Home Blog Page 126

อาการเจ็บหน้าอก ( Chest pain ) บ่งบอกอะไร

0
อาการเจ็บหน้าอก
อาการเจ็บหน้าอก เป็นอีกหนึ่งอาการที่พบได้บ่อยในทุกเพศทุกวัย เพราะเป็นสัญญาณของอาการเจ็บป่วยที่หลากหลาย ซึ่งอาจมีทั้งแบบไม่อันตรายและอันตราย
อาการเจ็บหน้าอก
อาการเจ็บหน้าอก เป็นอีกหนึ่งอาการที่พบได้บ่อยในทุกเพศทุกวัย เพราะเป็นสัญญาณของอาการเจ็บป่วยที่หลากหลาย

อาการเจ็บหน้าอก ( Chest pain )

อาการเจ็บหน้าอก ( Chest pain ) ในกรณีนี้หมายความถึงสภาวะที่เจ็บแน่นภายใน ไม่ใช่ส่วนของเต้านมหรือทรวงอก ดังนั้นในเพศหญิงจึงต้องทำความเข้าใจและแยกแยะอาการเจ็บป่วยของตัวเองให้ชัดเจนดีเสียก่อน เพื่อให้ค้นหาสาเหตุและรูปแบบการรักษาได้อย่างถูกต้องตรงจุด อาการเจ็บหน้าอกเป็นอีกหนึ่งอาการที่พบได้บ่อยในทุกเพศทุกวัย เพราะเป็นสัญญาณของอาการเจ็บป่วยที่หลากหลาย บางครั้งเป็นเพียงอาการชั่วคราวที่ไม่ได้สื่อถึงโรคภัยใดๆ

ในขณะที่บางครั้งกลับมีอันตรายสูงมากถึงขั้นเสียชีวิตได้เลย ปัญหาก็คือผู้ป่วยมักระบุแน่ชัดไม่ได้ว่าเจ็บแน่นที่ตรงไหน ทำให้การวิเคราะห์ของทีมแพทย์ต้องเป็นไปแบบมองภาพกว้าง ร่วมกับการตรวจละเอียดด้วยเครื่องมืออื่นๆ เพิ่มเติม ก่อนจะยืนยันต้นตอของอาการเจ็บเหล่านั้นและเริ่มดำเนินการรักษาตามขั้นตอนได้

สาเหตุของ อาการเจ็บหน้าอก

เราสามารถกำหนดขอบเขตกว้างๆ ของอาการเจ็บแน่นหน้าอกได้โดยการแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ กลุ่มที่เกี่ยวข้องกับหัวใจซึ่งทำให้มีอาการเจ็บหน้าอกอยู่เรื่อยๆ และกลุ่มที่ไม่เกี่ยวข้องกับหัวใจและหลอดเลือดเลย ในแต่ละประเภทก็จะมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

อาการเจ็บหน้าอก จากความผิดปกติของหัวใจและหลอดเลือด ( Cardiovascular chest pain )

หัวใจเป็นอวัยวะส่วนที่ทำงานแบบอัตโนมัติ ไม่ต้องผ่านกระบวนการคิดหรือตัดสินใจ เป็นการทำงานต่อเนื่องเรื่อยไป จนกว่าสภาพร่างกายจะเสื่อมโทรมลงเกินกว่าจะเดินหน้าระบบต่างๆ ได้ตามปกติ สิ่งที่มีผลกับการทำงานของหัวใจจึงเป็นส่วนของเลือดที่หล่อเลี้ยง ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ส่วนประกอบชิ้นเล็กๆ เช่น ลิ้นหัวใจ เป็นต้น เราสามารถแบ่งย่อยอาการเจ็บหน้าอกในรูปแบบนี้ได้อีก 2 ประเภท คือ

ประเภทที่เกิดจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ( lschemic chest pain ) : ส่วนใหญ่สาเหตุที่ทำให้หัวใจขาดเลือดจริงๆ จะเป็นปัญหาของเส้นเลือดที่ทำหน้าที่ส่งเลือดมาเลี้ยงหัวใจ มักมีคราบไขมันจำนวนมากอุดตันหรือมีสิ่งกระตุ้นอื่นๆ ที่ทำให้เส้นเลือดตีบจนขนส่งเลือดไม่ได้

ประเภทที่ไม่ได้เกิดจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ( non ischemic chest pain ) : มักมีอาการอักเสบเป็นต้นเหตุหลัก เช่น เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ เมื่อมีการอักเสบเกิดขึ้นแล้วร่างกายไม่สามารถฟื้นฟูให้หายขาดได้ อาการเหล่านั้นก็จะยังคงอยู่ และสุ่มเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ขึ้นมา อาจเกิดการฉีกขาดของเนื้อเยื่อ อาจมีเลือดออกจากหลอดเลือด เป็นต้น

อาการเจ็บหน้าอก เป็นอีกหนึ่งอาการที่พบได้บ่อยในทุกเพศทุกวัย เป็นสัญญาณของอาการเจ็บป่วยที่หลากหลาย บางครั้งเป็นเพียงอาการชั่วคราวที่ไม่ได้สื่อถึงโรคภัยใดๆ ในขณะที่บางครั้งกลับมีอันตรายสูงมากถึงขั้นเสียชีวิตได้

อาการเจ็บหน้าอกที่ไม่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของหัวใจและหลอดเลือด ( Non – Cardiovascular chest pain )

ทันทีที่มี อาการเจ็บหน้าอกหลายคนจะนึกถึงโรคเกี่ยวกับหัวใจเป็นอันดับแรก เลยทำให้อาการเจ็บหน้าอกที่เกิดขึ้น สร้างความวิตกกังวลที่รุนแรงให้กับผู้ป่วยเสมอ ทั้งๆ ที่อาจจะไม่มีความเกี่ยวข้องใดๆ กับอวัยวะส่วนหัวใจและหลอดเลือดเลยก็ได้ อย่าลืมว่าในช่องอกของเรามีอวัยวะหลายส่วน หัวใจ ปอด ทางเดินอาหาร มัดกล้ามเนื้อ ดังนั้นสาเหตุของอาการเจ็บหน้าอกจึงเกิดจากความผิดปกติของอวัยวะส่วนใดก็ได้ ตัวอย่างของภาวะเจ็บหน้าอกในกรณีนี้ได้แก่

อาการอักเสบของทางเดินอาหารหรือภาวะกรดไหลย้อน : นี่เป็นหนึ่งสาเหตุที่ทำให้มีอาการเจ็บหน้าอกและแสบร้อน เนื่องจากมีกรดจากกระเพาะอาหาร ไหลย้อนขึ้นมาตามหลอดอาหาร วิธีสังเกตคือจะมีความรู้สึกว่าได้รับรสเปรี้ยวของกรดไล่ตั้งแต่ช่วงท้องขึ้นมาถึงอกและคอ อาจเจ็บท้องที่ส่วนบนหรือล่างก็ได้ หลายคนเข้าใจผิดว่าเป็นโรคหัวใจเพราะทางเดินอาหารกับหัวใจอยู่ใกล้กันมาก จึงต้องสังเกตสิ่งที่แตกต่างเล็กๆ เหล่านี้ให้ดี

โรคกระเพาะอาหาร : ดูคล้ายว่าเป็นเรื่องที่ห่างไกลจากอาการเจ็บหน้าอกมาก แต่ความจริงแล้วทุกส่วนในร่างกายก็เชื่อมโยงถึงกันทั้งหมด เมื่อมีการหดเกร็งกล้ามเนื้อบริเวณกระเพาะที่ผิดปกติ หลอดอาหารก็จะบีบตัวรุนแรงและส่งผลให้เจ็บหน้าอกได้เหมือนกัน หรือมีอาการของโรคกระเพาะและมีภาวะหลอดอาหารทะลุร่วมด้วย สิ่งที่ควรอยู่แค่ในทางเดินอาหารก็หลุดออกมา ส่งผลให้เจ็บหน้าอกได้นั่นเอง

ภาวะกระดูกอ่อนบริเวณซี่โครงอักเสบ : กระดูกอ่อนซี่โครงก็คือกระดูกตรงผนังอก เมื่อมีการอักเสบขึ้นมาด้วยสาเหตุใดก็ตาม ก็จะทำให้เกิดอาการบวม ตึง และเจ็บช่วงหน้าอกได้ ยิ่งถ้าจัดร่างกายในลักษณะที่จะกระทบกระเทือนอาการอักเสบนั้น ก็จะยิ่งเจ็บมากขึ้นหลายเท่า เช่น การนอนหงาย การไอหรือจาม เป็นต้น

ภาวะตับอ่อนอักเสบ : อาการอักเสบนี้ส่วนใหญ่จะเป็นผลมาจากนิ่วในถุงน้ำดี หรือเกิดกับคนที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ เมื่อตับเริ่มอักเสบ ผู้ป่วยจะรู้สึกเจ็บหน้าอกที่ส่วนล่าง และเจ็บหนักขึ้นเมื่อตับถูกกดทับด้วยอวัยวะอื่นๆ

ภาวะลิ่มเลือดอุดตันในปอด : ไม่ว่าจะเป็นลิ่มเลือดที่เกิดจากสาเหตุใดก็ตาม เมื่อเข้าไปอุดตันปิดกั้นการเดินทางของเลือดในปอดแล้ว เนื้อเยื่อปอดก็จะค่อยๆ ขาดเลือด และเกิดอาการเจ็บหน้าอกขึ้น โดยจะเป็นการเจ็บแปลบๆ หายใจไม่สุด ถ้าเป็นหนักมากและไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องก็จะมีอาการไอเป็นเลือดตามมา

ปอดบวม : ส่วนใหญ่โรคปอดบวมจะเกิดจากการติดเชื้อภายในปอด ส่งผลให้เยื่อหุ้มอักเสบ บวม และปวด อาการเจ็บหน้าอกที่เกิดขึ้น จึงเป็นไปในลักษณะของการเจ็บลึกๆ เข้าไปข้างใน มักมีไข้ร่วมด้วย

ภาวะเครียดและวิตกกังวล : ความเครียดเป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ที่หลากหลาย รวมถึง อาการเจ็บหน้าอก นี้ด้วย เมื่อมีความเครียดเกิดขึ้น ระบบในร่างกายก็จะทำงานผิดปกติไป หัวใจเต้นเร็ว เหงื่อออกมา จังหวะการหายใจก็จะสั้นกระชั้น ร่างกายจึงได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ มีอาการเวียนหัวและเจ็บหน้าอกตามมา

การตรวจวินิจฉัยผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บหน้าอก

การซักประวัติผู้ป่วย

การตรวจรักษาทุกประเภทจะเริ่มที่การซักประวัติผู้ป่วย ทั้งข้อมูลพื้นฐาน และข้อมูลที่น่าจะเป็นปัจจัยสุ่มเสี่ยงต่างๆ สำหรับการซักประวัติผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บหน้าอกนี้ ก็จะมีองค์ประกอบสำคัญ 2 อย่างที่จะต้องเก็บข้อมูลให้ได้มากที่สุด เพื่อตีกรอบความเป็นไปได้ของสาเหตุการเกิดความผิดปกตินี้

1. ประเมินลักษณะของการเจ็บหน้าอกที่เกิดขึ้น ได้แก่ ลักษณะของอาการเจ็บ ตำแหน่งที่เกิด ช่วงเวลา ความเปลี่ยนแปลงที่สังเกตได้ อาการร่วมต่างๆ

2. ประเมินความเสี่ยงเกี่ยวกับหลอดเลือด โดยวิเคราะห์จากปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ วัย เพศ โรคเบาหวาน โรคไขมัน การสูบบุหรี่และประวัติของครอบครัว

ความหมายของตัวอักษรที่ใช้วิเคราะห์อาการเจ็บหน้าอก

ยิ่งทีมแพทย์สามารถเก็บข้อมูลได้มากและลึกเท่าไร ก็ยิ่งเป็นผลดีต่อผู้ป่วยมากเท่านั้น จึงมีรูปแบบการซักประวัติ OLD CAAARS ขึ้นมา ใช้เป็นแบบแผนเบื้องต้นสำหรับการวิเคราะห์และวินิจฉัยโรค มีรายละเอียดและความหมายตามตัวอักษรทั้งหมด ดังต่อไปนี้

O (Onset) : เป็นการแยกรูปแบบของ อาการเจ็บหน้าอกว่าเจ็บแบบทันทีทันใด เป็นๆ หายๆ หรือว่าเริ่มจากเจ็บเล็กน้อย แล้วเพิ่มความรุนแรงขึ้นตามเวลา เพียงแค่วินิจฉัยตามอักษรตัวแรกนี้ก็สามารถตีกรอบของอาการเจ็บได้ประมาณหนึ่งแล้ว เช่น ถ้าเจ็บแบบที่ค่อยๆ เจ็บมากขึ้นเรื่อยๆ ก็สามารถสันนิษฐานเบื้องต้นได้ว่า เสี่ยงต่อโรคหัวใจขาดเลือด ถ้าเจ็บรุนแรงแต่หายได้อย่างรวดเร็ว ก็สันนิษฐานเป็นโรคเกี่ยวกับกล้ามเนื้อหัวใจแทน เป็นต้น

L ( Location ) : ตำแหน่งการเกิดสำคัญมากต่อการระบุต้นตอของอาการเจ็บป่วยต่างๆ แต่ก็ถือว่าเป็นการยากที่จะชี้ชัดได้จริงๆ ว่าเจ็บตรงไหน เพราะผู้ป่วยส่วนมากมักไม่รู้ รู้เพียงแค่เจ็บเท่านั้น ทีมแพทย์อาจช่วยด้วยการซักถามชี้นำ ว่าเป็นแบบนั้น แบบนี้ หรือไม่

D ( Duration ) : ระยะเวลาในการเจ็บ นอกจากจะบอกว่าอาการที่เป็นอยู่น่าจะมีสาเหตุมาจากสิ่งใด ก็สามารถบอกได้ว่าระดับความรุนแรงอยู่ช่วงไหนแล้ว เช่น ถ้าการเจ็บแต่ละครั้งกินเวลาราวๆ 2-10 นาที ก็มีโอกาสสูงที่จะเป็นภาวะหัวใจขาดเลือด หรือถ้าเจ็บนานเกินกว่า 30 นาที ก็น่าจะเป็นภาวะหัวใจอุดตันฉับพลัน เป็นต้น

C ( Character ) : เป็นอีกหัวข้อหนึ่งที่ผู้ป่วยบอกได้ยาก ว่าอาการที่เป็นอยู่นั้น เจ็บในรูปแบบไหน เช่น เจ็บแปลบ เจ็บหน่วงๆ หรือเจ็บแสบร้อน แต่ทีมแพทย์ก็ละเลยไม่ได้ เพราะหลายคนเคยมีอาการป่วยมาก่อนแล้ว จึงรู้ว่าตัวเองเจ็บแบบไหน ถ้าเป็นกรณีนี้ก็จะช่วยให้ข้อมูลสำคัญได้อย่างดีทีเดียว  

A ( Aggravating factors ) / A ( Alleviating factors ) / A ( Associated symptoms ) : กลุ่มนี้เป็นการวัดว่าปัจจัยไหนบ้างที่ทำให้มีอาการเจ็บเกิดขึ้น และปัจจัยไหนบ้างที่ทำให้เจ็บเพิ่มมากขึ้นอีกระดับ อย่างเช่น ถ้ารู้สึกเจ็บหน้าอกเฉพาะเวลาที่กลืนอาหาร ก็คาดเดาได้ว่าน่าจะเกี่ยวข้องกับทางเดินอาหาร ถ้ารู้สึกเจ็บเมื่อหายใจเข้าลึกๆ ก็อาจเกี่ยวกับปอด เป็นต้น เหตุผลที่ต้องแยกเป็น A 3 ชุด ก็เพื่อการจัดกลุ่มการตรวจวัดให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นและจำเพาะเจาะจงมากขึ้นนั่นเอง

R ( Radiation ) : รัศมีของอาการเจ็บป่วย หลายครั้งที่ผู้ป่วยไม่รู้ว่าเจ็บตรงไหนกันแน่ เพราะต้นตอของ อาการเจ็บหน้าอกได้ส่งผลกระทบต่อบริเวณใกล้เคียง เช่น เมื่อเจ็บหน้าอกจากหัวใจขาดเลือด ก็มักจะลามไปยังบริเวณคอ บ่า ไหล่ และไล่มาตามฟันกราม เป็นต้น หากชี้ชัดได้ว่ารูปแบบการขยายวงกว้างของอาการเจ็บปวดนั้นเป็นอย่างไร ก็จะระบุโรคได้ง่ายขึ้น

S ( Severity ) : เป็นการประมาณระดับความเจ็บป่วยแบบคร่าวๆ แทนการระบุแบบชัดเจนซึ่งทำได้ยาก ทั้งนี้ก็เพื่อวัดความรุนแรงของอาการ ว่าจะมีอันตรายถึงระดับไหน เป็นกรณีเร่งด่วนหรือไม่

การตรวจร่างกายและวิเคราะห์รายละเอียดอื่นๆ

เมื่อซักประวัติจนครบถ้วนแล้ว ก่อนจะเข้าสู่กระบวนการตรวจร่างกาย จำเป็นต้องแยกแยะอาการเจ็บป่วยที่รุนแรงให้ได้เสียก่อน หากกรณีไหนอันตรายถึงชีวิต ก็จะมีรูปแบบการรักษาเร่งด่วนที่แตกต่างไปจากกรณีปกติ นอกนั้นก็จะไปต่อที่ขั้นตอนการตรวจร่างกาย ในตอนนี้ทีมแพทย์จะมีคำตอบในใจบ้างแล้วจากการซักประวัติ การตรวจจึงเป็นการหาข้อมูลสนับสนุนว่าเป็นสิ่งที่คิดไว้จริงหรือไม่ และมีสิ่งใดที่ต้องรู้เพิ่มเติมอีกบ้าง เช่น ผู้ป่วยมีสภาพร่างกายที่พร้อมสำหรับการรักษาหรือไม่ ระดับของโรคประจำตัวเป็นอย่างไร เป็นต้น นั่นหมายความว่าในแต่ละคนก็จะมีวิธีการตรวจที่ต่างกันไป อาจเป็นการตรวจแบบง่ายๆ ด้วยเครื่องมือแพทย์พื้นฐาน หรืออาจเป็นการตรวจที่ต้องอาศัยห้องปฏิบัติการก็ได้

การตรวจร่างกายอย่างง่าย

  • ตรวจระบบหัวใจและหลอดเลือด
  • ตรวจวัดอาการของหลอดเลือดแดงเสื่อม
  • ตรวจวัดอาการของ atherosclerosis หรือภาวะเปลี่ยนแปลงของผนังหลอดเลือด
  • ตรวจหาสัญญาณจากสิ่งอื่นๆ   

ตรวจร่างกายด้วยห้องปฏิบัติการ

  • EKG หรือการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ

การตรวจคุณสมบัติของเลือด แบ่งย่อยออกเป็น 2 อย่าง ดังนี้ หาค่า CK และค่า CK-MB หาค่า Cardiac troponin

  • การตรวจวัด Chest X-ray
  • การตรวจวัด Stress Testing

จะเห็นได้ว่าอาการเจ็บแน่นหน้าอกนั้น นอกจากจะมีสาเหตุการเกิดค่อนข้างกว้าง มีการตรวจวินิจฉัยที่ละเอียด และมีเงื่อนไขในการรักษาหลายอย่างแล้ว ก็ยังเป็นอาการเจ็บที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตอีกด้วย ดังนั้นเมื่อไรที่มี อาการเจ็บหน้าอกก็ควรเข้าพบแพทย์เพื่อขอคำปรึกษาที่ถูกต้อง

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

Marx JA, Hockberger RS, Walls RM, Biros MH, Danzl DF, Gausche-Hill M, Jagoda A, Ling L, Newton E, Zink BJ, Rosen P (2014). Rosen’s Emergency Medicine: Concepts and Clinical Practice (Eighth ed.). Philadelphia, PA: Elsevier/Saunders. ISBN 978-1-4557-0605-1. OCLC 853286850.

Wertli MM, Ruchti KB, Steurer J, Held U (November 2013). “Diagnostic indicators of non-cardiovascular chest pain: a systematic review and meta-analysis”. BMC Medicine. 11: 239. doi:10.1186/1741-7015-11-239. PMC 4226211. PMID 24207111.

อาการตัวเขียว ( Cyanosis )

0
ภาวะตัวเขียว (Cyanosis)
ภาวะตัวเขียว หมายถึง ภาวะความอิ่มตัวออกซิเจนของฮีโมโกลบิ่นในหลอดเลือดแดงต่ำ เป็นอาการที่เนื้อเยื่อเกิดภาวะขาดออกซิเจน จึงทำให้เนื้อเยื่อเกิดการเปลี่ยนหรือมีสีที่คล้ำลง
ภาวะตัวเขียว (Cyanosis)
ภาวะตัวเขียว หมายถึง ภาวะความอิ่มตัวออกซิเจนของฮีโมโกลบิ่นในหลอดเลือดแดงต่ำ เป็นอาการที่เนื้อเยื่อเกิดภาวะขาดออกซิเจน ทำให้เนื้อเยื่อเกิดการเปลี่ยนหรือมีสีที่คล้ำลง

อาการตัวเขียว

อาการตัวเขียว ( Cyanosis ) คือ อาการที่สามารถพบได้ในเวชปฏิบัติ เป็นอาการที่เนื้อเยื่อเกิดภาวะขาดออกซิเจน จึงทำให้เนื้อเยื่อเกิดการเปลี่ยนหรือมีสีที่คล้ำลง และเมื่อมีภาวะตัวเขียวเกิดขึ้นกับบริเวณเนื้อเยื่อที่อยู่ใกล้กับผิวหนังหรือเยื่อบุที่บริเวณช่องปาก เราจะสามารถสังเกตได้ว่าที่ส่วนของลำตัว ริมฝีปาก มือ เท้า เล็บจะมีการเปลี่ยนเป็นสีเขียวคล้ำ   

โดยผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาอาการจะมีทั้งที่เป็นแบบอาการเรื่อรังหรือแบบอาการเฉียบพลันที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาแบบเร่งด่วน ดังนั้นเพื่อการรักษาที่การวินิจฉัยและการรักษาที่ถูกต้องแล้ว ต้องทำการซักประวัติหรือทำการตรวจร่างกาย เพราะการซักประวัติและการตรวจร่างกายจะสามารถช่วยให้แพทย์ทำการวินิจฉัยโรคได้อย่างถูกต้อง พร้อมทั้งระบุแนวทางรักษาที่ถูกต้องเหมาะสมกับผู้ป่วยภาวะตัวเขียวที่เข้ามารักษาได้

สาเหตุของอาการเขียว

อาการเขียวมีสาเหตุหลายอย่างซึ่งอาจจะเกิดขึ้นเฉพาะที่จากการฟกช้ำ พรายย้ำ โรคผิวหนัง การตีบตันของหลอดเลือดเฉพาะที่ หรือจากสาเหตุอื่นๆ หรืออาการเขียวอาจจะเกิดขึ้นทั่วร่างกายจากการขาดออกซิเจนหรือขาดอากาศหายใจ โรคปอด โรคหัวใจ ได้รับสารพิษ หรือสาเหตุอื่นๆ

1. เขียวเพราะขาดออกซิเจน (cyanosis) : เกิดจากฮีโมโกลบินอยู่ในสภาพที่ขาดออกซิเจนเป็นจำนวนมาก จึงทำให้เม็ดเลือดแดงจะเปลี่ยนจากสีแดงสดเป็นสีแดงดำ หรือสีม่วง ซึ่งอาจพบได้ทั่วร่างกายหรืออวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่ง
2. เขียวเพราะฟกช้ำ (bruise) : เมื่อส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกายถูกกระทบกระแทกแรงๆ ส่วนนั้นอาจเกิดเป็นรอยฟกช้ำเห็นเป็นสีเขียวได้ เนื่องจากมีเลือดออกอยู่ใต้ผิวหนัง
3. เขียวเพราะพรายย้ำ (purpura) : พรายย้ำ คือ การมีเลือดออกใต้ผิวหนัง ซึ่งอาจเกิดจากเลือดแข็งตัวยาก เนื้อเยื่อใต้ผิวหนังไม่แข็งแรง เช่น ในคนชรา ในสตรีบางคนที่มักเป็นรอยจ้ำเขียวๆ ตามแขนขา เป็นต้น
4. เขียวเพราะสาเหตุอื่นๆ เช่น ปาน โรคผิวหนังบางชนิด ภาวะถูกพิษ เป็นต้น

การแบ่งระดับหรือประเภทของภาวะตัวเขียว ( Definition and Classification )

ภาวะตัวเขียว หมายถึง ภาวะความอิ่มตัวออกซิเจนของฮีโมโกลบินในหลอดเลือดแดงต่ำ ( Arterial oxygen desaturation ) โดยเมื่อมีภาวะตัวเขียวจะตรวจพบว่ามีค่า Arterial oxygen saturation ( SaO2 ) ต่ำกว่าร้อยละ 85หรือมีระดับปริมาณของฮีโมโกลบินที่ปลดปล่อยออกซิเจนออกไปแล้ว(Absolute level of deoxyhemoglobin)ที่กลับมาจับตัวกับคาร์บอนไดออกไซต์ ( Carbon dioxide ) โดยที่บริเวณเส้นใยกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่ในการรับส่งเซลล์เม็ดเลือดแดงเพื่อทำการแลกเปลี่ยนออกซิเจน ( Oxygen )กับคาร์บอนไดออกไซด์( Carbon dioxide ) หรือที่เรียกว่าบริเวณร่างแหแคปปิลารี่ ( Capillary beds ) มีค่ามากกว่า 5 g/100 mL สำหรับกรณีที่ผู้ป่วยมีภาวะซีด ( Anemia ) เมื่อทำการตรวจจอาจพบว่า ค่า Arterial oxygen saturation ( SaO2 ) มีค่าต่ำกว่า 85% แต่ผู้ป่วยยังไม่มีการแสดงภาวะเขียวออกมา เนื่องจากค่า Absolute level of deoxyhemoglobin ที่อยู่ในบริเวณ capillary bed มีค่าต่ำ ดังนั้นจึงสามารถทำการแบ่งภาวะเขียว ( Cyanosis ) ออกเป็น 2 แบบ ด้วยกัน คือ

1.อาการเขียวบริเวณส่วนกลาง ( Central cyanosis )

อาการตัวเขียว คือ ภาวะนี้เมื่อทำการตรวจร่างกายจะพบว่าร่างกายมีภาวะเขียวที่บริเวณผิวหนังและเยื่อเมือกบุ ( mucous membrane ) เช่น บริเวณลิ้น ซึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะ Central Cyanosis มีอยู่ด้วยกันหลายปัจจัย คือ

1.1 ภาวะความดันบรรยากาศลดลง ( Decreased atmospheric pressure ) เกิดขึ้นเมื่อต้องขึ้นไปอยู่ในพื้นที่สูง ( High Altitude ) และสามารถเริ่มพบอาการได้ที่ระดับความสูงมากกว่า 2,500 เมตรหรือ8,000 ฟุตจากระดับน้ำทะเล และที่ความสูงประมาณ 5,000 เมตรหรือ16,000 ฟุตจากระดับน้ำทะเล เมื่อทำการวัดค่า FiO2 ที่บริเวณดังกล่าวจะมีค่าประมาณ 85 mmHg ค่าออกซิเจนในถุงลมปอด ( Alveolar PO2 หรือPaO2 ) ควรมีค่าอยู่ที่ประมาณ 50 mmHg และค่าความอิ่มตัวออกซิเจนของฮีโมโกลบินในหลอดเลือดแดง ( Arterial oxygen saturation หรือ SaO2 ) มีค่าอยู่ที่ประมาณร้อยละ 75 ซึ่งจะทำให้ร้อยละ 25ของฮีโมโกบิน ( Hemoglobin ) ที่อยู่ในหลอดเลือดที่นำเลือดออกจากหัวใจ ( Arterialblood ) กลายเป็นสารอินทรีย์ที่เป็นตัวให้อิเล็กตรอน ( Reduce form ) จึงส่งผลให้ค่าความอิ่มตัวออกซิเจนของฮีโมโกลบินในหลอดเลือดแดงต่ำลง

1.2 ภาวะPulmonary Function Impaired pulmonary function

ที่การกำซาบหรือเกิดจากกระบวนการขนส่งสารอาหารของเลือดแดงจากหลอดเลือดแดงไปยังแขนงหลอดเลือดฝอยในเนื้อเยื่อ ( Perfusion ) ของไม่สามารถทำการระบายหรือ unventilated หรือ poorly ventilated areas หรือภาวะที่ผู้ป่วยหายใจลดลง ทำให้ปริมาณของคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงส่งผลให้ปริมาณของออกซิเจนที่อยู่ในถุงลมปอด ( PAO2 ) มีค่าลดลง ( Alveolar Hypoventilation ) จัดเป็นสาเหตุที่ส่งผลให้เกิดภาวะเขียวได้บ่อยมาก ซึ่งภาวะตัวเขียวที่เกิดขึ้นมีการเกิดได้ 2 แบบ คือ

1.2.1 แบบเฉียบพลัน เช่น ภาวะ extensive pneumonia, pulmonary edema หรือโรคลิ่มเลือดอุดกั้นในหลอดเลือดปอด ( Pulmonary Embolism )

1.2.2 เกิดแบบเรื้อรัง เช่น ภาวะถุงลมโป่งพอง ( Emphysema ) ที่เป็นแบบเรื้อรัง ( Chronic ) มักพบว่าผู้ป่วยจะมีอาการนิ้วปุ้ม ( Clubbing of the fingers ) และการที่ร่างกายได้รับสารกระตุ้นที่ใช้ในการสร้างเม็ดเลือดเพิ่มสูงขึ้น ( Secondary Polycythemia ) ร่วมด้วย สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ( Chronic obstructive pulmonary disease หรือ COPD ) และ obliteration of the capillary vascular bed ที่ทำให้กระแสเลือดไม่สามารถไปหล่อเลี้ยงที่บริเวณ underventilated areas จึงไม่ทำให้เกิดภาวะ Central cyanosis

1.3 ภาวะ Shunting of systemic venous blood into arterial circuit

ที่มีสาเหตุเกิดจากโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ( Congenital Heart Disease ) เป็นชนิดที่มีภาวะ Central cyanosis เพราะว่าในสภาวะปกติการไหลเวียนของเลือดจะมีการไหลจากที่ที่มีความดันสูงกว่าไปสู่บริเวณที่มีความดันที่ต่ำกว่า ( higher pressure to lower pressure region ) แต่ทว่าในผู้ที่เป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ( Congenital Heart Disease ) ที่มี right to left shunt เกิดขึ้นร่วมกับการอุดตันที่บริเวณส่วนปลาย ( obstructive lesion distal downstream to defect ) เช่น tetralogy of Fallot ( ventricular septal defect และ pulmonary outflow tract obstruction ) ซึ่งอาจมีภาวะความดันโลหิตภายในหลอดเลือดที่เข้าสู่ปอดสูง ( elevated pulmonary vascular resistance ) เกิดขึ้นร่วมได้ ดังนั้นความรุนแรงที่เกิดขึ้นจากภาวะเขียวของ tetralogy of Fallot จะมีความสัมพันธ์กับความรุนแรงของ pulmonary outflow tract obstruction ด้วย

1.4 ภาวะกลุ่มอาการไอเซนเมนเกอร์ ( Eisenmenger syndrome )

ภาวะซึ่งเกิดจากการที่ภาวะทางเชื่อมจากซ้ายไปขวาที่เกิดจากโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดทำให้เกิดการไหลของเลือดไปยังหลอดเลือดของปอดมากจนทำให้มีความดันหลอดเลือดพัลโมนารีสูง ซึ่งเป็นภาวะ pulmonary vascular obstructive disease ที่เกิดจาก large preexisting left-to-right shunt เช่น large PDA large VSD, large ASD ที่เกิดร่วมกับภาวะหลอดเลือดในปอดมีการเปลี่ยนแปลง ( pulmonary vasculature remodeling ) ซึ่งส่งผลให้เกิดภาวะ pulmonary artery pressures สูงขึ้นได้ จึงทำให้มีค่าเท่ากับค่า systemic levels และทิศทาง ( direction ) ของ flow ส่งผลให้ร่างกายภาวะ bidirectional หรือ right to left

1.5 ภาวะ Differential cyanosis

คือ ภาวะเขียวที่เกิดขึ้นที่บริเวณกระดูกระยางค์ส่วนล่าง ( Lower Extremities ) หรือกระดูกของขามีทั้งหมด 62 ชิ้น แต่จะไม่เกิดขึ้นกับบริเวณกระดูกระยางค์ส่วนบน ( Upper Extremities ) หรือกระดูกของแขนที่มีทั้งหมด 64 ชิ้น ซึ่งภาวะเขียวนี้สามารถพบได้ในผู้ป่วยโรคโรคหลอดเลือดหัวใจเกิน ( Patent ductus arteriosus: PDA ) ที่เป็นความผิดปกติในส่วนของหลอดเลือดดักตัส-อาร์เทอริโอซัส ( ductus arteriosus ) ที่ทำหน้าที่เชื่อมระหว่างส่วนของหลอดเลือดแดงใหญ่และส่วนของหลอดเลือดปอด มีการเปิดอยู่หรือมีการปิดไม่สนิท ซึ่งมักเกิดร่วมกับภาวะความดันหลอดเลือดแดงปอดสูง ( pulmonary arterial hypertension, PAH ) ซึ่งเป็นภาวะที่ความดันเฉลี่ยของหลอดเลือดแดงในปอด ( mPAP ) มีค่าเท่ากับหรือมีค่าสูงกว่า 25 มม. หรือร่วมกับ right to left shunt ได้เช่นกัน

ภาวะความผิดปกติในเชิงคุณภาพ ( abnormal hemoglobin ) เช่น ภาวะเมทฮีโมโกลบินในเลือด ( Methemoglobinemia ), Sulfhemoglobinemia ซึ่งภาวะเขียวที่พบนั้นไม่ได้มีสาเหตุจากความผิดปกติของระบบไหลเวียน ( Circulation ) หรืออัตราการหายใจ ( Respiratory ) และเมื่อทำการตรวจร่างกายก็จะไม่พบภาวะนิ้วปุ้ม ( Clubbing of the fingers ) อีกด้วย หรือในผู้ป่วยที่เลือดมีเปลี่ยนสีเป็นสีน้ำตาล เมื่อมีการสัมผัสกับอากาศภายนอกจะเรียกภาวะที่เกิดขึ้นนี้ว่า “ Methemoglobinemia ”

อาการเขียวเมื่อทำการตรวจร่างกายจะพบว่าร่างกายมีภาวะเขียว ที่บริเวณผิวหนังและเยื่อเมือกบุ

2.อาการเขียวบริเวณส่วนปลาย ( Peripheral cyanosis )

อาการเขียวบริเวณส่วนปลาย คือ ภาวะเขียวที่เมื่อทำการตรวจร่างกายแล้วจะพบว่าพื้นที่ที่เกิดภาวะเขียวจะเกิดขึ้นเฉพาะพื้นที่ที่มีอุณหภูมิต่ำ ( cool areas ) เช่น บริเวณเนื้อใต้เล็บ ( nail beds ), จมูก ( nose ), แก้ม ( cheeks ), ติ่งหู ( earlobes ) และบริเวณผิวด้านนอกของลิมฝีปาก ( outer surface of lips ) เป็นต้น ซึ่งการนวดหรือการเพิ่มความอบอุ่นให้กับบริเวณดังกล่าวจะสามารถช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดที่บริเวณส่วนปลาย ( peripheral blood flow ) จึงช่วยลดอาการหรือทำให้ภาวะเขียวบริเวณส่วนปลายหายได้ แต่สำหรับภาวะเขียวส่วนกลาง ( Central cyanosis ) จะไม่สามารถรักษาด้วยวิธีการดังกล่าวให้หายได้ ซึ่งสาหตุของภาวะเขียวส่วนปลาย ( Peripheral cyanosis ) เกิดเนื่องจาก

2.1 การที่บริเวณหรืออวัยวะดังกล่าวมีการสัมผัสกับสิ่งขอที่มีความเย็นจัด เช่น น้ำแข็ง หิมะ เป็นต้น หรือสัมผัสกับอากาศเย็นเป็นระยะเวลานาน

2.2 ภาวะบีบตัวของหลอดเลือดหรือการตีบของหลอดเลือด ( vasoconstriction ) เนื่องจากภาวะของกลไกในการชดเชย ( compensatory mechanism ) ในกรณีที่ปริมาตรเลือดส่งออกจากหัวใจต่อนาที ( cardiac output ) มีปริมาณลดลง 

2.3 ภาวะที่เส้นเลือดมีการอุดตันของหลอดเลือดแดงจากการมีสิ่งแปลกปลอมไหลไปตามกระแสเลือดและเข้ามาอุดหลอดเลือด ( embolus )

2.4 ภาวะที่เส้นเลือดมีการบีบรัดตัว  ( arteriolar constriction ) เช่น cold induce vasospaem หรือโรคเรเนาด์ทุติยภูมิ ( Raynaud’s phenomenon ) เป็นต้น

2.5 ภาวะที่เส้นเลือดดำเกิดการอุดตันจากสาเหตุต่าง ๆ เช่น การอักเสบของหลอดเลือดดำ ( Thrombophlebitis ) เป็นต้น

ภาวะตัวเขียว หมายถึง ภาวะความอิ่มตัวออกซิเจนของฮีโมโกลบิ่นในหลอดเลือดแดงต่ำ เป็นอาการที่เนื้อเยื่อเกิดภาวะขาดออกซิเจน จึงทำให้เนื้อเยื่อเกิดการเปลี่ยนหรือมีสีที่คล้ำลง

การประเมินอาการของผู้ป่วย

การประเมินอาการของผู้ป่วยเพื่อทำการวินิจฉัยถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะเขียวสมารถทำได้ดังนี้

1.การสอบประวัติ โดยเฉพาะ Timming of the onset of cyanosis เช่น ให้ทำการซักประวัติว่าเกิดภาวะเขียวตั้งแต่แรกเกิดหรือไม่ เพราะว่าถ้าเป็นเช่นนั้นแล้ว สาเหตุของการเกิดภาวะเขียวที่เกิดขึ้นจะเกิดเนื่องจากโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ( Congenital heart disease ) เป็นต้น

2.ทำการวินิจฉัยเพื่อแยกชนิดของภาวะตัวเขียวแบบ Peripheral cyanosis และแบบ Central cyanosis ออกจากกัน โดยทำการวิเคราะห์หาสาเหตุจากพยาธิสภาพของระบบหายใจ หรือระบบไหลเวียนเลือด

3.ทำการตรวจร่างกาย ซึ่งมักจะเริ่มต้นด้วยการค้นหาภาวะนิ้วปุ้ม ( Clubbing of the fingers ) เพื่อช่วยในการวิเคราะห์และหาความสัมพันธ์กับโรค Congenital heart disease with right to left shunt หรือโรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง ( pulmonary disease ) เช่น โรคฝีในปอด ( lung abscess ), การผ่าตัดทาเส้นเลือดล้างไตในปอด ( pulmonary arteriovenous fistulae ) เป็นต้น เพราะภาวะตัวเขียวแบบ Central cyanosis จะมีพบภาวะนิ้วปุ้ม ( Clubbing of the fingers ) แต่ที่ภาวะเขียวแบบ Peripheral cyanosis จะไม่สามารถพบภาวะนิ้วปุ้ม ( Clubbing of the fingers ) นั่นเอง

4.การตรวจเลือด เพื่อช่วยทำการวิเคราะห์และแยกภาวะ Methemoglobinemia และตรวจวัดค่าภาวะที่ระดับออกซิเจนในเลือดแดง ( PaO2 ) และความอิ่มตัวออกซิเจนของฮีโมโกลบิ่นในหลอดเลือดแดง ( Arterial oxygen saturation / SaO2 )

ภาวะเขียว ( Cyanosis ) หรือ ภาวะความอิ่มตัวออกซิเจนของฮีโมโกลบินในหลอดเลือดแดงต่ำ ( Arterial oxygen desaturation ) เมื่อผู้ป่วยเข้ารับการรักษาจำเป็นต้องได้รับการซักประวัติและทำการตรวจร่างกายอย่างละเอียด เพื่อเป็นแนวทางในการวินิจฉัยและแยกภาวะเขียวที่เกิดขึ้นว่าเป็น

1.ภาวะเขียวแบบส่วนกลาง ( Central cyanosis ) ที่เป็นอันตรายต่อร่างกายต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน ไม่เช่นนั้นอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต

2.ภาวะเขียวแบบส่วนปลาย ( Peripheral cyanosis ) ที่มีความรุนแรงน้อยกว่าภาวะเขียวแบส่วนปลาย ซึ่งสามารถรักษาด้วยการนวดหรือการเพิ่มความอบอุ่นกับบริเวณดังกล่าว อาการเขียวก็จะหายไปได้เอง

การวิเคราะห์และตรวจร่างกายจะช่วยให้แพทย์สามารถทำการแยกประเภทและทราบถึงสาเหตุที่แท้จริงของภาวะเขียวที่เกิดขึ้นว่าเกิดจากพยาธิสภาพทางระบบหายใจหรือความผิดปกติของระบบไหลเวียนเลือด ซึ่งเมื่อทราบสาเหตุแล้วจึงจะสามารถออกแบบแนวทางการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสมกับผู้ป่วยต่อไป ดังนั้นเมื่อมีภาวะเขียวเกิดขึ้นอย่างนิ่งนอนใจและปล่อยนาน ควรรีบพาผู้ป่วยไปพบแพทย์ในทันทีเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

ลัลธธิมา ภู่พัฒน์ และคณะ : อาการวิทยา ฉบับพกพา : ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2560.

ผลไม้ที่กินเพื่อลดน้ำหนักเหมาะสำหรับคนอ้วน

0
ผลไม้ที่ควรกินก่อนและหลังอาหารมีอะไรบ้าง
ผลไม้ เป็นอาหารมีประโยชน์ต่อร่างกายค่อนข้างสูง ด้วยวิตามิน แร่ธาตุและไฟเบอร์ต่างๆ
ผลไม้ที่ควรกินก่อนและหลังอาหารมีอะไรบ้าง
ผลไม้ เป็นอาหารมีประโยชน์ต่อร่างกายค่อนข้างสูง ด้วยวิตามิน แร่ธาตุและไฟเบอร์ต่างๆ

ผลไม้

ผลไม้ ( fruit ) เป็น อาหารหลัก 5 หมู่ อีกประเภทหนึ่งที่ขาดไม่ได้ เพราะมีประโยชน์ต่อร่างกายค่อนข้างสูง อุดมไปด้วยด้วยวิตามิน แร่ธาตุและไฟเบอร์ต่างๆ และข้อได้เปรียบของบ้านเราก็คือ เป็นเขตเมืองร้อนที่มีผลไม้หลากหลายสายพันธุ์สลับหมุนเวียนผลัดเปลี่ยนกันออกผลตลอดปี เรียกว่ามีให้เลือกทานกันได้ไม่ขาดช่วง เช่น ผลไม้หน้าร้อน ผลไม้หน้าหนาว ผลไม้หน้าฝน ดังนั้นการเลือกรับประทานผลไม้ที่มีสีสันสดใสสวยงามก็สามารถทำให้เจริญอาหารได้สีในผลไม้แต่ละชนิดมีประโยชน์ไม่ว่าจะเป็นผลไม้สีแดงมีสารสำคัญ คือ สารไลโคปีนช่วยต้านอนุมูลอิสระป้องกันมะเร็ง ผลไม้สีม่วงมีสารสำคัญ คือ สารแอนโทไซยานินช่วยลดอัตราเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและเส้นเลือดอุดตันในสมอง ผลไม้สีเขียวมีสารสำคัญ คือ สารคลอโรฟิลล์ซึ่งมีส่วนช่วยในการบำรุงกระดูกและฟันใฟ้แข็งแรง ผลไม้สีส้มหรือสีเหลืองมีสารสำคัญ คือ สารต้านอนุมูลอิสระแคโรทีนอยด์ เบต้าแคโรทีน ไบโอฟลาโวนอยด์ ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันร่างกายให้แข็งแรง บำรุงสายตาชะลอความเสื่อมของเซลล์ลดความเสี่ยงจากการเป็นต้อกระจก แต่ที่สำคัญถ้าเป็นผลไม้ในฤดูกาล ก็จะมีความสดใหม่ในราคาย่อมเยา สามารถเลือกซื้อเลือกทานกันได้ตามใจชอบเลย ทีนี้เมื่อลงรายละเอียดไปอีกนิด ประเด็นที่หลายคนให้ความสนใจก็คือ ช่วงเวลาไหนที่ทานผลไม้แล้วได้ประโยชน์มากที่สุด โดยเน้นไปที่ก่อนและหลังมื้ออาหารเป็นหลัก ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า อันที่จริงหากเราไม่ได้มีระบบย่อยอาหารที่อ่อนไหวหรือบอบบางมากเกินไป ก็สามารถทานผลไม้ได้ทุกชนิด และทุกช่วงเวลา แต่สำหรับบางคนอาจจะต้องระวังนิดหน่อย เช่น ไม่ทานผลไม้ที่เป็นกรดสูงในช่วงที่ท้องว่าง เป็นต้น แต่ถ้าจะเน้นเอาประโยชน์จากสารอาหารแบบเต็มประสิทธิภาพมากที่สุด ก็ต้องเลือกชนิดของผลไม้ให้เหมาะสมกับช่วงเวลานั่นเอง

ทีนี้เมื่อลงรายละเอียดไปอีกนิด ประเด็นที่หลายคนให้ความสนใจก็คือ ช่วงเวลาไหนที่ทานผลไม้แล้วได้ประโยชน์มากที่สุด โดยเน้นไปที่ก่อนและหลังมื้ออาหารเป็นหลัก ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า อันที่จริงหากเราไม่ได้มีระบบย่อยอาหารที่อ่อนไหวหรือบอบบางมากเกินไป ก็สามารถทานผลไม้ได้ทุกชนิด และทุกช่วงเวลา แต่สำหรับบางคนอาจจะต้องระวังนิดหน่อย เช่น ไม่ทานผลไม้ที่เป็นกรดสูงในช่วงที่ท้องว่าง เป็นต้น แต่ถ้าจะเน้นเอาประโยชน์จากสารอาหารแบบเต็มประสิทธิภาพมากที่สุด ก็ต้องเลือกชนิดของผลไม้ให้เหมาะสมกับช่วงเวลานั่นเอง

10 ผลไม้ที่ดีที่สุดสำหรับการลดน้ำหนัก

การกินผลไม้ที่ได้จากธรรมชาติอุดมไปด้วยวิตามิน ไฟเบอร์และสารอาหารอื่นๆ มากมาย ยังให้แคลอรี่ต่ำควรกินผลไม้เพื่อลดน้ำหนัก ลดความอ้วน เผาผลาญไขมันส่วนเกิน มีผลไม้ดังนี้

1.แอปเปิ้ลเขียว

เหมาะสมที่สุดในการลดน้ำหนัก เพราะเป็นผลไม้ที่มีน้ำตาลน้อยเต็มไปด้วยใยอาหารสูงแคลอรี่ต่ำ ช่วยชะลอการย่อยอาหารและทำให้รู้สึกอิ่มนานขึ้น คุณค่าทางโภชนาการของแอปเปิ้ลเขียวในปริมาณ 100 กรัม ให้พลังงานเพียง 52 กิโลแคลอรี่ มีน้ำตาล 10 กรัม

2.ราสเบอร์รี่

เป็นหนึ่งในแหล่งไฟเบอร์ที่ดีที่สุด ความหวานของราสเบอร์รี่สามารถช่วยตอบสนองความอยากน้ำตาลได้
คุณค่าทางโภชนาการของราสเบอร์รี่ในปริมาณ 100 กรัม ให้พลังงาน 53 กิโลแคลอรี่ มีน้ำตาล 4.42 กรัม

3.ส้มโอ

การกินส้มโอเป็นประจำสม่ำเสมอสามารถช่วยลดความอ้วน ลดน้ำหนัก และลดไขมันในร่างกายได้ เพราะส้มโอมีเอนไซม์ช่วยให้ระบบเมตาบอลิซึ่ม หรือระบบการเผาผลาญพลังงานของร่างกายได้ดีขึ้น คุณค่าทางโภชนาการของส้มโอในปริมาณ 100 กรัม ให้พลังงาน 38 กิโลแคลอรี่ มีน้ำตาล 8 กรัม

4.สับปะรด

เป็นหนึ่งในผลไม้เมืองร้อนที่พบมากที่สุดอุดมไปด้วยวิตามินซี วิตามินบี6 ทองแดง ธาตุเหล็ก และโฟเลต สับปะรดสามารถช่วยย่อยอาหาร ช่วยลดน้ำตาล และรักษาอาการอักเสบ ค่าทางโภชนาการของสับปะรดในปริมาณ 100 กรัม ให้พลังงาน 50 กิโลแคลอรี่ มีน้ำตาล 10 กรัม

5.กล้วยไข่ กล้วยน้ำว้า กล้วยหอม กล้วยหักมุก

เป็นตัวช่วยในการเผาผลาญไขมัน เนื่องจากมีเส้นใยอาหารสูงและมีแคลอรีต่ำเหมาะสำหรับผู้ที่กำลังเริ่มลดความอ้วน ซึ่งมีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างมาก คุณค่าทางโภชนาการของกล้วยไข่ในปริมาณ 100 กรัม กล้วยไข่ให้พลังงาน 56 กิโลแคลอรี่ กล้วยน้ำว้าห้พลังงาน 59 กิโลแคลอรี่ กล้วยหอมให้พลังงาน 105 กิโลแคลอรี่ มีน้ำตาลประมาณ 14 กรัม   

6.แตงโม

เป็นผลไม้ที่ให้ความสดชื่นช่วยให้ไม่ขาดน้ำ เพราะแตงโมเป็นน้ำตาลที่ได้จากธรรมชาตินิยมกินเพื่อลดน้ำหนักมากที่สุด ค่าทางโภชนาการของแตงโมในปริมาณ 100 กรัม ให้พลังงาน 30 กิโลแคลอรี่ มีน้ำตาล 6 กรัม

7.ทับทิม

ถือได้ว่ามีสารต้านอนุมลอิสระ ไฟเบอร์ โปรตีน โฟเลต โพแทสเซียม ฟลาโวนอยด์ ทับทิมช่วยในการเผาผลาญไขมัน ช่วยควบคมระดับความดันโลหิตสูง ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ช่วยลดความเครียดได้อีกด้วย นอกจากนี้ยังมีค่าทางโภชนาการของทับทิมในปริมาณ 100 กรัม ให้พลังงาน 83 กิโลแคลอรี่ มีน้ำตาล 14 กรัม

8.อะโวคาโด

อะโวคาโดเป็นทั้งผลไม้และผัก มีไขมันดีมีประโยชน์ต่อสุขภาพ นอกจากนี้ยังเป็นอาหารที่ช่วยลดน้ำหนักทำให้ไม่อ้วน ช่วยให้เผาผลาญไขมันส่วนเกินในร่างกายได้ ค่าทางโภชนาการของอะโวคาโดในปริมาณ 100 กรัม ให้พลังงาน 32 กิโลแคลอรี่ มีน้ำตาล 0.7 กรัม

9.มะละกอ

เป็นผลไม้ที่ช่วยในการย่อยอาหารและยังช่วยให้มีผิวพรรณที่เปล่งปลั่งมีสารต้านอนุมูลกอิสระเป็นยาขับปัสสาวะและอุดมไปด้วยใยอาหารที่มีแคลอรี่ต่ำสุด ช่วยลดน้ำหนักได้เป็นอย่างดี มีคุณค่าทางโภชนาการของมะละกอในปริมาณ 100 กรัม ให้พลังงาน 23 กิโลแคลอรี่ มีน้ำตาล 8 กรัม

10.ฝรั่งสด

การกินผลฝรั่งช่วยลดน้ำหนักได้เนื่องจากเป็นแหล่งวิตามินที่อุดมไปด้วย ได้แก่ วิตามิB1 วิตามิน B3 วิตามินB6 และโฟเลต ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเผาผลาญเปลี่ยนคาร์โบไฮเดรตกลายเป็นเชื้อเพลิงแทนที่จะเก็บไว้เป็นไขมันค่าทางโภชนาการของฝรั่งในปริมาณ 100 กรัม ให้พลังงาน 55 กิโลแคลอรี่ มีน้ำตาล 9 กรัม

การทานผลไม้ก่อนอาหารคือช่วงเวลาที่ดีที่สุด จริงหรือ

คำตอบคือ จริงบางส่วนและไม่จริงบางส่วน องค์ประกอบสำคัญใน ผลไม้จะมีทั้งส่วนที่แข็งแรงทนทาน คือ ไฟเบอร์ หรือ เส้นใยอาหาร และส่วนที่อ่อนไหวต่อสิ่งเร้า คือ กลุ่มวิตามินและแร่ธาตุต่างๆ ซึ่งในกลุ่มของวิตามินนี้ก็ยังแยกย่อยไปอีกว่าสามารถละลายได้ดีในน้ำหรือในไขมัน การที่บอกว่าทานผลไม้ก่อนอาหารดีที่สุด จึงเป็นในแง่ของผลไม้ที่วิตามินละลายในน้ำและอ่อนไหวง่าย เช่น วิตามินซี วิตามินบี เป็นต้น ก่อนมื้ออาหารที่ท้องยังว่างอยู่ การทานผลไม้เหล่านี้เข้าไป ร่างกายจะดูดซึมวิตามินได้อย่างเต็มที่และรวดเร็ว รวมไปถึงการย่อยผลไม้ก็ทำได้รวดเร็วด้วย เป็นการกระตุ้นน้ำย่อยก่อนมื้ออาหารที่ดีอีกทางหนึ่ง สิ่งที่ต้องระวังก็มีเพียงแค่ ผลไม้บางชนิดที่อยู่ในกลุ่มนี้กลับมีความเป็นกรดสูงมาก ก็ต้องถือเป็นข้อยกเว้นไป เพราะเหมาะที่จะทานหลังมื้ออาหารมากกว่า

การทานผลไม้หลังมื้ออาหาร ไม่ได้ประโยชน์อะไรเลยใช่หรือไม่

เช่นเดียวกันกับกรณีของการทานผลไม้ก่อนอาหาร คือไม่ใช่ทั้งหมด 100 เปอร์เซ็นต์ มีผลไม้หลายชนิดที่ทานหลังมื้ออาหารแล้วได้ประโยชน์สูงมากกว่า โดยเฉพาะผลไม้ที่มีวิตามินเอและวิตามินอี ซึ่งละลายได้ดีในไขมัน หากทานหลังมื้ออาหารจะถูกดูดซึมไปพร้อมการสารอาหารอื่นๆ ที่ได้จากมื้อหลัก แต่ถ้าทานผลไม้อีกกลุ่มหนึ่งที่อุดมด้วยวิตามินซี วิตามินบี และแร่ธาตุอื่นๆ หลังมื้ออาหารจะให้ผลในทางตรงกันข้าม

เพราะอาหารประเภทแป้ง โปรตีน ไขมัน ต้องใช้เวลาในการย่อยนาน เมื่อทานผลไม้ตามไปก็จะถูกกักไว้ ไม่ได้รับการย่อยในทันที ร่างกายจำเป็นต้องย่อยอาหารกลุ่มแรกให้เสร็จสิ้นเสียก่อน เมื่อเป็นเช่นนี้ ผลไม้จึงผ่านกระบวนการหมักจนกลายสภาพเป็นกรด หลายคนจึงมีอาการท้องอืดและจุกเสียดตามมา วิตามินต่างๆ ที่รออยู่ก็เสื่อมสภาพไปเสียก่อนที่จะถูกดูดซึม เราจึงไม่ได้รับวิตามินแบบเต็มเม็ดเต็มหน่วยเท่าที่ควร

จะเห็นได้ชัดเจนเลยว่า การทานผลไม้ให้ได้ประโยชน์มากที่สุด ไม่ได้อยู่ที่ช่วงเวลาเพียงอย่างเดียว แต่อยู่ที่ว่าเราเข้าใจการเลือกทานผลไม้แต่ละชนิดมากน้อยแค่ไหน ผลไม้ยอดนิยมที่ควรทานก่อนและหลังมื้ออาหารกันบ้าง

การทานผลไม้ให้ได้ประโยชน์มากที่สุด ไม่ได้อยู่ที่ช่วงเวลาเพียงอย่างเดียว แต่อยู่ที่ว่าเราเข้าใจการเลือกทานผลไม้แต่ละชนิดมากน้อยแค่ไหน

ผลไม้ ที่ควรทานก่อนมื้ออาหาร

1. องุ่น : ผลไม้ที่มีเนื้อนิ่ม เปลือกบาง มีวิตามินซีและฟลาโวนอยด์ค่อนข้างสูง ช่วยเสริมสร้างการทำงานของสมอง บำรุงกำลังร่างกาย บำรุงสายตา ลดความดันโลหิตสูง และสามารถใช้เป็นยาระบายอ่อนๆ ได้ หากทานก่อนมื้ออาหารเป็นประจำ ก็ยังช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งได้อีกด้วย แต่ถือว่าเป็นผลไม้ที่มีน้ำตาลเยอะพอสมควร จึงต้องทานในปริมาณที่ไม่มากจนเกินไป เหมาะกับมื้อเช้ามากกว่ามื้ออื่นๆ

2. แอปเปิ้ล : สำหรับใครก็ตามที่ต้องคอยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด นี่คือตัวเลือกที่ดีที่สุดเพราะมีค่าน้ำตาลต่ำ แต่มีวิตามินและไฟเบอร์ในปริมาณสูง แอปเปิ้ลแต่ละสีจะมีคุณสมบัติเฉพาะตัวที่ต่างกันไปเล็กน้อย ดังนี้ แอปเปิ้ลสีแดง มีสารแอนตี้ออกซิแดนท์สูงมาก จึงดีต่อการบำรุงร่างกายและผิวพรรณ ช่วยกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนใต้ผิวหนัง แอปเปิ้ลสีเขียว มีน้ำตาลต่ำแต่อุดมด้วยคอลลาเจนและอิลาสติน เหมาะกับคนที่กำลังลดน้ำหนัก ส่วนแอปเปิ้ลสีเหลือง ช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคเกี่ยวกับหัวใจด้วยสารเควอร์ซิทิน บำรุงสายตา ลดความเสี่ยงของโรคต้อกระจกด้วย ทานก่อนมื้ออาหารสัก 1 ผลก็เพียงพอและถ้าจะให้ดีก็ควรทานทั้งเปลือก

3. ฝรั่ง : ผลไม้ที่จัดว่าเป็นตัวช่วยที่ดีมากต่อการลดน้ำหนัก เพราะในฝรั่งมีน้ำตาลต่ำ แต่กลับมีไฟเบอร์และวิตามินซีสูง ช่วยเสริมสร้างคอลลาเจนในร่างกาย ส่งผลให้ผิวพรรณมีความยืดหยุ่นไร้ริ้วรอย ล้างพิษโดยรวม และลดไขมันในเลือด เราสามารถทานฝรั่งได้ตลอดทั้งวันในช่วงที่ท้องยังว่าง แน่นอนว่าเหมาะที่จะทานก่อนมื้ออาหารด้วย แต่ก็อย่าทานมากเกินไปเพราะจะอิ่มท้องเสียก่อนที่จะทานมื้อหลัก

4. สตรอเบอร์รี่ : ผลไม้ลูกสีแดงจัดที่มีวิตามินซีค่อนข้างสูง และยังมีซูเปอร์ไฟเบอร์เพคตินที่มาพร้อมกับสีแดงของสตรอว์เบอร์รีซึ่งมีส่วนสำคัญในการช่วยลดคลอเลสเตอรอลในร่างกาย ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยบำรุงสายตา ตลอดจนช่วยป้องกันอาการอักเสบต่างๆ สามารถทานก่อนมื้ออาหารได้แบบสบายๆ รสชาติอมเปรี้ยวอมหวานอันเป็นเอกลักษณ์ก็ยังช่วยกระตุ้นให้เจริญอาหารอีกด้วย

5. พุทรา : ผลไม้ที่หาทานได้ง่าย และมีรสชาติถูกปากคนทุกเพศทุกวัย ไม่ว่าจะเป็นพันธุ์ที่มีผลขนาดเล็กหรือใหญ่ ต่างก็มีวิตามินซีสูงเหมือนกันหมด พุทราโดดเด่นในเรื่องการเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ต่อต้านอนุมูลอิสระ และยังช่วยให้นอนหลับได้สบายขึ้นด้วย ในพุทรามีเส้นใยอาหารอยู่ในปริมาณมากเมื่อเทียบกับน้ำหนัก จึงช่วยให้อิ่มเร็วและดีต่อระบบขับถ่าย

6. ชมพู่ : ผลไม้ฉ่ำน้ำ กรอบหวาน ไม่ว่าจะเป็นชมพู่พันธุ์สีเขียวหรือสีแดงก็จะมีจุดเด่นตรงที่มีวิตามินซีและเส้นใยสูง เป็นผลไม้กลุ่มที่ทานได้บ่อยแต่ไม่อ้วน เพราะให้พลังงานในระดับที่ต่ำมาก หากทานก่อนมื้ออาหารเล็กน้อยก็จะช่วยให้อิ่มได้เร็วขึ้นด้วย ในชมพู่มีสารไลโคปีน ( Lycopiene ) ซึ่งพบได้ไม่ง่ายนักในผลไม้ ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ ลดความเสี่ยงการเกิดมะเร็งกระเพาะอาหารและมะเร็งต่อมลูกหมาก

7. มังคุด : ราชินีแห่งผลไม้ที่ไม่ได้มีดีแค่รสชาติ แต่มีคุณสมบัติในทางยาหลายอย่าง ในมังคุดมีสารต้านอนุมูลอิสระสูง อุดมด้วยวิตามินหลายชนิด ช่วยเสริมสร้างคอลลาเจน ช่วยยับยั้งแบคทีเรีย ลดสิวอุดตัน ลดความดันโลหิต และอื่นๆ อีกมากมาย เมื่อทานเนื้อหมดแล้วก็ยังเอาเปลือกไปทำยาได้ต่ออีกด้วย เพียงแค่ทานก่อนมื้ออาหารสักวันละ 5 ผลก็จะมีสุขภาพที่ดีขึ้นแล้ว   

ผลไม้ ที่ควรทานหลังมื้ออาหาร

1. ส้ม : ส้มเป็นผลไม้ที่ทานได้ง่าย อุดมด้วยวิตามินซีและเบต้าแคโรทีน จัดเป็นผลไม้สารพัดประโยชน์ชนิดหนึ่ง จะทานเป็นผลสดๆ คั้นเป็นน้ำ หรือแปรรูปเป็นอย่างอื่นก็ได้ มีข้อดีตรงที่ช่วยบำรุงผิวพรรณ บำรุงสายตา ดีต่อระบบย่อยอาหารและระบบขับถ่าย และแน่นอนช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันจากคุณสมบัติของวิตามินซีด้วย แต่ด้วยความเป็นกรดอ่อนๆ จึงไม่เหมาะที่จะทานตอนท้องว่างเท่าไร ในขณะเดียวกันก็ไม่ได้เป็นผลไม้ที่ห้ามทานตอนท้องว่างแต่อย่างใด ยกเว้นกับคนที่มีปัญหาเกี่ยวกับกระเพาะอาหารเท่านั้น

2. สัปปะรด :  ผลไม้ชนิดนี้มีความเป็นกรดสูงมาก เราสามารถใช้สัปปะรดสดมาหมักเนื้อเพื่อให้นุ่มขึ้นก่อนนำไปปรุงอาหารได้เลย ดังนั้นจึงเป็นผลไม้ที่ไม่ควรทานตอนท้องว่างอย่างเด็ดขาด ข้อดีของสัปปะรดก็คือมีวิตามินบี วิตามินซี แคลเซียมและแร่ธาตุอื่นๆ อีกหลายชนิด ช่วยบรรเทาอาการหวัด ช่วยบรรเทาอาการท้องผูก ดีต่อผิวพรรณและยังช่วยลดอาการอักเสบต่างๆ ได้ เมื่อทานหลังมื้ออาหารก็จะทำหน้าที่ช่วยย่อยอีกด้วย

3. มะละกอ : ส่วนสำคัญในมะละกอที่ทำให้เราไม่ควรทานตอนที่ท้องยังว่างอยู่ก็คือ เอมไซน์ ตัวที่รู้จักกันดีก็คือเอมไซน์ปาเปน ( papain ) ซึ่งมีอยู่ทั้งในส่วนของยางและเนื้อ มีคุณสมบัติในการย่อยโปรตีนได้อย่างดีเยี่ยม จึงเหมาะกับการนำมาทานพร้อมหรือหลังมื้ออาหารมากกว่า ในมะละกอยังมีไขมันและน้ำตาลในระดับที่ต่ำมาก แม้แต่ผู้ป่วยโรคเบาหวานก็ยังทานได้อย่างสบาย ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเกี่ยวกับทางเดินอาหารบางชนิดได้

4. ลูกพลับ : เชื่อว่านี่เป็นผลไม้ในดวงใจของใครหลายๆ คนแน่นอน ด้วยกลิ่นหอมและรสชาติหวานเป็นเอกลักษณ์นั่นเอง ลูกพลับอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระชั้นดี แถมแคลอรี่ต่ำสุดๆ ช่วยบำรุงสายตา บำรุงผิวพรรณ บรรเทาอาการท้องเดิน และจุดเสียดได้ แม้ว่าลูกพลับจะไม่ได้มีฤทธิ์เป็นกรด แต่ก็ห้ามทานก่อนมื้ออาหาร เพราะในเนื้อลูก

พลับมียางและสารแขวนลอยอยู่ เมื่อผสมกับน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร จะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้เวียนหัวได้

5. เสาวรส : ถึงแม้จะมีวิตามินซีสูงมาก ซึ่งถ้าว่าตามหลักแล้วก็ควรทานตอนท้องว่างเพราะจะได้ดูดซึมวิตามินไปใช้งานได้อย่างเต็มที่ แต่อย่างที่เรารู้กันดีว่าเสาวรสมีรสชาติเปรี้ยวจัดจนเข็ดฟัน มีความเป็นกรดไม่น้อยหน้าไปกว่าสัปปะรด ถ้าทานตอนท้องว่างจะเกิดอาการมวนท้องได้ ในเสาวรสมีสารฟลาโวนอยด์อยู่มาก ช่วยต้านอนุมูลอิสระและชะลอวัยได้ดี แต่มีสิ่งที่ต้องระวังอยู่ด้วย คือ มีเอนไซม์ที่กระตุ้นฮอร์โมนเพศหญิงให้สูงขึ้น เมื่อทานในปริมาณมากจึงเป็นอันตรายต่อคนที่มีปัญหาเกี่ยวกับฮอร์โมนในร่างกาย

ผลไม้แม้ว่าจะมีให้เลือกมากมายแต่ควรรู้ว่าผลแต่ละชนิดมีรสชาติที่แตกต่างกันโดยส่วนใหญ่ผลไม้ที่เราเคยกินนั้นจะมีผลไม้รสเปรี้ยว ผลไม้รสหวาน และผลไม้รสฝาก อย่างไรก็ตามการกินเพียงผลไม้อย่างเดียวอาจทำให้การลดน้ำหนักในคนอ้วนอาจทำได้ช้าลง แนะนำให้ทำควบคู่ไปกับการออกกำลังกาย ควบคุมปริมาณอาหารมัน อาหารหวาน อาหารเค็ม เพื่อลดความเสี่ยงของโรคอ้วน โรคความดัน โรคเบาหวาน โรคไขมันอุดตันและที่สำคัญจะมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงอายุยืนอีกด้วย

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

Rost, Thomas L.; Weier, T. Elliot; Weier, Thomas Elliot (1979). Botany: a brief introduction to plant biology. New York: Wiley. pp. 135–37. ISBN 0-471-02114-8.

Esau, K. 1977. Anatomy of seed plants. John Wiley and Sons, New York.
[1] Archived December 20, 2010, at the Wayback Machine.

Mauseth, James D. (2003). Botany: an introduction to plant biology. Boston: Jones and Bartlett Publishers. p. 258. ISBN 978-0-7637-2134-3.

การเลือกรับประทานอาหารตามเวลาที่เหมาะสม

0
การเลือกรับประทานอาหารตามนาฬิกาชีวิต
การดูแลร่างกายและทำกิจกรรมตามนาฬิกาชีวิตก็จะเป็นผลดีต่อสุขภาพ
การเลือกรับประทานอาหารตามนาฬิกาชีวิต
การดูแลร่างกายและทำกิจกรรมตามนาฬิกาชีวิตก็จะเป็นผลดีต่อสุขภาพ

เวลาที่เหมาะสมในการทานอาหาร

หลายคนคงเคยได้ยินคำแนะนำจากสื่อต่างๆ เกี่ยวกับช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุด สำหรับการทำกิจกรรมของร่างกาย เช่น เวลาที่ควรนอน เวลาที่ควรตื่น เวลาที่ควรออกกำลังกาย เป็นต้น และคาดว่าคงมีผู้คนจำนวนไม่น้อยที่ตั้งคำถาม ว่าเวลาเหล่านี้ใครเป็นคนกำหนด จำเป็นแค่ไหนที่เราจะต้องยึดติดช่วงนาทีทองที่ว่านี้ และหากเป็นคนที่มีวิถีชีวิตต่างไปจากคนทั่วไปโดยสิ้นเชิง อย่างเช่น เป็นคนทำงานกลางคืน แล้วพวกเขาจะปฏิบัติตามคำแนะนำแห่งช่วงเวลาได้อย่างไร ครั้งนี้เราจะมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ “ นาฬิกาชีวิต ” อย่างแท้จริง ไม่ใช่เพียงแค่ท่องจำและทำตามโดยไม่รู้ต้นสายปลายเหตุอีกต่อไป

นาฬิกาชีวิต คืออะไร

นาฬิกาก็คือเครื่องมือที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อบอกเวลา เป็นเหมือนสื่อกลางที่ช่วยให้ทุกคนเข้าใจตรงกันอย่างชัดเจนว่าช่วงนี้คือเวลาเท่าไร ซึ่งนั่นเชื่อมโยงไปถึงกิจกรรมที่ต้องทำในแต่ละวันด้วย “นาฬิกาชีวิต” มีอีกชื่อหนึ่งว่า นาฬิกาชีวภาพ ก็มีความคล้ายคลึงกับนาฬิกาที่เอาไว้ดูเวลาเช่นกัน แต่เป็นเวลาของร่างกายที่ดำเนินไปตามธรรมชาติ มันคือวงจรการทำงานของทุกระบบภายในร่างกาย สังเกตได้ง่ายๆ ว่าเราจะหิวในเวลาเดิมๆ ง่วงนอนในเวลาเดิมๆ ถ้าให้ลงลึกไปอีกหน่อยก็คือ ร่างกายจะมีการหลั่งฮอร์โมนแต่ละชนิดในเวลาเดิม ปรับเปลี่ยนอุณหภูมิ หลั่งน้ำย่อย และอื่นๆ อีกมายมายในเวลาเดิม นี่แหละคือนาฬิกาชีวิต

นิวเคลียสซูพราไคแอสมาติก ( Suprachiasmatic Nucleus ) คือกลุ่มเซลล์ที่อยู่ในส่วนด้านล่างของสมองส่วนหน้าที่เรียกว่า ไฮโพทาลามัส ( hypothalamus ) มีหน้าที่ในการส่งสัญญาณเพื่อควบคุมนาฬิกาชีวิต ด้วยการตอบสนองต่อสัญญาณของแสงเป็นหลัก แต่แสงก็ไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่กำหนดว่านาฬิกาชีวิตของแต่ละคนเป็นอย่างไร ยังมีสิ่งอื่นๆ ที่กระตุ้นให้นาฬิกาชีวิตมีความผิดเพี้ยนไปได้ เช่น พฤติกรรมการใช้ชีวิต อาการป่วย ช่วงวัย เป็นต้น อย่างหนึ่งที่เราต้องรู้ก็คือ ถึงแม้เราจะไม่รู้จักคำว่านาฬิกาชีวิตมาก่อนเลย แต่ถ้าเราไม่ฝืนร่างกายจนเกินไป ส่วนใหญ่เราก็จะทำกิจกรรมตามนาฬิกาชีวิตของเราโดยธรรมชาติอยู่แล้ว เพียงแค่อาจจะไม่สมบูรณ์ที่สุดเท่านั้นเอง

ความสำคัญของนาฬิกาชีวิต

นาฬิกาชีวิตเป็นตัวบอกเวลาให้กับอวัยวะและระบบภายในร่างกายของเรา ดังนั้นทุกองค์ประกอบจะเริ่มและจบงานของตัวเองตรงเวลาเสมอ ยกตัวอย่างให้มองเห็นภาพได้ง่ายๆ ก็คือ เมื่อเราทานอาหารเที่ยงตอน 12.30 น. เป็นประจำ และทำเช่นนี้มาแล้วเป็นเวลานาน ร่างกายก็จะเรียนรู้ว่าเวลานี้คือเวลาที่ต้องย่อยอาหาร เหมือนกับการปักหมุดบนหน้าปัดนาฬิกาว่า 12.30 น. เมื่อไร ระบบทางเดินอาหารต้องทำหน้าที่ เตรียมความพร้อม หลั่งน้ำย่อย เป็นต้น และมันเป็นแบบเดียวกันนี้ในทุกกิจกรรมที่เราทำ หากมีสักวันที่เรามีเหตุสุดวิสัยทำให้ไม่ได้ทานมื้อกลางวันตอน 12.30 น. ร่างกายก็ยังคงหลั่งน้ำย่อยออกมาอยู่ดี เลยทำให้เกิดอาการปวดท้องหรือแสบท้องขึ้นมาได้ นั่นหมายความว่า ถ้าเราดูแลร่างกายและทำกิจกรรมต่างๆ ตามนาฬิกาชีวิตของเราเองก็จะเป็นผลดีต่อสุขภาพโดยรวม ภูมิต้านทานแข็งแรง เซลล์ต่างๆ ฟื้นตัวจากการสึกหรอได้เร็ว เป็นแนวทางที่เราทำกันได้ไม่ยาก แต่ก็ยังมีน้อยคนนักที่ให้ความสำคัญกับนาฬิกาชีวิตของเขา

การเลือกทานอาหารกับนาฬิกาชีวิต

ทันทีที่มีกระแสรักสุขภาพเกิดขึ้น ผู้คนก็เริ่มใส่ใจในรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ โดยเฉพาะเรื่องของอาหารการกิน นอกจากการพิจารณาว่าสิ่งไหนเป็นประโยชน์ สิ่งไหนมีโทษ ก็ยังให้ความสำคัญกับช่วงเวลาที่ทานด้วย ประเด็นหลักก็คือความเข้าใจที่ว่าการทานอาหารแต่ละประเภทในช่วงเวลาที่ดี ร่างกายจะสามารถดูดซึมและนำไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมไปถึงการเลือกทานอาหารเพื่อจุดประสงค์ที่เฉพาะเจาะจงบางอย่าง เช่น การทานน้ำสะอาดในตอนเช้าหลังตื่นนอนทันที ไม่ได้มีเป้าหมายหลักเพื่อดับกระหาย แต่เป็นการกระตุ้นระบบขับถ่ายให้ทำงาน เป็นต้น ก่อนจะไปดูว่ามีอะไรที่เราควรทานให้ถูกช่วงเวลาบ้าง มาดูนาฬิกาชีวิตกับความเปลี่ยนแปลงภายในร่างกายกันก่อนเลย

05.00-07.00 : ช่วงเวลาของลำไส้ใหญ่ ระบบภายในร่างกายจะถูกปลุกให้ตื่นขึ้น พร้อมสำหรับการทำงานของวันใหม่ แม้ว่าเวลานั้นเราจะยังหลับอยู่ก็ตาม หัวใจเริ่มมีจังหวะการเต้นที่สูงขึ้นและความดันเลือดก็สูงขึ้นด้วย

07.00-09.00 : ช่วงเวลาของกระเพาะอาหาร เป็นช่วงที่ตับทำหน้าที่ขับของเสียเรียบร้อยแล้ว ส่วนความคิดความจำถูกกระตุ้นให้พร้อมทำงาน และนี่คือช่วงที่ดีที่สุดสำหรับมื้อเช้า

09.00-11.00 : ช่วงเวลาของม้าม ถือเป็นช่วงที่ระบบร่างกายทำงานอย่างมีประสิทธิภาพสูงที่สุดในแต่ละวัน เหมาะที่จะเป็นจุดเริ่มต้นในการทำงานหรือทำกิจกรรมสำคัญ

11.00-13.00 : ช่วงเวลาของหัวใจ ตอนนี้หัวใจเริ่มทำงานหนักและร่างกายต้องการการพักผ่อนเล็กๆ แน่นอนว่าช่วงเวลานี้เหมาะกับการทานมื้อเที่ยงด้วย

13.00-15.00 : ช่วงเวลาของลำไส้เล็ก หลังจากทานอาหารไปแล้วก็เป็นขั้นตอนของการดูดซึมสารอาหาร ส่วนของสมองจึงทำงานได้ช้าลง เพราะร่างกายต้องเอาพลังงานไปใช้ในระบบทางเดินอาหารนั่นเอง

15.00-17.00 : ช่วงเวลาของกระเพาะปัสสาวะ ช่วงนี้เหมาะมากกับการออกกำลังกายเพื่อเรียกเหงื่อ เพราะอวัยวะทุกส่วนจะตอบสนองได้ไวเป็นพิเศษ ระดับน้ำตาลในเลือดพุ่งขึ้นสูงแต่ไม่นานก็จะลดลงอย่างรวดเร็ว

17.00-19.00 : ช่วงเวลาของไต หากใครง่วงนอนในช่วงนี้เป็นประจำก็อาจสันนิษฐานได้ว่าไตอาจอ่อนแอ

19.00-21.00 : ช่วงเวลาของเยื่อหุ้มหัวใจ ความจำจะดีเยี่ยม การตอบสนองรวดเร็ว ควรงดสื่อที่มีความรุนแรงและสะเทือนใจในช่วงเวลานี้

21.00-23.00 : ช่วงเวลาของความร้อนภายในร่างกาย ระบบภายในเริ่มทำงานลดลง เซลล์บางส่วนเข้าสู่โหมดการฟื้นฟูตัวเอง ไม่เหมาะกับการอาบน้ำเย็นๆ หรืออยู่ในที่อากาศหนาวเย็น

23.00-01.00 : ช่วงเวลาของถุงน้ำดี ร่างกายเริ่มกำจัดเซลล์ที่เสียหายและสร้างเซลล์ใหม่ขึ้นมาแทน เป็นช่วงที่ร่างกายจะไวต่อความรู้สึกเจ็บปวดด้วย

01.00-03.00 : ช่วงเวลาของตับ หากช่วงนี้ใครยังไม่หลับตับจะทำงานหลั่งสารกำจัดเชื้อโรคได้ไม่เต็มที่ กล้ามเนื้อและระบบต่างๆ พักผ่อนด้วยการทำงานช้าลงมาก

03.00-05.00 : ช่วงเวลาของปอด ร่างกายส่วนใหญ่ยังคงพักผ่อน

และนี่คือภาพรวมของวงจรการทำงานภายในร่างกาย ซึ่งต้องย้ำอีกครั้งว่าในแต่ละคนจะแตกต่างไปจากนี้บ้าง ตามแต่วิถีการใช้ชีวิตและปัจจัยด้านสุขภาพอื่นๆ ทุกอย่างร่างกายจะเรียนรู้และจดจำได้เอง เมื่อสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นช่วงเวลาเดิมซ้ำๆ

ช่วงเวลาของมื้ออาหาร

จะเห็นว่าจริงๆ แล้วหากอ้างอิงตามนาฬิกาชีวิต เรามีเวลาช่วงที่ร่างกายต้องการทานอาหารเพียงแค่ 2 ช่วงเท่านั้น คือ มื้อเช้าและมื้อเที่ยง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าการทานอาหารในช่วงอื่นๆ จะไม่จำเป็น หรือไม่ได้รับประโยชน์อะไรเลย เพียงแค่จะต้องลดปริมาณลง เพื่อให้ร่างกายได้ทำหน้าที่ในส่วนที่ต้องทำอย่างเต็มที่ ไม่ใช่ดึงพลังงานทั้งหมดมาเพื่อการย่อยอาหารที่เราทานเข้าไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในช่วงที่ร่างกายต้องพักผ่อนและซ่อมแซมตัวเอง ควรหลีกเลี่ยงการสร้างภาระอันไม่จำเป็นให้กับร่างกายด้วยการทานอาหารมื้อหนัก เนื่องจากร่างกายจะไม่ได้ฟื้นฟูตัวเอง และสะสมความเสื่อมโทรมเหล่านั้นเอาไว้ คนที่ชื่นชอบการทานมื้อเย็นหรือก่อนนอนมากๆ จึงมักมีผิวพรรณที่ไม่สดใส ร่างกายไม่สดชื่นตอนตื่นนอน และเจ็บป่วยได้ง่าย

นิวเคลียสซูพราไคแอสมาติก มีหน้าที่ในการส่งสัญญาณเพื่อควบคุมนาฬิกาชีวิต ด้วยการตอบสนองต่อสัญญาณของแสงเป็นหลัก

ประเภทอาหารกับนาฬิกาชีวิต

มีประเภทอาหารอยู่ไม่กี่อย่างที่มีระบุเวลาอันสอดคล้องกับนาฬิกาชีวิตเอาไว้ ถ้านอกเหนือไปจากนี้ก็เลือกทานตามความเหมาะสมและความสะดวกได้เลย

น้ำดื่ม : ปกติเราควรต้องดื่มน้ำตลอดทั้งวันอยู่แล้ว ขั้นต่ำราวๆ 2 ลิตร ยิ่งดื่มมากก็ยิ่งดีต่อระบบร่างกาย แต่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประโยชน์จากน้ำ จึงมีช่วงเวลาสำคัญที่ต้องดื่มดังนี้

  • ดื่มน้ำหลังตื่นนอนทันที ประมาณ 1-2 แก้ว เพื่อกระตุ้นระบบขับของเสียทั้งหมดและชดเชยภาวะขาดน้ำ
  • ดื่มน้ำช่วงสายๆ 09.00-10.00 น. ประมาณ 2-3 แก้ว เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการขับของเสีย และกระตุ้นการทำงานของระบบภายในต่างๆ
  • ดื่มน้ำช่วงบ่าย 13.00-14.00 น. ประมาณ 2-3 แก้ว เพื่อลดความอ่อนล้าและเพิ่มความสดชื่นให้กับสมอง
  • ดื่มน้ำช่วงค่ำ 19.00-20.00 น. ประมาณ 2-3 แก้ว เพื่อชำระสิ่งตกค้างในลำไส้
  • ดื่มน้ำก่อนนอน 1 แก้ว เพื่อช่วยให้หลับสบายมากขึ้น

นม : ในที่นี้จะหมายถึงผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับนมทุกประเภท โดยแต่ละชนิดก็จะเหมาะกับแต่ละช่วงเวลา ดังนี้

  • ดื่มนมเปรี้ยวในช่วงเช้าสุดของวัน ในนมเปรี้ยวมีจุลินทรีย์ที่ดีมากต่อการกระตุ้นระบบขับถ่าย
  • ดื่มนมพาสเจอร์ไรส์ร่วมกับมื้อเช้า เพื่อเพิ่มพลังการทำงานของกระเพาะอาหาร
  • ทานโยเกิร์ตในช่วงสายไปจนถึงเที่ยง เพื่อกระตุ้นสมองในด้านความจำและการตัดสินใจ
  • ดื่มนมเปรี้ยวหลังมื้อเที่ยง เพื่อช่วยให้ลำไส้เล็กทำงานได้ดีขึ้น
  • ดื่มนมเปรี้ยวในช่วงเย็น เพื่อช่วยกระตุ้นให้ร่างกายขับของเสียได้ง่าย
  • ดื่มนมก่อนนอน ส่งผลให้ร่างกายหลับสบายและยังเป็นช่วงที่ดูดซึมแคลเซียมได้ดีที่สุดด้วย

ผักผลไม้ที่อุดมไปด้วยเส้นใยอาหาร : ควรทานช่วงเช้าก่อนมื้ออาหาร เพื่อกระตุ้นระบบขับของเสียภายในร่างกาย

ผลไม้ที่ให้ความรู้สึกสดชื่น : ตัวอย่างเช่นผลไม้ในตระกูลเบอร์รี่ทั้งหมด ควรทานในช่วง 15.00-17.00 น. เพื่อเสริมความสดชื่นกระปรี้กระเปร่าให้ถึงขีดสุด 

อาหารและช่วงเวลาที่ต้องหลีกเลี่ยง

ได้รู้สิ่งที่ควรทานในช่วงเวลาต่างๆ ไปแล้ว มาดูสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงกันบ้าง

  • ช่วงเวลา 13.00-15.00 น. ที่เป็นช่วงเวลาของลำไส้เล็ก ควรงดการทานอาหารทุกชนิดนอกจากน้ำสะอาด เพื่อให้ลำไส้เล็กได้ทำงานอย่างเต็มที่ และไม่แบกภาระหนักหนาเกินไป
  • ช่วงเวลา 17.00-19.00 น. ต้องงดอาหารที่มีเกลือเป็นส่วนผสม หรือมีรสชาติเค็ม เพื่อช่วยให้ไตไม่ต้องทำงานหนัก
  • ห้ามดื่มน้ำในช่วงที่ใกล้เวลานอนในปริมาณที่มากเกินไป เพราะจะทำให้นอนหลับไม่สนิทและไม่ต่อเนื่อง ระบบภายในก็จะซ่อมแซมได้ไม่เต็มที่

เมื่อพิจารณาดูให้ดีแล้วก็จะรู้ทันทีเลยว่า หากเราสามารถจัดเวลาทำกิจกรรมต่างๆ ให้สอดคล้องกับนาฬิกาชีวิตได้อย่างสม่ำเสมอ ทุกส่วนของร่างกายก็จะทำงานกันอย่างเป็นระบบ อวัยวะทั้งหมดแข็งแรงและทำงานเต็มศักยภาพยิ่งขึ้น สารพิษถูกขับออกอย่างที่มันควรจะเป็น ไม่มีส่วนใดตกค้างสะสมจนกลายเป็นต้นเหตุของอาการเจ็บป่วยต่างๆ ซึ่งมีแต่ข้อดีทั้งนั้นเลย เพียงแต่ว่าในตารางการใช้ชีวิตประจำวันของเรา มันไม่ง่ายนักที่จะปฏิบัติตัวให้เหมาะสมตามนาฬิกาชีวิตได้ หลายคนยังจำเป็นต้องนอนดึก หลายคนเลือกประเภทอาหารระหว่างวันได้ไม่มากนัก และอีกหลายคนไม่มีเวลาเหลือพอให้ออกกำลังกาย อย่างไรก็ตาม ถึงแม้เราจะไม่สามารถทำได้ทุกอย่าง แต่คงมีอย่างน้อยสัก 1 ถึง 2 อย่างที่เราทำได้เลยเดี๋ยวนี้ อย่างเช่น การดื่มน้ำสะอาดตามเวลาที่เหมาะสม หรือการตื่นแต่เช้าและแวะสูดอากาศสัก 5 นาที เพราะการเปลี่ยนเพียงเล็กน้อยเท่านี้จะทำให้เราค่อยๆ มีสุขภาพดีขึ้นได้เหมือนกัน

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

University of California, Los Angeles (UCLA), Health Sciences (20 October 2013). “Scientist uncovers internal clock able to measure age of most human tissues; Women’s breast tissue ages faster than rest of body”. ScienceDaily. Retrieved 22 October 2013.

“DNA methylation age of human tissues and cell types”. Genome Biology. 14: R115. doi:10.1186/gb-2013-14-10-r115. PMC 4015143 Freely accessible. PMID 24138928.
Horvath, S (2015).

“Erratum to: DNA methylation age of human tissues and cell types”. Genome Biology. 16 (1): 96. doi:10.1186/s13059-015-0649-6. PMC 4427927 Freely accessible. PMID 25968125.

ผู้ชายก็ทำศัลยกรรมได้

0
ผู้ชายก็ทำศัลยกรรมได้
การศัลยกรรมในผู้ชายอาจไม่หลากหลายเท่ากับผู้หญิง ซึงการศัลยกรรมในเพศชายแบ่งเป็นช่วงคือ วัยทำงาน วัยกลางคน และวัยสูงอายุ
ผู้ชายก็ทำศัลยกรรมได้
การศัลยกรรมในผู้ชายอาจไม่หลากหลายเท่ากับผู้หญิง ซึงการศัลยกรรมในเพศชายแบ่งเป็นช่วงคือ วัยทำงาน วัยกลางคน และวัยสูงอายุ

ศัลยกรรม ในผู้ชาย

พอพูดถึงประเด็นการทำ ศัลยกรรม คนส่วนใหญ่ก็มักจะนึกถึงการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงของเพศหญิงเท่านั้น แต่ความจริง ผู้ชาย อกสามศอกก็นิยมทำศัลยกรรมไม่แพ้กัน เพียงแค่อาจจะตัดเรื่องการเสริมหน้าอกออกไปเท่านั้นเอง ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องแปลกประหลาดอะไรที่เราอยากจะมีภาพลักษณ์ที่ดี เพราะเราไม่อาจปฏิเสธได้เลยว่า คนที่ดูดีกว่ามักได้รับโอกาสที่มากกว่า เร็วกว่าและยิ่งใหญ่กว่า ในขณะที่คนฝีมือดีแต่ภาพลักษณ์ไม่เข้าท่ามักจะถูกเก็บไว้เป็นตัวเลือกท้ายๆ เสมอ ที่น่าสนใจก็คือทั้งสองอย่างสามารถพัฒนาให้ทัดเทียมกันได้หมด และภาพลักษณ์ก็ใช้เวลาในการพัฒนาน้อยกว่าทักษะความสามารถหลายเท่า ดังนั้นทางเลือกที่ดีจึงเป็นการเริ่มที่ปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์ก่อนอย่างอื่น

การ ศัลยกรรม ในผู้ชาย อาจไม่หลากหลายเท่ากับผู้หญิง แต่ก็มีนวัตกรรมที่ล้ำสมัย รวมทั้งรูปแบบวิธีการให้เลือกใช้มากมายไม่แพ้กัน เราสามารถแบ่งความต้องการของผู้ชายออกเป็นช่วงวัยได้อย่างชัดเจน คือ วัยทำงาน วัยกลางคน และวัยสูงอายุ แต่ละช่วงจะมีปัญหาที่ต้องแก้ไขคล้ายคลึงกัน ซึ่งต่างกับผู้หญิงอย่างสิ้นเชิง เพราะผู้หญิงจะมองเจาะในรายละเอียดเป็นส่วนๆ ไปไม่เกี่ยวกับช่วงวัยเท่าไรนัก ถ้ามีตาเล็กเกินไปก็ไปศัลยกรรมตา เมื่อมีกระแสปากอวบอิ่มก็เลือกที่จะปรับแก้ริมฝีปาก เป็นต้น พูดง่ายๆ ว่าการ ศัลยกรรม ในผู้ชาย มีรูปแบบที่ค่อนข้างคงที่กว่าก็ย่อมได้ ทีนี้เราลองมาดูกันดีกว่าว่าผู้ชายแต่ละช่วงวัยเขานิยมทำศัลยกรรมอะไรกันบ้าง

การศัลยกรรมของผู้ชายในช่วงวัยทำงาน

ระยะนี้จะเป็นช่วงอายุราวๆ 25 ปี ไปจนถึงเกือบ 40 ปี นับตั้งแต่เริ่มต้นชีวิตการทำงานไป ถือเป็นช่วงที่ ผู้ชาย มีความเป็นตัวเองสูงมาก เพราะสามารถเลี้ยงดูตัวเองและครอบครัวได้แล้ว เริ่มมีภาวะผู้นำ กล้าคิด กล้าตัดสินใจมากขึ้น ลงมือทำกิจกรรมต่างๆ ที่สนใจ ไม่ว่าจะเป็นท่องเที่ยว เล่นกีฬา ผจญภัย ยังคงมีความสุขและสนุกกับการใช้ชีวิตอย่างเต็มที่ ปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดความต้องการทำ ศัลยกรรม ก็จะเป็นเรื่องของสังคมเป็นหลัก ช่วงนี้สังคมรอบตัวจะกว้างขึ้น ได้เจอผู้คนหลากหลาย ความมั่นใจและบุคลิกภาพที่ดีจะช่วยเสริมสร้างมิตรภาพอันดีในช่วงแรกได้ และภาพลักษณ์ที่ดูดีก็ยังช่วยในเรื่องของการยอมรับอีกด้วย

ส่วนที่นิยมทำศัลยกรรมกันมากที่สุด

รูปแบบของการทำศัลยกรรมจะไปในแนวทางของการแก้ไขข้อบกพร่องเล็กๆ น้อยๆ เพื่อผลักดันในสิ่งที่มีอยู่ดีขึ้นกว่าเดิม ตัวอย่างที่นิยมทำกันมากที่สุดก็คือ

  • ศัลยกรรมปรับโครงหน้า : เน้นให้กรอบหน้ามีความสมดุลและคมชัด แก้ไขมุมไหนที่ไม่สมส่วนหรือดูผิดปกติ เพราะ ผู้ชาย ส่วนใหญ่ไว้ผมสั้น และนั่นทำให้เห็นโครงหน้าชัดเจน จึงต้องดูแลจุดนี้เป็นพิเศษ
  • ศัลยกรรมเสริมกราม : แม้ว่าในผู้หญิงจะนิยมลดกรามกัน แต่ ผู้ชาย กลับหลงใหลที่จะเพิ่มกรามกันมากกว่า เพราะมันสื่อให้เห็นว่ามีความเป็นลูกผู้ชายเต็มตัว และยังดูคมเข้มโดดเด่นมากกว่าด้วย
  • ศัลยกรรมดวงตา : การสื่อสารผ่านดวงตาเป็นกุญแจสำคัญเสมอไม่ว่าจะเป็นเพศไหนหรืออายุเท่าไร คนที่มีปัญหาดวงตาไม่สมดุล ตาเล็กหรือตี่เกินไป ตาห่างหรือชิดเกินไป เมื่อปรับแก้แล้วก็จะทำให้กลายเป็นคนที่ดูมีมนุษยสัมพันธ์ดีขึ้นได้
  • ศัลยกรรมจมูก : เพียงแค่จมูกได้รูปสวยงามก็ทำให้องค์รวมของใบหน้าดูดีขึ้นได้ ผู้ชาย ค่อนข้างให้ความสำคัญกับสันจมูกมาก เพราะนอกจากจะทำให้ดูหน้าตาดีแล้ว ก็ยังแสดงออกถึงความเป็นผู้นำ มีพลังและไว้วางใจได้อีกด้วย 

การศัลยกรรมของผู้ชายในช่วงวัยกลางคน

มาถึงช่วงอายุประมาณ 40 ปี ไปจนถึง 50 ปีกว่าๆ สิ่งที่เริ่มมาเยือนในช่วงวัยกลางคนก็คือริ้วรอยเล็กๆ ตามหางตา หน้าผาก มุมปาก และร่องรอยของพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ผ่านมา เช่น ไขมันสะสมตามหน้าท้อง ต้นขา ต้นแขน เป็นต้น การทำ ศัลยกรรม ในจังหวะนี้จึงเป็นการแก้ไขปัญหาแห่งวัยที่เกิดขึ้น แต่ผู้ชายส่วนใหญ่ก็จะไม่ได้ต้องการความสมบูรณ์แบบชนิดที่เรียกว่าตึงเป๊ะเหมือนกับผู้หญิง ขอแค่ยังดูดีไม่หม่นหมองเกินไปก็พอ เพราะ ผู้ชาย ที่มีสัญญาณของความเป็นผู้ใหญ่ตามร่างกายบ้างเล็กน้อยก็ถือเป็นเสน่ห์เฉพาะตัวอย่างหนึ่งเหมือนกัน

รูปแบบการทำศัลยกรรมที่ถูกเลือกใช้บริการมากที่สุด

ศัลยกรรมดวงตา : จะเป็นการปรับเปลี่ยนในลักษณะที่ต่างกับช่วงวัยทำงาน เน้นไปที่การยกกระชับและลดริ้วรอยลึกทั้งหมด เนื่องจากหลายคนมีปัญหาหนังตาตกจนดูหน้าตาเศร้าหมองตลอดเวลา ทำให้สูญเสียบุคลิกภาพที่ดีไป

ศัลยกรรมใบหน้า : เน้นการดึงยกช่วงแก้มขึ้นไป อาจใช้การผ่าตัดหรือฉีดสารเติมเต็มก็ได้ อยู่ที่ว่าปัญหาของใครอยู่ในระดับไหน แน่นอนว่าหากมีการยกกระชับช่วงแก้มแล้ว ก็มักจะจัดการกับบริเวณอื่นๆ ไปพร้อมกัน เช่น หน้าผาก หางตา ใต้คาง เป็นต้น การทำแบบนี้สามารถช่วยให้ดูอ่อนกว่าวัยได้มากถึง 10 ปีเลยทีเดียว

ศัลยกรรมรูปร่าง : หลักๆ เน้นไปที่การกำจัดไขมันส่วนเกิน ถ้ามีไขมันสะสมในปริมาณที่ไม่มากนัก การดูดไขมันค่อนข้างตอบโจทย์ได้ดี เพราะใช้เวลาน้อย ไร้แผลผ่าตัดและสามารถดำเนินชีวิตตามปกติได้เลย แต่หลายคนก็มีไขมันสะสมเยอะมากจากการละเลยตัวเองตลอดช่วงเวลาทำงานที่ผ่านมา แบบนี้ก็ต้องใช้การผ่าตัดมาช่วยแทน

ศัลยกรรมปลูกผม : ปัญหาผมร่วงผมบางเป็นปัญหาน่าหนักใจของผู้ชายเสมอ เนื่องจากเป็นจุดที่สังเกตเห็นได้ง่ายและรักษาให้หายได้ยาก เมื่อไรที่ผมเริ่มบางก็จะส่งผลกระทบต่อภาพรวม กลายเป็นคนที่ดูแก่เกินอายุไป ในบางรายก็ขาดความมั่นใจอย่างรุนแรง ก่อนหน้านี้ไม่เท่าไรปัญหาผมบางเป็นเรื่องที่ต้องทำใจอย่างเดียว หากมีสัญญาณมาแล้วยังไงก็ต้องปล่อยเลยตามเลย แต่เมื่อเทคโนโลยีทางการแพทย์ก้าวหน้ามากขึ้น ก็สามารถทำศัลยกรรมปลูกผมได้อย่างมหัศจรรย์ ซึ่งมีหลายรูปแบบให้เลือกทำด้วย อย่างเช่น FUE FUT เป็นต้น 

การศัลยกรรมของผู้ชายในช่วงวัยสูงอายุ

มาถึงตอนนี้สภาพร่างกายก็จะเสื่อมโทรมลงตามวัย จะมากหรือน้อยอย่างไรก็ขึ้นอยู่กับว่าตลอดเวลาที่ผ่านมา คนๆ นั้นดูแลตัวเองดีแค่ไหน ปัญหาที่พบได้ก็คือ ผิวเหี่ยวย่น มีฝ้ากระชัดเจน หางตาตก โหนกแก้มหย่อนคล้อย กล้ามเนื้อหย่อนคล้อย เป็นต้น การ ศัลยกรรม ทั้งหมดจึงเน้นไปที่การชะลอวัย ไม่ว่าจะเป็นการผ่าตัดเพื่อยกกระชับส่วนต่างๆ การดูดไขมันส่วนเกินที่เป็นภาระในการใช้ชีวิต การปลูกผม การบำรุงผิวพรรณ ไปจนถึงการปรับแต่งแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นจุดๆ ไป ส่วนใหญ่ผู้สูงอายุจะไม่ค่อยได้ทำศัลยกรรมเพื่อความสวยความงามเป็นอันดับแรกแล้ว แต่จะทำเพื่อให้การใช้ชีวิตดำเนินไปอย่างราบรื่นอย่างที่เคยเป็นมามากกว่า แล้วถือว่าความงามที่ได้รับนั้นเป็นผลพลอยได้

การศัลยกรรมในผู้ชายอาจไม่หลากหลายเท่ากับผู้หญิง ซึงการศัลยกรรมในเพศชายแบ่งเป็นช่วงคือ วัยทำงาน วัยกลางคน และวัยสูงอายุ

รูปแบบบริการงานด้านศัลยกรรมสำหรับผู้ชาย

พอได้เห็นคร่าวๆ แล้วว่าแต่ละช่วงเวลาผู้ชายเลือกทำ ศัลยกรรม อะไรกันบ้าง แต่หลายคนอาจจะยังนึกไม่ออกในรายละเอียด ว่าจริงๆ แล้วทำอะไรในลักษณะไหนได้บ้าง ต่อไปนี้จะเป็นรายการทำศัลยกรรมยอดนิยมสำหรับผู้ชายโดยเฉพาะ

1. ศัลยกรรมใบหน้า

  • การศัลยกรรมดวงตาด้วยการเย็บแบบจุดเดียว เป็นการปรับรูปตาที่ไม่มีรอยแผลให้เห็นที่เปลือกตา ดูเป็นธรรมชาติ สามารถใช้เพื่อแก้ปัญหาหนังตาและหางตาตกได้
  • การศัลยกรรมดวงตาด้วยการกรีดแผลเล็ก เป็นอีกทางเลือกในการแก้ปัญหาดวงตา ซึ่งวิธีนี้จะสามารถกำจัดไขมันส่วนเกินที่ไม่ต้องการออกไปได้ด้วย และถึงแม้จะใช้วิธีการกรีดผิวหนังให้เกิดแผล แต่ก็ไม่ได้ดูร้ายแรงอย่างที่คิด แถมฟื้นตัวได้เร็วด้วย
  • การศัลยกรรมดวงตาด้วยผ่าตัดแก้ไขรูปตา อันนี้เป็นงานประณีตที่ต้องพึ่งพาผู้เชี่ยวชาญมากประสบการณ์จริง เพราะอาจต้องทำหลายอย่างหลายขั้นตอน ต้องมีการวิเคราะห์และวางแผนล่วงหน้าด้วย สิ่งสำคัญคือเมื่อตัดสินใจเปลี่ยนแปลงแล้วก็จะกลับมาเป็นเหมือนเดิมไม่ได้อีกนั่นเอง
  • การศัลยกรรมจมูกด้วยการผ่าตัด ส่วนใหญ่ ผู้ชาย จะชื่นชอบสันจมูกคมๆ มองเห็นชัดเจน ดังนั้นการผ่าตัดเพื่อสอดวัสดุเสริมเข้าไปจะตอบโจทย์มากกว่าการฉีดสารเติมเต็มอื่นๆ เรื่องน่ารู้ก็คือจมูกของผู้ชายมีโครงสร้างของสันจมูกเดิม กับเนื้อปลายจมูกที่หนากว่า การ ศัลยกรรม จึงยุ่งยากกว่า นั่นหมายความว่าเราจะต้องมองหาแพทย์ฝีมือดีก่อนเปลี่ยนจมูกอันใหม่เสมอ
  • การศัลยกรรมจมูกเพื่อแก้ความงุ้มหรือเบี้ยว อันนี้ต่างจากแบบแรกเล็กน้อย คือมีรายละเอียดที่จุกจิกมากกว่าและยังแตกต่างกันไปในแต่ละคนอีกด้วย ผู้ชายมักมีปัญหาจมูกเบี้ยวมากกว่าผู้หญิง อาจจะต้องประสบการณ์ผจญภัย กีฬาผาดโผนหรืออะไรก็ตามแต่ เมื่อไม่ทำการรักษาในตอนนั้น จมูกจึงเจริญผิดรูปไป การแก้ไขจึงต้องทำตั้งแต่เสริมซิลิโคน ตัดกระดูก ตัดแต่งกล้ามเนื้อ เป็นต้น
  • การศัลยกรรมยกกระชับใบหน้า วิธีการที่เลือกใช้จะแปรผันตามระดับความรุนแรงของความหย่อนคล้อย ร่วมกับความต้องการของผู้เข้ารับการรักษา อาจจะต้องผ่าตัดหรือไม่ก็ได้

2. ศัลยกรรมรูปร่าง

  • การศัลยกรรมกำจัดไขมันส่วนเกินด้วยการดูดไขมัน คนที่เริ่มมีความอ้วนและมีไขมันสะสมมากจนเป็นอุปสรรคต่อการใช้ชีวิต ก็จะมีตัวเลือกเป็นการดูดไขมัน ซึ่งหลักๆ กระบวนการจะคล้ายคลึงกันหมด คือ ใช้เข็มขนาดเล็กเจาะเข้าไปในจุดที่ต้องการแล้วเดินเครื่องดูดไขมันออกมา แต่ก็จะมีรายละเอียดปลีกย่อยในลักษณะของฟังก์ชันเสริมให้เลือกอยู่อีก
  • การศัลยกรรมกำจัดไขมันส่วนเกินด้วยการผ่าตัด เหมาะสำหรับคนที่มีน้ำหนักตัวมากๆ เท่านั้น โรงพยาบาลส่วนใหญ่จะกำหนดน้ำหนักตัวขั้นต่ำไว้ที่ 100 กิโลกรัม ใครที่ต่ำกว่านี้ก็ไม่สามารถเข้ารับการรักษาด้วยวิธีนี้ได้
  • การศัลยกรรมปรับแต่งอวัยวะเพศ ก็เป็นปัจจัยที่ ผู้ชาย ให้ความสำคัญเสมอมา และเป็นข้อยกเว้นที่ไม่ได้เกี่ยวกับช่วงวัยที่กล่าวเอาไว้ข้างต้นเลย แต่เชื่อมโยงกับความมั่นใจส่วนบุคคลเท่านั้น
  • การศัลยกรรมสะดือ ประเด็นนี้ทำเอาหลายคนงงไปตามๆ กัน ว่าเราจะตกแต่งสะดือไปทำไมกัน แต่ในผู้ชายหลายคน นี่เป็นปัญหาที่ต้องแก้ไขจริงๆ เพราะผู้ชายสามารถถอดเสื้อเพื่อทำกิจกรรมต่างๆ ได้ และมีคนที่ต้องโชว์สะดือเพื่อทำงานด้วย ดังนั้นนอกเหนือไปจากการมีกล้ามท้องที่สวยงาม ก็คือการมีสะดือที่ดูดีด้วยเช่นกัน

3. การศัลยกรรมในส่วนปลีกย่อยอื่นๆ

  • การศัลยกรรมปลูกผม นี่เป็นบริการยอดนิยมที่ไม่ได้อยู่ในความสนใจของคนศีรษะล้านเท่านั้น แต่รวมไปถึงคนที่เริ่มมีผมบางบ้างแล้ว หรือคนที่มีลักษณะผมบางมาตั้งแต่เกิดแล้วอยากมีผมที่หนามากขึ้นด้วย
  • การศัลยกรรมต่อมเหงื่อ ผู้ชาย เป็นเพศที่มีเหงื่อออกเยอะมาก และถ้าดูแลไม่ดีก็มีกลิ่นอันไม่พึงประสงค์ ออกมารบกวนคนที่อยู่รอบข้างอีกด้วย การ ศัลยกรรม ต่อมเหงื่อจึงเป็นการตัดปัญหาแบบถาวร ช่วยให้ชีวิตง่ายขึ้นหลายระดับเลยทีเดียว
  • การศัลยกรรมกำจัดจนตามร่างกาย ไม่ใช่ ผู้ชาย ทุกคนที่ชื่นชอบการมีขนรุงรัง นี่จึงเป็นทางเลือกที่เขาเหล่านั้นให้ความสนใจ

การทำศัลยกรรมไม่ว่าจะในเพศไหน ก็ล้วนมุ่งไปที่เป้าหมายเดียวกัน คือการสร้างภาพลักษณ์ที่ดูดีกว่าเดิม ซึ่งถือเป็นเรื่องดีที่เราจะแสดงออกถึงความรักตัวเอง อย่างไรก็ตาม ในเมื่อเหรียญยังมีสองด้าน การทำ ศัลยกรรม ก็มีด้านที่ต้องระมัดระวังอยู่มากเหมือนกัน ก่อนจะตัดสินใจทำอะไร จึงควรศึกษาหาข้อมูลและเตรียมความพร้อมทั้งร่างกาย ทั้งจิตใจก่อนเสมอ

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

Meara JG, Leather AJ, Hagander L, Alkire BC, Alonso N, Ameh EA, et al. Global Surgery 2030: evidence and solutions for achieving health, welfare, and economic development. International journal of obstetric anesthesia. 2015 April;25:75-8. PubMed

World Health Organization. Global Initiative for Emergency and Essential Surgical Care 2017 [cited 2017 October 23rd]. Available from: “Archived copy”. Archived from the original on 25 March 2012. Retrieved 9 February 2012.

นอนดึกบ่อยๆ ระวังร่างกายพัง อ้วนง่าย หน้าโทรมไม่รู้ตัว

0
ผลเสียของการนอนดึกต่อรูปร่างและผิวพรรณ
นอนให้มีคุณภาพและเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย จะทำให้มีความคิดสร้างสรรค์
ผลเสียของการนอนดึกต่อรูปร่างและผิวพรรณ
การนอนดึกก็กระตุ้นให้สิวทุกประเภทผุดขึ้นมาเต็มหน้า โดยเฉพาะสิวอักเสบที่มักจะเป็นผลพวงจากความแปรปรวนภายในร่างกาย

การนอนดึก

การนอน ที่มีประสิทธิภาพเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่จะส่งเสริมให้มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดีได้ ไม่น้อยไปกว่าการเลือกทานอาหารดีๆ และการออกกำลังกายอย่างเหมาะสม แต่หลายคนก็กลับให้ความสำคัญกับการนอนน้อยมาก ยิ่งในวัยทำงาน ยิ่งสร้างนิสัย การนอนดึก อย่างไม่จำเป็น ด้วยความเชื่อที่ว่า เมื่อนอนน้อยลงก็จะมีเวลาทำงานมากขึ้น และทำให้หน้าที่การงานก้าวหน้าได้เร็วขึ้น ทั้งที่ความจริง หากปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการนอนให้มีคุณภาพและเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย จะทำให้มีความคิดสร้างสรรค์ที่ดีกว่า นั่นหมายความว่าจะสามารถทำงานได้เต็มศักยภาพมากกว่าด้วย 

ทำไมเราต้องนอนอย่างน้อย 6-8 ชั่วโมงต่อวัน

เนื่องจากการวิจัยแสดงให้เห็นว่า การนอนหลับ 6 ถึง 8 ชั่วโมงทุกวัน นั้นดีต่อสุขภาพและการทำงานที่ปกติ คือ นาฬิกาชีวิตของเราควบคุมการทำงานของร่างกายรวมถึงระดับของฮอร์โมน เอนไซม์ย่อยอาหาร อุณหภูมิของร่างกาย และความดันโลหิต ดังนั้น ควรเริ่มกำหนดเวลาเข้านอนดึกสุด เวลา 02.00 – 06.00 น. และ 14.00 – 16.00 น.

เมื่อเรานอนไม่พอ จะเป็นอย่างไร

ช่วงวันสองวันแรกอาจยังไม่เห็นความแตกต่าง แต่ถ้าทำติดต่อกัน ไม่เกิน 1 สัปดาห์ รับรองว่าจะเริ่มเห็นความอ่อนล้าของร่างกายแน่นอน ใต้ตาจะหมองคล้ำ นัยน์ตาจะแห้งง่าย อารมณ์ขึ้นๆ ลงๆ โมโหฉุนเฉียวได้ง่าย ทานอาหารมากขึ้น ร่างกายฟื้นตัวจากอาการเจ็บป่วยช้าลง และอื่นๆ อีกมากมาย เรียกว่าแค่นอนน้อยเกินไป ก็ทำให้ทุกอย่างในร่างกายแปรปรวนไปทั้งหมด แต่ในครั้งนี้เราจะมาเจาะประเด็นของผิวพรรณและรูปร่างโดยเฉพาะ เนื่องจากเป็นสิ่งที่มองเห็นถึงความเปลี่ยนแปลงได้ง่าย และทำให้ทุกคนตระหนักถึงความสำคัญของการนอนที่ดีได้อย่างชัดเจนที่สุด

โทษของการนอนดึกกับปัญหาผิวพรรณ

1. ใต้ตาหมองคล้ำแบบฉุดไม่อยู่

นี่คือปัญหาแรกสุดที่เราจะเจอ ใต้ตาดำเหมือนหมีแพนด้าชนิดที่ว่าครีมบำรุงราคาแพงขนาดไหนก็เอาไม่อยู่ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าทุกคนที่มีใต้ตาดำคล้ำจะต้องเป็นคนที่ชอบนอนดึกเท่านั้น ยังมีสาเหตุอื่นๆ อีกที่ทำให้เรามีใต้ตาคล้ำได้ เช่น อาการภูมิแพ้ กรรมพันธุ์ ผลจากแสงแดด และแน่นอน การพักผ่อนไม่เพียงพอก็เป็นหนึ่งในปัจจัยเหล่านั้น เมื่อเรานอนดึกมากขึ้น ดวงตาก็ต้องทำงานเป็นเวลายาวนานมากขึ้น เกิดอาการเมื่อยล้าลูกนัยย์ตา กล้ามเนื้อตา ไปจนถึงเกิดการขยายตัวของหลอดเลือดบริเวณใต้ตาอย่างมาก และเนื่องจากผิวหนังใต้ตาเป็นส่วนที่ค่อนข้างบาง จึงมองเห็นการเปลี่ยนแปลงของหลอดเลือดได้ง่าย นอกจากนี้ เมื่อเรานอนดึกตาก็จะแห้ง ทำให้ระคายเคืองได้ง่าย พฤติกรรมที่มักจะเกิดตามมาก็คือ การขยี้ตา ซึ่งทำให้ใต้ตายิ่งช้ำและมีริ้วรอยมากขึ้นไปอีก

2. สิวมาเยือนโดยพร้อมเพรียงกัน

ไม่ใช่แค่ฮอร์โมนหรือการทำความสะอาดผิวไม่ดีพอเท่านั้นที่ทำให้สิวเห่อขึ้นมาได้การนอนดึกก็กระตุ้นให้สิวทุกประเภทผุดขึ้นมาเต็มหน้าของเราได้เหมือนกัน โดยเฉพาะสิวอักเสบที่มักจะเป็นผลพวงจากความแปรปรวนภายในร่างกาย อย่างที่เราอาจเคยได้ยินกันว่า สิวแต่ละตำแหน่งบนใบหน้าสามารถบ่งบอกความผิดปกติของภายในร่างกายเราได้ เช่น เมื่อสิวอักเสบขึ้นอย่างต่อเนื่องบริเวณคาง นั่นหมายความว่า กระเพาะอาหารและลำไส้เล็กเริ่มทำงานผิดเพี้ยนไปจากเดิม อาจมีแผลในกระเพาะหรืออาหารไม่ย่อย เป็นต้น หัวใจสำคัญก็คือเมื่อเรานอนดึก ภูมิคุ้มกันของร่างกายจะลดลงโดยอัตโนมัติ ทำให้ความผิดปกติในร่างกายเกิดขึ้นได้ง่าย บางคนท้องผูก บางคนเป็นแผลง่าย บางคนเจ็บป่วยได้ง่าย แล้วแต่ว่าใครสุ่มเสี่ยงที่จะเป็นอะไร และเมื่อระบบในร่างกายรวนแล้ว สิวก็พร้อมใจกันมาได้อย่างไม่ต้องสงสัย ซึ่งสิวเหล่านี้รักษาได้ยาก นอกเสียจากจะปรับภายในให้กลับมาดีเหมือนเดิม

3. ผิวหนังเหี่ยวย่น ริ้วรอยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

ถ้ามีคน 2 คน ใช้ชีวิตเหมือนกันทุกอย่างแตกต่างแค่การนอน คนหนึ่งนอนอย่างมีประสิทธิภาพและเพียงพอต่อความต้องการของร่างกายเสมอ ส่วนอีกคนนอนดึกจนเป็นนิสัย เราจะเห็นได้อย่างชัดเจนเลยว่าคนที่นอนพอจะมีผิวพรรณที่เด็กกว่า ใบหน้าที่อ่อนเยาว์กว่าหลายปี ในขณะที่อีกคนจะมีริ้วรอยก่อนวัยเต็มไปหมด นั่นก็เพราะช่วงเวลาที่เรานอนหลับ จะมีนาทีทองแห่งการฟื้นฟูร่างกายอยู่ GH หรือ โกรทฮอร์โมน จะหลั่งออกมาเพื่อซ่อมแซมและบำรุงส่วนที่สึกหรอในแต่ละวัน ดังนั้นคนที่นอนดึกก็จะไม่ได้รับการฟื้นฟูเลย ร่างกายจึงทรุดโทรมลงเรื่อยๆ เมื่อเวลาผ่านไปจึงกลายเป็นคนที่มีผิวพรรณและใบหน้าแลดูเกินอายุไปมาก

4. ผิวแห้งลอกและสูญเสียความยืดหยุ่น

ช่วงเวลาที่เราใกล้จะเข้านอน หรือถึงเวลาที่ร่างกายต้องพักผ่อน ระบบต่างๆ ภายในจะเริ่มเข้าสู่โหมดของการพักเพื่อให้ร่างกายได้ฟื้นฟูตัวเอง จึงเป็นธรรมดาที่หลายคนจะไม่อยากดื่มน้ำในช่วงเวลาที่นั่งปั่นงานจนถึงตี 2 หรือตี 3 นั่นหมายความว่าร่างกายไม่ได้รับน้ำเลย ในขณะที่เซลล์ยังคงสูญเสียน้ำอยู่ตลอดเวลา ยิ่งนอนดึกมากเท่าไร ก็จะยิ่งมีกระบวนการดึงน้ำออกจากเซลล์เพื่อเอามาใช้งานมากขึ้น เมื่อรวมกับวิถีชีวิตคนวัยทำงานที่ชอบอยู่ในห้องแอร์ ก็เลยส่งผลให้ผิวแห้งมาก อาจมีอาการลอกเป็นขุยให้เห็น สำหรับคนที่ผิวบอบบางก็จะกระตุ้นให้เกิดแผลตามผิวหนังได้ด้วย และแน่นอนเมื่อผิวหนังขาดน้ำ ความยืดหยุ่นต่างๆ ก็หดหายตามไป ผิวหน้าเด็กเด้งสดใสจึงไม่อาจอยู่กับคนที่นอนดึกได้นานเท่าที่ควร

5. กระ ฝ้า ก็มาด้วยเหมือนกัน

ตัวการที่ร้ายกาจต่อการเกิดจุดด่างดำ ฝ้า กระ บนผิวหน้าของเราก็คือแสงแดด อันนี้เราเข้าใจกันดีอยู่แล้ว และก็สรรหาทุกวิธีในการป้องกัน ไม่ว่าจะเป็นหลีกเลี่ยงการเผชิญแดดในช่วงกลางวัน ป้องกันผิวด้วยครีมกันแดดดีๆ แต่ที่อีกหลายคนยังไม่รู้ก็คือ ถ้าเรานอนดึก ฝ้า กระ ก็เกิดได้ง่ายแม้ว่าจะโบกครีมกันแดดมากมายขนาดไหนก็ตาม นั่นก็เพราะการนอนดึกจะส่งผลให้ผิวสร้างคอลลาเจนน้อยกว่าปกติมาก ผิวจึงไม่อาจทนทานต่อมลภาวะที่ต้องเจอทุกวันได้เต็มประสิทธิภาพ และการนอนดึกอย่างต่อเนื่องยังกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนเกี่ยวกับการทำงานของเม็ดสีเมลานิน ผิวจึงหมองคล้ำตลอดเวลา แน่นอนว่าฝ้า กระ ก็พร้อมที่จะมาปรากฏบนผิวทันทีที่มีโอกาสด้วย

เพียงเท่านี้ก็น่ากลัวมากแล้วสำหรับทุกคนที่รักผิวพรรณของตัวเอง หากอยากมีผิวสดใส ยืดหยุ่น เหมือนวัยแรกรุ่นตลอดไป ก็ต้องลด ละ แล้วก็เลิกนอนดึกเสียตั้งแต่วันนี้

นอนให้มีคุณภาพและเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย จะทำให้มีความคิดสร้างสรรค์

โทษของการนอนดึกกับปัญหารูปร่าง

ขณะที่มีเพื่อนบางคนทานเท่าไรก็ไม่เคยอ้วน ส่วนตัวเรากลับมีน้ำหนักพุ่งกระฉูด จะออกกำลังกายมากขึ้นก็แล้ว จะลดปริมาณอาหารลงบ้างก็แล้ว เมื่อน้ำหนักลงมาพอให้ชื่นใจ เผลอแปบเดียวดีดกลับขึ้นไปใหม่ ถ้าวนเวียนอยู่ในสภาวะแบบนี้อยู่ ลองหันมาพิจารณาการนอนดูสักนิด นี่อาจจะเป็นสาเหตุหลักจริงๆ ที่ทำให้น้ำหนักตัวไม่เป็นไปตามที่คาดหวังก็ได้

1. น้ำหนักขึ้นตลอดเวลา แม้ว่าจะทานเท่าเดิม

การนอนดึกส่งผลเสียหลายอย่างต่อร่างกาย หนึ่งในนั้นก็คือ ทำให้เกิดภาวะอ้วนได้ง่าย หลายคนมีพฤติกรรมการทานอาหารและออกแรงเพื่อเผาผลาญพลังงานเหมือนเดิมทุกอย่าง เพียงแค่นอนดึกมากขึ้น ก็กลับมีน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นได้ เนื่องจากทุกครั้งที่เรานอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนไม่พึงประสงค์ออกมาอย่างมหาศาล ทำให้เราอยากทานแต่ของหวานๆ ซึ่งอันที่จริงไม่ได้มีประโยชน์ต่อร่างกายเท่าไรนัก ทั้งยังเป็นศัตรูตัวฉกาจของการลดน้ำหนักอีกด้วย ลองสังเกตดูก็ได้ว่าช่วงไหนที่นอนดึกต่อเนื่องกันหลายวัน มีอัตราการทานขนมหรือน้ำหวานมากกว่าปกติ อีกอย่างหนึ่ง การนอนดึกจะทำให้ระบบเผาผลาญทำงานได้แย่ลง ดังนั้นเมื่อเราทานเท่าเดิม ออกกำลังเท่าเดิม แต่ร่างกายก็ไม่อาจเผาผลาญได้เท่าเดิม น้ำหนักตัวจึงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นั่นเอง

2. ร่างกายมีไขมันส่วนเกินสะสมมากขึ้น

ฮอร์โมนเกรลิน ( Ghrelin Hormone ) เป็นตัวการสำคัญในประเด็นนี้ มันถูกหลั่งออกมาจากเซลล์กระเพาะอาหาร เพื่อเป็นการส่งสัญญาณไปที่สมองว่าร่างกายต้องการอาหารเพิ่มแล้วในเวลานี้ และหลังจากที่เราทานอาหารเข้าไป ฮอร์โมนนี้ก็จะค่อยๆ ลดระดับลง ทีนี้เมื่อเรานอนดึกจะกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนเกรลินสูงขึ้น และหลั่งในช่วงเวลาที่นอกเหนือไปจากมื้ออาหารปกติด้วย เราจึงรู้สึกหิวได้บ่อย ซ้ำร้ายยังต้องการอาหารประเภทแป้งและไขมันในปริมาณมาก พอร่วมกับระบบเผาผลาญที่อ่อนประสิทธิภาพลง ไขมันส่วนเกินจึงเริ่มสะสมตามส่วนต่างๆ เช่น หน้าท้อง ต้นขา ท้องแขน ใต้คาง เป็นต้น

3. ผอมแต่ลงพุง

มีกรณีนี้ด้วยเหมือนกัน ที่คน นอนดึก ทั้งหลายไม่ได้อ้วนขึ้นเท่าไร แต่กลับลงพุงอย่างเห็นได้ชัด อาการอ้วนในลักษณะนี้เราเรียกกันอีกอย่างว่า “ อ้วนจากความขี้เกียจ ” เพราะส่วนมากคนที่ลงพุงเป็นเพราะขยับเขยื้อนร่างกายน้อยเกินไป และเกือบทั้งหมดแทบไม่ออกกำลังกายเลย สำหรับคนที่นอนดึก ร่างกายจะมีความเครียดมากกว่าปกติ ไม่ว่าจะรู้ตัวหรือไม่ เมื่อความเครียดมาเยือนแล้ว ความอ่อนล้าทั้งร่างกายและจิตใจก็มาเยือนด้วย หลายคนรู้สึกสบายที่จะอยู่เฉยๆ มากกว่าที่จะลุกไปทำกิจกรรมอื่นๆ หลายคนรู้สึกเหนื่อยง่ายเกินไป พอมีภาวะเครียดแฝงอยู่ก็พาลให้ไม่อยากทำอะไรเลย ซ้ำร้ายยังเลือกทานอาหารที่ไม่ดีเพื่อลดความเครียดเหล่านั้นอีกด้วย เลยทำให้สุดท้ายก็มีอาการลงพุงตามมา

สิ่งที่น่ากลัวไปกว่าการมีรูปร่างที่ไม่สมส่วน การมีน้ำหนักเกิน การมีเซลลูไลท์ตามที่ต่างๆ ก็คือ “ โรคอ้วน ” ที่จะนำมาซึ่งภาวะแทรกซ้อนอีกมากมาย ไล่ไปตั้งแต่ เบาหวาน ความดัน ไขมันอุดตันในเส้นเลือด ปัญหาข้อต่อ หัวเข่า แผลกดทับ และอื่นๆ อีกมากมาย ทั้งหมดนี้อาจจะเริ่มจากจุดเล็กๆ เพียงแค่นอนดึกเกินไปเท่านั้นเอง

พฤติกรรมที่ทำให้ต้องนอนดึกโดยไม่ตั้งใจ

ถ้ายุ่งอยู่กับงานจนเลยเวลานอน ก็คงต้องปรับกันที่วิธีวางแผนการทำงานของตัวเองเสียใหม่ แต่ไม่ใช่ทุกคนที่นอนดึกเพราะสาเหตุนี้ มีคนจำนวนมากต้องนอนดึกโดยไม่ได้ตั้งใจ ลองดูพฤติกรรมเหล่านี้ ถ้าทำอยู่ ก็แค่เลิกทำทันที รับรองว่าจะได้การนอนที่มีประสิทธิภาพกลับมา พร้อมกับรูปร่างและผิวพรรณที่ดีแน่นอน

ทานมื้อเย็นมากเกินไป : โดยเฉลี่ยร่างกายจะใช้เวลาย่อยอาหารประมาณ 4 ชั่วโมง และมันจะต้องใช้เวลามากขึ้นหากมื้อนั้นมีปริมาณอาหารมากเกินไป ดังนั้นเมื่อเราจัดหนักจัดเต็มที่มื้อเย็น พอถึงเวลานอนแล้วร่างกายก็ยังย่อยไม่เสร็จ ทำให้ระหว่างที่เราคิดว่าได้นอนนั้น จริงๆ ร่างกายไม่ได้หลับพักผ่อนไปด้วยเลย ยังคงทำงานอย่างหนักอยู่ตลอดเวลา แบบนี้ก็ไม่ต่างอะไรกับการตั้งใจนอนดึกเลยแม้แต่น้อย

งดมื้อเย็น : เมื่อไรที่งดมื้อเย็น ร่างกายจะปรับตัวให้ระดับการเผาผลาญพลังงานลดน้อยลง และยังกระตุ้นให้เกิดความหิวในช่วงเวลาที่ดึกกว่าเวลาที่ควรจะทาน ส่งผลให้นอนหลับได้ไม่สนิทไปจนถึง นอนไม่หลับเลยจนกว่าจะลุกไปหาอะไรสักอย่างรองท้อง และเมื่อตัดสินใจทานเข้าไปแล้ว ร่างกายก็ต้องเข้าสู่กระบวนการย่อย กลายเป็นว่าไม่ได้นอนจริงๆ ไปอีกหลายชั่วโมงเลย

ทำกิจกรรมอื่นๆ ในห้องนอน : กิจกรรมที่ว่านี้หมายถึง เล่นโซเชียล ดูทีวี หรือแม้แต่ขนงานเข้าไปทำในห้องนอน สิ่งเหล่านี้จะกระตุ้นประสาทสัมผัสให้ตื่นตัวอยู่ตลอด สมองทำงานอย่างต่อเนื่อง เมื่อถึงเวลาจะหลับจึงต้องปรับอารมณ์และความคิดเป็นเวลานาน

นอนไม่เป็นเวลา : การเข้านอนและตื่นไม่เป็นเวลา ทำให้การนอนในแต่ละครั้งยากกว่าคนที่นอนเวลาเดิมทุกวัน เป็นเรื่องนาฬิกาชีวิตของแต่ละคน ซึ่งปรับแก้ได้ไม่ยาก ด้วยการกำหนดเวลานอนให้เป็นเวลาเดิมซ้ำๆ หลายๆ วัน ไม่นานก็จะหลับได้ง่ายขึ้นมากเอง

สภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม : สภาวะที่ไม่สบายที่ทำให้นอนหลับได้ยาก ก็คือ มีแสงสว่างตลอดเวลา มีเสียงดังรบกวน ที่นอนไม่สะอาด ไปจนถึงอุณหภูมิห้องที่ร้อนหรือเย็นเกินไป

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

Dagan Y, Ayalon L (2005). “Case study: psychiatric misdiagnosis of non-24-hours sleep–wake schedule disorder resolved by melatonin”. J Am Acad Child Adolesc Psychiatry. 44 (12): 1271–1275. doi:10.1097/01.chi.0000181040.83465.48. PMID 16292119.

Stores G (2003). “Misdiagnosing sleep disorders as primary psychiatric conditions” (Full text). Advances in Psychiatric Treatment. 9 (1): 69–77. doi:10.1192/apt.9.1.69.
See also subsequent.

“Clinical diagnosis and misdiagnosis of sleep disorders”. J. Neurol. Neurosurg. Psychiatry. 78 (12): 1293–1297. doi:10.1136/jnnp.2006.111179. PMC 2095611 Freely accessible. PMID 18024690.

ไข้และการมีอุณหภูมิร่างกายสูงกว่าปกติ

0
ไข้และการมีอุณหภูมิร่างกายสูงกว่าปกติ
ภาวะเป็นไข้ คือ ภาวะที่อุณหภูมิของร่างกายในส่วนมีอุณหภูมิสูงกว่าปกติ
ไข้และการมีอุณหภูมิร่างกายสูงกว่าปกติ Fevet and Hyperhermia
ภาวะเป็นไข้ คือ ภาวะที่อุณหภูมิของร่างกายในส่วนมีอุณหภูมิสูงกว่าปกติ

อาการไข้

ร่างกายของคนเรามีระบบการควบคุมอุณหภูมิ ( Body Temperature Regulation ) ที่ทำการควบคุม อุณหภูมิร่างกายให้สมดุล ซึ่งระบบการควบคุมอุณหภูมิจะทำการควบคุมด้วยศูนย์ควบคุมอุณหภูมิ ( Thermoregulation center ) ศูนย์ควบคุมจะอยู่ที่บริเวณสมองไฮโปธาลามัส ( Hypothalamus ) โดยศูนย์ควบคุมจะทำหน้าเป็น thermostat ที่ทำการตั้งระบบให้กับ setpoint ที่อุณหภูมิของร่างกาย เพื่อทำการรักษาอุณหภูมิให้คงที่ และเมื่อใดที่มี อาการไข้ ( Fever ) อุณหภูมิร่างกายก็จะสูงขึ้น หรือตัวร้อน

เมื่อร่างกายเกิดความร้อนจากปฏิกิริยาที่เกิดขึ้น ( Heat Production ) ภายในร่างกายเช่น อัตราการเผาพลาญพลังงาน ( Basal metabolic rate ( BMR ) ) การสร้างกล้ามเนื้อหรือการหดตัวของกล้ามเนื้อ ( Muscular activity ) การออกกกำลังกายที่ส่งทำให้เกิดฮอร์โมน เป็นต้น ซึ่งปฏิกิริยาดังกล่าวจะทำให้อุณหภูมิของร่างกายเพิ่มสูงขึ้น เมื่อมีอุณหภูมิสูงขึ้นร่างกายจะทำการระบายความร้อนการสูญเสียความร้อน ( Heat Loss ) ที่เกิดขึ้น ด้วยการปล่อยความร้อนผ่านทางผิวหนังและทางปอด โดยการระบายออกเป็นความชื้นและไอความร้อน เช่น เหงื่อ ไอน้ำจากการหายใจ การแผ่รังสีความร้อน ซึ่งการควบคุมความร้อนจะทำการรักษาอุณหภูมิของร่างกายให้อยู่ที่ประมาณ 36-37 องศาเซลเซียสหรือ98.6 องศาฟาเรนไฮต์ ( Fahrenheit ) เนื่องจากค่าเฉลี่ยอุณหภูมิของร่างกายอยู่ที่ประมาณ 36.8± 0.4°C ( 98.2±0.7°F ) โดยอุณหภูมิต่ำสุดของร่างกายจะอยู่ที่เวลา 6.00 น. คือ 37.2°C ( 98.9°F ) และอุณหภูมิสูงสุดของร่างกายจะอยู่ที่เวลา 16.00-18.00 น. คือ 37.7°C ( 99.9°F ) จึงได้มีการกำหนดว่า ถ้าร่างกายมีอุณหภูมิสูงกว่าอุณหภูมิดังกล่าว หมายถึง “ อาการไข้

ภาวะเป็นไข้ ( Fever หรือ Pyrexia ) คือ ภาวะที่อุณหภูมิของร่างกายในส่วนของ Core temperature หรือ Dee-body temperature ที่หมายถึงอุณหภูมิของอวัยวะส่วนกลางของร่างกาย เช่น หัวใจ ปอด ช่องท้อง เป็นต้น ซึ่งที่อุณหภูมิที่บริเวณนี้ คือ อุณหภูมิที่แท้จริงของร่างกายแต่ในภาวะเป็นไข้ที่บริเวณนี้จะมีอุณหภูมิสูงกว่าปกติ การที่ร่างกายมีอุณหภูมิสูงกว่าปกติหรือเป็นไข้เกิดขึ้น เนื่องจากร่างกายได้รับสิ่งแปลกปลอม เช่นเชื้อไวรัส ( Virus ) เช่น โรคหวัด โรคไข้หวัดใหญ่ โรคไข้เลือดออก โรคหัด ไข้หวัดนก อีสุกอีใส โรคมือเท้าปาก งูสวัดเริมเป็นต้นแบคทีเรีย ( Bacteria ) เช่น ไข้ไทฟอยด์ โรคไข้จับสั่น โรคฉี่หนู โรคไอกรน โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ โรคไส้ติ่งอักเสบ เป็นต้น การอักเสบของเนื้อเยื่อหรืออาการเจ็บป่วยต่าง ๆ ร่างกาย เป็นต้น

หรือการที่ร่างกายมีอุณหภูมิมากกว่า 37.5°C ในช่วงเช้าและมากกว่า 37.7°C ในช่วงเย็นเนื่องจากร่างกายได้รับสิ่งแปลกปลอมเข้าไปจึ่งต้องทำการต่อต้านเชื้อโรคดังกล่าว ซึ่งการต่อต้านจะเกิดร่วมกับการเพิ่มขึ้นของจุดตั้งอุณหภูมิ ( Set Point ) ที่อยู่สมองส่วนไฮโปธาลามัส ( Hypothalamus ) ทำให้เซลล์ประสาทที่อยู่ในศูนย์ควบคุมเส้นเลือด ( vasomotor center ) ได้รับการกระตุ้นจนเกิดการตีบตันของ vasoconstriction ซึ่งเป็นการหดตัวของหลอดเลือดที่ส่งผลให้ความดันเลือดเพิ่มขึ้น เพื่อช่วยให้ร่างกายสูญเสียความร้อนทางผิวหนังลดลง จัดเป็นกระบวนการเก็บรักษาความร้อน (Heat conservation) ดังจะสามารถสังเกตได้จากเมื่อเริ่มเป็นไข้ ร่างกายจะมีอาการมือเท้าเย็น รู้สึกหนาว และมีอาการหนาวสั่น ( Ahivering ) ที่เป็นการผลิตความร้อนของร่างกายด้วยการหดตัวของกล้ามเนื้อนั่นเอง ซึ่งอาการหนาวสั่นอาจไม่เกิดขึ้นก็ได้หากร่างกายมีการสร้างอุณหภูมิที่เพียงพอต่อความต้องการ จากการเพิ่มความอบอุ่นให้กับร่างกายด้วยการห่มผ้าการใส่เสื้อหนาหรือการอยู่ในที่อากาศอุ่น

ตำแหน่งที่นิยมวัดไข้

1.ปาก ( Orally ) การวัดไข้ทางปากเป็นวิธีที่นิยมใช้กันมากเนื่องจากปฏิบัติได้ง่ายและค่าของอุณหภูมิที่วัดได้มีค่าใกล้เคียงกับอุณหภูมิแกน ( core temperature ) เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่อยู่นิ่งและสามารถอมปรอทได้ด้วยตนเอง
2.ทวารหนัก ( Rectally )การวัดไข้ทางทวารหนักเป็นการวัดไข้ที่มีความแม่นยำค่อนข้างสูงที่สุดใช้สำหรับการวัดไข้ในทารกเด็กเล็กที่ไม่อยู่นิ่งหรือในผู้ใหญ่ที่ไม่สามารถวัดไข้ทางปากได้ปรอทไม่ได้อุณหภูมิที่วัดได้จากบริเวณทวารหนักจะมีค่าสูงกว่าอุณหภูมิที่วัดได้ที่บริเวณปากประมาณ 0.6 °C
3.แก้วหู ( By Ear ) โดยใช้เทอร์โมมิเตอร์แบบดิจิทัลทำการวัดที่ที่แก้วหูเพราะแก้วหูเป็นส่วนที่สามารถบ่งบอกอุณหภูมิของอุณหภูมิแกน ( core temperature ) ได้ดีที่สุดเพราะเป็นตำแหน่งของเส้นเลือดแดงที่นำไปหล่อเลี้ยงศูนย์ควบคุมอุณหภูมิของร่างกายนั่นเอง
4.รักแร้ ( Axillary ) เป็นตำแหน่งที่สามารถบ่งบอกอุณหภูมิร่างกายได้เหมาะสำหรับเด็กทารกแรกเกิดแต่ไม่เหมาะกับเด็กโตหรือผู้ใหญ่เพราะอุณหภูมิที่ได้จากการวัดไม่แม่นยำเท่าบริเวณปากหรือทวารหนัก

การเกิดไข้หรือภาวะไข้ที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย

1.ภาวะไข้สูงเกิน ( Hyperpyrexia ) คือ ภาวะที่ร่างกายมีอุณหภูมิสูงกว่า 41.5 °C ( 106.7°F ) โดยที่จุดตั้งอุณหภูมิมีการเปลี่ยนแปลง เกิดเนื่องจากการติดเชื้อชนิดรุนแรง เช่น การมีเลือดออกในระบบประสาทสมองส่วนกลาง ( central nervous system hemorrhage ) เนื้องอกหรือการทำงานที่ผิดปกติของไฮโปธาลามัส ( Hypothalamus )ที่เรียกว่า “ hypothalamic หรือ central fever ” ซึ่งถ้าทำการตรวจแล้วยังไม่พบสาเหตุของอาการไข้ที่เกิดขึ้น ให้ทำการตรวจการทำงานของสมองส่วนของไฮโปธาลามัส ( Hypothalamus )
2.ภาวะตัวร้อนเกิน ( Hyperthermia ) คือ ภาวะที่ร่างกายมีความร้อนสูงขึ้นโดยที่จุดตั้งอุณหภูมิ ( Setpoint )  ที่สมองhypothalamusมีการเปลี่ยนแปลงไป ทำให้รอุณหภูมิของร่างกายเปลี่ยนแปลงนั่นเอง ซึ่งภาวะตัวร้อนเกินเกิดขึ้นเนื่องจากร่างกายไม่สามารถระบายความร้อนที่เกิดขึ้นในภายในร่างกายออกมาได้ทัน ร่วมกับการที่ร่างกายได้รับความร้อนจากการอยู่ในสภาวะแวดล้อมที่มีความร้อนสูงเกินไปจึงทำให้ร่างกายมีอุณหภูมิสูงขึ้นอย่างไม่สามารถทำการควบคุมได้ซึ่งภาวะตัวร้อนเกินไม่สามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยาลดไข้ ดังนั้นผู้ป่วยที่เกิดภาวะตัวร้อนเกิน ( Hyperthermia )จะต้องทำการรักษาด้วยการทำการลดความร้อนภายในร่างกายให้เร็วที่สุด เพราะว่าถ้าผู้ป่วยอยู่ในภาวะตัวร้อนเกิน ( Hyperthermia ) อาจจะทำให้เสียชีวิตได้อย่างรวดเร็ว

การลดไข้ที่ดีควรทำทั้งสองวิธีร่วมกัน คือ ต้องรับประทานยาเพื่อลดไข้ควบคู่กับการลดไข้ทางกายภาพ

สาเหตุของการเกิดภาวะตัวร้อนเกิน ( Hyperthermia )

1.สารไพโรเจน ( Pyrogens ) คือ สารที่ทำการกระตุ้นให้เกิดไข้หรือสารก่อไข้ ( pyrogen ) เป็นสารพิษจากแบคทีเรีย จัดเป็นสารก่อไข้ชนิด Exogenous Pyrogens คือ สารก่อไข้ที่ร่างกายได้รับจากภายนอกหรือสิ่งแวดล้อม โดยแบคทีเรียจะทำการหลั่งสารไพโรเจน ( Pyrogen ) ออกมา เมื่อร่างกายได้รับ สารนี้จะเข้าไปกระตุ้นให้เกิดการสร้างเอนโดจีนัสไพโรเจน ( Endogenous Pyrogen )ทำให้สมองส่วนไฮโปทาลามัสทำการส่งสัญญาณไปยังศูนย์ควบคุมอุณหภูมิเพื่อให้ระบบการทำงานภายในร่างกายเกิดการทำงานมากขึ้น จึงส่งผลให้ร่างกายมีอุณหภูมิสูงขึ้น ตัวอย่างของ Exogenous Pyrogensเช่น ไลโปโพลีแซ็กคาไรด์ ( lipopolysaccharide; LPS ) ซูเปอร์แอนติเจน ( superantigens ) เป็นต้น

2.ไซโตไคน์ ( Cytokines ) คือ สารก่อไข้ที่อยู่ภายในร่างกาย สารก่อไข้ชนิดนี้เป็นส่วนหนึ่งของระบบภูมิคุ้มกันภายในร่างกายที่มีมาตั้งแต่กำเนิดโดยไซโตไคน์จะถูกสร้างขึ้นมาจากเซลล์กลืนกิน ( phagocytic cells ) ที่ได้รับการกระตุ้นจะเข้าไปเพิ่มอุณหภูมิจุดควบคุมอุณหภูมิในส่วนของสมองส่วนไฮโปทาลามัสให้สูงขึ้นตัวอย่างของไซโตไคน์ เช่น อินเตอร์ลิวคิน(interleukin ( IL-1 ),ทูเมอร์เนโครซิสแฟคเตอร์ ( tumor necrosis factor ( TNF )  ), ciliary neurotopic factor ( CNTF ) และinterferon ( IFN ) – α เป็นต้น

โดยเมื่อร่างกายมีไข้เนื่องจากprostaglandin E₂ ( PGE₂ )ที่เกิดขึ้นในบริเวณเนื้อเยื่อhypothalamuxและthird ventricle จะมีอุณหภูมิสูงขึ้น โดยเฉพาะที่บริเวณหลอดเลือดรอบโพรงสมอง ( Vntricle ) ( organum vasculosum of lamina terminalis ) เมื่อเนื้อเยื้อและหลอดเลือดที่บริเวณโพรงสมองถูกทำลาย จึงทำให้ pyrogens กระตุ้นจนเกิดเป็นไข้ โดยการที่ pyrogens ทำการกระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยากับเอนโดทีเลียม ( Endothelium ) ของหลอดเลือดฝอย ทำให้จุดตั้งอุณหภูมิ ( setpoint ) ที่ hypothalamusมีการเปลี่ยนแปลงสูงขึ้น ทำให้ hypothalamus ทำการเพิ่มความร้อนให้กับร่างกายและลดการสูญเสียความร้อนลง จึงทำให้ร่างกายมีอุณหภูมิที่สูงขึ้นและเป็นไข้หรือกรณีที่เซลล์ประสาททำการสร้าง IL-1 TNF- αและIL-6 ขึ้นมาเอง โดยไม่ผ่านระบบไหลเวียน ก็สามารถทำให้จุดตั้งอุณหภูมิ ( setpoint ) ที่ hypothalamus เกิดการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิที่สูงขึ้นได้เช่นเดียวกัน ซึ่งมักมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อหรือการมีเลือดออกในสมองนั่นเอง

การมีไข้มีทั้งข้อดีและข้อเสียรวมอยู่ด้วยกัน แต่พบว่าการเป็นไข้สามารถช่วยเพื่อความต้านทานและช่วยต่อต้านการติดเชื้อ จากการศึกษาพบว่าสัตว์หลายชนิดทำการต่อต้านการติดเชื้อด้วยการเพิ่มอุณหภูมิของร่างกายให้สูงขึ้น และเมื่อทำการศึกษาในสัตว์เลื้อยคลานยังพบอีกว่าสัตว์ที่มีอุณหภูมิร่างกายสูง มีอัตราการรอดชีวิตสูงขึ้นอีกด้วย จึงมีการสรุปได้ว่าการมีไข้สามารถช่วยลดการติดเชื้อได้ ถึงแม้ว่าการเป็นไข้จะสามารถช่วยลดการติดเชื้อได้ แต่เมื่อมีไข้เกิดขึ้นก็ถือว่าร่างกายเกิดความผิดปกติ ซึ่งไม่เป็นผลดีอย่างแน่นอน จึงต้องทำการรักษาไข้เพื่อปรับสภาพร่างกายให้เข้าสู่สภาวะปกติ ซึ่งการรักษาไข้ ( Antipyretic Therapy ) โดยเฉพาะผู้ที่มีไข้สูงหรือมีอุณหภูมิสูงกว่า 41°C นานเกินกว่า 4 ชั่วโมงจัดว่าเป็นอันตรายต่อร่างกายได้

แนวทางการรักษาไข้ผู้ป่วยที่มีภาวะตัวร้อนเกิน ( Hyperthermia )

ผู้ป่วยที่มีภาวะตัวร้อนเกิน ( Hyperthermia ) จะมีความเสี่ยงในการเสียชีวิตได้ในระยะเวลาอันสั้น ดังนั้นจึงจำเป็นต้องทำการลดอุณหภูมิของร่างกายอย่างเร่งด่วน โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีอายุอยู่ในช่วง 3 เดือนถึง 5 ปี ร้อยละ 14 ของผู้ป่วยที่มีภาวะตัวร้อนเกินมีความเสี่ยงที่จะเกิดการชักระหว่างที่มี อาการไข้ สูง ( febrile convulsion ) และผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวหรือโรคปอดเมื่อมีไข้กระบวนการเมตาบอลิซึมในร่างกายจะเกิดขึ้นสูงมาก โดยเฉพาะผู้ป่วยที่เป็นไข้แบบไม่มีอาการหนาวสั้นจะยิ่งทำให้มีการเพิ่มขึ้นของการใช้ออกซิเจน ( Oxygen Consumption, VO2 )การหายใจปริมาณลมหายใจออกทั้งหมดใน 1 นาที ( respiratory minute volume ) และsympathetic tone ดังนั้นการลดไข้ในผู้ป่วยจึงมีความจำเป็นสูงมาก

วิธีการลดอาการไข้ผู้ป่วยที่มีภาวะตัวร้อน

1.การลดไข้ด้วยยา
ยาที่นำมาใช้ในการลดไข้มีอยู่ด้วยกัน 2 กลุ่มด้วยกัน ตามลักษณะกลไกการออกฤทธิ์ของตัวยาดังนี้
1.1คอร์ติโคสเตียรอยด์ ( Corticosteroid ) ยากลุ่มนี้ไม่มีฤทธิ์ในการลดไข้โดยตรง แต่ตัวยาจะเข้าไปยับยั้งการโดยปกติไม่ได้ใช้เป็นยาลดไข้แต่มีฤทธิ์ลดไข้ด้วยการยับยั้งการสังเคราะห์หรือการลอกรหัสพันธุกรรม ( transcription ) ของpyrogenic cytokines และinducible cyclooxygenase ผ่านปฏิกิริยาglucocorticoid receptor และยั้งสามารรถยับยั้งกระบวนการphospholipase A2 ที่ใช้ในการสร้างprostaglandinที่เป็นสาเหตุให้ร่างกายมีอุณหภูมิสูงขึ้น จึงสามารถช่วยลดไข้ในทางอ้อม
1.2 อะเซตามีโนเฟน ( Acetaminophen ), แอสไพริน ( aspirin ) และยาลดการอักเสบ NSAIDs
ยาในกลุ่มนี้จะทำการยับยั้งการเปลี่ยนกรดอะราคิโดนิก ( Arachidonic acid ) ไปเป็น prostaglandin ที่ช่วยส่งเสริมการอักเสบภายในร่างกาย ตัวยาจะเข้าไปยับยั้งกระบวนการOxygen Cycle ( prostaglandin Synthetase ) โดยเข้าไปยับยั้งที่ศูนย์ควบคุมอุณหภูมิของร่างกายที่บริเวณสมองส่วนไฮโปทาลามัสและยังสามารถทำการยับยั้งการอักเสบแม้จะเพียงเล็กน้อยหรือแบบอ่อนก็ตาม
2.การลดไข้ด้วยวิธีทางกายภาพ
นอกจากการลดไข้ด้วยการรับประทานยาแล้ว การลด อาการไข้ ด้วยวิธีทางกายภาพก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยลดไข้อย่างได้ผลและรวดเร็ว เช่น การเช็ดตัวด้วยน้ำอุ่นหรือน้ำธรรมดา การใช้ถุงน้ำแข็ง ( ice packs ) การห่มผ้าเพิ่มความอบอุ่น ( cooling blanket ) หรือการอยู่ในที่ที่มีอากาศเย็น ซึ่งการลดไข้ด้วยวิธีเป็นการระเหยและนำพาความร้อนภายในร่างกายออกมาผ่านทางผิวหนัง การเช็ดตัวเพื่อลดไข้ควรเช็ดติดต่อกันประมาณ 3-5 นาทีต่อครั้ง และควรเช็ดย้อนแนวของขนเพื่อเปิดรูขุมขนให้ความร้อนสามารถระบายออกมาได้ดีขึ้น

การลดไข้ที่ดีควรทำทั้งสองวิธีร่วมกัน คือ ต้องรับประทานยาเพื่อลดไข้ควบคู่กับการลดไข้ทางกายภาพ เพื่อที่อุณหภูมิของร่างกายจะลดลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ภาวะเป็นไข้มีความอันตรายน้อยลง และช่วยลดความเสี่ยงในการเสียชีวิตเนื่องจากภาวะไข้ได้

ดังนั้นเมื่อเป็นไข้เพียงเล็กน้อยควรทำการดูแลรักษาเบื้องต้น ด้วยการพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำสะอาดในปริมาณสูงเพื่อช่วยลดความร้อน พร้อมทั้งช่วยระบายความร้อนภายในร่างกายทางปัสสาวะ และรับประทานยาลดไข้เพื่อลดอาการไข้ที่เกิดขึ้น เพื่อที่ร่างกายจะทำการสร้างภูมิต้านที่สามารถต่อต้านและขับเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกายออกไปได้ แต่ถ้าผ่านไป 2-3 วัน อาการไข้ ที่เกิดขึ้นยังไม่ดีขึ้น ผู้ป่วยควรรีบไปปรึกษาแพทย์เพื่อที่จะได้รับการตรวจวินิจฉัยถึงสาเหตุของอาการไข้และรับการรักษาที่ถูก เพื่อลดความเสี่ยงในการได้รับอันตรายจากไข้ที่เกิดขึ้น

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

Northam, Jackie (7 October 2014). “Ebola Protective Suits Are In Short Supply”. National Public Radio. Retrieved 21 January 2015.

Microclimate Conditioning Systems” (PDF). US Army Natick Soldier RD&E Center. May 2007. Retrieved 2 August 2015.

อาการใจสั่น ( Palpitation )

0
อาการใจสั่น (Palpitation)
อาการใจสั่น คือ อาการที่หัวใจมีการเต้นแรงและเร็วกว่าปกติ ซึ่งเมื่ออาการใจสั่นเกิดขึ้นผู้ป่วยจะรู้สึกเหมือนมีการสั่นสะเทือนอยู่ภายในทรวงอก
อาการใจสั่น (Palpitation)
อาการใจสั่น คือ อาการที่หัวใจมีการเต้นแรงและเร็วกว่าปกติ ซึ่งเมื่ออาการใจสั่นเกิดขึ้นผู้ป่วยจะรู้สึกเหมือนมีการสั่นสะเทือนอยู่ภายในทรวงอก

อาการใจสั่น

อาการใจสั่น ( Palpitation ) คือ อาการที่หัวใจมีการเต้นแรงและเร็วกว่าปกติ ซึ่งอาการใจสั่นสามารถเกิดขึ้นได้เนื่องจากซึ่งผู้ป่วยจะรู้สึกเหมือนมีการสั่นสะเทือนอยู่ภายในทรวงอก บางครั้งอาจมีอาการเจ็บหน้าอก อึดอัดหรือแน่นหน้าอกเกิดขึ้นด้วย อาการใจสั่นสามารถพบได้ในผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษามักเกิดจากอาการข้างเคียงจากภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ( Cardiac arrhythmias ) หรือเกิดจากอาการของโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบต่อมไร้ท่อธัยรอยด์ชนิดเรื้อรัง ( systemic diseases ) โรคเครียด ( Psychosomatic Disorders ) หรือบางครั้งอาจเกิดขึ้นในขณะที่ทำการออกกำลังกายหรือร่างกายเกิดอารมณ์เครียด ( Emotional stress ) ก็จะทำให้ร่างเกิดอาการใจเต้นเร็วหรือใจสั่นแบบ physiological palpitation ที่เกิดขึ้นแบบชั่วคราวได้ ซึ่งเราสามารถทำการแบ่ง

ชนิดของอาการใจสั่นที่พบได้ตามสาเหตุของโรค ( etiological classification )

1.อาการใจสั่นเนื่องจากภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ( Palpitation due to arrhythmias )
อาการใจสั่นแบบนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับหัวใจเต้นผิดจังหวะ ( Arrhythmia ) ทุกชนิด ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว ( Atrial extrasystole ) หรือภาวะหัวใจห้องล่างเต้นแผ่วระรัว
( Ventricular extrasystole ) หรือหัวใจเต้นเร็ว ( Tachycardia ) ซึ่งสามารถแบ่งลักษณะการเต้นออกเป็น 2 แบบ คือ แบบ regular ventricular activity ( e.g.sinus tachycardia, AVNRT, AVRT, atrial flutter, atrial tachycardia ) และแบบ irregular ventricular activtiy เช่น ภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว ( atrial fibrillation หรือ AF หรือ A-Fib ), หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ ( Atrial Flutter/atrial tachycardia ) ทั้งนี้อัตราการเต้นของหัวใจที่ช้ากว่าปกติ ( bradycardia ) หรือมีอัตราการเต้นของหัวใจน้อยกว่า 60 ครั้ง/นาที บางชนิด เช่น sinus pause, severe sinus bradycardia ใน sick sinus syndrome, sudden onsef of high grade AV block ก็สามารถทำให้เกิด อาการใจสั่น ( Palpitation ) ได้เช่นเดียวกัน

2.อาการใจสั่นเนื่องจากรูปร่างหัวใจผิดปกติ ( Palpitation due to Structural Heart Disease )
พบในผู้ที่มีหัวใจพิการมาแต่กำเนิด เช่น ผู้ที่มีกล้ามเนื้อหัวใจหนาผิดปกติ เป็นต้น หรือผู้ที่มีความผิดปกติเกิดขึ้นในภายหลัง เช่น กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เป็นต้น ซึ่ง อาการใจสั่น ( Palpitation ) ที่เกิดขึ้นจะพบว่าไม่มีความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าหัวใจหรือไม่ก็ได้

3.อาการใจสั่นเนื่องจากโรคจิตสรีระแปรปรวน ( Palpitation due to psychosomatic disorders )
ส่วนใหญ่ผู้ป่วยที่มีภาวะใจสั่นที่เกิดจากจิตสรีระแปรปรวนหรือโรคเครียดจะมีอาการอื่น ๆ แสดงออกมาร่วมด้วย เช่น อาการวิตกกังวล ( Anxiety ) อาการซึมเศร้า ( depression ) โรคแพนิค ( Panic Disoder ) หรือภาวะตื่นตระหนกต่อสิ่งรอบตัว ที่เรียกว่า โรคโซมาโตฟอร์ม ( somatization ) ซึ่งเป็นโรคที่เกิดขึ้นจากความผิดปกติทางด้านจิตชนิดหนึ่ง ที่จะมีอาการผิดปกติเกิดขึ้นกับร่างกายเสมือนร่างกายเกิดการเจ็บป่วยเป็นโรคหรือมีอาการบาดเจ็บเกิดขึ้นกับร่างกาย แต่แพทย์ไม่สามารถระบุหรือหาสาเหตุที่เกิดขึ้นกับร่างกาย ซึ่งอาการเหล่านี้อาจทำให้เกิด อาการใจสั่นได้ เมื่อมีอาการของโรคเกิดขึ้น

4.อาการใจสั่นเนื่องจากโรคอื่น ๆ ( Palpitation due to systemic diseases )
อาการใจสั่น ชนิดนี้ส่วนมาที่พบจะเป็นอาการใจสั่นที่เกิดจากหัวใจเต้นเร็วกว่าปกติ ( Sinus Tachycardia ) ซึ่งมักเกิดขึ้นเมื่อส่วนที่ทำหน้าที่ในการควบคุมจังหวะการเต้นของหัวใจที่มีอยู่ตามธรรมชาติภายในร่างกายมีการส่งคลื่นไฟฟ้าที่มีความเร็วสูงกว่าปกติ จึงทำให้หัวใจมีจังหวะการเต้นที่เร็วกว่าปกติ และส่งผลให้รอบการทำงานของหัวใจ ( Cardiac contraction ) เพิ่มขึ้นอีกด้วย

5.อาการใจสั่นเนื่องจากฤทธิ์ของยา ( Palpitation due to medications )
การรับประทานยาบางชนิดจะส่งผลให้การเต้นของหัวใจผิดปกติ ผลจากยาจะทำให้หัวใจเต้นเร็วกว่าปกติ ( Sinus Tachycardia ) ซึ่งพบว่าผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาอาการใจสั่น ส่วนมากจะมีการเต้นของหัวใจที่เป็นปกติ ( normal sinus rhythm ) แต่มีอัตราการเต้นไม่สม่ำเสมอ โดยอัตราการเต้นของหัวใจจะเร็วและช้า มีความสัมพันธ์กับอัตราการหายใจ หรือมีจังหวะการเต้นของหัวใจ ผิดปกติเพียงเล็กน้อย ( minor rhythm anomalies ) นั่นคือ short burst of supraventricular หรือ isolated ventricular extrasystoles ซึ่งนอกจากภาวะทั้งสองแบบแล้วยังสามารถพบภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว ( Atrial fibrillation/ flutter หรือ AF หรือ A-Fib ) กับ paroxysmal supraventricular tachycardia ( PSVT ) ที่ทำให้อัตราเร็วของการเต้นของหัวใจมีค่าสูงเกินอัตราของอันตราการเต้นของหัวใจที่เร็ว ( sinus tachycardia ) ในขณะที่ทำการพักหรือมีอัตราการเต้นของหัวใจเกิน120 ครั้งต่อนาที อาการที่กล่าวมาข้างต้นเป็นอาการใจสั่นที่สามารถพบได้บ่อย

แต่สำหรับ อาการใจสั่นที่เกิดขึ้นร่วมกับโรคเครียดหรือโรคจิตสรีระแปรปรวน ( Psychosomatic disorders ) จัดเป็นที่เกิดจากความผิดปกติทางจิตใจที่ส่งผลให้เกิดความผิดปกติทางร่างกาย มักเกิดขึ้นเมื่อผู้ป่วยได้รับความกระทบกระเทือนทางจิตใจ เช่น ความวิตกกังวล, ความกลุ้มใจ, ความผิดหวัง, ความโกรธ, ความเครียด, ความผิดหวัง, ความเสียใจ ที่สร้างความทุกข์ทรมานให้กับจิตใจอย่างรุนแรง ซึ่งอาการทางจิตจะส่งผลให้ร่างกายเกิดอาการปวดตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น ปวดหัว ปวดหลัง ร่วมถึงอาการใจสั้นด้วย โดยเฉพาะโรคจิตสรีระแปรปรวนชนิดโรควิตกกังวล ( anxiety ) และโรคแพนิค ( panic attack ) จัดเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการใจสั่นมากถึง 1 ใน 3 ของผู้ป่วยทั้งหมด แต่ก็มีผู้ป่วยอีก 1 ใน 5 ที่ไม่สามารถระบุถึงสาเหตุที่แท้จริงของอาการใจสั่นที่เกิดขึ้นได้

อาการใจสั่น คือ อาการที่หัวใจมีการเต้นแรงและเร็วกว่าปกติ ซึ่งอาการใจสั่นสามารถเกิดขึ้นได้เนื่องจากซึ่งผู้ป่วยจะรู้สึกเหมือนมีการสั่นสะเทือนอยู่ภายในทรวงอก บางครั้งอาจมีอาการเจ็บหน้าอก อึดอัดหรือแน่นหน้าอกเกิดขึ้นด้วย

อาการและลักษณะของอาการใจสั่น

อาการและลักษณะที่แสดงออกของอาการใจสั่น ( Clinical presentation ) ที่ทำการแบ่งได้ตามความแรงในการเต้นของหัวใจ ลักษณะอัตราความเร็วในการเต้นของหัวใจ  ( rate ) และจังหวะการเต้นของหัวใจ ( rhythm ) สามารถแบ่งออกเป็น 4 แบบด้วยกัน คือ

1.Extrasystolic palpitations คือ  อาการใจสั่น ที่ผู้ป่วยจะมีลักษณะใจวูบวาบ หรือใจหวิว ( missing or skipping beat ) เกิดเนื่องจากการเต้นก่อนจังหวะปกติ ( Ectopic beats ) ที่มาจากหัวใจห้องบน ( Atrial ) หรือหัวใจห้องล่าง ( Ventricular ) มีการเต้นเพิ่มขึ้น ( extra beats ) เนื่องจากการบีบตัวของหัวใจ อาการใจสั่นชนิดนี้พบได้มากในผู้ที่มีอายุน้อย แต่ไม่พบว่ามีความผิดปกติของรูปร่างของหัวใจร่วมด้วย ซึ่งลักษณะเริ่มต้นของผู้ป่วยในผู้ป่วยที่มีสาเหตุเกิดจากภาวะหัวใจห้องล่างเต้นแผ่วระรัว ( Ventricular Fibrillation ) มักจะรู้สึกว่าหัวใจเต้นแรงหรือ หัวใจหยุดเต้นสลับแล้วกลับมาเต้นใหม่ได้อีกครั้ง ซึ่งอาการดังกล่าวเกิดจาก post-extrasystolic beats หรือ postextrasystolic pause

2. Tachycardiac palpitations ใจสั่นเนื่องจากหัวใจเต้นเร็ว ( Tachycardia ) ผู้ป่วยจะมีการเต้นของหัวใจเร็วและถี่เพิ่มขึ้น อาจะมีสาเหตุมาจากคลื่นไฟฟ้าที่บริเวณหัวใจเกิดความผิดปกติ ทั้งแบบที่เป็นหัวใจเต้นเร็วที่เกิดในหัวใจห้องบน ( Supraventricular Tachycardia ) หรือหัวใจเต้นเร็วที่เกิดในหัวใจห้องล่าง ( Ventricular Tachycardia ) ที่จะทำให้หัวใจมีการเต้นที่เร็วขึ้นและหยุดเต้นอย่างกะทันหัน ( rapid onset-sudden termination) แต่ถ้าเกิดจากภาวะหัวใจเต้นเร็วกว่าปกติ ( Sinus Tachycardia ) ที่เกิดขึ้นจาก systemic diseases ที่ทำให้ร่างกายมีการเพิ่มขึ้นของระบบประสาทซิมพาธีติก ( Sympathetic activity ) ที่ทำหน้าที่ในการควบคุมการหายใจ ซึ่งอาการที่เกิดขึ้นจะเริ่มต้นและสามารถหยุดลงได้เองอย่างช้า ๆ ( gradual onset-gradual termination )

3. Anxiety-related palpitations ผู้ป่วยจะมีอาการหัวใจเต้นเร็วที่เริ่มต้นและหยุดลงแบค่อยเป็นค่อยไป ( Gradual onset-gradual termination ) ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้อย่างเฉียบพลัน ( paroxysmal ) หรือแบบเรื้อรัง ( Persistent ) โดยที่จะมีอาการวิตกกังวล ( anxiety ) เกิดขึ้นร่วมด้วยเสมอ เช่น อาการใบหน้าชา จุกที่บริเวณลำคอ อาการกระสับกระส่าย อาการสับสน อาการผิดปกติที่บริเวณหน้าอก ( atypical chest discomfort ) หายใจลำบาก หายใจไม่เต็มปอด มักมีการถอนหายใจเกิดขึ้นด้วยเสมอ

4. Pulsation palpitations ผู้ป่วยจะมีการเต้นของหัวใจที่แรงขึ้นแรงขึ้นอย่างสม่ำเสมอตลอดเวลา แต่ว่าการเต้นจะไม่เร็วขึ้น ซึ่งเกิดเนื่องจากโครงสร้างของหัวใจที่ผิดปกติ ( Structural heart disease ) หรือเกิดจากระบบของโรคอื่นที่เกิดขึ้นภายในร่างกาย ( Systemic diseases ) ที่ทำให้ปริมาตรเลือดส่งออกจากหัวใจต่อนาทีมีค่าสูง ( high stroke volume ) เช่น ลิ้นหัวใจเอออร์ติกรั่ว ( Aortic Regurgitation ), ไข้ ( Fever ) หรือตัวร้อน โลหิตจาง ( Anemia ) หรือภาวะซีด เป็นต้น

การประเมินผลอาการแรกเริ่มทางคลินิกวิทยาของอาการใจสั่น

การตรวจสอบเพื่อประเมินว่าผู้ป่วยมีอาการใจสั่นหรือไม่ ควรทำการถามด้วยคำถาม 5 ข้อดังนี้
1.ผู้ป่วยมีอาการ ( Symptom ) หรือเหตุการณ์หรือทำกิจกรรมอะไร ( circumstances ) ก่อนที่จะเกิด อาการใจสั่น เช่น ออกกำลังกาย ( exercise ) อยู่เฉยๆ ( rest ) ปัจจัยเสี่ยง ( predisposing factors ) อื่น
2.มีอาการอะไรเกิดขึ้นร่วมด้วยบ้างและรู้สึกเป็นอย่างไร abrupt or slowly rising ร่วมถึงสอบถามว่ามีอาการเกิดขึ้นก่อนหน้าหรือไม่ เช่น เจ็บหน้าอก ( Chest Pain ),อาการหายใจลำบาก ( Dyspnea ), อาการเวียนศีรษะบ้านหมุน ( vertigo ) เป็นต้น

3.ลักษณะของอาการใจสั่นที่เกิดขึ้นเป็นชนิดไหน สั่นด้วยความเร็วปกติแต่เต้นไม่สม่ำเสมอ ( regular ),ใจสั่นด้วยความเร็วสูง ( rapid ), ใจสั่นแบบถาวร ( permanent ) มีอาการอื่นร่วมด้วย ( associated symptoms ) หรือไม่ เช่น เจ็บหน้าอก ( Chest Pain ) อาการเป็นลมหมดสติหรือวูบ ( syncope ), หรือใกล้หมดสติ ( Near syncope ), ปอดบวมน้ำ ( Pulmonary edema ) หรือมีอาการวิตกกังวล ( anxiety ) เกิดขึ้นร่วมกับอาการใจสั้นหรือไม่
4.เมื่ออาการใจสั่นดีขึ้นแล้วมีลักษณะเป็นอย่างไร เช่น อาการค่อยดีขึ้นอย่างรวดเร็วหรืออย่างช้า ๆ ( abrupt or slowly decreasing duration ) , การถ่ายปัสสาวะ ( urination ), อาการดีขึ้นเอง ( spontaneously ) หรือใช้การวากัล แมนนูเวอร์ ( vagal maneuver ) เช่น การกลั้นหายใจ การกดนิ้วลงบนเปลือกตาหรือการไอ หรือหายด้วยการใช้ยา ( medication )
5.ประวัติและภูมิหลังของผู้ป่วย เช่น อายุที่เริ่มมี อาการใจสั่นครั้งแรก ความถี่ของอาการใจสั่นที่เกิดขึ้นบ่อยแค่ไหน มีโรคประจำตัวเกี่ยวกับหัวใจหรือไม่ เช่น โครงสร้างของหัวใจผิดปกติ ( structural heart disease ) โรคจิตสรีระแปรปรวน ( Psychosomatic disorders ) การติดเชื้อที่มีต่อระบบทั่วไปของร่างกาย ( Systemic diseases ) ต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ ( Thyroid disorders ) มาก่อนที่จะเกิดอาการใจสั่นหรือไม่ บุคคลในครอบครัวมีประวัติเสียชีวิตด้วยดรคหัวใจหรือไม่ เคยเสพสารเสพติดหรือดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์มาก่อนหรือไม่

การประเมินผู้ป่วยอาการใจสั่น

อาการที่เกี่ยวข้องทางคลินิกที่บ่งชี้ อาการใจสั่นที่เกิดจากภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ( Arrhythmic )
1.เป็นโรคเกี่ยวกับโครงสร้างของหัวใจผิดปกติหรือการมีความผิดปกติของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในระยะเริ่มต้น
2.มีประวัติบุคคลในครอบครัวเสียชีวิตอย่างเฉียบพลัน
3.มีอายุสูง
3.มีภาวะหัวใจเต้นเร็ว ( Tachycardia ) และใจสั่น ( Palpitation ) ร่วมกัน
4.อาการใจสั่นร่วมกับประสิทธิภาพที่ลดลงของระบบไหลเวียนโลหิต ( hemodynamic )
5.ความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ( ECG )

การตรวจร่างกายสำหรับผู้ป่วย ควรเน้นไปที่การตรวจระบบหัวใจและส่วนของหลอดเลือด อย่าง สัญญาณชีพ ( vital signs ) ตรวจหาความผิดปกติของโครงสร้างของหัวใจ ( structural hearl disease ) เช่น เสียงฟู่ของหัวใจ ( Murmur )) ชีพจร ( Peripheral pulse ) สัญญาณของภาวะหัวใจวาย ( signs of heart failure ) และควรที่จะหาสัญญาณของ systemic diseases ที่มีส่วนทำให้เกิด อาการใจสั่นร่วมด้วย

การสืบค้นควรทำต่อไปในผู้ป่วยทุกคน และตามด้วยการทำ12 leads ECG เพื่อวัดคลื่นไฟฟ้าที่หัวใจ และถ้าจะให้ผลดีที่สุดควรทำในผู้ป่วยที่กำลังแสดงอาการใจสั่นอยู่ แต่ถ้าไม่สามารถทำได้ในขณะที่ผู้ป่วยมีอาการแล้ว ก็ควรทำอย่างน้อยหนึ่งครั้งในขณะที่ผู้ป่วยไม่มีอาการก็ได้เช่นเดียวกัน เพื่อช่วยในการประเมินหาสาเหตุของความผิดปกติที่เกิดขึ้นได้ ว่าเป็นภาวะหัวใจเต้นผิดปกติหรือว่าเป็นความผิดปกติจากโครงสร้างของหัวใจ หรือว่ามาจากสาเหตุอื่น ๆ ซึ่งเมื่อทำการวัดและพบความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ( ECG ) ว่ามีสาเหตุมาจากโครงสร้างของหัวใจที่ผิดปกติแล้ว จะต้องทำการตรวจด้วยวิธีพิเศษอื่นต่อไป เช่น echocardiography, MRI, ambulatory ECG, stress test หรือ EPS ( electrophysiological study ) เป็นต้น

อาการใจสั่น ( Palpitation )  เป็นอาการที่สามารถพบได้บ่อยมาก แม้ว่าอาการในช่วงแรกอาจจะไม่สร้างผลกระทบต่อร่างกายและการดำรงชีวิต แต่เมื่อเป็นมากขึ้นหรือบ่อยครั้งขึ้น อาการใจสั่นที่เกิดขึ้นอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ซึ่งสาเหตุของอาการใจสั่นที่เกิดขึ้นมักมาจากโรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นส่วนมาก แต่บางครั้งอาการใจสั่นอาจเกิดเป็นผลข้างเคียงของโรคที่เกิดขึ้นหรือเกี่ยวข้องกับระบบอื่น ๆ ภายในร่างกาย เช่น ระบบประสาท ระบบของต่อมไร้ท่อ หรือแม้แต่สภาวะที่สภาพจิตใจเกิดความผิดปกติขึ้น ดังนั้นการซักประวัติอย่างละเอียดของแพทย์และการตอบคำถามที่ตรงไปตรงมา รวมถึงการตรวจร่างกายอย่างครบถ้วน จะนำไปสู่การวินิจฉัยถึงสาเหตุของโรคที่แม่นยำถูกต้อง นำมาซึ่งการรักษาที่ถูกต้องที่สามารถให้หายจากอาการใจสั่นได้ง่าย

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

Indik, Julia H. (2010). “When Palpitations Worsen”. The American Journal of Medicine. 123 (6): 517–9. doi:10.1016/j.amjmed.2010.01.012. PMID 20569756.

Jamshed, N; Dubin, J; Eldadah, Z (February 2013). “Emergency management of palpitations in the elderly: epidemiology, diagnostic approaches, and therapeutic options”. Clinics in Geriatric Medicine. 29 (1): 205–30. doi:10.1016/j.cger.2012.10.003. PMID 23177608.

การรักษาเส้นเลือดขอด โดยไม่ต้องนอนพักฟื้น

0
การรักษาเส้นเลือดขอด โดยไม่ต้องนอนพักฟื้น
อาการของเส้นเลือดขอด สามารถมองเห็นเส้นเลือดคดเคี้ยวไปมา ลักษณะเป็นลายเส้นสีเขียวคล้ำ สีม่วงเข้มหรือสีฟ้า นูนออกมาบริเวณน่อง โดยทั่วไปเกิดขึ้นบริเวณขา
การรักษาเส้นเลือดขอด โดยไม่ต้องนอนพักฟื้น
อาการของเส้นเลือดขอด ลักษณะเป็นลายเส้นสีเขียวคล้ำ สีม่วงเข้มหรือสีฟ้า คดเคี้ยวไปมา และนูนออกมาบริเวณน่อง โดยทั่วไปเกิดขึ้นบริเวณขา

เส้นเลือดขอด

เส้นเลือดขอด ( Varicose veins ) เป็นโรคที่เกิดจากมีเลือดดำคั่งอยู่ในเส้นเลือดดำ ทำให้เส้นเลือดโป่งพอง ขยายตัวและขดไปมา ซึ่งโรคนี้สามารถเกิดกับเส้นเลือดดำได้ทั่วร่างกาย แต่ที่พบบ่อยที่สุดคือ เส้นเลือดดำที่ขาส่วนที่อยู่ใต้ผิวหนัง ( Superficial vien ) ซึ่งมองเห็นได้ชัดเจนและส่งผลให้เกิดปัญหาในด้านของความสวยงาม เมื่อเกิดขึ้นในผู้หญิง โดยทั่วไปแล้วผู้ที่มีอาชีพที่ต้องยืนเป็นเวลานานๆ หรือยกของหนัก ผู้หญิง ตั้งครรภ์ ผู้สูงอายุและคนอ้วนจะมีโอกาสเป็นโรคนี้ได้มากกว่าคนปกติ

สาเหตุของเส้นเลือดขอด

เส้นเลือดขอดเกิดจากการทำงานของลิ้นเล็กๆ ( Valve ) ที่มีอยู่หลายลิ้นในเส้นเลือดดำที่เสื่อมประสิทธิภาพลง มักเกิดจากผนังหลอดเลือดและลิ้นที่ควบคุมการไหลของเลือดที่อ่อนแอ ซึ่งลิ้นเหล่านี้มีหน้าที่ปิดกั้นไม่ให้เลือดดำจากขาไหลย้อนต้านแรงโน้มถ่วงซึ่งอาศัยแรงบีบของกล้ามเนื้อที่ฝ่าเท้าเพื่อให้เลือดดำไหลย้อนกลับสู่หัวใจและไหลลงกลับมาคั่งที่ขาอีกที ซึ่งถือว่าเป็นหน้าที่ที่สำคัญในการควบคุมการไหลเวียนของเส้นเลือดดำ และผนังหลอดเลือดที่อาจขยายตัวออกจนสูญเสียความยืดหยุ่น ก็เป็นอีกสาเหตุที่ทำให้ลิ้นที่คอยเปิดปิดนี้อ่อนแอและเสื่อมประสิทธิภาพลง เมื่อการทำงานของลิ้นเล็กๆเหล่านี้เสื่อมประสิทธิภาพลง ก็จะส่งผลให้การไหลเวียนของเลือดดำเสื่อมประสิทธิภาพลดลงเช่นกัน หากลิ้นหลอดเลือดไม่สามารถทำงานได้อย่างปกติ อาจก่อให้เกิดเลือดดำรั่วออกมาและไหลย้อนกลับไปที่ส่วนล่างของร่างกาย ส่งผลให้เลือดดำสะสมในหลอดเลือด และทำให้ผนังเส้นเลือดดำยืด หย่อน โป่งพองจนกลายเป็นเส้นเลือดขอดนั่นเอง

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดเส้นเลือดขอด

อายุ เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้นก็จะยิ่งเพิ่มโอกาสในการเป็นโรคนี้มากขึ้น เกินกว่า 70 % ของคนที่มีอายุตั้งแต่ 70 ปีขึ้นไปพบว่าเป็นโรคนี้ เนื่องจากการเสื่อมสภาพของลิ้นในหลอดเลือดและเซลล์ผนังเลือด หลอดเลือดเริ่มหลวมและหย่อนตัวลง
เพศ เส้นเลือดขอดสามารถพบได้ทุกเพศ แต่ตามสถิติเดิม เพศหญิงจะมีโอกาสเป็นโรคนี้ได้มากกว่าเพศชายมากถึง 3 เท่า โดยนักวิจัยชี้ว่าอาจมีสาเหตุมาจากฮอร์โมนเพศหญิงที่ส่งผลให้ผนังหลอดเลือดคลายตัวลง การตั้งครรภ์ที่ส่งผลต่อการเพิ่มความดันในช่องท้อง รวมไปถึงสภาวะหมดประจำเดือนตามธรรมชาติ ซึ่งหากขาดฮอร์โมนเพศที่ช่วยในการคงความยืดหยุ่นของผนังเส้นเลือดไป ก็จะส่งผลให้มีโอกาสเกิดการรั่วของลิ้นหลอดเลือดและเสี่ยงที่จะเป็นโรคเส้นเลือดขอดมากขึ้น

พันธุกรรมและเชื้อชาติ ผู้ที่บุคคลในครอบครัวเป็นโรคเส้นเลือดขอดจะยิ่งมีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้มากกกว่าคนทั่วไปถึง 2 เท่า และโรคเส้นเลือดขอดยังพบในคนที่มีเชื้อชาติแถบตะวันตกมากที่สุด ทั้งนี้อาจมีความเกี่ยวข้องกับอาหารที่รับประทานด้วยเช่นกัน
อาชีพ อาชีพที่เป็นปัจจัยเสี่ยงของการเป็นโรคเส้นเลือดขอดคือ อาชีพที่ต้องยืนหรือนั่งอยู่กับที่นานๆ และอาชีพที่ต้องยกของหนักเพราะเลือดจะไหลเวียนได้ยากขึ้น เช่น ครู พยาบาล แพทย์ พนักงานขายสินค้า พนักงานเก็บค่าโดยสาร เป็นต้น
น้ำหนัก คนที่มีน้ำหนักมากกว่าเกณฑ์จะมีโอกาสเป็นโรคนี้ได้มากขึ้นกว่าคนปกติ ทั้งนี้เพราะคนที่มีน้ำหนักเกินเลือดจะหมุนเวียนได้ไม่สะดวก จะเกิดการคั่งค้างของเลือดบริเวณขามากขึ้น จึงทำให้เกิดอาการเส้นเลือดขอดได้ง่าย
การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน เพราะฮอร์โมนเพศหญิงโดยตรงที่ส่งผลกระทบต่อการเป็นเส้นเลือดขอด การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเพศหญิง เช่น วัยรุ่น วัยทอง หญิงตั้งครรภ์ จึงเพิ่มโอกาสเสี่ยงเป็นโรคนี้ได้มากขึ้น
ผู้ที่มีอาการท้องผูกเรื้อรัง อาการท้องผูกเรื้อรังส่งผลให้มีความดันช่องท้องเพิ่มขึ้นตลอดเวลา เพราะต้องออกแรงเบ่งนั่นเอง

ผู้ที่ขาดการออกกำลังกาย สำหรับผู้ที่ใช้ชีวิตสบายเกินไป ไม่ค่อยได้เคลื่อนไหวร่างกาย อาจทำให้กล้ามเนื้อบริเวณขาเสื่อมประสิทธิภาพลง ทำให้การไหลเวียนของเลือดทำงานได้ไม่ดี

อาการของเส้นเลือดขอด

อาการเส้นเลือดขอดเริ่มแรกนั้นจะสังเกตเห็นเส้นเลือดผ่านทางผิวหนัง คือสามารถมองเห็นเส้นเลือดคดเคี้ยวไปมา ลักษณะเป็นลายเส้นสีเขียวคล้ำ สีม่วงเข้มหรือสีฟ้า นูนออกมาบริเวณน่อง โดยทั่วไปมักเกิดขึ้นบริเวณขา อาจจะเกิดขึ้นเพียงข้างเดียวหรือทั้งสองข้างก็ได้ แต่ยังไม่มีความเจ็บปวดเกิดขึ้น เมื่อเป็นมากขึ้นอาจเกิดอาการปวดแบบหน่วงๆหรือปวดเมื่อยบริเวณนั้นๆ กล้ามเนื้อในขาส่วนล่างเป็นตะคริวหรือสั่นเป็นจังหวะ ขาส่วนล่างบวมและมีอาการแสบร้อน รู้สึกเจ็บมากขึ้นเมื่อยืนหรือนั่งเป็นเวลานานๆ มีอาการคันรอบๆเส้นเลือด เส้นใดเส้นหนึ่งหรือหลายๆเส้น มีเลือดออกจากเส้นเลือดที่บิดนูน มีอาการปวดในเส้นเลือดบริเวณที่ผิวหนังเปลี่ยนเป็นสีแดง อาการเส้นเลือดขอดมักจะเป็นมากขึ้นในช่วงเวลาบ่ายหรือเย็นและมักจะมีอาการแย่ลงเมื่ออยู่ในสภาพอากาศร้อน หรือเมื่อยืนเป็นเวลานาน แต่เมื่อนอนราบและยกขาขึ้นสูงก็จะทำให้รู้สึกดีขึ้น หากพบว่าเส้นเลือดแข็งหรือเปลี่ยนสี มีอาการอักเสบของผิวหนังหรือมีแผลพุพองที่ผิวหนังบริเวณใกล้ข้อเท้า นับว่าเป็นอาการรุนแรงของเส้นเลือดขอด ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษา
ภาวะแทรกซ้อนของเส้นเลือดขอด

เส้นเลือดขอด เกิดจากมีเลือดดำคั่งอยู่ในเส้นเลือดดำ ทำให้เส้นเลือดโป่งพอง ขยายตัวและขดไปมา ซึ่งสามารถเกิดกับเส้นเลือดดำได้ทั่วร่างกาย

ภาวะแทรกซ้อนของเส้นเลือดขอด

โดยทั่วไปแล้วอาการเส้นเลือดขอดมักไม่มีภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายและร้ายแรงถึงชีวิต มักพบเป็นสภาวะอาการที่เป็นเรื่องทั่วไปมากกว่าเช่น อาการปวดเมื่อย รู้สึกหนักๆที่ขา ขาบวม หรือรู้สึกเป็นตะคริว โดยเฉพาะตอนที่ไม่ได้ใช้ขาเป็นเวลานานๆ เช่น เวลานอน แต่ก็อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนของเส้นเลือดขอดในผู้ป่วยเส้นเลือดขอดได้ดังนี้- สีของเท้าคล้ำหรือแดงขึ้น เพราะเกิดการเปลี่ยนแปลงของผิวหนังและเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังอันเนื่องมาจากอาการเส้นเลือดขอดเรื้อรัง
1. เลือดออกอย่างรุนแรงหรือมีปริมาณมาก และหยุดไหลได้ยาก หากถูกของมีคมบาดหรือได้รับบาดเจ็บบริเวณตรงเส้นเลือดขอด
2. ในผู้ป่วยบางรายอาจพบการอักเสบของเส้นเลือดดำร่วมด้วย
3. อาการเส้นเลือดขอดส่งผลให้การไหลเวียนของเลือดไม่ดี อาจทำให้แผลบริเวณเท้าและขาหายช้าลงกว่าปกติ
4. ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง ผิวหนังจะแตกลายและกลายเป็นแผลเรื้อรังในที่สุด
5. หากมีอาการขาบวมแบบฉับพลันร่วมด้วยกับอาการปวดขา นั่นคือภาวะเส้นเลือดดำส่วนลึกที่มีลิ่มเลือด เป็นภาวะที่ต้องรีบทำการรักษา

การวินิจฉัยโรคเส้นเลือดขอด

โดยทั่วไปแล้วแพทย์สามารถวินิจฉัยโรคได้จากการซักประวัติอาการ และตรวจดูบริเวณขาทั้ง 2 ข้างในขณะท่ายืนและนอน ซึ่งสามารถสังเกตเห็นได้ไม่ยากนัก ยกเว้นในกรณีที่มีภาวะแทรกซ้อน เช่น ขาบวม มีแผลเรื้อรัง มีประวัติการเกิดอุบัติเหตุที่ขา มีเส้นเลือดขอดในวัยเด็ก เป็นต้น จะต้องมีการส่งตรวจพิเศษเพิ่มเติมอีก เพื่อหาวิธีการรักษาที่ถูกต้องนั้น มีขั้นตอนการตรวจเพิ่มเติม ดังนี้

  • ตรวจดูว่ามีการไหลย้อนของเส้นเลือดดำ
  • ตรวจดูว่ามีการอุดตันของเส้นเลือดดำ
  • การตรวจ CBC ดูการทำงานของเกล็ดเลือด
  • ตรวจการไหลเวียนของเลือดและสภาพเส้นเลือด
  • การฉีดสีเข้าเส้นเลือดดำที่ขอดแล้วเอ็กซเรย์เพื่อดูลักษณะของเส้นเลือด

แนวทางการรักษา

ผู้ป่วยที่เป็นเส้นเลือดขอดอาจไม่จำเป็นต้องทำการรักษา หากไม่มีอาการที่ทำให้รู้สึกเจ็บหรือรบกวนในการใช้ชีวิตประจำวัน ส่วนผู้ป่วยที่ต้องการทำการรักษาอาการเส้นเลือดขอดอาจมีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันออกไป อาทิเช่น รักษาเพื่อบรรเทาอาการ เพื่อความสวยงาม เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน และเพื่อป้องกันไม่ให้อาการลุกลามมากขึ้น ส่วนวิธีการรักษานั้นขึ้นอยู่กับลักษณะของเส้นเลือด ความต้องการของผู้ป่วยและดุลยพินิจของแพทย์ โดยมีวิธีการรักษาดังต่อไปนี้

การรักษาเส้นเลือดขอดแบบไม่ต้องผ่าตัด
การรักษาด้วยวิธีนี้จะเหมาะกับผู้ป่วยที่มีเส้นเลือดขอดขนาดเล็ก คือมีเส้นผ่าศูนย์กลางขนาดไม่เกิน 1 มิลลิเมตร โดยการใส่ถุงน่องสำหรับเส้นเลือดขอดตลอดเวลายกเว้นเวลานอน เพื่อช่วยบีบไล่เลือดในหลอดเลือดและกล้ามเนื้อขาเคลื่อนตัวกลับสู่หัวใจได้ดีและหมุนเวียนได้ดียิ่งขึ้น ส่วนปัญหาที่พบบ่อยสุดในการใช้ถุงน่องสำหรับเส้นเลือดขอดคือ ผู้ป่วยจะรู้สึกไม่สะดวกสบายในการสวมใส่เนื่องจากสภาวะอากาศร้อน และการลืมสวมใส่ถุงน่อง การใส่ถุงน่องสำหรับเส้นเลือดขอดจะมีประโยชน์สำหรับผู้ที่มีอาการอยู่ในระยะเบื้องต้นหรือใช้ร่วมกับวิธีการรักษาอื่นๆในภายหลัง แต่วิธีนี้จะไม่สามารถป้องกันการเกิดอาการเส้นเลือดขอดหรือทำให้อาการเส้นเลือดขอดหายไปได้

การฉีดยากระตุ้นให้ผนังเส้นเลือดตีบตัน
การรักษาด้วยวิธีนี้จะเหมาะกับผู้ป่วยที่มีเส้นเลือดขอดขนาดเล็กถึงปานกลาง คือมีเส้นผ่านศูนย์กลางขนาดไม่เกิน 3 มิลลิเมตร โดยการฉีดยาที่บรรจุสารเคมีที่มีคุณสมบัติในการทำลายผนังของเส้นเลือดขอด เข้าไปในเส้นเลือดดำที่เป็นเส้นเลือดขอด เพื่อทำให้ผนังเส้นเลือดบวมจนติดกัน เลือดจึงไม่สามารถไหลผ่านได้ กลายเป็นแผลเป็นและเส้นเลือดตีบตันไปในที่สุด วิธีนี้จะทำให้เส้นเลือดที่เคยโป่งพองค่อยๆ ยุบและหายไปเพียงแค่ 2-3 สัปดาห์เท่านั้น จำเป็นต้องเข้ารับการรักษากับแพทย์เฉพาะทางและรักษาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉลี่ยคือประมาณ 3-4 ครั้งต่อข้าง และแต่ละครั้งจะห่างกันประมาณ 1.5 -2 เดือน ยกเว้นผู้ป่วยรายที่เป็นมากอาจจะต้องเพิ่มจำนวนในการฉีดมากกว่าปกติ หลังจากได้รับการฉีดยาเพื่อที่จะรักษาแล้วผู้ป่วยควรเดินเป็นเวลา 30 นาทีอย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยให้ยาเกิดการกระจายตัวได้ดีมากยิ่งขึ้น และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของยาฉีดผู้ป่วยควรสวมถุงน่องสำหรับเส้นเลือดขอดติดต่อกันอย่างน้อย 5-7 วัน ข้อห้ามของการรักษาด้วยวิธีนี้คือ ในกรณีที่ผู้ป่วยมีประวัติแพ้สารเคมีที่ใช้ฉีด มีเส้นเลือดอักเสบ หรือเส้นเลือดขอดมีขนาดใหญ่ร่วมกับปัญหาเส้นเลือดดำส่วนลึก แต่การฉีดยาเข้าเส้นเลือดดำที่ขอดเพื่อให้เส้นเลือดตีบตันนั้นเป็นวิธีการรักษาที่ไม่หายขาด ในระยะยาวอาจมีการกลับมาเป็นซ้ำอีกได้

การรักษาด้วยการผ่าตัด
การรักษาด้วยวิธีนี้เหมาะกับผู้ป่วยที่มีเส้นเลือดขอดขนาดปานกลางถึงใหญ่ คือมีเส้นผ่านศูนย์กลางขนาดไม่เกิน 6 มิลลิเมตร มีอาการปวดขาและมีลิ้นในเส้นเลือดดำผิดปกติ ตลอดจนมีเส้นเลือดขอดที่เกิดปัญหาแทรกซ้อน วิธีนี้เป็นวิธีการรักษาแบบดั้งเดิมและยังคงเป็นวิธีการรักษาที่เป็นมาตรฐานในการรักษาผู้ป่วยเส้นเลือดขอด โดยการผ่าตัดจะดึงเอาเส้นเลือดที่ขอดออกไปทั้งหมด เพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำอีก เหมาะกับการรักษาที่มีเส้นเลือดขอดขนาดใหญ่และยาวมาก ซึ่งไม่สามารถรักษาด้วยวิธีการฉีดยาเข้าเส้นเลือดดำที่ขอดเพื่อให้เกิดการตีบตันแบบปกติได้ แน่นอนว่าผู้ป่วยจำเป็นต้องนอนโรงพยาบาลเพื่อเตรียมตัวผ่าตัด หลังจากผ่าตัดในช่วง 3-4 วันแรกควรนอนพักและยกเท้าให้สูง พร้อมกับใส่ถุงน่องสำหรับเส้นเลือดขอดไว้ประมาณ 4-6 สัปดาห์ สำหรับวิธีการรักษาเส้นเลือดขอดด้วยการผ่าตัดเอาเส้นเลือดขอดออกนั้นสามารถหายขาดได้และป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่จะตามมาในภายหลังได้ด้วย ยกเว้นผู้ป่วยบางรายที่ยังมีแขนงของเส้นเลือดขอดหลงเหลืออยู่ ก็อาจจะทำให้มีอาการกลับมาเป็นซ้ำได้อีก

การรักษาเส้นเลือดขอดด้วยเลเซอร์
การรักษาด้วยวิธีนี้จะเหมาะกับผู้ป่วยที่มีเส้นเลือดขอดขนาดเล็กถึงปานกลาง คือมีเส้นผ่านศูนย์กลางขนาดไม่เกิน 3 มิลลิเมตร รวมไปถึงผู้ป่วยที่กลัวการผ่าตัดและเข็มฉีดยา ส่วนผู้ที่เป็นเส้นเลือดฝอยที่ใบหน้าและขาก็สามารถรักษาด้วยวิธีนี้เช่นกัน แต่เส้นเลือดฝอยควรมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 2 มิลลิเมตร การรักษาเส้นเลือดขอดด้วยเลเซอร์จะใช้แสงที่มีความยาวคลื่นจำเพาะซึ่งสามารถยิงผ่านผิวหนังชั้นบนลงไปในบริเวณที่เป็นไปได้อย่างแม่นยำ เซลล์เม็ดเลือดแดงที่ได้รับความร้อนจากแสงนั้นก็จะไปทำลายผนังเส้นเลือดให้หายไป วิธีการรักษานี้กำลังเป็นที่นิยมอย่างมากในปัจจุบัน เนื่องจากทำได้ง่าย ไม่มีบาดแผลและไม่เกิดรอยแผลเป็น แต่ก็ไม่สามารถใช้รักษาเส้นเลือดขอดขนาดใหญ่และคดเคี้ยวได้

การรักษาเส้นเลือดขอดโดยการใช้คลื่นความถี่วิทยุ
วิธีนี้จะใช้หลักการเดียวกับการรักษาแบบเลเซอร์ โดยแพทย์จะใช้วิธีเจาะผ่านรูเข็มขนาดเล็กแล้วใส่ขดลวด ( Fiberroptic ) เข้าไปสลายเส้นเลือดขอดที่มีปัญหา เครื่องจะเริ่มแปลงพลังงานจากคลื่นวิทยุมาเป็นความร้อน และความร้อนนั้นจะทำให้เส้นใยของคอลลาเจนที่เป็นโครงสร้างสำคัญของผนังเส้นเลือดดำนั้นฝ่อตัวลงไปในที่สุด จากการติดตามผลพบว่าการรักษาด้วยวิธีนี้มีโอกาสที่ผู้ป่วยจะกลับมาเป็นซ้ำได้อีกมากสุดประมาณ 10 % แต่ก็เป็นเพียงเล็กน้อยและสามารถรักษาได้ด้วยการฉีดยา ภายหลังได้รับการรักษาด้วยการใช้คลื่นความถี่วิทยุผู้ป่วยจำเป็นต้องสวมใส่ถุงน่อง และพบแพทย์ตามนัดเพื่อติดตามผลการรักษา

การรับประทานยาเพื่อบรรเทาอาการเส้นเลือดขอด
การรักษาด้วยวิธีทานยา จำเป็นต้องเริ่มตั้งแต่ระยะแรกที่มีอาการ ไม่สามารถใช้เมื่อเข้าสู่ระยะที่รุนแรงแล้วได้ ยาที่ใช้จะเป็นยากลุ่มไดออสมิน( Diosmin ) กลุ่มเฮสเพอริดิน( Hesperidin ) ซึ่งทำหน้าที่ยับยั้งกระบวนการอักเสบให้ลดลง ลิ้นในเส้นเลือดจึงทำงานได้ตามปกติ

อาการของเส้นเลือดขอด สามารถมองเห็นเส้นเลือดคดเคี้ยวไปมา ลักษณะเป็นลายเส้นสีเขียวคล้ำ สีม่วงเข้มหรือสีฟ้า นูนออกมาบริเวณน่อง โดยทั่วไปเกิดขึ้นบริเวณขา

ข้อดีของการรักษาเส้นเลือดขอดด้วยเลเซอร์

  • ใช้ยาชาเฉพาะที่มีการเกิดเส้นเลือดขอด
  • ใช้เวลาในการรักษาน้อยกว่า 1 ชั่วโมง
  • ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาไม่ต้องนอนพักฟื้นตัวในโรงพยาบาล
  • ลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ
  • ลดการสูญเสียเลือด
  • ลดรอยแผลเป็นที่เห็นได้ชัดเจน
  • ผู้เข้ารับการเลเซอร์รักษาเส้นเลือดขอดสามารถฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว
  • ผู้ป่วยสามารถทำกิจกรรมประจำวันได้ตามปกติทันทีหลังจากรักษาเส้นเลือดขอดด้วยเลเซอร์
  • ผู้ป่วยสามารถกลับไปทำงานได้โดยไม่ต้องนอนพัก
  • รู้สึกเจ็บปวดน้อยมาก เมื่อเทียบกับการรักษาแบบเดิม
  • คุ้มค่ากว่าการรักษาแบบเดิม 

ป้องกันเส้นเลือดขอดได้ด้วยการปรับพฤติกรรม

  • หลีกเลี่ยงการใส่รองเท้าส้นสูง เพื่อทำให้ไม่มีเส้นเลือดขอดเพิ่ม
  • ไม่ควรสวมใส่เสื้อผ้าที่รัดแน่นจนเกินไป
  • ไม่ควรให้น้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน หากผู้ป่วยมีน้ำหนักมากกว่าเกณฑ์ควรลดน้ำหนักอย่างถูกวิธี
  • ควรนั่งหรือนอนยกเท้าให้สูงกว่าระดับหน้าอกเพื่อช่วยให้เลือดไหลเวียนไปสู่หัวใจได้ดียิ่งขึ้น
  • หลีกเลี่ยงการยืนหรือนั่งเป็นเวลานานๆ หากจำเป็นควรลุกขึ้นเพื่อขยับตัวหรือเปลี่ยนท่าบ่อยๆ และควรบริหารข้อเท้าไปด้วยในขณะนั่ง
  • หากต้องยืนทำงานเป็นเวลานานๆ ควรสวมใส่ถุงน่องสำหรับป้องกันเส้นเลือดขอดหรือพันผ้าพันแผลชนิดยืดเอาไว้
  • หมั่นออกกำลังกายและเคลื่อนไหวร่างกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดที่ขา
  • รับประทานผักและผลไม้มากขึ้นเพื่อป้องกันอาการท้องผูก
  • หากเลือดไหลจากเส้นเลือดขอด ให้นั่งหรือนอนยกเท้าให้สูงกว่าระดับหน้าอกแล้วใช้ผ้าสะอาดกดบริเวณแผลแรงๆ เมื่อเลือดหยุดไหลแล้วให้ทำความสะอาดแผลแบบบาดแผลสดทั่วไป แต่ถ้าแผลมีขนาดใหญ่ อาจต้องผ่าตัดเส้นเลือดขอดออก หรือต้องรักษาแผลโดยวิธีปลูกถ่ายผิวหนังที่นำผิวหนังส่วนอื่นมาปะแทน
  • เมื่อเส้นเลือดขอดโป่งพองมาก ผิวหนังแสบแดง เลือดออกจากเส้นเลือดขอด มีแผลและผื่นใกล้บริเวณข้อเท้าและมีสีคล้ำ หรือมีอาการเส้นเลือดขอดอื่นๆ ที่รบกวนในการดำเนินชีวิตประจำวัน ให้รีบพบแพทย์ทันที
  • เพื่อป้องกันการเกิดเส้นเลือดขอดซ้ำ ควรหลีกเลี่ยงปัจจัยที่จะกระตุ้นให้เกิดอาการเส้นเลือดขอดร่วมกับการป้องกันตนเองในข้อต่างๆที่กล่าวไปข้างต้น

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

Curri SB et al. (1989) “Changes of cutaneous microcirculation from elasto-compression in chronic venous insufficiency”. In Davy A and Stemmer R (eds.) Phlebology ’89, Montrouge, France, ‘John Libbey Eurotext.

van Rij AM, Chai J, Hill GB, Christie RA (2004). “Incidence of deep vein thrombosis after varicose vein surgery”. Br J Surg. 91 (12): 1582–5. doi:10.1002/bjs.4701. PMID 15386324.

Munasinghe A, Smith C, Kianifard B, Price BA, Holdstock JM, Whiteley MS (2007). “Strip-tract revascularization after stripping of the great saphenous vein”. Br J Surg. 94 (7): 840–3.

การศัลยกรรมยกกระชับแก้ม และสารเติมเต็มโหนกแก้ม

0
การศัลยกรรมยกกระชับแก้ม และสารเติมเต็มโหนกแก้ม
การฉีดสารโบทูลินั่ม ท็อกซิน เป็นการยกกระชับแก้มให้เต่งตึง ไม่หย่อนคล้อย ทำให้กล้ามเนื้อเกิดการหดเกร็งตัวจนริ้วรอยหรือร่องแก้มที่ลึกเกิดการคลายตัว และช่วยยกกระชับกล้ามเนื้อให้เกิดการตึงทำให้ริ้วรอยเหี่ยวย่นและร่องแก้มลดลง
การศัลยกรรมยกกระชับแก้ม และสารเติมเต็มโหนกแก้ม
การฉีดสารโบทูลินั่ม ท็อกซิน ช่วยยกกระชับแก้มให้เต่งตึง ทำให้กล้ามเนื้อเกิดการหดเกร็งตัวจนริ้วรอยหรือร่องแก้มที่ลึกเกิดการคลายตัว

ศัลยกรรม แก้ม

แก้ม คือส่วนเนื้อที่เป็นกระพุ้งอยู่บริเวณในหน้าทั้ง 2 ข้างถัดจากตาลงมา ซึ่งใบหน้าจะแลดูสวยด้วยองค์ประกอบบนในหน้า เช่น ดวงตา คิ้ว ปาก จมูก แก้ม คาง แล้วยังต้องมีรูปทรงและขนาดที่สวยงามและเหมาะสมกับใบหน้าแล้ว ลักษณะโดยรวมของรูปหน้าก็มีส่วนสำคัญที่ส่งให้ใบหน้าแลดูสวยโดดเด่นขึ้นด้วยเช่นกัน โดยการ ศัลยกรรม ลักษณะของรูปหน้าที่ทำให้ดูดีและได้รับความนิยมย่อมเป็นรูปหน้าที่มีลักษณะเรียว ใบหน้ารูปไข่หรือใบหน้าที่มีคางเป็นรูปวีเชฟ (V- Shave) จัดเป็นรูปหน้าที่มีลักษณะที่สวยงาม

ปัญหาที่ทำให้รูปหน้ามีลักษณะไม่สวย

1.แก้มป่องจากไขมัน ลักษณะของ แก้ม ป่องเกิดขึ้นจากการที่บริเวณแก้มมีไขมันสะสมอยู่ ซึ่งลักษณะของไขมันสะสมอยู่ในบริเวณแก้มสามารถแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ
1.1 ไขมันที่บริเวณใต้ผิว เป็นไขมันที่เกิดขึ้นจากการรับประทานอาหาร จะเปลี่ยนแปลงตาปริมาณของน้ำหนักตัว ซึ่งไขมันชนิดนี้จะเพิ่มขึ้นเมื่อน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นและจะลดลงเมื่อน้ำหนักตัวลดลง
1.2ไขมันที่บริเวณใต้กระพุ้งแก้ม (Buccle Fat) เป็นไขมันที่อยู่ในส่วนใต้กล้ามเนื้อของกระพุ้งแก้ม เป็นไขมันที่เกิดขึ้นเองธรรมชาติ ตามลักษณะทางกรรมพันธุ์ เช่น คนที่มีพ่อแม่ใบหน้าอ้วนกลม ลูกก็จะมีไขมันที่บริเวณนี้มากทำให้ใบหน้าอ้วนกลมมาตั้งแต่อายุน้อย ๆ ซึ่งไขมันในส่วนนี้จะเปลี่ยนแปลงตามน้ำหนักตัวน้อยมาก ดังนั้นบางคนมีใบหน้าที่กลมต่อให้ทำการลดน้ำหนักมากขนาดไหน ใบหน้าก็ยังคงกลมเช่นเดิม
การสะสมของไขมันทั้งสองแบบในบริเวณแก้มจะทำให้แก้มป่อง ส่งผลให้ลักษณะโดยรวมของรูปหน้าแลดูกลม แก้มยุ้ย จนรูปหน้าอ้วนกลมเป็นพระจันทร์เต็มดวง

2.แก้มตอบ ร่องแก้มลึก เนื่องจากมีเนื้อและไขมันที่บริเวณ แก้ม มีปริมาณที่น้อย ทำให้บริเวณแก้มมีการยุบลงไปคล้ายกับมีหลุมขนาดเล็กอยู่บนใบหน้าทั้งสองข้าง ทำให้รูปหน้าแลดูไม่สดใส โทรมไม่น่ามอง

3.แก้มเหี่ยวย่น เนื่องจากการเสื่อมของผิวหนังและชั้นไขมันที่บริเวณแก้มลดลงตามอายุที่เพิ่มขึ้น ทำให้แก้มเกิดการเหี่ยวย้อยลงมาตามแรงโน้มถ่วงของโลก ทำให้ใบหน้าแลดูแก่มีอายุสูง
จะพบว่าแต่ละปัญหาที่เกิดขึ้นส่งผลให้ใบหน้าแลดูไม่น่ามอง ซึ่งการแก้ไขปัญหาแก้มเพื่อให้มีรูปหน้าตามต้องการมีวิธีการที่แตกต่างกัน

>> ฉีดฟิลเลอร์ มีข้อดีข้อเสียอย่างไร อันตรายหรือไม่บทความนี้มีคำตอบ !

>> ฉีดโบท็อกซ์ อันตรายไหม ก่อนจะทำต้องรู้อะไรบ้าง บทความนี้มีคำตอบ

วิธีการแก้ปัญหารูปหน้าตามลักษณะของปัญหา

1.แก้มใหญ่จากไขมัน
ไขมันที่สะสมอยู่บริเวณ แก้ม สามารถทำการ ศัลยกรรม เพื่อลดขนาดได้ ตามความเหมาะสมซึ่งการศัลยกรรมมีดังนี้
1.1 การฉีดยาสลายไขมัน คือการใช้ยาที่มีคุณสมบัติในการสลายไขมันให้กลายเป็นของเหลว โดยกลไกการทำงานของตัวยา คือ ตัวยาจะมีคุณสมบัติเข้าไปทำลายชั้นผนังเซลล์ของไขมัน ( Fat cell wall) ให้เกิดแตกตัวออกจากกัน ทำให้ของเหลวที่อยู่ด้านในเซลล์ไหลของมาในรูปของของเหลวหรือไขมันเหลว ( Lipid Fat ) ซึ่งไขมันเหลวนี้ร่างกายจะทำการขับออกทางเหงื่อ ปัสสาวะและทางอุจจาระนั่นเอง วิธีการฉีดยาสลายไขมัน แพทย์จะทำการฉีดสารดังกล่าวไปยังบริเวณที่ต้องการลดปริมาณของไขมันด้วยเข็มฉีดยา เรียกเทคนิคนี้ว่า “เมโสเธอราพี (Mesotherapy)” ซึ่งตัวยาที่นิยมนำมาใช้ในการฉีดเพื่อสลายไขมัน เช่น Carboxytherapy, Phosphatidylcholine,Deoxycholate,L-carnitine, Vitamin B complex ,Amino acids ,Minerals เป็นต้น

1.2 การเลเซอร์สลายไขมัน ( Laser Lipolysis )
เป็นการสลายไขมันด้วยการฉายแสงเลเซอร์ที่มีความยาวคลื่น 1,444 นาโนเมตร โดยการนำท่อเลเซอร์ขนาดเล็ก ๆ ที่มีขนาดประมาณ 1 นาโนเมตรเข้าไปยังบริเวณที่ต้องการสลายไขมัน แล้วจึงทำการปล่อยแสงเลเซอร์เข้าไปสู่บริเวณไขมันที่อยู่ใต้ชั้นผิวหนัง เพื่อกระตุ้นให้เซลล์ไขมันเกิดการสลายตัวกลายเป็นของไขมันเหลว เมื่อไขมันกลายเป็นของเหลวแล้ว แพทย์จะทำการดูดไขมันเหลวออกมาหรือไม่ทำการดูดออกมาแต่ให้ร่างกายค่อย ๆ ทำการขับออกมาเองตามธรรมชาติก็ได้ การใช้เลเซอร์สามารถช่วยลดไขมันส่วนเกินที่บริเวณใต้กระพุงแก้มได้อย่างถาวร และไม่ทำให้ผิวหนังเป็นคลื่นในบริเวณทำการสลายไขมันไปอีกด้วย
1.3 การผ่าตัดไขมันใต้กระพุ้งแก้ม ( Buccal Fat Pad Removal )
การผ่าตัดไขมันเพื่อลดขนาดของ แก้ม นับเป็นการแก้ปัญหาสำหรับผู้ที่มีไขมันใต้กระพุงแก้ม ( Buccal Fat ) ในปริมาณสูง ซึ่งการผ่าตัดจะนำถุงไขมันที่อยู่ในบริเวณใต้กระพุงแก้มออกมา ทำให้กระพุงแก้มมีขนาดที่เล็กลง จึงสามารถเปลี่ยนจากใบหน้ารูปกลมโตให้กลายเป็นใบหน้ารูปตัววีได้ โดยการผ่าตัดจะทำการผ่าตัดเปิดแผลที่ขนาดประมาณ 1-1.5 เซนติเมตรในบริเวณฟันกรามที่ภายในช่องปาก เพื่อนำถุงไขมันที่อยู่ใต้กล้ามเนื้อกระพุงแก้มออกมา แล้วจึงทำการเย็บแผล หลังจากที่ทำการผ่าตัดช่วงแรกใบหน้าอาจจะมีการบวมเล็กน้อย ควรทำการประคบเย็นทันทีหลังการผ่าตัด และหลังจากผ่าตัดประมาณ 1-2 เดือน รูปหน้าก็จะเข้าสู่สภาวะปกติ การผ่าตัดนำไขมันกระพุงแก้มเป็นการทำให้แก้มมีขนาดลดลง และใบหน้าเป็นรูปตัววีได้อย่างถาวร เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาไขมันใต้กระพุงแก้มเนื่องจากพันธุกรรม

การ ศัลยกรรม เพื่อลดขนาดของไขมันที่บริเวณใต้กระพุงแก้ม เมื่อนำไขมันออกมาแล้วจัดเป็นการศัลยกรรมที่ช่วยให้รูปหน้าเรียวอย่างถาวร แต่การลดปริมาณไขมันใต้ผิวหนังเป็นการขจัดไขมันแบบชั่วคราวเท่านั้น เพราะว่าไขมันที่บริเวณใต้ผิวหนังสามารถเพิ่มขึ้นได้ เนื่องจากการรับประทานอาหาร เช่น แป้ง น้ำตาล คาร์โบไฮเดรต เป็นต้น ซึ่งสามารถสังเกตได้จากเมื่อมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น รูปหน้าจะเปลี่ยนเป็นกลมโตขึ้น แต่เมื่อน้ำหนักลดลงรูปหน้าก็จะเล็กลงตามไปด้วยนั่นเอง

การยกกระชับแก้มจะช่วยทำให้กล้ามเนื้อเกิดการหดเกร็งตัวจนริ้วรอยหรือร่องแก้มที่ลึกคลายตัว และช่วยยกกระชับกล้ามเนื้อให้ตึงทำให้ริ้วรอยเหี่ยวย่นและร่องแก้มลดลง

2.แก้มตอบ ร่องแก้มลึก
ปัญหา แก้ม ตอบหรือร่องแก้มลึก จะส่งผลให้ใบหน้าแลดูโทรม หน้าแก่กว่าวัย ซึ่งไม่เป็นที่ต้องการของใครหลายคน ซึ่งการแก้ไขปัญหาแก้มตอบหรือร่องแก้มลึก สามารถทำได้ดังนี้ 
2.1 การฉีดฟิลเลอร์ (Filler)
ฟิลเลอร์หรือสารไฮยาลูรอนิค แอซิด (HA) ที่จัดเป็นสารเติมเต็มที่ช่วยแก้ไขปัญหาร่องแก้มลึกหรือแก้มตอบ ด้วยการฉีดฟิลเลอร์เข้าสู่บริเวณแก้ม แล้วฟิลเลอร์จะทำการรวมกับน้ำและเก็บกักน้ำไว้ ทำให้แก้มเพื่อเติมเต็มร่องแก้มให้ตื้นขึ้น ส่งผลให้ใบหน้าแลดูอวบอิ่ม ผิวเรียบเนียน ซึ่งการฉีดฟิลเลอร์ควรเลือกฉีดแบบชั่วคราวหรือกึ่งถาวร เพราะสามารถเพิ่มและปรับเปลี่ยนลักษณะของแก้มให้เหมาะกับช่วงอายุได้ตลอดเวลา การฉีดฟิลเลอร์เหมาะสำหรับแก้มทที่ตอบไม่มากหรือร่องแก้มตื้น ๆ หรือคนที่ผอมไม่มีไขมันเพียงพอในการนำมาฉีดเติมเต็ม

2.2 การฉีดไขมัน ( Lipofilling )
การฉีดไขมันสามารถช่วยแก้ไขปัญหา แก้ม ตอบหรือร่องลึกได้ ด้วยการนำไขมันจากส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย เช่น หน้าท้อง ต้นขา เป็นต้น มาผ่านกรรมวิธีเตรียมไขมันให้เหลือเฉพาะไขมันที่สามารถนำมาฉีดเข้าสู่ร่างกายได้เท่านั้น แล้วจึงนำไขมันดังกล่าวมาฉีดเข้าสู่บริเวณแก้ม ทำให้แก้มมีความเอิบอิ่ม ใบหน้าแลดูสดใส อ่อนเยาว์ ซึ่งการฉีดไขมันผิวหนังทีแก้มจะเรียบเนียนไม่เป็นผิวส้มอย่างแน่นอน และไม่มีการเกิดอาการแพ้หรืออาการข้างเคียงที่เกิดจากร่างกายได้รับสิ่งแปลกปลอม เนื่องจากไขมันที่นำมาฉีดเป็นไขมันที่มาจากร่างกายของเรานั่นเอง การฉีดไขมันเหมาะสำหรับผู้ที่ไขมันเพียงพอกับขนาดของร่องลึกบนแก้ม เพราะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดอาการข้างเคียงได้เป็น
2.3 การศัลยกรรมเสริมแก้มเทียม
การ ศัลยกรรม เสริม แก้ม ด้วยการใช้แก้มเทียมเป็นการศัลยกรรมที่สามารถแก้ไขปัญหาแก้มตอบหรือร่องลึกได้อย่างถาวร ซึ่งแก้มเทียมที่นิยมใช้จะทำจากวัสดุที่มีความทนทานและเหมาะสม เช่น ซิลิโคน กระดูกของตัวผู้เข้ารับการศัลยกรรม เช่น กระดูกสะโพก กระดูกหน้าอก เป็นต้น โดยแพทย์จะทำการผ่าตัดเปิดแผลที่ภายในช่องปาก ที่บริเวณเหงือกด้านบนของฟันบนที่เชื่อมกับบริเวณของแก้ม แล้วจึงทำการสอดแก้มเทียมเข้าสู่บริเวณแก้มที่ต้องการเสริม แล้วจึงเย็บปิดแผล

3.แก้มเหี่ยวย่น
เมื่ออายุมากขึ้น ผิวเริ่มมีความเสื่อมส่งผลให้ผิวหนังขาดความชุ่มชื่นและเหี่ยวย่นมากขึ้น โดยเฉพาะคนที่มี แก้ม ป่องหรือมีเนื้อที่แก้มมาก เมื่อมีอายุมากขึ้นแก้มจะเกิดการหย่อนคล้อย ซึ่งสามารถแก้ไขความหย่อนคล้อยที่เกิดขึ้นได้ดังนี้
3.1 การฉีดโบท็อก ( Botulinum toxin )
การฉีดสารโบทูลินั่ม ท็อกซิน ( Botulinum toxin ) เพื่อยกกระชับแก้มให้เต่งตึง ไม่หย่อนคล้อย โดยโบทูลินั่ม ท็อกซินจะเข้าไปทำให้กล้ามเนื้อที่เกิดการหดเกร็งตัวจนเกิดเป็นริ้วรอยหรือร่องแก้มที่ลึกเกิดการคลายตัว และช่วยยกกระชับกล้ามเนื้อที่มีการหย่อนคล้อยให้เกิดการตึงกระชับจึงสามารถลดริ้วรอยเหี่ยวย่นและร่องแก้มได้ เหมาะสำหรับการแก้ไขปัญหาริ้วรอยเหี่ยวย่นเพียงเล็กน้อย
3.2 การใช้เลเซอร์ ( LASER )
การใช้เลเซอรร์สามารถช่วยยกกระชับแก้มให้เต่งตึงได้ เพราะเลเซอร์จะเข้าไปกระตุ้นการสร้างคอลลาเจน ( Collagen ) และอีลาสติน ( Elastin ) ใต้ผิวหนังให้เพิ่มขึ้น ทำให้ผิวหน้ามีปริมาณคอลลาเจนและอีลาสตินใต้ผิวที่บริเวณแก้มเพิ่มขึ้น จึงทำให้แก้มแต่งตึง เหมาะสำหรับผู้ที่มีริ้วรอยเพียงเล็กน้อยเพราะการฉายแสงเลเซอร์จะช่วยให้ริ้วรอยดังกล่าวหายได้

3.3 การร้อยไหม ( Threadlift )
คือการยกกระชับด้วยการร้อยไหม เพราะไหมที่ร้อยเข้าไปใต้ผิวหนังบริเวณ แก้ม จะเข้าไปกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนที่อยู่ใต้ผิวให้เพิ่มมากขึ้น ทำให้แก้มมีความเต่งตึงจึงสามารถช่วยลดริ้วรอยเหี่ยวย่นได้
3.4การผ่าตัดเพื่อยกกรับ ( Facelift )
การผ่าตัดเป็นการลดริ้วรอยเหี่ยวย่นหรือความหย่อนคล้อยของแก้มที่ได้ผลมากที่สุด โดยแพทย์จะทำการผ่าตัดเพื่อดึงหน้าให้ตึงและตัดผิวหนังส่วนเกินที่ทำให้เกิดความหย่อนคล้อยออกไป แล้วจึงทำการเย็บปิดแผล ซึ่งแผลจะอยู่บริเวณไรผมหรือหลังหู ซึ่งสังเกตเห็นได้ยาก โดยเหมาะกับผู้ที่มีผิวหน้าเหี่ยวย่นมาก ๆ หรือมีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป เพราะผิวหนังมีความเสื่อมสูงแล้ว อัตราการเปลี่ยนแปลงของผิวน้อย ดังนั้นเมื่อทำการผ่าตัดแล้วผลการดึงจะทำให้แก้มเต่งตึงได้เป็นระยะเวลานานขึ้นนั่นเอง

จะพบว่า ศัลยกรรม แก้ม มีอยู่ด้วยกันหลายแบบเพื่อสร้างรูปหน้าที่สวยงาม ซึ่งการจะเลือกใช้วิธีการศัลยกรรมแบบใดนั้น ต้องขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์ เพราะนอกจากปัญหาที่เกิดขึ้นแล้วยังต้องคำนึงถึงความพร้อมของผู้เข้ารับการศัลยกรรมอีกด้วย

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

Tessier, P. (September 1979). “Facelifting and frontal rhytidectomy”. Transactions of 7th international conference on Plastic and Reconstructive Surgery.

Skoog, Tord Gustav (1974). Plastic Surgery: New Methods and Refinements. Saunders. p. 500. ISBN 978-0721683553.

Mitz, V.; Peyronie M. (July 1976). “The superficial musculo-aponeurotic system (SMAS) in the parotid and cheek area”. Plast Reconstr Surg. 1. 58 (1): 80–8.