ไขมันลิพิด จึงถือได้ว่าเป็นสารอาหารที่ให้พลังงานมากกว่าสารอาหารชนิดอื่น ๆ และนอกจากสมองและประสาทแล้วเนื้อเยื่อทุกชนิดในร่างกายจะใช้พลังงานจากกรดไขมันได้ หากได้รับสารอาหารที่ให้พลังงานเข้าสู่ร่างกายในระดับที่มากกว่าร่างกายต้องการ ซึ่งพลังงานเหล่านี้ส่วนหนึ่งก็จะถูกเก็บไว้ในร่างกายในรูปของไตรกลีเซอไรด์ในเนื้อเยื่อไขมัน ซึ่งก็พร้อมที่เปลี่ยนเป็นพลังงานเมื่อร่างกายจำเป็นต้องใช้โดยน้ำมันหรือไขมัน 1 โมเลกุลเมื่อมีการแตกตัวออกจะได้กรดไขมัน 3 โมเลกุลและกลีเซอรอล 1 โมเลกุล ซึ่งหน้าที่ของกลีเซอรอลก็คือให้กรดไขมันเกาะจับในโมเลกุลไม่ว่าจะเป็นกรดไขมันชนิดใด และเป็นเพราะชนิดของกรดไขมันที่มีความแตกต่างกันจึงทำให้ไขมันและน้ำมันมีลักษณะที่แตกต่างกันนั่นเอง
คุณสมบัติของลิพิด
- ไม่มีขั้ว (nonpolar)
- ไม่ละลายในน้ำแต่ละลายได้ดีในตัวทำละลายอินทรีย์ทีไม่มีขั้ว (เช่น เฮกเซนแอลอกฮอล์ )
- เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของเยื่อหุ้มเซลล์ (cell membrane)
- เป็นสารอาหารที่ ให้พลังงานแก่ร่างกายได้มากที่สุด
- เป็นตัวละลายวิตามินที่ละลายได้ในไขมัน เช่น Vitamin A, Vitamin D, Vitamin E และ Vitamin K
ประเภทหน่วยย่อยของลิพิด
ลิพิดสามารถแยกออกเป็น 4 ประเภทได้แก่
1. ลิพิดอย่างง่าย(simple lipid) คือลิพิดที่เป็นเอสเตอร์ของกรดไขมัน (fatty acids)กับแอลกอฮอล์ชนิดต่างๆ เช่น
1.1 ไขมัน (fat) และน้ํามัน (oil)
1.2 แวกซ์หรือไข (waxes) เช่น ขี้ผึ้ง
2. ลิพิดเชิงประกอบ (compound lipid) คือลิพิดที่เป็นเอสเตอร์ของกรดไขมันกับแอลกอฮอล์และสารอื่น ได้แก่
2.1 ฟอสโพลิพิด (phospholipids) ประกอบด้วย กรดไขมัน แอลกอฮอล์
และกรดฟอสฟอริค บางครั้งอาจจะพบเบสที่มีไนโตรเจนประกอบรวมอยู่ด้วย
2.2 ไกลโคลิพิด (glycolipids) เป็นลิพิดที่ประกอบด้วยกรดไขมัน สฟิงโกไซน์
และคาร์โบไฮเดรต
2.3 ลิพิดเชิงประกอบชนิดอื่นๆ เช่น ลิโพโปรตีน (lipoproteins) หรือ ซัลโฟลิพิด (sulfolipids)
3. อนุพันธ์ของลิพิด (derived lipid) คือผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการย่อยสลายของลิพิดอย่างง่ายหรือลิพิดเชิงประกอบ
4. ลิพิดอื่นๆ(miscellaneous lipid) เป็นลิพิดที่ไม่สามารถจัดกลุ่มได้ เช่น สเตอรอยด์(steroid) เทอร์พีน (terpene) ไอโคซานอยด์(icosanoid)
ประโยชน์ของลิพิด
1. ทำให้อาหารมีกลิ่น รส และเนื้อสัมผัสดี มีรสอร่อยขึ้น
2. การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง จะทำอิ่มนานกว่าอาหารที่มีโปรตีนและคาร์โบไฮเดรตสูง
3. ช่วยการดูดซึมของวิตามินที่ละลายในไขมัน เช่น วิตามินเอในเนยเหลว วิตามินอีในน้ำมันรำ วิตามินเอในน้ำมันตับปลา
4. ให้กรดไขมันที่จำเป็นสำหรับเติบโตและสุขภาพของผิวหนังของทารกและเด็ก
5. ให้พลังงานแก่ร่างกาย
6. ไขมันทำหน้าที่เป็นเบาะป้องกันการกระทบกระเทือนของอวัยวะภายใน เช่น ในช่องอก และช่องท้อง
7. ช่วยรักษาอุณหภูมิของร่างกาย ทำให้ร่างกายอบอุ่น
8. ช่วยพยุงหรือทำให้อวัยวะคงรูป เช่น ไขมันที่บุแก้ม ฝ่ามือ ฝ่าเท้า ไขมันที่บุฝ่ามือยังช่วยหยิบจับสิ่งของได้สะดวก
9. สามารถเปลี่ยนเป็นคาร์โบไฮเดรต และกรดอะมิโน เมื่อร่างกายต้องการฉุกเฉิน
ไขมันในเลือดมีกี่ชนิด
ในโลหิตของมนุษย์จะมีไขมันอยู่ด้วยกัน 4 ชนิดคือ กรดลิพิดไขมันอิสระ ไตรกลีเซอไรด์ คอเลสเตอรอล และ ฟอสโฟลิพิด ซึ่งไขมันเหล่านี้ล้วนแล้วเป็นไขมันที่ไม่ละลายในน้ำเลือด จึงทำให้พวกมันจับกลุ่มกันเป็นโปรตีนเพื่อจะ ที่สามารถลอยตัวและเคลื่อนที่ไปยังอวัยวะต่าง ๆ ผ่านทางกระแสเลือดได้ โดยที่กรดไขมันอิสระจะเกาะอยู่กับอัลบูมิน ส่วนไขมันตัวอื่น ๆ จะไปเกาะกับโปรตีนที่ชื่อ ไลโปโปรตีน ( Lipoprotein ) ซึ่งไลโปโปรตีนนี้มีอยู่ด้วยกัน 4 ชนิด แบ่งโดยวิธีปั่นแยก ( Ultracentrifugation ) ในไลโปโปรตีนทั้ง 4 ชนิดนี้จะมีคอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอรไรด์ ฟอสโฟลิพิดและโปรตีน เป็นส่วนประกอบเหมือนกัน แต่ปริมาณของไขมัน และโปรตีนจะแตกต่างกัน จึงทำให้ความหนาแน่นของไลโปโปรตีนทั้ง 4 ชนิดไม่เท่ากัน คือ
1. ไคโลไมครอน ( Chylomicron ) เป็นไลโปโปรตีนที่มีความหนาแน่นต่ำที่สุดซึ่งได้มาจากอาหาร และผลิตจากเยื่อบุผนังลำไส้ต้อนต้นและตอนกลาง โดยมีไตรกลีเซลไรด์เป็นส่วนประกอบประมาณร้อยละ 90 โดยมีหน้าที่ขนถ่ายกลีเซอไรด์จากอาหาร ไปยังเนื้อเยื่อไขมันและกล้ามเนื้อต่างๆ ผ่านทางระบบน้ำเหลืองและกระแสโลหิต
หลังจากที่ไคโลไมครอนผ่านเข้าสู่กระแสเลือดแล้ว จะถูกย่อยด้วยน้ำย่อยไลโปโปรตีน ไลเปส ( Lipoprotein Lipase ) จากเนื้อเยื่อไขมันและกล้ามเนื้อ ส่งผลให้ไตรกลีเซอไรด์ในไคโลไมครอนถูกเปลี่ยนให้เป็นกรดไขมันอิสระและจะถูกเก็บไว้ในเนื้อเยื่อไขมันและกล้ามเนื้อ เพื่อเก็บไว้เป็นพลังงานสะสมและนำไปผลิตไตรกลีเซอไรด์ต่อไปอีก และส่วนที่เหลือจากการย่อยก็จะมีไตรกลีเซอไรด์ลดน้อยลง ซึ่งก็จะถูกส่งต่อไปยังตับ ซึ่งน้ำย่อยเฮปาติค ไลเปส ( Hepatic Lipase ) ก็จะทำหน้าที่ในการย่อยต่อไป
2. ไลโปโปรตีน ที่มีความหนาแน่นต่ำมาก ( Very Low Density Lipoprotein, VLDL ) เกิดมาจากน้ำตาลและพลังงานที่มีมากเกินไปจนใช้ไม่หมด จึงทำให้ตับต้องนำไปสร้างเป็นไลโปโปรตีนชนิดนี้ขึ้น ซึ่งมีไตรกลีเซอไรด์ เป็นส่วนประกอบอยู่ประมาณร้อยละ 80 มีคอเลสเตอรอลเป็นเพียงส่วนน้อย โดยที่หน้าที่ของ VLDL ก็คือลำเลียงไตรกลีเซอไรด์จากร่างกายไปยังเนื้อเยื่อไขมันและกล้ามเนื้อ จากนั้น VLDL ก็จะถูกย่อยในกระแสเลือดโดยน้ำย่อยไลโปโปรตีน ไลเปส ( Lipoprotein Lipase ) โดยที่เนื้อเยื่อจะดึงเอาไตรกลีเซอไรด์ออกจาก VLDL ไปใช้ประมาณ ร้อยละ 35 ส่วนที่เหลือก็จะเป็นไลโปโปรตีนที่มีความหนาแน่นในระดับปลานกลาง ( Intermediate Density Lipoprotein, IDL ) ซึ่งก็มีคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์เป็นส่วนประกอบประมาณร้อยละ 40
3. ไลโปโปรตีนที่มีความหนาแน่นต่ำ ( Low Density Lipoprotein,LDL ) เป็นไลโปโปรตีนที่เหลืออยู่หลังจากที่เนื้อเยื่อได้ดึงเอาไตรกลีเซอไรด์ออกมาจาก IDL แล้ว โดยไลโปโปรตีนชนิดนี้มีคอเลสเทอรอลเป็นส่วนประกอบที่สำคัญ LDL จะทำหน้าที่ลำเลียงคอเลสเตอรอลจากตับไปยังเนื้อเยื่อต่างๆ โดยมีตัวรับ แอลดีแอล ( LDL Receptor ) ที่อยู่ที่ผิวเซลล์จะทำหน้าที่รับเอา LDL เข้าไป และเนื่องจาก LDL เป็นไลโปโปรตีนที่มีปริมาณคอเลสเตอรอลสูงถึงร้อยละ 45 ซึ่งจัดได้ว่าสูงกว่าไลโปโปรตีนประเภทอื่น ๆ เพราะฉะนั้นการที่ร่างกายมี LDL อยู่ในระดับสูงจะทำให้มีความเสี่ยงที่จะเป็นเป็นโรคหัวใจขาดเลือด ( Coronary Heart Disease ) สูงตามไปด้วย
LDL กำลังเป็นที่สนใจอย่างมากในปัจจุบัน ในฐานะที่เป็นตัวที่ทำให้สามารถมองเห็นภาพรวมของไขมันในเลือดว่าเป็นอย่างไร คือ LDL แม้เพียงตัวเดียวก็สามารถบอกถึงโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดเส้นเลือดตีบตันได้ ไม่ต่างอะไรกับการตรวจไขมันทุกตัว ซึ่งในคนทั่วๆ ไปควรมีระดับ LDL อยู่ต่ำกว่า 160 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรจึงจะถือได้ว่าปกติ แต่หากมีปัจจัยเสี่ยงบางอย่างเกิดขึ้น เช่น มีอาการป่วยเป็นโรคเบาหวานหรือมีไขมันสูงหรือมีบุคคลในครอบครัวที่มีประวัติว่าป่วยเป็นหัวใจ ระดับ LDL ควรจะต่ำกว่า 130 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรและควรที่จะต้องควบคุมระดับ LDL ให้อยู่ต่ำกว่า 100 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร หากเกิดภาวะของหลอดเลือดหัวใจตีบหรือหลอดเลือดที่มีสมองตีบร่วมด้วย
4. ไลโปโปรตีนที่มีความหนาแน่นสูง ( High Density Lipoprotein, HDL ) เป็นไลโปโปรตีนที่สร้างจากตับและลำไส้เล็ก ซึ่งเกิดขึ้นจากการที่ไคโลไมครอนและ VLDL ถูกเผาผลาญ HDL เป็นไขมันที่มีความหนาแน่นสูง โดยมีโปรตีนเป็นส่วนประกอบประมาณร้อยละ 45 HDL เป็นไลโปโปรตีน ที่มีหน้าที่แตกต่างกับ LDL กล่าวคือ
1. HDL จะทำหน้าที่ลำเลียงคอเลสเทอรอลที่แอลดีแอลไปปล่อยไว้ตามผนังหลอดเลือดแดงคืนไปสู่ตับ ซึ่งตับก็จะเผาผลาญคอเลสเทอรอลให้กลายเป็นกรดน้ำดี ซึ่งก็จะขับถ่ายออกจากร่ายต่อไป
2. HDL จะช่วยป้องกันไม่ให้เซลล์ต่างๆ ได้รับ LDL มากจนเกินไป โดยที่ HDL สามารถแยกที่ LDL ในการจับตัวรับวีแอลดีแอลได้
เพราะฉะนั้นหากร่างกายมี HDL ในระดับสูง จะทำให้โอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจตีบและโรคหลอดเลือดลดน้อยลง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าหาก HDL มีระดับสูงเกิน 60 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ซึ่งก็อาจเป็นผลมาจากการออกกำลังกาย การรับประทานปลาทะเล การรับประทานผักผลไม้เป็นประจำ หรือการทานยาลดไขมันบางชนิด แต่ถ้าหาก HDL มีระดับต่ำกว่า 35 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ก็จะทำให้มีความเสี่ยงมากขึ้นที่จะเป็นโรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจตีบและโรคหลอดเลือดสูง ในผู้หญิงที่มีประจำเดือน จะมีระดับ HDL สูงกว่าผู้ชาย ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่าฮอร์โมนเพศหญิง คือ Estrogen หรือ ฮอร์โมนจากรังไข่สามารถช่วยให้ HDL เพิ่มระดับสูงขึ้นได้ และนอกจากค่า HDL แล้ว หากพบว่าอัตราส่วนระหว่าง LDL/HDL ต่ำกว่า 4 ก็จะทำให้มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรค ( Cardiovascular Disease ) น้อยลง
สำหรับไขมันที่พบได้ในเลือดของมนุษย์และมีความสำคัญทางโภชนาการ ได้แก่ ฟอสโฟลิพิด กรดไขมัน คอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า
ลิพิดกรดไขมัน ( Fatty Acid ) เป็นกรดอินทรีย์ที่สามารถพบได้ทั้งในลิพิดธรรมดาและลิพิดเชิงประกอบ ซึ่งกรดไขมันทุกตัวจะประกอบไปด้วย คาร์บอน ไฮโดรเจน และ ออกซิเจน และมีสูตรโดยทั่วไปของกรดไขมันคือ CH3 ( CH2 ) nCOOH ซึ่ง n มีค่าตั่งแต่ 2-24
ส่วนคาร์บอนอะตอมมักจะพบได้มากในลิพิดธรรมดาและลิพิดเชิงประกอบ โดยกรดไขมันทุกตัวจะประกอบไปด้วย คาร์บอน ไฮโดรเจนและออกซิเจน และมีสูตรโดยทั่วไปของกรดไขมันคือ CH3 ( CH2 ) nCOOH ซึ่ง n มีค่าตั้งแต่ 2-24
ซึ่งจะเห็นได้ว่าคาร์บอนอะตอมส่วนใหญ่มักจะเป็นเลขคู่และมีตั้งแต่ 2 ขึ้นไป และมักจะพบได้มากในรูปของไตรกลีเซอร์ไรด์หรือรวมกับลิพิดชนิดอื่นๆ โดยมักจะไม่พบในรูปของกรดไขมันอิสระมากนัก และเนื่องจากกรดไขมันมีความแตกต่างกัน 2 ประการคือ ความยาวของห่วงโซ่คาร์บอน ( Carbon Chain ) และขนาดของความอิ่มตัว จึงสามารถที่จะแบ่งกรดไขมันออกได้เป็น 3 กลุ่ม คือ
1. กรดไขมันห่วงโซ่ขนาดสั้น ( Short Chain Fatty Acid ) กรดไขมันประเภทนี้จะมีคาร์บอน 6 ตัว หรือน้อยกว่า
2. กรดไขมันห่วงโซ่ขนาดกลาง ( Medium Chain Acid ) กรดไขมันประเภทนี้จะมีคาร์บอน 8-12 ตัว
3. กรดไขมันห่วงโซ่ขนาดยาว ( Long Chain Fatty Acid ) กรดไขมันประเภทนี้จะมีคาร์บอน 14-20 ตัว
ในอาหารส่วนใหญ่มักจะพบไขมันแบบห่วงโซ่ขนาดยาว และไม่ละลายในน้ำ ส่วนไขมันแบบห่วงโซ่ขนาดสั้นและขนาดกลางจะละลายในน้ำได้ต่างจากแบบยาว เช่น ไขมันในไข่แดงและนม นอกจากนี้ไขมันที่มีความอิ่มตัวก็มักจะมีห่วงโซ่ขนาดกลางและอยู่ในสภาพของเหลว อย่างเช่น น้ำมันตับปลา น้ำมันมะกอก น้ำมันปลาวาฬ เป็นต้น
ประเภทลิพิด กรดไขมันที่แบ่งออกตามความอิ่มตัว
กรดไขมันสามารถแบ่งออกได้ตามความอิ่มตัว ( Degree of Saturation ) เป็น 2 ประเภท คือ
1. กรดไขมันอิ่มตัว ( Saturated Fatty Acid ) คือ กรดไขมันที่คาร์บอนในโมเลกุล มีไฮโดรเจนจับอยู่จนเต็มขีดจำกัดโดยโมเลกุลไม่สามารถที่จะรับไฮโดรเจนเพิ่มเข้าไปได้อีก ซึ่งแขนของคาร์บอนที่เป็นแขนเดี่ยวส่วนมากมักจะเป็นไขมันซึ่งแข็งตัวได้โดยง่าย แม้จะได้รับความเย็นเพียงเล็กน้อย ซึ่งกรดไขมันประเภทที่อิ่มตัวนี้จะมีสูตรทั่วไป คือ CnH2nO2 (n= 4,6,8) ซึ่งกรดไขมันที่เป็นกรดไขมันประเภทอิ่มตัว ก็มีอย่างเช่น กรดอะซีติก กรดโพรพิโอนิก กรดบิวทีริก เป็นต้น ซึ่งกรดไขมันเหล่านี้เป็นกรดไขมันที่ทนต่อความร้อนได้ดี โดยจะไม่เกิดการทำปฏิกิริยากับ ออกซิเจน เพราะฉะนั้นเมื่อเวลาทำอาหารโดยใช้การทอดก็ควรที่จะเลือกใช้น้ำมันที่เป็นประเภทกรดไขมันอิ่มตัว เช่น น้ำมันปาล์มที่สกัดจากเมล็ดปาล์มหรือผลปาล์ม เนื่องจากจะทำให้อาหารที่ทอดมีความกรอบและไม่อมน้ำมัน
ในด้านโภชนาการกรดไขมันอิ่มตัวก็จะมีบทบาทที่สำคัญ คือ ไปช่วยกระตุ้นให้ตับทำการสังเคราะห์คอเลสเตอรอล ซึ่งก็จะส่งผลให้คอเลสเตอรอลและแอลดีแอลคอเลสเตอรอลในเลือดเพิ่มสูงขึ้นจึงทำให้มีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจเพิ่มมากขึ้น ซึ่งไขมันจากวัว หรือไขมันจากหมู จะมีกรดไขมันอิ่มตัวในปริมาณที่สูงกว่าไขมัน จากอาหารจำพวกพืชและปลา ยกเว้นไขมันจากน้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม ซึ่งจะมีปริมาณกรดไขมันอิ่มตัวในระดับสูง
กรดพาลมิทิก เป็นกรดไขมันอิ่มตัวตามธรรมชาติที่พบมากที่สุดโดยจะสามารถพบได้ในไขมันทุกชนิด ซึ่งจากกรดไขมันทั้งหมดที่มีอยู่จะพบได้ประมาณร้อยละ 10 ถึง 50 เลยทีเดียว ส่วนกรดไขมันที่อิ่มตัว ชนิดอื่น ๆ ที่พบรองลงมา ได้แก่ กรดไมริสทิก ( Myristic Acid ) และกรดสเทียริก ( Stearic Acid )
2. กรดไขมันไม่อิ่มตัว ( Unsaturated Fatty Acid ) หมายถึง กรดไขมันที่คาร์บอนในโมเลกุล มีไฮโดรเจนจับอยู่อย่างไม่เต็มขีดจำกัด และโมเลกุลก็ยังสามารถที่จะรับไฮโดรเจนเพิ่มเข้าไปในได้อีก ส่วนแขนของคาร์บอนนั้นก็จะมีทั้งแขนเดี่ยวและแขนคู่ และส่วนมากจะเป็นน้ำมันซึ่งเป็นของเหลว กรดไขมันไม่อิ่มตัวนี้ง่ายต่อการเกิดออกซิเดชั่น หากถูกออกซิไดส์จะส่งผลให้มีความหืนเกิดขึ้น ซึ่งก็จะทำให้กลิ่นและรสผิดปกติ และยังมีผลให้วิตามินที่ละลายในไขมันอย่าง วิตามินเอ วิตามินดี วิตามินอี และวิตามินเค สูญเสียไปด้วย จากผลการศึกษาพบว่าแหล่งของกรดไขมันไม่อิ่มตัวอย่างน้ำมันพืชจะมีจุดเดือดต่ำ หรือ จะเป็นควันได้ง่าย เพราะฉะนั้นหากใช้น้ำมันประกอบอาหารก็ควรจะเป็นอาหารประเภทที่ต้องให้ความร้อนสูงและใช้เวลานาน เช่น อาหารประเภททอด เนื่องจากอาจจะทำให้อาหารไหม้เกรียมเสียก่อนที่จะสุกอย่างทั่วถึง หรือไม่ก็จะทำให้อาหารมีลักษณะกรอบนอกจากนี้แล้วยังอาจก่อให้เกิดอนุมูลอิสระเนื่องจากกรดไขมันไม่อิ่มตัวจะถูกทำให้เกิดการแตกตัวและไปทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศและอาจทำให้มี โอกาสเสี่ยงที่จะเกิดโรคหัวใจ และเป็นโรคมะเร็งได้ หากมีการบริโภคอาหารที่ใช้น้ำมันพืชในการทอดบ่อย ๆ ติดต่อกันเป็นเวลานาน
เพราะฉะนั้นในการทอดอาหารควรที่จะใช้น้ำมันปาล์มโอเลอีนจึงจะเหมาะที่สุด เนื่องจากมีจุดเดือดสูง ซึ่งลักษณะของน้ำมันปาล์มโอเลอีนที่ดีสีจะต้องเข้ม เนื่องจากยังไม่ได้ผ่านการฟอกสีจนใส ทำให้เบต้าแคโรทีนยังคงไม่ถูกทำลายไป ซึ่งก็จะสามารถช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจได้นั่นเอง สำหรับน้ำมันพืชก็จะเหมาะกับการประกอบอาหารที่ไม่จำเป็นต้องใช้ความร้อนสูง เช่น การผัด
กรดไขมันไม่อิ่มตัว มีสูตรทั่วไปคือ C2H2n-2O2 หรือ CnH2n-4O2 มักพบในน้ำมันพืช น้ำมันปลา และสัตว์ทะเลเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็มีน้ำมันพืชบางชนิด ที่มีกรดไขมันเป็นกรดไขมันประเภทอิ่มตัว เช่น น้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม ( Palm Oil, Palm Kernel Oil Cocoa Butter)
กรดไขมันไม่อิ่มตัว สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. กรดไขมันไม่อิ่มตัวหนึ่งตำแหน่ง ( Monounsaturated Fatty Acid, MUFA ) คือกรดไขมันไม่อิ่มตัวที่ในสูตรโครงสร้าง จะมีแขนคู่ ( Double Bond ) เพียง 1 แห่ง เช่น กรดโอเลอิก ( Oleic Acid ) หรือโอเมก้า 9 กรดพาลมิโทเลอิก ( Palmitoleic Acid ) กรดวัคซีนิก ( Vaccenic Acid ) พบได้ในถั่วหลายชนิด เช่น เมล็ดอัลมอนด์ เม็ดมะม่วงหิมพานต์ ถั่วลิสง ฮาเซลล์นัท ในน้ำมันพืช เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันถั่วลิสง น้ำมันคาโนลา น้ำมันปาล์มโอ เลอิน น้ำมันงา ซึ่งจะมีผลให้คอเลสเตอรอลรวมและแอลดีแอลลดน้อยลง แต่ไม่มีผลกับเอชดีแอลคอเลสเตอรอล
2. กรดไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่ง ( Polyunsaturated Fatty Acid, PUFA ) คือกรดไขมันไม่อิ่มตัวที่มีแขนคู่อย่างน้อย 2 แห่งขึ้นไป เช่น กรดไขมันกลุ่มโอเมก้า 3 และ กรดไขมันกลุ่มโอเมก้า 6 พวกกรดไลโนเลอิก ( Linoleic Acid,LA ) และกรดอะราซิโดนิก ( Arachidonic Acid,AA ) มักพบในเมล็ดดอกทานตะวัน น้ำมันดอกคำฝอย น้ำมันข้าวโพด น้ำมันถั่วเหลือง เนื้อสัตว์สีแดง และผลิตภัณฑ์แปรรูปจากนม กรดไลโนเลอิก มีคุณสมบัติในการช่วยให้ระดับคอเลสเตอรอลรวมและ ( LDL-Cholesterol ) ในเลือดให้ลดน้อยลง แต่ก็มีผลให้ ( HDL-Cholesterol ) ลดลงด้วย
สำหรับกรดไขมันกลุ่มโอเมก้า 3 ได้แก่ กรดไลโนเลนิก ( Alpha-Linolenic Acid, LNA )
ซึ่งกรดไขมันกลุ่มโอเมก้า 3 ที่นักวิทยาศาสตร์ให้ความสนใจมีอยู่ 2 ชนิด คือ กรดไอโคซาเพนตะอีโนอิก ( Eicosapentaenoic Acid, EPA ) และกรดโดโคซาเฉกซาอีโนอิก ( Docosahexaenoic Acid, DHA ) โดยทั้ง EPAc และ DHA จะมีหน้าที่ในการช่วยลดระดับไตรกลีเซอไรด์ในกระแสเลือด โดยเฉพาะ VLDL นอกจากนี้แล้วกรดไขมันกลุ่มโอเมก้า 3 ยังสามารถทดแทนกรดไขมันกลุ่มโอเมก้า 6 ในเยื่อหุ้มเซลล์ของเซลล์ทุกชนิดได้ กรดไขมันกลุ่มโอเมก้า 3 จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการเจริญเติบโตและพัฒนาการในเด็ก
และจากผลการศึกษาพบว่าเมื่อน้ำมันพืชซึ่งเป็นแหล่งของ ( PUFA ) ไปใช้ประกอบอาหาร ไม่ควรที่ใช้ความร้อนในระดับที่สูงเกิน 180 องศาเซลเซียส นานเกิน 20 นาที เพราะจะส่งผลให้ PUFA เกิดการแตกตัวและไปทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศจนกลายเป็นอนุมูลอิสระ ซึ่งก็จะให้มีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจ และโรคมะเร็ง
ตาราง ปริมาณกรดไขมันตามความอิ่มตัวคิดเป็นร้อยละ ที่พบในน้ำมันชนิดต่างๆ |
ชนิดน้ำมัน |
กรดไขมันอิ่มตัว |
กรดไขมันไม่อิ่มตัวหนึ่งตำแหน่ง |
กรดไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่ง |
คาโนลา |
8 |
59 |
33 |
ทานตะวัน |
10 |
18 |
70 |
ข้าวโพด |
13 |
25 |
61 |
ถั่วเหลือง |
15 |
24 |
61 |
มะกอก |
15 |
75 |
10 |
รำข้าว |
18 |
45 |
37 |
ฝ้าย |
25 |
56 |
49 |
ปาล์มโอเลลิน |
50 |
39 |
10 |
ประเภทของกรดไขมันแบ่งตามความต้องการของร่างกาย
กรดไขมันสามารถแบ่งออกได้ตามความต้องการของร่างกาย เป็น 2 ประเภท คือ
1. กรดไขมันจำเป็น ( Essential Fatty Acid หรือ Vitamin F ) กรดไขมันประเภทนี้ คือกรดไขมันที่ร่างกายของมนุษย์ไม่สามารถสังเคราะห์ขึ้นมาให้เพียงพอต่อความต้องการของตัวเองได้ จึงจำเป็นที่จะต้องรับจากอาหารชนิดต่างๆ โดยกรดไขมันจำเป็นนี้ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ตระกูล คือตระกูลไลโนเลอิก ( Linoleic ) ซึ่งเป็นกรดไขมันประเภทโอเมก้า 6 และตระกูลไลโนเลนิก ( Linolenic ) เป็นกรดไขมันประเภทโอเมก้า 3
เมื่อร่างกายรับกรดไขมันจำเป็นทั้ง 2 ตระกูลนี้เข้าไปแล้ว กรดไขมันนี้ก็จะไปสร้างกรดไขมันอื่น ๆ ที่จำเป็นต่อร่างกายต่อไป ( แต่ไม่สามารถสร้างแบบข้ามตระกูลกันได้ จึงต้องรับทั้ง 2 กรดไขมันนี้ให้เท่าเทียมกัน ) เช่น กรดไลโนเลนิก นำไปสร้างกรดไดโฮโมแกมมาไลโนเลนิก ( Dihomo Gamma-Linolenic Acid หรือ n-6 ) ส่วนกรดไลโนเลอิกนำไปสร้างกรดไอโคซาเพนตะอีโนอิก ( Eicosapentaenoic Acid หรือ n-3 หรือ EPA ) กรดโดโคซาเพนตะอีโนอิก ( Docosapentaenoic Acid หรือ DPA ) และกรดโดโคซาเฮกซาอีโนอิก ( Docosahexaenoic Acid หรือ DHA )
กรดไขมันกลุ่มโอเมก้า 3 มีความสำคัญต่อร่างกาย คือ
1. กรดไอโคซาเพนตะอีโนอิก EPA สามารถพบได้ทุกส่วนของร่างกาย แต่จะพบมากในสมอง จึงมีผลต่อการทำงานในส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น
1.1 ลดการสร้างไลโปโปรตีนในตับ และช่วยลดระดับไตรกลีเซอร์ไรด์
1.2 รักษาสมดุลของฮอร์โมน ทำให้ฮอร์โมนในร่างกายมีความปกติมากขึ้น
1.3 ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลรวม และแอลดีแอลคอเลสเตอรอล ( LDL – ไขมันเลว ) ในกระแสโลหิต ในขณะเดียวกันเพิ่มเอชดีแอลคอเลสเตอรอล ( HDL – ไขมันดี )
1.4 ช่วยบำบัดรักษาอาการเหนื่อยล้า ลดอาการปวดเมื่อยได้ดี
1.5 ช่วยรักษาอาการของโรคซึมเศร้า
1.6 ช่วยต้านอาการเลือดจับตัวแข็งเป็นก้อน และเกาะติดกับผนังของหลอดเลือดแดง ที่เป็นสาเหตุของโรคความดันโลหิตสูงและโรคหัวใจ
2. กรดโดโคซาเฮกซาอีโนอิก ( DHA ) เป็นสารที่มีในผนังเซลล์ทั่วไป โดยเฉพาะเป็นส่วนประกอบของเซลล์สมอง มีหน้าที่สำคัญ คือ
2.1 ช่วยในการเจริญเติบโตและการพัฒนาของระบบประสาทส่วนกลางและสมอง เกี่ยวข้องกับการส่งผ่านสัญญาณของระบบประสาทและติดต่อสื่อสารกันระหว่างเซลล์สมอง
2.2 ช่วยลดระดับของไตรกลีเซอไรด์ ซึ่งเป็นตัวการทำร้ายสุขภาพ
2.3 ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย ทำให้ลดอาการอักเสบต่างๆ
2.4 ช่วยต้านอาการความดันโลหิตสูง และควบคุมระดับความดันได้ดี
2.5 ช่วยในการมองเห็นและบำรุงสายตา
กรดไขมันกลุ่มโอเมก้า 6 มีความสำคัญต่อร่างกาย คือ
นำไปใช้ในการสร้างสารพรอสตาแกลนดินส์ ( Prostaglandins ) ซึ่งเป็นสารที่มีลักษณะคล้ายฮอร์โมน แต่สามารถเข้าไปควบคุมการทำงานของร่างกายได้หลายส่วน เช่น
- การหลั่งกรดเกลือในกระเพาะอาหาร
- การหดตัว และคลายตัวของกล้ามเนื้อเรียบของอวัยวะภายใน
- การควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย
- การไหลเวียนของโลหิต
จากการทดลองทางวิทยาศาสตร์โดยใช้หนูขาวในการทดลอง พบว่า ถ้าหนูขาวหลังอดนม ขาดกรดไขมันที่จำเป็น จะทำให้เกิดอาการทางผิวหนัง คือ ผิวหนังตกสะเก็ด ขนร่วง สูญเสียน้ำหนัก อัตราการเจริญเติบโต และการสืบพันธุ์ด้อยลง แต่การกิน (ทั้งน้ำและอาหาร) จะสูงขึ้น เพราะมีการใช้พลังงานภายในร่างกายสูงขึ้น และมักจะตายตั้งแต่อายุยังน้อย
เพราะฉะนั้น หากมีการเลี้ยงเด็กด้วยนมผงขาดมันเนย หรือ คนไข้ที่มีปัญหาในการดูดซึมไขมันจะแสดงอาการเช่นเดียวกับหนูขาว คือ ผิวหนังอักเสบเป็นแผล ( Eczema ) ป่วยเรื้อรัง การเจริญเติบโตจะช้ากว่าเด็กปกติ เส้นผมหยาบและร่วง ติดเชื้อง่าย ปริมาณเกร็ดเลือดต่ำ ภูมิต้านทานโรคต่ำ มีไขมันคั่งในตับ แต่เมื่อให้ทานอาหารที่ผสมกรดไลโนเลอิกเข้าไปในอาหารอย่างน้อยร้อยละ 1 ของพลังงานที่ได้รับทั้งหมดทุกวัน อาการดังกล่าวจะทุเลาและหายภายใน 1 เดือน
2. กรดไขมันไม่จำเป็น ( Nonessential Fatty Acid )
กรดไขมันประเภทนี้ เป็นกรดไขมันที่ร่างกายสามารถสังเคราะห์ขึ้นมาเองได้ โดยแบ่งเป็นกรดไขมันอิ่มตัว และกรดไขมันไม่อิ่มตัวในตระกูลกรดพาลมิโทเลอิก และตระกูลโอเลอิก
ฟอสโฟลิพิด คือ สารประกอบชนิดไขมันธรรมดาที่ภายในของสารจะประกอบไปด้วยหมู่ฟอสและส่วนของโคลีนที่คอยเกาะอยู่ภายในของเซลล์พืชหรือเซลล์สัตว์ทุกประเภท สารตัวนี้จะมีปริมาณที่สูงมากเรียกว่าสูงเป็นอันดับสองรองจากสารประเภทกรดไขมันเลยก็ว่าได้ ฟอสโฟลิพิดส่วนใหญ่มักพบได้ในตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายซึ่งแต่ละแห่งจะมีอัตราส่วนที่แตกต่างกันออกไป สำหรับความสำคัญของสารตัวนี้ ได้แก่
1.คอยทำหน้าที่หลักในการเป็นโครงสร้างสำคัญให้กับส่วนของผนังเซลล์และตัวเซลล์ออร์แกเนลล์ สารนี้จะคอยให้โปรตีนและคอยควบคุมความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นภายในเซลล์ซึ่งนั่นอาจส่งผลทำให้สารชนิดนี้กลายเป็นสารที่เป็นได้มากกว่าการเป็นเพียงไขมันสะสมและถึงแม้ว่าจะเป็นเพียงโครงสร้างของเซลล์ก็ตามทีบวกกับเป็นสารที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาด้วยแต่ถึงอย่างนั้นปริมาณของสารที่มีอยู่ก็จะยังคงรักษาระดับไว้ให้อยู่ในช่วงคงที่อยู่เสมอนั่นก็เพราะร่างกายนั้นไม่ได้นำเอาสารตัวนี้ไปใช้ในการเผาผลาญเพื่อเปลี่ยนให้เป็นพลังงานแต่อย่างใด ( ไม่เว้นแม้กระทั่งช่วงของการอดอาหารก็เช่นกัน )
2.เป็นสิ่งที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการย่อยสารอาหาร การดูดซึมสารอาหารและการขนส่งสารอาหารประเภทไขมัน ฮอร์โมนและวิตามิน ช่วยทำให้ตัวเซลล์ยังคงสามารถเลือกใช้กรดไขมันได้ในระดับที่เรียกว่าดีมากไว้ได้
3.เป็นสิ่งที่กลายเป็นส่วนประกอบสำคัญของเลือด สารนี้จะเข้าไปรวมอยู่กับส่วนของโปรตีนในอัตราส่วนที่แตกต่างกันไป จะคอยทำหน้าที่ช่วยขนส่งพวกสารอาหารประเภทลิพิดแบบต่าง ๆ และส่งไปให้กับเซลล์ ( ระดับตามปกติสำหรับบุคคลที่อายุอยู่ในช่วง 20 ปี ถึง 50 ปีจะอยู่ที่ประมาณ 250 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ) สารนี้จะไม่ถูกส่งไปยังเซลล์เนื้อเยื่ออื่นใดเป็นอันขาดเพราะเซลล์แต่ละประเภทล้วนต่างสามารถสร้างสารตัวนี้ใช้เองได้ ไม่จำเป็นต้องมีการส่งมาจากที่ใด
สารเลซิติน ก็เป็นอีกตัวหนึ่งที่นับว่าเป็นฟอสโฟลิพิดอีกประเภทหนึ่งเช่นกัน เลซิตินภายในจะประกอบไปด้วยอินโนซิทอลและโคลีนอยู่ภายใน สามารถพบได้มากตามบริเวณเนื้อเยื่อของร่างกาย ตามส่วนของการขนส่งและการใช้กรดประเภทกรดไขมัน นอกจากนี้เซลล์ของร่างกายยังสามารถทำการสังเคราะห์สารตัวนี้ได้ด้วยตัวเองได้อีกด้วย แต่ข้อควรระวังก็คือหากพบว่าเมื่อใดก็ตามที่ร่างกายมีปริมาณของเลซิตินที่อยู่ในระดับสูงมากเกินไปนั่นอาจส่งผลทำให้เกิดการดูดซึมปริมาณคอเลสเตอรอลที่ลดน้อยลงตามไปด้วยได้ อาจทำให้ไขมันที่อยู่ภายในเลือดเกิดการไม่รวมตัวเข้า ด้วยกัน ฉะนั้นหากภายในร่างกายมีปริมาณเลซิตินที่มากพอแล้วจึงยิ่งไม่มีความจำเป็นที่จะต้องบริโภคสารตัวนี้เพิ่มเข้าไปอีก สำหรับปริมาณที่มากเกินไปนั้นจะอยู่ที่ “มากกว่า 3500 มิลลิกรัม” ปริมาณระดับนี้สามารถส่งผลทำให้เกิดความเสียหายต่อร่างกายได้สูงมาก ตัวอย่างอาการหรือลักษณะที่พบได้ ได้แก่ การมีระดับความดันโลหิตที่ลดต่ำลง การมีอาการคลื่นไส้และอาเจียน ฯลฯ
ส่วนในกรณีของโคลีนก็เป็นสารที่อยู่ในกลุ่มเมธิลและยังเป็นรูปแบบของฟอสโฟลิพิดเหมือนกับสารข้างต้น สารตัวนี้เป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการทำงานของระบบประสาทเป็นอย่างมาก ร่างกายสามารถที่จะทำการสังเคราะห์ตัวโคลีนได้จากเมไทโอนีนเองได้แถมยังสามารถช่วยสังเคราะห์พวกโปรตีนและฮอร์โมนที่ได้จากต่อมหมวกไตได้อีกมากมายอีกด้วย
สุดท้ายส่วนของคอเลสเตอรอล สารตัวนี้เป็นสารประเภทไขมันซึ่งมีสูตรโครงสร้างภายในเป็น สเตอรอล เป็นสิ่งที่ไม่สามารถให้พลังงานแก่ร่างกายได้ สามารถพบได้ที่บริเวณของเนื้อเยื่อและในอวัยวะของสัตว์ทุกประเภท พบได้ในปริมาณที่ค่อนข้างแตกต่างกันไป ไม่สามารถพบได้ในอาหารที่ทำมาจากพืช เป็นสารที่สามารถผ่านบริเวณผนังลำไส้ของคนเราได้เป็นอย่างดี มีสีคล้ายกับขี้ผึ้ง (สีออกขาวๆ) ตามปกติแล้วคอเลสเตอรอลมักจะได้รับจากสองทางนั่นคือได้จากการเกิดการสังเคราะห์ด้วยตัวเองกับอีกแบบคือได้มาจากการรับประทานอาหารที่มีสารตัวนี้เข้าไป
สำหรับการสร้างและการสลายตัวนั้นสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดระยะเวลา ตับจะคอยทำหน้าที่ในการเปลี่ยนคอเลสเตอรอลให้กลายเป็นกรดน้ำดีหลังจากนั้นก็จะค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นเกลือน้ำดีตามมา เมื่อเปลี่ยนเป็นเกลือน้ำดีเป็นที่เรียบร้อยแล้วก็จะค่อย ๆ ปล่อยเข้าไปในส่วนของลำไส้เล็กเพื่อทำหน้าที่ช่วยย่อยไขมันภายในนั้น ( กระบวนการย่อยก็คือจะเข้าไปทำให้ไขมันเกิดการแตกตัวเพื่อกลายเป็นโมเลกุลขนาดเล็ก ) ข้อควรรู้ก็คือ ปริมาณคอเรสเตอรอลที่ร่างกายของคนเรานั้นสามารถสร้างได้ตามปกติจะอยู่ที่ 15 – 20 กรัม/วัน ( คิดโดยประมาณอยู่ที่ 80% ของความต้องการที่ร่างกายต้องการ ) และระดับของคอเลสเตอรอลที่อยู่ภายในเลือดของคนเราทั่วไปจะอยู่ที่ 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ( สำหรับคนช่วงอายุ 20 ปีถึง 50 ปี )
ไตรกลีเซอไรด์ ( Triglyceride ) เป็นสารอาหารประเภทไขมันชนิดหนึ่งที่พบได้มากในอาหาร ซึ่งจะส่งผลเสียต่อร่างกายได้ หากได้รับไตรกลีเซอไรด์มากเกินความจำเป็น เพราะไตรกลีเซอไรด์จะถูกเก็บไว้ในเนื้อเยื่อ เมื่อมีมากขึ้น ก็จะทำให้เสี่ยงต่อภาวะไขมันในเลือดสูงได้ ซึ่งพบว่าส่วนใหญ่ ผู้ที่มีไตรกลีเซอไรด์สูงก็จะมีไขมันในเลือดสูงด้วยนั่นเอง นอกจากนี้ไตรกลีเซอไรด์ที่เข้าสู่ร่างกายได้นั้น จะสามารถรับเข้ามาได้สองทางด้วยกัน คือจากอาหารไขมันที่บริโภคเข้าไปอยู่ในรูปของ ( Chylomicron Triglyceride , Chylomicron-TG ) และจากการสังเคราะห์ที่ตับจากน้ำตาลและแป้งที่บริโภคเข้าไป ซึ่งสังเคราะห์ได้เป็น ( Very Low Density Lipoprotein Triglyceride VLDL-TG ) ในคนอ้วนระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดมักจะสูง
หน้าที่และความสำคัญของลิพิด
1. ลิพิดมีความสำคัญโดยจะเป็นส่วนประกอบของร่างกาย โครงสร้างผนังเซลล์และในการสร้างเซลล์สมอง และมีความสำคัญอย่างมากในเด็กก่อนคลอด นอกจากนี้นี้เซลล์ในร่างกายทั้งหมดจะประกอบด้วยไขมัน ซึ่งพบว่าในผู้หญิงที่แข็งแรงและไม่อ้วนจะมีไขมันอยู่ร้อยละ 18-25 ของน้ำหนักตัว ในขณะที่ผู้ชายในภาวะเดียวกันจะมีไขมันอยู่ร้อยละ 15 -20 ของน้ำหนักตัวเท่านั้น
2. ไขมัน 1 กรัม จะให้พลังงานได้ถึง 9 กิโลแคลอรี ดังนั้นจึงเป็นแหล่งสะสมพลังงานอย่างดี ซึ่งในภาวะปกติ ไขมันจะให้เนื้อเยื่อ ไขมันที่ใต้ผิวหนัง ในช่องท้องรอบๆ อวัยวะภายในและแทรกอยู่ทั่วไปตามในกล้ามเนื้ออีกด้วย
3. ทำหน้าที่ในการเร่งการดูดซึมและขนส่งวิตามินที่ละลายไขมันในร่างกายไปตามส่วนต่างๆ
4. เป็นแหล่งของกรดไขมันจำเป็น โดยจะประกอบไปด้วยของโครงสร้างผนังเซลล์และใช้ในการสร้างเซลล์สมอง และจำเป็นอย่างมากในเด็กก่อนคลอด เพราะร่างกายไม่สามารถที่จะสังเคราะห์ขึ้นมาเองได้ จึงต้องได้รับผ่านการทานอาหารของแม่นั่นเอง นอกจากนี้จากการศึกษาพบว่ากรดไลโนเลอิกซึ่ง เป็นกรดไขมันจำเป็นที่จะช่วยเร่งการเผาผลาญคอเลสเทอรอลไปเป็นน้ำดี และอาจจะช่วยลดการหลั่งของ LDL โดยตับด้วย อีกทั้งกรดไลโนเลอิกก็จะช่วยลดไตรกลีเซอไรด์ในเลือด ลดการจับตัวของเกล็ดเลือดและลดความดันโลหิตด้วยเช่นกัน
5. ทำหน้าที่เป็นเกราะป้องกัน เพื่อลดอันตรายจากการกระทบกระเทือนไปยังอวัยวะภายใน โดยเฉพาะไขมันบริเวณช่องอกและช่องท้องจะทำหน้าที่นี้ได้ดี
6. ช่วยในการเติบโต บำรุงสุขภาพ และผิวหนังของทารก
7. สามารถเปลี่ยนเป็นคาร์โบไฮเดรตและกรดไขมันไม่จำเป็นได้เมื่อร่างกายต้องกาย
8. ควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย และลดการเสียความร้อนออกนอกร่างกายทางผิวหนังมากเกินไป โดยจะทำให้อุณหภูมิของร่างกายมีความคงที่มากขึ้น โดยส่วนใหญ่แล้วคนอ้วนที่มีไขมันมากจะทนต่ออุณหภูมิต่ำได้ดีกว่าคนที่มีไขมันน้อย
9. คอเลสเตอรอล จำเป็นในการสังเคราะห์ Provitamin D, Adrenocortical Hormones, Steroid Sex Hormones and Bile Salts
10. ฟอสโฟลิพิด ทำหน้าที่เป็น อิมัลซิฟอิงเอเจนต์ ( Emulsifying Agents ) ที่มีประสิทธิภาพมาก ซึ่งจะช่วยในกระบวนการย่อยและการดูดซึมได้ดี
11. ไขมันบางชนิดที่ผิวเซลล์ประสาทจะทำหน้าที่ในการช่วยส่งผ่านสัญญาประสาท
12. ช่วยเพิ่มรสชาติและลักษณะเนื้อให้อาหาร ทำให้อาหารมีรสชาติอร่อยมากขึ้น
ความต้องการไขมันของร่างกาย
คณะกรรมการจัดทำข้อกำหนดสารอาหารที่ควรได้รับประจำวัน สำหรับคนไทย ปี 2546 ได้แนะนำปริมาณไขมันที่ควรได้รับประจำวันในผู้ใหญ่ ทั้งชายและหญิง รวมทั้งหญิงตั้งครรภ์ และหญิงที่ให้นมบุตร คือ ร้อยละ 25-35 ของพลังงานที่ได้รับต่อวัน โดยที่ไขมันที่บริโภคควรได้จากกรดไขมันจำเป็นกลุ่มโอเมก้า 3 ร้อยละ 0.6-1.2 ของพลังงานทั้งหมดที่ได้รับต่อวัน และกรดไขมันจำเป็นกลุ่มโอเมก้า 6 ร้อยละ 5-10 ของพลังงานทั้งหมดที่ได้รับ
สำหรับในเด็ก ปริมาณไขมันที่ควรได้รับจะค่อยๆ ลดลงเมื่ออายุเพิ่มขึ้น โดยที่เด็กอายุ 1-3 ปี ปริมาณไขมันที่ควรได้ คือ ร้อยละ 30-40 ของพลังงานที่ได้รับต่อวัน แต่เมื่ออายุ 4-18 ปี ปริมาณที่แนะนำ คือ ร้อยละ 25-35 ของพลังงานที่ได้รับต่อวัน สำหรับปริมาณคอเลสเตอรอล คณะกรรมการอาหารและยาประเทศสหรัฐอเมริกา US (FDA) แนะนำว่าไม่ควรได้รับเกินวันละ 300 mg.
โรคอาหารที่เกี่ยวกับไขมัน
1. ผลของการได้รับไขมันน้อย
ปกติแล้ว โรคที่เกิดจากการขาดไขมัน จนนำไปสู่การได้รับวิตามินไม่เพียงพอ มักจะไม่ค่อยปรากฏกับร่างกายมนุษย์มากนัก แต่ถ้าเป็นกรณีที่ได้รับกรดไขมันที่จำเป็น ( กรดไลโนเลอิก-กรดไลโนเลนิก ) ไม่เพียงพอ ก็อาจทำให้เกิดปัญหาทางผิวหนัง โดยเฉพาะโรค eczema ที่มักจะพบมากในวัยเด็ก เพราะได้รับกรดไลโนเลอิกน้อยกว่าพลังงานทั้งหมดที่ร่างกายควรได้รับ อาการที่สามารถสังเกตได้ง่าย คือผิวจะบางกว่าปกติ ถ้าเกิดการเสียดสีก็อาจทำให้เกิดการอักเสบและติดเชื้อได้ง่าย เส้นผมจะหยาบมากขึ้น และการเติบโตก็จะชะงักแบบเห็นได้ชัด อาจจะมีไขมันบางส่วนไปคั่งในตับอีกด้วย
ถ้าหากเด็กได้ทานนมแม่หรือทานนมชงที่มีสารอาหารครบถ้วน ก็จะไม่มีปัญหากับโรคนี้ เพราะในน้ำนมคนและน้ำนมวัวจะมีกรดไลโนเลอิกสูง แต่ถ้ามีอาการของโรคแล้ว วิธีการรักษาคือ การให้กรดอะราชิโดนิกเพิ่มเติม ทางเส้นเลือดหรือกล้ามเนื้อ แต่ถ้าอาการไม่รุนแรงจะให้ทางปาก
นอกจากนี้ กรดไลโนเลอิก ซึ่งเป็นกรดไขมันจำเป็น จะช่วยในการละลายและควบคุมปริมาณของคอเลสเตอรอลในเลือด ดังนั้นถ้าขาดกรดไขมันที่จำเป็น จะเป็นสาเหตุทำให้คอเลสเทอรอล สะสมในเลือดมากเกินไปจนอาจทำให้เกิดการอุดตัน เป็นสาเหตุให้เกิดโรคหัวใจ
2. ผลของการได้รับไขมันมากเกินไป
การบริโภคอาหารที่มีส่วนประกอบของไขมันในปริมาณที่มากเกินไป จะทำให้น้ำหนักขึ้นอย่างผิดปกติ และทำให้อ้วนได้ เพราะการบริโภคอาหารที่มีไขมันสูงมาก ๆ จะเป็นสาเหตุที่ทำให้ระบบย่อยอาหาร ดูดซึมช้ากว่าปกติ และมีผลทำให้อาหารไม่ย่อย
แต่ในกรณีที่ขาดคาร์โบไฮเดรต ร่วมกับการขาดน้ำในอาหารที่บริโภค ( การอดอาหารโดยเฉพาะแป้ง ) หรือร่างกายมีการทำงานของไตผิดปกติ กระบวนการเมตาบอลิซึมของไขมันจะไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์ และทำให้เกิดการเป็นพิษแก่ร่างกาย
โรคที่มักจะเกิดจากการที่ร่างกายได้รับไขมันมากเกินไป และรู้จักอย่างแพร่หลาย ได้แก่
2.1 โรคอ้วน ( Obesity ) คือโรคที่เกิดจากการที่ร่างกายมีการสะสมไขมันเอาไว้มากกว่าปกติ ทำให้น้ำหนักเกินเกณฑ์ และอาจนำมาซึ่งปัญหาสุขภาพได้อีกมากมาย โดยทั่วไปจะมีไขมันสะสมมากกว่าร้อยละ 25-30 ของน้ำหนักร่างกาย ส่วนโรคที่คนอ้วนมักจะเสี่ยง เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจขาดเลือด โรคไขมันสูงในเลือด โรคข้ออักเสบ โรคนิ่วในถุงน้ำดี โรคเบาหวาน และโรคมะเร็งบางชนิด
โรคอ้วนที่มีผลร้ายต่อสุขภาพมี 3 ประเภท
1. อ้วนทั้งตัว ( Overall Obesity ) เป็นผู้ที่มีไขมันอยู่ทั่วร่างกายมากกว่าปกติ ไม่ได้มีไขมันเยอะเฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่งเท่านั้น
ตาราง ปริมาณกรดไลโนเลอิก ในน้ำมันพืชที่ใช้ปรุงอาหาร |
|
ส่วนประกอบ |
ชื่อทางการค้า |
กรดไลโนเลอิก % ของกรดไขมันทั้งหมด |
น้ำมันบริสุทธิ์ |
ถั่วเหลือง 100% |
Best Food Salad Oil |
57 |
ถั่วเหลือง 100% |
ทิพ |
47 |
ข้าวโพด 100% |
Mazola |
47 |
ถั่วลิสง 100% |
อาละดิน |
37 |
รำข้าว 100% |
ทิพ |
34 |
รำข้าว 100% |
ลูกโลก |
32 |
รำข้าว 100% |
คิง |
31 |
ปาล์ม 100% |
Pigeon |
13 |
ปาล์ม 100% |
รอยโก้ |
11 |
มะพร้าว 100% |
ช้างบิน |
2 |
น้ำมันผสม |
ถั่วเหลือง 50% นุ่น 50% |
ทิพ |
48 |
ถั่วเหลือง 25% นุ่น 25% รำข้าว 25%
ฝ้าย 25% |
ทิพ |
48 |
รำข้าว 50% นุ่น 50% |
ทิพ |
37 |
ถั่วเหลือง 40% นุ่น 40% ฝ้าย 25% |
กุ๊ก |
48 |
ถั่วเหลือง 40% รำข้าว 40%
ฝ้าย 20% |
กุ๊ก |
49 |
2. อ้วนลงพุง ( Visceral or Abdominal Obesity ) เป็นการอ้วนโดยมีไขมันที่หน้าท้องมากกว่าปกติ และมักจะมีพุงยื่นออกมาอย่างเห็นได้ชัด
3. อ้วนทั้งตัวร่วมกับอ้วนลงพุง ( Combined Overall and Abdominal Obesity ) เป็นผู้ที่อ้วนทั้งตัวและมีไขมันหน้าท้องเยอะด้วย ซึ่งจะมีพุงยื่นออกมาอย่างเห็นได้ชัดเช่นกัน
การวินิจฉัยโรคอ้วน ในทางปฏิบัติทั่วไปนิยมใช้วิธีต่อไปนี้ คือ
1. การชั่งน้ำหนักและการวัดส่วนสูง โดยการชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงเพื่อให้ได้ค่าที่แน่นอนที่สุด คือจะต้องชั่งโดยใส่เสื้อผ้าบางๆ และวัดส่วนสูงด้วยการไม่สวมรองเท้า จากนั้นจะนำค่าทั้งสองที่วัดได้มาเทียบกับตารางน้ำหนักมาตรฐานของแต่ละระดับความสูง
เกณฑ์การตัดสิน คือน้ำหนักตัวที่มีค่าระหว่างร้อยละ 100-119 ของน้ำหนักตัวมาตรฐานจะถือได้ว่ามีน้ำหนักเกิน
ตารางที่ น้ำหนักที่ควรเป็นของเพศชายและหญิง กำหนดโดยส่วนสูง |
|
ผู้ชาย |
ผู้หญิง |
ความสูง
(ซม.) |
น้ำหนักเฉลี่ย
(กิโลกรัม) |
น้ำหนักที่ควรเป็น
(กิโลกรัม) |
น้ำหนักเฉลี่ย
(กิโลกรัม) |
น้ำหนักที่ควรเป็น
(กิโลกรัม) |
145 |
– |
– |
46.0 |
42-53 |
148 |
– |
– |
46.5 |
42-54 |
150 |
– |
– |
47.0 |
43-55 |
152 |
– |
– |
48.5 |
45-57 |
154 |
– |
– |
49.5 |
44-58 |
156 |
– |
– |
50.4 |
45-58 |
158 |
55.8 |
51-64 |
51.3 |
46-59 |
160 |
57.6 |
52-65 |
52.6 |
48-61 |
162 |
58.6 |
53-66 |
54.0 |
49-62 |
166 |
60.6 |
55-69 |
56.8 |
51-65 |
168 |
61.7 |
56-71 |
58.1 |
52-66 |
170 |
63.5 |
58-73 |
60.0 |
53-67 |
172 |
65.0 |
59-74 |
61.3 |
55-69 |
174 |
66.5 |
60-75 |
62.6 |
56-70 |
176 |
68.0 |
62-77 |
64.0 |
58-72 |
178 |
69.4 |
64-79 |
65.3 |
59-74 |
180 |
71.0 |
65-80 |
– |
– |
182 |
72.6 |
66-82 |
– |
– |
184 |
74.2 |
67-74 |
– |
– |
186 |
75.8 |
69-86 |
– |
– |
188 |
77.6 |
71-88 |
– |
– |
190 |
79.3 |
73-90 |
– |
– |
192 |
71.0 |
75-93 |
– |
– |
ตาราง การแบ่งประเภทความอ้วนตาม BMI ขององค์การอนามัยโลก |
Classification |
BMI |
Normal |
18.5-24.9 |
Overweight |
≥ 25 |
Pre-obese |
25.0-29.9 |
Obese I |
30.0-34.9 |
Obese II |
30.0-39.9 |
Obese III |
≥ 40 |
ตารางองค์ประกอบของกรดไขมันที่พบในน้ำมัน และไขมัน ที่ใช้รับประทานทั่วไป
(คิดเป็นร้อยละของกรดไขมันทั้งหมด)
|
ชนิดของน้ำมัน
และไขมัน |
กรดไขมันอิ่มตัว |
กรดไขมันไม่อิ่มตัว
หนึ่งตำแหน่ง |
กรดไขมันไม่อิ่มตัว
หลายตำแหน่ง |
มะพร้าว |
86 |
6 |
2 |
รำข้าว |
19 |
38 |
37 |
งา |
15 |
40 |
40 |
ดอกคำฝอย |
9 |
12 |
74 |
น้ำมันหมู |
38 |
53 |
9 |
ปาล์ม |
48 |
38 |
9 |
ทานตะวัน |
10 |
21 |
64 |
ฝ้าย |
26 |
29 |
51 |
ถั่วลิสง |
19 |
46 |
30 |
มะกอก |
14 |
72 |
9 |
ถั่วเหลือง |
15 |
23 |
58 |
ข้าวโพด |
13 |
25 |
58 |
ตารางปริมาณคอเลสเตอรอล ไขมันและกรดไขมันอิ่มตัวในอาหารไทย |
ชนิดอาหาร |
ไขมัน
(กรัม/100กรัม) |
คอเลสเตอรอล
(มก./100กรัม) |
กรดไขมันอิ่มตัวร้อยละ
ของไขมันทั้งหมด |
ไข่ไก่, ไข่แดง |
30.0 |
1,250 |
34.9 |
ไข่ไก่, ทั้งฟอง |
8.6 |
427 |
35.7 |
ไข่นกกระทา |
13.2 |
508 |
37.4 |
ไข่ขาว, ไข่ไก่ |
0.3 |
– |
32.1 |
ตับ, หมู |
5.2 |
364 |
41.1 |
ตับ, ไก่ |
7.9 |
336 |
42.4 |
ตับ, เป็ด |
3.5 |
235 |
40.5 |
หมู, เซ่งจี้ |
3.0 |
235 |
33.1 |
หมู, ขา |
18.0 |
66 |
29.4 |
หมู, สันใน |
2.4 |
49 |
36.9 |
หมู, แฮมทอด |
7.9 |
66 |
27.9 |
วัว, เนื้อ |
1.7 |
65 |
45.5 |
วัว, สันใน |
3.3 |
55 |
36.6 |
วัว, น้ำนม |
3.9 |
17 |
63.7 |
น่องไก่ |
10.0 |
100 |
29.6 |
อกไก่, ไม่ติดหนัง |
1.5 |
63 |
32.4 |
เป็ด, เนื้อ |
2.2 |
82 |
31.0 |
กุ้งแชบ๊วย |
0.9 |
192 |
30.8 |
กุ้งกุลาดำ |
1.2 |
175 |
31.6 |
มันกุ้งนาง |
34.0 |
138 |
38.3 |
หอยนางรม |
4.2 |
231 |
37.3 |
หอยแมลงภู่ |
1.6 |
148 |
32.1 |
หอยแครงลวก |
1.5 |
195 |
35.9 |
ปูทะเล |
0.4 |
87 |
29.5 |
ปูทะเล, มัน |
4.7 |
361 |
39.1 |
ปลาหมึกกล้วย, เนื้อ |
1.1 |
251 |
34.0 |
ปลาดุก, เนื้อ |
3.0 |
94 |
34.2 |
ปลาช่อน, เนื้อ |
4.3 |
44 |
31.5 |
ปลาทู |
5.2 |
76 |
34.2 |
ปลาจะละเม็ด |
2.6 |
56 |
48.5 |
เนย |
82.4 |
186 |
65.4 |
เนยแข็ง |
29.7 |
94 |
61.9 |
ข้อควรระวังในการทานน้ำมันตับปลา
น้ำมันตับปลามีประโยชน์ในการช่วยลดระดับไตรกลีเซอไรด์ได้ แต่ในขณะเดียวกันก็มีข้อควรระวังในการทานเช่นกัน นั่นเอง
1. น้ำมันตับปลาไม่เหมาะกับผู้ที่มีความผิดปกติในการแข็งตัวของเลือด เพราะจะทำให้เลือดออกง่ายขึ้น และเป็นอันตรายได้
2. การได้รับน้ำมันปลาซึ่งเป็นไขมันที่ไม่อิ่มตัวในปริมาณสูง จะทำให้ร่างกายต้องการวิตามินอีเพิ่มขึ้น ดังนั้นจึงทำให้ต้องทานวิตามินอีเสริมมากขึ้นกว่าเดิมไปด้วย เพราะวิตามินอีที่ได้รับอาจไม่เพียงพอกับความต้องการนั่นเอง
อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง