ต้นจิกทะเล เมล็ดเป็นยาขับพยาธิ

0
ต้นจิกทะเล เมล็ดเป็นยาขับพยาธิ เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ไม่ผลัดใบ ดอกสีขาวชมพูและมีกลิ่นหอม ดอกบานช่วงเวลากลางคืน และโรยช่วงเวลากลางวัน ผลรูปพีระมิดสี่เหลี่ยมสีเขียว
ต้นจิกทะเล
เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ไม่ผลัดใบ ดอกสีขาวชมพูและมีกลิ่นหอม ดอกบานช่วงเวลากลางคืน และโรยช่วงเวลากลางวัน ผลรูปพีระมิดสี่เหลี่ยมสีเขียว

ต้นจิกทะเล

จิกทะเล เป็นต้นไม้ประจำจังหวัดสมุทรสงคราม พบเจอขึ้นได้ตั้งแต่มาดากัสการ์ อินเดีย ศรีลังกา ไต้หวัน ญี่ปุ่น ภูมิภาคมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ หมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก ถึงทางภาคเหนือของออสเตรเลีย และหมู่เกาะโพลีนีเซีย สำหรับประเทศไทยสามารถพบเจอได้ที่ตามป่าชายหาดของฝั่งทะเล ตามเกาะที่ไม่ถูกรบกวนทางภาคใต้ ชื่อสามัญ Putat, Sea Poison Tree, Fish Poison Tree ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Barringtonia asiatica (L.) Kurz ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ คือ Mammea asiatica L., Barringtonia butonica J.R.Forst. & G.Forst., Michelia asiatica (L.) Kuntze, Agasta asiatica (L.) Miers, Barringtonia speciosa J.R.Forst. & G.Forst., Agasta indica Miers) อยู่วงศ์จิก (LECYTHIDACEAE หรือ BARRINGTONIACEAE)[2],[3] ชื่อในท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น โดนเล (ภาคใต้), อามุง (มาเล, จังหวัดนราธิวาส), จิกเล (ภาคใต้) [2]

ลักษณะจิกทะเล

  • ต้น เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ไม่ผลัดใบ สามารถสูงได้ถึงประมาณ 7-20 เมตร จะแตกกิ่งก้านสาขาออกที่บริเวณเรือนยอดลำต้น เรือนยอดจะมีลักษณะเป็นพุ่มกลมทึบแตกกิ่งต่ำ กิ่งมีขนาดใหญ่จะมีรอยแผล รอยแผลเกิดจากใบที่ร่วงไป เปลือกต้นมีลักษณะเป็นสีน้ำตาล สีเทา จะแตกเป็นร่องตามแนวยาวและจะมีช่องระบายอากาศ มีเนื้อไม้เป็นสีขาวหรือสีเหลืองอ่อน เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง สามารถขยายพันธุ์ได้ด้วยเมล็ด แพร่พันธุ์ด้วยผลลอยตามน้ำ มีอัตราการเติบโตปานกลางถึงเร็ว สามารถขึ้นได้ในดินทั่วไป ชอบความชื้นปานกลาง และชอบแสงแดดเต็มวัน มีเขตการกระจายพันธุ์ที่กว้าง [1],[2],[3]
  • ใบ เป็นใบเดี่ยว ใบจะออกเรียงเวียนสลับไปตามข้อต้น ใบเป็นรูปไข่แกมรูปขอบขนาน รูปมนรี รูปไข่กลับ ที่ปลายใบจะมนเว้า ส่วนที่โคนใบจะสอบเข้าหาก้านใบ ที่ขอบใบเรียบ ใบกว้างประมาณ 10-18 เซนติเมตร ยาวประมาณ 20-38 เซนติเมตร มีแผ่นใบสีเขียว เนื้อใบมีลักษณะหนาเกลี้ยงและเป็นมันวาวที่ด้านบน มีเส้นแขนงใบอยู่ข้างละ 12-14 เส้น จะนูนทั้งสองด้าน ไม่มีก้านหรือมีก้านใบยาวประมาณ 5 มิลลิเมตร[1],[2],[3]
  • ดอก ดอกจะออกเป็นช่อ เป็นช่อแบบช่อกระจะที่ตามส่วนยอดของลำต้น มีลักษณะตั้งตรง ในช่อหนึ่งมีดอกอยู่ประมาณ 7-8 ดอก ช่อดอกมีความยาวประมาณ 2-15 เซนติเมตร แกนช่อหนา ดอกจะเป็นสีขาวและดอกมีกลิ่นหอม เกล็ดหุ้มยอดมีลักษณะเป็นรูปไข่ มีความยาวประมาณ 1.5-3 เซนติเมตร จะมีใบประดับเป็นรูปไข่ มีความยาวประมาณ 0.8-1.5 เซนติเมตร ใบประดับย่อยเป็นรูปสามเหลี่ยม มีความยาวประมาณ 5 มิลลิเมตร ก้านดอกย่อยมีความยาวประมาณ 2-3 เซนติเมตร ฐานรองดอกมีลักษณะเป็นรูปกรวยสั้น มีความยาวประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงจะติดกับตาดอก บานแยกเป็น 2 ส่วน จะมีขนาดไม่เท่ากัน เป็นรูปรี ติดทน สามารถยาวได้ถึงประมาณ 2.5-3.5 เซนติเมตร ที่ปลายจะเป็นติ่ง มีความยาวประมาณ 2 มิลลิเมตร กลีบดอกมีลักษณะเป็นสีขาวอมชมพู มีกลีบดอกอยู่ 4 กลีบ ติดอยู่ที่โคนหลอดเกสรเพศผู้ เป็นรูปรี ที่ปลายกลีบจะมน ที่ขอบมักจะม้วนเข้า มีความยาวประมาณ 4.5-6.5 เซนติเมตร ดอกจะมีเกสรเพศผู้เป็นจำนวนมาก มีสีม่วง สีแดง หรือสีชมพู เรียงกันเป็น 6 วง สามารถยาวได้ถึงประมาณ 9.5 เซนติเมตร วงในจะเป็นหมัน มีความยาวประมาณ 2-3.5 เซนติเมตร ที่โคนก้านเกสรติดเป็นหลอด สามารถยาวได้ถึงประมาณ 1.5 เซนติเมตร จานฐานดอกมีลักษณะเป็นวง ที่ขอบจะหยักมน สามารถสูงได้ถึงประมาณ 1 มิลลิเมตร จะมีรังไข่อยู่ที่ใต้วงกลีบ มีอยู่ 4 ช่อง แต่ละช่องจะมีออวุลอยู่ประมาณ 2-6 เม็ด ก้านเกสรเพศเมียมีลักษณะเป็นรูปแถบ สามารถยาวได้ถึงประมาณ 10-11 เซนติเมตร ที่ยอดเกสรจะเป็นตุ่มมนขนาดเล็ก เวลาที่ดอกบานเต็มที่จะกว้างประมาณ 10-12 เซนติเมตร ดอกบานช่วงเวลากลางคืน และโรยช่วงเวลากลางวัน ออกดอกช่วงประมาณเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคม[1],[2],[3]
  • ผล เป็นผลแห้งจะไม่แตก ผลเป็นรูปพีระมิดสี่เหลี่ยม ที่ตรงโคนผลเว้า ผลมีลักษณะเป็นสีเขียวเป็นมัน ผลโตกว้างประมาณ 8.5-10 เซนติเมตร ยาวประมาณ 8.5-11 เซนติเมตร มีผนังผลเป็นเส้นใยมีกากเหนียวหุ้มอยู่ มีความหนาคล้ายกับฟองน้ำ จึงทำให้สามารถลอยน้ำได้ มีผนังผลด้านในที่แข็ง มีเมล็ดอยู่ในผลจำนวน 1 เมล็ด
  • เมล็ดเป็นรูปขอบขนาน มีความยาวประมาณ 4-5 เซนติเมตร (เมล็ด มี fixed oil คือ hydrocyanic acid, glycoside barringtonin 3.27%, olein, saponin, baringronin, palmitin)[1],[2],[3]

สรรพคุณจิกทะเล

1. สามารถใช้เมล็ดเป็นยาขับพยาธิออกจากร่างกายได้ (เมล็ด)[1],[2]
2. สามารถใช้เป็นยารักษาและบรรเทาอาการปวดศีรษะได้ (ใบ, เปลือก, ผล)[1],[2]
3. เปลือกผล เนื้อของผล เป็นยาเสพติดชนิดหนึ่งที่สามารถช่วยทำให้คนที่นอนไม่หลับนอนหลับได้ ถ้าทานเยอะ ๆ จะช่วยทำให้นอนหลับสบาย (เปลือกผล, เนื้อผล)[1],[2]

ประโยชน์จิกทะเล

1. ใบบางท้องถิ่นจะเอาผลแห้งมาจุดเป็นยาไล่ยุง
2. สามารถปลูกเพื่อปรับภูมิทัศน์ ปลูกให้ร่มเงาได้ นิยมปลูกในพื้นที่กว้าง[2]
3. สามารถใช้เนื้อผล เปลือกผลเป็นยาเบื่อปลาได้[1]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช, กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. “จิกทะเล”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.dnp.go.th/botany/. [09 ม.ค. 2015].
2. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “จิกเล”. หน้า 227-228.
3. ฐานข้อมูลพรรณไม้ที่ใช้ในงานภูมิสถาปัตยกรรม ศูนย์ความรู้ด้านการเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. “จิกทะเล”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : agkc.lib.ku.ac.th. [09 ม.ค. 2015].

อ้างอิงรูปจาก
1.https://www.flickr.com/

ชะมดเชียง สรรพใช้รักษาหอบหืด หลอดลมอักเสบและปอดบวม

0
ชะมดเชียง
ชะมดเชียง สรรพใช้รักษาหอบหืด หลอดลมอักเสบและปอดบวม เครื่องหอมชนิดหนึ่งซึ่งได้จากสารคัดหลั่งแห้งจากกวางชะมดตัวผู้ที่โตเต็มวัย สามารถนำมาใช้ทำเป็นยาได้
ชะมดเชียง
เป็นรูปกลมรีคล้ายรูปไข่ มีสีน้ำตาล มีขนสั้นห่อหุ้ม เป็นสารสีน้ำตาลเข้ม เหนียว มีกลิ่นหอม

ชะมดเชียง

ชะมดเชียง เป็น เครื่องหอมชนิดหนึ่งซึ่งได้จากสารคัดหลั่งแห้งจากต่อมถุงชะมดซึ่งอยู่ระหว่างสะดือและอวัยวะเพศของกวางชะมดตัวผู้ที่โตเต็มวัย เป็นสัตว์ที่ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในพื้นที่ภูเขาตั้งแต่ไซบีเรียไปจนถึงเทือกเขาหิมาลัยชะมดเป็นวัตถุดิบของยาหลายชนิดใช้เป็นยาแผนโบราณของชาวตะวันออกในเอเชียตะวันออก มีการใช้แต่งกลิ่นเครื่องหอมและทำยาเพื่อรักษาสุขภาพต่างๆ เช่น โรคหลอดเลือดสมอง อาการโคม่า โรคประสาทอ่อน อาการชัก และโรคหัวใจในจีนตั้งแต่สมัยโบราณ ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Moschus moschiferus Linnaeus จัดอยู่ในวงศ์กวางชะมด (MOSCHIDAE) ชื่อเรียกอื่น ๆ คือ ชะมด,กวางชะมด,มุดลัง,เซ่อเซียง (จีนกลาง)[1]

ลักษณะของชะมดเชียง[1],[2]

  • กวางชะมด
    – เป็นสัตว์จำพวกกวางแต่ไม่มีเขา
    – มีลำตัวยาวประมาณ 65-95 เซนติเมตร
    – สูงประมาณ 60 เซนติเมตร
    – มีน้ำหนักประมาณ 8-13 กิโลกรัม
    – มีขนสั้นและหยาบแข็ง
    – ขนที่หน้าท้องเป็นสีขาว
    – ปลายขนเป็นสีดำ
    – ใบหูมีลักษณะกลมยาวและตั้งตรง
    – ตาโต
    – มีเขี้ยวยาว
    – ขาเล็กยาว แต่สองขาหลังจะยาวกว่าสองขาหน้า
    – มีหางสั้น คดงอ
    – จะอาศัยอยู่ตามป่าบนภูเขาสูงในประเทศเนปาลและจีน
    – ออกหากินตามลำพังเวลาเช้ามืดหรือพลบค่ำ
  • ชะมดเชียง[1]
    – เป็นไขมันในต่อมกลิ่นของชะมด
    – ซึ่งต่อมนี้จะมีเฉพาะในชะมดตัวผู้เท่านั้น
    – จะอยู่ระหว่างใต้สะดือกับอวัยวะเพศตัวผู้
    – มีลักษณะเป็นรูปกลมรีคล้ายรูปไข่ มีสีน้ำตาล มีขนสั้นห่อหุ้มอยู่
    – ตรงกลางจะมีรูเพื่อขับสารประเภทไขมันออกมา เป็นสารสีน้ำตาลเข้ม เหนียว
    – มีกลิ่นหอม
    – สามารถนำมาใช้ทำเป็นยาได้
    – มีกลิ่นฉุนจัด ผิวเป็นมัน เนื้ออ่อนนิ่มและเป็นสีน้ำตาลไม่ปนสีดำ
    – ปัจจุบันตัวยาชนิดนี้หาได้ยากและมีราคาแพง

สรรพคุณของชะมดเชียง

  • สามารถนำมาใช้รักษาโรคเส้นประสาทได้[2]
  • สามารถนำมาใช้แก้อาการเป็นลมหมดสติ แก้อาการตกใจง่ายได้[1]
  • สามารถนำมาใช้รักษาโรคตา โรคลม โลหิต กำเดาได้[2]
  • สามารถนำมาใช้รักษาหอบหืด หลอดลมอักเสบ ปอดบวมได้[2]
  • สามารถนำมาใช้แก้อาการปวดท้อง จุกเสียดแน่นได้[1]
  • ช่วยกระตุ้นการบีบตัวของมดลูก[1]
  • ช่วยแก้อาการฟกช้ำ ฝีบวมอักเสบ ปวดบวม แก้ซีสต์[1]
  • ช่วยแก้อัมพฤกษ์ อัมพาต ลมชัก[1]
  • สามารถนำมาใช้เป็นยาเร่งในโรคไข้รากสาดน้อยได้[2]
  • สามารถนำมาใช้เป็นยากระตุ้นการทำงานของประสาทส่วนกลาง ทำให้รู้สึกตื่นตัวและสดชื่นได้[1]
  • ช่วยรักษาอาการแน่นหน้าอก จุกเสียดปวดมวนที่หัวใจ[1]
  • ไขมันของต่อมกลิ่นของชะมดตัวผู้ มีรสเผ็ดขม มีกลิ่นหอม เป็นยาร้อนเล็กน้อย ออกฤทธิ์ต่อหัวใจ ตับและม้าม ใช้เป็นยาปิดทวารทั้ง 7 ทำให้ลมปราณไหลเวียนดี[1]
  • ช่วยกระจายการอุดตันของเส้นลมปราณและเส้นเลือด ทำให้เลือดไหลเวียนดี[1]

ประโยชน์ของชะมดเชียง

  • สามารถใช้ในการแต่งกลิ่นเครื่องหอมต่าง ๆ ได้[3]

ข้อควรระวัง

  • สตรีมีครรภ์ห้ามรับประทานสมุนไพรชนิดนี้เด็ดขาด เนื่องจากจะทำให้แท้งบุตรได้[1]

ขนาดและวิธีใช้[1]

  • ให้ใช้ครั้งละประมาณ 0.15-0.2 กรัม
  • นำมาบดให้เป็นผงรับประทาน หรือใช้เข้ากับตำรายาอื่น
  • ยาชนิดนี้ไม่นิยมนำมาต้มรับประทาน

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของชะมดเชียง

  • สารที่พบ ได้แก่ สาร Muscone (สารให้กลิ่นหอม), Muscopyridine, Normuscone และพบแร่ธาตุต่าง ๆ อีกหลายชนิด เช่น แคลเซียม, ธาตุเหล็ก, แมกนีเซียม, โปรตีน, ไขมัน เป็นต้น[1]
  • จากการทดลองกับหนูขาว พบว่า ถ้ารับประทานสาร Muscone ในปริมาณเล็กน้อย ขนาด 0.01-0.05 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม จะมีฤทธิ์ไปกระตุ้นประสาทส่วนกลาง ทำให้หนูขาวมีความรู้สึกตื่นตัวและมีความสดชื่น แต่ถ้ารับประทานมากกว่า 1 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม พบว่าจะมีฤทธิ์กล่อมประสาท ทำให้ง่วงและยืดเวลาการนอนหลับให้ยาวนานขึ้น[1]
  • มีฤทธิ์กระตุ้นหัวใจที่อยู่นอกร่างของสัตว์ทดลอง ทำให้บีบตัวแรงขึ้น และพบว่าความดันโลหิตได้เพิ่มขึ้น ทำให้มีการหายใจเร็วขึ้นอีกด้วย[1]
  • สารสกัดมีฤทธิ์กระตุ้นต่อมดลูกที่อยู่นอกร่างของสัตว์ทดลอง ทำให้มดลูกบีบตัวไวขึ้น โดยเฉพาะกับมดลูกที่ตั้งครรภ์ ซึ่งพบว่าจะมีการบีบตัวแรงขึ้นและทำให้แท้งได้[1]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. (วิทยา บุญวรพัฒน์). “ชะมดเชียง”. หน้า 194.
2. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “ชะมดเชียง”. หน้า 247-248.
3. จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๑๑, พฤศจิกายน ๒๕๓๒.
4. https://cmjournal.biomedcentral.com/

อ้างอิงรูปจาก
1.https://rosaleneov.life/
2.https://www.britannica.com/

ต้นโกฐจุฬาลัมพา มีออกฤทธิ์ต้านไข้มาลาเรีย

0
ต้นโกฐจุฬาลัมพา มีออกฤทธิ์ต้านไข้มาลาเรีย เป็นไม้ล้มลุก ใบจะแผ่บนพื้นดินเรียงสลับไม่มีขน ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย ดอกเล็กสีเหลืองอ่อน
โกฐจุฬาลัมพา
เป็นไม้ล้มลุก ใบจะแผ่บนพื้นดินเรียงสลับไม่มีขน ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย ดอกเล็กสีเหลืองอ่อน

โกฐจุฬาลัมพา

โกฐจุฬาลัมพา หรือชิงเฮา เป็นสมุนไพรที่มีแหล่งปลูกแถบตะวันตกเฉียงใต้ และมณฑลไห่หนาน ซื่อชวน หูเป่ย เจียงซู และมหานครฉงชิ่ง ชื่อวิทยาศาสตร์ Artemisia annua L. (ส่วนอีกข้อมูลระบุว่าเป็นชนิด Artemisia apiacea Hance) จัดอยู่ในวงศ์ทานตะวัน (ASTERACEAE หรือ COMPOSITAE) ชื่อสามัญ Sweet wormwood, Sweet annie, Sweet sagewort, Annual mugwort, Annual wormwood (Chinese: 青蒿 ) ชื่ออื่นๆ โกฐจุฬา โกฐจุฬาลัมพาจีน แชเฮา ชิงฮาว จีนกลาง เซียงเก่า ชิงเฉา ชิงเฮา

ลักษณะของต้นโกฐจุฬาลัมพา

  • ต้น เป็นไม้ล้มลุกจะมีอายุประมาณ 1-2 ปี เมื่อดอกออกและผลแล้วต้นจะล้มตาย ต้นจะกลมสูงโดยประมาณ 40-150 เซนติเมตร ถ้าโตเต็มที่จะสูงประมาณ 2 เมตร กิ่งก้านแตกสาขามาก ลำต้นจะมีเส้นลายตรง ไม่มีขน เรียบเงามัน จะมีกลิ่นน้ำมันหอมระเหยทั่วทั้งต้น ต้นไม้ชนิดนี้ชอบอากาศอบอุ่น มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีน แต่ตอนนี้พบได้หลายประเทศ เช่น ทวีปแอฟริกา ทวีปอเมริกา ทวีปยุโรป ทางประเทศไทยทดลองปลูกทางภาคกลางและภาคเหนือ(ปลูกได้ดีกว่าภาคกลาง) นำเมล็ดสายพันธุ์เวียดนามปลูกที่เชียงใหม่ จะเจอสารสำคัญ (อาติมิซินินลดลงกว่า50%)
  • ใบ แตกจากโคนต้นใบจะแผ่อยู่บนพื้นดิน ใบจะเรียงสลับ ใบอ่อนจะเป็นเสี้ยว ใบแก่จะมีสีเขียวอมเหลือง ไม่มีขน ก้านจะมีใบเล็กน้อย ใบจะประกอบแบบขนนก ออกเป็นสามแฉก หน้าใบจะมีสีเขียวเข้ม ส่วนหลังใบจะมีสีเขียวอ่อน ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย จะมีขนขึ้นปกคลุมเล็กน้อยทั้งหน้าและด้านใน
  • ดอก จะออกเป็นช่อ ช่อจะออกแถวปลายกิ่ง ดอกจะเล็กเป็นสีเหลืองอ่อน ดอกจะกลม มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2 มิลลิเมตร ตอนดอกบานกลีบดอกจะเป็นรูปทรงกระบอก มีเกสรตัวผู้ 5 อัน เกสรตัวเมีย 1 อัน
  • ผล มีรูปยาวรีหรือกลมรี หากผลแห้งจะมีขนาดเล็กมาก

สรรพคุณของโกฐจุฬาลัมพา

1. ตามตำราสมุนไพรที่ใช้ตามองค์ความรู้เดิม มีการใช้ในตำรับยารักษาโรคในระบบต่างๆ ในร่างกายมี 4ตำรับ ตำรับยาหอมนวโกฐ ตำรับยาหอมเทพจิตร (สองตำรับนี้สรรพคุณแก้ อาการหน้ามืดตาลายใจสั่น แก้ลมวิงเวียน อาเจียน คลื่นเหียน แก้ลมจุกแน่นในท้อง) ตำรับยาแก้ไข้ห้าราก และตำรับยาจันทร์ลีลา (สองตำรับนี้แก้ไข้ .ไข้เปลี่ยนฤดู อาการไข้ตัวร้อน)
2. ยังมีการนำมาใช้ในเครื่องยาไทยมีชื่อว่า พิกัดโกฐ โกศจุฬาลัมพา จัดอยู่ใน พิกัดโกฐทั้งห้า (เบญจโกศ) พิกัดโกฐทั้งเจ็ด (สัตตโกฐ) และพิกัดโกฐทั้งเก้า (เนาวโกฐ) จะมีสรรพคุณรวมคือ แก้ไข้ร่วมกับมีเสมหะ แก้ไข้ แก้หอบ แก้ไอ แก้ลมในกองธาตุ แก้สะอึก ขับลม บำรุงเลือด บำรุงกระดูก เป็นยาชูกำลัง
3. ทั้งต้น มีกลิ่นหอม รสขม เผ็ดเล็กน้อย เป็นยาเย็น จะมีการออกฤทธิ์ต่อตับ ดี ม้าม และกระเพาะใช้เป็นยาลดไข้ ทำให้เลือดเย็น แก้ร้อนใน แก้ร่างกายอ่อนแอ กระสับกระส่าย มีไข้ แก้ไข้จับสั่นมาลาเรีย แก้ไข้วัณโรค ลดเสมหะ แก้หอบ แก้หืด แก้ไอ ใช้ขับเหงื่อ รักษาริดสีดวงทวาร และแก้ดีซ่าน

