Home Blog Page 13

ต้นคนทีเขมา สรรพคุณเมล็ดช่วยแก้อาหารไม่ย่อย

0
คนทีเขมา
ต้นคนทีเขมา สรรพคุณเมล็ดช่วยแก้อาหารไม่ย่อย เป็นพรรณไม้พุ่ม ดอกออกเป็นช่อสีขาวแกมม่วงอ่อน ผลสดกลมแห้ง เปลือกผลมีลักษณะแข็งและเป็นสีน้ำตาล
คนทีเขมา
เป็นพรรณไม้พุ่ม ดอกออกเป็นช่อสีขาวแกมม่วงอ่อน ผลสดกลมแห้ง เปลือกผลมีลักษณะแข็งและเป็นสีน้ำตาล

คนทีเขมา

คนทีเขมา มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปอเมริกา และเป็นพรรณไม้พื้นเมืองของอเมริกา ได้แพร่พันธุ์มาถึงญี่ปุ่นและเอเชียตอนใต้ ที่สูงประมาณ 200-1,400 เมตร ชื่อสามัญ Indian privet, Five-leaved chaste tree, Negundo chest nut, Chinese chaste[2],[7] ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Vitex negundo L.[1] อยู่วงศ์กะเพรา (LAMIACEAE หรือ LABIATAE) ชื่อในท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น หวงจิง (จีนกลาง), กูนิง (มาเลเซีย-นราธิวาส), คนทีสอดำ (ภาคเหนือ), อึ่งเกง (จีนแต้จิ๋ว), กุโนกามอ (มาเลเซีย-ปัตตานี), คนทิ (ภาคตะวันออก), ดินสอดำ โคนดินสอ ผีเสื้อดำ คนดินสอดำ (อื่น ๆ) [2],[3],[6]

ลักษณะของคนทีเขมา

  • ต้น เป็นพรรณไม้พุ่ม ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง สูงได้ประมาณ 3-6 เมตร มีลำต้นเป็นสีเทาปนกับน้ำตาล ใบ กิ่ง ก้านจะมีกลิ่นหอม กิ่งอ่อนเหลี่ยม เป็นสีเทา มีขนอ่อนขึ้น มีรากสีเหลือง เนื้อในรากจะมีลักษณะเป็นสีขาว ขยายพันธุ์โดยวิธีการเพาะเมล็ด การปักชำ การกิ่งตอน[2],[3],[6]
  • ใบ เป็นใบประกอบแบบนิ้วมือ ใบจะออกเรียงตรงข้ามกัน มีใบย่อยอยู่ 5 หรือ 3 ใบ ใบด้านบนจะมีก้าน ใบล่างไม่มีก้าน ใบเป็นรูปใบหอก ที่ขอบใบจะเรียบหรือหยัก ที่ปลายใบจะยาวแหลม ใบกว้างประมาณ 1-2.5 เซนติเมตร มีขนาดยาวประมาณ 4-7 เซนติเมตร ที่ด้านหลังของใบจะเป็นสีเขียวเข้ม ท้องใบจะเป็นสีขาว มีขนอ่อนปกคลุม[2]
  • ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ที่ตามซอกใบ มีขนาดยาวประมาณ 15 เซนติเมตร มีดอกย่อยขนาดเล็กอยู่จำนวนมาก กลีบดอกเป็นสีขาวแกมม่วงอ่อน กลีบดอกแตกออกเป็น 5 แฉก ขนาดไม่เท่ากัน จะมีขนขึ้นนิดหน่อย เชื่อมกันที่โคน ที่ปลายกลีบล่างจะแผ่โค้ง กลีบรองดอกจะเชื่อมติดกันเป็นถ้วย ที่ปลายกลีบแยกเป็นแฉก 5 แฉก มีเกสรเพศผู้อยู่ 4 อัน ดอกออกประมาณเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน[2],[3]
  • ผล เป็นผลสด เป็นรูปกลม จะแห้ง เปลือกผลมีลักษณะแข็งและเป็นสีน้ำตาล มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2.5 มิลลิเมตร ติดผลช่วงประมาณเดือนกรกฎาคมถึงเดือนกันยายน[2],[3]

ประโยชน์ของคนทีเขมา

1. ปลูกเป็นไม้ประดับกลางแจ้ง[7]
2. มีผลิตภัณฑ์รูปแบบยาแคปซูล ยาเม็ด น้ำมันนวด สำหรับรักษาอาการปวดฟัน ข้ออักเสบ ปวดเมื่อย ตึง เกาต์ [6]
3. สามารถใช้ไล่ไรไก่ เห็บ หมัด ลิ้น ไรได้ ด้วยการเอากิ่งไปไว้ในเล้าไก่ ขยี้ใบทาตัวไล่แมลง หรือเอากิ่งใบไปเผาไล่ยุง หรือต้มกิ่งก้านใบกับน้ำใช้ฉีดไล่ยุง ยาไล่ยุง ให้นำกิ่งก้านใบ 1 ส่วน น้ำ 2 ส่วน มาต้มให้เดือด 15 นาที ทิ้งให้เย็น กรองเอาน้ำไปฉีดพ่นไล่ยุง[6]
4. สามารถนำใบผสมน้ำอาบเพื่อให้มีกลิ่นหอม[2],[5]
5. นำใบแห้งมาปูรองเมล็ดพืช สามารถช่วยป้องกันแมลง มอดมากวนได้[2],[6]
6. ถ้านำมาต้มทานต้มอาบเป็นประจำ สามารถช่วยทำให้ผิวพรรณผุดผ่องเป็นยองใย เหมาะกับการที่จะเอามาใช้ในสปา ทำครีมบำรุงผิว[6]

สรรพคุณของคนทีเขมา

1. ใบ มีสรรพคุณที่รักษาโรคปวดตามข้อ (ใบ)[2]
2. สามารถใช้ผลเป็นยารักษาอาการเหน็บชาได้ (ผล)[2]
3. ยางสามารถใช้เป็นยาฆ่าพยาธิผิวหนัง แก้คุดทะราด (หนัง)[5]
4. ใบสามารถใช้เป็นยารักษาโรคผิวหนัง ฝี กลาก เชื้อราที่เท้า เกลื้อน ถอนพิษสาหร่ายทะเล โดยนำใบสดมาตำให้ละเอียด แล้วเอามาใช้พอกบริเวณที่เป็น (ใบ)[2],[4],[5]
5. สามารถใช้รักษาแผลพุพองที่เกิดจากไฟไหม้ได้ โดยนำกิ่งแห้ง มาคั่วโดยอย่าให้ไหม้ แล้วเอามาบดเป็นผงผสมน้ำมัน นำมาใช้ทาตรงบริเวณที่เป็นแผล (กิ่งแห้ง)[2]
6. ช่อดอก สามารถใช้เป็นยาฝาดสมานได้ (ช่อดอก)[2]
7. ราก สามารถใช้เป็นยารักษาโรคตับได้ (ราก)[4]
8. สามารถใช้เป็นยาแก้ตับอักเสบได้ (ดอก, รากและก้าน, ผล, ใบ)[3]
9. เปลือกต้น สามารถใช้เป็นยาแก้ริดสีดวงทวารได้ (เปลือกต้น)[5]
10. ราก มีสรรพคุณที่เป็นยาขับปัสสาวะ (ราก)[2]
11. นำใบกับรากมาต้มทานเป็นยาแก้ปวดท้อง (รากและใบ, รากและก้าน)[1],[3]
12. เปลือกต้น มีรสหอมร้อน สามารถใช้เป็นยาแก้ลมเสียดแทงได้ (เปลือกต้น)[5]
13. สามารถใช้เป็นยาขับเสมหะได้ (ราก, ใบ, ผล)[2],[4],[5]
14. สามารถใช้เป็นยาแก้ไอได้ (ราก, ใบ, ผล)[2],[5]
15. ในตำรายาไทยจะนำใบกับรากมาต้มทานเป็นยาแก้ไข้ ลดไข้ (รากและใบ)[1],[4]
16. ช่อดอก มีสรรพคุณที่เป็นยาลดไข้ (ช่อดอก)[2]
17. ยางจะมีรสร้อนเมา สามารถใช้ช่วยขับเลือดขับลมให้กระจายได้ (ยาง)[5]
18. ใบ มีสรรพคุณที่ช่วยแก้อาการหูอื้อ (ใบ)[2]
19. ยางสามารถใช้เป็นยาบำรุงกำลังได้ (ยาง)[5]
20. ใบ สามารถใช้เป็นยาบำรุงธาตุได้ (ใบ)[4]
21. ใบ มีรสหอมร้อน สามารถใช้เป็นยาแก้เยื่อจมูกอักเสบได้ (ใบ)[5]
22. สามารถช่วยรักษาอาการเจ็บคอได้ (ใบ)[2],[5]
23. ราก มีรสร้อนเมา สามารถใช้เป็นยาขับเหงื่อ และแก้ลมได้ (ราก)[5]
24. ช่อดอก มีสรรพคุณที่เป็นยารักษาอาการท้องเสีย (ช่อดอก)[2],[5]
25. ราก สามารถใช้เป็นยารักษาโรคกระเพาะอาหารได้ (ราก)[2]
26. สามารถช่วยแก้อาหารไม่ย่อยได้ (เมล็ด)[3]
27. สามารถใช้เป็นยาแก้ติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะได้ (ใบ, ดอก, ผล)[3]
28. ราก สามารถใช้เป็นยาแก้ริดสีดวงแห้งได้ (ราก)[5]
29. ในตำรับยาแก้เลือดแห้ง นำรากคนทีเขมา รากมะอึก รากมะตูม เปลือกเพกา เปลือกไม้แดง ฝาง ไผ่สีสุกมาต้มทานแก้เลือดแห้ง (ราก)[6]
30. ใบ สามารถใช้เป็นยาแก้ดีซ่านได้ (ใบ)[5]
31. สามารถใช้รักษาบาดแผลที่เกิดจากสุนัขกัดกับตะขาบกัด และบาดแผลที่เกิดจากของมีคม โดยนำใบสดมาตำให้ละเอียด แล้วเอาไปใช้พอกตรงบริเวณที่เป็น (ใบ)[2]
32. สามารถใช้รักษาโรคปวดตามข้อได้ โดยนำกิ่งสดประมาณ 15 กรัม มาต้มทาน แบ่งทาน 2 เวลา เช้าและเย็น (กิ่งสด)[2]

ขนาดและวิธีใช้

  • ถ้าใช้กิ่งแห้งให้ใช้ 15-35 กรัม มาต้มทาน หรือใช้ร่วมกับตัวยาอื่นในตำรับยา[3]
  • ถ้าใช้ใบแห้งให้ใช้ 10-35 กรัม มาต้มทาน หรือใช้ร่วมกับตัวยาอื่นในตำรับยา[3]
  • ถ้าใช้เมล็ดให้ใช้ 3-10 กรัม มาต้มทาน หรือใช้ร่วมกับตัวยาอื่นในตำรับยา[3]

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

  • เมื่อนำสารสกัดจากเมล็ด หรือต้นสด หรือราก ที่นำมาต้มเป็นน้ำยา มาทดสอบกับเชื้อ Staphylo coccus ในหลอดแก้ว ปรากฏว่ามีการยับยั้งหรือฆ่าเชื้อ Staphylo coccus ได้ ด้วยการที่สารสกัดจากเมล็ด จะมีประสิทธิภาพที่สูงกว่าสารที่สกัดจากราก[3]
  • สารสกัดจากใบช่วยบรรเทาอาการอักเสบ และอาการปวดของหนูขาวทดลองที่เป็นโรคไขข้ออักเสบได้[3]
  • เมื่อเอาสารสกัดจากเมล็ดหรือรากมาฉีดเข้าไปในปอดที่อยู่นอกร่างของหนูขาวทดลอง ปรากฏว่าหลอดลมของปอดหนูขยายตัวขึ้น[3]
  • ผล ใบ เมล็ดพบน้ำมันระเหย อย่างเช่น Camphene, L-Sabine และพบสารจำพวก Nishindine, Alkaloid, Cineole, Flavonoid glycoside ใบพบสาร Pinene, Casticin, Luteolin-7-glucoside และมีวิตามินซี[3]
  • สารสกัดจากใบจะมีฤทธิ์ที่ต้านเซลล์ในเนื้องอกชนิดเออร์ลิช แอสไซติส (Ehrlich ascites tumour cells)[2]
  • สารละลายจากการต้มรากมีฤทธิ์ระงับอาการไอในหนูถีบจักร[2]
  • สารสกัดจากรากช่วยยับยั้งอาการและขับเสมหะของหนูขาวทดลองได้[3]
  • มีฤทธิ์ที่ทำให้หลอดลมของหนูขาวขยายตัว และมีฤทธิ์ขับเสมหะ รักษาอาการหอบ อาการไอ รักษาหลอดลมอักเสบเรื้อรัง ยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียได้ เมื่อฉีดน้ำที่ต้มเมล็ดกับรากเข้าปอดของหนูขาว[2],[6]

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ. (คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “คนทีเขมา”. หน้า 207.
2. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “คนทีเขมา”. หน้า 202-203.
3. หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. (วิทยา บุญวรพัฒน์). “คนทีเขมา”. หน้า 148.
4. อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. “คนทีเขมา”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.pharmacy.mahidol.ac.th/siri/. [24 ม.ค. 2015].
5. ไทยโพสต์. “คนที ดูแลสุขภาพผิวรับหน้าร้อน”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.thaipost.net. [24 ม.ค. 2015].
6. อภัยภูเบศร. “คนทีเขมา ผีเสื้อที่ดูแลผู้หญิง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.abhaiherb.com. [24 ม.ค. 2015].
7. สวนพฤกษศาสตร์คลองไผ่, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “คน ที เขมา”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.rspg.or.th/plants_data/kp_bot_garden/kpb.htm. [24 ม.ค. 2015].

อ้างอิงรูปจาก
1. https://crimsonsage.com/product/chaste-tree/
2. https://www.hobbyseeds.com/vitex-negundo-chaste-tree-10.html
3. https://medthai.com/

ต้นกฤษณา สรรพคุณเสริมสมรรถภาพทางเพศ

0
กฤษณา
ต้นกฤษณา สรรพคุณเสริมสมรรถภาพทางเพศ เป็นไม้ยืนต้นทรงเปลาตรง ดอกเป็นช่อ ผลทรงกลมรีสีเขียวขนสั้นละเอียด ผิวข้างขรุขระ เมล็ดเล็กทรงกลมสีน้ำตาลเข้ม ตรงหางเมล็ดมีสีส้มออกแดง
กฤษณา
เป็นไม้ยืนต้นทรงเปลาตรง ดอกเป็นช่อ ผลทรงกลมรีสีเขียวขนสั้นละเอียด ผิวข้างขรุขระ เมล็ดเล็กทรงกลมสีน้ำตาลเข้ม ตรงหางเมล็ดมีสีส้มออกแดง

กฤษณา

กฤษณา สามารถพบได้ในป่าแถบเขตร้อนชื้น เช่นป่าดงดิบแล้งและชื้น หรือในบริเวณพื้นที่ราบใกล้กับแม่น้ำลำธาร ชื่อสามัญ Eagle wood, Agarwood, Aglia, Aloewood, Akyaw, Calambac, Calambour, Lignum aloes ชื่อวิทยาศาสตร์ Aquilaria crassna Pierre ex Lecomte ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Aquilaria crasna Pierre จัดอยู่ในวงศ์ วงศ์กฤษณา (THYMELAEACEAE) ชื่ออื่น ๆ ไม้พวงมะพร้าว (ภาคใต้ของไทย), ไม้หอม (ภาคตะวันออกของไทย), สีเสียดน้ำ (จังหวัดบุรีรัมย์), ตะเกราน้ำ (จังหวัดจันทบุรี), กายูการู กายูกาฮู กายูดึงปู (จังหวัดปัตตานีและมาเลเซีย), ติ่มเฮียง (ภาษาจีน), เซงเคง (ภาษากะเหรี่ยง), ชควอเซ ชควอสะ (ชาวกะเหรี่ยงในจังหวัดแม่ฮ่องสอน), อครุ ตคร (ภาษาบาลี), จะแน, พวมพร้าว, ปอห้า (ภาษาถิ่นคนเมือง) [1],[2],[3],[4],[5] เป็นต้น

ข้อควรรู้

ไม้นี้จะมีอยู่ด้วยกันประมาณ 15 ชนิด กระจายพันธุ์อยู่ทั่วพื้นป่าในแถบเอเชียเขตร้อน โดยในประเทศไทยจะพบอยู่หลัก ๆ 3 ชนิด[2] ดังนี้
1. Aquilaria crassna Pierre. พบได้ในป่าทางภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ[2]
2. Aquilaria subintegra Ding Hau พบได้ในเฉพาะทางภาคตะวันออก[2]
3. Aquilaria malaccensis Lamk. พบได้ในเฉพาะทางภาคใต้[2]
ส่วนชนิดอื่น ๆ ที่อาจจะพบเจอได้ คือ Aquilaria rugosa, Aquilaria baillonil, และ Aquilaria hirta

ลักษณะกฤษณา

  • ต้น
    – ลำต้นเป็นทรงเปลาตรง พื้นผิวเปลือกต้นเรียบเป็นสีเทาอมขาว มีรูระบายอากาศสีน้ำตาลอ่อนอยู่ทั่วลำต้น และเปลือกด้านในมีสีขาวอมเหลือง เมื่อต้นมีอายุมากขึ้นเรื่อย ๆ เปลือกภายนอกจะค่อย ๆ แตกเป็นร่องยาวทั่วลำต้น และมีพูพอนที่โคนต้น ต้นจะแตกกิ่งก้านออกเป็นทรงพุ่มเจดีย์ต่ำ ๆ ตามกิ่งก้านจะมีขนสีขาวเล็ก ๆ ขึ้นปกคลุมอยู่
    – เป็นไม้ยืนต้นที่มีขนาดกลางไปจนถึงขนาดใหญ่
    – ความสูงของต้น ประมาณ 18-30 เมตร
    – การขยายพันธุ์ใช้วิธีการเพาะเมล็ด การปักชำ การตอนกิ่ง และการขุดต้นกล้าอ่อนมาปลูก[1],[2]
  • ใบ
    – ใบเป็นรูปรี ใบมีสีเขียว ตรงปลายใบเป็นติ่งแหลม โคนใบมน มีผิวใบและขอบใบเรียบ แต่จะมีขนขึ้นปกคลุมอยู่ที่เส้นใบด้านล่างเล็กน้อย
    – มีความกว้างของใบอยู่ 3-5 เซนติเมตร มีความยาวอยู่ 6-11 เซนติเมตร และมีก้านใบยาวอยู่ที่ประมาณ 0.2-0.7 เซนติเมตร[1]
    – เป็นไม้ไม่ผลัดใบ
  • ดอก
    – ออกดอกเป็นช่อที่บริเวณซอกใบ ดอกมี 5 กลีบมีสีเขียวอมเหลือง มีเกสรเพศผู้อยู่ 10 ก้าน และดอกมีกลีบเลี้ยงที่โคนติดกันเป็นรูปหลอด[1]
  • ผล
    – ผลมีรูปร่างเป็นรูปทรงกลมรี ผลมีสีเขียว และมีขนละเอียดสั้น ๆ ขึ้นปกคลุม ผลมีเส้นเล็ก ๆ ขึ้นที่บริเวณตามยาวของผล พื้นผิวของผลค่อนข้างขรุขระ และเมื่อผลแก่ ผลจะแตกและเปิดอ้าออก
  • เมล็ด
    – เมล็ดมีขนาดเล็กเป็นทรงกลมรีมีสีน้ำตาลเข้ม ตรงหางเมล็ดมีสีส้มออกแดง ทั่วพื้นผิวเมล็ดจะปกคลุมไปด้วยขนสั้น ๆ สีแดงแกมน้ำตาล โดยภายในผลนั้นจะมีเมล็ดอยู่ประมาณ 1-2 เมล็ด[1],[2]

เอกลักษณ์เนื้อไม้กฤษณา

1. เนื้อไม้ปกติ โดยเนื้อไม้ปกติจะมีสีขาวนวลและจะค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอ่อน เหมาะกับการทำเป็นฟืน และก่อสร้าง
2. เนื้อไม้หอมที่มีน้ำมัน เนื้อไม้จะมีสีดำ ซึ่งคุณภาพของเนื้อไม้ชนิดนี้จะขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำมันภายในเนื้อไม้ เหมาะสำหรับทำเป็นไม้หอม สมุนไพร และทำฟื้น

คุณภาพของไม้กฤษณา

1. เกรดที่ 1 มักเรียกกันว่า ไม้ลูกแก่น ส่วนต่างประเทศจะเรียกว่า True agaru เกรดนี้จะมีน้ำมันสะสมอยู่เป็นจำนวนมาก และมีราคาที่แพงที่สุด[2],[3]
2. เกรดที่ 2 ในต่างประเทศจะเรียกว่า Dhum โดยจะมีน้ำมันและกลิ่นหอมรองลงมาจากเกรดที่ 1 ราคาจะถูกกว่าเกรดที่ 1[2],[3]
3. เกรดที่ 3 จะมีน้ำมันและกลิ่นหอมรองลงมาจากเกรดที่ 1 และ 2 มีน้ำหนักที่เบากว่าน้ำ ราคาจะถูกกว่าเกรดที่ 1 และ 2[2]
4. เกรดที่ 4 มักเรียกกันว่า ไม้ปาก โดยไม้เกรดนี้จะมีกลิ่นหอมและน้ำมันสะสมอยู่น้อยที่สุดในบรรดาไม้ทั้ง 4 เกรด อีกทั้งยังมีราคาที่ถูกที่สุดอีกด้วย

สรรพคุณของกฤษณา

  • น้ำจากต้นสามารถรักษาอาการกลากเกลื้อนได้ (ต้น)[1]
  • ต้นมีสรรพคุณในการบรรเทาอาการปวดเมื่อยตรงบริเวณเอวและหัวเข่า (ต้น)[8]
  • ต้นนำมาทำเป็นยาทา มีสรรพคุณในการรักษาฝีและผิวหนังเป็นผื่นคัน (ต้น)[11]
  • เนื้อไม้มีสรรพคุณทางยาที่หลากหลาย อันได้แก่ นำมาปรุงเป็นยาอายุวัฒนะ ยาบำรุงธาตุหรือบำรุงกำลัง ยารักษาไข้ ยารักษาโรคลมซาง ยาบำรุงหัวใจ ยาบำรุงสมอง ยาบำรุงปอด บำรุงตับ และบรรเทาอาการปวดตามข้อ เป็นต้น (เนื้อไม้)[1],[2],[3],[5]
  • น้ำจากเนื้อไม้มีสรรพคุณเป็นยารักษาอาการร้อนใน แก้เสมหะ และแก้อาการกระหายน้ำได้ (เนื้อไม้)[3]
  • เนื้อไม้นำมาปรุงเป็นยาหอมมีสรรพคุณในการบรรเทาอาการหน้ามืดและวิงเวียนศีรษะ (เนื้อไม้)[1],[2],[3]
  • น้ำจากใบมีสรรพคุณเป็นยารักษาโรคภูมิแพ้ (ใบ)[5]
  • น้ำจากใบมีสรรพคุณเป็นยารักษาโรคเบาหวาน (ใบ)[5]
  • ใบมีสรรพคุณในการรักษาโรคผิวหนังอันเนื่องมาจากการทำนา และโรคน้ำกัดเท้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ (ใบ)[2],[3],[12]
  • รักษาโรคผิวหนังเป็นกลากเกลื้อนเนื่องจากเชื้อรา (ใบ)[5]
  • สารสกัดน้ำจากแก่นของต้น มีฤทธิ์ในการเข้าไปต่อต้านอาการแพ้อย่างเฉียบพลันตรงบริเวณผิวหนังของหนูทดลองได้ จากการวิจัยระบุว่าสารสกัดดังกล่าวจะเข้าไปยับยั้งการหลั่งของ Histamine จาก Mast cell (แก่นไม้)[3]
  • แก่นไม้นำมาทำเป็นยาหอม มีสรรพคุณเมื่อสูดดมจะทำให้ร่างกายกระปรี้กระเปร่า (แก่นไม้)[2]
  • สารสกัดจากแก่นของต้น มีฤทธิ์ที่สามารถลดความดันโลหิตได้ (แก่นไม้)[3]
  • น้ำมันที่สกัด มีสรรพคุณต่าง ๆ ได้แก่ เป็นยารักษาโรคตับ เป็นยารักษาโรคที่เกี่ยวกับทางเดินอาหารหรือกระเพาะอาหาร เช่น โรคท้องอืด โรคมะเร็งลำไส้ หรือโรคกระเพาะ เป็นต้น (น้ำมัน)[5]
  • น้ำมันที่สกัดมาจากเมล็ด มีสรรพคุณในการรักษาโรคผิวหนังได้ (น้ำมันจากเมล็ด)[1]

ประโยชน์ของต้นกฤษณา

  • เป็นส่วนผสมของเครื่องหอมทุกชนิด เช่น ยาหอม น้ำมันหอมระเหย น้ำอบไทย และธูปหอม เป็นต้น[1],[2],[5]
  • ชาวอาหรับนิยมใช้ไม้ลูกแก่นของต้นมาเผาไฟใช้สำหรับประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ อีกทั้งยังเป็นไม้มงคลที่เป็นส่วนประกอบสำคัญในพิธีกรรมทางศาสนาอิสลามในสุเหร่า และใช้ต้อนรับอาคันตุกะพิเศษ[2]
  • ชาวฮินดูและชาวอาหรับมักนิยมนำไม้ของต้นมาเผาไฟเพื่อให้มีกลิ่นหอมภายในห้อง[6]
  • น้ำมันหอมระเหยที่สกัดมา เป็นที่นิยมในอุตสาหกรรมการผลิตน้ำหอมและเครื่องสำอาง[1],[2]
  • กลิ่นของน้ำหอม มีคุณสมบัติในการไล่แมลงและระงับความเครียดได้[2],[5]
  • เส้นใยของเปลือกต้น สามารถนำมาใช้ทำเป็นเสื้อผ้า ย่าม ใช้สานหมวก ถุง ที่นอน เชือก และกระดาษได้[1],[2],[4]
  • ใบ นำมาใช้ทำธูปสีเขียว[5]
  • ประเทศญี่ปุ่นมีการนำใบมาตากแห้งทำเป็นใบชา[5]
  • นำผงที่สกัดมาโรยลงบนเสื้อผ้า โดยจะมีคุณสมบัติในการฆ่าหมัดและเหาได้ อีกทั้งยังมีคุณสมบัติช่วยป้องกันตัวเรือดและตัวไรได้อีกด้วย[1],[3],[5]
  • เนื้อไม้ สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างหลากหลาย เช่น นำมาทำเป็นเฟอร์นิเจอร์ นำมาก่อสร้าง นำมาทำเป็นอุปกรณ์สำหรับใส่ข้าวของชาวกะเหรี่ยง ทำลูกประคำ และนำมาใช้ทำเป็นเยื่อกระดาษ[5]

ตำรับยาต่าง ๆ

  • จัดได้ว่าเป็นพืชสมุนไพรอันเลอค่า โดยมีบันทึกอยู่ในพระคัมภีร์ทางยาอยู่มากมาย ได้แก่ พระคัมภีร์มหาโชตรัต เล่ม 3, ตำรายาพระโอสถของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช, ตำรายาทรงทาพระนลาต, พระคัมภีร์ปฐมจินดา, พระคัมภีร์แลมหาพิกัต, พระคัมภีร์ธาตุวิภังค์, พระคัมภีร์ชวดาร, พระคัมภีร์มุจฉาปักขันทิกา และพระคัมภีร์โรคนิทาน[5]
  • ในตำรายาจีนได้มีการนำไม้มาปรุงเป็นยาบรรเทาอาการต่าง ๆ อันได้แก่ ยาเสริมสมรรถภาพทางเพศ ยาแก้อาการคลื่นไส้อาเจียน ยาบรรเทาอาการปวดแน่นหน้าอก และยาบรรเทาอาการหอบหืด (ตำรายาจีน)[2],[3]

เอกสารอ้างอิง
1. สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “กฤษณา“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.rspg.or.th. [22 พ.ย. 2013].
2. กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. “กฤษณา“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.dnp.go.th. [22 พ.ย. 2013].
3. ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “กฤษณา“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.thaicrudedrug.com. [22 พ.ย. 2013].
4. โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง. “กฤษณา Aquilaria rugosa K. Le-Cong“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: eherb.hrdi.or.th. [22 พ.ย. 2013].
5. ชมรมไม้กฤษณา (ไม้หอม) แห่งประเทศไทย. “การนำส่วนต่าง ๆ ของกฤษณามาใช้ประโยชน์“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.thaikrisana.com. [22 พ.ย. 2013].
6. เดอะแดนดอตคอม. “กฤษณา“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.the-than.com. [22 พ.ย. 2013].
7. https://medthai.com/

อ้างอิงรูปจาก
1. https://www.ydhvn.com/
2. https://palms.org.au/

ต้นพลับพลึงแดง สรรพคุณช่วยขับเลือดประจำเดือน

0
ต้นพลับพลึงแดง สรรพคุณช่วยขับเลือดประจำเดือน เป็นไม้ล้มลุก ก้านใบห่อหุ้มลำต้น ดอกออกเป็นช่อขนาดใหญ่ ดอกเป็นสีขาวแกมสีชมพู มีกลิ่นหอมช่วงพลบค่ำ ผลสดสีเขียวกลม
พลับพลึงแดง
เป็นไม้ล้มลุก ก้านใบห่อหุ้มลำต้น ดอกออกเป็นช่อขนาดใหญ่ ดอกเป็นสีขาวแกมสีชมพู มีกลิ่นหอมช่วงพลบค่ำ ผลสดสีเขียวกลม

พลับพลึงแดง

พลับพลึงแดง มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปแอฟริกา ชื่อสามัญ Red crinum, Giant lily, Spider lily, Red Bog Lily ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Crinum × amabile Donn ex Ker Gawl. หรือ Crinum × amabile Donn (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ คือ Crinum × augustum Roxb.) อยู่วงศ์พลับพลึง (AMARYLLIDACEAE)[1],[2],[3],[4],[5] ชื่อในท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น พลับพลึงดอกแดง (จังหวัดกรุงเทพมหานคร, ภาคกลาง), พลับพลึงดอกแดงสลับขาว, ลิลัว (ภาคเหนือ), พลับพลึง, พลับพลึงใหญ่ดอกสีชมพู [2],[4],[5],[6]

ลักษณะของต้นพลับพลึงแดง

  • ต้น เป็นไม้ล้มลุกที่มีอายุหลายปี ต้นสูงประมาณ 1-2 เมตร ลำต้นจะมีหัวอยู่ใต้ดิน ส่วนที่อยู่เหนือดินคือ กาบใบสีขาวหุ้มซ้อนเป็นชั้น ขยายพันธุ์โดยการแยกหน่อไปปลูกหรือการเพาะเมล็ด เติบโตได้ดีในพื้นที่ชุ่มน้ำ หรือที่มีความชื้นค่อนข้างสูง อย่างเช่น ริมคลอง หนอง บึง ทนต่อสภาพแวดล้อมได้โดยไม่ต้องการดูแลเอาใจใส่เยอะ ถ้าหากต้องการให้มีดอกเยอะให้ปลูกในพื้นที่กลางแจ้ง แต่ถ้าหากต้องการให้ใบสวยให้ปลูกในที่มีแสงแดดแบบรำไร (หัวมีสาร Alkaloid Narcissine)[1],[2],[5]
  • ใบ เป็นใบเดี่ยวเรียงซ้อนสลับเป็นวง ใบเป็นรูปใบหอก ที่โคนใบจะเป็นกาบทำหน้าที่เป็นก้านใบห่อหุ้มลำต้น ส่วนที่ปลายใบจะแหลม ขอบใบเรียบ ใบกว้างประมาณ 7-15 เซนติเมตร มีความยาวประมาณ 1 เมตร ใบมีลักษณะเป็นสีเขียว ผิวใบอ่อนนุ่ม เหนียว อวบน้ำ หนา [1],[2]
  • ดอก ออกเป็นช่อที่มีขนาดใหญ่ ก้านดอกจะแทงขึ้นจากกลุ่มของใบตอนปลาย หนึ่งช่อมีดอกย่อยอยู่เป็นกระจุกประมาณ 12-40 ดอกกลีบดอกเป็นสีขาวแกมสีชมพู กลีบด้านบนดอกจะเป็นสีม่วง สีชมพู กลีบด้านล่างเป็นสีแดงเลือดหมู สีแดงเข้ม กลีบดอกแคบเรียวยาว ถ้าดอกบานเต็มที่กลีบดอกจะงองุ้มเข้าหาก้านดอก มีเกสรยาวยื่นออกจากกลางดอก มีกลิ่นหอม กลิ่นจะหอมมากช่วงพลบค่ำ ออกดอกได้ปีละครั้ง ดอกออกช่วงเดือนกันยายนถึงเดือนตุลาคม บ้างก็ว่าดอกออกได้ทั้งปี และออกเยอะช่วงฤดูฝน[1],[2],[5]
  • ผล เป็นผลสด มีสีเขียว ผลค่อนข้างกลม มีเมล็ดกลม[1],[4]

พิษของพลับพลึงดอกแดง

  • มีฤทธิ์ระคายเคืองกับระบบทางเดินอาหาร (เข้าใจว่าเป็นส่วนหัว) หัวมีพิษในกลุ่มอัลคาลอยด์ที่ชื่อว่า “Lycorine” อาการเป็นพิษ คือ มีน้ำลายเยอะ อาเจียน ตัวสั่น เหงื่อออก ท้องเดินแบบไม่รุนแรง ถ้ามีอาการมากอาจเกิด Paralysis และ Collapse[6]

วิธีการรักษาพิษ

1. ดื่มน้ำเยอะ ๆ เพื่อทำให้พิษเจือจาง[6]
2. ทำให้อาเจียนออก[6]
3. นำตัวส่งโรงพยาบาลเพื่อทำการล้างออก เพื่อเอาชิ้นส่วนพลับพลึงออก[6]
4. ทานยารักษาอาการคลื่นไส้อาเจียน เพื่อช่วยป้องกันการสูญเสียน้ำกับเกลือแร่ภายในร่างกายเยอะเกินไป[6]
5. ควรให้น้ำเกลือจนกว่าจะอาการดีขึ้น[6]

สรรพคุณ และประโยชน์พลับพลึงแดง

1. สารสกัดที่ได้จากใบจะมีฤทธิ์ที่ช่วยต้านเชื้อแบคทีเรียได้ (ใบ)[1]
2. รากสามารถใช้เป็นยารักษาพิษยางน่องได้ (ราก)[2]
3. ใบสดมาลนไฟเพื่อทำให้อ่อนตัวลง นำมาใช้ประคบหรือพันรักษาแก้อาการบวม อาการเคล็ดขัดยอก ฟกช้ำบวม แพลง ช่วยถอนพิษได้ดี (ใบ)[1],[2],[3],[4]
4. สามารถช่วยขับเลือดประจำเดือนของผู้หญิงได้ (เมล็ด)[2]
5. สามารถใช้หัวเป็นยารักษาโรคที่เกี่ยวกับปัสสาวะได้ (หัว)[2]
6. ใช้ใบพลับพลึงอย่างเดียวหรือใช้ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่น นำไปตำเพื่อปิดตรงบริเวณที่ปวด เพื่อใช้รักษาอาการปวดศีรษะ (ใบ)[2]
7. เมล็ดสามารถใช้เป็นยาบำรุงร่างกายได้ (เมล็ด)[2],[3],[4]
8. สารสกัดที่ได้จากใบมีฤทธิ์ที่ช่วยต้านการเติบโตของเนื้องอก (ใบ)[1]
9. หัวกับใบมีสารในกลุ่มอัลคาลอยด์ที่ชื่อว่า Lycorine เป็นสารที่มีฤทธิ์ที่ช่วยต้านไวรัสที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคหัด กับโรคโปลิโอ สารชนิดนี้เป็นพิษสูง และต้องมีการทดลองกันต่อไป (ใบ, หัว)[1]
10. สามารถใช้อยู่ไฟหลังคลอดสำหรับผู้หญิงได้ (ใบ)[3],[4]
11. สามารถนำรากมาตำใช้พอกแผลได้ (ราก)[2]
12. สามารถช่วยขับปัสสาวะได้ (เมล็ด)[2],[3],[4]
13. สามารถใช้เป็นยาระบายได้ (หัว, เมล็ด)[2],[3],[4]
14. สามารถช่วยขับเสมหะได้ (หัว)[2],[3],[4]
15. สามารถใช้เป็นยาลดไข้ได้ โดยนำใบพลับพลึงอย่างเดียว หรือใช้ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่น (ใบ)[2]
16. หัวจะมีรสขม สามารถใช้เป็นยาบำรุงกำลังได้ (หัว)[2]
17. ปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับเพื่อความสวยงาม

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ. “พลับพลึงดอกแดง”. (คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). หน้า 91.
2. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย. “พลับพลึงดอกแดง (กรุงเทพฯ)”. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). หน้า 144.
3. โรงเรียนพระหฤทัยคอนแวนต์. “พลับพลึงแดง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.shc.ac.th. [22 ม.ค. 2014].
4. หนังสือไม้ดอกหอม เล่ม 1. “พลับพลึงดอกแดง (กรุงเทพฯ)”. (ปิยะ เฉลิมกลิ่น). หน้า 147.
5. ฝ่ายปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. “พลับพลึงใหญ่ดอกสีชมพู”. (นพพล เกตุประสาท). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: clgc.rdi.ku.ac.th . [22 ม.ค. 2014].
6. สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. “พลับพลึงดอกแดง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.medplant.mahidol.ac.th. [22 ม.ค. 2014].

อ้างอิงรูปจาก
1. https://powo.science.kew.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:63772-1
2. https://www.plantasyhongos.es/herbarium/htm/Crinum_spp.htm
3. https://medthai.com/

ต้นตะเคียนทอง เปลือกของต้นใช้แก้อาการลงแดง

0
ตะเคียนทอง
ต้นตะเคียนทอง เปลือกของต้นใช้แก้อาการลงแดง ต้นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ แผ่นใบบางเหนียวเป็นมัน ดอกสีเหลืองแกมน้ำตาลขนาดเล็กและมีขนนุ่มปกคลุม กลิ่นหอม ผลอ่อนสีเขียวอ่อน ผลสุกสีน้ำตาลเข้ม
ตะเคียนทอง
เป็นต้นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ แผ่นใบบางเหนียวเป็นมัน ดอกสีเหลืองแกมน้ำตาลขนาดเล็กและมีขนนุ่มปกคลุม กลิ่นหอม ผลอ่อนสีเขียวอ่อน ผลสุกสีน้ำตาลเข้ม

ตะเคียนทอง

ตะเคียนทอง พบในประเทศบังกลาเทศ, ประเทศกัมพูชา, ประเทศอินเดีย, ประเทศลาว, ประเทศมาเลเซีย, ประเทศพม่า, ประเทศไทย และประเทศเวียดนาม ชื่อสามัญ Malabar iron wood, Takian, Thingan, Iron wood, Sace ชื่อวิทยาศาสตร์ Hopea odorata Roxb. จัดอยู่ในวงศ์ยางนา (DIPTEROCARPACEAE)[1],[3],[5] ชื่อท้องถิ่นอื่นๆ ตะเคียนใหญ่ (ภาคกลาง), แคน (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), จะเคียน (ภาคเหนือ) เป็นต้น[1],[3],[5]

ลักษณะตะเคียนทอง

  • ต้น เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ไม่ผลัดใบ มีความสูงอยู่ที่ 20-40 เมตร ลำต้นมีลักษณะเปลาตรง มีเส้นรอบวงกว่า 300 เซนติเมตร เรือนยอดมีลักษณะกลมเป็นทรงพุ่มทึบ เปลือกต้นมีสีน้ำตาลดำ มีลักษณะต้นหนา แตกเป็นสะเก็ด แก่นไม้มีสีน้ำตาลแดง เนื้อไม้เป็นสีเหลืองหม่น มีท่อน้ำมันหรือยางเป็นเส้นสีเทาขาวทอดผ่านอยู่เสมอ [1],[2],[3],[6]
  • ใบ ออกเป็นใบเดี่ยว ใบมีลักษณะเป็นรูปไข่แกมรูปใบหอก ปลายใบเรียว โคนใบเบี้ยว แผ่นใบจะเหนียวแต่บาง หลังใบเกลี้ยงเป็นมัน มีตุ่มหูดอยู่ที่บริเวณท้องใบตามง่ามแขนง ความกว้างของใบจะอยู่ที่ 3-6 เซนติเมตร และความยาวจะอยู่ที่ 10-15 เซนติเมตร มีเส้นแขนงอยู่ 9-13 คู่ที่ใบ ใบย่อยเชื่อมกันเป็นขั้นบันได หูใบเป็นรูปสามเหลี่ยม[1],[3],[8]
  • ดอก เป็นดอกช่อ ช่อดอกจะออกบริเวณปลายกิ่งและง่ามใบ เป็นช่อแบบแยกแขนง มีความยาวอยู่ที่ 5-7 เซนติเมตร ในหนึ่งช่อจะมีดอกย่อยอยู่ประมาณ 40-50 ดอก ดอกมีสีเหลืองแกมน้ำตาล ดอกมีขนาดเล็กและมีขนนุ่มขึ้นปกคลุม ดอกมีกลิ่นหอม มีกลีบดอกอยู่ 5 กลีบ แต่ละกลีบจะมีความยาว 3-5 มิลลิเมตร ดอกที่บานเต็มที่ดอกจะบิดเป็นกงจักรและจะมีขนาดเพียง 0.3-1 เซนติเมตร กลีบดอกส่วนปลายจะหยัก กลีบดอกส่วนล่างจะบิดและเชื่อมติดกันอยู่ ในดอกมีเกสรตัวผู้ 15 อัน ส่วนยอดของอับเรณูจะแหลม รังไข่ของเกสรตัวเมียจะอยู่เหนือวงกลีบ ดอกจะไม่ออกทุกปี และออกแค่ในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคม[1],[8]
  • ผล เป็นผลแห้งและไม่แตก ผลอ่อนเป็นสีเขียวอ่อน และพอสุกจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้ม ลักษณะของผลจะกลมหรือเป็นรูปไข่เกลี้ยง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของผลจะอยู่ที่ 0.6 เซนติเมตร ส่วนปลายของผลจะมนและมีติ่งเป็นหนามแหลมอยู่ มีปีกยาว 4-6 เซนติเมตร ลักษณะคล้ายรูปใบพาย มีอยู่ 1 คู่ ส่วนปลายของปีกมีความกว้างอยู่ที่ 1 เซนติเมตร และจะเริ่มเรียวสอบเข้ามาทางด้านโคนปีก มีเส้นปีกอยู่ตามแนวยาว 9-11 เส้น และจะมีปีกสั้นๆ ซ้อนกันอยู่ 3 ปีก ในหนึ่งผลจะมีเพียงเมล็ดเดียว ลักษณะของเมล็ดจะกลมและเป็นสีน้ำตาล ปีกจะมีหน้าที่พาผลให้ปลิวไปตามลมได้ไกล และจะเริ่มเกิดผลในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน[1],[3],[8]

ประโยชน์ตะเคียนทอง

1. สารแทนนิน ซึ่งมีคุณสมบัติในการทำให้แผ่นหนังมีความแข็งขึ้นกว่าเดิม เมื่อนำมาใช้ฟอก[6]
2. มีน้ำฝาดชนิด Catechol และ Pyrogallol อยู่ในเปลือกต้น[1]
3. สามารถนำมาปลูกตามป่า หรือสวน เพื่อให้ร่มเงา เป็นไม้เอาไว้บังลม รักษาสมดุลทางธรรมชาติ เนื่องจากไม่ผลัดใบพร้อมกัน ทำให้มีความเขียวอยู่ตลอดทั้งปี[4],[5],[6]
4. สามารถทำน้ำมันจากชันของไม้ได้ โดยจะนำมาใช้ชักเงาตกแต่งเครื่องใช้ หรือนำมาทาเคลือบเรือเพื่อป้องกันเพรียง[1],[5],[6],[8]
5. สามารถนำไม้ตะเคียนมาใช้ประโยชน์ในงานไม้ได้ทุกอย่างที่ต้องการความแข็งแรงและคงทน เช่น สร้างบ้าน ทำเฟอร์นิเจอร์ ทำพื้นกระดาน ทำฝ้า ทำรั้ว ต่อเรือ ทำเกวียน ทำกังหัน เป็นต้น เพราะเนื้อไม้มีความทนทาน ทนต่อปลวกได้ดี[1],[2],[3]

สรรพคุณตะเคียนทอง

1.สามารถนำมาทำยาแก้อาการเจ็บปวดได้ เช่น ยาหม่อง โดยจะนำยางของไม้ตะเคียนที่บดเป็นผงมาทำ(ยาง)[6]
2. สามารถนำยางมาผสมกับน้ำ เพื่อทำเป็นยาทารักษาบาดแผลได้(ยาง)[1],[4],[7],[8]
3. เปลือกต้นต้มกับน้ำสามารถนำมาใช้ล้างแผลเรื้อรังได้(เปลือกต้น)[1]
4. มีคุณสมบัติในการช่วยห้ามเลือด(เปลือกต้น, เนื้อไม้)[5],[8],[9]
5. มีสรรพคุณในการรักษาอาการท้องร่วง (แก่น, เนื้อไม้)[10]
6. ใช้ฆ่าเชื้อโรคในช่องปากได้(เปลือกต้น)[8],[9]
7. แก่น มีคุณสมบัติในการรักษาอาการปวดฟัน หรือแก้อาการเงือกบวม(แก่น)[10]
8. มีสรรพคุณในการขับเสมหะได้(แก่น)[3],[4],[7],[8]
9. มีคุณสมบัติในการควบคุมธาตุ (เนื้อไม้)[10] ปิดธาตุ (แก่น,ยาง)[10]
10. มีฤทธิ์เป็นยาแก้แพ้ ช่วยต่อต้านพวกเชื้อรา แบคทีเรีย รวมไปถึงยีสต์[10]
11. แก่น ใช้รักษาคุดทะราดได้(แก่น)[3],[4],[7],[8]
12. มีฤทธิ์เป็นยาปฏิชีวนะ สามารถนำมาใช้ในการฆ่าเชื้อโรคได้(เปลือกต้น, เนื้อไม้)[8],[9]
13. มีสรรพคุณในการแก้อาการอักเสบ(เปลือกต้น, เนื้อไม้)[5],[8],[9]
14. เปลือกต้น สามารถใช้เป็นยาในการสมานแผลได้(เปลือกต้น)[8],[9]
15. ยาง มีสรรพคุณในการแก้อาการท้องเสีย(ยาง)[10]
16. ส่วนของเปลือกต้น มีสรรพคุณในการแก้บิดมูกเลือด(เปลือกต้น)[8],[9]
17. สามารถใช้แก้อาการเหงือกอักเสบได้(เปลือกต้น)[8],[9]
18. สามารถนำเปลือกต้นมาต้มกับเกลือใช้อม เพื่อป้องกันฟันหลุดจากการกินยาเข้าปรอท(เปลือกต้น)[1],[5]
19. เปลือกต้น ใช้แก้อาการลงแดงได้(เปลือกต้น)[8],[9]
20. แก่นต้นสามารถใช้แก้โลหิตและกำเดาได้ โดยแก่นจะมีรสหวาน(แก่น)[3],[4],[7],[8]

สั่งซื้อ เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. สวนพฤกษศาสตร์ ตามพระราชเสาวนีย์ฯ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. “ตะเคียนทอง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.dnp.go.th. [19 ม.ค. 2014].
2. ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. “ตะเคียนทอง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.qsbg.org. [19 ม.ค. 2014].
3. สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “ตะเคียน”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.rspg.or.th. [19 ม.ค. 2014].
4. ระบบฐานข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชน สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน). “ตะเคียนทอง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.bedo.or.th. [19 ม.ค. 2014].
5. สำนักงานสวนสาธารณะ สำนักสิ่งแวดล้อม. “ตะเคียนทอง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: 203.155.220.217/office/ppdd/publicpark/thai/2011/. [19 ม.ค. 2014].
6. ส่วนปลูกป่าภาคเอกชน สำนักส่งเสริมการปลูกป่า กรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. “ตะเคียนทอง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.forest.go.th. [19 ม.ค. 2014].
7. อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. “ตะเคียนทอง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.pharmacy.mahidol.ac.th. [19 ม.ค. 2014].
8. ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “ตะเคียนทอง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.phargarden.com. [19 ม.ค. 2014].
9. หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. “ตะเคียนทอง (Ta Khian Tong)”. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). หน้าที่ 122.
10. “ตะเคียนทอง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.thongthailand.com. [19 ม.ค. 2014].

