มะเหลี่ยมหิน ผลรสเปรี้ยว รากและผลเป็นยาชั้นดี นิยมในชนเผ่าแถบเชียงใหม่

0
มะเหลี่ยมหิน ผลรสเปรี้ยว รากและผลเป็นยาชั้นดี นิยมในชนเผ่าแถบเชียงใหม่
มะเหลี่ยมหิน เป็นไม้ยืนต้น ผลมีรสเปรี้ยว เป็นผลสดกลมแบนสีขาวอมเขียว ผิวมียางเหนียวและมีขนละเอียด
มะเหลี่ยมหิน ผลรสเปรี้ยว รากและผลเป็นยาชั้นดี นิยมในชนเผ่าแถบเชียงใหม่
มะเหลี่ยมหิน เป็นไม้ยืนต้น ผลมีรสเปรี้ยว เป็นผลสดกลมแบนสีขาวอมเขียว ผิวมียางเหนียวและมีขนละเอียด

มะเหลี่ยมหิน

มะเหลี่ยมหิน (Rhus chinensis Mill) เป็นต้นที่ผลมีรสเปรี้ยวและชาวเผ่าในเชียงใหม่นิยมนำมารับประทานและใช้เป็นยาสมุนไพร เป็นต้นที่นิยมในชาวกะเหรี่ยงเชียงใหม่ ชาวเขาเผ่าอีก้อ ตำรับยาพื้นบ้านล้านนา ชาวลัวะ ชาวมูเซอและคนเมืองก็นิยมนำมะเหลี่ยมหินมาทาน เป็นไม้ยืนต้นที่ภายนอกไม่ค่อยมีลักษณะโดดเด่นแต่เป็นที่นิยมอย่างมากสำหรับชาวพื้นเมืองหรือชาวเผ่าทั่วไป

 

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของมะเหลี่ยมหิน

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Rhus chinensis Mill.
ชื่อท้องถิ่น : จังหวัดเชียงใหม่เรียกว่า “มะเหลี่ยมหิน ซุง” จังหวัดชัยภูมิเรียกว่า “สำค้ำ” จังหวัดเชียงใหม่และเชียงรายเรียกว่า “มะผด ส้มผด” ชาวเย้าเชียงใหม่เรียกว่า “ตะซาย” ชาวกะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอนเรียกว่า “เส่ฉี่” ชาวกะเหรี่ยงเชียงใหม่เรียกว่า “เส่ชิ” ชาวลัวะเรียกว่า “ลำยึ ไม้สมโพด แผละยึ เพี๊ยะยึ มักพด”
ชื่อวงศ์ : วงศ์มะม่วง (ANACARDIACEAE)
ชื่อพ้อง : Rhus javanica var. chinensis (Mill.) T.Yamaz.

ลักษณะของมะเหลี่ยมหิน

มะเหลี่ยมหิน เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางที่มักจะพบในป่าดงดิบหรือที่ชื้นทั่วไป
เปลือก : เปลือกนอกเป็นสีน้ำตาลอมขาวหม่นและมีรูอากาศขนาดใหญ่สีน้ำตาลอมขาวหม่น เมื่อแก่จะมีรูอากาศขนาดใหญ่สีน้ำตาลอมแดงเรียงกันเป็นแถว เปลือกด้านในเป็นสีขาวหม่น มียางสีขาวหม่นหรือขาวอมเหลือง กิ่งเปราะ ตามกิ่งอ่อนมีขนละเอียด
ใบ : เป็นใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ออกเรียงสลับระหว่างช่อเวียนรอบกิ่งหรือต้น แกนในร่วมแบนข้างเล็กน้อย แผ่เป็นสันคล้ายปีก ใบย่อยไม่มีก้านใบ ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปไข่กว้าง รูปไข่แกมขอบขนานไปจนถึงรูปใบหอก รูปใบหอกหรือรูปวงรีแกมใบหอก ปลายใบเรียวแหลมหรือเป็นติ่งแหลม โคนใบโค้งมนหรือสอบแคบ สองข้างใบไม่สมมาตรกัน ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อยขนาดเล็ก ใบอ่อนมีขนละเอียดสีน้ำตาลขึ้นปกคลุมค่อนข้างหนาแน่น เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีเขียวเข้ม แผ่นใบสดมีขนละเอียดสีน้ำตาลเฉพาะบนเส้นใบด้านบน ส่วนล่างมีแบบเดียวกันปกคลุมค่อนข้างหนาแน่น ใบแก่จะเปลี่ยนเป็นสีแดงเข้มก่อนจะร่วง ใบมักจะมีแมลงขนาดเล็กคล้ายแมลงหวี่มาทำลาย ทำให้เกิดปมเป็นตุ่มขนาดใหญ่สีแดงงอกออกมาเป็นกลุ่มคล้ายผล ซึ่งจะเห็นกระจายอยู่ทั่วทั้งต้นได้ชัดเจน
ดอก : ออกดอกเป็นช่อกระจะแยกแขนงขนาดใหญ่บริเวณปลายกิ่ง ช่อดอกมีดอกย่อยจำนวนมาก ดอกย่อยเป็นดอกแบบสมบูรณ์เพศหรืออาจแยกเพศแยกช่ออยู่บนต้นเดียวกันหรือต่างต้นกัน ดอกย่อยมีขนาดเล็ก กลีบเลี้ยงสั้นและโคนเชื่อมติดกัน ส่วนปลายแยกออกเป็นแฉกรูปสามเหลี่ยม 5 แฉก กลีบดอกมี 5 กลีบ ลักษณะเป็นรูปวงรีกว้างหรือรูปขอบขนาน กลีบดอกเป็นสีขาวแกมเหลืองหรือสีเหลืองอ่อนอมเขียวอ่อน มีเกสรเพศผู้ 5 อัน เรียงล้อมรอบหมอนรองดอกที่มี 5 พู รังไข่ค่อนข้างกลมนูนอยู่เหนือฐานวงกลีบรวม มีขนละเอียดขึ้นปกคลุมอย่างหนาแน่น ภายในมี 1 ช่อง ก้านเกสร 3 อัน มักจะออกดอกในช่วงเดือนสิงหาคมถึงเดือนกันยายน
ผล : เป็นผลสด มีลักษณะเป็นรูปกลมแบน ผลมีกลีบเลี้ยงรองรับ เมื่ออ่อนจะเป็นสีขาวอมเขียว เมื่อแก่จะเปลี่ยนจากสีชมพูไปจนถึงสีแดงจัดแกมน้ำตาลเป็นสีขาว ผิวมียางเหนียวและมีขนละเอียดขึ้นปกคลุมอย่างหนาแน่น ติดผลในช่วงประมาณเดือนธันวาคมถึงเดือนมกราคม
เมล็ด : เมล็ดมีชั้นหุ้มแข็ง

สรรพคุณของมะเหลี่ยมหิน

  • สรรพคุณจากราก
    – เป็นยาแก้ไข้ แก้ปวดแสบลิ้นปี่ แก้อาการปวดท้อง แก้อาการอาหารไม่ย่อยและอาหารเป็นพิษ ด้วยการนำรากมาต้มกับน้ำแล้วดื่ม
    – แก้ไอ โดยชาวเขาเผ่าอีก้อนำรากมาต้มกับน้ำแล้วดื่ม
    – แก้ไอและมีน้ำมูกข้น โดยตำรับยาพื้นบ้านล้านนานำรากมาผสมกับรากสาบเสือ รากปืนนกไส้ ก้นจ้ำทั้งต้นและผักปลายทั้งต้นมาต้มกับน้ำแล้วดื่ม
  • สรรพคุณจากผล
    – เป็นยาแก้อาการหวัด โดยชาวกะเหรี่ยงเชียงใหม่นำผลมาแช่ในน้ำแล้วใส่เกลือเพื่อดื่ม
    แก้ไอ โดยชาวลัวะนำผลไปต้มผสมกับขิงเพื่อรับประทาน
    – รักษาโรคริดสีดวง ด้วยการนำผลมาเคี้ยวกินแล้วดื่มน้ำตาม
  • สรรพคุณจากยอดอ่อน
    – แก้ท้องเสีย โดยชาวมูเซอนำยอดอ่อนมาผสมกับไข่หมกเพื่อรับประทาน
  • สรรพคุณจากใบ
    – รักษาแผลสดและแผลถลอก ช่วยสมานแผลและช่วยห้ามเลือด รักษาแผลงูกัด ด้วยการนำใบสดมาตำแล้วคั้นเอาน้ำใช้เป็นยาทาหรือพอก
    – แก้อาการผื่นคันและตุ่มพอง รักษาโรคผิวหนังตามร่างกาย ดีต่อสตรีหลังคลอดบุตรใหม่ ด้วยการนำใบมาต้มกับน้ำแล้วอาบ
  • สรรพคุณจากลำต้น
    – ช่วยล้างแผล ฝี หนองและแผลติดเชื้อ ด้วยการนำลำต้นมาต้มกับน้ำแล้วล้างแผล
  • สรรพคุณจากทั้งต้น แก้อาการคันจากพิษยางรัก
  • สรรพคุณจากต้นและเมล็ด
    – แก้อาการเจ็บคอและหวัด ด้วยการนำต้นและเมล็ดมาต้มกับน้ำแล้วกินแก้อาการ
    – แก้บาดแผล ด้วยการนำต้นและเมล็ดมาตำแล้วพอก

ประโยชน์ของมะเหลี่ยมหิน

1. เป็นส่วนประกอบของอาหาร ผลมีรสเปรี้ยวใช้รับประทานและปรุงรสอาหาร ชาวกะเหรี่ยงเชียงใหม่นำผลมาตำใส่เกลือและพริกรับประทาน ชาวลัวะนำผลมาคลุกกับเกลือหรือกะปิหรือรับประทานร่วมกับลำชิเพียร ชาวอีก้อนำใบอ่อนผสมกับหน่อไม้ทานเป็นผัก คนเมืองนำเปลือกต้นมาขูดใส่ลาบเพื่อช่วยให้มีรสชาติดีขึ้น
2. ใช้ในด้านความสะอาดและความงาม ลำต้น รากและใบนำมาต้มแล้วนำน้ำมาทำความสะอาดร่างกายได้ ผลนำมาถูบริเวณส้นเท้าที่แตกได้
3. เก็บรักษาข้าว นำใบ 9 ใบ มาวางบนก้อนหินในยุ้งฉางก่อนจะใส่ข้าวเพื่อเก็บรักษา
4. ใช้ในการก่อสร้าง ลำต้นใช้ทำรั้ว กิ่งก้านใช้ทำฟืน