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

1. จากข้อมูลการศึกษาทางพิษวิทยาที่ทำการศึกษาในคน เมื่อนำมาใช้ในคน มีรายงานการเกิดอาการข้างเคียงน้อยมาก และเป็นอาการข้างเคียงที่ไม่รุนแรง อาการที่พบคือ มีไข้ คลื่นไส้ และอาการที่พบได้เล็กน้อย คือ เม็ดเลือดแดงลดลง มีการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) คือ หัวใจเต้นช้าลง

2. มีสารประกอบมากถึง 79 ชนิด โดยมี Arteamisinin ที่มีชื่อเรียกในภาษาจีน คือ Qinghaosu และสาร Abrotanine ทั้งต้นมีน้ำมันระเหยประมาณ 0.3-0.5% (Cineole หรือ Eucalyptol), Artemisia ketone, C10H16O), (1-B-artemisia alcohol acetate, C10H160CO.CH3), (1-camphor), (Cuminal), (Carypohyllene), (C15H240), (Cadinene, C15H24), (Scodolin, C16H18O9), (Scopoletin, C10H8O4) เป็นต้น

3. มีฤทธิ์ต้านเชื้อมาลาเรีย ป้องกันการเกิดแผลที่กระเพาะอาหาร ปกป้อง DNA ต้านเชื้อแบคทีเรีย น้ำมันหอมระเหยมีฤทธิ์ต้านเชื้อจุลชีพหลายชนิด ต้านมะเร็ง ต้านการอักเสบ มีฤทธิ์กดภูมิต้านทาน

4. จากการทดสอบประสิทธิภาพและความปลอดภัยของยา Dihydroartemisinin ทางคลินิกในผู้ป่วยติดเชื้อมาลาเรียชนิดดื้อยา โดยทดสอบตัวยา 3 สูตร ในผู้ป่วยกลุ่มละ 60 คน ได้แก่ 1. ยา Dihydroartemisinin ที่สังเคราะห์และพัฒนายาเองทุกขั้นตอนโดยสถาบันวิจัยและพัฒนาองค์การเภสัชกรรม, 2. ยา Dihydroartemisinin ที่นำเข้าวัตถุดิบมาจากประเทศเวียดนามและใช้สูตรยาขององค์การเภสัชกรรม และ 3. ยา Dihydroartemisinin สำเร็จรูปที่ผลิตขึ้นในประเทศจีน ทำการทดลองให้ยาแก่ผู้ป่วยในขนาด 600 มิลลิกรัม แบ่งรับประทาน 5 วัน ผลการรักษาพบว่าผู้ป่วยทุกรายไม่มีเชื้อในเลือดภายใน 3 วัน หลังจากเริ่มการรักษาและไม่พบอาการข้างเคียงที่รุนแรง โดยอัตราการหายจากโรคคิดเป็น 92%, 85% และ 80% ตามลำดับ จะเห็นได้ว่า Dihydroartemisinin ออกฤทธิ์เร็ว ซึ่งมีข้อดีคือ จะทำให้เชื้อดื้อต่อยาได้ยากขึ้น องค์การอนามัยโลก (WHO) จึงแนะนำให้ใช้เป็นยาต้านมาลาเรียเฉพาะกับผู้ป่วยมาลาเรียชนิดที่ใช้ยาต้านมาลาเรียอื่นไม่ได้ผลเท่านั้น ทั้งนี้ก็เพื่อลดโอกาสการดื้อยาของเชื้ออันเนื่องมาจากการใช้ยาผิดวิธีนั่นเอง

5. การสังเคราะห์ทางเคมี การสังเคราะห์สาร Artemisinin และสารอนุพันธ์ด้วยวิธีดังกล่าวต้องผ่านหลายขั้นตอน ทำให้มีค่าใช้จ่ายสูงและไม่คุ้มทุน จึงนิยมสังเคราะห์โดยใช้ Artemisinin ที่แยกได้จากพืชเป็นตัวตั้งต้นปฏิกิริยา สถาบันวิจัยและพัฒนา องค์การเภสัชกรรมได้ทำการสกัดโดยวิธี Solvent extraction และทำให้สารบริสุทธิ์โดย Preparative MPLC แล้วสังเคราะห์อนุพันธ์ของ Artemisinin ที่แยกได้โดยใช้เครื่องทำปฏิกิริยาเคมีขนาด 20 ลิตร และสามารถสังเคราะห์อนุพันธ์ได้ 3 ชนิด คือ Artemether, Artesunate และ Dihydroartemisinin โดยพบว่าอนุพันธ์ Dihydroartemisinin นั้นมีขั้นตอนการสังเคราะห์ที่สั้นกว่าอนุพันธ์อื่นและมีประสิทธิภาพในการต้านเชื้อมาลาเรียได้ดีกว่า Artemisinin จึงมีศักยภาพที่จะพัฒนาเป็นยาต้านมาลาเรียชนิดดื้อยาได้ จากนั้นได้ศึกษาวิจัยและพัฒนาสูตรยา Dihydroartemisinin ตลอดจนพัฒนาวิธีการควบคุมคุณภาพจนได้เป็นยาเม็ด Dihydroartemisinin ชนิดฟิล์มเคลือบขนาด 25, 50 และ 100 มิลลิกรัม และยา Dihydroartemisinin ชนิดแคปซูลขนาด 100 มิลลิกรัม

6. เมื่อให้ Artemisinin แก่หนูทดลองทางปาก ยาจะถูกดูดซึมอย่างรวดเร็วและมีความเข้มข้นในเลือดสูงสุดภายใน 1 ชั่วโมง ส่วนยาที่เหลือจะถูกกำจัดที่ตับโดยเปลี่ยนเป็นสารที่ไม่มีฤทธิ์ ส่วนอนุพันธ์ของ Artemisinin คือ Artemether และ Artesunate จะถูกเปลี่ยนเป็น Dihydroartemisinin ซึ่งเป็นตัวที่ออกฤทธิ์ต้านเชื้อมาลาเรีย เนื่องจากยากลุ่มนี้มีค่าครึ่งชีวิตสั้น (ประมาณ 4 ชั่วโมงในกระแสเลือด) และการออกฤทธิ์เร็วของยาจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นภายใน 3-4 วัน แต่ต้องใช้ยากลุ่ม Artemisinin ในการรักษานานประมาณ 5-7 วัน เมื่อเทียบกับเมโฟรควินซึ่งมีค่าครึ่งชีวิตนานถึง 6-22 วัน ทำให้ยาออกฤทธิ์ช้าและเกิดอาการดื้อยาได้ง่าย

7. เมื่อเอาความเข้มข้น 1 ต่อ 3 ของน้ำแช่ต้นมาทดลองกับเชื้อราของโรคผิวหนังในหลอดทดลอง พบว่า ความเข้มข้น 7.8 มิลลิกรัมต่อซีซี สามารถยับยั้งเชื้อราได้ดี

8. การนำมาใช้รักษามาลาเรีย เนื่องจากสาร Artemesinin เป็นสารที่ละลายยากทั้งในน้ำและในน้ำมัน ปัจจุบันจึงมีการแยกสังเคราะห์แบ่งแยกสารอนุพันธ์ของ Artemesinin แยกออก ได้แก่ Artemether กับ Artesunate เป็นสองชนิด[1] โดย Artemether จะมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อมาลาเรียได้ดีกว่า Artemesinin ประมาณ 2-3 เท่า ละลายในน้ำมันได้ดี จึงสามารถนำไปเตรียมเป็นยาฉีดเข้ากล้ามได้ ส่วน Artesunate จะมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อมาลาเรียได้ดีกว่า Artemesinin ประมาณ 2-3 เท่าเช่นกัน แต่จะละลายในน้ำได้ดี จึงสามารถนำไปเตรียมเป็นยาฉีดเข้าหลอดเลือดดำได้ และส่งผลให้ยาออกฤทธิ์ได้เร็วกว่า

9. Artemisinin และสารอนุพันธ์ จะถูกเปลี่ยนแปลงในร่างกายเป็นสาร Active metabolite คือ Dihydroartemisinin ที่มีฤทธิ์ต้านเชื้อมาลาเรียได้ดีกว่า Artemisinin 2 เท่า โดยออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อมาลาเรียในระยะที่เป็น Blood schizont สารกลุ่มนี้จะออกฤทธิ์ต่อต้านเชื้อ Plasmodium ทุก species ทั้งที่ดื้อและไม่ดื้อต่อยาคลอโรควิน ในปัจจุบันสารกลุ่มนี้ได้มีการศึกษากันอย่างกว้างขวาง ทั้งในสัตว์ทดลองและการทดลองทางคลินิกทั้ง 4 ระยะ จนได้รับการอนุมัติจากองค์การอาหารและยาของหลายประเทศรวมทั้งประเทศไทย ให้ใช้เป็นยารักษาโรคมาลาเรียที่เกิดจากเชื้อ Plasmodium falciparum ที่ดื้อต่อยาคลอโรควิน ซึ่งพบมากในประเทศไทย

10. กลไกการออกฤทธิ์ต้านมาลาเรีย สาร Artemisinin นั้นจัดอยู่ในกลุ่ม Sesquiterpene Lactone ชนิดที่มี Endoperoxide bridge อยู่ภายใน ring ซึ่งไม่ค่อยพบได้ในธรรมชาติ โดยเชื่อว่ากลุ่ม Endo-peroxide (C-O-O-C) นี้เป็นส่วนสำคัญในการออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อมาลาเรีย เนื่องจากอนุพันธ์ของ Artemisinin ที่ไม่มีกลุ่ม Endoperoxide จะไม่มีฤทธิ์เลย คาดว่ากลไกการออกฤทธิ์ของยากลุ่มนี้อาศัยกระบวนการสร้างอนุมูลอิสระ คือ เชื้อมาลาเรียจะทำลายเม็ดเลือดแดงในผู้ป่วย โดยเปลี่ยน Haemoglobin (Fe3+) ให้เป็น Haem (Fe2+) ซึ่ง (Fe2+) ที่เกิดขึ้นจะไปเร่งปฏิกิริยาเปลี่ยน Endoperoxide ให้เป็นอนุมูลอิสระ และอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นนี้จะไปจับกับโปรตีนของเชื้อมาลาเรีย ทำให้เชื้อถูกทำลาย ซึ่งกลไกดังกล่าวจะต่างไปจากยาต้านมาลาเรียที่ใช้อยู่เดิม เช่น ยาในกลุ่มควินิน ซึ่งจะออกฤทธิ์โดยยับยั้งการสังเคราะห์ DNA และ RNA จึงทำให้ยาชนิดนี้ใช้ได้ผลดีกับเชื้อมาลาเรียชนิดดื้อยา

ประโยชน์ของโกฐจุฬาลัมพา

1. ทั้งต้นทำเป็นยาฆ่ายุงได้ด้วยวิธีคั้นน้ำ
2. ปัจจุบันสาร Artemisinin และอนุพันธ์ ที่อยู่ในต้น นำมาศึกษากันอย่างมาก และได้รับอนุมัติจากองค์การอาหารและยา และหลายประเทศรวมทั้งไทย ใช้เป็นยารักษาโรคมาลาเรียเกิดจากเชื้อ Plasmodium falciparum ดื้อต่อยาคลอโรควิน ซึ่งพบ ในประเทศไทยมาก ผลิตแบบเม็ดและยาฉีด

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. (วิทยา บุญวรพัฒน์). “โกฐจุฬา”. หน้า 204.
2. หนังสือสมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ. (คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “ชิงเฮา Qinghao”. หน้า 56.
3. องค์การเภสัชกรรม. (ดร.ประภัสสร สุรวัฒนาวรรณ). “ชิงเฮา…สมุนไพรต้านมาลาเรีย”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.gpo.or.th. [05 ม.ค. 2015]. 4 4 ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “โกฐจุฬาลัมพา”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.thaicrudedrug.com. [05 ม.ค. 2015].

