Home Blog Page 109

ปลายประสาทอักเสบ สาเหตุ อาการ และการดูแลรักษา

0
ปลายประสาทอักเสบ อาจทำให้การทำงานของเส้นประสาทผิดปกติไม่สามารถส่งสัญญาณไฟฟ้าได้ปกติเกิดอาการต่าง ๆ
ปลายประสาทอักเสบ สาเหตุ อาการ และการดูแลรักษา
ปลายประสาทอักเสบ อาจทำให้การทำงานของเส้นประสาทผิดปกติไม่สามารถส่งสัญญาณไฟฟ้าได้ปกติเกิดอาการต่าง ๆ

ปลายประสาทอักเสบ

ปลายประสาทอักเสบ ( Peripheral Neuropathy ) คือ เป็นภาวะหนึ่งของระบบปลายประสาท ซึ่งทำหน้าที่รับสัญญาณจากสมองส่งไปยังไขสันหลังและอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย เมื่อปลายประสาทอักเสบทำให้การทำงานของเส้นประสาทผิดปกติไม่สามารถส่งสัญญาณไฟฟ้าได้ปกติเกิดอาการต่าง ๆ เช่น รู้สึกเจ็บแปลบๆ เจ็บคล้ายโดยไฟลน ตะคริว ชาตามมือเท้า กล้ามเนื้ออ่อนแรง กล้ามเนื้อกระตุกไม่สามารถควบคุมได้ ส่วนใหญ่พบในผู้สูงอายุ 55 ปีขึ้นไป

อาการปลายประสาทอักเสบ

อาการทั่วไปที่พบในผู้ป่วยจะแสดงอาการตามความรุนแรงของโรคปลายประสาทอักเสบ ดังนี้

  • เวียนศีรษะ
  • คลื่นไส้
  • อาเจียน
  • ท้องผูก
  • ท้องเสีย
  • น้ำหนักลด
  • กล้ามเนื้อกระตุก
  • กล้ามเนื้ออ่อนแรง
  • เป็นตะคริว ปวดเกร็ง
  • รู้สึกชาบริเวณมือ เท้า แขน และขา
  • ปัญหาเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ
  • หากอาการรุนแรง อาจทำให้ไม่สามารถขยับอวัยวะบางส่วนได้ เช่น มือ เท้า

สาเหตุปลายประสาทอักเสบ
จากการศึกษาพบว่าโรคเบาหวานเป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ ของผู้ป่วยปลายประสาทอักเสบและสาเหตุรองลงมา ได้แก่

  • การกดทับของเส้นประสาทบริเวณมือ
  • โรคภูมิคุ้มกัน
  • การได้รับสารพิษต่าง ๆ
  • โรคความผิดปกติทางพันธุกรรม
  • การติดเชื้อไวรัส เช่น เชื้อ HIV
  • การขาดวิตามิน เช่น วิตามินบี 1 วิตามินบี 6 และวิตามิน บี 12
  • การใช้ยาบางชนิด เช่น เคมีบำบัดในผู้ป่วยมะเร็ง ยาต้านไวรัสในผู้ติดเชื้อเอชไอวี
  • การบาดเจ็บ เช่น อุบัติเหตุทางรถยนต์
  • การสูบบุหรี่ และดื่มแอลกอฮอล์มากเป็นเวลาหลายปี

เมื่อไหร่จึงควรพบแพทย์

หากคุณมีอาการชาบริเวณมือ หรือเท้า กล้ามเนื้ออ่อนแรง รู้สึกเจ็บปวดมากกว่าปกติ ควรรีบไปพบแพทย์ทันที

การตรวจปลายประสาทอักเสบ

แพทย์ทำการซักประวัติผู้ป่วยประวัติครอบครัว อาการ ตำแหน่งการเกิดของโรคปลายประสาทอักเสบ ร่วมกับการตรวจร่างกาย ตรวจเลือด ตรวจเส้นประสาทด้วยไฟฟ้า ตรวจการทำงานของกล้ามเนื้อ และการเอกซเรย์เพื่อดูความเสียหายของเส้นประสาท หากพบความรุนแรงของอาการปลายประสาทอักเสบต้องทำการรักษาทันที

การรักษาปลายประสาทอักเสบ

แพทย์จะประเมินวิธีการรักษาขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ และตำแหน่งของปลายประสาทอักเสบ ซึ่งมุ่งเน้นการฟื้นฟูเส้นประสาทให้กับมาทำงานได้ปกติ

การรักษาทั่วไป

  • อาบน้ำอุ่น ช่วยให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น ลดอาการชา และความเจ็บปวดได้
  • ควบคุมน้ำหนัก และระดับน้ำตาลในเลือดให้เหมาะสม
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสสารเคมีที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองได้
  • รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ช่วยป้องกันการขาดวิตามิน
  • ลดการสูบบุหรี่
  • ลดการดื่มแอลกอฮอล์
  • การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้กล้ามเนื้อแข็งแรง การบำบัด
  • การกระตุ้นเส้นประสาทด้วยไฟฟ้า
  • กายภาพบำบัดฟื้นฟูกล้ามเนื้อ
  • การผ่าตัด การใช้ยา
  • ให้ยาแก้ปวด ยาลดการอักเสบ
  • ทายาและนวดเบา ๆ
  • ฉีดยา

ภาวะแทรกซ้อนของปลายประสาทอักเสบ

ความเสียหายของเส้นประสาทที่ส่งผลให้เกิดปลายประสาทอักเสบ อาจเสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อนที่รุนแรง เช่น แผลที่เท้า การติดเชื้อจนทำให้เกิดเนื้อตาย และยังส่งผลกระทบต่อเส้นประสาทที่ควบคุมการทำงานของหัวใจ รวมทั้ง

การไหลเวียนขอระบบโลหิต

การป้องกันปลายประสาทอักเสบ คุณสามารถลดความเสี่ยงของอาการปลายประสาทอักเสบเหล่านี้ได้โดย หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ ทานอาหารที่มีประโยชน์เพื่อป้องกันการขาดวิตามิน ควบคุมน้ำหนักให้เหมาะสม หลีกเลี่ยงการสัมผัสสารพิษ และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

หากคุณเสี่ยงต่อการเกิดโรคปลายประสาทอักเสบ ควรรับการตรวจสุขภาพประจำปีสม่ำเสมอ เมื่อพบอาการผิดปกติควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาทันที สามารถลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับเส้นประสาททำให้มีโอกาสหายเป็นปกติได้มากขึ้นอีกด้วย

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

สาเหตุของโรคฟีนิลคีโตนูเรีย พร้อมทั้ง อาการ และ การรักษา

0
โรคฟีนิลคีโตนูเรีย อาการ สาเหตุ และการดูแลรักษา
โรคฟีนิลคีโตนูเรีย ( Phenylketonuria ) เป็น โรคทางพันธุกรรมมีการถ่ายทอดยีนด้อยเกิดจากความผิดปกติของระบบเผาผลาญ

โรคฟีนิลคีโตนูเรีย

โรคฟีนิลคีโตนูเรียเกิดจากความผิดปกติของระบบเผาผลาญที่ถ่ายทอดยีนด้อย โดยพบได้น้อยในประเทศไทยประมาณ 1 คนต่อ 2 แสนคน ผู้ป่วยจะไม่สามารถสลายกรดอะมิโนฟีนิลอะลานีน ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการสร้างโปรตีนและเจริญเติบโตของสมอง กรดอะมิโนนี้จะเปลี่ยนเป็นไทโรซีนที่ช่วยในการส่งสัญญาณระหว่างเซลล์ประสาทและสมอง การได้รับฟีนิลอะลานีนจากอาหารที่มีโปรตีนสูง เช่น ไก่ นม ถั่วลิสง อะโวคาโด และกล้วย จะทำให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพ

อาการของโรคฟีนิลคีโตนูเรีย

  • อาการของโรคฟีนิลคีโตนูเรียชัก
  • ตัวสั่น
  • สมาธิสั้น
  • ทารกจะมีพัฒนาการช้า
  • ปัญญาอ่อนขั้นรุนแรง
  • ผิวหนังซีด และผมเปลี่ยนสี
  • ลมหายใจ ผิวหนัง มีกลิ่นสาบ
  • ร่างกายเจริญเติบโตช้ากว่าปกติ หรือแคระแกรน

สาเหตุของโรคฟีนิลคีโตนูเรีย

เกิดจากความบกพร่องในยีนที่ช่วยสร้างฟีนิลอะลานีนไฮดรอกซีเลส เมื่อเอนไซม์หายไปร่างกายจะไม่สามารถทำลายฟีนิลอะลานีนได้ทำให้เกิดการสะสมของฟีนิลอะลานีนในร่างกายมากเกินไป อาจเป็นอันตรายนำไปสู่ความเสียหายของประสาทและสมอง เช่น ด้านพฤติกรรม ด้านจิตเวช ด้านพัฒนาการ เป็นต้น

การตรวจโรคฟีนิลคีโตนูเรีย

การตรวจโรคฟีนิลคีโตนูเรียแพทย์จะทำการเก็บตัวอย่างปัสสาวะ และเลือดด้วยการเจาะส้นเท้าของทารกหลังคลอด 2 วัน และส่งตรวจทางห้องแลปจะทราบผลประมาณ 1 เดือน หากผลตรวจออกมาพบว่า ค่าฟีนิลอะลานีนในเลือดเกิน 20 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ แสดงว่าเป็นโรคฟีนิลคีโตนูเรีย

การรักษาโรคฟีนิลคีโตนูเรีย

แพทย์จะทำการรักษามุ่งเน้นเพื่อลดระดับของฟีนิลอะลานีนลงให้ได้มากที่สุด และป้องกันไม่ให้เกิดเป็นภาวะปัญญาอ่อน และภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ในทารกที่เป็นโรคฟีนิลคีโตนูเรีย ข้อควรปฏิบัติดังนี้

  • หลีกเลี่ยงอาหารที่มีโปรตีนสูง เช่น เนื้อสัตว์ ไข่ นม ชีส ถั่วเหลือง ไก่ ปลา
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่มีสารให้ความหวาน เช่น น้ำตาลเทียม น้ำอัดลม โซดา
  •  ควรเสริมกรดอะมิโนที่มีสารอาหารจำเป็นต่อร่างกาย
  • ทารกที่เป็นโรคฟีนิลคีโตนูเรีย ต้องดื่มนมพิเศษที่สกัดสารฟีนิลอะลานีนออกไปแล้ว
  • ยา วิตามิน หรืออาหารบางชนิดอาจมีสารให้ความหวาน มีกรดอะมิโน หรือนมผง
    พร่องมันเนย ควรสอบถามอย่างละเอียดก่อนซื้อทุกครั้ง

การป้องกันโรคฟีนิลคีโตนูเรีย

แพทย์จะแนะนำให้พ่อแม่ที่เคยมีบุตรคนแรกเป็นโรคฟีนิลคีโตนูเรียมาแล้ว หากต้องการมีบุตรคนต่อไป ควรมาพบแพทย์เพื่อตรวจคัดกรองโรคฟีนิลคีโตนูเรียก่อน

แม้โรคฟีนิลคีโตนูเรียจะไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถป้องกันไม่ให้เกิดภาวะปัญญาอ่อนในเด็กที่เป็นโรคฟีนิลคีโตนูเรีย ยังช่วยให้เด็กมีพัฒนาการและสติปัญญาเหมือนเด็กปกติได้

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

วิธีลดกลิ่นตัว ทำยังไงให้กลิ่นตัวอันไม่พึงประสงค์หายไป

0
วิธีลดกลิ่นตัว ทำยังไงให้กลิ่นตัวอันไม่พึงประสงค์หายไป
กลิ่นตัว ( Body odor ) เกิดจากต่อมกลิ่นบริเวณข้อพับต่างๆ ซึ่งต่อมเหงื่อมี 2 ประเภทได้แก่ ต่อมเอกไครน์ ( eccrine glands ) และต่อมอะโพไครน์ ( apocrine glands )
วิธีลดกลิ่นตัว ทำยังไงให้กลิ่นตัวอันไม่พึงประสงค์หายไป
กลิ่นตัว เกิดจากต่อมกลิ่นบริเวณข้อพับต่างๆ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ทุกเพศทุกวัยโดยเฉพาะช่วงวัยรุ่น

กลิ่นตัว

กลิ่นตัว ( Body Odor ) เกิดจากต่อมกลิ่นบริเวณข้อพับต่างๆ ซึ่งต่อมเหงื่อมี 2 ประเภทได้แก่ ต่อมเอกไครน์ ( eccrine glands ) ทำหน้าที่ควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย และ ต่อมอะโพไครน์ ( apocrine glands ) ทำหน้าที่ขับของเสียออกมา ซึ่งมีการตอบสนองต่อความเครียด รู้สึกกังวล และอาหารที่รับประทานเข้าไป พบมากบริเวณรักแร้ ฝ่าเท้า ขาหนีบ กลิ่นตัวไม่พึ่งประสงค์สามารถเกิดขึ้นได้ทุกเพศทุกวัยโดยเฉพาะช่วงวัยรุ่น

สาเหตุของการเกิดกลิ่นตัว

  • ภาวะเครียด
  • พักผ่อนไม่เพียงพอ
  • การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนทำให้ร่างกาย
  • รับประทานอาหารที่มีกลิ่นฉุน เช่น กระเทียม หัวหอม สะตอ ชะอม พริกไทย ขมิ้น เนื้อแดง แอลกอฮอล์ เป็นต้น