อ้างอิงรูปจาก
1. https://www.monaconatureencyclopedia.com/
2. https://www.iplantz.com/
3. https://medthai.com/

ผกากรอง สรรพคุณช่วยแก้ติดเชื้อวัณโรคที่ต่อมทอนซิล

0
ผกากรอง สรรพคุณช่วยแก้ติดเชื้อวัณโรคที่ต่อมทอนซิล เป็นไม้พุ่มกึ่งเลื้อยขนาดเล็ก ใบจะหยักฟันเลื่อย ดอกเป็นช่อคล้ายซี่ร่ม ดอกย่อยเล็กรูปกรวย กลิ่นฉุน ผลเป็นพวงสีเขียวเนื้อนิ่ม ผลสุกสีม่วงดำ
ผกากรอง
เป็นไม้พุ่มกึ่งเลื้อยขนาดเล็ก ใบจะหยักฟันเลื่อย ดอกเป็นช่อคล้ายซี่ร่ม ดอกย่อยเล็กรูปกรวย กลิ่นฉุน ผลเป็นพวงสีเขียวเนื้อนิ่ม ผลสุกสีม่วงดำ

ผกากรอง

ผกากรอง มีถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบอเมริกา แถบแอฟริกาเขตร้อน[7] ในภายหลังได้แพร่ขยายไปทั่วโลกในเขตร้อน [3] พบขึ้นที่ตามป่าละเมาะที่ค่อนข้างโปร่งและแห้งแล้ง ชื่อสามัญ White sage, Lantana, Cloth of gold, Hedge flower, Weeping lantana ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Lantana camara L. อยู่วงศ์ผกากรอง (VERBENACEAE)[1] ชื่อในท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น อู่เซ่อเหมย (จีนกลาง), หญ้าสาบแร้ง (ภาคกลาง, ภาคเหนือ), ก้ามกุ้ง (ภาคกลาง), เบ็งละมาศ (ภาคเหนือ), สามสิบ (จังหวัดจันทบุรี), ไม้จีน (จังหวัดชุมพร), คำขี้ไก่ (จังหวัดเชียงใหม่), มะจาย (จังหวัดแม่ฮ่องสอน), หม่าอิงตาน (จีนกลาง), เบญจมาสป่า (ภาคกลาง), ตาปู (จังหวัดแม่ฮ่องสอน), โงเซกบ๊วย (จีนแต้จิ๋ว), สาบแร้ง (ภาคเหนือ), ขะจาย (จังหวัดแม่ฮ่องสอน), ยี่สุ่น (จังหวัดตรัง), ขี้กา (จังหวัดปราจีนบุรี, จังหวัดประจวบคีรีขันธ์), ดอกไม้จีน (จังหวัดตราด)

ลักษณะผกากรอง

  • ต้น เป็นไม้พุ่มกึ่งเลื้อยที่มีขนาดเล็ก ต้นสูงประมาณ 1-2 เมตร ลำต้นจะแตกกิ่งก้านสาขาเยอะ ใบดกและหนา ที่ตามลำต้นจะเป็นร่องมีหนามนิดหน่อย มีขนขึ้นทั้งต้น สามารถขยายพันธุ์ได้โดยการปักชำ การเพาะเมล็ด เป็นไม้ดอกกลางแจ้ง มีอายุหลายปี ชอบแสงแดดจัด ควรรับแสงแดดแบบพอเพียง จะชอบสภาพค่อนข้างแห้งแล้ง โตได้ดีในดินร่วนปนกับทรายที่สามารถระบายน้ำได้ดี เป็นพืชที่แข็งแรงทนทาน หลายแห่งถือเป็นวัชพืชชนิดหนึ่ง เนื่องจากขึ้นและขยายพันธุ์ได้ดีตามธรรมชาติ[1],[3],[6]
  • ใบ เป็นใบเดี่ยวจะออกเรียงตรงข้าม ใบเป็นรูปไข่สีเขียวเข้ม ที่ปลายใบจะแหลม ส่วนที่ขอบใบจะหยักเป็นฟันเลื่อย ใบกว้างประมาณ 2-3.5 เซนติเมตร มีความยาวประมาณ 3-9 เซนติเมตร ที่ผิวใบด้านบนจะมีลักษณะหยาบ จะมีขนขึ้นที่ส่วนผิวใบด้านบนกับด้านล่าง ถ้าลูบจะระคายมือ เส้นใบย่น ก้านใบมีความยาวประมาณ 1 เซนติเมตร[1],[3]
  • ดอก ออกเป็นช่อคล้ายซี่ร่ม ออกดอกที่ตามง่ามใบและยอดของกิ่ง ช่อดอกมีความกว้างประมาณ 3-5 เซนติเมตร ก้านช่อดอกมีความยาวประมาณ 4-10 เซนติเมตร ดอกย่อยมีลักษณะเล็กและเป็นรูปกรวย จะมีกลิ่นที่ฉุน กลีบดอกจะบานออกเป็น 4 กลีบ ขนาดประมาณ 0.5 เซนติเมตร จะค่อยๆทยอยบานจากด้านนอกเข้าช่อดอก มีเกสรเพศผู้อยู่ที่ตรงกลางดอก 4 ก้านจะอยู่ติดกลีบดอก ดอกมีหลายสี อย่างเช่น สีแดง (ข้าวเหนียวหน้ากุ้ง), สีขาว (ผกากรอง), สีเหลือง (ผกากรองเหลือง) และมีสีชมพู สีแสด และมีหลายสีในช่อดอกเดียวกัน สามารถออกดอกได้ทั้งปีถ้าหากอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
  • ผล เป็นรูปกลม จะออกผลเป็นกลุ่มหรือเป็นพวง เป็นผลสด มีเนื้อ มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 5 มิลลิเมตร ผลอ่อนมีลักษณะเป็นสีเขียว เนื้อนิ่ม ผลสุกเป็นสีม่วงดำ มีเมล็ดอยู่ในผล 2 เมล็ด[1],[2],[5],[6],[7]

ประโยชน์ผกากรอง

1. ใบมีกลิ่นฉุน มีสารพิษที่เป็นพิษกับระบบประสาทของแมลงจำพวกหนอนกระทู้ในแปลงผักที่มีชื่อว่า แลนทานิน (Lantanin) ทำให้มีการใช้เป็นสมุนไพรสำหรับฆ่าแมลง ขับไล่แมลงศัตรูพืช [3],[6]
2. ปลูกเป็นไม้ประดับ ปลูกเป็นไม้ประดับตามสถานที่ต่าง ๆ กลางแจ้ง และทนต่อการตัดแต่ง การดันทรง ทนความแห้งแล้ง ดินเลว เหมาะกับการปลูกในกระถางเพื่อทำไม้ดัดเป็นรูปทรง หรือไม้แคระ [3]
3. ต้นออกดอกดกเป็นช่อทั้งปี เป็นแหล่งอาหารสำคัญของแมลงต่าง ๆ อย่างเช่น ผึ้ง ผีเสื้อ [3]

ข้อควรระวังในการใช้ผกากรอง

  • ใบมีสารเป็นพิษนั่นก็คือสาร Lantanin สารนี้เป็นอันตรายกับสัตว์เลี้ยง โดยเฉพาะสัตว์จำพวกแกะกับแพะ พิษจะส่งผลกับตับและระบบประสาท เวลาสัตว์เลี้ยงทานเข้าไปเยอะ จะทำให้ถึงตาย[6]
  • ห้ามให้ผู้หญิงที่มีครรภ์ทาน[1],[2]
  • สารพิษเอาไปใช้เป็นยาฆ่าแมลงในแปลงผัก อาจจะตกค้างและเป็นอันตรายกับผู้บริโภค ควรใช้แบบระมัดระวัง และเว้นระยะปลอดภัยก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิต[6]
  • ต้นมีพิษ การเอาไปใช้เป็นยาสมุนไพรควรใช้แบบระมัดระวัง[8]

สรรพคุณผกากรอง

1. สามารถช่วยแก้อาการปวดเอ็นได้ โดยนำดอกสดมาตำให้ละเอียด คั้นเอาน้ำมาใช้ทา แล้วเอากากมาพอกที่บริเวณที่เป็นแล้วเอาผ้ารัดเอาไว้ (ดอก)[5]
2. ใบ มีรสขมเย็น สามารถนำใบสดมาโขลกให้ละเอียด ใช้พอกแก้บวม แก้ปวด พอก รักษาแผลฟกช้ำ รักษาฝี ถอนพิษ (ใบ)[2],[4]
3. สามารถนำดอก มาใช้เป็นยาแก้อักเสบได้ (ดอก)[2]
4. ในตำรับยาแก้ผดผื่นคันใช้ใบผกากรองแห้ง 35 กรัม, ต้นกะเม็ง 35 กรัม, ใบสะระแหน่ 35 กรัม, โซวเฮียะ 35 กรัม, ใบสนแผง 35 กรัม เอามารวมกันบดเป็นยาผง ใช้ผสมกับเหล้าทาตรงบริเวณที่เป็นวันละ 3 ครั้ง (ใบ)[1]
5. ก้านกับใบสามารถใช้เป็นยาภายนอกรักษาโรคผิวหนัง ฝีหนอง ด้วยการเอามาตำ ใช้พอกหรือเอามาต้มกับน้ำล้างตรงบริเวณที่เป็น (ใบ)[1]
6. สามารถช่วยแก้อาการปวดกระเพาะได้ (ราก)[1]
7. สามารถช่วยขับลมได้ (ราก, ใบ)[1],[2]
8. ขับลมชื้น (ราก)[1]
9. สามารถช่วยแก้ติดเชื้อวัณโรคที่ต่อมทอนซิลได้ (ราก)[1]
10. สามารถช่วยแก้อาการอาเจียนเป็นเลือดได้ (ดอก)[2]
11. ราก มีรสจืดขม สามารถใช้เป็นยาแก้ไข้หวัดตัวร้อน หวัดใหญ่ แก้ไข้เรื้อรัง แก้หวัด ไข้สูง โดยนำรากแห้งหนัก 4 บาท มาต้มกับน้ำเป็นยาดื่ม (ราก)[1],[2],[5]
12. ในตำรับยาจีนใช้รากสด 35 กรัม, กังบ๊วยกึง 35 กรัม, ซึ่งปัวจิ้กึง 35 กรัม เอามาต้มกับน้ำทาน (ราก)[1]
13. สามารถช่วยแก้อาการปวดฟันได้ โดยนำรากสดมาต้มเอาน้ำอมบ้วนปาก ช่วยแก้อาการปวดฟัน (ราก)[2],[5]
14. ราก สามารถช่วยแก้อาการปวดศีรษะได้ (ราก)[2]
15. สามารถแก้โรคปวดตามข้อ โดยนำใบมาต้มกับน้ำ ผสมน้ำอาบ หรือใช้ทำเป็นลูกประคบ (ใบ[5], ราก[1])
16. สามารถนำรากมาใช้เป็นยาดับพิษแก้บวมได้ (ราก)[1]
17. ราก มีสรรพคุณที่สามารถ แก้อาการคัน แก้อาการปวดแสบปวดร้อนที่ทางผิวหนังที่เกิดจากการเป็นฝี แก้โรคผิวหนังผื่นคันได้ (ราก)[1]
18. สามารถนำใบมาตำพอกแผล แก้ผดผื่นคันที่เกิดขึ้นจากหิด ฝีพุพองเป็นหนอง (ใบ, ดอก)[2],[5]
19. ใบ สามารถช่วยห้ามเลือดและช่วยรักษาแผลสดได้ โดยนำใบมาตำหรือขยี้ให้ช้ำ ใช้พอกตรงบริเวณบาดแผลสด และมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรค (ใบ, ดอก)[2],[3]
20. ดอก ใช้เป็นยาแก้อาการปวดท้องอาเจียน โดยใช้ดอกสดหนัก 1 บาท มาต้มกับน้ำสะอาด ใส่เกลือนิดหน่อย ใช้ดื่มเป็นยา (ดอก)[2],[5]
21. สามารถช่วยแก้วัณโรค วัณโรคปอด โดยนำดอกแห้ง หนัก 1 บาท มาต้มกับน้ำ ใช้ดื่ม (ดอก)[2],[5]
22. สามารถช่วยทำให้อาเจียนได้ (ใบ)[4]
23. สามารถช่วยแก้คางทูมได้ โดยนำรากแห้งหนัก 4 บาท มาต้มกับน้ำ ใช้เป็นยาดื่ม (ราก)[2],[5]
24. สามารถใช้แก้เด็กซึมเซา ง่วงนอนเสมอได้ โดยนำดอกแห้งหนัก 1 บาท ผสมดอกทานตะวันแห้ง 1 ดอก เอามาต้มกับน้ำสะอาด ใช้ดื่ม (ดอก)[5]
25. นำรากแห้งมาต้มกับน้ำดื่ม สามารถช่วยแก้อาการเวียนศีรษะจากอากาศร้อนอบอ้าวได้ (ราก)[4]

วิธีใช้

  • ดอกแห้งให้ใช้ประมาณ 6-10 กรัม เอามาต้มกับน้ำ ใช้ดื่มแก้หิด (ใบ)[2]
  • ใช้รากแห้งครั้งละ 15-35 กรัม เอามาต้มกับน้ำทาน ถ้าเป็นรากสดให้ใช้ครั้งละ 35-70 กรัม เอามาต้มกับน้ำทาน[1],[2]
  • นำใบสดประมาณ 15-30 กรัม เอามาต้มกับน้ำดื่ม ถ้าใช้ภายนอกให้เอามาตำพอกหรือคั้นเอาน้ำผสมเหล้าใช้เป็นยาทา หรือเอาไปต้มกับน้ำใช้ชะล้างตรงบริเวณที่เป็น (ใบ)[2]

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

  • สารที่สกัดได้จากใบด้วยแอลกอฮอล์ จะมีฤทธิ์กระตุ้นลำไส้และมดลูกของหนูทดลอง และช่วยแก้หอบหืดในหนูทดลอง[1]
  • พบสารพิษ คือ lantadene B, lantadene C, lantadene A (Rehmannic acid) [8]
  • ถ้าเอาใบสดมาให้วัวหรือแกะกิน ปรากฏว่าวัวหรือแกะจะมีอาการกลัวแสงและเป็นดีซ่าน เพราะอาจมีพิษซ่อนอยู่ในใบ[1]
  • สาร Lantaden alkaloid ที่สกัดมีฤทธิ์คล้ายควินิน ช่วยแก้พิษร้อนในร่างกายได้[1]
  • พบสาร Lantic acid, B-Caryophyllene, Alkaloid, Lantanolic acid, Humulene, A-pinene Pcymene เป็นต้น[1]

พิษของผกากรอง

  • พิษเรื้อรังในสัตว์ที่เกิดขึ้นตาม จะมีการเปลี่ยนแปลงของผิวหนังส่วนอื่นอีก อย่างเช่น ผิวหนังที่บริเวณขา ปาก จมูก หู คอ ไหล่ รวมส่วนอื่น ๆ อาจจะเป็นสีเหลือง แข็ง บวม แตก และมีอาการเจ็บ ผิวหนังลอกและเปิด อาจเกิดอาการอักเสบจนถึงเนื้อเยื่อบุผิวเมือกที่บริเวณใกล้เคียง อาการเยื่อบุตาอักเสบสามารถพบเห็นได้เป็นบางครั้งในระยะที่รับพิษเฉียบพลัน อาจมีผลกระทบกับผิวหนัง เยื่อบุรอบตาและที่ตา[8]
  • คนกับสัตว์ที่ทานเข้าไปจะเกิดอาการผิวหนังไวต่อแสง ผิวหนังมีรอยฟกช้ำดำเขียว ผิวหนังแตกในคน ส่วนสัตว์ถ้ากินเข้าไปจะทำให้น้ำหนักตัวไม่เพิ่มขึ้นเลย มีน้ำนมลดน้อยลง ขนไม่งามเท่าที่ควร ผิวหนังขาด pigment [9]
  • ส่วนที่เป็นพิษนั่นคือผลแก่ที่ไม่สุก ส่วนใบ และทั้งต้นโดยเฉพาะผล สารที่เป็นพิษก็คือ Lantadene ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักเป็นเด็กที่อายุประมาณ 2-6 ขวบ[9]
  • อาการเป็นพิษที่เกิดขึ้นในสัตว์ จะมีพิษกึ่งเฉียบพลันในสัตว์ทดลองที่กินใบ จะมีอาการซึม ไม่อยากกินอาหาร ท้องผูก ปัสสาวะบ่อย หลังจากนี้ประมาณ 1-2 วัน จะมีอาการตัวเหลืองและขาดน้ำที่ตามเนื้อเยื่อเมือก ตาอักเสบ กล้ามเนื้ออักเสบ ผิวหนังไวต่อแสง ซึ่งจะทำให้กล้ามเนื้ออักเสบที่เรียกว่า pink nose เจ็บ อาการอักเสบนี้อาจลุกลามถึงตา ปาก โพรงจมูก เป็นแผลบวม หนังตาบวม ปลายจมูกแข็ง หูหนาและแตก ทำให้มีอาการคันจนสัตว์ต้องถูบ่อย ๆ จะทำให้เป็นแผลหรือทำตาบอดได้ ส่วนมากเมื่อรับพิษประมาณ 1-4 อาทิตย์ อาจจะทำให้ตายได้ เพราะไตล้มเหลว อดอาหาร ขาดน้ำ ไม่ขับถ่าย ปัสสาวะไม่หยุด ปริมาณ Billirubin ในเลือดสูง เอนไซม์จากตับสูง และเมื่อชันสูตรซากสัตว์ที่ตายแล้วปรากฏว่า มีอาการตับบวม ดีซ่าน ถุงน้ำดีโต เพราะผนังบวม ไตเหลือง ฉ่ำน้ำ บวม ลำไส้ใหญ่ไม่เคลื่อนไหว[8] และพบว่าวัวที่กินเข้าไปพบว่ามีระดับ serum adenosine diaminase เพิ่มขึ้น ถ้าสัตว์ได้รับสาร serum adenosine diaminase จะมีอาการดีซ่าน (jaundice)[9]
  • ผู้ป่วยที่ได้รับพิษมักไม่แสดงอาการเป็นพิษทันที แต่อาการจะเกิดขึ้นเมื่อเวลาผ่านไปประมาณ 2-3 ชั่วโมง โดยมีอาการเป็นพิษที่เกิดขึ้น คือ มีอาการ ไม่มีเรี่ยวแรง ท้องเสีย กลัวแสง มึนงง อาเจียน อ่อนเพลีย ขาดออกซิเจน หายใจลึก หายใจช้า รูม่านตาขยาย หายใจลำบาก กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน มีอาการโคม่า การตอบสนองของกล้ามเนื้อ tendon ถูกกด หมดสติ อาจถึงตายได้[8]

การรักษาพิษ

  • รีบส่งโรงพยาบาลเพื่อล้างท้องให้เร็วที่สุด และควรล้างท้องภายใน 3 ชั่วโมงหลังทานเข้าไป ถ้านานกว่า 3 ชั่วโมงต้องให้ยา corticosteroids, adrenalin, ให้ออกซิเจน, รักษาตามอาการ[8]
  • การรักษาอาการเป็นพิษในสัตว์เลี้ยงที่สงสัยว่าได้รับหลังกินเข้าไปจะมีฤทธิ์ที่ทำให้กระเพาะอาหารของสัตว์หยุดเคลื่อนไหว เป็นสาเหตุทำให้สารพิษเหลือในกระเพาะและเกิดการดูดซึมต่อเนื่อง การแก้พิษโดยป้องกันไม่ให้พิษเกิดการดูดซึมเพิ่มขึ้น ให้ใช้ผงถ่าน (activated charcoal) ปริมาณสูงร่วมกับสารละลายอิเล็กโทรไลต์เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเคลื่อนไหวของกระเพาะ และทำให้ของเหลวกลับเข้าสู่ร่างกาย และให้รักษาอาการแพ้แสงแดดของผิวหนัง โดยจะมีรายงานการทดลองใช้เบนโทไนต์ (bentonite) เพื่อรักษาอาการพิษแทนใช้ผงถ่าน ปรากฏว่าสัตว์ทดลองมีอาการดีขึ้นช้ากว่ากลุ่มที่ให้ผงถ่าน 3 วัน แต่ราคาเบนโทไนต์ถูกกว่าผงถ่าน ทำให้ใช้เป็นอีกทางเลือกในการรักษาอาการเป็นพิษในสัตว์เลี้ยงวัว[8]
  • การรักษาอาการเป็นพิษในคน ถ้าทานเข้าไปไม่เกิน 30 นาที ให้ผู้ป่วยทานน้ำเชื่อม ipecac เพื่อช่วยให้อาเจียนเอาเศษชิ้นส่วนพืชออกมา (เด็กที่มีอายุ 1-12 ปีให้ทาน 1 ช้อนโต๊ะ ถ้าเป็นผู้ใหญ่ให้ทาน 2 ช้อนโต๊ะ) ถ้าไม่ได้ผลให้ล้างท้อง แต่ยกเว้นในเด็กที่ได้รับพิษมากกว่า 3 ชั่วโมง อาจทำการล้างท้องไม่ได้ผล ควรให้ยา adrenaline, corticosteroids ให้ออกซิเจน, รักษาตามอาการ[8]

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. “ผกากรอง”. (วิทยา บุญวรพัฒน์). หน้า 332.
2. สรรพคุณสมุนไพร 200 ชนิด, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “ผกากรอง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.rspg.or.th/plants_data/herbs/. [22 เม.ย. 2014].
3. มูลนิธิหมอชาวบ้าน. นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่ 295 คอลัมน์: ต้นไม้ใบหญ้า. “ผกากรอง : ความงามที่มากับความทนทานข้ามทวีป”. (เดชา ศิริภัทร). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.doctor.or.th. [22 เม.ย. 2014].
4. ทะเบียนพันธุ์ไม้ในโรงเรียน, โรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ. “ผกากรอง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.wattano.ac.th. [22 เม.ย. 2014].
5. หนังสือเพชรน้ำเอก กรุยอดตำรับยาสมุนไพร. “แขนงที่ 2 ประโยชน์และสรรพคุณของพืชสมุนไพรในการนำมาใช้รักษาโรค”. (พฤฒาจารย์วิพุธโยคะ รัตนรังษี).
6. รักบ้านเกิดดอทคอม. “ผกากรอง ไม้ดอกวัชพืช”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.rakbankerd.com. [22 เม.ย. 2014].
7. หนังสือไม้ดอกแสนสวย. (อรชร พงศ์ไสว).
8. ระบบวินิจฉัยและการรักษาอาการอันเนื่องจากพืชพิษในประเทศไทย, สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. “ผกากรอง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.medplant.mahidol.ac.th/tpex/. [22 เม.ย. 2014].
9. ฐานข้อมูลพืชพิษ, ศูนย์ข้อมูลสมุนไพร สถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. “ผกากรอง”. อ้างอิงใน: หนังสือตำราสมุนไพรใกล้ตัว เล่ม 6 ว่าด้วยสมุนไพรที่เป็นพิษ (สมพร ภ.หิรัญรามเดช), สารพิษในพืชและอาการพิษในสัตว์ทดลอง (วันทนา งามวัฒน์), สมุนไพรเพื่อการสาธารณสุขมูลฐาน (ข้อมูลสรุป) (โครงการสมุนไพรกับการสาธารณสุขมูลฐาน). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: webdb.dmsc.moph.go.th/poison/. [22 เม.ย. 2014].
10. https://medthai.com

ต้นเคี่ยม ช่วยรักษาอาการปากเปื่อย

0
เคี่ยม
ต้นเคี่ยม ช่วยรักษาอาการปากเปื่อย เป็นไม้ยืนต้น เปลือกด้านในมีสีน้ำตาลอ่อน ลำต้นมีชันใสก้อนสีเหลือง ดอกเป็นช่อสีขาว มีกลิ่นหอม ผลขนาดเล็กขนนุ่มคล้ายขนกำมะหยี่ ปลายปีกมนเรียวรูปหอก
เคี่ยม
เป็นไม้ยืนต้น เปลือกด้านในมีสีน้ำตาลอ่อน ลำต้นมีชันใสก้อนสีเหลือง ดอกเป็นช่อสีขาวกลิ่นหอม ผลเล็กขนนุ่มคล้ายขนกำมะหยี่ ปลายปีกมนเรียวรูปหอก

ต้นเคี่ยม

เคี่ยม พบในคาบสมุทรอินโดจีน คาบสมุทรมลายู ไปจนถึงเกาะบอร์เนียว ลำต้นตรง ประเทศไทยพบทั่วไปตามป่าดงดิบในภาคใต้ ชื่อสามัญ Resak tembaga ชื่อวิทยาศาสตร์ Cotylelobium lanceolatum Craib[1] วงศ์ยางนา(DIPTEROCARPACEAE) ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ เคี่ยมดำ เคี่ยมขาว เคี่ยมแดง (ภาคใต้), เคี่ยม (ทั่วไป) เป็นต้น[1],[2]

ลักษณะต้นเคี่ยม

  • ต้น เป็นไม้ยืนต้น ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง มีความสูงอยู่ที่ 20-40 เมตร เรือนยอดเป็นทรงพุ่มทึบคล้ายกับเจดีย์ต่ำๆ เปลือกต้นมีลักษณะเรียบเป็นสีน้ำตาล จะมีรอยด่างสีเหลืองกับสีเทาสลับกันอยู่
  • เปลือก ด้านในมีสีน้ำตาลอ่อน ทั่วลำต้นจะมีต่อมที่ใช้ระบายอากาศกระจายตัวอยู่ ตามลำต้นมีชันใส และจับตัวเป็นก้อนสีเหลืองในภายหลัง[2]
  • ใบ มีลักษณะเป็นรูปไข่ ปลายใบเรียวสอบ โคนใบมน ความกว้างของใบจะอยู่ที่ 2-5 เซนติเมตร และความยาวของใบจะอยู่ที่ 5-18 เซนติเมตร แผ่นใยมีลักษณะหนา หลังใบเรียบเป็นมัน มีขนสีน้ำตาลขึ้นเป็นกระจุกอยู่บริเวณส่วนท้องของใบ[1]
  • ดอก เป็นดอกช่อ ออกบริเวณตามยาวของปลายกิ่งและง่ามใบ ดอกเป็นสีขาว มีกลิ่นหอมอ่อนๆ[1]
  • ผล มีขนาดเล็ก ลักษณะเป็นรูปทรงกลม เส้นผ่านศูนย์กลางอยู่ที่ 0.7 เซนติเมตร มีขนนุ่มขึ้นปกคลุมลักษณะคล้ายกับขนกำมะหยี่ ผลจะมีปีกทั้งหมด 5 ปีก เป็นปีกยาว 2 ปีก และปีกสั้น 3 ปีก ปีกมีลักษณะเป็นรูปใบหอก ปลายปีกจะมนเรียวและสอบมาทางโคน มีเส้นตามแนวยาวอยู่ 5 เส้น จะเริ่มติดผลในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน[1],[2]

ประโยชน์เคี่ยม

1. สามารถนำเปลือกไม้มาใช้ในการรักษาน้ำตาลจากต้นตาลไม่ให้บูดเร็ว โดยนำเปลือกต้นมาตัดใส่ในกระบอกตาลเพื่อรองรับน้ำตาล ซึ่งรสฝาดของเปลือกไม้จะเป็นหัวใจหลักในการรักษาน้ำตาลไว้[2]
2. ถ่านที่ได้สามารถให้ความร้อนสูงไม่แพ้ถ่านหินเลย
3. ใช้เป็นตัวชี้วัดพื้นดินว่าเหมาะแก่การทำเกษตรและที่อยู่อาศัยหรือไม่ โดยใช้ข้อมูลในด้านนิเวศน์และทางด้านภูมิสถาปัตย์[1]
4. นำมาใช้สำหรับทาเรือได้ โดยนำเปลือกต้นมาทุบผสมกับชัน[1]
5. ด้วยความแข็งแรง ทนทาน และความละเอียดของเนื้อไม้ สามารถนำมาใช้ในงานก่อสร้างที่ต้องการความแข็งแรงมากๆ หรือจะเป็นการสร้างสิ่งปลูกสร้างที่ต้องตากแดดตากฝนเป็นประจำก็ได้ [1],[2]

สรรพคุณเคี่ยม

1. ชันที่ได้ สามารถนำมาทำเป็นยาสมานแผลได้[1],[2]
2. เปลือกต้น สามารถนำมาทำเป็นยาที่ใช้ในการห้ามเลือดจากแผลสดได้(เปลือกต้น)[1],[2]
3. มีสรรพคุณช่วยรักษาอาการปากเปื่อย (ยอด, ราก, ดอก, ลำต้น)[2]
4. สามารถนำมาตำพอกเพื่อบรรเทาอาการฟกบวม เน่าเปื่อยได้(ยอด, ราก, ดอก, ลำต้น)[2]
5. สามารถนำเปลือกต้นมาทำเป็นยาที่ใช้ในการชะล้างแผลได้(เปลือกต้น)[1]
6. ชัน มีคุณสมบัติในการรักษาอาการท้องร่วง[1],[2]

สั่งซื้อ อาหารเสริม สำหรับผู้ป่วย เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. “เคี่ยม”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.dnp.go.th. [18 ม.ค. 2014].
2. กลไกการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ความหลากหลายทางชีวภาพ จังหวัดสุราษฎร์ธานี สำนักความหลากหลายทางชีวภาพ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. “ต้นเคี่ยม”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: chm-thai.onep.go.th. [18 ม.ค. 2014].
3. สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “เคี่ยม”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.rspg.or.th. [18 ม.ค. 2014].
4. https://medthai.com/

อ้างอิงรูปจาก
1.https://www.earth.com/

ต้นคนทา สรรพคุณของรากบรรเทาอาการปวดเมื่อย

0
ต้นคนทา สรรพคุณของรากบรรเทาอาการปวดเมื่อย เป็นไม้พุ่มกึ่งไม้เถา ปลายใบแหลมโคนสอบขอบใบมีรอยหยัก ดอกเป็นช่อ ดอกย่อยด้านในสีขาวนวล ด้านนอกสีแดงแกมม่วง
คนทา
เป็นไม้พุ่มกึ่งไม้เถา ปลายใบแหลมโคนสอบขอบใบมีรอยหยัก ดอกเป็นช่อ ดอกย่อยด้านในสีขาวนวล ด้านนอกสีแดงแกมม่วง