อ้างอิงรูปจาก
1. https://efloraofindia.com/

สมุนไพรโด่ไม่รู้ล้ม สรรพคุณช่วยแก้อาการเหน็บชา บำรุงกำลัง

0
สมุนไพรโด่ไม่รู้ล้ม สรรพคุณช่วยแก้อาการเหน็บชา บำรุงกำลัง เป็นพืชล้มลุก ใบเดี่ยวขอบใบหยัก ดอกเป็นช่อรูปหลอดมีสีม่วง ผลเล็กและเรียวรูปกรวยมีขนหนาแน่น
โด่ไม่รู้ล้ม
เป็นพืชล้มลุก ใบเดี่ยวขอบใบหยัก ดอกเป็นช่อรูปหลอดมีสีม่วง ผลเล็กและเรียวรูปกรวยมีขนหนาแน่น

โด่ไม่รู้ล้ม

ชื่อสามัญ คือ Prickly-leaved elephant’s foot ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Elephantopus scaber L. จัดอยู่ในวงศ์ทานตะวัน (ASTERACEAE หรือ COMPOSITAE) ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ขี้ไฟนกคุ่ม (เลย), คิงไฟนกคุ่ม (ชัยภูมิ), หนาดมีแคลน (สุราษฎร์ธานี), ตะชีโกวะ ติ๊ซิเควาะด๊ะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), โน๊ะกะชอย่อตะ กาว่ะ เนาะดากวอะ (กะเหรี่ยงเชียงใหม่), เคยโป้ หนาดผา หญ้าปราบ หญ้าไก่นกคุ่ม หญ้าไฟนกคุ้ม หญ้าสามสิบสองหาบ (ภาคเหนือ), ก้อมทะ เกดสะดุด ยาอัดลม (ลั้วะ), จ่อเก๋ (ม้ง)

ลักษณะของต้นโด่ไม่รู้ล้ม

  • ต้น
    – เป็นพืชล้มลุก
    – มีลำต้นสั้นและกลม
    – มีความสูงเพียง 10-30 เซนติเมตร ซึ่งอยู่ในระดับพื้นผิวดิน
    – ผิวลำต้นและใบจะมีขนละเอียดสีขาว และมีความสาก
    – เมื่อถูกเหยียบหรือโดนทับก็จะดีดตัวขึ้นมาใหม่ได้เหมือนปกติ
    – สามารถขยายพันธุ์โดยการใช้เมล็ด
    – สามารถพบได้ทั่วไปตามป่าโปร่งที่มีดินทราย ในป่าเต็งรัง ป่าดิบ และในป่าสนเขาในประเทศในเขตร้อนทั่วโลก
  • ใบ
    – ใบเป็นใบเดี่ยว อยู่เหนือเหง้าติดกันเป็นวงกลม
    – ออกเรียงสลับชิดกันอยู่เป็นกระจุก
    – ใบเป็นรูปหอกหัวกลับ
    – แผ่นใบกว้าง 3-5 เซนติเมตรและยาว 8-20 เซนติเมตร
    – ขอบใบหยัก
    – มีเส้นแขนงของใบ 12-15 คู่
    – โคนใบจะสอบแคบจนถึงก้านใบ
    – เนื้อใบหนาและสาก
    – ผิวใบจะมีขนสากเล็ก ๆ
    – มีขนต่อมห่างอยู่ทั้งสองด้าน
    – ท้องใบจะมีขนมากกว่าหลังใบ
    – แผ่นใบจะแผ่ราบไปกับพื้นดิน
    – ก้านใบยาว 0.5-2 เซนติเมตร หรืออาจจะไม่มีก้านใบ
  • ดอก
    – ออกดอกเป็นช่อแทงออกมาจากลำต้น
    – ช่อดอกเป็นรูปขอบขนาน
    – มีดอกย่อยขนาดเล็ก 4 ดอก มีความยาว 9-10 มิลลิเมตร
    – มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 2-3 มิลลิเมตร
    – ดอกเป็นรูปหลอด มีสีม่วง
    – หลอดกลีบดอกยาว 3-3.5 มิลลิเมตร
    – ปลายกลีบดอกยาว 1.5-2 มิลลิเมตร
    – ดอกมีเกสรตัวผู้สีเหลือง
    – มีอับเรณูยาว 2.2-2.3 เซนติเมตร ปลายแหลม ฐานเป็นติ่งแหลม
    – ก้านชูอับเรณูยาว 1.5-1.7 เซนติเมตร
    – เกสรตัวเมียมีก้านเกสรยาว 7-8 มิลลิเมตร ยอดเกสรยาว 0.5-0.6 มิลลิเมตร มี
    – แต่ละช่อย่อยจะอยู่รวมกันเป็นช่อกระจุกกลมที่ปลายก้านดอก
    – ที่โคนกระจุกดอกจะมีใบประดับแข็งเป็นรูปสามเหลี่ยมแนบอยู่ด้วย 3 ใบ มีความยาว 1-2 เซนติเมตรและกว้าง 0.5-1.5 เซนติเมตร
    – ขอบใบเรียบ
    – ปลายใบเรียวแหลม
    – ผิวใบทั้งสองด้านมีขนตรงสีขาว
    – ก้านช่อดอกมีความยาว 8 เซนติเมตรและมีขนสาก ๆ อยู่
    – ฐานรองดอกจะแบนและเกลี้ยง
    – วงใบประดับเป็นรูปขอบขนาน มี 2 ชั้น สูง 7-10 มิลลิเมตร
    – ใบประดับคล้ายรูปหอก
    – ผิวด้านนอกมีขนตรง
    – ขอบใบมีขนครุย
    – ชั้นนอกเป็นรูปใบหอกที่มีความยาว 4-6 มิลลิเมตรและกว้าง 0.5-1.5 มิลลิเมตร
    – ชั้นที่ 2 เป็นรูปขอบขนานที่มีความกว้าง 1-2 มิลลิเมตรและยาว 8-10 มิลลิเมตร
    – เป็นเส้นตรงแข็ง มี 5 เส้น เรียง 1 ชั้น ยาว 5-6 มิลลิเมตร
  • ผล
    – เป็นผลแห้งและไม่แตก
    – ผลเล็กและเรียว
    – มีลักษณะเป็นรูปกรวยแคบ
    – ผิวด้านนอกผลมีขนหนาแน่น
    – มีความยาว 2.5-3 มิลลิเมตรและกว้าง 0.4-0.5 มิลลิเมตร
    – ผลไม่มีสัน

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

  • มีฤทธิ์ช่วยยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย
  • ยับยั้งเชื้อไวรัส
  • ช่วยลดไข้
  • ลดอาการอักเสบ
  • ช่วยต้านความเป็นพิษต่อตับ
  • ช่วยลดความดันโลหิต
  • ช่วยยับยั้งการเคลื่อนไหวของลำไส้เล็ก
  • ช่วยกระตุ้นมดลูก

สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม

  • ช่วยแก้ไอได้
  • ช่วยแก้นิ่วได้
  • ช่วยแก้อาการท้องเสียได้
  • ช่วยแก้อาการเจ็บคอได้
  • ช่วยบำรุงหัวใจได้
  • ช่วยแก้กษัยได้
  • ช่วยขับเหงื่อได้
  • ช่วยห้ามเลือดกำเดาไหลได้
  • ช่วยรักษาแผลในช่องปากได้
  • ช่วยแก้อาการตาแดงได้
  • ช่วยแก้ปัสสาวะพิการได้
  • ช่วยแก้อาการเหน็บชาได้
  • ช่วยบำรุงร่างกาย บำรุงกำลังได้
  • ช่วยขับน้ำเหลืองเสียออกจากร่างกายได้
  • ช่วยแก้อาการบวมน้ำได้
  • ช่วยแก้อาการอักเสบต่าง ๆ ได้
  • ช่วยรักษาฝีบวม ฝีมีหนองได้
  • ช่วยขับไส้เดือน พยาธิตัวกลมได้
  • ช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหารได้
  • ช่วยบำรุงกำหนัด บำรุงสมรรถภาพทางเพศได้
  • ช่วยแก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย แผลงูกัดได้
  • ช่วยแก้ไข้จับสั่นหรือไข้มาลาเรียได้
  • ช่วยแก้อาการข้าวติดคอหรือกลืนอาหารฝืดคอได้
  • ช่วยแก้อาเจียนได้
  • ช่วยคลายเส้นได้
  • ช่วยแก้อาการปวดเมื่อยตามร่างกายได้
  • ช่วยเพิ่มเม็ดเลือดแดงสำหรับผู้ป่วยเอดส์ได้
  • ช่วยแก้อาการปวดฟันได้
  • ช่วยแก้อาการอ่อนเพลียได้
  • ช่วยรักษาโรคผิวหนัง ผดผื่นคันตามร่างกายได้
  • ช่วยรักษาบาดแผลได้
  • ลำต้นและใบ สามารถนำมาใช้เป็นยาบำรุงเลือดได้
  • ลำต้นและใบ ช่วยทำให้อยากอาหารได้
  • ราก ลำต้น ใบ และผล ช่วยแก้ไข้ได้
  • รากและใบ สามารถนำมาใช้ต้มเป็นยาดื่มช่วยบรรเทาอาการเจ็บหน้าอกได้
  • รากและใบ ช่วยแก้อาการท้องร่วงได้
  • รากและใบ สามารถใช้เป็นยาคุมกำเนิดสำหรับสตรีหลังคลอดบุตรใหม่ ๆ ได้
  • ลำต้น ช่วยแก้อาการเริ่มต้นของทางเดินปัสสาวะอักเสบได้
  • ลำต้น ช่วยแก้ต่อมน้ำเหลืองอักเสบได้
  • ลำต้น ช่วยรักษาฝีฝักบัวได้
  • รากและใบ สามารถนำมาใช้ต้มกับน้ำดื่มช่วยแก้อาการปวดหลังปวดเอวได้

ประโยชน์ของโด่ไม่รู้ล้ม

  • สามารถนำมาปลูกเป็นไม้ประดับประจำบ้านเพื่อความสวยงามได้
  • เชื่อที่ว่าการปลูกไว้ประจำบ้าน จะช่วยป้องกันความอัปมงคลได้
  • สามารถนำไปใช้แปรรูปเป็นยาสมุนไพรในรูปแบบต่าง ๆ ได้ เช่น ยาดองเหล้าโด่ไม่รู้ล้ม ยาโด่ไม่รู้ล้ม โด่ไม่รู้ล้มแคปซูล

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

แหล่งอ้างอิง : ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, เว็บไซต์สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, สุภาวดี ภูมิมาลี นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร จังหวัดนครราชสีมา (พืชสวน), ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์), สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน), สารานุกรมสมุนไพร เล่ม 1 สมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ 104

อ้างอิงรูปจาก
1.https://powo.science.kew.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:202958-1
2.https://alchetron.com/Elephantopus-scaber

ต้นข้าวต้ม สรรพคุณช่วยรักษาโรคดีซ่าน

0
ต้นข้าวต้ม
ต้นข้าวต้ม สรรพคุณช่วยรักษาโรคดีซ่าน เป็นไม้พุ่มลำต้นตั้งตรง ใบรูปใบโพออกเรียงสลับท้องใบมีขน ดอกจะออกที่ปลายกิ่งช่อสีเหลืองอ่อน
ต้นข้าวต้ม
เป็นไม้พุ่มลำต้นตั้งตรง ใบรูปใบโพออกเรียงสลับท้องใบมีขน ดอกจะออกที่ปลายกิ่งช่อสีเหลืองอ่อน

ต้นข้าวต้ม

ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Wissadula periplocifolia (L.) Thwaites อยู่วงศ์ชบา (MALVACEAE)[1] ชื่อในท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น ข้าวเหนียวหมา (ภาคใต้),จั่นนก(ภาคเหนือ), มะกล่องข้าวตัวผู้ (ภาคเหนือ) [1]

ลักษณะต้นข้าวต้ม

  • ต้น เป็นไม้พุ่ม ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง ต้นสามารถสูงได้ถึงประมาณ 0.5-2 เมตร[1]
  • ใบ เป็นใบเดี่ยว ใบจะออกเรียงสลับกัน ใบเป็นรูปใบโพ ที่ปลายใบจะแหลม ส่วนที่โคนใบจะป้าน ใบกว้างประมาณ 2-6 เซนติเมตร มีความยาวประมาณ 3-15 เซนติเมตร ที่ท้องใบมีขนขึ้นมีลักษณะเป็นรูปดาว หูใบเป็นเส้นยาว[1]
  • ดอก ออกดอกจะออกที่ปลายกิ่ง ช่อมีดอกย่อยอยู่ประมาณ 2-3 ดอก กลีบดอกมีลักษณะเป็นสีเหลืองอ่อน[1]
  • ผล เป็นผลแห้งสามารถแตกได้ ปลายจะเป็นฝา ฝาละ 2 แฉก ที่ผลมี 5 พู ผลแก่พูจะแยกจากกัน[1]

สรรพคุณต้นข้าวต้ม

  • ในตำรับยาพื้นบ้านล้านนานำลำต้นแห้งมาผสมสมุนไพรอื่นอีกหลายชนิด แล้วนำมาต้มกับน้ำใช้ดื่มเป็นยาแก้ดีซ่าน (ลำต้นแห้ง)[1]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา. (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “ข้าวต้ม”. หน้า 227.
2. https://medthai.com/

อ้างอิงรูปจาก
1.https://powo.science.kew.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:1213890-2
2.https://tropical.theferns.info/image.php?id=Wissadula+excelsior

ดาวกระจาย สรรพคุณช่วยแก้ตับไตอักเสบ

0
ดาวกระจาย สรรพคุณช่วยแก้ตับไตอักเสบ เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ใบประกอบแบบขนนกเรียงสลับ ดอกเดี่ยวหรือออกเป็นกระจุก สีเหลืองสด จะมีริ้วประดับ
ดาวกระจาย
เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ใบประกอบแบบขนนกเรียงสลับ ดอกเดี่ยวหรือออกเป็นกระจุก สีเหลืองสด จะมีริ้วประดับ

ดาวกระจาย

ดาวกระจาย จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกกลางแจ้ง มีกำเนิดและมีการแพร่กระจายในประเทศเขตร้อนอย่างเม็กซิโก รวมถึงในแถบกึ่งเขตร้อนของอเมริกาและเวสต์อินดีส ชื่อสามัญ Mexican Aster, Cosmos, Cosmea มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ Cosmos bipinnatus Cav. อยู่วงศ์ Compositae (วงศ์เดียวกับดาวเรือง) ชื่อเรียกในท้องถิ่น คำเมืองไหว,คำแพ,ดาวเรืองพม่า,หญ้าแหลมนกไส้

ลักษณะของต้นดาวกระจาย

  • ต้น เป็นไม้ล้มลุก มีอายุได้ราว 1 ปี ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง ต้นสูงได้ถึงประมาณ 25-85 เซนติเมตร ที่กลางลำต้นจะแตกกิ่งก้านสาขาเยอะ ลำต้นมีลักษณะเป็นเหลี่ยม จะมีขนขึ้นนิดหน่อย ที่โคนต้นจะเป็นสีม่วงและไม่มีขน กิ่งก้านเป็น 4 เหลี่ยม ขยายพันธุ์โดยการใช้เมล็ด สำหรับประเทศไทยสามารถพบเจอได้ที่ตามที่รกร้างในชนบท[1],[2],[3]
  • ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ใบจะออกเรียงสลับกัน ที่ปลายใบจะคี่ ดอกช่อใบจะเป็นใบเดี่ยว ที่ปลายใบแหลมกว่าใบอื่น ช่อใบจะมีใบย่อยประมาณ 3-5 ใบ ใบย่อยเป็นรูปไข่ ที่ปลายใบจะแหลม ส่วนที่โคนใบจะมน ที่ขอบใบจักเป็นซี่ฟันประมาณ 2-3 ซี่ ใบมีลักษณะเป็นสีเขียว มีเนื้อใบนิ่ม ที่หลังใบจะมีขนประปราย ส่วนที่ท้องใบก็จะมีขนประปรายเช่นกัน [1],[2]
  • ดอก ดอกจะออกเป็นดอกเดี่ยวหรือออกเป็นกระจุก ออกดอกที่ตามซอกใบ ที่ปลายยอด ดอกมีลักษณะเป็นสีเหลืองสด สีแดงอมม่วง สีชมพูและขาว จะมีริ้วประดับเป็นรูปหอกเรียงเป็นวง จะมีทั้งวงนอกและวงใน ดอกเมื่อบานจะมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 6-10 มิลลิเมตร ดอกวงนอกจะเป็นหมัน กลีบดอกเป็นรูปรางน้ำ ดอกวงในจะเป็นดอกสมบูรณ์เพศ กลีบดอกเป็นรูปท่อ ที่ปลายจะมีแฉก 5 แฉก ก้านดอกมีความยาวประมาณ 1.8-8.5 เซนติเมตร[1],[2],[3]
  • ผล ผลเป็นรูปทรงแคบ จะมีสันประมาณ 3-4 สัน ผลค่อนข้างที่จะแข็ง จะมีรยางค์เป็นหนาม มีความยาวประมาณ 3-4 มิลลิเมตร[1]
  • เมล็ด มีลักษณะรียาว หัว และท้ายเรียวแหลม เปลือกหุ้มเมล็ดแข็ง สีน้ำตาลอมดำ

สรรพคุณดาวกระจาย

1. สามารถใช้แก้อาการฟกช้ำได้ โดยนำต้นสดประมาณ 30-70 กรัม มาตำให้แหลก มาต้มกับน้ำผสมกับเหล้าขาวนิดหน่อย ใช้ทานวันละ 1 ครั้ง (ต้น)[3]
2. สามารถนำทั้งต้นมาใช้เป็นยาแก้พิษงูกัด แก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย ด้วยการนำต้นสดมาต้มกับน้ำทาน ส่วนกากที่เหลือสามารถเอามาพอกที่บริเวณที่เป็น (ทั้งต้น, ใบ และต้น)[1],[2],[3]
3. ทั้งต้นสามารถช่วยแก้ฝีในลำไส้ได้ (ทั้งต้น)[3]
4. สามารถนำทั้งต้นมาต้มกับน้ำ ใช้ดื่มเป็นยา แก้อาการท้องเสีย แก้ท้องร่วง แก้อาการปวดกระเพาะ แก้อาการปวดท้อง (ทั้งต้น)[1],[3] บ้างก็ว่าสามารถนำใบกับต้นมาต้มกับน้ำแล้วรินเอาแค่น้ำมาดื่มใช้เป็นยาแก้อาการท้องร่วงได้ (ใบและต้น)[2]
5. สามารถนำทั้งต้นมาใช้เป็นยารักษาบาดแผลได้ (ทั้งต้น, ใบ, ต้น)[1],[2]
6. สามารถช่วยแก้ตับไตอักเสบ อักเสบเฉียบพลันได้ (ทั้งต้น)[3]
7. นำต้นสดประมาณ 30-70 กรัม มาต้มผสมกับน้ำตาลนิดหน่อย สามารถดื่มแก้บิดได้ (ต้น)[3]
8. สามารถช่วยแก้ลำคอปวดบวม แก้ระบบทางเดินหายใจติดเชื้อได้ (ทั้งต้น)[3]
9. ทั้งต้นสามารถช่วยกระจายลม ฟอกโลหิตได้ (ทั้งต้น)[3]

ข้อควรระวัง

  • สตรีมีครรภ์ห้ามทาน [3]

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

  • สารสกัดที่ได้จากต้นสดรวมกับหนอนหม่อนแห้ง แล้วเอาไปให้หนูที่มีอาการปวดข้อหรือข้ออักเสบ โดยใช้ 10 กรัม ต่อน้ำหนักตัวหนู 1 กิโลกรัม ทานติดต่อกันเป็นเวลา 5 วัน พบว่าสารสกัดดังกล่าวมีฤทธิ์ยับยั้งอาการปวดข้อและข้ออักเสบได้ จะต้องใช้ทั้งสองชนิดร่วมกัน ถ้าแยกใช้ตัวใดตัวหนึ่งจะไม่เห็นผล[3]
  • พบว่าทั้งต้นดาวเรืองมีสาร Saponin, Glycoside, Alkaloid, Tannin, Lavanol, Choline [3]
  • สารที่สกัดได้ด้วยแอลกอฮอล์จะมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อ Staphylo coccus ภายนอกได้แบบมีประสิทธิภาพ[3]
  • พบว่ามีสารที่ให้รสขมหรือ Bittera ที่ก้านกับใบดาวเรือง และพบว่ามีน้ำมันระเหยนิดหน่อย[3]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีนที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. “ดาว กระ จาย”. (วิทยา บุญวรพัฒน์). หน้า 220.
2. หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. “ดาวกระจาย (Dao Kra Chai)”. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). หน้า 112.
3. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. “ดาวกระจาย”. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). หน้า 286-287.

อ้างอิงรูปจาก
1.https://www.selectseeds.com/
2.https://plants.gardenworks.ca/

ต้นธรณีสาร สรรพคุณช่วยรักษาผิวหนังอักเสบ

0
ต้นธรณีสาร
ต้นธรณีสาร สรรพคุณช่วยรักษาผิวหนังอักเสบ เป็นไม้พุ่งกึ่งไม้ยืนต้น ใบเดี่ยวออกเรียงสลับแน่น ดอกเดี่ยวสีแดงเข้มลักษณะห้อยลง ผลเป็นรูปทรงกลมผิวเกลี้ยงสีน้ำตาลอ่อน ออกเรียงเป็นแนว
ต้นธรณีสาร
เป็นไม้พุ่งกึ่งไม้ยืนต้น ใบเดี่ยวออกเรียงสลับแน่น ดอกเดี่ยวสีแดงเข้มลักษณะห้อยลง ผลเป็นรูปทรงกลมผิวเกลี้ยงสีน้ำตาลอ่อน ออกเรียงเป็นแนว

ธรณีสาร

ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Phyllanthus pulcher Wall. ex Müll.Arg.[1] อยู่วงศ์มะขามป้อม (PHYLLANTHACEAE) ชื่อในท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น รุรี (จังหวัดสตูล), ครีบยอด (จังหวัดสุราษฎร์ธานี), ตรึงบาดาล (จังหวัดประจวบคีรีขันธ์), ก้างปลาดิน (จังหวัดนครศรีธรรมราช), เสนียด (จังหวัดกรุงเทพมหานคร), ก้างปลา (จังหวัดนราธิวาส), คดทราย (จังหวัดสงขลา), ก้างปลาแดง (จังหวัดสุราษฎร์ธานี), ดอกใต้ใบ (จังหวัดนครศรีธรรมราช), มะขามป้อมดิน (จังหวัดเชียงใหม่), กระทืบยอด (จังหวัดชุมพร) [1],[3]

ลักษณะของต้นธรณีสาร

  • ต้น เป็นไม้พุ่งกึ่งไม้ยืนต้น จะมีขนาดที่เล็ก ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง ต้นสูงประมาณ 1-1.5 เมตร ลำต้นจะแผ่กิ่งก้านใกล้ปลายยอด เปลือกต้นมีลักษณะเรียบเป็นสีน้ำตาล ลำต้นกลม จะมีรอยแผลใบที่ตามลำต้น และมีขนนุ่มขึ้นที่ตามกิ่งอ่อนตามใบประดับ ขยายพันธุ์โดยการใช้เมล็ด สามารถพบเจอขึ้นกระจายที่ตามป่าผลัดใบ ที่สูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกินประมาณ 400 เมตร[3]
  • ใบ เป็นใบเดี่ยว ใบจะออกเรียงสลับแน่นในระนาบเดียวกันที่ตรงปลายยอด แต่ละกิ่งย่อยจะมีใบย่อยอยู่ประมาณ 15-30 คู่ ใบย่อยเป็นรูปขอบขนานแกมไข่ รูปขอบขนานเบี้ยว ที่ปลายใบจะมน ส่วนที่โคนใบจะมนเบี้ยว ขอบใบจะเรียบ ที่ปลายสุดจะเป็นติ่งแหลมเล็ก ใบย่อยกว้างประมาณ 0.8-1.3 เซนติเมตร มีความยาวประมาณ 1.52.5 เซนติเมตร แผ่นใบมีลักษณะแผ่และบาง ที่หลังใบเรียบและเป็นสีเขียว ที่ท้องใบก็จะเรียบเช่นกันเป็นสีเทาแกมสีเขียว มีเส้นใบอยู่ข้างประมาณ 6-8 คู่ ก้านใบมีลักษณะสั้นสามารถยาวได้ประมาณ 0.8-1.5 มิลลิเมตร และมีสีแดงนิดหน่อย หูใบจะเป็นสีน้ำตาลแดง เป็นรูปหอกแกมสามเหลี่ยม ขนาดประมาณ 3-4 x 1.5-2 มิลลิเมตร[3]
  • ดอก เป็นดอกเดี่ยว ดอกเป็นสีแดงเข้ม เป็นดอกแบบแยกเพศอยู่ต้นเดียวกัน ที่ใบประดับจะมีขนนุ่มขึ้นอยู่ที่ฐาน ดอกเพศผู้ออกดอกเป็นกระจุกที่ตามซอกใบ กลีบดอกมีอยู่ 4 กลีบ ที่โคนกลีบจะเป็นสีแดง มีเกสรเพศผู้อยู่ 2 อัน มีก้านชูที่สั้น จะเชื่อมติดกัน อับเรณูจะแตกตามแนวยาว ก้านดอกมีลักษณะบาง สามารถยาวได้ถึงประมาณ 5-10 มิลลิเมตร มีกลีบเลี้ยงดอกอยู่ 4 กลีบ มีสีแดงเข้ม เป็นรูปสามเหลี่ยมแกมไข่ ที่ขอบจะแหว่ง กลีบเลี้ยงมีขนาดประมาณ 2-3 x 1-2 มิลลิเมตร จะมีต่อมอยู่ ที่ฐานของดอกจะเป็นต่อม 4 อัน มีลักษณะเป็นรูปเหลี่ยม รูปไตแบนบาง กว้างประมาณ 0.5-0.7 มิลลิเมตร ดอกเพศเมียออกดอกที่ตามซอกใบและที่ปลายกิ่ง ดอกมีลักษณะห้อยลง เรียงอยู่หนาแน่นที่ใต้ท้องใบ มีกลีบดอกเพศเมียอยู่ 6 กลีบ เป็นรูปสามเหลี่ยมแกมไข่ ที่ขอบจะแหว่ง กลีบดอกเพศเมียมีขนาดประมาณ 3.5-4 x 1.5 มิลลิเมตร รังไข่มีลักษณะเป็นรูปกึ่งกลม เกลี้ยง มีที่ปลายจะมี 6 พู รังไข่จะมีอยู่ 3 ห้อง มีก้านชูอยู่ 3 อัน ออกดอกช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกันยายน[3]
  • ผล เป็นรูปทรงกลม มีขนาดประมาณ 3 มิลลิเมตร ผิวผลมีลักษณะเกลี้ยง และเป็นสีน้ำตาลอ่อน ก้านผลมีความยาวประมาณ 2-2.5 เซนติเมตร มีกลีบเลี้ยงที่ติดทน ผลออกเรียงเป็นแนว เป็นระเบียบอยู่ที่บริเวณใต้ใบ ติดผลช่วงเดือนสิงหาคมถึงเดือนพฤศจิกายน[3]

สรรพคุณธรณีสาร

1. ใบ สามารถใช้ภายนอกเป็นยาดูดหนองรักษาแผลได้ ยาพอกฝีได้ (ใบ)[1],[2],[5]
2. ต้น ใช้ฝนทาแก้พิษฝีอักเสบ แก้ฝีอักเสบได้ (ต้น)[3],[6]
3. ใบ ตำผสมข้าวเหนียวดำ ใช้เป็นยาพอกแก้กระดูกหักได้ (ใบ)[7]
4. ต้น ใช้เป็นยาทาผิวหนัง แก้อาการคัน และแก้ผิวหนังอักเสบได้ (ต้น)[7]
5. ต้น ใช้เป็นยาทาท้องเด็กได้ จะช่วยทำให้ไตทำงานได้ตามปกติ และสามารถใช้เป็นยาแก้ไข้ได้ (ต้น)[7]
6. ต้น นำมาฝนใช้ทาท้องเด็กได้ จะช่วยแก้ขัดเขา (ต้น)[6]
7. ต้น ต้มกับน้ำทานเป็นยาแก้ปวดท้องได้ [1],[3],[7]
8. สามารถนำใบมาตำ แล้วนำมาใช้พอกเหงือกแก้โรคเหงือก และแก้อาการปวดฟันได้ (ใบ)[3],[7]
9. ราก ช่วยแก้พิษตานซางเด็กได้ (ราก)[3]
10. ราก มีรสจืดเย็น มีสรรพคุณที่เป็นยาแก้ไข้ตัวร้อนได้ (ราก)[3] สามารถนำใบมาตำให้แหลกผสมน้ำซาวข้าวหรือเหล้า แล้วนำมาใช้พอกดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ได้ (ใบ)[5]
11. ในประเทศมาเลเซียจะนำใบใช้เป็นยาแก้ไข้สูง (ใบ)[3]
12. ใบ ตำพอกใช้แก้ปวดบวม และแก้อาการบวมได้ (ใบ)[1],[2],[3]
13. ใบ ตำใช้พอกแก้ผื่นคันตามร่างกายได้ (ใบ)[1],[2],[3]
14. ในมาเลเซียนำใบ ใช้เป็นยาแก้แผล สามารถแก้บวมคัน แก้ปวดแผลจากอาการไหม้ได้ (ใบ)[3]
15. ใบ สามารถช่วยแก้นิ่วในไตได้ (ใบ)[3]
16. ใบ ช่วยแก้อาการปวดกระเพาะอาหารได้ (ใบ)[3]
17. รากต้มกับน้ำใช้ดื่มเป็นยาช่วยขับลมในลำไส้ ท้องเฟ้อ แก้ท้องอืดได้ (ราก)[3]
18. ต้น ใช้ภายนอกใช้เป็นยาล้างตาได้ (ต้น)[3],[7]
19. นำใบแห้งมาบดให้เป็นผง แล้วนำมาใช้แทรกพิมเสนกวาดคอเด็ก สามารถช่วยรักษาพิษตานทรางของเด็ก ลดไข้ รักษาแผลในปาก รักษาอาการตัวร้อน และสามารถใช้เป็นยาขับลมในลำไส้ได้ (ใบ)[1],[2],[3],[4]
20. นำใบมาขยำเอาน้ำมาใช้ชโลมทาเป็นยาลดไข้สำหรับเด็กได้ (ใบ)[7]

ประโยชน์ธรณีสาร

  • คนไทยโบราณเชื่อกันว่าถ้าปลูกไว้ในบ้าน จะมีความเป็นสิริมงคล ทำให้มีความสุขร่มเย็น ถ้าต้นงอกงามได้ดี เป็นสัญญาณที่บอกว่าเจ้าของบ้านจะได้รับเกียรติยศ ตำแหน่งหน้าที่การงานดีขึ้น มีโชคลาภ และเชื่อว่าสามารถแผ่อิทธิคุณ คุ้มครองอาณาบริเวณให้รอดพ้นจากมนต์ดำ ช่วยปัดเสนียดจัญไร การปลูกจะขึ้นดีในที่ร่ม ให้ปลูกในกระถางใบใหญ่ ใช้ดินร่วนปลูก ถ้าใส่ปุ๋ยคอกจะสามารถช่วยทำให้เติบโตได้เร็วยิ่งขึ้น เมื่อเอาดินกลบหัวแล้วอย่ากดดินให้แน่น รดน้ำพอชุ่ม ก่อนรดน้ำให้สวดคาถา นโม พุทธยะ 3 จบทุกครั้ง ถ้าต้นตั้งตัวได้ควรให้รับแสงแดดแบบรำไร เพื่อให้หัวมีขนาดใหญ่ ปลูกวันพฤหัสบดีข้างขึ้นจะดีที่สุด[5]
  • เป็นไม้มงคลโบราณนิยมใช้ประกอบทำน้ำมนต์ ด้วยการนำใบชุบน้ำมนต์ แล้วนำมาใช้ประพรมเพื่อปัดรังควานและเสนียดจัญไร นิยมปลูกที่ตามวัด มีการปลูกที่ตามบ้านแบบประปราย[3]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง

1. ว่านและสมุนไพรไทย, คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร. “ว่าน ธร ณี สาร”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: natres.skc.rmuti.ac.th/WAN/. [02 มิ.ย. 2014].
2. คู่มือการใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่น ตำบลลำพะยา. “ว่านธรณีสาร”. หน้า 34.
3. ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “ว่านธรณีสาร”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.phargarden.com. [02 มิ.ย. 2014].
4. หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). “ว่านธรณีสาร (Wan Thorani San)”. หน้า 274.
5. ไทยเกษตรศาสตร์. “สมุนไพรธรณีสาร”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.thaikasetsart.com. [02 มิ.ย. 2014].
6. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “ธร ณี สาร”. หน้า 355.
7. หนังสือสมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ. (คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “ว่านธรณีสาร”. หน้า 162.

อ้างอิงรูปจาก

1.https://www.nparks.gov.sg/
2.https://en.tripadvisor.com.hk/

ต้นโนรา สรรพคุณช่วยแก้อาการอ่อนเพลีย

0
ต้นโนรา
ต้นโนรา สรรพคุณช่วยแก้อาการอ่อนเพลีย ไม้พุ่มรอเลื้อย ลำต้นแตกออกเป็นกิ่งก้าน ดอกสีขาว สีชมพูอ่อน กลิ่นหอมตลอดวัน ช่วงที่อากาศเย็นจะหอมมาก ผลสีแดง เป็นรูปกระสวยปลายแหลม
ต้นโนรา
ไม้พุ่มรอเลื้อย ลำต้นแตกออกเป็นกิ่งก้าน ดอกสีขาว สีชมพูอ่อน กลิ่นหอมตลอดวัน ช่วงที่อากาศเย็นจะหอมมาก ผลสีแดง เป็นรูปกระสวยปลายแหลม

ต้นโนรา

ชื่อทางวิทยาศาสตร์ของต้นโนรา คือ Hiptage benghalensis (L.) Kurz[2] อีกข้อมูลระบุไว้ว่าเป็นชนิด Hiptage benghalensis var. benghalensis[1] อยู่วงศ์โนรา (MALPIGHIACEAE)[1] ชื่อในท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น แหนปีก (ภาคอีสาน), พญาช้างเผือก (จังหวัดแพร่), กะลังจ่าง (กะเหรี่ยง, จังหวัดแม่ฮ่องสอน), สะเลา (เชียงใหม่), กำลังช้างเผือก (ภาคเหนือ) [1],[4]

ลักษณะของต้นโนรา

  • ลักษณะของต้น เป็นไม้พุ่มหรือไม้เถาขนาดใหญ่ เลื้อยได้ไกลและเร็ว (เลื้อยไกลได้ถึงประมาณ 10 เมตร) เถามีลักษณะเป็นสีเขียว กลมและเกลี้ยง มีเนื้อไม้ที่แข็ง ลำต้นมีแตกกิ่งก้านเล็กและห้อยลง (บ้างว่าแตกกิ่งก้านสาขามาก) ทรงต้นมีรูปร่างไม่แน่นอน ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและวิธีการตอนกิ่ง แต่จะนิยมขยายพันธุ์ด้วยวิธีการตอนกิ่ง เพราะออกรากได้ง่ายและไม่จำเป็นต้องใช้ฮอร์โมนช่วย พบเจอได้ในประเทศอินเดีย จีน มาเลเซีย ประเทศไทย สำหรับประเทศไทยสามารถพบได้ทุกภาค ขึ้นที่ตามป่าชายหาด ป่าผลัดใบ ป่าดิบเขา ตั้งแต่ที่ระดับใกล้น้ำทะเลถึง 2,000 เมตร[1],[2],[3]
  • ลักษณะของใบ เป็นใบเดี่ยว ใบจะออกเรียงตรงข้าม ใบเป็นรูปรีแกมขอบขนาน ที่ปลายใบจะแหลม ส่วนที่โคนใบจะสอบ ขอบใบเรียบ ใบกว้างประมาณ 4-6 เซนติเมตร ยาวประมาณ 10-15 เซนติเมตร ที่แผ่นใบด้านบนจะมีลักษณะเกลี้ยง ที่ท้องใบจะมีขน และจะมีต่อมเล็ก ๆ อยู่ใกล้กับฐานใบ[1],[2]
  • ลักษณะของดอก ดอกจะออกเป็นช่อ ออกดอกที่ตามซอกใบกับปลายกิ่ง ช่อดอกมีความยาวประมาณ 9-22 เซนติเมตร ดอกมีลักษณะเป็นสีขาว สีชมพูอ่อน ที่กลางดอกจะเป็นสีเหลือง มีกลิ่นหอมอ่อนคล้ายกับกลิ่นดอกส้มโอ กลีบดอกมีอยู่ 5 กลีบ มีขนาดไม่เท่ากัน กลีบด้านข้างพับลง ที่ส่วนปลายกลีบจะจักเป็นฝอย ที่กลีบดอกมักจะยู่ยี่ มีเกสรเพศผู้จำนวน 10 ก้าน มี 1 ก้าน ที่มีความยาวเป็นพิเศษ มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ ที่โคนเชื่อมจะติดกัน จะมีกลีบอยู่หนึ่งอันที่จะมีต่อมนูน ดอกบานประมาณ 3-4 วันแล้วก็ร่วงหล่น มีดอกใหม่ทยอยบานเรื่อย ๆ ออกดอกช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ บ้างก็ว่าออกดอกช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน[1],[2],[3]
  • ลักษณะของผล เป็นผลแห้งจะไม่แตก มีลักษณะเป็นสีแดง เป็นรูปกระสวย ที่ปลายจะแหลม มีปีกอยู่ 3 ปีก ปีกกลางจะมีขนาดที่ใหญ่[1],[2]

สรรพคุณโนรา

1. แก่นกับเปลือกต้น สามารถใช้เป็นยาบำรุงเส้นเอ็นได้ (แก่น, เปลือกต้น)[4]
2. สามารถนำเปลือกต้นมาตำใช้พอกรักษาแผลสดได้ (เปลือกต้น)[2]
3. แก่นต้น สามารถช่วยแก้อาการจุกเสียดแน่นเฟ้อ และช่วยขับลมได้ (แก่น)[1]
4. แก่นของต้น สามารถช่วยทำให้เจริญอาหารได้ (แก่น)[1]
5. สามารถใช้เป็นยาบำรุงโลหิตได้ (แก่น, เปลือกต้น)[4]
6. เป็นยาอายุวัฒนะ (แก่น)[1]
7. ใบ มีรสร้อนขื่น สามารถใช้เป็นยาแก้โรคผิวหนังได้[2] ช่วยรักษาหิด รูมาติกได้ (ใบ)[4]
8. เป็นยาบำรุงกำหนัดได้ โดยนำแก่นมาดองกับเหล้า (แก่น)[1],[4]
9. แก่นต้น สามารถช่วยแก้อาการอ่อนเพลียได้ (แก่น)[1]
10. แก่นต้น มีรสร้อนขื่น สามารถช่วยบำรุงธาตุในร่างกายได้ (แก่น, เปลือกต้น)[4]
11. เป็นยาบำรุงกำลังได้ โดยนำแก่นมาดอง (แก่น)[2]

ประโยชน์โนรา

  • นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ เพราะดอกสวย ออกดอกเยอะในการออกดอกแต่ละครั้ง ดอกมีกลิ่นหอมทั้งวัน ช่วงอากาศเย็นจะหอมเป็นพิเศษ ถ้าต้องให้ออกดอกบ่อย ๆ ให้ปลูกไว้ที่กลางแจ้งเพื่อให้ได้รับแสงแดดแบบเต็มที่ ควรตัดแต่งกิ่งให้น้อย เนื่องจากต้นที่ถูกตัดแต่งกิ่งให้เป็นไม้พุ่มตลอดจะไม่ค่อยออกดอก เพราะออกดอกที่บริเวณปลายกิ่ง โดยธรรมชาติเป็นไม้พุ่มรอเลื้อย แต่สามารถตัดแต่งเป็นไม้ยืนต้นแบบเดี่ยวได้[2],[3]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. ฝ่ายปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. “โ น ร า”. (นพพล เกตุประสาท). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: clgc.rdi.ku.ac.th. [28 มี.ค. 2014].
2. หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคเหนือ. “โ น ร า”. (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ). หน้า 129.
3. Green Clinic. “โ น ร า”. อ้างอิงใน: หนังสือเครื่องยาไทย 1 (วุฒิ วุฒิธรรมเวช). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.greenclinic.in.th. [28 มี.ค. 2014].
4. หนังสือสวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เล่ม 4. “โ น ร า”. (วีระชัย ณ นคร).
5. https://www.medthai.com/

อ้างอิงรูปจาก
1. https://www.ydhvn.com/
2. https://www.flickr.com/photos/37274296@N08/26935538214

ต้นรักทะเล สรรพคุณเป็นยาแก้บิด

0
ต้นรักทะเล
ต้นรักทะเล สรรพคุณเป็นยาแก้บิด เป็นไม้พุ่มพบขึ้นทั่วไปตามชายหาด ดอกออกเป็นช่อกระจุก ดอกสีขาวเป็นคลื่นและย่น ผลทรงกลมมีเนื้อขาวขุ่น ผลสุกจะเป็นสีเหลืองอ่อน
ต้นรักทะเล
เป็นไม้พุ่มพบขึ้นทั่วไปตามชายหาด ดอกออกเป็นช่อกระจุก ดอกสีขาวเป็นคลื่นและย่น ผลทรงกลมมีเนื้อขาวขุ่น ผลสุกจะเป็นสีเหลืองอ่อน

ต้นรักทะเล

ต้นรักทะเล มีเขตการกระจายพันธุ์ในมาดากัสการ์ อินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตลอดจนถึงออสเตรเลีย ชื่อสามัญ Half Flower[4], Beach Naupaka, Sea Lettuce, Beach Cabbage [6] ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Scaevola taccada (Gaertn.) Roxb. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ คือ Scaevola koenigii Vahl, Lobelia frutescens Mill., Scaevola sericea Vahl, Scaevola frutescens var. sericea (Vahl) Merr.) อยู่วงศ์รักทะเล (GOODENIACEAE)[1],[2],[6] ชื่อในท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น บงบ๊ง (มลายู, จังหวัดภูเก็ต), โหรา (จังหวัดตราด), รักทะเล (จังหวัดชุมพร), บ่งบง (ภาคใต้) [1],[3]

ลักษณะของต้นรักทะเล

  • ต้น เป็นไม้พุ่ม ต้นสูงประมาณ 2-5 เมตร จะแตกกิ่งก้านเยอะ ลำต้นมีลักษณะตั้งตรงหรือแผ่ไม่เป็นระเบียบ เปลือกต้นจะเรียบ มีไส้ไม้ จะมียางสีขาวข้น กิ่งอ่อนมีลักษณะอวบน้ำและเป็นสีเขียว ที่ซอกใบจะมีขนนุ่ม ขยายพันธุ์โดยการปักชำกิ่ง การเพาะเมล็ด นำหน่อไปปลูกที่ตามพื้นที่ดินทราย ออกดอกออกผลได้ทั้งปี ขึ้นได้ทั่วไปตามพื้นที่โล่ง และมักพบขึ้นทั่วไปตามชายหาด หาดหิน โขดหิน ชายฝั่งทะเลทั้งอ่าวไทยและฝั่งอันดามัน ที่ตามริมฝั่งแม่น้ำลำคลอง ตามแนวหลังป่าชายเลน[1],[2],[3],[4],[7]
  • ใบ เป็นใบเดี่ยว ใบจะออกตรงข้ามแบบสลับหนาแน่นอยู่ที่บริเวณปลายกิ่ง ใบเป็นรูปไข่กลับ รูปช้อนแกมรูปไข่กลับ ที่ปลายใบจะมนกลม ส่วนที่โคนใบจะเรียวแหลมหรือจะสอบเป็นรูปลิ่ม ขอบใบเรียบถึงหยักมนหรือเว้าเป็นคลื่น มีจุดสีเหลืองอมสีเขียวที่ตามขอบ ใบกว้างประมาณ 5-10 เซนติเมตร ยาวประมาณ 12-15 เซนติเมตร มีแผ่นใบที่หนากึ่งอวบน้ำ หลังใบเรียบมีลักษณะเป็นมันถึงมีขนอ่อน มีเส้นใบแบบร่างแหขนนก ก้านใบสั้น จะมีขนสีขาวที่ตามซอกใบ ที่ขอบใบอ่อนจะม้วนลง[1],[2],[3]
  • ดอก ดอกออกเป็นช่อแบบกระจุก ออกดอกที่ตามซอกใบ มีดอกย่อยอยู่ประมาณ 2-3 ดอก มีใบประดับเล็ก เป็นรูปสามเหลี่ยมแคบ ดอกตูมโค้ง โก่งลงคล้ายกับรูปหัวงู เมื่อดอกบานเป็นรูปปากเปิด กลีบเลี้ยงจะเชื่อมติดเป็นรูประฆัง ที่ปลายจะแยกเป็นแฉกเล็ก 5 แฉก ดอกย่อยมีลักษณะเป็นสีขาวและมีลายสีม่วงอ่อน มีกลีบดอกอยู่ 5 กลีบ เป็นแฉกรูปใบหอก ที่ขอบกลีบดอกจะเป็นคลื่นและย่น ส่วนที่โคนกลีบดอกจะเชื่อมติดเป็นหลอดและจะผ่าออกทำให้กลีบดอกเรียงกันด้านเดียว (ที่ด้านบนของดอกจะฉีกออกด้านหนึ่ง จึงทำให้แฉกกลีบดอกมีลักษณะโค้งลง) มีเกสรเพศเมียโค้งเด่น และมียอดเกสรที่มีเยื่อเป็นรูปถ้วยคลุม ดอกบานเต็มที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2 เซนติเมตร ก้านดอกย่อยสามารถยาวได้ถึงประมาณ 0.5-1 เซนติเมตร[1],[2],[3]
  • ผล เป็นผลสดมีเนื้อ ผลเป็นรูปทรงกลม ที่ปลายผลจะมีกลีบเลี้ยงของดอก ผิวผลมีลักษณะเรียบ ผลสดจะเป็นสีขาวขุ่น ผลสุกจะเป็นสีเหลืองอ่อน ขนาดประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร มีเมล็ดแข็งอยู่ในผลประมาณ 1-2 เมล็ด[1],[2],[3]

สรรพคุณต้นรักทะเล

1. สามารถนำรากมาต้มกับน้ำดื่ม ทานเป็นยาแก้พิษอาหารทะเลได้ อย่างเช่น การทานปู ปลาที่มีพิษ (ราก)[1],[5]
2. ผลจะมีสรรพคุณที่สามารถช่วยทำให้ประจำเดือนของสตรีมาเป็นปกติได้ (ผล)[7]
3. รากจะมีสรรพคุณที่เป็นยาแก้บิดได้ (ราก)[4]
4. ใบจะมีสรรพคุณที่สามารถช่วยแก้ธาตุพิการ (ใบ)[7]
5. สามารถนำรากมาใช้เป็นยาแก้เหน็บชาได้ (ราก)[4]
6. นำใบมาตำสามารถใช้พอกแก้อาการแก้ปวดศีรษะ ปวดบวมได้ และสามารถนำใบไปผิงไฟใช้ประคบแก้ปวดบวมได้ (ใบ)[1],[3]
7. สามารถนำเปลือกจากเนื้อไม้ ใบ ดอกมาผสมปรุงเป็นยาขับปัสสาวะได้ (เปลือกจากเนื้อไม้,ใบ, ดอก)[2]
8. สามารถนำน้ำที่ได้จากการต้มใบมาทานช่วยย่อยได้ (ใบ)[1],[7]

ประโยชน์ต้นรักทะเล

  • มีบางข้อมูลระบุไว้ว่าสามารถใช้ใบรักทะเลเป็นยาสูบได้[5]
  • ปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับทั่วไปได้[3]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือนักสืบชายหาด : คู่มือสัตว์และพืชชายหาด. (วิภาพรรณ นาคแพน, สรณรัชฎร์ กาญจนะวณิชย์, จักรกริช พวงแก้ว). “รักทะเล”. หน้า 145.
2. ระบบฐานข้อมูลพรรณไม้ที่เหมาะสมกับระบบนิเวศและวิถีชีวิตชุมชน เพื่อลดมลพิษในพื้นที่จังหวัดระยองและพื้นที่ใกล้เคียง ภายใต้โครงการชุมชนอยู่คู่อุตสาหกรรม, สำนักสิ่งแวดล้อมชุมชนและพื้นที่เฉพาะ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. “รักทะเล”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: onep-intranet.onep.go.th/plant/. [27 พ.ค. 2014].
3. ระบบจัดการฐานความรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้ กรมป่าไม้. “รักทะเล”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: biodiversity.forest.go.th. [27 พ.ค. 2014].
4. หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). “รักทะเล (Rug Thalae)”. หน้า 259.
5. วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. “Scaevola taccada”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: en.wikipedia.org//wiki/Scaevola_taccada. [27 พ.ค. 2014].
6. สวนพฤกษศาสตร์สายยาไทย. “รักทะเล”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.saiyathai.com. [27 พ.ค. 2014].
7. หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคกลาง. (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ, ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, กัญจนา ดีวิเศษ). “รักทะเล”. หน้า 134.

อ้างอิงรูปจาก
1.https://www.natureloveyou.sg/
2.https://www.floraofsrilanka.com/

ต้นลำโพงกาสลัก สรรพคุณใช้ฝนทาแก้ปวดบวม แก้พิษร้อน แก้อักเสบ

0
ต้นลำโพงกาสลัก สรรพคุณใช้ฝนทาแก้ปวดบวม แก้พิษร้อน แก้อักเสบ เป็นไม้ล้มลุก ดอกเดี่ยวสีม่วง ผลเป็นสีเขียวอมสีม่วง ค่อนข้างกลม เมล็ดแบนคล้ายกับเมล็ดมะเขือ
ต้นลำโพงกาสลัก
ไม้ล้มลุก ดอกเดี่ยวสีม่วง ผลเป็นสีเขียวอมสีม่วง ค่อนข้างกลม เมล็ดแบนคล้ายกับเมล็ดมะเขือ

ลำโพงกาสลัก

ลำโพงกาสลัก มีลักษณะสีแดงเกือบดำ มีดอกเป็นสีม่วงและเป็นชั้น ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Datura metel L. (Datura metel var. fastuosa (L.) Saff.) (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ คือ Datura fastuosa L.) อยู่วงศ์มะเขือ (SOLANACEAE)[1],[2],[3] ชื่อในท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น ลำโพงดำ, กาสลัก, มะเขือบ้าดอกดำ (จังหวัดลำปาง), ลำโพงแดง, ลำโพงกาลัก (จังหวัดชุมพร, จังหวัดสุราษฎร์ธานี)[1],[2],[3] ในไทยนิยมใช้ทำยามีอยู่ 2 ชนิด คือ ลำโพงกาสลัก และ ลำโพงขาว (ต้นมีลักษณะเขียว และดอกเป็นสีขาว) ด้านการทำยานิยมใช้ดอกสีม่วงดำ ยิ่งมีชั้นเยอะก็จะยิ่งมีฤทธิ์แรง[3]

ลักษณะของต้นลำโพงกาสลัก

  • ต้น เป็นไม้ล้มลุกที่มีอายุหลายปี ต้นสูงประมาณ 1-2 เมตร กิ่งก้านมีลักษณะเป็นพุ่ม ที่ตามลำต้นกับกิ่งก้านจะเป็นสีม่วง[1]
  • ใบ เป็นใบเดี่ยว ใบจะออกเรียงสลับกัน ใบเป็นรูปไข่ ที่ปลายใบจะแหลม ส่วนที่โคนใบจะมนและขนาดไม่เท่ากัน ขอบใบจะจักเป็นซี่ฟันห่าง ใบกว้างประมาณ 8-15 เซนติเมตร ยาวประมาณ 10-20 เซนติเมตร[1],[3]
  • ดอก ออกดอกเป็นดอกเดี่ยว จะออกดอกที่ตามซอกใบ กลีบดอกมีลักษณะเป็นสีม่วง ที่ปลายกลีบจะบานเป็นรูปแตร ส่วนที่โคนกลีบดอกจะเชื่อมกัน มีกลีบซ้อนกันอยู่ 2-3 ชั้น ดอกมีความยาวประมาณ 3.5-5.5 นิ้ว กลีบเลี้ยงดอกมีลักษณะเป็นสีเขียวติดเป็นหลอด มีความยาวประมาณครึ่งหนึ่งของดอก[1],[3]
  • ผล เป็นสีเขียวอมสีม่วง ผลเป็นรูปทรงค่อนข้างกลม ขนาดประมาณ 1-1.5 นิ้ว ผิวผลจะเป็นขนคล้ายกับหนามเป็นตุ่ม เนื้ออ่อนจะเป็นตุ่มรอบ มีลักษณะขั้วเป็นแผ่นกลมหนาริมคม ผลแห้งสามารถแตกได้ มีเมล็ดอยู่ในผลเยอะ
  • เมล็ด ลักษณะกลมแบนคล้ายกับเมล็ดมะเขือ[1],[3]

สรรพคุณลำโพงกาสลัก

1. น้ำมันที่ได้จากเมล็ดจะมีรสเมาเบื่อ สามารถนำมาใช้ปรุงเป็นยาใส่แผล แก้เหา กลากเกลื้อน ผื่นคัน และหิดได้ (น้ำมันจากเมล็ด)[3]
2. สามารถนำใบมาใช้เป็นยาทาแก้อักเสบเต้านมได้ (ใบ)[3]
3. น้ำที่คั้นได้จากต้น ถ้านำมาใช้หยอดตาจะช่วยทำให้ม่านตาขยายได้ (ต้น)[3]
4. เมล็ดจะมีรสเมาเบื่อ สามารถเอามาคั่วให้หมดน้ำมัน ใช้ปรุงเป็นยาแก้ไข้กระสับกระส่าย และแก้ไข้ได้ (เมล็ด)[3]
5. นำดอกมาหั่นแล้วเอาไปตากแดดผสมยาสูบ สามารถใช้สูบแก้การบีบตัวของหลอดลม แก้อาการหอบหืด(ดอก)[1],[2],[3]
6. ใบจะมีสรรพคุณที่ช่วยขยายหลอดลม แก้หอบหืดได้ (ใบ)[3]
7. สามารถนำเมล็ดมาหุงทำน้ำมันเอาใส่แผล ใช้เป็นยาแก้กลากเกลื้อนผื่นคันได้ (เมล็ด)[1],[2]
8. ใบกับยอด มีสารอัลคาลอยด์ที่มีฤทธิ์คลายกล้ามเนื้อเรียบ สามารถช่วยแก้อาการปวดเกร็งท้อง (ใบกับยอด)[3]
9. ใบ มีฤทธิ์กดสมอง มีสรรพคุณที่ช่วยแก้อาการอาเจียนเนื่องจากเมาเรือเมารถได้ (มีอาการข้างเคียงก็คือ จะทำให้คอแห้ง ปากแห้ง) (ใบ)[3]
10. ใบ มีรสขมเมาเบื่อ จะมีสรรพคุณที่ช่วยแก้สะอึกในไข้พิษกาฬได้ (ใบ)[3]
11. สามารถนำรากมาสุมให้เป็นถ่านใช้ปรุงเป็นยาไข้กาฬ ไข้เซื่องซึมแก้ไข้พิษได้ (ราก)[1],[3]
12. ราก มีรสหวานเมาเบื่อ สามารถนำมาฝนทาใช้แก้ปวดบวม แก้พิษร้อน แก้อักเสบ ดับพิษฝีได้ (ราก)[1],[3] นำเมล็ด 30 กรัม มาทุบให้พอแหลก แล้วเอาไปแช่น้ำมันพืชเป็นเวลาประมาณ 7 วัน แล้วนำมาใช้ที่ที่มีอาการขัดยอก ปวดเมื่อย สามารถช่วยบรรเทาอาการปวดได้ และก็สามารถนำมาใช้ใส่ฟันที่เป็นรูได้จะบรรเทาอาการปวด (เมล็ด)[3]
13. นำดอกไปตากแห้งแล้วเอามาผสมกับยาเส้นสูบ สามารถช่วยแก้ริดสีดวงจมูก แก้โพรงจมูกอักเสบได้ (ดอก)[3]
14. นำใบสดมาตำพอกฝี สามารถช่วยทำให้ฝียุบ และแก้อาการปวดบวมอักเสบได้ (ใบ)[1],[2],[3]
15. ทั้งต้น มีฤทธิ์ที่เป็นยาเสพติด สามารถแก้อาการเกร็ง ช่วยระงับอาการปวดได้ (ทั้งต้น)[1],[3]
16. ราก มีรสหวานเมาเบื่อ สามารถใช้ฝนทาแก้ปวดบวม แก้พิษร้อน แก้อักเสบ และดับพิษฝีได้ (ราก)[1],[3]
17. สามารถนำใบมาใช้เป็นยาพอกแก้พิษจากสัตว์กัดต่อย ปวดแสบบวมที่แผล แก้โรคผิวหนังกลากเกลื้อน แก้แผลเรื้อรัง แก้พิษฝี (ใบ)[3]

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

  • มีสารอัลคาลอยด์ Hyoscine และสาร Hyocyamine ซึ่งอาการข้างเคียงก็คือ จะทำให้คอแห้ง ปากแห้ง[2]
  • ใบกับยอด มีสารอัลคาลอยด์ Hyoscine กับสาร Hyocyamine ที่มีฤทธิ์คลายกล้ามเนื้อเรียบ สามารถใช้แก้หอบหืด ช่วยขยายหลอดลม แก้อาการปวดท้องเกร็งได้[2]
  • มีสารอัลคาลอยด์ Hyoscine ซึ่งมีฤทธิ์กดสมอง ใช้ควบคุมอาการอาเจียนที่เกิดจากเมารถได้[2]

พิษของต้นลำโพงกาสลัก

  • ผลกับเมล็ดเป็นพิษ จะมีสารอัลคาลอยด์ hyoscine กับสาร hyoscyamine ถ้าทานเข้าไป อาการข้างต้น ก็คือ รู้สึกสับสน มีอาการไข้ขึ้นสูง ผิวหนังร้อนแดง สายตาพร่ามัว ปากแห้ง การทำงานของกล้ามเนื้อผิดปกติ ปวดศีรษะ มีผื่นแดงที่ตามใบหน้า คอ หน้าออก ม่านตาขยายและปรับสายตาไม่ได้ ทำให้ตาไม่สู้แสง กระหายน้ำมาก ถ้าได้รับในปริมาณเยอะ ๆ จะทำให้มีอาการวิกลจริต เพ้อคลั่ง เคลิ้มฝัน และมีอาการทางจิตและประสาท ตัวเขียว หายใจได้ช้าลง ตาแข็ง ตื่นเต้น หายใจได้ไม่สะดวก พูดไม่ออก เมื่อแก้พิษแล้ว จะยังมีอาการวิกลจริตตลอดไป เนื่องจากรักษาไม่ค่อยหาย[3]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “ลำโพง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.phargarden.com. [30 พ.ค. 2014].
2. หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). “ลำโพง กาสลัก (Lam Phong Ka Salak)”. หน้า 270.
3. หนังสือสมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ. (คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “ลำโพง กาสลัก”. หน้า 99.
4.  https://medthai.com/

อ้างอิงรูปจาก
1. https://www.invasive.org/
2. https://www.etsy.com/