Home Blog Page 118

โรคงูสวัด ใครบ้างที่อาจเป็นกลุ่มเสี่ยง

0
โรคงูสวัด ( Herpes Zoster )
โรคงูสวัด ( Herpes Zoster, Shingles ) เกิดจากการติดเชื้อไวรัสสาริเซลลา ซึ่งเป็นเชื้อตัวเดียวกับที่ทำให้เกิดโรคอีสุกอีใส สามารถเข้าสู่ร่างกายได้ทั้งการสูดดมอากาศจาการหายใจ หรือการสัมผัสตุ่มน้ำใส
โรคงูสวัด ( Herpes Zoster )
โรคงูสวัด ( Herpes Zoster, Shingles ) เกิดจากการติดเชื้อไวรัสสาริเซลลา

โรคงูสวัด คือ

โรคงูสวัด ( Herpes Zoster ) เกิดจากการติดเชื้อไวรัสสาริเซลลา ( varicella virus ) เป็นเชื้อตัวเดียวกับที่ทำให้เกิดโรคอีสุกอีใส เชื้อไวรัสชนิดนี้สามารถเข้าสู่ร่างกายได้ทั้งการสูดดมอากาศจาการหายใจ หรือการสัมผัสตุ่มน้ำใสโดยตรง เชื้อไวรัสสาริเซลลาสามารถแฝงตัวอยู่ได้เป็นเวลานานรอจนกว่าผู้ที่ร่างกายอ่อนแอ ภูมิคุ้มกันต่ำลง หรือผู้ที่พักผ่อนไม่เพียงพอเป็นเวลานานๆ โรคนี้ก็จะแสดงอาการออกมาหลังจากมีไข้ 2-3 วัน 

อาการของโรคงูสวัด

    • มีไข้ต่ำๆ
    • อ่อนเพลีย
    • ปวดเมื่อยตามร่างกาย
    • มีอาการปวดแสบรอนบริเวณผิวหนังประมาณ 2-3 วัน
    • มีผื่นแดงขึ้นและกลายเป็นตุ่มนูนใส ( ผื่นมักเรียงกันเป็นกลุ่ม หรือเป็นแถวยาวตามแนวเส้นประสาท )

อาการแทรกซ้อนของโรคงูสวัด

    • การติดเชื้อแบคทีเรีย
    • ตาอักเสบ
    • แผลที่กระจกตา
    • ภาวะแทรกซ้อนทางหู
    • ผู้ที่มีภูมิต้านทานต่ำ เช่น ผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี หรือผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด โรคงูสวัด อาจเป็นรุนแรงและแพร่กระจายได้ ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงแต่พบน้อย เช่น สมองและปอดอักเสบ

กลุ่มผู้ที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคงูสวัด

    • พบได้บ่อยในผู้ป่วยที่อายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป
    • ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ
    • ผู้ที่รับประทานยากดภูมิคุ้มกันอยู่ 

การรักษาโรคงูสวัด

    • รักษาตามอาการ เชน รับประทานยาแกปวด เนื่องจากสามารถหายไดเอง
    • ผู้ป่วยสูงอายุหรือผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ แพทย์จะให้ยาต้านไวรัสเพื่อลดความรุนแรงของโรค
    • ประคบแผลด้วยน้ำเกลือจะช่วยทำให้แผลแห้งเร็วขึ้น
    • บางคนที่ติดเชื้อแบคทีเรียแพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะ เพื่อลดการติดเชื้อที่บริเวณผิวหนัง

การป้องกันโรคงูสวัด

    • ฉีดวัคซีนป้องกันโรค
    • แยกข้าวของเครื่องใช้ เช่น เสื้อผ้า ผ้าเช็ดตัว ที่นอน
    • ควรแยกผู้ป่วยไม่ให้ใกล้ชิดกับผู้ที่ยังไม่เคยเป็นโรค เช่น เด็กเล็ก และหญิงตั้งครรภ์ เพราะเชื้อโรคสามารถแพร่กระจายได้โดยการหายใจรดกัน
    • หากมีอาการปากเปื่อย ลิ้นเปื่อยให้ใช้น้ำเกลือกลั้วปาก
    • ตัดเล็บสั้น ไม่แกะเกา
    • อาบน้ำฟอกสบู่ให้สะอาด เพื่อป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำเติม
    • ไม่พ่นยาสมุนไพรหรือยาพื้นบ้านลงไปที่แผล เพราะอาจทำให้แผลเกิดการติดเชื้อเพิ่มขึ้นได้ แผลหายช้า และกลายเป็นแผลเป็นได้

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

โรคงูสวัด (ออนไลน์). สืบค้นจาก : https://www.si.mahidol.ac.th [16 พฤษภาคม 2562].

โรคแพ้ภูมิตัวเอง หรือโรค SLE ( Systemic Lupus Erythematosus, SLE )

0
โรคแพ้ภูมิตัวเอง หรือโรค SLE ( Systemic Lupus Erythematosus, SLE )
โรคแพ้ภูมิตัวเอง หรือโรค SLE ( Systemic Lupus Erythematosus, SLE ) คือเป็นโรคภูมิต้านทานตนเองทำลายเนื้อเยื่อตัวเอง ทำให้เกิดการอักเสบเรื้อรังของอวัยวะต่างๆในร่างกาย
โรคแพ้ภูมิตัวเอง หรือโรค SLE ( Systemic Lupus Erythematosus, SLE )
โรคแพ้ภูมิตัวเอง หรือโรค SLE คือเป็นโรคภูมิต้านทานตนเองทำลายเนื้อเยื่อตัวเอง ทำให้เกิดการอักเสบเรื้อรังของอวัยวะต่างๆในร่างกาย

โรคแพ้ภูมิตัวเอง ( LUPUS ) หรือโรค SLE

โรคแพ้ภูมิตัวเอง ( Lupus ) หรือโรค SLE ( Systemic Lupus Erythematosus, SLE ) คือ เป็นโรคภูมิต้านทานตนเองทำลายเนื้อเยื่อตัวเอง ทำให้เกิดการอักเสบเรื้อรังของอวัยวะต่างๆในร่างกาย มักพบได้บ่อยในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย อาการของโรคจะเป็นๆ หายๆ มีการกำเริบของอาการเป็นระยะ

สาเหตุของโรคแพ้ภูมิตัวเอง

  • พันธุกรรม การถ่ายทอดทางพันธุกรรมอาจส่งต่อลักษณะบางอย่างที่ทำให้มีโอกาสเป็นโรคได้
  • การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน เช่น การเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนของเพศหญิงในช่วงตั้งครรภ์ หรือช่วงวัยที่กำลังเจริญเติบโต
  • การติดเชื้อ การได้รับเชื้อต่าง ๆ อย่างไวรัสบางชนิด
  • การใช้ยา ยาบางประเภท เช่น ยาต้านอาการชัก ยาปฏิชีวนะ และยากลุ่มควบคุมความดันโลหิต
  • การได้รับสาร เช่น สารเคมี การสูบบุหรี่ และยาสูบต่าง ๆ
  • แสงแดด สำหรับคนที่มีผิวไวต่อแดด การสัมผัสแสงแดดอาจทำให้เกิดรอยโรค เป็นเหตุให้เกิดอาการต่าง ๆ ตามมา

อาการของโรคแพ้ภูมิคุ้มกันตัวเอง

  • รู้สึกเหนื่อยล้า อ่อนเพรีย
  • เบื่ออาหาร
  • น้ำหนักลดผิดปกติ
  • ปวดศีรษะ มีไข้
  • ตาแห้ง ตาบวม
  • ผื่นบริเวณใบหน้าและมีการกระจายเป็นรูปผีเสื้อ
  • อาการปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ ข้อเข่า ข้อเท้า ข้อมือ ข้อนิ้ว
  • อาการแพ้แดด
  • แผลในปาก
  • ไตอักเสบ เพราะโปรตีนหรือไข่ขาวในปัสสาวะมากกว่าปกติ
  • อาการชัก
  • อาการทางระบบประสาทอื่น ๆ
  • เยื่อหุ้มปอดหรือหัวใจหรือเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
  • อาการซีด
  • อาการผมร่วง
  • มีอาการเจ็บหน้าอก ไอ
  • คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง

คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยโรคแพ้ภูมิตัวเอง หรือ SLE

  • กินยาตามที่แพทย์กำหนดอย่างเคร่งคัดไม่เพิ่ม หรือลดปริมาณยาเอง
  • หลีกเลี่ยงการถูกแสงแดดโดยตรงถ้าไม่จำเป็น หากต้องออกแดดควรสวมหมวกปีกกว้าง กางร่ม ใส่เสื้อแขนยาว
    และใช้ยากันแดดที่ป้องกันแสงอัลตราไวโอเลตเป็นประจำทุกวัน
  • หลีกเลี่ยงความเครียด หรือเรื่องที่ทำให้กังวนใจ เศร้า
  • หากิจกรรมนันทนาการ คิดในเชิงสร้างสรรค์ ดูหนัง ฟังเพลง
  • อยู่ในที่อากาศถ่ายเทได้สะดวก หลีกเลี่ยงบริเวณที่มีผู้คนหนาแน่น
  • เสริมสร้างภูมิต้านทานในร่างกายให้แข็งแรง โดยรับประทานอาหารที่สุกสะอาด รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ไม่ควรตั้งครรภ์
  • ปรึกษาแพทย์ติดตามอาการ และการรักษาอย่างสม่ำเสมอไม่ควรหยุดยาเอง
  • หากอาการกำเริบรีบนำผู้ป่วยไปพบแพทย์ทันที เพื่อลดความเสี่ยงจากการเสียชีวิตได้

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

โรคแพ้ภูมิตัวเอง (SLE) รักษาได้ (ออนไลน์). สืบค้นจาก : www.thaihealth.or.th (สสส) [2 พฤษภาคม 2562].

โรค SLE ในเด็ก (ออนไลน์). สืบค้นจาก : https://med.mahidol.ac.th [2 พฤษภาคม 2562].

โรคดักแด้ ( Epidermolysis Bullosa )

0
โรคดักแด้ ( Epidermolysis Bullosa )
โรคดักแด้ ( Epidermolysis Bullosa ) คือ โรคความผิดปกติของผิวหนังที่พบได้ยากมากผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้จะมีผิวหนังแห้งแตก ผิวหนังเปาะบาง และเกิดการติดเชื้ออย่างรุนแรง
โรคดักแด้ ( Epidermolysis Bullosa )
โรคดักแด้ ( Epidermolysis Bullosa ) คือ โรคความผิดปกติของผิวหนังที่พบได้ยากมากผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้จะมีผิวหนังแห้งแตก ผิวหนังเปาะบาง และเกิดการติดเชื้ออย่างรุนแรง

โรคดักแด้

โรคดักแด้ ( Epidermolysis Bullosa ) คือ โรคความผิดปกติของผิวหนังที่พบได้ยากมากผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้จะมีผิวหนังแห้งแตก ผิวหนังเปราะบาง และเกิดการติดเชื้ออย่างรุนแรง เนื่องจากโปรตีนในเยื่อบุที่รองรับเซลล์ทำงานผิดปกติในชั้นหนังกำพร้าและชั้นหนังแท้ผิวหนังแยกออกจากกัน มักเกิดขึ้นในเด็กหรือเรียกว่า ” เด็กดักแด้ ” เป็นโรคทางพันธุกรรมสามารถถ่ายทอดจากพ่อแม่สู่ลูก

ลักษณะการกลายพันธุ์ของโรคดักแด้

1. การสืบทอดทางพันธุกรรมแบบยีนส์เด่นบนออโตโซม ( Autosomal Dominant Inheritance ) ผู้ป่วยได้รับยีนกลายพันธุ์มาจำนวน 1 ยีน อาจมาจากทางพ่อ หรือทางแม่ทางใดทางหนึ่ง
2. การสืบทอดทางพันธุกรรมแบบยีนส์ด้อยบนออโตโซม ( Autosomal Recessive Inheritance) ผู้ป่วยได้รับยีนกลายพันธุ์จากพ่อและแม่ โดยยีนทั้ง 2 จะต้องเกิดการกลายพันธุ์ที่เหมือนกัน

อาการของโรคดักแด้

  • ผู้ป่วยตัวแดง
  • เกิดตุ่มพุพองตามผิวหนัง
  • ผิวเปราะบางหลุดลอกง่าย
  • ผิวแห้งตกสะเก็ดไปทั้งตัว
  • เจ็บบริเวณผิวหนัง
  • ผิวหนังแห้งตึงและหดตัวจนเกิดการดึงรั้ง
  • ตาปลิ้น
  • ปากปลิ้น
  • เกิดแผลที่เยื่อเมือกและอวัยวะภายใน
  • เล็บเปราะง่าย
  • ฟันผุและเกิดแผลซ้ำที่รอบปาก 

ข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้ป่วยโรคดักแด้

  • เลี่ยงการถูหรือสัมผัสผิวหนังแรง ๆ
  • หลีกเลี่ยงการสวมเสื้อผ้าที่รัด หรือเสียดสีผิวหนัง
  • สวมเสื้อผ้าที่ทำมาจากเส้นใยผ้าฝ้าย เพื่อลดความร้อนในร่างกาย
  • ควรอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เย็นสบาย หลีกเลี่ยงแสงแดด เพื่อให้เหงื่อออกน้อย
  • ไม่ควรแกะ แคะ หรือเกาผิวหนัง รวมทั้งเลี่ยงกิจกรรมที่ทำให้ผิวหนังได้รับบาดเจ็บหรือถูกเสียดสี
  • ไม่ควรเดินระยะไกล เนื่องจากจะทำให้เกิดตุ่มพองน้ำใสขึ้นที่ฝ่าเท้าได้
  • เลือกรองเท้าที่สวมใส่สบายและพอดีเท้า ไม่มีที่เสริมส้นอยู่ภายในรองเท้า

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

โรคดักแด้ (ออนไลน์). สืบค้นจาก : www.pobpad.com [2 พฤษภาคม 2562].

โรคคางทูม ( Mumps ) คืออะไร

0
โรคคางทูม ( Mumps ) คืออะไร ?
โรคคางทูม ( Mumps ) คือ โรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสมักจะเกิดขึ้นในวัยเด็กคางทูมสามารถแพร่กระจายได้ง่าย โดยละอองสารคัดหลั่งจากน้ำลายที่เข้าไปในจมูกผ่านการสูดดม
โรคคางทูม ( Mumps ) คืออะไร ?
โรคคางทูม ( Mumps ) คือ โรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสมักจะเกิดขึ้นในวัยเด็กคางทูมสามารถแพร่กระจายได้ง่าย โดยละอองสารคัดหลั่งจากน้ำลายที่เข้าไปในจมูกผ่านการสูดดม

คางทูมคืออะไร?

โรคคางทูม ( Mumps ) คือ โรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสมักจะเกิดขึ้นในวัยเด็กคางทูมสามารถแพร่กระจายได้ง่าย โดยละอองสารคัดหลั่งจากน้ำลายที่เข้าไปในจมูกผ่านการสูดดมโรคนี้มักใช้เวลา 2 ถึง 3 สัปดาห์จึงจะปรากฏอาการดังต่อไปนี้

อาการของโรคคางทูม

  • มีไข้สูง ( 38 องศาเซลเซียส หรืออาจสูงกว่า )
  • ปวดศีรษะ
  • อ่อนเพลีย
  • เบื่ออาหาร
  • อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
  • กระหายน้ำ
  • ปวดบริเวณข้างแก้มและใบหู
  • อาการปวดเวลาขยับขากรรไกร
  • ต่อมน้ำลายจะบวมมากขึ้นในเวลา 1-3 วัน

สาเหตุของโรคคางทูม

โรคคางทูมเกิดจากการติดเชื้อไวรัสในกลุ่มพารามิกโซ ไวรัส ( paramyxovirus ) โดยเชื้อจะอยู่ในน้ำลายของผู้ป่วย และติดต่อถึงกันผ่านการไอ จามรดกัน รวมทั้งสัมผัสสิ่งของเครื่องใช้ที่ปนเปื้อนน้ำลายของผู้ป่วย
แพทย์วินิจฉัยโรคคางทูมได้จากประวัติอาการและการตรวจร่างกายแต่ที่แน่นอน คือ จากการตรวจหาไวรัสจากน้ำลายสารคัดหลั่งในช่องปาก เก็บตัวอย่างปัสสาวะ จากการเจาะน้ำไขสันหลัง หรือตรวจสารก่อภูมิต้านทานในเลือด

การรักษาโรคคางทูม

  • รักษาตามอาการอาจให้ยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการ
  • การนอนพัก 2-3 วัน หรือจนกว่าอาการไข้จะลดลง
  • ประคบเย็นหรือร้อนบริเวณที่บวมเพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวด 

ภาวะแทรกซ้อนของโรคคางทูม

โรคคางทูมทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้หลายอย่าง มักพบบ่อยในผู้ใหญ่มากกว่าเด็ก

  • เยื่อหุ้มสมองอักเสบ หรือเป็นไข้สมองอักเสบได้ เนื่องจากเชื้อโรคเข้าสู่กระแสเลือดทำให้เชื้อโรคเข้าสู่เยื่อหุ้มสมองจึงทำให้มีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรง
  • การอักเสบของอัณฑะหนึ่งหรือทั้งสองข้าง เมื่อผู้ชายเป็นโรคคางทูมจะมีอาการอักเสบที่อัณฑะเจ็บปวด และรู้สึกอึดอัดอาจทำให้เป็นหมัดได้
  • การอักเสบของเนื้อเยื่อเต้านม
  • การอักเสบของต่อมน้ำลายหนึ่งหรือทั้งสองข้าง
  • มดลูกอักเสบ การอักเสบของรังไข่หนึ่งหรือทั้งสองข้างหากผู้หญิงเป็นโรคคางทูมจะมีอาการปวดท้องน้อย
  • การอักเสบของตับอ่อน
  • อาการหูหนวก เนื่องจากคางทูมอยู่ใกล้ระบบประสาทหูอาจส่งผลกระทบต่อการได้ยินได้

การป้องการโรคคางทูม

โรคคางทูมสามารถป้องกันได้โดยการฉีดวัคซีน ซึ่งต้องฉีดวัคซีนตั้งแต่อายุ 9 ถึง 12 เดือน และต้องฉีดซ้ำอีกครั้งในช่วง อายุ 4 ถึง 6 ปี

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
www.hopkinsmedicine.org
www.thaihealth.or.th (สสส)

ไข้หูดับ หรือโรคติดเชื้อ สเตรฟโตคอกคัส ซูอิส ( Streptococcus Suis )

0
ไข้หูดับ หรือโรคติดเชื้อ สเตรฟโตคอกคัส ซูอิส ( Streptococcus suis )
ไข้หูดับ หรือโรคติดเชื้อ สเตรฟโตคอกคัส ซูอิส ( Streptococcus suis ) คือ เชื้อที่ทำให้สุกรป่วย และตายบ่อย ซึ่งในโรคนี้เป็นการติดต่อจากหมูสู่คนได้
ไข้หูดับ หรือโรคติดเชื้อ สเตรฟโตคอกคัส ซูอิส ( Streptococcus suis )
ไข้หูดับ หรือโรคติดเชื้อ สเตรฟโตคอกคัส ซูอิส ( Streptococcus suis ) คือ เชื้อที่ทำให้สุกรป่วย และตายบ่อย ซึ่งในโรคนี้เป็นการติดต่อจากหมูสู่คนได้

ไข้หูดับ หรือโรคติดเชื้อ สเตรฟโตคอกคัส ซูอิส คือ

ไข้หูดับ หรือโรคติดเชื้อ สเตรฟโตคอกคัส ซูอิส ( Streptococcus suis ) คือ เชื้อที่ทำให้สุกรป่วย และตายบ่อย ซึ่งในโรคไข้หูดับเป็นการติดต่อจากหมูสู่คนได้ ผู้ป่วยที่พบเป็นกลุ่มชายวัยกลางคน และผู้สูงอายุ กว่าครึ่งของผู้ป่วยมีประวัติดื่มสุราเป็นประจำ มักพบว่ามีโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ไต มะเร็ง ยังมีประวัติการรับประทานลาบ หลู้ ส้า ดิบ มีรายงานพบผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น โดยตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมถึง 19 ตุลาคม 2561 มีผู้ป่วยโรคไข้หูดับแล้ว 274 ราย เสียชีวิต 26 ราย ผู้ป่วยส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มอายุ 65 ปีขึ้นไป รองลงมาอายุ 45-54 ปี ภาคที่มีผู้ป่วยมากที่สุดคือ ภาคเหนือ จำนวน 199 ราย หรือเกือบ 3 ใน 4 ของผู้ป่วยทั้งหมด จังหวัดที่มีอัตราป่วยสูงสุด 5 อันดับแรก คือ พะเยา อุตรดิตถ์ กำแพงเพช นครสวรรค์ และสระแก้ว

ผู้ที่เสี่ยงติดเชื้อโรคไข้หูดับ

    1. ผู้ที่สัมผัสกับหมูที่ติดโรคโดยตรง เช่น ผู้เลี้ยงหมู ผู้ที่ทำงานในโรงฆ่าสัตว์ ผู้ที่ชำแหละเนื้อหมู และผู้ที่รับประทานเนื้อหมูดิบ เป็นต้น
    2. กลุ่มที่เสี่ยงจะมีอาการป่วยรุนแรงหากติดเชื้อ ได้แก่ ผู้ที่ติดสุราเรื้อรัง ผู้มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน ไต มะเร็ง หัวใจ ผู้ที่เคยตัดม้ามออก เป็นต้น
    3. การสัมผัสเนื้อหมู เลือดดิบ หรือสุก ๆ ดิบ ๆ ของหมูที่ป่วย

อาการโรคไข้หูดับ

    • เมื่อผู้ป่วยได้รับเชื้อเข้าสู่ร่างกายจะมีระยะเวลาฟักตัว 3-5 วัน
    • เวียนหัวจนทรงตัวไม่ได้
    • ปวดหัวอย่างรุนแรง
    • ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ
    • อาเจียน
    • หูหนวก
    • คอแข็ง
    • ท้องเสีย
    • กรณีที่เชื้อติดเข้าสู่กระแสเลือดจะส่งผลกระทบไปถึงเยื่อหุ้มสมองจะทำให้เกิดอาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ม่านตาอักเสบ
    • ประสาทหูชั้นในทั้ง 2 ข้าง จะทำให้เกิดอาการเป็นหนองบริเวณปลายประสาทรับเสียงและประสาททรงตัว จึงทำให้เกิดอาการหูดับ หูตึง จนถึงขั้นทำให้เกิดอาการหูหนวกตามมาในที่สุด

วิธีป้องกันโรคไข้หูดับ

1. ปรุงอาหารที่ทำจากเนื้อหมูให้สุกจนทั่วต้องไม่มีสีแดง
2. ควรเลือกซื้อเนื้อหมูที่ไม่มีกลิ่นคาว สีคล้ำ ผ่านการตรวจสอบมาตรฐานจากโรงฆ่าสัตว์
3. ผู้ที่สัมผัสกับหมูที่ติดโรค โดยเฉพาะผู้เลี้ยงหมู ผู้ที่ทำงานในโรงฆ่าสัตว์ ผู้ที่ชำแหละเนื้อหมู สัตวบาล สัตวแพทย์ ควรสวมรองเท้า บู๊ทยาง สวมถุงมือ รวมถึงสวมเสื้อที่รัดกุมระหว่างทำงาน
4. หากมีบาดแผลต้องปิดแผลให้มิดชิด
5. ล้างมือหลังสัมผัสกับหมูทุกครั้ง

ข้อควรระวัง หากมีอาการดังที่กล่าวมาข้างต้นให้รีบพาผู้ป่วยไปพบแพทย์ทันที และบอกอาการที่เป็นประวัติการกินหรือสัมผัสกับหมูที่เป็นโรค เพื่อลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยได้

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

กรมควบคุมโรค https://ddc.moph.go.th/th/site/newsview/view/978

โรคสังคัง ( Tinea Cruris )

0
โรคสังคัง ( Tinea Cruris )
โรคสังคัง ( Tinea Cruris ) เป็นโรคเชื้อราผิวหนังที่พบได้บ่อยจากเชื้อรา พบได้มากในภูมิอากาศร้อนชื้น ทำให้เกิดอาการคันในร่มผ้า ผื่นแดงอาจเป็นแผ่น หรือเป็นวง
โรคสังคัง ( Tinea Cruris )
โรคสังคัง ( Tinea Cruris ) เป็นโรคเชื้อราผิวหนังที่พบได้บ่อยจากเชื้อรา พบได้มากในภูมิอากาศร้อนชื้น ทำให้เกิดอาการคันในร่มผ้า ผื่นแดงอาจเป็นแผ่น หรือเป็นวง

สังคัง

สังคัง ( Tinea Cruris ) หรือ โรคกลากที่บริเวณขาหนีบและลามมาที่อวัยวะเพศ เป็นโรคเชื้อราผิวหนังที่พบได้บ่อยจากเชื้อราในกลุ่ม Dermatophyte โดยเป็นโรคที่พบได้มากในภูมิอากาศร้อนชื้น พบในผู้ใหญ่มากกว่าในเด็ก และพบในผู้ชายมากกว่าในผู้หญิงเป็น 3 เท่า

การติดเชื้อรานั้น เกิดจากการติดเชื้อรามาจากบริเวณอื่นของร่างกายตนเอง เช่น ติดมาจากเชื้อราบริเวณ มือ เท้า หรือติดมาจากสิ่งของที่ใช้ร่วมกับผู้มีเชื้อรานี้ เช่น ผ้าขนหนู เสื้อผ้า หวี กรรไกรตัดเล็บ เป็นต้น

โรคสังคังเกิดจากอะไร

สังคังเกิดจากการติดเชื้อราในกลุ่มเดอมาโทไฟท์ (Dermatophytes) เช่น เดียวกับโรคกลาก ซึ่งเชื้อเหล่านี้ปกติจะอาศัยอยู่บนผิวหนัง เล็บ และเส้นผม เมื่อผิวหนังมีความชื้นบ่อยๆและอุณหภูมิสูง ทำให้เชื้อราเจริญเติมโตได้ดีจนเกิดการติดเชื้อลุกลามไปยังบริเวณผิวหนังใกล้เคียง หรือแแพร่กระจายติดผู้อื่น

ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงที่จะเกิดโรคสังคัง โรคสังคังเกิดจากอะไร

1. เหงื่อและความอับชื้นจะทำให้เชื้อราเจริญเติบโตและเพิ่มจำนวนมากขึ้น เช่น นักกีฬาที่เหงื่อออกมาก
2. พบในคนอ้วนที่ขาเบียดชิด ทำให้เกิดกลิ่นอับ และมีเหงื่อออกมากตามบริเวณจุดอับของร่างกาย
3. พบในผู้ป่วยเบาหวานที่รางกายติดเชื้อได้ง่ายกว่าคนปกติ

อาการโรคสังคัง

อาการของโรคสังคัง คือ ผื่นแดงอาจเป็นแผ่น หรือเป็นวง มีผื่นแดงคัน มีขุย ขอบของผื่นนูนชัด ขึ้นกับชนิดย่อยของเชื้อรา Dermatophyte ผื่นมักมีอาการคัน และ แสบ บริเวณขาหนีบ อวัยวะเพศ หัวหน่าว รอบปากทวารหนัก
หากมีผื่นแดง คัน โดยเฉพาะที่ขาหนีบ และผื่นไม่หายไป หรือเป็นมากขึ้นควรพบแพทย์ผิวหนัง

ยารักษาโรคสังคัง

1. ยาทา เช่น ยา Ketoconazole, Clotrimazole โดยทาผื่นให้ทั่วหลังอาบน้ำ เช้า-เย็น เป็นเวลานานประมาณ 2-4 สัปดาห์
2. ยารับประทาน ใช้ในกรณีที่รอยโรคมีขนาดกว้าง โรคเป็นเรื้อรัง และ/หรือไม่ตอบสนองต่อยาทา ซึ่งควรต้องให้แพทย์เป็นผู้สั่งยาให้ ยาที่ใช้ในการรักษาเช่น Griseofluvin, Ketocona zole, Itraconazole, Terbinafine ซึ่งยาแต่ละตัวมีผลข้างเคียง เช่น ท้องผูก คลื่นไส้ ท้องเสีย วิงเวียน อาเจียน นอนไม่หลับ ตับอักเสบ และแพ้ยา และระยะเวลาในการรักษาต่างกัน จึงจำ เป็นต้องสั่งยาโดยแพทย์ และรวมทั้งราคายาก็แตกต่างกันด้วย โดยทั่วไประยะเวลาในการรักษาประมาณ 1-4 สัปดาห์ 

ผลข้างเคียงจากโรคสังคัง

ผลข้างเคียงหรือภาวะแทรกซ้อนจากโรคสังคัง มีดังต่อไปนี้
1. อาการคันในร่มผ้า
2. แผลถลอกเกิดติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำซ้อน
3. ติดเชื้อราชนิดแคนดิดา ( Candida ) ซ้ำซ้อน
4. เจ็บที่ผื่น อาจมีหนอง มีรอยดำของผื่นหลังการอักเสบ

รักษาโรคสังคัง และการป้องกัน

1. ไม่ใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น เช่น กรรไกรตัดเล็บ หวี เสื้อผ้า แปรงสีฟัน ผ้าขนหนู ชุดชั้นใน
2. สวมเสื้อผ้าที่ระบายอากาศได้ดี
3. ในกรณีที่มีเชื้อราที่เท้า หรือ โรคกลาก ฮ่องกงฟุต ร่วมด้วย ควรสวมถุงเท้าก่อนสวมกางเกงชั้นใน เพื่อป้องกันการพาเชื้อราจากเท้าไปที่บริเวณขาหนีบ
4. หลังอาบน้ำ ให้เช็ดบริเวณขาหนีบให้แห้งด้วยผ้าขนหนูแยกชิ้นจากที่เช็ดบริเวณอื่น แล้วจึงค่อยทายา
5. ลดน้ำหนักตัว ไม่ให้ขาเบียดจนเกิดจุดอับชื้น
6. ทำความสะอาดแผลเบาหวาน
7. หมั่นล้างมือให้สะอาด ก่อนสัมผัสจุดติดเชื้อ เพื่อป้องกันเชื้อโรคแพร่กระจาย
8. หมั่นทำความสะอาดเสื้อผ้า เครื่องนุ่มห่ม ผ้าปูที่นอน ด้วยการซักและตากแดดจัดเป็นประจำ

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

Guideline of management for superficial fungal infection : สถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์
Dermatophyte ;

Center of Disease control and prevention ;

http://www.cdc.gov/fungal/dermatophytes/ [2013,Nov25].

ปรียา กุลละวณิชย์, ประวิตร พิศาลบุตร บรรณาธิการ. ตำราโรคผิวหนังในเวชปฏิบัติปัจจุบัน Dermatology 2010 พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ โฮลิสติก พับลิชชิ่ง. 2548, 231-234.

โรคตาแดง ( Conjunctivitis )

0
โรคตาแดง ( conjunctivitis )
โรคตาแดง ( conjunctivitis ) คือ อาการที่เกิดจากการอักเสบหรือการติดเชื้อของเยื่อบุที่บริเวณลูกตา อาจเป็นแบบเฉียบพลัน หรือแบบเรื้อรัง สาเหตุหลักเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย เยื่อบุตาอักเสบจากภูมิแพ้ และเชื้อไวรัส
โรคตาแดง ( conjunctivitis )
โรคตาแดง ( conjunctivitis ) คือ อาการที่เกิดจากการอักเสบหรือการติดเชื้อของเยื่อบุที่บริเวณลูกตา อาจเป็นแบบเฉียบพลัน หรือแบบเรื้อรัง

โรคตาแดง

โรคตาแดง ( conjunctivitis ) คือ อาการที่เกิดจากการอักเสบหรือการติดเชื้อของเยื่อบุที่บริเวณลูกตา สังเกตได้ชัดจากอาการเจ็บและตาแดงที่คลุมหนังตาบนและล่างรวมเยื่อบุตาที่คลุมตาขาว โรคตาแดงอาจเป็นแบบเฉียบพลัน หรือแบบเรื้อรัง สาเหตุหลักเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย เยื่อบุตาอักเสบจากภูมิแพ้ และเชื้อไวรัส มักจะติดต่อทางมือ ผ้าเช็ดหน้าหรือผ้าเช็ดตัวโดยมากใช้เวลาหาย 2 สัปดาห์ ตาแดงจากโรคภูมิแพ้มักจะเป็นตาแดงเรื้อรัง มีการอักเสบของหนังตา ตาแห้ง การใช้คอนแทคเลนส์หรือน้ำยาล้างตาก็เป็นสาเหตุของตาแดงเรื้อรังได้เช่นกัน

สาเหตุของโรคตาแดง

  • โรคตาแดงเกิดจากการสัมผัสสิ่งคัดหลั่งของผู้ป่วยตาแดง เช่น น้ำตา ขี้ตาที่ติดอยู่ตามสิ่งของ พื้นผิวต่างๆ หรือในน้ำแล้วมาสัมผัสที่ตา
  • การใช้ของส่วนตัวร่วมกันกับผู้ป่วย เช่น ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว แว่นตา เครื่องสำอาง
  • การเล่นน้ำในที่ท่วมขังและสกปรก
  • การได้รับเชื้อโรคจากพาหะ เช่น แมลงหวี่ แมลงวัน

อาการของโรคตาแดง

  • คันตาเป็นหนึ่งหรือทั้งสองข้าง
  • มีขี้ตาใส สีขาว หรือขุ่น
  • รู้สึกเคืองตาเหมือนมีเม็ดฝุ่นเล็กๆอยู่ในตา
  • ปวดตา แสบตา แพ้แสง

โรคตาแดง คือ อาการที่เกิดจากการอักเสบหรือการติดเชื้อของเยื่อบุที่บริเวณลูกตา สาเหตุเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย เยื่อบุตาอักเสบ และเชื้อไวรัส

การป้องกันโรคตาแดง

  • ไม่ควรใช้มือขยี้ตา
  • ล้างมือด้วยน้ำและสบู่ให้สะอาดอยู่เสมอ
  • ไม่คลุกคลีใกล้ชิด หรือใช้สิ่งของร่วมกับผู้ป่วย
  • ควรล้างมือให้สะอาดก่อนและหลังการหยอดยาเสมอ
  • ถ้ามีฝุ่นละออง หรือน้ำสกปรกเข้าตา ควรล้างตาด้วยน้ำสะอาดทันที
  • อย่าปล่อยให้แมลงหวี่ หรือแมลงวันตอมตา
  • หมั่นดูแลรักษาความสะอาดของร่างกาย สิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ เช่น เสื้อผ้า ผ้าเช็ดตัว ผ้าปูที่นอน ปลอกหมอน ให้สะอาดอยู่เสมอ
  • ไม่ควรใช้ยาหยอดตาร่วมกับผู้อื่น
  • ใส่แว่นตาป้องกันแสงแดด

การรักษาโรคตาแดง

โรคตาแดงมักหายได้เองภายใน 1-2 สัปดาห์ และส่วนใหญ่อาการจะค่อยๆ ดีขึ้น ควรหยุดเรียน หรือหยุดงานอย่างน้อย 3 วัน เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อโรค รักษาตาแดงตามอาการ เช่น

  • แพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะ หรือยาหยอดตา และอาจมียาป้ายตา
  • การใช้ยารักษาตามอาการ เช่น ยาลดอาการคัน ยาลดปวด
  • การประคบเย็นสามารถช่วยลดการอักเสบได้ รวมถึงการหยอดน้ำตาเทียม

ถึงแม้โรคตาแดงจะไม่อันตราย แต่พบผู้ป่วยเพิ่มขึ้นทุกปีมากกว่าแสนรายทั่วประเทศ และพบในผู้ป่วยทุกวัยเกือบครึ่งหนึ่งเป็นเด็กเล็กและเด็กวัยเรียน โรคนี้มักพบในช่วงหน้าฝน ซึ่งมีสภาพอากาศชื้นและเหมาะแก่การเจริญเติบโตของเชื้อโรคเป็นอย่างดี

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

Conjunctivitis (ออนไลน์).สืบค้นจาก : www.allaboutvision.com [13 พฤษภาคม 2562].
Pink eye (conjunctivitis) (ออนไลน์).สืบค้นจาก : www.allaboutvision.com [13 พฤษภาคม 2562].
โรคตาแดงระบาด (ออนไลน์).สืบค้นจาก : http://beid.ddc.moph.go.th ( กรมควบคุมโรค ) [13 พฤษภาคม 2562].

โรคปอดบวม ( Pneumonia )

0
โรคปอดบวม ( Pneumonia )
โรคปอดบวม ( Pneumonia ) เป็น การติดเชื้อที่ทำให้ถุงลมพองตัวในปอดหนึ่งหรือทั้งสองข้าง บางครั้งถุงอากาศอาจเติมด้วยของเหลวหรือหนอง
โรคปอดบวม ( Pneumonia )
โรคปอดบวม ( Pneumonia ) เป็น การติดเชื้อที่ทำให้ถุงลมพองตัวในปอดหนึ่งหรือทั้งสองข้าง บางครั้งถุงอากาศอาจเติมด้วยของเหลวหรือหนอง

โรคปอดบวม

โรคปอดบวม ( Pneumonia ) คือ การติดเชื้อที่ทำให้ถุงลมพองตัวในปอดหนึ่งหรือทั้งสองข้าง บางครั้งถุงอากาศอาจเติมด้วยของเหลวหรือหนองทำให้เกิดอาการไอมีเสมหะหรือหนองปนออกมาด้วย มีไข้หนาวสั่นหายใจลำบากเกิดจากเชื้อแบคทีเรียไวรัสและเชื้อราสามารถทำให้เกิดโรคปอดบวมได้ โรคปอดบวมจะอันตรายมากหากเกิดขึ้นในทารก เด็กเล็ก ผู้ที่อายุมากกว่า 65 ปี ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพ หรือระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแออาการที่ไม่รุนแรงมักคล้ายคนึงกับอาการหวัดหรือไขหวัดใหญ่

สาเหตุของปอดบวม

    • การติดเชื้อแบคทีเรีย เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของโรคปอดบวม
    • การติดเชื้อไวรัส
    • การติดเชื้อรา

อาการปอดบวม

    • เจ็บหน้าอกขณะหายใจหรือไอ
    • ผู้ป่วยบางรายอาจจะมีอาการน้ำมูกไหล จาม คัดจมูกนำมาก่อน
    • มีไข้สูง เหงื่อออกและหนาวสั่น
    • หายใจหอบเหนื่อย
    • เมื่อยล้า
    • คลื่นไส้อาเจียน
    • ท้องเสีย
    • อ่อนเพลีย
    • เบื่ออาหาร
    • อาการไอแห้งๆ หรือมีเสมหะเหนียว

โรคปอดบวม ( Pneumonia ) เป็นการติดเชื้อที่ทำให้ถุงลมพองตัวในปอดหนึ่งหรือทั้งสองข้าง บางครั้งถุงอากาศอาจเติมด้วยของเหลวหรือหนองทำให้เกิดอาการไอมีเสมหะหรือหนองปน

ผู้ที่เสี่ยงเป็นโรคปอดบวม

    • ผู้ใหญ่ที่อายุมากกว่า 65 ปี
    • เด็กทารก
    • ผู้ที่มีโรคประจำตัวหรือระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ
    • ผู้ที่ได้รับเคมีบำบัดหรือทานยาที่ยับยั้งระบบภูมิคุ้มกัน

วิธีการรักษาโรคปอดบวม

    • การรักษาตามอาการทั่วไป เช่น ให้ยาลดไข้
    • การรักษาปอดบวมที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย การให้ยาปฏิชีวนะ
    • การรักษาปอดบวมที่เกิดจากเชื้อไวรัส หากมีภาวะแทรกซ้อนควรอยู่ในความดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด

สำหรับผู้สูงอายุและผู้ที่มีปัญหาหัวใจล้มเหลวหรือปอดเรื้อรัง อาจเสี่ยงต่อการเสียชีวิตกระทันหันได้เช่นกัน

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

โรคปอดบวม (ออนไลน์). สืบค้นจาก : www.mayoclinic.org [11 พฤษภาคม 2562]

โรคซิฟิลิส ( Syphilis )

0
โรคซิฟิลิส ( Syphilis )
โรคซิฟิลิส (Syphilis) เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่ง ซึ่งมีขนาดเล็กมาก และสามารถอาศัยอยู่ได้เกือบทุกส่วนในร่างกาย
โรคซิฟิลิส ( Syphilis )
โรคซิฟิลิส (Syphilis) เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่ง ซึ่งมีขนาดเล็กมาก และสามารถอาศัยอยู่ได้เกือบทุกส่วนในร่างกาย

โรคซิฟิลิส

โรคซิฟิลิส ( Syphilis ) เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หรือ กามโรค ที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ชื่อว่า ทริปโปนีมา พัลลิดุม ( Treponema Pallidum) มีขนาดเล็กและสามารถอาศัยอยู่ได้เกือบทุกส่วนของร่างกาย เชื้อแบคทีเรียโรคซิฟิลิสนี้ หากส่องด้วยกล้องจุลทรรศน์จะเห็นเชื้อตัวนี้มีลักษณะเหมือนเกลียวสว่าน ( Spirochete Bacteria ) 

สถิติการพบเชื้อโรคซิฟิลิสเมื่อต้นปี 2562 จากพบว่าในปัจจุบันประเทศไทยติดโรคซิฟิลิสเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่นและกลุ่มชายรักชาย โรคซิฟิลิส มีอัตราการติดเชื้อเพิ่มจาก 2.29 ต่อประชากรแสนคนในปี 2552 เป็น 11.91 ต่อประชากรแสนคนในปี 2561 ซึ่งถือว่าจำนวนผู้ติดเชื้อสูงขึ้นแบบก้าวกระโดดเมื่อเทียบกับโรคอื่น

โรคซิฟิลิสติดต่อกันได้อย่างไร

คนเราสามารถรับเชื้อซิฟิลิสได้ 3 ทาง คือ

1. ซิฟิลิสติดต่อทางเพศสัมพันธ์ มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกันตัวเอง ไม่ใช้ถุงยางอนามัย โดยเชื้อโรคซิฟิลิสจะฝังตัวและติดต่อผ่านทางเยื่อบุช่องคลอด หรือ ท่อปัสสาวะ

2. ซิฟิลิสติดต่อผ่านการสัมผัสแผลที่มีเชื้อ โดยผ่านทางผิวหนัง เยื่อบุตา ปาก

3. ซิฟิลิสติดต่อจากแม่สู่ลูก โดยหากมารดาเป็นซิฟิลิส จะถ่ายทอดโรคนี้สู่ทารกในครรภ์ได้ โดยเรียกเด็กที่เป็นซิฟิลิสจากสาเหตุนี้ว่า ซิฟิลิสแต่กำเนิด ( Congenital Syphilis ) จะแสดงอาการหลังคลอดได้ 3-8 สัปดาห์ และเป็นอาการเล็กน้อยมาก จนแทบไม่ทันได้สังเกต เช่น มีตุ่มผื่นขึ้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่มาออกอาการมาก ๆ เข้าเมื่อตอนโต ซึ่งก็เข้าสู่ระยะที่สี่แล้ว หรือบางคนอาจแสดงอาการพิการออกมาให้เห็นได้ชัด

อาการของผู้ติดเชื้อโรคซิฟิลิส

อาการของโรคซิฟิลิสระยะที่ 1

ในระยะติดเชื้อระยะที่ 1 ที่มักเรียกว่า ” แผลริมแข็ง ” ( Chancre ) บริเวณช่องคลอด ทวารหนัก องคชาต บริเวณรอบองคชาต หรือ ปาก อาจมีแผลเดียวหรือหลาย ๆ แผลก็ได้ ไม่มีอาการเจ็บปวดแต่อย่างใด นอกจากนี้ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการต่อมน้ำเหลืองโตในระยะนี้ด้วย แผลริมแข็ง จะหายไปภายใน 3-6 สัปดาห์ แม้ว่าจะไม่ได้รับการรักษาก็ตาม แต่เชื้อจะยังคงแฝงตัวอยู่ในร่างกาย อาการของโรคก็จะกำเริบรุนแรงกว่าเดิมเมื่อเข้าสู่ระยะถัดไปเชื้อซิฟิลิสสามารถแพร่กระจายได้ง่ายมากในระยะแรก อีกทั้งผู้ติดเชื้อในระยะนี้มักจะไม่แสดงอาการให้เห็นชัดเจน ไม่มีอาการเจ็บปวด หรือแผลที่เกิดขึ้นอยู่ในบริเวณที่มองไม่เห็น เช่น ในปาก ใต้หนังหุ้มปลายองคชาต ปากมดลูก หรือที่ทวารหนัก ทำให้ผู้ติดเชื้ออาจไม่รู้ตัวและแพร่เชื้อไปยังผู้อื่น

อาการของโรคซิฟิลิสระยะที่ 2

ผู้ป่วยซิฟิลิสจะเริ่มแสดงอาการมากขึ้น โดยมีผื่นขึ้นตามฝ่ามือและฝ่าเท้า แต่ไม่มีอาการคัน นอกจากนี้อาจมีไข้ ปวดเมื่อยตามตัว รู้สึกอ่อนเพลีย ผมร่วง มีผื่นในระยะนี้ จะยังเป็นผื่นจาง ๆ มีลักษณะคล้ายผดผื่นที่เกิดจากการติดเชื้อทั่วไป บางรายอาจมีแผลบริเวณริมฝีปาก ในปาก ในลำคอ ช่องคลอด และ ทวารหนักร่วมด้วย แต่ส่วนใหญ่แล้วผู้ติดเชื้อในระยะนี้จะไม่มีแผลเกิดขึ้นเลย อาการในระยะที่ 2 นี้จะหายไปเองได้ แม้ไม่ได้รับการรักษา แต่อาการของโรคก็จะรุนแรงมากขึ้นอีก และเชื้อซิฟิลิสยังคงแพร่กระจายได้ง่ายในระยะที่ 2 นี้ระยะแฝงเชื้อ ระยะนี้เริ่มขึ้นหลังจากอาการของระยะที่หนึ่งและระยะที่สองผ่านไปแล้ว หากผู้ติดเชื้อยังไม่ได้รับการรักษา อาการต่าง ๆ ของโรคจะหายไป แต่เชื้อจะยังคงแฝงตัวอยู่ภายในร่างกาย และอยู่ต่อไปได้นานหลายปีหรือตลอดชีวิตโดยไม่แสดงอาการใด ๆ

อาการของโรคซิฟิลิสระยะที่ 3

หากผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษา ผู้ป่วยประมาณ 15% จะเข้าสู่ระยะสุดท้ายของโรคซิฟิลิส และแสดงอาการแม้จะผ่านไปแล้ว 10-20 ปี หลังจากที่ได้รับเชื้อ เนื่องจากเชื้อได้แพร่กระจายไปทั่วร่างกาย และค่อยๆ ทำลายอวัยวะภายในร่างกาย ได้แก่ ดวงตา หัวใจ ไขสันหลัง สมอง เส้นประสาท ปอด ตับ กระดูก เส้นเลือด ทำให้ผู้ติดเชื้อซิฟิลิสในระยะสุดท้ายมีอาการป่วยทางจิต สมองเสื่อม การเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อไม่สัมพันธ์กัน อาจเป็นอัมพาต ไม่สามารถเดินได้ตามปกติ ตัวชา ตาบอดลงทีละน้อย และเสียชีวิต

วิธีรักษาโรคซิฟิลิส

ข้อแนะนำวิธีรักษาสำหรับโรคซิฟิลิส คือ การใช้ยาเพนิซิลลิน ( Penicillin ) ซึ่งเป็นยาปฏิชีวนะชนิดหนึ่ง โดยสรรพคุณของเพนิซิลลินนั้นอยู่ที่ความสามารถในการฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่าทรีโพนีมา แพลลิดัม ( Treponema pallidum ) ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคซิฟิลิสนั่นเอง
ในช่วงการรักษา แพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยงดการมีเพศสัมพันธ์จนกว่าจะจบการรักษา และผลตรวจเลือดของผู้ป่วยก็ต้องได้รับการยืนยันว่าหายขาดแน่นอนแล้ว
นอกจากนี้ แพทย์ยังอาจแนะนำให้ผู้ป่วยแจ้งคู่นอนของตนเพื่อเข้ามารับการตรวจและรักษาอย่างถูกต้อง รวมทั้งอาจให้ผู้ป่วยเข้ารับการตรวจหาเชื้อเอชไอวี ( HIV ) เนื่องจากการป่วยเป็นโรคซิฟิลิสนั้นจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีที่สูงขึ้น

ผลกระทบจากการติดเชื้อซิฟิลิส

  1. ผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน ทำให้เป็นบุคคลน่ารังเกียจเพราะมีโรคติดต่อ หากไม่รีบเข้ารับการรักษา จะไม่สามารถรักษาได้อีกเลยจนกระทั่งเสียชีวิต
  2. การติดเชื้อซิฟิลิส ทำให้ความสามารถต่าง ๆ ลดลงทีละน้อย
  3. หญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อและไม่ได้รับการรักษา มีความเสี่ยงสูงที่ทารกในครรภ์จะได้รับอันตราย เสียชีวิตในครรภ์ หรือเสียชีวิตหลังคลอด และยังอาจทำให้เกิดการแท้งบุตรได้ นอกจากนี้เชื้อซิฟิลิสยังส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทำให้ติดเชื้อเอชไอวีได้ง่ายเมื่อมีแผลเกิดขึ้น หรือเมื่อแผลซิฟิลิสมีเลือดออกและไปสัมผัสเข้ากับเชื้อเอชไอวี
  4. โรคหลอดเลือดสมองแตก ตีบ ตัน หรือฉีกขาด ( Stroke )
  5. โรคเยื่อหุ้มไขสันหลังอักเสบ ( Meningitis )
  6. การได้ยินผิดปกติ
  7. การมองเห็นผิดปกติ
  8. โรคความจำเสื่อม 

วิธีการป้องกันโรคซิฟิลิส

  1. วิธีการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่ดีที่สุดคือ การงดมีเพศสัมพันธ์ แต่หากคุณเลือกที่จะมีเพศสัมพันธ์ คุณจำเป็นต้องป้องกันตัวเองด้วยการใช้ถุงยางอนามัย
  2. และพยายามไม่เปลี่ยนคู่นอนบ่อยๆ รวมทั้ง ทั้งนี้แม้การใช้ถุงยางอนามัยจะสามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ แต่หากพบว่ามีแผลหรือผื่นเกิดขึ้นบริเวณอื่นนอกเหนือจากบริเวณที่สวมถุงยางอนามัย ก็จะต้องงดการมีเพศสัมพันธ์ไปก่อน จนกว่าคุณหรือคู่ของคุณจะได้รับการรักษาเสร็จสิ้นแล้ว
  3. เมื่อมีปัจจัยเสี่ยงมีเพศสัมพันธ์ทุกครั้ง ต้องสวมใส่ถุงยางอนามัย แม้ oral sex ก็ต้องใส่ถุงยางอนามัย
  4. หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์และการใช้สารเสพติด เพราะเป็นปัจจัยให้เกิดการมีเพศสัมพันธ์แบบเสี่ยง
  5. อย่าเปลี่ยนคู่นอนบ่อย หากจริงจังจริงใจ จับมือกันมาตรวจเพื่อความสบายใจ อย่ารอตอนท้อง จนบริจาคเลือดแล้วเพิ่งมาเจอผลเลือด
  6. เวลาเสี่ยงมา แนะนำให้ตรวจทุกโรค เช่น เอชไอวี ซิฟิลิส ไวรัสตับบี ไวรัสตับซี
  7. หากมีอาการผิดปกติ ให้รีบไปพบแพทย์ อย่าซื้อยากินเอง อย่าปล่อยทิ้งไว้

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

Krishna Wood White, Syphilis ( https://kidshealth.org )

Bangrak STIs Center (โรงพยาบาลบางรัก)

https://www.rsat.info

โรคอีสุกอีใส ( Chickenpox / Varicella )

0
โรคอีสุกอีใส ( Chickenpox / Varicella )
โรคอีสุกอีใส ( Chickenpox / Varicella ) คือ เชื้อที่เกิดจากไวรัสที่ทำให้เกิดผื่นคันที่มีตุ่มเล็ก ๆ ที่เต็มไปด้วยของเหลวสามารถติดต่อจากคนสู่คนได้สำหรับผู้ที่ไม่เคยเป็นโรคนี้หรือไม่ได้รับวัคซีนป้องกัน
โรคอีสุกอีใส ( Chickenpox / Varicella )
โรคอีสุกอีใส ( Chickenpox / Varicella ) คือ เชื้อที่เกิดจากไวรัสที่ทำให้เกิดผื่นคันที่มีตุ่มเล็ก ๆ ที่มีของเหลว สามารถติดต่อได้

อีสุกอีใส คืออะไร

โรคอีสุกอีใส ( Chickenpox / Varicella ) คือ เชื้อที่เกิดจากไวรัสที่ทำให้เกิดผื่นคันที่มีตุ่มเล็ก ๆ ที่เต็มไปด้วยของเหลวสามารถติดต่อจากคนสู่คนได้สำหรับผู้ที่ไม่เคยเป็นโรคนี้หรือไม่ได้รับวัคซีนป้องกัน ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นได้บ่อยในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี แต่ก็อาจพบได้ในผู้ใหญ่ซึ่งมีความรุนแรงกว่าเด็กอย่างไรก็ตามสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัยอัตราส่วนเพศชาย 1 เท่ากับ เพศหญิง 1.02 เป็นกันมากในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนเมษายนของทุกปี 

สาเหตุของการเกิดอีสุกอีใส

การติดเชื้ออีสุกอีใสเกิดจากไวรัส มันสามารถแพร่กระจายผ่านการสัมผัสโดยตรงกับผื่น ตุ่มที่มีของเหลวนอกจากนี้ยังสามารถแพร่กระจายไปสู่ผู้อื่นโดยผู้ป่วยมีอาการไอหรือจาม และผู้อยู่ใกล้สูดดมละอองอากาศที่มีเชื้ออีสุกอีใสเข้าสู่ร่างกาย การติดเชื้ออีสุกอีใสปรากฏ 10 ถึง 21 วันหลังจากได้รับเชื้อไวรัสและมักจะใช้เวลาประมาณ 5-10 วัน ถึงจะแสดงอาการอื่น ๆ ซึ่งอาจปรากฏก่อนผื่น 1-2 วัน

โรคอีสุกอีใส ( Chickenpox / Varicella ) คือ เชื้อที่เกิดจากไวรัสที่ทำให้เกิดผื่นคันที่มีตุ่มเล็ก ๆ มีของเหลวภายในตุ่ม สามารถติดต่อกันได้

อาการของอีสุกอีใส

  • ผื่นแดง
  • อาการวิงเวียนศีรษะ
  • หัวใจเต้นเร็ว
  • หายใจถี่
  • กล้ามเนื้ออ่อนแรง
  • อาการไอ จาม
  • อาเจียน
  • มีไข้สูงกว่า 38.9 ํC

ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงอีสุกอีใส

  • หญิงตั้งครรภ์ที่ไม่เคยเป็นโรคอีสุกอีใส
  • ทารกแรกเกิด และทารกที่มารดาไม่เคยมีโรคอีสุกอีใสหรือวัคซีน
  • วัยรุ่นและผู้ใหญ่ที่ไม่เคยเป็นโรคอีสุกอีใสมาก่อน
  • คนที่ไม่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใส
  • ผู้ที่สัมผัสกับผู้ป่วยโดยตรง
  • คนที่สูบบุหรี่
  • ผู้ที่ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ
  • ผู้ป่วยที่เคยใช้ยา เช่น เคมีบำบัด ผู้ป่วยมะเร็ง ผู้ป่วย HIV
  • ผู้ที่กำลังใช้ยาสเตียรอยด์
  • ผู้ป่วยโรคหอบหืด

ภาวะแทรกซ้อนของอีสุกอีใส

โรคอีสุกอีใสเป็นโรคที่ไม่รุนแรง แต่อาจร้ายแรงและอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อน

  • การติดเชื้อแบคทีเรียของผิวหนังเนื้อเยื่ออ่อนกระดูกข้อต่อหรือกระแสเลือด ( การติดเชื้อ )
  • ภาวะการขาดน้ำและเกลือแร่
  • โรคปอดบวม
  • การอักเสบของสมอง ( โรคไข้สมองอักเสบ )
  • กลุ่มอาการช็อกพิษ
  • ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด

การวินิจฉัยโรคอีสุกอีใส

โรคอีสุกอีใสได้โดยตรวจดูตุ่มผื่นและพิจารณาอาการอื่น ๆ แพทย์สามารถสั่งยาเพื่อลดความรุนแรงของโรคอีสุกอีใสและรักษาโรคแทรกซ้อนหากจำเป็น เพื่อหลีกเลี่ยงการติดเชื้อสู่ผู้อื่นหรือผู้ใกล้ชิด 

การป้องกันโรคอีสุกอีใส

ควรฉีดวัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใสให้ครบ 2 เข็ม โดยเริ่มฉีดเข็มแรกได้ตั้งแต่อายุประมาณ 1 ปี ( 12-15 เดือน ) และฉีดกระตุ้นอีกครั้งเมื่ออายุ 4 – 6 ปี หากผู้หญิงกำลังตั้งครรภ์และไม่มีภูมิคุ้มกันต่อโรคอีสุกอีใส ควรรีบไปปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับความเสี่ยงที่มีต่อตนเองและบุตรในครรภ์ที่ยังไม่เกิด

สำหรับโรคอีสุกอีใสจะไม่รุนแรง แต่หากเกิดขึ้นกับผู้หญิงในช่วงตั้งครรภ์ที่มีภาวะแทรกซ้อนทารกในครรภ์อาจมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดการติดเชื้อที่รุนแรงอันตรายถึงชีวิตได้

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
Chickenpox – Symptoms and causes (ออนไลน์).สืบค้นจาก : www.mayoclinic.org [7 พฤษภาคม 2562].