คนทา

คนทา มีถิ่นกำเนิดตั้งแต่จีนตอนใต้ลงไปจนถึงประเทศมาเลเซีย ในประเทศไทยจะพบได้มากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ โดยมักจะพบในป่าเขาหินปูน ป่าผลัดใบ และป่าละเมาะ[1],[2],[7],[10] ชื่อวิทยาศาสตร์ Harrisonia perforata (Blanco) Merr.[2] จัดอยู่ในวงศ์ วงศ์ส้ม (RUTACEAE) ชื่ออื่น ๆ คนทา (ภาคกลางของไทย), หนามโกทา โกทา (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย), จี้ จี้หนาม สีเตาะ หนามจี้[1],[3] สีเดาะ[2] (ภาคตะวันตกเฉียงเหนือของไทย), มีซี[1],[3] มีชี[2] (ชาวกะเหรี่ยงในจังหวัดแม่ฮ่องสอน), หนามกะแท่ง (จังหวัดเลย), ขี้ตำตา (จังหวัดเชียงใหม่), สีฟัน กะลันทา สีฟันคนทา สีฟันคนตาย (อื่น ๆ) เป็นต้น[1],[2],[3],[11]

ลักษณะของคนทา

  • ต้น
    – เป็นไม้พุ่มกึ่งไม้เถาหรือไม้พุ่มประเภทเลื้อย
    – ลำต้นมีลักษณะคล้ายต้นหมาก เปลือกลำต้นมีสีน้ำตาล ทั่วทั้งลำต้นและกิ่งก้านจะมีหนามขนาดเล็กขึ้นปกคลุม
    -ความสูงของต้น ประมาณ 3-6 เมตร
    – การขยายพันธุ์ ใช้วิธีการเพาะเมล็ด
  • ใบ
    – ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ใน 1 ก้านใบ จะมีใบย่อยประมาณ 11-15 ใบ ใบย่อยมีเป็นรูปไข่รี บริเวณปลายใบแหลม ตรงโคนใบสอบ ส่วนขอบใบมีรอยหยัก โดยใบจะมีสีเขียว แต่ใบอ่อนจะมีสีแดง[1],[2]
    -สัดส่วนขนาดของใบ: ใบมีความกว้างประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร และมีความยาวประมาณ 2-2.5 เซนติเมตร
    -การผลัดใบของต้นคนทา: เป็นไม้ไม่ผลัดใบ
  • ดอก
    – ออกดอกเป็นช่อ ภายในช่อมีดอกย่อยขนาดเล็กอยู่กระจุกรวมตัวกันอยู่ ดอกย่อยมีกลีบดอกอยู่ประมาณ 4-5 กลีบเป็นรูปขอบขนาน จุดเด่นของช่อดอกต้นคนทาจะอยู่ที่ดอกย่อยด้านในจะเป็นสีขาวนวล ส่วนด้านนอกจะเป็นสีแดงแกมม่วง[2],[3]
  • ผล
    – ผลมีรูปร่างเป็นทรงกลมออกเบี้ยว ผลตอนอ่อนจะเป็นสีเขียวอ่อน ส่วนผลเมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนสีเป็นสีแดงเข้มอมเขียว ผิวผลเรียบ ภายในผลมีเนื้อที่ค่อนข้างแข็ง
  • เมล็ด
    – เมล็ดมีขนาดเล็กเป็นสีน้ำตาล ภายในผลจะมีเมล็ดอยู่ 1 เมล็ด

สรรพคุณของต้นคนทา

1. ทั้งต้นมีสรรพคุณเป็นยารักษาอาการท้องเสีย (ทั้งต้น)[11]
2. ทั้งต้นมีฤทธิ์ในการช่วยบรรเทาอาการกระหายน้ำได้ (ทั้งต้น)[2]
3. เปลือกต้น ลำต้น ราก หรือเปลือกราก อย่างใดอย่างหนึ่ง สามารถนำมาต้มเป็นยาแก้ไข้ได้ทุกชนิด (เปลือกต้น, ต้น, ราก, เปลือกราก)[1],[2],[3],[4],[7],[8]
4. เปลือกต้น ราก หรือเปลือกราก อย่างใดอย่างหนึ่ง สามารถนำมาต้มใช้สำหรับทานเป็นยารักษาโรคที่เกี่ยวกับทางเดินลำไส้ได้ (เปลือกต้น, ราก, เปลือกราก)[1],[2],[3],[5],[7],[8]
5. เปลือกต้น ลำต้น ราก หรือเปลือกราก อย่างใดอย่างหนึ่ง สามารถนำมาต้มใช้สำหรับทานเป็นยารักษาอาการท้องร่วงและโรคบิดได้ (เปลือกต้น, ลำต้น, ราก, เปลือกราก)[1],[2],[3],[5],[7]
6. ต้นและรากมีสรรพคุณในการรักษาอาการร้อนในและบรรเทาอาการกระหายน้ำ (ต้น, ราก)[5],[8]
7. ต้นมีสรรพคุณเป็นยาฟอกโลหิต (ต้น)[5]
8. เปลือกต้นมีสรรพคุณในการบรรเทาอาการปวดฟันได้ (เปลือกต้น)[6]
9. เปลือกรากมีสรรพคุณในการป้องกันโรคอหิวาตกโรค (เปลือกราก)[5]
10. ใบมีสรรพคุณในการรักษาอาการปวดได้ คล้ายยาแก้ปวดอย่าง ยาพาราเซตามอล เป็นต้น (ใบ)[5],[8]
11. ดอกมีฤทธิ์ในการแก้พิษจากแมลงกัดต่อย(ดอก)[5],[8]
12. รากมีฤทธิ์ในการขับโลหิต (ราก)[5]
13. รากมีสรรพคุณในการบรรเทาอาการปวดเมื่อย (ราก)[5]
14. รากมีสรรพคุณในการช่วยบรรเทาอาการบวม หรือบวมพองได้ (ราก)[5]
15. รากมีฤทธิ์ในการช่วยขับลม (ราก)[5]
16. รากมีสรรพคุณในการรักษาอาการน้ำเหลืองเสีย (ราก)[5]
17. รากมีส่วนช่วยในการสมานแผล (ราก)[5]
18. รากของต้นคนทาเป็นหนึ่งในส่วนประกอบสำคัญของสูตรยา “ยาห้าราก” หรือที่เรียกกันว่าตำรับยา “เบญจโลกวิเชียร” ยามีสรรพคุณลดไข้และบรรเทาอาการปวด (คล้ายยาพาราเซตามอล) และเป็นตำรับยาที่ไม่ส่งผลเสียต่อตับหรือมีผลข้างเคียงหลังการใช้ในระยะยาว โดยถือเป็นตำรับยาแผนโบราณที่ได้ถูกบันทึกไว้ในบัญชียาหลักแห่งชาติอีกด้วย (ราก)[9]

ประโยชน์ของต้นคนทา

1. ต้นคนทามีประโยชน์ในการใช้ทำเป็นยาสมุนไพร[1]
2. ผลคนทานำมาใช้ย้อมสีผ้าได้ โดยจะให้สีเทาม่วง[10]
3. เนื้อไม้ของต้นคนทามักนำมาทำเป็นคานหาบน้ำ[6]
4. เปลือกต้นนำมาใช้ทำเป็นยารักษาอาการเจ็บตาในสัตว์จำพวกม้า (เปลือกต้น)[5]
5. กิ่งก้านของต้นคนทานำมาใช้ทำเป็นแปรงสีฟันเพื่อนำไปถวายให้พระสงฆ์ในช่วงที่มีการถวายพุ่มเทียนพรรษา และพระสงฆ์สายธรรมยุตที่จำศีลอยู่วัดป่าของทางภาคอีสาน (กิ่งก้าน)[2],[11]
6. ชาวเมืองจะใช้ผลอ่อนนำไปเผา จากนั้นทุบให้หยาบใช้สำหรับทาบริเวณเท้าก่อนที่เริ่มการทำนา มีประโยชน์ในการช่วยป้องกันน้ำกัดเท้า (คนเมือง)[6]
7. ชาวเมืองจะนำเนื้อไม้ของต้นคนทามาทำเป็นฟืนในพิธีกวนข้าวทิพย์ (คนเมือง)[6]

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

1. จากการวิจัยพบว่าต้นคนทามีสารที่มีฤทธิ์ในการยับยั้งเอนไซม์ reverse transriptase ได้[5]
2. จากการวิจัยในสัตว์ ผลพบว่าสารสกัดจากรากและกิ่งของต้นคนทานั้น มีฤทธิ์ในการต่อต้านสารที่มีชื่อว่าฮิสตามีน[4],[5]
3. จากการวิจัยพบว่าสารสกัดจากใบและกิ่งของคนทามีฤทธิ์ ที่สามารถต่อต้านเชื้อมาลาเรียได้[4],[5],[7]
4. จากการวิจัยพบว่าต้นคนทามีสารสำคัญอันได้แก่ Heteropeucenin, 5 –methoxy: 7-methylether; Heteropeucenin-7-methyl ether; obacunone; perforatic acid; perforatin A; perforatin B; ?-sitosteral[5]

สั่งซื้อ เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค อาหารเสริม สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. “คนทา”. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). หน้า 158.
2. หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. “คนทา (Khontha)”. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). หน้า 72.
3. หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคกลาง. “คนทา”. (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ, ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, กัญจนา ดีวิเศษ). หน้า 83.
4. หนังสือสมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ. “คนทา”. (คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). หน้า 117.
5. สมุนไพรในร้านยาโบราณ, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. “คนทา”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.pharmacy.msu.ac.th. [13 ก.พ. 2014].
6. โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง, สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์การมหาชน). “กะลันทา, สีฟัน, ไม้หนาม, คนทา, สีฟันคนทา”. อ้างอิงใน: หนังสือชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: eherb.hrdi.or.th. [13 ก.พ. 2014].
7. หนังสือพรรณไม้สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เล่ม 3
8. ศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพร, กรมวิชาการเกษตร. “คนทา”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.doa.go.th/hrc/chumphon/. [13 ก.พ. 2014].
9. GotoKnow. “ยาห้าราก ( แก้วห้าดวง เบญจโลกะวิเชียร ) ยาเย็น แก้ไข้ร้อน ในเด็ก ผู้ใหญ่”. (นพ.วีรพัฒน์ เงาธรรมทรรศน์). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.gotoknow.org. [13 ก.พ. 2014].
10. พันธุ์ไม้ย้อมสีธรรมชาติ กรมหม่อนไหม. “คนทา”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: qsds.go.th. [13 ก.พ. 2014].
11. มูลนิธิสุขภาพไทย. “หนามโกทา รักษาฟัน”., “Herbal tooth brush รักษาฟัน และฝึกสติ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.thaihof.org. [13 ม.ค. 2014].
12. https://medthai.com/

อ้างอิงรูปจาก
1.https://www.flickr.com/
2.https://www.flickr.com/

ต้นขันทองพยาบาท สรรพคุณของรากใช้รักษาน้ำเหลืองเสีย

0
ขันทองพยาบาท
ต้นขันทองพยาบาท สรรพคุณของรากใช้รักษาน้ำเหลืองเสีย เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ปลายและโคนใบแหลม ขอบใบหยัก ดอกเป็นช่อสั้นสีเขียว ผลมีขนาดเล็กสีเขียว ผลสุกสีเหลืองอมส้ม
ขันทองพยาบาท
เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ปลายและโคนใบแหลม ขอบใบหยัก ดอกเป็นช่อสั้นสีเขียว ผลมีขนาดเล็กสีเขียว ผลสุกสีเหลืองอมส้ม

ขันทองพยาบาท

ขันทองพยาบาท มีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะพบได้มากในประเทศไทย อินเดีย พม่า และในพื้นที่เขตอินโดจีน หรือคาบสมุทรมลายู[8] ชื่อวิทยาศาสตร์ Suregada multiflora (A.Juss.) Baill. ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Gelonium multiflorum A.Juss.[1] จัดอยู่ในวงศ์ วงศ์ยางพารา (EUPHORBIACEAE)[1],[5] ชื่ออื่น ๆ หมากดูด (ประเทศไทย), มะดูกเหลื่อม[2] (ภาคเหนือของไทย), ขันทองพยาบาท มะดูก หมากดูก (ภาคกลางของไทย), กะดูก[1] กระดูก[2] (ภาคใต้ของไทย), มะดูกเลื่อม[1] (ภาคตะวันตกเฉียงเหนือของไทย), มะดูกดง (จังหวัดปราจีนบุรี), ขนุนดง[1] ขุนดง[2] (จังหวัดเพชรบูรณ์), ยางปลวก[2] ยางปลอก[1] ยายปลวก[5] ฮ่อสะพานควาย (จังหวัดแพร่และน่าน), ดูดหิน (จังหวัดสระบุรี), ดูกใส ดูกไทร ดูกไม้ เหมือนโลด (เลย), ดูกไหล (จังหวัดนครราชสีมา), ทุเรียนป่า ไฟ (จังหวัดลำปาง), ขุนตาก[1] ข้าวตาก[2] (จังหวัดกาญจนบุรี), ขอบนางนั่ง (จังหวัดตรัง), ขันทองพยาบาทเครือ ขัณฑสกร ช้องลำพัน สลอดน้ำ (จังหวัดจันทบุรี), ข้าวตาก ขุนทอง คุณทอง (จังหวัดประจวบคีรีขันธ์), ขันทอง (จังหวัดพิษณุโลก), ดีหมี (จังหวัดพิษณุโลกและอุตรดิตถ์), เจิง[1] โจ่ง[3] (จังหวัดสุรินทร์) เป็นต้น[1],[2],[4],[9]

ลักษณะของขันทองพยาบาท

  • ต้น
    – เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง
    – ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง เปลือกต้นมีสีน้ำตาลและมีรอยแตกเป็นร่องทั่วลำต้น โดยลำต้นจะแตกกิ่งก้านออกเป็นทรงพุ่มกลม และที่บริเวณกิ่งก้านจะมีขนรูปดาวขึ้นปกคลุม[1],[2],[5],[8]
    – ความสูงของต้น ประมาณ 7-13 เมตร
    – การขยายพันธุ์ด้วยการใช้วิธีการเพาะเมล็ด
  • ใบ 
    – เป็นใบเดี่ยว ใบมีรูปร่างเป็นใบหอกแกมขอบขนาน ปลายใบและโคนใบแหลม ตรงขอบใบหยักเป็นซี่ฟัน ใบเรียบและมีความเป็นมันแต่ตรงบริเวณด้านล่างใบจะมีขนเป็นรูปดาว และตรงท้องใบจะมีสีอ่อนกว่าบริเวณอื่น
    – ใบมีหูใบมีขนาดเล็กแบ่งเป็นคู่ ๆ เชื่อมต่อกัน ซึ่งใบเมื่อหลุดร่วงไปจะทิ้งแผลใบเป็นวงเอาไว้บนลำกิ่ง[1],[2],[5]
    – สัดส่วนขนาดของใบ ใบมีความกว้างประมาณ 3-8 เซนติเมตร มีความยาวประมาณ 9-22 เซนติเมตร และก้านใบที่มีความยาวประมาณ 2-5 มิลลิเมตร
    – เป็นไม้ไม่ผลัดใบ
  • ดอก
    – ออกดอกในช่วงเดือนมีนาคมไปจนถึงเดือนพฤษภาคม ดอกจะมีลักษณะเป็นช่อสั้น ๆ ขึ้นบริเวณซอกใบ โดยภายในแต่ละช่อดอกจะมีดอกย่อย 5-10 ดอก กลีบของดอกย่อยมีรูปร่างเป็นหอกปลายแหลม กลีบมีสีเขียวอมเหลือง ดอกมีกลีบรองดอกอยู่ 5 กลีบ ดอกเป็นดอกแบบแยกเพศ โดยดอกเพศผู้มีเกสรเพศผู้อยู่ประมาณ 35-60 ก้าน ส่วนดอกเพศเมียมีเกสรเพศเมียอยู่ประมาณ 2-3 ก้านและมีรังไข่อยู่ 3 ช่องอยู่เหนือวงกลีบ[5]
  • ผล 
    – ออกผลในช่วงเดือนเมษายนไปจนถึงเดือนมิถุนายน ผลมีขนาดเล็กเป็นรูปทรงเกือบกลม ผลมีพู 3 พู และตรงยอดผลจะมีติ่งเล็ก ๆ ติดอยู่ ผลอ่อนมีสีเขียว แต่เมื่อผลสุกแล้วจะมีสีเหลืองอมส้ม
  • เมล็ด 
    – เมล็ด มีขนาดเล็ก รูปร่างค่อนข้างกลม มีสีน้ำตาลเข้ม ภายนอกมีเยื่อบาง ๆ สีขาวห่อหุ้มอยู่ โดยภายในผลจะมีเมล็ดอยู่ 2-3 เมล็ด[5]

สรรพคุณของขันทองพยาบาท

1. เนื้อไม้ เปลือกต้น และราก มีสรรพคุณเป็นยารักษาประดง (โรคผิวหนังชนิดหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการคัน) (เนื้อไม้[1],[2],[3],[5], เปลือกต้น[2],[5], ราก[5])
2. เนื้อไม้ เปลือกต้น และราก ใช้ทานรักษาอาการพิษในกระดูกกำเริบ (เนื้อไม้[1],[2],[3],[5], เปลือกต้น[2],[5], ราก[5])
3. เนื้อไม้และเปลือกต้น นำมาใช้ทานเป็นยาฆ่าพยาธิ (เนื้อไม้[1],[3],[5], เปลือกต้น[4],[5])
4. เนื้อไม้และเปลือกต้น นำมาใช้ทานเป็นยารักษากามโรค (เนื้อไม้[1],[2],[3],[4],[5], เปลือกต้น[2])
5. เนื้อไม้และเปลือกต้นมีสรรพคุณในการรักษาโรคลมพิษ (เนื้อไม้, เปลือกต้น)[1],[2],[3],[4],[5]
6. เนื้อไม้และเปลือกต้นมีฤทธิ์เป็นยารักษาโรคผิวหนังได้ทุกชนิด (เนื้อไม้, เปลือกต้น)[1],[2],[3],[5],[8]
7. เปลือกต้นและเนื้อไม้ มีสรรพคุณในการขับลมและรักษาอาการโลหิตเป็นพิษ (เปลือกต้น, เนื้อไม้)[5]
8. เปลือกต้นมีสรรพคุณเป็นยารักษาอาการปวดไขข้อ (เปลือกต้น)[9]
9. เปลือกต้นมีสรรพคุณในการช่วยขับน้ำเหลืองเสีย (เปลือกต้น)[5]
10. เปลือกต้นใช้บำรุงเหงือกและฟัน หรือนำมาใช้รักษาอาการที่เกี่ยวกับเหงือกและฟันก็ได้เช่นกัน[1],[2],[3],[5]
11. เปลือกต้นมีสรรพคุณช่วยรักษาปอดพิการ (เปลือกต้น)[5]
12. เปลือกต้นมีสรรพคุณในการรักษาโรคตับพิการ (เปลือกต้น)[1],[2],[3],[5]
13. เปลือกต้นใช้รับประทานเป็นยาถ่าย หรือยาระบายได้ (เปลือกต้น)[1],[2],[3],[5]
14. เนื้อไม้และราก มีสรรพคุณรักษาน้ำเหลืองเสีย (เนื้อไม้, ราก)[5]
15. เนื้อไม้ มีสรรพคุณเป็นยารักษาไข้[4],[5]
16. ราก เป็นหนึ่งในส่วนประกอบหลักของตำรับยา “พิกัดเนาวโลหะ” ซึ่งเป็นตำรับยาที่มีสรรพคุณในการดับพิษทั้งปวง ขับระดูมาไม่ปกติ ฆ่าพยาธิ ขับเสมหะ ชำระลำไส้ และรักษาโรคตับ[10]
17. รากนำมาต้มใช้สำหรับดื่มเป็นยารักษาไข้[8]
18. รากช่วยขับลม[5]

ประโยชน์ของขันทองพยาบาท

1. ต้นมักจะปลูกไว้สำหรับประดับสวน เนื่องจากทรงพุ่มที่มีความโดดเด่นและดอกที่มีความสวยงาม[6]
2. เนื้อไม้นำมาใช้ทำเป็นยาเบื่อ[5]
3. เนื้อไม้นำมาทำเป็นเครื่องมือหรือเครื่องจักสาน[9]

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

จากการวิจัยพบว่า เปลือกต้นเมื่อนำมาสกัดจะพบสารไดเทอร์ปีน 7 ชนิด คือ abbeokutone, ent-3-oxo-16-kaurene-15β,18-diol, ent-16-kaurene-3β, 15β-diol, ent-kaurene-3β,15β,18-diol, helioscopinolide A, helioscopinolide C และ helioscopinolide I โดยได้นำสารแต่ละชนิดมาทดสอบฤทธิ์ในการต่อต้านอาการแพ้ พบว่าสารทั้ง 7 ชนิด มีฤทธิ์ในการยับยั้งการปล่อยเอนไซม์ที่มีชื่อว่า β-Hexosaminidase แต่สารดังกล่าวไม่ได้มีผลในการยับยั้งฤทธิ์ของเอนไซม์โดยตรง[11]

สั่งซื้อ อาหารเสริม สำหรับผู้ป่วย เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. “ขันทองพยาบาท”. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). หน้า 101-102.
2. หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. “ขันทองพยาบาท (Khan Thong Phayabat)”. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). หน้า 61.
3. หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคกลาง. “ขันทองพยาบาท”. (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ, ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, กัญจนา ดีวิเศษ). หน้า 77.
4. หนังสือสมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ. “ขันทองพยาบาท”. (คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). หน้า 196.
5. ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “ขันทองพยาบาท”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.phargarden.com. [12 ก.พ. 2014].
6. ฐานข้อมูลพรรณไม้ที่ใช้ในงานภูมิสถาปัตยกรรม ศูนย์ความรู้ด้านการเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. “ขันทองพยาบาท”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: agkc.lib.ku.ac.th. [12 ก.พ. 2014].
7. ฐานข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพในโรงเรียน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. “ดูกใส ขันทองพยาบาท”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: copper.msu.ac.th/plant/. [12 ก.พ. 2014].
8. ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. “ขันทองพยาบาท”. อ้างอิงใน: หนังสือพืชสมุนไพร เล่ม 2 และ 3, หนังสือไม้ต้นในสวน Tree in the Garden. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.qsbg.org. [12 ก.พ. 2014].
9. ระบบจัดการฐานความรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ, สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้ กรมป่าไม้. “ขันทองพยาบาท”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: biodiversity.forest.go.th. [12 ก.พ. 2014].
10. ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “กวาวเครือแดง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.thaicrudedrug.com. [12 ก.พ. 2014].
11. หน่วยบริการฐานข้อมูลสมุนไพร, สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. “ฤทธิ์แก้แพ้ของสารสกัดที่ได้จากเปลือกของต้นขันทองพยาบาท”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.medplant.mahidol.ac.th. [12 ก.พ. 2014].
12. https://medthai.com/
อ้างอิงรูปจาก
1.https://www.monaconatureencyclopedia.com/
2.https://commons.wikimedia.org/

ต้นขอบชะนาง สรรพคุณรักษาโรคกลากและเกลื้อน

0
ขอบชะนาง
ต้นขอบชะนาง สรรพคุณรักษาโรคกลากและเกลื้อน ไม้ล้มลุกจำพวกหญ้า เส้นใบที่มองเห็นได้ชัดเจน และขนที่ขึ้นปกคลุมประปรายที่ผิวใบ ดอกมี2สีตามชนิดของสายพันธุ์ ผลมีขนาดเล็กเป็นสีน้ำตาล
ขอบชะนาง
เป็นไม้ล้มลุกจำพวกหญ้า เส้นใบที่มองเห็นได้ชัดเจน และขนที่ขึ้นปกคลุมประปรายที่ผิวใบ ดอกมี2สีตามชนิดของสายพันธุ์ ผลมีขนาดเล็กเป็นสีน้ำตาล

ขอบชะนาง

ต้นขอบชะนาง มี 2 ชนิด คือ ขอบชะนางแดงและขอบชะนางขาว โดยทั้งคู่จะมีความแตกต่างกันตรงที่สีของใบ และดอกตามชื่อที่ตั้ง ส่วนลักษณะอื่น ๆ ก็จะแตกต่างกันไม่มากนัก มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย[5] ชื่ออื่น ๆ หนอนตายอยากแดง หนอนขาว หนอนตายอยากขาว หนอนแดง (ภาคกลางของไทย), ตาสียาเก้อ ตอสีเพาะเกล (ชาวกะเหรี่ยงในจังหวัดแม่ฮ่องสอน), หญ้ามูกมาย (จังหวัดสระบุรี), หญ้าหนอนตาย (ภาคเหนือของไทย) เป็นต้น[1],[2] ชื่อวิทยาศาสตร์ Gonostegia pentandra (Roxb.) Miq. ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์  Pouzolzia pentandra (Roxb.) Benn. จัดอยู่ในวงศ์ วงศ์กะลังตังช้าง (URTICACEAEหรือ CECROPIACEAE)[1],[2]

ลักษณะของขอบชะนาง

  • ต้น
    – จัดเป็นไม้ล้มลุกจำพวกหญ้า
    – ลำต้นมีขนาดเล็กเท่าก้านไม้ขีดไฟ
    – มักเลื้อยไปตามซอกหินหรืออิฐเก่า ๆ และชูยอดขึ้นเพื่อแตกใบ
    – ความสูงของต้น ประมาณ 2-3 ฟุต[5]
    – การขยายพันธุ์ วิธีการใช้เมล็ด[1]
  • ใบ
    – เส้นใบที่มองเห็นได้ชัดเจน และขนที่ขึ้นปกคลุมประปรายที่ผิวใบ[1],[2]
    – ใบของขอบชะนางแดง ใบมีรูปร่างเป็นรูปใบหอก มีสีม่วงอมแดงเห็นเด่นชัด ใบมีขนาดความกว้างประมาณ 1.5-2.5 เซนติเมตรและมีความยาวประมาณ 5-8 เซนติเมตร
    – ใบขอบชะนางขาว ใบมีรูปร่างคล้ายรูปไข่ มีสีเขียวอ่อน ใบมีขนาดความกว้างประมาณ 1-1.5 เซนติเมตรและมีความยาวประมาณ 2-3 เซนติเมตร
  • ดอก
    – ดอกเป็นช่อขนาดเล็กที่บริเวณซอกใบ ดอกเป็นดอกแบบแยกเพศอาศัยอยู่บนต้นเดียวกัน
    – ดอกของต้นขอบชะนางแดง จะมีสีแดง
    – ดอกของขอบชะนางขาว จะมีสีเขียวอมเหลือง[1],[2]
  • ผล
    – ออกผลเป็นกระจุกที่บริเวณซอกใบ ผลมีขนาดเล็กเป็นสีน้ำตาล มีลักษณะเป็นผลแห้งแบบไม่แตก และเมื่อผลแห้งมาก ๆ ก็จะร่วงหล่นลงมาตามพื้นดิน หรือบางผลก็ปลิวไปตามสายลม
  • เมล็ด 
    – เมล็ด มีขนาดเล็กเป็นทรงกลมแกมรี โดยภายในผลจะมีเมล็ดอยู่ประมาณ 2 เมล็ด[5]

สรรพคุณของขอบชะนาง

1. ข้อมูลจากศูนย์สมุนไพรทักษิณ ระบุเอาไว้ว่า ทั้ง 2 ชนิด มีสารที่มีฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อมะเร็งได้ (ทั้งต้น)[4]
2. ทั้งต้นมีสรรพคุณในการขับพยาธิในเด็ก (ทั้งต้น)[1]
3. ทั้งต้นนำมาทานเป็นยารักษาโรคหนองใน (ทั้งต้น)[1],[5]
4. ทั้งต้นมีสรรพคุณเป็นยาขับปัสสาวะ (ทั้งต้น)[1],[2]
5. ทั้งต้นมีสรรพคุณในการช่วยรักษาน้ำเหลืองเสีย (ทั้งต้น)[5]
6. ทั้งต้นนำมาปรุงเป็นยาขับระดูของสตรี (ทั้งต้น)[1]
7. ทั้งต้นมีสรรพคุณในการช่วยแก้พิษต่าง ๆ ได้ (ทั้งต้น)[4]
8. เปลือกต้นที่ต้มแล้วนำมาคลุกกับเกลือเล็กน้อย ใช้สำหรับอมรักษาโรครำมะนาด (เปลือกต้น)[1]
9. เปลือกต้นนำมาใช้ทำเป็นยาดับพิษในกระดูก (เปลือกต้น)[1]
10. เปลือกต้นมีฤทธิ์เป็นยารักษาพยาธิผิวหนัง (เปลือกต้น)[1]
11. เปลือกต้นมีสรรพคุณในการรักษาโรคริดสีดวง โดยให้นำเปลือกต้นไปหุงกับน้ำมัน พอหุงเสร็จก็นำไปทาบริเวณที่เป็นริดสีดวง (เปลือกต้น)[1]
12. ยอดอ่อนนำมาผ่านกระบวนการกลั่นด้วยไอน้ำ ใช้สำหรับรักษาอาการปวดหู (ยอดอ่อน)[1]
13. ผลแห้งนำมาบดให้ละเอียดใช้สำหรับอุดตรงฟันที่มีอาการปวด[1]
14. ผลที่แห้งแล้ว นำมาทานเป็นยาแก้อาการเบื่ออาหารได้[1]
15. ผลที่แห้งแล้ว นำมาทานแก้อาการอาเจียน[1]
16. ผลนำมาทำเป็นยาเม็ดใช้ทานคู่กับน้ำขิงครั้งละ 30 เม็ด โดยมีสรรพคุณในการช่วยรักษาอาการปวดท้อง[1]
17. เหง้าอ่อนมีสรรพคุณในการขับลมและบรรเทาอาการปวดท้อง (เหง้าอ่อน)[1]
18. เหง้าสดนำมาตำผสมกับน้ำมะขามและเกลือ จากนั้นนำไปผสมกับน้ำใช้สำหรับดื่มเป็นยาระบาย (เหง้าสด)[1]
19. ใบมีสรรพคุณเป็นยาขับพยาธิ (ใบ)[5]
20. ใบมีสรรพคุณเป็นยารักษาโรคกลากและเกลื้อน โดยใช้เป็นยาภายนอก (ใบ)[1]
21. ใบนำมาพอกรักษาฝีและบรรเทาอาการปวดอักเสบของฝีได้ (ใบ)[2]
22. ใบมีสรรพคุณในการรักษาอาการขาวคล้ำในกล้ามเนื้อส่วนล่างของร่างกาย (ใบ)[4]
23. ใบมีสรรพคุณเป็นยารักษาอาการปวดตามข้อ (ใบ)[1]
24. น้ำจากใบมีสรรพคุณในการช่วยขับน้ำนมของสตรี (ใบ)[3]
25. ใบนำมาต้มกับน้ำ ใช้สำหรับทำเป็นน้ำอาบให้กับสตรีหลังคลอดบุตร (ใบ)[1]

ประโยชน์ของขอบชะนาง

1. ต้นสด ดอก และใบ มักนำมาใช้ทำเป็นยาฆ่าแมลง หรือฆ่าหนอนในพืชผักภายในสวน (ต้นสด)[1],[2]
2. ต้น ช่วยรักษาแผลของสัตว์จำพวกโคและกระบือได้ (ต้นสด)[1],[2]
3. รากนำมาตำให้แหลกจากนั้นนำไปแช่กับน้ำสักระยะหนึ่ง แล้วนำมาสระผมจะช่วยฆ่าเหาได้[5]

4. ต้นสด ดอก และใบ ชาวบ้านมักนำส่วนดังกล่าวนี้อย่างใดอย่างหนึ่งมาหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ โรยไว้บนปากไหที่ใส่ปลาร้าเพื่อฆ่าหนอน (ต้นสด)[1],[5]

สั่งซื้อ อาหารเสริม สำหรับผู้ป่วย เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

1. จากการวิจัยพบว่าเหง้าของต้น มีสารที่มีฤทธิ์ขับเสมหะ ขับลมและบรรเทาอาการบีบตัวของลำไส้ที่ผิดปกติได้
2. พบว่าสารที่สกัดมาจากต้น มีฤทธิ์ในการฆ่าแมลงวันได้[1]
3. ภายในเมล็ดของต้น พบว่ามีสารที่มีชื่อว่า l’-acetoxychavicol acetate และสาร l’-acetoxyeugenol acetate อยู่ โดยสารเหล่านี้เป็นสารที่มีฤทธิ์ในการรักษาแผลเรื้อรังที่เกิดภายขึ้นในกระเพาะอาหารและลำไส้[1]
เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5.  “ขอบชะนาง”.  (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม).  หน้า 95-97.
2. หนังสือสมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ.  “ขอบชะนาง”.  (คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล).  หน้า 171.
3. ไทยเกษตรศาสตร์.  “ประโยชน์ของชอบชะนาง”.  อ้างอิงใน: ศาสตราจารย์ ดร.พเยาว์ เหมือนวงษ์ญาติ.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.thaikasetsart.com.  [11 ก.พ. 2014].
4. ศูนย์สมุนไพรทักษิณ, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.  “รายชื่อสมุนไพรแบ่งตาม สรรพคุณเภสัช”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: herbal.pharmacy.psu.ac.th.  [11 ก.พ. 2014].
5. ฐานข้อมูลพันธุ์ไม้, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.  “หญ้าหนอนตายหยาก”.  อ้างอิงใน: หนังสือสมุนไพร..ไม้พื้นบ้าน (นันทวัน บุญยะประภัศร).  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก:  www.sbg.uru.ac.th/page/database.php.  [11 ก.พ. 2014].
6. https://medthai.com
อ้างอิงรูปจาก
1. https://guatemala.inaturalist.org/taxa/569164-Gonostegia
2. https://efloraofindia.com/2011/03/03/gonostegia-hirta/

ต้นกรรณิการ์ สรรพคุณรักษาอาการอ่อนเพลีย

0
กรรณิการ์
ต้นกรรณิการ์ สรรพคุณรักษาอาการอ่อนเพลีย เป็นไม้พุ่มกึ่งไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ดอกเป็นช่อบานในช่วงเย็น ดอกย่อยสีขาวและมีกลิ่นหอม ผลอ่อนเป็นสีเขียว
กรรณิการ์
เป็นไม้พุ่มกึ่งไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ดอกเป็นช่อบานในช่วงเย็น ดอกย่อยสีขาวและมีกลิ่นหอม ผลอ่อนเป็นสีเขียว

กรรณิการ์

กรรณิการ์ มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมในตอนกลางของประเทศอินเดีย มีการนำเข้ามาในไทยในช่วงปลายสมัยกรุงศรีอยุธยาหรือในสมัยตอนต้นของกรุงรัตนโกสินทร์ มีการสันนิษฐานว่าชื่อมาจากคำว่า “กรรณิกา” มีความหมายว่า ช่อฟ้า กลีบบัว ดอกไม้ ตุ้มหู และเครื่องประดับหู ซึ่งจากรูปทรงของดอกจะเห็นมีหลอดที่ใช้สอดในรูที่เจาะใส่ต่างหูได้ มีเขตการกระจายพันธุ์ในอินเดีย สุมาตรา ชวา และในประเทศไทย ชื่อสามัญ Night blooming jasmine, Night jasmine, Coral jasmine[1],[2],[3],[4],[8] ชื่อวิทยาศาสตร์ Nyctanthes arbor-tristis Linn.[1],[2],[3],[4],[8] จัดอยู่ในวงศ์มะลิ (OLEACEAE)[1],[2],[3],[4],[8] (หมายเหตุ : P.S.Green ระบุว่าสกุล Nyctanthes มีความใกล้ชิดกับวงศ์ VERBENACEAE มากกว่าวงศ์ OLEACEAE แต่ข้อมูลในด้านวิวัฒนาการในปัจจุบันจัดให้สกุล NYCTANTHES อยู่ภายใต้วงศ์ OLEACEAE และอยู่ในวงศ์ย่อย MYXOPYREAE[8]) ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ คือ กณิการ์ กันลิกา กรรณิกา (ภาคกลาง), สะบันงา (น่าน), ปาริชาติ (ทั่วไป)[1],[2],[5],[7],[8],[9] ซึ่งในไทยจะพบได้ทั้ง 2 ชนิด[8]
1. กรรณิการ์ที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Nyctanthes arbor–tristis L. นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ
2. กรรณิการ์ที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Nyctanthes aculeata Craib ในปัจจุบันได้สูญพันธุ์ไปจากประเทศไทยแล้ว

ลักษณะของกรรณิการ์

  • ต้น[1],[2],[5],[6],[7]
    – เป็นไม้พุ่มกึ่งไม้ยืนต้นขนาดเล็กไม่ผลัดใบ
    – มีเรือนยอดเป็นรูปทรงพีระมิดแคบ
    – ต้น มีความสูงประมาณ 3-5 เมตร
    – เปลือกของลำต้น มีความขรุขระและเป็นสีน้ำตาล
    – กิ่งอ่อน มีรูปร่างเป็นสี่เหลี่ยม และมีขนแข็งสากมือ
    – สามารถขยายพันธุ์ได้โดยการเพาะเมล็ด การตอนกิ่ง หรือการปักชำกิ่ง
    – เติบโตได้ดีในดินร่วนที่ระบายน้ำได้ดี
    – มีความชื้นปานกลาง
    – ชอบแสงแดดแบบเต็มวันและครึ่งวัน
    – หากปลูกในที่แห้งแล้งจะออกดอกน้อย
    – จะออกดอกในช่วงประมาณเดือนสิงหาคมถึงเดือนพฤศจิกายน
    – สามารถออกดอกได้ตลอดปีหากมีฝน
  • ใบ[1],[4]
    – ใบ เป็นใบเดี่ยว
    – ออกใบตรงข้ามกัน
    – ใบ มีรูปร่างเป็นรูปไข่
    – ใบ มีความกว้างประมาณ 2.5-5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 5-10 เซนติเมตร
    – ปลายใบ ค่อนข้างแหลม
    – โคนใบ จะมน
    – ขอบใบ มีความเรียบหรือบางใบอาจจะจะหยักแบบห่าง ๆ กัน
    – ตามขอบใบ จะมีขนแข็ง ๆ
    – หลังใบ มีขนแข็ง ค่อนข้างสากมือ
    – ท้องใบ มีขนแข็งสั้น ๆ
    – มีเส้นแขนงของใบข้างละ 3-4 เส้น
    – ปลายเส้นจรดกันก่อนถึงขอบใบ
    – ก้านใบ มีความยาว 0.5-1 เซนติเมตร
  • ดอก[1],[2],[4]
    – ออกดอกเป็นช่อ ไม่มีก้านดอก
    – ออกดอกตามซอกใบหรือง่ามใบ
    – ก้านช่อดอก มีความยาวประมาณ 1.2-2 เซนติเมตร
    – ใบประดับ เป็นใบเล็ก ๆ อยู่ 1 คู่ที่ก้านช่อดอก
    – ในแต่ละช่อดอกจะมีดอกอยู่ประมาณ 3-7 ดอก
    – ดอก เป็นดอกย่อยสีขาวและมีกลิ่นหอม
    – ดอกจะบานในช่วงเย็นและจะร่วงในช่วงเช้าวันรุ่งขึ้น
    – ในแต่ละดอกจะมีใบประดับอยู่ 1 ใบ
    – ดอกตูม มีกลีบดอกเรียงซ้อนกันและบิดเป็นเกลียว
    – กลีบมีประมาณ 5-8 กลีบ ปลายกลีบจะเว้า โคนกลีบ เชื่อมติดกันเป็นหลอดสีแสดสั้น ๆ มีความยาวประมาณ 1.1-1.3 เซนติเมตร
    – ด้านในโคนกลีบมีขนยาว ๆ สีขาวที่โคนหลอด ส่วนด้านนอกเกลี้ยง
    – ปลายหลอด จะแยกเป็นกลีบ มีสีเขียว ประมาณ 5-8 กลีบ
    – ในแต่ละกลีบจะมีความยาวประมาณ 0.1-1.1 เซนติเมตร
    – โคนกลีบ ค่อนข้างแคบ ปลายกลีบ มีความกว้างและเว้าลึก
    – มีเกสรเพศผู้จำนวน 2 ก้านติดอยู่ภายในหลอด
    – กลีบดอกบริเวณปาก หันด้านหน้าเข้าหากัน
    – ก้านชูอับเรณู เชื่อมติดเป็นเนื้อเดียวกันกับหลอดดอก
    – รังไข่ จะอยู่เหนือวงกลีบ มีรูปร่างกลม มีอยู่ 2 ช่อง และมีออวุลช่องละ 1 เมล็ด
    – เกสรเพศเมีย จะมีแค่ 1 อัน เป็นตุ่มมีขน
    – มีกลีบเลี้ยงดอกสีเขียวอ่อน 4 กลีบ ติดกันเป็นหลอดรูปกรวยปลายติดหรือหยักตื้น ๆ 5 หยัก
  • ผล[1],[5],[8]
    – ผล เป็นรูปไข่กลับหรือมีเป็นรูปทรงกลมค่อนข้างแบน
    – ปลายผล จะมีความมนและมีติ่งแหลม
    – ผล มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2 เซนติเมตร
    – ผิวผลเรียบ
    – ผลอ่อน เป็นสีเขียว
    – ผลแก่ จะแตกอ้าออกเป็น 2 ซีก
    – มีเมล็ดซีกละหนึ่งเมล็ด
    – เมล็ดมีรูปร่างกลมแบน เป็นสีน้ำตาล

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

  1. มีการศึกษาฤทธิ์ของสารสกัดแอลกอฮอล์จากใบ ผล และเมล็ด[6]
    – เพื่อยับยั้งโรคไขข้อเสื่อมในหนูทดลองที่ถูกทำให้ติดเชื้อวัณโรคจนเกิดอาการไขข้อเสื่อม
    – ได้ทำการให้สารสกัด กับหนูทดลองทางช่องปาก 25 มก./กก. เป็นเวลา 47 วัน
    – ผลการทดลองพบว่า สารสกัดดังกล่าวสามารถช่วยยับยั้งการเกิดไขข้อเสื่อมได้
    – จะช่วยลดปริมาณการตายของเซลล์ที่เกิดการติดเชื้อได้
  2. งานวิจัยต่อเนื่องที่ระบุว่า เมื่อทำการให้สารสกัดคลอโรฟอร์มจากดอกและใบ[6]
    – ใช้สารสกัดความเข้มข้น 50, 100, 200 มก./กก.
    – ใช้เป็นระยะเวลา 27 วันกับหนูทดลองที่ถูกกระตุ้นให้เป็นโรคเบาหวานด้วยสาร Streptozocin
    – พบว่าสารสกัดจากดอกและใบมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ
    – ช่วยลดระดับ Alk Phos, LPO, SGPT, คอเลสเตอรอล และไตรกลีเซอไรด์ ที่เป็นสาเหตุของไขมันอุดตันได้

สรรพคุณของกรรณิการ์

  • ช่วยแก้พิษทั้งปวง[6]
  • ช่วยขับประจำเดือน[6]
  • ช่วยแก้ตาแดง[6]
  • ช่วยแก้ไข้มิรู้สติ เป็นไข้บาดทะจิต แก้ไข้ผอมเหลือง[6]
  • ช่วยแก้ไข้[1],[2],[3],[4],[5],[6],[9]
  • ช่วยแก้ลมวิงเวียน[1],[2],[4],[5],[6]
  • ช่วยแก้โลหิตตีขึ้น[6]
  • ช่วยบำรุงหัวใจ[6]
  • ช่วยแก้อาการปวดตามข้อ[1],[2],[6],[9]
  • ช่วยบำรุงน้ำดี ขับน้ำดี[1],[2],[3],[4],[5],[6],[9]
  • ช่วยขับพยาธิ[6]
  • ช่วยแก้อาการปวดท้อง[6]
  • ช่วยแก้ไข้เพื่อดีและแก้ไข้จับสั่นชนิดจับวันเว้นวัน[6]
  • ช่วยบำรุงเส้นผม แก้เส้นผมหงอก[1],[2],[4],[6]
  • ช่วยแก้ตานขโมย[6],[9]
  • ช่วยทำให้เจริญอาหาร
  • ช่วยแก้อุจจาระเป็นพรรดึก
  • ช่วยแก้อาการท้องผูก
  • ช่วยแก้อาการไอสำหรับสตรีหลังคลอดบุตรใหม่ ๆ
  • ช่วยแก้อาการไอ
  • ช่วยแก้ลมและดี
  • ช่วยบำรุงผิวหนังให้สดชื่น
  • ช่วยแก้ผมหงอก
  • ช่วยแก้อาการอ่อนเพลีย
  • ช่วยบำรุงกำลัง
  • ช่วยแก้วาโยกำเริบเพื่ออากาศธาตุ
  • ช่วยบำรุงธาตุ

ประโยชน์ของกรรณิการ์

1. ในประเทศอินเดียจะนับถือ เชื่อว่าเป็นต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ชนิดหนึ่ง[7]
2. สามารถนำมาใช้ปลูกเป็นไม้ประดับได้ แต่ไม่ควรปลูกใกล้ลานนั่งเล่น เนื่องจากดอกจะมีกลิ่นหอมแรงในช่วงเย็น[5]
3. ดอก สามารถนำมาใช้สกัดทำเป็นน้ำมันหอมระเหยได้[5]
4. ดอก สามารถนำไปใช้สำหรับทำเป็นน้ำหอมได้[5]
5. ดอกมีสาร Carotenoid nyctanthin ซึ่งให้สีเหลืองอมแสด สามารถนำมาใช้ทำเป็นสีสำหรับย้อมผ้าได้ โดยใช้โคนกลีบดอกส่วนหลอดสีส้มแดงนำมาโขลกแบบหยาบ ๆ เติมน้ำ คั้นส่วนน้ำกรองจะได้น้ำที่มีสีเหลืองใส หากถ้าเติมน้ำมะนาวหรือสารส้มลงไปเล็กน้อยในขณะย้อม จะทำให้สีคงทนยิ่งขึ้น[3],[6]
6. ดอก สามารถนำมาใช้ทำสีขนมได้[4]

สั่งซื้อ อาหารเสริม สำหรับผู้ป่วย เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. “กรร ณิ การ์ (Kanni Ka)”. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). หน้า 16.
2. หนังสือสมุนไพรไทยในอุทยานแห่งชาติภาคเหนือ. “ก ร ร ณิ ก า ร์”. (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ). หน้า 81.
3. หนังสือสมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ. “กรรณิการ์ Night Jasmine”. (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). หน้า 151.
4. สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “สมุนไพรให้สีแต่งสีอาหาร กรรณิการ์”. [ ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.rspg.or.th. [30 ม.ค. 2014].
5. ฐานข้อมูลพรรณไม้ที่ใช้ในงานภูมิสถาปัตยกรรม ศูนย์ความรู้ด้านการเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. “กรรณิการ์”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: agkc.lib.ku.ac.th. [30 ม.ค. 2014].
6. ไทยโพสต์. “กรร ณิ การ์ ไม้ดอกงามบรรเทาไข้ ป้องกันผมหงอกก่อนวัย”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.thaipost.net. [30 ม.ค. 2014].
7. มูลนิธิหมอชาวบ้าน. นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่ 268 คอลัมน์: ต้นไม้ใบหญ้า. “ก ร ร ณิ ก า ร์ คุณค่าที่คู่ควรจมูก ตา (และหู)”. (เดชา ศิริภัทร). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.doctor.or.th. [30 ม.ค. 2014].
8. สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. “กรรณิการ์”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.dnp.go.th/botany/. [30 ม.ค. 2014].
9. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. “กรร ณิ การ์”. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). หน้า 7-8.
10. https://medthai.com/