Home Blog Page 110

เชื้อราที่เล็บ เกิดจากอะไร ดูแลรักษาและป้องกันอย่างไร

0
เชื้อราที่เล็บ เกิดจากอะไร ดูแลรักษาและป้องกันอย่างไร
อาการเชื้อราที่เล็บ จะมีจุดสีขาวหรือสีเหลืองที่ปลายเล็บ เล็บหนาขึ้น เล็บเปลี่ยนสี เกิดขุยหนาใต้เล็บ เล็บแยกตัวออกจากฐานเล็บ หรือเป็นโพรงหรือช่องว่างใต้เล็บ
เชื้อราที่เล็บ เกิดจากอะไร ดูแลรักษาและป้องกันอย่างไร
อาการเชื้อราที่เล็บ จะมีจุดสีขาวหรือสีเหลืองที่ปลายเล็บ เล็บหนาขึ้น เล็บเปลี่ยนสี เกิดขุยหนาใต้เล็บ เล็บแยกตัวออกจากฐานเล็บ หรือเป็นโพรงหรือช่องว่างใต้เล็บ

เชื้อราที่เล็บคืออะไร

เชื้อราที่เล็บ ( Onychomycosis ) คือ โรคที่พบเห็นได้ทั่วไปและติดต่อได้ผ่านการสัมผัส เกิดจากการเจริญเติบโตของเชื้อราที่เล็บ เชื้อราที่พบจะมีทั้งเป็นสายรา หรือยีสต์ที่เล็บ โดยปกติเชื่อราจะมีขนาดเล็กไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ซึ่งต้องผ่านการตรวจสอบทางห้องปฏิบัติการ ด้วยกล้องจุลทรรศน์หรือการเพาะเชื้อรา

ลักษณะและอาการเชื้อราที่เล็บ

เชื้อราที่เล็บส่วนมากจะไม่มีอาการ บางรายมีผลแทรกซ้อนหลังการติดเชื้อรา เช่น เล็บขบ เล็บขบอักเสบติดเชื้อ หรือ เกิดการติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำซ้อน โดยมีอาการดังนี้
1. มีขุยใต้เล็บ
2. เล็บเปลี่ยนสี
3. มีอาการเจ็บที่เล็บ
4. เล็บเปราะหรือเล็บแยกตัวจากฐานเล็บ
5. เกิดโพรงหรือช่องว่างใต้เล็บ
6. คัน บวม หรือแดง

อาการเชื้อราที่เล็บขั้นแรก คือพบจุดสีขาวหรือสีเหลืองที่ปลายเล็บ เล็บหนาขึ้น เล็บเปลี่ยนสี เกิดขุยหนาใต้เล็บ เล็บแยกตัวออกจากฐานเล็บ หรือเป็นโพรงหรือช่องว่างใต้เล็บ

สาเหตุของการเกิดเชื้อราที่เล็บ

เชื้อราที่เล็บมีโอกาสเกิดกับบุคคลทุกเพศ ทุกวัย พบมากที่เล็บมือโดยเฉพาะนิ้วมือที่ต้องโดนน้ำบ่อย ๆ หรือผู้สูงอายุที่อาจมีโรคร่วมอื่น ๆ ซึ่งมีปัจจัยดังนี้
1. ล้างมือบ่อย หรือต้องทำงานที่ทำให้มือชื้นตลอดเวลา
2. เป็นโรคน้ำกัดเท้า แล้วเชื้อราลุกลามจากบริเวณนิ้วเท้ามาที่เล็บเท้า
3. เป็นโรคเฉพาะบางอย่าง เช่น โรคเบาหวาน โรคสะเก็ดเงิน หรือโรคเส้นเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน
4. ไม่รักษาความสะอาดของเท้า หรือเดินเท้าเปล่าในพื้นที่ชื้นหรือมีน้ำท่วมขัง
5. สวมใส่รองเท้าที่คับหรืออับชื้น

ดูแลรักษาเชื้อราที่เล็บอย่างไร

เชื้อราที่เล็บสามารถรักษาด้วยตนเองได้ ซึ่งถ้ามีอาการอื่นร่วมควรรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อป้องกันการลุกลาม โดยวิธีการรักษาเชื้อราที่เล็บหลายวิธี เช่น
1. รักษาความสะอาดของเล็บและหลีกเลี่ยงการทำให้เล็บอับชื้น
2. ใช้กรรไกรตัดเล็บตัดเล็บส่วนที่ติดเชื้อรา
3. การใช้ยารับประทาน
4. การใช้ยาทาเฉพาะที่
5. การใช้วิธีการอื่นๆ ในการรักษา เช่น การถอดเล็บ การใช้แสงเลเซอร์รักษาเชื้อราที่เล็บ

จากบทความนี้เพื่อนๆคงทราบกันแล้วว่าการเกิดเชื้อราที่เล็บสามารถรักษาเองได้แต่อาจใช้เวลานานหลายเดือน และบางครั้งก็ไม่สามารถช่วยให้เชื้อราหายไปทั้งหมดหรือทำให้เล็บที่ผิดปกติกลับมามีลักษณะดังเดิมได้ กรณีผู้ที่มีอาการอื่นแทรกร่วมควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อป้องกันการลุกลามนะคะ

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เมล็ดเจีย ( Chia Seed ) Super Food ระดับโลก

0
เมล็ดเจีย ( Chia Seed ) Super Food ระดับโลก
เมล็ดเจีย หรือเมล็ดเชีย ( Chia Seed ) สามารถรับประทานได้โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการแปรรูป และในเมล็ดเจียนั้นเต็มไปด้วยสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย
เมล็ดเจีย ( Chia Seed ) Super Food ระดับโลก
เมล็ดเจีย หรือเมล็ดเชีย ( Chia Seed ) สามารถรับประทานได้โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการแปรรูป และในเมล็ดเจียนั้นเต็มไปด้วยสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย

เมล็ดเจีย หรือเมล็ดเชีย

เมล็ดเจีย หรือเมล็ดเชีย ( Chia Seed ) คือ เมล็ดธัญพืชชนิดหนึ่งที่มีขนาดเล็กคล้ายเม็ดแมงลัก จัดเป็นพืชในกลุ่มเครื่องเทศตระกูลเดียวกับกะเพรา หรือ มินต์ มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ชื่อว่า Salvia Hispanica เป็นพืชที่กำเนิดตอนกลางและใต้ประเทศเมกซิโกและโบลิเวีย ลักษณะเป็นรูปไข่ มีสีหลากหลาย เช่น สีขาว สีดำ บางครั้งมีลายเป็นจุดสีน้ำตาล น้ำตาลเข้ม สีครีม ดำ และขาว ลำต้นสูงประมาณ 4-6 ฟุต เปลือกนอกเมล็ดพองตัวได้เหมือนเม็ดแมงลัก สามารถรับประทานได้โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการแปรรูป และด้วยรสชาติอ่อน ๆ คล้ายถั่ว เข้ากับอาหารและเครื่องดื่มต่าง ๆ ง่าย สามารถเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ที่มีอากาศหนาวเย็น ซึ่งในเมล้ดเจียเต็มไปด้วยสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายที่อุดมไปด้วยคุณประโยชน์ ได้แก่ ไฟเบอร์ กรดไขมันดีชนิดโอเมก้า-3 และโอเมก้า-6 โปรตีน แคลเซียม สารต้านอนุมูลอิสระ และโปรตีน เมื่อนำเมล็ดเจียไปบด แล้วแช่กับ น้ำ น้ำผลไม้ หรือ นม ก็จะสามารถพองตัวขึ้นมาได้อีกถึง 12 เท่า ยิ่งเพิ่มคุณค่าให้กับอาหาร

>> รู้หรือไม่ น้ำมันเมล็ดเจียสกัดเย็น ดีต่อสุขภาพมากอย่างไร ?

>> แหล่งที่พบโปแตสเซียมมาก และปริมาณที่ควรได้รับในแต่ละวัน คือ?

คุณค่าทางโภชนาการเมล็ดเจีย 1 ออนซ์ ( 28 กรัม ) ให้พลังงาน 137 แคลอรี

สารอาหาร ปริมาณที่ได้รับ
น้ำ 6.61 กรัม
โปรตีน 40.32 กรัม
ไขมัน 11.89 กรัม
คาร์โบไฮเดรต 35.14 กรัม
ไฟเบอร์ 34.4 กรัม
แคลเซียม 150 กรัม
ธาตุเหล็ก 14.30 กรัม
แมกนีเซียม 362 กรัม
ฟอสฟอรัส 810 กรัม
โพแทสเซียม 425 กรัม
โซเดียม 41 กรัม
ซิงก์ 10.70 กรัม
วิตามินเอ 3 ไมโครกรัม
วิตามินบี 1 2.5 มิลลิกรัม
วิตามินบี 2 0.270 มิลลิกรัม
วิตามินบี 3 12.6 มิลลิกรัม
วิตามินบี 6 0.152 มิลลิกรัม
โฟเลต 29 ไมโครกรัม
กรดไขมันอิ่มตัว 1.634 กรัม
กรดไขมันไม่อิ่มตัว 4.405 กรัม
กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน 5.113 กรัม

เมล็ดเจีย หรือเมล็ดเชีย ( Chia Seed ) สามารถรับประทานได้โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการแปรรูป และในเมล็ดเจียนั้นเต็มไปด้วยสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย

ประโยชน์ของเมล็ดเจีย

  • หัวใจแข็งแรง
  • ช่วยลดการเกิดโรคเบาหวาน และโรคเบาหวานประเภท 2
  • บาดแผลหายเร็ว ไม่ติดเชื้อง่าย
  • ช่วยลดน้ำหนักทำให้ร่างกายมีระบบเผาผลาญพลังงานดีขึ้น
  • บำรุงความจำ
  • บำรุงกระดูก
  • ช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ
  • บำรุงเม็ดเลือดแดง
  • มีไฟเบอร์สูง ช่วยเรื่องระบบขับถ่าย ท้องไม่ผูก
  • มีกรดอะมิโนทริปโตเฟน ช่วยปรับปรุงอารมณ์ให้เป็นปกติ
  • เมล็ดเจียมีสารต้านอนุมูลอิสระ
  • ช่วยลดโรคหัวใจกับหลอดเลือด และลดคอเลสเตอรอล
  • มี ธาตุเหล็ก มากกว่าผักโขมถึง 2 เท่า
  • มี Calcium มากกว่านมถึง 5 เท่า
  • มี ซีลีเนียม มากกว่าเมล็ดแฟลกซ์ถึง 3 เท่า
  • มี กรดไขมันโอเมก้า3 มากกว่าปลาแซลมอนถึง 7 เท่า
  • มี Magnesium มากกว่าบร็อคโคลี่ถึง 14 เท่า
  • มี Protein มากกว่าเมล็ดถั่วถึง 5 เท่า
  • มี ฟอสฟอรัส มากกว่านมครบส่วน ถึง 8 เท่า
  • มีสาร Antioxidants มากกว่าผลบลูเบอร์รี่ถึง 3 เท่า
  • มี โฟเลต มากกว่าหน่อไม้ฝรั่ง
  • มี สารลิกแนนมากกว่าเมล็ดแฟลกซ์
  • มี โปแตสเซียม เท่ากับกล้วย
  • มี ไฟเบอร์ เท่ากับรำ

คำแนะนำสำหรับผู้ที่ไม่ควรทานเมล็ดเจีย

1. ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบกระเพาะอาหารและลำไส้ หรือระบบย่อยอาหาร
2. ผู้ที่ต้องเข้ารับการศัลยกรรม ผ่าตัด หรือ มีประวัติการใช้ยาแอสไพริน หรือผู้ที่มีปัญหาภาวะเลือดแข็งตัวช้า
3. ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตต่ำ
4. หญิงตั้งครรภ์ หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร
5. ผู้ที่มีตวามเสี่ยงสูงต่อการเป็นมะเร็งต่องลูกหมาก
6. ผู้ที่แพ้ถั่วและธัญพืช

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

คลิปความรู้จาก หมอปุ้ม พญ. สิรนาถ สุขภาพดี คุณมีได้

เมล็ดเจีย (เมล็ดเชีย) ธัญพืชมากประโยชน์ ขุมทรัพย์แห่งสุขภาพ (ออนไลน์).สืบค้นจาก :  https://health.kapook.com [8 เมษายน 2563].

บุคคล 5 ประเภทที่ไม่ควรทานเมล็ดเจีย รู้ไว้ก่อนเกิดผลร้ายต่อสุขภาพ (ออนไลน์).สืบค้นจาก :  https://www.akerufeed.com/ [14 เมษายน 2563].

การตั้งครรภ์นอกมดลูก ( Ectopic pregnancy )

0
การตั้งครรภ์นอกมดลูก (Ectopic-pregnancy)
การตั้งครรภ์นอกมดลูก ( Ectopic pregnancy ) คือ ไข่ที่ปฏิสนธิแล้วเป็นตัวอ่อนฝังตัวอยู่บริเวณอื่นที่ไม่ใช่ผนังมดลูก มักเกิดขึ้นบริเวณท่อนำไข่ ( ปีกมดลูก ) ทำให้ตัวอ่อนไม่สามารถเจริญเติบโตต่อไปเป็นทารกได้
การตั้งครรภ์นอกมดลูก (Ectopic-pregnancy)
การตั้งครรภ์นอกมดลูก เกิดจากไข่ที่ปฏิสนธิแล้วเป็นตัวอ่อนฝังตัวอยู่บริเวณอื่นที่ไม่ใช่ผนังมดลูก ทำให้ตัวอ่อนไม่สามารถเจริญเติบโตต่อไปเป็นทารกได้

การตั้งครรภ์นอกมดลูก

การตั้งครรภ์นอกมดลูก ( Ectopic pregnancy ) คือ ไข่ที่ปฏิสนธิแล้วเป็นตัวอ่อนฝังตัวอยู่บริเวณอื่นที่ไม่ใช่ผนังมดลูก มักเกิดขึ้นบริเวณท่อนำไข่ ( ปีกมดลูก ) ทำให้ตัวอ่อนไม่สามารถเจริญเติบโตต่อไปเป็นทารกได้ ซึ่งพบว่าการตั้งครรภ์นอกมดลูกเกิดขึ้นประมาณ 1 ในทุก ๆ 50 ของการตั้งครรภ์ในเพศหญิง ในการตั้งครรภ์ปกติไข่ที่ปฏิสนธิจะใช้เวลา 4 ถึง 5 วันเดินทางลงท่อนำไข่ก่อนที่จะเคลื่อนย้ายไปยังโพรงมดลูก ซึ่งจะทำการฝังตัวประมาณ 6 ถึง 7 วันหลังจากได้รับการปฏิสนธิ

สาเหตุของการตั้งครรภ์นอกมดลูก

การตั้งครรภ์นอกมดลูกมักเกิดขึ้นเพราะไข่ที่ปฏิสนธิไม่สามารถเคลื่อนย้ายไปยังท่อนำไข่ลงสู่มดลูกได้ ทำให้เกิดการติดเชื้อหรือการอักเสบของท่อนำไข่ ซึ่งไปปิดกั้นบางส่วนหรือทั้งหมด อาจเกิดจาก

  • การติดเชื้อของอวัยวะในระบบสืบพันธุ์ เช่น กระดูกอุ้งเชิงกรานอักเสบ มดลูก ท่อนำไข่และรังไข่เกิดการอักเสบหรือติดเชื้อ
  • เคยมีประวัติการทำหมันในผู้หญิง หรือเคยมีการผ่าตัดแก้หมันหญิง หรือการใส่ห่วงอนามัยคุมกำเนิด
  • การใช้ยา หรือการรักษาภาวะมีบุตรยาก เช่น การทำเด็กหลอดแก้ว
  • หนองใน หรือหนองเทียม เป็นสาเหตุของการอุดตันของท่อนำไข่
  • ความผิดปกติของการพัฒนาภายในไข่หลังเกิดการปฏิสนธิ
  • เนื้อเยื่อแผลเป็นจากการผ่าตัดช่องท้องทำให้เกิดการอุดตัน
  • การสัมผัส หรือได้รับสารเคมีก่อนการตั้งครรภ์
  • ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเติบโตที่อื่นในร่างกาย
  • การเปลี่ยนแปลงรูปร่างของหลอดท่อนำไข่
  • การผ่าตัดที่บริเวณอุ้งเชิงกรานในอดีต
  • เคยมีประวัติท้องนอกมดลูกมาก่อน
  • การมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อย
  • อายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป
  • ใช้ยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน
  • ปีกมดลูกอักเสบ
  • การสูบบุหรี่

อาการของการตั้งครรภ์นอกมดลูก

เนื่องจากอาการมักจะเหมือนการตั้งครรภ์ปกติในช่วงต้นรวมถึง อาการเจ็บตึงหน้าอกหรือเต้านมคัด เมื่อยล้า คลื่นไส้ อาเจียน และปัสสาวะบ่อย แต่บ่อยครั้งที่สัญญาณเตือนของการตั้งครรภ์นอกมดลูกคือ

  • รู้สึกเจ็บปวด หรือมีเลือดออกทางช่องคลอด
  • วิงเวียนศีรษะหรือเป็นลม (เกิดจากการสูญเสียเลือด)
  • ความดันโลหิตต่ำ (เกิดจากการสูญเสียเลือด)
  • ปวดในอุ้งเชิงกรานช่องท้อง
  • ปวดหลังส่วนล่าง ปวดไหล่ หรือคอ

การตั้งครรภ์นอกมดลูก เกิดจากไข่ที่ปฏิสนธิแล้วเป็นตัวอ่อนฝังตัวอยู่บริเวณอื่นที่ไม่ใช่ผนังมดลูก ทำให้ตัวอ่อนไม่สามารถเจริญเติบโตต่อไปเป็นทารกได้

การวินิจฉัยการตั้งครรภ์นอกมดลูก

แพทย์ตรวจปัสสาวะเพื่อยืนยันว่าคุณกำลังตั้งครรภ์สามารถตรวจสอบว่าคุณมีการตั้งครรภ์นอกมดลูกหรือไม่ ด้วยวิธีดังนี้

  • การตรวจกระดูกเชิงกรานเพื่อตรวจสอบขนาดของมดลูกและความรู้สึกของการเจริญเติบโตหรือความอ่อนโยนในท้องของคุณ
  • การตรวจเลือดดูระดับฮอร์โมนการตั้งครรภ์ เรียกว่า chorionic gonadotropin ( hCG ) ซึ่งจะผลิตเพิ่มปริมาณขึ้นตลอดการตั้งครรภ์ระดับฮอร์โมนจะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าในทุก ๆ 48 ชั่วโมง หากพบการตั้งครรภ์นอกมดลูกระดับเอชซีจีจะลดลงและจะไม่เป็นสองเท่า ระดับเอชซีจีที่ต่ำกว่าสามารถส่งบ่งชี้ถึงการตั้งครรภ์นอกมดลูกได้
  • อัลตราซาวนด์ เพื่อค้นหาทารกในครรภ์ที่เจริญเติบโนในมดลูกหรือที่อื่น ๆ ในช่วงแรกของการตั้งครรภ์หลังจากมีประจำเดือนครั้งสุดท้าย
    การรักษาตั้งครรภ์นอกมดลูก
    การรักษาของการตั้งครรภ์นอกมดลูกนั้นแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับแพทย์ที่ทำการรักษาผู้ป่วยแต่ละคน และระยะเวลาของการตั้งครรภ์
  • การใช้ยา การตั้งครรภ์นอกมดลูกในช่วงเริ่มต้นบางครั้งสามารถรักษาด้วยการฉีด เพื่อหยุดการเจริญเติบโตของตัวอ่อน
  • การผ่าตัด เพื่อเอาเนื้อเยื่อที่ผิดปกติบริเวณท่อนำไข่ที่เกิดความเสียหายออกไป
  • การรักษาภาวะอื่น ๆ เช่น ภาวะช็อคจากอาการตกเลือดและเสียเลือดมาก ภาวะอักเสบจากการติดเชื้อให้ยาเพื่อบรรเทาอาการปวดร่วมด้วย

ภาวะแทรกซ้อนของการท้องนอกมดลูก

หากภาวะแทรกซ้อนของการตั้งครรภ์นอกมดลูกจะมีแนวโน้มที่รุนแรงมากขึ้น หากการวินิจฉัยหรือการรักษาล่าช้า

  • ภาวะเลือดออกภายใน
  • เกิดความเสียหายต่อท่อนำไข่
  • ภาวะซึมเศร้าจากการสูญเสีย

การป้องกัน การตั้งครรภ์นอกมดลูก

โดยทั่วไปแล้วการตั้งครรภ์นอกมดลูกไม่สามารถป้องกันได้ แต่คุณสามารถลดปัจจัยเสี่ยง

  • ไม่สูบบุหรี่
  • ไม่ดื่มแอลกอฮอล์
  • ควบคุมน้ำหนัก
  • ออกกำลังกายเบา ๆ เป็นประจำ
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ
  • สวมถุงยาง เพื่อป้องกันการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์
  • รับประทานยาตามที่แพทย์สั่งเท่านั้น เช่น ยาแก้ปวด ยาลดการอักเสบ

อย่างไรก็ตามหากคุณมีประวัติเคยตั้งครรภ์นอกมดลูกก่อนหน้านี้ ควรบอกแพทย์ให้ทราบทันที
แพทย์จะช่วยตรวจว่ามีการตั้งครรภ์นอกมดลูกหรือไม่

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

Ectopic pregnancy (ออนไลน์). สืบค้นจาก : https://healthywa.wa.gov.au [9 เมษายน 2563].