การกำจัดกลิ่นตัว

  • ควรรักษาความสะอาดร่างกาย โดยการอาบน้ำ ล้างรักแร้บ่อย ๆ อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง
  • หลีกเลี่ยงสถานที่ร้อนชื้น
  • หลีกเลี่ยงอาหารกลิ่นฉุน เช่น กระเทียม หัวหอม สะตอ ชะอม พริกไทย ขมิ้น เนื้อแดง แอลกอฮอล์ เป็นต้น
  • หมั่นทำความสะอาดเสื้อผ้าเพื่อลดแบคทีเรียและกลิ่นอับชื้น
  • หมั่นโกนขนรักแร้เพื่อป้องกันการสะสมของแบคทีเรีย
  • ใช้ผลิตภัณฑ์สำหรับรักแร้ที่มีคุณสมบัติระงับกลิ่นกายตลอดวัน ลดเหงื่อ
  • ควรล้างพิษในร่างกายโดยการดีท็อกซ์อย่างน้อยอาทิตย์ละ 1 ครั้ง

เนื่องจากปัญหากลิ่นตัวแรงเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุอวัยวะที่มีต่อมเหงื่อมากที่สุดคือรักแร้ เป็นสาเหตุทำให้เกิดกลิ่นตัวแรงดังนั้นวิธีลดกลิ่นตัวควรดูแลความสะอาดบริเวณรักแร้เป็นพิเศษ เพื่อลดแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดกลิ่นตัวแรงได้

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เท้าเหม็น ดับกลิ่นเท้าอันไม่พึงประสงค์ได้ด้วยตัวเองที่บ้าน

0
เท้าเหม็น ( Smelly Feet ) เกิดจากต่อมเหงื่อบริเวณฝ่าเท้ามีการขับเหงื่อออกมาเยอะ เกิดการหมักหมมของเหงื่อ ทำให้แบคทีเรียและเชื้อราเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว
เท้าเหม็น ดับกลิ่นเท้าอันไม่พึงประสงค์ได้ด้วยตัวเองที่บ้าน
เท้าเหม็น ( Smelly Feet ) เกิดจากต่อมเหงื่อบริเวณฝ่าเท้ามีการขับเหงื่อออกมาเยอะ เกิดการหมักหมมของเหงื่อ ทำให้แบคทีเรียและเชื้อราเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว

เท้าเหม็น

เท้าเหม็น ( Smelly Feet ) เกิดจากต่อมเหงื่อบริเวณฝ่าเท้ามีการขับเหงื่อออกมาเยอะ อาจเนื่องจากอากาศร้อน ใส่รองเท้าเล็กเกินไป จึงเกิดการหมักหมมของเหงื่ออยู่ในรองเท้าเป็นระยะเวลานานๆ ทำให้แบคทีเรียและเชื้อราเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วได้เป็นอย่างดี เมื่อรองเท้าไม่ได้รับการทำความสะอาดหรือตากให้แห้งทำให้เกิดกลิ่นเท้าเหม็นได้ ส่วนใหญ่มักพบในนักกีฬา พนักงานออฟฟิศที่ใส่รองเท้าเป็นเวลานานๆ

วิธีดับกลิ่นเท้า และป้องกันเท้าเหม็น

  • ล้างเท้าด้วยสบู่แอนตี้แบคทีเรียวัน 1 ครั้ง
  • หลีกเลี่ยงการใส่รองเท้าที่คับ อับชื้น หรือเปียก
  • ควรมีรองเท้า 2 คู่ ใส่สลับกันตากให้แห้งอย่างน้อย 1 วัน
  • ควรเลือกถุงเท้าเป็นผ้าฝ้าย ช่วยระบายอากาศได้ดี
  • ควรเช็ดเท้าให้แห้งก่อนสวมใส่ถุงเท้า รองเท้าทุกครั้ง
  • ตัดเล็บเท้าให้สั้น และทำความสะอาดเป็นประจำ
  • ขัดเซลล์ผิวที่ตายหรือแข็งออกจากเท้า
  • รักษาความสะอาดของเท้าเป็นประจำ
  • ใช้แป้งฝุ่นทาบาง ๆ บริเวณเท้าก่อนใส่ถุงเท้า
  • ใช้แปรงขนนุ่มชุบเบกกิ้งโซดาที่ผสมกับน้ำอุ่น ขัดเบา ๆ ตามซอกนิ้ว เล็บ เพื่อลดการสะสมของแบคทีเรีย
  • ใช้สเปรย์ระงับกลิ่นเท้า

เท้าเหม็นเป็นปัญหาที่พบบ่อยเป็นสิ่งน่าอาย กังวลจนกระทั่งขาดความมั่นใจในตัวเอง ส่งผลกระทบต่อตนเองและผู้คนรอบข้าง เท้าเหม็นเกิดจากแบคทีเรียที่สะสมอยู่ในรองเท้าเป็นเวลานานทำให้เกิดกลิ่นไม่พึงประสงค์ขึ้นได้ หากมีอาการรุนแรงควรพบแพทย์เพื่อตรวจโรคแทรกซ้อนอื่นๆ เช่น ภาวะเหงื่อออกมากผิดปกติ

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

ห้อเลือด เกิดจากสาเหตุอะไร และดูแลรักษาอย่างไร

0
ห้อเลือด เกิดจากสาเหตุอะไร และดูแลรักษาอย่างไร
ห้อเลือดเป็นลักษณะเลือดออกใต้เล็บมือหรือเล็บเท้า ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ เมื่อนิ้วมือหรือนิ้วเท้าของคุณถูกสิ่งของที่มีน้ำหนักมาก ๆ หล่นทับกระแทกอย่างแรง
ห้อเลือด เกิดจากสาเหตุอะไร และดูแลรักษาอย่างไร
ห้อเลือดเป็นลักษณะเลือดออกใต้เล็บมือหรือเล็บเท้า ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ เมื่อนิ้วมือหรือนิ้วเท้าของคุณถูกสิ่งของที่มีน้ำหนักมาก ๆ หล่นทับกระแทกอย่างแรง

ห้อเลือด

ห้อเลือด ( Subungual Hematoma ) เป็น ลักษณะเลือดออกใต้เล็บมือหรือเล็บเท้า ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ เมื่อนิ้วมือหรือนิ้วเท้าของคุณถูกสิ่งของที่มีน้ำหนักมาก ๆ หล่นทับกระแทกอย่างแรง แต่ก็พบอาการห้อเลือดบวมจำนวนไม่น้อยจากคนที่เดินหรือวิ่งบ่อย ๆ ซึ่งเล็บเท้าถูกเสียดสีกับรองเท้าที่มีขนาดเล็กเกินไป เช่น นักวิ่งมาราธอน นักเดินทางไกลมีความเสี่ยงสูงที่จะได้รับบาดเจ็บแบบเฉียบพลันได้

>> เท้าเหม็นเป็นปัญหาที่พบบ่อย ซึ่งวันนี้เรามีวิธีป้องกันเท้าเหม็นมาฝากกันค่ะ

>> อาการที่เกิดขึ้นและพบได้บ่อยที่เล็บเกิดขึ้นจากอะไร มาดูกันค่ะ

อาการและสาเหตุของห้อเลือด

ห้อเลือด มีลักษณะเป็นสีม่วงเข้มหรือสีดำทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ส่วนใหญ่ห้อเลือดเกิดจากอุบัติเหตุบริเวณห้อเลือดที่นิ้วมือ นิ้วเท้าถูกสิ่งของหล่นทับหรือกระแทกอย่างแรง เช่น ประตูหนีบ ของแข็งหล่นกระแทก ถูกค้อนตีนิ้วมือ ใส่รองเท้าคับเกินไป รวมถึงอุบัติเหตุจากการใช้ชีวิตประจำวันของเรานั่นเอง

การวินิจฉัยอาการห้อเลือด

  • แพทย์จะตรวจดูบริเวณนิ้วมือหรือนิ้วเท้าที่ได้รับบาดเจ็บเกิดรอยห้อเลือดโดยรอบอย่างละเอียด เพื่อประมาณอาการเบื้องต้น
  • หากพบห้อเลือดบริเวณนิ้วมือ นิ้วเท้าขนาดใหญ่ อาจต้องเอกซเรย์เพื่อดูการแตกหักของกระดูกว่ามีหรือไม่

ควรไปพบแพทย์เมื่อใด

สังเกตเห็นห้อเลือดคั่งใต้ผิวหนังที่มีขนาดใหญ่ และก่อให้เกิดอาการปวด บวมแดง มีหนอง มีกลิ่นเหม็น บริเวณปลายเล็บมีเลือดออกหรือเล็บหลุดออก ควรไปพบแพทย์จำเป็นต้องได้รับการรักษา

การรักษาอาการห้อเลือด

หากมีรอยช้ำห้อเลือดที่นิ้วซึ่งมีขนาดเล็กและไม่มีอาการเจ็บปวดก็ไม่ต้องรักษา หรือรักษาห้อเลือดด้วยตนเองง่าย ๆ เพียงใช้ผ้าขนหนูบาง ๆ ห่อน้ำแข็งประคบเย็นบริเวณที่รอยช้ำห้อเลือดประมาณ 1-2 วันแรก หรือจนกว่าอาการปวด บวมจะหายไป แต่หากห้อเลือดมีขนาดใหญ่เกิดการอักเสบรู้สึกเจ็บปวด บวมแดง ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการเอ็กซ์เรย์ดูว่ามีการแตกหักของกระดูกหรือไม่ หรือเจาะระบายเลือดออก ใส่เฝือก หากอาการรุนแรงมากต้องถอดเล็บออก หากปล่อยทิ้งไว้เล็บของคุณอาจเป็นหนองและหลุดออกในที่สุด

ห้อเลือดเป็นอาการที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ซึ่งหากมีอาการรุนแรงควรไปพบแพทย์จำเป็นต้องได้รับการรักษานะคะ

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

ภูมิแพ้ผิวหนัง เกิดจากสาเหตุอะไร และดูแลรักษาอย่างไร

0
โรคภูมิแพ้ผิวหนัง เกิดจากสาเหตุอะไร และดูแลรักษาอย่างไร
โรคภูมิแพ้ผิวหนัง เป็นโรคที่สามารถเกิดขึ้นได้ทุกเพศทุกวัยมีผื่นบวมแดงและคัน มีตุ่มแดง ตุ่มน้ำ บางรายอาจมีน้ำเหลืองไหลซึมออกมา
โรคภูมิแพ้ผิวหนัง เกิดจากสาเหตุอะไร และดูแลรักษาอย่างไร
โรคภูมิแพ้ผิวหนัง เป็นโรคที่สามารถเกิดขึ้นได้ทุกเพศทุกวัยมีผื่นบวมแดงและคัน มีตุ่มแดง ตุ่มน้ำ บางรายอาจมีน้ำเหลืองไหลซึมออกมา

ภูมิแพ้ผิวหนัง

ภูมิแพ้ผิวหนัง ( Skin-Allergies ) คือ จะมีผื่นบวมแดงและคัน มีตุ่มแดง ตุ่มน้ำ บางรายอาจมีน้ำเหลืองไหลซึมออกมา สามารถเกิดขึ้นกับผิวหนังได้ทุกเพศทุกวัย จากสถิติส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นกับเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ประมาณร้อยละ 10 เกิดจากหลายสาเหตุ เช่น ผื่นแพ้ผิวหนัง ผิวแพ้ฝุ่น ภูมิแพ้เหงื่อตัวเอง ภูมิแพ้ โรคภูมิแพ้ตัวเอง ภูมิแพ้อากาศ แพ้ฝุ่น การแพ้อาหาร

อาการของภูมิแพ้ผิวหนัง

  • มีตุ่มน้ำใสๆ
  • ผิวหนังแห้ง
  • คันบริเวณที่ผื่น
  • ผิวหนังเกิดผื่นแดง
  • ผิวหนังหนาและมีรอยคล้ำ
  • มีเหงื่อออกอาการคันจะเพิ่มมากขึ้น
  • อาจมีน้ำเหลืองไหลซึมออกมา

จุดสังเกตและตำแหน่งที่พบได้บ่อย

มักจะพบผื่นผิวหนังอักเสบบ่อยบริเวณใบหน้า ซอกคอ ข้อพับแขน ข้อพับขา ข้อศอก ข้อเข่าและด้านนอกของแขนขา
ภูมิแพ้ผิวหนังในแต่ละช่วงวัย
แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
1. ทารกระหว่างอายุ 2 เดือน
2. เด็กเล็กอายุระหว่าง 2-12 ปี
3. วัยรุ่นและผู้ใหญ่

การตรวจภูมิแพ้ผิวหนัง

  • แพทย์จะซักประวัติผู้ป่วยผื่นเริ่มเมื่อใด ระยะเวลาที่นานเท่าไหร่ ตำแหน่งของภูมิแพ้ผิวหนัง สิ่งแวดล้อมที่อาจก่อให้เกิดผื่น ซักประวัติครอบครัว ประวัติการแพ้อาหาร และตรวจร่างกายอย่าง
    ละเอียด เช่น อาการคันจมูก จาม น้ำมูกไหล หอบเหนื่อย หายใจมีเสียงวี้ด เป็นต้น

