Home Blog Page 160

แร่ธาตุโมลิบดินัมสำคัญอย่างไร? ( Molybdenum )

0
แร่ธาตุโมลิบดินัมสำคัญอย่างไร? (Molybdenum)
โมลิบดินัมในร่างกายจะถูกดูดซึมในรูปของเกลือโซเดียมและแอมโมเนียโมลิบเดต พบในตับ ไต และกระดูก
แร่ธาตุโมลิบดินัมสำคัญอย่างไร? (Molybdenum)
โมลิบดินัมในร่างกายจะถูกดูดซึมในรูปของเกลือโซเดียมและแอมโมเนียโมลิบเดต พบในตับ ไต และกระดูก

แร่ธาตุโมลิบดินัม  คืออะไร ?

โมลิบดินัม ( Molybdenum ) คือ แร่ธาตุที่สามารถพบได้ในเนื้อเยื่อของพืชและสัตว์ ส่วนในคนจะพบในปริมาณเพียงเล็กน้อย มีส่วนช่วยในกระบวนการเผาผลาญอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตและไขมัน พบได้ในผักใบเขียวเข้ม ธัญพืชไม่ขัดสี พืชผักตระกูลถั่ว นมและผลิตภัณฑ์จากนม เครื่องในสัตว์ ซึ่งถ้าร่างกายขาดแร่ธาตุโมลิบดีนัม อาจทำให้สมองถูกทำลายได้ง่าย จิตใจสับสนมึนงง

หน้าที่ของโมลิบดินัม

เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของเอนไซม์ 2 ชนิดคือ

1. เอนไซม์แซนทีนออกซิเดส ( Xanthine Oxidase ) ซึ่งมีส่วนช่วยในการนำธาตุเหล็กออกจากตับและช่วยในการสร้างกรดยูริค พิวรีน ( Purine ) แซนทีน ( Xanthine ) ให้กับร่างกาย

2. เอนไซม์อัลดีไฮด์ ออกซิเดส ( Aldehyde Oxidase ) ซึ่งมีความสำคัญกับปฏิกิริยาออกซิเดชั่นของไขมัน ทำให้มีการสลายไขมันได้ดี

การดูดซึมโมลิบดินัมในร่างกาย

โมลิบดินัมในร่างกายจะถูกดูดซึมในรูปของเกลือโซเดียมและแอมโมเนียโมลิบเดต ซึ่งปริมาณที่ถูกดูดซึมและขับถ่ายจะมีปริมาณมากน้อยแค่ไหนนั้น นั่นก็ขึ้นอยู่กับอิทธิพลของปริมาณของซัลเฟตที่มีอยู่ในอาหาร เนื่องจากซัลเฟตจะมีส่วนช่วยในการการขับถ่ายปัสสาวะพวกโมลิบดินัมเป็นอย่างมาก

โมลิบดินัม Molybdenum คือ แร่ธาตุที่สามารถพบได้ในเนื้อเยื่อของพืชและสัตว์ ส่วนในคนจะพบในปริมาณเพียงเล็กน้อย

การเก็บโมลิบดินัมในร่างกาย

Molybdenum คือ คืออะไร? โมลิบดินัมจะถูกเก็บสะสมไว้ในร่างกายในรูปของตับ ไต และกระดูก

แหล่งที่พบโมลิบดินัม

สำหรับแหล่งที่พบลิบดินัมได้มาก มักพบในถั่วที่มีฝัก ธัญพืชต่าง ๆ ผักที่มีใบสีเขียวเข้ม ตับ ไต และเนื้อสัตว์

ปริมาณโมลิบดินัมอ้างอิงที่ควรได้รับในแต่ละวันสำหรับคนไทยในวัยต่าง ๆ
เพศ อายุ ปริมาณ หน่วย
เด็ก 1-3 ปี 17 ไมโครกรัม/วัน
4-8 ปี 22 ไมโครกรัม/วัน
วัยรุ่น 9-12 ปี 34 ไมโครกรัม/วัน
13-18 ปี 43 ไมโครกรัม/วัน
ผู้ใหญ่ 19 – ≥ 71 ปี 45 ไมโครกรัม/วัน
ผู้หญิงตั้งครรภ์ ควรได้รับเพิ่มอีก 5 ไมโครกรัม/วัน
ผู้หญิงให้นมบุตร ควรได้รับเพิ่มอีก 5 ไมโครกรัม/วัน

หากขาดโมลิบดินัมจะมีผลอย่างไร

ยังไม่ทราบเป็นที่แน่ชัดเนื่องจากยังไม่เคยมีปรากฏว่ามีผู้ขาดธาตุนี้มาก่อน แต่ก็ไม่อาจสรุปได้ว่าหากขาดจะไม่ส่งผลกระทบต่อร่างกาย

อาการเป็นพิษจากโมลิบดินัม

ผู้ที่มีอาการเป็นพิษจากโมลิบดินัมจะมีอาการท้องเดิน โลหิตจาง อัตราการเจริญเติบโตช้า และถ้าได้รับเข้าสู่ร่างกายมากเกินไปจะมีผลทำให้ขาดธาตุทองแดง ปริมาณของโมลิบดินัม ที่จะทำให้เป็นพิษต่อร่างกายได้ คือ 5-10 ส่วนต่อล้าน ดังนั้นจึงควรระวังไม่ให้ปริมาณโมลิบดินัมในร่างกายสูงเกินไป

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

Lindemann, A.; Blumm, J. (2009). Measurement of the Thermophysical Properties of Pure Molybdenum. 3. 17th Plansee Seminar.

Lide, D. R., ed. (2005). “Magnetic susceptibility of the elements and inorganic compounds”. CRC Handbook of Chemistry and Physics (PDF) (86th ed.). Boca Raton (FL): CRC Press. ISBN 0-8493-0486-5.

แมงกานีส คือ ( Manganese ) อะไรมีหน้าที่สำคัญและประโยชน์อย่างไร

0
หน้าที่สำคัญและประโยชน์ของแมงกานีส (Manganese)
แมงกานีส คือ แร่ธาตุสำคัญที่มีอยู่ในร่างกายของคนในวัยผู้ใหญ่ พบในกระดูก ตับ ตับอ่อน และต่อมพิทูอิทารี
หน้าที่สำคัญและประโยชน์ของแมงกานีส (Manganese)
แมงกานีส คือ แร่ธาตุสำคัญที่มีอยู่ในร่างกายของคนในวัยผู้ใหญ่ พบในกระดูก ตับ ตับอ่อน และต่อมพิทูอิทารี

แมงกานีส ( Manganese )

แมงกานีส ( Manganese ) คือ แร่ธาตุสำคัญที่มีอยู่ในร่างกายของคนในวัยผู้ใหญ่ 10-20 มิลลิกรัม ซึ่งมักพบในกระดูก ตับ ตับอ่อน และต่อมพิทูอิทารี

หน้าที่ของแมงกานีส คือ

1. แมงกานีส ช่วยให้ร่างกายสามารถใช้โคลีนได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

2. แมงกานีส เป็นตัวกระตุ้นน้ำย่อยที่มีความจำเป็นในการนำวิตามินต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นไบโอติน วิตามินบีหนึ่ง และวิตามินซี มาใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย

3. แมงกานีส ช่วยในการสังเคราะห์กรดไขมันและคอเลสเตอรอล

4. แมงกานีส มีส่วนในการสร้างโปรตีน คาร์โบไฮเดรต และไขมัน

5. แมงกานีส มีความจำเป็นในการพัฒนาโครงสร้างของกระดูก โดยช่วยลดการสูญเสียแคลเซียมในร่างกายและมีส่วนสำคัญในการผลิตเลือด

6. แมงกานีส มีความจำเป็นต่อการผลิตน้ำนม ในหญิงตั้งครรภ์ และช่วยในการสร้างยูเรีย ซึ่งเป็นส่วนประกอบของปัสสาวะ

7. แมงกานีส ช่วยในการผลิตฮอร์โมนเพศ

8. แมงกานีส ช่วยเลี้ยงเส้นประสาทและสมอง ทำให้ระบบประสาทและสมองทำงานได้อย่างเป็นปกติ

9. แมงกานีส มีความจำเป็นต่อการปล่อยพลังงานในร่างกาย

แมงกานีส คือ แร่ธาตุสำคัญที่มีอยู่ในร่างกายของคนในวัยผู้ใหญ่ 10-20 มิลลิกรัม ซึ่งมักพบในกระดูก ตับ ตับอ่อน และต่อมพิทูอิทารี

การดูดซึมแมงกานีส ( Manganese )

ในอวัยวะบางส่วนอย่างเช่นลำไส้จะดูดซึมแมงกานีสได้น้อยมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากร่างกายได้รับแคลเซียมและฟอสฟอรัสเข้ามาในปริมาณที่สูงมากก็จะไปทำให้อัตราการดูดซึมลดน้อยลงไปอีก ซึ่งในการดูดซึมแมงกานีสของร่างกายจะต้องอาศัยโปรตีนเฉพาะที่ชื่อ ทรานส์แมงกานิน ( Transmanganin ) เป็นตัวนำพาแมงกานีสเข้าสู่กระแสเลือด

การเก็บแมงกานีสในร่างกาย

แมงกานีสจะถูกเก็บไว้ในร่างกายที่ตับอ่อน ตับ ไต

แหล่งที่พบแมงกานีส

พบมากในธัญพืช ไข่แดง ผักสีเขียว ถั่ว ( Nut และ Legumes )  ชา แต่ปริมาณที่พบอาจจะมากน้อยแตกต่างกันออกไป ซึ่งขึ้นอยู่กับปริมาณที่มีอยู่ในดิน

ปริมาณแมงกานีสที่พอเพียงต่อวัน ( AI ) สำหรับคนไทยในแต่ละวัย
เพศ อายุ ปริมาณ หน่วย
ทารก 6-11 เดือน 0.6 มิลลิกรัม/วัน
เด็ก 1-3 ปี 1.2 มิลลิกรัม/วัน
4-8 ปี 1.5 มิลลิกรัม/วัน
วัยรุ่นชาย 9-12 ปี 1.9 มิลลิกรัม/วัน
13-18 ปี 2.2 มิลลิกรัม/วัน
วัยรุ่นหญิง 9-18 ปี 1.6 มิลลิกรัม/วัน
ผู้ใหญ่ผู้ชาย 19 – ≥ 71 ปี 2.3 มิลลิกรัม/วัน
ผู้ใหญ่ผู้หญิง 19 – ≥ 71 ปี 1.8 มิลลิกรัม/วัน
ผู้หญิงตั้งครรภ์ ควรได้รับเพิ่มอีก 0.2 มิลลิกรัม/วัน
ผู้หญิงให้นมบุตร ควรได้รับเพิ่มอีก 0.8 มิลลิกรัม/วัน

ผลของการขาดแมงกานีส

การขาดแมงกานีสจะมีผลให้ร่างกายต้านทาน กลูโคส ( Glucose Tolerance ) ได้ลดน้อยลง คือ ร่างกายจะขาดความสามารถที่จะนำเอาน้ำตาลในเลือดที่มีอยู่มากเกินไปออกไป โดยการออกซิเดชั่น หรือเอาไปเก็บไว้ที่อื่นได้ นอกจากนี้การที่ร่ายกายไม่ได้รับแมงกานีสอย่างเพียงพอยังส่งผลให้เกิดภาวะเคลื่อนไหวไม่ประสานกันคือจะมีอาการเดินเซคล้ายคนเมาเหล้า และยังทำให้เกิดอัมพาต ตาบอด หูหนวก และชักในเด็กทารก ผู้ใหญ่จะมีอาการการวิงเวียนศีรษะ และมีปัญหาต่อการได้ยิน

การเป็นพิษจากแมงกานีส ( Manganese )

หากร่างกายได้รับแคลเซียมและฟอสฟอรัสสูงเกินไปจะทำให้เกิดความต้องการแมงกานีสเพิ่มมากขึ้น และหากได้รับแมงกานีส มาก ๆ จะทำให้ธาตุเหล็กที่ถูกเก็บไว้ในร่างกายลดลง และมีการใช้ธาตุเหล็กลดน้อยลงด้วย ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพมากทีเดียว

ผู้ที่เสี่ยงต่อการได้รับแมงกานีสสูงเกินไปก็คือคนงานในโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งจะทำให้เกิดเป็นพิษต่อร่างกายได้ โดยจะมีอาการคือ ไม่มีเรี่ยวแรง เคลื่อนไหวร่างกายได้อย่างยากลำบาก ซึ่งมีผลจากมีระดับแมงกานีสในเนื้อเยื้อมีปริมาณสูง ดังนั้นในกลุ่มเสี่ยงจึงควรระมัดระวังตัวเองให้มากขึ้น

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

Zhang, Wensheng; Cheng, Chu Yong (2007). “Manganese metallurgy review. Part I: Leaching of ores/secondary materials and recovery of electrolytic/chemical manganese dioxide”. Hydrometallurgy. 89 (3–4): 137–159.

Corathers, L. A.; Machamer, J. F. (2006). “Manganese”. Industrial Minerals & Rocks: Commodities, Markets, and Uses (7th ed.). SME. pp. 631–636. ISBN 978-0-87335-233-8.

“Manganese Mining in South Africa – Overview”. MBendi.com. Retrieved 2014-01-04.

ฟลูออรีนคืออะไร สำคัญอย่างไร? ( Fluorine )

0
ฟลูออรีนคืออะไรมีสำคัญอย่างไร? (Fluorine)
ในกระเทียมสารประกอบชนิดหนึ่งที่มักจะพบได้มากในรูปของเกลือฟลูออรีน ซึ่งส่วนใหญ่จะมีส่วนช่วยในการป้องกันฟันผุโดยตรง
ฟลูออรีนคืออะไรมีสำคัญอย่างไร? (Fluorine)
ในอาหารทะเลมีสารประกอบชนิดหนึ่งที่มักจะพบได้มากในรูปของเกลือฟลูออรีน ซึ่งส่วนใหญ่จะมีส่วนช่วยในการป้องกันฟันผุโดยตรง

ฟลูออรีน คืออะไร ?

ฟลูออรีน ( Fluorine ) คือ ส่วนหนึ่งของสารสังเคราะห์โซเดียมฟลูออไรด์และแคลเซียมฟลูออไรด์ ซึ่งเป็นธาตุที่มีอยู่ทั่วไปในร่างกาย และมีมากที่สุดในกระดูกและฟัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของเคลือบฟัน และสามารถเสริมความแข็งแรงให้กับกระดูกโครงร่างและฟันได้ดีอีกด้วย ส่วนใหญ่แล้วในร่างกายของคนเราก็สามารถพบฟลูออรีนได้ในเนื้อเยื่อโดยทั่วไปและฟัน และเนื่องจากที่ฟันของ คนเรานั้นจะมีเคลือบฟันที่เรียกว่า ไฮดรอกซีอะปาไทด์ ( Hydroxyl Apatite ) ซึ่งจะทำปฏิกิริยากับฟลูออไรด์ จนเกิดเป็น ฟลูออโรอะปาไทด์ ( Fluoroapatite ) ที่มีคุณสมบัติละลายในกรดได้ยาก จึงไม่ทำให้ฟันผุได้ง่าย และยังทำให้ฟันแข็งแรงยิ่งกว่าเดิมอีกด้วย

หน้าที่ของฟลูออรีน

ฟลูออรีนมีหน้าที่สำคัญหลายอย่างด้วยกัน เช่น

  • ฟลูออรีนช่วยเพิ่มการจับเกาะของแคลเซียมกับกระดูกและฟัน จึงทำให้กระดูกและฟันมีความแข็งแรงมากขึ้น และสามารถลดความเสี่ยงการเกิดโรคกระดูกพรุนในวัยสูงอายุ หรือภาวะกระดูกเปราะบางได้อีกด้วย นอกจากนี้ก็สามารถป้องกันวามผิดปกติของกระดูกได้เช่นกัน
  • ฟลูออรีนช่วยลดการเกิดกรดในช่องปากที่เป็นสาเหตุของฟันผุได้ดี และช่วยปกป้องเคลือบฟันให้แข็งแรงมากขึ้นอีกด้วย
  • ฟลูออรีนป้องกันโรคฟันผุได้อย่างมีประสิทธิภาพ

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าฟลูออไรด์จะมีประโยชน์ แต่ในขณะเดียวกันหากได้รับมากเกินไปก็จะก่อให้เกิดผลเสียต่อร่างกายได้เหมือนกัน โดยจะทำลาย น้ำย่อยฟอสฟาเตส ( Phosphatase ) ซึ่งเป็นน้ำย่อยสำคัญที่จะทำหน้าที่ในการเผาผลาญวิตามินและนำไปใช้กับส่วนต่างๆ ของร่างกาย และยังไปยับยั้งการทำงานของน้ำย่อยที่มีความสำคัญอีกหลายตัว ที่จะทำให้เกิดอันตรายแก่เนื้อเยื่อสมองได้อีกด้วย

การดูดซึมและการเก็บฟลูออรีน

ฟลูออรีนมักจะถูกดูดซึมได้ดีที่สุดบริเวณลำไส้เล็ก และดูดซึมบางส่วนที่กระเพาะอาหาร โดยฟลูออรีนที่ได้รับเข้าสู่ร่างกายนั้น ครึ่งหนึ่งจะถูกจับที่ฟังและกระดูกเพื่อเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง ส่วนอีกครึ่งหนึ่งก็จะถูกขับออกมา ทางปัสสาวะ นอกจากนี้ฟลูออไรด์ในเลือดก็ยังแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วนอีกด้วย ซึ่งก็คือ ส่วนที่อยู่ในรูปของไอออนอิสระ และส่วนที่อยู่รวมกับโปรตีนและอัลบูมินฟลูออไรด์นั่นเอง และที่สำคัญในภาวะที่ระดับฟลูออไรด์ในเลือดลดต่ำลง ก็จะเกิดการสลายฟลูออไรด์ที่สะสมเอาไว้ออกมาทดแทนในกระแสเลือดอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม การดูดซึมฟลูออรีนก็อาจถูกขัดขวางได้ ด้วยเกลือของอลูมิเนียมและเกลือของแคลเซียมที่ไม่ละลายนั่นเอง จึงทำให้ร่างกายสามารถดูดซึมฟลูออรีนได้น้อยลงและอาจทำให้ขาดได้ในที่สุด
ส่วนวิตามินซี ก็จะช่วยในการส่งเสริมการดูดซึม ให้มีการดูดซึมฟลูออไรด์ได้ดียิ่งขึ้น พร้อมช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรงได้ดี

ฟลูออรีน ( Fluorine ) คือ สารประกอบชนิดหนึ่งที่มักจะพบได้มากในรูปของเกลือฟลูออรีน ซึ่งส่วนใหญ่จะมีส่วนช่วยในการป้องกันฟันผุโดยตรง

แหล่งที่พบฟลูออรีน

1. น้ำที่มีการเติมฟลูออรีนลงไป โดยจะเติมลงไป 1 ส่วนต่อน้ำล้านส่วน น้ำชนิดนี้จึงเป็นแหล่งฟลูออรีนอย่างดี และนอกจากนี้ในช่วงอากาศร้อนก็ควรมีระดับฟลูออรีนที่ต่ำกว่าช่วงอากาศหนาวด้วย เพราะในช่วงอากาศร้อนจะมีการดื่มน้ำมากกว่าปกติ จึงอาจทำให้ได้รับฟลูออรีนมากไปได้

2. ฟลูออรีนสามารถพบได้ในอาหาร โดยจะพบในอาหารทะเลประมาณ 5-15 ส่วนต่อล้าน ส่วนอาหารจำพวกพืช ปริมาณของฟลูออรีนจะขึ้นอยู่กับชนิดของดินที่ปลูก และการใส่ปุ๋ย ว่ามีฟลูออรีนอยู่มากน้อยเท่าไหร่นั่นเอง โดยใบชาเป็นพืชที่สามารถพบได้ในฟลูออรีนมากที่สุด คือประมาณ 75-150 ส่วนต่อล้านเลยทีเดียว
3. ฟลูออรีนที่มีการนำมาใช้เฉพาะที่ คือนำมาสัมผัสกับฟันโดยตรง มักจะพบได้ในยาสีฟัน ไหมขัดฟัน การเคลือบฟัน และน้ำยาบ้วนปากฟลูออรีน แต่จะเหมาะกับการใช้เฉพาะที่เท่านั้นและไม่ควรทานเข้าไป

ปริมาณฟลูออรีนที่พอเพียงในแต่ละวัน (AI) สำหรับคนไทยวัยต่าง ๆ
เพศ อายุ ปริมาณที่ได้รับ หน่วย
ทารก 6-11 เดือน 0.4 มิลลิกรัม/วัน
1-3 ปี 0.6 มิลลิกรัม/วัน
เด็ก 4-5 ปี 0.9 มิลลิกรัม/วัน
6-8 ปี 1.2 มิลลิกรัม/วัน
วัยรุ่นผู้ชาย 9-12 ปี 1.6 มิลลิกรัม/วัน
13-15 ปี 2.4 มิลลิกรัม/วัน
16-18 ปี 2.8 มิลลิกรัม/วัน
วัยรุ่นผู้หญิง 9-12 ปี 1.7 มิลลิกรัม/วัน
13-15 ปี 2.3 มิลลิกรัม/วัน
16-18 ปี 2.4 มิลลิกรัม/วัน
ผู้ใหญ่ชาย 19-≥ 71 ปี 2.8 มิลลิกรัม/วัน
ผู้ใหญ่หญิง 19-≥ 71 ปี 2.6 มิลลิกรัม/วัน

 

การได้รับฟลูออรีนที่เหมาะสม อาจสรุปได้ว่า ฟลูออรีน 1 ส่วนต่อน้ำล้านส่วนจะช่วยป้องกันฟันผุในเด็กได้จนถึงอายุ 8-12 ปี และสำหรับในผู้ใหญ่บางราย การได้รับฟลูออรีนก็จะช่วยรักษาฟันให้มีความแข็งแรงยิ่งขึ้นได้ นอกจากนี้ยังพบว่าหากมีการดื่มน้ำที่มีฟลูออรีน 1 ส่วนต่อล้านส่วนก็จะได้รับฟลูออรีนเพิ่มขึ้นวันละ 3.2 มก. และเก็บไว้ในกระดูก 2-3 มก.ต่อวัน ซึ่งถือเป็นระดับที่ปกติและไม่เป็นอันตราย แต่ในคนที่ได้รับน้ำที่มีฟลูออรีนเยอะเกินไป โดยเฉพาะคนที่ทำงานกลางแจ้งหรือนักกีฬา ก็อาจถึงขีดอันตรายได้เหมือนกัน

รูปแบบในการให้ฟลูออรีน

การให้ฟลูออรีน มักจะใช้กับเด็กที่มีอายุ 6 เดือนจนถึง 6 ปี เพราะเป็นวัยที่กำลังมีการสร้างหน่อฟันน้ำนมและหน่อฟันแท้ขึ้นมา โดยมีรูปแบบในการให้ฟลูออรีนดังนี้

1. การให้ฟลูออรีนโดยเติมลงในน้ำ ซึ่งจะเติมประมาณ 1 ส่วนต่อน้ำหนึ่งล้านส่วน แต่จะไม่นิยมเติมฟลูออรีนลงในน้ำประปาเพราะทำได้ยากและมีความสิ้นเปลืองพอสมควร

2. การให้ฟลูออรีนในรูปของเม็ด ซึ่งส่วนใหญ่จะทำเป็นเม็ดขนาด 1 มิลลิกรัม โดยมีการแนะนำว่าเด็กที่มีอายุเกินกว่า 3 ปี ควรกินประมาณวันละ 0.5 มก. เด็กอายุ 2-3 ปี ควรกินประมาณวันละ 0.3 มก. และต่ำกว่า 1 ปี ควรกินวันละประมาณ 0.2 มก.

3. ฟลูออรีนในยาสีฟัน ซึ่งจะช่วยลดฟันผุได้ร้อยละ 20-30 ส่วนใหญ่จะใช้ได้ผลกับเด็กที่ฟันยังไม่เจริญเต็มที่ แต่ต้องใช้ในปริมาณที่เหมาะสมและระมัดระวังมากพอสมควร เพราะอาจเป็นอันตรายหากเด็กกลืนเข้าไป โดยจะทำให้เกิดโทษจากการได้รับฟลูออรีนเกินขนาดได้

4. การใช้ยาเคลือบฟลูออรีนบนผิวฟัน โดยวิธีนี้จะต้องให้ทันตแพทย์เป็นผู้ให้เท่านั้น เพราะมีขั้นตอนที่ยุ่งยากพอสมควร

5. น้ำยาบ้วนปากชนิดฟลูออรีน โดยอาจอมบ้วนปากทุกวันก่อนนอนพร้อมกับการแปรงฟันอย่างถูกวิธี หรือใช้อมอ้วนปากร้อยละ 0.2 และแปลงฟันทุก 2 สัปดาห์ ซึ่งจะช่วยลดโอกาสฟันผุได้มากถึงร้อยละ 70 เลยทีเดียว

ผลของการขาดฟลูออรีน

เมื่อขาดฟลูออรีน โดยเฉพาะในวัยเด็กที่ฟันกำลังเจริญ จะทำให้การเจริญของฟันเป็นไปได้ไม่ดีหรือหยุดชะงักลง และเป็นสาเหตุที่ทำให้ฟันผุได้ง่ายอีกด้วย

การเป็นพิษของฟลูออรีน

โดยปกติแล้วจะไม่ค่อยพบการเป็นพิษของฟลูออรีนมากนัก เพราะไตจะพยายามขับถ่ายฟลูออรีนส่วนเกินออกจากร่างกายอยู่แล้ว แต่หากได้รับฟลูออรีนในปริมาณมากและสะสมมาเป็นเวลานาน หรือได้รับยาเม็ดฟลูออรีนมากเกินขนาด ก็จะทำให้เกิดการเป็นพิษตามมาได้ โดยในเด็กก็จะมีอาการปวดข้อ หลังแข็ง ปวดกระดูก เคลื่อนไหวลำบาก หรือในกรณีที่มีอาการแบบเฉียบพลัน ก็จะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง หัวใจวาย ชัก ท้องเดิน น้ำลายไหล เป็นต้น ส่วนกรณีที่มีอาการแบบเรื้อรัง ก็จะมีอาการดังต่อไปนี้

1. ฟันตกกระ Dental Fluorosis ซึ่งก็คืออาการที่เคลือบฟันจะมีลักษณะขาวด้านคล้ายกับชอล์กมีสีเหลืองหรือน้ำตาลและพื้นผิวไม่ค่อยเรียบมากนัก โดยอาการนี้ก็จะทำให้ผิวเคลือบฟันไม่แข็งแรงได้ นอกจากนี้ในรายที่มีอาการรุนแรง ก็อาจเป็นการทำลายเคลือบฟันได้เลยทีเดียว ซึ่งแหล่งน้ำในประเทศไทยที่พบมีฟลูออรีนสูงมาก ได้แก่เชียงใหม่ และลำพูน เป็นต้น

2. กระดูกแน่นและทึบจนเกินไป ซึ่งเกิดจากการที่ดื่มน้ำที่มีฟลูออรีนในอัตราส่วน 8-20 ส่วนต่อล้าน จึงทำให้เกลือแร่ไปจับอยู่ที่กระดูกมากกว่าปกติ และทำให้กระดูกหนาขึ้นอีกด้วย นอกจากนี้ก็อาจจะมีแคลเซียมมาเกาะที่ข้อต่อและเส้นเอ็น และลุกลามไปยังกระดูกสันหลังจนไปกดทับประสาททำให้มีอาการทางประสาทได้อีกด้วย

และนอกจากการเป็นพิษจากฟลูออรีนดังกล่าวแล้ว ก็ยังส่งผลให้การเจริญเติบโตช้าลงและอาจทำให้เด็กมีไอคิวต่ำได้เช่นกัน ซึ่งหากรุนแรงก็อาจทำให้ไตเสื่อมหรือเกิดอาการไตวายได้เลยทีเดียว หรือในขณะตั้งครรภ์ หากได้รับฟลูออไรด์ 50 ส่วนต่อล้านหรือ 2500 เท่าของปริมาณที่แนะนำ ก็จะทำให้เป็นพิษต่อเด็กได้ในที่สุด

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

Agricola, Georgius; Hoover, Herbert Clark; Hoover, Lou Henry (1912). De Re Metallica. London: The Mining Magazine.

Aigueperse, J.; Mollard, P.; Devilliers, D.; Chemla, M.; Faron, R.; Romano, R. E.; Cue, J. P. (2000). “Fluorine Compounds, Inorganic”. In Ullmann, Franz. Ullmann’s Encyclopedia of Industrial Chemistry. 15. Weinheim: Wiley-VCH. pp. 397–441.  ISBN 3527306730.

Air Products and Chemicals (2004). “Safetygram #39 Chlorine Trifluoride” (PDF). Air Products and Chemicals. Archived from the original (PDF) on 18 March 2006. Retrieved 16 February 2014.

ฟอสฟอรัสแร่ธาตุอันดับสองของร่างกาย ( Phosphorus )

0
ฟอสฟอรัสแร่ธาตุอันดับสองของร่างกาย (Phosphorus)
ฟอสฟอรัสมักจะถูกนำมาใช้ร่วมกับแคลเซียม ซึ่งจะทำให้เกิดประสิทธิภาพในการนำมาใช้งานที่สุด
ฟอสฟอรัสแร่ธาตุอันดับสองของร่างกาย (Phosphorus)
ฟอสฟอรัสมักจะถูกนำมาใช้ร่วมกับแคลเซียม ซึ่งจะทำให้เกิดประสิทธิภาพในการนำมาใช้งานที่สุด

แร่ธาตุฟอสฟอรัส คือ

ฟอสฟอรัส ( Phosphorus ) คือ แร่ธาตุอีกชนิดหนึ่งที่พบมากเป็นอันดับสองของร่างกายเลยทีเดียว โดยส่วนมากจะพบในกระดูกในรูปของเกลืออนินทรีย์ประมาณร้อยละ 80 และพบอยู่ในเนื้อเยื่อและเยื่อบุเซลล์ของกล้ามเนื้อประมาณร้อยละ 20 รวมถึงกระจายอยู่ตามผิวหนังและเนื้อเยื่อประสาทบางส่วนอีกด้วย ส่วนการทำงานของฟอสฟอรัสนั้น มักจะถูกนำมาใช้ร่วมกับแคลเซียม ซึ่งจะทำให้เกิดประสิทธิภาพในการนำมาใช้งานที่สุด

หน้าที่ของฟอสฟอรัส

ฟอสฟอรัสมีหน้าที่สำคัญต่อร่างกาย โดยสามารถสรุปได้ดังนี้
1. ทำงานร่วมกับแคลเซียม เพื่อเป็นโครงสร้างของกระดูกและฟัน เพื่อให้กระดูกและฟันมีความแข็งแรงยิ่งขึ้น
2. ทำหน้าที่เป็นบัพเฟอร์เพื่อควบคุมความสมดุลของกรดและด่างในเลือดให้เป็นกลาง
3. มีส่วนช่วยในกระบวนการเมแทบอลิซึมของไขมัน คาร์โบไฮเดรตและโปรตีน ให้เกิดการเมแทบอลิซึมที่สมบูรณ์มากขึ้น
4. เป็นส่วนประกอบสำคัญของสารพลังงานสูง
5. มีส่วนช่วยในการกระตุ้นให้กล้ามเนื้อเกิดการหดตัว โดยเฉพาะกล้ามเนื้อหัวใจ
6. ช่วยกระตุ้นให้เกิดการย่อยไนอาซีนและไรโบเฟลวินดีขึ้น ซึ่งหากไม่มีฟอสฟอรัสจะทำให้กระบวนการย่อยดังกล่าวไม่สามารถเกิดขึ้นได้
7. เป็นส่วนประกอบที่มีความจำเป็นของนิวคลีโอโปรตีน ซึ่งจะช่วยในการแบ่งตัวของเซลล์และถ่ายทอดพันธุกรรมจากพ่อแม่ไปสู่ลูก
8. มีความจำเป็นต่อการทำงานของไต และช่วยส่งแรงกระตุ้นของประสาทได้อย่างดีเยี่ยม
9. ทำหน้าที่เป็นส่วนประกอบของฟอสโฟลิปิด โดยมีความสำคัญต่อการขนส่งไขมันและกรดไขมัน รวมถึงช่วยป้องกันการสะสมที่มากเกินไปของกรดและด่างในเลือด และส่งเสริมการขับของฮอร์โมนจากต่อมต่างๆ ได้ดี นอกจากนี้ฟอสโฟลิปิด ก็ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับการทำงานของจิตใจและระบบประสาทได้อีกด้วย

การดูดซึมและการเก็บฟอสฟอรัส

ฟอสฟอรัส สามารถถูกดูดซึมได้ดีบริเวณลำไส้เล็กตอนกลางและตอนปลาย ซึ่งจะถูกดูดซึมในรูปของฟอสเฟตอิสระได้ดีกว่าในรูปอื่นๆ ส่วนการจัดเก็บฟอสฟอรัสไว้ในร่างกายนั้น ส่วนใหญ่จะถูกเก็บไว้ในกระดูกและฟันร่วมกับแคลเซียม และมีการขขับเอาฟอสฟอรัสส่วนเกินออกมาทางปัสสาวะ และอุจจาระในปริมาณน้อยมาก ซึ่งจะมีไตทำหน้าที่ในการควบคุมระดับของฟอสฟอรัสในเลือดนั่นเอง

ฟอสฟอรัสมักจะถูกนำมาใช้ร่วมกับแคลเซียม ซึ่งจะทำให้เกิดประสิทธิภาพในการนำมาใช้งานที่สุด

นอกจากนี้ฟอสฟอรัสก็จะถูกดูดซึมได้ดีขึ้นเมื่อมีแคลเซียม วิตามินดีและพาราธัยรอยด์ฮอร์โมนเป็นตัวช่วย แต่ในขณะเดียวกันก็จะถูกขัดขวางการดูดซึมได้ เมื่อร่างกายมีอลูมิเนียม เหล็กและแมกนีเซียมในปริมาณที่มากเกินไปเช่นกัน เพราะแร่ธาตุเหล่านี้จะรวมเข้ากับฟอสฟอรัสจนเกิดเป็นฟอสเฟตที่ไม่ละลายและทำให้ร่างกายไม่สามารถดูดซึมไปได้นั่นเอง

แหล่งที่พบฟอสฟอรัส

สำหรับแหล่งที่พบฟอสฟอรัส ส่วนใหญ่จะพบได้มากในอาหารที่มีโปรตีนสูง จำพวกเนื้อสัตว์ เป็ด ไข่ ไก่ และปลา ซึ่งอาหารเหล่านี้ก็จะมีปริมาณของฟอสฟอรัสที่สูงมากเช่นกัน

ปริมาณฟอสฟอรัสอ้างอิงที่ควรได้รับประจำวันสำหรับคนไทยวัยต่าง
เพศ อายุ ปริมาณที่ได้รับ หน่วย
เด็ก 1-3 ปี 460 มิลลิกรัม/วัน
4-8 ปี 500 มิลลิกรัม/วัน
วัยรุ่น 9-18 ปี 1,000 มิลลิกรัม/วัน
ผู้ใหญ่ 19-≥71 ปี 700 มิลลิกรัม/วัน

ผลจากการขาดฟอสฟอรัส

เมื่อร่างกายได้รับฟอสฟอรัสในปริมาณที่น้อยเกินไป โดยเฉพาะเมื่อมีภาวะการขาดวิตามินดีและแคลเซียมร่วมด้วย จะส่งผลให้การเจริญเติบโตช้าลง โดยเฉพาะในวัยเด็ก และทำให้กระดูกและฟันไม่แข็งแรงอีกด้วย ซึ่งส่วนใหญ่แล้วการขาดฟอสฟอรัสจะพบขาดร่วมกับแร่ธาตุอื่น ๆ เสมอ ส่วนการขาดฟอสฟอรัสเพียงอย่างเดียวมักจะไม่ค่อยพบมากนัก นอกจากในคนที่มีความผิดปกติบางอย่าง หรือคนที่กินยาลดกรดที่ประกอบไปด้วย สารอลูมินัมไฮดรอกไซค์ ( Aluminum Hydroxide ) เป็นระยะเวลานานอย่างต่อเนื่อง เพราะจะไปลดการดูดซึมฟอสฟอรัสของร่างกาย จนทำ ให้ขาดฟอสฟอรัสได้ในที่สุด และโรคจากการขาดฟอสฟอรัส ได้แก่ โรคเหงือกอักเสบและโรคกระดูกอ่อนในเด็ก ซึ่งก็จะทำให้มีอาการหายใจผิดปกติ เหนื่อยล้าง่ายและในบางคนก็อาจมีน้ำหนักลดหรือเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วอีกด้วย

การเป็นพิษของฟอสฟอรัส สำหรับการเป็นพิษจากการได้รับฟอสฟอรัสมากเกินไป ยังไม่มีรายงานในส่วนนี้

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

Ellis, Bobby D.; MacDonald, Charles L. B. (2006). “Phosphorus(I) Iodide: A Versatile Metathesis Reagent for the Synthesis of Low Oxidation State Phosphorus Compounds”. Inorganic Chemistry. 

Lide, D. R., ed. (2005). “Magnetic susceptibility of the elements and inorganic compounds”. CRC Handbook of Chemistry and Physics (PDF) (86th ed.). Boca Raton (FL): CRC Press. ISBN 0-8493-0486-5.

Meija, J.; et al. (2016). “Atomic weights of the elements 2013 (IUPAC Technical Report)”. Pure Appl. Chem.

โปรตีนสารอาหารที่ร่างกายขาดไม่ได้ ( Protein )

0
โปรตีนที่ได้จากสัตว์จะมีคุณภาพสูงกว่า เพราะส่วนใหญ่จะมีสัดส่วนของกรดอะมิโนจำเป็นครบทุกชนิด และร่างกายสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทันที
โปรตีนสารอาหารที่ร่างกายขาดไม่ได้ (Protein)
โปรตีนที่ได้จากสัตว์จะมีคุณภาพสูงกว่า เพราะส่วนใหญ่จะมีสัดส่วนของกรดอะมิโนจำเป็นครบทุกชนิด และร่างกายสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทันที

โปรตีน คืออะไร ?

โปรตีน ( Protein ) คือ สารอาหารที่มีความจำเป็นต่อร่างกายเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะสารอาหารโปรตีนมีในกระบวนการสร้างเสริมเซลล์เพื่อการเจริญเติบโต ซึ่งสารอาหารโปรตีนจะถูกนำไปใช้เป็นองค์ประกอบสำคัญในด้านโครงสร้างของร่างกาย คือการสร้างกล้ามเนื้อ เนื่อเยื่อและกระดูก พร้อมทั้งช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย รวมถึงช่วยในการซ่อมแซมส่วนต่างๆของร่างกายที่มีการเสื่อมสลายลงไปอีกด้วย โดยเฉพาะการซ่อมแซมผิวหนังและเซลล์เม็ดเลือดแดง เป็นต้น

นอกจากนี้เมื่อโปรตีนถูกสลายตัวด้วยน้ำ ไม่ว่าจะเป็นในกรด ในด่างเข้มข้นหรือในความร้อน จะเกิดการแตกตัวของโปรตีนออกมาเป็นสารเล็กๆ ที่เป็นได้ทั้งกรดและด่าง จึงมีการตั้งชื่อว่ากรดอะมิโน เพราะในกรดอะมิโนจะแตกออกเป็น 2 กลุ่ม หรือกลุ่มที่มีภาวะเป็นกรด และกลุ่มที่มีภาวะเป็นด่าง และกรดอะมิโนเหล่านี้ก็เป็นสารประกอบหนึ่งที่พบอยู่ในโปรตีนเป็นจำนวนมากอีกด้วย ซึ่งโดยปกติแล้วโปรตีนก็จะประกอบด้วยกรดอะมิโน 35-300 หน่วย โดยหากโปรตีนมีขนาดเล็ก เช่น ไตรเพปไทด์ ก็จะประกอบด้วยกรดอะมิโน 3 หน่วยมาเชื่อมต่อกัน เป็นต้น และเนื่องจากโปรตีนโดยทั่วไปมักจะมีน้ำหนักของโมเลกุลมาก จึงไม่สามารถถูกดูดซึมผ่านผนังของลำไส้เล็กได้ ดังนั้นจึงต้องมีการย่อยเป็นกรดอะมิโนแต่ละโมเลกุลเสียก่อน โดยผ่านการย่อยในกระเพาะและลำไส้ด้วยน้ำย่อยหลายชนิด จึงจะสามารถซึมผ่านลำไส้เล็กเพื่อนำไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ หากถามว่า อาหารประเภทใดที่มีกรดอะมิโนจําเป็นครบถ้วนนั้น บอกได้เลยว่าต้องเป็นอาหารประเภทโปรตีนนั่นเอง

โปรตีน ภาษากรีก Proteios มีความหมายว่าสิ่งแรก เหตุผลที่นักเคมีได้ตั้งชื่อสารชนิดนี้ว่าโปรตีน นั่นก็เพราะว่าโปรตีนเป็นสารสำคัญที่สุดในสารอินทรีย์ทั้งหมด หรืออาจเรียกได้ว่าเป็นสารที่มีความสำคัญมาเป็นอันดับแรกนั่นเอง

สำหรับโปรตีนในร่างกายของคนเราก็จะพบอยู่ที่ประมาณร้อยละ 19 ของน้ำหนักตัว โดยร้อยละ 50 ของโปรตีนในร่างกายจะพบอยู่ในกล้ามเนื้อเป็นส่วนใหญ่ และร้อยละ 20 จะอยู่ในกระดูก ร้อยละ 10 อยู่ในผิวหนังและที่เหลือก็จะกระจายอยู่ตามส่วนต่างๆ ของร่างกายนั่นเอง อย่างไรก็ตาม โปรตีนที่พบในร่างกายของสิ่งมีชีวิต จะมีความแตกต่างกัน แม้แต่ในสัตว์ชนิดเดียวกันก็พบว่ามีโปรตีนที่ต่างกันเช่นกัน ดังนั้นการหาปริมาณของสารอาหารโปรตีนจากอาหารชนิดต่างๆ จึงมักจะใช้วิธีการคำนวณจากปริมาณของ ไนโตรเจน ทั้งหมดที่พบในอาหาร ก็เพราะโปรตีนส่วนใหญ่จะมีปริมาณของไนโตรเจนที่คงที่มากกว่าธาตุอาหารชนิดอื่นๆ คือ ร้อยละ 16 โดยการคำนวณจะนำปริมาณของไนโตรเจนที่มีหน่วยเป็นกรัมมาคูณเข้ากับ 6.25 (100/16) ก็จะได้ปริมาณของโปรตีนที่อยู่ในอาหารชนิดนั้นๆ

ประเภทของโปรตีน

ประเภทของโปรตีน สามารถแบ่งตามคุณสมบัติทางโภชนาการออกเป็น 3 ประเภท คือ

1. โปรตีนแบบสมบูรณ์ เป็นโปรตีนที่มีกรดอะมิโนจำเป็นอยู่ครบทุกชนิด และมีปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายอีกด้วย โดยโปรตีนแบบสมบูรณ์จะช่วยซ่อมแซมในส่วนต่างๆ ของร่างกายที่สึกหรอได้ดี และช่วยในการส่งเสริมการเจริญเติบโตของร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งแหล่งที่พบโปรตีนเหล่านี้ได้มากที่สุด ได้แก่ เนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ เช่น นม เนยแข็ง ไข่ และจากพืช เช่น ถั่วเหลือง เต้าหู้ เป็นต้น นอกจากนี้ยังพบว่าเป็นโปรตีนที่มีคุณค่าต่อร่างกาย ( Biological Value ) สูงอีกด้วย
2. โปรตีนแบบกึ่งสมบูรณ์ เป็นโปรตีนที่มีกรดอะมิโนเป็นส่วนประกอบน้อยกว่าแบบแรก และมีส่วนช่วยในการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกายเท่านั้นแต่ไม่สามารถช่วยในการเจริญเติบโตได้ โดยโปรตีนชนิดนี้สามารถพบได้จาก ถั่วฝักยาว ถั่วแขก และธัญพืชต่างๆ เป็นต้น
3. โปรตีนแบบไม่สมบูรณ์ เป็นโปรตีนที่มีกรดอะมิโนในปริมาณและสัดส่วนที่น้อยมาก จึงไม่สามารถช่วยในการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกายหรือช่วยในการเจริญเติบโตได้ ส่วนใหญ่จะพบได้จากพืชแทบทุกชนิด

ประเภทของกรดอะมิโน

รดอะมิโน เป็นส่วนประกอบหนึ่งที่มีอยู่ในสารอาหารโปรตีนและมีความจำเป็นต่อร่างกายเป็นอย่างมาก โดยกรดอะมิโนสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทคือ กรดอะมิโนจำเป็น ( Essential or Indispensable Amino Acids ) และกรดอะมิโนไม่จำเป็น ( Nonessential or Dispensable Amino Acids ) แต่ทั้งนี้ในปัจจุบันก็ได้มีการแบ่งประเภทของกรดอะมิโนตามการเมตาบอลิซึมอีกด้วย โดยสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทดังต่อไปนี้

1. กรดอะมิโนจำเป็น ก็คือ กรดอะมิโนชนิดที่ร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์ขึ้นมาเองได้ หรืออาจสังเคราะห์ได้บ้างแต่มีปริมาณที่น้อยมากและไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย จึงจำเป็นต้องได้รับกรดอะมิโนเหล่านี้เพิ่มเติมจากอาหารนั่นเอง โดยกรดอะมิโนประเภทนี้ได้แก่ ฮิสทิดีน ( Histidine ) ลูซีน (Leucine) ไอโซลูซีน ( Isoleucine ) ทริปโทเฟน ( Tryptophane ) และเวลีน ( Valine ) เป็นต้น โดยในเด็กนั้นจะมีความต้องการกรดอะมิโนจำเป็น 9 ชนิด และกรดอะมิโนจำเป็นในผู้ใหญ่มี 8 ชนิด
2. กรดอะมิโนจำเป็นในบางภาวะ เป็นกรดอะมิโนที่ร่างกายจะมีความต้องการเฉพาะบางภาวะเท่านั้น โดยปกติร่างกายจะสามารถสร้างกรดอะมิโนเหล่านี้ขึ้นมาได้อย่างเพียงพอ แต่ในบางกรณี เช่น กำลังอยู่ในภาวะเครียดอย่างรุนแรง ร่างกายจะไม่สามารถสร้างกรดอะมิโนไกลซีนได้ จึงจำเป็นที่จะต้องได้รับจากอาหารเพิ่มเติม หรือในเด็กทารกที่คลอดก่อนกำหนด จะไม่สามารถสร้างซีสเตอีนได้ จึงต้องได้รับกรดอะมิโนตัวนี้เพิ่มเติม สำหรับกรดอะมิโนจำเป็นในบางภาวะที่พบได้แก่ อาร์จินีน ( Arginine ) ซีสเตอีน ( Cysteine ) กลูตามีน ( Glutamine ) ไกลซีน ( Glycine ) โพรลีน ( Proline ) ไทโรซีน ( Tyrosine )

ตารางต้นกำเนิดของกรดอะมิโนจำเป็นในบางภาวะ และกรดอะมิโนไม่จำเป็นมีดังนี้

กรดอะมิโนจำเป็น Indispensable กรดอะมิโนจำเป็นในบางภาวะ Conditionally Indispensable ต้นกำเนิดของกรดอะมิโนจำเป็นในบางภาวะPrecursors of conditionally Indispensable กรดอะมิโนไม่จำเป็นสำหรับทารก Dispensable
Histidine Arginine Glutamine/Glutamate Alanine
Isoleucine Cysteine Aspartate Aspartic acid
Leucine Glutamine Methionine, Serine Aaparagine
Lysine Glycine Glutamic acid/Ammonia Glutamic acid
Methionine Proline Serine, Choline Serine
Phenylalanine Tyrosine Glutamate
Threonine Phenylalanine
Tryptophan
Valine

3. กรดอะมิโนไม่จำเป็นที่แท้จริง เป็นกรดอะมิโนชนิดที่ร่างกายสามารถสังเคราะห์ขึ้นมาได้อย่างเพียงพอต่อความต้องการเสมอ จึงไม่จำเป็นต้องได้รับกรดอะมิโนเหล่านี้เพิ่มเติม ถึงแม้ว่าจะอยู่ในวัยทารกก็ตาม โดยกรดอะมิโนที่ไม่จำเป็นต่อเด็กทารกก็มีทั้งหมด 5 ตัว ได้แก่ อะลานีน ( Alanine ) กรดแอสพาร์ทิก ( Aspartic Acid ) แอสพาราจีน ( Asparagines ) กรดกลูตามิก ( Glutamic Acid )  และ เซรีน ( Serine )

การประเมินคุณภาพของอาหารโปรตีน

คุณภาพของโปรตีนขึ้นอยู่กับหลากหลายปัจจัยด้วยกัน โดยสามารถประเมินคุณภาพของโปรตีนจากปัจจัยต่างๆ ดังนี้

1. ชนิดของกรดอะมิโนที่มีการนำมาสร้างโปรตีน โดยหากเป็นกรดอะมิโนจำเป็นและมีการนำมาประกอบกันในอัตราส่วนที่มีความเหมาะสม ก็จะทำให้โปรตีนมีคุณภาพที่สูงขึ้นไปด้วย
2. ส่วนประกอบของอาหาร โดยหากอาหารที่บริโภคประกอบไปด้วยใยอาหารประเภทเซลลูโลส เฮมิเซลลูโลสและคาร์โบไฮเดรตในปริมาณมาก ก็จะทำให้ร่างกายสามารถย่อยโปรตีนได้น้อยลง เพราะอาหารเหล่านี้จะผ่านกระเพาะอาหารและลำไส้อย่างรวดเร็วจึงทำให้อาหารไม่สามารถย่อยได้เต็มที่ อีกทั้งเซลลูโลสยังเป็นตัวการที่กีดขวางไม่ให้โปรตีนถูกย่อยอีกด้วย จึงทำให้โปรตีนถูกดูดซึมได้น้อยในที่สุด ซึ่งโดยปกติแล้วโปรตีนจากเนื้อสัตว์ร่างกายจะสามารถดูดซึมได้ดีมากกว่าร้อยละ 90 ส่วนโปรตีนจากถั่ว จะดูดซึมได้ที่ร้อยละ 80 และโปรตีนจากเมล็ดข้าวจะดูดซึมได้ที่ร้อยละ 60-90 เท่านั้น
3. ชนิดของสารอาหารโปรตีน นั่นก็เพราะว่าสารอาหารโปรตีนแต่ละชนิดจะมีกรดอะมิโนในปริมาณที่ไม่เท่ากันและอาจมีชนิดของกรดอะมิโนต่างกันได้ ดังนั้นการจะทำให้คุณภาพของโปรตีนดีขึ้นก็คือการนำเอาอาหารโปรตีนชนิดต่างๆ มาใช้รวมกันเพื่อให้ได้สารอาหาร โดยเฉพาะกรดอะมิโนอย่างครบถ้วนนั่นเอง นอกจากนี้ก็มีอาหารที่มีความบกพร่องในกรดอะมิโนจำเป็นด้วย โดยอาหารประเภทพืชที่มีความบกพร่องของกรดอะมิโนจำเป็นได้แก่ เมไทโอนีน ไลซีนและทริปโทเฟน ดังนั้นจึงต้องทานอาหารที่แตกต่างกัน เพื่อให้ได้รับกรดอะมิโนอย่างครบถ้วน
4. การทดลองแบบต่างๆ โดยส่วนใหญ่การทดลองเพื่อวัดคุณภาพของโปรตีนนั้น จะใช้หาสัดส่วนของโปรตีนที่มีอยู่ ด้วยการวัดความสมดุลของไนโตรเจนที่มีอยู่ในสัตว์ หรืออาจทำการทดลองโดยศึกษาจากน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น หรือการวิเคราะห์เอาจากซากสัตว์นั่นเอง

หน้าที่และความสำคัญของโปรตีน

โปรตีนมีหน้าที่และความสำคัญดังต่อไปนี้

1. โปรตีนช่วยเสริมสร้างและทำหน้าที่ในการซ่อมแซมเนื้อเยื่อต่างๆ ที่สึกหรอภายในร่างกาย โดยเมื่อทานอาหารที่มีโปรตีน โปรตีนก็จะถูกย่อยจนได้กรดอะมิโนออกมา และถูกดูดซึมไปใช้เพื่อสังเคราะห์เป็นส่วนประกอบของโครงสร้างภายในร่างกายต่อไป รวมถึงเป็นเนื้อเยื่อเพื่อเสริมสร้างการเจริญเติบโตและซ่อมแซมในส่วนที่สึกหรอด้วย ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วโปรตีนจะทำหน้าที่ในการเสริมสร้างการเจริญเติบโตมากกว่าการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ โดยเฉพาะในช่วงตั้งครรภ์ เพราะต้องใช้โปรตีนเป็นจำนวนมากในการเจริญเติบโตของทารกนั่นเอง
ส่วนการสังเคราะห์โปรตีนต่างๆ จะเกิดขึ้นในส่วนของไรโบโซม และในกระบวนการสังเคราะห์ก็จะต้องมีกรดอะมิโนอย่างครบถ้วนและมีในปริมาณที่เหมาะสมด้วย โดยหากในขณะการสังเคราะห์โปรตีนเกิดการขาดกรดอะมิโนชนิดใดไปหรือมีปริมาณที่ไม่เพียงพอก็จะไม่เกิดการสร้างขึ้นมา จาหากกรดอะมิโนที่ขาดไปนั้นเป็นกรดชนิดที่ไม่จำเป็นต่อร่างกาย ร่างกายก็จะทำการสร้างกรดชนิดนั้นขึ้นมาเพื่อใช้ในกระบวนการสังเคราะห์โปรตีนนั่นเอง อย่างไรก็ตามการจะผลิตกรดอะมิโนที่ไม่จำเป็นขึ้นมาใช้ได้ทันหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับสภาวะความเหมาะสมและระยะเวลาด้วย
2. ทำหน้าที่ในการสร้างโปรตีนที่จะช่วยควบคุมการทำงานของส่วนต่างๆ ภายในร่างกาย โดยเฉพาะการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและการสร้างน้ำย่อยให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มการเผาผลาญอาหารได้ดีและลดการสะสมของไขมันในร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. ควบคุมน้ำภายในและภายนอกของเซลล์ให้มีความสมดุลมากขึ้น และช่วยในการเคลื่อนที่ของของเหลวระหว่างเลือดกับเซลล์ได้อีกด้วย ซึ่งปกติแล้วโปรตีนในร่างกายของคนเราจะมีโมเลกุลขนาดใหญ่ที่ไม่สามารถผ่านผนังเซลล์เส้นเลือดได้ จึงเกิดความดันออสโมติคขึ้นมาและส่งผลให้น้ำภายในร่างกายมีความสมดุลและคงที่มากขึ้นนั่นเอง และในทางตรงกันข้าม หากมีโปรตีนในเลือดต่ำก็จะทำให้ความดันออสโมติคต่ำลง ความดันเลือดสูงกว่า เป็นผลให้น้ำไหลออกจากในเลือดไปอยู่ในของเหลวรอบๆ เซลล์มากเกินไปจนทำให้เกิดอาการบวมได้นั่นเอง
4. ช่วยรักษาความสมดุลของกรดด่างในเลือด ซึ่งจะทำให้ปฏิกิริยาต่างๆ ในร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและไม่มีปัญหาเกิดขึ้น

5. โปรตีนจะช่วยให้พลังงานแก่ร่างกาย ทำให้ร่างกายได้รับพลังงานอย่างเพียงพอและพร้อมสำหรับการทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันมากขึ้น ซึ่งโดยปกติแล้วหากร่างกายได้รับพลังงานน้อยมากหรือไม่เพียงพอสำหรับความต้องการ ก็จะมีการแตกตัวกรดอะมิโนจากกล้ามเนื้อออกมาเพื่อใช้เป็นพลังงานแทน อย่างไรก็ตาม ร่างกายมักจะไม่ค่อยนิยมนำโปรตีนมาใช้เพื่อให้พลังงานมากนัก เพราะหากได้รับโปรตีนจากอาหารไม่พอ อาจทำให้ขาดโปรตีนสำหรับทำหน้าที่อื่นๆ ที่สำคัญได้ และยังส่งผลเสียต่อระบบเผาผลาญอาหารอีกด้วย เช่น เกิดการสูญเสียความร้อนไปอย่างเปล่าประโยชน์ และหากเหลือจากการนำมาใช้ ก็จะต้องถูกเปลี่ยนเป็นสารที่ไร้ประโยชน์ ซึ่งก็คือ ยูเรีย และถูกขับออกจากร่างกาย โดยที่ไตและตับจะทำหน้าที่ในการกรองและขับออกมานั่นเอง และเนื่องจากการขับของเสียออกนอกร่างกายต้องใช้น้ำเป็นจำนวนมาก จึงอาจส่งผลเสียตามมาได้ นอกจากนี้เมื่อร่างกายมีโปรตีนมากเกินความจำเป็น ก็อาจถูกเปลี่ยนเป็นไขมันในเนื้อเยื่อของร่างกายได้เหมือนกัน
6. ทำหน้าที่ในการป้องกันและกำจัดสารพิษบางอย่างออกจากร่างกาย โดยจะช่วยเสริมภูมิต้านทานให้แข็งแรง ซึ่งจะช่วยป้องกันการติดเชื้อต่างๆ ได้เป็นอย่างดี พร้อมกับกำจัดสารพิษออกจากร่างกาย โดยมีตับเป็นตัวช่วยในการทำลายสารพิษและขับออกไปทางปัสสาวะ

โปรตีนช่วยเสริมสร้างและทำหน้าที่ในการซ่อมแซมเนื้อเยื่อต่างๆ ที่สึกหรอภายในร่างกาย โดยเมื่อทานอาหารที่มีโปรตีน โปรตีนก็จะถูกย่อยจนได้กรดอะมิโนออกมา และถูกดูดซึมไปใช้เพื่อสังเคราะห์เป็นส่วนประกอบของโครงสร้างภายในร่างกายต่อไป

แหล่งที่พบโปรตีน

โปรตีน เป็นสารอาหารสำคัญของร่างกายที่สามารถพบได้ทั้งในพืชและในสัตว์ แต่โปรตีนที่ได้จากสัตว์จะมีคุณภาพสูงกว่า เพราะส่วนใหญ่จะมีสัดส่วนของกรดอะมิโนจำเป็นครบทุกชนิด และร่างกายสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทันที แหล่งที่พบโปรตีนที่ได้จากพืช ส่วนใหญ่จะมีกรดอะมิโนจำเป็นไม่ครบทุกตัวหรือพบในปริมาณที่น้อยมาก ไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ดังนั้นจึงต้องทานให้หลากหลายเพื่อให้ได้กรดอะมิโนในโปรตีนอย่างครบถ้วนนั่นเอง เช่น การทานข้าวผสมกับถั่วเมล็ดแห้ง โดยข้าวจะมีเมไทโอนีนสูงและถั่วจะมีไลซีนสูง เมื่อทานคู่กันจึงทำให้มีคุณภาพที่สูงกว่าการทานข้าวหรือถั่วเมล็ดแห้งเพียงอย่างเดียว

การพิจารณาปริมาณไขมันในอาหารที่อุดมไปด้วยโปรตีนก็เป็นสิ่งสำคัญ ควรเลือกทานอาหารที่มีโปรตีนสูงและมีไขมันอิ่มตัวต่ำ ในปัจจุบัน มีงานวิจัยมากมายแสดงให้เห็นว่า การรับประทานอาหารจำพวกปลา เนื้อไก่ ถั่ว และธัญพืชแทนเนื้อวัวหรือเนื้อแดง ช่วยลดโอกาสการเสียชีวิตก่อนวัย และลดโอกาสเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน และมะเร็งได้

ความต้องการโปรตีนของร่างกาย

ความต้องการโปรตีนในร่างกายของคนเราอาจมีความแตกต่างกันออกไป โดยส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่กับปริมาณน้อยที่สุดที่ร่างกายจะสามารถรักษาสมดุลของไนโตรเจนที่สูญเสียออกจากร่างกายได้ และยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่มีผลต่อความต้องการโปรตีนดังนี้
1. อายุ พบว่าในเด็กจะมีความต้องการโปรตีนสูงกว่าผู้ใหญ่ เพราะเป็นวัยที่กำลังเจริญเติบโต จึงต้องได้รับโปรตีนเพื่อการเจริญเติบโตและซ่อมแซมในส่วนที่สึกหรอมากที่สุด
2. เพศ เพศชายจะมีความต้องการโปรตีนสูงกว่าเพศหญิงเป็นอย่างมาก เพราะต้องใช้พลังงานมากกว่า โดยเฉพาะในการทำงาน
3. ภาวะโภชนาการ โดยคนที่ได้รับโปรตีนจากโภชนาการน้อย หรือได้รับพลังงานน้อยเกินไป มักจะมีความต้องการโปรตีนสูงมากกว่าคนปกติ
4. คุณภาพอาหารโปรตีน ซึ่งพบว่าผู้ที่ทานโปรตีนที่มีคุณภาพต่ำจะมีความต้องการโปรตีนมากกว่าคนที่ทานโปรตีนคุณภาพสูง เพื่อให้ได้ปริมาณโปรตีนที่เหมาะสม
5. พลังงานที่ได้รับโดยรวม หากร่างกายได้รับพลังงานน้อยมาก ไม่ว่าจะเป็นพลังงานจากไขมันหรือคาร์โบไฮเดรต ก็จะทำให้ต้องการโปรตีนในปริมาณที่สูงขึ้น เพื่อนำโปรตีนมาใช้เป็นพลังงานแก่ร่างกายนั่นเอง

6. อุณหภูมิของสภาพแวดล้อม โดยหากอากาศร้อนจัดจนทำให้สูญเสียเหงื่อเยอะ ซึ่งมีการสูญเสียไนโตรเจนออกไปพร้อมกับเหงื่อด้วย ก็จะทำให้ร่างกายมีความต้องการโปรตีนสูงขึ้นไปด้วย
7. ผู้ที่ออกกำลังกายเป็นประจำมักจะมีความต้องการโปรตีนสูงกว่าผู้ที่ไม่ค่อยได้ออกกำลังกายเลย เพราะได้มีการสูญเสียเหงื่อและไนโตรเจนไปพร้อมกับเหงื่อเยอะมากนั่นเอง
8. เมื่อร่างกายมีอาการเจ็บป่วย ได้รับการผ่าตัดหรือเป็นแผล จะมีความต้องการโปรตีนมากกว่าปกติ นั่นก็เพื่อซ่อมแซมและสมานแผลให้เร็วที่สุด
9. ในผู้ที่มีความเครียดหรือมีความวิตกกังวลเป็นอย่างมาก ก็มักจะต้องการโปรตีนที่สูงขึ้นกว่าเดิมเช่นกัน

การกำหนดความความต้องการของโปรตีนในแต่ละบุคคลจะยึดเอาตามปัจจัยเหล่านี้ในการกำหนด โดยเฉพาะในเรื่องของอายุ เพศและกิจกรรมที่ทำในชีวิตประจำวัน แต่อย่างไรก็ตาม การกำหนดความต้องการของโปรตีนจะต้องคำนึงถึงความสามารถในการย่อยโปรตีนของร่างกายและคุณภาพของโปรตีนที่ได้รับด้วย เพราะฉะนั้นจึงได้มีการกำหนดคุณภาพของโปรตีนเท่ากับ 100 ซึ่งพบได้จากอาหารพวกไข่ นม เนื้อสัตว์และปลานั่นเอง ส่วนความสามารถในการย่อยจะกำหนดไว้ที่ร้อยละ 85

นอกจากนี้ยังพบอีกว่าปริมาณของโปรตีนที่ควรได้รับในแต่ละวันจะลดลงตามอายุด้วย โดยในวัยทารกจะมีความต้องการโปรตีนโดยคิดเป็นกรัมต่อน้ำหนักตัวหนึ่งกิโลกรัม และช่วงอายุ 6-11 เดือนจะมีความต้องการโปรตีนสูงมากถึง 1.9 กรัมต่อน้ำหนักตัวหนึ่งกิโลกรัมต่อวัน นั่นก็เพราะเป็นช่วงวัยที่กำลังเจริญเติบโตจึงต้องการโปรตีนสูงมาก แต่ในวัยผู้ใหญ่ร่างกายก็จะมีความต้องการโปรตีนลดลง ซึ่งจะเหลืออยู่แค่ 1.0 กิโลกรัมต่อน้ำหนักตัวหนึ่งกิโลกรัมต่อวันเท่านั้น นั่นก็เพราะในวัยผู้ใหญ่ ร่างกายไม่มีความจำเป็นต้องใช้โปรตีนในการเจริญเติบโตเพียงต้องการโปรตีนเพื่อใช้สำหรับซ่อมแซมในส่วนที่สึกหรอเท่านั้น ส่วนในหญิงตั้งครรภ์จะมีความต้องการโปรตีนมากขึ้นจากปกติถึงวันละ 25 กรัม เพื่อใช้ในการเจริญเติบโตของทารกและรักษาสมดุลของไนโตรเจนในร่างกาย ที่มีความสำคัญต่อการตั้งครรภ์เป็นอย่างมาก นอกจากนี้ในหญิงที่ให้นมบุตรก็มีความต้องการโปรตีนสูงเหมือนกัน เพื่อใช้ในการผลิตน้ำนมนั่นเอง

ตาราง ปริมาณสารอาหารโปรตีนประเภทกรดอะมิโนที่จำเป็นในอาหาร ( มก. ต่อกรัมไนโตรเจน )

ปริมาณโปรตีนประเภทกรดอะมิโนที่จำเป็นในอาหาร ( มก. ต่อกรัมไนโตรเจน )
อาหาร ไอโซลูซีน ลูซีน ไลซีน เฟนิลอะลานีน เมไทโอนีน ทรีโอนีน ทริปโทเฟน เวลีน คะแนนโปรตีน
ถั่วลิสง 260 380 220 320 60 170 70 310 55
ถั่วเหลือง 340 480 400 310 80 250 90 330 72
ถั่วเขียว 350 560 430 300 70 200 50 370 40
เนื้อวัว 332 515 540 256 154 275 75 345 83
ข้าวเจ้า 322 535 236 307 142 241 65 415 72
ข้าวสาลี 261 426 107 308 100 151 60 264 40
งา 261 461 160 400 175 194 91 244 60

 

เด็กหรือผู้ใหญ่ใครต้องการโปรตีนมากกว่ากัน ?

สารอาหารโปรตีนมีความจำเป็นอย่างมากในร่างกาย เราสามารถแบ่งปริมาณความต้องการสารอาหารโปรตีนในแต่ละช่วงอายุได้ ดังตารางต่อไปนี้ดังนี้

ปริมาณสารอาหารโปรตีนอ้างอิงที่ควรได้รับประจำวันสำหรับคนไทยวัยต่างๆ
เพศ อายุ น้ำหนักตัว (กก.) โปรตีน กรัม/น้ำหนักตัว1 กก./วัน โปรตีน/กรัม/วัน
ทารก ชาย-หญิง 0 – 5 เดือน* 5 น้ำนมแม่
6 – 11 เดือน 8 1.9 15
เด็ก ชาย-หญิง 1 – 3 ปี** 13 1.4 18
4 – 5 ปี 18 1.2 22
6 – 8 ปี 23 1.2 28
วัยรุ่นผู้ชาย 9 – 12 ปี 33 1.2 40
13 – 15 ปี 49 1.2 58
16 – 18 ปี 57 1.1 63
วัยรุ่นผู้หญิง 9 – 12 ปี 34 1.2 41
13 – 15 ปี 46 1.2 55
16 – 18 ปี 48 1.1 53
ผู้ใหญ่ผู้ชาย 19 – 30 ปี 57 1.0 57
31 – 50 ปี 57 1.0 57
≥ 71 ปี 57 1.0 57
ผู้ใหญ่ผู้หญิง 19 – 30 ปี 52 1.0 52
31 – 50 ปี 52 1.0 52
≥ 71 ปี 52 1.0 52
หญิงตั้งครรภ์ ไตรมาสที่ 1 +25
ไตรมาสที่ 2 +25
ไตรมาสที่ 3 +25
หญิงให้นมบุตร 0 – 5 เดือน +25
6 – 11 เดือน +25

*แรกเกิดจนถึงก่อนอายุครบ 6 เดือน
**อายุ 1 ปี จนถึงอายุครบ 4 ปี

ตาราง ความต้องการกรดอะมิโนของคนในวัยต่าง ๆ ในแต่ละวัน

ความต้องการกรดอะมิโนของคนในวัยต่างๆ ( มก./กก./วัน )
กรดอะมิโน ทารก(3-6 เดือน) เด็ก(2-5 ปี) เด็ก(10 -12 ปี)  ผู้ใหญ่
ฮิสทิดีน ( Histidine ) 28 7 7 8-12
ไอโซลูซีน ( Isoleucine ) 70 31 28 10
ลูซีน ( Leucine ) 161 73 42 14
ไลซีน ( Lysine ) 103 64 44 12
เมไทโอนีน ( Methionine ) 58 27 22 13
เฟนิลอะลานีน ( Phenylalanine ) 125 69 22 14
ทรีโอนีน ( Threonine ) 87 37 28 7
ทริปโทเฟน ( Tryptophan ) 17 12.5 3.3 3.5
เวลีน ( Valine ) 93 38 25 10
รวมกรดอะมิโนจำเป็น 714 352 214 84

อาการและการป้องกันของโรคเมื่อขาดโปรตีน

เมื่อร่างกายขาดโปรตีน จะแสดงผลออกมาในหลายลักษณะ เช่น

1.ผลจากการได้รับโปรตีนน้อยเกินไป
การได้รับโปรตีนในปริมาณที่น้อยเกินไป จะทำให้เกิดเป็นโรคขาดสารอาหารหรือขาดพลังงานได้ ซึ่งถือเป็นโรคที่พบได้บ่อยมากทีเดียวในประเทศไทย นั่นก็เพราะว่าคนไทยส่วนใหญ่มักจะได้รับอาหารประเภทโปรตีนหรืออาหารที่ให้พลังงานแก่ร่างกายไม่เพียงพอนั่นเอง โดยโรค P.E.M. เป็นโรคที่สามารถพบได้บ่อยในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 6 ปี เพราะช่วงวัยดังกล่าวเป็นวัยที่ร่างกายมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ทำให้ต้องการโปรตีนและพลังงานที่มากกว่าวัยอื่นๆ จึงมีโอกาสที่จะขาดโปรตีนได้มากที่สุด โดยส่วนใหญ่จะเกิดจากสาเหตุ   

สาเหตุของการขาดสารอาหารโปรตีน

สาเหตุที่ร่างกายขาดสารอาหารโปรตีน ได้แก่

1. การได้รับสารอาหารจากอาหารไม่เพียงพอ ไม่ว่าจะเป็นในด้านของปริมาณหรือคุณภาพของอาหารก็ตาม
2. ป่วยเป็นโรคที่มีผลต่อภาวะโภชนาการ คือทำให้ร่างกายดูดซึมอาหารได้น้อยกว่าปกติ ไม่สามารถนำสารอาหารไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเหมาะสมหรือกำลังอยู่ในภาวะที่ต้องการโปรตีนมากกว่าช่วงเวลาปกติ เป็นต้น

ถึงแม้ว่าการขาดโปรตีนอาจเกิดได้จากสาเหตุใดสาเหตุหนึ่ง แต่โดยส่วนมากแล้วสำหรับคนไทยจะมีการขาดโปรตีนจากทั้ง 2 สาเหตุร่วมกันเสมอ เพราะเมื่อร่างกายได้รับปริมาณของโปรตีนและพลังงานน้อยลง ก็จะทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อง่ายขึ้นกว่าเดิมอีกด้วย และเมื่อป่วยด้วยโรคจากการติดเชื้อนี่เองก็จะนำมาซึ่งการขาดโปรตีนอย่างหนัก โดยหากสัมพันธ์กับอายุ พันธุกรรม และสภาพแวดล้อมต่างๆ ด้วยแล้ว ก็จะยิ่งเป็นโรคร่างกายขาดโปรตีนได้ง่ายขึ้น

โรคขาดโปรตีนและพลังงาน แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะคือ

1. ควาชิอาร์กอร์ ( Kwashiorkor ) เป็นโรคขาดโปรตีนที่มักจะพบกับเด็กที่เพิ่งหย่านมใหม่ๆ โดยเฉพาะในเด็กอายุ 1-4 ปี ซึ่งจะมีอาการบวมตามแขนขา ไม่มีกล้ามเนื้อหรือผมเปลี่ยนสีไปจากเดิมและแห้งเปราะได้
2. มาราสมัส ( Marasmus ) เป็นโรคที่มักจะเกิดกับเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 1 ปีเช่นกัน โดยจะมีอาการผิวหนังเหี่ยวย่นคล้ายกับคนแก่ ผอมแห้งและไม่มีกล้ามเนื้อ
3. มาราสมิก ควาชิออร์กอร์ ( Marasmic Kwashiorkor ) เป็นโรคจากการขาดโปรตีนที่พบได้บ่อยมากที่สุด โดยจะมีอาการจากทั้ง 2 กลุ่มข้างต้นรวมกันและอาจรุนแรงกว่า โดยการเจริญเติบโตจะหยุดชะงัก ตัวผอมมาก เจ็บป่วยได้ง่ายและอาจมีอาการเปลี่ยนแปลงทางผิวหนัง เช่น ผิวเหี่ยวย่น ขาดความชุ่มชื้น แห้งกร้าน รวมถึงมีภาวะตับโต ซึ่งเป็นอันตรายด้วยเช่นกัน

หากได้รับโปรตีนมากเกินไปจะเกิดอะไร ?

เมื่อร่างกายมีโปรตีนสะสมมากเกินไป อาจเกิดภาวะต่างๆ ดังต่อไปนี้ได้
1. ปัญหาระบบทางเดินอาหาร เช่น ท้องอืด
2. ปัญหาเกี่ยวกับตับ
3. ปวดท้อง
4. ท้องร่วง
5. เพิ่มโอกาสการเป็นโรคเกาต์ ( กรดยูริกในร่างกายเพิ่มขึ้นทำให้เกิดการอักเสบของข้อ )
6. ความดันต่ำ
7. พฤติกรรมการทานอาหารเปลี่ยนแปลงไป
8. ไตทำงานหนักมากขึ้น

อาการแพ้โปรตีน

การแพ้โปรตีน คือ ปฏิกิริยาที่ภูมิคุ้มกันตอบสนองต่อโปรตีนในอาหารชนิดหนึ่ง ๆ มากเกินไป ซึ่งได้แก่อาหารจำพวก
นมวัว ไข่ ปลา หอย ถั่วเหลือง ข้าวสาลี ถั่วลิสง ถั่วยืนต้นต่าง ๆ หากสงสัยว่ามีอาการแพ้อาหารเหล่านี้ควรรีบปรึกษาแพทย์

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

Wu, Linfeng; Candille, Sophie I.; Choi, Yoonha; Xie, Dan; Jiang, Lihua; Li-Pook-Than, Jennifer; Tang, Hua; Snyder, Michael (2013). “Variation and genetic control of protein abundance in humans”. Nature. 

Milo, Ron (2013-12-01). “What is the total number of protein molecules per cell volume? A call to rethink some published values”. BioEssays.

Beck, M.; Schmidt, A.; Malmstroem, J.; Claassen, M.; Ori, A.; Szymborska, A.; Herzog, F.; Rinner, O.; Ellenberg, J. (2011). “The quantitative proteome of a human cell line”. Mol Syst Biol.

แมกนีเซียมประโยชน์ ที่ไม่ควรมองข้าม ( Magnesium )

0
แมกนีเซียมจำเป็นต่อร่างกายอย่างไร? (Magnesium)
แมกนีเซียมเป็นแร่ธาตุที่จะพบได้มากในผักใบเขียว เพราะเป็นองค์ประกอบสำคัญของคลอโรฟิลล์ที่พบได้ในพืช
แมกนีเซียมจำเป็นต่อร่างกายอย่างไร? (Magnesium)
แมกนีเซียมเป็นแร่ธาตุที่จะพบได้มากในผักใบเขียว เพราะเป็นองค์ประกอบสำคัญของคลอโรฟิลล์ที่พบได้ในพืช

แมกนีเซียม

แมกนีเซียม ( Magnesium ) คือ องค์ประกอบแร่ธาตุที่มีมากที่สุดในร่างกายกายมนุษย์ พบอยู่ประมาณ 0.5 ของน้ำหนักกาย โดยส่วนใหญ่จะอยู่ในระบบกระดูก เนื้อเยื่ออ่อน และในเลือดเพียงเล็กน้อย ดังนั้นมีหน้าที่ที่สำคัญส่งเสริมการก่อตัวของกระดูกและฟัน มีส่วนช่วยในการหดตัวของกล้ามเนื้อ และปรับสมดุลระดับน้ำตาลในเลือด และรักษาระดับความดันโลหิตให้เป็นปกติ แมกนีเซียมจึงเป็นสารอาหารที่จำเป็นสำหรับเซลล์ทั้งหมด ส่วนแมกนีเซียมส่วนเกินจะถูกร่างกายกำจัดออกทางอุจจาระและเหงื่อนั่นเอง

หน้าที่สำคัญของแมกนีเซียม

1. แมกนีเซียมจะทำงานร่วมกับฟอสฟอรัส วิตามินดีและแคลเซียม เพื่อเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง โดยพบว่าหากร่างกายขาดแมกนีเซียมหรือมีแมกนีเซียมในปริมาณที่น้อยเกินไป ก็จะทำให้กระดูกมีความเปราะบางและแตกหักได้ง่ายขึ้นเช่นกัน
2. แมกนีเซียมมีส่วนช่วยในกระบวนการเผาผลาญ โดยแมกนีเซียมจะไปกระตุ้นน้ำย่อยที่มีส่วนช่วยในกระบวนการเผาผลาญให้ทำงานได้ดีขึ้นนั่นเอง
3. แมกนีเซียมช่วยควบคุมสมดุลของความเป็นกรดและด่างให้เป็นปกติมากขึ้น
4. แมกนีเซียมอาหารที่มีส่วนช่วยในการคงตัวของกล้ามเนื้อ
5. แมกนีเซียมส่งเสริมการดูดซึม ให้ร่างกายมีการดูดซึมแร่ธาตุต่างๆ ได้ดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะฟอสฟอรัส แคลเซียมและโปแตสเซียม
6. แมกนีเซียมช่วยส่งเสริมให้ร่างกายมีการดูดซึมวิตามิน นำเอาวิตามินบีรวม วิตามินอีและ วิตามินซี มาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
7. แมกนีเซียมมีส่วนช่วยในการควบคุมการหดตัวของกล้ามเนื้อให้เป็นไปอย่างปกติและมีความจำเป็นต่อการส่งสัญญาณประสาทอีกด้วย
8. แมกนีเซียมมีส่วนช่วยในการปรับอุณหภูมิของร่างกายให้อยู่ในระดับที่คงที่และต้านความหนาวเย็นได้ดี ด้วยการปรับอุณหภูมิร่างกายให้เหมาะสมนั่นเอง
9. การที่ร่างกายได้รับแมกนีเซียมในปริมาณที่เพียงพอ จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเปลี่ยนน้ำตาลในเลือดให้เป็นพลังงานได้ดี
10. แมกนีเซียมมีความจำเป็นและสัมพันธ์ต่อของเหลวภายนอกร่างกาย
11. แมกนีเซียมมีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการสังเคราะห์ DNA และ RNA ในระหว่างที่เซลล์กำลังแบ่งตัว เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพที่สุด

อาหารอะไรที่มีแมกนีเซียมสูง

1. อัลมอนด์ 1 ออนซ์ = แมกนีเซียม 80 มิลลิกรัม
2. เม็ดมะม่วงหิมพานต์ 1 ออนซ์ = แมกนีเซียม 72 มิลลิกรัม
3. ถั่งลิสง 1 ออนซ์ = แมกนีเซียม 49 มิลลิกรัม
4. เมล็ดฟักทอง 1 ออนซ์ = แมกนีเซียม 150 มิลลิกรัม
5. ข้าวสาลีฝอย 1 ถ้วย = แมกนีเซียม 56 มิลลิกรัม
6. โยเกิร์ต 8 ออนซ์ = แมกนีเซียม 42 มิลลิกรัม
7. ผักโขม 1/2 ถ้วย = แมกนีเซียม 78 มิลลิกรัม
8. ดาร์กช็อกโกแลต 1 ออนซ์ = แมกนีเซียม 64 มิลลิกรัม
9. อะโวคาโด 1/2 ถ้วย = แมกนีเซียม 22 มิลลิกรัม
10. แซลมอน (สุก) 3 ออนซ์ = แมกนีเซียม 26 มิลลิกรัม

แมกนีเซียม แร่ธาตุสำคัญที่จำเป็นสำหรับร่างกาย

ร่างกายของคนเราสามารถดูดซึมแมกนีเซียมได้ดีบริเวณลำไส้เล็กตอนต้น ซึ่งในขณะเดียวกันก็จะไปขัดขวาง การดูดซึมแคลเซียมและฟอสฟอรัสเช่นกัน และในทางตรงกันข้ามก็จะมีการขัดขวางการดูดซึมแมกนีเซียม และนอกจากแร่ธาตุดังกล่าวแล้ว ไฟเตต ก็ยังเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อการดูดซึมแมกนีเซียมเช่นกัน โดยจะขัดขวางการดูดซึมให้ร่างกายได้รับแมกนีเซียมในปริมาณที่น้อยลงนั่นเอง นอกจากนี้ก็จะมีการขับแมกนีเซียมออกมาทางปัสสาวะอีกด้วย ดังนั้นหากมีการใช้ยาขับปัสสาวะ หรือดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก ก็จะทำให้เกิดการสูญเสียแมกนีเซียมในปริมาณมากเช่นกัน

แหล่งแมกนีเซียมในอาหารที่พบ

แมกนีเซียมเป็นแร่ธาตุที่สามารถพบได้ในอาหารแทบทุกชนิด แต่จะพบได้มากในผักใบเขียว เพราะเป็นองค์ประกอบสำคัญของคลอโรฟิลล์ที่พบได้ในพืชนั่นเอง นอกจากนี้ยังพบได้มากในข้าวโพด ธัญพืชไม่ขัดสี อาหารทะเล ปลาน้ำจืด แอปเปิ้ล นม และถั่วเหลืองได้อีกด้วย

ปริมาณแมกนีเซียมอ้างอิงที่ควรได้รับประจำวันสำหรับคนไทยวัยต่างๆ
เพศ อายุ ปริมาณที่ได้รับ (มิลลิกรัม/วัน)
เด็ก 1-3 ปี 60
4-5 ปี 80
6-8 ปี 120
วัยรุ่นผู้ชาย 9-12 ปี 170
13-15 ปี 240
16 -18 ปี 290
วัยรุ่นผู้หญิง 9-12 ปี 170
13-15 ปี 220
16 -18 ปี 250
ผู้ใหญ่ผู้ชาย 19 – 30 ปี 310
31 – 70 ปี 320
51- 70 ปี 300
≥ 71 ปี 280
ผู้ใหญ่ผู้หญิง 19 – 30 ปี 250
31 – 70 ปี 260
51- 70 ปี 260
≥ 71 ปี 240
หญิงตั้งครรภ์ ควรเพิ่มอีก 30

โดยปกติแล้วเรามักจะพบว่าคนที่เป็นพิษสุราเรื้อรังจะมีระดับของแมกนีเซียมต่ำมาก เพราะการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จะกระตุ้นให้มีการขับถ่ายแมกนีเซียมออกไปมากขึ้นนั่นเอง นอกจากนี้ยังพบอีกว่าแคลเซียมและแมกนีเซียมจะต้องมีความสมดุลกัน โดยหากมีแคลเซียมในร่างกายสูงก็จะต้องได้รับแมกนีเซียมสูงขึ้นไปด้วย และที่สำคัญ ฟอสฟอรัส วิตามินดีและโปรตีน ก็จะทำให้ร่างกายมีความต้องการแมกนีเซียมสูงขึ้นจากเดิมอีกด้วย

การขาดแมกนีเซียม

เมื่อร่างกายขาดแมกนีเซียมจะทำให้กล้ามเนื้อเกิดการอ่อนแรงและเกิดตะคริวได้ ซึ่งส่วนใหญ่จะพบในผู้ที่ป่วยด้วยโรคเบาหวาน โรคตับอ่อนอักเสบและตับแข็งนั่นเอง นอกจากนี้ในผู้ที่ครรภ์เป็นพิษ ไตพิการ เป็นพิษสุราเรื้อรัง ผู้ที่มีการดูดซึมในร่างกายที่ผิดปกติ หรือผู้ที่ทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูง ก็มักจะเป็นผู้ที่มีภาวะขาดแมกนีเซียมได้เช่นกัน

ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างแมกนีเซียมและโรคหัวใจขาดเลือด พบว่าหากร่างกายได้รับแมกนีเซียมน้อยเกินไป จนไม่เพียงพอต่อความต้องการ ก็จะทำให้เกิดการอุดตันในหัวใจและสมอง จนส่งผลให้หัวใจขาดเลือดได้นั่นเอง
สำหรับอาการที่พบได้บ่อยๆ จากการขาดแมกนีเซียมก็คือ กล้ามเนื้อจะเกิดการบิด สั่น ความจำแย่ลง โดยอาจเกิดความจำเสื่อมเฉพาะ เช่น จำสถานที่หรือจำเพื่อนฝูงไม่ได้ โดยการรักษาอาการดังกล่าวนั้น หากเป็นเด็กจะห้ามไม่ให้ดื่มนม เพราะในน้ำนมมีแคลซีฟีรอลที่จะยิ่งกระตุ้นให้แมกนีเซียมถูกขับออกมากขึ้น และตามด้วยการให้อาหารเสริมที่จะเพิ่มแมกนีเซียมและรักษาอาการได้ดี

การเป็นพิษของแมกนีเซียม

โดยปกติแล้วหากไตของคนเรายังทำงานได้อย่างปกติ มักจะไม่เกิดพิษจากแมกนีเซียม เพราะไตสามารถที่จะขับแมกนีเซียมออกจากร่างกายได้อย่างเหมาะสม ซึ่งหากร่างกายเกิดภาวะไตชำรุด ก็จะทำให้อัตราการขับแมกนีเซียมออกจากร่างกายต่ำลงและมีระดับของแมกนีเซียมในร่างกายสูงมากขึ้น จนทำให้เป็นพิษในที่สุด

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

Bernath, P. F.; Black, J. H. & Brault, J. W. (1985). “The spectrum of magnesium hydride” (PDF). Astrophysical Journal. 298: 375. 

Housecroft, C. E.; Sharpe, A. G. (2008). Inorganic Chemistry(3rd ed.). Prentice Hall. pp. 305–306. ISBN 978-0131755536.

Ash, Russell (2005). The Top 10 of Everything 2006: The Ultimate Book of Lists. Dk Pub. ISBN 0-7566-1321-3. Archived from the original on 2006-10-05.

Weast, Robert (1984). CRC, Handbook of Chemistry and Physics. Boca Raton, Florida: Chemical Rubber Company Publishing. pp. E110. ISBN 0-8493-0464-4.

หน้าที่ของโปแตสเซียมในร่างกาย ( Potassium )

0
โปแตสเซียม ทำหน้าที่ในการรักษาสมดุลของกรดด่างร่วมกับคาร์บอเนต เฮโมโกลบินและฟอสเฟส และทำหน้าที่เป็นบัพเฟอร์ให้กับเม็ดเลือดแดง
หน้าที่ของโปแตสเซียมในร่างกาย (Potassium)
โปแตสเซียม ทำหน้าที่ในการรักษาสมดุลของกรดด่างร่วมกับคาร์บอเนต เฮโมโกลบินและฟอสเฟส และทำหน้าที่เป็นบัพเฟอร์ให้กับเม็ดเลือดแดง

โปแตสเซียม ( Potassium )

โปแตสเซียม ( Potassium ) เป็นแคทไอออน ที่พบได้จากของเหลวภายในเซลล์เป็นส่วนใหญ่ โดยจะพบมากถึงร้อยละ 97 เลยทีเดียว และจะพบอยู่ภายนอกเซลล์ประมาณร้อยละ 5 ของแร่ธาตุทั้งหมดที่มีอยู่ในร่างกาย โดยความสำคัญของโปแตส เซียมก็จะช่วยในการรักษาสมดุลของความเป็นกรด-ด่างภายในร่างกาย ช่วยกระจายของเหลวที่ผนังเซลล์แต่ละด้านให้เป็นปกติ แต่ส่วนใหญ่แล้วจะถูกเก็บไว้ในร่างกายน้อยมาก

หน้าที่ และประโยชน์ของ โปแตสเซียม

1. โปแตสเซียม ช่วยเสริมความแข็งแรงให้กับกระดูกและลดความเสี่ยงภาวะต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับกระดูก เช่น กระดูกแตกหัก กระดูกพรุน เป็นต้น และสามารถรักษาแคลเซียมให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมอีกด้วย
2. Potassium มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย ทำให้ร่างกายมีการเติบโตที่สมวัยมากขึ้น
3. Potassium ทำงานร่วมกับโซเดียม โดยจะช่วยรักษาภาวะความสมดุลของน้ำในร่างกายและช่วยควบคุมความดันออสโมติคภายในเซลล์ให้เป็นปกติ
4. Potassium ทำหน้าที่ในการรักษาสมดุลของกรดด่างร่วมกับคาร์บอเนต เฮโมโกลบินและฟอสเฟส และทำหน้าที่เป็นบัพเฟอร์ให้กับเม็ดเลือดแดง
5. ทำงานร่วมกับแคลเซียมและโซเดียม ซึ่งจะช่วยกระตุ้นการส่งประสาทสำหรับการหดตัวของกล้ามเนื้อ และทำให้กล้ามเนื้อหัวใจทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
6. มีส่วนช่วยในการดูแลสุขภาพของผิวหนัง และเพิ่มความแข็งแรงให้กับผิว
7. ทำหน้าที่ในการเปลี่ยนกลูโคสให้กลายเป็นไกลโคเจน ที่สามารถนำไปใช้งานได้ง่ายขึ้น
8. ช่วยในการเมแทบอลิซึ่มของเซลล์
9. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการกำจัดของเสียออกจากร่างกายของไต
10. ทำงานร่วมกับฟอสฟอรัสเพื่อทำการส่งออกซิเจนไปยังสมอง และเสริมสร้างพัฒนาการทางสมองให้ดียิ่งขึ้น

การดูดซึมของ โปแตสเซียม

โปแตสเซียม จะสามารถถูกดูดซึมได้ดีในส่วนของลำไส้เล็กตอนต้น โดยส่วนใหญ่จะถูกดูดซึมที่ร้อยละ 90 ของโปแตสเซียมที่ร่างกายได้รับ ส่วนการขับออกจะขับออกทางปัสสาวะและเหงื่อเป็นหลัก มีที่ขับออกทาง อุจจาระเพียงเล็กน้อยเท่านั้น นอกจากนี้ในการรักษาสมดุลของโปแตสเซียมไตก็จะทำหน้าที่ในส่วนนี้โดยตรง แต่จะสามารถสงวนโปแตสเซียมได้น้อยกว่าโซเดียมนั่นเอง

นอกจากนี้หากร่างกายมี โปแตสเซียม อยู่มากเกินไปก็จะส่งผลให้ไตเกิดการทำงานี่ผิดไปจากเดิมหรืออาจเกิดภาวะขาดของเหลวอย่างร้ายแรงได้ และที่สำคัญการดื่มเครื่องดื่มประเภทกาแฟและแอลกอฮอล์ก็จะกระตุ้นให้เกิดการขับโปตัสเซียมออกมาทางปัสสาวะมากขึ้นอีกด้วย จึงไม่ควรดื่มเครื่องดื่มประเภทนี้มากเกินไป เพราะอาจทำให้ขาดโปตัสเซียมได้

แหล่งที่พบ โปแตสเซียม

โปแตสเซียม  เป็นแร่ธาตุที่มักจะถูกพบได้ในอาหารเกือบทุกชนิด โดยแหล่งที่พบได้มากที่สุด ก็คือ เนื้อสัตว์ ผักผลไม้แทบทุกชนิด เช่น ผักใบเขียว ส้ม กล้วย มะเขือเทศ องุ่นและน้ำอ้อย เป็นต้น

ปริมาณ โปแตสเซียม ที่ควรได้รับประจำวัน
เพศ อายุ ปริมาณที่ได้รับ หน่วย
ทารก 0-5 เดือน  —– น้ำนมแม่—– มิลลิกรัม/วัน
6-11 เดือน 925 -1,500 มิลลิกรัม/วัน
เด็ก 1-3 ปี 1,175 – 1,950 มิลลิกรัม/วัน
4-5 ปี 1,525 – 2,550 มิลลิกรัม/วัน
6-8 ปี 1,625 – 2,725 มิลลิกรัม/วัน
วัยรุ่นผู้ชาย 9-12 ปี 1,975 – 3,325 มิลลิกรัม/วัน
13-15 ปี 2,450 – 4,100 มิลลิกรัม/วัน
16 -18 ปี 2,700 – 4,500 มิลลิกรัม/วัน
วัยรุ่นผู้หญิง 9-12 ปี 1,875 – 3,125 มิลลิกรัม/วัน
13-15 ปี 2,100 – 3,500 มิลลิกรัม/วัน
16 -18 ปี 2,150 – 3,600 มิลลิกรัม/วัน
ผู้ใหญ่ผู้ชาย 19 – 30 ปี 2,525 – 4,200 มิลลิกรัม/วัน
31 – 70 ปี 2,450 – 4,100 มิลลิกรัม/วัน
≥ 71 ปี 2,050 – 3,400 มิลลิกรัม/วัน
ผู้ใหญ่ผู้หญิง 19 – 70 ปี 2,050 – 3,400 มิลลิกรัม/วัน
≥ 71 ปี 1,825 – 3,025 มิลลิกรัม/วัน
หญิงตั้งครรภ์ ไตรมาสที่ 1 +0 มิลลิกรัม/วัน
ไตรมาสที่ 2 (+350) – (+575) มิลลิกรัม/วัน
ไตรมาสที่ 3 (+350) – (+570) มิลลิกรัม/วัน
หญิงให้นมบุตร (+575) – ( +975) มิลลิกรัม/วัน

 

ผลของการขาด โปแตสเซียม

โดยปกติแล้วมักจะไม่ค่อยพบการขาด โปแตสเซียมมากนัก นอกจากในภาวะที่ร่างกายไม่ปกติ เช่น มีอาการป่วยด้วยโรคต่างๆ อาเจียน ขาดโปรตีนและพลังงานอย่างรุนแรง หรือการทานยาบางชนิดที่ส่งผลทำให้ปัสสาวะบ่อย จึงมีโอกาสขาดโปแตสเซียมสูงขึ้นไปด้วย ซึ่งภาวะที่ร่างกายได้รับโปแตสเซียมต่ำเกินไปนั้นก็จะทำให้เกิดอาการกล้ามเนื้ออ่อนแอ หรืออ่อนเพลียง่าย รวมถึงการตอบสนองต่อสิ่งเร้าจะช้ากว่าปกติ นอกจากนี้ในวัยรุ่นก็จะพบสิวขึ้น บ่อยมาก ส่วนในวัยชราจะมีปัญหาผิวแห้งกร้าน ไม่เพียงเท่านี้ โปแตสเซียมยังเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับ หัวใจเต้นช้า ท้องผูก และทำให้การเมแทบอลิซึมเสื่อมลงไปอีกด้วย ซึ่งหากรุนแรงก็อาจเป็นอัมพาตได้เลยทีเดียว

การเป็นพิษของ โปแตสเซียม

ในกรณีที่ร่างกายมี โปแตสเซียม มากเกินไปก็พบได้น้อยมากเหมือนกัน เพราะปกติแล้วไตจะสามารถควบคุมระดับของโปแตสเซียมได้ดีอยู่แล้ว นอกจากนี้ความผิดปกติกับการทำงานของไตหรือได้รับโปแตสเซียมทางเส้นเลือดในอัตราที่เร็วเกินไป ก็จะทำให้มี โปแตสเซียม สูงจนอาจเกิดพิษได้ โดยอาการที่มักจะพบได้จากการเป็นพิษของโปแตสเซียม ก็คือ ผิวหนังเป็นแผลไหม้ มีอาการคัน ระคายเคือง กล้ามเนื้ออ่อนเพลีย กล้ามเนื้อหัวใจทำงานผิดปกติ และอาจมีการหายใจติดขัด ซึ่งก็เสี่ยงอันตรายมากเหมือนกัน

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

Meija, J.; et al. (2016). “Atomic weights of the elements 2013 (IUPAC Technical Report)”. Pure Appl. Chem. 88 (3): 265–91. doi:10.1515/pac-2015-0305.

Haynes, William M., ed. (2011). CRC Handbook of Chemistry and Physics (92nd ed.). Boca Raton, FL: CRC Press. p. 4.122. ISBN 1439855110.

Magnetic susceptibility of the elements and inorganic compounds, in Lide, D. R., ed. (2005). CRC Handbook of Chemistry and Physics (86th ed.). Boca Raton (FL): CRC Press. ISBN 0-8493-0486-5.

www.healthline.com/potassium

ทองแดงมีความสำคัญอย่างไร ( Copper )

0
ทองแดงมีความสำคัญอย่างไร (Copper)
ทองแดงเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในร่างกาย พบในเมล็ดพืชไม่ขัดขาว หรือธัญพืช และอาหารทะเล
ทองแดงมีความสำคัญอย่างไร (Copper)
ทองแดงเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในร่างกาย พบในเมล็ดพืชไม่ขัดขาว หรือธัญพืช และอาหารทะเล

ทองแดง คืออะไร ?

ทองแดง ( Copper ) คือ แร่ธาตุชนิดหนึ่งที่มักจะจับกับโปรตีน หรือองค์ประกอบหนึ่งของเอนไซม์หลายชนิด โดยเฉพาะเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์กรดอะมิโน ในเนื้อเยื่อคอลลาเจนและอีลาสติน รวมถึงบทบาทสำคัญในการสร้างภูมิคุ้มกัน โดยส่วนใหญ่แล้วทองแดงจะพบอยู่ในร่างกายในปริมาณที่น้อยมากและพบในเนื้อเยื่อของตามากที่สุด ส่วนในเด็ก ทารกจะพบทองแดงในตับมากกว่าผู้ใหญ่ถึง 5-10 เท่าเลยทีเดียว

หน้าที่ของทองแดง

ทองแดงมีหน้าที่ที่สำคัญดังต่อไปนี้
1. ทองแดงมีความสำคัญในกระบวนการเมแทบอลิซึมของเหล็ก ซึ่งจะทำหน้าที่ในการขนถ่ายเหล็กในร่างกาย โดยทองแดงที่อยู่ในรูปของเซรูโรพลาสมิน Ceruloplasmin จะเปลี่ยนเหล็กในรูปของเฟอรัสให้กลายเป็นเฟอริค จากนั้นก็จะรวมตัวเข้ากับอะโพทรานส์เฟอร์รินและกลายเป็นทรานส์เฟอร์ ที่ทำหน้าที่ดังกล่าวนั่นเอง
2. ทองแดง เป็นส่วนหนึ่งของน้ำย่อยไทโรซีเนส Tyrosinase โดยจะทำหน้าที่ในการเปลี่ยนไทโรซีนให้เป็นเมลานิน และยังเป็นส่วนประกอบของน้ำย่อยไซโตโครม ซีออกซิเดส น้ำย่อยแคแทเลส ที่จะช่วยปล่อยพลังงานในเซลล์และช่วยในการทำงานที่เกี่ยวข้องกับระบบหายใจอีกด้วย
3. ทองแดงทำหน้าที่เป็นองค์ประกอบของน้ำย่อยเซลรูโลพลาสมิน Ceruloplasmin ซึ่งจะทำหน้าที่ในการต้านอนุมูลอิสระภายในร่างกายและลดความเสี่ยงมะเร็ง
4. ทองแดงช่วยสร้างฮีโมโกลบินและผลิตพลังงานที่จำเป็นต่อร่างกาย โดยจะทำงานร่วมกับเหล็ก
5. ทองแดงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดูดซึมเหล็กจากท่อทางเดินอาหาร
6. ทองแดงช่วยในการเมแทบอลิซึมของโปรตีนและช่วยในการสมานแผล ให้แผลหายแร็วขึ้น
7. ทองแดงมีความสำคัญต่อการสังเคราะห์ฟอสโฟลิปิด ซึ่งเป็นสารที่จะทำหน้าท่ในการสร้างไมเอลีนชีทที่อยู่รอบเส้นประสาทนั่นเอง
8. ทองแดงเพิ่มประสิทธิภาพในการออกซิไดส์วิตามินซีให้กับร่างกาย
9. ทองแดงทำงานร่วมกับวิตามินซี เพื่อเสริมสร้างคอลลาเจนให้กับร่างกายและสร้างอีลาสติน ที่มีความสำคัญในการบำรุงและเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับผิวหนัง
10. ทองแดงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเสริมสร้างและบำรุงกระดูก
11. ทองแดงมีความจำเป็นต่อการสร้างกรดไรโบนิวคลีอิกหรือ RNA

ระดับของทองแดงในเลือดจะต่ำมากและมีภาวะโลหิตจางควบคู่ไปด้วย เพราะเมื่อขาดทองแดงก็มักจะขาดธาตุเหล็กด้วยนั่นเอง

การดูดซึมของทองแดง

ร่างกายของคนเราสามารถดูดซึมทองแดงได้ดีในส่วนของกระเพาะและลำไส้เล็กตอนต้น ส่วนการขับทองแดงออกมานั้น จะขับออกทางอุจจาระและน้ำดีเป็นส่วนใหญ่และขับออกทางปัสสาวะน้อยมาก นอกจากนี้ร่างกายจะมีความต้องการทองแดงมากขึ้น เมื่อได้รับธาตุโมลิบดีนัม แคดเมียมและสังกะสีในปริมาณสูงอีกด้วย นั่นก็เพราะธาตุเหล่านี้จะทำให้การดูดซึมทองแดงลดต่ำลง ร่างกายจึงต้องการทองแดงมากกว่าปกตินั่นเอง นอกจากนี้ยังเป็นตัวการที่ ทำให้ระดับของเซรูโรพลาสมินในพลาสมาลดต่ำลงอีกด้วย ส่วนแหล่งเก็บนั้น โดยส่วนใหญ่ทองแดงจะถูกเก็บไว้ในตับ ไต สมองและหัวใจมากที่สุด

แหล่งอาหารที่พบทองแดง

แหล่งอาหารที่สามารถพบทองแดงได้มากที่สุด คือ ตับ ไต ผักใบเขียว สมอง หัวใจและถั่วเมล็ดแห้ง ซึ่งปริมาณของทองแดงที่พบในแหล่งพืชนั้นจะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับแร่ทองแดงที่มีอยู่ในดินที่ปลูกนั่นเอง นอกจากนี้ก็จะพบได้มากในอาหารทะเลอีกด้วย

ปริมาณทองแดงอ้างอิงที่ควรได้รับประจำวันสำหรับคนไทยวัยต่าง ๆ

เพศ

อายุ

ปริมาณที่ได้รับ

หน่วย

เด็ก 1-3 ปี 340 ไมโครกรัม/วัน
เด็ก 4-8 ปี 440 ไมโครกรัม/วัน
วัยรุ่น 9-12 ปี 700 ไมโครกรัม/วัน
วัยรุ่น 13-18 ปี 890 ไมโครกรัม/วัน
ผู้ใหญ่ 19 – ≥ 71 ปี 900 ไมโครกรัม/วัน
หญิงตั้งครรภ์ ควรเพิ่มอีก 100 ไมโครกรัม/วัน
หญิงให้นมบุตร ควรเพิ่มอีก  400 ไมโครกรัม/วัน

ผลของการขาดทองแดง

ในคนที่ขาดทองแดงพบว่าจะมีอาการป่วยด้วยโรคต่างๆ เช่น โรคขาดโปรตีนและพลังงาน โรคไตและโรคสปรู เป็นต้น โดยอาการที่แสดงให้เห็นก็คือ ระดับของทองแดงในเลือดจะต่ำมากและมีภาวะโลหิตจางควบคู่ไปด้วย เพราะเมื่อขาดทองแดงก็มักจะขาดธาตุเหล็กด้วยนั่นเอง นอกจากนี้เส้นผมก็อาจจะมีลักษณะแข็งขดเป็นเกลียว สีผมและสีผิวจางผิดปกติ มีอาการบวมน้ำอย่างเห็นได้ชัด และอาจมีอาการอ่อนเพลีย เป็นแผลที่ผิวหนังได้ง่าย หายใจผิดปกติและเกิดการเสื่อมโทรมของระบบประสาทควบคุมอีกด้วย

การเป็นพิษของทองแดง

โดยส่วนใหญ่แล้วจะไม่ค่อยพบการเป็นพิษของทองแดงมากนัก เพราะร่างกายของคนเรามักจะมีการเก็บทองแดงไว้ในร่างกายน้อยมาก ที่เหลือก็จะขับออกมา ดังนั้นผู้ที่ได้รับพิษจากทองแดงจึงมักจะเป็นผู้ที่บริโภคทองแดงมากกว่า 30 เท่าของปริมาณที่เหมาะสมและบริโภคต่อเนื่องเป็นเวลานานนั่นเอง รวมถึงผู้ที่เป็นโรคทางพันธุกรรม Wilson’s  Disease ด้วย เพราะโรคนี้เกิดจากการที่มีทองแดงอยู่ในตับ สมองและกระจกตาในปริมาณมาก โดยอาการผิดปกติก็คือ จะมองเห็นเป็นวงแหวนสีน้ำตาลหรือสีเขียวในกระจกตา ทรงตัวลำบาก ไม่สามารถควบคุมกล้ามเนื้อได้และมีอาการสมองโต ตับโตอีกด้วย สำหรับการควบคุมโรคก็คือต้องลดปริมาณของทองแดงให้น้อยลง หรือพยายามให้ร่างกายมีการขับถ่ายทองแดงออกไปให้มากที่สุด เพื่อให้ทองแดงในร่างกายมีปริมาณลดลงจนอยู่ในระดับที่เหมาะสม แต่ก็อาจต้องใช้เวลาพอสมควรเหมือนกัน

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

Lide, D. R., ed. (2005). “Magnetic susceptibility of the elements and inorganic compounds”. CRC Handbook of Chemistry and Physics (PDF) (86th ed.). Boca Raton (FL): CRC Press. ISBN 0-8493-0486-5.

Weast, Robert (1984). CRC, Handbook of Chemistry and Physics. Boca Raton, Florida: Chemical Rubber Company Publishing. pp. E110. ISBN 0-8493-0464-4.

ไนอาซินหรือวิตามินบี 3 ( Niacin-Vitamin B3 ) มีหน้าที่สำคัญอย่างไร

0
ไนอาซินหรือวิตามินบี 3 (Niacin-Vitamin B3) มีหน้าที่สำคัญอย่างไร
ไนอาซินหรือวิตามินบี 3 เป็นวิตามินที่ละลายในน้ำ มีสภาพคงทนกว่าวิตามินบี 1 และบี 2 หลายเท่าตัว มีความทนทานต่อความร้อน
ไนอาซินหรือวิตามินบี 3 (Niacin-Vitamin B3) มีหน้าที่สำคัญอย่างไร
ไนอาซินหรือวิตามินบี 3 เป็นวิตามินที่ละลายในน้ำ มีสภาพคงทนกว่าวิตามินบี 1 และบี 2 หลายเท่าตัว พบในเครื่องในสัตว์ ธัญพืช ไข่ นม

ไนอาซิน

ไนอาซิน (ไนอะซิน) หรือ วิตามินบี 3 ( Niacin-Vitamin B3 ) เป็นวิตามินที่ละลายในน้ำ และเป็นหนึ่งในวิตามินบีรวม มีหน่วยวัดเป็นมิลลิกรัม มีส่วนสำคัญในการสังเคราะห์ฮอร์โมนเพศ ร่างกายสามารถสร้างไนอะซินขึ้นเองได้โดยใช้กรดแอมิโนทริปโตแฟน ผู้ที่ร่างกายขาดวิตามินบี1 บี2 และบี6 จะไม่สามารถสร้างไนอะซินจากทริปโตแฟนได้

ปี ค.ศ.1730 มีการพบโรคผิวหนังชนิดหนึ่งที่มีอาการผิวแห้ง แตกและมีสีแดงกุหลาบ ชื่อว่า Mal de la Rosa โดยพบมีการระบาดมากในประเทศอิตาลี สเปนและอเมริกาใต้ สันนิษฐานว่าจะเป็นเพราะการกินทอร์ทิลาร์ เป็นอาหาร หลัก แต่โรคนี้จะมีอาการเกิดแบบเป็นฤดูเท่านั้น

ปี ค.ศ.1771 ในประเทศอิตาลีก็ได้พบโรคหนึ่งที่มีอาการเดียวกัน โดยตั้งชื่อโรคชนิดนี้ว่า เพลลากรา ( Pellagra )

ปี ค.ศ.1795 เคอร์รีก็ได้ทำการทดลอง โดยให้คนกินอาหารข้าวโพดที่คาดว่าเป็นสาเหตุของโรคและทำการรักษาด้วยอาหารผสม โดยจากการสังเกต เคอร์รี ก็ได้ตั้งข้อสงสัยว่าโรคนี้น่าจะเกิดจากการติดเชื้อหรือได้รับสารพิษบางอย่างที่มีอยู่ในข้าวโพด ซึ่งจะพบได้เฉพาะในบางฤดูกาลเท่านั้น และใน

ปี ค.ศ.1920 โกลด์เบอร์เกอร์ ก็ได้พบว่าโรคนี้สามารถรักษาให้หายได้ด้วยการทานอาหารประเภทเนื้อสัตว์ จึงสรุปว่าน่าจะเกิดจากการขาดสารอาหารบางอย่างที่ไม่ใช่โปรตีนและทำการคิดค้นสารป้องกันโรคขึ้นมา

ปี ค.ศ.1937 Elvehjem ก็ได้ทำการสกัดไนอะซินออกมาได้สำเร็จ และพบว่าสามารถใช้ในการรักษาและป้องกันโรคดังกล่าวได้ จึงได้ข้อสรุปว่า สาเหตุของโรคเพลลากรา น่าจะมาจากการขาดสารไนอาซินหรือขาดสารแรกเริ่มของไนอาซินนั่นเอง

คุณสมบัติของไนอาซิน หรือ วิตามินบี 3

ไนอาซิน หรือไนอะซิน วิตามินบี 3 คือ สารชนิดหนึ่งที่สามารถละลายน้ำได้ โดยหากทำเป็นผลึก จะพบว่ามีสีขาวและไม่มีกลิ่นแต่มีรสขม และมีสูตรทางเคมีคือ C6H5O3N สามารถทนต่อความเป็นกรด-ด่าง ความร้อนและแสงสว่างได้ดี นอกจากนี้ก็สามารถใช้สำหรับป้องกันและรักษาโรคเพลลากราได้อีกด้วย

ไนอาซินสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 อย่างคือ กรดนิโคตินิก ที่ละลายได้ดีในอีเทอร์ และนิโคตินาไมด์ ที่ละลายได้ดีในน้ำและแอลกอฮอล์

หน้าที่ของไนอาซิน หรือ วิตามินบี 3

ไนอาซิน มีหน้าที่สำคัญคือ
1. เป็นส่วนประกอบของโคเอนไซม์นิโคตินาไมด์อะดินินไดนิวคลีโอไทด์ ( Nicotinamide Adenine Dinucleotide, NAD ) และนิโคตินาไมด์ อะดินีนไดนิวคลีโอไทด์ฟอสเฟต ( Nicotinamide Adenie Dinucleotide Phosphate, NADP ) โดยจะมีความสำคัญต่อการทำปฏิกิริยาหลายอย่างในร่างกาย ยกตัวอย่างเช่น
NAD จะช่วยในการขนถ่ายอิเล็กตรอนในลูกโซ่ของการหายใจของเซลล์ และทำหน้าที่ในการทำปฎิกิริยาออกซิเดชั่นในกระบวนการไกลโคลิซีสอีกด้วย 
NADP มีส่วนช่วยในการเปลี่ยนเฟนิลอะลานีนให้เป็นไทโรซีน และช่วยในการสังเคราะห์กรดไขมันและคอเลสเตอรอลในร่างกาย
2. มีส่วนช่วยในการบำรุงสมองและประสาท พร้อมเสริมสร้างความจำให้ดียิ่งขึ้น
3. ทำหน้าที่ในการรักษาสุขภาพของลิ้น ผิวหนังและเนื้อเยื่อในระบบการย่อยอาหารให้มีสุขภาพดีและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
4. มีส่วนช่วยในการสังเคราะห์ฮอร์โมนเพศ และรักษาสมดุลของฮอร์โมนเพศ
5. ทำหน้าที่ในการลดระดับของคอเลสเทอรอล ไตรกลีเซอไรด์และแอลดีแอลที่ไม่ดีต่อร่างกาย พร้อมกับเพิ่มเอชดีแอล ที่เป็นคอเลสเตอรอลชนิดนี้ให้มากขึ้น

สาเหตุของโรคเพลลากรา น่าจะมาจากการขาดสารไนอาซินหรือขาดสารแรกเริ่มของไนอาซินและไนอาซิน คือ วิตามินบี 3 (Niacin-Vitamin B3) นั่นเอง

การดูดซึมไนอาซินหรือ วิตามินบี 3

ไนอาซิน ที่อยู่ในรูปของกรดนิโคตินิกและนิโคตินาไมด์จะสามารถถูกดูดซึมได้ดีในส่วนของลำไส้เล็ก จากนั้นเนื้อเยื่อต่างๆ ก็จะนำเอาไปสังเคราะห์ต่อไป ซึ่งโดยปกติแล้วร่างกายของคนเราก็สามารถที่จะสังเคราะห์ไนอาซินได้เองจากทริปโทเฟน โดยมีอัตราส่วนทริปโทเฟน 60 มิลลิกรัม ต่อ ไนอาซิน 1 มิลลิกรัม

Tryptophan


Kynurenine


3 Hydroxy Kynurenine


B6


3 Hydroxy Anthranitic Acid B/6 Xanthurenic Acid

⇓ ⇒
Quinolinc Acid


Niacin

โดยจากแผนผังดังกล่าวจะเห็นว่าการเมแทบอลิซึมที่มีความสมบูรณ์ของทริปโทเฟน จำเป็นต้องใช้ไพริดอกซาลฟอสเฟตเข้ามาช่วยในการเร่งปฏิกิริยาการเมแทบอลิซีมของทริปโทเฟนให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพที่สุด ซึ่งหากไม่มีตัวช่วยดังกล่าวก็จะทำให้ขาดวิตามินบีหก และเป็นผลให้ขาดไนอาซินตามมาได้เหมือนกัน

วิตามินบี 3 หาได้จากอาหารอะไรบ้าง

ไนอาซินสามารถพบได้ทั้งในอาหารจำพวกพืชและสัตว์ โดยมีปริมาณการพบดังนี้

แหล่งอาหารที่พบวิตามินบี 3 หรือไนอาซินได้มาก ถั่ว ข้าว เนื้อสัตว์ เนื้อปลา เครื่องในสัตว์
แหล่งอาหารที่พบวิตามินบี 3 หรือไนอาซินปานกลาง ธัญพืช และมันฝรั่ง
แหล่งอาหารที่พบวิตามินบี 3 หรือไนอาซินได้น้อย ไข่ น้ำนม ผักและผลไม้

โดยปกติแบคทีเรียในลำไส้ของคนเราก็สามารถสังเคราะห์กรดนิโคตินิกขึ้นมาได้ แต่สังเคราะห์ได้น้อยมาก และไม่เป็นแหล่งวิตามินที่สำคัญต่อร่างกายอีกด้วย

สำหรับปริมาณของไนอาซิน (วิตามินบี 3) ที่ควรได้รับในแต่ละวัน ได้กำหนดว่าให้ยึดเอาตามปริมาณของพลังงานและโปรตีนที่บริโภคเข้าไป และรวมถึงไนอาซินที่ร่างกายสังเคราะห์เองได้ จึงประมาณได้ว่าควรจะบริโภคไนอาซินที่ 6.6 มิลลิกรัมต่อ 1000 กิโลแคลอรี่ต่อวันนั่นเอง และเนื่องจากในขณะเดียวกันทริปโทเฟนก็สามารถเปลี่ยนไปเป็นไนอาซินได้ จึงได้มีการกำหนด อ้างอิงสารอาหารที่คนไทยควรได้รับประจำวันดังต่อไปนี้

ปริมาณของไนอาซินที่ควรได้รับประจำวันของคนไทยในช่วงวัยต่างๆ

เพศ

อายุ

ปริมาณที่ได้รับ

หน่วย

เด็ก 1-3 ปี 6 มิลลิกรัม/วัน
เด็ก 4-8 ปี 8 มิลลิกรัม/วัน
วัยรุ่นผู้ชาย 9-12 ปี 12 มิลลิกรัม/วัน
วัยรุ่นผู้ชาย 13-18 ปี 16 มิลลิกรัม/วัน
วัยรุ่นผู้หญิง 9-12 ปี 12 มิลลิกรัม/วัน
วัยรุ่นผู้หญิง 13-18 ปี 14 มิลลิกรัม/วัน
ผู้ใหญ่ผู้ชาย 19 –≥ 71 ปี 16 มิลลิกรัม/วัน
ผู้ใหญ่ผู้หญิง 19 –≥ 71 ปี 14 มิลลิกรัม/วัน
หญิงตั้งครรภ์ ควรเพิ่มอีก 4 มิลลิกรัม/วัน
หญิงให้นมบุตร ควรเพิ่มอีก 3 มิลลิกรัม/วัน

นอกจากนี้ หากพบว่ามีการเมแทบอลิซึมภายในร่างกายเพิ่มมากขึ้น ก็จะทำให้เกิดความต้องการไนอาซินเพิ่มขึ้นไปด้วย เช่น กรณีที่บาดเจ็บ เป็นไข้ หรือบุคคลที่ออกกำลังกายบ่อยๆ เป็นต้น

หากขาดไนอาซิน หรือ วิตามินบี 3 เกิดปัญหาอะไรกับร่างกาย

เมื่อร่างกายขาดไนอาซิน จะทำให้เป็นโรคผิวหนังชนิดที่เรียกว่าเพลลากรา โดยเฉพาะเมื่อมีการขาดวิตามินตัวอื่นๆ ร่วมด้วย อย่างไรก็ตาม โรคนี้ ก็อาจมีผลมาจากปัจจัยอื่นๆ ด้วย เช่น
1. การทานข้าวโพดหรือข้าวฟ่างมากเกินไป โดยเฉพาะเมื่อทานเป็นอาหารหลัก นั่นก็เพราะในข้าวโพดมีทริปโตเฟนต่ำมาก และไนอาซินในข้าวโพดก็รวมอยู่กับสารตัวอื่น ทำให้ร่างกายไม่สามารถดูดซึมเอาไนอาซินมาใช้ประโยชน์ได้ ส่วนในข้าวฟ่างก็มีลูซินสูง ซึ่งจะมีผลให้ไม่สามารถเปลี่ยนไนอาซินเป็น NAD และ NADP ได้ จึงทำให้ร่างกายขาดไนอาซินในที่สุด
2. ผู้ที่ดื่มสุราเป็นประจำ เพราะฤทธิ์ของสุราจะทำให้ร่างกายสามารถดูดซึมไนอาซินได้น้อยลง และยังได้รับคุณค่าทางโภชนาการของอาหารที่น้อยกว่าปกติอีกด้วย
3. ผู้ที่มีปัญหาการย่อยและการดูดซึมอาหารผิดปกติ รวมถึงผู้ที่มีปัญหาลำไส้อักเสบ และเป็นโรควัณโรคของลำไส้
4. ผู้ที่ขาดโปรตีนและพลังงาน เพราะจะส่งผลกระทบให้ประสิทธิภาพในการดูดซึมไนอาซินลดต่ำลง รวมถึงประสิทธิภาพในการเปลี่ยนไนอาซินไปเป็น NAD และ NADP ก็ต่ำลงไปด้วยเช่นกัน

อาการของโรคเพลลากราที่ร่างกายขาดวิตามิน B3 หรือ ไนอาซิน อย่างรุนแรง

  • อาการแสดงในระยะเริ่มแรก จะเริ่มรู้สึกเบื่ออาหาร อ่อนเพลียมากกว่าปกติ อาหารไม่ย่อยและมีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารและผิวหนังอย่างเห็นได้ชัด
  • อาการที่เกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร ลิ้น ปากจะมีการอักเสบ บวมแดงขึ้นมา และมีอาการปวดท้อง ท้องเดินร่วมด้วยในบางคน
  • อาการทางผิวหนัง สังเกตได้ชัดคือ ผิวหนังจะมีอาการอักเสบ โดยเฉพาะในจุดที่ถูกแสงแดดจัด ซึ่งจะเป็นผื่นแดงคล้ายแดดเผาให้เห็นอย่างชัดเจน โดยหากปล่อยไว้ก็จะเริ่มเปลี่ยนไปเป็นสีน้ำตาลเข้ม แห้งแตก และจะยิ่งมีความรุนแรงขึ้นเมื่อถูกความร้อนหรือแดดเผา
  • อาการทางประสาท จะมีอารมณ์ที่แปรปรวนง่าย หงุดหงิดบ่อย นอนไม่ค่อยหลับ มีอาการมึนศีรษะ ความจำแย่ลงและอาจเป็นโรคความจำเสื่อมได้ นอกจากนี้ในบางคนก็อาจมีอาการประสาทหลอนได้เช่นกัน

โดยอาการที่เกิดขึ้นจากการขาดไนอาซินเหล่านี้ ก็ถูกเรียกโดยรวมว่า “4 D S” ซึ่งก็คือ ผิวหนังอักเสบนอกร่มผ้า ท้องเสีย อาการทางจิตและตาย โดยอาการเหล่านี้จะไม่ปรากฏออกมาในตอนแรก แต่จะเริ่มปรากฏหลังจากมีอาการเริ่มแรกไปแล้วประมาณ 5 เดือน

การรักษาโรคเพลลากรา

สำหรับการรักษาเมื่อป่วยด้วยโรคเพลลากรา แพทย์จะให้ทานไนอาซินนาไมด์ร่วมกับการทานอาหารเหลว แล้วจึงเปลี่ยนเป็นอาหารอ่อนและอาหารที่มีโปรตีนสูงเมื่ออาการดีขึ้นตามลำดับ

ผลจากการได้รับไนอาซินมากเกินไป

หากร่างกายได้รับไนอาซินมากเกินไป จะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ ปวดศีรษะและเป็นตะคริวได้อย่าง และหากได้รับมากกว่า 2,000 มิลลิกรัม ก็จะทำให้เสี่ยงต่อภาวะน้ำตาลในเลือดสูง โรคตับและภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ ซึ่งมีความเป็นอันตรายมากอีกด้วย

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

Krutmann, Jean; Humbert, Philippe (2010). Nutrition for Healthy Skin: Strategies for Clinical and Cosmetic Practice. Springer Science & Business Media.

Cantarella L, Gallifuoco A, Malandra A, Martínková L, Spera A, Cantarella M (2011). “High-yield continuous production of nicotinic acid via nitrile hydratase-amidase cascade reactions using cascade CSMRs”. Enzyme and Microbial Technology. 

หน้าที่ของธาตุโซเดียมในร่างกาย ( Sodium )

0
หน้าที่ของธาตุโซเดียมในร่างกาย (Sodium)
โซเดียมเป็นเกลือแร่ที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย ทำหน้าที่ควบคุมของเหลวในร่างกายและรักษาความดันให้อยู่ในระดับปกติ
หน้าที่ของธาตุโซเดียมในร่างกาย (Sodium)
โซเดียมเป็นเกลือแร่ที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย ทำหน้าที่ควบคุมของเหลวในร่างกายและรักษาความดันให้อยู่ในระดับปกติ

โซเดียม ( Sodium )

โซเดียม ( Sodium ) ส่วนมากจะพบได้มากที่สุดในของเหลวนอกเซลล์ ในรูปของแคทไอออน โดยจะพบที่ประมาณร้อยละ 50 ส่วนที่เหลือก็จะพบในกระดูกร้อยละ 40 และพบในน้ำภายในเซลล์ร้อยละ 10 นอกจากนี้ปริมาณของโซเดียมก็จะเป็น ตัวกำหนดปริมาตรของเหลวนอกเซลล์อีกด้วย

หน้าที่และประโยชน์ของโซเดียม

1. ช่วยรักษาสมดุลของความเป็นกรดด่างในร่างกาย โดยเฉพาะการควบคุมกรดด่างๆในเลือดให้อยู่ในระดับที่คงที่และยังทำหน้าที่เป็นบัฟเฟอร์ที่สำคัญของเลือดอีกด้วย
2. ช่วยรักษาความสมดุลของน้ำและของเหลวในร่างกาย โดยจะทำงานร่วมกับโปแตสเซียม ซึ่งโซเดียมในรูปของแคทไอออนก็จะช่วยรักษาความดันออสโมติคภายนอกเซลล์ แลโปตัสเซียมในรูปแคทไอออนก็จะช่วยรักษาความดันออสโมติคภายในเซลล์นั่นเอง
3. ทำหน้าที่ในการส่งผ่านสัญญาณประสาทไปยังกล้ามเนื้อ เพื่อให้กล้ามเนื้อมีการหดตัวอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
4. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดูดซึมสารอาหารเข้าเซลล์ให้มีการดูดซึมที่ดียิ่งขึ้น
5. โซเดียมเป็นตัวช่วยสำคัญที่มีความจำเป็นมากในการรับส่งประสาทความรู้สึก
6. ป้องกันไม่ให้แร่ธาตุในร่างกายเกิดการจับเกาะภายในเลือด โดยจะทำให้แร่ธาตุที่มีอยู่ในเลือดละลายนั่นเอง
7. เมื่อใช้ร่วมกับคลอรีน จะทำให้ระบบโลหิตและน้ำเหลืองมีความสมบูรณ์มากขึ้น
8. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการย่อยของร่างกายและสามารถฟอกคาร์บอนไดออกไซด์จากร่างกายได้ดี
9. โซเดียมมีหน้าที่ในการสร้างกรดเกลือในกระเพาะ ซึ่งมีความสำคัญเป็นอย่างมาก
10. โซเดียมช่วยให้การขนส่งของกลูโคสผ่านเยื่อเซลล์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

การดูดซึมโซเดียม

ร่างกายของคนเราสามารถดูดซึม โซเดียม ได้ดีในรูปของเกลือคลอไรด์ที่อยู่ในอาหารประมาณร้อยละ 95 ของโซเดียมที่กินเข้าไป โดยจะดูดซึมได้ดีในส่วนของลำไส้เล็กตอนต้น โดยเมื่อโซเดียมได้ถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายแล้วก็จะมีการส่ง ไปที่ไต เพื่อให้ไตทำหน้าที่กรองและส่งโซเดียมกลับไปในเลือดในปริมาณที่เหมาะสม ซึ่งโดยปกติแล้วโซดียมที่ถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายประมาณร้อยละ 90-95 จะถูกขับออกมาทางปัสสาวะ และมีที่ขับออกมาทางอุจจาระและผิวหนังเพียงเล็กน้อยเท่านั้น นอกจากนี้ก็มีฮอร์โมนชนิดหนึ่งที่จะทำหน้าที่ในการควบคุมความเข้มข้นของโซเดียมในของเหลวนอกเซลล์โดยตรง เรียกว่าอัลโดสเทอโรนนั่นเอง

ทั้งนี้การได้รับโซเดียมหรือเกลือจากอาหารมากเกินไปก็จะทำให้เกิดการรบกวนการดูดซึมและการใช้อาหารอีกด้วย รวมถึงทำให้เกิดอาการท้องเดิน อาเจียนและเหงื่อออกมากกว่าปกติ และทำให้มีอัตราการขับถ่ายโซเดียมออกมาทางปัสสาวะสูงขึ้นไปด้วย แต่ในขณะเดียวกัน หากร่างกายได้รับโซเดียมต่ำ ก็จะทำให้มีการขับโซเดียมออกมาทางปัสสาวะต่ำมากเช่นกัน

ส่วนการขับ โซเดียม ออกมาทางผิวหนังนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นการขับเพื่อระบายความร้อนและรักษาอุณหภูมิของร่างกายให้คงที่ ดังนั้นปริมาณของโซเดียมที่ถูกขับออกมาทางผิวหนัง จึงขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของสิ่งแวดล้อมขณะนั้นและการออกกำลังกายด้วยนั่นเอง ดังนั้นในคนที่เป็นไข้หรือออกกำลังกายมากๆ จึงมักจะมีภาวะเสียโซเดียมในปริมาณมากไปด้วย

โซเดียม เป็นเกลือแร่ที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย ทำหน้าที่ควบคุมของเหลวในร่างกายและรักษาความดันให้อยู่ในระดับปกติ

แหล่งอาหารที่พบโซเดียม

แหล่งอาหารที่สามารพบ โซเดียม ได้มาก ส่วนใหญ่จะเป็นเกลือแกงและเครื่องปรุงรสที่ใส่เกลือลงไป รวมถึงอาหารสำเร็จรูปต่างๆ ส่วนแหล่งอาหารตามธรรมชาติ ก็จะเป็นอาหารทะเล เป็ด ไก่ ไข่ และ เนื้อสัตว์อื่นๆ และนอกจากนี้จากการสำรวจก็พบว่า คนส่วนใหญ่มักจะได้รับโซเดียมจากอาหารสำเร็จรูปมากถึงร้อยละ 77 จากอาหารธรรมชาติร้อยละ 12 และจากการเติมในโต๊ะอาหารร้อยละ 6 ส่วนอีกร้อยละ 5 มาจากการประกอบอาหาร

ปริมาณโซเดียมที่ควรได้รับประจำวัน

เพศ อายุ ปริมาณที่ได้รับ หน่วย
ทารก 0-5 เดือน น้ำนมแม่
6-11 เดือน 175 – 550 มิลลิกรัม/วัน
เด็ก 1-3 ปี 225 – 675 มิลลิกรัม/วัน
4-5 ปี 300 – 900 มิลลิกรัม/วัน
6-8 ปี 325 – 950 มิลลิกรัม/วัน
วัยรุ่นผู้ชาย 9-12 ปี 400 – 1,175 มิลลิกรัม/วัน
13-15 ปี 500 – 1,500 มิลลิกรัม/วัน
16 -18 ปี 525 – 1,600 มิลลิกรัม/วัน
วัยรุ่นผู้หญิง 9-12 ปี 350 – 1,100 มิลลิกรัม/วัน
13-15 ปี 400 – 1,250 มิลลิกรัม/วัน
16-18 ปี 425 – 1,275 มิลลิกรัม/วัน
ผู้ใหญ่ผู้ชาย 19 – 30 ปี 500 – 1,475 มิลลิกรัม/วัน
31 – 70 ปี 475 – 1,450 มิลลิกรัม/วัน
1≥ 71 ปี 400 – 1,200 มิลลิกรัม/วัน
ผู้ใหญ่ผู้หญิง 19 – 70 ปี 400 – 1,200 มิลลิกรัม/วัน
≥ 71 ปี 350 – 1,000 มิลลิกรัม/วัน
หญิงตั้งครรภ์ ไตรมาสที่ 1 +0 มิลลิกรัม/วัน
ไตรมาสที่ 2 (+50) – (+200) มิลลิกรัม/วัน
หญิงให้นมบุตร (+125) – ( +350) มิลลิกรัม/วัน

อาการขาดโซเดียม

โดยส่วนใหญ่แล้วมักจะไม่ค่อยพบการขาด โซเดียม มากนัก เพราะในอาหารส่วนใหญ่จะมีโซเดียมประกอบอยู่แทบทุกชนิด โดยเฉพาะในเนื้อสัตว์ นอกจากนี้หากโซเดียมที่อยู่ในของเหลวภายในร่างกายต่ำลง ไตก็สามารถดูดซึมกลับมาได้อีกด้วย นอกจากเมื่อมีอาการท้องเดินหรืออาเจียนอย่างรุนแรง รวมถึงการสูญเสียเหงื่อในปริมาณมากเท่านั้น ซึ่งพบว่าเมื่อร่างกายขาดโซเดียมจะทำให้ความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดงเพิ่มขึ้นและพลาสมาลดลง เป็นผลให้เกิดอาการคลื่นไส้และอ่อนเพลียบ่อย รวมถึงภาวะความดันโลหิตที่ต่ำลง ชีพจรเต้นเร็วขึ้นและระบบประสาทเกิดความผิดปกติอีกด้วย หรือในกรณีที่ร่างกายสูญเสียโซเดียมมากๆ ก็จะทำให้หัวใจล้มเหลวได้เหมือนกัน

การเป็นพิษของโซเดียม

โซเดียม จะเป็นพิษเมื่อร่างกายมีโซเดียมมากเกินไป ซึ่งก็เป็นอันตรายมากทีเดียว โดยพบว่าผู้ที่ได้รับโซเดียม สูงกว่าปกติมักจะเกิดอาการเป็นพิษดังนี้
1. ร่างกายมีอาการบวมน้ำ ซึ่งก็จะทำให้ไตและหัวใจต้องทำงานหนักเกินไป จึงเสี่ยงต่อการเป็นโรคไตและโรคหัวใจได้
2. เกิดการสูญเสียโปแตสเซียมที่จำเป็นต่อร่างกายออกไปทางปัสสาวะมากขึ้น จึงมักจะรู้สึกเหนื่อยอยู่ตลอดเวลา
3. ร่างกายสูญเสียน้ำมาก และทำให้การเก็บน้ำของร่างกายมีความผิดปกติได้
4. ระดับเกลือในเลือดเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้เสี่ยงต่อภาวะเลือดแข็งตัวและอาจนำไปสู่ภาวะต่างๆ ที่เป็นอันตรายได้ เช่น หัวใจวาย ไตวาย เป็นต้น
5. มีผลให้ความดันเลือดเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งก็ส่งผลเสียต่อสุขภาพเป็นอย่างมาก

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

Weast, Robert (1984). CRC, Handbook of Chemistry and Physics. Boca Raton, Florida: Chemical Rubber Company Publishing. pp. E110. ISBN 0-8493-0464-4.

Magnetic susceptibility of the elements and inorganic compounds, in Lide, D. R., ed. (2005). CRC Handbook of Chemistry and Physics (86th ed.). Boca Raton (FL): CRC Press. ISBN 0-8493-0486-5.