What is an ectopic pregnancy? (ออนไลน์). สืบค้นจาก : https://ectopic.org.uk [9 เมษายน 2563].

Ectopic Pregnancy (ออนไลน์). สืบค้นจาก : https://americanpregnancy.org [11 เมษายน 2563]. 

Ectopic Pregnancy (ออนไลน์). สืบค้นจาก : https://www.plannedparenthood.org [11 เมษายน 2563].

ต่อมลูกหมากอักเสบ ( Prostatitis ) เกิดขึ้นได้อย่างไร

0
ต่อมลูกหมากอักเสบ ( Prostatitis ) เกิดขึ้นได้อย่างไร
ต่อมลูกหมากอักเสบ ( Prostatitis ) เป็น การติดเชื้อของต่อมลูกหมาก ซึ่งเกิดจากเชื้อแบคทีเรียมีการแพร่กระจายไปยังกระเพาะปัสสาวะ ท่อปัสสาวะและเข้าสู่ต่อมลูกหมาก ทำให้เกิดการอักเสบ
ต่อมลูกหมากอักเสบ ( Prostatitis ) เกิดขึ้นได้อย่างไร
ต่อมลูกหมากอักเสบ เป็นการติดเชื้อของต่อมลูกหมาก ซึ่งเกิดจากเชื้อแบคทีเรียมีการแพร่กระจายไปยังกระเพาะปัสสาวะ ท่อปัสสาวะและเข้าสู่ต่อมลูกหมากทำให้เกิดการอักเสบ

ต่อมลูกหมากอักเสบ

ต่อมลูกหมากอักเสบ ( Prostatitis ) เป็น การติดเชื้อของต่อมลูกหมาก แต่การอักเสบของต่อมลูกหมากในคนไข้บางรายไม่แสดงอาการของการติดเชื้อมีเพียง 10 เปอร์เซ็นต์ เท่านั้นที่เกิดการติดเชื้อแบคทีเรีย พบได้ในผู้ชายทุกเพศทุกวัยได้รับผลกระทบจากลูกหมาก แต่อาการนี้พบได้บ่อยในผู้ชายที่มีอายุต่ำกว่า 50 ปี อาจเป็นโรคต่อมลูกหมากอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียเฉียบพลัน หรือเป็นโรคต่อมลูกหมากอักเสบจากแบคทีเรียเรื้อรังได้เช่นกัน ต่อมลูกหมากเป็นส่วนหนึ่งของระบบสืบพันธุ์เพศชายทำหน้าที่ผลิตน้ำอสุจิเพื่อส่งอสุจิผ่านท่อปัสสาวะการอักเสบของต่อมลูกหมากนั้นมีหลายสาเหตุ

สาเหตุของการเกิดโรคต่อมลูกหมากอักเสบ

เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียมีการแพร่กระจายไปยังกระเพาะปัสสาวะ ท่อปัสสาวะและเข้าสู่ต่อมลูกหมาก
ทำให้เกิดการอักเสบ ซึ่งสาเหตุของการอักเสบแตกต่างกันไปตามประเภท ดังต่อไปนี้
1.ต่อมลูกหมากอักเสบเรื้อรังหรือกลุ่มอาการปวดอุ้งเชิงกรานเรื้อรัง ( chronic prostatitis or chronic pelvic pain syndrome )
2.ต่อมลูกหมากอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียเฉียบพลัน (acute bacterial prostatitis)
3.ต่อมลูกหมากอักเสบจากแบคทีเรียเรื้อรัง (chronic bacterial prostatitis)
4.ไม่มีอาการอักเสบต่อมลูกหมากอักเสบ (asymptomatic inflammatory prostatitis)

ต่อมลูกหมากอักเสบ ( Prostatitis ) เป็น การติดเชื้อของต่อมลูกหมาก พบได้บ่อยในผู้ชายที่มีอายุต่ำกว่า 50 ปี

ปัจจัยความเสี่ยงต่อการเกิดต่อมลูกหมากอักเสบ

  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • การบาดเจ็บระหว่างถุงอัณฑะปละทวารหนัก
  • การติดเชื้อแบคทีเรียที่กระเพาะปัสสาวะหรือท่อปัสสาวะ
  • การใส่อุปกรณ์ใด ๆ เช่นสายสวนปัสสาวะเข้าไปในท่อปัสสาวะ
  • การอุดตันของกระเพาะปัสสาวะ เนื่องจากต่อมลูกหมากโต หรือนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคต่อมลูกหมากอักเสบ

  • มีเชื้อเอชไอวี ( HIV )
  • ผู้ชายที่มีอายุต่ำกว่า 50 ปี
  • การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
  • การร่วมเพศทางทวารหนัก
  • นักกีฬาที่เคยได้รับบาดเจ็บ เช่น ปั่นจักรยาน หรือ ขี่ม้า
  • มีประวัติการรักษาโรคต่อมลูกหมากอักเสบก่อนหน้านี้
  • มีประวัติของโรคต่อมลูกหมากโต
  • มีการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ

อาการของโรคต่อมลูกหมากอักเสบ

  • ไข้
  • หนาวสั่น
  • ปัสสาวะขุ่นมัว
  • ปวดเมื่อยตามร่างกาย
  • มีเลือดปนมากับปัสสาวะ
  • ปวดแสบปวดร้อนขณะปัสสาวะ
  • ปัสสาวะได้ปริมาณน้อยกว่าผิดปกติ
  • ปัสสาวะบ่อยครั้งขึ้น โดยเฉพาะในเวลากลางคืน
  • ความเจ็บปวดบริเวณอวัยวะเพศชาย หรือลูกอัณฑะ
  • ปวดในบริเวณอวัยวะเพศ ขาหนีบ หน้าท้องลดลงหรือหลังส่วนล่าง

ควรไปพบแพทย์เมื่อใด

หากคุณมีอาการปวดในบริเวณอวัยวะเพศ ขาหนีบ หน้าท้องลดลงหรือหลังส่วนล่าง มีเลือดปนออกมาขณะปัสสาวะ ให้รีบไปพบแพทย์หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษาอาจทำให้ต่อมลูกหมากอักเสบและติดเชื้อรุนแรงมากขึ้นได้

การวินิจฉัยโรคต่อมลูกหมากอักเสบ

  • การตรวจร่างกาย โดยการตรวจต่อมลูกหมากทางทวารหนักแพทย์จะใช้นิ้วสอดเข้าไปในทวารหนักและกดลงบนต่อมลูกหมาก เพื่อตรวจและประเมินขนาดของต่อมลูกหมากว่าผิดปกติหรือไม่
  • การตรวจปัสสาวะ เพื่อวิเคราะห์หาสัญญาณของการติดเชื้อในปัสสาวะทางห้องแล็บ
  • การตรวจเลือด เพื่อดูการติดเชื้อและปัญหาเกี่ยวกับต่อมลูกหมากโต และอื่น ๆ
  • การนวดบริเวณต่อมลูกหมาก เพื่อทดสอบการหลั่ง

การรักษาโรคต่อมลูกหมากอักเสบ

แพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะ เพื่อลดการติดเชื้อและลดการอักเสบ บรรเทาอาการปวดบวมของต่อมลูกหมากการป้องกันการเกิดโรคต่อมลูกหมากอักเสบ คุณสามารถทำได้เพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคต่อมลูกหมากอักเสบได้

  • การออกกำลังกาย
  • ควบคุมน้ำหนัก เพื่อสุขภาพที่ดีของคุณ
  • รักษาความสะอาด บริเวณอวัยวะเพศสามารถลดความเสี่ยงของการติดเชื้อ
  • ดื่มน้ำให้มากขึ้น ลดการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะที่ส่งผลต่อการเป็นต่อมลูกหมากอักเสบได้
  • การมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย เพื่อป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์บางอย่าง เช่น โรคหนองใน
  • ลดคาเฟอีน อาจทำให้ต่อมลูกหมากของคุณเกิดการระคายเคืองและทำให้อาการของต่อมลูกหมากอักเสบรุนแรงขึ้น
  • กินผักและผลไม้ให้มากขึ้น เพราะสารต้านอนุมูลอิสระวิตามินและสารอาหารอื่น ๆ ที่ช่วยป้องกันการติดเชื้อและการอักเสบ

เอกสารที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

Prostatitis (ออนไลน์). สืบค้นจาก : https://www.mayoclinic.org [8 เมษายน 2563].

What are Prostatitis and Related Chronic Pelvic Pain Conditions (ออนไลน์). สืบค้นจาก : https://www.urologyhealth.org [8 เมษายน 2563].

What is Prostatitis (ออนไลน์). สืบค้นจาก : https://www.webmd.com [8 เมษายน 2563].

What is prostatitis (ออนไลน์). สืบค้นจาก : https://www.niddk.nih.gov [8 เมษายน 2563].

ครรภ์เป็นพิษ ( Preeclampsia ) อันตรายหรือไม่

0
ครรภ์เป็นพิษ ( Preeclampsia ) อันตรายหรือไม่
ครรภ์เป็นพิษ ( Preeclampsia ) อันตรายหรือไม่ ครรภ์เป็นพิษ คือ การมีความดันโลหิตสูง และมีโปรตีนในปัสสาวะระหว่างตั้งครรภ์ หากอาการรุนแรงอาจถึงขั้นเสียชีวิตทั้งแม่และลูก
ครรภ์เป็นพิษ ( Preeclampsia ) อันตรายหรือไม่
ครรภ์เป็นพิษ คือ การมีความดันโลหิตสูง และมีโปรตีนในปัสสาวะระหว่างตั้งครรภ์ หากอาการรุนแรงอาจถึงขั้นเสียชีวิตทั้งแม่และลูก

ครรภ์เป็นพิษ

ครรภ์เป็นพิษ ( Preeclampsia ) คือ การมีความดันโลหิตสูง และมีโปรตีนในปัสสาวะระหว่างตั้งครรภ์ จนทำให้เกิดความผิดปกติของการฝังตัวของรก ซึ่งโดยธรรมชาติรกจะฝังบริเวณเยื่อบุผนังมดลูก แต่ในกรณีที่แม่ครรภ์เป็นพิษรกจะฝังตัวได้ไม่แน่น ส่งผลให้รกบางส่วนเกิดการขาดออกซิเจน ขาดเลือด เมื่อเลือดไปเลี้ยงรกได้น้อยลง จะเกิดการหลั่งสารที่เป็นสารพิษเข้าสู่กระแสเลือดของแม่ทีละเล็กทีละน้อย เมื่อถึงจุดหนึ่งจะส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ทั่วร่างกาย เช่น เส้นเลือดสมองตีบ ตาพร่ามัว ตับวาย ฯลฯ พบได้บ่อยที่สุดระหว่างตั้งครรภ์ประมาณ 1 ใน 20 ของการตั้งครรภ์ หากได้รับการรักษาไม่ทันเวลาอาจเกิดอาการชักที่รุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตทั้งแม่และลูก

อาการครรภ์เป็นพิษ

ครรภ์เป็นพิษส่วนใหญ่มักไม่แสดงอาการหรือสัญญาณใด ๆ ที่บ่งบอกถึงภาวะครรภ์เป็นพิษ จะทราบได้เมื่อแพทย์ตรวจวัดความดันโลหิต และตรวจพบโปรตีนในปัสสาวะระหว่างการฝากครรภ์ อาการที่พบบ่อย ได้แก่

  • น้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว (เกิดจากการกักเก็บของเหลว)
  • ความดันโลหิตที่สูงกว่า 140 / 90 มิลลิเมตร
  • อาการบวมของเท้าข้อเท้าใบหน้า และมือ
  • อาการปวดในช่องท้องส่วนบนขวา
  • ตรวจพบโปรตีนในปัสสาวะ
  • มองเห็นไม่ชัดเป็นบางครั้ง
  • ปวดใต้ซี่โครงด้านขวา
  • คลื่นไส้หรืออาเจียน
  • ตับทำงานบกพร่อง
  • ปัสสาวะได้น้อยลง
  • ปวดหัวรุนแรง
  • เกล็ดเลือดต่ำ
  • หายใจเร็ว
  • วิงเวียน

ครรภ์เป็นพิษ คือ การมีความดันโลหิตสูง และมีโปรตีนในปัสสาวะระหว่างตั้งครรภ์ หากอาการรุนแรงอาจถึงขั้นเสียชีวิตทั้งแม่และลูก

สาเหตุของครรภ์เป็นพิษ

สาเหตุที่ทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อครรภ์เป็นพิษมีดังนี้

  • โรคไต
  • โรคอ้วน
  • โรคเบาหวาน
  • โรคข้ออักเสบ
  • โรคความดันโลหิตสูงเรื้อรัง
  • มีอายุต่ำกว่า 15 ปีหรือ 35 ปีขึ้นไป
  • การตั้งครรภ์ครั้งแรกของผู้หญิง
  • เคยมีประวัติภาวะครรภ์เป็นพิษมาก่อน
  • ภาวะครรภ์เป็นพิษสามารถส่งผ่านทางพันธุกรรมของพ่อไปยังทารกในครรภ์ได้
  • ญาติหรือคนในครอบครัวมีภาวะครรภ์เป็นพิษ หรือความดันโลหิตสูงในระหว่างตั้งครรภ์
  • การตั้งครรภ์หลายครั้ง หรือเคยตั้งครรภ์ฝาแฝด ( การตั้งครรภ์เหล่านี้จะมีเนื้อเยื่อของรกจำนวนมาก )

ระดับความรุนแรงของครรภ์เป็นพิษ

  1. ครรภ์เป็นพิษระดับที่ไม่รุนแรง ( Non – Severe Pre – Eclampsia ) แม่ตั้งครรภ์จะมีความดันโลหิตสูงกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท แต่ไม่เกิน 160/110 มิลลิเมตรปรอท ยังไม่พบภาวะแทรกซ้อน
  2. ครรภ์เป็นพิษระดับรุนแรง ( Severe Pre – Eclampsia ) แม่ตั้งครรภ์จะมีความดันโลหิตสูงกว่า 160/110 หรือตรวจพบความผิดปกติของอวัยวะต่าง ๆ เช่น ตับอักเสบ ไตทำงานลดลง เกล็ดเลือดต่ำ เม็ดเลือดแดงแตก ฯลฯ
  3. ครรภ์เป็นพิษระดับรุนแรงและมีภาวะชัก ( Eclampsia ) แม่ตั้งครรภ์ชัก เกร็ง หมดสติ อาจมีเลือดออกในสมอง หากอยู่ในระยะนี้ต้องรักษาโดยเร็วที่สุด เพราะแม่และลูกมีอันตรายถึงแก่ชีวิต

การวินิจฉัยครรภ์เป็นพิษ

  • ตรวจวัดความดัน : หญิงตั้งครรภ์ที่ระดับความดันโลหิตสูงกว่า 140 / 90 มิลลิเมตร อาจเป็นกลุ่มเสี่ยงของการเกิดครรภ์เป็นพิษได้
  • ตรวจเลือด : แพทย์จะทำการทดสอบการทำงานของตับ ทดสอบการทำงานของไต และวัดค่าเกล็ดเลือดของคุณแม่ตั้งครรภ์ระยะเริ่มต้น
  • ตรวจปัสสาวะ : แพทย์จะขอเก็บตัวอย่างปัสสาวะเป็นเวลา 24 ชั่วโมง เพื่อวัดปริมาณโปรตีนในปัสสาวะของคุณ
  • อัลตราซาวนด์ : แพทย์ติดตามอย่างใกล้ชิดดูการเจริญเติบโตทารกในครรภ์ ช่วยให้แพทย์สามารถประเมินน้ำหนักของทารกในครรภ์และปริมาณน้ำคร่ำในมดลูกได้

การรักษาครรภ์เป็นพิษ

การรักษาครรภ์เป็นพิษที่ดีที่สุดคือการผ่าคลอด ซึ่งแพทย์จะพิจารณาจากอายุครรภ์เป็นหลัก หากอายุครรภ์น้อยเกินไปแพทย์จะให้ยากระตุ้นปอด เพื่อประคับประคองให้อยู่ในครรภ์ได้นานที่สุด หากอายุครรภ์สามารถทำคลอดได้ แพทย์จะทำการผ่าคลอดหรือเร่งให้คลอดทางช่องคลอดเพื่อหยุดความรุนแรงของโรค แต่ภาวะแทรกซ้อนสามารถเกิดขึ้นได้หลังคลอดจึงต้องเฝ้าติดตามอย่างใกล้ชิด วิธีการรักษาขึ้นอยู่กับความรุนแรงของครรภ์ก่อนคลอดของผู้ป่วย ดังนี้

  • ภาวะครรภ์เป็นพิษที่ไม่รุนแรง เป้าหมายของการรักษาของแพทย์ คือ ชะลอการคลอดจนกว่าทารกในครรภ์จะโตพอที่จะผ่าคลอดได้ แพทย์จะตรวจวัดความดันโลหิต ชั่งน้ำหนัก ตรวจโปรตีนในปัสสาวะ ตรวจเอนไซม์การทำงานของไตและตับของผู้ป่วย
  • ภาวะครรภ์เป็นพิษที่รุนแรง เป้าหมายของการรักษาของแพทย์ คือ การป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงต่อแม่และทารกในครรภ์ เช่น โรคหลอดเลือดสมอง การคลอดก่อนกำหนดของทารกในครรภ์ โดยทั่วไปประมาณ 32 ถึง 34 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์ ตับและไตวาย กรณีผู้หญิงที่มีภาวะครรภ์เป็นพิษรุนแรงจะต้องเฝ้าระวังตรวจวัดความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอ หรือต้องรักษาโดยการใช้ยา

การป้องกันครรภ์เป็นพิษ

คุณแม่ควรเตรียมตัวก่อนการตั้งครรภ์เพื่อป้องกันภาวะครรภ์เป็นพิษ เช่น ดูแลตัวเองให้มีสุขภาพที่ดีก่อนการตั้งครรภ์ หากมีโรคประจำตัวควรปรึกษาแพทย์วางแผนและขอคำปรึกษา เนื่องจากปัญหาสุขภาพบางอย่าง เช่น

  • ไม่สูบบุหรี่
  • ควบคุมน้ำหนัก
  • ไม่ดื่มแอลกอฮอล์
  • ควบคุมความดันโลหิต
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด

คำแนะนำ

หากท่านหรือสมาชิกในครอบครัวเคยมีประวัติครรภ์เป็นพิษ ควรแจ้งแพทย์ที่ฝากครรภ์ให้ทราบเพื่อลดความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดในอนาคตได้

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

preeclampsia (ออนไลน์).สืบค้นจาก : https://www.mayoclinic.org [11 มีนาคม 2561].

What Is Preeclampsia? (ออนไลน์).สืบค้นจาก : https://www.webmd.com [11 มีนาคม 2561].

preeclampsia (ออนไลน์).สืบค้นจาก : https://www.healthline.com [11 มีนาคม 2561].

Preeclampsia and Eclampsia(ออนไลน์).สืบค้นจาก : https://www.health.harvard.edu [13 มีนาคม 2561].

หญ้าหนวดแมว ( Cat’s whiskers ) สรรพคุณช่วยขับปัสสาวะ

0
หญ้าหนวดแมว ( Cat's whiskers ) สมุนไพรขับปัสสาวะ
หญ้าหนวดแมว เป็น สมุนไพรพื้นบ้านแถบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ใช้รักษาระบบทางเดินปัสสาวะอักเสบ ไตอักเสบ นิ่วในไต เบาหวาน ความดัน โรคซิฟิลิส หนองใน ข้ออักเสบ เก๊าต์ กระตุ้นให้ร่างกายกำจัดพิษ
หญ้าหนวดแมว ( Cat's whiskers ) สมุนไพรขับปัสสาวะ
หญ้าหนวดแมว ใช้รักษาระบบทางเดินปัสสาวะอักเสบ ไตอักเสบ กระตุ้นให้ร่างกายกำจัดพิษ

หญ้าหนวดแมว

หญ้าหนวดแมว Cat’s whiskers / Orthosiphon หรือ CAT’S WHISKER ORTHOSIPHON GRANDIFLORUS BOLDING เป็น สมุนไพรพื้นบ้านแถบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ใช้กันมาแต่โบราณ ทั้งไทย ลาว พม่า กัมพูชา มาเลเซีย อินโดนีเซีย ล้วนแต่มีภูมิปัญญาการใช้สมุนไพรชนิดนี้ ไปจนถึงจีน ออสเตรเลีย มีขนาดไม่สูงนักประมาณ 30-60 เซนติเมตร สามารถนำใบ กิ่งก้าน หรือทั้งต้น มาใช้ประโยชน์ในทางยา

ลักษณะหญ้าหนวดแมว

  • พืชล้มลุกขนาดเล็ก ลำต้นกิ่งอ่อนเป็นสี่เหลี่ยม สูง 0.3 – 0.8 เมตร
  • ใบเดี่ยวเรียงตรงข้าม แผ่นใบรูปสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด ขอบใบหยัก แผ่นใบสีเขียวเข้ม
  • ดอกเป็นช่อที่ปลายยอด คล้ายดอกโหระพา มี 2 พันธุ์ ชนิดดอกสีขาวอมม่วงอ่อน กับพันธุ์ดอกสีฟ้า บานจากล่างขึ้นข้างบน เกสรเพศผู้เป็นเส้นยาวยื่นออกมานอกกลีบดอก
  • ผลเป็นผลแห้งไม่แตก ลักษณะคล้ายกับหนวดแมว ด้านในสุดมีอับเรณู 2 ช่อง เรียงขนานกัน รังไข่มี 4 ใบ

หญ้าหนวดแมว ช่วยขับปัสสาวะและกระตุ้นให้ร่างกายกำจัดพิษ

คุณค่าทางโภชนาการหญ้าหนวดแมว

หญ้าหนวดแมว 100 กรัม ให้พลังงาน : 3.45 กิโลแคลอรี่
โปรตีน : 6.8 กรัม
ไขมัน : 0.04 กรัม
คาร์โบไฮเดรต : 78 กรัม
น้ำตาล : 6 กรัม
ใยอาหาร : 17 กรัม
โซเดียม : 81.3 กรัม

สรรพคุณหญ้าหนวดแมว

  • ต้นช่วยรักษาโรคกระษัย
  • ใบลดความดันโลหิต
  • ใบรักษาโรคเบาหวาน
  • ต้นรักษาโรคเยื่อจมูกอักเสบ
  • ผลช่วยสมานแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้
  • เปลือกฝักช่วยแก้ลำไส้พิการ
  • ผลแก้อาการท้องร่วง
  • ช่วยรักษาโรคในทางเดินปัสสาวะ ช่วยขับปัสสาวะ
  • รักษาโรคนิ่ว สลายนิ่ว หรือช่วยลดขนาดก้อนนิ่ว
  • ใบและต้นรักษาอาการอักเสบของไตและนิ่วในไต
  • ช่วยป้องกันไม่ให้แคลเซียมตกค้างในไต ช่วยขยายท่อไตให้กว้างขึ้น
  • ใบช่วยบรรเทาอาการปวด
  • ต้นช่วยขับล้างสารพิษในระบบทางเดินปัสสาวะ ไต และตับ
  • ใบและต้นช่วยรักษาโรคปวดตามสันหลังและบั้นเอว
  • ใบช่วยรักษาโรคปวดข้อ อาการปวดเมื่อย และไข้ข้ออักเสบ
  • หญ้าหนวดแมวกับการลดไขมันและควบคุมน้ำหนัก
  • แก้โรคไต และกระเพาะปัสสาวะอักเสบ
  • แก้คลื่นเหียนอาเจียน
  • แก้ถุงน้ำดีอักเสบ
  • บรรเทาอาการไอ
  • ช่วยแก้หนองใน โรคซิฟิลิส
  • รักษาโรคเยื่อจมูกอักเสบ ล้างสารพิษในไต
  • กระตุ้นการงอกของผม ลดปัญหาผมหลุดร่วง ศีรษะล้าน

ประโยชน์หญ้าหนวดแมว

เชื่อว่าหญ้าหนวดแมวมีประโยชน์ต่อร่างกายในระบบต่าง ๆ ซึ่งในใบของหญ้าหนวดแมวมีสารชีวภาพ เช่น กรดโรสมารินิก กรดบิทูลินิก กรดโอลีนโนลิก กรดเออร์โซลิก และสารประกอบฟีนอลิกอื่น ๆ อีกกว่า 20 ชนิด โดยส่วนใหญ่จะใช้รักษาระบบทางเดินปัสสาวะอักเสบ ไตอักเสบ นิ่วในไต เบาหวาน ความดัน โรคซิฟิลิส หนองใน ข้ออักเสบ โรคเกาต์ ให้ขับปัสสาวะและกระตุ้นให้ร่างกายกำจัดพิษ ช่วยควบคุมน้ำหนัก มีฤทธิ์ต้านการแพ้ ต้านการอักเสบ ตามแบคทีเรีย ขับปัสสาวะ ช่วยลดน้ำตาล ป้องกันตับ ไต ต้านมะเร็ง และต้านอนุมูลอิสระ

ฤทธิ์ทางยาหญ้าหนวดแมว

หญ้าหนวดแมวมี สารกลุ่ม phenolic compoundsได้แก่ rosmarinic acid, 3-hydroxy-5, 6, 7,4 tetramethoxyflavone, sinensetin และeupatorin รวมทั้ง pentacyclic triterpenoid
ที่สำคัญคือ betulinic acid ช่วยการขับปัสสาวะ ลดระดับกรดยูริค ( hypouricemic activity )
ปกป้อง ตับ ไต และกระเพาะอาหาร ลดความดันโลหิต ต้านสารอนุมูลอิสระหรือปฏิกิริยาออกซิเดชัน ต้านการ
อักเสบ เบาหวาน และจุลชีพ ลดไขมัน ( antihyperlipidemic activity ) ลดความอยากรับประทานอาหาร ( anorexic activity ) และปรับสมดุลภูมิคุ้มกัน ( immunomodulation )

คำแนะนำในการใช้สมุนไพรหญ้าหนวดแมว

  • สำหรับผู้ที่เป็นโรคไตหรือโรคหัวใจ ไม่ควรใช้สมุนไพรหญ้าหนวดแมว
  • สมุนไพรหญ้าหนวดแมว ไม่ควรใช้ร่วมกับยาแอสไพริน
  • ผลข้างเคียงของหญ้าหนวดแมว ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้กับคนปกติที่ไม่เคยเป็นโรคหัวใจมาก่อน โดยอาการที่อาจพบได้คือ ใจสั่น หายใจลำบาก

หากต้องการใช้ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนบริโภคหรือใช้ผลิตภัณฑ์ใด ๆ จากหญ้าหนวดแมวเสมอ เพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพของตนเอง

บทความที่เกี่วข้องเพิ่มเติม

อ้างอิง

บันทึกของแผ่นดิน 10 สมุนไพรเพื่อสุขภาพผู้บ่าว พ่อเรือน. : ภญ.ดร.สุภาภรณ์ ปิติพร : สมุนไพรอภัยภูเบศร : บริษัท ปรมัตถ์การพิมพ์ จำกัด : สิงหาคม 2560.

หญ้าหนวดแมว สรรพคุณและประโยชน์ของหญ้าหนวดแมว 20 ข้อ ! (ออนไลน์). สืบค้นจาก : https://medthai.com [3 เมษายน 2563]

หญ้าหนวดแมว ขับปัสสาวะและรักษาโรคได้จริงหรือ ? (ออนไลน์). สืบค้นจาก : https://www.pobpad.com [3 เมษายน 2563]

ยุติการตั้งครรภ์ หรือการแท้งลูก ( Miscarriage ) เกิดได้อย่างไร

0
การแท้งบุตร หรือการแท้งลูก ( Miscarriage ) เกิดได้อย่างไร
การแท้งบุตร หรือการแท้งลูก ( Miscarriage ) คือ หญิงตั้งครรภ์ที่สูญเสียตัวอ่อน หรือทารกในครรภ์ช่วง 20 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ จะเกิดขึ้นภายในสามเดือนแรก
การแท้งบุตร หรือการแท้งลูก ( Miscarriage ) เกิดได้อย่างไร
การแท้งบุตร หรือการแท้งลูก ( Miscarriage ) คือ หญิงตั้งครรภ์ที่สูญเสียตัวอ่อน หรือทารกในครรภ์ช่วง 20 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ จะเกิดขึ้นภายในสามเดือนแรก

ยุติการตั้งครรภ์ หรือการแท้งลูก

ยุติการตั้งครรภ์ หรือการแท้งลูก ( Miscarriage ) คือ หญิงตั้งครรภ์ที่สูญเสียตัวอ่อน หรือทารกในครรภ์ช่วง 20 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ จากการศึกษาพบว่าการแท้งลูกในหญิงตั้งครรภ์จะเกิดขึ้นภายในสามเดือนแรกคิดเป็น 10 – 25 เปอร์เซ็นต์ โดยมีแนวโน้มที่จะเกิดการแท้งบุตรน้อยลง เมื่อผ่าน 20 สัปดาห์แรกไปแล้วทางการแพทย์เรียกว่า การตั้งครรภ์ตอนปลาย

สาเหตุของการยุติการตั้งครรภ์

สำหรับผู้หญิงในวัยเจริญพันธุ์สุขภาพแข็งแรงดีโอกาสของการแท้งบุตร อาจอยู่ในช่วง 10 – 25 % แต่ผู้หญิงที่มีโรคประจำตัวหรืออายุมาก โดยเฉลี่ยจะมีโอกาสการแท้งลูกสูงประมาณ 20 – 35 % รวมถึงปัจจัยอื่น ๆ ได้แก่

  • การตั้งครรภ์นอกมดลูก
  • หญิงตั้งครรภ์เป็นโรคอ้วน
  • การติดเชื้อที่รุนแรงของหญิงตั้งครรภ์
  • การบาดเจ็บที่ส่งผลโดยตรงต่อมดลูก
  • หญิงตั้งครรภ์เป็นโรคความดันโลหิตสูง
  • การใช้ยาและสารเสพติดในหญิงตั้งครรภ์
  • หญิงตั้งครรภ์เป็นโรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษ
  • หญิงตั้งครรภ์เป็นโรคเบาหวานประเภท 1 หรือ 2 ที่รุนแรง
  • หญิงตั้งครรภ์ที่อายุมากมีแนวโน้มที่จะแท้งลูกมากกว่าสตรีอายุน้อยกว่า
  • การสูบบุหรี่ หรือดื่มแอลกอฮอล์มากยิ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการแท้งลูกได้ง่าย
  • การแท้งบุตรที่เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซมในระหว่างการปฏิสนธิ
  • การแท้งบุตรก่อนหน้ามากกว่า 2 ครั้ง อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการแท้งลูกในอนาคตได้
  • ความผิดปกติทางกายวิภาคของหญิงตั้งครรภ์ เช่น เนื้องอกในมดลูก มะเร็งมดลูก มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก
  • การตั้งครรภ์ในขณะที่ใช้ยาคุมกำเนิดผิดวิธี เช่น ยาคุมฉุกเฉิน ลืมกินยาคุมกำเนิด หรือใช้อุปกรณ์คุมกำเนิดไม่ถูกต้อง
  • ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมและการสัมผัส หญิงตั้งครรภ์อาจไปสัมผัสกับสารพิษจากรังสี ตะกั่ว สารหนู และมลพิษทางอากาศมากเกินไปจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการแท้งลูกได้ได้

ประเภทของการยุติการตั้งครรภ์

1. การแท้งคุกคาม ( threatened abortion ) คือ การมีเลือดออกทางช่องคลอดงเกิดขึ้นใน 20 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ พบได้บ่อยในหญิงตั้งครรภ์ประมาณ 20 – 30 เปอร์เซ็นต์ อาจมีอาการร่วมด้วยเป็นตะคริว ปวดหลัง เป็นต้น
2. การแท้งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ( Inevitable or Incomplete Miscarriage ) คือ การตั้งครรภ์ระยะแรกที่มีเลือดออกทางช่องคลอดและการขยายของปากมดลูก โดยทั่วไปแล้วเลือดออกทางช่องคลอดจะแย่กว่าการแท้งที่ถูกคุกคาม มีอาการเป็นตะคริวมากขึ้นอีกด้วย
3. การแท้งครบ ( complete abortion ) คือ มีการตกเลือดทำให้ทารกและเนื้อรกทั้งหมดออกมาจากปากมดลูกในช่วงอายุครรภ์ก่อน 20 สัปดาห์
4. การแท้งไม่ครบ ( incomplete abortion ) คือ ในระหว่างการตั้งครรภ์ตัวอ่อนและรกมีการหลุดลอกออกจากโพรงมดลูกแต่ยังมีชิ้นส่วนอื่น ๆ ยังเหลืออยู่ทำให้หญิงตั้งครรภ์มีเลือดไหลออกมากซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อมารดาได้
5. การแท้งค้าง ( missed abortion ) คือ การแท้งบุตรอย่างถาวรไม่มีสิ่งมีชีวิตอยู่ในครรภ์หยุดการเจริญเติบโต ซึ่งเนื้อเยื่อจะถูกขับออกมาจากมดลูกจนหมดโดยที่ปากมดลูกยังปิดอยู่ควรรีบไปพบแพทย์

สัญญาณที่พบบ่อยที่สุดของการแท้งบุตรจะเกิดขึ้นก่อนสัปดาห์ที่ 12 ของการตั้งครรภ์ อาจร้ายแรงเนื่องจากมีความเสี่ยงที่คุณอาจจะการแท้งลูก แต่บางครั้งก็ไม่มีอาการที่แสดงออกที่ชัดเจน

ข้อสังเกตของอาการของยุติการตั้งครรภ์

  • มีไข้
  • ท้องเสีย
  • อาเจียน
  • ปวดไหล่
  • ปวดหลังส่วนล่าง
  • หน้าซีดหรือเป็นลม
  • ตกขาวเป็นสีน้ำตาลปนเลือด และมีกลิ่น
  • หญิงตั้งครรภ์บางคนมีเลือดออกทางช่องคลอด
  • มีของเหลวหรือเนื้อเยื่อไหลออกมาจากช่องคลอด
  • มีอาการปวดหรือเป็นตะคริวบริเวณหน้าท้องหรืออุ้งเชิงกราน

การวินิจฉัยการยุติการตั้งครรภ์ของแพทย์

แพทย์ซักประวัติการแท้งลูกก่อนหน้านี้หากคุณแม่มีเลือดออกทางช่องคลอดจะใช้เครื่องอัลตร้าซาวด์ผ่านหน้าท้องของคุณแม่ เพื่อตรวจประเมินพัฒนาการของตัวอ่อนหรือทารกในครรภ์ ช่วยตรวจสอบว่ามีการเต้นของหัวใจของทารกในครรภ์หรือไม่และถุงน้ำคร่ำที่โอบล้อมรอบตัวทารกในครรภ์เป็นปกติหรือไม่
การรักษาการแท้งบุตร การรักษาเมื่อแท้งบุตรขึ้นอยู่กับอาการของคุณเป้าหมายหลักของการรักษา เพื่อป้องกันการตกเลือดและการติดเชื้อ หากมีเลือดออกทางช่องคลอดและเป็นตะคริวบ่อยครั้งบ่งบอกถึงการแท้งลูกที่รุนแรง ในหญิงตั้งครรภ์ที่แท้งลูกบางคนร่างกายจะมีการขับเนื้อเยื่อในครรภ์ออกมาทางช่องคลอด หากรกเด็กเกิดตกค้าง รกออกไม่หมด เน่าและมีการติดเชื้อในมดลูกต้องรักษาโดยการขยายปากมดลูก และขูดเยื่อบุโพรงมดลูก หลังจากนั้นจะได้รับยาปฏิชีวนะหรืออื่น ๆ เพื่อลดการตกเลือด แพทย์จะติดตามอาการอย่างใกล้ชิดให้แน่ใจว่าไม่มีเลือดออกทางช่องคลอด

ภาวะแทรกซ้อนจากการยุติการตั้งครรภ์

แม้ว่าการแท้งลูกในช่วงแรกส่วนใหญ่จะไม่ซับซ้อน แต่ผู้หญิงบางรายมีอาการแทรกซ้อนหลังจากแท้งลูกได้ เช่น

  • มีไข้
  • น้ำหนักลด
  • รู้สึกหนาวสั่น
  • มีภาวะซึมเศร้า
  • ตกขาวมีกลิ่นเหม็น
  • รู้สึกเหนื่อยตลอดเวลา
  • การแท้งบุตรซ้ำในอนาคต
  • การติดเชื้อหลังจากแท้งลูก
  • อาจมีเนื้อเยื่อบางส่วนค้างอยู่ในมดลูก
  • การตกเลือด หรือมีเลือดออกมากเกินไป
  • มีปัญหาในการนอนหลับไม่หลับ หรือนอนมากเกินไป
  • เลือดออกเป็นเวลานาน และเป็นตะคริว ( นานกว่า 2 สัปดาห์ )

วิธีป้องกันการยุติการตั้งครรภ์

ส่วนใหญ่การแท้งลูกมักเกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรมของทารกในครรภ์ที่ไม่สามารถป้องกันได้ แต่อย่างไรก็ตามการแท้งก็ไม่ได้เกิดจากพันธุกรรมทั้งหมดดังนั้นจึงมีวิธีป้องกันการแท้งลูกที่จะเกิดขึ้นในอนาคตที่คุณแม่ควรรู้และปฏิบัติตาม

  • จัดการความเครียด
  • ไม่ใช้ยาเสพติดทุกชนิด
  • ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • ฉีดวัคซีนป้องกันการแท้งบุตร
  • ทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ
  • ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
  • ไม่สูบบุหรี่และอยู่ห่างจากควันมือสอง
  • ทานวิตามิน หรืออาหารเสริม ที่ช่วยบำรุงมดลูก
  • ไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนมากกว่า 1 ถึง 2 แก้ว เช่น กาแฟต่อวัน
  • หลีกเลี่ยงการเล่นกีฬาที่มีความเสี่ยงสูงต่อการบาดเจ็บบริเวณหน้าท้อง
  • หลีกเลี่ยงรังสี และสารพิษ เช่น สารหนู ตะกั่ว
  • หลีกเลี่ยงอันตรายจากสิ่งแวดล้อม เช่น รังสีเอกซ์ ควันพิษ ฝุ่น PM 2.5 และโรคติดเชื้อร้ายแรง อาทิ เชื้อไวรัสโควิด -19

นอกจากนี้คุณควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการวางแผนในการมีบุตรคนต่อไปตามคำแนะนำของแพทย์ เพื่อเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ที่มีสุขภาพดี ช่วยลดความเสี่ยงของการแท้งบุตรที่อาจเกิดขึ้นอีกได้ในอนาคต

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

Miscarriage (ออนไลน์).สืบค้นจาก : https://americanpregnancy.org [6 เมษายน 2563].

Threatened Miscarriage (ออนไลน์).สืบค้นจาก : https://www.healthline.com [6 เมษายน 2563].

Understanding Miscarriage Prevention (ออนไลน์).สืบค้นจาก : https://www.webmd.com [7 เมษายน 2563].

มดลูกตก มดลูกหย่อน สาเหตุและอาการเบื้องต้น

0
มดลูกตก มดลูกหย่อน สาเหตุและอาการเบื้องต้น
มดลูกต่ำ ( Pelvic Organ Prolapse ) หรือ มดลูกหย่อน ( Prolapsed Uterus ) มีอาการอย่างไร
มดลูกต่ำ หรือ มดลูกหย่อน เกิดจากมดลูกมีการเคลื่อนย้ายต่ำลงจากตำแหน่งเดิมมาจนถึงปากมดลูก จนอาจยื่นออกมาจากช่องคลอด

มดลูกต่ำ ( Pelvic Organ Prolapse ) หรือ มดลูกหย่อน ( Prolapsed Uterus )

มดลูกต่ำ (Pelvic Organ Prolapse) หรือมดลูกหย่อน (Prolapsed Uterus) คือภาวะที่มดลูกเคลื่อนต่ำลงจากตำแหน่งปกติจนถึงปากมดลูก หรืออาจยื่นออกมาจากช่องคลอดได้ ซึ่งภาวะนี้เกิดจากความบกพร่องของกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อที่รองรับอวัยวะในอุ้งเชิงกราน เมื่อกล้ามเนื้อเหล่านี้ไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ จะทำให้มดลูกเลื่อนลงไปที่ตำแหน่งที่ไม่ควรอยู่ หากอาการรุนแรงขึ้นอาจส่งผลกระทบต่ออวัยวะอื่นในบริเวณใกล้เคียง เช่น ช่องคลอด กระเพาะปัสสาวะ ลำไส้ หรือทวารหนัก จึงเป็นสิ่งที่ต้องระมัดระวังและรักษาอย่างทันท่วงทีเพื่อป้องกันความเสียหายเพิ่มเติม.

สาเหตุ และปัจจัยเสี่ยงของมดลูกต่ำ

สาเหตุ และปัจจัยเสี่ยงของมดลูกต่ำ

  • การตั้งครรภ์อย่างน้อยหนึ่งครั้ง และการคลอดบุตรทางช่องคลอด
  • ท้องผูกเรื้อรัง หรือเครียดกับการเคลื่อนไหวของลำไส้
  • การผ่าตัดกระดูกเชิงกรานก่อนวัยหมดประจำเดือน
  • การลดระดับฮอร์โมนหญิงหลังหมดประจำเดือน
  • น้ำหนักทารกแรกเกิดที่มากกว่า 3,500 กรัม
  • รูปร่างลักษณะของกระดูกเชิงกราน
  • น้ำหนักเกิน หรือเป็นโรคอ้วน
  • ประวัติครอบครัวที่มีมดลูกต่ำ
  • ผู้หญิงที่มีอาชีพยกของหนัก
  • อายุที่มากขึ้น
  • การสูบบุหรี่

อาการของมดลูกต่ำ มดลูกหย่อน

อาการของมดลูกต่ำ มดลูกหย่อนผู้หญิงที่มีอาการมดลูกต่ำในอุ้งเชิงกรานมักมีอาการรู้สึกหน่วงบริเวณมดลูก ซึ่งอาจมีอยู่ตลอดเวลาหรือมีแนวโน้มมากขึ้นที่จะปรากฏขึ้นหลังจากผ่านการยืนหรือออกกำลังกายหนักมาทั้งวัน ซึ่งจะมีอาการดังนี้

  • ความรู้สึกเหมือนมีอะไรโผล่ออกมาทางช่องคลอด
  • ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ขณะไอ จาม หรือกำลังออกกำลังกาย อาจปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ
  • ความรู้สึกตึงหน่วงบริเวณกระดูกอุ้งเชิงกราน
  • กระเพาะปัสสาวะอักเสบบ่อย ๆ
  • มีเลือดออกทางช่องคลอด
  • รู้สึกเจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์
  • มีตกขาวมาผิดปกติ
  • ปวดหลังส่วนล่าง
  • เดินลำบาก
  • ท้องผูก

ระดับอาการมดลูกหย่อน

ระดับที่ 1 เกิดภาวะมดลูกหย่อนมาที่ช่องคลอดครึ่งหนึ่ง
ระดับที่ 2 เกิดภาวะมดลูกหย่อนมาใกล้ปากช่องคลอด
ระดับที่ 3 เกิดภาวะมดลูกหย่อนออกมานอกช่องคลอด
ระดับที่ 4 เกิดภาวะมดลูกหย่อนออกมานอกช่องคลอดทั้งหมด เรียกว่ามดลูกย้อย ( Procidentia ) ซึ่งเกิดจากกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานทั้งหมดเสื่อมสภาพ

มดลูกต่ำ หรือ มดลูกหย่อน เกิดจากมดลูกมีการเคลื่อนย้ายต่ำลงจากตำแหน่งเดิมมาจนถึงปากมดลูก จนอาจยื่นออกมาจากช่องคลอด

การวินิจฉัยอาการมดลูกต่ำ

การวินิจฉัยอาการมดลูกต่ำเกิดขึ้นเมื่อผนังช่องคลอดเกิดการบาดเจ็บทำให้อวัยวะต่าง ๆ เช่น กระเพาะปัสสาวะ มดลูก หรือทวารหนักยื่นเข้าไปในช่องคลอด บางครั้งอาจเกิดจากเนื้อเยื่อกระดูกเชิงกรานและกล้ามเนื้ออ่อนแรงจากการคลอดบุตร อาการไอเรื้อรัง อายุ และอาการท้องผูกอาจทำให้กล้ามเนื้อบริเวณอุ้งเชิงกรานได้รับบาดเจ็บได้ อาการมดลูกต่ำสามารถเกิดขึ้นได้ในผู้หญิงที่เคยมีบุตรแล้ว โดยแพทย์เริ่มต้นจากการซักประวัติของผู้ป่วยและตรวจร่างกายของอวัยวะในอุ้งเชิงกรานของผู้ป่วย อาจต้องมีการทดสอบบางอย่างเช่น การทดสอบการรั่วไหลของกระเพาะปัสสาวะ การทดสอบความแข็งแรงของอุ้งเชิงกราน ถ่ายภาพด้วยคลื่นสนามแม่เหล็ก ( MRI ) และวิธีการถ่ายภาพโดยใช้คลื่นเสียงความถี่สูงเพื่อสร้างภาพของไตกระเพาะปัสสาวะและกล้ามเนื้อรอบ ๆ ทวารหนักวิธีพวกนี้ช่วยให้แพทย์ประเมินระดับความรุนแรงของอาการมดลูกต่ำได้ เพื่อกำหนดแนวทางการรักษาได้อย่างถูกต้องและแม่นยำอีกด้วย

การรักษามดลูกต่ำ

การรักษาจะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการผู้ป่วย หากอวัยวะในอุ้งเชิงกรานของผู้ป่วยไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ป่วยแพทย์แนะนำให้รักษาอาการมดลูกต่ำโดยไม่ต้องผ่าตัดแค่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่าง เช่น ลดน้ำหนักกรณีคนอ้วน หลีกเลี่ยงการยกของหนัก ป้องกันไม่ให้ท้องผูก

  • การบำบัดทางกายภาพของอุ้งเชิงกราน เพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานให้แข็งแรงโดยการฝึกขมิบช่องคลอด
  • การใช้ยาปฏิชีวนะ เพื่อลดการหย่อนของมดลูก
  • การใส่อุปกรณ์ช่วยพยุงในช่องคลอด
  • การผ่าตัด ในกรณีเกิดภาวะมดลูกหย่อนออกมานอกช่องคลอดทั้งหมด

ภาวะแทรกซ้อนจากมดลูกต่ำ

มดลูกต่ำมักจะเกี่ยวข้องกับอาการหย่อนของอวัยวะอุ้งเชิงกรานอื่น ๆ พบได้ดังนี้

  • อาการหย่อนของกระเพาะปัสสาวะก่อนหน้า เนื้อเยื่ออุ้งเชิงกรานไม่แข็งแรงแยกกระเพาะปัสสาวะและช่องคลอดอาจทำให้กระเพาะปัสสาวะโค้งตัวเข้าไปในช่องคลอด
  • หลังช่องคลอดย้อย เนื้อเยื่ออุ้งเชิงกรานไม่แข็งแรงแยกไส้ตรงและช่องคลอด อาจทำให้ไส้ตรงนูนออกมาทางช่องคลอดส่งผลต่อการเคลื่อนไหวของลำไส้ได้

การป้องกันเพื่อลดการเกิดมดลูกต่ำ

  • ออกกำลังกายสามารถเสริมสร้างกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานหลังคลอดได้
  • กินอาหารที่มีเส้นใยสูงประเภทผัก ถั่ว และธัญพืชไม่ขัดสี ป้องกันท้องผูก
  • หลีกเลี่ยงการยกของหนัก หรือยกของอย่างถูกวิธี เช่น ยกโดยใช้ขาแทนเอว หรือหลัง
  • ลดน้ำหนักอย่างจริงจัง
  • เลิกสูบบุหรี่

อย่างไรก็ตามภาวะมดลูกต่ำหรือมดลูกหย่อนสามารถเกิดขึ้นได้ในผู้หญิงทุกวัยพบบ่อยครั้งอาจส่งผลกระทบต่อสตรีวัยหมดประจำเดือนที่เคยคลอดบุตรตั้งแต่หนึ่งครั้งขึ้นไปโดยคลอดเองทางช่องคลอด

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

(ศูนย์ศรีพัมน์) เรื่องสตรีที่มีอวัยวะในอุ้งเชิงกรานหย่อน ยื่นย้อย (ออนไลน์).สืบค้นจาก : http://sriphat.med.cmu.ac.th [4 เมษายน 2563].

Pelvic Organ Prolapse (ออนไลน์).สืบค้นจาก : https://my.clevelandclinic.org [4 เมษายน 2563].

Pelvic organ prolapse (ออนไลน์).สืบค้นจาก : https://www.mayoclinic.org [4 เมษายน 2563].

หินเกลือดำ ( Volcanic Rock Salt ) คืออะไร

0
หินเกลือดำ ( Volcanic Rock Salt ) คืออะไร
หินเกลือดำมีลักษณะเป็นก้อนสีดำเกิดจากเถ้าหินลาวาจากภูเขาไฟปกคลุม มีรสเค็มของโซเดียมคลอไรด์กลิ่นฉุนของกำมะถัน ( Sulfur )
หินเกลือดำ ( Volcanic Rock Salt ) คืออะไร
เกลือที่ได้จากธรรมชาติอุดมไปด้วยแร่ธาตุธรรมชาติ 84 ชนิด ร่างกายสามารถดูดซึมไปยังเซลล์ได้เร็วโดยไม่ต้องผ่านระบบย่อย

หินเกลือดำ

หินเกลือดำ ( Volcanic Rock Salt ) คือ แร่ชนิดหนึ่งที่เกิดจากการปะทุของภูเขาไฟที่พ่นเถ้าถ่านและหินร้อนออกมาจำนวนมากออกมาจนเกิดเป็นหินเกลือดำ หรือเกลือหิมาลัยสีดำ ซึ่งชาวอินเดียเรียกว่า กาลานามัค พบได้ตามแถบที่เคยเป็นภูเขาไฟมาก่อนพบมากบริเวณเทือกเขาหิมาลัย ซึ่งหินเกลือดำมีลักษณะเป็นก้อนสีดำเกิดจากเถ้าหินลาวาจากภูเขาไฟปกคลุม มีรสเค็มของโซเดียมคลอไรด์กลิ่นฉุนของกำมะถัน ( Sulfur ) เกลือที่ได้จากธรรมชาติอุดมไปด้วยแร่ธาตุธรรมชาติ 84 ชนิด ร่างกายสามารถดูดซึมไปยังเซลล์ได้เร็วโดยไม่ต้องผ่านระบบย่อย ซึ่งกำมะถันมีความสำคัญต่อร่างกายสำหรับทางการแพทย์อายุรเวทของอินเดีย นิยมใช้เกลือกาลานามัคช่วยบรรเทาอาการเจ็บคอ ปวดท้อง กรดไหลย้อน ท้องอืดท้องเฟ้อ ท้องผูก ท้องร่วง ช่วยล้างสารพิษ บำรุงผิว ผม และเล็บ เป็นต้น

หินเกลือดำต่างกับเกลือแกงทั่วไปอย่างไร

แร่ธาตุที่พบ เกลือแกง หินเกลือดำ
โซเดียม 38.7 – 39.1% 36.8 – 38.79%
โพแทสเซียม 0.09% 0.28%
แคลเซียม 0.03% 0.16%
แมกนีเซียม น้อยกว่า 0.01% 0.1%

เกลือที่ได้จากธรรมชาติอุดมไปด้วยแร่ธาตุธรรมชาติ 84 ชนิด ร่างกายสามารถดูดซึมไปยังเซลล์ได้เร็วโดยไม่ต้องผ่านระบบย่อย

สรรพคุณของหินเกลือดำ

  • ช่วยลดอาการปวดท้อง ที่เกิดจากกรดไหลย้อน ท้องอืดท้องเฟ้อ ท้องผูกและท้องร่วง
  • ช่วยขับสารพิษ โลหะหนัก และสิ่งแปลกปลอมออกจากร่างกาย
  • มีไอโอดีนชนิดโมเลกุลเล็ก ช่วยป้องกันโรคคอหอยพอก
  • ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการย่อยและการดูดซึมสารอาหาร
  • ช่วยปรับค่าความเป็นกรด – ด่าง ของร่างกายให้สมดุล
  • ช่วยลดความดันโลหิตสูง และโรคความดันโลหิตต่ำ
  • ช่วยบรรเทาความเจ็บปวดจากโรคข้ออักเสบ
  • ช่วยเสริมสร้างฮอร์โมนเพศหญิงและเพศชาย
  • ช่วยฟื้นฟูพละกำลังให้ร่างกายสดชื่น สดใส
  • ช่วยบำรุงเส้นผม รักษาผมแตกปลาย
  • ช่วยบำรุงเล็บ ป้องกันเล็กฉีกขาดง่าย
  • ช่วยบำรุงผิวพรรณให้แลดูอ่อนเยาว์
  • ช่วยให้ระบบเลือดหมุนเวียนดีขึ้น
  • เพิ่มความกระชุ่มกระชวยได้ดี
  • ช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน
  • ช่วยเพิ่มระดับฮีโมโกลบิน
  • ช่วยเพิ่มเซลล์เม็ดเลือดแดง
  • ช่วยบรรเทาอาการเจ็บคอ
  • ช่วยป้องกันโลหิตจาง
  • ช่วยลดการเกิดตะคริว

ข้อควรระวังในการบริโภคหินเกลือดำ

การใช้เกลือสีดำควรบริโภคในปริมาณที่เหมาะสมไม่เกิน 6 กรัมต่อวัน

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

ขอบคุณคลิปความรู้จาก : หมอปุ้ม พญ. สิรนาถ สุขภาพดี คุณมีได้

Kala Namak (Black Salt) (ออนไลน์).สืบค้นจาก : Benefits & Side Effects https://www.ayurtimes.com [1 เมษายน 2563].

Is Black Salt Better Than Regular Salt? Benefits and Uses (ออนไลน์).สืบค้นจาก : https://www.healthline.com [2 เมษายน 2563].

Black salt and its health hazard (ออนไลน์).สืบค้นจาก : https://www.thedailystar.net [3 เมษายน 2563].

ไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์บี ( Influenza B ) คืออะไร

0
ไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์บี ( Influenza B ) คืออะไร
ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์บี ( Influenza B ) เป็นเชื้อไวรัสที่เกิดกับระบบทางเดินหายใจพบการระบาดในช่วงฤดูหนาว ฤดูฝน สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย
ไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์บี ( Influenza B ) คืออะไร
ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์บี ( Influenza B ) เป็นเชื้อไวรัสที่เกิดกับระบบทางเดินหายใจพบการระบาดในช่วงฤดูหนาว ฤดูฝน สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย

ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์บี ( Influenza B )

ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์บี ( Influenza B ) เป็นเชื้อไวรัสที่เกิดกับระบบทางเดินหายใจพบการระบาดในช่วงฤดูหนาว ฤดูฝน สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะในผู้สูงอายุหรือในเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี ซึ่งการติดเชื้อเริ่มจากปาก จมูก ลำคอ ลงไปยังปอดทำให้เกิดอาการระคายเคือง เช่น เจ็บคอ ไอ จาม น้ำมูกไหล ปวดเมื่อยร่างกาย อาจมีไข้ตั้งแต่ 37.5 ขึ้นไป

ไข้หวัดใหญ่มีอยู่ด้วยกัน 3 สายพันธุ์

1 .ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A (Influenza A) มีความรุนแรงและอันตรายมากที่สุด สามารถติดต่อจากสัตว์พาหะมาสู่คน และจากคนที่ติดเชื้อไปสู่คนอื่น ๆ
2. ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ B (Influenza B) มีความรุนแรงน้อยกว่าสายพันธุ์ A พบการระบาดในช่วยฤดูหนาว ฤดูฝน และอากาศชื้น
3. ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ C (Influenza C) มีความรุนน้อยกว่าสารพันธุ์ A และ B มีอาการป่วยเล็กน้อยหรือไม่แสดงอาการป่วยจากการติดเชื้อทางเดินหายใจเลย

สาเหตุของการเกิดไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ B

ร่างกายได้รับเชื้อโรคไข้หวัดใหญ่ผ่านการสัมผัสกับผู้ป่วยโดยตรง หรือแม้แต่สัมผัสกับสิ่งของเครื่องใช้ที่มีการปนเปื้อนของสารคัดหลั่งจากผู้ป่วยทำให้แพร่กระจายได้ง่ายและรวดเร็ว

อาการของโรค

  • เป็นไข้ตัวร้อน
  • เจ็บคอ
  • มีเสมหะ
  • คันคอ
  • จาม
  • ไอแห้งๆ
  • ปวดศีรษะ
  • คัดจมูกมีน้ำมูกไหล
  • ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ

หากเด็กหรือผู้สูงอายุมีอาการของโรคไข้หวัดใหญ่ต่อไปนี้ ควรไปพบแพทย์

ระยะฟักตัวของเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ B

เมื่อร่างกายได้รับเชื้อไข้หวัดใหญ่ประมาณ 2 – 3 วัน จะค่อยๆแสดงอาการออกมาให้เห็นชัดขึ้นระยะเวลาการติดเชื้อมักจะใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์อาการจะค่อยๆดีขึ้นเอง

การแพร่กระจาย

เชื้อโรคสามารถเข้าสู่ร่างกายได้หลายทางจมูก ปาก และการขยี้ตา ทำให้การแพร่กระจายของเชื้อไข้หวัดใหญ่จากคนหนึ่งสู่อีกคนได้ง่ายมาก จากการสัมผัสใกล้ชิดกับบุคคลที่ติดเชื้อหรือสัมผัสกับเชื้อโรคที่ปนเปื้อนจากละอองน้ำไหลขณะไอ จาม เสมหะ น้ำมูก รวมถึงการหายใจรดกัน

การวินิจฉัยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ B

การสถิติพบว่าคนส่วนใหญ่จะเกิดโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ การติดเชื้ออาจทำให้เกิดโรคอื่น เช่น กระเพาะและลำไส้อักเสบ เยื่อบุตาอักเสบ โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ผื่นคันตามผิวหนัง ปอดบวม หรือระบบภูมิคุ้มกันบกพร่องจากการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์บี

ผู้ที่มีความเสี่ยงสูงต่อในการเป็นไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ุB

ผู้สูงอายุหรือเด็กเล็กและผู้ที่มีภาวะแทรกซ้อน อาจมีความเสี่ยงในการติดเชื้อที่รุนแรงได้ เช่น

  • ผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป
  • สตรีมีครรภ์
  • เด็กเล็ก
  • ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน
  • ผู้ที่เป็นโรคหัวใจ
  • ผู้ที่เป็นมะเร็ง
  • ผู้ที่เป็นไซนัสติดเชื้อ
  • ผู้ที่เป็นโรคปอดบวม
  • ผู้ที่เป็นโรคหลอดลมอักเสบ
  • ผู้ที่เป็นโรคหอบหืด
  • ผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
  • เด็กที่มีอาการทางระบบประสาท เช่น ความผิดปกติทางสมอง

การรักษาโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ B

คนส่วนใหญ่เมื่อเป็นไข้หวัดใหญ่จะหายไปเองภายใน 2 สัปดาห์ แพทย์จะรักษาตามอาการได้แก่ ให้ยาลดไข้ ยาแก้หวัด เช็ดตัวลดไข้ในขณะที่ผู้ป่วยกำลังพักฟื้นตัวคนเป็นไข้หวัดใหญ่ ควรจะปฏิบัติตามดังนี้

  • หยุดงาน หยุดเรียนอยู่บ้าน
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • หลีกเลี่ยงการติดต่อกันคนอื่น
  • ดื่มน้ำปริมาณมาก
  • ใช้ยาต้านไวรัสที่แพทย์ใช้ในการรักษาไข้หวัดใหญ่ชนิด A หรือ B เมื่อได้รับยาต้านไวรัสผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้นได้ภายใน 2-3 วัน

วิธีการป้องกันไขหวัดใหญ่สายพันธุ์ B

ในปัจจุบันมีวัคซีนสำหรับฉีดป้องกันไวรัสที่สามารถฉีดได้ปีละครั้ง ควรล้างมือให้สะอาดด้วย 7 ขั้นตอนก่อนและหลังรับประทานอาหารหรือหยิบของเข้าปาก ห้ามขยี้ตา ใส่หน้ากากอนามัยหากอยู่ในพื้นที่แออัด บนรถสาธารณะ ทำความสะอาดมือด้วยเจลล้างมือ แอลกอฮอร์เป็นต้น

คำแนะนำ และการป้องกันไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ B

ทุกคนที่อายุ 6 เดือนหรือมากกว่าควรเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ทุกปี

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

ไข้หวัดใหญ่ (Influenza) (ออนไลน์). สืบค้นจาก : https://www.si.mahidol.ac.th [28 มีนาคม 2563]

โรคไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล (ออนไลน์). สืบค้นจาก : https://www.chp.gov.hk [30 มีนาคม 2563]

What is influenza B and what does it do? (ออนไลน์). สืบค้นจาก : https://www.medicalnewstoday.com [28 มีนาคม 2563]