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของมะเหลี่ยมหิน

จากการวิจัยพบว่า ใบมีกรดแทนนิกซึ่งมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและป้องกันสารบางชนิดที่ทำลายดีเอ็นเอของเม็ดเลือดขาวในหลอดทดลอง สารสกัดน้ำและแอลกอฮอล์มีฤทธิ์ต้านเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดเริมในหลอดทดลองได้

มะเหลี่ยมหิน เป็นต้นที่ภายนอกไม่โดดเด่นหรือสวยงามแต่มีสรรพคุณทางยาได้หลากหลายและยังมีผลรสเปรี้ยวที่นำมาประยุกต์ในการปรุงอาหารได้ด้วย ถือเป็นที่นิยมในชนเผ่าแถบจังหวัดเชียงใหม่ มะเหลี่ยมหินมีสรรพคุณทางยาได้หลายส่วนจากต้นโดยเฉพาะส่วนของรากและผล มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ รักษาบาดแผล แก้ไข้และแก้ไอ แก้อาการปวดท้อง รักษาโรคผิวหนังตามร่างกาย ถือเป็นต้นที่แก้อาการพื้นฐานได้เป็นอย่างดี

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา. (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “มะเหลี่ยมหิน”. หน้า 185.
โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง, สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน). “ส้มผด”. อ้างอิงใน : หนังสือชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : eherb.hrdi.or.th. [31 ต.ค. 2014].
โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง, สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน). “มะเหลี่ยมหิน, ส้มผด”. อ้างอิงใน : หนังสือชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์)., องค์ความรู้เรื่องพืชป่าที่ใช้ประโยชน์ทางภาคเหนือของไทย เล่ม 3 (สุธรรม อารีกุล, จำรัส อินทร, สุวรรณ ทาเขียว, อ่องเต็ง นันทแก้ว). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : eherb.hrdi.or.th. [31 ต.ค. 2014].
ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. “ส้มผด”. อ้างอิงใน : หนังสือพืชสมุนไพร เล่ม 2. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.qsbg.org. [31 ต.ค. 2014].
ข้อมูลอ้างอิง (Source) : https://medthai.com/

เพี้ยกระทิง ใบป้องกันยุง ต้นแก้ริดสีดวง รากรักษามดลูกอักเสบ

0
เพี้ยกระทิง ใบป้องกันยุง ต้นแก้ริดสีดวง รากรักษามดลูกอักเสบ
เพี้ยกระทิง เป็นยาสมุนไพรและนำมาใช้กันยุง ดอกมีสีขาวขนาดเล็ก เปลือกลำต้นสีเทา มีกลิ่นหอม รสขม
เพี้ยกระทิง ใบป้องกันยุง ต้นแก้ริดสีดวง รากรักษามดลูกอักเสบ
เพี้ยกระทิง เป็นยาสมุนไพรและนำมาใช้กันยุง ดอกมีสีขาวขนาดเล็ก เปลือกลำต้นสีเทา มีกลิ่นหอม รสขม

เพี้ยกระทิง

เพี้ยกระทิง (Melicope pteleifolia) เป็นต้นยอดนิยมของชาวเผ่าทั่วไปในการใช้เป็นยาสมุนไพรและนำมาใช้กันยุงได้ อีกทั้งยังเป็นใบที่ชนเผ่านิยมทานเป็นผักจิ้มกับน้ำพริก เพี้ยกระทิงมีดอกย่อยสีขาวเล็ก ๆ จำนวนมากอยู่บนต้น คนไทยไม่ค่อยได้ยินหรือรู้จักเพี้ยกระทิงกันมากนัก ในด้านยาสมุนไพรนั้นสามารถนำทั้งต้นมาใช้เป็นยาได้ เป็นต้นหนึ่งที่นิยมสำหรับชาวบ้านและชาวเผ่าทั่วไป

 

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของเพี้ยกระทิง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Melicope pteleifolia (Champ. ex Benth.) T.G. Hartley
ชื่อท้องถิ่น : ภาคเหนือเรียกว่า “เพี้ยกระทิง ผักส้มเสี้ยนผี” ไทใหญ่เรียกว่า “ขมสามดอย แสงกลางวัน” คนเมืองเรียกว่า “มะโหกโตน” ชาวกะเหรี่ยงเชียงใหม่เรียกว่า “ตะคะโดะ” ชาวกะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอนเรียกว่า “สะเลียมดง”
ชื่อวงศ์ : วงศ์ส้ม (RUTACEAE)
ชื่อพ้อง : Euodia gracilis Kurz, Euodia lepta (Spreng.) Merr.

ลักษณะของเพี้ยกระทิง

เพี้ยกระทิง เป็นไม้พุ่มชนิดหนึ่ง
ลำต้น : ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง
ใบ : เป็นใบประกอบแบบนิ้วมือออกเรียงตรงข้ามกัน มีใบย่อย 3 ใบ ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปวงรี เนื้อใบมีต่อมน้ำมันเป็นจุด ๆ กระจายอยู่ทั่วไป
ดอก : ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบ ดอกย่อยมีจำนวนมาก กลีบดอกเป็นสีขาวขนาดเล็ก มีทั้งดอกสมบูรณ์เพศและดอกแยกเพศ
ผล : ผลแห้งและแตกได้ ลักษณะของผลเป็นรูปเกือบกลม เป็นพู 2 พู
เมล็ด : ภายในผลมีเมล็ดเดียว เมล็ดมีรูปทรงกลมสีดำ

สรรพคุณของเพี้ยกระทิง

  • สรรพคุณจากราก รักษาโรคริดสีดวง
    – แก้ไข้หนาว ตำรับยาพื้นบ้านล้านนานำรากเพี้ยกระทิงมาผสมกับรากพลับพลาแล้วนำมาต้มกับน้ำให้ข้น ดื่มก่อนอาหารวันละ 3 – 4 ครั้ง
  • สรรพคุณจากทั้งต้น
    – รักษาอาการมดลูกอักเสบ ด้วยการนำทั้งต้นมาผสมกับสมุนไพรอีก 2 ชนิด แล้วนำมาต้มกับน้ำล้างช่องคลอด
    – แก้อาการปวดเอว อาการเคล็ดหรือปวดตามตัว ด้วยการนำกากที่กลั่นเหล้าแล้วหรือต้นสดมาปูนอน
  • สรรพคุณจากหัว
    – ช่วยให้มดลูกของผู้หญิงเข้าอู่ ด้วยการนำหัวมาต้มเพื่อรับประทาน
  • สรรพคุณจากใบ แก้ตุ่มคัน

ประโยชน์ของเพี้ยกระทิง

1. เป็นส่วนประกอบของอาหาร ชาวไทใหญ่นำใบและยอดอ่อนรับประทานร่วมกับลาบหรือจะใช้ใบและดอกมาลวกทานกับน้ำพริก ชาวกะเหรี่ยงเชียงใหม่นำยอดอ่อนและดอกมารับประทานสดหรือนำไปผึ่งแดดให้แห้งแล้วใช้เป็นผักจิ้มกับน้ำพริกและใส่ข้าวเบือน ชาวกะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอนนำใบเพี้ยกระทิงมาย่างกับไฟอ่อน ๆ แล้วขยี้เป็นแผ่นเล็ก ๆ หรือจะใส่ทั้งใบลงในแกงเพื่อเพิ่มรสขม
2. ป้องกันยุง ใบนำมาขยี้ทาตัวเพื่อป้องกันยุงกัดเวลาเข้าป่าได้

เพี้ยกระทิง เป็นยาสมุนไพรและผักที่สำคัญของชนเผ่าทั้งหลายอย่างไทใหญ่ ชาวกะเหรี่ยงเชียงใหม่และชาวกะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน ถือเป็นผักที่หาได้ในป่าและยังช่วยกันยุงป่าได้ มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ แก้ไข้หนาว รักษาโรคริดสีดวง รักษาอาการมดลูกอักเสบ เป็นต้นที่สำคัญในการรักษาเกี่ยวกับมดลูกในผู้หญิงของชนเผ่าทั้งหลาย

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา. (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “เพี้ยกระทิง”. หน้า 108.
โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง, สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน). “เพี้ยกระทิง, สะเลียมดง”. อ้างอิงใน : หนังสือชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์)., หนังสือพืชสมุนไพรในสวนป่าสมุนไพรเขาหินซ้อน ฉบับสมบูรณ์ (พงษ์ศักดิ์ พลเสนา). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : eherb.hrdi.or.th. [08 พ.ย. 2014].

ผักกาดส้ม ต้นรสเปรี้ยว นิยมทานเป็นผักดองเค็ม เป็นยาระบายและแก้ปวดฟันได้

0
ผักกาดส้ม ต้นรสเปรี้ยว นิยมทานเป็นผักดองเค็ม เป็นยาระบายและแก้ปวดฟันได้
ผักกาดส้ม เป็นพืชในวงศ์ไผ่ ต้นมีรสเปรี้ยว ลำต้นและใบมาดองเค็มเพื่อรับประทาน รากแก้วคล้ายหัวผักกาด
ผักกาดส้ม ต้นรสเปรี้ยว นิยมทานเป็นผักดองเค็ม เป็นยาระบายและแก้ปวดฟันได้
ผักกาดส้ม เป็นพืชในวงศ์ไผ่ ต้นมีรสเปรี้ยว ลำต้นและใบมาดองเค็มเพื่อรับประทาน รากแก้วคล้ายหัวผักกาด

ผักกาดส้ม

ผักกาดส้ม (Curly Dock) เป็นพืชในวงศ์ไผ่ที่นิยมของชาวท้องถิ่น ผักกาดส้มเป็นชื่อเรียกของคนแม่ฮ่องสอนและเป็นผักที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นในแถบภาคเหนือและชาวกะเหรี่ยงเป็นส่วนใหญ่ ทั้งต้นมีรสเปรี้ยวดังนั้นชาวเขาเผ่าจีนฮ่อ ม้ง เย้า ปะหล่องและเผ่าอื่น ๆ จึงนิยมนำลำต้นและใบมาดองเค็มเพื่อรับประทาน เป็นต้นที่มีประโยชน์ต่อการนำมาปรุงอาหารและเป็นยาสมุนไพรของชาวม้งและชาวล้านนา แต่ผักกาดส้มก็เป็นผักชนิดหนึ่งที่มีพิษต่อร่างกายได้เช่นกัน

 

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของผักกาดส้ม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Rumex crispus L.
ชื่อสามัญ : มีชื่อสามัญว่า “Curly Dock” “Yellow dock”
ชื่อท้องถิ่น : จังหวัดแม่ฮ่องสอนเรียกว่า “ผักกาดส้ม” ชาวกะเหรี่ยงเชียงใหม่เรียกว่า “เก่อบะซิ” ชาวม้งเชียงใหม่เรียกว่า “ชั่วโล่งจั๊วะ” ชาวกะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอนเรียกว่า “พะปลอ”
ชื่อวงศ์ : วงศ์ผักไผ่ (POLYGONACEAE)

ลักษณะของผักกาดส้ม

ผักกาดส้ม เป็นพรรณไม้ล้มลุกมีอายุได้หลายปี
ลำต้น : ลำต้นเป็นสีเขียวอมแดงและค่อนข้างกลม ผิวลำต้นเกลี้ยง มีรากแก้วคล้ายหัวผักกาด สามารถแตกกิ่งก้านสาขาได้
ใบ : เป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับเวียนรอบต้นหรือกิ่งแผ่เป็นวงรัศมี ลักษณะของใบเป็นรูปใบหอกแคบถึงรูปใบหอกแกมรูปไข่ ปลายใบมนเล็กน้อยหรือแหลม โคนใบสอบแคบ โค้งมนรูปตัดหรือเว้าตื้น ขอบใบเป็นลอนคลื่นหรือย่น ผิวใบเกลี้ยง เส้นใบค่อนข้างเลือนรางจนมองเห็นไม่ชัดเจน หูใบแผ่แบนลักษณะคล้ายปลอกหุ้มลำต้น
ดอก : ออกดอกเป็นช่อกระจะตั้งขึ้นที่ปลายยอดหรือปลายกิ่ง บางครั้งแยกแขนงออกเป็น 2 – 3 แขนง ดอกย่อยมีจำนวนมาก เป็นดอกแบบสมบูรณ์เพศอยู่เป็นกระจุกรอบแกนดอกชิดติดกันแน่นตามแกนช่อดอก ลักษณะคล้ายกระบองหรือทรงกระบอก กลุ่มดอกที่ออกจากซอกใบล่างลงมามักเป็นกระจุกเล็ก ๆ มีรูปทรงกลม ดอกย่อยเป็นสีเขียวมีขนาดเล็ก วงกลีบรวม 6 กลีบ เรียงเป็น 2 วง วงละ 3 กลีบ กลีบวงในขยายใหญ่และหุ้มผลเมื่อตกผล ดอกมีเกสรเพศผู้ 6 อัน เรียงตัวเป็น 2 วง วงละ 3 อัน อับเรณูติดที่ฐาน รังไข่นูนเหนือฐานวงกลีบรวม ภายในมี 3 ช่อง มีก้านเกสรสั้น 3 อัน ปลายก้านมีลักษณะคล้ายแปรงหรือชายครุย
ผล : เป็นผลแห้งไม่แตก
เมล็ด : เป็นเมล็ดเดี่ยว ลักษณะของเมล็ดเป็นรูปไข่ ด้านข้างเป็นสันนูนคล้ายปีก 3 สัน มีกาบของกลีบหุ้มเป็นสันคล้ายปีก 3 สัน

สรรพคุณของผักกาดส้ม

  • สรรพคุณจากใบ
    – แก้ปวดฟัน โดยชาวม้งนำยอดอ่อนมาอมหรือต้มกับไข่กินเป็นยา
  • สรรพคุณจากราก
    – เป็นยาระบาย โดยตำรายาพื้นบ้านล้านนานำรากมาต้มกับน้ำแล้วดื่ม
    – แก้หนองใน ด้วยการนำรากมาต้มกับน้ำแล้วดื่ม
    – รักษาฝี ด้วยการนำรากมาทุบห่อผ้าเพื่อทำเป็นลูกประคบฝี เมื่อฝีแตกให้นำรากมาฝนกับน้ำทาบริเวณที่เป็น

ประโยชน์ของผักกาดส้ม

1. เป็นส่วนประกอบของอาหาร ใบนำมาใช้แทนมะนาวใส่ในแกงเพื่อปรุงให้มีรสเปรี้ยวได้ ชาวเขาเผ่าจีนฮ่อ ม้ง เย้า ปะหล่องและเผ่าอื่น ๆ นำลำต้นและใบมาทำเป็นผักดองเค็มเพื่อทานเป็นกับแกล้มหรือกินกับข้าว
2. ใช้ในอุตสาหกรรมย้อมผ้าและหนัง

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของผักกาดส้ม

  • ทั้งต้นของผักกาดส้ม พบกรดออกซาลิกซึ่งเป็นพิษต่อตับและไตของคน จึงทำให้เสียชีวิตได้
  • รากของผักกาดส้ม พบสารกลุ่มแอนทราควิโนนซึ่งมีฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็งในหนู
  • แก่นของผักกาดส้ม พบสารที่ออกฤทธิ์กระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ในสัตว์ทดลอง

ผักกาดส้ม เป็นต้นที่มีลักษณะคล้ายผักกาดแต่ไม่ได้มีสีส้มตามชื่อ ทั้งต้นมีรสเปรี้ยวจึงนิยมนำมาทานเป็นผักดองเค็มและนำมาใช้แทนมะนาวได้ ภายในต้นพบสารที่เป็นพิษต่อตับและไตจึงควรระวังในการนำมารับประทาน ผักกาดส้มมีสรรพคุณทางยาได้หลายส่วนจากต้นโดยเฉพาะราก มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ แก้ปวดฟัน เป็นยาระบาย แก้หนองในและรักษาฝีได้

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา. (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “ผักกาดส้ม”. หน้า 188.
โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง, สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน). “ผักกาดส้ม”. อ้างอิงใน : หนังสือชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์)., หนังสือองค์ความรู้เรื่องพืชป่าที่ใช้ประโยชน์ทางภาคเหนือของไทย เล่ม 3. (สุธรรม อารีกุล, จำรัส อินทร, สุวรรณ ทาเขียว, อ่องเต็ง นันทแก้ว). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : eherb.hrdi.or.th. [22 พ.ย. 2014].

ต้นสร้อยทับทิม ยาแก้ไข้มาลาเรียของชาวเขาเผ่าแม้ว แก้เกลื้อนหรือเรื้อนของชาวล้านนา

0
ต้นสร้อยทับทิม ยาแก้ไข้มาลาเรียของชาวเขาเผ่าแม้ว แก้เกลื้อนหรือเรื้อนของชาวล้านนา
ต้นสร้อยทับทิม เป็นต้นที่อยู่ในวงศ์ไผ่ ยอดอ่อนและใบอ่อนนิยมนำมารับประทานสด กลีบดอกเป็นสีขาวหรือสีม่วงแกมชมพู
ต้นสร้อยทับทิม ยาแก้ไข้มาลาเรียของชาวเขาเผ่าแม้ว แก้เกลื้อนหรือเรื้อนของชาวล้านนา
ต้นสร้อยทับทิม เป็นต้นที่อยู่ในวงศ์ไผ่ ยอดอ่อนและใบอ่อนนิยมนำมารับประทานสด กลีบดอกเป็นสีขาวหรือสีม่วงแกมชมพู

ต้นสร้อยทับทิม

ต้นสร้อยทับทิม (Persicaria barbata) เป็นต้นที่อยู่ในวงศ์ไผ่และมักจะพบตามริมน้ำหรือริมคลองทั่วไป นิยมนำยอดอ่อนและใบอ่อนมารับประทานในรูปแบบของผักสด นอกจากนั้นยังนิยมสำหรับปลูกเป็นพรรณไม้ประดับสวนน้ำทั่วไปอีกด้วย ในด้านของสรรพคุณทางยาสมุนไพรนั้นสร้อยทับทิมถือเป็นต้นที่อยู่ในตำรายาพื้นบ้านล้านนาและเป็นยาสำหรับชาวเขาเผ่าแม้ว

 

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของต้นสร้อยทับทิม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Persicaria barbata (L.) H.Hara
ชื่อท้องถิ่น : ภาคกลางเรียกว่า “สร้อยทับทิม” จังหวัดน่านเรียกว่า “ผักไผ่น้ำ” มีชื่ออื่น ๆ ว่า “ผักแพรวกระต่าย”
ชื่อวงศ์ : วงศ์ผักไผ่ (POLYGONACEAE)
ชื่อพ้อง : Polygonum barbatum L.

ลักษณะของสร้อยทับทิม

สร้อยทับทิม เป็นพืชล้มลุกที่มักจะพบบริเวณริมน้ำ ริมคลองหรือในที่น้ำท่วมขังตื้น ๆ มักจะขึ้นทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกและภาคกลาง
ลำต้น : ลำต้นตั้งตรงและมีขน สามารถเห็นข้อปล้องชัดเจน
ใบ : เป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับกัน ก้านใบสั้น ลักษณะของใบเป็นรูปขอบขนานหรือรูปใบหอก ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบมีขนที่ริมใบและเส้นกลางใบ ผิวใบทั้งสองด้านมีขนขึ้นปกคลุม มีหูใบหรือกาบใบแผ่เป็นแผ่นบางหุ้มรอบลำต้นและมีขน ทำให้บริเวณข้อโป่งพองออก
ดอก : ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบและปลายกิ่ง ดอกย่อยมีจำนวนมาก กลีบดอกเป็นสีขาวหรือสีม่วงแกมชมพู
ผล : เป็นผลแห้งไม่แตกและเป็นมัน

สรรพคุณของสร้อยทับทิม

  • สรรพคุณจากใบ
    – แก้ไข้มาลาเรีย ชาวเขาเผ่าแม้วนำใบมาตำแล้วคั้นเอาน้ำเพื่อดื่มเป็นยา
    – รักษาเกลื้อน เรื้อนและอาการคัน ตำรายาพื้นบ้านล้านนานำใบสดมาผสมกับยาเส้นแล้วคั้นเอาน้ำมาทาแก้อาการ

ประโยชน์ของสร้อยทับทิม

1. เป็นส่วนประกอบของอาหาร ยอดอ่อนและใบอ่อนนำมาทานเป็นผักสดได้
2. ปลูกเป็นไม้ประดับ ปลูกเป็นพรรณไม้ประดับสวนน้ำทั่วไป

สร้อยทับทิม ถือเป็นพืชยอดนิยมของชนชาวเขาทั่วไปเนื่องจากมีสรรพคุณที่รักษาไข้มาลาเรียซึ่งเป็นไข้ป่าที่ชาวเขาส่วนมากมักจะเป็นกันบ่อย จึงเหมาะสำหรับพื้นที่ที่ไม่มียารักษาโรคเข้าถึง และยังนำยอดอ่อนและใบอ่อนของต้นมารับประทานเป็นผักสดได้ แต่คนเมืองมักจะนำสร้อยทับทิมมาปลูกเป็นไม้ประดับในสวนน้ำทั่วไปมากกว่า สร้อยทับทิมเป็นต้นที่มีสรรพคุณทางยาจากส่วนของใบซึ่งมีสรรพคุณแก้ไข้มาลาเรีย รักษาเกลื้อนหรือเรื้อนและอาการคันได้

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา. (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “สร้อยทับทิม”. หน้า 174.
ผักพื้นบ้านในประเทศไทย กรมส่งเสริมการเกษตร. “ผักแพรวกระต่าย”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://smc.ssk.ac.th/intranet/Research_AntioxidativeThaiVegetable/. [17 ต.ค. 2014].

สุวรรณพฤกษ์ หรือ ขี้เหล็กอเมริกัน รักษาดีซ่าน รักษาคนติดฝิ่นและเป็นยาระบาย

0
สุวรรณพฤกษ์ หรือ “ขี้เหล็กอเมริกัน” รักษาดีซ่าน รักษาคนติดฝิ่นและเป็นยาระบาย
สุวรรณพฤกษ์ หรือขี้เหล็กอเมริกัน มีดอกสีเหลืองสดรูปหางนกยูง ฝักอ่อนเป็นสีเขียวสด เมื่อสุกจะเป็นสีน้ำตาลเข้ม
สุวรรณพฤกษ์ หรือ “ขี้เหล็กอเมริกัน” รักษาดีซ่าน รักษาคนติดฝิ่นและเป็นยาระบาย
สุวรรณพฤกษ์ หรือขี้เหล็กอเมริกัน มีดอกสีเหลืองสดรูปหางนกยูง ฝักอ่อนเป็นสีเขียวสด เมื่อสุกจะเป็นสีน้ำตาลเข้ม

สุวรรณพฤกษ์

สุวรรณพฤกษ์ (American Cassia) หรือเรียกอีกอย่างว่า “ขี้เหล็กอเมริกัน” เป็นไม้ยืนต้นที่มีถิ่นกำเนิดในอเมริกาเขตร้อน มีดอกสีเหลืองสดรูปหางนกยูงทำให้ดูสง่างามจึงนิยมนำมาปลูกเป็นไม้ประดับตามสถานที่สาธารณะอย่างที่เห็นกันบ่อย ๆ เพราะไม่ต้องการการดูแลสูงนัก ทว่าไม่ค่อยมีใครรู้ว่าดอกและใบของต้นสามารถนำมาใช้ประกอบอาหารได้ และยังนำเนื้อไม้มาทำเครื่องมือหรือฟืนได้อีกด้วย ชาวเขาเผ่าแม้วนำใบมาใช้เป็นยาสมุนไพร เป็นต้นที่มีสรรพคุณช่วยรักษาอาการพื้นฐานได้ดี

 

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของสุวรรณพฤกษ์

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Senna spectabilis (DC.) H.S.Irwin & Barneby
ชื่อสามัญ : มีชื่อสามัญว่า “American Cassia”
ชื่อท้องถิ่น : จังหวัดกรุงเทพมหานครเรียกว่า “ขี้เหล็กอเมริกัน ทองนพคุณ” จังหวัดเชียงใหม่เรียกว่า “ขี้เหล็กอเมริกา”
ชื่อวงศ์ : วงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE)
ชื่อพ้อง : Cassia spectabilis DC.

ลักษณะของสุวรรณพฤกษ์

สุวรรณพฤกษ์ เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลางที่มีถิ่นกำเนิดในอเมริกาเขตร้อน
ต้น : ทรงพุ่มแผ่กว้าง เปลือกลำต้นเป็นสีน้ำตาลเข้มค่อนข้างเรียบหรือแตกเป็นร่องตื้นตามยาว ส่วนที่ยังอ่อนอยู่จะมีขนอ่อนขึ้นปกคลุม
ใบ : เป็นใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ออกเรียงสลับกัน มีใบย่อยประมาณ 10 – 15 คู่ ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปวงรี ปลายใบแหลมหรือเป็นติ่งแหลม โคนใบมนหรือเบี้ยว ขอบใบเรียบ แผ่นใบบางอ่อนเป็นสีเขียวสด หลังใบด้านบนเรียบ ท้องมีขนละเอียดนาบไปกับแผ่นใบ
ดอก : ออกดอกเป็นช่อแบบแยกแขนงขนาดใหญ่ที่ปลายกิ่ง มีดอกย่อยจำนวนมากเป็นรูปดอกหางนกยูง มีประมาณ 6 – 60 ดอก มีกลีบเลี้ยงสีเขียว 5 กลีบ กลีบดอก 5 กลีบ เป็นสีเหลืองสดขนาดไม่เท่ากัน ดอกมีเกสรเพศผู้ 10 อัน เป็นหมัน 3 อัน สามารถออกดอกได้ตลอดทั้งปี
ผล : ผลมีลักษณะเป็นฝักรูปขอบขนานแคบหรือรูปทรงกระบอก ฝักอ่อนเป็นสีเขียวสด เมื่อสุกจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้ม ฝักแก่จะแตกออกเป็น 2 ซีกตามตะเข็บ สามารถติดผลได้ตลอดทั้งปี
เมล็ด : ภายในฝักมีเมล็ดประมาณ 50 – 70 เมล็ด ลักษณะของเมล็ดเป็นรูปวงรีสีน้ำตาล

สรรพคุณของสุวรรณพฤกษ์

  • สรรพคุณจากใบ
    – รักษาอาการตัวเหลืองและดีซ่าน โดยชาวเขาเผ่าแม้วนำใบและก้านใบมาใช้อย่างเดียวหรือผสมกับสมุนไพรชนิดอื่นแล้วนำมาต้มอบไอน้ำ
    – ช่วยรักษาคนติดฝิ่น ด้วยการนำใบและก้านใบมาต้มอบไอน้ำ
    – ลดการอักเสบอย่างอ่อนในสัตว์ ด้วยการนำใบแห้งบดเป็นผงให้สัตว์ทดลองกิน
  • สรรพคุณจากใบและดอก เป็นยาถ่ายเสมหะ เป็นยาระบาย ช่วยทำให้เส้นเอ็นหย่อน
    – เป็นยาถ่ายโลหิตระดูของสตรี โดยใช้ร่วมกับแก่นขี้เหล็กและแก่นแสมทะเล
  • สรรพคุณจากราก
    – รักษาอาการปวดตามข้อ ด้วยการนำรากสดประมาณ 60 กรัม มาตุ๋นกับเป็ด ไก่หรือเต้าหู้กินเป็นยา

ประโยชน์ของสุวรรณพฤกษ์

1. เป็นส่วนประกอบของอาหาร ดอกและใบนำมาใช้ประกอบอาหารได้
2. ใช้ในอุตสาหกรรม เนื้อไม้นำมาใช้ทำเป็นด้ามเครื่องมือ ไม้ถือ เครื่องเรือน ทำครก สากหรือนำมาใช้ทำฟืนได้
3. ปลูกเป็นไม้ประดับ ปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไปตามที่สาธารณะ

สุวรรณพฤกษ์ หรือ “ขี้เหล็กอเมริกัน” เป็นต้นที่พบได้ทั่วไปเพราะนิยมปลูกกันในที่สาธารณะทั่วประเทศไทย มีดอกสีเหลืองโดดเด่นทำให้ดูสวยงาม ทว่าต้นนั้นก็สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลากหลายทั้งการนำมาประกอบอาหารหรือใช้ทำเครื่องมือได้ สุวรรณพฤกษ์มีสรรพคุณทางยาได้หลายส่วนจากต้นโดยเฉพาะส่วนของใบและดอก มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ รักษาอาการตัวเหลืองและดีซ่าน ช่วยรักษาคนติดฝิ่น เป็นยาระบาย ช่วยทำให้เส้นเอ็นหย่อน ถือเป็นต้นที่มีประโยชน์มากกว่าที่เห็นกันทั่วไปตามที่สาธารณะ

 

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา. (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “สุวรรณพฤกษ์”. หน้า 64.
ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. “ขี้เหล็กอเมริกัน”. อ้างอิงใน : หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.qsbg.org. [07 ต.ค. 2014].
ไทยเกษตรศาสตร์. “ขี้เหล็กอเมริกัน”. อ้างอิงใน : หนังสือวัลลิ์รุกขบุปผชาติตามรอยพระบาทบรมราชกุมารี. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.thaikasetsart.com. [08 ต.ค. 2014].
ข้อมูลอ้างอิง (Source) : https://medthai.com/

หนามแน่แดง ยาสมุนไพรแก้พิษ ดอกสีสวยเหมาะสำหรับปลูกไม้ประดับได้

0
หนามแน่แดง ยาสมุนไพรแก้พิษ ดอกสีสวยเหมาะสำหรับปลูกไม้ประดับได้
หนามแน่แดง เป็นไม้เลื้อยที่มีดอกสีส้มอมแดง ดอกบานจะมีสีเหลือง ลำต้นเป็นไม้เนื้อแข็ง ผลเป็นรูปไข่ ปลายฝักเป็นจะงอยแข็งยาว
หนามแน่แดง ยาสมุนไพรแก้พิษ ดอกสีสวยเหมาะสำหรับปลูกไม้ประดับได้
หนามแน่แดง เป็นไม้เลื้อยที่มีดอกสีส้มอมแดง ดอกบานจะมีสีเหลือง ลำต้นเป็นไม้เนื้อแข็ง ผลเป็นรูปไข่ ปลายฝักเป็นจะงอยแข็งยาว

หนามแน่แดง

หนามแน่แดง (Thunbergia coccinea Wall) เป็นไม้เลื้อยที่มีดอกสีส้มอมแดงแต่เมื่อดอกบานจะมีสีเหลืองโผล่ออกมา เป็นไม้หายากที่นิยมนำมาใช้เป็นไม้ปลูกประดับ ชาวเย้า ตำรับยาพื้นบ้านล้านนา ชาวเขาเผ่าปะหล่องไทใหญ่และพม่านิยมนำหนามแน่แดงมาใช้เป็นยาสมุนไพรรักษาอาการต่าง ๆ โดยเฉพาะการดูดพิษจากสัตว์มีพิษทั้งหลาย นอกจากนั้นยังนิยมนำดอกมาประกอบอาหารเพื่อใช้ทำเป็นแกงได้

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของหนามแน่แดง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Thunbergia coccinea Wall.
ชื่อท้องถิ่น : จังหวัดเชียงใหม่เรียกว่า “น้ำปู้ หนามแน่แดง เครือนกน้อย” ชาวเย้าเชียงใหม่เรียกว่า “เหนอะตอนเมื่อย” ชาวกะเหรี่ยงเชียงใหม่เรียกว่า “จอละดิ๊กเดอพอกวอ” ชาวกะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอนเรียกว่า “จอลอดิ๊กเดอพอกวอ ปังกะล่ะกวอ” มีชื่ออื่น ๆ ว่า “รางจืด รางจืดแดง”
ชื่อวงศ์ : วงศ์เหงือกปลาหมอ (ACANTHACEAE)
ชื่อพ้อง : Hexacentris coccinea (Wall.) Nees

ลักษณะของหนามแน่แดง

หนามแน่แดง เป็นไม้พุ่มเลื้อยพันที่มักจะพบตามป่าดิบชื้น บริเวณที่โล่งหรือตามชายป่าและตามภูเขาสูง พบได้มากทางภาคเหนือและทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย
ลำต้น : มีการแตกกิ่งก้านสาขามากจนปกคลุมต้นไม้อื่น ลำต้นเป็นไม้เนื้อแข็ง ลักษณะเป็นรูปทรงกระบอก
เปลือกต้น : เปลือกต้นเป็นสีน้ำตาลอมแดงไปจนถึงสีน้ำตาลเข้ม
ใบ : เป็นใบเดี่ยวออกจากข้อของลำต้นหรือกิ่ง โดยจะออกเป็นคู่ตรงข้ามกันแบบเวียนรอบและทิ้งระยะค่อนข้างห่างระหว่างข้อ ก้านใบมีลักษณะกลม ผิวเกลี้ยงและไม่มีขน ลักษณะของใบเป็นรูปขอบขนานหรือรูปไข่แกมใบหอก ปลายใบแหลมหรือเรียวแหลม โคนใบโค้งมน ป้านหรือเว้าลึกเล็กน้อย ขอบใบหยักคล้ายซี่เลื่อยหรือเป็นลูกคลื่นแบบห่างไม่สม่ำเสมอกัน เนื้อใบค่อนข้างบาง หลังใบเกลี้ยงเป็นสีเขียว ท้องใบมีสีอ่อนกว่าและมีนวลสีขาวขึ้นปกคลุม
ดอก : ออกดอกเป็นช่อห้อยลง โดยจะออกตามซอกใบใกล้กับปลายกิ่ง เป็นดอกแบบสมบูรณ์โดยมีประมาณ 20 – 60 ดอกต่อช่อออกเรียงตัวแบบเวียนรอบแกนช่อ มีใบประดับลักษณะเป็นรูปไข่ปลาแหลมหรือมนเล็กน้อย ดอกเป็นสีส้ม สีส้มอมแดงไปจนถึงสีแดงอมม่วงหุ้มดอกเมื่อดอกตูม เมื่อดอกเริ่มบานกลีบดอกสีเหลืองอ่อนไปจนถึงเหลืองเข้มจะโผล่ออกมาทางด้านล่างของใบประดับ กลีบเลี้ยงดอกมีขนาดเล็กมาก มีลักษณะเป็นแถบเล็กอยู่บริเวณโคนกลีบดอก กลีบดอกมีช่วงโคนเชื่อมติดกันเป็นท่อยาว ช่วงปลายแยกเป็นกลีบ 5 กลีบ โดยกลีบบนจะมีขนาดใหญ่กว่ากลีบอื่นและมีลักษณะตั้งขึ้น ส่วนกลีบที่เหลือมักพับลง ผิวด้านในของกลีบจะมีสีอ่อนกว่าด้านนอก ดอกมีเกสรเพศผู้ 4 อัน โดยจะอยู่ลึกลงไปในท่อกลีบดอก ก้านเกสรสั้น มีรังไข่ 1 อัน
ผล : ผลมีลักษณะเป็นฝักประเภทแห้งและแตกได้ ลักษณะของผลเป็นรูปไข่ ปลายฝักเป็นจะงอยแข็งยาว ภายในฝักมีเมล็ดหลายเมล็ด โดยจะออกดอกและผลในช่วงเดือนกันยายนถึงเดือนกุมภาพันธ์

สรรพคุณของหนามแน่แดง

  • สรรพคุณจากเถา
    – แก้อาการเด็กนอนไม่หลับ โดยชาวเย้านำเถามาต้มกับน้ำให้เด็กอาบ
  • สรรพคุณจากราก
    – รักษาอาการปวดท้องน้อยของผู้ป่วยกามโรค โดยตำรับยาพื้นบ้านล้านนานำรากมาผสมกับสมุนไพรชนิดอื่นอย่างเช่น รากพญาดง (Persicaria chinensis) แล้วนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยา
  • สรรพคุณจากเครือ
    – แก้พิษจากสัตว์มีพิษ เช่น แมงป่อง ตะขาบ แมงมุมพิษ งู ด้วยการนำเครือมาต้มกับน้ำกินเวลาที่โดนพิษ
  • สรรพคุณจากเถาและใบ
    แก้ไข้ โดยชาวเขาเผ่าปะหล่องไทใหญ่และพม่านำเถาอ่อนและใบมาต้มกับน้ำอาบเป็นยา
  • สรรพคุณจากใบและเครือ
    – แก้อาการเคืองตา ตาแดงและเจ็บตา ด้วยการนำใบและเครือมาต้มหรือใช้น้ำที่อยู่ภายในลำต้นมาล้างตา
  • สรรพคุณจากดอกและผล
    – ดูดพิษงูกัด ด้วยการนำดอกและผลมาตำพอกแผลที่โดนงูกัด
  • สรรพคุณจากรากและใบ
    – แก้พิษยาเบื่อ แก้พิษจากยาฆ่าหญ้าหรือยาฆ่าแมลง โดยเชื่อว่าจะมีฤทธิ์แรงกว่ารางจืด (Thunbergia laurifolia Linn.)

ประโยชน์ของหนามแน่แดง

1. เป็นส่วนประกอบของอาหาร ดอกนำมาใช้ประกอบอาหารอย่างการทำแกงได้
2. ปลูกเป็นไม้ประดับ นิยมนำมาปลูกเป็นไม้ประดับบ้านทั่วไปหรือปลูกเป็นไม้ประดับซุ้ม

หนามแน่แดง เป็นต้นไม้หายากและมีดอกที่สวยงามจึงนิยมนำมาใช้ปลูกเป็นไม้ประดับได้ เป็นพืชในวงศ์เหงือกปลาหมอที่มักจะพบทางภาคเหนือและทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ชาวเผ่านิยมนำมาใช้เป็นยาสมุนไพรได้หลากหลาย หนามแน่แดงมีสรรพคุณทางยาได้หลายส่วนจากต้นโดยทุกส่วนมีความสำคัญในการรักษาพอกัน มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ แก้พิษจากสัตว์มีพิษ แก้ไข้ แก้พิษยาเบื่อหรือยาฆ่าแมลง แก้อาการเคืองตาได้ ถือเป็นต้นที่เหมาะอย่างมากในการรักษาหรือดูดพิษในแบบธรรมชาติ

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา. (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “หนามแน่แดง”. หน้า 209.
โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง, สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน). “หนามแน่แดง, รางจืด, รางจืดแดง”. อ้างอิงใน : หนังสือชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์)., หนังสือองค์ความรู้เรื่องพืชป่าที่ใช้ประโยชน์ทางภาคเหนือของไทย เล่ม 3. (สุธรรม อารีกุล, จำรัส อินทร, สุวรรณ ทาเขียว, อ่องเต็ง นันทแก้ว). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : eherb.hrdi.or.th. [29 ก.ย. 2014].
พืชถิ่นเดียวและพืชหายากของประเทศไทย, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “หนามแน่แดง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.rspg.or.th. [29 ก.ย. 2014].
ข้อมูลอ้างอิง (Source) : https://medthai.com/

หญ้าไข่เหา ทั้งต้นรสขมเย็น เป็นยาแก้ไข้ แก้ร้อนในและบำรุงธาตุ

0
หญ้าไข่เหา ทั้งต้นรสขมเย็น เป็นยาแก้ไข้ แก้ร้อนในและบำรุงธาตุ
หญ้าไข่เหา เป็นพรรณไม้ล้มลุก ออกดอกเป็นช่อห่าง ๆ สีเหลืองอ่อนเป็นตุ่มกลมเล็ก ผลเป็นรูปทรงค่อนข้างกลม
หญ้าไข่เหา ทั้งต้นรสขมเย็น เป็นยาแก้ไข้ แก้ร้อนในและบำรุงธาตุ
หญ้าไข่เหา เป็นพรรณไม้ล้มลุก ออกดอกเป็นช่อห่าง ๆ สีเหลืองอ่อนเป็นตุ่มกลมเล็ก ผลเป็นรูปทรงค่อนข้างกลม

หญ้าไข่เหา

หญ้าไข่เหา (Itch flower) เป็นพรรณไม้ล้มลุกซึ่งเป็นต้นที่มีลักษณะคล้ายหญ้าซึ่งพบได้ทั่วทุกภาคในประเทศไทย มีดอกเป็นสีเหลืองอ่อนเล็ก ๆ ชวนให้ดูน่ารัก เป็นต้นที่ไม่คาดคิดว่าจะมีประโยชน์แต่ใบและดอกอ่อนสามารถนำมาใช้ปรุงเป็นอาหารได้ ทั้งต้นมีรสขมเย็นจึงมีสรรพคุณทางยาสมุนไพรได้ โดยตำรายาพื้นบ้านอีสานนำมาใช้เป็นสมุนไพรชนิดหนึ่งด้วย หญ้าไข่เหาเป็นชื่อที่คนทางเหนือนิยมเรียกกันแต่ก็มีชื่อเรียกในจังหวัดอื่นด้วย

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของหญ้าไข่เหา

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Mollugo pentaphylla L.
ชื่อสามัญ : มีชื่อสามัญว่า “Itch flower”
ชื่อท้องถิ่น : ภาคเหนือเรียกว่า “หญ้าไข่เหา” จังหวัดตราดเรียกว่า “หญ้าตีนนก” จังหวัดชัยนาทเรียกว่า “หญ้านกเขา” จังหวัดชลบุรีเรียกว่า “สร้อยนกเขา” หรือหญ้าฝรั่ง
ชื่อวงศ์ : วงศ์สะเดาดิน (MOLLUGINACEAE)

ลักษณะของหญ้าไข่เหา

หญ้าไข่เหา เป็นพรรณไม้ล้มลุกที่พบได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย
ใบ : เป็นใบเดี่ยวออกรอบข้อเป็นกระจุกละ 2 – 4 ใบ ลักษณะของใบเป็นรูปยาวเรียวหรือรูปวงรีขนาดเล็ก ปลายใบแหลม โคนใบแหลม ก้านใบสั้น
ดอก : ออกดอกเป็นช่อห่าง ๆ โดยจะออกตามปลายกิ่ง ดอกย่อยเป็นสีเหลืองอ่อนเป็นตุ่มกลมเล็ก กลีบดอกมี 5 กลีบ ก้านชูช่อดอกยาว
ผล : ลักษณะของผลเป็นรูปทรงค่อนข้างกลม เมื่อแก่แล้วจะแตกออกเป็น 3 เสี่ยง ภายในผลมีเมล็ดขนาดเล็กสีน้ำตาล

สรรพคุณของหญ้าไข่เหา

  • สรรพคุณจากทั้งต้นและลำต้น เป็นยาบำรุงธาตุ แก้ธาตุพิการ เป็นยาแก้ไข้ แก้อาการร้อนในกระหายน้ำ เป็นยาระบายท้อง แก้ริดสีดวงทวาร เป็นยาแก้ดีพิการ
  • สรรพคุณจากใบ เป็นยาแก้ไข้จับสั่น
  • สรรพคุณจากทั้งต้น
    – แก้รำมะนาด โดยตำรายาพื้นบ้านอีสานนำทั้งต้นมาขยี้ผสมกับเกลือใช้อุดฟัน

ประโยชน์ของหญ้าไข่เหา

เป็นส่วนประกอบของอาหาร ยอดอ่อน ใบและดอกอ่อนนำมาใช้ปรุงเป็นอาหารอย่างพวกแกงป่าและแกงใส่ปลาร้าได้

หญ้าไข่เหา เป็นต้นที่พบได้ทั่วทุกภาคในประเทศไทย ดอกเป็นสีเหลืองอ่อนลักษณะตุ่มกลมเล็ก ทั้งต้นมีรสขมเย็นจึงมีสรรพคุณทางยาที่ช่วยแก้ไข้จับสั่นหรือลดความร้อนในร่างกายได้ นิยมนำดอกอ่อนและใบมาปรุงเป็นอาหารอย่างพวกแกงป่าและแกงใส่ปลาร้า หญ้าไข่เหามีสรรพคุณทางยาได้หลายส่วนจากต้นโดยเฉพาะทั้งต้นและลำต้น มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ แก้ไข้ แก้อาการร้อนในกระหายน้ำ แก้ริดสีดวงทวารและบำรุงธาตุ

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). “หญ้าไข่เหา (Ya Khai Hao)”. หน้า 314.
หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “หญ้าไข่เหา”. หน้า 801-802.
ผักพื้นบ้านในประเทศไทย กรมส่งเสริมการเกษตร. “หญ้าไข่เหา”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : ftp://smc.ssk.ac.th/intranet/Research_AntioxidativeThaiVegetable/. [03 ก.ย. 2014].
สวนสวรส. “หญ้าไข่เหา” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.suansavarose.com. [03 ก.ย. 2014].
ข้อมูลอ้างอิง (Source) : https://medthai.com/

แคหางค่าง ช่วยรักษาแผล บำรุงเลือด ขับเสมหะ แก้อาการท้องอืดและท้องเฟ้อ

0
แคหางค่าง ช่วยรักษาแผล บำรุงเลือด ขับเสมหะ แก้อาการท้องอืดและท้องเฟ้อ
แคหางค่าง เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ดอกมีขนาดใหญ่สีเหลืองอ่อน ฝักเส้นยาวโค้งงอและบิดเป็นเกลียวมีขนสีน้ำตาลแดง
แคนา ช่วยในการขับถ่าย แก้โรคชัก แถมรสชาติเลิศเลอเมื่อจิ้มกับน้ำพริก
แคนา เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ ดอกแคนามีสีขาวและมีรสขม ฝักโค้งและบิดเป็นเกลียว

แคหางค่าง

แคหางค่าง (Fernandoa adenophylla) เป็นไม้ยืนต้นที่พบได้ทั่วไป มักจะนิยมนำมารับประทานด้วยการจิ้มกับน้ำพริก เป็นผักสมุนไพรพื้นบ้านที่คนไทยคุ้นเคย มักจะปีนขึ้นไปเด็ดดอกแคหางค่างแล้วนำมาปรุงรส เป็นดอกที่สามารถรับประทานได้ง่าย มีรสขมเล็กน้อยและนำเนื้อไม้จากต้นมาใช้ประโยชน์ในการทำสิ่งก่อสร้างได้อีกด้วย

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของแคหางค่าง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Fernandoa adenophylla (Wall. ex G.Don) Steenis
ชื่อท้องถิ่น : ภาคกลางเรียกว่า “แคหางค่าง” ภาคเหนือเรียกว่า “แคขน” จังหวัดเลยเรียกว่า “แคบิด แคร้าว แคลาว” จังหวัดจันทบุรีเรียกว่า “แฮงป่า” จังหวัดสุราษฎ์ธานีเรียกว่า “แคพอง” จังหวัดนครราชสีมาเรียกว่า “แคหัวหมู” ม้งเรียกว่า “ปั้งอะ”
ชื่อวงศ์ : วงศ์แคหางค่าง (BIGNONIACEAE)

ลักษณะของแคหางค่าง

แคหางค่าง เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลางที่มีถิ่นกำเนิดในเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในประเทศไทยจะพบได้มากตามป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าหญ้าทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้และทางภาคตะวันออกเฉียงใต้
เปลือกต้น : เป็นสีเทาค่อนข้างเรียบ เปลือกด้านในเป็นสีขาว ตามกิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาลและมีช่องระบายอากาศอยู่ทั่วไป
ลำต้น : ลำต้นคดงอ มีเรือนยอดไม่เป็นระเบียบ เอนยอดเป็นพุ่มกลมทึบ
ใบ : ออกใบเป็นช่อ ช่อจะออกตรงข้ามกันหรือออกเยื้องกัน ในแต่ละช่อจะประกอบไปด้วยใบย่อยที่มีลักษณะและขนาดแตกต่างกันออกไป ปลายใบมนและเป็นติ่งแหลมสั้น ๆ ส่วนโคนใบมนหรือยักเว้าเล็กน้อยและมักจะเบี้ยว แผ่นใบหนา หลังใบเกลี้ยงหรืออาจมีขนเล็กน้อย ท้องใบมีขนสาก เส้นแขนงของใบค่อนข้างเหยียดตรง
ดอก : ดอกมีขนาดใหญ่สีเหลืองอ่อน ออกรวมกันเป็นช่อใหญ่บริเวณปลายกิ่ง โดยช่อดอกจะตั้งชี้ขึ้น โคนกลีบรองกลีบดอกจะติดกันเป็นรูปถ้วย ปลายแยกออกเป็น 5 แฉก และมีขนาดไม่เท่ากัน ด้านนอกมีขนสีน้ำตาลแดงขึ้นหนาแน่น ส่วนกลีบฐานดอกจะติดเป็นจุกผล กลีบของดอกเป็นรูปแตรงอน มีขนสีน้ำตาลขึ้นอยู่หนาแน่นทางด้านนอก ส่วนด้านในเกลี้ยง หลอดกลีบดอกในช่วงล่างเป็นหลอดแคบ ส่วนช่วงบนจะขยายใหญ่กว้างจนถึงปากหลอด ออกดอกในช่วงเดือนสิงหาคมไปจนถึงเดือนกันยายน
ฝัก : มีลักษณะของฝักเป็นรูปทรงกระบอกโต โค้งงอและบิดเป็นเกลียว ฝักจะมีสันเป็นเส้นยาวตามฝัก 5 สัน และมีขนสีน้ำตาลแดงขึ้นอยู่ทั่วไป เมื่อแก่จะแตกตามรอยประสาน
เมล็ด : ในฝักมีเมล็ดลักษณะแบนและมีเยื่อบาง ๆ ตามขอบคล้ายกับปีก

สรรพคุณของแคหางค่าง

  • สรรพคุณจากเมล็ด บำรุงโลหิต ขับเสมหะ
  • สรรพคุณจากเปลือกต้น
    – แก้อาการท้องอืดและท้องเฟ้อ ด้วยการนำเปลือกต้นมาต้มแล้วดื่ม
    – บรรเทาอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย ด้วยการนำเปลือกต้นมาต้มแล้วอาบ
  • สรรพคุณจากใบ ช่วยรักษาแผลสด แผลถลอก แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก ช่วยห้ามเลือด แก้โรคผิวหนัง ผดผื่นคัน และหูด ด้วยการนำใบมาพอก

ประโยชน์ของแคหางค่าง

1. เป็นส่วนประกอบของอาหาร ดอกและฝักอ่อนสามารถนำมาใช้เป็นผักจิ้มกินกับน้ำพริกได้แต่ต้องทำให้สุกก่อน
2. ใช้ในอุตสาหกรรมก่อสร้าง เนื้อไม้สามารถนำมาใช้ทำสิ่งก่อสร้าง ทำเสาต่าง ๆ ทำด้ามเครื่องมือหรือด้ามปืนได้

แคหางค่าง ดอกยอดนิยมของตระกูลแคในการนำมารับประทานหรือเป็นส่วนประกอบในอาหาร มีรสขมเล็กน้อยแต่ต้องนำมาลวกต้มหรือทำให้สุกก่อนรับประทาน มีดอกขนาดใหญ่และโดดเด่นอยู่บนต้น มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ ช่วยรักษาแผล บำรุงเลือด ขับเสมหะและแก้อาการท้องอืดและท้องเฟ้อ เป็นผักพื้นบ้านที่ช่วยแก้อาการพื้นฐานต่าง ๆ ได้ดี

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. “แคบิด”. อ้างอิงใน: หนังสือพรรณไม้สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เล่ม 1, หนังสือไม้ต้นในสวน Tree in the garden. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.qsbg.org. [27 ธ.ค. 2013].
สารสนเทศเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. “แคหางค่าง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.ku.ac.th. [27 ธ.ค. 2013].
รายชื่อพรรณไม้ (ป่า) ในประเทศไทย ฐานข้อมูลเพื่อการวิจัยด้านป่าไม้ หน่วยวิจัยภัยพิบัติด้านทรัพยากรธรรมชาติ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. “แคหางค่าง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.frcdb.forest.ku.ac.th. [27 ธ.ค. 2013].
พรรณไม้ในมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต. “แคหางค่าง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: rspg.dusit.ac.th. [27 ธ.ค. 2013].
โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน). “แคหางค่าง, แคบิด”. อ้างอิงใน: หนังสือชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: eherb.hrdi.or.th. [27 ธ.ค. 2013].
สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “แคหางค่าง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.rspg.org/newslet/9_5.pdf. [27 ธ.ค. 2013].
MyFirstBrain. “แคหางค่าง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.myfirstbrain.com. [27 ธ.ค. 2013].
ระบบฐานข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชน สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน). “แคบิด”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.bedo.or.th. [27 ธ.ค. 2013].

แคนา ช่วยในการขับถ่าย แก้โรคชัก แถมรสชาติเลิศเลอเมื่อจิ้มกับน้ำพริก

0
แคนา เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ ดอกแคนามีสีขาวและมีรสขม ฝักโค้งและบิดเป็นเกลียว
แคนา ช่วยในการขับถ่าย แก้โรคชัก แถมรสชาติเลิศเลอเมื่อจิ้มกับน้ำพริก
แคนา เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ ดอกแคนามีสีขาวและมีรสขม ฝักโค้งและบิดเป็นเกลียว

แคนา

แคนา (Dolichandrone serrulata) เป็นต้นไม้มงคลที่ช่วยยกระดับเศรษฐกิจไทยและเสริมสร้างรายได้ให้เกษตรกรในการส่งขาย ส่วนมากมักจะพบในหมู่บ้านจัดสรร ร้านอาหารและรีสอร์ต เป็นไม้ปลูกประดับและยังนำมารับประทานเป็นผักหรือนำมาทานเป็นยาก็ได้เช่นกัน ดอกแคนามีสีขาวและมีรสขมแต่เมื่อนำมาจิ้มกับน้ำพริกจะมีรสชาติอร่อยมาก และมีสรรพคุณที่ยอดเยี่ยมต่อร่างกาย

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของแคนา

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dolichandrone serrulata (Wall. ex DC.) Seem.
ชื่อท้องถิ่น : ภาคกลางเรียกว่า “แคนา” ภาคเหนือเรียกว่า “แคตุ้ย แคแน แคฝา แคฝอย แคหยุยฮ่อ แคแหนแห้” จังหวัดเชียงใหม่เรียกว่า “แคขาว แคเก็ตวา แคเก็ตถวา แคเค็ตถวา” จังหวัดลำปางเรียกว่า “แคภูฮ่อ” จังหวัดเลยและลำปางเรียกว่า “แคป่า” จังหวัดนครราชสีมาเรียกว่า “แคทราย” จังหวัดปราจีนบุรีเรียกว่า “แคยาว แคอาว” จังหวัดสุราษฎร์ธานีเรียกว่า “แคยอดดำ”
ชื่อวงศ์ : วงศ์แคหางค่าง (BIGNONIACEAE)
ชื่อพ้อง : Bignonia serratula Wall. ex DC., Bignonia serrulata Wall. ex DC., Spathodea serrulata (Wall. ex DC.) DC., Stereospermum serrulatum DC.

ลักษณะของแคนา

แคนา เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดเล็กถึงขนาดกลางที่มีเขตการกระจายพันธุ์อยู่ในประเทศลาว พม่า เวียดนาม ส่วนในประเทศไทยพบได้บ่อยตามนาข้าวทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือตามป่าเบญจพรรณทั่วไป
ลำต้น : เป็นเปลาตรง มีการแตกกิ่งต่ำ
เปลือกต้น : เป็นสีน้ำตาลอ่อนอมสีเทาและอาจจะมีจุดดำประปราย ผิวต้นเรียบหรือล่อนเป็นเกล็ดเล็ก ๆ
ใบ : เป็นใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียวปลายคี่ ออกตรงข้ามกันเป็นรูปไข่แกมขอบขนาน ปลายใบแหลม โคนใบเบี้ยว ส่วนขอบใบหยักเป็นซี่ตื้น ๆ ผิวใบด้านล่างมีขนสั้นอยู่ประปรายบนก้านใบ
ดอก : ออกดอกเป็นช่อกระจะสั้นตามปลายกิ่ง ดอกมีขนาดใหญ่เป็นรูปแตรสีขาวและมีกลิ่นหอม ดอกแคนาจะค่อย ๆ บานทีละดอกในตอนกลางคืน และจะออกดอกในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนมิถุนายน
ผล : ผลเป็นฝัก ลักษณะของฝักแบนเป็นรูปขอบขนาน ฝักโค้งและบิดเป็นเกลียว
เมล็ด : เมล็ดเป็นรูปสี่เหลี่ยม

สรรพคุณของแคนา

  • สรรพคุณจากแคนา แก้อาการท้องร่วง กำจัดพยาธิ แก้ริดสีดวง แก้อาการตกเลือด แก้ฝีราก เป็นยาแก้บวม
  • สรรพคุณจากราก ช่วยบำรุงโลหิต แก้เสมหะและลม
  • สรรพคุณจากเมล็ด แก้อาการปวดประสาท แก้โรคชัก
  • สรรพคุณจากดอก ช่วยในการนอนหลับ แก้ไข้หัวลม เป็นยาขับเสมหะ ขับโลหิตและลม ขับผายลม ช่วยในการขับถ่าย
  • สรรพคุณจากใบ
    – เป็นยาบ้วนปาก ด้วยการนำใบมาต้มแล้วอม
    – รักษาแผล ด้วยการนำใบมาตำแล้วพอก
  • สรรพคุณจากเปลือกต้น แก้อาการท้องอืดและท้องเฟ้อโดยใช้กับสตรีหลังคลอดบุตร

ประโยชน์ของแคนา

1. เป็นส่วนประกอบของอาหาร ดอกแคนาสามารถนำมาใช้ประกอบในการทำแกงส้ม ส่วนมากนิยมนำมาต้มหรือลวกจิ้มกับน้ำพริก รสขมจากดอกช่วยเพิ่มความอร่อยของอาหารได้
2. เป็นไม้ปลูกประดับ ปลูกเป็นไม้สำหรับให้ร่มเงาและเป็นไม้ประดับเสริมจุดเด่นให้สวน มักจะพบที่หมู่บ้านจัดสรร ร้านอาหารและรีสอร์ต เป็นต้น
3. ใช้ในการเกษตร เป็นอาหารสัตว์ของวัวและควาย
4. ใช้ในอุตสาหกรรม เนื้อไม้ของต้นนำมาใช้ทำสิ่งก่อสร้างอาคารบ้านเรือนได้ เช่น ทำเป็นเสา ไม้กระดาน ฝ้าเพดานและพื้น เป็นต้น

แคนา เป็นต้นไม้ที่มีดอกสีขาวรสขมและเป็นสมุนไพรพื้นบ้านในการรับประทานกับน้ำพริกหรือเป็นไม้ปลูกประดับที่สวยงาม และยังเป็นไม้มงคลอีกด้วย ในปัจจุบันการปลูกต้นแคนาส่งขายทำรายได้ให้กับเกษตรกรมากมาย ต้นมีเอกลักษณ์และน่าปลูกหากมีพื้นที่ภายในบ้าน มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ ช่วยในการขับถ่ายและขับลม แก้โรคชัก บำรุงเลือดและขับเสมหะ ในส่วนของราก เปลือกต้น ใบ ดอกและเมล็ดจะมีรสหวานเย็น

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “แคนา”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.phargarden.com. [26 ธ.ค. 2013].
ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. “แคขาว”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.qsbg.org. [26 ธ.ค. 2013].
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์. “แคขาว”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.uru.ac.th. [26 ธ.ค. 2013].
ระบบฐานข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชน สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน). “แคนา”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.bedo.or.th. [26 ธ.ค. 2013].
สารานุกรมพืชในประเทศไทย สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. “แคขาว”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.dnp.go.th/botany/. [26 ธ.ค. 2013].
ไทยโพสต์. “แคป่า บานกลางกรุง ตอกย้ำความอร่อยของผักตามฤดูกาล”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.thaipost.net. [26 ธ.ค. 2013].

ตาว หรือรู้จักกันในรูปแบบ “ผลลูกชิด” เป็นปาล์มชนิดหนึ่งที่หายากในปัจจุบัน

0
ตาว หรือรู้จักกันในรูปแบบ “ผลลูกชิด” เป็นปาล์มชนิดหนึ่งที่หายากในปัจจุบัน
ตาว หรือลูกชิด เป็นปาล์มชนิดหนึ่ง ออกดอกเป็นช่อเชิงลดขนาดใหญ่ ออกผลเป็นกลุ่มแบบทะลาย ผลอ่อนมีสีเขียวอ่อน มีสีขาวขุ่น ลักษณะนิ่มและอ่อน
ตาว หรือรู้จักกันในรูปแบบ “ผลลูกชิด” เป็นปาล์มชนิดหนึ่งที่หายากในปัจจุบัน
ออกดอกเป็นช่อเชิงลดขนาดใหญ่ ออกผลเป็นกลุ่มแบบทะลาย ผลอ่อนมีสีเขียวอ่อน มีสีขาวขุ่น ลักษณะนิ่มและอ่อน

ตาว

ตาว (Areng palm) หรือลูกชิด ในปัจจุบันมีจำนวนลดน้อยลงอย่างมากเนื่องจากการที่ป่าถูกทำลายและไม่มีการปลูกเพื่อทดแทน มีชื่อเรียกมากมายจนน่าสับสน เป็นปาล์มชนิดหนึ่งที่มักจะพบริมน้ำ ส่วนมากมักจะพบเป็นลูกชิดที่นำมาทำเป็นของหวาน เป็นต้นที่มีผลเป็นพวงมากมายอย่างโดดเด่น สามารถนำส่วนต่าง ๆ ของต้นมาใช้ประโยชน์ได้

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของตาว

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Arenga pinnata (Wurmb) Merr.
ชื่อสามัญ : มีชื่อสามัญว่า “Sugar palm” “Aren” “Arenga palm” “Areng palm” “Black – fiber palm” “Gomuti palm” “Kaong” “Irok”
ชื่อท้องถิ่น : ภาคกลางเรียกว่า “ตาว ชิด” ภาคเหนือเรียกว่า “ตาว ต๋าว มะต๋าว” ภาคใต้เรียกว่า “ฉก ชก ต้นชก” และเรียกผลของชิดว่า “ลูกเหนา” จังหวัดกาญจนบุรีเรียกว่า “เตาเกียด เต่าเกียด” และเรียกผลของชิดว่า “ลูกชิด” จังหวัดตราดเรียกว่า “โตะ” จังหวัดชุมพรเรียกว่า “กาชก” จังหวัดพังงาและภูเก็ตเรียกว่า “ฉก”จังหวัดปัตตานีเรียกว่า “ลังค่าย หลังค่าย” จังหวัดสตูลเรียกว่า “โยก” จังหวัดตรังเรียกว่า “เนา” จังหวัดอุตรดิตถ์เรียกผลว่า “ลูกตาว” จังหวัดน่านเรียกผลว่า “ลูกต๋าว” ชาวเมี่ยน ขมุ ไทลื้อและคนเมืองเรียกว่า “ต่าว” ชาวม้งเรียกว่า “ต๋งล้าง” ชาวกะเหรี่ยงเรียกว่า “วู้” ชาวกะเหรี่ยงเชียงใหม่เรียกว่า “ต่ะดึ๊” ลั้วะเรียกว่า “หมึ่กล่าง”
ชื่อวงศ์ : วงศ์ปาล์ม (ARECACEAE)

ลักษณะของต้นตาว

ต้น เป็นปาล์มชนิดหนึ่งที่มีถิ่นกำเนิดและการกระจายพันธุ์อยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในประเทศไทยนั้นจะพบขึ้นตามป่าในเขตจังหวัดน่าน พิษณุโลก อุตรดิตถ์ แพร่และตาก มักจะพบขึ้นตามป่าที่มีความชื้นสูง ตามริมแม่น้ำลำธารหรือตามโขดหิน
ลำต้น : ลำต้นตั้งตรงสูง มีขนาดใหญ่กว่าต้นตาล มีสีน้ำตาลเข้มจนเกือบดำ
ราก : เป็นระบบรากฝอย รากจะเจริญออกจากใต้ดิน
ใบ : เป็นใบประกอบแบบขนนกออกเรียงสลับกัน มีลักษณะแบบเดียวกับใบมะพร้าวแต่จะใหญ่และแข็งกว่า ใบเป็นรูปขอบขนาน ปลายใบมนและแหลม ส่วนโคนใบเป็นรูปเงี่ยงใบหอก ขอบเรียบและผิวหนา หลังใบเป็นสีเขียวเข้มมันวาว ส่วนใต้ใบมีสีขาวนวล เมื่อใบแก่จะห้อยจนปิดคลุมลำต้น
ดอก : ออกดอกเป็นช่อเชิงลดขนาดใหญ่ เป็นดอกชนิด Polgamous มีทั้งดอกตัวผู้และดอกสมบูรณ์เพศอยู่บนต้นเดียวกันแต่อยู่คนละช่อดอก และสามารถออกดอกได้เพียงครั้งเดียวในชีวิต ซึ่งจะใช้เวลาตั้งแต่เริ่มปลูกจนออกดอกประมาณ 15 – 20 ปี โดยออกดอกตามซอกใบ
ผล : ออกผลเป็นกลุ่มแบบทะลาย ลักษณะของผลเป็นรูปไข่สีเขียว ผลอ่อนมีสีเขียวอ่อน ส่วนผลแก่มีสีเหลืองและสีดำหรือมีสีม่วงเข้มจนถึงสีดำ
เมล็ด : เมล็ดมีสีขาวขุ่น ลักษณะนิ่มและอ่อน ในแต่ละผลจะมี 2 – 3 เมล็ด เมล็ดอ่อนมีสีขาว ส่วนเมล็ดแก่มีสีดำ เปลือกของเมล็ดจะเป็นกะลาบาง ๆ แข็ง ๆ มีสีดำ ส่วนเนื้อในของเมล็ดจะเรียกว่า “ลูกชิด”

ประโยชน์ของตาว

  • ประโยชน์ของหน่ออ่อน รับประทานและทำเป็นแกงหรือใส่ข้าวเบือได้
  • ประโยชน์ของเนื้อในเมล็ด ลูกชิดสามารถนำมารับประทานสด นำไปต้มหรือนำมาเชื่อมกับน้ำตาลแล้วทานเป็นของหวานได้ นำมาแปรรูปทำเป็นลูกชิดแช่อิ่ม ลูกชิดปี๊บ ลูกชิดกระป๋อง และลูกชิดอบแห้ง
  • ประโยชน์ของยอดอ่อน นำมานึ่งรับประทานเป็นผักจิ้มกับน้ำพริกหรือนำไปทำแกง ยอดอ่อนที่ขั้วหัวใช้รับประทานเป็นผักสดหรือนำไปดองเปรี้ยวเก็บไว้ใช้แกงส้มหรือทำแกงกะทิ
  • ประโยชน์ของยอดลำต้น นำมาประกอบอาหารได้เช่นเดียวกับยอดมะพร้าว
  • ประโยชน์ของใบอ่อน นำมารับประทานเป็นผักเช่นเดียวกับกะหล่ำปลี
  • ประโยชน์ของแกนในของลำต้นอ่อน ทำเป็นแกงใส่ไก่หรือหมูได้
  • ประโยชน์ของผล งวงหรือดอก น้ำหวานที่ได้จากผลสามารถนำมารับประทานได้เช่นเดียวกับน้ำตาลโตนด และยังนำไปทำน้ำส้มที่เรียกว่า “น้ำส้มชุก” สำหรับใช้ในการปรุงอาหารหรือทำน้ำตาลเมาหรือเอาส่วนที่เคี่ยวเป็น “น้ำผึ้งชุก” ไปหมักสำหรับทำสุราหรือเป็นไวน์ผลไม้
  • ประโยชน์ของลำต้น นำมาใช้ทำเป็นเฟอร์นิเจอร์หรือใช้ทำเป็นอุปกรณ์การเกษตรได้ ส่วนลำต้นในระยะที่เริ่มออกดอกจะมีแป้งสะสมอยู่ภายใน สามารถนำแป้งมาใช้ประโยชน์ได้ ทำไฟเบอร์ซึ่งจะมีความยาวและมีสีเทาดำ
  • ประโยชน์ของใบ ใบแก่ใช้มุงหลังคาและกั้นฝาบ้าน ใช้ตกแต่งงานกิจกรรมหรือนำมาใช้จักสานตะกร้า ส่วนใบอ่อนนำมาใช้ทำเป็นมวนบุหรี่ ก้านใบเมื่อนำมาเหลารวมกันทำเป็นไม้กวาด
  • ประโยชน์ของก้านทางใบ ทำฟืนสำหรับก่อไฟ นำมาผลิตไฟเบอร์ ในอินโดนีเซียจะนำไปทำเป็นเชือกสำหรับใช้กับเรือประมง
  • ประโยชน์ของเส้นใยจากลำต้น ทำเป็นแปรงได้

คุณค่าทางโภชนาการของลูกชิด ต่อ 100 กรัม

คุณค่าทางโภชนาการของลูกชิด ต่อ 100 กรัม ให้พลังงาน 19 กิโลแคลอรี

สารอาหาร ปริมาณสารที่ได้รับ
คาร์โบไฮเดรต 4.9 กรัม
โปรตีน 0.1 กรัม
เส้นใย 0.5 กรัม
ไขมัน 0.2 กรัม
น้ำ 94.7 กรัม
วิตามินบี2 0.01 มิลลิกรัม
วิตามินบี3 0.01 มิลลิกรัม
แคลเซียม 21 มิลลิกรัม
เหล็ก 0.5 มิลลิกรัม
ฟอสฟอรัส 3 มิลลิกรัม

พิษของตาว

ควรนำไปต้มก่อนรับประทานเพราะผิวของเปลือกเมล็ด ขนบนผลและน้ำเลี้ยงจากเปลือกผลนั้นมีพิษ อาจทำให้เกิดอาการระคายเคืองที่ผิวหนังได้

ตาว เป็นต้นที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้มาก มักจะนำส่วนผลมาแปรรูปรับประทานได้หลากหลาย มีคุณค่าทางโภชนาการที่สำคัญต่อร่างกาย เป็นต้นที่เหมาะต่อวิถีชีวิตของคนไทยโบราณ พบได้มากในเมนูของหวานที่มีลูกชิดเป็นส่วนประกอบ

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์การมหาชน). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: eherb.hrdi.or.th. [1 พ.ย. 2013].
หนังสือชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. สวนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้. (เต็ม สมิตินันทน์).
หนังสือ 108 ซองคำถาม เล่ม 2. (ประวิทย์ สุวณิชย์).
ฐานข้อมูลการประชุมวิชาการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. “โครงการสำรวจพันธุกรรมพืชชิด (Arenga pinnata.) ในจังหวัดน่าน”. (อนุชา จันทรบูรณ์). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: kucon.lib.ku.ac.th. [1 พ.ย. 2013].
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: pirun.kps.ku.ac.th. [1 พ.ย. 2013].
ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.m-culture.in.th. [1 พ.ย. 2013].
มติชนออนไลน์. “ต๋าว พืชเฉพาะถิ่นนครน่าน หนึ่งของดีแปรรูปได้”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.matichon.co.th. [1 พ.ย. 2013].
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.tistr.or.th. [1 พ.ย. 2013].
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง. “ผักพื้นบ้าน ลูกชิด”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: area-based.lpru.ac.th. [1 พ.ย. 2013].