Home Blog Page 171

การตรวจสารแอลคาไลน์ฟอสฟาเทส ( ALP ) ในตับ

0
การตรวจสาร Alkaline Phosphatase ในตับ
ALKALINE PHOSPHATASE คือ เอ็นไซม์ที่ถูกผลิตขึ้นมาด้วยโปรตีน จากอวัยวะต่างๆในร่างกายที่เกิดความผิดปกติจากโรคที่กำลังเกิดขึ้น
การตรวจสาร Alkaline Phosphatase ในตับ
ALKALINE PHOSPHATASE คือ เอ็นไซม์ที่ถูกผลิตขึ้นมาด้วยโปรตีน จากอวัยวะต่างๆในร่างกายที่เกิดความผิดปกติจากโรคที่กำลังเกิดขึ้น

การตรวจสาร Alkaline Phosphatase ( ALP ) ในตับ

การตรวจสารแอลคาไลน์ฟอสฟาเทส ( Alkaline Phosphatase – ALP ) คือการตรวจหาค่าสารประกอบในตับ เพื่อบ่งชี้ว่า ตับ มีปัญหาอะไรหรือไม่ Alkaline Phosphatase ชื่ออื่นเรียกเป็นว่า ค่า ALP ค่า ALK PHOS ค่า ALKP คือ เอ็นไซม์ที่ถูกผลิตขึ้นมาด้วยโปรตีนจากอวัยวะต่างๆในร่างกายที่เกิดความผิดปกติจากโรคต่าง ๆที่กำลังเกิดขึ้น เช่น ตับ กระดูก ลำไส้เล็ก ไต หรือ จากรกของสตรีที่กำลังตั้งครรภ์ซึ่ง อวัยวะที่ผลิตค่า ALP ออกมามากที่สุดในร่างกายคือ ตับ รองลงมาคือ ท่อน้ำดี และกระดูก เรียงตามลำดับกันต่อไป

ทำไมต้องตรวจสารแอลคาไลน์ฟอสฟาเทส

การตรวจสาร Alkaline Phosphatase ( ALP ) มีจุดประสงค์คือ ใช้ตรวจหาค่าความผิดปกติและใช้ในการวินิฉัยโรคที่เกี่ยวกับตับและกระดูก
โดยจะใช้วิธีการตรวจทางเลือด โดยผู้ที่จะทำการตรวจค่า ALP นั้น ต้องงดอาหารและเครื่องดื่มต่างๆ ก่อนการตรวจ ประมาณ 6 – 8 ชั่วโมง

การตรวจค่า Alkaline Phosphatase ( แอลคาไลน์ฟอสฟาเทส ) หรือ ALP มักจะทำควบคู่กับการตรวจค่าของ ” Alanine Aminotransferase ” หรือ ALT หรือ SGPT ในการเจาะเลือดเพื่อตรวจการทำงานของตับ และมักจะเจาะเลือดตรวจค่าเอนไซม์ Aspartate aminotransferase หรือ AST หรือ Serum Glutamic-Oxaloacetic Transaminase (SGOT) ค่าเอนไซม์ AST เป็นเอนไซม์ที่ใช้ช่วยตรวจวินิจฉัยภาวะโรคตับ และภาวะโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหัวใจ เพื่อใช้ข้อมูลช่วยในการวินิจฉัยแยกแยะระหว่างโรคตับ หรือโรคกระดูก และจะช่วยให้ผลการตรวจและการวินิฉัยของแพทย์ตรงมากที่สุด

เมื่อไหร่ที่ควรไปตรวจ Alkaline Phosphatase ( ALP )

หากร่างกายมีการส่งสัญญาณเตือนต่อไปนี้

ควรไปตรวจหาค่า ALP ที่เกี่ยวกับสุขภาพของตับ

1. ร่างกายมีอาการเหนื่อยล้า โดยไม่ทราบสาเหตุ
2. รู้สึกว่าอาหารที่ทานทุกอย่างไม่มีรสชาติ ขาดความอร่อย
3. มีอาการคลื่นไส้และอาเจียน
4. มีอาการตัวเหลือง ตาเหลือง
5. พบอาการบวมบริเวณช่องท้องด้านบน
6. ปัสสาวะมีสีเข้ม เป็นสีน้ำตาลหรือสีดำ
7. อุจจาระมีสีคล้ำผิดปกติ

Alkaline Phosphatase ( ALP ) ( แอลคาไลน์ฟอสฟาเทส ) คือ เอ็นไซม์ที่ถูกผลิตขึ้นมาด้วยโปรตีน จากอวัยวะต่างๆในร่างกายที่เกิดความผิดปกติจากโรคต่างๆที่กำลังเกิดขึ้น

ควรตรวจค่า Alkaline Phosphatase ( ALP ) เมื่อใด

เมื่อร่างกายส่งสัญญาณเตือน อาการเบื้องต้น ควรไปตรวจหาค่า Alkaline Phosphatase ( ALP ) ที่เกี่ยวกับสุขภาพของกระดูก

1. มีอาการปวดกระดูก ปวดข้อต่อตามร่างกาย
2. กระดูกร้าวหรือหักได้ง่ายกว่าปกติ
3. กระดูกในบางอวัยวะ แสดงอาการผิดรูป

ค่ามาตรฐานของ APL
ค่าของ ALP ในเลือดของคนปกติ จะขึ้นอยู่กับเพศและวัย

ผู้ใหญ่ (ช / ญ) ค่า ALP มาตรฐานอยู่ระหว่าง 30 – 126 U/L
เด็ก (ช / ญ) ค่า ALP มาตรฐานอยู่ระหว่าง 30 – 300 U/L

 

หากตรวจค่า ALP แล้วพบว่าไม่อยู่ในเกณฑ์ปกติ แสดงว่าในร่างกายมีความผิดปกติเกิดขึ้น

กรณีค่า Alkaline Phosphatase ( ALP ) ต่ำกว่าปกติ

หากค่า ALP ต่ำกว่าปกติ อาจแสดงผลเกี่ยวกับสุขภาพ

  • มีระดับวิตามิน C ในร่างกายต่ำเกินไป จนเกินอาการเลือดออกตามไรฟัน จนส่งผลให้ร่างกายไม่สามารถสร้างสาร Alkaline Phosphatase หรือ ALP ได้
  • ในร่างกายมีสารฟอสเฟต Phosphate จะใช้ผลิต ALP ไม่เพียงพอ หรือสามารถเรียกภาวะแบบนี้ได้ว่า Hypophosphatemia
  • ทานอาหารไม่ครบ 5 หมู่หรือแพ้สารอาหารบางชนิด เช่น แพ้สารกลูเตน ( Gluten ) ในเมล็ดข้าวที่เรียกว่า โรค Celiac Disease

กรณีค่า ALP สูงกว่าปกติ

หากค่า ALP ต่ำกว่าปกติ อาจแสดงผลเกี่ยวกับสุขภาพได้ ดังนี้

1.กรณีโรคตับ ทั้งนี้ อาจแสดงผลว่า

  • อาจเกิดโรคตับอักเสบ จึงทำให้ค่า ALP สูงขึ้นผิดปกติ
  • อาจเกิดโรคสำคัญขึ้นที่ตับ เช่น โรคตับแข็ง โรคมะเร็งตับ
  • อาจมีเหตุสำคัญ ซึ่งมาปิดกั้นท่อน้ำดีของตับ เช่น นิ่วในถุงน้ำดี อาจเกิดโรคมะเร็งตับในระยะเริ่มต้น จากการกระจายตัวของมะเร็งที่มาจากอวัยวะอื่น

จึงสรุปได้ว่าหากค่า ALP สูงขึ้นกว่าปกติ ก็อาจจะเป็นไปได้ว่าอวัยวะตับมีความผิดปกติเกิดขึ้นนั่นเอง

2. กรณีโรคกระดูก ทั้งนี้ อาจแสดงผลว่า

  • อาจเกิดโรคกระดูกผิดรูป
  • อาจเกิดโรคกระดูกน่วม เนื่องจากร่างกายขาดวิตามิน D (วิตามิน D มาจากการได้รับแสงแดด)
  • อาจเกิดโรคมะเร็งกระดูก
  • ร่างกายอาจจะอยู่ในช่วงระหว่างการรักษากระดูกที่หักให้เชื่อมต่อติดกัน
  • อาจเกิดโรคมะเร็งกระดูกจากการแพร่กระจายมะเร็งมาจากอวัยวะอื่น
  • อาจเกิดโรคกระดูกอ่อน โดยมีสาเหตุมาจากร่างกายขาดวิตามิน D ขาดแคลเซียม และขาดฟอสฟอรัส
  • อาจเกิดจากต่อมพาราไธรอยด์ทำงานมากเกินไป ทำให้มีแคลเซียมมาพอกกระดูกจนหนาผิดปกติ

นอกจากนี้ยังมีปัจจัยบางชนิดที่ทำให้การตรวจหาค่า ALP มีความผิดปกติหรือคลาดเคลื่อนออกไป จากค่าที่ได้จริง เช่น การรับประทานยารักษาโรคบางตัวจึงควรปรึกษาแพทย์ผู้สั่งจ่ายยาว่า ควรงดหรือไม่ยาตัวไหนหรือไม่ ก่อนที่จะเจาะเลือดตรวจค่า Alkaline Phosphatase ( ALP )

กลุ่มตัวอย่างชนิดของยาที่มีผลต่อการตรวจ ALP ได้แก่กลุ่มยาปฏิชีวินะ Antibiotics, กลุ่มยาแก้อักเสบ Annit-Inflammatory Medicines, กลุ่มยาคุมกำเนิด กลุ่มยารักษาโรคเบาหวาน กลุ่มยาฮอร์โมน Cortisone, กลุ่มยากล่อมประสาท Tranquilizers เป็นต้น

สำหรับค่าของ Alkaline Phosphatase ( ALP ) จะมีความไวมากที่สุดสำหรับการตรวจ ดังนั้น หากพบว่าในร่างกายมีค่าของ Alkaline Phosphatase ในปริมาณที่สูงหรือต่ำเกินปกติ ก็อาจจะเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงสภาวะความผิดปกติของตับหรืออวัยวะอื่นๆในร่างกายได้ ทางทีดีควรอย่านิ่งนอนใจ ควรรีบไปปรึกษาแพทย์จะดีที่สุด

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

พวงทอง ไกรพิบูลย์. ถาม – ตอบ มะเร็งร้ายสารพัดชนิด. กรุงเทพฯ ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2557. 264 หน้า 1.มะเร็ง I.ชื่อเรื่อง. 616.994 ISBN 978-616-08-1170-0

Kim EE, Wyckoff HW (March 1991). “Reaction mechanism of alkaline phosphatase based on crystal structures. Two-metal ion catalysis”. J. Mol. Biol. 218 (2): 449–64.

Rao, N. N.; Torriani, A. (1990-07-01). “Molecular aspects of phosphate transport in Escherichia coli”. Molecular Microbiology.

Horiuchi T, Horiuchi S, Mizuno D (May 1959). “A possible negative feedback phenomenon controlling formation of alkaline phosphomonoesterase in Escherichia coli”. Nature. 183 (4674): 1529–30. 

Willsky; Malamy; Bennett (1973). “Inorganic Phosphate Transport in Escherichia coli: Involvement of Two Genes Which Play a Role in Alkaline Phosphatase Regulation”. Journal of Bacteriology. 113: 529–539.

มะเร็งลำไส้ใหญ่ ( Colorectal Cancer )

0
โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ สาเหตุ อาการ วิธีรักษาโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ (Colorectal Cancer)
มะเร็งลำไส้ใหญ่ สามารถเกิดได้กับลำไส้ส่วนไหนก็ได้และเกิดได้กับเซลล์ทุกชนิด แต่มักเกิดจากเซลล์เยื่อเมือกบุภายในลำไส้
โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ สาเหตุ อาการ วิธีรักษาโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ (Colorectal Cancer)
มะเร็งลำไส้ใหญ่ สามารถเกิดได้กับลำไส้ส่วนไหนก็ได้และเกิดได้กับเซลล์ทุกชนิด แต่มักเกิดจากเซลล์เยื่อเมือกบุภายในลำไส้

มะเร็งลำไส้ใหญ่

มะเร็งลำไส้ใหญ่ ( Colorectal Cancer ) เป็นมะเร็งที่เกิดขึ้นในส่วนหนึ่งส่วนใดในลำไส้ใหญ่ส่วนใหญ่พบที่เนื้อเยื่อของลำไส้ใหญ่และทวารหนักชนิดที่พบบ่อยเกิดจากการเจริญเติมโตและแพร่กระจายไปยังที่ลำไส้ใหญ่จนเกิดความผิดปกติของเยื่อบุผิวของลำไส้จนกลายเป็นก้อนเล็ก ๆ เรียกว่า โปลิป โดยเกิดขึ้นตั้งแต่ลำไส้เล็กไปจนถึงส่วนปลายที่ติดกับทวารหนัก และเกิดได้กับเซลล์ทุกชนิด ได้แก่ เซลล์ต่อมน้ำเหลือง เส้นเลือด กล้ามเนื้อ และเซลล์เยื่อเมือกบุภายในลำไส้ใหญ่ ซึ่งพบได้มากถึงร้อยละ 90 เปอร์เซ็นต์ ลำไส้ประกอบด้วย   
1. ลำไส้ใหญ่ ( Colorectal )
ของคนเราจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลักๆ คือส่วนที่อยู่ในช่องท้อง เรียกว่า โคลอน และส่วนที่อยู่ในอุ้งเชิงกรานเรียกว่า ลำไส้ตรง ซึ่งลำไส้ทั้งสองส่วนจะมีหน้าที่ที่แตกต่างกันไป
2. ลำไส้ที่อยู่ในช่องท้อง ( CA Colon )
จะทำหน้าที่ในการดูดซึม วิตามิน เกลือแร่ น้ำและสารบางชนิดกลับเข้าสู่ร่างกาย เพื่อนำไปใช้ในการบำรุงและฟื้นฟูส่วนต่างๆ ของร่างกายต่อไป และเป็นทางผ่านของกากอาหารอีกด้วย
3. ลำไส้ตรง ( Rectal )
จะมีหน้าที่ในการดูดซึมน้ำ เกลือแร่ ยาและวิตามินเข้าสู่ร่างกาย พร้อมทั้งทำหน้าที่เก็บกักกากอาหารเอาไว้ก่อนจะขับถ่ายออกมาในรูปของอุจจาระ ซึ่งลำไส้ตรงถือเป็นส่วนที่มีความสำคัญมาก เพราะหากไม่มีลำไส้ส่วนนี้ก็จะทำให้กลั้นอุจจาระไม่อยู่นั่นเอง อาจเกิดมะเร็งลำไส้ตรงได้

อาการและสัญญาณที่บ่งชี้เป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่

  • คลื่นไส้อาเจียน
  • อาการปวดท้อง
  • อาหารไม่ย่อย
  • การเปลี่ยนแปลงของลำไส้ใหญ่ เช่น ท้องร่วง ท้องผูก
  • เลือดออกทางทวารหนัก หรืออุจจาระเป็นเลือด
  • ความรู้สึกไม่สบายท้องอย่างต่อเนื่อง เช่น เป็นตะคริว
  • ความเหนื่อยล้า
  • น้ำหนักลดผิดปกติ โดยไม่สามารถอธิบายได้
  • โรคโลหิตจาง หมายถึงการลดจำนวนเม็ดเลือดแดง อาจเกิดจากการขาดธาตุเหล็ก

ใครควรได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่

ทุกคนที่มีอายุ 45 ถึง 75 ปี ควรได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็ง รวมทั้งผู้ที่มีความเสี่ยงมากที่สุด ได้แก่ ผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี และทุกคนที่มีประวัติส่วนตัวประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก โรคลำไส้อักเสบมะเร็งรังไข่เต้านม หรือเยื่อบุโพรงมดลูก การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำหรือการบริโภคอาหารที่มีไขมันสูงและมีไฟเบอร์น้อยทำให้มีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักเพิ่มขึ้น ดังนั้น การทดสอบในคนทั่วไปมักไม่แสดงอาการที่บ่งบอกว่าเป็นมะเร็งที่เห็นได้ชัด จึงต้องอาศัยการตรวจอย่างละเอียด โดยวิธีดังต่อไปนี้ คือ
1) การตรวจหาเม็ดเลือดแดงในอุจจาระ (Stool Occult Blood) คือ การตรวจเพื่อค้นหาเซลล์เม็ดเลือดแดงที่ซ่อนอยู่หรือเพื่อหาเลือดจำนวนเล็กน้อยที่ปนเปื้อนในอุจจาระ
2) การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Colonography) คือ การตรวจเพื่อหาติ่งเนื้อด้วยระบบคอมพิวเตอร์ความเร็วสูงสร้างภาพ 3 มิติ

สาเหตุการเกิดมะเร็งลำไส้

มะเร็งลำไส้ใหญ่ยังไม่พบสาเหตุที่แน่ชัด โดยทางการแพทย์เชื่อว่าโรคนี้น่าจะเกิดขึ้นจากหลายปัจจัยประกอบกัน ได้แก่   

  • มีติ่งเนื้อเกิดขึ้นในลำไส้ใหญ่ ซึ่งเมื่อปล่อยไว้เป็นเวลานานก็อาจกลายพันธุ์เป็นมะเร็งได้
  • เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรมที่มีหน้าที่ในการควบคุมการแบ่งตัวและการตายของเซลล์ โดยอาจเป็นชนิดถ่ายทอดได้หรือชนิดไม่ถ่ายทอดก็ได้
  • การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูงอย่างต่อเนื่อง เพราะไขมันเหล่านี้อาจไปเกาะอยู่ในผนังลำไส้และก่อให้เกิดเป็นมะเร็งในที่สุด
  • การทานอาหารที่ไม่มีเส้นใยอาหารหรือมีต่ำมากอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน ทำให้เกิดปัญหาในการขับถ่ายและอาจเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้
  • ผู้ที่เป็นโรคลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรัง โดยจะมีความเสี่ยงมากกว่าคนปกติทั่วไป
  • คนที่เคยเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่มาก่อนและรักษาจนหายแล้ว จะมีโอกาสเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้อีก โดยอาจเกิดกับลำไส้ส่วนที่ยังไม่เคยเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นมะเร็งอีกชนิดหนึ่งที่ติด 10 อันดับมะเร็งที่พบได้บ่อยทั้งในผู้หญิงและผู้ชายไทย และมักจะพบได้มากที่สุดในคนที่มีอายุมากกว่า 40 ปีอีกด้วย ส่วนในเด็กโตก็มีโอกาสเป็นได้บ้างแต่พบได้ไม่บ่อยมากนัก และชนิดของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่มักจะพบได้บ่อยที่สุด ก็คือชนิดอะดีโนซิคาร์โนมานั่นเอง
  • การดื่มสุราหรือเบียร์ การสูบบุหรี่ ก็อาจเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้

ระยะของมะเร็งลำไส้ใหญ่

มะเร็งลำไส้ใหญ่สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ระยะ โดยมีข้อบ่งชี้ของมะเร็งในระยะต่างๆ ดังนี้
ระยะที่ 1 เป็นระยะที่มะเร็งยังไม่ลุกลาม หรือลุกลามอยู่แค่ในผนังลำไส้ใหญ่เท่านั้น
ระยะที่ 2 เป็นระยะที่มะเร็งลุกลามไปสู่อวัยวะและเนื้อเยื่อที่อยู่ใกล้เคียง
ระยะที่ 3 เป็นระยะที่มะเร็งได้ลุกลามเข้าสู่ต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ใกล้กับก้อนมะเร็ง
ระยะที่ 4 เป็นระยะที่มะเร็งได้แพร่กระจายไปยังอวัยวะที่อยู่ไกลออกไป ผ่านทางกระแสเลือด ซึ่งอวัยวะที่พบได้บ่อยๆ ได้แก่ ปอด ตับ กระดูกเป็นต้น

วิธีการรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่

การรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่จะพิจารณาจากส่วนของลำไส้ที่เป็นมะเร็ง

  • มะเร็งลำไส้ใหญ่ในส่วนช่องท้อง จะรักษาด้วยการผ่าตัดเท่านั้น นอกจากว่ามะเร็งได้เข้าสู่ระยะที่มีการลุกลามและแพร่กระจายออกไป แพทย์จะใช้วิธีการรักษาด้วยการทำเคมีบำบัดอย่างต่อเนื่อง
  • มะเร็งลำไส้ตรง จะรักษาด้วยการผ่าตัดเช่นกัน หากเป็นระยะแรก แต่ถ้าอยู่ในระยะที่มีการลุกลามและแพร่กระจายออกไป แพทย์จะทำการรักษาด้วยการผ่าตัด ร่วมกับการใช้รังสีรักษาและเคมีบำบัด เพื่อประคับประคองอาการของผู้ป่วยให้ได้มากที่สุด

อย่างไรก็ตาม ในการพิจารณาเลือกวิธีการรักษาของแพทย์นั้น จะคำนึงถึงระยะของโรคมะเร็งเป็นหลัก ตามด้วยตำแหน่งที่เกิดโรค อายุและสุขภาพของผู้ป่วย เพื่อให้ได้วิธีการรักษาที่มีประสิทธิภาพที่สุด ซึ่งผู้ป่วยบางคนนอกจากการรักษาด้วยวิธีข้างต้นแล้วก็อาจต้องผ่าตัดทำทวารเทียมให้อุจจาระออกทางหน้าท้อง เพราะลำไส้ตรงไม่สามารถใช้งานได้ตามปกตินั่นเอง

สำหรับวิธีการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ในระยะเริ่มแรก แพทย์แนะนำให้คนที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ควรไปพบแพทย์เพื่อขอรับการตรวจคัดกรอง มะเร็งลำไส้ใหญ่โดยแพทย์อาจตรวจด้วยการเอกซเรย์ดูภาพลำไส้ใหญ่ ตรวจอุจจาระ หรือการส่องกล้อง ซึ่งแม้ว่าจะตรวจไม่พบมะเร็งลำไส้ใหญ่แต่ก็ควรตรวจซ้ำบ่อยๆ เช่นกัน ส่วนวิธีการป้องกัน ก็สามารถทำได้ด้วยการหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงมะเร็งได้ในระดับหนึ่ง

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม 

เอกสารอ้างอิง

National Cancer Institute. Archived from the original on June 25, 2014. Retrieved June 10, 2014.

General Information About Colon Cancer”. NCI. May 12, 2014. Archived from the original on July 4, 2014. Retrieved June 29, 2014.

Logullo Waitzberg, AG, Kiss, DR, Waitzberg, DL, Habr-Gama, A, Gama-Rodrigues, J (Jan 2005). “Diet and colorectal cancer: current evidence for etiology and prevention”. Nutricion Hospitalaria.

มะเร็งทวารหนัก ( Anal Cancer ) สาเหตุ อาการ และการรักษา

0
โรคมะเร็งทวารหนัก (Anal Cancer) มีสาเหตุและอาการอย่างไร
ทวารหนัก เป็น ลำไส้ใหญ่ส่วนปลายที่มีความยาวประมาณ15 เซนติเมตรนับตั้งแต่กล้ามเนื้อหูรูดของรูทวารขึ้นไป เป็นลำไส้ใหญ่ส่วนที่ตรง

มะเร็งทวารหนัก ( Anal Cancer )

มะเร็งทวารหนัก ( Anal Cancer ) คือ โรคมะเร็งที่เกิดเซลล์มะเร็งขึ้นบริเวณทวารหนัก มีอาการถ่ายเป็นเลือด ปวดและคันบริเวณทวารหนัก เป็นมะเร็งชนิดที่พบได้ค่อนข้างน้อย ซึ่งโรคมะเร็งทวารหนักก็อาจเกิดขึ้นได้กับเซลล์ทุกชนิดของทวารหนัก ได้แก่ เซลล์บุภายในทวารหนัก โดยอาจเป็นเซลล์เยื่อเมือกหรือเซลล์เบื่อบุผิวภายนอกก็ได้ กล้ามเนื้อ เส้นเลือดและเซลล์ต่อมน้ำเหลือง เป็นต้น แต่โรคมะเร็งทวารหนักที่พบได้บ่อย มักจะเกิดจากเซลล์เยื่อเมือกบุภายในและเซลล์เยื่อบุผิวภายนอกมากที่สุด

มะเร็งทวารหนักมีสาเหตุจาก

มะเร็งทวารหนักภาษาชาวบ้านเรียก ” มะเร็งตูด “ ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของโรคมะเร็งทวารหนัก แต่เชื่อว่าน่าจะเกิดจากหลายปัจจัยร่วมกัน ซึ่งได้แก่

  • ทวารหนักเกิดการติดเชื้อเอชพีวี ( HPV ) จึงทำให้เป็นมะเร็งทวารหนักได้ง่าย
  • การมีเพศสัมพันธ์ทาทวารหนักและการสำส่อนทางเพศ รวมถึงคนที่เป็นหูดหงอนไก่บริเวณอวัยวะเพศก็มีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นมะเร็งทวารหนัก และมะเร็งปากทวารหนักมากขึ้นด้วยเช่นกัน
  • ผู้หญิงที่เคยมีประวัติเป็นมะเร็งปากมดลูกหรือมะเร็งช่องคลอด โดยจะมีโอกาสเป็นมะเร็งทวารหนักมากกว่าคนทั่วไป
  • ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันหรือภูมิต้านทานต่ำ ทำให้ป่วยมะเร็งทวารหนักง่ายและเป็นโรคแทรกซ้อนต่างๆตามมา
  • ผู้ที่ติดเชื้อไวรัสเอชไอวี ( HIV ) จะมีโอกาสเป็นมะเร็งทวารหนักได้สูงด้วย
  • การสูบบุหรี่ เนื่องจากสารพิษในบุหรี่อาจกระตุ้นให้เกิดมะเร็ง
  • เกิดการอักเสบเรื้อรังของทวารหนัก หรือ มีเนื้องอกที่ทวารหนักคล้ายริดสีดวง
  • มะเร็งทวารหนัก ( Anal Cancer ) เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรมที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการแบ่งตัวและการตายของเซลล์ปกติ โดยจะเป็นชนิดไม่ถ่ายทอด
  • อายุ โดยจากสถิติพบว่า มะเร็งทวารหนักจะพบได้ในผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไปมากกว่าวัยอื่นๆ และมีโอกาสเกิดใน ผู้หญิงและผู้ชายเท่าเทียมกันนอกจากนี้มะเร็งทวารหนักก็มีหลายชนิดเช่นกัน แต่ที่พบบ่อยที่สุดจะมี 2 ชนิดคือ ชนิดสความัสและชนิดอะดีโนคาร์ซิโนมา โดยทั้งสองชนิดก็ถูกจัดเป็นมะเร็งที่มีความรุนแรงในระดับปานกลาง

อาการของโรคมะเร็งทวารหนัก

โรคมะเร็งทวารหนักไม่มีอาการที่ชี้เฉพาะ แต่มีอาการเหมือนกับการอักเสบทั่วไป โดยอาการที่แพทย์ชี้ว่ามักจะพบบ่อยๆ ในผู้ป่วยมะเร็งทวารหนัก ได้แก่ 

  • ถ่ายอุจจาระเป็นเลือดหรือมีมูกเลือดปนมา
  • มีอาการปวดเบ่งอุจจาระ
  • มีก้อนเนื้อบริเวณทวารหนัก โดยอาจโผล่มาให้เห็นหรือคลำเจอเมื่ออุจจาระ
  • ต่อมน้ำเหลืองบริเวณขาหนีบโตจนคลำเจอได้ โดยอาจพบว่าโตทั้งสองข้างหรือโตข้างเดียว ซึ่งอาการนี้จะพบได้เมื่อมะเร็งลุกลามไปมากแล้วการวินิจฉัยและระยะของโรคการวินิจฉัยโรคมะเร็งทวารหนักแพทย์จะสอบถามจาก ประวัติอาการของผู้ป่วย และทำการตรวจร่างกาย ตรวจทวารหนัก รวมถึงตัดชิ้นเนื้อไปตรวจทางพยาธิวิทยา เพื่อทราบผลการตรวจที่ชัดเจนยิ่งขึ้น โดยวิธีนี้ก็จะทำให้ทราบระยะของอาการป่วยด้วย

มะเร็งทวารหนัก คือ การเกิดเนื้อร้ายหรือเซลล์มะเร็งขึ้นบริเวณทวารหนัก มีอาการถ่ายเป็นเลือด ปวดและคันบริเวณทวารหนัก

โรคมะเร็งทวารหนักมีทั้งหมด 4 ระยะ

มะเร็งทวารหนักระยะที่ 1 เป็นระยะที่ก้อนมะเร็งยังมีขนาดเล็ก ไม่เกิน 2 เซนติเมตร

มะเร็งทวารหนักระยะที่ 2 เป็นระยะที่ก้อนมะเร็งมีขนาดโตขึ้นจากเดิม เกินจาก 2 เซนติเมตร

มะเร็งทวารหนักระยะที่ 3 เป็นระยะที่ก้อนมะเร็งได้ลุกลามเข้าไปสูงเนื้อเยื่อและอวัยวะข้างเคียง

มะเร็งทวารหนักระยะที่ 4 เป็นระยะที่อันตรายมาก โดยมะเร็งได้มีการลุกลามและแพร่กระจายออกไปสู่อวัยวะที่อยู่ไกลออกไป โดยเฉพาะปอดและตับ ซึ่งแพร่ผ่านกระแสเลือดหรือต่อมน้ำเหลืองนั่นเอง   

การรักษาโรคมะเร็งทวารหนัก

การรักษา แพทย์มักจะใช้ 3 วิธีร่วมกันเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ในการรักษาที่ดีที่สุด โดยได้แก่การผ่าตัด การใช้รังสีรักษาและการทำเคมีบำบัด แต่อย่างไรก็ขึ้นอยู่กับอายุและความพร้อมทางด้านสุขภาพร่างกายของผู้ป่วยด้วย นอกจากนี้ก็มีวิธีการรักษาด้วยยารักษาตรงเป้า  แต่ยังคงอยู่ในระหว่างการศึกษา จึงยังไม่นิยมนำมาใช้มากนัก และเนื่องจากมะเร็งทวารหนักเป็นโรคมะเร็งที่มีความรุนแรงในระดับปานกลาง จะรักษาให้หายขาดได้หรือไม่ จึงขึ้นอยู่กับระยะ สุขภาพและอายุของผู้ป่วยด้วย

สำหรับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งทวารหนักที่มีประสิทธิภาพในปัจจุบันยังไม่พบ ซึ่งแพทย์แนะนำให้สังเกตความผิดปกติของตัวเองจะดีที่สุด และรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาอย่างเร่งด่วน สำหรับการป้องกัน ก็ให้หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงทั้งหลายและการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัสเอชพีวี แต่ก็ยังคงอยู่ในระหว่างการศึกษาที่ยังไม่ได้ข้อสรุปแน่ชัดเช่นกัน

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิงพวงทอง ไกรพิบูลย์. รู้ก่อนเข้าใจการตรวจรักษามะเร็ง. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2557.

Thun MJ, Hannan LM, Jemal A (September 2006). “Interpreting cancer trends”. Annals of the New York Academy of Sciences.

Halperin, E., Perez, C., and Brady, L. (2008). Perez and Brady: Principles and practice of Radiation Oncology (5th edition). Philadelphia: Wolters Kluwer/ Lippincott Williams & Wilkins.

Haffty, B., and Wilson, L. (2009). Handbook of radiation oncology: basic principles and clinical protocols. Boston: Jones and Bartlett Publishers
DeVita, V., Hellman, S., and Rosenberg, S. (2005). Cancer: principles& practice of oncology (7th edition). New York: Lippincott Williams & Wilkins.

Anal cancer http://en.wikipedia.org/wiki/Anal_cancer [2012, Jan 2].

มะเร็งอัณฑะ ( Testicular Cancer )

0
โรคมะเร็งอัณฑะ (Testicular Cancer)
โรคมะเร็งอัณฑะ เกิดจากการเจริญเติบโตที่ผิดปกติของลูกอัณฑะซึ่งเป็นอวัยวะที่อยู่ภายในถุงอัณฑะ บริเวณด้านหลังอวัยวะเพศชายหรือองคชาต
โรคมะเร็งอัณฑะ (Testicular Cancer)
โรคมะเร็งอัณฑะ เกิดจากการเจริญเติบโตที่ผิดปกติของลูกอัณฑะซึ่งเป็นอวัยวะที่อยู่ภายในถุงอัณฑะ บริเวณด้านหลังอวัยวะเพศชายหรือองคชาต

มะเร็งอัณฑะ

มะเร็งอัณฑะ ( Testicular Cancer ) เกิดจากการเจริญเติบโตที่ผิดปกติของลูกอัณฑะซึ่งเป็นอวัยวะที่อยู่ภายในถุงอัณฑะ บริเวณด้านหลังอวัยวะเพศชายหรือองคชาต เกิดขึ้นได้เฉพาะผู้ชายเท่านั้น เพราะอัณฑะมีเฉพาะในผู้ชาย มีลักษณะเป็นเนื้อเยื่อที่อยู่ในถุงอัณฑะ และมีสองข้างซ้ายขวา โดยจะทำหน้าที่ในการสร้างอสุจิและ ฮอร์โมนเพศชายออกมา ซึ่งปกติแล้วการเกิดโรคมะเร็งอัณฑะสามารถเกิดได้กับเซลล์ทุกชนิดในอัณฑะ ได้แก่ เจิร์มเซลล์ เส้นเลือด เซลล์ต่อมน้ำเหลืองและเซลล์ของเนื้อเยื่ออัณฑะ แต่ที่มักจะพบได้มากและบ่อยที่สุด ก็คือ มะเร็งอัณฑะ ที่เกิดจากเจิร์มเซลล์สาเหตุของโรคมะเร็งอัณฑะอาจเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัยร่วมกัน แต่ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด โดยแพทย์วินิจฉัยว่าน่าจะเกิดจากปัจจัยต่างๆ ดังนี้

สาเหตุของมะเร็งอัณฑะ

  • ผู้ชายที่ลูกอัณฑะยังคงอยู่ในช่องท้องน้อยไม่เคลื่อนมาอยู่ในถุงอัณฑะอย่างที่ควรจะเป็น ซึ่งปกติแล้วเด็กแรกเกิดลูกอัณฑะจะอยู่ในช่องท้องน้อยก่อนแล้วจึงเคลื่อนมาอยู่ในถุงอัณฑะเมื่อโตขึ้น ดังนั้นหากไม่เป็นไปตามนี้ ก็แสดงได้ว่าอาจเสี่ยงเป็นมะเร็งได้สูงถึง 10-40 เท่าเลยทีเดียว
  • มีความผิดปกติทางพันธุกรรมโดยเกิดจากพันธุกรรมชนิดที่สามารถถ่ายทอดได้บางชนิด
  • มีความผิดปกติทางพันธุกรรมชนิดที่ไม่สามารถถ่ายทอดได้บางชนิด โดยจะเป็นพันธุกรรมที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการแบ่งตัวและการตายของเซลล์ปกติ
  • เชื้อชาติ โดยพบว่าคนชาติตะวันตก จะมีโอกาสเป็นโรคมะเร็งอัณฑะได้มากกว่าคนชาติอื่นๆ
  • เคยมีการอักเสบหรือบาดเจ็บที่อัณฑะ ไม่ว่าด้วยสาเหตุใดก็ตาม
  • มีภูมิคุ้มกันหรือภูมิต้านทานโรคบกพร่อง โดยเฉพาะการติดเชื้อ HIV
  • ผู้ชายที่เป็นหมันตั้งแต่กำเนิด โดยจะมีความเสี่ยงเป็นมะเร็งอัณฑะมากกว่าคนทั่วไป
  • อาจมีความสัมพันธ์กับการที่มารดาทานฮอร์โมนเพศในระหว่างตั้งครรภ์
  • ขาดสารอาหารบางชนิดที่มีประโยชน์และมีความจำเป็นต่อร่างกาย
  • อายุ โดยปกติแล้วโรคมะเร็งอัณฑะจะพบได้สูงในวัยรุ่นชายจนถึงวัยหนุ่มที่มีช่วงอายุระหว่าง 15-34 ปี โดยอาจเกิดขึ้นกับอัณฑะข้างใดข้างหนึ่งหรือเกิดขึ้นพร้อมกันทั้งสองข้างก็ได้

โรคมะเร็งอัณฑะมีหลายชนิด แต่ที่พบได้มากที่สุด ได้แก่ มะเร็งอัณฑะ ที่เกิดจากเจิร์มเซลล์ โดยสามารถแบ่งออกได้เป็นสองชนิดหลักๆ คือ ชนิดไม่ใช่เซมิโนมา ( Non-Seminoma ) และชนิดเซมิโนมา ( Seminoma ) ซึ่งหากเทียบระดับความรุนแรงแล้ว โรคมะเร็งอัณฑะชนิดไม่ใช่เซมิโนมาจะมีความรุนแรงสูงกว่าชนิดเซมิโนมามาก

อาการมะเร็งอัณฑะ

อาการมะเร็งอัณฑะยังไม่มีอาการที่ชี้เฉพาะของโรค แต่จะมีอาการผู้ป่วยมะเร็งอัณฑะคล้ายกับการอักเสบทั่วไป โดยอาการที่มักจะพบได้บ่อยๆ และสามารถสังเกตอาการมะเร็งอัณฑะได้ว่าอาจจะเป็นโรคมะเร็งอัณฑะ มีดังนี้

  • อัณฑะบวมกว่าปกติและอาจมีอาการเจ็บร่วมด้วย หรือในบางคนอาจเจ็บอัณฑะอย่างเดียว
  • คลำเจอก้อนเนื้อผิดปกติที่อัณฑะ ซึ่งก้อนเนื้อที่คลำพบอาจมีอาการเจ็บหรือไม่ก็ได้

โดยการวินิจฉัยโรคมะเร็งอัณฑะแพทย์จะสอบถามจากประวัติอาการของผู้ป่วย ทำการตรวจร่างกายและคลำลูกอัณฑะ รวมถึงการตรวจอัลตร้าซาวด์ และเพื่อให้ได้ผลการตรวจที่แน่ชัด แพทย์จะทำการผ่าตัดอัณฑะออกมาตรวจทางพยาธิวิทยา โดยจะทำให้ทราบว่าผู้ป่วยเป็นมะเร็งอัณฑะหรือไม่และสามารถตรวจระยะของโรคมะเร็งได้อีกด้วย

ระยะของมะเร็งอัณฑะ

โรคมะเร็งอัณฑะเป็นโรคมะเร็งชนิดที่มีความรุนแรงต่ำ ดังนั้นจึงมีเพียงแค่ 3 ระยะ และมีโอกาสรักษาให้หายขาดได้มากกว่ามะเร็งชนิดอื่นๆ

ระยะที่ 1 เป็นระยะที่มะเร็งยังคงลุกลามอยู่เฉพาะในอัณฑะเท่านั้น หรืออาจลุกลามเข้าสู่ถุงอัณฑะ

ระยะที่ 2 เป็นระยะที่มะเร็งได้ลุกลามเข้าสู่ต่อมน้ำเหลือง โดยอาจคลำเจอต่อมน้ำเหลืองโตได้

ระยะที่ 3 เป็นระยะที่มะเร็งมีการแพร่เข้าสู่กระแสเลือดและแพร่ไปยังอวัยวะที่อยู่ไกลออกไป โดยส่วนใหญ่มักจะพบที่ปอดและสมองมากที่สุด ซึ่งระยะนี้จะตรวจพบค่าสารทูเมอร์มาร์กเกอร์ในเลือดสูงมาก

การรักษามะเร็งอัณฑะ

การรักษาโรคมะเร็งอัณฑะแพทย์จะนิยมใช้วิธีการผ่าตัด ร่วมกับการทำเคมีบำบัดและรังสีรักษาซึ่งก็ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ด้วยว่าจะใช้วิธีไหน ซึ่งหากผู้ป่วยมีการตอบสนองต่อการรักษาได้ดีก็จะทำให้รักษาหายง่ายขึ้น

แม้ว่าจะเข้าสู่ระยะการแพร่กระจายไปยังอวัยวะที่อยู่ไกลออกไปแล้วก็ตาม แต่หากผู้ป่วยมีอาการดื้อยา ก็จะทำให้การรักษาไม่ได้ผลเท่าที่ควรได้สำหรับวิธีการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งอัณฑะให้พบตั้งแต่ระยะเริ่มแรกยังไม่มีวิธีที่สามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งแพทย์แนะนำให้หมั่นสังเกตความผิดปกติของตัวเอง

โดยหากพบว่าอัณฑะมีอาการเจ็บ บวมหรือคลำเจอก้อนผิดปกติ ให้รีบไปพบแพทย์ทันที เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยและรักษาอย่างเร่งด่วนส่วนวิธีการป้องกันก็ยังไม่มีวิธีที่มีประสิทธิภาพเช่นกัน ซึ่งสามารถทำได้ด้วยการหลีกเลี่ยงปัจจัยที่เป็นสาเหตุ โดยเฉพาะหญิงตั้งครรภ์ หากพบว่าตั้งครรภ์ลูกชายควรระมัดระวังการบริโภคอาหารและยาในขณะตั้งครรภ์ให้ดี

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

Some facts about testicular cancer, American Cancer Society.”Marijuana Use Linked To Increased Risk Of Testicular Cancer”. Cancer. 115 (6) : 1215–23. PMC 2759698 Freely accessible.

Would it be better to use MRI scans instead of CT scans to monitor men with early stage testicular cancer? And is it safe to use less CT scans than we do now?”. Medical Research Council. Retrieved 4 December 2011.

George J. (2005). “82. Testicular Cancer”. In Kasper, Dennis L.; Jameson, J. Larry. Harrison’s Principles of Internal Medicine (16th ed.). McGraw-Hill. pp. 550–553. ISBN 0-07-139140-1.

มะเร็งรังไข่ อาการ สาเหตุ และการรักษา ( Ovarian Cancer )

0
สาเหตุ อาการ วิธีรักษาโรคมะเร็งรังไข่ (Ovarian Cancer)
มะเร็งรังไข่ เป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยเป็นอันดับ 2 ของมะเร็งระบบอวัยวะสืบพันธุ์สตรี พบได้ในผู้หญิงหลายช่วงวัยทั้งในวัยเด็กและวัยเจริญพันธุ์
สาเหตุ อาการ วิธีรักษาโรคมะเร็งรังไข่ (Ovarian Cancer)
มะเร็งรังไข่ เป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยเป็นอันดับ 2 ของมะเร็งระบบอวัยวะสืบพันธุ์สตรี พบได้ในผู้หญิงหลายช่วงวัยทั้งในวัยเด็กและวัยเจริญพันธุ์

มะเร็งรังไข่

มะเร็งรังไข่ ( Ovarian Cancer ) อาการจะแสดงออกหลากชนิด มะเร็งรังไข่ จะเกิดที่อวัยวะภายในผู้หญิงเท่านั้น รังไข่ ในเพศหญิงจะอยู่บริเวณอุ้งเชิงกรานหรือช่องท้องน้อย ติดกับส่วนปลายเปิดของปีกมดลูก โดยรังไข่จะทำหน้าที่ในการผลิตเซลล์ไข่ออกมาเพื่อรอการผสมพันธุ์กับตัวอสุจิของผู้ชาย และเกิดการปฏิสนธิจนเป็นทารกในที่สุด รวมถึงมีหน้าที่ในการสร้างฮอร์โมนเพศหญิงอีกด้วย ซึ่งรังไข่นั้นจะมี 2 ข้างซ้ายขวา และมีโอกาสเป็นโรค มะเร็งรังไข่ ได้ทั้งสองข้าง โดยอาจพบมะเร็งรังไข่ข้างเดียวหรือพร้อมกับทีเดียวทั้งสองข้างเลยก็ได้ อย่างไรก็ขึ้นอยู่กับชนิดของเซลล์มะเร็งและระยะของโรคอีกด้วย

รังไข่ก็ประกอบไปด้วยเซลล์หลายชนิด โดยทุกชนิดสามารถเกิดมะเร็งได้ทั้งหมด เช่น เซลล์สร้างไข่ เซลล์สร้างฮอร์โมน เซลล์เนื้อเยื่อบุผิว ( Epitthlium ) เซลล์ต่อมน้ำเหลือง เส้นเลือดและเจิร์มเซลล์ ( Germ Cell ) เป็นต้น แต่ทั้งนี้ที่มักจะพบได้มากที่สุด ก็คือมะเร็งรังไข่ที่เกิดจากเซลล์เนื้อเยื่อบุผิว ยกเว้นในวัยเด็กจนถึงวัยรุ่น มักจะพบมะเร็งรังไข่จากเจิร์มเซลล์ได้มากที่สุด แต่อย่างไรโอกาสที่จะพบมะเร็งรังไข่ในวัยเด็กก็มีน้อยมากเช่นกัน

สาเหตุของมะเร็งรังไข่

สาเหตุที่แท้จริงของมะเร็งรังไข่ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัดเช่นเดียวกับมะเร็งชนิดอื่นๆ แต่เชื่อว่าน่าจะเกิดจากหลายปัจจัยรวมกัน โดยปัจจัยที่ทางแพทย์ชี้ว่าน่าจะเป็นสาเหตุของมะเร็งรังไข่ มีดังนี้

  1. ความผิดปกติทางพันธุกรรมบางชนิด ที่เกี่ยวข้องกับการแบ่งตัวหรือการตายของเซลล์ปกติทั้งชนิดที่ถ่ายทอดได้และไม่สามารถถ่ายทอดได้
  2. โรคอ้วน เป็นผลให้ฮอร์โมนเกิดการแปรปรวนและส่งผลให้เป็นมะเร็งรังไข่ได้ง่ายเช่นกัน
  3. คนที่มีลูกน้อย มีลูกยากหรือไม่มีเลย และได้รับฮอร์โมนกระตุ้นกรณีที่มีบุตรยาก
  4. คนที่ประจำเดือนมาเร็วตั้งแต่อายุยังน้อย และประจำเดือนหมดช้ากว่าปกติ
  5. เคยเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่หรือมะเร็งเต้านมมาก่อน จะทำให้มีโอกาสเป็นมะเร็งรังไข่ได้สูง
  6. การทานฮอร์โมนเพศบางชนิดอย่างต่อเนื่อง เป็นเวลานาน
  7. รับฮอร์โมนเอสโตรเจนทดแทนในช่วงหมดประจำเดือนติดต่อกันเกิน 5 ปี
  8. การสูบบุหรี่ เพราะสารพิษในบุหรี่อาจไปกระตุ้นให้เกิดเป็นมะเร็งได้
  9. มีอายุมากขึ้น
  10. มีความเครียดสะสม

ชนิดของมะเร็งรังไข่

นอกจากนี้มะเร็งรังไข่ยังพบได้บ่อยทั้งในวัยเด็ก  จนถึงวันสูงอายุเลยทีเดียว แต่มักจะพบในวัยใกล้หมดประจำเดือนมากที่สุด ซึ่งชนิดของมะเร็งรังไข่ก็จะแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้

  • เจิร์มเซลล์ เป็นกลุ่มที่พบได้มากในวัยเด็กและวัยสาว
  • เซลล์เนื้อเยื่อบุผิว โดยจะมี 2 ชนิดย่อยคือ อีพีทีเลียมคาร์ซิโนมา หรือ อะดีโนคาร์ซิโนมา ( Epithelial Carcinoma, Adenocarcinoma ) มักจะพบในวัยผู้ใหญ่มากที่สุด และมีความรุนแรงเป็นอย่างมาก

บริเวณที่เกิดมะเร็งรังไข่

1.1 มะเร็งเยื่อบุผิวรังไข่ ( Ovarian Epithelial Carcinoma )

มีจุดเริ่มต้นอยู่ที่เยื่อบุผิวรังไข่ เป็น มะเร็งรังไข่ ที่พบมากที่สุด คือร้อยละ 90 ของมะเร็งรังไข่ทั้งหมด สามารถพบได้ในผู้ที่มีอายุมากแล้ว ตั้งแต่ 56- 60 ปีขึ้นไป มีด้วยกันหลายชนิด ชนิดที่พบมากที่สุดคือชนิดซีรัส ซีสตาดีโนคาร์ซิโนมา

มะเร็งเยื่อบุผิวรังไข่ เป็นมะเร็งที่มีรุนแรงสูง เพราะมักจะพบได้ที่รังไข่ทั้งสองข้าง ผู้ป่วยมากกว่าร้อยละ 75 มักจะมาพบแพทย์เมื่อมีอาการของโรคอยู่ที่ระยะที่ 3 ไปแล้ว จึงทำให้มีโอกาสรอดชีวิตน้อยมาก

1.2 มะเร็งฟองไข่ ( Germ Cell Tumor )

มีจุดเริ่มต้นอยู่ที่ฟองไข่ สามารถพบได้ร้อยละ 5 ของมะเร็งรังไข่ทั้งหมด ชนิดที่พบมากที่สุดมี 2 ชนิด คือ ชนิดดิสเจอร์มิโนมา และอิมเมเชอร์เทอราโทมา มะเร็งรังไข่ในฟองไข่ มักจะเกิดกับผู้ป่วยที่มีอายุน้อยกว่า 20 ปี มีอาการของโรคที่ไม่รุนแรงมากนัก เพราะจะเกิดขึ้นที่รังไข่ข้างเดียว ถ้าหากพบแพทย์เร็วก็มีโอกาสรักษาหายได้มากถึงร้อยละ 60-85

1.3 มะเร็งเนื้อเยื่อรังไข่ ( Sex Cord-Stromal Tumor )

มีจุดเริ่มต้นที่เนื้อเยื่อรังไข่ พบได้ร้อยละ 8 ของมะเร็งรังไข่ทั้งหมด สามารถพบได้ในผู้หญิงอายุ 40-70 ปี มะเร็งรังไข่ บริเวณเนื้อเยื่อรังไข่มักจะสร้างฮอร์โมนเพศขึ้นมาเอง ชนิดที่สร้างฮอร์โมนเพศหญิง คือชนิดกรานูโลซาเซลล์ และชนิดที่สร้างฮอร์โมนเพศชาย คือ ชนิดเซอร์โตไล-เลย์ดิกเซลล์

อาการของโรคไม่รุนแรงมากนัก เพราะจะเกิดขึ้นที่รังไข่ข้างเดียว และไม่มีการแพร่กระจายไปที่อื่น ด้วยเหตุนี้จึงทำให้การรักษาค่อนข้างง่าย แค่ผ่าตัดเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ถ้าพบแพทย์เร็วก็มีโอกาสรอดชีวิตร้อยละ 70-90 แต่อาจต้องระวังการกลับมาเป็นซ้ำอีกครั้งเมื่อเวลาผ่านไป 15 ปี

1.4 มะเร็งมาจากหลายแหล่ง

เป็นมะเร็งรังไข่ที่มีจุดเริ่มต้นในการเกิดบริเวณเยื่อบุผิวรังไข่ร่วมกับฟองไข่ หรือร่วมกับเนื้อเยื่อรังไข่ ( Mixed Tumors ) จึงทำให้โรคค่อนข้างมีความรุนแรงพอสมควร

1.5 มะเร็งรังไข่ชนิดอื่นๆ ( Unclassified )

เกิดขึ้นที่บริเวณกล้ามเนื้อรังไข่ ( Sercoma ) สามารถพบได้น้อยมาก แต่ถ้าหากว่าพบก็ยากที่จะรักษา จากที่ผ่านมาพบว่าไม่มีผู้ป่วยคนใดที่เป็นมะเร็งชนิดนี้อยู่รอดเกิน 1 ปี

1.6 มะเร็งรังไข่ที่เป็นจากมะเร็งที่กระจายมาจากแหล่งอื่น

ผู้ป่วยอาจเป็นมะเร็งชนิดอื่นมาก่อน เช่น มะเร็งปากมดลูก มะเร็งมดลูก หรือมะเร็งเต้านม ที่เรียกรวมกันว่าเนื้องอกครุกเคนเบิร์ก ( Krukenberg Tumor ) มีอาการรุนแรง ผู้ป่วยน้อยคนที่มีชีวิตอยู่รอดเกิน 2 ปี

อาการของมะเร็งรังไข่

มะเร็งรังไข่ส่วนใหญ่จะมีอาการเมื่อโรคได้ลุกลามไประดับหนึ่งแล้ว แต่ไม่ใช่อาการเฉพาะ ซึ่งจะมีอาการคล้ายกับโรคทั่วๆไป โดยต้องลองสังเกตตัวเองดู อย่างไรก็ตามมะเร็งรังไข่ก็ถือเป็นโรคที่ทำการวินิจฉัยได้ยากที่สุด โดยมีอาการที่สามารถสังเกตได้ดังนี้

  • อึดอัดและแน่นท้อง โดยอาจเป็นขึ้นมาเฉยๆ หรือเป็นหลังจากการทานอาการก็ได้
  • ประจำเดือนมาผิดปกติ ที่มักจะพบบ่อยที่สุดก็คือ มามาก มาบ่อยและมาแบบขาดๆ หายๆ คือมาบ้างไม่มาบ้างนั่นเอง
  • มีอาการปวดถ่ายปัสสาวะบ่อยและอาจติดขัดบ้าง นั่นก็เพราะมะเร็งได้ลุกลามเข้าสู่อุ้งเชิงกราน หรือก้อนเนื้อมะเร็งมีขนาดโตมากจนเบียดทับกระเพาะปัสสาวะ
  • มีอาการท้องผูก ขับถ่ายลำบาก โดยเกิดจากการที่มะเร็งได้ลุกลามเข้าสู่อุ้งเชิงกรานหรือก้อนเนื้อมีขนาดโตมากจนไปเบียดทับทวารหนัก
  • คลำเจอก้อนเนื้อผิดปกติในอุ้งเชิงกราน เนื่องจากก้อนมะเร็งมีขนาดโตจนคลำเจอได้
  • มีอาการท้องบวม เพราะมะเร็งได้ลุกลามเข้าสู่เยื่อบุช่องท้อง ทำให้มีน้ำมะเร็งในช่องท้อง และส่งผลให้ท้องบวมออกมามากขึ้น

สำหรับการวินิจฉัย นอกจากแพทย์จะสอบถามประวัติอาการของผู้ป่วยตามนี้แล้ว ก็จะทำการตรวจร่างกายและตรวจดู สารทูเมอร์มาร์กเกอร์ของ มะเร็งรังไข่รวมถึงอัลตราซาวด์และทำการผ่าตัดเอาชิ้นเนื้อมาตรวจทางพยาธิวิทยา ซึ่งจะทำให้ทราบผลการตรวจที่แน่ชัดมากขึ้น โดยเหตุผลที่จะต้องผ่าตัดนำชิ้นเนื้อมาตรวจเท่านั้น เป็นเพราะหากทำการตรวจชิ้นเนื้อจากภายนอกโดยไม่ผ่าตัด จะเสี่ยงต่อการเกิดลำไส้ทะลุ และทำให้มะเร็งลุกลามเข้าช่องท้องอย่างรวดเร็วได้นั่นเอง

ระยะของมะเร็งรังไข่

การตรวจหาระยะของโรคมะเร็งรังไข่จะทำเช่นเดียวกับการตรวจหามะเร็งรังไข่ โดยส่วนใหญ่ตรวจเพียงครั้งเดียวก็จะทราบระยะของโรคในทันที ซึ่งโรคมะเร็งรังไข่ก็มีทั้งหมด 4 ระยะดังนี้

มะเร็งรังไข่ ระยะที่ 1 เป็นระยะที่มะเร็งยังคงลุกลามอยู่เฉพาะในรังไข่เท่านั้น แต่ก็อาจลุกลามเข้าสู่เยื่อบุช่องท้องได้เหมือนกัน โดยระยะนี้จะตรวจพบได้ด้วยวิธีทางเซลล์วิทยาและพยาธิวิทยา

มะเร็งรังไข่ ระยะที่ 2 เป็นระยะที่มะเร็งได้ลุกลามเข้าไปในเนื้อเยื่อ ต่อมน้ำเหลืองในอ้งเชิงกรานและอวัยวะใกล้เคียง

มะเร็งรังไข่ ระยะที่ 3 เป็นระยะที่มะเร็งได้ลุกลามไปสู่เนื้อเยื่อ ต่อมน้ำเหลือง อวัยวะใกล้เคียง และเข้าสู่เยื่อบุช่องท้องจนทำให้มีน้ำมะเร็งในท้อง และมีอาการท้องบวมผิดปกติ

มะเร็งรังไข่ ระยะที่ 4 เป็นระยะที่มีความรุนแรงที่สุด โดยมะเร็งได้แพร่กระจายไปยังอวัยวะที่อยู่ไกลออกไป ผ่านทางการแพร่เข้าสู่กระแสเลือด ซึ่งที่พบบ่อยๆ ได้แก่ ปอดและตับ

การรักษาโรคมะเร็งรังไข่

1. การผ่าตัด ( เป็นการรักษาโรคมะเร็งรังไข่ได้ดีที่สุด )

ผู้ป่วยที่มีอายุน้อย และพบก้อนเนื้อมะเร็งที่รังไข่เพียงข้างเดียว แพทย์ก็จะทำการผ่าตัดรังไข่ข้างที่เกิดปัญหาออกไป ซึ่งก็จะทำให้การรักษาหายเป็นปกติได้

แต่ถ้าหากผู้ป่วยอายุมาก แล้วพบก้อนเนื้อมะเร็งที่รังไข่สองข้าง หรือเชื้อมะเร็งเริ่มมีการกระจายตัวไปที่อื่น แพทย์ก็จะทำการตัดมดลูกและตัดเยื่อไขมันของลำไส้ ( Omentum ) พร้อมกับตัดต่อมน้ำเหลืองเพื่อหาเซลล์มะเร็ง แต่ถ้าหากว่าสามารถมองเห็นก้อนมะเร็งที่กำลังแพร่กระจายด้วยสายตา แพทย์ก็จะผ่าตัดออกให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อเพิ่มโอกาสในการรอดชีวิตของผู้ป่วย

2. รักษาด้วยเคมีบำบัด

การรักษาด้วยเคมีบำบัด ก็เป็นอีก 1 วิธีมาตรฐานในการรักษาโรค มะเร็งรังไข่ ที่ได้ผลดี ผู้ป่วยมีโอกาสรอดชีวิตสูงและไม่ค่อยพบการกลับมาเป็นซ้ำ โดยใช้สูตรดังต่อไปนี้

  • โรคมะเร็งเยื่อบุผิวรังไข่ รักษาโดย คาร์โบพลาติน ( Carboplatin ) และ แพคลิแทกเซล ( Paclitaxel )
  • โรคมะเร็งฟองไข่ รักษาโดย บลีโอมัยซิน ( Bleomycin ) อีโทโพไซด์ ( Etoposide ) และ ซีสพลาติน ( Cisplatin )
  • แพทย์มักทำการรักษาด้วยเคมีบำบัด ในกรณีดังนี้
  • ไม่สามารถผ่าตัดโรคมะเร็งออกไปได้ทั้งหมด
  • มะเร็งบางชนิดมีการแพร่กระจายไวมาก และอาจพบการดื้อยาเคมีบำบัด จึงอาจจะต้องมีการปรับรูปแบบในการให้ยา เช่น ใส่เข้าไปในช่องท้องหลังผ่าตัด , ให้ทางเส้นเลือด หรือแบบรับประทาน

3. รักษาด้วยรังสีรักษา และฮอร์โมนบำบัด

วิธีการรักษาด้วยรังสีรักษา ( ฉายแสง )

แพทย์มักจะเลือกใช้เป็นการรักษาร่วมกับการผ่าตัดหรือเคมีบำบัด โดยเฉพาะมะเร็งรังไข่ที่ไวต่อการฉายแสงบริเวณช่องท้อง เช่น มะเร็งรังไข่ ชนิดที่สร้างจากฟองไข่ และมะเร็งรังไข่ที่สร้างจากเนื้อเยื่อรังไข่บางชนิด

วิธีการรักษาฮอร์โมนบำบัด

จากการใช้ยาต้านฮอร์โมนในการรักษาโรคมะเร็งรังไข่ พบว่ายาทาม็อกซิเฟน เมื่อนำมาใช้รักษามะเร็งรังไข่ชนิดที่มีการแบ่งตัวดี สามารถตอบสนองได้มากถึงร้อยละ 15-20 นอกจากนั้นยังพบว่าการใช้ยาที่ห้ามการหลั่งฮอร์โมนเพศหญิง ( Gonadotropin Agonist ) ก็ได้ผลกับมะเร็งรังไข่บางชนิด

การป้องกันการเกิดโรคมะเร็งรังไข่

ผู้หญิงทุกคนมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรค มะเร็งรังไข่ เพราะฉะนั้นเราจึงขอแนะนำการป้องกันการเกิดโรคมะเร็งรังไข่ดังต่อไปนี้

  • ในกรณีที่มีการเจ็บป่วยจนถึงขั้นต้องตัดมดลูกทิ้ง ควรลองปรึกษาแพทย์ดูถึงการตัดรังไข่ทั้งสองข้างออกให้หมด ถึงแม้ว่าคุณจะหมดประจำเดือนไปแล้ว แต่ก็ยังมีโอกาสสูงที่จะเป็นโรค มะเร็งรังไข่ ได้
  • ควรพิจารณาในการตัดรังไข่ทิ้งทั้งสองข้าง ถ้าหากว่าคุณมีความเสี่ยงในการกระจายโรคมะเร็งอื่น ๆ ไปยังรังไข่ได้ โดยเฉพาะโรคมะเร็งที่ต้องทำการรักษาด้วยการผ่าตัดเปิดช่องท้องอยู่แล้ว เช่น เป็นมะเร็งรังไข่อีกข้าง มะเร็งลำไส้ มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งเต้านม เป็นต้น
  • ควรทำอย่างไรก็ได้ให้รังไข่มีการใช้งานน้อย หรือหยุดทำงานมากที่สุด เช่น แต่งงานเร็ว มีบุตรหลายคน ให้นมบุตรต่อเนื่องนานกว่า 6 เดือน รับประทานยาคุมกำเนิด
  • ดูแลตัวเองสม่ำเสมอ ออกกำลังกายเป็นประจำ ทานอาหารที่มีประโยชน์ ไม่เครียด และไม่ปล่อยให้ตัวเองอ้วน

การตรวจติดตามผลภายหลังการรักษาโรคมะเร็งรังไข่

เมื่อมีการให้เคมีบำบัดครบ แพทย์อาจจะผ่าตัดซ้ำอีกครั้งเพื่อตรวจดูเชื้อมะเร็งรังไข่ที่อาจจะยังหลงเหลืออยู่ หรือที่เกิดขึ้นมาใหม่ เพื่อจะได้ผ่าออกให้หมด หรือผ่าให้ได้มากที่สุด และเมื่อการรักษาครบถ้วนแล้ว แพทย์ก็จะนัดตรวจทุก 3-4 เดือนในช่วงเวลา 1 ปีแรก และเปลี่ยนมาเป็นทุก 4-6 เดือน ในช่วงเวลา 2-3 ปี ถ้าเกิน 5 ปีอาจจะเป็นทุก 6-12 เดือน

ในการตรวจร่างกายตามนัดของแพทย์ แพทย์จะทำการตรวจภายในเพื่อดูว่ามีก้อนมะเร็งกลับมาเป็นซ้ำใหม่หรือไม่ รวมถึงการเจาะเลือดเพื่อตรวจหาสารเคมีของ มะเร็งรังไข่ ชนิดที่ผู้ป่วยเคยเป็นเพื่อเปรียบเทียบกับค่าที่เคยตรวจพบ ถ้าหากว่าเท่าเดิมหรือลดลง ก็แปลว่าโอกาสที่หายขาดจะมีสูง นอกจากนั้นแพทย์อาจจะทำการตรวจเพิ่มเติม เช่น อัลตราซาวด์ดูในช่องท้อง หรือส่งเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ถ้าหากสงสัยว่าจะมีโอกาสกลับมาเป็นใหม่ หรือมีการกระจายไปยังอวัยวะส่วนอื่น ๆ

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

“Genetics of Breast and Ovarian Cancer”. National Cancer Institute. 2 October 2014. Archived from the original on 22 October 2014. Retrieved 27 October 2014.

Moll HD, Garrett PD (1987). “Diagonal paramedian approach for removal of ovarian tumors in the mare”. Vet Surg. 16.

มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก ( Endometrial Cancer ) สาเหตุ อาการ และการรักษา

0
สาเหตุ อาการและวิธีการรักษาโรคมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก (Endometrial Cancer)
โรคมะเร็งเยื่อบุมดลูก เป็น โรคมะเร็งที่เกิดกับเยื่อบุโพรงมดลูกด้านในสุดของมดลูก พบในผู้หญิงอายุ 40 ปี
สาเหตุ อาการและวิธีการรักษาโรคมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก (Endometrial Cancer)
โรคมะเร็งเยื่อบุมดลูก เป็นโรคมะเร็งที่เกิดกับเยื่อบุโพรงมดลูกด้านในสุดของมดลูก พบในผู้หญิงอายุ 40 ปี

มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก

มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก ( Endometrial Cancer ) คือ โรคมะเร็งที่เกิดกับเยื่อบุโพรงมดลูก โดยชนิดที่พบได้มากที่สุดก็คือชนิดอะดีโนคาร์ซิโนมา ซึ่งมีความรุนแรงในระดับปานกลาง ส่วนอาการของมะเร็งชนิดนี้ ยังไม่มีอาการที่บ่งชี้เฉพาะได้ แต่สามารถสังเกตได้จากอาการที่มักจะพบได้บ่อยๆ โดยมีความคล้ายคลึงกับการมีประจำเดือนผิดปกติ และมะเร็งปากมดลูกนั่นเอง 

เยื่อบุโพรงมดลูก หรือเยื่อบุมดลูก ( Endometrium ) คือ เยื่อเมือกบุภายในโพรงของมดลูก ซึ่งในคนปกติเยื่อบุโพรงมดลูกมีความหนาประมาณ 5-6.7 มิลลิเมตร เป็นผนังด้านในสุดของมดลูก ซึ่งในแต่ละรอบประจำเดือนเยื่อบุโพรงมดลูกจะได้รับการกระตุ้นจากฮอร์โมนเพศหญิงจากรังไข่ให้เจริญเติบโตหนาตัวขึ้น เพื่อช่วยปกป้องให้ทารกเจริญเติบโตอยู่ในครรภ์มารดาอย่างปลอดภัย แต่ถ้าไม่มีการฝังตัวของไข่ เยื่อบุโพรงมดลูกจะลอกออก เกิดเป็นประจำเดือน แต่ถ้ามีการฝังตัวของไข่ที่ผสมแล้ว เยื่อบุโพรงมดลูกจะเจริญกลายเป็นรก ซึ่งเป็นทางผ่านของออกซิเจน และอาหารจากเลือดของแม่สู่ทารก โดยเยื่อบุโพรงมดลูกจะเป็นเนื้อเยื่อที่มีการสร้างขึ้นใหม่และสลายไปอยู่ตลอดเวลา กล่าวคือในทุกเดือนร่างกายจะมีการสร้างเยื่อบุโพรงมดลูกขึ้นมา หากไม่มีประจำเดือน ก็จะสลายออกมาเป็นประจำเดือน และมีการสร้างใหม่เพื่อทดแทน

ใครบ้างที่เสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก

มะเร็งเติบโตจากการกระตุ้นของฮอร์โมนเพศหญิงหรือเอสโตรเจน ดังนั้นเมื่อฮอร์โมนเหล่านี้มีมากผิดปกติก็จะทำให้เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งชด้วยซึ่ง ได้แก่
1. ฮอร์โมนวัยทอง ฮอร์โมนวัยทองมีหลายชนิดและหลายส่วนประกอบ บางชนิดสามารถกระตุ้นมะเร็งได้มาก
2. สมุนไพร สมุนไพรกบางชนิดมีเอสโตรเจนปริมาณสูง เช่น กวาวเครือ และอีกหลายชนิดมีเอสโตรเจนแฝงอยู่โดยไม่รู้ อาจทำให้เลือดระดูออกผิดปกติหรือเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกได้
3. ความอ้วนในชั้นไขมันของคนเราเป็นที่สะสมของเอสโตรเจน ดังนั้นยิ่งอ้วนมากยิ่งมีความเสี่ยงเป็นโรคนี้มากขึ้น
4. ยารักษามะเร็งเต้านม ในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมหลังผ่าตัด บางรายแพทย์แนะนำให้รับประทานยาป้องกันการกลับเป็นซ้ำ ( ทามอกซิเฟน ) ซึ่งยานี้มีลักษณะคล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจนจึงกระตุ้นให้เยื่อบุโพรงมดลูกผิดปกติได้ จึงสมควรได้รับการตรวจติดตามอย่างใกล้ชิด
5. ภาวะไข่ไม่ตกเรื้อรัง ซึ่งมักมีอาการประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ เมื่อเป็นมากๆ อาจมีสิว ผิวมัน ขนดกร่วมด้วยกลุ่มนี้มีเอสโตรเจนสูงเช่นกัน   
6. โรคเยื่อบุโพรงมดลูกหนาผิดปกติ ซึ่งถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมมีโอกาสกลายเป็นมะเร็งได้
7. ประวัติพันธุกรรม ญาติสายตรง เป็นมะเร็งสำไส้ใหญ่
8. ผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง หรือเบาหวาน อาจส่งผลต่อการป่วยมะเร็งได้เช่นกัน
9. ผู้ที่มีน้ำหนักเกิน หรือเป็นโรคอ้วน เพราะโรคอ้วนมีผลต่อฮอร์โมน ทำให้การทำงานของมดลูกผิดปกติและอาจกลายพันธุ์เป็นมะเร็งได้
10. ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน รวมถึงผู้ที่มีประจำเดือนเร็วตั้งแต่อายุยังน้อย และผู้ที่หมดประจำเดือนช้าเกินจากอายุ 55 ปีขึ้นไป

อาการของมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก

1. เลือดออกทางช่องคลอดหลังวัยหมดประจำเดือน
2. ตกขาวผิดปกติและมีกลิ่นอันไม่พึงประสงค์ คล้ายกับโรคมะเร็งปากมดลูก
3. ประจำเดือนมาผิดปกติ ในคนที่ยังไม่พ้นวัยหมดประจำเดือน เช่น ประจำเดือนมามาก มาน้อย หรือมาครั้งละหลายวันนานกว่าปกติ
4. คลำเจอมดลูกโตบริเวณเหนือหัวหน่าวในอุ้งเชิงกรานหรือบริเวณช่องท้องน้อย
5. ปัสสาวะมีอาการผิดปกติ เช่น ปัสสาวะบ่อยเกินไป และมีอาการแสบขัด
6. อุจจาระมีอาการผิดปกติ เช่น ท้องผูกบ่อยๆ และมักจะปวดเบ่งเวลาอุจจาระ
7. มีอาการปวดท้องน้อยเรื้อรังและรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ

ระยะของมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก

สำหรับการวินิจฉัยโรคหรือระยะของโรคมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกแพทย์จะทำการสอบถามประวัติอาการของผู้ป่วย ตรวจร่างกาย และทำการขูดมดลูกเพื่อนำชิ้นเนื้อไปตรวจทางพยาธิวิทยา ซึ่งจะทำให้ได้ผลลัพธ์ที่แม่นยำยิ่งขึ้น และทราบด้วยว่ากำลังป่วยด้วยโรคมะเร็งระยะไหน โดยมี 4 ระยะ ดังนี้
ระยะที่ 1 เป็นระยะที่มะเร็งยังคงลุกลามอยู่ภายในตัวมดลูกเท่านั้น โดยหากพบในระยะนี้จะสามารถรักษาให้หายได้ง่าย   
ระยะที่ 2 เป็นระยะที่มะเร็งเริ่มลุกลามเข้าสู่ปากมดลูก
ระยะที่ 3 เป็นระยะที่มะเร็งลุกลามไปมาก โดยส่วนใหญ่จะลุกลามเข้าสู่รังไข่ ช่องคลอด เยื่อหุ้มมดลูกและเนื้อเยื่อรอบมดลูกบริเวณอุ้งเชิงกรานหรือท้องน้อย
ระยะที่ 4 เป็นระยะที่อันตรายที่สุด โดยมะเร็งได้ลุกลามเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะและทวารหนัก รวมถึงอวัยวะที่อยู่ไกลออกไป ด้วยการแพร่กระจายเข้าสู่กระแสเลือดและน้ำเหลือง โดยเฉพาะปอด

การรักษามะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก

การรักษามะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกนิยมใช้วิธีการผ่าตัดเพื่อประเมินการลุกลามของโรคและพิจารณาวิธีการรักษาที่เหมาะสม โดยอาจรักษาด้วยการใช้รังสีรักษาหรือการทำเคมีบำบัดร่วมกัน รวมถึงการให้ฮอร์โมน ซึ่งทั้งนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับระยะ ความรุนแรงของโรคและสุขภาพของผู้ป่วยเองด้วย ส่วนอีกวิธีหนึ่ง การให้ยารักษาตรงเป้ายังคงอยู่ในระหว่างการศึกษาเพิ่มเติมโดยยังไม่แน่ชัดว่าจะมีประสิทธิภาพในการรักษามากแค่ไหน

การป้องกันมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก

  1. ปรึกษาแพทย์เมื่อมีความผิดปกติหลังวัยหมดประจำเดือน
  2. ออกกำลังกายเป็นประจำ และควบคุมน้ำหนัก
  3. ทานยาคุมกำเนิดอาจลดความเสี่ยงมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก (ยาคุมกำเนิดมีผลข้างเคียง ควรปรึกษาแพทย์เพิ่มเติม)

ปัจจุบันยังไม่มีวิธีการตรวจคัดกรองที่มีประสิทธิภาพ จึงต้องอาศัยการสังเกตความผิดปกติซึ่งโรคมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกมักมีอาการเตือนแต่แรกเริ่ม โดยจะมีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอดที่ไม่ใช่ประจำเดือน หรือประจำเดือนมาผิดปกติ ซึ่งการพบแพทย์ตั้งแต่เริ่มมีอาการผิดปกติจะช่วยให้รักษาได้ทันแต่เนิ่นๆ โดยผ่าตัดและทำให้มีโอกาสรักษาหายได้สูง

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

Herzog T, Abu Shahin F (August 2014). “Endometrial cancer: A review and current management strategies: Part I”. Gynecologic Oncology. 134 (2): 385–392. PMID 24905773.

Reinbolt, “The Role of PARP Inhibitors in the Treatment of Gynecologic Malignancies”. Frontiers in Oncology. 3: 237.

Staley, H; McCallum, I; Bruce, J (17 October 2012). “Postoperative tamoxifen for ductal carcinoma in situ.”. The Cochrane database of systematic reviews.

มะเร็งปากมดลูก ( Cervical Cancer ) สาเหตุ อาการ และการรักษา

0
มะเร็งปากมดลูก สาเหตุ อาการ และการรักษาโรคมะเร็งปากมดลูก
มะเร็งปากมดลูก เป็นมะเร็งที่เกิดบริเวณปากมดลูกของผู้หญิง ไม่แสดงอาการในระยะแรก แต่จะมีอาการเมื่อเซลล์มะเร็งได้ลุกลามไปแล้ว
มะเร็งปากมดลูก สาเหตุ อาการ และการรักษาโรคมะเร็งปากมดลูก
มะเร็งปากมดลูก เป็นมะเร็งที่เกิดบริเวณปากมดลูกของผู้หญิง ไม่แสดงอาการในระยะแรก แต่จะมีอาการเมื่อเซลล์มะเร็งได้ลุกลามไปแล้ว

มะเร็งปากมดลูก

มะเร็งปากมดลูก ( Cervical Cancer ) คือ มะเร็งที่เกิดบริเวณปากมดลูกของผู้หญิง ซึ่งจะพัฒนาไปเป็นเซลล์มะเร็งในอนาคต และเป็นโรคมะเร็งที่พบในผู้หญิงมากเป็นอันดับ 2 รองจากมะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูกเกิดจากเชื้อไวรัสที่ชื่อว่า ฮิวแมมแปปปิโลมาไวรัส ( Human Papiloma Virus ) หรือเรียกสั้นๆว่า เชื้อ HPV ซึ่งมีผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตในแต่ละปีเป็นปริมาณมากทั้งในประเทศไทยและทั่วโลก มะเร็งปากมดลูกที่มีความรุนแรงของโรคสูงหากไม่ได้รับการตรวจสุขภาพประจำปี ก็แทบจะไม่รู้เลยว่าป่วยเป็นมะเร็งปากมดลูก เนื่องจากมักไม่มีอาการป่วยเบื้องต้นใดๆแสดงออกมา  ทำให้กว่าจะรู้ตัวว่าเป็นโรคชนิดนี้ก็จะอยู่ในช่วงที่อาการเริ่มหนักและรักษาได้ยาก

ปากมดลูก ( Cervix ) เป็น อวัยวะที่อยู่บริเวณตรงกลางของช่องท้องน้อยหรืออุ้งเชิงกราน ตรงกับเนินหัวหน่าว โดยด้านหลังจะติดกับลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง ส่วนด้านหน้าจะติดกับกระเพาะปัสสาวะ ซึ่งปากมดลูกเป็นส่วนปลายของตัวมดลูกและเป็นเนื้อเยื่อในระบบสูตินรีเวช และมดลูกมีหน้าที่เป็นทางผ่านของตัวอสุจิและประจำเดือน รวมถึงช่วยในการพยุงการตั้งครรภ์ เพื่อให้ทารกสามารถอยู่ในครรภ์

สาเหตุของการเกิดมะเร็งปากมดลูก

สำหรับสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูกพบว่าเกิดจากการติดเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งที่มีชื่อว่า เอชพีวี ( HPV ) โดยเป็นเชื้อที่จะติดต่อกันในขณะมีเพศสัมพันธ์ และนอกจากเชื้อดังกล่าวแล้ว ก็พบว่าสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากหลายปัจจัยเสี่ยง ซึ่งได้แก่

  • การสำส่อนทางเพศ ทำให้ติดเชื้อได้ง่าย โดยเฉพาะเมื่อไม่ใช้ถุงยางอนามัย
  • การมีลูกมาก ซึ่งจะมีโอกาสเป็นมะเร็งได้มากกว่าคนที่มีลูกน้อย
  • สามีมีเพศสัมพันธ์แบบสำส่อน ซึ่งอาจนำเชื้อมาติดภรรยาได้
  • เกิดจากการอักเสบเรื้อรังของปากมดลูก
  • อายุ โดยพบว่ามะเร็งปากมดลูกจะพบได้มากที่สุดในคนที่มีอายุ 45-55 ปี

เชื้อ HPV คืออะไร?

มะเร็งปากมดลูก จากฮิวแมมแปปปิโลมาไวรัส คือ โรคที่เกิดจากร่างกายติดเชื้อไวรัสชนิดที่เรียกว่า ไวรัสเอชพีวี ( HPV หรือ Human Papillomavirus ) หรือ อาจเรียกว่าไวรัสหูด ซึ่งเป็นไวรัสสายพันธุ์ในตระกูล ( Family ) Papillomavirus  มีหลายสายพันธุ์ย่อยมากมาย เป็นร้อยๆชนิด  มีทั้งชนิดที่ก่อให้เกิดมะเร็งและชนิดที่ไม่ก่อให้เกิดมะเร็ง แต่สายพันธุ์ที่ถือได้ว่ามีความอันตรายและส่งผลร้ายต่อสุขภาพมากที่สุดคือ สายพันธุ์ที่ 16 และ 18 ซึ่งเป็นเชื้อเอชพีวี ที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งปากมดลูก ได้มากถึง 70% เลยทีเดียว   

HPV ทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูกได้อย่างไร?

ปกติแล้วร่างกายของมนุษย์เรา หากมีความแข็งแรงปกติ ก็สามารถที่จะกำจัดเชื้อของ HPV ที่เข้าสู่ร่างกายได้เอง แต่ถ้าวันที่ร่างกายมีความอ่อนแอเกิดขึ้น และไม่สามารถกำจัดเชื้อ HPV ออกจากร่างกายได้ ก็จะส่งผลให้เชื้อเข้าสู่ร่างกาย ซึ่งจะต้องใช้เวลานานหลายปี หรือหลายสิบปี  กว่าจะทำให้เกิดความผิดปกติของเซลล์บริเวณปากมดลูกและกลายเป็นมะเร็งในที่สุด ส่วนมากเราจะพบผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งปากมดลูกในเด็กได้ค่อนข้างน้อย ผู้ป่วยส่วนมากมักมีอายุที่เกิน 30 ปีขึ้นไป

เราสามารถติดเชื้อ HPV ได้อย่างไร?

เชื้อเอชพีวี ( HPV ) ชนิดที่ก่อให้เกิดมะเร็งปากมดลูกโดยส่วยใหญ่จะสามารถติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หรือการสัมผัสทางผิวหนัง

https://www.youtube.com/watch?v=sfPLe1NliMg

อาการของโรคมะเร็งปากมดลูก

มะเร็งปากมดลูกยังไม่พบอาการที่ชี้เฉพาะ โดยอาการเริ่มต้นของมะเร็งปากมดลูกจะมีอาการคล้ายกับการอักเสบของมดลูกทั่วไป โดยแพทย์ได้ชี้ถึงอาการป่วยของมะเร็งปากมดลูกที่มักจะพบได้บ่อยๆ จากผู้ป่วยมะเร็งดังนี้

  • มีตกขาวผิดปกติและมีกลิ่นเหม็น โดยอาจมีอาการคันร่วมด้วย
  • มีเลือดออกมาทางช่องคลอด แต่ไม่ใช่ประจำเดือน
  • ประจำเดือนมาผิดปกติ โดยอาจมาน้อย มามาก หรือขาดในบางเดือน
  • มีอาการปวดท้องน้อยและปัสสาวะบ่อยจนผิดปกติ ซึ่งจะเกิดขึ้นในระยะที่มะเร็งลุกลามไปมากแล้ว
  • มีอาการท้องผูก
  • มีเลือดออกหลังจากมีเพศสัมพันธ์ ทั้งที่ไม่เคยเป็นมาก่อน

การวินิจฉัยและการตรวจคัดกรอง

การวินิจฉัยว่าผู้ป่วยกำลังเป็นมะเร็งปากมดลูกหรือไม่นั้น แพทย์จะเริ่มจากการสอบถามประวัติอาการของผู้ป่วย และทำการตรวจภายใน เพื่อนำเซลล์จากปากมดลูกไปตรวจแพปสเมียร์ และอาจมีการตัดชิ้นเนื้อไปตรวจทางพยาธิวิทยาเพื่อผลการตรวจที่แม่นยำมากขึ้นอีกด้วย

การตรวจแปปสเมียร์ (  Papsmear หรือ Papanicolaou Test )

การตรวจแปปสเมียร์ ( Papsmear ) คือ วิธีในการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกชนิดหนึ่ง เป็นการตรวจหาความผิดปกติของเซลล์บริเวณปากมดลูก ซึ่งถ้าหากตรวจพบเจอเชื้อของมะเร็งตั้งแต่เนิ่นๆ ในระยะที่เชื้อยังไม่ลุกลาม ก็จะสามารถทำ การรักษาให้หายขาดได้ง่ายกว่าการตรวจพบเชื้อในระยะที่แพร่กระจายแล้ว การตรวจแปปสเมียร์สามารถทำพร้อมกับการตรวจภายในได้เลย โดยแพทย์จะใช้วิธีนำไม้พายขนาดเล็กเข้าไปขูดเบาๆบนผิวปากมดลูก ป้ายลงแผ่นกระจกเพื่อส่งตรวจหาเซลล์ที่ผิดปกติ โดยความผิดปกติของเซลล์ที่พบมีหลายอย่างและมีวิธีการดูแลรักษาที่แตกต่างกันไป ซึ่งการค้นหาเซลล์ผิดปกติของปากมดลูกในระยะก่อนเป็นมะเร็งจะช่วยให้แพทย์สามารถดูแลรักษาได้อย่างรวดเร็วและทันเวลา ก่อนที่จะลุกลามจนกลายเป็นโรคมะเร็งปากมดลูกในอนาคต

ผู้ที่ควรจะตรวจแนะนำสำหรับผู้หญิงที่อยู่ในระหว่างวัยทำงาน หรือวัยกลางคน อายุประมาณ 30 -35 ขึ้นไป ไม่ว่าจะเคยผ่านการมีเพศสัมพันธ์มาก่อนหรือไม่ก็ตาม และควรตรวจซ้ำในทุกๆปี โดยอาจจะตรวจพร้อมกับการเช็คสุขภาพประจำปีไปเลย แต่หากมีผลการตรวจที่ดีติดต่อกันหลายๆปี หรือเป็นผู้หญิงโสดที่ไม่ได้มีเพศสัมพันกับใคร ก็อาจจะลดจำนวนครั้งในการตรวจลงเป็นแบบปีเว้นปี หรือ ตรวจทุก 3–5 ปี ก็ได้เช่นกัน สำหรับผู้ที่เคยฉีด วัคซีนเอชพีวี มาแล้ว เมื่อถึงช่วงอายุที่เหมาะสม ( 30 -35 ขึ้นไป ) ก็ควรจะทำการตรวจแปปสเมียร์ด้วยเช่นกัน เพื่อตรวจสอบหาความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นได้ ซึ่งก็อาจจะมีความเสี่ยงน้อยในการเกิดโรค แต่ก็ควรทำเพื่อให้เกิดความสบายใจจะดีที่สุด

การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกวิธีอื่น

การตรวจแปปสเมียร์หามะเร็งปากมดลูก ยังมีข้อจำกัดหลายประการ นอกจากการไม่ยอมรับในการตรวจของผู้หญิงบางคนแล้ว ยังไม่สามารถทราบผลได้ทันที เพราะต้องใช้เวลาในการย้อมเซลล์บนแผ่นกระจกและใช้เวลาในการอ่านผล ทำให้ผู้หญิงจำนวนหนึ่งไม่ได้ทราบผลตรวจและเสียโอกาสในการดูแลรักษาความผิดปกติที่เกิดขึ้น  นอกจากการตรวจแปปสเมียร์ แล้ว ยังมีวิธีในการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปาดมดลูกอีกหนึ่งวิธี  ที่ทำได้โดยประหยัดค่าใช้จ่ายมากว่าแบบการตรวจแปปสเมียร์  คือ การตรวจ VIA

การตรวจ VIA คือ  การตรวจด้วยน้ำส้มสายชู มีวิธีการตรวจคือ ใช้น้ำส้มสายชูชนิดเจือจางป้ายที่บริเวณปากมดลูก แล้วปล่อยทิ้งไว้ 1 นาที จากนั้น น้ำส้มสายชูจะไปทำปฏิกิริยากับเนื้อเยื่อที่ผิดปกติของปากมดลูก หากมีฝ้าสีขาวเกิดขึ้นที่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า ก็ให้สันนิฐานไว้ก่อนว่า อาจเป็นอาการของโรคมะเร็งปากมดลูก ซึ่งควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจให้แน่ใจ และจะได้ทำการรักษาต่อไป อย่างไรก็ตามการตรวจด้วยวิธี VIA นี้ ต้องอาศัยความชำนาญของผู้ตรวจซึ่งต้องได้รับการฝึกอบรมมาเป็นอย่างดีเสียก่อน และนอกจากนี้การตรวจดังกล่าวก็สามารถทราบระยะของโรคมะเร็งที่เป็นอยู่ได้เหมือนกัน

มะเร็งปากมดลูก ( Cervical Cancer ) สาเหตุ อาการ และการรักษา
มะเร็งปากมดลูก ( Cervical Cancer ) คือโรคมะเร็งชนิดหนึ่งที่ร่างกายมีการติดเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งที่ชื่อว่า ฮิวแมมแปปปิโลมาไวรัส ( Human Papiloma Virus ) หรือเรียกสั้นๆว่า เชื้อ HPV

ระยะของมะเร็งปากมดลูก

โดยโรคมะเร็งปากมดลูกจะแบ่งออกเป็น 4 ระยะ ได้แก่

ระยะที่ 1 เป็นระยะที่เริ่มมีอาการป่วยมะเร็ง ซึ่งจะยังคงลุกลามอยู่ภายในช่องคลอดจนถึงส่วนล่างของปากช่องคลอดเท่านั้น

ระยะที่ 2 เป็นระยะที่มะเร็งได้ลุกลามออกมานอกปากมดลูกแล้ว โดยมีความรุนแรงในระดับปานกลาง

ระยะที่ 3 เป็นระยะที่มะเร็งได้ลุกลามขึ้นไปถึงผนังของอุ้งเชิงกราน และต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ใกล้กับปากมดลูก นอกจากนี้มดลูกก็อาจมีขนาดโตขึ้นจนไปเบียดทับอวัยวะอื่นๆ ที่อยู่ใกล้เคียงได้เช่นกัน

ระยะที่ 4 เป็นระยะที่มีความรุนแรงมากที่สุด โดยระยะนี้มะเร็งจะลุกลามไปยังอวัยวะต่างๆ ที่อยู่ไกลออกไป โดยเฉพาะกระเพาะปัสสาวะ ทวารหนัก ปอด ตับ กระดูกและช่องท้อง เป็นต้น ซึ่งหากพบอาการป่วยในระยะนี้จะมีโอกาสรักษาให้หายได้ต่ำมาก

วัคซีนป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูก

วัคซีนสำหรับป้องกันการเกิดมะเร็งปากมดลูก คือ สารทางชีววิทยาที่นำมาใช้เพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัสเอชพีวีของปากมดลูก จากการมีเพศสัมพันธ์นั่นเอง โดยในปัจจุบัน วัคซีนชนิดนี้จะใช้ฉีดเพื่อป้องกันเฉพาะในผู้หญิงเท่านั้น แต่ก็มีการนำมาฉีดในผู้ชายอยู่บ้าง เพราะมีความเชื่อว่าจะช่วยป้องกันไม่ให้เชื้อเอชพีวีจากผู้ชายแพร่มาติดผู้หญิงจนกลายเป็นมะเร็งปากมดลูกได้นั่นเอง โดยการผลิตวัคซีนก็มีหลายวิธีด้วยกัน เช่น การผลิตวัคซีนจากเชื้อที่ยังมีชีวิตอยู่ โดยจะทำให้เชื้อชนิดนั้นมีความอ่อนฤทธิ์ลง แต่ในขณะเดียวกันก็สามารถกระตุ้นร่างกายให้มีภูมิคุ้มกันได้ดี และการผลิตวัคซีนจากเชื้อที่ตายแล้ว อย่างเช่นวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก

ปัจจุบันเทคโนโลยีทางการแพทย์ พัฒนาไปมากจนสามารถ ผลิตคิดค้น วัคซีนป้องกันเชื้อเอชพีวี ได้แล้วโดย วัคซีนเอชพีวี เป็นวัคซีนที่ถูกคิดค้นขึ้นมา เพื่อช่วยป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูก มีการผลิตมาจากโปรตีนที่เปลือกหุ้มเชื้อไวรัส วัคซีนชนิดนี้ ช่วยลดจำนวนผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตมะเร็งปากมดลูก ในแต่ละปีได้มากเลยทีเดียว  ดังนั้นเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในร่างใช้วัคซีนชนิดนี้ ควรใช้วัคซีนตั้งแต่ในวัยเด็กหรือก่อนมีเพศสัมพันธ์ จะดีที่สุด

การฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก

การฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันมะเร็งปากมดลูกแพทย์จะฉีดเข้ากล้ามเนื้อและฉีดอย่างต่อเนื่องจนครบ 3 เข็มภายใน 6 เดือน เพื่อให้เกิดการกระตุ้นภูมิคุ้มกัน และมีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกอย่างสูงสุด ซึ่งก็สามารถป้องกันโรคมะเร็งได้นานถึง 4-6 ปีเลยทีเดียว อย่างไรก็ตามในปัจจุบันก็ยังคงมีการศึกษาเกี่ยวกับวัคซีนอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถใช้ในการป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกสายพันธุ์ต่างๆ ได้มากขึ้น โดยพบว่าวัคซีนที่ใช้อยู่ มีฤทธิ์ในการป้องกันมะเร็งปากมดลูกได้แค่ 2 สายพันธุ์เท่านั้น ในขณะที่มะเร็งปากมดลูกมีทั้งหมดประมาณ 100 สายพันธุ์ย่อยเลยทีเดียว

และจากข้อมูลดังกล่าวจึงสรุปได้ว่า ถึงแม้จะได้มีการฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกเรียบร้อยแล้ว ก็ยังมีโอกาสที่จะป่วยด้วยมะเร็งปากมดลูกสายพันธุ์อื่นๆ ได้อีกประมาณร้อยละ 30 จึงไม่ควรชะล่าใจอย่างเด็ดขาด โดยจะต้องพยายามหลีกเลี่ยงสาเหตุของมะเร็งปากมดลูก โดยเฉพาะการมีเพศสัมพันธ์แบบสำส่อนและควรดูแลสุขภาพอนามัยของอวัยวะเพศให้ดีอยู่เสมอด้วย และที่สำคัญก็ไม่ควรพลาดการตรวจภายในที่เรียกว่า แปปสเมียร์ เป็นประจำอย่างต่อเนื่องเช่นกัน

วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกจะให้ผลป้องกันอย่างสูงสุดเมื่อใด?

โดยปกติแล้วการฉีดวัคซีนป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกนั้นจะให้ผลการป้องกันที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ก็ต่อเมื่อได้ฉีดวัคซีนก่อนการมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกในชีวิต เนื่องจากยังไม่เคยมีการติดเชื้อเอชพีวีจากการร่วมเพศมาก่อน ดังนั้นใน ประเทศสหรัฐอเมริกาจึงแนะนำให้เริ่มฉีดวัคซีนตั้งแต่อายุ 9-12 ปี เพราะเป็นช่วงวัยที่ยังไม่เคยมีเพศสัมพันธ์มาก่อนแน่นอน ส่วนผู้หญิงในวัย 13-26 ปี ไม่ว่าจะมีเพศสัมพันธ์แล้วหรือไม่ก็สามารถฉีดวัคซีนได้ แต่ผลการป้องกันอาจด้อยประสิทธิภาพลง ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่าได้เคยมีเพศสัมพันธ์แล้วหรือไม่นั่นเอง และสำหรับผู้หญิงที่มีอายุ 26 ปีขึ้นไป ยังไม่มีผลการศึกษายืนยันว่าจะช่วยป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกได้มากน้อยแค่ไหน เนื่องจากกำลังอยู่ในช่วงของการศึกษา แต่เชื่อว่าน่าจะให้ผลการป้องกันที่ต่ำกว่าผู้หญิงวัยต่ำกว่า 26 ปี

การฉีดวัคซีนป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกจะให้ผลการป้องกันที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ก็ต่อเมื่อได้ฉีดวัคซีนก่อนการมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกในชีวิต

การฉีดวัคซีนมีผลต่อทารกในครรภ์หรือไม่?

จากการศึกษาพบว่าวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกเป็นวัคซีนที่ผลิตขึ้นจากเชื้อตาย จึงไม่มีผลต่อทารกในครรภ์ ไม่ว่ากรณีใดทั้งสิ้น แต่อย่างไรก็ตามเนื่องจากยังไม่มีผลการศึกษาที่ยืนยันได้อย่างแน่ชัด แพทย์จึงไม่แนะนำให้ฉีดวัคซีนในผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์ ซึ่งต้องรอฉีดวัคซีนหลังจากคลอดแล้วเท่านั้น ทั้งนี้ก็เพื่อความปลอดภัยของทารกนั่นเอง ส่วนกรณีที่เป็นช่วงให้นมบุตรก็ยังไม่มีผลการศึกษาที่แน่ชัดเช่นกัน จึงควรปรึกษากับสูตินรีแพทย์ก่อน ว่าสามารถฉีดวัคซีนได้เลยหรือไม่

ผลข้างเคียงของวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก

สำหรับคุณสมบัติอื่นๆ ของวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก พบว่าอาจป้องกันมะเร็งอื่นๆ ที่มีปัจจัยเสี่ยงจากการติดเชื้อเอชพีวี ( HPV ) ได้ เช่น มะเร็งช่องคลอด มะเร็งทวารหนักและมะเร็งคอหอยส่วนปาก เป็นต้น แต่ยังอยู่ในระหว่างการศึกษา ซึ่งยังไม่ทราบแน่ชัดว่าจะช่วยป้องกันได้จริงหรือไม่และป้องกันได้มากน้อยแค่ไหน

อาการข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกพบว่าสามารถพบได้น้อยมาก และส่วนใหญ่จะมีอาการคล้ายกับการฉีดวัคซีนทั่วไป เช่น บวมแดง หรือปวดร้อนบริเวณที่ฉีดเล็กน้อย หรือในบางคนก็อาจมีอาการไข้ คลื่นไส้อาเจียน เกิดผื่นคันและปวดศีรษะร่วมด้วย แต่ไม่เป็นอันตรายแน่นอน นอกจากผู้ที่เกิดอาการแพ้อย่างรุนแรง โดยจะมีอาการช็อกจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ แต่ไม่ค่อยพบมากนัก ซึ่งแพทย์ก็จะแนะนำโดยทั่วไปว่า หลังจากฉีดวัคซีนเรียบร้อยแล้ว ควรนอนพักผ่อนประมาณ 15-30 นาทีก่อนกลับบ้าน เพื่อเฝ้าดูอาการความผิดปกติอย่างใกล้ชิดและทำการช่วยเหลือได้ทัน

การฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกสามารถใช้บัตรประกันสุขภาพได้หรือไม่?

ใช้บัตรทองได้หรือไม่การฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกไม่ถูกรวมอยู่ในบัตรทอง เนื่องจากมีราคาที่สูงมากเกินกว่าทุกคนจะสามารถเข้าถึงได้ และยังไม่ทราบแน่ชัดว่าจะต้องฉีดกี่เข็มกันแน่จึงจะสามารถป้องกันได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด อย่างไรก็ตามผู้ที่ไม่ได้ฉีดวัคซีนก็สามารถทำการป้องกันมะเร็งปากมดลูกได้ด้วยการตรวจคัดกรอง แพปสเมียร์อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งอาจเป็นการตรวจประจำทุกปีหรือตามแพทย์แนะนำก็ได้ โดยวิธีนี้ก็จะช่วยป้องกันมะเร็งปากมดลูกได้ในระดับหนึ่งเช่นกันโดยในปัจจุบันก็ได้มีการศึกษาวัคซีนต่างๆ อย่างจริงจัง เพื่อให้สามารถนำมาใช้ได้จริง แต่ยังมีเพียงวัคซีนแค่ 2 ชนิดเท่านั้นที่สามารถนำมาใช้ได้และเกิดผลกระทบน้อยที่สุด ซึ่งก็คือ วัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับชนิดบีและวัคซีนป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกนั่นเอง

การป้องกันมะเร็งปากมดลูก

หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปากมดลูก 

วิธีการง่ายที่สุด ที่เราสามารถป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูก ได้ก็คือ การเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลต่อการเกิดโรคนั้นเอง โดยปัจจัยเสี่ยงที่ควรจะหลีกเลี่ยงมีดังนี้   

  • การมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุน้อย
  • การมีคู่นอนหลายคน หรือเปลี่ยนคู่นอนบ่อยๆ จนเป็นเหตุให้เกิดการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์
  • การมีบุตรหลายคน
  • การใช้ยาคุมกำเนิดเป็นระยะเวลานาน
  • การสูบบุหรี่ หรือได้รับควันพิษจากบุหรี่บ่อยๆ
  • ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง หากเกิดขึ้น ควรรีบปรึกษาแพทย์รักษาให้หายโดยเร็วจะดีที่สุด
  • การป้องกันมะเร็งปากมดลูกนั้นทำได้โดยวิธีการดังนี้ คือ
  • ฉีดวัคซีน เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันสำหรับต่อต้านเชื้อ HPV โดยเฉพาะสายพันธุ์ 16 และสายพันธุ์ 18 ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่มีความเสี่ยงสูงทำให้มีโอกาสเป็นมะเร็งได้มากถึงร้อยละ 70 และยังช่วยป้องกันเชื้อไวรัส HPV อีกสองสายพันธุ์ที่ก่อให้เกิดโรคหูดที่อวัยวะเพศได้ถึงร้อยละ 90 โดยแพทย์แนะนำให้ผู้หญิงที่มีอายุตั้งแต่ 9 – 26 ปี ฉีดวัคซีนก่อนมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก หรือฉีดในรายที่มีเพศสัมพันธ์แล้วแต่ยังไม่ติดเชื้อ HPV เพื่อให้ได้รับประโยชน์สูงสุด
  • การตรวจแปปสเมียร์ (Pap Smear หรือ Pap Test) โดยแพทย์จะเก็บเซลล์จากปากมดลูกแล้วนำส่งตรวจเพื่อหาเซลล์ผิดปกติที่อาจพัฒนาไปเป็นมะเร็งได้ อย่างไรก็ตาม การตรวจแปปสเมียร์อาจมีโอกาสพลาดถึงร้อยละ 40 ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้หญิงหลายคนพบว่าตัวเองเป็นโรคมะเร็งปากมดลูกแม้จะตรวจแปปสเมียร์ทุกปี
  • ตรวจหาเชื้อไวรัส HPV เป็นการตรวจทางชีวโมเลกุลเพื่อหาเชื้อไวรัส HPV โดยตรง ซึ่งเป็นการตรวจที่มีความแม่นยำอย่างมากคือมีโอกาสพลาดเพียงร้อยละ 5-10 และส่วนใหญ่จะทำร่วมกับการตรวจ ThinPrep โดยแพทย์จะเก็บตัวอย่างเซลล์เพื่อส่งตรวจในคราวเดียว หากตรวจแล้วไม่พบความผิดปกติก็แสดงว่าโอกาสที่จะเป็นมะเร็งปากมดลูกมีน้อยมาก และสามารถรอได้ถึง 3 ปี กว่าจะเข้ารับการตรวจคัดกรองอีกครั้ง

สำหรับการป้องกันมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธีอื่นๆ ก็สามารถทำได้ด้วยการให้ฝ่ายชายสวมถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ โดยจะช่วยลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อเอชพีวี ( HPV ) ได้เป็นอย่างดี แต่จะมีประสิทธิภาพในการป้องกันที่น้อยกว่าการฉีดวัคซีน และยังคงมีความเสี่ยงในกรณีที่ถุงยางรั่วหรือแตกอีกด้วย ส่วนความเชื่อที่ว่าการขลิบหนังหุ้ม ปลายอวัยวะเพศชายจะช่วยป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกในผู้หญิงได้ จากการศึกษาพบว่าไม่เป็นความจริง เพราะถึงแม้ว่าจะขลิบออก ก็ยังมีโอกาสที่ทำให้ผู้หญิงเป็นมะเร็งปากมดลูกได้มะเร็งปากมดลูกเป็นโรคร้ายในผู้หญิงที่พบเป็นอันดับแรกๆ ของโรคมะเร็งทั้งหมด ดังนั้นจึงควรป้องกันตัวเองจากความเสี่ยงของมะเร็งปากมดลูกอยู่เสมอ โดยเฉพาะการไม่มีเพศสัมพันธ์แบบสำส่อนและหมั่นตรวจประจำปีเพื่อคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเป็นประจำ เท่านี้ก็จะทำให้ห่างไกลจากมะเร็งปากมดลูกได้มากขึ้นแล้ว

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิงพวงทอง ไกรพิบูลย์. รู้ก่อนเข้าใจการตรวจรักษามะเร็ง. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2557.

ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย. “ความรู้เกี่ยวกับมะเร็งปากมดลูก”. (รศ.นพ.จตุพล ศรีสมบูรณ์). [ออนไลน์]. www.rtcog.or.th. 

หนังสือตำราการตรวจรักษาโรคทั่วไป 2. “มะเร็งปากมดลูก (Cervical cancer)”. (นพ.สุรเกียรติ อาชานานุภาพ). หน้า 1159-1160.

World Cancer Report 2014. World Health Organization. 2014. pp. Chapter 5.4. ISBN 9283204298.

Mary-Anne Romano (17 October 2011). “Aboriginal cervical cancer rates parallel health inequity”. Science Network Western Australia. Archived from the original on 14 May 2013.

 Australian Cervical Cancer Foundation. “Vision and Mission”. Australian Cervical Cancer Foundation. Archived from the original on 12 May 2013.

การผ่าตัดเพื่อปลูกถ่ายไต

0
การผ่าตัดเพื่อปลูกถ่ายไต
ผู้บริจาคที่มีกรุ๊ปเลือดเดียวกันกับผู้ป่วย หากผลแสดงออกมาว่าเข้ากันได้ ก็สามารถบริจาคไตให้กันได้
การผ่าตัดเพื่อปลูกถ่ายไต
ผู้บริจาคที่มีกรุ๊ปเลือดเดียวกันกับผู้ป่วย หากผลแสดงออกมาว่าเข้ากันได้ ก็สามารถบริจาคไตให้กันได้

เปลี่ยนไต

สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคไตวายระยะสุดท้าย  หรือ ไตทำงานได้น้อยกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ จะต้องได้รับการ เปลี่ยนไตจำนวน 1 ข้าง เพื่อที่ผู้ป่วยจะได้มีไตใหม่มาคอยทำหน้าที่ทดแทนไตเดิม  ซึ่งไตเดิมไม่สามารถทำหน้าที่ได้แล้วทั้งสองข้าง  เพราะฉะนั้น ผู้ป่วยเปลี่ยนไต จะมีไตเดิมจำนวน 1 ข้าง และไตใหม่จำนวน 1 ข้าง หากไตใหม่สามารถทำ งานได้ดี เป็นปกติ และไม่มีปฏิกิริยาเหมือนจะต่อต้าน  ผู้ป่วยไม่จำเป็นจะต้องทำการฟอกเลือด หรือ ล้างไตอีกต่อไปการรับบริจาคไต สามารถรับบริจาคได้จากกลุ่มคนเหล่านี้

    [adinserter name=”โรคไตและระบบทางเดินปัสสาวะ”]

ผู้ที่เปลี่ยนไตจะได้รับบริจาคจาก 2 กลุ่ม

1. ผู้บริจาคไตที่เพิ่งเสียชีวิต ผู้บริจาคอวัยะที่เพิ่งจะเสียชีวิต

บางแห่งอาจจะต้องรอให้ผู้บริจาคอวัยวะหัวใจหยุดเต้นเสียก่อน  แต่บางที่อาจจะพึ่งการตรวจคลื่นสมองเป็นหลัก  หากสมองตายแล้ว ผู้บริจาคอวัยวะจะสามารถบริจาคอวัยวะได้ทันทีในขณะนั้น ซึ่งไม่จำเป็นจะต้องรอให้หัวใจหยุดเต้นก็สามารถทำได้  ซึ่งแพทย์จะจัดเตรียมความพร้อมในการผ่าตัดไต ทันทีที่ผู้บริจาคได้เสียชีวิตลง

2. รับบริจาคจากญาติที่มีชีวิตอยู่

รับบริจาคจากญาติที่มีชีวิตอยู่หรือ บุคคลที่มีความสัมพันธ์ทางสายเลือดไม่ว่าจะเป็น พ่อ – แม่ หรือ ญาติพี่น้อง  ลุง ป้า น้าอา หรือแม้กระทั่งหลาน หากเป็นกลุ่มคนที่มีความสัมพันธ์ทางสายเลือดเดียวกัน ย่อมสามารถบริจาคไตให้แก่กันได้

ผู้บริจาคที่มีกรุ๊ปเลือดเดียวกันกับผู้ป่วย หากผลแสดงออกมาว่าเข้ากันได้ ก็สามารถบริจาคไตให้กันได้

เราสามารถบริจาคไตที่ไหนได้บ้าง สำหรับผู้ที่ต้องการบริจาคไต  สามารถแสดงความจำนงได้ที่ศูนย์บริจาคไต  ซึ่งถือได้ว่าเป็นหน่วยงานของสภากาชาดไทย  หรือแม้กระทั่งโรงพยาบาลประจำจังหวัด  หรือ โรงพยาบาลที่มีคณะแพทยศาสตร์   หลังจากที่ผู้บริจาคได้ทำเรื่องเพื่อขอบริจาคไตแล้ว  ควรแจ้งให้ญาติหรือผู้ใกล้ชิดทราบด้วย  ซึ่งญาติและผู้ใกล้ชิด จะคอยทำหน้าที่เป็นผู้ตัดสินใจ และเซ็นชื่อยินยอม เพื่อให้แพทย์ได้ผ่าตัดเอาไตของผู้บริจาคไปให้กับผู้รับบริจาค

หากต้องการบริจาคไตให้ญาติ ต้องตรวจอะไรบ้าง?

ผู้บริจาคไต จะต้องได้รับการตรวจร่างกาย เพื่อที่จะสามารถยืนยันได้อย่างแน่ชัด ว่าผู้บริจาคมีสุขภาพแข็งแรง สมบูรณ์ และมีสภาพจิตใจที่เป็นปกติ  ซึ่งผู้บริจาคจะต้องผ่านการตรวจคัดกรอง ดังนี้  [adinserter name=”โรคไตและระบบทางเดินปัสสาวะ”]

1. วัดความดันเลือดและชีพจร  ซึ่งผู้บริจาคจะต้องไม่เป็นความดันโลหิตสูง

2. ต้องตรวจเลือดดูการทำงานของไต  ซึ่งไตต้องปกติและต้องไม่เป็นเบาหวาน

3. ต้องทำการตรวจปัสสาวะ ซึ่งต้องปกติเท่านั้น

4. ตรวจอัลตราซาวน์  ต้องพบว่าไม่มีโรคร้ายแรง

5. ต้องตรวจคลื่นหัวใจอย่างละเอียด

6. ต้องถูกประเมินทางจิตเวช

หลังจากที่ได้มีการบริจาคไตให้กับญาติ  ผู้บริจาคควรดูแลตนเองอย่างไร ?

เมื่อผู้บริจาคได้รับการผ่าตัดไตออกไปแล้ว  ผู้บริจาคจะเหลือไตเพียงแค่ข้างเดียวเท่านั้น  เพราะฉะนั้น ผู้บริจาคควรระมัดระวัง และควรดูแลตนเอง โดยจะต้องนอนพักฟื้น 2 – 4 สัปดาห์ จึงจะสามารถเริ่มต้นทำงานเบา ๆ ได้  และช่วงในระยะพักฟื้น ควรหมั่นลุกขึ้นเดินบ่อยครั้ง เพื่อบริหารร่างกายแบบค่อยเป็นค่อยไป  อีกทั้งในช่วงระยะแรก ไม่ควรให้ แผลเปียกน้ำเป็นอันขาด เพื่อป้องกันอาการติดเชื้อ และ ผู้บริจาคจะต้องไม่ยกของหนัก นอกจากนี้  ผู้บริจาคควรดูแลสุขภาพให้เต็มที่ เพื่อที่จะสามารถกลับมามีสุขภาพเป็นปกติ และ แข็งแรงเหมือนเดิม

หากต้องการบริจาคไตให้กับสภากาชาดไทย ต้องทำอย่างไร ?

1. ผู้บริจาคจะต้องมีอายุ 18 ปีบริบูรณ์ หรือ ควรมากกว่า 18 ปี และไม่ควรอายุเกิน 60 ปีบริบูรณ์

2. ผู้บริจาคจะต้องไม่เป็นความดันโลหิตสูง  และ ไม่เป็นโรคเบาหวาน

3. เมื่อตรวจสภาพร่างกายแล้ว ต้องพบว่าไตของผู้บริจาคสามารถทำงานได้เป็นปกติ  พร้อมทั้งไม่มีประวัติว่าเป็นโรคเรื้อรัง  [adinserter name=”โรคไตและระบบทางเดินปัสสาวะ”]

4. ไม่มีภาวะโรคอ้วน

5. ผ่านการประเมินทางจิตเวช

คุณสมบัติของผู้รับบริจาคไต

1. เป็นผู้ป่วยที่กำลังรักษาตนเองด้วยการล้างไตทางช่องท้อง หรือ ต้องทำการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม

2. อายุของผู้ป่วยจะต้องไม่เกิน 60 ปี  หากเป็นผู้ป่วยเด็กจะต้องไม่เกิน 5 ปี

3. ผู้ปวยไม่มีการติดเชื้ออย่างรุนแรง

4. ผู้ป่วยไม่เป็นโรคตับเรื้อรัง

5. ผู้ป่วยไม่เป็นโรคมะเร็ง

6. ผู้ป่วยที่ไม่มีความเสี่ยงว่าจะต้องเข้ารับการผ่าตัด

7. ผู้ป่วยที่ไม่เป็นโรคทางจิตเวช

8. ผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันแข็งแรง

9. ผู้ป่วยที่ไม่มีโรคระบบทางเดินปัสสาวะ ที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข หรือ ยังแก้ไขไม่ได้

ผลสำเร็จของการปลูกถ่ายเปลี่ยนไต  ขึ้นอยู่กับปัจจัยดังต่อไปนี้ 

  • ผู้ป่วยอายุมากกว่า 55 ปี
  • เด็กที่มีอายุน้อยกว่า 7 ปี
  • โรคของผู้ป่วยที่มีผลเสี่ยงต่อเส้นเลือดโดยตรง
  • การเกิดภาวะติดเชื้อ
  • ชนิดของไต ว่าได้รับมาจากผู้เสียชีวิต หรือ ผู้บริจาคที่มีชีวิตอยู่ หรือ จากใคร  นับได้ว่าเป็นปัจจัยสำคัญอย่างมาก  [adinserter name=”โรคไตและระบบทางเดินปัสสาวะ”]

การเตรียมตัวในช่วงเวลาที่ต้องรอเปลี่ยนไต

ที่ผ่านมา ผู้ป่วยจำนวน 100 คน  จะมีแค่ 1.4 คนเท่านั้น ที่สามารถรับไตใหม่ได้   ในช่วงเวลาที่รอเปลี่ยนไต  ผู้ป่วยอาจจะใช้เวลารอเพียงไม่กี่เดือนเท่านั้น  แต่บางรายอาจจะต้องรอเป็นปีกันเลยทีเดียว  ซึ่งระหว่างที่ผู้ป่วยรอการเปลี่ยนไต  จะต้องมีการเตรียมความพร้อมทางด้านร่างกายและจิตใจ  สิ่งที่ผู้ป่วยควรปฏิบัติ มีดังต่อไปนี้

1. ควรตรวจสอบว่าแพทย์ผู้รักษา ได้มีการส่งข้อมูลผู้รอรับทั้งหมด เพื่อมาลงทะเบียนไว้กับศูนย์บริจาคอวัยะแล้วในช่วงนั้น

2. หลังจากที่ได้มีการลงทะเบียนเพื่อขอรอรับการบริจาคไต  ผู้ป่วยจะต้องตรวจเลือดทุก 2 เดือน  พร้อมทั้งตรวจสภาพร่างกายทุก 2 – 3 เดือน

3. ผู้ป่วยที่ต้องการเปลี่ยนไต และผู้ป่วยสูงอายุ  หรือ ผู้ป่วยเบาหวานเรื้อรัง จะต้องถูกตรวจเพื่อดูเส้นเลือดที่จะนำไตใหม่ไปปลูกถ่าย  ว่าเส้นเลือดมีความแข็งแรง และมีความแคลเซียมเกาะอยู่หรือไม่

4. ผู้ป่วยจะต้องเตรียมตัวให้พร้อม เพื่อเข้ารับการติดต่อผู้ประสานงานการเปลี่ยนไตได้ตลอด

5. ผู้ป่วยจะต้องเข้าพบแพทย์ตามกำหนด

6. ควรส่งเลือดทุกเดือน เพื่อตรวจหาโอกาสในการเข้ากันได้ของเนื้อเยื่อ

7. ผู้ป่วยจะต้องรักษาสุขภาพให้แข็งแรงในช่วงระหว่างนี้

8. ผู้ป่วยควรมีทุนทรัพย์ไว้เป็นค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนไต และ หลังจากที่ได้รับการเปลี่ยนไตแล้ว

กระบวนการผ่าตัดไตจากผู้เสียชีวิต

การผ่าตัดเอาไตออกจากมาจากร่างกายของผู้เสียชีวิต  แพทย์จะต้องได้รับอนุญาตจากญาติของผู้เสียชีวิตก่อน  ซึ่งแพทย์จะต้องติดต่อเพื่อขออนุญาต ก่อนที่หัวใจของผู้ป่วยจะหยุดเต้นลง  เพื่อที่แพทย์จะได้มีระยะเวลาในการจัดเตรียม เพื่อทำการผ่าตัดไตได้ทันท่วงที  [adinserter name=”โรคไตและระบบทางเดินปัสสาวะ”]

ส่วนทีมแพทย์เปลี่ยนไต  จะพยายามทำให้ผู้บริจาคไตส่วนใหญ่ มีความดันโลหิตเป็นปกติ และผู้บริจาคจะต้องปัสสาวะออกมาได้มาก  โดยแพทย์จะกระตุ้นการเกิดปัสสาวะ ด้วยการให้น้ำเหลือและแมนนิตอลทางเส้นเลือดของผู้บริจาคไต

เมื่อการผ่าตัดเกิดขึ้น และมีการนำไตทั้งสองข้างออกจากร่างกายของผู้บริจาคแล้ว  ไตจะได้รับการเก็บรักษาอย่างดี  โดยไตจะถูกแช่ในน้ำยาถนอมอวัยวะเท่านั้น และยังคงมีน้ำแข็งที่ปราศาจากเชื้อโรคเข้ามาช่วยเสริมและเพิ่มเติมอุณหภูมิ  โดยไตที่ถูกผ่าตัดออกมาแล้ว จะสามารถเก็บได้นานถึง 48 ชั่วโมงด้วยกัน

ทางด้านศูนย์รับบริจาคอวัยวะ จะต้องทำการตรวจชนิดเนื้อเยื่อของผู้บริจาคไตก่อน พร้อมทั้งทดสอบความเข้ากันได้ของเม็ดเลือดขาว  แล้วนำไปเปรียบเทียบกับผู้รับบริจาค ว่าสามารถเข้ากันได้หรือไม่  ซึ่งในกรณีการผ่าตัดไตจากผู้เสียชีวิตแล้ว จะสามารถแบ่งไตให้กับผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้ายได้มากถึง 2 คนด้วยกัน นั่นเอง

การผ่าตัดไตจากผู้บริจาคที่ยังคงมีชีวิต

การผ่าตัดไตจากผู้บริจาคที่ยังคงมีชีวิตอยู่นั้น จะต้องมีการตรวจสภาพไตโดยการฉีดสี  เพื่อที่แพทย์จะสามารถดูความผิดปกติของเส้นเลือดที่อาจจะเกิดขึ้นได้  ซึ่งผู้บริจาคบางราย จะมีเส้นเลือดแดงของไตข้างละ 2 เส้นด้วยกัน  ส่งผลทำให้การผ่าตัดเปลี่ยนไตเป็นไปได้ยากมากยิ่งขึ้น  และด้วยเหตุนี้แพทย์จึงต้องรู้รายละเอียดต่าง ๆ เหล่านี้ของผู้บริจาคไตเสียก่อน ซึ่งในกรณีของการผ่าตัดไตเก่าออกจากตัวผู้รับบริจาคนั้น  แพทย์ไม่จำเป็นจะต้องทำการผ่าตัด พร้อมกับการผ่าตัดเพื่อเปลี่ยนไต  ซึ่งแพทย์สามารถผ่าตัดได้ก่อนหรือหลังจากนี้

การเตรียมตัวเพื่อเข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนไต

1. ควรงดน้ำและอาหารประมาณ 6 ชั่วโมง

2. ควรงดยาและอาหารเสริม ที่ส่งผลทำให้เลือดหยุดยาก

3. ผู้เข้ารับการผ่าตัดจะต้องได้รับการดมยาสลบ

4. ไตจากผู้บริจาค จะถูกส่งต่อให้กับผู้รับบริจาค โดยแพทย์จะทำการต่อไตเข้ากับเส้นเลือด พร้อมทั้งทางเดินปัสสาวะของผู้ป่วย บริเวณหน้าท้องน้อยเท่านั้น  [adinserter name=”โรคไตและระบบทางเดินปัสสาวะ”]

การดูแลผู้ป่วยในระยะแรก หลังจากที่ได้รับการเปลี่ยนไต

1. หลังผ่าตัด ผู้ป่วยจะต้องอยู่ในห้องปลอดเชื้อประมาณ 1 – 2 สัปดาห์ด้วยกัน  ในช่วงเวลานี้ผู้ป่วยสามารถดูแลตนเอง เหมือนกับการได้เข้ารับการผ่าตัดทั่วไปได้

2. เจ้าหน้าที่จะแจกเอกสาร เพื่อให้ผู้ป่วยศึกษาเกี่ยวกับกรณีการดูแลตนเอง  เพื่อป้องกันการติดเชื้อโรค โดยต้องใช้ยาตามแพทย์สั่ง

3. ในกรณีที่พบว่าไตใหม่ ยังไม่สามารถทำงานได้ทัน ผู้ป่วยอาจจะต้องรอเป็นระยะเวลา 10 – 14 วัน เพื่อให้ไตฟื้นตัว  แต่ในช่วงระหว่างนี้ ผู้ป่วยอาจจะต้องทำการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมร่วมด้วย

4. ผู้ป่วยอาจจะได้รับยา หลังจากการที่มีการผ่าตัดเพื่อปลูกไต ซึ่งมียาอยู่หลายกลุ่มด้วยกัน

การดูแลผู้ป่วยในระยะต่อมา หลังจากที่เปลี่ยนไตแล้ว

1. จะต้องระวังการติดเชื้อ  เพราะจะส่งผลต่อผู้ป่วยโดยตรง

2. ในช่วงนี้ผู้ป่วยอาจจะต้องระวังการเกิดโรคมะเร็ง เนื่องจากภูมิต้านทานในร่างกายของผู้ป่วยลดลงมาก

3. การมีเพศสัมพันธ์  ในช่วงนี้ผู้ป่วยสามารถมีลูกได้ตามปกติ แต่ผู้ป่วยเพศหญิง อาจจะประสบปัญหาการตั้งครรภ์ในระหว่างนี้

4. การทำงานของผู้ป่วย  ผู้ป่วยจะสามารถเริ่มต้นทำงานเบา ๆ  ซึ่งจะต้องไม่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ หรือ เกิดอุบัติเหตุ หลังจากที่ผู้ป่วยได้ทำการเปลี่ยนไตมาแล้วเป็นระยะเวลา 1 เดือน

5. การออกกำลังกาย   ผู้ป่วยควรเริ่มต้นจากการบริหารร่างกายแบบเบา ๆ ค่อย ๆ เพิ่มกายบริหารไปทีละขั้นตอน

6. เส้นเลือดที่ใช้ฟอกไต   ถึงแม้จะได้รับการผ่าตัดเพื่อเปลี่ยนไตสำเร็จแล้วก็ตาม แต่ผู้ป่วยจะยังคงมีเส้นเลือด เพื่อใช้ในการฟอกไตอยู่  ซึ่งแพทย์จะเก็บไว้เผื่อผู้ป่วยต้องกลับไปฟอกเลือดอีกครั้ง  ซึ่งผู้ป่วยยังคงต้องดูแลเส้นเลือดที่ใช้ฟอกไตตามเดิมไปก่อน  [adinserter name=”โรคไตและระบบทางเดินปัสสาวะ”]

หลังจากผู้ป่วยได้ผ่าตัดเปลี่ยนไตแล้ว ต้องตรวจอะไรอีกบ้าง ?

  • ตรวจการทำงานของไต
  • ตรวจเช็คสุขภาพประจำปี
  • ตรวจหาเชื้อมะเร็ง
  • ฉีดวัคซีนต่าง ๆ
  • ตรวจสภาวะการตีบตันตามรอยต่อของหลอดเลือดแดงของไตใหม่ กับ หลอดเลือดแดงภายในร่างกาย
  • การควบคุมความดันโลหิต

ผู้ป่วยที่เปลี่ยนไต จะมีชีวิตอยู่ได้นานแค่ไหน ?

  • ปกติแล้ว ไตใหม่ร้อยละ 50 จะสามารถทำงานได้เป็นปกติ นานกว่า 10 ปี  ยิ่งถ้าหากเป็นไตที่เข้ากับเนื้อเยื่อของผู้รับและผู้ให้ ไตก็จะมีสภาพอยู่ได้นานมากกว่า 10 ปีแน่นอน
  • สำหรับไตใหม่ที่เนื้อเยื่อเข้ากับร่างกายได้ไม่ดีเท่าไหร่นัก  อายุไตใหม่มักจะสั้นลง ต่ำกว่า 10 ปี
  • กลุ่มผู้ป่วยที่เสี่ยงในการผ่าตัด  อัตราการอดของไต 2 ปี จะน้อยกว่า 20 เปอร์เซ็นต์ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้

หลังจากเข้ารับการเปลี่ยนไต สำหรับภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้นั้น  อาจจะมีระดับความรุนแรงถึงขั้นทำให้ไตใหม่มีลักษณะเสื่อมลงได้ หรือ ไตใหม่ไม่ทำงาน  สาเหตุส่วนใหญ่มักจะมาจากการที่ผู้ป่วยไม่รับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างสม่ำเสมอ  หรือไม่ก็ลืมทานยา หรือ มีการทานยามากจนเกินไป  หรืออาจจะเกิดจากการที่โรคไตเดิมที่ผู้ป่วยเป็นอยู่มีอาการกำเริบ และส่งผลทำให้ไตใหม่ไม่ทำงาน ก็สามารถเป็นไปได้เช่นกัน

วิธีการป้องกันแก้ไข

นอกจากนี้การเลือกใช้ยากดภูมิต้านทาน อาจจะส่งผลทำให้เกิดผลข้างเคียงขึ้นได้  ซึ่งแพทย์มักจะให้คำแนะนำ และ บอกวิธีการป้องกันแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น  ไม่ว่าจะเป็น

  • ความดันเลือดสูง อันเนื่องมาจากยา หรือผู้ป่วยมีประวัติเป็นความดันเลือดสูงอยู่แล้ว
  • เป็นโรคเบาหวาน จากยา หรือ เป็นโรคเบาหวานมาก่อนหน้านี้แล้ว
  • ไขมันในเลือดสูงจากการใช้ยา
  • มีภาวะกระดูกพรุน โดยเฉพาะในผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้าย
  • เกิดแผลในกระเพาะอาหาร เนื่องจากการใช้ยาเพร็ดนิโซโลน  [adinserter name=”โรคไตและระบบทางเดินปัสสาวะ”]

ภาวะสลัดไตแบบเฉียบพลัน หรือ เรื้อรัง

ภาวะสลัดไต นั้น ถือได้ว่าเป็นภาวะที่ระบบภูมิคุ้มกันของผู้ป่วย ไม่สามารถรับไตใหม่ได้ โดยร่างกายมีการสร้างเคมีขึ้นมา เพื่อที่จะย่อยสลายไตใหม่  ส่วนเม็ดเลือดขาวชนิด ที – ลิมโฟไซต์ อาจจะทำให้เกิดอาการอักเสบ และ ทำลายเนื้อเยื่อของไตได้เช่นกัน  ซึ่งในกรณีนี้สามารถเกิดขึ้นได้แบบเฉียบพลันถึงขั้นรุนแรง และแบบค่อยเป็นค่อยไปก็มี  ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้

1. การสลัดไตอย่างเฉียบพลัน   สามารถเกิดขึ้นได้ประมาณ 20 – 40 เปอร์เซ็นต์ในช่วงปีแรก  แต่ก็ยังคงขึ้นอยู่กับชนิดของยาที่ผู้ป่วยใช้กดภูมิต้านทานด้วย  ซึ่งถือได้ว่ามีผู้ป่วยน้อยราย ที่ต้องใช้ยาราคาแพง เพื่อที่จะคอยควบคุมการสลัดไต

2. การสลัดไตอย่างเรื้อรัง   ในกรณีนี้ยังไม่สามารถป้องกันได้อย่างเด็ดขาด  แต่ยังมีโอกาสในการลดความเสี่ยงนี้ได้อยู่  โดยจะต้องทำการควบคุมโรคที่อาจจะเกิดร่วมด้วย และ ผู้ป่วยจำต้องทานยากดภูมิต้านทานอย่างสม่ำเสมอเท่านั้น  ซึ่งจะช่วยทำให้ไตมีอายุที่ยาวนานได้มากยิ่งขึ้น

อาการของผู้ป่วยที่เกิดภาวการณ์สลัดไต

  • มีไข้
  • มีอาการเจ็บปวดบริเวณไตที่ถูกเปลี่ยนมาก่อนหน้านี้
  • น้ำหนักตัวของผู้ป่วยเพิ่มขึ้น  เนื่องจากปัสสาวะน้อยลง เนื่องจากไตทำงานไม่เป็นปกติ
  • ผู้ป่วยมีอาการอ่อนเพลีย

ยาที่สามารถใช้รักษาภาวะสลัดไต

1. ยาสเตียรอยด์  จะมาในรูปแบบของยาฉีด หรือ ยารับประทาน

2. โอเคที – 3 ซึ่งจะถูกเตรียมมาจากน้ำเหลืองของหนูโดยตรง

3. เอทีจี  ถูกเตรียมมาจากน้ำเหลือของม้าโดยตรง

4. ธัยโมโกลบูลิน  ลดอัตราความเสี่ยงในการเกิดโรคนี้ซ้ำ

5. โฟรกราฟ สามารถรักษาได้ผลประมาณ 75 เปอร์เซ็นต์

หากต้องการรักษาโรคไตวายที่ต่างจังหวัด และต้องทำการเปลี่ยนไตที่อื่น ต้องทำอย่างไรบ้าง ?

1. ผู้ป่วยต้องมีใบส่งตัวจากอายุรแพทย์โรคไตประจำตัวโดยตรง

2. เข้าพบแพทย์โรคไตที่โรงพยาบาลแห่งใหม่  เพื่อดูว่าจะเข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนไตได้หรือไม่

3. เข้ารับการตรวจเลือด ปัสสาวะ เอกซเรย์  ตรวจคลื่นหัวใจ ฉีดสีตรวจเส้นเลือด เป็นต้น

4. เจาะเลือดเพื่อตรวจเนื้อเยื่อ  หากต้องการรอไตจากผู้บริจาค ต้องขึ้นทะเบียนรอทันที  แต่ถ้าหากเป็นไตจากญาติหรือบุคคลในครอบครัว สามารถนัดวัดเพื่อทำการเปลี่ยนไตได้เลย [adinserter name=”โรคไตและระบบทางเดินปัสสาวะ”]

กรณีการปลูกถ่ายไตล้มเหลว

เมื่อเกิดกรณีการปลูกถ่ายไตล้มเหลวเกิดขึ้น  ผู้ป่วยอาจจะต้องกลับไปเข้ารับการรักษา ด้วยวิธีการฟอกเลือดผ่านเครื่องไตเทียมอีกครั้ง หรือ ผู้ป่วยจะต้องทำการล้างไตผ่านช่องท้อง ด้วยน้ำยาอย่างถาวรอีกครั้ง   ในกรณีนี้ผู้ป่วยอาจจะหมดสิทธิ์ในการเบิกยาที่ใช้ในการรักษากดภูมิคุ้มกัน  ในส่วนนี้จะรวมไปถึงกรณีที่ผู้ป่วยเสียชีวิตลงด้วย

หากต้องการยื่นคำขอ เพื่อกลับมาบำบัดทดแทนไต

ต้องมีหลักฐานดังนี้

1. แบบคำขอรับประโยชน์จากการบำบัดทดแทนไต

2. สำเนาเวชระเบียนที่เกี่ยวข้องโดยตรง

3. ใบรับรองแพทย์

4. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน

5. สำเนาสมุดคู่มือ เพื่อแสดงสิทธิการบำบัดทดแทนไต  ซึ่งจะใช้เล่มสุดท้าย เป็นหลัก

จากข้อมูลที่เราได้กล่าวมาในเบื้องต้น นับได้ว่าเป็นข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับการผ่าตัดเพื่อทำการเปลี่ยนไต หรือ การเปลี่ยนไตใหม่ให้กับผู้ป่วย   ซึ่งผู้ป่วยที่ต้องทำการปลูกถ่ายไตเพื่อเปลี่ยนไตใหม่นั้น จะต้องมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ เหล่านี้   ซึ่งความรู้เหล่านี้จะสามารถสร้างประโยชน์ให้กับผู้ป่วยได้โดยตรง รวมไปถึงญาติของผู้ป่วยเอง ที่จำเป็นจะต้องมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ เหล่านี้ร่วมด้วย เพื่อที่จะคอยช่วยเหลือและดูแลผู้ป่วยได้อย่างถูกต้องและดูแลผู้ป่วยได้ง่ายมากยิ่งขึ้น

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

New Robot Technology Eases Kidney Transplants, CBS News, June 22, 2009 – accessed July 8, 2009.

“Kidney and Pancreas Transplant Center – ABO Incompatibility”. Cedars-Sinai Medical Center. Retrieved 2009-10-12.

Krista L. (2014). “Gestational Hypertension and Preeclampsia in Living Kidney Donors”. New England Journal of Medicine. 2010

“Kidney Transplant”. National Health Service. 29 March 2010. Retrieved 19 November 2011.

วิธีการบำบัดทดแทนไต ( Kidney Replacement Therapy )

0
วิธีการบำบัดทดแทนไต (Kidney Replacement Therapy)
การบําบัดทดแทนไตคือกระบวนการรักษาที่ทําหน้าที่ขจัดของเสียและนํ้าแทนไตที่ไม่ทํางาน ด้วยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม และการล้างไตทางช่องท้อง
วิธีการบำบัดทดแทนไต (Kidney Replacement Therapy)
การบําบัดทดแทนไตคือการรักษาที่ทําหน้าที่ขจัดของเสียและนํ้าแทนไตที่ไม่ทํางาน ด้วยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม และการล้างไตทางช่องท้อง

การบำบัดทดแทนไต

การบำบัดทดแทนไต คือวิธีการรักษาอย่างหนึ่งที่ใช้ทดแทนหน้าที่ของไตในการฟอกเลือดและกรองเลือด ใช้ทำหน้าที่แทนไตเมื่อไตทำงานไม่ได้หรือทำงานได้ไม่เพียงพอ เรียกว่าไตวาย ทั้งไตวายเฉียบพลันและไตวายเรื้อรัง การบำบัดทดแทนไตมีหลายวิธี ได้แก่ การแยกสารผ่านเยื่อ การบำบัดทดแทนไตสามารถทำได้ 2 รูปแบบ ดังนี้ [adinserter name=”โรคไตและระบบทางเดินปัสสาวะ”]

1. การบำบัดทดแทนไตแบบการฟอกเลือด

โดยใช้เครื่องไตเทียม หรือ ฮีโมไดอาไลซิส   สามารถทำได้ที่โรงพยาบาล โดยจะต้องทำสัปดาห์ละ 2 – 3 ครั้งด้วยกัน

2. การบำบัดทดแทนไตแบบการล้างไต

โดยใช้น้ำยาทางช่องท้อง หรือ ซีเอพีดี  สามารถทำเองได้ที่บ้าน และต้องทำทุกวัน ไม่ว่าจะเป็นวิธีใดก็ตาม ปกติแล้วแพทย์จะอธิบายข้อมูลต่าง ๆ ที่มีความสำคัญให้กับผู้ป่วยและญาติได้ทราบ

ไม่ว่าจะเป็นข้อดีหรือแม้กระทั่งข้อเสีย รวมไปถึงการให้คำแนะนำพร้อมทั้งวิธีทำที่เหมาะสม  แต่ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม แพทย์จะพิจารณาตามสภาวะร่างกาย การใช้ชีวิต และภาวะของโรคที่ผู้ป่วยเป็นอยู่ในกรณีที่ต้องทำการตัดสินใจ ว่าผู้ป่วยจะเลือกฟอกเลือดและทำการล้างไตโดยใช้วิธีใด  ผู้ป่วยสามารถขอคำแนะนำจากแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญ ตลอดจนกระทั่ง ญาติ  สามารถร่วมตัดสินใจด้วยได้  เนื่องจากผู้ป่วยบางกลุ่มอาจจะทำการตัดสินใจได้ยาก เพราะมีปัญหาทางด้านการเงิน หรือ การใช้สิทธิ์ในแต่ละครั้งผ่านการรักษาโดยตรง

สำหรับผู้ป่วยใหม่ที่ยังคงใช้สิทธิ์รักษา 30 บาท สามารถรักษาได้ทุกโรคนั้น  ผู้ป่วยจะสามารถเบิกได้เฉพาะในกรณีที่ผู้ป่วยต้องทำการล้างไตทางช่องท้อง  ถ้าเป็นวิธีการฟอกเลือด ผู้ป่วยจะต้องจ่ายเงินเอง  แต่ข้อสำคัญของเรื่องนี้ก็คือ  ผู้ป่วยและญาติจะต้องมีความเข้าใจ  การล้างไตจะต้องทำอย่างสม่ำเสมอ และต้องทำอย่างถูกต้องเท่านั้น พร้อมทั้งจะต้องสังเกตอาการผิดปกติอยู่ตลอดเวลาร่วมด้วย

หากต้องเปลี่ยนจากการล้างไตทางหน้าท้อง ไปเป็นการฟอกเลือดในกรณีที่ผู้ป่วยพบว่า ตนเองจะต้องทำการเปลี่ยน จากการล้างไตทางด้านหน้าท้อง ไปเป็นการฟอกเลือดแทนนั้น  ผู้ป่วยจะต้องทำความเข้าใจ เกี่ยวกับข้อบ่งชี้ ผ่านการให้ฟอกเลือดแบบชั่วคราว หรือ ถาวร ดังนี้

ข้อบ่งชี้  ให้ทำการฟอกเลือดแบบชั่วคราว

  •  อาจจะมีอาการอักเสบของช่องท้อง ที่ได้รับการรักษาแล้วไม่ดีขึ้น  ซึ่งกรณีนี้อาจจะเกิดจากเชื้อรา หรือ มีอาการติดเชื้อโรคอื่น ๆ ร่วมด้วย
  •  ผู้ป่วยได้รับการผ่าตัดอวัยวะในช่องท้อง หรืออาจจะมีไส้เลื่อนที่ยังไม่ได้ทำการแก้ไข
  •  ผู้ป่วยมีช่องทางติดต่อระหว่างอวัยวะภายนอก หรือ ผู้ป่วยมีลักษณะอ้วนมาก  [adinserter name=”โรคไตและระบบทางเดินปัสสาวะ”]

ข้อบ่งชี้ ให้ฟอกเลือดแบบถาวร

  •  เกิดเหตุการณ์น้ำยารั่วออกจากช่องท้องอย่างเป็นประจำ
  •  เยื่อบุทางช่องท้อง ดูเหมือนจะเป็นพังผืดจนไม่สามารถวางสายได้ หรือ รอยของโรค จะส่งผลทำให้เกิดความเสี่ยงในการติดเชื้อมากกว่าปกติทั่วไป
  •  ผู้ป่วยมีอาการซึมเศร้าอย่างรุนแรง  จนไม่สามารถล้างหน้าผ่านทางหน้าท้องได้

การบำบัดไตทดแทนแบบการฟอกเลือด โดยใช้เครื่องไตเทียม

สำหรับการฟอกเลือด โดยใช้เครื่องไตเทียม หรือ ฮีโมไดอาไลซิส นั้น  จะต้องทำภายในโรงพยาบาล หรือ ศูนย์หน่วยไตเทียมเท่านั้น ซึ่งในปัจจุบัน ประเทศไทยมีเครื่องฟอกเลือดโดยประมาณ 460 เครื่อง โดยกระจัดกระจายตามโรงพยาบาลต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐหรือเอกชน  รวมไปถึงมูลนิธีต่าง ๆ ร่วมด้วย   หลังจากที่ผู้ป่วยได้ทำการฟอกเลือดแล้ว ผู้ป่วยจะมีลักษณะดีขึ้น สดชื่นขึ้น  พร้อมทั้งมีความสมดุลของน้ำและเกลือแร่เป็นอย่างดี  อีกทั้งยังคงช่วยลดระดับความดันโลหิตสูงได้อีกด้วย

วิธีการฟอกเลือด

สำหรับวิธีการฟอกเลือดนั้น  จะเป็นการนำเลือดจากหลอดเลือดดำของผู้ป่วยโดยตรง โดยเฉพาะในบริเวณที่เตรียมหลอดเลือดเอาไว้แล้ว  ซึ่งจะมีการผ่านเข้ามาภายในตัวกรองของเสียของเครื่องไตเทียม  เพื่อให้เครื่องไตเทียมได้ทำการกรองของเสียเสียก่อน สำหรับเลือดที่ถูกกรองแล้วนั้น จะไหลกลับเข้าสู่ร่างกายทางหลอดเลือดดำอีกครั้ง โดยเฉพาะในบริเวณที่ใกล้เคียงกับที่ได้เตรียมหลอดเลือดเอาไว้แล้ว เช่นกัน  [adinserter name=”โรคไตและระบบทางเดินปัสสาวะ”]

ขั้นตอนการฟอกเลือด

1. ผู้ป่วยจะถูกทำความสะอาดบริเวณแขน และ บริเวณที่จะวางอุปกรณ์ ที่จะมีการฟอกเลือดโดยตรง เพื่อให้ปราศจากเชื้อโรค

2. เจ้าหน้าที่ทำการแทงเข็มจำนวน 2 เข็ม  ซึ่งเข็มแรกจะแทงเข้าไปในหลอดเลือดดำที่ถูกเตรียมเอาไว้  ส่วนเข็มที่สองจะถูกแทงเข้าไปยังหลอดเลือดเส้นเดียวกัน แต่จะอยู่ทางด้านเหนือของทิศทางเลือดำไหล  เพื่อเป็นช่องทางในการนำเลือดที่ดี ที่ได้รับการฟอกแล้ว กลับเข้าสู่ร่างกายอีกครั้ง

3. เมื่อผู้ป่วยฟอกเลือดเสร็จแล้ว  พยาบาลจะดึงเข็มออกทันที  และใช้ผ้ากอสปราศจากเชื้อ ทำการกดหลอดเลือดไว้ แล้วใช้พลาสเตอร์ปิดเอาไว้ให้แน่น  ส่งผลทำให้เลือดหยุดไหลได้เอง  โดยการฟอกเลือดจะทำสัปดาห์ละ 2 – 3 ครั้ง  ใช้เวลาครั้งละ 4 – 5 ชั่วโมง

ข้อดีของการฟอกเลือด

  • ผู้ป่วยไม่ต้องทำการฟอกเลือดเอง  เป็นผลดีสำหรับผู้ป่วยที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้
  • ไม่จำเป็นจะต้องเจาะและทำการฝังท่อที่หน้าท้อง  และไม่ต้องมีท่อหรือสายพลาสติกคาไว้ที่หน้าท้อง
  • ใช้ระยะเวลาน้อยกว่าการล้างไตด้วยวิธีการอื่น ๆ
  • ผู้ป่วยจะเจ็บปวดน้อย  เนื่องจากหลอดเลือดไม่มีเส้นประสาท ให้ต้องรู้สึกเจ็บปวด

ข้อเสียของการฟอกเลือด

  • ผู้ป่วยต้องทำการผ่าตัด เพื่อที่จะต่อเส้นเลือดแดง เชื่อมเข้ากับเส้นเลือดดำ และอาจจะมีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้นได้
  • ผู้ป่วยต้องเดินทางมาโรงพยาบาลบ่อยครั้ง
  • ผู้ป่วยต้องจำกัดอาหาร โปรตีน น้ำ และอื่น ๆ อย่างเคร่งครัด  [adinserter name=”โรคไตและระบบทางเดินปัสสาวะ”]

กระบวนการผ่าตัด เพื่อเตรียมหลอดเลือดที่ใช้ในการฟอกเลือด

1. แบบชั่วคราว

ในกรณีนี้จะใช้หลอดเลือดดำใหญ่ที่มีอยู่ตรงบริเวณคอ  หรือ อาจจะใช้หลอดเลือดตรงบริเวณขาหนีบ  ซึ่งจะต้องใช้สายต่อเข้ากับหลอดเลือด ซึ่งแบบชั่วคราวจะสามารถใช้ฟอกเลือดได้ 2 – 6 สัปดาห์ด้วยกัน  กรณีนี้จะใช้กับผู้ป่วยที่ทราบว่าเป็นโรคไตวายระยะรุนแรง และอันตรายจนต้องทำการล้างไตทันที  ซึ่งแพทย์จะทำการแทงท่อที่หลอดเลือดตรงบริเวณช่วงคอไปก่อน ทำในรูปแบบชั่วคราว และค่อยทำการผ่าตัดเพื่อเตรียมหลอดเลือดบริเวณช่วงแขน เพื่อใช้งานจริงอีกครั้ง

2. แบบถาวร

ในรูปแบบถาวรนี้ จะเป็นการใช้หลอดเลือดที่มีความนุ่ม และมีความยืดหยุ่น  ซึ่งจะเห็นชีพจรเต้นแรง สามารถมองเห็นได้ชัดบริเวณจากท่อนล่าง  หากไม่มีปัญหาการตีบของหลอดเลือด หรือ เกิดอุดตัน หรือแม้กระทั่งติดเชื้อ ก็นับได้ว่าไม่มีปัญหาอะไรให้ต้องกังวลใจ [adinserter name=”โรคไตและระบบทางเดินปัสสาวะ”]

วิธีการเตรียมตัวเพื่อผ่าตัดหลอดเลือด

1. ผู้ป่วยจะต้องงดยาต้านเกร็ดเลือด หรือ ยาละลายลิ่มเลือด เป็นระยะเวลา 7 – 10 วัน

2. จะต้องงดอาหารอย่างน้อย 6 ชั่วโมง ก่อนเข้ารับการผ่าตัด

3. งดการเจาะเลือด ฉีดยา หรือวัดความดัน แขนข้างที่เลือกเอาไว้ว่าจะทำการผ่าตัด

4. ห้ามลบรอยปากกาที่เขียนไว้บนแขนเด็ดขาด

5. ควรออกกำลังกายเบา ๆ ด้วยการบีบลูกบอล วันละหลายร้อยหน

เมื่อผู้ป่วยได้ผ่าตัดเสร็จแล้ว ผู้ป่วยจะมองเห็นแผลเป็นนูน ๆ ขึ้นมาเล็กน้อย  ในกรณีนี้เกิดขึ้นได้เนื่องจาก หลอดเลือดจะพองตัวขึ้น จนกระทั่งกลายเป็นหลอดเลือดขนาดใหญ่และยาว  แต่จะไม่พบว่ามีท่อใด ๆ ยื่นออกมา  ส่วนการตรวจสอบว่าหลอดเลือดที่ได้ผ่าตัด มีลักษณะเชื่อมต่อกันดีหรือไม่ สามารถใช้ได้ดีหรือไม่นั้น  เราสามารถดูได้จากสภาพหลอดเลือด  ซึ่งหลอดเลือดจะต้องมีลักษณะพองตัว  สามารถเห็นได้ชัดเจน และมีเลือดไหลแรง สามารถใช้นิ้วคลำดูได้

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจะเกิดขึ้นได้ หลังจากการผ่าตัดหลอดเลือด

1. หลอดเลือดที่เชื่อมติดกัน อาจจะเกิดเลือดคั่ง โดยเฉพาะบริเวณที่ทำการผ่าตัด จนกระทั่งส่งผลทำให้แขนมีลักษณะบวมขึ้น หลอดเลือดโปร่งพองแบบผิดปกติ ส่งผลทำให้เลือดไปเลี้ยงมือไม่พอ แต่กรณีนี้เกิดขึ้นไม่บ่อย หากพบความผิดปกติควรพบแพทย์

2. ปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นได้ จากการแพ้ยาสลบ หรือ ยาชา

3. หากพบว่าแขนบวม แขนแดง แขนร้อน มีอาการปวด และไม่ไข้ ให้รีบพบแพทย์โดยด่วน เพราะอาจจะติดเชื้อ [adinserter name=”โรคไตและระบบทางเดินปัสสาวะ”]

วิธีดูแลหลอดเลือดที่ใช้สำหรับการฟอกเลือด

1. ควรรักษาทำความสะอาด โดยเฉพาะบริเวณผ้าก็อซที่ถูกปิดเอาไว้  ไม่ควรให้โดนน้ำหรือเกิดสิ่งสกปรกในบริเวณนั้น

2. ไม่ควรแกะ เกา เพราะจะส่งผลทำให้เกิดอาการติดเชื้อได้

3. หากเปียกน้ำ ควรรีบไปพบแพทย์ หรือไปคลินิกใกล้บ้านคุณ เพื่อที่จะทำแผลใหม่อีกครั้ง

4. ควรระมัดระวัง อย่าให้เส้นเลือดกระทบกระเทือนเป็นอันขาด

5. ไม่ควรใส่เสื้อชนิดสวมหัว  ควรสวมใส่เสื้อผ่าตลอด หรือ ติดกระดุมด้านหน้าได้

6. หากเจ็บป่วย ควรรีบพบแพทย์

กรณีที่ต่อหลอดเลือดแล้วพบว่าไม่สามารถใช้ได้

ผู้ป่วยบางราย อาจจะต้องพบเจอกับปัญหาที่ดูเหมือนว่าจะหนักหน่วง เนื่องจากเส้นเลือดที่ผ่าตัดแล้วทำการต่อเอาไว้เรียบร้อยแล้ว ไม่สามารถใช้ได้ในภายหลัง  ศัลยแพทย์หรือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ อาจจะทำการแก้ไขให้ ดังต่อไปนี้

1. ทำการสอดบอลลูน เพื่อที่จะขยายจุดตีบ

2. หากไม่สามารถซ่อมหรือแก้ไขได้  ต้องทำการผ่าตัดเตรียมหลอดเลือดใหม่อีกครั้ง

3. อาจจะใช้หลอดเลือดเทียม โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีหลอดเลือดเล็กมาก

ข้อควรปฏิบัติ ก่อนทำการบำบัดทดแทนไตโดยการฟอกเลือด

1. ควรงดยาลดความดันเลือด ก่อนเข้ารับการฟอกเลือดประมาณ 4-6 ชั่วโมง

2. หากเสียเลือดมาก จะต้องแจ้งแพทย์ก่อนทำการฟอกเลือดทุกครั้ง

3. จะต้องเข้ารับการฟอกเลือดให้ตรงกับเวลานัดทุกครั้ง  ควรชั่งน้ำหนัก และทำความสะอาดแขนทุกครั้ง

4. ควรรับประทานอาหารให้เรียบร้อยเสียก่อน

5. หากพบว่ามีอาการผิดปกติ ควรแจ้งให้แพทย์ พยาบาลทราบ  [adinserter name=”โรคไตและระบบทางเดินปัสสาวะ”]

ผู้ป่วยที่มีความดันเลือดสูง และต้องเข้ารับการฟอกเลือด

1. ควรวัดความดันเลือด ทั้งก่อนและหลังเข้ารับการฟอกเลือด

2. แพทย์อาจจะให้ยาลดความดัน ก่อนที่ผู้ป่วยจะเข้ารับการฟอกเลือด

3. หากความดันเลือดสูงขึ้น โดยเฉพาะในชั่วโมงท้าย ๆ  ผู้ป่วยจะต้องแจ้งแพทย์เสมอ

หากความดันเลือดต่ำ ในขณะที่ฟอกเลือด

ในขณะที่ผู้ป่วยกำลังทำการฟอกเลือดอยู่นั้น  หรือ อาจจะเป็นชั่วโมงท้าย ๆ ของการฟอกเลือดโดยตรง  ผู้ป่วยอาจจะพบว่าตนเองมีความดันเลือดลดลงมาก แถมหัวใจยังคงเต้นเร็วขึ้น  หากมีอาการผิดปกติอย่างเช่น คลื่นไส้ แน่นท้อง กระวนกระวาย หรือหน้ามืด  ควรแจ้งให้แพทย์ทราบทันที

การดูแลตนเอง หลังจากเข้ารับการฟอกเลือดแล้ว

1. ระมัดระวัง อย่าให้แขนข้างที่ฟอกเลือดกระทบกระเทือน หรือ โดนอะไรมากระแทกแรง ๆ

2. หากยังต้องปิดพลาสเตอร์เอาไว้  ระวังอย่าให้เปียกน้ำ

3. หากถูกกระแทกและมีรอยฟกช้ำ ควรประคบเย็นประมาณ 15 นาทีเพื่อบรรเทาอาการ

4. หากถูกของมีคมบาด ส่งผลทำให้เลือดไหล ให้ใช้ผ้าสะอาดกดนาน ๆ เพื่อให้เลือดหยุดไหลก่อน

5. หากมีอาการอ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน ควรพักผ่อน และพบแพทย์

6. ไม่ควรใช้แขนยกของหนัก หรือ ออกกำลังกาย จนกว่าจะครบ 24 ชั่วโมง  [adinserter name=”โรคไตและระบบทางเดินปัสสาวะ”]

การล้างไตผ่านช่องท้อง

การล้างไตผ่านช่องท้องนั้น  มีความเหมาะสมกับผู้ป่วยที่เป็นโรคไตวายเรื้อรัง หากบ้านของผู้ป่วยอยู่ห่างไกลจากศูนย์ไตเทียมมาก ส่งผลทำให้ไม่สะดวกต่อการเดินทาง  การล้างไตผ่านช่องท้อง อาจจะเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ป่วยในกรณีนี้โดยตรง  รวมไปถึงผู้ป่วยที่ยังคงมีสุขภาพแข็งแรง และมีญาติคอยช่วยเหลือ ทำหน้าที่ในการปลี่ยนน้ำยาให้ได้ทุกรอบร่วมด้วย

การล้างไตผ่านทางช่องท้อง มีวิธี ดังนี้

1.ซีเอพีดี  ต้องใช้ระยะเวลา 6 ชั่วโมง 

2.ไอพีดี 

สำหรับในรูปแบบ ซีเอพีดี ถือได้ว่าเป็นวิธีที่ทางสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ  ได้มีการกำหนดให้ผู้ป่วยที่เป็นโรคไตวายเรื้อรังระยะรุนแรง  และยังคงเป็นผู้ป่วยที่ใช้สิทธิ์บัตรทอง ได้เข้ารับการให้บริการซึ่งสามารถเบิกได้  ซึ่งถ้าหากใครต้องการทำการฟอกเลือดก็สามารถทำได้ แต่ไม่สามารถเบิกได้เช่นกัน   ส่วนผู้ป่วยที่มีบัตรประกันตน สามารถเบิกได้ทั้งในกรณีทำการฟอกเลือด หรือ การทำซีเอพีดี

การผ่าตัดก่อนทำซีเอพีดี

ก่อนที่ผู้ป่วยจะได้รับการล้างไตทางช่องท้อง หรือ ก่อนที่ผู้ป่วยจะได้ทำซีเอพีดี  ผู้ป่วยจะต้องเข้ารับการผ่าตัด หรือ ทำการเจาะหน้าท้องส่วนล่างเสียก่อน เพื่อที่จะทำการวางท่อซิลิโคนที่มีขนาดเล็ก สอดใส่เข้าไปในช่องท้อง  โดยจะมีปลายท่ออีกด้านหนึ่ง ที่โผล่ออกมาจากผนังหน้าท้อง ซึ่งจะอยู่ต่ำกว่าสะดือ นับได้ว่าเป็นสายที่สามารถใช้ได้อย่างถาวร เชื่อมต่อกันกับสายนำน้ำยาที่ติดอยู่กับถุงน้ำยาพีดี  ในกรณีที่สายยางเป็นรูปแบบซิลิโคน ฝังอยู่ภายในช่องท้องของผู้ป่วย และมีน้ำยาอยู่ในช่องท้อง ผู้ป่วยจะไม่มีอาการเจ็บปวดแต่อย่างใด

ตำแหน่งที่ดีของการฝังท่อล้างไตทางช่องท้อง

ตำแหน่งที่ดีของการฝังท่อล้างไตทางช่องท้อง ได้แก่

  • อยู่เหนือ หรือ ล่างจากแนวรัดเข็มขัดประมาณ 2 เซนติเมตร  เพื่อที่จะป้องกันสำหรับผู้ที่ใช้เข็มขัด ในกรณีนี้จะไม่เกิดการกดทับแต่อย่างใด
  • คนอ้วนที่มีรอยย่นของผนังหน้าท้อง  ตำแหน่งที่ดีมีความเหมาะสมมักจะอยู่เหนือสะดือ
  • ตำแหน่งปากแปลช่องทางออกของสายล้างไตนั้น  มักจะชี้ลงด้านล่าง เพื่อไม่ให้เกิดการสะสมของเหงื่อไคล ทำให้เกิดอาการติดเชื้อได้น้อยกว่า
  • ควรที่อยู่ทางด้านขวามือของผู้ป่วยเป็นหลัก เพราะจะส่งผลทำให้ปลายสายที่อยู่ในช่องท้อง ได้อยู่ทางด้านซ้าย ตามทิศทางการบีบคลายตัวของลำไส้ใหญ่ ส่งผลทำให้ปลายสายจะไม่ลอยขึ้นมา  [adinserter name=”โรคไตและระบบทางเดินปัสสาวะ”]

การฝังท่อล้างไต

การฝังท่อล้างไตมี 2 วิธี ดังนี้

1. การฝังท่อล้างไต โดยไม่ต้องผ่าตัดเพื่อเปิดผนังช่องท้อง 

วิธีนี้ แพทย์ได้ทำการฝังท่อให้กับผู้ป่วย โดยที่ไม่ต้องทำการผ่าตัด ซึ่งแพทย์จะทำการฉีดยาชาเฉพาะจุด แล้วจึงทำการเจาะเพื่อฝังท่อล้างไต ผ่านทางผนังหน้าท้อง โดยมีการใช้ลวดเพื่อเป็นตัวนำในการช่วยฝังท่อ

2. การฝังท่อ โดยใช้วิธีการผ่าตัด 

แพทย์และผู้เชี่ยวชาญ จะทำการฝังท่อโดยทำการผ่าตัด  ซึ่งผู้ป่วยจะต้องนอนพักรักษาตัวภายในโรงพยาบาล และต้องรอให้แผลสมานตัวดีเสียก่อน  จึงจะทำการล้างไตได้

กระบวนการล้างไตทางช่องท้องในกรณีที่ผู้ป่วยทำด้วยตนเอง

ซีเอพีดี หรือ การล้างไตทางช่องท้อง จำเป็นจะต้องมีการทำต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง และต้องทำทุกวัน ซึ่งผู้ป่วยสามารถทำได้ด้วยตนเอง ภายในห้องที่สะอาด หรือ พื้นที่ที่สะอาดเท่านั้น  ซึ่งห้องจะต้องไม่มีสัตว์เลี้ยงและไม่มีลมพัดผ่าน เพื่อที่ผู้ป่วยจะลดโอกาสในการติดเชื้อได้  อีกทั้งผู้ป่วยจะต้องเรียนรู้วิธีการต่อถุงน้ำยากับสายต่อท่อล้างไต นับได้ว่าเป็นเทคนิคที่ต้องปราศจากเชื้ออย่างแท้จริง เพราะเป็นการปล่อยน้ำยาเก่าภายในช่องท้องออกมา และเติมน้ำยาใหม่เข้าไปทดแทน  ซึ่งจำเป็นจะต้องใช้ระยะเวลาหลายสิบนาทีด้วยกัน  แต่ผู้ป่วยยังคงสามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ในช่วงเวลานี้

การเปลี่ยนถ่ายน้ำยาพีดี  มี 3 ขั้นตอน

1. ขั้นตอนถ่ายน้ำยาออกจากช่องท้อง

เป็นขั้นตอนที่ผู้ป่วยจะต้องทำการถ่ายน้ำยาพีดี ที่มีค้างอยู่ในช่องท้อง ซึ่งน้ำยานี้จะมีแต่ของเสีย ผู้ป่วยจะต้องถ่ายน้ำยาออกจากช่องท้อง เพื่อเข้าสู่ถึงระบบปิดที่วางไว้ต่ำกว่าระดับสะดือ โดยน้ำจะไหลจากที่สูงลงไปที่ต่ำกว่านั่นเอง  [adinserter name=”โรคไตและระบบทางเดินปัสสาวะ”]

2. ขั้นตอนการเติมน้ำยาใหม่เข้าไปทดแทน 

ขั้นตอนนี้ ผู้ป่วยต้องทำการเติมน้ำยาใหม่ เข้าสู่ช่องท้องแทนที่น้ำยาที่เพิ่งทำการถ่ายออกไปจากช่องท้อง  โดยที่ผู้ป่วยจะต้องแขวนสารละลายที่เป็นถุงขนาดใหญ่ ให้อยู่สูงกว่าระดับไหล่ของผู้ป่วยขึ้นไป  หลังทำการปล่อยน้ำยาให้ไหลเข้าสู่ช่องท้องอย่างช้า ๆ ต้องใช้ระยะเวลา 10 – 15 นาที  น้ำยาที่ใช้จะมีปริมาณ 2 ลิตรด้วยกัน

3. ขั้นตอนการพักท้อง 

ขั้นตอนนี้ถือได้ว่าเป็นขั้นตอนที่ต้องปล่อยน้ำยาพีดีใหม่ ให้ค้างไว้ในช่องท้อง เพื่อให้เกิดการฟอกของเสียออกมา ซึ่งทำหน้าที่เหมือนกับอุปกรณ์ไตเทียมเลยทีเดียว  โดยจะต้องใช้ระยะเวลาประมาณ 4 – 8 ชั่วโมง  ในส่วนของขั้นตอนนี้ จะไม่มีสายระโยงระบาง ผู้ป่วยจึงสามารถทำกิจกรรมได้อย่างสะดวกสบาย

ทั้ง 3 ขั้นตอนนี้  ผู้ป่วยจำเป็นจะต้องทำวนไปเป็น 4 – 5 รอบต่อวัน หรืออาจจะมากกว่านี้  ทุกอย่างขึ้นอยู่กับอาการบวม หรือ ของเสียที่แพทย์ได้ทำการตรวจพบภายในร่างกาย  โดยที่ผู้ป่วยจะต้องทำการล้างไตแบบนี้ทุกวัน เพื่อให้เหมือนกับว่าไตได้ทำงานปกติ และถ้าหากผู้ป่วยต้องทำการล้างไตวันละ 4 รอบ  โดยเปลี่ยนถ่ายน้ำยาวันละ 4 ครั้ง จะตรงกับช่วงเวลา ดังนี้

1. ช่วงตื่นนอนตอนเช้า

2. ช่วงตอนเที่ยงวัน

3. ช่วงก่อนอาหารเย็น หรือ ช่วงเวลา 18.00 น.

4. ช่วงเวลาก่อนนอน หรือ 22.00 น.

ข้อดีของการล้างไตในรูปแบบ ซีเอพีดี

1. ผู้ป่วยสามารถล้างไตด้วยวิธีนี้ได้เองที่บ้าน ซึ่งผู้ป่วยไม่จำเป็นจะต้องมาโรงพยาบาลบ่อย ๆ

2. นับได้ว่าเป็นวิธีการล้างไตที่บ่อยครั้ง สามารถกำจัดของเสียได้มากกว่าการฟอกเลือด

3. ไม่จำเป็นจะต้องจำกัดอาหารมาก  [adinserter name=”โรคไตและระบบทางเดินปัสสาวะ”]

4. สามารถควบคุมความดันเลือดได้ดีกว่า ส่งผลทำให้มีโอกาสเลือดจางได้น้อยกว่า  เนื่องจากไม่ต้องสูญเสียเลือด

ข้อเสียของการล้างไตในรูปแบบ ซีเอพีดี

1. หากผู้ป่วยไม่ระมัดระวังเรื่องความสะอาด อาจจะเกิดอาการติดเชื้อขึ้นได้

2. หากผู้ป่วยสูญเสียโปรตีนจำนวนมาก ส่งผลทำให้ผู้ป่วยต้องเสียวิตามินบี 1 และ 6  พร้อมทั้งกรดโฟลิค และ วิตามินซี  แต่ในกรณีนี้ยังคงสามารถแก้ไขได้ โดยให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารทดแทน

3. ต้องมีการฝังท่อคาเอาไว้ภายในช่องท้องอยู่ตลอดเวลา

4. ผู้ป่วยจะต้องมีถุงติดอยู่กับร่างกายตลอดทั้งวัน ส่งผลทำให้เดินทางไปไหนมาไหนไม่สะดวก

5. อาจพบเจอปัญหาท่อตันขึ้นได้

6. ผู้ป่วยอาจจะมีน้ำหนักและรอบเอวเพิ่มขึ้น

7. ผู้ป่วยต้องมีพื้นที่สำหรับวางเครื่องมือและอุปกรณ์ รวมไปถึงห้องเก็บน้ำยา

8. ผู้ป่วยและญาติ อาจจะเกิดอาการเบื่อหน่าย ต่อการทำ ซีเอพีดี เนื่องจากต้องทำทุกวัน และต้องทำต่อเนื่อง

วิธีดูแลตนเอง หลังจากที่ฝังท่อล้างไต

หลังจากที่ผู้ป่วยได้ฝังท่อล้างไตแล้ว ผู้ป่วยจะได้รับการพักท้องเอาไว้ประมาณ 1 – 2 สัปดาห์ด้วยกัน เพื่อที่จะทำให้บาดแผลผ่าตัดมีลักษณะแห้งดี  และเมื่อแผลหายดีจึงจะเริ่มทำการล้างไตผ่านทางช่องท้องในระยะเวลาต่อมา  ซึ่งพยาบาลจะทำการสอนวิธีการเปลี่ยนถ่ายน้ำยา การสังเกตแผล  นอกจากนี้จะมีพยาบาลออกไปเยี่ยมผู้ป่วยล้างไตที่บ้านเป็นครั้งคราว [adinserter name=”โรคไตและระบบทางเดินปัสสาวะ”]

การปฏิบัติตน หลังฝังท่อล้างไต

1. ผู้ป่วยจะต้องนอนราบและหนุนหมอนบนเตียงประมาณ 12 ชั่วโมง หลังจากการวางสาย

2. ผู้ป่วยจะต้องระวังไม่ให้แผลเปียกน้ำ และต้องทำการยึดสายด้วยเทปไว้ที่ปุ่มกระดูกเชิงกราน เพื่อที่จะป้องกันการบิดหมุนของสาย

3. ผู้ป่วยจะต้องปิดแผลด้วยผ้าก๊อซแห้งหลายชั้นด้วยกัน  หากไม่มีเลือดซึม หรือ ไม่มีอาการผิดปกติ ผู้ป่วยไม่จำเป็นจะต้องเปลี่ยนผ้าก๊อซเป็นเวลา 1 สัปดาห์

4. ผู้ป่วยจะต้องหมั่นตรวจสอบความผิดปกติภายในช่องท้อง และ ช่องทางออกของท่อล้างไต

5. หลังจากที่ผ่านไป 2 สัปดาห์แรก  ผู้ป่วยจะต้องทำแผลบริเวณปากแผล ประมาณวันละ 1 ครั้ง

6. ผู้ป่วยจะต้องจำกัดน้ำดื่ม และทำการควบคุมอาหารตามระยะของโรคอย่างเคร่งครัด

7. เมื่อแผลหายสนิทแล้ว  ผู้ป่วยสามารถอาบน้ำได้ โดยจะต้องใช้น้ำประปา  แต่จะต้องทำการตรึงสายให้อยู่กับที่ ไม่มีการดึงรั้งสายเอาไว้  เมื่ออาบน้ำเสร็จ ควรใช้ผ้าสะอาดทำการซับน้ำบริเวณช่องทางของสายให้แห้งทันที

อาการของผู้ป่วยที่ต้องรีบพบแพทย์โดยด่วน

  • ผู้ป่วยมีอาการปวดท้อง ปวดแผล หรือ กดแล้วเจ็บบริเวณแผล พร้อมทั้งมีไข้
  • ผู้ป่วยมีอาการตัวบวมมาก แขนและขาบวม มีอาการเหนื่อยหอบ นอนราบไม่ได้
  • พบว่ามีเลือดหรือเยื่อวุ้น หรือ น้ำรั่วซึมออกมาจากแผล หรือพบเจอว่าท่อล้างไตเลื่อนออกมาจากที่เดิม
  • พบว่าสายล้างไตมีรอยแตกหรือฉีดขาด

การบำบัดไตทดแทนแบบ โดยการล้างไตทางช่องท้องด้วยเครื่องอัตโนมัติ

การล้างไตผ่านทางช่องท้องด้วยเครื่องอัตโนมัติ สามารถเรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่า เอพีดี  หรือ การล้างไตผ่านช่องท้องด้วยเครื่องอย่างต่อเนื่อง  ซึ่งเครื่องอัตโนมัติที่ช่วยล้างไต จะทำการเปลี่ยนถ่ายน้ำยา 3 ขั้นตอน ได้แก่  ขั้นตอนการถ่ายน้ำยาทิ้ง  , ขั้นตอนการเติมน้ำยาเข้าไปใหม่ , ขั้นตอนการพักน้ำยาให้อยู่ภายในช่องท้อง ส่วนใหญ่แล้ว จะมีการค้างน้ำยาเอาไว้ภายในช่องท้องประมาณ 1 คืน โดยที่ไม่จำเป็นจะต้องล้างไตเองทุก 4 – 6 ชั่วโมง เนื่องจากเครื่องจะทำการคำนวณปริมาตรของน้ำยา ซึ่งแพทย์จะทำการกำหนดเอาไว้ภายในระบบของเครื่อง  ซึ่งวิธีนี้ควรเตรียมพื้นที่ให้สะอาดเพื่อที่จะป้องกันการติดเชื้อ  และในขณะที่จะทำการปลดสายที่ส่งระหวางเครื่อง กับ ผู้ป่วย จะต้องมีการตรวจสอบข้อต่อและตัวหนีบให้ดีเสียก่อน

ข้อดีของการล้างไตในรูปแบบ เอพีดี

1. การล้างไตในรูปแบบ เอพีดี  ไม่จำเป็นจะต้องเสียเวลาในการเปลี่ยนถ่ายน้ำยาเอง

2. มีความสะดวกสบาย

3. วิธีนี้มีความเหมาะสมสำหรับผู้ป่วยหรือญาติ ที่มีงานหรือภารกิจประจำวันมาก  หรือใช้กับผู้ป่วยสูงอายุ ที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้

ข้อเสียของการล้างไตในรูปแบบ เอพีดี

  • เครื่องราคาไม่แพง [adinserter name=”โรคไตและระบบทางเดินปัสสาวะ”]
  • โอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อมีอยู่มากน้ำยาล้างไตผ่านทางช่องท้องปกติแล้ว มักจะนิยมใช้น้ำยาที่กลูโคสเป็นส่วนผสมหลัก เนื่องจากมีราคาไม่แพง  ส่วนเปอร์เซ็นต์ของน้ำยาที่มีกลูโคสเป็นส่วนผสมก่อน จะมีรายละเอียดดังนี้

1. น้ำยาพีดี 1.5 เปอร์เซ็นต์ จะมีน้ำตาลกลูโคสเป็นส่วนผสมตามอัตราส่วนดังกล่าว  ผู้ป่วยมักจะนิยมใช้กันมากที่สุด เพราะมีความเหมาะสมกับทุกเพศ ทุกวัย

2. น้ำยาพีดี 2.5 เปอร์เซ็นต์ เป็นน้ำยาที่มีน้ำตาลกลูโคสเป็นส่วนผสมที่มากขึ้นกว่าอันแรก  แถมน้ำยาในรูปแบบที่สองนี้ จะสามารถดึงน้ำส่วนเกินออกจากร่างกายได้อย่างรวดเร็ว แต่ก็มีผลเสียตามมาด้วยเช่นกัน  โดยเฉพาะจะส่งผลทำให้ผนังหน้าท้องเสื่อมลงได้เร็วยิ่งขึ้น  น้ำยาพีดี 2.5 เปอร์เซ็นต์ จึงถูกนำมาใช้เฉพาะผู้ป่วยที่มีภาวะน้ำเกิน , ผู้ป่วยมีน้ำหนักตัวมากจนเกินเหตุ , ใช้ในกรณีที่น้ำยาที่ออกมาได้น้อย  ซึ่งสามารถนำมาใช้ร่วมกันกับน้ำยาพีดี 1.5 เปอร์เซ็นต์ได้

3. น้ำยาพีดี 4.25 เปอร์เซ็นต์ นับได้ว่าเป็นน้ำยาที่มีส่วนผสมน้ำตาลสูงที่สุด  สามารถดึงน้ำส่วนเกินออกจากร่างกายได้เร็ว  แต่จะทำให้ผนังท้องเสื่อมได้เร็วมากที่สุดเช่นกัน  อีกทั้งยังทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น  จึงควรเลือกใช้เฉพาะในกรณีที่ไตวายรุนแรงมากเท่านั้น

การพิจารณาว่าผู้ป่วยได้ทำการฟอกเลือด หรือ ล้างไตเพียงพอแล้วหรือยัง?

สามารถพิจารณาจากสิ่งเหล่านี้

1. ตรวจฮีมาโตคริต หรือ ฮีโมโกลบิน  ซึ่งจะต้องตรวจอย่างน้อยทุก 1 เดือน

2. ตรวจอีเลคโตรไลท์ แคลเซียม ปริมาณฟอสเฟต และ อัลบูมิน ภายในเลือด ทุก 3 เดือน

3. ตรวจระดับฮอร์โมนพาราไทรอยด์ iPTH และปริมาณเหล็กภายในร่างกาย ทุก 6 เดือน

4. ตรวจไวรัสตับอักเสบบี ทุก 6 เดือน

5. ตรวจภูมิต้านทานต่อไวรัสตับอักเสบซี  ทุก 6 เดือน

6. ตั้งเป้าหมายของระดับไบคาร์บอเนต ก่อนทำการฟอกเลือด [adinserter name=”โรคไตและระบบทางเดินปัสสาวะ”]

ปัญหาจากการล้างไตทางช่องท้องที่อาจเกิดขึ้นได้

1. การติดเชื้อที่เยื่อบุผิวรอบท่อ หรือ มีอาการลุกลามไปในช่องท้อง

2. สายนำน้ำยาพีดีหลุด หรือ รั่ว  หรือ ตกพื้น

3. น้ำยาพีดีไม่สามารถไหลเข้าช่องท้อง ขณะที่คลายตัวล็อก

4. น้ำยาพีดีไม่ไหลออกจากช่องท้อง ขณะที่มีการคลายตัวล็อก

การบันทึกดุลน้ำยา

ผู้ป่วยที่ต้องล้างไตผ่านทางช่องท้อง จะต้องทำการบันทึกปริมาตรน้ำยาเข้าและออก ลงในสมุดบันทึกดุลน้ำยาอย่างละเอียด และผู้ป่วยจะต้องคำนวณปริมาณของน้ำยาที่ถ่ายออกมา ว่ามีปริมาณมาก (+) หรือมีปริมาณน้อย (-)  ที่ต้องใส่เข้าไปในแต่ละรอบ โดยให้ทำการบันทึก ดังนี้

  • ถ้าพบว่าน้ำยาออกมามากกว่าที่ใส่เข้าไป  ผู้ป่วยจะต้องเขียนเครื่องหมาย +  บริเวณหน้าตัวเลขที่คำนวณได้เท่านั้น  เรียกได้ว่าเป็นสิ่งที่ดี
  • ถ้าน้ำยาออกมาน้อยกว่าที่ต้องใส่เข้าไป  ผู้ป่วยจะต้องเขียนเครื่องหมาย
  • บริเวณหน้าตัวเลข ซึ่งในกรณีนี้นับได้ว่าไม่ดี  ควรได้รับการแก้ไข และควรพบแพทย์

การทำดุลน้ำยาและการคำนวณปริมาณน้ำที่ต้องดื่มต่อวันของผู้ป่วยล้างไต

1. หากพบว่าไม่มีปัสสาวะ ผู้ป่วยควรได้รับน้ำต่อวันประมาณ 600 มิลลิลิตร + น้ำยาพีดีที่ถ่ายออกมาทั้งวัน + หรือ –

2. หากพบว่ามีปัสสาวะ ควรได้รับน้ำประมาณ 600 มิลลิลิตร + น้ำยาพีดีที่ถ่ายออกมาทั้งวัน  +  หรือ – นำมาบวกกับปริมาณปัสสาวะรวมต่อวัน

3. หากมีน้ำยาออกมาจากช่องท้องประมาณ 1,000 มิลลิลิตรต่อวันขึ้นไป จะต้องได้รับน้ำประมาณ 600 + 1000 มิลลิลิตรต่อวัน

การเสียชีวิตในผู้ป่วยล้างไต

ผู้ป่วยล้างไตส่วนใหญ่  หากเสียชีวิตก็มักจะไม่ได้มีสาเหตุมาจากการล้างไต แต่ตามสถิติแล้วผู้ป่วยมักจะเสียชีวิต อันเนื่องมาจาก [adinserter name=”โรคไตและระบบทางเดินปัสสาวะ”]

1. 40 – 50 เปอร์เซ็นต์  ผู้ป่วยล้างไตส่วนใหญ่จะเสียชีวิตจากโรคหัวใจ และ โรคหลอดเลือด ซึ่งสองโรคนี้จะสามารถเกิดขึ้นได้กับผู้ป่วยที่ล้างไตทุกกลุ่ม  ซึ่งผู้ป่วยมักจะเสียชีวิตประมาณ 1 ปี หลังจากที่พบว่ามีอาการของโรคหลอดเลือด และ โรคหัวใจ

2. ผู้ป่วยล้างไต ที่มีภาวะหัวใจวาย  ตั้งแต่ก่อนล้างไต หรือ ในช่วงที่เริ่มต้นล้างไต  จะส่งผลทำให้ต้องเสี่ยงกับการเสียชีวิตมากขึ้น

3. ผู้ป่วยล้างไต เสียชีวิตลงจากสาเหตุอื่น ๆ

การล้างไตและการฟอกเลือดในแต่ละครั้ง ถือได้ว่าเป็นการยื้อชีวิตให้กับผู้ป่วยโดยตรง เปรียบเสมือนเป็นการกระตุ้น เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถขับของเสียออกจากร่างกายได้  เหมือนกับว่าไตของผู้ป่วยนั้น ยังคงสามารถทำงานได้เป็นปกติเช่นเดิม ส่วนกระบวนการล้างไตหลากหลายวิธี  ถือได้ว่าเป็นทางเลือกสำหรับผู้ป่วยโดยตรง เนื่องจากการล้างไตบางวิธีนั้น อาจจะส่งผลเสียหรือทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างสะดวกสบาย หรือ ข้อจำกัดทางด้านสถานะทางการเงินของผู้ป่วยและญาติ ที่มีผลต่อการตัดสินใจในแต่ละครั้ง ว่าจะทำการล้างไตด้วยวิธีไหนเป็นสำคัญนั่นเอง

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

Weinreich T, De los Ríos T, Gauly A, Passlick-Deetjen J (2006). “Effects of an increase in time vs. frequency on cardiovascular parameters in chronic hemodialysis patients”. Clin. Nephrol. 6 (6): 433–9. PMID 17176915.

Kallenbach J.Z.In: Review of hemodialysis for nurses and dialysis personnel. 7th ed. St. Louis, Missouri : Elsevier Mosby; 2005.

Seppa, Nathan (2 February 2011). “Bioengineering Better Blood Vessels”. Science News. 4 February 2011.

Eknoyan G, Beck GJ, Cheung AK, et al. (2002). “Effect of dialysis dose and membrane flux in maintenance hemodialysis”. N. Engl. J. Med. 347 (25): 2010–9. PMID 12490682. doi:10.1056/NEJMoa021583.

ภาวะแทรกซ้อนของโรคไตวายเฉียบพลันและโรคไตวายเรื้อรัง

0
ภาวะแทรกซ้อนของไตวายเฉียบพลัน-เรื้อรัง
ภาวะไตวาย ผู้ป่วยมักมีอาการน้ำท่วมปอดเนื่องจากไตไม่สามารถขับน้ำได้เป็นปกติ
ภาวะแทรกซ้อนของไตวายเฉียบพลัน-เรื้อรัง
ภาวะไตวาย ผู้ป่วยมักมีอาการน้ำท่วมปอดเนื่องจากไตไม่สามารถขับน้ำได้เป็นปกติ

ภาวะแทรกซ้อน

ในผู้ป่วยที่เป็นโรคไตวายเฉียบพลัน หรือ โรคไตวายเรื้อรัง ซึ่งถือได้ว่าเป็นกลุ่มผู้ป่วยโรคไตขั้นรุนแรง ย่อมได้รับผลกระทบต่อร่างกายในทุก ๆ ส่วน โดยเฉพาะการเกิด ภาวะแทรกซ้อน ตามมา ดังนี้  

พยาธิสภาพโรคไตวายเรื้อรัง

อาการภาวะแทรกซ้อน อันเนื่องมาจากผู้ป่วยเป็นโรคไตวายเฉียบพลัน และ โรคไตวายเรื้อรัง ถือได้ว่าสามารถเกิดขึ้นได้กับผู้ป่วยทุกคนที่เป็นโรคชนิดนี้ การระมัดระวังรวมไปถึงการสังเกตอาการของผู้ป่วยอยู่ตลอดเวลาที่ มีอาการผิดปกติ มีโอกาสช่วยทำให้ผู้ป่วยมีความปลอดภัยได้มากยิ่งขึ้น เพราะญาติและผู้ป่วยเอง จะสามารถบอกถึงอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นกับแพทย์ได้ ซึ่งแพทย์จะทำการตรวจและวินิจฉัยตามอาการ และถ้าค้นพบภาวะแทรกซ้อนและรักษาได้ทันท่วงที ย่อมสามารถยื้อชีวิตผู้ป่วยได้อย่างแน่นอน

1. อาการผู้ป่วยมีภาวะน้ำท่วมปอด

ผู้ป่วยมักจะมีอาการน้ำท่วมปอดเนื่องจากไตไม่สามารถขับน้ำได้เป็นปกติ หรือ ขับน้ำไม่ได้ทำให้ผู้ป่วยมีอาการ ปวดหน้าอก หายใจหอบเหนื่อย หายใจลำบาก ซึ่งผู้ป่วยอาจจะมีน้ำภายในร่างกายมากขึ้น บางครั้งก็อาจจะมีผลมาจาก สาเหตุอื่นๆ ร่วมด้วย อย่างเช่น ผู้ป่วยอาจจะได้รับน้ำเข้าทางหลอดเลือดเพิ่มเติมหรือมากจนเกินไป โดยเฉพาะในช่วงที่ผู้ป่วยปัสสาวะออกมาได้น้อยรวมไปถึงผู้ป่วยไม่ได้รักษาความสมดุลของเกลือและน้ำ

2. หัวใจขาดเลือดส่งผลอย่างไรกับไตวาย

ภาวะแทรกซ้อนผู้ป่วยโรคไตวายมักจะมีอาการหายใจติดขัด หายใจไม่ทั่วท้องอาจจะมีอาการปวดศีระษะ หรือ เวียนศีรษะร่วมด้วย หรือ อาจจะเกิดหัวใจวายขึ้นได้ ในกรณีนี้ควรแจ้งให้แพทย์ทราบโดยด่วน ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการหัวใจวาย อาการของผู้ป่วยโดยรวม คือ มีอาการหอบเหนื่อย สะอึก ใจสั่น รู้สึกเจ็บหน้าอก ปวดกราม ปวดหู ปวดคอหรือช่วงไหล่ ปวดหรือชาที่บริเวณหน้าอก บ่า และแขน ซึ่งอาการเหล่านี้อาจจะเป็น ๆ หาย ๆ ได้เช่นกัน

3. ผู้ป่วยมีภาวะโปแตสเซียมในเลือดสูง

ในกรณีนี้เกิดขึ้นได้เนื่องจากไตได้ขับของเสียออกน้อยลง ส่งผลทำให้หัวใจทำงานผิดปกติ หรือ เต้นผิดจังหวะ หรือหัวใจช้ากว่า 60 ครั้งต่อนาทีเนื่องจากมีโปแตสเซียมในเลือดสูงหรืออาจมีภาวะหัวใจหยุดเต้นได้

ภาวะแทรกซ้อนผู้ป่วยไตวาย มักมีอาการน้ำท่วมปอดเนื่องจากไตไม่สามารถขับน้ำได้เป็นปกติหรือขับน้ำไม่ได้ทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดหน้าอก หายใจหอบเหนื่อย หายใจลำบาก ซึ่งผู้ป่วยอาจจะมีน้ำภายในร่างกายมากขึ้น

4. ผู้ป่วยที่มีอาการความดันเลือดสูงขึ้นจนผิดปกติ

4.1 ความดันเลือดสูงขึ้นไม่มากเท่าไหร่นัก ในระยะนี้ผู้ป่วยอาจจะไม่มีอาการอะไรมากนัก

4.2 ความดันเลือดสูงมากขึ้น แถมโพแทสเซียมก็ยังคงสูงตามไปด้วย ผู้ป่วยมักจะมีอาการปวดท้อง เป็นตะคริวง่าย และอาจจะหัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือ ชีพจรเต้นเร็ว ผู้ป่วยอาจจะมีอาการเวียนหัวร่วมด้วย บวกกับกล้ามเนื้ออ่อนแรง

4.3 ผู้ป่วยมีโซเดียมต่ำร่วมด้วย ซึ่งในกรณีนี้ร่างกายของผู้ป่วยจะมีน้ำคั่ง มีอาการสับสน หมดสติ ท้องเดิน แต่ถ้าหากผู้ป่วยมีโซเดียมสูง ผู้ป่วยจะมีอาการชา กระตุก มือจีบ เป็นต้น

4.4 หากผู้ป่วยมีแมกนีเซียมสูง ฟอสเฟตสูง ผู้ป่วยจะมีอาการง่วงซึม หัวใจเต้นช้าลง

5. ผู้ป่วยที่มีภาวะซีดหรือมีภาวะเลือดจาง 

สามารถพบกรณีนี้ได้บ่อยในผู้ป่วยที่เป็นโรคไตวายเรื้อรัง ส่งผลทำให้อาการภาวะไตวายรุนแรงขึ้น ซึ่งสภาวะเลือดจาง หรือ เลือดซีด จะส่งผลทำให้เซลล์ต่าง ๆ ภายในร่างกาย ได้รับออกซิเจนน้อยลงกว่าเดิม หรือ ไม่เพียงพอ ส่งผลทำให้ผู้ป่วยมีลักษณะอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย และ ขี้หนาว ซึ่งผู้ป่วยไตวาย ยังสามารถมีภาวะซีดมาจากปัจจัยอื่น ๆ ร่วมด้วยได้ ดังนี้

ภาวะขาดสารอาหาร
ผู้ป่วยที่เสียเลือดไปกับการฟอกเลือด โดยใช้เครื่องไตเทียม
ผู้ป่วยที่เสียเลือดไปกับการเจาะเลือดบ่อย ๆ
ผู้ป่วยที่เสียเลือดในทางเดินอาหาร
ผู้ป่วยมีภาวะเลือดออกง่าย
ผู้ป่วยเสียเลือดระหว่างการฟอกเลือด
ผู้ป่วยเป็นโรคอื่น ๆ ร่วมด้วย

6. ผู้ป่วยที่มีภาวะยูเรียหรือระดับยูเรียสูงมาก

ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีภาวะไม่สมดุลของค่าอีเล็คไตรไลท์ โดยมีโซเดียม ไนโตรเจน โพแทสเซียม ฟอสเฟต และน้ำคั่ง แถมเลือดยังเป็นกรดอีกด้วย

7. ผู้ป่วยที่ระบบประสาทส่วนปลายอักเสบ จนถูกทำลาย

ผู้ป่วยมักจะมีอาการร้อนที่บริเวณเท้า เมื่อแตะเท้าจะรู้สึกเจ็บปวด ส่งผลทำให้ผู้ป่วยต้องขยับเท้าอยู่ตลอดเวลา ส่งผลทำให้เกิดการทรงตัวที่ไม่ดี

8. ผู้ป่วยที่เป็นโรคกระดูกพรุน

โดยมีสาเหตุมาจาก

  • ไตเสียหน้าที่ที่จะสังเคราะห์วิตามินดี ( Vitamin D ) ลดลง ทำให้แคลเซียมในเลือดต่ำ
  • ร่างกายมีการดูดซึมของฟอสเฟตและวิตามินดีลดลง   

9. ผู้ป่วยที่ต่อมไร้ท่อทำงานอย่างผิดปกติ

เมื่อต่อมไร้ท่อทำงานผิดปกติส่งผลทำให้ร่างกายผิดปกติไปจากเดิม

10. ผู้ป่วยที่มีภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ

ซึ่งมีความรู้สึกทางเพศลดลงไปกว่าเดิม จนกระทั่งอาจจะเป็นหมันได้ ส่วนเพศหญิง ประจำเดือนอาจจะมาไม่ปกติ หรือ ไม่มีประจำเดือนเลย

11. ผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนทางสมองโดยตรง

ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการซึมลง ขาดสมาธิ มีอาการสับสน ปวดศีรษะ มีอาการนอนไม่หลับ ไม่รู้วันและเวลา หรือ ประสาทหลอน หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาจจะมีอาการชักจนกระทั่งเสียชีวิต

12. ผู้ป่วยที่ติดเชื้อโรคได้ง่าย และ มีอาการรุนแรง

ผู้ป่วยกลุ่มนี้มักจะมีภูมิต้านทานต่ำ ร่างกายจึงติดเชื้อโรคได้ง่าย ส่งผลทำให้มีอาการติดเชื้อบ่อย หากไม่ได้รับการรักษา อาจส่งผลต่อชีวิตได้ ส่วนโรคที่ผู้ป่วยสามารถติดเชื้อได้บ่อย และค่อนข้างที่จะอันตรายอย่างเช่น เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ ปอดอักเสบ เป็นต้น

ภาวะโรคแทรกซ้อนจากอาหารไตวายหรือไตวายเรื้อรัง ที่อาจจะเกิดจากปอดอักเสบติดเชื้อ

โรคแทรกซ้อนที่จะทำให้เกิดการอักเสบของปอด

1.ปอดมีลักษณะแฟบ มีฝีในปอด
2.เยื่อหุ้มสมองอักเสบ หรือ เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ
3.ข้ออักเสบแบบเฉียบพลัน
4.ภาวะขาดออกซิเจนและน้ำ
5.เลือดเป็นพิษ

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

ประสาร เปรมะสกุล, พลเอก. คู่มือแปลผลตรวจเลือด เล่มสอง. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์, 2554. 416 หน้า. 1. เลือด – การตรวจ I.ชื่อเรื่อง. 616.07561 ISBN 978-974-9608-49-4.

Dr.Andy Stein (2007-07-01). Understanding Treatment Options For Renal Therapy. Deerfield, Illinois: Baxter International Inc. p. 6. ISBN 1-85959-070-5.

The PD Companion. Deerfield, Illinois: Baxter International Inc. 2008-05-01. pp. 14–15. 08/1046R.

Dr.Per Grinsted (2005-03-02). “Kidney failure (renal failure with uremia, or azotaemia)”. 2009-05-26.