Home Blog Page 147

การจัดการโรคเบาหวานและความดันโลหิต การดูแลที่ไม่ควรมองข้าม

0
การจัดการโรคเบาหวานและความดันโลหิต การดูแลที่ไม่ควรมองข้าม
ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตที่ต้องดูแลเป็นพิเศษ
ผู้ป่วยแต่ละคนล้วนมีความซับซ้อน ซึ่งจะต้องได้รับการดูแลและจัดการแบบรายบุคคลจึงจะเหมาะสมที่สุด

ผู้ป่วย เบาหวาน ความดันโลหิต

ผู้ป่วยหรือผู้เข้ารับการรักษาคือบุคคลที่ได้รับบริการด้านสุขภาพจากแพทย์ พยาบาลเวชปฏิบัติ ทันตแพทย์ หรือบุคลากรสาธารณสุขอื่น ๆ เนื่องจากมีอาการเจ็บป่วยจากโรคหรือการบาดเจ็บ และต้องการการรักษา หรือการปรึกษาเพื่อรับคำแนะนำในการดูแลสุขภาพของตนเอง

กรณีที่ 1 การดูแลผู้ป่วยและการรักษามีความสมเหตุสมผลหรือไม่

การจัดการเบาหวาน กรณีที่ 1ยกตัวอย่าง เช่น บุตรสาวของผู้ป่วยได้นำผู้ป่วยนั่งรถเข็นมายังคลินิก โดยอาการของผู้ป่วยในขณะนั้นไม่สนใจสิ่งแวดล้อมใดๆ ซึมจนเห็นได้ชัด ส่วนบุตรสาวก็ดูเหมือนกำลังอมทุกข์และเบื่อหน่ายเป็นอย่างมาก ซึ่งคาดว่าน่าจะเป็นเพราะ เบื่อหน่ายที่จะต้องดูแลมารดานั่นเอง โดยทั้งนี้บุตรสาวก็ได้เล่าให้กับพยาบาลฟังว่า “แม่ของเธอมีอาการซึม ขาชา ขาชา ไม่ยอมกินข้าว มักจะคลื่นไส้ตลอด จากนั้นบุตรสาวก็เดินออกไปรอข้างนอก เมื่อเวลาผ่านไป 1 ชั่วโมง จึงเดินกลับเข้าไปหาแม่ใหม่ และถามว่าแม่เป็นอย่างไรบ้าง พยาบาลก็ได้ตอบว่าผู้ป่วยจะต้องได้รับการตรวจเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง จากนั้นประมาณครึ่งชั่วโมงก็ได้พาผู้ป่วยไปเอ็กซเรย์สมอง ได้ผลว่าไม่พบความผิดปกติ จึงให้ผู้ป่วยอยู่ในห้องเพื่อสังเกตอาการก่อน และค่อยเจาะเลือดพรุ่งนี้เช้า จึงจะไปพบแพทย์ที่อายุรกรรมให้ตรวจอีกที

ในเช้าวันต่อมาบุตรสาวก็ได้พาแม่ไปเจาะเลือด ผลที่ได้คือแม่มีน้ำตาลต่ำ แพทย์จึงให้พาผู้ป่วยไปทานอาหารและหยุดทานยาเบาหวานแล้วค่อยมาพบพยาบาลที่คลินิกเบาหวานใหม่ บุตรสวจึงได้พาแม่ไปดื่มชาดำเย็น 1 ถุงและทานข้าว จากนั้นจึงไปเจาะเลือดเพื่อตรวจระดับน้ำตาลอีกครั้งได้ผล DTX 60 mg/dl จึงให้แม่ทานน้ำหวานและกล้วยอีก 2 ใบ พร้อมกับส่งไปที่ห้องฉุกเฉินเพื่อตรวจซ้ำอีกครั้ง แต่ทั้งนี้บัตรสาวและผู้ป่วยก็ได้ต่อรองว่าจะไม่ไปที่ห้องฉุกเฉินอีก พยาบาลจึงต้องอธิบายว่า ยาลดน้ำตาลที่ผู้ป่วยทานไปก่อนหน้านี้ กว่าไตจะขับออกหมดก็ประมาณ 2 วัน หากตรวจอีกคืนนี้ก็จะพบว่าน้ำตาลต่ำอีก ทั้งคู่จึงได้กลับไปห้องฉุกเฉิน DTX=100mg/dl แพทย์ก็ให้กลับบ้านได้ โดยไม่ได้รักษาใดๆ เพิ่มเติม

กรณีที่ 2 กะกะเอา

ผู้หญิงมีอายุ 70 ปี ถูกส่งปรึกษามาจากหอผู้ป่วย มีรูปร่างผอมขาว โดยเมื่อมาถึงโรงพยาบาล ผู้ป่วยมีอาการซึม คลื่นไส้อาเจียน หายใจเร็วเหนื่อยง่าย โดยแรกรับพบว่า Blood sugar 890 mg/dl, ketone 8 mmol/l จึงคาดว่าผู้ป่วยน่าจะขาดยาอินซูลินมา จากนั้นจึงได้ทำการซักประวัติถึงการฉีดยาอินซูลินของผู้ป่วย พบว่าผู้ป่วยฉีดทุกวัน วันละ 2 ครั้ง ตอนเช้าจะฉีด 24 ยูนิต ส่วนตอนเย็นฉีดอีก 12 ยูนิต จึงสรุปได้ว่าผู้ป่วยจะต้องได้รับการฉีดยาอินซูลินอย่างสม่ำเสมอจริง แต่ปัญหาอยู่ที่ว่า เมื่อผู้ป่วยฉีดอินซูลินอย่างต่อเนื่องแล้วทำไม น้ำตาลในเลือดจึงยังสูงขนาดนี้ ทั้งที่สาเหตุน่าจะมาจากการขาดอินซูลิน จากนั้นพยาบาลจึงถามต่อว่าตอนนี้ยาฉุดอินซูลินที่ได้รับเหลือกี่หลอด ผู้ป่วยตอบว่าเหลือ 5 หลอด ซึ่งเมื่อลองคำนวณดูแล้ว น่าจะเหลือไม่เกิน 1 หลอด จึงได้ทำการประเมินความคลาดเคลื่อนของการฉีดยาของผู้ป่วยต่อ โดยให้ผู้ป่วยสาธิตการฉีดให้ดู เริ่มตั้งแต่ดูดอินซูลิน โดยผู้ป่วยก็ได้เตรียมยาอินซูลินด้วยการเขย่าขวดกลับไปมา จากนั้นใช้สำลีชุบแอลกอฮอล์เช็ดจุกยาง พร้อมเสียบเข็มได้อย่างถูกต้อง แต่สังเกตพบว่าปริมาณยาที่ผู้ป่วยดูดออกมาจากขวด มีเพียง 5 ยูนิตเท่านั้น ซึ่ง
ผู้ป่วยก็ได้บอกแก่พยาบาลว่า “ มองไม่เห็นหน่วยตัวเลขที่กระบอกฉีดยา ทุกครั้งที่ฉีดก็เลยแค่กะกะเอา ”

กรณีที่ 3 ดูแลแบบองค์รวมหรือไม่

กรณีของเคสที่เป็นเคสซับซ้อนในหัวข้อ “ การดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวมนั้นมีหรือไม่? ”  นี่เป็นเคสผู้ป่วยที่เป็นชายร่างอ้วน ผิวคล้ำ เป็นเคสที่เดินทางเข้ามาด้วยการนั่งรถเข็นเพียงคนเดียว เป็นเคสผู้ป่วยเก่าของทางโรงพยาบาลแห่งนี้โดยตรง ถูกส่งเข้ามารักษาตัวด้วยอาการเกิดบาดแผลที่เท้า ในขณะที่กำลังนั่งรอทำแผลนั้นผู้ป่วยก็จะมีการแสดงการเคาะโต้ะ คอยนั่งโยกไปมาเรื่อย ๆ จากประวัติการรักษาตัวล่าสุดก่อนหน้านี้ที่โรงพยาบาลแห่งนี้นั่นคือเมื่อห้าวันที่แล้วพบว่าผู้ป่วยมีประวัติป่วยเป็น NIDDM เป็น HYPERTENSION , Schizophreania และ Hyperlipidnia เคยมีประวัติรักษาตัวด้วยอาการที่หอบ เหนื่อยและได้ถูกวินิจฉัยว่าเป็น Congestive Heart Failure ซึ่งทั้งนี้ทางด้านของพยาบาลก็ได้ทำการซักถามเกี่ยวกับเรื่องของยาที่รับประทานพบว่าทางผู้ป่วยไม่มีการทานยาใด ๆ ไม่ได้รับยาประเภทใดกลับบ้านแต่เมื่อได้ทำการสอบถามกลับไปว่าเพราะเหตุใดถึงไม่ได้มีการรับยาทางผู้ป่วยกลับไม่มีการตอบคำถามใด ๆ กลับมาทั้งสิ้น เมื่อลองเข้าไปค้นประวัติที่เวชระเบียนกลับพบว่าผู้ป่วยมีประวัติได้รับยาที่ใช้สำหรับรักษาโรคเบาหวานไปเป็นที่เรียบร้อยรวมถึงยารักษาโรคความดันโลหิตสูงและยารักษาไขมันในเลือดสูงแต่ยังไม่ได้รับยารักษาโรค Schizophreania แต่อย่างใด เมื่อลองย้อนกลับไปสอบถามที่ส่วนของหอผู้ป่วยก็ได้รับคำตอบในเชิงประมาณว่าผู้ป่วยท่านนี้ไม่ได้มีความสมัครใจที่จะเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาล มีความประสงค์ที่จะขอกลับบ้านเท่านั้นและไม่ว่าจะมีการอธิบายเหตุผลใดก็ตามก็จะขอกลับบ้านอย่างเดียว ทางทีมงานที่ทำการดูแลผู้ป่วยจึงต้องให้ทางผู้ป่วยทำการเซ็นลงนามว่าไม่สมัครใจที่จะเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลและนั่นจึงทำให้ทางผู้ป่วยได้กลับบ้านและไม่ได้รับการรักษาใด ๆ ต่อไป

กรณีที่ 4 หาเลข 8 ไม่เจอ

ในกรณีของเคสที่เป็นเคสในหัวข้อ “ เป็นการหาเลข 8 ไม่เจอ ” สำหรับในกรณีนี้เป็นเคสผู้ป่วยเพศหญิง อายุ 45 ปีเดินทางมาที่คลอนอกเบาหวานด้วยตนเองมาด้วยอาการที่ดูอ่อนเพลียและได้แจ้งกับทางพยาบาลว่าเมื่อช่วงสองวันก่อนมีความรู้สึกราวกับจะตายลงแล้วให้ได้ ฉีดยาครั้งใดราวกับจะขาดใจ รู้สึกหน้ามืดและไม่ค่อยจะมีแรง ทางพยาบาลนั้นอาการที่เป็นนั้นคืออาการ Hypoglycemia จึงได้ลองทำการซักทางผู้ป่วยอีกครั้งว่าก่อนที่จะทำการฉีดอินซูลินนั้นฉีดก่อนที่จะรับประทานอาหารเป็นระยะเวลานานเท่าใด ทางด้านผู้ป่วยก็ได้แจ้งกลับมาว่า ทางตนเองได้รับคำแนะนำมาว่าควรจะต้องมีการฉีดอินซูลินให้ได้ครั้งละปริมาณ 8 ยูนิต ฉีดก่อนที่จะรับประทานอาหารเป็นระยะเวลา 30 นาทีทุกเช้าเย็นแต่ในการปฏิบัติจริงเมื่อมีการฉีดอินซูลินเข้าไปครั้งใดไม่ทันที่จะถอนตัวเข็มออกจากร่างกายก็มีอาการแย่เกิดขึ้นทันทีจนแทบจะทนไม่ไหวเป็นประจำ เมื่อลองตรวจสอบก็พบว่ามีการดูดอินซูลินในปริมาณที่มากกว่าที่กำหนดจึงได้สอบถามว่าทำไมถึงดูดเกินกำหนด ผู้ป่วยจึงตอบมาว่าก็ไม่เห็นว่าที่ส่วนของตัวหลอดจะมีแจ้งเลข 8 เลยที่เห็นก็มีเพียงแค่ 80 เท่านั้นไม่ถูกหรืออย่างไร?

กรณีที่ 5 การดูแลผู้ป่วยต่อเนื่องหรือไม่

การจัดการเบาหวาน กรณีที่ 5สำหรับเคสผู้ป่วยกรณี “ เป็นการดูแลผู้ป่วยที่ต่อเนื่องใช่หรือไม่? ” รายนี้เป็นเคสผู้ป่วยเพศหญิง อายุ 76 ปีเข้ารับการรักษาตัวและนอนพักอยู่ภายในโรงพยาบาลมาด้วยอาการแขนขาซีกขวานั้นเกิดการอ่อนแรง ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น Acute Stoke ผู้ป่วยได้ถูกส่งตัวไปปรึกษาที่คลินิกเบาหวาน ทางด้านของสามีของเคสได้แจ้งว่าทางผู้ป่วยนั้นอยากที่จะขอรักษาตัวที่โรงพยาบาลอย่างนี้จนกว่าที่จะสามารถเดินได้แต่ตอนนี้ทางแพทย์ได้ทำการแจ้งให้กลับไปรักษาตัวที่บ้านต่อนั่นจึงสร้างความกลุ้มใจให้เกิดขึ้นกับพวกเขาในตอนนี้ แล้วอย่างนี้จะต้องทำการดูแลผู้ป่วย ทำการวางแผนการปฏิบัติตัวอย่างไร ทางทีมพยาบาลก็ได้ทำการสอบถามทางด้านสามีของผู้ป่วยว่าอยากจะให้ทางด้านโรงพยาบาลนั้นช่วยเหลือสิ่งใดบ้าง ด้านสามีจึงได้แจ้งกลับมาว่าเขานั้นจะพาทางผู้ป่วยกลับไปบ้านได้เช่นไร ที่บ้านนั้นรถก็ไม่สามารถเข้าถึงได้ จะต้องเดินไปและข้ามสะพานไปอีก 500 เมตร แล้วถ้าเกิดรักษาที่บ้านผู้ป่วยต้องปัสสาวะ อุจาระเขาจะทำเช่นไรจะทำคนเดียวได้อย่างไร แล้วอย่างนี้หากมีการนัดต้องมาตรวจจะทำเช่นไร?

กรณีที่ 6 มีทางเลือกที่ดีกว่าหรือไม่

สำหรับเคสผู้ป่วยกรณีต่อมาเป็นคนสูงอายุ ( 55 ปี ) และได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น DM ประเภทที่ 2 เป็น Hypertension เป็น DM Foot ulcer และยังเป็น Ischemic heart disease with Peripheal Arterial Disease ทางผู้ป่วยนั้นได้ทำการร้องขอให้ทางแพทย์ทำเรื่องส่งตัวไปทำส่วนของขาเทียม ทั้งนี้เรื่องนี้ทางแพทย์นั้นได้ทำการแจ้งกับทางผู้ป่วยว่าไม่แนะนำให้ผู้ป่วยทำ เพราะ ผู้ป่วยป่วยด้วยโรคหัวใจอยู่แล้วและหากทำขาเทียม ขาเทียมจะเข้าไปกดที่บริเวณของเนื้อเยื่อจนอาจทำให้เกิดการขาดเลือดได้ และได้เลือกที่จะแนะนำให้เลือกใช้การนั่งรถเข็นแทนจะดีกว่าแต่ทางผู้ป่วยนั้นก็เลือกที่จะต่อรองว่าการที่ได้ใส่ขาเทียมจะเป็นการทำให้เขานั้นสามารถทำกิจกรรมใด ๆ ได้มากยิ่งขึ้น ตอนนี้เขาก็ใช้รถเข็นอยู่แล้ว ทำอะไรก็แสนจะลำบาก การได้มีขาเทียมจะทำให้อะไร ๆ ดีขึ้นได้ ลองส่งเรื่องไปก่อนจะได้หรือไม่แต่หากทางด้านทีมแพทย์ได้ลองทำการปรึกษากันแล้วพบว่าไม่ควรทำก็ไม่เป็นไร!!!

กรณีที่ 7 ซักประวัติครอบครัวแล้วหรือไม่

สำหรับเคสผู้ป่วยกรณีซับซ้อนอีกเคส คือ หญิงสูงอายุ ( 63 ปี ) ได้เข้ามารักษาตัวด้วยการวินิจฉัยเป็น Pneumonia underlying Hypertension ตอนนั้นมาด้วยอาการไข้ ไอ เป็นระยะเวลา 5 วัน ในวันแรกพบว่ามีระดับความดันโลหิตอยู่ที่ 118/64 mmHg ชีพจรอยู่ที่ 96 ครั้งต่อนาที มักจะเกิดอาการกระสับกระส่ายอยู่เป็นระยะ ๆ ไม่ยอมที่จะตอบคำถามใด ๆ จะต้องคอยใช้มือนั้นบีบที่บริเวณขาขวาตลอดเวลา เมื่อลองตรวจที่ขาขวานั้นก็พบว่ามีสีคล้ำมากและ ค่อยข้างที่จะเย็นกว่าอีกข้าง ลองคลำที่ชีพจรบริเวณด้านหลังของเท้านั้นสามารถจับได้แต่ก็เบามาก ดังนั้นจึงได้ลองซักประวัติของผู้ป่วยจากทางน้องสาวเพิ่มเติม พบว่า ผู้ป่วยนั้นมีการบ่นเกิดอาการเมื่อยขาหลังจากที่ไปใช้เครื่องนวดเท้า เครื่องประเภทนี้เป็นเครื่องที่จะต้องวางเท้าลงไปบนเครื่อง เท้าก็จะต้องเกิดการสั่นค่อนข้างแรงและใช้เวลานานเป็นชั่วโมงเลยทีเดียว และในวันถัดมาทางผู้ป่วยตัดสินใจมาโรงพยาบาลตอนที่มาในครั้งนั้นไม่ได้มีการเล่าอาการปวดเหล่านี้ให้ทางแพทย์ทราบเพราะแพทย์ไม่ได้สอบถาม ที่มาครั้งนี้เพราะเริ่มมีอาการไม่รับประทานอาหาร คลื่นไส้จึงมาอีกรอบนั่นเอง

กรณีที่ 8 เพราะกลัวเข็มนี่เอง

กรณีนี้เป็นหญิงที่มีอายุ 86 ปี มีรูปร่างท้วม ผู้ดูแลเป็นผู้พามาตรวจ ซึ่งจากการสอบถามพบว่าผู้ดูแลเป็นผู้ทำหน้าที่ในการฉีดอินซูลินให้กับผู้ป่วย และจากการซักถามก็พบว่าทำได้ถูกต้องตามขั้นตอน จากนั้นเมื่อผู้ดูแลออกไปจากห้องตรวจแล้ว ทางผู้ป่วยก็เล่าให้กับพยาบาลฟังว่า บางมื้อก็ฉีด บางมือก็ไม่ได้ฉีด บางครั้งเขาฉีดอินซูลินให้ตอนมื้อเช้า แต่มื้อเย็นไม่ได้ฉีด พยายามจึงทำการซักถามจากผู้ดูแลอีกครั้ง ก็ได้ความจากผู้ดูแลว่า ฉีดให้วันละครั้งเท่านั้นแหละ เท่านี้ก็ทำใจอยู่ตั้งนาน กลัวเข็มฉีดยามาก

กรณีที่ 9 เรื่องอื่นไม่เกี่ยว

สำหรับกรณีเคสซับซ้อน ” เป็นเรื่องอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องจริงหรือ? ” เคสนี้เป็นผู้ป่วยผู้หญิงอายุ 56 ปี เป็นหญิงรูปร่างสูงมาด้วยโรค Underlying Type 2 DM ซึ่งส่งมาจากทาง OPD MED เพื่อที่จะคุมในเรื่องของเบาหวาน เมื่อผุ้ป่วยนั้นเดินทางมาถึงที่คลินิกเบาหวานผู้ป่วยเริ่มเข้าข่ายซึมเศร้า ( ประเมินจาก 2Q แล้วพบว่าได้ค่าเป็น POSITIVE ) ทั้งนี้ทางผู้ป่วยยังได้เล่าอีกว่าตนเองนั้นไม่อยากที่จะมีชีวิตอยู่ต่อไป มีความรู้สึกกลุ้มใจเป็นอย่างมาก แจ้งกับทางทีม รักษาเสมอว่าตนเองนั้นมักจะมีปัญหาเรื่องของระบบขับถ่ายเป็น 10 ครั้งภายในระยะเวลา 1 ปี แต่ทางผู้รักษาก็ยังคงเฉย ๆกับสิ่งที่บอกไป ให้มาเพียงแค่ยารักษาโรคเบาหวานเท่านั้น มีบางคนที่อาจมองว่าโรคเบาหวานนั้นเป็นเรื่องเดียวที่ควรสนใจในวันนี้เรื่องอื่นไม่ต้องสนใจแต่สำหรับตนเองนั้นมักจะรู้สึกกลุ้มใจในเรื่องระบบขับถ่ายของตนเองเป็นอย่างมาก ปัญหานี้เป็นปัญหาที่ส่งผลทำให้เขานั้นต้องลาออกจากงานเลยทีเดียว ที่ต้องลาออกเนื่องจาก ตนเองนั้นเกิดความเกรงใจต่อเพื่อนร่วมงาน ตนเองเกิดความรู้สึกไม่ดีกับตนเองราวกับตนเองนั้นไปเอาเปรียบเพื่อนร่วมงานทำให้ทางเจ้านายถึงขั้นแจ้งว่าให้ตนเองนั้นไปรักษาตนเองให้หายแล้วค่อยกลับมาเริ่มงานใหม่อีกรอบจะดีกว่า จากที่ได้ทำการตรวจสอบทางเวชระเบียนก็พบว่าทางผู้ป่วยเคยได้รับการวินิจฉัยว่าป่วยเป็นโรค IBS มาแล้วเมื่อ 1 ปีก่อนหลังจากที่เคยได้เข้ารับการรักษาในครั้งนั้นเป็นครั้งแรก และก็ไม่เคยที่จะเข้ารับการรักษาส่วนนี้อีกเลย ทางด้านของผู้ป่วยนั้นก็มาตามนัดตรวจทุกครั้งเสมอและทุกครั้งที่มาก็จะได้รับยารักษาโรคเบาหวานเพียงอย่างเดียวเท่านั้นไม่เคยมีครั้งใดขาด ทางด้านพยาบาลจึงได้ทำการส่งตัวผู้ป่วยรายนี้ให้ไปพบกับแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านนี้เฉพาะทางเพื่อที่จะเข้ารับการรักษาที่ถูกต้องต่อไป

ผู้ป่วยแต่ละคนล้วนมีความซับซ้อน ซึ่งก็จะต้องได้รับการดูแลผู้ป่วยและจัดการแบบรายบุคคลจึงจะเหมาะสมที่สุด ทั้งนี้ก็เพื่อจะได้แก้ปัญหาของแต่ละคนให้ตรงจุดมากที่สุดนั่นเอง

กรณีที่ 10 พร้อมรับ-ส่งต่อหรือไม่

การจัดการเบาหวาน กรณีที่ 10สำหรับกรณีเคสผู้ป่วยซับซ้อนที่ “ มีการพร้อมรอรับและรอส่งหรือไม่? ” เคสนี้เป็นผู้ป่วยชายที่มีอายุ 72 ปี ถูกส่งมาจากทางด้านคลินิกเวชกรรมมาด้วยลักษณะอาการแขนและขาด้านซ้ายเกิดการอ่อนแรง อาการนี้เป็นมาเป็นระยะเวลานาน 2 วันก่อนมาถึงโรงพยาบาล แรกเริ่มเข้ารับการรักษาที่หอผู้ป่วยจากนั้นก็ถูกส่งต่อมาที่คลีนิกเบาหวาน ทางผู้ป่วยได้เล่าว่าเดิมนั้นตนเคยที่จะรักษาตัวที่โรงพยาบาลในช่วงเวลาหนึ่งแต่ต่อมาทางโรงพยาบาลกลับแจ้งว่าขณะนั้นมีปริมาณคนไข้ที่ค่อนข้างแออัดมากจึงได้ทำการส่งตัวตนเองมาที่คลินิกและหากเกิดมีอาการที่ดูแล้วผิดปกติก็จะให้กลับมาที่โรงพยาบาลใหม่อีกรอบ หลังจากที่ทางผู้ป่วยนั้นรักษาที่ตัวคลินิดแล้วก็ทำการลดนาประเภทยาละลายลิ่มเลือด หยุดทานยามานานถึง 1 ปี แล้วที่เป็นเช่นนี้นั่นเป็นเพราะการหย่ายาไม่ครบใช่หรือไม่?

กรณีที่ 11 ปากกาลืมไส้

ผู้ป่วยอายุ 86 ปี โดยเมื่อ 9 วันก่อนได้มาที่คลินิกเบาหวาน ด้วยภาวะ Hyperglycemia ผล Plasma Glucose 780 mg/dl ได้รับการรักษาด้วย Regular insulin แพทย์สั่งยากลับบ้าน Humulin 70/30 Cartridges 20-0-10 units แต่วันนี้มาในอาการที่ผู้ป่วยอ่อนเพลียมาก ไม่ค่อยมีแรง และได้บอกกับพยาบาลว่าไม่ได้ฉีดอินซูลินเลยเพราะไม่มียาในกล่อง โดยตอนรับยาก็คิดว่ามียาอยู่ในกล่องที่ใส่ปากกาไว้แล้วก็เลยไม่ได้ถาม ซึ่งเมื่อกลับไปถึงบ้านแล้วกลับพบว่าไม่มีหลอดยาอยู่ในปากกา แต่คิดว่าคงไม่เป็นไร เพราะอย่างไรก็รับประทานยาอยู่แล้ว 

กรณีที่ 12 แค่ทัพพีเดียว

สำหรับกรณีเคสผู้ป่วย “ ก็แค่ทัพพีเดียว!!! ” เคสนี้เป็นเคสชายไทยที่อายุ 64 ปี ป่วยเป็นโรคเบาหวานมานานถึง 2 ปี มีผล Fasting Plasma Glucose 81 mg/dl HbA, C มีผล Chelesterol 144 mg/dl, มีผล Triglyceride 299 mg/dl ฯลฯ เมื่อได้ทำการสอบถามเกี่ยวกับประวัติของการทานอาหารนั้นผู้ป่วยนั้นได้ทำการยืนยันว่าตนเองก็ยังคงรับประทานอาหารตามปกติ ทาน 3 มื้อต่อวัน ในแต่ละมื้อก็ทานปริมาณของข้าวทัพพีเดียว ไม่ได้ทานพวกขนมจุกจิกเลย เลือกทานแต่ผลไม้ตามฤดูกาล และยังมีการพยายามที่จะควบคุมอาหารให้เป็นไปตามที่แพทย์และทางพยาบาลได้ให้คำแนะนำอยู่ตลอดเวลา ทางผู้ป่วยบอกว่าทางแพทย์นั้นได้ทำการแนะนำให้ตนเองนั้นทานข้าวในปริมาณที่น้อย ๆ ไว้ รับประทานเพียงแค่ 1 ทัพพีก็เพียงพอแล้ว รับประทานอาหารที่รสชาติไม่จัดเกินไปถ้าจะให้ดีไม่ควรเติมอเครื่องปรุงใด ๆ ลงไปเลย เวลาทานผลไม้ก็ควรทานเพียงแค่ 1-2 ลูก ผู้ป่วยเป็นคนที่อาศัยอยู่วัด ทานเพียง 1 ทัพพีจริงๆ แต่ขนาดทัพพีนี่ใหญ่มาก จากนั้นก็ได้ให้ดูภาพของขนาดทัพพีที่ผู้ป่วยควรทานซึ่งนั่นก็ดูเล็กกว่ามากพอสมควร ทำให้ต่างริ้องอ๋อกันใหญ่และทราบว่าทำไมผู้ป่วยนั้นถึงยังคงมีปริมาณน้ำตาลสะสมที่สูงมากอยู่ดี

กรณีที่ 13 เคร่งไปหรือเปล่า?

สำหรับกรณีเคสผู้ป่วยซับซ้อนต่อมาเป็นหญิงชาวจีนอายุ 75 ปีที่มีอาการป่วยเป็นโรคเบาหวานมานานถึง 20 ปีเลยทีเดียว และที่สำคัญยังมีระดับความดันโลหิตสูงนาน 10 ปี พบว่ามีโรคไตเรื้อรังอันเนื่องมาจากโรคเบาหวานร่วมด้วย เมื่อนำไปตรวจทางห้องปฏิบัติการพบว่าได้ผล Microbuminuria ปริมาณ 357 mg/g , มี Triglyceride ปริมาณ 211 mg/dl, มี eGFR ปริมาณ 55 ml/min เข้ามารับการปรึกษาเพื่อที่จะทำการชะลอภาวะเสื่อมของไต เดินทางเข้ามาขอคำปรึกษาเพียงคนเดียวแถมยังไม่สามารถอ่านภาษาไทยได้อีก พอจะฟังภาษาไทยได้บ้าง จำได้บ้าง หลังจากที่ทางทีมผู้ดูแลได้ให้คำอธิบายในเรื่องของโรคประจำตัว วิธีการรักษา ตัวของผู้ป่วยนั้นเกิดความวิตกค่อนข้างมากกว่าตอนแรกมา ทางด้านพยาบาลก็พยายามที่จะให้เสริมพลังแก่ผู้ป่วยเพื่อการดูแลตนเองให้เกิดความรู้สึกที่ดีขึ้น จากนั้นเมื่อเวลาผ่านไปประมาณ 2 สัปดาห์ผู้ป่วยก็ได้กลับมาแจ้งกับทางพยาบาลว่า ได้ลองไปถามแพทย์ที่เป็นแพทย์ตรวจประจำว่าเขานั้นสามารถที่จะรับประทานอาหารแบบเดิมได้ตามปกติได้เลย เดิมที่เคยทานอาการเจในช่วงยามเช้าซึ่งส่วนใหญ่มักจะเป็นอาหารประเภทหมัก ประเภทดองและเต้าหู้ประจำ ทางด้านพยาบาลจึงได้อธิบายผลการตรวจไตให้ทางผู้ป่วยทราบซึ่งผลนั้นอาจดูเหมือนจะปกติแต่หากลองคิดที่หน้าที่ที่ไตต้องทำจะพบว่าตอนนี้ไตนั้นก็เริ่ม ที่จะเสื่อม ดังนั้นควรที่จะต้องมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการทานอาหารใหม่จะดีสุด ควรทานตามแบบที่ได้แนะนำไป การทานแบบเดิมจะยิ่งเป็นการเร่งทำให้ไตนั้นเสื่อมเร็วกว่าเดิมยิ่งขึ้นและทั้งนี้ก็ได้ทำการทบทวนเกี่ยวกับเรื่องของคำแนะนำที่ให้ไปใหม่อีกครั้งหนึ่งทีนี้ดูมีทีท่าว่าผู้ป่วยดูเหมือนจะเริ่มมีความเข้าใจมากยิ่งขึ้นจากที่เคยเป็น

จากนั้นเมื่อผ่านไปอีก 1 เดือนผู้ป่วยกลับมาด้วยสภาพที่ดูแล้วอ่อนเพลียกว่าเก่าเมื่อสอบถามไปกลับพบว่าไม่ได้มีโรคแทรกซ้อนเกิดขึ้นแต่น้ำหนักกลับลดลงไปถึง 5 กิโลกรัม ที่เป็นเช่นนี้เพราะมีความรู้สึกเครียดและกลัวที่จะต้องมาทำการล้างไตและยังได้พยายามที่จะลดอาหารที่อาจทานไปแล้วเกิดผลต่อไต เชื่อว่าหากทานน้อยไตก็จะทำงานน้อยลงด้วย ทานทุกอย่างที่คิดว่าจะบำรุงไตได้ นั่นจึงทำให้ทางพยาบาลจึงต้องทำการนัดเคสผู้ป่วยรายอื่นที่มีอายุและภาวะเสื่อมของไตในระดับใกล้เคียงกันมาพูดคุยกับผู้ป่วยรายนี้เพื่อที่จะเป็นการเปิดโอกาสให้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันนั่นเอง

กรณีที่ 14 หูตึงกับโรคไต

กรณีผู้ป่วยซับซ้อน แบบอาการหูตึงกับการป่วยเป็นโรคไต เคสนี้เป็นผู้ป่วยชาวไทย อายุ 74 ปีป่วยเป็นโรคเบาหวานมานานถึง 15 ปี ถูกส่งตัวมาเพื่อเข้ารับคำปรึกษาเรื่องของการชะลอภาวะเสื่อมที่บริเวณของไต พบว่า ตัวของผู้ป่วยนั้นมีบริมาณระดับโปรตีนที่รั่วมาทางการปัสสาวะค่อนข้างมาก ผู้ป่วยนั้นเลือกที่จะเดินทางมาคนเดียวแถมยังมีอาการหูตึงอีกด้วย เวลาจะคุยด้วยจะต้องตะโกน จะต้องพูดคุยแบบช้า ๆ นั่นก็เพื่อให้ตัวผู้ป่วยนั้นสามารถที่จะอ่านคำพูดของตัวพยาบาลได้ พยาบาลก็จะคอยให้คำแนะนำแก่ทางผู้ป่วยว่าควรที่จะต้องพาคนที่ดูแลมาด้วยจะดีกว่าด้วยเพราะเกรงว่าทางผู้ป่วยนั้นอาจจะเกิดการจำหรือทราบรายละเอียดของยาหรืออาการ การรักษาที่ไม่ครบถ้วน แต่ทางผู้ป่วยนั้นแจ้งว่าทางสามีนั้นได้เสียชีวิตไปแล้ว ส่วนลูกก็มีอาการหูตึงหมด ทางด้านของลูกชายคนโตนั้นก็เป็นคนที่มีอาการหูตึงน้อยที่สุด ได้แต่งงานไปเรียบร้อยแล้วและแยกครอบครัวไปอยู่ต่างหาก ส่วนลูกสาวอีกสองคนนั้นก็ขายของอยู่กับตนที่บ้าน เวลาจะทำการให้ลูกค้าสั่งอาหารก็จะเลือกให้ลูกค้าจดรายละเอียดแล้วก็ทำตามนั้น ทางด้านพยาบาลจึงได้ทำการติดต่อไปยังทางทีมอายุรแพทย์ที่ดูแลเรื่องโรคไตเพื่อที่จะขอเกี่ยวกับคำปรึกษาในประเด็นนี้ แต่กลับพบว่าทางผู้ป่วยนั้นยังไม่เคยมีประวัติรับยาประเภท Antioten Converting Enzyme Inhibitor และยาประเภท Angiotensin2 Receptor Blocker มาก่อน แถมยังมีการแจ้งกับทางอายุรแพทย์เพิ่มเติมด้วย เพราะ ด้วยปัจจัยที่ทางผู้ป่วยและบุตรนั้นเกิดอาการหูตึงกันทั้งหมดแบบที่ไม่สามารถทราบได้เลยว่าเป็นเพราะสาเหตุใดนั่นอาจจะเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับโรค ไตด้วยก็ได้ ทางด้านแพทย์จึงได้ขอนัดให้ลูกทั้งสามคนลองมาเข้ารับการตรวจปัสสาวะดูก่อน เนื่องจากหากผลการตรวจพบว่าเจอโปรตีนมีการรั่วไหลมาทางปัสสาวะนั่นย่อมหมายความว่าอาจเป็นเพราะการเกิดความผิดปกติในส่วนของพันธุกรรมจากการเกิดโกลเมอรูรัสนั่นเอง แต่เมื่อถึงวันตรวจจริงลูกทั้งสามคนไม่พบความผิดปกติใด ๆ

กรณีที่ 15 ปกติดีไม่เห็นเป็นไร

สำหรับกรณีซับซ้อนต่อไป คือ กรณีที่ก็มองเห็นได้ดีไม่ได้เป็นอะไร กรณีนี้เป็นกรณีของหญิงสาวที่อายุ 52 ปี ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงมานานเพียง 3 ปีเท่านั้น เดิมเคยขรับการรักษาตัวที่โรงพยาบาล สามารถที่จะทำการควบคุมระดับความดันโลหิตได้เป็นอย่างดีและยังเคยมีประวัติเข้ารับการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการดูแลตนเองเพื่อที่จะชะลอการเสื่อมที่บริเวณไตอีกด้วยซึ่งในเวลาต่อมาก็ได้มีการกำหนดนโยบายกระจายเคสผุ้ป่วยไปยังคลินิกซึ่งเป็นคลินิกด้านในชุมชนนั่นจึงทำให้ผู้ป่วยรายนี้ถูกส่งตัวไปยังที่คลินิกชุมชนในเวลาต่อมานั่นเอง ผู้ป่วยรายนี้มีโรงพยาบาลด้วยอาการเหนื่อยหอบ ไม่สามารถนอนราบได้ มีปริมาณของโปแตสเซียมที่อยู่ภายในเลือดค่อนข้างสูงมาก

มีระดับภาวะของเสียที่อยู่ภายในเลือด ทำให้จำเป็นต้องเข้ารับการล้างไตแบบฉุกเฉินในทันที เมื่อลองทำการสอบถามทางผู้ป่วยก็พบว่าผู้ป่วยนั้นได้กลับไปรักษากับที่คลินิกด้วยการได้รับยาประเภทเดิมและทำการลดยาในบางส่วนที่เคยมีการได้ไปจากทางโรงพยาบาล ผู้ป่วยนั้นเกิดความรู้สึกในทันทีว่ายาที่ได้จากทางคลินิกนั้นไม่เหมือนกับทางโรงพยาบาลจึงได้นำตัวอย่างยาที่เคยได้จากทางโรงพยาบาลไปหาซื้อเองโดยไม่กลับไปยังคลินิกอีกเลย หลังจากนั้นก็ไม่เห็นเป็นอะไร ทุกอย่างดูปกติดี ทานอาหารได้เหมือนเดิมแต่สิ่งที่ไม่เคยทำเลยคือเรื่องของการวัดความดันโลหิตสูง จนต่อมาเริ่มมีอาการบวม ปัสสาวะได้น้อย ทำอะไรเล็กน้อยก็เหนื่อยง่ายจึงมาหาแพทย์ที่โรงพยาบาลอีกรอบจนท้ายที่สุดก็พบว่าเข้าสู่ภาวะไตวายระยะท้ายสุดเสียแล้วจึงจำเป็นต้องเข้ารับการฟอกไตทันที

จะเห็นได้ว่าผู้ป่วยแต่ละคน ล้วนมีความซับซ้อน ซึ่งก็จะต้องได้รับการดูแลผู้ป่วยและจัดการแบบรายบุคคลจึงจะเหมาะสมที่สุด ทั้งนี้ก็เพื่อจะได้แก้ปัญหาของแต่ละคนให้ตรงจุดมากที่สุดนั่นเอง และเนื่องจากผู้ป่วยแต่ละคนมีกรณีความซับซ้อนที่แตกต่างกันไป จึงต้องทำความเข้าใจและซักถามเพื่อประเมินการแก้ปัญหาพอสมควรเลยทีเดียว

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง 

เอกสารอ้างอิง

ศิริอร สุนธุ, พิเชต วงรอต, สมาคมผู้จัดการรายกรณีประเทศไทย, การจัดการรายกรณีผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์วัฒนาการพิมพ์, 2557. 

ศัลยา คงสมบูรณ์เวช. บำบัดเบาหวานด้วยอาหาร. พิมพ์ครั้งที่ 4 (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ : อัมรินทร์เฮลท์ อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2559. (12), 311 หน้า. (ชุดชีวิตและสุขภาพ ลำดับที่ 113) 1.เบาหวาน 2.โภชนบำบัด 3.การปรุงอาหารสำหรับผู้ป่วย 4.การดูแลสุขภาพตนเอง. 616.462 ศ7บ6 2559.

โรคสมองเสื่อมจากมวลเลวี ( Dementia with Lewy Body )

0
โรคสมองเสื่อมจากมวลเลวี (Dementia with Lewy Body)
โรคสมองเสื่อมจากมวลเลวี่ คือโรคสมองเสื่อมชนิดหนึ่งที่มีสาเหตุจากการสะสมตัวที่ผิดปกติของโปรตีนแอลฟ่าไซนิวคลีน
โรคสมองเสื่อมจากมวลเลวี (Dementia with Lewy Body)
โรคสมองเสื่อมจากมวลเลวี่ คือโรคสมองเสื่อมชนิดหนึ่งที่มีสาเหตุจากการสะสมตัวที่ผิดปกติของโปรตีนแอลฟ่าไซนิวคลีน

สมองเสื่อม ( Dementia )

ช่วงหลายปีที่ผ่านมาหากพูดถึง โรคสมองเสื่อม ( Dementia ) เป็นคำที่เราคุ้นหูได้ยินกันบ่อย แต่หากพูดถึงโรคสมองเสื่อมจากมวลเลวี่ ( Dementia with Lewy Body ) หลายท่านคงอุทานว่า “ อะไรนะ ” “ โรคใหม่หรือไม่เคยได้ยิน ” คำตอบคือโรคสมองเสื่อมจากมวลเลวี่ไม่ได้เป็นโรคใหม่เลยถูกค้นพบมานานแล้วตั้งแต่ปี ค.ศ. 1912 หรือ พ.ศ. 2455

โรคสมองเสื่อมจากมวลเลวี่ ( Dementia with Lewy Body /DLB ) คือโรคสมองเสื่อมชนิดหนึ่งที่มีสาเหตุจากการสะสมตัวที่ผิดปกติของโปรตีนแอลฟ่าไซนิวคลีน ( Alpha Synuclin ) เป็นก้อนโปรตีนสะสม ( Inclusion Body ) ในสมองส่วนเบซัล เรียกว่า มวลเลวี่ ( Lewy Body ) เพื่อให้เกียรติแก่ผู้ค้นพบ คุณ ฟรีดริชไฮน์ริชเลวี่ มวลเลวี่ ส่งผลให้เกิดความผิดปกติต่อการทำงานของสมอง ทั้งด้าน ความคิด ความจำ การวางแผน การประมวลผลข้อมูล การเคลื่อนไหวร่างกาย รวมไปถึงความผิดปกติด้านพฤติกรรม อารมณ์ และจิตใจ

โรคสมองเสื่อม เป็นภาวะที่พบได้บ่อยในวัยสูงอายุทั้งเพศหญิงและเพศชาย เกิดได้จากหลายสาเหตุ ได้แก่โรคอัลไซเมอร์ ( Alzheimer’s Disease ) โรคพาร์กินสัน ( Parkinson’s Disease ) หลอดเลือดในสมองผิดปกติ ( VascularNeurocognitive Disorder ) มวลเลวี่ ( Lewy Body ) โรคสมองขาดเลือด ภาวะขาดวิตามินบางชนิด เช่น วิตามินบี 3  วิตามินบี 12 เป็นต้น
งานการศึกษาวิจัยของประเทศสหราชอาณาจักรพบว่า จำนวนป่วยโรคสมองเสื่อมจากมวลเลวีสูงเป็นอันดับสองรองจากป่วยโรคสมองเสื่อมจากโรคอัลไซเมอร์ โดยพบในผู้ป่วยเพศชายมากกว่าผู้ป่วยเพศหญิง สำหรับการศึกษาในประเทศไทยพบผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมจากมวลเลวีน้อยกว่าผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม ( Dementia ) จากหลอดเลือดในสมองผิดปกติ

โรคสมองเสื่อมจากมวลเลวี่ ( Dementia with Lewy Body /DLB ) คือโรคสมองเสื่อมชนิดหนึ่งที่มีสาเหตุจากการสะสมตัวที่ผิดปกติของโปรตีนแอลฟ่าไซนิวคลีน ( Alpha Synuclin ) เป็นก้อนโปรตีนสะสม ( Inclusion Body ) ในสมองส่วนเบซัล เรียกว่า มวลเลวี่ ( Lewy Body )

สาเหตุของโรคสมองเสื่อมจากมวลเลวี่

1.โปรตีนเบต้าแอลมีลอยด์ ( Beta-Amyloid )

เกิดการสะสมที่ผิดปกติของโปรตีนเบต้าแอลมีลอยด์ ( Beta-Amyloid ) ระหว่างเซลล์สมองเช่นเดียวกับที่พบระหว่างเซลล์สมองของผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์

2.โปรตีนแอลฟ่าไซนิวคลีน ( Alpha Synuclin )

การสะสมตัวที่ผิดปกติของโปรตีนแอลฟ่าไซนิวคลีน ( Alpha Synuclin ) เป็นก้อนโปรตีนสะสม ( Inclusion Body ) เรียกว่า มวลเลวี่ ( Lewy Body ) พบที่สมองส่วนเบซัล

การวิเคราะห์แยกโรคสมองเสื่อมเบื้องต้น

เนื่องจากโรคสมองเสื่อมจากมวลเลวีและโรคสมองเสื่อมจากโรคพาร์กินสัน มีอาการหลายอย่างคล้ายกัน ในบางครั้งจึงเป็นการยากที่จะวิเคราะห์หาสาเหตุที่แท้จริงของอาการสมองเสื่อม อย่างไรก็ตามยังมีพอข้อสังเกตเพื่อการวินิจฉัยแยกโรคดังนี้

1.โรคสมองเสื่อมจากมวลเลวี่ ( Dementia with Lewy Body /DLB )

ผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมจากมวลเลวี่ จะมีอาการพาร์กินสันและอาการสมองเสื่อมเกิดขึ้นร่วมกันในระยะเวลา 1 ปี โดยอาการสมองเสื่อมจะเกิดก่อนหรือหลังอาการพาร์กินสันก็ได้

2.โรคสมองเสื่อมจากโรคพาร์กินสัน ( Parkinson’s Disease Dementia )

ผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมจากโรคพาร์กินสันจะเริ่มมีอาการพาร์กินสันนำมาก่อนมากกว่า 1 ปี จึงเกิดภาวะสมองเสื่อม

อาการของโรคสมองเสื่อมจากมวลเลวี

ผู่ป่วยโรคสมองเสื่อมจากมวลเลวีจะมีอาการที่ผิดปกติทั้งทางสมอง พฤติกรรม จิตใจ และอารมณ์ หลากหลายอาการและมีความแตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละรายดังนี้

  • พฤติกรรม การประมวลความคิด การตัดสินใจ ที่แปรปรวน ( Fluctuation in Cognition ) ได้แก่ ความคิด การตัดสินใจ ผิดปกติ คิดหรือตัดสินเรื่องต่างๆไม่สมเหตุผลกับความเป็นจริง สติสัมปชัญญะไม่สมบูรณ์เป็นครั้งคราวหรือบ่อยๆ บางทีก็มีสติดี เหมือนคนปกติ พูดจารู้เรื่อง บางทีสติไม่อยู่กับตัว พูดจาไม่รู้เรื่อง ไม่อยู่ในโลกความจริงไม่มีสมาธิ เดี่ยวดีเดี๋ยวร้าย บางทีสะลึมสะลือ มีอาการเหม่อลอย หลับบ่อยช่วงเวลากลางวัน ซึ่งอาการเหล่านี้จะผันผวน เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา อาการต่างๆอาจเกิดเพียงแค่ช่วงสั้นๆหรือยาวนานเป็นชั่วโมงจนถึงเป็นวันแตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละราย
  • อาการประสาทหลอนหูแว่ว ( Hallucination ) เห็นภาพหลอน หูแว่วแต่มักไม่มีอาการหวาดกลัว เช่น เห็นนกบินไปมาในบ้าน เห็นคนห้อยหัวลงมาจากหลังคา แม้ผู้ป่วยจะรู้ว่าภาพที่เห็นไม่ใช่ของจริงแต่ก็ไม่รู้ว่าเป็นอะไร ผู้ป่วยจะบอกตัวเองว่าอย่าไปยุ่งกับมันเลย อย่ามอง แต่สุดท้ายก็ยังมองเห็นภาพหลอนอยู่อย่างนั้น

ผู้ป่วยบางรายอาจจะเห็นภาพเหมือนกับเด็กวิ่งไปวิ่งมา เห็นมดไต่อยู่ตามกำแพง เห็นดอกไม้กลายเป็นคน เห็นเป็นภาพแปลกๆ เป็นต้น หากผู้ป่วยเห็นภาพเดิมๆซ้ำๆอย่างน้อยสัปดาห์ละสองครั้ง เดือนละ 4-5 ครั้ง เป็นเวลา 3-4 เดือนติดต่อกันถึงจะบอกได้ว่าเห็นภาพหลอนที่สงสัยเกิดจากมวลเลวี

  • พฤติกรรมอาร์บีดี ( RBD : Rapid Eye Movement Sleep Behavior Disorder ) ผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม ( Dementia ) มักมีพฤติกรรมแปลกๆเกี่ยวกับการนอน มีอาการขากระตุกตอนกลางคืน เอะอะอาละวาด เดินละเมอ ตกเตียงกลางคืนบ่อยๆ ฝันร้ายบ่อยๆหลังจากเพิ่งหลับไม่นานหรือช่วงรุ่งสาง ไม่สามารถแยกแยะความจริงกับความฝัน คิดว่าฝันนั้นเป็นเรื่องจริง เช่น ฝันว่าน้ำท่วม เมื่อตื่นขึ้นมาก็โวยวายว่าน้ำท่วม ฝันว่าไปเที่ยวต่างประเทศ เมื่อตื่นขึ้นมาก็นึกว่ายังอยู่ในประเทศที่ฝันอยู่ ฝันว่าจะไปเที่ยวต่างจังหวัดก็ลุกขึ้นมาจัดกระเป๋าเดินทาง
  • กลุ่มอาการพาร์กินสัน ( Parkinsonism or Parkinson’s Disease Symptom ) ผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม ( Dementia ) มักจะมีอาการของโรคพาร์กินสันร่วมด้วย การเคลื่อนไหวร่างกายผิดปกติเช่น ก้าวขา ยกขา เดิน ลำบาก ล้มง่ายล้มบ่อย ตัวสั่น ตัวแข็งเกร็ง รวมทั้งอาจมีอาการเป็นลม หมดสติบ่อยครั้ง
  • ความไวต่อยากลุ่มโรคจิตเภท Sensitivity to Nuroleptic ( Antipsychotic ) Drugs หากผู้ป่วย โรคสมองเสื่อม ( Dementia ) ได้รับยากลุ่มรักษาโรคจิตเภท ( Antipsychotic Agent ) ร่วมด้วย มักทำให้อาการพาร์กินสันแย่ลง จากผลข้างเคียง ( Side Effect ) ของยาทำให้ผู้ป่วยมีอาการตัวแข็ง เกร็ง เพิ่มขึ้นบ่อยขึ้น ตัวร้อน ไข้ขึ้นสูง ร่วมถึงอาการประสาทหลอนเพิ่มขึ้น หากผู้ป่วยมีปัญหาตามัวจากต้อกระจกหรือสาเหตุอื่นอยู่แล้ว อาการเห็นภาพหลอนแบบแปลกๆ จะเพิ่มมากขึ้น เช่น เห็นคนตัวเล็กคลานเข้าไปผ่านรูกุญแจตู้แล้วขโมยสร้อยไขมุกออกมา
  • กลุ่มอาการทางจิตเวชอื่นๆ ( Other Psychiatric Disturbances ) ผู้ป่วยอาจมีอาการทางจิตประสาทอื่นๆร่วมด้วย นอกจากอาการประสาทหลอน เช่น ซึมเศร้า ก้าวร้าว

การวินิจฉัยโรคโรคสมองเสื่อมจากมวลเลวี

พบว่าการสืบค้นด้วยภาพถ่าย CT Scan และ MRl Scan จะไม่ช่วยในการวินิจฉัยมากนัก แต่ถ้าใช้การสืบค้นชั้นสูงด้วยภาพถ่ายการทำงานของสมอง ( Functional Imaging ) จะพบสมองกลีบท้ายทอย ( Occipital Lobe ) ที่เกี่ยวกับการเห็นทำงานลดลง ซึ่งพบได้ประมาณร้อยละ 80 ของผู้ป่วยอีกทั้งยังพบการทำงานของปมประสาทเบซัล ( Basal Ganglia ) ทำงานผิดปกติอีกด้วย

การตรวจการทำงานของการดมกลิ่นของระบบประสาทอัตโนมัติ ( ที่ควบคุมความดันโลหิต การเต้นของหัวใจ การขับถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ เป็นต้น ) ก็จะพบความผิดปกติได้ แม้ว่าผู้ป่วยมีอาการเพียงเล็กน้อย เช่น ท้องผูกบ่อย กลั้นปัสสาวะไม่อยู่บางครั้ง หรือไม่ได้กลิ่นหอมของอาหาร มีรายงานว่า ผู้ป่วยอาจมีอาการท้องผูกนำมาก่อนอาการอื่นหลายๆปีได้

เกณฑ์การวินิจฉัยโรคสมองเสื่อมจากมวลเลวี

ลักษณะทางคลินิก

  • มีอาการสมองเสื่อมที่มีผลให้การประกอบกิจวัตรประจำวันบกพร่อง

ลักษณะที่สำคัญ

  • การรู้คิดการตัดสินใจ การใช้เหตุผล สติสัมปชัญญะผิดปกติ ( Fluctuation in Cognition )
  • อาการเห็นภาพหลอนที่เกิดซ้ำบ่อยๆ ( Hallucination )
  • มีอาการแสดงของพาร์กินสัน ( Parkinsonism or Parkinson’s Disease Symptom )

ลักษณะชี้นำอย่างยิ่ง

  • มีอาการโรคพฤติกรรมการหลับในช่วงอาร์อีเอ็ม ( Rapid Eye Movement Sleep Behavior Disorder )
  • เกิดผลข้างเคียง ( Side Effect ) จากยารักษาโรคจิตเภท อาการพาร์กินสันแย่ลง โดยจะมีไข้ ตัวแข็งเกร็ง หรือชักได้
  • ผลตรวจภาพถ่ายการทำงานของสมอง ( Functional Imaging ) พบปมประสาทเบซัลทำงานลดลง

ลักษณะที่สนับสนุนการวินิจฉัย

  • หกล้มบ่อย เป็นลมบ่อย หมดสติชั่วคราว
  • ระบบประสาทอัตโนมัติทำงานผิดปกติ เช่นกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ความดันโลหิตตกเมื่อลุกยืน
  • มีอาการคิดผิดหลงผิดอย่างเป็นระบบ
  • ภาพถ่ายการทำงานของสมองพบกลีบสมองท้ายทอยทำงานลดลง
  • มีอาการซึมเศร้า
  • เนื้อสมองกลีบขมับด้านในจะไม่ฝ่อในระยะแรกของการดำเนินโรค

ลักษณะที่คัดค้านการวินิจฉัย

  • มีโรคหลอดเลือดสมองที่อธิบายอาการได้
  • มีอาการแสดงพาร์กินสันในสมองเสื่อมระยะรุนแรง

การรักษาโรคสมองเสื่อมจากมวลเลวี

ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ การรักษาอาการทางสมองและการรักษาอาการทางจิตประสาท

1.การรักษาอาการทางสมอง

  • การรักษาผู้ป่วยกลุ่มนี้คล้ายๆกับการรักษาผู้ป่วยอัลไซเมอร์ คือรักษาด้วยยาที่เพิ่ม “ สารสื่อประสาทแอซิติลโคลีน ” ( Acetylcholine ) ในสมอง ( Cholinesterase Inhibitor )
  • การรักษากลุ่มอาการของพาร์กินสัน เพื่อให้คนไข้มีอาการกล้ามเนื้อแข็งเกร็ง สั่น ลดลง สามารถเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น อย่างไรก็ตามแพทย์ต้องใช้ยาอย่างระมัดระวัง เพราะถ้าให้ยารักษาพาร์กินสันมากไป ผู้ป่วยก็จะยิ่งเห็นภาพหลอนเพิ่มมากขึ้นได้ เพราะผู้ป่วยจะไวต่อยามาก ทำให้เกิดอาการข้างเคียงจากยา เช่น ง่วงซึม ซึ่งอาจเป็นอีกหนึ่งในสาเหตุของอาการหลับบ่อยในช่วงกลางวัน ( Excessive Daytime Sleepiness : EDS )

2.การรักษาอาการทางจิตประสาท

  • การรักษาอาการประสาทหลอนด้วยยากลุ่มรักษาโรคจิตเภท ( Antipsychotics ) บางครั้งถ้าผู้ป่วยเห็นภาพหลอนจนเกิดอาการหวาดกลัว หรือคิดว่าสิ่งที่เห็นเป็นจริงก็ต้องรักษาให้อาการคิดผิดหลงผิดหายไป หรือถ้ามีการเอะอะโวยวาย นอนตกเตียงตอนกลางคืน หรือเดินละเมอ ก็อาจต้องให้ยารักษาพฤติกรรมตอนกลางคืนด้วยแต่ก็มีข้อควรระวังในการใช้ยากลุ่มนี้ พบว่ามากกว่า 50% ของผู้ป่วยอาจทำให้อาการทางพาร์กินสันแย่ลงเช่นกัน
  • การรักษาอาการซึมเศร้าด้วยยารักษาอาการซึมเศร้า ( Antidepressant ) ด้วยโดยมีข้อพึงระวังคือหากให้ยารักษาซึมเศร้ามากไปก็จะต้านฤทธิ์ของยาพาร์กินสันทำให้อาการแข็งเกร็งมีมากขึ้น ดังนั้นการให้ยาจึงต้องใช้ความระมัดระวังอย่างมาก ปัจจุบันมียาต้านเศร้ากลุ่มใหม่ออกมา ซึ่งสัมพันธ์กับสารเมลาโทนินที่ช่วยให้หลับได้ดี ยาต้านเศร้ากลุ่มนี้จะช่วยให้พฤติกรรมช่วยกลางคืนหมดไป หลับได้ดีตอนกลางคืนและตื่นรู้ตัวมีสติตอนกลางวัน

คำแนะนำสำหรับญาติและผู้ดูแลผู้ป่วย

1.ญาติและผู้ดูแลผู้ป่วย ควรมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคสมองเสื่อม จากแพทย์ผู้ทำการรักษา หรือแหล่งความรู้ต่างๆ เช่น หนังสือ แผ่นพับ ข้อมูลจากเว็บไซต์ที่น่าเชื่อถือเรื่องการดูแลผู้ป่วย เพื่อหาวิธีรับมือกับปัญหาต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้น

2.รับรู้และความเข้าใจ ถึงพฤติกรรมและอาการทางจิตประสาทต่างๆ ผู้ป่วยที่ผิดปกตินั้นเกิดจากการเสื่อมของสมอง ผู้ป่วยไม่มีความตั้งใจที่จะให้เกิดพฤติกรรมหรืออารมณ์ต่างๆ

3.ญาติและผู้ดูแลผู้ป่วยพยายามทำจิตใจให้แจ่มใส มีทัศนคติที่ดีต่อผู้ป่วย พูดคุย ดูแลผู้ป่วย ด้วยอารมณ์ที่แจ่มใส ยิ้มแย้ม จะส่งผลให้ผู้ป่วยมีอารมณ์และสุขภาพจิตที่ดีข้นเพื่อต่อสู้กับโรคที่เป็นอยู่

4.การจัดสถานที่ของผู้ป่วยให้โล่ง โปร่ง สบาย อากาศถ่ายเทสะดวก สะอาดตา เป็นระเบียบ มีแสงสว่างเพียงพอ ถ้าผู้ป่วยเห็นภาพหลอน ญาติต้องปรับสิ่งแวดล้อมในบ้านให้สว่างขึ้น ถ้าเป็นแสงสลัวๆ ผู้ป่วยอาจแปลภาพที่เห็นผิดไป ต้องจัดบ้านให้มีแสงสว่างมากขึ้น เพื่อให้ผู้ป่วยแปลความหมายของภาพได้ถูกต้อง นอกจากนี้การดูแลเรื่องความสะอาดของร่างกาย เสื้อผ้า ของผู้ป่วยก็มีความสำคัญเช่นกันเนื่องจากผู้ป่วยอาจไม่สามารถดูแลตนเองได้

5.อาหารการกินถูกหลักโภชนาการ ให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกายและส่งเสริมให้เกิดความแข็งแรงของร่างกาย รวมถึงการให้ผู้ป่วยออกกำลังกายเพื่อป้องกันไม่ให้แขนขาอ่อนแรง สามารถเคลื่อนไหวหรือเดินได้ดีขึ้น

โรคสมองเสื่อมจากมวลเลวี ผู้ป่วยมีอาการความผิดปกติของสมองทั้งด้านความคิด ความจำ การใช้เหตุผล การเคลื่อนไหวร่างกาย และอาการทางจิตประสาท เช่น ประสาทหลอน หูแว่ว โดยอาการชี้นำสำคัญในการวินิจฉัยโรค ได้แก่ มีอาการโรคพฤติกรรมการหลับในช่วงอาร์อีเอ็ม ( Rapid Eye Movement Sleep Behavior Disorder ) ภาพถ่ายการทำงานของสมอง ( Functional Imaging ) พบปมประสาทเบซัลทำงานลดลง

แม้ว่าโรคสมองเสื่อมจากมวลเลวีนี้ไม่สามารถรักษาให้หายขาดแต่ก็สามารถควบคุมอาการต่างๆได้ ให้ผู้ป่วยกลับมามีชีวิตใหม่ คุณภาพชีวิตทีดีขึ้นอีกครั้งด้วยความร่วมมือกันอย่างเต็มที่ในการรักษาทั้งจากผู้ป่วย ญาติผู้ป่วย และทีมงานแพทย์

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

วรพรรณ เสนาณรงค์. รู้ทันสมองเสื่อม / รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงวรพรรณ เสนาณรงค์: กรุงเทพฯ: อมรินทร์เฮลท์ อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2559. (22), 225 หน้า: (ชุดชีวิตและสุขภาพ ลำดับที่ 207) 1.สมอง. 2.สมอง–การป้องกันโรค. 3.โรคสมองเสื่อม. 4.โรคอัลไซเมอร์. 616.83 ว4ร7 ISBN 978-616-18-1556-1.

“NINDS Dementia With Lewy Bodies Information Page”. NINDS. 2 November 2015. Archived from the original on 9 August 2016. Retrieved 3 October 2016.

“Common Symptoms”. NIA. 29 July 2016. Archived from the original on 3 October 2016. Retrieved 3 October 2016.

Simard M, van Reekum R, Cohen T (2000). “A review of the cognitive and behavioral symptoms in dementia with Lewy bodies”. J Neuropsychiatry Clin Neurosci. 12 (4): 425–50. doi:10.1176/jnp.12.4.425. PMID 11083160.

“The Basics of Lewy Body Dementia”. NIA. 29 July 2016. Archived from the original on 6 October 2016. Retrieved 3 October 2016.

Dickson, Dennis; Weller, Roy O. (2011). Neurodegeneration: The Molecular Pathology of Dementia and Movement Disorders (2nd ed.). John Wiley & Sons. p. 224. ISBN 9781444341232. Archived from the original on 2016-10-03.

วิธีดูแลตัวเองให้ห่างไกลโรคข้อและกระดูก

0
วิธีดูแลตัวเองให้ห่างไกลโรคข้อและกระดูก
ร่างกายของคนเรามีการสร้างกระดูกและการทำลายกระดูกไปพร้อมๆ กัน ในร่างกายของคนปกติจะมีกระบวนการสร้างและการทำลายกระดูกเกิดขึ้นตลอดเวลา
วิธีดูแลตัวเองให้ห่างไกลโรคข้อและกระดูก
กระดูกคอ เป็นกระดูกส่วนที่สามารถเคลื่อนไหวได้ทุกทิศทุกทาง ส่งผลให้กระดูกคอมีความเสื่อมและรู้สึกปวดได้มากกว่ากระดูกส่วนอื่น

กระดูก

คุณรู้หรือไม่ว่า ร่างกายของคนเรามีการสร้าง กระดูก และการทำลายกระดูกไปพร้อมๆ กัน ในร่างกายของคนปกติจะมีกระบวนการสร้างและการทำลายกระดูกเกิดขึ้นตลอดเวลา ซึ่งการเกิดกระบวนการทั้งสองจะเกิดขึ้นพร้อมๆ กัน ในวัย หนุ่มสาวการสร้างและการทำลายเพื่อสร้างสมดุลของประมาณกระดูกในร่างกายทำให้กระดูกมีความแข็งแรงอยู่เสมอ แต่เมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุกระบวนการสร้างจะมีการสร้างเนื้อกระดูกลดลง และทว่ากระบวนการทำลายเนื้อกระดูกกลับเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นผลให้ผู้สูงอายุมีโอกาสที่กระดูกจะเกิดความเสื่อมทรุดโทรมหรือเปราะแตกหักได้ง่ายขึ้น อวัยวะที่เกิดการเสื่อมที่พบได้บ่อยมากๆ คือ ข้อมือ สะโพกและส่วนของกระดูกสันหลัง เรามาทำความรู้จักกับอวัยวะที่เกิดความเสื่อมแต่ละส่วนกัน ดังนี้

อวัยวะที่เกิดความเสื่อมในร่างกาย

1. กระดูกสันหลัง

กระดูกสันหลัง คือ กระดูกที่เป็นแกนหลังของสัตว์มีกระดูกสันหลัง ซึ่งมนุษย์เราก็จัดเป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังเช่นเดียวกัน กระดูกสันหลังคือส่วนของกระดูกตั้งแต่ต้นคอลงมาถึงก้น มีลักษณะแอ่นที่บริเวณคอกับเอว โค้งที่บริเวณทรวงอกกับก้อนกบ ซึ่งแต่ละอวัยวะจะสามารถเคลื่อนไหวได้ในทิศทางที่แตกต่างกัน

  • กระดูกคอ เป็นกระดูกส่วนที่สามารถเคลื่อนไหวได้ทุกทิศทุกทาง คือ ก้ม เงย หมุนขวาหรือหมุนซ้าย ตะแคงขวาหรือซ้าย ด้วยการที่กระดูกคอสามารถเคลื่อนไหวได้มากทุกทิศ ส่งผลให้กระดูกคอมีความเสื่อมและรู้สึกปวดได้มากกว่ากระดูกส่วนอื่น ซึ่งสาเหตุมักมาจากการที่เรานั่ง นอนหรือทำงานในท่าที่ไม่ถูกต้องเป็นส่วนมาก
  • กระดูกทรวงอก เป็นกระดูกที่เคลื่อนไหวได้น้อยมาก คือ ทำได้แค่หมุนหรือบิดไปทางขวาหรือทางซ้ายเท่านั้น จึงเกิดการสึกหรอได้น้อย
  • กระดูกเอว เป็นกระดูกที่มีการเคลื่อนไหวได้มากพอๆ กับกระดูกคอ คือ หมุนขวาซ้าย ก้มหรือเงย จึงเกิดการสึกหรอได้มากเช่นกัน

2. หมอนรองกระดูก

หมอนรองกระดูก เป็นเนื้อเยื่อที่มีความยืดหยุ่นทำหน้าที่รองรับหรือลดแรงกระแทกระหว่างกระดูกสันหลังสองชิ้นที่อยู่ติดกัน จะมีลักษณะประกบกันอยู่โดยมีตัวยึดอยู่เพียง 4 จุดเท่านั้น บริเวณตรงกลางของหมอนรองกระดูกจะเป็นส่วน ของศูนย์รวมเส้นประสาท หมอนรองกระดูกจะเสื่อมอยู่ตลอดเวลาหลังจากที่มีการพัฒนาจนเต็มที่แล้ว นั่นคือเมื่ออายุประมาณ 25 ปีขึ้นไป หมอนรองกระดูกจะเริ่มเสื่อมแล้ว และยิ่งน้ำมีน้ำหนักตัวสูง นั่ง นอน ทำงานที่ต้องยกของหนักนานๆ ก็จะยิ่งทำให้หมอนรองกระดูกเสื่อมเร็วขึ้นด้วย ถ้าอยู่ในสภาวะปกติหมอนรองกระดูกจะเสื่อมลงประมาณ 4 เซนติเมตร ทำให้เมื่อแก่ตัวลงความสูงจะลดลงประมาณ 4 เซนติเมตรนั่นเอง แต่ถ้ามีภาวะหมอนรองกระดูกเสื่อมเกิดขึ้นผิดปกติ หมอนรองกระดูกก็สามารถเสื่อมมากกว่า 4 เซนติเมตรส่งผลให้คนเตี้ยลงและลงพุงได้

3. เส้นประสาทคอ

เส้นประสาทคอ เส้นประสาทคอประกอบด้วยเส้นประสาท 8 คู่ ดังนั้นถ้าเกิดภาวะกระดูกคอเสื่อมเกิดขึ้นจะทำให้เกิดภาวะปวดตามจุดต่างๆ ดังนี้

คู่ที่ 1 จะส่งผลให้เกิดอาการปวดที่บริเวณศีรษะ
คู่ที่ 2 จะเกิดอาการปวดที่บริเวณหลังหู กระบอกตาและขมับ
คู่ที่ 3 จะส่งผลให้เกิดอาการปวดที่ต้นคอ
คู่ที่ 4 จะส่งผลให้เกิดอาการปวดที่สะบัก
คู่ที่ 5 จะส่งผลให้เกิดอาการปวดที่บ่าและบริเวณไหล่
คู่ที่ 6 จะส่งผลให้เกิดอาการปวดที่ต้นแขนทั้งสองข้าง
คู่ที่ 7 จะส่งผลให้เกิดอาการปวดที่ปลายแขนทั้งสองข้าง
คู่ที่ 8 จะส่งผลให้เกิดอาการปวดที่มือทั้งสองข้าง

4. เส้นประสาทเอว

เส้นประสาทเอว ประกอบด้วยเส้นประสาททั้งหมด 5 คู่ ถ้ากระดูกเอวเกิดการเสื่อมจะส่งผลให้เกิดอาการปวดตามจุด ดังนี้

เส้นประสาทคู่ที่ 1 จะมีอาการปวดที่บริเวณเอว
เส้นประสาทคู่ที่ 2 จะมีอาการปวดที่บริเวณโคนขาหรือต้นขา
เส้นประสาทคู่ที่ 3 จะมีอาการปวดที่บริเวณหัวเข่าทั้งสองข้าง
เส้นประสาทคู่ที่ 4 จะมีอาการปวดที่บริเวณน่อง
เส้นประสาทคู่ที่ 5 จะมีอาการปวดที่บริเวณเท้าทั้งสองข้าง

การที่อวัยวะมีการใช้งานที่มากหรือมีการใช้งานอวัยวะอย่างผิดท่วงท่า ทั้งการเดิน การยืน การนั่งและการนอน ซึ่งทุกท่วงท่าที่เราทำในกิจวัตรประจำวันต่างส่งผลให้กระดูกมีความเสื่อมมากขึ้นทุกครั้ง ดังนั้นการป้องกันไม่ให้กระดูกสึกหรอเราควรที่จะนั่ง ยืน นอนและทำงานด้วยท่าทางที่ถูกต้อง

วิธีการป้องกันไม่ให้กระดูกสึกหรอ

1. การนอน

การนอน การนอนเป็นกิจกรรมที่มนุษย์เราทำมากที่สุด โดยเราจะนอนประมาณวันละ 5 – 8 ชั่วโมง ดังนั้นถ้าเรานอนด้วยท่าที่ไม่ถูกต้องย่อมส่งผลให้กระดูกเกิดความเสื่อมมากกว่าปกติ และที่นอนก็ควรเป็นที่นอนที่นอนแล้วจมลงประมาณ 1-2 เซนติเมตรเท่านั้น และที่นอนควรทำมาจากใยมะพร้าว เพราะใยมะพร้าวสามารถระบายอากาศได้ดี ลักษณะของท่านอนที่เหมาะสม คือ

  • นอนหงาย การนอนหงายถ้าเรานอนบนราบบนที่นอนโดยไม่มีหมอนรองคอและเข้า จะพบว่าที่บริเวณหลังจะแอ่นทำให้กระดูกสันหลังเสื่อมมากขึ้น ดังนั้นการนอนหงายที่เหมาะสมต้องมีหมอนรองคอไม่สูงมากให้เท่ากับช่วงช่องว่างระหว่างที่นอนถึงต้นคอ และนำหมอนมาลองบริเวณเข้าหรือใต้โคนขาให้ยกสูงขึ้นจากพื้น ซึ่งการนอนแบบนี้จะทำให้ส่วนของหลังราบไปกับพื้นที่นอนไม่แอ่นช่วยลดความเสื่อมของกระดูกสันหลังได้
  • นอนตะแคง จากการศึกษาพบว่าการนอนตะแคงเป็นท่านอนที่ดีที่สุด เพราะว่าการนอนตะแคงหลังจะตรง ถ้าจะให้ดีที่สุดให้นอนตะแคงพร้อมกับกอดหมอนข้างใบใหญ่ๆ ขาที่อยู่ด้านล่างให้เหยียดตรงขนานกับหมอนข้าง ขาที่อยู่ด้านบนให้ยกก่ายบนหมอนข้าง จึงจะเป็นท่าการนอนตะแคงที่เหมาะสมที่สุด
  • นอนคว่ำ เป็นท่านอนที่ไม่ดีต่อร่างกาย เพราะการนอนคว่ำกระดูกสันหลังจะแอ่นมากส่งผลให้มีอาการปวดหลังเกิดขึ้นโดยเฉพาะบริเวณเอว ทำให้กระดูกสันหลังมีความเสื่อมเกิดขึ้นมากและการนอนคว่ำยังทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพออีกด้วย

นอกจากท่าการนอนที่ต้องระวังให้เหมาะสมแล้ว ขั้นตอนการลุกขึ้นจากที่ท่านอนก็สำคัญเช่นกัน การลุกขึ้นจากที่นอนไม่ควรสปริงตัวลุกขึ้นตรงๆ อย่างรวดเร็วเพราะการลุกแบบนั้นจะส่งผลให้กระดูกสันหลังสึกหรอเพิ่มขึ้น การลุกขึ้นจากที่นอนถ้านอนหงายให้เปลี่ยนเป็นท่านอนตะแคง งอเข่าทั้งสองข้า แล้วค่อยใช้ศอกและมือที่อยู่ด้านล่างดันตัวลุกขึ้นจากที่นอน และค่อยๆ ลดขาลงจากที่นอนวางกับพื้นจนอยู่ท่านั่งตัวตรงบนที่นอน แล้วค่อยๆ ดันตัวลุกขึ้นโดยควรให้หลังตั้งตรงในขณะที่ดันตัวลุกขึ้น ส่วนการนอนก็ควรทำเหมือนการลุกขึ้นเพียงแต่ทำย้อนกลับ คือ นั่งบนที่นอน ลงนอนตะแคงแล้วค่อยเปลี่ยนเป็นท่านอนที่ต้องการต่อไป

ร่างกายของคนเรามีการสร้างกระดูกและการทำลายกระดูกไปพร้อมๆ กัน ในร่างกายของคนปกติจะมีกระบวนการสร้างและการทำลายกระดูกเกิดขึ้นตลอดเวลา

2. การดูโทรทัศน์หรืออ่านหนังสือ

การดูโทรทัศน์หรือการอ่านหนังสือควรจะนั่งอ่านจะดีกว่าการนอนอ่านหนังสือหรือดูโทรทัศน์ เพราะว่าการนอนจะทำให้เราเกร็งคอและกระดูกสันหลังเกิดการโค้งหรือแอ่นส่งผลให้หมอนรองกระดูกเสื่อมมากขึ้น

3. การนั่ง

  • อ่านหนังสือหรือทำงาน ท่านั่งที่เหมาะสมควรนั่งบนเก้าอี้ที่มีพนักพิง ท่านั่งที่เหมาะสม คือ นั่งให้เต็มก้น หลังตั้งตรงพิงกับพนักพิง เท้าวางบนพื้นแบบเต็มๆ นอกจากท่านั่งที่ดีเหมาะสมแล้วเก้าอี้ที่นำมานั่งควรมีความสูงพอดีให้สามารถวางเต็มฝ่าเท้าบนพื้นได้ ที่นั่งสามารถรองรับก้นได้ทั้งหมดและถ้ามีขนาดกว้างรองมาถึงใต้เข่าก็จะมีมาก พนักพิงทำมุมเอียง 110 องศากับพื้นที่นั่งของเก้าอี้

นอกจากเก้าอี้ที่ใช้นั่งแล้วโต๊ะทำงานก็ควรเหมาะสมกับการใช้งานด้วย คือ โต๊ะทำงานควรมีความลาดเอียงเข้าหาคนนั่งจะดีเพราะเวลานั่งทำงานหรืออ่านหนังสือจะได้ไม่ต้องก้มคอมากนขณะที่ทำงานหรืออ่านหนังสือ

  • การนั่งหน้าเครื่องคอมพิวเตอร์หรือพิมพ์ดีด ปัจจุบันนี้คนต้องนั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์หรือพิมพ์ดีดกันวันละหลายชั่วโมง บางคนนั่งด้วยท่าที่ผิด กระดูกจึงเกิดสึกหรอมากเพราะนั่งเป็นเวลานาน การนั่งที่เหมาะสมสำหรับการนั่งหน้าคอมพิวเตอร์คือ หน้าจอต้องอยู่ระดับสายตาของผู้ทำงาน ระยะห่างประมาณ 2-3 ฟุต ควรมีแผ่นกรองแสงเพื่อช่วยกรองแสงที่เป็นอันตรายต่อดวงตาก็จะดีเป็นการช่วยถนอมสายตา คีย์บอดหรือแป้นพิมพ์ควรอยู่ระดับเอวหรือเหนือหน้าตักเล็กน้ย ไม่ควรวางแป้นพิมพ์บนโต๊ะทำงานที่มีความสูงกว่าระดับเอวเพราะเวลาที่พิมพ์จะต้องยกไหล่ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ปวดไหล่
  • การนั่งของผู้บริหาร ส่วนมากเก้าอี้สำหรับผู้บริหารมักเป็นเก้าที่สามารถเอนไปข้างหลังได้มากและนุ่มสบาย การที่เก้าอี้สามารถเอนไปข้างหลังได้นั้นทำให้เวลาที่ต้องทำงานหรือดูเอกสารบนโต๊ะจะต้องก้มหน้ามากกว่าการนั่งเก้าอี้ปกติคล้ายกับเวลาที่เราหนุนหมอนสูงๆ นั่นเอง ดังนั้นเก้าอี้สำหรับผู้บริหารควรสูงกว่าศีรษะเพื่อที่จะได้รองรับศีรษะได้ทั้งหมดเวลาที่พิงเก้าอี้และที่บริเวณคอควรนูนขึ้นมาเพื่อรองรับกระดูกบริเวณช่วงต้นคอ เวลาที่ต้องการลูกขึ้นจากที่นั่งไม่ควรลุกขึ้นทันทีจากเก้าอี้ ให้เลื่อนตัวมาข้างหน้าเล็กน้อยเพื่อที่ขาจะได้วางบนพื้นได้อย่างมั่นคง แล้วค่อยๆ เท้าแขนกับที่วางแขนยันตัวลุกขึ้นจากเก้าอี้
  • การนั่งขับรถยนต์ รถยรต์เป็นพาหนะที่ใช้กันมาก บางคนต้องนั่งขับรถนานหลายชั่วโมงเพราะสภาพการจราจรที่ติดขัด ท่านั่งขับรถยนต์จึงสามารถช่วยลดการสึกหรอของกระดูกได้เช่นกัน ท่านั่งขับรถยนต์ที่เหมาะสมให้เลื่อนเก้าอี้เข้ามาใกล้พวงมาลัยให้พอดีกับช่วงที่เท้าสามารถเหยียบคลัชน์และคัดเร่งได้เต็มเท้า คือเลื่อนที่นั่งคนขับเข้าใกล้พวงมาลัยจนเข่าสูงกว่าหน้าตักเล็กน้อย เวลาขับรถจะได้ไม่ต้องใช้เพียงปลายเท้าเหยียบคลัชน์หรือคันเร่งเท่านั้นพนักพิงไม่ควรเอนเกิน 110 องศาเพราะจะทำให้ต้องเกร็งช่วงหลังมากกว่าปกติ เบาะที่นั่งไม่ควรนิ่มจนเวลานั่งเกิดการยุบตัวลงไปมากๆ ให้ยุบตัวได้เล็กน้อย เวลาที่ต้องการเข้าไปนั่งขับรถยนต์ให้หันหลังให้กับเบาะและทำการนั่งลงไปแล้วค่อยหมุนหน้าเข้าหาพวงมาลัยในภายหลัง ส่วนการออกนอกรถให้หมุนตัวเอาขาออกจากนอกรถก่อนแล้วค่อยดันตัวลุกขึ้นจากเบาะรถ

4. การเลื่อนสิ่งกีดขวาง

บางครั้งเมื่อเราจอดรถไว้ในที่จอดรถแล้วมีรถมาจอดขวางหน้ารถ เราก็ต้องทำการเลื่อนรถออกไปหรือการลากสิ่งกีดขวางต่างๆ เราสามารถทำได้สองแบบ คือ 

  • การดัน การดันให้ใช้อวัยวะส่วนก้นดัน โดยให้หันหลังให้กับสิ่งของนั้น แล้วใช้ส่วนก้นสัมผัสกับสิ่งของหรือรถแล้วค่อยๆ ออกแรงที่ละน้อยจนกระทั่งรถเกิดการเคลื่อนที่ไป อย่างใช้แขน เอวหรือหลังในการดันสิ่งของหรือรถ
  • การดึง การฉุดหรือลากวัตถุให้เราหันหลังให้วัตถุที่ต้องการลาก แล้วใช้มือเอื่อมไปข้างหลังแล้วค่อยๆ ออกแรงดึง

5. การไอหรือจาม

เวลาที่เราไอหรือจามจะมีแรงกระแทกต่อทรวงอก ซึ่งแรกกระแทกนี้จะทำให้กระดูกเกิดการสึกหรอ ดังนั้นเวลาไปหรือจามให้อยู่ในท่าหลังตรง ใช้มือดันหลังไว้หนึ่งมือเพื่อช่วยลดแรงกระแทกขณะที่ไอหรือจาม และอีกมือให้นำมาปิดปากกับจมูกไว้ ป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค

6. กิจกรรมในห้องน้ำ

การอาบน้ำแปรงฟันเป็นกิจกรรมที่ต้องทำในทุกวัน การอาบน้ำควรนั่งบนเก้าอี้หรือยืนอาบน้ำได้ทั้งสองอย่างและเวลาที่ต้องการถูสบู่หรือทำความสะอาดร่างกาย ให้ใช้วิธีการยกขาขึ้นมาทำความสะอาด ห้ามก้มหลังเพื่อไปทำความสะอาดร่างกายส่วนล่าง เพื่อลดความเสื่อมของกระดูกที่เกิดขึ้น และเวลาแปรงฟัน ให้ยืนหรือนั่งหลังตรงอย่าก้มหน้าแปรงฟันก็จะช่วยลดการสึกหรอของกระดูกได้เช่นกัน การนั่งส้วมควรนั่งบนโถชักโครงทั้งหมด อย่านั่งเพียงครึ่งเดียวหรือนั่งไม่เต็มก้น นั่งหลังตรงและไม่ควรอ่านหนังสือหรือทำกิจกรรมอื่นๆ ขณะนั่งส้วม

7. การยืน

ท่ายืนที่เหมาะสมคือหลังตรง หน้าตรงจะดีที่สุด สำหรับคนที่ต้องยืนเป็นเวลานาน อย่างคนที่เป็นยามควรจะมีตั่งที่สูงประมาณครึ่งน่องไว้สำหรับผ่อนคลายกล้ามเนื้อและกระดูกขา โดยให้ทำการยกเท้าขวาขึ้นวางไว้สักพักและสลับเอาเท้าซ้ายยกขึ้นแทนเท้าขวา เพราะว่าเวลาที่เรางอสะโพกหรือหัวเข่า กระดูกสันหลังขอเราจะตั้งตรงไม่งอหรือแอ่น ลดอาการปวดหลังเนื่องจากการยืนเป็นเวลานาน

ท่าออกกำลังกายที่เสริมสร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรงลดการสึกหรอของกระดูก

นอกจากการใช้ท่าทางในการทำกิจกรรมให้ถูกต้องเหมาะสมแล้ว การออกกำลังหรือการทำกายบริหารก็สามารถช่วยป้องกันไม่ให้กระดูกเสื่อมได้ด้วย โดยเชื่อว่าถ้าเราทำให้กล้ามเนื้อทุกส่วนมีความแข็งแรงเท่า ๆ กัน เมื่อกล้ามเนื้อแข็งแรงจะช่วยรองรับและลดการเสียดสีของกระดูกให้น้อยลง ความเสื่อมของกระดูกจึงลดลง แล้วการออกกำลังที่ช่วยลดความเสื่อมของกระดูก ซึ่งวันนี้เราได้นำท่าออกกำลังกายที่เสริมสร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรงเพื่อช่วยลดการสึกหรอของกระดูกจำนวน 6 ท่า คือ 

1. บริหารกล้ามเนื้อหน้าท้อง

  • ท่าเริ่มต้น นอนหงาย งอเข่าทั้งสองข้างขึ้น สอดมือไว้ใต้คอ เริ่มออกกำลังด้วยการยกศีรษะขึ้นเล็กน้อยพร้อมกับทำการเหยียดขาให้ตรงเท่าที่จะทำได้ นับ 1-5 กลับสู่ทางเริ่มต้น ทำซ้ำ 6 ครั้ง
  • ท่าเริ่มต้น นอนหงาย งอเข่าทั้งสองข้างขึ้น นำขาขวาไขว่ทับขาซ้าย เริ่มออกกำลังด้วยการยกข้อศอกและลำตัวขวาเอียงเข้าหาขาซ้าย นับ 1-5 ทำทั้งซ้ายและขวาจนครบข้างละ 6 ครั้ง
  • ท่าเริ่มต้น นอนหงาย สอดมือไว้ใต้คอ เริ่มออกกำลังด้วยการยกขาซ้ายขึ้น เหยียดตรง บิดสะโพกไปทางขวา นับ 1-5 ทำซ้ำ 6 ครั้ง และสลับยกขาขวาและบิดสะโพกไปทางขวา นับ 1-5 ทำซ้ำ 6 ครั้ง
  • ท่าเริ่มต้น นอนหงาย มือกอดอก ยกก้นให้สูงขึ้นจากพื้นเล็กน้อย เกร็งกล้ามเนื้อก้น บริเวณหลังต้องแนบอยู่กับพื้นห้ามยกหลังตามก้นขึ้นมา นับ 1-5 ทำซ้ำ 6 ครั้ง

2. การบริหารกล้ามเนื้อหลัง

ท่าช่วยให้กล้ามเนื้อหลังมีความแข็งแรง โดยนอนหงาย ยกเข่างอขึ้นทั้งสองข้าง เอามือสอดใต้เข่าแล้วค่อย ๆ ดึงเข่ามาชิดบริเวณหน้าอก

3. การบริหารกล้ามเนื้องอของสะโพก

ท่าช่วยบริหารกล้ามเนื้อสะโพกให้มีความแข็งแรง ลดอาการปวดเอวได้เป็นอย่างดี โดยนอนหงาย ยกเข่าข้างขวาขึ้น เอามือสอดใต้เข่าที่ยกขึ้นมาพร้อมทั้งดึงเข้าหาบริเวณหน้าอก นับ 1-5 ทำซ้ำ 6 ครั้งและสลับยกขาข้างซ้ายขึ้น เอามือสอดใต้เข่าที่ยกขึ้นมาพร้อมทั้งดึงเข้าหาบริเวณหน้าอก นับ 1-5 ทำซ้ำ 6 ครั้ง

4. ท่าบริหารกล้ามเนื้อเหยียดของสะโพก

เริ่มต้นด้วยการนอนหงาย งอเข่าข้างขวาขึ้น ใช้ส้นเท้าซ้ายมาดันบริเวณหัวเข่าด้านขวา ออกแรงที่ส้นเท้าซ้ายงดให้เข่าขวาเอนลงมาชิดกับพื้น นับ 1-5 และสลับงอเข่าซ้ายขึ้น ใช้ส้นเท้าขวาดันบริเวณหัวเข่าด้านซ้าย ออกแรงที่ส้นเท้าขวาดันเข่าซ้ายจนหัวเข่าซ้ายชิดกับพื้น นับ 1-5 ทำสลับซ้ายขวาจนครบข้างละ 6 ครั้ง

5. การบริหารกล้ามเนื้อโคนขา

นั่งบนพื้นเรียบ งอเข่าขวา ขาซ้ายเหยียดตรง ยื่นมือไปแตะที่ปลายเท้าซ้าย นับ 1- 5 ค่อยปล่อยมือออก สลับงอเข่าซ้าย ขาขวาเหยียดตรง ยื่นมือไปแตะที่ปลายเท้าขวา นับ 1-5 ค่อย ๆ ปล่อยมือออก ทำสลับซ้าย ขวา จนครบข้างละ 6 ครั้ง   

6. ท่าบริหารกล้ามเนื้อน่อง

ยืนหันหน้าเข้าหาโต๊ะหรือราวยึด เอามือยันกับโต๊ะหรือราวยึด งอเข่าขวาไปข้างหน้าและเหยียดขาซ้ายไปด้านหลัง พร้อมทั้งแอ่นตัวไปข้างหน้าด้วย นับ 1-5 สลับเอางอเข่าซ้ายไปข้างหน้า เหยียดขาขวาไปด้านหลัง พร้อมทั้งแอ่นตัวไปข้างหน้าด้วย นับ 1-5 ทำสลับกันจนครบข้างละ 6 ครั้ง ห้ามยืนแล้วก้มตัวเอามือแตะเท้าเพราะการออกกำลังกายด้วยท่านั้น จะส่งผลให้กระดูกเกิดการกระทบกันมากจนเป็นสาเหตุให้กระดูกสึกหรอเพิ่มขึ้น

การออกกำลังกายที่ดีเพื่อลดความเสื่อมหรือการสึกหรอของกระดูก ควรจะดูถึงความเหมาะสมกับตัวเองด้วย โดยต้องคำนึกถึงอายุ เพศของผู้ที่ออกกำลังกายด้วย เช่น คนหนุ่มสาวสามารถออกกำลังกายด้วยการวิ่งได้ แต่ผู้สูงอายุควรออกกำลังกายด้วยการเดิน ยืนแขว่งแขน การลำไทเก็ก เป็นต้น เพื่อที่กล้ามเนื้อจะได้แข็งแรงสมบูรณ์

การออกกำลังกายในปัจจุบันนี้มีอยู่หลายรูปแบบให้เราเลือกทำกัน ตามกำลังฐานะและเวลาที่สามารถใช้ในการออกกำลังกายได้ เรามาดูกันว่าการออกกำลังกายแบบใดบ้างที่เหมาะสมกับช่วงอายุหรือควรออกอย่างไรบ้างจึงจะเหมาะสม ช่วยลดการสึกหรอของกระดูกได้

การออกกำลังกายเหมาะสมกับช่วงอายุ

1. การเล่นกอล์ฟ

การเล่นกอล์ฟเป็นกีฬาที่นิยมเล่นกันมากในหมู่ของนักธุรกิจ ผู้บริหารเพราะการเล่นกอล์ฟนอกจากจะได้ออกกำลังกายแล้วยังบช่วยฝึกสมาธิให้กับผู้เล่นได้ การเล่นกอล์ฟมากกว่า 99% จะบาดเจ็บจากการไดร์ฟกอล์ฟ และมีแค่ 1% เท่านั้นที่เกิดจากสนามกอล์ฟ การไดร์ฟกอล์ฟแบบปกติที่ใช้เวลาไม่นานจะไม่สร้างการบาดเจ็บให้กับกล้ามเนื้อแต่ถ้ามีการเล่นที่ยาวนานเกินไปหรือไดร์ฟติดต่อกันมาก ๆ เช่น การตีจากเครื่องอัตโนมัติ หรือการตีไม่โดนลูกกอล์ฟแต่ตีไปโดนก้อนหิน ก้อนอิฐก็จะทำให้ไหปลาร้าหักได้เลยทีเดียว คนที่เคยผ่าตัดกระดูกสันหลังหรือกระดูกทับเส้นสามารถเล่นกอล์ฟได้แต่ต้องใส่เสื้อที่ออกมาพิเศษด้วย

2. โยคะ

การเล่นโยคะช่วยฝึกสมาธิและลมหายใจที่มีผลดีต่อการเพิ่มปริมาณออกซิเจนในเลือด แต่ไม่ถือว่าเป็นการออกกำลังกาย และบางท่าในการเล่นโยคะนั้น อาจสร้างความเสียหายให้กับกล้ามเนื้อได้เพราะการเล่นโยคะมีการทำท่าทางที่ผิดธรรมชาติ เช่น การแอ่นหลัง การทรงตัวด้วยศีรษะ ซึ่งท่าทางเหล่านี้จะทำให้กระดูกหลังเสื่อมได้

3. ไทเก๊ก

ไทเก๊กเป็นการออกกำลังกายที่ดีที่สุดสำหรับผู้สูงอายุ เพราะเป็นการออกกำลังกายที่เคลื่อนไหวช้า ๆ และกล้ามเนื้อไม่ได้รับแรงกระแทกใด ๆ ทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรงหรือจะเป็นการออกกำลังแบบชี่กง ที่ให้จินตนาการว่ากำลังทำสิ่งนั้น เช่น การจินตาการว่ายกของหนัก การว่ายน้ำ เป็นต้น ซึ่งไม่ต้องทำจริงแต่สามารถทำให้กล้ามเนื้อได้ออกแรงเช่นเดียวกับการออกกำลังกายอื่น ๆ   

4. การดึงคอ

การดึงเป็นการยืดเอ็นที่อยู่ให้ห่างออกมา คนที่มีข้อต่อกระดูกหลังเกิดการยุบสามารถรักษาได้โดยการดึกคอได้ แต่ทว่าการดึงคอนั้นมีข้อห้าม คือคนกระดูกหัก กระดูกเชื่อมต่อกันหมดหรือคนที่เป็นโรครูมาตอยด์ห้ามทำการรักษาด้วยวิธีนี้อย่างเด็ดขาด หรือถ้าต้องการรักษาด้วยวิธีนี้จริงก็ต้องมีแพทย์เฉพาะทางเป็นคนดำเนินการรักษาเท่านั้น

5. การวิ่งหรือเต้นแอโรบิค

การออกกำลังกายแบบนี้ไม่เหมาะสมเป็นอย่างยิ่ง ถึงแม้ว่าการวิ่งจะช่วยให้กล้ามเนื้อหัวใจแข็งแรง เพราะถือเป็นการออกกำลังกายแบบหนักทำให้กระดูกมีความสึกหรอมากขึ้น โดยเฉพาะส่วนของข้อที่ต้องรับการกระแทกในขณะที่วิ่งหรือเต้นแอโรบิค ในขณะที่วิ่งหรือเต้นแอโรบิคขาและข้อต้องรับน้ำหนักถึง 3 ของน้ำหนักตัว ดังนั้นถ้าต้องการออกกำลังกายด้วยการวิ่งหรือเต้นแอโรบิคให้ออกกำลังด้วยการเดินแทน เพราะการเดินขาจะรับน้ำหนักแค่น้ำหนักตัวไม่มีรองรับแรกกระแทกเพิ่มขึ้น จึงช่วยป้องกันการสึกหรอของกระดูกได้

สำหรับผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป ควรดูแลเอาใจใส่ร่างกายเป็นพิเศษเพราะในวัยนี้อัตราการสร้างกระดูกจะลดน้อยลงมากจนแทบจะไม่เกิดการสร้างเนื้อกระดูกเลย แต่อัตราการทำลานเนื้อกระดูกกลับอยู่ในสภาวะเท่าเดิมทำให้กระดูกมีความเสื่อมเพิ่มขึ้น ดังนั้นจึงควรออกกำลังกาย เลือกกินอาหารเพื่อสุขภาพ ไม่ควรนั่ง นอนหรือยืน นาน ๆ ให้หมั่นเปลี่ยนอิริยาบทบ่อย ๆ เป็นการช่วยลดความเสื่อมของกระดูกได้เป็นอย่างดี รู้อย่างนี้แล้วต้องรีบทำตามที่ศาสตราจารย์กิตติคุณและนายแพทย์เสก อักษรานุเคราะห์ ผู้อำนวยการศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู สภากาชาดไทยได้แนะนำการดูแลสุขภาพสำหรับผู้บุคคลทั่วไปและผู้ที่มีอายุ 55 ปีขึ้นไปจะได้ห่างไกลจากโรคข้อ ปวดคอ ปวดหลังและการปวดกล้ามเนื้อจากการทำงานได้

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

นิดดา หงษ์วิวัฒน์. แสงแดด โอสถมหัศจรรย์ แสงแห่งชีวิตที่เป็นยารักษาโรค. กรุงเทพฯ : บริษัท สำนักพิมพ์แสงแดด จำกัด, 2558., 223 หน้า. 

สรุปการบรรยายของ ศาสตราจารย์กิตติคูณ และนายแพทย์เสก อักษรานุเคราะห์

ความดันโลหิตสูง ( Hypertension )

0
วิธีการตรวจหาเบาหวานแต่เนิ่นๆ
การคัดกรองผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงตั้งแต่ระยะเนิ่นๆเพื่อจะได้คัดแยกผู้ป่วยรักษาตามอาการและรีบให้การรักษาอย่างทันท่วงที
วิธีการตรวจหาเบาหวานแต่เนิ่นๆ
การคัดกรองผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงตั้งแต่ระยะเนิ่นๆเพื่อจะได้คัดแยกผู้ป่วยรักษาตามอาการและรีบให้การรักษาอย่างทันท่วงที

โรคความดันโลหิตสูง

ความดันโลหิตสูง ( Hypertension ) คือ การที่ความดันช่วงบน มีค่าตั้งแต่ 130 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป และ/หรือความดันช่วงล่างมีค่าตั้งแต่ 80 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป การคัดกรองผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงตั้งแต่ระยะต้นทาง ( Early Phase ) จำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อจะได้คัดแยกผู้ป่วยรักษาตามอาการและรีบให้การรักษาอย่างทันท่วงที ส่วนมากจะเริ่มจากกลุ่มผู้ป่วยที่ผู้ป่วยที่อยู่ในระยะที่มีความเสี่ยง การเป็นโรคความดันโลหิตสูง ( Risk Factor ) โดยมีเป้าหมายในการแนะแนวทางการศึกษา คือ การค้นหาและทำการคัดกรองปัจจัยเสี่ยง ( Risk Factor ) ของโรคความดันโลหิตสูง และยืนยันการเป็นโรคความดันโลหิตสูงปฐมภูมิ ( Primary Hypertension ) ได้นั่นเอง ซึ่งค่าที่วัดได้ 2 ค่า คือ

  • ความดันช่วงบน หรือ ความดันซิสโตลี ( Systolic blood pressure ) หมายถึง แรงดันเลือดในขณะที่หัวใจบีบตัว ซึ่งอาจจะสูงตามอายุ และความดันช่วงบนของคนคนเดียวกัน อาจมีค่าที่ต่างกันออกไป ตามท่าเคลื่อนไหวของร่างกาย การเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ และปริมาณของการออกกำลังกาย
  • ความดันช่วงล่าง หรือ ความดันไดแอสโตลี ( Diastolic blood pressure ) หมายถึง แรงดันเลือดในขณะที่หัวใจคลายตัว ในปัจจุบันได้มีการกำหนดค่าความดันโลหิตปกติ และระดับความรุนแรงของโรคความดันโลหิตสูง

สาเหตุที่เกิดโรคความดันสูง

  • พันธุกรรม โอกาสจะสูงมากขึ้นเมื่อมีคนในครอบครัวเป็นโรคนี้
  • โรคเบาหวาน เพราะก่อให้เกิดการอักเสบตีบแคบของหลอดเลือดต่างๆ รวมทั้งหลอดเลือดของไต
  • โรคไตเรื้อรัง เพราะส่งผลถึงการสร้างเอนไซม์ และฮอร์โมนที่ควบคุมความดันโลหิตดังที่กล่าวไป
    น้ำหนักตัวเกินและโรคอ้วน เพราะเป็นสาเหตุของโรคเบาหวานและโรคหลอดเลือดต่างๆ ตีบจากภาวะไขมันเกาะผนังหลอดเลือด
  • ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ( Sleep apnea )
  • การขาดการออกกำลังกาย เพราะเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคอ้วนและเบาหวาน
  • การรับประทานอาหารเค็มอย่างต่อเนื่อง
  • การสูบบุหรี่ เพราะสารพิษในควันบุหรี่ส่งผลให้เกิดการอักเสบตีบตันของหลอดเลือดต่างๆ รวมทั้งหลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดไต
  • การดื่มแอกอฮอล์ เพราะส่งผลให้หัวใจเต้นแรงกว่าปกติ และมีโอกาสเป็นโรคความดันโลหิตสูงถึงประมาณ 50% ของผู้ที่ติดสุราทั้งหมด

บทบาทผู้จัดการรายกรณีการค้นหาคัดกรองผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง

1.1 สถานที่ค้นหาคัดกรองผู้ป่วย

– บุคคลที่มีอายุ 35 ขึ้นไป หรืออยู่ในช่วงของวัยทำงานนั่นเอง โดยทั้งนี้อาจอาศัยอยู่ในชุมชน หรืออยู่ในสถานประกอบการอาชีพก็ได้

1.2 ความจำเป็น-ความต้องการจัดการดูแลรักษาพยาบาลผู้ป่วย

ความต้องการทราบข้อมูลของผู้ป่วย ( Theoretical Need )
– คัดกรองเพื่อค้นหาผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูงและการเกิด CV Risk ซึ่งสิ่งที่ต้องสอบประวัติผู้ป่วยเพื่อคัดกรอง ก็ประกอบด้วย
: ระดับความดันโลหิต
: อายุ
: มีภาวะไขมันในเลือดสูง ( Dyslipidemia ) หรือไม่
: สูบบุหรี่ ( Smoking ) หรือไม่
: อ้วนลงพุงหรือไม่
: มีระดับน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหารผิดปกติหรือไม่
: คนในครอบครัวเคยมีประวัติการเสียชีวิตด้วยโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด ( CV Disease ) ก่อนวัยอันควรหรือไม่
ผลที่คาดว่าจะได้รับ ( Exist Need )
1.ความแม่นยำของค่าตรวจวัดความดัน ( AC Curacy BP )
2.มีระดับความดันโลหิตปกติ ( <140 / 90 mmHg )
3.ได้รับการชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูงคำนวณค่าวัดดัชนีมวลร่างกาย Body Mass Index ( BMI ) อยู่เสมอ

1.3 ระยะเวลาติดตามที่เหมาะสม

1.ติดตามประเมินสุขภาพรายบุคคล 4 ด้านทุก 1 ปี/เมื่อจำเป็น
2. ติดตามประเมินความเสี่ยงและตามผลที่คาดว่าจะได้รับ
– ทุก 1 ปี
– ทุก 6 เดือน
: หากพบว่ามีความผิดปกติของความเสี่ยง 1 อย่างขึ้นไป เช่น ตรวจพบ IFG; DTX > 126 mg %
: พบค่า 3 ใน 5 อย่าง ของ อ้วนลงพุง หรือค่าน้ำตาลในเลือด BP ≥ 130 / 85

1.4 การใช้ทรัพยากรต่างๆ

1. การจัดการทรัพยากรบุคคล ( Human Resource )
– การทำการจัดการเรื่องของผู้ป่วย
: การประเมินน้ำหนัก
: การออกกำลังกาย
: การสูบบุหรี่
: การรับประทานอาหาร
– NP ประสานงานกับอสม. ( Community Health Worker)


2. ทรัพยากรที่ไม่ใช่บุคคล ( Non Human Resource )

  • เครื่องวัดความดันโลหิต
  • เครื่องเจาะน้ำตาลปลายนิ้ว ( DTX ) <ควรจะจัดให้ผู้ป่วยได้มีไว้ใช้ส่วนตัว คือมีสำหรับใช้ที่บ้านด้วยนั่นเอง>
  • อุปกรณ์ / Tube เจาะเลือด
  • เครื่องชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูง
  • สมุดบันทึกสุขภาพประจําตัว
  • เครื่องมือสื่อสาร / ทำช่องทางการส่งต่อข้อมูล

1.5 ความแปรผัน

1. ขาดฐานข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์
2. ไม่ได้ทำการติดต่อกับผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง
3. ไม่ได้มีการแบ่งพื้นที่ให้ทีมสุขภาพได้ทำการคัดกรองและการรวบรวมข้อมูล
4. ผู้ป่วยไม่ได้มารับการตรวจอย่างต่อเนื่อง หรือจะมาโรงพยาบาลเมื่อมีอาการผิดปกติเท่านั้น
5. ไม่มีผู้ที่จะทำหน้าที่คอยติดตามและดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้อย่างต่อเนื่อง

1.6 เป้าหมายที่ต้องการทราบผล

1. ต้องไม่พบค่า ระดับน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหารผิดปกติ ( Impaired Fasting Glucose : IFG ) ซึ่งระดับน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหารที่สูงกว่าปกติเป็นสัญญาณเตือนว่าอาจมีความผิดปกติของการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดนั่นเอง
2. ต้องพบค่าความเสี่ยงต่างๆลดลง ( Risk Reduction )
– เช่น ค่าดัชนีมวลร่างกายหรือ BMI ลดลง เป็นต้น
3. มีการใช้ทรัพยากรต่างๆได้อย่างเหมาะสม ( Proper Resource )
4. การปรับเปลี่ยนวิธีการใช้ชีวิตของผู้ป่วย ( Life Style Modification )

2.1 สถานที่ค้นหาคัดกรอง

  • คลินิกผู้ป่วยนอก ( OPD )
  • ปฐมภูมิ
  • ทุติยภูมิ
  • ตติยภูมิ

2.2 ความจำเป็น – ความต้องการจัดการดูแลรักษาพยาบาล

ความต้องการทราบข้อมูลของผู้ป่วย ( Theoretical Need )
– มีการระบุความเสี่ยง ( Risk Factor ) ของความดันโลหิตและการเกิดภาวะหัวใจและหลอดเลือดหรือไม่ ( Cardiovascular Risk -CV Risk ) ดูจากการสอบถามประวัติและพฤติกรรมของผู้ป่วย เพื่อหาข้อสรุปว่าผู้ป่วยมีความเสี่ยงมากแค่ไหน
– ได้รับการประเมินความเสี่ยงภาวะหัวใจและหลอดเลือด
– ดำเนินการให้ผู้ป่วยได้เข้าถึงการวินิจฉัยเมื่อพบโรคความดันโลหิตสูง ( Hypertension-HT ) จริง
ผลที่คาดว่าจะได้รับ ( Exist Need )
1.ความแม่นยำของค่าตรวจวัดความดัน ( AC Curacy BP )
2.ได้รับการประเมินพฤติกรรมด้านสุขภาพรายบุคคล ( Individual Behavioral Health )
3.ประเมินการเกิดภาวะหัวใจและหลอดเลือด ( CV Risk ) ได้ครบถ้วน
4.ได้รับการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงคำนวณค่าดัชนีมวลร่างกาย ( BMI )
5.ระดับความดันโลหิตปกติ ( <140/90 mmHg )
6.ได้รับความรู้และการทำวิธีการปรับการใช้ชีวิตประจำวันป้องกันการเกิดโรค                                          7. มีการทบทวน ( Review ) ในเรื่องของการใช้ยาโรคความดันโลหิตสูงอย่างเหมาะสม
8.ต้องได้รับการติดตามเพื่อประเมินระดับความดันโลหิต
9.ได้รับการลงข้อมูลสุขภาพในประวัติสุขภาพประจำตัว
10.ควบคุมการวัดค่าต่างๆของโรคปลอกปลายประสาทอักเสบ หรือ โรค MS ได้
11.ได้รับการค้นหาร่องรอยการติดเชื้อของอวัยวะที่ถูกทำลาย ( Subclinical Organ Damage หรือ TOD )
12.ได้รับการติดตามประเมินระดับความดันโลหิต

2.3 ระยะเวลาติดตามที่เหมาะสม

– ผู้ป่วยทุกรายที่ได้มาทำการตรวจสุขภาพตามนัดทุก 3 ถึง 6 เดือน
– มาตรวจรับบริการทุก 3 เดือน ( กรณีสงสัยก่อนการเป็นโรคความดันโลหิตสูง Pre-HT, โรคความดันโลหิตสูง ( Hypertension-HT ) ระยะเริ่มต้นหรือไม่ ) ค่าความดันโลหิตปกติระดับหนึ่งมีอาการปลอกปลายประสาทอักเสบร่วมด้วย
– คอยติดตามผู้ป่วยทุกรายที่ได้มาตรวจตามนัดที่ OPD อายุรกรรม
– ติดตามดูแลผู้ป่วยเพื่อดูผลการรักษา พร้อมทั้งประเมินการควบคุมอาการของโรคปลอกปลายประสาทอักเสบรวมกับโรคความดันโลหิตสูงของผู้ป่วย ตามความเหมาะสม ( อยู่ในช่วง 2-3 เดือน )
– นัดผู้ป่วยให้มารับบริการคัดกรองตรงตามเวลานัดเสมอความเสี่ยง ปรับเปลี่ยนวิธีการใช้ชีวิตทุก 3 เดือน ( กรณีสงสัยก่อนการเป็นโรคความดันโลหิตสูง Pre-HT )

2.4 การใช้ทรัพยากรต่างๆ

1. ทรัพยากรบุคคล ( Human Resource )
– เพื่อให้มีการติดตามดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง
– อายุรกรรมทั่วไปประสานกับแพทย์เฉพาะทางที่พบร่องรอยการติดเชื้อของอวัยวะที่ถูกทำลาย ( TOD )
– ทำการประสานงานกับแพทย์เฉพาะทาง
2. ทรัพยากรที่ไม่ใช่บุคคล ( Non Human Resource )
– แฟ้มประวัติผู้ป่วย
– เครื่องวัดความดันโลหิต
– เครื่องเจาะ DTX- เครื่องชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง
– อุปกรณ์/Tube เจาะเลือด

2.5 ค่าความแปรผันต่างๆ

1. ไม่ได้ทำการประสานเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม
2. ไม่ได้ประสานกับแพทย์อายุรกรรมทั่วไปกับแพทย์เฉพาะทาง ถึงการตรวจและติดตามดูแลผู้ป่วย จึงอาจทำให้เกิดการดูแลแยกส่วน ซ้ำซ้อน ใช้ยาไม่สมเหตุผล
3. ระบบการติดตามผู้ป่วยไม่มีความต่อเนื่อง ทำให้เกิดปัญหาขึ้น
4. พบภาวะของโรคแทรกซ้อนอย่างรุนแรงในผู้ป่วย เช่น โรคหัวใจ ไต ผู้ป่วยต้องได้รับการตรวจกับแพทย์เฉพาะทาง
5. การติดตามต่อเนื่องกรณีผู้ป่วยใน                                                                                    6. การตรวจหาผลเลือด  เพื่อหาสาเหตุและอาการต่างๆ ที่เกิดซ้ำซ้อนหรือมีระยะเวลาในการตรวจไม่เหมาะสมตามที่จำเป็น ( ใช้ระยะเวลาถี่หรือห่างเกินไป )

2.6 เป้าหมายที่ต้องการทราบผล

1. ต้องไม่พบร่องรอยการติดเชื้อของอวัยวะที่ถูกทำลาย ( TOD )
2. หมั่นติดตามประเมินผล
3. มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต
4. เข้าใจการรักษาโรคความดันโลหิตสูง
5. มีแหล่งข้อมูลถูกต้องแม่นยำ
– มีการตรวจในห้องแล็บ
– มีการใช้ยาในการรักษา
– มีการตรวจเยี่ยมผู้ป่วย
– มีการสอบถามอาการผู้ป่วย
6. ได้รับการค้นหาร่องรอยการติดเชื้อของอวัยวะที่ถูกทำลาย                                                         7. ไม่เกิดอาการที่ต้องเข้ารับการรักษาเป็นผู้ป่วยใน
8. ไม่เกิดความเสี่ยงภาวะหัวใจและหลอดเลือด
9. ลดจำนวนผู้ป่วย OPD

3.1 สถานที่ค้นหาคัดกรอง

– หอผู้ป่วยใน ( IPD ) จะพบผู้ป่วยที่อ้างอิงว่ามีโรคความดันโลหิตสูงที่มีโรคแทรกซ้อน เช่น หัวใจวาย ไตวาย โรคหลอดเลือดสมอง ( ทุติยภูมิ/ตติยภูมิ )

3.2 ความจำเป็น – ความต้องการจัดการดูแลรักษาพยาบาล

ความต้องการทราบข้อมูลของผู้ป่วย ( Theoretical Need )
– จัดให้มีการเข้าถึงทีมแพทย์และพยาบาลที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านของร่องรอยการติดเชื้อของอวัยวะที่ถูกทำลาย เช่น การพยาบาลหัวใจ การช่วยเหลือผู้ป่วยในภาวะหัวใจล้มเหลว การช่วยเหลือผู้ป่วยในภาวะเส้นเลือดในสมองแตก เป็นต้น
– ทำการระบุความเสี่ยง ( Risk Factor ) ของความดันโลหิตสูงและการเกิดความเสี่ยงภาวะหัวใจและหลอดเลือด เพื่อจะได้วางแผนการรักษาอย่างเหมาะสมมากขึ้น
– ให้ผู้ป่วยเข้าถึงการวินิจฉัยเมื่อพบร่องรอยการติดเชื้อของอวัยวะที่ถูกทำลาย
ผลที่คาดว่าจะได้รับ ( Exist Need )
1.ได้รับการทบทวนเพื่อให้เกิดการใช้ยาโรคความดันโลหิตสูงและควบคุมตามจำเป็น
2.คอยติดตามในเรื่องของการควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในระยะเดิมได้ ทำให้ไม่เกิดความดันโลหิตสูงที่อยู่ใน ระดับเพิ่มขึ้น ( เช่น จากระดับ 1 ไประดับ 2 เป็นต้น )
3.มีการดูแลและประสานงานเพื่อติดตามการรักษาร่วมกับแพทย์เฉพาะทางและพยาบาลที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านโดยเฉพาะ
4.ทำการประสานงานกับทีมแพทย์พยาบาลเภสัชกรเพื่อให้เกิดการติดตามการใช้ยาและทบทวนประสิทธิภาพของตัวยาอยู่เสมอ
5.มีการทบทวนในเรื่องของการใช้ทรัพยากรในการรักษาตามจำเป็น และทำการตรวจวินิจฉัยเพื่อทำการประเมินผลการรักษาด้วย

3.3 ระยะเวลาติดตามที่เหมาะสม

  • ทำการประสานกับทีมพยาบาลให้ดำเนินการดูแลรักษาผู้ป่วยอย่างมีประสิทธิภาพและตรงจุดที่สุด เพื่อจะได้ไม่ต้องให้ผู้ป่วยนอนโรงพยาบาลมากเกินไปอย่างสูญเปล่า
  • ติดตามตรวจนัดผู้ป่วย OPD ต่อเนื่องภายในระยะเวลา 1 ถึง 3 เดือนหรือตามจำเป็น ( เพื่อควบคุมระยะของโรคความดันโลหิตสูง ควบคุมโรคเอ็มเอส ( MS ) หรือโรคปลอกปลายประสาทอักเสบ ภาวะร่องรอยการติดเชื้อของอวัยวะที่ถูกทำลาย และ การตรวจพบอาการก่อนเป็นโรค )
  • ทำการติดตามผู้ป่วย ด้วยการไปตรวจเยี่ยมผู้ป่วยร่วมกับทีมพยาบาลและทีมดูแลสุขภาพ
  • จำหน่ายด้วยการทบทวนการใช้ทรัพยากร ไม่ให้เกิดความสูญเปล่า เช่นหากจำเป็นต้องวินิจฉัยเพิ่มเติมประสานช่องทางด่วนให้ผู้ป่วย ได้ตรวจโดยไม่ติดวันหยุด ใบเพิ่มเติมค่ารักษาที่ไม่จำเป็น

3.4 การใช้ทรัพยากรต่างๆ

1. การจัดการทรัพยากรบุคคล ( Human Resource )

  • ประสานงานกับแพทย์เฉพาะทางและแพทย์เจ้าของไข้เพื่อทำการส่งต่อข้อมูลสุขภาพร่วมกัน จะได้ทำการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ
  • เพื่อประสานการดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง
  • แพทย์เฉพาะทางแพทย์เจ้าของไข้

2. การจัดการทรัพยากรที่ไม่ใช่บุคคล ( Non Human Resource )

  • ยา
  • เครื่องเจาะ DTX
  • แฟ้มประวัติการรักษา
  • เครื่องวัดความดันโลหิต
  • อุปกรณ์/Tube เจาะเลือด
  • เครื่องชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง
  • การใช้วันนอน การใช้เตียงในโรงพยาบาล

3.5 ความแปรผัน

1. ไม่ได้ทำการติดตามเพื่อดูแลรักษาผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะกรณีผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลผู้ป่วยใน หรือมาตรวจที่ OPD
2. ไม่ได้ทำการประสานในเรื่องของการติดตามดูแลผู้ป่วยร่วมกัน ทำให้เกิดการดูแลรักษาแบบซ้ำซ้อนและแยกส่วนกันอย่างสิ้นเชิง
3. การตรวจแล็บ การสอบถามอาการต่างๆ มีความซ้ำซ้อน และระยะเวลาในการตรวจไม่เหมาะสม ( ระยะเวลาถี่หรือห่างเกินไป )

3.6 เป้าหมาย

1.มีแหล่งข้อมูลถูกต้องแม่นยำ

  • มีการตรวจในห้องแล็บ
  • มีการใช้ยาในการรักษา
  • มีการตรวจเยี่ยมผู้ป่วย
  • มีการสอบถามอาการผู้ป่วย

2.ลดภาวะการเป็นโรคของร่องรอยการติดเชื้อของอวัยวะที่ถูกทำลาย
3.ลดจำนวนผู้ป่วย OPD
4.การติดตามต่อเนื่องกรณีผู้ป่วยใน                                                                                          5.เข้าใจหลักการเป็นและต้องไม่พบร่องรอยการติดเชื้อของอวัยวะที่ถูกทำลาย
6.สามารถควบคุมระดับการเป็นโรคความดันโลหิตสูงได้
7.ลดจำนวนผู้ป่วยใน

การจัดการให้ผู้ป่วยมีความสามารถดูแลตนเอง คัดกรองตนเองสามารถทำได้โดย
เน้นการให้ความรู้ความเข้าใจกับโรคและลักษณะผู้ป่วย และการรับรู้การเตือนของร่างกาย

ตัวอย่างแบบบันทึกการค้นหา คัดกรองผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงด้วยตนเอง

1. ชื่อ………………..นามสกุล…………….อายุ……ปี
2. วัน เดือน ปี ที่คัดกรอง………คัดกรองครั้งที่………
☐  คัดกรองด้วยตนเอง ☐  ผู้ดูแลเป็นผู้คัดกรอง
3. ประวัติทางพันธุกรรมเป็นโรคความดันโลหิตสูง ☐  มี  ☐ ไม่มี
4. ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมาสูบบุหรี่หรือไม่ ☐ สูบ ☐ ไม่สูบ
5. BMI = ………………….
6. ระดับความดันโลหิต………………mmHg
7. ระดับไขมันในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา
☐ ปกติ ☐ สูงเกิน 220 mg/dl ☐ สูงเกิน 300 md/dl
8. ชนิดอาหารที่รับประทานในหนึ่งวัน……………………………………
9. การใช้บุหรี่ สุรา กาแฟ คาเฟอีน ☐ ใช้ ☐ ไม่ใช้
10. มีความเครียดในแต่ละวัน ☐ มี ☐ ไม่มี
11. มีอาการดังต่อไปนี้ หรือไม่
☐ ปวด มึนศีรษะบ่อยๆ
☐ ตาพร่ามัว
☐ มีอาการวูบง่าย
☐ เหนื่อย อ่อนเพลียง่ายกว่าปกติ
☐ รู้สึกบวมตามร่างกาย
☐ อาการแสดงของโรคเบาหวาน

ยาลดความดันโลหิต

ยาลดความดันที่เป็นหลักสำคัญ ( Major Class of Antihypertensive Agent ) มีอยู่ 5 กลุ่มได้แก่

1. ACE-Inhibitor

2. Angiotensin Receptor Blockers

3. Beta-Blocker

4. Calcium Antagonists

5. Thaiazide Diuretic / Loop Diuretic

แม้ว่ายาลดความดันทั้ง 5 กลุ่มนี้จะสามารถใช้ได้ในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง แต่การจะพิจารณาว่าผู้ป่วยควรใช้ยารักษากลุ่มใดดีจะต้องพิจารณาจากการประเมินและตัดสินใจของแพทย์เท่านั้น โดยแพทย์จะดูในเรื่องของระดับ BP และความเสี่ยงต่อการเกิด CV risk ในผู้ป่วยนั่นเอง นอกจากนี้จะต้องคอยติดตามและประเมินภาวะสุขภาพของผู้ป่วยเฉพาะรายอย่างละเอียด เพื่อประเมินหาความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อน ผล้ขางเคียงจากการใข้ยา เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัยที่สุด

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

ศิริอร สุนธุ, พิเชต วงรอต, สมาคมผู้จัดการรายกรณีประเทศไทย, การจัดการรายกรณีผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์วัฒนาการพิมพ์, 2557. 242 หน้า, ISBN:978-616-92014-0-3.

ขอบคุณคลิปดี ๆ มีสาระจาก หมอปุ้ม พญ. สิรนาถ.

ทำอย่างไรไม่ให้หิวบ่อย

0
ทำอย่างไรไม่ให้หิวบ่อย
ความหิวเป็นกลไกการควบคุมปริมาณน้ำตาลและไขมันในร่างกาย ถูกควบคุมด้วยต่อมใต้สมอง
ทำอย่างไรไม่ให้หิวบ่อย
ความหิวเป็นกลไกการควบคุมปริมาณน้ำตาลและไขมันในร่างกาย ถูกควบคุมด้วยต่อมใต้สมอง

ความหิว

ความหิว เป็นธรรมชาติของมนุษย์ ความหิวถูกควบคุมด้วยต่อมใต้สมองที่เรียกว่า ไฮโปทาลามัส ( Hypothalamus ) ความหิวเป็นกลไกการควบคุมปริมาณน้ำตาลและไขมันในร่างกาย เมื่อเราหิวร่างกายจะส่งสัญญาณออกมาให้รับรู้ เช่น มือสั่น ท้องร้อง อ่อนแรง เวียนศีรษะ หน้ามืด เป็นต้น ความหิวเกิดขึ้นเมื่อร่างกายต้อง  การอาหารจริงๆ นอกจากความหิวแล้วยังมีอีกหนึ่งอาการที่ทำให้คนเราต้องนำอาหารเข้าปาก นั่นคือความอยากอาหารเป็นกลไกที่เกิดขึ้นจากฮอร์โมนซึ่งมักเกิดขึ้นจากอารมณ์ ความรู้สึกเป็นส่วนใหญ่ไม่ใช่สภาวะที่ร่างกายต้องการอาหารหรือขาดอาหารจนเกิดความหิว ซึ่งความอยากนี้มักเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้โรคอ้วนหรือการมีไขมันส่วนเกินตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย

สาเหตุที่ทำให้เกิดความหิวและความอยาก

1. เกิดความหิวเพราะร่างกายขาดน้ำตาล เมื่อร่างกายมีปริมาณน้ำตาลในเส้นเลือดแดงเท่ากับหรือใกล้เคียงกับปริมาณน้ำตาลในเส้นเลือดดำ ร่างกายจะส่งสัญญาณไปที่ระบบประสาทส่วนกลางบริเวณต่อมไฮโปทามัส ต่อมไฮโปทาลามัสจะส่งสัญญาณไปยังกระเพาะอาหาร เซลล์กระเพาะอาหารจะหลั่งฮอร์โมนเกรลิน ( Ghrelin ) ออกมา ทำให้เกิดอาการหิวและอยากรับประทานอาหาร เมื่อร่างกายได้รับอาหารมีการดูดซึมน้ำตาลและไขมันเข้าสู่กระแสเลือดจนความเข้มข้นของน้ำตาลในเม็ดเลือดแดงสูงขึ้นตามความต้องการของร่างกาย ปริมาณน้ำตาลที่เข้าสู่กระแสเลือดจะส่งสัญญาณกลับไปยังต่อไฮโปทามัส ต่อมไฮโปทามัสจะหลังฮอร์โมนเลปติน ( Leptin ) ที่เป็นฮอร์โมนแห่งความอิ่ม ส่งผลให้ความหิวหายไป ซึ่งกลไกการเกิดความหิวและการอิ่มจะหมุนเวียนเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา

2. ท้องว่างทำให้เกิดความหิว เมื่อกระเพาะอาหารมีอาหารอยู่เต็มร่างกายจะรู้สึกอิ่ม แต่ว่าถ้าท้องว่างไม่มีอาหารอยู่ หรือไม่มีอาหารส่งไปยังลำไส้เล็ก ลำไส้เล็กจะหลั่งฮอร์โมนโมลิติน ( Molitin ) ทำให้กระเพาะอาหารบีบตัวเพื่อส่งอาหารมายังลำไส้เล็กต่อไป เมื่อกระเพาะอาหารไม่มีอาหารก็ต้องเรียกร้องอาหารมาเพิ่ม ซึ่งอาหารหิวที่เกิดจากฮอร์โมนโมลิตินคืออาการท้องร้องนั่นเอง

3.ฮอร์โมนแห่งความหิว ฮอร์โมนแห่งความหิวหลักจะประกอบด้วย ฮอร์โมน เกรลิน โอรีซิน พีวายวายและเลปติน

3.1 ฮอร์โมนเกรลิน ( Ghrelin ) เป็นฮอร์โมนที่เกินขึ้นเมื่อปริมาณน้ำตาลในเส้นเลือดแดงต่ำ นอกจากนั้นถ้าร่างกายพักผ่อนไม่เพียงพอก็เป็นสาเหตุที่ทำให้ฮอร์โมนเกรลินหลั่งออกมาได้เช่นกัน

3.2 ฮอร์โมนเลปติน ( Leptin ) หรือฮอร์โมนแห่งความอิ่ม แต่เมื่อร่างกายมีการภาวะดื้อเลปติน คือ ภาวะที่ร่างกายมีการต่อต้านฮอร์โมนเลปติน ส่งผลให้ร่างกายรู้สึกหิวอยู่เรื่อยๆ หรือหิวตลอดเวลา เพราะสมองไม่ได้รับสัญญาณจากฮอร์โมนเลปติน จึงทำให้ร่างกายรู้สึกหิวต้องกินอยู่ตลอดเวลา

3.3 ฮอร์โมนพีพีวาย คือ ฮอร์โมนที่ควบคุมความหิวหรือฮอร์โมนกดความหิวอีกชนิดหนึ่ง แต่ฮอร์โมนพีพีวายจะหลั่งออกมาก็ต่อเมื่อร่างกายรู้สึกอิ่มจากอาหารประเภทโปรตีน เมื่อร่างกายได้รับอาหารที่มีปริมาณโปรตีนน้อยก็จะหลั่งฮอร์โมนพีพีวายออกมาน้อย ส่งผลให้ไม่มีฮอร์โมนพีพีวายไม่สามารถกดความหิวไว้ได้ ร่างกายจึงรู้สึกหิวอยู่ตลอด เวลา   

4. เกิดความหิวเพราะนอนน้อย สำหรับคนที่ต้องทำงานไม่เป็นเวลา ทำงานเข้ากะทำให้นอนไม่เป็นเวลา ทำงานดึกทำให้ต้องนอนดึก ตื่นเช้า หรือการนอนน้อยกว่า 5 ชั่วโมงต่อคืน การที่ร่างกายได้รับการพักผ่อนน้อยร่างกายจะมีการหลั่งสารเกรลินออกมากกว่าคนที่นอนมากกว่า 8 ชั่วโมงต่อคืน จากผลการวิจัยพบว่าคนที่พักผ่อนน้อยจะมีปริมาณฮอร์โมนเกรลินสูงกว่าคนที่พักผ่อนปกติมากถึง 15% และยังพบว่าปริมาณฮอร์โมนเลปตินก็น้อยลงถึง 15% ด้วย ส่งผลให้คนที่พักผ่อนน้อยจะมีความรู้สึกหิวมากกว่าคนที่ได้รับการพักผ่อนอย่างเพียงพอ

5. เกิดความหิวเพราะความเครียด เมื่อเกิดความเครียดร่างกายจะกระตุ้นความรู้สึกอยากอาหารหรือต้องการหากิจกรรมเพื่อผ่อนคลายความรู้สึกตึงเครียด ซึ่งการกินเป็นการผ่อนคลายที่หลายคนเลือกใช้กัน ดังนั้นเมื่อเกิดความเครียดร่างกายจะจดจำว่าเครียดแล้วต้องกินจึงจะหายเครียด ส่งผลให้ทุกครั้งที่มีความเครียดเกิดขึ้นจึงรู้สึกหิวขึ้นมาก

เมื่อร่างกายมีปริมาณน้ำตาลในเส้นเลือดแดงเท่ากับหรือใกล้เคียงกับปริมาณน้ำตาลในเส้นเลือดดำ ร่างกายจะส่งสัญญาณไปที่ระบบประสาทส่วนกลางบริเวณต่อมไฮโปทามัสและจะส่งสัญญาณไปยังกระเพาะอาหาร เซลล์กระเพาะอาหารจะหลั่งฮอร์โมนเกรลินออกมา ทำให้เกิดอาการหิวและอยากรับประทานอาหาร

ความหิวที่ไม่ได้เกิดจากความต้องการอาหารเพื่อใช้เป็นแหล่งพลังงาน จะทำให้ร่างกายได้รับอาหารมากเกินความต้องการ ส่งผลให้ร่างกายเกิดการสะสมของน้ำตาลและไขมันที่ได้รับจากการกินอาหารเข้าไปสะสมเป็นไขมันส่วนเกิน ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็นต่อร่างกายและอาจจะก่อโทษให้กับร่างกายด้วย ถ้ามีการสะสมไขมันมากจนกลายเป็นโรคอ้วนที่เป็นต้นเหตุของโรคร้ายแรงต่าง ๆ เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือด โรคความดันโลหิต โรคมะเร็ง เป็นต้น ดังนั้นเราจึงควรรู้จักป้องกันและควบคุมความหิวที่เกิดขึ้น

วิธีการการควบคุมความหิวหรือความอยากอาหาร

1. กินตรงเวลา เราควรรับประทานอาหารให้เป็นเวลาเดียวกันทุกวัน เพื่อที่สมองจะทำการจดจำตารางเวลาของร่างกายว่าเวลานี้เป็นเวลาที่ร่างกายต้องได้รับอาหาร จะทำให้ร่างกายแสดงอาการหิวเป็นเวลาที่แน่นอน

2. กินอาหารที่มีน้ำตาลน้อย น้ำตาลในอาหารเมื่อร่างกายได้รับไปจะเข้าไปสะสมเป็นไขมันส่วนเกินในร่างกาย แต่ถ้ากินอาหารที่มีไขมันต่ำมีโปรตีนสูง ร่างกายจะทำการย่อยใช้เป็นพลังงานได้ ไม่สะสมเป็นไขมันส่วนเกินในร่างกาย และยังทำให้รู้สึกอิ่มนานขึ้น เพราะเส้นใยและโปรตีนต้องใช้เวลาในการย่อยเป็นโมเลกุลเล็กๆ ก่อนจึงจะสามารถดูดซึมได้ ต่างจากน้ำตาลที่สามารถย่อยและดูดซึมได้เร็วกว่ามาก ดังนั้นเมื่อกินอาหารที่ดัชนีมวลสูง จำพวกของหวาน น้ำหวาน จึงรู้สึกว่าหิวเร็ว

3. เคี้ยวอาหารให้ละเอียด การเคี้ยวอาหารให้ละเอียดเป็นการช่วยย่อยเส้นใยในระดับหนึ่งและยังช่วยกระตุ้นสมองให้รับรู้ว่าร่างกายได้รับอาหารแล้ว โดยหลังจากรับประทานอาหารไปประมาณ 15 นาทีสมองถึงจะหลังฮอร์โมนเลปตินที่บอกว่าร่างกายรู้สึกอิ่มแล้วไม่ต้องการอาหารเพิ่มเติมแล้ว ดังนั้นการรับประทานอาหารช้าๆ จะทำให้เรารับประทานอาหารน้อยลงแต่รู้สึกอิ่มเหมือนเดิม

4. ดื่มน้ำ เวลาที่รู้สึกหิวให้ดื่มน้ำเพื่อเช็คดูว่าความหิวที่เกิดขึ้นนั้นเกิดขึ้นจากท้องว่างหรือว่าน้ำตาลในกระแสเลือดน้อย ถ้าหิวเพราะท้องว่างเราดื่มน้ำก็จะรู้สึกหายหิวแล้ว แต่ถ้าหิวเพราะน้ำตาลในกระแสเลือดน้อยต่อให้ดื่มน้ำมากแค่ไหนก็จะรู้สึกหิวอยู่ดี

5. กินอาหารทีมีเส้นใยสูง อาหารที่มีเส้นใยสูงจะอยู่ในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กได้นานมากกว่าอาหารที่เป็นแป้งและน้ำตาล จึงทำให้ลำไส้เล็กไม่หลั่งฮอร์โมนโมลิติน ( Molitin ) ออกมาร่างกายจึงไม่รู้สึกหิว

6. พักผ่อนให้เพียงพอ การพักผ่อนให้เพียงพอคือนอนประมาณ 8 ชั่วโมงต่อคืน สมองจะรู้สึกสดชื่น และการทำงานจะเป็นปกติ ส่งผลให้การหลั่งฮอร์โมนเกรลินของเซลล์กระเพาะอาหารจากการสั่งงานของสมองทำงานได้อย่างปกติ เราจึงไม่รู้สึกหิวตลอดเวลาเหมือนเวลาที่ร่างกายพักผ่อนน้อย

7. หากิจกรรมทำ เวลาที่เรารู้สึกเครียดหรือมีความกดดันเกิดขึ้น ให้หากิจกรรมที่ไม่ใช่การหยิบอาหารขึ้นมากิน เช่น การเดินเล่น การออกกำลังกาย การดูหนัง การอ่านหนังสือที่ชอบ เป็นต้น เพราะเมื่อเราทำกิจกรรมอื่นๆ ที่ไม่ใช่การกินจนสมองลดความตึงเครียดลง สมองจะจดจำว่าเวลาที่รู้สึกเครียดต้องทำกิจกรรมแบบนี้จึงจะลดความเครียดได้ ซึ่งการทำกิจกรรมนอกจากจะช่วยคลายเครียดแล้ว ยังป้องกันการกินจนอ้วนจากความเครียดได้ 

ความหิวและความอยากจัดการได้ไม่ยาก เพียงแต่เราต้องเอาใจใส่ดูแลร่ากายให้มากขึ้น เลือกอาหารที่เหมาะสมอย่าง ผัก ผลไม้ โปรตีน มารับประทานและลดอาหารจำพวกน้ำตาล นม เนย พักผ่อนให้เพียงพอ ไม่เครียด เพียงเท่านี้คุณก็จักการกับความหิวได้แล้ว นอกจากนั้นเมื่อยังไม่ถึงเวลารับประทานอาหารมื้อหลักแต่รู้สึกหิวขึ้นมาก็ให้หาน้ำสะอาดหรือผลไม้ที่มีน้ำตาลต่ำมารับประทานเล่นไปก่อนเพื่อรองท้องลดความหิวที่เกิดขึ้น อย่ากินอาหารมื้อหนักทุกครั้งที่รู้สึกหิว เพราะแทนที่อาหารจะเข้าไปเป็นพลังงานให้กับร่างกาย แต่อาหารจะเข้าไปสะสมเป็นไขมันส่วนเกินในร่างกายเสียมากกว่า ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อร่างกายในอนาคต เรื่องเล็กแค่ความหิวถ้าเราไม่มีการจัดการที่ดีก็อาจจะสร้างผลเสียต่อร่างกายนอนาคตได้อย่างน่าตกใจ วันนี้คุณรู้หรือยังว่าคุณหิวหรือคุณอยากเพราะอะไร

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

ศัลยา คงสมบูรณ์เวช. บำบัดเบาหวานด้วยอาหาร. พิมพ์ครั้งที่ 4 (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ : อัมรินทร์เฮลท์ อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2559. (12), 311 หน้า. (ชุดชีวิตและสุขภาพ ลำดับที่ 113) 1.เบาหวาน 2.โภชนบำบัด 3.การปรุงอาหารสำหรับผู้ป่วย 4.การดูแลสุขภาพตนเอง. 616.462 ศ7บ6 2559. ISBN 978-616-18-7741-9.

ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). กินเท่าไหร่ กินแค่ไหน ไม่เสี่ยงอ้วน. ใน: ธิดารัตน์ มูลลา.ชีวิตใหม่ไร้พุง. กรุงเทพฯ : บริษัทศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์ จำกัด, 2557.

ประโยชน์ของน้ำมันมะพร้าว

0
ประโยชน์ของน้ำมันมะพร้าว
น้ำมันมะพร้าว คือ น้ำมันที่ได้จากเนื้อของผลมะพร้าว มีกรดไขมันอิ่มตัวที่มีขนาดปานกลางเป็นกรดไขมันที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
ประโยชน์ของน้ำมันมะพร้าว
น้ำมันมะพร้าว คือ น้ำมันที่ได้จากเนื้อของผลมะพร้าว มีกรดไขมันอิ่มตัวที่มีขนาดปานกลางเป็นกรดไขมันที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย

น้ำมันมะพร้าว คืออะไร?

น้ำมันมะพร้าว ( Coconut Oil ) คือ น้ำมันที่ได้จากเนื้อของผลมะพร้าว ( Cocos Nucifera L. ) มีองค์ประกอบเป็นกรดไขมันอิ่มตัวที่มีขนาดโมเลกุล 8 -12 ซึ่งจัดเป็นกรดไขมันอิ่มตัวที่มีขนาดปานกลาง ( Medium Chain Fatty Acid ) จัดเป็นกรดไขมันที่มีประโยชน์ต่อร่างกายโดยเฉพาะกรดลอลิก ( Lauric Acid ) ที่มีปริมาณมากถึงร้อยละ 53 เลยทีเดียว กรดไขมันอิ่มตัวชนิดนี้ถูกเผาพลาญได้ดีจึงเปลี่ยนเป็นพลังงานให้กับร่างกายได้อย่างรวดเร็ว น้ำมันมะพร้าวเมื่อนำมาแช่เย็นจะเปลี่ยนสถานะจากของเหลวเป็นของแข็ง ประโยชน์ของน้ำมันมะพร้าว นอกจากจะมีประโยชน์ต่อการประกอบอาหารแล้ว น้ำมันมะพร้าวยังมีประโยชน์ในด้านความงามและผิวพรรณอีกด้วย

ประเภทการสกัดน้ำมันมะพร้าว

1. น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ (Pure Coconut Oil) เป็นน้ำมันมะพร้าวที่สกัดจากเนื้อมะพร้าวที่อบแห้ง หรือตากแห้ง ซึ่งนำมาคั้นด้วยเครื่องมือ ไม่มีการการกลั่น ไม่มีเติมสารใดๆ จึงได้เป็นน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์
2. น้ำมันมะพร้าวผ่านกรรมวิธี (Refined Coconut Oil) เป็นน้ำมันมะพร้าวที่ผ่านกระบวนการกลั่น มีการเติมสารเคมี ฟอกสี และการแต่งกลิ่น
3. น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น (Virgin Coconut Oil) เป็นน้ำมันมะพร้าวที่ได้จากการวิธีการสกัดเย็น โดยใช้สารเคมีในการสกัดแยกจากเนื้อมะพร้าวไม่ผ่านกระบวนการที่ใช้ความร้อน ยังคงคุณประโยชน์จากมะพร้าวไว้อย่างครบถ้วน
4. น้ำมันมะพร้าวอินทรีย์ (Organic Coconut Oil) เป็นน้ำมันมะพร้าวที่ได้จากการปลูกแบบอินทรีย์หรือออร์แกนิก โดยไม่ใช้สารเคมีใดๆ ตั้งแต่การปลูกจนถึงการสกัด
5. น้ำมันมะพร้าวอินทรีย์สกัดเย็น (Organic Virgin Coconut Oil) เป็นการสกัดน้ำมันมะพร้าวจากมะพร้าวที่ได้จากการปลูกแบบอินทรีย์และไม่ผ่านกระบวนการที่ใช้ความร้อนและไม่เติมสารเคมีใดๆ 

วิธีการสกัดน้ำมันมะพร้าว

1.มันมะพร้าวสกัดร้อน คือ การนำน้ำกะทิหรือเนื้อมะพร้าวขูดมาเคี่ยวด้วยความร้อน แล้วทำการเคี่ยวไปเรื่อยๆ น้ำมันที่อยู่ในกะทิหรือเนื้อมะพร้าวขูดไหลออกมา น้ำมันที่ออกมาจะลอยอยู่ด้านบน ส่วนนี้คือน้ำมันมะพร้าว จะเป็นสีเหลืองใส ไม่มีกลิ่นมะพร้างหลงเหลืออยู่ น้ำมันมะพร้าวที่ได้จากการสกัดร้อนจะสูญเสียคุณค่าทางโภชนาการบางอย่างไป เช่น แคลเซียม แมกนีเซียม วิตามินอี เป็นต้น

2.การสกัดน้ำมันมะพร้าวผ่านกรรมวิธี ( Refined Coconut Oil ) คือ การนำเนื้อมะพร้าวที่ตากหรืออบจนแห้งแล้ว มาทำให้มีขนาดเล็กมากๆ แล้วนำเนื้อมะพร้าวไปบีบอัด ( Expression ) หรือใช้ตัวทำละลาย ( Solvent extraction ) ในการนำน้ำมันออกจากเนื้อมะพร้าวได้เป็นน้ำมันมะพร้าวออกมา ซึ่งเราจะเรียกว่าเป็นน้ำมันดิบ ( Crude Oil ) และนำน้ำมันดิบที่ได้ไปผ่านกรรมวิธีทำให้บริสุทธิ์ เช่น การฟอกสี การกำจัดกลิ่น เป็นต้น เพื่อให้กลายเป็นน้ำมันมะพร้าวผ่านกรรมวิธีที่ใส ไม่มีสี ไม่มีกลิ่นและรส เหมาะกับการนำมาประกอบอาหาร เพราะน้ำมันมะพร้าวชนิดนี้มีจุดเกิดควัน ( Smoke Point ) สูง

น้ำมันมะพร้าว ( Coconut Oil ) คือ น้ำมันที่ได้จากเนื้อของผลมะพร้าว ซึ่งเป็นกรดไขมันที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย

3.น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น คือ น้ำมันมะพร้าวที่สกัดด้วยวิธีธรรมชาติที่ไม่ใช้ความร้อนและความสารเคมีในการสกัด น้ำมันมะพร้าวที่ได้จากการสกัดเย็นเป็นน้ำมันมะพร้าวที่มีความบริสุทธิ์ ( Extra Virgin Coconut oil ) ลักษณะของน้ำมันมะพร้าวที่ได้จะใส ไม่มีสี ไม่มีกลิ่นหืน กลิ่นเปรี้ยว ไม่มีตะกอน ไม่หนืด บางครั้งอาจจะมีกลิ่นมะพร้าวอ่อนๆ ซึ่งวิธีสกัดเย็นมีอยู่ด้วยกัน 4 แบบ คือ

3.1 การสกัดเย็นแบบหมัก คือ การน้ำเนื้อมะพร้าวมาทำการคั้นเอาน้ำกะทิออกมา แล้วนำน้ำกะทิมาหมักทิ้งไว้ 6-8 ชั่วโมง ทำการกรองเอาส่วนที่เป็นน้ำมันออกมาก นำไปผ่านความร้อนเพื่อระเหยเอาส่วนที่เป็นน้ำออกจากน้ำมัน ก็จะได้น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์พร้อมใช้และสามารถเก็บไว้ได้นานประมาณ 1 ปี

3.2 การสกัดเย็นแบบง่าย คือ การนำแบบที่ง่ายและรวดเร็ว เริ่มจากการนำน้ำกะทิใส่ถุงมัดนำไปแช่เย็นทิ้งไว้ประมาณ 24 ชั่วโมง น้ำกะทิจะเกิดการแยกออกเป็น 2 ชั้น ให้นำน้ำส่วนบนแยกออกมาใส่ถุงและนำไปแช่ช่องแช่แข็งนาน 36 ชั่วโมง เมื่อครบ 36 ชั่วโมงให้นำออกมาไว้ที่อุณหภูมิห้องจนน้ำแข็งละลาย น้ำแข็งที่ละลายออกมาจะแยกออกเป็น 3 ชั้น ชั้นบนสุดจะมีลักษณะเป็นเนื้อครีม ชั้นกลางคือชั้นของน้ำมันมะพร้าว ส่วนชั้นล่างคือน้ำเปรี้ยว ให้ทำการตักชั้นครีมออกก่อนและตักชั้นน้ำมันมะพร้าวแยกออกมา เราก็จะได้น้ำมันมะพร้าวพร้อมใช้แล้ว น้ำมันมะพร้าวที่สกัดด้วยวิธีนี้จะเก็บได้ประมาณ 1 ปีครึ่ง   

3.3 การสกัดเย็นภายใต้สภาวะสูญญากาศ คือ การสกัดน้ำมันมะพร้าวโดยการกลั่นน้ำมันออกจากน้ำในสภาวะสูญญากาศ วิธีการสกัดเย็นแบบนี้นิยมใช้ในการผลิตน้ำมันมะพร้าวในอุตสาหกรรม เนื่องจากสกัดได้ในปริมาณที่มาก และน้ำมันมะพร้าวที่ได้มีคุณภาพดี มีสารอาหารและคุณค่าทางโภชนาการเหมือนกับน้ำมะพร้าวจากลูกมะพร้าวที่ไม่ผ่านความร้อน แต่สามารถเก็บไว้ได้นานประมาณ 1 ปีถึง 1 ปีครึ่ง

3.4 การสกัดเย็นแบบเหวี่ยง คือ การน้ำกะทิมาใส่ในเครื่องเหวี่ยงเพื่อทำการเหวี่ยง ด้วยความหนาแน่นของน้ำ ตะกอนและน้ำมันที่อยู่กะทิจะทำให้เมื่อเหวี่ยงด้วยความเร็วที่สม่ำเสมอแล้ว จะทำให้น้ำมันแยกตัวออกมาจากน้ำกะทิ และทำการแยกน้ำมันออกมาก็จะได้น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์แล้ว น้ำมันมะพร้าวแบบเหวี่ยงจะเก็บไว้ได้นานประมาณ 1 ปี

การนำมะพร้าวมาผลิตน้ำมันมะพร้าวควรใช้ผลมะพร้าวที่แก่จัดในการนำมาสกัด เพราะมะพร้าวที่แก่จัดจะมีปริมาณน้ำมันมากและน้ำมันที่ได้ก็จะมีคุณภาพที่ดีกว่าการนำมะพร้าวที่ไม่แก่จัดมาทำการผลิต
เมื่อทราบถึงวิธีการสกัดน้ำมันมะพร้าวแล้ว น้ำมันมะพร้าวมีคุณค่าทางโภชนาการสูงจึงเหมาะกับการรับประทานเพื่อสุขภาพหรือนำมาใช้ปรุงอาหารรับประทาน

ประโยชน์ที่ของน้ำมันมะพร้าว

1.ลดความอยากอาหาร สรรพคุณน้ำมันมะพร้าวต่อความอ้วน ประกอบด้วยกรดไขมันอิ่มตัวขนาดปานกลาง ซึ่งกรดไขมันนี้ร่างกายสามารถทำการย่อยได้ง่าย ร่างกายจึงทำการดูดซึมเข้าสู่ตับเพื่อเปลี่ยนเป็นพลังงานให้กับร่างกายได้โดยตรงและรวดเร็ว ดังนั้นหลังจากที่เรารับประทานน้ำมันมะพร้าวเข้าไปจะทำให้เราอิ่มเร็วขึ้น และพลังงานที่ได้รับจากน้ำมันมะพร้าวก็สูงมากจึงทำให้ร่างกายรู้สึกอิ่มนานขึ้นด้วย ทำให้เรามีความอยากอาหารน้อยลง เหมาะสำหรับคนที่ต้องการควบคุมน้ำหนักหรือลดน้ำหนัก

2.ช่วยเผาผลาญไขมัน น้ำมันมะพร้าวจะเข้าไปกระตุ้นกระบวนการเมตาบอลิซึม ( Metabolism ) ในการเปลี่ยนกรดไขมันอิ่มตัวให้กลายเป็นพลังงาน เมื่ออัตราเมตาบอลิซึมสูงส่งผลให้ร่างกายมีอุณหภูมิสูงขึ้นด้วย ทำให้ต่อมไทรอยด์ (Thyroid Gland) ผลิตฮอร์โมนด์ไทยรอยด์ออกมาเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ส่งผลให้ร่างกายเผาพลาญไขมันได้มากขึ้น กระบวนการต่างๆ ของร่างกายก็ทำงานได้อย่างปกติ และยัง่วยลดการสะสมของไขมันตามร่างกายเพราะร่างกายมีการเผาพลาญไขมันไปใช้เป็นพลังงานจนหมด

3.กระตุ้นการทำงานของสมอง น้ำมันมะพร้าวเมื่อเข้าสู่ร่างกาย ตับจะทำการย่อยสลายกลายเป็นกลูโคสและคีโตนที่จัดเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญของสมอง กลูโคสที่ได้จะเป็นแหล่งพลังงานสำคัญของเซลล์สมองทำให้สมองมีความแข็งแรง สมองจึงทำงานได้ดีมีการเรียนรู้ รับรู้และจดจำที่มากขึ้น นอกเหนือจากกลูโคสแล้วคีโตนที่ได้จากการย่อยน้ำมันมะพร้าวจากตับก็ถือเป็นแหล่งพลังงานอีกอย่างหนึ่งของเซลล์สมองในยามที่ร่างกายขาดกลูโคส สมองจะดึงคีโตนที่ได้จากน้ำมันมะพร้าวส่งไปเป็นแหล่งพลังงานให้กับสมองทดแทนกลูโคส คีโตนจะช่วยลดความเสียหายของเซลล์สมองได้เป็นอย่างดีและยังช่วยลดการอักเสบของเซลล์สมอง ป้องกันการเกิดโรคอัลไซเมอร์ 

4.บำรุงกระดูกและฟัน น้ำมันมะพร้าวมีองค์ประกอบของแคลเซียมและแมกนีเซียม ซึ่งแคลเซียมและแมกนีเซียมจะช่วยสร้างเสริมความแข็งแรงของกระดูกและฟัน เมื่อเรากินน้ำมันมะพร้าวซึ่งมีแมกนีเซียมที่ช่วยในการดูดซึมแคลเซียมเข้าสู่ร่างกาย ทำให้ร่างกายสามารถดูดซึมแคลเซียมได้เป็นอย่างดี จึงช่วยให้กระดูกและฟันแข็งแรง ป้องกันโรคกระดูกเสื่อม ข้อเสื่อมได้เป็นอย่างดี

5.ฆ่าเชื้อโรค น้ำมันมะพร้าวมีกรดลอริกในปริมาณที่สูงมาก ซึ่งกรดลอริกนี้มีสารโมโนลอริน ( Monolaurin ) ที่มีคุณสมบัติที่สามารถต้านเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา และเชื้อไวรัสได้ โดยน้ำมันมะพร้าวจะทำลายเยื่อหุ้มเซลล์ของเชื้อโรคและปล่อยสารโมโนลอรินเข้าไปในเซลล์ของเชื้อโรค สารโมโนลอรินจะส่งผลให้เซลล์ของเชื้อโรคที่เข้ามานั้นตายไป และสารโมโนลอรินยังไม่ส่งผลกับจุลินทรีย์ชนิดดีที่มีอยู่ในร่างกายอีกด้วย จึงช่วยเพิ่มความแข็งแรงของภูมิต้านทานโรคได้เป็นอย่างดี นอกจากนั้นยังสามารถนำมาอมในปากหรือใช้กลั้วคอก็จะช่วยฆ่าเชื้อโรคในปากและลำคอ เพื่อฆ่าเชื้อโรคที่อยู่ในปากและลำคอ ลดการเกิดกลิ่นปาก ลดการสะสมของเชื้อโรคในปาก ป้องกันเหงือกอักเสบ

6.เพิ่มความแข็งแรงของหลอดเลือด น้ำมันมะพร้าวมีสารต้านอนุมูลอิสระในกลุ่มของสารประกอบฟีนอล ซึ่งสารประกอบกลุ่มนี้จัดเป็นสารต้านอนุมูลอิสระชั้นดีที่ช่วยป้องกันไม่ให้อนุมูลอิสระเข้ามาทำร้ายเซลล์ผนังหลอดเลือดได้ หลอดเลือดจึงมีความแข็งแรงสมบูรณ์ ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจและเส้นเลือดตีบตัน

7.ป้องกันโรคเบาหวาน โดยน้ำมันมะพร้าวจะไปกระตุ้นและเพิ่มการทำงานของตับในการผลิตสารอินซูลินให้มีปริมาณที่เหมาะสมกับความต้องการของร่างกาย เมื่อระดับอินซูลินคงที่ทำให้ร่างกายมีการเผาพลาญไขมันและคาร์โบไฮเดรตในกระแสเลือด จึงช่วยรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในสภาวะที่เหมาะสม ลดความเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวาน

8.ไม่ก่อมะเร็ง น้ำมันมะพร้าวมีองค์ประกอบของไขมันอิ่มตัวมากถึง 92% จึงไม่สามารถเกิดปฏิกิริยาการเติมไฮโดรเจน ( Hydrogenation ) จนเกิดเป็นไขมันทรานส์ ( Trans Fat ) โดยไขมันทรานส์นี้จะเข้าไปทำปฏิกิริยากับเซลล์ทำให้เซลล์เกิดการกลายพันธุ์กลายเป็นเซลล์มะเร็งได้ ดังนั้นน้ำมันมะพร้าวจึงเป็นน้ำมันที่ดีต่อสุขภาพ

9.บำรุงผิวพรรณ น้ำมันมะพร้าวมีวิตามินอีสูง วิตามินอีจะเข้าไปกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนใต้ผิวทำให้ผิวมีความยืดหยุ่น มีความชุ่มชื่นใต้ผิวและลดการสูญเสียน้ำของเซลล์ จึงช่วยป้งอกันการเกิดริ้วรอยก่อนวัย นอกจากการรับประทานน้ำมันมะพร้าวแล้ว การนำน้ำมันมะพร้าวมาทาผิวก็ช่วยเพิ่มความชุมชื่นให้กับผิวได้เช่นกัน เพราะน้ำมันมะพร้าวมีโมเลกุลขนาดเล็กจึงซึมเข้าสู่ผิวได้อย่างรวดเร็ว และวิตามินอียังช่วยป้องกันแสงแดดเข้ามาทำลายเซลล์ผิวชั้นนอกได้เป็นอย่างดี

10.บำรุงเส้นผม น้ำมันมะพร้าวน้ำสามารถที่จะนำมาใช้ในการหมักเพื่อดูแลเส้นผม ทำให้ผมสวยและเงางามแบบธรรมชาติ รวมไปถึงทำให้เส้นผมดูมีน้ำหนักมากยิ่งขึ้น แต่ควรที่จะเริ่มทำก่อนสระผมประมาณ 30 นาทีโดยเป็นการหมักน้ำมันมะพร้าวทิ้งเอาไว้ แล้วค่อยไปสระผมออกตามปกติ   

11.ป้องกันโรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด น้ำมันมะพร้าวเป็นไขมันชนิดที่ดีที่ร่างกายสามารถดูดซึมไปใช้งานอย่างเต็มที่ จากการศึกษาและทดลองพบว่าคนทีรับประทานน้ำมันมะพร้าวเป็นประจำประมาณ 12 สับดาห์ เมื่อทำการตรวจวัดค่าไขมันพบว่าปริมาณไขมันชนิดดี ( HDL ) มีปริมาณเพิ่มขึ้นถึง 7-8% แต่ปริมาณไขมันชนิดไม่ดี ( LDL ) มีค่าไม่เปลี่ยนแปลง ดังนั้นการปริโภคน้ำมันมะพร้าวจึงช่วยลดปริมาณไขมันเลวที่เป็นต้นเหตุของการเกิดไขมันอุดตันในเส้นเลือดและโรคหลอดเลือดแข็งตัวได้

น้ำมันมะพร้าวเป็นน้ำมันที่มีประโยชน์ต่อร่างกายเป็นอย่างมาก แต่ทว่าการเลือกรับประทานน้ำมันมะพร้าวมีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะถ้าเราเลือกรับประทานน้ำมันมะพร้าวที่ไม่ดีแทนที่จะส่งผลดีต่อร่างกายอาจจะสร้างผลเสียต่อร่างกายได้

ลักษณะที่ดีของน้ำมันมะพร้าว

1.ใส น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ต้องใส ไม่มีสี ไม่มีตะกอนปะปนอยู่ในน้ำมัน

2.กลิ่นคล้ายมะพร้าวหรือไม่มีกลิ่น น้ำมันมะพร้าวที่ดีต้องไม่มีกลิ่นเหม็นหืนหรือเหม็นเปรี้ยว และต้องมีกลิ่นหอมอ่อนคล้ายมะพร้าว

3.ไม่หนืด ลักษณะเฉพาะของน้ำมันมะพร้าวคือไม่หนืดหรือมีความหนืดน้อยมาก เมื่อรับประทานเข้าปากจะไม่มีความรู้สึกเลี่ยนเหมือนการกินน้ำมันอื่นๆ ถึงจะเป็นน้ำมันมะพร้าวคุณภาพดีที่ควรนำมารับประทาน

4.ซึมเร็ว เมื่อนำมาทาบนผิวน้ำมันต้องซึมเข้าสู่ผิวอย่างรวดเร็วและไม่ทิ้งความมันไว้บนผิวหนังหรือคราบน้ำมันไว้บนผิวเลย

เมื่อได้น้ำมันมะพร้าวคุณภาพดีมาใช้แล้ว การเก็บรักษาก็มีส่วนช่วยคงคุณค่าของน้ำมันมะพร้าวไว้ด้วยเช่นกัน เพราะถ้าเราซื้อมาแล้วใช้ครั้งเดียวไม่หมด ถ้าเราเก็บรักษาไม่ดีน้ำมันมะพร้าวที่ดีอาจจะกลายเป็นน้ำมันมะพร้าวคุณภาพต่ำไปเลยก็ได้ ดังนั้นควรเก็บน้ำมันมะพร้าวในภาชนะที่มีฝาปิดมิดชิด ไม่ควรวางไว้ที่ที่โดนแสงแดดเพราะจะทำให้น้ำมันมะพร้าวเสื่อมคุณภาพเร็วขึ้น การเก็บอาจจะนำไปแช่เย็นหรือไม่ก็ได้ แต่เมื่อเก็บไว้ในตู้เย็นน้ำมันมะพร้าวจะแข็งตัวเวลาที่ใช้ต้องรอให้น้ำมันมะพร้าวคลายตัวเป็นของเหลวโดยการวางไว้ที่อุณหภูมิปกติสักครู่หนึ่งก่อน

การกินน้ำมันมะพร้าวนั้นกินได้ง่ายมาก เพราะเป็นน้ำมันที่สามารถกินได้ทันทีโดยไม่จำเป็นต้องนำไปปรุงเป็นอาหารก่อน หรือว่าจะนำไปปรุงอาหารเพื่อใช้ในการรับประทานก็ได้ ขึ้นอยู่กับความพอใจของผู้บริโภค การรับประทานน้ำมันมะพร้าวก็เหมือนการรับประทานน้ำมันชนิดอื่นๆ ที่ต้องบริโภคในอัตราส่วนที่เหมาะสม ถ้ามากไปก็จะเข้าไปสะสมเป็นไขมันส่วนเกินในร่างกาย ถ้าน้อยไปร่างกายก็ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ 

วิธีการกินน้ำมันมะพร้าวเพื่อลดน้ำหนัก

ควรกินน้ำมันมะพร้าวตามด้วยน้ำเปล่าหรือน้ำอุ่น 1 แก้ว ควรกินก่อนมื้ออาหารประมาณ 30-60 นาที เนื่องจากน้ำมันมะพร้าวมีคุณสมบัติช่วยลดความอยากอาหารได้ดี กระตุ้นการทำงานของต่อมไทรอยด์ ช่วยเพิ่มการเผาผลาญไขมัน และเพื่อขับของเสียออกจากร่างกาย กระตุ้นการขับถ่าย ซึ่งหลังทานน้ำมันมะพร้าวประมาณ 1-2 ชั่วโมงจะรู้สึกอยากถ่าย

ขนาดรับประทานน้ำมันมะพร้าวที่เหมาะสมต่อน้ำหนักตัว

น้ำหนักตัว ( กิโลกรัม ) ขนาดรับประทาน
30 – 40 กิโลกรัม สามารถรับประทานน้ำมันมะพร้าวได้ไม่เกินครึ่งช้อนโต๊ะต่อวัน
41 – 60 กิโลกรัม สามารถรับประทานน้ำมันมะพร้าวได้ไม่เกิน 1 ช้อนโต๊ะต่อวัน
น้ำหนักตัว 61- 80 กิโลกรัมหรือผู้สูงอายุที่มีเกิน 60 ปีขึ้นไป สามารถรับประทานน้ำมันมะพร้าวได้ไม่เกิน 2 ช้อนโต๊ะต่อวัน
น้ำหนักตัว 80 กิโลกรัมขึ้นไป สามารถรับประทานน้ำมันมะพร้าวได้ไม่เกิน 3 ช้อนโต๊ะต่อวัน

น้ำมันมะพร้าวเป็นน้ำมันเพื่อสุขภาพที่สามารถรับประทานได้ทุกวัน นับว่าเป็นน้ำมันทางเลือกที่เหมาะกับคนไทยเราเพราะสามารถทำรับประทานได้ด้วยตัวเองที่บ้านหรือจะหาซื้อก็มีราคาถูก จัดเป็นน้ำมันที่ต่อร่างกายและดีต่อใจจริงๆ

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

สุนันท์ วิทิตสิริ. รู้จักกับ น้ำมันและไขมันปรุงอาหาร. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์, 2559. 80 หน้า. 1.รู้จักกับน้ำมันและไขมัน. 2.ปรุงอาหาร. I.ชื่อเรื่อง. 665 ISBN 978-616-538-290-8.

“Coconut oil”. Transport Information Service, German Insurance Association, Berlin. 2015.

Grimwood, BE; Ashman F; Dendy DAV; Jarman CG; Little ECS; Timmins WH (1975). Coconut Palm Products – Their processing in developing countries. Rome: FAO. pp. 49–56. ISBN 978-92-5-100853-9.

พาร์กินสันจากโรคสมองเสื่อม

0
พาร์กินสันจากโรคสมองเสื่อม
โรคพาร์กินสันเกิดจากอายุที่มากขึ้น บวกกับขณะอยู่ในวัยหนุ่มสาว วัยทำงาน ได้รับสารเคมีกำจัดศัตรูพืชเข้าร่างกายเป็นเวลานาน จนเกิดการสะสม และการใช้สารเสพติด
พาร์กินสันจากโรคสมองเสื่อม
โรคพาร์กินสันเกิดจากอายุที่มากขึ้น บวกกับขณะอยู่ในวัยหนุ่มสาว วัยทำงาน ได้รับสารเคมีกำจัดศัตรูพืชเข้าร่างกายเป็นเวลานาน จนเกิดการสะสม และการใช้สารเสพติด

พาร์กินสันจากโรคสมองเสื่อม

โรคพาร์กินสัน พบมากในผู้สูงอายุ เชื่อไหมว่า 1 ใน 100 คนของคนที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ป่วยเป็นโรคพาร์กินสัน ฟังดูเหมือนน้อย แต่ถ้าลองคิดให้เห็นภาพง่ายๆว่า ในโรงเรียน 1 แห่ง ถ้ามีนักเรียน 1,000 คน เมื่อนักเรียนเหล่านี้อายุ 60 ปี จะมีคนที่เป็นโรคพาร์กินสันถึง 10 คน ถือว่าเยอะมากซึ่งความผิดปกติของผู้ที่เป็นโรคพาร์กินสัน จะมีอาการผิดปกติทางการเคลื่อนไหว เช่น ทำอะไรช้า ทรงตัวผิดปกติ สั่น เกร็ง แข็ง

โรคพาร์กินสัน ( Parkinson’s Disease )

โรคพาร์กินสัน เป็นโรคภาวะสมองเสื่อม ผู้ป่วยโรคพาร์กินสันร้อยละ 25-30 มีโอกาสเกิดภาวะทุพพลภาพ และมีอัตราการเสียชีวิตมากขึ้น 2 เท่า ทำให้มีปัญหาในการดำรงชีวิต ต้องมีคนคอยดูแลประจำ ทำให้เป็นภาระของครอบครัว ยิ่งถ้าครอบครัวไหนฐานะยากจน ยิ่งทำให้ลำบากมากขึ้น ในอดีตจะเรียกโรคพาร์กินสันว่า โรคอัมพาตแบบสั่น ( Shaking Palsy ) เพราะว่ามีอาการสั่น เกร็ง จากการเคลื่อนไหว แต่ในปัจจุบันพบว่า นอกเหนือจากอาการเหล่านี้ ผู้ป่วยโรคพาร์กินสันยังมีอาการอื่นๆร่วมด้วย ไม่ว่าจะเป็น ภาวะซึมเศร้า หลงผิด เห็นภาพหลอน ภาวะสมองเสื่อม อาการจากระบบประสาทอัตโนมัติ ( Autonomic Nervous System ) ทำงานผิดปกติ เช่น น้ำลายไหลมาก ท้องผูกเรื้อรัง

โรคพาร์กินสันเกิดจากอะไร

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคพาร์กินสัน คือ อายุที่มากขึ้น บวกกับขณะอยู่ในวัยหนุ่มสาว วัยทำงาน ได้รับสารเคมีกำจัดศัตรูพืชเข้าร่างกายเป็นเวลานาน จนเกิดการสะสม และการใช้สารเสพติด เช่น แอมเฟตามีน หรือที่เรารู้จักในชื่อ ยาบ้า และผู้ที่ได้รับการกระทบกระเทือนจากศรีษะอย่างรุนแรง และยังพบว่า 20% ของผู้ป่วยโรคพาร์กินสันเกิดจากกรรมพันธุ์ หากใครที่พ่อแม่ หรือญาติพี่น้องเป็นโรคพาร์กินสัน ก็มีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคพาร์กินสันได้

ความเสี่ยงของโรคพาร์กินสัน คือ อายุที่มากขึ้น บวกกับขณะอยู่ในวัยหนุ่มสาว วัยทำงาน ได้รับสารเคมีกำจัดศัตรูพืชเข้าร่างกายเป็นเวลานานจนเกิดการสะสมและการใช้สารเสพติด

การลดความเสี่ยงจากโรคพาร์กินสัน

ถึงแม้ว่าโรคพาร์กินสัน จะเป็นโรคที่มีความรุนแรง แต่ก็สามารถป้องกันได้ ด้วยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ โดยพบว่า การออกกำลังกายตั้งแต่อายุ 35 ปี ขึ้นไป อย่างสม่ำเสมอ จะช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคพาร์กินสัน ได้ เนื่องจาก การออกกำลังกาย จะทำมีสาร Brain-Deried Neurotrophic Factor ( BDNF ) ตรงสมองส่วนฮิปโปแคมปัสปริมาณสูง ซึ่งสารนี้มีผลทำให้รักษาเซลล์สมองและช่วยให้เส้นประสาทใหม่เติบโต คนที่ออกกำลังกายสม่ำเสมอ จึงทำให้สามารถเรียนรู้ได้ดี และมีความจำที่ดี

สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคพาร์กินสัน

นอกจากปัจจัยเสี่ยงเรื่องอายุและกรรมพันธุ์แล้ว โรคพาร์กินสัน ยังมีสาเหตุมาจากความเสื่อมและตายของสมองส่วนหน้า ( Forebrain ) และถ้าหากมีการเสื่อมและตายของก้านสมองซับสแตนเชียไนกรา ( Substantia Nigra ) ยิ่งทำให้การสร้างสารสื่อประสาทโดพามีนลดน้อยลง ซึ่งสารตัวนี้มีหน้าที่เป็นสะพานเชื่อมไปยังสมองส่วนคอร์ปัสสไตรเอตัม ( Corpus Striatum ) ในสมองส่วนหน้า ทำให้กล้ามเนื้อมีกำลังและประสานกันได้ดี แต่ถ้าเซลล์สมองส่วนซับสแตนเชียในกราตาย ภายใน 4-10 ปี ผู้ป่วยที่เป็นโรคพาร์กินสันจะเริ่มมีอาการผิดปกติทางการเคลื่อนไหว ในสมองของผู้ป่วยที่เป็นโรคพาร์กินสัน จะมีก้อนเลวี ( Lewy Body ) ในสมองที่ฝ่อลง ซึ่งในก้อนเลวีจะมีสารแอลฟาไซนิวคลิน ซึ่งเป็นโปรตีนที่ผิดปกติ ที่บ่งบอกถึงการเป็นโรคพาร์กินสัน คนที่เป็นโรคพาร์กินสัน จะมีอาการรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเวลานานเข้าจะเป็นเรื้อรัง มีความรุนแรงของโรคมากขึ้น ส่งผลทำให้ผู้ป่วยเคลื่อนไหวลำบาก เดินลำบาก พูดลำบาก ช่วยเหลือตัวเองได้น้อยลง เพราะส่วนต่างๆทำงานเสื่อมลง

  1. สมองส่วนหน้า ( Forebrain ) ทำหน้าที่ในการควบคุมการเดิน

2. ก้านสมอง ( Brain Stem )

3. คอเดต ( Caudate )

4. พิวตาเมน ( Putamen )

5. อมิกดาลา ( Amygdala )

6. ซับสแตนเชียในกรา ( Substantia Nigra )

อาการโรคพาร์กินสัน ( เกี่ยวกับการเคลื่อนไหว )

อาการของโรคพาร์กินสัน ซึ่งเราจะเห็นจากภายนอก คือ มีอาการเกร็ง สั่น ในช่วงเริ่มแรก มือจะมีอาการสั่นที่ละข้าง แล้วค่อยเริ่มสั่นทั้งสองข้าง แม้ว่าอยู่เฉยๆก็สั่น แต่เวลาจับสิ่งของมือจะไม่สั่น อาการของโรคพาร์กินสัน นอกจะมีอาการสั่นแล้ว ยังมีอาการกล้ามเนื้อเกร็ง น้ำลายสอมุมปาก เคลื่อนไหวช้า ยืนตัวงอ ถ้าอาการหนักขึ้น จะทำให้เสียการทรงตัว เวลาเดินหกล้มได้ง่าย และเดินผิดปกติ เช่น เดินลากขา หรือไม่แกว่งแขน

อาการของโรคพาร์กินสัน ( ไม่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหว )

อาการของโรคพาร์กินสันที่ไม่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหว คือ อาการทางจิตประสาท ซึมเศร้า วิตกกังวล สมองเสื่อม มีความผิดปกติในการควบคุมแรงกระตุ้นภายใน ( Impulse Control Disorder : ICD ) จะมีอาการ เช่น ใช้เงินเยอะ กินเยอะ หมกมุ่นเรื่องเพศ โมโหร้าย เป็นต้น

ผู้ป่วยที่เป็นโรคพาร์กินสัน จะมีอาการที่สังเกตเห็นเลยก็คือ เหนื่อยง่าย ร่างกายอ่อนเพลียไม่มีแรง การได้กลิ่นลดลง และมีอาการประสาทหลอน เพราะระบบประสาทอัตโนมัติที่ถูกควบคุมภายใน มีการทำงานผิดปกติ จึงทำให้ผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน มักมีอาการท้องผูก เวียนศีรษะ ปากแห้ง ความดันโลหิตต่ำขณะเปลี่ยนท่า ง่วงนอนในตอนกลางวัน แต่นอนไม่หลับในเวลากลางคืน

ซึ่งมีความผิดปกติของอาร์บีดี ( REM Behavior Disorder ) ในช่วงการนอนจะมีอาการขากระตุกในเวลากลางคืน บางคนกระตุกจนตกเตียง หรือฝันแล้วคิดว่าความฝันเป็นจริง เกิดอาการเอะอะโวยวาย เพราะแยกแยะความฝันออกจากความจริงไม่ได้

โรคพาร์กินสันกับข้อมูลที่ชี้ชัดเกี่ยวกับโรคสมองเสื่อม

ซึ่งข้อมูลจากสหรัฐอเมริกา ได้นำสมองของผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตัวเองได้น้อย มาตรวจ เพื่อค้นหาสาเหตุ พบว่า มี 3 ปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะหง่อมบอบบาง คือ

  1. มีสารแอมีลอย ( Amyloid ) คือ มีโรคอัลไซเมอร์
  2. มีสารแอลฟาไซนิวคลิน คือ มีโรคพาร์กินสัน
  3. มีพยาธิสภาพของโรคหลอดเลือดสมอง

ดังนั้น ถ้ารู้จักป้องกันไม่ให้เกิดโรคทั้ง 3 โรคนี้ ก็ช่วยลดความเสี่ยงของโรคสมองเสื่อมได้ ซึ่งนอกจากนี้ ยังพบว่า คนที่เป็นโรคพาร์กินสัน จะมีระดับสารเหล็กในสมองสวนปมประสารทเบซัล ( Basal Ganglia ) สูงกว่าคนปกติ
ซึ่งในปัจจุบันได้มีการตรวจการทำงานของสมอง โดยใช้ F-Dopa PET Scan ที่สามารถตรวจวัดความผิดปกติของสารโดพามีนในสมอง ของผู้ป่วยที่เป็นโรคพาร์กินสันได้ แต่การตรวจวัดประเภทนี้ ราคาค่อนข้างสูงมาก และการตรวจต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านจริงๆ คือต้องรู้จักโรคพาร์กินสันเป็นอย่างดี ซึ่งผู้เชี่ยวชาญนี้สามารถวินิจฉัยได้ถูกต้องถึง 80-90% อยู่แล้ว จึงไม่ต้องเสียค่าตรวจวัดประเภทนี้ แต่แพทย์จะพิจารณาในการส่งตรวจ F-Dopa PET เฉพาะผู้ที่ป่วยที่มีอาการไม่ชัดเจน แพทย์ไม่สามารถบอกได้ชัดเจนว่าเกิดจากสาเหตุอะไรเท่านั้น
ดังนั้น ในการรักษาโรคพาร์กินสัน ต้องแยกแยะให้ชัดเจน และตรวจดูอาการของโรคอื่นร่วมด้วย เพราะบางโรคก็มีอาการคล้ายกับโรคพาร์กินสัน

คนที่เป็นโรคอัลไซเมอร์ ที่มักจะทวนคำถามบ่อยๆ เพราะจำไม่ได้ แต่คนที่เป็นโรคพาร์กินสันจะไม่ถามบ่อย แต่จะอธิบายต่อไม่ได้

โรคพาร์กินสันทำให้สมองเสื่อม

จากที่มีการวินิจฉัยว่าผู้ป่วย ป่วยเป็นโรคพาร์กินสันชัดเจนแล้ว ภายใน 5-6 ปี ผู้ป่วยจะมีอาการสมองเสื่อมร้อยละ 25-35 และมีอาการสมองถดถอย ร้อยละ 35 ผู้ป่วยกลุ่มเอ็มซีไอ ร้อยละ 45-50 ภายใน 5 ปี จะกลายเป็นคนสมองเสื่อม และยังพบอีกว่า ผู้ป่วยที่เป็นโรคพาร์กินสัน จากพันธุกรรม จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดสมองเสื่อมสูงมาก ซึ่งการมีพันธุกรรม MAPT ชนิด MAPT H1/H1 มีความเสี่ยงในการเกิดควมจำบกพร่องได้ แต่ถ้ามีสารพันธุกรรม COMT ชนิด COMT Met/Met ก็จะช่วยให้สมองด้านสมาธิทำงานดีขึ้น และมีผลจากการศึกษาผู้ป่วยที่เป็นโรคพาร์กินสัน ที่มีความผิดปกติของพฤติกรรมอาร์บีดี ( RBD ) ที่มักเกิดในช่วงการนอน ซึ่งมีผลทำให้เกิดภาวะสมองถดถอย ( MCI ) คือไม่สามารถตอบคำถามได้ ว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเกิดจากสาเหตุอะไร ซึ่งต่างจากคนที่เป็นโรคอัลไซเมอร์ ที่มักจะทวนคำถามบ่อยๆ เพราะจำไม่ได้ แต่คนที่เป็นโรคพาร์กินสันจะไม่ถามบ่อย แต่จะอธิบายต่อไม่ได้ และคนที่เป็นโรคพาร์กินสัน จะตัดสินใจค่อนข้างช้า เพราะมีความผิดปกติในการทำงานด้านการคิดหาเหตุผลของสมอง ซึ่งเราจะมักสังเกตเห็นว่า ผู้ป่วยที่เป็นโรคพาร์กินสันจะมีพฤติกรรมที่เฉยเมย

ปัญหาที่พบในการวินิจฉัยสมองเสื่อมของคนที่เป็นโรคพาร์กินสัน

ปัญหาที่พบเกิดจากที่ผู้ป่วยโรคพาร์กินสันซึ่งมีความผิดปกติในเรื่องของการเคลื่อนไหว ซึ่งมีผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ในส่วนของสมองด้านความคิด และความจำ ทำงานเสื่อมลง จนส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน การรักษาจำเป็นต้องใช้แพทย์ที่เชี่ยวชาญด้านสมองร่วมด้วย เพื่อจะได้บอกปัญหา อาการ และรักษาได้อย่างแม่นยำ
ในส่วนของพยาธิวิทยาของสมองเสื่อมจากการเป็น โรคพาร์กินสัน จะพบว่ามีก้อนเลวีตรงปมประสารทเบซัลที่สมองส่วนลิมบิค ซึ่งเกี่ยวกับอารมณ์ และตรงเนื้อสมองชั่นนอกมีเนื้อสมองฝ่อลง และเนื้อสมองส่วนหน้าบางลง

เกณฑ์การวินิจฉัยภาวะสมองเสื่อม ของคนที่เป็นโรคพาร์กินสัน เมื่อปี พ.ศ. 2550 จากสมาคมโรคพาร์กินสัน และการเคลื่อนไหวผิดปกติสากล ( The Internationnal Parkinson and Movement Disorder Socirty ) ประเทศสหรัฐอเมริกา
1.ผู้ป่วยมีความผิดปกติของความรู้คิดของสมอง ซึ่งมีผลกระทบต่อการทำกิจวัตรประจำวัน
2.การเกิดโรคพาร์กินสัน จะเกิดก่อนโรคสมองเสื่อม โดยที่ภาวะสมองเสื่อมจะเกิดขึ้นช้าๆ ซึ่งมีภาวะบกพร่อง ของการทำงานในสมองมากกว่าเดิม 1 ด้าน
3.อาการทางคลินิกที่ควรมี ได้แก่ ด้านการรู้คิด เช่น การใส่ใจบกพร่อง สมาธิ การระลึกจำเหตุการณ์ใหม่ๆ หรือการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆบกพร่อง แต่การพูดยังดีอยู่ ส่วนด้านพฤติกรรมประสาทจิตเวช จะมีอาการเฉยเมย ซึมเศร้า หลงผิด ง่วงตอนกลางวัน ประสาทหลอน

แนวทางการรักษาอาการสมองเสื่อมจากโรคพาร์กินสัน

เมื่อผู้ป่วยมีอาการคล้ายหรือสงสัยว่าจะเป็นโรคพาร์กินสัน แนะนำให้เข้าปรึกษาแพทย์ที่เชี่ยวชาญด้านประสาทวิทยา โดยตรง เพราะสามารถวินิจฉันได้แม่นยำถึง 80-90% ส่วนการรักษามี 3 วิธี ดังนี้

วีธีการรักษาโรคพาร์กินสัน

1.รักษาทางยา

รักษาทางยา คือ ใช้ยาในการบรรเทาอาการ ได้แก่

ยาเลโวโดพา ( Levodopa ) ยาชนิดนี้จะเปลี่ยนเป็นสารโดพามีน เข้าสู่สมองโดยตรงเพื่อทดแทนสารโดพามีนที่พร่องไป ซึ่งมักจะพบในยากลุมอื่นเพื่อลดผลข้างเคียง

ยาเลโวโดพา มีชือ่ทางการค่า ไซเนเมต มาโดพาร์ ซึ่งมีผลข้างเคียง ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปัสสาวะลำบาก ท้องผูก หัวใจเต้นผิดปกติ จนส่งผลทำให้นอนไม่หลับ หลับยาก เห็นภาพหลอน เกิดต้อหิน ผู้ป่วยที่ใช้ยานี้นานๆ และปริมาณสูง จะทำให้แขนขามีการเคลื่อนไหวผิดปกติ

ยาเบนซ์โทรพีน ( Benztropine ) ยาชนิดนี้ มักจะใช้กับผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน ที่มีอาการไม่มาก ส่วนมากจะใช้เพื่อการควบคุมการสั่น ซึ่งยาชนิดนี้มีผลข้างเคียงเหมือนกัน คือ จะมีอาการปากแห้ง คอแห้ง ท้องผูก ปัสสาวะลำบาก และความจำบกพร่อง ผู้ป่วยทีมีอายุเกิน 70 ไม่ควรใช้ยานี้ และไม่ควรใช้ผู้ป่วยในรายที่มีภาวะสมองเสื่อม

กลุ่มยากระตุ้นโดพามีน ( Dopamine Agonist ) เหมาะกับผู้ป่วยที่เป็นโรคพาร์กินสันที่อาการยังน้อยอยู่ ซึ่งยากลุ่มนี้จะมีหน้าที่ทำให้โดพามีนทีมีอยู่ในระบบประสาททำงานได้ดีขึ้น โดยจะใช้ยากลุ่มนี้ร่วมกับยาเลโวโดพา ซึ่งมีผลข้างเคียงทำให้ ง่วงนอน ในผู้ป่วยบางราย มีอาการแขนขาบวม ซึ่งเกิดจากผู้ป่วยมีปัญหาระบบการไหลเวียดเลือดไม่ดี แต่บางราย เห็นเป็นภาพหลอน และมีอาการอาเจียน คลื่นไส้ สับสน ร่วมด้วย

กลุ่มยาต้านโคมท์ ( Catechol-O-Methyltransferase : COMT ) ยากลุ่มนี้มีหน้าที่ช่วยในการยับยั้งเอนไซม์โคมท์ เพื่อไม่ให้มีการเผาผลาญเลโวโดพา จึงทำให้เมื่อมีเลโวโดพาอยู่ในร่างกายสูงขึ้น ก็จะเปลี่ยนเป็นโดพามีนมาก ส่งผลให้ผู้ป่วยตอบสนองต่อยาได้นานขค้น จึงจำเป็นต้องกินยาทั้งสองอย่างพร้อมกัน

2.กายภาพบำบัด

การกายภาพบำบัด จะช่วยให้ร่างกาย มีการทรงตัวได้ดี และเคลื่อนไหวได้อย่างถูกต้องและยังช่วยเรื่องหลังโก่ง ไหล่ตก อาการปวดคอ ปวดหลัง ได้ด้วย

การทำงานของนักิจกรรมบำบัด สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคพาร์กินสัน นักกิจกรรมบำบัดจะเน้นเรื่องความปลอดภัยในการเคลื่อนไหว ฝึกให้ผู้ป่วยใช้ประสาทตากับมือประสานกัน ประเมินอาการต่างๆ ทั้งเรื่องการกิน ความลำบากในการกลืนอาหาร ช่วยให้ฝึกใช้อุปกรณ์เสริม และต้องปรับสภาพแวดล้อม ให้สามารถดำรงชีวิตประจำวันได้ง่ายขึ้น แต่จำเป็นต้องมีญาติคอยดูแลเรื่องการใช้อุปกรณ์เสริมต่างๆด้วย เพื่อการใช้งานที่ถูกต้อง ไม่เป็นอันตรายต่อผู้ป่วยเอง

3.การรักษาด้วยการผ่าตัด

ปัจจุบันการรักษาโรคพาร์กินสินได้มีการพัฒนาไปมาก แต่ก่อนใช้ไฟฟ้าจี้ให้เกิดความร้อนเพื่อไปทำลายเซลล์สมอง สำหรับในยุคปัจจุบัน ได้มีการใช้การกระตุ้นด้วยไฟฟ้า ( Dep Brain Stimulation ) มากกว่า ซึ่งคนที่เป็นโรคพาร์กินสัน ต้องการผ่าตัด ไม่สามารถผ่าตัดได้ทุกราย เพราะต้องดูข้อบ่งชี้ที่สำคัญ ดังนี้  [adinserter name=”สมองเสื่อม”]

1) ต้องได้รับการวินิจฉัยแล้วว่า เป็นโรคพาร์กินสันจริงๆ ไม่ใช่แค่มีอาการคล้ายคนที่เป็นโรคพาร์กินสันเท่านั้น

2) ผู้ป่วยที่มีอาการดื้อยา และไม่ตอบสนองต่อยา หรือเมื่อทานยาไปแล้ว ยามีการออกฤทธิ์ที่ไม่แน่นอน

3) มีการตอบสนองต่อยากลุ่มโดพามีน จากการผ่าตัด ซึ่งให้ผลเหมือนกินยาแต่ลดอาการดื้อยา

4) ผลข้างเคียงจากการใช้ยา เช่น อาการหยุกหยิก ขยับไปมาตลอดเวลา เพราะมีการกินยามากเกินไป ซึ่งมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ไม่สามารถเพิ่มยาได้อีก

5) ต้องเป็นผู้ที่ไม่เป็นโรคประสาท สมองเสื่อม สมองฝ่อ เพราะมีโอกาสเลือดออกมากจากการฝ่าตัด

วีธีกินยาสำหรับคนที่เป็นโรคพากินสัน

วิธีการรักษาด้วยยา คือ ต้องกินยาตามแพทย์สั่งอย่างสม่ำเสมอ หากกินยาไม่สม่ำเสมอ กินบ้างไม่กินบ้าง จะเกิดผลข้างเคียงระยะยาว ไม่สามารถคาดเดาการตอบสนองต่อยาที่ทดแทน หรือคาดเดาได้ลำบาก เพราะว่า สมองจะรู้สึกวา การทานยาบ้างไม่ทานบ้าง สมองจะตอบสนองไม่ถูกว่าจะได้รับสารทดแทนหรือไม่ แต่ถ้าผู้ป่วยทานยาสม่ำเสมอ ร่างกายก็จะตอบสนองได้ดี ทำให้มีชีวิตที่ยืนยาวขึ้น และผลเสียอีกอย่างที่ผู้ป่วยกินยาบ้าง ไม่กินยาบ้าง จะทำให้สมองดื้อยาได้

สมองกับผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน

ซึ่งผู้ป่วยโรคนี้ จะแยกแยะไม่ออกว่า อันไหนฝัน อันไหนเรื่องจริง ถ้ามีอาการถึงขั้นนี้ นั้นแสดงว่า อาการทางสมองของผู้ป่วยได้มีการถดถอยลง โดยผู้ป่วยจะนอนหลับในช่วงกลางวัน การรักษาด้วยยาเวโวโดพาต้องไม่ให้ทานมาก ส่วนยาที่อาร์บีดีที่รักษาความผิดปกติของพฤติกรรม ที่เกิดในช่วงนอนหลับ ต้องระวังสำหรับผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อม และผู้ป่วยที่มีปัญหาเรื่องการเดิน นอนกรน เมลาโทนิน ( Melatonon )จะช่วยป้อกันโรคพาร์กินได้ ถ้าใช้ขนาดต่ำ และยังช่วยลดพฤติกรรมอาร์บีดี ส่วนยากลุ่มโดเนเพซิล ไรวาสติกมีน กาแลนทามีน และมีแมนทีน จะลดอาการอาร์บีดีได้

การรักษาสมองเสื่อมจากโรคพาร์กินสัน

โดยการใช้ยากลุ่มต้านแอซิติลโคลีน เอสเตอเรส  ( Acetylcholinesterase Inhibitor : AChEl ) ไรวาสติกมีน สามารถช่วยผู้ป่วยในเรื่องอาการหลงๆลืมที่ยังเป็นไม่มาก ตั้งแต่ระยะน้อยถึงปานกลาง ทำให้ผู้ป่วยสามารถช่วยเหลือตนเองได้มากขึ้น มีความรู้คิดมากขึ้น และทำการรักษาอาการซึมเศร้าด้วยยาต้านเศร้า และรักษาอาการประสาทหลอนด้วยยาต้านโรคจิต แต่ต้องระวังผลข้างเคียงให้มาก เพราะจะทำให้เกิดการเกร็งของกล้ามเนื้อได้

ซึ่งในปัจจุบัน การรักษาผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน และ สมองเสื่อม เป็นไปค่อนข้างดีมาก เพราะว่า มียาที่ช่วยในการรักษาได้ดี ยิ่งแพทย์ทำการวินิจฉัยอย่างชัดเจนว่า เป็นโรคพาร์กินสัน ยิ่งเร็วเท่าไหร่ บวกกับผู้ป่วยกินยาตามแพทย์สั่งอย่างสม่ำเสมอ จะทำให้อาการดีขึ้น และสามารถอยู่กับเราได้นานที่สุด

การรักษาโรคพาร์กินสัน ด้วยการออกกำลังกาย เพื่อให้สุขภาพแข็งแรง ก็ช่วยให้ผู้ป่วยมีการฟื้นฟูสมรรถภาพได้ดีขึ้น เพราะว่า สาเหตุของโรคพาร์กินสัน และ โรคอัลไซเมอร์ มาจากโคหลอดเลือดในสมอง จึงทำให้สมองแย่ลงนั่นเอง
แต่ถ้าเรารู้จักดูแลตัวเองให้ดี ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ร่างกายก็จะหลังสารที่ดีในสมอง ออกมาช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอได้ ทำให้ลดความเสี่ยงในการเป็นโรคพาร์กินสันได้

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

วรพรรณ เสนาณรงค์. รู้ทันสมองเสื่อม / รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงวรพรรณ เสนาณรงค์: กรุงเทพฯ: อมรินทร์เฮลท์ อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2559. (22), 225 หน้า: (ชุดชีวิตและสุขภาพ ลำดับที่ 207) 1.สมอง. 2.สมอง–การป้องกันโรค. 3.โรคสมองเสื่อม. 4.โรคอัลไซเมอร์. 616.83 ว4ร7 ISBN 978-616-18-1556-1. 

“Dementia”. MedlinePlus. U.S. National Library of Medicine. 14 May 2015. Archived from the original on 12 May 2015. Retrieved 27 May 2015. Dementia Also called: Senility

“Dementia Fact sheet N°362”. who.int. April 2012. Archived from the original on 18 March 2015. Retrieved 28 November 2014.

Burns, A; Iliffe, S (5 February 2009). “Dementia”. BMJ (Clinical research ed.). 338: b75. doi:10.1136/bmj.b75. PMID 19196746.

“Dementia diagnosis and assessment” (PDF). pathways.nice.org.uk. Archived (PDF) from the original on 5 December 2014. Retrieved 30 November 2014.

การส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยเบาหวานในชุมชนแบบรายบุคคล

0
การส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยเบาหวานในชุมชนแบบรายบุคคล
การดูแลผู้ป่วยเบาหวานรายบุคคลในชุมชน
กราฟแสดงผู้ป่วยเบาหวานในชุมชนเป็นเวลา1ปี

ผู้ป่วยเบาหวาน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมีบทบาทสำคัญในการดูแลสุขภาพระดับบุคคล ครอบครัว และชุมชน โดยเน้นด้านการส่งเสริมสุขภาพ การรักษาพยาบาล การป้องกันและควบคุมโรค รวมถึงการฟื้นฟูสุขภาพ หน้าที่หลักประกอบด้วยสองประการสำคัญ ได้แก่

  1. การดำเนินการเชิงรุก เพื่อช่วยให้ประชาชนสามารถจัดการปัจจัยที่เป็นต้นเหตุของปัญหาสุขภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  2. การให้บริการต่อเนื่อง โดยเน้นการให้คำปรึกษา การรักษาผู้ป่วยทันที และการส่งต่อผู้ป่วยเพื่อเข้าถึงการรักษาได้อย่างรวดเร็ว รวมถึงการดูแลฉุกเฉินและการพยาบาลเบื้องต้นก่อนส่งต่อ

นอกจากนี้ โรงพยาบาลยังให้ความสำคัญกับความร่วมมือและการเชื่อมโยงในระบบสุขภาพ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลผู้ป่วย โดยเฉพาะผู้ป่วยเบาหวานให้ครอบคลุมทุกมิติและตอบสนองความต้องการได้อย่างสมบูรณ์ที่สุด

ในปัจจุบันกระทรวงสาธารณสุขได้ให้ความสำคัญกับสุขภาพของประชาชนเป็นอย่างมาก จึงมีนโยบายที่จะจัดการกับอาการของโรคเรื้อรัง มุ่งเน้นให้มีการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงมากถึงร้อยละ 80-90 พร้อมทั้งจัดให้มีการให้คำปรึกษาและแนะนำสำหรับผู้ป่วยหรือกลุ่มเสี่ยง เพื่อให้เกิดความเข้าใจมากขึ้นอีกด้วย โดยทั้งนี้ส่วนใหญ่แล้วพบว่าการดูแลผู้ป่วยยังไม่ค่อยครอบคลุมมากนัก ทำให้ผู้ป่วยแต่ละบุคคลขาดการปรับพฤติกรรมของตัวเองอย่างต่อเนื่อง และได้รับการเข้าถึงการบริการของสถานพยาบาลเพียงไม่กี่เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ซึ่งกลุ่มคนที่ได้รับการตรวจวินิจฉัยแต่ไม่ได้รับการรักษา ก็ยังคงมีอยู่เป็นจำนวนมากเลยทีเดียว

ล่าสุด แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติฉบับที่ 10 และกรอบยุทธศาสตร์งานสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคระดับชาติปี พ.ศ.2554- พ.ศ.2558 ก็ได้มีการกำหนดยุทธศาสตร์ให้มีความสอดคล้องกับการดูแลผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงมากที่สุด โดยเน้นให้มีการส่งเสริมให้ประชาชนรู้จักสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคของตนเองและคนในครอบครัว ตลอดจนชุมชน สังคมมากขึ้น ทั้งยังมีการพัฒนาระบบและเครื่องมือให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ ให้สามารถนำมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด รวมถึงให้ความใส่ใจในเรื่องของการจัดการ ข้อมูลสารสนเทศ การสื่อสารและงบประมาณบุคลากรเช่นกัน

สำหรับกรอบแนวทางในการจัดบริการดูแลและรักษาโรคเรื้อรังใน รพ.สต. ก็ไม่ใช่แค่การตรวจเลือดและการจ่ายยาเท่านั้น แต่ยังมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ป่วยและครอบครัวสามารถประเมินอาการเจ็บป่วยและปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นได้อีกด้วย นั่นก็เพื่อให้ผู้ป่วยและผู้ดูแลสามารถที่จะจัดการกับปัญหาสุขภาพของตนเองได้อย่างเหมาะสมและมีความยั่งยืนที่สุด โดยองค์ประกอบของระบบบริการสุขภาพ ที่สำคัญก็มีทั้งหมด 6 ส่วนดังนี้

องค์ประกอบของระบบบริการสุขภาพ 6 ส่วน

องค์ประกอบของระบบบริการสุขภาพ 6 ส่วน1. การออกแบบระบบการให้บริการ พร้อมปรับโครงสร้างการบริหารให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงมีการสร้างทีมงานที่จะทำหน้าที่ดูแลผู้ป่วยเรื้อรังได้อย่างชัดเจนที่สุด

2. สนับสนุนให้ผู้ป่วยสามารถดูแลตนเองได้ เพราะโรคเรื้อรังนั้น ผู้ที่จะทำหน้าที่ในการดูแลได้ดีที่สุด ก็คือตัวของผู้ป่วยเองนั่นเอง ดังนั้นจึงต้องมีการให้คำแนะนำและความรู้ เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถนำไปใช้และปฏิบัติได้ ซึ่งก็จะเน้นในการให้ผู้ป่วยจัดการกับสุขภาพของตนเองในด้านของการออกกำลังกาย การชั่งน้ำหนัก การควบคุมอาหาร การใช้ยา การตรวจติดตามตนเองและการตรวจวัดน้ำตาลในเลือด เป็นต้น

3. มีการจัดโครงสร้างการทำงานของ รพ.สต. ใหม่ เพื่อให้มีโครงสร้างในการบริหารจัดการที่ชัดเจนมากขึ้น พร้อมกับสร้างความเชื่อมโยง สัมพันธ์กันระหว่าง รพ.สต. กับผู้ป่วย ผู้ประกันสุขภาพและหน่วยบริการสุขภาพอื่นๆ อีกมากมายเช่นกัน

4. เน้นในด้านการสนับสนุนการตัดสินใจ เพื่อให้เกิดการตัดสินใจที่รวดเร็วและมีความชัดเจนที่สุด รวมถึงมีการผสมการดูแลโรคเรื้อรังและกระบวนการดูแลผู้ป่วยประจำวันในรูปของการย้ำเตือนหรือการกระตุ้นเข้าไปด้วย

5. ทำการเชื่อมโยงเพื่อเสริมพลังชุมชน ( Community Empowerment ) ให้เกิดการพัฒนาและดูแลสุขภาพของผู้ป่วยเรื้อรังมากขึ้น

6. การจัดการข้อมูลทางคลินิก ( Clinical Information System ) เพื่อให้มีการบันทึกการเปลี่ยนแปลงสุขภาพของผู้ป่วยอยู่เสมอ รวมถึงบันทึกเกี่ยวกับปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวกับสุขภาพของผู้ป่วยและครอบครัว เพื่อใช้ในการประกอบการพิจารณาวางแผนดูแลผู้ป่วยเช่นกัน

สถานการณ์การจัดการผู้ป่วยเบาหวานรายกรณีและความดันโลหิตสูงในชุมชน

จากรายงานการสัมภาษณ์และจากการสนทนากับกลุ่มเจ้าหน้าที่พยาบาลในรายละเอียดที่ลงลึกกว่าปกติ เกี่ยวกับปฏิบัติงานในสถานบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ เกี่ยวกับการจัดบริการดูแลผู้ป่วยเบาหวานเรื้อรังและผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง พบว่าในรพ.สต. หรือที่ชาวบ้านรู้จักกันดีในนาม “ อนามัย ” โดยรัฐบาลได้ระบุผู้ที่จะต้องให้การบริการ ด้านสุขภาพแก่ประชาชนใน รพ.สต. คือ หัวหน้าสถานีอนามัย นักวิชาการสาธารณสุข พยาบาลวิชาชีพ เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข เจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน แต่ในความเป็นจริงแล้วนั้น แต่ละ รพ.สต. กลับมีบุคลากรแค่เพียง 3-4 คนเท่านั้น และที่ขาดแคลนเป็นอย่างมากก็คือ พยาบาลวิชาชีพ หาก รพ.สต.ไหนมีพยาบาลประจำอยู่ ก็จะเป็นแค่พยาบาลเทคนิคที่มาฝึกงาน ทั้งที่ตามบทบาทและหน้าที่ของพยาบาลที่ปฏิบัติงานใน รพ.สต. จะต้องปฏิบัติหน้าที่ 3 ลักษณะ คือ งานฟื้นฟูสภาพ การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคและการบริการสุขภาพ และในทางปฏิบัติพยาบาลจะต้องทำหน้าที่ร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณะสุขในการให้บริการการตรวจรักษาทั้งผู้ป่วยเรื้อรังและผู้ป่วยปัญหาสุขภาพทั่วไป

การให้บริการที่ชุมชน

การให้บริการที่ชุมชนการให้บริการที่ชุมชน : โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

1. ปัญหาปัจจุบัน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ( รพ.สต. ) จำนวนร้อยละ 50 ของทั้งหมด มีพยาบาลประจำในการปฏฺบัติงานเพียงคนเดียวเท่านั้น และจะต้องทำหน้าที่ดูแลมากกว่า 3 หมู่บ้านคิดเป็นประชากรมากกว่า 2,000-5,000 คน จึงทำให้การดูแลเป็นไปอย่างไม่ทั่วถึง รวมทั้งเรื่องของระบบต่าง ๆ โดยเฉพาะกับผู้ป่วยเรื้อรังที่มารับยาเป็นครั้ง ๆ แล้วไม่ได้ทำการจดบันทึกไว้ จึงทำให้การรักษาไม่แน่นอน ไม่มีข้อมูลการให้บริการผู้ป่วยเรื้อรังที่ชัดเจน ถึงแม้ว่า รพ.สต.บางแห่งจะมีการจดทับทึกและทำแฟ้มข้อมูลผู้ป่วยเบาหวานเรื้อรังและผู้ป่วยความดันโลหิตสูงหลายราย แต่ก็ไม่ได้ถูกนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์อะไร รวมทั้งไม่สามารถติดตามผลการรักษาได้เนื่องจากบุคลากรไม่เพียงพอต่อการทำหน้าที่นี้

2. ผู้ป่วยอยู่ที่ไหนบ้าง

1) ปกติแล้ว ผู้ป่วยมักจะเลือกไปทำการรักษาโรคที่ตัวเองเป็นอยู่ตามความพึงพอใจส่วนบุคคล เช่น ที่โรงพยาบาลจังหวัด โรงพยาบาลเอกชน คลินิกแพทย์ ซึ่งก็เป็นไปตามกรได้รับข้อมูลจากคนใกล้ชิดในลักษณะปากต่อปากถึงความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ เรื่องของความสะดวกรวดเร็ว รวมไปถึงการได้รับบริการที่ดี เจ้าหน้าที่เป็นมิตรและพูดจาสุภาพ โดยผู้ป่วยกลุ่มนี้มักจะไปพบแพทย์เองเมื่อถึงเวลาที่ยาทานหมด หรือเมื่อเกิดความผิดปกติใด ๆ กับร่างกายขึ้น ไม่ได้อิงตามใบนัดของแพทย์แต่อย่างใด

2) ส่วนผู้ป่วยที่มารับยาที่ รพ.สต. ผู้ป่วยกลุ่มนี้มักจะเป็นกลุ่มที่ได้รับการส่งต่อมาจากโรงพยาบาลใหญ่เพื่อให้มารับยารักษาต่อเนื่องโดยเน้นในเรื่องของความสะดวกในการเดินทางมากที่สุด ผู้ป่วยจะต้องนำใบส่งตัว หรือที่เรียกกันว่าใบ refer กลับบ้านพร้อมกับสมุดนัดหมายการไปรับ ซึ่งจะมีข้อมูลสั้นๆ ที่สำคัญ ได้แก่ วันนัดหมาย ยาที่แพทย์สั่ง ระดับความดันโลหิต ระดับน้ำตาลในเลือด น้ำหนักของผู้ป่วย เพราะรพ.สต.จะต้องใช้ข้อมูลส่วนนี้เพิ่มเติมในการจ่ายยา แต่ถึงกระนั้น ปัญหาที่พบมากก็คือ ข้อมูลการรักษายังไม่ครบถ้วนเพียงพอ โดยเฉพาะในโรงพยาบาลชุมชนที่มีแพทย์จบใหม่มาประจำ ก็เป็นไปได้ที่แพทย์เหล่านี้จะยังขาดประสบการณ์ต่าง ๆ เช่น ข้อมูลการตรวจจากห้องแล็บ การตรวจร่างกายที่อาจจะยังมีข้อผิดพลาดอยู่ เป็นต้น

3) ยังมีผู้ป่วยที่ยังไม่ได้รับการวินิจฉัยอีกกลุ่มหนึ่ง โดยที่กลุ่มนี้มีความเสี่ยงที่จะเป็นทั้งโรคเบาหวานเรื้อรังและโรคความดันโลหิตสูง แต่ผู้ป่วยกลุ่มนี้มักจะไม่รู้มาก่อนเลยว่าตัวเองป่วยเป็นโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง แต่จะมารู้ตัวก็เมื่อมีอาการผิดปกติ หรือมีอาการรุนแรงแล้ว กับอีกกรณีหนึ่งที่จะพบก็คือเมื่อมีการรณรงค์ให้ตรวจคัดกรองความเสี่ยง เมื่อเจอ แพทย์ก็มักจะแนะนำให้ทำการรักษาด้วยตัวเอง เช่น งดกินของหวาน ของมัน พักผ่อนให้เพียงพอ เป็นต้น

3. การให้บริการผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่รพ.สต.

ในอดีต รพ.สต. ส่วนใหญ่มักจะไม่มีพยาบาลวิชาชีพประจำอยู่ ด้วยเหตุผลเรื่องของความก้าวหน้าในการทำงาน รวมไปถึงสวัสดิการที่น้อยกว่าการปฏิบัติหน้าที่ในโรงพบาลของรัฐและเอกชน เพราะฉะนั้นการให้บริการผู้ป่วยเบาหวานเรื้อรังและความดันโลหิตสูงจึงเป็นลักษณะของการบริการทางการแพทย์โดยทั่วไปที่ไม่ได้เป็นการรักษาเฉพาะทางของโรค และกระทำโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเท่านั้น เว้นแต่ผู้ป่วยไปรับบริการกับโรงพยาบาลในชุมชน แล้วได้รับการ Refer มายัง รพ.สต.ก็อาจจะได้รับยารักษาเฉพาะโรคอยู่บ้าง แต่ถึงอย่างไรก็ถือว่ายังน่าเป็นห่วง เนื่องจาก รพ.สต.เหล่านี้ไม่ได้มีการตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดเลย ผู้ป่วยจึงไม่รู้ว่าตัวเองอาการดีขึ้นหรือแย่ลง ส่วนการวัดความดันโลหิต ถือว่าเป็นเรื่องปกติของผู้ป่วยที่เป็นผู้ใหญ่ทุกคน ใครที่ความดันสูง แพทย์ก็จะให้ยารักษาเผื่อไว้ 3 เดือน หมดเมื่อไรก็มาขอยาใหม่เอาเอง ไม่มีการนัดหมาย ไม่มีการติดตาม ผู้ป่วยบางคนรับยาไปทาน พอดีขึ้นก็หยุดยา เมื่อแย่ลงก็ทานยาใหม่ กว่าจะมาพบแพทย์อีกครั้งก็เป็นปี หรือเมื่อมีอาการรุนแรงแล้ว   

4. โครงการการจัดการโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในชุมชน

โครงการที่เกี่ยวข้องกับการจัดการโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ที่รพ.สต.จัดขึ้นนั้นมี 2 ลักษณะ ดังนี้

4.1 ในกรณีที่ไม่มีพยาบาลประจำอยู่ที่รพ.สต.

ส่วนมากแล้ว กิจกรรมที่เกี่ยวข้องก็คือการจัดกิจกรรมออกกำลังกาย โดยมีเจ้าหน้าที่ประจำสถานีเป็นผู้จัดตั้งเอง ไม่ได้บังคับว่าจะต้องให้ผู้ป่วยมาร่วมกิจกรรม ใครสนใจก็เข้าร่วมได้ทุกคน แต่ผลสุดท้ายก็มักจะค่อย ๆ หายไปเองในที่สุด ปกติการจัดกิจกรรมออกกำลังกายมักจะได้รับความร่วมมือจากองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นในเรื่องของอุปกรณ์ สถานที่อยู่แล้ว และในบางครั้งก็อาจจะมีการประสานพยาบาลหรือผู้เชี่ยวชาญมาให้ความรู้เกี่ยวกับออกกำลังกายเพื่อให้ห่างไกลจากโรคอยู่บ้าง

4.2 มีพยาบาลปฏิบัติงานอยู่

ส่วนในรพ.สต.ที่มีพยาบาลวิชาชีพปฏิบัติงานอยู่ ก็จะมีการจัดโครงการให้ความรู้เรื่องโรคอยู่บ้าง เช่นการออกกำลังกาย เรื่องของอาหารการกิน เอาผู้ป่วยมาจัดเป็น Support Group เพื่อนำเสนออาการของโรค แต่ก็ยังไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร รวมถึงไม่มีการประเมินผลและติดตามผล

การคัดกรองผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง

การคัดกรองผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขได้ระบุไว้ว่า การคัดกรองผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง เป็นหน้าที่ที่รพ.สต.ต้องทำ โดยอาศัยแนวทางการคัดกรองผู้ป่วยจากคู่มือของสปสช.เป็นหลัก ซึ่งก็คือ

1.การประสานงานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเรื่องของงบประมาณที่เกี่ยวข้องในครั้งนี้

2.การติดตามเข้าไปในชุมชนบางแห่งที่ผู้ป่วยไม่สามารถเดินทางมาที่ รพ.สต.ได้โดยมีเจ้าหน้าที่ อสม.เป็นผู้ช่วยในการคัดกรอง โดยอาจจะใช้วิธีการนัดหมายกลุ่มเสี่ยง เพื่อทำการการเจาะเลือดปลายนิ้ว วัดความดันโลหิต ชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูง ก่อนที่จะส่งตัวผู้ป่วยออกมาทำการรักษาต่อไป จะต้องมีการอบรมเจ้าหน้าที่ อสม.เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

3.การคัดกรองมีด้วยกันหลายรูปแบบ วิธีที่สะดวกที่สุดคือประชาสัมพันธ์ให้ผู้ที่มีอายุเกิน 35 ปีมารับบริการที่ รพ.สต.

การดูแลผู้ป่วยที่บ้าน

เพราะไม่มีความชัดเจน และไม่มีข้อมูลใด ๆ ของรพ.สต.เกี่ยวกับผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงทั้งสิ้น ที่ผ่านมาจึงเป็นลักษณะการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยเรื้อรัง ซึ่งมี 2 ลักษณะคือ

1.อสม. เป็นผู้ดูแลผู้ป่วยเรื้อรังที่บ้าน

รพ.สต. หลายแห่งได้ทำการอบรมให้ อสม. เป็นผู้ดูแลผู้ป่วยเรื้อรังที่บ้าน โดยจะได้รับค่าตอบแทนมาน้อยแตกต่างกันไป แต่ทั้งนี้ อสม.จะจะต้องผ่านการอบรมในการวัดความดันโลหิตสูง การเจาะเลือดปลายนิ้ว การชั่งน้ำหนัก และวัดส่วนสูงเสียก่อน และเมื่อผ่านการอบรมแล้ว อสม.จะต้องรายงานการเยี่ยมบ้าน ซึ่งก็คือการประเมินอาการของผู้ป่วยในสายตาของอสม. เอง ว่าผู้ป่วยสามารถดำรงชีพได้ตัวเองหรือไม่ มีอาการรุนแรงมากน้อยเพียงใด ไม่ได้หมายถึงให้ไปวัดความดัน เจาะปลายนิ้วทุกครั้งอย่างที่เข้าใจ

2.เจ้าหน้าที่สถานีอนามัยเป็นผู้ดูแล

แต่ถ้าหากมีพยาบาลวิชาชีพประจำอยู่ที่ รพ.สต. ลักษณะของการเยี่ยมบ้านจะเลือกเป็นกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ เพราะฉะนั้นจึงเน้นในเรื่องของการบริการทางการแพทย์เสียเป็นส่วนใหญ่ เช่น การรักษาแผลเบาหวาน การเปลี่ยนสายสวนปัสสาวะ การเปลี่ยนสายอาหาร เป็นต้น แต่ถ้าหากผู้ป่วยมีอาการรุนแรงมาก ก็จะมีการส่งตัวมารับการรักษาที่ รพ.สต.ทันที

4.บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการจัดการผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิต

โดยทั่วไปแล้ว ลักษณะของการจัดการดูแลผู้ป่วยเรื้อรังในชุมชนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เกือบทุกแห่งมักจะเน้นไปที่เรื่องของการจัดสวัสดิการมากกว่าการดูแลผู้ป่วยโดยตรง เช่น การจัดให้มีกลุ่ม อสม.เป็นผู้ไปดูแลหรือเยี่ยมเยือนผู้ป่วยโดยมีค่าตอบแทนเป็นเงินให้ และสำหรับผู้ป่วยที่มีรายได้น้อย ดูแลตัวเองไม่ได้เลย ก็จะได้รับสวัสดิการพิเศษ ที่จะมาในรูปของเงินกองทุน การซ่อมแซมที่อยู่อาศัยให้ดีขึ้น รวมไปถึงสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต แต่ในปัจจุบันพบว่าอปท.หลายแห่งได้มีการริเริ่มคัดกรองผู้ป่วยเรื้อรังบ้างแล้ว โดยเฉพาะโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง โดยกำหนดให้สถานีอนามัยหรือ รพ.สต.เป็นผู้ดูแลโดยตรง ส่วนเรื่องงบประมาณ ก็จะใช้เงินอุดหนุนของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ในขณะเดียวกัน ก็มีอปท.หลายแห่ง ที่ได้จัดซื้อชุดบริการสุขภาพจากโรงพยาบาลรัฐและโรงพยาบาลเอกชน เพื่อมาใช้คัดกรองผู้ป่วยภายในชุมชนแล้ว 

สถานบริการสุขภาพระดับพื้นฐาน ที่อยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่าน

ภายหลังที่สถานบริการสุขภาพระบบปฐมภูมิ ได้แก่ รพ.สต. และ PCU มีการระบุให้มีพยาบาลวิชาชีพประจำอย่างน้อย 1 คนเพื่อทำการปฏิบัติงานต่าง ๆ สถานการณ์ของการจัดการโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ก็เริ่มเป็นไปในทิศ ทางที่ดีขึ้นเรื่อย ๆ โดยพยาบาลวิชาชีพเหล่านี้ ต้องผ่านการอบรมหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทาง สาขาเวชปฏิบัติทั่วไป (การรักษาโรคเบื้องต้น) มาก่อน เพื่อที่จะได้บริการผู้ป่วยเรื้อรังได้อย่างเหมาะสม ซึ่งตัวอย่างของสถานบริการระดับปฐมภูมิที่มีการจัดการบริการดูแลรักษาผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่ดีนั้น มีรายละเอียด คือ

ตัวอย่างการวิเคราะห์สถานบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ : โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแห่งหนึ่งในภาคเหนือ

  • ขอบเขตการให้บริการ

ศูนย์สุขภาพชุมชนบ้านห้วยตอง ให้บริการประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ 3 หมู่บ้าน จำนวน 5,493 คน มีจำนวนประชากรที่ อายุ 15 ปี ขึ้นไป จำนวน 4,194 คน และเป็นประชากรที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไปจำนวน 2,278 คน

  • การคัดกรองกลุ่มเสี่ยง

ประชากรอายุ 15 ปี ขึ้นไป จำนวน 4,194 คน ได้รับการคัดกรองความเสี่ยง 2,182 คน (52.03%) โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงยังไม่ปรากฎอาการขึ้นในช่วงการเจ็บป่วยระยะแรก ๆ เพราะฉะนั้นเรื่องของการคัดกรองจึงมีความสำคัญมาก ซึ่งการคัดกรองผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง จะมีการดำเนินงานปีละครั้ง โดยใช้แนวทางในการคัดกรอง คือ

  • การประเมินภาวะแทรกซ้อน

ผู้ป่วยใหม่ทุกรายที่ผ่านการคัดกรองระยะแรก จะต้องเข้ารับการประเมิน Lipid profile และ renal function ส่วนผู้ป่วยเบาหวานจะได้รับการยืนยันด้วยการตรวจ HbA1C ก่อนว่ามีอาการของโรคจริง ๆ หรือไม่ โดยจะมีพยาบาลวิชาชีพเป็นผู้ดำเนินการทั้งหมด จากนั้นจึงมีการประเมินภาวะแทรกซ้อนของโรคร่วมไปกับผู้เก่าเลยเพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา โดยรายละเอยดการตรวจก็คือ การตรวจตา ( การอ่าน film เพื่อประเมินจอประสาทตา และประเมิน VA ) การประเมินเท้า และการตรวจประสาทความรู้สึกด้วยโมโนฟิลาเมนท์ ซึ่งการประเมินตาและเท้านั้น พยาบาลจะได้รับการอบรมจากแพทย์เฉพาะทาง เพราะหากเกิดความผิดพลาดขึ้นมาก็อาจส่งผลเสียต่อผู้ป่วยได้

  •  การเยี่ยมบ้าน

ปัจจุบันนี้ การเยี่ยมบ้านถือเป็นภาระหน้าที่ของเจ้าหน้าทุกคนที่เกี่ยวข้อง โดยจะมีการแบ่งเจ้าหน้าที่ออกเป็น 1 คนต่อ 1 หมู่บ้าน โดยทั่วไปแล้วประกอบด้วย พยาบาล 2 คน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข 2 คน และ อสม.ที่รับผิดชอบในพื้นที่ของแต่ละหมู่บ้าน เจ้าหน้าที่ทุกคนจะมีแผนการเยี่ยมบ้านทุกวัน เวลาที่นิยมไปเยี่ยมก็คือช่วงบ่าย อย่างน้อยภายใน 1 เดือนจะต้องเยี่ยมบ้านผู้ป่วยติดกัน 3 สัปดาห์

  •  การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

สำหรับผู้ที่จัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยง เจ้าหน้าที่พยาบาลร่วมกับ อสมก็มักจะจัดโครงการหรือกิจกรรมให้ความรู้เพื่อป้องกันไม่ให้เป็นโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงอยู่เสมอ นอกจากนี้ยังมีการจัดค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เป็นเวลา 1 วัน โดยอาจจะเน้นเรื่องของการดูแลตัวเอง พักผ่อนให้เพียงพอ เป็นต้น และยังมีในเรื่องของการดูแลตัวเองเมื่ออยู่ที่บ้าน โดยจะเป็นการแจกคู่มือประจำตัวผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วยได้บันทึกพฤติกรรมและความผิดปกติของตนเองในสมุดบันทึก เพื่อให้สะดวกต่อเจ้าหน้าที่ที่จะต้องการข้อมูลไปใช้เพื่อกทำการรักษาให้อย่างหายขาดได้ต่อไป จัดกิจกรรมกลุ่ม กลุ่มละ10-15 คนเพื่อให้ผู้ป่วยได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์การดูแลตนเอง เพื่อที่จะได้เป็นแรงบันดาลใจในการต้อสู้กับโรคร้ายต่อไป

ยังมีเรื่องของการอบรมและพัฒนาความสามารถของเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการและทีม อสม.โดยจัดให้มีการเข้าร่วมประชุมดูแลผู้ป่วยเบาหวานจากโรงพยาบาล รวมไปถึงการจัดกิจกรรมแบบกกลุ่มเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลตนเอง ประชุมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาอสมช.( อาสาสมัครผู้เชี่ยวชาญ ) ให้มีความรู้เกี่ยวกับการป้องกันตัวเองไม่ให้เป็นโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งจะใช้เพียง 2 ปี และในการประชุมเชิงประฏิบัติการการฝึกทักษะการตรวจเท้า การตรวจฟัน การตรวจคัดกรองอัมพฤกษ์แก่ผู้ป่วยเบาหวาน-ความดันโลหิตสูง และจัดทำแนวทางคัดกรองสุขภาพให้แก่ อสม. แล้วก็จะได้รับประกาศนียบัตรอบรม

  •  ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

เรื่องของเงินทุนสนับสนุนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ก็ถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ๆ สำหรับการดูแลรักษาผู้ป่วย ควรจัดกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพในชุมชน เพื่อป้องกันการเกิดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง เช่น การปลูกผักปลอดสารพิษสำหรับทานเอง หรือปลูกขาย การออกกำลังกายวันละ 30 นาทีเมื่อมีเวลา ซึ่งในส่วนนี้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ก็จะเป็นผู้จัดการเรื่องของสถานที่และอุปกรณ์ในการออกกำลังกายเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชนมากที่สุด อีกส่วนหนึ่งก็เอาไว้สำหรับให้อสม.ออกเยี่ยมผู้ป่วยเรือรั้งไม่สามารถช่วยตัวเองได้

  •  การตรวจรักษาโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง

ปัจจุบันนี้ รพ.สต. ได้เริ่มให้บริการตรวจและรักษาผู้ป่วยเบาหวานชนิดเรื้อรังและและความดันโลหิตสูง เดือนละ 2 ครั้ง ก็คือทุกวันอังคารที่ 2 และวันอังคารที่ 4 ของทุกเดือน

การดูแลระดับพื้นฐาน

บทบาทและหน้าที่ในการจัดการของเจ้าหน้าที่พยาบาลในชุมชน เป็นบทบาทที่แตกต่างกับบทบาทและหน้าที่ในการจัดการของเจ้าหน้าที่พยาบาลในโรงพยาบาลเป็นอย่างมาก ถึงแม้ว่าทั้งสองบทบาทจะมีเป้าหมายที่ไม่แตกต่างกันมากนักคือ การรักษาหรือทำให้เกิดการชะลอตัวในการดำเนินของโรคมากยิ่งขึ้น และนี่คือแผนงานบางส่วนของเจ้าหน้าที่พยาบาลในชุมชน

การคัดกรองกลุ่มเป้าหมายผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง

ก่อนที่จะจัดการโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงให้ได้ผลและมีประสิทธิภาพมากขึ้นนั้น ต้องเริ่มจากการค้นหากลุ่มเสี่ยงให้พบเสียก่อน จากเดิมที่ให้ทำการคัดกรองผู้ป่วยที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป ก็เปลี่ยนมาคัดกรองตั้งแต่อายุ 15 ปี ( ไม่จำเป็นต้องคัดทุกคน เลือกคัดเฉพาะคนที่มีปัจจัยเสี่ยงเท่านั้น เช่น เป็นโรคอ้วน วูบบ่อย มีประวัติทางพันธุกรรม เป็นต้น ) เพราะว่าไม่มีใครรู้ว่าในชุมชนแห่งหนึ่งนั้นจะมีผู้ป่วยและผู้ที่อยู้ในกลุ่มเสี่ยงมากน้อยเพียงไร สิ่งเดียวที่ทำได้ก็คือการคัดกรองผู้ป่วยให้ได้มากที่สุดในระยะเวลาที่ไม่นานจนเกินไป

ก่อนที่จะจัดการโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงให้ได้ผลและมีประสิทธิภาพมากขึ้นนั้น ต้องเริ่มจากการค้นหากลุ่มเสี่ยงให้พบเสียก่อน

ยกตัวอย่าง เช่น เป้าหมายคัดกรองในประชาชนกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป ในปี 2555 มี 1,034 คน ทำให้วางแผนในการใช้เครือข่ายในชุมชน ได้แก่ อสม. มีสัดส่วนในการดูแลผู้ป่วยไม่มากจนเกินไป คือ อสม. 1 คน รับผิดชอบแค่ 10-11 ครัวเรือนเท่านั้น โดยเริ่มจาก

1) ให้ อสม.เป็นผู้คัดกรองผู้ป่วยตามที่ได้รับการอบรมมา แม้จะไม่สามารถหวังผลได้ 100% เต็ม แต่ในระยะเวลาไม่นานก็พอจะมองเห็นจำนวนผู้ป่วยเกือบทั้งหมดที่ได้จากการคัดกรอง

2) ควรมีการจัดการฐานข้อมูลรวมถึงการแบ่งกลุ่มให้ชัดเจน เพราะอสม.บางคนอาจจะไม่ได้คัดกรองกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด โดยการเรียก อสม.มาประชุมร่วมกัน แล้วกำหนดเขตที่ต้องการ เช่น เขต 1 คือประชาชนที่มีชื่ออยู่ในเขตและอาศัยอยู่ในเขต หรือ 2 ประชาชนมีชื่ออยู่ในเขต แต่อาศัยอยู่นอกเขต เป็นต้น

3) อสม.ทุกคน จะต้องผ่านการอบรมการเจาะเลือด และการวัดความดันโลหิต เพื่อให้ชาวบ้านเกิดความเชื่อถือและเต็มใจในการรับบริการ

4) ปัญหาส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นนอกเหนือไปจากเรื่องของบุคลากรไม่พอแล้ว ยังมีเรื่องของค่าใช้จ่ายไม่เพียงพออีกด้วย ถ้าหากเป็นเช่นนี้ ก็ควรมีการขอรับบริจาคโดยกระตุ้นให้บระชาชนในหมู่บ้านตระหนักถึงความสำคัญของสุขภาพ เพื่อที่จะจัดซื้อเครื่องมือ 1 ชุด ที่ภายในประกอบด้วยเครื่องวัดความดันโลหิตดิจิตอล 1 เครื่อง เครื่องเจาะน้ำตาล 1 เครื่อง แถบน้ำตาล 1 กล่อง สายวัด 1 เส้น อสม.สามารถหิ้วไปพร้อมกับเครื่องชั่งน้ำหนักอีก 1 เครื่อง บรรจุมาในกล่องหูหิ้วที่ใครเห็นก็สะดุดตา

5) เมื่อได้ข้อมูลของผู้ป่วย ทั้งจาก อสม.และการตรวจเองที่ รพ.สต. พยาบาลควรมีการนัดหมายผู้ป่วยให้มาติดตามอาการเป็นประจำในวันจันทร์ของสัปดาห์ที่ 2 และ 3 ในแต่ละเดือน หากพบความผิดปกติ หรือมีอาการรุนแรงมากขึ้น ก็จะได้ส่งตัวไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลอื่นได้ แต่ถ้าหากไม่รุนแรง ก็ควรให้คำแนะนำและคำปรึกษาต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการดูแลตัวเองของผู้ป่วยอยู่เสมอ

6) เมื่อมีการรวบรวมข้อมูลต่างๆ ได้มากพอสมควรแล้ว ก็ควรทีการเอาเทคโนโลยีเข้ามาช่วยทำให้การเรียบเรียงข้อมูลง่ายขึ้น เช่น การใช้รหัส (Code) ที่เรียกว่า My SQL โดยให้เขียนโค้ดตามพื้นที่ของประชากรที่ต้องการ ก็จะง่ายต่อการติดตามของพยาบาลและแพทย์เป็นอย่างยิ่ง

ผลการคัดกรองกลุ่มเป้าหมาย

จากผลการดำเนินการของการคัดกรองนี้ ทำให้มีความครอบคลุมเป้าหมายเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 91.51 มากกว่าปีที่ผ่านมาซึ่งคัดกรองได้เพียงร้อยละ 49.5 เท่านั้น ซึ่งก็เป็นผลมาจากการจัดสรรในภาพของหน่วยคู่สัญญาของบริการระดับปฐมภูมิสถานบริการคู่สัญญา ( CUP ) ที่ได้ให้การสนับสนุนแถมตรวจระดับน้ำตาลในเลือด รวมไปถึงการตัดสินใจคัดกรองผู้ป่วยตั้งแต่อายุ 15 ปีขึ้นไป ทั้งหมดนี้จะเกิดขึ้นไม่ได้ หากเจ้าหน้าที่พยาบาลไม่ได้รับการประสานเงินสนับสนุนจากงบประมาณจากกองทุนตำบลร่วมด้วย เพราะโรงพยาบาลทั่วไปนั้นไม่ได้ให้การสนับสนุนในส่วนนี้ และนี่คือแนวทางที่สำคัญในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่พยาบาลในปัจจุบันนี้   

  • การออกกำลังกายระดับปานกลาง หรือการเต้นแอโรบิค มีผลทำให้สุขภาพดีขึ้นได้จริง จึงมีการสนับสนุนให้มีการคัดเลือกแกนนำสำหรับนำออกกำลังกาย รวมไปถึงการจัดหาสถานที่สำหรับการเต้นแอโรบิค โดยใช้จุดนี้เป็นหลักประชาสัมพันธ์ให้ชาวบ้านมาออกกำลังกายเพิ่มขึน
  • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่างของกลุ่มเสี่ยง โดยเน้นไปที่เรื่องของการสร้างแรงบันดาลใจใหม่ ๆ ขึ้นมาแทน แล้วให้มีการแจ้งผลตอบรับกลับคืนมา แต่อ่างไรก็ตาม เรื่องของการวัดผลที่ถูกต้อง ยังเป็นสิ่งที่ต้องขบคิดกันต่อไปจนกว่าจะหามาตรฐานที่ตรงกันได้
  • สามารถคัดกรองกลุ่มเป้าหมายได้มากกว่าร้อยละ 95 จากการดำเนินการของ อสม.
  • กลุ่มเสี่ยงหรือผู้ป่วยใหม่ ได้รับการรักษาหรือคำแนะนำทันทีที่ไปพบแพทย์ ซึ่งก็เป็นไปตามทิศทางที่ได้กำหนดเอาไว้

บทบาทและหน้าที่ของพยาบาลชุมชน หรือการทำงานในสถานบริการระดับปฐมเป้าหมายหลักก็คือการดูแลและป้องกันไม่ให้เกิดโรคมากกว่าการมารักษาโรค การทำให้คนในชุมชนตระหนักถึงการดูแลสุขภาพของตัวเอง

การจัดการกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง

ในแต่ละชุมชน มีผู้ป่วยเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงที่ต้องได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องเป็นจำนวนมาก เพราะฉะนั้นพยาบาลจึงวรมีการจัดการให้ผู้ป่วยได้มาพูดคุยแลกเปลี่ยนความเห็นในเรื่องต่าง ๆ กัน บางคนที่ไม่สะดวกจะเดินทางไปโรงพยาบาลในเมือง ก็ต้องประสานงานในเครือข่ายเพื่อให้เข้ารับการรักษาตัวที่ รพ.สต. ได้ และต้องเน้นในเรื่องของวิชาชีพและมาตรฐานในการรักษา รวมไปถึงการขึ้นทะเบียนของผู้ป่วยที่เป็นไปตามความเหมาะสม

การดูแลผู้ป่วยที่มาเข้ารับการรักษาที่คลินิคนั้น ไม่ได้เน้นที่เรื่องของแพทย์เพียงอย่างเดียว แต่ยังมีเรื่องของการใช้ความรู้ทางคลินิค และยาที่มีประสิทธิภาพสูงพอที่จะทำให้ผู้ป่วยหายจากอาการเจ็บป่วยได้ และเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงการได้รับบริการทางการแพทย์ทุกครั้งเมื่อจำเป็น ก็ควรจัดให้มีช่องทางที่ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงบริการได้ตลอดเวลา ไม่ต้องรอคลินิคเปิดทำการ อย่างเช้น “ บริการ Call Center ปรึกษาสุขภาพ ตลอด 24 ชั่วโมง ” เพื่อให้ผู้ป่วยได้ทำการปรึกษาหรือทราบอาการของตัวเองเบื้องต้นก่อน โดยเน้นไปที่การซักประวัติ การคัดกรองและการตรวจร่างกายที่มีความสมบูรณ์มากที่สุด เพื่อที่จะได้ประเมินถึงภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้ป่วยต่อไป
การคัดกรองผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนจะสามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก็คือต้องวางเป้าหมายให้ชัดเจนก่อนเป็นอันดับแรก เพราะเป้าหมายของเราไม่ใช่แค่ผู้ป่วยเรื้อรังที่มารับยาในคลินิค รพ.สต.เท่านั้น แต่รวมไปถึงผู้ป่วยทั้งหมดในชุมชน เพราะฉะนั้นในขั้นตอนนี้จึงต้องเน้นย้ำและฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ อสม.อยู่เสมอว่า ต้องแจ้งทันทีที่มีผู้ป่วยขึ้นทะเบียนใหม่จากทุกโรงพยาบาลหรือคลินิก และควรเปิดช่องทางให้ผู้ป่วยสามารถแจ้งอาการได้โดยตรง แต่กว่าจะมาถึงขั้นนี้ได้ รพ.สต.ก็จะต้องสร้างความไว้วางใจให้กับประชาชนในพื้นที่ระดับหนึ่งว่า การให้ข้อมูลจะถูกนำไปใช้ประโยชน์อย่างแท้จริงและไว้วางใจได้ รพ.สต. โดยข้อมูลที่จะต้องได้รับนั้น ก็คือ ผู้ป่วยเคยไปรักษาที่ไหนแล้วบ้าง เคยตรวจคัดกรองอะไรไปแล้วบ้าง และอะไรคืออุปสรรคที่ทำให้ไม่ได้รับการดูแลบ้าง

จึงถือว่าเป็นกลยุทธ์ใหม่ที่มีความท้าทายเป็นอย่างยิ่งในการเก็บข้อมูลที่สำคัญให้ครบ เพราะยังมีผู้ป่วยอีกจำนวนมากที่ไม่ได้ทำการรักษาตัวอย่างต่อเนื่อง ควรมีการวางแผนในเรื่องของการดูแลผู้ป่วยส่วนบุคคล และแผนระยะยาวสำหรับเรื่องนี้ มีกรณีหนึ่งที่น่าสนใจ คือในส่วนของการตรวจเลือดประจำปีในครั้งอดีตนั้น เมื่อพยาบาลประจำคลินิกได้เสนอแนะให้ผู้ป่วยเดินทางไปเจาะเลือดที่โรงพยาบาล ก็มีผู้ป่วยที่ทำตามเพียงร้อยละ 30 เท่านั้น เพราะผู้ป่วยรู้สึกถึงความลำบากในการเดินทาง บางก็ตัดใจไม่ทำเพราะไม่สะดวกและไม่เห็นความสำคัญ แต่เมื่อมีการเจาะเลือดที่ รพ.สต.แล้วนำส่งไปตรวจที่โรงพยาบาล ก็พบว่ามีผู้ที่เต็มใขจปฏฺบัติสูงถึงร้อยละ 90 ในส่วนของการตรวจเท้า ที่แต่เดิมตรวจได้น้อย เพราะผู้ป่วยไม่แน่ใจว่าตรวจแล้วจะมีผลกระทบอะไรบ้าง แต่เมื่อมีการเข้ามาของพยาบาลที่ได้รับการฝึกอบรม พร้อมกับการขอความร่วมมือ ก็พบว่าผู้ป่วยได้เข้าถึงการตรวจเท้าเพิ่มขึ้นเป็นที่น่าพึงพอใจ

สำหรับเรื่องของการตรวจจอประสาทตา เป็นการตรวจที่จัดขึ้นเพียง 1 ครั้งต่อปี เมื่อผู้ป่วยรู้ว่าต้องเดินทางไปตรวจถึงโณงพยาบาล ก็ทำให้เกิดการปฏิเสธเช่นเดียวกับปัญหาของการเจาะเลือดที่เกิดขึ้น พยาบาลและเจ้าหน้าที่จึงต้องทำการประสานกับ อบต.เพื่อขอให้มีรถรับส่งผู้ป่วยไปทำการตรวจจอประสาทตาฟรี ไม่คิดค่าบริการ จึงทำให้มีผลที่น่าพึงพอใจมากขึ้น เนื่องจากโรงพยาบาลไม่มีงบสนับสนุนในส่วนนี้ และยังมีเรื่องของการกำหนดเกณฑ์การจัดลำดับการตรวจ คือ กลุ่มเสี่ยงสูงจะได้ตรวจก่อนกลุ่มเสี่ยงต่ำ เช่น กลุ่มที่มีภาวะ Metaboilc Syndrome CVD risk และมีภาวะ Isolate HT เพราะฉะนั้นแล้วสิ่งที่พอจะทำได้ก็คือ การให้แพทย์หมุนเวียนไปทุก รพ.สต. เพื่อให้ผู้ป่วยได้พบแพทย์ ปีละ 2 ครั้งเป็นอย่างน้อย และนอกจากนี้ก็ควรมีการประสานงานกับทันตแพทย์เพื่อทำการตรวจช่องปาก ประสานงานกับแพทย์ทางด้านระบบประสาทเพื่อประเมินความเครียดของผู้ป่วยที่มีต่อการใช้ชีวิต ก็จะทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยค่อย ๆ ดีขึ้นตามลำดับ   

ส่วนเรื่องของการเยี่ยมบ้าน มีการใช้กลยุทธ์เพื่อดึงศักยภาพของคนในชุมชนออกมาให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยยึดตามแนวทางของ Chronic Model ฉบับปรับปรุงใหม่ ที่จะเน้นการประเมินในเรื่องของต้นทุนการเจ็บป่วยของคนในชุมชน การควบคุมโรคของคนในชุมชนและอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

การบันทึกข้อมูลของผู้ป่วยเพื่อให้สะดวกต่อการค้นหา เช่น การจัดทำชุดข้อมูลผู้ป่วย หรือการขึ้นทะเบียนต่าง ๆ จะเป็นการจัดทำใน Microsoft Excel และในส่วนของการบันทึกในฐานข้อมูลของสถานบริการ ( JHCIS ) ที่จะต้องมีการเชื่อมต่อระหว่างฐานข้อมูล JHCIS และฐานข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ ( GIS JHCIS ) ก็จะเป็นการใช้โค้ดผ่านโปรแกรม MySQL Query Browser ระบบภายในและภายนอกสามารถเชื่อมโยงข้อมูลถึงกันได้ผ่าน Lan และ Wireless ซึ่งจะมีประโยชน์ในเรื่องของการใช้ข้อมูลร่วมกันระหว่างแพทย์และเจ้าหน้าที่ผู้ทำการรักษา ร่วมกับผู้ป่วยในบางกรณี เช่น การตรวจดูประวัติการรักษา การตรวจดูปัญหาการคัดกรอง ซึ่งจะช่วยให้แพทย์สามารถวางแผนในการรักษาที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคลได้ นอกจากนี้ยังสามารถแยกแยะผู้ป่วยตามความเสี่ยง เพื่อที่จะได้วางแผนป้องกันไม่ให้เกิดโรคขึ้น หรือชะลอการเกิดให้ช้าลง และยังช่วยเตือนผู้ป่วยได้ว่าถึงเวลาที่จะต้องทำอะไรแล้วบ้าง เช่น การแจ้งเตือนว่าถึงเวลาเจาะดูน้ำตาลและเลือดแล้ว เป็นต้น

โรคเบาหวานและโรคความดันหลอดเลือดสูงนั้น ถือว่ามีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเป็นอย่างยิ่ง เพราะมีโอกาสที่จะนำไปสู่การเป็นโรคแทรกซ้อนได้อีกหลาย ๆ โรค ซึ่งก็มีผลกระทบต่อครอบครัวในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเศรษฐกิจ และปัญหาอื่น ๆ รวมไปถึงการส่งผลกระทบต่อรัฐอีกด้วย เพราะฉะนั้นสิ่งที่พยาบาลและแพทย์พึงทำก็คือการป้องกันไม่ให้โรคนี้เกิดขึ้น หรือชะลอการเกิดให้ช้าลงที่สุดนั่นเอง

บทบาทและหน้าที่ของพยาบาลชุมชน หรือการทำงานในสถานบริการระดับปฐมเป้าหมายหลักก็คือการดูแลและป้องกันไม่ให้เกิดโรคมากกว่าการมารักษาโรค การทำให้คนในชุมชนตระหนักถึงการดูแลสุขภาพของตัวเอง เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่าเป็นงานที่หลากหลายและต้องบูรณาการหลายด้านพอสมควร และด้วยความที่พยาบาลแต่ละคน มีประชาชนให้ดูแลในจำนวนไม่เท่ากัน จึงไม่มีมาตรฐานใด ๆ มากำหนดได้ทั้งสิ้น ต้องออกแบบแผนให้เหมาะสมกับบริบทและพื้นที่ที่ดูแล และปรับเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดต่อไป

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

ศิริอร สุนธุ, พิเชต วงรอต, สมาคมผู้จัดการรายกรณีประเทศไทย, การจัดการรายกรณีผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์วัฒนาการพิมพ์, 2557. 242 หน้า, ISBN:978-616-92014-0-3.

ศัลยา คงสมบูรณ์เวช. บำบัดเบาหวานด้วยอาหาร. พิมพ์ครั้งที่ 4 (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ : อัมรินทร์เฮลท์ อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2559. (12), 311 หน้า. (ชุดชีวิตและสุขภาพ ลำดับที่ 113) 1.เบาหวาน 2.โภชนบำบัด 3.การปรุงอาหารสำหรับผู้ป่วย 4.การดูแลสุขภาพตนเอง. 616.462 ศ7บ6 2559. ISBN 978-616-18-7741-9

ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). กินเท่าไหร่ กินแค่ไหน ไม่เสี่ยงอ้วน. ใน: ธิดารัตน์ มูลลา.ชีวิตใหม่ไร้พุง. กรุงเทพฯ : บริษัทศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์ จำกัด, 2557.

อาหารและยาที่ใช้สำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิต

0
อาหารและยาที่ใช้สำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิต
ความดันโลหิตเป็นภาวะที่แรงดันของเลือดที่มีต่อผนังเลือด สามารถรักษาได้ด้วยการปรับลักษณะการดำรงชีวิต
อาหารและยาที่ใช้สำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิต
ความดันโลหิต คือ ความดันในหลอดเลือดที่หัวใจบีบตัวสูบฉีดเลือดเข้าสู่หลอดเลือด

อาหารและยาสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิต

อาหารและยาสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิต เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยในเรื่องของการรักษาผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงทั้งแบบที่ต้องใช้ยาในการรักษา หรือผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงเพียงเล็กน้อยนั้น ก็คือ การปรับเปลี่ยนลักษณะหรือไลฟ์สไตล์ในการดำรงชีวิต ( Life Style Modification ) เพื่อที่การรักษาจะได้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยมีเป้าหมายหลักคือ การควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ที่จะช่วยช่วยลดระดับความดันโลหิตให้เกิดผลลัพธ์ที่ดี รวมไปถึงการลด ปริมาณยาควบคุมความดันให้น้อยลงไปจากเดิม ซึ่งก็จะทำให้ผู้ป่วยไม่ต้องทรมานกับโรคมากนัก และไม่ต้องเสียเงินในการรักษามากในระยะยาว

การดำรงชีวิตในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง

สำหรับแนวทางในการปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ในการดำรงชีวิตที่สำคัญสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง มีดังต่อไปนี้

1.งดสูบบุหรี่ และงดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด
2.ควรออกกำลังกายเป็นประจำและสม่ำเสมอ ควบคู่ไปกับการพักผ่อนให้เพียงพอ
3.ลดน้ำหนักในผู้ป่วยที่อ้วนและน้ำหนักเกิน ( BMI ≥ 25กก./ม. )
4.การลดทานเค็ม และลดปริมาณเกลือที่ปรุงในอาหาร และลดไขมันอิ่มตัว พร้อมกันนี้ก็ควรเพิ่มการทานผักและผลไม้ให้มากขึ้นกว่าเดิม

จริง ๆ แล้วการปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ของผู้ป่วยยังมีอีกมาก แต่จะขอพูดถึงในเรื่องของการปรับเปลี่ยนอาหารและการดูแลสุขภาพให้ดีขึ้นเท่านั้น เพราะว่าเรื่องของอาหารเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมากสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง การเลือกทานแต่อาหารที่มีประโยชน์จะช่วยลดระดับความดันของเลือด ช่วยควบคุม Metabolic Syndrome และช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ เกี่ยวระบบหัวใจและหลอดเลือดได้

หลักการรับประทานอาหาร ( Dietary Change ) เพื่อควบคุมความดันโลหิตสูง

สำหรับหลักในการรับประทานอาหารของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงนั้น จะต้องเน้นในเรื่องของการลดความดันโลหิตเป็นพิเศษ เพราะฉะนั้นการประกอบอาหารของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงจะต้องหลีกเลี่ยงการใส่เกลือและโซเดียมลงไปให้มากที่สุด หรือเรียกว่างดอาหารเค็มไปเลย จากการศึกษาเกี่ยวกับปริมาณของโซเดียมในร่างกายที่จะมีผลต่อความดันโลหิตของเลือดนั้น ได้แบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือระดับต่ำ ระดับกลาง และระดับสูง โดยระดับต่ำสุดจะอยู่ที่ 1,500 มิลลิกรัม/วัน ซึ่งเป็นระดับที่มีผลต่อการลดความดันโลหิตที่เห็นชัดเจนที่สุด นอกเหนือไปจากเรื่องของการบริโภคเค็มแล้ว ก็ยังมีเรื่องของการบริโภคอาหารในลักษณะที่ชื่อ “ DASH ” ( Dietary Approach to Stop Hypertension ) เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย

การประกอบอาหารของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงจะต้องหลีกเลี่ยงการใส่เกลือและโซเดียมลงไปให้มากที่สุด

โปรแกรมอาหาร DASH จะมีการเพิ่มผักและผลไม้เข้ามามากถึง 8-10 หน่วยบริโภค ( Serving ) ต่อวัน และด้วยความที่เพิ่มมามากขนาดนี้ ก็จะต้องไปลดการบริโภคไขมันที่ได้จากสัตว์ เช่น หมูและเนื้อติดมัน เบคอน หมูสามชั้น ให้ลดลงไป 2-3 หน่วยบริโภคแทน เน้นอาหารที่มีแคลอรี่ต่ำ เช่น กลุ่มธัญพืชไม่ขัดสี ถั่ว อกไก่ เนื้อปลา ไข่ขาว รวมทั้งลดการบริโภคน้ำตาลที่ได้จากเครื่องดื่มและของหวานอีกด้วย จากผลการวิจัยที่ให้ผู้ป่วยกลุ่มหนึ่งได้ทานอาหารโปรแกรม DASH ต่อเนื่องเป็นเวลา 8 สัปดาห์ สามารถลดความดันโลหิต Systolic BP ได้มากถึง 5.5 มม.ปรอท และลด Diastolic BP ได้มากถึง 3.0 มม.ปรอท โดยจะเห็นผลได้อย่างชัดเจนภายในระยะเวลา 2 สัปดาห์
นอกจากโปรแกรมอาหาร DASH จะช่วยลดระดับไขมันในเลือดและ Lipoprotein ได้อย่างเห็นผลแล้ว ยังช่วยลดปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการมีภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงอีกด้วย เช่น โรคเกี่ยวกับระบบหัวใจ และโรคเกี่ยวกับหลอดเลือด เป็นต้น

อาหารที่มีผลต่อกลไกทางพยาธิวิทยาของหัวใจหลอดเลือด

จากการวิเคราะห์พบว่า มีกลุ่มอาหารที่เป็นปัจจัยส่งเสริมให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงมีอาการที่รุนแรงมากขึ้น ซึ่งก็เป็นเพราะกลไกของระบบพยาธิสรีรวิทยาของโครงสร้างหัวใจและหลอดเลือดมีการเปลี่ยนแปลงไป โดยแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ

1. อาหารที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของหลอดเลือด

เมื่อระบบหลอดเลือดมีแรงดันที่สูงขึ้นมากกว่าเดิม ก็จะทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูงตามมา สาเหตุสำคัญที่ทำให้การควบคุมระดับความดันโลหิตให้คงที่หรือลดลงเป็นไปได้ยาก ก็คือเรื่องปริมาณของไขมันที่สะสมอยู่ตามร่างกาย โดยเฉพาะบริเวณช่องท้อง เพราะไขมันชนิดนี้ถือว่าเป็นไขมันชั้นเลวสุดที่เรียกกันว่า Visceral Fat กำจัดออกได้ยาก เมื่อมีไขมันชนิดนี้มากๆ ก็จะเกิดภาวะดื้ออินซูลิน ( Free Fatty Acid ) ทำให้ตับมีการสร้างน้ำตาลเข้าสู่ร่างกายอีกทางหนึ่ง นอกจากจะเกิดภาวะดื้ออินซูลินแล้ว ไขมันชนิดนี้ยังไปลดการสร้างสาร Adiponection ทำให้การเอากลูโคสไปใช้ที่กล้ามเนื้อลดลงไปจากเดิม ซึ่งก็ทำให้ร่างกายไม่สามารถเผาผลาญไขมันและน้ำตาลได้อย่างเต็มที่ ปริมาณไขมันก็จะยิ่งสะสมเพิ่มมากขึ้น ภาวะดื้ออินซูลินก็จะแย่และอันตรายยิ่งกว่าเดิม รวมถึงยังมีโอกาสที่ไขมันชนิดนี้จะหลั่งสารชนิดหนึ่งออกมา ซึ่งจะทำให้เกิดการอักเสบของหลอดเลือด คือ PAI-1, Interleukin-6, Tumor Necrotic Factor-Alpha เมื่อหลอดเลือดอักเสบ เกล็ดเลือดก็จะถูกกระตุ้นให้เกิดการหลั่งสารบางอย่างเพื่อให้เกล็ดเลือดจับกลุ่มกัน และหลังจากนั้นก็จะปล่อยสาร Thrombin ออกมา ทำให้เลือดจับกลุ่มกลายเป็นลิ่ม
เลือด และนำไปสู่การแข็งตัวของหลอดเลือดแดงในที่สุด 

เพราะฉะนั้น ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงจึงจำเป็นที่จะต้องบริโภคอาหารประเภท Micronutrient ได้แก่คาร์โบไฮเดรตที่มีคุณภาพ เพิ่มปริมาณผักผลไม้ ลดการทานไขมันอิ่มตัวและน้ำตาลจากเครื่องดื่มและของหวาน ทั้งหมดนี้นอกจากจะช่วยลดระดับความดันโลหิตแล้ว ยังช่วยลดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเบาหวาน ช่วยควบคุมปริมาณไขมันในร่างกาย และยังช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด

1.1 คาร์โบไฮเดรต ( Carbohydrate )

ควรมีการควบคุมการทานคาร์โบไฮเดรตให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสม โดยการบริโภคอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตที่มีคุณภาพดี ( Carbohydrate Quality ) โดยหลักในการเลือกคุณภาพของคาร์โบไฮเดรตนั้น สามารถพิจารณาได้จากปัจจัยต่อไปนี้

  • ใยอาหาร ( Dietary Fiber ) : การบริโภคคาร์โบไฮเดรตที่มีใยอาหาร หรือไฟเบอร์จำนวนมาก เช่น ธัญพืชไม่ขัดสี (Whole Grains) ที่ประกอบไปด้วย ข้าวสาลี ข้าวเจ้า อาหารจากพืชตระกูลถั่วเปลือกแข็ง รวมถึงโปรตีนจากถั่วเหลือง น้ำนมถั่วเหลือง ผักและผลไม้ เป็นประจำ จำทำให้การดูดซึมแป้งและน้ำตาลลดลง เป็นผลทำให้ปริมาณสะสมของไขมันในร่างกายลดลง การเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคเบาหวานก็จะต่ำลงตามไปด้วย
  • Glycemic Index ( GI ) และ Glycemic load ( GL ) : GI คือ ผลของปริมาณคาร์โบไฮเดรตที่ร่างกายได้รับจากอาหารที่มีผลต่อระดับน้ำตาลในเลือด หรืออธิบายแบบง่าย ๆ ว่า ค่าระดับน้ำตาลในเลือด ( Blood Glucose ) ที่วัดได้ภายหลังจากที่คาร์โบไฮเดรตถูกย่อยไปแล้ว เป็นเวลาอย่างน้อย 2 ชั่วโมงขึ้นไป

ส่วน GL คือผลจากการบริโภคอาหารที่มีส่วนผสมของคาร์โบไฮเดรตจำนวนมาก หากคาร์โบไฮเดรตที่ได้รับมีคุณภาพต่ำ ก็จะทำให้เกิดการย่อยไวกว่าปกติ เมื่ออาหารถูกย่อยก็จะมีการปล่อยกลูโคสเข้าสู่กระแสเลือดอย่างรวดเร็ว ค่า GI ก็จะสูงตามไปด้วย แต่ในทางกลับกัน หากคุคาร์โบไฮเดรตที่ได้รับมีคุณภาพดี ก็จะย่อยช้า การปล่อยกลูโคสเข้าสู่กระแสเลือดอยู่ในระดับคงที่ ไม่พุ่งสูงจนเกินไปแม้จะใช้เวลาในการย่อยไม่นาน มีผลให้มีค่า GI ต่ำ เมื่อค่า GI ต่ำร่างกายก็จะหลั่งฮอร์โมนอินซูลินลดลง จึงทำให้ความเสี่ยงที่จะเกิดโรคเบาหวาน หรือปริมาณไขมันที่สะสมในร่างกายลดต่ำลง

การรับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตมากเกินไป หรือการทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตคุณภาพต่ำ จะทำให้ค่า GI และค่า GL เพิ่มมากขึ้น การควบคุมระดับความดันในโลหิตก็จะเป็นไปได้ยากยิ่งขึ้น โอกาสที่จะเกิดโรคเบาหวานและโรคหลอดเลือดหัวใจก็จะมากขึ้นกว่าเดิม จากการศึกษาเพิ่มเติมพบว่า ในกลุ่มอาหารจำพวกข้าว แป้ง ข้าวบาร์เลย์มีค่า GI ต่ำที่สุด ส่วนขนมปังขัดขาว ( White Wheat Bread ) มีค่า GI สูงที่สุด

1.2 ไขมัน ( Fat )

  • ไขมันอิ่มตัว ( Saturated Fatty Acid: SFA ) เป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำจากน้ำมันสังเคราะห์ เช่น น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว รวมทั้งผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่มีส่วนผสมของนม ได้แก่ ครีมเทียม กะทิ
  • ไขมันไม่อิ่มตัว ( Mono-Unsaturated Fatty Acid: MUFA ) เป็นผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับน้ำมันที่ทำจากพืช เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันคาโนล่า น้ำมันอัลมอนด์
  • Poly-Unsaturated Fatty Acid ( PUFA ) แบ่งตามตำแหน่งของพันธะคู่แรกใน Fatty Acid แบ่งออกเป็น Omega-3 Poly-Unsaturated Fatty Acid ( n-3 PUFA ) และ Omega-6 Poly-Unsaturated Fatty Acid ( n-6 PUFA ) ดังนี้

1.3 Omega-3 ได้แก่ Alpha-Linoleic Acid ( ALA ) พบได้มากในแหล่งอาหารที่สำคัญจากพืช เช่น น้ำมันคาโนลา ถั่ววอลนัท ถั่วเหลือง ส่วน Eicosapentaenoic Acid ( EPA )  +  Docosahexaenoic Acid ( DHA ) พบในแหล่งอาหารที่สำคัญจากปลา จึงเรียกว่า Fish Oil หรือน้ำมันปลา ที่แพทย์มักจะให้ใช้ทานเป็นอาหารเสริมเพื่อลดระดับไขมันในเลือด

ตารางชนิดอาหารที่มี omega-3, EPA+DHA,α-Linolenic Acid ( ALA ) 

ประเภทของอาหาร   EPA DHA ALA
ปลา Catfish
Cod
Mackerel
Salmon ( เลี้ยงในฟาร์ม )
Salmon ( เลี้ยงตามธรรมชาติ )
Salmon ( กระป๋อง )
Salmon, Chinook
ปลาดาบ
ปลาทูน่า Blufin
ปลาทูน่า light (ในน้ำมัน)
ปลาทูน่า light (ในน้ำเกลือ)
Trace
Trace
0.9
0.6
0.3
0.9
1.0
0.1
0.3
Trace
Trace
0.2
0.1
1.4
1.3
1.1
0.8
0.9
0.5
0.9
0.1
0.2
0.2
Trace
0.2
Trace
0.3
Trace
Trace
0.2

Trace
Trace
สัตว์น้ำจำพวกมีเปลือกอื่นๆ
Lobster
หอย
กุ้ง

0.2
0.3

0.3
0.2

Trace
Trace
ถั่วและเมล็ดพืช
Butternuts
Flaxseed
Walnuts




8.7
18.1
9.1
น้ำมันพืช
Canola
Flaxseed


9.3
53.5

1.4. ไขมันอิ่มตัวที่ถูกดัดแปลง หรือไขมันทรานส์ พบมากในอาหารดังต่อไปนี้

  • อาหารที่ผ่านการทอดหลายครั้ง หรือผ่านการใช้น้ำมันเก่าเอามาทอด เช่น เฟรนฟรายด์ ไก่ทอด ขนมปังประเภทครัวซองต์ ปาท่องโก๋ ทอดมัน มาร์การีนที่ทำจากน้ำมันพืช ที่แล้วเติมไฮโดรเจนเข้าไปให้แข็งตัว เพื่อให้มีการจับตัวเป็นก้อน แล้วนำมาทาบนขนมปัง หรือเอาไปประกอบอาหารอื่น ๆ
  • เนื้อสัตว์ประเภทสัตว์เคี้ยวเอื้อง ( Ruminant ) เช่น เนื้อวัว เนื้อแกะ และเนื้อแพะ

การบริโภคอาหารที่มี TFAs สูง ซึ่งก็คืออาหารที่มีส่วนผสมของไขมันทรานส์ตามที่กล่าวมา แม้จะบริโภคเพียงแค่ 2% จากพลังงานทั้งหมด ก็อาจทำให้เกิดโรคหัวใจและโรคหลอดเลือด ในระดับที่เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้
สำหรับข้อแนะนำในเรื่องของการบริโภคอาหารที่มีไขมันสูงแบบโดยรวมของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงนั้น สามารถทานได้ไม่เกิน 25%-30% ของพลังงานรวมทั้งหมด เพื่อให้เกิดประโยชน์ในการช่วยควบคุมภาวะ Metabolic Syndrome และควบคุมการเกิดเบาหวานไม่ให้สูงมากกว่าเดิม นอกจากนี้ยังช่วยลดระดับไขมันในร่างกายให้น้อยลง สุขภาพก็จะดีขึ้นตามลำดับ จากผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยที่มีน้ำหนักลดลงไปจากเดิมร้อยละ 5-10 จะช่วยลดความ ดันโลหิต ลดระดับไขมันในเลือดและควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และจากการศึกษางานวิจัยทางคลินิกที่ได้ใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 48,835 ราย โดยกำหนดให้ลดการบริโภคอาหารเป็นเภทไขมันสูงลง 37.8% ของพลังงานรวมทั้งหมดให้เหลือเพียง 24.3% เป็นระยะเวลา 1 ปี และยังทำต่อไปเรื่อย ๆ จนถึงระยะเวลา 6 ปี ผลลัพธ์ที่ได้ ก็คือไม่พบความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดเลย

ข้อแนะนำสำหรับผู้ป่วยในการควบคุมอาหาร

1. การบริโภคอาหารไขมันต่ำ ( Low Fat Diet: LFD ) ใช้หลักการในการ “ ลด ” คือ ลด Cholesterol ในมื้ออาหารให้น้อยกว่า 300 มิลลิกรัมต่อวัน, ลด TFAs (อาหารที่มีไขมันทรานส์) ในมื้ออาหาร และลด SFA ในมื้ออาหารให้น้อยกว่าร้อยละ 7 ของพลังงานรวมทั้งหมด

2. การบริโภคอาหารเมดิเตอร์เรเนียน ( Mediterranean Diet ) อาหารเมดิเตอเรเนียนได้รับการยืนยันจากแพทย์และโภชนาการว่าเป็นอาหารที่ดีต่อสุขภาพที่สุดในโลก เห็นได้จากความแข็งแรงของชาวเมดิเตอเรเนียนที่ไม่ค่อยเจ็บป่วยด้วยโรคหัวใจและโรคความดันโลหิต โดยวัตถุดิบที่นำมาประกอบอาหารนั้น มักจะเป็นโปรตีนที่มีคุณภาพดีและมีแคลอรี่ต่ำ เช่น ธัญพืชที่ไม่ขัดสี ที่มีสารอาหารประเภท Bran and Germ มากเป็นพิเศษ สารอาหารประเภท Bran จะอุดมไปด้วย ไฟเบอร์ วิตามินบี และฟลาโวนอยด์ ส่วน Germ จะมี สารต้านอนุมูลอิสระ และ ไฟโตเคมิคัล การจัดโปรแกรมอาหารประเภทเมดิเตอเรเนียนนั้น จะต้องประกอบด้วย

  • อาหารที่ประกอบจากพืช เช่น ผัก ผลไม้ มันเทศ ถั่ว และธัญพืชต่าง ๆ ประโยชน์ที่ได้รับ ก็คือการเพิ่มใยอาหารให้กับร่างกาย ที่จะช่วยเข้าไปดูดซึมไขมันและค่าของไตรกลีเซอไรด์ไม่ให้สูงเกินไปภายหลังจากการบริโภคอาหาร
  • ดื่มไวน์ในระดับต่ำถึงปานกลาง เพื่อเป็นการบำรุงหัวใจและหลอดเลือด
  • เป็นอาหารที่มี Phytosterols สูง ซึ่งจะพบมากในน้ำมันที่สกัดจากผัก ผลไม้สด เกาลัด Grains Legumes สำหรับอาหารที่มี Phytosterols สูง จะช่วยให้การดูดซึมคอเลสเตอรอลของร่างกายมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น
  • การประกอบอาหารใช้พืชผัก และผลไม้ที่ปลูกตามฤดูกาลและท้องถิ่น ถ้าหากต้องใช้น้ำมัน ก็จะใช้น้ำมันมะกอกเป็นหลัก การรับประทานของหวานของชาวเมดิเตอเรเนียน็คือ ผลไม้สด และถ้าหากต้องการความหวานมากขึ้นจะใช้น้ำผึ้งทดแทน
  • ไม่ค่อยทานอาหารที่ประกอบจากเนื้อแดง แต่จะทานไก่และปลาในปริมาณที่พอเหมาะสม นอกจากนี้ยังมีการบริโภคไข่ประมาณ 4 ฟองต่อสัปดาห์

3. บริโภคอาหารไทยโบราณ โดยปกติแล้ว อาหารไทยจะไม่ได้มีการแบ่งออกเป็นส่วนเหมือนกับอาหารฝรั่ง ถึงแม้ว่าเมนูอาหารไทยง่าย ๆ แบบข้าวราดแกงจะมีไขมันที่ได้จากเนื้อสัตว์และส่วนผสมบางชนิด แต่รสเผ็ดจากพริกและเครื่องเทศต่าง ๆ ก็จะช่วยเพิ่มการเผาผลาญไขมันทดแทนได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้แกงบางอย่างก็จะมีรสมันโดยที่ไม่จำเป็นต้องพึ่งพากะทิเลย เช่น แกงส้ม แกงป่า แกงเลียง เพราะเมื่อตักแกงเหล่านี้ราดลงไปในข้าวสวยร้อน ๆ กระบวนการบางอย่างก็จะเปลี่ยนให้มีความมันและอร่อยเพิ่มขึ้นได้เอง จึงทำให้อาหารมื้อนั้น ๆ เต็มไปด้วยความเผ็ดร้อนที่มีแคลอรี่ต่ำ และยังได้ใยอาหารจากพืช ผัก จำนวนมากที่ใส่ลงไป ซึ่งจะเข้าไปช่วยเพิ่มการดูดซึมไขมันและน้ำตาลในร่างกายของผู้ป่วย นอกจากนี้สมุนไพรไทยบางอย่างที่ได้ใส่ลงไปในอาหาร ก็ยังมีสรรพคุณที่ช่วยลดระดับไขมันและระดับความดันโลหิตได้ย่างน่าทึ่งอีกด้วย เช่น กระเทียม ที่ช่วยลดไขมันและคอเลสเตอรอล มะระ ช่วยลดความดันโลหิต แตงกวา ฟักเขียว ที่เป็นสมุนไพรออกฤทธิ์เย็น ก็ช่วยลดความดันโลหิตได้ไม่แพ้กัน การดื่มเครื่องดื่มประเภทชาบางชนิด ( ชาใบหม่อน ชาอู่หลง ) รวมไปถึงเก๊กฮวยที่ไม่หวานจัด ก็ช่วยลดไขมันในร่างกายได้เป็นอย่างดี

4. บริโภคอาหาร Omega-3 Fatty Acid ที่มีปริมาณ ALA, EPA และ DHA ในมื้ออาหารมีคำแนะนำการบริโภคที่มี omega-3 Fatty Acid ดัดแปลงจาก Kris-Etherton.,et al 2002 ดังนี้

ตาราง คำแนะนำการบริโภคอาหารที่มี Omega-3 Fatty Acid

กลุ่มผู้ป่วย
( Population )
ข้อแนะนำ ( Recommendation )
1. ผู้ป่วยไม่มีร่องรอยของโรคหลอดเลือดหัวใจ – ควรทานปลาและไขมันจากปลาให้มีความหลากหลายที่สุด อย่างน้อย 2 ครั้งต่อสัปดาห์ รวมถึงเลือกรับประทานอาหารที่มีไขมันชนิด ALA เช่น Canola และน้ำมันจากถั่วเหลือง (Soy Bean Oil) Flax Seed และ Walnuts
2. ผู้ป่วยมีร่องรอยของโรคหลอดเลือดหัวใจ – หากต้องการทานอาหารเสริม EPA+DHA จะต้องได้รับการพิจารณาจากแพทย์ก่อน
– ควรทานอาหารที่มี EPA+DHA ประมาณ 1 กรัมต่อวันโดยเฉพาะปลาและไขมันจากปลา
3. ผู้ป่วยที่มีไตรกลีเซอไรด์สูง – กรณีที่ทำแล้วไม่ได้ผล ให้ใช้น้ำมันปลาเม็ดที่มีปริมาณ EPA+DHA 2-4 กรัมต่อวัน ใช้ภายใต้การดูแลของแพทย์
– เน้นทานอาหารที่มี EPA+DHA โดยเฉพาะปลาทะเลประมาณ 3-4 ตัวต่อสัปดาห์

2. อาหารที่มีผลต่อการควบคุมระดับสมดุลน้ำในหลอดเลือด

สำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะความดันโลหิตสูงในระดับเริ่มต้น ส่วนมากแล้วมักจะมีสาเหตุ และปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดโรคไม่เหมือนกัน เพียงแต่ว่าสาเหตุต่าง ๆ เหล่านั้นจะมีความเชื่อมโยงกันแบบไม่น่าเชื่อ บางคนมีระดับความดันโลหิตในร่างกายสูงจากการได้รับปริมาณโซเดียมในร่างกายมากจนเกินไป สาเหตุนี้สามารถพบได้บ่อยในคนไทยและคนจีนที่ชอบรับประทานเกลือเยอะๆ ( บางคนทานผลไม้สดจิ้มเกลือกันแบบจริงจัง ) เมื่อร่างกายมีปริมาณโซเดียมสะสมในจำนวนมาก การควบคุมระดับน้ำในหลอดเลือดให้เกิดความสมดุลก็จะเป็นไปได้ยากยิ่งขึ้น ปริมาณน้ำนอกเซลล์ ( Increase Extracellular Volume ) ก็จะเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ จนทำให้ร่างกายมีการหลั่งสาร Catecholamine ออกมาในปริมาณมาก เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว การบีบตัวของหัวใจเพื่อที่จะสูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงร่างกายก็จะต้องเพิ่มปริมาณมากขึ้นตามไปด้วย จนเมื่อถึงจุดหนึ่งก็จะเกิดกระบวนการที่ทำให้หลอดเลือดหดรัดตัว นำไปสู่กล้ามเนื้อหลอดเลือดมีความหนามากยิ่งขึ้น แรงต้านทานของหลอดเลือดเพิ่มขึ้น จึงเป็นเหตุให้แรงดันของหลอดเลือดแดง และแรงดันของหลอดเลือดส่วนปลาย เกิดเป็นแรงดันเลือดสูงยิ่งถ้าหากว่าผู้ป่วยยังไม่ดูแลตัวเอง หรือไม่สามารถควบคุมระดับแรงดันของเลือดให้คงที่หรือลดต่ำลงได้ การทำงานของหัวใจก็จะต้องมีการบิดตัวให้แรงขึ้นตามไปด้วยเพื่อให้ร่างกายมีการสูบฉีดโลหิตไปหล่อเลี้ยงร่างกายอย่างเพียงพอ นานไปเรื่อย ๆ หัวใจก็จะเริ่มล้า และทำงานผิดปกติมากยิ่งขึ้น บางคนจึงมีอาการเจ็บหัวใจ วูบ และหน้ามืดตามมา ซึ่งก็เป็นเพราะการทำงานของหัวใจที่หนักจนเกินไป ในที่สุดจะทำให้เกิดการกระตุ้นของระบบ ร่างกายให้มีการหลั่ง Anti-Diuretic Hormones ( ADH ) ในปริมาณมาก โดยสาร ADH จะทำให้เกิดการดูดกลับของน้ำและเกลือเข้าสู่ร่างกาย เป็นเหตุให้มีโซเดียมมากขึ้นกว่าเดิม สุดท้ายแล้วก็จะทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูงในระยะที่มีความรุนแรงและอันตรายมาก ถ้าหากยังไม่ดูแลตัวเอง หรือยังไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ก็มีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนเกี่ยวกับระบบหัวใจและหลอดเลือด โดยเฉพาะภาวะหัวใจวายที่อาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต

ในการปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตของผู้ป่วย ในเรื่องของการปรับอาหารคือ การลดการบริโภคอาหารที่เค็มจัด หรืออาหารที่มีส่วนผสมของเกลือในปริมาณมาก เพื่อให้ความดันโลหิตสามารถลดลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากการศึกษาผู้ป่วยที่บริโภคอาหารที่มีส่วนผสมของเกลือหรือมีรสเต็มจัด ( ทานเกลือแกงในปริมาณ 10.5 กรัมต่อวัน ) พบว่า หากมีการลดปริมาณเกลือลงเหลือแค่ 4.5 ถึง 5.8 กรัม / วัน ( ลดลงเกือบ 50% ) ความดันโลหิตจะลดลงประมาณ 4-6 มม.ปรอท ในขณะเดียวกันก็มีการศึกษาการลดปริมาณการทานโซเดียมในปริมาณปานกลาง หรือประมาณ 1,800 มิลลิกรัม / วัน ก็จะช่วยลด SBP ได้ประมาณ 5 มม. ปรอท และลด DBP ลงเท่ากับ 2.7 มม.ปรอท และถ้าหากว่าผู้ป่วยได้มีการจัดโปรแกรมอาหาร เช่นเลือกทานแต่คาร์โบไฮเดรตที่มีคุณภาพดี ทานผักและผลไม้ ลดการทานอาหารที่มีไขมันสูงและลดน้ำตาล การควบคุมระดับความดันเลือดก็จะดีตามไปด้วย

อาหารที่ประกอบไปด้วยโซเดียม 

  • เครื่องปรุงแต่งรสชาติอาหาร เช่น เกลือ น้ำปลา ซีอิ๊ว ซอส
  • อาหารแปรรูป และอาหารสำเร็จรูป เช่น ไส้กรอก หมูยอ ไข่เค็ม ปลาเค็ม ผักดอง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป อาหารกระป๋อง ขนมกรุบกรอบแบบซอง

สำหรับอาหารที่มีโซเดียม สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ

1. อาหารที่มีรสเค็มนำ
2. อาหารที่ไม่มีรสเค็มนำ แต่มีปริมาณเกลือที่มาจากกระบวนการผลิตจำนวนมาก

ตารางแหล่งอาหารโซเดียมอาหารที่มีรสเค็มนำ และไม่มีรสเค็มนำ

โซเดียมในรูปต่างๆ 

แหล่งอาหารที่พบ

โซเดียม คลอไรด์
( Sodium Chloride )
– ร่างกายของคนเรามีความต้องการโซเดียมสูงสุด ในปริมาณที่ไม่ทำให้เกิดอันตรายคือ 2,400 มิลลิกรัม ( มก. ) ต่อวัน ( คิดเป็นเกลือโซเดียมคลอไรด์ประมาณ 6 กรัมต่อวัน ) ซึ่งในอาหารปกติทั่วไปก็มักจะมีโซเดียมประมาณ 3-6 กรัม ( และมีโซเดียมเป็นส่วนประกอบ 40% ) นั่นคือ เกลือ 1 ช้อนชา ( 5 กรัม ) มีโซเดียม 2 กรัมหรือ 2,000 มก.
โซเดียม อัลจิเนต
( Sodium Alginate )
– Alginate เป็นโซเดียมที่มักจะนำไปเติมลงในผลิตภัณฑ์อาหารหลายชนิด โดยเฉพาะอาหารกระป๋องบางชนิด ซึ่งจะช่วยเพิ่มความข้นหนืดและเพิ่มความคงตัวให้กับอาหาร รวมถึงทำให้เกิดเจลด้วย ดังนั้นผลิตภัณฑ์อาหาร/ขนมที่มีโซเดียม อัลจิเนต จึงอยู่ในอาหารสำเร็จรูปหลายประเภท เช่น น้ำซอสต่างๆ น้ำสลัด ไอศกรีม น้ําตาลไอซิ่ง และขนมที่มีลักษณะเป็นเจล รวมถึงพวกอาหารแช่แข็งทั้งหลาย
โซเดียม แอสคอเบต
( Sodium Ascorbate )
– วิตามินซี ( Vitamin C ) การที่ทำ Vitamin C เป็นรูปแบบเกลือ โดยใช้ Sodium Ascorbate Calcium Ascorbate หรือเกลืออื่นๆ เช่น Zinc Potassium Magnesium เพื่อลดความเป็นกรดของ Ascorbic Acid โดยทำให้อยู่ในรูปที่เป็นกลางมากขึ้น และช่วยลดอาการข้างเคียงบางอย่างของ Vitamin C เช่นปวดท้อง ท้องเสีย ที่เกิดจาก Ascorbic Acid ได้บ้าง
โซเดียม ไบคาร์บอเนต
( Sodium Bicarbonate )
– ผงฟู หรือเรียกว่า Baking Soda นิยมนำมาใช้ในการทำขนมต่างๆ เช่นขนมปังเค้ก
โซเดียม เบนโซเอต
( Sodium Benzoate )
– ใช้เพื่อเป็นสารกันบูด มักจะมีอยู่ในอาหารสำเร็จรูปและอาหารกระป๋องต่างๆ เช่นอาหารกระป๋องต่างๆ พุดดิ้ง โยเกิร์ตปรุงแต่ง เบเกอรี่ ผักดอง เนยเทียม แยม เยลลี่
โซเดียม แซคคาร์ริน
( Sodium Saccharin )
– นำมาใช้ผสมในเครื่องดื่มแบบพร้อมดื่ม เช่น น้ำผลไม้กล่อง น้ำอัดลมกระป๋อง ผลไม้ดอง
โมโนโซเดียม กลูตาเมต
( Monosodium Glutamate )
– ผงชูรส นำมาใช้ผสมเป็นสารชูรส เช่น ซุปก้อนปรุงรสต่างๆ และยังนำมาใช้ในการปรุงรสของอาหารโดยตรงอีกด้วย
โซเดียม เคซีน เนท
( Sodium Caseinate )
– สารสกัดมาจากนมและผสมโซเดียมเพื่อเป็นตัวทำลาย นิยมใช้เพื่อทำผลิตภัณฑ์ประเภท ไอศกรีม เนยแข็ง ( Processed Cheese ) เวย์โปรตีนผง

ตัวอย่างข้อมูลปริมาณสารอาหารผลสลาก แบบย่อ

ข้อมูลโภชนาการ
หนึ่งหน่วยบริโภค : ………… (………….)
จำนวนหน่วยบริโภคต่อ …….. : ………..คุณค่าทางโภชนาการต่อหนึ่งหน่วยบริโภค
พลังงานทั้งหมด…………กิโลแคลอรี่
________________________________________________ร้อยละของปริมาณที่แนะนำต่อวัน*
ไขมันทั้งหมด …… ก. ……..%
โปรตีน …… ก.
________________________________________________คาร์โบไฮเดรต …… ก. ……..%
น้ำตาล ……. ก.
โซเดียม …… มก. ……..%* ร้อยละของปริมาณสารอาหารที่แนะนำให้บริโภคต่อวันสำหรับคนไทยอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป ( Thai RDI ) โดยคิดจากความต้องการพลังงานวันละ 2,000 กิโลแคลอรี

ในปัจจุบันนี้ เครื่องปรุงรสต่าง ๆ มักจะมีการระบุปริมาณของโซเดียมต่อมิลลิกรัม เช่น ซีอิ๊วขาว 1 ช้อนชา ( ประมาณ 5 กรัม ) มีโซเดียม 300 กรัม การปรุงรสอาหารที่ใช้ซีอิ๊วมากกว่า 1 ช้อนชาขึ้นไป ก็จะมีปริมาณโซเดียมที่สูงตามไปด้วย เช่นเดียวกับการบริโภคขนมกรุบกรอบตามร้านสะดวกซื้อที่ระบุว่า มีปริมาณโซเดียม 450 มิลลิกรัมต่อหน่วยบริโภค 2 อธิบายได้ว่า ขนมถุงนี้ควรแบ่งการกินออกเป็น 2 ครั้ง ถ้าหากว่ากินทั้งถุงในคราวเดียวกันก็จะได้รับโซเดียมสูงถึง 900 มิลลิกรัม ซึ่งก็เกือบจะครั้งหนึ่งของปริมาณโซเดียมทั้งหมดที่ควรได้รับแล้ว

เกร็ดความรู้ของหน่วยตวงอาหาร

1 ช้อนชา = 5 ซีซี
1 ช้อนโต๊ะ = 15 ซีซี
1 แก้วน้ำ ( ประมาณเป๊บซี่ 1 กระป๋อง หรือ เบียร์ 1 กระป๋อง ) = 240 ซีซี ( มิลลิลิตร )
1 แก้วน้ำ = 16 ช้อนโต๊ะ
1 ช้อนโต๊ะ = 3 ช้อนชา
1 ออนซ์ = 30 ซีซี ( มิลลิลิตร )

3. อาหารที่มีผลกระตุ้นระบบประสาทอัตโนมัติที่เป็นผลให้หัวใจทำงานหนักขึ้น

ระบบประสาทอัตโนมัติซิมพาเทติก ( Sympathetic Nerves System ) จะมีการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่เข้ามากระตุ้นอย่างว่องไวมาก ไม่ว่าจะเป็น ความเครียด ความตื่นเต้น ความตกใจ รวมไปถึงการดื่มเครื่องที่มีส่วนผสมของคาเฟอีนในปริมาณมาก จึงทำให้มีภาวะความดันโลหิตสูงแบบฉับพลัน แต่ถ้าหากว่าภาวะนี้เกิดขึ้นเป็นเวลานานเป็นปีโดยที่ไม่มีการควบคุมให้อยู่ในระดับคงที่หรือลดลง กล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างซ้าย  ( Left Ventricle ) ก็จะต้องทำงานหนักมากกว่าเดิม เนื่องจากต้องออกแรงบีบตัวเพื่อต้านแรงดันนี้ เปรียบได้กับการปิดหน้าต่างในช่วงที่เกิดพายุเข้าอย่างรุนแรงนั่นเอง ตามกฎของ Frank-Staring เมื่อหัวใจบีบตัวถึงขีดสุดในปริมาณ 12 ถึง 18 มิลลิเมตรปรอทไปแล้ว หัวใจจะไม่สามารถบิดตัวลงมาได้ดังเดิม และจะเป็นผลให้กล้ามเนื้อหัวใจการขาดเลือดไปหล่อเลี้ยง ( อาจมีผลทำให้เกิดการหมดสติถึงขั้นเสียชีวิตได้ ) ระบบ Sympathetic ในร่างกายจึงถูกกระตุ้นอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน จึงมักจะพบว่าผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงนั้น มักจะมีอาการหัวใจเต้นเร็วมากกว่าปกติอีกด้วย ซึ่งก็จะทำให้กล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างซ้ายมีการขยายตัวและมีความหนาเพิ่มขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ได้

เมื่อหัวใจบีบตัวถึงขีดสุดในปริมาณ 12 ถึง 18 มิลลิเมตรปรอทไปแล้ว หัวใจจะไม่สามารถปิดตัวลงมาได้ดังเดิม และจะเป็นผลให้กล้ามเนื้อหัวใจการขาดเลือดไปหล่อเลี้ยง ( อาจมีผลทำให้เกิดการหมดสติถึงขั้นเสียชีวิตได้  )

เมื่อร่างกายเกิดภาวะ Tachycardia ( กล้ามเนื้อหัวใจบิดตัว ) เป็นเวลานาน ก็จะทำให้กล้ามเนื้อหัวใจมีความล้าจากการทำงาน จนส่งผลให้เกิดความผิดปกติของหัวใจได้ ยิ่งถ้าหากว่าเป็นร่วมกับภาวะ LVH ก็จะทำให้เลือดไม่สามารถไหลลงไปหล่อเลี้ยงที่ไตได้อย่างเพียงพอ ก็จะทำให้ไตก็จะกระตุ้นการหลั่ง Rennin ที่ทำให้เกิดการดูดกลับของน้ำและเกลือ จึงทำให้มีเลือดเสียไหลย้อนขึ้นไปบนหัวใจห้องขวาบนมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะเป็นการเพิ่ม Preload และเพิ่ม After Load ของหัวใจห้องล่างซ้ายตามมา จึงทำให้ผู้ป่วยอาจมีภาวะหัวใจล้มเหลวจนเป็นเหตุให้เสียชีวิต 

สำหรับเครื่องดื่มที่มีผลต่อการกระตุ้นระบบประสาทอัตโนมัติซิมพาเธติก ได้แก่ เครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ และคาเฟอีน เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้หัวใจมีการบีบตัวมากขึ้น ซึ่งก็ถือว่าเป็นภาวะที่มีความอันตรายเป็นอย่างมากสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่หัวใจต้องทำงานหนักในการเพิ่มแรงต้านทานในการควบคุมแรงดันของหลอดเลือดอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นจึงเป็นเรื่องที่สำคัญที่จะต้องมีการควบคุม เครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ และคาเฟอีน และเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลในปริมาณมาก เพื่อไม่ให้หัวใจต้องทำงานหนักเกินไป และถ้าหากว่าหลีกเลี่ยงไม่ได้ ก็ขอแนะนำการดื่มเครื่องดื่มเหล่านี้ให้มีประโยชน์กับผู้ป่วยมากที่สุดดังต่อไปนี้

1. แอลกอฮอล์ ( เหล้า เบียร์ ไวน์ )

การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณ 1-2 แก้ว / วัน จะทำให้อัตราการเกิดโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดต่ำลง รวมถึงอัตราการตายก็จะต่ำลงด้วย ซึ่งก็เป็นความสัมพันธ์อย่างหนึ่งที่น่าสนใจระหว่างแอลกอฮอล์และระบบหัวใจกับหลอดเลือด การผลการวิจัยที่ได้ทดลองให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่เหมาะสม พบว่าค่าความดันโลหิตทั้ง SBP และ DBP ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยตัวเลขหรือปริมาณเครื่องดื่มที่เหมาะสมที่จะนำมาให้ผู้ป่วยดื่มนั้น คิดจากปริมาณของเอทานอล สำหรับผู้ป่วยชายไม่ควรดื่มเกินวันละ 20-30 กรัม ( ไม่เกิน 2 หน่วยบริโภคต่อวัน ) และสำหรับผู้ป่วยหญิงไม่ควรเกินวันละ 10-20 กรัม (ไม่เกิน 1 หน่วยบริโภคต่อวัน )

ปริมาณการดื่มแอลกอฮอล์ที่พอเหมาะพอดีซึ่งอาจช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจที่แนะนำ คือ 
1. สุราที่มีแอลกอฮอล์ 40% = 45 มิลลิลิตร
2. ไวน์ที่มีแอลกอฮอล์ 12% = 150 มิลลิลิตร
3. เบียร์ที่มีแอลกอฮอล์ 5% = 360 มิลลิลิตร

ส่วนผู้ที่ไม่ควรดื่มแอลกอฮอล์เลย เพราะจะเกิดผลเสียต่อสุขภาพร่างกายได้ง่าย คือ
1. ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์
2. ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 21 ปี
3. ผู้ที่อยู่ในระหว่างการพักรักษาตัว หรือต้องใช้ยารักษาอาการป่วย
4. ผู้ที่มีสภาพร่างกายอ่อนแอ มีโรคประจำตัว และมีภูมิคุ้มกันต่ำ
5. ผู้ที่ต้องทำงานด้วยการใช้ทักษะและสมาธิ รวมทั้งต้องขับขี่ยานพาหนะ
6. ผู้ที่ไม่สามารถควบคุมตนเองและไม่สามารถควบคุมปริมาณในการดื่มได้
7. ผู้ที่เคยผ่านการบำบัดการเสพติดสุราและสารเสพติด

2. ชา กาแฟ

เครื่องดื่มที่ส่วนผสมของคาเฟอีนอย่างชาและกาแฟ เป็นสิ่งที่ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงโดยเด็ดขาด เพราะอาจเป็นสาเหตุที่กระตุ้นให้หัวใจมีการทำงานหนักมากยิ่งขึ้น ควรดื่มไม่เกินวันละ 1 แก้ว หรือให้เลี่ยงไปดื่มชาเขียวแทน เพราะถึงแม้ว่าชาเขียวจะมีคาเฟอีนที่ไม่ต่างกับชาชนิดอื่น ๆ

3. เครื่องดื่มอื่นๆ ( Sugar-Sweetened Beverages )

ตาราง เครื่องดื่มอื่นๆ ( Sugar-Sweetened Beverages )

ขอแนะนำ

( Recommendation )

เป้าหมายการบริโภค

( Goal )

ขนาดการบริโภค

( Serving Size )

Sugar-Sweetened Beverages Sweets and Bakery Foods จำกัดการบริโภค ( Limit Intake ) สูงสุดไม่เกิน 5 Servings/wk – Cookie, Doughnut, หรือ Muffin หนึ่งชิ้นเล็ก
– Cake หรือ ขนม Pie ที่ Slice หนึ่งชิ้น
– เครื่องดื่ม 8 oz

4. Micronutrient มีเครื่องดื่มมากมากที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย และอยู่ในกลุ่ม Flavonoids เช่น โกโก้ ( Cocoa ) ที่สามารถนำมาชงเป็นเครื่องดื่ม หรือผลไม้ประเภท แอปเปิ้ล และองุ่น ที่สามารถนำมาทำเป็นน้ำผลไม้ดื่มได้ แต่ต้องไม่ใส่สารใด ๆ เพิ่มเติมรวมทั้งน้ำตาลและน้ำเชื่อม นอกจากนี้สารฟลาโวนอยด์ยังพบได้ในไวน์แดง และถั่วเหลือง เพราะฉะนั้นเครื่องดื่มที่ทำจากถั่วเหลืองโดยไม่ผสมสารใด ๆ ก็นับว่าเป็นเครื่องดื่มที่เหมาะสมกับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงเป็นอย่างยิ่ง

จากการทดลองพบว่า สารฟลาโวนอยด์ช่วยลดระดับความดันโลหิตได้เป็นอย่างดี

จากการทดลองให้ผู้ป่วยได้รับประทานโกโก้ หรือ ดาร์คช็อคโกแลต ในปริมาณเพียง 6.3 g ก็สามารถลดค่า SBP ลงได้ 5.9 มม.ปรอท และลดค่า DBP ลงได้ 3.3 มม.ปรอท

การรักษาและการป้องกันและชะลอการเกิดภาวะความดันโลหิตสูง ต้องมีการปฏิบัติแบบบูรณาการร่วมกันทั้งเรื่องของการใช้ยา และการปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตให้เหมาะสม ซึ่งก็จะมีเรื่องของ การออกกำลังกาย ควบคุมน้ำหนักตัว การเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ คือการบริโภคผักและผลไม้สดเพิ่มมากขึ้น หลีกเลี่ยงหรือลดการทานอาหารที่มีไขมันสูงและมีน้ำตาลมาก รวมถึงการลดปริมาณเกลือและโซเดียมในอาหารให้น้อยลง ซึ่งจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสมดุลของปริมาณน้ำในร่างกาย ไม่ให้ค่าไตรกลีเซอไรด์สูงจนเกินไป นอกจากนี้ยังมีเรื่องของการงดเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ คาเฟอีน เครื่องดื่มบำรุงร่างกายต่างๆ รวมถึงปัจจัยอื่นๆ ที่มีผลต่อการกระตุ้นระบบประสาทซิมพาเธติก หรือระประสาทอัตโนมัติ ควบคู่ไปกับการติดตามอาการของผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงเรื่องของการประเมินความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนของร่างกาย ซึ่งจะทำให้การรักษามีประสิทธิภาพมากที่สุด และจะเป็นประโยชน์กับผู้ป่วยรายต่อ ๆ ไปอีกด้วย

การใช้ยาลดความดันโลหิต

การรักษาหรือควบคุมระดับความดันโลหิตของผู้ป่วยด้วยยานั้น จะต้องเน้นใช้ยาที่ออกฤทธิ์ยับยั้งระบบ Neurohormornal Response ของร่างกาย ซึ่งผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงนั้น จะมีระบบ Neurohormornal Response ด้วยกันถึง 3 ระบบ ได้แก่ ระบบประสาทอัตโนมัติ ซิมพาเธติก ( Sympathetic Nervous System: SNS ) ระบบเรนนิน แองจิโอเทนซิน ( Rennin-Angiotensin System : RAS ) และปริมาณโซเดียมในร่างกาย เพราะฉะนั้น การพิจารณาเลือกใช้ยาของแพทย์ จึงต้องขึ้นอยู่กับการประเมินสุขภาพของผู้ป่วยแต่ละรายที่มักจะมีอาการแตกต่างกันไป เช่น ผู้ป่วยที่มีปัญหา SNS ทำงานมากผิดปกติ ก็อาจจะเหมาะกับการใช้ยาในกลุ่ม Beta-Blockers ส่วนผู้ป่วยที่มีปัญหา RAS ทำงานมากเกิน น่ก็จะต้องเลือกใช้ยากลุ่ม RAS Blocker และผู้ป่วยที่มีปริมาณโซเดียมในร่างกายสูง ก็อาจจะต้องใช้ยาประเภท Diuretics แต่ทั้งนี้ แพทย์อาจมีการพิจารณาให้ใช้ยามากกว่า 1 หรือ 2 ตัวในกลุ่ม หรือจะเป็นการข้ามกลุ่มกันเลยก็ได้ เพื่อให้ประสิทธิภาพในการรักษาเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น 

สำหรับการใช้ยาเพื่อการรักษาผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงทั่วไปในระยะแรก จะเริ่มจากการใช้ยาในกลุ่ม Beta-Blocker และยากลุ่ม Diuretic ที่เป็นยาขับปัสสาวะ แต่ถ้าการประเมินพบว่า ผู้ป่วยมีภาวะ Metabolic Syndrome เพิ่มขึ้นด้วย ก็อาจจะต้องงดใช้ยา Beta-Blocker เพราะอาจจะทำให้ภาวะดื้ออินซูลินมีอาการที่แย่ลงกว่าเดิม และถ้าพบว่าผู้ป่วยมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเบาหวาน และต้องการที่จะป้องกันให้ได้มากที่สุด ก็อาจจะมีการพิจารณาให้ใช้ยา Angiotensin Converting Enzyme Inhibitor ( ACEI ) เว้นแต่ว่า ผู้ป่วยมีปัญหาเกี่ยวกับโรคไต หรือมีปัญหาท่อไตติดทั้งสองข้าง หรือมีผลข้างเคียงจากการรับประทานยากลุ่ม ACEI ก็จะต้องใช้ยากลุ่ม Angiotensin Receptor Block ( ARB ) แทน และถ้าหากว่าผู้ป่วยยังมีข้อห้ามในการใช้ยาทั้ง ACEI และ ARB ก็อาจจะต้องมีการพิจารณาให้ยากลุ่มที่สองได้แก่ กลุ่ม Calcium Channel Blocker ( CCB ) ในการรักษาโรคแทน
จากที่กล่าวมานั้นจะพบว่า การใช้ยาในการรักษาผู้ป่วยโรคความดันโลหิต ไม่มีข้อกำหนดที่แน่นอน ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับอาการของคนไข้และผลข้างเคียงของการใช้ยา เพราะฉะนั้นจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องมีการประเมินสุขภาพของผู้ป่วยเป็นราย ๆ ไป จากการศึกษาในการรักษาผู้ป่วยที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปด้วยยา พบว่า ยาที่แพทย์ส่วนใหญ่พิจารณาให้ผู้ป่วยคือยากลุ่ม Beta-Blocker ถึง 57.1% และมีการใช้ยากลุ่ม Calcium Channel Blocker ( CCB )ในรายที่ไม่มีข้อห้ามและไม่มีโรคร่วม อีก 35.7% และปิดท้ายด้วยการให้ยากลุ่ม ACEI อีก 7.1% โดยเป็นการให้ยา ACEI ร่วมกับ Diuretic ที่มีผลในการรักษาต่างกัน แต่มีทิศทางเดียวกัน โดยเน้นในเรื่องของผลลัพธ์เป็นหลัก

สำหรับแนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงในเวชปฏิบัติทั่วไป พ.ศ. 2555 ของประเทศไทยที่จัดทำโดยสมาคมความดันโลหิตแห่งประเทศไทย ได้แนะนำหลักการใช้ยาลดความดันโลหิตใน 4 กลุ่ม ที่นิยมใช้กันทั่วโลก และมีผลในการรักษาค่อนข้างดี คือ

1. Thiazide – Type Diuretics
2. Calcium Channel Blockers ( CCBs )
3. Angiotensin Converting Enzyme Inhibitors ( ACEI )
4. Angiotensin II Receptor Blockers ( ARBs )

ตารางการบูรณาการใช้ยาลดความดันโลหิตกับอาหารที่เหมาะสม

ยาที่ใช้ในการรักษา อาหารที่เหมาะสม
1. Calcium Channel Blocker ( CCBs )
เป็นยาที่มีฤทธิ์ในขยายหลอดเลือดแดง ซึ่งจะช่วยลดการทำงานของหัวใจไม่ให้หนักจนเกินไป ยาบางชนิดในกลุ่มนี้ อาจทำให้การเต้นของหัวใจ และปริมาณการใช้ออกซิเจนของหัวใจลดลง ไม่เหมาะกับการรักษาผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับไต ( Cr>1.5 ) เพราะเมื่อทานยาเข้าไปแล้ว จะทำให้เกิดการไวต่อเหลือและน้ำ ที่เป็นสาเหตุของการบวมน้ำได้
ควรเลือกรับประทานอาหารตามโปรแกรม DASH diet อย่างเคร่งครัด ร่วมกับการลดการทานเค็ม ลดปริมาณเกลือและโซเดียมในการปรุงอาหาร เพื่อไม่ให้ไตต้องทำงานหนัก และมีค่า BUN/Cr สูงจนเกินไป
2. ACEI หรือ ARB
เป็นยาที่มีฤทธิ์ โดยการใช้เอนไซม์ไปยับยั้งการกระตุ้นของระบบ RAS ซึ่งจะทำให้เกิดผลคือ การลดการหลั่ง rennin ที่ไต และยับยั้งการหลั่งของ angiotensin I ไม่ให้เปลี่ยนเป็น angiotensin II ซึ่งจะมีผลต่อการขยายตัวของหลอดเลือดดำและหลอดเลือดแดง จึงช่วยลดแรงต้านทานของหลอดเลือดส่วนปลายทั่วร่างกาย จึงสามารถลดระดับความดันโลหิตได้ทั้งค่า SBP และค่า DBP โดยที่หัวใจไม่เต้นเร็วมากขึ้นกว่าเดิม จึงทำให้เกิดข้อสันนิษฐานว่า ACEI/ARB ช่วยลด LVH และลดการหลั่ง ADH ที่จะช่วยป้องกันการดูดซึมเกลือและน้ำกลับเข้าสู่หลอดเลือดได้ แต่อาจจะต้องระวังในเรื่องของการโพแทสเซียมที่จะสะสมในร่างกายแทน ไม่ควรใช้ร่วมกับ beta-blocker เพราะอาจจะทำให้ไตเสื่อมได้ไวกว่าเดิม ซึ่งอาจจะทำเกิดปัญหากับสุขภาพมากยิ่งขึ้น
ควรบริโภคอาหารที่มีส่วนผสมของ Vitamin K สูง สามารถพบได้ในผลไม้บางชนิด เช่น ส้ม กล้วยหอม องุ่น อะโวคาโด รวมไปถึงผักต่าง ๆ เช่น บล็อคโคลี่ กะหล่ำดอก กะหล่ำปลี มะเขือเทศ รวมไปถึงน้ำมันถั่วเหลืองและน้ำมันมะกอก
ปริมาณ vitamin K ในผักใบเขียวแสดงดังตาราง
3. Thiazide – Type Diuretics
ยาชนิดนี้ควรมีการพิจารณาในการนำไปใช้ร่วมกับยากลุ่มอื่น ๆ ที่สามารถออกฤทธิ์ส่งเสริมกันได้ เช่น ACEI/ARB หรือ CCB เพื่อลดการเกิดปัญหาเกลือและน้ำคั่งในร่างกาย และเพื่อให้การควบคุมระดับความดันโลหิตเป็นไปในทิศทาที่ดีขึ้นด้วย แต่ข้อควรระวังคือห้ามใช้คู่กับ beta-blocker เพราะอาจจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าเดิม ซึ่งอาจจะทำให้ผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวานเพิ่มขึ้นมาได้
ยาที่มีฤทธิ์ในการขับปัสสาวะ จึงอาจจะทำให้ผู้ป่วยมีกรดยูริกในตัวเพิ่มขึ้น เพราะฉะนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีกรดยูริกสูง เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบกับร่างกาย เช่น หน่อไม้ ยอดกระถิน ยอดชะอม ควรบริโภคผักและผลไม้ที่มี Vitamin K ในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อป้องกันไม่ให้โพแทสเซียมในร่างกายต่ำจนเกินไป และควรบริโภคอาหารตามโปรแกรม DASH diet เพื่อไม่ให้ไตเกิดภาวะเสื่อมเร็วก่อนกำหนด
4. Beta-Blocker
ยานี้จะออกฤทธิ์เพื่อยับยั้งการกระตุ้นของประสาทอัตโนมัติ จึงอาจจะทำให้หัวใจเต้าช้าลงกว่าปกติ ซึ่งก็นับว่าเป็นเรื่องดีที่หัวใจจะได้รับการพักผ่อนมากยิ่งขึ้น การรับเลือดแดงจากหัวใจห้องบนซ้ายเข้ามาสู่หัวใจห้องล่างซ้ายก็จะมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น การสูบฉีดโลหิตไปหล่อเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายก็จะเป็นไปในทิศทางที่ดีโดยที่หัวใจไม่ต้องทำงานหนักเหมือนที่เคยเป็นมา แรงดันของโลหิตก็จะค่อย ๆ ลดลงตามไปด้วยเพราะฉะนั้นจึงช่วยลดโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนของหลอดเลือดหัวใจได้ไปในตัว ถึงจะมีประโยชน์มากมาย แต่การเลือกใช้ยา Beta-Blocker ก็มีข้อควรระวังมาก เพราะจะต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับผู้ป่วยมากที่สุด โดยเฉพาะผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน เนื่องจากการใช้ยาไปนาน ๆ อาจมีผลทำให้ร่างกายเกิดภาวะดื้ออินซูลินได้ผู้ป่วยจึงอาจจะมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าเดิม เป็นเหตุให้เกิดการช็อก และหมดสติ นอกจากนี้ยังต้องระมัดระวังในการใช้กับผู้ป่วยที่อยู่ในกลุ่ม Metabolic Syndrome เป็นอย่างยิ่ง- ยาในกลุ่ม Beta-Blocker ส่วนใหญ่ มักจะมีผลทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ผู้ป่วยจึงต้องเลือกทานอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตที่มีคุณภาพดี หรือมีใยอาหารสูง ซึ่งก็คืออาหารประเภทธัญพืชไม่ขัดสี เช่น ข้าวสาลี ข้าวเจ้า ถั่วเปลือกแข็ง รวมถึงโปรตีนจากถั่วเหลือง น้ำนมถั่วเหลือง ผักและผลไม้ เพราะอาหารเหล่านี้ จะช่วยเพิ่มการดูดซึมแป้งและน้ำตาล จึงช่วยลดระดับน้ำตาล และช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดโรคเบาหวานขึ้นได้
ควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ น้ำอัดลม เครื่องดื่มชูกำลัง เพราะเครื่องดื่มเหล่านี้จะกระตุ้นให้หัวใจมีการเต้นเร็วผิดปกติ ซึ่งจะสวนทางกับฤทธิ์ของยาที่ทำให้หัวใจเต้นช้าลง เป็นผลให้ยาออกฤทธิ์ไม่เต็มที่ และอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ และ ควบคุมปริมาณคาร์โบไฮเดรตในมื้ออาหารไม่ให้มากจนเกินไป และต้องพิจารณาคาร์โบไฮเดรตที่มีคุณภาพดี ย่อยช้า และมีค่า GI ต่ำ

การรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ในการใช้ชีวิตให้ประสบความสำเร็จ เพื่อเน้นในเรื่องของการป้องกัน การควบคุมและการลดความดันโลหิตให้ได้ตามเป้าหมายนั้น ต้องเน้นที่เรื่องของการปรับอาหารเป็นหลัก ร่วมกับเรื่องของการงดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และงดสูบบุหรี่ นอกจากนี้ก็ต้องปรับพฤติกรรมสุขภาพด้านอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น การออกกำลังกาย การลดน้ำหนัก ส่วนการรักษาทางการแพทย์นั้น ก็คือการเลือกยารักษาให้เหมาะสมและถูกต้องกับอาการของคนไข้ โดยจะต้องคำนึงถึงผลของการใช้ยาในกลุ่มต่าง ๆ ที่อาจจะส่งผลกระทบต่อคนไข้ได้ โดยยาที่นำมาใช้นั้น อาจจะมาจากกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง หรืออาจจะข้ามกลุ่มกันก็ได้ แต่จะน้องเน้นในเรื่องของผลลัพธ์ในการรักษาเป็นหลัก และต้องระวังเรื่องผลของยาที่อาจเป็นอันตรายต่ออวัยวะส่วนอื่นของคนไข้ การบูรณาร่วมกันระหว่างการปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิตร่วมกับยาจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะถ้าหากผู้ป่วยสามารถควบคุมเรื่องของอาหารได้ แพทย์ก็อาจจะพิจารณาในการสั่งยาน้อยลง ซึ่งก็จะเป็นผลดีกับผู้ป่วยมากยิ่งขึ้นในแง่ของความคุ้มค่า

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

ศิริอร สุนธุ, พิเชต วงรอต, สมาคมผู้จัดการรายกรณีประเทศไทย, การจัดการรายกรณีผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์วัฒนาการพิมพ์, 2557. 242 หน้า, ISBN:978-616-92014-0-3.

Ogedegbe, Gbenga; Pickering, Thomas (2010-11-01). “Principles and techniques of blood pressure measurement”. Cardiology Clinics. 28 (4): 571–586.

ผลตรวจเลือดบอกอะไรได้บ้าง เจาะลึกค่าเลือดและการแปลผลแลป

0
การอ่านค่าผลตรวจเลือด
ผลตรวจเลือด คือ หนึ่งในขั้นตอนการตรวจสุขภาพเพื่อตรวจสอบค่าผลเลือดต่าง ๆ ในเลือดของผู้ที่เข้ารับการตรวจ โดยการตรวจเลือดจะตรวจเพื่อทำการประเมินสุขภาพโดยรวม

ผลตรวจเลือด

ผลตรวจเลือด ( Blood Tests ) สามารถบอกข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับสุขภาพของเราได้มากมาย ตั้งแต่การประเมินระบบภูมิคุ้มกัน การทำงานของอวัยวะ เช่น ตับและไต ไปจนถึงการตรวจสอบภาวะโลหิตจางหรือระดับน้ำตาลในเลือด การรู้จัก ค่าเลือดปกติ และวิธีแปลผลแลปจึงมีความสำคัญ เพราะจะช่วยให้เข้าใจสัญญาณสุขภาพและความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นในร่างกายได้อย่างทันท่วงที บทความนี้จะเจาะลึกข้อมูลต่างๆ รวมไปถึง อักษร ย่อ ผลการ ตรวจเลือด ที่ผลตรวจเลือดบอกได้ พร้อมทั้งแนะนำวิธีการอ่านค่าเลือดหลักๆ เพื่อให้ทุกคนสามารถนำไปใช้ประเมินสุขภาพตนเองได้อย่างมั่นใจ

 

1. ความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด

ความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด - ผลตรวจเลือดบอกอะไรได้บ้าง เจาะลึกค่าเลือดและการแปลผลแลปความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด ( Complete Blood Count : CBC ) คือ การตรวจสุขภาพโดยการนับปริมาณและการดูรูปร่างของเซลล์ทั้งหมดที่มีอยู่ในเลือด ซึ่งผลของการวัดค่าต่าง ๆ จะบ่งบอกถึงสุขภาพโดยรวมและค่าสภาวะของเลือดของผู้เข้ารับการตรวจว่าเป็นอย่างไรบ้าง โดยการตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด จะแสดงข้อมูลผลเลือดที่สำคัญในมนุษย์ 3 กลุ่ม ได้แก่

  • เม็ดเลือดแดง ( Red Blood Cell : RBC )
  • เม็ดเลือดขาว ( White Blood Cell : WBC )
  • เกล็ดเลือด ( Platelet : PLT )

การแปลผลความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด ค่าแต่ละชนิดสามารถแปลความความหมายโดยละเอียดได้ดังนี้

1.1 ฮีโมโกลบิน

ฮีโมโกลบิน ( Hemoglobin : Hb / HGB ) คือ ค่าระดับโปรตีนหรือสารสีแดงในเซลล์เม็ดเลือดแดงที่ทำหน้าที่จับกับออกซิเจน เพื่อนำออกซิเจนไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายและนำคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากร่างกาย การตรวจสารฮีโมโกลบินเป็นการตรวจเพื่อบ่งบอกว่าร่างกายมี ภาวะเลือดจาง หรือมี ค่าเลือดจาง หรือไม่ ซึ่งได้มีการกำหนดค่าผลเลือดมาตรฐานไว้ดังนี้

ค่าเลือดปกติของฮีโมโกลบินสำหรับเพศชายและเพศหญิง คือ

ค่าฮีโมโกลบินมาตรฐานสำหรับผู้ชาย = 13.5-17.5 g/dL
ค่าฮีโมโกลบินมาตรฐานสำหรับผู้หญิง = 12.0-15.5 g/dL

ถ้าค่าฮีโมโกลบินที่ตรวจวัดได้มีค่าน้อยกว่ามาตรฐานใน ตาราง ค่า lab ปกติ ด้านบนแสดงว่าผู้เข้ารับการตรวจมีภาวะ โลหิตจาง ( Anemia ) เกิดขึ้น ส่งผลให้เลือดไม่สามารถพาออกซิเจนไปเข้าสู่ร่างกายได้เพียงพอต่อความต้องการ หรือหากค่าฮีโมโกลบินที่ตรวจวัดได้มีค่าสูงกว่ามาตรฐานในตารางด้านบนแสดงว่าผู้เข้ารับการตรวจมีภาวะ เลือดแดงมาก หรือ ภาวะเลือดหนืด 

ภาวะเลือดหนืด ( Polycythemia ) คือ ภาวะที่ไขกระดูกผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดงในจำนวนที่มากผิดปกติ ส่งผลให้เลือดมีความเข้มข้นสูง ไหลเวียนได้ช้าลง และมีความเสี่ยงที่เม็ดเลือดแดงเกิดการอุดตันที่หลอดเลือดฝอยได้ ซึ่งลักษณะนี้จะพบได้น้อยมาก

1.2 ฮีมาโทคริต

ฮีมาโทคริต ( Hematocrit : HCT ) คือ ค่าปริมาณความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดงต่อปริมาตรของเลือดทั้งหมด ซึ่งค่านี้จะแสดงโดยการวัดเป็นเปอร์เซ็นต์ เป็นค่าที่ใช้บ่งบอกสภาวะโลหิตจางเช่นเดียวกับค่าฮีโมโกลบิน ซึ่งได้มีการกำหนดค่าผลเลือดมาตรฐานว่าความเข้มข้นของเลือดปกติเท่าไหร่ดังนี้
ค่าเลือดปกติของฮีมาโทคริตสำหรับเพศชายและเพศหญิง คือ

ค่ามาตรฐานสำหรับผู้ชายมีค่าประมาณ = 40-50 %
ค่ามาตรฐานสำหรับผู้หญิงมีค่าประมาณ = 35-47%

ถ้าค่าฮีมาโทคริตมีค่าน้อยกว่าค่ามาตรฐานแสดงว่าร่างกายอาจจะอยู่ในสภาวะโลหิตจาง แต่ถ้าค่าฮีมาโทคริตมากกว่ามาตรฐานแสดงว่ามีภาวะเลือดหนืดเช่นเดียวกับค่าของฮีโมโกลบิน ซึ่งในการตรวจเลือดทั่วไปแล้วผลเลือดของฮีโมโกลบินและฮีมาโทคริตจะไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อเป็นการยืนยันว่าเป็นโรคโลหิตจางหรือไม่ และค่าฮีมาโทคริตจะมีค่ามากกว่าค่าฮีโมโกลบินประมาณ 3 เท่าเสมอ

นอกจากนี้ฮีมาโทคริตยังมีมีชื่อเรียกอื่นอีกได้แก่ Erythrocyte Volume Fraction ( EVF ) หรือ Packed cell volume ( PCV )

1.3 การตรวจนับจำนวนเซลล์เม็ดเลือดขาว

การตรวจนับจำนวนเซลล์เม็ดเลือดขาว ( White Blood Cell Count : WBC ) คือ จำนวนของเม็ดเลือดขาวทุกชนิดที่มีทั้งหมดในเลือดในขณะที่ทำการตรวจ

ค่าผลเลือดปกติของเซลล์เม็ดเลือดขาว คือ

ค่ามาตรฐานของเซลล์เม็ดเลือดขาว ( ค่า WBC ) ที่สภาวะปกติ คือ ประมาณ 4,500-10,000 cell/ml ( cells/mm3 )
  • ถ้าค่าจำนวนเซลล์เม็ดเลือดขาวมีค่าต่ำกว่ามาตรฐาน แสดงว่า ร่างกายอยู่ใน สภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ ( Leukopenia ) อาจเกิดจากภาวะติดเชื้อไวรัสหรือเชื้อแบคทีเรีย ความผิดปกติของไขกระดูก ภาวะแพ้ภูมิตัวเอง
  • ถ้าค่าจำนวนเซลล์เม็ดเลือดขาวมีค่าสูงกว่ามาตรฐาน แสดงว่า ร่างกายอยู่ใน สภาวะเม็ดเลือดขาวสูง ( Leukocytosis ) ซึ่งมีสาเหตุมาจากการอักเสบหรือติดเชื้อภายในร่างกายทำให้ร่างกายสร้างเม็ดเลือดขาวเพื่อมาจัดการกับเชื้อโรคหรือไขกระดูกมีความผิดปกติ ( Myeloproliferative Disorder ) ที่ส่งผลให้ไขกระดูกสร้างเซลล์เม็ดเลือดขาวมากขึ้นผิดปกติ เป็นต้น

ใบรายงานผลเลือด จำนวนของเม็ดเลือดขาวนั้น นอกจากจะรายงานเป็นผลรวมของเซลล์เม็ดเลือดขาวทั้งหมดที่ตรวจพบแล้ว ยังสามารถรายงานแยกเป็นจำนวนเม็ดเลือดขาวแต่ละชนิดได้ด้วย ซึ่งเรียกการรายงานผลแบบนี้ว่า White Blood Cell Differential ( WBC Differential )

ชนิดของเม็ดเลือดขาว

  1. นิวโทรฟิล ( Neotrophil : NEUT ) คือ เม็ดเลือดขาวที่มีพบอยู่ในเลือดมากที่สุด มีหน้าที่ต่อต้าน เชื้อรา ( Fungi ) และ เชื้อแบคทีเรีย ( Bacteria ) จากภายนอกที่เข้ามาในร่างกาย นิวโทรฟิลเป็นเม็ดเลือดขาวด่านแรกมีหน้าที่ดักจับเชื้อโรค เมื่อนิวโทรฟิลตายจะกลายเป็น น้ำหนอง ( Pus ) ค่าของนิวโทรฟิลจะอยู่ที่ประมาณ 2,000 cells/ml หรือประมาณ 40-80% ค่าของนิวโทรฟิลจะมีค่าสูงเมื่อร่างกายของผู้ตรวจสุขภาพอยู่ในสภาวะติดเชื้อ
  2. ลิมโฟไซต์ ( Lymphocytes : LYMP ) คือ เซลล์เม็ดเลือดขาวที่ทำหน้าที่ในการต่อต้าน เชื้อไวรัส ( Virus ) ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ
    • T Cell มีหน้าที่ในการกำจัดเชื้อโรค
    • B Cell มีหน้าที่ในการสร้าง Antibody เพื่อจับเชื้อโรคที่เข้ามาในร่างกาย
    • NK Cell มีหน้าที่ในการกำจัดเซลล์ที่เกิดการติดเชื้อการอ่านค่าผลเลือดโดยรวมของเซลล์ทั้ง 3 ชนิด จะมีค่าประมาณ 20-40% หรือประมาณ 1,000-3,000 cells/ml ค่าลิมโฟไซต์จะมีค่าสูงเมื่อมีการติดเชื้อไวรัสอย่างเฉียบพลัน เช่น การติดเชื้ออีสุกอีใส การติดเชื้อหัด การติดเชื้อวัณโรค เป็นต้น
  3. โมโนไซต์ ( Monocyte : MONO ) คือ เซลล์เม็ดเลือดขาวที่ทำหน้าที่จับกินเชื้อโรคและจดจำลักษณะของเชื้อโรคที่เข้ามาในร่างกาย เซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดนี้จะพบได้เล็กน้อยในกระแสเลือด การตรวจจะมีค่ามาตรฐานประมาณ 2-10 % หรือประมาณ 200-1,000 cell/ml ซึ่งจะมีค่าสูงเมื่อผู้ตรวจสุขภาพอยู่ในระยะฟื้นตัวจากการติดเชื้อ
  4. อีโอซิโนฟิล ( Eosinophils : EOS ) คือ เซลล์เม็ดเลือดขาวที่ทำหน้าที่ในการต่อต้านพยาธิ อารอักเสบหรืออาการแพ้ต่างๆ โดยอีโอซิโนฟิลจะปล่อย เอ็นไซม์ ( Enzyme ) และสารเคมีกลุ่ม ไซโตไคน์ ( Cytokine ) มีค่ามาตรฐานประมาณ 1-6% หรือ 20-500 cell/ml ซึ่งจะมีค่าสูงเมื่ออยู่ใน สภาวะภูมิแพ้ ( Allergy ) หรือสภาวะที่มีพยาธิอยู่ในร่างกาย
  5. เบโซฟิล ( Basophils ) คือ เซลล์เม็ดเลือดขาวที่มีหน้าที่เหมือนกับอีโอซิโนฟิล แต่เบโซฟิลจะปล่อย สารฮีสตามีน ( Histamine ) ซึ่งมีหน้าหน้าที่ในการก่อ ปฏิกิริยาภูมิแพ้ ( Anaphylaxis ) ซึ่งมีค่ามาตรฐานน้อยกว่า 1-2 % หรือ 20-1,000 cell / ml ซึ่งจะมีค่าสูงเมื่อเกิดอาการแพ้ เช่น การแพ้อาหาร ลมพิษ หรือการเกิดการอักเสบชนิดเรื้อรัง เช่น โรคลำไส้อักเสบ ข้ออักเสบรูมาตอยด์ เป็นต้น

1.4 ค่าเกร็ดเลือด

ค่าเกร็ดเลือด ( Platelet Count : PLT ) คือ จำนวนของเกร็ดเลือดหรือเม็ดเลือดที่มีขนาดเล็กที่สุดที่มีอยู่ในเลือด เกร็ดเลือดสร้างจากไขกระดูก เกร็ดเลือดจะมีอายุอยู่ประมาณ 8-9 วัน หลังจากที่เกร็ดเลือดหมดอายุจะถูกกำจัดโดยตับและม้าม เกร็ดเลือดมีหน้าที่ทำให้ เลือดแข็งตัว ( Blood Clotting ) ป้องกันไม่ให้ร่างกายสูญเสียเลือดมาก โดยเมื่อร่างกายเกิดบาดแผลหรือมีเลือดไหล เกร็ดเลือดจะมีการพองตัวและรวมตัวกันเป็นกลุ่มทำเลือดเป็นก้อนเหนียวในหลอดเลือด เพื่อป้องกันไม่ให้เลือดไหลออกจากหลอดเลือดเป็นการหยุดการไหลของเลือดนั่นเอง ค่าเกร็ดเลือดปกติมาตรฐานอยู่ที่ 130,000 – 400,000 cell/ml

  • ค่าเกร็ดเลือดต่ำ ( Thrombocytopenia ) คือ มีค่าเกร็ดเลือดต่ำกว่า 100,000 cell/ml จะส่งผลให้เลือดหยุดไหลช้าเมื่อเกิดบาดแผล และมีการเกิด จุดเลือดออก ( Petechia ) ขึ้นตามผิวหนัง
  • ค่าเกร็ดเลือดสูง ( Thrombocytosis ) คือ มีค่าเกร็ดเลือดมากกว่า 400,000 cell/ml จะส่งผลให้เลือดจะแข็งตัวเร็วกว่าปกติ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เลือดมีการแข็งตัวในหลอดเลือดจนเกิดการอุดตันของหลอดเลือด

ตัวอย่างตารางผลตรวจเลือด

ตารางผลเลือด
ค่าเกร็ดเลือดนอกจากจะรายงานในรูปแบบของ Platelet Count แล้วยังมีการรายงานในผลของเกร็ดเลือดในแบบ Platelet morphology คือ การตรวจดูจำนวน ขนาดและรูปร่างของเกร็ดเลือดโดยละเอียด ว่ามีการจับตัวเป็นกลุ่ม ( Clumping ) หรือไม่ เพราะว่าถ้าเกร็ดเลือดมีการจับตัวเป็นกลุ่มอาจจะทำให้มีความเสี่ยงในการแข็งตัวของเลือดได้ ซึ่งการรายงานผลจะแจ้งว่าเพียงพอหรือไม่เพียงพอต่อร่างกาย ซึ่งจะรายงานคู่กับกับการรายงานแบบ Platelet Count เสมอ

ผลตรวจเลือด คือ หนึ่งในขั้นตอนการตรวจสุขภาพเพื่อตรวจสอบค่าต่าง ๆ ที่อยู่ในเลือดของผู้ที่เข้ารับการตรวจ

2. กรุ๊ปเลือด

กรุ๊ปเลือด - ผลตรวจเลือดบอกอะไรได้บ้าง เจาะลึกค่าเลือดและการแปลผลแลปกรุ๊ปเลือด ( Blood Group ) คือ การบ่งบอกว่าเลือดอยู่ในหมู่เลือดใด ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ

2.1 ระบบ ABO System

ระบบ ABO System คือ ระบบที่นิยมนำมารายงานผลของกรุ๊ปเลือดโดยทั่วไป โดยจะระบุว่าเลือดของผู้เข้ารับการตรวจเลือดอยู่ในกลุ่มใด ซึ่งกลุ่มเลือดจะแบ่งออกเป็น 4 กรุ๊ป คือ กรุ๊ป A กรุ๊ป B กรุ๊ป O และกรุ๊ป AB

2.2 ระบบ Rh system

ระบบ Rh system คือ การระบุหมู่เลือดตาม Antigen บนเม็ดเลือด

ระบบ Rh จะมีอยู่ 2 หมู่ คือ

– Rh+ve หรือ +ve คือ เม็ดเลือดแดงที่มี Rh ( Rhesus ) Antigen ซึ่งคนไทยส่วนมากจะมีกลุ่มเลือดอยู่ในกลุ่มเลือดนี้
– Rh-ve หรือ –ve คือ เม็ดเลือดแดงที่ไม่มี Rh ( Rhesus ) Antigen ซึ่งคนที่มีเลือดในกลุ่มนี้จะพบได้ไม่มากนักในคนไทย

3. ระดับน้ำตาลในเลือด

ระดับน้ำตาลในเลือดระดับน้ำตาลในเลือด ( Fasting Blood Sugar ) คือ การตรวจวัดระดับ น้ำตาลกลูโคส ( Glucose ) ในเลือด สำหรับการเลือดเพื่อคัดกรองว่ามีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานหรือไม่ ในการตรวจนี้ผู้ตรวจควรงดน้ำ และงดอาหารก่อนการตรวจอย่างน้อย 8-10 ชั่วโมง เพื่อให้ที่ค่าที่ตรวจได้มีความแม่นยำ โดยค่าเลือดปกติของระดับน้ำตาลในเลือดจะอยู่ที่ 75-110 mg/dl

การอ่านค่าระดับน้ำตาลในเลือดตามมาตรฐาน มีดังนี้

  • ระดับน้ำตาลมีค่ามากกว่า 110 – 140 mg/dl คือ ผู้ที่มีความเสี่ยงหรือมีแนวโน้มที่จะมีอาการของโรคเบาหวาน
  • ระดับน้ำตาลมีค่ามากกว่า 140 – 200 mg/dl คือ ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานในระยะเริ่มต้น
  • ระดับน้ำตาลมีค่ามากกว่า 200 mg/dl คือ ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานและต้องได้รับการรักษาจากแพทย์

4. การตรวจระดับไขมันในเลือด

การตรวจระดับไขมันในเลือดการตรวจระดับไขมันในเลือด คือ การวัดค่าของไขมันที่มีอยู่ในเลือด การตรวจนี้ก็เพื่อที่ต้องการทราบถึงค่าปริมาณของไขมันที่มีอยู่ในเลือดว่าไขมันชนิดไหนมีปริมาณเท่าไหร่บ้าง ซึ่งการรู้ว่าในเลือดมีไขมันชนิดดีหรือไม่ดีในปริมาณเท่าไหร่จะทำให้ผู้เข้ารับการตรวจ สนใจดูแลเรื่องอาหารและการออกกำลังกายมากขึ้นเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคในอนาคตได้ ซึ่งการตรวจจะมีการตรวจไขมัน 4 ชนิด ดังนี้

  1. คอเรสเตอรอลรวม ( Total Cholesterol : TC ) เป็นการวัดปริมาณ คอเลสเตอรรอล ทั้ง คอเลสเตอรอลชนิดดี และ คอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี ที่มีอยู่ในกระแสเลือด ซึ่งค่าเลือดปกติของคอเลสเตอรอลควรมีค่าไม่เกิน 200 mg / dl
  2. ไตรกลีเซอรไรด์ ( Triglyceride ) คือ ไขมันที่ได้จากการสังเคราะห์ในร่างกายและการรับประทานอาหารที่มีไขมันเข้าไป ไตรกลีเซอไรด์จะมีการเปลี่ยนไปเป็นไขมันที่สะสมอยู่ในร่างกาย ถ้าไตรกลีเซอไรด์มีค่าสูง แสดงว่าร่างกายมีการสะสมของไขมันเพิ่มมากขึ้น มีความเสี่ยงในการเป็น โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันอุดตัน หลอดเลือดแข็งตัว เมื่อมีการสะสมมากจะทำให้เกิด ภาวะอ้วน ซึ่งเป็นต้นเหตุของโรคอื่น ๆ ตามมา ค่าเลือดปกติของไตรกลีเซอไรด์ควรมีค่าไม่เกิน 150 mg/dl
  3. ไขมันชนิดดี ( High Density Lipoprotein : HDL ) คือ ไขมันดีที่ตับสังเคราะห์ขึ้นมา ซึ่งค่าเลือดปกติควรมีค่า HDL ไม่ต่ำกว่า 40 mg/dl จึงจะอยู่ในสภาวะที่เหมาะสม เพราะว่า HDL มีหน้าที่ป้องกันและลดความเสี่ยงในการเกิดโรคที่เกี่ยวกับหลอดเลือดและหัวใจ
  4. ไขมันชนิดเลว ( Low Density Lipoprotein : LDL ) คือ ไขมันชนิดไม่ดี ซึ่งไขมันชนิดนี้มาได้จากการรับประทานเข้าไปและการสังเคราะห์ที่ตับ LDL สามารถเข้าไปสะสมอยู่ตามอวัยวะต่าง ๆ กลายเป็นไขมันส่วนเกิน และสามารถสะสมอยู่ตามผนังหลอดเลือดทำให้หลอดเลือดตีบหรืออุดตันได้ ซี่งเป็นสาเหตุหลักของการเกิดโรคหลอดเลือดและหัวใจ ค่าเลือดปกติภายในร่างกายควรมี LDL ไม่เกิน 100 mg/dl เพราะถ้าเกินกว่านี้ร่างกายจะเกิดการสะสมไม่สามารถกำจัดหรือใช้งานได้หมด

การที่จะให้ผลการตรวจมีความแม่นยำมากที่สุด ผู้ตรวจควรอดน้ำ อดอาหารอย่างน้อย 8-10 ชั่วโมงก่อนทำการเจาะเลือดเพื่อนำไปตรวจ

หลังการตรวจเลือดผู้เข้ารับการตรวจจะได้รับตารางรายงานผลค่าผลเลือดต่าง ๆ ซึ่งในตารางผลการตรวจจะมีการระบุค่าเลือดปกติไว้ด้านหลังค่าของผู้เข้ารับการตรวจด้วย โดยค่าเลือดปกติจะเป็นค่ามาตรฐานที่จะมีค่าไม่เท่ากันทุกคน ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นด้วย เช่น อายุ เพศ ความสูง น้ำหนัก เป็นต้น ซึ่งเมื่อผลการตรวจออกมาแล้ว เราควรทำความเข้าใจและดูค่าโดยรวมว่ามีค่าผลเลือดใดเกินค่าเลือดปกติบ้าง และถ้ามีข้อสงสัยหรือมีความกังวลว่าจะเป็นโรคใดหรือไม่ ผู้เข้ารับการตรวจควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญหรือแพทย์เพื่อทำการตรวจวิเคราะห์อีกครั้งถึงจะสามารถสรุปได้ว่าท่านเป็นโรคจริงหรือไม่ และเมื่อทราบค่าผลตรวจเลือดแล้วพบว่าเรามีความเสี่ยงในด้านใด เราควรใส่ใจเลือกอาหารให้เหมาะสมกับสภาวะร่างกายของเรา เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคร้ายแรงต่อไป

ร่วมตอบคำถามกับเรา

1570093786937 - ผลตรวจเลือดบอกอะไรได้บ้าง เจาะลึกค่าเลือดและการแปลผลแลป

แสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม

[contact-form-7 id=”19480″ title=”แสดงความคิดเห็น”]

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

ประสาร เปรมะสกุล, พลเอก. คู่มือแปลผลตรวจเลือด เล่มสอง. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์, 2554. 416 หน้า. 1. เลือด – การตรวจ I.ชื่อเรื่อง. 616.07561 ISBN 978-974-9608-49-4.