Home Blog Page 140

อาหารและโภชนาการที่เสริมสร้างสมรรถภาพทางกาย

0
เสริมสร้างร่างกายด้วยโภชนาการที่สมดุล
โภชนาการเป็นการเลือกรับประทานแล้วมีประโยชน์และไม่สร้างโทษต่อร่างกายเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดตามมา
เสริมสร้างร่างกายด้วยโภชนาการที่สมดุล
โภชนาการเป็นการเลือกรับประทานที่มีประโยชน์และไม่สร้างโทษต่อร่างกายเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดตามมา

อาหารและโภชนาการที่เสริมสร้างสมรรถภาพทางกาย

อาหารเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับร่างกายของมนุษย์และสิ่งมีชีวิตทุกชนิดอาหาร คือ สิ่งที่เรารับประทานแล้วมีประโยชน์และไม่สร้างโทษต่อร่างกายของเรา เมื่อเรารับประทานอาหารเข้าไปอาหารและโภชนาการที่เสริมสร้างสมรรถภาพทางกายจะทำให้เราสามารถใช้ชีวิตต่อไปได้ส่วนประกอบที่สำคัญของอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายของเราก็คือ สารอาหารที่อยู่ภายในอาหารนั่นเอง

สารอาหารหรือสารประกอบทางเคมีที่มีอยู่ในอาหาร เมื่อเราทานอาหารและโภชนาการที่เสริมสร้างสมรรถภาพทางกายรับประทานอาหารเข้าไปร่างกายจะทำการย่อยอาหารเพื่อสกัดเอาสารอาหารที่มีอยู่ในอาหารออกมา อาหารแต่ละอย่างจะประกอบสารอาหารที่ต่างกันไป โดยที่อาหารแต่ละอย่างอาจจะมีสารอาหารมากกว่าหนึ่งชนิดรวมตัวอยู่ด้วยกัน
โดยปกติแล้วร่างกายของเรามีความต้องการสารอาหารเพื่อการดำรงชีวิตอย่างน้อยวันละ 40 กว่าชนิด หรือรวมกันคืออาหารหลัก 5 หมู่ที่เรารู้จักกัน ได้แก่

อาหารหมู่ที่ 1 โปรตีนประกอบด้วยเนื้อสัตว์ ไข่ นม ถั่วอาหารประเภทเนื้อสัตว์ นม ไข่ และถั่วต่างๆ
อาหารหมู่ที่ 2 คาร์โบไฮเดรต ประกอบไปด้วยข้าว น้ำตาล แป้ง มัน และเผือก เป็นต้น
อาหารหมู่ที่ 3 เกลือแร่หรือแร่ธาตุ ประกอบด้วยผักทุกชนิดที่สามารถนำมารับประทานได้โดยที่ไม่เป็นโทษต่อร่างกาย
อาหารหมู่ที่ 4 วิตามิน ประกอบด้วยผลไม้ชนิดทุกชนิดที่สามารถรับประทานได้ โดยไม่เป็นโทษต่อร่างกาย
อาหารหมู่ที่ 5 ไขมัน ประกอบด้วยกะทิมะพร้าว น้ำมันหรือไขมันจากสัตว์และน้ำมันพืช เช่น น้ำมันรำ น้ำนมถั่วเหลือง และน้ำมันปาล์ม เป็นต้น
ซึ่งอาหารทั้ง 5 หมู่มีประโยชน์ต่อร่างกายที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ

1.กลุ่มสารอาหารที่ให้พลังงานกับร่างกาย
เราเรียกสารอาหารกลุ่มนี้ว่า “ สารอาหารหลัก ( Macronutrients ) ” ได้แก่ อาหารหมู่ที่ 1,2 และหมู่ที่ 5 อาหารทั้ง 3 หมู่นี้จะเป็นแหล่งที่ให้พลังงานกับร่างกายโดยตรงเมื่อรับประทานเข้าไปร่างกายจะขาดอาหารกลุ่มนี้ไม่ได้เด็ดขาด เพราะจะทำให้ร่างกายไม่มีแรงในการทำกิจกรรม เช่น การยืน เดิน นั่ง คิด เป็นต้น

2.กลุ่มสารอาหารที่ไม่ให้พลังงานกับร่างกาย
เราเรียกสารอาหารกลุ่มนี้ว่า “สารอาหารรอง ( Micronutrients ) ” ได้แก่ อาหารที่อยู่ในกลุ่มที่ 3 และ 4 คือ วิตามินและเกลือแร่อาหารที่อยู่ใน 2 หมู่นี้แม้จะไม่ได้เป็นแหล่งพลังงานโดยตรงของร่างกาย แต่มีหน้าที่ในการนำพาสารอาหารในกลุ่มหลักเข้าสู่ร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ถึงแม้ว่าสารอาหารในกลุ่มนี้จะเป็นสารอาหารที่ไม่ให้พลังงานกับร่างกาย ทว่าร่างกายก็ไม่สามารถขาดสารอาหารกลุ่มนี้ได้เช่นเดียวกับสารอาหารกลุ่มแรก เพราะว่าถ้าเราขาดสารอาหารในกลุ่มนี้จะส่งผลให้ระบบการทำงานของร่างกายเกิดความผิดปกติขึ้น ระบบภูมิต้านทานโรคน้อยลง ป่วยบ่อยและส่งผลให้เกิดโรคที่มีความร้ายแรงในอนาคตได้   

อาหารและโภชนาการที่เสริมสร้างสมรรถภาพทางกายมีสารอาหารทุกอย่างล้วนมีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของเรา ทว่าสภาวะการในปัจจุบันนี้ที่คนเราต้องอยู่กับความเร่งรีบไปเสียทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการทำงาน การเดินทาง การพักผ่อน โดยเฉพาะเรื่องของอาหารการกินที่มีการดูแลเอาใจใส่เรื่องคุณค่าทางโภชนาการของอาหารน้อยลง หันไปเน้นเพียงแต่ความรวดเร็วเพื่อประหยัดเวลาในการปรุงให้น้อยที่สุด จะได้มีเวลาไปทำกิจกรรมอย่างอื่นมากขึ้น ส่งผลให้ร่างกายได้รับสารอาหารบางชนิดมากเกินความจำเป็นแต่ได้รับสารอาหารบางชนิดน้อยหรือไม่ได้รับเลยจนเกิดเป็นภาวะโภชนาการขาดความสมดุลขึ้น

อาหารและโภชนาการที่เสริมสร้างสมรรถภาพทางกาย มีอาหารที่มีจำหน่ายอยู่ทั่วไป หลัก ๆ จะปรุงด้วย แป้ง ข้าว น้ำตาลและน้ำมันเป็นหลัก เพราะมีราคาถูก ปรุงง่าย รสชาติอร่อย กินแล้วให้พลังงานสูง อิ่มนาน มีส่วนประกอบเป็นผักและผลไม้ในปริมาณที่น้อยมาก ทำให้ร่างกายเกิดภาวะขาดสารอาหารประเภทวิตามินและเกลือแร่ แม้ว่าสารอาหารกลุ่มนี้จะไม่มีผลกับการได้รับพลังงานของร่างกาย นั่นคือ กินหรือไม่กินเราก็มีพลังงานในการทำกิจวัตรประจำวันได้ แต่รู้หรือไม่ว่าการขาดสารอาหารในกลุ่มนี้ โดยเฉพาะ แคลเซียม ( Calcium ) และคอนดรอยติน ( Chondroitin ) ที่จะส่งผลในระยะยาวเกี่ยวกับโครงสร้างของกระดูก รวมถึงการเกิดกระดูกสันหลังผิดรูปทรงตามธรรมชาติ เนื่องจากการเสื่อมของกระดูกอีกด้วย

ภาวะการขาดแคลเซียม

แคลเซียม ( Calcium ) คือ แร่ธาตุเป็นองค์ประกอบสำคัญของกระดูกและฟันเป็นส่วนใหญ่ทำหน้าที่เพิ่มการเจริญเติบโตและเพิ่มความแข็งแรงให้กับกระดูกและฟัน และยังมีแคลเซียมอีกจำนวนหนึ่งจะอยู่ในกระแสเลือดหรือเรียกว่า “ ฟังก์ชันแนลแคลเซียม ( Functional Calcium ) ”แคลเซียมส่วนนี้จะช่วยในการทำงานของกล้ามเนื้อโดยช่วยให้กล้ามเนื้สามารถยืดและหดตัวได้ดี เช่น การยืดและหดตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ เป็นต้น ช่วยเป็นตัวส่งผ่านของสัญญาณของเซลล์ประสาทในการสื่อสารของระบบประสาท ยังช่วยรักษาภาวะความเป็นกรด-ด่างช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทาน และช่วยให้เลือดแข็งตัวได้เร็วในกรณีที่มีบาดแผลเกิดขึ้น ปกติผู้ใหญ่จะต้องได้รับแคลเซียมวันละประมาณ 1,000 มิลลิกรัม แต่ถ้าได้รับน้อยกว่าวันละ 800 มิลลิกรัมจะทำให้มีความเสี่ยงในการภาวะขาดแคลเซียม
ภาวะขาดแคลเซียมเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น อายุ โดยเฉพาะในผู้หญิงที่เข้าสู่วัยทอง ( ผู้หญิงที่หมดประจำเดือน ) ผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์ เนื่องจากร่างกายต้องการแคลเซียมเพื่อส่งให้ทารกในครรภ์ใช้ในการสร้างโครงสร้างกระดูกของตัวอ่อน หรือเกิดจากการที่รับประทานอาหารที่มีปริมาณแคลเซียมไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย 

เมื่อร่างกายมีภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำจะส่งผลให้เกิดอาการสับสัน ขี้หลงขี้ลืม ปลายนิ้วมีอาการชา กล้ามเนื้อมีอาการกระตุก หรือเกิดอาการซึมเศร้า เมื่อร่างกายได้รับแคลเซียมจากภายนอกไม่เพียงพอต่อความต้องการ ร่างกายจะทำการดึงแคลเซียมที่อยู่ภายในกระดูกและฟันออกมาใช้ทดแทนแคลเซียมที่ขาดไป หรือที่เรียกว่า “ ภาวะแคลเซียมพาราดอกซ์ ( Calcium Paradox ) ” หรือ “ ภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ ( HYPOCALCEMIA )” โดยที่ภาวะนี้จะเกิดขึ้นเมื่อร่างกายมีปริมาณแคลเซียมในเลือดที่น้อยมาก แล้วทำให้การทำงานของต่อมพาราไทรอยด์ ( Parathyroid Glands ) ที่มีหน้าที่ทำการสลายแคลเซียมที่อยู่ในกระดูกและฟันออกมา ทำการดึงแคลเซียมออกมามากผิดปกติ เพื่อที่จะรักษาสมดุลของแคลเซียมในกระแสเลือด ส่งผลให้ปริมาณแคลเซียมที่อยู่ในกระดูกและฟันมีปริมาณที่น้อยลง จึงเกิดภาวะกระดูกเสื่อมหรือกระดูกพรุนได้ง่ายขึ้น แต่ถ้าปริมาณฟังก์ชั่นแคลเซียมมีอยู่ในกระแสเลือดมี่ปริมาณสูงเกินความจำเป็นที่ร่างกายต้องนำไปใช้ ฟังก์ชั่นแคลเซียมนี้จะทำการสะสมอยู่ตามผนังกล้ามเนื้อของเส้นเลือด ส่งผลให้หลอดเลือดมีการหดตัวมากขึ้น จนเกิดภาวะความดันโลหิตสูงตามมา หรือสะสมอยู่ในกระเพาะปัสสาวะ ถุงน้ำดี เกิดนิ่วในกระเพาะอาหารหรือถุงน้ำดีได้ การทำงานของกระดูกและข้อต่อกระดูกจะทำงานได้เมื่อกระดูกแคลเซียมที่สร้างความแข็งแรงและมีปริมาณของไกลโคอมิโนไกลคอน ( Glycosaminoglycans ( GAGs ) ) หรือ มิวโคโพลิแซกคาไรด์ ( Mucopolysaccharides ) ที่เข้ามาทำงานร่วมกับแคลเซียมและคอลลาเจน ในการสร้างกระดูกอ่อนที่ทำหน้าที่ในการรองรับช่วงรอยต่อและเชื่อมต่อกระดูกแต่ละส่วนเข้าด้วยกัน

ซึ่งไม่ว่าแคลเซียมหรือนิวโคโพลิแซกคาไรด์อยู่ในภาวะขาดแคลนจะส่งผลให้ร่างกายเกิดความเจ็บปวดเนื่องจากภาวะกระดูกพรุน กระดูกเสื่อมซึ่งเป็นที่มาของโรคกระดูกสันหลังผิดรูปทรงตามธรรมชาติอีกด้วย
ดังนั้นเมื่อเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะขาดสารอาหารแล้ว เราจำเป็นต้องรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมในปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการ แต่สำหรับในผู้ที่ไม่สามารถกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ได้ ด้วยความจำเป็นของการใช้ชีวิต ก็มีทางเลือกที่ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะดังกล่าวได้ นั่นคือ การรับประทานอาหารเสริมที่ช่วยเสริมแคลเซียมและไกลโคอมิโนไกลคอน ( Glycosaminoglycans ( GAGs ) ) อย่างเช่น คอนดรอยติน ( Chondroitin )
คอนดรอยติน ( Chondroitin ) เป็นไกลโคอะมิโนไกลคอน ( Glycosaminoglycans ( GAGs ) )ชนิดหนึ่ง ที่มีทำหน้าที่เหมือนกับไกลโคอมิโนไกลคอนและพบอยู่ในร่างกายตามธรรมชาติ พบได้ที่บริเวณข้อต่อตามอวัยวะของร่างกาย โดยจะพบมากที่บริเวณกระดูกอ่อน คอนดรอยตินมีหน้าที่ช่วยลดการเสียดสีของกระดูกส่วนปลายที่ต้องเชื่อมต่อกันของกระดูกที่บริเวณข้อต่าง ๆ ช่วยในการสร้างเนื้อเยื่อชนิดเกี่ยวพันที่พบอยู่ในร่างกายทั้งหมด โดยเฉพาะเนื้อเยื่อส่วนที่เป็นข้อต่อ ช่วยทำการเก็บรักษาของเหลวและน้ำบริเวณข้อต่อ สารชนิดนี้จึงสามารถเพิ่มความยืดหยุ่นและการหล่อลื่นของเนื้อเยื่อทั่วไปและบริเวณข้อต่อ ทำให้ข้อต่อสามารถขยับได้อย่างลื่นไหลไม่มีการสดุดหรือติดขัดเกิดขึ้น
การรับประทานอาหารเสริมเพื่อเพิ่มปริมาณแคลเซียมและไกลโคอะมิโนไกลคอน ( glycosaminoglycans ( GAGs ) )ในร่างกายเป็นสิ่งที่สามารถทำได้ แต่ว่าการรับประทานอาหารเสริมมากเกินไปก็จะส่งผลเสียต่อร่างกายได้เช่นเดียวกัน   

อาหารและโภชนาการที่เสริมสร้างสมรรถภาพทางกายก็ควรรับประทานในปริมาณที่น้อยกว่าหรือพอดีกับความต้องการของร่างกายต่อวัน อย่ารับประทานจนเกือบเท่าปริมาณสูงสุดที่ร่างกายรับได้ เพราะว่าอาหารที่เรารับประทานตลอดทั้งวันอาจจะมีองค์ประกอบ่ของแคลเซียมจากธรรมชาติอยู่แล้ว เมื่อรับประทานอาหารเสริมเข้าไปอาจจะทำให้ปริมาณแคลเซียมที่ได้รับต่อวันสูงเกินกว่าค่าที่ควรได้รับ ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อร่างกายได้ แต่ถ้าเรารับประทานอาหารเสริมในปริมาณเท่ากับปริมาณที่ต้องการต่อวันแล้ว เมื่อได้รับแคลเซียมจากอาหารเพิ่มเข้าไปปริมาณแคลเซียมที่ร่างกายได้ย่อมไม่เกินปริมาณสูงสุดที่รับได้แน่นอน

กอาหารและโภชนาการที่เสริมสร้างสมรรถภาพทางกายต่างจากอาหารทั่วไปไม่สามารถทำให้ร่างกายได้รับปริมาณวิตามินและเกลือแร่ที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย โดยเฉพาะในสภาวะเศรษฐกิจและสังคมในยุคปัจจุบันที่มีแต่ความเร่งรีบ อาหารที่เรารับประทานล้วนมีแต่สารให้พลังงานสูงแต่มีวิตามินและเกลือแร่ที่จำเป็นต่อความต้องการของร่างกายน้อยมาก ดังนั้นเราจึงควรรับประทานอาหารเสริมควบคู่กับการรับประทานอาหารหลักทั้ง 5 หมู่ เพื่อที่ร่างกายจะได้รับสารอาหารครบถ้วน เมื่อร่างกายได้รับสารอาหารที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย สุขภาพร่างกายที่แข็งแรงและอายุที่ยืนยาวนับ 100 ปีก็อยู่ไม่ห่างไกล

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

โทะชิมะสะ โอตะ. ปรับรูปร่างด้วยมือเปล่า สร้างหุ้นฟิต พิชิตโรค. กรุงเทพฯ : อมรินทร์เฮลท์ อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2560.

http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/316/contact.php.

การถดถอยในการประกอบกิจวัตรประจำวันที่เกิดจากสมองเสื่อม

0
การถดถอยในการประกอบกิจวัตรประจำวันที่เกิดจากสมองเสื่อม
สมองเสื่อมทำให้มีการถดถอยในการประกอบกิจวัตรประจำวัน ทำกิจกรรมต่างๆช้าลงหรืออาจทำไม่ได้เลย
การถดถอยในการประกอบกิจวัตรประจำวันที่เกิดจากสมองเสื่อม
สมองเสื่อมทำให้มีการถดถอยในการประกอบกิจวัตรประจำวัน ทำกิจกรรมต่างๆช้าลงหรืออาจทำไม่ได้เลย รวมไปถึงการปรับตัวเข้าสังคม

สมองเสื่อม

เรามักจะเปรียบเทียบสมองของคนเหมือนกับซีพียูของเครื่องคอมพิวเตอร์ คือเป็นหน่วยประมวลผลที่สำคัญที่สุด หากซีพียูเสียหายหรือมีส่วนใดผิดปกติไป คอมพิวเตอร์เครื่องนั้นก็ทำอะไรไม่ได้ต้องซ่อมแซมในส่วนที่มีปัญหาเสียก่อน    แม้ว่าจะไม่เหมือนซะทีเดียวแต่การอุปมาอุปไมยแบบนี้ก็พอช่วยให้เรามองเห็นภาพรวมๆ ได้ว่า สมองนั้นมีส่วนสำคัญในการดำรงชีวิตมากมายขนาดไหน การตัดสินใจ การคิดวิเคราะห์ การแก้ปัญหา การใช้ภาษา การเคลื่อนไหวที่ต้องควบคุม เช่น การขยับแขนขา การส่ายหน้า เป็นต้น และการเคลื่อนไหวแบบที่ไม่ต้องควบคุม คือเป็นไปตามธรรมชาติไม่ว่าเราจะรู้ตัวหรือไม่ เช่น การเต้นของหัวใจ เป็นต้น ทั้งหมดทั้งมวลล้วนต้องผ่านการทำงานของสมองทั้งสิ้น เมื่อ สมองเสื่อม หรือเกิดความเสียหายขึ้นจนไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ ทุกอย่างในร่างกายจึงเข้าสู่สภาวะถดถอยไปเรื่อยๆ จะเร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับกระบวนการรักษาและตัวผู้ป่วยเอง
ความสามารถของสมองเราอาจแบ่งเป็นกลุ่มได้ 6 กลุ่ม ดังนี้

การรับรู้ ประสาทสัมผัสทั้งหมด รูป รส กลิ่น เสียง
ความจำ ข้อมูลหรือเรื่องราวที่มีประสบการณ์ผ่านมา เรียนรู้มา
เหตุผล การหาความเชื่อมโยงในการเกิดของบางสิ่งบางอย่าง และวิเคราะห์ความเป็นไปต่อได้
จินตนาการ การนึกวาดภาพหรือสร้างภาพขึ้น โดยอาศัยสิ่งที่ได้รับรู้มาก่อนบวกกับความสร้างสรรค์
ความคิด การวิเคราะห์ข้อมูลที่ผ่านเข้ามาในทุกๆ ด้าน เพื่อความเข้าใจและการตกผลึก หรือเพื่อหาทางต่อยอดไปสู่สิ่งอื่น
การตัดสินใจ การเลือกเส้นทาง วิธีการ หรือรูปแบบที่ต้องการในสถานการณ์ต่างๆ

ทั้งผู้ป่วยอื่นๆ และผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมจะมีลักษณะถดถอยบางอย่างที่ทับซ้อนหรือคล้ายคลึงกันอยู่ ดังนั้นแพทย์และผู้เชี่ยวชาญจึงต้องมีรูปแบบที่ใช้เพื่อวินิจฉัยผู้ป่วยร่วมกับการตรวจวัดด้วยเครื่องมืออื่นๆ ว่าความถดถอยที่เกิดขึ้นเป็นผลมาจากสมองเสื่อมหรือไม่

ผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมจะมีอาการถดถอยทางความสามารถของสมอง ดังต่อไปนี้

  • คิดวิเคราะห์ วางแผน จัดลำดับความสำคัญไม่ได้ ไม่เข้าใจในเหตุผลต่างๆ
  • มีความบกพร่องในการใช้ภาษาเพื่อสื่อสาร ทั้งๆ ที่เคยทำได้ดีมาก่อน เช่น พูดไม่ถูก เรียกชื่อสิ่งของไม่ได้ ไปจนถึงพูดไม่ได้เลย
  • มีปัญหาในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ตลอดจนการดึงความรู้เดิมๆ ที่มีอยู่แล้วออกมาใช้ด้วย
  • มีปัญหาเกี่ยวกับความทรงจำ การจดจำและความเข้าใจบางอย่างสูญหายไป
  • เคลื่อนไหวไม่คล่องแคล่วดังเดิม ควบคุมอวัยวะไม่ค่อยได้ทำให้ทำงานและกิจวัตรประจำวันได้ลำบาก
  • ขาดสมาธิ ไม่สามารถจดจ่ออยู่กับอะไรได้เป็นเวลานาน
  • เริ่มมีความบกพร่องในการเข้าสังคม การร่วมทำกิจกรรมต่างๆ ไม่ราบรื่นและยุ่งยากมากขึ้นเรื่อยๆ

เมื่อผู้ป่วยมีความบกพร่องในด้านหนึ่งแล้ว ก็สามารถบกพร่องด้านอื่นๆ ได้เพิ่มอีกในภายหลัง และยังเพิ่มระดับความรุนแรงของการถดถอยได้ตลอดเวลา หากไม่ทำการรักษาและบำบัดอย่างถูกวิธี หลายคนมีอาการถดถอยทางสมรรถภาพของสมองโดยไม่รู้ตัว เพราะยังออกไปทำงานต่างๆ ได้เหมือนปกติ เพียงแค่บางครั้งทำอะไรที่ซับซ้อนมากไม่ได้ เมื่อเกิดเหตุการณ์แบบนี้ก็มักจะคิดว่าความสามารถของตัวเองไม่ถึงหรือไม่เคยทำจึงทำไม่เป็นเท่านั้น เช่น นักบัญชีที่คิดเลขได้คล่องแคล่วมาตลอด แล้วอยู่ๆ วันหนึ่งก็ไม่สามารถทำได้แบบเดิมหรือทำได้ช้าลง อีกตัวอย่างคือครูที่สอนได้ตามปกติแต่ไม่สามารถแก้ปัญหาจำนวนข้อสอบกับจำนวนนักเรียนที่ไม่เท่ากันได้ และนี่ก็เป็นสัญญาณที่อาจจะเล็กน้อยจนเกิดการมองข้ามไป ถือเป็นการปล่อยให้ความถดถอยนั้นเพิ่มระดับมากขึ้นเรื่อยๆ โดยไม่ทำการรักษาเลย

ระยะการถดถอยของผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมที่เกี่ยวกับกิจวัตรประจำวัน

ระยะการถดถอยของผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมที่เกี่ยวกับกิจวัตรประจำวันจะแบ่งระยะเป็น 3 ช่วง คือ ระยะที่มีผลต่องานและสังคม ระยะที่เกี่ยวกับการดูแลตนเอง และระยะที่เกี่ยวกับการรู้จักตนเอง

ระยะที่มีผลต่องานและสังคม : เมื่อเกิดภาวะโรคสมองเสื่อมขึ้นและเริ่มมีความถดถอย ระยะแรกสุดจะเกิดความบกพร่องกับการเข้าสังคมและส่งผลต่ออาชีพการงานที่ทำอยู่ หากเป็นในผู้สูงอายุคงไม่เท่าไร แต่มีคนมากถึงร้อยละ 15 ที่ต้องพบเจอปัญหานี้ในช่วงวัยทำงาน หรือที่เรารู้จักกันดีในโรค “ สมองเสื่อมก่อนวัย ” ซึ่งเป็นความผิดปกติของกลุ่มสมองกลีบหน้าและกลับขมับฝ่อ ดังนั้นจึงมีปัญหาทั้งเรื่องของเนื้องาน เพื่อนร่วมงานและสังคมที่เชื่อมโยงกับผู้ป่วย จากที่ทำงานได้ง่ายๆ สบายๆ ก็จะรู้สึกยากขึ้น เป็นต้น

ระยะที่เกี่ยวกับการดูแลตนเอง : ระยะนี้เน้นไปที่การทำกิจวัตรประจำวันที่ควรทำได้ตามปกติ แต่ก็เกิดทำไม่สะดวกหรือทำไม่ได้ขึ้นมา โดยเรื่องของกิจวัตรประจำวันยังแบ่งย่อยได้อีก 2 ประเภท คือ กิจวัตรประจำวันขั้นพื้นฐานและกิจวัตรประจำวันขั้นสูง ซึ่งจะกล่าวรายละเอียดในลำดับถัดไป ช่วงนี้คนใกล้ชิดจะเริ่มมองเห็นความผิดปกติแล้ว แต่จะจับสัญญาณได้หรือไม่ก็อยู่ที่ความใส่ใจและระดับความสนิทสนมของคนใกล้ชิดกับผู้ป่วย

กิจวัตรประจำวัน 2 ประเภท

กิจวัตรประจำวันขั้นพื้นฐาน ( Basic Activities of Daily Living ) เป็นกิจกรรมที่ทำได้ง่ายๆ ไม่มีลำดับขั้นตอนที่ซับซ้อนมากนัก เช่น การเดิน กิน นั่ง ลุกขึ้นยืน อาบน้ำ ขับถ่าย แต่งตัว เป็นต้น โดยปกติแล้วสิ่งเหล่านี้เราจะทำได้เอง ไม่จำเป็นต้องมีคนช่วยดูแล แต่กับผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมที่มีภาวะถดถอยแล้ว มันกลับกลายเป็นเรื่องยากพอสมควร วิธีการสังเกตว่าผู้ป่วยมีความถดถอยในกิจวัตรประจำวันขั้นพื้นฐานหรือไม่ต้องดูที่รายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ เช่น ถ้าผู้ป่วยใส่เสื้อได้เองแต่ติดกระดุมเองได้ช้ากว่าปกติไปมาก หรือมีปัญหากับการอาบน้ำและหลีกเลี่ยงไปด้วยการหาข้ออ้างที่จะยังไม่อาบน้ำ เช่น ยังหนาวอยู่ ยังไม่อยากอาบ ทำให้ต้องคะยั้นคะยอตลอดเวลา แบบนี้ก็ต้องเอะใจก่อนว่ามีสัญญาณของความถดถอยบ้าแล้ว
กิจวัตรประจำวันขั้นสูง ( Instrumental Activities of Daily Living ) เป็นกิจกรรมที่ซับซ้อนขึ้นมาหน่อย เช่น การขับรถ การซักผ้า จ่ายตลาด ทำอาหาร ทำความสะอาดบ้าน เป็นต้น รวมไปถึงกิจกรรมที่ดูเหมือนไม่ซับซ้อนอะไรในขณะที่สมองจำเป็นต้องประมวลผลหลายอย่าง เช่น การเดินขึ้นลงบันได การจัดหนังสือเข้าชั้นหนังสือ เป็นต้น ที่น่าสนใจคือหลายคนมองว่าทักษะหรือสกิลบางอย่างจะเสื่อมถอยลงตามวัยที่เพิ่มมากขึ้น จึงปล่อยปละละเลยไปและคิดว่ามันเป็นเรื่องธรรมดา ทั้งๆ ที่ความจริงแล้วหากร่างกายเรายังสามารถทำสิ่งนั้นได้จะไม่มีทักษะไหนเลยที่เสื่อมลงตามวัย

ระยะที่เกี่ยวกับการรู้จักตนเอง : นี่เป็นระยะที่รุนแรงที่สุด ผู้ป่วยเริ่มไม่รู้จักตนเอง หมายความว่า ไม่สามารถจดจำเรื่องราวบางส่วนของตัวเองได้ ไม่รู้ที่มาที่ไป หรือเครือญาติของตัวเอง บางครั้งก็พบว่าผู้ป่วยจำตัวเองไม่ได้เลยว่าตัวเองเป็นใครก็มีเหมือนกัน

แนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมที่มีภาวะถดถอยในการประกอบกิจวัตรประจำวัน

ความถดถอยที่เกิดขึ้นเป็นผลกระทบจากโรคสมองเสื่อมก็จริง แต่เราสามารถชะลอให้ระดับความถดถอยที่จะแย่ลงเรื่อยๆ นั้นช้าลงได้ หรือหากดูแลได้ดีไปพร้อมกับการรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วย ก็สามารถหยุดไม่ให้การถดถอยนั้นเสื่อมลงไปมากกว่าที่เป็นอยู่ได้ และนี่คือวิธีการดูแลผู้ป่วยเพื่อกระตุ้นความสามารถของสมองในด้านต่างๆ

  • กระตุ้นทักษะที่มีเหลืออยู่โดยหลีกเลี่ยงจุดที่ทำไม่ได้ เพื่อให้ผู้ป่วยมีกำลังใจที่จะลงมือทำอย่างต่อเนื่อง เน้นทำตามกำลังที่มีและตามความเหมาะสมของช่วงวัย เมื่อไรที่อารมณ์ของผู้ป่วยเปลี่ยนแปลงไปเชิงลบ เช่น หงุดหงิด โมโห ต้องหยุดทันที
  • ฝึกให้ทำกิจวัตรประจำวันขั้นพื้นฐานด้วยตัวเองเป็นประจำ โดยผู้ดูแลคอยสังเกตอยู่ห่างๆ อย่ายืนจ้องเหมือนจับผิดหรือคอยระวังแทนผู้ป่วยมากเกินไป จะยิ่งทำให้เกิดความเครียดและมีความรู้สึกว่าตนเองด้อยสมรรถภาพในผู้ป่วย
  • หากผู้ป่วยทำกิจวัตรประจำวันขั้นพื้นฐานได้ดี ก็ให้ลองทำกิจวัตรประจำวันขั้นสูงดูบ้าง แต่ต้องเริ่มจากสิ่งที่ไม่ยากจนเกินไป ให้ทำด้วยความรู้สึกสบายและผ่อนคลายอยู่เสมอ
  • เล่นเกมส์เพื่อเพิ่มกระบวนการคิดและทักษะร่างกายเล็กๆ น้อยๆ
  • ชักชวนให้ผู้ป่วยดึงเอาความสามารถเดิมๆ มาทำ เช่น การวาดภาพระบายสี เล่นดนตรี เย็บปักถักร้อย เป็นต้น

นอกจากกระบวนการที่ต้องกระตุ้นให้ผู้ป่วยสมองเสื่อมได้ทำอย่างต่อเนื่องแล้ว ก็ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่มีผลต่อการพัฒนาของอาการถดถอยให้ไปในทางที่ดีขึ้นหรือแย่ลงได้อีก นั่นคือเรื่องของอาหารการกินที่เป็นประโยชน์ สุขภาพโดยรวม การสนับสนุนของครอบครัวและคนรอบข้าง อาการ ความเปลี่ยนแปลง และระยะของโรคสมองเสื่อมที่เป็นอยู่ ตลอดจนผู้ดูแลซึ่งอยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยมากที่สุด ดังนั้นการปรับทัศนคติที่มีต่อผู้ป่วยของผู้ดูแลจึงสำคัญมาก ถ้าเป็นครอบครัวเดียวกันซึ่งรักใคร่และพร้อมที่จะดูแลเอาใจใส่จะดีมาก แต่ถ้าไม่มีครอบครัวหรือคนในบ้านติดภารกิจอื่นๆ ไปเสียหมด หากจะดูแลกันเองก็ไม่สามารถทำได้เต็มที่จริงๆ มันจะกลายเป็นทำให้เกิดปัญหาเสียมากกว่า แบบนี้ก็ต้องพึ่งผู้เชี่ยวชาญที่มาในรูปแบบของอาสาสมัครแทน และอาสาสมัครที่ว่านี้ก็สามารถสอบถามไปยังสมาคมผู้ดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อมได้เลย

ไม่ว่าผู้ป่วยจะมีความถดถอยอยู่ในระยะไหนก็ตามแต่ การเข้าใจในความเจ็บปวดจากอาการป่วย และสัญญาณแห่งความถดถอยต่างๆ นั้นจำเป็นมากที่จะต้องเรียนรู้ ความใจเย็นและรอบคอบคือพื้นฐานที่ผู้ดูแลต้องมี

เสริมอีกนิดในส่วนของผู้ดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อม ไม่ว่าผู้ป่วยจะมีความถดถอยอยู่ในระยะไหนก็ตามแต่ การเข้าใจในความเจ็บปวดจากอาการป่วย และสัญญาณแห่งความถดถอยต่างๆ นั้นจำเป็นมากที่จะต้องเรียนรู้ ความใจเย็นและรอบคอบคือพื้นฐานที่ผู้ดูแลต้องมี วิธีสื่อสารอย่างมีศิลปะและมีชั้นเชิงจะเป็นอีกตัวช่วยให้การกระตุ้นผู้ป่วยทำได้ง่ายขึ้น ต้องไม่มีคำพูดที่กระทบกระเทือนจิตใจ ไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ก็ตาม หรือแม้แต่จะมีจุดประสงค์เพื่อกระตุ้นการทำกิจกรรมของผู้ป่วย ก็ห้ามใช้คำพูดที่รุนแรงเกินไปควรหันเหไปเลือกการโน้มน้าวแบบอื่นแทน

สิ่งแวดล้อมที่ต้องระวังสำหรับผู้ป่วยสมองเสื่อม

  • ผนัง พื้น และการตกแต่งที่มีสีสันฉูดฉาด มีลวดลายมากเกินไป จะทำให้สมองของผู้ป่วยเกิดความสับสนจนนำไปสู่อันตรายต่อร่างกายได้ เช่น ทรงตัวไม่อยู่ หกล้ม เวียนหัว ปวดศีรษะอย่างรุนแรง
  • ผนัง พื้นที่มีความมันเรียบจนเห็นเป็นเงาสะท้อนคล้ายกระจก มันอาจจะดูสวยงามสำหรับคนปกติ แต่กับผู้ป่วยมันจะสร้างความสับสนในแสงสะท้อนที่เกิดขึ้นอย่างมาก
  • ขั้นบันไดที่มีระดับซับซ้อนแต่ละช่วงสูงต่ำไม่เท่ากัน รวมไปถึงบันได้ที่มีขั้นบันไดแบบปกติทั่วไปแต่มีระยะยาวมาก เพราะการเดินขึ้นลงบันไดถือเป็นกิจวัตรขั้นสูงแล้ว หากสมองไม่สามารถควบคุมการตัดสินใจและการเคลื่อนไหวร่างกายได้ ก็จะเกิดอุบัติเหตุขึ้น
  • การตกแต่งหรือข้าวของที่เปลี่ยนที่วางใหม่ๆ อยู่ตลอด จะสร้างความเครียดให้กับผู้ป่วย ที่ไม่สามารถจดจำได้ว่าอะไรอยู่ที่ไหน และยิ่งถ้าผู้ป่วยเลือกที่จะไม่จำเลยก็จะทำให้ความสามารถด้านความคิดและความจำถดถอยไปอีก
  • ระวังเสียงอึกทึกครึกโครม และเสียงเพลงที่มีจังหวะบีบเค้นโสตประสาท

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

วรพรรณ เสนาณรงค์. รู้ทันสมองเสื่อม / รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงวรพรรณ เสนาณรงค์: กรุงเทพฯ: อมรินทร์เฮลท์ อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2559. (22), 225 หน้า: (ชุดชีวิตและสุขภาพ ลำดับที่ 207) 1.สมอง. 2.สมอง–การป้องกันโรค. 3.โรคสมองเสื่อม. 4.โรคอัลไซเมอร์. 616.83 ว4ร7 ISBN 978-616-18-1556-1.

Walter J, Kaether C, Steiner H, Haass C. The cell biology of Alzheimer’s disease: uncovering the secrets of secretases. Curr Opin Neurobiol. 2001;11(5):585–590.

Sastre M, Steiner H, Fuchs K, et al. Presenilin-dependent gamma-secretase processing of beta-amyloid precursor protein at a site corresponding to the S3 cleavage of Notch. EMBO Rep. 2001;2(9):835–841. 

Lin MT, Beal MF. Alzheimer’s APP mangles mitochondria. Nat Med. 2006;12(11):1241–1243. 

ภาวะถดถอยทางสมองหรือภาวะเอ็มซีไอ ( MCI )

0
ภาวะถดถอยทางสมองหรือภาวะเอ็มซีไอ (MCI)
การเสื่อมของเซลล์ประสาทในสมองทำให้เกิดภาวะสูญเสียความสามารถของสมองในการจำ ต้องตรวจรักษาด้วยเครื่องทีซีสแกน

ภาวะถดถอยทางสมองหรือภาวะเอ็มซีไอ (MCI)
การเสื่อมของเซลล์ประสาทในสมองทำให้เกิดภาวะสูญเสียความสามารถของสมองในการจำ

เอ็มซีไอ ( MCI )

ภาวะถดถอยทางสมอง หรือ Mild Cognitive impairment ( MCI ) เป็นภาวะสูญเสียความสามารถของสมองในการจำ มีสาเหตุมาจากการเสื่อมของเซลล์ประสาทในสมองซึ่งแตกต่างจากการเสื่อมในภาวะปกติตามอายุขัย ปัจจัยที่ก่อให้เกิดการเสื่อมของเซลล์ประสาทที่มากกว่าภาวะปกติ ได้แก่ อุบัติเหตุที่เกี่ยวข้องกับสมอง เนื้องอก การขาดวิตามินและสารอาหาร

การติดสุรา หรือการใช้ยาบางชนิดที่มากเกินไป ภาวะ MCI เป็นอาการเบื้องต้นก่อนจะลุกลามกลายเป็นโรคสมองเสื่อมชนิดอัลไซเมอร์ ( Alzheimer ) โดยถ้าสามารถสังเกตภาวะ MCI ได้ก่อนก็จะช่วยชะลอหรือป้องกันการเกิดโรคสมองเสื่อมชนิดอัลไซเมอร์ ( Alzheimer ) ได้ ความชุกของการเป็นโรคอัลไซเมอร์ทั่วโลกอยู่ที่ 2-4 เปอร์เซ็นต์ที่ช่วงอายุ 65 ปีขึ้นไป ในสหรัฐอเมริกามีการบันทึกสถิติเกี่ยวกับผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์พบว่ามีการป่วยแบบทวีคูณมากขึ้นในทุกช่วงอายุ 5 ปี เช่น ช่วงอายุ 60-64 ปีมีการป่วยอยู่ที่ 1-2 เปอร์เซ็นต์ ช่วงอายุ 70-74 ปี เป็น 12 เปอร์เซ็นต์ และช่วงอายุ 80-84 ปีพบ 31 เปอร์เซ็นต์ โรคสมองเสื่อมชนิดอัลไซเมอร์เป็นที่ทราบกันดีว่าไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ อีกทั้งค่าดูแลรักษาค่อนข้างสูง อยู่ที่ประมาณวันละ 200-300 บาทซึ่งถ้าคิดเป็นรายปีแล้วถือว่าค่อนข้างสูงมาก ดังนั้นการเฝ้าระวังอาการเบื้องต้นจึงเป็นการช่วยชะลอการเกิดโรค รวมถึงลดความรุนแรงของการเป็นโรคสมองเสื่อมชนิดอัลไซเมอร์ได้ สมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับความจำมีหลายรูปแบบดังต่อไปนี้

Mild Cognitive impairment ( MCI ) เป็นภาวะสูญเสียความสามารถของสมองในการจำ มีสาเหตุมาจากการเสื่อมของเซลล์ประสาทในสมองซึ่งแตกต่างจากการเสื่อมในภาวะปกติตามอายุขัย

ความรุนแรงของโรคสมองเสื่อมทำให้ความจำหายไป

ความจำเกี่ยวกับเหตุการณ์ เช่น เมื่อวานนี้ไปทานอาหารเย็นที่ไหน วันหยุดยาวเมื่อต้นปีที่แล้วไปเที่ยวไหนมา หรือสองวันก่อนไปซื้อของที่ห้างไหน โดยผู้ป่วยที่มีการสูญเสียความจำในด้านนี้มีโอกาสที่จะพัฒนาไปเป็นสมองเสื่อมแบบอัลไซเมอร์มากกว่าการสูญเสียความจำแบบอื่นๆ โดยการทำงานของสมองที่เกี่ยวกับเหตุการณ์นี้คือสมองกลีบขมับในส่วนกลาง รวมถึงสมองส่วน Hippocampus และ Parahippocampus

ความจำเกี่ยวกับความหมาย เช่น การจำความรู้ทั่วไป นายกรัฐมนตรีคนแรกของไทย ชื่อเมืองหลวงของประเทศต่างๆ สีประจำชาติ ประจำวัน หรือสัญลักษณ์ประจำเมือง

ความจำเกี่ยวกับการดำเนินกิจกรรม เช่น การขับรถยนต์ การเล่นกีฬาต่างๆ โดยการทำงานของสมองส่วนนี้คือสมองกลีบขมับใน สมองส่วนที่ควบคุมเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของร่างกาย และปมประสาทในการมองเห็น ( Supplementary Motor Areas, Basal Ganglia and Cerebellum ) การสูญเสียความสามารถของสมองส่วนนี้มักพบในผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน

สุดท้ายคือความจำระดับใช้งาน ซึ่งเกี่ยวกับสมองกลีบขมับในส่วนหน้าทั้ง 2 ข้าง ( Prefrontal Cortex ) โดยความจำรูปแบบนี้ได้แก่ การจำหมายเลขโทรศัพท์ได้แม้ไม่ได้จดไว้ การจำแผนที่ ถนนเส้นต่างๆ ที่จะขับรถไป เมื่อจำได้แล้วไม่ได้ใช้ต่ออีกก็จะจำไม่ได้ในเวลาต่อมา

จากที่กล่าวมาทั้งหมดจะเห็นได้ว่าสมองทำงานเกี่ยวกับความจำหลากหลายรูปแบบ และในแต่ละส่วนพื้นที่สมองก็ทำงานต่างกัน สำหรับผู้ป่วยโรคภาวะถดถอยทางสมอง ( MCI ) คือผู้ที่มีความบกพร่องทางสมองเกี่ยวกับความจำ ความผิดปกติของสมองที่เกี่ยวกับความจำที่ต่างกันก็มาจากความผิดปกติของพื้นที่สมองที่แตกต่างกัน จึงจำเป็นที่ผู้ป่วยที่เริ่มมีอาการควรเข้าพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยแยกแยะอาการผิดปกติ หรือผู้ที่อยู่รอบข้างผู้ป่วยควรพาไปพบแพทย์ด้วยเช่นกัน ภาวะสูญเสียความสามารถของสมองในการจำ ( MCI ) สามารถพัฒนาไปเป็นโรคสมองเสื่อมชนิดอัลไซเมอร์ ( Alzheimer ) หรืออาจจะเป็นเพียงแค่อาการเสื่อมทางสมองในภาวะปกติก็ได้ ซึ่งในทางการแพทย์มีกระบวนการวินิจฉัยดังต่อไปนี้

MCI 2 - ภาวะถดถอยทางสมองหรือภาวะเอ็มซีไอ ( MCI )จากแผนภูมินี้สามารถอธิบายได้ถึงวิธีการวินิจฉัยแยกว่าผู้ป่วยมีภาวะการสูญเสียความสามารถทางสมองที่เกี่ยวข้องกับความจำหรือไม่ และอาการบกพร่องเกี่ยวกับด้านความจำเพียงอย่างเดียวหรือมีอาการผิดปกติด้านอื่นร่วมด้วย ซึ่งมีผลในการพิจารณาวิธีรักษาและให้คำแนะนำสำหรับการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยต่อไป

MCI 1 - ภาวะถดถอยทางสมองหรือภาวะเอ็มซีไอ ( MCI )

แผนภูมินี้แสดงถึงพัฒนาการของอาการผิดปกติต่างๆ ไปสู่อาการสมองเสื่อม จะเห็นได้ว่าอาการเริ่มต้นที่แตกต่างกันจะพัฒนาไปเป็นโรคสมองเสื่อมที่แตกต่างกัน

อาการของผู้ที่เป็นโรคสมองบกพร่องความสามารถในการจำ ( MCI ) สามารถเริ่มต้นสังเกตได้ด้วยตนเองหรือคนรอบข้าง เช่น ความสามารถในการจำสิ่งต่างๆ การถามซ้ำคำถามเดิมบ่อยๆ ใช้เวลาในการแก้ปัญหา ให้เหตุผล และการวางแผนต่างๆ นานขึ้น สมาธิสั้นและสนใจกระตุ้นอื่นง่าย เป็นต้น อาการดังกล่าวที่ระบุมาอาจจะพบเจอได้บ้างและไม่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันมากนัก แต่ถ้าพบได้บ่อยหรือมีผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันอย่างมากผู้ป่วยอาจจะอยู่ในภาวะที่เป็นโรคสมองเสื่อมแล้ว

สำหรับผู้ที่มีอาการคล้ายกับอาการโรค MCI ควรจะเข้าพบแพทย์เพื่อทดสอบวินิจฉัยว่ามีโอกาสที่จะเป็น MCI หรือไม่ การวินิจฉัยโรค MCI แพทย์จะมีการตรวจประเมินหลายๆ ด้านร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นการซักประวัติเกี่ยวกับอาการที่เป็นอยู่ การทดสอบด้วยแบบทดสอบ การตรวจสุขภาพ การตรวจแสกนสมอง ( ในกรณีสงสัยว่ามีเลือดออกหรือเนื้องอกในสมอง ) ในกรณีพบว่าผู้ป่วยมีอาการของโรค MCI แพทย์สามารถวางแผนการรักษาเพื่อชะลอการเกิดภาวะโรคสมองเสื่อมชนิดอัลไซเมอร์ในอนาคตได้ โดยงานวิจัยระบุว่า 10-15 เปอร์เซ็นต์ของผู้ที่มีอาการบกพร่องทางความจำ ( MCI ) อาจพัฒนาต่อไปเป็นโรคสมองเสื่อมชนิดอัลไซเมอร์ได้ และเมื่อศึกษาเพิ่มเติมด้วยระยะเวลาที่ยาวนานขึ้นพบว่าอัตราการเปลี่ยนจากภาวะ MCI เป็นโรคสมองเสื่อมชนิดอัลไซเมอร์อาจมีมากถึง 50 เปอร์เซ็นต์
มีการศึกษาวิจัยถึงตัวยาที่ช่วยชะลอเวลาของอาการ MCI ไปสู่ภาวะสมองเสื่อมชนิดอัลไซเมอร์ได้ แต่ยังไม่มีการอนุญาตให้ใช้อย่างเป็นทางการ ดังนั้นแนวทางการรักษาในรายของผู้ป่วยที่เป็นโรค MCI คือการลดความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดภาวะสมองเสื่อมลง

การรักษาในรายของผู้ป่วยที่เป็นโรค MCI

  • การรักษาโรคทางร่างกายอื่นๆ ที่ผู้ป่วยเป็นอยู่ เช่น เบาหวาน ภาวะหลอดเลือดอุดตัน ระดับไขมันในหลอดเหลือด รวมไปถึงการรักษาระดับความดันเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ เพราะทั้งปริมาณและความดันของเลือดที่สูบฉีดไปยังสมองถ้ามากหรือน้อยเกินไปจะส่งผลต่อเซลล์ประสาทที่อยู่ในสมอง
  • การจำกัดการดื่มให้น้อยลง หรือถ้าสามารถเลิกได้เลยก็จะเป็นการดี รวมไปถึงงดการสูบบุหรี่ เพื่อรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง
  • การกินอาหารที่ดีทั้งในด้านของโภชนาและปริมาณซึ่งจะส่งผลต่อดัชนีมวลรวมของร่างกาย ไม่ให้อ้วนหรือผอมจนเกินไป
  • ที่สำคัญผู้ป่วย MCI จะต้องมีการทำกิจกรรมที่ทำให้ตื่นตัวเสมอๆ ทั้งในด้านอารมณ์และสังคม เช่น การฝึกทำปริศนาพัฒนาสมอง หรือการไปพบเพื่อนฝูง

มีการศึกษาพบว่าการช่วยชะลอภาวะสมองเสื่อมชนิดอัลไซเมอร์ควรทำร่วมกันหลายๆ ทางจะได้ผลดีกว่าการมุ่งเน้นเพียงทางใดทางหนึ่ง เช่น รักษาสุขภาพ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ งดสุรา และออกไปพบเพื่อนฝูงสม่ำเสมอ
ถึงแม้ว่าผู้ป่วยที่ตรวจพบว่ามีอาการโรค MCI จะเป็นเรื่องที่ไม่น่ายินดีเท่าใดนัก แต่ในอีกด้านหนึ่งก็ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นในการดูแลสุขภาพร่างกายส่วนอื่นๆ ของผู้ป่วยเองได้ โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

การดูแลผู้ป่วย MCI

  •  รับประทานยาตามคำแนะนำของแพทย์ ถึงแม้ว่าจะรู้สึกว่าร่างกายปกติดี
  • เป็นจุดเริ่มต้นของการเลิกเหล้าและบุหรี่ รวมถึงการงดชาและกาแฟก่อนนอนเพื่อให้ร่างกายได้พักผ่อนอย่างเพียงพอ
  • ความเครียดและความกังวลจะทำให้อาการ MCI มีความรุนแรงมากขึ้นดังนั้นควรทำจิตใจให้เบิกบานแจ่มใส
  • ใช้เครื่องมืออุปกรณ์อีเลคโทรนิก การจดบันทึก หรือปฏิทินนัดหมายช่วยในเรื่องการจดจำ
  •  ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเป็นเวลาอย่างน้อย 30 นาที
  • กินอาหารที่ดีและมีประโยชน์ต่อร่างกาย
  • ฝึกสมองด้วยการเล่นแก้ปริศนาหรือแบบทดสอบที่ช่วยฝึกสมอง เป็นการฝึกให้เซลล์ประสาทได้ทำงานอย่างสม่ำเสมอ
  • ฝึกวิธีการผ่อนคลายในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการฟังเพลง การนั่งพักผ่อนในบริเวณสวนหย่อม นอกจากเป็นผลดีต่อการชะลอภาวะ MCI แล้วยังช่วยสร้างสุขภาพจิตที่ดีให้กับจิตใจของผู้ป่วยด้วยเช่นกัน

อาการป่วยที่เกี่ยวข้องกับสมองสำหรับผู้ที่ไม่เข้าใจหรือไม่มีข้อมูลเท็จจริง มักจะมองว่าเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับจิตใจหรือเกี่ยวกับภูติผีปีศาจ ซึ่งบางครั้งเพียงแค่พื้นที่สมองส่วนเล็กๆ เกิดความผิดปกติ ก็จะทำให้การใช้ชีวิตประจำวันส่วนอื่นๆ เปลี่ยนแปลงได้

การศึกษาความรู้เกี่ยวกับอาการขั้นต้นของความผิดปกติของสมอง ไม่ว่าจะเป็นความผิดปกติของสมองส่วนความจำ หรือส่วนของการเคลื่อนไหว ก็สามารถช่วยแก้ไขความรุนแรงของโรคสมองเสื่อมที่จะตามมาได้ ดังนั้นก่อนที่จะโทษกล่าวว่าผู้ป่วยจิตใจผิดปกติหรือแก้ไขด้วยวิธีผิดปกติอื่นๆ ควรเริ่มต้นด้วยการเข้าพบจิตแพทย์หรือแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับสมอง เนื่องจากค่านิยมของคนส่วนมากมักจะมองว่าการพบจิตแพทย์เสมือนว่าผู้นั้นเป็นคนบ้าไปแล้ว ควรปลูกฝังค่านิยมในการเข้าพบจิตแพทย์เมื่อสังเกตเห็นอาการผิดปกติทันที

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

วรพรรณ เสนาณรงค์. รู้ทันสมองเสื่อม / รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงวรพรรณ เสนาณรงค์: กรุงเทพฯ: อมรินทร์เฮลท์ อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2559. (22), 225 หน้า: (ชุดชีวิตและสุขภาพ ลำดับที่ 207) 1.สมอง. 2.สมอง–การป้องกันโรค. 3.โรคสมองเสื่อม. 4.โรคอัลไซเมอร์. 616.83 ว4ร7 ISBN 978-616-18-1556-1.

Luk KC, Kehm V, Lee VM, et al. (2012). Pathological alpha-synuclein transmission 
initiates Parkinson-like neurodegeneration in nontransgenic mice. Science. 338 : 949-953.

12 วิธีบริหารหุ่นสวยด้วย ไคโรแพรกติก ( Chiropractic )

0
12 บริหารหน้าเรียวเล็ก ขาสวย บิลท์หุ่นสวย ด้วย“ไคโรแพรกติก”
ไคโรแพรกติกเป็นการจัดกระดูกเพื่อดูแลรักษาสุขภาพและป้องกันโรคต่างๆที่สามารถทำได้เองที่บ้าน
12 บริหารหน้าเรียวเล็ก ขาสวย บิลท์หุ่นสวย ด้วย“ไคโรแพรกติก”
ไคโรแพรกติก เป็นการจัดกระดูกเพื่อดูแลรักษาสุขภาพและป้องกันโรคต่างๆที่สามารถทำได้เองที่บ้าน

ไคโรแพรกติก ( Chiropractic )

เชื่อว่าทุกคนอยากจะมีหุ่นสวยสมส่วนกันทั้งสิ้น ปัจจุบันนี้ทางเลือกที่จะสร้างหุ่นสวยตามที่ต้องการมีให้เลือกหลายวิธี ทั้งการออกกำลังกาย การควบคุมอาหาร การกินยาเพื่อสร้างรูปร่างที่ดี ซึ่งแต่ละวิธีก็มีทั้งข้อดีและข้อเสียต่างกันไป แต่ยังมีอีกวิธีหนึ่งที่สามารถสร้างหุ่นสวย หน้าเรียว ทำให้หุ่นเฟิร์มกระชับ วิธีดังกล่าวคือ ไคโรแพรกติก ( Chiropractic ) 

ไคโรแพรกติก ( Chiropractic ) คือ

ไคโรแพรกติก ( Chiropractic ) หรือแพทย์จัดกระดูก ไคโรแพรกติกเป็นคำที่มีต้นกำเนิดมาจากภาษากรีก ที่หมายถึง “การรักษาด้วยมือ” ที่เรียกเช่นนั้นก็เพราะว่าไคโพรแพรคติก คือ ศาสตร์การรักษาแขนงหนึ่งที่ใช้ในการดูแลสุขภาพ ร่างกายของมนุษย์และป้องงกันโรคต่าง ๆ ด้วยของมนุษย์ ผู้เชี่ยวชาญจะพุ่งความสนใจไปที่ความสัมพันธ์ที่มีความเกี่ยวข้องกับสรีระวิทยาและความสมบูรณ์โครงสร้างร่างกายทุกส่วน โดยที่ผู้เชี่ยวชาญจะทำการพิจารณาแบบองค์รวมถึงความสมบูรณ์ของระบบกล้ามเนื้อและโครงสร้างของกระดูกสันหลัง ว่ามีความสมบูรณ์หรือมีความผิดปกติเกิดขึ้นย่างไร พร้อมทั้งทำการตรวจรักษาระบบที่มีความเกี่ยวข้องกับประสาท รวมถึงการดูแลกระดูกส่วนสันหลังและกระดูกที่บริเวณข้อต่างๆ ภายในร่างกายอีกด้วย เพื่อที่จะทำให้ระบบของประสาทสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงที่สุด โดยที่ผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องรับประทานยา ทำการใช้เข็มเพื่อกระตุ้นการทำงานของระบบหรือทำการผ่าตัดอวัยวะส่วนใดของ ร่างกายเลยแม้แต่น้อย แต่ยังสามารถรักษาความผิดปกติที่เกิดขึ้นของกระดูกโครงสร้าง ระบบของการเคลื่อนไหวร่างกาย (Structure and Biomechanic) การรักษานี้สามารถรักษาได้แม้แต่ในกรณีที่มีการเกิดความคลาดเคลื่อนจากตำแหน่งตามธรรมชาติของส่วนข้อและกระดูกสันหลังหรือแม้แต่ส่วนของข้อที่กระดูกสันหลังก็สามารถรักษาได้เช่นกัน โดยเฉพาะส่วนของกระดูกสันหลังนี้เป็นส่วนที่นิยมทำการรักษาด้วยวิธีนี้ เพราะว่ากระดูกสันหลังนับเป็นบริเวณศูนย์กลางของในการสร้างสมดุลของร่างกาย ควบคุมการทรงตัว การดำเนินกิจวัตรประจำวันทุกอย่าง ดังนั้นถ้ากระดูกสันหลังเกิดมีการผิดรูปทรงตามธรรมชาติก็ย่อมส่งผลกระทบต่อระบบประสาท กล้ามเนื้อหากมีความผิดปกติเกิดขึ้นในบริเวณนั้น อาจจะมีผลกระทบต่อระบบประสาท ซึ่งควบคุมร่างกายทั้งหมดของร่างกาย โดยผู้เชี่ยวชาญนี้จะไม่บุคคลที่เรียนแพทย์มาโดยเฉพาะแต่เป็นเพียงผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางเท่านั้น แต่บุคคลทั่วไปก็จะให้คำเรียกว่าแพทย์ เพราะเป็นผู้ที่ทำการรักษาเช่นเดียวกับแพทย์ที่ทำการรักษาโรคเช่นเดียวกัน

ไคโรแพรกติก ( Chiropractic ) คือ ศาสตร์การรักษาแขนงหนึ่งที่ใช้ในการดูแลสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญจะให้ความสนใจไปที่ความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับสรีระวิทยาและความสมบูรณ์โครงสร้างร่างกายทุกส่วน

นอกจากการรักษาแบบ ไคโรแพรกติก ( Chiropractic ) จะสามารถรักษาระบบต่าง ๆ ของร่างกายได้แล้ว ยังสามารถที่จะช่วยในด้านของความงามได้อีกด้วย ที่เป็นนั้นก็เพราะว่าเมื่อระบบของร่างกายกลับเข้าสู่สภาวะสมดุลแล้ว ประสิทธิภาพการทำงานของทุกระบบจะกลับเข้าสู่สภาวะปกติ ส่งผลให้ท่วงท่าสง่างามและถ้าทำเป็นประจำจนเป็นนิสัยแล้ว จะทำให้กล้ามเนื้อกระชับ ระบบการขับของเสียภายในร่างกายทำงานขับของเสียออกมาอย่างทรงประสิทธิภาพ ผิวพรรณที่เคยหม่นหมองจะกลับมาเปล่งปลังมีน้ำมีนวล และสุขภาพร่างกายก็แข็งแรงสมบูรณ์ปราศจากโรคภัย
ในการรักษาแบบ ไคโรแพรกติก ( Chiropractic ) จะเน้นไปทางการออกท่าทางเพื่อทำการจัดการระบบและโครงสร้างของกระดูก ซึ่งบางท่าสามารถทำได้ด้วยตนเอง แต่บางท่าไม่สามารถทำได้เองต้องอยู่ในความดูแลของผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น

ท่า ไคโรแพรกติก ( Chiropractic ) ที่สามารถปฏิบัติได้เองที่บ้านได้

ท่าที่ 1 ท่านอนหงายเอียงคอ

อุปรณ์ที่ใช้ : หมอน
เริ่มจากท่านอนหงายบนพื้นราบ ศีรษะหนุนหมอน ลำตัวและขา ลำตัวและขาวางแนบกับพื้น ขาทั้งสองข้างแนบชิดกัน ยกมือทั้งสองข้างมาจำที่หมอน ทำการเอียงศีรษะไปด้านขวาช้า ๆ อยู่ในท่านี้ 10 วินาที ทำการเอียงหน้ากลับมาตำแหน่งเดิม แล้วทำการเอียงศีรษะไปด้านซ้าย อยู่ในท่านี้ 10 วินาที ทำซ้ำ ข้างละ 10 รอบ

ท่าที่ 2 ท่านอนคว่ำเอียงคอ

อุปกรณ์ที่ใช้ : หมอนสำหรับหนุ่นศีรษะ
เริ่มจากทำการนอนคว่ำหน้า หน้าหนุนหมอน ลำตัวและขาวางแนบกับพื้น ขาทั้งสองข้างแนบชิดกัน ยกมือทั้งสองข้างมาจำที่หมอน ทำการเอียงศีรษะไปด้านขวาช้า ๆ อยู่ในท่านี้ 10 วินาที ทำการเอียงหน้ากลับมาตำแหน่งเดิม แล้วทำการเอียงศีรษะไปด้านซ้าย อยู่ในท่านี้ 10 วินาที ทำซ้ำ ข้างละ 10 รอบ

ท่าที่ 3 ท่ายืดบริเวณต้นคอด้วยผ้าขนหนู

อุปกรณ์ที่ใช้ : ผ้าขนหนูขนาดความยาวประมาณ 1 ฟุต

เริ่มจากท่านั่งหรือยืนก็ได้ ทำการมวนผ้าพันคอเป็นวงกลม วงไว้บนต้นคอ โดยให้ต้นคออยู่ที่บริเวณตรงกลางของผ้าขนหนู นำมือทั้งสองข้างมาจับที่บริเวณปลายของผ้าขนหนู ค่อย ๆ ทำการแหงนหน้าขึ้น ให้ตามองขึ้นไปที่เพดาน ทำการหันหน้าไปด้านซ้าย อยู่ในท่านี้ 10 วินาที หันหน้ากลับมามองตรงขึ้นเพดาน ทำการเอียงหน้าไปด้านขวา อยู่ในท่านี้ 10 วินาที หันหน้ากลับมามองตรงขึ้นเพดาน ทำซ้ำ 10 รอบ 

ท่าที่ 4 ท่านอนคว่ำ งอเข่าพร้อมกับบิดสะโพก

อุปกรณ์ที่ใช้ : แผ่นยางยืด
เริ่มจากการนำแผ่นยางยืดมาผูกที่บริเวณสะโพก นอนคว่ำหน้า มือทั้งสองข้างจับที่เสาหรือจุดยืด ขาทั้งสองข้างแนบชิดกันยกปลายเท้าขึ้นจนกระทั้งน่องตั้งฉากกับพื้น
ทำการเอนขาไปด้านขวาให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะเอนได้ การทำในครั้งแรกอาจจะไม่สามารถเอนจนขาไปแนบกับพื้นได้ แต่ถ้าทำอย่างต่อเนื่องน่องจะสามารถเอนไปแนบกับพื้นได้ อยู่ในท่านี้ 10 วินาที
ทำการยกน่องกลับเข้าสู่ท่าเริ่มต้น และเอนน่องไปทางด้านซ้าย อยู่ในท่านี้ 10 วินาที ทำซ้ำ 10 รอบ

ท่าที่ 5 ท่ายืนโน้มตัวไปด้านหลัง

เริ่มจากยืนตัวตรง หลังตรง ขาแยกออกจากกันเท่ากับความกว้างของไหล่ แขนทั้งสองข้างวางแนบลำตัว ทำการเอนตัวไปข้างขวาโดยที่หน้ายังมองตรงไปข้างหน้า การเอนตัวให้ค่อย ๆ ทำการเอนและให้เอนให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะเอนได้ การเอนในครั้งแรกอาจจะเอนได้เพียงเล็กน้อย แต่ถ้าทำอย่างต่อเนื่องจะสามารถเอนได้มากขึ้น อยู่ในท่านี้ 10 วินาที
ทำการเอนตัวกลับมาให้อยู่ในท่ายืนตัวตรง หลังตรง และทำการเอนไปด้านซ้ายโดยที่หน้ายังมองตรงไปข้างหน้า การเอนตัวให้ค่อย ๆ ทำการเอนและให้เอนให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะเอนได้ อยู่ในท่านี้ 10 วินาที ทำซ้ำ 10 รอบ

ท่าที่ 6 ท่ายืนบิวเอวแขนโอบรอบลำตัว

เริ่มจากยืนตัวตรง หลังตรง ขาแยกออกจากกันเท่ากับความกว้างของไหล่ กางแขนทั้งสองข้างให้ขนานกับพื้น หมุนลำตัวพร้อมกับเหวี่ยงแขนไปด้านขวาให้ได้มากที่สุด การบิดหรือหมุนลำตัวในครั้งแรกอาจจะหมุนได้เพียงเล็กน้อย แต่ถ้าทำอย่างต่อเนื่องจะสามารถหมุนได้ได้มากขึ้น อยู่ในท่านี้ 10 วินาที
ทำการหมุนลำตัวตัวกลับมาให้อยู่ในท่ายืนตัวตรง หลังตรง และทำการหมุนลำตัวไปด้านซ้ายโดยที่หน้ายังมองตรงไปข้างหน้า การหมุนลำตัวให้ค่อย ๆ ทำการหมุนลำตัวและให้หมุนลำตัวให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะหมุนลำตัวได้ อยู่ในท่านี้ 10 วินาที ทำซ้ำ 10 รอบ 

ท่าที่ 7 ท่าพานั่งหมุนลำตัวส่วนบน

อุปกรณ์ที่ใช้ : แผ่นยางยืด
ทำการติดแผ่นยางยืดที่บริเวณสะโพก เริ่มจากนั่งบนเก้าอี้ที่มีพนักพิง นั่งหลังตรง ตังตรง สายตามองตรงไปด้านหน้า ขาทั้งสองข้างวางชิดกัน ยกแขนขึ้นสูงเสมอไหล่ งอข้อศอกเอาฝ่ามือเข้าหาลำตัว โดยที่ฝ่ามือคว่ำลง หมุนตัวและเหวี่ยงแขนไปทางด้านขวาให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ อยู่ในท่านี้ 10 วินาที หมุนตัวกลับมาอยู่ในท่าเริ่มต้นแล้วจึงหมุนตัวและเหวี่ยงแขนช้า ๆ ไปด้านซ้าย อยู่ในท่านี้ 10 วินาที หมุนตัวกลับมาอยู่ในท่าเริ่มต้น ทำซ้ำ 10 รอบ

ท่าที่ 8 ท่าดัดขาโก่ง

อุปกรณ์ที่ใช้ : ผ้าขนหนูผืนขนาดกลาง และ แผ่นยางยืด
เริ่มจากพับขนหนูสี่ทบ นำแผ่นยางยืดมาพันที่บริเวณหัวเข่า ทำการแยกส้นเท้าออกปลายเท้าชิด งอเข่าเล็กน้อย ที่บริเวณหัวเข่าจะมีช่องว่างเกิดขึ้นให้นำผ้าขนหนูไปวางที่ระหว่างขาทั้งสองข้างที่บริเวณหัวเข่าและออกแรงที่หัวเข่าหนีบผ้าขนหนูให้แน่น ทำการหมุนเข่าเป็นวงกลมช้า ๆ จำนวน 10 รอบ

ท่าที่ 9 นวดขาพร้อมรัดแผ่นยางยืด

อุปกรณ์ที่ใช้ : แผ่นยางยืด หมอนสำหรับหนุนขา

เริ่มจากการนั่งลงบนพื้นราบ เหยียดขาข้างขวาไปด้านหน้า ทำการพันแผ่นยางยืดที่บริเวณน่องจนถึงบริเวณต้นขา ขาข้างซ้ายงอเข่าเหมือนการนั่งขัดสมาธิ ทำการเอนหลังไปด้านหลังโดยใช้มือทั้งสองข้างวางไว้ด้านหลังเพื่อรับน้ำหนักของลำตัว

1.สอดหมอนไปที่บริเวณใต้ข้อเท้า ทำการบิดเท้าขวาได้ด้านขวาและซ้าย

2.สอดหมอนไปที่บริเวณใต้ข้อเข่า ทำการบิดเท้าขวาได้ด้านขวาและซ้าย

3.สอดหมอนไปที่บริเวณใต้ต้นขา ทำการบิดเท้าขวาได้ด้านขวาและซ้าย

4.สอดหมอนไปที่บริเวณใต้โคนขา ทำการบิดเท้าขวาได้ด้านขวาและซ้าย
การเปลี่ยนขา โดยการนำแผ่นยางยืดออกจากขาขวามาพันขาซ้าย เหยียดขาซ้ายไปข้างหน้าและงอขาขวาเหมือนท่านั่งสมาธิ ทำเหมือนกับที่ทำกับขาขวา 

ท่าที่ 10 ท่ายืดอก

เริ่มจากยืนตัวตรงหลังตรง ขาทั้งสองแนบชิดกัน กางแขนออกขนานกับพื้น งอข้อศอกนำฝ่ามือเข้าหาลำตัว ออกแรงดันส่วนของสะบักซ้ายและสะบักขวาเข้าหากัน อยู่ในท่านี้ 10 วินาที

ท่าที่ 11 ท่านอนคว่ำยกส้นเท้า

อุปกรณ์ที่ใช้ :  แผ่นยางยืด
เริ่มจากการรัดแผ่นยางยืดที่บริเวณสะโพก นอนคว่ำหน้า มือทั้งสองข้างประสานกันวางไว้ที่บริเวณปลายคางออกแรงดันปลายเท้ากับพื้นโดยที่ส้นเท้าทำมุม 90 องศากับพื้น
ยกขาขวาขึ้นสูงจากพื้นเป็นเส้นตรงโดยการออกแรงจากบริเวณข้อสะโพก ห้ามงอเข่า อยู่ในท่านี้ 10 วินาที สลับยกเข้าซ้ายขึ้น อยู่ในท่านี้ 10 วินาที ทำซ้ำ 10 รอบ

ท่าที่ 12 ท่ากบว่ายน้ำ

อุปกรณ์ที่ใช้ : หมอนสำหรับรองสะโพก
เริ่มจากนอนคว่ำ หันหน้าไปด้านขวา กางแขนออกแล้วจึงดึงฝ่ามือเข้ามาวางที่ข้าง ๆ ในหน้า นำหมอนมารองที่บริเวณสะโพก และยกขาข้างทั้งสองข้างขึ้น ค่อย ๆ งอเข่าทั้งสองข้างเข้าหาลำตัวอยู่ในท่านี้ 10 วินาทีและยืดขาตรงกลับสู่ท่าเริ่มต้น มีลักษณะคล้ายกับการว่ายท่ากบกลางอากาศ ทำซ้ำ 10 รอบ

การทำการบริหารแบบ ไคโรแพรกติก ( Chiropractic ) ติดตามท่วงท่าที่กล่าวมาข้างต้นนี้ นอกจากจะสามารถทำให้โครงสร้างร่างกายคงรูปทรงตามธรรมชาติ เพื่อป้องกันอาการปวดที่เกิดจากการผิดปกติของโครงสร้างกระดูกและระบบภายในร่างกาย การออกกายบริหารยังช่วยกระตุ้นให้ระบบการทำงานภายในร่างกายสามารถทำงานได้ดีขึ้น กล้ามเนื้อทุกส่วนมีความยืดหยุ่นลดการเกิดความตึงเครียดเนื่องจากการทำกิจกรรมประจำชีวิต และยังส่งผลให้ร่างกายมีรูปร่างที่สมส่วน ขาเพรียว ใบหน้าเรียวเล็ก กล้ามเนื้อกระชับเต่งตึงและสามารถช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันโรคให้กับผู้ปฏิบัติอีกด้วย จึงถือว่า ไคโรแพรกติก ( Chiropractic ) ไม่ได้เป็นเพียงศาสตร์แห่งการรักษาโรคเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังเป็นศาสตร์ที่ช่วยเพิ่มความงามให้กับร่างกายได้ด้วย

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

โทะชิมะสะ โอตะ. ปรับรูปร่างด้วยมือเปล่า สร้างหุ้นฟิต พิชิตโรค. กรุงเทพฯ : อมรินทร์เฮลท์ อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2560.

Kaptchuk TJ, Eisenberg DM (November 1998). “Chiropractic: origins, controversies, and contributions”. Arch. Intern. Med. 158 (20): 2215–24. doi:10.1001/archinte.158.20.2215. PMID 9818801.

D.D. Palmer’s Religion of Chiropractic – Letter from D.D. Palmer to P.W. Johnson, D.C., May 4, 1911. In the letter, he often refers to himself with royal third person terminology and also as “Old Dad”.

Martin SC (October 1993). “Chiropractic and the social context of medical technology, 1895-1925”. Technol Cult. 34 (4): 808–34. doi:10.2307/3106416. JSTOR 3106416. PMID 11623404.

8 วิธีสำรวจกระดูกสันหลังผิดรูปอย่างง่าย

0
กระดูกสันหลังผิดรูป เกิดจากการคดงอบิดเบี้ยวของกระดูกสันหลังทำให้เสียสมดุลเกิดขึ้นได้ทุกวัยโดยเฉพาะเด็ก
8 วิธีสำรวจกระดูกสันหลังผิดรูปอย่างง่าย
กระดูกสันหลังผิดรูป เกิดจากการคดงอบิดเบี้ยวของกระดูกสันหลังทำให้เสียสมดุลเกิดขึ้นได้ทุกวัยโดยเฉพาะเด็ก

กระดูกสันหลัง

กระดูกสันหลังผิดรูป หรือกระดูกสันหลังคด (Scoliosis) หมายถึง ภาวะที่ กระดูกสันหลัง มีลักษณะที่ผิดรูปไม่ตั้งตรงอย่างที่ควรจะเป็นหรือมีการกระดูกสันหลังมีการคดงอ บิดเบี้ยวไปด้านข้าง โดยมีการเอียงไปทางซ้ายหรือขวาด้านใดด้านหนึ่งมากกว่ากันหรือมีการเอียงทั้งขวาและซ้ายสลับกันคล้ายกับรูปตัว S ทำให้เกิดภาวะไม่สมดุลของกระดูกสันหลัง สาเหตุของการเกิดกระดูกสันหลังผิดรูปนั้นยังไม่ชัดเจนว่ามีสาเหตุมากจากอะไร   อาการนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกวัยแต่จะพบมาในเด็กที่มีอายุระหว่าง 10-15 ปี อาการนี้พบได้มากในเพศหญิงเป็นช่วงวัยกำลังเจริญเติบโตแต่ก็สามารถพบในเพศชายได้เช่นกัน อาการที่เกิดขึ้นจะเป็นอาการที่มีความรุนแรงน้อย คือ กระดูกสันหลังมีการคดที่ประมาณ 10-30 องศา ในระดับนี้อาการกระดูกคดจะไม่สร้างความเจ็บปวดหรือสร้างผลกระทบในการดำเนินชีวิต ทำให้คนส่วนมากไม่ให้ความสนใจกับอาการดังกล่าว จนเมื่อกระดูกมีความคดหรือผิดรูปที่มีการเอียงของกระดูกมากว่า 30 องศา จนถึงที่ระดับความรุนแรงคือมีการเอียงของกระดูกสันหลังมากว่า 60 องศา จะมีอาการปวดหลัง ปวดเอว ปวดคอชนิดเรื้อรัง เพราะว่ากล้ามเนื้อที่บริเวณดังกล่าวต้องทำการรับน้ำหนักที่ด้านขวาและซ้ายที่ไม่เท่ากัน จึงเกิดอาการปวดขึ้น และยังสามารถเกิดอาการเหนื่อยง่ายเกิดขึ้น เนื่องจากการที่ กระดูกสันหลังคด แล้วโครงสร้างของกระดูกหน้าอกก็จะมีลักษณะที่ผิดรูป ดังนั้นเวลาที่ปอดเกิดการขยายตัวก็จะมีความผิดปกติไม่สามารถขยายตัวได้อย่างเต็มที่นั่นเอง

กระดูกสันหลังคด เป็นปัญหาที่ทำให้สรีระ ท่าทางในการเดิน ยืน นั่งมีความผิดปกติ หลายคนต้องมีท่าเดินที่ไม่สวย เช่น เดินหลังค่อม เดินตัวเอียง ซึ่งปัญหาดังกล่าวถึงแม้ว่าจะไม่ได้ส่งผลกับสุขภาพของร่างกาย แต่ก็ส่งผลกระทบต่อสภาวะจิตใจได้ ถ้าเกิดในช่วงวัยเด็ก เด็กอาจจะถูกเพื่อนล้อเลียนจนไม่อยากที่จะเข้าสังคม เมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่อาการกระดูกคดแม้เพียงเล็กน้อยอาจจะทำให้พลาดโอกาสในการประกอบอาชีพบางอย่างได้ เช่น นักบิน แอร์ฮอสเตส เป็นต้น

ลักษณะของกระดูกสันหลังคดมีอะไรบ้าง ?

1. โครงสร้างกระดูกสันหลังผิดรูป เป็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นเนื่องจากความผิดปกติของกระดูกสันหลัง

2. โครงสร้างกล้ามเนื้อทำงานไม่สมดุล เป็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นเนื่องจากความผิดปกติของกล้ามเนื้อที่ส่วนของกระดูกสันหลังหรือการที่กระดูกเชิงกรานมีการเอียงที่มาจากการที่ขาทั้งสองขางมีความสูงที่ไม่เท่ากันจึงส่งผลต่อมายังกระดูกสันหลังทำให้กระดูกสันหลังคด

อาการกระดูกคดสันหลังที่เกิดขึ้นเราสามารถทำการสังเกตได้ด้วยตนเองหรือคนรอบข้างที่อยู่ใกล้ตัวของเรา ไม่จำเป็นต้องให้ผู้เชี่ยวชายหรือแพทย์เป็นผู้วินิจฉัยเท่านั้น เพราะว่าอาการกระดูกคดเป็นอาการที่ไม่สร้างความเจ็บปวดหรือมีไข้เมื่อกระดูกมีการคดเพียงเล็กน้อย แต่ว่าอาการกระดูกคดจะแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนด้วยการสังเกต

วิธีสังเกตกระดูกสันหลังคด

1.ลักษณะของแนวกระดูกสันหลัง

โดยปกติแนวกระดูกสันหลังของมนุษย์เมื่อมองตรงไปจากด้านหลัง จะมีลักษณะตั้งเป็นแนวตรงอยู่ตรงกลางของแผ่นหลัง แต่ถ้ามีอาการกระดูกคดเกิดขึ้น ลักษณะของกระดูกสันหลังจะเปลี่ยนไป ลักษณะของกระดูกสันหลังที่คดจะมี 2 แบบ คือ

1.กระดูกสันหลังคดคล้ายกับตัว C คือ การที่กระดูกสันหลังเกิดการคด้เพียงแค่ตำแหน่งเดียว

2.กระดูกสันหลังคดคล้ายกับตัว S คือ การที่กระดูกสันหลังเกิดการคดเพียงตำ 2 ตำแหน่ง

อาการกระดูกคดตัว C จะเกิดขึ้นก่อนในตอนแรก คือ การที่กระดูกเกิดการคดเพียงตำแหน่งเดียวก่อน

แล้วร่างกายต้องการทำการปรับสมดุลเพื่อให้ศีรษะตั้งตรง จึงมีการทำให้เกิดการคดอีกตำแหน่งหนึ่งขึ้นมาในทิศทางตรงกันข้ามกับองศาการเอียงที่เกิดขึ้นก่อน

กระดูกสันหลังคด ที่มีลักษณะคล้ายกับตัว C เมื่อเกิดขึ้นจะมีความรุนแรงน้อยกว่ากระดูกสันหลังคดที่มีลักษณะคล้ายกับตัว S

ซึ่งเราสามารถสังเกตได้ด้วยการยืนตัวตรง ทุกส่วนของร่างกายชิดกับผนัง ทำการสังเกตที่บริเวณของเอวและลำคอจะพบว่าบริเวณดังกล่าวจะมีช่องว่างขนาดเล็กพอที่จะสามารถสอดมือเข้าไปได้ นั่นแสดงว่ากระดูกสันหลังปกติ แต่ถ้าเมื่อทำการยืนด้วท่าดังกล่าวแล้วช่องว่างระหว่างเอวกับผนังไม่มี นั่นคือบริเวณเอวและแผ่นหลังแนบสนิทกับผนังแสดงว่ากระดูกสันหลังเริ่มมีความผิดปกติเกิดขึ้นแล้ว

2.ความสมดุลของไหล่

ทั่วไปไหล่ทั้งสองข้างจะเท่ากัน แต่ถ้ามีความผิดปกติเกิดขึ้นกับกระดูกสันหลังจะทำให้ไหล่ทั้งสองข้างไม่เท่ากัน เพราะตัวเราจะเอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง ส่งผลไหล่ข้างหนึ่งจะยกตัวขึ้นสูงกว่าไหล่อีกข้างหนึ่ง ซึ่งความสูงของไหล่ต่างกันมากหรือน้อยนั้นก็ขึ้นอยู่กับความคดของกระดูกว่ามีองศาการเอียงมากน้อยแค่ไหน ดังนั้นการสังเกตุความสมดุลของไหล่ก็สามารถบ่งบอกถึงอาการ กระดูกสันหลังผิดรูปว่ามีเกิดขึ้นหรือไม่ สามารถทำได้ดังนี้

2.1 ให้ยืนหน้ากระจก โดยลักษณะการผู้ยืนต้องยืนตัวตรง ขาตรงขาทั้งสองข้างแนบชิดกัน ทำการสังเกตุหัวไหล่และสะโพกทั้งสองข้างว่ามีความสูงเท่ากันหรือไม่ สามารถมองเห็นเนื้อด้านหลังนูนขึ้นมาหรือไม่

2.2 ยืนตัวตรง เท้าทั้งสองข้างแนบชิด นำมือทั้งสองข้างไปแตะที่ปลายเท้าทั้งสองข้าง ให้ผู้สังเกตการณ์ทำการสังเกตดูว่าความนูนของหลังในขณะที่ทำการก้มทั้งสองข้างเท่ากันหรือไม่

2.3 ยืนตัวตรง ขาแนบทั้งสองข้างแนบชิดกัน หันหลังให้ผู้สังเกตการณ์ ต่อจากนั้นนำนิ้วชื้และนิ้วกลามไปกดลงบริเวณลาดไหล่ จะทำให้กระดูกไหปลาร้านั้นนูนขึ้นมาอย่างชัดเจน ผู้สังเกตการณ์ทำการย่อตัวจนระดับสายตาอยู่ในระดับเดียวกับนิ้วมือที่กดลงบริเวณลาดไหล่ ทำการสังเกตว่ากระดูกทั้งสองข้างเท่ากันหรือไม่

นี่คือวิธีการสังเกตความสมดุลของไหล่ว่าทั้งสองข้างมีความสมดุลหรือว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้น โดยถ้าไหล่ข้างหนึ่งสูงกว่าอีกข้างแสดงว่า กระดูกสันหลังเริ่มมีอาการคดแล้ว

3.ความสมดุลของสะบัก

เป็นกระดูกที่มีลักษณะคล้ายปีก อยู่ในบริเวณกระดูกชายโครง (Rib Cage) ช่วงบนทั้งด้าขวาและซ้ายกระดูกสะบักจะอยู่ห่างจากกระดูกสันหลังประมาณ 2 นิ้ว มีลักษณะแบบแบน (Flat Bone) ประกอบติดกับกระดูกไหปลาร้า (Clavicle) และกระดูกส่วนของต้นแขน (Humerus) ด้วย ซึ่งเราสามารถทำสังเกตุความสมดุลของกระดูกสะบักได้ ดังนี้

เริ่มด้วยการยืนตัวตรง หลังตรง ขาทั้งสองข้างชิดกัน ให้ผู้สังเกตการณ์ยืนอยู่ด้านหลัง ย่อตัวลงให้ระดับสายตาตรงกับระดับแนวของกระดูกสะบัก ให้ผู้สังเกตุการณ์ทำการวัดกระดูกสะบัดตั้งแต่ด้านบนลงมาจนถึงด้านล่าง ด้วยนิ้วโป้งหรือสายวัดทั้งสองข้าง ถ้าขนาดกระดูกสะบักทั้งสองข้างมีขนาดเท่ากันก็ถือว่าสะบักมีความสมดุล แต่ถ้ากระดูกสะบักทั้งสองข้างมีขนาดที่แตกต่างกันมากแสดงว่ามีความเสี่ยงมีกระดูกสันหลังคด

4.ความสมดุลของกระดูกเชิงกราน

กระดูกเชิงกราน ( Pelvis ) คือ โครงสร้างกระดูกที่อยู่ส่วนปลายด้านล่างสุดของโครงกระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกรานประกอบด้วย กระดูกส่วนปีกสะโพก 2 ชิ้น ที่อยู่ในบริเวณด้านซ้ายและขวา ส่วนกระดูกที่อยู่ด้านหน้าสุดของกระดูกเชิงกรานเรียกว่า กระดูกหัวหน่าว สุดท้ายคือกระดูกที่อยู่ด้านหลังสุดของกระดูกเชิงกราน เรียกว่า กระดูก ใต้กระเบนเหน็บ กระดูกเชิงกรานทำหน้าที่ในการปกป้องอวัยวะที่อยู่ภายในอุ้งเชิงกราน ช่วยในการรักษารูปร่างบริเวณลำตัวส่วนกลาง และยังช่วยควบคุมการเคลื่อนไหวให้กับขาทั้ง 2 ข้างอีกด้วย การสังเกตุความสมดุลของกระดูกเชิงกรานสามารถทำได้ดังนี้

เริ่มจากยืนตัวตรง กางแขนทั้งสองข้างให้อยู่ในแนวขนานกับกระดูกซี่โครง ผู้สังเกตการณ์เข้ามานั่งด้านหลังให้ระดับสายตาอยู่ตรงกับระดับของกระดูกสะโพก ทำการวัดขนาดของกระดูกสะโพกด้วยการใช้นิ้วโป้งค่อย ๆ กดและวัดขนาดกระดูกเชิงกรานทั้งสองข้าง หรือทำการสังเกตว่าศีรษะอยู่ในแนวกึ่งกลางของกระดูกเชิงกรานทั้งสองข้างหรือไม่
ถ้าขนาดกระดูกเชิงกรานทั้งสองข้างมีขนาดเท่ากันแสดงว่ากระดูกเชิงกรานอยู่ในสภาวะสมดุล แต่ถ้าขนาดของกระดูกเชิงกรานมีความแตกต่างกันแสดงว่ามีโอกาสเกิดสภาวะกระดูกสันหลังคด หรืออาการกระดูกคดเกิดขึ้นแต่เป็นการคดที่องศาน้อยๆ จึงทำให้กระดูกเชิงกรานมีความต่างกันเล็กน้อย

5.ความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อเมื่อทำการแอ่นตัวไปด้านหลัง

ความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อก็สามารถเป็นตัวบ่งชี้ได้เช่นกันว่า ร่างกายมีสภาวะกระดูกคด เกิดขึ้นหรือไม่ โดยสังเกตสามารถทำได้ด้วยกัน 2 แบบ คือ

5.1 การยืนตัวตรง ขาและส้นเท้าทั้งสองข้างแนบชิดกัน บริเวณปลายเท้าให้แยกออกจากกันเล็กน้อย ค่อยโน้มตัวไปข้างหน้าและยืดแขนทั้งสองของไปข้างหน้าให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำการยืดแขนได้ ลดแขนลงให้ขนานกับช่วงคล้ายกับการจะเอามือมาแตะที่ปลายเท้า สังเกตว่าที่บริเวณปลายนิ้วมือทั้งสองข้างว่าอยู่ในระดับเดียวกันหรือไม่ ซึ่งการสังเกตอาจจะต้องใช้ผู้สังเกตการณ์เป็นคนช่วยดูระดับของปลายนิ้วมือว่าอยู่ในระดับเดียวกันหรือไม่

5.2 การโน้มต้วไปข้างหลัง เริ่มจากท่ายืนตรงหลังตรง ขาและส้นเท้าทั้งสองข้างแนบชิดกัน บริเวณปลายเท้าให้แยกออกจากกันเล็กน้อย แขนทั้งสองข้างแนบกับลำตัว ให้ผู้สังเกตการณ์ยืนอยู่ด้านหลังเพื่อรองรับและสังเกตการแอ่นตัวไปด้านหลัง แล้วให้ค่อยทำการแอ่นตัวไปด้านหลังที่ละน้อย ทำการแอ่นหลังให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

ในผู้ที่มีกระดูกสันหลังปกติระดับการแอ่นตัวไปข้างหลังของไหล่ทั้งสองข้างจะเท่ากัน แต่ถ้ามีอาการกระดูกสันหลังคด หรือกล้ามเนื้อที่สันหลังมีความผิดปกติแล้ว เมื่อแอ่นตัวไปด้านหลังแล้วไหล่ทั้งสองข้างจะไม่เท่ากัน

6.ความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อเมื่อทำการแอ่นตัวไปด้านขวาและซ้าย

กล้ามเนื้อของคนเราสามารถเคลื่อนที่ไปได้ทุกด้าน เพราะว่ากล้ามเนื้อมีอยู่หลายมัดประกอบเข้าด้วยกัน ซึ่งกล้ามเนื้อที่ช่วยในการเคลื่อนที่จะมีจุดเชื่อมต่อมาจากกล้ามเนื้อที่กระดูกสันหลังเกือบทั้งสิ้น ดังนั้นถ้ากระดูกสันหลังอยู่ใน ลักษณะที่ปกติ เมื่อเราทำการเคลื่อนที่ไปทางขวาและซ้าย ระยะที่เราเคลื่อนที่ได้จะต้องเท่ากัน ซึ่งเราสามารถทำการตรวจสอบได้ดังนี้

เริ่มจากการยืนตรง เริ่มจากท่ายืนตรงหลังตรง ใบหน้าตั้งตรงมองไปข้างหน้า ขาและส้นเท้าทั้งสองข้างแนบชิดกัน บริเวณปลายเท้าให้แยกออกจากกันประมาณ 1 คืบ แขนทั้งสองข้างแนบกับลำตัว แล้วค่อยเอนตัวไปทางขวาให้มากที่สุดเท่าที่จะเอนตัวได้ ทำการวัดระดับที่ปลายนิ้วชี้ขวาว่าอยู่ที่ระดับใดของร่างกาย โดยให้ผู้สังเกตการณ์เป็นผู้วัดก็ได้ หรือถ้าต้องการวัดเองก็ควรทำท่านี้อยู่หน้ากระจกบานใหญ่ที่สามารถเห็นทั้งลำตัว เมื่อวัดระดับข้างขวาเสร็จแล้วให้กลับมายืนในท่าเริ่มต้น และเอนตัวไปด้านซ้ายให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะเอนตัวได้ ทำการวัดระดับที่ปลายนิ้วชี้ซ้ายว่าอยู่ที่ระดับใดของร่างกาย

นำระดับปลายนิ้วชี้ทั้งของนิ้วชี้ขวาและนิ้วชี้ซ้ายมาเปรียบเทียบว่ามีระดับที่เท่ากันหรือไม่ ในช่วงที่มีการเอนตัวไปด้านข้าง ซึ่งระดับการเอนตัวจะบ่งบอกถึงความสามารถในการยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อนั่นเอง

7.ความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อเมื่อทำการบิดลำตัวไปด้านข้างทั้งขวาและซ้าย

กล้ามเนื้อสามารถช่วยให้เราบิดตัวจากขวาไปซ้ายและจากซ้ายไปขวาได้ ซึ่งเราสามารถทำการตรวจเช็คการยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อส่วนนี้ได้ดังนี้

เริ่มจากการยืนตรง เริ่มจากท่ายืนตรงหลังตรง ใบหน้าตั้งตรงมองไปข้างหน้า ขาและส้นเท้าทั้งสองข้างแนบชิดกัน บริเวณปลายเท้าให้แยกออกจากกันประมาณ 1 คืบ ยกแขนขวาข้างขึ้น งอข้อศอกและดึงมือมาวางไว้ด้านหน้าระดับหน้าอก ค่อยทำการยืดแขนขวาไปด้านซ้ายช้า ๆ ทำการยืดแขนขวาไปด้านซ้ายให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ จดจำองศาที่สามารถบิดตัวไปด้านซ้ายว่ามีองศาเท่าใด สลับยกแขนซ้ายข้างขึ้น งอข้อศอกและดึงมือมาวางไว้ด้านหน้าระดับหน้าอก ค่อยทำการยืดแขนซ้ายไปด้านขวาช้า ๆ ทำการยืดแขนซ้ายไปด้านขวาให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ จดจำองศาที่สามารถบิดตัวไปด้านขวาว่ามีองศาเท่าใด

ทำการนำองศาที่สามารถเอนตัวไปทั้งสองข้างมาเปรียบเทียบกันว่าเท่าหรือต่างกัน ถ้ามีค่าต่างกันแสดงว่ากล้ามเนื้อที่ช่วยในการเอนตัวไปด้านข้างมีความยืดหยุ่นไม่เท่ากัน ซึ่งอาจจะมีสาเหตุมาจากกระดูกสันหลังเริ่มมีการคดเกิดขึ้นแล้วก็ได้

8.ขนาดความยาวของขาทั้งสองข้าง

ความยาวของขาทั้งสองข้างในสภาวะปกติจะมีขนาดความยาวที่เท่ากัน แต่ถ้ากระดูกสันหลัง มีอาการคดเกิดขึ้นจะทำให้เวลาที่เดินจะมีการลงน้ำหนักบนขาข้างใดข้างหนึ่งมากกว่า ส่งผลให้ขาด้านที่ต้องรับน้ำหนักมากกว่าจะมีขนาดที่สั้นขวาด้านที่ได้รับน้ำหนักน้อยกว่า ซึ่งบางครั้งความแตกต่างของขาอาจจน้อยมากจนสังเกตได้ไม่ชัด เนื่องจากอาการกระดูกคดเกิดขึ้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น จึงต้องทำการวัดอย่างละเอียดถึงจะทราบได้ วิธีการวัดความยาวของขา ผู้ที่ต้องการวัดต้องนอคว่ำกับพื้นราบ ขาทั้งสองข้างแนบชิดติดกันและให้บริเวณหน้าขาแนบสนิทกับพื้น คางวางบนพื้นไม่ยกใบหน้าสูง สายตามองตรงไปข้างหน้า ให้ผู้สังเกตการณ์ทำการสังเกตบริเวณข้อเท้าว่าวางอยู่ในตำแหน่งตรงกันหรือไม่ ถ้าตำแหน่งของข้อเท้าไม่ตรงกันแสดงว่าความยาวของเท้าไม่เท่ากัน

นอกจากการตรวจเช็คความสมดุลของร่างกายแล้ว การสังเกตลักษณะของสภาพผิวที่มีการเปลี่ยนแปลงของร่างกายซีกขวาและซีกซ้ายว่ามีความแตกต่างกันหรือไม่ เช่น การมีรอยบุ๋ม, ลักษณะของขนขึ้น, ลักษณะของสีผิวแต่ละด้านว่ามีการเปลี่ยนไปจากเดิมหรือไม่ สิ่งต่างเหล่านี้สามารบ่งชี้ถึงอาการกระดูกคดได้ เพราะถ้าลักษณะทางด้านชวาและซ้ายไม่เหมือนกัน ย่อมหมายความว่ากระดูกสันหลังอาจจะมีการผิดรูปเกิดขึ้นแล้ว

ดังนั้นเมื่อทำการตรวจเช็คที่บ้านแล้ว รู้สึกว่ากระดูกสันหลังมีอาการกระดูกคดเกิดขึ้น ให้ไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยเพื่อทำการรักษาต่อไป อย่านิ่งนอนใจไม่ยอมไปทำการรักษาอย่างเด็ดขาด เพราะอาการที่เกิดขึ้นอาจจะรุนแรงเพิ่มขึ้นในอนาคตได้หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธีโดยผู้เชี่ยวชาญ

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

โทะชิมะสะ โอตะ. ปรับรูปร่างด้วยมือเปล่า สร้างหุ้นฟิต พิชิตโรค. กรุงเทพฯ : อมรินทร์เฮลท์ อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2560.

Gomez-Pinilla F, Hillman C (January 2013). “The influence of exercise on cognitive abilities”. Compr. Physiol. 3 (1): 403–428. PMC 3951958 Freely accessible. PMID 23720292.

กระดูกต้นคอผิดรูปทรง ต้นเหตุของสารพัดโรค

0
กระดูกต้นคอผิดรูปทรง ต้นเหตุของสารพัดโรค
กระดูกต้นคอ คือ กระดูกสันหลังส่วนบนที่อยู่ต่อลงมาจากกะโหลกศีรษะ ไม่มีกระดูกส่วนของซี่โครงยื่นออกมาด้านข้าง มีลักษณะค่อนข้างเล็กและสั้นประกอบเข้าด้วยกันจำนวน 7 ชิ้น
กระดูกต้นคอผิดรูปทรง ต้นเหตุของสารพัดโรค
กระดูกต้นคอ คือ กระดูกสันหลังส่วนบนที่อยู่ต่อลงมาจากกะโหลกศีรษะ มีลักษณะเล็กและสั้นประกอบด้วยกระดูกจำนวน 7 ชิ้น

กระดูกต้นคอ ( Cervical spine หรือ Cervical vertebrae )

กระดูกต้นคอ ( Cervical spine หรือ Cervical vertebrae ) คือ กระดูกสันหลังส่วนบนที่อยู่ต่อลงมาจากกะโหลกศีรษะ เรียกว่า “ ข้อกระดูกสันหลังส่วนคอหรือกระดูกต้นคอ ” กระดูกต้นคอเป็นกระดูกที่ไม่มีกระดูกส่วนของซี่โครงยื่นออกมาด้านข้าง กระดูกมีลักษณะค่อนข้างเล็กและสั้นประกอบเข้าด้วยกัน กระดูกต้นคอประกอบด้วย  กระดูกจำนวน 7 ชิ้น โดยเรียกว่า C1-C7 ตามลำดับของข้อที่เรียงกันลงมาจากใต้กะโหลกศีรษะ

หน้าที่ของกระดูกต้นคอคืออะไร?

1.ทำหน้าที่เป็นบริเวณยึดเกาะของกล้ามเนื้อ เอ็นที่ทำหน้าที่ในการเคลื่อนไหวของลำคอและศีรษะ เช่น กะบังลม กล้ามเนื้อแขน กล้ามเนื้อขา ทรวงอก ลำคอ
2.ทำหน้าที่ป้องกันไขสันหลังที่อยู่ในบริเวณคอ ไม่ให้ได้รับความกระทบกระเทือน
3.ทำหน้าที่ในการรับน้ำหนักของกะโหลกศีรษะ และตั้งศีรษะให้อยู่ตรงกึ่งกลางของลำตัว
กระดูกสันต้นคอก็เหมือนกับกระดูกบริเวณอื่น ๆ ที่สามารถเสื่อมได้ตามอายุขัยและการใช้งานของร่างกาย การเสื่อมนี้จะเกิดขึ้นตลอดเวลา เมื่อกระดูกเกิดการเสื่อมหรือเกิดภาวะกระดูกผิดรูปทรงจะทำให้รู้สึกปวดขึ้น อาการปวดเป็นเพียงอาการเตือนเริ่มต้นที่ร่างกายที่ส่งสัญญาณเตือนให้ทราบว่าร่างกายเกิดความผิดปกติเกิดขึ้นแล้ว ในช่วงแรกอาการปวดจะเป็นเพียงระยะเวลาสั้นก็จะหายไปเองหรือหายไปหลังจากที่รับประทานยาแก้ปวด แต่ในระยะต่อมาอาการปวดที่เกิดขึ้นจะไม่หายไปแม้จะรับประทานยามากขึ้น ซึ่งถ้าอาการปวดที่มีความรุนแรงต้องได้รับการรักษาทางการแพทย์ด้วยการผ่าตัดเพียงอย่างเดียวเท่านั้น

กระดูกต้นคอ คือ กระดูกสันหลังส่วนบนที่อยู่ต่อลงมาจากกะโหลกศีรษะ ไม่มีกระดูกส่วนของซี่โครงยื่นออกมาด้านข้าง มีลักษณะค่อนข้างเล็กและสั้นประกอบเข้าด้วยกันจำนวน 7 ชิ้น

ดังนั้นเราจึงต้องทราบถึงสาเหตุของอาการปวดต้นคอก่อนว่าเกิดจากสาเหตุใด เพื่อที่เราจะได้ทำการป้องกันอาการปวดจากสาเหตุที่แท้จริงก่อนที่อาการปวดจะรุนแรงต้องรักษาด้วยการผ่าตัด

>> 8 วิธีสำรวจกระดูกสันหลังผิดรูปอย่างง่าย

>> อาการที่บ่งบอกว่าเข่ามีปัญหาเกิดขึ้นคืออะไรบ้าง

อาการปวดต้นคอ ( Neck Pain ) มีสาเหตุจากอะไรบ้าง?

1.กล้ามเนื้อเกิดอาการเกร็ง
อาการปวดชนิดนี้เป็นอาการปวดที่พบได้ค่อนข้างบ่อย เนื่องจากการทำงานและการทำกิจวัตรประจำวันของเราอาจจะส่งผลให้กล้ามเนื้อเกิดการแข็งเกร็ง เช่น การนั่งทำงานด้วยท่าทางที่ผิด การใช้กล้ามเนื้อคอนานเกินไป การหันหรือหมุนคอด้วยความเร็ว การก้มหน้าเป็นเวลานาน ท่วงท่าดังกล่าวล้วนแต่ต้องเกร็งกล้ามเนื้อคออยู่ตลอดเวลา จึงทำให้เกิดอาการปวดได้

2.การเกิดอุบัติเหตุ
อุบัติเหตุเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้ตั้งใจ ซึ่งการเกิดอุบัติเหตุสามารถทำให้กล้ามเนื้อและ กระดูกต้นคอได้รับอันตราย เช่น การกระแทกด้วยของแข็ง การโดนกระชากศีรษะด้วยความแรง ซึ่งอุบัติเหตุเหล่านี้จะทำให้เกิดการอักเสบหรือเกิดการแตกร้าวกับก้ามเนื้อและกระดูกต้นคอที่นำมาซึ่งอาการปวดต้นคอ

3.การเกิดเส้นประสาทถูกกดทับ
เกิดจากการที่เส้นประสาทบริเวณกระดูกสันหลังถูกกดทับ เนื่องจากกระดูกสันหลังที่อยู่บริเวณข้อต่อมีการแยกหรือมีชิ้นส่วนที่มีลักษณะคล้ายลิ้นยื่นออกไปใกล้กับส่วนของเส้นประสาทหรือการที่หมอนรองกระดูกต้นคอมีการเคลื่อนที่จากจุดเดิมไปกดทับไขสันหลังหรือเส้นประสาทที่อยู่ภายในกระดูกต้นคอ

4.การติดเชื้อ
คอเป็นอวัยวะที่สามารถติดเชื้อได้ง่าย เพราะมีทั้งอาหารและอากาศผ่านเข้าตลอดเวลา ซึ่งการติดเชื้อบางชนิดจะส่งผลต่อมน้ำเหลืองมีอาการบวม เช่น การติดเชื้อวัณโรค เชื้อเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เป็นต้น ซึ่งการติดเชื้อจะทำให้กระดูกสันหลังส่วนคอมีอาการอักเสบทำให้เกิดอาการปวดคอได้

5.ภาวะกระดูกต้นคอเสื่อม
อาการปวดที่เกิดจากสาเหตุนี้จะพบได้ในผู้ที่มีอายุสูง โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป เนื่องจากผู้สูงอายุจะมีการใช้งานกระดูกมาเป็นเวลานานหรือมีการใช้งานกระดูกต้นคอในท่วงท่าที่ไม่ถูกต้อง ทำให้กระดูกต้นคอกระดูกต้นคอเสื่อมจึงเกิดอาการปวดขึ้น

6.ภาวะกระดูกต้นคอผิดรูป
กระดูกต้นคอผิดรูปทรงตามธรรมชาติในช่วงแรกจะมีอาการปวดเพียงเล็กน้อย แต่ถ้าไม่ทำการรักษาให้หายขาดแล้ว อาการปวดจะยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้ผู้ที่มีอาการปวดจากกระดูกต้นคอผิดรูปทรงต้องทนทรมานจากความเจ็บปวดตลอดเวลา นอกจากความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นแล้ว

กระดูกต้นคอผิดรูปทรงนั้นยังส่งผลให้เกิดโรคที่เป็นอันตราย

6.1 กระดูกสันหลังยุบตัว
กระดูกต้นคอจะมีช่องว่างอยู่ตรงกลางที่เป็นช่องให้เส้นประสาทและหลอดเลือดแดงเดินทางผ่านไปยังอวัยวะต่าง ๆ แต่ถ้ากระดูกต้นคอมีรูปร่างที่ผิดปกติไปจะทำให้ช่องว่างดังกล่าวมีขนาดที่เล็กลงหรือช่องว่างไม่เป็นเส้นตรง หลอดเลือดและเส้นประสาทที่อยู่ในช่องว่างนี้ก็จะถูกกดทับ ส่งผลให้ปริมาณของเลือดแดงที่นำออกซิเจนและสารอาหารไปหล่อเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ เป็นผลให้เกิดอาการปวดศีรษะ เวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดหน่วง ๆ ที่บริเวณท้ายทอย ดวงตาพร่า มองภาพไม่ชัดเจน
6.2 อัมพาต
ถ้ากระดูกต้นคอมีการงอจนกระดูกเคลื่อนที่ออกมาคล้ายกับมีกระดูกงอกออกมาจนเข้าไปกดทับเส้นประสาทหรือไขสันหลังที่อยู่ภายในกระดูกต้นคอจะทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ แขนขาชา ร่างกายเหมือนไม่ค่อยมีแรง เดินแล้วรู้สึกว่าไม่สามารถยืนตรงได้ ในบางรายถึงขนาดที่ไม่สามารถเดินได้ไปชั่วขณะ และถ้ามีกระดูกไปกดทับเส้นประสาทที่ควบคุมการเดินทั้งหมดก็จะส่งผลให้เป็นอัมพาตในที่สุด
6.3 โรคปวดศีรษะเรื้อรัง
อาการปวดเรื้อรังสามารถเกิดขึ้นได้ ถ้ากระดูกต้นคอหรือหมอนรองกระดูกมีรูปทรงที่ผิดปกติมากจนมากดทับเส้นประสาทซิมพาเธติก (Sympathetic nervous ) เส้นประสาทซิมพาเทติกเป็นระบบประสาทอัตโนมัติ (Autonomic Nervous System) ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของอวัยวะ ดังนั้นเมื่อเส้นประสาทโดนกดทับจะทำให้มีอาการปวดศีรษะ โดยเฉพาะบริเวณท้ายทอย สายตาพร่ามัว เห็นแสงสว่างวูบวาบ หัวใจเต้นผิดจังหวะ และมีภาวะความดันสูงเกิดขึ้นตามมา ซึ่งอาการปวดที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องไม่สามารถทำการรักษาให้หายได้ด้วยการกินยาหรือฉีดยา แต่ต้องทำการจัดกระดูกต้นคอให้อยู่รูปทรงตามธรรมชาติเสียก่อน อาการปวดดังกล่าวจึงจะหายขาดได้
6.4 โรคเอ็นอักเสบ (Tendinitis)
โรคเอ็นอักเสบเป็นอีกหนึ่งโรคที่พบว่ามีสาเหตุมาจากการที่กระดูกต้นคอผิดรูปทรง เนื่องจากการที่กระดูกต้นคอมมีรูปทรงที่ผิดปกติจะทำให้สมดุลทั้งสองข้างของลำคอเกิดความผิดปกติตามไปด้วย โดยคอจะมีเกิดการเอียงไปด้านใดด้านหนึ่งมากกว่าอีกด้าน ทำให้กล้ามเนื้อต้องยืดไปด้านที่คอเอียงไปมากกว่า จึงทำให้กล้ามเนื้อมีความตึงและเมื่อยล้า เมื่อกล้ามเนื้อเกิดความเมื่อยล้าเป็นเวลานานกล้ามเนื้อจะมีอาการอักเสบเกิดขึ้นตามในภายหลัง ซึ่งอาการปวดจากการอักเสบจะทำให้ผู้ป่วยต้องรับประทานยาแก้ปวดอยู่ตลอดเวลา ซึ่งการรับประทานยาแก้ปวดติดต่อกันเป็นเวลานานก็จะส่งผลให้เป็นโรคกระเพาะอาหารอักเสบ ไตทำงานหนักและถ้ายาแก้ปวดแก้อักเสบมีส่วนผสมสเตียรอยด์  ( Steroid ) แล้วก็จะทำให้กระดูกพรุน แตกหักง่าย เยื่อบุในกระเพาะอาหารบางลง ติดเชื้อง่าย อ่อนเพลีย กล้ามเนื้อบริเวณแขน และขาไม่มีแรง จึงปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ หัวใจเต้นผิดจังหวะหรือหัวใจอาจจะหยุดเต้นเป็นเหตุให้เสียชีวิตได้

จะพบว่าการที่ กระดูกต้นคอมีรูปทรงที่ผิดธรรมชาติไม่ได้ส่งผลกระทบด้านสรีระเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบในด้านสุขภาพของร่างกาย ก่อให้เกิดโรคที่ร้ายแรงถึงชีวิตได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม ดังนั้นการดูแลให้กระดูกต้นคอมีรูปทรงตามธรรมชาติจึงเป็นสิ่งพึงปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง

ทำให้กระดูกต้นคอมีรูปทรงตามธรรมชาติได้อย่างไร?

1. ปฏิบัติกิจวัตรด้วยท่วงท่าที่ถูกต้อง
กระดูกต้นคอเป็นกระดูกที่มีการใช้งานอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นถ้าเราใช้งานด้วยท่าทางที่ถูกต้อง โอกาสที่กระดูกต้นคอจะผิดรูปทรงย่อมลดน้อยลง
ท่ายืนและท่าเดิน ต้องยืนหลังตรง ตัวตรง ตามองไปด้านหน้า ไม่ก้มหน้าตลอดเวลาที่ทำการเดินหรือยืน
ท่านั่ง ต้องนั่งหลังตรง คอตรงมองไปข้างหน้า ไม่ก้มหน้าตลอดเวลา ไม่นั่งเอียงขวาหรือซ้ายนานเกิน 1 ชั่วโมง
ท่านอนควรนอนบนที่นอนที่เหมาะสม หนุนหมอนที่มีความสูงพอกับช่องว่างระหว่างคอกับที่นอน
และในการทำกิจวัตรไม่ว่าจะนั่ง ยืน หรือนอน ต้องทำการเปลี่ยนอิริยาบถทุกชั่วโมงเพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อที่บริเวณต้นคอให้ไม่เกิดความเครียดมากจนทำให้เกิดการอักเสบ และกระดูกต้นคอก็จะไม่ต้องถูกจดทับเป็นเวลานานจนเกิดเสื่อม ซึ่งเป็นที่มาของอาการกระดูกผิดรูปทรงและกระดูกเสื่อมในอนาคตได้

2.ออกกำลังกาย
การออกกำลังกายหรือกายบริหารที่ช่วยให้กล้ามเนื้อและกระดูกต้นคอมีความแข็งแรง ซึ่งท่ากายบริหารแบบไคโรแพรกติจะสามารช่วยป้องกันการกระดูกต้นคอผิดรูปทรงได้ และในผู้ที่กระดูกต้นคอมีรูปร่างที่ผิดปกติแล้ว การออกกายบริหารด้วยศาสตร์การรักษาแบบไคโรแพรกติกก็สามารถช่วยได้เช่นกัน หรือถ้าไม่มีผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับไคแพรกติกให้คำแนะนำก็สามารถทำการบริหารจากนักกายภาพบำบัดได้เช่นกัน
การทำกายบริหารไม่จำเป็นต้องเกิดภาวะกระดูกต้นคอผิดรูปทรงเกิดขึ้นแล้ว เราสามารถทำได้ทุกวันเพื่อป้องกันการเกิด กระดูกต้นคอผิดรูปทรงได้
กระดูกทุกส่วนของร่างกายคนเรามีความสำคัญที่แตกต่างกันไป เราต้องให้ความสำคัญกับการใช้งานอย่างสม่ำเสมอไม่ว่าจะเป็นกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกขา เพราะไม่ว่ากระดูกส่วนใดมีอาการผิดปกติ ทั้งการอักเสบ การแตกหักหรือการผิดรูปทรงตามธรรมชาติ ไม่ได้นำมาซึ่งความเจ็บปวดเพียงอย่างเดียว แต่ว่ายังนำมาซึ่งโรคร้ายแรงถึงชีวิตในอนาคตได้

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

โทะชิมะสะ โอตะ. ปรับรูปร่างด้วยมือเปล่า สร้างหุ้นฟิต พิชิตโรค. กรุงเทพฯ : อมรินทร์เฮลท์ อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2560.

Gomez-Pinilla F, Hillman C (January 2013). “The influence of exercise on cognitive abilities”. Compr. Physiol. 3 (1): 403–428. PMC 3951958 Freely accessible. PMID 23720292.

การป้องกันและแก้ไขอาการปวดหลัง

0
การป้องกันและแก้อาการปวดหลัง
อาการปวดหลังเกิดจากการที่หมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อม ปริมาณน้ำในหมอนรองกระดูกลดลงทำให้ความยืดหยุ่นและการทำงานไม่ดี
การป้องกันและแก้อาการปวดหลัง
อาการปวดหลังเกิดจากการที่หมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อม ปริมาณน้ำในหมอนรองกระดูกลดลงทำให้ความยืดหยุ่นและการทำงานไม่ดี

อาการปวดหลัง

อาการปวดหลัง เป็นอาการที่พบได้บ่อยในคนทุกเพศทุกวัย ทั้งแต่อายุน้อยจนกระทั้งผู้ที่มีอายุมาก ก็สามารถเกิดอาการปวดหลังได้ทั้งสิ้น ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่าอาการปวดหลังเกิดได้จากหลายสาเหตุด้วยกัน ในผู้ที่มีอายุน้อย อาการปวดจะมีเกิดเนื่องจากอุบัติเหตุ การทำงานที่ต้องยกของหนัก หรือการทำงานด้วยท่าเดิมเป็นระยะเวลานาน ส่วนในผู้สูงอายุอาการปวดหลังเกิดขึ้นจากการเสื่อมของกระดูกและกล้ามเนื้อเป็นส่วนมาก ซึ่งอาการปวดที่เกิดขึ้นจะเกิดจากการทำกิจวัตรประจำวันบางชนิดที่ต้องมีการใช้กล้ามเนื้อหลังอย่างผิดวิธี เช่น การกวาดบ้าน ถูบ้าน ล้างรถ ที่ต้องก้มเป็นระยะเวลานาน

อาการปวดหลังสามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเภท

1.การปวดตั้งแต่บริเวณเอว บั้นเอว

2.การปวดที่บริเวณเอวลงมาสู่บริเวณต้นขา

3.การปวดที่เกิดขึ้นจากอาการบาดเจ็บ ซึ่งอาการปวดชนิดนี้จะเป็นอาการปวดชนิดเรื้อรัง คือ จะมีอาการเกิดขึ้นเป็นระยะเวลานาน แต่อาการจะไม่รุนแรง มี อาการปวดหลัง จากตื่นนอน เมื่อลุกขึ้นเดินหรือยืนสักพักอาการปวดก็จะหายไปเอง

4.อาการปวดที่สะโพก อาการจะมีความรุนแรงเมื่อทำการเดิน หรือทำการเคลื่อนไหวตัวเปลี่ยนอิริยาบถต่าง ๆ

อาการปวดหลัง เกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่อาการปวดหลังที่สร้างผลกระทบให้กับการดำเนินชีวิตประจำวันมากที่สุด ก็คือการปวดหลังชนิดเฉียบพลัน อาการปวดหลังชนิดนี้จะมีอาการปวดที่รุนแรงเกิดขึ้นในทันที ซึ่งต้องทำการสังเกตด้วยว่าเกิดจากสาเหตุใด เช่น การยกของหนัก การเอี้ยวตัวด้วยท่าทางที่ผิดปกติ การล้ม เมื่อทราบถึงสาเหตุจะได้ไม่ทำพฤติกรรมดังกล่าวซ้ำอีก ป้องกันอาการปวดทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น เมื่อมีอาการปวดชนิดเฉียบพลันเกิดขึ้น ผู้ป่วยต้องรีบทำการประคบเย็นทันทีหรือภายใน 48 ชั่วโมงเพื่อลดอาการปวด และหลังจากนั้นให้ทำการประคบร้อน อาการปวดหลังจะทุเลาลง แต่ในผู้ป่วยบางรายเมื่อทำการประคบเย็นและประคบร้อนแล้ว แต่อาการปวดก็ยังไม่ทุเลาสามารถกินยาเพื่อช่วยลดอาการปวดที่เกิดขึ้นได้ แต่ว่าถ้าทำการกินยาและรักษาเบื้องต้นแล้ว อาการปวดยังไม่ดีขึ้นผู้ป่วยควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาให้หายสนิท

อาการปวดหลัง เป็นอาการที่สามารถรักษาให้หายได้ แต่ก็สามารถกลับมาเป็นซ้ำได้อีกตลอดเวลา ถ้าเรายังมีพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการปวดหลัง ไม่ว่าจะทำการยกของหนักด้วยท่าที่ผิด การนั่ง นอน ยืนเป็นเวลานานโดยไม่ทำการเปลี่ยนท่าเพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อ และสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดหลังก็เกิดจากการที่กล้ามเนื้อหลัง เส้นเอ็นและเอ็นกล้ามเนื้อมีความอ่อนแอไม่สามารถรองรับแรงกดหรือมีความยืดหยุ่นน้อย ดังนั้นการสร้างความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อ เส้นเอ็นและเอ็นกล้ามเนื้อจึงเป็นวิธีที่ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดอาการปวดหลังจึงเป็นวิธีที่ดีทีสุด

เราจะป้องกันไม่ให้เกิดอาการปวดหลังได้อย่างไร ?

1.ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ

การทำงานและดำเนินชีวิตประจำวันของทุกคนล้วนแล้วแต่ต้องพบเจอกับความเครียด และสำหรับที่ต้องทำงานยกของหนัก นั่งในท่าเดิมเป็นระยะเวลานาน ทุกอย่างทำให้กล้ามเนื้อเกิดความเครียด ตึง ซึ่งเมื่อรู้สึกว่ากล้ามเนื้อมีความเมื่อยล้าเกิดขึ้นแล้ว เราควรหยุดพักเพื่อเปลี่ยนอิริยาบถทุก ๆ ชั่วโมง เพื่อเป็นการผ่อนคลายกล้ามเนื้อลดความเสี่ยงในการอาการปวดหลัง   

2.ห้ามยกของหนัก

การยกของหนักเป็นสาเหตุที่ทำให้หลังมีอาการบาดเจ็บและเกิดอาการปวดในทันที ซึ่งการยกของหนักนั้นสามารถทำได้แต่ต้องทำด้วยท่าทางที่ถูกต้อง ซึ่งท่าที่ถูกต้องก็คือ การย่อเข่าทั้งสองลง หลังเหยียดตรง มือทั้งสองข้างจับกับสิ่ง ที่ต้องการยกให้มั่น ออกแรงที่ขาและเข่าเพื่อยกสิ่งของนั้นขึ้น อย่าทำการก้มและยกของหนักขึ้นเพราะการยกของด้วยท่าดังกล่าวจะทำให้เกิดอาการปวดหลังในทันที

3.เปลี่ยนท่าทางบ่อย ๆ

การนั่งทำงานอยู่กับโต๊ะทำงานเป็นเวลานานจะทำให้กล้ามเนื้อเกิดอาการตึงเป็นจุด ๆ ซึ่งจะทำให้หลังปวดได้ ดังนั้นเราจึงควรเปลี่ยนท่าทางบ่อย ๆ หรือทุกชั่วโมง ทำการยืดเส้นยืดสาย ด้วยการยกมือขึ้นเหนือศีรษะและโน้มตัวไปข้างหน้า-ข้างหลัง ข้างขวา ข้างซ้าย เพื่อเป็นการผ่อนคลายความเครียดที่เกิดขึ้นกับกล้ามเนื้อหลัง

4.การออกกำลังกาย

การออกกำลังกายเป็นการสร้างความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อหลัง เมื่อกล้ามเนื้อแข็งแรงแล้วอาการปวดหลังที่จะเกิดขึ้นก็มีน้อยลงตามไปด้วย

ท่าออกกำลังกายกล้ามเนื้อหลัง

1.ท่าเหยียดขาตรง

เริ่มจากนอนราบกับพื้น แขนทั้งสองข้างแนบลำตัว ปลายเท้าชิด ทำการยกปลายเท้าทั้งสองข้างขึ้นให้สูงที่สุดเท่าที่จะทำได้ ทำการเกร็งกล้ามเนื้อ อยู่ในท่านี้ 10 วินาที ทำซ้ำ 5 รอบ ครั้งละ 3 รอบ

2.ท่ายืดขางอ

เริ่มจากนอนราบกับพื้น แขนทั้งสองข้างแนบลำตัว ปลายเท้าชิด ค่อยลากปลายเท้าเข้าหาลำตัว เข่ายกขึ้นจนขนานกับพื้นทำการแยกเข่าทั้งสองข้างออกจากกัน พยายามกดเข่าลงให้แนบกับพื้นให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ แต่ไม่จำเป็นต้องวางแนบกับพื้นก็ได้

3.ท่างอเข่าเข้าหาลำตัว

เริ่มจากนอนราบกับพื้น แขนทั้งสองข้างแนบลำตัว ปลายเท้าชิด ยกข่าขึ้นโดยที่เข่าทั้งสองข้างยังชิดกันอยู่ นำมือทั้งสองข้างไปโอบรอบเข่าทั้งสองข้าง ดึงเข่าเข้าหาลำตัวช้า ๆ ให้เข้ามาใกล้ลำตัวมากที่สุด ในครั้งแรกที่ทำเข้าอาจจะยังไม่แนบลำตัว แต่เมื่อทำในครั้งต่อไปเราจะสามารถดึงเข่าให้มาชิดกับลำตัวได้มากขึ้น จนในที่สุดเข่าก็จะมาชิดติดกับลำตัวได้ อยู่ในท่านี้ 10 วินาที ทำซ้ำ 5 รอบ ครั้งละ 3 รอบ

5.ท่าปั่นจักรยานกลางอากาศ

เริ่มจากนอนราบกับพื้น แขนทั้งสองข้างแนบลำตัวฝ่ามือแนบพื้น ปลายเท้าชิด ใช้ฝ่ามือดันสะโพกให้ยกจากพื้นเล็กน้อย ยกขาทั้งสองข้างขึ้นกลางอากาศ ทำท่าคล้ายกับการปั่นจักรยาน ทำการปั่น 20 รอบ ครั้งละ 3 รอบ

6.ท่ากระดกขากลางอากาศ

เริ่มจากนอนราบกับพื้น แขนทั้งสองข้างแนบลำตัวฝ่ามือแนบพื้น ปลายเท้าชิด ใช้ฝ่ามือดันสะโพกให้ยกจากพื้นเล็กน้อย ลดขาขวาลงและยกขาซ้ายขึ้น อยู่ในท่านี้ 10 วินาที สลับเอาขาซ้ายขึ้นและขาขวาลง อยู่ในท่านี้ 10 วินาที ทำซ้ำ 10 รอบ ครั้งละ 3 รอบ

7.ก้มแตะปลายเท้า

เริ่มจากยืนตัวตรง หลังตรง ปลายเท้าแยกออกจากันเล็กน้อย มือทั้งสองข้างโน้มมาข้างหน้า ค่อย ๆ ก้มตัวลงให้ปลายนิ้วมือจรดปลายเท้า ในการทำครั้งแรกปลายนิ้วมือจะไม่สามารถจรดปลายเท้าได้ แต่เมื่อทำไปอย่างต่อเนื่องกล้ามเนื้อหลังจะมีความยืดหยุ่นปลายนิ้วมือจะสามารถลงมาจรดปลายเท้าได้อย่างง่ายดาย

8.ท่าคลานเข่า

เริ่มจากทำท่าคลานเข่า มือและเข่าเป็นส่วนที่ทำหน้าที่ในการรับน้ำหนัก ยกขาขวาแล้วยืดออกไปด้านหลัง เหยียดขาให้ตรงมากที่สุดเท่าที่ทำได้ เกร็งกล้ามเนื้อไว้ 10 วินาที ลดขาลงมาอยู่ในท่าเริ่มต้น สลับยกขาซ้ายขึ้นเหยียดขาให้ตรงเท่าที่จะทำได้ เกร็งกล้ามเนื้อไว้ 10 วินาที ลดขาลงมาอยู่ในท่าเริ่มต้น ทำซ้ำข้างละ 10 ครั้ง ท่านี้จะสามารถช่วยลด อาการปวดหลัง ที่ร้าวลงไปยังบริเวณต้นขาได้ด้วย

การออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อต้องทำเป็นประจำอย่างต่อเนื่องจึงจะเห็นผลได้ ในการทำครั้งแรกอย่าเพิ่งหักโหมหรือพยายามทำให้ได้ตามที่ใจต้องการ

กล้ามเนื้อที่ไม่ได้รับการออกกำลังมาก่อนจะมีความยืดหยุ่นน้อย เมื่อทำบางท่าอาจจะไม่สามารถเป็นไปตามเป้าหมายได้ แต่เมื่อทำซ้ำไปสักระยะหนึ่งกล้ามเนื้อมีความแข็งแรงและสามารถยืดหยุ่นได้ดี ท่าการออกกำลังกายก็จะสวยงาม ความแข็งแรงก็สูงส่งผลให้อาการปวดหลังมีโอกาสเกิดขึ้นได้น้อยหรือไม่เกิดขึ้นได้เลย

สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังอย่างรุนแรงเกิดขึ้นแล้ว ไม่ควรเดินโดยไม่มีการใช้ไม้พยุงเพื่อช่วยลดแรกที่จะส่งไปยังกล้ามเนื้อและกระดูกที่หลังอย่างเด็ดขาด เพราะว่าจะทำให้อาการปวดที่เป็นอยู่นั้นมีความรุนแรงมากขึ้น จึงนับว่าไม้ค้ำรักแร้หรือไม้ช่วยพยุงเดินนั้นสามารถช่วยลดอาการปวดหลังได้เช่นกัน เพราะว่าไม้ช่วยพยุงจะช่วยช่วยลดการลงน้ำหนักไปที่กล้ามเนื้อหลังและขาข้างที่มีอาการปวด โดยไม้ช่วยพยุงจะเป็นตัวรับแรงและน้ำหนักนั้นไว้เอง ไม้ช่วยพยุงที่นำมาใช้ควรมีความสูงพอดี ห้ามสูงหรือต่ำกว่าอย่างเด็ดขาดเพราะจะทำให้ผู้ใช้มีการแย่ลงกว่าเดิมได้ โดยไม้ช่วยพยุงเมื่อตั้งฉากกับพื้นราบแล้วต้องมีความสูงพอกับใต้รักแร้ วัสดุที่นำมาใช้ทำไม้ช่วยพยุงต้องเป็นวัสดุที่มีความ ทนทาน เช่น ไม้หรืออลูมิเนียม และช่วงที่อยู่ใต้รักแรต้องหุ้มด้วยวัสดุนิ่มเพื่อรองรับน้ำหนักใต้วงแขนแล้วไม่ทำให้ใต้วงแขนเกิดอาการเจ็บได้

การไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจรักษานั้น ในขั้นแรกแพทย์จะทำการซักประวัติและให้กรอกแบบสอบถามเพื่อที่จะได้ประเมินความเจ็บปวดของผู้ป่วยว่ามีอาการอยู่ในระดับใดแล้ว ซึ่งลักษณะของแบบสอบถามจะมีลักษณะดังนี้

ชื่อ-สกุล____________________________________อายุ______วันที่____________เพศ_____

H.N._____________________________อาชีพ_____________________________________

ท่านปวดหลังมานานแค่ไหน_________ปี__________เดือน_________สัปดาห์

ท่านปวดหลังมานานแค่ไหน_________ปี__________เดือน_________สัปดาห์

ครั้งที่ 1  วันที่________________

ถ้าความปวดมากที่สุด = 10 ความไม่ปวดเลย = 0

ขณะนี้ท่านมีความปวดมาก-น้อยแค่ไหน

0 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10

ไม่ปวดเลย                                                                                                                             ปวดมากสุด

ครั้งที่ 2  วันที่________________

ถ้าความปวดมากที่สุด = 10 ความไม่ปวดเลย = 0

ขณะนี้ท่านมีความปวดมาก-น้อยแค่ไหน

0 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10

ไม่ปวดเลย                                                                                                                             ปวดมากสุด

ครั้งที่ 3  วันที่________________

ถ้าความปวดมากที่สุด = 10 ความไม่ปวดเลย = 0

ขณะนี้ท่านมีความปวดมาก-น้อยแค่ไหน

0 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10

ไม่ปวดเลย                                                                                                           ปวดมากสุด

เมื่อทำการกรอกเอกสารฉบับนี้แล้ว ในผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังแบบเรื้อรัง แพทย์ที่ทำการตรวจจะให้ทำแบบสอบถามอีกรูปแบบหนึ่งเพื่อที่จะได้ทราบถึงสาเหตุของอาการปวดหลังที่เกิดขึ้นว่ามีสาเหตุมาจากอะไร เพื่อที่จะได้ให้การรักษาอย่างถูกต้อง

แบบสอบถามสำรวจอาการปวดหลังแบบเรื้อรัง ( Modified Oswestry Low Backk Pain Disability Questionnaire )

ชื่อ-สกุล___________________________________อายุ______วันที่_____________เพศ_____

H.N._____________________________อาชีพ_____________________________________

ท่านปวดหลังมานานแค่ไหน_________ปี__________เดือน_________สัปดาห์

ท่านปวดหลังมานานแค่ไหน_________ปี__________เดือน_________สัปดาห์

กรุณาใส่เครื่องหมาย หน้าหัวข้อที่ท่านรู้สึกเกี่ยวกับท่าน

สวนที่ 1 : ความรุนแรงของความปวด ( pain intensity )

ロ ไม่มีความปวดสักครั้งเลย

ロ สามารถทนต่อความปวดได้โดยไม่ต้องรับประทานยา

ロ มีความปวดอยู่แต่ไม่จำเป็นต้องใช้ยาระงับปวดเพือบรรเทาอาการปวด

ロ เมื่อรับประทานยาแล้วอาการปวดที่เป็นอยู่หายหมด

ロเมื่อรับประทานยาแล้วช่วยบรรเทาอาการปวดได้เพียงบางส่วน

ロเมื่อรับประทานยาแล้วไม่สามารถช่วยลดหรือทำให้อาการปวดหายไปได้ จึงไม่รับประทานยาแก้ปวด

ส่วนที่ 2 : อาบน้ำ, ทำความสะอาดตัวเอง, แต่งตัว ( personal care )

ロ ดูแลตัวเองได้แต่มีอาการปวดเกิดขึ้นอยู่บ้าง

ロ ดูแลตัวเองได้โดยไม่มีอาการปวดเกิดขึ้นเลย

ロ ดูแลตัวเองได้ตามปกติโดยไม่คำนึงถึงอาการปวด

ロ ดูแลตัวเองได้โดยมีอาการปวดเพิ่มขึ้น จึงทำช้าช้าด้วยความระมัดระวัง

ロ ต้องให้คนอื่นช่วยทำทุกอย่างและทุกวันในเรื่องดูแลตัวเอง

ロ ต้องนอนอยู่บนเตียงเพราะอาการปวด และดูแลตัวเองลำบาก

ส่วนที่ 3 : ยกของหนัก ( lifting )

ロ ยกหรือแบบอะไรไม่ได้เลย

ロ ยกได้แต่ของเบาๆ

ロ ยกของหนักได้โดยไม่ปวด

ロ ยกของหนักได้แต่รู้สึกปวดเล็กน้อย

ロ ยกของหนักจากพื้นขึ้นมาปวด แต่ถ้ายกอยู่ระดับโต๊ะพอจะยกได้

ロ ความปวดทำให้ยกของหนักไม่ไหว แต่ถ้าของเบาหน่อยพอยกได้

ส่วนที่ 4 : การเดิน ( walking )

ロ นอนอยู่บนเตียงตลอด

ロ เดินไหวแต่ต้องใช้ไม้เท้าหรือไม้ช่วยพยุงใต้รักแร้ช่วยในการเดินอาการปวดจึงไม่มี

ロ เดินครึ่งกิโลเมตรก็มีอาการปวด

ロ เดินได้แค่ 1 กิโลเมตร ก็มีอาการปวดแล้ว

ロ เดินมากกว่า 2 กิโลเมตร จะเริ่มมีอาการปวด

ロ เดินไกลแค่ไหนก็ไม่มีอาการปวด

ส่วนที่ 5 : การนั่ง ( sitting )

ロ นั่งเก้าอี้บางตัวได้นานโดยไม่กำหนดเวลา

ロ หนังเก้าอี้ทุกตัวได้นานโดยไม่กำหนดเวลา

ロ นั่งได้ไม่เกิน 1 ชั่วโมง จะปวดแล้ว

ロ นั่งได้ครั้งละไม่เกินครึ่งชั่วโมง จะเริ่มมีอาการปวดเกิดขึ้นแล้ว

ロ นั่งได้นาน 10 นาที จะเริ่มมีอาการปวดเกิดขึ้นแล้ว

ロ มีอาการปวดจนนั่งไม่สามารถนั่งได้เลย

ส่วนที่ 6 : การนอน ( sleeping )

ロ มีอาการปวดจนนอนไม่ได้เลย

ロ เมื่อรับประทานยาแก้ปวดแล้ว สามารถนอนหลับได้น้อยกว่า 2 ชั่วโมง

ロเมื่อรับประทานยาแก้ปวดแล้ว สามารถนอนหลับได้น้อยกว่า 4 ชั่วโมง

ロเมื่อรับประทานยาแก้ปวดแล้ว สามารถนอนหลับได้ 6 ชั่วโมง

ロ สามารถนอนได้เฉพาะตอนที่รับประทานยาแก้ปวด

ロ อาการปวดทำให้ไม่สามารถนอนหลับได้

ส่วนที่ 7 : การยืน ( standing )

ロ ยืนได้นานโดยไม่มีอาการปวด

ロ อาการปวดเกิดขึ้นตลอดจนไม่สามารถยืนได้

ロ ยืนได้นานแต่มีอาการปวดเล็กน้อย

ロ ยืนนานเกิน 1 ชั่วโมง ไม่ได้

ロ ยืนนานเกิน 30 นาที ไม่ได้

ロ ยืนนานเกิน 10 นาทีไม่ได้

ส่วนที่ 8 : การเดินทาง ( travelling )

ロ เดินทางไปไหนได้โดยไม่มีอาการปวด

ロ เดินทางไปไหนได้แม้จะมีอาการปวดบ้างเล็กน้อย

ロ มีอาการปวดอยู่บ้างแต่ยังเดินทางได้กว่า 2 ชั่วโมง

ロ มีอาการปวดมาก จนเดินทางได้น้อยกว่า 2 ชั่วโมง

ロ มีอาการปวดมาก จนเดินทางเท่าที่จำเป็น ใช้เวลาไม่เกินครึ่งชั่วโมง

ロ มีอาการปวดมากไปไหนไม่ได้เลย นอกจากมาหาแพทย์หรือไปโรงพยาบาล

ส่วนที่ 9 : การเข้าสังคม ( Social Life )

ロ ไม่มีการสมาคมเลยเพราะมีอาการปวด

ロ สมาคมได้ปกติโดยไม่มีอาการปวด

ロ สมาคมได้แต่มีอาการปวดเล็กน้อย

ロ ทำอะไรที่ชอบยังได้ แม้จะมีอาการปวดบ้าง

ロ อาการปวดที่เกิดขึ้นทำให้การสมาคมลดลง

ロ อาการปวดที่เกิดขึ้นทำให้การสมาคมลำบากจนคิดอยากอยู่บ้าน

ส่วนที่ 10 : การทำงาน / ทำงานบ้าน

ロ ทำได้ตามปกติไม่มีอาการปวด

ロ ปวดมากจนต้องอยู่เฉยๆไม่ทำงานเลย

ロ ทำงานได้ มีอาการปวดเกิดขึ้นบ้างแต่ยังทำได้สม่ำเสมอ

ロ ทำงานได้ แต่ถ้างานหนักจะเสร็จทันที ( ยกของหนัก, ดูดฝุ่น, ถูบ้าน )

ロ อาการปวดทำให้ทำได้แต่งานเบาเบาๆเท่านั้น

ロ มีอาการปวดมาก จนงานเบาเบาๆก็ทำไม่ไหว

แบบสอบถามทั้งสองแบบจะทำให้แพทย์ทราบถึงอาการของผู้ป่วยได้อย่างชัดเจน และสามารถทำการรักษาได้อย่างถูกต้อง ผู้ป่วยจะหายจากอาการปวดหลังจากการรักษาที่สาเหตุแท้จริง

อาการปวดหลัง เป็นอาการที่เกิดขึ้นได้กับทุกช่วงอายุ และทุกเพศ ดังนั้นการใช้ชีวิตประจำวันเราควรใส่ใจอวัยวะทุกส่วน ใช้งานด้วยท่าทางที่ถูกต้อง รู้จักออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเพื่อสร้างความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อ เราจะได้ไม่ต้องมีอาการปวดกล้ามเนื้อ ปวดกระดูกตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายให้ทุกทรมานกัน

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

มนูญ บัญชรเทวกุล. การป้องกันและแก้อาการปวดหลัง. กรุงเทพฯ : หมอชาวบ้าน, 2551.

https://www.medicinenet.com/shoulder_pain_facts/article.html

นิ้วล็อค ( Trigger Finger ) 1 ในโรคยอดฮิตออฟฟิศซินโดรม

0
นิ้วล็อกโรคยอดฮิตออฟฟิศซินโดรม
นิ้วล็อค เป็นอาการที่พบได้บ่อยในปัจจุบัน จะมีอาการนิ้วติดขัด เคลื่อนไหวได้ไม่คล่องแคล่ว มีเสียงดังเมื่อมีการใช้นิ้วหรือมีอาการปวด
นิ้วล็อกโรคยอดฮิตออฟฟิศซินโดรม
นิ้วล็อค เป็นอาการที่พบได้บ่อยในปัจจุบัน จะมีอาการนิ้วติดขัด เคลื่อนไหวได้ไม่คล่องแคล่ว มีเสียงดังเมื่อมีการใช้นิ้วหรือมีอาการปวด

อาการนิ้วล็อค

อาการนิ้วล็อค ( Trigger Finger ) คือ อาการที่พบได้บ่อยในสังคมปัจจุบันนี้ เนื่องจากวิวัฒนาการที่ก้าวหน้าของเทคโนโลยีทำให้การทำงานด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือเป็นสิ่งที่ต้องพบเจออยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน การทำงานด้วยแบนพิมพ์หรือการพิมพ์บนหน้าจอโทรศัพท์ส่งผลให้การเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อมือเกิดขึ้นในระยะที่น้อย มีการกางออกของกล้ามเนื้อไม่เต็มที่ มีการเกร็งกล้ามเนื้อสูงส่งผลให้เกิดนิ้วล็อคนั่นเอง

โดยเฉพาะเด็กที่มีกล้ามเนื้อนิ้วมือที่ไม่แข็งแรงเนื่องจากการใช้งานนิ้วและมือที่น้อยลง ทั้งที่โรงเรียนและที่บ้าน เด็กในยุคปัจจุบันนี้ไม่ต้องทำงานบ้าน ไม่ต้องเขียนหนังสือด้วยมือ แต่ทำงานด้วยการพิมพ์คอมพิวเตอร์เป็นส่วนมาก จึงทำให้กล้ามเนื้อมีการพัฒนาทั้งด้านความแข็งแรงและการยืดหยุ่นที่น้อย จึงทำให้เกิดการกางออกของนิ้วได้ไม่เต็มที่ เอ็นนิ้วมีการยืดออกได้ไม่ดีหรือการที่ต้องทำงานในท่านั่งเดิมๆ เป็นเวลานานต่อเนื่องกันโดยที่ไม่มีการเปลี่ยนอริยาบทเพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อเกิดความดึงเครียดและเกร็งในที่สุด หรือที่เรียกว่าโรคออฟฟิศซินโดรม ( Office Syndrome ) ซึ่งหมายรวมถึง การที่กล้ามเนื้อคอ ไหล่ หลัง แขน มือ มีอาการอักเสบที่สามารถส่งผลให้เกิดอาการนิ้วล็อคได้

อาการนิ้วล็อค เป็นอาการที่ไม่ได้ถือว่ารุนแรงแต่ก็สามารถสร้างความเจ็บปวดและความรำคาญให้กับผู้ที่มีอาการดังกล่าวได้ ซึ่งเมื่อเกิดขึ้นแล้วจะก่อให้เกิดความเจ็บปวดจนเจ้าตัวหลีกเลี่ยงที่จะใช้มือข้างที่เกิดอาการนิ้วล็อค ซึ่งเมื่อมีมือไม่มีการใช้งานเป็นเวลานานเข้า นิ้วมืออาจจะไม่สามารถกลับมาใช้งานได้อย่างปกติเลยก็เป็นได้ ดังนั้นทางที่ดีที่สุดสำหรับอาการนิ้วล็อค ก็คือ การป้องกันไม่ให้เกิดอาการนิ้วล็อคได้จะเป็นหนทางที่ดีที่สุด

ทางที่ดีที่สุดสำหรับอาการนิ้วล็อค ก็คือ การป้องกันไม่ให้เกิดอาการนิ้วล็อคได้จะเป็นหนทางที่ดีที่สุด

โครงสร้างของมือและนิ้ว

มือเป็นโครงสร้างที่อยู่ปลายสุดของแขนมีรูปทรงคล้ายสี่เหลี่ยมผืนผ้า ประกอบด้วยนิ้วมือ 5 นิ้วยื่นออกมาจากฝ่ามือ นิ้วแต่ละนิ้วจะมีขนาดไม่เท่ากันแยกออกจากกัน ประกอบด้วย

1.กล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อเป็นส่วนที่ทำให้มือและนิ้วสามารถทำการเคลื่อนไหวได้ดังใจ กล้ามเนื้อที่นิ้วและมือแบ่งออกเป็น

1.1 กล้ามเนื้อมือด้านหน้า เป็นส่วนของกล้ามเนื้อที่มีความแข็งแรงมากที่สุดของมือ มีหน้าที่ช่วยในการยกข้อมือขึ้นลง และทำหน้าที่ควบคุมมือให้กำหรืองอเข้าหาตัว

1.2 กล้ามเนื้อปลายแขน ส่วนนี้เป็นกล้ามเนื้อมัดยาว ที่อยู่บริเวณข้อศอกยาวลงมาจนเกือบถึงปลายแขน และต่อกับเอ็นกล้ามเนื้อยาวไปยังมือและนิ้ว กล้ามเนื้อส่วนนี้ประกอบด้วยกล้ามเนื้อ 2 มัด คือ

  • กล้ามเนื้อปลายแขนมัดตื้น (Flexor Digitorum Superficialis) กล้ามเนื้อส่วนนี้จะอยู่ที่ปุ่มกระดูกของส่วนข้อผสอกที่อยู่ด้านในที่มีการทอดยาวไปตามโครงกระดูกจากปลายแขนจนถึงส่วนเหนือข้อมือ จากที่ข้อมือจะมีการแยกออกเป็นเส้นเอ็น 4 เส้นไปยังนิ้วมือที่ 2-5 นั่นคือ นิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนางและนิ้วก้อย
  • กล้ามเนื้อปลายแขนมัดลึก (Flexor Digitorum Profundus) กล้ามเนื้อส่วนนี้จะอยู่ใต้กล้ามเนื้อปลายแขนมัดตื้น เริ่มจากจุดกระดูกข้อศอกที่อยู่ด้านในเล็กน้อย และจะแตกออกเป็นเส้นเอ็นไปยังนิ้วที่ 2-5 เช่นเดียวกับกล้ามเนื้อปลายแขนมัดลึก ช่วยในการงอข้อปลายนิ้ว

กล้ามเนื้อปลายแขนทั้งสองส่วนนี้จะประสานกัน ช่วยให้นิ้วมือสามารถงอเข้าหาฝ่ามือ ทำท่ากำมือ กวักมือได้

2.กล้ามเนื้อฝ่ามือ

ฝ่ามือจะมีกล้ามเนื้อชิ้นเล็กเกาะกันอยู่ประมาณ 20 มัด และสามารถแบ่งหน้าที่ของกล้ามเนื้อที่ฝ่ามือนี้ออกได้เป็น 3 ส่วน คือ

  • กล้ามเนื้อกลางฝ่ามือ เป็นกล้ามเนื้อที่มีลักษณะรูปร่างคล้ายใบไม้ โดยกล้ามเนื้อจะแทรกอยู่ระหว่างกระดูกที่ฝ่ามือของนิ้วแต่ละคู่ ช่วยในการกางนิ้ว หุบนิ้วและงอโคนนิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนาง นิ้วก้อย ให้สามารถงอตั้งฉากกับฝ่ามือได้
  • กล้ามเนื้อฝ่ามือกลุ่มนิ้วหัวแม่มือ กล้ามเนื้อชุดนี้จะมีหน้าที่ในการกางนิ้ว เหยียด ยก
  • กล้ามเนื้อฝ่ามือกลุ่มนิ้วก้อย เป็นกล้ามเนื้อที่ช่วยในการกางนิ้วและการเคลื่อนนิ้วก้อยให้ไปหยิบจับหรือแตะกับสิ่งของอื่น

3.กระดูก

ฝ่ามือและนิ้วประกอบด้วยกระดูกต่อกันทั้งหมด 27 ชิ้นด้วยกัน นิ้วทุกนิ้วจะประกอบไปด้วยกระดูก 3 ชิ้นต่อเข้าด้วยกัน ยกเว้นนิ้วหัวแม่มือที่ประกอบด้วยกระดูกเพียงสองชิ้นเท่านั้น ส่วนกระดูกที่เหลือจะประกอบต่อกันที่บริเวณของฝ่ามือ และเชื่อมต่อกระดูกแต่ละชิ้นด้วยกล้ามเนื้อและเอ็นกล้ามเนื้อ ที่ช่วยให้กระดูกมีความแข็งแรงและสามารถเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระ
กระดูกฝ่ามือแต่ละชิ้นจะมีรูปร่างและลักษณะที่ใกล้เคียงกัน โดยมีลักษณะรูปร่างเป็นกระดูกแบบกลมยาว สามารถแบ่งออกเป็นสามส่วน คือ ส่วนหัวกระดูก ( Head/Distal Extremity ) ที่อยู่บริเวณปลายนิ้วมือ ส่วนกลางกระดูก (Body) เป็นส่วนที่เชื่อมระหว่างกระดูกส่วนหัวและกระดูกส่วนฐาน ส่วนสุดท้ายคือส่วนของฐานกระดูก (Base/Carpal Extremity) เป็นส่วนที่ต่อกับกระดูกข้อมือ

ส่วนฐานกระดูก

ส่วนฐานกระดูกนิ้วมือมีรูปร่างหนาคล้ายทรงลูกบาศก์ และมีการแบนออกในส่วนของด้านหลังมือ ช่วยทำให้มือสามารถงอไปทางด้านหลังมือได้ แต่องศาการงอมือไปทางด้านหลังจะมีค่าน้อยกว่าการงอมือไปทางด้านของฝ่ามือ

ส่วนกลางกระดูก

กระดูกส่วนกลางของฝ่ามือมีรูปทรงเป็นทรงคล้ายปริซึม มีความโค้งนูนออกมาทางด้านหลังมือ พื้นผิวทางด้านข้างของกระดูกส่วนกลางจะมีจุดเกาะของกล้ามเนื้ออินเตอร์ออสเซียสในส่วนของฝ่ามือ ( Palmar Interosseus Muscles ) กล้ามเนื้อนี้จะทำหน้าที่ยึดกระดูกแต่ละชิ้นเข้าไว้ด้วยกัน ด้านหลังของมือจะมีกล้ามเนื้ออินเตอร์ออสเซียส ( Dorsal Interosseus Muscles ) เพื่อช่วยในการยืดหยุ่นของมือ

ส่วนหัวกระดูก

กระดูกส่วนหัวของฝ่ามือจะเว้าเข้ามาในฝ่ามือเล็กน้อย และแบนออกด้านข้างทำหน้าที่ในการรับกระดูกนิ้วมือส่วนต้น ( Proximal Phalanges ) หรือส่วนที่เชื่อมระหว่างนิ้วมือกับฝ่ามือ ด้านข้างของหัวกระดูกส่วนหัวมีลักษณะที่นูนออก ทำหน้ที่ในการเป็นจุดเกาะของเอ็นรอบบริเวณรอบข้อต่อระหว่างฝ่ามือกับนิ้วมือ ( Metacarpophalangeal Joints ) นั่นเอง

การทำงานของมือถูกควบคุมการทำงานด้วยสมองทั้งสองข้าง การคำสั่งที่ส่งมายังมือแต่ละข้างจะเป็นอิสระจากกัน มือแต่ละข้างจึงสามารถทำงานทำงานได้ต่างกันในเวลาเดียวกัน ที่ปลายนิ้วมือเส้นประสาทที่รับรู้ความรู้สึกที่ละเอียดอ่อนได้สูงมาก ทั้งการสัมผัสของขนนก สำลีหรือแม้แต่สายลมเป่า ประสาทสัมผัสที่ปลายนิ้วก็รับรู้ได้ นอกจากนั้นนิ้วมือยังสามารถรับรู้ถึงลักษณะของผิวสัมผัสที่กระทบกับนิ้วด้วยว่ามีลักษณะอย่างไร เช่น หยาบ ละเอียด นุ่ม แข็ง เป็นต้น

มือและนิ้วมือเป็นส่วนที่มีการใช้งานอย่างต่อเนื่องและบางครั้งต้องทำงานอย่างหนัก ทั้งยกของ หยิบของ ซึ่งต้องใช้แรงและกล้ามเนื้อในการทำงานทั้งสิ้น การใช้งานที่หนักอาจจะก่อให้มือและนิ้วเกิดอาการบาดเจ็บเกิดขึ้นได้ ซึ่งอาการบาดเจ็บที่พบได้เช่น การเกิดพังผืดที่นิ้วก้อย ( Dupuytren’s Contracture ) เอ็นข้อมืออักเสบเกิดการกดทับเส้นประสาทมีเดียน ( Carpal Tunnel Syndrome ) เอ็นกล้ามเนื้อโคนนิ้วหัวแม่มือเกิดการอักเสบชนิดเรื้อรัง ( De Quervain’s Disease ) นิ้วล็อค ในที่นี้เราจะกล่าวถึง อาการนิ้วล็อคที่จัดเป็นอาการยอดฮิตของโรคที่เกี่ยวข้องกับออฟฟิศซินโดรม

อาการนิ้วล็อค

อาการนิ้วล็อค คือ อาการที่นิ้วมือมีการติดอยู่ในท่าใดท่าหนึ่ง เช่น ท่างอ ท่าเหยียด โดยที่ไม่สามารถทำอีกขยับมาเป็นอีกท่าหนึ่งได้ หรือแม้จะสามารถขยับได้ก็จะสร้างความเจ็บปวดเป็นอย่างมากให้กับมือ หรือเวลาที่ต้องการงอนิ้วแล้วเกิดเสียงดัง ก๊อก ๆ ที่ส่วนของข้อนิ้ว อาการดังกล่าวทางการแพทย์เรียกว่า Stenosing Tenosynovitis หรือ digital Flexor Tenosynovitis

สาเหตุการเกิดอาการนิ้วล็อค

อาการนิ้วล็อค สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกนิ้วของฝ่ามือ แต่ที่มีโอกาสเกิดมากที่สุดคือนิ้วหัวแม่มือ ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่านิ้วหัวแม่มือเป็นนิ้วที่มีการเคลื่อนไหวและใช้งานมากที่สุด และนิ้วที่มีโอกาสเกิดนิ้วล็อคน้อยที่สุดคือ นิ้วก้อย เพราว่าเป็นนิ้วที่มีการใช้งานน้อยที่สุดนั่นเอง และการเกิดนิ้วล็อคมักจะเกิดกับนิ้วมือข้างที่ถนัดมากกว่ามือข้างที่ไม่ถนัด เนื่องจากเราจะใช้มือข้างที่ถนัดมากกว่านั้นเอง ทำให้กล้ามเนื้อมีโอกาสที่จะยึดมากกว่ามือข้างที่ไม่ถนัด

สาเหตุที่แท้จริงของการเกิดนิ้วล็อคยังไม่สามารถสรุปได้อย่างชัดเจนว่ามีสาเหตุมาจากอะไร แต่จากข้อมูลพบว่าการเกิดนิ้วล็อคส่วนมากจะมาจากการที่ได้รับอุบัติเหตุหรือมีอาการบาดเจ็บที่มือ และเมื่อมีการใช้มือหรือนิ้วเป็นเวลานานติดต่อกัน รวมถึงการฝืนใช้มือทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่ต้องเกร็ง ต้องออกแรงจากล้ามเนื้อมือเป็นเวลานาน ก็สามารถส่งผลให้เกิดอาการนิ้วล็อคขึ้น นอกจากนั้นการที่มีปัญหาเนื้อเยื่อหรือปลอกหุ้มเอ็นมีการอักเสบที่เอ็นด้านหน้าของข้อมือ ส่งผลให้มีการกดทับเส้นประสาทที่ฝ่ามือ หรือการเกิดพังผืดที่โคนนิ้วล้วนเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดนิ้วล็อคได้ทั้งสิ้น

อาการนิ้วล็อคเป็นอาการที่พบได้มากในที่มีอายุระหว่าง 45 -60 ปี โดยเฉพาะในเพศหญิงจะมีอัตราการเกิดนิ้วล็อคสูงกว่าเพศชายกว่า 4 เท่าเลยทีเดียว แต่ในปัจจุบันนี้กลับพบว่าผู้ป่วยอาการนิ้วล็อคมีอายุต่ำลงมาก เนื่องจากการทำงานที่ต้องอยู่ในท่าที่ใช้นิ้วเป็นเวลานานและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อนิ้วและฝ่ามือของคนหนุ่มสาวน้อยลง จึงส่งผลให้มีการเกิดนิ้วล้อคได้มากขึ้น

นิ้วล็อคส่วนมากจะมาจากการที่ได้รับอุบัติเหตุหรือมีอาการบาดเจ็บที่มือ และเมื่อมีการใช้มือหรือนิ้วเป็นเวลานานติดต่อกัน

สาเหตุอาการนิ้วล็อค

อาการนิ้วล็อคจะไม่เกิดนิ้วล็อคในทันทีแต่จะแสดงอาการออกมาเป็นระยะ เพื่อเป็นการเตือนล่วงหน้าให้เห็นอยู่ตลอดเวลา ซึ่งอาการที่แสดงออกมาจะมีลำดับดังนี้

1.ระยะแรก นิ้วจะเริ่มมีความรู้สึกไม่สบายที่นิ้ว มีความรู้สึกตึงแน่นที่บริเวณนิ้ว เมื่อทำการกดลงที่บริเวณดังกล่าวจะพบว่ามีลักษณะเป็นก้อน ๆ หนาเกิดขึ้นอย่างชัดเจน หรือมีการปุ่มเล็ก ๆ และเมื่อทำการกดที่ปุ่มหรือก้อนเนื้อหนาจะมีความรู้สึกเจ็บ หลังตื่นนอนจะรู้สึกตึงและติดขัดในการใช้นิ้วดังกล่าว

2.ระยะสอง ที่ระยะนี้นิ้วมือจะเริ่มมีการติดขัดเวลาที่ใช้งานในการทำกิจกรรมทัวไป มีอาการสะดุด เหยียดนิ้วไม่ได้ มีเสียงดังก๊อก ๆ เกิดขึ้นเวลาที่นิ้วมีการเคลื่อนที่ และจะเริ่มมีอาการปวดที่บริเวณนิ้วมือที่ติดขัดร่วมด้วย

3.ระยะสุดท้าย ข้อนิ้วจะเกิดการหลวมจนหลุดออกมาจาเบ้า ส่งผลให้นิ้วเบี้ยวไม่ตรงตามแนวนิ้ว จนกระทบกับการใช้นิ้วในการดำเนินชีวิตประจำวันทั้งหมด เนื่องจากไม่สามารถใช้นิ้วได้เหมือนเดิม

การรักษาอาการนิ้วล็อค

เมื่อเกิด อาการนิ้วล็อคแน่นอนว่าเราต้องทำการรักษาเพื่อให้หายจากอาการดังกล่าว ซึ่งวิธีการรักษาอาการนิ้วล็อคนั้นสามารถเริ่มได้จากการรักษาด้วยตนเอง นั่นคือเมื่อรู้สึกว่านิ้วมีอาการติดขัด ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้อย่างคล่องแคล่วเหมือนเดิม มีเสียงดังเกิดขึ้นมีการใช้งานนิ้ว หรือมีอาการปวดบริเวณนิ้วเกิดขึ้น ซึ่งเมื่อมีอาการดังกล่าวเกิดขึ้นแล้ว ต้องรีบหยุดการทำกิจกรรมที่ต้องใช้นิ้วอยู่ในท่าเดิมเป็นระยะเวลานาน ทำการผ่อนคลายกล้ามเนื้อด้วยการเปลี่ยนอิริยาบทของนิ้วมือ หรือจะทำการนวดและนำมือแช่ในน้ำอุ่นเพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อที่มือด้วยก็จะเป็นการดี สามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดนิ้วล็อคได้เป็นอย่างดี แต่ถ้าอาการนิ้วล็อคที่เกิดขึ้นยังไม่ดีขึ้นแม้ว่าจะทำการดูแลในขั้นต้นแล้ว ต่อมาเราต้องพบผู้เชี่ยวชายเพื่อทำกายภาพบำบัดเพื่อฟื้นฟูการทำงานของกล้ามเนื้อ การทำกายภาพบำบัดจะช่วยลดการอักเสบ คลายปมและลดการตึงหรือการรั้งที่เกิดพังผืดที่ข้อนิ้วและกล้ามเนื้อให้สามารถยืดหยุ่นได้มากขึ้น และยังช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดให้สามารถไหลเวียนมาหล่อเลี้ยงกล้ามเนื้อที่ฝ่ามือและนิ้วได้มากขึ้น ส่งผลให้กล้ามเนื้อมีความแข็งแรงลดความเสี่ยงในการเกิดนิ้วล็อคได้เช่นกัน เนื่องจากสภาวะการทำงาน ความจำเป็นและความรุนแรงของอาการนิ้วล็อคที่เกิดขึ้นในแต่ละบุคคลมีความแตกต่างกัน ในบางรายไม่สามารถทำกายภาพบำบัดแล้วช่วยอาการนิ้วล็อคให้ดีขึ้นได้ จึงจำเป็นต้องทำการรักษาทางด้านการแพทย์ขั้นสูงเข้าไปช่วยเพื่อลดอาการและความเจ็บปวดของอาการนิ้วล็อคด้วยวิธีดังนี้

1.การฉีดยา เพื่อลดอาการปวด บวมของกล้ามเนื้อ ซึ่งการรักษาด้วยการฉีดยาเป็นการรักษาแบบชั่วคราวเพื่อลดอาการเจ็บปวดเสียมากกว่า แต่ถ้าเมื่อฉีดยาแล้วอาการนิ้วล็อคยังไม่ดีขึ้น จำเป็นต้องรักษาด้วยวิธีอื่นต่อไป

2.การผ่าตัด เพื่อทำการเปิดเส้นทางเดินของเส้นเอ็นให้กว้างขึ้น เส้นเอ็นจึงสามารถลอดผ่านได้ง่าย ผู้ป่วยที่ทำการผ่าตัดแล้วจะสามารถเคลื่อนไหวนิ้วได้อย่างปกติหลังจากที่ทำการผ่าตัดประมาณ 14 วัน เมื่อทำการผ่าตัดแล้วผู้ป่วยต้องดูแลหลังการผ่าตัดเป็นอย่างดี ด้วยการประคบเย็นเพื่อลดอาการบวมและนวดเพื่อลดการเกิดพังผืดหลังจากการผ่าตัด และการดึง ดัดและยืดเส้นเอ็นที่ฝ่ามือกับนิ้วเป็นประจำเพื่อป้องกันการเกิดนิ้วล็อคซ้ำ

การรักษานิ้วล็อคนั้นมีขั้นตอนที่ง่ายไม่ยุ่งยาก แต่ว่าเมื่อรักษาแล้ว อาการนิ้วล็อคสามารถกลับมาเป็นซ้ำได้อีกตลอดเวลา ถ้าเรายังมีพฤติกรรมการดำเนินกิจวัตรประจำวันที่เหมือนเดิม ทำงานอยู่ในท่าเดิมต่อเนื่อง ไม่มีการพักเพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อ หรือไม่ยอมออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อที่บริเวณฝ่ามือและนิ้ว ก็จะทำให้นิ้วอ่อนแอจึงมีความเสี่ยงที่จะเกิดนิ้วล็อคได้อีกตลอดเวลา ดังนั้นวิธีการที่ดีที่สุดในการรักษานิ้วล็อคก็คือ การป้องกันไม่ให้เกิดนิ้วล็อคด้วยการเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับมือและนิ้ว ด้วยการออกกำลังมือและนิ้วเป็นประจำ

ท่าการออกกำลังกายมือและนิ้วที่เหมาะสม

1.ท่ากำและแบมือ เป็นท่าพื้นฐานที่ช่วยกระตุ้นการทำงานของกล้ามเนื้อให้มีการยืด-หด

เริ่มจากหงายมือขึ้น กำมือให้แน่นพอประมาณ นับ 1-10 คลายมือแบออก กำและแบสลับกัน ทำซ้ำ 15 รอบ ครั้งละ 3 รอบ

2.หุบและกางนิ้ว

เริ่มจากคว่ำมือ กางนิ้วให้มากที่สุดเท่าที่จะกางได้ นับ 1-20 แล้วหุบนิ้วให้แนบชิดกัน ทำซ้ำ 15 รอบ ครั้งละ 3

3.ท่าจีบนิ้ว

เริ่มจากนำปลายนิ้วหัวแม่มือไปจรดปลายนิ้วชี้ นับ 1-20 แล้วเปลี่ยนปลายนิ้วหัวแม่มือไปแตะปลายนิ้วให้ครบทุกนิ้ว ทำซ้ำ 15 รอบ ครั้งละ 3

นี่คือท่าออกกำลังกายที่ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อฝ่ามือและนิ้ว นอกจากการออกท่าทางเพื่อให้กล้ามเนื้อแข็งแรงลดความเสี่ยงในการเป็นนิ้วล็อคแล้ว การนวดก็สามารถช่วยลดโอกาสในการเกิดนิ้วล้อคได้เช่นเดียวกัน การนวดเราสามารถนวดด้วยตนเอง ใช้มือขวานวดมือซ้ายและมือซ้ายนวดมือขวาสลับกัน ดังนี้

การนวดลดการเกิดอาการนิ้วล็อค

1.นวดนิ้ว เริ่มจากการวางหัวแม่มือของมืออีกข้างมาวางบนโคนนิ้ว ค่อยออกแรงกดพร้อมทั้งหมุนเป็นวงกลมคล้ายก้นหอย หมุนวนตั้งแต่โคนนิ้วขึ้นมาจนถึงปลายนิ้ว ทำอย่างนี้จนครบทุกนิ้ว โดยเริ่มตั้งแต่นิ้วโป้ง นิ้วชี้ นิ้วนาง นิ้วกลางและนิ้วก้อย ทำทั้งมือขวาและมือซ้าย ทำซ้ำ 3-5 รอบ ครั้งละ 3 รอบ

2.นวดฝ่ามือ ใช้นิ้วโป้งของมืออีกข้างหนึ่งมากดลงบนฝ่ามือ ทำการนวดคลึงเป็นวงกลมคล้ายก้นหอย โดยเริ่มจากฐานมือที่ส่วนของข้อมือไล่ขึ้นมาเรื่อย ๆ จนทั่วทั้งฝ่ามือ ทำซ้ำ 3-5 รอบ ครั้งละ 3 รอบ

การนวดนิ้วและฝ่ามือสามารถทได้ตลอดเวลาที่ว่าง เพราะเป็นการช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อและยังสามารถช่วยกระตุ้นการหมุนเวียนของเลือดให้ดีขึ้นด้วย

นอกจากการออกกำลังกายและการนวดที่มือกับนิ้วแล้ว การดูแลรักษาความสะอาดและความปลอดภัยก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นเดียวกัน เพราะถ้ามือของเราสกปรกหรือเกิดบาดแผลจะทำให้กล้ามเนื้อ เอ็นกล้ามเนื้อเกิดอาการอักเสบซึ่งจะทำให้มีความเสี่ยงในการเกิดนิ้วล็อคได้เช่นเดียวกัน ดังนั้นเมื่อต้องใช้มือและนิ้วจับสิ่งของเสร็จแล้วควรล้างทำความสะอาดทุกซอกทุกมุม ทั้งฝ่ามือ ซอกนิ้ว ปลายนิ้ว ซอกเล็บให้สะอาดไม่มีสิ่งสกปรกติดค้างอยู่ ส่วนความปลอดภัยเราควรใช้มือทำกิจกรรมด้วยความระมัดระวัง ไม่ควรรับน้ำหนักมากด้วยนิ้วเพียงหนึ่งหรือสองนิ้ว เพราะจะทำให้กล้ามเกิดอาการเกร็ง เครียด และเมื่อรู้สึกเมื่อยล้ากล้ามเนื้อก็ควรผ่อนคลายกล้ามเนื้อมือด้วยการแช่น้ำอุ่นหรือนวดน้ำมันอยู่เสมอ

มือและนิ้วเป็นอวัยวะที่มีความสำคัญมากต่อการดำรงชีวิต ดังนั้นเราควรให้ความสำคัญเช่นเดียวกับการใช้งาน การดูแลเล็กน้อยก็จะสามารถทำให้เราสามารถใช้งานมือและนิ้วไปได้นานขึ้น โดยที่ไม่ต้องทนกับความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นเนื่องจากอาการนิ้วล็อค ถึงแม้ว่า อาการนิ้วล็อคจะเป็นอาการที่ไม่รุนแรงต่อร่างกายก็จริงอยู่ แต่เราไม่ว่าจะเป็นอาการที่รุนแรงหรือไม่ก็ไม่ควรให้เกิดขึ้นกับนิ้วและมือของเรา วันนี้คุณดูแลนิ้วและมือของคุณดีแล้วหรือยัง?

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

สุรศักดิ์ ศรีสุข. ปวดไหล่ : พิมพ์ครั้งที่ 7 : กรุงเทพฯ : หมอชาวบ้าน, 2560. 48 หน้า

นิดดา หงษ์วิวัฒน์. แสงแดด โอสถมหัศจรรย์ แสงแห่งชีวิตที่เป็นยารักษาโรค. กรุงเทพฯ : บริษัท สำนักพิมพ์แสงแดด จำกัด, 2558., 223 หน้า. ISBN 978-616-284-592-5.

https://www.medicinenet.com/shoulder_pain_facts/article.html

มาเริ่มดูแลสมองของคุณ ป้องกันโรคสมองเสื่อมตั้งแต่วันนี้

0
สมองเป็นส่วนที่มีความสำคัญเป็นอันดับแรกของร่างกาย มีหน้าที่ควบคุมระบบทั้งหมด จึงจำเป็นต้องดูแลให้แข็งแรงและพร้อมทำงาน
ดูแลสมองของคุณตั้งแต่วันนี้
สมองเป็นส่วนที่มีความสำคัญเป็นอันดับแรกของร่างกาย มีหน้าที่ควบคุมระบบทั้งหมด จึงจำเป็นต้องดูแลให้แข็งแรงและพร้อมทำงานเสมอ

สมองเสื่อม

สมองเสื่อม (Dementia) เกิดจากความผิดปกติของสมองทำให้สูญเสียความทรงจำบางส่วนหรือทั้งหมดไป อาการของโรคสมองเสื่อม โดยทั่วไปแล้วมักพบการสูญเสียความทรงจำช่วงสั้นๆ รู้สึกหงุดหงิด โมโห ซึมเศร้าและปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นไม่ได้ หากคนในครอบครัวมีอาการบ่งชี้ถึงโรคสมองเสื่องควรรีบนำตัวไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุของโรคให้แน่ชัดอีกที อย่างไรก็ตามการรักษาโรคสมองเสื่อมต้องทำควบคู่ไปกับการดูแลจากสมาชิกในครอบครัว

ปกติโรคอัลไซเมอร์จะเกิดกับผู้สูงอายุ เพราะเซลล์สมองเสื่อม ตามธรรมชาติของสังขารร่างกาย แต่ก็มีไม่น้อยเหมือนกันที่เกิดในกลุ่มวัยกลางคน ซึ่งกลุ่มนี้จะมีการดำเนินโรคที่รวดเร็วกว่าผู้สูงอายุมาก เพียงไม่นานอาการจากโรคอัลไซเมอร์ก็จะรุนแรงมากขึ้น ส่งผลให้วิถีชีวิตเปลี่ยนไปอย่างฉับพลัน เริ่มจากมีปัญหาต่อหน้าที่การงาน มีปัญหากับคนรอบข้าง และมีปัญหาต่อตัวเองในที่สุด

โรคเกี่ยวกับสมองเกือบทั้งหมดมีต้นเหตุของโรคที่หลากหลาย และมีการดูแลรักษาที่แตกต่างไปในรายบุคคล โดยจะเป็นไปในลักษณะของการรักษาร่วมไปกับการติดตามผลอย่างต่อเนื่อง หากรูปแบบการรักษาเดิมไม่ให้ผลลัพธ์ที่น่าพอใจก็จะเปลี่ยนการรักษาไปเรื่อยๆ ตามความเหมาะสม หรือแม้แต่การรักษาเดิมให้ผลดีมากก็ยังต้องพิจารณาเปลี่ยนรูปแบบการรักษาไปสู่ขั้นต่อไปอยู่ดี เพราะสมองเริ่มมีภาวะที่ต่างไปจากเดิมแล้วนั่นเอง

การรักษาและบำบัดผู้ป่วยโรคเกี่ยวกับสมองส่วนใหญ่ จะเป็นการรักษาระดับของโรคให้คงที่หรือชะลอความเสื่อมให้ช้าลงเท่านั้น ไม่อาจย้อนกลับให้มีสมองที่มีศักยภาพเท่าเดิมได้

ตัวช่วยหนึ่งที่น่าสนใจก็คือการใช้ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างสารพันธุกรรมกับสิ่งแวดล้อม หรือ Epigenetics เป็นการศึกษาการทำปฏิกิริยาของ DNA กับสารโมเลกุลเล็กๆ ในเซลล์ ทำให้เกิดการทำหรือไม่ทำบางอย่างขึ้น การแสดงออกของยีนจะเปลี่ยนแปลงไปตามสิ่งแวดล้อมที่มากระทบอยู่เสมอ แต่ไม่ได้มีการเปลี่ยนลำดับหรือรหัสของพันธุกรรม ยกตัวอย่างให้เข้าใจง่ายก็คือ เมื่อต้นไม้ได้รับแสงแดดและน้ำมากขึ้น นั่นหมายถึงสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนไป ต้นไม้ก็เติบโตได้เร็วขึ้น ออกดอก ออกผลมากขึ้น เป็นการแสดงออกของยีนที่มีผลมาจากสิ่งแวดล้อม แต่ไม่ได้มีการเปลี่ยนรหัสพันธุกรรมเดิม หมายถึง ต้นไม้ไม่ได้เกิดการกลายพันธุ์ไปเป็นต้นไม้ชนิดอื่นนั่นเอง และทฤษฎีนี้ก็มีผลต่อสิ่งมีชีวิตทุกชนิดรวมถึงมนุษย์ด้วย เมื่อสิ่งแวดล้อมเปลี่ยน เซลล์และระบบร่างกายของมนุษย์ก็จะเปลี่ยนไปด้วยเช่นกัน นี่จึงเป็นแนวทางหนึ่งที่แพทย์นำมาใช้เพื่อให้คำแนะนำในการปรับปรุงพฤติกรรมหรือเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมร่วมกับการรักษาด้านอื่นๆ ให้กับผู้ป่วยทางสมองอยู่เสมอ หัวใจสำคัญก็คือเราสามารถใช้หลักการเดียวกันนี้ดูแลสมองของเราให้แข็งแรงสมบูรณ์ได้ตั้งแต่ต้น ไม่จำเป็นต้องรอให้เจ็บป่วยก่อนแต่อย่างใด

เทคนิคการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อมเพื่อการดูแลสมอง

สมองก็เหมือนกับอวัยวะอื่นๆ ต้องดูแลให้แข็งแรงและพร้อมทำงานอย่างเต็มประสิทธิภาพ จึงจะเรียกว่าเป็นการดูแลสมองอย่างถูกต้อง ต่อไปนี้คือแนวทางในการปฏิบัติเพื่อดูแลสมอง

1. น้ำสะอาดคือสิ่งสำคัญ : ส่วนประกอบของสมองมีน้ำอยู่มากถึง 85 เปอร์เซ็นต์ เซลล์สมองเป็นส่วนที่ต้องการน้ำเพื่อหล่อเลี้ยงอยู่ตลอดเวลา เช่นเดียวกับต้นไม้ที่ไม่มีวันขาดน้ำได้เลย หากสมองได้รับน้ำไม่เพียงพอ เซลล์สมองก็เหี่ยว ของเหลวที่เป็นสาระสำคัญต่างๆ ก็หนืดข้นจนไม่สามารถทำงานได้ ส่งผลกระทบให้สมองทำงานได้ช้าลงมาก จะกลายเป็นคนคิดอ่านช้า หรือไม่มีความคิด ไม่มีไอเดียในการทำงานต่างๆ จึงต้องดื่มน้ำสะอาดให้มากพอในแต่ละวัน

2. ไขมันก็จำเป็น : นอกจากส่วนของน้ำแล้ว สมองก็ยังประกอบไปด้วยไขมัน เพราะหากจะมองดีๆ สมองก็คือก้อนไขมันที่มีเส้นประสาทจำนวนมากนั่นเอง แต่ก็ไม่ใช่ไขมันทั้งหมดบนโลกที่จะดีต่อสมอง จำเป็นต้องเลือกไขมันดีเท่านั้น เช่น ไขมันปลา นมถั่วเหลือง น้ำมันพริมโรส เป็นต้น เหล่านี้จะช่วยให้สมองชุ่มชื้นและมีการทดแทนไขมันส่วนที่สึกหรอด้วยไขมันดีๆ อยู่เสมอ เซลล์สมองจึงไม่เสื่อมสภาพ

3. ระวังน้ำตาล : น้ำตาลเป็นสารอันตรายที่ร้ายแรงมากกว่าสารพิษบางตัวเสียอีก แต่เรารับน้ำตาลเข้าสู่ร่างกายกันไม่น้อยเลยในแต่ละวัน ถ้าถึงจุดที่น้ำตาลในเลือดสูงมากก็จะมีผลต่อสมองทันที เพราะเลือดที่อุดมไปด้วยน้ำตาลนั้นจะต้องถูกส่งไปหล่อเลี้ยงสมอง สารแอมีลอยด์ ( Amyloid ) ซึ่งเป็นสารประเภทโปรตีนที่ทำให้เกิดความผิดปกติในเซลล์ก็จะพากันสะสมในสมองมากขึ้น

4. ออกกำลังกาย : นี่คือยาวิเศษสำหรับทุกโรคอยู่แล้ว แต่หากเจาะจงไปที่สมอง การออกกำลังกายอย่างถูกต้องและเพียงพอจะกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งสารเลี้ยงสมองที่เรียกว่า Brain-derived Growth Factor ( BDGF ) ออกมาจำนวนมาก เป็นสารที่ทำหน้าที่ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอและเร่งให้เกิดการแบ่งตัวของเซลล์สมองมากขึ้นด้วย ไม่เพียงเท่านี้เมื่อการออกกำลังกายนั้นเกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ จะมีการหลั่งสาร Brain-derived neurotrophic factor ( BDNF ) ออกมาด้วย ตัวนี้เป็นกลุ่มโปรตีนที่ช่วยกระตุ้นให้เกิดการแตกแขนงของเซลล์ประสาทและเส้นทางเชื่อมต่อ จึงส่งผลโดยตรงต่อการเรียนรู้และการจดจำ 

5. ทำสมาธิเป็นประจำ : ระหว่างวันที่เราทำกิจกรรมต่างๆ อยู่ คลื่นในสมองจะเต้นเร็วและแรงมาก เมื่อนอนจนเข้าสู่ช่วงของการหลับลึกจึงจะมีคลื่นสมองที่นิ่งสงบ เราเรียกช่วงคลื่นนี้ว่า Theta เป็นคลื่นที่ผ่อนคลายที่สุด จินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์จะเกิดขึ้นมากในช่วงนี้ รวมทั้งระบบต่างๆ ของร่างกายก็จะเข้าสู่ภาวะสมดุล สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอได้อย่างเต็มที่ด้วย แต่เชื่อหรือไม่ว่าในแต่ละคืนที่เรานอน ไม่ใช่ว่าจะเข้าสู่ช่วงหลับลึกได้เสมอไป หากวันไหนตื่นมาแล้วยังรู้สึกอ่อนเพลีย นั่นแสดงว่าไม่ได้ผ่านช่วงหลับลึกเลย สมองจึงไม่ได้ผ่อนคลายและร่างกายไม่ได้ฟื้นตัว การทำสมาธิเป็นประจำอย่างน้อยวันละ 10 นาที เป็นการปรับคลื่นสมองให้อยู่ช่วง Theta เช่นเดียวกับการหลับลึก จึงเป็นอีกทางเลือกที่ผู้เชี่ยวชาญด้านสมองนิยมใช้กัน

6. หายใจให้ถูก : เราหายใจอยู่ตลอดเวลา ทั้งช่วงที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว แต่ก็มีคนจำนวนไม่น้อยที่หายใจแบบผิดๆ มาตลอด ทำให้ร่างกายได้ปริมาณออกซิเจนไม่เพียงพอและส่งผลกระทบต่อสมองด้วย เพราะสมองของมนุษย์ใช้ออกซิเจนมากถึงร้อยละ 25 เปอร์เซ็นต์ การฝึกหายใจให้ถูกจึงเป็นการดูแลสมองที่ดีมากทางหนึ่ง ลักษณะการหายใจที่ถูกต้องคือต้องหายใจเข้าแล้วท้องป่องออกมาเล็กน้อย ไม่ใช่ให้ส่วนอกขยาย และไม่ใช่การยกตัวหรือยกไหล่ เมื่อหายใจออกท้องก็ต้องยุบลง หากทำได้แบบนี้เราจะรับออกซิเจนเข้าไปได้อย่างเต็มที่

7. ฝึกสมองให้รอบด้าน : ธรรมชาติของอวัยวะทุกส่วนในร่างกาย เมื่อไม่เกิดการใช้งานเท่าที่ควร นานวันเข้าก็จะหดเล็กหรือเสื่อมสภาพไป สมองก็เช่นเดียวกัน เราจึงต้องกระตุ้นให้สมองทำงานครบทุกด้านอยู่เสมอ ด้วยการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ในทุกวัน อาจเป็นเรื่องเล็กน้อยก็ได้ เช่น ทานอาหารแบบใหม่ รู้จักเพื่อนใหม่ อ่านหนังสือเล่มใหม่ เป็นต้น เล่นเกมส์ที่พัฒนาสมองอย่างพวกที่ต้องใช้ความจำหรือการเชื่อมโยง จับกลุ่มพูดคุยเกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์ รวมไปถึงทำกิจกรรมที่ต้องใช้ทักษะในการเคลื่อนไหวร่างกายด้วย

8. จัดสมดุลอาหาร : การเสริมสร้างสมองต้องการส่วนประกอบจำพวกสารอาหารที่หลากหลายและสมดุล ตัวหลักที่ขาดไม่ได้คือน้ำ ไขมันและโปรตีน ดังนั้นจึงต้องทานอาหารให้ครบทุกหมู่ตามหลักโภชนาการ และต้องมีปริมาณที่เหมาะสมในทุกประเภท หากกลุ่มใดที่ไม่สามารถทานได้ก็ให้หาอาหารเสริมมาทดแทน หรือมองหาวัตถุดิบทำอาหารอย่างอื่นซึ่งให้สารอาหารใกล้เคียงกันมาชดเชยได้

9. ระวังอาหารมื้อเย็น : หากเราทานมื้อเย็นหนักไป ร่างกายจะต้องกระตุ้นให้ระบบย่อยอาหารทำงาน ยิ่งปริมาณอาหารมาก ก็ต้องย่อยเป็นเวลานาน ดังนั้นตลอดทั้งคืนที่นอนหลับร่างกายจะไม่ได้พักผ่อนเลย เพราะยังต้องทำการย่อยอาหารอยู่ เมื่อเป็นเช่นนี้ก็จะไม่มีทางได้เข้าสู่ช่วงของการหลับลึก และช่วงคลื่น Theta ที่ดีต่อสมองก็จะไม่เกิดด้วย อาหารมื้อเย็นจึงต้องเป็นอะไรที่ย่อยได้ง่าย เน้นเมนูที่เป็นผักเยอะหน่อย ลดแป้งกับเนื้อให้น้อยลง 

10. หมั่นจัดการกับความเครียด : ทันทีที่เครียดร่างกายจะหลั่งสารแห่งความเครียด หรือ Stress Hormone ออกมา เช่น แอดรีนาลิน ( Adrenalin ) คอร์ติซอล ( Cortisol ) ซึ่งเป็นตัวการที่ทำให้เกิดการเกร็งกล้ามเนื้อในทุกส่วนของร่างกาย เพิ่มความดันโลหิต ทำลายสมองส่วนที่เกี่ยวกับการเก็บความจำ และแน่นอนว่าส่งผลร้ายต่อร่างกายและสมองในระยะยาวด้วย จึงต้องคอยจัดการกับความเครียดที่เกิดขึ้นอยู่เสมอ ด้วยการหาทางระบายออกหรือเปลี่ยนโฟกัสไปหาสิ่งที่รู้สึกสดชื่นแจ่มใสมากกว่า

อาหารบำรุงสมองป้องกันโรคสมองเสื่อม

แปะก๊วย : อาหารขึ้นชื่ออันดับหนึ่งที่ถูกยกให้เป็นอาหารทรงพลังในการบำรุงสมอง แปะก๊วยคือพืชสมุนไพรที่มีสรรพคุณเสริมสร้างความจำได้ดีมาก ป้องกันความเสื่อมและการเกิดโรคอัลไซเมอร์ ทั้งยังป้องกันการอักเสบและมีสารต้านอนุมูลอิสระอีกด้วย สิ่งหนึ่งที่ต้องทำความเข้าใจก่อนก็คือแปะก๊วยไม่ได้เป็นยารักษาโรคความเสื่อมของสมองแต่อย่างใด เพียงแค่ช่วยบำรุงให้สมองแข็งแรงตั้งแต่ตอนที่สมองยังปกติดีอยู่เท่านั้น และต้องทานในปริมาณที่พอดีจึงจะเป็นประโยชน์

น้ำมันปลา : ในเมื่อสมองมีไขมันเป็นหนึ่งในส่วนสำคัญที่ขาดไม่ได้ น้ำมันปลาที่ประกอบไปด้วยกรดไขมันประเภทโอเมก้า 3 และเป็นไขมันดี จึงเป็นสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อสมองแน่นอน มีงานวิจัยและทฤษฏีที่ยืนยันแล้วว่าโอเมก้า 3 ช่วยลดความเสื่อมสภาพของสมองได้จริง ช่วยป้องกันเซลล์ประสาทและลดความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดด้วย เราสามารถเลือกทานได้ทั้งแบบที่เป็นอาหารเสริมและแบบที่เป็นการนำเนื้อปลามาปรุงอาหาร

ไข่ : วัตถุดิบประจำบ้านที่หลายคนมองข้ามไป แต่ไข่เป็นอาหารมหัศจรรย์ที่ทานได้ทุกเพศทุกวัยและยังมีประโยชน์ที่ครบถ้วน ล่าสุดมีการตรวจพบสารโคลีน ( Choline ) ในไข่ไก่ ซึ่งเป็นสารที่จัดอยู่ในกลุ่มของวิตามินบี มีบทบาทสำคัญต่อร่างกายหลายอย่าง ได้แก่ เป็นส่วนประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์ เป็นสารตั้งต้นของการสร้างสารสื่อประสาทที่ใช้ในการส่งกระแสประสาท ช่วยเสริมสร้างการเรียนรู้และจดจำของสมอง นอกจากราคาถูก ทานง่าย และปรุงได้หลายรูปแบบแล้ว ยังสามารถทานได้ทุกวันอย่างต่อเนื่องอีกด้วย

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

วรพรรณ เสนาณรงค์. รู้ทันสมองเสื่อม / รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงวรพรรณ เสนาณรงค์: กรุงเทพฯ: อมรินทร์เฮลท์ อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2559. (22), 225 หน้า: (ชุดชีวิตและสุขภาพ ลำดับที่ 207) 1.สมอง. 2.สมอง–การป้องกันโรค. 3.โรคสมองเสื่อม. 4.โรคอัลไซเมอร์. 616.83 ว4ร7 ISBN 978-616-18-1556-1.

Luk KC, Kehm V, Lee VM, et al. (2012). Pathological alpha-synuclein transmission 
initiates Parkinson-like neurodegeneration in nontransgenic mice. Science. 338 : 949-953.

ท่าบริหาร 17 ท่า ทำแค่วันละ 5 นาที แก้อาการกระดูกผิดรูปทรงได้

0
ท่าบริหาร 17 ท่า ทำแค่วันละ 5 นาที แก้อาการกระดูกผิดรูปทรงได้
อาการกระดูกหลังผิดรูปเกิดขึ้นได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ เกิดจากมีการใช้งานกระดูกสันหลังมาก การออกกำลังกายเป็นการฟื้นฟูกระดูกสันหลังกลับสู่รูปทรงแบบธรรมชาติ
ท่าบริหาร 17 ท่า ทำแค่วันละ 5 นาที แก้อาการกระดูกผิดรูปทรงได้
อาการกระดูกหลังผิดรูปเกิดจากมีการใช้งานกระดูกสันหลังมาก การออกกำลังกายเป็นการฟื้นฟูกระดูกสันหลังกลับสู่รูปทรงแบบธรรมชาติ

อาการ กระดูก ผิดรูป

อาการกระดูกผิดรูป เป็นอาการที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ โดยเฉพาะเด็กที่มีอายุระหว่าง 10-15 ปีการเกิดกระดูกผิดรูปทรงสามารถเกิดขึ้นได้มากกว่าผู้ใหญ่ เนื่องจากเด็กในวัยนี้กระดูกสันหลังยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ แต่มีการใช้งานกระดูกสันหลังมาก การทำกิจกรรมประจำวัน ทั้งการวิ่ง การกระโดด และเด็กมีโอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุได้ง่ายเพราะมีความระมัดระวังน้อย จึงส่งผลให้กระดูกสันหลังเกิดการผิดรูปทรงขึ้นได้

เมื่อเรารู้สึกปวดหลัง หลายคนจะคิดว่าอาการปวดหลังเกิดจากกล้ามเนื้อเกิดความตึงเครียด ต้องทำการผ่อนคลายกล้ามเนื้อด้วยการปวด ไม่ว่าจะนวดน้ำมันหรือนวดแผนโบราณขึ้นอยู่กับความชื่นชอบของแต่ละบุคคล เมื่อทำการนวดผ่านไปสักพักอาการปวดดังกล่าวก็กลับมาอีก วนเวียนอยู่เช่นนี้ การนวดเป็นการกระตุ้นการหมุนเวียนของเลือดและการผ่อนคลายกล้ามเนื้อ แต่ทว่าอาการปวดหลังที่เกิดขึ้นอาจจะไม่ใช่เกิดจากความตึงเครียดของกล้ามเนื้อเสมอไป บางครั้งอาการปวดหลังที่เกิดขึ้นอาจเกิดเนื่องจากการที่กระดูกสันหลังเริ่มมีอาการกระดูกสันหลังผิดรูปทรงแล้วก็เป็นได้ ถ้าเป็นเช่นนั้นต่อให้เราทำการนวดมากเท่าใด อาการปวดหลังก็จะไม่สามารถหายสนิทได้ และเมื่อมีอาการหนักมากหรือปวดหลังจนมากจนไม่สามารถทนได้จึงจะไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษา แต่ทว่าเมื่อเข้าไปทำการรักษาอย่างจริงจัง อาการปวดหลังที่เกิดจาก อาการกระดูกผิดรูป ก็มีอาการที่ค่อนข้างหนักแล้ว ต้องทำการรักษาด้วยการผ่าตัดร่วมกับการกินยาหรือฉีดยาเท่านั้นจึงจะสามารถรักษาอาการปวดหลังให้หายขาดได้
แต่คุณรู้หรือไม่ว่า อาการปวดหลังที่เกิดจากอาการกระดูกสันหลังผิดรูปทรงสามารถรักษาได้ด้วยตนเอง เพียงแต่การรักษาต้องเริ่มรักษาตั้งแต่อาการปวดหลังอยู่ในระยะเริ่มต้นจนถึงระยะที่มีความรุนแรงปานกลางเท่านั้น ซึ่งวิธีการนี้เป็นการฟื้นฟูกระดูกสันหลังและกระดูกเชิงกรานให้กลับเข้าสู่รูปทรงที่ถูกต้องตามธรรมชาติจึงเป็นวิธีการที่ป้องกันอาการปวดหลังให้หายขาดได้

วิธีการที่ช่วยฟื้นฟูด้วยท่าทางที่ช่วยให้กระดูกสันหลังกลับเข้ารูปทรงตามธรรมชาติ

การออกกายบริหารสำหรับการฟื้นฟู กระดูกสันหลัง เป็นท่ากายบริหารที่มีขั้นตอนง่าย ๆ สามารถทำเองหรือทำร่วมกับเพื่อนก็ได้เช่นกัน ในการออกกายบริหารมีข้อปฏิบัติดังนี้

1. มีวินัย การออกกายบริหารเพื่อฟื้นฟูกระดูกสันหลังให้กลับเข้าสู่รูปร่างตามธรรมชาติต้องทำอย่างสม่ำเสมอ นั่นคือ ทำทุกวันอย่างต่อเนื่องจึงจะเห็นผลการพัฒนาของกระดูกสันหลังว่าเริ่มกลับเข้าสู่รูปทรงตามธรรมชาติแล้ว และอาการปวดหลังที่เกิดขึ้นย่อมลดลงอย่างชัดเจน

2. ไม่จำกัดเวลา การออกกายบริหารไม่จำเป็นต้องใช้เวลานานในการปฏิบัติ ไม่ว่าจะทำเพียงแค่ 5 นาทีหรือมากกว่า 10 นาทีก็มีผลที่ไม่ต่างกัน เพราะว่าการที่กระดูกสันหลังจะกลับเข้าสู่รูปทรงตามธรรมชาติได้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับความสม่ำเสมอของการปฏิบัติมากกว่าระยะเวลาที่ใช้ในการปฏิบัติกายบริหาร

3. ปฏิบัติเป็นกลุ่ม การออกกายบริหารควรมีเพื่อนในการออกกำลังกาย เพื่อลดความเบื่อในการทำการบริหาร เนื่องจากท่ากายบริหารเพื่อฟื้นฟูกระดูกสันหลังให้กลับเข้าสู่รูปทรงตามธรรมชาตินั้น ท่าทางที่ปฏิบัติจะต้องปฏิบัติอย่างช้า ๆ ห้ามปฏิบัติอย่างรวดเร็ว เพื่อทีจะค่อยทำให้กระดูกเคลื่อนที่เข้าที่เดิม แต่ถ้าปฏิบัติกายบริหารด้วยความรวดเร็วจะส่งผลเสียมากกว่าผลดีต่อการฟื้นฟูกระดูก จากการที่ต้องปฏิบัติด้วยความเชื่องช้าผู้ปฏิบัติจึงเกิดอาการเบื่อหน่ายในการออกกายบริหารได้ง่าย แต่ถ้ามีเพื่อนในการปฏิบัติหรือปฏิบัติเป็นหมู่คณะ ความรู้สึกเบื่อหน่ายในการออกกายบริหายก็จะลดน้อยลง ผู้ปฏิบัติสามารถปฏิบัติต่อเนื่องจนกระดูกสันหลังกลับเข้าสู่รูปทรงตามธรรมชาติและอาการปวดหลังที่เป็นอยู่ก็จะหายขาดได้

4. ไม่จำเป็นต้องมีอุปกรณ์ ท่ากายบริหารเพื่อฟื้นฟู กระดูกสันหลัง สามารถปฏิบัติได้ทั้งที่ใช้และไม่ใช้อุปกรณ์ช่วยในการปฏิบัติขึ้นอยู่กับความถนัดและความต้องการของผู้ปฏิบัติ ว่าต้องการใช้อุปกรณ์ในการปฏิบัติหรือไม่ แต่ว่าบางท่าทางในการบริหารจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ในการปฏิบัติ ซึ่งผู้ปฏิบัติก็ควรที่จะใช้อุปกรณ์ในการปฏิบัติด้วยจึงจะได้ผลดีในการออกกายบริหารนั่นเอง

อุปกรณ์ที่ใช้ในการออกกายบริหารที่ช่วยให้สามารถฟื้นฟูกระดูกสันหลัง

1. หมอน
ท่ากายบริหารบางท่าจำเป็นต้องใช้หมอนรองที่บริเวณใต้คอ หมอนที่ใช้ควรโค้งพอดีกับช่วงคอ ไม่สูงหรือต่ำกว่าช่องว่างระหว่างของมากเกิดไป เพราะจะส่งผลให้กระดูกคอต้องรับน้ำหนักมาก ปัจจุบันนี้มีการออกแบบหมอนให้พอดีกับช่วงคออยู่หลายแบบ ผู้ปฏิบัติสามารถเลือกซื้อได้ตามความพอใจ แต่ถ้ายังไม่มีหมอนก็สามารถใช้ผ้าขนหนูที่นุ่มทำการม้วนและนำมาวางรองบริเวณใต้คอทดแทนได้เช่นกัน

2. เบาะรอง ( Exercise Mats )
เบาะรองสำหรับทำกายบริหารเพื่อฟื้นฟูกระดูกสันหลังจะต้องไม่นุ่มหรือแข็งจนเกินไป ซึ่งเบาะที่นำมาทำการบริหารสามารถใช้เบาะเล่นโยคะได้เช่นกัน คุณสมบัติของเบาะรองออกกำลังกาย คือ เนื้อแน่น นุ่มไม่ยุบจนแบน มีความยืดหยุ่น ทนทาน สามารถกันน้ำได้ ไม่เป็นสะสมของฝุ่นและเชื้อราที่เกิดขึ้นเนื่องจากเหงื่อที่ออกในขณะที่ออกกำลังกาย

2.1 ความหนา เบาะรองที่นิยมนำมาใช้จะมีความหนาประมาณ 2-8 มิลลิเมตร ซึ่งความหนาที่ดีสำหรับการใช้งานก็คือ ความหนาที่ 6-8 มิลลิเมตร เนื่องจากสามารถช่วยรองรับแรงกระแทกที่เกิดขึ้นในขณะที่ออกกำลังได้มากขึ้นแต่ห้ามทำท่ากายบริหารบนเบาะที่มีความหนาและนุ่มมาก ๆ เพราะจะเสี่ยงให้ กระดูกสันหลัง เกิดอาการบาดเจ็บได้เนื้อ

2.2 ลักษณะของผิวสัมผัส ผิวสัมผัสหรือความหนึบของเบาะรองจะต้องมีความฝืดเพื่อช่วยป้องกันการลื่นไถลในขณะที่ออกกำลังกาย รับแรงกระแทกได้ดี

2.3 ขนาด โดยปกติเบาะออกกำลังกายจะมีขนาดที่เป็นมาตรฐานอยู่แล้ว แต่สำหรับคนสูงควรเลือกเบาะที่มีความยาวมากกว่าความสูงของตัวเองเล็กน้อย เพื่อที่เวลาที่ต้องออกกำลังกายในท่านอนจะได้ทำได้อย่างสะดวก

2.4 ทำความสะอาดได้ง่าย เบาะออกกำลังกายควรทำจากวัสดุที่สามารถทำความสะอาดได้ง่าย ไม่เป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค ฝุ่น ไรฝุ่น เช่น Latex Rubber EVA TPE เป็นต้น

3. แผ่นยางยืด (Body Control Band หรือ BCB)

แผ่นยางยืดสำหรับออกกำลังกายเป็นผลิตภัณฑ์ที่สร้างสรรค์มาเพื่อช่วยในการบริหารกล้ามเนื้อและข้อต่อโดยเฉพาะ ซึ่งแผ่นยางยืดสำหรับออกกำลังกายแบ่งออกเป็น 3 แบบด้วยกัน คือ

3.1 ระดับ 1 สำหรับผู้ที่ต้องการแรงต้านน้อย ผู้ที่เริ่มต้นออกกำลังกายหรือคนที่ยังไม่ออกกายบริหารมาก่อน และต้องการลองเล่น แบบนี้เหมาะสำหรับการใช้ฟื้นฟู กระดูกสันหลัง หรือใช้ในการทำกายภาพบำบัด

3.2 ระดับ 2 สีนี้จะมีแรงต้านสูงกว่าระดับ 1 เหมาะสำหรับผู้ที่มีแรงมาก เมื่อใช้แผ่นยางยืดในระดับ 1 แล้วรู้สึกเหมือนไม่ได้ออกกำลังกายเลย ควรที่จะเพิ่มแรงต้านมาอยู่ในระดับนี้แทน

3.3 ระดับ 3 สีนี้จะมีแรงต้านสูงแรงต้านมาก สามารถรับน้ำหนักตัวผู้ปฏิบัติได้มาก และผู้ที่ต้องการออกกำลังกายอย่างหนัก

ท่ากายบริหารที่สามารถช่วยฟื้นฟูกระดูกสันหลังให้กลับเข้าสู่รูปทรงตามธรรมชาติได้

เมื่อเรามีอุปกรณ์พร้อมสำหรับการออกกายบริหารแล้ว ท่ากายบริหารที่สามารถช่วยฟื้นฟูกระดูกสันหลังให้กลับเข้าสู่รูปทรงตามธรรมชาติได้ มีดังนี้  

1. ท่านอนหงายบิดสะโพก

เริ่มจากนำแผ่นยางยืดมารัดที่บริเวณสะโพก เพื่อช่วยให้กระดูกเชิงกรานสามารถกลับเข้าสู่ลักษณะเดิมตามธรรมชาติได้เร็วขึ้น วิธีการรัดแผ่นยางยืดที่สะโพกให้รัดต่ำกว่าสะดือประมาณ 5 เซนติเมตร โดยที่ปลายทั้งสองข้างของแผ่นยางยืดต้องมีความยาวเท่ากัน ทำการพันทบรอบสะโพก 1 ทบ และขยับปมให้พอดีไม่แน่นหรือหลวมเพื่อที่จะได้ทำท่ากายบริหารได้อย่างคล่องแคล่ว

นอนหงายโดยมีหมอนรองที่บริเวณสะโพก นำมือทั้งสองข้างมาจับที่หมอน พร้อมทั้งชันเข่าทั้งสองข้างขึ้นด้านบน โดยที่เข่าและเท้าทั้งสองข้างอยู่แนบชิดกัน

  • ทำการบิดสะโพกไปด้านขวาพร้อมกับหายใจ อยู่ในท่านี้ 5 วินาที หายใจออกและกลับสู่ท่าเริ่มต้น
  • ทำการบิดสะโพกไปด้านซ้ายพร้อมกับหายใจเข้า อยู่ในท่านี้ 5 วินาที หายใจออกและกลับสู่ท่าเริ่มต้น

2. ท่ายืนหมุนโพก

ทำการรัดแผ่นยางยืดที่บริเวณสะโพก ยืนกางขากว้างเท่ากับความกว้างของหัวไหล่ มือวางที่บริเวณสะโพก ทำการหมุนสะโพกไปด้านขวาให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะหมุนได้ แต่ศีรษะต้องอยู่นิ่ง ห้ามหมุนศีรษะตามการหมุนสะโพก หมุนสะโพกกลับมาท่าเริ่มต้น และหมุนสะโพกไปทางด้านซ้ายให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะหมุนได้โดยที่ศีรษะนิ่ง

3. ท่านอนคว่ำบิดสะโพก

เริ่มจากการรัดแผ่นยางที่สะโพก ทำการนอนคว่ำกับพื้นลำตัวแนบกับพื้น แขนทั้งสองข้างวางแนบลำตัว ขาทั้งสองข้างแนบกัน ทำการปิดปลายเท้าข้างขวาและซ้ายเข้าหากัน ทำการค่อย ๆ บิดสะโพกไปด้านขวา โดยที่ไม่ต้องเคลื่อนลำตัวตามไปด้วยนับ 1-10 แล้วจึงบิดสะโพกกลับมาที่ท่าเริ่มต้น และสลับบิดสะโพกไปทางด้านซ้าย นับ 1-10 แล้วบิดสะโพกกลับไปที่ทท่าเริ่มต้น ทำสลับกันข้างละ 20 ครั้ง

4. ท่านั่งทำการคุกเข่ากับพื้นเพื่อกระชับสะโพก

เริ่มจากการรัดแผ่นยางที่สะโพก นั่งคุกเข่าโดยให้เข่าและข่าช่วงล่างวางราบอยู่บนพื้น นำแผ่นยางที่มัดบริเวณสะโพกมาคล้องที่บริเวณหัวเข่า และใช้มือทั้งสองข้างดึงแผ่นยางขึ้นช้า หายใจเข้า หายใจออกพร้อมกับค่อย ๆ ปล่อยแรงดึงแผ่นยาง ทำสลับดึง ปล่อย 10 ครั้ง ความยืดหยุ่นของแผนยางยึดจะช่วยดึงผ่อนคลายและดึงกล้ามเนื้อที่บริเวณแผ่นหลัง 

5. ท่านอนคว่ำเพื่อแอ่นเชิงกราน ( ท่านี้ต้องมีผู้ช่วยในการปฏิบัติ )

เริ่มจากผู้ปฏิบัติทำการนอนคว่ำ แขนวางแนบลำตัว ขาทั้งสองข้างเหยียดตรง ผู้ช่วยให้นั่งในตำแหน่งที่ตรงกับสะโพกของผู้ปฏิบัติ ผู้ช่วยนำแขนไปกอดรอบสะโพกและล็อคให้แน่น และค่อย ๆ ใช้ฝ่ามือกดเข้าที่บริเวณร่องของหลุ่มที่อยู่ระหว่างสะโพกทั้งสอง ทำการยกเข่าขึ้นให้เป็นแนวตรงให้สูงที่สุดเท่าที่ผู้ปฏิบัติจะสามารถทนได้ ไม่จำเป็นต้องยกให้สูงมาก ๆ เท่านั้น เพราะการยกสูงจนเกินไปจะทำให้รู้สึกปวดได้ อยู่ในท่านี้ 5 วินาทีจึงลดสะโพกลงอยู่ในท่าเริ่มต้น

6. ท่านอนหงายดันเทียบหัวเข่า ( ท่านี้ต้องมีผู้ช่วยในการปฏิบัติ )

เริ่มจากนอนหงายโดยที่มีหมอนมาหนุนศีรษะ ชันเข่าทั้งสองข้างขึ้นมา ผู้ช่วยปฏิบัติให้นั่งบริเวณปลายเท้าหลังเข่าของผู้ปฏิบัติที่ชันขึ้นมาและใช้มือทั้งดันเข่าของผู้ปฏิบัติช้า เริ่มจากออกแรงน้อย ๆ แล้วค่อยเพิ่มแรงดันขึ้นเรื่อย ๆ ส่วนตัวผู้ปฏิบัติก็ตอ้งออกแรงต้านแรงผลักของผู้ช่วย สลับกันออกแรงพลักและผ่อนแรง ทำซ้ำ 5 รอบ

7. ท่าทำการหมุนสะบัก

ทำการผูกแผ่นยางยืดที่บริเวณหัวไหล่ ยืนตัวตรง หลังตรง กางขากว้างประมาณหัวไหล่ ยกแขนทั้งสองข้างขึ้น ให้นิ้วแตะไปที่บริเวณหัวไหล่ให้ข้อศอกอยู่สูงกว่าตำแหน่งของสะบัก ทำการหมุนข้อศอกไปทางด้านหลังให้ได้ 90 องศาหรือหมุนให้เป็นครึ่งวงกลม อยู่ในท่านี้ 5 วินาที

8. ท่ายืนเพื่อขยับหัวไหล่

ทำการผูกแผ่นยางยืดเข้าด้วยกัน หรือผู้ไว้ที่มือของผู้ปฏิบัติทั้งสองข้างให้แน่น ใช้เท้าเหยียบที่ตรงกึ่งกลางของแผ่นยางยืด แล้วค่อย ๆ ออกแรงดึงแผน่ยางยืดด้วยการยกมือขึ้นให้สูงที่สุดเท่าที่จะสูงได้ ข้างอยู่ในจุดสูงสุด 5 วินาที ทำการลดมือลง ทำซ้ำ 5 ครั้ง

9. ท่าการนอนหนุนไหล่ ( ท่านี้ต้องมีผู้ช่วยในการปฏิบัติ )

เริ่มจากนอนหงาย แขนทั้งสองข้างแนบลำตัว ผู้ช่วยนั่งท่าคุกเข่าตรงกับตำแหน่งข้อศอกของผู้ปฏิบัติ ผู้ช่วยทำการกดที่บริเวณหัวไหล่ของผู้ปฏิบัติ ทำการหมุนแขนไปตามทิศตามเข็มนาฬิกาช้า ๆ 

10. ท่านอนตะแคงเพื่อหมุนสะบัก ( ท่านี้ต้องมีผู้ช่วยในการปฏิบัติ )

เริ่มจากการนอนตะแคงด้านขวา โดยใช้หมอนหนุนด้านหลังไว้ งอเข่าทั้งสองด้านขึ้นไปด้านเล็กน้อย ผู้ช่วยต้องนั่งอยู่ที่ด้านหลังของผู้ปฏิบัติเพื่อช่วยในการประคองสะโพกไม่ให้เกิดการเคลื่อนที่พลาด โดยทำการจับที่บริเวณสะโพกและบ่าของผู้ปฏิบัติ ผู้ช่วยทำการหมุนสะบักขวาเป็นวงกลมกว้าง ๆ ตามเข็มนาฬิกาทำการหมุน 10 รอบ และทำการหมุนทิศทวนเข็มนาฬิการอีก 10 รอบ สลับโดยการเปลี่ยนนอนตะแคงด้านซ้ายและหมุนสะบักซ้าย

11. ท่าทำการกดไหล่ ( ท่านี้ต้องมีผู้ช่วยในการปฏิบัติ )

ผู้ปฏิบัติทำการนั่งคุกเข่า โดยที่ขาส่วนล่างแนบกับพื้น แขนทั้งสองขางแนบลำตัว ผู้ช่วยปฏิบัติให้ยืนอยู่ที่บริเวณด้านหลังของผู้ปฏิบัติ ทำการวางมือขวาบนไหล่ขวาของผู้ปฏิบัติ แล้วจึงทำมือซ้ายวางทับบนมือขวาพร้อมทั้งจับข้อมือขวาของตัวเองให้มั่น ออกแรงกดที่บริเวณหัวไหล่ที่จับ ผู้ปฏิบัติทำการยกไหล่ขึ้นต้านกับแรงกดของผู้ช่วย โดยทำการยกไหล่ขึ้นให้สูงที่สุดเท่าที่จะยกขึ้นได้และให้ออกแรงยกที่บริเวณไหล่เท่านั้น ห้ามให้ข้อศอก แขนเป็นตัวออกแรงดันให้กับไหล่

12. ท่ากระชับส่วนของกระดูกกะโหลก

เริ่มจากการนำแผ่นยางรัดบริเวณรอบศีรษะประมาณ 3 นาที และค่อยคลายแผ่นยางยืดออก ถ้าผู้ปฏิบัติไม่มีแผ่นยางยืดก็สามารถนำผ้ามารัดรอบศีรษะแทนแผ่นยางยืดได้เช่นกัน

13. ท่านอนหงายหันหน้า

เริ่มจากการนอนหงายบนพื้นราบ ขาทั้งสองข้างเหยียดตรง แขนทั้งสองข้างวางข้างลำตัว นำหมอนมาหนุนที่บริเวณใต้ลำคอ ค่อยทำการการหมุนคอไปด้านซ้าย นับ 3 หมุนคอกลับมาอยู่ที่ท่าเริ่มต้น นับ 3 หมุนคอไปด้านขวา นับ 3 หมุนคอกลับมาอยู่ในท่าเริ่มต้น ทำซ้ำ 5 รอบ

14. ท่านอนคว่ำเอียงคอ

เริ่มจากการนอนคว่ำบนพื้นเรียบ คางหนุนอยู่บนหมอน มือขวายกขึ้นมาจับปลายหมอนที่อยู่ด้านขวามือ มือซ้ายยกขึ้นมาจับปลายหมอนด้านซ้ายมือ ขาทั้งสองข้างเหยียดตรงแนบชิดกัน ทำการหมุนคอไปด้านซ้ายช้า ๆ นับ 3 ทำการหมุนคอกลับมาที่ท่าเริ่มต้น นับ 3 ทำการหมุนคอไปด้านขวา นับ 3 ทำการหมุนคอกลบมาที่ท่าเริ่มต้น ทำซ้ำ 5 รอบ 

15. ท่าหมุนข้อเท้า ( ท่านี้ต้องมีผู้ช่วยในการปฏิบัติ )

เริ่มจากการนอนคว่ำ เอียงศีรษะไปด้านที่ถนัด ขาและแขนเหยียดตรงแนบลำตัว ผู้ช่วยนั่งคุกเข่าอยู่ที่บริเวณปลายเท้าของผู้ปฏิบัติ ผู้ช่วยนำมือขวามาจับที่ข้อเท้าของผู้ปฏิบัติ และนำมือซ้ายจับที่ปลายนิ้วเท้าทั้งหมด ทำการหมุนข้อเท้าช้าตามเข็มนาฬิกา 10 รอบ และหมุนทวนเข็มนาฬิกา 10 รอบ สลับทำกับเท้าซ้ายเช่นเดียวกับที่ทำกับเท้าขวา

16. ท่ายืดหลังเท้า ( ท่านี้ต้องมีผู้ช่วยในการปฏิบัติ )

เริ่มจากการนอนคว่ำบนพื้นราบ เอียงศีรษะไปด้านที่ถนัด ขาและแขนเหยียดตรงแนบลำตัว ผู้ช่วยนั่งคุกเข่าอยู่ที่บริเวณปลายเท้าของผู้ปฏิบัติ ผู้ช่วยนำมือขวามาจับที่ข้อเท้าของผู้ปฏิบัติ และนำมือซ้ายจับที่ปลายนิ้วเท้าทั้งหมด ดันเท้าขึ้นเข้าหาหน้าแข้งให้ได้สูงที่เท่าที่จะทำได้ เมื่อถึงจุดสูงสุดแล้วให้ทำการหมุนตามเข็มนาฬิกา 10 รอบ และทำการหมุนทวนเข็มนาฬิกาอีก 10 รอบ สลับทำกับเท้าซ้ายเช่นเดียวกับเท้าขวา

17. ท่านอนหงายเพื่อบิดแนวกระดูกสันหลัง

เริ่มจากการผูกแผ่นยงยืดที่บริเวณสะโพก นอนหงาย แขนทั้งสองข้างวางแนบลำตัว นำหมอนมารองที่บริเวณสะโพก พร้อมทั้งชันเข่าโดยที่ข่าและเท้าทั้งสองข้างยังชิดกันอยู่ ทำการเอนเข่าไปทางด้านขวาที่ละน้อยจนกระทั่งเข่าแนบกับพื้นที่ด้านขวาของเข่า โดยที่ลำตัวและเท้าไม่ยกขึ้นจากพื้น และเข่าทั้งสองข้างยังแนบชิดกันอยู่ ในการทำครั้งแรกเข่าจะไม่สามารถลงมาแนบกับพื้นได้ แต่ถ้าทำอย่างต่อเนื่องเข่าจะสามารถลงมาจรดพื้นได้ ในขณะที่ทำการลดเข่าลง หมอนที่รองใต้สะโพกจะค่อย ๆ เลื่อนขึ้นไปอยู่ในแนว กระดูกสันหลัง ที่มีความผิดรูปทรงไป อยู่ในท่านี้ 10 วินาที ทำการยกเข่าขึ้นให้อยู่ตั้งฉากกับพื้น ทำการกดเข่าลงไปด้านซ้ายเช่นเดียวกับการลดเข่าด้านขวา ทำสลับกันข้างละ 10 ครั้ง

การทำกายบริหารเป็นสิ่งที่สามารถทำได้ทุกคนทั้งเด็ก ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ ข้อดีของการทำการบริหารนอกจากจะช่วยให้กระดูกสันหลังที่มีความผิดรูปกลับเข้าสู่รูปทรงตามธรรมชาติแล้ว ยังสามารถช่วยป้องกันไม่ให้กระดูกสันมีอาการผิดรูปร่างเกิดขึ้นได้อีกด้วย การออกกายบริหารด้วยท่าทางข้างต้นเมื่อปฏิบัติเป็นประจำอย่างต่อเนื่องจะพบว่าอาการปวดหลังที่เกิดขึ้นอยู่บ่อย ๆ จะเกิดขึ้นน้อยลงจนในที่สุดอาการปวดจะไม่เกิดขึ้นอีกเลย และเวลาที่เดินหรือทำกิจวัตรประจำวันจะรู้สึกคล่องแคลวเพิ่มขึ้นด้วย วันนี้คุณออกกายบริหารกันแล้วหรือยัง?

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

โทะชิมะสะ โอตะ. ปรับรูปร่างด้วยมือเปล่า สร้างหุ้นฟิต พิชิตโรค. กรุงเทพฯ : อมรินทร์เฮลท์ อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2560.

Gomez-Pinilla F, Hillman C (January 2013). “The influence of exercise on cognitive abilities”. Compr. Physiol. 3 (1): 403–428. PMC 3951958 Freely accessible. PMID 23720292.

Erickson KI, Leckie RL, Weinstein AM (September 2014). “Physical activity, fitness, and gray matter volume”. Neurobiol. Aging. 35 Supp.