Home Blog Page 173

วิตามินอี ( Vitamin E ) คืออะไร หาได้จากแหล่งไหน ?

0
วิตามินอี (Vitamin E) คืออะไร หาได้จากแหล่งไหน?
วิตามินอีเป็นวิตามินที่ละลายในไขมัน เก็บสะสมไว้ในส่วนต่างๆของร่างกายรวมทั้งในเลือดด้วย
วิตามินอี (Vitamin E) คืออะไร หาได้จากแหล่งไหน?
วิตามินอีเป็นวิตามินที่ละลายในไขมัน เก็บสะสมไว้ในส่วนต่างๆของร่างกายรวมทั้งในเลือดด้วย

วิตามินอี ( Vitamin E )

วิตามินอี ( วิตตามินอี, vitamin e ) คือ วิตามินอีกหนึ่งชนิดที่มีความสำคัญต่อสุขภาพของคนเราเป็นอย่างมาก และเป็นวิตามินที่สามารถละลายได้ในไขมัน โดยวิตามินชนิดนี้จะช่วยป้องกันไม่ให้แคโรทีน วิตามินเอ และกรดไขมันไม่อิ่มตัวถูกออกซิไดส์ ซึ่งก็จะส่งผลในด้านดีหลายอย่างนั่นเอง ช่วยลดระดับของคอเลสตอรอลในเลือด กำจัดสารก่อมะเร็งและลดความเสี่ยงของโรคหัวใจ โดยในอดีตนั้นวิตามินอีรู้จักกันอย่างแพร่หลายในชื่อ ทางวิทยาศาสตร์ว่า โทโคฟีรอล ซึ่งได้มีการค้นพบมานานแล้ว แต่ได้มีการศึกษาจริงๆ เมื่อไม่นานมานี้เอง นอกจากนี้ยังพบว่าวิตามินอีมีไทโคไตรอินอลสูงที่สุดอีกด้วย ซึ่งเป็นสารชนิดหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญต่อสุขภาพและพบได้ในน้ำมันพืชทั่วไป

ปริมาณวิตามินอี แต่ละช่วงอายุ

วิตามินเป็นสารประกอบที่ร่างกายไม่ได้สร้างขึ้น แต่จำเป็นต่อร่างกายในปริมาณที่พอเหมาะช่วยการเจริญเติบโตและส่งเสริมพัฒนาการในด้านต่างๆ รวมถึงความต้องการวิตามินอีของร่างกาย ได้แก่

  • อายุ 0-6 เดือน ควรได้รับวิตามินอีปริมาณ 4 มิลลิกรัม
  • อายุ 7-12 เดือน ควรได้รับวิตามินอีปริมาณ 5 มิลลิกรัม
  • อายุ 1-3 ปี ควรได้รับวิตามินอีปริมาณ 6 มิลลิกรัม
  • อายุ 4-8 ปี ควรได้รับวิตามินอีปริมาณ 7 มิลลิกรัม
  • อายุ 9-13 ปี ควรได้รับวิตามินอีปริมาณ 11 มิลลิกรัม
  • อายุ 14 ปีขึ้นไป ควรได้รับวิตามินอีปริมาณ 15 มิลลิกรัม
  • คุณแม่ช่วงตั้งครรภ์ ควรได้รับวิตมินอี ปริมาณ 15 มิลลิกรัม
  • คุณแม่หลังคลอดบุตร และช่วงการให้นมบุตร ควรได้รับวิตมินอี ปริมาณ 19 มิลลิกรัม

วิตามินอี มีประโยชน์อย่างไร

1. ต้านอนุมูลอิสระเพื่อป้องกันความเสื่อม ชะลอวัย
2. ปกป้องผิว ช่วยให้เซลล์ผิวทนต่อรังสี UV B ในแดดได้ดีขึ้น
3. ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคพาร์กินสัน และอัลไซเมอร์
4. ช่วยเพิ่มภูมิต้านทานให้กับร่างกาย
5. ลดอัตราการเกิดโรคมะเร็งที่ต่อมลูกหมากและเต้านม
6. ลดการอักเสบ ป้องกันแผลเป็นหนานูน
7. ลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

วิตามินอีหาได้จากที่ไหน

1. อาหารที่มีวิตามินอีตามธรรมชาติได้แก่ ไข่ พืช ผัก ผลไม้ อาหารจำพวกถั่ว
2. น้ำมันที่มีส่วนผสมของถั่ว อาทิ น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันมะกอก น้ำมันดอกทานตะวัน เป็นต้น
3. ครีมทาผิว โลชั่นบำรุงผิว
4. ยา อาหารทางการแพทย์ นมทางการแพทย์

อาหารที่มีวิตามินอีมีอะไรบ้าง

1. ไข่ จมูกข้าวสาลี ขนมปังโฮลวีต ซีเรียลชนิดโฮลเกรน แป้งทำขนมปังแบบเสริมวิตามิน ถั่วเหลือง
2. น้ำมันพืช น้ำมันเมล็ดฝ้าย น้ำมันดอกคำฝอย น้ำมันข้าวโพดถั่ว
3. เมล็ดทานตะวัน เมล็ดมะม่วงหิมพานต์ (วอลนัต พีแคน ถั่วลิสง จะมีแกมมาโทโคฟีรอลมากเป็นพิเศษ)
4. กะหล่ำปลี กะหล่ำดาว ผักใบเขียว ผักขม อะโวคาโด (เฉพาะเนื้อ) ปวยเล้ง

ผักผลไม้ หากนำผักไปปรุงสุกความร้อนจะทำลายวิตามินอีให้เหลือน้อยลง รวมถึงการนำผลไม้ไปแช่แข็งก็ทำให้วิตามินอีมีน้อยกว่าในผลไม้สด

ร่างกายขาดวิตามินอี เสี่ยงต่อโรคอะไรบ้าง

1. เม็ดเลือดแดงถูกทำลาย
2. กล้ามเนื้อฝ่อ
3. โรคโลหิตจาง
4. โรคเกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์

อาการคนได้รับวิตามินอีไม่เพียงพอ หรือขาดวิตามินอี

ปกติแล้วร่างกายไม่ค่อยขาดวิตามินอีจากการทานอาหาร แต่อาจมีปัญหาจากการดูดซึมไขมัน เช่น การทำงานของตับ ตับอ่อน และลำไส้ผิดปกติ

1. สูญเสียการรับสัมผัส และการตอบสนองต่อสิ่งเร้า สูญเสียความรู้สึกทางกาย
2. กล้ามเนื้ออ่อนแรง มีปัญหาในการกลอกตา หรือทรงตัวได้ยาก
3. ผิวหนังแห้งหยาบกร้าน
4. หากเด็กเป็นโรคขาดโปรตีนชนิดควาชิออร์กอร์อย่างรุนแรงจะเกิดโรคโลหิตจางชนิดเม็ดเลือดแดงโต เม็ดเลือดแดงแตกได้ง่าย และมีการขับครีอะตีนออกมาในปัสสาวะด้วย
5. หญิงมีครรภ์ที่ขาดวิตามินอีจะทำให้คลอดก่อนกำหนด เด็กที่คลอดก่อนกำหนดมักจะมีระดับวิตามินอีในเลือดต่ำ ทำให้เส้นเลือดฝอยแตกง่าย
6. กรณีที่ขาดวิตามินอีมากๆ อาจทำให้ตับและไตถูกทำลาย
7. สำหรับผู้หญิงที่ย่างเข้าสู่วัยทอง ควรรับประทานวิตามินอีให้มากขึ้นกว่าเดิม

อาการคนได้รับวิตามินอีมากเกินไป

เมื่อร่างกายได้รับ วิตามินอี (vitamin e) มากเกินไป ก็จะก่อให้เกิดผลเสียตามมาได้เหมือนกัน โดยเฉพาะเมื่อได้รับวิตามินอีวันละ 300 มิลลิกรัมต่อเนื่องเป็นเวลาหลายเดือน ซึ่งจะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อ่อนเพลีย ซึม ปวดท้อง สายตาพร่ามัวและหากได้รับสูงกว่านี้ หรือมากกว่า 2,000 มิลลิกรัม ก็จะทำให้กล้ามเนื้อไม่มีแรงและมุมปาก ริมฝีปากอักแสบได้เหมือนกัน ดังนั้นจึงควรทานวิตามินอีอย่างเพียงพอ ไม่มากหรือไม่น้อยเกินไปจะดีกว่า

หากมีโรคประจำตัวที่มียาทานประจำอยู่ ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเพื่อตรวจสอบว่ายาที่รับประทานว่าสามารถทานร่วมกับวิตามินอีได้หรือไม่ทุกครั้ง

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/dic/news_week_full.

http://www.medscape.com/viewarticle/584984.

Hartley, L.; Clar, C.; Ghannam, O.; Flowers, N.; Stranges, S.; Rees, K. (Sep 2015). “Vitamin K for the primary prevention of cardiovascular disease”. The Cochrane Database of Systematic Reviews (Systematic review). 9 (9): CD011148.

มะเร็งตับ ( Liver Cancer )

0
โรคมะเร็งตับ (Liver Cancer)
มะเร็งตับ เป็นโรคมะเร็งที่พบได้มากที่สุดเป็นอันดับ 1 ในผู้ชายไทย สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเซลล์ของตับและเยื่อเมือกบุภายในท่อน้ำดี
โรคมะเร็งตับ (Liver Cancer)
มะเร็งตับ เป็นโรคมะเร็งที่พบได้มากที่สุดเป็นอันดับ 1 ในผู้ชายไทย สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเซลล์ของตับและเยื่อเมือกบุภายในท่อน้ำดี

มะเร็งตับ

มะเร็งตับ ( Liver Cancer ) คือ มะเร็งที่พบได้บ่อยชนิดหนึ่ง เกิดขึ้นบริเวณตับมีลักษณะหรือการทำงานผิดปกติแล้วพัฒนาเป็นมะเร็งในที่สุด หรืออาจเกิดจากการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งจากบริเวณอื่นมายังตับ ซึ่งมีสาเหตุมาจาก การดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมากเป็นเวลาหลายปี การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี และไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรัง ภาวะอ้วน การรับประทานอาหารไม่เป็นประโยชน์ และการเป็นตับแข็งและชนิดของมะเร็งตับที่พบได้มากที่สุด ก็คือ ชนิดโฮปาโตมาและชนิดโคแลงจิโอคาร์ซิโนมา 

ตับ เป็นอวัยวะหนึ่งที่สำคัญของร่างกาย โดยจะอยู่ในช่องท้องส่วนบนด้านขวา บริเวณติดกับใต้กระบังลม มีลักษณะแบ่งออกเป็น 2 กลีบซ้ายขวา ซึ่งกลีบด้านขวาจะมีขนาดใหญ่กว่ากลีบด้านซ้าย ส่วนหน้าที่ของตับ จะทำหน้าที่ในการ  สร้างน้ำย่อยเพื่อการสังเคราะห์โปรตีน คาร์โบไฮเดรต คอเลสเตอรอลและสร้างสาระสำคัญที่จะช่วยในการแข็งตัวของเลือด พร้อมกำจัดของเสียออกจากร่างกายอีกด้วย

  • มะเร็งตับชนิดโฮปาโตมา เรียกย่อๆ ว่า เอชซีซี ( Hepatoma/Hepatocellular Carcinoma : HCC ) เกิดจากเซลล์ของตัวตับเอง
  • มะเร็งตับชนิดโคแลงจิโอคาร์ซิโนมา เรียกย่อๆ ว่า ซีซีเอ ( Cholangio Carcinoma : CCA ) เกิดจากท่อน้ำดีในตับ

ซึ่งมะเร็งตับ ทั้งสองชนิดนี้มักจะพบได้มากที่สุดในตับกลีบขวา แต่โดยปกติแล้วสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งสองกลีบและอาจเกิดได้หลายจุดในเวลาเดียวกันอีกด้วย จึงมีความรุนแรงไม่น้อยเลยทีเดียว โดยเฉพาะเมื่อก้อนมะเร็งได้มีการแพร่กระจายทางกระแสเลือดพร้อมกับสูบเนื้อตับด้วยกันเอง จึงทำให้โอกาสในการรักษาหายมีน้อยมาก

สาเหตุของมะเร็งตับ

แพทย์ระบุว่ามะเร็งตับอาจเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัยเสี่ยงร่วมกัน แต่ยังไม่พบสาเหตุที่แน่ชัด และมะเร็งตับทั้งสองชนิดก็เกิดจากปัจจัยเสี่ยงที่ต่างกันอีกด้วย โดยสมารถสรุปได้ดังนี้

ปัจจัยเสี่ยงสำคัญของมะเร็งตับชนิด HCC

  • การดื่มเหล้าเป็นเวลานานอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะคนที่เป็นโรคตับแข็ง จะมีโอกาสเป็นมะเร็งตับชนิดนี้ได้มากที่สุด- คนที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบีและซี จะมีความเสี่ยงมากกว่าคนปกติทั่วไป
  • การอักเสบเรื้อรังของตับ ไม่ว่าเกิดจากสาเหตุใดก็ตาม
  • การได้รับสารอะฟลาทอกซิน ( Aflatoxin ) อย่างต่อเนื่อง โดยสารตัวนี้มักจะมาจากเชื้อราในถั่วที่เก็บรักษาไว้ไม่ดี
  • เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรมที่เกี่ยวข้องกับการแบ่งตัวและการตายของเซลล์ โดยอาจเป็นชนิดถ่ายทอดหรือไม่ถ่ายทอดก็ได้

ปัจจัยเสี่ยงสำคัญของมะเร็งตับชนิด CCA

  1. การทานอาหารหมักดองอย่างต่อเนื่องในปริมาณมาก เพราะอาหารหมักดองส่วนใหญ่จะมีสารก่อมะเร็ง
  2. การสูบบุหรี่ เพราะสารพิษในบุหรี่จะกระตุ้นให้เกิดมะเร็งได้
  3. การติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ ซึ่งเป็นพยาธิที่จะทำให้เกิดการอักเสบเรื้อรัง จนอาจกลายพันธุ์เป็นมะเร็งได้
  4. เป็นนิ่วในท่อน้ำดี เพราะจะทำให้เกิดการอักเสบแบบเรื้อรังและเสี่ยงมะเร็งได้มากที่สุด

ส่วนอัตราการเกิดมะเร็งตับที่พบในไทย พบว่ามะเร็งตับเป็นโรคที่พบเป็นอันดับ 1 ของผู้ชาย และพบเป็นอันดับ 3 ของผู้หญิง จึงสรุปได้ว่ผู้ชายมักจะมีโอกาสเป็นมะเร็งชนิดนี้ได้มากกว่าผู้หญิงนั่นเอง นอกจากนี้ก็จะมีอัตราการเกิดที่สัมพันธ์กับช่วงอายุต่างกัน คือ โรคมะเร็งตับชนิด HCC จะพบได้ในทุกเพศทุกวัยแม้แต่วัยเด็ก ส่วนโรคมะเร็งตับชนิด CCA จะพบได้บ่อยในคนที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป

อาการของมะเร็งตับ

ถึงแม้ว่าโรคมะเร็งตับทั้ง 2 ชนิดจะมีปัจจัยเสี่ยงที่แตกต่างกัน แต่ก็มีอาการที่คล้ายคลึงกันอยู่มาก โดยสามารถสังเกตได้จากอาการดังต่อไปนี้

  • คลื่นไส้ อาเจียนบ่อยๆ พร้อมกับมีอาการเบื่ออาหารร่วมด้วย
  • มีอาการเจ็บบริเวณตับ ซึ่งอยู่บริเวณชายโครงด้านขวา
  • หายใจลำบากและเหนื่อยง่าย รวมถึงมีอาการอึดอัดแน่นท้องร่วมด้วย ทั้งนี้ก็เนื่องมาจากตับโตจนคลำเจอได้นั่นเอง
  • มีอาการตาเหลือง ตัวเหลือง โดยในผู้ป่วยบางคนอาจมีอาการคันตามตัวและมีปัสสาวะสีเหลืองเข้มร่วมด้วย
  • ในระยะที่โรคมะเร็งได้ลุกลามไปมาก จะมีอาการท้องบวม เนื่องจากเกิดน้ำมะเร็งในช่องท้องโดยสำหรับการวินิจฉัยโรค แพทย์จะใช้วิธีการตรวจร่างกาย พร้อมกับสอบถามประวัติอาการของผู้ป่วย และ ตรวจเลือดเพื่อหาค่าสารทูเมอร์มาร์กเกอร์ (  Tumor Marker ) นอกจากนี้ก็อาจมีการเอกซเรย์ดูภาพตับและตัดชิ้นเนื้อไปตรวจทางพยาธิวิทยา เพื่อผลการตรวจที่แน่ชัดมากขึ้น โดยวิธีการตรวจแบบนี้ก็สามารถบอกถึงระยะของโรคมะเร็งได้อีกด้วย 

ระยะของมะเร็งตับ

ระยะของโรคมะเร็งตับแบ่งออกได้เป็น 4 ระยะเช่นเดียวกับมะเร็งชนิดอื่นๆ คือ

ระยะที่ 1 เป็นระยะที่ก้อนมะเร็งยังมีขนาดไม่เกิน 5 เซนติเมตร และยังไม่ลุกลาม

ระยะที่ 2 เป็นระยะที่ก้อนมะเร็งเริ่มลุกลามเข้าสู่เส้นเลือด แต่ยังคงมีขนาดไม่เกิน 5 เซนติเมตร

ระยะที่ 3 เป็นระยะที่ก้อนมะเร็งลุกลามมากขึ้น โดยลุกลามเข้าสู่อวัยวะข้างเคียงและเส้นเลือดใหญ่ ซึ่งระยะนี้จะมีขนาดใหญ่เกิน 5 เซนติเมตร

ระยะที่ 4 เป็นระยะที่มีความรุนแรงที่สุด โดยมะเร็งได้แพร่กระจายเข้าสู่ช่องท้องและไปยังอวัยวะที่อยู่ไกลออกไป โดยเฉพาะ ตับ กระดูกและปอด

การรักษามะเร็งตับ

การรักษาโรคมะเร็งตับทั้ง 2 ชนิด จะใช้วิธีการรักษาที่คล้ายคลึงกัน ซึ่งส่วนใหญ่แพทย์มักจะรักษาด้วยการผ่าตัด การทำเคมีบำบัดและการใช้รังสีรักษา แต่เนื่องจากโรคมะเร็งตับมีความดื้อต่อการรักษาพอสมควร ในปัจจุบันจึงมีการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาให้สูงขึ้น โดยเฉพาะการปลูกถ่ายตับที่ยังไม่เคยนำมาใช้กับการรักษาผู้ป่วยจริง เพราะมีข้อจำกัดสูงและทำได้ยากพอสมควร ซึ่งก็ยังคงอยู่ในระหว่างการศึกษาเท่านั้น

อย่างไรก็ตามโรคมะเร็งตับทุกชนิด เป็นโรคที่มีความรุนแรงสูงมาก โอกาสที่จะรักษาให้หายขาดจึงมีน้อยกว่าโรคมะเร็งชนิดอื่นๆ มากทีเดียว แต่ก็ยังไม่หมดหวัง เพราะโรคมะเร็งตับหากพบในระยะแรกๆ ก็ยังมีโอกาสที่จะรักษาให้หายได้พอสมควร ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับอายุ สุขภาพของผู้ป่วยและความสามารถในการผ่าตัดเอาก้อนเนื้อออกมาได้หมดหรือไม่   

มะเร็งตับ สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเซลล์ของตับ ได้แก่ เซลล์ที่ทำหน้าที่ในการกำจัดของเสีย และเซลล์ของตับเองที่ทำหน้าที่ในการสร้างน้ำดี แต่ที่มักจะพบได้บ่อยที่สุด ก็คือมะเร็งตับที่เกิดจากเซลล์ของตับเองและเยื่อเมือกบุภายในท่อน้ำดี

ส่วนการตรวจคัดกรองเพื่อค้นหามะเร็งตับตั้งแต่ระยะเริ่มแรกยังไม่พบวิธีที่มีประสิทธิภาพ โดยแพทย์แนะนำให้สังเกตอาการผิดปกติของตนเองและรีบไปพบแพทย์ทันที และสำหรับผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงไวรัสตับอักเสบบีและซี สามารถตรวจคัดกรองได้ด้วยการตรวจภาพตับ และเจาะเลือดหาค่าสารทูเมอร์มาร์กเกอร์บ่อยๆ เพื่อที่หากพบความผิดปกติจะได้ทำการรักษาได้ทัน

นอกจากนี้การป้องกันโรคมะเร็งตับทั้ง 2 ชนิดก็สามารถทำได้ด้วยการหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งตับ โดยโรคมะเร็งตับที่เกิดจากเซลล์ตับ ป้องกันได้ด้วยการระมัดระวังตัวเองจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ ไม่ว่าจะเป็นการรับเลือด การสัมผัสสรคัดหลั่งหรือการสัมผัสเลือดของผู้ติดเชื้อ รวมถึงการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ซึ่งจะลดความเสี่ยงการป่วยมะเร็งได้ในระดับหนึ่ง

และสำหรับการป้องกันมะเร็งตับชนิดที่เกิดจากท่อน้ำดี สามารถป้องกันได้ด้วยการหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงเช่นกัน ได้แก่ เลี่ยงการทานอาหารหมักดอง และการทานปลาน้ำจืดที่ยังไม่สุก เพราะอาจมีสารก่อมะเร็งและพยาธิใบไม้ที่จะทำให้เกิดเป็นมะเร็งตับ ได้

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

Adult Primary Liver Cancer Treatment Patient Version. NCI. 6 July 2016. Archived from the original on 2 October 2016. Retrieved 29 September 2016.

World Cancer Report 2014. World Health Organization. 2014. pp. Chapter 5.6. ISBN 9283204298.

มะเร็งต่อมลูกหมาก ( Prostate Cancer )

0
โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก (Prostate Cancer)
มะเร็งต่อมลูกหมาก เป็นมะเร็งที่พบได้มากในเพศชาย โดยมักจะเติบโตขึ้นอย่างช้า ๆ บริเวณต่อมลูกหมากซึ่งเป็นอวัยวะหนึ่งในระบบสืบพันธุ์ของเพศชาย
โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก (Prostate Cancer)
มะเร็งต่อมลูกหมาก เป็นมะเร็งที่พบได้มากในเพศชาย โดยมักจะเติบโตขึ้นอย่างช้า ๆ บริเวณต่อมลูกหมากซึ่งเป็นอวัยวะหนึ่งในระบบสืบพันธุ์ของเพศชาย

มะเร็งต่อมลูกหมาก

มะเร็งต่อมลูกหมาก ( Prostate Cancer ) คือ มะเร็งชนิดหนึ่งที่พบได้มากในเพศชาย โดยมักจะเติบโตขึ้นอย่างช้า ๆ บริเวณต่อมลูกหมาก เกิดที่ต่อมลูกหมาก ซึ่งต่อมลูกหมากเป็นอวัยวะหนึ่งของผู้ชายในระบบทางเดินปัสสาวะที่สามารถเป็นมะเร็งได้ โดยต่อมลูกหมากจะอยู่บริเวณโคนอวัยวะเพศ ( องคชาต ) ติดกับกระเพาะปัสสาวะ ซึ่งมีหน้าที่ในการสร้างน้ำเมือกเพื่อใช้ในการหล่อเลี้ยงเชื้อ อสุจิโดยเฉพาะ โดยการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมากสามารถเกิดขึ้นได้กับเซลล์ทุกชนิดของต่อมลูกหมาก ได้แก่ เซลล์ต่อมน้ำเหลือง เซลล์สืบพันธุ์หรือเจิร์มเซลล์ เส้นเลือดและเซลล์ของตัวต่อมลูกหมากเอง เป็นต้น แต่ที่มักจะพบได้มากที่สุดก็คือโรคมะเร็งต่อมลูกหมากที่เกิดจากเซลล์ของตัวต่อมลูกหมากเอง มะเร็งต่อมลูกหมาก ปัจจุบันนี้เป็นมะเร็งที่คร่าชีวิตเป็นอันดับหนึ่งของโลก มะเร็งจัดเป็นโรคร้ายแรงอันดับหนึ่งที่เมื่อเกิดขึ้นแล้วมีโอกาสที่จะเสียชีวิตได้หากทำการรักษาไม่ทันเวลา จากสถิติพบว่าผู้ชายเสียชีวิตด้วยมะเร็งปอดเป็นอันดับหนึ่ง รองลงมาเป็น มะเร็งต่อมลูกหมาก ( Prostate Cancer ) ซึ่งพบว่าอัตราการป่วยเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากของชายไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง มะเร็งต่อมลูกหมากเกิดขึ้นจากการกลายพันธุ์ของดีเอ็นเอ ( DNA ) ทำให้เซลล์มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วและไม่หยุดยั้งหลายเป็นเนื้องงอกและเนื้อร้ายในเวลาต่อมา ซึ่งการเจริญเติบโตของเซลล์ส่งผลให้เซลล์ที่อยู่รอบข้างถูกทำลายตามไปด้วย ซึ่งสาเหตุที่ทำให้ดีเอ็นเอของเซลล์ที่บริเวณต่อมลูกหมากมีการเจริญเติบโตที่ผิดปกติยังไม่สามารถระบุได้อย่างชัดเจน และจากสถิติของผู้ที่ป่วยเป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมากพบว่าผู้ป่วยจะเป็นชายที่มีอายุมากกว่า 50 ปี ภายในครอบครัวมีผู้ที่ป่วยเป็นโรคมะเร็งที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของฮอร์โมน เช่น มะเร็งเต้านม หรือมีผู้ป่วยเป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก รวมถึงผู้ที่มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ผิดสมดุล โดยการรับประทานอาหารที่ให้พลังงานสูง เช่น ไขมัน คาร์โบไฮเดรต แป้ง น้ำตาล เป็นหลัก ทำให้ร่างกายเกิดภาวการณ์สะสมของไขมันสูง ซึ่งจากสถิติพบว่าความเสี่ยงในการการเกิดโรคมะเร็งต่อมลูกหมากสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งผู้ที่ครอบครัวมีประวัติเคยเป็นโรคนี้และไม่มี แลโรคมะเร็งต่อมลูกหมากเป็นมะเร็งที่มีการเจริญเติบโตอย่างช้า ๆ ไม่แสดงอาการให้ผู้ป่วยรับรู้ว่ามีเนื้อร้ายเกิดขึ้นที่ต่อมลูกหมากแล้ว ทำให้การตรวจพบหรือการสังเกตว่ามีเชื้อมะเร็งเกิดขึ้นหรือไม่ทำได้ยาก และหลายครั้งที่ทำการตรวจพบเชื้อมะเร็งก็ลุกลามอยู่ในขั้นแพร่กระจายที่ไม่สามารถรักษาให้หายได้ ดังนั้นการป้องกันจึงเป็นวิธีการที่ดีที่สุดที่จะช่วยรักษาชีวิตและลดความเสี่ยงในการเสียชีวิตเนื่องจากการเป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก

สาเหตุของมะเร็งต่อมลูกหมาก

การเกิดโรคมะเร็งต่อมลูกหมากยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่คาดว่าน่าจะเกิดจากหลายปัจจัยประกอบกัน ได้แก่

  • อายุ โดยพบว่าผู้ป่วยโรคมะเร็งต่อมลูกหมากส่วนใหญ่จะมีอายุ 60 ปีขึ้นไป
  • เชื้อชาติ พบว่ากลุ่มคนที่เป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมากมากที่สุด ได้แก่ คนเชื้อชาติตะวันตก และกลุ่มคนที่มีโอกาสเป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมากได้น้อย คือ คนเชื้อชาติเอเชีย
  • เกิดจากความผิดปกติของพันธุกรรมบางชนิด ที่เกี่ยวข้องกับการแบ่งตัวและการตายของเซลล์ โดยอาจเป็นชนิดถ่ายทอดได้หรือไม่ถ่ายทอดก็ได้
  • การสูบบุหรี่ เพราะสารเคมีในบุหรี่อาจทำให้เป็นมะเร็งต่อมลูกหมากได้
  • การทานอาหารที่มีไขมันสูงเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง

มะเร็งต่อมลูกหมากเป็นโรคมะเร็งที่พบได้ใน 10 อันดับต้นๆ ของโรคมะเร็งที่พบบ่อยในผู้ชายไทยและมักจะ พบได้มากที่สุดในชาติตะวันตก ซึ่งจากสถิติของสหรัฐอเมริกา พบว่า ผู้ป่วยโรคมะเร็งต่อมลูกหมากส่วนใหญ่จะมีอายุเฉลี่ยประมาณ 69 ปีขึ้นไป แต่อาจพบได้บ้างประปรายในคนที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปี นอกจากนี้โรคมะเร็งต่อมลูกหมากก็มีหลายชนิดอีกด้วย แต่ที่มักจะพบบ่อยที่สุด ได้แก่ ชนิดอะดีโนคาร์ซิโนมา ซึ่งเป็นมะเร็งที่มีความรุนแรงในระดับปานกลาง

อาการของมะเร็งต่อมลูกหมาก

มะเร็งต่อมลูกหมากยังไม่มีอาการที่ชี้เฉพาะ แต่จะมีอาการที่คล้ายกับต่อมลูกหมากอักเสบหรือต่อมลูกหมากโต โดยแพทย์ได้สรุปอาการที่สามารถสังเกตได้ดังนี้

1. มีอาการปัสสาวะผิดปกติ เช่น ปัสสาวะไม่พุ่ง ปัสสาวะกะปริดกะปรอย ปัสสาวะไม่สุดหรือมีเลือด มูกเลือดออกทางท่อปัสสาวะ   

2. ในบางคนอาจมีอาการปวดหลังและขาอ่อนแรงได้ เนื่องจากมะเร็งได้แพร่กระจายเข้าสู่กระดูกและไขสันหลัง โดยมะเร็งต่อมลูกหมากถือเป็นชนิดที่มีโอกาสแพร่เข้าสู่กระดูกได้สูงมากสำหรับการวินิจฉัยว่าผู้ป่วยกำลังเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากหรือไม่ แพทย์จะสอบถามประวัติอาการของผู้ป่วย ทำการตรวจร่างกาย ตรวจทวารหนัก และตรวจค่าสารทูเมอร์มาร์กเกอร์ และเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ในการตรวจที่ชัดเจน แพทย์จะทำการตัดชิ้นเนื้อจากก้อนเนื้อในต่อมลูกหมากมาตรวจทางพยาธิวิทยา ซึ่งนอกจากจะทราบผลของโรคแล้วก็ทราบระยะของอาการป่วยอีกด้วย

มะเร็งต่อมลูกหมากสามารถเกิดขึ้นได้กับเซลล์ทุกชนิดของต่อมลูกหมาก ได้แก่ เซลล์ต่อมน้ำเหลือง เซลล์สืบพันธุ์หรือเจิร์มเซลล์ เส้นเลือดและเซลล์ของตัวต่อมลูกหมากเอง

ระยะของโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก

มะเร็งต่อมลูกหมากมีทั้งหมด 4 ระยะเช่นเดียวกับโรคมะเร็งทั่วๆ ไป ได้แก่

ระยะที่ 1 เป็นระยะที่มะเร็งมีการลุกลามอยู่ในต่อมลูกหมากเพียงกลีบเดียวเท่านั้น ซึ่งการตรวจค่าสารทูเมอร์มาร์กเกอร์ในระยะนี้ จะพบค่าระดับต่ำ

ระยะที่ 2 เป็นระยะที่มะเร็งมีการลุกลามมากขึ้น แต่ยังคงอยู่เฉพาะในต่อมลูกหมากและตรวจพบค่าสารทูเมอร์มาร์กเกอร์สูงขึ้น

ระยะที่ 3 เป็นระยะที่มะเร็งได้ลุกลามไปสู่เนื้อเยื่อหุ้มต่อมลูกหมากหรือลุกลามเข้าสู่ต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ

ระยะที่ 4 เป็นระยะที่มะเร็งลุกลามเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะ และแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นๆ ที่อยู่ไกลออกไป โดยเฉพาะกระดูกและปอด   

การป้องกันโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก

1. ควบคุมพฤติกรรมการกิน
การเลือกรับประทานอาหารเป็นสิ่งที่สามารถช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งได้เป็นอย่างดี หลักการรับประทานอาหารสำหรับการป้องกันโรคมะเร็งต่อมลูกหมากคือ

1.1 เน้นผักและผลไม้
การรับประทานอาหารในแต่ละมื้อให้แบ่งออกเป็น 4 ส่วน เท่า ๆ กัน โดย 3 ใน 4 ต้องเป็นผักและผลไม้ที่มีแป้งและน้ำตาลต่ำ ผักผลไม้นั้นอุดมไปด้วยวิตาม เกลือแร่และแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกาย เช่น ฝรั่ง แอปเปิ้ล ชมพู่ องุ่น แตงโม กล้วย แครอท ฟักทอง คะน้า เป็นต้น ซึ่งวิตามินที่มีอยู่ในร่างกายจะทำหน้ารักษาสมดุลของระบบการทำงานภายในร่างกาย โดยวิตามินจะทำหน้าที่ในการกระตุ้นระบบประสาทให้ทำการหลั่งสารสื่อประสาทเพื่อสั่งงานไปสู่อวัยวะที่อยู่ภายในร่างกายให้มีการทำงานอย่างเป็นระบบ ซึ่งถ้าระบบการหลั่งสารสื่อประสาทมีความผิดปกติแล้ว การทำงานของระบบภายในก็จะทำให้เกิดความผิดปกติ ทำให้การเจริญเติบโตของเซลล์เกิดความผิดปกติเป็นที่มาของการเจริญเติบโตที่ผิดปกติของเซลล์ภายในต่อมลูกหมากได้ และวิตามินที่มีอยู่ในผักและผลไม้ เช่น วิตามินซี วิตามินบี วิตามินเค วิตามินเอ เป็นต้น ยังช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของระบบภูมิต้านทานโรค และเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ( Antioxidant ) ที่สามารถช่วยกำจัดสิ่งแปลกปลอมและสารอนุมูลอิสระ ( Free radical ) ที่เข้ามาสู่ร่างกายออกไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงช่วยป้องกันไม่ให้อนุมูลอิสระเข้าไปทำลายดีเอ็นเอ ( DNA ) จนเกิดการกลายพันธุ์เป็นเซลล์มะเร็งได้อีกด้วย

1.2 ลดอาหารให้พลังงานสูง
เมื่อร่างกายได้รับอาหารที่ให้พลังงานสูง เช่น ไขมัน แป้ง คาร์โบไฮเดรตและน้ำตาล ส่วนหนึ่งร่างกายจะดึงมาใช้เป็นแหล่งพลังงานเพื่อการดำเนินชีวิตประจำวัน และส่วนที่เหลือร่างกายจะเก็บสะสมไว้เป็นแหล่งพลังงานสำรองไว้ใช้ยามที่ร่างกายขาดแคลนอาหารที่เป็นแหล่งพลังงานจากภายนอก ซึ่งร่างกายจะสะสมอยู่ในรูปของเนื้อเยื่อไขมันส่วนเกินตามอวัยวะต่าง ๆ ทั่วร่างกาย ซึ่งเนื้อเยื่อไขมัน ( Fat tissue) สามารถที่จะทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจน ( Estrogen ) ดังนั้นเมื่อมีเนื้อเยื่อไขมันในปริมาณสูง ปริมาณฮอร์โมนเอสโตรเจนก็จะสูงตามไปด้วย นอกจากปริมาณเอสโตรเจนที่มีส่วนในการกระตุ้นการเจริบเติบโตของเซลล์โดยเฉพาะเซลล์ที่บริเวณต่อมลูกหมาก จึงมีความเสี่ยงในการเกิดเป็นเนื้อร้ายได้ และปริมาณไขมันที่มีอยู่ในร่างกายยังเกิดขึ้นจากระดับฮอร์โมนอินซูลินที่สูงผิดปกติ ซึ่งเมื่อร่างกายรับประทานอาหารที่มีปริมาณไขมันสูง ร่างกายจะต้องผลิตฮอร์โมนอินซูลินเพื่อมาทำการย่อยสลายไขมันให้กลายเป็นกลูโคสที่สามารถนำไปใช้เป็นแหล่งอาหารของเซลล์ ดังนั้นเมื่อร่างกายผลิตฮอร์โมนอินซูลินสูง ตับก็จะทำการสร้างสารที่มีลักษณะคล้ายกับฮอร์โมน IGF-1 ( Insulin-like Growth factor ) เป็นสารกระตุ้นให้เกิดการอักเสบจนเป็นสาเหตุที่ทำให้เซลล์เกิดการแบ่งตัวที่ผิดปกติและยังสามารถกระตุ้นการแบ่งตัวของเซลล์ให้สามารถทำงานได้ดีขึ้น ทำให้เซลล์ที่บริเวณต่อมลูกหมากมีการเจริญเติบโตมากขึ้นกลายเป็นเนื้องอกหรือเนื้อร้ายและโรคมะเร็งในที่สุด   

โรคมะเร็งต่อมลูกหมากเป็นโรคมะเร็งที่ผู้ชายส่วนมากไม่ให้ความสนใจและละเลย คิดว่าร่างกายแข็งแรงโอกาสที่จะเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากเกิดขึ้นได้ยาก

2. ควบคุมน้ำหนัก
การควบคุมน้ำหนักและปริมาณไขมันภายในร่างกายให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม คือ มีดัชนีมวลกาย ( Body mass index ( BMI ) ) อยู่ระหว่าง 18.5-24.9 หรือมีเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกาย ( Body fat percentage ) อยู่ระหว่าง 14- 25% ซึ่งการที่ควบคุมน้ำหนักร่วมกับการควบคุมเปอร์เซ็นไขมันให้อยู่ในระดับมาตรฐานจะช่วยป้องกันการทำงานที่ผิดปกติของร่างกาย การออกกำลังกายจะเข้าไปกระตุ้นทำให้ระบบการทำงานและการขจัดของเสียของร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการออกกำลังจะกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด ทำให้เลือดทำการลำเลียงสารอาหาร สารต่อต้านอนุมูลอิสระและอากาศไปยังเซลล์ที่อยู่ตามอวัยวะเพื่อเป็นแหล่งพลังงานและอาหารในการซ่อมแซมเซลล์ที่เกิดการเสียหายหรือเกิดการอักเสบให้กลับมาแข็งแรงดังเดิม รวมถึงยังช่วยกระตุ้นให้สร้างเซลล์ใหม่ที่แข็งแรงขึ้นมาทดแทนเซลล์เก่าที่ตายไป และสารต้านอนุมูลอิสระที่เข้าไปยังไปจับตัวกับอนุมูลอิสระ ( Free radical ) ที่เกิดขึ้นจากกระบวนเมตาบอลิซึมที่หลงเหลืออยู่ภายในร่างกายและขจัดออกมาภายนอก จึงป้องกันไม่อนุมูลอิสระเข้าไปทำปฏิกิริยากับดีเอ็นเอจนเกิดการกลายพันธุ์เป็นเซลล์มะเร็ง ( Cancer cell )

3. ตรวจสุขภาพประจำปี
การตรวจสุขภาพประจำทุกปีอย่างน้อยปีละ 1 ครั้งโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจหามะเร็งต่อมลูกหมากหรือภาวะเสี่ยงในการเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก เป็นอีกหนึ่งวิธีการที่สามารถลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากได้ ซึ่งการตรวจมะเร็งต่อมลูกหมากจะทำการตรวจหาสารแอนติเจนต่อมลูกหมาก ( Prostate-Specific Antigen หรือ PSA ) ในกระแสเลือด ซึ่งสาร PSA คือ โปรตีนที่เกิดขึ้นจากเซลล์ที่อยู่ภายในของต่อมลูกหมาก สาร PSA มีหน้าที่ในการป้องกันไม่ให้น้ำอสุจิเกิดการจับตัวเป็นก้อน แต่ถ้ามีความผิดปกติเกิดขึ้นภายในบริเวณต่อมลูกหมากแล้ว จะทำให้ร่างกายต้องทำการสร้างสาร PSA เพิ่มสูงขึ้น ดังนั้นการตรวจหาปริมารสาร PSA จึงสามารถบ่งบอกถึงว่าต่อมลูกหมากมีความผิดปกติหรือไม่ โดยทั่วไปปริมาณสาร PSA ในสภาวะปกติจะมีค่าอยู่ระหว่าง 4 ถึง 10 ng/mL หากค่า PSA สูงกว่า 10 ng/mL แสดงว่ามีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากต้องทำการตรวจต่อมลูกหมาด้วยการสอดนิ้วไปทางทวารหนักว่ามีก้อนเนื้อหรือต่อมลูกหมากมีขนาดใหญ่ขึ้นหรือไม่ ถ้าตรวจพบความผิดปกติเกิดขึ้นแล้ว แพทย์ตรวจเพิ่มเติมเพื่อความแน่ใจว่าก้อนที่เกิดขึ้นเป็นเนื้อร้ายหรือไม่ ด้วยการตัดชิ้นเนื้อไปตรวจต่อไป   

จะพบว่าการป้องกันโรคมะเร็งต่อมลูกหมากสามารถปฏิบัติได้ง่ายมาก เพียงแต่ต้องอาศัยความใส่ใจดูแลตัวเอง ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์โดยเฉพาะผักและผลไม้ปลอดสารพิษที่มีแป้งหรือน้ำตาลต่ำ มีเส้นใยและสารอาหารสูง พร้อมทั้งทำการตรวจสุขภาพเฝ้าระวังมะเร็งต่อมลูกหมากทุกปี

การรักษามะเร็งต่อมลูกหมาก

การรักษาโรคมะเร็งต่อมลูกหมากสามารถทำได้หลากหลายวิธี แต่ที่นิยมนำมาใช้มากที่สุด ก็คือการผ่าตัด การใส่แร่และการฉายรังสีรักษา โดยจะเลือกใช้วิธีใดวิธีหนึ่งเพียงวิธีเดียวเท่านั้น ซึ่งจะเลือกใช้วิธีไหนแพทย์จะให้ครอบครัวหรือญาติของผู้ป่วยเป็นผู้ตัดสินใจเอง โดยแพทย์จะให้ข้อมูลถึงผลลัพธ์ในการรักษาและผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นของวิธีการต่างๆ เพื่อให้ญาติได้ตัดสินใจ

อย่างไรก็ตามหากเป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมากในระยะที่ไม่มีการแพร่กระจาย แพทย์มักจะใช้วิธีการรักษาด้วยการผ่าตัดและการใช้ฮอร์โมน โดยในบางคนก็อาจมีการใช้รังสีรักษาร่วมด้วย ซึ่งระยะนี้จะยังคงมีโอกาสรักษาให้หายได้ในระดับหนึ่ง

แต่หากเป็นกรณีที่โรคได้แพร่กระจายแล้ว โอกาสที่จะรักษาให้หายมีน้อยมาก แพทย์จึงใช้วิธีการรักษาด้วยการบรรเทาและประทังอาการโดยกรใช้รังสีรักษา การใช้ฮอร์โมนและการทำเคมีบำบัด รวมถึงการรักษาทางอายุรกรรมทั่วไป แต่ก็ขึ้นอยู่กับอาการ อายุและสุขภาพของผู้ป่วยด้วย

และหากเป็นการรักษาด้วยฮอร์โมน ซึ่งมี 2 วิธีคือการผ่าตัดและการให้ยาฮอร์โมน แพทย์จะเลือกใช้แค่วิธีเดียวเท่านั้น เพราะทั้งสองวิธีให้ผลลัพธ์ในการควบคุมและรักษาโรคที่ใกล้เคียงกัน แต่มีผลข้างเคียงและค่าใช้จ่ายในการรักษาที่แตกต่างกันพอสมควร

ใครเสี่ยงเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากสูงที่สุด?

ในปัจจุบันพบว่า ผู้ที่เสี่ยงเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากสูงที่สุด ได้แก่ ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเคยเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากมาก่อน เนื่องจากอาจมีความผิดปกติทางพันธุกรรมที่ทำให้ผู้สืบสายเลือดแบบสายตรงมีโอกาสป่วยมะเร็งต่อมลูกหมากสูงขึ้นไปด้วย ดังนั้นแพทย์จึงแนะนำให้ผู้ที่คนในครอบครัวมีประวัติเคยเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากทำการตรวจคัดกรองตั้งแต่อายุ 50 ปีขึ้นไป และควรตรวจคัดกรองบ่อยๆ หลังจากนั้น เพื่อติดตามผลการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา โดยวิธีที่แพทย์นิยมใช้ในการตรวจคัดกรอง ได้แก่ การตรวจเลือดดูค่าสารทูเมอร์มาร์กเกอร์ การตรวจภาพต่อมลูกหมาก การเอกซเรย์และการตัดชิ้นเนื้อไปตรวจทางพยาธิวิทยา เป็นต้น

อย่างไรก็ตามในปัจจุบันยังคงเป็นที่ถกเถียงกันมากพอสมควรกับการตรวจหามะเร็งต่อมลูกหมากด้วยสารทูเมอร์มาร์กเกอร์ เพราะยังไม่มีผลการศึกษาที่ชัดเจนว่าการตรวจก่อนกับการตรวจเมื่อมีอาการป่วยแล้ว จะทำให้อัตราการอยู่รอดสูงกว่ากันหรือไม่ ดังนั้นผู้ที่ต้องการตรวจคัดกรองอาจควรปรึกษาและขอข้อมูลจากแพทย์เฉพาะทางดูก่อนและสำหรับการป้องกันก็ยังไม่มีวิธีที่มีประสิทธิภาพเช่นกัน ดังนั้นจึงแนะนำให้หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงจะดีที่สุด

โรคมะเร็งต่อมลูกหมากเป็นโรคมะเร็งที่ผู้ชายส่วนมากไม่ให้ความสนใจและละเลยด้วยคิดว่าร่างกายแข็งแรงโอกาสที่จะเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากเกิดขึ้นได้ยาก แต่แท้ที่จริงแล้วโรคมะเร็งต่อมลูกหมากเป็นภัยที่อยู่ใกล้ตัว ผู้ชายทุกคนมีโอกาสที่จะเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากได้ถึงแม้ว่าครอบครัวจะไม่มีประวัติเคยเป็นมากก่อน จนเมื่ออายุล่วงเข้า 50 ปีขึ้นไปร่างกายเริ่มอ่อนแอและเชื้อมะเร็งเจริญเติบโตอยู่ในระยะลุกลามจนเกิดการแพร่กระจายแล้ว ร่างกายจึงแสดงอาการของโรคมะเร็งต่อมลูกหมากออกมาให้รับรู้ เมื่อมะเร็งก็อยู่ในระยะลุกลามมีการแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น ๆ จัดเป็นมะเร็งที่เป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ดังนั้นการป้องกันมะเร็งต่อมลูกหมากจึงเป็นหนทางที่ดีที่สุด

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

Essink-Bot ML, de Koning HJ, Nijs HG, Kirkels WJ, van der Maas PJ, Schröder FH (June 1998). “Short-term effects of population-based screening for prostate cancer on health-related quality of life”. J. Natl. Cancer Inst. 90 (12): 925–31.

Zani, EL; Clark, OA; Rodrigues Netto N, Jr (11 May 2011). “Antibiotic prophylaxis for transrectal prostate biopsy”. The Cochrane Database of Systematic Reviews.

ควรกินคาร์โบไฮเดรตกี่กรัมต่อวันอย่างไรไม่ให้อ้วน

0
กินคาร์โบไฮเดรตอย่างไรไม่ให้อ้วน
คาร์โบไฮเดรตทำหน้าที่ให้พลังงานแก่ร่างกายพบได้มากในอาหารประเภทแป้งและน้ำตาล
กินคาร์โบไฮเดรตอย่างไรไม่ให้อ้วน
คาร์โบไฮเดรตทำหน้าที่ให้พลังงานแก่ร่างกายพบได้มากในอาหารประเภทแป้งและน้ำตาล เช่น ข้าว ขนมปัง แป้งชนิดต่างๆ

คาร์โบไฮเดรต คืออะไร ?

คาร์โบไฮเดรต ( carbohydrate ) หรือ เรียกสั้นๆว่า “ คาร์บ ” หมายถึง สารอาหารประเภทหนึ่งที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย ทำหน้าที่ให้พลังงานแก่ร่างกาย โดยจะสามารถพบได้มากในอาหารประเภทแป้งและน้ำตาล เช่น  ข้าว ขนมปัง แป้งชนิดต่างๆผลิตภัณฑ์ที่ทำจากข้าวทุกชนิดนอกจากยังรวมไปถึงผักหรือ ผลไม้ บางชนิดที่มีสารอาหารประเภทนี้ด้วย เราทานคาร์โบไฮเดรตเข้าไปก็เพื่อให้ร่างกายได้มีพลังงานไปใช้ในชีวิตประจำวันแต่ทั้งนี้ก็ควรทานในปริมาณที่พอดีกับร่างกาย หากมีการทานในปริมาณมากเกินไปก็จะทำให้ร่างกายได้รับพลังงานที่มากตามไปด้วย

หากไม่สามารถใช้พลังงานหรือเผลาผลาญออกหมดในแต่ละวันก็จะทำให้มีพลังงานเหลือเป็นส่วนเกิน ร่างกายก็จะนำพลังงานเหล่านี้ไปเก็บสะสมไว้ในรูปของไขมัน เมื่อมีเยอะๆเข้าก็จะทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้น และเป็นโรคอ้วนได้นั้นเอง ซึ่งการมีปริมาณไขมันที่มากก็จะส่งผลให้มีโรคภัยไข้เจ็บต่างๆตามมา เช่น โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคมะเร็ง โรคข้อเสื่อม เป็นต้น

สำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก ก็คงจะพอรู้กันว่าหากต้องการลดน้ำหนักลงให้ได้ผล หนึ่งในปัจจัยที่ต้องควบคุมก็คือ การทานอาหารที่มีส่วนประกอบของคาร์โบไฮเดรต ให้น้อยลงกว่าปกติ แต่คาร์โบไฮเดรตก็เป็นสารอาหารชนิดหนึ่งที่มี  ความจำเป็นต่อร่างกาย หากขาดไปก็จะทำให้มีผลกระทบต่อสุขภาพได้ ดังนั้นลองมาดูกันว่าต้องทานคาร์โบไฮเดรตอย่างไรให้เหมาะสมและไม่ทำให้อ้วน ดังข้อมูลต่อไปนี้

สัดส่วนอาหารมาตรฐาน

ปริมาณอาหารคาร์โบไฮเดรต 1 คาร์บจะมีปริมาณคาร์โบไฮเดรต 15 กรัมต่อ 1 หน่วยบริโภค โดยส่วนใหญ่ 1 คาร์บจะมีค่าเท่ากับอาหาร 1 ส่วนของหมวดอาหารแลกเปลี่ยน ( ยกเว้นผัก ) โดยจะมีตัวอย่างของสัดส่วนอาหารดังต่อไปนี้

  • ข้าว เส้นต่างๆ ถั่วเมล็ดแห้งต่างๆหรือผักที่มีแป้งมาก ( ข้าวโพด เผือก มัน ฟักทอง ) มีคาร์โบไฮเดรตต่อ 1 คาร์บเท่ากับ 15 กรัม
  • นมและผลิตภัณฑ์นม 240 มิลลิลิตรมีคาร์โบไฮเดรตต่อ 1 คาร์บ เท่ากับ 12 กรัม
  • ผลไม้ ( ปริมาณขึ้นอยู่กับชนิดผลไม้ ) มีคาร์โบไฮเดรตต่อ 1 คาร์บ เท่ากับ 15 กรัม
  • ผักใบ ดอก ( 3 ส่วนของหมวดอาหารแลกเปลี่ยน ) คาร์โบไฮเดรตต่อ 1 คาร์บ เท่ากับ 15 กรัม
  • ขนมหวานต่างๆ ( ถ้าไม่มีฉลากอาหาร ต้องประเมินเอง หรือประเมินจากสูตรอาหาร ) มีคาร์โบไฮเดรตต่อ 1 คาร์บ เท่ากับ 15 กรัม

คาร์โบไฮเดรต คือ สารอาหารประเภทหนึ่งที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย ทำหน้าที่ให้พลังงานแก่ร่างกาย โดยจะสามารถพบได้มากในอาหารประเภทแป้งและน้ำตาล

ดังนั้นจะต้องมีการทานอาหารในสัดส่วนที่เหมาะสมสำหรับผู้ที่ต้องลดน้ำหนัก โดยมีหลักเกณฑ์ในการทานอาหารแบบกำหนดจำนวนคาร์บดังต่อไปนี้

  1. ช่วงลดน้ำหนัก สำหรับเพศชาย ให้ทานในปริมาณ 3-4  คาร์บ ส่วนเพศหญิงให้ทานในปริมาณ  2-3 คาร์บ

2. ช่วงคุมน้ำหนัก สำหรับเพศชาย ให้ทานในปริมาณ 4-5  คาร์บ ส่วนเพศหญิงให้ทานในปริมาณ  3-4 คาร์บ

3. ผู้ที่ออกกำลังกาย สำหรับเพศชาย ให้ทานในปริมาณ 5-6  คาร์บ ส่วนเพศหญิงให้ทานในปริมาณ  4-5 คาร์บ

การเลือกประเภทคาร์บที่เหมาะสมกับร่างกาย

อาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต มีมากมายหลายชนิด สำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักหรืออยากมีสุขภาพดี จะต้องมีหลักการในการเลือกทานคาร์โบไฮเดรต ดังต่อไปนี้

คาร์บที่ดีและควรเลือก

ควรเลือกประเภทของคาร์โบไฮเดรต ที่ผ่านกระบวนการแปรรูปน้อย มีกากใยอาหารที่สูง เช่น ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ ธัญพืชต่างๆ เผือก มัน ฟักทอง ขนมปังโฮลวีต เมล็ดแปะก๊วย ถั่วต่างๆ  เป็นต้น

คาร์บอันตรายและไม่ควร

สำหรับประเภทคาร์โบไฮเดรตที่มีผลเสียต่อร่างกายและไม่ควรเลือก  เช่น น้ำหวาน น้ำอัดลม อาหารแปรรูปต่างๆที่มีส่วนประกอบของแป้งและน้ำตาลที่สูง เป็นต้น นอกจากนี้ยังรวมถึงน้ำผลไม้ที่มีน้ำตาลสูงอีกด้วย

ข้อแนะนำเพิ่มเติมการทานคาร์บแบบไม่ให้อ้วน

1. อ่านฉลากข้อมูลโภชนาการ การอ่านฉลากข้อมูลโภชนาการอาหารและเครื่องดื่มต่างๆก่อนเลือกซื้อนั้น เป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็น ที่คนส่วนมากมักมองข้ามไป มีข้อแนะนำในการเลือกทานอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต จากการอ่านฉลากดังนี้

  • ดูขนาด 1 หน่วยบริโภค ( ปริมาณการกินต่อ 1 ครั้ง ) ของอาหารนั้น
  • ดูปริมาณคาร์โบไฮเดรตต่อ 1 หน่วยบริโภค ปริมาณน้ำตาลที่เติมในการผลิตหรือที่มีอยู่แล้วในธรรมชาติจะรวมอยู่ในปริมาณคาร์โบไฮเดรต
  • ถ้าข้อมูลในฉลากโภชนาการระบุว่า มีปริมาณคาร์โบไฮเดรตทั้งหมด 30 กรัม แสดงว่า อาหารที่คุณเลือก จะเท่ากับ 30 ÷ 15 = 2 คาร์บ

2. จำกัดไขมันและโปรตีน อาหารที่ต้องเลือกทานในแต่ละมื้อ แม้บางเมนูอาจจะไม่มีคาร์โบไฮเดรตเป็นส่วนประกอบก็ตาม แต่ก็ต้องมีการจำกันและควบคุมปริมาณอาหารในส่วนนั้นๆด้วย เนื่องจากทานมากเกินก็จะสามารถทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นได้ โดยเฉพาะในส่วนของไขมันและโปรตีน แม้ว่าจะจำกัดอาหารในส่วนของคาร์โบไฮเดรตแล้วก็ตาม ซึ่งมีข้อแนะนำในการทานโปรตีนและไขมันดังนี้

  • โปรตีน ควรเลือกทานเนื้อสัตว์ไม่ติดมันมื้อละไม่เกิน 6 ช้อนโต๊ะ และให้เน้นโปรตีนจากเนื้อสัตว์ที่ไขมันน้อย เช่น เนื้อปลา หรือเนื้อไก่และ หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์นมเต็มไขมัน
  • ไขมัน ควรเลือกทานไขมันในปริมาณที่เหมาะสมไม่มากหรือน้อยจนเกินไป และควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง และอาหารที่มีส่วนประกอบของไขมันทรานส์ เช่น โดนัท แครกเกอร์ เค้ก เฟรนซ์ฟรายส์ เป็นต้น

3. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ นอกจากการควบคุมอาหารแล้ว ควรออกกำลังกายแบบสม่ำเสมอโดยพยายามทำให้ได้อย่างน้อย สัปดาห์ละ 3 – 5 วันและทำให้ได้ วันละ 30 นาที

คาร์โบไฮเดรตหรือคาร์บ เป็นสิ่งที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย ดังนั้นผู้ที่กำลังลดน้ำหนักไม่ควรจะงดทาน เพราะหากงดทานคาร์โบไฮเดรตไปเลย ร่างกายจะขาดสารอาหารและเกิดผลเสียต่อสุขภาพได้  แต่ควรเลือกทานคาร์โบไฮเดรตอย่างฉลาดและเหมาะสม ทั้งการเลือกประเภทของคาร์โบไฮเดรตชนิดที่ดีและเลือกทานในปริมาณที่พอเหมาะ หากทำได้อยากถูกวิธีแล้วละก็จะทำให้สามารถทานคาร์โบไฮเดรตได้แบบไม่ต้องกลัวอ้วนเลย ซึ่งก็มีผลดีทำให้ไม่ต้องเสี่ยงกับโรคภัยต่างๆที่มักจะมากับความอ้วนอีกด้วยนั่นเอง

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

Carbohydrates. The Nutrition Source. Harvard School of Public Health. Retrieved April 3, 2013.

Westman, EC (2002). “Is dietary carbohydrate essential for human nutrition?”. The American Journal of Clinical Nutrition. 75 (5): 951–3; author reply 953–4.

ปัญหาที่มากับการลดน้ำหนัก

0
ปัญหาที่มากับการลดน้ำหนัก
การลดน้ำหนักแต่ละคนต่างกันเพราะพลังงานที่ใช้ไม่เท่ากันการลดน้ำหนักจึงได้ผลที่ต่างกัน
ปัญหาที่มากับการลดน้ำหนัก
การลดน้ำหนักแต่ละคนต่างกันเพราะพลังงานที่ใช้ไม่เท่ากันการลดน้ำหนักจึงได้ผลที่ต่างกัน

การลดน้ำหนัก

ลดน้ำหนักสำหรับคนอ้วน สำหรับผู้ที่อยู่ระหว่างการลดน้ำหนัก หรือ เคยผ่านช่วงเวลาที่ลดน้ำหนักมาแล้วนั้น เชื่อได้เลยว่าหลายๆคนต้องเคยเจอปัญหาต่างๆในระหว่างที่กำลังลดน้ำหนัก เช่น ทำไมน้ำหนักถึงลดไม่ลงสักที ทำไมน้ำหนักถึงลงช้า ทำไมออกกำลังกายมากแล้วยังไม่ผอมเสียที หรือจะเป็นคำถามอีกมามายที่เกิดความสงสัยขึ้น สำหรับใครที่กำลังเจอปัญหา เกี่ยวกับการลดน้ำหนักหรือกำลังประสบปัญหาอยู่ ลองมาดูกันว่าปัญหาที่เกิดกับตัวของคุณหรือไม่ ที่จะอธิบายดังต่อไปนี้หรือไม่

ทำไมหญิงชายลดน้ำหนักได้ไม่เท่ากัน?

ลดน้ำหนักยังไงให้ได้ผล เป็นคำถามที่น่าสงสัยเป็นอย่างยิ่งสำหรับคุณผู้หญิงทั้งหลาย ทั้งที่ควบคุมอาหารก็มากกว่า หรือออกกำลังกายก็หนักกว่า แล้วทำไมถึงลดน้ำหนักได้น้อยกว่าในผู้ชายที่ออกกำลังกายและควบคุมอาหารน้อยกว่าเรื่องนี้ทำให้ผู้หญิงส่วน ใหญ่รู้สึกว่าตนเองล้มเหลวเมื่อเปรียบเทียบกับผู้ชายและมักถอดใจเลิกออกกำลังกายในที่สุด ซึ่งคำถามข้อนี้สามารถอธิบายเหตุผลได้ดังต่อไปนี้

1. สงครามแคลอรีระหว่างเพศ

เหตุผลที่จะอธิบายข้อแรกคือ โดยปกติแล้วในผู้ชายมักมีรูปร่างที่ใหญ่กว่าผู้หญิง ร่วมถึงมีปริมาณของกล้ามเนื้อในร่างกายมากว่าด้วยซึ่งเซลล์กล้ามเนื้อจะเผาผลาญพลังงานได้ดีกว่าเนื้อเยื่อไขมัน จึงทำให้การใช้พลังงานในชีวิตประจำวันปกติของเพศชายจะสามารถเผาผลาญแคลอรีได้มากกว่าในเพศหญิงดังนั้นถึงแม้ว่าผู้หญิงหรือผู้ชายจะมีรูปร่างเท่าๆกัน แต่ผู้ชายจะสามารถกินได้มากกว่าผู้หญิงโดยที่น้ำหนักไม่ขึ้น รวมทั้งสามารถลดน้ำหนักได้ง่ายกว่าเพียงลดปริมาณอาหารให้น้อยลงเท่านั้น

2. อายุ

โดยปกติมนุษย์เราเมื่อมีอายุมากขึ้น มวลกล้ามเนื้อในร่างกายต่างๆ ก็จะลดลงทำให้ปริมาณแคลอรีที่ต้องการในแต่ละวันก็ลดลงตามไปด้วยซึ่งผู้ชายสามารถควบคุมน้ำหนักได้ดีกว่าผู้หญิงแม้ว่าจะอยู่ในช่วงอายุเท่าไหร่ก็ตาม เนื่องจากผู้หญิงเมื่อถึงวัยที่หมดประจำเดือนนั้น จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย ทำให้กล้ามเนื้อลดลงเร็วกว่าปกติ จึงควบคุมน้ำหนักได้ยาก แม้ว่าจะกินอาหารแคลอรีต่ำในปริมาณน้อยแล้วก็ตามแต่ทั้งนี้อย่าพยายามลดน้ำหนักด้วยการลดแคลอรีมากๆ เนื่องจากจะไปทำให้เกิดการเร่งให้สูญเสียกล้ามเนื้อเร็วขึ้นซึ่งมีผลให้ระบบเผาผลาญลดลง ควรแก้ปัญหาโดยการออกกำลังกายแบบสร้างกล้ามเนื้อจะดีที่สุด โดยเฉพาะในผู้หญิงวิธีนี้เป็นสิ่งที่ช่วยรักษาระบบเผาผลาญในร่างกายให้ยังทำงานได้ในระดับเป็นปกติ

3. ออกกำลังกายแต่อย่าให้หนักเกินไป

ธรรมชาติของร่างกายของผู้ชาย หากทำการออกกำลังกายที่เหมาะสมก็สามารถช่วยให้ลดน้ำหนักลงได้ โดยที่ไม่ต้องควบคุมหรือลดระดับอาหารที่ทานเข้าไปในแต่ละวัน และหากมีการเพิ่มการออกกำลังกายให้มากขึ้น ก็จะทำให้น้ำหนักตัวลดลงเร็วขึ้นไปอีก ซึ่งแตกต่างจากในผู้หญิง หากผู้หญิงทำการออกกำลังกายเพิ่มมากขึ้นแบบหนักมาก ก็อาจจะไม่ได้ผลเหมือนในผู้ชาย ซึ่งมีเหตุผลจากการวิจัยคือ ในผู้หญิงเมื่อยิ่งออกกำลังกายหนักขึ้นร่างกายจะส่งสัญญาณให้  “ อยากกิน ” เพื่อชดเชยพลังงานที่ได้สูญเสียออกไป เพราะร่างกายผู้หญิงทำงานในลักษณะคอยเก็บไขมัน ซึ่งเป็นระบบป้องกันร่างกายของผู้หญิงในวัยเจริญพันธุ์ เมื่อออกกำลังกายหนักจึงกระตุ้นให้เกิดอาการหิว อยากกินมากขึ้น ซึ่งในผู้ชายจะไม่พบหรือเป็นแบบนี้เหมือนในผู้หญิงดังนั้นการออกกำลังกายในระดับที่เหมาะสม จะสามารถช่วยให้ผู้หญิงสามารถลดน้ำหนักและไขมันส่วนเกินได้ดีกว่า การออกกำลังกายแบบหนักและหักโหม หรือควรเคลื่อนไหวให้มากขึ้นตลอดวัน ไม่ใช่เพียงการออกกำลังกายแบบหนักในช่วงเวลาเพียงแค่วันละ 30 นาทีเท่านั้น

4. ค้นหาความจริงในการกินและออกกำลังกาย

การลดน้ำหนักที่ได้ผลนั้น ผู้ลดน้ำหนักจะต้องคำนวณพลังงานที่ได้ใช้ออกไปในแต่ละวัน ต้องให้มากว่าพลังงานที่ได้รับจากการทานอาหารเข้าไป โดยเฉพาคุณผู้หญิงต้องทำการจดบันทึกทุกครั้งเมื่อมีการทานอาหารอะไรเข้าไป แม้จะเป็นเพียงแค่อาหารคำเล็กๆ หรือทานปริมาณเพียงเล็กน้อยก็ตาม เช่น ทานเค้ก 2 คำ ทานขนมปังเพียงครึ่งชิ้น ซึ่งหากรวมๆกันแล้วก็อาจจะเป็นปริมาณพลังงานที่สูงได้ รวมทั้งให้บันทึกกิจกรรมการออกกำลังกาย หรือกิจกรรมเคลื่อนไหวร่างกายต่างๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน เพื่อที่จะได้มาคำนวณปริมาณพลังงานที่ได้ใช้ออกไปในแต่ละวัน นอกจากนี้ควรจดเวลา สถานที่ และความรู้สึกที่ทานอาหารต่างๆด้วย เพราะบางคนใช้การทานอาหารแก้เบื่อ เมื่อลองจดบันทึกดูสักระยะ จะสามารถทราบและวิเคราะห์พฤติกรรมการทานอาหารที่แท้จริงของตนเองได้ และเริ่มเรียนรู้เพื่อปรับตัวในการทานอาหารที่มีอิทธิพลจากอารมณ์ตนเองได้ในที่สุด

5. สิ่งที่ควรทำเพื่อลดช่องว่างระหว่างเพศ

  • หาวิธีออกกำลังกายที่ไม่หนักมากจนเกินไป เช่น การเดิน 10-20 นาที โดยเฉพาะหลังจากทานอาหาร หรือทำกิจกรรมอื่นๆเพื่อให้ร่างกายได้เผาผลาญพลังงานออกไป อย่างน้อยให้ได้วันละ 150 กิโลแคลอรี
  • สังเกตดูว่า อาหารสะท้อนถึงอารมณ์อย่างไรในระหว่างวัน โดยใช้วิธีการบันทึกมาช่วยแก้ไขพฤติกรรมนั้นๆ
  • อย่าเปรียบเทียบตัวเองกับเพื่อนชายของคุณ หรือคู่ของคุณที่กำลังลดน้ำหนัก เพราะการลดน้ำหนักของผู้หญิงไม่เหมือนกับผู้ชาย
  • ติดตามความก้าวหน้าในการลดน้ำหนักของตนเอง และประคับประคองพฤติกรรมให้อยู่ในกฎเกณฑ์ อย่าให้ความล้มเหลวในการลดน้ำหนักของคนอื่นมาทำให้คุณหมดกำลังใจ
  • ถ้าต้องการช่วยเหลือควรปรึกษานักโภชนาการอาหาร เพื่อขอคำแนะนำที่ดีและถูกต้อง

8 เหตุผลที่ทำให้ลดน้ำหนักไม่ได้ผล

ผู้ที่ลดน้ำหนักไม่ได้ผล อาจจะมาจากสาเหตุหรือปัจจัยหลายๆอย่าง ซึ่งหากลองมาดูเหตุผลหลักๆ ที่มักเจอในผู้ที่กำลังอยู่ในช่วงลดน้ำหนักก็มักจะเป็นเหตุผลที่ซ้ำๆและคล้ายๆกันดัง 8 ข้อต่อไปนี้

1. ละเลยการออกกำลังกาย การออกกำลังกาย ถือว่าเป็นอีกหนึ่งปัจจัยหลักที่สำคัญในการลดน้ำหนักที่รองมาจากการควบคุมอาหาร โดยไม่เพียงแต่ช่วยเผาผลาญไขมันในร่างกายเท่านั้น แต่ยังช่วยทำให้ระบบการเผาผลาญของร่างกายทำงานเพิ่มขึ้นอีกด้วยเพราะทำให้ร่างกายต้องใช้พลังงานมากขึ้น คนที่ออกกำลังกายขณะลดน้ำหนักจะช่วยรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในระดับที่ต้องการได้

2. ช่วงเวลาลดน้ำหนักสั้นเกินควร การลดน้ำหนักที่กำหนดช่วงระยะเวลาที่สั้นเกินไป อาจทำให้ไม่สามารถลดน้ำหนักลงได้ตามที่ต้องการ เนื่องจากเป็นการกดดันตนเองจนเกินไป อาจทำให้เครียดหรือท้อแท้ กับน้ำหนักที่ลดลงช้ากว่าที่คาดหวังไว้ ทั้งนี้ควรวางแผนระยะเวลาในการลดน้ำหนักที่ดี ไม่เร็วหรือน้อยช้าไป การลดน้ำหนักอย่างช้าๆร่วมกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทานอาหาร และปลูกฝังนิสัยในการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจะเป็นวิธีลดน้ำหนักที่ดี และช่วยป้องกันน้ำหนักส่วนเกินในระยะยาวได้

3. หงุดหงิดกับปริมาณอาหารที่ลดลง การต้องปรับและควบคุมอาหารการกิน จากในสิ่งที่ชอบและกินในปริมาณมากๆ มากินอาหารที่เหมาะสำหรับผู้ลดน้ำหนัก คงเป็นอะไรที่สร้างความหงุดหงิดใจให้กับผู้ลดน้ำหนักในระยะแรกไม่มากก็น้อย ซึ่งแม้จะเป็นสิ่งที่ทำได้ยากแต่ก็ต้องค่อยๆปรับตัวตามไปด้วยความมีวินัยและอดทน

4. มองข้ามอาหารไขมันซ่อนรูป  อาหารหลายๆอย่าง มีไขมันประเภทเนย ครีม น้ำมัน เป็นส่วนผสมอยู่ เช่น  ขนมปัง ไอศกรีม หรือขนมหวาน เป็นต้น ซึ่งบางครั้งเราก็ไม่สามารถมองออกได้ด้วยตาเปล่า  ทำให้เมื่อทานอาหารในกลุ่มนี้เข้าไปในปริมาณมากๆ จึงส่งผลให้ร่างกายได้รับพลังงานที่สูงจากไขมัน จึงทำให้เป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ไม่สามารถลดน้ำหนักได้สำเร็จ

5. มองข้ามแคลอรีจากเครื่องดื่มเครื่องดื่มหลายๆชนิด ก็สามารถให้พลังงานที่สูงได้เหมือนในอาหาร เวลาที่ดื่มเครื่องดื่มเรามักไม่ค่อยคิดถึงแคลอรีกัน โดยเฉพาะชานมไข่มุก ชาเย็น กาแฟเย็น คาปูชิโน น้ำปั่นชนิดต่างๆ ซึ่งเป็นเครื่องดื่มที่มีแคลอรี่สูงมากๆ

6. ยึดตาชั่งเป็นเกณฑ์ การชั่งน้ำหนักทุกวันไม่ได้ช่วยให้น้ำหนักตัวลดลงได้เร็ว ในทางตรงข้ามกลับอาจจะทำให้หมดกำลังใจได้ หากน้ำหนักที่ชั่งได้ไม่เป็นไปตามที่หวัง ควรยึดการเปลี่ยนพฤติกรรมทั้งในการบริโภคและการออกกำลังกายเป็นหลัก

7. ใช้วิธีลดน้ำหนักแบบเก่าๆ วิธีการลดน้ำหนักมีมากมายหลากหลายวิธี โดยแต่ละวิธีก็มีรายละเอียดแตกต่างกันออกไป แต่แนวทางที่ดีที่ควรปฏิบัติตามก็คือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพราะจะแก้ปัญหาความอ้วนได้ในระยะยาวได้และไม่ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพ

8. ขาดแรงจูงใจที่เหมาะสม การลดน้ำหนักเพราะทำตามเพื่อนหรือเพื่อไปออกงานสังคม ไม่ใช่แรงจูงใจที่จะทำให้ลดน้ำหนักได้สำเร็จ แรงกระตุ้นที่จะช่วยให้การลดน้ำหนักประสบความสำเร็จก็คือ ความหวังของการอยากมีสุขภาพที่ดีและมีความตั้งใจแน่วแน่ที่จะทำให้ได้จริง

ลดน้ำหนักเร็วเกินไป เป็นปัญหาที่มากับการลดน้ำหนักไม่ถูกทาง

ลดน้ำหนักเร็วเกินไป นอกจากปัญหาต่างๆที่ผู้ลดน้ำหนักจะต้องเจอแล้ว หากใช้วิธีการลดน้ำหนักที่ไม่ถูกต้อง หรือถูกวิธีก็อาจจะมีปัญหาอื่นๆเกิดตามมาอีกได้ เช่น

1. อดอาหารมากเกินไป 

สิ่งที่ผู้ลดน้ำหนักมักเข้าใจผิดๆอยู่เป็นประจำคือ การลดน้ำหนักต้องอดอาหารให้มากๆ และกินให้น้อยที่สุด ซึ่งไม่ใช่วิธีที่ถูกต้อง การจำกัดแคลอรีมากเกินไป โดยเฉพาะจากอาหารประเภทโปรตีน จะทำให้ระบบเผาผลาญในร่างกายมีปัญหา ซึ่งส่งผลให้ร่างกายสะสมปริมาณแคลอรีมากกว่าที่จะเผาผลาญออกไปและยังทำให้ร่างกายสลายกล้ามเนื้อมาใช้เป็นเชื้อเพลิงทนแทนอาหารที่ได้รับไม่เพียงพอ เมื่อกล้ามเนื้อลดลง การเผาผลาญก็ลดลงตามไปด้วย เพราะกล้ามเนื้อเป็นตัวที่เผาผลาญพลังงานในร่างกาย

วิธีแก้ไข : ทานอาหารมื้อหลักให้ครบปกติ ไม่อดอาหารมื้อใดมื้อหนึ่งและจะต้องทานอาหารให้ได้พลังงานอย่างน้อยวันละ 1,600 – 1,800 กิโลแคลอรีและใช้วิธีการควบคุมปริมาณและประเภทของอาหารควบคู่ไปด้วยซึ่งตามหลักการควรลดแคลอรีวันละ 500 กิโลแคลอรีเพื่อลดน้ำหนักลงสัปดาห์ละครึ่งกิโลกรัม

2. กินเร็วเกินไป

ในการกินอาหารแต่ละมื้อ โดยปกติแล้วร่างกายต้องใช้เวลาประมาณ 15 – 20 นาทีเพื่อส่งสัญญาณความอิ่มไปถึงสมอง ( เพื่อบอกให้หยุดกิน ) การกินเร็วเกินไปจึงทำให้ร่างกายได้รับอาหารมากเกินความต้องการ

วิธีแก้ไข : ทานอาหารให้ช้าลงเคี้ยวอาหารให้นานขึ้น วางช้อนในแต่ละคำ จิบน้ำเล็กน้อย จะช่วยยืดเวลาในการทานอาหารให้นานขึ้นได้

3. กินอาหารที่มีกากใยต่ำ

อาหารที่ผ่านกระบวนการขัดสี เช่น ข้าวขาว ขนมปังขาว หรือเส้นก๋วยเตี๋ยวประเภทต่างๆ มีใยอาหารน้อยมาก แต่อาหารที่มีกากใยสูงจะไม่มีแคลอรีและช่วยให้อิ่มท้องได้นานกว่า

วิธีแก้ไข : พยายามทานอาหารที่มีกากใยสูงร่วมด้วยในระหว่างมื้อ เช่น ผัก ผลไม้ ธัญพืช ไม่ขัดสี ข้าวซ้อมมือ และถั่วต่างๆ อาหารที่มีกากใยจะช่วยให้อิ่มเร็วขึ้น

4. นอนไม่เพียงพอ

การนอนไม่เพียงพอก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้อ้วนได้ ผลการวิจัยพบว่า ผู้ชายที่นอนคืนละ 4 ชั่วโมงหรือต่ำกว่า 7 ชั่วโมงติดกัน 6 คืนในแต่ละสัปดาห์ จะมีระดับน้ำตาลและอินซูลินในเลือดสูง ทำให้ลดน้ำได้หนักยาก เพราะระดับอินซูลินสูงจะทำให้ร่างกายเก็บสะสมไขมันจากอาหารส่วนเกินง่ายขึ้น

วิธีแก้ไข : ควรปรับพฤติกรรมการนอน ให้นอนหลับพักผ่อนได้มากเพียงพออย่างน้อยวันละ 8 ชั่วโมง และต้องไม่เข้านอนดึกเกินกว่า 4 ทุ่มของทุกวัน นอกจากนี้ควรนอนและตื่นให้เป็นเวลาในทุกๆวันด้วย

5. เชื่อว่าออกกำลังกายอย่างเดียวโดยไม่ต้องควบคุมอาหารก็ลดน้ำหนักได้ 

การลดน้ำหนักที่ได้ผลดีที่สุด ต้องมาจากการออกกำลังกาย และต้องควบคุมปริมาณอาหารที่ทานในแต่ละมื้อด้วย หากขาดอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว การลดน้ำหนักก็จะไม่มีประสิทธิภาพ และอาจไม่ได้ผลนั้นเอง

วิธีแก้ไข : ต้องออกกำลังกายควบคู่ไปกับการควบคุมปริมาณและประเภทของอาหารที่จะทานเข้าไปในแต่ละมื้อและควรทานอาหารนอกบ้านให้น้อยลง เนื่องจากการทานอาหารนอกบ้านทำให้เราควบคุมปริมาณได้ยาก

6. ดื่มเครื่องดื่มที่มีแคลอรี

เช่น เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ น้ำอัดลม น้ำผลไม้สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่เป็นเครื่องดื่มที่ให้พลังงานสูงและอาจจะมีส่วนประกอบของน้ำตาลที่มากอีกด้วย

วิธีแก้ไข : เลือกเครื่องดื่มที่เหมาะสมกับผู้ลดน้ำหนักที่สุดก็คือ น้ำเปล่า ควรดื่มน้ำเปล่าให้ได้วันละ 2 ลิตร เพื่อให้ร่างกายได้มีน้ำเพียงพอ โดยสังเกตได้จากสีของปัสสาวะ ควรมีสีเหลืองอ่อน และควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแคลอรีสูง

7. ชะล่าใจกับน้ำหนักที่ลดในระยะแรกในการลดน้ำหนักช่วงแรกๆ

น้ำหนักจะลดลงได้อย่างรวดเร็วซึ่งถือเป็นเรื่องปกติ ซึ่งผู้ลดน้ำหนักหลายคนอาจเกิดความชะล่าใจ และหันไปทานอาหารในปริมาณมากเหมือนเดิม รวมถึงหยุดการออกกำลังกาย จึงทำให้น้ำหนักที่ลดไปจึงกลับคืนมาอย่างรวดเร็ว

วิธีแก้ไข : ต้องควบคุมปริมาณอาหารอย่างต่อเนื่อง และหมั่นออกกำลังกายเป็นประจำแม้ว่าน้ำหนักในช่วงนั้น จะลดลงมากหรือลดลงน้อยก็ตาม ถ้าป้องกันไม่ให้น้ำหนักที่ลดเพิ่มขึ้นได้ภายใน 6 เดือน ก็อาจลดน้ำหนักเพิ่มได้อีกหลังจากนั้น

ปัญหาที่มากับการลดน้ำหนัก และทำให้การลดน้ำหนักไม่ได้ผล โดยส่วนมากเกือบทั้งหมดคือการไม่ศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับการลดน้ำหนักที่ถูกต้องเสียก่อน หลายคนลดน้ำหนักด้วยวิธีตามความรู้สึกตนเอง ทำให้การลดน้ำหนักไม่ได้ผลตามที่คาดหวังไว้ ดังนั้นหากต้องการให้การลดน้ำหนักเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ที่จะลดน้ำหนักควรศึกษาหาความรู้ในการลดน้ำหนักให้เข้าใจดีเสียก่อน เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาจากการลดน้ำหนักที่ผิดวิธีตามมานั่นเอง

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

“Pharmacological interventions for geriatric cachexia: a narrative review of the literature.”. The journal of nutrition, health & aging.

ไตวายมีสาเหตุและอาการอย่างไร ?

0
ไตวายมีสาเหตุและอาการอย่างไร ?
ไตวาย หรือ ไตล้มเหลว คือ ภาวะที่ไตทั้งสองข้างสูญเสียการทำงาน จนไม่สามารถขับของเสียในร่างกายออกนอกร่างกายทางปัสสาวะได้
ไตวายมีสาเหตุและอาการอย่างไร ?
ไตวาย หรือ ไตล้มเหลว คือ ภาวะที่ไตทั้งสองข้างสูญเสียการทำงาน จนไม่สามารถขับของเสียในร่างกายออกนอกร่างกายทางปัสสาวะได้

ไตวายมีสาเหตุและอาการอย่างไร

ไตวาย เป็นภาวะที่ไตสูญเสียความสามารถในการกรองของเสียออกจากเลือด จนไม่สามารถขับของเสีย ระดับน้ำ เกลือแร่ และแร่ธาตุต่าง ๆ ออกมาจากร่างกายผ่านทางปัสสาวะได้ ทำให้มีของเสียตกค้างในร่างกาย ไตถือเป็นอวัยวะสำคัญที่มีอยู่ด้วยกัน 2 ข้าง หน้าที่สำคัญของไตคือ การขับถ่ายของเสียภายในร่างกาย และ ทำหน้าที่ควบคุมปริมาณสารในรูปแบบน้ำและเกลือแร่ที่มีอยู่ภายในร่างกายให้มีความสมดุลโดยปกติแล้วไตของคนเราจะมีลักษณะคล้ายกับเมล็ดถั่วแดงมีสีน้ำตาลอมแดงและมีขนาดเท่ากับกำปั้นของคนเรา สำหรับกลุ่มคนในวัยผู้ใหญ่ ไตจะมีความยาวประมาณ 10–13 เซนติเมตรโดยที่ไตจะมีน้ำหนักข้างละไม่เกิน 120–170 กรัม

ตำแหน่งของไต

ตำแหน่งของไตจะอยู่ฝั่งซ้ายและขวา บริเวณส่วนหลังตรงบั้นเอว โดยไตจะอยู่นอกช่องท้อง ซึ่งไตข้างซ้ายจะอยู่ข้างหลังของกระเพาะอาหาร และไตข้างขาวจะอยู่ข้างหลังของตับ

หน่วยของไต

ไตแต่ละข้าง มักจะมีหน่วยไตข้างละประมาณ 1 ล้านหน่วย ซึ่งแต่ละหน่วยจะคอยทำหน้าที่ในการกรองน้ำเลือด ในแต่ละวันไตจะมีเลือดผ่านไตประมาณ 20–30 เปอร์เซ็นต์ของเลือดที่ออกมาจากหัวใจหรือคิดเป็นประมาณ 1.2 ลิตรต่อนาทีหรือ 1,700 ลิตรต่อวัน เมื่อไตได้มีการกรองน้ำเลือดเพื่อที่จะเอาสารต่างๆ ที่มีความจำเป็น กลับคืนสู่ร่างกายของคนเราแล้ว ไตก็จะทำหน้าที่ในการขับของเสียออกมาด้วยเช่นกัน ซึ่งของเสียส่วนใหญ่จะออกมาในรูปแบบของปัสสาวะ กลุ่มคนวัยผู้ใหญ่จะปัสสาวะวันละ 1–2 ลิตร

หน้าที่ของไตคืออะไร

1. ไต ทำหน้าที่ขับของเสียออกมาทางปัสสาวะ ของเสียส่วนน้อยจะถูกขับออกทางเหงื่อ หากใครมียูเรียคั่งภายในกระแสเลือดมากๆ ก็อาจจะมีอาการมึนงง เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย อาเจียน นอนไม่หลับ หรืออาจจะมีอาการชักและไม่รู้สึกตัว โดยปกติแล้วคนเราจะมียูเรีย 2.5 – 7.5 มิลลิโมลต่อ ลิตรเท่านั้น

2. ไต จะทำหน้าที่คอยควบคุมปริมาณน้ำและเกลือแร่ภายในร่างกาย หากน้ำและเกลือแร่มีมากเกินความจำเป็น ก็จะถูกขับออกทางปัสสาวะ ในกรณีผู้ป่วยไตวายที่ไม่สามารถขับโซเดียมส่วนเกินออกได้ จะส่งผลทำให้ผู้ป่วยมีอาการบวม ความดันโลหิตอาจจะสูง อีกทั้งผู้ป่วยที่ไม่สามารถขับโพแทสเซียมส่วนเกินออกไปได้ อาจจะส่งผลทำให้หัวใจของผู้ป่วยเต้นผิปกติ หรือ หัวใจหยุดเต้นได้เช่นกัน

3. ไตทำหน้าที่ในการดูดซึมสารอาหารที่มีประโยชน์กลับเข้าสู่กระแสเลือด   

4. ไต ทำหน้าที่ในการรักษาสมดุล ทั้งกรดและด่างภายในร่างกาย โดยที่กรดภายในร่างกาย จะมาจากอาหารประเภทเนื้อสัตว์ แป้ง และ น้ำตาล ส่วนด่าง จะมาจากอาหารประเภทผักและผลไม้รสเปรี้ยวหรือ ไม่หวานจัด

5. ไต คอยทำหน้าที่ผลิต และคอยควบคุมการทำงานของฮอร์โมนบางชนิดภายในร่างกาย อย่างเช่น ฮอร์โมนอีริทโทรพอยอิติน หรือ อีโป้ วิตามินดีในรูปแบบที่สามารถทำงานได้ สังเคราะห์พรอสตาแกลนิน เป็นต้น

หากไตไม่สามารถทํางานได้ตามปกติจะส่งผลอย่างไรต่อร่างกาย

เมื่อไตไม่ทำงาน อาจมีสาเหตุจากอาการไตวายเฉียบพลันหรืออาการไตวายเรื้อรัง เรามาดูกันว่าอะไรคือไตวายเฉียบพลันและไตวายเรื้อรัง?

อาการไตวายเฉียบพลัน

อาการไตวายเฉียบพลัน คืออาการที่ไตมีลักษณะสูญเสียการทำงานอย่างรวดเร็ว ส่งผลทำให้น้ำและของเสียไม่ได้ถูกขับออกมาจากร่างกาย ปัสสาวะอาจจะน้อยกว่า 400 มิลลิลิตรต่อวัน ทำให้มีของเสียคั่งภายในเลือดจนกระทั่งเป็นพิษต่อร่างกาย รวมไปถึงมีการคั่งของน้ำและเกลือแร่ส่งผลทำให้เสียสมดุลของเกลือแร่และเสียสมดุลความเป็นกรดและเป็นด่างภายในเลือดอีกทั้งอาจจะทำให้เกิดภาวะพร่องฮอร์โมนที่ต่อมหมวกไตนำไปสู่ความผิดปกติตามอวัยวะต่างๆภายในร่างกายได้

อาการไตวายเรื้อรัง

อาการไตวายเรื้อรัง คือเนื้อไตได้ถูกทำลายไปทีละน้อยอย่างต่อเนื่องโดยระยะแรกอาจจะไม่มีอาการอะไรส่งผลทำให้การทำงานของไตเสียไปมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ ในช่วงนี้อาการจะเริ่มแสดงออก ถ้าหากอาการรุนแรงขึ้นเนื้อไตจะมีลักษณะฝ่อและเหี่ยวลงหรืออาจจะเกิดพังผืดแทรกภายในเนื้อไตสำหรับเนื้อไตส่วนที่ยังดีอยู่นั้นจะต้องคอยทำหน้าที่ให้มากขึ้น เพื่อที่จะสามารถทดแทนไตส่วนที่เสียได้

เมื่อเนื้อไตปกติต้องทำงานมากยิ่งขึ้น จึงมีลักษณะใหญ่โตขึ้น เรื่อย ๆ ถึงแม้จะมีการรักษาแล้วก็ตาม แต่ไตที่วายเรื้อรัง จะไม่สามารถกลับมาเป็นปกติ หรือ ดีขึ้นได้

การเข้ารับการรักษาจะสามารถช่วยทำให้ไตไม่เสียเร็วขึ้นกว่าเดิมและจะมีอาการดีขึ้นส่งผลทำให้ผู้ป่วยไม่ค่อยเหนื่อยง่าย อีกทั้งการรักษาในแต่ละครั้งจะช่วยชะลอการเกิดอาการแทรกซ้อน ที่อาจจะเกิดขึ้นได้อีกด้วย ในกรณีที่ไตวายเพียงข้างเดียวและไตอีกข้างยังคงสามารทำหน้าที่แทนได้นั้น แพทย์อาจจะทำการรักษาด้วยการดูแลไม่ให้ไตมีอาการแย่ไปกว่าเดิม โดยที่ผู้ป่วยจะต้องระวังอาหารที่มีรสเค็ม รสหวาน และรสมันเป็นสำคัญ ในกรณีที่ไตวายทั้ง 2 ข้าง และมีอาการรุนแรงหรือผู้ป่วยอยู่ในช่วงไตวายระยะสุดท้ายผู้ป่วยจะต้องเข้ารับการรักษาด้วยการดูแลตนเองให้มากขึ้นควบคู่ไปกับการฟอกเลือดหรือทำการล้างไต แต่หากรุนแรงและมีอาการเรื้อรังจำเป็นจะต้องรักษาแบบนี้ตลอดไปจนกว่าจะทำการปลูกถ่ายไตได้ในที่สุด 

สาเหตุของอาการไตวาย

1. มีเลือดไปเลี้ยงไตน้อยลง จนกระทั่งกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนแอลโดสเตอโรน อีกทั้งยังคงมีการหลั่งฮอร์โมนแอนตี้ไดยูเรติค โดยทั้งสองกรณีจะส่งผลทำให้น้ำถูกดูดกลับไปที่ไตมากขึ้นกว่าเดิม ทำให้ผู้ป่วยมีปัสสาวะลดลง เกิดอาการเสียสมดุลน้ำและเกลือแร่ ตลอดจนกระทั่งมีของเสียคั่งในเลือดมากขึ้น

2. ทางเดินปัสสาวะเกิดการอุดตัน ซึ่งอยู่ในระดับที่ต่ำกว่ากรวยไตลงมาส่งผลทำให้เกิดความดันในส่วนที่อยู่เหนือการอุดกั้นเพิ่มขึ้นกว่าเดิมอย่างรวดเร็วเมื่อไตไม่มีการกรองของเสียหรือไม่มีปัสสาวะจึงทำให้เกิดของเสียคั่งภายในเลือด

ของเสียคั่งภายในเลือดเกิดจากไตไม่กรองของเสียหรือไม่มีปัสสาวะ

3. ร่างกายขาดน้ำ ส่งผลทำให้เกิดความดันเลือดน้อยลงโดยเลือกไปเลี้ยงที่ไตลดลงในขั้นแรกหากความดันเลือดยังมีมากกว่า 80 มม.ปรอทร่างกายของเราจะปรับตัวเพื่อไม่ให้ไตหรืออวัยวะภายในร่างกายต้องขาดเลือดซึ่งจะมีการหลั่งสารชนิดต่างๆ รวมไปถึงฮอร์โมนแอนตี้ไตยูเรติคพร้อมทั้งเรนนินออกมาภายในร่างกาย ทำให้หลอดเลือดมีอาการหดตัวแต่ไตยังคงมีเลือดไปเลี้ยงน้อยลง ขั้นที่สอง เมื่อไตขาดเลือดมากขึ้นร่างกายของคนเราจะมีการปรับตัวโดยมีการหลั่งฮอร์โมนที่ส่งผลทำให้ไตกักเก็บน้ำและเกลือเอาไว้ทำให้ปัสสาวะน้อยลงไปกว่าเดิม

4. การเกิดภาวะหัวใจวาย หรือ เลือดคั่ง หรือ มีโรคตับแข็ง ส่งผลทำให้เกิดสารน้ำคั่งอยู่มากแต่ภายในหลอดเลือดจะมีสารน้ำลดลงทำให้มีผลต่อร่างกายร่างกายจะมีการกระตุ้นฮอร์โมนต่างๆ เกิดขึ้นและร่างกายก็จะกักเก็บน้ำพร้อมทั้งเกลือแร่เอาไว้มากขึ้นไปอีกจนทำให้ไตวาย

5. การรับประทานยาที่มีผลต่อไต โดยเฉพาะยากลุ่มเอ็นเซดจำพวกยาแก้ปวดข้อ ปวดกระดูก ยากลุ่มนี้จะเข้าไปยับยั้งการสร้างพรอสตาแกลนดินภายในไต ทำให้มีผลในเรื่องของการไหลเวียนของเลือดภายในไตไตจึงกรองของเสียได้น้อยลง

ระยะของอาการไตวายเฉียบพลัน

1. ระยะแรก ร่างกายจะมีการปรับตัวโดยจะหลั่งสารที่ทำให้หลอดเลือดเกิดการหดตัว มีผลทำให้เลือดไปเลี้ยงไตน้อยลง

2. ระยะที่เนื้อไตได้ถูกทำลายลงจะเกิดขึ้นภายใน 2 – 3 ชั่วโมงหรืออาจจะนานกว่า 2 สัปดาห์บางรายอาจจะนานกว่า 2 เดือน

3. ระยะไตเริ่มฟื้นตัวแล้วจะมีการซ่อมแซมของเนื้อเยื่อในไต ไตสามารถทำหน้าที่ได้ดียิ่งขึ้นแต่ยังคงไม่สมบูรณ์ทำให้ปัสสาวะอาจจะมีมากขึ้นบางรายอาจจะถึงวันละ 4–5 ลิตรด้วยกันระยะของอาการไตวายเรื้อรัง

ระยะที่ 1 ไตเริ่มเสื่อม ไตมีลักษณะทำงานน้อยลงแต่ยังคงสามารถทำงานได้มากกว่า 90 ซีซีต่อนาทีในระยะนี้อาจจะไม่ปรากฏอาการผิดปกติใดๆและไม่มีการสะสมของเสีย แต่ควรปรับเปลี่ยนอาหารและปริมาณน้ำ เพื่อชะลอความเสื่อมของไตให้ลดลง

ระยะที่ 2 ไตเริ่มเสื่อมมากขึ้นระยะนี้ไตจะทำงานลดลงแต่ยังไม่ถึงครึ่งของอัตราการกรองของไต 60–89 ซีซีต่อนาทีระยะนี้จะมีอาการแสดงให้เห็นแต่อาจจะไม่ชัดเจน

ระยะที่ 3 ไตทำงานลดลงครึ่งหนึ่งอัตราการกรองของไตจะอยู่ที่ 30–59 ซีซีต่อนาทีทำให้มีของเสียคั่งอยู่ในเลือดพบโปรตีนเล็กน้อยในปัสสาวะ ในระยะนี้จะมีอาการผิดปกติแสดงออกมามากขึ้นและเป็นอาการที่ผู้ป่วยต้องพบแพทย์

ระยะที่ 4 ไตทำงานลดลงมากอัตราการกรองจะลดลงมากเช่นกันอยู่ที่ 15–29 ซีซีต่อนาทีโดยในระยะนี้ไตจะทำหน้าที่ได้แค่ร้อยละ 5–15 ของปกติทำให้มีของเสียคั่งมากขึ้นมีโปรตีนภายในปัสสาวะมากขึ้นมีอาการเลือดจางมากขึ้น

ระยะที่ 5 อาการไตวายระยะสุดท้ายในระยะนี้อัตราการกรองของไตจะลดลงมากและน้อยกว่า 15 ซีซีต่อนาทีส่งผลทำให้เกิดของเสียคั่งมากและมีอาการแทรกซ้อนเกิดขึ้นภายในระบบร่างกายร่วมด้วย

สาเหตุของอาการไตวายเฉียบพลันและเรื้อรัง

1. การเกิดภาวะช็อกที่ค่อนข้างรุนแรงจากสาเหตุต่างๆ ส่งผลทำให้เลือดไปเลี้ยงที่ไตน้อยลงกว่าเดิมและทำให้เกิดการตายของหลอดเลือดฝอยที่ไต

2. เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว นับได้ว่าเป็นความผิดปกติภายนอกของไตส่งผลทำให้ไตขาดเลือด

3. มีภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดหัวใจ หรือ ผ่าตัดทรวงอก

4. มีอาการติดเชื้อรุนแรง มีการวินิจฉัยโรคได้ช้าหรือเข้ารับการรักษาไม่ทันท่วงที ทำให้เชื้อเข้าสู่กระแสเลือด และเข้าไปถึงไตจนกระทั่งทำให้เกิดอาการไตวาย

5. การรับประทานยาที่มีผลต่อไต ส่งผลทำให้หลอดเลือดฝอยภายในไตตายเฉียบพลัน

6. การได้รับพิษจากพืชและสัตว์บางชนิด อันเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการไตวายได้ทั้งหมดนี้ก็คือเรื่องที่เราทุกคนควรรู้ ซึ่งเป็นเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับไตอวัยวะที่นับได้ว่ามีความสำคัญต่อร่างกายของคนเราเป็นอย่างมาก การรับประทานอาหารรวมไปถึงการดื่มน้ำในปริมาณที่เหมาะสมและเพียงพอต่อร่างกายนับได้ว่ามีผลต่อการทำงานของไตโดยตรง นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการไตวายหรือทำให้ไตเสื่อมเพราะจะส่งผลต่อชีวิตได้โดยตรงนั่นเอง

ลักษณะของอาการไตวายเฉียบพลัน

อาการไตวายเฉียบพลัน นับได้ว่าเป็นอาการที่ส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยอย่างรวดเร็วหรือเฉียบพลัน โดยก่อนหน้านี้ผู้ป่วยอาจจะมีลักษณะแข็งแรง สุขภาพดี เมื่อมีอาการไตวายเกิดขึ้น ผู้ป่วยจะเกิดอาการปัสสาวะน้อยลงหรือไม่ปัสสาวะเลย ถึงแม้จะทำการสวนปัสสาวะแล้วก็ตามแต่ยังพบว่ามีปัสสาวะน้อยอยู่เช่นเดิมโดยผู้ป่วยที่เป็นโรคไตวายเฉียบพลันอาการโดยรวมจะมีลักษณะ ดังนี้

อาการของผู้ป่วยที่เป็นโรคไตวายเฉียบพลัน

  • เมื่อผู้ป่วยเป็นโรคไตวายเฉียบพลัน มักจะมีอาการค่อนข้างที่จะชัดเจนจากที่เคยสุขภาพแข็งแรงดีอยู่ดีๆ ผู้ป่วยก็จะมีอาการปัสสาวะน้อยกว่า 40 มิลลิลิตรภายใน 24 ชั่วโมงหรือไม่มีปัสสาวะเลยแม้แต่น้อย
  • เกิดน้ำและของเสียคั่ง มีอาการเท้าบวมขาบวมผู้ป่วยอาจจะอ่อนเพลียมากขึ้นมีอาการเบื่ออาหารมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน
  • อาจจะเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นได้ หัวใจอาจจะเต้นผิดปกติส่งผลทำให้ผู้ป่วยนอนราบไม่ได้
  • หากมีภาวะแทรกซ้อนไปถึงสมองหรือมีของเสียคั่งอยู่ภายในสมอง จะส่งผลทำให้ผู้ป่วยมีอาการซึมเกิดความสับสนมีอาการชักและอาจจะหมดสติได้ในที่สุดผู้ป่วยควรพบแพทย์โดยเร็วที่สุด
  • ผู้ป่วยไม่ถ่ายปัสสาวะหรือมีอาการปัสสาวะไม่ออกมาถึง 2 วัน
  • ผู้ป่วยมีไข้สูงมีอาการเหนื่อยและหอบ
  • ผู้ป่วยมีปัสสาวะออกน้อยมากประมาณ 3 วันแล้ว

ระยะของโรคไตวายเรื้อรัง

  • อาการไตวายในช่วงระยะแรกเริ่ม ช่วงนี้ผู้ป่วยมักจะไม่มีอาการผิดปกติแต่อย่างใด แพทย์อาจจะตรวจพบเจอโรคไตวายจากการตรวจเลือดได้เช่นกัน
  • ในช่วงที่ไตถูกทำลายไปแล้วประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ หรือ อยู่ในช่วงไตวายระยะที่ 3 ผู้ป่วยจะมีของเสียคั่ง ทำให้เริ่มแสดงอาการออกมาให้เห็นเล็กน้อยไม่ว่าจะเป็นอาการอ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน มีอาการนอนไม่หลับ ปัสสาวะบ่อยแต่ปริมาณน้อยลง พบโปรตีนไข่ขาวออกมาเล็กน้อยเริ่มมีอาการบวมตามเท้าและมือ
  • โรคไตวายเรื้อรังระยะที่ 4 กับ 5 ผู้ป่วยจะมีอาการจากของเสียคั่งและเกิดการเสียสมดุลของเกลือแร่และน้ำ มีอิเลคโตรไลท์มากขึ้นและอาจจะมีภาวะแทรกซ้อนมากขึ้นเรื่อยๆ

เรื่องน่ารู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับอาการไตวาย

อาการไตวายอันเนื่องมาจากโรคเบาหวาน ถือได้ว่ามีความรุนแรงเป็นอย่างมากผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บป่วยได้มากกว่าผู้ป่วยที่เป็นโรคไตวายจากสาเหตุอื่นๆ ด้วยเหตุนี้ผู้ป่วยเบาหวานที่เป็นโรคไตจึงต้องเริ่มรักษาด้วยการล้างไตเร็วกว่าปกตินั่นเอง

สิ่งที่ชี้ชัดว่าผู้ป่วยไตวายมีอาการดีขึ้นแล้ว ได้แก่

1. ผู้ป่วยรู้สติมากขึ้น รู้ตัวมากขึ้น

2. ผู้ป่วยมีชีพจรปกติ

3. อาการบวมที่เกิดขึ้น มีลักษณะมีดีขึ้น

4. น้ำหนักผู้ป่วยลดลงวันละ 0.2 – 0.5 กิโลกรัม

5. ผลตรวจเลือด เพื่อดูค่าบียูเอ็น และ ค่าครีเอตินิน เป็นปกติแล้ว

6. ผู้ป่วยสามารถปัสสาวะได้มากกว่า 30 มิลลิลิตรต่อชั่วโมง

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

ประสาร เปรมะสกุล, พลเอก. คู่มือแปลผลตรวจเลือด เล่มสอง. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์, 2554. 416 หน้า. 1. เลือด – การตรวจ I.ชื่อเรื่อง. 616.07561 ISBN 978-974-9608-49-4.

“Girl’s Kidneys Fail, But Doctors Find Double Valves, Saving Her Life”. Abcnews.go.com. 2010-05-18. Retrieved 2011-01-03.

“Kidneys Location Stock Illustration”. Archived from the original on 2013-09-27.

สารอาหารที่เร่งการเผาผลาญไขมันส่วนเกินในร่างกาย

0
สารอาหารช่วยในการเผาผลาญไขมันส่วนเกินในร่างกาย
เมล็ดกาแฟสดสกัด (Green Coffee Bean Extract) ใช้เมล็ดกาแฟที่ไม่ได้คั่ว ช่วยลดการสะสมไขมันและช่วยในการเปลี่ยนนำตาลในเลือดไปเป็นพลังงาน และช่วยในการลดน้ำหนัก
สารอาหารช่วยในการเผาผลาญไขมันส่วนเกินในร่างกาย
เยอร์บามาเต้ (Yerba Mate) มีสารคาเฟอีน ช่วยลดอาการเหนื่อยล้า ลดน้ำหนัก ใช้ชงเป็นเครื่องดื่มในรูปแบบของ ชา

สารอาหารที่เร่งการเผาผลาญไขมัน

คนที่อ้วน หรือ รูปร่างไม่สมส่วนมักจะมองหาผลิตภัณฑ์ที่เป็นสารอาหารที่เร่งการเผาผลาญไขมันมาใช้ และคงไม่มีใครที่อยากจะเป็นคนอ้วน มีพุง หรือมีร่างกายใหญ่โตเกินปกติ เพราะนอกจากบุคลิกภาพภายนอกที่ดูไม่ดีแล้ว การหาเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย ก็ยังทำได้ยากกว่าคนปกติ และยังไม่รวมถึงโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ที่มักมาพร้อมกับโรคอ้วนอีกด้วย

หลายคนจึงมักหันมาลดน้ำหนักเพื่อเปลี่ยนแปลงตัวเองให้ดีขึ้น ซึ่งผลที่ได้นั้นก็แตกต่างกันออกไปบางคนก็สามารถลดน้ำหนักได้สำเร็จโดยใช้วิธีปกติ ทั้งการกินอาหารที่มีประโยชน์ การควบคุมอาหารและการออกกำลัง  กายอย่างสม่ำเสมอ แต่ก็มีกลุ่มคนอีกจำนวนหนึ่งที่ไม่สามารถลดน้ำหนักตามที่คาดหวังได้ด้วยวิธีปกติ จึงพยายามหาตัวช่วยในการลดน้ำหนักเข้ามา ซึ่งส่วนมาก็จะเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ลดน้ำหนัก ที่มีอยู่มากมายในปัจจุบันหลากหลายยี่ห้อ และสามารถหาซื้อได้ง่ายนั้นเอง

สารอาหารช่วยในการเผาผลาญไขมัน คืออะไร?

สารอาหารช่วยในการเผาผลาญไขมัน หมายถึง ผลิตภัณฑ์ในรูปแบบต่างๆที่มีมากมายหลายชนิด เช่น เครื่องดื่ม อาหารเสริม ยา หรือสมุนไพรต่างๆ เป็นต้น ที่มาพร้อมกับโฆษณาชวนเชื่อที่หลากหลายว่า สามารถนำมาใช้เพื่อช่วยควบคุมนำหนักในร่างกาย ทำให้ผู้ที่ใช้สามารถทำการลดน้ำหนักลงได้อย่างรวดเร็ว เปลี่ยนจากคนที่อ้วนเป็นคนผอมได้ง่ายๆ โดยที่ยังสามารถทานอาหารได้เหมือนคนปกติ

สำหรับผลิตภัณฑ์ที่วางขายกันอยู่ทั่วไป มีจุดที่น่าสังเกตอย่างหนึ่งคือ เจ้าของผลิตภัณฑ์นั้นๆ ใช้วิธีการพิสูจน์ผลิตภัณฑ์กับกลุ่มคนจำนวนที่น้อย และใช้ระยะเวลาทดสอบแค่เพียงช่วงสั้นๆเท่านั้น ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้ว การที่จะพิสูจน์ว่าผลิตภัณฑ์ลดน้ำหนักชนิดนั้นๆ  สามารช่วยลดน้ำหนักได้จริงหรือไม่ และมีความปลอดภัยเพียงใดกับผู้ใช้งาน จะต้องทำการวิจัย ทดลองในกลุ่มคนที่มีจำนวนมากๆ และต้องทดสอบเป็นระยะเวลานานโดยอาจจะใช้ระยะเป็นปีเลยทีเดียว

สารอาหารช่วยในการเผาผลาญไขมันที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน

สำหรับสารอาหารช่วยในการเผาผลาญไขมันที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน และได้รับการทบทวนข้อมูลการวิจัยจากองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา มีดังต่อไปนี้

1. ส้มขม หรือ บิตเตอร์ ออเร้นจ์ ( Bitter Orange )

ส้มขม เป็นสมุนไพรในตำรายาจีนอย่างหนึ่ง ที่มีการเอาเปลือก ดอก ใบ และผลมาสกัดเป็นยารักษาโรคต่าง ๆ รวมทั้งยังมีสรรพคุณในการลดน้ำหนัก ในส้มขมจะมีส่วนประกอบของซินเนฟรีน ( Synephrine ) และโดพามีน   ( Dopamine ) ซึ่งเป็นสารกระตุ้นคล้ายเอฟิดร้า ( Ephedra ) หรือมาฮวง ( Ma Huang )  จัดเป็นสารกระตุ้นชนิดหนึ่งที่มีการอ้างสรรพคุณว่าสามารถช่วยเผาผลาญแคลอรี่ สลายไขมัน และลดความอยากอาหารลงได้ นอกจากนี้ในส้มขมมักมีส่วนผสมของกาเฟอีนและสารประกอบอื่นๆอีกด้วย

ในแง่ของการให้ผลเพื่อช่วยให้การลดน้ำหนัก ยังคงไม่มีผลการวิจัยที่ยืนยันได้ชัดเจน ว่าส้มขม ช่วยให้ลดน้ำหนักได้จริงหรือไม่ แต่ส้มขมอาจจะช่วยเพิ่มการเผาผลาญแคลอรีในร่างกาย และช่วยลดความอยากอาหารได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น  เมื่อใช้ร่วมกับการควบคุมอาหารและออกกำลังกาย ส่วนในเรื่องของความปลอดภัย พบว่าส้มขมอาจจะไม่ปลอดภัยนัก เพราะผลิตภัณฑ์ส้มขมอาจทำให้เกิดอาการเจ็บหน้าอก หัวใจเต้นรัว เกิดการวิตกกังวล และความดันโลหิตสูงขึ้นได้ และมีการพบว่าการใช้ส้มขมร่วมกับสารกระตุ้นชนิดอื่น เช่น กาเฟอีน อาจจะทำให้เกิดอาการหัวใจวายได้อีกด้วย

2. สารคาเฟอีน

สารคาเฟอีน เป็นสิ่งใกล้ตัวที่สามารถพบได้ง่ายในปัจจุบัน จากการดื่มชา กาแฟ  โกโก้ หรือเครื่องดื่มที่มีสารคาเฟอีนเป็นส่วนผสม อย่างเช่น น้ำอัดลม เครื่องดื่มชูกำลังนอกจากนี้ยังพบได้ในยาและสมุนไพรบางชนิด รวมถึงผลิตภัณฑ์อาหารเสริมต่างๆ ที่ใช้คาเฟอีนเป็นส่วนประกอบ เป็นต้น คาเฟอีน เป็นสารกระตุ้นที่มีฤทธิ์ช่วยให้ร่างกายเกิดความตื่นตัว เพิ่มความกระชุ่มกระชวย เพิ่มการเผาผลาญพลังงานในร่างกาย เพิ่มการสลายตัวของไขมันให้ทำงานได้ดียิ่งขึ้นในแง่ของการลดน้ำหนัก แม้งานวิจัยจะไม่ชัดเจนว่าคาเฟอีนช่วยลดน้ำหนักได้ แต่ก็มีทฤษฎีที่อ้างถึงผลของคาเฟอีนที่อาจมีผลต่อน้ำหนักตัว คือ

คาเฟอีนเป็นสารที่ยับยั้งความหิว ทำให้กินอาหารน้อยลงแต่ก็ยังไม่มีหลักฐานยืนยันเพียงพอว่าจะช่วยลดน้ำหนักได้ในระยะยาว

คาเฟอีนช่วยเพิ่มระบบเผาผลาญแคลอรีในการย่อยอาหาร แต่ก็อาจจะไม่มากพอที่จะทำให้ลดน้ำหนักลงได้นั้นเองคาเฟอีนจะปลอดภัยหากใช้ในปริมาณน้อย แต่หากร่างกายได้รับในปริมาณที่มากเกินไป ก็อาจส่งผลกระทบ เช่น ทำให้มีอาการ กระวนกระวายใจ นอนไม่หลับ และหากได้รับคาเฟอีนในปริมาณสูงๆมากเกินกว่า 400 มิลลิกรัม/วัน จะทำให้คลื่นไส้อาเจียน หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตเพิ่มขึ้นสูง และมีอาการชักได้

3. เยอร์บามาเต้  ( Yerba Mate )

คือพืชชนิดหนึ่งที่มีสารคาเฟอีน เป็นส่วนประกอบจะขึ้นเองอยู่ในป่าตามธรรมชาติแถบทวีปอเมริกาใต้ โดยชาวอเมริกาใต้นิยมนำพืชชนิดนี้มาใช้ชงเป็นเครื่องดื่มในรูปแบบของ ชา ซึ่งเชื่อกันว่ามีสรรพคุณ ในการช่วยลดอาการเหนื่อยล้า ลดน้ำหนัก ลดอาการซึมเศร้าได้แต่ความเชื่อนี้ก็ยังไม่มีผลการยืนยันที่ชัดเจนแต่อย่างใด มีข้อควรระวัง คือ ผู้ที่ดื่มชานี้มากๆติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งปากมดลูก มะเร็งหลอดอาหาร และมะเร็งปอดได้ โดยเฉพาะผู้ที่สูบบุหรี่และดื่มชานี้ยิ่งมีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งสูงขึ้นด้วย

4. แคลเซียม ( Calcium )

แคลเซียม เป็นแร่ธาตุที่เป็นองค์ประกอบของกระดูก กล้ามเนื้อ เส้นประสาทและหลอดเลือดในร่างกายมนุษย์ พบได้มากในอาหารเช่น  นมถั่วเหลือง เนื้อปลา น้ำส้ม เป็นต้น โดยแคลเซียมได้รับการอ้างสรรพคุณว่า สามารถช่วยในการเผาผลาญไขมัน และลดการดูดซึมของไขมันในร่างกายได้ดียิ่งขึ้น แต่ก็ข้อมูลดังกล่าวก็ไม่ได้รับการรับรองแต่อย่างใด การได้รับสารอาหารประเภทแคลเซียมสำหรับร่างกายนั้น ต้องได้รับในปริมาณที่เหมาะสม สำหรับผู้ใหญ่ปริมาณที่เหมาะสมต่อวันคือ 1,000 – 1,200 มิลลิกรัม แต่หากได้รับมากเกินไป มากกว่า 2,000 – 2,500 มิลลิกรัมต่อวัน อาจจะทำให้เกิดผลเสียต่อร่างกายได้ เช่น เกิดอาการท้องผูก  ร่างกายเกิดภาวะลดการดูดซึมธาตุเหล็กและสังกะสีนอกจากนี้การได้รับแคลเซียมจากอาหารที่ไม่ได้มาจากธรรมชาติ จำพวกอาหารเสริมต่างๆ ก็อาจจะทำให้เพิ่มความเสี่ยงโรคนิ่วในไตได้

5.ไคโตซาน ( Chitosan )

ไคโตซาน คือ สารสกัดที่ได้จากธรรมชาติซึ่งสามารถสกัดได้จากเปลือกกุ้ง กระดองปู  ซึ่งมีการอ้างสรรพคุณของไคโตซานว่า สามารถช่วยดักจับไขมันได้ ทำให้ไขมันถูกดูดซึมกลับเข้าสู่ร่างกายได้น้อย จึงช่วยลดน้ำหนักได้ แต่ในความเป็นจริงแล้วไคโตซานสามารถช่วยดักจับไขมันได้ในปริมาณเพียงน้อยนิดเท่านั้น จึงอาจไม่ได้ผลมากนักหากต้องการนำมาช่วยลดน้ำหนักสำหรับผู้ที่มีอาการแพ้ กุ้ง หอย และปู ไม่ควรทานไคโตซาน เพราะอาจะมีอาการแพ้ได้ พร้อมทั้งอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนอย่าง ท้องอืด คลื่นไส้ ท้องผูก อาหารไม่ย่อย และจุกเสียดแสบร้อนลิ้นปี่ได้

6. โครเมียม ( Chromium )

โครเมียม เป็นแร่ธาตุชนิดหนึ่งที่ทำหน้าที่ควบคุมระดับน้ำตาลในร่างกาย โดยมีการอ้างสรรพคุณเกี่ยวกับโครเมียมว่า สามารถช่วยเพิ่มกล้ามเนื้อลดไขมันในร่างกาย และยังทำให้ทานอาหารได้น้อยลงจากการไปช่วยลดความอยากอาหาร แต่ในความเป็นจริงพบว่า โครเมียมอาจช่วยลดน้ำหนักและไขมันในร่างกายได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น ปริมาณโครเมียมที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันสำหรับผู้ใหญ่จะอยู่ที่ 20 – 35 ไมโครกรัม/วัน ซึ่งหากได้รับในปริมาณที่มากเกินไป อาจจะส่งผลกระทบต่อร่างกาย เช่น ปวดหัว ถ่ายเหลว คลื่นไส้อาเจียน ท้องผูก และเป็นผื่นหรือลมพิษได้

7. ฤๅษีผสม ( Coleus Forskohlii )

เป็นพืชสมุนไพรชนิดหนึ่ง ที่สามารถพบได้มากในประเทศเขตร้อน เช่นไทย และอินเดีย ใน ฤๅษีผสม จะมีสารชื่อว่า ฟอร์สโคลิน ( Forskohlin ) ที่มีการอ้างสรรพคุณว่า สามารถช่วยให้การลดน้ำหนักทำได้ดียิ่งขึ้น โดยจะไปลดความอยากอาหาร และยังเพิ่มการสลายไขมันในร่างกายได้ด้วย  แต่ในปัจจุบันก็ยังไม่มีการศึกษาวิจัยมารับรองความเชื่อนี้ในการวิจับพบเพียงว่า สารฟอร์สโคลิน นั้น มีความปลอดภัยและไม่มีอันตรายต่อร่างกายแต่อย่างใด

8. กรดคอนจูเกตเต็ดไลไนเลอิก ( Conjugated Linoleic Acid หรือ CLA )

คือ กรดไขมันจำเป็นที่ร่างกาย ไม่สามารถผลิตได้เองพบได้มากในผลิตภัณฑ์นมและเนื้อวัวเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งผลจากการวิจัยพบว่าการใช้ CLA ในระยะเวลา 1 ปี สามารถช่วยลดน้ำหนักได้เพียงแค่เล็กน้อยเท่านั้น แม้ว่า CLA จะมีความปลอดภัยต่อร่างกาย แต่ก็ต้องระวังกับอาการที่จะตามมาได้ เช่น  อาจทำให้ไม่สบายท้อง อาหารไม่ย่อย ท้องผูก ท้องเสีย และอุจจาระเหลว นอกจากนี้ยังอาจไปลดระดับเอชดีแอลคอเลสเตอรอลในเลือด และเพิ่มความดื้อต่ออินซูลิน ซึ่งเป็นการเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวานได้

9. เอฟิดร้า ( Ephedra ) หรือมาฮวง ( Ma Huang )

เป็นพืชสมุนไพรจีนที่มีสารกระตุ้นระบบประสาทช่วยเพิ่มการเผาลผลาญในร่างกาย ช่วยลดความอยากอาหาร  ทำให้สามารถลดน้ำหนักได้ดีขึ้น ซึ่งเป็นการช่วยในระยะสั้นเท่านั้น แต่ในระยะยาวต้องรอการวิจัยและพัฒนาต่อไป  แต่สารชนิดนี้มีการถูกห้ามใช้ในประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อปี ค.ศ.2004 เนื่องจากเหตุผลด้านความปลอดภัยต่อร่างกายเพราะอาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน  อารมณ์แปรปรวน ความดันโลหิตสูง หัวใจเต้นผิดปกติ เส้นเลือดสมองตีบ ชัก หัวใจวาย และอาจเสียชีวิตได้

10. ฟูโคแซนทิน ( Fucoxanthin )

คือสารที่ได้จากพืชตระกูลสาหร่าย เช่นสาหร่ายสีน้ำตาลและสาหร่ายชนิดอื่นๆซึ่งมีการอ้างสรรพคุณว่า สามารถช่วยในการลดน้ำหนัก โดยไปทำให้ระบบเผาผลาญในร่างกายทำงานได้ดีขึ้นและช่วยลดไขมันแต่ก็ยังไม่มีผลการรับรองที่แน่นอนเช่นเดียวกับในด้านความปลอดภัยที่ยังคงต้องศึกษาถึงผลกระทบต่อไป

11. ส้มแขก ( Garciniacambogia )

เป็นพืชสมุนไพรชนิดหนึ่ง ที่สามารถพบได้มากในทวีปเอเชีย และทวีปแอฟริกา ในส้มแขกจะมีกรดที่ชื่อว่า กรดไฮดร็อกซีซิตริก ( Hydroxycitric Acid ) ซึ่งมีสรรพคุณที่เชื่อกันว่า ช่วยลดการสร้างเซลล์ไขมันในร่างกาย ลดความอยากอาหาร ช่วยให้ลดน้ำหนักได้ดีขึ้น แต่ในความเป็นจริงพบว่ามีผลเพียงแค่เล็กน้อยเท่านั้นในการช่วยลดน้ำหนัก

12. กลูโคแมนแนน ( Glucomamnan )

เป็นสารสกัดจากพืชธรรมชาติที่พบมากในหัวบุก และมีคุณสมบัติพิเศษคือ สามารถพองตัวในน้ำได้มากซึ่งมีสรรพคุณที่เชื่อกันว่า คอยทำหน้าที่ดูดน้ำในลำไส้ ช่วยให้เกิดความรู้สึกว่าอิ่ม ซึ่งในข้อเท็จจริงพบว่า กลูโคแมนแนน มีผลช่วยในการลดน้ำหนักเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่อาจช่วยลดแอลดีแอลคอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ และระดับน้ำตาลในเลือดลงได้ ในด้านของความปลอดภัยพบว่า หากใช้งาน กลูโคแมนแนน ในระยะเวลาสั้นๆ จะไม่มีผลกระทบต่อร่างกาย แต่อาจมีผลข้างเคียงที่สามารถเกิดขึ้นได้ เช่น อาการท้องเสีย ท้องอืด ท้องผูก และ ไม่สบายท้องได้  แต่ถ้ามีการใช้ติดต่อกันในระยะเวลานานๆ ก็อาจจะทำให้เกิดการอุดตันในหลอดอาหาร ซึ่งเป็นอันตรายต่อร่างกายได้

13. เมล็ดกาแฟสดสกัด ( Green Coffee Bean Extract )

เป็นทางเลือกในการดื่มกาแฟอีกรูปแบบหนึ่ง โดยจะใช้เมล็ดกาแฟที่ไม่ได้คั่ว เหมือนกาแฟปกติที่ดื่มกัน แต่ก็มีสารกาเฟอีนเหมือนกาแฟคั่วชนิดทั่วไป ซึ่งมีสรรพคุณที่เชื่อว่าช่วยลดการสะสมไขมันและช่วยในการเปลี่ยนนำตาลในเลือดไปเป็นพลังงาน และช่วยในการลดน้ำหนักได้ ซึ่งข้อเท็จจริงก็คือ อาจช่วยในการลดน้ำหนักได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้นสำหรับ การดื่มกาแฟจากเมล็ดกาแฟสดสกัด ผลกระทบที่อาจจะเกิดจากการดื่มกาแฟรูปแบบนี้คือ อาจทำให้ปวดศีรษะ และหากได้รับในปริมาณที่มากเกินไป อาจจะทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินปัสสาวะติดเชื้อได้

14. ชาเขียวและชาเขียวสกัด ( Green Tea )

ชาเขียว เป็นเครื่องดื่มยอดนิยมชนิดหนึ่ง มีสรรคุณที่เชื่อว่า หากทานเข้าไปจะช่วยทำให้เพิ่มการเผาผลาญพลังงานในร่างกาย ช่วยสลายเซลล์ไขมัน ลดการดูดซึมและการสร้างเซลล์ไขมันในร่างกาย เนื่องจากมีสารสารคาเทซิน ( Catachin ) และไทอามีน ( Thiamine ) เป็นส่วนผสมอยู่ ซึ่งข้อมูลการวิจัยพบว่า ชาเขียวอาจช่วยลดน้ำหนักเพียงเล็กน้อยเท่านั้นการดื่มชาเขียวมีความปลอดภัยต่อร่างกาย แต่ชาเขียวสกัดอาจไม่ปลอดภัยมากนัก อาจจะส่งผลข้าง เคียงได้คือ มีอาการคลื่นไส้ ท้องผูก ไม่สบายท้อง และเพิ่มความดันโลหิตได้ มีรายงานว่า และยังเป็นอันตรายต่อตับได้อีกด้วย

15. กัวกัม ( Guar Gum )

กัวกัม เป็นใยอาหารที่ละลายน้ำ เป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและผลิตภัณฑ์อาหารหลายชนิดซึ่งใยอาหารในกัวกัมเป็นตัวช่วยให้เกิดความรู้สึกอิ่มเร็วขึ้น ลดความอยากอาหารและปริมาณในการทานได้ แต่จากข้อมูลการวิจัยยังไม่ยืนยันว่า กัวกัมช่วยในการลดน้ำหนักจริงหรือไม่ ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นกับการใช้ กัวกัม คือ ทำให้ปวดท้อง ท้องอืด มีลม ท้องเสีย คลื่นไส้ ถ้าทานในปริมาณที่ไม่เหมาะสม

16. ขิง (Ginger)

ขิง มีสารบางอย่างที่ช่วยเพิ่มอุณภูมิให้กับร่างกาย ขับเหงื่อได้เป็นอย่างดี จึงเหมาะกับคนที่อยากเผาผลาญเอาไขมันออกเป็นอย่างมาก ดังนั้น ควรทานน้ำขิงเป็นประจำทุกวัน หรือเลือกรับประทานอาหารที่มีขิงเป็นวัตถุดิบก็จะช่วยในเรื่องของการลดน้ำหนักได้

17. ฮูเดีย ( Hoodia )

คือ พืชชนิดหนึ่งที่ไม่มีใบ มีแต่ก้านที่ชุ่มไปด้วยน้ำ ลักษณะคล้ายต้นกระบองเพชร พบได้ในแถบทะเลทรายในแอฟริกาใต้ใช้สำหรับช่วยลดความอยากอาหาร จากข้อมูลการวิจัยพบว่าฮูเดียอาจไม่ช่วยให้กินน้อยลงหรือลดน้ำหนักได้ ในด้านความปลอดภัย ตรวจพบว่า ฮูเดียอาจทำให้หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตสูงขึ้น ปวดศีรษะ วิงเวียน คลื่นไส้และอาเจียน ได้ จึงถือว่าเป็นสิ่งที่ไม่ค่อยปลอดภัยสำหรับร่างกาย

18. ไพรูเวต ( Pyruvate ) 

คือสารธรรมชาติที่สามารถพบได้ในร่างกาย ซึ่งมีการอ้างถึงสรรพคุณว่า สามารถช่วยเพิ่มการสลายไขมัน ช่วยลดไขมันในร่างกาย ช่วยในการออกกำลังกายให้ดีขึ้น และช่วยในการลดน้ำหนักได้ แต่จากข้อมูลพบว่าไพรูเวตนั้น ช่วยลดน้ำหนักได้แค่เพียงเล็กน้อย ส่วนผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นกับร่างกายได้ก็คือ เกิดแก๊สในกระเพาะอาหาร มีอาการท้องอืด ท้องเสีย ท้องไส้ปั่นป่วนเนื่องจากมีแก๊สมาก

19. ราสป์เบอร์รี่คีโตน ( Raspberry Ketone )

เป็นสารประกอบทางธรรมชาติที่เป็นสารหอมหลักของราสเบอร์รี่สีแดง โดยจะใช้ในการผลิตน้ำหอมในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางและเป็นอาหารเสริมเพื่อปรับแต่งกลิ่นผลไม้ และเป็นผลิตภัณฑ์อาหารเสริมชนิดล่าสุดที่เข้าสู่วงการลดน้ำหนัก มีสรรพคุณที่อ้างอิงว่า  สามารถทำให้ไขมันภายในเซลล์สลายตัวได้ดี ช่วยให้ระบบเผาผลาญไขมันดีขึ้นช่วยเพิ่มระดับอะดิโพเนกติน ( Adiponectin ) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ผลิตจากเซลล์ไขมัน ช่วยควบคุมระบบเผาผลาญของร่างกาย เนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์ ที่มีต้นทุนสูงจึงทำให้ในปัจจุบันยังไม่มีผลการวิจัยในเรื่องการลดน้ำหนักที่แท้จริง รวมถึงความปลอดภัยในการใช้ต่อร่างกายด้วย

20. ถั่วขาว ( White Kidney Bean / Bean Pod )

เป็นพืชตระกูลถั่วชนิดหนึ่งที่มีต้นกำเนิดในแถบประเทศแม็กซิโก กัวเตมาลา สามารถเติบโตได้ดีในที่ที่มีอากาศหนาวเย็นปัจจุบันปลุกได้ในทั่วโลก สารสกัดจากถั่วชนิดนี้อ้างสรรพคุณ คือ ช่วยยับยั้งความอยากอาหารได้

ถั่วขาวหรือเรียกกันอีกชื่อว่า ตัวบล็อกแป้ง ( Starch Blocker ) จะไปยับยั้งการทำงานของเอนไซม์อะไมเลส ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวย่อยแป้งให้เป็นหน่วยที่เล็กลง  เมื่อเอนไซม์อะไมเลส ถูกยับยั้ง จึงทำให้ไม่สามารถไปย่อยแป้งได้ สารอาหารคาร์โบไฮเดรตก็ไม่สามารถผ่านไปถึงลำไส้ใหญ่ได้นั้นเองในทางการแพทย์จะใช้ตัวบล็อกแป้งกับผู้ที่เป็นโรคเบาหวานและอยู่ระหว่างการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด

ถั่วขาวที่ไปใช้สกัดเป็นอาหารเสริมต่างๆ ยังไม่ได้รับการรับรองผลว่าสามารถช่วยลดน้ำหนักได้จริงๆ เพียงแต่ก็มีสรรพคุณที่ช่วยในการลดน้ำหนักหรือการลดไขมันได้เพียงในปริมาณเล็กน้อย ส่วนในแง่ของความปลอดภัยก็ยังไม่สามารถยืนยันได้เหมือนกันว่าปลอดภัยต่อร่างกายหรือไม่อย่างไรบ้างแต่อาจเกิดผลข้างเคียง เช่น ทำให้ปวดศีรษะ

จะเห็นได้ว่าผลิตภัณฑ์ลดน้ำหนักทุกชนิดที่ได้ยกตัวอย่างดังข้างต้น แม้จะมีการโฆษณาถึงสรรพคุณต่างๆมากมายที่ช่วยในการลดน้ำหนัก แต่ยังไม่มีผลิตภัณฑ์ลดน้ำหนักตัวไหนเลยที่มีผลการรับรองจากทางการแพทย์ ว่าสามารถช่วยลดน้ำหนักได้จริง อีกทั้งผลิตภัณฑ์ลดน้ำหนักบางอย่างก็มีผลข้างเคียงต่อร่างกายอีกด้วย

ดังนั้นหากตั้งใจจะลดน้ำหนักจริงๆ ควรใช้วิธีทางธรรมชาติ เช่นการออกกำลังกาย การควบคุมปริมาณอาหารจะดีที่สุด และอย่าลืมเอาเงินที่ต้องเสียไปกับการซื้อผลิตภัณฑ์ลดน้ำหนักราคาแพงๆไปซื้ออุปกรณ์ที่ใช้ในการออกกำลังกายแทนก็น่าจะดีและมีเป็นประโยชน์ในระยะยาวมากกว่าอีกด้วย

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

Fröehlich, PE; Limberger, RP (Nov 2013). “Amphetamine-type medicines: a review of pharmacokinetics, pharmacodynamics, and toxicological aspects”. Current clinical pharmacology.

“Screening for and management of obesity and overweight in adults”. Evidence Syntheses, No. 89. U.S. Agency for Healthcare Research and Quality (AHRQ). Retrieved 27 June 2013.

Institute for Quality and Efficiency in Health Care. “Health benefits of losing”.

ลดความอ้วน เพิ่มกระบวนการเผาผลาญอาหาร Metabolism

0
ลดความอ้วน เพิ่มการเผาผลาญพลังงานส่วนเกิน
ระบบเผาผลาญ หรือ เมแทบอลิซึม เป็นตัวกำหนดอัตราการเผาผลาญพลังงานในร่างกาย
ลดความอ้วน เพิ่มการเผาผลาญพลังงานส่วนเกิน
ระบบเผาผลาญ หรือ เมแทบอลิซึม เป็นตัวกำหนดอัตราการเผาผลาญพลังงานในร่างกาย

กระบวนการเผาผลาญอาหาร Metabolism ลดความอ้วน

หลายคนคงมีความสงสัยว่า กระบวนการเผาผลาญอาหาร Metabolism คืออะไร? เพราะเหตุใดจึงไม่สามารถลดน้ำหนักตัวลงตามที่ใจหวังไว้ได้เสียที ทั้งๆที่ทำตามขั้นตอนการลดน้ำหนักอย่างถูกวิธีแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการควบคุมปริมาณอาหารหรือการออกกำลังกายก็ตาม จึงมักเกิดความท้อแท้และเลิกลดน้ำหนักไปเลยก็มีทั้งนี้จะมีอีกหนึ่งปัจจัยที่จะมีผลในการน้ำหนักของแต่ละคน ก็คือ กระบวนการเผาผลาญอาหาร Metabolism หรือ ระบบเผาผลาญ ในร่างกายของมนุษย์เรานั้นเอง ซึ่งระบบเผาผลาญในร่างกายของแต่ละคนอาจจะไม่เท่ากัน จึงทำให้การลดน้ำหนักในแต่ละคนก็อาจจะได้ผลมากน้อยแตกต่างกันไปด้วย ทั้งนี้หากผู้ใดที่มีระบบเผาผลาญในร่างกายต่ำ ก็สามารถที่จะหาวิธีกระตุ้นให้ทำงานได้ดียิ่งขึ้น ดังข้อมูลต่อไปนี้

กระบวนการเผาผลาญอาหาร metabolism ระบบเผาผลาญคืออะไรและมีความสำคัญอย่างไร?

กระบวนการเผาผลาญอาหาร Metabolism ระบบเผาผลาญในร่างกาย หรือ เมแทบอลิซึม ( Metabolism ) หมายถึง กระบวนการทางชีวเคมีทั้งหมดที่เกิดขึ้นในเซลล์เพื่อนำเอาพลังงานจากอาหารมาใช้ในการดำรงชีวิตของมนุษย์ ระบบเผาผลาญจะเป็นตัวกำหนดอัตราการเผาผลาญพลังงานในร่างกาย ( Metabolic Rate )  ซึ่งหากมีอัตราการเผาผลาญพลังงานในร่างกายที่ต่ำ ก็จะทำให้สามารถลดน้ำหนักได้ยาก แต่ถ้าผู้ใดที่มีอัตรากรเผาผลาญพลังงานในร่างกายที่สูง ก็จะช่วยให้สามารถลดน้ำหนักได้ดีกว่าผู้ที่มีระบบเผาผลาญต่ำนั้นเอง

โดยปกติมนุษย์ทุกคนจะมีอัตราหรือประสิทธิภาพการเผาผลาญพลังงานที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งอัตราการเผาผลาญของร่างกายมาจากพลังงาน 3 ส่วน หลักๆ คือ

1. พลังงานพื้นฐานที่ใช้ในการทำงานของอวัยวะภายในร่างกาย เช่น การหายใจทางปอด การเต้นของหัวใจ การหมุนเวียนของเลือด การทำงานของระบบทางเดินอาหาร เช่น การย่อย และการดูดซึม ล้วนแต่เป็นสิ่งที่ต้องใช้พลังงานทั้งสิ้น แม้แต่ขณะที่นอนหลับอวัยวะภายในอย่าง หัวใจ และปอดก็ยังทำงานอยู่ปกติ จึงมีการใช้พลังงานส่วนนี้ตลอดเวลา

2. พลังงานที่ใช้ในการเคลื่อนไหวหรือออกแรง เช่น การออกกำลังกาย หรือการเคลื่อนไหวร่างกายในการทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันทั้ง การเดิน การวิ่ง การขับรถ การทำงานต่างๆ เป็นต้น

3. พลังงานที่ใช้ในการย่อยอาหาร เป็นพลังงานในส่วนที่เกิดขึ้นในกระบวนการย่อยอาหารของร่างกาย

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการเผาผลาญอาหาร Metabolism

ในตลอดช่วงชีวิตอายุคน อัตราระบบเผาผลาญในร่างจะไม่ได้อยู่ในระดับเดิมไปตลอดชีวิต แต่สามารถเปลี่ยนแปลงได้

โดยปัจจัยจากสิ่งแวดล้อมต่างๆ ล้วนมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงระบบเผาผลาญในร่างกาย  ดังนี้

  • อายุ โดยปกติแล้ว เมื่อมีอายุ 40 ปีขึ้นไปแล้ว ระบบเผาผลาญในร่างกายของคนเราจะลดลงประมาณ 5 เปอร์เซ็นต์ ในระยะเวลาทุกๆ 10 ปี
  • เพศ ( เพศชายแม้ขณะอยู่เฉยๆ ก็สามารถเผาผลาญพลังงานได้มากกว่าเพศหญิง )
  • น้ำหนัก
  • ส่วนสูง
  • วิถีการดำเนินชีวิต
  • ปริมาณของมวลกล้ามเนื้อ คนที่มีกล้ามเนื้อมากจะมีระบบการเผาผลาญสูงกว่าคนที่มีไขมันมาก เพราะเซลล์กล้ามเนื้อเป็นเซลล์ขยัน ใช้พลังงานได้ดีกว่าเซลล์ไขมันซึ่งเปรียบได้กับเซลล์ขี้เกียจ
  • พันธุกรรมการถ่ายทอดจากคนในครอบครัว
  • โรคบางชนิด เช่น ไทรอยด์ต่ำ ทำให้ระบบเผาผลาญทำงานได้ช้าลงด้วย

ทำไมน้ำหนักทรงตัว หลังลดความอ้วน?

สำหรับผู้อยู่ในช่วงลดน้ำหนัก ในช่วงแรกๆจะสังเกตได้ว่าน้ำหนักตัวลดลงไปอย่างเร็ว แต่เมื่อผ่านไปสักพักน้ำหนักตัวจะลดลงได้น้อยจนทรงตัวแทบไม่ลดเลย สาเหตุที่เป็นแบบนี้เนื่องจากช่วงแรกๆ น้ำหนักตัวเรายังมากอยู่ ระบบเผาผลาญในร่างกายก็ยังคงทำงานได้สูง ดังนั้นเมื่อออกกำลังกายหรือมีการควบคุมลดแคลอรีจากอาหารลงมาเพียงเล็กน้อย ก็สามารถทำให้น้ำหนักตัวลดลงมาได้ง่ายแต่เมื่อร่างกายสูญเสียเซลล์ไขมัน เซลล์กล้ามเนื้อ และสูญเสียน้ำในระยะแรกซึ่งมีอยู่มาก ออกไปแล้ว ระบบเผาผลาญในร่างกายก็จะลดต่ำลง ร่างกายก็จะใช้พลังงานลดลงตามไปด้วย จึงส่งผลให้น้ำหนักในช่วงนี้จึงลดลงได้ยากนั้นเองเซลล์กล้ามเนื้อทุกๆครึ่งกิโลกรัมที่ลดลงในร่างกาย จะไปทำให้ระบบเผาผลาญทำงานลดลงประมาณวันละ 9 กิโลแคลอรี

ดังนั้นจึงเป็นเหตุผลว่า ทำไมคนที่ลดน้ำหนักจึงกลับมาอ้วนอีกได้ง่าย ถ้าหากไม่ควบคุมอาหารอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้พลังงานที่ร่างกายต้องการจากอาหารก็จะลดน้อยลงไปอีก จึงทำให้ ปริมาณอาหารที่รับประทานจะต้องลดน้อยลงตามไปด้วย

6 วิธีกินเพิ่มกระบวนการเผาผลาญอาหาร Metabolism

หากผู้ที่ลดน้ำหนักอย่างถูกวิธีแล้วน้ำหนักไม่ลดลงสักที หรือปริมาณที่ลดลงน้อยมาก ก็อาจเป็นไปได้ว่ากำลังมีปัญหาเรื่องระบบเผาผลาญในร่างกาย ที่ทำงานได้ไม่ดีเพียงพอ ซึ่งก็มีวิธีที่จะกระตุ้นระบบเผาผลาญให้ทำงานได้ดีขึ้น ด้วย 6 วิธีดังต่อไปนี้

1. กินบ่อย แต่แบ่งเป็นมื้อเล็กๆโดยปกติอาหารมื้อหลักในแต่ละวันก็จะประกอบด้วย มื้อเช้า มื้อกลางวัน และมื้อเย็น สิ่งหากต้องการให้ระบบเผาผลาญในร่างกายทำงานได้ดีขึ้น ให้ลองทำการเปลี่ยนมาเป็นทานอาหารมื้อเล็กๆ เป็น 4-6 มื้อในแต่ละวัน ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้ระบบเผาผลาญทำงานได้ดีในตลอดทั้งวัน ทำให้ไม่หิวจนเกินไปในระหว่างรอมื้อหลัก การทานอาหารในมื้อย่อยๆ ก็จะทานด้วยปริมาณที่พอดี สามารถลดน้ำหนักได้มากขึ้นด้วย คนที่ทิ้งช่วงห่างการทานอาหารระหว่างมื้อต่อมื้อนานเกินไป จะทำให้ระบบเผาผลาญจะปรับตัวทำงานช้าลงเพื่อชดเชยกับการไม่ได้ทานอาหาร

2. ห้ามอดมื้อเช้าการอดอาหารเช้าไม่ใช่การลดน้ำหนัก เนื่องจากมื้อเช้าเป็นมื้อที่สำคัญที่สุดต่อร่างกาย เพราะร่างกายต้องการพลังงานจากอาหารไปหล่อเลี้ยงส่วนต่างๆ เพื่อใช้ในการทำกิจกรรมต่างๆระหว่างวัน ซึ่งการไม่ทานอาหารเช้ายังส่งผลระบบเผาผลาญทำงานได้ไม่ดี และทำให้อ้วนได้ง่ายกว่าผู้ที่ทานปกติอีกด้วย เนื่องจาก การอดอาหารจะไปทำให้ร่างกายเข้าสู่ระบบสงวนพลังงานเอาไว้ โดยจะมีการลดอัตราการเผาผลาญลง ทำให้ร่างกายเก็บสะสมพลังงานในรูปของไขมันมากกว่าปกติ

3. เพิ่มอาหารประเภทโปรตีนเมื่อมีการทานอาหารเข้าไปในแต่ละมื้อ โดยปกติอาหารจะไปช่วยเพิ่มระบบเผาผลาญหลังจากที่ทานไปแล้ว 1 ชั่วโมงซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ทำงานได้ดีที่สุดซึ่งอาหารในประเภทกลุ่มของโปรตีนนั้น จะต้องใช้พลังงานในการย่อยเพิ่มขึ้น 25 เปอร์เซ็นต์จากปกติ  ดังนั้นควรเน้นทานอาหารที่มีโปรตีนสูง เพราะจะทำให้ระบบเผาผลาญทำงานได้มากขึ้นกว่าการทานอาหารประเภทอื่นๆ

4. เติมเครื่องเทศรสเผ็ด จากข้อมูลทางการวิจัยพบว่า อาหารที่มีรสเผ็ด เช่นพริกนั้น สามารถช่วยเพิ่มอัตราการเผาผลาญในร่างกายได้ดีขึ้นโดยพริกหรืออาหารรสจัด จะสามารถเพิ่มอัตราการเผาผลาญได้ 20 เปอร์เซ็นต์ เป็นเวลานานถึง 30 นาที โดยเฉพาะการทานพริกแดงควบคู่ไปกับอาหารที่มีไขมันสูง นอกจากนี้ผลดีของการทานพริกอีกอย่างหนึ่งคือช่วยให้ทานผักได้เพิ่มมากขึ้นด้วย

5. ดื่มน้ำตลอดวันน้ำเป็นสารอาหารอย่างหนึ่งที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย โดยเฉพาะ “ น้ำเปล่า ”  เป็นสิ่งที่ไม่มีแคลอรี่ สามารถทานได้มากโดยไม่ทำให้อ้วนแต่อย่างใด ซึ่งการทานน้ำปริมาณน้อยจะไปส่งผลให้ระบบเผาผลาญในร่างกายทำงานลดลงตามไปด้วย เนื่องจากจะไปทำให้ตับทำงานหนักขึ้น โดยปกติตับจะทำหน้าที่เร่งการเผาผลาญไขมันที่สะสมในร่างกายให้เกิดเป็นพลังงาน แต่ตับต้องมาทำหน้าที่ของไตจาการทานน้ำที่น้อย ทำให้ตับไม่สามารถทำหน้าที่หลักได้เต็ม จึงทำให้เกิดการเผาผลาญไขมันได้น้อยลง ส่งผลให้เกิดการสะสมไขมันในร่างกายมากขึ้นดังนั้นจึงควรดื่มน้ำให้ได้วันละ 8 – 10 แก้ว

6. เลี่ยงน้ำตาลและของหวาน การทานอาหารที่มีรสหวานมากๆหรือมีปริมาณระดับน้ำตาลที่สูงเข้าไป เช่น  โดนัท เค้ก ขนมต่างๆ  เครื่องดื่มรสหวานที่ใส่น้ำตาลเยอะๆ เป็นต้น อาหารเหล่านี้จะทำให้ร่างกายได้รับพลังงานที่สูง ซึ่งจะทำให้มีการเก็บสะสมไขมันไว้เพิ่มขึ้น จากพลังงานที่ใช้ออกไปไม่หมด ส่งผลให้ผู้ที่ทานอาหารรสหวานจัดหรือมีน้ำตาลมาก บ่อยๆจะอ้วนได้ง่ายกว่าคนปกติ

ปัจจัยเสริมเร่งการเผาผลาญ

นอกจากวิธีการทั้ง 6 ข้อ ในเรื่องของการทานอาหารที่จะช่วยส่งเสริมและกระตุ้นระบบเผาผลาญให้ทำงานได้ดีขึ้นแล้ว ยังมีปัจจัยอื่นๆที่สามารถช่วยเร่งระบบการเผาผลาญให้ทำงานได้ดีขึ้นอีกด้วย ดังนี้

1. การออกกำลังกาย

การออกกำลังกายเป็นปัจจัยอีกสิ่งหนึ่งที่สามารถช่วยกระตุ้นให้ระบบการเผาผลาญในร่างกายทำงานได้ดีขึ้น ควรออกกำลังกายทั้งแบบแอโรบิค เพื่อเพิ่มการเผาผลาญในระยะสั้น  และออกกำลังกายแบบสร้างกล้ามเนื้อเพิ่มระบบเผาผลาญในระยะยาวเนื่องจากยิ่งสร้างกล้ามเนื้อมากเท่าไหร่อัตราการเผาผลาญพลังงาน ( ขณะที่อยู่เฉยๆ ) ก็ยิ่งสูงมากขึ้นเท่านั้น เพราะเซลล์กล้ามเนื้อเผาผลาญพลังงานได้มากกว่าเซลล์ไขมันโดยปกติ กล้ามเนื้อทุกๆครึ่งกิโลกรัมจะเผาผลาญพลังงานได้ 35 กิโลแคลอรีต่อวัน ในขณะที่ไขมันหนักครึ่งกิโลกรัมจะเผาผลาญพลังงานได้เพียงแค่ 2 กิโลแคลอรีต่อวันเท่านั้น  ดังนั้นหากมีเซลล์กล้ามเนื้อมากขึ้นเท่าไหร่ร่างกายก็จะเผาผลาญได้ดีมากขึ้นเท่านั้น ทำให้สามารถลดน้ำหนักได้ดียิ่งขึ้น ผู้ที่จะลดน้ำหนักจึงควรการออกกำลังกายควบคู่ไปกับการควบคุมอาหารไปด้วยจึงจะได้ผลดีที่สุด

2. หลีกเลี่ยงความเครียด

ความเครียดเป็นอีกสาเหตุหนึ่ง ที่ทำให้อ้วนและการลดน้ำหนักไม่ได้ผล เนื่องจาก ความเครียดทำให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนที่ชื่อว่า คอร์ติซอล ออกมา ส่งผลให้ระบบเผาผลาญในร่างกายทำงานลดลง และมีข้อมูลจากวิจัยพบว่าผู้ที่นอนน้อยกว่าวันละ 7 – 8 ชั่วโมง หรือนอนดึกมาก จะสามารถอ้วนได้ง่ายกว่าคนปกติ เนื่องจากร่างกายมีสภาวะเครียดเพิ่มขึ้น ดังนั้นผู้ที่จะลดน้ำหนักต้องควบคุมสภาพจิตใจตนเองให้ดีอยู่เสมอ อย่าให้มีความเครียดเกิดขึ้น

การลดน้ำหนักที่ดีและได้ผล ต้องอาศัยองค์ประกอบหลายๆอย่างเข้าด้วยกัน ระบบเผาผลาญในร่างกายของแต่ละคนก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่มีส่วนในการลดน้ำหนัก หากรู้สึกว่าระบบเผาผลาญในร่างกายตนเองทำงานได้ไม่ดีเพียงพอ ก็ให้ลองใช้วิธีต่างๆที่กล่าวมาเข้าไปช่วยทำให้ระบบเผาผลาญในร่างกายทำงานได้ดีขึ้น แต่อย่างไรก็ตามต้องอย่าลืมควบคุมปริมาณและประเภทอาหารที่เป็นหัวใจหลักของการลดน้ำหนักด้วย เพื่อให้การลดน้ำหนักออกมาได้ผลดีที่สุดตามที่ได้คาดหวังเอาไว้

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

The Importance of Carbohydrate, Protein, and Fat”. McKinley Health Center. University of Illinois at Urbana-Champaign. Retrieved 20 September 2014.

Willett, Walter C. (2006-04-13). “Trans Fatty Acids and Cardiovascular Disease”. New England Journal of Medicine.

สรรพคุณและประโยชน์ของ มะเขือเทศ ( Tomato )

0
มะเขือเทศ
มะเขือเทศมีสารไลโคปีนที่ช่วยต้านอนุมูลอิสระ
สรรพคุณและประโยชน์ของมะเขือเทศ (Tomato)
มะเขือเทศมีสารไลโคปีนที่ช่วยต้านอนุมูลอิสระ

มะเขือเทศ

มะเขือเทศ ( Tomato ) คือ พืชล้มลุกชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ Lycopersicon Esculentum Mill. จัดอยู่ในวงศ์มะเขือ ( SOLANACEAE ) ซึ่งสมัยก่อนประวัติศาสตร์ไม่ได้รับความสนใจมากนัก จนต่อมาได้มีการพัฒนาสายพันธุ์ตามธรรมชาติ มนุษย์จึงได้เริ่มนำมาเพาะปลูกเป็นอาหาร โดยชนพื้นเมืองที่นำมะเขือเทศมาปลูกอย่างแพร่หลายเป็นครั้งแรก ก็คือชาวพื้นเมืองเอซเท็ค ( Aztecs ) ในประเทศเม็กซิโกนั่นเอง ซึ่งมะเขือเทศจัดเป็นแหล่งวิตามินซีที่ดีก็ว่าได้ โดยผลขนาดกลางให้แคลอรี่เพียง 22 แคลอรี่ มีหลายสายพันธุ์ เช่น มะเขือเทศสีดา มะเขือเทศเชอรี่ มะเขือเทศราชินี มีสารต้านอนุมูลอิสระที่เรียกว่า ไลโคปีน และวิตามินซีอย่างที่ทราบกันดีมะเขือเทศลูกเดียวให้วิตามินซีได้สูงถึง 40 เปอร์เซ็นต์และวิตามินเอที่ช่วยในการมองเห็น ระบบภูมิคุ้มกันที่ดี และบำรุงผิวพรรณให้กระจ่างใส วิตามินเคดีต่อกระดูก โพแทสเซียมเป็นสารอาหารสำคัญสำหรับการทำงานของหัวใจ การหดตัวของกล้ามเนื้อ และการรักษาความดันโลหิต นิยมนำมาใส่ลงไปในอาหาร ทำเป็นเครื่องดื่ม หรือรับประทานสดก็ได้

มะเขือเทศ เป็นผักหรือผลไม้

หลายๆคนอาจเกิดความสงสัยว่าจริงๆแล้วมะเขือเทศนั้นเป็นผักหรือผลไม้กันแน่ ซึ่งความเป็นจริงแล้ว มะเขือเทศคือผลไม้ เพราะตามหลักพฤกษาศาสตร์ผลมะเขือเทศเป็นส่วนของรังไข่ที่เจริญเติมโตเต็มที่

คุณค่าทางโภชนาการของมะเขือเทศแดงสด 1 ส่วนต่อ 100 กรัม

สารอาหารในมะเขือเทศ (Nutrient)

หน่วย

1 ส่วนต่อ 100 กรัม

น้ำ ( Water ) กรัม 94.34
พลังงาน ( Energy ) กิโลแคลอรี 18
โปรตีน ( Protein ) กรัม 0.95
ไขมันรวม Total lipid ( Fat ) กรัม 0.11
คาร์โบไฮเดรต ( Carbohydrate ) กรัม 4.01
ไฟเบอร์ ( Fiber ) กรัม 0.7
น้ำตาล ( Sugars ) กรัม 2.49
แคลเซียม ( Calcium ) มิลลิกรัม 11
ธาตุเหล็ก ( Iron ) มิลลิกรัม 0.68
แมกนีเซียม ( Magnesium ) มิลลิกรัม 9
ฟอสฟอรัส ( Phosphorus ) มิลลิกรัม 28
โปแตสเซียม ( Potassium ) มิลลิกรัม 218
โซเดียม ( Sodium ) มิลลิกรัม 11
สังกะสี ( Zinc ) มิลลิกรัม 0.14
วิตามินซี ( Vitamin C ) มิลลิกรัม 22.8
ไทอามิน ( Thiamin ) มิลลิกรัม 0.036
ไรโบฟลาวิน (Riboflavin) มิลลิกรัม 0.022
ไนอาซิน ( Niacin ) มิลลิกรัม 0.532
วิตามินบี 6 ( Vitamin B-6 ) มิลลิกรัม 0.079
โฟเลท ( Folate ) มิลลิกรัม 13
มะเขือเทศมี วิตามินเอ ( Vitamin A ) IU 489
วิตามินอี ( Vitamin E ) มิลลิกรัม 0.56
วิตามินเค ( Vitamin K ) มิลลิกรัม 2.8
กรดไขมันชนิดอิ่มตัว ( Fatty Acids, Total Saturated ) กรัม 0.015
กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว ( Fatty Acids, Total Monounsaturated ) กรัม 0.016
กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน ( Fatty Acids, Total Polyunsaturated ) กรัม 0.044

% ร้อยละของปริมาณแนะนำที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันสำหรับผู้ใหญ่ (ข้อมูลจาก : USDA Nutrient database)

มะเขือเทศ ประโยชน์สรรพคุณ

มะเขือเทศทั่วโลกมีมากกว่า 20,000 สายพันธุ์ ดังที่เห็นบ่อยๆจะมีทั้งแบบลูกเล็ก ลูกใหญ่ แต่ส่วนใหญ่ก็จะล้วนเป็นสีแดงทั้งสิ้น แต่ก็ใช่ว่าจะมีมะเขือเทศเพียงสีเดียวเท่านั้น เพราะในปัจจุบันก็มีมะเขือเทศสีดำ มะเขือเทศสีขาว มะเขือเทศสีม่วง เช่นกัน ซึ่งก็มีประโยชน์และเป็นที่นิยมไม่แพ้มะเขือเทศสีแดงเลย ประเภทของมะเขือเทศในปัจจุบันมีหลายชนิด เช่น มะเขือเทศท้อ มะเขือเทศสีดา มะเขือเทศราชินี มะเขือเทศสีเหลือง ประโยชน์ของมะเขือเทศโดยทั่วไปคือ

  • มะเขือเทศอุดมไปด้วยวิตามินและสารอาหารมากมายหลายชนิด และที่โดดเด่นที่สุด ก็คือวิตามินซีและวิตามินเอที่พบได้มากในมะเขือเทศ แถมยังเป็นวิตามินที่มีประโยชน์ต่อร่างกายอีกด้วย
  • มะเขือเทศมีสารจำพวกไลโคปีน ที่จะช่วยต้านอนุมูลอิสระและลดความเสี่ยงโรคร้ายต่างๆ ที่เกิดจากการติดเชื้อการเสื่อมของร่างกายได้ดี เช่น โรคมะเร็ง โรคหัวใจ ข้อเสื่อม โรคหลอดเลือด และโรคตาต้อกระจก เป็นต้น
  • มะเขือเทศมีส่วนช่วยในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง แก้แผลร้อนในช่องปาก เป็นยาช่วยดับร้อนถอนพิษ และสามารถบรรเทาอาการของโรคหัวใจได้อย่างดีเยี่ยม
  • ผลของมะเขือเทศเป็นยาระบายอ่อนๆ แก้กระหายน้ำและเบื่ออาหาร
  • ต้นมะเขือเทศมีสารสำคัญ คือโทมาทีน ( tomatine ) ซึ่งมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเชื้อราและแบคทีเรียบางชนิดที่เป็นต้นเหตุของโรคในพืชและคน
  • รากและใบแก่ต้มกินแก้ปวดฟัน ใบบดเป็นผงละเอียด เป็นยาเย็น ใช้ทาผิวถูกแดดเผา
  • ใบชงกับน้ำร้อนใช้เป็นยาพ่นกำจัดหนอนที่มากินผักได้

เพียงแค่ทานมะเขือเทศวันละประมาณ 1-2 ผลเท่านั้น และยิ่งทานมะเขือเทศไปพร้อมกับการรักษาด้วยแล้ว ก็จะยิ่ง เพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาให้มากขึ้นไปอีก ทั้งนี้มะเขือเทศป้องกันโรคสมองเสื่อมหรืออัลไซเมอร์ ทั้งยังช่วยรักษาโรคลักปิดลักเปิด เลือดออกตามไรฟัน ป้องกันการแข็งตัวของหลอดเลือด ช่วยบำรุงผิวพรรณให้ชุ่มชื่นสดใส ไม่แห้งกร้านช่วยลดและชะลอการเกิดริ้วรอยแห่งวัย มะเขือเทศยังช่วยลดความเสี่ยงจากการเกิดภาวะเส้นเลือดตีบ การเกิดโรคหัวใจวาย โรคหัวใจขาดเลือด ช่วยในระบบย่อยในกระเพาะอาหารและช่วยในการขับถ่ายอุจจาระได้สะดวกได้อีกด้วย

วิธีทานมะเขือเทศให้ได้ประโยชน์มากที่สุด

คือต้องทำให้มะเขือเทศสุกเสียก่อน ปรุงเป็นอาหารเพราะจะทำให้ไลโคปีนกับเนื้อเยื่อของมะเขือเทศหลุดออกจากกันได้ง่าย ร่างกายจึงสามารถนำไปใช้ได้ดีกว่ากินแบบไม่ผ่านความร้อน อีกทั้งไลโคปีนนั้นสามารถละลายได้ดีในน้ำมัน ดังนั้นหากเราใช้น้ำมันในการปรุงมะเขือเทศ จะยิ่งทำให้ร่างกายดูดซึมไลโคปีนดียิ่งขึ้น

ตัวอย่างงานวิจัยกี่ยวกับมะเขือเทศและการรักษาโรค ( การรักษาทางเลือกจากธรรมชาติ )

โรคหอบหืด สารต้านอนุมูลอิสระอาจจะช่วยกระตุ้นให้เม็ดเลือดขาวทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยเฉพาะการป้องกันและขจัดการอักเสบในระบบทางเดินหายใจ แต่การศึกษาความสัมพันธ์กับการเกิดโรคหอบหืดยังมีอยู่จำกัด มีงานวิจัยผู้ป่วยโรคหอบหืดและการอักเสบของทางเดินลมหายใจ โดยให้ลองรับประทานอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระต่ำเป็นเวลา 10 วัน จากนั้นให้รับประทานยาหลอก 7 วัน ตามด้วยสารสกัดจากมะเขือเทศที่มีปริมาณไลโคปีน 45 มิลลิกรัมต่อวันอีก 7 วัน และต่อด้วยน้ำมะเขือเทศที่มีปริมาณไลโคปีน 45 มิลลิกรัมต่อวันอีก 7 วัน ผลพบว่า การบริโภคไลโคปีนอาจช่วยลดการอักเสบของปอดในโรคหืด ทั้งนี้ ไลโคปีนในรูปแบบอาหารเสริมควรได้รับการศึกษาเพิ่มเติม และระยะเวลาในการศึกษาค่อนข้างสั้น การระบุประสิทธิภาพของมะเขือเทศต่อการบรรเทาอาการโรคหอบหืดยังคงต้องมีการค้นคว้าเพิ่มขึ้น

โรคหัวใจและหลอดเลือด การศึกษาปริมาณไลโคปีน แอลฟาแคโรทีน เบตาแคโรทีน แอลฟาโทโคฟีรอล ( α-Tocopherol ) เรตินอยด์ ( Retinoid ) กับความเสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดสมองในผู้ชายชาวฟินแลนด์ อายุ 46-65 ปี จำนวน 1,031 คน โดยติดตามผลในช่วงประมาณ 12 ปี ผลพบว่าไลโคปีนในปริมาณสูงจากการรับประทานผลิตภัณฑ์จากมะเขือเทศอาจช่วยลดความความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองและสมองขาดเลือดลง ซึ่งระดับไลโคปีนที่ตรวจพบจากการเจาะเลือด อาจเป็นผลมาจากการรับประทานมะเขือเทศนั่นเอง และนอกจากนี้ ยังมีงานวิจัยที่วิเคราะห์อาหารที่ทำจากมะเขือเทศ หรือมีสารไลโคปีนเยอะมีผลต่อความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้หญิงวัยกลางคนและสูงอายุด้วยเช่นกัน โดยมี จำนวน 39,876 คน ในช่วงระยะเวลา 7 ปี กลับพบว่าสารไลโคปีนในอาหารไม่มีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด แต่การรับประทานไลโคปีนหรือสารพฤกษเคมี (Phytochemicals) อื่น ๆ ที่มีน้ำมันเป็นองค์ประกอบอาจส่งผลดีในการป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด

โรคความดันโลหิตสูง ( Hypertension )การศึกษาเกี่ยวกับสารต้านอนุมูลอิสระจากสารสกัดจากมะเขือเทศในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงระดับที่ 1 โดยให้อาสาสมัครรับประทานสารสกัดจากมะเขือเทศสด 250 กรัม เปรียบเทียบกับยาหลอก ผลพบว่าการรักษาด้วยสารสกัดจากมะเขือเทศระยะสั้น ซึ่งอุดมด้วยสารต้านอนุมูลอิสระสามารถลดความดันโลหิตในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงได้

โรคมะเร็ง ( Cancer )สารไลโคปีนเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพและพบมากในมะเขือเทศ โดยเฉพาะมะเขือเทศที่ผ่านการแปรรูปหรือผ่านความร้อน เช่น ผลิตภัณฑ์มะเขือเทศเข้มข้น น้ำมะเขือเทศ ซอสมะเขือเทศ เป็นต้น สารไลโคปีนอาจไปกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันอาจช่วยขัดขวางและหยุดการเติบโตของเซลล์มะเร็งบางประเภทเพื่อป้องกันเซลล์ได้รับความเสียหายจนกลายเป็นเซลล์มะเร็ง ด้วยเหตุนี้การวิจัยหลายชิ้นจึงให้ความสนใจบทบาทของไลโคปีนต่อการป้องกันโรคมะเร็งหลายชนิด เช่น

  • โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร สารต้านอนุมูลอิสระและวิตามินในมะเขือเทศที่เชื่อกันว่ามีฤทธิ์ต้านมะเร็ง จึงมีการศึกษาระดับแคโรทีนอยด์และวิตามินต่อการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร จากการวิจัยเชิงสังเกตและติดตามผลชายชาวจีนวัยกลางคนและวัยชราจำนวน 18,244 คน ในระยะเวลา 12 ปี โดยเปรียบเทียบกลุ่มคนที่มีระดับความเข้มข้นของแคโรทีนอยด์และวิตามินหลายตัวในเลือดสูงกับกลุ่มทดลอง ปรากฏว่าแคโรทีนอยด์อย่างแคโรทีน ไลโคปีน และวิตามินซี อาจเป็นสารต้านมะเร็งที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งการรับประทานแคโรทีนอยด์ในปริมาณสูงก็อาจช่วยลดความเสี่ยงของโรคกระเพาะอาหารให้น้อยลง แต่ก็คล้ายคลึงกับการวิจัยโรคมะเร็งชนิดอื่นในด้านที่เป็นการศึกษาเฉพาะสารแคโรทีนอยด์และวิตามินทั่วไป ซึ่งร่างกายอาจได้รับจากการรับประทานอาหารประเภทอื่น ไม่ใช่เฉพาะแค่เพียงมะเขือเทศ จึงต้องมีการค้นคว้าเพิ่มเติมเกี่ยวกับการรับประทานมะเขือเทศโดยตรง 
  • โรคมะเร็งตับอ่อน แม้ว่าผักและผลไม้มีส่วนเกี่ยวข้องกับสาเหตุของโรคมะเร็งตับอ่อน แต่บทบาทของสารพฤกษเคมีในกลุ่มอาหารเหล่านี้ยังได้รับความสนใจอยู่น้อย จากการศึกษาความสัมพันธ์ของแคโรทีนอยด์ในอาหารกับความเสี่ยงโรคมะเร็งตับอ่อนในผู้ป่วยโรคมะเร็งตับอ่อน จำนวน 462 คน เปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม ซึ่งเป็นประชากรชาวแคนาดา จำนวน 4,721 คนจาก 8 รัฐ ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าการบริโภคอาหารที่มีมะเขือเทศเป็นส่วนประกอบมากหรือรับประทานผลิตภัณฑ์จากมะเขือเทศที่มีปริมาณไลโคปีนสูงอาจช่วยให้ความเสี่ยงของโรคมะเร็งตับอ่อนลดลง แต่อย่างไรก็ตามยังคงต้องรอการค้นคว้าต่อในอนาคตเพื่อการยืนยันผลที่แน่ชัด
  • โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก มะเขือเทศอุดมด้วยสารต้านอนุมูลอิสระประสิทธิภาพสูงที่เรียกว่าไลโคปีน ซึ่งอาจช่วยป้องกันมะเร็งต่อมลูกหมากและลดการเติบโตของเนื้องอกในผู้ชายที่เป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของอาหารกับความเสี่ยงโรคมะเร็งต่อมลูกหมากที่จัดทำโดยสมาคมการวิจัยเพื่อการป้องกันโรคมะเร็ง (American Institute for Cancer Research: AICR) ประเทศสหรัฐอเมริกา และกองทุนวิจัยโรคมะเร็งโลก (World Cancer Research Fund: WCRF) ได้ศึกษากับผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมากจำนวน 1,806 คน และกลุ่มคนปกติ 12,005 คน ผลการวิเคราะห์พบว่าการรับประทานมะเขือเทศ ผลิตภัณฑ์จากมะเขือเทศ หรือผักชนิดอื่นก็อาจช่วยป้องกันมะเร็งต่อมลูกหมากได้ ตรงกันข้ามกับการวิจัยอีกชิ้นที่ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแคโรทีนอยด์ในเลือดกับความเสี่ยงของมะเร็งต่อมลูกหมากในการตรวจคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมาก จำนวน 692 ราย ในช่วง 1-8 ปี ผลการศึกษาพบว่ามีเฉพาะเบตาแคโรทีนในปริมาณสูงที่มีผลต่อความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากแต่ไคโลปีนและแคโรทีนอยด์ตัวอื่นไม่พบความเกี่ยวข้องกันกับโรค

จากข้อมูลเกี่ยวกับการแพทย์ทางธรรมชาติ (Natural Medicines Comprehensive Database) ได้แบ่งระดับความน่าเชื่อถือของการใช้การรักษาทางเลือกจากธรรมชาติเป็น 7 ระดับ

มะเขือเทศ เป็นสุดยอดสารอาหารผิวที่ถูกนำมาใช้ประโยชน์ด้านความงาม ยังมีคุณสมบัติต้านโรค มะเร็ง อุดมไปด้วยสารอาหารและสารต้านอนุมูลอิสระ

ทำความรู้จักกับสารในกลุ่มแคโรทีนอยด์

สารในกลุ่มแคโรทีนอยด์ส่วนใหญ่ จะเป็นสารประกอบอินทรีย์ท่สามารถพบได้มากในพืชและแบคทีเรียที่สามารถสังเคราะห์แสงได้ ซึ่งสารในกลุ่มนี้จะทำให้เกิดสีส้ม แดงและสีเหลือง จึงดูได้ไม่ยากว่าผักผลไม้ชนิดใดที่มีแคโรทีนอยด์สูงนั่นเอง ส่วนคุณสมบัติของสารในกลุ่มแคโรทีนอยด์ ก็มีประโยชน์ในการช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระและฟื้นฟูเซลล์ต่างๆ ในร่างกาย รวมถึงช่วยลดความเสียหายที่เกิดขึ้นกับเซลล์ ซึ่งในปัจจุบันพบว่าสารในกลุ่มนี้มีสูงมากถึง 600 ชนิด แต่ที่ได้รับความนิยมและมีการยอมรับมากที่สุด ก็มีเพียง 6 ชนิดได้แก่

1. อัลฟาแคโรทีน ( Alpha Carotene ) เป็นสาระสำคัญที่ร่างกายจะนำไปใช้ในการสังเคราะห์วิตามินเอ โดยจะพบมากในผักโขม มะเขือเทศ และแครอท

2. เบต้าแคโรทีน ( Beta Carotene ) เป็นสารที่จะช่วยสังเคราะห์วิตามินเอเช่นกัน แต่หากมีมากเกินความจำเป็น ก็จะทำหน้าที่ในการต้านอนุมูลอิสระและเสริมสร้างภูมิต้านทานให้กับร่างกาย ซึ่งก็จะพบได้มากใน มะม่วง มันเทศ แครอท แคนตาลูปและลูกพีช

3. คริปโตแซนทีน ( Cryptoxanthin ) เป็นสารตั้งต้นของวิตามินเอ และมีส่วนช่วยในการลดความเสี่ยงโรคมะเร็งปอดโดยตรง ซึ่งมักจะพบได้มากในพริกหยวก ฟักทอง ส้มเขียวหวานและลูกพลัม

4. ไลโคปีน ( Lycopene ) มีฤทธิ์ในการยับยั้งการเกิดมะเร็งได้หลากหลายชนิด เช่น มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม เป็นต้น และสามารถลดระดับไขมัน น้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับปกติได้อีกด้วย 

5. ลูทีน ( Lutein ) มีส่วนช่วยในการปกป้องและบำรุงสายตา พร้อมกับลดการเสื่อมสภาพของจอประสาทตา โดยเฉพาะในคนที่ต้องทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ จ้องแสงหน้าจอตลอดเวลา โดยสามารถพบลูทีนได้มากในดอกดาวเรือง และผักเคลหรือผักคะน้า

6. ซีแซนทิน ( Zeaxanthin ) มีส่วนช่วยในการบำรุงสายตาและป้องกันภาวะต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับดวงตาเช่นกัน โดยจะพบได้มากในผักขม บร็อคโคลี และมะเขือเทศที่ปรุงผ่านความร้อนแล้ว

ไลโคปีนที่อยู่ในมะเขือเทศ

จากการวิจัยพบว่าในมะเขือเทศจะอุดมไปด้วยสารไลโคปีน ( Lycopene ) จำนวนมากเป็นสารต้านอนุมูลอิสระชนิดหนึ่งที่มีประสิทธิภาพในการต่อต้านอนุมูลอิสระสูงมาก และยังช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ได้ดีอีกด้วย ซึ่งจะช่วยเสริมสุขภาพให้แข็งแรงยิ่งขึ้นแม้จะอายุมากแล้วก็ตาม นอกจากนี้ ไลโคปีนก็สามารถป้องกันโรคไม่ติดต่อได้หลายชนิดเช่นกัน อย่างเช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคมะเร็ง ไขมันอุดตันในเส้นเลือดและโรคเส้นเลือดตีบในสมอง เป็นต้น ต้องมีการปรุงมะเขือเทศด้วยความร้อน เพราะจะทำให้เกิดชีวประสิทธิผลที่ดีขึ้นและเพิ่มปริมาณของไลโคปีนให้สูงขึ้นไปอีก นั่นก็ เพราะเมื่อไลโคปีนสัมผัสกับความร้อน จะเกิดการเปลี่ยนแปลงพันธะเคมีแบบทรานส์ ทำให้ไลโคปีนกลายเป็นพันธุแบบซิสที่เป็นเส้นโค้งงอ โดยจะสามารถละลายในไขมันได้ดีกว่า จึงทำให้ร่างกายสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้มากกว่าด้วยนั่นเอง จากกรณีของมะเขือเทศจะเห็นได้ว่า ผักผลไม้ทุกชนิดไม่ได้มีประโยชน์มากที่สุดเมื่อทานสดๆ เท่านั้น โดยเฉพาะมะเขือเทศที่จะยิ่งมีคุณค่าสูงขึ้นเมื่อได้ผ่านการปรุงด้วยความร้อนนั่นเอง เพราะฉะนั้นมาทานมะเขือเทศที่ปรุงด้วยความร้อนกันบ่อยๆ ดีกว่าไลโคปีนและสารกลุ่มแคโรทีนอยด์ในมะเขือเทศ

ไลโคปีนและสารกลุ่มแคโรทีนอยด์ในมะเขือเทศ

ไลโคปีน ( Lycopene ) เป็นสารต้านอนุมูลอิสระชนิดหนึ่งที่มีประสิทธิภาพในการต่อต้านอนุมูลอิสระสูงมาก และยังช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ได้ดีอีกด้วย ซึ่งจะช่วยเสริมสุขภาพให้แข็งแรงยิ่งขึ้นแม้จะอายุมากแล้วก็ตาม นอกจากนี้ ไลโคปีนก็สามารถป้องกันโรคไม่ติดต่อได้หลายชนิดเช่นกัน อย่างเช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคมะเร็ง ไขมันอุดตันในเส้นเลือดและโรคเส้นเลือดตีบในสมอง เป็นต้น ไลโคปีน เป็นสารที่พบได้มากในผักผลไม้สีแดง เหลืองและสีส้ม โดยถูกจัดอยู่ในกลุ่มแคโรทีนอยด์ ( Carotenoid ) ซึ่งส่วนใหญ่จะนิยมเรียกสารในกลุ่มนี้ว่าสารเบต้าแคโรทีนนั่นเอง แต่ทั้งนี้ไลโคปีนจะมีโครงสร้างโมเลกุลที่แตกต่างจากสารในกลุ่มนี้อีกด้วย

มะเขือเทศเมนูอาหาร เพื่อสุขภาพที่ง่าย และอร่อย

  • มะเขือเทศผัดไข่
  • ซุปมะเขือเทศ
  • มะเขือเทศอบแห้ง
  • สปาเก็ตตี้ซอสมะเขือเทศ
  • พาสต้าซอสมะเขือเทศหมูสับ
  • ยำวุ้นเส้นใส่มะเขือเทศ
  • ส้มตำใส่มะเขือเทศ
  • สลัดมะเขือเทศ   
  • มะเขือเทศอบชีส
  • มะเขือเทศดอง
  • มะเขือเทศอบแห้ง
  • มะเขือเทศเชื่อม
  • มะเขือเทศแช่อิ่ม
  • มะเขือเทศกวน

เมนูเครื่องดื่มจากมะเขือเทศ เพื่อสุขภาพทที่ง่ายและอร่อย

  • น้ำมะเขือเทศคั้นสด
  • ม็อกเทลน้ำมะเขือเทศ
  • น้ำมะเขือเทศผสมน้ำส้มและน้ำมะนาว
  • น้ำมะเขือเทศสดผสมแครอทและสับปะรด
  • สมูทตี้มะเขือเทศ

ไลโคปีนในมะเขือเทศ เป็นสารที่พบได้มากในผักผลไม้สีแดง เหลืองและสีส้ม โดยถูกจัดอยู่ในกลุ่มแคโรทีนอยด์ ( Carotenoid ) ซึ่งส่วนใหญ่จะนิยมเรียกสารในกลุ่มนี้ว่าสารเบต้าแคโรทีนนั่นเอง แต่ทั้งนี้ไลโคปีนจะมีโครงสร้างโมเลกุลที่แตกต่างจากสารในกลุ่มนี้อีกด้วย

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

รัชนี คงคาฉุยฉาย และ ริญ เจริญศิริ. โภชนาการกับผัก. กรุงเทพฯ : สารคดี, 2554. 1.ผลไม้–แง่โภชนาการ–ไทย. I.ชื่อเรื่อง. 641. ISBN 978-974-484-346-3.

USDA Nutrient database

“Tomato History. The history of tomatoes as food”. Home cooking. Retrieved 2013-08-07.

Solanum lycopersicum- Tomato”. Encyclopedia of Life. Retrieved 1 January 2014.

Aculops lycopersici (Tomato russet mite)”. Wallingford, UK: Invasive Species Compendium, Centre for Agriculture and Biosciences International. 23 June 2015. Retrieved 11 November 2016.

ขอบคุณคลิปดี ๆ มีสาระจาก หมอปุ้ม พญ. สิรนาถ.

มะม่วง ( Mango ) อุดมไปด้วยคุณค่าทางสารอาหาร

0
มะม่วงให้พลังงานสูง เป็นแหล่งของโพแทสเซียม เส้นใยอาหาร และวิตามิน
มะม่วง (Mango) อุดมไปด้วยคุณค่าทางสารอาหาร
มะม่วงให้พลังงานสูง เป็นแหล่งของโพแทสเซียม เส้นใยอาหาร และวิตามิน ทานได้ทั้งแบบดิบ และสุก

มะม่วง ( Mango )

มะม่วง ( Mango ) คือ ผลไม้ที่มีรสชาติหวานอร่อยและเป็นที่ชื่นชอบของผู้คนส่วนใหญ่อีกด้วย เพราะไม่ว่าจะกินแบบสุกหรือแบบดิบ ก็ได้รสชาติที่อร่อยโดนใจ และนอกจากมะม่วงที่มีรสชาติหวานแล้วก็มีมะม่วงที่มีรสชาติเปรี้ยวอีกด้วย โดยจะนิยมนำมากินจุ้มกับน้ำปลาพริก รสดี หรือพริกเกลือ แต่หากต้องการให้เก็บไว้กินได้นานๆ ก็จะนำมาทำมะม่วงแช่อิ่มนั่นเอง

ต้นกำเนิดของมะม่วง

ในปัจจุบันพบว่า มะม่วง เป็นผลไม้ที่นิยมปลูกกันแทบทุกบ้านและถือเป็นผลไม้เศรษฐกิจที่สำคัญของไทย ซึ่งคนไทยส่วนใหญ่เข้าใจว่า มะม่วงเป็นไม้ถิ่นดั้งเดิมของไทยเอง แต่ความจริงแล้วมะม่วงมีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศพม่าและ อินเดีย โดยอาจเรียกได้ว่าเป็นผลไม้ประจำชาติของอินเดียเลยก็ว่าได้ นอกจากนี้ยังขึ้นชื่อว่าเป็นผลไม้ที่โบราณที่สุดของประเทศอินเดียอีกด้วย ซึ่งความสำคัญของมะม่วงไม่เพียงแต่เป็นผลไม้ที่นำมากินเพื่อสุขภาพเท่านั้น แต่ยังนิยมนำดอกมะม่วงมาใช้เพื่อบวงสรวงพระสุรัสวดีตามความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ฮินดูอีกด้วย

มะม่วง นำเข้ามาในประเทศไทยเมื่อไหร่?

จากหลักฐานศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหง ทำให้ทราบว่ามะม่วงน่าจะเข้ามาในประเทศไทยเมื่อประมาณหลายร้อยปีที่แล้ว ซึ่งมะม่วงมีลักษณะเป็นต้นไม้ยืนต้นในสกุล Mangifera และมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Mangifera indica ซึ่งแต่เดิมเป็นผลไม้ที่มีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศอินเดีย และได้ถูกนำเข้ามาในไทยจนเริ่มเป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายจนถึงปัจจุบัน ซึ่งตามศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหง ก็ได้มีการพรรณนาถึงมะม่วงในสมัยสุโขทัยไว้หลายตอน แสดงให้เห็นว่าในสมัยสุโขทัย มีการปลูกมะม่วงกันอย่างแพร่หลายเลยทีเดียว และสำหรับในปัจจุบันนี้ มะม่วงก็ได้กลายเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของไทย โดยมีการส่งออกเป็นอันดับ 3 ของโลก โดยเฉพาะการส่งไปยังตลาดญี่ปุ่น เกาหลี และจีน เป็นต้น

สายพันธุ์ของมะม่วง

มะม่วง มีหลากหลายสายพันธุ์เช่นเดียวกันผลไม้ชนิดอื่นๆ ซึ่งพบว่ามะม่วงมีมากกว่า 50 สายพันธุ์ แต่ที่ได้รับความนิยมที่สุด ก็คือ มะม่วงเขียวเสวยและมะม่วงน้ำดอกไม้ ส่วนมะม่วงสายพัธุ์ที่นิยมปลูกในไทยมากที่สุด ได้แก่

1. มะม่วงเขียวเสวย เป็นมะม่วงสายพันธุ์พื้นเมืองของนครปฐม โดยจะมีลักษณะผลยาว ปลายแหลมและด้านหลังโค้งนูนเล็กน้อย ส่วนเปลือกจะมีสีเขียวเข้มและหนาพอสมควรโดยรสชาติของมะม่วงชนิดนี้จะมีรสมัน ไม่หวาน ไม่เปรี้ยว และมีเนื้อกรอบ

2. มะม่วงน้ำดอกไม้ เป็นมะม่วงที่นิยมนำมากินสุกมากกว่ากินดิบ โดยจะมีรูปร่างผลมะม่วงเรียวยาว เมื่อดิบจะมีเนื้อสีขาว แต่เมื่อสุกจะมีสีหลืองนวลและมีรสชาติหวานอร่อยมากทีเดียว

3. มะม่วงอกร่อง เป็นสายพันธุ์ที่มีความเก่าแก่มาก โดยส่วนใหญ่จะนิยมทานกับข้าวเหนียวมูนมากที่สุด โดยมะม่วงสายพันธุ์นี้จะมีรูปร่างผลค่อนข้างเล็ก มีร่องเป็นแนวยาวด้านท้อง เมื่อผลสุกจะมีเนื้อละเอียดและรสชาติอร่อยพอควร

4. มะม่วงฟ้าลั่น เป็นมะม่วงที่มีรสชาติมันเช่นเดียวกับมะม่วงเขียวเสวย มีผลกลม ท้ายแหลม แต่ปอกเปลือกยากพอสมควร เพราะเมื่อปอกเปลือกเนื้อมะม่วงจะปริแตกนั่นเอง

5. มะม่วงมหาชนก เป็นมะม่วงที่ผสมระหว่างมะม่วงพันธุ์หนังกลางวันกับพันธุ์ซันเซ็ตของอินเดีย ซึ่งผลจะมีลักษณะยาวรี มีสีเหลืองเข้มและมีริ้วสีแดง ส่งกลิ่นหอมน่าทาน

6. มะม่วงหนังกลางวัน มีลักษณะผลยาวคล้ายกับงาช้าง เปลือกจะมีสีเขียวแก่จัดและมีรสชาติมันอมเปรี้ยว แต่เมื่อสุกจะมีรสหวานมาก

7. มะม่วงแก้ว เป็นมะม่วงที่มีลักษณะผลอ้วนป้อม เปลือกเหนียว นิยมนำมากินดิบมากที่สุด โดยมะม่วงชนิดนี้เมื่อเกือบสุก เปลือกจะเป็นสีอมส้มหรืออมแดง

8. มะม่วงโชคอนันต์ เป็นมะม่วงที่มีการกลายพันธุ์มาจากมะม่วงป่า ซึ่งจะมีลักษณะผลยาว ปลายมนเล็กน้อย และนิยมนำมาทำมะม่วงดองที่สุด ส่วนรสชาติ เมื่อดิบจะมีรสเปรี้ยวหรือมัน และเมื่อสุกจะมีรสหวาน สามารถนำไปทำเมนูของหวานเช่น ข้าวเหนียวมะม่วงหรือน้ำมะม่วงปั่นได้ประโยชน์และคุณค่าทางสารอาหารของมะม่วง

ประโยชน์ของมะม่วง

มะม่วง อุดมไปด้วยคุณค่าทางสารอาหารมากกว่าที่หลายคนคิด ซึ่งก็มีประโยชน์ดังนี้

  • อุดมไปด้วยวิตามินหลากหลายชนิด เช่น วิตามินซี ช่วยในการป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน และแก้อาการหวัด, วิตามินเอ ช่วยบำรุงรักษาดวงตาและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการมองเห็นมากขึ้น
  • มีแร่ธาตุที่สำคัญต่อร่างกายเป็นจำนวนมาก เช่น ธาตุเหล็ก ฟอสฟอรัส แคลเซียมและโพแทสเซียม ทั้งยังอุดมไปด้วยเบต้าแคโรทีน ที่จะช่วยฟื้นฟูผิวให้ชุ่มชื้น เนียนนุ่มและช่วยชะลอวัยได้อย่างดีเยี่ยมอีกด้วย
  • มีสารต้านอนุมูลอิสระ ที่จะช่วยเสริมภูมิต้านทานให้กับร่างกายและลดความเสี่ยงโรคมะเร็งชนิดต่างๆ ได้เป็นอย่างดี เช่น มะเร็งปอด มะเร็งเต้านมและมะเร็งต่อมลูกหมาก เป็นต้น 
  • อุดมไปด้วยไฟเบอร์ ที่จะช่วยให้ระบบย่อยอาหารดีขึ้นและลดความเสี่ยงมะเร็งลำไส้หรือโรคริดสีดวงทวาร
  • มีส่วนช่วยในการเยียวยา รักษาโรคเบาหวาน โดยทำให้อาการดีขึ้น แต่อย่างไรก็ตามควรให้ผู้ป่วยกินในปริมาณที่พอเหมาะเท่านั้น เพราะหากกินมากเกินไปก็จะเกิดผลเสียได้เช่นกันการเลือกมะม่วง ให้ได้รสชาติหวานอร่อย

วิธีเลือกมะม่วงให้ได้รสชาติหวานอร่อย

การเลือกมะม่วงสามารถทำได้ไม่ยาก โดยมีหลักในการเลือกดังนี้

1. เลือกมะม่วงที่มีสีสันสดใสผิวเปลือกเรียบสวย ไม่ขรุขระและไม่หยาบ ที่สำคัญจะต้องไม่เหี่ยวด้วย

2. บนผิวเปลือกของมะม่วง ควรมีรอยตกกระพอประมาณ ซึ่งจะเป็นมะม่วงที่สุกกำลังดี

3. ลองดมกลิ่นดู ซึ่งกลิ่นของมะม่วงควรจะมีกลิ่นหอมออกมา โดยยิ่งหอมมากก็จะยิ่งมีรสชาติเข้มข้นและหวานมากขึ้น

4. ลองกดเนื้อมะม่วงดูเบาๆ มะม่วงที่สุกหวานอร่อย จะต้องมีความยืดหยุ่นเล็กน้อย ไม่แข็งและเมื่อกดลงไปจะต้องไม่ยุบด้วย

5. ดูที่จุดดำบนผิวมะม่วง โดยมะม่วงที่สุกกำลังพอดีมักจะมีจุดดำเล็กน้อย แต่หากมีจุดดำมากไป แสดงว่ามะม่วงใกล้จะเสียแล้ว

6. สังเกตมะม่วงที่มีขนาดเดียวกัน ลูกที่หนักกว่ามักจะมีรสชาติที่อร่อยและเนื้อแน่นกว่า

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

ศัลยา คงสมบูรณ์เวช. บำบัดเบาหวานด้วยอาหาร. พิมพ์ครั้งที่ 4 (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ : อัมรินทร์เฮลท์ อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2559. (12), 311 หน้า. (ชุดชีวิตและสุขภาพ ลำดับที่ 113) 1.เบาหวาน 2.โภชนบำบัด 3.การปรุงอาหารสำหรับผู้ป่วย 4.การดูแลสุขภาพตนเอง. 616.462 ศ7บ6 2559. ISBN 978-616-18-7741-9.

“Mango”. Fruits of Warm Climates. NewCROP, New Crop Resource Online Program, Center for New Crops & Plant Products, Purdue University. pp. 221–239. ISBN 0-9610184-1-0.

National Cancer Institute. Archived from the original on June 25, 2014. Retrieved June 10, 2014.