Home Blog Page 172

การวินิจฉัยโรคไตวายเฉียบพลันและไตวายเรื้อรัง

0
การวินิจฉัยไตวายเฉียบพลันและไตวายเรื้อรัง
ไตสูญเสียความสามารถในการกรองของเสียออกจากเลือดจนไม่สามารถควบคุมการทำงาน ทำให้เกิดไตวายได้
การวินิจฉัยไตวายเฉียบพลันและไตวายเรื้อรัง
อาการปวดบั้นเอว อาจจะมีอาการปวดร้าวไปถึงขาหนีบ ซึ่งอาจจะเกิดมาจากโรคถุงน้ำในไต

วินิจฉัยโรคไต

การ วินิจฉัยโรคไต แพทย์จะทำการวินิจฉัยโรคไตตามขั้นตอนโดยจะต้องอาศัยข้อมูล พร้อมทั้งประวัติและอาการของผู้ป่วยที่แสดงได้อย่างชี้ชัด  พร้อมทั้งผลการตรวจอื่น ๆ ร่วมด้วย 

1. แพทย์ทำการซักประวัติ พร้อมทั้งอาการป่วย ซึ่งแพทย์อาจจะสอบถามผู้ป่วยว่ามีอาการอย่างไรบ้าง  ปัสสาวะได้ดีแค่ไหน และมีอาการอื่นร่วมด้วยหรือไม่ เป็นต้น

2. แพทย์ทำการตรวจร่างกายเพื่อหาสาเหตุ

  • แพทย์อาจดูผิวหนัง รวมไปถึงอาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบนผิวหนัง
  • ดูลักษณะของทรวงอก การหายใจที่มีกลิ่นยูเรีย
  • การค้นพบความดันเลือดต่ำ หรือ หัวใจเต้นผิดจังหวะร่วมด้วย  หรือ ชีพจรเต้นไม่สม่ำเสมอ
  • การค้นพบอาการปากอักเสบ  ผู้ป่วยมีอาการคลื่นไส้อาเจียน อุจจาระร่วง เป็นต้น
  • เมื่อฟังเสียงปอดแล้วมีเสียงกรอบแกรบ
  • ปัสสาวะน้อยกว่า 400 มิลลิลิตรภายใน 24 ชั่วโมง
  • ผู้ป่วยมีอาการสับสน ซึม หรือ หมดสติ

3. การตรวจทางห้องปฏิบัติการ

  • เจาะเลือด เพื่อตรวจดูการทำงานของไต และดูค่าบียูเอ็น และ ครีเอตินีน พร้อมทั้งตรวจดูของเสียคั่งค้าง
  • การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด
  • การตรวจปัสสาวะ ว่ามีไข่ขาว หรือ สารเคมี พร้อมทั้งสิ่งปกติหรือไม่

4. การประเมินอาการความรุนแรงของโรคไตวาย 

  • การตรวจดูค่าครีเอตินีน เคลียรานส์  พร้อมทั้งเจาะเลือดหาค่าครีเอตินีน
  • เจาะเลือดตรวจอีเลคโตรไลท์  เพื่อดูค่าโซเดียม โพแทสเซียม ฟอสเฟต และสภาวะเลือดเป็นกรด
    ค่าปกติของโปรตีนและค่าอัลบูมินจากปัสสาวะ
  • ปกติแล้ว ค่าโปรตีนรวมในปัสสาวะ ช่วงเวลา 24 ชั่วโมง ค่าปกติน้อยกว่า 300 มิลลิกรัมต่อวัน
  • ค่าโปรตีนรวมในปัสสาวะเพียงแค่ครั้งเดียว  ค่าปกติน้อยกว่า 200 มิลลิกรัมต่อวัน
  • ค่าอัลบูมินในปัสสาวะ ช่วงเวลา 24 ชั่วโมง ค่าปกติต้องน้อยกว่า 30 มิลลิกรัมต่อวัน  ส่วนไมโครอัลบูมิน  ค่าจะอยู่ที่ 30-300 มิลลิกรัมต่อวัน
  • ค่าอัลบูมินในปัสสาวะเพียงแค่ครั้งเดียว ค่าปกติจะน้อยกว่า 30 มิลลิกรัมต่อวันส่วนไมโครอัลบูมินจะอยู่ที่ 30 -300 มิลลิกรัมต่อวัน

การวินิจฉัยโรคไตวายและแยกแยะโรคที่มีอาการใกล้เคียง

ในกรณีที่ ไตวายเฉียบพลัน  มักจะมีอาการรุนแรง และ เฉียบพลันส่วน ภาวะไตวายเรื้อรัง  เป็นอาการป่วยที่ไม่ได้เฉพาะเจาะจง ไม่ได้เฉียบพลัน  ซึ่งอาการส่วนใหญ่อาจจะเกิดขึ้นจากโรคชนิดอื่น ๆ ร่วมด้วย  จำเป็นจะต้องตรวจดูการทำงานของไตเป็นหลักการแยกแยะโรค ผู้ป่วยและญาติจำเป็นจะต้องสังเกตอาการผิดปกติที่เกิดขึ้น พร้อมทั้งดูความสัมพันธ์ที่อาจจะส่งผลทำให้เกิดอาการรุนแรงขึ้นได้  เพื่อที่จะสามารถแจ้งอาการทั้งหมดให้แพทย์ทราบได้อย่างละเอียด ซึ่งแพทย์จะทำการวินิจฉัยโรคไตและแยกแยะได้อย่างรวดเร็ว แม่นยำ หากผู้ป่วยและญาติ สามารถบอกอาการได้มากพอและมีความชัดเจน   

โรคที่มีอาการใกล้เคียงกับโรคไตวาย

1. อาการปวดบั้นเอว  อาจจะมีอาการปวดร้าวไปถึงขาหนีบ  ซึ่งอาจจะเกิดมาจากโรคถุงน้ำในไต ซึ่งสามารถแยกโรคนี้ออกจากโรคไตวายได้เช่นกัน

2. อาการปัสสาวะเป็นเลือด หรือ เป็นน้ำล้างเลือด และมีอาการปวดบั้นเอวร่วมด้วย อาจจะเกิดจากโรคมะเร็งที่ไต  มีนิ่วในไตหรือทางเดินปัสสาวะ  มีเนื้องอกในทางเดินปัสสาวะ  มีก้อนนิ่วหลุดออกมา เป็นต้น

3. อาการปัสสาวะน้อย หรือ ไม่มีปัสสาวะ อาจจะเป็นโรคที่เกิดจาก เลือดออกในทางเดินอาหารมาก  กระเพาะอาหารทะลุ  ร่างกายขาดน้ำมาก เนื่องจากท้องเสีย  ทางเดินปัสสาวะอุดกั้น  มีอาการต่อมลูกหมากโต  การบวมบริเวณท่อปัสสาวะโดยตรง  กระเพาะปัสสาวะอักเสบ  ผู้ป่วยหลังทำการผ่าตัด หรือ ผู้ป่วยฉีดยาเข้าเส้นประสาทหรือไขสันหลัง  เป็นต้น

4. อาการบวม  สามารถพบได้ในโรคหน่วยไตอักเสบ ,โรคไตเนฟโฟรติก โรคตับเรื้อรัง ภาวะหัวใจวาย โรคท่อน้ำเหลืองอุดตัน บวมจากอาการแพ้ยา

5. อาการซีด เลือดจาง  อาจจะมีสาเหตุมาจาก โรคเลือดบางชนิด ร่างกายขาดธาตุเหล็ก ร่างกายขาดสารอาหาร เป็นต้น

6. อาการปัสสาวะแสบขัด ต้องออกแรงเบ่ง ปัสสาวะไม่พุ่ง หรือ ไม่สุด อาจจะเกิดจากโรคการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ โรคนิ่วในไต  ต่อมลูกหมากโต เป็นต้น

ในกรณีที่ผู้ป่วยค้นพบอาการที่ผิดปกติของตนเองอย่างชัดเจนแล้ว  หากไม่แน่ใจและไม่สามารถแยกแยะโรคในเบื้องต้นได้  ควรพบแพทย์และเข้ารับการรักษาโดยด่วน ซึ่งไม่ว่าคุณจะเป็นโรคไตวายเรื้อรัง หรือ โรคไตวายเฉียบพลันหรือไม่ การเข้ารับการรักษาอย่างรวดเร็วและทันท่วงที ย่อมสามารถต่อชีวิตคุณได้อย่างแน่นอนที่สุด

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

Lee A. Hebert, M.D., Jeanne Charleston, R.N. and Edgar Miller, M.D. (2009). “Proteinuria”. 2011-03-24.

Katzung, Bertram G. (2007). Basic and Clinical Pharmacology (10th ed.). New York, NY: McGraw Hill Medical.

National Kidney and Urologic Diseases Information Clearinghouse (2012). “The Kidneys and How They Work”. National Institute of Diabetes and Digestive and Kidney Diseases. January 2013.

โภชนาการสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการไตวาย

0
โภชนาการสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการไตวาย
การรับประทานอาหารให้เหมาะสม จะช่วยชะลอความเสื่อมของไตและช่วยให้เข้าสู่ระยะฟอกเลือดช้าลง
โภชนาการสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการไตวาย
การรับประทานอาหารให้เหมาะสม จะช่วยชะลอความเสื่อมของไตและช่วยให้เข้าสู่ระยะฟอกเลือดช้าลง

อาหารสำหรับผู้ป่วยไตวาย

ผู้ป่วยที่มีอาการไตวาย  มักจะต้องได้รับโภชนาการที่ดีและมีความเหมาะสม กับช่วงระยะของอาการไตวายที่ผู้ป่วยเป็นอยู่  ซึ่งการรับประทานโภชนาการที่ดีและมีความเหมาะสมนั้น จะช่วยทำให้ลดอัตราการเจ็บป่วย ตลอดจนกระทั่งลดอาการแทรกซ้อนที่สามารถเกิดขึ้นได้ ซึ่ง อาหารสำหรับผู้ป่วยไตวาย จะถูกจำกัดสารอาหารต่างๆตามระยะของโรค

การควบคุมอาหารสำหรับผู้ป่วยไตวาย

อาหารสำหรับผู้ป่วยไตวายระยะที่ 1 – 3 ต้องจำกัดโปรตีน ไขมัน น้ำตาล และเกลือ

อาหารสำหรับผู้ป่วยไตวายระยะที่ 4 – 5 ต้องจำกัดและควบคุมอาหารมากขึ้น  ต้องระมัดระวังเรื่องฟอสเฟต และ โพแทสเซียม

อาหารสำหรับผู้ป่วยไตวาย หลังจากที่ได้รับการปลูกถ่ายไต  จะต้องควบคุมอาหารเหมือนกับผู้ป่วยไตวายระยะที่ 1 – 3  ซึ่งจะต้องพิจารณาไตใหม่ด้วยว่า สามารถทำงานได้ดีหรือไม่

อาหารสำหรับผู้ป่วยไตวายหลังจากล้างไตหรือทำการฟอกเลือด   ผู้ป่วยอาจจะรับประทานอาหารโปรด ตามใจผู้ป่วยได้บ้างแต่ต้องไม่มาก  เพราะจำเป็นจะต้องควบคุมอาหารต่อไปเรื่อย ๆ  ถึงแม้ว่าจะทำการล้างไตแล้วก็ตาม  แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะสามารถทำให้การทำงานของไตกลับมาเป็นเช่นเดิมได้ทั้งหมด

อาหารสำหรับผู้ป่วยไตวายจากการการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม   สามารถทำได้ในช่วงเวลา 8 – 12 ชั่วโมงต่อสัปดาห์  สามารถกำจัดของเสียได้เพียง 6 – 7 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น

อาหารสำหรับผู้ป่วยไตวายจากการล้างไตทางด้านหน้าท้อง   ผู้ป่วยสามารถทำได้เองที่บ้าน สามารถทำได้ทุกวัน  วิธีนี้จะสามารถกำจัดของเสียได้ 10 – 20 เปอร์เซ็นต์ของไตปกติ

สาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง มีโอกาสขาดสารอาหาร

1. โรคไต ส่งผลทำให้ผู้ป่วยเบื่ออาหาร

2. การจำกัดอาหารสำหรับผู้ป่วยไตวาย ส่งผลทำให้เหลือแต่เมนูอาหารรสจืด และ มีเมนูอาหารน้อยลง  ทำให้ผู้ป่วยเบื่อที่จะรับประทานอาหาร และอยู่ในสภาวะเครียด

3. มีการสูญเสียสารอาหารต่าง ๆ ไปกับการบำบัดไต  โดยเฉพาะโปรตีน

4. ในกรณีที่ผู้ป่วยติดเชื้อ จะยิ่งทำให้ผู้ป่วยต้องสูญเสียโปรตีนมากยิ่งขึ้น 

โปรตีนที่ผู้ป่วยไตวายต้องการ

โปรตีน นับได้ว่าส่วนประกอบของกล้ามเนื้อ และ เนื้อเยื่อภายในร่างกาย และโปรตีนยังคงมีความจำเป็นในการเสริมสร้างฮอร์โมน ภูมิต้านทาน และกระบวนการซ่อมแซมเซลล์ต่าง ๆ ภายในร่างกายของคนเราทั้งหมด เมื่อมีการย่อยสลายโปรตีนที่เราได้รับประทานเข้าไปในแต่ละครั้ง จะทำให้เกิดของเสียในรูปแบบยูเรีย  ทำให้เป็นสาเหตุที่จะต้องจำกัดโปรตีน  โดยเฉพาะในช่วงหลังจากที่ผู้ป่วยได้ทำการล้างไต หรือ ทำการฟอกเลือดแล้ว  ผู้ป่วยจะสามารถเพิ่มโปรตีนขึ้นได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น

ผู้ป่วยไตวายระยะที่ 1 – 3  ผู้ป่วยกลุ่มนี้มักจะไม่ขาดสารอาหาร แต่ต้องการโปรตีนประมาณ 0.6-0.8 กรัม หรือ วันละ 6 – 8 ช้อนโต๊ะ ซึ่งระดับยูเรียจะต้องเพิ่มขึ้นไม่เกินวันละ 20 มก./ดล.เท่านั้น

ผู้ป่วยไตวายระดับที่ 4 – 5   ในกลุ่มผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง  มักจะต้องการโปรตีนประมาณ 0.6-0.8 กรัมต่อวัน  ส่วนผู้ป่วยที่ทำการฟอกไต  ควรได้รับโปรตีน 1.1 – 1.4 กรัมต่อวัน

โปรตีนแบบไหนที่ส่งผลดีต่อผู้ป่วยไตวาย

โปรตีนที่มีความสมบูรณ์และมีกรดอะมิโนอย่างครบถ้วน  ส่วนใหญ่แล้วจะได้มาจากเนื้อสัตว์ เนื้อปลา ที่สามารถย่อยได้ง่าย  ไม่ว่าจะเป็นไข่ขาว กบ กุ้ง และ ไก่  รวมไปถึงกรดไขมันชนิดดี ได้แก่ โอเมก้า 3

  • โปรตีนจากพืช  อย่างเช่น  ถั่วชนิดต่าง ๆ เต้าหู้  เป็นต้น
  • โปรตีนภายในถั่วเมล็ดแห้ง  อาจจะต้องระวังโพแทสเซียม และ ฟอสฟอรัส
  • โปรตีนจากไข่ขาว  สามารถทดแทนเนื้อสัตว์ที่ขาดไปได้

ซึ่งไข่ขาวจำนวน 1 ฟอง จะเทียบเท่ากับเนื้อสัตว์สุกแล้ว 1 ช้อนโต๊ะ

การพิจารณาว่าผู้ป่วยได้รับโปรตีนเพียงพอหรือยัง  มีวิธีดังนี้

  • ประเมินจากสภาพร่างกายของผู้ป่วย พร้อมทั้งอาหารที่ผู้ป่วยรับประทาน
  • การเจาะเลือดเพื่อหาผลโปรตีนอัลบูมิน
  • หากพบว่ามีอัลบูมินต่ำกว่า 4 มก.% ผู้ป่วยจะต้องหันมารับประทานโปรตีนให้มากขึ้น

การจำกัดเกลือโซเดียมและผงฟูในผู้ป่วยไตวาย

สำหรับคนปกติทั่วไป

อาหารที่มีการจำกัดโซเดียมใช้กับผู้ป่วยที่มีอาการบวม ถ่ายปัสสาวะน้อย หัวใจวาย น้ำท่วมปอด หรือมีความดันโลหิตสูง อาหารที่มีโซเดียมสูงที่ควรระวัง ได้แก่ อาหารที่มีรสเค็มจากการใช้เครื่องปรุงต่างๆ เช่นเกลือ น้ำปลา ซีอิ้ว ซอสหอยนางรม น้ำบูดู ซุปก้อน ผงปรุงรสต่างๆ ต้องระวังไม่ใส่เครื่องปรุงรสต่างๆ มากในการประกอบอาหาร นอกจากนี้ต้องไม่เติมเครื่องปรุงรสต่างๆนี้เพิ่มในระหว่างการกินอาหาร และหลีกเลี่ยง อาหารหมักดอง อาหารตากแห้ง อาหารว่างที่ออกรส เค็ม อาหารแปรรูป เช่น ไส้กรอก แฮม หมูยอ หมูหยอง อาหารสำเร็จรูป จำพวกโจ๊ก บะหมี่ วุ้นเส้น และขนมขบเคี้ยวต่างทุกชนิด

ไม่ควรรับประทานเกลือหรือโซเดียมมากกว่า 6 กรัม  เนื่องจากการที่ร่างกายของคนเราได้รับโซเดียมมากจนเกินไป จะส่งผลทำให้มีน้ำสะสมภายในร่างกายมากยิ่งขึ้น  อาจจะทำให้เกิดความดันเลือดสูง มีอาการน้ำท่วมปอด และเกิดภาวะหัวใจวายได้อย่างง่าย ๆ  ซึ่งในกรณีของผู้ป่วยไตวายที่ไม่ควบคุมและจำกัดเกลือโซเดียม ย่อมได้รับผลกระทบอย่างรวดเร็ว

ผู้ที่ได้รับอาหารที่มีเกลือประกอบอยู่น้อย 

มักจะไม่ค่อยกระหายและอยากดื่มน้ำ ส่งผลทำให้เลือดหนืด แต่ไตจะไม่ทำงานหนัก ทำให้เกิดโรคหัวใจได้น้อยกว่าคนทั่วไป  ซึ่งการทานเกลือให้น้อยกว่า 6 กรัมต่อวัน จะช่วยทำให้ลดความดันโลหิตได้ 2 – 8 มิลลิเมตรปรอท

อาหารสำหรับผู้ป่วยไตวายระยะไม่รุนแรง

ควรจำกัดโซเดียมและจะต้องรับประทานไม่เกิน 2 กรัมต่อวันเท่านั้น  หากจะให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น  ผู้ป่วยไตวายระยะไม่รุนแรง สามารถรับประทานเกลือแกงได้ประมาณ 1ช้อนชาต่อวัน และ น้ำปลา หรือ ซีอิ้วขาว ไม่เกิน 3 – 4 ช้อนชาต่อวันเท่านั้น

อาหารสำหรับผู้ป่วยไตวายระยะรุนแรง 

ควรจำกัดเกลือแกง ซึ่งจะต้องบริโภคไม่เกินวันละ 0.5 ช้อนชา และปริมาณโซเดียม ที่มีอยู่ในอาหารประเภทเครื่องปรุง อย่างเช่น เกลือ น้ำปลา ซีอิ้วขาว หรือ ซุปก้อน รวมแล้วจะต้องไม่เกิน 1.5 กรัม  ซึ่งเมนูอาหารจะต้องมีรสจืดสนิทเลยทีเดียว

การจำกัดฟอสฟอรัสในอาหารสำหรับผู้ป่วยไตวายเรื้อรังหรือระยะรุนแรง

ผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง หรือ ผู้ป่วยไตวายระยะรุนแรง จะต้องจำกัดปริมาณฟอสฟอรัส โดยจะต้องน้อยกว่า 600 มิลลิกรัมต่อวันเท่านั้น  ส่วนอาหารสำหรับผู้ป่วยไตวายที่มีฟอสฟอรัส หรือ ฟอสเฟตมาก ได้แก่

  • น้ำอัดลม  ทุเรียน ชา กาแฟ เมล็ดพืช ถั่วเมล็ดแห้ง
  • เนื้อสัตว์ ไข่แดง
  • นมและผลิตภัณฑ์จากนม
  • อาหารที่ใช้ยีสต์

การจำกัดโพแทสเซียมในอาหารสำหรับผู้ป่วยไตวาย

โปแตสเซียมถูกขับออกทางไต เมื่อไตเสื่อมจะทำให้เกิดการคั่งของโปแตสเซียม ผู้ป่วยไตวายมักจะมีการคั่งของโปแตสเซียม ซึ่งถ้าระดับโปแตสเซียมสูงมาก อาจทำให้หัวใจหยุดเต้นได้ การจัดอาหารให้มีโปแตสเซียมน้อย กระทำได้ยากกว่าการจัดให้มีโซเดียมน้อย เพราะธาตุโปแตสเซียมมีในอาหารทั่วไปทั้งสัตว์และพืช ต่างจากโซเดียมซึ่งมีมากแต่ในสัตว์ เช่น เนื้อ นม ไข่

อาหารสำหรับผู้ป่วยไตวายระยะแรก ๆ อาจจะไม่ต้องจำกัดโพแทสเซียมมากนัก เพราะไตยังคงสามารถขับโพแทสเซียมได้  แต่ต้องจำกัดในช่วงที่พบว่ามีโพแทสเซียมสูง หรือ เมื่อพบว่าผู้ป่วยเป็นไตวายระยะสุดท้าย  เมื่อมีปัสสาวะน้อยกว่า 800 มิลลิลิตรต่อวัน หากต้องการรับประทานผลไม้ ควรรับประทานก่อนการฟอกเลือด   

เนื่องจากการที่ผู้ป่วยมีโพแทสเซียมสูง จะส่งผลทำให้หัวใจหยุดเต้นได้  หากผู้ป่วยไตวายที่ต้องฟอกเลือด  มักจะแนะนำให้รับประทานผลไม้ในช่วงตอนเช้าของวันที่ฟอกเลือดเท่านั้น

ผู้ป่วยจะสามารถขับโพแทสเซียมภายในผลไม้ที่รับประทาน ออกมาได้ในระหว่างที่ผู้ป่วยทำการฟอกเลือดนั่นเอง  ส่วนผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง ควรได้รับโพแทสเซียมน้อยกว่า 4.7 กรัมต่อวันเท่านั้น

อาหารที่มีโพแทสเซียมต่ำ ได้แก่

  • ผักจำพวกกะหล่ำปลี  แตงกวา ฟักเขียว ถั่วงอก บวบ หอมหัวใหญ่ เห็นหูหนู ผักคะน้า มะระ
  • ผลไม้จำพวก แตงโม แอปเปิล ชมพู่ มะละกอสุก มะม่วง องุ่น สับปะรด

อาหารที่มีโพสแทสเซียมปานกลาง ได้แก่

  • งา ปลาทู  กุ้งแม่น้ำ ปลาสวาย
  • ผลไม้จำพวก ส้ม ส้มโอ แอปเปิล สตรอเบอรี่  แคนตาลูป เงาะ กระท้อน ขนุน
  • ผักจำพวก เห็ดนางฟ้า แตงกวา  น้ำเต้า ฟักเขียว มะเขือเทศสีดา

อาหารที่มีโพแทสเซียมสูง ได้แก่

  • ผลไม้จำพวก  ทุเรียน มะพร้าว  กล้วยทุกชนิด ลำไย  ผลไม้อบแห้ง
  • ผักจำพวก บร็อกโคลี  แครอท มันเทศ ผักบุ้ง  ตำลึง ใบแมงลัก หน่อไม้
  • ปลาทูน่า ปลาอินทรี  เนย

ผู้ป่วยเปลี่ยนไต ควรจำกัดอาหารอย่างไร?

  • พลังงาน  ผู้ป่วยจะต้องได้รับพลังงานขึ้นให้เทียบเท่ากับกิจกรรมที่ทำอยู่
  • โปรตีน  หากไตใหม่สามารถทำงานได้ดี  ควรบริโภคโปรตีนอย่างน้อย 1.3 – 2.0 กรัม และควรจำกัดโปรตีนตามระดับของไตวาย
  • คาร์โบไฮเดรต  ต้องมีการจำกัดน้อยลงกว่าปกติ
  • ไขมัน ควรจำกัดให้น้อยลง หากมีไขมันสูง จะส่งผลต่อหลอดเลือดและหัวใจ
  • เกลือโซเดียม  ควรจำกัดอย่างมาก อย่างน้อยจะต้องไม่เกิน 2 กรัมต่อวันเท่านั้น  เพื่อรักษาระดับความดันโลหิต และไม่ให้เกิดภาวะบวมมากขึ้น 
  • แคลเซียมและฟอสฟอรัส   ระวังอย่าให้ร่างกายขาดแคลเซียมเป็นอันขาด  อัตราส่วนควรเป็นไปในรูปแบบ 1 : 1 เท่านั้น
  • วิตามินดี    อาจจะต้องเสริมเพิ่มเติมสำหรับผู้ป่วยที่ต้องนอนพักหลายสัปดาห์

การรักษาสมดุลน้ำภายในร่างกายของผู้ป่วยไตวาย

สำหรับผู้ป่วยไตวายเฉียบพลัน และ ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังทุกระยะ จำเป็นจะต้องรักษาและควบคุมปริมาณน้ำที่รับเข้าสู่ร่างกาย  เพื่อให้มีความสมดุลกับปริมาณน้ำที่ออกจากร่างกาย  และเพื่อไม่ให้มีน้ำคั่งมากจนเกินไป  โดยปริมาณน้ำดื่มในแต่ละวัน  จะเท่ากับปริมาณของปัสสาวะของวันที่ผ่านมา  +  น้ำที่เสียทางเหงื่อ โดยรวมประมาณ 300 – 500  +  อุจจาระ ประมาณ 300 มิลลิกรัมต่อวัน

1. ผู้ป่วยไตวายที่ไม่ปัสสาวะเลย หรือ ปัสสาวะน้อยมาก   นับได้ว่าเป็นระยะที่อันตรายมากที่สุด จะต้องจำกัดน้ำอย่างมาก  โดยผู้ป่วยสามารถดื่มน้ำได้ไม่เกิน 500 – 750 ซีซีต่อวันเท่านั้น

2. ผู้ป่วยฟอกเลือด ควรดื่มน้ำ 500 – 750 มิลลิลิตรต่อวัน  บวกกับปริมาณปัสสาวะทั้งวัน

3. ผู้ป่วยที่ล้างไตผ่านทางหน้าท้อง  ควรดื่มน้ำ  500 – 750 มิลลิลิตร บวกกับปริมาณปัสสาวะทั้งวัน  และบวกกับกำไรรวมจากน้ำยาพีดีที่ได้ของวันนั้น ๆ

4. ผู้ป่วยไตวายที่เริ่มฟื้นตัวแล้ว  ต้องเพิ่มปริมาณน้ำ เพื่อรักษาสมดุลน้ำภายในร่างกายโดยตรง

5. ผู้ป่วยเด็กที่เป็นโรคไตวาย  จะต้องดื่มน้ำให้น้อยกว่าผู้ใหญ่

อาการของผู้ป่วยไตวายที่แสดงให้เห็นว่ามีภาวะน้ำเกิน

1. ผู้ป่วยมีอาการบวมเกิดขึ้นบริเวณเปลือกตา  นิ้ว และข้อต่าง ๆ

2. ผู้ป่วยมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นมาก

3. ผู้ป่วยมีอาการปวดศีรษะ  มีความดันโลหิตสูง

4. ผู้ป่วยหอบและเหนื่อย นอนราบไม่ได้

5. ผู้ป่วยมีอาการไอ  พบเจอเส้นเลือดดำที่คอโป่งพอง

การป้องกันไม่ให้เกิดภาวะน้ำเกิน

  • พยายามชั่งน้ำหนักตัวผู้ป่วยทุกวัน  โดยน้ำหนักจะต้องเพิ่มไม่เกินวันละ 0.5 กิโลกรัม
  • ควรวัดความดันเลือด อย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง
  • ควรให้ผู้ป่วยดื่มน้ำ โดยที่ต้องไม่เกินไปกว่าที่กำหนดหรือต้องทำการควบคุมปริมาณน้ำ
  • ให้ผู้ป่วยหลีกเลี่ยงอาหารต้องห้าม หรือ ควบคุม
  • หากผู้ป่วยมีอาการบวมมากขึ้น ควรใช้น้ำยาพีดีเข้มข้น 2.5 % หรืออาจจะใช้ 4.25%  ร่วมกันกับ 1.5% จนกว่าอาการบวมของผู้ป่วยจะยุบตัวลง  แล้วจึงค่อยกลับมาใช้น้ำยาพีดี 1.5% อีกครั้ง

ทั้งหมดนี้ ถือได้ว่าเป็นสิ่งที่ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง และ ผู้ป่วยโรคไตวายระยะต่าง ๆ ต้องทำการจำกัด และควบคุมเป็นพิเศษ เพื่อที่จะสามารถทำให้ร่างกายได้รับสารอาหาร พร้อมทั้งปริมาณน้ำที่เหมาะสม มีความสมดุลต่อร่างกาย ทั้งผู้ป่วยและญาติควรศึกษาและทำความเข้าใจ พร้อมทั้งควรปฏิบัติตามคำสั่งแพทย์อย่างเคร่งครัด เพื่อความปลอดภัย และ เพื่อเป็นการยืดอายุไตเอาไว้อย่างสูงสุดนั่นเอง

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

“Diabetes treatment—bridging the divide”. The New England Journal of Medicine. 356.

Diabetes Mellitus (DM): Diabetes Mellitus and Disorders of Carbohydrate Metabolism: Merck Manual Professional”. Merck Publishing. April 2010. Archived from the original on 2010-07-28. Retrieved 2010-07-30.

การรักษาโรคไตวายเฉียบพลัน 

0
การรักษาโรคไตวายเฉียบพลัน
ไตวายเฉียบพลัน เป็นภาวะที่ไตสูญเสียการทำหน้าที่จากเลือดที่ไปเลี้ยงไตลดลง
การรักษาโรคไตวายเฉียบพลัน
ไตวายเฉียบพลัน เป็นภาวะที่ไตสูญเสียการทำหน้าที่จากเลือดที่ไปเลี้ยงไตลดลง

โรคไตวายเฉียบพลัน

โรคไตวายเฉียบพลัน ถือได้ว่าเป็นโรคภัยที่รุนแรงผู้ป่วยจำเป็นจะต้องเข้ารับการรักษาตัวอย่างเร่งด่วนทันที  หากล่าช้าอาจจะส่งผลต่อชีวิตได้ แต่ถ้าหากสามารถรักษาได้อย่างถูกต้อง และทันเวลา ไตจะค่อยๆ ฟื้นตัวกลับมา และสามารถทำงานได้เป็นปกติภายใน 3 วัน แต่ถ้าหากปล่อยให้ไตถูกทำลายมากๆ อาจจะส่งผลทำให้เป็นโรคไตวาย  เรื้อรังได้เช่นเดียวกัน 

กระบวนการรักษาโรคไตวายเฉียบพลัน

1. ค้นหาสาเหตุของโรคไตวายเฉียบพลัน 

  • การแก้ไขสภาวะช็อค
  • หากค้นพบว่าร่างกายขาดน้ำและขาดเลือด  จะมีการรักษาโดยการให้เลือดและสารน้ำ หรือ พลาสม่า อย่างรวดเร็ว
  • มีการให้ยาแก้อักเสบติดเชื้อ
  • หยุดรักษาด้วยยาที่ส่งผลทำให้เกิดอาการไตวาย
  • หากค้นพบว่ามีสาเหตุมาจาก การเกิดภาวะอุดตันของระบบทางเดินปัสสาวะ แพทย์จะทำการแก้ไขปัญหาที่ทำให้เกิดอาการไตวาย ในรูปแบบเบื้องต้น แล้วจึงค่อย ๆ รักษา โดยการหยุดภาวะอุดตันที่เกิดขึ้น

2. การรักษาโรคไตวายเฉียบพลันโดยใช้ยา

เพื่อรักษาอาการโรคไตวายเฉียบพลัน ส่งผลทำให้ไตสามารถทำงานได้ดียิ่งขึ้น หรือ เป็นการช่วยเพิ่มปริมาณของปัสสาวะให้มากกว่าเดิม  โดยอาจจะใช้ยาเพื่อกระตุ้นหลอดเลือด หรือ ใช้ยาขับปัสสาวะ เป็นต้น

3. การรักษาอาการโรคไตวายเฉียบพลันแบบประคับประคอง

รวมไปถึงมีการรักษาอาการแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นได้

4. หากอาการของผู้ป่วยโรคไตวายเฉียบพลันยังคงไม่ดีขึ้น  อาจจะมีการรักษาด้วยการฟอกเลือด  เพื่อที่จะทำการขับของเสียออกจากร่างกาย  โดยต้องทำสัปดาห์ละ 2 – 3 ครั้ง

การควบคุมอาหารและน้ำ ในผู้ป่วยโรคไตวายเฉียบพลัน

ผู้ป่วยโรคไตวายเฉียบพลัน มักจะขาดสารอาหาร  เนื่องจากมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนบ่อยครั้ง  รวมไปถึงมีการสลายตัวของโปรตีนภายในร่างกาย   ซึ่งในช่วงที่โรคไตวายเฉียบพลันแบบรุนแรง จำเป็นจะต้องจำกัดน้ำและอาหาร ที่ส่งผลและ เพิ่มภาวะให้กับไต  แต่ถ้าหากผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นแล้ว  การจำกัดน้ำและอาหาร สามารถผ่อนหรือเบาลงได้ตามความเหมาะสม 

วิธีการรักษาภาวะเลือดเป็นกรด

ภาวะเลือดเป็นกรด สามารถเกิดขึ้นได้กับผู้ป่วยไตวายเฉียบพลัน และ ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังขั้นรุนแรง  เนื่องจากไตไม่สามารถทำหน้าที่ในการขับกรด  พร้อมทั้ง โพแทสเซียม ออกจากร่างกายได้

หากผู้ป่วยมีอาการภาวะเลือดเป็นกรดอยู่นาน จะส่งผลทำเกิดการสร้างกระดูกที่ลดลง ส่งผลทำให้สูญเสียมวลเนื้อเยื่อได้ในที่สุด  ส่วนวิธีการรักษา มีดังต่อไปนี้

1. มีการให้ยา เคเอกซาเลท  แพทย์ส่วนใหญ่จะต้องระมัดระวังการให้ยาชนิดนี้แก่ผู้ป่วย เพราะจะส่งผลทำให้โซเดียมสูงขึ้นได้  ทำให้เกิดภาวะบวมตามมา และ ภาวะหัวใจล้มเหลวได้เช่นกัน

2. ในช่วงที่ซีรั่มไบคาร์บอเนตในเลือดต่ำกว่า 10 มิลลิอีควาเลนซ์ต่อลิตร  แพทย์อาจจะให้ยาโซเดียมไบคาร์บาเนต ในปริมาณที่ต่ำกว่าการฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำ หลังจากนั้นอาจจะมีการปรับขนาดของยา

3. ผู้ป่วยที่ไม่สามารถแก้ไขภาวะเลือดเป็นกรด หรือ โพแทสเซียมในเลือดสูงได้  แพทย์อาจจะต้องทำการล้างไต หรือ ฟอกเลือด

วิธีการรักษาภาวะโพแทสเซียมสูง

ภาวะโพแทสเซียมสูง สามารถเกิดขึ้นได้กับผู้ป่วยไตวายเฉียบพลันขั้นรุนแรง หรือ ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังขั้นรุนแรง  ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการปวดศีรษะ ปวดเมื่อตามร่างกายสูงมาก  ส่งผลทำให้การทำงานของหัวใจลดลงได้ รวมไปถึงผู้ป่วยอาจจะมีอาการอ่อนแรง  คลื่นไส้ และ ท้องเดิน ส่วนวิธีการรักษา มีดังต่อไปนี้   

1. ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง   แพทย์อาจจะให้ควบคุมอาหาร ถ้าไม่ดีขึ้นจึงจะให้ยาไปรับประทาน

2. ผู้ป่วยที่มีอาการปานกลาง  แพทย์อาจจะให้ควบคุมอาหาร พร้อมกับให้ยาไปรับประทานร่วมด้วย

3. ผู้ป่วยที่มีโพแทสเซียมสูงอย่างรุนแรง  แพทย์จะให้ยาสองตัว ซึ่งเป็นยาที่ช่วยดึงโพแทสเซียมเข้าสู่เซลล์ภายในร่างกาย  กับ ยาที่ช่วยขับโพแทสเซียมออกจากร่างกาย  ซึ่งออกทางปัสสาวะ

4. ผู้ป่วยจะต้องระมัดระวังการรับประทานอาหาร ที่ส่งผลทำให้เกิดโพแทสเซียมสูง และจำเป็นจะต้องระมัดระวังยาที่ทำให้โพแทสเซียมสูงขึ้นด้วย

5. ผู้ป่วยจะต้องติดตาม ดูค่าโพแทสเซียมในเลือดอย่างเป็นประจำ

การรักษาภาวะฟอสเฟตสูง

สำหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ช่วงระยะที่ 3 ขึ้นไป มักจะมีความเสี่ยงต่อระดับของค่าฟอสเฟสภายในเลือด ซึ่งอาจจะสูงกว่า 7.0 มิลลิกรัม ผู้ป่วยที่มีภาวะฟอสเฟสสูง  สามารถรักษาได้ดังนี้

1. ผู้ป่วยจะต้องจำกัดปริมาณฟอสเฟตจากอาหาร ซึ่งผู้ป่วยจะต้องงดอาหารที่มีฟอสเฟตสูงเป็นสำคัญ

2. ผู้ป่วยจะต้องเสริมอาหารที่มีแคลเซียมสูง โดยจะต้องรับแคลเซียม 1000 มิลลิกรัมต่อวันเท่านั้น

3. ผู้ป่วยจะต้องคุมระดับแคลเซียมและฟอสเฟตในเลือด ให้อยู่ในระดับปกติ  ซึ่งค่าแคลเซียมจะต้องมีค่าอยู่ระหว่าง 9.0 – 10.2 มิลลิกรัม%   ส่วนค่าฟอสเฟต  จะต้องมีค่าอยู่ระหว่าง 2.7-4.6 มิลลิกรัม% เท่านั้น  ซึ่งจะต้องมีการติดตามตรวจทุก ๆ 1 เดือน

4. ผู้ป่วยอาจจะต้องรับประทานยา ที่ช่วยลดการดูดซึมฟอสเฟต  โดยยาที่สามารถจับฟอสเฟต ได้แก่  ยากลุ่มแคลเซียม ยาเม็ดอะลูมิเนียม ยาแลนทานัม คาร์บอเนต ยาชีวีลาเมอร์ เป็นต้น

5. การรักษาด้วยวิตามินดี 

6. การล้างไต หรือ ฟอกเลือด  ในกรณีนี้เกิดขึ้นได้ เนื่องจากผู้ป่วยได้ใช้ยาแล้ว ยังไม่สามารถรักษาได้ นั่นเอง

วิธีการรักษาภาวะฮอร์โมนพาราไทยรอยด์สูง

ในผู้ป่วยไตวาย มักจะมีภาวะฟอสเฟสในเลือดสูง พร้อมทั้งแคลเซียมในเลือดต่ำเป็นระยะเวลานาน  และในผู้ป่วยไตวายระยะที่ 3 ขึ้นไป มักจะหลั่งฮอร์โมนพาราไทรอยด์ออกมามาก ทำให้มีการสลายมวลกระดูก ส่งผลทำให้เกิดภาวะกระดูกพรุนได้เช่นกัน  ซึ่งการรักษา  สำหรับผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะที่ 4 ฮอร์โมนนี้จะต้องอยู่ในช่วง 70 – 110 พก./มล.  และ ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะที่ 5  ฮอร์โมนนี้จะต้องอยู่ในช่วง  150 – 300 พก./ มล.  ส่วนผู้ป่วยที่ต้องทำการฟอกเลือด  ฮอร์โมนนี้จะต้องอยู่ในช่วง 130 – 600 พก./มล. เท่านั้น

1. หากค้นพบว่าไต ยังคงสามารถเปลี่ยนวิตามินดี 2 ให้กลายเป็นแอคทีฟวิตามินดีได้  แต่ยังคงมีไฮดรอกชีวิตามินดีประมาณ 25- OHD  จำนวนไม่เกิน 30 นาโนกรัมต่อมิลลิลิตร  จะสามารถเริ่มต้นทำการรักษาด้วยวิตามินดี 2 ได้

2. ผู้ป่วยที่ไต ไม่สามารถเปลี่ยนวิตามินดี 2 ได้ มักจะรักษาด้วยแอคทีฟวิตามินดี  เพื่อที่จะสามารถลดระดับฮอร์โมนพาราไทรอยด์ในเลือด เพื่อให้ตรงกับเป้าหมายได้

3. การรักษาด้วยการตัดต่อมพาราไทรอยด์เป็นการรักษากับผู้ป่วยในรายที่มีระดับฮอร์โมนพาราไทรอยด์ในเลือดที่สูงกว่า 800 พิโคกรัมต่อ มล. และยังคงมีภาวะแคลเซียม และ ฟอสเฟตในเลือดสูงอีกด้วย  หรือ ผู้ป่วยที่ไม่ตอบสนองการรักษา ด้วยวิธีการจำกัดอาหาร หรือ ใช้ยาจับฟอสเฟต และ วิตามินดีแล้ว   ซึ่งอาจจะมีการตัดต่อมออกทั้งหมด หรือ ตัดออกแค่เพียงบางส่วนเท่านั้น

การรักษาภาวะบวม และ ความดันเลือดสูง

ผู้ป่วยที่เป็นโรคไตวาย มักจะเป็นโรคความดันเลือดสูง  เนื่องจากมีน้ำคั่ง ตัวบวม และ น้ำหนักเพิ่ม ส่งผลทำให้เนื้อไตถูกทำลายได้มากยิ่งขึ้น  แถมหัวใจยังคงมีขนาดใหญ่ขึ้น  ส่งผลทำให้เกิดหัวใจวายได้  ในกรณีนี้  จำเป็นจะต้องมีการดูแลในเรื่องของความดันโลหิตสูง  ซึ่งในกรณีผู้สูงอายุ จะต้องไม่เกิน 140/80 มิลลิเมตรปรอท ซึ่งถ้าหากค้นพบว่ามีโปรตีนรั่วออกจากร่างกายด้วย ก็ควรที่จะมีความดันโลหิตต่ำกว่านี้   ซึ่งวิธีการรักษาโรคความดันโลหิต มีดังต่อไปนี้ 

  • การให้ยาไปรับประทาน เพื่อลดความดันโลหิต  สำหรับผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง มักจะใช้ยาในกลุ่มเอซีอีไอ  หรือ ยากลุ่มเออาร์บี  โดยปกติทั่วไปแล้วจะมีการใช้ร่วมกับยาขับปัสสาวะ
  • หากรับประทานยา 2 ขนาด แล้วยังไม่ได้ผล  อาจจะมีการให้ใช้ยาดิลเทียเซม หรือ ยาวีราพามิลร่วมด้วย
  • หากยังไม่ได้ผลอีก  อาจมีการเพิ่มยากลุ่มปิดกั้นเบต้า หรือ ยากลุ่มปิดกั้นอัลฟา ร่วมด้วย
  • มีการควบคุมอาหารเสมอ
  • ลดอาการบวมที่เกิดขึ้นได้ด้วยการใช้ยาขับปัสสาวะ ซึ่งนับได้ว่ามีหลายกลุ่มด้วยกัน
  • มีการวัดความดันโลหิตทุก 4 ชั่วโมง
  • บริหารและออกกำลังกายอย่างเป็นประจำทุกวัน

วิธีการรักษาภาวะเลือดซีดจาง

ภาวะเลือดซีดจาง หรือ อาการเลือดจาง   ผู้ป่วยมักจะมีอาการเหนื่อยง่าย หน้ามืด วิงเวียนศีรษะ เบื่ออาหาร เล็บซีด ปากซีด  เป็นต้น  ซึ่งภาวะซีดมีผลทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดสภาวะกล้ามเนื้อหัวใจห้องซ้ายล่างโต  หรือ อาจจะมีกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดสำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคไตวาย  มักจะมาภาวะเลือดจาง เนื่องจากขาดฮอร์โมนอีริทโทรปัวอิติน  ที่ทำหน้าที่คอยกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือด นอกจากนี้อาจจะมีสาเหตุอื่น ๆ ร่วมด้วย ดังนี้

  • การเสียเลือด มีเลือดออกทางลำไส้
  • การขาดธาตุเหล็ก หรือ เป็นโรคตับเรื้อรัง
  • โรคธารัสซีเมีย
  • โรคเอสแอลอี
  • โรคมะเร็ง
  • โรคไขกระดูกฝ่อ เป็นต้น

สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคไตวาย มักจะมีภาวะเลือดซีดจางมาก ซึ่งการตรวจเลือดในแต่ละครั้ง ควรที่จะได้รับการประเมินค่าเหล็กภายในร่างกายร่วมด้วย   หากค้นพบว่ามีเฟอริตินต่ำ  แพทย์จะให้ยาเม็ดธาตุเหล็กมาทาน หรือ ให้ยาฉีดแทน  แต่ถ้าหากค้นพบว่าธาตุเหล็กในร่างกายมีมากแล้ว  แต่เลือดยังคงซีดและจางมาก อาจจะรักษาด้วยวิธีการฉีดยากระตุ้นไขกระดูกแทน 

วิธีการรักษาโรคเลือดจาง

1. หากผู้ป่วยเลือดจางไม่รุนแรง  แพทย์มักจะให้ยาเม็ดธาตุเหล็ก  ซึ่งผู้ป่วยควรทานวิตามินรวม พร้อมทั้งกรดโฟลิคด้วย  เพื่อที่จะสามารถสร้างเม็ดเลือดแดงเพิ่มเติมได้

2. ผู้ป่วยเลือดจางระดับปานกลาง   อาจจะรักษาด้วยการใช้ยาฉีด อิริโทรปัวอิติน หรือ ยาอีโป้ แต่ต้องกินยาเสริมธาตุเหล็กร่วมด้วย ส่วนหลังจากที่ได้รับการฉีดยาชนิดนี้แล้ว  จะสามารถวัดระดับภาวะเลือดจาง ได้ดังนี้

  • ฮีโมโกลบิน 10-11.5 กรัม ไม่ควรเกิน 13 กรัม 
  • ระดับเหล็ก และ เฟอริติน อยู่ที่ 100 หน่วยขึ้นไป  ถ้าผู้ป่วยฟอกไต เฟอริตินต้องอยู่ที่ 200 – 500 หน่วยขึ้นไปเท่านั้น  แพทย์จะทำการฉีดยา อีริทดทรฟัวอิติน เข้าทางหลอดเลือดดำ หรือ ฉีดยาใต้ผิวหนัง ซึ่งตำแหน่งที่ฉีด ได้แก่  ต้นแขน บริเวณท้อง ต้นขา และ สะโพก

3. ผู้ป่วยเลือกจางระดับรุนแรง  แพทย์อาจจะให้เม็ดเลือดที่มีความเข้มข้นเข้าทดแทน  และหลังจากให้เลือดแล้ว ต่อมาอาจจะมีการฉีดยา อิริทโทรปัวอิติน ร่วมด้วย

วิธีการดูแลผู้ป่วยโรคไตวายเฉียบพลันเพิ่มเติม

ในกรณีที่ผู้ป่วยได้รับออกซิเจนไม่พอ  จากกรณีที่ผู้ป่วยมีเลือดจางควรปฏิบัติดังนี้

  • นอนท่าศีรษะสูง  เพื่อช่วยให้ปอดขยายตัวได้ดีขึ้น
  • อยู่ภายในสถานที่ที่มีอากาศปลอดโปร่ง  อากาศดี  เพื่อเพิ่มความเข้มข้นของออกซิเจน ให้หายใจเข้าลึก ๆ

ในกรณีที่ผู้ป่วยติดเตียงหรือต้องนอนบนเตียงนาน ๆ

ญาติควรดูแลผู้ป่วยดังนี้ 

  • ให้ผู้ป่วยพลิกตะแคงตัว ทุก 2 ชั่วโมง  เพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับ
  • ควรบริหารศีรษะให้กับผู้ป่วย พร้อมทั้งบริหารแขน ขา ลำตัว มือ ท้า และข้อต่อตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
  • ควรระมัดระวัง ด้วยการยกไม้กั้นเตียงขึ้น เพื่อที่จะสามารถป้องกันการตกเตียงได้
  • ควรให้ผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเอง โดยเฉพาะกิจวัตรประจำวันที่ผู้ป่วยสามารถทำได้

ในกรณีที่เกิดสภาวะไตวายเฉียบพลัน  หากผู้ป่วยได้รับการรักษาที่ถูกต้อง  ไตของผู้ป่วยอาจจะกลับสู่สภาวะปกติได้อีกครั้ง ภายในระยะเวลา 3 วันเท่านั้น  ซึ่งในกรณีนี้อาการของผู้ป่วยจะต้องไม่มีการทำลายท่อไต และ ยังคงสามารถ ปัสสาวะออกได้ตามปกติ  แต่ถ้าหากผู้ป่วยเข้ารับการรักษาไม่ทัน จะส่งผลทำให้เกิดการทำลายของท่อไต  ซึ่งในกรณีนี้จะไม่สามารถทำให้ไตกลับมาทำงานเป็นปกติได้  ซึ่งแพทย์จะต้องทำการติดตามและตรวจไตเป็นระยะ ๆ อย่างต่อเนื่อง

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

“Kidney cancer statistics”. Cancer Research UK. Retrieved 27 October 2014.

“Cancer of the Kidney and Renal Pelvis – SEER Stat Fact Sheets”. National Cancer Institute, U.S. National Institutes of Health. Retrieved 2013-02-07.

ปลูกถ่ายสเต็มเซลล์หรือการปลูกถ่ายไขกระดูก

0
การปลูกถ่ายไขกระดูก สเต็มเซลล์ในโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว และ โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองบางชนิด
การปลูกถ่ายไขกระดูกไม่ใช่การรักษามะเร็งแต่เป็นการทำให้สามารถให้ยาได้มีประสิทธิภาพขึ้น
การปลูกถ่ายไขกระดูก สเต็มเซลล์ในโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว และ โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองบางชนิด
การปลูกถ่ายไขกระดูกไม่ใช่การรักษามะเร็งแต่เป็นการทำให้สามารถให้ยาได้มีประสิทธิภาพขึ้น

ไขกระดูก คืออะไร?

ไขกระดูก คือ เนื้อเยื่อที่อยู่ภายในโครงกระดูกทุกชิ้นภายในร่างกายของคนเรา โดยที่ไขกระดูกจะมีหน้าที่ในการสร้างเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และ เกล็ดเลือด อีกทั้งไขกระดูก ยังประกอบไปด้วยเซลล์ต้นกำเนิดของเม็ดเลือดชนิด ต่าง ๆ อีกด้วย

สเต็มเซลล์ คืออะไร?

สเต็มเซลล์ คือ เซลล์ตัวอ่อน ที่มีอยู่ภายในเนื้อเยื่อ หรือ อวัยวะต่าง ๆ ภายในร่างกายของคนเรา ซึ่งถือได้ว่าเป็นเซลล์ต้นกำเนิด ทำให้มีคุณสมบัติในการแบ่งตัว สามารถเจริญเติบโต และคอยทำหน้าที่ได้เหมือนกับเซลล์ และ เนื้อเยื่อ พร้อมทั้งอวัยวะต่าง ๆ ภายในร่างกายของเราได้ เมื่อมีการปลูกถ่ายสเต็มเซลล์เกิดขึ้น สเต็มเซลล์ที่ถูกปลูกถ่ายจึงสามารถเจริญเติบโต จนกลายเป็นเนื้อเยื่อและอวัยวะในส่วนต่าง ๆ ได้นั่นเอง

ปลูกถ่ายสเต็มเซลล์ ซึ่งในปัจจุบัน การปลูกถ่าย ไขกระดูก หรือ ปลูกถ่าย สเต็มเซลล์ นั้น ถือได้ว่ามีวิธีการรักษาและทำการปลูกถ่ายที่ดีและมีประสิทธิภาพ ทำให้การปลูกถ่ายไขกระดูก หรือ สเต็มเซลล์ เป็นอีกหนึ่งวิธีในการรักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว และ โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง แต่สำหรับโรคมะเร็งชนิดอื่น ๆ ยังคงไม่สามารถทำการรักษาด้วยวิธีการปลูกถ่ายไขกระดูก หรือ สเต็มเซลล์ได้ ซึ่งอยู่ในช่วงของการศึกษาอยู่เช่นกัน

ปลูกถ่ายสเต็มเซลล์ รักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

ปลูกถ่ายสเต็มเซลล์ สำหรับการรักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว ( Leukemia ) และ โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ( Lymphoma ) ด้วยการปลูกถ่าย ไขกระดูก หรือ สเต็มเซลล์ จะใช้รักษาเฉพาะผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งสองชนิดนี้ ที่อยู่ในช่วงของโรคที่มีระดับความรุนแรงสูง อย่างเช่น โรคอยู่ในช่วงดื้อยาเคมีบำบัด โรคมีโอกาสที่จะย้อนกลับมาเป็นซ้ำ เป็นต้น

วิธีการปลูกถ่ายไขกระดูก และ สเต็มเซลล์

นับได้ว่าเป็นการรักษาโดยจะมีการกำจัดไขกระดูก ที่ยังคงมีโรคหรือเชื้อของโรคมะเร็งอยู่ให้หมดไป ซึ่งการกำจัดที่ว่านี้จะทำได้ด้วยเคมีบำบัด บางครั้งอาจจะมีการกำจัดร่วมกันกับการฉายรังสีรักษา ซึ่งภายหลังจากที่ได้กำจัดแล้ว จะต้องมีการปลูกถ่ายเซลล์ ไขกระดูก และ สเต็มเซลล์ เข้าไปแทนที่ทันที โดยจะมีการส่งเซลล์ปกติให้กับผู้ป่วยทางหลอดเลือดดำ คล้ายคลึงกับการให้เลือด โดยที่เซลล์จะเข้าไปเจริญเติบโตภายในโพรงกระดูก จนกระทั่งกลายเป็นเซลล์ไขกระดูกแบบปกติ

เซลล์ไขกระดูก และ สเต็มเซลล์ ได้มาจากที่ไหน?

เซลล์ไขกระดูก และ สเต็มเซลล์ ส่วนใหญ่แล้วจะได้มาจากหลายทางด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น เซลล์จากตัวผู้ป่วยโดยตรง ซึ่งแพทย์จะมีวิธีเก็บจากเลือดของผู้ป่วย ซึ่งเรียกว่า ฟีรีซีส ซึ่งได้มาจากเลือดภายในสายสะดือ ซึ่งจะถูกเก็บไว้ตั้งแต่แรกเกิด หรือ อาจจะเป็น ไขกระดูก ของคนภายในครอบครัว หรือ คนอื่น ๆ ที่มีเซลล์ต้นกำเนิด ซึ่งร่างกายของผู้ป่วยจะต้องยอมรับ และ เข้ากับผู้ป่วยได้เท่านั้น ซึ่งแพทย์จะเลือกใช้เฉพาะสเต็มเซลล์จากแหล่งที่มีความพร้อมเท่านั้นอีกด้วย

ช่วงของการรักษาด้วยวิธีการปลูกถ่ายไขกระดูก และ สเต็มเซลล์

ในส่วนของการรักษาด้วยวิธีการปลูกถ่าย ไขกระดูก และ สเต็มเซลล์ ถือได้ว่าเป็นการรักษาที่ค่อนข้างจะยุ่งยาก มีความซับซ้อน และจำเป็นจะต้องใช้ระยะเวลาในการรักษานานเป็นเดือน ๆ ซึ่งในช่วงที่อยู่ในผู้ป่วยเข้ารับการรักษานั้น ผู้ป่วยจะต้องอยู่ห้องแยกไปจากผู้ป่วยโดยทั่วไป อีกทั้งในระหว่างที่ผู้ป่วยเข้ารับการรักษาอยู่นี้ อาจจะต้องพบเจอกับสภาวะแทรกซ้อนที่ค่อนข้างจะรุนแรง อาจะส่งผลทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้เช่นกัน หากผู้ป่วยอยู่ในช่วงที่ไขกระดูกและสเต็มเซลล์ยังไม่เจริญเติบโตได้อย่างเต็มที่ และผู้ป่วยมีอาการติดเชื้ออย่างรุนแรง เนื่องจากร่างกายขาดเม็ดเลือดขาว จนไม่สามารถควบคุมได้ และยังคงขาดเกล็ดเลือดของผู้ป่วยอยู่

ส่วนค่าใช้จ่ายในการรักษา ถือได้ว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่สูงมาก ผู้ป่วยบางกลุ่มอาจจะไม่สามารถรักษาด้วยวิธีการนี้ได้ ซึ่งปัจจุบันแพทย์และโรงพยาบาลได้พยายามตั้งมูลนิธิขึ้นมา เพื่อที่จะมีเงินบริจาคให้กับผู้ป่วยที่ต้องการรักษาด้วยวิธีการนี้โดยตรง

ร่วมตอบคำถามกับเรา

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

“Palliative care. Clinical practice guidelines in oncology”. Journal of the National Comprehensive Cancer Network. National Comprehensive Cancer Network. 4 (8): 776–818. PMID 16948956.

Jump up Waldmann TA (March 2003). “Immunotherapy: past, present and future”. Nature Medicine. 9 (3): 269–77.

กระบวนการรักษาโรคมะเร็งที่อยู่ในระหว่างการศึกษา

0
กระบวนการรักษาโรคมะเร็งที่อยู่ในระหว่างการศึกษา
กระบวนการรักษาโรคมะเร็งที่อยู่ในระหว่างการศึกษานั้นสามารถต้องมะเร็งและกำจัดมะเร็งตั้งแต่ระยะฝักตัว แต่เป็นวิธีที่ยังคงไม่สามารถนำมาเป็นวิธีการรักษาในทางปฏิบัติได้
กระบวนการรักษาโรคมะเร็งที่อยู่ในระหว่างการศึกษา
กระบวนการรักษาโรคมะเร็งที่อยู่ในระหว่างการศึกษานั้นสามารถต้องมะเร็งและกำจัดมะเร็งตั้งแต่ระยะฝักตัว แต่ยังคงไม่สามารถนำมาใช้รักษาในทางปฏิบัติได้

กระบวนการวิจัยการรักษาโรคมะเร็ง

สำหรับการ รักษาโรคมะเร็ง ในรูปแบบกระบวนการรักษาโดยใช้วิธีการอื่นๆ ซึ่งกำลังอยู่ใน กระบวนการวิจัยการรักษาโรคมะเร็ง นั้น  ยังคงไม่สามารถนำมาเป็นวิธีการรักษาในทางปฏิบัติได้  มีดังนี้

กระบวนการวิจัยการรักษาโรคมะเร็งด้วยความร้อน

เพื่อ รักษาโรคมะเร็ง สำหรับกระบวนการรักษาด้วยความร้อน ถือได้ว่าเป็นการนำความร้อนสูงเข้ามาช่วย เพื่อให้เซลล์มะเร็งได้ตอบสนองต่อรังสีรักษา หรือ เคมีบำบัดได้ดียิ่งขึ้น โดยจะมีเครื่องมือที่ถูกนำมาใช้เพื่อเพิ่มอุณหภูมิความร้อน โดยตรง การรักษาในรูปแบบนี้ถูกคิดค้นขึ้นมาเนื่องจาก  ยังคงมีเซลล์มะเร็งบางชนิด ที่มีลักษณะดื้อต่อรังสีรักษา หรือ ยาเคมีบำบัดโดยตรง หากก้อนมะเร็งได้รับอุณหภูมิความร้อนที่สูงขึ้น อาจจะมีลักษณะตอบสนองต่อรังสีรักษาและเคมีบำบัดได้นั่นเอง

กระบวนการวิจัยการรักษาโรคมะเร็งด้วยชีวสารรักษาเพื่อรักษาโรคมะเร็ง

ชีวสารรักษา ถือได้ว่าเป็นตัวยาที่มีคุณสมบัติเหมือนกับสารต้านเซลล์ต่างๆ ที่มีความแปลกปลอมภายในร่างกายของคนเรา หรือจะเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เป็นสารเพิ่มภูมิคุ้มกันและต้านทานโรคของมนุษย์ก็สามารถเรียกได้ การใช้ชีวสารรักษาก็เพื่อที่จะหยุดยั้งและต้านทานเซลล์มะเร็งบางชนิดเท่านั้น แถมยังคงมีความเชื่อที่ว่า จะเป็นยาที่มีผลข้างเคียงน้อยมาก เมื่อได้ใช้ร่วมกันกับการรักษาด้วยวิธีการหลักๆ ไม่ว่าจะเป็น การผ่าตัด รังสีรักษา หรือแม้กระทั่ง เคมีบำบัดก็ตาม ก็จะช่วยเพิ่มผลทางด้านการรักษาในรูปแบบและวิธีการต่างๆ เหล่านี้ได้ดียิ่งขึ้น

กระบวนการวิจัยการรักษาโรคมะเร็งในการต้านทานโรคด้วยยาเพิ่มภูมิคุ้มกัน

สำหรับยาเพิ่มภูมิคุ้มกัน หรือ ยาต้านทานโรค นับได้ว่าเป็นยาที่สามารถช่วยสร้างเสริมภูมิคุ้มกันภายในร่างกายได้ ส่งผลทำให้เซลล์มะเร็งที่มีอยู่ภายในร่างกาย มีลักษณะหยุดเจริญเติบโต หรือ อาจจะส่งผลทำให้เซลล์มะเร็งตายได้เช่นกัน

กระบวนการวิจ้ยการรักษาโรคมะเร็งด้วยการวัคซีนเพื่อป้องกัน

ถือได้ว่าเป็นการรักษาหลักการเดียวกันกับการให้ยาเพิ่มภูมิคุ้มกันโรค เพราะเป็นการรักษาในรูปแบบเดียวกัน แต่จะผิดแปลกตรงที่ตัวยาเป็นวัคซีนอย่างแท้จริง ซึ่งในปัจจุบันกำลังมีการศึกษาเกี่ยวกับวิธีการรักษาในรูปแบบนี้กันมากยิ่งขึ้น  เพื่อที่จะทำให้ผลของการรักษาเป็นผลที่ดี และมีผลแทรกซ้อนต่ำลงไปกว่าเดิม 

กระบวนการวิจัยการรักษาโรคมะเร็งด้วยการปลูกถ่ายอวัยวะเพื่อรักษา

สำหรับการปลูกถ่ายอวัยวะ รวมไปถึงการปลูกถ่ายไขกระดูก  จะมีการกำจัดเนื้อเยื่อ หรือ อวัยวะที่เป็นโรคมะเร็ง ซึ่งจะต้องกำจัดออกให้หมดไปเท่านั้น และจะมีการแนะนำอวัยวะใหม่ ที่ไม่มีโรคมะเร็งไปทำการปลูกถ่ายแทนที่

กระบวนการวิจัยการรักษาโรคมะเร็ง ในรูปแบบการแพทย์สนับสนุน และ การแพทย์ทางเลือก

การแพทย์สนับสนุน ( Complementary Medicine )

วิธีนี้เป็นวิธีการ รักษาโรคมะเร็ง แบบไม่รุกราน วิธีนี้แทบที่จะไม่มีผลข้างเคียงหรือไม่มีอาการแทรกซ้อนเลยก็ว่าได้ นอกเหนือจากนี้คือ มีการยอมรับการรักษาการแพทย์แผนปัจจุบัน

การแพทย์ทางเลือก ( Alternative Medicine )

เป็นวิธีการ รักษาโรคมะเร็ง ที่ได้มีการปฏิเสธการรักษาจากแพทย์แผนปัจจุบัน บางวิธีการอาจจะยังคงเป็นการรักษาแบบรุกรานอยู่ และอาจจะมีผลข้างเคียงหรืออาการแทรกซ้อนมากกว่า

การแพทย์องค์รวม ( Holistic Medicine )

ถือได้ว่าเป็นวิธีการรักษาทั้งร่างกายและจิตใจ พร้อมทั้งจิตวิญญาณ ซึ่งวิธีการรักษาจะเป็นการรวมกันระหว่าง แพทย์สนับสนุน และ แพทย์ทางเลือก

การแพทย์ผสมผสาน ( Integrative Medicine ) 

ถือได้ว่าเป็นวิธีการรักษาที่รวมกันระหว่าง แพทย์แผนปัจจุบัน และ การฟื้นฟูร่างกายและจิตใจพร้อมทั้งจิตวิญญาณ  นับได้ว่าเป็นการรักษาทั้งแพทย์แผนปัจจุบันแพทย์สนับสนุนและแพทย์ทางเลือกแต่ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตามการตัดสินใจเพื่อใช้การแพทย์ไม่ว่าจะวิธีใดก็ตามนอกเหนือจากแพทย์แผนปัจจุบัน คุณควรที่จะต้องทำการปรึกษาแพทย์และผู้เชี่ยวชาญทางด้านการ รักษาโรคมะเร็ง ก่อนเสมอ เพื่อที่จะไม่ส่งผลทำให้เกิดขัดการระหว่างการรักษากับแพทย์แผนปัจจุบันโดยตรง

เหตุผลที่แพทย์แผนปัจจุบัน ไม่ค่อยยอมรับการรักษาแพทย์สนับสนุน กับ แพทย์ทางเลือก

ส่วนใหญ่แล้ว เราจะพบเจอกับปัญหาที่ว่า แพทย์แผนปัจจุบันมักจะต่อต้านการรักษาแพทย์วิธีต่างๆ ซึ่งการบำบัดรักษา ที่ไม่ติดขัดกับแพทย์แผนปัจจุบัน เพราะฉะนั้น ทางด้านผู้ป่วยและญาติ ควรที่จะปรึกษาแพทย์แผนปัจจุบันที่เชี่ยวชาญทางด้านโรคมะเร็งเสียก่อน แล้วจึงตัดสินใจใช้วิธีการรักษาแบบแพทย์สนับสนุนและแพทย์ทางเลือกจริง แล้วในส่วนของการบำบัดรักษาเกือบจะทุกวิธี ย่อมมีผลข้างเคียงตามมาเสมอ

สำหรับผลข้างเคียงที่สำคัญและน่ากลัวมากที่สุด นั่นก็คือ การลุกลามและการกระจายตัวของโรคมะเร็ง แต่ถ้าหากใครอยากจะเลือกรักษาโดยวิธีทางแพทย์สนับสนุน หรือ แพทย์ทางเลือกควรพิจารณาก่อน ดังนี้

  • ควรมีความมั่นใจ และไม่ควรตัดสินใจด้วยความกลัว หากจะรักษาแพทย์แผนปัจจุบัน
  • ควรตอบตนเองให้ได้เสียก่อนว่า อยากจะเข้ารับการรักษาด้วยวิธีไหน
  • ควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการรักษาด้วยวิธีการต่างๆ ให้ดีเสียก่อน
  • กระบวนการรักษาและสถานที่ที่ให้การรักษา พร้อมทั้งเครื่องมือที่ใช้ มีลักษณะเป็นอย่างไร น่าเชื่อถือหรือไม่
  • ควรรู้ตัวยาที่ใช้ในการรักษาร่วมด้วย
  • ควรทราบว่าการรักษาที่เลือกจะต้องใช้ระยะเวลานานเท่าไหร่จึงจะเห็นผล
  • ควรทราบถึงผลข้างเคียงและอาการแทรกซ้อนที่อาจจะตามมา
  • ควรศึกษาด้วยว่า การรักษาที่ผู้ป่วยเลือก มีหลักฐานทางการแพทย์ที่สามารถให้คำยืนยันได้หรือไม่
  • ควรทราบค่าใช้จ่ายในการรักษา
  • ควรปรึกษาแพทย์แผนปัจจุบันให้ดีเสียก่อน ก่อนที่จะตัดสินใจ

กระบวนการวิจัยการรักษาโรคมะเร็งแบบประคับประคอง พยุงอาการ และ การรักษาทางอายุกรรมแบบทั่วไป

ในส่วนของกระบวนการ รักษาโรคมะเร็ง แบบประคับประคองและพยุงอาการโดยมีการพิจารณาถึงอาการ พร้อมทั้ง สุขภาพของผู้ป่วยเป็นข้อบ่งชี้ในการรักษา ซึ่งการรักษาแบบนี้ จะเป็นการรักษาเพื่อสร้างคุณภาพชีวิตให้กับผู้ป่วย ซึ่งวิธีนี้จะใช้รักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งในทุกๆ ระยะของโรค ซึ่งการรักษาแบบประคับประคองและพยุงตามอาการ บางครั้งอาจจะมีการผ่าตัดเล็กร่วมด้วย เพื่อที่จะสามารถบรรเทาอาการที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วยได้ใช้ชีวิตต่อได้ง่ายยิ่งขึ้น

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิงพวงทอง ไกรพิบูลย์. รู้ก่อนเข้าใจการตรวจรักษามะเร็ง. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2557.

Cassileth BR, Deng G (2004). “Complementary and alternative therapies for cancer”. The Oncologist. 9 (1): 80–9. PMID 14755017. doi:10.1634/theoncologist.9-1-80.

Jump up What Is CAM? Archived 8 December 2005 at WebCite National Center for Complementary and Alternative Medicine. retrieved 3 February 2008.

กรดแพนโทเธนิคหรือวิตามินบี 5 คืออะไร ( Pantothenic Acid หรือ Vitamin B5 )

0
กรดแพนโทเธนิคหรือวิตามินบี 5 คืออะไร (Pantothenic Acid หรือ Vitamin B5)
กรดแพนโทเธนิคหรือวิตามินบี 5 เป็นน้ำมันสีเหลืองอ่อนดูดซึมง่ายเมื่ออยู่ในสภาพของแอลกอฮอล์และละลายได้ในน้ำ
กรดแพนโทเธนิคหรือวิตามินบี 5 คืออะไร (Pantothenic Acid หรือ Vitamin B5)
กรดแพนโทเธนิคหรือวิตามินบี 5 เป็นน้ำมันสีเหลืองอ่อนดูดซึมง่ายเมื่ออยู่ในสภาพของแอลกอฮอล์และละลายได้ในน้ำ

วิตามินบี 5

วิตามินบี 5 นั้นมีหลายชื่อเรียก เช่น กรดแพนโทเธนิค, กรดแพนโทเทนิก, วิตามินบี5, Calcium Pantothenate, Vitamin B5 , Pantothenic Acid API ซึ่งก็คือวิตามินที่เริ่มมีการค้นพบขึ้นมาเมื่อปี ค.ศ.1938 โดย ดร.วิเลียม ( Dr.R.R.William ) ซึ่งได้ค้นพบจากการแยกกรดชนิดนี้ออกมาจากตับและยีสต์ พร้อมกับตั้งชื่อกรดชนิดนี้ตามคำ ภาษากรีกว่า Panthos และเรียกโดยทั่วไปว่ากรดแพนโทเธนิค โดยต่อมาในปี ค.ศ.1950 ลิปแมน (Lipmann) ก็ได้ค้นพบเพิ่มเติมอีกว่า กรดแพนโทเธนิคก็เป็นหนึ่งในส่วนประกอบของโคเอนไซม์เอ ( Coenzyme A,CoA ) เช่นกัน

อะไรคือแคลเซียม แพนโทธิเนต

Calcium Pantothenate หรือ Vitamin B5 เป็นส่วนประกอบของโคเอนไซม์เอ Coenzyme A ( CoA ) และส่วนหนึ่งของ วิตามินบี 2 แคลเซียม แพนโทธิเนต Calcium Pantothenate หรือ Vitamin B5 ยังช่วยปกป้องเซลล์ต่อความเสียหายต่อการเกิดสารเปอร์ออกไซด์โดยการผลิตกลูตาไธโอนเพิ่มขึ้น แคลเซียม แพนโทธิเนต เป็น เกลือแคลเซียมของวิตามินB5 ที่ละลายได้ในน้ำ  เป็นที่พบแพร่หลายในพืชและเนื้อเยื่อสัตว์ กรดแพนโทเธนิค, กรดแพนโทเทนิก, วิตามินบี5, มีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ เป็นปัจจัยสำคัญในการเผาผลาญสารอาหารต่างๆ เช่น การเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต โปรตีน และกรดไขมัน วิตามินบี 5 มีส่วนเกี่ยวข้องในการสังเคราะห์ฮีโมโกลบินฮอร์โมนเตียรอยด์ คอเลสเตอรอล และไขมัน เป็นต้น

กรดแพนโทเธนิคหรือ Vitamin B5 มีสรรพคุณอะไร

กรดแพนโทเธนิค หรือ วิตามินบี 5 จะมีลักษณะเป็นน้ำมันสีเหลืองอ่อน ซึ่งจะเสียได้ง่ายเมื่อโดนกับความร้อนและสภาพความเป็นกรดด่าง และที่สำคัญก็จะถูกดูดซึมได้ง่ายเมื่ออยู่ในสภาพของแอลกอฮอล์ที่เรียกว่าแพนโทธีนอลอีกด้วย โดยเมื่อถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายแล้วก็จะเปลี่ยนเป็นกรดแพนโทเธนิคอย่างรวดเร็วมาก นอกจากนี้ก็สามารถละลายน้ำได้ และมักจะพบอยู่ในรูปของเกลือโซเดียมในทางการค้านั่นเอง

หน้าที่ของกรดแพนโทเธนิคหรือ วิตามินบี5

วิตามินบี 5 ช่วยอะไร ? วิตามินบี5 หรือกรดชนิดนี้จะทำหน้าที่เป็นส่วนประกอบหลักของเอนไซม์เอ ซึ่งจะคอยดักจับและทำลายหมู่ซิทิลจากสารประกอบต่างๆที่เข้าสู่ร่างกายและยังสามารถพบได้ในเนื้อเยื่อทุกชนิดอีกด้วย นอกจากนี้ก็มีหน้าที่อื่นๆ เช่น

1. วิตามิน บี 5 ช่วยในการสังเคราะห์สาระสำคัญชนิดหนึ่ง ที่จะทำหน้าที่ในการส่งผ่านกระแสประสาทโดยเฉพาะ ซึ่งก็คือ อะซีทิลโคลีน

2. ทำหน้าที่ในการเป็นตัวร่วมในการสร้างอะซีทิลโคเอนไซม์เอ โดยเป็นสารที่จะช่วยในการผลิตพลังงานให้กับร่างกาย ซึ่งผลิตจากไขมัน โปรตีนและคาร์โบไฮเดรตนั่นเอง

3. ช่วยสังเคราะห์กรดไขมัน สเทอรอลและคอเลสเตอรอล รวมถึงฟอร์ไฟริน ที่มีหน้าที่สำคัญในการสร้างเฮโมโกลบินโดยเฉพาะ 

4. ทำหน้าที่ในการสังเคราะห์สารที่มีความสำคัญต่อกระบวนการสร้างเฮโมโกลบิน ซึ่งได้แก่ สารพอร์ไฟริน

5. ช่วยสังเคราะห์กรดไขมันที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย 

6. ช่วยรักษาอาการเหน็บชาที่มือและเท้า

วิตามินบี 5 หรือ กรดแพนโทเทนิก เป็นวิตามินที่ละลายในน้ำ มีหน้าที่ช่วยในกระบวนการสร้างเซลล์ต่าง ๆ การเจริญเติบโตของร่างกาย และการพัฒนาของระบบประสาทส่วนกลาง

การดูดซึมของกรดแพนโทเธนิค

การดูดซึมกรดแพนโทเธนิค จะสามารถดูดซึมได้ดีบริเวณลำไส้เล็ก ซึ่งจะดูดซึมเข้าไปในร่างกายและเนื้อเยื่อต่างๆ จากนั้นก็จะถูกเปลี่ยนเป็นโคเอนไซม์เอ และขับถ่ายออกมาทางปัสสาวะ โดยอาจจะมีการขับถ่ายทางเหงื่อบ้างเล็กน้อย นอกจากนี้ยังพบอีกว่า ในเด็กแรกเกิดจะมีระดับของกรดแพนโทเธนิคในเลือดสูงมากกว่าแม่ถึง 5 เท่าเลยทีเดียว

แหล่งอาหารที่พบกรดแพนโทเธนิค

วิตามินบี5 แหล่งอาหารที่สามารถพบกรดแพนโทเธนิค หรือ วิตามินบี5ได้สูงก็คือในเนื้อเยื่อของสัตว์ เช่น ตับ ไข่แดง หัวใจ สมอง และอาจพบได้ในนม ถั่ว ยีสต์และผักผลไม้อีกด้วย ซึ่งส่วนใหญ่ก็มักจะพบในรูปของโคเอนไซม์เอ Coenzyme A ( CoA ) มากกว่าในรูปแบบอื่นๆ

ปริมาณกรดแพนโทเธนิกที่พอเพียงในแต่ละวันสำหรับคนไทยวัยต่างๆ 
ทารก 6-11 เดือน 1.8 มิลลิกรัม/วัน
เด็ก 1-3 ปี 2 มิลลิกรัม/วัน
เด็ก 4-8 ปี 3 มิลลิกรัม/วัน
วัยรุ่น 9-12 ปี 4 มิลลิกรัม/วัน
วัยรุ่น 13-18 ปี 5 มิลลิกรัม/วัน
ผู้ใหญ่ 19 –≥ 71 ปี 5 มิลลิกรัม/วัน
หญิงตั้งครรภ์ ควรเพิ่มอีก 1 มิลลิกรัม/วัน
หญิงให้นมบุตร ควรเพิ่มอีก 2 มิลลิกรัม/วัน

ผลของการขาดวิตามินบี5 หรือกรดแพนโทเธนิค

จากการทดลองกับสัตว์ พบว่าเมื่อขาดกรดแพนโทเธนิคจะมีอาการดังต่อไปนี้

ลูกไก่ จะมีอาการขนร่วงและขึ้นช้ากว่าปกติ เบื่ออาหาร มีการเจริญเติบโตต่ำ และมีอาการผิดปกติตั้งแต่กระดูกสันหลังจนถึงประสาทที่อยู่ในสันหลัง

หมู สังเกตความผิดปกติได้จากขนที่เปลี่ยนไปเป็นสีเทา ระบบทางเดินอาหารและลำไส้เล็กตอนต้นอาจมีแผล มีความผิดปกติของต่อมหมวกไตและอาจมีเลือดไหลซึมออกมาได้ง่าย

สุนัข ระบบประสาทและไตมีความผิดปกติ ซึ่งอาจตายได้เลยทีเดียว และยังพบว่าระดับน้ำตาลในเลือดต่ำมากอีกด้วย

คน มีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง อ่อนเพลีย เป็นตะคริวได้ง่ายโดยเฉพาะบริเวณหน้าท้อง มีอาการคลื่นไส้อาเจียนและแสบร้อนตามผิวหนัง และอาจมีปัญหาการไหลเวียนของเลือด ทำให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงระบบประสาทไม่สม่ำเสมอ จนเป็นผลให้รู้สึกเหนื่อยง่าย หงุดหงิด และมีภาวะตึงเครียด

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

“MSDS of D-pantothenic acid”. http://www.hmdb.ca. Human Metabolome Database. สืบค้นเมื่อ 2014-09-05.

Scientific Opinion on the safety and efficacy of pantothenic acid (calcium D-pantothenate and D-panthenol) as a feed additive for all animal species based on a dossier submitted by Lohmann Animal Health”. http://www.efsa.europa.eu. Parma, Italy: European Food Safety Authority. 2011. สืบค้นเมื่อ 2014-09-05.

เนื้องอกในสมอง มะเร็งสมอง ( Brain Cancer )

0
โรคมะเร็งสมองและเนื้องอกสมอง (Brain Cancer)
มะเร็งสมอง เกิดจากเนื้องอกที่เป็นเนื้อร้ายบริเวณสมอง และเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว อาจเกิดขึ้นเองที่เนื้อเยื่อสมอง
โรคมะเร็งสมองและเนื้องอกสมอง (Brain Cancer)
มะเร็งสมอง เกิดจากเนื้องอกที่เป็นเนื้อร้ายบริเวณสมอง และเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว อาจเกิดขึ้นเองที่เนื้อเยื่อสมอง มักจะเกิดอาการปวดศีรษะมาก

มะเร็งสมอง

มะเร็งสมอง ( Brain Cancer ) คือ โรคที่เกิดขึ้นที่เซลล์และเนื้อเยื่อสมองเท่านั้น อาจจะเป็นเนื้อร้ายที่งอกขึ้นเองแล้วขยายตัวอย่างรวดเร็วจนกลายเป็นมะเร็งสมอง หรือ เนื้องอกในสมองได้ สมองนับได้ว่าเป็นอวัยวะที่อยู่ในระบบประสาทซึ่งเป็นอวัยวะที่มีความสำคัญอย่างมากที่สุดสำหรับมนุษย์ ทำหน้าที่ในเรื่องของการคิด ส่งผลทำให้เกิดความรู้สึก และยังคงทำหน้าที่ในการ ควบคุมระบบการทำงานของอวัยวะ พร้อมทั้งทุกส่วนภายในร่างกายของคนเราอีกด้วย

โพรงสมอง จะอยู่บริเวณตรงกลางสมองทุกๆส่วน ซึ่งโพรงสมองจะมีหน้าที่สร้างน้ำหล่อเลี้ยงสมอง พร้อมทั้ง ไขสันหลัง ด้วยลักษณะของสมอง ที่ประกอบไปด้วยเซลล์และเนื้อเยื่อมากมาย หลายชนิดด้วยกัน  ส่งผลทำให้เซลล์และเนื้อเยื่อสมองส่วนใหญ่ สามารถเกิดเป็นเนื้องอกและมะเร็งสมองได้เช่นกัน

เนื้องอกในสมอง คือ ก้อนเนื้อที่เกิดขึ้นภายในสมอง ไม่สามารถลุกลามเข้าไปในเนื้อเยื่อ หรือแม้กระทั่งอวัยวะอื่น ๆ ได้ แต่ถ้าหากก้อนเนื้อมีลักษณะโตขึ้นเรื่อยๆ จะส่งผลทำให้ก้อนเนื้อกดทับและเบียดเนื้อเยื่อ พร้อมทั้งอวัยวะโดยรอบ ในกรณีนี้จะส่งผลทำให้ผู้ป่วยมีอาการคล้ายกับเป็นโรคมะเร็งสมองได้เช่นกันสำหรับเนื้องอกหรือมะเร็งสมองถือได้ว่ามีหลายชนิดด้วยกัน  นับได้ว่าแต่ละชนิดนั้น จะมีความรุนแรงของโรคที่แตกต่างกันออกไป ส่วนชนิดที่มีความรุนแรงอย่างมากที่สุด นั่นก็คือ ชนิดไกลโอบาลสโตมา นั่นเอง

มะเร็งสมองสามารถเกิดขึ้นได้กับสมองส่วนใด

สมองสามารถแบ่งออกเป็นหลายส่วนด้วยกัน ดังนี้

1. สมองใหญ่ หรือ Cerebrum มะเร็งสมองสามารถเกิดขึ้นกับสมองในส่วนนี้จะคอยทำหน้าที่ในเรื่องของความจำ ความรู้สึก ตลอดจนกระทั่งการพูดคุย การเคลื่อนไหวของร่างกาย

2. สมองน้อย หรือ Cerebellum สมองน้อยจะคอยทำหน้าที่หลักในเรื่องของการทรงตัว เมื่อเป็นมะเร็งสมอง จะมีอาการผิดปกติกับสมองน้อยด้วยเช่นกัน

3. สมองส่วนกลาง หรือ Mid Brain และ สมองส่วนท้าย หรือ Medulla Oblongata สมองสองส่วนนี้ จะมีหน้าที่ในการควบคุมระบบการหายใจ

ปัจจัยการเกิดมะเร็งสมอง

  • อาการโรคมะเร็งสมองจะเกิดความผิดปกติทางพันธุกรรม ทั้งชนิดที่ไม่สามารถถ่ายทอดได้ และ เกิดความผิดปกติต่อเนื่องชนิดที่ถ่ายทอดได้
  • กลุ่มคนที่เป็นมะเร็งสมองจะมีอาการโรคมะเร็งสมองอย่างต่อเนื่อง
  • มะเร็งสมองผู้ที่ได้รับรังสีชนิดคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าแบบต่อเนื่อง
  • ผู้ที่บริโภคสารที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งในปริมาณสูง
  • มารดาที่ตั้งครรภ์ ขาดสารอาหารบางชนิดซึ่งอาจจะส่งผลต่อเด็กในครรภ์
  • ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง

อาการของมะเร็งสมอง

  • อาการมะเร็งสมองจะปวดศีรษะมาก ซึ่งอาการปวดที่ว่านี้ มักจะมีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ จนอาจจะทำให้เกิดอาการอาเจียนร่วมด้วย
  • แขนและขาข้างเดียวกันของผู้ป่วย จะมีลักษณะอ่อนแรง
  • ผู้ป่วยอาจจะมีอาการชัก ถึงแม้จะไม่มีไข้ก็ตาม
  • ผู้ป่วยอาจจะมีปัญหาทางสายตาร่วมด้วย อาการมะเร็งสมองส่งผลทำให้เห็นภาพซ้อน หรือ มีอาการตาเหล่เกิดขึ้นได้
  • ผู้ป่วยจะมีลักษณะทรงตัวไม่ค่อยได้ และ เดินเซ

ในส่วนของการวินิจฉัยโรค เบื้องต้นแพทย์และผู้เชี่ยวชาญ มักจะวินิจฉัยเนื้องอกหรือมะเร็งสมองจากการพูดคุยและสอบถามประวัติ พร้อมทั้งอาการที่ผู้ป่วยเป็นอยู่ นอกจากนี้แพทย์จะทำการตรวจร่างกาย และทำการตรวจสมองด้วยการเอกเซเรย์คอมพิวเตอร์เป็นหลัก แต่ถ้าหากจะให้ผลที่แน่นอนจริง ๆ  จำเป็นจะต้องมีการตรวจชิ้นเนื้อ หาก แพทย์ได้ตรวจผลเอกซเรย์แล้วพบว่า ผู้ป่วยมีก้อนเนื้อในสมองอยู่จริง แพทย์จะทำการรักษาผู้ป่วย ด้วยวิธีการผ่าตัดเพียงแค่ครั้งเดียว พร้อมกับมีการตัดชิ้นเนื้อไปตรวจ

วิธีรักษามะเร็งสมอง

วิธีการรักษาหลัก ๆ ของมะเร็งสมองสำหรับกระบวนการและวิธีการรักษาของโรคเนื้องอกในสมอง หรือมะเร็งสมองนั่นก็คือ การผ่าตัด  ซึ่งหลังจากที่ผู้ป่วยได้เข้ารับการผ่าตัดแล้ว แพทย์จะทำการประเมินโรคอีกครั้ง พร้อมทั้งดูระยะของโรคและชนิดของเซลล์ เพื่อที่จะสรุปผลการรักษาในรูปแบบต่าง ๆ ที่มีความเหมาะสมกับผู้ป่วยโดยตรง  สำหรับเนื้องอกสมองในชนิดที่ไม่รุนแรง  หากแพทย์ได้ทำการผ่าตัดเอาเนื้องอกออกหมดแล้ว ผู้ป่วยจะมีโอกาสหายจากโรคนี้สูงถึงประมาณร้อยละ 80 – 90 กันเลยทีเดียว  แต่ถ้าหากแพทย์ไม่สามารถผ่าตัดเนื้องอกออกมาได้ การควบคุมโรคชนิดนี้ดูเหมือนจะต่ำลงไป ส่วนวิธีการป้องกันโรคเนื้องอกและโรคมะเร็งสมองนั้น  ถือได้ว่ายังคงไม่มีวิธีการป้องกันได้โดยตรงนั่นเอง

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

Gregg, N. (2014). “Neurobehavioural Changes In Patients Following Brain Tumour: Patients And Relatives Perspective.”. Supportive Care In Cancer.

Jones, Caleb. “Brain Tumor Symptoms, Miles for Hope | Brain Tumor Foundation”. milesforhope.org. Archived from the original on 14 August 2016. Retrieved 3 August 2016.

วิตามินบี 6 ( Vitamin B6 – Pyridoxine ) สำคัญอย่างไร

0
วิตามินบี 6 (Vitamin B6 – Pyridoxine) สำคัญอย่างไร
วิตามินบีหกจะไปเปลี่ยนเป็นโคเอนไซม์ในรูปของไพริดอกซาลฟอสเฟตส่วนที่เหลือจะถูกขับออกทางปัสสาวะ
วิตามินบี 6 (Vitamin B6 – Pyridoxine) สำคัญอย่างไร
วิตามินบีหกจะไปเปลี่ยนเป็นโคเอนไซม์ในรูปของไพริดอกซาลฟอสเฟตส่วนที่เหลือจะถูกขับออกทางปัสสาวะ

วิตามินบี6

วิตามินบี6 ( Vitamin B6 )  เป็นวิตามินชนิดที่ละลายในน้ำได้ มีความสำคัญในการผลิตโปรตีนชนิดต่างๆ และการผลิตสารสื่อนำประสาทในสมองและระบบประสาท มีความจำเป็นต่อการสร้างฮีโมโกลบินในเซลล์เม็ดเลือดแดง และเพื่อควบคุมสมดุลของฮอร์โมน รวมไปถึงปรับสมดุลฮอร์โมนของภูมิคุ้มกันให้เหมาะสม มีโครงสร้างที่ ประกอบไปด้วยวงแหวนไพริดีน Pyridine ดังนั้น จึงมีการตั้งชื่อโดยยึดส่วนประกอบสำคัญเป็นหลัก ซึ่งมีส่วนประกอบ 3 ชนิดคือ ไพริดอกซีน Pyridoxine ไพริดอกซาล Pyridoxamine และไพริดีน Pyridine

คุณสมบัติของวิตามินบี6 ( Vitamin B6 )

วิตามินบี6 มีสูตรทั่วไป คือ C8H11NO2 ซึ่งประกอบไปด้วยสาระสำคัญ 3 ชนิดที่มีคุณสมบัติทางชีววิทยาคล้ายๆ กัน นั่นคือ ไพริดอกซีน Pyridoxine, ไพรีดอกซาล Pyridoxal และ ไพริดอกซามีน Pyridoxamine และเพื่อให้เกิดความเข้าใจง่ายขึ้นจึงเรียกสารเหล่านี้แบบรวมๆ ว่า ไพริดอกซีน Pyridoxine หรือวิตามินบี 6 นอกจากนี้หากทำให้วิตามินบี6 เป็นผลึกจะได้ผลึกที่มีสีขาวละลายน้ำได้มีรสเค็มและไม่มีกลิ่น และสามารถละลายในสารละลายที่เป็นกรดด่างปานกลางได้อีกด้วย แต่ทั้งนี้เมื่อโดนแสงแดดก็จะสลายตัวได้ง่ายเช่นกัน

วิตามินบี 6 จะไปเปลี่ยนเป็นโคเอนไซม์ในรูปของไพริดอกซาลฟอสเฟต ส่วนวิตามินบี6 ที่เหลือก็จะถูกขับออกมาทางปัสสาวะภายใน 8 ชั่วโมงโดยจะไม่มีการเก็บไว้ที่ตับเหมือนกับวิตามินตัวอื่นๆ ดังนั้นในปัสสาวะจึงมักจะมีวิตามินบี 6 อยู่เสมอ

หน้าที่สำคัญของวิตามินบี 6 ( Vitamin B6 )

เป็นโคเอนไซม์ที่จะทำหน้าที่ในการเร่งปฏิกิริยาของการเมแทบอลิซึมของคาร์โบไฮเดรต กรดอะมิโนและกรดไขมันในร่างกาย รวมทั้งเป็นองค์ประกอบสำคัญของ ไพริดอกซาลฟอสเฟต ( Pyridoxal Phosphate, PLP ) ซึ่งมีหน้าที่สำคัญดังต่อไปนี้

  • ช่วยสร้างเซโรโทนิน Serotonin โดยเป็นฮอร์โมนชนิดหนึ่งที่จะช่วยให้กล้ามเนื้อเรียบหดตัวดีขึ้น และช่วยควบคุมการทานของสมองและเนื้อเยื่อให้ทำงานเป็นปกติมากขึ้น
  • ทำหน้าที่ในการสร้างกรดอะมิโนที่ไม่จำเป็นต่อร่างกาย เช่น อะลานีน กรดแอสพาร์ทิก และกรดลูทามิก
  • ทำหน้าที่ในการเปลี่ยนทริปโทเฟนหรือกรดอะมิโนให้เป็นวิตามินบี3 หรือไนอะซิน
  • ช่วยสร้างสารภูมิคุ้มกันโรค เพื่อให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันสูงขึ้น และสังเคราะห์สารแรกเริ่มของวงแหวนฟอร์ไฟริน Porphyrin Ring โดยเป็นสารที่มีความสำคัญในการสร้างเฮโมโกลบิน
  • ช่วยแก้การเป็นตะคริว แขนขาชาและช่วยขับปัสสาวะ
  • ช่วยร่างกายสร้างน้ำย่อยในกระเพาะอาหารและแร่ธาตุแมกนีเซียม
  • ทำหน้าที่สังเคราะห์สารที่มีความจำเป็นต่อการเปลี่ยนกรดไลโนเลอิกให้เป็นกรดอะราซิโดนิก
  • ช่วยในการสลายไกลโคเจนให้เป็นน้ำตาลกลูโคส

การดูดซึมของวิตามินบี 6 ( Vitamin B6 )

โดยปกติแล้วร่างกายของคนเราจะสามารถดูดซึมวิตามินบี6 ได้ดีที่สุดบริเวณลำไส้เล็กตอนต้น โดยจะเข้าไปเปลี่ยนเป็นโคเอนไซม์ในรูปของไพริดอกซาลฟอสเฟต ส่วนวิตามินบี6 ที่เหลือก็จะถูกขับออกมาทางปัสสาวะภายใน 8 ชั่วโมงโดยจะไม่มีการเก็บไว้ที่ตับเหมือนกับวิตามินตัวอื่นๆ ดังนั้นในปัสสาวะจึงมักจะมี วิตามินบี 6 อยู่เสมอ หากไม่พบวิตามินบี 6 ก็อาจแสดงได้ว่าได้รับวิตามินบี 6 ไม่เพียงพอนั่นเอง

วิตามินบี 6 ( Vitamin B6 ) อยู่ในอาหารประเภทใด

วิตามินบี 6 สามารถพบได้ทั้งในผักผลไม้และเนื้อสัตว์ ซึ่งในผักผลไม้จะพบในรูปของไพริดอกซีน และในเนื้อสัตว์จะพบในรูปของไพริดอกซานและไพรริดอกซามีน โดยอาหารที่พบวิตามินบี 6 ได้มากที่สุด ได้แก่ปลา ไข่ไก่ ตับสัตว์ ข้าวไม่ขัดสี นม เนื้อปลา ถั่วต่างๆ เช่น ถั่วเหลือง ถั่วลิสง จมูกข้าวสาลี ข้าวโอ๊ต ผลวอลนัท รำข้าว ยีสต์ แคนตาลูป กากน้ำตาล กะหล่ำปลี เป็นต้น นอกจากนี้แบคทีเรียที่ลำไส้ก็สามารถสังเคราะห์วิตามินชนิดนี้ออกมาได้เองอีกด้วย แต่มักจะไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย จึงต้องเสริมวิตามินบี6 จากอาหารอื่นๆ

ปริมาณวิตามินบี 6 ที่ควรได้รับในแต่ละวัน ( มิลลิกรัม/วัน )
เด็ก 1-3 ปี 0.5
เด็ก 4-8 ปี 0.6
วัยรุ่น  ผู้ชาย 9-12 ปี 1.0
วัยรุ่น  ผู้ชาย 13-18 ปี 1.3
วัยรุ่น ผู้หญิง 9-12 ปี 1.0
วัยรุ่น ผู้หญิง 13-18 ปี 1.2
 ผู้ใหญ่ ผู้ชาย 19 –≥ 50 ปี 1.3
 ผู้ใหญ่ ผู้ชาย 51 –≥ 71 ปี 1.7
 ผู้ใหญ่ ผู้หญิง 19 –≥ 50 ปี 1.3
ผู้ใหญ่ ผู้หญิง 51 –≥ 71 ปี 1.5
วิตามินบี 6 สำหรับคนท้อง ควรเพิ่มอีก 0.6
วิตามินบี 6 สำหรับหญิงให้นมบุตร ควรเพิ่มอีก 0.7

 

วิตามินบี 6 ส่วนใหญ่แล้วจะทำหน้าที่เกี่ยวกับการเมแทบอลิซึมของโปรตีน ดังนั้นผู้ที่ทานโปรตีนมากก็ต้องทานวิตามินบี6 ให้มากขึ้นไปด้วย

ปริมาณที่เหมาะสมของการทานวิตามินบี 6 ต่อโปรตีน
วิตามินบี 6 ปริมาณ 2 มิลลิกรัม ต่อโปรตีนจากอาหาร 100 กรัม

 

ผลของการขาดวิตามินบี6 ( Vitamin B6 )

ปกติแล้วเรามักจะไม่ค่อยพบคนที่ขาดวิตามินบี6 สักเท่าไหร่ เพราะอาหารส่วนใหญ่มักจะมีวิตามินบี6 ในปริมาณที่เพียงพออยู่แล้ว การขาดวิตามินบี6 จึงมักจะพบในบุคคลที่

1. มีความผิดปกติในการดูดซึม จึงทำให้ร่างกายดูดซึมวิตามินบี 6 ได้น้อยกว่าปกติ

2. การได้รับยาบางชนิด ที่มีฤทธิ์ตรงกันข้ามกับวิตามินบี6 จึงทำให้ได้รับวิตามินบี6 น้อยมาก

3. ในเด็กที่กินอาหารสำเร็จรูปที่มีวิตามินบี 6 น้อยมาก หรือกินนมที่ถูกความร้อนนานเกินไปจนทำให้วิตามินบี 6 สลายไปนั่นเอง 

4. ผู้ที่กินยาคุมกำเนิดอย่างต่อเนื่อง เพราะยาคุมมีฤทธิ์ที่จะทำให้ร่างกายต้องการวิตามินบี 6 มากกว่าคนปกติ จึงอาจทำให้ร่างกายขาดวิตามินบี6 ได้ถึงแม้ว่าจะกินอาหารตามปกติก็ตาม

สำหรับอาการขาดวิตามินบี 6 ที่แสดงออกอย่างชัดเจน คือ ในปัสสาวะจะพบกรดแซนทูรินิกมากกว่าปกติ มีอาการคลื่นไส้ อาเจียนบ่อยๆ และอาจเวียนศีรษะ อ่อนเพลีย นอกจากนี้ในบางคนก็อาจมีริมฝีปากแห้งแตก ปากอักเสบ ซึมเศร้า สับสน มีอาการทางประสาท และอาจมีอาการโลหิตจางได้

ส่วนความผิดปกติที่เกิดขึ้นในเด็ก ก็อาจจะมีอาการชัก ประสาทเกิดการอักเสบได้เหมือนกัน ส่วนใหญ่จะพบในเด็กที่ขาดวิตามินบี 6 ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ นอกจากนี้สำหรับคนท้อง หากขาดวิตามินบี6 ก็อาจเสี่ยงต่อการชักแล้วแท้งได้อีกด้วย

ผลที่เกิดจากการได้รับวิตามินบี6 ( Vitamin B6 ) มากเกินไป

จากการศึกษา เมื่อฉีดวิตามินบี6 เข้าเส้นในปริมาณ 200 มิลลิกรัม และได้รับวิตามินบี6 ทางปากในปริมาณ 100 -300 มิลลิกรัมต่อวัน จะไม่เกิดพิษหรือความผิดปกติใดๆ แต่หากได้รับในปริมาณเป็นกรัมต่อเนื่องเป็นเวลาหลายเดือน ก็จะส่งผลเสียต่อระบบประสาทได้ มีอาการนอนไม่หลับ ฝันบ่อย หรือฝันเหมือนจริงมาก และทำให้มือเท้าชาหรือกระตุกบ่อย เดินเซ และประสาทรับรู้ความรู้สึกหรือการรับรู้ตำแหน่งอาจด้อยประสิทธิภาพลง แต่ทั้งนี้อาการจะเริ่มดีขึ้นหลังจากหยุดกินวิตามินบี6 ต่อเนื่องเป็นเวลาอย่างน้อย 6 เดือน

คำแนะนำเพิ่มเติม

1. หากรับประทานยาคุมกำเนิดอาจมีความต้องการวิตามินบี6 เพิ่ม
2. ผู้รับประทานอาหารประเภทกลุ่มโปรตีนสูงจะต้องการวิตามิน6 มากเป็นพิเศษ
3. ลดความเสี่ยงจากการเป็นโรคหัวใจวายเฉียบพลันเพิ่มการรับประทานบี6 และกรดโฟลิก วิตามินบี6
4. ลดความต้องการอินซูลินในผู้ป่วยโรคเบาหวานและหากไม่ปรับขนาดยาอาจส่งผลให้เกิดอาการน้ำตาลในเลือดต่ำได้
5. ผู้ที่เป็นโรคข้ออักเสบและผู้ที่กำลังรักษาด้วยยาคูพริมิน ( เพนิซิลลามีน ) ควรรับประทานวิตามินบี6 เสริมวิตามินบี 6 จะทำงานได้ดีที่สุดด้วยการรับประทานร่วมกับบีหนึ่งบีสองโกรธแพนโทรเทนนิสวิตามินซีและแมกนิเซียม

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

นิตยสารชีวจิต ฉบับวันที่ 1 พฤษภาคม 2550

วิตามินบี6, วันที่สืบค้น 19 เมษายน 2559 จาก www.frynn.com

National Nutrient Database for Standard Reference, Release 27. United States Department of Agriculture, Agricultural Research Service. Retrieved 27 June 2015.

Bredesen, D. E. (1985). “Sensory neuropathy with low-dose pyridoxine”. Neurology. 35 (10): 1466–1468.

McCormick, D. B. (2006). “Vitamin B6”. In Bowman, B. A.; Russell, R. M. Present Knowledge in Nutrition. 2 (9th ed.). Washington, DC: International Life Sciences Institute. p. 270.

ประโยชน์ของวิตามินซี ( Vitamin C )

0
ประโยชน์ของวิตามินซี (Vitamin C)
วิตามินซี ช่วยซ่อมแซมส่วนที่เสื่อมสภาพจะส่วนมากพบในผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวและสามารถละลายน้ำได้
ประโยชน์ของวิตามินซี (Vitamin C)
วิตามินซี ช่วยซ่อมแซมส่วนที่เสื่อมสภาพจะส่วนมากพบในผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวและสามารถละลายน้ำได้

ประโยชน์ของวิตามินซี

วิตามินซี ( Vitamin C ) มีมากในฝรั่ง ฝรั่ง คือ ผลไม้อีกชนิดหนึ่งที่มีปริมาณของวิตามินซีสูงมาก โดยพบว่าฝรั่ง 100 กรัมจะมีวิตามินซีมากถึง 228 มิลลิกรัมเลยทีเดียว ซึ่งโดยปกติแล้วร่างกายของคนเราควรจะได้รับวิตามินซีขั้นต่ำ 60 มิลลิกรัม การทานฝรั่งเพียงลูกเดียวจึงให้วิตามินซีที่เพียงพอสำหรับร่างกาย และนอกจากนี้วิตามินซีก็เป็นวิตามินชนิดที่สามารถละลายน้ำได้อีกด้วย ทั้งยังอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระสูงมาก

มนุษย์สามารถสังเคราะห์วิตามินซีได้เองได้หรือไม่?

โดยปกติแล้ววิตามินซีสามารถสังเคราะห์ขึ้นมาได้เองในพืชและสัตว์ จึงทำให้พืชผลไม้ส่วนใหญ่มีวิตามินซีเป็นส่วนประกอบอยู่ แต่สำหรับมนุษย์จะไม่สามารถสังเคราะห์วิตามินซีขึ้นมาเองได้ จึงต้องใช้วิธีการรับประทานอาหารที่มีวิตามินซีเพื่อเสริมวิตามินซีให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายนั่นเอง

โดยกระบวนการสังเคราะห์วิตามินซีขึ้นมาของพืชและสัตว์นั้น ประโยชน์ของวิตามินซีจะเกิดขึ้นโดยการเปลี่ยนน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวให้เป็นวิตามินซี ซึ่งพืชจะเปลี่ยนน้ำตาลจากน้ำตาลกาแลคโตส ( Galactose ) และน้ำตาลแมนโนส ( Manose ) ส่วนสัตว์ก็จะเปลี่ยนจากน้ำตาลกลูโคส ( Glucose ) นั่นเอง ส่วนสาเหตุที่ทำให้มนุษย์ไม่สามารถสังเคราะห์วิตามินซีขึ้นมาได้ด้วยตัวเอง ก็เพราะยีนส์ที่ชื่อว่า GULO เกิดการกลายพันธุ์ จนไม่สามารถที่จะทำการสังเคราะห์ได้

อย่างไรก็ตามประโยชน์ของวิตามินซีกับความสามารถในการดูดซึมวิตามินซีเข้าสู่ร่างกาย มนุษย์ก็มีความได้เปรียบสูงมากทีเดียว เพราะพบว่ามนุษย์สามารถดูดซึมวิตามินที่ได้รับจากอาหารได้อย่างดีเยี่ยม ในขณะที่สัตว์มีอัตราการดูดซึมวิตามินต่ำมากและมักจะถูกขับออกมาทางปัสสาวะมากกว่าที่ร่างกายจะได้ใช้ประโยชน์อีกด้วย

ประโยชน์ของวิตามินซี วิตามินซีป้องกันไข้หวัด โดยพบว่าหากได้รับวิตามินซีวันละ 1,000 มิลลิกรัมจะสามารถเสริมภูมิต้านทานต่อไข้หวัดได้ และยังมีคุณสมบัติที่จะช่วยต้านอนุมูลอิสระพร้อมเสริมภูมิต้านทานให้กับร่างกายได้ดี

ประโยชน์ของวิตามินซี

ประโยชน์ของวิตามินซี วิตามินซี อุดมไปด้วยประโยชน์มากมายที่หลายคนอาจคาดไม่ถึง เช่น

– ช่วยสังเคราะห์คอลลาเจนที่มีความจำเป็นต่อโครงสร้างส่วนต่างๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะการเสริมสร้างผิวหนัง เส้นเอ็น กระดูกอ่อน เป็นต้น พร้อมทั้งช่วยชะลอวัยให้ดูเด็กกว่าวัยอีกด้วย

– ช่วยสร้างคาร์นิทีน ( Carnitine ) ที่เป็นกรดอะมิโนจำเป็น โดยกรดอะมิโนประเภทนี้จะทำหน้าที่ในการนำไขมันเข้าไปสู่เซลล์ แล้วเปลี่ยนเป็นพลังงานเพื่อสังเคราะห์สารสื่อประสาทและช่วยเพิ่มการดูดซึมธาตุเหล็กให้ดีขึ้นอีกด้วย

– ช่วยป้องกันไข้หวัด โดยพบว่าหากได้รับวิตามินซีวันละ 1,000 มิลลิกรัมจะสามารถเสริมภูมิต้านทานต่อไข้หวัดได้ และยังมีคุณสมบัติที่จะช่วยต้านอนุมูลอิสระพร้อมเสริมภูมิต้านทานให้กับร่างกายได้ดีอีกด้วย แต่อย่างไรก็ตามในเรื่องของการป้องกันไข้หวัดก็ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ว่าวิตามินซีสามารถป้องกันได้จริงหรือไม่ แต่ที่เห็นได้ชัดก็คือ จะช่วยให้ไข้หวัดหายเร็วขึ้นและสามารถลดความรุนแรงของอาการป่วยลงได้อีกด้วย

นอกจากนี้ยังพบว่าในฝรั่งจะมีวิตามินซีสูงมากและมีประโยชน์ต่อร่างกายเป็นอย่างมากเลยทีเดียว ไม่ว่าจะช่วยเสริมโครงสร้างของร่างกายให้แข็งแรง กระตุ้นการดูดซึมธาตุเหล็ก ช่วยเร่งการทำงานของระบบประสาท พร้อมทั้งบำรุงผิวให้เนียนนุ่มน่าสัมผัส เรียกได้ว่าเป็นผลไม้ที่มากไปด้วยประโยชน์จริงๆ แถมฝรั่งยังออกผลให้ได้รับประทานกันตลอดปีอีกด้วย เพราะฉะนั้นใครอยากมีสุขภาพดี ห้ามพลาดกับการเสริมวิตามินซีให้กับร่างกายด้วยการทานฝรั่งเด็ดขาด

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

Guava, in Fruits of Warm Climates, p 356-63″. Center for New Crops & Plant Products, Department of Horticulture and Landscape Architecture, Purdue University, West Lafayette, Indiana. Retrieved 24 April 2015.

Nutritiondata.com. “Nutrition facts for common guava”. Retrieved August 17, 2010.

Guava, in Fruits of Warm Climates, p 356-63″. Center for New Crops & Plant Products, Department of Horticulture and Landscape Architecture, Purdue University, West Lafayette, Indiana. Retrieved 24 April 2015.

การคำนวณหาค่าดัชนีมวลกาย Body Mass Index ( BMI )

0
เป็นมาตรการที่ใช้ประเมินภาวะอ้วนและผอมในผู้ใหญ่ ตั้งแต่อายุ 20 ปีขึ้นไป โดยการชั่งน้ำหนักตัวเป็นกิโลกรัม และวัดส่วนสูงเป็นเซนติเมตร แล้วนำมาหาดัชนีมวลกาย ใช้น้ำหนักตัว (กิโลกรัม) หารส่วนสูง (เซนติเมตร)
การคำนวณหาค่าดัชนีมวลกาย (BMI)
เป็นมาตรการที่ใช้ประเมินภาวะอ้วนและผอมตั้งแต่อายุ 20 ปีขึ้นไป โดยการใช้น้ำหนักตัว (กิโลกรัม) หารส่วนสูง (เซนติเมตร)

ดัชนีมวลกาย Body Mass Index ( BMI )

ค่า ดัชนีมวลกาย Body Mass Index ( BMI ) คือ สูตรคำนวณน้ำหนักและส่วนสูงที่ใช้ประเมินภาวะอ้วนและผอมในผู้ใหญ่ ตั้งแต่อายุ 20 ปีขึ้นไป สามารถทำได้โดยการชั่งน้ำหนักตัวเป็นกิโลกรัม และวัดส่วนสูงเป็นเซนติเมตร แล้วนำมาหาดัชนีมวลกาย โดยใช้น้ำหนักตัว ( กิโลกรัม ) หารด้วยส่วนสูง ( เมตร ) ยกกำลัง2 ค่า BMI ตั้งแต่ 30 ขึ้นไปมีความเสี่ยงต่อโรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจ

โปรแกรมคำนวณหาค่าดัชนีมวลกาย ( BMI )

ส่วนสูง: เซนติเมตร

น้ำหนัก: กิโลกรัม

กรุณากรอกข้อมูลทุกช่อง

ค่า BMI ที่ได้:

BMI kg/m2 อยู่ในเกณท์ ภาวะเสี่ยงต่อโรค
น้อยกว่า 18.50 น้ำหนักน้อย / ผอม มากกว่าคนปกติ
ระหว่าง 18.50 – 22.90 ปกติ (สุขภาพดี) เท่าคนปกติ
ระหว่าง 23 – 24.90 ท้วม / โรคอ้วนระดับ 1 อันตรายระดับ 1
ระหว่าง 25 – 29.90 อ้วน / โรคอ้วนระดับ 2 อันตรายระดับ 2
มากกว่า 30 อ้วนมาก / โรคอ้วนระดับ 3 อันตรายระดับ 3

น้ำหนักน้อยกว่ามาตรฐาน

คุณมีน้ำหนักน้อยหรือผอม โดยทั่วไปค่า bmi ปกติมีค่าน้อยกว่า 18.50

ข้อแนะนำในการดูแลสุขภาพ
1. ควรกินอาหารให้หลากหลายครบ 5 หมู่ในสัดส่วนที่เหมาะสมและปริมาณมากขึ้น โดยเพิ่มอาหารประเภทที่ให้พลังงานมากขึ้น เช่น ไขมัน แป้ง ข้าว เนื้อสัตว์ นม
2. ควรเคลื่อนไหวและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอทุกวันหรือเกือบทุกวัน ให้เหนื่อยพอควรโดยหายใจกระชั้นขึ้น เช่น เดินเร็ว ถีบจักรยาน รำมวยจีน ลีลาศจังหวะช้า รวมทั้งงานบ้าน งานสวน เป็นต้น สะสมให้ได้อย่างน้อยวันละ 30 นาทีอาจไม่จำเป็นต้องออกกำลังกายให้เหนื่อยมากหรือหอบ ที่ง่ายที่สุดคือ การเดิน และหมั่นตรวจเช็คค่า BMI เป็นประจำ

น้ำหนักปกติ

ข้อแนะนำในการดูแลสุขภาพ
1. ควรกินอาหารให้หลากหลายครบ 5 หมู่ในสัดส่วนที่เหมาะสม กินเท่าที่ร่างกายต้องการวันไหนกินมากเกินไป วันต่อมาก็กินลดลง กินอาหารพวกข้าวและแป้งรวมทั้งเมล็ดธัญพืชอื่น ๆ ให้มากขึ้นไม่น้อยกว่าวันละ 6 ทัพพี กินผัก รวมทั้งเมล็ดถั่ว ผลไม้ ไม่ต่ำกว่าวันละ 5 ส่วน หรือครึ่งกิโลกรัม เพื่อไม่ให้มีพลังงานส่วนเกินจะทำให้ควบคุมน้ำหนักได้ดีและสมดุล
2. ควรเคลื่อนไหวและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอทุกวัน หรือเกือบทุกวัน อย่างน้อยให้เหนื่อยพอควร โดยหายใจกระชั้นขึ้น สะสมให้ได้อย่างน้อยวันละ 30 นาที โดยอาจจะแบ่งเป็น 2 – 3 ครั้งก็ได้ จะเป็นกิจกรรมออกกำลังกายที่เป็นเรื่องเป็นราวหรือการออกแรงในกิจวัตรประจำวัน เช่นเดินเร็ว ถีบจักรยาน ลีลาศ หรืองานบ้าน งานสวน ให้เลือกทำตามใจชอบ ถ้าคุณต้องการมีสมรรถภาพที่ดีก็ต้องออกกำลังกายแบบแอโรบิก เช่น เดินเร็ว ๆ วิ่งเหยาะ ถีบจักรยานเร็วๆ กระโดดเชือก ว่ายน้ำ เล่นกีฬา เป็นต้น ให้รู้สึกเหนื่อยมาก หรือหอบ อย่างน้อยวันละ 20 – 30 นาที อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน ที่ง่าย ที่สุดคือ การเดิน

ท้วม ( อ้วนระดับ 1 )

คุณมี น้ำหนักเกิน หรือรูปร่างท้วม โดยทั่วไปค่า ดัชนีมวลกาย Body Mass Index ( BMI ) ปกติมีค่าระหว่าง 23 – 24.90

ข้อแนะนำในการดูแลสุขภาพ
1. ควรควบคุมอาหาร โดยลดปริมาณอาหารหรือปรับเปลี่ยนอาหารจากที่ให้พลังงานมากเป็นอาหารที่ให้พลังงานน้อย ทั้งนี้พลังงานที่ได้รับไม่ควรต่ำกว่า 1,200 กิโลแคลอรีต่อวัน โดยลดอาหารไขมัน/ เนื้อสัตว์ อาหารผัด/ทอด ขนมหวาน เครื่องดื่มที่ใส่น้ำตาล แอลกอฮอล์ แต่ต้องกินอาหารให้หลากหลายในสัดส่วนที่เหมาะสม กินข้าวและแป้ง รวมทั้งเมล็ดธัญพืชอื่น ๆ ไม่น้อยกว่าวันละ 6 ทัพพี กินผัก รวมทั้งเมล็ดถั่ว ผลไม้ ไม่ต่ำกว่าวันละ 5 ส่วน หรือครึ่งกิโลกรัม เพื่อลดพลังงานเข้า ร่างกายจะได้ใช้พลังงานส่วนเกินที่สะสมอยู่ในรูปไขมันแทน
2. ควรเคลื่อนไหวและออกกำลังกายแบบแอโรบิกอย่างสม่ำเสมอทุกวัน หรือเกือบทุกวันอย่างน้อยให้เหนื่อยพอควร โดยหายใจกระชั้นขึ้น สะสมอย่างน้อยวันละ 30 นาที อาจแบ่งเป็นวันละ 2 – 3 ครั้งก็ได้ เช่น เดินเร็ว ถีบจักรยาน เป็นต้น หากยังไม่เคยออกกำลังกายเริ่มแรกควร ออกกำลังเบา ๆ ที่ง่ายที่สุดคือ การเดิน ใช้เวลาน้อย ๆ ก่อน จากนั้นค่อย ๆ เพิ่มเวลาขึ้นในแต่ละสัปดาห์ โดยยังไม่เพิ่มความหนัก เมื่อร่างกายปรับตัวได้จึงค่อยเพิ่มความหนัก หรือความเหนื่อยตามที่ต้องการ และเพิ่มการเคลื่อนไหวร่างกายให้มากขึ้นในชีวิตประจำวัน เพื่อให้มีการใช้พลังงานเพิ่มขึ้น อย่างน้อยวันละ 200 – 300 กิโลแคลอรี
3. ควรฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ด้วยการฝึกกายบริหารหรือยกน้ำหนัก จะช่วยเสริมให้ร่างกายมีการใช้พลังงานเพิ่มมากขึ้น ทำให้ไขมันลดลง

อ้วน ( อ้วนระดับ 2 )

คุณ อ้วนแล้ว ( อ้วนระดับ 2 ) โดยทั่วไปค่า ดัชนีมวลกาย Body Mass Index ( BMI ) ปกติมีค่าระหว่าง 25 – 29.90

ข้อแนะนำในการดูแลสุขภาพ
1. ควรควบคุมอาหารโดยลดปริมาณอาหารหรือปรับเปลี่ยนอาหารจากที่ให้พลังงานมากเป็นอาหารที่ให้พลังงานน้อย ทั้งนี้พลังงานที่ได้รับไม่ควรต่ำกว่า 1,200 กิโลแคลอรีต่อวัน โดยลดอาหารไขมัน/เนื้อสัตว์ อาหารผัด/ทอด ขนมหวาน เครื่องดื่มที่ใส่น้ำตาล แอลกอฮอล์ แต่ต้องกินอาหารให้หลากหลายในสัดส่วนที่เหมาะสม กินข้าวและแป้งรวมทั้งเมล็ดธัญพืชอื่น ๆ ไม่น้อยกว่าวันละ 6 ทัพพี กินผักรวมทั้งเมล็ดถั่ว ผลไม้ไม่ต่ำกว่าวันละ 5 ส่วน หรือครึ่งกิโลกรัมเพื่อลดพลังงานเข้า ร่างกายจะได้ใช้พลังงานส่วนเกินที่สะสมอยู่ในรูปไขมันแทน
2. ควรเคลื่อนไหวและออกกำลังกายแบบแอโรบิกอย่างสม่ำเสมอทุกวันหรือเกือบทุกวันอย่างน้อยให้เหนื่อยพอควรโดยหายใจกระชั้นขึ้น ประมาณ 40-60 นาทีต่อวัน หรือแบ่งเป็นวันละ 2 ครั้ง ๆ ละ 20 – 30 นาที เช่น เดินเร็ว ถีบจักรยาน เป็นต้น หากยังไม่เคยออกกำลังกายเริ่มแรก ควรออกกำลังเบา ๆ ที่ง่ายที่สุดคือ การเดิน ใช้เวลาน้อยๆ ก่อน จากนั้น ค่อย ๆ เพิ่มเวลาขึ้นในแต่ละสัปดาห์ โดยยังไม่เพิ่มความหนัก เมื่อร่างกายปรับตัวได้จึงค่อยเพิ่มความหนัก หรือความเหนื่อยตามที่ต้องการและเพิ่มการเคลื่อนไหวร่างกายให้มากขึ้นในชีวิตประจำวัน เพื่อให้มีการใช้พลังงานเพิ่มขึ้น อย่างน้อยวันละ 200 – 300 กิโลแคลอรี
3. ควรฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ด้วยการฝึกกายบริหารหรือยกน้ำหนัก จะช่วยเสริมให้ร่างกายมีการใช้พลังงานเพิ่มมากขึ้น ทำให้ไขมันลดลง
4. ถ้าคุณสามารถลดพลังงานเข้าจากอาหารลงได้วันละ 400 กิโลแคลอรี และเพิ่มการใช้ พลังงานจากการออกกำลังกายวันละ 200 กิโลแคลอรี รวมแล้วคุณมีพลังงาพร่องลงไปวันละ 600 กิโลแคลอรี ออกกำลังกายประมาณ 6 วัน คิดเป็นพลังงานพร่อง 3,600 กิโลแคลอรี คุณจะลดไขมันลงได้ประมาณครึ่งกิโลกรัมต่อสัปดาห์ พลังงานเข้าหรือออก 3500 กิโลแคลอรี จะเพิ่มหรือลดไขมันได้ 1 ปอนด์ หรือ 0.45 กิโลกรัม
5. ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญในการลดและควบคุมน้ำหนัก

อ้วนมาก ( อ้วนระดับ 3 )

คุณ อ้วนมากแล้ว (อ้วนระดับ 3) โดยทั่วไปค่า ดัชนีมวลกาย Body Mass Index ( BMI ) ปกติมีค่ามากกว่า 30

ข้อแนะนำในการดูแลสุขภาพ
1. ควรควบคุมอาหารโดยลดปริมาณอาหารหรือปรับเปลี่ยนอาหารจากที่ให้พลังงานมากเป็นอาหารที่ให้พลังงานน้อย ทั้งนี้พลังงานที่ได้รับไม่ควรต่ำกว่า 1,200 กิโลแคลอรีต่อวัน โดยลดอาหารไขมัน/เนื้อสัตว์ อาหารผัด/ทอด ขนมหวาน เครื่องดื่มที่ใส่น้ำตาล แอลกอฮอล์ แต่ต้องกินอาหารให้หลากหลายในสัดส่วนที่เหมาะสม กินข้าวและแป้งรวมทั้งเมล็ดธัญพืชอื่น ๆ ไม่น้อยกว่าวันละ 6 ทัพพี กินผักรวมทั้งเมล็ดถั่ว ผลไม้ไม่ต่ำกว่าวันละ 5 ส่วน หรือครึ่งกิโลกรัมเพื่อลดพลังงานเข้า ร่างกายจะได้ใช้พลังงานส่วนเกินที่สะสมอยู่ในรูปไขมันแทน
2. ควรเคลื่อนไหวและออกกำลังกายแบบแอโรบิกอย่างสม่ำเสมอทุกวันหรือเกือบทุกวันอย่างน้อยให้เหนื่อยพอควรโดยหายใจกระชั้นขึ้น ประมาณ 40-60 นาทีต่อวัน หรือแบ่งเป็นวันละ 2 ครั้ง ๆ ละ 20 – 30 นาที เช่น เดินเร็ว ถีบจักรยาน เป็นต้น หากยังไม่เคยออกกำลังกายเริ่มแรก ควรออกกำลังเบา ๆ ที่ง่ายที่สุดคือ การเดิน ใช้เวลาน้อยๆ ก่อน จากนั้น ค่อย ๆ เพิ่มเวลาขึ้นในแต่ละสัปดาห์ โดยยังไม่เพิ่มความหนัก เมื่อร่างกายปรับตัวได้จึงค่อยเพิ่มความหนัก หรือความเหนื่อยตามที่ต้องการและเพิ่มการเคลื่อนไหวร่างกายให้มากขึ้นในชีวิตประจำวัน เพื่อให้มีการใช้พลังงานเพิ่มขึ้น อย่างน้อยวันละ 200 – 300 กิโลแคลอรี
3. ควรฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ด้วยการฝึกกายบริหารหรือยกน้ำหนัก จะช่วยเสริมให้ร่างกายมีการใช้พลังงานเพิ่มมากขึ้น ทำให้ไขมันลดลง
4. ถ้าคุณสามารถลดพลังงานเข้าจากอาหารลงได้วันละ 400 กิโลแคลอรี และเพิ่มการใช้ พลังงานจากการออกกำลังกายวันละ 200 กิโลแคลอรี รวมแล้วคุณมีพลังงาพร่องลงไปวันละ 600 กิโลแคลอรี ออกกำลังกายประมาณ 6 วัน คิดเป็นพลังงานพร่อง 3,600 กิโลแคลอรี คุณจะลดไขมันลงได้ประมาณครึ่งกิโลกรัมต่อสัปดาห์ พลังงานเข้าหรือออก 3500 กิโลแคลอรี จะเพิ่มหรือลดไขมันได้ 1 ปอนด์ หรือ 0.45 กิโลกรัม
5. ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญในการลดและควบคุมน้ำหนัก

ทำไมเราถึงควรเช็กค่าดัชนีมวลกายเป็นประจำ
คำนวณค่า BMI ดัชนีมวลกายได้สูงเสี่ยงเป็นโรคเรื้อรังได้จริงหรือไหม ค่าดัชนีมวลกายคือการวัดที่เป็นอัตราส่วนของน้ำหนักและส่วนสูงของคุณ เป็นวิธีที่ดีในการวัดว่าน้ำหนักของคุณอยู่ในสัดส่วนที่เหมาะสมกับส่วนสูง ดังนั้น การ มีน้ำหนักเกินสามารถนำไปสู่ภาวะเรื้อรังต่างๆ ได้แก่ เบาหวานชนิดที่ 2 ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจหรือหลอดเลือด และโรคเกี่ยวกับกล้ามเนื้อและกระดูก แต่หากคำนวณค่า BMI ดัชนีมวลกายได้น้อยอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ดังนี้ โรคขาดสารอาหาร โรคกระดูกพรุน โรคโลหิตจาง

ดังนั้น BMI คือ ดัชนีมวลกายเป็นภาพรวมของน้ำหนักที่มีผลต่อความเสี่ยงของโรคต่างๆ ที่ตามมาในอนาคต เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ไตรกลีเซอไรด์ อ้วนลงพุง โรคอ้วนในเด็ก ระดับไขมันและน้ำตาลในเลือดสูง แต่ทางการแพทย์ไม่สามารถระบุได้ว่าทุกคนที่มีค่า BMI สูงจะต้องมีสุขภาพที่ไม่ดีเสมอไป ดังนั้น ผู้ที่มีมวลกล้ามเนื้อขนาดใหญ่มักจะมีค่าดัชนีมวลกายสูงแม้ว่าไขมันในร่างกายจะอยู่ในช่วงที่มีสุขภาพดีก็ตาม แต่สามารถใช้เป็นแนวทางในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารหวาน อาหารเค็ม อาหารทอด ของทุกคนที่ต้องการมีสุขภาพที่ดี

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

กองออกกำลังกาย เพื่อสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข