Home Blog Page 146

โรคอัลไซเมอร์ ( Alzheimer’s Disease )

0
โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s Disease)
โรคอัลไซเมอร์ เกิดจากการตายของเซลล์สมอง ทำให้การทำงานของสมองเสื่อมลง จนกระทั่งส่งผลกระทบต่อกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วย
โรคอัลไซเมอร์ ( Alzheimer’s Disease )
โรคอัลไซเมอร์ เกิดจากการตายของเซลล์สมอง ทำให้การทำงานของสมองเสื่อมลง จนกระทั่งส่งผลกระทบต่อกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วย

โรคอัลไซเมอร์ ( Alzheimer’s Disease )

อัลไซเมอร์ หรือโรคอัลไซเมอร์ เป็นสาเหตุของภาวะสมองเสื่อมส่งผลโดยตรงต่อสมองส่วนควบคุมควมทรงจำ ความคิด อารมณ์ โรคอัลไซเมอร์จะพบมากในผู้สูงอายุ โดยแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทตามสาเหตุ ได้แก่
1.ภาวะสมองเสื่อมที่รักษาให้หายขาดได้ 2.ภาวะสมองเสื่อมที่รักษาไม่หายขาด

โรคอัลไซเมอร์จะพบว่าผู้ป่วยส่วนมากที่เป็นโรคอัลไซเมอร์จะเป็นโรคสมองเสื่อมด้วย จากอายุเฉลี่ยของคนไทยจากอดีตถึงปัจจุบัน พบว่า คนไทยมีอายุเฉลี่ยสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี ตามข้อมูลในระหว่างปี พ.ศ. 254-2556 ชี้ให้เห็นว่า อัลไซเมอร์จะเกิดในคนอายุเฉลี่ยของคนไทยเพิ่มขึ้นมากกว่า 3 ปี เมื่อดูข้อมูลเฉพาะปี พ.ศ. 2556 จะพบว่า เพศหญิงมีอายุเฉลี่ยสูงถึง 78 ปี ส่วนผู้ชายมีอายุเฉลี่ยถึงจะน้อยกว่าผู้หญิงแต่ก็สูงถึง 71 ปี ซึ่งอายุที่เพิ่มขึ้น ส่งผลมาจากการพัฒนาทางด้านการแพทย์และสาธารณสุข มีความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีในการรักษาและการดูแลสุขภาพ และคนไทยในปัจจุบนเมื่อเทียบกับคนสมัยก่อน มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ใช้ชีวิตถูกสุขลักษณะมากขึ้นกว่าคนสมัยก่อน แต่เมื่อเทียบกับคนต่างชาติแล้ว คนไทยยังมีอายุเฉลี่ยน้อยกว่าคนต่างชาติ ซึ่งสอดคล้องกับจำนวนผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ที่คนไทยพบน้อยกว่าคนต่างชาติเช่นกัน

เมื่อดูสัดส่วนการเป็นผู้ป่วยที่เป็นโรคสมองเสื่อม กับการเป็นโรคอัลไซเมอร์ ของคนไทยกับคนต่างชาติ จากผลการวิจัยพบว่า ผู้สูงอายุคนไทยจำนวน 10 ที่เป็นโรคสมองเสื่อม จะเป็นโรคอัลไซเมอร์ จำนวน 5-6 คน ส่วนผู้สูงอายุชาวต่างชาติที่เป็นโรคสมองเสื่อม จำนวน 10 คน เป็นโรคอัลไซเมอร์สูงถึง 8 คน ถือว่ามีเปอร์เซ็นสูงมากจนน่าตกใจ และนอกจากนี้ยังมีข้อมูลทางสถิติว่า คนไทยที่เป็นโรคอัลไซเมอร์มักจะมีโรคหลอดเลือดในสมองมากกว่าชาวต่างชาติที่เป็นโรคอัลไซเมอร์ สูงถึงร้อยละ 30-70 ของคนที่มีปัญหาหลอดเหลือดแดงที่ไปเลี้ยงสมองตีบตัน

ความจำ ปัญหาหนักของโรคอัลไซเมอร์

อาการอัลไซเมอร์หรือความจำเสื่อมหรือหลงๆลืมๆ จำอะไรไม่ค่อยได้ เป็นอาการที่พบในคนที่เป็นโรคอัลไซเมอร์ ซึ่งผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์จะมีอาการความจำระยะสั้นหาย อาการอัลไซเมอร์จะจำสภาพแวดล้อมตัวเองอยู่ไม่ได้ จึงมักจะได้ยินได้เห็นข่าวที่ตามหาผู้สูงอายุที่ออกจากบ้านไปแล้วหาทางกลับไม่ถูก เมื่อมีคนถามว่าบ้านอยู่ไหนก็จะตอบไม่ถูก ซึ่งเราจะพบว่า ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์มักจะถามคำถามซ้ำๆเดิมๆบ่อยๆ แต่ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์จะจำเรื่องราวในอดีตได้ จึงมักจะพูดถึงแต่เรื่องในอดีต เช่น สมัยเรียนชั้นประถม เรียนที่ไหน ความประทับใจมีอะไรบ้าง สามารถเล่าออกมาได้ ที่เป็นเช่นนั้น เพราะว่า ความทรงจำเก่าๆในอดีตได้ฝังรากลึกลงในสมองหลายส่วนก็เลยทำให้ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์สามารถจำเรื่องราวในอดีตได้

ในการทดสอบผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ในความจำใหม่ๆที่ป้อนเข้าไปจะพบว่าผู้ป่วยไม่สามารถจำความจำใหม่ๆได้ เช่น ทดสอบให้ผู้ป่วยอ่านคำ 5 คำ แล้วให้จำเอาไว้ ให้ท่องและพูดตาม หลังจากนั้นก็ไปทดสอบเรื่องอื่นต่อ เช่น ให้ ดูรูปภาพ บรรยายรูป ให้แปลสุภาษิต ให้บวก ลบ คูณ หาร จากนั้นสักพักกลับมาย้อนถามเรื่องคำ 5 คำที่ให้ท่องไว้ ว่ามีคำอะไรบ้าง และมีตัวช่วยเพื่อให้ผู้ป่วยจำได้ แต่ปรากฏว่าผู้ป่วยจำไม่ได้ นั่นคือ อาการของโรคอัลไซเมอร์
มีการค้นพบถึงสาเหตุของความจำระยะสั้นของผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ พบว่าสาเหตุเพราะสมองส่วนกลีบขมับด้านใกล้กลาง ( Medial Temporal Lobe ) มีผลเกี่ยวกับความจำใหม่ หรือความจำระยะสั้น ที่ต้องจดจำนั้นมีพยาธิสภาพฝ่อลงจึงทำให้สูญเสียความจำระยะสั้น หรือความจำใหม่ไป ดังนั้นผู้ที่อยู่ดูแลจึงควรเข้าใจและอย่าไปโมโหหรือโกรธเวลาผู้ป่วยหลงลืมหรือจำอะไรไม่ถึงแม้เราจะบอกซ้ำๆแล้วก็ตาม

สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคอัลไซเมอร์

ผู้ป่วยที่เป็นโรคอัลไซเมอร์มีพยาธิกำเนิดมาจากหลายสาเหตุด้วยกัน ส่วนที่เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคอัลไซเมอร์ พบว่า สารแอมีลอยด์ ( Amyoid ) และโปรตีนที่เรียกว่า เทา ( Tau ) ซึ่งทั้งสองตัวนี้ทำหน้าที่คล้ายกันกับนั่งร้านของเซลล์ ถ้าหากว่านั่งร้านของเซลล์เกิดความผิดปกติ จะทำให้เซลล์สมองฝ่อลง ทำให้ความจำเสื่อม
สารแอมีลอยด์จะกลายเป็นสิ่งแปลกปลอมทันทีเมื่อยู่นอกเซลล์ ทำให้สมองเกิดการอักเสบและบวมในเนื้อสมอง พอสมองเกิดการอักเสบเซลล์เกลีย ( Glia ) จะเข้ามาทำลายหรือขจัดสารแอมีลอยด์ออกไป เม็ดเลือดขาวก็จะเข้ามาแทน ทำให้เกิดปฏิกิริยา และ การหลั่งสารหลั่งในสมองที่ชี้ว่าเป็นอาการสมองอักเสบ ( Inflammation ) เช่น สารอินเทอร์ลิวคิน ( Interleukins )

มาทำความรู้จักสารแอมีลอยด์ให้มากขึ้น

สารแอมีลอยด์จะมี 2 ระยะ คือ ระยะที่ละลายได้ กับ ระยะที่ตกผลึก ซึ่งสารแอมีลอยด์นี้ถือว่าเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการอักเสบและทำลายเซลล์สมอง และสารแอมีลอยด์ยังเป็นตัวบ่งบอกทางชีวภาพ Biomarker ว่า มีความสัมพันธ์เกี่ยวกับการเกิดโรคอัลไซเมอร์ เป็นตัวช่วยวินิจฉัยโรคโดยที่ไม่ต้องรอให้ผู้ป่วยเสียชีวิต โดยการนำน้ำไขสันหลังของผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์มาตรวจดูว่าสารแอมีนอยด์และโปรตีนเทา มีความผิดปกติมากหรือไม่ ซึ่งวิธีนี้ถือว่าช่วยให้แพทย์คัดกรองผู้ป่วยที่เป็นโรคอัลซัลเมอร์กับคนปกติได้อย่างชัดเจน ทำให้สะดวกและง่ายต่อการรักษาอาการต่างๆ ที่มาเกี่ยวพันธ์กับผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ได้ด้วย ซึ่งตัวชี้วัดทางชีวภาพนี้ แสดงอกมาทางภาพถ่ายรังสีภาพถ่ายคลื่นไฟฟ้า ที่เราเคยเห็นกัน คือ การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ภาพสมองดูสภาพของสมองว่าฝ่อ หรือเหี่ยว หรือทรุดโทรมไปแค่ไหน และดูการทำงานของสมองว่ามีการทำงานผิดปกติหรือไม่ หรือจะใช้การเอกซเรย์เพื่อดูสารแอมีนอยด์เฉพาะพิเศษ โดยการตรวจ Positron Emission Tomography Scan ( PET Scan ) หรือที่คนทั่วไปเรียกว่า ตรวจเอกซเรย์ในอุโมงค์ ซึ่งเป็นตัวบ่งบอกได้ว่าเป็นโรคอัลไซเมอร์จริงหรือไม่ 

โรคอัลไซเมอร์กับการรับรู้มิติสัมพันธ์และการใช้ภาษาบกพร่อง

นอกจากเรื่อง ความจำแล้วที่บ่งบอกว่าเป็นผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ ยังมีอาการเด่นอีกอย่างหนึ่ง คือ การรับรู้มิติสัมพันธ์และการใช้ภาษาบกพร่อง หรือ ภาษาผิดเพี้ยน เช่น เราจะสังเกตว่าผู้ป่วยที่เป็นโรคอัลไซเมอร์มักจะเรียกชื่อสิ่งของ หรือวัตถุต่างๆไม่ถูกต้อง เมื่อผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์มีอาการรับรู้มิติสัมพันธ์บกพร่อง หรือ ผิดเพี้ยน ถึงขั้นระดับรุนแรง จะทำให้ผู้ป่วยเดินหลงทาง หากมีญาติที่เป็นโรคอัลไซเมอร์ระดับรุนแรง ต้องคอยเฝ้าดูผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด เพราะหากปล่อยให้อยู่คนเดียวอาจเดินหลงไปทางอื่นจนเกิดอันตรายได้

ผู้ป่วยที่เป็นโรคอัลไซเมอร์มักจะเรียกชื่อสิ่งของหรือวัตถุต่างๆไม่ถูกต้อง มีอาการรับรู้มิติสัมพันธ์บกพร่องหรือผิดเพี้ยน ถึงขั้นระดับรุนแรง จะทำให้ผู้ป่วยเดินหลงทาง

เมื่อผู้ป่วยโรคอัลซัลเมอร์มีอาการรับรู้มิติสัมพันธ์บกพร่องหรือผิดเพี้ยนในระดับที่ไม่รุนแรง ผู้ป่วยยังสามารถอยู่บ้านได้ยังไม่หลง แต่จะเกิดอาการสับสน จำผิดจำถูกว่าตัวเองอยู่ที่ไหน เป็นพักๆ เมื่อนอนหลับแล้วตืนขึ้นมา จะไม่รู้ว่าตัวเองอยู่ที่ไหน ดังนั้น ผู้ที่ดูแลต้องจัดบ้านให้อยู่ในสภาพเดิมตลอด อย่าปรับเปลี่ยน เช่น เคยวางรูปภาพ แจกัน นาฬิกา ก็วางตรงนั้น เพื่อให้ผู้ป่วยอยู่สภาพคุ้นชินกับสภาพแวดล้อม ทำให้ผู้ป่วยดำรงชีวิตได้ ไม่หงุดหงิด ไม่ฟุ้งซ่าน จนเกิดอาการจิตตามมา แต่หากมีการรับรู้มิติสัมพันธ์บกพร่องระดับรุนแรง จะเรียกสิ่งที่อยากได้ไม่ถูก ไม่รู้เรียกว่าอะไร หรือบางรายจะชอบเก็บข้าวของเก่าๆไว้ แล้วก็เกิดอาการหวงของ ซึ่งอาการเหล่านี้เป็นอาการและพฤติกรรมของผู้ป่วยที่เป็นอัลไซเมอร์

ระดับความรุนแรงของผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์

ขั้นเริ่มต้น ผู้ป่วยที่เป็นโรคอัลไซเมอร์จะมีความผิดปกติด้านอารมณ์ คือ จะมีอาการเฉยชา นิ่งเฉย และจะค่อยๆซึมเศร้า แต่อาการซึมเศร้าของผู้ป่วยอัลไซเมอร์จะไม่ได้แสดงออกว่าเสียใจ หรือท้อแท้หมดหวัง แต่แค่นั่งนิ่งๆ เฉยๆ ไม่อยากทำอะไร ไม่อยากขยับตัว ไม่อยากกิน อยากอยู่เฉยๆ     

ระดับกลาง ผู้ป่วยที่เป็นโรคอัลไซเมอร์จะมีอาการเริ่มรุนแรงมากขึ้น คือ จะเห็นภาพหลอน เห็นคนเสียชีวิตไปแล้ว หรือคนที่รู้จักสมัยก่อนมาเยี่ยม ซึ่งคนเหล่านี้จะเป็นคนที่มีความผูกพัน เช่น สามี ภรรยา หรือบางรายมักจะคิดว่ามีคนมาขโมยของ หรือบางรายถึงขั้นคิดว่าบ้านที่ตัวเองอยู่ไม่ใช่บ้านของตัวเอง แต่ก็ไม่รู้ว่าของตัวเองอยู่ตรงไหน

ระดับสูง ผู้ป่วยมีอาการหนักจะจดจำเรื่องราวอะไรไม่ได้ ถึงขนาดจำสามีของตัวเองไม่ได้และไม่รู้ว่าคนที่เป็นสามีอยู่ตรงหน้านี้เป็นใคร ถ้าผู้ป่วยมีอาการถึงขั้นนี้ต้องใช้อดทนและความเอาใจในการดูและเป็นพิเศษ การเข้าไปช่วยเหลือหรือดูแลผู้ป่วยที่เป็นอัลไซเมอร์ บางครั้งผู้ป่วยจะไม่เข้าใจ เช่น การอาบน้ำ แต่งตัว หรือทำธุระส่วนตัวต่างๆ ผู้ป่วยจะไม่ชอบให้ผู้ดูแลเข้าไปยุ่ง ซึ่งก็น่าแปลกว่าที่ผู้ป่วยยังรู้ว่ามันเป็นธุระส่วนตัว ไม่ต้องการให้ใครมายุ่ง อัลไซเมอร์จะแสดงอาการออกทันที จึงมักแสดงอาการก้าวร้าวออกมา ส่วนผู้ป่วยบางรายหากดูแลไม่ดี ก็มักจะมีอาการเดินไปอย่างไม่มีจุดหมายปลายทาง ทำให้หลงทางอยู่บ่อยๆ การดูแลญาติๆควรพยายามเล่าเรื่องในอดีตให้ฟัง เพื่อรื้อฟื้นความจำเก่าๆ เช่น สถานที่ เพื่อนสมัยเรียน ละคร ดาราสมัยก่อน แต่อย่าเล่าเรื่องใหม่ๆ เพราะผู้ป่วยจะสับสนจนตามไม่ทัน

โรคอัลไซเมอร์ในวัยหนุ่มสาวหรือวัยกลางคน

เชื่อไหมว่าผู้ป่วยอัลไซเมอร์ในวัยหนุ่มสาวหรือวัยกลางคน มีมากถึงร้อยละ 10 ถือว่าเป็นตัวเลขที่สูงพอสมควร เป็นอาการที่เรียกว่าสมองเสื่อมก่อนวัย ( Early Onset Dementia ) ส่วนมากคนที่เป็นโรคอัลไซเมอร์ตั้งแต่วัยหนุ่มสาวจะมีประวัติว่าคนในครอบครัวหรือญาติเคยเป็นอัลไซเมอร์ ซึ่งมักจะมีอาการอื่นๆร่วมด้วย เช่น อาการชัก ร่างกายอ่อนแรงครึ่งซีก หรือขาสองข้างอ่อนแรง อาการจะแตกต่างจากผู้สูงอายุที่เป็นโรคอัลไซเมอร์
โรคอัลไซเมอร์ของวัยหนุ่มสาวมักแสดงอาการเร็วกว่าวัยผู้สูงอายุ โดยนับตั้งแต่อาการเริ่มต้นที่เป็นอัลไซเมอร์ จนถึงอาการหลงลืม เดินหลงทาง ผู้สูงอายุจะใช้เวลาถึง 7 ปี แต่ในวัยหนุ่มสาวจะใช้เวลาแค่ 3 ปี สาเหตุที่เป็นแบบนี้เกิดจาก มีสารพันธุกรรมผิดปกติอยู่ในตัว ทำให้วัยหนุ่มสาวหรือวัยกลางคนมีสารแอมีลอยด์ในอัตราสูง ซึ่งผู้ป่วยกลุ่มนี้จะเสียชีวิตเร็วกว่า

โรคอัลไซเมอร์ที่เกิดจากการติดเชื้อ

ผู้ป่วยโรคนี้ลักษณะการเสียชีวิตจะเกิดจากการติดเชื้อ เพราะว่าในระยะสุดท้าย ผู้ป่วยมักจะขยับตัวไม่ได้หรือขยับตัวลำบาก เนื่องจากสมองไม่ทำงานและไม่สั่งการ ทำให้พูดไม่ได้ ทำอะไรไม่ได้ ทำได้เพียงแค่นอนลืมตาเฉยๆ เวลาป้อนอาการจึงทำให้สำลักอาหารบ่อยๆ และติดเชื้อทางเดินอาหาร ทางเดินหายใจ ระบบปัสสาวะ หรือเกิดแผลกดทับ ซึ่งกลุ่มผู้ป่วยร้อยละ 10 จะมีอาการชัก และเสียชีวิตจากการติดเชื้อ การเสียชีวิตของผู้ป่วยอัลไซเมอร์ ยังมีจากสาเหตุอื่นได้เช่นกัน เช่น โรคมะเร็ง โรคหัวใจ โรคเบาหวานจนไตวาย เพราะในปัจจุบันการรักษาโรคอัลไซเมอร์สามารถชะลอการเดินทางของโรคทำให้อยู่ได้นานขึ้น ไม่ใช่แค่รักษาอาการ จนมีโรคแทรกซ้อนเข้ามา และเสียชีวิตจากโรคแทรกซ้อน ก่อนที่จะเสียชีวิตจากโรคอัลไซเมอร์ 

https://www.youtube.com/watch?v=8Unm6uhreks

การรักษาโรคอัลไซเมอร์

ก่อนที่ผู้ป่วยจะเกิดอาการอัลไซเมอร์ระยะสุดท้าย ต้องรักษาอย่างทันท่วงที มีญาติของผู้ป่วยหลายคนพบว่า ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ เมื่อได้รักษาด้วยการรับยา จะรู้ว่าเหมือนยาอายุวัฒนะ เพราะผู้ป่วยจะมีอายุยืนยาว ทั้งที่ตอนแรกไม่คิดว่าจะอยู่ได้นาน เมื่อเทียบกับญาติอีกคนที่ไม่ได้เป็นโรคอัลไซเมอร์กลับเสียชีวิตก่อนด้วยโรคอื่น แต่ในปัจจุบันข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ยังไม่ยอมรับว่า ผู้ป่วยที่เป็นโรคอัลไซเมอร์จะอายุยืนเพราะยารักษาอัลไซเมอร์เพียงอย่างเดียว เมื่อเทียบกับผู้ป่วยที่ไม่กินยา แต่ผู้ป่วยที่ไม่กินยารักษา จะมีอาการรุนแรง คือ ก้าวร้าว หลงผิด เอะอะโวยวาย มากกว่าผู้ป่วยที่กินยา ซึ่งต่อมาก็มักจะมีอาการแทรกซ้อน จนเป็นสาเหตุทำให้เสียชีวิต

ดังนั้น สำหรับการดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้ ที่อาการยังไม่รุนแรงมาก ให้ผู้ป่วยทำกิจกรรมบ่อย ฝึกลับสมองบ่อย เพื่อให้สมองมีความคิดสร้างสรรค์ เช่น การออกกำลังกาย ฝึกคิด ฝึกเขียน ฝึกจำสิ่งของ อย่างน้อย วันละ 120 นาทีต่อสัปดาห์ และพยายามควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่างที่จะทำให้เกิดโรคแทรกซ้อน เช่น โรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง และไม่ควรปล่อยให้ผู้ป่วยสูบบุหรี่ หรือดื่มแอลกอฮอล์ ช่วยปรับพฤติกรรมในการรับประทานอาหารโดยการกินอาหารเพื่อสุขภาพ ก็จะช่วยทำให้อาการชะลอในการเป็นอัลไซเมอร์ หรือสมองเสื่อมได้

การรักษาโรคอัลไซเมอร์โดยการใช้ยา

ยาที่ใช้รักษาโรคอัลไซเมอร์ ยังไม่ได้อยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติ แต่เป็นกลุ่มยามาตรฐาน เพราะว่ายามีราคาสูง และใช้กับผู้ป่วยที่เป็นโรคอัลไซเมอร์บางกลุ่มเท่านั้น ซึ่งยารักษาโรคอัลไซเมอร์นี้เป็นยาในกลุ่มต้าน Acetylcholinestesterase ใช้ในผู้ป่วยที่อาการไม่รุนแรงไปจนถึงระยะที่รุนแรงและยังมียาในกลุ่มต้านตัวรับสารสื่อประสาท NMDA ซึ่งเป็นยาที่ใช้ในการป้องกันไม่ให้เซลล์แตกสลาย และยังช่วยป้องกันกระบวนการตายของเซลล์ ( Apoptosis ) ไม่ให้มีแคลเซียมซึมเข้าไปในเซลล์สมอง ยากลุ่มนี้จะนำมาใช้กับผู้ป่วยระยะกลางกับระยะรุนแรง

การรักษาโรคอัลไซเมอร์แบบไม่ใช้ยา

ในกลุ่มผู้ป่วยที่เป็นโรคอัลไซเมอร์ แต่ไม่อยากใช้ยาในการรักษา ควรให้ผู้ป่วยได้ฝึกสมองในหลายๆด้าน เช่น การฝึกทักษะในการเตือนความจำ เกี่ยวกับ เวลา สถานที่ การเต้นรำ เล่นหมากรุก หมากฮอส หรือให้เล่นเกมต่างๆที่ต้องใช้ความคิด ซึ่งวิธีเหล่านี้ต้องค่อยๆทำทีละน้อยแต่ทำทุกวัน ซึ่งต้องใช้เวลานานพอสมควร แต่ก็เป็นเรื่องที่ไม่ยากเกินไป ผู้ดูแลอย่าพยามยัดเยียดให้ผู้ป่วยเรียนรู้หรือฝึกทีละเยอะๆหรือนานต่อเนื่องจนเกินไป เพราะจะยิ่งทำให้เครียด ค่อยๆเป็นค่อยๆจะดีกว่า

การฟื้นฟูสภาพร่างของผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์

การฟื้นฟูร่างกายผู้ป่วยที่เป็นโรคอัลไซเมอร์ เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเดิน หรือเคลื่อนตัว ขยับตัวได้ โดยการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อและข้อต่อต่างๆ เพื่อไม่ให้ข้อติด และควรฝึกให้ผู้ป่วยบางรายที่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ช่วยในการเดิน เช่น ไม้เท้า คอกช่วยเดิน หรือรถเข็ญ ให้ผู้ป่วยได้ทำกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตัวเองอย่างอิสระและเกิดความปลอดภัย โดยการฝึกให้ลูกจากเตียงแล้วมานั่งที่เก้าอี้ ผู้ป่วยบางกลุ่มอาจจะต้องใช้วิธีธาราบำบัด คือ การดึงกล้ามเนื้อ การประคบร้อน ประคบเย็น การใช้เคลื่อนเสียง การกระตุ้นด้วยไฟฟ้า เพื่อทำให้กล้ามเนื้อทำงานได้ประสานกัน เพราะในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงมักมีปัญหาในการเคลื่อนไหว สิ่งสำคัญที่จะช่วยฟื้นฟูผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ ได้อีกอย่างก็คือ การดูแลสิ่งแวดล้อมภายในบ้าน ให้ผู้ป่วยได้ดำเนินชีวิตด้วยความปลอดภัย ปรับปรุงห้องนอนกับห้องน้ำให้อยู่ใกล้กัน หลีกเลี่ยงการใช้กลอนประตูแบบล็อกจากด้านใน เพราะหากผู้ป่วยเผลอล็อกอาจจะออกมาไม่ได้ และการช่วยเหลือก็จะลำบาก พื้นบ้านก็ควรเป็นพื้นเรียบ ระดับดับเดียวกัน เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยหกล้ม หรือการจัดวางสิ่งของควรวางอยู่จุดเดิม อย่าเปลี่ยนมุมบ่อย เพราะอาจจะทำให้ผู้ป่วยจดจำไม่ได้และจำไม่ได้ว่าตัวเองอยู่บ้าน ดังนั้น ผู้ดูแลควรมีความอดทน และเข้าใจอาการของผู้ป่วยอย่างมาก เพื่อที่จะอยู่ร่วมกันได้ และสามารถดูแลผู้ป่วยให้ใช้ชีวิตประจำวันโดยเกิดปัญหาน้อยที่สุด

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

วรพรรณ เสนาณรงค์. รู้ทันสมองเสื่อม / รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงวรพรรณ เสนาณรงค์: กรุงเทพฯ: อมรินทร์เฮลท์ อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2559. (22), 225 หน้า: (ชุดชีวิตและสุขภาพ ลำดับที่ 207) 1.สมอง. 2.สมอง–การป้องกันโรค. 3.โรคสมองเสื่อม. 4.โรคอัลไซเมอร์. 616.83 ว4ร7 ISBN 978-616-18-1556-1.

ขอคุณคลิปความรู้จาก : หมอปุ้ม พญ. สิรนาถ สุขภาพดี คุณมีได้

Luk KC, Kehm V, Lee VM, et al. (2012). Pathological alpha-synuclein transmission 
initiates Parkinson-like neurodegeneration in nontransgenic mice. Science. 338 : 949-953.

de Calignon A, Polydoro M, Suarez-Calvet M, et al. (2012). Propagation of tau pathology 
in a model of early AD. Neuron. 73(4) : 685-697.

ผลข้างเคียงจากการรักษาร่วมระหว่างการฉายรังสีและยาเคมีบำบัด

0
ผลกระทบจากการรักษาร่วมระหว่างการฉายรังสีและเคมีบำบัด
ผลข้างเคียงจากการรักษาร่วมระหว่างการฉายรังสีและยาเคมีบำบัด
ผลข้างเคียงในผู้ป่วยจากการรักษาร่วมระหว่างการฉายรังสีและยาเคมีบำบัด

ผลข้างเคียงในการรักษามะเร็งจากการฉายรังสีและการให้เคมีบำบัด

ผลข้างเคียงในผู้ป่วยที่เข้ารักการฉายรังสี และการให้เคมีบำบัด ผลข้างเคียงไม่ได้เกิดขึ้นกับผู้ป่วยมะเร็งทุกคน ดังนั้นผลข้างเคียงจะรุนแรงมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปัจจัยดังต่อไปนี้

1. เกิดกับอวัยวะเดียวกัน ความเจ็บปวดนี้เกิดเนื่องจากเคมีและรังสีที่ใช้ในการรักษาเข้าไปทำปฏิกิริยากับอวัยวะเดียวกัน แต่แคมีและรังสีนั้นไม่เกิดปฏิกิริยาใดๆกันทั้งสิ้น ส่งผลให้อวัยวะที่ได้รับผลกระทบจากทั้งเคมีและรังสีเกิดความเจ็บปวดที่รุนแรงและมีความเสี่ยงต่อการสูญเสียอวัยวะส่วนนั้น

2. เคมีบำบัดเสริมให้รังสีทำงานได้มากขึ้น ความเจ็บปวดกรณีนี้เกิดขึ้นเมื่อร่างกายได้รับการฉายรังสีเข้าไป แล้วมีการให้เคมีบำบัดเข้าไป ซึ่งเคมีบำบัดที่ได้รับเข้าไปนี้จะเข้าไปกระตุ้นการทำงานของรังสีที่ฉายเข้าให้สามารถทำงานได้มากขึ้น ส่งผลให้ความเสียหายของเนื้อเยื่อเป้าหมายที่ต้องการทำลายเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย จึงเกิดความเจ็บปวดเพิ่มขึ้นนั่นเอง

3. การทำงานร่วมกันของเคมีบำบัดและรังสี เป็นความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นเมื่อมีการรักษาด้วยการฉายรังสีและเคมีบำบัดพร้อมกันหรือต่อเนื่องกันทันที แต่ความเจ็บปวดนี้จะไม่เกิดขึ้นถ้าทำการรักษาด้วยเคมีบำบัดหรือฉายรังสีเพียงอย่างเดียว ซึ่งสันนิฐานว่าเคมีที่ใช้รักษากับรังสีทำปฏิกิริยาแบบเสริมกันส่งผลให้ความรุนแรงในการทำลายเซลล์เพิ่มมากขึ้น

4. รังสีช่วยให้เคมีบำบัดทำงานได้ดีขึ้น เป็นความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นเมื่อมีการรักษาด้วยการให้เคมีและมีการฉายรังสีเข้าไปด้วยเพื่อเข้าไปกระตุ้นให้เคมีสามารถทำงานได้ดีขึ้นในการทำลายเซลล์มะเร็ง

การรักษาโรคมะเร็ง

การรักษาโรคมะเร็ง เพื่อที่จะกำจัดมะเร็งทั้งชนิดที่เกิดขึ้นเฉพาะพื้นที่และมะเร็งชนิดที่แพร่กระจายให้หมดไปจากตัวผู้ป่วยอย่างสิ้นเชิง เพื่อที่ผู้ป่วยจะได้กลับไปใช้ชีวิตได้อย่างคนปกติทั่วไป ดังนั้นการรักษาด้วยการใช้เคมีบำบัดและการฉายรังสีจึงเป็นทางเลือกที่ดีสุดในปัจจุบันนี้ ยาเคมีบำบัดในอุดมคติที่ทั้งแพทย์ผู้รักษาและผู้ป่วยต้องการก็คือ  ยาที่สามารถทำลายเซลล์มะเร็งที่มีการแพร่กระจายได้อย่างสิ้นเชิงและเข้าไปช่วยเสริมประสิทธิภาพของการฉายรังสีให้สามารถทำลายเซลล์มะเร็งได้มากขึ้น แต่ในขณะเดียวกันรังสีที่ฉายก็ต้องทำลายเซลล์มะเร็งในส่วนที่ยาเคมีบำบัดไม่สามารถทำลายได้อย่างหมดสิ้น ปัจจุบันนี้การรักษาด้วยการฉายรังสีและเคมีบำบัดเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดก็ตาม แต่ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการรักษาด้วยสองวิธีนี้ก็ยังมีอยู่มากทีเดียว ผลกระทบมีทั้งที่เป็นแบบเฉียบพลันและแบบระยะยาวหลังจากการรักษา ซึ่งผลกระทบนี้ไม่มีความแน่นอนว่าจะเกิดขึ้นแบบใดและเมื่อใดได้แต่เป็นการคาดเดาล่วงหน้าเท่านั้น

การทำความเข้าใจอย่างท่องแท้ถึงปฏิกิริยาที่สร้างความเจ็บปวดในการรักษาด้วยเคมีบำบัดและการฉายรังสีนั้น เป็นสิ่งที่เข้าใจได้ยากเพราะว่ามีปัจจัยหลายตัวที่เข้ามามีผลทั้งวิธีการให้เคมี วิธีการฉายรังสี ความเข้มข้นของเคมี ความเข้มข้นของรังสี จำนวนครั้ง ระยะเวลาระหว่างการให้เคมีและการฉายรังสี ทุกอย่างมีผลต่อความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นทั้งสิ้น ซึ่งปัจจุบันแพทย์และผู้เชี่ยวชาญกำลังทำการศึกษาหาข้อมูลเพื่อที่จะได้ออกแบบการรักษาที่ปลอดภัยต่อผู้ป่วยมากที่สุดและสร้างผลกระทบต่อตัวผู้ป่วยน้อยที่สุด

ผลข้างเคียงของการรักษามะเร็งด้วยเคมีบำบัดและการฉายรังสี

ผลกระทบแบบเฉียบพลัน

ผลกระทบแบบเฉียบพลัน คือ ผลกระทบนี้เป็นผลกระทบที่เกิดขึ้นในขณะที่ผู้ป่วยกำลังทำการรักษาอยู่หรือว่าเกิดขึ้นทันทีหรือไม่กี่วันภายหลังจากได้รับการรักษา ผลกระทบแบบเฉียบพลันมักเกิดจากการให้เคมีบำบัดเสียมากกว่า ซึ่งผลกระทบแบบนี้สามารถลดหรือทำให้ไม่เกิดขึ้นได้ด้วยการปรับเปลี่ยนขนาดของยา สูตรยา ระยะเวลาในการให้มีค่า Tolerance ให้เหมาะสมกับตัวผู้ป่วย

ผลกระทบแบบเรื้อรัง

ผลกระทบแบบเรื้อรัง คือ ผลกระทบที่เกิดขึ้นหลังจากการรักษาได้เสร็จสิ้นไปแล้วเป็นเดือนหรือเป็นปี หรือหลายปี ซึ่งผลกระทบแบบเรื้อรังนี้ส่วนมากจะเป็นผลกระทบที่คาดว่าน่าจะเกิดขึ้นเสียมากกว่า เพราะว่าผู้ป่วยบางรายก็มีผลกระทบแบบนี้เกิดขึ้นแต่บางรายก็ไม่มีผลกระทบเกิดขึ้น จึงไม่แน่นอนว่าผู้ป่วยทุกคนจะเกิดผลกระทบเช่นนี้เหมือนกัน ซึ่งผลกระทบแบบนี้มักจะเกิดจากการฉายรังสีเพราะว่าการรักษาแต่ละครั้งนั้นใช้ปริมาณรังสีน้อย แต่เมื่อทำการรักษาหลายครั้งจะมีการสะสมของรังสีในร่างกายเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นการรักษาด้วยรังสีจึงจะส่งผลในระยะยาว

ทั้งผลกระทบเฉียบพลันและผลกระทบเรื้อรังนั้นไม่สามารถคาดเดาได้อย่างแน่นอนว่าจะเกิดขึ้นอย่างไรและเมื่อใด และถึงแม้ว่าในการรักษาจะเกิดผลกระทบเฉียบพลันแต่ก็ยังยืนยันไม่ได้ว่าจะเกิดผลกระทบในระยะยาว หรือในการรักษาไม่เกิดผลกระทบระยะสั้นก็ใช่ว่าจะไม่เกิดผลกระทบระยะยาว การที่จะรู้ว่าจะเกิดผลกระทบระยะแบบเฉียบพลันหรือเรื้อรังหรือไม่นั้น ต้องอาศัยการศึกษาแบบ Clinical และแบบ Subclinical การรักษาด้วยเคมีบำบัดหรือการฉายรังสีล้วนแต่สามารถสร้างผลกระทบกับเซลล์ได้ทั้งสิ้น

ดังนั้นเมื่อมีการฉายรังสีก่อนก่อให้เกิดความเสียหายระดับ Subclinical เมื่อมีการให้เคมีบำบัดในเวลาต่อมาก็จะสามารถแสดงผลทาง Clinical ออกมาให้เห็นได้ เช่น การรักษาเด็กที่เป็น Wilms’tumor ด้วยการให้ฉายรังสีก่อนแล้วจึงให้เคมีบำบัดด้วยยา Dactinomycin เด็กจะมีอาการ Radiation Recall ที่บริเวณผิวหนัง อาการที่ผิวหนังที่เกิดขึ้นนั้นจะเกิดขึ้นหลังจากที่ทำการรักษาไปแล้วหลายเดือน และเกิดขึ้นเฉพาะบริเวณที่ได้รับการฉายรังสีโดยตรงเท่านั้น แสดงว่าการให้ฉายรังสีหลังจากการให้เคมีบำบัด จะทำให้อาการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นในระดับ Subclinic นั่นแสดงอาการออกมาให้เห็นหรือแสดงอาการในระดับ Clinic นั่นเอง และอาการที่เกิดขึ้นในระยะยาวอาจจะก็ให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้เลยทีเดียว เช่น ในการรักษาที่เกิดปอดอักเสบ ( Pneumonitis ) ที่เกิดจาการได้ฉายรังสีหลังจากที่ได้รับยา Dactinomycin หรือ Enteritis หรือ Severe Proctitis เป็นต้น

จากผลกระทบที่ได้รับเนื่องจากการฉายรังสีและการให้เคมีบำบัดจึงได้มีการศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบที่เป็นพิษต่อเนื้อเยื่อปกติ จึงได้มีการกำหนดค่าผลกระทบที่เกิดขึ้นกับเนื้อเยื่อว่า “Tolerance Dose” โดยมีค่า TD5/5 และ TD50/5 คือ แนวโน้มการเกิดผลกระทบที่ 5 % และ 50% เมื่อเวลาผ่านไป 5 ปี เมื่อคิดออกมาได้ค่า TD5/5 ควรอยู่ในระดับที่ต่ำจึงถือว่าเป็นปริมาณที่ปลอดภัยที่สุด แต่ก็ขึ้นอยู่กับความว่องไวของอวัยวะที่ได้รับการฉายรังสีด้วย ดังนั้นแนวคิดของ Dose Volume Histogram มีประโยชน์ต่อการคาดคะเนปริมาณรังสีที่อยู่ในระดับปลอดภัย
โดย Philips และ Fu ได้เสนอสูตร Dose Effect Factor (DEF) ว่าการวัดปริมาณ Relative Combine Effect ระหว่างยากับรังสีในเนื้อเยื่อชนิดปกติ วัดได้จากสูตร

DEF = ปริมาณรังสีที่ให้โดยไม่มียาเคมีบำบัดที่ส่งผลทางชีวภาพ / ปริมาณรังสีที่ให้รวมกับยาเคมีบำบัดแล้ดส่งผลทางชีวภาพ

ในการรักษามะเร็งค่า DEF นั้นควรมีค่ามากกว่า 1 นั่นคือ เซลล์มะเร็งควรโดนทำลายโดยรังสีได้มากกว่าการใช้รังสีร่วมกับการให้เคมีบำบัด แต่สำหรับเซลล์เนื้อเยื่อปกติควรมีค่า DEF น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้และต้องมีค่าต่ำกว่าค่า DEF ของเนื้อเยื่อมะเร็งด้วย ซึ่งค่าความแตกต่างนี้จะช่วยสำหรับ Therapeutic Gain สำหรับการเลือกใช้เคมีบำบัดและการฉายรังสีที่มีผลต่อเนื้อเยื่อมะเร็งและเนื้อเยื่อปกติ เมื่อเปรียบเทียบกับการรักษาด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่งเท่านั้น

ค่า DEF ได้ถูกคิดค้นมาเพื่อชี้ถึงผลของเคมีบำบัดต่อปริมาณรังสีที่ส่งผลให้เกิดผลกระทบกับเซลล์เนื้อเยื่ออย่างใดอย่างหนึ่ง แต่สิ่งสำคัญที่ต้องคำนึกถึงก็คือการทำลายเซลล์มะเร็งที่ดีที่สุดก็ต่อเมื่อการให้ยาและรังสีไม่เกิน Normal Tissue Dose Limits ด้วย

ความเกี่ยวข้องของการรักษามะเร็ง กับปฏิกิริยาต่อกันระหว่างรังสีและเคมีบำบัด

การรักษาด้วยรังสีและเคมีบำบัดนอกจากจะมีผลในการทำลายหรือสร้างความเสียหายให้กับเนื้อเยื่อมะเร็งแล้ว ยังส่งผลกระทบกับเนื้อเยื่อปกติด้วย ซึ่งตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับการเกิดปฏิกิริยาต่อเนื้อเยื่อปกติมีดังนี้

1. ผู้ป่วย ปัจจัยที่มาจากตัวผู้ป่วย เช่น โรคทางพันธุกรรมของผู้ป่วย เพศ อายุ เป็นต้น

2. วิธีการรักษา วิธีการที่ใช้ในการรักษามีส่วนที่จะสร้างผลกระทบต่อเนื้อเยื่อปกติ

3. ลักษณะของมะเร็ง อวัยวะที่เกิดมะเร็ง ขนาดของมะเร็ง อายุของมะเร็ง ล้วนแต่มีผลต่อเนื้อเยื่อปกติทั้งสิ้น

4. Relative Timing ระยะเวลาสัมพันธ์ในการรักษาของแต่ละวิธี

แผนการรักษามะเร็งด้วยรังสีและเคมีบำบัด

แผนการรักษาที่นำมาใช้ในรักษาผู้ป่วยนั้น มีอยู่ด้วยกันหลากหลาย ซึ่งการเลือกใช้แผนและสูตร การรักษาโรคมะเร็ง จะขึ้นอยู่กับ

1. Neoadjuvant ซึ่งจะมีการให้ยาเคมีบำบัดก่อนจึงจะทำการฉายรังสีต่อในภายหลัง

2. Alternating คือ การรักษาที่มีการให้ยาเคมีบำบัดสลับการฉายรังสี ( Sandwich ) โดยมีการเว้นระยะในการให้เคมีบำบัดและฉายรังสีอย่างชัดเจน

3. Simultaneous / Concurrent / Concomitant คือ การรักษาโดยการให้เคมีบำบัดพร้อมกับการฉายรังสีในการรักษาโรคมะเร็ง

4. Adjuvant คือ การรักษาโรคมะเร็ง โดยการฉายรังสีก่อนและทำการให้เคมีบำบัดในภายหลัง

ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นระหว่างเคมีบำบัดและการฉายรังสี

วิธีการรักษามีอยู่หลายวิธีข้างต้น แต่การเลือกการรักษาจะเลือกที่มีอัตราการรักษา ( Therapeutic Ration) ดีที่สุดหรือดีขึ้น ซึ่งปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นระหว่างเคมีบำบัดและการฉายรังสีนั้นสามารถแยกออกได้ ดังนี้

1. ประสิทธิภาพลดลง ( Diminished Activity ) คือ การที่ปฏิกิริยาระหว่างเคมีบำบัดกับการฉายรังสี โดยที่ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นส่งผลให้การทำลายเซลล์มะเร็งมีค่าลดลง เมื่อเทียบกับการรักษาด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งเพียงวิธีเดียว ผลกระทบที่เกิดขึ้นสามารถแบ่งออกได้เป็น

1.1 Inhibition ประสิทธิภาพที่เกิดขึ้นเมื่อทำการด้วยการรักษาทั้งสองวิธีมีค่าอยู่ระหว่างค่าประสิทธิภาพต่ำสุดและประสิทธิภาพสูงสุด

1.2 Antagonism ประสิทธิภาพที่เกิดขึ้นเมื่อทำการด้วยการรักษาทั้งสองวิธีมีค่าต่ำกว่าค่าประสิทธิภาพต่ำสุดของแต่การรักษาด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง 

2. ประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ( Increased Activity ) คือ การที่รักษาด้วยทั้งสองวิธีสามารถจำกัดเซลล์มะเร็งได้มากกว่า การรักษาโรคมะเร็ง ด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งเพียงวิธีเดียว และไม่ส่งผลกระทบหรือส่งผลกระทบน้อยมากต่อเนื้อเยื่อปกติ วิธีที่นำมาใช้ร่วมกันควรเป็นวิธีที่มีกลไกในการทำลายเซลล์มะเร็งเหมือนหรือคล้ายกันมากที่สุด แต่กลไกการเกิดผลกระทบต่อเนื้อเยื่อปกติควรต่างกันมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อที่เราจะได้ไม่ต้องลดปริมาณยาและรังสีให้น้อยลง แต่ผลกระทบต่อเนื้อเยื่อปกติกลับน้อยลงนั่นเอง ซึ่งผลกระทบที่เกิดขึ้นสามารถแบ่งออกได้เป็น

2.1 ประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ( Sub Additive Effect ) ผลการรักษาเพิ่มขึ้นจากการรักษาด้วยเคมีบำบัดหรือการฉายรังสีเพียงวิธีเดียว แต่ว่าผลการรักษาที่เพิ่มขึ้นมีค่าน้อยกว่าผลรวมของการรักษาด้วยเคมีบำบัดเพียงอย่างเดียวกับการฉายรังสีเพียงอย่างเดียว

2.2 ประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นมาก ( Additive Effect ) คือ การที่ผลการทำลายมะเร็งด้วยการรักษาทั้งสองแบบรวมกัน มีค่าเท่ากับผลรวมของ การรักษาโรคมะเร็ง ด้วยเคมีบำบัดเพียงอย่างเดียวกับการฉายรังสีเพียงอย่างเดียว

2.3 ประสิทธิภาพแบบทวีคูณ ( Enhanced Effect / Supra Additive Effect ) การที่ผลการทำลายมะเร็งมีค่ามากกว่าเป็นทวีคูณกับผลรวมของการรักษาโรคมะเร็งด้วยเคมีบำบัดเพียงอย่างเดียวกับการฉายรังสีเพียงอย่างเดียว

ความเสียหายในหลอดเลือดจะพบภายหลังการฉายรังสีเท่านั้น จะไม่พบภายหลังการให้เคมีบำบัด ถึงแม้ว่าจะไม่พบหลังการให้เคมีบำบัด

การรักษาย่อมที่จะต้องการสูตรการออกแบบที่ช่วยให้ยามีฤทธิ์เสริมกัน แต่ก็เป็นการยากที่จะกำหนดอย่างชัดเจนว่าใช้วิธีการแบบนี้แล้วจะได้ผลอย่างไร เพราะว่าเส้นตรงของการตอบสนองหรือ Dose Response Curve ที่บ่งบอกถึงความจำเพาะในการรักษาทั้งสองแบบนั้นยังไม่มีค่าที่แน่ชัดพอ แต่ การรักษามะเร็ง ทั้งสองแบบนี้ก็สามารถจำกัดเซลล์มะเร็งได้แต่ค่า Dose Effect Curve ไม่เป็นเส้นตรงเช่นเดียวกัน ทฤษฏีนี้ไม่สามารถใช้ได้กับยาที่มีฤทธิ์เป็น Sensitive และ Protector เช่น Halogenated Pyrimidine เป็นต้น เพราะยาที่อยู่ในกลุ่มนี้ไม่สามารถทำลายเซลล์มะเร็งได้ด้วยตัวเอง แต่ต้องอาศัยยาชนิดอื่นเข้ามาช่วยจึงจะสามารถทำลายเซลล์มะเร็งได้ รวมถึงยาที่ใช้ในการปกป้องเนื้อเยื่อปกติจากการฉายรังสีด้วย

ความเสียหายของเนื้อเยื่อจากการรักษามะเร็งด้วยเคมีบำบัด

เซลล์ที่จะพัฒนาไปเป็นเซลล์มะเร็งจะมีวัฏจักรของเซลล์ ( Cell Cycle Kinetics ) ต่างจากเซลล์ปกติ คือมีการเจริญเติบโตมากกว่า สามารถซ่อมแซมตัวเองได้ดีกว่าเซลล์ปกติ ดังนั้นผลของยาที่ใช้ในการจำกัดเซลล์มะเร็งจะมีค่าต่างกันขึ้นอยู่กับว่ายาที่ใช้นั้นออกฤทธิ์ในช่วงวัฏจักรใดของเซลล์อย่างจำเพาะหรือว่าออกฤทธิ์ในช่วงระยะพัก ( Resting Phase ) ด้วยหรือไม่ เซลล์ที่อ่อนแอที่สุด คือ เซลล์ต้นกำเนิดหรือสเต็มเซลล์ที่อยู่ในวัฏจักรการกำเนิดของเซลล์ ไม่เหมือนกับเซลล์ต้นกำเนิดที่อยู่ในระยะ Go หรือ G1 ซึ่งมีความแข็งแรงมากกว่าเซลล์ต้นกำเนิดที่อยู่ในวัฏจักรจึงสามารถรอดพ้นจากการทำลายด้วยฤทธิ์ของยาที่มีการออกฤทธิ์เฉพาะในระยะ S-Phase

เซลล์ปกติบางชนิดก็สามารถเพิ่มจำนวนได้อย่างรวดเร็ว เช่น ไขกระดูก เซลล์ ระบบทางเดินอาหาร เป็นต้น เซลล์นี้จะมีการเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็วแต่ว่าก็ถูกทำลายได้ง่ายเช่นกัน ซึ่งเมื่อโดนทำลายจะแสดงอาการเจ็บปวดแบบเฉียบพลัน แต่ในเซลล์ที่มีการซ่อมแซมตัวเองได้ช้ากลับสามารถทนต่อการใช้ยาเคมีบำบัดได้สูงกว่าทั้งระยะสั้นและระยะยาว แต่การที่จะเกิดร่างกายจะแสดงออกถึงผลกระทบที่ว่านี้ได้ก็ต้องขึ้นอยู่กับชนิดของยาที่ใช้ในการรักษาด้วยเช่นกัน การแสดงออกของอาการดังกล่าวไม่ใช่ว่าเซลล์ทั้งหมดจะตายไป แต่เป็นการลดจำนวนของเซลล์ต้นกำเนิดหรือสเต็มเซลล์ ( Stem Cell ) ที่สร้างสำรองไว้แทน นั่นคือ พบว่าหลังจากที่มีการให้เคมีบำบัดกับผู้ป่วยแล้ว จำนวนเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดในไขกระดูกมีค่าน้อยลง ส่งผลให้เซลล์เนื้อเยื่อปกติมีจำนวนน้อยลงตามไปด้วย ในช่วงแรกความเสียหายที่เกิดจากสูตรยาอาจจะทำการฟื้นฟูมาได้ แต่ทว่าถ้ามีความเสียหายเกิดขึ้นซ้ำๆ แล้วความเสียหายก็จะไม่อาจฟื้นฟูกลับมาได้อีก

ความเสียหายของเนื้อเยื่อจากการรักษาโรคมะเร็งด้วยการฉายรังสี

ความเสียหายของเซลล์ที่เกิดจากการฉายรังสีจะขึ้นอยู่กับ Mitotic Behavior และ State of Differentiation ของเซลล์ นั่นคือ เซลล์ที่อยู่ในสภาวะกำลังเจริญเติบโตจะมีความว่องไวต่อรังสีมากกว่าเซลล์ที่เจริญเติบโตเต็มที่หรือเซลล์ที่ทำงานได้เต็มที่แล้ว โดยปกติแล้วเซลล์จะมีความสามารถในการฟื้นฟูตัวเองอยู่แล้ว แต่ว่าจะมีความสามารถในการฟื้นฟูช้าหรือเร็วก็ขึ้นอยู่กับชนิดของเซลล์ด้วย นั่นแสดงว่า เซลล์ที่สามารถฟื้นฟูสภาพหลังจากการได้รับการฉายรังสีได้เร็วมักจะเป็นเซลล์ต้นกำเนิด (Stem cell) ที่เพิ่มจำนวนและแบ่งตัวได้อย่างรวดเร็ว แต่สำหรับเซลล์ที่เจริญเติบโตเต็มที่หรือเซลล์ตามอวัยวะของร่างกายนั้นจะมีการฟื้นตัวได้ช้า ซึ่งสามารถบ่งชี้ได้โดย Parenchyma Cell Compartment ที่ Turn Over อย่างเชื่องช้าแต่มักจะมีการ Differentiate และทำการแบ่งตัวเมื่อเกิดความเสียหายขึ้น หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ Parenchyma Cell ที่เกิดเจริญเติบโตจนเต็มที่แล้ว บางครั้งอาจจะกลับมามาเป็นเซลล์ต้นกำเนิดและเพิ่มจำนวน Parenchyma Cell ที่เกิดความเสียหายให้กลับเข้าสู่สภาพปกติ แต่ทว่าการกลับของเซลล์ที่เจริญเติบโตเต็มที่กลายมาเป็นเซลล์ต้นกำเนิดนั้นไม่ค่อยพบในอวัยวะในร่างกาย

เนื้อเยื่อที่จะได้รับผลกระทบแบบเฉียบพลัน คือ ระบบทางเดินอาหาร ผิวหนังและไขกระดูก ส่วนระยะเวลาที่จะแสดงออกถึงความเสียหายที่เซลล์จะได้รับนั้นขึ้นอยู่กับอัตรา Turn Over ของเซลล์

ผลกระทบแบบเรื้อรังที่เกิดจากการฉายรังสี เกิดขึ้นเนื่องจาก Functional Paraenchyma Cell หยุดการทำงานและเซลล์สูญเสียประสิทธิภาพในการสร้างเซลล์เพื่อมาทดแทนเซลล์ที่เสียหายไปในระยะยาว นอกจากนั้นยังมีความเสียหายที่เกิดจากระบบไหลเวียนเลือด โดยการเกิดพังผืดภายในหลอดเลือด ( Arterio Capillary Fibrosis ) ซึ่งความเสียหายแบบนี้เป็นความเสียหายระยะยาวที่ไม่สามารถทำการรักษาให้หายได้และยังส่งผลให้ Paraenchyma Cell มีจำนวนลดลง ผลความเสียหายระยะยาวนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณความเข้มข้นของรังสีที่ใช้ในการรักษาและเมื่อผ่านไปเป็นระยะเวลายาวนานขึ้นปริมาณรังสีจะลดลง

ความเสียหายที่เกิดจากการรักษาร่วมกันของเคมีบำบัดและการฉายรังสี

การที่ใช้เคมีบำบัดและการฉายรังสีก็เพื่อประสิทธิภาพใน การรักษาโรคมะเร็ง ช่วยกำจัดเซลล์มะเร็งให้ได้มากขึ้นและมีผลกระทบต่อเนื้อเยื่อปกติน้อยที่สุด ซึ่ง Philip และ Fu ได้เสนอกลไกการทำงานร่วมกันของเคมีบำบัดและการฉายรังสีไว้ว่า “ กลไลทางสรีรวิทยา มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความเข้มข้นของยาเคมีบำบัดที่เพิ่มเข้าไปในเนื้อเยื่อและระยะเวลาที่เนื้อเยื่อทำการสัมผัสกับตัวยา นอกจากนั้นยังสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมของเซลล์ด้วย โดยที่การฉายรังสีจะเข้าไปเพิ่มการหมุนเวียนของเลือดไปยังเซลล์มะเร็งโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวลาหลังจากที่ก้อนมะเร็งฝ่อลงแล้ว ส่วนเซลล์ปกติก็จะช่วยกระจายความเข้มข้นของยา ” ในกลุ่มของเซลล์ที่อยู่ในสภาวะ Hypoxia จะมีจำนวนลดลงเพราะการหมุนเวียนของเลือดที่ดีขึ้นจะพาออกซิเจนจึงช่วยลดเซลล์ที่อยู่ในสภาวะ  Hypoxia ลง เมื่อเซลล์มะเร็งมีขนาดลดลงด้วยการยาเคมีหรือการฉายรังสีแล้ว มีการรักษาต่อด้วยอีกวิธีหนึ่ง การทำลายเซลล์มะเร็งก็จะได้ผลดีขึ้นตามไปด้วยเพราะเซลล์มะเร็งมีการตอบสนองต่อการรักษาที่ได้รับทำให้เซลล์มะเร็งมีขนาดลดลงอย่างเห็นได้ชัด และยังสามารถเพิ่มประสิทธิภาพของยาได้โดยการเพิ่มการ Delivery เพื่อช่วยให้ยาเข้าสู่เซลล์ได้มากขึ้นด้วย 

ข้อมูลการฟื้นฟูและรอดชีวิตของเซลล์ภายหลังจากการฉายรังสีมีคำอธิบายมากมาย แต่ทว่าการฟื้นตัวและการรอดชีวิตหลังจากที่ได้รับเคมีบำบัดนั้นกลับไม่มีคำอธิบายที่สามารถอธิบายได้เล็กน้อยมาก ซึ่งข้อมูลที่มีอยู่ในปัจจุบันนี้มีเพียงแค่ผลของยาต่อ Radiation Dose Response Curve เท่านั้น เช่น ยา Dactinomycin และยา Cisplatin ที่มีคุณสมบัติเป็น DNA Intercalator ที่สามารถเข้าไปช่วยเพิ่มความชันของ Radiation Dose Response จึงใช้เป็นการอธิบายถึงการเสริมฤทธิ์ของกันและกันในการรักษาด้วยเคมีบำบัดและการรักษาด้วยการฉายรังสี

นอกจากข้อสันนิฐานดังที่กล่าวมาแล้วยังมีอีกหนึ่งกลไกที่สามารถช่วยอธิบายถึงการเสริมกันด้วยการรักษาเคมีบำบัดและการฉายรังสี นั่นคือ การรักษาด้วยเคมีบำบัดก่อนนั้น เคมีบำบัดจะเข้าไปยับยั้งการซ่อมแซมตัวเองของเซลล์ เมื่อทำการฉายรังสีไปแล้ว และสามารถสังเกตได้จากค่า DEF เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องซึ่งค่านี้จะไปในแนวเดียวกับจำนวนของ Radiation Fraction ที่มีค่าเพิ่มขึ้นด้วย

นอกจากนั้นยังได้มีการศึกษาถึงความซับซ้อนของปฏิกิริยาระหว่าง การรักษามะเร็ง ด้วยเคมีบำบัดและการฉายรังสีอย่างต่อเนื่อง ซึ่งได้มีการแสดงให้เห็นว่าในการเปลี่ยนแปลงของสเต็มเซลล์ของเม็ดเลือดหลังจากที่ทำการรักษาด้วยวิธีการทั้งสองแล้ว Kovacs พบว่าความเสียหายของการให้เคมีบำบัดที่เกิดขึ้นทั้งในระยะเฉียบพลัน ระยะเรื้อรังและผลเสียหายที่หลงเหลืออยู่กับสเต็มเซลล์นั้นขึ้นอยู่กับชนิดของยาที่ใช้ในการรักษา เช่น Doxorubicin จะส่งผลกระทบสร้างความเสียหายต่อสเต็มเซลล์ของเม็ดเลือดที่อยู่ในระยะกำลังพัฒนาไปสู่ระยะที่เจริญเต็มที่แล้ว ซึ่งสเต็มเซลล์ชนิดนี้มักจะอยู่ในไขกระดูก จึงส่งผลให้ไขกระดูกมีความว่องไวต่อรังสีมากขึ้น ซึ่งผลกระทบหรือความเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นจะเป็นแบบเฉียบพลันมากแต่ก็มีแบบเรื้อรังตามมาภายหลังด้วย ส่วนยา 5-Fluorouracil และยา Cyclophosphom กลับส่งผลต่อสเต็มเซลล์ที่เจริญเติบโตเต็มที่แล้ว ส่งผลให้สเต็มเซลล์ที่โตเต็มที่มีความว่องไวต่อการรักษาด้วยรังสีมากขึ้น จึงสรุปได้ว่า การรักษาโรคมะเร็งด้วยยาเคมีบำบัดมีผลกระทบต่อเซลล์สเต็มเซลล์ของเม็ดเลือดและยังสามารถช่วยเพิ่มความ ว่องไวต่อการรักษาโรคมะเร็งด้วยการฉายรังสีได้ด้วย ซึ่งค่าความว่องนี้ยังส่งผลกระทบต่อการสร้าความเสียหายที่สามารถเกิดขึ้นได้หลังจากการฉายรังสีต่อไปด้วย นั่นคือผลของความเสียหายจะเริ่มขึ้นตั้งแต่ความเสียหายของสเต็มเซลล์ในขณะที่มีการใช้เคมีบำบัด แล้วส่งผลต่อความเสียหายที่จะได้รับในการฉายรังสี และยังรวมถึงการลดค่าความสามารถในการฟื้นฟูและซ่อมแซมตัวเองของเซลล์อีกด้วย

การรักษาด้วยยาเคมีบำบัดมีผลกระทบต่อเซลล์สเต็มเซลล์ของเม็ดเลือดและยังสามารถช่วยเพิ่มความว่องไวต่อการรักษาด้วยการฉายรังสีได้ด้วย

ดังนั้น Dose Response Curve ที่ต้องการหรือในอุดมคติของผู้ทำการรักษาและผู้เข้ารับการรักษาในการรักษาด้วยเคมีบำบัดและการฉายรังสีน่าจะถูกกำหนดสำหรับวัดผลกระทบของการรักษาด้วยเคมีบำบัดต่อการฉายรังสีในรูปแบบของการมีชีวิตอยู่ของเซลล์และความสามารถในการฟื้นฟูตัวเองของเซลล์ด้วย แต่การคำนวณที่ใช้ในปัจจุบันนี้ยังไม่พบในการรักษาด้วยเคมีบำบัดแต่พบการคำนวนนี้จากการฉายรังสีเสียมากกว่า คือ เมื่อฉายรังสีที่มีปริมาณความเข้มข้นต่างกันให้กับผู้ป่วยเพื่อทำการรักษา ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บป่วยที่มีความสัมพันธ์กับขนาดของความเข้มข้นของรังสีที่ใช้ ( Dose Response Curve ) และสามารถสร้างเป็นสมการได้ดังนี้

Effect = AlphaD + BetaD²
โดย Alpha กับ Beta คือ ค่าคงที่ของรังสีที่ใช้ในการรักษา D คือ ค่าปริมาณความเข้มข้นของรังสีที่ใช้ในการรักษา

ซึ่งสมการนี้สามารถช่วยในการคาดคะเนผลกระทบที่จะสร้างความเสียหายจากาการฉายรังสีแบบเป็น Fraction ต่อเนื้อเยื่อปกติได้ คือ ถ้าค่า Alpha และ Beta มีค่าสูง นั่นแสดงว่าผลกระทบจากการฉายรังสีมีค่าผลกระทบที่ช้า แต่ถ้าค่า Alpha และ Beta มีค่าต่ำ นั่นแสดงว่าผลกระทบจากการฉายรังสีมีค่าผลกระทบที่เร็ว

แสดงว่าถ้าต้องการหาดูว่าเคมีบำบัดที่ใช้ในการรักษาดีไม่มีผลต่อการซ่อมแซมตัวเองของเซลล์มากแค่ไหนก็ดูจากค่า Alpha และ Beta ที่เปลี่ยนแปลงไปนั่นเอง การเกิดผลกระทบแบบเฉียบพลันและแบบเรื้อรังยังขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่น ๆ เช่น ตัวผู้เข้ารับการรักษา วิธีการที่ใช้ในการรักษา และลักษณะของมะเร็งที่ต้องการทำการรักษา ดังนั้นจึงเป็นการยากที่จะสามารถคาดเดาได้ว่าผลกระทบที่จะเกิดขึ้นนั้นจะเป็นอย่างไร เพราะผู้ป่วยแต่ละคนมีปัจจัยที่ต่างกันนั่นเอง

นอกจากนั้นคุณลักษณะเฉพาะของยาเคมีบำบัดและรังสีที่นำมาใช้ในการรักษาอีกด้วย เพราะยาแต่ละชนิดหรือรังสีแต่ละอย่างจะมีสมบัติเฉพาะตัวในการออกฤทธิ์ นั่นคือ ยาบางชนิดที่ใช้ในการรักษาจะมีผลต่อปอด ยาบางชนิดมีผลต่อไขกระดูก เป็นต้น และการใช้ยาในสภาวะที่ต่างกัน ผลของยาที่เกิดขึ้นก็ต่างกันตามไปด้วยจากชนิดของยาและรังสีที่ใช้เทคนิคในการใช้ยาและรังสีก็มีส่วนต่อการสร้างความเสียหายต่อเซลล์เช่นเดียวกัน เช่น การฉายรังสีแบบ Mantle Irradiation จะส่งผลให้เกิดการสะสมของรังสีในส่วนของหัวใจมากกว่าการสะสมของรังสีที่อวัยวะอื่น ทำให้โอกาสหรือความถี่ในการเกิด Cardiomyopathy ก็ย่อมสูงขึ้นตามไปด้วย ระดับและเวลาในการให้เคมีบำบัดและการฉายรังสีก็มีผลต่อการสร้างความรุนแรงของความเป็นพิษจากการใช้ การรักษามะเร็ง ทั้งสองวิธีร่วมกัน โดย Steel ได้ศึกษาและทำข้อสรุปได้ว่า “ ความเสียหายต่อเซลล์ปกติที่เกิดขึ้นจากการรักษาด้วยเคมีบำบัดและการฉายรังสีพร้อม ๆ กันจะสร้างความเสียหายได้มากกว่าการให้เคมีบำบัดก่อนการฉายรังสี ” และได้รับการสนับสนุนจาก Yarnold เกี่ยวกับข้อสรุปนี้ของ Steel ด้วย นอกจากนั้นยังเสนอต่อว่า “ การรักษาโรคมะเร็งด้วยการฉายรังสีก่อนที่จะทำการให้เคมีบำบัดนั้นเป็นสิ่งที่อันตรายมากเพราะจะส่งให้สร้างความเสียหายต่อสเต็มเซลล์ของเม็ดเลือดอย่างรุนแรงจนเป็นที่น่าตกใจมากทีเดียว ”

ต่อมาคณะแพทย์ของไทย เช่น แมใจ ชิตาพนารักษากับคณะ และวิชาญ หล่อวิทยาพร้อมคณะได้ทำการศึกษาทดลองสังเกตผลการรักษาจากทฤษฏีของทั้งสอง โดยแบ่งการรักษาออกเป็น 4 กลุ่ม คือ

กลุ่มที่ 1 ทำการรักษามะเร็งด้วยการฉายรังสีเพียงอย่างเดียง

กลุ่มที่ 2 ทำการรักษาโรคมะเร็งด้วยการฉายรังสีและการให้ยาเคมบำบัดเสริมในภายหลัง ( Adjuvant Chemotherapy )

กลุ่มที่ 3 ทำการรักษาโรคมะเร็งด้วยการฉายรังสีพร้อมกับการให้ยาเคมีบำบัด ( Concurrent Chemotherapy )

กลุ่มที่ 4 ทำการรักษาโรคมะเร็งด้วยการฉายรังสีร่วมกับการให้ยาเคมีบำบัดและตามด้วยการให้ยาเคมีบำบัดเสริมตามหลัง ( Concurrent and Adjuvant Chemotherapy )

จากการศึกษาพบว่า ผลข้างเคียงแบบเฉียบพลันในกลุ่มที่ 3 มีค่าสูงมากและสูงที่สุด โดยเฉพาะความเป็นพิษที่เกิดขึ้นกับไขกระดูก แต่ผลกระทบในระยะยาวกลับพบว่าอยู่ในระยะปกติเหมือนการรักษาด้วยวิธีอื่น ๆ
การรักษามะเร็ง จุดประสงค์หลักก็คือการต้องการให้เซลล์มะเร็งถูกทำลายออกไปจากร่างกายจนหมด และเซลล์ปกติมีความเสียหายหรือไม่มีความเสียหายเลย จึงจะเป็นการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับตัวผู้ป่วย ซึ่งทั้งแพทย์และผู้เชี่ยวชาญต้องทำการศึกษาและพัฒนาต่อไปเพื่อที่ผู้ป่วยมะเร็งจะได้หายกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติสุข และไม่ต้องกังวลกับการกลับมาของโรคมะเร็งหรือโรคจากผลข้างเคียงของการรักษาโรคมะเร็งด้วย

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิงพวงทอง ไกรพิบูลย์. รู้ก่อนเข้าใจการตรวจรักษามะเร็ง. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2557.

พยาบาลสาร คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. “การดูแลผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะปัสสาวะหลังผ่าตัดเปลี่ยนช่องทางขับถ่ายปัสสาวะ”. (พัชรินทร์ ไชยสุรินทร์). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.tci-thaijo.org. [05 พ.ค. 2017].

โรคสมองเสื่อมเร็วมีสาเหตุจากอะไร

0
โรคสมองเสื่อมเร็วมีสาเหตุจากอะไร
โรคสมองเสื่อมเร็ว คือเป็นอาการที่สูญเสียการทำงานของสมองทั้งหมด
โรคสมองเสื่อมเร็วมีสาเหตุจากอะไร
โรคสมองเสื่อมเร็ว คือเป็นอาการที่สูญเสียการทำงานของสมองทั้งหมด เช่น การสูญเสียความจำ การพูด การอ่าน การใช้ภาษา การควบคุมพฤติกรรม

โรคสมองเสื่อมเร็ว

โรคสมองเสื่อมเร็ว ไม่ได้หมายถึง ความจำเสื่อมเท่านั้น แต่หมายรวมถึง การสูญเสียความจำ การตัดสินใจ การคิด การพูด การอ่าน การใช้ภาษา การรับรู้มิติสัมพันธ์ การมีสมาธิ การควบคุมพฤติกรรม และควบคุมอารมณ์ต่างๆด้วย ซึ่งหากอาการทั้งหมดนี้สูญเสียไป ก็จะเรียกว่า โรคสมองเสื่อมเร็ว คือเป็นอาการที่สูญเสียการทำงานของสมองทั้งหมด

โรคสมองเสื่อมเร็ว ( Rapidly Progressive Dementia ) เป็นอาการที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เริ่มตั้งแต่เป็นจนถึงอาการสมองเสื่อม ใช้เวลาเพียงแค่ 3-4 เดือน ซึ่งเกิดขึ้นเร็วมากๆ

สาเหตุของการเกิดโรคสมองเสื่อมเร็ว

โรคสมองเสื่อมเร็ว เกิดจากหลายสาเหตุ ได้แก่

1. โรคสมองเสื่อเร็วที่เกิดจากโรคระบบประสาทเสื่อม อย่างโรคอัลไซเมอร์ โรคสมองเสื่อมจากมวลเลวี โรคสมองเสื่อมกลีบหน้าแลกลีบขมับฝ่อ โรคเหนือนิวเคลียร์อัมพาตต่อเนื่อง ( Progressive Supranuclear Palsy )

2. โรคสมองเสื่อมเร็วที่เกิดจากโรคภูมิต้านทานต่อตัวเอง อย่างเช่น โรคปลอกเส้นประสาทสมองอักเสบ พยาธิภาวะที่สมองจากภูมิต้านทาง VGKC, NMDAR พยาธิภาวะที่สมองฮาชิโมโต ( Hashimoto’s encephalopathy )

3. โรคสมองเสื่อมเร็วที่เกิดจากโรคติดเชื้อ อย่างเช่น โรคพรีออน ( Prion Disease ) โรคซิฟิลิส โรคเอชไอวี โรคครอยท์ซเฟลตท์-จาคอบ

4. โรคสมองเสื่อมเร็วที่เกิดจากโรคจิตเวช

5. โรคสมองเสื่อมเร็วที่เกิดจากเนื้องอก หรือ มะเร็ง

6. โรคสมองเสื่อมเร็วที่เกิดจากโรคเมแทบอลิซึม และโรคเนื่องจากสิ่งที่ก่อพิษ อย่างเช่น โรคจากพิษสุราเรื้อรัง โรคจากพิษคาร์บอนมอนออกไซด์ โรคจากพิษยาบางชนิด

7. โรคสมองเสื่อมเร็วที่เกิดจากโรคหลอดเลือดสมอง พยาธิภาวะที่สมองจากไมโทคอนเดรีย

8. โรคสมองเสื่อมเร็วที่ยังไม่ทราบสาเหตุ

โรคสมองเสื่อมเร็ว ที่แสดงอาการชัดเจนที่สุด คือ โรคสมองเสื่อมเร็วที่เกิดจากการติดเชื้อเอชไอวี ( HIV ) อาการที่แสดงออกมาคือ ไม่พูดไม่คิดไม่ทำอะไร อยากอยู่นิ่งๆ ต่อเนื่องกันประมาณสองสัปดาห์ หากมีการเคลื่อนไหว ก็จะเคลื่อนไหวช้า สิ่งที่สังเกตเห็นชัดเจนเลยคือ ร่างกาย แขนขา เกร็ง มีอาการเซ อาการสั่น ส่วนการแสดงอาการทางอารมณ์ผู้ป่วย จะมีอาการเชื่องช้า หงุดหงิด ไม่ค่อยมีความสุข

โรคสมองเสื่อมเร็ว หมายถึง การสูญเสียความจำ การตัดสินใจ การคิด การพูด การอ่าน การใช้ภาษา การรับรู้มิติสัมพันธ์ การมีสมาธิ การควบคุมพฤติกรรม และควบคุมอารมณ์ต่างๆด้วย ซึ่งหากอาการทั้งหมดนี้สูญเสียไป ก็จะเรียกว่า โรคสมองเสื่อมเร็ว คือเป็นอาการที่สูญเสียการทำงานของสมองทั้งหมด

การรักษาโรคสมองเสื่อมเร็วที่เกิดจากเชื้อเอชไอวี ซึ่งผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีอาการสมองเสื่อมได้บ่อย แต่ในการรักษาโรคเอชไอวีต้องใช้ยาต้านไวรัส ซึ่งยาต้านไวรัสนี้ทำให้อาการสมองเสื่อมหายไปอย่างไม่น่าเชื่อ ซึ่งอาจเป็นเพราะว่า เชื้อไวรัสมีผลต่อสมองและเซลล์ประสาท ดังนั้น การทำให้ไวรัสแบ่งตัวน้อยลงในระบบประสาท ก็จะทำให้อาการสมองเสื่อมไม่ปรากฏออกมา

กรมอนามัยโลกยอมรับว่า หากผู้ป่วยเอชไอวีกลุ่มโรคสมองเสื่อมเร็วเกิดอุบัติเหตุทางสมอง การรักษาด้วยยาต้านเชื้อไวรัส ทำให้โรคสมองเสื่อมน้อยลง เมื่อใช้ยาต้านไวรัสทำการรักษาอย่างต่อเนื่อง โรคสมองเสื่อมเร็วที่เกิดกับผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสที่มีการแบ่งตัวผิดปกติของไวรัสหัด ( Measles ) ที่พันธุกรรมมีการเปลี่ยนแปลง แล้วมาติดเชื้อในคน จนทำให้มีอาการสมองเสื่อมเร็ว จนทำให้ผู้ป่วยมีอาการผิดปกติเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว อย่างเช่น ผู้ป่วยจะไม่รับรู้อะไรเลย มีการพูดช้าและเนิบๆ มีอาการแขนขาเกร็ง กระตุก สั่น เมื่อมีการตรวจคลื่นไฟฟ้าสมองจะมีลักษณะผิดปกติเด่น ตรวจน้ำไขสันหลังมีภูมิต้านทานชนิด IgG ต่อเชื้อหัด ซึ่งทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตอย่างรวดเร็ว เช่น โรค Subacute Sclerosing Panencephalitis ( SSPE ) และโรควัวบ้าในคน หรือที่เรียกว่า โรคครอยท์ซเฟลตท์-จาคอบ ( Creutzfeldt-Jakob Disease : CJD ) ซึ่งมีสาเหตุจากพันธุกรรม และที่เกิดขึ้นเอง โดยจะแบ่งประเภทของโรคครอย์เฟลดท์-จาคอบ ออกเป็นดังนี้

1. โรคครอย์ซเฟลดท์-จาคอบ สำหรับผู้ป่วยที่เกิดอาการนี้เป็นระยะๆ หรือ Sporadic ในช่วงเริ่มต้น ผู้ป่วยจะมีอาการ เห็นภาพหลอน เห็นภาพแปลกๆ มีการเคลื่อนไหวผิดปกติ ซึ่งดูแล้วมีอาการคล้ายผู้ป่วยที่เป็นสมองเสื่อมพาร์กินสัน ซึ่งตัวจะบิดงอ เซ กระตุก ไม่พูด หรือ สื่อสารไม่ได้ ทรงตัวไม่อยู่ มีอาการเกร็ง เดินลำบาก ทรงตัวลำบาก ซึ่งจะมีชีวิตอยู่ได้ไม่นานและเสียชีวิตในสองปี เมื่อมีการตรวจเคลื่อนไฟฟ้าสมอง จะพบว่ามีลักษณะของคลื่นสมองที่ซับซ้อนเป็นสามระยะ ( Triphasic Complex ) ตรวจน้ำไขสันหลัง พบว่ามีสารโปรตีน 14-3-3 และโปรตีนเทา ( Tau ) สูง

2. โรคครอย์ซเฟลดท์-จาคอบ ชนิดแปรปรวน ( Variant ) เป็นอาการของผู้ป่วยที่อาการทางจิตประสาท มักจะมีอาการ หงุดหงิด คิดผิด หลงผิด ซึมเศร้า เฉยเมย มีการรับรุ้คามรู้สึกเพี้ยนไป มีอาการเดินเซ ร่างกายกระตุก บิด งอ มีอาการปวดแสปวดร้อนตามร่างกาย เมื่อทำการตรวจคลื่นไฟฟ้าสมองจะไม่พบความผิดปกติ เช่น ที่พบในโรคครอย์ซเฟลดท์-จาคอบ ที่เกิดเป็นระยะๆ แต่ภาพถ่ายคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าสมอง สามารถช่วยวินิจฉัยได้ว่าสมองเนื้อเทาส่วนที่อยู่ลึกได้ภาพที่เด่นชัดขึ้น

ในกลุ่มของผู้ป่วยที่เสียชีวิตภายใน 6 เดือน เมื่อนำชิ้นเนื้อสมองของผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมเร็ว หรือตัดต่อมทอนซิลมาตรวจด้วยการย้อนพิเศษ จะพบว่า เนื้อของสมองจะมีลักษณะคล้ายๆกับฟองน้ำ ซึ่งมีสารโปรตีนแทรกในสมอง
ซึ่งในบางครั้งผู้ป่วยกลุ่มนี้ จะมีอาการที่ดูแล้วคล้ายกับอาการของผู้ป่วยที่เป็นโรคสมองเสื่อมกลีบหน้า และกลีบขมับฝ่อ เพราะในช่วงแรกจะพูดภาษาสำเนียงเพี้ยน และต่อไปผู้ป่วยจะเงียบ ไม่พูด มีพฤติกรรมก้าวร้าว การเคลื่อนไหวผิดปกติ ตัวบิด งอ ซึ่งโรคนี้ยังไม่การรักษาโดยจำเพาะ แพทย์จะรักษาตามอาการ โดยการทดลองใช้ยาที่เคยได้ผล ซึ่งเป็นยาที่ไม่ได้เป็นยาที่ใช้รักษาตามมาตรฐาน เช่น แพทย์อาจทดลองใช้สารต้านอนุมูลอิสระ CoQ10 มาทำการรักษา ซึ่งผลที่ออกมาก็อาจจะยังไม่ดีเท่าที่ควร แต่จำเป็นต้องรักษาตามอาการ

โรคเอสแอลอี ( SLE : Systemic Lupus Erythematosus ) เป็นอีกโรคหนึ่งที่พบบ่อยในเมืองไทย ที่ผู้ป่วยจะมีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือ เรียกว่า แพ้ภูมิตัวเอง เป็นโรคที่อันตรายและต้องระมัดระวังตัวอย่างมากเพราะร่างกายสามารถสร้างสารขึ้นมาทำงายร่างกายตัวเองได้ จนทำให้ผู้ป่วยมีอาการสมองเสื่อม เห็นภาพหลอน บางครั้งมีอาการซึมเศร้า ซึ่งเป็นอาการที่คล้ายๆกับ โรคสมองส่วนหน้าเสีย เพราะทำอะไรก็ช้า อาจมีอาการชักร่วมด้วย

สาเหตุของโรคเอสแอลอี เกิดจากอาการทางสมองซึ่งมีหลายกลไก อาจจะมีผลมาจากเลือดไปเลี้ยงสมองเนื้อเทาและสมองเนื้อขาวไม่สมดุล จึงทำให้เกิดมีภูมิคุ้มกันสร้างออกมาทำลายส่วนของสมอง การรักษา แพทย์จะมักใช้เตียรอยด์ให้ทางหลอดเลือด ซึ่งการรักษาจะเหมือนกับการรักษาโรคเอสแอลอีที่ทำลายอวัยวะสำคัญส่วนอื่นๆ เช่น ปอด ไต และอีกสาเหตุที่พบในผู้ป่วยบ่อยๆ เลยก็คือ ภาวะภูมิแพ้ต่อมไทรอยด์ ชนิด ฮาชิโมโต ( Hashimoto’s Thyroiditis ) ทำให้สมองเสื่อมเร็ว จากที่ต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ ไม่สมดุล อาจทำงานน้อยไป หรือทำงานมากไป จึงมีการสร้างภูมิคุ้มกันทำลายต่อมไทรอยด์ จนเป็นภูมิแพ้ตนเองและส่งผลทำลายสมอง

โรคปลอกปลายเส้นประสาทสมองอักเสบ ( Multiple Sclerosis ) เป็นอีกโรคหนึ่ง ที่เกิดจากภูมิแพ้ตัวเอง ที่เกิดต่อปลอกเส้นประสาท โดยผู้ป่วยจะมีอาการตามองไม่เห็น เดินเซ ส่งผลให้ผู้ป่วยคิดช้า ในการรักษาแพทย์จะให้สเตรอยด์และยา สำหรับผู้ป่วยที่เป็นภูมิแพ้ของปลอกเส้นประสาท

และยังมีรายงานว่า กลุ่มอาการผู้ป่วยอันเนื่องมาจากเนื้องอก ( Paraneoplastic Syndrome ) ทำให้สมองเสื่อมเร็วนั้น เกิดจากที่ผู้ป่วยมีเนื้องอกและร่างกายของผู้ป่วยสร้างภูมิต้านทานออกมาต้านเนื้องอก จึงทำให้เกิดอาการสมองเสื่อมเร็วได้ ซึ่งผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีอาการชักกระตุก ตัวเกร็ง บิด หรืออาจเป็นอัมพฤกษ์อัมพาตร่วมด้วย

ในปัจจุบัน การที่จะวินิจฉัยโรคสมองเสื่อมเร็วทำได้ยาก และการรักษาก็ยุ่งยาก ยังไม่วิธีรักษาเฉพาะเจาะจงที่ชี้ชัดว่ารักษาโรคนี้เพราะมีหลายสาเหตุ ส่วนในทางวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ แพทย์จะทำการเจาะเลือดของผู้ป่วย พบว่ามีสารภูมิคุ้มกันจำเพาะ เช่น การรักษาด้วยสเตรอยด์ หรือ ให้อิมมโนโกลบลิน ทางหลอดเลือดดำ และทำการผ่าตัดเนื้องอกออก ซึ่งทำให้ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นได้ จะเห็นได้ว่า โรคสมองเสื่อมเร็ว เป็นโรคที่น่ากลัวมาก เพราะนอกจากจะเกิดจากหลายสาเหตุแล้ว ยังทำการรักษายาก แต่ในทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ในปัจจุบันมีความก้าวหน้าไปมาก จนทำให้การรักษาหายได้ในกลุ่มอาการผู้ป่วยที่เกิดจากเนื้องอกที่ผลทำให้สมองเสื่อมเร็ว

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

วรพรรณ เสนาณรงค์. รู้ทันสมองเสื่อม / รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงวรพรรณ เสนาณรงค์: กรุงเทพฯ: อมรินทร์เฮลท์ อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2559. (22), 225 หน้า: (ชุดชีวิตและสุขภาพ ลำดับที่ 207) 1.สมอง. 2.สมอง–การป้องกันโรค. 3.โรคสมองเสื่อม. 4.โรคอัลไซเมอร์. 616.83 ว4ร7 ISBN 978-616-18-1556-1.

Liu L, Drouet V, Wu JW, et al. (2012). Trans-synaptic spread of Tau Pathology in Vivo.
PLoS ONE. 7(2) : e31302.

Luk KC, Kehm V, Lee VM, et al. (2012). Pathological alpha-synuclein transmission
initiates Parkinson-like neurodegeneration in nontransgenic mice. Science. 338 : 949-953.

de Calignon A, Polydoro M, Suarez-Calvet M, et al. (2012). Propagation of tau pathology
in a model of early AD. Neuron. 73(4) : 685-697.

มะเร็งกระเพาะอาหาร เกิดจากกรดไหลย้อนเรื้อรังโดยไม่รู้ตัว

0
โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร (Gastric Cancer)
เป็นมะเร็งที่เกิดขึ้นบริเวณเยื่อบุภายในโพรงกระเพาะอาหาร เกิดขึ้นได้ทุกส่วนของกระเพาะอาการและกระจายสู่อวัยวะอื่น
โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร (Gastric Cancer)
มะเร็งกระเพาะอาหาร เกิดขึ้นได้ทุกส่วนของกระเพาะอาหาร อาการคล้ายโรคอื่นๆ เช่น โรคแผลในกระเพาะอาหาร โรคไวรัสลงกระเพาะได้

มะเร็งกระเพาะอาหาร

มะเร็งกระเพาะอาหาร ( Gastric Cancer ) มักเกิดขึ้นในเซลล์สร้างเมือกที่อยู่ในกระเพาะอาหาร จากสถิติพบว่ามะเร็งกระเพาะมักไม่แสดงอาการในระยะแรกจนกว่าจะมีการแพร่กระจายไปยังอวัยวะใกล้เคียงจึงทำให้การรักษาเป็นไปได้ยากมากและยังติด 1 ใน 10 อันดับ ของมะเร็งที่พบบ่อยในผู้ชายไทย แต่ในผู้หญิงจะไม่ค่อยพบมากนักมะเร็งชนิดนี้พบมากในผู้ที่มีอายุประมาณ 60 ปี พบได้จากหลายสาเหตุที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร ดังนี้

สาเหตุของการเกิดมะเร็งกระเพาะอาหาร

โดยทั่วไปจะตรวจพบเนื้องอกเมื่อเกิดการกลายพันธุ์ในดีเอ็นเอ ( DNA ) ทำให้เซลล์มะเร็งเจริญเติบโตและแบ่งตัวออกไปยังอวัยวะใกล้เคียงอย่างรวดเร็ว ซึ่งอาจมีความเชื่อมโยงกับผู้ที่เป็นโรคกรดไหลย้อนในทางเดินอาหารและโรคอ้วน ปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร เช่น เพศ อายุ เชื้อชาติ และอาชีพบางอย่าง

  • ชอบกินอาหารที่มีรสเค็ม
  • ชอบกินอาหารประเภทปิ่งย่างเป็นประจำ
  • ครอบครัวมีประวัติเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร
  • การติดเชื้อเชื้อเอชไพโลไร (Helicobacter Pylori)
  • กระเพาะอาหารเกิดการอักเสบเรื้อรัง
  • มีติ่งเนื้อในกระเพาะอาหารก่อนหน้า
  • เนื้องอกในส่วนอื่น ๆ ของระบบย่อยอาหาร
  • เป็นโรคกรดไหลย้อนเรื้อรัง
  • สูบบุหรี่ติดต่อกันเป็นระยะหลายปี
  • เคยผ่าตัดกระเพาะอาหารก่อนหน้านี้
  • โรคโลหิตจาง
  • โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
  • อาชีพคนงานในอุตสาหกรรมถ่านหินโลหะหนัก

อาการของมะเร็งกระเพาะอาหาร

มะเร็งกระเพาะอาหารอาการของโรคนี้ไม่มีอาการที่ชี้ชัดหรืออาการเฉพาะ โดยอาการส่วนใหญ่จะคล้ายกับอาการของโรคกระเพาะอาหารทั่วไปนั่นเอง สังเกตได้จากอาการต่อไปนี้

  • ปวดท้อง และท้องอืด
  • รู้สึกไม่สบายท้องและอาหารไม่ย่อย
  • มีอาการคลื่นไส้อาเจียน
  • เบื่ออาหารและกลืนลำบาก
  • ถ่ายอุจจาระออกมาเป็นสีดำ
  • อุจจาระเป็นเลือด
  • น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • มีภาวะดีซ่าน (ตาและผิวเหลือง)
  • มีน้ำในช่องท้องผิดปกติ
  • ร่างกายอ่อนเพลียผิดปกติ

มะเร็งกระเพาะอาหารในระยะที่มีการลุกลาม จะคลำพบก้อนเนื้อผิดปกติบริเวณลิ้นปี่ หรือบริเวณกระเพาะอาหาร

ระยะของมะเร็งกระเพาะอาหาร

มะเร็งกระเพาะอาหารมีทั้งหมด 4 ระยะ โดยแต่ละระยะก็จะมีอาการค่อยๆ รุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ คือ
ระยะที่ 1 เป็นระยะที่มะเร็งลุกลามไปยังกล้ามเนื้อของกระเพาะอาหารและลุกลามเข้าต้อมน้ำเหลือแต่ยังไม่เกิน 2 ต่อม ซึ่งยังไม่อันตรายมาก
ระยะที่ 2 เป็นระยะที่มะเร็งได้ลุกลามเข้าไปยังเนื้อเยื่อคุ้มกระเพาะอาหาร และลุกลามเข้าสู่ต่อมน้ำเหลืองใกล้เคียงมากกว่า 2ต่อมขึ้นไป
ระยะที่ 3 เป็นระยะที่มะเร็งได้ลุกลามโดยทะลุออกไปนอกเยื่อหุ้มกระเพาะอาหารและอวัยวะข้างเคียง รวมถึงลุกลามไปยังต่อมน้ำเหลืองใกล้เคียงเป็นจำนวนมากเช่นกัน
ระยะที่ 4 เป็นระยะที่มะเร็งได้แพร่กระจายเข้าสู่กระแสเลือด และลุกลามไปยังอวัยวะที่อยู่ไกลออกไปแล้ว โดยส่วนใหญ่ก็จะเริ่มจากตับและปอดนั่นเอง

การแพร่กระจายของมะเร็ง

สามารถแพร่กระจายผ่านทางเนื้อเยื่อของระบบน้ำเหลืองและเลือด

  • เนื้อเยื่อ : มะเร็งสามารถแพร่กระจายจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งเป็นการแพร่กระจายไปยังอวัยวะใกล้เคียงได้
  • ระบบน้ำเหลือง : มะเร็งสามารถแพร่กระจายจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง โดยผ่านทางท่อน้ำเหลืองไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
  • เลือด : มะเร็งแพร่กระจายจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง โดยผ่านเข้าสู่กระแสเลือดไหลผ่านหลอดเลือดไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย

การรักษา มะเร็งกระเพาะอาหารมีอะไรบ้าง

การรักษา มะเร็งกระเพาะอาหารจะใช้วิธีการผ่าตัด และประเมินระยะของโรคเพื่อพิจารณาการรักษาเพิ่มเติม โดยส่วนใหญ่ก็จะใช้วิธีการรักษาด้วยรังสีรักษาและการทำเคมีบำบัดควบคู่ไปกับการผ่าตัดด้วย แต่ทั้งนี้จะเลือกวิธีไหนดีนั้นก็ต้องขึ้นอยู่กับอายุและสุขภาพของผู้ป่วยเช่นกัน แบ่งออกเป็น 3 วิธีหลักๆ คือ
1. การผ่าตัด โดยการส่องกล้องหากพบรอยโรคผิดปกติสามารถตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจได้ หรือพบติ่งเนื้อก็สามารถตัดออกผ่านทางการส่องกล้องได้ทันที
2. การใช้รังสีรักษาหรือการฉายแสง เพื่อยับยั้งเซลล์มะเร็งและหยุดการเจริญเติบโตของเชื้อมะเร็งกระเพาะอาหาร
3. การทำคีโม หรือเคมีบำบัด เป็นการรักษามะเร็งเพื่อหยุดการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งกระเพาะอาหาร

การป้องกันมะเร็งกระเพาะอาหารเบื้องต้นด้วยตนเอง

  • กินอาหารที่มีประโยชน์อุดมไปด้วยไฟเบอร์ เช่น ผัก ผลไม้หลากสีและธัญพืชไม่ขัดสี
  • หลีกเลี่ยงอาหารประเภทปิ้งย่างที่ไหม้เกรียม
  • เลิกสูบบุหรี่
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • หลีกเลี่ยงอาหารแปรรูป
  • กำหนดการดื่มเครื่องดื่มที่มีรสหวานของน้ำตาล
  • หลีกเลี่ยงหรือจำกัดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

อย่างไรก็ตามโรคมะเร็งกระเพาะอาหารที่มีความรุนแรงแบ่งได้ตามระยะของโรค การรักษาให้หายขาดจึงอาจเป็นเรื่องยากสักนิด ซึ่งพบว่ามีโอกาสในการรักษาให้หายขาดน้อยมาก โดยจะขึ้นอยู่กับการผ่าตัดเอาก้อนเนื้อมะเร็งออกไปหมด ร่างกายของผู้เข้ารับการรักษาพร้อมสำหรับการรักษาในครั้งต่อไปหรือไม่หากแพทย์พบว่าผู้ป่วยมีภาวะเกล็ดเลือดต่ำก็ไม่สามารถทำการรักษามะเร็งกระเพาะอาหารต่อได้ดังนั้นผู้ป่วยมะเร็งควรเสริมด้วยอาหารทางการแพทย์ที่มีโปรตีนและสารอาหารที่จำเป็นต่อการรักษา ออรัล อิมแพค

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิงพวงทอง ไกรพิบูลย์. รู้ก่อนเข้าใจการตรวจรักษามะเร็ง. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2557.

World Cancer Report 2014. World Health Organization. 2014. pp. Chapter 5.4. ISBN 9283204298.

Chang, A. H.; Parsonnet, J. (2010). “Role of Bacteria in Oncogenesis”. Clinical Microbiology Reviews. 23 (4): 837–857. doi:10.1128/CMR.00012-10. ISSN 0893-8512. PMC 2952975 Freely accessible. PMID 20930075.

González CA, Sala N, Rokkas T; Sala; Rokkas (2013). “Gastric cancer: epidemiologic aspects”. Helicobacter. 18 (Supplement 1): 34–38. doi:10.1111/hel.12082. PMID 24011243.

มะเร็งต่อมน้ำเหลือง ( Lymphoma )

0
เกิดก้อนเนื้อที่โตขึ้นที่ลำคอ
เกิดก้อนเนื้อที่โตขึ้นที่ลำคอ
มะเร็งต่อมน้ำเหลืองเกิดขึ้นที่ลำคอ
ต่อมน้ำเหลืองทั้งหมดในร่างกายสามารถเกิดเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองได้ ซึ่งส่วนมากพนที่ลำคอ

มะเร็งต่อมน้ำเหลือง

ต่อมน้ำเหลืองโดยปกติแล้วจะมีหน้าที่ในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ให้ร่างกายมีความแข็งแรงและห่างไกลจากโรคร้ายต่างๆ มากขึ้น ซึ่งต่อมน้ำเหลืองก็จะมีลักษณะเป็นเนื้อเยื่อกระจายอยู่ทั่วร่างกายของคนเรา โดยเฉพาะบริเวณรักแร้ ขาหนีบ ช่องอก อุ้งเชิงกรานช่องท้องและต่อมทอนซิล เป็นต้น โดยทั้งนี้ต่อมน้ำเหลืองทั้งหมดสามารถเกิดเป็น มะเร็งต่อมน้ำเหลือง ( Lymphoma ) ได้ทั้งสิ้น แต่ที่พบได้มากและบ่อยที่สุดก็คือบริเวณลำคอ ขาหนีบและรักแร้นั่นเอง นอกจากนี้ก็ยังพบได้ที่ลำไส้เล็ก สมองและกระเพาะอาหารได้อีกด้วย ดังนั้นจึงควรดูแลสุขภาพของตัวเองให้ดีอยู่เสมอ เพื่อให้ห่างไกลจากโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองประเภทของมะเร็งต่อมน้ำเหลือง แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดฮอดจ์กิน (Hodgkin Lymphoma)และชนิดนอนฮอดจ์กิน (Non-Hodgkin Lymphoma) โดยส่วนใหญ่ในประเทศไทย จะพบมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดนอนฮอดจ์กินมะเร็งต่อมน้ำเหลือง พบบ่อยมากแค่ไหน มะเร็งต่อมน้ำเหลืองส่วนมากจะพบได้มากในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง และพบในผู้ใหญ่มากใน 10 อันดับแรกของโรคร้าย รวมถึงพบได้มากในเด็ก ซึ่งติดอยู่ในอันดับที่ 3 ของโรคมะเร็งที่พบบ่อยในเด็กไทยเลยทีเดียว โดยทั้งนี้โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองก็จะมีหลายชนิดด้วยกัน และมีความรุนแรงของโรคที่ต่างกันไปตามแต่ละชนิดอีกด้วย โดยสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ กลุ่มน็อนฮอดจ์กิน และกลุ่มฮอดจ์กิน ซึ่งชนิดน็อนฮอดจ์กินจะมีความรุนแรงมากกว่า

สาเหตุของมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

สาเหตุของการป่วยด้วยโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ยังไม่พบแน่ชัด แต่เชื่อว่าโรคนี้เกิดขึ้นจากหลายปัจจัยเสี่ยงด้วยกัน ซึ่งได้แก่

  • ความผิดปกติของพันธุกรรมบางชนิดก่อให้เกิดมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ซึ่งก็มีทั้งพันธุกรรมชนิดที่ถ่ายทอดได้และถ่ายทอดไม่ได้ โดยจะมีหน้าที่เกี่ยวกับการควบคุมการแบ่งตัวและการตายของเซลล์ปกตินั่นเอง
  • ร่างกายได้รับเชื้อไวรัสบางชนิด ที่ไปกระตุ้นให้เกิดมะเร็งต่อมน้ำเหลือง เช่น เชื้อไวรัสเอชไอวี
  • มะเร็งต่อมน้ำเหลืองอาจเกิดจากการติดเชื้อของแบคทีเรียบางชนิด เช่น เชื้อแบคทีเรียเอชไพโลไร
  • ภูมิคุ้มกันของร่างกายเกิดความบกพร่อง ส่วนใหญ่จะเกิดได้ในคนที่เป็นโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือในคนที่มีการปลูกถ่ายอวัยวะ อาจเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองได้
  • ร่างกายได้รับสารเคมีบางชนิดสะสมนานเกินไป จนก่อให้เกิดมะเร็ง

ต่อมน้ำเหลืองทั้งหมดในร่างกายสามารถเกิดเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองได้ทั้งสิ้น แต่ที่พบได้มากและบ่อยที่สุดก็คือบริเวณลำคอ ขาหนีบและรักแร้

อาการของ มะเร็งต่อมน้ำเหลือง

มะเร็งต่อมน้ำเหลืองยังไม่พบอาการที่ชี้เฉพาะ โดยจะมีอาการคล้ายกับการอักเสบของต่อมน้ำเหลืองทั่วไป แต่อาการที่พบได้บ่อยก็คือ 

  • อาการต่อมน้ำเหลืองโต แต่ไม่มีอาการเจ็บ โดยสามารถคลำเจอได้
  • ในกรณีที่เป็นโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่อวัยวะต่างๆ ก็จะมีอาการแบบเดียวกันกับโรคมะเร็งที่อวัยวะนั้นๆ นั่นเอง
  • มีอาการไข้สูงติดต่อกันหลายวัน มักจะเป็นแบบเป็นๆ หายๆ น้ำหนักลดผิดปกติ มีอาการเหงื่อออกเยอะในตอนกลางคืน ซึ่งอาการเหล่านี้ก็ไม่สามารถที่จะหาสาเหตุได้พบ อย่างไรก็ตามในบางคนก็อาจไม่มีอาการเหล่านี้ได้เหมือนกัน โดยนั่นแสดงว่าความรุนแรงของโรคต่ำกว่าผู้ที่มีอาการนั่นเอง

อาการเริ่มต้นของมะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่พบได้บ่อย

  • พบก้อนที่บริเวณต่าง ๆของร่างกาย เช่น ที่คอ รักแร้ หรือ ขาหนีบ โดยก้อนที่เป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองนั้น มักไม่เจ็บต่างจากการติดเชื้อที่มักมีอาการเจ็บที่ก้อน
  • ปวดศีรษะ
  • ไข้ หนาวสั่น
  • มีเหงื่อออกมากตอนกลางคืน
  • เบื่ออาหาร และน้ำหนักลด
  • อ่อนเพลียโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • ไอเรื้อรัง และหายใจไม่สะดวก
  • ต่อมทอนซิลโต
  • อาการคันทั่วร่างกาย

อาการของมะเร็งต่อมน้ำเหลืองในระยะลุกลาม

  • ในผู้ป่วยบางราย จะพบอาการปวดที่ต่อมน้ำเหลือง หลังการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
  • ในรายที่เป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองภายในช่องท้อง จะพบอาการแน่นท้อง หรืออาหารไม่ย่อยได้
    ต่อมน้ำเหลืองที่โตจะมีผลกดเบียดอวัยวะข้างเคียง เช่น หลอดเลือด หรือเส้นประสาท อาจทำให้เกิดอาการชา หรือ ปวด ตามแขนขาได้

รู้ได้อย่างไรว่ากำลังเป็น มะเร็งต่อมน้ำเหลือง

การจะรู้ได้อย่างไรว่ากำลังเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองหรือไม่นั้น สามารถตรวจได้จากการวินิจฉัยโดยแพทย์ ซึ่งแพทย์จะทำการสอบถามประวัติอาการป่วย ตรวจร่างกายและตัดชิ้นเนื้อจากต่อมน้ำเหลืองออกไปตรวจทางพยาธิวิทยาเพื่อหาผลการตรวจที่แน่ชัดที่สุด นอกจากนี้ก็จะทราบด้วยว่าผู้ป่วยอยู่ในระยะที่เท่าไหร่ของโรคแล้ว

ระยะของมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

ระยะโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองแบ่งออกได้เป็นทั้งหมด 4 ระยะ ได้แก่

มะเร็งต่อมน้ำเหลืองระยะที่ 1 เป็นระยะที่โรคมะเร็งเกิดขึ้นกับต่อมน้ำเหลืองเพียงกลุ่มเดียวเท่านั้น และยังอยู่ในภาคเดียวกันกับกระบังลม

มะเร็งต่อมน้ำเหลืองระยะที่ 2 เป็นระยะที่มะเร็งได้เกิดขึ้นกับต่อมน้ำเหลืองหลายกลุ่มด้วยกัน แต่ก็ยังอยู่ในฝั่งเดียวกันกับกระบังลมอยู่ดี นอกจากนี้ก็ยังอาจจะลุกลามเข้าไปยังต่อมน้ำเหลืองบริเวณใกล้เคียงแล้วอีกด้วย

มะเร็งต่อมน้ำเหลืองระยะที่ 3 เป็นระยะที่มะเร็งได้เกิดกับต่อมน้ำเหลืองหลายต่อม เกิดขึ้นทั้งสองฟากของกระยังลม และลุกลามไปยังต่อมน้ำเหลืองหลายบริเวณด้วยกัน

มะเร็งต่อมน้ำเหลืองระยะที่ 4 เป็นระยะที่มะเร็งได้แพร่กระจายเข้าสู่กระแสเลือดไปทั่วร่างกาย ซึ่งเป็นอันตรายอย่างมาก ส่วนใหญ่จะพบการแพร่ไปยังไขสันหลัง สมองและไขกระดูกได้เป็นอันดับแรกๆ

การรักษามะเร็งต่อมน้ำเหลือง

การรักษามะเร็งต่อมน้ำเหลืองจะใช้วิธีการรักษาด้วยการทำเคมีบำบัดและการใช้รังสีรักษา ซึ่งจะใช้เพียงวิธีเดียว หรือทั้งสองวิธีควบคู่ไปนั้นก็จะต้องขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์ด้วยนั่นเอง นอกจากนี้ในกรณีที่โรคมีการลุกลามในระดับรุนแรง ก็จะมีการรักษาด้วยยาที่ใช้รักษาตรงเป้ารวมถึงการปลูกถ่ายไขกระดูก แต่จะมีค่าใช้จ่ายในการรักษามะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่สูงมาก ผู้ป่วยจึงไม่สามารถเข้าถึงวิธีนี้ได้ทุกคน ส่วนจะรักษาให้หายขาดได้หรือไม่นั้น ก็จะต้องขึ้นอยู่กับชนิดของเซลล์มะเร็งและระยะของโรคด้วย โดยหากพบว่าเป็นมะเร็งในระยะที่ 3 และ ระยะที่ 4 จะมีโอกาสรักษาให้หายได้ยากมากทีเดียวสามารถตรวจคัดกรอง มะเร็งต่อมน้ำเหลืองได้ไหมการจะตรวจคัดกรองให้พบมะเร็งต่อมน้ำเหลืองตั้งแต่ระยะเริ่มแรกนั้น ยังไม่มีวิธีการตรวจที่มีประสิทธิภาพ ดังนั้นจึงต้องคอยสังเกตความผิดปกติของตนเองอยู่เสมอ โดยเฉพาะหากพบว่าต่อมน้ำเหลืองมีขนาดโตผิดปกติจนสามารถคลำได้ ให้รีบไปพบแพทน์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยในทันที

การดูแลตนเองในระหว่างเข้ารับการรักษามะเร็ง

  • ทำตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
  • รับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูง ตามคำแนะนำของแพทย์ผู้รักษา
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ดูแลสุขอนามัยให้สะอาดอยู่เสมอ
  • สามารถรับประทานอาหารเสริมที่ช่วยเพิ่มเม็ดเลือดจะส่งผลดีต่อการรักษาในครั้งต่อไป
  • หมั่นสังเกตอาการที่ผิดปกติไปจากเดิม และรีบไปพบแพทย์ทันที

มีวิธีป้องกัน มะเร็งต่อมน้ำเหลืองไหม

เนื่องจากโรคนี้ยังไม่พบสามารถที่แท้จริงและไม่สามารถตรวจคัดกรองได้ จึงยังไม่มีวิธีการป้องกันที่ดีเช่นกัน ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดก็คือการหลีกเลี่ยงทุกปัจจัยเสี่ยงที่อาจเป็นสาเหตุของโรคนั่นเอง

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิงพวงทอง ไกรพิบูลย์. รู้ก่อนเข้าใจการตรวจรักษามะเร็ง. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2557.

World Cancer Report 2014. World Health Organization. 2014. pp. Chapter 5.4. ISBN 9283204298.

“General Information About Adult Non-Hodgkin Lymphoma”. National Cancer Institute. 2014-04-25. Archived from the original on 5 July 2014. Retrieved 20 June 2014.

Becker, N; Nieters, A; Brennan, P; Boffetta, P; Cocco, P; Hjalgrim, H (September 2013). “Cigarette smoking and risk of Hodgkin lymphoma and its subtypes: a pooled analysis from the International Lymphoma Epidemiology Consortium (InterLymph)”. Annals of Oncology. 24 (9): 2245–55. doi:10.1093/annonc/mdt218. PMC 3755332 Freely accessible. PMID 23788758.

“Hodgkin Lymphoma—SEER Stat Fact Sheets”. Seer.cancer.gov. Archived from the original on 2012-10-17. Retrieved 2012-08-26.

ผลข้างเคียงจากการรักษาด้วยเคมีบำบัด หรือ คีโม

0
ผลกระทบจากการรักษาด้วยเคมีบำบัด
ยาเคมีบำบัดนอกจากจะทำลายเซลล์มะเร็งแล้ว ยังมีผลกระทบต่อเซลล์ปกติที่แบ่งตัวเร็วในร่างกายด้วย
ผลข้างเคียงจากการรักษาด้วยเคมีบำบัด หรือ คีโม
ยาเคมีบำบัดนอกจากจะทำลายเซลล์มะเร็งแล้ว ยังมีผลกระทบต่อเซลล์ปกติที่แบ่งตัวเร็วในร่างกายด้วย

เคมีบำบัด คือ

เคมีบำบัด ( Chemotherapy ) หรือ คีโม ปัจจุบันนี้โรคมะเร็งเป็นโรคที่คร่าชีวิตของคนไปเป็นจำนวนมาก จึงได้มีการพัฒนาวิธีการรักษามะเร็งอย่างได้ผลออกมาตลอดเวลา ซึ่งทุกวิธีที่ใช้รักษามะเร็งต่างก็มุ่งหวังที่จะกำจัดเซลล์มะเร็งที่มีอยู่ในร่างกายให้ออกไปจนหมดอย่างถาวรและไม่กลับเข้ามาในร่างกายของผู้ป่วยอีกครั้ง สำหรับมะเร็งที่มีการเจริญเติบโตจำกัดอยู่เฉพาะที่การรักษาด้วยการผ่าตัดและการฉายรังสีน่าจะเป็นการรักษาที่เหมาะสมกับมะเร็งชนิดนี้แล้ว แต่ทว่าบางครั้งการรักษามะเร็งดังกล่าวก็ไม่สามารถที่จะกำจัดเซลล์มะเร็งให้หมดไปจากร่างกายได้ เนื่องจากมีการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งเกิดขึ้นในระดับที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าหรือการตรวจหาเชื้อมะเร็งบางชนิด ทำให้ผู้ที่ทำการรักษามะเร็งแบบเฉพาะที่นั้นมีอัตราเสี่ยงที่จะกลับมาเป็นมะเร็งได้อีก ด้วยเหตุนี้จึงได้มีการพยายามทีจะค้นหาวิธีที่จะรักษาทั้งระบบเพื่อที่ผู้ป่วยจะได้ไม่กลับมาเป็นมะเร็งอีกครั้ง

ในปี ค.ศ.1946 Gilmam และ Philips ได้ทำการรักษาแบบทั้งระบบครั้งแรกกับคนไข้ และในปี ค.ศ. 1947 Farber และคณะได้ทำการรักษาด้วยการใช้เคมีบำบัดซึ่งเป็นวิธีการรักษาทั้งระบบที่นับเป็นวิธีที่ทรงประสิทธิภาพมากที่สุดจนถึงทุกวันนี้ ต่อมาได้ค้นพบว่าฤทธิ์ในการต่อต้านมะเร็งของสารที่สามารถกระตุ้นการตอบสนองของร่างกายต่อการอักเสบติดเชื้อและโรคปกติ ( Biological Response Modifiers ) และ Immunotherapeutic Agent ซึ่งถือว่าเป็นการเพิ่มที่ดี เพราะเป็นการเพิ่มของสารที่ใช้ในการต่อต้านมะเร็งให้มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น ถึงแม้ว่าการรักษาทั้งระบบจะมีข้อดีแต่ก็ยังมีข้อจำกัดเกี่ยวกับความเป็นพิษต่อเนื้อเยื่อปกติที่เกิดจากยาเหล่านี้ด้วย ซึ่งมีหลักการตัดสินใจเลือกวีธีการรักษามะเร็งด้วยเคมีบำบัดนั้นต้องคำนึกถึงความเป็นพิษที่อาจะเกิดขึ้นในการตัดสินใจด้วย

เคมีบำบัดกับการรักษามะเร็ง

หลักการที่ใช้ในการทำเคมีบำบัดรักษาโรคมะเร็งส่วนมากจะมาจากการสังเกตและประสบการณ์จากผลที่เกิดขึ้นจริงในการรักษาผู้ป่วย ไม่ได้มีเอกสารหรือเหตุผลเชิงวิชาการเข้ามาประกอบในการออกแบบการใช้เคมีบำบัด เช่น การรักษามะเร็งที่ใช้ยาหลายชนิดรวมกัน ( Multiagents Therapy ) ซึ่งจากการสังเกตุพบว่าการใช้ยาชนิดเดียวในการรักษาไม่สามารถรักษามะเร็งให้หายขาดได้ การรักษาด้วยการใช้ยาหลายชนิดกลับทำให้มะเร็งหายขาดได้ แต่ว่าการที่นำยาหลายชนิดมาใช้ร่วมกันในการรักษาเพียงครั้งเดียวก็มีข้อจำกัดตามหลักทางเคมีและเภสัชศาสตร์ คือ

1. ชนิดของยาคีโม ยาที่นำมาใช้ร่วมกันในการรักษาแบบเคมีบำบัดมีอยู่เพียงไม่กี่ชนิดเท่านั้น ที่สามารถนำมาเลือกใช้ในการรักษาได้

2. ความเป็นพิษของเคมีบำบัด ยาแต่ละชนิดจะมีความเป็นพิษเฉพาะตัวอยู่ด้วย ดังนั้นการที่จะนำยามาใช้ร่วมกันต้องศึกษาถึงความเป็นพิษของยาแต่ละชนิดและศึกษาความพิษเมื่อนำยามาใช้ร่วมกันได้ ซึ่งความพิษที่รับได้นั้น ได้มีการควบคุมอย่างชัดเจน

ในต้นทศวรรษที่ 60 ได้เกิดความสำเร็จครั้งแรกในการรักษามะเร็งต่อมน้ำเหลือง ( Hodgin’s Disease )

ที่รักษาด้วยการใช้ยา MOPP ร่วมกับ Acute Lymphoblastic Leukemia ( All ) จากการรักษาดังกล่าวเป็นการตอกย้ำถึงความสำคัญในการใช้เคมีบำบัดหลายชนิดที่มีกลไกการออกฤทธิ์ที่แตกต่างกันจะสามารถช่วยรักษามะเร็งอย่างได้ผลมากขึ้น

Goldie และ Coldman ได้มีการเสนอทฤษฏีที่ว่า “ การออกแบบสูตรยาที่ใช้ในการรักษามะเร็ง ต้องคำนึกถึงว่ายาแต่ละชนิดที่นำมาใช้ร่วมกันต้องไม่มีกลไกในการดื้อยาร่วมกัน ”

แนวทางในการออกแบบสูตรยาที่ใช้ในการรักษา

1.ยาที่นำมาใช้แต่ละชนิดต้องสามารถรักษามะเร็งด้วยตัวเองอย่างชัดเจนหรือไม่เป็นยาที่เข้าไปเสริมฤทธิ์ยาของยาตัวอื่นที่อยู่ในสูตรยาให้ออกฤทธิ์ได้มากขึ้น โดยที่ยาแต่ละชนิดที่นำมาใช้ต้องมีกลไกการทำงานหรือกลไกการออกฤทธิ์ที่ชัดเจน แตกต่างกันจึงจะร่วมอยู่ในสูตรยาเดียวกันได้ และมีกลไกการดื้อยาร่วมกัน ยาที่นำมารวมกันต้องมีฤทธิ์ที่เสริมซึ่งกันและกัน ห้ามใช้ยาที่ไม่ทราบถึงกลไกการออกฤทธิ์ที่ไม่ชัดเจนในการทำลายมะเร็ง เพราะจะถือว่ายาชนิดดังกล่าวเมื่อเข้าไปอยู่ในสูตรยาแล้ว ยาชนิดนี้จะเข้าไปต้านฤทธิ์ยาตัวอื่นทำให้ผลจากยาที่ทำการรักษาไม่ได้ผลเต็มที่

2.การออกแบบตารางยา ควรออกแบบให้ยาส่งผลในการรักษาเร็วที่สุดและทำลายเซลล์มะเร็งในได้มากที่สุดไปพร้อม ๆ กัน เพื่อป้องกันการเจริญเติบโตของเซลล์ที่ดื้อยา ส่งผลให้การรักษาในครั้งต่อไปได้ผลไม่ดีต้องเพิ่มปริมาณยาในการรักษา ซึ่งจะไม่ส่งผลดีต่อผู้ป่วย

3.ควรเลือกยาที่มีความพิษทับซ้อนกันน้อยที่สุดในการออกแบบสูตรยา เพื่อหลีกเลี่ยงการลดขนาดความสามารถในการออกฤทธิ์ของยาตัวอื่นในสูตรยา เพราะความเป็นพิษของยาบางชนิดจะสามารถเข้าไปลดการออกฤทธิ์ของยาอีกชนิดหนึ่งได้

ความเป็นพิษของการรักษาด้วยเคมีบำบัด

การรักษาด้วยเคมีบำบัดย่อมมีความเป็นพิษเกิดขึ้นตามมาด้วยเสมอ ซึ่งปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการทนความพิษเมื่อได้รับการรักษาด้วยเคมีบำบัด คือ ชนิดของยาที่ใช้ ขนาดของยาที่ใช้ การออกแบบสูตรของยาที่ใช้ ตารางการให้ยาในขั้นตอนการรักษา และการทำการรักษารูปแบบอื่นที่มารักษาร่วมกับการใช้เคมีบำบัด ซึ่งแต่ละปัจจัยล้วนแต่เป็นปัจจัยที่จะส่งผลต่อความเป็นพิษของเนื้อเยื่อ

” การรักษาด้วยเคมีบำบัดย่อมมีความเป็นพิษเกิดขึ้นตามมาด้วยเสมอ “

ดังนั้นในการรักษานอกจากเราจะต้องคิดถึงค่าการออกฤทธิ์ต่อต้านมะเร็งของยาที่ใช้ในการรักษาแล้ว เราต้องคำนึงถึงค่า Therapeutic Index หรือค่าสัดส่วนขนาดของยาที่ทำให้เกิดพิษจนเกิดอันตรายร้ายแรง กับ ปริมาณยาที่ส่งผลต่อการต่อต้านมะเร็ง นั่นคือ ยาที่จะนำมารักษาผู้ป่วยได้ต้องมีค่า Therapeutic Index สูงพอที่จะสามารถทำลายเซลล์มะเร็งได้และค่าความเป็นพิษที่เกิดขึ้นก็อยู่ในระดับที่ไม่เป็นอันตรายร้ายแรงด้วย แต่ก็มีข้อควรระวังเช่นกันสำหรับการเลือกใช้ยาเพราะว่ายาบางชนิดที่อยู่ในสูตรยาจะมีค่า Therapeutic Index ที่เปลี่ยนไปเมื่อใช้คู่กับยาตัวอื่น ๆ หรือว่าค่า Therapeutic Index อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงเนื่องจากสภาวะของผู้ป่วยที่ส่งผลให้ค่า  Therapeutic Index ของยาเปลี่ยนไป เช่น ค่า Therapeutic Index ของยาเมโธเทรกเซค ( Methotrexate ) อาจจะมีค่าเปลี่ยนแปลงส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการ Third Space Fluid อย่างการท้องบวม ( Ascites ) หรือภาวะน้ำในโพรงเยื่อหุ้มปอดสูง ( Pleural Effusion ) ส่งผลให้การขับถ่ายของร่างกายช้าลง และการกระจายตัวกับการดูดซึมของยาเมโธเทรกเซคก็อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงไปด้วย และเมื่อมีการสะสมของยาใน Third Space Fluid ก็จะทำให้ครึ่งชีวิต ( Terminal haft Life ) ของยามีความยาวนานขึ้น ส่งผลให้ยามีการสะสมได้ยาวนานขึ้น และมีความเสี่ยงในการเกิดกดไขกระดูก ( Myelosuppression ) และการอักเสบเยื่อบุชองปาก ( Mucositis ) ซึ่งการเกิดกรณีเช่นนี้เราสามารถแก้ไขได้ด้วยการระบาย Third Space Fluid ออกไปให้หลงเหลือในปริมาณที่น้อยลงก่อนหรือปรับปริมาณยา สูตรยาที่ใช้ในการรักษาให้เหมาะสมกับสภาวะของผู้ป่วย เพื่อลดความเป็นพิษที่อาจเกิดจากการใช้เคมีบำบัดได้

หลายคนคิดว่าอายุของผู้ป่วยมีความสำคัญในการนำมาคำนวนปริมาณและการออกแบบสูตรยา แต่แท้ที่จริงแล้วอายุของผู้ที่รับการรักษาไม่มีผลต่อการออกแบบสูตรยาเลยแม้แต่น้อย เพราะว่าจากการสังเกตุพบว่าผู้ป่วยบางคนที่มีอายุเท่ากันบางคนเกิดพิษมาก บางคนเกิดพิษน้อยหรือไม่เกิดพิษเลย จึงไม่สามารถสรุปได้ว่าอายุมีผลต่อการเกิดพิษจากการรักษาด้วยเคมีบำบัด ในทางตรงกันข้ามกลับพบว่าผู้ป่วยที่มีอายุมากบางคนมีความทนทานต่อการผลข้างเคียงหรือการเกิดพิษของการใช้เคมีบำบัดได้ดีกว่าคนที่มีอายุน้อยเสียด้วย และการที่ผู้ป่วยจะเสียชีวิตหรือรอดชีวิตนั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับความเป็นพิษที่ได้รับจากการใช้เคมีบำบัด แต่กลับพบว่าขึ้นอยู่กับปริมาณของยาที่ใช้ว่าเพียงพอที่จะออกฤทธิ์ทำลายเซลล์มะเร็งได้หรือไม่มากกว่าความเป็นพิษที่ได้รับจากการใช้เคมีบำบัด

นอกจากปัจจัยที่กล่าวมาแล้ว ยังมีอีกหนึ่งอย่างที่ส่งผลต่อความเป็นพิษของการใช้เคมีบำบัดเพื่อรักษาโรคมะเร็ง นั่นคือ ความผิดปกติทางพันธุกรรม แต่ทว่าความเป็นพิษที่เกิดจากสาเหตุนี้มีผลค่อนข้างน้อยและจะพบได้กับการใช้ยาบางชนิดเท่านั้น เช่น การเกิดความเป็นพิษจาก Vinca Alkaloid ต่อระบบประสาทที่มีลักษณะเพิ่มขึ้นในโรค Charcot-Marie-Tooth เป็นต้น

ถึงอย่างไรก็ตามการศึกษาด้าน Therapeutic Index ที่เกิดขึ้น ต้องทำการศึกษาอย่างละเอียดถึงอิทธิพลและปัจจัยที่ส่งผลต่อค่าความเป็นพิษกับปริมาณของยาที่ใช้ ในขณะที่ใช้เพียงยาชนิดเดียวและการใช้ยาหลายชนิดรวมกัน เพื่อที่ผลการรักษาโรคมะเร็งด้วยเคมีบำบัดจะสามารถทำลายมะเร็งได้อย่างเด็ดขาด และผู้ป่วยก็ได้รับผลกระทบหรือความเป็นพิษจากเคมีบำบัดน้อยที่สุด

ความเข้มข้นของยาที่ใช้ในการรักษาแบบเคมีบำบัด ( คีโม )

คีโมกับความเข้มข้นของยา ( Dose Rate ) คือปริมาณยาที่ใช้ภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ ( Dose Rate / Dose Density ) อย่างที่เราทราบกันดีว่าระยะเวลาและตารางการให้ยานั้นส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานและความเป็นพิษของยาในการรักษาเป็นอย่างมาก จึงได้มีการศึกษาเกี่ยวความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณของยาที่ใช้กับการทำลายเซลล์มะเร็งที่มีการเจริญเติบโตสูงในสัตว์ทดลองโดยมีการศึกษาแบบ Linear-Log พบว่าการเพิ่มปริมาณยาขึ้น 2 เท่าปรากฏว่ายาสามารถทำลายเซลล์มะเร็งได้มากขึ้นถึง 10 เท่าเลย แต่ในทางกลับกันถ้าเราลดปริมาณยาลงเพียงแค่ 20 % เท่านั้นประสิทธิภาพในการทำลายเซลล์มะเร็งกลับลดลงถึง 50 % เลยทีเดียว ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่าจำนวนเซลล์มะเร็งที่ถูกทำลายในแต่ละครั้งของการใช้เคมีนั้นมีค่าน้อย ดังนั้นการเพิ่มปริมาณยาจึงช่วยเพิ่มจำนวนเซลล์มะเร็งที่ถูกทำลายไปได้นั่นเอง

Hryniuk ได้ทำการวิเคราะห์และค้นพบแนวคิดที่น่าสนใจ คือ “ ความเข้มข้นของยาส่งผลในการตอบสนองต่อการรักษาโดยยาในการรักษามะเร็งเต้านมด้วยคีโมและมะเร็งรังไข่ด้วย คีโม กับช่วงระยะเวลาที่รอดชีวิตโดยที่ไม่มีรอยโรค ” และจาการวิเคราะห์ผลด้วยวิธี Intermediated Grade Lymphoma ก็แสดงออกมาในรูปแบบเชิงบวกเช่นเดียวกันด้วย นั่นคือเมื่อเพิ่มปริมาณยาความสามารถในการทำลายเซลล์มะเร็งก็เพิ่มสูงขึ้นด้วย แต่ทว่าการที่จะออกแบบสูตรยาสำหรับการรักษาด้วยเคมีบำบัดนั้น ต้องคำนึกด้วยว่าปริมาณยาที่เพิ่มขึ้นหรือมากเกินไปอาจจะส่งผลช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาโรคมะเร็ง แต่ก็สามารถสร้างความเสียหายที่รุนแรงให้เนื้อเยื่อปกติที่อยู่บริเวณดังกล่าวด้วย ซึ่งทำให้เนื้อเยื่อที่บริเวณดังกล่าวไม่สามารถฟื้นตัวได้ทันกับการให้ยาในครั้งต่อไป ส่งผลให้ความเป็นพิษที่ได้รับในครั้งต่อไปจะสูงขึ้น

ดังนั้นแล้วการที่จะเพิ่มปริมาณยาที่ใช้การรักษาผู้ป่วยจะต้องเลือกความเข้มข้นของยา อัตราการใช้ยาในออกแบบสูตรยาต้องปรับขนาดความเข้มข้นของยาให้ระดับความเป็นพิษเหมาะสมกับร่างกายด้วย การรักษาจึงจะส่งผลดีต่อตัวผู้ป่วยทั้งในระยะสั้นและระยะยาวต่อไป

การป้องกันเนื้อเยื่อปกติจากความเป็นพิษของการทำเคมีบำบัด

จุดประสงค์หลักของการใช้เคมีบำบัด คือ การให้เคมีทำลายเซลล์มะเร็งที่เกิดขึ้น แต่สิ่งที่ตามมากับการให้เคมีบำบัดคือความเป็นพิษที่เกิดขึ้นทั้งกับเนื้อเยื่อที่เป็นมะเร็งและเนื้อเยื่อปกติ ซึ่งความเป็นพิษที่เกิดกับเนื้อเยื่อปกติเป็นสิ่งที่ไม่ต้องการให้เกิดขึ้น ความเป็นพาที่เกิดขึ้นนี้สามารถเปลี่ยนแปลงหรือลดลงได้ด้วยวิธีการหลายวิธีดังนี้

1. ควบคุมปริมาณของยา ปริมาณของยานั้นส่งผลโดยตรงกับความเป็นพิษที่เกิดขึ้น ดังนั้นการควบคุมปริมาณยาที่ใช้ในการรักษาโรคก็จะช่วยลดความเป็นพิษที่เกิดขึ้นกับเซลล์เนื้อเยื่อปกติได้

2. การใช้ยาช่วย ในการลดความเป็นพิษที่เกิดขึ้นกับเนื้อเยื่อปกติสามารถทำได้โดยการให้ยาบางชนิดเข้าไปเพื่อช่วยความพิษที่มาจากการให้เคมีบำบัด เช่น การใช้ยา Cisplatin สำหรับทำเคมีบำบัดกับผู้ป่วย ผู้ป่วยจะมีอาการคลื่นไส้และอาเจียนอย่างรุนแรง ซึ่งเราสามารถให้ยากลุ่ม 5HT-3 Antagonists เพื่อให้ความรุนแรงของอาการที่เกิดขึ้นลดลง ส่งผลให้สามารถใช้ยา Cisplatin ได้ในปริมาณเพิ่มขึ้นอีก จึงมีโอกาสที่จะทำลายเซลล์มะเร็งได้มากขึ้นตามไปด้วย

3. ใช้ยาช่วยการฟื้นตัวของการสร้างเม็ดเลือด การฟื้นตัวของไขกระดูกเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่จะช่วยกำหนดและลดความเป็นพิษที่เกิดขึ้น นั่นคือ หลังจากที่ให้เคมีบำบัดกับผู้ป่วยไปแล้ว การเว้นระยะการให้เคมีบำบัดในครั้งต่อไปจะมีผลต่อการทำลายเซลล์มะเร็ง เพราะว่าถ้าเราทำการให้เคมีบำบัดครั้งต่อไปช้าหรือเว้นระยะจากครั้งแรกยาวนานมาก เซลล์มะเร็งที่ยังไม่ถูกตายเพียงแต่ถูกทำลายไปบางส่วนเท่านั้นก็จะสามารรถฟื้นตัวขึ้นมาแข็งแรงได้มาก เพราะฉะนั้นระยะเวลาในการให้เคมีบำบัดไม่ควรช้าเกินไป แต่ว่าก็ต้องขึ้นอยู่กับร่างกายของผู้ป่วยว่ามีการฟื้นตัวหรือมีการซ่อมแซมตัวเองได้ดีแค่ไหน การที่จะให้ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็วสามารถทำได้โดยการให้ยาที่มีประสิทธิภาพช่วยในการฟื้นตัวของเม็ดเลือดแก่ผู้ป่วย เช่น Recombinant colony-stimulating factor Gm-CSF และ G-CSF ที่ช่วยในการแบ่งตัวและการเจริญเติบโตของเซลล์ต้นกำเนิดให้ดีขึ้น ซึ่งการให้ยานี้กับผู้ป่วยจะช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็วระยะเวลาระหว่างการให้เคมีบำบัดแต่ละครั้งก็จะน้อยลง การรักษาด้วยเคมีบำบัดจึงสามารทำลายเซลล์มะเร็งได้มากขึ้น

4. การปลูกถ่ายไขกระดูก การปลูกถ่ายไขกระดูกแบบ Autologous หรือแบบ Allogeneic จะช่วยให้ร่างกายมีการฟื้นฟูได้เร็วขึ้น ซึ่งเทคนิคการปลูกถ่ายไขกระดูกก็คล้ายกับการให้ยากระตุ้น แต่ว่าการปลูกถ่ายไขกระดูกจะช่วยให้ร่างกายฟื้นตัวได้เร็วกว่า เพราะไขกระดูกที่ทำการปลูกถ่ายเข้าไปนั้นไม่ได้รับผลจากากรให้เคมีบำบัดมาก่อนจึงสามารถสร้างเม็ดเลือดหรือเซลล์ต้นกำเนิด หรือ สเต็มเซลล์ ให้กับร่างกายได้ทันที ส่งผลให้สามารถเพิ่มปริมาณยาที่ใช้ได้มากขึ้นและทำการให้เคมีบำบัดในครั้งต่อไปก็ทำได้ในระยะเวลาที่น้อยลงด้วย วิธีนี้นิยมใช้ในการรักษาโรคมะเร็งที่มีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำสูง เช่น มะเร็งเม็ดเลือดขาว ( Leukemia ),  Lymphoma เป็นต้น

ถึงแม้ว่าจะมีวิธีที่ช่วยลดความเป็นพิษต่อร่างกายมากมายแต่ความเป็นพิษที่เกิดจากการให้เคมีบำบัดก็ยังเป็นสิ่งที่กังวลอยู่ดี ดังนั้นการควบคุมปริมาณยาที่ใช้ในการรักษาก็ควรทำโดยผู้เชี่ยวชาญและแพทย์ที่ทำการรักษาเท่านั้น

การเกิดปฏิกิริยาระหว่างยาคีโม 2 ชนิด

การใช้ยาในการรักษามะเร็งร่วมกันตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปย่อมมีผลเกิดขึ้นทั้งแบบที่ต้องการให้เกิดขึ้นและแบบที่ไม่ต้องการให้เกิดขึ้น ซึ่งผลที่เกิดขึ้นอาจเกิดจากการเกิดปฏิกิริยาระหว่างยาแต่ละชนิด การที่ใช้ยาร่วมกันหรือใช้ต่อเนื่องกันก็เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของยาในการทำลายเซลล์มะเร็งให้ได้ผลมากที่สุด ตัวย่างเช่น การใช้ยา Cisplatin ในการรักษามะเร็ง ยา Cisplatin จะส่งผลให้ไตทำการขับของเสียออกจากร่างกายได้ช้าลง ดังนั้นเมื่อใช้ยาที่ต้องขับ ออกไตร่วมด้วย เช่น Methotrexate หรือ Bleomycin ถูกขับออกมาได้ช้า จนเกิดการสะสมของสารดังกล่าวอยู่ในร่างกาย ทำให้เกิดความเป็นพิษได้ การแก้ไขก็ต้องคอยวัดการทำงานของไตว่าอยู่ในสภาวะปกติอยู่หรือไม่ในขณะที่ทำการให้ยา Cisplatin และทำการปรับขนาดของยาให้เหมาะสมกับระดับการเปลี่ยนแปลงของ Creatinine Clearance เป็นต้น

นอกจากการเกิดปฏิกิริยาที่ไม่ต้องการของแล้ว บางครั้งการใช้ยาร่วมกันก็เกิดปฏิกิริยาที่ต้องการเกิดขึ้นได้เช่นกัน ตัวอย่างเช่นการใช้ยา 5-Fluorouracil ร่วมกับยา Leucovorin ในการรักษาพบว่าเมื่อเพิ่มปริมาณ Leucovorin ในการรักษาแล้วจะส่งผลให้ 5-Fluorouracil ส่งความเป็นพิษของ Antimetabolite ต่อจำนวนของเซลล์ผิวชั้นนอก ( Gastrointestinal mucosa ) ที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้ต้องลดปริมาณของยา 5-Fluorouracil ลงจากเดิมประมาณ 25% แต่ผลการรักษากลับสามารถทำลายเซลล์มะเร็งได้ดีขึ้นเมื่อทำการเปรียบเทียบกับผู้ป่วยที่ได้รับยา 5-Fluorouracil เพียงอย่างเดียวโดยเฉพาะการรักษามะเร็งลำไส้

การเกิดปฏิกิริยาระหว่างยาคีโมกับการฉายแสง

การรักษามะเร็งนอกจากจะใช้ยาร่วมกันมากกว่าสองชนิดในการรักษาแล้ว บางครั้งได้มีการฉายแสงควบคู่ไปกับการใช้ยาเคมีบำบัดในการรักษาด้วย โดยการใช้ยาร่วมกับการฉายรังสีพบว่าสามารถรักษามะเร็งได้ผลดีขึ้น แต่ว่าการรักษาด้วยการฉายรังสีพร้อมกับการใช้ยาเนื้อเยื่อปกติก็จะมีความไวต่อความเป็นพิษเพิ่มขึ้นตามไปด้วย โดยความเป็นพิษที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากการฉายรังสีจะเข้าไปทำให้ไขกระดูกสูญเสียประสิทธิภาพในการแบ่งตัวเพื่อเพิ่มจำนวน แม้ว่าจะเว้นระยะเวลามาแล้วก็ตาม เมื่อต้องการใช้เคมีบำบัดในการรักษารักษามะเร็งในภายหลังก็ส่งผลให้เกิดการกดการผลิตเม็ดเลือดที่มีความรุนแรงและนานขึ้นกว่าเดิมกับตัวผู้ป่วยได้มากกว่าในผู้ป่วยที่ไม่เคยได้รับการฉายแสงมาก่อนที่จะทำเคมีบำบัด ตัวอย่างเช่น ในผู้ป่วยที่เคยรักษามะเร็งปากมดลูกด้วยการฉายรังสี ด้วยการให้ยา Cisplatin ร่วมกับการใช้ยา Irinotecan ในการรักษาครั้งต่อมาพบว่าผู้ป่วยมีอาการข้างเคียงเกี่ยวกับระบบเลือดที่มีความรุนแรงในระดับ 3- 4 ซึ่งถือว่ามีความรุนแรงที่ค่อนข้างสูงประมาณ 76-77 % และยังพบสภาวะซีดเกรด 3-4 ประมาณ 47 % และยังมีภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำอีกด้วย

นอกจากการเกิดอาการข้างเคียงที่รุนแรงขึ้นแล้ว ยังพบอีกว่าปฏิกิริยาระหว่างยากับการฉายรังสีทำให้เกิดปฏิกิริยา Radiation Recall โดยเฉพาะยา Methotrexate และยา Doxorubicin ส่งผลให้มีอาการอักเสบเกิดขึ้นที่บริเวณที่เคยถูกฉายรังสีมาก่อนอีกด้วย

แนวการปฏิบัติการใช้เคมีบำบัด ( คีโม )

ปัจจุบันการรักษามะเร็งจะใช้การรักษาที่เรียกว่า Taregeted Therapy ซึ่งยาที่ใช้จะมียาหลายชนิดรวมอยู่ด้วย แต่ก็ยังไม่มียาชนิดใดที่ทำลายหรือมีความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งโดยเฉพาะเท่านั้นและไม่มีความเป็นต่อเซลล์ปกติอื่น ๆ ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่าการกำหนดเป้าหมายยังไม่มีความชัดเจนมากนัก ได้แต่อาศัยความแตกต่างระหว่างลักษณะของเซลล์ปกติและเซลล์มะเร็งมาเป็นตัวกำหนดเป้าหมายการทำลายของยา เช่น แหล่งอาหารของเซลล์มะเร็งจะแตกต่างจากแหล่งอาหารของเซลล์ปกติ สัดส่วนการเจริญเติบโต ซึ่งบางครั้งเซลล์มะเร็งก็มีลักษณะคล้ายคลึงกับเซลล์ปกติเป็นอย่างมาก จึงทำให้ไม่สามารถระบุได้ว่าเซลล์นั้นเป็นเซลล์มะเร็งหรือเซลล์ปกติ จนกระทั่งเซลล์มีการพัฒนาขึ้นมาเป็นเซลล์มะเร็งอย่างเต็มตัวจึงระบุได้ ซึ่งการทำลายเซลล์มะเร็งในระดับนี้ก็ทำได้ยาก

แนวทางการรักษามะเร็ง

1. ความเป็นพิษของยาที่ใช้ในการรักษาจะเกิดขึ้นเมื่อใดหลังจากที่ใช้ยาไปแล้ว และความเป็นพิษจะยังอยู่นานแค่ไหน ซึ่งการที่ต้องรู้ก็เพื่อที่จะได้จัดตารางการให้ยาในแต่ละครั้งได้ถูกต้อง

2. ยาที่นำมาใช้แต่ละชนิดส่งผลต่อวัยวะใดบ้าง ส่งผลมากหรือน้อยอย่างไร อวัยวะที่ไวที่สุดนั้นสามารถใช้ยาได้ในปริมาณเท่าไหร่หรืออวัยวะสามารถต้านทานยาได้ในปริมาณมากที่สุดเท่าไหร่ เพื่อใช้ในการกำหนดขนาดปริมาณของยาที่สามารถใช้ได้ในแต่ละครั้ง

3. สามารถป้องกันความเป็นพิษที่เกิดขึ้นจากการให้ยาได้หรือไม่ ทั้งการให้ยาเพื่อช่วยลดความเป็นพิษที่อาจจะเกิดขึ้นหรือการลดความเป็นพิษด้วยวิธีอื่น ๆ แล้วการลดความเป็นพิษที่ใช้ส่งผลต่อการออกฤทอธืของยาที่ใช้รักษาหรือไม่ เพื่อนำไปใช้ในการกำหนดขนาดปริมาณของยาที่ใช้ในการรักษา

4. วิธีการให้ยา การให้ยาด้วยวิธีใดส่งผลให้ยาสามารถออกฤทธิ์ได้ดีที่สุดและสร้างความเป็นพิษได้น้อยที่สุด เพื่อเลือกวิธีการให้ยากับผู้ป่วย

5. ปฏิกิริยาระหว่างยากับยาและยากับรังสีมีกลไกอย่างไร มีผลต่อการออกฤทธิ์และความเป็นพิษของยาอย่างไรบ้าง

6. ผู้ป่วยมีความรู้ความเข้าใจในการรักษาด้วยยาเพียงพอหรือไม่ ผู้ป่วยต้องทราบอาการข้างเคียงที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ความเป็นพิษที่อาจจะเกิดขึ้นได้ก่อนที่จะได้รับการรักษา เพราะสภาพจิตใจของผู้ป่วยมีผลต่อการรักษาด้วยเช่นกัน

7. อาการแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นนั้นมีอะไรบ้าง และเกิดขึ้นแค่ไหนถือว่าอันตรายหรือแค่ไหนถือว่าปกติไม่เป็นอันตราย เพื่อที่หลังจากให้ยาไปแล้วจะได้ทำการติดตามผลได้ตรงจุด

8. ลักษณะของผู้ป่วย ผู้ป่วยมีประวัติการรักษาด้วยการฉายรังสีหรือการใช้ยาในการรักษามะเร็งหรือโรคร้ายแรงอื่นๆ มาก่อนหรือไม่ ถ้ามีการรักษาดังกล่าวส่งผลต่อการรักษาในครั้งปัจจุบันหรือไม่ และผู้ป่วยมีความผิดปกติทางพันธุ์กรรมใดที่ส่งผลต่อความเป็นพิษที่อาจเกิดขึ้นจากการรักษาหรือไม่

ทั้ง 8 ข้อเป็นสิ่งที่ผู้เชี่ยวชาญและแพทย์ที่ทำการรักษาด้วยเคมีบำบัดต้องหาคำตอบให้ได้ก่อนที่จะทำการรักษาผู้ป่วยด้วยการใช้เคมีบำบัด เพื่อที่การรักษาด้วยเคมีบำบัดจะได้รักษามะเร็งได้อย่างหายขาดและมีผลข้างเคียงกับความเป็นพิษเกิดขึ้นน้อยที่สุด ทำให้มีอัตรารอดสูงขึ้นและโอกาสการกลับมาเป็นมะเร็งอีกครั้งน้อยลงนั่นเอง

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิงพวงทอง ไกรพิบูลย์. รู้ก่อนเข้าใจการตรวจรักษามะเร็ง. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2557.

พยาบาลสาร คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. “การดูแลผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะปัสสาวะหลังผ่าตัดเปลี่ยนช่องทางขับถ่ายปัสสาวะ”. (พัชรินทร์ ไชยสุรินทร์). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.tci-thaijo.org. [05 พ.ค. 2017].

ฉายแสงรักษามะเร็ง มีผลข้างเคียงอย่างไร

0
ผลกระทบจากการฉายรังสี
ฉายแสงรักษามะเร็ง มีผลข้างเคียงอย่างไร
ผลข้างเคียงจากการฉายรังสีรักษามะเร็ง

ฉายแสง หรือ ฉายรังสี คือ

ฉายแสง หรือ ฉายรังสี ( Radiotherapy ) คือ การรักษาประเภทหนึ่งของรังสีรักษา ที่ใช้สำหรับบำบัดรักษาโรคมะเร็ง โดยใช้รังสีพลังงานสูงฉายไปตำแหน่งของเซลล์มะเร็งเพื่อทำลายกลุ่มก้อนเซลล์มะเร็งนั้น ทั้งนี้การรักษาโรคมะเร็งด้วยวิธีการฉายรังสีจะขึ้นกับระยะของโรคมะเร็ง ชนิดของโรคมะเร็ง และสุขภาพของผู้ป่วยเอง

ปี ค.ศ.1895 Wilhelm Roentgen ได้สร้างความตกตะลึงครั้งยิ่งใหญ่กับการค้นพบเกี่ยวกับฉายแสงมะเร็งผลทางชีวภาพของการฉายรังสีเอ็กซ์ การใช้รังสีเอ็กซ์เพื่อรักษาโรคมะเร็งเต้านมในครั้งแรกพบว่ามีผลทำให้ผิวหนังเกิดการอักเสบและมีขนหลุดร่วงหลังจากที่มีการฉายรังสีนี้ ทำให้มีการทดลองเพื่อดูผลกระทบทางด้านชีวภาพเกิดขึ้นมา เพื่อเป็นการดูว่าการ ฉายรังสีนั้นมีผลต่อร่างกายอย่างไรบ้าง ซึ่งการทดลองนี้ได้มีการศึกษาทั้งการฉายรังสีเอ็กซ์และรังสีแกมมาที่ถูกค้นพบในปี ค.ศ.1896 ซึ่งทำให้ค้นพบธาตุโรเดียม ( Radium ) ในเวลาต่อมาอีกด้วย

การศึกษาฉายแสงมะเร็งโดยการการให้รังสีชนิด Low Liner Energy Transfer ( LET ) คือ มีการถ่ายโอนพลังงานเชิงเส้นต่ำ เช่น รังสีเอ็กซ์ รังสีแกมมา อนุภาคเบตา โปรตอน ซึ่งนิยมใช้ในการรักษาโรคมะเร็งในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 กันอย่างแพร่หลาย แต่ในขณะเดียวกันการรักษาด้วยรังสีเอ็กซ์กลับทำให้เกิดการค้นพบสารก่อการกลายพันธุ์ตัวแรกคือ Muller เกิดขึ้นด้วย รังสีเอ็กซ์ทำให้เกิดการกลายพันธุ์ของยีนและมีการเปลี่ยนแปลงลำดับของยีนที่อยู่ภายในเซลล์เกิดขึ้น ส่งผลให้การเรียกลำดับของยีนภายในเซลล์นั้นเปลี่ยนไปจากเดิม จากการค้นพบดังกล่าวจึงกล่าวได้ว่าการฉายรังสีอาจจะก่อให้เกิดมะเร็งหรือการกลายพันธุ์ของเซลล์ได้ หรือการฉายแสงมะเร็งอาจทำให้เซลล์กลายพันธุ์ การฉายรังสีสามารถก่อให้เกิดการกลายพันธุ์ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็งกับเซลล์ทุกเซลล์ที่อยู่ในอวัยวะทุกส่วนของร่างกาย แต่การที่จะทำให้เกิดการกลายพันธุ์ได้นั้นต้องขึ้นอยู่กับปริมาณในระดับที่จะสามารถทำให้เกิดการกลายพันธุ์

ฉายแสงมะเร็งสาเหตุที่ทำให้เซลล์เกิดการกลายพันธุ์หรือไม่

การกลายพันธุ์ของเซลล์ต่างๆในร่างกายนั้น มีสาเหตุ ดังนี้

1. ขนาดและปริมาณของรังสี การฉายแสงมะเร็งที่รังสีจะทำให้เกิดโรคมะเร็งได้มีหลายปัจจัยด้วยกัน คือ

  • ปริมาณรังสีที่ใช้ในการฉายรังสีต่อหนึ่งหน่วยเวลา คือ ถ้าได้รับปริมาณรังสีต่อครั้งมากก็จะมีโอกาสเกิดมะเร็งได้มากกว่าการที่ได้รับปริมาณรังสีน้อยกว่า
  • จำนวนครั้งที่ได้รับการฉายรังสี คือ ถ้าได้รับปริมาณรังสีต่อครั้งมากก็จะมีโอกาสเกิดมะเร็งได้มากกว่าการที่ได้รับปริมาณรังสีน้อยกว่า และถ้ามีการฉายรังสีในปริมาณที่เท่ากัน การที่ได้รับการฉายรังสีจำนวนครั้งมากกว่าจะมีโอกาสเป็นมะเร็งมากกว่าด้วย

2. ชนิดของเนื้อเยื่อ เนื้อเยื่อต่างชนิด ต่างตำแหน่งจะมีโอกาสการเกิดมะเร็งที่แตกต่างกัน ดังนั้นเซลล์แต่ละที่เมื่อมีการฉายแสงเท่ากันโอกาสที่จะเกิดมะเร็งย่อมแตกต่างกันไปด้วย

3. ปัจจัยอื่น ปัจจัยทางพันธุกรรมมีผลต่อการเกิดมะเร็งจากการฉายรังสี เช่น สภาพภูมิคุ้มกันของร่างกาย ความแข็งแรงของยีนซ่อมแซม DNA อายุ เพศ ในขณะที่ได้รับการฉายรังสีว่ามีความสามารถในการป้องกันรังสีมากน้อยแค่ไหน ถ้าในขณะที่ได้รับการฉายรังสีมีสภาพภูมิคุ้มกันต่ำ ร่างกายอ่อนแอ หรือมีอายุมากแล้ว ย่อมมีโอกาสที่จะเกิดมะเร็งมากกว่าคนที่มีอายุน้อยและมีภูมิต้านทานแข็งแรง

ก่อนที่เกิดเซลล์มะเร็งขึ้น เซลล์ต้องมีการแบ่งตัวเกิดเป็นเนื้องอกซึ่งเนื้องอกที่เกิดจากการฉายรังสีจะมีลักษณะพิเศษ คือ เนื้องอกที่เกิดขึ้นจะแปรผันกับปริมาณของรังสีที่ได้รับและอายุของผู้ที่ได้รับรังสีด้วย

โดยจากการศึกษาจากผู้ป่วย ที่เข้ารับการรักษาฉายแสงมะเร็งโรคข้อกระดูกสันหลังอักเสบยึด ( Ankylosing Spondylitis ) ที่ทำการรักษาด้วยการฉายรังสีบางส่วนของร่างกาย ( Partial Body Radiotherapy ) จำนวน 14.111 คน ซึ่งหลังจากที่ทำการฉายรังสีเพียงแค่ 1 ครั้งพบว่าผู้ป่วยที่ทำการฉายรังสีมีอัตราการเกิดโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวมากกว่าคนปกติถึง 5 เท่า นอกจากนั้นบริเวณที่อยู่ใกล้เคียงกับส่วนที่ถูกฉายรังสีก็มีความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งถึง 1.6 เท่า ซึ่งความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวนี้จะมีค่าสูงสุดในช่วง 3-5 ปีหลังจากที่ได้รับการฉายรังสี และความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งจะหมดไปเมื่อผ่านการฉายรังสีไปประมาณ 18 ปี แต่ทว่าส่วนบริเวณใกล้เคียงการฉายรังสีค่าความเสี่ยงที่จะเกิดมะเร็งในช่วง 9 ปีแรกจะมีค่าคงที่ซึ่งมีค่าไม่สูงมากนัก แต่เมื่อเข้าสู่ปีที่ 10 ค่าความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งกลับเพิ่มขึ้นอยู่ในระดับที่สูงมากจนถึงปีที่ 18 เลยทีเดียว

ผลข้างเคียงของการฉายรังสีขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ ดังนี้

1. อายุผู้ป่วยกับการฉายแสงรักษามะเร็ง

อายุของผู้ที่เข้ารับการฉายรังสีมีผลต่ออัตราการเกิดโรคมะเร็ง ฉายแสงมะเร็งจากการศึกษาพบว่าผู้ที่มีอายุมากเมื่อได้รับการฉายรังสีจะมีโอกาสเสียชีวิตมากกว่าผู้ที่มีอายุน้อย เช่น ผู้ที่มีอายุมากกว่า 55 ปีจะมีโอกาสเสียชีวิตมากว่าผู้ที่อายุ 25 ปีเมื่อเข้ารับการฉายรังสีถึง 15 เท่า เป็นต้น ซึ่งการเกิดมะเร็งจากการฉายรังสีก็มีแนวโน้มที่ใกล้เคียงกับอัตราการเสียชีวิตเช่นเดียวกัน คือ ผู้ที่มีอายุมากเมื่อได้รับการฉายรังสีมีโอกาสที่จะเกิดมะเร็งนั้นสูงกว่าคนที่มีอายุน้อยที่ได้รับการฉายรังสี เนื่องจากผู้ที่มีอายุมากกว่าจะมีการสะสมของสารตกค้างหรือสารเคมีอยู่ในร่างกายมากกว่าผู้ที่มีอายุน้อย ดังนั้นเมื่อได้รับรังสี รังสีจะเข้าไปทำปฏิกิริยากับสารเคมีลารตกค้างที่อยู่ภายในร่างกาย ส่วนในผู้ที่มีอายุน้อยจะมีสารตกค้างหรือสารเคมีอยู่ในร่างกายน้อยกว่าจึงทำให้โอกาสที่รังสีจะทำปฏิกิริยาจนเกิดเป็นมะเร็งน้อยตามไปด้วย

2. ความเข้มของรังสีในการรักษามะเร็ง

การฉายรังสีในการรักษาจะมีปริมาณรังสีที่ต่างกัน โดยปริมาณรังสีสูงจะก่อให้เกิดมะเร็งได้น้อยกว่าการได้รับปริมาณรังสีน้อย เนื่องจากการได้รับปริมาณรังสีสูงเมื่อโดนเซลล์เป้าหมายเซลล์ดังกล่าวจะถูกทำลาย แต่การได้รับปริมาณรังสีต่ำจะไม่สามารถทำลายเซลล์เป้าหมายได้แต่จะทำให้เซลล์เป้าหมายเกิดการกลายพันธุ์เป็นเซลล์มะเร็ง

ซึ่งจากการรวบรวมข้อมูลฉายแสงมะเร็งเกี่ยวกับมะเร็งที่เกิดจากการฉายรังสีพบว่า สตรีที่ได้รับการรักษามะเร็งปากมดลูกด้วยการฉายรังสีมีความเสี่ยงที่จะเกิดมะเร็งปากมดลูก มะเร็งเม็ดเลือดขาวแบบเฉียบพลัน ( Myeloid Leukemia ) หรือโรคแทรกซ้อนแบบเฉียบพลัน ( Acute ) อื่น ๆ เพียงเล็กน้อยจากคนทั่วไป ส่วนบริเวณใกล้เคียงจะได้รับปริมาณรังสีในระดับปานกลางหรือต่ำ บริเวณนี้มีความเสี่ยงในการเกิดก้อนมะเร็ง ( Solid Tumors ) ตามอวัยวะต่างๆ ที่อยู่ใกล้เคียงกับปากมดลูก เช่น ทวารหนัก กระเพาะปัสสาวะ กระดูกเชิงกราน มดลูก เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ลำไส้ ไต เป็นต้น นอกจากจะเป็นก้อนมะเร็งเกิดขึ้นแล้วยังมีการเป็นมะเร็งเม็ดเลือดชนิดพลาสมา ( Multiple Myeloma ) ที่เกิดจากการแบ่งตัวที่ผิดปกติของพลาสมาเซลล์ในไขกระดูก

ทฤษฏีของ Ishihara

พบว่าการฉายรังสีสามารถออกฤทธิ์ทำให้เซลล์เกิดการกลายพันธุ์ได้อย่างกว้างขวาง โดยจากการศึกษาของ Ishihara ในห้องทดลองเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการกลายพันธุ์ของเซลล์ทั้งในแมลง พืช แบคทีเรียและเชื้อรา พบว่าการฉายรังสีให้กับผู้ป่วยที่เป็นโรคข้อสันหลังกระดูกอักเสบ ( Ankylosing Spondylitis ) ด้วยการฉายรังสีเข้าสู่ร่างกายเป็นส่วน ( Partial Body X-Ray ) ไม่ได้ฉายรังสีแบบองค์รวมจำนวนทั้งหมด 10 ครั้ง พบว่าการฉายรังสี  Partial Body X-Ray 1 ครั้งจะทำให้โครโมโซมเกิดความเสียหายขึ้น และความเสียหายนี้จะเกิดการสะสมทุกครั้งที่มีการฉายรังสี ดังนั้นเมื่อมีการฉายรังสีครบ 10 ครั้งหรือได้รับปริมาณรังสีครบ 1500 cGy ซึ่งความเสียหายที่เกิดขึ้นมีทั้ง การแตกหักแบบ dicentric หรือ Acentric Fragment คือโครโมโซมไม่มีเซนโทรเมียร์จะมีจำนวนมากกว่าจำนวนเซลล์ที่เกิดความผิดปกติของโครโมโซมแบบที่มีการเปลี่ยนแปลงของลำดับคู่เบสใน DNA ที่เป็นเบสชนิดเดียวกัน ( Transversion ) และ ความผิดปกติของโครโมโซมแบบที่มีการเปลี่ยนแปลงของลำดับคู่เบสใน DNA ที่เป็นเบสต่างชนิดกัน ( Translocation ) มากถึง 4 เท่าเลยทีเดียว นั่นคือโครโมโซมจะเกิดการแตกหักมากกว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงของคู่เบส และอัตราการเกิดความผิดปกติของโครโมโซมจะมีค่าลดลงเมื่อผ่านการฉายรังสีไปเล้วประมาณ 4 ปี

การฉายรังสียังสามารถทำให้เกิดความเสียหายกับ DNA ได้โดยการที่รังสีทำปฏิกิริยาระหว่าง DNA กับพลังงานรังสีหรือปฏิกิริยาระหว่างรังสีกับอนุมูลอิสระ เช่น ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ ( Hydrogen Peroxide ) ไฮโดรเจนอะตอม (Hydrogen Atom ) ไฮโดรเจนอิเล็กตรอน ( Hydrogen Electron ) อนุมูลอิสระของไฮโดรเจน ( Hydrogen Free Radical ) ที่เกิดจากการทำปฏิกิริยาระหว่างรังสีกับองค์ประกอบภายในเซลล์ ที่มีผลจากการชักนำของยาวซึ่งมีมาก 10 ถึง 20 รูปแบบเท่านั้น แต่ทว่าการเปลี่ยนแปลงจากการฉายรังสีนั้นมีการเปลี่ยนแปลง DNA ได้มากกว่า 100 รูปแบบเลยที่เดียว โดยการที่รังสีทำให้เบสของ DNA เกิดการเปลี่ยนแปลง ได้เป็น Hydroxylate Purine กับ Imidazole-ring Opened Purine ที่สามารถชักนำให้ DNA เกิดเป็น Single และ Double Strand Break จึงสรุปได้ว่า การเกิดความผิดปกติของเบสใน DNA จนเป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดการกลายพันธุ์ของเซลล์หรือความผิดปกติของโครโมโซม สามารถเกิดขึ้นได้มากถ้ามีการใช้เคมีบำบัดพร้อมกับการฉายรังสี

อย่างที่ทราบกันดีในวงการแพทย์ว่าการฉายรังสีนั้นมีผลกระทบต่อร่างกายอยู่หลายประการ แต่แพทย์ในสมัยก่อนก็ได้พยายามที่จะนำผลกระทบที่เกิดจากากรฉายรังสีมาใช้ประโยชน์ในการรักษาหรือแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับกระดูกและข้อที่เกิดขึ้น เช่น ในกรณีที่กระดูกสันหลังคดและโรคความผิดปกติของผิวหนังตั้งแต่ระดับ Hypertrichosis จนถึงขั้นของมะเร็งผิวหนัง และได้มีการพัฒนาความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้รังสีเรื่อยมาจนถึงปัจจุบันนี้ เพื่อที่แพทย์จะได้ใช้ประโยชน์จากการฉายรังสีหรือ Ionizing Radiation และลดความเสี่ยงในการรักษาด้วยวิธีนี้ แต่การรักษาด้วยวิธีนี้ผลกระทบจะเกิดขึ้นให้เห็นแม้ว่าจะผ่านไปหลายปีแล้วก็ตาม

จากการศึกษาและทดลองที่ได้ออกมาเป็นบทความทางวิชาการมากมาย ทำให้เราทราบถึง Tolerance Dose ที่เหมาะสมกับเนื้อเยื่อและโครงสร้างแต่ละชนิดที่อยู่ในร่างกาย และยังได้ศึกษาถึงการใช้ยาร่วมกับการฉายรังสีเพื่อที่จะได้รับผลที่เฉพาะกับอวัยวะใดอวัยวะหนึ่งของร่างกาย ส่งผลให้การรักษาด้วยการฉายรังสีร่วมกับการกินยาส่งผลดีต่อผู้ป่วย แต่ทว่าผลกระทบที่เกิดขึ้นหลังจาการรักษาด้วยรังสีพร้อมกับการกินยาก็ยังไม่สามารถอธิบายได้อย่างละเอียดยังต้องทำการศึกษากันต่อไป แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าในปัจจุบันนี้การรักษาโรคมะเร็งอย่างได้ผลต้องทำการรักษาด้วยการใช้เคมีบำบัดควบคู่กับการฉายรังสีเป็นทางเลือกที่ช่วยให้มีโอกาสหายมากที่สุด

กลไกการทำงานของรังสีต่อมะเร็ง

1. กฏของ Bergonie และ Tribondeau

ได้ตั้งสมมุติฐานและทำการทดลองจนพบกฏที่ว่า “ เซลล์ที่มีการแบ่งตัวได้อย่างรวดเร็วกว่าและเซลล์ที่มีอายุน้อยกว่าจะมีความว่องไวต่อการฉายรังสีมากกว่าเซลล์ที่มีการแบ่งตัวและมีอายุมากกว่า ” และ “ รังสีที่ฉายเข้าไปนั้นไม่ได้เข้าไปทำลายเซลล์โดยตรงแต่ว่า การฉายรังสีจะส่งผลต่อการเพิ่มจำนวนเซลล์หรือทำให้การสืบพันธุ์ของเซลล์ผิดปกติ คือไม่สามารถสืบพันธุ์ต่อไปได้ ” นั่นคือการฉายรังสีไม่ได้เข้าไปทำลายเซลล์ที่มีอยู่แต่จะเข้าไปส่งผลต่อระบบสืบพันธุ์ของเซลล์ทำให้เซลล์ไม่สามารถขยายพันธ์หรือเกิดการแบ่งตัวเพิ่มจำนวนขึ้นได้ เมื่อไม่สามารถพิ่มจำนวนขึ้นได้เมื่อเซลล์หมดอายุตายไป เซลล์ส่วนนี้ก็จะค่อย ๆ หายไป ตัวอย่างการทดลองในเชื้อแบคทีเรีย เมื่อฉายรังสีให้กับเชื้อแบคทีเรียที่อยู่ในอาหารเพราะเลี้ยงเชื้อพบว่าการฉายรังสีนี้ไม่มีผลต่อเชื้อแบคมีเรียเลยแม้แต่น้อย แต่ทว่าพอเชื้อแบคทีเรียเข้าไปในเนื้อเยื่อของสิ่งมีชีวิต เชื้อแบคมีเรียกลับไม่สามารถแบ่งตัวเพื่อเพิ่มจำนวนได้ แสดงว่าการฉายรังสีเข้าไปยับยั้งการแพร่ขยายพันธุ์ของเชื้อแบคทีเรียในสิ่งมีชีวิตได้

2. ทฤษฏีของ Ellis

Ellis ได้เสนอทฤษฏีและการคำนวนผลกระทบที่เกิดจากการฉายรังสี โดยให้ข้อเสนอที่ว่า “ ผลกระทบของรังสีที่มีต่อโครงสร้างแบบปกติในร่างกาย จะมีผลมาจากความเสียหายของ Stroma ที่ทำหน้าที่สำคัญให้กับโครงสร้าง ” Stroma จะไม่มีลักษณะจำเพาะของอวัยวะเรียกว่า Stroma ที่อวัยวะใดก็เหมือนกันทั้งหมดทั่วร่างกาย ดังนั้นเมื่อเราทราบว่าความเสียหายของ Stroma หลังจากการฉายรังสี เราก็จะทราบว่าผลกระทบที่เกิดขึ้นจะเป็นเช่นไรในการฉายรังสีที่ทุกอวัยวะ แต่มีข้อยกเว้นที่สมองกับกระดูกเท่านั้น

ซึ่งสามารถนำมาคิดเป็นสูตรตามตัวแปรดังนี้ Total Dose กับ Fraction Size และ Overall Treatment Time

แต่ทว่าสูตรการคำนวนนี้ยังไม่เป็นที่ยอมรับ แต่ได้มีการนำมาปรับปรุงแก้ไขสูตรเพื่อความเหมาะสมกับการนำไปใช้งานสำหรับเนื้อเยื่อแต่ละชนิดต่อไป

อาการแทรกซ้อนที่เกิดจากการฉายแสง

อาการแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นจากการฉายรังสีสำหรับแต่ะลบุคคลจะมีความแตกต่างกันไป แต่สรุปแล้วอาการแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นได้ตามหลายระยะเวลาที่ได้รับรังสีนั้น สามารถแบ่งออกเป็น 3 ระดับคือ

1. อาการแทรกซ้อนระยะสั้น คือ อาการแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นทันทีหรือหลังจากได้รับการฉายรังสีเพียงไม่กี่วัน อาการแทรกซ้อนระยะสั้นจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เช่น อาการเวียนศีรษะ หน้ามืด อาเจียน เยื่อบุช่องปาดอัเสบ ( Severe Mucositis ) อาการแทรกซ้อนนี้สามารถรักษาให้หายได้ในระยะเวลาอันสั้น แต่บางอาการก็สามารถรักษาหายทันทีแต่บางอาการก็ต้องอาศัยระยะเวลาในการรักษากว่าที่จะหายดี

2. อาการแทรกซ้อนระยะกลาง คือ อาการแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นหลังจากได้รับการฉายรังสีประมาณ 1 เดือนขึ้นไป ซึ่งอาการนี้จะไม่แสดงทันทีที่ได้รับการฉายรังสีแต่จะเว้นระยะเวลาไว้สักพักหนึ่งก่อนถึงจะมีอาการแสดงออกมา เช่น อาการผิดปกติเกี่ยวกับการนอนหลับ ( Somnolence Syndrome ) ที่มักเกิดขึ้นหลังจากการฉายรังสีประมาณ 4-6 สัปดาห์ และอาการปอดบวมน้ำ ( Pulmonary Edema ) เป็นต้น ซึ่งอาการเหล่านี้จะหายได้หลังจากที่ผลกระทบจากรังสีลดลง แต่ว่าอาการดังกล่าวถ้ามีเกิดขึ้นควรต้องไปปรึกษาแพทย์ที่ทำการรักษาเพราบางครั้งดูเหมือนว่าหายแล้วแต่อาจจะมีอาการหลงเหลืออยู่บ้างเล็กน้อย ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายในภายหลังได้

3. อาการแทรกซ้อนระยะยาว คือ อาการแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นหลังจากที่ได้รับการฉายรังสีเป็นเวลามากกว่า 1 ปีขึ้นไป ซึ่งอาการแทรกซ้อนระยะยาวมีเกิดขึ้นได้หลายแบบด้วยกันดังนี้

3.1 มะเร็งที่เกิดจากการฉายรังสี การฉายรังสีอาจจะส่งผลกระทบให้เซลล์เกิดการกลายพันธุ์ที่สามารถเจริญเติบโตเป็นเซลล์มะเร็งได้ ตัวอย่างเช่น การฉายรังสีที่สมอง บริเวณผิวหนังหรือกะโหลกศีรษะมีโอกาสที่จะเกิดการเจริญเติบโตเป็นก้อนในสมองและมะเร็งชนิดอื่น ๆ ในสมองได้เช่นกัน

3.2 อวัยวะทำงานได้ไม่เต็มที่ ผลในระยะยาวอีกอย่างหนึ่งที่พบจากการฉายรังสี คือ หลังจากที่ฉายรังสีไปแล้วตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป อวัยวะที่โดนรังสีนี้ประสิทธิภาพการทำงานลดลงอย่างเห็นได้ชัด เช่น คนที่ได้รับการฉายรังสีที่สมอง เมื่อผ่านได้ประมาณ 2 ปีจะมีปัญหาเกี่ยวกับความจำและการเรียนรู้ที่น้อยลง คือมีความจำสั้นลง คิดวิเคราะห์หรือตัดสินใจช้าลง ซึ่งผลกระทบนี้ได้มีการทดลองโดย O’Malley และคณะผู้ร่วมงาน ได้ทำการเฝ้าสังเกตการเด็กหญิงที่ทำการรักษามะเร็งนิวโบลาสโตมาระดับที่ 4 ( Neuroblastoma Stage IV ) ที่ได้รับการฉายรังสีเมื่ออายุ 3 เดือน พบว่าหลังจากที่ได้รับเคมีบำบัดและการฉายรังสีที่สมองเกิดอาการแทรกซ้อนตับโตทำให้ต้องดได้รับการฉายรังสีอีกครั้ง ส่งผลให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูงและหัวใจล้มเหลวจนเสียชีวิตในเวลาต่อมา ซึ่งได้มีการผ่าพิสูจน์ศพของเด็กหญิงพบว่าอวัยวะภายในเกิดการเสื่อมรวมถึงไตนั้นเกิดการเสื่อม ที่เป็นผลจากการฉายรังสี

อีกกรณีหนึ่งของผู้ป่วยที่ได้รับการฉายรังสีพบว่าบริเวณผิวหนังที่โดนรังสีเมื่อผ่านไป 18 ปีมีมะเร็งผิวหนังเกิดขึ้น ซึ่งแสดงว่าการฉายรังสีสามารถทำให้เกิดมะเร็งได้ในระยะยาว

และในตัวอย่างผู้ป่วยเด็กที่ได้รับการฉายรังสีบริเวณช่องท้องนั้น พบว่าช่องท้องมีการตีบตัน Coarctation เกิดขึ้นในส่วนของหลอดเลือดแดง ( Abdominalaorta ) ทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูง

จะเห็นว่าอาการแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นในทุกระยะเวลา มีผลกระทบที่ระดับโมเลกุลและเนื้อเยื่อแทบทั้งสิ้น แสดงว่าการฉายรังสีจะส่งผลกระทบทางชีวภาพกับสิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นในภายหลังอย่างแน่นอน และการรักษาด้วยรังสีและเคมีบำบัดร่วมกันนั้นย่อมเป็นการเร่งให้เกิดปฏิกิริยาในการรักษาให้เห็นผลเร็วขึ้น แต่ผลกระทบที่ได้รับก็มากขึ้นตามได้ด้วย

อาการแทรกซ้อนในระยะยาวยังสามารถแบ่งออกเป็นหลายแบบโดย สมาคมการรักษามะเร็งแห่งยุโรป ( European Organization For Research and Treatment of Cancer : EORTC ) และสถาบันมะเร็งของประเทศสหรัฐอเมริกา ได้แบ่งผลกระทบระยะยาวของการฉายรังสี ที่เรียกว่า “ SOMA ( Subjective Objective Management criteria with Analytic Laboratory ) การแบ่งรูปนี้จะแบ่งตามความรุนแรงของอาการแทรกซ้อนของผุ้ป่วยและการรักษาในห้องทดลอง และการตรวจเอ็กซเรย์เข้ามาช่วยในการจัดแบ่งระดับความรุนแรงของผลกระทบด้วย เรียกว่า “ NCI CTC AE ( The Nation Cancer Institute Common Terminology criteria for Adverse  Events ) ” แต่การแบ่งแบบนี้ค่อนข้างที่กว้างมาก ครอบคลุมการรักษาด้วยรังสีควบคู่กับการฉายรังสี ( Combined modality ) ด้วย ไม่ได้เน้นแต่เฉพาะอาการแทรกซ้อนหรือผลกระทบจากการรักษาด้วยรังสีเพียงอย่างเดียว

ปี 2010 ได้มีการทำงานร่วมกันของนักวิทยาศาสตร์และแพทย์ที่ใช้รังสีในการรักษาทำการรวบรวมข้อมูลจากอดีตและปัจจุบันสร้างเป็นใช้รังสีให้กับแพทย์ที่ใช้รังสีรักษาโดยเครื่องมือสมัยใหม่ที่นำมาฉายรังสี ทั้งรังสีสามมิติและรังสีสามมิติชนิดแปรความเข้มข้น ชนิด The Quantitative Analysis of Normal Tissue Effect in the Clinic : QUANTEC ซึ่งจะคำนวนจากข้อมูลปริมาณรังสี ( Dose ) ขนาดของอวัยวะ ( Volume ) และผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น ( Outcome ) ของอวัยวะที่ต้องการทำการฉายรังสี เพื่อช่วยให้แพทย์ที่ทำการรักษามีข้อมูลมากพอที่จะใช้กำหนดและวางแผนในการรักษาด้วยรังสีที่อวัยวะต่าง ๆ จะสามารถทนต่อรังสีได้ ( Dose/Volume Constraint )

การรักษาโรคมะเร็งด้วยการฉายรังสีร่วมกับการใช้เคมีบำบัดเป็นการรักษาที่ได้ผลมากที่สุดในปัจจุบัน แต่ทว่าผลกระทบที่เกิดจากการรักษาดังกล่าวก็มีมากเช่นกัน แต่เชื่อว่าในอนาคตการรักษาด้วยวิธีนี้จะเป็นวิธีการรักษาที่มีผลกระทบน้อยที่สุดกับผู้ป่วยอย่างแน่นอน เพราะนักวิทยาศาสตร์กำลังพยายามคิดค้นวิธีที่จะทำให้การฉายรังสีส่งผลกระทบน้อยที่สุดกับผู้ป่วยทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิงพวงทอง ไกรพิบูลย์. รู้ก่อนเข้าใจการตรวจรักษามะเร็ง. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2557.

พยาบาลสาร คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. “การดูแลผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะปัสสาวะหลังผ่าตัดเปลี่ยนช่องทางขับถ่ายปัสสาวะ”. (พัชรินทร์ ไชยสุรินทร์). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.tci-thaijo.org. [05 พ.ค. 2017].

มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ( Urinary Bladder Cancer )

0
โรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ (Urinary Bladder Cancer)
เกิดจากการแบ่งตัวที่ผิดปกติของเซลล์ จนกลายเป็นก้อนเนื้องอกขึ้นมา เกิดได้ในทุกเพศทุกวัย
โรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ (Urinary Bladder Cancer)
เกิดจากการแบ่งตัวที่ผิดปกติของเซลล์ จนกลายเป็นก้อนเนื้องอกขึ้นมา เกิดได้ในทุกเพศทุกวัย

มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ คือ การเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งที่ผิดปกไม่สามารถควบคุมได้และมีการแพร่กระจายอย่างรวมเร็วในกระเพาะปัสสาวะและรุกลามไปยังอวัยวะอื่นๆ ที่อยู่ใกล้เคียงกระเพาะปัสสาวะมีหน้าที่กักเก็บปัสสาวะที่ระบายออกจากไตผ่านไปยังท่อไตจากไตทั้ง 2 ข้างสามารถเก็บของปัสสาวะได้ประมาณ 400 – 600 มิลลิลิตร กระเพาะปัสสาวะของคนเราจะประกอบไปด้วยเซลล์หลายชนิด ซึ่งได้แก่ เซลล์ต่อมน้ำเหลือง กล้ามเนื้อ เยื่อเมือกบุ เส้นเลือดและกล้ามเนื้อ โดยเซลล์เหล่านี้ล้วนสามารถเกิดเป็นมะเร็งได้ทั้งสิ้น แต่ที่พบได้บ่อยมากที่สุดก็คือโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะนั่นเอง และมักจะเกิดจากเซลล์ของเยื่อเมือกบุภายในกระเพาะปัสสาวะเป็นส่วนใหญ่

อาการของมะเร็งกระเพาะปัสสาวะมีอะไรบ้าง

  • ปวดหลัง
  • น้ำหนักลด
  • เท้าบวม
  • ปัสสาวะเป็นเลือด
  • ปัสสาวะบ่อย
  • ปวดขณะปัสสาวะ
  • กลั้นปัสสาวะไม่อยู่
  • ปวดกระดูกเชิงกราน

สาเหตุของมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ไม่พบสาเหตุที่ทราบแน่ชัด แต่เชื่อว่าน่าจะเกิดจากหลายปัจจัยเสี่ยงรวมกัน ซึ่งได้แก่

  • ครอบครัวมีประวัติเป็นมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
  • การกลายพันธุ์ของยีนบางชนิด
  • การสัมผัสกับสารเคมีในสถานที่ทำงานมากเกินไป
  • การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะเรื้อรัง
  • เป็นนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ
  • การสูบบุหรี่จัด หรือสูบบุหรี่เป็นประจำ

การวินิจฉัยโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

แพทย์จะวินิจฉัยอาการเบื้องต้นโดยรวม ซักประวัติผู้ป่วยและซักประวัติของคนในครอบครัวรวมทั้ง

  • การตรวจภายใน โดยนิ้วสอดเข้าไปทางทวารหนักหรือช่องคลอดเพื่อคลำหาสิ่งผิดปกติ
  • การตรวจเลือดเพื่อหาเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
  • การตรวจปัสสาวะ เพื่อวิเคราะห์ปัสสาวะหากมีเลือดปนในปัสสาวะ อาจต้องส่งตัวอย่างปัสสาวะไปยังห้องปฏิบัติการเพื่อค้นหาเชื้อมะเร็ง
  • การสแกนอัลตร้าซาวด์ เพื่อหาว่ามีก้อนมะเร็งหรือไม่ และถ้ามีก้อนมะเร็งมีขนาดใหญ่เพียงใด
  • การส่องกล้อง เพื่อตรวจดูเยื่อบุ ซีส ก้อนเนื้องอก หรือเซลล์มะเร็งด้านในของกระเพาะปัสสาวะ
  • การเอกซเรย์ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อถ่ายภาพภายในร่างกายที่มีความผิดปกติ

มะเร็งกระเพาะปัสสาวะมีกี่ระยะ

โรคมะเร็งชนิดนี้ สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ระยะเช่นเดียวกับโรคมะเร็งชนิดอื่นๆ โดยได้แก่
ระยะที่ 1 เป็นระยะที่มะเร็งลุกลามไม่มาก โดยจะลุกลามไปเฉพาะที่ชั้นเยื่อบุภายในของกระเพาะปัสสาวะเท่านั้น
ระยะที่ 2 เป็นระยะที่มะเร็งได้ลุกลามไปยังชั้นกล้ามเนื้อของกระเพาะปัสสาวะ
ระยะที่ 3 เป็นระยะที่มีความรุนแรงในระดับหนึ่ง ซึ่งระยะนี้มะเร็งได้ลุกลามออกไปนอกกระเพาะปัสสาวะเข้าเนื้อ เยื่อรอบ ๆ กระเพาะปัสสาวะแล้วนั่นเอง
ระยะที่ 4 เป็นระยะที่รุนแรงที่สุด โดยมะเร็งได้ลุกลามไปยังอวัยวะอื่นๆ ในร่างกาย และแพร่กระจายเข้าสู่ต่อมน้ำเหลืองและเส้นเลือด ซึ่งก็อยู่ในระยะที่รักษาให้หายได้ยาก   

การรักษามะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

สำหรับการรักษาจะขึ้นอยู่กับการพิจารณาของแพทย์ โดยส่วนใหญ่จะใช้วิธีการรักษาด้วยการผ่าตัด ใช้รังสีรังษาและทำเคมีบำบัด ซึ่งยังไม่มียารักษาที่ตรงเป้า โดยในปัจจุบันก็กำลังอยู่ในระหว่างการศึกษาวิจัยยาอยู่นั่นเอง

การป้องกันมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

การป้องกันโรคมะเร็งชนิดนี้ ก็ยังไม่มีวิธีการป้องกันที่ชัดเจนเช่นกัน ดังนั้นต้องอาศัยการหลีกเลี่ยงปัจจัยที่ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งแทน หากหลีกเลี่ยงได้ ก็จะลดโอกาสการเป็นมะเร็งกระเพาะปัสสาวะไปได้เยอะ

ส่วนใหญ่ผู้ป่วยโรคมะเร็งมักไม่แสดงอาการออกมาให้เห็นได้ชัดเจนในช่วงเริ่มต้น แต่จะรู้ได้อย่างไรว่ากำลังเป็นมะเร็งกระเพาะปัสสาวะแล้วเมื่อไหร่ควรไปพบแพทย์ หากสังเกตเห็นความผิดปกติของสีปัสสาวะ ปวดขณะปัสสาวะหรือปัสสาวะมีเลือดปนออกมา ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุที่แน่ชัดขอคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญร่วมกับวางแผนการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพและแม่นยำตรงจุด เพื่อลดความเสี่ยงต่อโรคแทรกซ้อนก่อนและหลังการรักษาได้นั่นเอง

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิงพวงทอง ไกรพิบูลย์. รู้ก่อนเข้าใจการตรวจรักษามะเร็ง. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2557.

พยาบาลสาร คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. “การดูแลผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะปัสสาวะหลังผ่าตัดเปลี่ยนช่องทางขับถ่ายปัสสาวะ”. (พัชรินทร์ ไชยสุรินทร์). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.tci-thaijo.org. [05 พ.ค. 2017].

โรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจว. “มะเร็งตับกระเพาะปัสสาวะ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.moderncancerthai.com. [04 พ.ค. 2017].

ประโยชน์ของ บร็อคโคลี ( Broccoli )

0
ประโยชน์ของบร็อคโคลี (Broccoli)
บร็อคโคลี เป็นผักตระกูลกะหล่ำ นิยมรับประทานดอกอ่อนและก้าน และมีสารต้านมะเร็ง
ประโยชน์ของบร็อคโคลี (Broccoli)
บร็อคโคลี เป็นผักตระกูลกะหล่ำ นิยมรับประทานดอกอ่อนและก้าน และมีสารต้านมะเร็ง

บร็อคโคลี

บร็อคโคลี (ฺ Broccoli ) หรือ กะหล่ำดอกอิตาลี เป็นผักตระกูลกะหล่ำ มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Brassica oleracea var. italica อยู่ในตระกูล Cruciferae บร็อคโคลีเป็นผักที่รับประทานดอกอ่อนและก้าน เป็นพืชผักเมืองหนาวมีถิ่นเดิมอยู่ทางตอนใต้ของยุโรปมากมายในประเทศอิตาลี นำเข้ามาปลูกในประเทศไทยทางภาคเหนือที่มีอากาศเย็น ปัจจุบันแหล่งที่ปลูกบร็อคโคลีกันมาก ได้แก่ กาญจนบุรี เพชรบูรณ์ กรุงเทพฯ ซึ่งได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก และมีให้รับประทานได้ตลอดทั้งปีอีกด้วย ซึ่งก็ทานได้ทั้งแบบสดและแบบแช่แข็งในซูเปอร์มาร์เก็ตเลยทีเดียว โดยทั้งนี้บร็อคโคลีก็ถูกจัดอยู่ในกลุ่มของพืชผักตระกูลครูซิฟเฟอแร ( Cruciferae ) ซึ่งจะมีลักษณะคล้ายกับกะหล่ำปลีเป็นอย่างมาก แถมยังอุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์มากมาย โดยเฉพาะสารอาหารที่สำคัญต่อหัวใจ โดยพบว่าบร็อคโคลีสุดจำนวน 1 ถ้วย สามารถให้วิตามินซีได้มากถึง 200 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว และยังให้เบต้าแคโรทีนอีก 90 เปอร์เซ็นต์ รวมถึงเส้นใยอาหารและโปแตสเซียมในปริมาณสูงมากอีกด้วย ดังนั้นการกินบร็อคโคลี จึงเหมือนกับได้กินยาอายุวัฒนะเลยทีเดียว

สรรพคุณของ บร็อคโคลี

1. มีวิตามินซีและเบต้าแคโรทีน ที่เป็นสารแอนตี้อ็อกซิเด้นท์ จึงช่วยป้องกันการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันในร่างกายได้เป็นอย่างดี ทั้งยังช่วยลดโอกาสการเกิดโรคหัวใจได้อีกด้วย

2. มีวิตามินอี วิตามินอีที่จะลดการถูกทำร้ายของหลอดเลือดจาก Low-Density Lipoprotein ( LDL ) หรือไขมันชนิดเลว ซึ่งก็เป็นอีกตัวการหนึ่งที่ทำให้โรคหัวใจกำเริบเช่นกัน จึงไม่แปลกเลยว่าทำไม คนที่ทานบร็อคโคลีเป็นประจำ จึงมักจะไม่เป็นโรคหัวใจได้ง่าย

3. อุดมไปด้วยฟลาโวนอยด์ ซึ่งเป็นสารที่จะช่วยป้องกันความเสี่ยงโรคหัวใจล้มเหลวได้เป็นอย่างดี โดยสารตัวนี้จะพบได้มากในชา ผักผลไม้ทั่วไป อีกทั้งยังมีบทบาทที่คล้ายกับวิตามินซีและวิตามินอีอีกด้วย นอกจากนี้ฟลาโวนอยด์ก็จะช่วยลดการจับตัวเป็นก้อนของเลือดได้ดีอีกด้วย

4. บร็อคโคลีเต็มไปด้วยไฟเบอร์ ซึ่งไฟเบอร์เป็นหนึ่งในสารอาหารที่มีคุณค่าช่วยให้การเคลื่อนไหวของลำไส้เป็นปกติ ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล ควบคุมน้ำตาลในเลือด ช่วยให้อิ่มนานขึ้นหลังจากรับประทานอาหาร ช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด เบาหวาน เหมาะสำหรับผู้ที่ควบคุมน้ำหนัก หรือการลดน้ำหนัก

5. บร็อคโคลีสามารถช่วยให้ร่างกายฟื้นตัวได้เร็วขึ้น เนื่องจากมีวิตามินซีส่งผลดีต่อการฟื้นตัวจากการออกกำลังกาย ยังพบว่าช่วยให้การทำงานของกล้ามเนื้อดีขึ้น และลดอาการปวดกล้ามเนื้อหลังออกกำลังกาย วิตามินซีในบร็อคโคลีมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตและซ่อมแซมเนื้อเยื่อทั่วร่างกาย ช่วยสมานแผล บำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง ช่วยกระตุ้นการผลิตคอลลาเจนซึ่งจำเป็นต่อการสร้างกระดูกอ่อน เส้นเอ็น หลอดเลือด และผิวหนัง

6. พบสารซัลโฟราเฟน และเคมเฟอรอล ซึ่งเป็นไฟโตนิวเทรียนท์และฟลาโวนอยด์ในบร็อคโคลี มีฤทธิ์ป้องการอักเสบ ต้านอนุมูลอิสระ ต้านเชื้อมะเร็ง โรคหัวใจ ป้องกันระบบประสาท ต้านโรคเบาหวาน ต้านโรคกระดูกพรุน

การรับประทานบร็อคโคลีทุกวัน เหมือนกับได้รับยาอายุวัฒนะ ป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด

คุณค่าทางโภชนาการของ บร็อคโคลี 100 กรัม
สารอาหารในดอกและใบบร็อคโคลีสด

หน่วย

1 หน่วยต่อ 100 กรัม

น้ำ กรัม 90.69
พลังงาน กิโลแคลอรี 28
โปรตีน กรัม 2.98
ไขมันรวม กรัม 0.35
คาร์โบไฮเดรต กรัม 5.06
ไฟเบอร์ กรัม 2.3
น้ำตาล กรัม 1.48
วิตามินและแร่ธาตุในดอกบร็อคโคลีและใบบร็อคโคลีสด
แคลเซียม มิลลิกรัม 48
ธาตุเหล็ก มิลลิกรัม 0.88
แมกนีเซียม มิลลิกรัม 25
ฟอสฟอรัส มิลลิกรัม 66
โปแตสเซียม มิลลิกรัม 325
โซเดียม มิลลิกรัม 27
สังกะสี มิลลิกรัม 0.4
วิตามินในดอกบร็อคโคลีและใบบร็อคโคลีสด
วิตามินซี มิลลิกรัม 93.2
ไทอามิน มิลลิกรัม 0.065
ไรโบฟลาวิน มิลลิกรัม 0.119
ไนอาซิน มิลลิกรัม 0.638
วิตามินบี 6 มิลลิกรัม 0.159
โฟเลท มิลลิกรัม 71
วิตามินบีเอ มิลลิกรัม 16000
วิตามินเค มิลลิกรัม 101.6
วิตามินอี มิลลิกรัม 0.71
ลิปิดในดอกบร็อคโคลี่และใบบร็อคโคลีสด
กรดไขมันชนิดสมบูรณ์ กรัม 0.054
กรดไขมันเชิงเดี่ยว กรัม 0.024
กรดไขมันเชิงซ้อน กรัม 0.167

ที่มา : USDA Nutrient Database

ประโยชน์ของ บร็อคโคลี

  • บร็อคโคลีมีสารต้านมะเร็ง สามารถรับประทานได้ทุกวัน
  • บร็อคโคลีช่วยป้องกันเลือดออกไม่หยุด และแผลเลือดออกของผู้ป่วยโรคเบาหวาน และช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด จึงเหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน
  • บร็อคโคลีมีสารซีลีเนียม ช่วยชะลอความเสื่อมของผิวพรรณ
  • บร็อคโคลีมีเบต้าแคโรทีน และลูทีน ช่วยป้องกันโรคระบบประสาทตา ป้องกันตาเป็นต้อกระจก ช่วยบำรุงและปรับสภาพสายตาให้อยู่ยาวนาน
  • บร็อคโคลีช่วยเรื่องลำไส้ แก้ท้องผูก กระตุ้นการขับถ่าย เพราะมีไฟเบอร์สูง
  • บร็อคโคลีมีสารต้านอนุมูลอิสระช่วยชะลอวัย เพิ่มภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย
  • บร็อคโคลีมาสารอาหารช่วยเรื่องโรคสมองและความจำ เช่น โรคอัลไซเมอร์
  • บร็อคโคลีช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด และโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ
  • บร็อคโคลีมีโปแตสเซียมที่ช่วยให้ออกซิเจนไปเลี้ยงที่สมองอย่างเพียงพอ ทำให้สมองปลอดโปร่ง
  • บร็อคโคลีมีสารช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเส้นเลือด
  • บร็อคโคลีประกอบไปด้วย ลูทีน แคโรทีนอยด์ วิตามิน B6 และโฟเลต ช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจ และหลอดเลือดในสมองตีบ
  • บร็อคโคลี มีสารที่ช่วยลดผลกระทบของรังสี UV ที่อาจจะมากระทบกับผิวหนัง
  • บร็อคโคลี มีสารอาหารที่สามารถช่วยในการลดโอกาส และกระบวนการที่จะทำให้เกิดอาการข้อเข่าเสื่อมก่อนวัยได้

การเลือกซื้อ บร็อคโคลี

การซื้อบร็อคโคลี หากเป็นบร็อคโคลีสดจะต้องเลือกที่มีดอกแน่น เพราะจะเก็บไว้ได้นานถึง 5-7 วัน แต่จะต้องห่อให้ถูกวิธีก่อนแช่ตู้เย็นเก็บไว้ด้วย และเมื่อนำมาปรุงอาหาร แนะนำให้นำบร็อคโคลีมาล้างด้วยน้ำเย็นก่อน จากนั้นหั่นเป็นชิ้นขนาดใหญ่เกินคำ ไม่ควรหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ เพราะในระหว่างปรุงจะทำให้สูญเสียคุณค่าทางสารอาหารไปได้ ส่วนกรณีที่จะนำมาอบในไมโครเวฟ ควรอบประมาณ 3-5 นาทีเท่านั้น ซึ่งก็จะทำให้ได้บร็อคโคลีที่มีความนุ่มและยังคงความเขียวสด น่ารับประทานอยู่เสมอ นอกจากนี้ก็สามารถนำบร็อคโคลีสดไปปรุงอาหารอบและทำซุปได้อีกด้วย หรือจะนำไปทำเมนูผัดก็อร่อยไม่แพ้กันเลยทีเดียว

เมนู บร็อคโคลี

สลัดบร็อคโคลีใส่งา      

สำหรับคนที่ชอบทานสลัด ก็มีวิธีการทำสลัดบร็อคโคลีใส่งาแบบง่ายๆ มาแนะนำกันดังนี้ 

วัตถุดิบที่ต้องเตรียม    

1.บร็อคโคลีหั่นชิ้นยาว 1.5 นิ้ว ปริมาณครึ่งถ้วยตวง

2.น้ำมันคาโนลา 1 ช้อนโต๊ะ

3.น้ำมันงา 1 ช้อนชา

4.เมล็ดงา 2 ช้อนชา

5.ผักสลัดสีเขียวรวม 2 ถ้วยตวง (ได้แก่ อารูกาลา ผักกาดหอม ผักสลัดใบสีแดง)

6.แตงกวาหั่นซอยบางๆ ครึ่งถ้วยตวง

7.หอมแดงซอยบางๆ ¼ ถ้วยตวง

8.น้ำส้มราสพ์เบอร์รี 2 ช้อนโต๊ะ

วิธีการทำ

นำหม้อเคลือบใส่น้ำมันเล็กน้อย ตั้งไฟพอร้อยจัด จากนั้นใส่บร็อคโคลีลงไปผัดประมาณ 2 นาที หรี่ไฟลงหน่อยแล้วปิดฝาทิ้งไว้อีก 2-3 นาที เมื่อบร็อคโคลีสุกเป็นสีเขียวสดดูน่าทานให้ใส่เมล็ดงาลงไปคลุกเคล้าให้เข้ากัน ตั้งทิ้งไว้จนเย็นจึงนำมาจัดใส่จานสลัด พร้อมเติมด้วยผักสลัดตามชอบ เพิ่มรสชาติด้วยการใส่น้ำส้มราสพ์เบอร์รี่ลงไปคลุกเคล้าอีกนิด ก็ได้สลัดบร็อคโคลีสุดอร่อยและดีต่อสุขภาพแล้ว

ข้อมูลทางโภชนาการ
สลัดบร็อคโคลีใส่งา ขนาดเสิร์ฟ 1 ที่  ¼ ของปริมาณที่ปรุง     ปริมาณแคลอรี   72    แคลอรี
ไขมัน                                                                                      50    แคลอรี
เปอร์เซ็นต์คุณค่าอาหารต่อวัน
ไขมันรวม                                                              6 กรัม                        9%
โคเลสเตอรอล                                                        0 มิลลิกรัม                   0%
โซเดียม                                                              13 มิลลิกรัม                   1%
คาร์โบไฮเดรตรวม                                                  5 กรัม                         2%
เส้นใยอาหาร                                                         2 กรัม                         8%
โปรตีน                                                                2 กรัม
วิตามินเอ 14%           วิตามินซี 66%            แคลเซียม 3%             ธาตุเหล็ก 5%

 

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

รัชนี คงคาฉุยฉาย และ ริญ เจริญศิริ. โภชนาการกับผลไม้. กรุงเทพฯ : สารคดี, 2554. 1.ผลไม้–แง่โภชนาการ–ไทย. I.ชื่อเรื่อง. 641. ISBN 978-974-484-346-3.

Stephens, James. “Broccoli—Brassica oleracea L. (Italica group)”. University of Florida. p. 1. Retrieved 14 May 2009.

“Broccoli”. Merriam-Webster’s Collegiate Dictionary (11th ed.). p. 156. ISBN 978-0-87779-809-5. Retrieved 9 April 2014.

“Broccoli Leaves Are Edible”. Garden Betty. Retrieved 8 May 2013.

สเต็มเซลล์ ( Stem Cell ) คืออะไร

0
เซลล์ต้นกำเนิดหรือสเต็มเซลล์
การตรวจเซลล์ต่างๆในร่างกาย
การตรวจเซลล์ต่างๆในร่างกาย

สเต็มเซลล์ ( Stem Cell )

สเต็มเซลล์ ( Stem Cell ) หรือ เซลล์ต้นกำเนิด คือ เซลล์ชนิดที่เป็นเซลล์รากเหง้าหรือต้นกำเนิดของเซลล์ทุกชนิด เซลล์ชนิดนี้จะมีความพิเศษที่สามารถแบ่งตัวได้อย่างไม่มีจุดสิ้นสุด พบได้ในร่างกายทุกช่วงอายุที่มีการเจริญเติบโต เซลล์ต้นกำเนิดหรือสเต็มเซลล์สามารถเจริญเติบโตเปลี่ยนแปลงไปเป็นเซลล์ได้เกือบทุกชนิดใน ทุกอวัยวะของร่างกาย ตัวอย่างของเซลล์ต้นกำเนิด คือ เซลล์ต้นกำเนิดในหัวใจที่เจริญเติบโตกลายเป็นเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ เซลล์ต้นกำเนิดสมองกลายเป็นสมองชั้นนอก สมองชั้นใน เป็นต้น เซลล์ต้นกำเนิดสามารถซ่อมแซมและเสริมสร้างอวัยวะได้อย่างไม่จำกัด 

สเต็มเซลล์ ( Stem Cell ) หรือ เซลล์ต้นกำเนิด มี 2 ประเภท คือ

1.สเต็มเซลล์ หรือเซลล์ต้นกำเนิดที่สามารถแยกได้จากตัวอ่อน ( Embryonic Stem Cell ) มีคุณสมบัติสามารถเปลี่ยนแปลงเป็นเซลล์ได้เกือบทุกชนิดที่มีอยู่ภายในร่างกาย ยกเว้นเซลล์จากรกของมารดาในครรภ์

2.สเต็มเซลล์ หรือเซลล์ต้นกำเนิดที่สามารถแยกได้จากสิ่งมีชีวิตที่โตเต็มวัยแล้ว ( Adult Stem Cell ) คือ เซลล์ต้นกำเนิดชนิดนี้จะสามารถเปลี่ยนไปเป็นเซลล์เฉพาะในเนื้อเยื่อ ทำหน้าที่ซ่อมแซมอวัยวะของร่างกาย

จากแนวคิดที่ว่าเซลล์ต้นกำเนิดสามารถเจริญเติบโตขึ้นมาเป็นเซลล์ได้เกือบทุกชนิดภายในร่างกายและช่วยซ่อมแซมเซลล์ต่าง ๆ ในอวัยวะของร่างกายได้ จึงได้มีการศึกษาเกี่ยวกับการนำเซลล์ต้นกำเนิดมาใช้ในการรักษาโรค ดังนี้

อดีตได้มีการค้นหาว่าเซลล์ต้นกำเนิดของสมองนั้นอยู่ที่ส่วนใดกันแน่ ได้มีการศึกษาและทดลองจนได้ข้อสัญนิษฐานว่าเซลล์ต้นกำเนิดของสมองอยู่บริเวณรอบ ๆ โพรงสมองกับบริเวณขมับของฮิปโปแคมปัสและอยู่ที่ส่วนของเซลล์ประสาทรับกลิ่นของเส้นประสาทสมองคู่ที่ 2 จากการศึกษาและทดลองพบว่า สมองมีแหล่งของเซลล์ต้นกำเนิดที่สามารถเจริญเติบโตขึ้นเป็นเซลล์สมองอยู่จริง

สเต็มเซลล์ ( Stem Cell ) หรือ เซลล์ต้นกำเนิด คือ เซลล์ชนิดที่เป็นเซลล์รากเหง้าหรือต้นกำเนิดของเซลล์ทุกชนิด เซลล์ชนิดนี้จะมีความพิเศษที่สามารถแบ่งตัวได้อย่างไม่มีจุดสิ้นสุด พบได้ในร่างกายทุกช่วงอายุที่มีการเจริญเติบโต

สำหรับผู้ที่เป็นโรคเกี่ยวกับระบบสมองเสื่อมพบว่าเนื้อสมองของผู้ป่วยที่มีภาวะของสมองเสื่อมจะมีการฝ่อหรือเหี่ยวลง และเนื้อสมองมีการอักเสบเกิดขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ส่งผลให้เซลล์สมองที่สามารถใช้งานได้มีจำนวนน้อยลง ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของสมองลดลงตามจำนวนเซลล์สมองที่มี ในการรักษาเมื่อให้ยากลุ่มต้านการอักเสบ ยาต้านเอนไซม์ ยากลุ่มต้านอาการซึมเศร้าและยาในกลุ่ม Cholinesterase ที่ช่วยเข้าไปเพิ่มปริมาณของสาร Acetylcholine ที่อยู่ในสมองให้มีเพิ่มขึ้น ซึ่งสาร Acetylcholine ช่วยในการหลั่งฮอร์โมนและหลั่งสารกระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์ภายในสมอง ทำให้กระบวนการซ่อมแซมเซลล์เกิดขึ้นจนเซลล์สมองมีความแข็งแรงเหมือนเดิมและยังช่วยกระตุ้นการแบ่งเซลล์สมองให้ทำงานเพิ่มจำนวนเซลล์สมองให้มากขึ้นด้วย ตำแหน่งที่พบว่ามีการแบ่งเซลล์หลังจากที่ให้ยากกลุ่มนี้ไปแล้ว ตำแหน่งนั้น คือ ตำแหน่งของสเต็มเซลล์ ( Stem Cell ) หรือ เซลล์ต้นกำเนิดนั่นเอง เมื่อทราบถึงตำแหน่งของสเต็มเซลล์ ( Stem Cell ) นักวิทยาศาสตร์ก็หวังว่าจะเอาเซลล์จากแหล่งเซลล์ต้นกำเนิด หรือสเต็มเซลล์นี้มาทำการปลูกถ่ายเซลล์สมองให้มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น พร้อมกับใช้สารที่ช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์กระตุ้นให้เซลล์มีการเจริญเติบโตเพิ่มขึ้นเพื่อป้องกันการเกิด โรคสมองเสื่อม

นอกจากการหาแหล่งของเซลล์ต้นกำเนิด หรือสเต็มเซลล์ในสมองแล้ว ยังมีการศึกษาเพื่อที่จะนำเซลล์ต้นกำเนิดจากตัวอ่อน ( Embryonic Stem Cell ) ที่สามารถเจริญเติบโตเป็นเซลล์ได้หลายชนิด ( Induced Pluripotent Stem Cell ) เช่น จากเซลล์ที่บริเวณผิวหนังหรือเซลล์จากเลือด แทนที่จะนำมาจากเอ็มบริโอหรือนำมาจากตัวอ่อนระยะแรกเริ่มที่อยู่ในครรภ์มารดาหรือพบได้ในเลือดภายในสายสะดือและจากกระดูกสันหลัง แล้วทำการชักนำให้สเต็มเซลล์ ( Stem Cell ) หรือเซลล์ต้นกำเนิดนี้ ให้กลายเป็นเซลล์ที่หลั่งสารแอลฟา – ไซนิวคลีอิน ( Alpha – Synuclein ) ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคสมองเสื่อมอย่างโรคพาร์กินสัน เพื่อที่นักวิทยาศาสตร์จะได้ศึกษาทำความรู้ความเข้าใจและกลไกในการเกิดโรคได้มากขึ้น การศึกษาทดลองก็เพื่อที่จะได้หาต้นตอและกลไกการเกิดโรคที่แท้จริงว่ามีสาเหตุมาจากความผิดปกติในขั้นตอนใดของเซลล์ จะได้วางแนวทางในการรักษาและป้องกันไม่ให้เกิดโรคอย่างได้ผล การที่ใช้เนื้อเยื่อจากส่วนอ่อนแทนเนื้อเยื่อจากตัวอ่อนในครรภ์มารดาก็เพราะว่าการใช้เนื้อเยื่อหรือเซลล์ต้นกำเนิดจากตัวอ่อน ในครรภ์มารดาถือว่าเป็นสิ่งที่ผิดหลักศีลธรรมและจริยธรรมในยุคปัจจุบันนี้ จึงไม่สามารถนำเซลล์ต้นกำเนิดชนิด Induced Pluripotent Stem Cell มาใช้ในการศึกษาเกี่ยวกับการเหนี่ยวนำให้เกิดโรคได้ แต่ก็ได้มีการทดลองในตัวอ่อนของสัตว์ทดลองบางชนิด ซึ่งผลการทดลองดังกล่าวยังไม่มีนักวิทยาศาสตร์กล้าออกมายืนยันว่าทำให้ผลจริง เนื่องจากยังไม่มีการทดลองในคนจริงๆ จึงได้แต่เป็นแนวทางสำหรับการศึกษาและนำมาออกแบบจำลองการใช้เซลล์ต้นกำเนิดในการสร้างชีวิตที่ยืนยาวต่อไป 

นอกจากเซลล์ต้นกำเนิดที่ทำการสกัดมาจากผิวหนังและเลือดแล้ว ยังพบว่าในเนื้อเยื่อของฟันน้ำนมที่เกิดขึ้นของเด็กบางซี่นั้น มีองค์ประกอบของเซลล์ต้นกำเนิดชนิดที่เรียกว่ามี เซนไคม์ ( Mesenchymal Stem Cell : MSCs ) คือ สเต็มเซลล์ หรือเซลล์ต้นกำเนิดที่สามารถทำหน้าที่ทดแทนเซลล์ของอวัยวะต่างๆ ที่อยู่ในร่างกายที่เกิดการเสื่อมสภาพหรือหมดอายุ ซึ่งสเต็มเซลล์ หรือเซลล์ต้นกำเนิดที่พบจากฟันน้ำนมนี้ช่วยในการรักษาโรคที่มีความผิดปกติได้หลายชนิด เช่น ความผิดปกติเกี่ยวกับระบบสมอง โรคหัวใจเรื้อรัง ภาวะหัวใจล้มเหลว ภาวะอัมพาตที่เกิดจาการบาดเจ็บของไขสันหลัง โดยการนำเซลล์ต้นกำเนิดที่ค้นพบนี้เข้ามาช่วยซ่อมแซมเซลล์ที่เสื่อมหรือตายไปในอวัยวะของร่างกาย โดยใช้วิธีการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเข้าไปกระตุ้นการสร้างและการซ่อมแซ่มเซลล์ในบริเวณดังกล่าวเพื่อที่เซลล์จะได้กลับสู่สภาวะปกติ

การรักษาด้วยเซลล์ต้นกำเนิดนั้นยังมีข้อถกเถียงระหว่างด้านศีลธรรมและด้านวิทยาศาสตร์ ทำให้การวิจัยและทดลองเพื่อศึกษาการนำเซลล์ต้นกำเนิด หรือสเต็มเซลล์มาใช้ยังไม่มีข้อชัดเจน แต่ทว่าการรักษาด้วยเซลล์ต้นกำเนิด หรือสเต็มเซลล์ก็ยังเป็นความหวังของวงการแพทย์ที่จะช่วยรักษาโรคความเสื่อมต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับมนุษย์เราทุกคน ช่วยยืดอายุและความแข็งแรงของร่างกาย ไม่แน่ว่าในอนาคตเราอาจจะมีอายุยืนนับร้อยปี โดยไม่เจ็บป่วยจากการใช้สเต็มเซลล์ หรือเซลล์ต้นกำเนิดก็เป็นได้

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

วรพรรณ เสนาณรงค์. รู้ทันสมองเสื่อม / รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงวรพรรณ เสนาณรงค์: กรุงเทพฯ: อมรินทร์เฮลท์ อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2559. (22), 225 หน้า: (ชุดชีวิตและสุขภาพ ลำดับที่ 207) 1.สมอง. 2.สมอง–การป้องกันโรค. 3.โรคสมองเสื่อม. 4.โรคอัลไซเมอร์. 616.83 ว4ร7 ISBN 978-616-18-1556-1.

Becker AJ, McCulloch EA, Till JE (1963). “Cytological demonstration of the clonal nature of spleen colonies derived from transplanted mouse marrow cells”. Nature. 197 (4866): 452–54. Bibcode:1963Natur.197..452B. doi:10.1038/197452a0. PMID 13970094.

Siminovitch L, Mcculloch EA, Till JE (1963). “The distribution of colony-forming cells among spleen colonies”. Journal of Cellular and Comparative Physiology. 62 (3): 327–36. doi:10.1002/jcp.1030620313. PMID 14086156.