ป่วยไอหรือจามแล้วคนปกติเข้าไปใกล้ก็มีโอกาสรับเชื้อได้และเกิดการติดต่อ โดยปกติแล้วสำหรับคนที่มีร่างกายแข็งแรงจะสามารถหายได้เองโดยไม่จำเป็นต้องพบแพทย์ แต่ให้ระวังในกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ ผู้ที่มีโรคประจำตัว โรคหัวใจ โรคไต โรคปอด หรือในผู้ที่ได้รับยากดภูมิ เมื่อได้รับเชื้ออาจทำให้เกิดการติดเชื้อซ้ำซ้อน อย่างการติดเชื้อที่คออาจเปลี่ยนไปติดที่ปอดได้ เช่น ในปอดที่ติดเชื้อไวรัสอยู่แล้วอาจติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำเติมเข้าไปอีก ก็อาจทำให้ตกอยู่ในภาวะอันตรายได้

โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A ( H1N1 ) สามารถติดต่อกันได้ผ่านทางน้ำมูก น้ำลาย หากผู้ป่วยไอหรือจามแล้วคนปกติเข้าไปใกล้ก็มีโอกาสรับเชื้อได้และเกิดการติดต่อ

การแพร่เชื้อ

เชื้อไวรัสที่อยู่ในเสมหะ น้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วย แพร่ติดต่อไปยังคนอื่น ๆ ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะเริ่มมีอาการหลังจากได้รับเชื้อไวรัส 1 – 3 วัน น้อยรายที่นานถึง 7 วัน โดยการไอจามรดกันโดยตรง หรือหายใจเอาฝอยละอองเข้าไป หากอยู่ใกล้ผู้ป่วยในระยะ 1 เมตร บางรายได้รับเชื้อทางอ้อมผ่านทางมือหรือสิ่งของเครื่องใช้ที่ปนเปื้อนเชื้อ เช่น แก้วน้ำ ลูกบิดประตู โทรศัพท์ ผ้าเช็ดมือ เป็นต้น เชื้อจะเข้าสู่ร่างกายทางจมูก ตา ปาก 

อาการที่พบ

  • มีไข้สูง 38 องศาเซลเซียสขึ้นไป
  • ปวดศีรษะ
  • ปวดเมื่อยตามเนื้อตัว
  • ไอ จาม
  • คลื่นไส้
  • อาเจียน
  • บางรายอาจท้องเสีย

การป้องกัน

  • ปิดปากเมื่อไอ หรือจามทุกครั้ง
  • ล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่ หรือเจลฆ่าเชื้อโรค
  • สวมหน้ากากอนามัย
  • หลีกเลี่ยงการพบปะหรือสัมผัสกับผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่

สำหรับการสังเกตตัวเองว่าหลังเป็นไข้ 3 วันแล้วมีอาการไม่ดีขึ้นหรือแย่ลง ควรรีบพบแพทย์ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

ไข้หวัดใหญ่ H1N1 ระบาด ถึงตายถ้าไม่ป้องกัน (ออนไลน์).สืบค้นจาก : https://med.mahidol.ac.th [26 เมษายน 2562].

ไข้หวัดใหญ่ (Seasonal Influenza) (ออนไลน์).สืบค้นจาก : http://beid.ddc.moph.go.th [26 เมษายน 2562].

วัณโรค ( Tuberculosis ) เกิดได้อย่างไรกัน

0
วัณโรค ( Tuberculosis หรือ TB ) เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Mycobacterium เกิดได้ในอวัยวะทุกส่วนของร่างกาย ส่วนใหญ่มักเกิดที่ปอดร้อยละ 80
วัณโรค ( Tuberculosis )
วัณโรค ( Tuberculosis หรือ TB ) เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Mycobacterium เกิดได้ในอวัยวะทุกส่วนของร่างกาย ส่วนใหญ่มักเกิดที่ปอดร้อยละ 80

วัณโรค ( Tuberculosis ) คือ ?

วัณโรค ( Tuberculosis หรือ TB ) เป็น โรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Mycobacterium จัดอยู่ในกลุ่ม Mycobacterium tuberculosis complex ชื่อ Mycobacterium tuberculosis วัณโรคเกิดได้ในทุกอวัยวะของร่างกาย ส่วนใหญ่มักเกิดที่ปอดร้อยละ 80 ซึ่งสามารถแพร่เชื้อได้ง่าย วัณโรคนอกปอดอาจพบได้ในอวัยวะอื่นๆได้แก่ เยื่อหุ้มปอด ต่อมน้ำเหลือง กระดูกสันหลัง ข้อต่อ ช่องท้อง ระบบทางเดินปัสสาวะ ระบบสืบพันธุ์ ระบบประสาท เป็นต้น

การแบ่งกลุ่มเชื้อมัยโคแบคทีเรียม

เชื้อมัยโคแบคทีเรียม ( Mycobacterium ) แบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม คือ

1) Mycobacterium tuberculosis complex ( MTBC ) เป็นสาเหตุของวัณโรคในคนและสัตว์มีจำนวน 8 สายพันธุ์ ที่พบบ่อยที่สุด คือ Mycobacterium tuberculosis มักก่อให้เกิดโรคในสัตว์ ซึ่งอาจติดต่อมาถึงคนได้โดยการบริโภคนมที่ไม่ได้ผ่านการฆ่าเชื้อ และเป็นสายพันธุ์ที่นำมาผลิตเป็นวัคซีนบีซีจี
2) Nontuberculous mycobacteria ( NTM ) มีจำนวนมากกว่า 140 สายพันธุ์ พบในสิ่งแวดล้อม ดิน น้ำหรือพบในสัตว์ เช่น นกส่วนใหญ่ไม่ก่อโรคในคน ยกเว้นในผู้ที่ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ
3) Mycobacterium leprae เป็นสาเหตุของโรคเรื้อน เชื้อวัณโรคมีลักษณะเป็นรูปแท่ง หนาประมาณ 0.3 ไมโครเมตรยาวประมาณ 2 – 5 ไมโครเมตร เมื่อย้อมด้วยวิธี Ziehl Neelsen จะติดสีแดง เชื้อวัณโรคไม่มีแคปซูล ไม่สร้างสปอร์ไม่สามารถเคลื่อนที่ได้อาศัยออกซิเจนในการเจริญเติบโต เชื้อวัณโรคที่อยู่ในละอองฝอยเมื่อผู้ป่วยไอ หรือจามออกมาสามารถล่องลอยอยู่ในอากาศได้นานถึง 30 นาที

วัณโรค เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Mycobacterium เกิดได้ในอวัยวะทุกส่วนของร่างกาย ส่วนใหญ่มักเกิดที่ปอดร้อยละ 80

ปัจจัยที่มีผลต่อการแพร่กระจายเชื้อวัณโรค

  • ปัจจัยด้านผู้ป่วยวัณโรค เช่น การป่วยเป็นวัณโรคปอด หลอดลม หรือกล่องเสียง ในระยะที่มีเชื้อ
    ในเสมหะ ผู้ป่วยที่มีแผลโพรงในปอดจะมีเชื้อจำนวนมาก เมื่อมีอาการไอ จาม หรืออาการอื่นๆ ที่ทำให้เกิดการหายใจแรงๆ
  • ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม เช่น สถานที่อับทึบและคับแคบ แสงแดดส่องไม่ถึง การถ่ายเทอากาศไม่ดี
  • ปัจจัยด้านระบบบริการ เช่น การวินิจฉัยและรักษาล่าช้า การให้ยารักษาไม่ถูกต้อง การรักษาไม่ครบ การทำหัตถการที่ทำให้เกิดละอองฝอย เช่น การกระตุ้นให้เกิดการไอ เป็นต้น 

ลักษณะอาการผู้ป่วยวัณโรค

  • ผู้ที่น่าจะเป็นวัณโรค ( presumptive TB ) หมายถึง ผู้ที่มีอาการหรืออาการแสดงเข้าได้กับวัณโรค
    เช่น ไอทุกวันเกิน 2สัปดาห์ ไอเป็นเลือด น้ำหนักลดผิดปกติ มีไข้ เหงื่อออกมากผิดปกติตอนกลางคืน เป็นต้น
  • ผู้ติดเชื้อวัณโรคระยะแฝง ( latent TB infection ) หมายถึงผู้ที่ได้รับเชื้อและติดเชื้อวัณโรคแฝงอยู่
    ในร่างกาย แต่ร่างกายมีภูมิคุ้มกันสามารถต่อสู้กับเชื้อ สามารถยับยั้งการแบ่งตัวของเชื้อโรควัณโรคได้ไม่มีอาการผิดปกติใดๆ และไม่สามารถแพร่เชื้อสู่ผู้อื่นได้
  • ผู้ป่วยวัณโรค ( TB disease ) หมายถึงผู้ที่ได้รับเชื้อและติดเชื้อวัณโรคแฝงอยู่ในร่างกายแต่ภูมิคุ้มกัน
    ไม่สามารถยับยั้งการแบ่งตัวของเชื้อวัณโรคได้เกิดพยาธิสภาพที่ทำให้ป่วยเป็นโรควัณโรค อาจมีอาการหรือไม่มีอาการก็ได้

วิธีการตรวจทางห้องปฏิบัติ

1) การตรวจหาเชื้อ acid-fast bacilli ( AFB ) ด้วยกล้องจุลทรรศน์ ( microscopic examination )
2) การเพาะเลี้ยงเชื้อและพิสูจน์ยืนยันชนิด ( mycobacterial culture and identification )
3) การทดสอบความไวต่อยา ( drug susceptibility testing )
4) การตรวจทางอณูชีววิทยา ( molecular biology )
5) การตรวจหาการตอบสนองของร่างกายต่อการติดเชื้อวัณโรค ( immune reactivity testing )

การป้องกันโรควัณโรค

  • ดูแลสุขภาพออกกำลังกายให้แข็งแรง
  • รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
  • ตรวจการทำงานของปอด
  • ตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อคัดกรองโรค โดยเฉพาะผู้สัมผัสผู้ป่วยใกล้ชิด บุคลากรทางการแพทย์
  • เลี่ยงการคลุกคลีใกล้ชิดผู้ป่วยวัณโรค
  • หากมีอาการน่าสงสัยว่าจะเป็นวัณโรค ควรรีบไปพบแพทย์

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

แนวทางการควบคุมวัณโรคประเทศไทย พ.ศ. 2561 – National Tuberculosis control
Programme Guidelines, Thailand 2018 .กรุงเทพฯ : สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค, 2561. 120 หน้า.
1. วัณโรค-การป้องกันและควบคุม

โรคจอประสาทตาเสื่อม ( Age-related Macular Degeneration – AMD )

0
โรคจอประสาทตาเสื่อม ( Age-related Macular Degeneration - AMD )
โรคจอประสาทตาเสื่อม หรือ โรคขั้วประสาทตาเสื่อม คือ ภาวะที่นำไปสู่การสูญเสียการมองเห็น ซึ่งพบได้มากในผู้ป่วยอายุ 60 ปีขึ้นไป
โรคจอประสาทตาเสื่อม ( Age-related Macular Degeneration - AMD )
โรคจอประสาทตาเสื่อม หรือ โรคขั้วประสาทตาเสื่อม คือ ภาวะที่นำไปสู่การสูญเสียการมองเห็น ซึ่งพบได้มากในผู้ป่วยอายุ 60 ปีขึ้นไป

โรคจอประสาทตาเสื่อม

โรคจอประสาทตาเสื่อม หรือ โรคขั้วประสาทตาเสื่อม ( Age-Related Macular Degeneration – AMD ) คือ ภาวะที่นำไปสู่การสูญเสียการมองเห็น ซึ่งพบได้มากในผู้ป่วยอายุ 60 ปีขึ้นไป มีสาเหตุจากจุดรับภาพตรงกลางของจอประสาทตาเสื่อม โรคจอประสาทตาเสื่อมเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการและประเภท

ประเภทจอประสาทตาเสื่อม

โรคจอประสาทตาเสื่อม แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ

1. จอประสาทตาเสื่อมชนิดแห้ง ( Dry AMD ) มีจุดสีเหลืองบริเวณจอรับภาพตรงกลางของประสาทตาซึ่งเรียกว่า ดรูเซ่น  ( Drusen ) สะสมอยู่ใต้จอประสาทตา จุดสีเหลืองนี้ทำลายเซลล์รับแสง ซึ่งนำไปสู่การมองเห็นที่บิดเบี้ยว โรคมักแสดงอาการอย่างช้า ๆ และในบางกรณีอาจกลายเป็นจอประสาทตาเสื่อมชนิดเปียกได้

2. จอประสาทตาเสื่อมชนิดเปียก ( Wet AMD ) พบเพียง 10 เปอร์เซ็นต์จากจำนวนผู้ป่วยทั้งหมด เกิดจากเส้นเลือดฝอยด้านหลังจอประสาทตาผิดปกติ ซึ่งมีของเหลวในหลอดเลือดรั่วไหลไปโดนจุดรับภาพ ทำให้สูญเสียการมองเห็นอย่างมากทั้งแบบถาวรและเฉียบพลัน

จอประสาทตาเสื่อมมีอาการอย่างไร

อาการจอประสาทเสื่อมชนิดแห้ง อาการในช่วงแรก ผู้ป่วยอาจมองเห็นภาพเบลอและจุดดำหรือจุดบอดตรงกลางภาพ เมื่อเวลาผ่านไป จุดดำในภาพจะเริ่มขยายใหญ่ซึ่งส่งผลต่อการมองเห็น ทำให้อ่านหนังสือลำบากหรือมองเห็นรายละเอียดไม่ชัด

อาการจอประสาทเสื่อมชนิดเปียก ทำให้ผู้ป่วยมองเห็นภาพบิดเบี้ยว พร่ามัว เห็นจุดดำขนาดใหญ่ในภาพซึ่งเป็นผลมาจากการที่เลือดไหลไปอยู่ในจุดรับภาพ

โรคจอประสาทตาเสื่อม หรือ โรคขั้วประสาทตาเสื่อม คือ ภาวะที่นำไปสู่การสูญเสียการมองเห็น ซึ่งพบได้มากในผู้ป่วยอายุ 60 ปีขึ้นไป

อาการโดยทั่วไปที่เหมือนกันของโรคจอประสาทตาเสื่อมทั้ง 2 ประเภท คือ

  1. เห็นสีผิดเพี้ยนหรืออาการคล้ายตาบอดสี 
  2. มองภาพเป็นลักษณะบิดเบี้ยว
  3. ปรับสายตาจากการมองเห็นในที่มืดมาที่สว่างไม่ได้
  4. มีอาการตาแพ้แสง มองในที่สว่างไม่ชัด
  5. เริ่มสูญเสียความสามารถในการมองเห็น ตาพร่ามัว มีจุดดำหรือเงาบังอยู่ตรงกลางภาพ

สาเหตุที่ทำให้จอประสาทตาเสื่อม

โรคจอประสาทตาเสื่อมนี้เป็นไปตามวัย สาเหตุเกิดจากจุดรับภาพซึ่งอยู่ตรงกลางจอประสาทตามีปัญหา โดยจุดรับภาพนี้เป็นจุดที่มีความไวต่อแสง ช่วยในการมองเห็นสิ่งต่าง ๆ ให้เห็นได้ชัดเจนที่สุดของจอประสาทตา

จอประสาทตาเสื่อมชนิดแห้ง เกิดจากเซลล์รับแสงในจุดรับภาพเริ่มเสื่อมสภาพลงเรื่อย ๆ ตามวัยที่เพิ่มขึ้น อาจมีของเสียสะสมอยู่ในจอประสาทตาซึ่งเรียกว่าดรูเซ่น และเซลล์รับแสงในจุดรับภาพมีจำนวนน้อยลง การมองเห็นบริเวณกลางภาพแย่ลง ทำให้ต้องใช้แสงสว่างมากกว่าปกติเมื่อต้องอ่านหนังสือหรือทำกิจกรรมระยะใกล้

จอประสาทเสื่อมชนิดเปียก เส้นเลือดฝอยเกิดใหม่ใต้จุดรับภาพขยายจำนวนมากขึ้น ถ้าเส้นเลือดฝอยก่อตัวผิดตำแหน่ง ทำให้ส่งผลเสียมากกว่าผลดีเพราะของเหลวในเส้นเลือดจะไหลซึมเข้าตา และทำให้ ประสิทธิภาพการทำงานของบริเวณจุดรับภาพลดลง

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เป็นโรคจอประสาทตาเสื่อม

โรคจอประสาทตาเสื่อมนั้นเกิดได้จากหลายปัจจัย ได้แก่

  1. ผู้ป่วยมีอายุที่มากขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป
  2. มีประวัติบุคคลในครอบครัวป่วยเป็นโรคจอประสาทตาเสื่อม
  3. ผู้ที่เป็นโรคหัวใจหลอดเลือด เช่น คอเลสเตอรอลในหลอดเลือดสูง หรือ ความดันโลหิตสูง
  4. ถูกแสงแดดหรือแสงอัลตราไวโอเลตเรื้อรัง
  5. มีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน
  6. ชอบสูบบุหรี่และดื่มสุราเป็นประจำ

การวินิจฉัยหาสาเหตุของโรคจอประสาทตาเสื่อม 

  1. ใช้ยาหยอดขยายม่านตาและอุปกรณ์ขยายส่องจอตา เพื่อดูความผิดปกติของจอประสาทตาด้านหลัง
  2. ทดสอบสายตาด้วยตารางชนิดพิเศษ จักษุแพทย์จะให้ผู้ป่วยทดสอบดูตารางชนิดพิเศษ หรือที่เรียกว่า ตารางแอมสเลอร์ ซึ่งตารางนี้มีทั้งเส้นแนวตั้งแนวนอน โดยมีจุดอยู่ตรงกลาง ถ้าผู้ป่วยมองเห็นเส้นบางเส้นไม่ชัด หรือเส้นจางหายไป แพทย์จะสันนิษฐานว่าผู้ป่วยอาจเป็นโรคจอประสาทตาเสื่อม
  3. ตรวจจากภาพจอประสาทตา ซึ่งการถ่ายภาพจอประสาทตาทำได้หลายวิธี อย่างการใช้กล้องฟันดัสซึ่งเป็นกล้องสำหรับใช้ถ่ายภาพจอประสาทตาแบบดิจิตอล
  4. เอกซเรย์ตรวจเส้นเลือดดวงตา แพทย์อาจวินิจฉัยโดยการเอกซเรย์ตรวจเส้นเลือดซึ่งทำให้เห็นภาพหลอดเลือดและการไหลเวียนของเลือดอย่างชัดเจน โดยฉีดสีซึ่งเรียกว่า ฟลูออเรสเซนเข้าไปในเส้นเลือดผ่านทางแขนซึ่งสีที่ว่าจะวิ่งผ่านหลอดเลือดไปยังจอประสาทตา แพทย์ถ่ายภาพเก็บไว้เป็นชุดภาพซึ่งจะทำให้เห็นว่าสีที่ฉีดไว้รั่วไหลออกจากหลอดเลือดบริเวณใดบ้างเพื่อระบุชนิดของโรคจอประสาทตาเสื่อมต่อไป

การรักษาจอประสาทตาเสื่อม

ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาจอประสาทตาเสื่อมให้หายขาดได้

การรักษาจอประสาทเสื่อมชนิดแห้ง

  1. หลีกเลี่ยงแสงแดดจ้า
  2. สวมแว่นกันแดดเพื่อป้องกันรังสีอัลตราไวโอเลต
  3. มาตามแพทย์นัดเพื่อประเมินอาการอย่างใกล้ชิด
  4. หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่
  5. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่ โดยเพิ่มอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินเอ วิตามินซี วิตามินอี สังกะสี และลูทีนเสริมช่วยด้วย
  6. การรักษาด้วยเลเซอร์อาจมีประโยชน์ในผู้ป่วยบางราย

การรักษาจอประสาทตาเสื่อมชนิดเปียก

  1. การใช้ยาประเภทยับยั้งการสร้างหลอดเลือดจำพวก ยาลูเซนทิส ยามาคูเจน เบวาซิซูแมบ อะฟลิเบอร์เสบ แรนิบิซูแมบ ยาอาวาสติน ยาอายลี เป็นต้น
  2. การรักษาด้วยโฟโตไดนามิก เป็นการรักษา 2 ขั้นตอนโดยใช้ยาไวต่อแสงไปทำลายหลอดเลือดที่ผิดปกติ โดยแพทย์จะฉีดยาเข้าไปในกระแสเลือดเพื่อให้ซึมบริเวณที่หลอดเลือดมีความผิดปกติของดวงตา แล้วจึงฉายแสงเลเซอร์เย็นเข้าไปในตาเพื่อกระตุ้นยาให้ทำลายหลอดเลือดที่ผิดปกติอีกทีหนึ่ง
  3. การผ่าตัด เป็นการผ่าตัดเอาเส้นเลือดเกิดใหม่ออกมา  

ภาวะแทรกซ้อนของจอประสาทตาเสื่อม

ภาวะแทรกซ้อนของโรคจอประสาทตาเสื่อม คือ ผู้ป่วยไม่สามารถทำงานหรือทำกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยตนเองได้ดีเท่าเดิม เนื่องจากการมองเห็นลดลง เช่น การอ่าน และการขับขี่ เป็นต้น โดยประมาณร้อยละ 30 ของผู้ป่วยที่เป็นโรคจอประสาทตาเสื่อมทั้งหมด จะประสบกับความวิตกกังกล หรืออาจมีภาวะโรคซึมเศร้า ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ไม่สามารถขับรถยนต์ได้ หรือหากจำเป็นต้องขับรถ แพทย์จะให้ผู้ป่วยทดสอบการมองเห็นก่อนเพื่อให้แน่ใจว่าผู้ป่วยสามารถควบคุมรถได้ ซึ่งเป็นการป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดอุบัติเหตุได้

การป้องกันโรคจอประสาทตาเสื่อม

โรคจอประสาทตาเสื่อมยังไม่มีวิธีป้องกันที่ได้ผล แต่มีวิธีช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคได้ โดยการรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เช่น ออกกำลังกายให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่ดีต่อร่างกาย ควบคุมน้ำหนัก และ เลิกบุหรี่ แม้จอประสาทตาเสื่อมจะไม่สามารถป้องกันหรือรักษาได้

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

http://www.med.cmu.ac.th/
ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ. “กระจกตาอักเสบ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.bangkokhealth.com. [18 ธ.ค. 2016].