การดูแลรักษาภูมิแพ้ผิวหนัง

โดยแพทย์จะเลือกใช้วิธีการรักษาขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงปานกลางถึงรุนแรงมาก และในรายที่
ไม่ตอบสนองต่อการรักษาโดยใช้วิธีต่อไปนี้

  • การใช้ยาทาลดการอักเสบของผิวหนัง ลดผื่นแดง
  • การให้ยารับประทาน
  • การฉีดยา

การป้องกันการเกิดภูมิแพ้ผิวหนัง

  • หลีกเลี่ยงการเกา หรือสัมผัสกับบริเวณที่มีผื่นคัน
  • หลีกเลี่ยงสารเคมีที่ทำให้อาการกำเริบ เช่น ผงซักซอก น้ำยาปรับผ้านุ่ม น้ำหอม
  • ควรดูแลความสะอาดร่างกายและมืออย่างสม่ำเสมอ
  • ควรระวังอาหารบางชนิดที่ก่อให้เกิดอาการแพ้
  • หลีกเลี่ยงกิจกรรมหรือการออกกำลังกายที่ทำให้เหงื่อเยอะ

วิธีรักษาภูมิแพ้ผิวหนัง และการดูแล

โดยแพทย์จะเลือกใช้วิธีการรักษาขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงปานกลางถึงรุนแรงมาก และในรายที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาโดยใช้วิธีต่อไปนี้

  • การใช้ยาทาแก้แพ้ผิวหนัง ลดการอักเสบ
  • การให้รับประทานยาแก้ภูมิแพ้ผิวหนัง เพื่อลดภูมิแพ้ผิวหนังที่มีอาการคัน ปวด บวมแดง
  • การฉีดยา

เนื่องจากผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมีประวัติภูมิแพ้ในครอบครัว เช่น แพ้อากาศ ไอ จาม หอบหืด หรือมีผิวหนังอักเสบภูมิแพ้ร่วมด้วย แต่ผู้ที่ไม่มีประวัติภูมิแพ้ในครอบครัวก็อาจเป็นโรคนี้ได้เช่นเดียวกัน ผู้ป่วยที่คิดจะซื้อยาแก้ภูมิแพ้ หรืออาหารเสริมสำหรับโรคภูมิแพ้ผิวหนังมารับประทานเอง ควรขอคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชเพื่อความปลอดภัยของตัวท่านเอง

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เล็บอักเสบ เกิดจากสาเหตุอะไร และดูแลรักษาอย่างไร

0
เล็บอักเสบ เกิดจากสาเหตุอะไร และดูแลรักษาอย่างไร
เล็บอักเสบ คือการติดเชื้อของผิวหนังระหว่างโคนเล็บมือหรือเล็บเท้า โดยผิวหนังรอบเล็บจะบวมแดง หรืออักเสบจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่รุนแรงจะเริ่มเป็นหนองสีเหลืองขุ่น ติดเชื้อราชนิดแคนดิดาจะเป็นหนองสีขาวขุ่น มีกลิ่นเหม็น
เล็บอักเสบ เกิดจากสาเหตุอะไร และดูแลรักษาอย่างไร
การอักเสบของเล็บ คือการติดเชื้อของผิวหนังระหว่างโคนเล็บมือหรือเล็บเท้า โดยผิวหนังรอบเล็บจะบวมแดง  เป็นหนอง และมีกลิ่นเหม็น

เล็บอักเสบ

เล็บอักเสบ (Paronychia) เป็น การติดเชื้อของผิวหนังระหว่างโคนเล็บมือหรือเล็บเท้า สังเกตได้ชัดเมื่อเล็บมีการอักเสบเนื้อเยื่อบริเวณที่ติดเชื้อมักจะปรากฏอาการผิวหนังรอบเล็บบวมแดงขึ้นรู้สึกปวดตุบ ๆ บางครั้งเล็บเกิดการอักเสบจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่รุนแรงจะเริ่มเป็นหนองสีเหลืองขุ่น ติดเชื้อราชนิดแคนดิดาจะเป็นหนองสีขาวขุ่น มีกลิ่นเหม็น พบได้บ่อยในผู้ที่มีอาชีพต้องอยู่กับน้ำหรือพื้นที่เปียกชื้นเป็นเวลานาน เช่น แม่ครัว พ่อค้าแม่ค้าตามตลาดสด พนักงานล้างจาน เป็นต้น

อาการของเล็บที่อักเสบ

  • ผิวหนังรอบเล็บมีการอักเสบจะปวดตุบ ๆ บวมแดง กดเจ็บ
  • ถ้าพบการติดเชื้อแบคทีเรียจะเป็นหนองสีเหลือง หรือสีเขียว
  • เล็บที่อักเสบจากการติดเชื้อราแคนดิดาจะเป็นหนองสีขาวขุ่น มีกลิ่นเหม็น

สาเหตุของการเกิดเล็บที่อักเสบ

  • การเล็บพิการมาแต่กำเนิด
  • การขาดสารอาหาร เช่น วิตามิน โปรตีน
  • การติดเชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย
  • เล็บได้รับบาดเจ็บจากถูกกระแทก
  • มือหรือเท้ามักเปียกชื้นอยู่บ่อยครั้ง

วิธีการดูแลรักษาเล็บที่อักเสบ

การรักษาเล็บมีหลายวิธี เช่น
1. ควรดูแลรักษาความสะอาดเล็บมือเล็บเท้า
2. ควรใส่ถุงมือ รองเท้าบูทกันน้ำหากต้องสัมผัสกับน้ำบ่อย ๆ
3. หากมือแห้งควรใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิว
4. การใช้ยาปฏิชีวนะ ช่วยบรรเทาอาการอักเสบลดอาการปวดบวมได้
5. การใช้ยาทาภายนอกเพื่อรักษาเชื้อรา
6. หลีกเลี่ยงการกัดเล็บ
7. ควรตัดเล็บให้สั้น
8. หลีกเลี่ยงการแช่มือหรือเท้าในน้ำเป็นเวลานาน
9. หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสารที่ก่อให้เกิดการระคายเคือง

อย่างไรก็ตามแม้การอักเสบที่เล็บเป็นการติดเชื้อที่ไม่รุนแรง หากไม่ดูแลรักษาความสะอาดอย่างสม่ำเสมออาจส่งผลให้เล็บที่อักเสบติดเชื้อแบบเรื้อรังมีอาการรุนแรงมากขึ้นได้การรักษาก็จะใช้เวลานานออกไปอีก

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

ผึ้งต่อย บรรเทาอาการด้วยวิธีง่ายๆ วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น

0
ผึ้งต่อย บรรเทาอาการด้วยวิธีง่ายๆ วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น
ผึ้งต่อย บรรเทารักษาอาการจากการโดนผึ้งต่อยอย่างไร
ผึ้งต่อย ( Bee Sting ) คือ อาการที่ผู้ป่วยถูกผึ้งซึ่งเป็นแมลงที่มีเหล็กในต่อย หรืออาจฝังเหล็กในลงบนผิวหนัง คล้ายถูกเข็มแทง รู้สึกปวด ร้อน หรือคันบริเวณที่ถูกต่อยจนเป็นตุ่มบวมขึ้น โดยมีจุดสีแดงอยู่ตรงกลาง

ผึ้งต่อย

ผึ้งต่อย (Bee Sting) คือ อาการที่เกิดจากการที่ผึ้งใช้เหล็กในต่อยหรือฝังเหล็กในลงบนผิวหนัง ทำให้รู้สึกปวด ร้อน หรือคันในบริเวณที่ถูกต่อย หากมีอาการแพ้จะเห็นตุ่มบวมและจุดสีแดงกลางตุ่ม อาการมักจะดีขึ้นเองภายในไม่กี่ชั่วโมง แต่บางคนอาจมีอาการรุนแรงจากการแพ้พิษผึ้ง ซึ่งเหล็กในของผึ้งเป็นโปรตีนที่กระทบต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ในกรณีผู้ป่วยโรคภูมิแพ้พิษผึ้ง อาจเกิดอาการรุนแรงถึงขั้นเสี่ยงชีวิต ดังนั้น ควรปฐมพยาบาลเบื้องต้นและสังเกตอาการแพ้เพื่อเข้ารับการรักษาโดยเร็ว

อาการผึ้งต่อยทั่วไป

  • รู้สึกคล้ายถูกเข็มแทง รู้สึกปวด ร้อน หรือคันบริเวณที่โดนต่อย
  • เกิดเป็นตุ่มบวมขึ้นมา ซึ่งมีจุดสีแดงอยู่ตรงกลางและมีผิวหนังสีขาวอยู่โดยรอบ
  • ตุ่มบวมแดงอย่างเห็นได้ชัด
  • บริเวณที่โดนผึ้งต่อยขยายบวมโตขึ้นในวันถัดมา

อาการแพ้ผึ้งต่อยจากพิษเหล็กในอย่างรุนแรง

  • อาการแพ้ผึ้งต่อยจากพิษเหล็กในอย่างรุนแรงอาการปวด บวม แดง คัน ไม่ยุบภายใน 6 ชั่วโมง
  • ผิวหนังมีผดผื่นคันสีแดง หรือผิวซีดขาว
  • อ่อนเพลีย หมดแรง มีไข้
  • แน่นหน้าอก หายใจลำบาก หายใจไม่ออก หรือหายใจมีเสียงหวีด
  • เสียงแหบ พูดจาติดขัด
  • ลิ้นบวม คอบวม
  • หัวใจเต้นแรง ชีพจรเต้นเร็ว
  • คลื่นไส้ อาเจียน หรือท้องร่วง
  • วิงเวียนศีรษะ หน้ามืด เป็นลม ไม่รู้สึกตัว หมดสติ
  • กระวนกระวาย
  • มีอาการชัก

สาเหตุผึ้งต่อย

สาเหตุที่ผึ้งจะต่อยนั้นเกิดจากการที่ผึ้งป้องกันตัวจากการรบกวนของมนุษย์ และหลังจากปล่อยเหล็กในแล้ว ผึ้งบางชนิดก็จะตาย โดยในการต่อยแต่ละครั้ง ผึ้งอาจปล่อยเหล็กในฝังอยู่ในผิวหนังของมนุษย์ ผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้ที่แพ้เหล็กในของผึ้ง พิษจากเหล็กในจะยิ่งส่งผลให้เกิดอาการที่รุนแรงยิ่งขึ้นไปอีก

ผู้ที่มีความเสี่ยงโดนผึ้งต่อย

  • ผู้ที่อยู่อาศัยในบริเวณที่มีผึ้งทำรังอยู่ หรือไปอยู่ใกล้ ๆ รังผึ้ง
  • ผู้ที่อยู่นอกบ้าน หรือทำงานนอกสถานที่ ไม่ได้อยู่ในที่พักอาศัยที่ปิดมิดชิด

ผู้มีความเสี่ยงเกิดอาการอย่างรุนแรงจากผึ้งต่อย

  • ผู้มีความเสี่ยงเกิดอาการอย่างรุนแรงจากผึ้งต่อยผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ที่แพ้เหล็กในของผึ้ง
  • ผู้ที่ถูกผึ้งต่อยหลาย ๆ จุดในร่างกาย

การวินิจฉัยอาการผึ้งต่อย

เมื่อผู้ป่วยไปพบแพทย์หลังถูกผึ้งต่อย นอกจากการตรวจร่างกายเพื่อดูปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นตามบริเวณที่ถูกผึ้งต่อยแล้ว หากแพทย์มีข้อสงสัยว่าผู้ป่วยอาจมีอาการแพ้พิษจากเหล็กใน

แพทย์อาจตรวจวินิจฉัยด้วยวิธีการดังต่อไปนี้

1. ทดสอบผิวหนัง แพทย์อาจใช้ชุดทดสอบภูมิแพ้ ด้วยการฉีดสารก่อภูมิแพ้ที่เป็นสารพิษจากผึ้งไปบนผิวหนังบริเวณแขนหรือแผ่นหลังด้านบนเพียงเล็กน้อย แล้วรอดูปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นบนผิวหนังบริเวณนั้น วิธีการนี้จะไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้ที่รุนแรง แต่ผู้ที่แพ้ต่อสารจริง จะปรากฏเป็นตุ่มนูนขึ้นมา
2. ตรวจเลือด แพทย์อาจนำตัวอย่างเลือดไปตรวจในห้องปฏิบัติการ เพื่อตรวจหาระดับภูมิคุ้มกันในเลือดที่เพิ่มขึ้นในการต้านพิษจากเหล็กในผึ้ง

ผึ้งต่อยทําไงให้หายบวม

การรักษาผึ้งต่อยในผู้ที่ไม่มีอาการแพ้รุนแรงมาก เบื้องต้นสามารถทำได้ดังนี้

1. หากเหล็กในอยู่ในตำแหน่งที่มองเห็นได้ชัด ผู้ป่วยควรพยายามบีบผิวโดยรอบเพื่อดันเหล็กในออกมาให้เร็วที่สุด
2. ล้างทำความสะอาดผิวบริเวณที่ถูกผึ้งต่อยด้วยสบู่และน้ำสะอาด
3. ใช้น้ำแข็งหรือผ้าเย็นวางประคบในบริเวณที่ถูกผึ้งต่อย
4. หากถูกผึ้งต่อยบริเวณแขนหรือขา ให้ยกแขนหรือขาขึ้น หรือวางแขนขาไว้บนระดับที่สูงกว่าปกติ
5. หากสวมใส่เครื่องประดับอยู่ ให้ถอดเครื่องประดับออก เพราะอาจเกิดอาการบวมจนยากต่อการถอดเครื่องประดับในภายหลัง
6. ไม่เกาบริเวณที่ถูกผึ้งต่อย เพราะจะยิ่งทำให้อาการแย่ลง และเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อ
7. บรรเทาอาการปวดด้วยการรับประทานยาแก้ปวดที่หาซื้อได้ตามร้านขายยา เช่น พาราเซตามอล ไอบูโพรเฟน แอสไพริน ( ห้ามใช้แอสไพรินในผู้ป่วยที่มีอายุต่ำกว่า 19 ปีเด็ดขาด )
8. ทายาไฮโดรคอร์ติโซน ( Hydrocortisone ) คาลาไมน์ ( Calamine ) ผสมเบกกิ้งโซดากับน้ำเปล่า หรือรับประทานยาต้านฮิสตามีน (Antihistamine) เช่น ไดเฟนไฮดรามีน ( Diphenhydramine ) หรือ คลอร์เฟนิรามีน ( Chlorpheniramine ) เพื่ออรักษาอาการที่เกิดบนผิวหนัง ลดอาการบวมแดงและอาการคัน
9. ผู้ที่มีอาการรุนแรง ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจรักษาทันที

การรักษาอาการผึ้งต่อยสำหรับผู้ที่แพ้พิษเหล็กในรุนแรง

การรักษาอาการผึ้งต่อยสำหรับผู้ที่แพ้พิษเหล็กในรุนแรง1. แพทย์จะให้ยาหรือฉีดยาต้านฮิสตามีน ( Antihistamine ) และคอร์ติโซน ( Cortisone ) เพื่อลดอาการแพ้ที่เกิดขึ้น และอาการอักเสบภายในทางเดินหายใจ ลดภาวะหลอดลมตีบ หรือมีเสมหะในทางเดินหายใจจากฮีสตามีน
2. ฉีดเอพิเนฟรีน โดยเฉพาะในรายที่มีปฏิกิริยาแพ้อย่างรุนแรง ( Anaphylaxis ) เพื่อรักษาและลดการเกิดอาการแพ้ที่เป็นอันตราย
3. พ่นยาขยายหลอดลม ( Beta agonist ) เช่น อัลบูเทอรอล เพื่อบรรเทาอาการหลอดลมตีบจากปัญหาการหายใจ
4. แพทย์อาจให้ออกซิเจนเพื่อช่วยในการหายใจแก่ผู้ป่วยที่มีปัญหาการหายใจอย่างรุนแรงจากอาการแพ้
5. ทำซีพีอาร์ หรือปฏิบัติการช่วยชีวิต ( Cardiopulmonary Resuscitation: CPR ) ในผู้ป่วยที่หยุดหายใจ
6. แพทย์อาจฉีดสารภูมิคุ้มกันบำบัดให้ ซึ่งผู้ป่วยต้องมาฉีดเรื่อย ๆ ทุก 2-3 ปี เพื่อรักษาและลดปฏิกิริยาตอบสนองต่อพิษจากเหล็กในผึ้ง

การป้องกันการโดนผึ้งต่อย

1.กำจัดขยะและเศษอาหารบริเวณบ้านเพื่อไม่ให้มีแมลงพวกนี้มาตอม
2.กรณีที่ต้องเดินทางเข้าไปในที่ที่มีแมลงพวกนี้ชุกชุมหรือออกไปกลางแจ้ง ไม่ควรใส่เสื้อผ้าสีฉูดฉาด ลายดอกไม้ หรือใส่น้ำหอม ซึ่งล่อให้ผึ้งมาต่อยได้
3. อย่าแหย่หรือทำลายรังผึ้ง และเตือนเด็ก ๆ อย่าไปแหย่รังผึ้งด้วยความคะนอง
4. ถ้ามีรังผึ้งภายในบริเวณบ้าน ควรตามผู้ที่มีความเชี่ยวชาญมากำจัดรังแทน
5. สำหรับผู้ที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการถูกผึ้งต่อย (เช่น พนักงานป่าไม้ นักเดินป่า ลูกเสือเวลาออกค่าย เป็นต้น) ควรมีชุดปฐมพยาบาล (เช่น ยาฉีด adrenalin ยาแก้แพ้ ครีม steroid )ไว้ปฐมพยาบาลเมื่อถูกผึ้งต่อย
6.ถ้าถูกผึ้งต่อย ควรวิ่งหนีโดยเร็วที่สุด ให้ห่างจากรังเกิน 7 เมตรขึ้นไป และควรใช้ผ้าคลุมศีรษะป้องกันไม่ให้ตัวผึ้งไปติดอยู่ในผมซึ่งจะต่อยซ้ำ ๆ ได้

ทีนี้เพื่อน ๆ คงจะพอทราบวิธีรักษาบรรเทาอาการจากการโดนผึ้งต่อยว่าควรทำอย่างไร และควรอยู่ห่างจากผึ้ง เพราะผึ้งเป็นแมลงอันตรายที่ควรอยู่ให้ห่างไว้จะดีที่สุด

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

ความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ ( Gestational hypertension ) เกิดจากสาเหตุอะไร

0
ความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ ( Gestationalhypertension ) เกิดจาสาเหตุอะไร
ภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ คือ ผู้หญิงที่มีความดันโลหิตสูงกว่าหรือเท่ากับ 140/90 มิลลิเมตรปรอท ซึ่งอาจเสียชีวิตของมารดาและทารก
ความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ ( Gestationalhypertension ) เกิดจาสาเหตุอะไร
ภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ คือ ผู้หญิงที่มีความดันโลหิตสูงกว่าหรือเท่ากับ 140/90 มิลลิเมตรปรอท ซึ่งอาจเสียชีวิตของมารดาและทารก

ความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์

ภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ ( Gestational hypertension ) คือ ผู้หญิงที่มีความดันโลหิตสูงกว่าหรือเท่ากับ 140/90 มิลลิเมตรปรอท ซึ่งเป็นการตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงสูง และเป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตของมารดาและทารก ประมาณ 10 – 15 เปอร์เซ็นต์ของหญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุระหว่าง 20 และ 44 ปี

ประเภทภาวะความดันโลหิตสูง

1. Chronic Hypertension คือ ผู้หญิงที่มีความดันโลหิตสูงมากกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท ก่อนการตั้งครรภ์ในช่วงต้นของการตั้งครรภ์ ( ก่อน 20 สัปดาห์ ) และยังพบหลังคลอด
2. Gestational Hypertension คือ ภาวะความดันโลหิตสูงหลังจากการตั้งครรภ์ 20 สัปดาห์ และหายไปหลังคลอด
3. Preeclampsia คือ ผู้หญิงที่มีความดันโลหิตสูงเรื้อรังขณะตั้งครรภ์จะเพิ่มความรุนแรงมากขึ้นหลักจาก 20
สัปดาห์ของการตั้งครรภ์ ตรวจพบโปรตีนในปัสสาวะ
4. Chronic hypertension with superimposed preeclampsia คือ ภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ และพบภาวะครรภ์เป็นพิษหลังจาก 20 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์

สาเหตุของความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์

  • มีประวัติครอบครัวเป็นความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์
  • คุณแม่เป็นความดันโลหิตสูง หรือเป็นโรคไตก่อนตั้งครรภ์
  • คุณแม่อายุระหว่าง 20 หรือมากกว่า 44 ปี
  • คุณแม่ที่มีน้ำหนักเกิน หรือเป็นโรคอ้วน
  • ดื่มแอลกอฮอล์
  • สูบบุหรี่

อาการของความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์

  • ความดันโลหิตสูงกว่าปกติ
  • ตรวจพบโปรตีนในปัสสาวะ
  • อาการบวมของใบหน้าหรือมือ
  • ปวดบริเวณท้องส่วนบน
  • น้ำหนักขึ้นอย่างเร็ว
  • คลื่นไส้หรืออาเจียน
  • ปวดศีรษะไม่หาย
  • ปวดไหล่
  • ตามัว

การป้องกันของความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์

ปัจจัยเสี่ยงที่พบบ่อยสำหรับความดันโลหิตสูงเช่นคุณแม่เป็นโรคอ้วน คุณสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับ
ประทานอาหาร การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์ ทั้งหมดนี้อาจทำให้
เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ในระหว่างตั้งครรภ์ได้

การดูแลรักษาภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์

  • รักษาระดับความดันโลหิตให้เป็นปกติ
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
  • สังเกตการดิ้นของทารกในครรภ์
  • สังเกตอาการต่าง ๆ ที่เสี่ยงต่อความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์
  • ควรไปตามกำหนดหมอนัดทุกครั้ง

คำแนะนำ

หากคุณแม่ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง หรือมีอาการที่บ่งชี้ถึงภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ให้รีบแจ้งแพทยท์ผู้ทำการรักษาทันที เพื่อลดความเสี่ยงระหว่างการตั้งครรภ์ของคุณ ช่วยให้คุณแม่และทารกในครรภ์สุขภาพแข็งแรง

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เล็บเป็นคลื่นบ่งบอกอะไร ตรวจสอบสัญญาณสุขภาพที่แฝงอยู่ในเล็บ

0

เล็บที่เป็นคลื่น (Wavy Nails)

เล็บที่เป็นคลื่น หรือที่เรียกว่า “wavy nails” คือปัญหาที่เกิดขึ้นเมื่อผิวเล็บมีลักษณะคล้ายคลื่นหรือไม่เรียบ ซึ่งสามารถเกิดจากหลายปัจจัย เช่น การขยายจากหนังกำพร้า (cuticle) ที่ส่งผลให้เล็บมีการเปลี่ยนแปลงในโครงสร้าง นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงของเซลล์ภายในเนื้อเล็บยังสามารถทำให้เกิดลักษณะนี้ได้ โดยเฉพาะในกรณีที่มีความเสียหายหรือการบาดเจ็บที่เล็บ ซึ่งจะส่งผลต่อความแข็งแรงและรูปลักษณ์ของเล็บในระยะยาว

อาการและสาเหตุที่เล็บเกิดเป็นคลื่น

อาการและสาเหตุที่เล็บเกิดเป็นคลื่นสาเหตุหลัก ๆ ของการเป็นคลื่น คือ ขาดความชุ่มชื้น ขาดสารอาหารประเภทโปรตีน แคลเซียม สังกะสี วิตามิน A หรืออาจเกิดจากภาวะด้านสุขภาพที่ทำให้เกิดเป็นคลื่นได้พบบ่อยที่สุดคือ ปลายเล็บร่น เล็บที่มีความหนาหรือบางผิดปกติ เล็บเปลี่ยนสี ผิวหนังรอบเล็บบวมแดง บางคนมีอาการรุนแรงอาจพบเล็บเกิดคลื่นนูนสูง และเล็บเป็นร่องลึกตามแนวนอน แนวตั้งจากการสร้างเล็บผิดปกติ

เส้นคลื่นแนวตั้ง

เส้นคลื่นแนวตั้ง 1 - เล็บเป็นคลื่นบ่งบอกอะไร ตรวจสอบสัญญาณสุขภาพที่แฝงอยู่ในเล็บเล็บเกิดคลื่นมีลักษณะเป็นเส้นที่ลากจากปลายเล็บมายังโคนเล็บ ซึ่งเกิดจากโรคสะเก็ดเงิน หรือโรคผิวหนังอักเสบ ผื่นแพ้ มีพยาธิปากขอ หรือขาดแคลเซียมพบบ่อยในผู้สูงอายุ

เส้นคลื่นแนวนอน

เส้นคลื่นแนวนอน 1 - เล็บเป็นคลื่นบ่งบอกอะไร ตรวจสอบสัญญาณสุขภาพที่แฝงอยู่ในเล็บเล็บเกิดคลื่นมีลักษณะเป็นเส้นแนวขวางลากจากซ้ายไปขวา มักจะเป็นอาการของโรคที่ร้ายแรงอาจจะทำให้เล็บของคุณหยุดการเจริญเติบโตได้ รวมถึงโรคเบาหวาน โรคตับ และโรคเรื้อรัง

เล็บที่มีสุขภาพดี จะมีสีออกชมพูจาง ๆ จากสีผิวของเนื้อข้างใต้เล็บ มีพื้นผิวเรียบ ผิวหนังรอบเล็บมีความแข็งแรง

การวินิจฉัย

หากมีเปลี่ยนแปลงบนเล็บหรือเล็บได้รับบาดเจ็บอย่างรุนแรง เช่น เล็บฉีกขาด เล็บหลุด ใต้เล็บมีเลือดออกควรไปพบแพทย์ เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด

การดูแลรักษา

1. ใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงเล็บ และนวดเบา ๆ
2. ตัดและทำความสะอาดเล็บอย่างสม่ำเสมอ
3. ห้ามกัดเล็บ
4. ควรเช็ดมือให้แห้งทุกครั้งหลังล้างมือ
5. ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
6. ควรตรวจสุขภาพประจำปีทุกปี

เล็บเป็นสิ่งที่ทุกคนไม่ควรมองข้าม หากเล็บของเราสุขภาพดีนั่นรวมถึงร่างกายของเราก็จะดีไปด้วย หากเล็บได้รับบาดเจ็บ หรือมีอาการรุนแรงของโรคควรไปพบแพทย์

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม