องค์ประกอบของน้ำในร่างกาย
ร่างกายของคนเราจะมีน้ำกระจายอยู่ทั่วไปตามเซลล์ต่างๆ โดยสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วนคือ
1. น้ำที่อยู่ในเซลล์ ( Intracellular Fluid ) โดยจะมีปริมาณร้อยละ 38 ของน้ำหนักตัว และสามารถพบได้ในเซลล์ทุกเซลล์ โดยหน้าที่ของน้ำที่อยู่ในเซลล์ ก็จะช่วยละลายสารเคมีต่างๆ และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการเมแทบอลิซึมต่างๆ ได้ดีนั่นเอง
2. น้ำที่อยู่นอกเซลล์ ( Extracelluar Fluid ) โดยจะมีอยู่ประมาณร้อยละ 22 ของน้ำหนักตัว ซึ่งก็จะแบ่งออกได้เป็นสองส่วน คือ
– น้ำที่อยู่ในกระแสโลหิต โดยน้ำจะผ่านเข้าไปยังเลือดตามหลักการออสโมซิส ซึ่งจะมีโปรตีนภายในหลอดเลือดทำหน้าที่ในการดึงน้ำเข้าไปนั่นเอง
– น้ำที่อยู่ระหว่างเซลล์ โดยจะทำหน้าที่ในการส่งสารต่างๆ ระหว่างเซลล์และกระแสโลหิต ส่วนใหญ่จะพบอยู่ตามช่องโพรงของอวัยวะ เช่น น้ำหล่อลื่นในกระดูก น้ำเหลืองและน้ำในไขสันหลัง เป็นต้น
หน้าที่ของน้ำในร่างกาย
น้ำในร่างกายของคนเราจะมีหน้าที่หลายอย่างด้วยกัน โดยแบ่งออกได้เป็น 5 ข้อดังนี้
1. เป็นองค์ประกอบของเซลล์ น้ำจะทำหน้าที่เป็นองค์ประกอบของเซลล์และเลือด รวมถึงน้ำตา ปัสสาวะ น้ำเหลือง เหงื่อและเอนไซม์ด้วย โดยเซลล์ต่างๆ นี้ก็จะมีปริมาณของน้ำที่แตกต่างกันไป โดยสามารถศึกษาได้จากตารางดังต่อไปนี้
ชนิดเนื้อเยื่อ |
ปริมาณน้ำ ( ร้อยละ) |
ไต |
83 |
หัวใจ |
79 |
ปอด |
79 |
กล้ามเนื้อ |
76 |
สมอง |
75 |
ผิวหนัง |
72 |
ตับ |
68 |
โครงกระดูก |
22 |
เนื้อเยื่อไขมัน |
10 |
2. รักษาสมดุลของน้ำภายในร่างกาย ร่างกายของคนเราจะเกิดความสมดุลได้จะต้องมีน้ำเป็นตัวช่วย ซึ่งน้ำจะทำหน้าที่ในการเคลื่อนผ่านผนังเซลล์เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงความเข้มข้นของไอออน ซึ่งไอออนที่มีประจุบวกก็จะจับคู่กับไอออนที่มีประจุลบ ดังนั้นจึงได้ข้อสรุปว่า ปริมาตรของน้ำที่อยู่นอกเซลล์จะขึ้นอยู่กับโพแทสเซียมและฟอตเฟตในเซลล์ และขึ้นอยู่กับโซเดียมและคลอไรด์ที่อยู่นอกเซลล์เช่นกัน
3. เป็นตัวทำละลาย น้ำเป็นตัวทำละลายที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก โดบน้ำจะรวมอยู่ในสารละลายต่างๆ และช่วยให้เซลล์นำของเสียออกจากเซลล์โดยมีสารละลายเป็นตัวพาไป ซึ่งส่วนใหญ่จะถูกนำไปยังปอด ผิวหนังและไต เพื่อทำการเจือจางและขับออกไปจากร่างกายนั่นเอง
4. ควบคมอุณหภูมิของร่างกาย น้ำสามารถควบคุมอุณหภูมิของร่ากายให้คงที่ได้ดี โดยจะทำหน้าที่กระจายความร้อนไปยังอวัยวะต่างๆ ของร่างกายอย่างทั่วถึง จึงทำให้ความร้อนของร่างกายอยู่ในระดับที่สม่ำเสมอ และหากมีความร้อนเกินเกณฑ์ น้ำก็จะช่วยในการขับความร้อนส่วนเกินออกจากร่างกายอีกด้วย ซึ่งความร้อนประมาณร้อยละ 25 ก็จะถูกระเหยออกทางปอดและผิวหนัง
5. ช่วยในการหล่อลื่น น้ำมีส่วนช่วยในการหล่อลื่นได้เป็นอย่างดี โดยจะทำให้อวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกาย ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดการเสียดสีและลดการบาดเจ็บที่อาจเกิดจากการเสียดสีได้อีกด้วย
การดื่มน้ำให้เพียงพอและสม่ำเสมอมีประโยชน์ต่อร่างกายมาก ควรดื่มอย่างน้อยน้ำ 8-10 แก้วต่อวัน
การรักษาสมดุลของน้ำในร่างกาย
โดยปกติแล้วร่างกายของคนเราจะพยายามรักษาสมดุลของน้ำในร่างกายให้มีความคงที่อยู่เสมอ โดยหากน้ำในร่างกายลดลงหรือมีน้อยเกินไป ร่างกายก็จะเกิดการกระตุ้นไปยังสมองส่วนกลางที่เป็นส่วนควบคุมการกระหายน้ำให้เกิดความรู้สึกอยากดื่มน้ำมากขึ้น และมีการดูดซึมน้ำกลับจากไตเข้าสู่ร่างกาย ทำให้มีการขับน้ำออกจากร่างกายน้อยลง เพื่อคงความสมดุลของร่างกายไว้อยู่เสมอนอกจากนี้น้ำหรือของเหลวที่อยู่ในร่างกายก็มีความสัมพันธ์กับปริมาณของโซเดียมด้วย โดยหากโซเดียมต่ำ ปริมาณของเหลวก็จะต่ำ แต่หากโซเดียมสูง ปริมาณของเหลวก็จะสูง นั่นก็เพราะน้ำจะต้องทำหน้าที่ในการนำพาโซเดียมส่วนเกินออกจากร่างกาย ซึ่งหากน้ำมีน้อยกว่าโซเดียม ก็จะทำให้นำพาโซเดียมออกไปได้น้อยและเกิดความไม่สมดุลได้นั่นเอง
ตารางแสดงการหมุนเวียนของน้ำภายในร่างกาย เพื่อรักษาความสมดุล
ปริมาณน้ำที่ร่างกายได้รับ |
มิลลิลิตร/วัน |
ปริมาณน้ำที่ร่างกายสูญเสีย |
มิลลิลิตร/วัน |
จากการดื่มน้ำ |
1,000 |
ลมหายใจ |
400 |
จากอาหาร |
1,000 |
เหงื่อ |
500 |
จากเมแทบอลิซึม |
350 |
อุจจาระ |
150 |
– |
|
ปัสสาวะ |
1,300 |
รวม |
2,350 |
รวม |
2,350 |
1. ปริมาณของน้ำที่ร่างกายได้รับ
โดยปกติแล้วในหนึ่งวันร่างกายจะได้รับน้ำประมาณวันละ 2,350 มิลลิลิตร ซึ่งได้มาจาก
– การดื่มน้ำ 1,000 มิลลิลิตรต่อวัน
– น้ำจากอาหารที่รับประทานเข้าไป ส่วนใหญ่จะได้ประมาณ 1,000 มิลลิลิตร
– น้ำจากกระบวนการเผาผลาญอาหารในร่างกาย เพราะกระบวนการดังกล่าวจะทำให้ได้น้ำออกมา ซึ่งจะมีประมาณ 350 มิลลิลิตร แบ่งได้เป็น น้ำที่ได้จากไขมัน 100 กรัม 107.1 มิลลิลิตร , น้ำที่ได้จากคาร์โบไฮเดรต 100 กรัม 55.5 มิลลิลิตร , น้ำที่ได้จากโปรตีน 100 กรัม 41.3 มิลลิลิตร
2. ปริมาณของน้ำที่ถูกขับออกจากร่างกาย
ใน 1 วัน ร่างกายจะมีการขับน้ำออกเท่ากับปริมาณของน้ำที่ได้รับในแต่ละวัน คือ 2,350 มิลลิลิตร โดยขับออกผ่านทางช่องทางดังต่อไปนี้
– ไต โดยปกติแล้วไตจะทำหน้าที่ในการแยกและกรองของเสียที่ไม่จำเป็นออกจากร่างกาย พร้อมส่งกลับสารอาหารและน้ำที่มีประโยชน์กลับคืนสู่กรแสเลือดต่อ เพื่อนำไปเลี้ยงเซลล์ต่างๆ ของร่างกายนั่นเอง ซึ่งในขณะเดียวกันก็จะช่วยควบคุมปริมาณน้ำในร่างกายให้เกิดความเหมาะสมด้วย โดยของเสียที่ถูกขับออกไปนอกร่างกายนั้น ก็จะถูกตรงผ่านไปทางท่อไต ลงมาสู่กระเพาะปัสสาวะ และถูกขับออกมาเป็นปัสสาวะนั่นเอง
โดยกระบวนการขับของเสียออกทางไตนั้นก็จะต้องมีน้ำเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ซึ่งใน 1 นาที ก็จะมีน้ำผ่านไตมากถึง 116 มิลลิกรัมเลยทีเดียว ซึ่งในแต่ละวันพบว่าหากมีการขับถ่ายปัสสาวะน้อย ก็จะทำให้เสี่ยงต่อโรคนิ่วในไตได้ แต่หากได้รับน้ำมากเกินไปก็จะถูกขับออกมาพร้อมกับปัสสาวะนั่นเอง นอกจากนี้เพื่อให้การขับของเสียทางไตมีประสิทธิภาพที่สุด จะต้องมีน้ำไม่ต่ำกว่า 400-600 มิลลิกรัมต่อวันเลยทีเดียวปัจจัยที่ทำให้ปริมาณของปัสสาวะ อาจมีการเปลี่ยนแปลงไปได้
– ผิวหนัง โดยจะเป็นการสูญเสียน้ำในรูปของเหงื่อ ซึ่งวันหนึ่งจะสูญเสียประมาณ 500 มิลลิกรัม นอกจากนี้ร่างกายของคนเราจะมีต่อมเหงื่อที่แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ Opocrine Sweat Gland ต่อมเหงื่อที่สร้างกลิ่นออกมาด้วย และ Eccrine Sweat Gland ต่อมเหงื่อนที่ไม่มีกลิ่น โดยจะมีลักษณะของเหงื่อเป็นของเหลวใสๆ ซึ่งเหงื่อที่ออกมาก็จะช่วยให้อุณหภูมิของร่างกายคงที่ได้ดี และไม่มีกลิ่นเหมือนกันชนิดแรก นอกจากนี้เหงื่อที่ถูกขับออกมาก็จะมีโซเดียมและคลอไรด์ปนออกมาด้วย ดังนั้นในคนที่ทำงานหนัก เสียเหงื่อเยอะ หรือเป็นนักกีฬาจึงมักจะขาดโซเดียมได้ง่ายนั่นเอง
– ปอด จะมีการระเหยน้ำออกจากร่างกายทางการหายใจ โดยเฉลี่ยวันละประมาณ 300-400 มิลลิกรัม ซึ่งพบว่าผู้ที่ออกกำลังกายกลางแจ้งหรือมีไข้สูง จะมีการสูญเสียน้ำมากกว่าคนปกติทั่วไป โดยคิดเป็นร้อยละ 13 ต่ออุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น 1 องศาเซลเซียสเลยทีเดียว
– ระบบทางเดินอาหาร โดยน้ำจะถูกหลั่งออกมาในรูปของน้ำย่อย ซึ่งจะมากน้อยแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับปริมาณของน้ำในอาหารที่ทานเข้าไปด้วย โดยปริมาณน้ำที่หลั่งออกมาในรูปของน้ำย่อยมีดังนี้
น้ำลาย |
1,500 มิลลิลิตร |
น้ำย่อยของกระเพาะ |
2,500 มิลลิลิตร |
น้ำดี |
500 มิลลิลิตร |
น้ำย่อยจากตับอ่อน |
700 มิลลิลิตร |
น้ำย่อยจากลำไส้เล็ก |
3,000 มิลลิลิตร |
รวม |
8,200 มิลลิลิตร |
แต่ไม่ต้องตกใจ เพราะปริมาณน้ำดังกล่าวจะถูกดูดซึมกลับเข้าสู่ร่างกายบริเวณลำไส้ใหญ่และมีเพียงน้ำ 150 มิลลิลิตรเท่านั้นที่ถูกขับออกมาพร้อมกับอุจจาระ อย่างไรก็ตามการเพื่อไม่ให้น้ำถูกหลั่งออกมามากเกินไป ควรดื่มน้ำให้เพียงพอในแต่ละวัน และเน้นทานอาหารที่มีน้ำเป็นส่วนประกอบมากๆ พร้อมกับเลี่ยงการทานอาหารที่มีไขมันสูงด้วย
ความต้องการของน้ำในร่างกาย
เพราะร่างกายของคนเราไม่สามารถที่จะสะสมน้ำได้ จึงจำเป็นต้องได้รับน้ำอย่างเพียงพอทุกวัน เพื่อทดแทนน้ำในส่วนที่สูญเสียไปนั่นเอง โดยการดื่มน้ำสามารถดื่มได้ในปริมาณที่ไม่จำกัด และสามารถสังเกตภาวะร่างกายขาดน้ำได้มื่อมีอาการกระหายน้ำมากกว่าปกติอีกด้วย ส่วนความต้องการน้ำของร่างกายต่อวันนั้น จะอยู่ที่ประมาณวันละ 35-40 มิลลิลิตรต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม หรือหากเทียบเป็นลิตรก็คือวันละ 2 ลิตรนั่นเอง ซึ่งนั่นถือเป็นปริมาณขั้นต่ำของน้ำที่ร่างกายควรได้รับในแต่ละวัน และต้องดื่มในปริมาณที่เหมาะสม คือดื่มแบบจิบเรื่อยๆ ตลอดวัน ไม่ใช่ดื่มรวดเดียวใน ปริมาณมาก เพราะนั่นอาจทำให้เกิดอาการแน่นท้อง และน้ำถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดมากเกินไปจนทำให้หัวใจต้องทำงานหนัก ซึ่งอาจนำมาสู่ผลเสียต่อหัวใจได้นั่นเองนอกจากนี้การดื่มน้ำมากๆ ในปริมาณที่เหมาะสมก็จะช่วยให้ไตสามารถขับของเสียออกมาได้อย่างง่ายดายยิ่งขึ้น
เพราะน้ำมีความสำคัญในการเป็นตัวทำละลายของเสียและขับเอาของเสียออกมาในรูปของปัสสาวะ และการขับเสียออกจากช่องทางอื่นๆ เช่น เหงื่อ ก็จะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพเช่นกัน แต่ในขณะเดียวกันหากร่างกายได้รับน้ำน้อยเกินไป ก็จะทำให้เกิดอาการเบื่ออาหาร ปากแห้งและทานอาหารลำบากมากขึ้น เพราะน้ำจะเป็นตัวช่วยให้ปากคอมีความชุ่มชื้น และสามารถกลืนอาหารได้ดีนั่นเอง และสำหรับความเชื่อที่ว่า การดื่มน้ำในระหว่างมื้ออาหารจะไปช่วยลดกรดเกลือในกระเพาะอาหารได้นั้นไม่จริงเลย เพราะน้ำจะผ่านกระเพาะอาหารไปอย่างรวดเร็ว จึงไม่มีผลอะไรต่อกระเพาะอาหาร แต่จะช่วยให้การย่อยอาหารเป็นไปอย่างง่ายดายมากขึ้น เพราะทำให้อาหารมีความเปียก นุ่ม นอกจากนี้หากน้ำที่ดื่มข้าไปเป็นน้ำอุ่น ก็จะยิ่งช่วยให้กระเพาะอาหารสามารถเคลื่อนไหวและย่อยอาหารได้ดีมากกว่าเดิมอีกด้วย
ปัจจัยอะไรบ้างที่เกี่ยวข้องกับความต้องการน้ำของร่างกาย
ในแต่ละคนและแต่ละวันจะมีความต้องการน้ำที่แตกต่างกันไป ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยที่มีความเกี่ยวข้องด้วย โดยมีปัจจัยดังต่อไปนี้
1. อายุ โดยปกติแล้วเด็กทารกจะมีความต้องการน้ำมากกว่าผู้ใหญ่ โดยคิดเป็น 100 มิลลิลิตรต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม แต่เมื่ออายุมากขึ้นความต้องการน้ำของเด็กก็จะค่อยๆ ลดน้อยลงไป โดยศึกษาได้จากตารางดังต่อไปนี้
ตาราง ความต้องการน้ำของทารกตามขนาดน้ำหนักตัว
น้ำหนัก (กิโลกรัม) |
ปริมาณน้ำที่ทารกต้องการ (มิลลิลิตร/กิโลกรัม/วัน) |
น้อยกว่า 10 |
100 |
10-20 |
50 |
มากกว่า 20 |
20 |
2.อุณหภูมิของสิ่งแวดล้อม โดยเมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้น ร่างกายก็จะมีการขับเหงื่อออกมาทางผิวหนังมากกว่าปกติ ทำให้ความต้องการน้ำในวันนั้นเพิ่มมากขึ้นไปด้วย แต่หากวันไหนที่อุณหภูมิลดลงและมีเหงื่อออกน้อย ก็จะไม่ค่อยเกิดความต้องการน้ำมากนัก
ตาราง ปริมาณของน้ำในร่างกายที่เสียไปในภาวะต่างๆ
การสูญเสียน้ำ |
อากาศกำลังสบาย |
อากาศร้อน |
ออกกำลังมาก |
ผิวหนัง |
350 |
350 |
350 |
ทางเดินหายใจ |
350 |
250 |
650 |
ปัสสาวะ |
1,400 |
1,200 |
500 |
อุจจาระ |
100 |
100 |
100 |
เหงื่อ |
100 |
1,400 |
5,000 |
รวม |
2,300 |
3,300 |
6,600 |
3.การออกกำลังกาย เพราะการออกกำลังกายจะเร่งให้ร่างกายมีการสูญเสียเหงื่อออกมามากขึ้น รวมถึงมีการสูญเสียน้ำทางปอดจากอัตราการหายใจอีกด้วย ดังนั้นเมื่อออกกำลังกาย ร่างกายจึงมักจะมีความต้องการน้ำมากกว่าปกติ
4.ส่วนประกอบของอาหารที่รับประทาน โดยพบว่าหากรับประทานอาหารที่มีน้ำเป็นส่วนประกอบเยอะ ร่างกายก็จะมีความต้องการน้ำน้อย แต่หากทานอาหารที่มีน้ำเป็นส่วนประกอบน้อยก็จะทำให้ร่างกายมีความต้องการน้ำสูงขึ้น นอกจากนี้ในคนที่ทานโปรตีนสูง หรือทานอาหารที่มีรสเค็มและมีผงชูรสมากๆ ก็จะทำให้ร่างกายต้องการน้ำสูงมากเช่นกัน
5.ปริมาณของเสียที่ละลายน้ำ เพราะร่างกายต้องทำการขับของเสียเหล่านั้นออกจากร่างกาย ซึ่งก็จะทำให้เกิดการสูญเสียน้ำไปพร้อมกับการกำจัดของเสียด้วย ดังนั้นจึงมักจะทำให้เกิดการกระหายน้ำเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิมนั่นเอง
ความผิดปกติของร่างกายที่มีความเกี่ยวข้องกับน้ำ
โดยปกติแล้วร่างกายของคนเราจะมีการรักษาสมดุลของน้ำให้คงที่อยู่เสมอ แต่ในบางครั้งก็อาจเกิดความผิดปกติได้เหมือนกัน ซึ่งความผิดปกติของร่างกายที่อาจเกิดขึ้นจากการได้รับน้ำก็มีดังนี้
1. ร่างกายขาดน้ำ
เมื่อร่างกายขาดน้ำ ไม่ว่าจะเป็นเพราะดื่มน้ำน้อยเกินไป หรือมีการสูญเสียน้ำออกจากร่างกายมากเกินปกติ ไม่ว่าจะเป็นการสูญเสียจากการออกกำลังกาย การอาเจียนและท้องสียอย่างรุนแรง การตกเลือด การมีแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก เพราะจะทำให้มีการสูญเสียน้ำทางผิวหนังมากขึ้น นอกจากนี้ในคนที่เป็นเบาหวานที่มักจะสูญเสียน้ำมากกว่าคนปกติเช่นกัน เพราะมีการปัสสาวะบ่อยครั้งโดยไม่สามารถควบคุมได้นั่นเอง ซึ่งการขาดน้ำเท่าไหร่จะมีผลกระทบที่แสดงออกมาอย่างไร ก็สามารถดูได้จากตารางดังต่อไปนี้
ตาราง อาหารที่แสดงเมื่อขาดน้ำ ต่อปริมาณน้ำที่ขาด
ร้อยละการสูญเสียน้ำผลที่เกิดขึ้น |
อาการ |
2 |
รู้สึกกระหายน้ำ |
4 |
กล้ามเนื้ออ่อนแรงและทำงานได้น้อยลง |
10-12 |
ทนต่อความร้อนได้น้อยลงและมีอาการอ่อนเพลีย |
20 |
อยู่ในอาการขั้นโคม่าและอาจตายได้ |
จากตารางสรุปได้ว่า เมื่อร่างกายมีการสูญเสียน้ำที่ร้อยละ 2 ของน้ำหนักตัว จะทำให้ปากและริมฝีปากแห้ง น้ำลายน้อยกว่าปกติ ซึ่งในบางคนอาจมีอาการริมฝีปากแห้งแตกเป็นขุยได้เลยทีเดียว นอกจากนี้ก็อาจมีอาการผิวแห้งและท้องผูกได้อีกด้วย และหากขาดน้ำที่ร้อยละ 4 ของน้ำหนักตัว ก็จะมีอาการอ่อนเพลียมากกว่าปกติ และอาจรู้สึกว่าไม่มีแรง ไม่ค่อยกระปรี้กระเปร่า นั่นก็เพราะนอกจากร่างกายจะสูญเสียน้ำแล้ว ยังมีการสูญเสียเกลือแร่ไปพร้อมๆ กับน้ำอีกด้วย เป็นผลให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง และมีอาการเมื่อยเกร็งไปทั้งตัว นอกจากนี้ในบางคนก็อาจมีอาการเวียนศีรษะ หน้า มืดบ่อยๆ ได้เหมือนกัน แต่หากขาดน้ำมากถึงร้อยละ 10-12 ของน้ำหนักตัว ก็จะส่งผลให้ร่างกายมีอาการอ่อนเพลียอย่างหนัก พร้อมกับไม่สามารถทนต่อความร้อนได้ โดยเฉพาะเมื่อมีการสูญเสียน้ำอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นการสูญเสียจากอาการท้องร่วงอย่างรุนแรงหรือการอาเจียนต่อเนื่อง เพราะภาวะดังกล่าวจะทำให้ร่างกายขาดความสมดุล น้ำในเซลล์ไหลออกมาข้างนอก และกระบวนการขับน้ำออกเกิดการหยุดชะงัก ซึ่งก็ส่งผลกระทบต่อสุขภาพไม่น้อย โดยหากมีการขาดน้ำมากอย่างต่อเนื่อง ก็อาจจะไปรบกวนระบบประสาท จนทำให้มีอาการเซื่องซึม ไม่ค่อยร่าเ
ริงและอาจถึงขั้นหมดสติได้เลยทีเดียว โดยในภาวะรุนแรงนี้จะต้องเร่งเสริมน้ำให้กับร่างกายโดยด่วน โดยอาจเป็นการนำน้ำเข้าทางปากหรือเข้าทางเส้นเลือดในกรณีที่ไม่สามารถดื่มน้ำได้ตามปกติ
2. ร่างกายได้รับน้ำมากเกินไป
นอกจากภาวะการขาดน้ำแล้ว การที่ร่างกายได้รับน้ำมากเกินไปก็อาจเกิดผลเสียตามมาอีกด้วย โดยเฉพาะการดื่มน้ำที่มีส่วนผสมอื่น เช่นเหล้าหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่างๆ เนื่องจากเครื่องดื่มเหล่านี้จะทำให้ไตต้องทำงานหนักในการพยายามขับของเสียออกมาพร้อมกับน้ำส่วนเกินนั่นเอง นอกจากนี้ก็อาจเกิดจากการดื่มน้ำในปริมาณมากภายในรวดเดียวอีกด้วย เพราะร่างกายอาจจะดูดซึมน้ำเข้าสู่กระแสเลือดไม่ทัน ทำให้หัวใจต้องทำงานหนักกว่าปกติเพื่อทำการขับน้ำส่วนเกินออกจากร่างกาย โดยหากขับน้ำออกจากร่างกายไม่ทัน น้ำก็จะข้าไปสู่เซลล์ต่างๆ จนทำให้มีอาการบวม และผลที่ตามมาก็คืออาการปวดหัว ชัก กระสับกระส่าย เป็นปอดบวมหรืออาจรุนแรงจนถึงขั้นหมดสติ นอกจากนี้การได้รับน้ำมากเกินไปก็อาจเกิดจากการให้น้ำเกลือในโรงพยาบาลที่ต้องให้น้ำเกลือเข้าสู่กระแสเลือด โดยหากไม่ควบคุมให้ดีก็จะทำให้เกิดอาการน้ำเป็นพิษได้
ดังนั้นจึงควรให้ร่างกายได้รับน้ำอย่างเหมาะสมเสมอ คือไม่น้อยและไม่มากเกินไป และเมื่อรู้สึกว่ากระหายน้ำก็ควรรีบดื่มน้ำบ่อยๆ ทันที แต่แนะนำให้ดื่มแบบจิบทีละนิด อย่าดื่มแบบรวดเดียวในปริมาณเยอะๆ เด็ดขาด ไม่อย่างนั้นก็จะเกิดผลเสียตามมานั่นเอง
อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง