Home Blog Page 27

สรรพคุณของขมิ้นเครือ ช่วยแก้อาการคัน แก้ตาแดง

สรรพคุณของขมิ้นเครือ ช่วยแก้อาการคัน แก้ตาแดง เป็นไม้เถาเนื้อแข็งดอกออกเป็นช่อสีขาวแกมสีเหลืองหรือแกมเขียว ผลทรงกลมออกเป็นช่อ
ขมิ้นเครือ
เป็นไม้เถาเนื้อแข็งดอกออกเป็นช่อสีขาวแกมสีเหลืองหรือแกมเขียว ผลทรงกลมออกเป็นช่อ

ขมิ้นเครือ

ขมิ้นเครือ เป็นพืชหายากชนิดหนึ่ง มักจะขึ้นที่ตามชายป่าดิบแล้ง ป่าดิบชื้นที่สูงไม่เกิน 300 เมตร มีเขตการกระจายพันธุ์และมีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ในภาคตะวันออกเฉียงใต้ ภาคใต้ สำหรับต่างประเทศสามารถพบเจอได้ที่ประเทศจีน (เกาะไหหลำ) ภูมิภาคอินโดจีน ภูมิภาคมาเลเซีย[3] ชื่อทางวิทยาศาสตร์  Arcangelisia flava (L.) Merr. อยู่วงศ์บอระเพ็ด (MENISPERMACEAE)[1]  ชื่อในท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น ชั้วตั่วเหล่ง (ม้ง), ขมิ้นฤๅษี ฮับ (ภาคใต้) [2]

ลักษณะของต้นขมิ้นเครือ

  • ลักษณะของต้น เป็นพรรณไม้เลื้อยหรือเป็นไม้เถาเนื้อแข็ง เกลี้ยงทุกส่วน ยกเว้นที่มีต่อมที่ใบ ลำต้นจะมีเนื้อไม้เป็นสีเหลือง มียางสีเหลือง ที่ตามก้านใบที่ร่วงไปจะมีรอยแผลเป็น รอยแผลเป็นรูปถ้วย[1],[2] รากสดที่มีอายุน้อย มีขนาดเล็กมีรูปร่างโค้งงอไปมา ค่อนข้างแบน มีร่องคล้ายแอ่งเล็กตรงกลางตลอดแนวยาวของราก ผิวเรียบมีลักษณะเป็นสีน้ำตาลอมสีเขียว สีเทาปนสีน้ำตาล บางตอนรากจะมีรอยแตกเล็กพาดขวาง รากที่มีอายุ มีขนาดใหญ่ จะมีลักษณะเป็นทรงกระบอกค่อนข้างที่จะตรง โค้งงอบางตอน มีผิวเรียบเป็นสีน้ำตาลอ่อน เปลือกบางเป็นรอยแตกเล็กตามแนวยาวราก รอยแตกที่พาดขวางเป็นรอยนูนนิดหน่อย รากแห้ง ผิวมีลักษณะเป็นสีน้ำตาลอ่อน มีรอยแตกพาดขวางทั่วไป เปลือกสามารถหลุดได้ง่าย[5]
  • ลักษณะของใบ เป็นใบเดี่ยว ออกใบเรียงเวียนสลับกัน ใบเป็น รูปไข่กว้าง รูปไข่ รูปหัวใจ รูปไข่แกมรี ใบกว้างประมาณ 8-12 เซนติเมตร มีความยาวประมาณ 10-16 เซนติเมตร ที่ปลายใบจะเรียวแหลม ส่วนที่โคนใบจะกลม ตัด หรือจะเป็นรูปหัวใจนิดหน่อย เนื้อใบมีลักษณะหนาคล้ายกับแผ่นหนัง ที่หลังใบจะเป็นมัน ที่ท้องใบจะเรียบและไม่มีขน มีเส้นใบออกจากโคนใบมีลักษณะเป็นรูปฝ่ามือ 5 เส้น มีเส้นแขนงใบ 1-3 คู่ มักออกเหนือครึ่งหนึ่งของเส้นกลางใบ ใบแห้งจะเห็นเส้นร่างแหไม่ชัด มีก้านใบยาว ที่ปลายใบจะบวม ส่วนที่โคนจะบวมเช่นกัน โคนก้านใบจะงอ[1],[2],[5]
  • ลักษณะของดอก ดอกออกเป็นช่อ ออกดอกที่ตามง่ามใบ ที่ตามเถา มีความยาวประมาณ 10-15 เซนติเมตร แตกกิ่งที่ด้านข้างมีความยาวประมาณ 1-5 เซนติเมตร เป็นดอกแบบแยกเพศ มีลักษณะเป็นสีขาวแกมสีเหลืองหรือจะแกมสีเขียว ดอกเพศผู้ไม่มีก้านหรือมีก้านขนาดสั้น ใบประดับย่อยเป็นรูปไข่ มีความยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร ที่โคนหนา มีกลีบเลี้ยงวงนอกอยู่ประมาณ 3-4 กลีบ จะสั้นกว่า 1 มิลลิเมตร กลีบเลี้ยงวงในใหญ่จะมีขนาดกว่า เป็นรูปรี รูปไข่ มีความยาวประมาณ 1.5-2.5 มิลลิเมตร เกสรเพศผู้เชื่อมกัน มีความยาวประมาณ 0.5-1 มิลลิเมตร ดอกเพศเมียมีกลีบเลี้ยงอยู่ 6 กลีบ เป็นรูปขอบขนานแคบ สามารถยาวได้ประมาณ 2.5-4 มิลลิเมตร ที่ปลายจะโค้ง เกสรเพศผู้ปลอมมีลักษณะคล้ายกับเกล็ดและมีขนาดเล็ก มีเกสรเพศเมียอยู่ 3 อัน มีความยาวประมาณ 1.5 มิลลิเมตร ยอดเกสรเพศเมียจะกว้าง ไม่มีก้าน เป็นตุ่ม[1],[2] ออกดอกช่วงประมาณเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน[3]
  • ลักษณะของผล เป็นผลสด ผลเป็นรูปทรงกลม ผลออกเป็นช่อตามลำดับ มักจะแตกก้านที่มีความยาวประมาณ 7-30 เซนติเมตร แกนกลางกับก้านใหญ่ มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3-6 มิลลิเมตร ผลและก้านผลแตกจากด้านข้าง มีผลประมาณ 1-3 ผล จะติดกันบนก้านที่เป็นรูปตะบอง ปลายจะบวม มีความยาวประมาณ 4 เซนติเมตร ผลสุกมีลักษณะเป็นสีเหลือง ค่อนข้างที่จะแบน เป็นรูปกึ่งไข่ตามแนวขวาง มีความยาวประมาณ 2.5-3.3 เซนติเมตร มีขนาดกว้างประมาณ 2.2-3 เซนติเมตร หนาประมาณ 2-2.5 เซนติเมตร ผลแห้งจะย่น ไม่มีขน ผนังผลชั้นในจะแข็ง[1],[2] มีเมล็ดอยู่ในผล 1 เมล็ด ติดผลช่วงประมาณเดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายน[3]

สรรพคุณขมิ้นเครือ

1. สามารถนำเนื้อไม้มาขูดใช้เป็นยาล้างแผลเรื้อรัง แผลพุพอง และสามารถช่วยแก้อาการคันได้ (เนื้อไม้)[2]
2. สามารถนำเนื้อไม้มาใช้เป็นยาขับประจำเดือนได้ และส่วนน้ำที่ได้จากการต้มลำต้นหรือรากจะมีสรรพคุณที่เป็นยาขับประจำเดือน ช่วยแก้ปวดท้องได้ (ลำต้น, เนื้อไม้, ราก)[1],[2],[5]
3. เนื้อไม้ มีสรรพคุณที่เป็นยาสมานลำไส้ได้ (เนื้อไม้)[5]
4. สามารถใช้เป็นยาแก้ท้องเสียได้ (ลำต้น, เนื้อไม้, ราก)[1],[4]
5. สามารถนำน้ำที่ได้จากการต้มลำต้นหรือกิ่งก้าน สามารถใช้เป็นยาแก้ระบบย่อยอาหารไม่ปกติได้ (ลำต้น, กิ่งก้าน)[2]
6. สามารถนำน้ำที่ได้จากต้มลำต้นหรือราก สามารถใช้เป็นยาแก้ไอได้ (ลำต้น, ราก)[2]
7. ลำต้นกับรากจะมีสารอัลคาลอยด์ที่ชื่อ berberine สามารถใช้เป็นยาขมได้ ช่วยทำให้เจริญอาหาร รักษาไข้มาลาเรีย แก้ไข้ รักษาโรคอหิวาต์ได้ดีเท่ากับยาคลอแรมเฟนิคอล (ลำต้น, ราก)[1]
8. สามารถใช้ลำต้นกับรากเป็นยาแก้เบาหวานได้ (ลำต้น, ราก)[4]
9. ในตำรายาไทยนำเนื้อไม้มาใช้เป็นยาบำรุงโลหิต บำรุงธาตุ (เนื้อไม้)[1],[5] สามารถนำน้ำที่ได้จากการต้มลำต้นหรือรากมาใช้เป็นยาบำรุงได้ (ลำต้น, ราก)[2]
10. ชาวม้งนำใบมาทุบ ใช้พันตรงบริเวณที่เอ็นขาดเพื่อช่วยประสานเอ็น (ใบ)[2]
11. สามารถนำลำต้นหรือกิ่งก้านมาต้ม ทานน้ำเป็นยาแก้โรคดีซ่าน (ลำต้น, กิ่งก้าน)[2]
12. ราก มีสรรพคุณที่เป็นยาระบาย (ราก)[1]
13. ในรัฐซาราวักจะนำลำต้นกับรากมาใช้เป็นยารักษาโรคกระเพาะ (ลำต้น, ราก)[4]
14. ยางสามารถใช้เป็นยาแก้โรคเมืองร้อนที่เกี่ยวกับอาการอาหารไม่ย่อยได้ (ยาง)[2]
15. สามารถใช้รากเป็นยาขับลมได้ (ราก)[5]
16. ยางสามารถใช้ดื่มเป็นยาลดไข้ได้ (ยาง)[2]
17. สามารถใช้รากเป็นยาหยอดตา แก้ตาแฉะ แก้ตาแดง แก้ตาเปียกได้ (ราก)[5]
18. รากมีสรรพคุณที่เป็นยาบำรุงน้ำเหลือง (ราก)[5]

ประโยชน์ขมิ้นเครือ

  • ในกาลิมันตันจะนำสีเหลืองจากลำต้นมาย้อมเสื่อที่ทำมาจากหวาย ในประเทศอินเดียและในประเทศอินโดจีนจะใช้ย้อมผ้า บางครั้งจะนำสีเหลืองที่ได้มาผสมสีที่ได้จากคราม โดยจะให้สีเขียว[4]
  • เมล็ด มีพิษ ถ้าทานเข้าไปอาจจะทำให้อาเจียนและอาจถึงตายได้ ทำให้ถูกใช้เป็นยาเบื่อปลา[2]

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

  • รากกับลำต้นที่ได้จากร้านขายยาแผนโบราณที่ป่าหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา และจากสวนสมุนไพรของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ จังหวัดจันทบุรี มีปริมาณสาร berberine ถึง 3.22% และจากตลาดจะมีปริมาณสาร berberine น้อยกว่ามาก ส่วนของจังหวัดสงขลาไม่มีสาร berberine เลย และรากจากสวนสมุนไพร จังหวัดจันทบุรี มีปริมาณสาร berberine สูงมากที่สุด[5]
  • มีรายงานว่าเป็นพิษกับเม็ดเลือดในหลอดทดลอง ยังไม่มีข้อสรุปที่แน่ชัด ควรมีการทดลองศึกษาความเป็นพิษวิทยาเพิ่มเติมก่อนจะนำมาใช้[1]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ. (คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “ขมิ้นเครือ”. หน้า 54.
2. โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง, สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน). “ขมิ้นเครือ”. อ้างอิงใน: หนังสือชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์), หนังสือสมุนไพรไทยตอนที่ 6 (ก่องกานดา ชยามฤต). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : eherb.hrdi.or.th. [08 มิ.ย. 2015].
3. พืชถิ่นเดียวและพืชหายากของประเทศไทย, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “ขมิ้นเครือ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.rspg.or.th. [08 มิ.ย. 2015].
4. หนังสือทรัพยากรพืชในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 3 : พืชให้สีย้อมและแทนนิน. (สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย). “ขมิ้น เครือ”. หน้า 89-90.
5. กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. (ถนอมหวัง อมาตยกุล, ดรุณ เพ็ชรพลาย). “การศึกษาทางพฤกษศาสตร์และเภสัชเวทของขมิ้นเครือ (Arcangelisia flava)”. หน้า 19-30.

อ้างอิงรูปจาก
1.https://kebunrayabanua.kalselprov.go.id/web/?p=5186
2.https://www.orami.co.id/magazine/manfaat-akar-kuning

ดอกเก๊กฮวย ช่วยเพิ่มการไหลเวียนเลือด แก้ไอ

ดอกเก๊กฮวย
ดอกเก๊กฮวย ช่วยเพิ่มการไหลเวียนเลือด แก้ไอ ดอกที่นำมาใช้ควรเป็นดอกสีขาวหรือดอกสีเหลือง มีกลิ่นฉุน มีรสขมและรสหวาน มีฤทธิ์เป็นยาเย็น
ดอกเก๊กฮวย
ดอกเก๊กฮวย ช่วยเพิ่มการไหลเวียนเลือด แก้ไอ ดอกที่นำมาใช้ควรเป็นดอกสีขาวหรือดอกสีเหลือง มีกลิ่นฉุน มีรสขมและรสหวาน มีฤทธิ์เป็นยาเย็น

ดอกเก๊กฮวย

ดอกเก๊กฮวย หรือเบญจมาศหนู (จีน: 菊花; พินอิน: júhuā) นิยมนำมาตากแห้ง ใช้ชงกับใบชา หรือต้มกับน้ำตาล เป็นพืชดั้งเดิมของประเทศจีนและญี่ปุ่น ในภายหลังได้แพร่กระจายไปทั่วในประเทศกัมพูชา ลาว รวมไปถึงประเทศไทย จะเพาะปลูกได้ดีในพื้นที่สูงของประเทศ มีการจำหน่ายเป็นดอกสด และแห้ง มีกลิ่นฉุน มีรสขมและรสหวาน มีฤทธิ์เป็นยาเย็น ดอกที่นำมาใช้ควรเป็นดอกสีขาวหรือดอกสีเหลือง ชื่อภาษาอังกฤษ คือ Chrysanthemum สายพันธุ์หลักที่ใช้เป็นยาได้แก่ ดอกสีขาว ที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Dendranthema morifolium (Ramat.) Tzvel. หรือ Chrysanthemum morifolium Ramat. ดอกสีเหลือง ที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Dendranthema indicum L. หรือ Chrysanthemum indicum L.

สารสำคัญที่พบ

  • มีสารพวกฟลาโวนอยด์ (Flavonoid)
  • สารไครแซนทีมิน (Chrysanthemin)
  • สารอะดีนีน (Adenine)
  • สตาไคดวีน (Stachydrine)
  • โคลีน (Choline)
  • กรดอะมิโน
  • น้ำมันหอมระเหย

สรรพคุณของเก๊กฮวย

  • ช่วยขับเหงื่อ
  • ช่วยบำรุงโลหิต
  • ช่วยแก้อาการหวัด
  • ช่วยขับลม
  • ช่วยระบายและย่อยอาหาร
  • ช่วยบำรุงตับ ไต
  • ช่วยรักษาผมร่วง
  • ช่วยแก้ร้อนใน
  • ช่วยดับพิษร้อน
  • ช่วยบำรุงปอด
  • ช่วยรักษาฝีเป็นหนอง บวม และเป็นพิษ
  • ช่วยบำรุงและรักษาสายตา
  • ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต
  • ช่วยแก้อาการไอ
  • ช่วยแก้อาการตาบวมแดง
  • ช่วยแก้อาการปวดตา มองเห็นไม่ชัด ตาเบลอ ตามัว
  • ช่วยบรรเทาอาการวิงเวียนศีรษะ หน้ามืด ตาลาย
  • ช่วยกำจัดสารพิษออกจากร่างกาย
  • ช่วยแก้กระหาย เพิ่มความสดชื่น
  • ช่วยยับยั้งเชื้อไวรัสเอดส์
  • ช่วยขยายหลอดเลือดแดงใหญ่ที่ไปเลี้ยงหัวใจ
  • ช่วยป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดต่าง ๆ
  • ช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจ ภาวะหัวใจล้มเหลว

วิธีทำน้ำเก๊กฮวย

1. ให้เตรียมดอกที่ล้างสะอาด
2. นำไปผึ่งไว้ก่อนบนตะแกรง พักไว้ให้สะเด็ดน้ำ
3. ใช้หม้อสแตนเลสใส่น้ำประมาณ 3 ลิตร
4. ตั้งบนไฟแรง
5. ขณะรอน้ำเดือดให้ล้างใบเตยหอมประมาณ 5 ใบที่ล้างสะอาดแล้ว
6. นำใบเตยมาตัดเป็นท่อนสั้น ๆ
7. เมื่อน้ำเดือดให้ใส่ใบเตยลงไปแล้วปิดฝาหม้อทิ้งไว้ประมาณ 3-5 นาที
8. เมื่อน้ำใบเตยเดือด หากต้องการให้น้ำมีสีเหลืองสวยให้ทุบเมล็ดพุดจีนลงไปเพิ่ม
9. ห่อใส่ผ้าขาวบางลงไปชงจนได้สีตามต้องการ
10. ตอนนี้ให้เปิดฝาหม้อทิ้งไว้ ไม่ควรปิดฝาหม้อเพราะเมล็ดพุดจะมีกลิ่น
11. ให้ตักใบเตยทิ้งไปและเอาห่อเมล็ดพุดออกจากหม้อ
12. ใส่น้ำตาลทราย ประมาณ 200 กรัมลงในหม้อ
13. คนน้ำตาลให้ละลาย
14. เมื่อได้ความหวานที่ต้องการแล้วให้ปิดไฟ
15. ใส่ดอกที่เตรียมไว้ประมาณ 30 กรัมใส่ลงไปในหม้อ
16. ใช้ทัพพีคนเบา ๆ ประมาณ 1 รอบเพื่อให้ดอกกระจายทั่วหม้อ
17. แล้วรีบปิดฝาหม้อ ตั้งไว้จนเย็นแล้วกรองเอากากของดอกออก
18. จากนั้นก็นำมากรอกใส่ขวด แช่เย็นไว้ดื่ม

คำแนะนำ

  • เมล็ดพุด 1-2 เมล็ดจะให้น้ำสีเหลืองกำลังดี ถ้า 3 เมล็ดจะออกสีเหลืองมาก
  • วิธีทำน้ำแบบถูกคือวิธีที่ห้ามเคี่ยวดอกเพราะจะทำให้น้ำมีรสขมได้
  • การกรองกากดอกนั้นห้ามบี้โดยเด็ดขาดเพราะจะทำให้น้ำมีรสขมได้
  • หากใส่ดอกมากเกินไป ใช้เวลาต้มนานจนเกินไป จะทำให้เปรี้ยวได้
  • ผู้ที่มีปัญหาเรื่องระบบขับถ่าย มีอาการท้องเสียง่าย ควรดื่มในปริมาณที่พอเหมาะ
  • สำหรับผู้ที่เป็นโรคกระเพาะอาหาร การดื่มชาเก๊กฮวยอาจทำให้เกิดกรดในกระเพาะเพิ่มมากขึ้น

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

แหล่งอ้างอิง : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี, เดลินิวส์ออนไลน์, รศ.ดร.ภญ.พาณี ศิริสะอาด (หนังสือพิมพ์ไทยนิวส์ ฉบับวันพุธที่ 2 มกราคม 2556)

อ้างอิงรูปจาก
1. https://plantura.garden/uk/flowers-perennials/chrysanthemums/chrysanthemum-indicum
2. https://www.picturethisai.com/wiki/Chrysanthemum_indicum.html

ต้นกูดพร้าว สรรพคุณช่วยแก้ไข้ ลดการอักเสบ

ต้นกูดพร้าว
ต้นกูดพร้าว สรรพคุณช่วยแก้ไข้ ลดการอักเสบ เป็นเฟิร์นที่มีลำต้นตั้งตรง รากเป็นเส้นแข็งสีดำ ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น มีตุ่มขรุขระทางด้านล่าง
ต้นกูดพร้าว
เป็นเฟิร์นที่มีลำต้นตั้งตรง รากเป็นเส้นแข็งสีดำ ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น มีตุ่มขรุขระทางด้านล่าง

ต้นกูดพร้าว

ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Cyathea latebrosa (Wall. ex Hook.) Copel. ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ คือ Alsophila latebrosa Wall. ex Hook., Dichorexia latebrosa (Wall. ex Hook.) C. Presl) จัดอยู่ในวงศ์ CYATHEACEAE[1] ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ คือ กูดต้น (ภาคเหนือ), มหาสดำ (ภาคตะวันออกเฉียงใต้), กูดพร้าว (เชียงใหม่)[1] บางแห่งเรียกว่า “กูดต้นดอยสุเทพ“

ลักษณะของกูดพร้าว

  • ต้น
    – เป็นเฟิร์นต้นที่มีลำต้นตั้งตรง
    – สูงได้ถึง 3-5 เมตร
    – ตามลำต้นมีเกล็ดขึ้นปกคลุม
    – มีรอยก้านใบที่หลุดร่วงไป
    – รากเป็นเส้นแข็งสีดำ
    – มีเขตการกระจายพันธุ์อยู่ในประเทศจีนตอนใต้ กัมพูชา มาเลเซีย และอินโดนีเซีย
    – ในประเทศไทยสามารถพบได้ทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงใต้ และภาคใต้
    – สามารถพบขึ้นได้ตามไหล่เขาในป่าดิบเขา บนพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเลต่ำกว่า 1,000 เมตร
  • ใบ
    – เป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น
    – ออกรวมกันเป็นกลุ่มบริเวณใกล้ยอด
    – แกนกลางของใบประกอบไม่เรียบ
    – มีตุ่มขรุขระทางด้านล่าง
    – ด้านบนมีขนและเกล็ดขึ้นประปราย
    – ก้านใบเป็นสีน้ำตาลปนเหลืองหรือสีน้ำตาลเข้ม
    – มีความยาวได้ 40 เซนติเมตร
    – มีหนามสั้น ๆ ที่โคนมีเกล็ดสีน้ำตาลเป็นมัน
    – มีความกว้าง 1 มิลลิเมตร และยาว 2 เซนติเมตร
    – ด้านบนมีขน
    – กลุ่มใบย่อยถัดขึ้นมาจะเป็นรูปขอบขนานแคบ
    – ปลายเรียวแหลมและมีติ่งยาว มีความกว้าง 14 เซนติเมตร และยาว 40 เซนติเมตร
    – แกนกลุ่มใบย่อยมีเกล็ดแบนสีน้ำตาลทางด้านล่าง
    – ใบย่อยจะมีมากกว่า 25 คู่ เรียงห่างกัน 1.6 เซนติเมตร
    – ใบย่อยเป็นรูปขอบขนานแกมรูปใบหอก มีความกว้าง 1.7 เซนติเมตร และยาว 7 เซนติเมตร
    – ปลายเรียวแหลม
    – โคนกึ่งตัด
    – ขอบหยักเว้าลึกเกือบถึงเส้นกลางใบย่อย มีความกว้าง 3 มิลลิเมตร และยาว 1 เซนติเมตร ปลายมน
    – ขอบเรียบหรือจักเป็นฟันเลื่อย
    – เส้นกลางใบย่อยมีขนทางด้านบน
    – แผ่นใบบาง
    – ผิวใบด้านบนเป็นสีเขียวเข้ม
    – ผิวใบด้านล่างเป็นสีเขียวอ่อน
    – เส้นใบแยกสาขาออกเป็นคู่ 7-8 คู่
    – ไม่มีก้านใบย่อย
  • สปอร์
    – กลุ่มอับสปอร์จะมีรูปร่างเกือบกลม
    – อยู่บนเส้นใบทั้งสองข้าง
    – จะอยู่ตรงเส้นกลางใบย่อย
    – เยื่อคลุมกลุ่มอับสปอร์เป็นเกล็ดเล็ก
    – อยู่ที่ฐานของกลุ่มอับสปอร์

สรรพคุณ และประโยชน์ของกูดพร้าว

  • แพทย์แผนชนบทจะนำเนื้อไม้ สามารถนำมาทำเป็นยาแก้ไข้ได้[2]
  • สามารถนำมาใช้ฝนเป็นยาทาแก้ฝีได้[2]
  • ช่วยแก้อักเสบ และแก้อาการบวม [2]
  • ลำต้น สามารถนำมาใช้ปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ได้[1]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. ข้อมูลพรรณไม้, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “กูด พร้าว”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.rspg.or.th/plants_data/. [27 ส.ค. 2015].
2. หนังสือคำอธิบายตำราพระโอสถพระนารายณ์. (ชยันต์ พิเชียรสุนทร, แม้นมาศ ชวลิต, วิเชียร จีรวงส์). “กูด พร้าว”. หน้า 519.

อ้างอิงรูปจาก
1.https://powo.science.kew.org/
2.https://www.flickr.com/

ต้นการบูร ช่วยขับความชื้นในร่างกาย

ต้นการบูร ช่วยขับความชื้นในร่างกาย ผลึกที่แทรกในเนื้อไม้มีอยู่ทั่วต้น ผงเป็นเกล็ดกลม มีรสปร่าเมา ดอกขนาดเล็กมีลักษณะเป็นสีขาวอมเหลือง ผลเป็นรูปไข่หรือจะกลมมีเนื้อ ผลสุกเป็นสีดำ
ต้นการบูร
ผงเป็นเกล็ดกลมสีขาว มีรสปร่าเมา ดอกขนาดเล็กมีลักษณะเป็นสีขาวอมเหลือง ผลเป็นรูปไข่หรือจะกลมมีเนื้อ ผลสุกเป็นสีดำ

ต้นการบูร

การบูร คือ ผลึกที่แทรกในเนื้อไม้มีอยู่ทั่วต้น มักอยู่ที่ตามรอยแตก มีเยอะที่สุดในแก่นของราก และรองลงมานั่นก็คือแก่นของต้น ส่วนที่ใกล้โคนต้นมีมากกว่าส่วนที่เหนือขึ้นมา ในใบกับยอดอ่อนจะมีอยู่ไม่มาก ต้นจะมีในใบอ่อนน้อยกว่าใบแก่ ผงเป็นเกล็ดกลม มีขนาดเล็ก มีลักษณะเป็นสีขาว แห้ง อาจจะจับเป็นก้อนร่วน สามารถแตกได้ง่าย ถ้าทิ้งเอาไว้ในอากาศก็จะระเหิดไปหมด จะมีรสปร่าเมา[2][4] ชื่อสามัญ Formosan camphor, Camphor, Laurel camphor, Gum camphor ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Cinnamomum camphora (L.) J.Presl[1],[5],[6] (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ คือ Camphora officinarum Nees, Laurus camphora L.[1]) อยู่วงศ์อบเชย (LAURACEAE)[1],[4] ชื่อในท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น จางหน่าว (จีนกลาง), พรมเส็ง (เงี้ยว), การบูร (ภาคกลาง), จางมู่ (จีนกลาง), เจียโล่ (จีนแต้จิ๋ว)การะบูน (ภาคกลาง), อบเชยญวน (ไทย)[1],[3],[4],[6]

ลักษณะของต้นการบูร

  • ต้น เป็นพรรณไม้พื้นเมืองของประเทศไต้หวัน จีน ญี่ปุ่น มีเขตกระจายพันธุ์ในแถบเมดิเตอร์เรเนียน สหรัฐอเมริกา จาไมกา อียิปต์ อินโดนีเซีย ไทย บราซิล แอฟริกาใต้ อินเดีย เป็นไม้ยืนต้นที่มีขนาดใหญ่ เป็นทรงพุ่มกว้าง ทึบ ต้นสูงได้ถึงประมาณ 30 เมตร ลำต้นมีเส้นผ่านศูนย์กลางถึง 1.5 เมตร เปลือกต้นมีลักษณะเป็นสีน้ำตาล ผิวมีลักษณะหยาบ เปลือกกิ่งมีลักษณะเป็นสีเขียว สีน้ำตาลอ่อน ลำต้นกับกิ่งจะเรียบ เนื้อไม้เป็นสีน้ำตาลปนสีแดง ถ้านำมากลั่นแล้วก็จะได้ ทุกส่วนจะมีกลิ่นหอม โดยเฉพาะส่วนรากและโคนต้น ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด การปักชำ[1],[8]
  • ใบ ใบจะออกเรียงสลับ จะเป็นรูปรี รูปรีแกมรูปไข่ ที่ปลายใบจะเรียวแหลม ส่วนที่โคนใบจะป้านหรือกลม ขอบใบเรียบหรือจะเป็นคลื่นนิดหน่อย ใบกว้างประมาณ 2.5-5.5 เซนติเมตร มีความยาวประมาณ 5.5-15 เซนติเมตร แผ่นใบมีลักษณะค่อนข้างเหนียว ที่หลังใบจะเป็นสีเขียวเข้มเป็นมัน ที่ท้องใบจะเป็นสีเขียวอมสีเทาหรือนวล จะไม่มีขน มีเส้นใบขึ้นตรงจากที่โคนใบประมาณ 3-8 มิลลิเมตร แยกเป็น 3 เส้น ที่ตรงมุมจะมีเส้นใบแยกออกนั้นมีต่อมอยู่ 2 ต่อม และที่ตามเส้นกลางใบอาจจะมีต่อมขึ้นที่ตรงมุมที่มีเส้นใบแยกออก ก้านใบยาวประมาณ 2-3 เซนติเมตร จะไม่มีขนขึ้น ที่ตาใบจะมีเกล็ดซ้อนเหลื่อมกัน เกล็ดชั้นนอกเล็กกว่าเกล็ดชั้นไปในตามลำดับ ถ้าขยี้ใบจะมีกลิ่นหอม [1]
  • ดอก ออกเป็นช่อแบบแยกแขนง ออกดอกเป็นกระจุกที่ตามง่ามใบ มีดอกขนาดเล็กมีลักษณะเป็นสีขาวอมเหลืองหรืออมเขียว มีก้านดอกย่อยที่สั้นมาก มีกลีบดอกรวม 6 กลีบ จะเรียงเป็น 2 วง วงละ 3 กลีบ เป็นรูปรี ที่ปลายจะมน ด้านนอกจะเกลี้ยง ด้านในจะมีขนละเอียด มีเกสรเพศผู้ 9 ก้าน เรียงเป็นวง 3 วง วงละ 3 ก้าน อับเรณูของวงที่1 กับวงที่ 2 จะหันหน้าเข้าด้านใน ที่ก้านเกสรมีขน วงที่ 3 หันหน้าออกด้านนอก มีก้านเกสรค่อนข้างใหญ่ มีต่อมอยู่ 2 ต่อม อยู่ใกล้กับบริเวณก้าน ต่อมเป็นรูปไข่กว้าง มีก้าน อับเรณูมีช่องเปิด 4 ช่อง จะเรียงเป็น 2 แถว แถวละ 2 ช่อง มีลิ้นเปิด 4 ช่อง เกสรเพศผู้จะเป็นหมันมีก้านอยู่ 3 ก้าน จะอยู่ที่ด้านในสุด มีลักษณะคล้ายกับหัวลูกศร มีขน ไม่มีต่อม รังไข่มีลักษณะเป็นรูปไข่ จะไม่มีขน ก้านเกสรเพศเมียมีความยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร จะไม่มีขน ที่ปลายเกสรเพศเมียจะกลม ใบประดับเรียวยาว ร่วงง่าย มีขนอ่อนและนุ่มขึ้น ออกดอกช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคม[1]
  • ผล ผลเป็นรูปไข่หรือจะกลม เป็นผลแบบมีเนื้อ ผลมีลักษณะเป็นสีเขียวเข้มยาวประมาณ 6-10 มิลลิเมตร ผลสุกเป็นสีดำ ผลจะมีฐานดอกซึ่งโตขึ้นมาเป็นแป้นรองรับผล มีเมล็ดอยู่ในผล 1 เมล็ด[1]

สรรพคุณของต้นการบูร

1. สามารถช่วยแก้อาการชักบางประเภท แก้กระตุก และเส้นสะดุ้งได้ [1],[2],[3],[4]
2. มีรสเผ็ดร้อนสามารถใช้เป็นยาแก้ปวดได้ [7]
3. ช่วยรักษาโรคผิวหนังเรื้อรังได้ เกล็ดใช้เป็นยารักษาโรคผิวหนัง ใช้แก้อาการคันตามผิวหนัง[1],[2],[5],[7]
4. สามารถช่วยรักษากลากเกลื้อน[7]
5. สามารถช่วยแก้ผดผื่นคันได้ (เปลือกต้นและใบ)[6]
6. สามารถช่วยแก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อยได้[1],[2],[3],[4],[5]
7. สามารถช่วยขับน้ำเหลืองได้ [1],[2],[3],[4]
8. สามารถช่วยฆ่าพยาธิในท้อง และสามารถใช้ทะลวงทวารที่บริเวณใบหน้าได้ [7]
9. สามารถใช้เมล็ดเป็นยาแก้อาการปวดท้องน้อยได้ (เมล็ด)[6]
10. สามารถช่วยแก้กระเพาะอักเสบ ลำไส้อักเสบได้ (เมล็ด)[6]
11. สามารถช่วยขับความชื้นในร่างกายได้ [7]
12. สามารถช่วยขับลมชื้นได้ (ราก, กิ่ง)[6]
13. สามารถช่วยแก้ไอได้ [9]
14. สามารถช่วยการขับเหงื่อได้ (ผลึก, เนื้อไม้)[1],[2],[3],[4],[5]
15. สามารถช่วยแก้โรคตาได้ (การบูร)[1],[2],[3],[4]
16. สามารถใช้เป็นยาระงับประสาทได้ (การบูร)[1],[2]
17. สามารถช่วยบำรุงธาตุในร่างกายได้ (การบูร, เนื้อไม้)[1],[2],[3],[4],[5]
18. สามารถช่วยแก้ธาตุพิการได้ [9]
19. สามารถช่วยคุมธาตุได้ (เมล็ดใน, เปลือกต้น)[9]
20. ถ้านำมาผสมเป็นขี้ผึ้งจะเป็นยาร้อน สามารถใช้ทาเป็นยาแก้ถอนพิษอักเสบเรื้อรัง โรคปวดผิวหนัง ทรวงอก ปวดยอกตามกล้ามเนื้อ ปวดร้าวที่ตามเส้นเอ็น สะบักจมได้ [1],[2],[3],[4]
21. สามารถนำมาใช้เป็นยาทาถูนวดแก้ปวดเส้นประสาท ข้อบวมเป็นพิษ เคล็ดบวม แก้อาการปวด แก้อาการปวดขัดตามเส้นประสาท แก้อาการปวดตามข้อ ข้อเท้าแพลง แก้เคล็ดขัดยอก [1],[2],[3],[4],[5]
22. กิ่งกับรากสามารถช่วยแก้อาการปวดเมื่อยที่ตามร่างกาย แก้เคล็ดขัดยอก ปวดเมื่อยตามข้อมือข้อเท้าได้ (รากและกิ่ง)[6]
23. สามารถใช้เป็นยาช่วยระงับเชื้อแบบอ่อนได้ [1],[2]
24. สามารถใช้ใบ กับเปลือกต้น เป็นยารักษาแผลเรื้อรังเน่าเปื่อยที่บริเวณผิวหนังได้ (เปลือกต้นและใบ)[6]
25. เปลือกต้น มีรสฝาด สามารถใช้เป็นยาสมานแผลได้ (เปลือกต้น)[9]
26. สามารถช่วยบำรุงกำหนัดได้[1],[2],[3],[4]
27. สามารถช่วยแก้อาการท้องเสีย ที่เกิดจากกระเพาะเย็นชื้น ลำไส้เย็นชื้นได้ (การบูร)[7]
28. สามารถช่วยแก้อาการท้องร่วง และอาการปวดท้องได้ (การบูร, เนื้อไม้)[1],[2],[3],[4],[5]
29. สามารถช่วยแก้อาการปวดกระเพาะ และปวดท้องได้ [7]
30. สามารถช่วยแก้อาการปวดท้องได้ (ราก, กิ่ง)[6]
31. เมล็ดในจะมีรสฝาด สามารถใช้เป็นยาแก้ท้องร่วง แก้บิด แก้ปวดเบ่งได้ (เมล็ดใน)[9]
32. สามารถช่วยขับผายลม และช่วยแก้อาการจุกแน่นเฟ้อได้ ถ้าเอาเกล็ดการบูรมาทานไม่เยอะมาก จะสามารถช่วยขับลมได้ แต่ถ้าใช้มากเกินไปก็จะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน (การบูร, เนื้อไม้)[1],[2],[4],[5],[7]
33. เมล็ด มีสรรพคุณที่สามารถแก้อาการท้องเฟ้อ ท้องอืดได้ (เมล็ด)[6]
34. กิ่งกับรากจะมีสรรพคุณที่สามารถแก้อาการลมขึ้น ท้องอืด จุกเสียดแน่นหน้าอก ท้องเฟ้อ (รากและกิ่ง)[6]
35. สามารถช่วยขับเสมหะ และทำลายเสมหะได้ (การบูร, เนื้อไม้)[1],[2],[3],[4],[5]
36. สามารถช่วยแก้ไข้หวัดได้ [1],[2]
37. สามารถช่วยแก้อาการปวดฟันได้ [7]
38. สามารถช่วยแก้เลือดลมได้ [1],[2],[3],[4]
39. กิ่งกับรากของจะเป็นยาที่สามารถช่วยทำให้เลือดลมไหลเวียนได้ดี (ราก, กิ่ง)[6]
40. มีสรรพคุณที่เป็นยากระตุ้นหัวใจ เป็นยาบำรุงหัวใจ [1],[2]

หมายเหตุ
– ถ้าใช้เปลือกต้นให้ใช้ภายนอกตามความต้องการ [6]
– กิ่งกับรากให้ใช้เป็นยาแห้งครั้งละ 15-30 กรัม[6]
– นำเกล็ดครั้งละ 2-5 มิลลิกรัม มาต้มกับน้ำทาน ถ้าใช้ภายนอกให้เอามาแช่เหล้าแล้วใช้ทาตรงบริเวณที่ต้องการ[7]

ประโยชน์ของต้นการบูร

1. ถ้านำมาวางในห้องหรือในตู้เสื้อผ้าจะช่วยไล่ยุง ไล่แมลง และสามารถเอามาผสมเป็นตัวดับกลิ่นอับในรองเท้าได้[2],[8]
2. สามารถช่วยแก้รอยผิวหนังแตกช่วงฤดูหนาวได้[2],[3],[4]
3. น้ำมันสามารถช่วยกระตุ้นความรู้สึก ทำให้จิตใจโล่งปลอดโปร่ง และสามารถช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะ ช่วยทำให้ตื่นตัว และช่วยบรรเทาอาการวิงเวียนศีรษะ เมาเรือ เมารถได้[8]
4. มีการใช้เป็นส่วนผสมในตำรับยาหอม เช่น ยาธรณีสัณฑะฆาต ยาไฟประลัยกัลป์ ยาประสะกานพลู ยาประสะไพล ยาหอมเทพจิตร ยาธาตุอบเชย ยาประสะเจตพังคี ยามันทธาตุ ยาธาตุบรรจบ ยาหอมทิพโอสถ หรือใช้ทำพิมเสนน้ำ น้ำมันไพล ลูกประคบ[2],[9]
5. ใบกับกิ่งก้านสามารถใช้แต่งกลิ่นอาหาร ขนม อย่างเช่น ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับเนื้อสัตว์ เครื่องดื่มโคคาโคลา แยม ข้าวหมกไก่ ไส้กรอก เหล้า เยลลี่ ลูกกวาด เบคอน และมีการใช้เป็นส่วนผสมในขนมเค้ก ผงกะหรี่ เครื่องพะโล้ คุกกี้ เครื่องแกงมัสมั่น ใช้แต่งกลิ่นยา และมีการใช้เป็นส่วนประกอบในอาหารประเภทผักดอง ซอส [8]
6. มีการใช้เป็นยาชาเฉพาะที่[2]

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

  • ถ้านำเกล็ดมาใช้ทาผิวหน้าจะทำให้รู้สึกแสบร้อน ถ้าเอามาผสมเกล็ดสะระแหน่จะสามารถช่วยเพิ่มความรู้สึกเย็นได้[7]
  • พบน้ำมันระเหยโดยเฉลี่ยประมาณ 3-6% ในราก กิ่ง ใบ มีสารอยู่ประมาณ 10-50% ในน้ำมันหอมระเหย และยังพบว่าต้นที่ยิ่งมีอายุมากเท่าไหร่ จะพบสารมากตามไปด้วย พบสาร Carvacrol, Cadinene, Azulene, Safrol, Camphorene, Bisabolone [6]
  • ถ้านำเนื้อไม้มากลั่นด้วยไอน้ำ จะได้น้ำมันหอมระเหยรวมกันประมาณ 1% ประกอบไปด้วย p-cymol, linalool, eugenol, caryophyllen, acetaldehyde, salvene, orthodene, limonene, cineole, betelphenol [1]
  • เกล็ดช่วยกระตุ้นประสาทส่วนกลาง ช่วยกระตุ้นการทำงานของหัวใจ ซึ่งทำให้หัวใจบีบตัวและเต้นเร็วขึ้น ทำให้การหายใจถี่ยิ่งขึ้น[7]
  • มีฤทธิ์ที่สามารถฆ่าแมลง ต้านเชื้อแบคทีเรีย ต้านเชื้อรา ช่วยสร้างภูมิคุ้มกัน ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลได้[2]
  • รากจะมีน้ำมันหอมระเหย 3% ประกอบด้วย safrole, piperiton, phellandene, fenochen, citronellol, carvacrol, camphene, azulene, terpineol, piperonylic acid, pinene, limonene, citronellic acid, cineol, camphor, cadinene และพบ camperol กับ camphor ในใบ[1]

ข้อควรระวังในการใช้ต้นการบูร

  • ถ้าทาน 7 กรัมขึ้นไปจะทำให้เป็นอันตรายถึงชีวิต[7]
  • ถ้าทาน 0.5-1 กรัม จะทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะ และภายในจะมีอาการแสบร้อนและอาจจะเกิดอาการเพ้อ[7]
  • ห้ามให้สตรีมีครรภ์ทาน[6]
  • ผู้ที่เป็นโรคริดสีดวงทวาร ปัสสาวะเป็นเลือด อุจจาระแข็งแห้ง ปัสสาวะขัด ทาน[8]
  • ถ้าทานการบูร 2 กรัมขึ้นไปจะทำให้เกิดอันตราย เพราะจะทำให้อัตราการเต้นของหัวใจอ่อนลง[7]
  • ห้ามใช้น้ำมันการบูรที่มีสีเหลือง สีน้ำตาล เนื่องจากมีความเป็นพิษ[8]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “การบูร”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.phargarden.com. [12 เม.ย. 2014].
2. ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “การบูร”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.thaicrudedrug.com. [12 เม.ย. 2014].
3. หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคกลาง. “การบูร”. (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ, ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, กัญจนา ดีวิเศษ). หน้า 73.
4. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. “การะบูน , การบูร”. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). หน้า 60-62.
5. หนังสือสมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ. (คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “การบูร Camphor Tree”. หน้า 82.
6. หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. “การบูรต้น”. (วิทยา บุญวรพัฒน์). หน้า 72.
7. หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. “เกล็ดการบูร (Camphor)”. (วิทยา บุญวรพัฒน์). หน้า 74.
8. ไทยเกษตรศาสตร์. “พันธุ์ไม้หอมที่มีสรรพคุณทางยาสมุนไพร”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.thaikasetsart.com. [12 เม.ย. 2014].
9. ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.kmitl.ac.th. [12 เม.ย. 2014].

อ้างอิงรูปจาก
1. https://www.naturalalchemy.com.au/
2. https://www.indiamart.com/

ต้นกระต่ายจันทร์ สรรพคุณบำรุงสายตา

ต้นกระต่ายจันทร์ สรรพคุณบำรุงสายตา เป็นไม้ล้มลุก ใบเดี่ยวขนาดเล็ก ดอกออกเป็นช่อกระจุกแน่น ผลสี่เหลี่ยมรูปรี เปลือกด้านนอกจะมีขนสีขาว
ต้นกระต่ายจันทร์
เป็นไม้ล้มลุก ใบเดี่ยวขนาดเล็ก ดอกออกเป็นช่อกระจุกแน่น ผลสี่เหลี่ยมรูปรี เปลือกด้านนอกจะมีขนสีขาว

กระต่ายจันทร์

ชื่อสามัญ Spreading-sneezeweed ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Centipeda minima (L.) A.Braun & Asch. อยู่วงศ์ทานตะวัน (ASTERACEAE หรือ COMPOSITAE)[1],[4] ชื่อในท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น โฮ่วเกี๋ยอึ้มเจี๋ยะเช้า (จีน), หญ้าผมยุ่ง (ภาคกลาง), หญ้าต่ายจาม (ภาคกลาง), กระต่ายจันทร์ (ภาคกลาง), กระต่าย (ภาคกลาง), หญ้าขี้ตู้ด (น่าน), เอ๋อปุ๊สือเฉ่า (จีนกลาง), สาบแร้ง (ภาคกลาง), หญ้าต่ายจันทร์ (ภาคกลาง), หญ้ากระต่ายจาม (ภาคกลาง), กระต่ายจาม (ภาคกลาง), หญ้ากระจาม (สุราษฎร์ธานี), หญ้าจาม (ชุมพร), หญ้าจาม (เชียงใหม่), กระต่ายจันทร์ (กรุงเทพฯ), เหมือนโลด (นครราชสีมา) [1],[2],[3]

ลักษณะของต้นกระต่ายจันทร์

  • ต้น เป็นพรรณไม้ล้มลุกฤดูเดียว ลำต้นจะแผ่ที่ตามพื้นดินที่ชื้นเย็น ลำต้นเล็ก จะแตกกิ่งก้านเยอะ ที่ปลายจะแตกกิ่งก้านชูตั้งขึ้นนิดหน่อย หรืออาจชูสูงถึงประมาณ 15-30 เซนติเมตร ลำต้นอ่อนจะมีขนยุ่งขึ้นคลุมคล้ายกับใยแมงมุม บางต้นจะค่อนข้างเรียบ ลำต้นมีลักษณะเป็นสีเขียวอ่อน มีกลิ่นเหม็นเล็กน้อย ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด มีเขตการกระจายพันธุ์อยู่ที่ในเขตร้อนของทวีปออสเตรเลีย เอเชีย แอฟริกา สำหรับประเทศไทยสามารถพบเจอกระจายพันธุ์ทั่วทุกภาค มักจะพบขึ้นที่ตามบริเวณที่โล่ง ที่ริมแหล่งน้ำ ริมชายฝั่งแม่น้ำ ตามนาข้าว ตามที่ชื้นแฉะ บนพื้นที่ตั้งแต่ระดับน้ำทะเลถึงที่สูงประมาณ 1,800 เมตร[1],[2],[3],[4]
  • ใบ เป็นใบเดี่ยว มีขนาดเล็ก ใบจะออกเรียงสลับ ใบเกิดจากต้นโดยตรงโดยไม่มีก้าน ใบเป็นรูปช้อนแกมรูปขอบขนาน ที่ปลายใบจะแหลมหรือมน ส่วนที่โคนใบจะสอบ ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อยห่าง หรือจะหยักเว้าเป็นง่ามข้างละ 2-3 หยัก ใบกว้างประมาณ 2-7 มิลลิเมตร มีความยาวประมาณ 4-20 มิลลิเมตร ใบอ่อนที่ใต้ท้องใบจะมีขน ใบแก่ขนจะหลุดจนเกลี้ยง มีเส้นใบที่เห็นไม่ชัด[1],[2],[3],[4]
  • ดอก ดอกออกเป็นช่อกระจุกแน่น ออกดอกที่ตามซอกใบ ดอกย่อยจะเรียงอัดแน่นเป็นรูปทรงเกือบกลม หรือกลมแบน ที่ปลายจะกลมจักเป็นซี่ ๆ มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2-4 มิลลิเมตร มีก้านช่อดอกที่สั้นมากหรือจะไม่มีก้านดอก ที่โคนช่อจะมีใบประดับรองรับมีลักษณะเป็นรูปช้อนมีขนาดเล็กเป็นจำนวนมากเรียงซ้อนกันประมาณ 2 ชั้น อยู่รอบฐานรองดอกเป็นแผ่นกลมมีขนาดเล็ก นูนนิดหน่อย ดอกเพศเมียมีขนาดเล็กมากและมีเป็นจำนวนมาก จะเรียงกันเป็นวงบนฐานดอกล้อมดอกสมบูรณ์เพศจะมีขนาดเล็กและมีน้อยกว่า ดอกเพศเมียมีกลีบดอกเป็นสีขาว ที่โคนจะเชื่อมติดเป็นหลอดเรียว มีขนาดที่สั้นมาก ที่ปลายจะแยกเป็น 2-3 แฉก รังไข่มีขนาดเล็ก ก้านเกสรเพศเมียจะมีขนาดสั้น ยอดเกสรเพศเมียจะแยกเป็น 2 แฉก ดอกสมบูรณ์เพศมีกลีบดอกเป็นสีเหลือง สีเหลืองอมสีเขียวมีแถบเป็นสีม่วงแต้มอยู่ จะอยู่วงใน ที่โคนกลีบจะติดเป็นหลอดสั้น ส่วนที่ปลายจะแยกเป็น 4 แฉก มีรังไข่ขนาดเล็ก มีเกสรเพศผู้อยู่ 4 อัน[1],[2],[3],[4]
  • ผล เป็นผลแห้งไม่แตก มักจะเป็นสี่เหลี่ยมรูปรี หรือจะเป็นรูปเกือบขอบขนาน จะเล็กมาก ๆ มีความยาวได้ประมาณ 1 มิลลิเมตร ส่วนที่ปลายหนา เปลือกด้านนอกจะมีขนสีขาวขึ้นคลุมนิดหน่อย[1],[2],[4]

สรรพคุณกระต่ายจันทร์

1. ในตำรับยาที่สามารถช่วยแก้ช้ำใน ฟกช้ำปวดบวมได้ สามารถนำต้น 20 กรัม มาตำให้ละเอียด นำไปตุ๋นกับทาน นำกากไปใช้พอกตรงบริเวณที่เจ็บ (ต้น)[3]
2. สามารถใช้เป็นยาใส่แผลได้ (ต้น)[2]
3. สามารถช่วยรักษาโรคริดสีดวงทวารได้ (ต้น)[2]
4. สามารถใช้เมล็ดเป็นยาขับพยาธิได้ (เมล็ด)[2]
5. ในตำรับยาแก้ไอกรน ไอหอบชนิดเย็นได้ โดยนำ20 กรัม มาต้มทานใส่น้ำตาลกรวด ถ้าใช้น้ำตาลทราย จะต้องนับอายุ 3 ปี / 7.5 กรัม มาต้มกับน้ำทาน (ต้น)[3]
6. นำใบกับเมล็ดมาบดเป็นผง สามารถใช้เป็นยาทำให้จามได้ (ใบ, เมล็ด)[2]
7. สามารถช่วยรักษาโรคมาลาเรียได้ (ลำต้น)[2]
8. สามารถใช้ลำต้นเป็นยาแก้โรคเยื่อบุตาอักเสบ ตาเป็นฝ้า และสามารถใช้เป็นยาบำรุงสายตา (ต้น)[2],[3],[5]
9. สามารถใช้เป็นยาแก้เด็กเป็นตานขโมยได้ โดยนำกระต่ายจันทร์ 3 เฉียน มายัดใส่ไข่ ต้มทาน (ต้น)[5]
10. ทั้งต้นมีรสเผ็ด จะเป็นยาอุ่น จะออกฤทธิ์กับตับ ไต สามารถช่วยทำให้โลหิตคั่งค้างตกทวารหนักได้ (ต้น)[3]
11. สามารถใช้เป็นยาขับลมชื้น ช่วยแก้ไขข้ออักเสบเพราะลมชื้นกระทบได้ (ต้น)[3]
12. ประเทศจีนใช้เป็นยาลดอาการบวม (ต้น)[4]
13. สามารถใช้ลำต้นเป็นยาช่วยดับพิษสุรา แก้ระงับพิษ แก้งูพิษกัดได้ (ต้น)[2],[3]
14. สามารถช่วยรักษาโรคที่เกี่ยวกับทางเดินอาหาร และสามารถช่วยแก้เชื้อบิดอะมีบาได้ (ต้น)[2],[3]
15. สามารถใช้เป็นยาแก้คอตีบอักเสบได้ (ต้น)[3]
16. ในตำรับยาแก้ไซนัส ริดสีดวงจมูก แก้จมูกอักเสบ นำต้นสดมาตำให้แหลก ใส่รูจมูก ถ้าเป็นต้นแห้งให้บดเป็นผงใช้ทำเป็นยานัตถุ์ สามารถช่วยให้จาม แก้หวัดได้ (ต้น)[1],[3]
17. ในตำรับยาแก้หวัดคัดจมูก นำต้น 20 กรัม มาต้มกับหัวหอม 5 หัว นำมาทานเป็นยา (ต้น)[3] ชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงใช้ดอกมาสูดดมแก้หวัด (ดอก)[1]
18. สามารถใช้เป็นยาแก้โรคฟันผุได้ หรือนำลำต้นสด มาตำให้ละเอียดใช้เป็นยาพอกที่แก้มสามารถช่วยแก้โรคปวดฟันได้ (ลำต้น)[2]
19. นำต้นมาผสมใบข่อย ใบเทียนดำ ตำสุมหัวสามารถใช้เป็นยาแก้อาการปวดศีรษะได้ (ทั้งต้น)[1]
20. ในตำรายาไทยนำต้นสดกับใบสดมาตำผสมเหล้า แล้วคั้นเอาน้ำมาใช้ดื่มเป็นยาแก้ไอเป็นเลือด แก้ช้ำใน แก้อาเจียน ช่วยทำให้เลือดกระจายได้ (ต้น, ใบ)[1]

วิธีใช้

วิธีใช้ตาม [2],[3] ต้นสดให้ใช้ครั้งละ 6-20 กรัม มาต้มกับน้ำทาน ถ้าเป็นยาแห้งให้ใช้ 5-10 กรัม ถ้าใช้ภายนอกให้ใช้ต้นสดตามความเหมาะสม โดยใช้ทำเป็นยาพอก[2],[3]

ข้อควรระวัง

ห้ามให้สตรีที่มีครรภ์ทานสมุนไพรชนิด[3] ในรัฐควีนส์แลนด์ ในประเทศออสเตรเลีย มีผู้ที่กล่าวว่ามีพิษ[4] บางข้อมูลระบุเอาไว้ว่า เป็นพิษกับปศุสัตว์

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

  • ถ้านำน้ำต้มกระต่ายจันทร์ 25-50% มาผสมมันสำปะหลัง ไข่ไก่ แล้วเอาเชื้อวัณโรคไปเพาะในน้ำยานั้น ปรากฏว่าเชื้อวัณโรคไม่เจริญเติบโต ทำให้เห็นว่า สามารถยับยั้งการเติบโตของเชื้อวัณโรคได้[3]
  • พบสาร Arinidiol, Taraxerol, น้ำมันระเหย, Taraxasterol และ acid บางชนิด อย่างเช่น myriogyne acid[3] พบสารเคมีพวก sesquiterpene 2 ชนิด กับ flavonoid 3 ชนิด จะมีผลช่วยยับยั้งและช่วยต้านภูมิแพ้[4]
  • สกัดด้วยแอลกอฮอล์หรือต้มกับน้ำ มีประสิทธิภาพช่วยแก้ไอ ขับเสมหะ บรรเทาอาการหืดหอบได้ดี[3]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา. (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “กระต่ายจันทร์”. หน้า 66.
2. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “กระ ต่าย จันทร์”. หน้า 22-23.
3. หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. (วิทยา บุญวรพัฒน์). “กระต่ายจาม”. หน้า 30.
4. ข้อมูลพรรณไม้, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “กระ ต่าย จันทร์”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.rspg.or.th/plants_data/. [06 ก.ค. 2015].
5. ไทยเกษตรศาสตร์. “ข้อควรรู้เกี่ยวกับสมุนไพรกระต่ายจันทร์”. อ้างอิงใน : บุญชัย ฉัตตะวานิช. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.thaikasetsart.com. [06 ก.ค. 2015].

อ้างอิงรูปจาก
1.https://alchetron.com/Centipeda

ต้นกานพลู สรรพคุณช่วยรักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน

ต้นกานพลู
ต้นกานพลู สรรพคุณช่วยรักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน เป็นไม้ยืนต้น ดอกตูมสีน้ำตาลแดงถึงน้ำตาลดำ มีกลิ่นหอมที่เฉพาะตัว มีรสเผ็ด
ต้นกานพลู
เป็นไม้ยืนต้น ดอกตูมสีน้ำตาลแดงถึงน้ำตาลดำ มีกลิ่นหอมที่เฉพาะตัว มีรสเผ็ด

ต้นกานพลู

ชื่อสามัญ คือ Clove ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Syzygium aromaticum (L.) Merr. & L.M.Perry
ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ คือ Eugenia caryophyllus (Spreng.) Bullock & S.G.Harrison, Eugenia caryophyllata Thunb. จัดอยู่ในวงศ์ชมพู่ (MYRTACEAE)

ลักษณะของกานพลู

– เป็นไม้ยืนต้น
– มีสรรพคุณหลากหลาย
– มีกลิ่นหอมที่เฉพาะตัว
– เป็นสมุนไพรที่มีรสเผ็ด
– ดอกตูม สีน้ำตาลแดงถึงน้ำตาลดำ
– ประเทศที่มีการเพาะปลูกและเก็บเกี่ยวมากที่สุดก็คือ ประเทศอินโดนีเซีย อินเดีย ปากีสถาน และศรีลังกา
– สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลายส่วน เช่น ดอกตูม ผล ต้น เปลือก ใบ และยังรวมไปถึงน้ำมันหอมระเหย

ตามประกาศคณะกรรมการแห่งชาติด้านยา (ฉบับที่ 5)

  • ใช้เป็นยารักษาอาการทางระบบไหลเวียนโลหิต (แก้ลม)
  • ปรากฏอยู่ในตำรับยาหลายชนิด ได้แก่ ยาหอมเทพจิตร ยาหอมนวโกฐ
  • เป็นส่วนประกอบ ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่น ๆ อยู่
  • มีสรรพคุณช่วยแก้ลม วิงเวียน อาการหน้ามืดตาลาย ใจสั่น คลื่นไส้อาเจียน
  • ใช้เป็นยารักษากลุ่มอาการทางระบบอาหาร โดยจะประกอบไปด้วย ยาธาตุบรรจบ ยาประสะ
  • มีสรรพคุณช่วยแก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ จุกเสียด อาหารไม่ย่อยเป็นต้น

สรรพคุณของกานพลู

  • ช่วยรักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน
  • ช่วยขับเสมหะ แก้เสมหะเหนียวข้น
  • ช่วยขับน้ำดี
  • ช่วยในการดูดซึมของธาตุเหล็กให้ดียิ่งขึ้น
  • ช่วยแก้น้ำเหลืองเสีย แก้เลือดเสีย
  • ช่วยขับน้ำคาวปลา
  • ช่วยแก้ลม แก้ธาตุพิการ บำรุงธาตุ
  • ช่วยขับผายลม ขับลมในลำไส้
  • ช่วยแก้อาการเหน็บชา
  • ช่วยรักษาโรคหืดหอบ
  • ช่วยแก้อาการท้องเสียของเด็ก
  • ช่วยกระตุ้นการหลั่งเมือกและช่วยลดกรดในกระเพาะอาหาร
  • ช่วยบรรเทาอาการปวดท้อง ช่วยลดการบีบตัวของลำไส้
  • ช่วยแก้อาการไอ
  • ช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้หลายชนิด เช่น เชื้อบิดชนิดไม่มีตัว เชื้อหนอง เชื้อโรคไทฟอยด์
  • ช่วยลดอาการจุกเสียดแน่นท้อง
  • ช่วยขับลม แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ
  • ช่วยระงับกลิ่นปาก และดับกลิ่นเหล้าได้ดี
  • ช่วยรักษาโรครำมะนาด
  • ช่วยแก้อาการสะอึก แก้ซางต่าง ๆ
  • ช่วยบรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียน หน้ามืดตาลาย
  • ช่วยเรื่องการต่อต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย
  • ช่วยลดความอยากน้ำตาล
  • ช่วยลดและควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
  • ช่วยแก้อาการปวดฟัน
  • ช่วยแก้อาการปวดท้อง แก้ลม และช่วยคุมธาตุ
  • ช่วยฆ่าเชื้อจากบาดแผล แมลงสัตว์กัดต่อยได้
  • ช่วยทำให้ผิวหนังชา
  • ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต และทำให้มีน้ำนมเพิ่มมากขึ้น
  • ช่วยละลายลิ่มเลือดและช่วยลดการจับตัวเป็นก้อนได้

ประโยชน์ของกานพลู

  • น้ำมันสกัด สามารถช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของ Lactococcus garvieae ในอาหารเลี้ยงเชื้อได้
  • เมื่อนำอาหารปลาที่ผสมกับน้ำมันมาเลี้ยงปลานิล จะทำให้ปริมาณการตายเพราะการติดเชื้อ L. garvieae ของปลานิลลดลง
  • น้ำมัน มีฤทธิ์ในการช่วยไล่ยุงได้
  • สามารถนำมาใช้ในการแต่งกลิ่นอาหาร แต่งกลิ่นสบู่ และยาสีฟัน
  • สามารถนำมาใช้เป็นส่วนผสมของสมุนไพรในตำรับยาต่าง ๆ ได้ เช่น พิกัดตรีพิษจักร พิกัดตรีคันธวาต ยาหอมเทพจิต ยาหอมนวโกฐ หรือยาธาตุบรรจบ
  • บางคนได้มีการนำมาทำเป็นบุหรี่

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

แหล่งอ้างอิง :
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.), ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

อ้างอิงรูปจาก
1.https://rawspices.lk/
2.https://www.ahimsaoils.com.au/

ต้นกำจัดหน่วย ช่วยแก้อาการปวดเมื่อยตามข้อ

ต้นกำจัดหน่วย
ต้นกำจัดหน่วย ช่วยแก้อาการปวดเมื่อยตามข้อ เป็นไม้เถา ใบประกอบแบบขนนก ดอกขนาดเล็กเป็นช่อ สีเหลืองอมเขียว ผลกลมมี 4 พู
ต้นกำจัดหน่วย
เป็นไม้เถา ใบประกอบแบบขนนก ดอกขนาดเล็กเป็นช่อ สีเหลืองอมเขียว ผลกลมมี 4 พู

ต้นกำจัดหน่วย

ชื่อสามัญ คือ Shiny-Leaf Prickly Ash ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Zanthoxylum nitidum (Roxb.) DC. จัดอยู่ในวงศ์ส้ม (RUTACEAE)[1],[3] ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ คือ กำจัดเถา, กำจัดเครือ, สรรพลังวน, งูเห่า (อุดรธานี), กำจัดหน่วย (ภาคใต้เรียก), ยิบตี่กิมงู้ เหลี่ยงหมิ่งจำ (จีนแต้จิ๋ว), ลู่ตี้จินหนิว เหย่เชียนหนิว เหลี่ยงเมี่ยนเจิน (จีนกลาง)[1],[3]

ลักษณะของต้นกำจัดหน่วย

  • ต้น
    – เป็นพรรณไม้เถาหรือไม้พุ่มรอเลื้อยอายุหลายปี
    – มีความสูงได้ถึง 2-3 เมตร
    – ลำต้นและกิ่งมีหนามแหลมขึ้นกระจายแบบห่าง ๆ
    – ในประเทศไทยนั้นจะพบขึ้นได้ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้
    – ในต่างประเทศนั้นจะพบได้ในจีน อินเดีย ภูมิภาคอินโดจีน ภูมิภาคมาเลเซีย และในญี่ปุ่น
    – จะพบได้ในพื้นที่ระดับต่ำจนถึงสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 500 เมตร
  • ใบ
    – เป็นใบประกอบแบบขนนกปลายคี่
    – ออกเรียงสลับกัน
    – มีความยาว 40 เซนติเมตร
    – ก้านใบและแกนใบมีหนามแหลม
    – มีใบย่อย 2-4 คู่ เป็นรูปรีหรือรูปไข่
    – ปลายใบและโคนใบแหลมหรือมน
    – ขอบใบหยักห่าง ๆ และจะมีต่อมกลม ๆ อยู่ใกล้กับขอบใบ
    – ใบมีความกว้าง 2.5-6 เซนติเมตร และยาว 5-12 เซนติเมตร
    – มีเส้นแขนงใบข้างละ 5-12 เส้น
    – มีหนามเล็ก ๆ อยู่ตามเส้นกลางใบด้านล่าง
  • ดอก
    – ออกดอกเป็นช่อที่ง่ามใบและปลายยอด
    – มีความยาว 15 เซนติเมตร
    – ก้านช่อดอกมีขนละเอียด
    – ดอกมีขนาดเล็ก
    – ดอกเป็นแบบแยกเพศ
    – ดอกเพศผู้จะยาว 4-5 มิลลิเมตร
    – ก้านดอกจะสั้น
    – มีกลีบดอก 4 กลีบ เป็นสีเหลืองอมเขียว เป็นรูปรีหรือรูปไข่ มีความยาว 2-3 มิลลิเมตร
    – กลีบเลี้ยงดอกมีขนาดเล็ก มี 4 กลีบ เป็นรูปสามเหลี่ยม
    – โคนกลีบเชื่อมติดกันเล็กน้อย
    – มีเกสรเพศผู้ 4 อัน
    – ก้านชูอับเรณูมีความยาว 4-6 มิลลิเมตร
    – มีชูอับเรณูที่โผล่พ้นกลีบดอก
    – อับเรณูจะมีขนาดที่ค่อนข้างเล็ก
    – ดอกเพศเมียจะมีดอกที่เล็กกว่าดอกเพศผู้
    – มีรังไข่ที่ค่อนข้างใหญ่เห็นได้ชัด
    – จะมีรังไข่ 4 ช่อง
    – ก้านเกสรเพศเมียจะสั้น
    – ยอดเกสรเพศเมียเล็ก
    – จะออกดอกในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน
  • ผล
    – ผลมี 4 พู
    – ผลจะติดกันเฉพาะตรงโคน
    – พูค่อนข้างกลม
    – มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 3-7 มิลลิเมตร
    – ผลเมื่อแก่จะแตกออกตามยาวกลางพู
    – ในแต่ละพูจะมีเมล็ด 1 เมล็ด
    – เมล็ดค่อนข้างกลม มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2-5 มิลลิเมตร
    – เมล็ดจะออกในช่วงเดือนกันยายนถึงเดือนตุลาคม
  • เมล็ด
    – ผิวเมล็ดเกลี้ยงและเป็นมัน

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของกำจัดหน่วย

  • สารที่พบ คือสารจำพวก อัลคาลอยด์ ,Nitidne, Oxynitidine, Diosmin และในเมล็ดพบน้ำมันระเหย[3]
  • สกัดด้วยแอลกอฮอล์ 2 ซีซี หรือใช้กำจัดแห้งประมาณ 3 กรัม ต้มกับน้ำแล้วนำมาฉีดเข้ากล้ามเนื้อของคนวันละ 1-2 ครั้ง พบว่าสามารถรักษาอาการปวดศีรษะ และแก้ปวดมวนกระเพาะลำไส้ได้ โดยปกติใช้ยาประมาณ 5-10 นาที ก็สามารถช่วยบรรเทาอาการปวดได้แล้ว[3]
  • กำจัดหน่วย 2 กรัม และหนุมานประสานกาย 4 กรัม (ในปริมาณนี้เมื่อนำมาสกัดแล้วจะได้กำจัดเถา 1 กรัม และหนุมานประสานกาย 2 กรัม) เมื่อสกัดเป็นน้ำยาแล้ว ได้นำมาฉีดเข้ากล้ามเนื้อคน โดยฉีดครั้งละ 2 ซีซี พบว่ามีประสิทธิภาพในการบรรเทาปวดได้ถึง 95% ใช้ยาประมาณ 3-10 นาที และจะเห็นผลฤทธิ์ยาแก้ปวดนี้อยู่ได้นานประมาณ 3-8 ชั่วโมง[3]
  • สกัดด้วยแอลกอฮอล์หรือคลอโรฟอร์ม เมื่อนำน้ำยาที่สกัดได้มาพ่นใส่เหงือกฟัน พบว่าจะทำให้เหงือกชา จึงใช้ในการถอนฟันได้[3]
  • สารสกัดหยาบที่สกัดโดยคลอโรฟอร์มมีฤทธิ์ในการต้านเชื้อวัณโรค (Mycobacterium tuberculosis) และเชื้อมาลาเรียชนิดขึ้นสมอง (Plasmodium falciparum)[2]

ข้อควรระวังและคำแนะนำ[3]

  • ห้ามรับประทานสมุนไพรชนิดนี้พร้อมกับของเปรี้ยวหรือของจำพวกที่มีกรด
  • สตรีมีครรภ์ ห้ามรับประทานเด็ดขาด
  • วิธีแก้พิษ ให้ชงน้ำตาลรับประทานหรือให้ฉีดน้ำเกลือเข้าในร่างกาย

สรรพคุณของกำจัดหน่วย

  • ทั้งต้น สามารถนำมาใช้เป็นยาแก้หวัดแดดได้[3]
  • ทั้งต้น สามารถนำมาใช้เป็นยาแก้คอตีบอักเสบได้[3]
  • ทั้งต้น สามารถนำมาใช้เป็นยาแก้ปวดฟัน ปวดกระเพาะได้[3]
  • ทั้งต้น มีรสเผ็ดและขม มีพิษเล็กน้อย สามารถนำมาใช้เป็นยาช่วยไล่ลม ขับลมชื้นในร่างกายได้[3]
  • ผล สามารถนำมาใช้เป็นยาฝาดสมานได้[1]
  • ผล ในภูมิภาคอินโดจีนจะนำมาใช้ปรุงเป็นยาขับลม ขับพยาธิ[1]
  • เปลือกต้น สามารถนำมาใช้รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวกได้
  • เปลือกต้น สามารถนำมาใช้แก้พิษจากงูกัด และใช้แก้พิษต่าง ๆ หรือถอนพิษผิดสำแดง[3]
  • เปลือกต้น สามารถนำมาใช้เป็นยาแก้ปวดเมื่อยตามข้อ ฟกช้ำ ปวดบวมได้[3]
  • สามารถนำมาใช้เป็นยาแก้ปวดท้องได้[2]
  • ทางตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดียจะนำมาใช้เป็นยาลดไข้[2]
  • สามารถนำมาใช้เป็นยาแก้ฝีหนอง แก้ไขข้ออักเสบ[2]

ขนาดและวิธีใช้[3]

  • สำหรับการต้มหรือใช้ร่วมกับตัวยาอื่น ๆ นั้น ให้ใช้ครั้งละประมาณ 6-12 กรัม
  • การใช้ภายนอก เช่น ล้างแผล, แก้พิษงู, พิษต่าง ๆ จะใช้ได้ตามต้องการ และนำมาฝนแล้วผสมกับเหล้า ใช้ทาแก้พิษหรือไหม้น้ำร้อนลวกได้

ประโยชน์ของกำจัดหน่วย

  • สามารถนำมาใช้เป็นยาฆ่าแมลงและยากำจัดศัตรูพืชได้[2]
  • ทางตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดียจะนำมาใช้ในการทำยาสีฟัน[2]
  • เปลือกผล สามารถนำมาใช้เป็นเครื่องปรุงรสในแกง ยำ ลาบ มีรสเผ็ด
  • กลิ่นหอม ช่วยดับความคาว และทำให้อยากอาหารมากขึ้น[2]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. ข้อมูลพรรณไม้, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “กำ จัด หน่วย”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.rspg.or.th/plants_data/. [16 มิ.ย. 2015].
2. มูลนิธิสุขภาพไทย. “มะแขว่น”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.thaihof.org. [16 มิ.ย. 2015].
3. หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. (วิทยา บุญวรพัฒน์). “กำจัดเถา”. หน้า 76.

อ้างอิงรูปจาก
1.https://www.flickr.com/
2.https://www.zhiwutong.com/

กำลังพญาเสือโคร่ง ช่วยรักษาโรคริดสีดวงทวาร

กำลังพญาเสือโคร่ง ช่วยรักษาโรคริดสีดวงทวาร ไม้ยืนต้นสูงขนาดใหญ่ ใบเป็นรูปไข่แกมรูปหอกหรือเป็นรูปหอก ดอกคล้ายกับหางกระรอกมีขนอยู่ที่ขอบ ผลแบนมีปีก 2 ข้าง ปีกบางและโปร่งแสง
กำลังพญาเสือโคร่ง
ไม้ยืนต้นสูงขนาดใหญ่ ใบเป็นรูปไข่แกมรูปหอกหรือเป็นรูปหอก ดอกคล้ายกับหางกระรอกมีขนอยู่ที่ขอบ ผลแบนมีปีก 2 ข้าง ปีกบางและโปร่งแสง

กำลังพญาเสือโคร่ง

กำลังพญาเสือโคร่ง มีถิ่นกำเนิดมาจากภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย พบได้ในที่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 800-1,000 เมตร เป็นต้นไม้ประจำจังหวัดน่าน ชื่อสามัญ คือ Birch กําลังพญาเสือโคร่ง ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Betula alnoides Buch.-Ham. ex D.Don จัดอยู่ในวงศ์กำลังเสือโคร่ง (BETULACEAE) ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ คือ กำลังเสือโคร่ง (เชียงใหม่), พญาเสือโคร่ง, นางพญาเสือโคร่ง (คนเมือง), ลำแค ลำแคร่ ลำคิแย (ลั้วะ), เส่กวอเว (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)

ลักษณะของต้นกำลังพญาเสือโคร่ง

  • ต้น
    – จัดเป็นพรรณไม้ยืนต้นสูงขนาดใหญ่
    – มีความสูงได้ถึง 20-40 เมตร
    – วัดรอบลำต้นได้ประมาณ 1-2 เมตร
    – เปลือกต้นมีสีน้ำตาลเทาหรือเกือบดำ
    – เปลือกมีต่อมระบายอากาศเป็นจุดเล็ก ๆ สีขาว มีความกลมหรือรีปะปนกันอยู่
    – เปลือกมีกลิ่นคล้ายกับการบูร
    – เมื่อแก่จะลอกออกเป็นชั้น ๆ คล้ายกระดาษ
    – ที่ยอดอ่อน ก้านใบ และช่อดอกจะมีขนสีเหลืองหรือสีน้ำตาลปกคลุมอยู่
    – ของเนื้อไม้ กระพี้ และแก่นมีสีต่างกันเพียงเล็กน้อย
    – เนื้อไม้มีสีน้ำตาลอ่อนออกเหลืองปนขาวหรือค่อนข้างขาว
    – เนื้ออ่อนค่อนข้างละเอียด มีเสี้ยนตรง มีลวดลายที่สวยงาม
    – สามารถไสกบตบแต่งได้โดยง่าย ขัดเงาได้ดี
    – สามารถขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
  • ใบ
    – ใบเป็นรูปไข่แกมรูปหอกหรือเป็นรูปหอก
    – ใบ มีความกว้าง 1.5-6.5 เซนติเมตร และยาว 6.55-13.5 เซนติเมตร
    – เนื้อใบบางคล้ายกระดาษหรืออาจจะหนา
    – ด้านใต้ของใบมีตุ่ม
    – ขอบใบหยักแบบฟันเลื่อยสองถึงสามชั้น หยักแหลม
    – ขอบซี่เรียวแหลม
    – โคนใบป้านหรือเกือบเป็นเส้นตรง
    – ปลายใบเรียวแหลม
    – มีเส้นกลางใบเป็นร่องตื้น ๆ
    – ทางด้านหลังใบเส้นแขนง 7-10 คู่
    – หูใบเป็นรูปสามเหลี่ยมหรือแคบ
    – ยาวประมาณ 3-8 มิลลิเมตร
    – ก้านใบเป็นร่องลึกด้านบนยาว 0.5-2.5 เซนติเมตร
  • ดอก
    – ดอกคล้ายกับหางกระรอก
    – ออกตามง่ามใบแห่งละ 2-5 ช่อ
    – ดอกย่อยไม่มีก้าน
    – ช่อดอกเพศผู้และเพศเมียอยู่แยกกัน
    – โดยช่อดอกเพศผู้ยาว 5-8 เซนติเมตร
    – มีกลีบรองดอกเป็นรูปกลมหรือรูปโล่
    – มีแกนอยู่ตรงกลาง
    – ปลายค่อนข้างแหลม
    – มีขนอยู่ที่ขอบ
    – เกสรตัวผู้มีอยู่ 4-7 ก้าน ติดอยู่ที่แกนกลาง
    – ช่อดอกเพศเมียมีความยาว 3-9 เซนติเมตร
    – กลีบรองดอกไม่มีก้าน มี 3 หยัก มีความยาว 2-2.5 มิลลิเมตร
    – ด้านนอกมีขน
    – รังไข่แบน
    – กรอบนอกเป็นรูปไข่หรือเกือบกลม
    – ท่อรังไข่จะยาวกว่ารังไข่เล็กน้อย มีความกว้าง 2.5-3 มิลลิเมตรและยาว 2.5-4 มิลลิเมตร
    – มีปีกบางและโปร่งแสง
    – ออกดอกในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์
  • ผล
    – ผลแบน มีความกว้าง 2-3 มิลลิเมตร และยาว 2-14 มิลลิเมตร
    – มีปีก 2 ข้าง ปีกบางและโปร่งแสง
    – ผลแก่ร่วงง่าย
    – ออกผลในช่วงเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์

สรรพคุณของกำลังพญาเสือโคร่ง

  • เปลือกต้น ช่วยบำรุงเลือด
  • เปลือกต้น สามารถใช้เป็นยาอายุวัฒนะได้
  • เปลือกต้น ช่วยทำให้เจริญอาหาร
  • เปลือกต้น สามารถใช้ต้มเป็นยาบำรุงธาตุในร่างกายได้
  • เปลือกต้น ช่วยขับลมในลำไส้
  • เปลือกต้น ช่วยรักษาโรคริดสีดวงทวาร
  • เปลือกต้น ช่วยชำระล้างไตให้สะอาดมากขึ้น
  • เปลือกต้น ช่วยบำรุงเส้นเอ็นให้แข็งแรง
  • เปลือกต้น สามารถใช้ดมแก้อาการหน้ามืดตาลายได้
  • เปลือกต้น ช่วยอาการปวดฟัน ป้องกันฟันผุ
  • เปลือกต้น ช่วยบำบัดอาการของผู้ป่วยที่เป็นโรคเกี่ยวกับมดลูกของสตรีไม่สมบูรณ์ หรือมดลูกชอกช้ำหรืออักเสบอันเนื่องมาจากการถูกกระทบกระเทือน
  • เปลือกต้น สามารถใช้ทำเป็นยาดองเหล้าดื่มเป็นยาบำรุงกำลัง บำรุงร่างกายได้
  • ราก สามารถใช้ต้มเป็นน้ำดื่มร่วมกับรากโด่ไม่รู้ล้ม ใช้ดื่มเป็นยาแก้อาการปวดเมื่อยตามร่างกายได้

ประโยชน์ของกำลังพญาเสือโคร่ง

  • เปลือก สามารถนำมาใช้ทำเป็นยาได้
  • เปลือก สามารถใช้ทำเป็นการบูรและใช้ทำเป็นกระดาษได้
  • เปลือก สามารถนำมาบดให้ละเอียดใช้ผสมกับแป้งทำเป็นขนมปังหรือเค้กได้ (ข้อมูลจากเกษตรอินทรีย์)
  • เนื้อไม้ สามารถนำไปใช้ทำเป็นกระดานพื้น ทำเครื่องเรือนได้
  • เนื้อไม้ สามารถนำไปใช้ในการก่อสร้างต่าง ๆ ทำเป็นด้ามเครื่องมือได้

วิธีใช้เปลือกต้นต้มเป็นยา

  • ให้ใช้เปลือกต้นที่ถากออกจากลำต้นพอประมาณตามความต้องการ
  • นำมาใส่ในภาชนะ ต้มกับน้ำให้เดือดแล้วเคี่ยวด้วยไฟอ่อน ๆ
  • น้ำสมุนไพรที่ได้จะเป็นสีแดง แล้วใช้รับประทานในขณะอุ่น ๆ
  • จะทำให้มีสรรพคุณทางยามากขึ้น
  • หากทำเป็นยาดองเหล้า สีที่ได้จะแดงเข้มมาก
  • ถ้าต้องการจะปรุงรสก็ให้เติมน้ำผึ้งกับโสมตังกุยตามต้องการ

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

แหล่งอ้างอิง
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, เว็บไซต์สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์), สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์การมหาชน),

แก้วลืมวาง ใช้เป็นแก้ร้อนใน และรักษาฝี

แก้วลืมวาง
แก้วลืมวาง ใช้เป็นแก้ร้อนใน และรักษาฝี เป็นไม้ล้มลุกที่มีขนาดเล็ก ดอกมีทั้งสีแดงแกมสีแดงดำ สีแดงแกมขาว สีแดงม่วงอ่อน ปลายผลมีลักษณะหยักเป็นเลื่อย
แก้วลืมวาง
เป็นไม้ล้มลุกที่มีขนาดเล็ก ดอกมีทั้งสีแดงแกมสีแดงดำ สีแดงแกมขาว สีแดงม่วงอ่อน ปลายผลมีลักษณะหยักเป็นเลื่อย

แก้วลืมวาง

ชื่อสามัญ Chinese Pink ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Dianthus chinensis L. อยู่วงศ์ CARYOPHYLLACEAE[1],[2] ชื่อในท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น ฉวีม่าย (จีนกลาง), ผีเสื้อ (จังหวัดกรุงเทพมหานคร), สือจู๋ (จีนกลาง), เก็งชุ้งล้อ (จีน-กรุงเทพฯ) [1],[2]

ลักษณะของต้นแก้วลืมวาง

  • ลักษณะของต้น เป็นพรรณไม้ล้มลุกที่มีขนาดเล็ก ลำต้นตั้งตรง สามารถสูงได้ประมาณ 30-50 เซนติเมตร จะแตกกิ่งก้านเยอะ ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด เติบโตได้ดีในที่ดินอุดมสมบูรณ์ร่วนซุย เป็นพรรณไม้พื้นเมืองเขตอบอุ่นแถบเหนือ[1],[2]
  • ลักษณะของใบ เป็นใบเดี่ยว ใบจะออกเรียงเป็นคู่ตรงข้ามกัน ที่โคนใบจะเชื่อมกันเล็กน้อย จะไม่มีก้านใบ มีใบขนาดเล็ก ใบเป็นรูปใบหอกแคบ ที่ปลายใบจะแหลม ขอบใบจะเรียบ ใบกว้างประมาณ 3.5 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 3-5 เซนติเมตร แผ่นใบมีลักษณะเรียบ และเป็นสีเขียวอ่อน[1],[2]
  • ลักษณะของดอก ดอกออกที่บริเวณปลายยอด มีดอกอยู่ประมาณ 1-3 ดอก ดอกจะมีกลีบเลี้ยงกลีบดอก มีความยาวประมาณ 16-24 เซนติเมตร ที่โคนกลีบจะเชื่อมติดเป็นหลอด หลอดมีความยาวประมาณ 2-2.5 เซนติเมตร ที่ปลายกลีบจะแยกเป็นแฉกแหลม ตั้งตรงมีแฉกอยู่ 5 แฉก มีกลีบดอกยาวประมาณ 1-25 มิลลิเมตร ที่ขอบกลีบดอกจะหยักเป็นซี่ห่างกัน ดอกมีทั้งสีแดงแกมสีแดงดำ สีแดงแกมขาว สีแดงม่วงอ่อน มีเกสรเพศผู้ 10 อันอยู่ที่กลางดอก ท่อเกสรเพศเมียจะแยกเป็น 2 แฉก[1],[2]
  • ลักษณะของผล ผลจะหุ้มอยู่ในโคนกลีบ ที่ปลายผลมีลักษณะหยักเป็นเลื่อย มีซีก 4 ซีก เป็นสีแห้ง[1],[2]

สรรพคุณแก้วลืมวาง

1. ต้นสามารถใช้เป็นยารักษาฝีได้ โดยนำต้นสดมาตำใช้พอกบริเวณที่เป็นฝี (ต้น)[2]
2. สามารถใช้ลำต้นเป็นยาแก้โรคมะเร็งผิวหนัง และแก้โรคเรื้อนได้ (ลำต้น)[1]
3. สามารถใช้ลำต้นเป็นยาขับระดูของสตรีได้ (ลำต้น)[1],[2]
4. ทั้งต้นจะมีรสชาติขม เป็นยาเย็น จะออกฤทธิ์กับลำไส้เล็ก หัวใจ กระเพาะปัสสาวะ ไต สามารถใช้เป็นยาแก้ร้อนในได้ (ต้น)[2]
5. สามารถนำต้นมาใช้เป็นยาแก้โรคผิวหนังผดผื่นคัน รักษาบาดแผล และรักษาโรคโกโนเรียได้ (ต้น)[2]
6. สามารถนำต้นมาใช้เป็นยาแก้แผลเน่าเปื่อยได้ โดยนำต้นสดมาคั้นเอาน้ำล้างแผลได้ (ต้น)[1]
7. สามารถนำต้นมาใช้เป็นปัสสาวะเป็นเลือด ยาขับปัสสาวะ รักษานิ่วในทางเดินปัสสาวะได้ ในตำรับยาขับปัสสาวะ แก้ร้อนใน จะนำมาต้มรวมกับ ชะเอม ผักกาดน้ำ รากต้นพุดตาน แล้วดื่ม (ต้น)[1],[2]
8. นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ[1]

ขนาดและวิธีใช้

  • ถ้าเป็นยาแห้งให้ใช้ประมาณ 5-12 กรัม ต่อ 1 ครั้ง มาต้มทาน[2]

ข้อควรระวัง

  • ห้ามใช้กับสตรีที่มีครรภ์ เนื่องจากอาจทำให้แท้งบุตร[1],[2]

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

  • น้ำที่ได้จากการต้มต้น เมื่อฉีดเข้าลำไส้ของกระต่าย ปรากฏว่ามีฤทธิ์กระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ให้แรงมากขึ้น[2]
  • สารสำคัญที่พบ Alkaloid, Japonin, วิตามินเอ, น้ำตาล ในต้น และพบน้ำมันระเหยที่ดอก เช่น Benzyl salicylate, Phenylethylalcohol, Methyl salicylate, Eugenol, Benzyl benzoate [2]
  • ถ้านำสารที่สกัดด้วยแอลกอฮอล์ มาฉีดเข้าที่เส้นเลือดของกระต่าย จะพบว่าความดันลดลง และการเต้นของหัวใจอ่อนลง [2]
  • เมื่อนำน้ำที่ต้มได้จากต้น มาฉีดเข้ากระเพาะอาหารของกระต่ายปริมาณ 2 กรัม ต่อ 1 กิโลกรัม ปรากฏว่าภายในเวลา 6 ชั่วโมง กระต่ายมีปัสสาวะเพิ่มมากขึ้นประมาณ 1-2.5 เท่าของปกติ[2]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. (วิทยา บุญวรพัฒน์). “แก้วลืมวาง”. หน้า 94.
2. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “แก้วลืมวาง”. หน้า 76-77.

อ้างอิงรูปจาก
1.https://gardenerspath.com/
2.https://www.nature-and-garden.com/

ต้นขี้ครอก สรรพคุณที่เป็นยาดับพิษร้อนถอนพิษไข้

ขี้ครอก
ต้นขี้ครอก สรรพคุณที่เป็นยาดับพิษร้อนถอนพิษไข้ เป็นไม้พุ่มมีขนาดเล็ก ดอกเดี่ยวเป็นสีชมพู ผลกลมแป้นมีขน เมล็ดเป็นรูปไตและเป็นสีน้ำตาล
ขี้ครอก
เป็นไม้พุ่มมีขนาดเล็ก ดอกเดี่ยวเป็นสีชมพู ผลกลมแป้นมีขน เมล็ดเป็นรูปไตและเป็นสีน้ำตาล

ขี้ครอก

ชื่อสามัญ Jute africain, Caesar weed, Hibiscus burr [5] ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Urena lobata L. อยู่วงศ์ชบา (MALVACEAE)[1],[2] ชื่อในท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น ซัวโบ๋เท้า (จีน), ปูลุ (มลายู, จังหวัดนราธิวาส), บอเทอ (กะเหรี่ยง, จังหวัดแม่ฮ่องสอน), ปูลู (ภาคใต้), เส็ง (ภาคใต้), ขี้ครอก (ภาคกลาง), หญ้าอียู (ภาคเหนือ, ภาคตะวันตกเฉียงเหนือ), ปอเส้ง (จังหวัดปัตตานี), ขี้หมู (จังหวัดนครราชสีมา), ตี้เถาฮวา (จีนกลาง), ทอมทัก (ลั้วะ), ชบาป่า (จังหวัดน่าน), ปะเทาะ (กะเหรี่ยง, จังหวัดแม่ฮ่องสอน), หญ้าหัวยุ่ง (ชาน, จังหวัดแม่ฮ่องสอน), เส้ง (ภาคใต้), ปอเส็ง (ภาคใต้), ขี้คาก (ภาคเหนือ, ภาคตะวันตกเฉียงเหนือ), ขมงดง (จังหวัดสุโขทัย), หญ้าผมยุ่ง (ภาคเหนือ, ภาคตะวันตกเฉียงเหนือ) [1],[2],[3],[5]

ลักษณะของต้นขี้ครอก

  • ลักษณะของต้น เป็นพรรณไม้พุ่ม มีขนาดเล็ก ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง สามารถสูงได้ถึงประมาณ 0.5-2 เมตร มีเปลือกที่เหนียว ลำต้นมีลักษณะเป็นสีเขียวแกมสีเทา ที่ตามลำต้นกับกิ่งก้านจะมีขนเป็นรูปดาวขึ้นอยู่ [1],[5] ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด เติบโตได้ดีในดินที่ร่วนซุย จะชอบที่มีความชื้นปานกลาง มีแสงแดดแบบเต็มวัน มักจะขึ้นที่ตามป่าราบ ที่ลุ่มรกร้าง จะปลูกกันเยอะตามสวนยาจีน[2]
  • ลักษณะของใบ เป็นใบเดี่ยว ใบจะออกเรียงสลับกัน ใบที่โคนต้นจะค่อนข้างกลม ใบกว้างประมาณ 5-6 เซนติเมตร ยาวประมาณ 4-5 เซนติเมตร ที่ปลายใบจะแยกเป็น 3 แฉกตื้น ส่วนที่โคนใบจะกลมหรือเว้าเป็นรูปหัวใจ ที่ขอบใบจักเป็นฟันเลื่อย ใบที่อยู่กึ่งกลางลำต้นจะเป็นรูปไข่ กว้างประมาณ 3-6.5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 5-7 เซนติเมตร ส่วนใบที่อยู่ตรงยอดหรือส่วนที่ใกล้ยอดมีลักษณะเป็นรูปกลมยาวจนถึงรูปใบหอก กว้างประมาณ 1.5-3 เซนติเมตร ยาวประมาณ 4-7 เซนติเมตร จะมีขนนุ่มขึ้นที่ผิวใบด้านบน ผิวใบด้านล่างจะมีขนรูปดาวเป็นสีขาวอมสีเทา ส่วนที่ท้องใบด้านล่างจะเป็นสีที่อ่อนกว่าหลังด้านบนใบ มีเส้นใบอยู่ประมาณ 3-7 เส้น ก้านใบมีความยาวประมาณ 1-4 เซนติเมตร จะมีขนลักษณะเป็นรูปดาวสีขาวอมสีเทา มีหูใบลักษณะคล้ายกับเส้นด้าย หูใบร่วงง่าย มีความยาวได้ถึงประมาณ 2 มิลลิเมตร [1],[3],[4]
  • ลักษณะของดอก เป็นเดี่ยวมีลักษณะเป็นรูปไข่กลม มีความยาวประมาณ 1 เซนติเมตร หรือออกดอกเป็นกระจุกที่ตามซอกใบประมาณ 2-3 ดอก ริ้วประดับจะติดเป็นรูประฆัง ที่ปลายแยกเป็นแฉก 5 แฉก มีความยาวประมาณ 6 มิลลิเมตร กลีบเลี้ยงติดกันเป็นรูปถ้วย ปลายแยกเป็น 5 แฉก มีขนาดสั้นกว่าริ้วประดับ ทั้งมีขนรูปดาวขึ้นที่กลีบเลี้ยงกับริ้วประดับ มีกลีบดอกอยู่ 5 กลีบ กลีบดอกเป็นสีชมพู เป็นรูปไข่กลับ มีความยาวประมาณ 1.5 เซนติเมตร ที่ด้านนอกจะมีขนลักษณะเป็นรูปดาวขึ้น ที่ตรงกลางดอกมีลักษณะเป็นสีชมพูเข้มจนถึงสีแดง มีเกสรเพศผู้อยู่ที่กลางดอกเป็นจำนวนมาก จะติดเป็นหลอดมีความยาวประมาณ 15 มิลลิเมตร มีลักษณะเกลี้ยง มีอับเรณูเป็นจำนวนมากติดอยู่ที่รอบ ๆ หลอด รังไข่จะอยู่ที่เหนือวงกลีบ จะอยู่ด้านในหลอดเกสรเพศผู้ มีช่องอยู่ 5 ช่อง แต่ละช่องมีไข่อ่อนอยู่ 1 หน่วย มีเกสรเพศเมียเป็นรูปทรงกระบอก มีก้านที่เรียวและเล็ก มีความยาวพ้นหลอดเกสรเพศผู้ จะแตกออกเป็นแฉก 10 แฉก มีขนแข็งประปราย ดอกบานจะกว้างประมาณ 1.5-3 เซนติเมตร ก้านดอกมีความยาวประมาณ 3 มิลลิเมตร มีขนอยู่[1],[3],[4],[5]
  • ลักษณะของผล เป็นรูปทรงกลมหรือกลมแป้น จะมีขนขึ้นเป็นรูปดาว ผลมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร มีหนามแข็งสั้นหัวลูกศรอยู่ที่ผิวผล จะมีน้ำที่เหนียว ๆ ติด ผลแห้งจะสามารถแตกออกได้เป็น 5 พู ในแต่ละพูจะมีเมล็ดอยู่ 1 เมล็ด เมล็ดเป็นรูปไตและเป็นสีน้ำตาล กว้างประมาณ 2-2.5 มิลลิเมตร มีความยาวประมาณ 3-4 มิลลิเมตร[1],[3],[4],[5]
  • การป้องกันและการกำจัด ให้ใช้วิธีการเขตกรรม ด้วยการถากหรือตัดเพื่อให้สั้นลงและไม่ให้ดอกออก หรือจะขุดทิ้งก็ได้ และใช้สารเคมี อย่างเช่น ไกลโพเซต 16, อามีทรีน, โดเรมี, ทัชดาวน์ [5]

สรรพคุณ และประโยชน์ขี้ครอก

1. ต้น ราก และใบสามารถใช้เป็นยาแก้ปวดเมื่อยตามร่างกายที่เกิดจากลมชื้นเข้าแทรกได้ (ต้น, ราก, ใบ)[3]
2. สามารถนำทั้งต้นมาตำพอกใช้แก้ฝีเท้านม แก้ฟกช้ำดำเขียว แก้พิษงู แก้ฝีได้ (ทั้งต้น)[3]
3. สามารถนำต้นกับใบมาต้มกับน้ำ ใช้ดื่มเป็นยาแก้พิษน้ำเหลืองเสีย แก้ไตพิการได้ [1],[2],[3]
4. สามารถนำต้น ราก และใบมาใช้เป็นยาแก้มุตกิด แก้ตกขาวของสตรีได้ (ต้น, ราก, ใบ)[3]
5. สามารถนำต้น ราก และใบมาใช้เป็นยาแก้ไข้หวัดตัวร้อน และรักษาอาการไอเป็นเลือดได้ (ต้น, ราก,ใบ)[3]
6. สามารถทานรากเป็นยาเย็นได้ จะมีสรรพคุณที่เป็นยาดับพิษร้อนถอนพิษไข้ทั้งปวงได้ (ราก)[1],[2],[3]
7. สามารถนำรากมาใช้เป็นยาพอกแก้โรคปวดข้อได้ (ราก)[4]
8. สามารถนำต้น ราก และใบมาใช้เป็นยาขับลมชื้นในร่างกายได้ (ต้น, ราก, ใบ)[3]
9. สามารถนำทั้งต้นมาตำใช้พอกเป็นยาช่วยสมานแผลสด และยาห้ามเลือดได้ (ทั้งต้น)[3]
10. ในตำรายาพื้นบ้านจะนำรากมาผสมสมุนไพรอื่น อย่างเช่น รากพญาดง ในปริมาณที่เท่ากัน มาหั่นเป็นชิ้นเล็ก แล้วเอามาต้มเคี่ยว สามารถใช้ดื่มแก้หนองในได้ (ราก)[1]
11. สามารถนำต้น ราก และใบมาใช้เป็นยาแก้นิ่วได้ (ต้น, ราก, ใบ)[3]
12. ในตำรายาไทยจะนำใบมาต้มกับน้ำจิบดับพิษเสมหะ แก้ไอ ขับเสมหะ (ใบ)[1],[2],[3] สามารถใช้เป็นยาแก้บิด และรักษาโรคบิดเฉียบพลันได้ โดยนำรากสด 500 กรัม ไปล้างให้สะอาด แล้วนำมาหั่นให้เป็นแว่น มาต้มกับน้ำ 1,000 ซีซี ให้ต้มน้ำจนเหลือ 500 ซีซี นำมาใช้แบ่งทาน สำหรับเด็กอายุ 1-3 ขวบ ให้ทานวันละ 80 ซีซี สำหรับเด็กอายุ 4-9 ปี ให้ทานวันละ 200 ซีซี สำหรับเด็กอายุ 16 ปีขึ้นไป ให้ทานวันละ 250 ซีซี ให้แบ่งทานวันละ 2 ครั้ง (ราก)[3]
13. สามารถนำต้น ราก และใบมาใช้เป็นยากระจายเลือดลมได้ (ต้น, ราก, ใบ)[3]
14. สามารถนำต้นกับใบมาต้มกับน้ำใช้ดื่มเป็นยาขับปัสสาวะได้ (ต้นและใบ, ทั้งต้น)[1],[2]
15. ชาวลั้วะจะนำลำต้นของขี้มาทำเป็นไม้กวาด[4]

ขนาดกับวิธีใช้

  • ใช้ตาม [3] ถ้าเป็นรากแห้งให้ใช้ครั้งละ 15-30 กรัม ถ้าเป็นใบกับต้นแห้งให้ใช้ครั้งละ 15-30 กรัม ถ้าเป็นทั้งต้นสดให้นำมาตำใช้พอกในบริเวณที่ต้องการ ใช้ประมาณ 30-60 กรัมต่อหนึ่งครั้ง[3]

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

  • สารที่สกัดได้จากราก ผล ใบ จะมีฤทธิ์ที่ต้านการเจริญของเชื้อรา[1]
  • พบสารจำพวก Glucolin 21.92%, Phenols, Amino acid และพบน้ำมันในเมล็ด 13-14%[3]
  • สารสกัดที่ได้จากเมล็ดด้วยแอลกอฮอล์จะมีฤทธิ์ที่ต้านการเจริญของเชื้อราได้ดี[1],[4]
  • สารสกัดที่ได้จากทั้งต้นด้วยแอลกอฮอล์จะมีฤทธิ์ที่ช่วยลดความดันโลหิต ลดไข้ในสัตว์ทดลองได้ [1]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. (วิทยา บุญวรพัฒน์). “ขี้ครอก”. หน้า 136.
2. ฝ่ายปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (ไพร มัทธวรัตน์). “ขี้ครอก”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : clgc.rdi.ku.ac.th. [01 ก.พ. 2015].
3. หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา. (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “ขี้ครอก”. หน้า 220.
4. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “ขี้ครอก”. หน้า 137-138.
5. โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง, สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน). “ขี้ครอก”. อ้างอิงใน : หนังสือชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์), หนังสือสมุนไพรไทยตอนที่ 7 (ก่องกานดา ชยามฤต). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : eherb.hrdi.or.th. [01 ก.พ. 2015].

อ้างอิงรูปจาก
1.https://www.malawiflora.com/
2.https://treasurecoastnatives.wordpress.com/
3.https://www.flickr.com/p