Home Blog Page 15

ต้นว่านดอกทอง เด่นในเรื่องเมตตามหาเสน่ห์

0
ว่านดอกทอง
ต้นว่านดอกทอง เด่นในเรื่องเมตตามหาเสน่ห์ เป็นว่านที่มีเหง้าอยู่ใต้ดิน ต้นคล้ายขมิ้น มีพันธุ์ตัวผู้เหง้าและดอกเป็นสีเหลือง และพันธุ์ตัวเมียเหง้าขาวและดอกขาวแต้มสีเหลือง มีกลิ่นคาว
ว่านดอกทอง
เป็นว่านที่มีเหง้าอยู่ใต้ดิน ต้นคล้ายขมิ้น มีพันธุ์ตัวผู้เหง้าและดอกเป็นสีเหลือง และพันธุ์ตัวเมียเหง้าขาวและดอกขาวแต้มสีเหลือง มีกลิ่นคาว

ว่านดอกทอง

ว่านดอกทอง หรือว่านรากราคะ เป็นสมัยโบราณอันน่าพิศวงหากใครได้สูดดมกลิ่นจากดอก มีอันทำให้เกิดอารมณ์ทางราคะอย่างไร้ซึ่งเหตุผล เป็นว่านเสน่ห์มหานิยมที่คนสมัยโบราณมักนำมาทำเป็นยาเสน่ห์ และเป็นว่านมงคลที่หากปลูกไว้หน้าร้านค้าจะทำให้กิจการรุ่งเรืองยิ่ง ๆ ขึ้นไป สามารถพบได้ในประเทศไทยทางภาคเหนือ และทางภาคตะวันตก ชื่อวิทยาศาสตร์ Curcuma spp. จัดอยู่ในวงศ์ วงศ์ขิง (ZINGIBERACEAE)[1] ชื่ออื่น ๆ กระเจา, ว่านดอกทองแท้, ว่านดอกทองตัวผู้, ว่านมหาเสน่ห์ดอกทอง, ว่านดอกทองตัวเมีย หรือว่านดินสอฤๅษี, ว่านมหาเสน่ห์ ว่านรากราคะ หรือรากราคะ เป็นต้น

ที่มาของชื่อ

ในสมัยโบราณมีความเชื่อกันว่าหากใครได้ดมกลิ่นของดอกว่านชนิดนี้เข้าไป จะมีความต้องการทางเพศอย่างรุนแรงขึ้นมาโดยไม่มีเหตุผล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเพศหญิง ว่านชนิดนี้จึงถูกตั้งชื่อว่า ดอกทอง (ดอกทอง เป็นคำด่าที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ โดยจะเป็นคำด่าที่เอาไว้ใช้กับผู้หญิงที่สำส่อนทางเพศ)

ลักษณะของว่านดอกทอง

  • ต้น
    – เป็นพันธุ์ไม้ประเภทว่านที่มีลำต้นอยู่ใต้ดิน (เหง้า)
    – ลักษณะของลำต้นและใบ จะคล้ายคลึงกับต้นขมิ้น แต่จะแตกต่างกันตรงที่ลักษณะของเหง้า
    – เหง้ามีรูปร่างเป็นทรงกลม โดยเหง้าจะแตกแขนงออกมาเป็นไหลขนาดเล็ก รอบ ๆ เหง้า ไหลมีความยาวประมาณ 5-10 นิ้ว
    – เหง้า ทั้ง 2 สายพันธุ์ สามารถจำแนกลักษณะได้เป็น ว่านตัวผู้ จะมีเนื้อภายในเหง้าเป็นสีเหลือง และว่านตัวเมีย จะมีเนื้อภายในเหง้าเป็นสีขาว โดยเหง้าของต้นดอกทองตัวเมียจะแตกต่างจากเหง้าของต้นดอกทองตัวผู้ คือ เหง้าจะมีลักษณะคล้ายกับดินสอ ทำให้มีผู้คนบางส่วนนิยมเรียกกันว่า ว่านดินสอฤๅษี
    – ความสูงของต้น ประมาณ 1 ฟุต
    – การขยายพันธุ์ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการแยกหน่อ
  • ดอก
    – ดอก ออกที่บริเวณเหง้าแล้วโผล่ขึ้นมาเหนือผิวดิน โดยดอกของต้นทั้ง 2 สายพันธุ์ สามารถจำแนกลักษณะได้ดังนี้
    – ว่านดอกทองตัวผู้ กลีบดอกจะมีสีเหลืองล้วน
    – ว่านดอกทองตัวเมีย กลีบดอกจะมีสีขาวและมีลายแต้มสีเหลือง (ว่านดินสอฤๅษี)
    – กลิ่นของดอกทั้ง 2 สายพันธุ์ จะมีกลิ่นคล้ายกับกลิ่นคาวของน้ำอสุจิ (กลิ่นจะไม่คาวจนฉุนเหมือนเนื้อสัตว์ตามท้องตลาด) โดยต้นว่านตัวเมียจะส่งกลิ่นที่รุนแรงมากกว่าต้นว่านตัวผู้
    – ว่านทั้ง 2 สายพันธุ์ จะออกดอกในช่วงฤดูร้อนไปจนถึงฤดูฝนของทุกปี

วิธีการปลูกว่านดอกทอง

  1. วิธีการปลูกต้นว่านมีดังนี้
    1.1. กระถางที่ใช้ในการปลูก แนะนำว่าควรใช้กระถางขนาดเล็กทรงเตี้ยในการปลูกในระยะแรกเพื่อให้ง่ายต่อการดูแล และให้เตรียมกระถางขนาดใหญ่เอาไว้สำหรับย้ายต้นนำมาปลูก เมื่อต้นเจริญเติบโตในสักระยะหนึ่ง
    1.2. ใช้ดินทรายที่ผสมกับใบไม้ผุ จะช่วยทำให้จะเจริญเติบโตได้ดี และถ้าหากอยากให้ว่านเจริญเติบโตได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ให้ทำการใส่ปุ๋ยคอกลงไปในปริมาณเล็กน้อยก็จะช่วยได้
    1.3 การรดน้ำนั้น ให้รดน้ำให้มากแต่ไม่ถึงขั้นให้ดินแฉะ และปลูกไว้ในพื้นที่ที่มีแสงแดดรำไร (ไม่ควรปลูกไว้ในพื้นที่ที่มีแสงแดดจัด)
    1.4. เมื่อเริ่มตั้งใบตรงแข็งแรงแล้ว จึงค่อยย้ายมาปลูกในกระถางขนาดใหญ่ เนื่องจากเหง้าของว่านจะมีขนาดที่ใหญ่ขึ้น
  2. ในหนังสือ และตำราสมัยโบราณ ได้ระบุไว้ว่าเป็นว่านศักดิ์สิทธิ์ โดยการจะนำต้นมาปลูก โดยให้ทำการปลูกในวันจันทร์ข้างขึ้น และรดน้ำที่ปลุกเสกด้วยคาถา นะโมพุทธายะ 3 จบ
  3. ในปัจจุบันว่านดอกทองแท้สามารถหาได้ยาก เนื่องจากใกล้สูญพันธุ์ หรือในด้านความเชื่อ ก็มีผู้คนเชื่อกันว่าผู้ที่รู้ถึงแหล่งที่อยู่ของว่านชนิดนี้มักจะไม่เปิดเผยข้อมูลให้รู้ เพราะเกรงว่าจะมีผู้นำไปใช้ในทางที่ไม่ดีได้

พุทธคุณของว่านดอกทอง

1. น้ำที่แช่ด้วยหัวว่านและใบ มีสรรพคุณในการกระตุ้นความรู้สึกทางเพศได้เป็นอย่างดี
2. ในสมัยโบราณกล่าวว่า ต้น สามารถนำมาใช้ในทางเสน่ห์มหานิยมได้ โดยชายหนุ่มในสมัยโบราณ เมื่อถึงเวลาที่จะต้องไปพบหญิงสาว จะนำดอกมาทำเป็นน้ำอบใช้ทาตัว หรือนำมาผสมกับขี้ผึ้งใช้ทาปาก ซึ่งเมื่อหญิงสาวผู้ใดที่ได้กลิ่นว่านชนิดนี้จากชายหนุ่ม หญิงสาวผู้นั้นก็จะเกิดความหลงใหลและคล้อยตามได้โดยง่าย
3. มีความเชื่อว่าหากปลูกไว้ในบ้าน จะช่วยให้เกิดความรักใคร่และเป็นสิริมงคลแก่คนในบ้านได้ (แต่ในสมัยโบราณจะห้ามปลูกไว้ในบ้าน เพราะเชื่อว่าเป็นสาเหตุทำให้เกิดการผิดลูกผิดเมียของคนภายในครอบครัวได้)

4. มีความเชื่อว่าหากนำต้นว่านตัวเมียไปปลูกไว้ที่หน้าร้านค้า จะช่วยให้ค้าขายเป็นไปอย่างราบรื่น ลูกค้าไหลมาเทมาไม่ขาดสาย และช่วยให้การค้าขายประสบความสำเร็จไปได้ด้วยดี

สั่งซื้อ อาหารเสริม สำหรับผู้ป่วย เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. ๑๐๘ พรรณไม้ไทย.  “ว่านมหาเสน่ห์“.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.panmai.com.  [21 พ.ย. 2013].
2. ว่านและพรรณไม้สมุนไพรไทย คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร.  “ว่านดอกทอง“.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: natres.skc.rmuti.ac.th.  [21 พ.ย. 2013].
3. ไทยรัฐออนไลน์. โดยนายเกษตร.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.thairath.co.th.  [21 พ.ย. 2013].
4. หนังสือพิมพ์ข่าวสด. “ว่านมหาเสน่ห์“.  คอลัมน์: รู้ไปโม้ด (น้าชาติ ประชาชื่น).  อ้างอิงใน: หนังสือว่านสมุนไพร ไม้มงคล (ณรงค์ศักดิ์ ค้านอธรรม).  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.khaosod.co.th.  [21 พ.ย. 2013].
5. https://medthai.com

ต้นหนอนตายหยาก สรรพคุณรักษามะเร็งตับ

0
ต้นหนอนตายหยาก สรรพคุณรักษามะเร็งตับ เป็นไม้ล้มลุกกึ่งเถาเลื้อย มีหัวอยู่ในดิน ดอก4กลีบสีเขียวอ่อนอมเหลืองลายเส้นสีม่วงลายประ ชั้นในสีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลอมแดง ฝักห้อยลงเป็นพวง
หนอนตายหยาก
เป็นไม้ล้มลุกกึ่งเถาเลื้อย มีหัวอยู่ในดิน ดอก4กลีบสีเขียวอ่อนอมเหลืองลายเส้นสีม่วงลายประ ชั้นในสีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลอมแดง ฝักห้อยลงเป็นพวง

หนอนตายหยาก

ต้นหนอนตายหยาก อยู่วงศ์หนอนตายหยาก (STEMONACEAE) สามารถพบเจอได้ตามป่าทั่วไปในมาเลเซีย อินโดนีเซีย ไทย จีน ญี่ปุ่น ลาว มีชื่อในท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น กะเพียดหนู, หนอนตายยาก (จังหวัดลำปาง), โปร่งมดง่าม (เชียงใหม่), กะเพียด (จังหวัดชลบุรี, จังหวัดประจวบคีรีขันธ์), สลอดเชียงคำ (อีสานโบราณ), หนอนตายหยาก (แม่ฮ่องสอน), ปงมดง่าม (เชียงใหม่), ป้งสามสิบ (คนเมือง) [1],[2],[6],[7],[8] ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ ต้นตายหยากเล็ก ซึ่งชื่อวิทยาศาสตร์ Stemona tuberosa Lour. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ คือ Roxburghia gloriosa Pers., Roxburghia gloriosoides Roxb., Roxburghia viridiflora Sm.) โดยข้อมูลจากหนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ระบุเอาไว้ว่ายังมีหนอนตายหยากเล็กอีกชนิด ที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Stemona japonica Blume Miq. มีชื่อในท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น ป่ายปู้, หนอนตายหยากเล็ก, โป่งมดง่าม, ตุ้ยเย่ป่ายปู้ (จีนกลาง) ตามตำราระบุเอาไว้ว่าใช้แทนกันได้[3] หนอนตากหยากใหญ่ ซึ่งมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ Stemona collinsiae Craib มีชื่อในท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น ปงช้าง, หนอนตายหยาก, กะเพียดช้าง [5]

ลักษณะของหนอนตายหยาก

ลักษณะของหนอนตายหยากเล็ก

  • ต้น เป็นพรรณไม้ล้มลุก มีกึ่งเถาเลื้อยพัน จะเลื้อยพันต้นไม้อื่น สามารถมีความยาวได้ประมาณ 10 เมตร สูงได้ประมาณ 40-60 เซนติเมตร เถากลม เป็นสีเขียว จะมีรากเป็นเหง้าหรือหัวอยู่ในดิน มีลักษณะเป็นรูปกระสวย จะออกเป็นกระจุก เนื้อจะอ่อนนิ่มเป็นสีเหลืองขาว ขยายพันธุ์โดยการใช้เหง้าปักชำ การเพาะเมล็ด [1],[2],[7]
  • ใบ เป็นใบเดี่ยว ใบจะออกเรียงเวียนสลับที่ใกล้โคนต้น จะออกเรียงเป็นคู่ตรงข้ามที่กลางต้นหรือยอด ใบเป็นรูปหัวใจ ที่โคนใบเว้า ส่วนที่ปลายใบจะเรียวแหลม ขอบใบจะเรียบหรือบิดเป็นคลื่นนิดหน่อย ใบกว้างประมาณ 3-14 เซนติเมตร มีความยาวประมาณ 9-20 เซนติเมตร แผ่นใบมีลักษณะเป็นคลื่น ที่เส้นใบแตกออกจากโคนใบขนานกันไปด้านปลายใบ 9-13 เส้น ก้านใบมีความยาวประมาณ 1.5-7 เซนติเมตร [1],[8]
  • ดอก เป็นดอกสมบูรณ์เพศจะออกดอกเดี่ยวหรือเป็นช่อกระจะประมาณ 2-6 ดอก ดอกออกที่ตามซอกใบ ที่ก้านช่อดอกยาวประมาณ 2-8 เซนติเมตร และจะมีใบประดับยาว 0.5-1.5 เซนติเมตร ก้านดอกมีความยาวประมาณ 0.5-3 เซนติเมตร มีกลีบรวมอยู่ 4 กลีบ จะเรียงเป็นชั้น 2 ชั้น มีชั้นละ 2 กลีบ กลีบมีลักษณะเป็นรูปแถบยาวที่ปลายจะแหลม กว้างประมาณ 0.4-1 เซนติเมตร มีความยาวประมาณ 2.5-4 เซนติเมตร กลีบชั้นนอกจะมีลักษณะเป็นสีเขียวอ่อนอมสีเหลือง สีเขียว จะมีลายเส้นเป็นสีม่วงหรือสีเขียวแก่เป็นลายประ กลีบชั้นในมีลักษณะเป็นสีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลอมแดง และมีลายเส้นประสีแดง มีเกสรเพศผู้ 4 อัน มีความยาวประมาณ 2.5-4 เซนติเมตร ก้านเกสรมีขนาดสั้น อับเรณูมีลักษณะเป็นสีม่วง มีความยาวประมาณ 0.8-1.5 เซนติเมตร ที่ปลายมีจะงอย จะงอยที่มีความยาวประมาณ 5-12 มิลลิเมตร มีรังไข่อยู่เหนือฐานวงกลีบรวม [1],[8]
  • ผล จะออกเป็นฝักห้อยลงเป็นพวง ที่ปลายฝักจะแหลม กว้างประมาณ 1.5-3 เซนติเมตร มีความยาวประมาณ 4-7 เซนติเมตร ถ้าแห้งจะแตกเป็น 2 ซีก เมล็ดมีขนาดยาวประมาณ 1-1.7 เซนติเมตร ที่ปลายจะเรียวแหลมมีความยาวประมาณ 4 มิลลิเมตร ก้านเมล็ดมีความยาวประมาณ 8 มิลลิเมตร จะมีเยื่อหุ้มที่โคนเมล็ด[1],[8]

ลักษณะของหนอนตายหยากใหญ่

  • ต้น เป็นพรรณไม้ล้มลุกที่สามารถมีอายุได้หลายปี มีลำต้นตั้งตรง สามารถสูงได้ถึงประมาณ 20-40 เซนติเมตร จะแตกกิ่งก้านเยอะ จะมีรากอยู่ในดินเยอะ ที่รากจะเป็นรากกลุ่มพวง รากมีลักษณะเป็นสีเหลืองอ่อนอวบน้ำ มีความยาวประมาณ 10-30 เซนติเมตร สามารถขยายพันธุ์ด้วยการใช้เมล็ด และพอถึงฤดูแล้งต้นเหนือดินจะโทรมหมดเหลือรากใต้ดิน และพอเข้าสู่ฤดูฝนใบจะงอกพร้อมกับออกดอก สามารถพบได้ที่ตามป่าเบญจพรรณทั่วไป ป่าดิบแล้ง ป่าดงดิบเขา [5],[6]
  • ใบ เป็นใบเดี่ยว ใบจะออกเรียงสลับ ใบเป็นรูปหัวใจ ที่โคนใบเว้าจะเป็นรูปหัวใจ ส่วนที่ปลายใบจะแหลม ขอบใบเรียบ ใบกว้างประมาณ 6-10 เซนติเมตร มีความยาวประมาณ 9-15 เซนติเมตร ผิวใบมีลักษณะเกลี้ยงทั้งสองด้าน มีเส้นใบอยู่ประมาณ 10-15 เส้น จะขนานกันอยู่ ที่ระหว่างเส้นแขนงใบจะมีเส้นใบย่อยตัดขวาง ก้านใบมีขนาดยาวประมาณ 5-9 เซนติเมตร ที่โคนจะพองเป็นกระเปาะ[5]
  • ดอก ออกเป็นช่อ ออกดอกที่ตามซอกใบ มีใบประดับเป็นรูปขอบขนานปลายมน มีขนาดกว้างประมาณ 0.25-0.3 เซนติเมตร มีความยาวประมาณ 1.1-1.2 เซนติเมตร และก้านดอกย่อยมีขนาดยาวประมาณ 2-3 เซนติเมตร มีกลีบดอกอยู่ 4 กลีบ เป็นสีเหลืองแกมสีชมพู จะขนาดไม่เท่ากันเรียงเป็นชั้น 2 ชั้น ชั้นนอกมีอยู่ 2 อัน เป็นรูปขอบขนานปลายแหลม มีขนาดกว้างประมาณ 0.4-0.5 เซนติเมตร มีความยาวประมาณ 1.9-2 เซนติเมตร และมีเส้นแขนงอยู่ประมาณ 9-11 เส้น ชั้นนอกมีอยู่ 2 อัน เป็นรูปไข่ปลายแหลม มีขนาดกว้างประมาณ 0.6-0.7 เซนติเมตร มีความยาวประมาณ 1.8-1.9 เซนติเมตร และมีเส้นแขนงอยู่ประมาณ 13-15 เส้น มีเกสรเพศผู้อยู่ 4 อัน เป็นรูปขอบขนาน ที่โคนจะเป็นรูปหัวใจขอบเรียบ ส่วนที่ปลายจะแหลม มีขนาดกว้างประมาณ 0.2-0.3 เซนติเมตร มีความยาวประมาณ 1.5-1.6 เซนติเมตร เกสรเพศเมียจะมีรังไข่อยู่ที่เหนือวงกลีบ ลักษณะเป็นรูปไข่ มีความยาวประมาณ 0.3-0.4 เซนติเมตร ที่ปลายเกสรเพศเมียจะเล็ก[5]
  • ผล มีขนาดเล็ก ค่อนข้างที่จะแข็ง เป็นสีน้ำตาล[5]

ข้อควรระวังในการใช้

  • รากจะมีพิษ ถ้าทานจะทำให้มึนเมา อาจถึงตายได้[5] มีข้อมูลที่ระบุไว้ว่าการที่จะนำมาใช้เป็นยาต้องผ่านกรรมวิธีการทำลายพิษก่อนถึงจะใช้ได้ อย่างเช่นวิธี การนำรากมาล้างให้สะอาดแล้วลวกหรือนึ่งจนไม่เห็นแกนสีขาวในราก และต้องนำไปตากแดดก่อนใช้ปรุงยา ในบางตำรานำไปเชื่อมกับน้ำผึ้งก่อนใช้ (นันทวัน และอรนุช 2543)

ประโยชน์หนอนตายหยาก

1. ใช้ในเชิงอุตสาหกรรม แทนการใช้สารเคมีหรือยาฆ่าแมลงได้[7]
2. สามารถนำรากมาโขลกบีบเอาน้ำมาใช้หยอดแผลวัวและควายที่มีหนอนไช หรือนำกากรากสดมาโปะปิดแผลของสัตว์พาหะที่เลียไม่ถึง ใช้เป็นยาฆ่าหนอนที่เกิดในแผล [5],[6]
3. สามารถนำใบมาใช้ยักปากไหปลาร้า ป้องกันหนอนได้[8]
4. สามารถใช้รักษาเหา โดยนำรากสดล้างน้ำสะอาดประมาณ 3-4 ราก มาตำผสมน้ำใช้ชโลมเส้นผมไว้ประมาณ 1 ชั่วโมง แล้วค่อยสระออกให้สะอาด ทำจนกว่าเหาจะตาย[4]
5. สามารถนำรากสดประมาณ 500 กรัม มาตำให้ละเอียด แล้วเอาใส่ท่อน้ำทิ้ง ฆ่ายุงและลูกน้ำได้[3]
6. สามารถนำรากมาตำผสมน้ำเป็นยาฆ่าแมลง หนอนศัตรูพืชที่รบกวนพืชผักได้[5],[6]

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา
– สารสกัดมีฤทธิ์ที่ฆ่าพยาธิหรือเชื้อโรคได้หลายชนิด[3]
– พบสาร Oxtuberostemonine, Protostemonine, Isotuberostemonine, Stemonine, Tuberostemonine, Hypotoberosstemonine, Iso-Stemonidine, Stemonidine เป็นต้น[3] และมีสารอื่นที่พบ อย่างเช่น stemonone, stemonacetal, rotenoid compound, stemonal[5]
– จากการทดสอบความเป็นพิษเฉียบพลันกับหนูถีบจักรทดลอง โดยป้อนสารสกัดจากรากขนาด 0.25-80 ก./กก. น้ำหนักตัว เป็นเวลา 2 สัปดาห์ และขนาด 10 ก./กก. น้ำหนักตัว เป็นเวลา 1 เดือน ปรากฏว่าไม่พบความเป็นพิษของสารสกัด[9]
– จากการทดลองกับสัตว์ทดลอง ปรากฏว่ายับยั้งการไอของสัตว์ทดลองได้ และจะมีฤทธิ์กระตุ้นประสาทส่วนกลางของระบบหายใจ ทำให้หายใจได้ผลช้าลง[3]

สรรพคุณหนอนตายหยาก

1. รากของหนอนตายหยากใหญ่ จะมีรสเย็น และจะเป็นยาแก้อาการวัยทอง[6]
2. ในตำรายาไทยนำรากมาทุบหรือตำผสมน้ำหรือหมักกับน้ำ แล้วนำน้ำมาใช้พอกทาฆ่าศัตรูพืช แมลง หิด เหา หนอน (ราก)[1],[2],[5]
3. สามารถใช้รักษาจี๊ดได้ โดยนำรากสดล้างสะอาดประมาณ 3-4 ราก มาหั่นตำละเอียด นำมาพอกตรงที่มีตัวจี๊ด สังเกตได้โดยบริเวณนั้นจะบวม โดยพอกจนหาย (ราก)[4]
4. สามารถนำรากมาปรุงเป็นยารักษามะเร็งตับได้ (ราก)[1],[5]
5. ชาวเขาเผ่าม้งและเย้านำรากหรือทั้งต้นมาต้มกับ ใช้น้ำดื่มเป็นยาแก้ปัสสาวะติดขัด ขับปัสสาวะ ขับนิ่ว (ราก,ทั้งต้น)[8]
6. รากมีสรรพคุณที่เป็นยาฆ่าเชื้อพยาธิภายในลำไส้ พยาธิปากขอ พยาธิเส้นด้าย พยาธิตัวกลม พยาธิตัวจี๊ด พยาธิใบไม้ในตับ พยาธิตัวแบน โดยนำรากแห้ง 2 ราก มาต้มกับน้ำทานเป็นเวลาประมาณ 15-20 วัน (ราก)[1],[3],[5],[8] และวิธีถ่ายพยาธิปากขอ โดยนำรากหรือเหง้า 100 กรัม แบ่งต้ม 4 ครั้ง แล้วเอามาสกัดให้เหลือ 30 ซีซี ให้ทานครั้งละ 15 ซีซี ทานติดกันเป็นเวลา 2 วัน ถ่ายพยาธิปากขอได้ (ราก)[3]
7. ในจีนใช้เป็นยาขับผายลมได้ (ราก)[7]
8. สามารถใช้เป็นยาแก้ปวดฟันได้ โดยนำรากสดล้างสะอาด 1 ราก หั่นและตำให้ละเอียด แล้วเติมเกลือ 1/2 ช้อนชา นำมาใช้อมประมาณ 10-15 นาที แล้วก็บ้วนทิ้ง ทำติดต่อกันเป็นประมาณ 2-4 ครั้ง (เว้นระยะห่างกัน 4-5 ชั่วโมง) (ราก)[4] อีกวิธีนำใบมาตำ แล้วใช้อมแก้อาการปวดฟัน (ใบ)[8]
9. บางข้อมูลระบุไว้ว่ามีการใช้เป็นยาแก้ภูมิแพ้ ด้วยการนำราก กับใบหนุมานประสานกาย อย่างละเท่า ๆ กัน มาต้มกับน้ำดื่มในขณะที่ยังอุ่นต่างน้ำทุกวัน สามารถช่วยแก้อาการของโรคภูมิแพ้ ช่วยลดอาการไอ ช่วยละลายเสมหะได้ (ราก) (ข้อมูลจาก : tripod.com)
10. ในตำรับยาแก้อาการไอจากวัณโรค โดยนำรากหรือเหง้าของหนอนตายหยาก, จี๊ฮวง, เปลือกหอยแครงสะตุ, เกล็ดนิ่ม อย่างละเท่า ๆ กัน มาบดเป็นผง เอามาชงกับน้ำทานครั้งละ 5 กรัม วันละ 2-3 ครั้ง (ราก)[3]
11. ใช้เป็นส่วนผสมของตำรับยาไทยหลายรายการ อย่างเช่น ยาแก้ดีลมแลกำเดา, ยาต้มสมานลำไส้, ยาตัดรากอุปะทม, ยาแก้ดีกำเดาแผลงฤทธิ์ร้าย, ยาแก้ลมกำเริบ, ยาแก้นิ่วเนื้อด้วยอุปทุม เป็นต้น[6]
12. สามารถนำรากมาทุบละเอียดแล้วแช่กับน้ำ นำมาใช้พอกแผล ฆ่าหนอน ทำลายหิดได้ (ราก)[5]
13. สามารถนำรากมาใช้ปรุงเป็นยาแก้โรคผิวหนัง ผิวหนังอักเสบ ผื่นคันตามร่างกาย โดยนำรากประมาณ 50-100 กรัม มาต้มแล้วเอาน้ำมาใช้ล้างหรือใช้อาบ (ราก)[1],[3],[5]
14. สามารถนำรากหรือหัวมาใช้ปรุงเป็นยาทานแก้น้ำเหลืองเสียได้ (ราก)[1],[5]
15. หัวกับรากจะมีสรรพคุณที่เป็นยารักษาริดสีดวงทวารหนักได้ โดยนำรากต้มทาน พร้อมต้มกับยาฉุนใช้รมหัวริดสีดวง ทำให้ริดสีดวงฝ่อและแห้ง (หัว,ราก)[4],[5],[6]
16. ในตำรายาสมุนไพรพื้นบ้านจังหวัดอุบลราชธานี นำรากมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาถ่ายพยาธิตัวจี๊ด ด้วยการนำรากมาผสมหญ้าหวายนา ชะอม มาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาถ่ายพยาธิตัวจี๊ด (ราก)[5]
17. สามารถใช้เป็นยาแก้บิดอะมีบาได้ โดยนำเหง้าหรือราก 5-15 กรัม มาต้มกับน้ำทาน (ราก)[3]
18. ในอินโดจีนนำรากมาใช้เป็นยารักษาโรคเจ็บหน้าอก (ราก)[7]
19. ชาวเขาเผ่าม้งและเย้านำทั้งต้นหรือรากมาต้มกับน้ำดื่ม ใช้อาบแก้โรคโปลิโอ (ราก,ทั้งต้น)[8]
20. สามารถช่วยรักษาวัณโรค ช่วยขับเสมหะ (ราก)[4]
21. รากหรือเหง้าจะมีรสขมชุ่ม จะเป็นยาร้อนเล็กน้อย มีพิษนิดหน่อย จะออกฤทธิ์กับม้ามกับปอด สามารถใช้เป็นยาหลอดลมอักเสบ แก้ไอเย็น อาการไอจากวัณโรค ไอเรื้อรัง (ราก)[3]

วิธีใช้

  • ถ้าเป็นรากแห้งให้ใช้ครั้งละ 3-10 กรัม เอามาต้มกับน้ำทาน หากใช้ภายนอกให้ใช้ประมาณ 50-100 กรัม เอามาต้ม ใช้น้ำล้างหรือใช้อาบแก้โรคผิวหนังผดผื่นคัน[3]

สั่งซื้อ อาหารเสริม สำหรับผู้ป่วย เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). “หนอนตายหยาก (Non Tai Yak)”. หน้า 323.
2. หนังสือสมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ. (คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “หนอนตายหยาก”. หน้า 193.
3. หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. (วิทยา บุญวรพัฒน์). “หนอนตายหยาก”. หน้า 608.
4. สรรพคุณสมุนไพร 200 ชนิด, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “หนอนตายหยาก”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.rspg.or.th/plants_data/herbs/. [14 ก.ค. 2014].
5. ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “หนอนตายหยาก”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.phargarden.com. [14 ก.ค. 2014].
6. สำนักคุ้มครองภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและสมุนไพร. “ข้อมูลของหนอนตายหยาก”.
7. กรมวิชาการเกษตร. “หนอนตายหยาก”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: it.doa.go.th/vichakan/. [14 ก.ค. 2014].
8. โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง, สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน). “หนอนตายหยาก”. อ้างอิงใน: หนังสือชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์), หนังสือองค์ความรู้เรื่องพืชป่าที่ใช้ประโยชน์ทางภาคเหนือของไทย เล่ม 3 (สุธรรม อารีกุล, จำรัส อินทร, สุวรรณ ทาเขียว, อ่องเต็ง นันทแก้ว). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: eherb.hrdi.or.th. [14 ก.ค. 2014].
9. หน่วยบริการฐานข้อมูลสมุนไพร สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. “รากของว่านหนอนตายหยาก”. เข้าถึงได้จาก: www.medplant.mahidol.ac.th. [14 ก.ค. 2014].
10. https://medthai.com/

ต้นสัก สรรพคุณช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะ

0
สัก
ต้นสัก สรรพคุณช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะ เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ เนื้อไม้เป็นสีน้ำตาลทอง ช่อขนาดใหญ่ดอกย่อยขนาดเล็กสีเขียวนวล มีขนปกคลุมบริเวณท้องใบ ผลกลมแป้นเปลือกบาง
สัก
เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ เนื้อไม้เป็นสีน้ำตาลทอง ช่อขนาดใหญ่ดอกย่อยขนาดเล็กสีเขียวนวล มีขนปกคลุมบริเวณท้องใบ ผลกลมแป้นเปลือกบาง

ต้นสัก

ต้นสัก เป็นไม้ต้นขนาดใหญ่ผลัดใบในฤดูร้อน พบอยู่ในแถบประเทศอินเดีย บังคลาเทศ พม่า ลาว และไทย สำหรับประเทศไทยพบกระจายทั่วไปในบริเวณภาคเหนือเรื่อยลงมาทางตะวันตกบริเวณทางเหนือของจังหวัดกาญจนบุรี เขตป่าเบญจพรรณ ในระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลเฉลี่ยประมาณ 200-750 เมตร ชื่อสามัญ Teak[1] ชื่อวิทยาศาสตร์ Tectona grandis L.f. อยู่ในวงศ์กะเพรา (LAMIACEAE หรือ LABIATAE)[2] ชื่อท้องถิ่นอื่นๆ ปายี้ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), เส่บายี้ (กะเหรี่ยง-กำแพงเพชร), เคาะเยียโอ (ละว้า-เชียงใหม่), ปีฮี ปีฮือ เป้อยี (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)เป็นต้น[1] เป็นพรรณไม้พระราชทานของจังหวัดอุตรดิตถ์[2] สามารถแบ่งเป็น 3 ชนิดคือ ไม้สักทั่วไป ไม้สักดาฮัต(ไม้ประจำถิ่นของพม่า) และไม้สักฟิลิปปินส์[5] และมีถิ่นกำเนิดอยู่ทางตอนใต้ของประเทศอินเดีย พม่า ลาว และไทย ยังมีการแบ่งคุณลักษณะของไม้สัก โดยใช้ความแข็ง ความเหนียว และการตกแต่งของเนื้อไม้ในการพิจารณา โดยจะแบ่งเป็น 5 ชนิดได้แก่[2]
1. ไม้สักทอง ตกแต่งได้ง่าย เสี้ยนไม้ตรง เนื้อไม้มีสีน้ำตาลทอง[2]
2. ไม้สักหิน ตกแต่งได้ง่าย เนื้อไม้มีสีน้ำตาลหรือจาง[2]
3. ไม้สักหยวก ตกแต่งได้ง่าย เนื้อไม้เป็นสีน้ำตาลอ่อนหรือจาง[2]
4. ไม้สักไข่ ทาสีและตกแต่งได้ยาก เนื้อไม้มีไขปนอยู่เนื้อมีสีน้ำตาลเข้มปนเหลือง[2]
5. ไม้สักขี้ควาย เนื้อไม้เป็นสีเลอะ ๆ มีสีเขียวปนน้ำตาลดำ[2]

ลักษณะของต้นสัก

  • ต้น เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ มีความสูงราวๆ 20 เมตรขึ้นไปและอาจสูงได้ถึง 30 เมตร ลำต้นตรงไม่คดงอ มีกิ่งก้านที่ขนาดใหญ่น้อยบริเวณส่วนลำต้น เปลือกต้นหนามีสีเทาหรือน้ำตาลอ่อนแกมเทา เรือนยอดทึบเป็นทรงพุ่มกลม เปลือกต้นเรียบหรืออาจมีรอยแตกเป็นร่องเล็กๆ ตามแนวยาวของลำต้น โคนต้นแก่จะเป็นร่องและมีพูพอนขึ้นเล็กน้อย มีขนสีเหลืองขึ้นเล็กน้อยบริเวณยอดและกิ่งอ่อน กิ่งอ่อนเป็นรูปเหลี่ยม มีเนื้อไม้เป็นสีน้ำตาลทองถึงน้ำตาลแก่ และมีเส้นสีน้ำตาลแก่แทรกอยู่ เนื้อหยาบมีความแข็งปานกลาง เนื้อไม้เป็นเสี้ยนตรง ใช้วิธีการติดตา การปักชำ เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อหรือเมล็ดในการขยายพันธุ์ มักจะขึ้นเป็นกลุ่มๆ หรือปนอยู่กับไม้เบญจพรรณอื่น ชอบขึ้นตามดินร่วนปนทรายหรือดินที่มีความลึกมากๆ[1],[2]
  • ดอก จะออกตามปลายยอดและซอกใบ เป็นดอกช่อขนาดใหญ่ เป็นดอกสมบูรณ์เพศ มีดอกย่อยขนาดเล็ก กลีบดอกมี 6 กลีบมีสีเขียวนวล ส่วนโคนเชื่อมกันเป็นหลอดมีขนทั้งด้านในและนอก เกสรตัวผู้ยาวพ้นออกมาจากดอกมี 5-6 อัน เกสรตัวเมียมี 1 อันขนาดเท่ากับเกสรตัวผู้ มีขนอยู่หนาแน่นบริเวณรังไข่ ดอกจะออกช่อแรกที่ปลายยอดสุดของแก่นลำต้นก่อนและภายใน 1 วันดอกจะบาน ดอกจะกลายเป็นผลในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงเดือนตุลาคม[1],[2]
  • ใบ แตกออกมาจากกิ่ง ออกเป็นคู่ตรงข้ามกัน เป็นใบเดี่ยว ใบเป็นรูปรีกว้าง ขอบใบเรียบ โคนใบสอบ ปลายใบมีหางอยู่สั้นๆ ใบที่ออกมาแต่ละคู่จะตั้งฉากสลับกันตามความยาวกิ่ง แต่ละใบมีความกว้างราวๆ 12-35 เซนติเมตรและยาว 15-60 เซนติเมตร ก้านใบยาว 1-5 เซนติเมตร มีขนปกคลุมบริเวณท้องใบ ท้องใบมีสีเขียว พื้นใบทั้งสองด้านสากมือ หากนำท้องใบอ่อนมาขยี้จะมีสีแดงคล้ายกับเลือด จะผลัดใบในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมกราคม และจะแตกใบใหม่ช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน[1],[2]
  • ผล มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางราวๆ 1-2 เซนติเมตร ผลเป็นรูปทรงกลมแป้น มีชั้นกลีบเลี้ยงหุ้มผลอยู่ เป็นสีเขียว ลักษณะบางและพองลม ผลแก่จัดมีสีน้ำตาล มีเมล็ดประมาณ 1-4 เมล็ดใน 1 ผล เมล็ดเป็นรูปทรงไข่ จะอยู่ในช่อง ช่องละ 1 เมล็ด ขนาดยาวราวๆ 0.6 เซนติเมตรและกว้าง 0.4 เซนติเมตร จะมีเปลือกบางๆหุ้มอยู่ในแต่ละเมล็ด เมล็ดจะเรียงไปตามแนวตั้งของผล[1],[2]

ประโยชน์ของสัก

  • ในไม้สักทองมีทองคำปนอยู่ 0.5 ppm. หมายความว่าไม้สักทอง 26 ต้นจะได้ทองคำหนัก 1 บาท [5]
  • มีความเชื่อของคนไทยโบราณว่าการปลูกต้นสักทองไว้ประจำบ้าน จะทำให้มีศักดิ์ศรี เพราะคำว่า “สัก” หรือ “ศักดิ์” หมายถึง การมีศักดิ์ศรี ยศถาบรรดาศักดิ์ เกียรติศักดิ์ โดยให้ปลูกต้นสักทองไว้ทางทิศเหนือของบ้าน และควรปลูกในวันเสาร์จะทำให้เป็นมงคลมากยิ่งขึ้น[4]
  • สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย เช่นใช้ไม้ซุงขนาดใหญ่นำมาแปรรูปในการก่อสร้างต่างๆ
    ใช้ไม้ซุงขนาดเล็กมาทำบ้านไม้ซุง จะได้บ้านที่คงทนและสวยงาม เนื้อไม้สามารถคงทนต่อปลวก แมลง เห็ดราได้ดี เนื่องจากมีสารเทคโทควิโนน (Tectoquinone) อยู่[2],[5]

มีการแบ่งเกรดไม้ในการทำเฟอร์นิเจอร์มี 3 เกรดคือ

1.ไม้เกรดเอ เป็นไม้ที่รื้อมาจากบ้านเก่า มีราคาสูง เนื้อไม้แห้งจะเป็นสีน้ำตาลทองเข้ม ไม้จะหดตัวได้น้อยมาก
2.ไม้เกรดบี หรือไม้ออป.(องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้) เป็นไม้ที่ปลูกในพื้นที่ภูเขา มีคุณภาพดีพอสมควร การหดตัวมีน้อย
3.ไม้เกรดซี หรือไม้นส.(หนังสือแสดงสิทธิทำกิน (นส.3) เป็นไม้ที่มีปลูกในพื้นที่ของเอกชน ไม้มีคุณภาพปานกลาง มีแก่นไม้น้อยกว่าไม้เกรดบี สีเนื้อไม้อ่อนออกเหลืองนวล หดตัวมากกว่าไม้เกรดบี

สรรพคุณของสัก

1. ใช้เปลือกไม้มาบรรเทาอาการบวมได้(เปลือกไม้)[1] และเนื้อไม้ก็สามารถใช้ทำยาแก้บวมได้เช่นกัน(เนื้อไม้)[3]
2. เนื้อไม้ ใช้ในการแก้โรคผิวหนังได้[3]
3. ใช้ใบในการทำยารักษาโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบได้[3]
4. เนื้อไม้ ใช้ในการทำยาขับพยาธิได้[3]
5. เนื้อไม้ ใช้ในการคุมธาตุในร่างกายได้ และช่วยแก้ไข้ได้[3]
6. เมล็ด ใช้ในการรักษาโรคตาได้[1]
7. เนื้อไม้ ใช้ในการแก้อาการอ่อนเพลีย[3]
8. ทำเป็นยาบำรุงโลหิตได้ โดยใช้เนื้อไม้และใบมาทำ(เนื้อไม้,ใบ)[3]
9. เนื้อไม้ สามารถแก้ลมในกระดูกได้[3]
10. เปลือก ใช้ทำเป็นยาฝาดสมานได้[3]
11. ใบ ใช้ในการแก้ประจำเดือนไม่ปกติได้ (ใบ)[3]
12. เนื้อไม้,ใบ,ดอก ใช้ในการทำยาขับปัสสาวะได้[3]
13. ใบมีสรรพคุณในการทำยาขับลมได้ และเนื้อไม้ก็สามารถนำมาทานเป็นยาขับลมได้ดีเช่นกัน(เนื้อไม้,ใบ)[3]
14. ทำเป็นยาแก้เจ็บคอได้ โดยนำใบมาทำเป็นยาอม(ใบ)[3]
15. ช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะได้ (เปลือกไม้)[1]
16. ใบ ใช้เป็นยาแก้พิษโลหิตได้ (ใบ)[3]
17. ช่วยในการลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ โดยนำใบมาต้มกับน้ำรับประทาน(ใบ)[3]

สั่งซื้อ อาหารเสริม สำหรับผู้ป่วย เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). “สัก (Sak)”. หน้า 294.
2. ส่วนปลูกป่าภาคเอกชน, สำนักส่งเสริมการปลูกป่า กรมป่าไม้. “สัก”.
3. สรรพคุณสมุนไพร 200 ชนิด, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “สัก”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.rspg.or.th/plants_data/herbs/. [10 มิ.ย. 2014].
4. ไม้ประดับออนไลน์. “สักทอง ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.maipradabonline.com. [10 มิ.ย. 2014].
5. ข่าวสดรายวัน ฉบับที่ 8121 วันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2556, คอลัมน์: รูปไปโม้ด. (น้าชาติ ประชาชื่น). “ไม้สัก”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.khaosod.co.th. [10 มิ.ย. 2014].
6. https://medthai.com/

อ้างอิงรูปจาก
1. https://greencleanguide.com/
2. https://paudhshala.com/

ต้นฝ้ายขาว เมล็ดเป็นยารักษาอาการสมรรถภาพทางเพศเสื่อม

0
ฝ้ายขาว
ต้นฝ้ายขาว เมล็ดเป็นยารักษาอาการสมรรถภาพทางเพศเสื่อม เป็นไม้พุ่มยืนต้นขนาดเล็ก ดอกมีสีชมพู กลางดอกมีสีม่วงอ่อน ผลทรงกลมเปลือกแข็งมีสีดำหรือสีน้ำตาล และมีขนสีขาว
ฝ้ายขาว
เป็นไม้พุ่มยืนต้นขนาดเล็ก ดอกมีสีชมพู กลางดอกมีสีม่วงอ่อน ผลทรงกลมเปลือกแข็งมีสีดำหรือสีน้ำตาล และมีขนสีขาว

ฝ้ายขาว

ฝ้ายขาว มีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ ในประเทศไทยจะพบได้มากทางภาคเหนือ[1],[2],[3] เป็นพรรณไม้ที่เป็นได้ทั้งส่วนผสมของยาสมุนไพรที่ใช้รักษาโรค และเป็นได้ทั้งวัตถุดิบในด้านอุตสาหกรรมที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย ในบทความนี้ทางเราจะขอมานำเสนอพรรณไม้ที่มีชื่อว่า “ต้นฝ้ายขาว” ชื่อสามัญ Cotton plant[2],[4], Cotton, Sea Iceland Cotton[5] ชื่อวิทยาศาสตร์  Gossypium herbaceum L. จัดอยู่ในวงศ์ วงศ์ชบา (MALVACEAE)[1] ชื่ออื่น ๆ ฝ้ายเทศ (ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย), เหมียวฮวา เฉ่าเหมียนฮวา (ภาษาจีนกลาง)[2],[3], ฝ้ายดอก (จังหวัดเชียงใหม่), ฝ้ายชัน (จังหวัดลำปาง), ฝ้าย ฝ้ายไทย ฝ้ายหีบ (ประเทศไทย) เป็นต้น[5]

ลักษณะของฝ้ายขาว

ต้น
– เป็นพันธุ์ไม้ประเภทไม้พุ่มยืนต้นที่มีขนาดเล็ก และมีอายุขัยอยู่ได้นานหลายปี
– ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง ลำต้นมีสีเขียวและมีขนขึ้นปกคลุมอยู่อย่างหนาแน่นทั่วทั้งลำต้น ลำต้นแตกกิ่งก้านค่อนข้างน้อย
– ความสูงของต้น ประมาณ 1-3 เมตร
– ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุย
ใบ
– ใบมีรูปร่างเป็นรูปไข่กว้าง ตรงปลายใบแหลม ส่วนขอบใบเรียบและมีลักษณะเว้าแยกเป็นแฉก 3-5 แฉก และบริเวณโคนใบมีลักษณะเป็นรอยเว้าเล็กน้อย
– ใบจะออกเรียงสลับกัน โดยใบจะมีลักษณะเป็นใบเดี่ยว[1],[2],[3]
– ใบมีขนาดความกว้างประมาณ 8-10 เซนติเมตร มีความยาวประมาณ 10-12 เซนติเมตร และก้านใบมีความยาวประมาณ 2.5-8 เซนติเมตร
ดอก
– กลีบดอกมีสีชมพู ตรงบริเวณใจกลางดอกมีสีม่วงอ่อน กลีบดอกมี 5 กลีบ มีขนาดความกว้างประมาณ 2.5-3 เซนติเมตร และมีความยาวประมาณ 3-4 เซนติเมตร ดอกมีใบประดับห่อหุ้มดอกเอาไว้ ตรงปลายใบมีลักษณะเป็นเส้นเรียวแหลมอยู่ประมาณ 12 เส้น ดอกมีกลีบเลี้ยงเป็นรูปร่างสามเหลี่ยม ตรงขอบเป็นรอยฟันเลื่อย มีความยาวประมาณ 2-3 เซนติเมตร และดอกมีเกสรเพศผู้อยู่เป็นจำนวนมาก
– ดอกจะออกที่บริเวณปลายกิ่งและที่ซอกใบ ดอกมีลักษณะเป็นดอกเดี่ยว
– ออกดอกในช่วงเดือนกรกฎาคมไปจนถึงช่วงเดือนกันยายน[1],[2],[3]
ผล
– ผลมีลักษณะเป็นผลแห้ง ผลมีรูปร่างเป็นทรงกลม โดยผลจะแตกออกตามพู แยกออกเป็น 3-4 ซีก
– ต้น จะออกผลเมื่อดอกร่วงโรยลงไปแล้ว[1],[2],[3]
เมล็ด
– เมล็ดมีเป็นจำนวนมากอยู่ภายในผล เมล็ดมีรูปร่างค่อนข้างกลม มีความยาวประมาณ 1 เซนติเมตร เมล็ดมีเปลือกแข็งมีสีดำหรือสีน้ำตาล และมีขนสีขาวขึ้นห่อหุ้มทั่วทั้งเมล็ด

สรรพคุณของฝ้ายขาว

1. รากและเปลือกราก นำมาใช้ทำเป็นยาแก้อาการประจำเดือนมาไม่เป็นปกติ ช่วยแก้อาการตกขาว และช่วยขับประจำเดือนของสตรี (สตรีมีครรภ์ห้ามใช้เนื่องจากจะทำให้แท้งบุตรได้) (ราก, เปลือกราก)[1],[2]
2. รากมีสรรพคุณเป็นยาขับเสมหะและแก้อาการไอ (ราก)[3]
3. รากมีฤทธิ์เป็นยารักษาโรคหอบ (ราก)[3]
4. รากมีสรรพคุณเป็นยาห้ามเลือด (ราก)[3]
5. รากมีฤทธิ์เป็นยาแก้อาการตับอักเสบเรื้อรัง (ราก)[3]
6. รากมีสรรพคุณเป็นยารักษาโรคหลอดลมอักเสบ (ราก)[3]
7. รากมีสรรพคุณเป็นยาบำรุงกำลัง (ราก)[3]
8. รากมีฤทธิ์เป็นยารักษาโรคกระษัยลม (ราก)[3]
9. รากมีสรรพคุณเป็นยารักษาอาการตัวบวม (ราก)[3]
10. เมล็ดมีสรรพคุณเป็นยาแก้อาการตกเลือด และอาการตกขาวของสตรี (เมล็ด)[3]
11. เมล็ดมีฤทธิ์เป็นยารักษาอาการอั้นปัสสาวะไม่อยู่ (เมล็ด)[3]
12. เมล็ดมีสรรพคุณเป็นยารักษาริดสีดวง (เมล็ด)[3]
13. เมล็ดมีสรรพคุณเป็นยารักษาอาการถ่ายเป็นเลือด (เมล็ด)[3]
14. เมล็ดมีฤทธิ์เป็นยารักษาอาการสมรรถภาพทางเพศเสื่อม (เมล็ด)[3]
15. เมล็ดมีสรรพคุณเป็นยาบำรุงไต (เมล็ด)[3]
16. น้ำมันที่สกัดมาจากเมล็ดนำมาใช้เป็นยาภายนอก มีสรรพคุณเป็นยารักษาฝีหนองภายนอก และโรคกลากเกลื้อน (น้ำมันจากเมล็ด)[3]
17. น้ำมันที่สกัดมาจากเมล็ดมีสรรพคุณเป็นยาลดระดับไขมันเลือด (น้ำมันจากเมล็ด)[4]
18. น้ำมันที่สกัดมาจากเมล็ดมีฤทธิ์เป็นยารักษาโรคผิวหนัง มีส่วนช่วยทำให้ผิวหนังมีความชุ่มชื้นยิ่ง และรักษาอาการแผลมีหนองเรื้อรัง (น้ำมันจากเมล็ด)[4]
19. ฝ้ายที่ได้มาจากต้น ส่วนมากมักจะนำมาทำเป็นเครื่องนุ่งห่ม และเส้นใยที่เหลืออยู่กับเมล็ดจะนำมาทำพรม หรือนำมาทำเป็นเส้นใยเทียม เช่น เรยอน ฯลฯ เป็นต้น
20. ในทางการแพทย์จะนำฝ้ายมาใช้ทำสำลีหรืออุปกรณ์ทางการแพทย์ และนำมาใช้เตรียมเป็นยาแผนปัจจุบันอีกด้วย[5]
21. ใยฝ้ายสีขาวนำมาทอผ้า โดยผ้าที่ได้จะเรียกว่าผ้าฝ้าย[2]
22. น้ำมันที่สกัดมาจากเมล็ด สามารถนำมาใช้เป็นน้ำมันสำหรับใช้หุงต้มได้[5]

ขนาดและวิธีการใช้

1. รากแห้งให้ใช้ในปริมาณครั้งละ 15-35 กรัม และ เมล็ดให้ใช้ในปริมาณครั้งละ 6-15 กรัม โดยวิธีการนำมาปรุงเป็นยานั้นจะเหมือนกันคือ นำมาต้มกับน้ำใช้สำหรับรับประทานเป็นยาภายใน และนำมาใช้ภายนอกโดยการนำน้ำที่ต้มมาอาบหรือใช้สำหรับล้างบาดแผล[3]
2. น้ำมันจากเมล็ด จะมีวิธีนำมาใช้อยู่ 2 วิธีคือ 1. บรรจุแคปซูล 1-2 แคปซูล ใช้ทานเป็นยา โดยให้ทานเป็นเวลาทั้งเช้าและเย็น และ 2. นำมาปรุงอาหาร ใช้ทานเป็นยากึ่งอาหารบำรุงร่างกาย ทานเป็นเวลาทั้งเช้าและเย็น[4]

ข้อควรรู้

ในวงศ์เดียวกัน เช่น Gossypium barbadense L. และ Gossypium hirstum L. สามารถนำมาใช้แทนกันได้ เพราะมีสรรพคุณที่ใกล้เคียงกัน[3]

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

1. จากการวิจัยต้นพบว่า มีฤทธิ์ช่วยลดระดับไขมันในเลือด ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยคุมกำเนิด ทำให้ฮอร์โมนเพศชาย (testosterone) ลดลง และยับยั้งการสร้างอสุจิ เป็นต้น[4]
2. จากการวิจัยพบว่าต้นมีสารสำคัญ อันได้แก่ palmitic acid, gossypol, kaempferol, satirane, phytin, alamine, tocopherol, triacontane, apocynin, gossyptrin, aspartic acid, glutamic acid, glycine, gossypetin, serine และ thrconin[4]
3. จากการวิจัยความเป็นพิษของต้นในหนูขาว ผลพบว่าไม่เกิดอาการที่เป็นพิษ[4]
4. จากการวิจัยพบว่าสารที่สกัดมาจากกิ่งและรากของต้น มีฤทธิ์ที่สามารถต่อต้านเชื้อไวรัสไข้หวัด และเชื้อ Coccus, Staphelo coccus ได้[3]
5. จากการวิจัยนำสาร Gossypol ในต้นมาฉีดให้หนูทดลองที่มีอาการไอ ผลพบว่าสารดังกล่าวสามารถรักษาอาการไอ อีกทั้งยังช่วยขับเสมหะได้อีกด้วย[3]
6. จากการวิจัยพบว่าในเปลือกราก ในเมล็ด และน้ำมันที่สกัดมาจากเมล็ดของต้น มีสารสำคัญอย่างสาร Acetovanilone, Asparagin, Kaempferol, Quercimeritri, Gossypetin, Berbacitrin และ Cossypitrin อยู่[3]
7. จากการวิจัยสารที่สกัดได้มาจากใบ กิ่ง และราก โดยการนำมาทดลองกับหนูทดลอง พบว่าสารสกัดทั้งหลายดังกล่าวได้เข้าไปกระตุ้นการบีบตัวของมดลูกในหนูทดลองอย่างแรง[3]

ข้อควรระวังในการใช้

  • สตรีที่มีครรภ์ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานสมุนไพรหรืออาหารที่มีส่วนประกอบ เพราะจะทำให้แท้งบุตรได้[2]

สั่งซื้อ อาหารเสริม สำหรับผู้ป่วย เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). “ฝ้าย (Fai)”. หน้า 185.
2. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “ฝ้ายขาว”. หน้า 517-518.
3. หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. (วิทยา บุญวรพัฒน์). “ฝ้ายขาว”. หน้า 364.
4. หนังสือสมุนไพรลดไขมันในเลือด 140 ชนิด. (เภสัชกรหญิง จุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก). “ฝ้าย” หน้า 128-129.
5. พืชให้เส้นใย, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “ฝ้าย”. อ้างอิงใน : หนังสือพืชไร่ Guide for Field Crops in Tropics and the Subtropics Samuel. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.rspg.or.th/plants_data/use/fiber1.htm. [14 พ.ย. 2014].
6. https://medthai.com

อ้างอิงรูปจาก
1.https://indiagardening.com/

ละหุ่ง ใบสดมีสรรพคุณเป็นยาขับน้ำนมของสตรี

0
ละหุ่ง
ละหุ่ง ใบสดมีสรรพคุณเป็นยาขับน้ำนมของสตรี เป็นไม้พุ่มยืนต้นขนาดเล็ก ใบรูปฝ่ามือขอบใบมีรอยหยักปลายแฉกแหลม ดอกเป็นกระจุกสีนวลขาว ผลมีขนขึ้นปกคลุม
ละหุ่ง
เป็นไม้พุ่มยืนต้นขนาดเล็ก ใบรูปฝ่ามือขอบใบมีรอยหยักปลายแฉกแหลม ดอกเป็นกระจุกสีนวลขาว ผลมีขนขึ้นปกคลุม

ละหุ่ง

ต้นละหุ่ง พรรณไม้ส่งออกขายอันดับต้น ๆ ของประเทศไทย พรรณไม้ที่ชาวสวนชาวไร่นิยมปลูกสำหรับป้องกันศัตรูพืช และพรรณไม้ที่เด่นในเรื่องสรรพคุณอันหลากหลาย แต่เมล็ดกลับมีพิษร้ายเป็นอันตรายต่อชีวิต มีถิ่นกำเนิดในแถบแอฟริกาตะวันออก ในต่างประเทศสามารถพบได้ที่ประเทศอินเดีย และบราซิล ประเทศไทยสามารถพบได้ทั่วทุกภูมิภาค (ประเทศไทยได้ถูกจัดให้เป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ของโลกอีกด้วย) ชื่อสามัญ Castor, Castor bean, Castor oil plant ชื่อวิทยาศาสตร์ Ricinus communis L. จัดอยู่ในวงศ์ วงศ์ยางพารา (EUPHORBIACEAE) ชื่ออื่น ๆ ปี่มั้ว (ประเทศจีน), มะโห่ง มะโห่งหิน (ในภาคเหนือของประเทศไทย), มะละหุ่ง ละหุ่งแดง ละหุ่งขาว (ในภาคกลางของประเทศไทย) เป็นต้น[1],[3],[4]

ข้อควรรู้

ในประเทศไทยมีสายพันธุ์ที่ปลูกกันอยู่ 2 สายพันธุ์ ดังนี้
1. สายพันธุ์พื้นเมือง มีอายุยืนยาว เช่น พันธุ์ลายหินอ่อน พันธุ์ลายขาวดำ และพันธุ์ลายแดงเข้ม เป็นต้น สายพันธุ์เหล่านี้ มักจะปลูกแล้วจะปล่อยทิ้งไว้เป็นระยะเวลาประมาณ 5-6 ปี หรือมากกว่านั้นเพื่อให้ต้นติดผล
2. สายพันธุ์ลูกผสม มีอายุสั้น มีชื่อสายพันธุ์ว่า พันธุ์อุบล90 จุดเด่นอยู่ตรงที่มีระยะเวลาการปลูกที่สั้นใช้เวลาประมาณ 75-100 วัน ก็สามารถให้ผลผลิตได้ อีกทั้งเมล็ดยังมีน้ำมันสูงกว่าสายพันธุ์ปกติอีกด้วย (สายพันธุ์นี้ไม่ค่อยได้รับความนิยมมากนัก เนื่องจากมีราคาแพงและเมล็ดมีจำนวนจำกัด)[6]

ลักษณะของละหุ่ง

  • ต้น
    1. เป็นพันธุ์ไม้ประเภทไม้พุ่มยืนต้นที่มีขนาดเล็ก
    2. ต้นจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ต้นขาว มีสีลำต้นกับก้านใบที่เป็นสีเขียว และมียอดอ่อนกับช่อดอกเป็นสีนวลขาว[1] ต้นแดง มีสีลำต้นกับก้านใบที่เป็นสีแดง และมียอดอ่อนกับช่อดอกเป็นสีนวลขาว[1]
    3. ความสูงของต้น ประมาณ 6 เมตร
  • ใบ
    1. ใบมีรูปร่างเป็นรูปฝ่ามือ โดยจะแยกออกเป็นแฉกประมาณ 6-11 แฉก บริเวณที่ปลายแฉกแหลม ตรงขอบใบมีรอยหยัก ส่วนโคนใบมีรูปร่างเป็นแบบก้นปิด
    2. ใบมีเส้นแขนงใบขนาดใหญ่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน ใบมีหูใบเป็นรูปสามเหลี่ยม
    3. ใบจะออกเรียงสลับกันที่บริเวณก้านใบ โดยใบจะมีลักษณะเป็นใบเดี่ยว[1]
    4. ใบมีขนาดความกว้างประมาณ 15 เซนติเมตร มีความยาวประมาณ 60 เซนติเมตร และก้านใบมีความยาวประมาณ 10-30 เซนติเมตร
  • ดอก
    1. ดอกมีลักษณะเป็นช่อกระจะ และมีก้านช่อดอกยาว โดยช่อดอกจะออกที่บริเวณปลายกิ่ง
    2. ดอกย่อยจะอยู่รวมกันเป็นกระจุก ดอกเพศผู้ จะอยู่ส่วนบนของช่อ ดอกมีกลีบเลี้ยงอยู่ 5 กลีบ บางกลีบจะมีแฉกประมาณ 3-5 แฉก และดอกไม่มีกลีบดอก มีก้านดอกสั้น ลักษณะของตัวดอกจะเรียวและแคบ ดอกมีเกสรเพศผู้เป็นจำนวนมาก ดอกเพศเมีย จะอยู่ส่วนล่างของช่อ ดอกมีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ บางกลีบจะมีแฉกประมาณ 3-5 แฉก และดอกไม่มีกลีบดอกเช่นเดียวกันกับดอกเพศผู้ แต่ก้านดอกจะยาวกว่าดอกเพศผู้ และตัวดอกก็จะเรียวเล็กกว่าและแคบกว่า ดอกมีรังไข่ 3 ช่อง ในแต่ละช่องจะมีออวุลอยู่ 1 เม็ด ผิวของรังไข่จะมีเกล็ดปกคลุมอยู่ ดอกมีเกสรเพศเมียอยู่ 3 อัน
    3. ออกดอกเมื่อต้นมีอายุได้ประมาณ 40-60 วัน[1],[5]
  • ผล
    1. ผลมีรูปร่างเป็นแบบแคปซูล มีความยาวประมาณ 1.5 เซนติเมตร มีขนขึ้นปกคลุมทั่วทั้งผล ผลมีลักษณะเป็นผลแห้ง และผลมีพูอยู่ 3 พู พูมีรูปร่างเป็นรูปไข่ มีความยาวประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร มีสีเขียว
    2. ออกผลเมื่อต้นมีอายุได้ประมาณ 140-160 วัน[1],[5]
  • เมล็ด
    1. เมล็ดมีรูปร่างเป็นรูปทรงรี เปลือกเมล็ดมีสีน้ำตาลแดง (สีอาจเปลี่ยนแปลงได้ ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์นั้น ๆ ) และมีลายจุดสีน้ำตาลปนเทา หรือรอยประสีขาวอยู่ทั่วเมล็ด
    2. ภายในเมล็ดจะมีเนื้อสีขาว โดยจะเป็นโปรตีนที่มีสารพิษและมีน้ำมันสีเหลืองใส ที่มีลักษณะข้นและเหนียว ซึ่งน้ำมันจะมีกลิ่นเล็กน้อย เมื่อลิ้มรสจะมีรสชาติเฝื่อนลิ้นและเผ็ดเล็กน้อย[2]

สรรพคุณของละหุ่ง

1. ใบสดมีสรรพคุณเป็นยาขับลม (ใบสด)[1]
2. ใบสดนำมาเผาใช้สำหรับพอกศีรษะ มีสรรพคุณเป็นยาบรรเทาอาการปวดศีรษะ (ใบสด)[1]
3. ใบสดมีสรรพคุณเป็นยารักษาเลือดลมพิการ (ใบสด)[1],[3]
4. ใบสดมีฤทธิ์เป็นยารักษาอาการปวดท้อง (ใบสด)[1]
5. ใบสดมีสรรพคุณเป็นยาขับน้ำนมของสตรี (ใบสด)[1],[3]
6. ใบสดมีฤทธิ์ในการฆ่าแมลงได้ (ใบสด)[1]
7. ใบสดนำมาเผาใช้พอกบริเวณที่มีแผล มีสรรพคุณเป็นยารักษาแผลเรื้อรังได้ (ใบสด)[1]
8. ใบสดนำมาตำใช้สำหรับพอกบริเวณที่เป็นฝี มีสรรพคุณเป็นยารักษาฝีได้ (ใบสด)[1]
9. ใบสดมีสรรพคุณเป็นยาขับระดูของสตรี (ใบสด)[1]
10. ใบสดมีฤทธิ์เป็นยารักษาอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ (ใบสด)[1]
11. ใบสดนำมาเผาใช้เป็นยาพอก มีสรรพคุณเป็นยาแก้อาการปวดตามข้อหรืออาการปวดบวมตามร่างกายได้[1]
12. รากมีสรรพคุณเป็นยาสมาน (ราก)[1],[3]
13. รากนำมาตำเป็นยาสำหรับพอกเหงือก มีฤทธิ์รักษาอาการปวดฟัน (ราก)[1]
14. รากมีสรรพคุณเป็นยารักษาอาการพิษไข้ (ราก)[1],[3]
15. เมล็ดนำมาตำใช้สำหรับเป็นยาพอกบริเวณที่มีแผล โดยจะมีสรรพคุณในการรักษาแผล (เมล็ด)[1]
16. นำเมล็ดมาทุบเพื่อให้เอาเปลือกออกได้ง่าย จากนั้นนำเมล็ดที่เอาเปลือกออกหมดแล้วมาต้มกับนมในปริมาณครึ่งหนึ่งของหม้อที่ใช้ต้ม พอเดือดก็ให้นำไปต้มกับน้ำอีกทีหนึ่งเพื่อเป็นการทำลายสารพิษในเมล็ด เมื่อต้มจนแน่ใจแล้วว่าสารพิษนั้นได้ถูกทำลายไปจนหมดแล้วก็ให้นำเมล็ดมารับประทาน โดยจะมีสรรพคุณเป็นยาแก้อาการปวดข้อและปวดหลัง (เมล็ด)[1]
17. จากการวิจัยโปรตีนจากเมล็ด พบว่าสารพิษ Ricin ในโปรตีน จะเข้าไปจับกับ Antibody ของไวรัสเอดส์ โดยการวิจัยครั้งนี้ ถือเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญในการพัฒนายาที่จะป้องกันการเกิดโรคเอดส์ได้[3]

ประโยชน์ของละหุ่ง

1. การปลูก รอบไร่นาหรือรอบสวน จะช่วยป้องกันแมลงศัตรูพืชและไส้เดือนฝอยได้[7]
2. น้ำมัน จะมีกรดที่ชื่อว่า ริซิโนเลอิก (Ricinoleic Acid) อยู่ ซึ่งจะออกฤทธิ์เป็นยาระบาย ในทางการแพทย์จะใช้ในขนาด 15-60 มิลลิลิตร ใช้สำหรับผู้ป่วยที่ต้องมีการฉายรังสีบริเวณทวารหนักหรือปลายลำไส้ใหญ่หรือมีการผ่าตัดบริเวณช่องท้อง ลำไส้ หรือทวาร[2]
3. ลำต้นนำมาทำเป็นเยื่อกระดาษได้[5]
4. กากที่ได้มาจากเมล็ดสามารถนำมาใช้ทำเป็นปุ๋ยอินทรีย์ได้เป็นอย่างดี[5]
5. น้ำมันที่สกัดมาจากเมล็ด (Castor oil) จะมีกรดไขมันที่มีชื่อว่า Ricinoleic อยู่ ซึ่งจะมีคุณสมบัติที่ต่างจากน้ำมันพืช โดยน้ำมันชนิดนี้จะนิยมในอุตสาหกรรมการผลิตเรซิ่น น้ำมันเบรกรถยนต์ น้ำมันชักเงา ฉนวนกันไฟฟ้า น้ำมันผสมสี น้ำยารักษาหนัง หนังเทียม หมึกพิมพ์ น้ำมันหล่อลื่น จาระบี ใช้ทำสีทาบ้าน ขี้ผึ้งเทียม และเส้นใยเทียม[2],[3],[4],[5],[6]
6. น้ำมันที่สกัดมาจากเมล็ดสามารถนำมาผลิตเป็นอาหารสัตว์ได้[2],[3],[4],[5],[6]
7. น้ำมันที่สกัดมาจากเมล็ดสามารถนำมาใช้ทำเป็นยารักษาโรค ยาระบาย หรือเครื่องสำอางชนิดต่าง ๆ ได้อีกด้วย[2],[3],[4],[5],[6]
8. น้ำมันที่สกัดมาจากเมล็ด จะมีฤทธิ์เป็นยาถ่ายอย่างอ่อนสำหรับเด็กและผู้ใหญ่[1]
9. น้ำมันที่สกัดมาจากเมล็ดนำมาผสมกับน้ำมันงา ใช้สำหรับทำเป็นยาทาภายนอก โดยจะมีสรรพคุณเป็นยารักษาอาการกระดูกหักหรือแตกได้[1]
10. น้ำมันที่สกัดมาจากเมล็ดนำมาทำเป็นยาขี้ผึ้งที่มีความเข้มข้นร้อยละ 5-10 โดยจะมีสรรพคุณในการรักษาอาการผิวหนังอักเสบ[1]

ความเป็นพิษของต้นละหุ่ง

1. Ricin จากเมล็ดมีความเป็นพิษสูง โดยในปัจจุบันยังไม่มียารักษา ทำได้แค่รักษาไปตามอาการเท่านั้น[8]
2. เมล็ดมีความเป็นพิษสูง หากรับประทานเข้าไปปากและคอจะถูกไหม้จากความเป็นพิษนี้ จากนั้นก็เริ่มมีอาการคลื่นไส้อาเจียน เนื่องจากมีเลือดออกในกระเพาะอาหาร ถ่ายเป็นเลือดและท้องเสียอย่างรุนแรง แน่นหน้าอก มีอาการหายใจไม่ค่อยออก เยื่อบุจมูกอักเสบ ความดันโลหิตลดต่ำลงอย่างมาก ปอดบวม ระบบตับและไตถูกทำลาย และจะเสียชีวิตในทันทีเนื่องจากพิษจะเข้าไปทำให้ระบบการไหลเวียนโลหิตล้มเหลว หากไม่ได้รับการรักษาภายในระยะเวลา 36-72 ชั่วโมง[1],[8]
3. เนื้อภายในเมล็ดจะเป็นโปรตีนที่มีความเป็นพิษสูง ส่วนน้ำมันในเมล็ดจะไม่มีพิษหากสกัดด้วยวิธีการบีบเย็น (เนื่องจากวิธีนี้ จะทำให้โปรตีนที่มีพิษไม่ติดออกมาด้วยกับน้ำมันนั่นเอง)
4. เมล็ดมีความเป็นพิษต่อคน สัตว์ และแมลง โดยสารที่สำคัญได้แก่ Ricin และ Ricinus Communis Agglutinin (RCA) โดยสาร Ricin จะส่งผลให้เม็ดเลือดแดงไม่เกาะกลุ่มกันหรือเกาะกันน้อยลง และมีความเป็นพิษต่อเซลล์สูง ส่วน RCA จะมีความเป็นพิษน้อยกว่ามาก เนื่องจาก RCA จะไม่ถูกดูดซึมผ่านเยื่อบุทางเดินอาหาร[8]

สั่งซื้อ อาหารเสริม สำหรับผู้ป่วย เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.phargarden.com. [12 พ.ย. 2013].
2. ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.thaicrudedrug.com. [12 พ.ย. 2013].
3. สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.rspg.or.th. [12 พ.ย. 2013].
4. คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. กรีนไฮเปอร์มาร์ท สารานุกรมผลิตผลและผลิตภัณฑ์จากพืชในซุปเปอร์มาร์เก็ต ฉบับคอมพิวเตอร์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.sc.mahidol.ac.th. [12 พ.ย. 2013].
5. รายการสาระความรู้ทางการเกษตร ฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่. “เรื่อง ละหุ่ง”. บทความวิทยุรายการสาระความรู้ทางการเกษตร ประจำวันที่จันทร์ที่ 5 เมษายน 2542. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: natres.psu.ac.th. [12 พ.ย. 2013].
6. โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. “ละหุ่ง“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: kanchanapisek.or.th. [12 พ.ย. 2013].
7. สำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6 จังหวัดเชียงใหม่. “การใช้สมุนไพรป้องกันและกำจัดศัตรูพืช”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.ndoae.doae.go.th. [12 พ.ย. 2013].
8. ศูนย์ข้อมูลพิษวิทยา. “สารพิษจากเมล็ดละหุ่ง“. อ้างอิงใน: กลุ่มงานพิษวิทยาและสิ่งแวดล้อม กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: webdb.dmsc.moph.go.th. [12 พ.ย. 2013].
9. https://medthai.com/

อ้างอิงรูปจาก
1. https://www.amazon.in/
2. https://antropocene.it/

ต้นแสลงใจ เมล็ดช่วยบำรุงประสาท

0
ต้นแสลงใจ เมล็ดช่วยบำรุงประสาท เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ต้นสีน้ำตาลปนสีเทา ดอกช่อดอกคล้ายร่มขนาดเล็กสีเทาอมสีขาว สีเขียวอ่อน สีขาว ผลอ่อนสีเขียว ผลสุกสีส้มหรือสีส้มแดง
แสลงใจ
เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ต้นสีน้ำตาลปนสีเทา ดอกช่อดอกคล้ายร่มขนาดเล็กสีเทาอมสีขาว สีเขียวอ่อน สีขาว ผลอ่อนสีเขียว ผลสุกสีส้มหรือสีส้มแดง

แสลงใจ

แสลงใจ เป็นไม้กลางแจ้ง โตได้ดีในดินที่ร่วนซุยที่มีความชื้น ประเทศไทยสามารถพบเจอได้ทุกภาค ยกเว้นทางภาคใต้ ที่ตามป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ที่สูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 100-500 เมตร ในต่างประเทศสามารถพบเจอได้ที่ประเทศเวียดนาม ประเทศกัมพูชา ประเทศอินเดีย ประเทศมาเลเซีย ประเทศลาว ประเทศศรีลังกาชื่อสามัญ Snake Wood, Nux-vomica Tree [1],[2] ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Strychnos nux-vomica L.[1],[2],[3] อยู่วงศ์กันเกรา (LOGANIACEAE หรือ STRYCHNACEAE)[1],[3],[7] ชื่อในท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น ว่านไฟต้น, ตูมกาแดง (ภาคกลาง), กระจี้ (ภาคกลาง), แสลงโทน (จังหวัดโคราช), แสลงเบื่อ (จังหวัดนครราชสีมา), กะกลิ้ง (ภาคกลาง), แสลงทม (จังหวัดนครราชสีมา), แสงโทน (จังหวัดโคราช), แสงเบื่อ (จังหวัดอุบลราชธานี), โกฐกะกลิ้ง (ภาคกลาง) [1],[3],[10]

ลักษณะของแสลงใจ

  • ต้น เป็นไม้ยืนต้นที่มีขนาดใหญ่ ต้นสามารถสูงได้ถึงประมาณ 30 เมตร[1] เปลือกลำต้นมีลักษณะเป็นสีน้ำตาลปนสีเทา มีรูตาที่ตามเปลือกต้น ขยายพันธุ์โดยวิธีการตอน การใช้เมล็ด [1],[3],[4],[6],[7]
  • ใบ เป็นใบเดี่ยว ใบจะออกเรียงตรงข้าม ใบเป็นรูปไข่ รูปรี ที่โคนใบจะมนเบี้ยว ส่วนที่ปลายใบจะแหลมหรือมน ขอบใบเรียบ ใบกว้างประมาณ 5-8 เซนติเมตร มีความยาวประมาณ 7-12 เซนติเมตร ที่ท้องใบจะเรียบ ส่วนที่หลังใบก็จะเรียบเช่นกัน มีเส้นใบตามแนวขวาง 5 เส้น ตามแนวยาว 3 เส้น ก้านใบยาวได้ประมาณ 4-6 มิลลิเมตร [1],[4]
  • ดอก ออกเป็นช่อ ออกดอกที่ตามซอกใบและปลายกิ่ง ช่อดอกคล้ายร่ม มีดอกย่อยขนาดเล็ก ดอกมีลักษณะเป็นสีเทาอมสีขาว สีเขียวอ่อน สีขาว เป็นรูปทรงกระบอกแตกเป็นกลีบ 5 กลีบ กลีบดอกมีความยาวประมาณ 2.5-4 มิลลิเมตร ที่ปลายกลีบดอกจะแหลม ส่วนที่โคนกลีบดอกจะเชื่อมกันเป็นหลอดเล็ก มีเกสรเพศผู้อยู่ 5 อัน[1],[4]
  • ผล เป็นผลสด ผลเป็นรูปทรงกลม มีขนาดประมาณ 2.5-4 เซนติเมตร พื้นผิวของผลจะเรียบ ผลอ่อนมีลักษณะเป็นสีเขียว ผลสุกเป็นสีส้มหรือสีส้มแดง มีเมล็ดอยู่ในผลประมาณ 3-5 เมล็ด[1],[4],[5]
  • เมล็ด เป็นรูปกลมและแบน เมล็ดมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.5-2.5 เซนติเมตร พื้นผิวเมล็ดมีลักษณะเป็นสีเทาอมสีเหลือง มีขนเป็นสีขาว สีน้ำตาลอ่อน [4]

สรรพคุณ และประโยชน์แสลงใจ

1. เมล็ด มีสรรพคุณที่ช่วยแก้เหน็บชาและรูมาติซั่ม แก้อัมพาต แก้อาการปวดบวม แก้อัมพฤกษ ช่วยขับลมชื้น[4]
2. สามารถนำใบมาตำใช้พอกแก้อาการฟกช้ำได้ (ใบ)[1]
3. สามารถนำเมล็ดมาใช้ภายนอกเป็นยาแก้ฟกช้ำดำเขียวได้ (เมล็ด)[4]
4. สามารถช่วยแก้ฝีภายนอกและภายในได้ (เมล็ด)[4]
5. สามารถนำรากมาฝนกับน้ำ ใช้ทานและทาแก้อาการอักเสบเนื่องจากงูกัด (ราก)[1]
6. เมล็ด มีสรรพคุณที่สามารถช่วยกระตุ้นความรู้สึกทางเพศได้ (เมล็ด)[3]
7. สามารถช่วยแก้โรคโปลิโอในเด็กได้ (เมล็ด)[4]
8. เมล็ด มีสรรพคุณที่สามารถช่วยตัดพิษกระษัย ตัดพิษไข้ได้ (เมล็ด)[5]
9. ถ้าใช้เมล็ดในปริมาณที่น้อยมีสรรพคุณที่เป็นยาบำรุงธาตุ ช่วยกระตุ้นระบบการไหลเวียนของเลือด ช่วยกระตุ้นระบบการหายใจ (เมล็ด)[7]
10. เมล็ด สามารถใช้เป็นยาบำรุงหัวใจให้เต้นแรงขึ้น และบำรุงหัวใจได้ (เมล็ด)[1],[2],[5]
11. เมล็ดแก่แห้งสามารถใช้เป็นยาขมเจริญอาหาร ช่วยขับน้ำย่อยได้ โดยใช้เมล็ดมาดองเหล้าทาน แต่จะต้องใช้ปริมาณต่ำ (เมล็ด)[1],[2],[3]
12. แก่นสามารถใช้เป็นยาแก้อาการปวดเมื่อยได้ (แก่น)[1]
13. สามารถช่วยแก้มะเร็งที่ผิวหนังได้ (เมล็ด)[4]
14. ใบ มีรสเมาเบื่อขม สามารถนำมาตำกับเหล้า ใช้พอกปิดแผลเรื้อรังเน่าเปื่อยได้ (ใบ)[5]
15. สามารถช่วยแก้โรคไตพิการได้ (ใบ)[5]
16. ราก มีรสเมาเบื่อขม สามารถทานเป็นยาแก้ท้องขึ้นได้ (ราก)[5]
17. ราก มีสรรพคุณที่เป็นยาแก้ไข้มาลาเรีย (ราก)[1]
18. เมล็ด เป็นยาบำรุงประสาทแบบแรง (เมล็ด)[8]
19. เมล็ด มีรสเมาเบื่อขม จะเป็นยาเย็น มีพิษเยอะ ก่อนใช้ต้องผ่านกรรมวิธีกำจัดพิษก่อน จะมีสรรพคุณที่เป็นยากระจายเลือดลม ช่วยทะลวงเส้นลมปราณ ทำให้เลือดเย็น แก้เลือดร้อน (เมล็ด)[4]
20. สามารถช่วยบำรุงประสาทได้ (เมล็ด)[5]
21. เนื้อไม้สามารถใช้ทำเป็นด้ามเครื่องมือทางการเกษตร ของเล่นเด็ก เครื่องแกะสลักได้ [6]
22. เมล็ด สามารถใช้เป็นยาเบื่อสุนัข ยาเบื่อหนูได้ [2] หรือป่นเป็นยาเบื่อปลา[3]

ข้อควรระวังในการใช้

  • เมล็ดมีพิษเยอะ ก่อนใช้เป็นยาต้องผ่านกรรมวิธีกำจัดพิษก่อน
  • ห้ามให้สตรีตั้งครรภ์และสตรีที่ให้นมบุตรทาน
  • เมล็ด จะมีสาร Brucine ถ้าใช้ในปริมาณที่เยอะจะเป็นพิษ จะมีฤทธิ์กระตุ้นเส้นประสาทไขสันหลัง ชักกระตุก จะทำให้เบื่อเมา ทำให้มีอาการกลืนอาหารลำบาก กล้ามเนื้อเกร็งแข็ง และอาจจะทำให้เสียชีวิตได้ [1],[2],[4]
  • การทานในปริมาณน้อย แต่ทานติดต่อเป็นเวลานานจะเป็นอันตรายกับตับ[9]

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

  • ความเป็นพิษของเมล็ด ปรากฏว่าถ้าทานเยอะกว่า 5 มิลลิกรัม ของ Strychnos หรือประมาณ 30-50 มิลลิกรัมของผงยา จะทำให้กระวนกระวาย หายใจลำบาก อาจชัก และอาจจะทำให้เสียชีวิตได้[9]
  • เมล็ดจะมีสารอัลคาลอยด์ประมาณ 1.5-5% มีอยู่หลายชนิด อย่างเช่น N-methylses-pseudobrucine, Vomicine, Stryhcnine, Brucine, Pseudostrychnine และพบ Chlorogenic acid, น้ำมัน, โปรตีน 11% [4] ส่วนมากเป็นสารจำพวก Strychnine ประมาณ 1/3-1/2 ในสารอัลคาลอยด์ทั้งหมด สารนี้อยู่กึ่งกลางเมล็ด เป็นพิษและมีฤทธิ์กระตุ้นประสาทไขสันหลัง จะนิยมใช้เป็นยาเบื่อสัตว์ ห้ามใช้เกินขนาดเนื่องจากอาจเป็นอันตราย และมีสาร Brucine ที่อยู่ด้านนอกติดเปลือกเมล็ด จะมีรสขม ละลายในแอลกอฮอล์และในน้ำได้ดี แต่มีฤทธิ์อ่อนกว่า Strychnine ในปัจจุบันไม่นิยมใช้เป็นยารักษาโรค[2],[3]
  • สาร Strychnine ถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้เร็ว ทั้งระบบทางเดินอาหาร เยื่อบุจมูก บริเวณที่ฉีด ถ้าเข้าสู่ร่างกายแล้วจะกระจาย และถูก metabolite ที่ตับเป็นส่วนใหญ่ ประมาณ 10-20% ถูกขับออกแบบไม่เปลี่ยนแปลงทางไต สาร Strychnine มีค่าครึ่งชีวิตอยู่ที่ประมาณ 10-15 ชั่วโมง อาการของผู้ป่วยที่ได้รับ Strychnine มักเกิดขึ้นใน 10-20 นาทีหลังทาน ผู้ป่วยอาจจะมีการกระตุกเกร็งตัวของกล้ามเนื้อทั่วไปถึงมีอาการชัก อาการชักจะเกิดตอนผู้ป่วยยังมีสติหรือรู้สึกตัว ผู้ป่วยอาจจะเจ็บปวดขณะที่กระตุก ส่วนภาวะแทรกซ้อนที่มีความอันตรายของการเกร็งตัวชนิดคือ ซึ่งจะทำให้การหายใจล้มเหลว อาจเกิดภาวะกล้ามเนื้อสลายตัว จนมีไตวายตามมา ทางเภสัชกรรมไทยจัดให้เมล็ดเป็นพืชอันตราย ถึงแม้บางประเทศเคยใช้สาร Strychnine รักษาโรคบางอย่าง แต่ในภายหลังได้ยกเลิกใช้แล้ว เพราะมีความอันตรายและมีความเป็นพิษสูง[10]
  • ทางคลินิกรายงานว่า จากการทดลองใช้รักษาอาการประสาทกล้ามเนื้อสามเหลี่ยมที่ใบหน้าแข็งชา โดยใช้เมล็ดมาหั่นเป็นแผ่น วางที่ใบหน้าที่ชาหรือกระตุก ต้องเปลี่ยนยาทุก 7-10 วัน จนกว่าจะหาย จากการรักษาผลปรากฏว่ารักษาคนไข้ให้หายดีได้ถึงประมาณ 80%[4]
  • สารในกลุ่มอัลคาลอยด์ 3 ชนิด (icajine, strychnine, pseudostrychnine) ใน 6 ชนิดจากเมล็ด เมื่อทดสอบกับเซลล์มะเร็งของมนุษย์ ปรากฏว่ามีฤทธิ์ที่ช่วยยับยั้งการเติบโตของเซลล์ โดยสาร strychnine ให้ผล human gastric carcinoma cell line BGC, human carcinoma cell line KB, human leukemia cell line HL-60 และสาร pseudostrychnine ให้ผล human hepatic carcinoma cell line BEL-7402, human carcinoma cell line KB, human gastric carcinoma cell line BGC ส่วนสาร icajine ให้ผล human gastric carcinoma cell line BGC, human carcinoma cell line KB [11]

สั่งซื้อ อาหารเสริม สำหรับผู้ป่วย เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). “แสลงใจ (Sa Laeng Jai)”. หน้า 310.
2.หนังสือสมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ. (คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “แสลงใจ Nux-vomica Tree/Snake Wood”. หน้า 195.
3. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “แสลงใจ”. หน้า 790-791.
4. หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. (วิทยา บุญวรพัฒน์). “โกฐกะกลิ้ง”. หน้า 98.
5. หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคเหนือ. “แสลงใจ”. (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ). หน้า 185.
6. หนังสือพรรณไม้สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เล่ม 1. “แสลงใจ”.
7. สวนพฤกษศาสตร์ ตามพระราชเสาวนีย์ฯ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. “แสลงใจ”. [ ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.dnp.go.th/pattani_botany. [11 ก.ค. 2014].
8. สรรพคุณสมุนไพร 200 ชนิด, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “แสลงใจ (โกฏกะกลิ้ง)”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.rspg.or.th/plants_data/herbs/. [11 ก.ค. 2014].
9. Trease and Evans Pharmacognosy 14th edition. (William Charles Evans, George Edward Trease). Pages: 391-392, 1996.
10. ศูนย์พิษวิทยารามาธิบดี, คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี, มหาวิทยาลัยมหิดล. “อันตรายจาก Strychnine”. [ ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: med.mahidol.ac.th/poisoncenter. [11 ก.ค. 2014].
11. หน่วยบริการฐานข้อมูลสมุนไพร สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. “ฤทธิ์ต้านเนื้องอกของสารในกลุ่ม alkaloids จากเมล็ดแสลงใจ”. เข้าถึงได้จาก: www.medplant.mahidol.ac.th. [11 ก.ค. 2014].

อ้างอิงรูปจาก
1. https://www.inaturalist.org/taxa/498755-Strychnos-nux-vomica
2. https://usa.exportersindia.com/global-trade-partners-llc/strychnos-nux-vomica-seeds-beverly-hills-united-states-1424717.htm
3. https://medthai.com/

ต้นพระจันทร์ครึ่งซีก สรรพคุณใช้รักษาโรคภูมิแพ้

0
พระจันทร์ครึ่งซีก
ต้นพระจันทร์ครึ่งซีก สรรพคุณใช้รักษาโรคภูมิแพ้ เป็นพันธุ์ไม้ขนาดเล็กคล้ายกับต้นหญ้า ทอดเลื้อยตามพื้นดินคล้ายเถา ต้นมีน้ำยางสีขาว ดอกมีสีขาวหรือสีม่วง
พระจันทร์ครึ่งซีก
เป็นพันธุ์ไม้ขนาดเล็กคล้ายกับต้นหญ้า ทอดเลื้อยตามพื้นดินคล้ายเถา ต้นมีน้ำยางสีขาว ดอกมีสีขาวหรือสีม่วง

พระจันทร์ครึ่งซีก

พระจันทร์ครึ่งซีก มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีน ในปัจจุบันสามารถพบได้ในแถบภูมิภาคอินโดจีน คาบสมุทรมลายู ประเทศอินเดีย ญี่ปุ่น ไต้หวัน เกาหลี ศรีลังกา และพม่า ประเทศไทยสามารถพบได้ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงใต้ และภาคเหนือ เติบโตตามพื้นที่โล่งที่มีความชื้นแฉะ ในระดับความสูง 100-300 เมตร วัดจากระดับน้ำทะเล[1],[3],[4],[7] ชื่อสามัญ Chinese lobelia[7] ชื่ออื่น ๆ ปัวปีไน้ ปั้วปีไน้ (ภาษาจีนแต้จิ๋ว), ป้านเปียนเหลียม ป้านเปียนเหลียน (ภาษาจีนกลาง), ปั้วใบไน้ (ประเทศจีน), ผักขี้ส้ม (จังหวัดสกลนคร), บัวครึ่งซีก (จังหวัดชัยนาท) เป็นต้น[1],[3],[4],[7] ชื่อวิทยาศาสตร์ Lobelia chinensis Lour. ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Lobelia caespitosa Blume, Lobelia campanuloides Thunb., Lobelia radicans Thunb. จัดอยู่ในวงศ์ (CAMPANULACEAE)[1],[2],[3],[4],[7]

ลักษณะของต้นพระจันทร์ครึ่งซีก

  • ต้น
    1. เป็นพันธุ์ไม้ประเภทล้มลุกที่มีขนาดเล็กคล้ายกับต้นหญ้า ต้นมีอายุขัยอยู่ได้นานหลายปี
    2. ลำต้นมีผิวเรียบและมีความเป็นมัน มีสีแดงอมเขียวหรือสีเขียว ลำต้นจะมีรูปร่างเรียวเล็กและมีข้อตามลำต้น ซึ่งลักษณะของลำต้นจะทอดเลื้อยไปตามพื้นดินคล้ายเถา และส่วนยอดของลำต้นจะตั้งชูขึ้น
    3. ตามข้อลำต้นจะมีกิ่งก้านและใบออกเรียงสลับกัน และต้นจะมีรากเป็นระบบรากฝอย
    4. ภายในลำต้นมีน้ำยางสีขาว
    5. ความสูงของต้นประมาณ 5-20 เซนติเมตร
    6. ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการปักชำ
  • ใบ
    1. ใบ มีรูปร่างเป็นรูปขอบขนาน ตรงปลายใบแหลม ส่วนขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อยตื้น ๆ และบริเวณโคนใบตัดเป็นมน ท้องใบและหลังใบมีผิวเรียบเป็นมันเงา
    2. ใบ จะออกเรียงสลับกัน โดยใบจะมีลักษณะเป็นใบเดี่ยว[1],[3],[7]
    3. ใบมีขนาดความกว้างประมาณ 0.2-0.6 เซนติเมตร มีความยาวประมาณ 1-2 เซนติเมตร และมีก้านใบที่สั้นมาก
  • ดอก
    1. ดอกมีลักษณะเป็นดอกเดี่ยว ก้านดอกค่อนข้างยาว กลีบดอกมีอยู่ 5 กลีบ กลีบดอกมีสีขาวหรือสีม่วง ดอกมีกลีบเลี้ยงสีเขียวอมม่วง โดยกลีบดอกจะมีจุดเด่นตรงที่กลีบดอกจะเรียงตัวไปในทิศทางเดียวกัน (มีลักษณะคล้ายดอกบัวครึ่งซีก)
    2. ดอกมีเกสรเพศผู้อยู่ 5 อัน และมีเกสรเพศเมียอยู่ 1 อัน มีรังไข่อยู่ใต้วงกลีบ แบ่งเป็น 2 ห้อง หลอดดอกมีขนสีขาวขึ้นปกคลุม และตรงบริเวณโคนกลีบดอกจะเชื่อมติดกันเป็นหลอด ซึ่งแต่ละหลอดจะแยกตัวออกจากกัน
    3. ออกดอกในช่วงเดือนพฤษภาคมไปจนถึงเดือนตุลาคม[1],[3],[4]
  • ผล
    1. ผลมีขนาดเล็ก วัดขนาดความยาวได้ประมาณ 4-6 มิลลิเมตร เมื่อผลแห้งผลจะแตกออก
    2. ผลจะออกบริเวณที่ใกล้กับดอก
    3. ติดผลในช่วงเดือนพฤษภาคมไปจนถึงเดือนตุลาคม
  • เมล็ด
    1. เมล็ดมีรูปร่างเป็นรูปแบนและรี โดยเมล็ดจะมีอยู่เป็นจำนวนมากภายในผล[1],[4]

สรรพคุณ และประโยชน์ของพระจันทร์ครึ่งซีก

1. ทั้งต้นนำมาต้มกับน้ำเป็นยาสำหรับใช้ภายนอก โดยให้นำมาทาบริเวณที่มีอาการ มีสรรพคุณในการรักษาอาการไขข้ออักเสบ และแก้อาการเคล็ดขัดยอก (ทั้งต้น)[3],[5],[7]
2. ทั้งต้นมีสรรพคุณเป็นยาถอนพิษไข้ และดับพิษร้อน (ทั้งต้น)[4]
3. ทั้งต้นมีสรรพคุณเป็นยารักษาไข้หวัด และโรคไข้มาลาเรีย (ทั้งต้น)[5],[7]
4. ทั้งต้นมีฤทธิ์เป็นยาแก้ไอ (ทั้งต้น)[5],[7]
5. ทั้งต้นมีสรรพคุณเป็นยารักษาโรคภูมิแพ้ และบรรเทาอาการคัดจมูก (ทั้งต้น)[5]
6. ทั้งต้นมีฤทธิ์เป็นยารักษาอาการบวมช้ำ บรรเทาอาการแน่นหน้าอก และอาการเจ็บสีข้าง (ทั้งต้น)[1]
7. ทั้งต้นนำมาตำใช้เป็นยาพอก มีสรรพคุณเป็นยารักษาอาการเต้านมอักเสบ (ทั้งต้น)[3],[4],[5]
8. ทั้งต้นมีสรรพคุณเป็นยารักษาโรคต่อมทอนซิลอักเสบ (ทั้งต้น)[3],[4],[5]
9. ทั้งต้นมีฤทธิ์เป็นยารักษาอาการไอเป็นเลือด และอาการอาเจียนออกมาเป็นเลือด (ทั้งต้น)[1],[2],[3],[5]
10. ทั้งต้นนำมาใช้เป็นยาอม มีสรรพคุณบรรเทาอาการเจ็บคอ (ทั้งต้น)[1]
11. ทั้งต้นมีสรรพคุณในการรักษาอาการตาแดง (ทั้งต้น)[3],[5]
12. ทั้งต้นมีสรรพคุณเป็นยารักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน (ทั้งต้น)[7]
13. ทั้งต้นนำมาใช้ทำเป็นยา มีสรรพคุณในการรักษาโรคหืด บำรุงปอด และรักษาวัณโรค (ทั้งต้น)[1],[2],[4],[5]
14. ทั้งต้นนำมาต้มรับประทานมีสรรพคุณเป็นยารักษาอาการท้องเสีย (ทั้งต้น)[3],[5]
15. ทั้งต้นมีสรรพคุณเป็นยารักษาโรคบิด (ทั้งต้น)[3],[4],[5]
16. ทั้งต้นมีฤทธิ์เป็นยารักษาอาการถ่ายกะปริบกะปรอย (ทั้งต้น)[4]
17. ทั้งต้นมีสรรพคุณเป็นยาฆ่าพยาธิ (ทั้งต้น)[7]
18. ทั้งต้นมีฤทธิ์เป็นยารักษาอาการไส้ติ่งอักเสบ (ทั้งต้น)[4]
19. ทั้งต้นมีสรรพคุณเป็นยาขับปัสสาวะ (ทั้งต้น)[1],[4],[7]
20. ทั้งต้นมีฤทธิ์เป็นยารักษาอาการบวมน้ำ (ทั้งต้น)[4]
21. ทั้งต้นมีสรรพคุณเป็นยารักษาโรคขัดเบา และโรคดีซ่าน (ทั้งต้น)[3],[5]
22. ทั้งต้นมีฤทธิ์เป็นยารักษาอาการท้องมานอันเนื่องมาจากพยาธิใบไม้ (ทั้งต้น)[3],[5]
23. ทั้งต้นนำมาทำเป็นยาขับพยาธิใบไม้ภายในตับ (ทั้งต้น)[4]
24. ทั้งต้นนำมาใช้เป็นยาภายนอก มีสรรพคุณเป็นยาห้ามเลือด (ทั้งต้น)[7]
25. ทั้งต้นนำมาทำเป็นยาสำหรับใช้ภายนอก โดยจะมีสรรพคุณเป็นยาแก้ฝีหนอง กลากและเกลื้อน ผิวหนังมีผื่นคัน อาการผิวหนังอักเสบ อาการฟกช้ำตามร่างกาย และมีแผลเปื่อย (ทั้งต้น)[1],[4],[3],[5]
26. ทั้งต้นมีสรรพคุณเป็นยารักษาโรคมะเร็งที่บริเวณทวารหนัก และที่บริเวณกระเพาะอาหาร (ทั้งต้น)[5]
27. ทั้งต้นมีสรรพคุณเป็นยารักษาพิษงู (ทั้งต้น)[1],[4],[7]
28. ทั้งต้นมักนิยมนำมาใช้เป็นส่วนประกอบในยานัตถุ์[1]

ขนาดและวิธีการใช้

1. ยาแห้งให้นำมาใช้ในปริมาณครั้งละ 35-70 กรัม นำมาต้มกับน้ำใช้สำหรับดื่มเป็นยา
2. ยาสดให้นำมาใช้ในปริมาณครั้งละ 35-70 กรัม นำมาคั้นเอาแต่น้ำใช้สำหรับดื่มเป็นยา
3. สำหรับการนำยามาใช้ภายนอกให้นำมาใช้ในปริมาณที่เหมาะสม[4]
หมายเหตุ: ไม่ควรทิ้งยาที่ต้มแล้วไว้เกิน 4 ชั่วโมง เพราะยาจะเสื่อมสภาพได้[5]

ข้อควรระวังในการใช้สมุนไพร

  • ผู้ที่มีอาการอาหารไม่ย่อย ถ่ายอุจจาระเหลว และมีอาการท้องอืด ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานสมุนไพรชนิดนี้ เนื่องจากอาจจะเกิดผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายได้[3],[5]

อาการ และวิธีการบรรเทาพิษเบื้องต้น

1. หากใช้สมุนไพรเกินขนาด จะเกิดผลข้างเคียงดังนี้ ในระยะแรกจะเริ่มมีอาการวิงเวียนศีรษะ เริ่มคลื่นไส้ อาเจียน หลังจากนั้นจะเริ่มมีอาการหายใจไม่ค่อยออก หัวใจทำงานได้ช้าลง เริ่มมีภาวะความดันโลหิต และอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้
2. วิธีการบรรเทาพิษเบื้องต้นนั้น ให้นำยาฝาดสมาน ที่มีส่วนผสมของ tannic acid มาต้มกับน้ำใช้สำหรับดื่ม หรืออีกวิธีคือการทานผงถ่านพิเศษ (activated charcoal) เข้าไป จากนั้นก็ให้รีบนำส่งโรงพยาบาลโดยเร็ว[6]

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

1. จากการวิจัยสารสกัดที่ได้พบว่า ตัวสารมีฤทธิ์เป็นยาระบาย และพบอีกว่าส่งผลข้างเคียงต่อไตเล็กน้อย[6]
2. จากการวิจัยความเป็นพิษพบว่า สารพิษสามารถฆ่าหนูทดลองให้ตายได้ หากสารพิษนั้นมีปริมาณที่เกินครึ่งของน้ำหนักตัวของหนูทดลอง[6]
3. จากการวิจัยต้นพบว่า มีสารที่สำคัญอันได้แก่ สาร Amino acid, Isobelanine, Lobelandine, Flavonoid, Saponin, Lobeline และ Lobelanine เป็นต้น อีกทั้งยังมีสารในจำพวก Alkaloid อยู่หลายชนิดอีกด้วย[4]
4. จากการวิจัยสารสกัดของต้นพบว่า หลังจากการฉีดสารสกัดเข้าไปในหนูทดลองพบว่า สารสกัดดังกล่าวนี้ มีฤทธิ์ในการต่อต้านเชื้อรา และส่งผลในการทำให้เลือดแข็งตัว[3],[4]
5. จากการวิจัยสารสกัดของต้นพบว่า ตัวสารสามารถต่อต้านพิษงูได้[4]
6. จากการวิจัยสารสกัดของต้นพบว่า ตัวสารจะเข้าไปต่อต้านเชื้อ Staphelo coccus, เชื้อบิด, เชื้อไทฟอยด์ และเชื้อในลำไส้ใหญ่[4]
7. จากการวิจัยสารสกัดของต้นพบว่า มีฤทธิ์ในการขับปัสสาวะและช่วยลดความดันโลหิตได้อีกด้วย แต่ก็มีข้อควรระวังเพราะมีผลข้างเคียงต่อไต[3],[4],[6]
8. จากการวิจัยพบว่า การนำต้นมาต้มกับน้ำสำหรับใช้เป็นยาในผู้ป่วยที่เป็นโรคติดเชื้ออันเนื่องมาจากพยาธิใบไม้ในระยะสุดท้ายรับประทาน (โดยได้มีการใช้ร่วมกันกับยาจำพวก antimony potassium tartrate ที่มีฤทธิ์ในการฆ่าพยาธิใบไม้โดยเฉพาะ และการทานอาหารที่มีประโยชน์ร่วมด้วย) ในระยะเวลาการรักษา 20 วัน พบว่าในผู้ป่วยจำนวน 100 ราย มีผู้ป่วยที่มีอาการดีขึ้นและหายจากอาการติดเชื้อนี้เป็นจำนวน 69 ราย[3],[5]

สั่งซื้อ อาหารเสริม สำหรับผู้ป่วย เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). “พระจันทร์ครึ่งซีก (Phra Chan Khrueng Sik)”. หน้า 190.
2. หนังสือสมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ. (คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “พระจันทร์ครึ่งซีก”. หน้า 133.
3. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “พระจันทร์ครึ่งซีก”. หน้า 533-535.
4. หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. (วิทยา บุญวรพัฒน์). “พระจันทร์ครึ่งซีก”. หน้า 366.
5. มูลนิธิหมอชาวบ้าน. นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่ 37 คอลัมน์ : อื่น ๆ. (ผศ.สุนทรี วิทยานารถไพศาล). “พระจันทร์ครึ่งซีก”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.doctor.or.th. [10 พ.ย. 2014].
6. ไทยเกษตรศาสตร์. “พระจันทร์ครึ่งซีกสมุนไพร”. อ้างอิงใน : จิราพร ลิ้มปานานนท์, นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี, รพีพล ภโววาท, วิทิต วัณนาวิบูล, สำลี ใจดี, สุนทรี วิทยานารถไพศาล. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.thaikasetsart.com. [10 พ.ย. 2014].
7. สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช, กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. “พระจันทร์ครึ่งซีก”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.dnp.go.th/botany/. [10 พ.ย. 2014].
8. https://medthai.com/

อ้างอิงรูปจาก
1. https://www.wetlandpark.gov.hk/en/biodiversity/beauty-of-wetlands/wildlife/lobelia-chinensis
2. https://www.ydhvn.com/benh-ly-hoc/cay-duoc-lieu-cay-ban-bien-lien-lobelia-chinensis-lour

เห็ดหลินจือ สรรพคุณรักษาโรคลมบ้าหมู

0
เห็ดหลินจือ สรรพคุณรักษาโรคลมบ้าหมู ดอกเป็นรูปไตหรือรูปครึ่งวงกลม กลางดอกมีสีน้ำตาลหรือน้ำตาลแดงมันเงา ขอบหมวกงุ้มลงเล็กน้อยและหนา
เห็ดหลินจือ
ดอกคล้ายรูปไตหรือรูปครึ่งวงกลม กลางดอกมีสีน้ำตาลหรือน้ำตาลแดงมันเงา ขอบหมวกงุ้มลงเล็กน้อยและหนา

เห็ดหลินจือ

เห็ดหลินจือ เป็นเห็ดที่ดีที่สุดในหมู่สมุนไพรจีน หายากมีคุณค่าสูง เป็นเทพเจ้าแห่งชีวิตที่มีพลังมหัศจรรย์ ใช้ทำเป็นยาเพื่อรักษาทางการแพทย์ของจีนมานานกว่า 2,000 ปี ใช้ตั้งแต่สมัยจักรพรรดิฉินซีฮ่องเต้เป็นต้นมา ตามธรรมชาติมีมากกว่า 100 สายพันธุ์ สายพันธุ์ที่นิยมและมีสรรพคุณทางยาที่ดีที่สุดคือสายพันธุ์สีแดง หรือเห็ดหลินจือแดง หรือกาโนเดอร์มา ลูซิดัม (Ganoderma lucidum) ชื่อสามัญ คือ Lingzhi mushroom, Reishi mushroom ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Ganoderma lucidum (Curtis) P. Karst จัดอยู่ในวงศ์ GANODERMATACEAE ชื่อเรียกอื่น ๆ ว่า เห็ดหมื่นปี, เห็ดอมตะ

ลักษณะของเห็ดหลินจือ

  • ดอก เป็นรูปไตหรือรูปครึ่งวงกลม กว้าง 3-4 เซนติเมตร ยาว 8-20 เซนติเมตร หนา 1-3 เซนติเมตร ดอกอ่อนมีขอบสีขาว ถัดเข้าไปมีสีเหลืองอ่อน กลางดอกมีสีน้ำตาลหรือน้ำตาลแดง ผิวเป็นมันคล้ายทาด้วยแลคเกอร์ มีริ้วหรือหยักเป็นคลื่น ขอบหมวกงุ้มลงเล็กน้อยและหนา ด้านล่างเป็นรูกลมเล็ก ๆ เชื่อมติดกัน
  • ต้น มีลักษณะเป็นก้านสั้นหรืออาจไม่มีก้าน ถ้ามีก้านมักมีสีน้ำตาลเข้มหรือน้ำตาลดำ ยาว 2-10 เซนติเมตร อยู่เยื้องไปข้างใดข้างหนึ่งหรือติดขอบหมวก ทำให้ดอกมีรูปร่างคล้ายไต ผิวก้านเป็นเงา เนื้อในเห็ดมีสีน้ำตาลอ่อน
  • สปอร์ เป็นตัวช่วยในการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ ถูกสร้างออกมาจากผนังของรูที่อยู่ใต้หมวกเห็ด ลักษณะเป็นรูปวงรีสีน้ำตาล ปลายด้านหนึ่งตัดตรง ผิวเรียบ มีผนังหนาสองชั้น ระหว่างผนังมีลายหนามยอดเรียวไปจรดผนังชั้นนอก
  • สืบพันธุ์ สปอร์จะหลุดออกจากรูใต้หมวกแล้วปลิวไปเกาะบนผิวดอก ทำให้เรามองเห็นดอกเห็ดเป็นมันเงาสีน้ำตาลคล้ายฝุ่นเกาะ เมื่อสปอร์กระจายออกไปอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมจึงจะเจริญเติบโตเป็นเห็ดดอกใหม่

การเลือกซื้อเห็ดหลินจือ

– ควรศึกษาตั้งแต่ขั้นตอนการเพาะปลูก
– ต้องได้รับการเพาะเลี้ยงในสภาวะที่เหมาะสม ทั้งความชื้น แสงสว่าง รวมไปถึงสารอาหารที่ได้รับ
– สิ่งที่ต้องดูอีกอย่างนั้นคือขั้นตอนการแปรรูป
– เนื่องจากเป็นกระบวนการที่จะต้องสารสกัดพอลิแซ็กคาไรด์จากเห็ดออกมาให้ได้มากที่สุด
– ต้องเป็นบรรจุภัณฑ์ที่สามารถกันความชื้นได้เป็นอย่างดี เพราะเห็ดชนิดนี้จะไวต่อความชื้นเป็นพิเศษ และความชื้นจะทำให้ขึ้นราได้

คำแนะนำ

  1. เหมาะกับโรคของผู้สูงอายุ
    – เพราะเห็ดชนิดนี้มีสามารถป้องกันและบำบัดรักษาโรคเป็นส่วนใหญ่
  2. รูปแบบในการรับประทาน
    – ยาต้มแบบโบราณ โดยการนำที่แห้งนำมาต้มและเคี่ยว แต่เป็นวิธีที่ค่อนข้างยุ่งยากและไม่ค่อยจะสะดวก
    – เนื้อบดเป็นผงบรรจุแคปซูล อาจจะทำให้มีเชื้อราได้หากไม่ผ่านการฆ่าเชื้อ รูปแบบนี้จะมีความเข้มน้อยและดูดซึมได้ยาก
    – สกัดหรือแคปซูล เป็นแบบที่จะได้สารสกัดที่เข้มข้นมาก มีสรรพคุณที่ดีกว่า และดูดซึมและออกฤทธิ์ได้ดีกว่า นอกจากนี้ยังมีมาตรฐานการผลิตที่สะอาดและปลอดภัย
  3. เวลาที่เหมาะสมในการรับประทาน
    – ควรรับประทานในตอนเช้าขณะที่ท้องว่าง
    – ควรดื่มน้ำตามให้มาก ๆ
    – หากทานร่วมกับวิตามินซีจะมีผลที่ดีขึ้น เนื่องจากจะช่วยเสริมสรรพคุณ
    – สำหรับผู้ที่ต้องกินยากดภูมิต้านทานหรือผู้ที่เป็นโรค SLE หรือผ่าตัดปลูกถ่ายอวัยวะไม่ควรรับประทาน

ผลข้างเคียงของผู้ทาน

  1. อาการของผู้ที่เริ่มรับประทานใหม่ ๆ คือ
    – รู้สึกเวียนศีรษะ
    – อาเจียน
    – ง่วงนอน
    – ปวดเมื่อยตามร่างกาย ตามข้อ
    – เกิดอาการท้องผูก ท้องเสีย ปัสสาวะบ่อย
    – ผิวหนังเกิดอาการคัน
  2. เมื่อตัวยาเข้าไปในร่างกายจะเข้าไปชำระล้างสารพิษต่าง ๆ ให้สลายไป
  3. อาการเช่นนี้จะเกิดขึ้นในระยะเวลาสั้น ๆ เพียง 2-7 วันก็จะกลับสู่สภาวะปกติ
  4. หากมีอาการตามนี้ก็สามารถรับประทานต่อได้
  5. หากมีอาการมากก็ควรลดปริมาณลงจนกว่าอาการจะเป็นปกติ
  6. สำหรับผู้ป่วยที่กำลังรับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง สามารถรับประทานเห็ดชนิดนี้ควบคู่ไปได้

สรรพคุณของเห็ดหลินจือ

  • ช่วยแก้อาการปวดประจำเดือน
  • ช่วยแก้ปัญหาภาวะมีบุตรยาก
  • ช่วยป้องกันการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ
  • ช่วยรักษาโรคที่มีสาเหตุมาจากการขาดออกซิเจน
  • ช่วยยับยั้งเชื้อไวรัส เช่น ไวรัสเอดส์ อีสุกอีใส งูสวัด
  • ช่วยรักษาโรคลูปัส อีริทีมาโตซัสทั่วร่าง (SLE)
  • ช่วยสลายใยแผลเป็นหรือพังผืดหดยืด
  • ช่วยทำให้ใยแผลเป็นอ่อนนิ่มและหดตัวเล็กลง
  • ช่วยขับปัสสาวะ
  • ช่วยรักษาและบรรเทาอาการของโรคริดสีดวงทวาร
  • ช่วยแก้อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย ปวดตามข้อ
  • ช่วยรักษาโรคเกาต์
  • ช่วยรักษาโรคลมบ้าหมู
  • ช่วยแก้อาการอาหารเป็นพิษ
  • ช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้
  • ช่วยฟื้นฟูสมรรถภาพการทำงานของไตให้ดีขึ้น
  • ช่วยรักษาโรคประสาท
  • ช่วยบำรุงตับและรักษาโรคตับ ตับแข็ง ตับอักเสบ
  • ช่วยรักษาโรคภูมิแพ้ หอบหืด
  • ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด
  • ช่วยควบคุมอาการเบาหวาน
  • ช่วยลดไขมันในเลือด
  • ช่วยรักษาและบรรเทาอาการของโรคหมอนรองกระดูกแตกกดทับเส้นประสาทให้เบาลง
  • ช่วยลดความดันโลหิตและรักษาโรคความดันโลหิตสูง
  • ช่วยปรับความดันโลหิตทั้งสูงและต่ำให้สมดุล
  • ช่วยรักษาโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ
  • ช่วยป้องกันเส้นเลือดในสมองและหัวใจอุดตัน
  • ช่วยป้องกันอัมพฤกษ์ อัมพาต
  • ช่วยลดไขมันในเลือด
  • ช่วยแก้พิษจากรังสี คีโม เช่น เม็ดเลือดขาวต่ำจากคีโม อาการปวดจากพิษบาดแผล
  • ช่วยแก้อาการท้องเสียอักเสบจากการฉายรังสี
  • ช่วยทำให้ประสาทสัมผัสต่าง ๆ ดีขึ้น
  • ช่วยรักษาและต่อต้านมะเร็งโดยส่งเสริมภูมิคุ้มกัน
  • ช่วยกระตุ้นให้เม็ดเลือดขาวสร้างสารต้านมะเร็ง
  • ช่วยทำให้ความจำดีขึ้น
  • ช่วยผ่อนคลายระบบประสาทและกล้ามเนื้อ ทำให้นอนหลับได้สนิท
  • ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้ร่างกายแข็งแรง
  • ช่วยทำให้กล้ามเนื้อหัวใจแข็งแรงขึ้น ให้พลังชีวิตมากขึ้น
  • ช่วยส่งเสริมระบบการไหลเวียนของเลือดให้ดียิ่งขึ้น
  • ช่วยชะลอแก่ ชะลอวัย
  • ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้ร่างกายแข็งแรง
  • ช่วยบำรุงและรักษาสายตา ใช้เป็นยาอายุวัฒนะ
  • ช่วยทำให้อายุยืนยาว
  • ช่วยทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่ง สีหน้าแจ่มใส
  • ช่วยบำรุงร่างกาย

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

  • สารในกลุ่มโพลีแซคคาไรด์ (Polysaccharides) มีฤทธิ์เสริมระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย ช่วยกำจัดเซลล์มะเร็ง ยับยั้งเนื้องอก ลดน้ำตาลในเลือด ลดอาการอักเสบ ซึ่งในแต่ละชนิดจะมีปริมาณสารพอลิแซ็กคาไรด์ในปริมาณที่แตกต่างกันออกไป
  • สารในกลุ่มไตรเทอร์พีน (Triterpene) ช่วยกำจัดการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็ง ยับยั้งเซลล์มะเร็งตับ ป้องกันโรคภูมิแพ้ ลดความดันโลหิต ลดไขมันในเลือด ป้องกันไขมันอุดตันในเส้นเลือด
  • สารในกลุ่มนิวคลีโอไทด์ (Nucleotide) ออกฤทธิ์บรรเทาอาการเจ็บปวด ป้องกันลิ่มเลือดแข็งตัวในเส้นเลือด ลดความเสี่ยงโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อไวรัส
  • สารประกอบเจอมาเนียม (Gemanium) เสริมสร้างภูมิต้านทานของร่างกาย บำรุงประสาท สมอง หัวใจ กระตุ้นระบบไหลเวียนเลือด
  • นักวิทยาศาสตร์พบว่าในเห็ดชนิดนี้มีสารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายมากกว่า 250 ชนิด ปลอดภัยไม่มีสารพิษ

สั่งซื้อ อาหารเสริม สำหรับผู้ป่วย เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth

แหล่งอ้างอิง
นพ.นิวัฒน์ ศิตวัฒน์, รศ.พญ.นริสา ฟูตระกูล, นพ.บรรเจิด ตันติวิท

อ้างอิงรูปจาก
1. https://hifasdaterra.it/blog/funghi/reishi-ganoderma-lucidum/
2. https://medthai.com/

เหงือกปลาหมอ สรรพคุณรากใช้รักษาโรคงูสวัด

0
เหงือกปลาหมอ
เหงือกปลาหมอ สรรพคุณรากใช้รักษาโรคงูสวัด เป็นไม้พุ่มขนาดกลาง ใบมีหนามคมอยู่ริมขอบใบและปลายใบ ดอกมีพันธุ์สีม่วงและพันธุ์ดอกสีขาว ฝักสีน้ำตาลปลายฝักป้าน
เหงือกปลาหมอ
เป็นไม้พุ่มขนาดกลาง ใบมีหนามคมอยู่ริมขอบใบและปลายใบ ดอกมีพันธุ์สีม่วงและพันธุ์ดอกสีขาว ฝักสีน้ำตาลปลายฝักป้าน

เหงือกปลาหมอ

เหงือกปลาหมอ เป็นพรรณไม้ที่มักขึ้นกลางแจ้ง เติบโตได้ดีในที่ร่มและในที่ที่มีความชื้นสูง มักจะขึ้นตามชายน้ำหรือบริเวณริมฝั่งคลองบริเวณปากแม่น้ำ เช่น บริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออกเหนือปากคลองมหาวงก์ ชื่อสามัญ Sea holly, Thistleplike plant ชื่อวิทยาศาสตร์ Acanthus ebracteatus Vahl ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Acanthus ilicifolius Lour., Acanthus ilicifolius var. ebracteatus (Vahl) Benoist, Dilivaria ebracteata (Vahl) Pers.) จัดอยู่ในวงศ์ (ACANTHACEAE) ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ คือ แก้มหมอ (สตูล), แก้มหมอเล (กระบี่), อีเกร็ง (ภาคกลาง), นางเกร็ง, จะเกร็ง, เหงือกปลาหมอน้ำเงิน

ชนิดของสายพันธุ์

  • พันธุ์ที่เป็นดอกสีม่วง (Acanthus ilicifolius L.) สามารถพบได้มากทางภาคใต้
  • พันธุ์ที่เป็นดอกสีขาว (Acanthus ebracteatus Vahl) สามารถพบได้มากทางภาคกลางและภาคตะวันออก และเป็นพรรณไม้ขึ้นชื่อของจังหวัดสมุทรปราการ

ลักษณะของเหงือกปลาหมอ

  • ต้น
    – เป็นไม้พุ่มขนาดกลาง
    – มีความสูงได้ถึง 1-2 เมตร
    – ลำต้นมีความแข็ง
    – มีหนามอยู่ตามข้อของลำต้น ข้อละ 4 หนาม
    – ลำต้นรูปร่างกลม กลวง ตั้งตรง มีสีขาวอมเขียว
    – ลำต้นมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5 เซนติเมตร
    – สามารถขยายพันธุ์ได้โดยวิธีการเพาะเมล็ดและการใช้กิ่งปักชำ
  • ใบ
    – เป็นใบเดี่ยว
    – ใบมีหนามคมอยู่ริมขอบใบและปลายใบ
    – ขอบใบเว้าเป็นระยะ ๆ
    – ผิวใบเรียบเป็นมันลื่น
    – แผ่นใบเป็นสีเขียว เส้นใบเป็นสีขาว มีเหลือบสีขาวเป็นแนวก้างปลา
    – เนื้อใบแข็งและเหนียว
    – ใบมีความกว้าง 4-7 เซนติเมตร และยาว 10-20 เซนติเมตร
    – ใบจะออกเป็นคู่ตรงข้ามกัน
    – ก้านใบสั้น
  • ดอก
    – ออกดอกเป็นช่อตั้งอยู่บริเวณปลายยอด
    – มีความยาว 4-6 นิ้ว
    – ดอกมีพันธุ์ดอกสีม่วง (หรือสีฟ้า) และพันธุ์ดอกสีขาว
    – ที่ดอกมีกลีบรองดอกมี 4 กลีบ กลีบแยกออกจากกัน
    – บริเวณกลางดอกจะมีเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่
  • ผล
    – ผลเป็นฝักสีน้ำตาล
    – ฝักมีรูปร่างเป็นทรงกระบอก รูปไข่ หรือกลมรี
    – มีความยาว 2-3 เซนติเมตร
    – เปลือกฝักมีสีน้ำตาล ปลายฝักมีความป้าน
    – ข้างในฝักจะมีเมล็ด 4 เมล็ด

สรรพคุณของเหงือกปลาหมอ

  • สามารถนำสรรพคุณทางยามาใช้ในการรักษาโรคได้หลายชนิด
  • สามารถนำมารักษาโรคผิวหนังได้เกือบทุกชนิด
  • สามารถการนำมาใช้รักษาริดสีดวงทวารได้
  • ส่วนที่นำมาใช้เป็นยาสมุนไพร ได้แก่ ส่วนลำต้นทั้งสดและแห้ง ใบทั้งสดและแห้ง ราก เมล็ด และทั้งต้น
  • ช่วยบำรุงรากผม โดยการใช้ใบมาคั้นเป็นน้ำแล้วนำมาทาให้ทั่วศีรษะ
  • ช่วยแก้ไขข้ออักเสบและแก้อาการปวดต่าง ๆ
  • สามารถใช้พอกบริเวณแผลที่ถูกงูกัดได้
  • ช่วยรักษาโรคผิวหนังหรือประดง รักษากลากเกลื้อน อีสุกอีใส
  • ช่วยรักษาแผลอักเสบ
  • ช่วยรักษานิ่วในไต
  • ช่วยแก้ไข้
  • ช่วยรักษาโรคริดสีดวงทวาร
  • ช่วยรักษามุตกิดระดูขาว ตกขาวของสตรี
  • ช่วยแก้น้ำเหลืองเสีย
  • ช่วยรักษาฝีทุกชนิดทั้งภายในและภายนอก
  • ช่วยแก้อัมพาต
  • ช่วยรักษาโรคงูสวัด
  • ช่วยรักษาตกขาวของสตรี
  • ช่วยขับเสมหะ
  • ช่วยแก้หืดหอบ
  • ช่วยแก้และบรรเทาอาการไอ
  • ช่วยบำรุงประสาท
  • ใช้ปิดพอกฝี
  • ช่วยรักษาฝี ฝีเรื้อรัง แผลฝีหนอง ฝีดาษ ตัดรากฝี
  • ช่วยแก้น้ำเหลืองเสีย
  • ช่วยขับพยาธิ
  • แก้อาการไอ
  • ช่วยแก้อาการเจ็บหลังเจ็บเอว
  • ช่วยแก้โรคเหน็บชา อาการชาทั้งตัว
  • ช่วยถอนพิษ
  • ช่วยแก้ผดผื่นคันตามร่างกาย ใช้ล้างแผลเรื้อรัง
  • ช่วยรักษาแผลพุพอง
  • ช่วยรักษาวัณโรค
  • ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ
  • ช่วยแก้โรคกระษัย อาการซูบผอม
  • ช่วยแก้ผิวแตก
  • ช่วยรักษาโรคเรื้อน คุดทะราด
  • ช่วยขับโลหิต
  • ช่วยรักษาประจำเดือนมาไม่เป็นปกติ
  • ช่วยรักษาโรคกระเพาะ
  • ช่วยแก้อาการเจ็บตา ตาแดง
  • ช่วยแก้ไข้จับสั่น
  • ช่วยแก้พิษไข้หัว
  • ช่วยรักษาอาการปอดอักเสบ
  • ช่วยยับยั้งมะเร็ง ต้านมะเร็ง
  • ช่วยแก้อาการร้อนทั้งตัว ตัวแห้ง
  • ช่วยแก้อาการวิงเวียนศีรษะ หน้ามืดตามัว
  • ช่วยทำให้เจริญอาหาร
  • ช่วยรักษาอาการธาตุไม่ปกติ
  • ช่วยทำให้เลือดลมเป็นปกติ
  • ช่วยทำให้อายุยืน ร่างกายแข็งแรง
  • ช่วยให้เลือดลมไหลเวียนดี เส้นเลือดไม่อุดตัน
  • ช่วยบำรุงผิวพรรณ

ประโยชน์ของเหงือกปลาหมอ

  • สามารถนำมาใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางได้ เช่น สบู่ ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการเปลี่ยนสีผม
  • สามารถนำมาทำเป็นยาสมุนไพรที่ใช้ในการอบตัวหรืออบด้วยไอน้ำ
  • สามารถนำไปใช้ผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นยาแคปซูลสมุนไพร
  • สามารถนำมาทำเป็นยาชงสมุนไพร หรือทำเป็นในรูปแบบของยาเม็ดได้

สั่งซื้อ อาหารเสริม สำหรับผู้ป่วย เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth

แหล่งอ้างอิง
เว็บไซต์สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, หนังสือพิมพ์บ้านเมือง (ชำนาญ หิมะคุณ), หนังสือพรรณไม้สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เล่ม 4, ฐานข้อมูลพันธุ์ไม้ องค์การส่วนพฤกษศาสตร์, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.), หนังสือยอดสมุนไพรยาอายุวัฒนะ (อาจารย์ยุวดี จอมพิทักษ์), หนังสือกายบริหารแกว่งแขน (โชคชัย ปัญจทรัพย์)

อ้างอิงรูปจาก
1. https://eol.org/pages/482869
2. https://medthai.com/

หมามุ่ย สรรพคุณรักษาโรคพาร์กินสัน

0
หมามุ่ย
หมามุ่ย สรรพคุณรักษาโรคพาร์กินสัน เป็นพืชเถาคล้ายกับถั่วลันเตามีขนสีน้ำตาลอมทองหรือแดงปกคลุมที่ฝัก ขนจะทำให้เกิดอาการคัน
หมามุ่ย
เป็นพืชเถาคล้ายกับถั่วลันเตามีขนสีน้ำตาลอมทองหรือแดงปกคลุมที่ฝัก ขนจะทำให้เกิดอาการคัน

หมามุ่ย

ชื่อสามัญ คือ Mucuna ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Mucuna pruriens (L.) DC. ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ คือ Mucuna pruriens var. pruriens จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยถั่ว FABOIDEAE (PAPILIONOIDEAE หรือ PAPILIONACEAE) ชื่ออื่น ๆ บะเหยือง หมาเหยือง (ภาคเหนือ) โพล่ยู (กาญจนบุรี) กล้ออือแซ (แม่ฮ่องสอน) ตำแย

ลักษณะต้นหมามุ่ย

  • ต้น
    – เป็นพืชเถา
    – ผลเป็นฝักยาว คล้ายกับถั่วลันเตา
    – มีขนสีน้ำตาลอมทองหรือแดงปกคลุมที่ฝัก
    – ขนหลุดร่วงได้ง่าย ปลิวตามลมและเป็นพิษ
    – ขนเต็มไปด้วยสารเซโรโทนิน (Serotonin)
    – เมื่อสัมผัสขนจะทำให้เกิดอาการคัน แพ้ระคายเคืองอย่างรุนแรง
    – ฝักจะออกในช่วงฤดูหนาวจนถึงฤดูแล้ง
  • เมล็ด
    – มีสารแอลโดปา (L-Dopa)
    – เป็นสารที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อระบบสืบพันธุ์
    – เป็นสารสื่อประสาทซึ่งมีส่วนช่วยรักษาโรคพาร์กินสันได้
    – ต้องใช้ในรูปแบบที่ผ่านการสกัดมาเป็นยาเม็ด
    – ร่างกายไม่สามารถรับสารในรูปของเมล็ดสดหรือแปรรูปได้

วิธีการรักษาพิษ

  • ให้รีบกำจัดขนพิษออกจากบริเวณที่สัมผัส
  • ใช้เทียนไขลนไฟให้อ่อนตัวหรือใช้ข้าวเหนียวนำมาคลึงจนเนื้อข้าวเหนียวกลืนกัน
  • นำมาคลึงบริเวณที่สัมผัสขนหลายครั้ง ๆ จนหมด
  • หากยังมีอาการแดงแสบร้อนหรือคันอยู่ ให้ใช้โลชั่นคาลาไมน์มาทา
  • ใช้สเตียรอยด์พร้อมกับรับประทานยาแก้แพ้ อาการก็จะดีขึ้น

คำแนะนำในการรับประทาน

  1. รศ.ดร.นพมาศ สุนทรเจริญนนท์ ผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร อาจารย์ประจำคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลระบุว่า
    – เมล็ดสายพันธุ์อินเดียและจีน สามารถช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศได้
    – ผู้ที่กำลังสนใจและต้องการรับประทาน ไม่ควรรับประทานแบบสุ่มสี่สุ่มห้า
    – ยังไม่มีผลงานวิจัยรองรับแน่ชัดว่าสายพันธุ์ไทยไม่เป็นหมามุ่ยสปีชีส์ใด หรือมีผลข้างเคียงหรืออันตรายต่อร่างกายหรือไม่
  2. เด็ก สตรีมีครรภ์ ผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง และผู้ป่วยทางจิตเวชไม่ควรรับประทาน
  3. การนำเมล็ดมาทำเป็นยาสมุนไพรรับประทานเอง
    – ต้องมีความระมัดระวังไม่ให้สัมผัสโดยตรง
    – แต่ไม่แนะนำให้เก็บมารับประทานเอง จนกว่าจะได้รับการยืนยันสายพันธุ์ที่แน่นอน
    – เนื่องจากมีหลายสายพันธุ์
    – มีสายพันธุ์จีนและอินเดียที่สามารถทำเป็นยาได้
    – แต่สายพันธุ์ไทยนั้น ยังไม่ระบุแน่ชัด
    – ซื้อแบบสำเร็จรูปรับประทานจะมีความปลอดภัยมากกว่า
  4. วิธีการเก็บ
    – ให้เลือกเก็บจากต้นที่มีฝักแก่
    – ให้ฉีดน้ำให้เปียก เพื่อป้องกันไม่ให้ขนอ่อนของฝักฟุ้งกระจาย
    – จากนั้นก็สวมถุงมือป้องกันแล้วค่อย ๆ เก็บฝัก
    – เมื่อได้มาให้นำเมล็ดมาคั่วไฟ
    – แล้วนำไปล้างน้ำ ก่อนนำไปคั่วไฟอีกรอบ
    – ต้องคั่วให้สุกเท่านั้น
    – หากคั่วไม่สุกแล้วนำไปรับประทานอาจจะเกิดสารพิษได้
  5. วิธีการรับประทาน
    – สามารถนำเมล็ดนำมาบดให้เป็นผง ผสมกับชาหรือกาแฟได้
    – หากชงกับน้ำร้อนเปล่า ๆ รสจะออกเปรี้ยวมันนิด ๆ
    – สามารถรับประทานกับข้าวเหนียวได้
  6. ปริมาณการรับประทานที่แนะนำ
    – ผู้ที่ไม่ได้มีปัญหาสมรรถภาพทางเพศ ให้รับประทาน 3 เมล็ดต่อวัน
    – ผู้ที่มีปัญหาสมรรถภาพทางเพศ ให้รับประทานวันละ 20-25 เม็ด ไม่เกิน 3 เดือน

สรรพคุณของหมามุ่ย

  • เมล็ด ช่วยแก้พิษแมงป่อง
  • เมล็ด ใช้เป็นยาฝาดสมาน
  • ราก ช่วยถอนพิษ ล้างพิษ
  • ราก ช่วยแก้อาการคัน
  • ราก ช่วยแก้อาการไอ
  • ช่วยแก้อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย
  • ช่วยผ่อนคลายความเครียด
  • ช่วยเพิ่มการเผาผลาญและมวลของกล้ามเนื้อ
  • ช่วยรักษาโรคพาร์กินสัน
  • ช่วยรักษาภาวะการมีบุตรยากทั้งชายและหญิง
  • ช่วยให้ช่องคลอดกระชับมากยิ่งขึ้น
  • ช่วยเพิ่มปริมาณของฮอร์โมนเพศ
  • ช่วยทำให้หน้าอกเต่งตึงมากยิ่งขึ้น
  • ช่วยทำให้ผิวพรรณดูมีน้ำมีนวลมากยิ่งขึ้น
  • ช่วยแก้ปัญหาอวัยวะเพศแข็งตัวช้า
  • ช่วยยืดระยะเวลาในการมีเพศสัมพันธ์
  • ช่วยแก้ปัญหาการหลั่งเร็วได้
  • ช่วยกระตุ้นความต้องการทางเพศ
  • ช่วยเพิ่มการเคลื่อนไหวของตัวอสุจิ
  • ช่วยกระตุ้นการสร้างน้ำอสุจิ
  • ช่วยปรับคุณภาพของน้ำเชื้อให้ดีมากยิ่งขึ้น
  • ช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศให้ดีมากยิ่งขึ้น
  • ช่วยบำรุงกำลัง ทำให้ไม่เหนื่อยง่าย
  • ช่วยทำให้ร่างกายสดชื่นกระปรี้กระเปร่า เพิ่มความกระฉับกระเฉง
  • ช่วยทำให้นอนหลับสบาย จิตใจเบิกบานแจ่มใส

สั่งซื้อ อาหารเสริม สำหรับผู้ป่วย เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth

แหล่งอ้างอิง
ภญ.ผกากรอง ขวัญข้าว, รศ.ดร.นพมาศ สุนทรเจริญนนท์, เว็บไซต์ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

อ้างอิงรูปจาก
1. https://www.supersmart.com/en/blog/brain-nutrition/the-benefits-mucuna-pruriens-for-the-nervous-system-reproductive-health-s301
2. https://medthai.com/