Home Blog Page 148

แนวทางการพยาบาลผู้ป่วยเบาหวานตามอาการที่แตกต่างกัน

0
แนวทางการพยาบาลผู้ป่วยเบาหวานตามอาการที่แตกต่างกัน
การดูแลและพยาบาลผู้ป่วยเบาหวานตามลักษณะอาการรายบุคคล
โรคเบาหวานเกิดจากกระบวนการเมตาบอลิซึมมีความผิดปกติ คือจะมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งมีสาเหตุมาจากการหลั่งอินซูลินมีความบกพร่อง

เบาหวาน

โรคเบาหวานถือเป็นโรคเรื้อรังที่เป็นปัญหาสาธารณสุขระดับโลก โดยมีอัตราผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องถึงร้อยละ 42 ในประเทศพัฒนาแล้ว จากข้อมูลของสหพันธ์เบาหวานนานาชาติ คาดว่าในปี 2573 ผู้ป่วยเบาหวานอายุระหว่าง 20-79 ปี จะเพิ่มขึ้นเป็น 438 ล้านคน จาก 285 ล้านคนในปี 2553 โดยภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นจาก 58.7 ล้านคนในปี 2553 เป็น 101 ล้านคนในปี 2573

สำหรับประเทศไทย ผู้ป่วยเบาหวานส่วนใหญ่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 9.6 โดยในปี 2549 พบผู้ป่วยจำนวน 643,522 คนใน 48 จังหวัด และเพิ่มขึ้นเป็น 757,031 คนในปี 2550 ซึ่งส่วนใหญ่ป่วยด้วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2

เบาหวานเกิดจากกระบวนการเมตาบอลิซึมมีความผิดปกติ คือจะมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งมีสาเหตุมาจากการหลั่งอินซูลินมีความบกพร่อง หรืออาจจะเกิดจากการออกฤทธิ์ของอินซูลิน หรืออาจจะเป็นเพราะทั้งสองอย่างร่วมกันเลยก็ได้ ซึ่งหากภาวะน้ำตาลในเลือดสูงเกิดขึ้นเป็นเวลานานจะส่งผลให้การทำงานของอวัยวะที่สำคัญของร่างกายเสื่อมสภาพลงหรือทำงานล้มเหลว ได้แก่ ภาวะแทรกซ้อนที่หลอดเลือดแดงใหญ่ ( Macroangiopathy ) ซึ่งทำให้เกิดการตีบเล็กลงของหลอดเลือดแดงขนาดใหญ่ หลอดเลือดแดงโคโรนารี หลอดเลือดสมองและหลอดเลือดส่วนปลายที่ขา และภาวะแทรกซ้อนที่หลอดเลือดแดงขนาดเล็ก ( Microangiopathy ) จากพยาธิสภาพที่มีการหนาตัวของ Basement Membrane จนส่งผลให้เกิดจอประสาทตาเสื่อม ไตวาย เส้นประสาทส่วนปลายเสื่อม ซึ่งก็จะส่งผลรุนแรงต่อสุขภาพมากขึ้น

หากผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาเพื่อที่จะควบคุมภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น จนอาจทำให้ผู้ป่วยต้องถูกตัดขา หรือถึงขั้นตาบอด เป็นอัมพาต หรือต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลบ่อยครั้งด้วยภาวะหัวใจล้มเหลว ไตวาย เป็นต้น ซึ่งถึงแม้ว่าผู้ป่วยจะไม่เสียชีวิตจากภาวะดังกล่าวในทันทีแต่ก็ทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตแย่ลง ทำให้ได้รับผลกระทบในเรื่องค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เพราะผู้ป่วยอาจจำเป็นต้องหยุดงานหรือเปลี่ยนงานใหม่ เนื่องจากผู้ป่วยไม่มีความสามารถที่จะทำงานเดิมได้ อีกทั้งเมื่อผู้ป่วยมีความพิการ ก็ต้องรับภาระค่าใช้จ่ายทั้งในเรื่องค่ารักษาพยาบาลและการดูแลสภาพเพิ่มขึ้นไปอีก

เนื่องจากพยาธิสภาพและกลไกลการเกิดเบาหวานจะไม่แสดงอาการให้เห็นอย่างเด่นชัดในระยะแรก การจัดการดูแลรักษาการพยาบาลผู้ป่วยโรคเบาหวาน จึงจำเป็นต้องมีการคัดกรองเพื่อค้นหาปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เกิดโรคเบาหวานตั้งแต่ในระยะเริ่มต้น มีการจัดระบบบริการเพื่อให้ประชาชนสามารถเข้ารับบริการสุขภาพได้อย่างทั่วถึง รวมทั้งจัดให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการดูแลตนเองเพื่อควบคุม ป้องกันโรคเบาหวานได้ตั้งแต่ที่มีการตรวจพบว่ามีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดโรค และหากพบว่าเป็นโรคเบาหวานก็จะต้องได้รับการดูแลรักษาเพื่อควบคุมเบาหวานให้อยู่ในระดับที่มีความปลอดภัย มีการป้องกันและลดความรุนแรงของภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นทั้งชนิดเฉียบพลันและเรื้อรัง ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของการเกิดโรคที่ร้ายแรงเพิ่มเติม การดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานจึงต้องครอบคลุมการดำเนินงานทั้งในส่วนของตัวผู้ป่วยเองและครอบครัวของผู้ป่วย มีการจัดการดูแลอย่างครบวงจรและต่อเนื่อง ตั้งแต่ระบบปฐมภูมิ ( Primary Care ) ทุติยภูมิ ( Secondary Care ) และตติยภูมิ ( Tertiary Care ) รวมทั้งมีกำหนดนโยบายต่างๆ เพื่อเตรียมสำหรับการรองรับการดูแลอย่างต่อเนื่อง มีการพัฒนาระบบบริการสุขภาพที่เข้าถึง มีความเสมอภาคและพยายามลดช่องว่างในช่วงการเชื่อมต่อในทุกระดับของระบบบริการสุขภาพให้น้อยที่สุด

โรคเบาหวานเกิดจากกระบวนการเมตาบอลิซึมมีความผิดปกติ คือจะมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งมีสาเหตุมาจากการหลั่งอินซูลินมีความบกพร่อง หรืออาจจะเกิดจากการออกฤทธิ์ของอินซูลิน หากภาวะน้ำตาลในเลือดสูงเกิดขึ้นเป็นเวลานานจะส่งผลให้การทำงานของอวัยวะที่สำคัญของร่างกายเสื่อมสภาพลงหรือทำงานล้มเหลว

ผู้จัดการรายกรณีในการจัดการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน จะมีบทบาทเป็นแกนนำในการพัฒนาการดูแลดังที่กล่าวมาแล้ว เพื่อให้การบริการเชิงรุกมีคุณภาพเพิ่มขึ้น ครอบคลุมทั้งเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพของผู้ป่วย ดำเนินการป้องกันการเกิดโรค การจัดการควบคุมโรค ลดโอกาสที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงลง รวมทั้งมีการวางแผนการจัดการดูแล จัดกิจกรรมการดูแลทั้งในระดับปฐมภูมิทุติยภูมิและตติยภูมิอย่างเหมาะสม ลดความรุนแรงของโรคและการเกิดภาวะแทรกซ้อน ตลอดจนค้นหาสภาพปัญหา และจัดสรรระบบรองรับการดูแลผู้ป่วยในระบบบริการสุขภาพทุกระดับที่มีความเชื่อมโยงและสอดคล้องกัน

ประเด็นสำคัญในการจัดการรายกรณีผู้ป่วยโรคเบาหวาน

ประเด็นสำคัญในการจัดการรายกรณีผู้ป่วยโรคเบาหวาน1. การค้นหา คัดกรองผู้ป่วยที่มีโอกาสเสี่ยงเพื่อร่วมกันจัดการให้ผู้ป่วยได้รับการยืนยันการวินิจฉัยการเกิดโรคเบาหวานในระยะต่างๆ
2. การประเมินความจำเป็นของผู้ป่วยในการเข้ารับบริการสุขภาพที่มีเหมาะสม และจัดการให้การพยาบาลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง

3. การจัดการรายกรณีผู้ป่วยโรคเบาหวานในกลุ่มที่มีโอกาสเสี่ยง กลุ่มโรคเบาหวานที่มีปัญหาในการควบคุมเบาหวาน และกลุ่มโรคเบาหวานที่เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ โดยเน้นการป้องกันและควบคุมการดำเนินของโรค การกำเริบของโรค ลดความรุนแรงของภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากการเป็นโรคเบาหวาน ให้ความสำคัญกับการดูแลต่อเนื่อง ความคุ้มค่า คุ้มทุน การทบทวนความจำเป็นในการใช้ทรัพยากรและเทคโนโลยี
4. การจัดการรายกรณีโดยใช้บริการมาตรฐานสุขภาพตามกระบวนการของโรคที่เกิดขึ้น ได้แก่ การที่ผู้ป่วยเข้าถึงบริการการตรวจวินิจฉัย การจัดบริการดูแลรักษาการพยาบาลผู้ป่วยตามความจำเป็นและความเหมาะสม
5. การจัดการให้ผู้ป่วย และครอบครัวของผู้ป่วยมีส่วนร่วมและสามารถที่จะดูแลตนเองได้ การจัดการให้ผู้ป่วยคัดกรองโอกาสเสี่ยงได้ด้วยตัวเอง
6. การจัดการรายกรณีเพื่อประสานงานในการดูแลผู้ป่วยเพื่อส่งตัวผู้ป่วยให้ได้รับการรักษาต่อรักษาทั้งภายใน ภายนอกเครือข่ายบริการสุขภาพ เพื่อการดูแลผู้ป่วยต่อเนื่องอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่เกิดความสูญเปล่า ตามระดับความจำเป็นของปัญหาสุขภาพและความต้องการของผู้ป่วย

การจัดการรายกรณีผู้ป่วยโรคเบาหวานตามมาตรฐานการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน

1. การคัดกรองค้นหาผู้เป็นโรคเบาหวานให้เข้าถึงการวินิจฉัยตั้งแต่ระยะเริ่มแรก       

อาการของโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในระยะเริ่มแรกจะยังไม่แสดงความผิดปกติใด ๆ ให้ได้รับรู้ ส่งผลให้ผู้ป่วยไม่ได้รับการวินิจฉัย จึงมักพบอยู่บ่อย ๆ ว่าผู้ป่วยโรคเบาหวานส่วนใหญ่ที่ได้รับการวินิจฉัยใหม่ มีภาวะหรือโรคแทรกซ้อนเรื้อรังจากการเป็นโรคเบาหวานเกิดขึ้นแล้ว การค้นหาผู้ที่เข้าข่ายอยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่จะเป็นโรคเบาหวานและการคัดกรองโรคเบาหวานในประชาชนที่มีโอกาสเสี่ยง จึงเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญเพื่อที่ผู้ป่วยจะได้รับการวินิจฉัยและเข้ารับรักษาโรคเบาหวานได้อย่างรวดเร็ว เป็นการช่วยเหลือในเบื้องต้นที่จะทำให้ผู้ป่วยเข้าถึงบริการสุขภาพและจัดบริการดูแลรักษาการพยาบาลได้ตามความจำเป็น ( Necessity ) และมีความเหมาะสม ทำให้สามารถที่จะควบคุมโรคเบาหวานให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัย ชะลอและลดความรุนแรงของการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญลง

การคัดกรอง ค้นหาผู้เป็นโรคเบาหวานจะทำการคัดกรองปีละ 1 ครั้ง โดยใช้วิธีเจาะเลือดจากปลายนิ้ว ( Capillary blood glucose ) / DTX โดยมีข้อแนะนำว่าผู้ใหญ่ซึ่งไม่รวมหญิงที่กำลังอยู่ในระหว่างตั้งครรภ์ ให้ตรวจในกลุ่มที่มีโอกาสเสี่ยงที่ยังไม่แสดงอาการโรคเบาหวานคือ ประชาชนอายุอย่างน้อย 35 ปี ร่วมกับการที่มีปัจจัยเสี่ยงอย่างน้อย 1 ปัจจัยคือ

1. ผู้ที่มี BMI ≥ 25 กก./ม.2 และ/หรือ รอบเอว ≥ 90 ซม.ในผู้ชาย หรือ ≥ 80 ซม.ในผู้หญิง และมีบุคคลในครอบครัว พ่อ แม่ พี่ หรือ น้อง เป็นโรคเบาหวาน
2. เป็นโรคความดันโลหิตสูงหรือกำลังอยู่ในระหว่างการรับประทานยาเพื่อรักษาอาการความดันโลหิตสูง
3. มีความผิดปกติของระดับไขมันในเลือด ( ระดับไตรกลีเซอไรด์ ≥ 250 มก. / ดล. และ / หรือ เอช ดี แอล คอเลสเตอรอล <35 มก . / ดล. )
4. มีประวัติว่าเป็นโรคเบาหวานในระหว่างตั้งครรภ์หรือเคยคลอดบุตรน้ำหนักตัวมากกว่า 4 กิโลกรัมขึ้นไป
5. เคยได้รับการตรวจพบว่าเป็น Impaired Glucose Tolerance หรือ Impaired Fasting Glucose
6. เป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งจะทำให้เสี่ยงมากขึ้น ( Cardiovascular Disease )

การจัดการทรัพยากรเพื่อการคัดกรองโรคเบาหวาน

การจัดการทรัพยากรเพื่อการคัดกรองโรคเบาหวานพยาบาลสามารถที่จะดำเนินการจัดการคัดกรองค้นหาผู้ป่วยกลุ่มที่มีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดโรคเบาหวาน และดำเนินการจัดการทรัพยากรเพื่อป้องกันการเกิดโรคเบาหวาน ตลอดจนจัดการส่งต่อผู้ป่วยโรคเบาหวานเพื่อที่จะให้เข้าถึงการวินิจฉัยและดูแลจากแพทย์ที่โรงพยาบาลได้ตั้งแต่ในระยะแรก

ตารางการจัดการคัดกรองค้นหาโรคเบาหวานและกิจกรรมการดูแล

ระดับบริการ   กิจกรรมการดูแล การจัดสรรทรัพยากร
หน่วยบริการปฐมภูมิ รณรงค์คัดกรองเพื่อค้นหากลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและผู้เป็นเบาหวานในชุมชนที่รับผิดชอบโดย
1.เจาะเลือดจากปลายนิ้ว (Capillary blood glucose)/DTX โดยจะเจาะให้กับผู้ที่มีความเสี่ยงประมาณ 1 ครั้ง/ปี
2.เมื่อเจาะเลือดตรวจพบผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงแล้ว ให้ดำเนินการดังนี้ต่อไป
2.1 จัดกลุ่มให้ความรู้ด้านสุขภาพแก่ประชาชน
2.2 ให้ความรู้รายบุคคล เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถดูแลตนเองและปรับพฤติกรรมให้เหมาะสมได้
2.3 ติดตามเพื่อกระตุ้นผู้ป่วยให้ปฏิบัติอยู่เสมอ โดยอาจใช้วิธีการไปเยี่ยมที่บ้านหรือโทรศัพท์เยี่ยมก็ได้
2.4 ให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการรณรงค์สร้าง
2.5 ประสานให้อาสาสมัครหรือแกนนำสุขภาพใน
ชุมชน คอยช่วยดูแลสุขภาพของผู้ป่วยโรคเบาหวาน หรือมองหากลุ่มเสี่ยง
2.6 ติดตามประเมินผล: การปรับเปลี่ยน
พฤติกรรมสุขภาพระดับน้ำตาลในเลือดน้ำหนัก
ตัวรอบเอว ฯลฯ
3.เมื่อพบผู้ป่วยที่สงสัยเป็นโรคเบาหวาน
3.1จัดการส่งผู้ป่วยที่มี Fasting Capillary blood
glucose ≥ 126 mg.dl หรือ Random
Plasma Glucose ≥ 200 mg/dl ไปพบแพทย์
ที่โรงพยาบาลชุมชน เพื่อให้ได้รับการดูแลรักษาอย่างรวดเร็ว
3.2 ติดตามการรับการวินิจฉัยภายใน 7 วันในราย
ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง Fasting Capillary
blood glucose ≥ 300 mg.dl ร่วมกับแสดง
อาการ Hyperglycemia ส่งพบแพทย์ที่รพ.
ชุมชนภายใน 1-2 วัน
บุคลากรสุขภาพในหน่วยงานที่จัดการคัดกรองและขอความร่วมมือจากหน่วยงานในเครือข่ายเดียวกัน ได้แก่ พยาบาล เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และอสม.
อุปกรณ์

  • เครื่องตรวจระดับน้ำตาลในเลือด
  • เครื่องชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูง
  • สายวัด
  • เครื่องวัดความดันโลหิต
  • เครื่องคิดเลข
  • สื่อการสอน
  • แบบบันทึก
  • เครื่องเขียบ
  • เครื่องขยายเสียง
หน่วยบริการระดับทุติยภูมิขึ้นไป 1.จัดการประชาสัมพันธ์ เพื่อให้ความรู้กับผู้ที่มาใช้บริการในโรงพยาบาล ของแผนกเกี่ยวกับโรคเบาหวาน
2.เจาะเลือดตรวจหาระดับ Fasting Plasma Glucose ให้กับผู้ใช้บริการกลุ่มเสี่ยง
3.ให้ความรู้เพื่อให้ผู้ป่วยและญาติสามารถช่วยให้ผู้ป่วยดูแลตัวเองและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามเหมาะสมได้
4.ประสานหน่วยบริการปฐมภูมิในการติดตามเยี่ยมบ้านเพื่อกระตุ้นการปฏิบัติตัวตามคำแนะนำ และให้ไปรับบริการอย่างต่อเนื่อง
บุคลากร

  • พยาบาล
  • นักสุขศึกษาหรือวิทยากรเบาหวาน
  • แพทย์อายุรกรรม

 

ตารางเกณฑ์วินิจฉัยผู้ป่วยโรคเบาหวาน

การแปลผล Fasting Plasma Glucose ( mg/dl ) 2 h-Plasma Glucose ( mg/dl ) Random Plasma Glucose ( mg/dl )
ปกติ ( Normal ) < 100 mg / dl <140 mg / dl
Impaired fasting glucose ( IFG ) 100-125 mg / dl
Impaired glucose tolerance ( IGT ) 140-199 mg/dl
เป็นโรคเบาหวาน ≥ 126 mg/dl อย่างน้อย 2 ครั้ง ≥ 200 mg/dl อย่างน้อย 2 ครั้ง ≥ 200 mg/dl ร่วมกับมีอาการเบาหวาน

2. การจัดการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวานรายใหม่

เมื่อมีผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับการวินิจฉัยว่าป่วยเป็นโรคเบาหวาน พยาบาลมีการจัดการดูแลผู้ป่วยดังนี้

1. ซักประวัติผู้ป่วย โดยจะทำการซักประวัติเกี่ยวกับ ประวัติโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หลอดเลือดสมองและโรคหลอดเลือดหัวใจ พร้อมทำการประเมินเพื่อดูว่าอาการของโรคอยู่ในระดับไหนรวมถึงประเมินหาความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนด้วย นอกจากนี้ก็จะสอบถามเกี่ยวกับยาที่ผู้ป่วยเคยได้รับ โรคอื่นๆ ที่เป็นอยู่ และวิถีการดำเนินชีวิตของประชาชน ซึ่งก็ได้แก่การรับประทานอาหาร การสูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การประกอบอาชีพและอื่นๆ เป็นต้น

2. ประเมินความรู้ของผู้ป่วยเกี่ยวกับโรคเบาหวาน ประเมินดูว่าผู้ป่วยมีความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานมากน้อยแค่ไหน เพื่อให้ผู้ป่วยมองเห็นถึงความสำคัญในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ และทำการประเมินระยะการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ ด้านการรับประทานอาหารและการออกกำลังกาย

3. จัดการให้ผู้ป่วยได้รับการตรวจทางห้องปฏิบัติการ และตรวจร่างกาย เพื่อค้นหาความเสี่ยงที่จะทำให้ผู้ป่วยเกิดโรคแทรกซ้อนได้

4. ให้ความรู้แก่ผู้ป่วยและญาติผู้ป่วย เกี่ยวกับลักษณะตามธรรมชาติของโรคเบาหวาน แนวทางในการรักษาและการดูแลตนเอง เพื่อควบคุมอาการเบาหวานให้อยู่ในระดับปลอดภัย

5. จัดหาสมุดพกประจำตัวผู้ป่วยเบาหวาน ที่มีข้อมูลความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน และการดูแลตนเองของผู้ป่วย พร้อมกับลงบันทึกข้อมูลด้านสุขภาพของผู้ป่วย ได้แก่ น้ำหนัก เส้นรอบเอว ระดับน้ำตาลในเลือด ระดับไขมันในเลือด ค่าความดันโลหิต ยาที่ได้รับ เป็นต้น รวมทั้งมีการอธิบายให้ผู้ป่วยได้เห็นถึงความสำคัญและประโยชน์ของการมีสมุดพกประจำตัว

6. ลงทะเบียนผู้ป่วยเบาหวาน และลงบันทึกข้อมูลสุขภาพของผู้ป่วย พร้อมกับนำพาผู้ป่วยส่งแพทย์ เพื่อทำการรักษาต่อไป

ตาราง การจัดการส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการและตรวจร่างกายเพื่อคัดกรองภาวะแทรกซ้อนเรื้อรังจากโรคเบาหวาน

ระดับบริการ

กิจกรรมการดูแล

การจัดสรรทรัพยากร

หน่วยบริการปฐมภูมิ และทุติยภูมิ 1. ส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ ดังนี้

  • FPG ทุกครั้ง
  • HbA1c, BUN, Creatinine ทุก 1 ปี
  • Total cholesterol,triglyceride, HDL และ LDL cholesterol ทุก 6 เดือน

2. ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง รอบเอว ความดัน
โลหิต ทุกครั้งที่มาใช้บริการ
3. ตรวจเท้าอย่างละเอียด อย่างน้อยปีละ 1
ครั้ง
4.จัดการส่งผู้ป่วยพบทันตภิบาลเพื่อตรวจ
สุขภาพในช่องปาก ทุก 6 เดือน
5.ส่งตรวจจอประสาทตาด้วยการถ่ายจอ
ประสาทด้วย digital camera และส่งอ่าน
ภาพจอประสาทตาโดยผู้ชำนาญการ
ปีละ1ครั้ง
6.ส่งตรวจการทำงานของไต ปีละ 1 ครั้ง
7.กรณีมีอาการบ่งชี้ของโรคหลอดเลือดหัวใจ
หรือผู้สูงอายุควรส่งตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
(ECG)

บุคลากร

  • พยาบาลเวชปฏิบัติ 1 คน
  • เจ้าหน้าที่สาธารณสุข 1 คน
  • ทันตภิบาล 1 คนอุปกรณ์-เวชภัณฑ์
  • เครื่องชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูง เพื่อหาค่า BMI
  • สายวัดรอบเอว
  • เครื่องวัดความดันโลหิต
  • Monfilment
  • Dipstick สำหรับตรวจ urine protein
  • เครื่องตรวจจอประสาท ตาชนิด digital camera
  • เครื่องตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
หน่วยบริการระดับตติยภูมิ และสูงขึ้นไป 1.ส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ ดังนี้

  • FPG ทุกครั้ง
  • HbA1c ทุก 6 เดือน
  • Total cholesterol, triglyceride, HDL และ LDLcholesterol ทุก 6 เดือน
  • BUN, Creatinine ปีละ 1 ครั้ง

2.ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง รอบเอว ความดัน
โลหิต ทุกครั้ง
3.คลำชีพจรส่วนปลาย และตรวจเสียงดังที่
หลอดเลือดคาโรติด (carotid bruit)
4.ตรวจเท้าอย่างละเอียด อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง5.ตรวจ ankle-brachial index ( ABI ) ในผู้
ป่วยที่มีอาการและอาการแสดงของขา
หรือเท้าขาดเลือด และ/หรือ มีความเสี่ยง
สูงต่อการเกิดแผลที่เท้าหรือถูกตัดขาหรือ
เท้า
6.ประเมินความเหมาะสมของรองเท้า
7.ส่งผู้ป่วยพบทันตแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพ
ในช่องปากทุก 6 เดือน
8.สอบถามอาการทางตาและสายตา พร้อมกับทำการตรวจตามประเภทของโรคเบาหวานดังนี้

  • ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 ควรตรวจจอประสาทตาหลังเป็นเบาหวาน 5 ปีหรือเมื่ออายุ 12 ปีและตรวจตาตามแพทย์นัทหรืออย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
  • ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ควรรับการตรวจจอประสาททันทีที่ได้รับการวินิจฉัยโรคเบาหวานและตรวจตามแพทย์นัดหรืออย่างน้อยปีละครั้ง

9. ตรวจการทำงานของไตปีละ 1 ครั้ง

บุคลากร

  • พยาบาล
  • จักษุแพทย์
  • นักเทคนิคการแพทย์อุปกรณ์-เวชภัณฑ์
  • เครื่องชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง เพื่อหาค่า BMI
  • สายวัดรอบเอว
  • เครื่องวัดความดันโลหิต
  • Monofilament
  • เครื่องตรวจ anklebrachial index ( ABI )
  • Doppler ultrasound

เป้าหมายการรักษา การติดตาม และการประเมินผลรักษาผู้ป่วยเบาหวาน

เบาหวานเป็นโรคชนิดเรื้อรังซึ่งส่งผลให้เกิดการเสื่อมของผนังหลอดเลือด และทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เกิดขึ้น โดยเฉพาะกับผู้ที่มีปัญหาในการควบคุมเบาหวาน จากการเก็บข้อมูลผู้ป่วยเบาหวานไทยใน Diabetes Registry Project ปี ค.ศ.2003 จำนวน 9,419 ราย พบว่ามีผู้ป่วยรายหลายที่มีภาวะแทรกซ้อนจากการเป็นเบาหวานเกิดขึ้น แบ่งเป็น ไตเสื่อม 43.9% ต้อกระจก 42.8% จอประสาทตาเสื่อมจากเบาหวาน 30.7% โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ 8.1% แผลที่เท้า 59% หลอดเลือดสมองตีบ 4.4% หลอดเลือดส่วนปลายตีบ 1.6% และตาบอด 1.5% ซึ่งภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากเบาหวานเหล่านี้ทำให้ผู้ป่วย และครอบครัวต้องมีภาระเพิ่มมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นการจัดการดูแลตนเองเมื่อต้องมีสภาวะสุขภาพที่เสื่อมลง และค่าใช้จ่ายที่จำเป็นต้องใช้ในการเข้ารับการรักษา รวมทั้งอาจทำให้ไม่สามารถที่จะทำงานได้ตามปกติจึงต้องสูญเสียรายได้จากการทำงานไปอีกด้วย

การดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานจึงมีเป้าหมายคือ การป้องกันหรือชะลอการเกิดภาวะแทรกซ้อนเพื่อให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้น โดยมีการควบคุมน้ำตาลของผู้ป่วยให้อยู่ในระดับที่เป็นปกติที่สุด

ทั้งนี้การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดควรคำนึงถึงผู้ป่วยแต่ละรายด้วยว่ามีความเหมาะสมหรือไม่ โดยนำปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ มาพิจารณาร่วมด้วย ไม่ว่าจะเป็น อายุ โรคร่วม และการเกิดภาวะแทรกซ้อนเรื้อรังจากการเป็นโรคเบาหวานรวมทั้งการดำเนินชีวิตของผู้ป่วย

นอกจากนี้แล้ว ควรมีการควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่อาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนเรื้อรังจากการเป็นเบาหวานให้ลดลงได้ตามเป้าหมายหรือใกล้เคียงที่สุด ได้แก่ น้ำหนักตัวและรอบเอว ควบคุมระดับไขมันในเลือด ความดันโลหิตสูง ให้ความสำคัญกับการงดสูบบุหรี่ และให้มีการออกกำลังกายเป็นประจำและพอเพียงตามความจำเป็นของร่างกาย

ตาราง เป้าหมายการควบคุมเบาหวานในแต่ละระดับสำหรับผู้ใหญ่

ระดับการควบคุมเบาหวาน
เคร่งครัดมาก  เคร่งครัด ไม่เคร่งครัด
– ผู้ใหญ่อายุน้อยที่เป็นโรคเบาหวานไม่นาน

– ไม่มีภาวะแทรกซ้อนหรือโรคร่วมอื่นๆ

– ผู้ป่วยที่มีภาวะระดับน้ำตาลในเลือดต่ำบ่อยๆหรือรุนแรง

– ผู้ป่วยสูงอายุที่สุขภาพดี หรือไม่มีโรคร่วม

– ผู้ป่วยสูงอายุที่ไม่สามารถดูแลตนเองได้

– ผู้ป่วยที่มีโรคหลอดเลือดหัวใจภาวะหัวใจล้มเหลว โรคหลอดเลือดสมอง โรคลมชัก โรคตับ ระโรคไตระยะท้าย

เป้าหมายการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
FPG 70-110 มก./ดล FPG 90-130 มก./ดล FPG ใกล้เคียง130 มก./ดล
PPG (2 ชม.) < 140 มก./ดล PPG (2 ชม.) < 180 มก./ดล PPG (2 ชม.) < 180 มก./ดล
HbA1c < 6.5% HbA1c < 7.0% HbA1c 7.0-80%

 

ตารางเป้าหมายการควบคุมปัจจัยเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนที่หลอดเลือด

การควบคุม/การปฏิบัติตัว  การตรวจ เป้าหมาย
ระดับไขมันในเลือด ระดับโคเลสเตอรอลรวม
ระดับ แอล ดี แอล โคเลสเตอรอล
ระดับไตรกลีเซอไรด์
ระดับ แอล ดี แอล โคเลสเตอรอล : ผู้ชาย และผู้หญิง
<170 มก./ดล.
<100 มก./ดล.
<150 มก./ดล.
≥40 มก/ดล. และ ≥50 มก./ดล.
ความดันโลหิต ความดันโลหิตซีสโตลิค (systolic BP)
ความดันดลหิตไดแอสโตลิค (diastolic BP)
น้ำหนักตัว ดัชนีมวล
รอบเอว : ผู้ชาย และ ผู้หญิง
18.5-22.9 กก./ม.2
<90 ซม.และ <80 ซม.

* ถ้ามีโรคหลอดเลือดหัวใจหรือมีปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจหลายอย่างร่วมด้วยควรควบคุมให้ LDL < 70 มก. / ดล
** ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดความดันโลหิตซิสโตลิคควรน้อยกว่า 140 มม.ปรอท แต่ไม่ควรต่ำกว่า 110 มม.ปรอท สำหรับความดันโลหิตไดแอสโตลิคไม่ควรต่ำกว่า 70 มม.ปรอท
การตรวจประเมินภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวาน
เนื่องจากการเกิดภาวะแทรกซ้อนเรื้อรังจากเบาหวาน ทั้งที่เกิดขึ้นกับหลอดเลือดขนาดเล็กและหลอดเลือดขนาดใหญ่ จะเกิดขึ้นตั้งแต่การที่ผนังหลอดเลือดจะค่อย ๆ ถูกทำลายลง โดยไม่แสดงอาการผิดปกใด ๆ ให้ผู้ป่วยรับรู้ได้ แต่ในปัจจุบันการวินิจฉัยทางการแพทย์มีความเจริญก้าวหน้าขึ้น ทำให้สามารถที่จะค้นหาภาวะแทรกซ้อนเรื้อรังจากเบาหวานได้ตั้งแต่แรกเริ่ม เช่น การตรวจจอประสาทตา การตรวจ Microalbuminurea เป็นต้น

ตาราง การประเมินผู้ป่วยเพื่อหาความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนและการส่งต่อ

รายการ ความเสี่ยงต่ำ ความเสี่ยงปานกลาง ความเสี่ยงสูง มีโรคแทรกซ้อนเรื้อรังระยะท้าย
การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด – HbA1c < 7% – HbA1c7.0 – 7.9% – HbA1c ≥ 8%
– มี hupoglycemia ≥ 3 ครั้งต่อสัปดาห์
โรคแทรกซ้อนที่ไต – ไม่มี proteinuria
– albumin/creatinineratio<30ไมโครกรัม/มก.
– มี micro albuminuria – มี macro proteinuria
– serum creatinine = 1.5 มก./ดล. หรือ eGFR 30-59 และมีการลดลงไม่มากกว่า 7 ml/min/1.73m2
– serum creatinine ≥ 2มก./ดล. หรือ eGFR 30-59 และลดลง>7ml/min/1.73m2 หรือ eGFR<30ml/min/1.73m2
โรคแทรกซ้อนที่ตา  – ไม่มี retinopathy  – mild NPDR  – moderate NPDR
– VA ผิดปกติ
 – severe NPDR
– PDR
– macular edeme
– VA ผิดปกติ
โรคหัวใจและหลอดเลือด  – ไม่มี hypertension
– ไม่มี dyslipidemia
– ไม่มีอาการของระบบหัวใจและหลอดเลือด
 – มี hypertensionc และ/หรือ dyslipidemia กำลังรับการรักษา และ ควบคุมได้ตามเป้าหมาย  ควบคุม hypertensionc และ/หรือ dyslipidemia ไม่ได้ตามเป้าหมาย  – มี angina pectoris/CAD/myocardial infarction/CABG
– มี CVA
– มี heart failure
โรคแทรกซ้อนที่เท้า  – Protection sensation ปกติ
– peripheral pulse ปกติ
 – มี peripheral neuropathy
– peripheral pulse ลดลง
 – มีประวัติแผลที่เท้า
– previous amputation
– มี intermittent claudication
 – มี rest pain
– พบ gangrene

 

แนวทางการจัดการใช้ทรัพยากรตามระดับความเสี่ยงของการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น

ผู้จัดการรายกรณีควรทำการประเมินระดับความเสี่ยงของการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการเป็นโรคเบาหวาน เพื่อจัดการให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษาตามความเสี่ยงที่เกิดขึ้นในแต่ละระดับ

ตาราง การจัดการใช้ทรัพยากรตามระดับความเสี่ยงของการเกิดภาวะแทรกซ้อน

ความเสี่ยงต่ำ

ความเสี่ยงปานกลางและสูง

พบโรคแทรกซ้อน เรื้อรังรุนแรง

1. ดำเนินการจัดการให้ผู้ป่วยได้มีความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพด้านการรับประทานอาหารและออกกำลังกาย
2. ดำเนินการจัดการให้ผู้ป่วยได้เข้ารับการตรวจทางห้องปฏิบัติการรวมทั้งส่งตรวจจอประสาทตา และตรวจเท้า เป็นประจำปีละ 1 ครั้งเป็นอย่างน้อย
3. มีการติดตามให้ผู้ป่วยได้มาเข้ารับการตรวจตามกำหนดที่ได้นัดหมายและมีการประเมินแผนการในการรักษาพยาบาลผู้ป่วยทุกครั้ง
1. ดำเนินการส่งผู้ป่วยเข้าพบพยาบาลที่มีความเชี่ยวชาญในการรักษาโรคเบาหวานและนัก
2. ดำเนินการจัดการให้ผู้ป่วยได้รับการตรวจทางห้องปฏิบัติการ รวมทั้งส่งตัวผู้ป่วยให้ได้รับการตรวจจอประสาทตาและตรวจเท้า เป็นประจำปีละ 1 ครั้ง เป็นอย่างน้อย
3. มีการติดตามให้ผู้ป่วยมาตรวจตามกำหนดที่ได้นัดหมายและมีการประเมินแผนการในการรักษาพยาบาลผู้ป่วยทุกครั้ง
4. มีการประสานงานให้ผู้ป่วยได้รับการโทรศัพท์เยี่ยมที่บ้าน เพื่อทำการประเมินผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการควบคุมเบาหวาน
5. มีการประสานงานส่งตัวผู้ป่วยให้เข้าพบอายุรแพทย์ หรือแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางโรคเบาหวาน
1. มีการประสานงานส่งตัวผู้ป่วยให้ได้เข้าพบแพทย์เฉพาะทาง
2. ดำเนินการส่งผู้ป่วยและครอบครัวพบพยาบาลที่มีความเชี่ยวชาญในการรักษาโรคเบาหวานเพื่อที่ผู้ป่วยจะได้รับคำแนะนำในการดูแลตนเองอย่างถูกต้อง
3. ดำเนินการจัดการให้ผู้ป่วยได้รับการมาตรวจตามกำหนดที่ได้นัดหมาย
4. ดำเนินการส่งผู้ป่วยเข้าพบนักโภชนากรเพื่อที่ผู้ป่วยจะได้รับคำแนะนำในการรับประทานอาหารเฉพาะโรคตามภาวะแทรกซ้อนที่พบในผู้ป่วย
5. มีการประสานงานให้ผู้ป่วยได้รับการเยี่ยมบ้าน เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง

 

การให้ความรู้และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วย

การให้ความรู้แก่ผู้ป่วยอย่างมีประสิทธิภาพจะส่งผลให้ผู้ป่วยมีความรู้ ความเข้าใจ วิธีคิดรวมค่านิยม ความเชื่อ และทัศนคติ ที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยเกิดการพัฒนาทักษะที่จะส่งผลให้พฤติกรรมสุขภาพเกิดการเปลี่ยนแปลงตามมา

ความรู้ในเรื่องโภชนบำบัด ความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานระดับเบื้องต้น การดูแลสุขภาพโดยทั่วไป โรคแทรกซ้อนที่มีโอกาสเกิดขึ้นจากการเป็นโรคเบาหวาน การดูแลรักษาเท้า การออกกำลังกาย การใช้ยารักษาโรคเบาหวาน ภาวะน้ำตาลในเลือดอยู่ในระดับต่ำและวิธีที่ใช้ในการป้องกันแก้ไข การตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดและปัสสาวะด้วยตนเอง และการดูแลผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะพิเศษ เช่น ในระหว่างตั้งครรภ์ เมื่อต้องขึ้นเครื่องบิน เดินทางไกล ไปงานเลี้ยงสังสรรค์ เล่นกีฬา

การให้ความรู้แก่ผู้ป่วยโรคเบาหวานซึ่งเป็นความเจ็บป่วยชนิดเรื้อรังนั้น จำเป็นต้องใช้หลายวิธีรวมกัน โดยมีจุดประสงค์ให้ผู้ป่วยสามารถปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตในแต่ละวันของตนเอง ให้มีความสอดคล้องกับแนวทางการรักษาและภาวะความเจ็บป่วยทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจที่เสื่อมถอยลงเมื่ออาการของโรคดำเนินไป

การสนับสนุนการจัดการดูแลตนเอง ( Self Management Support )

การสนับสนุนการจัดการดูแลตนเอง คือ การดำเนินการจัดการให้ผู้ป่วยได้มีความตระหนัก และมีความสามารถในการดูแลตนเอง โดยให้ผู้ป่วยเองเป็นผู้ที่ตั้งเป้าหมายในการรักษา มีความเข้าใจว่าตนเองมีอุปสรรคและข้อจำกัดอย่างไร รวมทั้งสามารถที่จะทำการประเมินสภาวะสุขภาพของตนเองได้ว่า สามารถที่จะจัดการกับสุขภาพของตนเองได้หรือมีความจำเป็นที่จะต้องไปพบแพทย์

การที่ผู้ป่วยจะเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อดูแลสุขภาพตนเองได้นั้น จำเป็นต้องอาศัยปัจจัยดังต่อไปนี้คือ

1.ผู้ป่วยเกิดแรงจูงใจที่จะดูแลตนเอง ( Motivation )

2.ผู้ป่วยมีความรู้ความเข้าใจในโรคที่ตนเองเป็น ( Knowledge )

3.ผู้ป่วยมีทักษะในการใช้ชีวิตอยู่กับโรคเรื้อรัง ( Problem Solving Skill )

4.ผู้ป่วยมีความมั่นใจที่จะดูแลตนเอง ( Self Efficacy )

5. ได้รับการช่วยเหลือสนับสนุนในส่วนที่เป็นอุปสรรคหรือความขาดแคลนทรัพยากร ( ldentified Barrier )

Self Management Program ( 5A ) มีแนวทาง

1.มีการประเมินภาวะสุขภาพผู้ป่วย รวมทั้งการใช้ชีวิต เพื่อค้นหาว่ามีปัจจัยอะไรบ้างที่ช่วยสนับสนุนหรือเป็นอุปสรรค หรือข้อจำกัดในการเสริมสร้างศักยภาพในการดูแลตนเอง

2.มีการวางแผนการดูแลเพื่อส่งเสริมการจัดการดูแลตนเอง

  • มีการตั้งเป้าหมายร่วมกัน ระหว่างผู้ป่วยครอบครัวและทีมสุขภาพ โดยให้เป็นเป้าหมายที่มีความชัดเจน สามารถตรวจวัดได้ มีความเป็นไปได้ และมีความเหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย
  • สรรหาวิธีที่เหมาะสมให้กับผู้ป่วยในการส่งเสริมศักยภาพการจัดการดูแลตนเอง โดยนำข้อมูลจากระยะของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ( Stage of Change ) มาทำการประเมิน เช่น

1) การให้ผู้ป่วยได้มีความรู้และได้รับการฝึกทักษะในการปฏิบัติการดูแลตนเองอย่างถูกต้อง ตรงกับปัญหาและความต้องการของตนเอง

2) การจัดกิจกรรมกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน ( Peer Support )

3) ค้นหาแหล่งสนับสนุนเพื่อให้ผู้ป่วยจัดการดูแลตนเองได้ เช่น ความช่วยเหลือจากสมาชิกในครอบครัว เพื่อนสนิท หรือเพื่อนร่วมงาน เป็นต้น

4) ส่งเสริมให้ผู้ป่วยได้มีทักษะการแก้ปัญหา เช่น การปรับปริมาณและชนิดของอาหารที่รับประทานตามผลของระดับน้ำตาลในเลือดที่ตรวจด้วยตนเองที่บ้าน

5) มีการกระตุ้น ชี้แนะ ให้กำลังใจ และสร้างแรงจูงใจให้ผู้ป่วยสามารถจัดการดูแลตนเองได้อย่างต่อเนื่อง

  • ใช้วิธีการสื่อสารที่มีความเหมาะสมระหว่างบุคลากรผู้ให้คำแนะนำกับผู้ป่วย ในการพัฒนาศักยภาพการจัดการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง เช่น การใช้โทรศัพท์อินเตอร์เน็ต พร้อมกับกำหนดวิธีในการติดตามผลลัพธ์ เพื่อทำการประเมินแผนการดูแลผู้ป่วยอย่างมีประสิทธิภาพ

3.กำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จ และแผนการติดตามประเมินผล ( Regular Monitoring Review )

  • Response to Treatment : การมาเข้ารับการตรวจตามนัดหมายอย่างสม่ำเสมอของผู้ป่วย
  • Effectiveness of Strategies : พฤติกรรมการจัดการดูแลตนเองของผู้ป่วยในด้านต่างๆ เช่น พฤติกรรมการบริโภค การออกกำลังกาย และการฉีดอินซูลิน เป็นต้น
  • Change in Health : Glycemic Control, Quality of Life
  • Psychological / Emotional State

ตาราง การจัดการทรัพยากรในการให้ความรู้ผู้ป่วยเบาหวาน

ระดับบริการ

กิจกรรมการดูแล

การจัดสรรทรัพยากร

โรงพยาบาลที่มีทีมบุคลากรในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวานครบ 1. ประเมินการได้รับความรู้เกี่ยวกับเบาหวาน เพื่อจะได้วางแผนให้ความรู้กับผู้ป่วยที่ไม่ค่อยมีความรู้อย่างเหมาะสมมากขึ้น
2. ให้ความรู้ผู้ป่วยเบาหวานเป็นกลุ่ม ตั้งแต่แรกรับการวินิจฉัยและทุกครั้งที่มารับการรักษา โดยหัวข้อที่ควรให้ความรู้กับผู้ป่วยก็ได้แก่ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเบาหวานและโรคแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน (แพทย์/พยาบาล) โภชนบำบัด (นักโภชนากร) ยารักษาเบาหวาน (เภสัชกร) การออกกำลังกาย (นักกายภาพบำบัด) การดูแลสุขภาพโดยทั่วไป (พยาบาล)ภาวะน้ำตาลต่ำในเลือดและป้องกันแก้ไข (พยาบาล)การตรวจวัดน้ำตาลในเลือดและปัสสาวะและแปลผลด้วยตนเอง (พยาบาล) และการดูแลรักษาเท้า (พยาบาล)
3.จัดการส่งผู้ป่วยที่มีปัญหาซับซ้อนในการควบคุมเบาหวาน ให้พบพยาบาลผู้เชี่ยวชาญด้านโรคเบาหวานเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยและครอบครัวให้สามารถจัดการดูแลตนเองได้อย่างปลอดภัย
4. จัดการส่งผู้ป่วยที่มีโรคร่วมหรือภาวะแทรกซ้อนเรื้อรังจากเบาหวานให้พบนักโภชนากร เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยและครอบครัวสามารถวางแผนควบคุมการทานอาหารได้อย่างเหมาะสม
1. จัดหาห้องเรียนสำหรับให้ความรู้ผู้ป่วยในคลินิก
2. จัดหาอุปกรณ์และสื่อการสอนที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพ
3. จัดทีมบุคลากรให้ความรู้ผู้ป่วยตามหัวข้อที่กำหนด
4. จัดให้มีพยาบาลผู้เชี่ยวชาญด้านโรคเบาหวาน 1 คน คอยให้คำปรึกษากับผู้ป่วย
5. จัดทำสมุดพกประจำตัวผู้ป่วยโรคเบาหวานเพื่อบันทึกเพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความตระหนักในการดูแลสุขภาพตนเอง
6. จัดทำแผ่นพับและวีดิทัศน์ในการให้ความรู้ เพื่อให้ผู้ป่วยนำกลับไปทบทวนที่บ้าน
โรงพยาบาลที่มีทีมบุคลากลอนในการดูแลรักษาผู้ป่วยเบาหวานไม่ครบ 1. ประเมินการได้รับความรู้เกี่ยวกับเบาหวานให้กับผู้ป่วยทุกรายตั้งแต่แรกวินิจฉัย และทุกครั้งที่มารับการรักษา
2. ให้ความรู้ผู้ป่วยเบาหวานเป็นกลุ่ม ตั้งแต่แรกรับการวินิจฉัยและทุกครั้งที่มารับการรักษา ครบทุกหัวข้อตามที่กำหนดความรู้เบาหวาน หรือโรงพยาบาลต่างๆที่มีการจัดทำสื่อการสอน
3. จัดการส่งผู้ป่วยที่มีปัญหาซับซ้อนในการควบคุมเบาหวาน ให้พบพยาบาลผู้เชี่ยวชาญด้านโรคเบาหวานเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยและครอบครัวให้สามารถจัดการดูแลตนเองได้อย่างปลอดภัย
1. จัดหาสถานที่สำหรับให้ความรู้ผู้ป่วย
2. ประสานงานของสื่อการสอนจากสมาคมผู้ให้ความรู้เบาหวานหรือโรงพยาบาลใกล้เคียง
3. จัดเตรียมนักสุขศึกษา 1 คนและพยาบาล 1 คนให้ความรู้ผู้ป่วย
4. จะทำสมุดประจำตัวผู้ป่วยเบาหวานเพื่อบันทึกการได้รับความรู้ ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

ศัลยา คงสมบูรณ์เวช. บำบัดเบาหวานด้วยอาหาร. พิมพ์ครั้งที่ 4 (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ : อัมรินทร์เฮลท์ อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2559. (12), 311 หน้า. (ชุดชีวิตและสุขภาพ ลำดับที่ 113) 1.เบาหวาน 2.โภชนบำบัด 3.การปรุงอาหารสำหรับผู้ป่วย 4.การดูแลสุขภาพตนเอง. 616.462 ศ7บ6 2559. 

ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). กินเท่าไหร่ กินแค่ไหน ไม่เสี่ยงอ้วน. ใน: ธิดารัตน์ มูลลา.ชีวิตใหม่ไร้พุง. กรุงเทพฯ : บริษัทศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์ จำกัด, 2557.

การดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง

0
การดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง
ความดันโลหิตสูง หมายถึง ภาวะที่ความดันช่วงบนมีค่าตั้งแต่ 130 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป และ/หรือความดันช่วงล่างมีค่าตั้งแต่ 80 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป
การดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง
ความดันโลหิตสูง หมายถึง ภาวะที่ความดันช่วงบนมีค่าตั้งแต่ 130 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป และ/หรือความดันช่วงล่างมีค่าตั้งแต่ 80 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป

การประเมินผู้ป่วย เพื่อเข้าสู่การวินิจฉัยโรคความดันโลหิตสูง

ในการประเมินเคสผู้ป่วยเพื่อที่จะนำเข้าสู่ผลการวินิจฉัยโรคสำคัญอย่างโรคความดันโลหิตนั้น การค้นหาการคัดกรองหาปัจจัยที่ส่งผลเสี่ยงต่อการเกิดโรคนี้จะเป็นการช่วยในเรื่องของการประเมินว่าทางผู้ป่วยนั้นป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงตามนั้นจริงหรือไม่ สามารถที่จะทำการประเมินได้เลยว่าผู้ป่วยเข้าข่ายป่วยแน่นอนหากพบว่าใช่ก็จะได้ทำการแยกระดับความดันโลหิตให้เป็นไปตามเกณฑ์ได้ตั้งแต่ระยะแรกหรือจะเพื่อเป็นการค้นหาเกี่ยวกับสาเหตุที่ส่งผลต่อการเกิดโรคความดันโลหิตที่ยังคงสามารถทำการแก้ไขได้ทันเวลา นั่นก็เป็นสิ่งที่เสมือนกับหน้าด่านแรกที่นำไปสู่ผลของการวินิจฉัยที่ถูกต้องตามเกณฑ์และยังเป็นการนำไปสู่ระดับการเข้าถึงรูปแบบบริการดูแลและการรักษาพยาบาลที่ถูกต้องที่เหมาะสม สำหรับวัตถุประสงค์ของการประเมิน DIAGNOSTIC   EVALUATION ได้แก่ เพื่อเป็นการค้นหาสิ่งที่จะเป็นการยืนยันตัวยืนยันว่าป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงแบบจริง ๆ และทำการระบุว่าเป็นโรคความดันประเภท SECONDARY HYPERTENSION การค้นหาส่วนของโรคร่วมหรือทำการค้นหาตัวโรคที่จะมาพร้อมกับโรคความดันโลหิตสูงที่พบเจอ ทำการค้นหาและทำการประเมินสิ่งที่จะเป็นร่องรอยของอวัยวะที่ถูกทำลายมาจากการได้รับผลกระทบของโรคความดันโลหิตสูง การค้นหาและทำการประเมินระดับความเสี่ยงที่จะเกิดโรคอันตรายหรือภาวะแทรกซ้อนในส่วนของหัวใจและหลอดเลือด เพื่อทำการวัดหาค่าความดันโลหิตที่ถูกต้องของตัวบุคคลนั้น ๆ

วิธีการปฎิบัติเพื่อเป็นการค้นหาและการประเมินผู้ป่วยที่ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง

สำหรับวิธีการปฏิบัติเพื่อเป็นการค้นหาและการประเมินผู้ป่วยที่ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงนั้นหากจะให้แม่นยำควรที่จะต้องมีทักษะ มีเรื่องของความรู้ในประเด็นเหล่านี้ไว้ด้วย ได้แก่ เรื่องของการตรวจสภาพร่างกาย การวัดระดับความดันโลหิตที่ถูกต้อง การประเมินในห้องปฏิบัติการ, การประเมินเกี่ยวกับประวัติทางด้านครอบครัวและประวัติทางด้านสุขภาพของตัวบุคคลรวมถึงเรื่องของพฤติกรรมที่ส่งผลต่อสุขภาพของทางบุคคลนั้นๆ  การประเมินเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงที่เป็นทั้งส่วนภายในและส่วนภายนอกเท่าที่ทราบและเพื่อเป็นการระบุถึงระดับของความรุนแรงปัจจัยเสี่ยงแต่ละประเภทเพื่อให้เป็นตัวที่สามารถนำไปสู่การเปลี่ยนพฤติกรรมทางด้านสุขภาพได้อย่างยั่งยืน

การวัดความดันโลหิตที่ถูกต้อง สิ่งที่ควรปฏิบัติ

สำหรับการวัดความดันโลหิตที่ถูกต้องตามขั้นตอน จะต้องปฏิบัติตาม 3 ข้อดังนี้

1. เลือกเครื่องวัดความดันที่เหมาะสม

ควรเลือกใช้เครื่องวัดความดันโลหิตที่มีความเหมาะสม ซึ่งในปัจจุบันจะนิยมใช้เครื่องวัดความดันอัตโนมัติมากที่สุด แต่จะต้อง Calibrated เครื่องอยู่เสมอ

2. เลือกขนาดของ Cuff

สำหรับขนาดของ Cuff จะต้องสามารถวางอยู่รอบวงแขนของผู้ป่วยที่ประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ของความกว้างวงแขนท่อนบนเป็นอย่างน้อย เพื่อให้ได้ค่าการตรวจวัดที่มีความถูกต้องที่สุด

3. เตรียมผู้ป่วย

การเตรียมผู้ป่วย จะต้องมีการตรวจอย่างน้อย 2 ครั้งห่างกัน 2-3 นาทีโดยที่ตำแหน่งแขนที่พ้น Cuff ต้องวัดความดันโลหิตให้วางอยู่ในระดับเดียวกับตำแหน่งของหัวใจ รวมถึงต้องจัดให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าที่เหมาะสมและมีสภาวะสงบ ผ่อนคลายมากที่สุด นอกจากนี้จะต้องมีการซักถามประวัติผู้ป่วยด้วยว่าในช่วง 1 ชั่วโมงที่ผ่านมาได้ทานอาหารหรือกาแฟมาบ้างหรือไม่ และในช่วง 15 นาทีที่ผ่านมาได้ทำการสูบบุหรี่มาก่อนหรือเปล่า

4. สิ่งที่ควรต้องพิจารณาให้เป็นพิเศษ

4.1 การประเมิน “ Orthostatic / Postural Hypertension ” เพื่อหาผู้ป่วยที่มีค่าความดันโลหิตลดต่ำลงขณะอยู่ในท่ายืนมักพบเสมอในผู้ป่วยสูงอายุ Systolic Hypertension ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานร่วม ผู้ป่วยที่รับประทานยาขับปัสสาวะ ยาขยายหลอดเลือด ยากลุ่ม Psychotropic บางชนิด ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการของ Light-Headedness, Dizziness, Weakness, Unsteadiness, Visual Blurring และ Near-Syncope

การตรวจวัดความดันโลหิตเพื่อทำการประเมิน “ Orthostatic / Postural Hypertension ” 

1) วัดความดันโลหิตซ้ำอีกที่ 3 นาที เมื่อผู้ป่วยอยู่ในท่ายืน หากผู้ป่วยไม่สามารถที่จะยืนได้เป็นเวลานาน ๆ ให้เปลี่ยนเป็นท่านั่งแทนได้ โดยค่าความดันโลหิตที่เป็นตัวบ่งชี้ของภาวะ “ Orthostatic / postural hypertension ” จะมีค่าความดันโลหิตตัวบนลดลง 20 mmHg หรือมากกว่า ค่าความดันโลหิตตัวล่างลดลง 10 mmHg หรือมากกว่า ร้อยละอัตราการเต้นของชีพจรจะเพิ่มขึ้นเป็น 20 ครั้งต่อนาทีหรือมากกว่า

2) วัดความดันโลหิตครั้งที่ 1และจับชีพจรของผู้ป่วยหลังจากให้ผู้ป่วยอยู่ในท่านอนหงายราบ จากนั้นให้ผู้ป่วยยืนขึ้นและวัดความดันโลหิตของผู้ป่วยซ้ำทันที

4.2 หากพบว่าผู้ป่วยมีค่าความดันโลหิตต่ำลงหรือสูงขึ้นอย่างผิดปกติแต่ผู้ป่วยไม่แสดงอาการ จะต้องวัดค่าความดันโลหิตของแขนด้านตรงข้ามของผู้ป่วยเพื่อยืนยันอาการแสดงบ่งชี้เสมอ

4.3 “ White Coat Effect ” ไม่ควรลืมทำเด็ดขาด

ตาราง คำจำกัดความและการแบ่งระดับความดันโลหิตสูง ( Definitions and Classification of Blood Pressure )

การจำแนกระดับความดันโลหิต   ( BP ) Systolic Blood Pressure ( SBP ) Diastolic Blood Pressure ( DBP )
เหมาะสมที่สุด ( Optimal ) <120 mmHg <80 mmHg
ปกติ ( Normal ) 120-129 80-84
สูงกว่าปกติ ( High Normal ) 130-139 85-89
ระดับ 1 Hypertension ( Mild ) 140-159 90-99
ระดับ 2 Hypertension ( Moderate ) 160-179 100-109
ระดับ 3 Hypertension ( Severe ) ≥180 ≥110
ความดันตัวบนสูงอย่างเดียว ( Isolated Systolic Hyperten ) ≥140 <90

 

การประเมินประวัติครอบครัวประวัติสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพผู้ป่วย 4 ด้าน ( Family, Clinical History,Individual Behavioral ,Health )

ข้อมูล รายละเอียด
1. ด้าน Basic bio-behavioral mechanism 1.1 อายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป
1.2 พันธุกรรมมีประวัติครอบครัวเป็นโรคความดันโลหิตสูงหรือไม่
1.3 ร่างกายมีความไวต่อการสะสมเกลือและโซเดียม ( salt sensivity ) มีบวมตามร่างกายได้ง่าย
1.4 มีอาการหรืออาการแสดงผิดปกติที่สงสัยมีโรคความดันโลหิตสูงครั้งแรกหรือไม่
ถ้ามีเป็นอย่างไร เป็นบ่อยแค่ไหนและมีระยะเวลานานเท่าไร เช่นอาการปวดศีรษะ มึน เวียนศีรษะ วูบ
2. ด้านพฤติกรรมส่วนบุคคล 2.1 ลักษณะนิสัยการรับประทานอาหารและน้ำหนักตัวเป็นอย่างไร บริโภคอาหารรสเค็มหรือมีเกลือโซเดียมมากหรือไม่
2.2 กิจกรรมยามว่างหรือทำงานอดิเรกอะไรบ้าง ปฏิบัติกิจกรรมการเคลื่อนไหวออกแรงหรือออกกำลังกายหรือไม่ ขาดการออกกำลังกายหรือออกกำลังกายน้อย
2.3 มีความเครียดสูงและเรื้อรัง ( หรือถูกกดดันบ่อยๆด้วยเวลาอันจำกัด รีบเร่ง ) จริงจังไม่ปล่อยวาง
2.4 ดื่มแอลกอฮอล์และกาแฟมากเกินไป
2.5 มีประวัติสูบบุหรี่ดื่มเหล้าหรือไม่
2.6 ลักษณะนิสัยการรับประทานอาหารเป็นอย่างไร
2.7 น้ำหนักตัวเป็นอย่างไร
3. ด้านการใช้ชีวิตในสังคมครอบครัวและชุมชน ( Social family & Community ) 3.1 มีวิถีชีวิตที่เร่งรีบตลอดเวลา
3.2 รับภาระทางสังคมและครอบครัวมาก
4. ประเมินความเป็นอยู่อาชีพ (Living & working condition) 4.1 ประกอบอาชีพที่มีการแข่งขันสูงหรือก่อให้เกิด
4.2 ความเครียดสูง เช่น นักธุรกิจ นักการเมือง
4.3 อาชีพที่มีการพักผ่อนไม่เป็นเวลา
4.4 อาชีพที่ต้องนั่งโต๊ะทำงานทั้งวัน

 

เพศชาย เพศหญิง
– BP≥ 130/85 mmHg – BP≥ 130/85 mmHg
– น้ำหนักเกินเกณฑ์ BMI >25 kg/m2 – น้ำหนักเกินเกณฑ์ BMI >25 kg/m2
– อ้วนลงพุง เพศชายรอบเอว ≥ 94 เซนติเมตร ( ≥36 นิ้ว) – อ้วนลงพุง เพศหญิงรอบเอว ≥ 94 เซนติเมตร ( ≥36 นิ้ว )
– Triglyceride ≥150 มิลลิกรัม/เดซิลิตร/ได้รับการ รักษาโดยการใช้ยาลดไขมัน – Triglyceride ≥150 มิลลิกรัม/เดซิลิตร/ได้รับการรักษาโดยการใช้ยาลดไขมัน
– HDL-C<40 มิลลิกรัม/เดซิลิตร – HDL<50 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
– น้ำตาลในเลือดขณะอดอาหาร ( FBS ) ≥ 100 มิลลิกรัม/เดซิลิตร/เคยได้รับการวินิจฉัยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 มาก่อน – น้ำตาลในเลือดขณะอดอาหาร ( FBS ) ≥ 100 มิลลิกรัม/เดซิลิตร/เคยได้รับการวินิจฉัยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 มาก่อน

Home and 24 hour ambulary BP measurement

1. Home BP
สำหรับผู้ป่วยความดันโลหิตสูงแล้ว ในการประเมินว่าผู้ป่วยมีความจำเป็นที่จะต้องได้รับการดูแลภาวะสุขภาพหรือไม่ เรื่องสำคัญที่เป็น Exist need ที่ Recommend จะต้องทำการ Encouraged ให้ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงได้ปฎิบัติก็คือ การทำ Self-management ในการวัดความดันโลหิต เพื่อที่จะให้ได้ข้อมูลค่า BP ของผู้ป่วยให้ได้มากที่สุดโดยมีจุดประสงค์เพื่อ

  • เพื่อให้ได้ข้อมูลค่า BP ของผู้ป่วยให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ เพื่อที่จะนำไปใช้ในการประเมินผลการรักษาด้วยยาลดความดันโลหิตว่ายาที่ใช้ได้ผลดีกับผู้ป่วยแต่ละรายหรือไม่ ผู้ป่วยมีการตอบสนองอย่างไร ค่า BP ลดระดับลงได้อย่างเหมาะสมหรือไม่
  • เพื่อให้การรักษาผู้ป่วยความดันโลหิตสูงมีความยั่งยืนต่อเนื่อง
  • เพื่อที่ผู้ป่วยและทีมสุขภาพจะได้มีความเข้าใจร่วมกันว่า เมื่อทำการวัดค่า BP ที่บ้านจะได้ข้อมูลที่มีความเที่ยงตรงและเชื่อถือได้ เนื่องจากปัจจัยต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งแวดล้อม หรือปัจจัยกระตุ้นจากสิ่งเร้าล้วนมีผลต่อค่า BP
    แต่ถึงแม้ว่าการ Encouraged ให้ผู้ป่วยปฏิบัติในการทำ Self-management เพื่อที่จะทำการประเมินระดับความดันโลหิตที่บ้านได้ด้วยตนเองและนำข้อมูลที่ได้ทำการจดบันทึกมาแสดงให้ดูทุกครั้งที่ได้มาโรงพยาบาล จะเป็นแนวทางการปฏิบัติที่ได้ผลดี แต่จำเป็นต้องหยุดปฏิบัติในทันที หากผู้ป่วยทำ Home BP แล้วมีผล ดังต่อไปนี้
  • ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกวิตกกังวลเพิ่มมากขึ้น
  • เป็นเหตุให้ผู้ป่วยตัดสินใจปรับเปลี่ยนวิธีรักษาด้วยตนเอง เช่น ผู้ป่วยอาจจะหยุดยาที่รับประทานเอง หรือตัดสินใจเพิ่มขนาดยาที่รับประทานเอง ซึ่งอาจจะเกิดอันตรายตามมาหรือ อาจทำให้การรักษาหยุดชะงักลง
  • ค่าปกติสำหรับ Home BP จะต่ำกว่าค่า Office BP ค่าปกติสำหรับ Home BP คือ
    ค่า Systolic BP < 130-135 mmHg ค่า Diastolic BP < 85 mmHg

2. Ambulatory BP ( 24 hour ambulary BP monitoring )

การใช้เครื่องวัด BP ในการตรวจวัดความดันโลหิตของผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา 24 ชั่วโมงนั้น จะเป็นการตรวจที่ทำได้ลงลึกและมีความละเอียดในการตรวจวัดเพิ่มมากขึ้น หากทำการวิเคราะห์ระดับความดันโลหิตของผู้ป่วยตลอดวันโดยให้ผู้ป่วยได้ดำเนินชีวิตไปตามปกติ ทั้งนี้เพื่อการประเมินโอกาสเสี่ยงที่จะเกิด CV risk ทั้งในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ผ่านการรักษามาแล้วหรือกำลังอยูในระหว่างการพิจารณาว่าควรใช้ยารักษาดีหรือไม่ เพื่อที่การใช้ยาลดความดันโลหิตจะได้ไม่เป็นทางเลือกที่ไม่จำเป็น ควรพิจารณาให้ผู้ป่วยได้รับการตรวจ 24 hour ambulary BP ในกรณีดังนี้  

  • พบผู้ป่วยที่มี Office BP แต่ไม่มีความเสี่ยงที่จะเกิด CV Risk หรือมีความเสี่ยงที่จะเกิด CV Risk อยู่ในระดับต่ำ
  • สงสัยว่าผู้ป่วยมีอาการดื้อยาลดความดันโลหิต ( Resistance to Drug Treatment )
  • สงสัยว่าผู้ป่วยมี Sleep Apnoea
  • สงสัยว่าผู้ป่วยมีค่าความดันโลหิตลดต่ำลง ( Hypotensive Episodes ) โดยเฉพาะผู้ป่วยสูงอายุและมีโรคเบาหวานร่วมด้วย
  • ผู้ป่วยที่กำลังอยู่ในระหว่างตั้งครรภ์ที่พบมีออฟฟิศ BP สูงและสงสัยว่ามีภาวะ Pre-Eclampsia
  • พบว่าการวัดค่า BP ของผู้ป่วยที่วัดที่ Office กับวัดที่บ้าน มีความแตกต่างกันเป็นอย่างมาก
  • พบว่าค่า Office BP ของผู้ป่วยกว้างมากอย่างผิดปกติ ( Variability of Office BP )

3.Particular Conditions

3.1 Isolated Office Hypertension ( White Coat Hypertension )

จะต้องมีการคิดถึงภาวะ “White Coat Effect” เสมอ เมื่อดูแลผู้ป่วยที่ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง
พบค่า Office BP สูงเกิน 140/90 mmHg แต่ หากให้ผู้ป่วยทำ Home BP พบว่าค่า Home BP ปกติ

 

“ White coat effect ”
<Office BP>140/90 mmHg>

 

“ Home BP ” หรือ Daytime ambulatory BP
<130-135-85 mmHg>

โดยการประเมินภาวะดังกล่าวนี้ก็มีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะหากผู้ป่วยมีภาวะดังกล่าวนี้ ก็จะได้ไม่ต้องทำการรักษาด้วยการทานยาลดความดันนั่นเอง แต่ก็จะต้องมีการประเมินผู้ป่วยแต่ละรายว่ามีความเสี่ยงต่อการเกิด CV Risk มากแค่ไหน โดยประเมินได้จากการทำ 24 hour Ambulary BP Monitoring

3.2 Isolated Ambulatory Hypertension ( Masked Hypertension )

โดยกรณี “ Masked Hypertension ” จะพบค่า Office BP ที่ปกติคือ <140/90 mmHg แต่ค่า Home BP ( ≥130-135/85 ) หรือค่า Ambulatory BP สูงขึ้น ( ≥125-130/80 mmHg ) ซึ่งกรณีนี้ก็จะต้องประเมินเพื่อหาความเสี่ยงต่อการเกิด CV risk เสมอเช่นกัน และหากพบผู้ป่วยกลุ่ม “Masked hypertension” มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิด CV risk ต้องมีการติดตามผู้ป่วยประเมิน BP ผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องทั้งออฟฟิศ BP และ Home BP ควบคู่กัน 

การตัดสินใจให้การรักษาผู้ป่วยความดันโลหิตด้วยการใช้ยาลดความดัน

สำหรับแนวทางในการรักษาพยาบาลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง การพิจารณาว่าจะเริ่มต้นทำการรักษาผู้ป่วยด้วยการให้ผู้ป่วยปรับการพฤติกรรมการดำเนินชีวิตในเรื่องสุขภาพ ( Life Style modification ) ก่อนดีหรืออาจจะเริ่มทำการรักษาโดยใช้ยาลดความดันโลหิต ( Initiation of BP lowering therapy ) ได้เลยทันทีนั้น จำเป็นที่จะต้องทำการประเมินภาวะสุขภาพผู้ป่วยแต่ละรายเป็นกรณีไป ผู้ที่ให้การรักษาจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในการดำเนินชีวิตของผู้ป่วย สามารถช่วยให้ผู้ป่วยได้ปรับสมดุลชีวิต รู้ว่าปัจจัยอะไรบ้างที่เป็นตัวกระตุ้นที่มีผลต่อความดันของผู้ป่วยแต่ละรายที่แตกต่างกันออกไป เนื่องจากกลไกของการเกิดความดันโลหิตสูงมีปัจจัยมากมายที่อาจเป็นสาเหตุ

อย่างไรก็ดี การร่วมมือกับผู้ป่วยในการให้การดูแลรักษาพยาบาลโรคความดันโลหิตสูงนั้น มีความจำเป็นที่จะต้องสร้างข้อตกลงร่วมกันกับผู้ป่วยในเบื้องต้นเสียก่อนว่าค่าความดันโลหิตหรือที่เป็นที่รู้จักกันในชื่อของ Blood Pressure ( BP ) นั้น เป็นเพียงค่าตัวเลขที่สูงแต่เพียงเท่านั้น และการรักษาก็ไม่ใช่ว่าจะทำเพียงแค่ให้ค่าตัวเลขที่สูงลดลงได้เท่านั้น แต่ทำการรักษาเพื่อที่จะป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยมีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิด Subclinical Organ Damage ต่าง ๆ ตามมา

โดยเฉพาะตั้งแต่ที่ได้ทำการตรวจพบ และสามารถที่จะระบุตัวผู้ป่วยที่มีโอกาสเสี่ยงตั้งแต่ในระยะเริ่มแรกได้ ผู้ป่วยที่มี CV Risk สูงขึ้นเช่นผู้ป่วยที่มี Diabetes, Renal Dysfunction, Stroke, Ml, Proteinuria เป็นต้น จำเป็นที่จะต้องได้รับการควบคุม Metabolic Syndrome และค่า BP ให้มีค่าอยู่ในระดับปกติ คือน้อยกว่า 140/90 mmHg ให้ได้หรือให้น้อยกว่า 130 / 80 mmHg ในทันทีที่ตรวจพบ จึงจะทำให้การดูแลรักษาผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล

ตาราง ความดันโลหิตสูงกับความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในอนาคต ( 10 ปี ข้างหน้า )

ระดับ Blood Pressure ( mmHg )
มีปัจจัยเสี่ยง ( Risk factor ) มี Orgen damage ( OD ) หรือมี disease ปกติ
( Normal )
( 120-129/80-84 )
BP สูงกว่าปกติ
( High normal )
( 130-139/85-89)
BPสูงระดับ 1
( Grade 1 HT )
( 140-159 / 90-99 )
BPสูงระดับ 2
( Grade 2 HT )
( 160-179 / 100-109)
BPสูงระดับ 3
( Grade 3 HT )
( ≥180 /≥110 )
ไม่มีปัจจัยเสี่ยงใดๆ เสี่ยงทั่วๆไป
( Average )
เสี่ยงทั่วๆไป
( Average )
เสี่ยงต่ำ
( Added risk )
เสี่ยงปานกลาง
( Added risk )
เสียงสูง
( Added risk )
มี 1-2 ปัจจัยเสี่ยง เสี่ยงต่ำ
( Added risk )
เสี่ยงต่ำ
( Added risk )
เสี่ยงปานกลาง
( Added risk )
เสี่ยงปานกลาง
( Added risk )
เสียงสูงมาก
( Added risk )
มี 3 ปัจจัยเสี่ยงหรือมากกว่า/ MS/มี OD หรือมีเบาหวาน เสี่ยงปานกลาง
( Added risk )
เสียงสูง
( Added risk )
เสียงสูง
( Added risk )
เสียงสูง
( Added risk )
เสียงสูงมาก
( Added risk )
เป็นโรคเลือดและหัวใจหรือโรคไตเรื้อรัง ( Established CV or ) Renal disease เสียงสูงมาก
( Added risk )
เสียงสูงมาก
( Added risk )
เสียงสูงมาก
( Added risk )
เสียงสูงมาก
( Added risk )
เสียงสูงมาก
( Added risk )

การพิจารณา เพื่อเริ่มใช้ยาลดความดันโลหิต
การพิจารณาเพื่อให้ผู้ป่วยใช้ยาลดความดันโลหิต สามารถพิจารณาและคำนึงถึงได้ 2 ข้อหลักๆดังนี้
1.พิจารณาความดันของผู้ป่วยว่าอยู่ในระดับใด สูงมากแค่ไหน
2.พิจารณาว่าผู้ป่วยมีความเสี่ยงของการเกิดภาวะ CV risk อยู่ในระดับใด

การรักษาผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงมีประเด็นที่ต้องพิจารณาเป็นพิเศษ

1. หากระดับความดันโลหิตของผู้ป่วยมีค่าสูงกว่าระดับปกติมาก ( Grade 2 ขึ้นไป ) การพิจารณาในการใช้ยารักษาจะขึ้นอยู่กับระดับของความเสี่ยง ( Risk Factor ) และ CV Risk

2. หากผู้ป่วยมีเบาหวาน มีประวัติร่องรอยของ Subclinicl Orgen Damage เช่น Cerebrovascular, Coronary หรือ PAD ร่วมด้วย การใช้ยาลดความดันโลหิตจะต้องพิจารณาตามหลักฐานต่างๆที่ได้ผลดี

3. ในการพิจารณาความเหมาะสมในการเริ่มใช้ยาลดความดันโลหิตนั้น จะเริ่มก็ต่อเมื่อพบว่าระดับความดันโลหิตของผู้ป่วยอยู่ในระดับ Grade3 แต่หากพบว่าระดับความดันโลหิตของผู้ป่วยอยู่ในระดับ Grade1 และมี CV Risk โดยรวมอยู่ในระดับที่มีความเสี่ยงสูง ก็พิจารณาให้ใช้ยาได้

4. หากพบผู้ป่วยมีระดับความดันโลหิต Grade1 Grade2 และมี CV Risk โดยรวมอยู่ในระดับที่มีความเสี่ยงปานกลาง หรือหากพบผู้ป่วยที่มีระดับความดันโลหิต Grade 1 แต่ไม่มี CV Risk ไม่จำเป็นต้องใช้ยาลดความดันกับผู้ป่วยในทันที แต่จะต้องมีการประเมินผู้ป่วย ให้ผู้ป่วยได้ปรับการดำเนินชีวิตเสียก่อน และทำการติดตามประเมินผู้ป่วยต่อไป ซึ่งอาจต้องให้เวลาผู้ป่วยสักระยะหนึ่งนานพอที่ผู้ป่วยจะปรับได้ โดยมักจะใช้เวลาตั้งแต่ 3 เดือน 6 เดือน ถึง 1 ปี และอาจต้องมีการทำ encourage ผู้ป่วยในเรื่อง Home BP ด้วย

5. หากผู้ป่วยมีระดับ BP สูงมากมีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิด CV Risk สูงมาก ซึ่งผู้ป่วยอาจจะมีอาการของโรคหลอดเลือดและหัวใจ หรือโรคไตเรื้อรัง ( Established CV or Renal Disease ) เกิดขึ้น ควรจะต้องมีการติดตามผู้ป่วย มีการจัดการดูแลผู้ป่วยอย่างบูรณาการเพิ่มขึ้น มีแนวทางการดูแลที่เชื่อมโยงกันระหว่างสหสาขาวิชาชีพเพื่อที่จะสร้างความสมดุลในการควบคุมภาวะความดันโลหิตสูงได้อย่างเหมาะสม ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยอยู่ในระดับที่ปลอดภัย ไม่มีภาวะสุขภาพที่ย่ำแย่ลง

6.หากพบว่ามีผู้ป่วยที่ไม่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตที่บ้านได้ดี การพิจารณาว่าจะทำการรักษาผู้ป่วยโดยการตรวจเพิ่มเติมหรือโดยวิธีการใช้ยา จำเป็นที่จะต้องพิจารณาถึงปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับภาวะสุขภาพของผู้ป่วยร่วมด้วย โดยมีเรื่องของความคุ้มค่าและประโยชน์ต่อสุขภาพที่ผู้ป่วยจะได้รับเป็นสิ่งสำคัญที่จะคำนึงถึง แต่ถ้าหากผู้ป่วยได้ใช้เวลาในการปรับการดำเนินชีวิตอยู่นานพอแล้ว ก็ยังไม่สามารถที่ควบคุม BP ได้ดีก็มีความจำเป็นที่จะต้องใช้ยาในการรักษา ทั้งนี้ก็ต้องพิจารณาแนวทางในการรักษาด้วยเช่นกัน

ความเสี่ยงของความดันโลหิตสูงที่จะนำไปสู่การเกิด CV Risk ความเสี่ยงของความดันโลหิตสูงที่จะนำไปสู่การเกิด CV Risk ระยะต้นทาง ( Early Phase ) เป้าหมาย ( Goal )
1. ระยะมีความเสี่ยง ( Risk Factor ) – ควบคุม Metabolic Syndrome ( MS ) ได้ ( ในแต่ละ Parameter ของ MS )
– ไม่ให้เกิด Impair Fasting Glucose ( IFG )
– ควบคุมระดับ BP ได้ตามเกณฑ์ ( <140/90 mmHg )
2. ระยะเริ่มมี Impair Fasting Glucose ( IFG ) – ควบคุม Metabolic Syndrome ได้
– ควบคุม Impair Fasting Glucose ( IFG ) ได้ (ตามเกณฑ์) ไม่ให้กูเป็นโรคเบาหวาน
– ควบคุมระดับ BP ได้ตามเกณฑ์ ( <140/90 mmHg )
3. เป็นเบาหวาน – ควบคุม Metabolic Syndrome ได้
– ควบคุมเบาหวานได้
– ควบคุมระดับ BP ได้ตามเกณฑ์ ( <130/80 mmHg )
มีร่องรอยการเกิด Subclinical Organ Damage ระยะกลางทาง

( Intermediate phase )

เป้าหมาย ( Goal )
– พิจารณาระดับความดันโลหิต – ควบคุมระดับ BP ได้ในระดับเดิมที่ผู้ป่วยเป็นหรือลดลง BP ลงไปสู่ระดับปกติหรือต่ำกว่าระดับเดิมที่ผู้ป่วยเป็นได้ ( อาจจะภายใต้การใช้ยาเพียง 1 ชนิดเป็นต้น )
– ไม่ให้เกิด Cardiovascu Lar Risk ขึ้น
– ค้นหาร่องรอย Cardiovascu Lar Risk ได้ตั้งแต่แรกเริ่ม
– ควบคุมร่องรอยของการเกิด Subclinical Organ Damage ต่างๆไม่ให้กำเนิด/รุนแรงเพิ่มเติม
เป็นโรคหลอดเลือดและหัวใจหรือโรคไตเรื้อรัง ( Established CV or Renal Disease ) ระยะปลายทาง

( Intermediate phase )

เป้าหมาย ( Goal )
โรคความดันโลหิตสูงกลายกลับเป็นโรคร่วม โรคหลักผู้ป่วยคือโรคหัวใจ หลอดเลือด สมอง ไต – การประสานส่งต่อให้ผู้ป่วยเข้าถึง ทีมspecialist แต่ในละ Target Organ Damage

ยาลดความดันโลหิต

ยาลดความดันที่เป็นหลักสำคัญ ( Major Class of Antihypertensive Agent ) มีอยู่ 5 กลุ่มได้แก่

  1. ACE-Inhibitor
  2. Angiotensin Receptor Blockers
  3. Beta-Blocker
  4. Calcium Antagonists
  5. Thaiazide Diuretic / Loop Diuretic

แม้ว่ายาลดความดันทั้ง 5 กลุ่มนี้จะสามารถใช้ได้ในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง แต่การจะพิจารณาว่าผู้ป่วยควรใช้ยารักษากลุ่มใดดีจะต้องพิจารณาจากการประเมินและตัดสินใจของแพทย์เท่านั้น โดยแพทย์จะดูในเรื่องของระดับ BP และความเสี่ยงต่อการเกิด CV risk ในผู้ป่วยนั่นเอง นอกจากนี้จะต้องคอยติดตามและประเมินภาวะสุขภาพของผู้ป่วยเฉพาะรายอย่างละเอียด เพื่อประเมินหาความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อน ผล้ขางเคียงจากการใข้ยา เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัยที่สุด

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

ศิริอร สุนธุ, พิเชต วงรอต, สมาคมผู้จัดการรายกรณีประเทศไทย, การจัดการรายกรณีผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์วัฒนาการพิมพ์, 2557. 242 หน้า, ISBN:978-616-92014-0-3.

ลำไส้และจิตใจกำหนดพลังภูมิคุ้มกันที่ใหญ่สุดในร่างกาย

0
ลำไส้และจิตใจกำหนดพลังภูมิคุ้มกันที่ใหญ่สุดในร่างกาย
หากต้องการเพิ่มพลังภูมิคุ้มกัน ก็ต้องเพิ่มชนิดและจำนวนของแบคทีเรียในลำไส้ ด้วยการกินอาหาร เช่น ถั่ว ผัก ผลไม้ ธัญพืช
ลำไส้และจิตใจกำหนดพลังภูมิคุ้มกันที่ใหญ่สุดในร่างกาย
หากต้องการเพิ่มพลังภูมิคุ้มกัน ก็ต้องเพิ่มชนิดและจำนวนของแบคทีเรียในลำไส้ ด้วยการกินอาหาร เช่น ถั่ว ผัก ผลไม้ ธัญพืช

ลำไส้

รู้ไหมว่า พลังภูมิคุ้มกันในร่างกาย หรือระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย ของคนเรามีหลายรูปแบบมาก และมีความเกี่ยวข้องกับระบบประสาทอัตโนมัติ ซึ่งไม่น่าเชื่อว่า 70% มาจาก ลำไส้ และอีก 30% มาจากจิตใจ การยกระดับพลังภูมิคุ้มกันในร่างกายล้วนเกี่ยวข้องกับเซลล์ ซึ่ง 7 ใน 10 ของเซลล์ที่มีผลต่อระบบภูมิคุ้มกัน จะอยู่ที่เยื่อบุลำไส้ ( Mucous Membrane ) โดยเฉพาะตรงเยื่อบุลำไส้ใหญ่ ซึ่งหากต้องการจะยกระดับพลังภูมิคุ้มกันในร่างกายต้องอาศัยเซลล์เหล่านี้ และสิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้เลยคือ แบคทีเรียในลำไส้ ที่จะเป็นตัวช่วยเพิ่มระดับภูมิคุ้มกันในร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

เพราะฉะนั้น หากต้องการเพิ่มพลังภูมิคุ้มกัน ก็ต้องเพิ่มชนิดและจำนวนของแบคทีเรียในลำไส้ ด้วยการกินอาหาร เช่น ถั่ว ผัก ผลไม้ ธัญพืช แต่ในปัจจุบัน คนนิยมรับประทานอาหารปรุงแต่งหรืออาหารสำเร็จรูปมากขึ้น ซึ่งอาหารเหล่านี้มีวัตถุกันเสียและสารปรุงแต่ง ( Additives ) ที่ทำให้แบคทีเรียในลำไส้อ่อนแอ ดังนั้น หากต้องการสร้างพลังคุ้มกันในร่างกายต้องหลีกเลี่ยงอาหารปรุงแต่ง อาหารสำเร็จรูป รวมถึงอาหารจานด่วน ควรหันมาทำอาหารทานเอง ลดการซื้ออาหารจากร้านสะดวกซื้อ ( Convenient Store ) เน้นทานอาหารที่มีเยื่อใย ( Fiber ) เพราะเป็นแหล่งอาหารของแบคทีเรียในลำไส้ ทำให้แบคทีเรียแข็งแรงทำงานได้ปกติ

วิธีการเพิ่มแบคทีเรียในลำไส้ นอกจากควรทำอาหารทานเอง และหลีกเลี่ยงอาหารปรุงแต่งแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญในการเพิ่มแบคทีเรียในลำไส้ คือวิธีการโพรไบโอติก ( Probiotic ) ได้แก่ การรับประทานอาหารประเภทหมักดองที่มีแบคทีเรีย เช่น นัตโตะ ( Natto ) กิมจิ ( Kimchi ) โยเกิร์ต เพื่อเมื่ออาหารเหล่านี้เข้าสู่ร่างกาย จำนวนแบคทีเรียก็จะเพิ่มขึ้น

ลำไส้ภูมิคุ้มกันที่ใหญ่ที่สุดในร่างกายของมนุษย์

ทำไมถึงบอกว่าลำไส้คือภูมิคุ้มกันที่ใหญ่ที่สุดในร่างกายมนุษย์ เพราะว่า ลิมโฟไซต์ชนิดเซลล์ส่วนใหญ่กระจายตัวอยู่ในลำไส้ มากถึง 70% ตรงบริเวรณเซลล์บีในร่างกาย ซึ่งจะสร้างแอนติบดี้ถึงวันละ 3.5 กรัม ในชั้นลามินาโพรเพรีย ( Lamina Propria ) ของเยื่อบุ โดยส่วนใหญ่จะเป็น IgA จับกับโปรตีน เพื่อหลั่ง Epithelium Cell ออกสู่ภายนอกเซลล์ กระจายไปทั่วเยื่อบุระบบภูมิคุ้มกันในลำไส้ นอกจากจะสร้างระบบ IgA เพื่อปกป้องเยื่อบุแล้ว ยังสร้างระบบ IgG เพื่อให้เข้าสู่กระแสเลือด เพื่อช่วยในการปกป้องทั้งร่างกาย ถือได้ว่า เป็นระบบภูมิคุ้มกันที่มีประสิทธิภาพสูง  เพราะสามารถปกป้องร่างกายได้ถึง 2 ชั้น ระบบภูมิคุ้มกันในลำไส้ ยังมีอวัยวะที่เกี่ยวข้องในการสร้างภูมิคุ้มกัน ซึ่งเป็นโครงการของระบบน้ำเหลือง หรือเรียกว่า แผงเพเยอร์ (Peyer’s Patch) ซึ่งเมื่อส่องกล้องจุลทรรศน์ จะสังเกตเห็น ท่อทางเดินอาหาร ซึ่งแผงจะเป็นรูปโดม แทรกอยู่ระหว่าง วิลลัส (Villus) ของลำไส้เล็ก ซึ่งแผงเพเยอร์จะพบมากที่ส่วนไอเลียม Ileum ของลำไส้เล็ก ถือว่าเป็นอวัยวะภูมิคุ้มกันที่มีลักษณะเฉพาะของระบบทางเดินอาหาร ซึ่งมีต่อมน้ำเหลืองมารวมตัวกัน   

ถ้าจะศึกษาลงไปให้ลึก เซลล์บุผิวของระบบทางเดินอาหาร จะพบลิมโฟไซต์ และถัดลงไป ก็จะเป็นชั้นลามินาโพรเพรีย ซึ่งเป็นตัวช่วยเก็บสะสมเซลล์ของระบบภูมิคุ้มกันไว้จำนวนมากในส่วนของเซลล์บี จะทำการผลิตแอนติบอดี ซึ่งเป็นพลังของระบบภูมิคุ้มกันแบบ ฮิวมอรัล ส่วนเซลล์ทีในลำไส้จะทำการแสดงพลังที่เข้มแข็งของระบบภูมิคุ้มกันแบบเซลล์ออกมาก ส่วนเซลล์ทีที่สร้างในไขกระดูก และเคลื่อนย้ายไปสู่แผงเพเยอร์ นอกจากจะคอยกำจัดสิ่งแปลกปลอมแล้ว ยังมีข้อบ่งชี้ว่า มีพลังที่เข้มแข็งในการจัดการเซลล์มะเร็งที่มีการก่อตัวขึ้นอีกด้วย

เซลล์มะเร็งเกิดขึ้นวันละ 5,000 เซลล์ ซึ่งเซลล์เหล่านี้ เดิมก็เป็นเซลล์ปกติในร่างกาย แต่ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย ไม่มีพลังมากพอที่จะแยกแยะ และจัดการเซลล์มะเร็งได้ แต่เมื่อเซลล์ได้รับการบ่มที่แผงเพเยอร์ ก็จะทำให้เซลล์มีการตื่นตัวถูกกระตุ้นขึ้นมา ทำให้มีพลังเข้มเข็ง สามารถจัดการเซลล์มะเร็งได้ ซึ่งระบบภูมิคุ้มกันที่ใหญ่ที่สุดของร่างกาย คือ แบคทีเรียในลำไส้นั่นเอง

ปัจจัยสำคัญที่สร้างภูมิคุ้มกันในลำไส้ให้มีประสิทธิภาพ

1.ทานอาหารที่ผ่านการหมักดอก เช่น นัตโต โยเกิร์ต กิมจิ

2.ทานอาหารที่มีเยื่อใย เช่น โอลิโกแซ็กคาไรด์ น้ำตาล

3.ทานอาหารจำพวกธัญพืช เช่น ถั่ว ผลไม้ พืชผักต่างๆ

4.หลีกเลี่ยงอาหารที่มีสารปรุงแต่ง เช่น สารกันบูด

และนอกเหนือจากพลังภูมิคุ้มกันจากลำไส้แล้ว อีกส่วนหนึ่งคือ พลังภูมิคุ้มกันจากจิตใจ และปัจจัยที่จะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันจากจิตใจ

พลังภูมิคุ้มกันจากจิตใจ

1.รอยยิ้มและเสียงหัวเราะ เพราะรอยยิ้มและเสียงหัวเราะมันบ่งบอกถึงสุขภาพจิตที่ดี

2.การได้อยู่กับธรรมชาติ สีเขียวของต้นไม้ อากาศที่บริสุทธิ์ บรรยากาศที่เงียบสงบจะทำให้จิตใจสงบ ผ่อนคลาย ลดความเครียดได้ 

3.ออกกำลังกายอย่างพอเหมาะ ให้เหมาะสมกับวัย และสุขภาพ เพราะการออกกำลังกายร่างกายจะหลั่งสารแห่งความสุขออกมา จึงทำให้คนที่ออกกำลังกายมีใบหน้าผิวพรรณที่สดใส

4.การคิดบวก คิดสร้างสรรค์ คิดในแง่มุมที่ดี ถึงแม้ว่าจะมีปัญหาเข้ามา ก็จะสามารถมองเห็นช่องทางบวก ช่องทางที่จะผ่านปัญหานั้นไปได้ ไม่จมปลักกับปัญหา ทำให้คนที่คิดบวก คิดสร้างสรรค์ในสิ่งดี เป็นคนที่มีสุขภาพจิตดี ไม่หวั่นไหวกับอะไรง่าย

5.ใช้ชีวิตให้มีความสุข อยู่กับปัจจุบัน ทำปัจจุบันให้ดีที่สุด ไม่พร่ำเพ้อถึงแต่เรื่องอดีตที่เจ็บปวด ไม่เพ้อฝันถึงอนาคตที่เกินความจริง ก็จะทำให้สภาพจิตใจดี มีความสุขในทุกๆวัน

6.หลีกเลี่ยงความเครียด โดยการ ปล่อยวาง เพราะความเครียดจะนำพาให้จิตใจอ่อนแอ เมื่อจิตใจอ่อนแอ ร่างกายก็จะอ่อนแอไปด้วย หาความสุขให้กับตัวเองบ้าง เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้กับจิตใจ

ถึงแม้ว่าพลังภูมิคุ้มกันทางจิตใจ มีแค่ 30% แต่ก็ถือว่าส่งผลต่อร่างกายได้เช่นกัน เพราะสภาพจิตใจที่ดีย่อมส่งผลต่อระบบการทำงานต่างๆของร่างกายให้เป็นปกติ ดังนั้น จึงควรให้ความสำคัญพอกันกับการสร้างภูมิคุ้มกันในลำไส้ ใช้ชีวิตให้มีความสุข อยู่กับธรรมชาติ ออกกำลังกาย คิดบวก และมีความสุขกับการใช้ชีวิตในทุกๆวัน สิ่งเหล่านี้จะส่งผลทำให้มีระบบภูมิคุ้มกันที่เข้มแข็ง ซึ่งไม่ต้องแสวงหาจากทื่อื่นให้เสียเงินทอง เพราะระบบภูมิคุ้มกันที่ดีที่สุดอยู่ที่ตัวเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

สุนันท์ วิทิตสิริ. รู้จักกับ น้ำมันและไขมันปรุงอาหาร. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์, 2559. 80 หน้า. 1.รู้จักกับน้ำมันและไขมัน. 2.ปรุงอาหาร. I.ชื่อเรื่อง. 665 ISBN 978-616-538-290-8.

Javitt NB (December 1994). “Bile acid synthesis from cholesterol: regulatory and auxiliary pathways”. FASEB J. 8 (15): 1308–11.

น้ำมันมะกอกมีคุณประโยชน์อย่างไร ( Olive Oil )

0
คุณประโยชน์สำคัญในน้ำมันมะกอก (Olive Oil)
น้ำมันมะกอก จัดอยู่ในกลุ่มของน้ำมันพืช สกัดจากผลแก่ของต้นมะกอกโอลีฟ มีกรดไขมันไม่อิ่มตัว วิตามินอี สารต้านอนุมูลอิสระ
คุณประโยชน์สำคัญในน้ำมันมะกอก (Olive Oil)
น้ำมันมะกอก จัดอยู่ในกลุ่มของน้ำมันพืช สกัดจากผลแก่ของต้นมะกอกโอลีฟ มีกรดไขมันไม่อิ่มตัว วิตามินอี สารต้านอนุมูลอิสระ

น้ำมันมะกอก คืออะไร ?

น้ำมันมะกอก ( Olive Oil ) คือ น้ำมันธรรมชาติที่เกิดจากการนำเอาผลแก่ของต้นมะกอกโอลิฟมาสกัดเอาน้ำมัน ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มของน้ำมันพืช ลักษณะของน้ำมันมะกอกจะมีสีเขียวใส สีเหลืองใสหรือใสไม่มีสี ขึ้นอยู่กับวิธีการที่นำมาผลิตน้ำมันมะกอก สำหรับผู้ที่รักสุขภาพแล้วนิยมน้ำมันมะกอกนำมาใช้ในการประกอบอาหาร เพราะมีผลการวิจัยทางวิทยาศาสตร์และทางการแพทย์บ่งบอกว่าน้ำมันมะกอกเป็นน้ำมันที่ดีต่อสุขภาพ เมื่อรับประทานเข้าไปจะไม่ก่อโทษในร่างกาย สามารถนำน้ำมันมะกอกมาใช้ปรุงอาหารรับประทานได้ทุกประเภท นอกจากนั้นยังมีการใช้น้ำมันมะกอกเป็นสารตั้งต้นในการผลิตสบู่ พลาสเตอร์ วัสดุอุดฟัน น้ำมันสำหรับนวดเพราะว่าน้ำมันมะกอกนั้นซึมเข้าสู่ผิวได้อย่างรวดเร็วและไม่ทิ้งความมันบนผิว จึงนิยมนำไปเป็นส่วนประกอบของเครื่องสำอางค์ ครีมบำรุงผิว ครีมแต้มสิวและครีมบำรุงผิวหน้าอีกด้วย

ประเภทของน้ำมันมะกอก

1.น้ำมันมะกอกที่มีความบริสุทธิ์สูง หรือ Extra Virgin Olive Oil คือ น้ำมันมะกอกที่ผ่านการสกัดด้วยวิธีบีบ ( Expelling ) หรือ การบีบเย็น ( Cold Press ) ซึ่งการสกัดด้วยวิธีนี้จะไม่ใช้ความร้อนในการสกัดน้ำมันมะกอก ทำให้ได้น้ำมันมะกอกที่ได้มีการเปลี่ยนแปลงของคุณค่าทางโภชนาการน้อยมาก น้ำมันมะกอกชนิดนี้จึงมีรสและกลิ่นของผลมมะกอกเหมือนกับผลมะกอกจริง คุณค่าทางโภชนาการและสารอาหารเหมือนผลมะกอกเกือบ 100% เพราะว่าการสกัดด้วยวิธีบีบเย็นนี้ไม่ใช่ความร้อนในการสกัดสารอาหารในผลมะกอกจึงไม่โดนทำลายจากความร้อน มีค่าความเป็นกรดน้อยมากคือ มีค่าความเป็นกรดต่ำกว่า 1% มีสีเขียวเข้ม น้ำมันมะกอกชนิดนี้เป็นน้ำมันมะกอกชนิดที่ดีที่สุด น้ำมันมะกอกชนิดนี้มีจุด Smoke Point ที่ 100 องศาเซลเซียส จึงไม่เหมาะกับการนำมาปรุงอาหารประเภททอดหรือผัดด้วยความร้อนสูง เพราะที่ความร้อนสูงน้ำมันมะกอกชนิดนี้จะกลายเป็นอนุมูลอิสระ ที่เรียกว่า อะคลีเอมีน ( Acrylamine ) ที่เป็นสารก่อมะเร็งอีกชนิดหนึ่งซึ่งเป็นอันตรายต่อร่างกาย จึงควรนำไปปรุงอาหารที่ไม่ใช้ความร้อน เช่น ทำน้ำสลัด ราดบนเนื้อสัตว์ เป็นต้น

น้ำมันมะกอกนำมาใช้ในการประกอบอาหาร เพราะมีผลการวิจัยทางวิทยาศาสตร์และทางการแพทย์บ่งบอกว่าน้ำมันมะกอกเป็นน้ำมันที่ดีต่อสุขภาพ เมื่อรับประทานเข้าไปจะไม่ก่อโทษในร่างกาย สามารถนำน้ำมันมะกอกมาใช้ปรุงอาหารรับประทานได้ทุกประเภท

2.น้ำมันมะกอกแบบบริสุทธิ์ ( Virgin Olive Oil ) น้ำมันมะกอกที่สกัดด้วยใช้ความร้อนทำให้สารอาหารบางชนิดโดนทำลายไปบ้างเล็กน้อย มีค่าความเป็นกรดต่ำไม่เกิน 1.5% จึงมึคุณภาพน้อยกว่าน้ำมันมะกอกแบบบริสุทธิ์พิเศษ และการสกัดโดยใช้ความร้อนอาจจะทำให้กลิ่นและรสของน้ำมันมะกอกที่ได้เปลี่ยนแปลงจากธรรมชาติอีกด้วย น้ำมันมะกอกชนิดนี้ไม่เหมาะกับการนำไปปรุงอาหารที่ต้องผ่านความร้อน เช่นเดียวกับน้ำมันมะกอกชนิดบริสุทธิ์พิเศษ

3.น้ำมันมะกอกแบบบริสุทธิ์ดี ( Fine Olive Oil ) น้ำมันมะกอกที่สกัดในโรงงานอุตสาหกรรมเป็นส่วนมาก กรรมวิธีในการผลิตจะใช้ทั้งสารเคมีและความร้อนในการสกัดน้ำมันออกมาจากผลมะกอก และยังมีการขจัดสีและกลิ่นของมะกอกออกไปจากน้ำมันด้วย ทำให้น้ำมันที่ได้ไม่มีสี กลิ่นและรสของมะกอกหลงเหลืออยู่ มีค่าความเป็นกรดต่ำอยู่ที่ 1.5-3 % น้ำมันมะกอกชนิดนี้เหมาะกับการทำอาหารที่ผ่านความร้อนน้อยหรือผ่านในระยะเวลาสั้นๆ เช่น การผัด การทำซอสที่ใช้ความร้อนนิดหน่อย เป็นต้น ไม่เหมาะกับการนำไปทอดเป็นเวลานาน

4.น้ำมันมะกอกบริสุทธิ์ ( Pure Olive Oil ) คือ น้ำมันมะกอกที่นิยมนำมาปรุงอาหารรับประทานกัน ทั้งอาหารที่ต้องผ่านความร้อน อย่างผัด ทอด และอาหารที่ไม่ต้องผ่านความร้อนอย่างการทำน้ำสลัด มีค่าความเป็นกรดประมาณ 3-4 % ซึ่งถือว่ายังสามารถบริโภคได้ มีกลิ่นมะกอกจะอ่อนมาก น้ำมันมะกอกชนิดนี้จะมีราคาถูกที่สุด เหมาะกับการปรุงอาหารที่ใช้ความร้อนสูงหรือต้องผ่านความร้อนเป็นเวลานานโดยเฉพาะการทอดจะดีมาก เพราะมีจุด Smoke Point ที่ 200 องศาเซลเซียส แต่ไม่เหมาะกับการนำมาทำอาหารเพื่อรับประทานโดยตรง เช่น การกินกับสลัด การผสมซอส เป็นต้น

นอกจากน้ำมันมะกอกทั้ง 4 ชนิดนี้แล้ว ยังมีน้ำมันมะกอกอีกชนิดหนึ่งที่อาจพบได้ คือ น้ำมันกากมะกอก
น้ำมันกากมะกอก คือ น้ำมันที่สกัดจากกากของมะกอกที่เหลือจากการสกัดน้ำมันมะกอกแบบบริสุทธิ์พิเศษหรือน้ำมันมะกอกแบบบริสุทธิ์ดีไปแล้ว นำกากมะกอกที่เหลือมาผ่านกรรมวิธีทางเคมีและความร้อนเพื่อให้ได้น้ำมันออกมา ซึ่งน้ำมันชนิดนี้จะมีคุณภาพต่ำมาก มีปริมาณไขมันชนิดที่ไม่ดีสูงกว่าน้ำมันมะกอกทุกชนิด แต่ก็สามารถนำมาใช้ในการปรุงอาหารที่ต้องอาศัยความร้อนสูงได้เช่นกัน แต่ไม่ควรนำมารับประทานโดยตรง

น้ำมันมะกอกประกอบด้วยกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน ( Polyunsaturated Fat ) กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว (Monounsaturated Fat) อยู่ประมาณ 70-90% กรดไขมันอิ่มตัวอยู่ประมาณ 10-30% วิตามินอีและสารต้านอนุมูลอิสระอีกหลายชนิด

คุณประโยชน์ของของน้ำมันมะกอกที่มีต่อร่างกาย

1. น้ำมันมะกอกควบคุมคอเลสเตอรอล นี่เป็นคุณสมบัติเด่นของน้ำมันมะกอกที่ทำให้คนหันมารับประทานกันมาก เพราะในน้ำมันมะกอกมีไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวซึ่งมีส่วนของกรดโอเลอิก ( Oleic Oil ) อยู่ในปริมาณที่สูงมาก ซึ่งกรดไขมันอิ่มตัวเชิงเดี่ยวนี้มีคุณสมบัติพิเศษที่เพิ่มปริมาณคอเรสเตอรอลชนิดดี ( HDL ) และสามารถช่วยลดคอเรสเตอรอลชนิดไม่ดี ( LDL ) ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด โรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน โรความดันโลหิตสูง

2. น้ำมันมะกอกลดความเสี่ยงเป็นมะเร็ง น้ำมันมะกอกมีส่วนประกอบของสารอัลฟาโตโคฟีรอล ( Alpha-Tocopheral ) ในรูปของวิตามินอี สารไลโคปีน ( Lycopene ) และสารกลุ่มโพลีฟีนอลที่จัดเป็นสารต้านอนุมูลอิสระชั้นยอดที่ช่วยป้องกันเซลล์จากการทำลายของอนุมูลอิสระที่เข้าสู่ร่างกาย โดยสารต้านอนุมูลอิสระจะเข้าไปจับตัวกับอนุมูลอิสระทำให้ อนุมูลอิสระไม่สามารถทำลายเซลล์ที่อยู่ใกล้เคียงได้ จึงช่วยลดความเสี่ยงที่เซลล์จะเกิดการกลายพันธุ์และเจริญเติบโตเป็นเซลล์มะเร็ง โดยเฉพาะมะเร็งเต้านม มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งปีกมดลูกและมะเร็งลำไส้ใหญ่

3. น้ำมันมะกอกลดความเสื่อมของสมอง น้ำมันมะกอกช่วยเพิ่มความแข็งแรงและป้องกันไม่ให้ผนังหลอดเลือดโดนทำลาย ลดการอุดตันของเส้นเลือด จึงทำให้เลือดหมุนเวียนได้ดีโดยเฉพาะหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมองและหัวใจซึ่งเป็นอวัยวะที่สำคัญของร่างกาย เมื่อเลือดไหลเวียนดีออกซิเจนก็จะเข้าสู่เซลล์สมองและหัวใจส่งผลให้เซลล์ตามอวัยวะต่างๆ แข็งแรงขึ้น ลดความเสื่อมของเซลล์สมอง ป้องกันโรคเกี่ยวกับระบบประสาทและสมอง เช่น โรคอัลไซเมอร์ โรคสมองเสื่อม เป็นต้น

4. เพิ่มการดูดซึมอาหาร น้ำมันมะกอกเป็นน้ำมันที่ดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้อย่างรวดเร็ว เมื่อรับประทานเข้าไปแล้ววิตามินหรือสารอาหารที่ละลายได้ในน้ำมันก็จะละลายเข้าไปอยู่ในน้ำมันมะกอก ดังนั้นน้ำมันมะกอกก็จะพาสารอาหารและแร่ธาตุเข้าสู่ร่างกายไปด้วย ทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารและวิตามินที่ละลายในน้ำมันมากขึ้น เช่น วิตามินดี วิตามินเค วิตามินเอ เป็นต้น

5. น้ำมันมะกอกเพิ่มการเผาผลาญ น้ำมันมะกอกจะเข้าไปกระตุ้นกระบวนการเมตาบอลิซึม ( Metabolic Function ) ให้สามารถทำงานได้อย่างทรงประสิทธิภาพ ทำให้สามารถสบายไขมันออกจากร่างกายได้เพิ่มขึ้น ลดการสะสมของไขมันในร่างกายและยังช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

6. น้ำมันมะกอกป้องกันการเกิดนิ่ว น้ำมันมะกอกช่วยป้องกันการก่อตัวและการเกิดนิ่วในถุงน้ำดี โดยน้ำมันมะกอกจะเข้าไปช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของน้ำดีให้สามารถไหลหมุนเวียนได้ดีขึ้น ลดการสะสมหรือการตกตะกอนก่อตัวเป็นนิ่วในถุงน้ำดี และยังช่วยยับยั้งการหลั่งของน้ำดีที่ผลิตจากตับ จึงช่วยลดการสะสมของน้ำดีในถุงน้ำดี

7. น้ำมันมะกอกลดการอักเสบของแผลในระบบทางเดินอาหาร โดยน้ำมันมะกอกจะช่วยเคลือบบริเวณที่เกิดแผลในระบบทางเดินอาหาร ทั้งในกระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ จึงช่วยป้องกันไม่ให้น้ำย่อยหรือกรดในกระเพาะอาหารเข้ามาทำปฏิกิริยากับแผลจนเกิดการอักเสบซ้ำซ้อน และช่วยบรรเทาอาการอักเสบด้วย

8. น้ำมันมะกอกบำรุงเส้นผม น้ำมันมะกอกมีปริมาณของวิตามินอีและวิตามินบี จึงช่วยบำรุงเส้นผมให้แข็งแรง และโมเลกุลของน้ำมันมะกอกมีความคล้ายคลึงกับน้ำมันตามธรรมชาติซึ่งมีขนาดที่เล็กทำให้ซึมซาบเข้าสู่เส้นผมและผิวหนังได้อย่างรวดเร็ว น้ำมันมะกอกจึงช่วยเพิ่มความชุ่มชื่นให้กับเส้นผมและผิวหนังทดแทนน้ำมันตามธรรมชาติของบนเส้นผมและผิวหนังได้ ป้องกันเส้นผมเปราะ ขาด ป้องกันผิวหนังแห้งแตกลายได้

9. น้ำมันมะกอกเหมาะกับเด็กอ่อน น้ำมันมะกอกมีปริมาณของกรดไขมันไลโนเลอิคและไลโนเลนิคในอัตราส่วนที่ใกล้เคียงกับสัดส่วนในนมแม่ จึงเหมาะสมกับการนำไปปรุงอาหารให้เด็กอ่อนรับประทาน เพื่อให้เด็กได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนและไม่ก่อให้เกิดการสะสมของกรดไขมันซึ่งอาจเสี่ยงต่อการเป็นโรคอ้วนได้

10. บำรุงหัวใจ น้ำมันมะกอกมีไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวอยู่มาก ช่วยลดระดับของคอเลสเตอรอล ( LDL ) ได้ ควบคุมระดับ ( LDL ) ให้ต่ำลง ช่วยให้ไขมันในเลือดลดลง ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจหรือโรคหลอดเลือดหัวใจรั่ว เป็นผลดีต่อผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย ลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว ( Atrial Fibrillation ) และทำให้หัวใจทำงานได้อย่างแข็งแรงยิ่งขึ้น

11. ผิวกระจ่างใส นำน้ำมันมะกอกผสมกับเกลือทะเลและน้ำมะนาว แล้วนำมาสครับผิวหนังเป็นวงกลม ขัดเบามือ ทำเป็นประจำทุกสัปดาห์ ผิวจะค่อยๆขาวกระจ่างใสขึ้น ชุ่มชื้นและอ่อนเยาว์

น้ำมันมะกอกจัดเป็นน้ำมันที่ดีต่อสุขภาพเป็นอย่างมาก แต่การบริโภคน้ำมันมะกอกก็ควรบริโภคให้เหมาะสมเพราะถ้ารับประทานมากเกิน 2 ช้อนโต๊ะต่อวันหรือประมาณ 2 ลิตร/สัปดาห์แล้ว น้ำมันมะกอกอาจจะเกิดการสะสมเป็นไขมันส่วนเกินในร่างกายได้เช่นกัน   

สำหรับผู้ที่รักสุขภาพแล้วการเลือกใช้วัตถุดิบที่มีประโยชน์ต่อร่างกายเพื่อนำมาปรุงอาหารในปริมาณที่พอดีย่อมเป็นสิ่งที่ดีต่อการสร้างสุขภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์ น้ำมันมะกอกจัดเป็นตัวเลือกอันดับหนึ่งของน้ำมันที่ควรนำมาปรุงอาหารเพื่อรับประทานเพื่อสุขภาพ แต่ก็ต้องกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ ออกกำลังกายและพักผ่อนให้เพียงพอร่วมด้วย ร่างกายจึงจะแข็งแรงปราศจากโรคร้ายมารุกราน

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

สุนันท์ วิทิตสิริ. รู้จักกับ น้ำมันและไขมันปรุงอาหาร. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์, 2559. 80 หน้า. 1.รู้จักกับน้ำมันและไขมัน. 2.ปรุงอาหาร. I.ชื่อเรื่อง. 665 ISBN 978-616-538-290-8.

Ruth Schuster (December 17, 2014). “8,000-year old olive oil found in Galilee, earliest known in world”, Haaretz. Retrieved December 17, 2014.

Ehud Galili et al., “Evidence for Earliest Olive-Oil Production in Submerged Settlements off the Carmel Coast, Israel”, Journal of Archaeological Science 24:1141–1150 (1997); Pagnol, p. 19, says the 6th millennium in Jericho, but cites no source.

F. R. Riley, “Olive Oil Production on Bronze Age Crete: Nutritional properties, Processing methods, and Storage life of Minoan olive oil”, Oxford Journal of Archaeology 21:1:63–75 (2002)

การดูแลผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือด

0
การดูแลผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่มีภาวะหลอดเลือดหัวใจ
โรคความดันโลหิตสูงถือเป็นภัยคุกคามต่อสุขภาพที่อาจทำให้ผู้ป่วยถึงขั้นพิการหรืออาจถึงขั้นเสียชีวิตได้
การดูแลผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่มีภาวะหลอดเลือดหัวใจ
ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงมีโอกาสที่จะเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจร้อยละ 49

การดูแลผู้ป่วยความดันโลหิตสูง

โรคความดันโลหิตสูงถือเป็นภัยคุกคามต่อสุขภาพที่อาจทำให้ผู้ป่วยถึงขั้นพิการหรืออาจถึงขั้นเสียชีวิตได้เลย โดยที่ไม่มีสัญญาณบ่งบอกให้ได้รู้ล่วงหน้าแต่อย่างใดเลยด้วย อีกทั้งผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงยังมีโอกาสที่เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตามมา ซึ่งองค์การอนามัยโลกมีรายงานว่า ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มีระดับความดันซีสโตลิกสูงเกิน กว่า 115 มิลลิเมตรปรอทนั้น มีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจได้ถึงร้อยละ 49 เลยทีเดียว

[adinserter name=”ไขมันในหลอดเลือดและความดันโลหิต”]

ซึ่งตรงกันกับผลการศึกษาของ Framing Heaet Study ที่พบว่าผู้ที่มีระดับระดับความดันโลหิตระหว่าง 130-139/85-89 มิลลิเมตรปรอท จะมีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจได้มากกว่าผู้ที่มีระดับความดันที่ต่ำกว่า 120/80 มิลลิเมตรปรอทถึง 2 เท่า อีกทั้งยังพบด้วยว่าหากผู้ป่วยมีระดับความดันซีสโตลิกทสูงขึ้นทุกๆ 20 มิลลิเมตรปรอท และความดันไดแอสโตลิกสูงขึ้นทุกๆ 10 มิลลิเมตรปรอทจะยิ่งทำให้โอกาสที่จะเสียชีวิตเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวเลยทีเดียว

ซึ่งตามธรรมชาติแล้วเมื่อเป็นโรคความดันโลหิตสูงหลอดเลือดแดงทั้งใหญ่น้อยจะเกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด อย่างเช่นหลอดเลือดแดงโคโรนารี่ซึ่งเป็นหลอดเลือดแดงขนาดใหญ่ที่ทำหน้าที่ส่งเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจนั้น จะเริ่มมีลักษณะแข็ง คด งอ อ่อนแอ และตีบเล็กลง ส่งผลให้ปริมาณของเลือดที่ถูกส่งไปเลี้ยงหัวใจลดน้อยลง หากไม่ได้รับการรักษาให้ระดับความดันโลหิตเป็นไปตามปกติ จะส่งผลให้หลอดเลือดเกิดอุดตันหรือปริแตกได้ และหากหลอดเลือดขนาดเล็กถูกทำลายก็จะส่งผลให้โครงสร้างของหัวใจเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งหากความดันไดแอสโตลิกอยู่ในระดับสูงก็จะเกิดความเสียหายขึ้นกับผนังชั้นในหลอดเลือด เกิดการสะสมของไฟบริน ซึ่งก็จะทำให้มีอาการเส้นเลือดอุดตันตามมาจนกระทั่งเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันในที่สุด และถ้าหากมีปัจจัยอื่นร่วมด้วยไม่ว่าจะเป็นภาวะไขมันในเลือดสูง เบาหวาน สูบบุหรี่ อ้วนก็ยิ่งทำให้ลักษณะอาการตามธรรมชาติของโรคเป็นไปอย่างรวดเร็วมากขึ้น ซึ่งผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจถือได้ว่ามีความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตได้อยู่เสมอ อีกทั้งยังไม่สามารถที่จะรักษาให้หายขาดได้ ผู้ป่วยจึงยังมีอาการกำเริบหรือเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ตามมา เช่น ภาวะช็อค ภาวะหัวใจล้มเหลว และภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ

เพราะฉะนั้น การจัดการรายกรณีผู้ป่วยความดันโลหิตสูง จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีการการค้นหา คัดกรองปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงมีโอกาสที่จะเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ มีการประเมินโอกาสเสี่ยงที่ผู้ป่วยจะเกิดโรค ช่วยให้ผู้ป่วยได้มีการควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ให้ผู้ป่วยได้รับการตรวจรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ อีกทั้งควรส่งเสริมให้ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงได้เฝ้าระวังอาการโรคหลอดเลือดหัวใจด้วยตนเอง และจัดการกับอาการที่เกิดขึ้นได้ตามลักษณะอาการที่ปรากฏ และหากผู้ป่วยได้มีตรวจพบอาการของตัวเองมีความสงสัยว่าเข้าข่ายเสี่ยงก็จะได้รีบเข้ารับการรักษาได้อย่างทันท่วงที

โรคความดันโลหิตสูงหลอดเลือดแดงทั้งใหญ่น้อยจะเกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด อย่างเช่นหลอดเลือดแดงโคโรนารี่ซึ่งเป็นหลอดเลือดแดงขนาดใหญ่ที่ทำหน้าที่ส่งเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจนั้น จะเริ่มมีลักษณะแข็ง คด งอ อ่อนแอ และตีบเล็กลง ส่งผลให้ปริมาณของเลือดที่ถูกส่งไปเลี้ยงหัวใจลดน้อยลง

ประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญสำหรับกรณีผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่มีลักษณะภาวะโรคหลอดเลือดหัวใจเป็นโรคแทรกซ้อน

สำหรับการคัดกรองเพื่อการค้นหาบุคคลที่กำลังมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจนั้นเป็นสิ่งสำคัญมากที่จะต้องทำแบบเร่งด่วน โรคความดันโลหิตสูงกลายเป็นโรคที่ที่ส่งผลโดยตรงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจได้อย่างไม่น่าเชื่อ บุคคลที่ไม่ได้มีการควบคุมในเรื่องของระดับความดันโลหิตให้เป็นไปตามเกณฑ์ตามเป้าที่กำหนดก็สามารถที่จะเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจได้มากกว่าคนที่มีการควบคุมถึงสามเท่าตัวเลยทีเดียวแถมยังจะได้ของแถมเป็นโอกาสที่จะเกิดโรคหัวใจวายตามมาเพิ่มไปอีก 6 เท่าตัวอีกด้วย  [adinserter name=”ไขมันในหลอดเลือดและความดันโลหิต”]

การจัดการกรณีผู้ป่วยความดันโลหิตสูง

1.การประสานงานเพื่อการส่งตัวผู้ป่วยและเพื่อการดูแลรักษาที่เป็นไปอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ

2.เรื่องของการบริหารจัดการผู้ป่วยเพื่อการค้นพบในเรื่องของปัญหาทางด้านสุขภาพที่มีผลเกี่ยวข้องกับโรคหลอเลือดหัวใจโดยจะเริ่มนับตั้งแต่ที่เริ่มมีอาการเกิดขึ้น

3.การจัดการผู้ป่วยให้ได้รับการรักษาตัวที่เป็นไปอย่างรวดเร็วและเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดเสมอ

4.ทำการประเมินระดับความจำเป็นหรือระดับความเร่งรีบต่อการรักษาพยาบาลโรค

5.ดำเนินการจัดการผู้ป่วยเพื่อให้เข้าสู่กระบวนการวินิจฉัยโรคที่เป็นไปอย่างรวดเร็วทันใจ

นอกจากนี้ก็มีในกรณีของการจัดการเพื่อการค้นหาหรือเพื่อการคัดกรองผู้ป่วยที่กำลังมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจทั้งในระดับเริ่มต้นและระดับรุนแรง และการจัดการแบบเจาะลึกลงไปรายเคส เป็นต้น โดยเฉพาะหากบุคคลนั้นมีปัจจัยเสี่ยงที่อาจส่งผลกระตุ้นโรคเข้ามาร่วมด้วย เช่น มีการป่วยเป็นโรคเบาหวานเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว มีพฤติกรรมชอบสูบบุหรี่ มีรูปร่างอ้วนมาก ฯลฯ

การคัดกรอง ค้นหา และการประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง

1. การคัดกรอง ค้นหาความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ

โรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคที่ทำให้มีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งหากควบคุมระดับความดันให้เป็นไปตามเป้าหมายไม่ได้ก็จะให้มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจเพิ่มสูงขึ้นถึง 3 เท่า และมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคหัวใจวายเพิ่มสูงขึ้นถึง 6 เท่าเลยทีเดียว และจะยิ่งมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจสูงเพิ่มขึ้นไปอีกหลายเท่าหากมีปัจจัยเสี่ยงต่อไปนี้ร่วมด้วย เช่น โรคเบาหวาน ภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ สูบบุหรี่ เป็นผู้ที่มีรูปร่างอ้วน เป็นต้น ซึ่งถ้าหากจำนวนของปัจจัยเสี่ยงมีมากเท่าไหร่ก็ยิ่งมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคมากขึ้นเท่านั้น การจัดการรายกรณีผู้ป่วยความดันโลหิตสูงจึงจำเป็นที่จะต้องค้นหา คัดกรองปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและวางแผนในการจัดการกับความเสี่ยงเสียตั้งแต่ในระยะแรกที่พบว่าเป็นโรค และไม่ว่าจะเป็นในสถานพยาบาลหรือนอกสถานพยาบาลก็สามารถที่จะทำการคัดกรอง ค้นหากลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสเกิดโรคหัวใจได้ โดยจะมีการเชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบในการจัดการดูแลตั้งแต่ขั้นปฐมภูมิ ทุติยภูมิ และตติยภูมิ ซึ่งจะมีการประสานความร่วมมือกันระหว่างชุมชนกับหน่วยงานหรือองค์กรที่เกี่ยวข้องในพื้นที่หรือชุมชนที่ตนเองรับผิดชอบแนวทางคัดกรองซึ่งจะประกอบไปด้วย การซักประวัติ การตรวจร่างกาย และการตรวจทางห้องปฏิบัติการ

การคัดกรองกลุ่มกลุ่มที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคสำคัญอย่างโรคหลอดเลือดหัวใจ

ในกระบวนการของการคัดกรองนั้นสามารถทำได้ดังต่อไปนี้ อันดับแรกคือทำการซักประวัติของบุคคลเพื่อเป็นการค้นหาปัจจัยเสี่ยง ส่วนนี้สำคัญมากคุณจำเป็นต้องทำ

  • การซักประวัติเรื่องของผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ประวัติการรักษาตัว ประวัติระยะเวลาที่ทำการรักษาโรคความดันโลหิตสูง ประวัติทางด้านของปัจจัยเสี่ยงที่สามารถส่งผลต่อการเกิดโรค อาทิเช่น ระดับของไขมันที่อยู่ภายในเลือด ( แบบผิดปกติ ) ระยะเวลาที่เคยเป็นรวมถึงส่วนของระดับไขมันที่พบในขณะปัจจุบัน เป็นต้น ประวัติการรักษาเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดหัวใจของบุคคลในครอบครัว
  • โรคนี้เป็นโรคที่พบว่าในเพศชายนั้นค่อนข้างที่จะเสี่ยงมากกว่าเพศหญิง ที่สำคัญยิ่งหากเป็นเพศชายที่อายุมากกว่า 55 ปีขึ้นไปแล้วด้วยยิ่งพบโรคนี้ได้มากกว่าเพศหญิงถึง 6 เท่าเลยทีเดียวแต่สำหรับเพศหญิงมีโอกาสพบได้เมื่อถึงวัยที่ประจำเดือนได้หมดลงแล้ว ในบุคคลที่อายุเพิ่มมากขึ้น ยิ่งหากอายุเพิ่มมากขึ้นเท่าไรก็จะมีความเสี่ยงมากขึ้นเท่านั้น อายุกลายเป็นสิ่งที่มีความสัมพันธ์กับเรื่องของระดับความเสี่ยง ระดับความรุนแรงต่อการเกิดโรค ( สำหรับเพศชายอายุมากกว่า 55 ปี เพศหญิงอายุมากกว่า 65 ปี )
  • หากบุคคลใดที่มีนิสัยชอบออกกำลังกายเป็นประจำก็จะยิ่งจะมีโอกาสน้อยมากที่จะป่วยด้วยโรคนี้ เรื่องของความเครียดและการขาดการพักผ่อนก็สามารถเกี่ยวข้องได้เช่นกัน เนื่องจาก โดยปกติร่างกายของคนเรานั้น มักที่จะทำการตอบสนองด้วยการหลั่งสาระสำคัญอย่าง “ สารแคทโคลามีน ” สารตัวนี้ส่งผลโดยตรงต่อหัวใจทำให้หัวใจเกิดการเต้นเร็วขึ้น ทำให้เกิดการหดเกร็งที่บริเวณของหลอดเลือดหัวใจแถมยังมีสารละลายที่ส่วนของเซลล์ของกล้ามเนื้อหัวใจที่สูงกว่าปกติได้อีกด้วย  [adinserter name=”ไขมันในหลอดเลือดและความดันโลหิต”]

นอกจากนี้ ยิ่งหากบุคคลใดที่เคยมีประวัติว่าป่วยเป็นโรคเบาหวานมาก่อนหรือกำลังรักษาโรคนี้อยู่ก็มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคนี้ได้เช่นกัน เพราะ บุคคลที่ป่วยด้วยโรคนี้จะมีโอกาสในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจได้สูงกว่าคนทั่วไปที่ไม่ป่วยเป็นโรคเบาหวานได้ถึง 2 หรือ 4 เท่าเลยทีเดียว ในบุคคลที่มีประวัติว่ามีพฤติกรรมชอบสูบบุหรี่ก็ส่งผลต่อการเกิดโรคได้เหมือนกัน ไม่ว่าจะสูบด้วยตัวเองหรือไปอยู่ในสถานที่ที่มีการสูบบุหรี่มาก ๆ ก็อันตรายเท่า ๆ กันทั้งนั้น หากใครที่สูบเองแล้วสูบจำนวนมากกว่า 20 มวนในแต่ละวันอันนี้ก็จะยิ่งมีโอกาสในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจได้มากถึง 6 เท่า สำหรับบุคคลที่ชอบรับประทานอาหารรสเค็มจัด ทานอะไรที่มีโซเดียมสูง มีไขมันสูงอันนี้ก็มี โอกาสเสี่ยงไม่ต่างกันและท้ายที่สุดจะไม่พูดถึงคงไม่ได้ นั่นคือ ภาวะอ้วน ภาวะนี้เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าเสี่ยงแน่นอนต่อการเกิดโรคนี้ ความอ้วนจะเข้าไปสร้างภาระให้กับส่วนหัวใจของคนเรา เมื่อหัวใจต้องแบกรับภาระหนักมากก็ยิ่งส่งต่อต่อการเกิดโรคมากขึ้นไปด้วย

2. การประเมินความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ

จากการแบ่งระดับโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดโดยใช้ปัจจัยที่เกี่ยวข้องของ The European Society of Cardiology ( ESC ) and European Society of Hypertension ( ESH ) เพื่อประเมินโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ( Cardiovascular risk ) ใน 10 ปี สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ลักษณะได้แก่ Systolic blood pressure Diastolic blood pressure Cardiovascular Hypertension
นอกจากนี้แล้วผู้ป่วยควรที่จะเข้ารับการคัดกรองโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดใน 5 ปี และ 10 ปี โดยใช้ปัจจัยที่ทำให้มีโอกาสเสี่ยงโดยรวมได้แก่อายุ ระดับไขมันในเลือด ( total cholesterol, HDL ) ความดันซีสโตลิกประวัติการสูบบุหรี่ โรคเบาหวาน โดยใช้ Framingham Heart Study Coronary Heart Disease Risk Prediction Chart

ในประเทศไทยเองก็ได้มีการพัฒนาเครื่องมือสำหรับใช้ในการประเมินโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจใน 10 ปี คือ RAMA-EGAT Score โดยเป็นเครื่องมือที่ได้รับการพัฒนาให้มีความเหมาะสมกับคนไทย โดยเครื่องมือจะมีการประเมินใน 2 ระดับคือการประเมินโดยบุคลากรทางการแพทย์และการประเมินตนเองโดยประชาชน ซึ่งจะเลือกใช้การประเมินในแบบใดนั้นก็ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมหรือตามความจำเป็นของทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด ดังนี้

1. แบบประเมินโอกาสเส้นเลือดหัวใจตีบรุนแรงใน 10 ปี ( % )ในผู้ที่เป็นเบาหวาน

2. แบบประเมินโอกาสเส้นเลือดหัวใจตีบรุนแรงใน 10 ปี ( % )ในผู้ที่ไม่เป็นเบาหวาน

3. แบบประเมินโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยประชาชน ( ใช้ผลเลือด )

4. แบบประเมินโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยประชาชน ( ไม่ใช้ผลเลือด )

5. แบบประเมินโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยบุคลากรสาธารณสุข ( อ้างอิงผลการตรวจร่างกาย )

แบบประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ( ไม่ใช้ผลเลือด )

ปัจจัยเสี่ยง คะแนน
1. อายุ
– 35 – 39
– 40 – 44
– 45 – 49
– 50 – 54
-2
0
2
4
2. บุหรี่
– ไม่สูบ
– ยังสูบบุหรี่
0
2
3. ความดันโลหิตสูง
– เป็น
– ไม่เป็น
3
0
4. เพศ
– หญิง
– ชาย
0
3
5. รอบเอว (ชาย ≥ 90 เซนติเมตร/หญิง ≥ 80 เซนติเมตร)
– ไม่ใช่
– ใช่
0
4
ผลคะแนนรวม xx

 

คะแนน ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจใน 10 ปี ( % )
-2 – 0 0
1 – 5 1
6 – 8 2
9 3
10-11 4
12 5
13 7
14 8
15 10
16 12
ผลการประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจใน 10 ปี เท่ากับ…..%

 

แบบประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด  ( ใช้ผลเลือด )

ปัจจัยเสี่ยง คะแนน
1. อายุ
– 35 – 39
– 40 – 44
– 45 – 49
– 50 – 54
-2
0
2
4
2. บุหรี่
– ไม่สูบ
– ยังสูบบุหรี่
0
2
3. ความดันโลหิตสูง
– เป็น
– ไม่เป็น
3
0
4. เพศ
– หญิง
– ชาย
0
3
5. รอบเอว (ชาย ≥ 90 เซนติเมตร/หญิง ≥ 80 เซนติเมตร)
– ไม่ใช่
– ใช่
0
4
6. โคเลสเตอรอล
– < 280
– ≥ 280
0
4
7. เบาหวาน
– เป็น
– ไม่เป็น
5
0
ผลคะแนนรวม xx

 

คะแนนรวม  ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจใน 10 ปี (%)
-2 – 0 0
1 – 6 1
7 – 9 2
10 3
11 – 12 4
13 5
14 6
15 8
16 9
17 11
18 14
19 16
20 20
ผลการประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจใน 10 ปี เท่ากับ…………..%

 

แบบประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยบุคลากรสาธารณสุข ( อ้างอิงผลการตรวจร่างกาย )

ปัจจัยเสี่ยง  คะแนน
อายุ

35-39
40-44
45-49
50-54

 

-1
0
1
2

BP

SBP<120, DBP < 80
SBP<120-129, DBP 80-84
SBP<130-139, DBP 85-89
SBP<140-149, DBP 90-99
SBP≤160, DBP≥100

 

0
0
1
1
2

Total Cholestreol

<160
160-199
200-279
≥280

 

-2
0
0
2

HDL

<35
35-49
50-59
≥60

 

2
0
-1
-5

Current Smoker

No
Yes

 

0
1

Waist>90 cm

No
Yes

 

0
1

Alcohol Drinker

No
Yes

 

0
-2

DM

No
Yes

 

0
2

 

คะแนนรวม ความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจที่สำคัญ ใน 10 ปี (%)
-3 <1
-2 – 0 1
1 2
2 3
3 5
4 7
5 10
6 14
7 20

 

แนวทางในการจัดการดูแลหลังจากที่ได้ทำการประเมิน

1.หากคะแนนโอกาสเสี่ยงรวมได้ 6-10 คะแนน ถ้าไม่มีข้อห้ามอะไร ก็ควรที่จะออกกำลังกายให้ได้เป็นประจำสม่ำเสมอ งด อาหารหวาน มัน เค็ม และบุหรี่ในทันทีและควรไปพบแพทย์เพื่อขอคำแนะนำที่ถูกต้อง
2.หากคะแนนโอกาสเสี่ยงรวมได้ 11 คะแนนขึ้นไป ควรปฏิบัติตามข้อหนึ่ง และรีบไปพบแพทย์เพื่อขอคำปรึกษาโดยเร็ว

แบบประเมินโอกาสเส้นเลือดหัวใจตีบรุนแรงใน 10 ปี (%) ผู้ป่วยที่ไม่เป็นเบาหวาน

รายการ

อายุ (ปี)

ผู้หญิง

ผู้ชาย

ไม่สูบบุหรี่

สูบบุหรี่

ไม่สูบบุหรี่

สูบบุหรี่

เป็นความดันโลหิตสูง 50-54 2 4 3 7 4 6 5 12
ไม่เป็นความดันโลหิตสูง 50-54 1 2 2 4 2 4 3 7
เป็นความดันโลหิตสูง 45-49 1 3 2 4 2 5 4 8
ไม่เป็นความดันโลหิตสูง 45-49 1 2 1 2 1 3 2 4
เป็นความดันโลหิตสูง 40-44 1 2 1 3 2 4 2 5
ไม่เป็นความดันโลหิตสูง 40-44 0 1 1 2 1 2 1 3
เป็นความดันโลหิตสูง 35-39 1 1 1 2 1 2 2 4
ไม่เป็นความดันโลหิตสูง 35-39 0 1 0 1 1 1 1 2
รอบเอว <80 ซม. 80 ซม. <80 ซม. 80 ซม. <90 ซม. 90 ซม. <90 ซม. 90 ซม.

[adinserter name=”ไขมันในหลอดเลือดและความดันโลหิต”]

การจัดการเพื่อการค้นหาและคัดกรองผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ ( Cardiovascular Risk Screening )

การจัดการเพื่อให้ผู้ป่วยเข้าถึงบริการการคัดกรอง และความจำเป็นของการรักษาพยาบาล
1. ผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงทุกคนที่ผ่านการซักประวัติและตรวจร่างกายแล้วพบว่ามีอาการทางคลินิกสัมพันธ์กับลักษณะอาการของโรคหลอดเลือดหัวใจ จะได้รับการตรวจพิเศษเพื่อทำการตรวจหัวใจ ว่ามีร่องรอยของการถูกทำลายหรือไม่ ได้แก่ Electrocardiogram, Cardiac Biomarker, Chest X Rays

2. หากตรวจพบว่าหัวใจมีร่องรอยของการถูกทำลาย แม้ว่าจะยังไม่แสดงอาการของโรคให้เห็นก็ตามก็จะได้รับการส่งตรวจพิเศษ เพื่อทำการวินิจฉัยโรคหลอดเลือดหัวใจตั้งแต่ในระยะเริ่มแรก ( Early Diagnosis ) ได้แก่ Echocardiogram หรือ Exercise Stress Test

3. หากไม่สามารถที่จะทำตามข้อ 1 หรือ 2 ได้เนื่องจากมีทรัพยากรจำกัด ควรที่จะทำการติดต่อเจรจาเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการตรวจสอบในหน่วยบริการที่สามารถตรวจสอบได้ต่อไป

4. สำหรับผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่เป็นผู้ป่วยใหม่ทุกคนควรที่จะได้รับการค้นหา คัดกรองโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตั้งแต่ได้รับการวินิจฉัยเป็นครั้งแรก ซึ่งก็จะประกอบไปด้วย การซักประวัติ การตรวจร่างกาย การตรวจทางห้องปฏิบัติที่จำเป็น ได้แก่ ระดับน้ำตาลในเลือด และไขมันในเลือด เพื่อหาปัจจัยเสี่ยงที่จะเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจและประเมินโอกาสเสี่ยงว่ามีแนวโน้มที่จะเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจต่อไปหรือไม่

  • กลุ่มเสี่ยงสูง ( Htsk risk ) แนะให้ผู้ป่วยประเมินโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจด้วยตนเองเป็นประจำทุกปีได้รับการตรวจเพิ่มเติมเพื่อค้นหาว่าหัวใจมีร่องรอยของการถูกทำลายหรือไม่ ได้แก่ การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจและการตรวจเอกซเรย์ทรวงอกเป็นประจำทุก 6 เดือนถึง 1 ปี- กลุ่มเสี่ยงปานกลาง ( Moderate risk ) แนะให้ผู้ป่วยประเมินโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจด้วยตนเองทุกปี และควรได้รับการตรวจเพิ่มเติมเพื่อค้นหาว่าหัวใจมีร่องรอยของการถูกทำลายหรือไม่ ได้แก่ การตรวจคลื่นไฟฟ้า และการตรวจเอกซเรย์ทรวงอกเป็นประจำทุก 1-2 ปี
  • กลุ่มเสี่ยงต่ำ ( Low risk ) แนะให้ผู้ป่วยประเมินโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจด้วยตนเองเป็นประจำทุกปี

5. เมื่อผู้ป่วยโรคความดันโลหิตที่เป็นผู้ป่วยเก่ามารับการบริการ จำเป็นที่จะได้รับการซักประวัติ เพื่อตรวจสอบค้นหาอาการทางคลินิกที่มีความสัมพันธ์กับโรคหลอเลือดหัวใจทุกครั้ง และควรที่จะได้รับการตรวจไขมันในเลือด และระดับน้ำตาลในเลือดเพื่อค้นหาว่ามีอาการของโรคเบาหวานหรือไม่เป็นประจำทุก 1 ปี

ความผันแปรที่อาจจะเกิดขึ้น

1. การคัดกรองเกิดความซ้ำซ้อนไม่มีการประสานเชื่อมโยงข้อมูลซึ่งกันและกัน
2. ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงและได้รับการคัดกรอง หรือค้นหาโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ
3. ไม่สามารถที่จะทำการคัดกรองหรือค้นหา โอกาสเสี่ยงที่จะเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจได้อย่างทั่วถึง เพราะมีผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นแต่ขณะเดียวกันก็มีทรัพยากรอยู่อย่างจำกัด

การจัดการกับความผันแปร

1. มีการขึ้นทะเบียนกลุ่มเสี่ยงที่จะเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจและมีเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างกันกับหน่วยบริการต่าง ๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง
2. มีการให้ความรู้แก่ชุมชนในการค้นหา คัดกรอง และประเมินโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ ( Education for community screening )
3. มีการให้ความรู้ในการประเมินโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจด้วยตนเอง ( Education for self screening ) แก่ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงทุกราย
4. มีการจัดทำแนวทางการคัดกรองโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ( Policy of guideline for cardiovascular screening )
5. มีการประสานงานกัน หากต้องมีการส่งต่อผู้ป่วยไปยังหน่วยบริการที่สามารถให้บริการตรวจพิเศษเพื่อวินิจฉัยได้ ( Coordinated for referralto special investigation ) และมีการดำเนินการจัดทำแผนที่หน่วยบริการที่สามารถให้บริการตรวจพิเศษโรคหัวใจได้ หรือรายงานพยาบาลผู้จัดการรายกรณีโรคเลือดหัวใจเพื่อประสานงานในการดูแลหรือขอคำปรึกษา  [adinserter name=”ไขมันในหลอดเลือดและความดันโลหิต”]

ผลลัพธ์ที่คาดหวัง

1. มีผู้ป่วยที่ได้รับการค้นหาและวินิจฉัยโรคหลอดเลือดหัวใจเพิ่มจำนวนมากขึ้น ( Correct early diagnosis )
2. ผู้ป่วยที่เป็นความดันโลหิตสูงได้รับการค้นหา คัดกรองโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตั้งแต่ในระยะเริ่มแรก
3. มีการขึ้นทะเบียนผู้ป่วยเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจโดยแยกเป็น กลุ่มเสี่ยงต่ำ เสี่ยงปานกลาง และเสี่ยงสูง
4. มีผู้ป่วยได้รับการคัดกรองโรคหลอดหลอดเลือดหัวใจได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น ( Early detection )

การดูแลผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจรายบุคคล ( Cardiovascular risk group )

1. การจัดการเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงบริการที่รวดเร็ว ( Early Access )

ในเรื่องของการจัดการเพื่อการทำให้ผู้ป่วยนั้นสามารถที่จะเข้าถึงในส่วนของการบริการได้อย่างรวดเร็วมากที่สุดนั้นส่วนนี้มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อเรื่องของการรักษาตัว นั่นคือ

– เป็นการช่วยส่งเสริมให้ตัวของผู้ป่วยเองสามารถที่จะควบคุมในปัจจัยเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพ อาทิ ควบคุมในเรื่องของระดับไขมันที่อยู่ภายในเลือด ควบคุมเรื่องของการออกกำลังกาย คือ ให้มีการออกกำลังกายแบบใช้เวลาติดต่อกันอย่างน้อยเป็นระยะเวลา 30 นาทีให้ได้ทุกวันในแต่ละสัปดาห์โดยใช้ความแรงอยู่ในระดับที่ปานกลาง ควบคุมเรื่องของน้ำหนัก ควบคุมเรื่องของน้ำตายที่อยู่ภายในเลือด ควบคุมเรื่องของการสูบบุหรี่ให้ได้ ต้องประเมินเสมอว่าการสูบบุหรี่นั้นมีระดับใดในขณะที่ทำการประเมินหรือในทุก ๆ ครั้งที่ทำการออกไปเยี่ยมบ้าน ต้องมีการแนะนำในส่วนนี้ให้แก่ผู้ป่วย พยายามที่จะหาแนวทางในการนำไปสู่การเลิกบุหรี่ให้ได้ อาจด้วยการส่งตัวผู้ป่วยเข้าสู่โปรแกรมการเลิกสูบบุหรี่ที่คลินิกของโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาล อาจรักษาด้วยการรับยาหรือเลี่ยงการต้องไปอยู่ตามสถานที่ที่มีควันมากมาย ทำการควบคุมในเรื่องของการรับประทานอาหาร ไม่ควรให้ทานอาหารที่รสชาติไม่หวานมาก ลดพวกปริมาณอาหารประเภทมีไขมันมากโดยเฉพาะพวกไขมันแบบไขมันอิ่มตัว ควรต้องมีการจำกัดโซเดียมที่น้อยกว่า 6 กรัมให้ได้ต่อวัน ควรต้องจำกัดในการดื่มแอลกอฮอล์ให้ไม่เกินไปกว่า 2 ดริงค์ต่อวัน ( กรณีของผู้ชาย ) ดื่มแอลกอฮอล์ให้ไม่เกินไปกว่า 1 ดริงค์ต่อวัน ( กรณีของผู้หญิง )

ความผันแปร

ในเรื่องของความผันแปรนั้นก็คือการที่ไม่สามารถที่จะควบคุมส่วนของปัจจัยเสี่ยงให้เป็นไปตามเป้าหมายได้ ทำให้การตั้งทีมนั้นจึงมีความแตกต่างกันออกไป มีคำแนะนำที่แตกต่างกัน ในการจัดการความผันแปรนั้น ได้แก่

  • เรื่องของการสร้างในแรงจูงใจ
  • ค้นหาเกี่ยวกับปัญหา ค้นหาเกี่ยวกับอุปสรรคเพื่อจะเป็นการช่วยในการวิเคราะห์หรือการวางแผนเพื่อการแก้ไขอุปสรรค แก้ไขปัญหา
  • เป็นการช่วยให้ผู้ป่วยมีการกำหนดถึงเป้าหมาย มีการวางแผนต่อการจัดการตัวผู้ป่วยเพื่อให้สามารถบรรลุได้เป็นไปตามที่เป้าหมายได้กำหนดไว้
  • ทำการค้นหาสถานที่สนับสนุนภายในชุมชน ทำการค้นหาส่วนของเครือข่ายทางด้านสุขภาพ
  • ทำการประสานส่วนของข้อมูลเพื่อดูแลอย่างต่อเนื่อง ทำการแจ้งปัญหา ทำการแจ้งอุปสรรคไปยังหน่วยบริการปฐมภูมิเพื่อการติดตามเพื่อการดูแล

ผลลัพธ์ที่คาดหวัง

สำหรับผลลัพธ์ที่คาดหวัง ก็มีดังนี้
1.สามารถควบคุมระดับไขมันในเลือดให้อยู่ในระดับที่เป็นปกติได้ หรือไม่สูงจนเกินไป คือ

– LDL-C<160 mg/dL ถ้ามีปัจจัยเสี่ยง ≤ 1 ปัจจัย
– LDL-C<130 mg/dL ถ้ามีปัจจัยเสี่ยง ≥ 2 ปัจจัย และ 10 – years CHD risk < 20%
– LDL-C<100 mg/dL ถ้ามีปัจจัยเสี่ยง ≥ 2 ปัจจัย และ 10 – years CHD risk ≥ 20% หรือเป็นเบาหวาน

2.ผู้ป่วยสามารถที่จะหยุดสูบบุหรี่ได้
3.ระดับความดันโลหิต มีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นคือ

– ผู้ที่ป่วยด้วยโรคเบาหวาน สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ โดยความดันอยู่ที่ <130/80 mmHg
– ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจต่ำ ควบคุมความดันโลหิตได้ โดยความดันอยู่ที่ <140/90 mmHg
– ผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวหรือภาวะไตเสื่อม สามารถควบคุมความดันโลหิตได้ โดยความดันอยู่ที่ <130/85 mmHg

4.ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทานอาหารได้ คือเลือกรับประทานผักผลไม้ที่ไม่หวานจัดจนเกินไป พร้อมกับจำกัดการทานอาหารที่มีไขมัน โซเดียมให้น้อยลงได้ รวมถึงสามารถเลิกดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้อีกด้วย
5.มีการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง อย่างน้อยติดต่อกันเป็นเวลา 30 นาที และออกกำลังกายได้สัปดาห์ละไม่ต่ำกว่า 3 วัน
6.Fasting plasma glucose < 110 mg/dL หรือ HbA1c<7%
7.BMI ให้อยู่ระหว่าง 18.5-24.9 กก./ตรม. ถ้า BMI ≥ 25 กก./ตรม. waist circumference ≤ 40 นิ้วในผผู้ชาย และ ≤ 35 นิ้วในผู้หญิง  [adinserter name=”ไขมันในหลอดเลือดและความดันโลหิต”]

2.การจัดการเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงบริการที่รวดเร็ว ( Early Access )

1. ในส่วนของการให้คำปรึกษา ( Consultant ) ผู้จัดการรายกรณีควรวางแผนจัดระบบเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถขอรับคำปรึกษาได้ตลอด 24 ชั่วโมง
2. การให้ความรู้แก่กลุ่มเสี่ยง ( Education Coronary Artery Disease for risk group ) เป็นการสร้างความตระหนักในการจัดการตนเองให้แก่กลุ่มเสี่ยง หากมีอาการของโรคหลอดเลือดหัวใจ และการดูแลในระดับชุมชน ซึ่งจำเป็นที่จะต้องเน้นในระยะของการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดแบบเฉียบพลัน ( Acute Coronary Syndrom ) ในประเด็นต่าง ๆ เหล่านี้
2.1 แผนการบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ได้แก่ ผู้ป่วยที่ได้อมยาอมใต้ลิ้นเม็ดแรกแล้วอาการเจ็บหน้าอกไม่ดีขึ้นภายใน 5 นาที หรือกลุ่มเสี่ยงที่มีอาการเจ็บหน้าอกแล้วได้พักประมาณ 5 นาทีแต่อาการก็ยังไม่ดีขึ้น หรือหากรู้สึกไม่แน่ใจให้เรียกใช้ EMS โดยที่ไม่ต้องเดินทางมาโรงพยาบาลด้วย ทำให้ไม่ต้องเสียเวลากับการลองรักษาด้วยวิธีอื่น
2.2 Perceived to Cardiovascular risk การรับรู้ว่าโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจและมีการส่งเสริมให้ผู้ป่วยได้ปรับ ลด ปัจจัยที่จะก่อให้เกิดความเสี่ยงต่าง ๆ และมีการติดตาม ประเมินโอกาสเสี่ยงอยู่เป็นระยะ
2.3 Self monitoring มีการสังเกตลักษณะอาการของตนเองว่าเป็นอาการแสดงของโรค ( warning sings ) หรือไม่ ได้แก่ อาการเจ็บแน่นหน้าอก เหนื่อยหอบ ใจสั่น หน้ามืด เป็นลมและอาการเหงื่อออกตัวเย็น โดยอาการเจ็บหน้าที่อาจเป็นไปได้ว่าจะเป็นอาการของโรคหลอดเลือดหัวใจได้แก่ อาการเจ็บแน่นบริเวณกลางอก ใต้กระดูกหน้าอก เจ็บแน่นคล้ายกันกับว่ามีของหนักมาทับ หรือบีบรัด และอาจร้าวไปถึงกราม หรือแขน ซึ่งอาการจะทุเลาขึ้นหากได้อมยาขยายหลอดเลือดหรือต่อเมื่อได้หยุดพัก และถ้าหากผู้ป่วยได้ออกแรงหรือทำกิจกรรมเสริมแล้วมีอาการรุนแรงมากขึ้น ผู้ป่วยต้องรีบเดินทางมาโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด
2.4 Emergency Medical Service การใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉิน 1669 เพื่อให้ผู้ป่วยได้มีความเข้าใจในวิธีการเรียก เช่น หากโทรศัพท์ไม่มีเงิน ก็สามารถที่จะเรียกใช้บริการได้โดยที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด และยังให้บริการครอบคลุมภาวะเร่งด่วนหรือฉุกเฉินด้านโรคหัวใจ หรือโรคอื่นอื่นๆด้วยนอกเหนือไปจากอุบัติเหตุ เป็นต้น
3. การเข้าถึงบริการ ( Accessibility ) โดยมีการศึกษาเส้นทางที่ผู้ป่วยจะสามารถเข้าถึงการบริการ Logistic of care) และมีการจัดระบบรองรับดังนี้
3.1 ผู้ป่วยที่ต้องรอใช้บริการผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลก่อน ทำให้การส่งตัวมายังห้อง ER เกิดความล่าช้า ซึ่งก็ต้องมีการวางระบบรองรับคือ มีการคัดกรองผู้ป่วยที่จะต้องได้รับการรักษาโดยเร่งด่วนเพื่อส่งเข้ารับการดูแลใน ER เริ่มตั้งแต่เวรเปล และพยาบาลคัดกรอง ( nurse triage )
3.2 เมื่อผู้ป่วยเรียกใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉิน มีระบบที่รองรับ คือ การจัดระบบ EMS for Heart โดยมีการจัดระบบ EMS ให้มีมาตรฐาน ได้แก่

  • มีหน่วยปฏิบัติการฉุกเฉินเบื้องต้นอยู่ในพื้นที่ซึ่งสามารถที่จะช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นคืนชีพในเบื้องต้นได้
  • มีระบบการแจ้งเหตุฉุกเฉิน มีเจ้าหน้าที่คอยประสานและทำหน้าที่สั่งการ
  • มีการขึ้นทะเบียนและจัดทำแผนที่บ้านที่อยู่อาศัยของกลุ่มเสี่ยง และผู้ป่วย พร้อมทั้งออกแบบ EMS for Heart ที่ควรระบุ warning signs และเบอร์ 1669 ให้ผู้ป่วย
  • มีทีมรถพยาบาลฉุกเฉินที่จะทำหน้าที่ในการรักษาพยาบาลเบื้องต้น ประสานและรีบนำตัวผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาล

4. มีการค้นหา และมีการเตรียมแหล่งสนับสนุนในชุมชน ( Resource ) สำหรับการให้ความช่วยเหลือในเบื้องต้น

ความผันแปร
ความผันแปร อาจเกิดขึ้นได้จากการเข้าถึงบริการที่ล่าช้า ซึ่งก็เนื่องมาจาก ความล่าช้าของ EMS, Seeking และ Distance

การจัดงานความผันแปร
สำหรับการจัดการกับความผันแปรที่เกิดขึ้นสามารถทำได้หลากหลายวิธี เช่น การประชาสัมพันธ์เพื่อเรียกบริการฉุกเฉินอย่างครอบคลุม และให้ผู้ป่วยได้เข้ารับการดูแลรักษาอย่างทั่วถึง โดยเฉพาะจากหน่วยบริการปฐมภูมิหรือในชุมชนของตนเอง ทำการออกบัตร Warning signs ให้กับผู้ป่วยและผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงทุกราย เพื่อใช้ในการเรียกบริการการแพทย์ฉุกเฉิน 1669 อีกทั้งก็จะต้องมีการให้ความรู้ความเข้าใจ เพื่อให้ผู้ป่วยให้ความสำคัญที่จะมาโรงพยาบาลอย่างรวดเร็วด้วย และที่สำคัญเลยก็คือจะต้องมีการจัดการเตรียมพร้อมกับในชุมชนในเรื่องของการช่วยเหลือ เพื่อให้สามารถนำตัวผู้ป่วยส่งไปยังโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดได้อย่างรวดเร็ว  [adinserter name=”ไขมันในหลอดเลือดและความดันโลหิต”]

ผลลัพธ์ที่คาดหวัง
ผลลัพธ์ที่คาดหวังว่าจะได้จากความผันแปรที่เกิดขึ้นก็คือ ผู้ป่วยสามารถที่จะประเมินตัวเองได้ เมื่อเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจขึ้นจริงๆ จะได้รีบมาโรงพยาบาลได้อย่างรวดเร็ว และได้รับการดูแลรักษาอย่างเร่งด่วนในทันที โดยผ็ป่วยส่วนใหญ่จะมีการเรียกใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉินเป็นหลัก

3.การจัดการเพื่อควบคุมปัจจัยเสี่ยง ความจำเป็นในการรักษาพยาบาล

สำหรับประเด็นนี้ จะทำการควบคุมผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคนี้ให้มีความเสี่ยงน้อยลงไป โดยเน้นการให้ความรู้และให้คำปรึกษา ซึ่ง

  • จะบอกถึงวิธีการจัดการกับปัจจัยที่นำไปสู่ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจให้ผู้มีความเสี่ยงทราบ
  • บอกให้รู้ถึงความสัมพันธ์ที่จะเกิดขึ้นระหว่างโรคความดันโลหิตสูงและโรคหลอดเลือดหัวใจ
  • บอกให้ผู้ป่วยทราบถึงการประเมินความเสี่ยง เพื่อจะได้พาตัวเองมายังโรงพยาบาลได้ทัน
  • บอกให้ทราบถึงการจัดการกับปัจจัยที่จะทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจได้

ความผันแปร
ความผันแปรส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นจาก การให้ความรู้ที่ไม่ทั่วถึงกับกลุ่มเสี่ยง จึงทำให้มีผู้ที่ป่วยด้วยโรคนี้เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก หรือในกลุ่มเสี่ยงที่เป็นผู้สูงอายุ มีปัญหาในด้านการรับรู้ จึงไม่สามารถนำไปปฏิบัติใช้ได้อย่างเต็มที่

การจัดการกับความผันแปร
เมื่อมีความผันแปรเกิดขึ้น ก็จะต้องจัดการกับความผันแปรให้หมดไป โดยสามารถทำได้ด้วยการ
1.ให้ความรู้ความเข้าใจกับครอบครัว หรือผู้ดูแลหลัก เพื่อให้เข้าใจและสามารถเฝ้าระวังได้ดีขึ้น
2.จัดกลุ่มเพื่อให้ผู้ป่วยได้มีการแลกเปลี่ยนความรู้กัน พร้อมทั้งให้คำปรึกษาแก่ผู้ป่วยแบบกลุ่ม แต่กรณีที่ผู้ป่วยมีความเสี่ยงสูง อาจเน้นการให้ความรู้แบบรายบุคคลแทน
3.เพิ่มช่องทางต่างๆ เพื่อให้เข้าถึงข้อมูลการรับรู้ได้มากขึ้น รวมถึงส่งเสริมให้ครอบครัวมีส่วนร่วมในการดูแล หรือเลือกผู้ที่จะทำหน้าที่ดูแลหลักโดยเฉพาะ

ผลลัพธ์ที่คาดหวัง
จากการจัดการดังกล่าว มีผลที่คาดหวังไว้ก็คือ ผู้ป่วยจะสามารถประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ รวมถึงมีญาติที่มีความรู้คอยดูแลและตระหนักถึงการควบคุมปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคเป็นอย่างดี

การดูแลผู้ป่วยรายบุคคลที่มีโรคความดันโลหิตสูงที่เกิดภาวะแทรกซ้อนโรคหลอดเลือดหัวใจ

1. การจัดการให้ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยอย่างถูกต้อง และรวดเร็ว ( Early Diagnosis )

  • ถ้าหากมีการตรวจพบว่าผู้ป่วยมีอาการและอาการแสดงที่สัมพันธ์กับภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดแบบเฉียบพลันแต่ตรวจไม่พบว่าหัวใจมีร่องรอยของการถูกทำลาย ได้แก่คลื่นไฟฟ้าหัวใจปกติ และผลการตรวจ CXR ปกติ จัดการให้ผู้ป่วยได้รับตรวจ Cardiac Biomarker
  • ถ้าเป็นกรณี Cardiac Biomarker negative จะมีการให้ความรู้แก่ผู้ป่วยในการเฝ้าระวังอาการที่เกิดขึ้นอย่างใกล้ชิด มีการปรับลดปัจจัยที่อาจก่อให้เกิดโอกาสเสี่ยงอย่างเคร่งครัด และมีการประสานงานเพื่อทำการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม ได้แก่ Echocardiogram หรือ Exercise Stress Test ภายในเวลา 1 เดือน
  • ถ้าเป็นกรณี Cardiac Biomarker Positive ซึ่งเริ่มแสดงอาการให้เห็นว่ากล้ามเนื้อหัวใจถูกทำลาย แต่ยังไม่เข้าสู่ภาวะขาดเลือด จัดการให้ผู้ป่วยได้เข้าสู่กระบวนการรักษาในโรงพยาบาล และได้รับการตรวจ Echocardiogram ก่อนการจำหน่ายหรือหลังการจำหน่ายไม่เกิน 2 สัปดาห์
  • ถ้าหากมีการตรวจพบว่าผู้ป่วยมีอาการและอาการแสดงที่สัมพันธ์ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดแบบเฉียบพลัน ต้อง  [adinserter name=”ไขมันในหลอดเลือดและความดันโลหิต”]

จัดการให้ผู้ป่วยได้เข้าสู่ระบบการวินิจฉัยอย่างเร่งด่วน ( ไม่ควรเกิน 10 นาที ) ดังนี้

1.ส่งผู้ป่วยตรวจ Cardiac Biomarker ( ไม่ควรเกินใช้เวลานานเกิน 5 นาที )
2.ให้ผู้ป่วยตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ 12 Leads โดยทันที ( ไม่ควรใช้เวลานานเกิน 5 นาที )
3.ทำการประสานงานเพื่อส่งผู้ป่วยไปยังหน่วยบริการที่ให้ความช่วยเหลือแก่ป่วยที่อยู่ในภาวะฉุกเฉินได้
4.ทำการประสานงานเพื่อส่งผู้ป่วยตรวจ CXR เพื่อประเมินว่าผู้ป่วยมีภาวะแทรกซ้อนของโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันหรือไม่ ( ไม่ควรใช้เวลานานเกิน 30 นาที ) หากทรัพยากรมีไม่เพียงพอ ไม่พร้อมหรือไม่ปลอดภัยซึ่งอาจทำให้การรักษาต้องล่าช้าออกไป สามารถให้รอก่อนได้
5.ทำการแปลผลคลื่นไฟฟ้าหัวใจในเบื้องต้น คัดแยกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ถ้าหากพบว่าเป็นชนิด STEIM ให้ทำการประสานงานกับแพทย์เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยคลื่นไฟฟ้าหัวใจทันที เพื่อวางแผนในการให้การรักษาผู้ป่วยอย่างเร่งด่วนต่อไป

ความผันแปร
ความผันแปรมักจะเกิดขึ้นจากความล่าช้าของการวินิจฉัย ซึ่งก็อาจจะเนื่องมาจากความล่าช้าของระบบ สมรรถนะของทีมที่ทำการวินิจฉัย การรายงานผลการตรวจ CXP หรือข้อจำกัดของทรัพยากรในการตรวจวินิจฉัย ทำให้ได้รับผลช้ากว่าที่ควรจะเป็น และเกิดควาผมันแปรได้นั่นเอง

การจัดการกับความผันแปร
การจัดการกับความผันแปรสามารถทำได้หลากหลายวิธีโดย
1.ทำการประสานงานกับหน่วยงานที่มีความเกี่ยวข้อง เพื่อทำการวางระบบร่วมกัน หรือเตรียมพร้อมในการให้บริการ รวมถึงประสานกับผู้จัดการรายกรณีที่เกี่ยวข้องกับโรคหัวใจ เพื่อร่วมในกระบวนการจัดสรรด้วย
2.จัดทำแนวทางในการปฏิบัติ ในการส่งตรวจวินิจฉัย เพื่อให้เป็นไปอย่างมีขั้นตอนและรวดเร็วมากขึ้น
3.หากมีข้อจำกัดของทรัพยากร ให้ลองประสานเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการส่งตัวไปยังหน่วยบริการที่มีทรัพยากรพร้อมมากกว่าอย่างเร่งด่วน
4.ทำความเข้าใจและศึกษาเกี่ยวกับช่องทางด่วนในการดูแลผู้ป่วยที่เป็นกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดแบบเฉียบพลัน
ผลลัพธ์ที่คาดหวัง
จากแนวทางจัดการกับควาผันแปร ก็ได้มีผลลัพธ์ที่คาดหวังคือ ผู้ป่วยที่ตรวจพบว่ามีอาการที่สัมพันธ์กับโรคแต่ยังตรวจไม่พบร่องรอบการถูกทำลายของหัวใจ จะต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติมเพื่อความแน่นอน และจัดให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาตามมาตรฐานที่ควรจะเป็น รวมถึงได้รับการวินิจฉัยที่รวดเร็ว และมีการส่งต่ออย่างรวดเร็วเช่นกัน

2.การประเมินความจำเป็นหรือความเร่งด่วนในการให้การรักษาพยาบาล ( Necessity ) แก่ผู้ป่วย
ความจำเป็นในการรักษาพยาบาล
– หากผู้ป่วยมีอาการเจ็บหน้าอกอย่างรุนแรงนานกว่า 20 นาที มีความจำเป็นที่จะต้องได้รับการประเมินระดับความรุนแรงของการเจ็บหน้าอก ซึ่งแสดงผลเป็นระดับคะแนนตั้งแต่ 0-10 ให้จัดการให้ผู้ป่วยได้รับการเยียวยาอาการเจ็บหน้าอกอย่างเหมาะสม เพื่อเป็นการชะลอไม่ให้กล้ามเนื้อหัวใจถูกทำลาย และทำการส่งตัวผู้ป่วยให้ได้รับการดูแลในหน่วยบริการที่ให้การดูแลผู้ป่วยในภาวะฉุกเฉินได้
– ผู้ป่วย STEMI with killip class III, IV ซึ่งมีความสัมพันธ์กับอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วย จัดการให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลในหน่วยบริการที่ให้การดูแลผู้ป่วยในภาวะฉุกเฉินได้ทันที การทำการประเมิน Killip Class และระดับความรุนแรง

1. Killip class I : ไม่มีหัวใจล้มเหลวอัตราเสียชีวิตอยู่ที่ 6%
2. Killip class II : หัวใจล้มเหลวแต่ไม่รุนแรง มีเสียง Rales<50% ของปอดหรือได้ยินเสียง S3 อัตราการเสียชีวิตอยู่ที่ 17%
3. Killip class III : Pulmonary Edema มีเสียง Rales<50% อัตราการเสียชีวิตอยู่ที่ 38%
4. Killip class IV : Cardiogenic Shock อัตราการเสียชีวิตอยู่ที่ 67%

 

– ผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บแน่นหน้าอกที่คล้ายกับอาการแสดงของภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ( Typical Chest Pain ) ให้จัดการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจผู้ป่วยทันทีหรือภายใน 5 นาที
– ถ้าผู้ป่วยมีอาการและอาการแสดงของภาวะแทรกซ้อนของโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันได้แก่ Cardiac Arrhythmias, Cardiogenic Shock, Congestive Heart Failure ให้จัดการให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลในหน่วยบริการที่ให้การดูแลป่วยในภาวะฉุกเฉินได้
– ผู้ป่วยที่มีการตรวจพบคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่แสดงถึงภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน (Acute Coronary Syndrome)  [adinserter name=”ไขมันในหลอดเลือดและความดันโลหิต”]

1. Non ST Segment Elevation Myocardial Infarction ( ST Segment Depression or Inverted T wave ) : NSTEMI จัดการให้ผู้ป่วยได้เข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่มีมาตรฐาน
2. ST segment elevation myocardial infarction : STEMI ( ST Evevation at Point ≥ 0.2 mV ใน V1-3 หรือ 0.1 mV ในตำแหน่งอื่นอย่างน้อย 2 Leads ติดกัน, New LBBB ) จัดการให้ผู้ป่วยได้เข้าสู่ระบบช่องทางด่วนเพื่อที่จะได้รับการรักษาโดยทันที ( Fast Track ) โดยการเปิดขยายหลอดเลือด  (Myocardial  Reperfusion) ภายใน 30 นาที หากได้รับยาสลายลิ่มเลือด และ 90 นาทีสำหรับการทำ PCI หากมีข้อจำกัดในด้านทรัพยากร ให้ทำการประสานงานเพื่อส่งผู้ป่วยไปยังสถานบริการที่ให้การรักษาด้วยการเปิดขยายหลอดเลือด ( THrobolytic agent, PCI, CABG ) ภายใน 30 นาที

ความผันแปร
ความผันแปร มักจะเกิดจากสาเหตุการมีข้อจำกัดทางทรัพยากร ทำให้ไม่สามารถทำการรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ไม่สามารถทำการรักษาด้วยการเปิดขยายหลอดเลือดได้ ไม่มีแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางในด้านโรคหัวใจ ไม่มีระบบการรักษาอย่างเร่งด่วน ทำให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาช้ากว่าที่ควรจะเป็น

ผลลัพธ์ที่คาดหวัง
ผลลัพธ์ที่คาดหวังจากการรักษาก็คือ ผู้ป่วยได้รับการประสานเพื่อดูแลรักษาอย่างเร่งด่วน ไม่ล่าช้าจนเกินไป และจะต้องมีการประเมินความจำเป็น รวมถึงความเร่งด่วนในการดูแลรักษาผู้ป่วยด้วย

3.การจัดการผู้ป่วยเพื่อให้ได้รับการบริการด้านการรักษาที่เป็นไปอย่างรวดเร็วและมีความตรงตามที่มาตรฐานกำหนดไว้

ต้องให้คำปรึกษาแก่ตัวผู้ป่วยและคนในครอบครัวแบบควบคู่กันไป จะต้องทำการพิทักษ์ในสิทธิ์ของผู้ป่วยอยู่เสมอโดยจำเป็นต้องมีการให้ข้อมูลของผู้ป่วยเพราะนั่นเป็นสิ่งจำเป็นต่อระบบการรักษาพยาบาลเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อตัวผู้ป่วยสูงสุดทั้งนี้ก็เพื่อให้กลายเป็นข้อมูลที่จะสามารถเข้าไปช่วยในเรื่องของการตัดสินใจรวมถึงการพิทักษ์สิทธิ์สำหรับผู้ป่วยที่ไร้ญาติหรือผู้ป่วยที่สูงอายุมากแล้วหรือไม่เคยมีประวัติได้รับสิทธิใด ๆ ในการรักษาตามที่มาตรฐานกำหนดไว้ เพื่อคอยดูแลลักษณะการทำลายส่วนของกล้ามเนื้อหัวใจในขั้นเบื้องต้นโดยอาศัยหลักการที่ว่าจะต้องลดระดับความต้องการของหัวใจลงและนำทำการเพิ่มเลือดให้เข้าไปเลี้ยงส่วนของกล้ามเนื้อหัวใจแทน อาทิ
1. ลักษณะ PAIN CONTROL ลักษณะนี้จะเป็นการควบคุมลักษณะอาการแบบเจ็บหน้าอกเป็นหลักโดยจะทำการดูแลผู้ป่วยด้วยการให้ผู้ป่วยได้รับยาที่สามารถเข้าไปช่วยขยายบริเวณของหลอดเลือดหัวใจได้นั่นเอง เช่น การใช้ไนโตรไกลเซอรีนเพื่อทำการประเมินลักษณะอาการเจ็บหน้าอกที่เกิดขึ้น ใช้การให้คะแนน CHEST SCORE ซึ่งอยู่ระหว่าง 0 ถึง 10 มาเป็นตัวประเมิน (ดำเนินการทั้งช่วงก่อนและหลังของการใช้ยา) สำหรับข้อห้ามสำคัญที่ต้องไม่มองข้ามเป็นอันขาด ก็คือ อาจมีการเกิด RIGHT VENTRICULAR INFARCTION เกิดขึ้นหลังจากที่มีการให้ผู้ป่วยได้รับยาไนโตรไกลเซอรีนเข้าไปแล้วพบว่าไม่มีอาการดีขึ้นแล้วเกิดการพิจารณาและรายงานต่อเพื่อให้เข้าสู่ระดับของการให้มอฟีนที่บริเวณหลอดเลือดดำต่อไป ส่วนนี้อาจต้องระวังเป็นอย่างยิ่งในผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตค่อนข้างต่ำให้มาก
2. ลักษณะ PROMOTE OXYGEN SUPPLY แบบนี้จะเป็นการดูแลผู้ป่วยเพื่อให้เกิดการได้รับปริมาณของออกซิเจนที่ CANULAR 3-5 LPM KEEO O2
3. ลักษณะ ANTI PLATELETS ที่จะต้องดูแลผู้ป่วยให้ได้รับยาประเภทยาต้านเกล็ดเลือดในปริมาณ 1 TAB จะต้องเคี้ยวแล้วกลืนลงไปในทันทีสำหรับกรณีที่ยังไม่มีข้อห้ามใด ๆ เกิดขึ้น
ส่วนในเรื่องของการจัดการเพื่อการดำเนินการประสานงานส่งต่อตัวผู้ป่วยเพื่อส่งไปยังหน่วยบริการทางการแพทย์ที่มีความพร้อมในการให้ยาประเภทสลายลิ่มเลือดได้ต่อไป ส่วนนี้จะต้องทำการเตรียมความพร้อมในเรื่องของทีม เรื่องของอุปกรณ์ที่จำเป็นต่าง ๆ รวมถึงเรื่องของความพร้อมที่การรีเฟอร์ด้วย จะต้องทำการประสานข้อมูลอันจำเป็นเพื่อการส่งต่อโดยจะประกอบไปด้วย เพศ, ช่วงอายุ, ปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลกระทบ, ลักษณะอาการเจ็บหน้าอกที่เกิดขึ้น นั่นคือ อาการเจ็บมีขนาดเท่าใด รุนแรงระดับไหน สามารถที่จะบอกออกมาเป็นค่า PAIN SCORE ระดับ 0-10 ได้เลย, ผลการตรวจที่ได้จากการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เป็นต้น  [adinserter name=”ไขมันในหลอดเลือดและความดันโลหิต”]

ความผันแปร
ความผันแปรเกิดได้จากการที่ผู้ป่วยไม่ได้รับการดูแลรักษาให้เป็นไปตามมาตรฐาน หรือไม่ได้รับการส่งต่อซึ่งอาจเป็นผู้ ผู้ป่วยเป็นผู้สูงอายุ ไม่มีญาติคอยดูแล ผู้ป่วยชำระเงินเองหรือผู้ป่วยมีการปฏิเสธต่อการรักษา เป็นต้น

การจัดการความผันแปร
การจัดการกับความผันแปร สามารถทำได้หลากหลายวิธีคือ
1.หากผู้ป่วยเป็นผู้สูงอายุ และมีความเสี่ยงในการรักษามาก จะต้องมีการให้ข้อมูลแก่ญาติ รวมถึงบอกถึงความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้ป่วย เพื่อให้ญาติได้ทำความเข้าใจ
2.หากผู้ป่วยชำระเงินเอง ควรจะทำหน้าที่เป็นตัวแทนเพื่อเจรจาให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่มีความเป็นมาตรฐานที่สุด รวมถึงได้รับการส่งต่อเพื่อรักษาอย่างเหมาะสมด้วย
3.หากผู้ป่วยปฏิเสธที่จะทำการรักษา ควรให้ข้อมูลที่จำเป็นแก่ผู้ป่วยและญาติของผู้ป่วย เพื่อให้มีการตัดสินใจที่ดีขึ้น
4.หากผู้ป่วยไม่มีญาติ ให้ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อติดตามญาติของผู้ป่วย

ผลลัพธ์ที่คาดหวัง
ผลลัพธ์ที่คาดหวังก็คือ ผู้ป่วยจะต้องได้รับการรักษาตามมาตรฐานและมีการส่งต่อเพื่อดูแลรักษาในเวลาที่รวดเร็ว คือจะต้องไม่เกิน 30 นาทีหลังจากตัดสินใจเรียบร้อยแล้ว และผู้ป่วยก็ควรที่จะได้รับการดูแลรักษาพยายามอย่างรวดเร็วตรงตามมาตรฐานเช่นกัน

4.การจัดการเพื่อให้ผู้ป่วยได้ถูกค้นพบได้อย่างรวดเร็วเกี่ยวกับปัญหาทางด้านสุขภาพอันเกี่ยวข้องกับเรื่องของภาวะกล้ามเนื้อหัวใจเกิดการขาดเลือดแบบเฉียบพลัน

สำหรับความจำเป็นทางด้านของการรักษาพยาบาลนั้นในส่วนที่เป็นกรณีพบว่าเกิดมีอาการแสดงที่พิจารณาแล้วมีความสัมพันธ์กับภาวะกล้ามเนื้อหัวใจเกิดการขาดเลือดแบบเฉียบพลันไม่ว่าจะด้วยจากการสอบถาม ซักประวัติหรือการตรวจร่างกาย การดำเนินการให้ทางผู้ป่วยเข้ารับการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบทันที ( ภายในระยะเวลา 5 นาที ) ทำการซักประวัติลักษณะอาการเจ็บที่บริเวณหน้าอกโดยเฉพาะอาหารทางด้านคลินิกอันเป็นเฉพาะโรคโดยตรง อาทิเช่น

  • ATIPICAL CHEAT PAIN อาการแบบนี้เป็นอาการเจ็บหน้าอกที่ยังแสดงออกไม่ชัดเจน ได้แก่ อาการไอ รู้สึกเหนื่อย รู้สึกหอบ เวลานอนก็นอนราบไม่ได้ รู้สึกจุกที่บริเวณใต้ลิ้นปี่ อาการแบบนี้สามารถพบได้ในบุคคลที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน)
  • TYPICAL CHEST PAIN อาการแบบนี้เป็นอาการเจ็บหน้าอกที่สามารถเข้าได้กับตัวของภาวะกล้ามเนื้อหัวใจเกิดการขาดเลือดแบบเฉียบพลัน ได้แก่ อาการเจ็บแน่นที่บริเวณหน้าอก, รู้สึกได้เหมือนกับว่ามีของแบบหนักๆ มาทับหรือมาบีบรัด, อาจจะเกิดรู้สึกร้าวที่บริเวณกราม ที่บริเวณไหล่ หรือที่บริเวณแขน อาจจะทำให้รู้สึกเจ็บมากยามที่มีการออกแรงหรือเมื่อมีอาการเครียด อาการปวดเจ็บที่หน้าอกอาจจะมีความทุเลาลงได้ สามารถดีขึ้นได้เมื่อมีการหยุดพักหรือเมื่อที่คุณได้รับยาแบบไนโตรไกลเซอรีน
    นอกจากนี้ก็จะต้องมีการซักประวัติอาการเจ็บหน้าอกของผู้ป่วยอย่างถูกต้องและใช้เวลาที่สั้นที่สุด ด้วย OPQRT ประกอบกับการตรวจสภาพร่างกาย เพื่อหาความสัมพันธ์กับภาวะแทรกซ้อนด้านโรคหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งจะประกอบไปด้วย
– Neurologic : restlessness, confusion
– PMI : heaving and thrill, PMI at > 5th ICS
– Blood pressure : increase or decrease
– Heart sound : S3, S4, new onset of murmur, arrhythmias
– Skin : Cool, clammy, diaphoretic, pale appearance, edema
– Liver enlargement may indicate right side heart failure
– Lung sound : Crepitating

[adinserter name=”ไขมันในหลอดเลือดและความดันโลหิต”]

ความผันแปร
Under Detection ในผู้ป่วยที่มี Atypical Chest Pain

การจัดการกับความผันแปร
สำหรับการจัดการกับความผันแปรที่เกิดขึ้น ก็คือ หากอาการเจ็บหน้าอกของผู้ป่วยไม่ค่อยชัดเจนหรือไม่แน่ใจ จะต้องทำการซํกประวัติอื่นๆร่วมด้วย เพื่อทำการประเมินความเสี่ยงให้แน่ชัดกว่าเดิม ซึ่งหากพบว่าผู้ป่วยมีประวัติเคยเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ สูบบุหรี่เป็นประจำ เป็นโรคความดันโลหิตสูง คนในครอบครัวเป็นโรคหัวใจ มีไขมันในเลือดสูงหรือเสียชีวิตแบบเฉียบพลัน โดยเพียงพบแค่ข้อใดข้อหนึ่ง ก็ให้ส่งผู้ป่วยตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจในทันที นอกจากนี้จะต้องสร้างความตระหนักให้กับบุคลากรทีมสุขภาพ เพื่อให้เข้าใจและมีการเฝ้าระวังอาหารของผู้ป่วยมากขึ้น

ผลลัพธ์ที่คาดหวัง
ผลลัพธ์ที่คาดหวังคือ ผู้ป่วยจะต้องได้รับการค้นพบปัญหาสุขภาพที่มีความเกี่ยวข้องกับภาวะกล้ามเนื้อหันใจขาดเลือดเฉียบพลัน พร้อมลดระยะเวลาในการค้นหาปัญหาให้น้อยลงไปด้วย
ผลลัพธ์การจัดการรายกรณีผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่มีโรคหลอดเลือดหัวใจ และการจัดการกับผลลัพธ์ (Outcome Management)

1.Hypertension with Coronary Artery Disease

ผลลัพธ์ทีเกิดขึ้นจากการจัดการ
– ผลลัพธ์ในด้านของเวลา
ผลลัพธ์ในด้านเวลา ต้องสามารถลดเวลาในการดำเนินการต่างๆ ให้น้อยลงจากเดิมได้ เช่นลดการมาใช้บริการในโรงพยาบาล ลดระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาล เวลาในการเข้าถึงบริการ เวลาในการเข้ารับการรักษา รวมถึงเพิ่มการเข้าถึงบริการการรักษาด้วยยาสลายลิ่มเลือดด้วย
– ผลลัพธ์ด้านค่าใช้จ่าย
จากการที่ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงการรักษาได้อย่างรวดเร็ว และลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ ทำให้ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลก็ลดน้อยลงไปด้วย
– ผลลัพธ์ด้านสุขภาพ
ผลลัพธ์ที่จะได้ในด้านของสุขภาพก็คือ มีการลดความรุนแรงของโรค การเกิดภาวะแทรกซ้อนและลดอัตราการตายให้น้อยลง รวมถึงเพิ่มการเข้าถึงบริการให้มากขึ้นด้วย

ความผันแปร
ความผันแปร อาจจะเกิดจากการที่ผู้ป่วยยังคงต้องได้รับการดูแลในหน่วยบริการผู้ป่วยโรคความดันโลหิตอย่างต่อเนื่อง ไม่ได้รับการส่งต่อข้อมูลที่จำเป็น ทำให้การรักษาขาดความเชื่อมโยงกัน ทั้งยังขาดการประสานการดูแลระหว่างผู้จัดการรายกรณี ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงและโรคหลอดเลือดหัวใจอีกด้วย นอกจากนี้ก็อาจเกิดขึ้นเพราะหน่วยบริการมีข้อจำกัดด้านทรัพยากรในการรักษา ทำให้ไม่สามารถทำการรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือเร่งด่วนได้เหมือนกัน

การจัดการกับความผันแปร
การจัดการกับความผันแปร สามารถทำได้หลากหลายวิธีคือ
1.จัดให้ผู้ป่วยได้มีการขึ้นทะเบียนผู้ป่วยโรคหัวใจ เพื่อจะได้ประสานงานการรักษาได้ง่ายขึ้น
2.จัดให้มีการประสานการจัดการที่ดีระหว่างผู้ป่วยความดันโลหิตสูงและโรคหลอดเลือดหัวใจกับผู้จัดการรายกรณี
3.จัดทำระบบและช่องทางในการจัดการดูแล
4.มีการประสานข้อมูลที่มีความจำเป็น เพื่อส่งต่อให้มีการดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง และเชื่อมโยงผู้ป่วยกับทุกหน่วยบริการ เพื่อให้ได้รับการรักษาและเข้าถึงที่รวดเร็วมากขึ้น

2. Hypertension with Cardiovascular Risk

ผลลัพธ์ในด้านการจัดการ
1. ผลลัพธ์ด้านค่าใช้จ่าย
สามารถลดค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้ในการคัดกรอง การดูแลรักษาพยาบาลและลดการใช้ทรัพยากรที่เกินความจำเป็น ในขณะที่การรักษายังคงมีประสิทธิภาพเช่นเดิม [adinserter name=”oralimpact”]

ความผันแปร

ความผันแปร มักจะเกิดจากการใช้ทรัพยากรในการคัดกรองเกินความจำเป็น รวมถึงค่าใช้จ่ายในการคัดกรอง 2 ด้วย

การจัดการความผันแปร

สำหรับการจัดการกับความผันแปร สามารถทำได้ด้วยการลดการส่งตรวจพิเศษที่ไม่มีความจำเป็นลง และในการส่งตรวจก็ให้กำหนดข้อบ่งชี้ที่ชัดเจนไปด้วย เพื่อจะได้ทำการตรวจวินิจฉัยได้อย่างรวดเร็วและชัดเจนมากขึ้น และที่จะขาดไม่ได้ก็คือการทบทวนการใช้ทรัพยากรนั่นเอง

  1. ผลลัพธ์ด้านสุขภาพ

สามารถลดอัตราการเกิดโรคให้น้อยลงด้วย ลดระดับความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจได้ง่ายขึ้น เพิ่มปริมาณร้อยละของผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงที่สามารถหยุดสูบบุหรี่ได้ ร้อยละของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ได้รับการคัดกรองเพิ่มขึ้น รวมถึงร้อยละของผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงที่ได้รับการส่งเสริมก็มีการปรับลดปัจจัยเสี่ยงลงไปอีกด้วย

ความผันแปร

ความผันแปรอาจเกิดได้จาก การขาดการติดตามประเมินผล การขาดแคลนทรัพยากรในการคัดกรองความเสี่ยง อัตราการเกิดโรคสูงขึ้น การคัดกรองไม่ได้เป้าหมาย การเชื่อมโยงคัดกรองสู่หน่วยบริการที่ดูแล รวมถึงปัญหาจากการที่กลุ่มเสี่ยงได้รับการส่งเสริมให้ปรับลดปัจจัยความเสี่ยงไม่ได้ตามเป้าหมายอีกด้วย

การจัดการกับความผันแปร

สำหรับการจัดการกับความผันแปร ก็สามารถทำได้หลากหลายวิธีดังนี้

1.จัดการเชื่อมโยงข้อมูล เพื่อลดความซ้ำซ้อนในการคัดกรองและการจัดการดูแลผู้ป่วย รวมถึงส่งเสริมให้ผู้ป่วยได้คัดกรองหรือประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคได้ด้วยตัวเอง

2.มีนโยบายและแนวทางในการคัดกรองที่มีความชัดเจน พร้อมทั้งส่งเสริมให้ชุมชนได้มีส่วนร่วม

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

ศิริอร สุนธุ, พิเชต วงรอต, สมาคมผู้จัดการรายกรณีประเทศไทย, การจัดการรายกรณีผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์วัฒนาการพิมพ์, 2557. 242 หน้า, ISBN:978-616-92014-0-3.

ประโยชน์ของน้ำมันตับปลา ( Cod Liver Oil )

0
ประโยชน์ของน้ำมันตับปลา
น้ำมันตับปลา (Cod Liver Oil) คือ น้ำมันที่ทำการสกัดจากตับของปลาทะเล ซึ่งปลาที่นำมาผลิตน้ำมันตับปลาส่วนมากจะเป็นปลาทะเลน้ำลึก เพราะว่าตับของปลาทะเลน้ำลึกจะสะอาดไม่มีการปนเปื้อนของสารเคมี
ประโยชน์ของน้ำมันตับปลา
น้ำมันตับปลา เป็นน้ำมันที่สกัดจากตับของปลาทะเล ปลาส่วนมากจะเป็นปลาทะเลน้ำลึก เพราะว่าตับของปลาทะเลน้ำลึกจะสะอาดไม่มีการปนเปื้อนของสารเคมี

น้ำมันตับปลา

น้ำมันตับปลา ( Cod Liver Oil ) คือ น้ำมันที่ทำการสกัดจากตับของปลาทะเล เช่น ปลาค็อด ( Cod ) ปลาเฮอร์ริ่ง ปลาแฮลิบัท ซึ่งปลาที่นำมาผลิตน้ำมันตับปลาส่วนมากจะเป็นปลาทะเลน้ำลึก เพราะว่าตับของปลาทะเลน้ำลึกจะสะอาดไม่มีการปนเปื้อนของสารเคมี ไม่มีโลหะหนักตกค้างอยู่ในตับของปลา ซึ่งทำให้สารสกัดที่ได้จากตับปลาทะเลน้ำลึกมีความบริสุทธิ์สูงเหมาะแก่การนำมาบริโภค น้ำมันตับปลามีองค์ประกอบของสารอาหารที่  สำคัญ คือ วิตามินเอ ( Vitamin A ) วิตามินดี ( Vitamin D ) ในปริมาณสูง นอกจากนั้นยังมีกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัว ( Polyunsaturated Fatty Acid ) และกรดไขมันกลุ่มโอเมก้า-3 ( Omega-3 ) อีกด้วย จึงนิยมนำน้ำมันตับปลามาบริโภคเป็นอาหารเสริมเพื่อสุขภาพหรืออาหารเสริมวิตามินเอและวิตามินดี สำหรับผู้ที่ขาดวิตามินทั้งสอง เช่น ผู้ป่วยโรคตาฟาง โรคกระดูกพรุน เป็นต้น

ประโยชน์ของน้ำมันตับปลาช่วยอะไร

1. ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟัน น้ำมันตับปลา ( Cod Liver Oil ) จะอุดมไปด้วยวิตามินดี วิตามินดีจะเข้าไปควบคุมการหลั่งของฮอร์โมนพาราไทรอยด์ ( Parathyroid Hormone ) ที่ทำหน้าที่ในการควบคุมความเข้มข้นของแคลเซียมและฟอสฟอรัสในร่างกาย ทั้งการดูดซึมแคลเซียมเข้าสู่กระดูก การสลายแคลเซียมออกจากกระดูก และการเร่งอัตราการดูดซึมแคลเซียมจากอาหารเข้าสู่ร่างกาย ซึ่งวิตามินดีนี้จะควบคุมการทำงานของฮอร์โมนพาราไทรอยด์ให้ทำงานได้อย่างปกติ ทำให้มีการดูดซึมแคลเซียมเข้าสู่ร่างกายอย่างมีประสิทธิภาพ จึงช่วยทำให้กระดูกและฟันมีความแข็งแรง ลดความเสี่ยงการเป็นโรคกระดูกพรุน ป้องกันโรคกระดูกอ่อนในเด็ก

2. ช่วยชะลอการเกิดริ้วรอย น้ำมันตับปลา ( Cod Liver Oil ) จะช่วยกระตุ้นการแบ่งเซลล์ ( Cell Proliferation ) และพัฒนาเซลล์ที่มีหน้าที่ในการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย ส่งผลให้เซลล์ผิวมีการเสื่อมช้าลง และช่วยกระตุ้นการสารสำหรับสังเคราะห์คอลลาเจนใต้ผิวหนังทำให้ผิวหนังเปล่งปลั่งมีน้ำมีนวล เป็นการช่วยชะลอวัยการเกิดริ้วรอยก่อนวัย ( Delay Skin Aging ) นอกจากนั้นน้ำมันตับปลายังช่วยในการสมานแผลจากการเข้าไปกระตุ้นให้มีการผลิตเซลล์ผิวหนังขึ้นใหม่มาทดแทนเซลล์ที่ตายและช่วยซ่อมแซมเซลล์ไปทำให้แผลหายเร็วขึ้น

3. ช่วยเพิ่มภูมิต้านทาน น้ำมันตับปลา ( Cod Liver Oil ) จะเข้าไปกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ( Immune System ) โดยน้ำมันตับปลาจะเข้าไปจับกับเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด ทำให้เซลล์เม็ดเลือดขาวมีความแข็งแรงมากขึ้น ส่งผลให้ภูมิต้านทานของร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ร่างกายจึงสามารถขจัดสิ่งสิ่งแปลกปลอมหรือเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกาย เช่น เชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย อย่างได้ผล

4. ช่วยป้องกันโรคเกี่ยวกับดวงตา วิตามินเอที่อยู่ในน้ำมันตับปลาจะเข้าไปกระตุ้นการสร้างเซลล์ที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาทตาและเซลล์รับแสงที่จอประสาทให้มีการเจริญเติบโต มีความแข็งแรงทนทาน ทำให้ตาสามารถปรับสภาพได้ดีแม้อยู่ในที่แสงสว่างน้อย ป้องกันโรคตาบอดตอนกลางคืน โรคจอประสาทตาเสื่อม ตาฟาง

5. ช่วยบรรเทาอาการปวดข้อ น้ำมันตับปลา ( Cod Liver Oil ) มีองค์ประกอบที่เป็นน้ำมันจะเข้าไปเพิ่มความชุ่มชื่นด้วยน้ำมันตามข้อต่อภายในร่างกาย เพื่อลดแรงกระทบกันระหว่างกระดูกและลดการอักเสบที่เกิดขึ้นตามข้อต่อจึงช่วยลดอาการปวดตามข้อ โดยเฉพาะอาการปวดจากโรคข้อต่ออักเสบได้เป็นอย่างดี

6. ช่วยป้องกันมะเร็ง น้ำมันตับปลา ( Cod Liver Oil ) มีองค์ประกอบของกรดไขมันที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น สควาลีน ( Squalene ) วิตามินเอ วิตามินดี วิตามินอี จึงช่วยยับยั้งการทำงานของอนุมูลอิสระที่เข้ามาในร่างกายให้ไม่สามารถทำลายเซลล์ได้ ป้องกันการกลายพันธุ์ของเซลล์ที่เกิดจากอนุมูลอิสระ ส่งผลให้ลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งโดยเฉพาะมะเร็งที่ผิวหนังและโรคมะเร็งที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาทตา

7. ช่วยบำรุงสมอง น้ำมันตับปลา ( Cod Liver Oil ) มีส่วนผสมของกรดโอเมก้า-3 ที่ช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์สมอง โดยเฉพาะในเด็กทารกหรือทารกที่อยู่ในครรภ์มารดาให้มีเซลล์สมองที่มากพอต่อการพัฒนาสมอง และเซลล์สมองที่สร้างขึ้นมานั้นก็มีความแข็งแรงสมบูรณ์ส่งผลให้เด็กมีพัมนาการที่ดี เรียนรู้ไว จดจำสิ่งต่างๆ รอบตัวได้รวดเร็ว ในผู้สูงอายุจะช่วยป้องกันการเสื่อมของเซลล์สมอง ลดความเสี่ยงในการเป็นโรคอัลไซเมอร์หรือโรคสมองเสื่อม

น้ำมันตับปลา คือ น้ำมันที่ทำการสกัดจากตับของปลาทะเลน้ำลึก เพราะตับของปลาทะเลน้ำลึกจะสะอาดไม่มีการปนเปื้อนของสารเคมี ไม่มีโลหะหนักตกค้าง

น้ำมันตับปลาและน้ำมันปลาคืออย่างเดียวกันหรือไม่

น้ำมันตับปลาและน้ำมันปลานั้นเป็นคนละอย่างกัน น้ำมันตับปลาสกัดมาจากตับของปลาทะเล อุดมไปด้วยวิตามินเอและวิตามิดี ส่วนน้ำมันปลา ( Fish Oil ) คือ น้ำมันที่สกัดจากชิ้นส่วนของปลา เช่น เนื้อ หนัง หัวและหาง ซึ่งผลิตจากปลาทะเลโดยเฉพาะปลาทะเลน้ำลึก เช่น ปลาแซลมอน ปลาทูน่า ปลาแมคคอเรล ปลาแอนโชวี่ อุดมไปด้วยโอเมก้า-3 และโอเมก้า-6

สรรพคุณน้ำมันตับปลา

1. บำรุงสมองและหัวใจ กรดไขมันในน้ำมันปลามีฤทธิ์ต้านการเกาะตัวของเกล็ดเลือด ดังนั้นจึงช่วยยับยั้งการเกาะตัวของเกร็ดเลือดภายในหลอดเลือดซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เส้นเลือดเกิดการอุดตัน ช่วยป้องกันโรคที่เกี่ยวข้องกับหลอดเลือดและโรคหัวใจ เช่น โรคเส้นเลือดหัวใจตีบ เลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ เป็นต้น

2. ลดการอักเสบของหลอดเลือด EPA จะเป็นองค์ประกอบสำคัญในการสร้างสาร “พลอสตาแกลนดิน” ที่มีส่วนช่วยลดการอักเสบของหลอดเลือดและการอักเสบของข้อต่อในร่างกาย ดังนั้นการกินน้ำมันปลาจึงช่วยบรรเทาอาการอักเสบในร่างกาย

3. ชะลอความวัย โดยโอเมก้า-3 จะเข้าไปเพิ่มความยาวของดีเอ็นเอที่เรียกว่า “เทโลเมียร์ ( Telomere )” ให้มีความยาวมากขึ้น เพราะว่าถ้าเทโลเมียร์สั้นลงจะมีการส่งสัญญาณกับร่างกายว่าร่างกายกำลังแก่ เซลล์จะเกิดการเสื่อมโดยอัตโนมัติ ดังนั้นเมื่อโอเมก้า-3 ไปจับตัวกับเทโลเมียร์ เทโลเมียร์ก็จะมีความยาวมากขึ้น สัญญาณแห่งความแก่ก็จะไม่ถูกส่งออกมา ร่างกายจึงดูอ่อนเยาว์จึงช่วยชลอวัยได้เป็นอย่างดี

4. บำรุงสมอง DHA ที่อยู่ในน้ำมันปลาจะเข้าไปเสริมสร้างการทำงานของเซลล์สมอง โดย DHA จะช่วยกระตุ้นการทำงานของเซลล์ประสาท และลดการสร้างเส้นใยที่เกิดขึ้นในสมองให้น้อยลง ป้องกันไม่ให้เส้นใยสมองเข้ามาทำลายเซลล์สมองที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เซลล์สมองเสื่อม จึงช่วยป้องกันโรคเกี่ยวกับสมอง โรคอัลไซเมอร์ และยังช่วยกระตุ้นการสร้างเซลล์สมองของทารกในครรภ์และเด็ก ให้มีการเจริญเติบโตสมบูรณ์ป้องกันความผิดปกติในสมองของเด็ก

5. ลดอาการหอบหืด น้ำมันปลาช่วยลดสารที่ก่อให้เกิดการอักเสบที่ปอดและลดการอักเสบที่เกิดขึ้นสาเหตุของอาการหอบหืดให้มีการอักเสบน้อยลง เมื่อการไม่มีการอักเสบที่ปอดหรือการอักเสบไม่รุนแรงอาการหอบหืดก็จะลดลงตามไปด้วย

6. ลดความเสี่ยงในการคลอดก่อนกำหนด คุณแม่หลายคนมักจะได้รับคำแนะนำให้รับประทานอาหารเสริมดีเอชเอวันละ 600-800 มก. ต่อวัน ซึ่งนอกจากจะช่วยในเรื่องพัฒนาการสมองของทารกแล้วดีเอชเอสามารถช่วยลดความเสี่ยงในการคลอดก่อนกำหนดได้มากถึง 40%

7. ต้านอักเสบ ดีเอชเอช่วยต้านอาการอักเสบ และช่วยลดอาการของโรคเรื้อรังบางชนิด เช่น โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ รับประทานดีเอชเอวันละ 2,100 มก. จะมีอาการบวมที่ข้อลดลงมากถึง 28%

ปริมาณการกินน้ำมันตับปลาที่เหมาะสม

ปริมาณการกินน้ำมันตับปลาเพื่อเสริมวิตามินเอ วิตามินดี และกรดไขมันในกลุ่มโอเมก้า 3 แก่ร่างกายนั้นขึ้นอยู่กับคำแนะนำบนผลิตภัณฑ์ แต่โดยทั่วไปไม่ควรรับประทานเกิน 30 มิลลิลิตรต่อวัน ส่วนผู้ใหญ่รับประทานวันละ 1 เม็ด และควรกินควบคู่กับการกินอาหารให้ครบ 5 หมู่

กินน้ำมันตับปลามากเกินไปมีโทษอย่างไร

1. การรับประทานน้ำมันตับปลาในปริมาณที่มากเกินไป อาจจะทำให้เกิดพิษจากวิตามินเอ อาจมีอาการปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน มีผลต่อระบบประสาท ทำให้ตับถูกทำลาย หิวน้ำ ปัสสาวะบ่อย และอาจทำให้ผมร่วง ผิวแห้ง

2. เด็กไม่รับประทานเป็นประจำและในปริมาณที่มากเกินไป เพราะการได้รับวิตามินดีสะสมมากจนเกินไปอาจจะมีผลเสียต่อระบบเลือดได้ อาจทำให้ไตวายจนถึงขั้นเสียชีวิตได้

3. น้ำมันตับปลามีสารบางชนิดที่มีผลต่อการทำงานของเกล็ดเลือด โดยทำให้เกล็ดเลือดทำงานผิดปกติเหมือนกับยาแอสไพริน ถ้ารับประทานน้ำมันตับปลาเป็นประจำและจะต้องเข้ารับการผ่าตัด จะต้องหยุดรับประทานก่อนเข้ารับการผ่าตัดประมาณ 10 วัน เพื่อป้องกันอาการเลือดไหลไม่หยุดหรือออกมามากกว่าปกติ

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

สุนันท์ วิทิตสิริ. รู้จักกับ น้ำมันและไขมันปรุงอาหาร. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์, 2559. 80 หน้า. 1.รู้จักกับน้ำมันและไขมัน. 2.ปรุงอาหาร. I.ชื่อเรื่อง. 665 ISBN 978-616-538-290-8.

Javitt NB (December 1994). “Bile acid synthesis from cholesterol: regulatory and auxiliary pathways”. FASEB J. 8 (15): 1308–11.

การดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มีภาวะโรคหลอดเลือดสมองตีบ

0
การพยาบาลผู้ป่วยเบาหวานและความดัน
การพยาบาลผู้ป่วยเบาหวานและความดัน
การพยาบาลผู้ป่วยเบาหวานและความดัน
การพยาบาลผู้ป่วยเบาหวานและความดัน

โรคหลอดเลือดสมอง

การดูแลผู้ป่วยที่ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงพร้อมทั้งมีภาวะโรคสำคัญอย่างโรคหลอดเลือดสมอง จริง ๆ แล้วในปัจจุบันมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง เรียกว่าเป็นอีกหนึ่งโรคที่สำคัญมากเพราะเป็นสาเหตุสำคัญที่ส่งผลกระทบ  ต่ออัตราการเสียชีวิตสูงสุดเป็นอันดับสามของประเทศ ( ซึ่งรองมาจากโรคมะเร็งและอันตรายจากอุบัติเหตุที่สามารถ ก่อให้เกิดการพิการ ) ยิ่งสมัยนี้หากเป็นกลุ่มอายุน้อยกลับพบว่ายิ่งมีจำนวนยอดผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นจนน่าผิดสังเกต  การป่วยด้วยโรคนี้สามารถส่งผลกระทบไปยังตัวของผู้ป่วยเอง ต่อตัวครอบครัว ต่อสังคมได้มากเพราะเมื่อป่วยย่อมต้องจำเป็นที่จะเสียเงินมากมายเพื่อการรักษา และเป้าหมายสำคัญอย่างหนึ่ง ก็คือ การลดจำนวนผู้ป่วยที่คงต้องบอกเลยว่าทางด้านของการพยาบาลนี่ละที่เป็นสิ่งที่จำเป็นมากสำหรับโรคนี้ ( สำคัญมากในระดับการป้องกันด้านปฐมภูมิ ) [adinserter name=”ไขมันในหลอดเลือดและความดันโลหิต”]

บทบาทที่สำคัญของตัวพยาบาล คือ เรื่องของการดำเนินการคัดกรองบุคคลที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรค การดำเนินการเกี่ยวกับการขัดแย้ง การพิทักษ์สิทธิ์ของทางผู้ป่วย การสื่อสารรวมถึงการประสานงานระหว่างกลุ่มทีมสุขภาพกับฝ่ายครอบครัวของตัวผู้ป่วย จะต้องพยายามสร้างเครือข่ายให้เกิดขึ้นเพื่อให้การดูแลสามารถเป็นไปได้ภายในชุมชนนั้น ๆ จะต้องมีการดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องเพราะนั่นจะเป็นการก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อทางผู้ให้บริการและผู้รับบริการ ส่วนในเรื่องของประเด็นสำคัญที่ควรกล่าวถึง คือ การดำเนินการเพื่อการจัดการบุคคลเป็นรายกรณีไปนั่นก็เพื่อให้เกิดการเข้าถึงทางด้านของการวินิจฉัย การรักษาให้เป็นไปอย่างทันท่วงทีหากพบว่าผู้ป่วยรายใดเกิดอาการเตือนหรืออาการแสดงที่เป็นตัวบ่งบอกโรคโดยต้องคำนึงอยู่เสมอเกี่ยวกับทรัพยากรที่ใช้เพื่อการรักษาเสมอ นอกจากนี้ต้องคำนึงถึงหลักการชะลอความเสียหายที่เกิดขึ้นที่บริเวณสมองก่อนที่จะเข้าไปสู่การรักษาแบบที่เฉพาะลงไป

ผลลัพธ์ของการจัดการผู้ป่วยที่ป่วยเป็นโรคนี้ทางด้านของผลลัพธ์ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ด้านสุขภาพ ด้านค่าใช้จ่าย ด้านทรัพยากร ด้านเวลา เป็นต้น ด้านการจัดการเพื่อเป็นการเฝ้าระวัง เพื่อการดูแล เพื่อการป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง ในการจัดการผู้ป่วยแบบที่ตัวบุคลลในครอบครัวได้มีส่วนร่วมด้วยรวมถึงเรื่องของความสามารถในการดูแลตนเองเพื่อให้สามารถเข้าถึงการวินิจฉัยโรคและการดูแลรักษาแบบที่มีความรวดเร็วมากที่สุด การประสานเกี่ยวกับการ ส่งตัวผู้ป่วยเพื่อเข้ารับการรักษาที่จะเป็นการก้าวไปสู่การดูแลอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพมากที่สุดแบบที่ไม่กลายเป็นการสูญเปล่าหรือการไร้ประโยชน์ สามารถตั้งระดับของความจำเป็นในปัญหาทางด้านสุขภาพบวกกับความต้องการในการรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

[adinserter name=”ไขมันในหลอดเลือดและความดันโลหิต”]

ประเด็นสำคัญในการจัดการรายกรณี 1 : การคัดกรองและประเมินความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมอง

คัดกรองผู้ป่วยกรณีเป็นผู้ป่วยรายใหม่

โรคความดันโลหิตสูงกลายเป็นอีกโรคที่บอกเลยว่าเป็นสาเหตุที่สำคัญมากที่อาจนำไปสู่การป่วยเป็นโรคหลอดเลือดสมองในอนาคตได้ การที่ผู้ป่วยนั้นมีระดับความดันโลหิตสูงมากถึง 140/90 มิลลิเมตรปรอทจะยิ่งเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อการป่วยเป็นโรคหลอดเลือดสมองสูงเข้าไปอีกหลายเท่าตัวได้เลยทีเดียว ( ยิ่งระดับความดันโลหิตเพิ่มสูงครั้งละ 20 มิลลิเมตรปริทมากขึ้นเท่าใดก็ยิ่งเสี่ยงมากขึ้นเท่านั้น )

ทราบหรือไม่ว่า จากการศึกษาที่ประเทศสหรัฐอเมริกากลับพบว่าจากจำนวนประชากรทั้งสิ้นกว่าหลายสิบล้านคนนั้นกลับพบว่ามีคนที่ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงถึง 72 ล้านคนและยังมีร้อยละ 40 ที่กำลังอยู่ในช่วงของการควบคุมภาวะความดันโลหิตสูงอีกด้วย นอกจากนี้ยิ่งหากใครที่ป่วยเป็นโรคหลอดเลือดสูงกลับกลายเป็นกลุ่มที่มีอาการความดันโลหิตสูงควบคู่ไปด้วยมากถึงร้อยละ 57.25 ที่เป็นเช่นนั้นเพราะ เมื่อใดก็ตามที่ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงก็จะส่งผลทำให้ผนังของหลอดเลือดมีลักษณะหนาตัวมากยิ่งขึ้น ทำให้เกิดการตีบแคบกว่าเก่าจนท้ายที่สุดก็จะค่อย ๆ เกิดอาการอุดตันหลอดเลือดหรืออาจกลายเป็นการทำให้ส่วนของหลอดเลือดแดงที่บริเวณของสมองเกิดสิ่งอันตรายที่สุด  นั่นคือ การโป่งพอง เมื่อเกิดการโป่งมาก ๆ ก็อาจจะแตกได้และแน่นอนนั่นย่อมนำพามาซึ่งอันตรายต่อร่างกายของผู้ป่วยอย่างที่สุด ในส่วนของการศึกษาเกี่ยวกับระดับของซิสโทลิคนั้นก็เพื่อใช้ประเมินเรื่องของความเสี่ยงในการเกิดโรคนั่นเอง สำหรับวิธีการก็คือจะนำเอากลุ่มสองกลุ่มมาเปรียบเทียบกัน ( กลุ่มที่ควบคุมกับกลุ่มไม่ได้ควบคุมระดับความดันโลหิต ) ทั้งนี้จะเปรียบเทียบความสัมพันธ์ในส่วนของอายุ เพศ รวมถึงปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ โดยอาศัยสิ่งสำคัญอย่าง FRAMINGHAM STOKE RISK PROFILE

ตาราง Framingham Stroke Risk Profile

Points 0 +1 +2 +3 +4 +5 +6 +7 +8 +9 +10
เพศชาย/อายุ 54-56  57-59 60-62 63-65 66-68 69-72 73-75 76-78 79-81 82-84 85
ความดันโลหิตตัวบนที่ไม่ได้รับการรักษา 97- 105 106- 115 116- 125 126- 135 136- 145 146- 155 156- 165 166- 175 176- 158 186- 195 196 -205
ความดันโลหิตตัวบนที่ได้รับการรักษา 97- 105 106- 112 113- 117 118- 123 124- 129 130- 135 136- 142 143- 150 151- 161 162- 176 177- 205
ประวัติโรคเบาหวาน No Yes
การสูบบุหรี่ No Yes
โรคหลอดเลือดหัวใจ No Yes
หัวใจห้องบนสั่นพริ้ว (AF) No Yes
หัวใจห้องล่างซ้ายจากการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ No Yes
เพศหญิง/อายุ 54-56 57-59 60-62 63-64 65-67 68-70 71-73 74-76 77-78 79-81 82-84
ความดันโลหิตตัวบนที่ไม่ได้รับการรักษา 0 95- 106 107- 118 119- 130 131- 143 144- 155 156- 167 168- 180 181- 192 193- 204 205- 216
ความดันโลหิตตัวบนที่ได้รับการรักษา 0 95- 106 107- 118 114- 119 120- 125 126- 131 132- 139 140- 148 149- 160 161- 204 205- 216
ประวัติโรคเบาหวาน No Yes
การสูบบุหรี่ No Yes
โรคหลอดเลือดหัวใจ No Yes
หัวใจห้องบนสั่นพริ้ว (AF) No Yes
หัวใจห้องล่างซ้ายจากการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ No Yes

 

ตาราง การประเมินโอกาสการเกิดโรคหลอดเลือดสมองใน 10 ปีข้างหน้าโดยใช้ Modified Framingham Stroke Risk Profile

โอกาสการเกิดโรคหลอดเลือดสมองใน 10 ปีข้างหน้า
Points เพศชาย (%) เพศหญิง (%)
1 3% 1%
2 3% 1%
3 4% 2%
4 4% 2%
5 5% 2%
6 5% 3%
7 6% 4%
8 7% 4%
9 8% 5%
10 10% 6%
11 11% 8%
12 13% 74%
13 15% 79%
14 17% 84%
15 20% 88%
16 22% 195
17 26% 23%
18 29% 27%
19 33% 32%
20 37% 37%
21 42% 435
22 47% 50%
23 52% 57%
24 57% 64%
25 63% 71%
26 68% 78%
27 74% 84%
28 79% 0
29 84% 0
30 88% 0

[adinserter name=”ไขมันในหลอดเลือดและความดันโลหิต”]

จากตารางสรุปจะเห็นได้ว่า ยิ่งระดับของความดันซีสโดลิกยิ่งสูง จำนวน points รวมก็จะยิ่งมากขึ้นด้วย ซึ่งนั่นหมายความว่าโอกาสที่จะเกิดโรคหลอดเลือดสมองก็ย่อมมีสูงมากด้วยนั่นเอง ยกตัวอย่างเช่น points รวมเท่ากับ 27 แสดงว่าใน 10 ปีข้างหน้าจะมีโอกาสเป็นโรคหลอดเลือดสมองในผู้ชายเท่ากับร้อยละ 74 และในผู้หญิงเท่ากับร้อยละ 84

ซึ่งทั้งนี้ในปี 2010 ทาง Donnell และคณะก็ได้ทำการค้นหาอัตราความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมองตีบและอุดตันที่อาจจะเกิดขึ้นจาก 22 ประเทศ ซึ่งก็ได้ข้อสรุปปัจจัยเสี่ยงและ Odds Ratio ดังนี้

Risk Factor All Storke Ischemic Stroke Intracerebral Hemorrhage
Hypertension
– Self Report 2.64 2.37 3.70
– Self Report & BO > 169 / 90 mmHg 2.09 3.14 9.18
Current Smoking 2.09 2.32 1.45
Abdominal Obesity 1.65 1.69 1.41
Diet 1.35 1.34 1.41
Physical Activity 0.69 0.68 0.70
DM 1.36 1.60 NS
Alcohol Intake
– 1 = 30 Drinks/Month 0.90 0.79 1.52
– >30 Drink/Mounth 1.51 1.14 2.10
Psychological Factors
– Psychosocial Stress 1.30 1.30 1.23
– Depression 1.35 1.47 NS
APolipoprotein 1.89 2.40 NS

 

ภาวะสมองขาดเลือด เรียกได้ว่าเป็นภาวะที่ไม่ควรมองข้ามเพราะจะส่งผลต่อการทำงานของเซลล์ประสาทได้โดยตรง โดยจะทำให้เซลล์ประสาททำงานได้น้อยลง และสมองได้รับความเสียหายจากการขาดออกซิเจนอีกด้วย

โดยบริเวณของสมองที่จะเกิดความเสียหายได้ก็เรียงลำดับได้ดังนี้    [adinserter name=”ไขมันในหลอดเลือดและความดันโลหิต”]

1.สมองส่วน Hippocampus กระทบต่อความจำโดยตรง อาจทำให้ขี้หลงขี้ลืมและความจำเสื่อมได้ในที่สุด

2.สมองส่วน Occipitoparietal Cortex กระทบต่อการมองเห็น โดยจะทำให้มองเห็นแย่ลงและตาบอดได้

3.สมองส่วน Cere Bellum ( Purkinje Cell ) มีผลต่อการเคลื่อนไหวและการพูด ทำให้เคลื่อนไหวได้ช้าลง พูดไม่ชัด หรือเป็นอัมพาต

4.สมองส่วน Cerebral Cortex ( Gray Matter ) และส่วน Ba Sal Ganglion มีผลต่อการเคลื่อนไหวโดยตรง ซึ่งจะทำให้การเคลื่อนไหวแย่ลงในที่สุด

นอกจากนี้ก็พบว่าภาวะสมองขาดเลือด แม้เพียงนาทีเดียวก็จะสูญเสียเซลล์ประสาทเฉลี่ยมากถึง 1.9 พันล้านเซลล์  เลยทีเดียว และยังเสียการเชื่อต่อของระบบประสาทมากถึง 13.8 พันล้านครั้ง สูญเสีย Axon 12 กิโลเมตรอีกด้วย และหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ก็อาจเป็นผลให้สมองสูญเสียหน้าที่ในการควบคุมการทำงานของร่างกายไปได้เหมือนกัน

  ตาราง การสูญเสียของระบบประสาทเมื่อสมองมีการขาดเลือด
การสูญเสีย การสูญเสียเซลล์ประสาท การสูญเสียการเชื่อมต่อระบบประสาท  การสูญเสีย Axon Fiber อายุสมองที่แก่เร็วขึ้น
ต่อ 1 วินาที 3,200 เซลล์ 230 ล้านเซลล์ 200 เมตร / 218 หลา 8.7 ชั่วโมง
ต่อ 1 นาที 1.9 ล้านเซลล์ 14 พันล้านเซลล์ 12 กิโลเมตร / 7.5 ไมล์ 3.1 สัปดาห์
ต่อ 1 ชั่วโมง 120 ล้านเซลล์ 830 พันล้านเซลล์ 714 กิโลเมตร / 447 ไมล์ 3.6 ปี
ต่อการเกิด Stroke 1 ครั้ง 1.2 ล้านเซลล์ 8.3 พันพันล้านเซลล์ 7,140 กิโลเมตร / 4,470 ไมล์ 36 ปี

 

การสูญเสียหน้าที่เมื่อเกิดพยาธิสภาพของโรคหลอดเลือดสมอง

ตำแหน่งการอุดตัน
ของหลอดเลือด
 การสูญเสียหน้าที่
1. Anterior cerebral artery (supply mainly parasagital cortical and sibcortical area) – Contralateral weaknees (leg weaker than arm), some cases : abulia, uninary incontinence
2. Internal carotid artery (ICA) (supply frontal, parietal, temporal lobes : cortical and subcortical) – Contralateral fronto-parietal-lobe signs (right-sided lesion : apraxia, neglect, finger agnosia ; left-sided lesion : aphasia)
– Alteration of consciousness
– Contralteral weakness and sensory loss of arm and leg, upper motor neuron facial palsy, dysarthria
3. Posterior cerebral artery (supply mainly occipital cortex) – Contralateral homonymous hemianopia
4. Middle cerebral artery (Similar to ICA occlusion) ; contralateral weakness (arm weaker than leg)
5. Lenticulostriate artery (supply internal capsule, basal ganglia) – Contralateral weakness and/or sensory loss
6. Basilar artery (supply pons and midbrain) – Alteration of consciousness
– Quadriplegia, gaze palsy, nystagmus
7. Posterior inferior cerebellar artery (supply lateral medulla) – Marked dysarthria, dysphagia
– Ipsilateral Horner’s syndrome, sensory loss at ipsilateral of face and contralateral body, ipsilateral ataxia, nystagmus

[adinserter name=”ไขมันในหลอดเลือดและความดันโลหิต”]

การดูแลผู้ป่วย มีบทบาทสำคัญอย่างมากในการค้นหาผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดสมอง รวมถึงโรคความดันโลหิตสูงด้วย ซึ่งเมื่อพบผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงแล้วก็จะทำการเฝ้าระวังเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดสมองให้น้อยลงนั่นเอง โดยทั้งนี้นอกจากจะช่วยให้ผู้ที่มีความเสี่ยงห่างไกลจากโรคร้ายและมีสุขภาพดีขึ้นแล้ว ก็ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลลงเช่นกัน พร้อมกับช่วยลดการเป็นภาระของครอบครัว สังคมและประเทศชาติได้อย่างดีเยี่ยม

 แนวทางการคัดกรองผู้ป่วยที่มีภาวะเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง
การซักประวัติและการตรวจทางห้องปฏิบัติการ 1. ซักประวัติเกี่ยวกับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร:ปริมาณของอาหาร การรับประทานอาหารที่มีไขมัน และปริมาณโซเดียมสูง เพราะอาหารเหล่านี้ล้วนเป็นตัวการความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองทั้งสิ้น
2. ซักประวัติความดันโลหิตสูง พบว่าระดับความดันโลหิตที่ SBP ≥ 140 mmHg and/ or DBP ≥90 mmHg จะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองมากที่สุด ดังนั้นจึงต้องเช็คดูว่าผู้ป่วยมีประวัติความดันโลหิตสูง หรือมีความดันโลหิตสูงในขณะนั้นหรือไม่
3. ซักประวัติหัวใจเต้นผิดจังหวะ ชนิด Arial fibillation เพราะผู้ที่มีประวัติดังกล่าวนี้ จะมีโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดสมองถึง 3-5 เท่า
4. ดูอายุของผู้เข้ารับการตรวจ เพราะยิ่งอายุมากขึ้นก็จะยิ่งเสี่ยงต่อการเกิดภาวะโรคหลอดเลือดสมองเพิ่มขึ้น 2 เท่าในทุกๆ 10 ปีเมื่ออายุมากกว่า 55 ปี
5. ซักประวัติการเกิดโรคหลอดเลือดสมองในครอบครัว ซึ่งพบว่าคนที่ครอบครัวมีประวัติมาก่อน จะมีความเสี่ยงมากกว่าคนที่ครอบครัวไม่มีประวัติมากทีเดียว
6. ประวัติระดับไขมันในเลือดผิดปกติการควบคุมรักษา ระยะเวลาที่เป็น และระดับไขมันในเลือดในปัจจุบัน Total cholesterol > 190 mg/dl, LDL-C > 130 mg/dl, HDL-C <40 mg/dl in men, <50 mg/dl in women
7. ดูที่เพศ ซึ่งพบว่าเพศชายจะมีโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดสมองสูงกว่าเพศหญิงยกเว้นในกลุ่ม 35-45 ปี ซึ่งในช่วงอายุดังกล่าวนี้จะพบว่าเพศหญิงมีความเสี่ยงมากกว่าเพศชาย
8. ประวัติการสูบบุหรี่ระยะเวลาที่สูบ ปริมาณที่สูบและสิ่งแวดล้อมที่มีควันบุหรี่ เพราะผู้ที่สูบบุหรี่หรือได้รับควันบุหรี่เป็นประจำ จะมีความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองมากกว่าคนปกติ 1.5-2 เท่า และหากสามารถลดการสูบบุหรี่ได้ความเสี่ยงจะลดลงหลังการสูบบุหรี่ 2 ปีและจะลดลงจนถึงระดับที่ไม่พบความแตกต่างกับการที่ไม่เคยสูบบุหรี่มาก่อนหลังจากหยุดได้ 4-5 ปี
9. โรคเบาหวานโดยใช้ DTX ≥ 120 มก.% ซึ่งจะเทียบเท่ากับผลของระดับน้ำตาลในพลาสมาจากการเจาะเลือดจากหลอดเลือดดำที่ครอบพักแขน ( Firsting Plasmaglucose:FPG) เกณฑ์ที่ใช้กรณีสงสัยว่าเป็นโรคเบาหวาน ≥ 126 มก.% โดยทั้งนี้พบว่าผู้ที่เป็นโรคเบาหวานมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองเพิ่มมากกว่าปกติ 2- 6 เท่า

[adinserter name=”ไขมันในหลอดเลือดและความดันโลหิต”]

นอกจากการคัดกรองผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดสมองเพื่อเตรียมพร้อมป้องกันแล้ว ก็จะต้องมีการให้ความรู้กับประชาชนทั่วไป เพื่อจะได้ทราบอาการเบื้องต้นของโรคนี้ว่าเป็นอย่างไร หากพบคนในครอบครัวเกิดอาการเสี่ยงก็จะได้เข้ารับการรักษาได้อย่างทันท่วงทีนั่นเอง

ซึ่งทั้งนี้พบว่าในปัจจุบันประชาชนยังคงมีความรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมองน้อยมาก และมักจะมีความสับสนมากทีเดียว ทำให้กว่าที่ผู้ป่วยจะเข้ามาพบแพทย์ก็ได้เข้าสู่ระยะที่รุนแรงซะแล้ว จึงไม่สามารถรักษาได้ทันนั่นเอง และยังพบอีกว่าผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาโดยได้รับยาละลายลิ่มเลือดนั้นมีจำนวนที่น้อยมากเพียงแค่ร้อยละ 20 แสดงได้ว่าการรับรู้ของผ็คนเกี่ยวกับอาการเตือนของโรคหลอดเลือดสมองและการรักษายังคงมีน้อยมาก และจากการประเมินอาการเตือนของโรคหลอดเลือดสมองโดยใช้แบบ A-B-C-D Scale ก็มีผลสรุปดังนี้

0-1 คะแนน ผู้ป่วยจะมีความเสี่ยงในการเกิด Stroke ภายใน 2 วัน เท่ากับ 0 %
2-3 คะแนน ผู้ป่วยจะมีความเสี่ยงในการเกิด Stroke ภายใน 2 วัน เท่ากับ 1.3 %
4-5 คะแนน ผู้ป่วยจะมีความเสี่ยงในการเกิด Stroke ภายใน 2 วัน เท่ากับ 4.1 %
6-7 คะแนน ผู้ป่วยจะมีความเสี่ยงในการเกิด Stroke ภายใน 2 วัน เท่ากับ 8%

 

อาการเตือนที่สำคัญของโรคหลอดเลือดสมอง ( F-A-S-T ) จะมีอาการที่สังเกตได้ดังนี้

  • ปากเบี้ยว มีอาการพูดไม่ชัด และมักจะเกิดขึ้นแบบทันทีทันใดซึ่งไม่ทันตั้งตัว
  • มีอาการแขนขาอ่อนแรง หรือเกิดอาการแขนขาชาซีกใดซีกหนึ่งในทันที
  • มีอาการพูดไม่ชัด พูดฟังไม่เข้าใจหรือพูดไม่ออก โดยจะเกิดขึ้นแบบทันทีทันใดเช่นกัน
  • ระยะเวลาตั้งแต่เกิดอาการ

การประเมิน อาการเตือนของโรคหลอดเลือดสมองโดยใช้ แบบ ABCD Scale

อาการเตือนการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง Score
1.อายุ
< 60 ปี
0
> 60 ปี 1
2.ระดับความดันโลหิต
SBP < 140 mmHg and DBP < 90 mmHg
0
SBP > 140 mmHg and / or DBP > 90 mmHg 1
3.อาการแสดง
ไม่มีอาการอ่อนแรง หรือความผิดปกติในการพูด
0
มีอาการอ่อนแรงของใบหน้า แขน หรือขา 2
4. ระยะเวลาในการเกิดอาการ
มีอาการน้อยกว่า10นาที
0
มีอาการ 10-59 นาที 1
มีอาการมากกว่า 60 นาที 2
5.มีประวัติเป็นเบาหวาน 1

 

การดำเนินการคัดกรองพร้อมทั้งทำการประเมินความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดสมองกลับมาเป็นซ้ำ

สำหรับการเกิดโรคหลอดเลือดสมองซ้ำนั้นคงต้องเอ่ยก่อนเลยว่านี่เป็นอะไรที่ค่อนข้างอันตรายต่อตัวผู้ป่วยมาก ปัจจุบันพบว่าผู้ชายนั้นมีโอกาสที่จะเป็นได้มากกว่าผู้หญิงค่อนข้างมาก ผู้ชายก็จะมีความเสี่ยงต่อการกลับมาเกิดซ้ำภายในระยะเวลาห้าปีได้สูงถึงร้อยละ 42 ส่วนผู้หญิงร้อยละ 24 ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะเพศหญิงจะเป้นเพศที่ละเอียดอ่อนค่อนข้างที่จะมีรู้จักเข้ารับการรักษาเข้ารับการติดตามและมีพฤติกรรมการทานยาที่สม่ำเสมอมากกว่าผู้ชาย  [adinserter name=”ไขมันในหลอดเลือดและความดันโลหิต”]

สำหรับในประเทศไทยเรานี้พบว่ามีการเกิดโรคหลอดเลือดสมองสูงถึงร้อยละ 30 (ในประชากร 100 คนจะพบผู้ป่วยประมาณ 30 ครั้ง) หากเมื่อใดที่ระดับของความดันโลหิตนั้นไม่อยู่ภายในเกณฑ์ที่เป็นไปแบบปกติก็เกิดการส่งเสริมให้กลายเป็นการนำไปสู่การเกิดโรคหลอดเลือดสมองซ้ำอีกครั้งได้ประมาณ 1.5 ถึง 2.5 เท่าเลยทีเดียว ซึ่งนี่ก็เป็นอีกหนึ่งบทบาทที่ทางผู้ทำหน้าที่ในการจัดการรายเคสจำเป็นต้องออกแบบระบบการดูแลเพื่อให้เป็นไปอย่างต่อเนื่องและหากพบว่าเมื่อใดเกิดการกลับมาป่วยซ้ำอีกก็จะได้เข้าสู่การรักษาได้แบบรวดเร็วมากที่สุดอีกด้วย
การเข้าถึงการวินิจฉัยและการรักษาอย่างทันท่วงทีเมื่อมีอาการเตือนของโรคหลอดเลือดสมองโดยคำนึงถึงความจำเป็นในการใช้ทรัพยากรการดูแลรักษาพยาบาล

การจัดการรายกรณีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มีภาวะเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมอง

1.กลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการเตือนโรคหลอดเลือดสมอง ( Transient Ischemic Attack: TIA )

ปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้น

เริ่มจากการดูที่ปัญหาสุขภาพของผู้ป่วยที่เกิดขึ้น โดยจะประเมินจากอาการของผู้ป่วยและการซักประวัตินั่นเอง ซึ่งอาการที่แสดงได้ว่ามีโอกาสเป็นโรคหลอดเลือดสมองก็คือ อาการกลืนอาหารลำบาก พูดลำบาก พูดไม่ชัด เดินเซ หรือเสียการทรงตัว โดยอาการเหล่านี้มักจะเกิดขึ้นอย่างทันทีทันใด นอกจากนี้ก็อาจจะมีอาการแขนขาชา มองไม่ชัด ตามัวหรือปวดศีรษะอย่างรุนแรงอีกด้วย
ส่วนการซักประวัติ จะสอบถามในเรื่องของโรคประจำตัว ว่าผู้ป่วยมีโรคประจำตัวใดบ้างหรือไม่ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ รวมถึงเคยมีประวัติการสูบบุหรี่ ดื่มเหล้า เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ใช้สารเสพติดหรือใช้ยาคุมกำเนิดบ้างหรือเปล่า นอกจากนี้ก็จะซักประวัติการเกิดอุบัติเหตุ ว่าเคยมีการบาดเจ็บบริเวณศีรษะ หรือปวดบริเวณท้ายทอยและด้นคอบ้างหรือไม่

ความจำเป็นในการใช้ทรัพยากรต่าง ๆ

ในกรณีของผู้ป่วย TIA ที่เมื่อเข้ารับการประเมินแล้วกลับพบว่าได้คะแนนอยู่ที่ 1 ถึง 3 คะแนนนั้นกลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการเกิด STROKE ภายในสองวันได้สูงถึงร้อยละ 1.3 เลยทีเดียว สำหรับกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่ยังไม่มีความจำเป็นต่อการต้องเข้าไปรับการแอดมิดหรือนอนพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลแต่อย่างใด แต่ที่ต้องจำเป็นแลต้องทำเป็นประจำ คือ การดำเนินการติดตามผลสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ ตรวจเป็นประจำทุกเดือนและทุกสามเดือนอย่าได้ขาดนั่นก็เพื่อเป็นการพยายามตรวจหาส่วนที่เป็นปัจจัยสำคัญที่อาจจะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคได้ [adinserter name=”ไขมันในหลอดเลือดและความดันโลหิต”]

สำหรับสิ่งที่มักจะทำการตรวจนั้นมีมากมายหลายส่วน ตัวอย่างเช่น จะต้องทำการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เนื่องจาก ตัวโรคหลอดเลือดสมองนั้นค่อนข้างมีความสัมพันธ์กับโรคหัวใจเป็นอย่างมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในตัวของภาวะ Antrial fibrillation, การต้องทำการตรวจหาค่าความสมบูรณ์เม็ดเลือด, จะต้องทำการตรวจหาส่วนของ Fasting plasma glucose, จะต้องทำการตรวจหาค่า Lipid profile, ทำการตรวจหา Electrolytes และทำการตรวจหาค่าความแข็งตัวของเลือด ( PTT/PT )

ความจำเป็นในการดูแลรักษาพยาบาล เพื่อชะลอและป้องกันการเกิดโรคให้น้อยลง

1.รายการดูแลและป้องกัน

สำหรับรายการที่สำคัญในการดูแลและป้องกันก็คือการใช้ยาและการนัดผู้ป่วยมาตรวจตามนัดนั่นเอง โดยจะเน้นให้ผู้ป่วยให้ความสำคัญของการมาตรวจตามนัด เพื่อจะได้วินิจฉัยภาวะ TIA โดยหากตรวจพบภาวะ Atrial fibrillation ในผู้ป่วย ก็จะจัดให้ผู้ป่วยได้รับยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด เพื่อป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมองให้ได้มากที่สุด และที่สำคัญควรใช้ยาต้านเกล็ดเลือดชนิด Aspirin ภายใน 48 ชั่วโมงอีกด้วย

นอกจากนี้ก็จะให้ผู้ป่วยควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่ปกติ มีการทานอาหารและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ งดการดื่มสุราและสูบบุหรี่อย่างเด็ดขาด รวมถึงต้องควบคุมระดับของความดันโลหิตให้มีความปกติด้วย โดยจะมีเป้าหมายอยู่ที่ น้อยกว่าหรือเท่ากับ 140/90 mmHg นั่นเอง

2.ให้ความรู้กับประชาชน

จะเน้นการให้ความรู้แก่ประชาชนเพื่อป้องกันความเสี่ยงดังกล่าวที่อาจจะเกิดขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มประชาชนที่มีความเสี่ยงสูง เช่น ผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยไขมันในเลือดสูง ผู้ป่วยที่เป็น DM, HT และ DLP

3.สร้างความเข้าใจและความตระหนักให้ผู้ป่วย

ทำการสร้างความเข้าใจและความตระหนัก เพื่อให้ผู้ป่วยเห็นถึงความสำคัญและอันตรายของโรคนี้มากขึ้น โดยจะอธิบายข้อดีของการที่ผู้ป่วยเข้ารับการรักษากับทางโรงพยาบาลอย่างเร่งด่วน และบอกถึงอาการแสดงของโรคหลอดเลือดสมอง เพื่อให้ผู้ป่วยสังเกตตัวเองได้ง่ายขึ้น และรู้เท่าทันโรคร้าย สามารถเข้ารับการรักษาได้ทันก่อนที่อาการจะรุนแรงนั่นเอง [adinserter name=”ไขมันในหลอดเลือดและความดันโลหิต”]

ความผันแปรและความสูญเปล่าในระบบ

เรื่องของความผันแปรหรือเรื่องของความสูญเสียที่เกิดขึ้นภายในระบบนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญมากไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการรับรู้ของทางผู้ป่วยเองต่อส่วนของความรุนแรงในการเกิดโรค “ หลอดเลือดสมอง ” เพราะด้วยตัวกลุ่มผู้ป่วยนั้นมีอาการเตือนที่จะค่อนข้างบ่อยมาก ( อยู่ที่ประมาณ 1 ถึง 2 ครั้งในหนึ่งเดือน ) และที่สำคัญโรคนี้บอกเลยว่าสามารถที่จะหายได้หากได้รับการดูแลรักษาดี ๆ ส่วนเรื่องของประสิทธิภาพกับการประเมินบุคคลที่เป็นผู้ป่วยจะรวมถึงระบบการส่งต่อในระบบริการทางการแพทย์ฉุกเฉิน ( เบอร์โทรศัพท์ 1669 ) ร่วมด้วยซึ่งพบว่าในส่วนนี้ยังคงมีประสิทธิภาพที่น้อยกว่าที่ควรจะเป็น, เรื่องของการละเลยกลุ่มผู้ป่วยที่เป็นกลุ่มเสี่ยงที่อาจพบในส่วนของอาการเตือนหรืออาการแสดงของโรคอันตรายอย่างโรคหลอดเลือดสมอง อาทิเช่น ตัวผู้ป่วยนั้นพบว่ามีความเสี่ยงแต่กลับไม่ได้มีการเฝ้าระวังเฝ้าสังเกตอาการอันด้วยเหตุผลประเภทที่ว่า “มีการประเมินร่างกายที่ไม่ละเอียดพอ, มีปัญหาเกี่ยวกับจำนวนเตียง” เป็นต้น

สำหรับการจัดการเพื่อลดระดับความสูญเปล่าและลดระดับความผันแปรนั้นก็เพื่อเป็นการคัดกรองผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงพร้อมทั้งทำการขึ้นทะเบียนเพื่อเข้าสู่ระบบการติดตามโรค, การพัฒนาเกี่ยวกับประสิทธิภาพและศักยภาพของตัวบุคลากรเพื่อการประเมินกลุ่มผู้ป่วย, การพัฒนาในส่วนของความรู้ การประชาสัมพันธ์เพื่อให้ทางประชาชนได้ทราบ เป็นต้น

2.กลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง

ปัญหาสุขภาพ

ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองได้สูง จะมีปัญหาสุขภาพที่เห็นได้ชัดคือ สูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จัด ซึ่งส่วนใหญ่จะดื่มตั้งแต่ 1 ครั้ง/สัปดาห์ขึ้นไป มีอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ ชนิดที่เรียกว่า Atrial fibrillation มีระดับคอเลสเตอรอลสูง ผู้ที่เป็นเบาหวาน มีเส้นรอบเอวเกินจากที่กำหนด คือผู้ชายมากกว่าหรือเท่ากับ 36 นิ้วและผู้หญิงมากกว่าหรือเท่ากับ 32 นิ้ว นอกจากนี้ยังรวมถึงผู้ที่มีระดับความดันโลหิตสูงและมีอายุมากกว่า 40 ปีอีกด้วย [adinserter name=”ไขมันในหลอดเลือดและความดันโลหิต”]

ความจำเป็นในการใช้ทรัพยากร

1.ในแต่ละสถานบริการสุขภาพของชุมชนจะมี NP อย่างน้อย 1 คน ทำหน้าที่ประสานงานกับ อสม. เพื่อส่งต่อข้อมูลสุขภาพร่วมกันและเพื่อให้แต่ละชุมชนสามารถนำไปให้ข้อมูลแก่ประชาชนได้มากขึ้น

2.Non Human-Resource

  • Physical exam equipment ( เครื่องวัด BP, เครื่องชั่งน้ำหนัก, เครื่องเจาะ DTX )
  • Information managementsystem
  • Material ได้แก่
    : Record book ผู้ป่วย Matabolic syndrome+Hypertension
    : Lifestyle modification book
  • สถานบริการด้านสุขภาพประจำชุมชน
  • ทำแบบคัดกรองความเสี่ยง โดยสร้างระบบข้อมูลขึ้นมาและระบบการส่งต่อข้อมูลผู้ป่วยด้วย
  • ศูนย์บริการสุขภาพต่างๆ ที่จะให้ข้อมูล ข่าวสารสุขภาพที่สำคัญ รวมถึงสื่อในการรณรงค์ด้วย
  • จัดให้มีห้อง Lab ประจำโรงพยาบาลจังหวัด

ควรปฏิบัติเกี่ยวระบบการรักษาดูแลผู้ป่วยและป้องกัน “ โรคหลอดเลือดสมอง ”

เรื่องของความจำเป็นต่อการดูแลและรักษาเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมองหรือเพื่อการป้องกันโอกาสที่จะเกิดขึ้นนั้นวิธีการที่ใช้มีด้วยกันมากมายหลายประเภททั้งนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับลักษณะสุขภาพของตัวผู้ป่วยด้วยว่าสามารถทำได้มากน้อยเพียงใด ตัวอย่างวิธีการ ได้แก่

  • การเลือกที่จะให้ความรู้ในเรื่องของวิธีการที่จะช่วยป้องกันโอกาสเกิดโรคที่เป็นผลมาจากพฤติกรรมและการปฏิบัติตัวรวมถึงเรื่องของภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นอันเป็นผลมาจากภาวะความเสี่ยงที่พบเจอ
  • ดำเนินการจัดการที่ตัวของผู้ป่วยรวมถึงเข้าไปดำเนินการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เป็นไปอย่างยั่งยืนให้ได้มากที่สุด อาทิเช่น ให้ผู้ป่วยรู้จักที่จะเลิกหรือลดปริมาณเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้ได้โดยพยายามควบคุมไม่ให้แอลกอฮอล์ที่ดื่มเข้าไปเกินกว่า 30 มิลลิเมตรต่อวัน  [adinserter name=”ไขมันในหลอดเลือดและความดันโลหิต”]
  • ให้ทำการใช้วิธีแบบ DASH DIET หมายถึงการที่ผู้ป่วยจะต้องทานเพียงแค่ผลไม้ประเภทที่มีรสไม่หวานมาก ต้องถูกจำกัดในเรื่องของปริมาณไขมันให้ลดลงอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนดโดยเฉพาะอย่างยิ่งไขมันประเภทไขมันอิ่มตัว
  • จะต้องมีการทานผลไม้ทานผักให้ได้อย่างน้อยประมาณ 10 กรัมต่อหนึ่งวัน
  • พยายามที่จะจำกัดในส่วนของเกลือที่เติมลงไปในอาหารเพื่อเป็นการลดปริมาณของโซเดียม ( จะต้องมีปริมาณอยู่ที่ 100 กรัมต่อวัน )
  • พยายามที่จะควบคุมระดับน้ำหนักของผู้ป่วยให้คงที่อยู่ในเกณฑ์ปกติสำหรับเกณฑ์ปกติของคนทั่วไป
  • สำหรับในกรณีที่ผู้ป่วยนั้นมีภาวะของโรคเบาหวานร่วมด้วยจำเป็นต้องลดระดับของ HbA 1 c ให้เหลือน้อยกว่า 6.5 และต้องมีปริมาณคอเลสเตอรอลทั้งหมดน้อยกว่า 175 และปริมาณไตรกลีเซอไรด์น้อยกว่า 150 เป็นต้น

นอกจากนี้ก็ยังมีเรื่องของการตรวจคัดกรองเพื่อเป็นการค้นหาบุคคลที่อาจกำลังจะเป็นกลุ่มเสี่ยงหรือเป็นกลุ่มเสี่ยงอยู่แล้วเพื่อเข้าสู่ระบบการดูแลรักษาต่อไป ส่วนนี้สำหรับกรณีของการตรวจคัดกรองนั้นหากพบว่ามีระดับความดับโลหิตที่อยู่ในเกณฑ์สูง ( อยู่ที่ 170/100 ขึ้นไป ) จำนวนสองครั้งในการวัดติดต่อกันหลังจากที่ได้มีการให้ได้นั่งพักเป็นที่เรียบร้อยแล้วก็ตามจำเป็นจะต้องติดตามเรื่องของระดับคอเลสเตอรอลเป้นประจำทุก ๆ 1 เดือนเพื่อให้ผู้ป่วยนั้นเกิดการมีปัจจัยเสี่ยงที่ลดน้อยลงแต่หากพยายามเต็มที่แล้วแต่ก็ยังไม่สามารถที่จะลดในส่วนนี้ได้จริง ๆ อาจจำเป็นต้องส่งผลไปให้ทางนักศึกษาแพทย์ของหน่วยงานเพื่อเข้าสู่ระบบการรักษาที่เน้นไปที่การรับประทานยาลดระดับความดันโดยตรงต่อไปแต่แต่สำหรับกลุ่มเสี่ยง อาทิเช่น กลุ่มที่มีโรคประจำตัวอย่างโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิต ไขมันในเลือดสูงกว่าเกณฑ์ หรือกลุ่มประชาชนที่อยู่ในช่วงอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไปแบบนี้ควรจะต้องมีการตรวจคัดกรองในระดับของชุมชนประมาณ 1 ครั้งต่อปีและจะต้องมีการขึ้นทะเบียนรายชื่อไว้ด้วย

ความผันแปร / ความสูญเปล่าในระบบ

สำหรับความผันแปรและความสูญเปล่าที่เกิดขึ้นในระบบ มักจะเกิดจากการย้ายถิ่นฐานของประชาชน ทำให้ประชาชนส่วนหนึ่งไม่ได้เข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่อง การไม่มีพื้นฐานข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ การขาดการประสานงาน ทำให้ผู้ป่วยไม่ได้รับการดูแลรักษาจากแพทย์อย่างเหมาะสมเท่าที่ควร ไม่ได้กำหนดให้ทีมสุขภาพทำหน้าที่รับผิดชอบในส่วนของการลงคัดกรองและรวบรวมข้อมูลผู้ป่วย ละเลยการติดตามผลการรักษาและอาการของผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการไม่ได้ตรวจวัดเพื่อเช็คสุขภาพหรือทำแต่ไม่ต่อเนื่องด้วย  [adinserter name=”ไขมันในหลอดเลือดและความดันโลหิต”]

การลดความสูญเปล่าและลดการผันแปรลง

การจัดการเพื่อลดความสูญเปล่าและลดการผันแปรได้นั้น สามารถทำได้โดย

1.ทำการประสานงานกับ อสม เพื่อให้มีการติดตามและคัดกรองผู้ป่วยที่อยู่ห่างไกล รวมถึงผู้ป่วยที่ย้ายถิ่น ทำให้ขาดสิทธิ์ในการเข้ารักษา

2.กำหนดให้มีการเตรียมและออกแบบการบันทึกข้อมูลที่มีความจำเป็นในแต่ละระดับของสถานบริการ ( Policy of guideline for standard DM/HT health file )

ระดับปฐมภูมิ : ข้อมูล Metabolic syndome ทั้งหมดที่สามารถตรวจ คัดกรองได้ ได้แก่ BMI, DTX, ระดับ BP
ระดับทุติยภูมิ/ตติยภูมิ : ข้อมูลสุขภาพทั้งหมดที่สามารถตรวจคัดกรองได้ ได้แก่ BMI, DTX, FBS, Lipid profile, EKG Microalbuminuria, BP : รายงานผลInvestigate ต่างๆ

การจัดการรายกรณีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มีภาวะโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลัน

ปัญหาสุขภาพ

ผู้ป่วยจะมีอาการของโรคหลอดเลือดสมองอย่างเฉียบพลัน ซึ่งมักจะเกิดภายใน 3-4.5 ชั่วโมง หลังจากมีอาการ

ความจำเป็นในการใช้ทรัพยากร

ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วนภายในเวลาไม่เกิน 30 นาที ดังนั้นหากทรัพยากรขาดแคลนหรือขาดผู้เชี่ยวชาญจะต้องเตรียมหามาโดยด่วน โดยกระบวนการรักษาที่ต้องใช้ทรัพยากรก็มีดังนี้

  • การตรวจหาความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด Complete blood count with platelet count
  • หากมีเครื่องมือพร้อม จะต้องทำการตรวจหาการแข็งตัวของเลือดร่วมด้วย Activated partial thromboplastin time ( PTT ), prothrombin time ( PT )
  • ใช้ Short NIHSS Scale ประกอบกับการประเมินอาหารทางระบบประสาทของผู้ป่วย รวมถึงการประเมินความรู้สึกในการกลอกตา การมองเห็น การอ่อนแรงของแขน ขา และใบหน้า การรับรู้ความรู้สึก การเดินเซและการพูด เป็นต้น      [adinserter name=”ไขมันในหลอดเลือดและความดันโลหิต”]
  • ทำการประเมินหาปัจจัยเสี่ยงอย่างเร่งด่วน ไม่ว่าจะเป็น ภาวะโรคหัวใจ ภาวะเบาหวานหรือความดันโลหิตสูง เป็นต้น
  • ทำการตรวจ Computerized tomography ( CT ) brain ( non-contrast ) ซึ่งผลการตรวจควรจะได้ภายใน 30 นาที หากนานเกินกว่านั้น ไม่ต้องตรวจก่อน เพราะจะทำให้ล่าช้าไม่ทันการได้
  • รีบส่งตัวผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลอย่างเร่งด่วน เพื่อให้ยาละลายลิ่มเลือด
  • ตรวจหาGglucose หรือ DTX ระยะจากภาวะ Hypo-hyperglycemia

ชะลอความเสียหายของเนื้อสมองก่อนเริ่มการรักษาที่เฉพาะเจาะจง

ก่อนจะเริ่มต้นการรักษาอย่างเฉพาะเจาะจง จะต้องมีการชะลอหรือลดความเสียหายของเนื้อสมองลงก่อน โดยจะต้องใช้ Monitor EKG จากนั้นดูแลผู้ป่วยให้ได้รับสารน้ำอย่างเหมาะสม แต่อย่าเพิ่งให้สารน้ำที่มีน้ำตาลหรือเป็นกลูโคสเด็ดขาด ที่สำคัญจะต้องให้ผู้ป่วยนอนให้ศีรษะต่ำลงมาประมาณ 30 องศา เพื่อระวังการสูดสำลักและภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นระหว่างที่กำลังส่งต่อผู้ป่วยนั่นเอง

โดยทั้งนี้หากพบว่าระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยสูงมาก จะต้องทำการฉีดอินซูลินเข้าไปก่อน เพื่อพยายามรักษาระดับน้ำตาลเอาไว้ เนื่องจากหากน้ำตาลสูง จะยิ่งทำให้เกิดภาวะสมองขาดเลือดที่รุนแรงมากขึ้น จากนั้นให้เร่งประสานงานกับ CM Store เพื่อส่งตัวผู้ป่วยอย่างรวดเร็วที่สุด และที่สำคัญ อย่าลืมประเมินทางเดินหายใจและประเมินระดับความดันโลหิตของผู้ป่วยด้วย อย่างไรก็ตามไม่ควรให้ยาลดความดันในขณะที่สมองขาดเลือดเฉียบพลันเด็ดขาด

ความผันแปรและความสูญเปล่าในระบบ

ความผันแปรและความสูญเปล่าในระบบที่เกิดขึ้น อาจเกิดได้จาก

1.โรงพยาบาลขาดศักยภาพ ทำให้เกิดความบกพร่องในเรื่องการส่งต่อ การประเมินและการให้ข้อมูลแก่ญาติ

2.มีประสิทธิภาพระหว่างการส่งต่อต่ำ ซึ่งอาจเป็นเพราะเกิดปัญหาระหว่างทางหรือรถติด ทำให้ไม่สามารถส่งต่อผู้ป่วยได้อย่างรวดเร็ว

3.สถานพยาบาลมีการให้ยาละลายลิ่มเลือดน้อยมาก หรือมียาอยู่น้อยจึงไม่สามารถให้ยาแก่ผู้ป่วยได้ตามความสมควร

4.ประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับโรคนี้ต่ำมาก ส่วนใหญ่จึงมักจะรออาการสักพักก่อนจึงจะไปโรงพยาบาล จึงมักจะทำให้อาการรุนแรงขึ้น

5.ระยะทางในการส่งต่อ ไกลมาก ทำให้ไปถึงช้า    [adinserter name=”ไขมันในหลอดเลือดและความดันโลหิต”]

การลดความสูญเปล่าและความแปรผัน

การลดความสูญเปล่าและความแปรผันที่อาจจะเกิดขึ้น ทำได้โดยการ จัดการอบรมเจ้าหน้าที่ในหน่วย EMS เพื่อให้สามารถประเมินและดูแลผู้ป่วยระหว่างส่งต่อได้อย่างมีศักยภาพ มีการประสานข้อมูลการส่งต่ออย่างรวดเร็วจัดทำแนวทางการส่งต่อที่มีประสิทธิภาพสูง มีการพัฒนาระบบแพทย์ฉุกเฉินอยู่เสมอ เพื่อให้สามารถสั่งการรถพยายามออกในทันทีทันใดเมื่อมีการแจ้งเหตุฉุกเฉิน นอกจากนี้จะต้องมีการจัดทำระบบบันทึกอาการที่ชัดเจน เพื่อลดเวลาในการซักประวัติผ็ป่วยลง และสามารถทำการวินิจฉัยและส่งต่อรักษาได้เร็วขึ้น

การรักษาภาวะความดันโลหิตสูงในภาวะสมองมีการขาดเลือดอย่างเฉียบพลัน

ผู้ป่วยทั่วไป

  • Systolic < 220 Diastolic < 120 mmHg

การรักษา : ให้ผู้ป่วยนอนพักลดภาวะเครียดประเมินความสุขสบายเช่นอาการปัสสาวะไม่ออก

  • Systolic > 220 Diastolic < 125-140 mmHg

การรักษา : Captopril ทางปาก

Hydralazine ทางหลอดเลือดดำ

Nicadipine หยดทางหลอดเลือดดำ

Nitroglycerine หยดทางหลอดเลือดดำ

Nitroprusside หยดทางหลอดเลือดดำ

  • Diastolic > 140 mmHg

การรักษา : Nitroprusside หยดทางหลอดเลือดดำ  [adinserter name=”ไขมันในหลอดเลือดและความดันโลหิต”]

ผู้ป่วยได้รับยาละลายลิ่มเลือด

  • Systolic < 185 Diastolic < 110 mmHg

การรักษา : Nicadipine หยดทางหลอดเลือดดำ

Nitroglycerine หยดทางหลอดเลือดดำ

Nitroprusside หยดทางหลอดเลือดดำ

  • Diastolic > 140 mmHg

การรักษา : Nitroprusside หยดทางหลอดเลือดดำ

การจัดการรายกรณีผู้ป่วยในการดูแลตนเองเพื่อป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมองซ้ำ ( Recurrent Stroke )

ความจำเป็นในการใช้ทรัพยากร

การจัดการให้ผู้ป่วยสามารถดูแลตนเองเพื่อป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมองซ้ำ มีความจำเป็นต้องได้รับยาลดไขมันอย่างต่อเนื่อง และหากไม่สามารถควบคุมความดันได้ ก็จะต้องมีการติดตามผลการใช้ยาอยู่เสมอ จัดให้ผู้ป่วยได้มีการฟื้นฟูสภาพร่างกายอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันโอกาสที่จะพิการได้ ที่สำคัญจำเป็นจะต้องให้ผู้ป่วยได้รับยาเพื่อต้านเกล็ดเลือดหรือยาต้านการแข็งตัวของเลือดด้วย รวมถึงเฝ้าระวังผลข้างเคียงที่อาจจะเกิดขึ้นด้วยเช่นกัน นอกจากนี้จะต้องมีการจัดโปรแกรมอาหารในการควบคุมน้ำหนัก เพื่อให้ผู้ป่วยทำตามได้ และหากกรณีที่มีทรัพยากรหรือผู้เชี่ยวชาญเพียงพอ ก็ควรหาสาเหตุของโรคให้พบ เพื่อจะได้ป้องกันได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นนั่นเอง

ความจำเป็นของการดูแลรักษาพยาบาล

การดูแลรักษาพยาบาล มีความจำเป็นเพื่อสร้างศักยภาพที่ดีให้กับผู้ป่วย ช่วยดูแลประคับประคองผู้ป่วยทางด้านจิตใจ ไม่ให้เกิดภาวะซึมเศร้าหรืออารมณ์แปรปรวนได้ง่าย ทั้งยังช่วยควบคุมความเสี่ยงหรือภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นได้อีกด้วย โดยส่วนใหญ่ก็จะแนะนำให้ผู้ป่วยควบคุมเบาหวาน งดสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มมึนเมา ควบคุมน้ำหนักตัวและอาหารที่ทาน ควบคุมระดับไขมันในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ รวมทั้งป้องกันไม่ให้เกิดการติดเชื้อในร่างกายด้วย  [adinserter name=”ไขมันในหลอดเลือดและความดันโลหิต”]

ความผันแปรและความสูญเปล่าในระบบ

ความผันแปรหรือความสูญเปล่าของระบบมักจะเกิดขึ้นจากการขาดการมาพบแพทย์หรือละเลยที่จะพบแพทย์ตามนัด การเปลี่ยนบทบาทของคนในครอบครัว ปัญหาเศรษฐกิจ เป็นผลให้รายได้ลดลงจึงไม่พร้อมที่จะรักษา ไม่ได้รับการฟื้นฟูสภาพร่างกายอย่างต่อเนื่อง การไม่มีผู้ดูแลอย่างแท้จริง หรือการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ทำให้ต้องใช้ทรัพยากรในการรักษามากขึ้น โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์หรือภาวะซึมเศร้า

การลดความสูญเปล่าและความผันแปร

สำหรับการลดความสูญเปล่าและความผันแปรที่เกิดขึ้น สามารถทำได้โดย

1.พัฒนาสื่อการเรียนรู้ต่างๆ เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเข้าใจได้ง่าย และประเมินตนเองได้เมื่อเกิดโรคหลอดเลือดสมอง รวมถึงสามารถที่จะเรียกใช้รถพยาบาลฉุกเฉินได้ตลอด 24 ชั่วโมงด้วย

2.มีการเพิ่มศักยภาพให้แก่ผู้ดูแลและผู้ป่วย ด้วยการทำกิจกรรมกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยน รวมถึงเป็นที่ปรึกษาให้กับผู้ที่ทำหน้าที่ดูแลและผู้ป่วยด้วย

3.จัดหาแหล่งประโยชน์ในชุมชนเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดมากขึ้น พร้อมจัดทำแบบประเมินสุขภาพของผู้ป่วยแต่ละราย

4.ทำสื่อการสอนในการฟื้นฟูสภาพ ให้ผู้ป่วยเรียนรู้และทำได้ด้วยตัวเอง รวมถึงมีการประสานเพื่อส่งต่อผู้ป่วยให้ได้รับดูแลอย่างต่อเนื่อง

ผลลัพธ์ด้านการจัดการรายกรณีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มีภาวะโรคหลอดเลือดสมอง

กลุ่มเป้าหมาย

1.กลุ่มที่เสี่ยงต่อการเกิด Recurrent Stroke

สำหรับกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการ Recurrent Stroke จะดำเนินการสร้าศักยภาพให้กับผู้ป่วยและการดูแล โดยการจัดเตรียมอุปกรณ์สำหรับใช้ที่บ้านให้พร้อม และจัดสถานที่สิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมมากขึ้น รวมถึงปรับเปลี่ยนวิธีการทำกิจกรรมต่างๆ ของผู้ป่วย เพื่อให้สอดคล้องกับข้อจำกัดความสามารถมากกว่าเดิม นอกจากนี้ก็มีการเตรียมป้องกันภาวะแทรก้อนที่อาจจะเกิดขึ้นอีกด้วย  [adinserter name=”ไขมันในหลอดเลือดและความดันโลหิต”]

โดยจากการจัดการข้างต้น มีเป้าหมายให้เกิดผลลัพธ์คือ สามารถลดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ได้ และการดำรงชีวิตประจำวันและสิ่งแวดล้อมในบ้านของผู้ป่วย มีความเหมาะสมและเอื้อต่อการรักษาได้ดี

ผลลัพธ์ด้านค่าใช้จ่าย / การใช้ทรัพยากร / เวลา

1.reduce informal cost

– From loss of income

– Cost of eqipments and time for care ส่งผลให้ญาติหรือผู้ป่วยสามารถกลับไปทำงานได้คงเดิมและเร็วกว่าปกติ

2.increase recovery

ผู้ป่วยก่อนจำหน่ายไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ mRS = 4 กลับมาช่วยเหลือตนเองได้ mRs = 2 ภายใน 3 เดือน

2.กลุ่มผู้ป่วยที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง

สำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะเสี่ยงกลุ่มนี้จะมีวิธีการจัดการด้วย Stroke Education for Risk Group และ Education of Stroke Recognition เพื่อลดความเสี่ยงให้ต่ำลงไปจากเดิม

โดยจากการจัดการข้างต้น คาดว่าผู้ป่วยจะได้รับการตรวจคัดกรองเพื่อหาภาวะโรคหลอดเลือดสมองมากขึ้น มีการขึ้นทะเบียนผู้ป่วยเพื่อเฝ้าระวังการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง และสุดท้าย ผู้ป่วยจะต้องสามารถประเมินตนเองเมื่อเกิดโรคหลอดเลือดสมองขึ้นได้ เพื่อจะได้เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลได้ทันนั่นเอง

ผลลัพธ์ด้านค่าใช้จ่าย / การใช้ทรัพยากรและเวลา

1.Shorten Time to Hospital ผู้ป่วยมาโรงพยาบาลได้เร็ว จึงรักษาได้ง่ายและใช้ทรัพยากรในการรักษาน้อย

2.Save Cost of Care เมื่อผู้ป่วยมีความรู้และสามารถปรับพฤติกรรมได้อย่างเหมาะสมมากขึ้น ก็จะทำให้การต้องนอนรักษาตัวที่โรงพยาบาลมีน้อยลง จึงลดค่าใช้จ่าย เวลา และประหยัดทรัพยากรได้ดี [adinserter name=”ไขมันในหลอดเลือดและความดันโลหิต”]

3.กลุ่มผู้ที่เกิดภาวะโรคหลอดเลือดสมองแบบเฉียบพลัน ( Acute Ischemic Stroke )

ผู้ป่วยกลุ่มนี้ แพทย์จะมีการจัดการด้วยวิธี Data Management, Stroke Network และ Coordinator CM HT ในการ Refer ซึ่งผลจากการจัดการ ก็จะช่วยเพิ่มโอกาสให้ผู้ป่วยได้รับยาละลายลิ่มเลือดมากขึ้น จึงลดความรุนแรงของโรคได้ดี ทั้งยังช่วยลดความพิการหรืออัตราการตายได้อีกด้วย

ผลลัพธ์ด้านค่าใช้จ่าย / การใช้ทรัพยากร / เวลา

1.ลดการใช้ทรัพยากรในการรักษาได้ดี เพราะผู้ป่วยส่วนใหญ่เมื่อได้มีการจัดการตามข้างต้นแล้ว มักจะกลับมาเป็นปกติโดยไม่ต้องทำกายภาพบำบัดแต่อย่างใด ในขณะที่ผู้ป่วยทั่วไปจะต้องทำกายภาพบำบัดซึ่งนอกจากจะเสียทรัพยากรแล้ว ยังสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายและระยเวลาอีกด้วย

2.ช่วยประหยัดเวลาในการตรวจวินิจฉัยได้อย่างดีเยี่ยม

3.ลดค่าใช้จ่ายในการตรวจทางห้อง Lab ที่มีขั้นตอนความซับซ้อนและยุ่งยาก

4.ฟื้นฟูสภาพร่างกายได้เร็ว และกลับมาเป็นปกติ โดยไม่ต้องใช้ระยะเวลารักษานาน

5.กรณีที่อาการรุนแรง ผู้ป่วยจะได้รับการส่งต่อที่รวดเร็ว

อัตราการ การได้รับยาละลายลิ่มเลือดเพิ่มขึ้นในประเทศไทย

1 - การดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มีภาวะโรคหลอดเลือดสมองตีบปี 2550 = 0.15% ปี 2551 = 0.45% ปี 2552 = 0.55% ปี 2553 = 0.89%

การดำเนินการเพื่อการประสานด้านการดูแลส่วนของข้อมูลเพื่อการส่งต่อตัวผู้ป่วยภายในเครือข่ายของบริการสุขภาพต่อไป  [adinserter name=”ไขมันในหลอดเลือดและความดันโลหิต”]
การที่จะดำเนินการจัดการดูแลผู้ป่วยที่ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงแถมมีลักษณะภาวะโรคหลอดเลือดสมองควบคู่ไปด้วยนั้นค่อนข้างต้องให้ความสำคัญในรายละเอียดค่อนข้างมาก จำเป็นต้องดำเนินการอย่างรวดเร็ว เหมาะสมและถูกต้องอยู่เสมอซึ่งนั่นจะต้องอาศัยความร่วมมือจากทางหน่วยงานหลาย ๆ ฝ่าย พยาบาลจะต้องกลายเป็นคนที่เข้าไปมีส่วนร่วมในทุกกระบวนการไม่ว่าจะเริ่มตั้งแต่กระบวนการของการคัดกรอง กระบวนการป้องกันไม่ให้เกิดการป่วยซ้ำอีกครั้ง การดำเนินการจัดการผู้ป่วยเพื่อการเฝ้าระวังการเกิดโรคได้ด้วยตนเอง การจัดการเมื่อพบอาการเตือนของโรค สำหรับบทบาทของตัวพยาบาลในประเด็นของการประสานงานนั้นก็เพื่อให้เป็นการเกิดความร่วมมือไม่ว่าจะเป็นการประสานงานด้านการส่งต่อข้อมูล การรักษาและการดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง ทั้งหมดนี้ก็เพื่อให้ผู้ป่วยนั้นได้รับการดูแลแบบเป็นระบบ เกิดความซ้ำซ้อนในการใช้ทรัพยากรที่ลดน้อยลง ไม่ต้องเสียเวลาโดยใช่เหตุอย่างที่เคยเป็นมาและยังเป็นการทำให้ผู้ป่วยได้ความรับความปลอดภัยอย่างเร็วที่สุดและมีประสิทธิภาพในทุกกระบวนการอย่างแท้จริง

ตัวอย่างแบบบันทึกข้อมูลการส่งต่อผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลัน ( Stroke Fast Track )

โรงพยาบาลที่ส่ง…………………………..……………….วันที่…….เดือน………..พ.ศ………..
ชื่อ……………………………………………………………….อายุ…..……เพศ…..…..อาการ มุมปากด้าน………ตก อ่อนแรงซีก……… การพูดผิดปกติ…….. ชาซีก……..อื่นๆ….
เวลาที่เริ่มเกิดอาการ………น. วันที่…..เดือน………….. พ.ศ……เวลาที่มาถึงโรงพยาบาล………น.(ถ้าผู้ป่วยไม่สามารถบอกเวลาที่เริ่มเกิดอาการได้ให้บันทึกเวลาล่าสุดที่ผู้พบเห็นผู้ป่วยยังเป็นปกติเป็นเวลาที่เริ่มอาการ ตัวอย่างเช่นเกิดอาการตั้งแต่ตื่นนอนให้ใช้เวลาล่าสุดที่ตื่นขึ้นมาแล้วยังปกติหรือถ้าไม่ตื่นเลยตั้งแต่เข้านอนให้บันทึกเวลาที่เข้านอนเป็นเวลาที่เริ่มเกิดอาการเป็นต้นและควรนำพยานผู้เห็นเหตุการณ์มากับผู้ป่วยด้วย)ประวัติโรคประจำตัวเดิม ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง สูบบุหรี่ ไตวาย
หลอดเลือดหัวใจ Atrial fibrillation อื่นๆ…….. ไม่มี

ประวัติยาประจำ Aspirin Warfarin Antiplatelet อื่นๆ………… Antihypertensive……….

Hypoglycemic…….. Lipid lowering………. ไม่มี

BP แรกรับ……../……… mmHg Consciousness alert drowsiness stuporous coma

CT-brain ไม่มี ทำแล้วไม่พบhemorrhage

สิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า รพ…………………………… สิทธิข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ

สิทธิประกันสังคม ต่างด้าว อื่นๆระบุ…………………………….

Faxโรงพยาบาลผู้รับ : 02xxxxxxx แผนกฉุกเฉิน โรงพยาบาลผู้รับ : 02xxxxx

ตัวอย่างแบบบันทึกข้อมูลการส่งต่อผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเพื่อการดูแลต่อเนื่อง

โรงพยาบาลที่ส่งกลับ………………………………………

วันที่รับผู้ป่วย……เดือน….……พ.ศ………. วันที่จำหน่ายผู้ป่วย…….เดือน……….พ.ศ…………

ชื่อ……………………………………………….อายุ……….เพศ……..

อาการ มุมปากด้าน………ตก อ่อนแรงซีก……… การพูดผิดปกติ…….. ชาซีก……..อื่นๆ….

การวินิจฉัย………………………………………………………………….

การรักษาที่ได้รับ ได้รับrt-PA ไม่ได้รับrt-PA เนื่องจาก……………………

การตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม MRI/MRA ผล……………………………………

Carotid Duplexultrasound ผล……………………………………

Echocardiogram ผล…………………………………………

ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นระหว่างการรักษา

…………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………

สิ่งที่ต้องเฝ้าระวังและรักษาเพิ่มเติม
…………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………

ประวัติยาที่ได้รับ Aspirin Warfarin Antiplatelet อื่นๆ…………

สภาพผู้ป่วยขณะจำหน่าย (mRS)………………

ตาราง รายชื่อหน่วยบริการเครือข่ายโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันที่สามารถให้ยาละลายลิ่มเลือดได้ ปีงลประมาณ 2554

ลำดับ  

จังหวัด

ชื่อหน่วยบริการ

ศักยภาพ

1 แพร่ รพ.แพร่ ลูกข่ายให้ยาได้
2 น่าน รพ.น่าน ลูกข่ายให้ยาได้
3 พะเยา รพ.พะเยา ลูกข่ายให้ยาได้
4 พะเยา รพ.เชียงคำ ลูกข่ายให้ยาได้
5 เชียงราย รพ.เชียงรายประชานุเคราะห์ แม่ข่าย
6 เชียงใหม่ รพ.ประสาทเชียงใหม่ แม่ข่าย
7 เชียงใหม่ รพ.มหาราชนครเชียงใหม่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แม่ข่าย
8 ลำปาง รพ.ลำปาง แม่ข่าย
9 ตาก รพ.สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ลูกข่ายให้ยาได้
10 ตาก รพ.แม่สอด ลูกข่ายให้ยาได้
11 สุโขทัย รพ.สุโขทัย ลูกข่ายให้ยาได้
12 เพชรบูรณ์ รพ.เพชรบูรณ์ ลูกข่ายให้ยาได้
13 อุตรดิตถ์ รพ.อุตรดิตถ์ แม่ข่าย
14 พิษณุโลก รพ.พุทธชินราช แม่ข่าย
15 พิษณุโลก รพ.มหาวิทยาลัยนเรศวร แม่ข่าย
16 กำแพงเพชร รพ.กำแพงเพชร ลูกข่ายให้ยาได้
17 ชัยนาท รพ.ชัยนาทนเรนทร ลูกข่ายให้ยาได้
18 อุทัยธานี รพ.อุทัยธานี ลูกข่ายให้ยาได้
19 พิจิตร รพ.พิจิตร ลูกข่ายให้ยาได้
20 นครสวรรค์ รพ.ค่ายจิรประวัติ ลูกข่ายให้ยาได้
21 นครสวรรค์ รพ.ร่มฉัตร ลูกข่ายให้ยาได้
22 นครสวรรค์ รพ.สวรรค์ประชารักษ์ แม่ข่าย
23 พระนครศรีอยุธยา รพ.พระนครศรีอยุธยา ลูกข่ายให้ยาได้
24 พระนครศรีอยุธยา รพ.เสนา ลูกข่ายให้ยาได้
25 ลพบุรี รพ.อานันทมหิดล ลพบุรี ลูกข่ายให้ยาได้
26 ลพบุรี รพ.บ้านหมี่ ลูกข่ายให้ยาได้
27 ลพบุรี รพ.พระนารายณ์มหาราช ลูกข่ายให้ยาได้
28 นนทบุรี รพ.พระนั่งเกล้า ลูกข่ายให้ยาได้
29 นนทบุรี รพ.ชลประทาน ลูกข่ายให้ยาได้
30 ปทุมธานี รพ.ปทุมธานี ลูกข่ายให้ยาได้
31 ปทุมธานี รพ.ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ แม่ข่าย
32 อ่างทอง รพ.อ่างทอง ลูกข่ายให้ยาได้
33 สิงห์บุรี รพ.สิงห์บุรี ลูกข่ายให้ยาได้
34 สิงห์บุรี รพ.อินทร์บุรี ลูกข่ายให้ยาได้
35 สระบุรี รพ.พระพุทธบาท ลูกข่ายให้ยาได้
36 สระบุรี รพ.สระบุรี แม่ข่าย
37 นครนายก รพ.ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ลูกข่ายให้ยาได้
38 นครนายก รพ.รร.นายร้อยพระจุลจอมเกล้า ลูกข่ายให้ยาได้
39 นครนายก รพ.นครนายก ลูกข่ายให้ยาได้
40 ประจวบคีรีขันธ์ รพ.หัวหิน ลูกข่ายให้ยาได้
41 ประจวบคีรีขันธ์ รพ.ค่ายธนะรัชต์ ลูกข่ายให้ยาได้
42 สมุทรสาคร รพ.บ้านแพ้ว ลูกข่ายให้ยาได้
43 สมุทรสาคร รพ.เอกชัย ลูกข่ายให้ยาได้
44 สมุทรสาคร รพ.สมุทรสาคร ลูกข่ายให้ยาได้
45 ราชบุรี รพ.ดําเนินสะดวก ลูกข่ายให้ยาได้
46 ราชบุรี รพ.โพธาราม ลูกข่ายให้ยาได้
47 ราชบุรี รพ.ราชบุรี แม่ข่าย
48 กาญจนบุรี รพ.พหลพลพยุหเสนา ลูกข่ายให้ยาได้
49 กาญจนบุรี รพ.มะการักษ์ ลูกข่ายให้ยาได้
50 กาญจนบุรี รพ.ค่ายสุรสีห์ ลูกข่ายให้ยาได้
51 สุพรรณบุรี รพ.สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 17 ลูกข่ายให้ยาได้
52 สุพรรณบุรี รพ.เจ้าพระยายมราช ลูกข่ายให้ยาได้
53 สุพรรณบุรี รพ.ด่านช้าง ลูกข่ายให้ยาได้
54 สมุทรปราการ รพ.สมุทรปราการ ลูกข่ายให้ยาได้
55 ชลบุรี รพ.สมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา แม่ข่าย
56 ชลบุรี รพ.ชลบุรี แม่ข่าย
57 จันทบุรี รพ.พระปกเกล้า แม่ข่าย
58 ตราด รพ.ตราด ลูกข่ายให้ยาได้
59 ฉะเชิงเทรา รพ.เมืองฉะเชิงเทรา ลูกข่ายให้ยาได้
60 สระแก้ว รพ.สมเด็จพระยุพราชสระแก้ว ลูกข่ายให้ยาได้
61 ระยอง รพ.ระยอง แม่ข่าย
62 ปราจีนบุรี รพ.เจ้าพระยาอภัยภูเบศร แม่ข่าย
63 ขอนแก่น รพ.ขอนแก่น แม่ข่าย
64 ขอนแก่น รพ.ศรีนครินทร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น แม่ข่าย
65 ขอนแก่น รพ.ชุมแพ ลูกข่ายให้ยาได้
66 ร้อยเอ็ด รพ.ร้อยเอ็ด ลูกข่ายให้ยาได้
67 มหาสารคาม รพ.มหาสารคาม ลูกข่ายให้ยาได้
68 มหาสารคาม รพ.โกสุมพิสัย ลูกข่ายให้ยาได้
69 ร้อยเอ็ด รพ.ร้อยเอ็ด ลูกข่ายให้ยาได้
70 กาฬสินธุ์ รพ.กาฬสินธุ์ ลูกข่ายให้ยาได้
71 หนองบัวลำภู รพ.หนองบัวลำภู ลูกข่ายให้ยาได้
72 เลย รพ.เลย ลูกข่ายให้ยาได้
73 นครพนม รพ.ธาตุพนม ลูกข่ายให้ยาได้
74 นครพนม รพ.นครพนม แม่ข่าย
75 สกลนคร รพ.สกลนคร แม่ข่าย
76 สกลนคร รพ.สว่างแดนดิน ลูกข่ายให้ยาได้
77 หนองคาย รพ.หนองคาย แม่ข่าย
78 อุดรธานี รพ.อุดรธานี แม่ข่าย
79 นครราชสีมา รพ.มหาราชนครราชสีมา แม่ข่าย
80 นครราชสีมา รพ.โนนสูง ลูกข่ายให้ยาได้
81 นครราชสีมา รพ.ค่ายสุรนารี ลูกข่ายให้ยาได้
82 นครราชสีมา รพ.ด่านขุนทด ลูกข่ายให้ยาได้
83 นครราชสีมา รพ.ปากช่องนานา ลูกข่ายให้ยาได้
84 นครราชสีมา รพ.ครบุรี ลูกข่ายให้ยาได้
85 นครราชสีมา รพ.โชคชัย ลูกข่ายให้ยาได้
86 นครราชสีมา รพ.บัวใหญ่ ลูกข่ายให้ยาได้
87 นครราชสีมา รพ.พิมาย ลูกข่ายให้ยาได้
89 นครราชสีมา รพ.ประทาย ลูกข่ายให้ยาได้
90 นครราชสีมา รพ.สูงเนิน ลูกข่ายให้ยาได้
91 ชัยภูมิ รพ.ชัยภูมิ ลูกข่ายให้ยาได้
92 สุรินทร์ รพ.สุรินทร์ แม่ข่าย
93 สุรินทร์ รพ.ปราสาท แม่ข่าย
94 สุรินทร์ รพ.ศีขรภูมิ ลูกข่ายให้ยาได้
95 สุรินทร์ รพ.สังขะ ลูกข่ายให้ยาได้
96 สุรินทร์ รพ.รัตนบุรี ลูกข่ายให้ยาได้
97 บุรีรัมย์ รพ.บุรีรัมย์ แม่ข่าย
98 บุรีรัมย์ รพ.นางรอง ลูกข่ายให้ยาได้
99 บุรีรัมย์ รพ.ลําปลายมาศ ลูกข่ายให้ยาได้
100 บุรีรัมย์ รพ.ประโคนชัย ลูกข่ายให้ยาได้
101 บุรีรัมย์ รพ.พุทไธสง ลูกข่ายให้ยาได้
102 บุรีรัมย์ รพ.สตึก ลูกข่ายให้ยาได้
103 ศรีสะเกษ รพ.ศรีสะเกษ ลูกข่ายให้ยาได้
104 ยโสธร รพ.ยโสธร ลูกข่ายให้ยาได้
105 อำนาจเจริญ รพ.อำนาจเจริญ ลูกข่ายให้ยาได้
106 มุกดาหาร รพ.มุกดาหาร ลูกข่ายให้ยาได้
107 อุบลราชธานี รพ.ค่ายสรรพสิทธิประสงค์ ลูกข่ายให้ยาได้
108 อุบลราชธานี รพ.สรรพสิทธิประสงค์ แม่ข่าย
109 นครศรีธรรมราช รพ.ทุ่งสง ลูกข่ายให้ยาได้
110 นครศรีธรรมราช รพ.สิชล ลูกข่ายให้ยาได้
111 นครศรีธรรมราช รพ.มหาราชนครศรีธรรมราช แม่ข่าย
112 นครศรีธรรมราช รพ.ค่ายวชิราวุธ ลูกข่ายให้ยาได้
113 นครศรีธรรมราช รพ.ท่าศาลา ลูกข่ายให้ยาได้
114 สุราษฎร์ธานี รพ.เกาะสมุย ลูกข่ายให้ยาได้
115 สุราษฎร์ธานี รพ.เวียงสระ ลูกข่ายให้ยาได้
116 สุราษฎร์ธานี รพ.สุราษฎร์ธานี แม่ข่าย
117 ระนอง รพ.ระนอง ลูกข่ายให้ยาได้
118 ภูเก็ต รพ.วชิระภูเก็ต แม่ข่าย
119 ภูเก็ต รพ.ป่าตอง ลูกข่ายให้ยาได้
120 พังงา รพ.ตะกั่วป่า ลูกข่ายให้ยาได้
121 พังงา รพ.พังงา ลูกข่ายให้ยาได้
122 ชุมพร รพ.หลังสวน ลูกข่ายให้ยาได้
123 ชุมพร รพ.ชุมพรเขตอุดมศักดิ์ แม่ข่าย
124 กระบี่ รพ.กระบี่ ลูกข่ายให้ยาได้
125 ตรัง รพ.ตรัง ลูกข่ายให้ยาได้
126 ยะลา รพ.เบตง ลูกข่ายให้ยาได้
127 ยะลา รพ.ยะลา แม่ข่าย
128 สงขลา รพ.หาดใหญ่ แม่ข่าย
129 สงขลา รพ.สงขลานครินทร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ลูกข่ายให้ยาได้
130 สงขลา รพ.กรุงเทพหาดใหญ่ ลูกข่ายให้ยาได้
131 กรุงเทพ รพ.ราชวิถี แม่ข่าย
132 กรุงเทพ สถาบันประสาทวิทยา แม่ข่าย
133 กรุงเทพ รพ.พระมงกุฎเกล้า แม่ข่าย
134 กรุงเทพ รพ.ศิริราช แม่ข่าย
135 กรุงเทพ รพ.จุฬาลงกรณ์สภากาชาดไทย แม่ข่าย
136 กรุงเทพ รพ.มงกุฎวัฒนะ ลูกข่ายให้ยาได้
137 กรุงเทพ รพ.แพทย์ปัญญา ลูกข่ายให้ยาได้
138 กรุงเทพ รพ.เพชรเวช ลูกข่ายให้ยาได้
139 กรุงเทพ รพ.บางไผ่ ลูกข่ายให้ยาได้

 

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

ศิริอร สุนธุ, พิเชต วงรอต, สมาคมผู้จัดการรายกรณีประเทศไทย, การจัดการรายกรณีผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์วัฒนาการพิมพ์, 2557. 242 หน้า, ISBN:978-616-92014-0-3.

O’brien, Eoin (2001-01-01). “Blood pressure measurement is changing!”. Heart. 85 (1): 3–5. heart.85.1.3. ISSN 1468-201X. PMC 1729570 Freely accessible. PMID 11119446.

ผลิตภัณฑ์นมคืออะไร? ( Milk Product )

0
ผลิตภัณฑ์นมคืออะไร? (Milk Product)
ผลิตภัณฑ์นมคือ อาหารที่ผลิตจากน้ำนมของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เป็นอาหารที่ให้พลังงานสูง มีลักษณะหลายรูปแบบ
ผลิตภัณฑ์นมคืออะไร? (Milk Product)
ผลิตภัณฑ์นมคือ อาหารที่ผลิตจากน้ำนมของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เป็นอาหารที่ให้พลังงานสูง มีลักษณะหลากหลายรูปแบบ

ผลิตภัณฑ์นม คือ

ผลิตภัณฑ์นม ( Milk Product ) คือ ส่วนประกอบใดๆก็ตามที่มีการแปรรูปจากนม นม ( Milk ) เป็นอาหารที่ทรงคุณค่าทางโภชนาการสูงมาก เมื่อเราคลอดจากครรภ์มารดา นมคืออาหารชนิดแรกที่เราได้รับเข้าสู่ร่างกาย นม มีลักษณะเป็นของเหลวสีขาวขุ่นมีโครงสร้างเป็นอิมัลชั่น ( Emulsion ) นั่นคือ น้ำนมจะประกอบด้วยไขมันนม ( Butter Fat ) ที่มีลักษณะเป็นหยดเล็กๆ กระจายตัวอยู่ในน้ำ ไขมันนมนี้จะไม่ละลายเป็นเนื้อเดียวกับน้ำ แต่ก็จะไม่รวมตัวกันจนเกิดการแยกชั้น

สำหรับบางคนแล้วเมื่อรับประทานนมเข้าไปอาจจะทำให้เกิดท้องเสียได้ โดยเฉพาะคนแถบเอเซีย เช่น ไทย ลาว พม่า กัมพูชา เป็นต้น เนื่องจากคนเอเชียเมื่อมีอายุมากกว่า 5 ปี ถ้าไม่ได้บริโภคนมอย่างต่อเนื่องแล้ว เอนไซม์ที่ใช้ในการย่อยน้ำตาลแล็กโตสในนมจะหมดไป ดังนั้นเมื่อไม่มีเอนไซม์ย่อยน้ำตาลในนม เมื่อดื่มนมเข้าไปน้ำตาลไม่สามารถดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ กลับไปเป็นอาหารให้กับจุลินทรีย์ในลำไส้จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการท้องเสียเมื่อรับประทานนมนั่นเอง การแก้ปัญหาดื่มนมแล้วท้องเสียง่ายนิดเดียว เพราะว่าเอนไซม์ที่ใช้ในการย่อยน้ำตาลในนมนั้น ร่างกายสามารถสร้างขึ้นมาใหม่ได้ เพียงแต่ต้องได้รับการกระตุ้นจากการดื่มนมก่อน ดังนั้นถ้าต้องการรับประทานนมแล้วไม่เกิดอาการท้องเสีย ปวดท้อง ให้เริ่มต้นจากการรับประทานนมทีละน้อย คือ ครั้งแรกให้ดื่มนมเพียงครึ่งแก้วก่อน ดื่มต่อเนื่องทุกวันประมาณหนึ่งสัปดาห์ ร่างกายก็จะทำการผลิตเอนไซม์สำหรับย่อยน้ำตาลในนมออกมา พอเราดื่มนมในครั้งต่อไปเราก็จะไม่ท้องเสียอีก

สารอาหารหลักในน้ำนม

นมเป็นอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายสูงมากเพราะมีสารอาหารหลักครบทั้ง 5 หมู่ ในน้ำนมจะประกอบไปด้วย

1.โปรตีน โปรตีนที่อยู่ในน้ำนมประกอบไปด้วยกรดอะมิโนหลายชนิด ซึ่งโปรตีนที่ได้จากนมจะมีกรดอะมิโนทั้งที่จำเป็นต่อร่างกายและกรดอะมิโนที่ไม่จำเป็นต่อร่างกาย ซึ่งกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกายก็คือกรดอะมิโนที่ร่างกายไม่สามารถผลิตขึ้นมาเองได้ หรือที่เราเรียกว่า “ เอสเซนเซียล อะมิโนเอซิด ( Assential Amino Acid ) ” เช่น ลิวซีน เวลีน ไอโซลิวซีน เมทีโอนีน ทริปโตเฟน อาร์จินีน ( Arginine ) เป็นต้น โปรตีนที่พบในน้ำนมประมาณ 80% จะเป็นเคซีน (Casein) โปรตีนที่มีอยู่ในนมจะช่วยในการเจริญเติบโตของร่างกายได้เป็นอย่างดี

2.ไขมันนม ( Butter Fat ) นมมีส่วนประกอบที่เป็นไขมันเรียกว่า “ ไขมันนมหรือมันเนย ” ซึ่งไขมันนี้จะอยู่ในรูปของไตรกลีเซอร์ไรด์ ( Triglyceride ) ไขมันนมจัดเป็นแหล่งให้พลังงานของนม ซึ่งให้พลังงานที่สูงมาก โดยมันเนย 1 กรัมจะให้พลังงานกับร่างกายถึง 9 แคลอรี่เลยทีเดียว

3.น้ำตาลนม ( Milk Sugar ) นมประกอบด้วยน้ำตาลแล็กโทสเป็นหลัก ซึ่งน้ำตาลแล็กโทสเมื่อย่อยแล้วจะได้น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวคือ น้ำตาลกลูโคส ( Glucose ) หนึ่งโมเลกุลและน้ำตาลกาแล็กโทส ( Galactose ) หนึ่งโมเลกุล ซึ่งน้ำตาลทั้งสองนี้เป็นแหล่งพลังงานให้กับร่างกายเช่นเดียวกับไขมันนม 

4.วิตามิน นมอุดมไปด้วยเกลือแร่และวิตามินหลายชนิดที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 ไนอะซิน ( Niacin ) กรดโฟลิก วิตามินซี วิตามินดี วิตามินเค แคลเซียม และ ฟอสฟอรัส ที่มีส่วนช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูกและฟันของร่างกาย แคลเซียมที่ได้จากนมยังช่วยป้องกันโรคมะเร็งลำไส้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะในคนที่เป็นโรคอ้วน เนื่องจากแคลเซียมจะเข้าไปช่วยลดกรดน้ำดีที่ผลิตจากไขมัน ทำให้กรดน้ำดีที่ผลิตออกมาจากไขมันส่วนเกินมีปริมาณลดลง น้ำดีจึงไม่สามารถเข้ามาทำร้ายลำไส้ให้เกิดการระคายเคืองหรือเกิดการอักเสบซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เซลล์เกิดการกลายพันธุ์กลายเป็นเซลล์มะเร็งที่ลำไส้ได้

5.น้ำ เป็นส่วนประกอบหลักของนม นมมีน้ำอยู่ประมาณ 85% น้ำมีหน้าที่เป็นตัวทำละลายสารอาหาร วิตามิน น้ำตาล ไขมันนมให้รวมอยู่ด้วย เมื่อเรารับประทานนมเข้าสู่ร่างกาย นอกจากจะได้สารอาหารแล้วร่างกายยังได้รับน้ำเพื่อเพิ่มความชุ่มชื่นให้กับเซลล์ภายในร่างกายอีกด้วย

น้ำนมจะประกอบด้วยไขมันนม ( Butter Fat ) ที่มีลักษณะเป็นหยดเล็กๆ กระจายตัวอยู่ในน้ำ ไขมันนมนี้จะไม่ละลายเป็นเนื้อเดียวกับน้ำ แต่ก็จะไม่รวตัวกันจนเกิดการแยกชั้น นมเป็นอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายสูงมากเพราะมีสารอาหารหลักครบทั้ง 5 หมู่

ประเภทของนมโค

การบริโภคนมช่วยให้ร่างกายแข็งแรงได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วน การบริโภคนมก็ควรเลือกบริโภคนมให้เหมาะสมกับความต้องการของร่างกายจึงส่งผลดีต่อร่างกาย ดังนั้นก่อนที่เราจะบริโภคนมนั้นเรามาทำความรู้จักกับชนิดของนมที่มีอยู่ในท้องตลาดกัน เพื่อที่เราจะได้เลือกบริโภคนมได้อย่างถูกต้อง ซึ่งในที่นี้เราจะกล่าวถึงนมโคเพียงอย่างเดียวก่อน

1.นมสด ( Fresh Milk ) คือ นมจากธรรมชาติที่รีดออกมาจากเต้านมของสัตว์โดยตรง และนำมาบรรจุในบรรจุภัณฑ์ เช่น กล่อง ขวด กระป๋อง เป็นต้น ซึ่งข้างกล่องจะระบุว่าเป็นนมโค 100% แบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ 

1.1 นมธรรมดา คือ นมที่ผ่านกรรมวิธีให้ความร้อนเพื่อทำลายเชื้อจุลินทรีย์ที่อยู่ในน้ำนมออกเพื่อป้องกันการบูดของนม ซึ่งกรรมวิธีที่ใช้ในการจำกัดจุลินทรีย์ในนม เราแบ่งออกเป็น 3 วิธี คือ

1.พลาสเจอร์ไรซ์ ( Pasteurized Milk ) คือ การนำนมสด 100% ทำการผ่านความร้อนประมาณ 63-65 องศาเซลเซียส นาน 30 นาทีหรือการทำให้ร้อนที่อุณหภูมประมาณ 72 องศาเซลเซียสนาน 16 นาที และทำให้เย็นลงทันทีที่อุณหภูมิไม่เกิน 5 องศาเซลเซียส ซึ่งนมชนิดนี้จะมีปริมาณไขมันประมาณ 3.8 % นมพลาสเจอร์ไรซ์สามารถเก็บไว้ได้นาน 10 ในตู้เย็นหรือตู้แช่นที่มีอุณหภูมิ 2-5 องศาเซลเซียส

2.นมสเตอริไลซ์ ( Sterillized Milk ) คือ การนำนมสด 100% ทำการผ่านความร้อนที่อุณหภูมิ 118 องศาเซลเซียส นาน 12 นาที นมสเตอริไลซ์ที่ยังไม่ได้เปิดภาชนะบรรจุจะสามารถเก็บไว้ได้นาน 1 ปีโดยไม่ต้องแช่เย็นแต่ถ้าเปิดแล้วดื่มไม่หมดต้องนำไปแช่นเย็นจึงจะเก็บรักษาต่อไปได้

3.นมยูเอสที ( UHT / Ultra High Temperature Milk ) คือ นมสด 100% ทำการผ่านความร้อนที่อุณหภูมิ 135-150 องศาเซลเซียส นาน 2-3 วินาที และนำมาบรรจุในภาชนะด้วยขั้นตอนที่ปลอดเชื้อ นมยูเอสทีควรเก็บไว้ในที่ไม่โดนแสงแดดหรือเก็บไว้ที่อุณหภูมิ 20-25 องศาเซลเซียส จะเก็บไว้ได้นาน 6 เดือนโดยไม่ต้องแช่เย็น

1.2 นมสดพร่องมันเนย ( Low Fat Milk ) หรือนมไขมันต่ำ คือ นมสดที่มีการแยกเอาไขมันบางส่วนออกไป เพื่อลดพลังงานที่ได้จากนมให้น้อยลง แต่สารอาหารที่ได้รับยังคงเหมือนกับการดื่มนมสดพร่องมันเนย เหมาะสำหรับคนที่ต้องการสารอาหารครบถ้วนแต่ต้องการพลังงานจากนมในปริมาณที่น้อย

1.3 นมสดขาดมันเนย ( Skim Milk /Non Fat milk ) คือ นมสดที่ทำการแยกไขมันออกทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมด เช่น ไขมัน 0% ไขมัน 0.15% เป็นต้น เหมาะสำหรับคนที่ไม่ต้องการพลังงานจากการดื่มนม แต่ต้องการสารอาหารจากนม ทว่าวิตามินที่ละลายได้ในไขมันในนมก็จะมีปริมาณที่น้อยลงตามปริมาณไขมันที่มีอยู่เช่นกัน

นมขาดมันเนยเหมาะสำหรับคนที่ต้องการลดน้ำหนักหรือควบคุมน้ำหนัก

2.นมผง ( Milk Powder ) คือ เป็นนมอีกรูปแบบหนึ่งที่ได้รับความนิยม โดยการนำน้ำนมไประเหยน้ำออกด้วยกรรมวิธีทำให้แห้ง ( Dehydration ) เพื่อให้น้ำนมอยู่ในรูปของผงพร้อมชง ซึ่งขั้นตอนการทำนมผงมีดังนี้ 

1.ตรวจสอบคุณภาพ คือ การนำน้ำนมดิบมาตรวจสอบคุณภาพว่ามีปริมาณสารอาหาร วิตามินและเกลือแร่อยู่ในน้ำนมดิบปริมาณเท่าใด รวมถึงการตรวจสอบปริมาณของจุลินทรีย์ที่พบในน้ำนมด้วย

2.ปรับมาตราฐาน ( Standardization ) คือ การปรับส่วนประกอบภายในน้ำนมให้มีปริมาณของไขมันนม วิตามิน แร่ธาตุ ให้มีค่าตามมาตรฐานที่ตั้งไว้ ซึ่งแต่ละบริษัทแตละยี่ห้อจะมีค่ามาตราฐานที่แตกต่างกันไป

3.การพลาสเจอไรซ์ ( Pasteurization ) คือ การนำน้ำนมที่ผ่านการปรับมาตรฐานเรียบร้อยแล้ว มาทำการผ่านความร้อนประมาณ 63-65 องศาเซลเซียส นาน 30 นาทีหรือการทำให้ร้อนที่อุณหภูมิประมาณ 72 องศาเซลเซียสนาน 16 นาที และทำให้เย็นลงทันทีที่อุณหภูมิไม่เกิน 5 องศาเซลเซียส เพื่อเป็นการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ที่มีอยู่ในน้ำนมให้หมดไป ป้องกันการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ในนมผงที่ได้

4.การฮอร์โมจีไนซ์ ( Homogenization ) คือ การทำให้ไขมันนมเกิดการแตกตัวให้เล็กลงและรวมตัวกันเป็นเนื้อเดียวกับน้ำ และไม่เกิดการแยกชั้นขึ้นในกระบวนการทำให้แห้ง

5.การทำให้เข้มข้นด้วยการระเหย ( Evaporation ) คือ การระเหยเอาน้ำออกจากน้ำนม ทำให้น้ำนมมีความเข้มข้นสูงขึ้น ในการผลิตนมผงนิยมนำมาทำให้เข้มข้นก่อนที่จะนำไปทำให้แห้งเพื่อลดต้นทุน ลดเวลาและลดพลังงานในการทำให้แห้ง

6.การทำให้แห้ง ( Dehydration ) คือ การทำนมที่เข้มข้นให้แห้งกลายเป็นนมผง ซึ่งมีอยู่ 2 ระบบที่นิยมใช้ในการทำให้แห้งคือ

6.1 การทำให้แห้งด้วยลูกกลิ้ง ( Drum Drier ) ทำโดยการนำลูกกลิ้งที่มีความร้อนสูงไปสัมผัสกับน้ำนมเข้มข้น น้ำที่มีอยู่ในน้ำนมจะระเหยออกไปจนหมด เหลือแต่ผงของนมติดอยู่บนลูกกลิ้ง แล้วทำการขุดผงนมที่ติดอยู่บนลูกกลิ้งออกมาทำการบดอีกครั้งจะได้เป็นนมผง การทำให้แห้งด้วยลูกกลิ้งไม่เป็นผลดีต่อนมผงที่ได้เพราะน้ำนมต้องสัมผัสกับความร้อนสูงจากลูกกลิ้ง จึงเกิดปฏิกิริยาการเกิดสีน้ำตาลส่งผลให้น้ำตาลและกรดแอมิโนไลซีนมีกลิ่นไหม้ โปรตีนในน้ำนมไม่สามารถละลายน้ำได้หมด

6.2 การทำให้แห้งด้วยระบบฉีดฝอย ทำได้โดยการฉีดพ่นน้ำนมให้เป็นฝอยเข้าไปในห้องที่มีความร้อนหรือให้สัมผัสกับลมร้อนในห้องที่ทำแห้ง ซึ่งลมหรือไอความร้อนจะมีอุณหภูมิประมาณ 150-300 องศาเซลเซียส ปล่อยลมร้อนเข้าไปด้วยความเร็ว 50 เมตรต่อวินาที ซึ่งการปล่อยลมร้อนนี้สามารถปล่อยไปในทิศทางเดียวกับที่ฉีดน้ำนมหรือปล่อยในทิศทางที่สวนกับทิศการปล่อยน้ำนมก็ได้ 

นมผงที่ผ่านขั้นตอนการผลิตมาแล้วนั้น มีอยู่ด้วยกัน 3 ชนิด ขึ้นอยู่กับน้ำนมสดที่นำมาผลิตนมผง ดังนี้

2.1 นมผงธรรดา ( Dried / Powder Milk ) หรือนมผงพร้อมมันเนย ( Dry Whole Milk ) คือนมผงที่ผลิตจากน้ำนมธรรมดาที่มีปริมาณไขมันเนยตามธรรมปกติ นำมาผ่านกรรมวิธีการระเหยน้ำออกจนเหลือน้ำประมาณ 3-5%

2.2 นมผงขาดมันเนย ( Dried Skim Milk ) หรือนมผงพร่องมันเนย ( Non Fat Dried Milk ) คือนมผงที่ผลิตจากนมที่ผ่านขั้นตอนการนำไขมันนมออกไป เรียกว่า “หางนม” นมผงชนิดนี้จะมีปริมาณไขมันน้อยกว่านมผงธรรมดาจึงให้พลังงานต่อร่างกายน้อยเช่นกัน แต่สารอาหารทั้งโปรตีน แคลเซียม และวิตามินนั้นใกล้เคียงกับนมผงธรรมดา

2.3 นมผงดัดแปลง ( Humanized / Modified Milk ) คือ นมผงที่มีการรเติมสารอาหาร แร่ธาตุและวิตามินเข้าไปเพื่อให้มีคุณค่าทางอาหารคล้ายกับนมมารดาหรือบางครั้งมีการเพิ่มสารอาหารให้มากกว่าในนมมารดา นมผงชนิดนี้พัฒนามาให้เหมาะสมสำหรับเด็กทารกใช้ดื่มแทนนมมารดาหลังจากที่นมมารดาหมดหรืออายุครบ 1 ปีขึ้นไป

3.นมดัดแปลง ( Filled Milk ) คือ นมที่มีการดัดแปลงเอาไขมัน ชนิดอื่นมาใส่ในนมเพื่อเพิ่มคุณค่าทางอาหาร เช่น การผสมน้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม เป็นต้น

4.นมเปรี้ยว ( Culture Milk ) หรือโยเกิร์ต ( Yoghurt ) คือ นมที่หมักด้วยจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เมื่อกินเข้าจะไปเพิ่มจุลินทรีย์ชนิดดีในลำไส้เพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้ลำไส้และกระเพาะอาหาร นมเปรี้ยวมีรสชาติหวานอมเปรี้ยว อร่อยดื่มง่ายและอาจมีการแต่งกลิ่นและสีเลียนแบบธรรมชาติ นมเปรี้ยวควรเก็บรักษาในอุณหภูมิต่ำกว่าอุณหภูมิห้องหรือประมาณ 10-15 องศาเซลเซียส นมเปรี้ยวแต่ละชนิดจะมีอายุการเก็บรักษาที่ต่างกันขึ้นอยู่กับกรรมวิธีการผลิตและชนิดของจุลินทรีย์ที่ใช้ในการผลิต ก่อนบริโภคควรสังเกตวันเดือนปีหมดอายุก่อน

5.นมข้น คือ นมที่นำมาระเหยน้ำออกไปเพียงบางส่วน ซึ่งจะมีความเข้มข้นมากกว่านมธรรมดา สามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ

5.1.นมข้นจืด ( Condensed Milk ) คือ นมที่มีการระเหยน้ำออกไป 50% แต่ถ้ามีการเติมไขมันเนยเพิ่มลงไปจะเรียกว่า “นมข้นคืนรูปไม่หวาน” แต่ถ้ามีการเติมไขมันชนิดอื่นแทนการเติมไขมันเนยลงไปจะเรียกว่า “นมข้นแปลงไขมันชนิดไม่หวาน” นมข้นจืดชนิดนี้จะมีกรดไขมันจำเป็นและวิตามินน้อยกว่านมสดธรรมดา นิยมนำมาปรุงอาหารหรือขนมหวาน เช่น การนำมาใส่ในต้มยำน้ำข้น การชงกาแฟเย็น เป็นต้น   

5.2.นมข้นหวาน ( Sweetened Condensed Milk ) คือ นมที่ระเหยน้ำออกไปบางส่วนแต่มีความเข้มข้นสูงกว่านมข้นจืด หรือผลิตจากการใช้นมผงขาดมันเนยนำมาผสมกับไขมันปาล์มหรือไมขันเนยขึ้นอยู่กับแต่ละผู้ผลิต และมีการปรุงแต่งให้มีรสหวานมากขึ้นโดยการเติมน้ำตาล 45-55% นมชนิดนี้นิยมนำมาเป็นสารให้ความหวาน เช่น ใส่ในกาแฟแทนน้ำตาลทราย เป็นต้น

จะพบว่าผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากนมนั้นมีอยู่หลากหลายเพื่อให้ผู้บริโภคได้เลือกรับประทานกัน แล้วเราจะรู้ว่าควรเลือกดื่มนมชนิดไหนเมื่อไหร่ ถึงร่างกายจะได้รับประโยชน์สูงสุดจากการบริโภคนมและผลิตภัณฑ์จากนม

การเลือกดื่มนมที่ถูกต้อง

1.ควรดื่มนมขณะหลังกินอาหาร การดื่มนมในขณะที่ท้องว่างร่างกายจะดูดซึมสารอาหารได้น้อยกว่าการดื่มนมหลังจากรับประทานอาหารแล้ว เนื่องจากการดูดซึมแคลเซียมต้องอาศัยวิตามินดีและแมกนีเซียมที่มีอยู่ในอาหารเป็นตัวช่วย ร่างกายไม่สามารถดูดซึมแคลเซียมได้โดยตรง

2.งดดื่มนมกับยา การดื่มนมพร้อมกับยาจะทำให้ร่างกายไม่สามารถดูดซึมตัวยาเข้าสู่ร่างกายได้ ดังนั้นควรดื่มนมก่อนหรือหลังกินยาอย่างน้อย 1-2 ชั่วโมง

3.ไม่ควรกินนมเดือด การกินนมอุ่นเป็นสิ่งที่ดีต่อสุขภาพแต่การดื่มนมที่ร้อนหรืออุ่นจนนมเดือดจะส่งผลเสียต่อร่างกายเพราะที่อุณหภูมิเกิน 100 องศาเซลเซียส น้ำตาลในนมจะเกิดการไหม้เกรียมและแคลเซียมจะจับตัวเป็นก้อนทำให้ร่างกายไม่สามารถดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ และอาจจะสะสมบริเวณผนังลำไส้ทำให้ลำไส้เกิดการระคายเคืองหรืออักเสบก่อให้เกิดการกลายพันธุ์ของเซลล์กลายเป็นเซลล์มะเร็งได้ ดังนั้นการอุ่นนมเพื่อดื่มควรอุ่นที่อุณหภูมิ 60-70 องศาเซลเซียสจึงจะเหมาะสม

4.ไม่ควรเลี้ยงเด็กนมเปรี้ยว เพราะว่าในนมเปรี้ยวมีปริมาณจุลินทรีย์สูงเกินความจำเป็นของทารก เมื่อร่างกายได้จุลินทรีย์มากเกินไปอาจจะทำให้เด็กเกิดภาวะลำไส้อักเสบได้

5.ไม่ควรเลี้ยงเด็กด้วยนมข้นหวาน เพราะในนมข้นหวานมีปริมาณน้ำตาลสูง ถ้านำไปเลี้ยงทารกจะทำให้ทารกได้รับน้ำตาลเข้สู่ร่างกายสูงมาก ส่งผลให้เด็กเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานและโรคอ้วนได้ 

6.ควรดื่มต่อเนื่อง การดื่มนมเพื่อให้ร่างกายแข็งแรงควรดื่มนมเป็นประจำทุกวันต่อเนื่อง ไม่ควรดื่มวันละมากเกินวันละ 2 แก้ว เพราะว่าร่างกายเราจะสามารถดูดซึมสารอาหารจากนมได้สูงสุดเพียง 2 แก้วต่อวัน ถึงจะดื่มนมมากกว่า 2 แก้วต่อวัน ร่างกายก็ไม่สามารถดูดซึมสารอาหารได้มากกว่านั้นแล้ว และควรดื่มนมต่อเนื่องทุกวันเพื่อที่ร่างกายจะได้รับสารอาหารทุกวันในการเสริมสร้างภูมิต้านทานให้กับร่างกาย

นมเป็นอาหารชนิดแรกของคนเรา และเป็นอาหารที่ทรงคุณค่าต่อร่างกาย เพราะนมมีทั้งโปรตีน กรดอะมิโน น้ำตาล น้ำ แร่ธาตุและเกลือแร่ที่จำเป็นต่อร่างกาย เพื่อสุขภาพที่ดีเราควรดื่มนมอย่างน้อยวันละ 1 แก้วทุกวัน เราก็จะมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

ศัลยา คงสมบูรณ์เวช. บำบัดเบาหวานด้วยอาหาร. พิมพ์ครั้งที่ 4 (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ : อัมรินทร์เฮลท์ อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2559. (12), 311 หน้า. (ชุดชีวิตและสุขภาพ ลำดับที่ 113) 1.เบาหวาน 2.โภชนบำบัด 3.การปรุงอาหารสำหรับผู้ป่วย 4.การดูแลสุขภาพตนเอง. 616.462 ศ7บ6 2559. ISBN 978-616-18-7741-9.

ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). กินเท่าไหร่ กินแค่ไหน ไม่เสี่ยงอ้วน. ใน: ธิดารัตน์ มูลลา.ชีวิตใหม่ไร้พุง. กรุงเทพฯ : บริษัทศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์ จำกัด, 2557.

ขอบคุณคลิปดี ๆ มีสาระจาก หมอปุ้ม พญ. สิรนาถ.

ออกซิเจน คืออะไร และจำเป็นต่อร่างกายอย่างไร

0
ออกซิเจน (Oxygen) จำเป็นต่อร่างกายอย่างไร
ออกซิเจนเป็นก๊าซที่สำคัญต่อการดำรงชีวิตของทั้งพืชและสัตว์ รวมถึงมนุษย์เพราะถ้าร่างกายขาดออกซิเจนแล้วจะทำให้เสียชีวิตได้
ออกซิเจน (Oxygen) จำเป็นต่อร่างกายอย่างไร ?
ออกซิเจนเป็นก๊าซที่สำคัญต่อการดำรงชีวิตของทั้งพืชและสัตว์ รวมถึงมนุษย์เพราะถ้าร่างกายขาดออกซิเจนแล้วจะทำให้เสียชีวิตได้

ออกซิเจน

ออกซิเจน ( Oxygen ) คือธาตุที่มีสัญลักษณ์ในตารางธาตุ เป็น O มีเลขอะตอมเท่ากับ 8 มีความหนาแน่น 1.43 กรัม/ลิตร ออกซิเจนเป็นธาตุที่สามารถอยู่ได้ทั้ง 3 สถานะ คือ

  • ออกซิเจนสภาวะก๊าซ : ที่สภาวะปกติออกซิเจนจะอยู่ในสถานะก๊าซ
  • ออกซิเจนสภาวะของเหลว : ที่อุณหภูมิประมาณ -182.5 องศาเซลเซียสหรือต่ำกว่า ก๊าซออกซิเจนจะเปลี่ยนสถานะจากก๊าซกลายเป็นของเหลวสีฟ้า
  • ออกซิเจนสภาวะของแข็ง : ที่อุณหภูมิ -218.4 องศาเซลเซียสหรือต่ำกว่า ออกซิเจนจะเปลี่ยนสถานะจากของเหลวกลายเป็นของแข็งสีฟ้าอ่อน

ก๊าซออกซิเจน

ก๊าซออกซิเจน ( O2 ) คือ ออกซิเจนในสภาวะก๊าชที่มีอยู่ในอากาศ โดยธรรมชาติเกิดมาจากกระบวนการสังเคราะห์แสงของพืช ก๊าชออกซิเจนเป็นก๊าซที่สำคัญต่อการดำรงชีวิตของทั้งพืช สัตว์ และมนุษย์ ถ้าขาดก๊าชออกซิเจนก็จะเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ เพราะหลังจากเราหายใจเข้าไปก๊าชออกซิเจนจะถูกนำมาใช้เป็นหนึ่งในองค์ประกอบของกระบวนการต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น กระบวนการเปลี่ยนแปลงอาหารให้เป็นพลังงาน กระบวนการรักษาเซลล์ การสังเคราะห์เอนไซม์หรือวิตามินที่ใช้ในร่างกาย เป็นต้น

โดยในอากาศจะมีค่าก๊าชออกซิเจนผสมอยู่ร้อยละ 21 รองมาจากก๊าซไนโตรเจนที่มีอยู่ประมาณร้อยละ 78 ก๊าชออกซิเจนเป็นก๊าซไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่มีรสชาติ ละลายน้ำได้ ไม่ติดไฟแต่ทว่าออกซิเจนเป็นสารที่ช่วยให้ติดไฟ นั่นคือถ้าไม่มีออกซิเจนก็จะไม่สามารถติดไฟได้

Spo2 คือ ความอิ่มตัวของออกซิเจนในเส้นเลือดฝอยของเส้นโลหิตฝอยซึ่งเป็นค่าประมาณของปริมาณออกซิเจนในเลือด เป็นเปอร์เซ็นต์ของเฮโมโกลบินออกซิเจน หรือ ความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือดในเลือด ซึ่งเป็นรอบการหายใจ

Oxygen saturation คือ การวัดความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือด ซึ่งปกติอยู่ที่ระดับความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดแดงปกติในมนุษย์อยู่ที่ 95–100 เปอร์เซ็นต์

ออกซิเจนนอกจากจะอยู่ในอากาศแล้วยังเป็นพบอยู่รวมกับธาตุชนิดอื่น ๆ รอบตัวเราอีกด้วย เช่น น้ำ ( H2O )  ก๊าชคาร์บอนไดออกไซต์ ( CO2 ) เป็นต้น

การใช้งานออกซิเจนของร่างกาย

ก๊าชออกซิเจนจะเข้าสู่ร่างกายโดยการหายใจเข้าไปสู่ปอด เมื่อก๊าชออกซิเจนเข้าสู่ปอดจะเกิดการแลกเปลี่ยนก๊าซเพื่อให้ก๊าซออกซิเจนเข้าไปจับฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดงและเดินทางเข้าหัวใจ หัวใจจะส่งเม็ดเลือดแดงที่เต็มไปด้วยออกซิเจนนี้ไปยังอวัยวะต่าง ๆ เพื่อที่ออกซิเจนจะเข้าไปช่วยในกระบวนการเมตาบอลิซึมของงเซลล์ตามอวัยวะเพื่อรักษาให้เซลล์มีชีวิตอยู่ต่อไป เช่น เซลล์กล้ามเนื้อ เซลล์ตับ เซลล์ไต เซลล์สมอง เป็นต้น ถ้าร่างกายเกิดภาวะขาดออกซิเจนหรือได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอต่อความต้องการจะทำให้เซลล์ตายส่งผลให้อวัยวะตายตามไปด้วย

คุณสมบัติขององค์ประกอบออกซิเจน

สัญลักษณ์ออกซิเจนขององค์ประกอบ : O
เลขอะตอม : 8
มวลอะตอม : 15.9994 amu
จุดหลอมเหลว : -218.4 องศาเซลเซียส – 54.750008 เคลวิน
จุดเดือด : -183.0 องศาเซลเซียส – 90.15 เคลวิน
จำนวนโปรตอน / อิเล็กตรอน : 8
จำนวนนิวตรอน : 8
โครงสร้างผลึก : ลูกบาศก์
ความหนาแน่นที่ 293 เคลวิน : 1.429 กรัม / ซม. 3
สีของออกซิเจน : ไม่มีสี

ออกซิเจนที่อยู่ในอากาศเกิดจากกระบวนการสังเคราะห์แสงของพืช ร่างกายคนเราจะใช้ก๊าซออกซิเจนในกระบวนต่าง ๆ ภายในร่างกาย รวมถึงการเมตาบอลิซึมของเซลล์

ผลของปริมาณออกซิเจนในกระแสเลือด

ปริมาณออกซิเจนที่มีอยู่ในกระแสเลือดนั้นส่งผลต่อสุขภาพร่างกายของเราได้ โดยปริมาณของออกซิเจนในร่างกายแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ

1. ระดับออกซิเจนต่ำ ( Hypoxemia หรือ hypoxia ) คือ แรงดันออกซิเจนหรือค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนน้อยว่าปกติ นั่นคือมีระดับที่มีออกซิเจนในเลือดอยู่ต่ำกว่า 60 มิลลิเมตรปรอทหรือมีค่าความอิ่มตัวในเลือดน้อยกว่า 96% การที่มีระดับออกซิเจนต่ำอาจเกิดได้จากการเป็นโรคโลหิตจาง โรคปอดเรื้อรัง โรคถุงลมโป่งพอง โรคปอดบวม หรือโรคที่เกี่ยวข้องกับหลอดลมและปอด ภาวะน้ำท่วมปอด ซึ่งโรคเหล่านี้จะทำให้ปอดทำงานได้ไม่เต็มที่ร่างกายจึงเกิดภาวะขาดออกซิเจน ส่งผลให้มสมองทำงานและสั่งงานช้าลงหรือเสียชีวิตจากภาวะหัวใจล้มเหลว หรือการเข้าไปอยู่ในสถานที่อับอากาศก็เป็นสาเหตุให้เกิดสภาวะออกซิเจนต่ำได้

2. ระดับออกซิเจนปกติ คือ แรงดันออกซิเจนหรือค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนอยู่ที่ 96-99% ซึ่งเป็นสภาวะที่ดีที่สุดต่อร่างกาย ซึ่งระดับออกซิเจนนี้จะส่งผลให้

2.1 สมองทำงานดี ที่ระดับออกซิเจนปกติสมองจะมีการสั่งงานได้ดี เนื่องจากซลล์สมองจะใช้ปริมาณออกซิเจนมากกว่า 20% ของออกซิเจนทั้งหมดในการทำงาน ดังนั้นเมื่อร่างกายมีออกซิเจนอยู่ในระดับปกติจะทำให้เซลล์สมองทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยให้มีความจำดี มีสมาธิในการเรียนและการทำงาน เรียนรู้เข้าใจสิ่งต่างๆ ได้ดีและช่วยให้ระบบภายในร่างกายทำงานได้ปกติภายใต้การสั่งงานของสมองที่ถูกต้อง

2.2 ผิวพรรณดี เนื่องจากออกซิเจนและน้ำคือองค์ประกอบที่สำคัญของเซลล์ ดังนั้นเมื่อร่างกายได้รับน้ำและออกซิเจนในปริมาณที่เพียงพอ เซลล์ที่อยู่ในร่างกายก็จะแข็งแรงสมบูรณ์ส่งผลให้ผิวพรรณเปล่งปลั่งมีน้ำมีนวล และช่วยให้เซลล์มีอายุยืนขึ้น ช่วยลดริ้วรอยที่เกิดขึ้นก่อนวัยอันควร

2.3 ร่างกายแข็งแรง ออกซิเจนที่อยู่ในรูปของน้ำ เมื่อเข้าร่างกายจะดูดซึมเข้าสู่ตับ เซลล์ของตับจะได้รับออกซิเจนที่อยู่ในน้ำโดยที่เซลล์ตับจะดึงออกซิเจนมาใช้ในกระบวนการเปลี่ยนสารอาหารที่ดูดซึมเข้ามาให้เป็นพลังงานส่งให้กับร่างกาย เมื่อเซลล์ตับแข็งแรงจึงสามารถสร้างพลังงานเพียงพอในการใช้งานของร่างกาย ร่างกายจึงแข็งแรงสมบูรณ์และยังช่วยให้ตับสามารถขับสารพิษออกจากร่างกายอย่างมีประสิทธิภาพ ลดการตกค้างของสารพิษที่เป็นอัตรายต่อร่างกาย 

3. ระดับออกซิเจนสูง ( Hyperoxia ) คือ แรงดันออกซิเจนหรือค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนมากกว่าปกติ นั่นคือมีระดับที่มีออกซิเจนในเลือดอยู่สูงว่า 100 มิลลิเมตรปรอทหรือมีค่าความอิ่มตัวในเลือดมากกว่า 99% เราเรียกว่า สภาวะ Hyperoxia หรือ ออกซิเจนเป็นพิษ เกิดจากการที่ร่างกายได้รับออกซิเจนในปริมาณมากหรือการรับออกซิเจนบริสุทธิ์เป็นเวลานาน 24 ชั่วโมงที่ความดัน 760 มิลลิเมตรปรอท โดยสภาวะระดับออกซิเจนสูงจะส่งผลดังนี้

3.1 ผลต่อระบบทางเดินหายใจ เกิดการระคายเคือง ไอ เจ็บหน้าอก และส่งผลให้เนื้อเยื่อภายในปอดเกิดการเสื่อม เนื่องจากปอดมีน้ำและเลือดคั่งที่บริเวณเยื่อบุทางเดินอากาศทำให้เยื่อเกิดการอุดตัน ทำให้การแพร่ของก๊าซระหว่างปอดกับเลือดลดลง ความต้านทานในปอดสูงขึ้น ทำให้หายใจลำบากซึ่งจะทำให้เกิดการชักและอาจเสียชีวิตได้ในเวลาต่อมา

3.2 ผลต่อระบบประสาทตา โดยเฉพาะในเด็กถ้าอยู่ในสภาวะออกซิเจนสูง ออกซิเจนจะเข้าไปทำลายจอตา ( Retina ) จนเป็นสาเหตุของการตาบอดได้

การป้องกันภาวะระดับออกซิเจนต่ำ หรือสูง

สภาวะออกซิเจนต่ำนั้นจะพบได้บ่อยกว่าสภาวะออกซิเจนสูง เนื่องจากการเกิดสภาวะออกซิเจนสูงต้องเกิดจากการได้รับออกซิเจนบริสุทธิ์ในปริมาณที่มากเป็นระยะเวลาหลายชั่วโมง ซึ่งการจะได้รับออกซิเจนบริสุทธิ์นั้นจะต้องอยู่ในการดูแลของผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น ทำให้โอกาสเกิดสภาวะออกซิเจนสูงนั้นเกิดขึ้นได้น้อยต่างจากสภาวะออกซิเจนต่ำที่พบได้ง่ายเนื่องจากร่างกายมีการใช้ออกซิเจนอยู่ตลอดเวลา

ถ้าเราเป็นโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ โรคเลือดจางการออกกำลังกายหนักหรือทำงานหนักจนหายใจเอาออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายไม่ทันหรือเข้าไปอยู่ในสถานที่อับอากาศเราก็จะเกิดสภาวะออกซิเจนต่ำได้ ซึ่งเราสามารถแก้ไข้ได้ดังนี้

1. สูดหายใจเข้าลึก ๆ การสูดหายใจเข้าลึก ๆ ยาว ๆ จะทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนจากอากาศเข้าสู่ร่างกายเพิ่มมากขึ้น ลดอาการออกซิเจนต่ำได้ เช่น อาการขาดออกซิเจนเนื่องจากความเครียดเพราะว่าเวลาที่เราเครียด กล้ามเนื้อของเราจะเกร็ง หายใจสั้น ๆ ดังนั้นเมื่อเราหายใจยาว ๆ จะช่วยลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อและยังช่วยเพิ่มปริมาณออกซิเจนในร่างกาย เป็นต้น

2. การออกกำลังกาย เวลาออกกำลังกายร่างกายจะหายใจเร็วและแรงขึ้น ทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนเพิ่มมากขึ้นและการออกกำลังกายยังช่วยให้เซลล์ในร่างกายแข็งแรงจึงสามารถแรงเปลี่ยนออกซิเจนเพื่อนำไปใช้งานได้มากขึ้นด้วย

3. นวด การที่กล้ามเนื้อปวดเมื่อยเกิดจากกล้ามเนื้อมีการหดตัวและเกร็งตัว ทำให้เลือดในบริเวณนั้นหมุนเวียนไม่ดี กล้ามเนื้อขาดออกซิเจนจึงเกิดการปวดเมื่อยนั่นเอง การนวดจะเข้าไปกระตุ้นการหมุนเวียนของเลือดให้ดีขึ้น ทำให้กล้ามเนื้อได้รับออกซิเจนและสารอาหารที่มากับกระแสเลือด

4. การอาบแช่น้ำอุ่นหรืออบซาวน่า วิธีการนี้จะช่วยให้หลอดเลือดและเส้นเลือดฝอยมีการขยายตัวมีขนาดใหญ่ขึ้น ทำให้เลือดหมุนเวียนมากขึ้นร่างกายจึงมีการแลกเปลี่ยนเอาออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายและเอาคาร์บอนไดออกไซต์ออกมาจากร่างกาย ส่งผลให้ผิวพรรณเปล่งปลั่งหน้าตาสดชื่น

5. ดื่มน้ำ น้ำประกอบด้วยโมเลกุลของออกซิเจนกับไฮโดรเจน การดื่มน้ำมาก ๆ ก็เป็นการนำออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายอีกวิธีหนึ่ง ดังนั้นเมื่อรู้สึกว่าร่างกายขาดออกซิเจนเราควรดื่มน้ำเพื่อช่วยในการนำออกซิเจนเข้าสู่กระแสเลือดและควรดื่มน้ำเป็นประจำอย่างน้อยวันละ 8 แก้วต่อวัน

การให้ออกซิเจนในแบบต่าง ๆ

1. ดมออกซิเจนทางจมูก ( Oxygen cannula ) สำหรับผู้ป่วยที่หอบเหนื่อย เกิดโรคต่อปอด หรือ การทำงานหัวใจ จนขาดออกซิเจนหรือได้รับออกซอเจนไม่เพียงพอ จึงค่อยดม ใช้ได้ในเด็กทุกวัย ใช้ได้ดีในเด็กโต อายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป หรือในเด็กเล็กที่อายุต่ำกว่า 1 ปี
2. ใส่หน้ากากออกซิเจน ( Oxygen mask ) จะให้ความเข้มข้นออกซิเจนมากกว่าระดับ 2 ในรายที่ขาดออกซิเจนอย่างมาก ( เช่น เป็นปอดติดเชื้อรอยใหญ่ๆ ) ใช้ได้ดีในเด็กโต ควรเลือกใช้ในผู้ป่วยที่มีลักษณะการหายใจที่ค่อนข้างคงที่
3. การใส่ท่อช่วยหายใจ ( Endotracheal intucation ) ในขั้นนี้จะทำเมื่อคนไข้ ” หายใจเอง ” โดยหน้ากากแแกซิเจนแล้วยังเหนื่อยมาก หรือยังขาด ออกซิเจนมาก มักเกิดในคนไข้ที่มีรอยโรคในปอดรุนแรงมาก ซึ่งแพทย์จะพิจารณาใส่ท่อช่วยหายใจทางปาก ลงไปในหลอดลม
4. การเจาะคอ ( Tracheostomy ) จะพิจารณาทำเมื่อได้ใส่ท่อในระดับ 4 มานานสักระยะแล้ว ( ประมาณ 10-14 วัน ) ยังไม่มีแนวโน้มที่จะเอาท่อออกให้คนไข้หายใจเองได้ แพทย์จะคุยกับญาติเพื่อพิจารณาการเจาะคอ เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนของการใส่ท่อนานๆ เช่น ติดเชื้อแทรกซ้อน หรือ หลอดลมบวมตีบตัน

ประโยชน์ของออกซิเจนในด้านอื่น ๆ

นอกจากออกซิเจนจะเป็นก๊าซที่ช่วยในการดำรงชีวิตของพืช สัตว์ และมนุษย์แล้ว ออกซิเจนยังมีประโยชน์ในด้านอื่น ๆ ดังนี้

1. เชื้อเพลิงในจรวด ได้มีการนำออกซิเจนเหลวเข้าไปเป็นตัวช่วยในการออกซิไดซ์เชื้อเพลิงเพราะว่าในการเผาไหม้เชื้อเพลิงนั้นต้องอาศัยออกซิเจนป็นตัวช่วยในการติดไฟ ถ้าไม่มีออกซิเจนแล้วกระบวนการเผาไหม้จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้

2. ทางการแพทย์ ออกซิเจนจัดเป็นตัวกระตุ้นและช่วยให้บาดแผลหายเร็วขึ้น โดยเฉพาะแผลที่เกิดจากโรคเรื้อรัง เช่น แผลของหลอดเลือด แผลที่เกิดจากการฉายรังสี เป็นต้น โดยการที่ร่างกายได้รับออกซิเจนในปริมาณที่พอเหมาะจะทำให้เซลล์ที่อยู่ในบริเวณที่เกิดการอักเสบหรือบริเวณที่เกิดแผลสามารถทำงานหรือซ่อมแซมเซลล์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยทำลายเชื้อโรคที่เข้ามาทำลายเนื้อเยื่อหรือเซลล์ และช่วยสร้างเนื้อเยื่อขึ้นมาใหม่ จึงทำให้แผลที่เกิดขึ้นหายเร็วขึ้น ช่วยในผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด และยังสามารถช่วยฆ่าเชื้อโรคที่อยู่ในระบบทางเดินหายใจ ป้องกันการเกิดโรคในระบบทางเดินหายใจได้อีกด้วย

3. ทางอุตสาหกรรม มีการใช้ออกซิเจนในการเชื่อมและตัด ใช้ในการบำบัดน้ำเสียที่ออกจากโรงงานและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเผาไหม้ให้ได้พลังงานสูงขึ้นและมีต้นทุนต่ำลง

นอกจากนี้แล้วยังมีการนำออกซิเจนไปช่วยในการดำน้ำ โดยการบรรจุออกซิเจนในถังเพื่อช่วยให้นักประดาน้ำใช้เป็นออกซิเจนเมื่อต้องดำน้ำลงไปใต้น้ำที่มีความลึกมากและช่วยในการดำรงชีวิตของนักบินอวกาศที่บินอยู่ในยานอวกาศด้วย

ออกซิเจน เป็นสิ่งที่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตก็จริง แต่ทว่าการทุกสิ่งทุกอย่างต้องมีความพอดีในตัว ถ้าได้รับมากไปหรือน้อยไปก็ย่อมที่จะส่งผลร้ายต่อร่างกายได้เช่นกัน ดังนั้นเราจึงควรรักษาสมดุลของร่างกายด้วยการดูแลตัวเองด้วยการกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ ออกกำลังกายเป็นประจำ พักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อให้ร่างกายมีความแข็งแรง เมื่อร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ระบบการทำงานก็จะสมดุลไม่เกิดสภาวะออกซิเจนสูงหรือออกซิเจนต่ำ

1570093786937 - ออกซิเจน คืออะไร และจำเป็นต่อร่างกายอย่างไร

แสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม

[contact-form-7 id=”19480″ title=”แสดงความคิดเห็น”]

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

Meija, J.; et al. (2016). “Atomic weights of the elements 2013 (IUPAC Technical Report)”. Pure and Applied Chemistry. 88 (3): 265–91. doi:10.1515/pac-2015-0305.

Weast, Robert (1984). CRC, Handbook of Chemistry and Physics. Boca Raton, Florida: Chemical Rubber Company Publishing. pp. E110. ISBN 0-8493-0464-4.

Jastrow, Joseph (1936). Story of Human Error. Ayer Publishing. p. 171. ISBN 0-8369-0568-7.

Wikisource-logo.svg Chisholm, Hugh, ed. (1911). “Mayow, John”. Encyclopædia Britannica. 17 (11th ed.). Cambridge University Press. pp. 938–939.

โปรไบโอติกส์ ( Probiotics )

0
ประโยชน์ของโปรไบโอติก (Probiotics)
โปรไบโอติก คือ จุลินทรีย์มีชีวิตและเป็นจุลิทรีย์ชนิดดีที่อยู่ในอาหาร เมื่อเข้าสู่ร่างกายในปริมาณที่เหมาะสมและเพียงพอต่อความต้องการแล้วจะส่งผลดีต่อสุขภาพร่างกาย
ประโยชน์ของโปรไบโอติก (Probiotics)
โปรไบโอติก คือ จุลินทรีย์มีชีวิตและเป็นจุลิทรีย์ชนิดดีที่อยู่ในอาหาร ส่งผลดีต่อสุขภาพร่างกาย

โปรไบโอติกส์

โปรไบโอติกส์ ( Probiotics ) คือ จุลินทรีย์ชนิดดีที่มีชีวิตขนาดเล็ก เมื่อรับประทานเข้าไปแล้วจะทำให้สุขภาพดีในภาวะต่างๆ โดยเป็นจุลินทรีย์ที่มีคุณสมบัติทนต่อกรดและด่าง สามารถจับที่บริเวณผิวของเยื่อบุลำไส้แล้วผลิตสารต่อต้านหรือกำจัดเชื้อจุลินทรีย์ชนิดอื่นๆ รวมถึงก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสุขภาพได้ สามารถพบได้ในอาหาร เช่น นมเปรี้ยว โยเกิร์ต กิมจิ มิโสะ แตงกวาดอง และสามารถพบโปรไบโอติกส์ใน ชีส Dark Chocolate ซุปมิโซะ เป็นต้น

ปัจจัยที่ทำลายโปรไบโอติกส์ในร่างกาย

  • ยาปฏิชีวนะ หรือยาฆ่าเชื้อไม่เพียงทำลายเชื้อโรค แต่ยังทำลายจุลินทรีย์โปรไบโอติกส์และแบคทีเรียที่มีประโยชน์ต่อระบบย่อยอาหาร
  • สูบบุหรี่
  • คาเฟอีน
  • แป้งขัดสี
  • โรคเครียด
  • เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • การออกกำลังกายไม่เพียงพอ
  • การพักผ่อนไม่เพียงพอ
  • อาหารและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลในปริมาณมาก
  • อาหารที่ไม่มีประโยชน์ พวกอาหารขยะ

ประโยชน์ของโปรไบโอติกส์ต่อสุขภาพ

1. ป้องกันโรคทางเดินอาหารในทารก ทารกที่เพิ่งคลอดจะมีภูมิต้านทานโรคน้อยโดยเฉพาะบริเวณลำไส้และกระเพาะอาหารทำให้มีเสี่ยงต่อการเกิดโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารที่รุนแรงได้ ดังนั้นการให้ทารกดื่มนมแม่จะช่วยเสริมภูมิต้านทานให้กับทารกได้ เพราะว่าในน้ำนมแม่มีจุลินทรีย์ บิฟิโดแบคทีเรียม ( Bifidobacterium ) ที่มีประโยชน์ต่อทารก โดยบิฟิโดแบคทีเรียม ( Bifidobacterium ) จะเข้าไปยึดเกาะกับผนังของลำไส้เล็กเจริญเติบโตที่สมบูรณ์ส่งผลให้ลำไส้เล็กมีความแข็งแรงต้านทานต่อโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารได้ดี และเข้าไปกระตุ้นการสร้างเมือกที่ใช้ในการจับเชื้อไวรัสโรต้าให้มีความหนาขึ้น ทำให้มีโอกาสจับเชื้อโรคได้มากขึ้น จึงลดความเสี่ยงในเป็นโรคท้องเสียชนิดรุนแรงที่เกิดจากเชื้อไวรัสโรต้าได้เป็นอย่างดี รวมถึงการท้องเสียที่เกิดจากเชื้อ Enterovirus ที่พบได้ในเด็กด้วย

2. ป้องกันโรคลำไส้อักเสบโดยโปรไบโอติกส์จะเข้าไปยึดเกาะกับเนื้อเยื่อบนผนังลำไส้เอาไว้ ทำให้ไม่มีช่องว่างหรือพื้นที่ว่างให้เชื้อโรคร้ายเข้ามาทำร้ายผนังลำไส้ได้ ผนังลำไส้จึงไม่เกิดการอักเสบ แต่ถ้าร่างกายมีปริมาณโปรไบโอติกส์น้อยไม่สามารถยึดเกาะกับเนื้อเยื่อของผนังลำไส้ได้ทั้งหมด เมื่อร่างกายรับเชื้อที่ก่อโรคเข้ามา เชื้อก่อโรคก็จะเข้าไปจับกับผนังลำไส้บริเวณที่ว่างอยู่ ทำให้เนื้อเยื่อในบริเวณนั้นจนเกิดการระคายเคืองหรืออักเสบขึ้นซึ่งเป็นสาเหตุของโรคลำไส้อักเสบ

3. ยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ก่อโรค ทั้งที่อยู่ในร่างกายและที่ร่างกายรับเข้ามาจากภายนอก โดยการที่โปรไบโอติกส์จะเข้าไปแย่งอาหารของจุลินทรีย์ก่อโรคไปจนหมด ทำให้จุลินทรีย์ก่อโรคขาดอาหารส่งผลให้จุลินทรีย์ก่อโรคหยุดการเจริญเติบโตและตายไปในที่สุด นอกจากแย่งอาหารของจุลินทรีย์ก่อโรคแล้วโปรไบโอติกส์ยังผลิตกรดอะซิติกและแลคติกขึ้นมา เพื่อควบคุมระดับความกรดเป็นกรด – ด่างภายในลำไส้ให้ไม่เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ก่อโรค จุลินทรีย์ก่อโรคจึงมีปริมาณลดลงไม่สามารถส่งผลหรือก่อโรคภายในร่างกายได้

4. ทำลายจุลินทรีย์ก่อโรค โปรไบโอติกส์จะปล่อยสารแบคเทอริโอซิน ( Bacteriocin ) ที่มีคุณสมบัติทำลายเชื้อแบคทีเรียหรือจุลินทรีย์ก่อโรค โดยสารแบคเทอริโอซิน ( Bacteriocin ) จะเข้าไปทำลายเยื่อหุ้มเซลล์ของจุลินทรีย์ก่อโรคทำให้เซลล์เกิดการสูญเสียสารอาหารและน้ำ ส่งผลให้จุลินทรีย์ก่อโรคเสื่อสภาพและตายในที่สุด จุลินทรีย์ก่อโรคจึงไม่สามารถทำให้เกิดโรคในร่างกายได้ จึงป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ ป้องกันการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ

5. ช่วยดูดซึมสารอาหาร โปรไบโอติกส์จะผลิตเอนไซม์ที่ช่วยในการย่อยอาหาร เช่น เอนไซม์ไลเปส ( Lipase ) ที่ย่อยไขมันให้เป็นกรดไขมันและกลีเซอรอล เอนไซม์โปติเอส ( Proteases ) ช่วยในการย่อยโปรตีนให้มีขนาดเล็กลง เป็นต้น เมื่อไขมันและโปรตีนมีขนาดที่เล็กลงจึงทำให้ร่างกายสามารถดูดซึมได้มากขึ้น

6. เสริมสร้างภูมิต้านทาน โปรไบโอติกส์ที่ยึดเกาะอยู่กับเนื้อเยื่อของผนังลำไส้จะเข้าไปกระตุ้นต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ในชั้นใต้ผิวของผนังลำไส้ ( Gut-Associated Lymphocyte Tissue, GALT ) ทำให้ต่อมน้ำเหลืองมีการสร้างสารป้องกันหรือสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายให้อยู่ในระดับที่มีความสมดุล ส่งผลให้เมื่อมีเชื้อโรคเข้ามาระบบภูมิคุ้มกันจะเข้าไปกระตุ้นให้เม็ดเลือดขาวทำการจับตัวกับเชื้อโรคได้ดีขึ้น ทำให้เชื้อโรคโดนทำลายอย่างมีประสิทธิภาพ

7. ลดระดับคอเลสเตอรอล โปรไบโอติกส์ชนิด Lactobacillus Acidophilus ที่อยู่ในกลุ่มของบิฟิโดแบคทีเรียม ( Bifidobacterium ) จะเข้าไปช่วยย่อยคอเลสเตอรอลและยับยั้งการดูดซึมคอเลสเตอรอลที่อยู่ในลำไส้ และทำการขับเอาคอเลสเตอรอลออกมากับอุจจาระจึงช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือดได้

8. ป้องกันท้องผูก เนื่องจากจุลนิทรีย์บิฟิโดแบคทีเรียม ( Bifidobacterium ) สามารถผลิตกรดอินทรีย์ที่ช่วยกระตุ้นการทำงานของลำไส้ให้มีการบีบตัวมากขึ้นและยังเข้าไปเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับอุจจาระ ทำให้อุจจาระมีความอ่อนนุ่ม สามารถขับถ่ายออกมาได้ง่าย จึงสามารถป้องกันอาการท้องผูกได้เป็นอย่างดี

9. ลดอาการข้างเคียงจากยาปฏิชีวะนะ การทานยาปฏิชีวะนะหรือยาฆ่าเชื้อเข้าไป นอกจากยาจะเข้าไปฆ่าเชื้อโรคที่เป็นสาเหตุของโรคแล้ว ยาปฏิชีวะนะยังฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ทั้งหมดภายในร่างกายทั้งจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์และไม่มีประโยชน์ ส่งผลให้เมื่อรับประทานยาปฏิชีวะนะอาจจะมีอาการท้องเสียเกิดขึ้นเป็นอาการข้างเคียงได้ การรับประทานอาหารที่มีโปรไบโอติกส์เข้าไปจะความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียงดังกล่าวได้ เพราะการทานโปรไบโอติกส์เข้าไปจะช่วยเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในร่างกายป้องกันการท้องเสียได้

10. ลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็ง โปรไบโอติกส์เป็นจุลินทรีย์ชนิดดีที่ป้องกันการอักเสบหรือติดเชื้อของเซลล์ภายในร่างกาย เมื่อเซลล์ไม่ได้รับการทำร้ายจากเชื้อโรคเซลล์ย่อมมีความแข็งแรงโดยเฉพาะดีเอ็นเอของเซลล์จะคงอยู่เหมือนเดิมไม่เกิดการกลายพันธุ์เป็นเซลล์มะเร็ง และเมื่อไม่มีการสะสมของเสียในลำไส้จึงไม่มีอนุมูลอิสระเกิดขึ้นทำให้ผนังลำไส้ไม่เกิดการอักเสบซึ่งเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดมะเร็งลำไส้ ดังนั้นการที่ร่างกายได้รับโปรไบโอติกส์ย่อมลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งได้ โดยเฉพาะโรคมะเร็งในระบบทางเดินอาหาร

ประโยชน์ของโปรไบโอติกส์สำหรับผู้ใหญ่

1. ช่วยป้องกันโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร เช่น ลำไส้อักเสบ โรคโครห์น ท้องร่วง ท้องอืด ลำไส้แปรปรวน และลำน้ำหนักได้
2. ช่วยรักษาโรควิตกกังวล ซึมเศร้า อ่อนเพลียเรื้อรัง
3. ช่วยรักษาโรคผิวหนังและแผลเป็น
4. ช่วยรักษาโรคในช่องปากและการติดเชื้อ

ประโยชน์ของโปรไบโอติกส์สำหรับผู้หญิง

1. ช่วยรักษาและป้องกันภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย
2. ช่วยป้องกันการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ
3. ช่วยยับยั้งความยากอาหาร และลดน้ำหนัก
4. ช่วยปรับสมดุลให้ร่างกาย หลีกเลี่ยงการก่อเกิดโรคภูมิแพ้ ภูมิแพ้ตนเอง โรคผิวหนัง สิว

วิธีเลือกทานโปรไบโอติกส์

1. มีเลข อย. และมีชื่อสายพันธุ์เชื่อชัดเจน
1. เลือกทานโปรไบโอติกส์ให้ตรงกับปัญหาที่ต้องการและมีเชื้อมากพอ เช่น ทานเพื่อสุขภาพทั่วไปควรเริ่มจาก 30,000-50,000 ล้านตัว CFU (หรือแลคโตบาซิลัสกับบิฟิโดแบคทีเรียมอย่างน้ำ 15,000 ล้านตัว)
2. จุลินทรีย์ที่ดีต้องมีทั้งโปรไบโอติกส์และพรีไบโอติกส์คู่กัน

อาหารอะไรบ้างที่มีโปรไบโอติกส์ ?

  • โยเกิร์ต
  • นมเปรี้ยว
  • น้ำผลไม้
  • เครื่องดื่มจากถั่วเหลือง
  • ผักดอง
  • กะหล่ำปลีดอง หรือซาวเคราท์
  • กิมจิ
  • ชีสจากการบ่ม
  • คีเฟอร์ หรือบัวหิมะธิเบต
  • มิโซะ หรือเต้าเจี้ยวญี่ปุ่น
  • เทมเป้ หรือถั่วเหลืองหมัก
  • เต้าเจี้ยวหมัก (Soybean paste)
  • บัตเตอร์มิลค์ (Buttermilk)
  • คอมบูชาหรือชาหมัก ( Kombucha )

การได้รับโปรไบโอติกส์จำนวนมากเกินไป หรือได้รับโปรไบโอติกส์ในขณะที่ร่างกายอยู่ในสภาวะภูมิคุ้มกันลดลง อาจมีผลข้างเคียงต่อร่างกาย

โปรไบโอติกส์ที่อาศัยอยู่ในร่างกายเรามีกี่ชนิด?

โดยปกติแล้วร่างกายคนเรานั้นมีจุลินทรีย์อยู่ในร่างกายและผิวหนังหลายล้านชนิดอยู่แล้ว โดยเฉพาะที่ระบบทางเดินอาหาร อย่างลำไส้เล็กและลำไส้ใหญ่ ซึ่งจุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ในร่างกายของเรานั้น สามารถแบ่งออกเป็น 4 ชนิด คือ

1. จุลินทรีย์ก่อโรค จุลินทรีย์ชนิดนี้ส่วนใหญ่จะเป็นจุลินทรีย์ที่ร่างกายรับเข้ามาจากภายนอก ทั้งจากอาหารและอากาศ เช่น วิบริโอ พาราฮีโม ไลติคัส ( V.cholerae ) ที่เป็นสาเหตุของโรคอหิวาตกโรค ชิเจลลา ( Shigella ) ที่ทำให้เกิดโรคบิด เป็นต้น เมื่อจุลินทรีย์ชนิดนี้เข้าสู่ร่างกายในปริมาณที่น้อย ร่างกายจะสามารถขจัดออกไปได้จึงไม่ก่อให้เกิดโรคขึ้น แต่ถ้าได้รับในปริมาณที่มากเกินกว่าที่จะกำจัดออกได้โดยเฉพาะบริเวณทางเดินอาหารจะทำให้เกิดโรค เช่น อหิวาตกโรค โรคท้องเสีย อาหารเป็นพิษ โรคบิด เป็นต้น

2. จุลินทรีย์กลุ่มก่อการอักเสบหรือกลุ่มฉวยโอกาส เป็นจุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ในร่างกายอยู่แล้ว แต่มีอยู่ในปริมาณที่น้อยมากเมื่อเทียบกับจุลินทรีย์ชนิดดี จึงไม่ส่งผลเสียหรือสร้างอันตรายต่อร่างกาย แต่ทว่าเมื่อใดก็ตามที่จุลินทรีย์ชนิดดีมีปริมาณน้อยกว่าจุลินทรีย์กลุ่มนี้แล้ว จุลินทรีย์กลุ่มนี้ก็จะแสดงผลที่เป็นอันตายต่อร่างกายทันที โดยการทำให้เกิดโรคต่างๆ เช่น การติดเชื้อ Pseudomonas การติดเชื้อ Staphylococcus ที่ทำให้เกิดตุ่มหนองตามผิวหนัง เป็นต้น

3. จุลินทรีย์ที่ทำหน้าที่เป็นกลาง คือ จุลินทรีย์ที่สามารถทำหน้าที่ทั้งป้องกันไม่ให้เกิดโรคและรอโอกาสที่จะทำให้เกิดโรค ขึ้นอยู่กับสถานะการณ์และปริมาณของจุลินทรีย์ที่มีอยู่ในขณะนั้น เช่น เชื้ออีโคไล ( E.Coli ) ทำหน้าที่ในการช่วยย่อยอาหารภายในลำไส้เมื่อมีในปริมาณน้อย และเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคท้องเสียได้เมื่อมีปริมาณมากกว่าจุลินทรีย์ชนิดดี

4. จุลินทรีย์ชนิดดีหรือจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย จุลินทรีย์กลุ่มนี้จะทำหน้าที่ในการช่วยปกป้องดูแลทางเดินอาหารไม่ให้เชื้อโรคหรือจุลินทรีย์กลุ่มที่ก่อโรคเข้ามาทำร้ายลำไส้ได้ นับว่าจุลินทรีย์ชนิดนี้เป็นชนิดที่ทำให้เรามีสุขภาพที่ดี เช่น แลคโตบาซิลลัส ( Lactobacillus ) พบได้ในลำไส้เล็ก และ บิฟิโดแบคทีเรียม ( Bifidobacterium ) พบได้ที่บริเวณลำไส้ใหญ่ ยูแบคทีเรีย ( Eubacteria ) เป็นต้น ร่างกายของคนเรานั้นโดยเฉพาะที่ลำไส้จะมีจุลินทรีย์อาศัยเป็นจำนวนมาก ซึ่งเราเรียกจุลินทรีย์เหล่านี้ว่า “ จุลินทรีย์เจ้าถิ่น ” ( Normalfloral ) จุลินทรีย์เจ้าถิ่นมีทั้งจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์และจุลินทรีย์ที่อาจก่อโทษได้ทั้งสองชนิด โดยโปรไบโอติกส์จัดเป็นจุลินทรีย์เจ้าถิ่นชนิดหนึ่งที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย

โปรไบโอติกส์เป็นจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายและระบบย่อยอาหาร ซึ่งอาศัยอยู่ในลำไส้ โปรไบโอติกส์ถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายโดยเฉพาะอาหารเสริม อาหารทางการแทพย์ ผลิตภัณฑ์ลดน้ำหนัก อาหารหมักดอง เครื่องดื่ม นมผง เป็นต้น

เชื้อจุลินทรีย์โปรไบโอติกส์

23 เชื้อจุลินทรีย์โพรไบโอติกที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยารับรองการใช้ในอาหาร

1. บาซิลลัส โคแอกกูแลน ( Bacillus coagulans )
2. บิฟิโดแบคทีเรียม อะโดเลสเซนทิส ( Bifidibacterium adolescentis )
3. บิฟิโดแบคทเรียม อะนิมอลิส ( Bifidobacterium animalis )
4. บิฟิโดแบคทีเรียม บิฟิดัม ( Bifidobacterium bifidum )
5. บิฟิโดแบคทีเรียม เบรเว ( Bifidobacterium breve )
6. บิฟิโดแบคทีเรียม อินฟานทิส ( Bifidobacterium infantis )
7. บิฟิโดแบคทีเรียม แล็กทิส ( Bifidobacterium lactis )
8. บิฟิโดแบคทีเรียม ลองกัม ( Bifidobacterium longum )
9. บิฟิโดแบคทีเรียม ซูโดลองกัม ( Bifidobacterium pseudolongum )
10. เอ็นเทอโรค็อกคัส ดูแรน ( Enterococcus durans )
11. เอ็นเทอโรค็อกคัส เฟเซียม ( Enterococcus faecium )
12. แล็กโทบาซิลลัส แอซิโดฟิลัส ( Lactobacillus acidophilus )
13. แล็กโทบาซิลลัส คริสปาทัส ( Lactobacillus crispatus )
14. แล็กโทบาซิลลัส แก็สเซอรี ( Lactobacillus gasseri )
15. แล็กโทบาซิลลัส จอห์นโซนอิ ( Lactobacillus johnsonii )
16. แล็กโทบาซิลลัส พาราคาเซอิ ( Lactobacillus paracasei )
17. แล็กโทบาซิลลัส รียูเทอรี ( Lactobacillus reuteri )
18. แล็กโทบาซิลลัส รามโนซัส ( Lactobacillus rhamnosus )
19. แล็กโทบาซิลลัสซาลิวาเรียส ( Lactobacillus salivarius )
20. แล็กโทบาซิลลัส ซีอี ( Lactobacillus zeae )
21. โพรพิโอนิแบคทีเรียม อะราไบโนซัม ( Propionibacterium arabinosum )
22. สแตปฟิโลคอคคัส ไซน์ยูรี ( Staphylococcus sciuri )
23. แซ็กคาโรไมซีส เซรีวิซิอี สับสปีชีย์ บัวลาดิอิ ( Saccharomyces cerevisiae subsp. Boulardii )

ผลข้างเคียงการใช้โปรไบโอติกส์

หากเกิดผลข้างเคียงของโปรไบโอติกส์มักจะไม่รุนแรงสามารถย่อยอาหารได้ปกติ อาการที่เกิดขึ้น เช่น แก๊สในลำไส้ ท้องอืด ในกรณีแพ้รุนแรงในบางคนโพรไบโอติกอาจทำให้เกิดการติดเชื้อสามารถรักษาได้ด้วยยาปฏิชีวนะ

การได้รับโปรไบโอติกส์จำนวนมากเกินไป หรือว่าการได้รับโปรไบโอติกส์ในขณะที่ร่างกายอยู่ในสภาวะภูมิคุ้มกันลดลง เช่น ช่วงที่ได้รับเคมีบำบัด ช่วงที่ร่างกายมีเม็ดเลือดขาวต่ำ เป็นต้น ช่วงเวลาที่ภูมิต้านทานต่ำ ถ้าเราได้รับโปรไบโอติกในปริมาณที่มากอาจทำให้เกิดภาวะติดเชื้อซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

โปรไบโอติกส์จัดเป็นจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายเป็นอย่างมาก ก็ต่อเมื่อได้รับในปริมาณที่เหมาะสมกับความต้องการของร่างกายในขณะนั้น ดังนั้นเพื่อสุขภาพที่ดีของร่างกายเราควรเลือกบริโภคอาหารที่มีส่วนผสมของโปรไบโอติกเป็นประจำเพื่อช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทาน ทำให้ขับถ่ายเป็นปกติ

นอกจากโปรไบโอติกส์แล้วยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่อยู่ควบคู่กันนั่นคือ พรีไบโอติกส์ เพราะถ้าขาดสิ่งนี้ไปโปรไบโอติกก็จะไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

ขอบคุณคลิปสาระประโยชน์จาก : หมอปุ้ม พญ.สิรนาถ สุขภาพดี คุณมีได้

http://medinfo.psu.ac.th/smj2/smj24_4/pdf24_4/07utai.pdf

https://www.doctor.or.th/clinic/detail/6931

http://www.agro.cmu.ac.th/absc/data/57/57007.pdf

http://lib3.dss.go.th/fulltext/dss_j/2555_189_60_p13-15.pdf

Hutkins RW; Krumbeck JA; Bindels LB; Cani PD; Fahey G Jr.; Goh YJ; Hamaker B; Martens EC; Mills DA; Rastal RA; Vaughan E; Sanders ME (2016). “Prebiotics: why definitions matter”. Curr Opin Biotechnol. 37: 1–7. doi:10.1016/j.copbio.2015.09.001. PMC 4744122 Freely accessible. PMID 26431716.

Gibson GR, Roberfroid MB (Jun 1995). “Dietary modulation of the human colonic microbiota: introducing the concept of prebiotics”. J. Nutr. 125 (6): 1401–1412. PMID 7782892.

Roberfroid MB (March 2007). “Prebiotics: The Concept Revisited”. J. Nutr. 137 (3 Suppl 2): 830S–7S. PMID 17311983.